รายงานการอบรม หลักสูตร การบริหารจัดการผังเมืองและโครงสร้างพื้นฐานของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รุ่นที่ 4 จัดทำโดย คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 2566
คำนำ เอกสารรายงานผลและประเมินผลโครงการอบรมหลักสูตรการบริหารจัดการผังเมืองและโครงสร้าง พื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รุ่นที่ 4 สำหรับผู้บริหารและบุคลากรในสังกัดเทศบาลนครนนทบุรี โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น จังหวัด นนทบุรี ของกลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้รับการพัฒนาความรู้ มุมมอง วิสัยทัศน์ และได้รับ ประสบการณ์จากการอบรมเพื่อนำไปบูรณาการขับเคลื่อนยกระดับการจัดการสาธารณะในมิติของการจัดการ ผังเมืองและโครงสร้างพื้นฐาน ให้บังเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ต่อไป ในโอกาสนี้ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ขอขอบพระคุณท่านผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น และผู้บริหารทุกท่าน ที่ได้สนับสนุนให้เกิด ความร่วมมือระหว่างสองหน่วยงานในการพัฒนาบุคลากรครั้งนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานผล และ ประเมินผลโครงการ หลักสูตร การบริหารจัดการผังเมืองและโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รุ่นที่ 4 สำหรับผู้บริหารและบุคลากรในสังกัดเทศบาลนครนนทบุรีจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจศึกษา ค้นคว้าต่อไป (รองศาสตราจารย์ ดร. ภูริศ ศรสรุทร์) หัวหน้าโครงการฯ
สารบัญ หน้า ปรัชญา............................................................................................................................. ................................1 หลักการและเหตุผล............................................................................................................................. .............1 วัตถุประสงค์............................................................................................................................. ........................2 เนื้อหาหลักสูตร............................................................................................................................................... .3 โครงสร้างหลักสูตร............................................................................................................................. ..............3 วิธีการฝึกอบรม................................................................................................................................................5 กลุ่มเป้าหมายของโครงการ........................................................................................................ ......................6 จำนวนกลุ่มเป้าหมาย………………………………………………………………………………………………………………………..6 สถานที่ในการฝึกอบรม……………………………………………………………………………………………………………………..6 งบประมาณ/ค่าลงทะเบียน……………………………………………………………………………………………………………....6 ผลลัพธ์และผลกระทบที่คาดหวังจะได้รับที่คาดหวัง……………………………………………………………………………..7 การรับรองผลการฝึกอบรมและแนวทางการประเมินผล……………………………………………………………………….7 หน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการและหลักสูตร……………………………………………………………………………….........8 ผู้อนุมัติโครงการ.............................................................................................................................................8 กำหนดการและตารางการฝึกอบรม…………………………………………………………………………………………………..9 กำหนดการศึกษาดูงานต่างประเทศ...............................................................................................................12 รายชื่อผู้เข้าอบรม หลักสูตรการบริหารจัดการผังเมืองและโครงสร้างพื้นฐาน................................................17 พิธีเปิดการฝึกอบรม วันที่ 17 พฤษภาคม 2566.........................................................................................19 สรุปผลการฝึกอบรม วันที่ 18 พฤษภาคม 2566........................................................................................25 สรุปผลการฝึกอบรม วันที่ 19 พฤษภาคม 2566……………………………………………………………………………..31 สรุปผลการฝึกอบรม วันที่ 20 พฤษภาคม 2566……………………………………………………………………………..37 สรุปผลการฝึกอบรม วันที่ 21 พฤษภาคม 2566……………………………………………………………………………..41 สรุปผลการฝึกอบรม วันที่ 25 พฤษภาคม 2566……………………………………………………………………………..45 สรุปผลการฝึกอบรม วันที่ 26 พฤษภาคม 2566……………………………………………………………………………..49 สรุปผลการฝึกอบรม วันที่ 27 พฤษภาคม 2566……………………………………………………………………………..53 สรุปผลการฝึกอบรม วันที่ 3 กรกฎาคม 2566………………………………………………………………………………57 สรุปผลการฝึกอบรม วันที่ 4 กรกฎาคม 2566………………………………………………………………………………61
แบบสรุปข้อมูลการศึกษาดูงานต่างประเทศ……………………………………………………………………………………65 ภาพกิจกรรมพิธีปิดโครงการอบรม และ มอบวุฒิบัตร……………………………………………………………………..83 สรุปแบบประเมินความพึงพอใจ……………………………………………………………………………………………………100
หน้า | 1 โครงการฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารจัดการผังเมืองและโครงสร้างพื้นฐานของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รุ่นที่ 4 สำหรับผู้บริหารและบุคลากรในสังกัดเทศบาลนครนนทบุรี จัดโดยความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ร่วมกับศูนย์บริการวิชาการด้านบริหารธุรกิจและการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง *********************************** 1. ปรัชญา สร้างบุคลากรท้องถิ่นที่มีวิสัยทัศน์ มีทักษะทางความคิด และมีความสามารถในการนำองค์กร เพื่อกำหนดนโยบาย เพื่อส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการผังเมือง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการพัฒนา เมืองในมิติต่างๆ ภายใต้อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ตลอดจน มุ่งหวังให้เกิดการบูรณาการ ประสานงานร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนภารกิจการจัดการบริการสาธารณะให้ได้ มาตราฐาน มีประสิทธิภาพ และตอบสนองต่อความต้องการขอประชาชนให้ดียิ่งขึ้น 2. หลักการและเหตุผล รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พ.ศ.2560 หมวด 14 มาตรา 250 กำหนดให้องค์กรปกครอง ท้องถิ่น มีหน้าที่และอำนาจในการดูแลและจัดทำบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์ของ ประชาชนในท้องถิ่นตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน แผ่นแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580) ใน ด้านการพัฒนาเมือง มุ่งหวังพัฒนาพื้นที่เมือง ชนบท เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ มุ่งเน้นความเป็น เมืองที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับพระราชบัญญัติผังเมือง พ.ศ.2562 ได้กระจายอำนาจด้านการกำหนด ผังเมืองและการพัฒนาเมืองให้แก่องค์กรปกครองส่วยท้องถิ่น โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะต้อง ดำเนินการพัฒนาเมืองและชนบทให้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นแล้ว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องทำการวางผังเมือง ท้องถิ่นหรือพัฒนาเมืองในระดับท้องถิ่น โดยคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ เช่น ความสะดวกสบาย ความเป็นระเบียบ ความสวยงาม การใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง ความปลอดภัยของประชาชน สวัสดิ ภาพของสังคม การป้องกันภัยพิบัติ และการป้องกันความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์ที่ดิน และองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นจะต้องดำเนินการส่งเสริมทางเศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อม เพื่อดำรงรักษาบูรณะสถานที่ และวัตถุประโยชน์หรือคุณค่าทางศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์หรือโบราณคดี บำรุงรักษา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภูมิประเทศที่งดงามหรือมีคุณค่าในทางพื้นที่ จะต้องวางนโยบายให้เกิด การก่อสร้าง การปรับปรุง การฟื้นฟู บูรณะ ดำรงรักษาหรือดำเนินการอื่นใดเพื่อพัฒนาที่ดินหรือ อสังหาริมทรัพย์ ภายใต้กรอบของการผังเมือง โดยมีวัตถุประสงค์หลักใหญ่ คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อ สร้างความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนและสร้างความเจริญก้าวหน้าของเมืองในด้านต่างๆให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
