The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by wanrawee12, 2022-03-26 00:30:19

จิตวิทยาทฤษฎีการเรียนรู้

ทฤษฎีการเรียนรู้

1.ลักษณะและธรรมชาติของการเรียนรู้
นักจิตวิทยาเชื่อว่ามนุษย์จะมีการเรียนรู้ได้ก็ต่อเมื่อมนุษย์ได้ทำกิจกรรมใดๆ

แล้วเกิดประสบการณ์ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่สะสมมามากๆ และหลายๆ ครั้ง
ทำให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ขึ้นและเกิดการพัฒนาสิ่งที่เรียนรู้จนเกิดเป็นทักษะ
และเกิดเป็นความชำนาญ ดังนั้น การเรียนรู้ของมนุษย์ ก็จะอยู่คู่กับตัวของ
มนุษย์ เรียกว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร
2. แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการเรียนรู้
แนวคิดเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ ทั้งทางจริยธรรมและการกระทำ ซึ่งส่งผล
ต่อลักษณะของพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน นอกจากนี้ยังส่งผลต่อการ
ประยุกต์ใช้ การพัฒนา หรือการสร้างสรรค์ทฤษฎีการเรียนรู้ใหม่ๆ อีกด้วย
3. จุดมุ่งหมายของทฤษฎีการเรียนรู้
มุ่งพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ ทั้งการอธิบายการเกิดการเรียนรู้ของบุคคล หาก
ครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจก็จะสามารถนำไปเป็นแนวทางในการจัดการเรียน
การสอน เพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างรอบด้าน และมีประสิทธิภาพ
4. ความสำคัญของทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้มีความสำคัญต่อการจัดการเรียนการสอน เริ่มตั้งแต่การ
วิเคราะห์ผู้เรียน การวางแผนการจัดการเรียนสอน รวมถึงการวัดและการ
ประเมินผู้เรียน หากผู้ดำเนินงานหรือครูผู้สอนสามารถเลือกใช้ทฤษฏีได้อย่าง
ได้ตรงกับความต้องการของผู้เรียน ย่อมทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่คงทน
และมีประสิทธิภาพ โดยยกตัวอย่างความสำคัญของการเรียนรู้มาดังนี้

1.เรียนรู้เพื่อการมีชีวิตรอด การเรียนรู้มีความสำคัญต่อการมีชีวิตรอด


เรียนรู้ในการแสวงหาอาหารและน้ำเรียนรู้วิธีการรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีการที่มี

ประสิทธิภาพสูงเรียนรู้การหลีกหนีหรือหลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
และร่างกายหรือเรียนรู้การรวมกลุ่มทางสังคมและสร้างความสัมพันธ์อันดีกับ
ผู้อื่นในสังคม

2. เรียนรู้เพื่อการปรับตัว
การเรียนรู้มีความสำคัญต่อการปรับตัว ช่วยให้บุคคลสามารถเลือกวิธีการ
ปรับตัวมาใช้ได้อย่างเหมาะสมทำให้บุคคลเลือกได้ว่าเมื่อใดควรปรับตัวให้เข้า
กับสิ่งแวดล้อม เมื่อใดควรปรับสิ่งแวดล้อมให้เข้ากับตัวเราและเมื่อใดควร
ปรับทั้งสิ่งแวดล้อมและตัวเราเข้าหากัน

3.เรียนรู้เพื่อช่วยให้บุคคลไม่ตกเป็นเครื่องมือของบุคคลอื่น
การเรียนรู้จะช่วยให้บุคคลไม่ตกเป็นเครื่องมือของบุคคลอื่น หรือไม่ถูกคน

อื่นหลอกลวงหรือหลอกใช้ได้ง่ายๆ
4.เรียนรู้เพื่อการประกอบอาชีพ

การเรียนรู้มีความสำคัญต่อการประกอบการงานอาชีพ ทั้งนี้เพราะแต่ละ
อาชีพมีวิธีการปฏิบัติที่แตกต่างกันไปการเรียนรู้จะช่วยให้บุคคลประสบกับ
ความสำเร็จในงานอาชีพง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น
5.เรียนรู้เพื่อด้านการส่งเสริม ปรับปรุงบุคลิกภาพ

การเรียนรู้มีความสำคัญต่อการส่งเสริม ปรับปรุง และแก้ไขบุคลิกภาพ
เช่น จะช่วยให้มีความรู้ในการเลือกหาเสื้อผ้ามาสวมใส่ให้เหมาะกับร่างกาย
และปกปิดหรืออำพรางส่วนที่บกพร่องของร่างกายช่วยให้มีความรู้ในการ
เลือกใช้ภาษาเพื่อสื่อสารให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกันและเข้าใจรงกัน

พฤติกรรมของบุคคลที่เกิดจากการเรียนรู้

1. พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจะต้องเปลี่ยนไปอย่างค่อนข้างถาวร จึงจะถือว่าเกิด
การเรียนรู้ขึ้นหากเป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้
เช่นการพยายามเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศบางคำ หากออกเสียง
ได้ถูก ต้องเพียงครั้งหนึ่ง แต่ไม่สามารถออกเสียงซ้ำให้ถูกต้องได้อีก ก็ไม่นับ
ว่าเกิดการเรียนรู้
2.พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจะต้องเกิดจากการฝึกฝนหรือเคยมี
ประสบการณ์นั้นๆ มาก่อน เช่น ความสามารถในการขับรถ ซึ่งไม่มีใครขับรถ
เป็นมาแต่กำเนิดต้องได้รับการฝึกฝนหรือมีประสบการณ์จึงจะขับรถเป็น

พฤติกรรมของบุคคลที่ไม่เกิดจากการเรียนรู้

ด้านกระบวนการเจริญเติบโต หรือการมีวุฒิภาวะ ได้แก่การที่เด็ก 2
ขวบสามารถเดินได้เอง ขณะที่เด็ก 6 เดือน ไม่สามารถเดินได้ ฉะนั้น การ
เดินจึงไม่จัดเป็นการเรียนรู้ แต่เกิดเพราะมีวุฒิภาวะ

ด้านแนวโน้มการตอบสนองของเผ่าพันธุ์ หมายถึง ปฏิกริยาสะท้อน
(Reflex) เช่น กระพริบตาเมื่อฝุ่นเข้าตา ชักมือหนีเมื่อโดนของร้อน
พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้แต่เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองตาม
ธรรมชาติ

แหล่งการเรียนรู้การเรียนรู้ของมนุษย์เกิดขึ้นได้
ในสภาพการณ์ต่างๆ

1.การเรียนรู้จากสถานการณ์ทางธรรมชาติ เป็นการเรียนรู้ที่มีธรรมชาติเป็น
ผู้สอน หรือการเรียนรู้จากธรรมชาติ เช่น เมื่ออยู่ในที่ร่มจะรู้สึกเย็นสบายดี
และมีความสุขมากกว่าการอยู่กลางแดดหรืออยู่กลางฝน

2.การเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมทางสังคม
มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่มีปฏิสัมพันธ์กันอยู่ตลอดเวลา ทั้งในลักษณะการพูด
คุยสนทนา การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมในรูปแบบต่างๆ เช่น กิจกรรม
บันเทิง กิจกรรมทางศาสนา กิจกรรมทางการเมือง และการทำงานอาชีพ

3.การเรียนรู้จากสภาพการจัดการเรียนการสอน
การเรียนรู้ลักษณะนี้เป็นการเรียนรู้ที่รูปแบบ มีความตั้งใจที่ให้มีการเรียนรู้

เกิดขึ้นโดยกำหนดจุดประสงค์นำทางและจุดประสงค์ปลายทางของการเรียนรู้
เอาไว้เรียบร้อยแล้วมีผู้รับผิดชอบในการจัดการเรียนรู้โดยตรง มีการกำหนด
หลักสูตรเนื้อหาที่จะเรียน ตลอดจนกำหนดเกณฑ์การวัดผลการประเมินเอาไว้
ด้วย ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นการเรียนรู้หรือการศึกษาในสถานศึกษานั่นเอง