หน้า | 2 สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจอำนาจ หน้าที่ในการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น ได้พิจารณาเห็นว่า การบริการจัดการผังเมืองและโครงสร้าง พื้นฐาน เป็นภารกิจที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นรากฐานและ ต้นตอสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในภาพรวม จึงได้จัดทำหลักสูตรการบริหารจัดการผังเมืองและโครงสร้าง พื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความรู้ ทักษะ วิสัยทัศน์ ให้กับบุคลากร ท้องถิ่น ทั้งในฝ่ายการเมืองและข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น เพื่อกลุ่มบุคลากรดังกล่าวให้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องภารกิจหน้าที่การบริหารจัดการผังเมือง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนการพัฒนา เมืองในมิติต่างๆ ให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนและสอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐในระดับต่างๆ ตามที่กล่าวมาข้างต้น ประกอบกับที่ผ่านมาทางเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ได้แจ้งความประสงค์ขอให้สถาบัน พัฒนาบุคลากรท้องถิ่น พิจารณาจากโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารจัดการผังเมืองและโครงสร้าง พื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้แก่กลุ่มบุคลากรของเทศบาลนครนนทบุรี เป็นการเฉพาะ เพื่อ เสริมสร้างศักยภาพให้บุคลากรในสังกัดและส่งเสริมการบูรณาการขับเคลื่อนยกระดับการบริการสาธารณะของ เทศบาลนครนนทบุรี ให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมและนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยเหตุนี้ กรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่น โดยสถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น จึงได้ความร่วมมือกับหน่วยงานสถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งเป็นหน่วยงานในภาคีเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการปรับ ประยุกต์หลักสูตรการบริหารจัดการผังเมืองและโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดิม ให้มี ความเหมาะสมตามความต้องการ ตลอดจนบริบทของพื้นที่จังหวัดนนทบุรี โดยกำหนดการศึกษาเรียนรู้ทั้ง ภาคทฤษฎี ซึ่งเป็นการบรรยายในชั้นเรียน การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สัมมนาเชิงปฏิบัติการ กรณีศึกษา และ การศึกษาดูงาน ณ องค์กรหรือหน่วยงานของต่างประเทศ ทั้งนี้ เพื่อให้โอกาสผู้บริหารและบุคลากรของ เทศบาลนครนนทบุรี ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการผังเมืองเพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต มีความสามารถในการจัดการของชุมชนเมืองท้องถิ่น พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานในระดับท้องถิ่นให้มีความ ทันสมัย และกำหนดทิศทางการพัฒนาชุมชนและเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ รวมทั้งมุ่งหวังให้เกิดการเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับโครงการพัฒนาต่างๆ ภายใต้อำนาจหน้าที่ตาม กฎหมาย ก่อให้เกิดความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในชุมชมท้องถิ่น เพื่อการพึ่งพาตนเอง ได้อย่างยั่งยืนต่อไป 3. วัตถุประสงค์ 3.1 เพื่อพัฒนาให้ผู้บริหารและบุคลากรสังกัดเทศบาลนครนนทบุรี ได้มีความรู้ ความเข้าใจใน หลักการบริหารจัดการผังเมือง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาเมืองในมิติต่างๆ ตลอดจนแนวทางการ จัดการบริการสาธารณะอื่นๆ ตามภารกิจหน้าที่ ภายใต้บริบทของการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันและอนาคต 3.2 เพื่อให้ผู้บริหารและบุคลากรสังกัดเทศบาลนครนนทบุรี สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนา ระบบการจัดการผังเมือง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และพัฒนาระบบการจัดการบริการสาธารณะด้านต่างๆของ เทศบาลให้มีประสิทธิภาพและเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น
หน้า | 3 3.3 เพื่อให้ผู้บริหารและบุคลากรสังกัดเทศบาลนครนนทบุรี มีชุดความคิดเชิงนโยบายในการ บริหารจัดการผังเมืองและโครงสร้างพื้นฐาน และการจัดการบริการสาธารณะด้านต่างๆของเมืองในระดับ ท้องถิ่นที่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาหรือปกครองท้องถิ่นได้จริง 3.4 เพื่อให้ผู้บริหารและบุคลากรสังกัดเทศบาลนครนนทบุรี ทั้งฝ่ายบริหาร ฝ่ายผู้แทนสภา ท้องถิ่นและฝ่ายข้าราชการประจำ มีการประสานงานเพื่อบูรณาการภารกิจการจัดการบริการสาธารณะด้าน ต่างๆร่วมกัน เพื่อส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนามาตราฐานตามอำนาจหน้าที่และประโยชน์ต่อพี่น้อง ประชาชนในพื้นที่ 3.5 เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริหารและบุคลากรสังกัดเทศบาลนครนนทบุรี ได้รับมุมมอง ประสบการณ์ และวิสัยทัศน์เกี่ยวข้องกับการวางผังเมืองและโครงสร้างพื้นฐาน และการพัฒนาเมืองเชิงเปรียบเทียบกับ ประเทศในระดับสากล และสามารถนำมาปรับใช้กับบริบทการพัฒนาพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม 4. เนื้อหาหลักสูตร 4.1 ลักษณะเนื้อหาของหลักสูตร จะประกอบด้วยเนื้อหาที่สำคัญในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ แนวคิด หลักการ และพัฒนาการบริหารจัดการผังเมือง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาเมืองในมิติ ต่างๆ การส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ Smart City รวมถึงการให้บริการและการวางระบบเพื่อรองรับการพัฒนาวิถี ชีวิตประชากรในพื้นที่ชุมชนท้องถิ่นที่มีความเป็นเมืองในระดับนคร โดยใช้วิธีการใช้เครื่องมือในการฝึกอบรมที่ มีความหลากหลาย มีการนำรูปแบบและเทคนิคมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย การเรียนรู้ความ ยืดหยุ่น เน้นการวิเคราะห์ข้อมูลจากพื้นที่จริง เพื่อส่งเสริมให้เกิดทักษะการคิดวิเคราะห์และการกำหนด นโยบายที่สามารถนำมาใช้และเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม 4.2 ลักษณะและวิธีการฝึกอบรม มีการเรียนรู้ทั้งทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติ ทั้งในพื้นที่และ นอกพื้นที่ มีการปฐมนิเทศชี้แจงรายละเอียดหลักสูตร การจัดระบบกระบวนการคิด วิธีคิดในการเรียนรู้การอยู่ ร่วมกัน การวางแผนในการทำรายงาน การศึกษากลุ่ม การฝึกปฏิบัติ การวิเคราะห์ประเด็นปัญหา และการ นำเสนอผลงานเชิงนโยบาย 5. โครงสร้างหลักสูตร 5.1 ระยะเวลาการศึกษาอบรมตลอดหลักสูตร จำนวน 20 วัน ดังนี้ - รายงานตัวปฐมนิเทศ - พิธีเปิด จำนวน 1 วัน - ศึกษาอบรมเชิงวิชาการในรูปแบบบูรณาการ จำนวน 11 วัน - การศึกษาดูงานต่างประเทศ จำนวน 8 วัน (รวมวันเดินทาง) 5.2 โครงสร้างหลักสูตร ประกอบด้วย 3 หมวดวิชา ดังนี้ 1.หมวดวิชากฎหมายและการจัดการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2.หมวดวิชาการบริหารจัดการผังเมืองและโครงสร้างพื้นฐาน 3.หมวดวิชาพัฒนาทักษะทางการบริหาร