ระดับการเรียนรู้ แบ่ง ออกเป็น 3 ระดับ

1.ระดับการใช้ภาษา เป็นระดับการเรียนรู้ขั้นต่ำที่สุด ยังไม่มีการเรียนรู้เกิด
ขึ้นกล่าวคือ บุคคลเพียงแต่พูดตามได้แต่ยังไม่เกิดความเข้าใจและยังไม่ได้
ปฏิบัติ เช่นเด็กร้องเพลง “หนูเล็กเด็กๆ ทั้งหลายอย่านอนตื่นสายเป็นเด็ก
เกียจคร้าน”ได้แต่เด็กยังคงนอนตื่นสายเป็นประจำโดยให้เหตุผลว่าตนเองจะ
ปฏิบัติอย่างไรก็ได้ไม่เห็นว่าจะไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับเพลงที่ร้องเลย
2.ระดับรู้ เป็นระดับที่มีความเข้าใจมาเกี่ยวข้องแต่ยังไม่ได้ปฏิบัติหรือปฏิบัติ
บ้างเป็นบางครั้งคราวหรือยังปฏิบัติไม่ครบกระบวนการ เช่นรู้ว่าคนที่มี
สุขภาพดีมีรูปร่างได้สัดส่วนมีผิวพรรณเปล่งปลั่ง ต้องรับประทานอาหารที่มี
ประโยชน์และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
3.ระดับเรียนรู้ เป็นระดับที่มีการเปลี่ยน แปลงพฤติกรรม ผู้เรียนได้ลงมือ
ปฏิบัติจริงๆ โดยความรู้ความเข้าใจระดับที่ 2 ทั้งยังเป็นการปฏิบัติอย่าง
สม่ำเสมอด้วยการเรียนรู้ระดับนี้จึงเป็นการเรียนรู้ระดับสูงที่สุด และเป็นจุด
หมายปลายทางของการเรียนรู้ทุกรูปแบบด้วย
ชนิดของการเรียนรู้แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่

1.การเรียนรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริงหรือคำชี้แจงต่างๆ
เป็นการเรียนรู้เพื่อการเข้าใจข้อเท็จจริงหรือคำอธิบาย ที่มีอยู่ใน

สถานการณ์ต่างๆ ของสังคม เพื่อบุคคลจะได้มีการปฏิบัติถูกต้อง เช่นการ
เรียนรู้เพื่อการปฏิบัติตามเครื่องหมายการจราจรเรียนรู้คำอธิบายวิธีการใช้ใช้
ยาตามคำสั่งแพทย์ เรียนรู้ถึงอันตรายของโรคเอดส์ตลอดจนวิธีปฏิบัติตนอย่าง
ถูกต้องเพื่อไม่ให้ติดเอดส์ หรือเรียนรู้ขั้นตอนการเตรียมดินสำหรับปลูกพืช

2.การเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะ
การเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะ (We Learn Skills) ได้แก่การเรียนรู้ภาษา

ตัวเลขหรือเรียนรู้การใช้กล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหวอวัยวะส่วนต่างๆ ของ
ร่างกายในระยะเริ่มต้นของการเรียนรู้ ควรมีผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญคอยควบคุม
อย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันไม่ให้มีการเรียนรู้ที่ไม่ถูกต้องเกิดขึ้นหลังจากนั้นก็เป็น
หน้าที่ของผู้เรียนโดยตรงในการแสวงหาความชำนาญด้วยการฝึกตนเองเสมอ

3. การเรียนรู้เกี่ยวกับเจตคติ
การเรียนรู้โดยเจตติ (We Learn Attitude) ได้แก่การเรียนรู้เพื่อให้

เกิดความชื่นชมชอบพอ รังเกียจ สิ่งใดสิ่งหนึ่งทั้งที่เป็นมนุษย์ สัตว์สิ่งของ หรือ
สถานการณ์ต่าง ๆ ก็ได้เจตคติอาจเกิดขึ้นได้จากประสบการณ์ตรงของตนเอง
หรือได้รับการถ่ายทอดเจตคติจากบุคคลใกล้ชิด เช่น บิดา-มารดา เพื่อน ผู้ที่
เคยมีประสบการณ์มาก่อน หรือจากสื่อมวลชน ก็ได้เจตคติที่เกิดขึ้นแล้วยัง
สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่ต้องใช้เวลาข่อนข้างมาก

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน




เพศ
โดยธรรมชาติทั่วไปแล้วเพศหญิงกับเพศชายมีความสามารถในการเรียนรู้

ใกล้เคียงกันแต่เนื่องจากทั้งสองเพศมีความสนใจและมีความตั้งใจในการเรียนรู้
ตลอดจนความคาดหวังของสังคมแตกต่างกันทำให้ทั้งสองเพศประสบความ
สำเร็จในการเรียนรู้แขนงวิชาต่างๆ ไม่เหมือนกัน

อายุ
บุคคลจะมีความพร้อมในการเรียนรู้ไปตามวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงอายุ

20 -25 ปีจะเป็นระยะที่บุคคลมีความพร้อมในการเรียนรู้มากที่สุด ทั้งความ
พร้อมทางด้านสมอง ความสนใจและการมองเห็นความสำคัญของการเรียนรู้แต่
เมื่อผู้เรียนมีอายุเลย 35ปีไปแล้วความพร้อมในการเรียนรู้ในด้านความจำจะลด
ลงสังเกตเห็นได้ชัดเจนจากการที่ผู้เรียนต้องใช้เวลาในการเรียนรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
เพิ่มขึ้นกว่าเดิมมาก ความสนใจในการเรียนผู้เรียนที่มีความสนใจในการเรียน
ย่อมทำให้ผู้เรียนมีสมาธิ มีความจดจ่อ ทุ่มเท ให้กับการเรียนอย่างเต็มที่ และจะ
มีโอกาสประสบกับความสำเร็จในการเรียนสูงกว่าผู้เรียนที่มีระดับสติปัญญาและ
ความสามารถเท่าเทียมกันแต่มีความสนใจและมีความตั้งใจในการเรียนต่ำกว่า

ความสามารถทางปัญญา
ความสามารถทางปัญญาและความถนัดผู้เรียนที่มีสติปัญญาระดับสูงย่อม

สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่ยากมีลักษณะเป็นนามธรรมและมีความสลับซับซ้อนได้ดีและ
เร็วกว่าผู้เรียนที่มีสติปัญญาระดับปานกลางหรือระดับต่ำ ส่วนเรื่องความถนัดนั้น
ผู้เรียนที่มีความถนัดในด้านใดก็ย่อมเรียนรู้ในด้านนั้นได้ดีดว่าบุคคลอื่นด้วย
ประสบการณ์

ความรู้เดิมหรือประสบการณ์เดิม ในการเรียนรู้เรื่องใดๆ ก็ตามถ้าผู้เรียนมี
ความรู้พื้นฐานในเรื่องนั้นมาก่อน ย่อมทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ง่ายกว่า ผู้ที่ไม่มี
ความรู้พื้นฐานหรือไม่มีประสบการณ์เดิมมาก่อน
เจตคติ

ไม่ว่าเจตคติต่อสถาบันการศึกษา เจตคติต่อครูผู้สอน ล้วนมีอิทธิพลต่อการ
เรียนรู้ทั้งสิ้น ทั้งนี้เพราะเจตคติที่ดี จะทำให้ผู้เรียนมีความตั้งใจ มีความสนใจและ
ทุ่มเทให้กับการเรียนมากขึ้น

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน

1.ความยากง่ายของบทเรียน


บทเรียนที่ยากหรือง่ายจนเกินไปจะทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการเรียนต่ำกว่า
บทเรียนที่มีความยากง่ายในระดับปานกลาง

2.บทเรียนที่เรียนโดยการปฏิบัติ
การเรียนจากการปฏิบัติหรือการทดลองจะทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงใน

การเรียนรู้และสามารถจดจำเนื้อหาได้ดีกว่าบทเรียนที่เรียน จากคำบอกเล่าหรือ
คำอธิบายของครูผู้สอนเพียงอย่างเดียว

3.การฝึกฝนหรือการทำซ้ำ
บทเรียนของวิชาประเภททักษะไม่ว่าทักษะทางภาษาตัวเลขหรือทักษะทางการ

เคลื่อนไหวการเรียนด้วยการฝึกฝนเป็นประจำย่อมทำให้เรียนรู้ได้ดีกว่าผู้เรียนที่
ไม่ได้ฝึกฝน