หน้า | 4 โครงสร้างหลักสูตร ประกอบด้วย 3 หมวด และ 1 กิจกรรม ดังนี้ หมวดที่ ชื่อหมวดวิชา จำนวน 1 2 3 4 วิชากฎหมายและการจัดการบริการสาธารณะขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น วิชาการบริหารจัดการผังเมืองและโครงสร้างพื้นฐาน วิชาพัฒนาทักษะทางการบริหาร การจัดทำรายงานข้อเสนอเชิงนโยบาย 5 วิชา 13 วิชา 2 วิชา 1 ผลงาน หมวดที่ 1 หมวดกฎหมายและการจัดการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขอบเขต ศึกษาเรียนรู้หลักกฎหมายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการจัดบริการสาธารณะ การบริหารจัดการผังเมือง รูปแบบการจัดบริการสาธารณะด้านต่างๆ ของเทศบาลหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายใต้อำนาจหน้าที่ บริบทของการเปลี่ยนแปลงในยุคสมัยใหม่ ประกอบด้วยรายวิชาดังต่อไปนี้ 1. หลักการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง 2. หลักและกฎหมายวิธีปฏิบัติทางการปกครองในการบริหารจัดการผังเมืองและ โครงสร้างพื้นฐาน 3. ประเด็นทักท้วงโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานจากหน่วยงานตรวจสอบและ แนวทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม 4. กฎหมายว่าด้วยการจัดรูปที่ดินและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 5. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาย่านและเมือง และความท้าทายของ การจัดการศึกษาเพื่ออนาคตของท้องถิ่น หมวดที่ 2 วิชาการบริหารจัดการผังเมืองและโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบด้วยรายวิชาดังต่อไปนี้ 1. วิสัยทัศน์การพัฒนานครนนทบุรีและการวางผังเมืองนครนนทบุรีแห่งอนาคต เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง 2. การจัดการเมืองและโครงสร้างพื้นฐาน แนวคิดการพัฒนาเมืองต้นแบบ เกณฑ์ และ มาตรฐานผังเมือง รวมถึงกรณีศึกษาต่างประเทศ 3. การทำแผนที่และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับผู้นำและผู้บริหาร เพื่อการจัดการผังเมืองและโครงสร้างพื้นฐาน 4. แนวทางการส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ Smart City ภายใต้บริบทของเทศบาลนครนนทบุรี
หน้า | 5 5. การพัฒนาระบบคมนาคม การขนส่งมวลชน และระบบ Logistics เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการเติบโตทางเศรษฐกิจ 6. การออกแบบและสร้างนวัตกรรมโครงสร้างพื้นฐาน ถนน สะพาน งานก่อสร้าง และ Project ขนาดใหญ่ 7. การจัดการสิ่งแวดล้อมระดับเมืองที่ยั่งยืน และการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการระดับเมือง 8. การออกแบบเมืองสำหรับผู้บริหาร 9. การจัดทำงบประมาณเพื่อการจัดการผังเมืองและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10. การป้องกันและบริหารจัดการปัญหาภัยพิบัติและสภาวะวิกฤตเพื่อความอยู่รอดของเมือง 11. สัมมนาปัญหาการบริหารจัดการผังเมืองและโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลนครนนทบุรี 12. สัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อการวิเคราะห์และการจัดทำนโยบายการพัฒนานครนนทบุรี แห่งอนาคต (กิจกรรมกลุ่ม) 13. การออกแบบนโยบายการพัฒนาเมือง และโครงสร้างพื้นฐานด้วยเครื่องมือ Design Thinking and Project Design หมวดที่ 3 วิชาพัฒนาทักษะทางการบริหาร ประกอบด้วยรายวิชาดังต่อไปนี้ 1. ภาวะผู้นำกับทัศนคติการพัฒนาเมืองแห่งอนาคต 2. จิตวิทยาการสื่อสารเชิงนโยบายและการประชาสัมพันธ์เชิงรุก 6.วิธีการฝึกอบรม 1.การศึกษาเอกสาร/การบรรยายในชั้นเรียน/การบรรยายในรูปแบบทางไกลหรือออนไลน์ 2.การอภิปราย/แบ่งกลุ่มสัมมนา (Brain Storming) 3.กรณีศึกษา/ถามตอบประเด็นข้อสงสัย 4.การฝึกปฏิบัติ 5.การนำเสนอผลงาน 6.การศึกษาดูงาน
หน้า | 6 7.กลุ่มเป้าหมายของโครงการ 7.1 นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี เลขานุการนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี 7.2 ประธานสภาเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาล 7.3 ปลัดเทศบาล รองปลัดเทศบาล 7.4 ผู้อำนวยการสำนัก/กอง ในสังกัดเทศบาล หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดเทศบาล หัวหน้าสำนักปลัด 7.5 พนักงานเทศบาลหรือลูกจ้างของเทศบาลปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการจัดการผังเมือง การพัฒนาเมือง โครงสร้างพื้นฐาน หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นที่ได้รับการพิจารณาอนุญาต จากผู้บังคับบัญชาว่ามีความเหมาะสมให้เข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรดังกล่าว 7.6 นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดนนทบุรีหรือ เขตพื้นที่ใกล้เคียงเทศบาลนครนนทบุรี ที่มีความประสงค์จะเข้ารับการอบรม 8.จำนวนกลุ่มเป้าหมาย ผู้เข้ารับการอบรม ประมาณ 30 – 40 คน/รุ่น 9.สถานที่ในการฝึกอบรม -โรงแรมไมด้า งามวงศ์วาน จังหวัดนนทบุรี หรือโรงแรมอื่นในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี -ต้นสังกัดหรือสถานที่อื่นตามความเหมาะสม สำหรับการศึกษาอบรมในรูปแบบทางไกลหรือ ออนไลน์ -ศึกษาดูงานในต่างประเทศ ณ ประเทศมองโกเลีย และ สาธารณรัฐเกาหลี หรือกลุ่มประเทศ อื่นตามความเหมาะสมของสถานการณ์ 10.งบประมาณ/ค่าลงทะเบียน ค่าลงทะเบียน จำนวน 185,000 บาท/คน ค่าลงทะเบียนดังกล่าว เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับ ค่าอาหาร ค่าอาหารว่าง ค่าเช่าห้องอบรมสัมมนา ค่าวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับการอบรมตลอดระยะเวลาการ อบรมในชั้นเรียน ณ โรงแรมไมด้า งามวงศ์วาน จังหวัดนนทบุรี แต่จะไม่รวมค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าอาหารว่าง หรือค่าเดินทางระหว่างการอบรมในรูปแบบทางไกลหรือออนไลน์ และการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเพื่อจัดทำ ผลงานในหลักสูตร ตลอดจนค่าใช้จ่ายค่าพาหนะเดินทางไป-กลับ ของการศึกษาอบรมในแต่ละวัน นอกจากนี้ ค่าลงทะเบียนดังกล่าว ทางผู้จัดโครงการจะนำไปเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินการให้โครงการสำเร็จลุล่วง ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ เช่น ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปศึกษาดูงานต่างประเทศ ค่าเดินทางของวิทยากร ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานโครงการ ค่าโสตทัศนูปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง ค่าใช้จ่ายในการจัดส่งเอกสาร ไปรษณีย์ ค่าใช้จ่ายในการประสานงาน ค่าจัดทำการตรวจลงตรา (VISA) ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการตรวจลง ตรา (VISA) ตลอดจนค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการจัดโครงการอบรม ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายหรือ
หน้า | 7 ผู้สมัครเข้ารับการฝึกอบรมที่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถเบิกจ่าย ค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม และการเข้ารับการฝึกอบรม ของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น พ.ศ.2557 ข้อ 28 ค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าลงทะเบียน ค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายในทำนอง เดียวกันที่เรียกชื่ออย่างอื่น ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเบิกจ่ายได้ (1) การฝึกอบรมที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นของรัฐร่วมกันจัดให้เบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราที่หน่วยงานผู้จัดเรียกเก็บ โดยหลักสูตรการบริหารจัดการผังเมืองและโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็น หลักสูตรการฝึกอบรมที่ได้รับการประกาศกำหนดจากกระทรวงมหาดไทยให้เป็นหลักสูตรการฝึกอบรมที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถใช้จ่ายเงิน เพื่อการฝึกอบรมหรือดูงานในต่างประเทศของผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมืองได้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการฝึกอบรมซึ่งจัดโดยหน่วยงานของรัฐที่กำหนดให้มี การฝึกอบรมหรือดูงานในต่างประเทศของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองท้องถิ่นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถเบิกจ่ายได้ พ.ศ.2562 11.ผลลัพธ์และผลกระทบที่คาดหวังจะได้รับ ผู้บริหารและบุคลากรในสังกัดเทศบาลนครนนทุบรี หรือกลุ่มบุคลากรขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดนนทบุรี มีวิสัยทัศน์ก้าวไกล มีมุมมอง ความคิดเชิงสร้างสรรค์ และทักษะ ทางการบริหาร ที่พร้อมจะนำองค์กรหรือขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สามารถจัดบริการสาธารณะ และพัฒนาพื้นที่ท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรีสู่การเป็นเมืองที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน ภายใต้บริบทของการ เปลี่ยนแปลงในอนาคต ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะเป็นหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการ ผังเมือง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น และเป็นหน่วยงานที่สามารถช่วยป้องกันหรือหลีกเลี่ยงปัญหา ต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างทันท่วงทีซึ่งประชาชนในท้องถิ่นจะได้รับประโยชน์ทั้งทางตรงและ ทางอ้อมในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง และได้รับคุณภาพชีวิตที่มีความสะดวกสบาย มีความสุข และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 12.การรับรองผลการฝึกอบรมและแนวทางการประเมินผล ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องผ่านเกณฑ์การประเมินทางวิชาการดังต่อไปนี้ จึงจะมีสิทธิ์ได้รับ ใบประกาศนียบัตรรับรองการฝึกอบรมจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 12.1 มีระยะเวลาการเข้ารับการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ เป็นเวลาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ ระยะเวลาการฝึกอบรมทั้งหมด 12.2 เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาเรียนรู้ต่างๆในหลักสูตร รวมถึงการเข้าร่วมการศึกษาดูงานใน ต่างประเทศ 12.3 นำเสนอผลงาน/ส่งผลงานข้อเสนอนโยบายเพื่อการพัฒนาเมืองตามที่ได้รับมอบหมาย จากคณะอาจารย์ประจำหลักสูตร
หน้า | 8 13.หน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการและหลักสูตร กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น โดย สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หน่วยงานผู้รับผิดชอบ โครงการในภาพรวม โดยมีคณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบันการศึกษา ในภาคีเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ เป็นหน่วยงานสนับสนุนงานด้านวิชาการและการ บริหารจัดการงบประมาณ 14.ผู้อนุมัติโครงการ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น **************************************
หน้า | 9 กำหนดการและตารางการฝึกอบรม โครงการฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารจัดการผังเมืองและโครงสร้างพื้นฐาน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รุ่นที่ 4 สำหรับผู้บริหารและบุคลากรในสังกัดเทศบาลนครนนทบุรี อบรมระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม - 5 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรม ไมด้า งามวงศ์วาน อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี **************************************************************** ศึกษาอบรมครั้งที่1 ระหว่างวันที่ 17 – 21 พฤษภาคม 2566 (5 วัน) ณ โรงแรม ไมด้า งามวงศ์วาน จ.นนทบุรี วัน/เดือน/ปี เวลา 09.00 - 12.00 น. เวลา 13.00-16.00 น. เวลา 16.00-19.00 น. พุธที่ 17 พ.ค. 66 ลงทะเบียน/ แนะนำกิจกรรม/ คณะเจ้าหน้าที่โครงการ พักรับประทานอาหารกลางวัน ภาวะผู้นำกับทัศนคติการพัฒนาเมือง แห่งอนาคต อ.เกียรติศักดิ์ รักษาสัตย์ การทำแผนที่และระบบสารสนเทศ ภูมิศาสตร์สำหรับผู้นำและผู้บริหาร เพื่อการจัดการผังเมืองและ โครงสร้างพื้นฐาน ผศ.ดร.สมลักษณ์ บุญณรงค์ พฤหัสบดีที่ 18 พ.ค. 66 วิสัยทัศน์การพัฒนานครนนทบุรีและ การวางผังเมืองนนทบุรี แห่งอนาคต เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา การจัดการผังเมืองและโครงสร้าง พื้นฐานและแนวคิดการพัฒนาเมือง ต้นแบบ เกณฑ์ และมาตรฐานผัง เมือง รวมถึงกรณีศึกษาต่างประเทศ รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา แนวทางการส่งเสริม เมือง Smart City ภายใต้บริบท ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดร.นน อัครประเสริฐกุล ศุกร์ที่ 19 พ.ค. 66 การพัฒนาระบบคมนาคม การขนส่ง มวลชน และระบบ logistics เพื่อ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และการเติบโตทางเศรษฐกิจ รศ. ดร. ประพัทธ์พงษ์ อุปลา การออกแบบและการสร้างนวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน ถนน สะพาน งานก่อสร้าง project ขนาดใหญ่ รศ. ดร. ประพัทธ์พงษ์ อุปลา จิตวิทยาการสื่อสารเชิงนโยบาย และการประชาสัมพันธ์เชิงรุก รศ.ชัยยุทธ ถาวรานุรักษ์ เสาร์ที่ 20 พ.ค. 66 การมีส่วนร่วมของชุมชนในการ พัฒนาย่านและเมือง และความท้า ทายของการจัดการศึกษาเพื่ออนาคต ของท้องถิ่น ผศ.ดร.พรสรร วิเชียรประดิษฐ์ การจัดการสิ่งแวดล้อมระดับเมืองที่ ยั่งยืน และการประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อมโครงการระดับเมือง รศ. ดร. รณชัย ติยะรัตนาชัย อาทิตย์ที่ 21 พ.ค. 66 การวิเคราะห์และการจัดทำ ยุทธศาสตร์/นโยบายเมือง อ.พัณณ์ชิตา หิรัณย์ชนาสิน สัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อการวิเคราะห์และการจัดทำนโยบายการพัฒนา นครนนทบุรีแห่งอนาคต (กิจกรรมกลุ่ม) อ พัณณ์ชิตา หิรัณย์ชนาสิน ผศ. ดร. ปนายุ ไชยรัตนานนท์ อ มนต์ทวี จิระวัฒน์ทวี
หน้า | 10 ศึกษาอบรม ครั้งที่ 2 ศึกษาอบรมในรูปแบบออนไลน์ 4 วัน ณ ต้นสังกัด/สถานที่อื่นตามความเหมาะสม วัน/เดือน/ปี เวลา 09.00 - 12.00 น. เวลา 13.00-16.00 น. เวลา 16.00-19.00 น. พฤหัสบดีที่ 25 พ.ค. 66 การออกแบบเมืองสำหรับผู้บริหาร ผศ.คมกริช ธนะเพทย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พักรับประทานอาหารกลางวัน การจัดทำงบประมาณเพื่อการ จัดการผังเมืองและพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น กองพัฒนาและส่งเสริมการ บริหารงานท้องถิ่น กรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่น สัมมนาปัญหาการบริหาร จัดการผังเมืองและ โครงสร้างพื้นฐานของเทศบาล นครนนทบุรี คณะผู้จัดโครงการ ศุกร์ที่ 26 พ.ค. 66 ประเด็นหัวข้อทักท้วงโครงการ ด้านโครงสร้างพื้นฐานจากหน่วย ตรวจสอบและแนวทางแก้ไขปัญหาที่ เหมาะสม วศ.สมบูรณ์ แพทย์รัตน์ หลักการใช้อำนาจของเจ้า พนักงานท้องถิ่น ตามกฎหมายว่า ด้วยการผังเมือง อ. วรรณวีร์ บุญยฤทธิ์ สัมมนาปัญหาการบริหาร จัดการผังเมืองและ โครงสร้างพื้นฐานของเทศบาล นครนนทบุรี คณะผู้จัดโครงการ เสาร์ที่ 27 พ.ค. 66 การป้องกันและบริหารจัดการปัญหา ภัยพิบัติและสภาวะวิกฤตเพื่อ ความอยู่รอดของเมือง ผศ.ดร. อมร บุญต่อ การออกแบบนโยบายการพัฒนา เมือง และโครงสร้างพื้นฐานด้วย เครื่องมือ Design Thinking and Project Design ผศ.ดร.อมร บุญต่อ สรุปสาระสำคัญของการอบรม ในช่วงที่ 2 อาจารย์ที่ปรึกษาประจำหลักสูตร อาทิตย์ที่ 28 พ.ค. 66 ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเพื่อทำการวิเคราะห์และจัดทำนโยบาย การพัฒนาเมือง โครงสร้างพื้นฐาน และการจัดบริการสาธารณะตามบริบทในแต่ละพื้นที่ของผู้อบรม ภายใต้โจทย์ตามที่อาจารย์ในหลักสูตรมอบหมาย
หน้า | 11 ศึกษาอบรมครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 3 – 5 กรกฎาคม 2566 (3 วัน) ณ โรงแรม ไมด้า งามวงศ์วาน จ.นนทบุรี วัน/เดือน/ปี เวลา 09.00-12.00 น. เวลา 13.00 – 16.00 น. จันทร์ที่ 3 ก.ค. 66 หลักและกฎหมายวิธีปฏิบัติทาง ปกครองในการบริหารจัดการผังเมือง และโครงสร้างพื้นฐาน วิทยากรจากสำนักงานศาลปกครอง พักรับประมานอาหารกลางวัน กฎหมายว่าด้วยการจัดรูปที่ดินและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง อ.พิชญ์ณัชชา ศรีหิรัญรัตน์ อังคารที่ 4 ก.ค. 66 นำเสนอ project/โครงการ/นโยบาย อ พัณณ์ชิตา หิรัณย์ชนาสิน นำเสนอ project/โครงการ/นโยบาย อ พัณณ์ชิตา หิรัณย์ชนาสิน ผศ. ดร. ปนายุ ไชยรัตนานนท์ อ มนต์ทวี จิระวัฒน์ทวี พุธที่ 5 ก.ค. 66 พิธีปิดโครงการอบรม และรับมอบใบประกาศนียบัตร อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น หรือผู้แทน หมายเหตุ : - กำหนดการ หัวข้อการศึกษา และวิทยากรอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
หน้า | 12 กำหนดการศึกษาดูงาน โครงการฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารจัดการผังเมืองและโครงสร้างพื้นฐาน รุ่นที่ 4 ณ ประเทศมองโกเลีย และสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ระหว่างวันที่ 10 – 17 มิถุนายน พ.