สิ่งที่เกี่ยวกับตัวครูผู้สอน

1.บุคลิกภาพครู
บุคลิกภาพของครูผู้สอน ในที่นี้หมายถึงรูปร่างหน้าตา การแต่งกายหรือ

ความเชื่อมั่นในตนเองของครูผู้สอนสิ่งเหล่านี้จะสามารถจูงใจในการเรียนให้กับผู้
เรียนได้
2.ความรู้ในเนื้อหาที่สอน

ผู้สอน วิธีการสอน และการเรียนรู้ บรรยากาศ สิ่งแวดล้อม ต้องมีความ
เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ผู้สอนจะต้องมีจรรยาบรรณแห่งความเป็นครู วิธีการสอน
คือกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ผู้สอนกับผู้เรียนจะต้องสอดคล้อง เหมาะสม
เพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ มุ่ง
ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี เพื่อให้การสอนบรรลุตามเป้าหมาย ผู้สอน
ต้องเตรียมการสอนมาอย่างดี ทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทุกด้าน จัดการสอน
อย่างมีกระบวนการ และให้ครบองค์ประกอบการสอน ได้แก่ การตั้งจุดประสงค์
การสอน การกำหนดเนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อการ
สอน และการวัดผลประเมินผล ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ตรงตามจุดมุ่ง
หมาย ของหลักสูตร นอกจากนี้ผู้สอนควรได้คำนึงถึงหลักพื้นฐานในการสอน
ลักษณะการสอนที่ดี และปัจจัยส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดจนรู้จักใช้หลักการสอน
ให้สอดคล้องกับหลักการเรียนรู้หลักจิตวิทยาบรรยากาศเป็นประชาธิปไตย ก็จะ
ช่วยให้การเรียนการสอนประสบผลสำเร็จได้ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร

3.ความสามารถการในการสอน
ครูผู้ถ่ายทอดจะต้องเสริมสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ โดยช่วยให้ผู้เรียน

เกิดความสนใจตั้งแต่เริ่มแรก เพื่อลดช่องว่างระหว่างครูและผู้เรียน เป็นการ
สร้างการมีส่วนร่วมโดยง่าย ซึ่งจะทำให้เรื่องยากกลายเป็นเรื่องง่าย ผ่อนคลาย
ความตึงเครียด ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและติดตามอย่างประทับใจ ครูมือ
อาชีพจึงควรมีเทคนิคในการถ่ายทอด ซึ่งสมชาติ กิจยรรยง (2546:154-
166)ได้เสนอแนะเทคนิคการถ่ายทอดไว้ ดังนี้
1.เทคนิคในการทำให้ผู้เรียนเข้าใจและจำง่าย วิธีที่จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจและจำได้
ง่ายมี 9 วิธี คือ การใช้ภาพประกอบ การเล่านิทานผูกเป็นเรื่อง ใช้คำย่อเชื่อม
สองสิ่งให้เข้าด้วยกัน ใช้กาพย์ โคลงกลอน ใช้ตารางกราฟ ยกตัวอย่างเรื่องใกล้
ตัว สอนเป็นเรื่องลำดับขั้นตอนและกล่าวถึงสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มที่ยก
สัญลักษณ์เพื่อส่วนรวมให้เกิดความเข้าใจ
2.เทคนิคการสร้างอารมณ์ขัน การถ่ายทอดที่ทำให้สนุกสนาน คือชื่นบานทั้งผู้
พูดและสำราญอุราทั้งคนฟัง การสร้างอารมณ์ขันเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ซึ่งครู
ควรนำวิธีการสร้างอารมณ์ขัน ให้กับผู้เรียน ดังนี้

การสร้างอารมณ์ขันด้วยภาษาท่าทาง ส่วนใหญ่จะแสดงออกทางมือ ใบหน้า
และบุคลิกส่วนตัว การแสดงออกทางมือและการใช้มือประกอบการพูด ควรใช้
มือที่สูงกว่าระดับเอว เช่น การใช้มือชูขึ้นเพื่อปลุกเร้าให้ต่อสู้ การหงายฝ่ามือ
เพื่อให้รู้ว่าต้องถอย สู้ไม่ได้หรือยอมแพ้
4. เทคนิคการตั้งคำถาม

การถามครูอาจจะถามโดยระบุชื่อผู้ตอบ หรือถามขึ้นลอย ๆ เพื่อเน้น
หรือสรุปเรื่องสำคัญ เพื่อหยั่งดูว่าผู้เรียนเข้าใจหรือไม่ เทคนิคการถาม
นักเรียนรายบุคคล ครูจะต้องตั้งคำถามโดยทอดเวลาให้ผู้ตอบคิดหาคำตอบ
แล้วพิจารณาท่าทีของผู้เรียนจึงชี้ให้ตอบคำถามเพื่อป้องกันไม่ให้เด็กอับอาย
หรือเสียกำลังใจ การตั้งคำถามให้ทุกคนหาคำตอบควรใช้คำถามว่า ทำไม
อย่างใด เพราะเหตุใด(จงอธิบาย จงอภิปราย) หลีกเลี่ยงการถามอะไร ใคร
ที่ไหน เมื่อไร เมื่อเด็กตอบผิดครูจะต้องอธิบายและชี้แจงให้เห็นคำตอบที่ถูกต้อง
ให้ได้ครูต้องถามให้ผู้เรียนนำประสบการณ์เดิมของตนเองออกมาใช้ให้ได้
เทคนิคการตั้งคำถามที่ครูต้องตระหนัก ควรมีลักษณะดังนี้ ครูตั้งคำถาม
นักเรียนตอบ ครูรอคำตอบ นักเรียนตอบ ครูรับรองคำตอบ

อุปสรรคที่ขัดขวางการเรียนรู้
1.สภาพร่างกายที่ไม่เหมาะสม

ได้แก่ ความบกพร่องของอวัยวะรับสัมผัสต่างๆ เช่นหูตึง หูหนวก สายตา
สั้นสายตายาว หรือตาบอด นอกจากนั้นอาจเป็นความพิการของแขน ขา หรือ
สุขภาพไม่ดี

2. สภาพอารมณ์ที่ไม่เหมาะสม
สภาพอารมณ์ที่ไม่เหมาะสม เช่น ความกลัว และความวิตกกังวลหรือความตื่น
เต้นมากจนเกินไปทำให้ผู้เรียนไม่มีสมาธิในการเรียน
3.สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้

สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ เช่น ฐานะทางบ้านยากจน
ต้องช่วยเหลือบิดามารดาทำงาน บ้าน เรือนตั้งอยู่ในย่านสลัม หรือมั่วสุม
อบายมุข

ทฤษฎีการเรียนรู้

มุมมองทางพฤติกรรมนิยม
นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง คือ ไม่ดี–

ไม่เลว การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก
พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า(stimulusresponse)
การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง กลุ่ม
พฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ “พฤติกรรม” มากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่
เห็นได้ชัด สามารถวัดและทดสอบได้
1.ทฤษฎีการเชื่อมโยง (Classical Connectionismของธอร์นไดค์
(Thorndike) กล่าวถึง การเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง โดยมี
หลักพื้นฐานว่า การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบ
สนองที่มักจะออกมาในรูปแบบต่างๆ หลายรูปแบบ โดยการลองถูกลองผิด
จนกว่าจะพบรูปแบบที่ดีและเหมาะสมที่สุด

หลักการเรียนรู้ของทฤษฎีธอร์นไดค์

ธอร์นไดค์ เขาได้เริ่มการทดลองเมื่อปี ค.ศ.1898 เกี่ยวกับการใช้หีบกล
(Puzzie-box) เขาทดลองการเรียนรู้จนมีชื่อเสียง การทดลองใช้หีบกล การ
ทดลอง ในการทดลอง ธอร์นไดค์ได้นำแมวไปขังไว้ในกรงที่สร้างขึ้น แล้วนำปลา
ไปวางล่อไวนอกกรงให้ห่างพอประมาณ โดยให้แมวไม่สามารถยื่นเท้าไปเขี่ยได้
จากการสังเกต พบว่าแมวพยายามใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อจะออกไปจากกรง จน
กระทั่งเท้าของมันไปเหยียบถูกคานไม้โดยบังเอิญ ทำให้ประตูเปิดออก หลังจาก
นั้นแมวก็ใช้เวลาในการเปิดกรงได้เร็วขึ้น จากการทดลอง ธอร์นไดค์อธิบายว่า
การตอบสนองซึ่งแมวแสดงออกมาเพื่อแก้ปัญหา เป็นการตอบสนองแบบลอง
ผิดลองถูก การที่แมวสามารถเปิดกรงได้เร็วขึ้น ในช่วงหลังแสดงว่า แมวเกิด
การสร้างพันธะหรือตัวเชื่อมขึ้นระหว่างคานไม้กับการกดคานไม้