ศ.2566 DAY 1 : 10 มิถุนายน 2566 สถานที่ 20.00 น. คณะพร้อมกันที่สนามบินสุวรรณภูมิ อาคารผู้โดยสารขาออกระหว่างประเทศ สายการบิน Thai Airways โดยมีเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ LN TICKET CENTER คอยอำนวยความสะดวก ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 23.30 น. ออกเดินทางสู่ สนามบินอินชอน ประเทศเกาหลีใต้ โดยสายการบินไทยเที่ยวบินที่ TG656 (บริการอาหารและเครื่องดื่ม) DAY 2 : 11 มิถุนายน 2566 06.55 น. เดินทางถึงสนามบินอินชอน นำท่านผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมือง และรับสัมภาระ 09.00 น. นำคณะเข้าศึกษาการจัดการพื้นที่สีเขียวของรัฐบาลเกาหลี ณ Songdo Central Park Songdo Central Park (송도 센럴) เป็นสวนสาธารณะ ในบริเวณพื้นที่สีเขียวตรง กลางของย่านธุรกิจระหว่างประเทศซงโด (Songdo International Business District: Songdo IBD), ในเมืองอินชอน (Incheon), จังหวัดคยองกี(คยองกีโด, Gyeonggi-do), ในประเทศเกาหลี ใต้สวนสาธารณะที่ได้รับแรงบันดาลใจ ในการสร้างจากเซนทรัลพาร์ค ในมหานครนิวยอร์ก ของ ประเทศสหรัฐอเมริกา สวนแห่งนี้เปรียบเสมือน โอเอซิสธรรมชาติในเมือง ซึ่งสร้างความ ผสมผสาน ระหว่างเทคโนโลยี และสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ สาธารณรัฐเกาหลี(เกาหลีใต้) 10.30 น. นำคณะเข้าศึกษาดูงานเกี่ยวกับสมาร์ทซิตี้ ณ พิพิธภัณฑ์เมืองอินชอน Incheon Compact Smart City พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก่อตั้งขึ้น เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2489 และตั้งอยู่ถัดจาก อนุสรณ์ สถานยกพลขึ้นบกอินชอน (Incheon Landing Operation Memorial Hall) ภายในพิพิธภัณฑ์ ประกอบไปด้วย หอศิลป์ถาวร และห้องจัดแสดงนิทรรศการพิเศษ ซึ่งจัดแสดงผลงานทางดนตรี และผลงานทางด้านศิลปวัฒนธรรม และอื่นๆ ด้วยโบราณวัตถุมากมายหลายรายการ พิพิธภัณฑ์ แห่งนี้ มีบทบาทในด้านวัฒนธรรม เพื่อการค้นคว้า และวิจัยทางประวัติศาสตร์ ที่มีมาตั้งแต่ยุคสาม ก๊กแห่งเกาหลีรวมไปถึงการเรียนรู้ประวัติความเป็นมา ของเมืองอินชอน (Incheon) ซึ่งมีบทบาท สำคัญในการปกป้อง คาบสมุทรเกาหลีจากการรุกรานหลายครั้งในอดีต สาธารณรัฐเกาหลี(เกาหลีใต้) 12.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน ณ ภัตตาคาร 14.00 น. นำคณะศึกษาดูงาน ณ พิพิธภัณฑ์นวัตกรรม Samsung ศึกษาบริบทและสภาพแวดล้อมของเมือง หลักคิดการพัฒนาเมืองและการจัดวางโครงสร้างพื้นฐานของเศรษฐกิจประเทศ พิพิธภัณฑ์ด้าน อิเล็กทรอนิกส์แห่งนี้ดำเนินการโดยซัมซุง นำเสนออนาคตของอุปกรณ์เซมิคอนดัคเตอร์ และการ จัดแสดง ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ และอุตสาหกรรมมือถือ ผู้เข้าอบรมรับฟังการ บรรยาย และการเรียนรู้เกี่ยวกับสินค้า ปรัชญาและเทคโนโลยีของบริษัท สาธารณรัฐเกาหลี(เกาหลีใต้) 17.00 น. คณะเดินทางศึกษาดูงานด้านการพัฒนาให้เป็นแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญ ณ ย่านเมียงดง สาธารณรัฐเกาหลี(เกาหลีใต้)
หน้า | 13 18.00 น. รับประทานอาหารค่ำ ณ ภัตตาคาร 19.00 น. เดินทางสู่ โรงแรมที่พัก โรงแรม RAMADA HAN RIVER OR SML ระดับ 4 ดาวหรือเทียบเท่า DAY 3 : 12 มิถุนายน 2566 07.00 น. รับประทานอาหารเช้า ณ ห้องอาหารของโรงแรม 09.00 น. คณะเดินทางศึกษาดูงานด้านการพัฒนาชุมชนให้เป็นแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญ ณ นัมซาน ทาวเวอร์ เพื่อ ศึกษาบริบทและสภาพแวดล้อมของเมือง หลักคิดการพัฒนาเมืองและการจัดวางโครงสร้าง พื้นฐานของประเทศเกาหลีใต้ โซลทาวเวอร์หรือ นัมซาน ทาวเวอร์(N Seoul Tower) เป็น หนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของเมืองโซล เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 1980 ตั้งอยู่บนยอดเขานัมซัง สูง 236 เมตร ให้วิวเมืองโซลและบริเวณรอบๆแบบ พาโนราม่า นับว่าเป็นหนึ่งในทาวเวอร์ที่ให้วิว สวยที่สุดในเอเชีย โซลทาวเวอร์ ได้รับการ renovate ใหม่ปี 2005 จึงได้ชื่อใหม่เป็น N Seoul Tower โดย N ที่เพิ่มขึ้นมานั้นย่อมาจาก new look หรือ รูปแบบใหม่ โดยมีการปรับเปลี่ยนและ พัฒนาการต่างๆ ทั้งการให้แสงไฟที่หลากหลายและสวยงามขึ้น รวมถึงภายในที่ตกแต่งใหม่ โดยมี ร้านอาหารบนหอคอยที่จะหมุนครบรอบทุกๆ 48 นาที ชื่อว่า N Grill และห้องน้ำตกแต่งสไตล์ อวกาศ สาธารณรัฐเกาหลี(เกาหลีใต้) ศึกษาดูงานสินค้าพื้นเมือง สินค้าเพื่อสุขภาพ ณ ร้าน Bedpine Herb 12.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน ณ ภัตตาคาร 14.30 น. ศึกษาดูงานสินค้าที่มียอดส่งออกอันดับต้นๆของประเทศเกาหลี นำไปสู่การกระตุ้นเศรษฐกิจเมือง ณ ร้าน Cosmetic สาธารณรัฐเกาหลี(เกาหลีใต้) คณะเดินทางศึกษาดูงานด้านการพัฒนาชุมชนให้เป็นแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญ ณ ตลาดทงแดมุน ศึกษาบริบทและนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชน การพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้า otop เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากและการส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ สาธารณรัฐเกาหลี(เกาหลีใต้) 18.00 น. รับประทานอาหารค่ำ ณ ภัตตาคาร 19.00 น. เดินทางสู่ โรงแรมที่พัก โรงแรม RAMADA HAN RIVER OR SMLระดับ 4 ดาวหรือเทียบเท่า สาธารณรัฐเกาหลี(เกาหลีใต้) DAY 4 : 13 มิถุนายน พ.ศ.2566 07.00 น. รับประทานอาหารเช้า ณ ห้องอาหารของโรมแรม 09.00 น. คณะเดินทางศึกษาดูงานด้านประวัติศาสตร์และการส่งเสริมอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ณ พระราชวังเคียงบกกุง (Gyeongbokgung Palace) หรือเรียกอีกแบบหนึ่งว่า “พระราชวัง คยองบกกุง” เป็นทั้งสัญลักษณ์และแหล่งท่องเที่ยวยอดฮิตของกรุงโซล พระราชวังที่มีขนาดใหญ่ และเก่าแก่ที่สุดในกรุงโซล สร้างขึ้นในปี 1394 ในสมัยพระเจ้าแทโจ ราชวงศ์โชซอน เดิมทีนั้น ภายในพระราชวังมีอาคารและตำหนักต่างๆมากกว่า 200 หลัง แต่เมื่อมีการรุกรานของญี่ปุ่น อาคารส่วนใหญ่ก็ได้ถูกทำลายลงเหลืออยู่เพียงแค่ 10 หลังเท่านั้น สาธารณรัฐเกาหลี(เกาหลีใต้)
หน้า | 14 DAY 4 : 13 มิถุนายน 2566 11.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน ณ ภัตตาคาร 12.00 น. ออกเดินทางไป เมืองอูลานบาตอร์ประเทศมองโกเลีย 14.20 น. นำท่านออกเดินทางโดยสายการบิน Mongolian Airline เที่ยวบินที่ OM302 (ใช้เวลาเดินทาง ประมาณ 3.45 ชม.) 17.00 น. เดินทางถึงสนามบินเจงกิสข่าน เมืองอูลานบาตอร์ประเทศมองโกเลีย นำท่านผ่านพิธีการตรวจคน เข้าเมือง และรับสัมภาระ 18.30 น. รับประทานอาหารค่ำ ณ ภัตตาคาร 20.00 น. เดินทางสู่โรงแรมที่พัก โรงแรม Holiday Inn Hotel ระดับ 4 ดาวหรือเทียบท่า DAY 5 : 14 มิถุนายน 2566 07.00 น. รับประทานอาหารเช้า ณ โรงแรมที่พัก 09.00 น. คณะเดินทางศึกษาดูงานด้านการพัฒนาชุมชนให้เป็นแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ณ อนุสาวรีย์เจงกิสข่าน สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงในอดีตของชนชาติมองโกล อยู่ใกล้กับฝั่งแม่น้ำตูล (Tull) ซึ่งห่างจากกรุงอูลานบาตอร์ ไปทางทิศตะวันออกราว 54 กิโลเมตร ในพื้นที่ที่เชื่อว่ามีการพบ ตำนานแส้ทองของอดีตข่านผู้ยิ่งใหญ่ นับเป็นอนุสาวรีย์รูปปั้นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในมองโกเลีย ประเทศมองโกเลีย 11.00 น. ศึกษาดูงานด้านศิลปวัฒนธรรมการส่งเสริมศาสนา ณ วัด Aryabal Meditation เป็นวัดที่ถูกสร้าง ขึ้นในปี พ.ศ. 1810 โดยชาวมองโกเลียและชาวทิเบตที่อาศัยอยู่ในอุทยานแห่งชาติ Telejl โดยมี พระภิกษุสงฆ์จากวัดต่างๆ มายังวัดแห่งนี้เพื่อการทำสมาธิและสวดมนต์ ด้านสถาปัตยกรรมของ วิหารวัดนี้ได้รับอิทธิพลมาจากทิเบต อาทิเช่น อาคารสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีขาวและอาคารสีขาวและ หลังคาพอร์ซเลนตกแต่งด้วยสัญลักษณ์ทางศาสนา ประเทศมองโกเลีย 12.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน ณ ภัตตาคาร 14.00 น. ศึกษาดูงานอุทยานแห่งชาติ Gorkhi Terelj National Park (Горхи-Тэрэлж БЦГ) เป็น หนึ่งในอุทยานแห่งชาติ ซึ่งเป็นพื้นที่คุ้มครองแห่งชาติ โดยรัฐสภามีมติในปี ค.ศ. 1993 ตามด้วยมติ ของรัฐบาลในปี ค.ศ. 1994 เพื่อปกป้องภูมิทัศน์ทางธรรมชาติ ด้วยการควบคุมการท่องเที่ยวเชิง อนุรักษ์ ที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสม และมีบริเวณที่เป็นเขตคุ้มครองที่เรียกว่า เขต อนุรักษ์คานเคนตีอิ (Khan Khentii Strictly Protected Area) ประเทศมองโกเลีย 17.00 น. รับประทานอาหารค่ำ ณ ภัตตาคาร 18.00 น. เดินทางสู่ โรงแรมที่พัก โรงแรม โรงแรม Terelj Star Resort ระดับ 4 ดาวหรือเทียบเท่า
หน้า | 15 DAY 6 : 15 มิถุนายน 2566 07.00 น. รับประทานอาหารเช้า ณ ห้องอาหารของโรงแรม 09.00 น. คณะเดินทางศึกษาดูงานด้านการพัฒนาชุมชนให้เป็นแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ณ จัตุรัสซัคบาทาร์ และ อนุสาวรีย์สามข่าน ซุคบาตาร์สแควร์ (Sükhbaatar Square, Сүхбаатарын талбай) มีชื่อเรียกในระหว่างปี ค.ศ. 2013-2016 ในนามว่า จตุรัส เจงกีสสแควร์ (Chinggis Square, Чингисийн талбай) เพื่อเป็นเกียรติแก่เจงกีสข่าน (Genghis Khan) ผู้ก่อตั้งอาณาจักรมองโกล ในปี ค.ศ. 1206 จัตุรัสสาธารณะขนาดใหญ่แห่งนี้ ถือ เป็นอีกหนึ่งแลนด์มาร์คสำคัญ ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม และศูนย์กลางในการจัด กิจกรรม ทางวัฒนธรรมต่างๆ ในใจกลางของ เมืองอูลานบาตอร์(Ulaanbaatar) ซึ่งเป็นเป็นเมืองหลวงของ ประเทศมองโกเลีย ประเทศมองโกเลีย 12.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน ณ ภัตตาคาร 14.00 น. คณะเดินทางศึกษาดูงานด้านศิลปะวัฒนธรรม ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติมองโกเลีย ศึกษาบริบท และสภาพแวดล้อมของเมือง หลักคิดการพัฒนาเมืองและการจัดวางโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ประเทศมองโกเลีย คณะเดินทางศึกษาดูงานด้านประวัติศาสตร์และการส่งเสริมอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ณ วัดกานดาน ศูนย์รวมใจชาวพุทธ มองโกเลีย พูดถึงวัดเก่าแก่ และมีความสำคัญต่อชาว มองโกเลีย และนับเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธ “วัดกานดาน” นับเป็นวัดที่ยิ่งใหญ่และสำคัญ ต่อชาวมองโกเลียอย่างมาก ถูกสร้างขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1835 ปัจจุบันตั้งอยู่ในเมืองหลวง อูลานบาตอร์ โดยชื่อวัดมีความหมายว่าสถานที่ ที่มีความสุขอย่างสมบูรณ์ ประเทศมองโกเลีย 18.00 น. รับประทานอาหารค่ำ ณ ภัตตาคาร 19.00 น. เดินทางสู่ โรงแรมที่พัก โรงแรม Holiday Inn Hotel ระดับ 4 ดาวหรือเทียบเท่า DAY 7 : 16 มิถุนายน 2566 07.00 น. รับประทานอาหารเช้า ณ ห้องอาหารของโรงแรม 09.00 น. นำคณะเข้าศึกษาดูงาน ณ เทศบาลเมืองอูลานบาตอร์มองโกเลีย ศึกษาบริบทและสภาพแวดล้อม ของเมือง หลักคิดการพัฒนาเมืองและการจัดวางโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ประเทศมองโกเลีย 12.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน ณ ภัตตาคาร ประเทศมองโกเลีย 14.00 น. นำคณะศึกษาดูงานชมย่านใจกลางเมืองของเมืองอูลานบาตอร์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งได้มีการจัดผังเมืองไว้เป็นอย่างดี ท่านจะได้เยี่ยมชมย่าน การค้าสำคัญที่จะรวบรวมสินค้านานาชนิด ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ทั้งข้าวของเครื่องใช้ งานหัตกรรม ที่ มีการออกแบบให้ยังคงเป็นเอกลักษณ์ของมองโกเลีย นอกจากนี้ยังมีอาหาร ขนม แบบท้องถิ่นมีให้ ได้เลือกชิมกันอีกด้วย ประเทศมองโกเลีย
หน้า | 16 หมายเหตุ -กำหนดการ หัวข้อการศึกษา สถานที่ศึกษาดูงานอาจะมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมของสถานการณ์ DAY 7 : 16 มิถุนายน 2566 16.00 น. รับประทานอาหารค่ำ ณ ภัตตาคาร 17.00 น. เดินทางสู่สนามบินเจงกีสข่าน เมืองอูลานบาตอร์ประเทศมองโกเลีย ประเทศมองโกเลีย 20.15 น. คณะเดินทางจาก เมืองอูลานบาตอร์ไปประเทศเกาหลีใต้ด้วยเที่ยวบิน OM307 รอบเวลา 20.15- 00.25+ เดินทางสู่ โรงแรมที่พัก AIR SKY HOTEL หรือเทียบเท่า ประเทศมองโกเลีย DAY 8 : 17 มิถุนายน 2566 07.00 น. รับประทานอาหารเช้า ณ ห้องอาหารของโรงแรม 09.00 น. ศึกษาดูงานย่านเศรษฐกิจ อินชอนไชน่าทาวน์ (Incheon Chinatown, 인천 차이나운) เป็นชุมชนของชาวจีน ซึ่งถือกำเนิดจาก การเปิดท่าเรืออินชอน ในปี ค.ศ. 1883 เพื่อเป็นพื้นที่สำคัญในการขนส่ง และค้าขายสินค้าจากประเทศจีน ศึกษาดูงาน พิพิธภัณฑ์บะหมี่จาจังมยอน (Jajangmyeon Museum, 짜장면박물관 (공춘)) เป็นพิพิธภัณฑ์เปิดใหม่เมื่อปี 2002 ที่จัดแสดงเกี่ยวกับหนึ่งในอาหารประจำชาติของ เกาหลี จาจังมยอน(Jajangmyeon)ที่เป็นบะหมี่สีดำ มีการจัดแสดงตั้งแต่ ประวัติความเป็นมา, ความก้าวหน้าของเมนู และวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นพร้อมกับเมนูจาจังมอยนนี้ โดยนำเอาอาคารอิฐ สไตล์ลอฟท์มารีโนเวทภายในใหม่ให้เหมาะสมกับพิพิธภัณฑ์ 12.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน ณ ภัตตาคาร ศึกษาดูงานแหล่งสินค้าพื้นเมือง สินค้าของที่ระลึก ณ ร้าน Supermarket นำท่านเดินทางสู่สนามบินอินชอน เพื่อเดินทางกลับประเทศไทย 15.30 น. นำคณะทำการเช็คอิน โหลดสัมภาระ ที่เคาน์เตอร์สายการบิน Thai Airways 17.30 น. นำคณะเดินทางสู่สนามบินสุวรรณภูมิ โดยสารการบิน การบินไทย เที่ยวบินที่ TG653 มีบริการ อาหารและเครื่องดื่มบนเครื่อง (ใช้เวลาเดินทางประมาณ 6.05 ชม.) 21.20 น. คณะเดินทางถึงสนามบินสุวรรณภูมิโดยสวัสดิภาพ
หน้า | 17 รายชื่อผู้เข้ารับการอบรม หลักสูตร การบริหารจัดการผังเมืองและโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รุ่นที่ 4 สำหรับผู้บริหารและบุคลากรในสังกัดเทศบาลนครนนทบุรี อบรมระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม – 5 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรมไมด้า งามวงศ์วาน จังหวัดนนทบุรี ลำดับ ชื่อ - นามสกุล ตำแหน่ง อปท. สังกัด จังหวัด 1. นายสมนึก ธนเดชากุล นายกเทศมนตรี ทน. นครนนทบุรี นนทบุรี 2. นางสุรภีรุ้งโรจน์ รองนายกเทศมนตรี ทน.. นครนนทบุรี นนทบุรี 3. นางสาวพิมพรรณ ธนเดชากุล รองนายกเทศมนตรี ทน. นครนนทบุรี นนทบุรี 4. นายอภิวัฒน์เพชรเรือง รองนายกเทศมนตรี ทน.. นครนนทบุรี นนทบุรี 5. นายกฤช ไชยศร สมาชิกสภาเทศบาล ทน. นครนนทบุรี นนทบุรี 6. นายประวีแสงแก้ว สมาชิกสภาเทศบาล ทน.. นครนนทบุรี นนทบุรี 7. นายปฏิยุทธ อยู่ผ่อง สมาชิกสภาเทศบาล ทน. นครนนทบุรี นนทบุรี 8. นายศิวกร จีนเกษร สมาชิกสภาเทศบาล ทน. นครนนทบุรี นนทบุรี 9. นายวุฒิชัย มะสี สมาชิกสภาเทศบาล ทน. นครนนทบุรี นนทบุรี 10. นายวรุตม์ปันยารชุน สมาชิกสภาเทศบาล ทน. นครนนทบุรี นนทบุรี 11. นางสาวจินตนาพร คงเกิดสีห์รัฐ สมาชิกสภาเทศบาล ทน. นครนนทบุรี นนทบุรี 12. นายสุรชาติกันนิ่ม สมาชิกสภาเทศบาล ทน. นครนนทบุรี นนทบุรี 13. นายประสิทธิพงศ์ดีวาจิน สมาชิกสภาเทศบาล ทน. นครนนทบุรี นนทบุรี 14. นายมนตรีประเทืองสุข สมาชิกสภาเทศบาล ทน. นครนนทบุรี นนทบุรี 15. นางสาวปริญญา ปุณหะกิจ สมาชิกสภาเทศบาล ทน. นครนนทบุรี นนทบุรี 16. นายปริญญา วงศ์สิริฉัตรชัย สมาชิกสภาเทศบาล ทน. นครนนทบุรี นนทบุรี 17. นายสมบูรณ์เฝ้ากระโทก สมาชิกสภาเทศบาล ทน. นครนนทบุรี นนทบุรี 18. นาย ส.สุพรรณ พ่วงรอดพันธุ์ ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี ทน.. นครนนทบุรี นนทบุรี 19. นางปารวีย์หอยสังข์ ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี ทน. นครนนทบุรี นนทบุรี 20. นางกชกร สุขภาคี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี ทน. นครนนทบุรี นนทบุรี 21. นายสมพงษ์ เทียนเงิน ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี ทน. นครนนทบุรี นนทบุรี 22. นายมาชัย ไพศาลธนสมบัติ ปลัดเทศบาล ทน. นครนนทบุรี นนทบุรี 23. นางสุรีรัตน์กณาพันธุ์ รองปลัดเทศบาล ทน. นครนนทบุรี นนทบุรี 24. นายศราวุธ ธรรมแสง รองปลัดเทศบาล ทน. นครนนทบุรี นนทบุรี 25. นางฐานันทิพย์ทิมจิตต์ ผู้อำนวยการสำนักการคลัง ทน. นครนนทบุรี นนทบุรี 26. นายนนท์ธวัช ศรีอินทร์ ผู้อำนวยการกองวิชาการและแผนงาน ทน. นครนนทบุรี นนทบุรี
หน้า | 18 รายชื่อผู้เข้ารับการอบรม หลักสูตร การบริหารจัดการผังเมืองและโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รุ่นที่ 4 สำหรับผู้บริหารและบุคลากรในสังกัดเทศบาลนครนนทบุรี อบรมระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม – 5 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรมไมด้า งามวงศ์วาน จังหวัดนนทบุรี ลำดับ ชื่อ - นามสกุล ตำแหน่ง อปท. สังกัด จังหวัด 27 นายสมชาย ทับยาง ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา ทน. นครนนทบุรี นนทบุรี 28 จ.อ.อนุรักษ์โยธารักษ์ ผู้อำนวยการกองทะเบียนราษฎรและบัตร ประจำตัวประชาชน ทน. นครนนทบุรี นนทบุรี 29 นางพัชรี ถิรขจรวงศ์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมวัฒนธรรมการ ท่องเที่ยว และกีฬา ทน. นครนนทบุรี นนทบุรี 30 นางสาวพรรษ์สุดา ไก่แก้ว ผู้อำนวยการส่วนบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม ทน. นครนนทบุรี นนทบุรี 31 นายวัฒนชัย วิทยาประดิษฐ์ หัวหน้าฝ่ายขออนุญาตอาคาร ทน. นครนนทบุรี นนทบุรี 32 นายเกรียงศักดิ์วรรณสาร หัวหน้าฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อยและ ความมั่นคง ทน. นครนนทบุรี นนทบุรี 33 นายธนยศ ธนเดชากุล หัวหน้าฝ่ายพัฒนาบุคลากร ทน. นครนนทบุรี นนทบุรี 34 นางสาวฐาปณีสว่างผล หัวหน้างานฝึกอบรม ทน. นครนนทบุรี นนทบุรี 35 นายถาวร เตี๋ยวงษ์สุวรรณ์ นายช่างไฟฟ้าอาวุโส ทน. นครนนทบุรี นนทบุรี