การเรียนรู้เกิดจากการสร้างความสัมพันธ์บางอย่างระหว่างสิ่งเร้ากับ
พฤติกรรมการตอบสนองในระยะเวลาพอสมควรเมื่อมีสถานการณ์หรือสิ่งที่เป็น
ปัญหาเกิดขึ้นร่างกายพยายามที่จะหาทางแก้ปัญหาโดยแสดงพฤติกรรมตอบ
สนองออกมาหลายๆ รูปแบบ ในลักษณะแบบลองผิดลองถูก (trial and
error)จนกว่าจะพบวิธีที่ดีและเหมาะสมที่สุดในการแก้ ปัญหา ธอร์นไดก์ให้
ความสำคัญอย่างมากกับ “แรงเสริม” (reinforcement)ที่จะทำให้พฤติกรรม
ตอบสนองมีความแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น

กฏแห่งการเรียนรู้

1.กฎแห่งผล ( Law of Effect )
คือ เมื่อผลการทำกิจกรรมใดหากผู้กระทำได้รับความพอใจจากผลการ

ทำกิจกรรมก็จะเกิดผลดีกับการเรียนรู้ทำให้ผู้กระทำอยากเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น
อีกในทางตรงกันข้ามหากผู้กระทำได้รับผลที่ไม่พอใจก็จะทำให้ไม่อยากเรียนรู้
หรือเบื่อหน่ายและเป็นผลเสียต่อการเรียนรู้
2.กฎแห่งการฝึกหัด (low of exercise)

การฝึกหัดหรือกระทำบ่อยๆ ด้วยความเข้าใจจะทำให้การเรียนรู้นั้นคง
ถาวร ถ้าไม่ได้กระทำซ้ำบ่อยๆ การเรียนรู้นั้นจะไม่คงถาวร และในที่สุดอาจจะลืม
ได้ กฎการเรียนรู้
3.กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness)

หมายถึงสภาพความพร้อมหรือวุฒิภาวะของผู้เรียนทั้งทางร่างกาย
อวัยวะต่างๆในการเรียนรู้และจิตใจ รวมทั้งพื้นฐานและประสบการณ์เดิม สภาพ
ความพร้อมของหู ตา ประสาทสมอง กล้ามเนื้อ ประสบการณ์เดิมที่จะเชื่อมโยง
กับความรู้ใหม่หรือสิ่งใหม่ตลอดจนความสนใจ ความเข้าใจต่อสิ่งที่เห็น ถ้าผู้
เรียนมีความพร้อมตามองค์ประกอบต่างๆดังกล่าว ก็จะทำให้ผู้เรียนเกิดการ
เรียนรู้ได้นั่นเอง

การนำทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อม
โยงไปใช้ในการเรียนการสอน

1.ธอร์นไดค์ในฐานะนักจิตวิทยาการศึกษา เข้าได้ให้ความสนใจในปัญหาการ
ปรับปรุงการเรียนการสอนของนักเรียนในโรงเรียน เขาเน้นว่า นักเรียนต้องให้
ความสนใจในสิ่งที่เรียน ความสนใจจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อครูจัดเนื้อหาที่ผู้เรียนมอง
เห็นว่ามีความสำคัญต่อตัวเขา
2. ครูควรจะสอนเด็กเมื่อเด็กมีความพร้อมที่เรียน ผู้เรียนต้องมีวุฒิภาวะเพียง
พอที่จะเรียนและไม่ตกอยู่ในสภาวะบางอย่าง เช่น เหนื่อย ง่วงนอน เป็นต้น

3. ครูควรจัดให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกฝนและทดทวนในสิ่งที่เรียนไปแล้วในเวลา
อันเหมาะสม
4. ครูควรจัดให้ผู้เรียนได้รับความพึ่งพอใจและประสบผลสำเร็จในการทำ
กิจกรรมเพื่อเป็นแรงจูงใจต่อตัวเองในการทำกิจกรรมต่อไป

การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
(Classical Conditioning)

การทดลองของพาฟลอฟ
พาฟลอฟทำการทดลองกับสุนัข เพื่อให้สุนัขเรียนรู้การตอบสนองต่อเสียง

กระดิ่งเช่นเดียวกับการตอบสนองต่ออาหาร คือการหลั่งน้ำลาย ก่อนการ
ทดลองนำสุนัขไปผ่าตัดข้างแก้มแล้วต่อท่อยางเข้ากับต่อมน้ำลายของสุนัขให้
น้ำลายที่สุนัขหลั่งออกมาไหลลงสู่ภาชนะรองรับภายนอกเพื่อความสะดวกต่อ
การตรวจสอบ หลังจากนั้นนำสุนัขโยงเข้ากับอุปกรณ์ในห้องทดลอง ซึ่งเป็น
ห้องเก็บเสียง มีหน้าต่างบานเล็กๆ เพียงบานเดียว สำหรับให้ผู้ทดลองสังเกต
พฤติกรรมของสุนัข รอจนสุนัขมีความเคยชินกับสถานการณ์ในการทดลอง
เสียก่อนแล้วจึงเริ่มทำการทดลอง

ในการทดลองพาฟลอฟได้กำหนดสิ่งกระตุ้นและการตอบสนองในการ
ทดลองไว้ดังนี้

- สิ่งกระตุ้นที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข (Unconditioned Stimulus หรือ US)
เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้สัตว์มีการตอบสนองตามธรรมชาติโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องมีการ
เรียนรู้หรือมีการฝึกฝนมาก่อน ในการทดลองพาฟลอฟใช้อาหารเป็น US
- สิ่งกระตุ้นที่วางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus หรือ CS) หมายถึงสิ่ง
กระตุ้นที่เป็นกลาง (Neutral Stimulus) ที่ไม่กระตุ้นให้มีการตอบสนองตาม
ธรรมชาติเกิดขึ้น ในการทดลองพาฟลอฟใช้เสียงกระดิ่งเป็น CS
- การตอบสนองที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข (Unconditioned Response หรือ
UR) เป็นการตอบสนองตามธรรมชาติ โดยอัตโนมัติ เป็นการตอบสนองที่ไม่ได้
มีการเรียนรู้มาก่อน เป็นการตอบสนองต่อ US หรือการหลั่งน้ำลายเมื่อสุนัข
ได้กินอาหาร
- การตอบสนองที่วางเงื่อนไข (Conditioned Responseหรือ CR)
เป็นการตอบสนองที่เกิดจากการเรียนรู้ที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ เป็นการตอบสนอง
ต่อ CS เหมือนกับการตอบสนองต่อ US หรือสุนัขหลั่งน้ำลายเมื่อได้ยินเสียง
กระดิ่ง เหมือนกับการหลั่งน้ำลายเมื่อได้กินอาหาร

จากการทดลองการเรียนรู้โดยการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค พาฟลอฟสรุป
ว่าเมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้วไม่ว่าจะเสนอสิ่งกระตุ้นที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข
(US) หรือเสนอสิ่งกระตุ้นที่วางเงื่อนไข ( CS ) ก็ตามผู้เรียนก็จะตอบสนอง
อย่างเดียวกันอีกทั้งสามารถบอกได้ชัดเจนว่าผู้เรียนตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นใด

กฎการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข

แบบคลาสสิค

1.การหยุดยั้งของพฤติกรรม (Extinction)
เมื่อสุนัขเกิดการเรียนรู้แล้ว คือให้แต่เสียงกระดิ่ง (CS) อย่างเดียวแล้วสุนัข

น้ำลายไหลพาฟลอฟทดลอง ต่อโดยให้แต่เสียงกระดิ่ง (CS) อย่างเดียวไปเรื่อย ๆ
โดยไม่ให้อาหาร(UCS) เลย ปรากฏว่าการตอบสนอง (น้ำลายไหล) ของสุนัขจะค่อย
ๆ ลดลง จนน้ำลายหยุดไหลในที่สุด ปรากฏการณ์นี้เรียกว่าสุนัขเกิดการหยุดยั้ง
พฤติกรรม (Extinction) หรือเกิดการหดหายของพฤติกรรม
2. การฟื้นกลับมาใหม่ของพฤติกรรม (Spontaneous Recovery)