หน้า | 19 พิธีเปิดการฝึกอบรม วันที่ 17 พฤษภาคม 2566 ลงทะเบียนและปฐมนิเทศ ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2566 ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรการบริหารจัดการผังเมืองและโครงสร้าง พื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รุ่นที่ 4 ลงทะเบียน ณ โรงแรมไมด้า งามวงศ์วาน จังหวัดนนทบุรี เวลา 09.00-12.00 น. และเวลา 13.00 น. นายขจร ศรีชวโนทัย อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นผู้ กล่าวเปิดการอบรมหลักสูตรการบริหารจัดการผังเมืองและโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รุ่นที่ 4 และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. โอปอล์ สุวรรณเมฆ หัวหน้าศูนย์บริการวิชาการด้านบริหารธุรกิจและการ จัดการ ได้กล่าวชี้แจงหลักเกณฑ์เนื้อหารายวิชาของหลักสูตรการอบรมการบริหารจัดการผังเมืองและโครงสร้าง พื้นฐานให้แก่ผู้เข้าอบรมทราบ ประมวลภาพ
หน้า | 20
หน้า | 21 สรุปผลการฝึกอบรมวันที่ 17 พฤษภาคม 2566 วันที่ 17 พฤษภาคม 2566 เวลา 13.00 – 16.00 น. ได้ดำเนินการบรรยายในหัวข้อ “ภาวะผู้นำกับ ทัศนคติการพัฒนาเมืองแห่งอนาคต” โดย อ.เกียรติศักดิ์ รักษาสัตย์ ประมวลภาพการฝึกอบรม
หน้า | 22 ประเมินผลลัพธ์การฝึกอบรม วันที่ 17 พฤษภาคม 2566 เกณฑ์ในการแปรผลค่าเฉลี่ย 1.00 - 1.50 ระดับน้อยที่สุด 1.50 - 2.50 ระดับน้อย 2.51 - 3.50 ระดับปานกลาง 3.51 - 4.50 ระดับมาก ตารางที่ 1 ความคิดเห็นและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบรรยาย ของ อ.เกียรติศักดิ์ รักษาสัตย์ รายละเอียด ระดับความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ของความ พึงพอใจ ระดับการ ประเมิน 5 4 3 2 1 1.ความสอดคล้องของเนื้อหาวิชากับ วัตถุประสงค์ของการจัดอบรม 20 14 0 1 0 4.51 90.29 มากที่สุด 2.ความเหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการ บรรยายหัวข้อนี้ 20 14 1 0 0 4.54 90.86 มากที่สุด 3.ความรอบรู้ของวิทยากร วิธีการ นำเสนอ และเอกสารประกอบการ บรรยาย 20 14 1 0 0 4.54 90.86 มากที่สุด 4.วิทยากรเสนอเนื้อหาเหมาะสมกับ เวลา 17 16 2 0 0 4.43 88.57 มาก 5.วิทยากรเปิดโอกาสให้ซักถามและ ตอบคำถามได้ชัดเจน 22 11 1 1 0 4.54 90.86 มากที่สุด 6.เนื้อหาของหัวข้อการอบรมเป็น ประโยชน์ต่อท่าน 16 19 0 0 0 4.46 89.14 มาก 7.ท่านสามารถนำสิ่งที่ได้รับจากการ อบรมในหัวข้อนี้ไปใช้ประโยชน์และ/ หรือ ประยุกต์ใช้ได้จริง 14 19 1 1 0 4.31 86.29 มาก 8.ความพึงพอใจในภาพรวมของ วิทยากร 19 15 1 0 0 4.51 90.29 มากที่สุด 9.ความพึงพอใจในภาพรวมของวิชา 17 16 1 1 0 4.40 88.00 มาก รวม 4.47 89.46 มาก
หน้า | 23 ตารางที่ 1 ความคิดเห็นและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบรรยาย ของ อ.เกียรติศักดิ์ รักษาสัตย์ โดยรวม อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 และร้อยละของความพึงพอใจ เท่ากับ 89.46 สรุปผลการฝึกอบรมวันที่ 17 พฤษภาคม 2566 วันที่ 17 พฤษภาคม 2566 เวลา 16.00 - 19.00 น. ได้ดำเนินการบรรยาย หัวข้อ “การทำแผนที่และ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับผู้นำและผู้บริหารเพื่อการจัดการผังเมืองและโครงสร้างพื้นฐาน” โดย ผศ.ดร.สมลักษณ์ บุญณรงค์ ประมวลภาพการฝึกอบรม
หน้า | 24 ประเมินผลลัพธ์การฝึกอบรม วันที่ 17 พฤษภาคม 2566 เกณฑ์ในการแปรผลค่าเฉลี่ย 1.00 - 1.50 ระดับน้อยที่สุด 1.50 - 2.50 ระดับน้อย 2.51 - 3.50 ระดับปานกลาง 3.51 - 4.50 ระดับมาก 4.51 - 5.00 ระดับมากที่สุด ตารางที่ 2 ความคิดเห็นและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบรรยาย ของ ผศ.ดร.สมลักษณ์ บุญณรงค์ รายละเอียด ระดับความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ของความ พึงพอใจ ระดับการ ประเมิน 5 4 3 2 1 1.ความสอดคล้องของเนื้อหาวิชากับ วัตถุประสงค์ของการจัดอบรม 20 14 0 1 0 4.51 90.29 มากที่สุด 2.ความเหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการ บรรยายหัวข้อนี้ 20 14 1 0 0 4.54 90.86 มากที่สุด 3.ความรอบรู้ของวิทยากร วิธีการ นำเสนอ และเอกสารประกอบการ บรรยาย 20 14 1 0 0 4.54 90.86 มากที่สุด 4.วิทยากรเสนอเนื้อหาเหมาะสมกับ เวลา 17 16 2 0 0 4.43 88.57 มาก 5.วิทยากรเปิดโอกาสให้ซักถามและ ตอบคำถามได้ชัดเจน 22 11 1 1 0 4.54 90.86 มากที่สุด 6.เนื้อหาของหัวข้อการอบรมเป็น ประโยชน์ต่อท่าน 16 19 0 0 0 4.46 89.14 มาก 7.ท่านสามารถนำสิ่งที่ได้รับจากการ อบรมในหัวข้อนี้ไปใช้ประโยชน์และ/ หรือ ประยุกต์ใช้ได้จริง 14 19 1 1 0 4.31 86.29 มาก 8.ความพึงพอใจในภาพรวมของ วิทยากร 19 15 1 0 0 4.51 90.29 มากที่สุด 9.ความพึงพอใจในภาพรวมของวิชา 17 16 1 1 0 4.40 88.00 มาก รวม 4.47 89.46 มาก
หน้า | 25 ตารางที่ 2 ความคิดเห็นและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบรรยาย ของ ผศ.ดร.สมลักษณ์ บุญณรงค์โดยรวม อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 และร้อยละของความพึงพอใจ เท่ากับ 89.46 สรุปผลการฝึกอบรมวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 วันที่ 18 พฤษภาคม 2566 เวลา 09.00 -12.00 น. ได้ดำเนินการบรรยาย หัวข้อ “วิสัยทัศน์การ พัฒนานครนนทบุรีและการวางผังเมืองนนทบุรีแห่งอนาคต เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง” โดย รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา ประมวลภาพการฝึกอบรม
หน้า | 26 ประเมินผลลัพธ์การฝึกอบรม วันที่ 18 พฤษภาคม 2566 เกณฑ์ในการแปรผลค่าเฉลี่ย 1.00 - 1.50 ระดับน้อยที่สุด 1.50 - 2.50 ระดับน้อย 2.51 - 3.50 ระดับปานกลาง 3.51 - 4.50 ระดับมาก 4.51 - 5.00 ระดับมากที่สุด ตารางที่ 3 ความคิดเห็นและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบรรยาย ของ รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา รายละเอียด ระดับความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ของความ พึงพอใจ ระดับการ ประเมิน 5 4 3 2 1 1.ความสอดคล้องของเนื้อหาวิชากับ วัตถุประสงค์ของการจัดอบรม 21 13 1 0 0 4.57 91.43 มากที่สุด 2.ความเหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการ บรรยายหัวข้อนี้ 15 19 1 0 0 4.40 88.00 มาก 3.ความรอบรู้ของวิทยากร วิธีการ นำเสนอ และเอกสารประกอบการ บรรยาย 21 14 0 0 0 4.60 92.00 มากที่สุด 4.วิทยากรเสนอเนื้อหาเหมาะสมกับ เวลา 18 15 2 0 0 4.46 89.14 มาก 5.วิทยากรเปิดโอกาสให้ซักถามและ ตอบคำถามได้ชัดเจน 19 15 1 0 0 4.51 90.29 มากที่สุด 6.เนื้อหาของหัวข้อการอบรมเป็น ประโยชน์ต่อท่าน 18 17 0 0 0 4.51 90.29 มากที่สุด 7.ท่านสามารถนำสิ่งที่ได้รับจากการ อบรมในหัวข้อนี้ไปใช้ประโยชน์และ/ หรือ ประยุกต์ใช้ได้จริง 15 19 1 0 0 4.40 88.00 มาก 8.ความพึงพอใจในภาพรวมของ วิทยากร 16 19 0 0 0 4.46 89.14 มาก 9.ความพึงพอใจในภาพรวมของวิชา 16 16 3 0 0 4.37 87.43 มาก รวม 4.48 89.52 มาก
หน้า | 27 ตารางที่ 3 ความคิดเห็นและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบรรยาย ของ รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา โดยรวมอยู่ใน ระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 และร้อยละของความพึงพอใจ เท่ากับ 89.52 สรุปผลการฝึกอบรมวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 วันที่ 18 พฤษภาคม 2566 เวลา 13.00 -16.00 น. ได้ดำเนินการบรรยาย หัวข้อ “การจัดการผังเมือง และโครงสร้างพื้นฐานและแนวคิดการพัฒนาเมืองต้นแบบ เกณฑ์ และมาตรฐานผังเมือง รวมถึงกรณีศึกษา ต่างประเทศ” โดย รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา ประมวลภาพการฝึกอบรม
หน้า | 28 ประเมินผลลัพธ์การฝึกอบรม วันที่ 18 พฤษภาคม 2566 เกณฑ์ในการแปรผลค่าเฉลี่ย 1.00 - 1.50 ระดับน้อยที่สุด 1.50 - 2.50 ระดับน้อย 2.51 - 3.50 ระดับปานกลาง 3.51 - 4.50 ระดับมาก 4.51 - 5.00 ระดับมากที่สุด ตารางที่4 ความคิดเห็นและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบรรยาย ของ รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา รายละเอียด ระดับความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ของความ พึงพอใจ ระดับการ ประเมิน 5 4 3 2 1 1.ความสอดคล้องของเนื้อหาวิชากับ วัตถุประสงค์ของการจัดอบรม 23 12 0 0 0 4.66 93.14 มากที่สุด 2.ความเหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการ บรรยายหัวข้อนี้ 20 14 1 0 0 4.54 90.86 มากที่สุด 3.ความรอบรู้ของวิทยากร วิธีการ นำเสนอ และเอกสารประกอบการ บรรยาย 21 13 1 0 0 4.57 91.43 มากที่สุด 4.วิทยากรเสนอเนื้อหาเหมาะสมกับ เวลา 22 12 1 0 0 4.60 92.00 มากที่สุด 5.วิทยากรเปิดโอกาสให้ซักถามและ ตอบคำถามได้ชัดเจน 21 12 2 0 0 4.54 90.86 มากที่สุด 6.เนื้อหาของหัวข้อการอบรมเป็น ประโยชน์ต่อท่าน 20 15 0 0 0 4.57 91.43 มากที่สุด 7.ท่านสามารถนำสิ่งที่ได้รับจากการ อบรมในหัวข้อนี้ไปใช้ประโยชน์และ/ หรือ ประยุกต์ใช้ได้จริง 19 16 0 0 0 4.54 90.86 มากที่สุด 8.ความพึงพอใจในภาพรวมของ วิทยากร 21 14 0 0 0 4.60 92.00 มากที่สุด 9.ความพึงพอใจในภาพรวมของวิชา 21 14 0 0 0 4.60 92.00 มากที่สุด รวม 4.58 91.62 มากที่สุด