เมื่อสุนัขเกิดการหยุดยั้งพฤติกรรมแล้วทิ้งระยะไว้ซักพักหนึ่งแล้วทดลองโดยให้
เฉพาะเสียงกระดิ่ง (CS) เพียงอย่างเดียวโดยไม่ให้อาหาร (UCS) ปรากฎว่า สุนัข
กลับมีการตอบ สนอง โดยน้ำลายกลับมาไหลใหม่ เราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า
"การพื้นกลับมาใหม่ของพฤติกรรม"
3.การแผ่ขยายสิ่งเร้า (Generalization)

เมื่อสุนัขเกิดการเรียนรู้แล้ว พาฟลอฟได้ทดลองเปลี่ยนเสียงกระดิ่งใหม่โดย
เสียงใหม่มีลักษณะคล้ายคลึงกับเสียงเดิม(อาจจะมีโทนเสียงสูงหรือต่ำกว่าเดิมเล็ก
น้อย) ปรากฏว่าสุนัขเกิดการตอบสนอง คือน้ำลายไหล ปรากฏการณ์นี้เรียก
ว่า“การแผ่ขยายสิ่งเร้า”
4. การแยกแยะ (Discrimination)

พาฟลอฟได้ทดลองเปลี่ยนจากเสียงกระดิ่งเป็นเสียงระฆัง ปรากฏว่าสุนัขไม่
ตอบสนอง แสดงว่าสุนัขเกิด
การเรียนรู้ที่จะแยกแยะความแตกต่าง ระหว่างเสียงกระดิ่งกับเสียงระฆังและมีการ
ตอบสนองต่างกันกับสิ่งเร้าที่มีลักษณะต่างไปจากเดิม

การนำทฤษฎีการวางเงื่อนไข
แบบคลาสสิคไปใช้ในการเรียนการสอน

1.ในแง่ของความแตกต่างระหว่างบุคคล ความแตกต่างทางด้านอารมณ์มี
แบบแผน การตอบสนองได้ไม่เท่ากัน จำเป็นต้องคำนึงถึงสภาพทางอารมณ์ผู้
เรียนว่าเหมาะสมที่จะสอนเนื้อหาอะไร
2.การวางเงื่อนไข เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทางด้านอารมณ์ด้วย โดย
ปกติผู้สอนสามารถทำให้ผู้เรียนรู้สึกชอบหรือไม่ชอบเนื้อหาที่เรียนหรือสิ่ง
แวดล้อมในการเรียน
3.การลบพฤติกรรมที่วางเงื่อนไข ผู้เรียนที่ถูกวางเงื่อนไขให้กลัวผู้สอน เรา
อาจช่วยได้โดยป้องกันไม่ให้ผู้สอนทำโทษเขา
4.ครูจัดบทเรียนให้น่าสนใจและเกิดความสนุกสนาน ได้ทั้งความรู้ และความ
สนุกสนาน

การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ
(Operant Conditioning)

สกินเนอร์ (Skinner) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน อธิบายว่า การกระทำหรือ
พฤติกรรมทั้งหลายของอินทรีย์ (ทั้งมนุษย์และสัตว์) ล้วนได้รับอิทธิพลมาจาก
ผลกรรมที่ตามมาหลังจากการกระทำกิจกรรมนั้นเสร็จสิ้นลง กล่าวคือผล
กรรมใดที่อินทรีย์มีความพึงพอใจที่ได้รับภายหลังการกระทำเสร็จสิ้นลง มี
แนวโน้มว่าอินทรีย์จะมีการกระทำกิจกรรมนั้นเกิดขึ้นซ้ำอีกและมักจะมีจำนวน
ครั้งของการกระทำมากขึ้นกว่าเดิมส่วนผลกรรมจากการกระทำใดที่อินทรีย์ไม่
ต้องการหรือไม่มีความสุขเมื่อได้รับผลกรรมนั้น อินทรีย์ก็จะหลีกเลี่ยง ลด
หรือเลิกการกระทำกิจกรรมนั้นเสีย

ขั้นที่1 เตรียมการทดลอง
ทำให้หนูหิวมากๆ เพื่อสร้างแรงขับ (Drive) ให้เกิดขึ้นซึ่งจะเป็นแนวทาง

ที่จะผลักดันให้แสดงพฤติกรรมการเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
ขั้นที่2 ขั้นการทดลองเมื่อหนูหิวมากๆ

สกินเนอร์ปล่อยหนูเข้าไปในกล่อง หนูจะวิ่งเปะปะและแสดงอาการต่างๆ
เช่น การวิ่งไปรอบๆ กล่อง การกัดแทะสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในกล่องซึ่งหนูอาจจะไป
แตะลงบนคานที่มีอาหารซ่อนไว้ หนูก็จะได้อาหารกินจนอิ่ม
ขั้นที่ 3 ขั้นทดสอบการเรียนรู้

สกินเนอร์จะจับหนูเข้าไปในกล่องอีก หนูจะกดคานทันที แสดงว่าหนูเกิด
การเรียนรู้แล้วว่าการกดคานจะทำให้ได้กินอาหาร

หลักการและแนวคิดที่สำคัญของ สกินเนอร์

1. การวัดพฤติกรรมตอบสนอง
สกินเนอร์ เห็นว่าการศึกษาจิตวิทยาควรจำกัดอยู่เฉพาะพฤติกรรมที่สามารถสังเกต

เห็นได้อย่างชัดเจน และพฤติกรรมที่สังเกตได้นั้นสามารถวัดได้โดยพิจารณาจากความถี่ของ
การตอบสนองในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือพิจารณาจากอัตราการ ตอบสนอง (Response
rate) นั่นเอง
2. อัตราการตอบสนองและการเสริมแรง

สกินเนอร์ เชื่อว่าโดยปกติการพิจารณาว่าใครเกิดการเรียนรู้หรือไม่เพียงใดนั้นจะสรุป
เอาจากการเปลี่ยนแปลงการตอบสนอง (หรือพูดกลับกันได้ว่าการที่อัตราการตอบสนองได้
เปลี่ยนไปนั้น แสดงว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้นแล้ว) และการเปลี่ยนแปลงอัตราการตอบสนองจะเกิด
ขึ้นได้เมื่อมีการเสริมแรง (Reinforcement) นั้นเอง สิ่งเร้านี้สามารถทำให้อัตราการตอบ
สนองเปลี่ยนแปลง เราเรียกว่าตัวเสริมแรง (Reinforcer) สิ่งเร้าใดที่ไม่มีผลต่อการ
เปลี่ยนแปลงอัตราการตอบสนองเราเรียกว่าไม่ใช่ตัวเสริมแรง(Nonreinforcer)
3. ประเภทของตัวเสริมแรง

ตัวเสริมแรงนั้นอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ อาจแบ่งเป็นตัวเสริมแรงบวกกับตัว
เสริมแรงลบ หรืออาจแบ่งได้เป็นตัวเสริมแรงปฐมภูมิกับตัวเสริมแรงทุติยภูมิ

3.1 ตัวเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcer) หมายถึง สิ่งเร้าชนิดใด
ชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อได้รับหรือนำเข้ามาในสถานการณ์นั้นแล้วจะมีผลให้เกิดความพึงพอใจ และ
ทำให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะเข้มข้นขึ้น เช่น อาหาร คำชมเชย ฯลฯ

3.2 ตัวเสริมแรงลบ (Negative Reinforcer)หมายถึง สิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่ง
ซึ่งเมื่อตัดออกไปจากสถานการณ์นั้นแล้ว จะมีผลให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนไปในลักษณะ
เข้มข้นขึ้น เช่น เสียงดัง แสงสว่างจ้า คำตำหนิ ร้อนหรือเย็นเกินไป ฯลฯ

การลงโทษ (Punishment)
การลงโทษ (Punishment) คือ การทำให้อัตราการตอบสนองหรือ

ความถี่ของพฤติกรรมลดลง การลงโทษมี 2 ทางได้แก่
1. การลงโทษทางบวก (Positive Punishment)
2. การลงโทษทางลบ (Negative Punishment)

ข้อเสียของการลงโทษ



1. การลงโทษเป็นเพียง การกด (Suppress) พฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา
ไว้เท่านั้น
2. ก่อให้เกิดปัญหาทางอารมณ์ เช่น โกรธ เสียใจ เศร้า ตามมา
3. เกิดการเลียนแบบพฤติกรรมการลงโทษ
4. เกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้ลงโทษ

หลักการใช้การเสริมแรงทางบวก



1.ต้องให้หลังจากเกิดพฤติกรรมเป้าหมายแล้วเท่านั้น
2.ต้องทำทันทีที่พฤติกรรมเป้าหมายเกิดขึ้น
3. ควรจะให้อย่างสม่ำเสมอ นั่นคือ ควรให้การเสริมแรงทุกครั้งหรือแทบทุก
ครั้งที่พฤติกรรมเป้าหมายเกิดขึ้นไม่ควรขึ้นอยู่กับอารมณ์ของผู้ดำเนินการ
ปรับพฤติกรรม
4.ตัวเสริมแรงนั้นจะต้องเลือกให้เหมาะกับแต่ละบุคคล เนื่องจากคนเรามีความ
แตกต่างกันดังนั้นตัวเสริมแรงของแต่ละคนจึงอาจไม่เหมือนกัน

ปัจจัยที่มีผลต่อการเสริมแรง
1. Timing การเสริมแรงต้องทำทันที เช่น แฟนตัดผมมาใหม่ต้องชมทันที
ถ้าช้า จะถูกตำหนิ
2. Magnitude & Appeal การเสริมแรงต้องตอบสนองความต้องการ
อย่างพอเหมาะ อย่ามากไปหรือน้อยไป
3. Consistency การเสริมแรงต้องให้สม่ำเสมอ เพราะจะได้รู้ว่าทำแล้ว
ต้องได้รับการเสริมแรงอย่างแน่นอน

การนำทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำไปใช้ในการเรียนการสอน



1. ในการสอน การให้การเสริมแรงหลังการตอบสนองที่เหมาะสมของเด็กจะ
ช่วยเพิ่มอัตรากาตอบสนองที่เหมาะสมนั้น

2. การเว้นระยะการเสริมแรงอย่างไม่เป็นระบบ หรือเปลี่ยนรูปแบบการ
เสริมแรงจะช่วยให้การตอบสนองของผู้เรียนคงทนถาวร

3. การลงโทษที่รุนแรงเกินไป มีผลเสียมาก ผู้เรียนอาจไม่ได้เรียนรู้หรือจำ
สิ่งที่เรียนรู้ไม่ได้ ควรใช้วิธีการงดการเสริมแรงเมื่อผู้เรียนมีพฤติกรรมไม่พึง
ประสงค์

การเรียนรู้:มุมมองทางปัญญานิยม (Cognitive)



- ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญของกลุ่มปัญญานิยม อาทิเช่น
- ทฤษฏีการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์ ( Gestalt Theory)
- ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory)
- ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (A Theory of Meaningful

Verbal Learnning)
- ทฤษฎีสนาม (Field Theory)
- ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา (Social Cognitive

Learning Theory)

ปัญญา นิยมหรือกลุ่มความรู้ความเข้าใจ หรือบางครั้งอาจเรียกว่ากลุ่ม
พุทธินิยม เป็นกลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด นักคิดกลุ่มนี้
ได้ขยายขอบเขตของความคิดที่เน้นทางด้านพฤติกรรม ออกไปสู่กระบวนการ
ทาง ความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในสมอง นักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่าการเรียนรู้
ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิด จากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
เพียงเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้
เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย
และความสัมพันธ์ของข้อมูล และการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการ
แก้ปัญหาต่างๆ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่
จะสร้างความรู้ความ เข้าใจให้แก่ตนเอง

กฎการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์ สรุปได้ดังนี้



1. การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวของมนุษย์
2. บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย
3. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ คือ

3.1) การรับรู้ (perception)
3.2) การหยั่งเห็น (Insight)
4. กฎการจัดระเบียบการรับรู้ของเกสตัลท์
5. การเรียนรู้แบบหยั่งเห็น (Insight)

การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ



1. การรับรู้ (perception) การรับรู้เป็นกระบวนการที่บุคคลใช้ประสาท
สัมผัสรับสิ่งเร้าแล้วถ่ายโยงเข้าสู่สมองเพื่อผ่านเข้าสู่กระบวนการคิดสมองหรือ
จิตจะใช้ประสบการณ์เดิมตีความหมายของสิ่งเร้าและแสดงปฏิกิริยาตอบสนอง
ออกไปตามที่สมอง / จิต ตีความหมาย

2. การหยั่งเห็น (Insight) เป็นการค้นพบหรือเกิดความเข้าใจในช่องทางแก้
ปัญหาอย่างฉับพลันทันที อันเนื่องมาจากผลการพิจารณาปัญหาโดยส่วนรวม
และการใช้กระบวนการทางความคิดและสติปัญญาของบุคคลนั้น

กฎการจัดระเบียบการรับรู้ของเกสตัลท์ มีดังนี้



- กฎการรับรู้ส่วนรวมและส่วนย่อย (Law of Pragnanz) ประสบการณ์
เดิมมีอิทธิพลต่อการรับรู้ของบุคคล การรับรู้ของบุคคลต่อสิ่งเร้าเดียวกันอาจ
แตกต่างกันได้เพราะการใช้ประสบการณ์เดิมมารับรู้ส่วนรวมและส่วนย่อยต่างกัน
กฎแห่งความคล้ายคลึง (Law of Similarity) สิ่งเร้าใดที่มีลักษณะเหมือนกัน
หรือคล้ายคลึงกัน บุคคลมักรับรู้เป็นพวกเดียวกัน
- กฎแห่งความใกล้เคียง (Law of Proximity) สิ่งเร้าที่มีความใกล้เคียงกัน
บุคคลมักรับรู้เป็นพวกเดียวกัน

กฎการจัดระเบียบการรับรู้ของเกสตัลท์ มีดังนี้



- กฎแห่งความสมบูรณ์ (Law of Closure) แม้สิ่งเร้าที่บุคคลรับรู้จะยังไม่
สมบูรณ์ แต่บุคคลสามารถรับรู้ในลักษณะสมบูรณ์ได้ถ้าบุคคลมีประสบการณ์
เดิมในสิ่งเร้านั้น
- กฎแห่งความต่อเนื่อง สิ่งเร้าที่มีความต่อเนื่องกัน หรือมีทิศทางไปในแนว
เดียวกัน บุคคลมักรับรู้เป็นพวกเดียวกัน หรือเรื่องเดียวกัน หรือเป็นเหตุผล
เดียวกัน
- การรับรู้ของบุคคลอาจผิดพลาดบิดเบือนไปจากความเป็นจริงได้ เนื่องมา
จากการจัดกลุ่มลักษณะสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการลวงตา เช่น การตัดกันของเส้น

การเรียนรู้แบบหยั่งเห็น (Insight)



การหยั่งเห็นเป็นการค้นพบหรือเกิดความเข้าใจในช่องทางแก้ปัญหา
อย่างฉับพลันทันทีอันเนื่องมาจากผลการพิจารณาปัญหาโดยส่วนรวมและการ
ใช้กระบวนการทางความคิดและสติปัญญาของบุคคลนั้นในการเชื่อมโยง
ประสบการณ์เดิมกับปัญหาหรือสถานการณ์ที่เผชิญดังนั้น ปัจจัยสำคัญของ
การเรียนรู้แบบหยั่งเห็นก็คือประสบการณ์หากมีประสบการณ์สะสมไว้มาก การ
เรียนรู้แบบหยั่งเห็นก็จะเกิดขึ้นได้มากเช่นกัน

นักจิตวิทยาที่สนใจเรื่องการเรียนรู้โดยการหยั่งรู้ และทำการทดลองไว้คือ
โคท์เลอร์ (Kohler) โคท์เลอร์ได้ทดลองกับลิงชื่อ "สุลต่าน" โดยขังสุลต่านไว้
ในกรงและเมื่อสุลต่านเกิดความหิว เพราะถึงเวลาอาหาร โคท์เลอร์ได้วางผลไม้
ไว้นอกกรงในระยะที่สุลต่านไม่สามารถเอื้อมถึงได้ด้วยมือเปล่า พร้อมกับวาง
ท่อนไม้ซึ่งมีขนาดต่างกัน สั้นบ้างยาวบ้าง ท่อนสั้นอยู่ใกล้กรงแต่ท่อนยาวอยู่
ห่างออกไปสุลต่านคว้าไม้ท่อนสั้นได้แต่ไม่สามารถเขี่ยผลไม้ได้ สุลต่านวางไม้
ท่อนสั้นลง และวิ่งไปมาอยู่สักครู่ ทันใดนั้น "สุลต่าน" ก็จับไม้ท่อนสั้นเขี่ยไม้
ท่อนยาวมาใกล้ตัวและหยิบไม้ท่อนยาวเขี่ยผลไม้มากินได้พฤติกรรมของ
สุลต่านไม่มีการลองผิดลองถูกเลย โคท์เลอร์จึงได้สรุปว่าสุลต่านมีการหยั่งรู้
(Insight)ในการแก้ปัญหาคือ มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่ง 3 สิ่ง คือไม้ท่อน
สั้นไม้ท่อนยาว และผลไม้ได้

วิธีการที่ลิงใช้แก้ปัญหานี้ โคล์เลอร์เรียกพฤติกรรมนี้ว่าเป็นการหยั่งเห็น
เป็นการมองเห็นช่องทางในการแก้ปัญหาโดยลิงชิมแพนซีได้มีการรับรู้ในความ
สัมพันธ์ระหว่างไม้สอย กล้วยที่แขวนอยู่ข้างนอกกรงและสามารถใช้ไม้นั้นสอย
กล้วยได้เป็นการนำไปสู่เป้าหมาย

สรุปการเรียนรู้โดยการหยั่งเห็น



1.มีสถานการณ์ที่เป็นปัญหาเกิดขึ้น
2.ผู้เรียนลงมือแก้ปัญหาตามที่รับรู้
3.ผู้เรียนใช้ความผิดเป็นครูในการแก้ปัญหา
4.เมื่อมองเห็นความสัมพันธ์ขององค์ประกอบย่อยของสถานการณ์ที่เป็น
ปัญหา แล้วนำความสัมพันธ์นั้นมาช่วยในแก้ปัญหาได้สำเร็จ (มีการหยั่งเห็น
เกิดขึ้น)

ข้อสรุปเกี่ยวกับการเรียนรู้โดยการหยั่งรู้



1.แนวทางการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาของผู้เรียนมักจะเกิดขึ้นทันทีทันใดจึง
เรียกว่าInsight

2.การที่จะมีความสามารถเรียนรู้การแก้ปัญหาอย่างทันทีทันใดได้นั้นผู้เรียน
จะต้องมีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาทำนองเดียวกันมาก่อน เพราะจะช่วย
ทำให้มองเห็นช่องทางในการแก้ปัญหาแบบใหม่ได้

3. นอกเหนือจากประสบการณ์เดิมแล้ว ผู้เรียนจะต้องมีความ สามารถใน
การมองเห็นความสัมพันธ์ ต่างๆเพราะการที่มีความสามารถมองเห็นความ
สัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ นี้เองจะมีส่วนช่วยให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้ในการแก้ปัญหา
ได้อย่างถูกต้อง ความสามารถดังกล่าวนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เรียนจะต้องมีระดับ
สติปัญญาดีพอสมควร จึงสามารถแก้ปัญหาโดยการหยั่งรู้ได้

การนำทฤษฎีการเรียนรู้โดยการหยั่งเห็น ไปใช้ในการเรียนการสอน



การนำทฤษฎีประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน นักจิตวิทยากลุ่มนี้คิดว่า ในการ
เรียนรู้ของคนเราเป็นการเรียนรู้ด้วยการหยั่งเห็นซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และคิดได้ว่า
อะไรเป็นอย่างไร ปัญหาก็แจ่มชัดขึ้นเอง เนื่องจากการเห็นความสัมพันธ์ของส่วน
ต่าง ๆ ของปัญหามีหลายอย่างที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ด้วยการหยั่งเห็นดังนี้
1.การหยั่งเห็นจะขึ้นอยู่กับการจัดสภาพที่เป็นปัญหา ประสบการณ์เดิมแม้จะมี
ความหมายต่อการเรียนรู้ แต่การหยั่งเห็นนั้นให้เป็นระเบียบ และสามารถจัดส่วนของ
สถานการณ์นั้นให้เป็นระเบียบ มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
2. เมื่อสามารถแก้ปัญหาได้ครึ่งหนึ่ง คราวต่อไปเมื่อเกิดปัญหาขึ้นอีกผู้เรียนก็จะ
สามารถนำวิธีการนั้นมาใช้ในทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาคิดพิจารณาใหม่
3.เมื่อค้นพบลู่ทางในการแก้ปัญหาครั้งก่อนแล้วก็อาจนำมาดัดแปลงใช้กับ
สถานการณ์ใหม่ และรู้จักการมองปัญหา เป็นส่วนเป็นตอนและเรียนรู้ความสัมพันธ์
ของสิ่งต่างๆได้

4. สอนโดยการเสนอภาพรวมให้ผู้เรียนเห็นและเข้าใจก่อนการเสนอส่วนย่อย จะ
ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี

5. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มาก ได้รับประสบการณ์ที่หลากหลายจะช่วย
ให้ผู้เรียนสามารถคิดแก้ปัญหาและคิดริเริ่มได้มากขึ้น

6. การจัดประสบการณ์ใหม่ ให้มีความสัมพันธ์กับประสบการณ์เดิมของผู้เรียนจะ
ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น

7. การจัดระเบียบสิ่งเร้าที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ให้ดีคือ การจัดกลุ่มสิ่ง
เร้าที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน

แรงจูงใจ (motive)



แรงจูงใจ (motive) เป็นคำที่ได้ความหมายมาจากคำภาษาละตินที่ว่า movere ซึ่ง
หมายถึง "เคลื่อนไหว (move) " ดังนั้น คำว่าแรงจูงใจจึงมีการให้ความหมายไว้
ต่างๆ กันดังนี้
1.แรงจูงใจ หมายถึง "บางสิ่งบางอย่างที่อยู่ภายในตัวของบุคคลที่มีผลทำให้บุคคล
ต้องกระทำ หรือเคลื่อนไหว หรือมี พฤติกรรม ในลักษณะที่มีเป้าหมาย"
(Walters.1978 :218) กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ แรงจูงใจเป็นเหตุผล ของการก
ระทำ นั่นเอง
2.แรงจูงใจ หมายถึง "สภาวะที่อยู่ภายในตัวที่เป็นพลัง ทำให้ร่างกายมีการ
เคลื่อนไหว ไปในทิศทางที่มีเป็าหมาย ที่ได้เลือกไว้แล้ว ซึ่งมักจะเป็นเป้าหมายที่มีอยู่
นภาวะสิ่งแวดล้อม" (Loundon and Bitta.1988:368)
จากความหมายนี้จะเห็นได้ว่า แรงจูงใจจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบที่สำคัญ 2
ประการ คือ
(1) เป็นกลไกที่ไปกระตุ้นพลังของร่างกายให้เกิดการกระทำ และ
(2) เป็นแรงบังคับให้กับพลังของร่างกายที่จะกระทำอย่างมีทิศทาง

ลักษณะของแรงจูงใจ



แรงจูงใจของมนุษย์มีมากมายหลายอย่าง เราถูกจูงใจให้มีการกระทำหรือพฤติกรรม
หลายรูปแบบ เพื่อหาน้ำและ อาหารมาดื่มกิน สนองความต้องการทางกาย แต่ยังมี
ความต้องการมากกว่านั้น เช่น ต้องการความสำเร็จ ต้องการเงิน คำชมเชย อำนาจ
และในฐานะที่เป็นสัตว์สังคม คนยังต้องการมีอารมณ์ผูกพันและอยู่รวมกลุ่มกับผู้อื่น
แรงจูงใจ จึงเกิดขึ้นได้จากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก

แรงจูงใจภายใน (intrinsic motives)
แรงจูงใจภายในเป็นสิ่งผลักดันจากภายในตัวบุคคล ซึ่งอาจจะเป็นเจตคติ ความคิด
เห็น ความสนใจ ความตั้งใจ การมองเห็นคุณค่า ความพอใจ ความต้องการ ฯลฯ
สิ่งต่างๆ ดังกล่าวมาเหล่านี้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมค่อนข้างถาวร เช่น คนงานที่เห็น
คุณค่าของงาน มองว่าองค์การคือสถานที่ให้ชีวิตแก่เขาและครอบครัว เขาก็จะจงรัก
ภักดีต่อองค์การ กระทำ การต่างๆ ให้องค์การเจริญก้าวหน้า หรือในกรณีที่บ้าน
เมืองประสบปัญหาเศรษฐกิจ ในช่วงเวลาของเศรษฐกิจขาลง องค์การจำนวนมากอยู่
ในภาวะขาดทุน ไม่มีเงินจ่ายค่าตอบแทน แต่ด้วยความผูกพัน เห็นใจกันและกัน ทั้ง
เจ้าของกิจการ และพนักงานต่างร่วมกัน ค้าขายอาหารเล็กๆ น้อยๆ ทั้งประเภทแซ
นวิช ก๋วยเตี๋ยว ฯลฯ เพียงเพื่อ ให้มีรายได้ ประทังกันไปทั้งผู้บริหารและลูกน้อง
และในภาวะดังกล่าวนี้จะเห็นว่า พนักงานหลายราย ที่ไม่ทิ้งเจ้านาย ทั้งเต็มใจไป
ทำงานวันหยุดโดยไม่มีค่าตอบแทน ถ้าการกระทำดังกล่าวเป็นไปโดย เนื่องจากความ
รู้สึก หรือเจตคติที่ดีต่อเจ้าของกิจการ หรือด้วยความรับผิดชอบในฐานะสมาชิกคน
หนึ่งขององค์การ มิใช่เพราะ เกรงจะถูกไล่ออกหรือไม่มีที่ไป ก็กล่าวได้ว่า เป็น
พฤติกรรมที่เกิดจากแรงจูงใจภายใน
แรงจูงใจภายนอก (extrinsic motives)
แรงจูงใจภายนอกเป็นสิ่งผลักดันภายนอกตัวบุคคลที่มากระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม
อาจจะเป็นการได้รับรางวัล เกียรติยศ ชื่อเสียง คำชม การได้รับการยอมรับ ยกย่อง
ฯลฯ แรงจูงใจนี้ไม่คงทนถาวรต่อพฤติกรรม บุคคลจะ แสดงพฤติกรรม เพื่อ ตอบ
สนองสิ่งจูงใจดังกล่าว เฉพาะในกรณีที่ต้องการรางวัล ต้องการเกียรติ ชื่อเสียง
คำชม การยกย่อง การได้รับ การยอมรับ ฯลฯ ตัวอย่างแรงจูงใจภายนอกที่มี
อิทธิพลต่อพฤติกรรม เช่น การที่คนงาน ทำงานเพียง เพื่อแลกกับ ค่าตอบแทน
หรือเงินเดือน การแสดงความขยันตั้งใจทำงานเพียง เพื่อให้หัวหน้างานมองเห็นแล้ว
ได้ความดีความชอบ เป็นต้น

ธรรมชาติของแรงจูงใจ
1. ความต้องการ
ความต้องการ (needs) เป็นสภาพที่บุคคลขาดสมดุล เกิดแรงผลักดันให้บุคคล
แสดงพฤติกรรมเพื่อสร้างสมดุลให้ตัวเอง เช่น คนที่รู้สึกเหนื่อยล้าโดยการนอน หรือ
นั่งพัก หรือเปลี่ยนบรรยากาศ
2. แรงขับ
แรงขับ (drives) เป็นแรงผลักดันที่เกิดจากความต้องการทางกาย และสิ่งเร้าจาก
ภายในตัวบุคคล ความต้องการ และแรงขับมักเกิด ควบคู่กัน คือ เมื่อเกิดความ
ต้องการแล้วความต้องการนั้นๆ ไป ผลักดันให้เกิดพฤติกรรม เราเรียกว่า เป็นแรง
ขับนอก
3. สิ่งล่อใจ
สิ่งล่อใจ (incentives) เป็นสิ่งชักนำบุคคลให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งไปสู่จุด
มุ่งหมายที่ตั้งไว้ จัดเป็น แรงจูงใจภายนอก เช่น การชักจูงให้คนงานมาทำงานอย่าง
สม่ำเสมอ โดยยกย่องพนักงาน ที่ไม่ขาดงานให้เป็นที่ปรากฏ การประกาศ
เกียรติคุณ หรือการ จัดสรรรางวัล ในการคัดเลือกพนักงาน หรือบุคคลดีเด่น
ประจำปี
4. การตื่นตัว
การตื่นตัว (arousal) เป็นภาวะที่บุคคลพร้อมที่จะแสดงพฤติกรรม สมองพร้อมที่
จะคิด กล้ามเนื้อพร้อมที่จะเคลื่อนไหว นักกีฬาที่อุ่นเครื่องเสร็จพร้อมที่จะแข่งขัน
หรือเล่นกีฬา พนักงานต้อนรับที่พร้อมให้บริการแก่ลูกค้า ฯลฯ

5. การคาดหวัง
การคาดหวัง (expectancy) เป็นการตั้งความปรารถนา หรือการพยากรณ์ล่วง
หน้าของบุคคล ในสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป ตัวอย่างเช่น การที่คนงานคาดหวังว่า พวก
เขาจะได้รับโบนัสประจำปีสัก 4-5 เท่าของเงินเดือน การคาดหวังดังกล่าวนี้ ส่งผล
ให้พนักงาน ดังกล่าว กระปรี้กระเปล่า มีชีวิตชีวา ซึ่งบางคนก็อาจจะสมหวัง และมีอี
หลายคนที่ผิดหวัง ในชีวิตจริง
6. การตั้งเป้าหมาย
การตั้งเป้าหมาย (goal settings) เป็นการกำหนดทิศทางและ จุดมุ่งหมายปลาย

ทางของ การกระทำกิจกรรมใด กิจกรรมหนึ่งของบุคคล จัดเป็นแรงจูงใจจากภายใน
ของบุคคลผู้นั้น ในการทำงานธุรกิจที่มุ่งเพิ่มปริมาณและคุณภาพ

รูปแบบของแรงจูงใจ



บุคคลแต่ละคนมีรูปแบบแรงจูงใจที่แตกต่างกัน ซึงนักจิตวิทยาได้แบ่งรูปแบบ แรง
จูงใจของมนุษย์ออกเป็นหลายรูปแบบที่สำคัญ มีดังนี้
1. แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (Achievement Motive) หมายถึง แรงจูงใจที่เป็น
แรงขับให้บุคคลพยายามที่จะประกอบพฤติกรรม ที่จะประสบสัมฤทธิผลตาม
มาตรฐานความเป็นเลิศ (Standard of Excellence) ที่ตนตั้งไว้ บุคคลที่มีแรง
จูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ จะไม่ทำงานเพราะ หวังรางวัล แต่ทำเพื่อจะ ประสบความสำเร็จ
ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว ้ ผู้มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์จะมีลักษณะสำคัญ ดังนี้

1.มุ่งหาความสำเร็จ (Hope of Success) และกลัวความล้มเหลว (Fear of
Failure)
2.มีความทะเยอทะยานสูง
3.ตั้งเป้าหมายสูง
4.มีความรับผิดชอบในการงานดี
5.มีความอดทนในการทำงาน
6.รู้ความสามารถที่แท้จริงของตนเอง
7.เป็นผู้ที่ทำงานอย่างมีการวางแผน
8.เป็นผู้ที่ตั้งระดับความคาดหวังไว้สูง
2. แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ (Affiliative Motive)ผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ มักจะ
เป็นผู้ที่โอบอ้อมอารี เป็นที่รักของเพื่อน มีลักษณะเห็นใจผู้อื่น ซึ่งเมื่อศึกษาจาก
สภาพครอบครัวแล้วผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์มักจะเป็นครอบครัวที่อบอุ่น
บรรยากาศในบ้านปราศจาก การแข่งขัน พ่อแม่ไม่มีลักษณะข่มขู่ พี่น้องมีความรัก
สามัคคีกันดี ผู้มีแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์จะมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1. เมื่อทำสิ่งใด เป้าหมายก็เพื่อได้รับการยอมรับจากกล่ม
2. ไม่มีความทะเยอทะยาน มีความเกรงใจสูง ไม่กล้าแสดงออก
3. ตั้งเป้าหมายต่ำ
4. หลีกเลี่ยงการโต้แย้งมักจะคล้อยตามผู้อื่น


Click to View FlipBook Version