หน้า | 29 ตารางที่ 4 ความคิดเห็นและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบรรยาย ของ รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา โดยรวมอยู่ใน ระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58 และร้อยละของความพึงพอใจ เท่ากับ 91.62 สรุปผลการฝึกอบรมวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 วันที่ 18 พฤษภาคม 2566 เวลา 16.00 -19.00 น. ได้ดำเนินการบรรยาย หัวข้อ “แนวทางการ ส่งเสริมเมือง Smart City ภายใต้บริบทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” โดย ดร.ภาสกร ประถมบุตร และ ดร.นน อัครประเสริฐกุล ประมวลภาพการฝึกอบรม
หน้า | 30 ประเมินผลลัพธ์การฝึกอบรม วันที่ 18 พฤษภาคม 2566 เกณฑ์ในการแปรผลค่าเฉลี่ย 1.00 - 1.50 ระดับน้อยที่สุด 1.50 - 2.50 ระดับน้อย 2.51 - 3.50 ระดับปานกลาง 3.51 - 4.50 ระดับมาก 4.51 - 5.00 ระดับมากที่สุด ตารางที่ 5 ความคิดเห็นและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบรรยาย ของ ดร.ภาสกร ประถมบุตร และ ดร.นน อัครประเสริฐกุล รายละเอียด ระดับความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ของความ พึงพอใจ ระดับการ ประเมิน 5 4 3 2 1 1.ความสอดคล้องของเนื้อหาวิชากับ วัตถุประสงค์ของการจัดอบรม 25 9 0 1 0 4.66 93.14 มากที่สุด 2.ความเหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการ บรรยายหัวข้อนี้ 21 13 1 0 0 4.57 91.43 มากที่สุด 3.ความรอบรู้ของวิทยากร วิธีการ นำเสนอ และเอกสารประกอบการ บรรยาย 23 11 1 0 0 4.63 92.57 มากที่สุด 4.วิทยากรเสนอเนื้อหาเหมาะสมกับ เวลา 23 11 0 1 0 4.60 92.00 มากที่สุด 5.วิทยากรเปิดโอกาสให้ซักถามและ ตอบคำถามได้ชัดเจน 27 7 1 0 0 4.74 94.86 มากที่สุด 6.เนื้อหาของหัวข้อการอบรมเป็น ประโยชน์ต่อท่าน 28 6 1 0 0 4.77 95.43 มากที่สุด 7.ท่านสามารถนำสิ่งที่ได้รับจากการ อบรมในหัวข้อนี้ไปใช้ประโยชน์และ/ หรือ ประยุกต์ใช้ได้จริง 26 9 0 0 0 4.74 94.86 มากที่สุด 8.ความพึงพอใจในภาพรวมของ วิทยากร 27 7 1 0 0 4.74 94.86 มากที่สุด 9.ความพึงพอใจในภาพรวมของวิชา 25 7 1 0 0 4.73 94.55 มากที่สุด รวม 4.69 93.74 มากที่สุด
หน้า | 31 ตารางที่ 5 ความคิดเห็นและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบรรยาย ของ ดร.ภาสกร ประถมบุตร และ ดร.นน อัครประเสริฐกุล โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.69 และร้อยละของความพึงพอใจ เท่ากับ 93.74 สรุปผลการฝึกอบรมวันที่ 19 พฤษภาคม 2566 วันที่ 19 พฤษภาคม 2566 เวลา 09.00 -12.00 น. ได้ดำเนินการบรรยาย หัวข้อ “การพัฒนาระบบ คมนาคม การขนส่งมวลชน และระบบ Logistics เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการเติบโตทาง เศรษฐกิจ” โดย รศ.ดร.ประพัทธ์พงษ์ อุปลา ประมวลภาพการฝึกอบรม
หน้า | 32 ประเมินผลลัพธ์การฝึกอบรม วันที่ 19 พฤษภาคม 2566 เกณฑ์ในการแปรผลค่าเฉลี่ย 1.00 - 1.50 ระดับน้อยที่สุด 1.50 - 2.50 ระดับน้อย 2.51 - 3.50 ระดับปานกลาง 3.51 - 4.50 ระดับมาก 4.51 - 5.00 ระดับมากที่สุด ตารางที่ 6 ความคิดเห็นและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบรรยาย ของ รศ.ดร.ประพัทธ์พงษ์ อุปลา รายละเอียด ระดับความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ของความ พึงพอใจ ระดับการ ประเมิน 5 4 3 2 1 1.ความสอดคล้องของเนื้อหาวิชากับ วัตถุประสงค์ของการจัดอบรม 22 11 2 0 0 4.57 91.43 มากที่สุด 2.ความเหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการ บรรยายหัวข้อนี้ 18 16 1 0 0 4.49 89.71 มาก 3.ความรอบรู้ของวิทยากร วิธีการ นำเสนอ และเอกสารประกอบการ บรรยาย 22 12 1 0 0 4.60 92.00 มากที่สุด 4.วิทยากรเสนอเนื้อหาเหมาะสมกับ เวลา 20 14 1 0 0 4.54 90.86 มากที่สุด 5.วิทยากรเปิดโอกาสให้ซักถามและ ตอบคำถามได้ชัดเจน 24 9 2 0 0 4.63 92.57 มากที่สุด 6.เนื้อหาของหัวข้อการอบรมเป็น ประโยชน์ต่อท่าน 23 12 0 0 0 4.66 93.14 มากที่สุด 7.ท่านสามารถนำสิ่งที่ได้รับจากการ อบรมในหัวข้อนี้ไปใช้ประโยชน์และ/ หรือ ประยุกต์ใช้ได้จริง 21 13 1 0 0 4.57 91.43 มากที่สุด 8.ความพึงพอใจในภาพรวมของ วิทยากร 23 12 0 0 0 4.66 93.14 มากที่สุด 9.ความพึงพอใจในภาพรวมของวิชา 25 9 1 0 0 4.69 93.71 มากที่สุด รวม 4.60 92.00 มากที่สุด
หน้า | 33 ตารางที่ 6 ความคิดเห็นและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบรรยาย ของ รศ.ดร.ประพัทธ์พงษ์ อุปลา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 และร้อยละของความพึงพอใจ เท่ากับ 92.00 สรุปผลการฝึกอบรมวันที่ 19 พฤษภาคม 2566 วันที่ 19 พฤษภาคม 2566 เวลา 13.00 -16.00 น. ได้ดำเนินการบรรยาย หัวข้อ “การออกแบบและ การสร้างนวัตกรรมโครงสร้างพื้นฐาน ถนน สะพาน งานก่อสร้าง และ Project ขนาดใหญ่” โดย รศ.ดร. ประพัทธ์พงษ์ อุปลา ประมวลภาพการฝึกอบรม
หน้า | 34 ประเมินผลลัพธ์การฝึกอบรม วันที่ 19 พฤษภาคม 2566 เกณฑ์ในการแปรผลค่าเฉลี่ย 1.00 - 1.50 ระดับน้อยที่สุด 1.50 - 2.50 ระดับน้อย 2.51 - 3.50 ระดับปานกลาง 3.51 - 4.50 ระดับมาก 4.51 - 5.00 ระดับมากที่สุด ตารางที่ 7 ความคิดเห็นและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบรรยาย ของ รศ.ดร.ประพัทธ์พงษ์ อุปลา รายละเอียด ระดับความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ของความ พึงพอใจ ระดับการ ประเมิน 5 4 3 2 1 1.ความสอดคล้องของเนื้อหาวิชากับ วัตถุประสงค์ของการจัดอบรม 20 15 0 0 0 4.57 91.43 มากที่สุด 2.ความเหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการ บรรยายหัวข้อนี้ 19 16 0 0 0 4.54 90.86 มากที่สุด 3.ความรอบรู้ของวิทยากร วิธีการ นำเสนอ และเอกสารประกอบการ บรรยาย 25 10 0 0 0 4.71 94.29 มากที่สุด 4.วิทยากรเสนอเนื้อหาเหมาะสมกับ เวลา 20 15 0 0 0 4.57 91.43 มากที่สุด 5.วิทยากรเปิดโอกาสให้ซักถามและ ตอบคำถามได้ชัดเจน 22 11 2 0 0 4.57 91.43 มากที่สุด 6.เนื้อหาของหัวข้อการอบรมเป็น ประโยชน์ต่อท่าน 24 10 1 0 0 4.66 93.14 มากที่สุด 7.ท่านสามารถนำสิ่งที่ได้รับจากการ อบรมในหัวข้อนี้ไปใช้ประโยชน์และ/ หรือ ประยุกต์ใช้ได้จริง 20 14 1 0 0 4.54 90.86 มากที่สุด 8.ความพึงพอใจในภาพรวมของ วิทยากร 25 10 0 0 0 4.71 94.29 มากที่สุด 9.ความพึงพอใจในภาพรวมของวิชา 24 11 0 0 0 4.69 93.71 มากที่สุด รวม 4.62 92.38 มากที่สุด
หน้า | 35 ตารางที่ 7 ความคิดเห็นและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบรรยาย ของ รศ.ดร.ประพัทธ์พงษ์อุปลา โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.62 และร้อยละของความพึงพอใจ เท่ากับ 92.38 สรุปผลการฝึกอบรมวันที่ 19 พฤษภาคม 2566 วันที่ 19 พฤษภาคม 2566 เวลา 16.00 -19.00 น. ได้ดำเนินการบรรยาย หัวข้อ “จิตวิทยาการสื่อสาร และการประชาสัมพันธ์เชิงรุก” โดย รศ.ชัยยุทธ ถาวรานุรักษ์ ประมวลภาพการฝึกอบรม
หน้า | 36 ประเมินผลลัพธ์การฝึกอบรม วันที่ 19 พฤษภาคม 2566 เกณฑ์ในการแปรผลค่าเฉลี่ย 1.00 - 1.50 ระดับน้อยที่สุด 1.50 - 2.50 ระดับน้อย 2.51 - 3.50 ระดับปานกลาง 3.51 - 4.50 ระดับมาก 4.51 - 5.00 ระดับมากที่สุด ตารางที่ 8 ความคิดเห็นและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบรรยาย ของ รศ.ชัยยุทธ ถาวรานุรักษ์ รายละเอียด ระดับความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ของความ พึงพอใจ ระดับการ ประเมิน 5 4 3 2 1 1.ความสอดคล้องของเนื้อหาวิชากับ วัตถุประสงค์ของการจัดอบรม 27 8 0 0 0 4.77 95.43 มากที่สุด 2.ความเหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการ บรรยายหัวข้อนี้ 21 12 2 0 0 4.54 90.86 มากที่สุด 3.ความรอบรู้ของวิทยากร วิธีการ นำเสนอ และเอกสารประกอบการ บรรยาย 26 7 2 0 0 4.69 93.71 มากที่สุด 4.วิทยากรเสนอเนื้อหาเหมาะสมกับ เวลา 24 9 2 0 0 4.63 92.57 มากที่สุด 5.วิทยากรเปิดโอกาสให้ซักถามและ ตอบคำถามได้ชัดเจน 29 6 0 0 0 4.83 96.57 มากที่สุด 6.เนื้อหาของหัวข้อการอบรมเป็น ประโยชน์ต่อท่าน 27 8 0 0 0 4.77 95.43 มากที่สุด 7.ท่านสามารถนำสิ่งที่ได้รับจากการ อบรมในหัวข้อนี้ไปใช้ประโยชน์และ/ หรือ ประยุกต์ใช้ได้จริง 28 5 2 0 0 4.74 94.86 มากที่สุด 8.ความพึงพอใจในภาพรวมของ วิทยากร 30 4 1 0 0 4.83 96.57 มากที่สุด 9.ความพึงพอใจในภาพรวมของวิชา 27 8 0 0 0 4.77 95.43 มากที่สุด รวม 4.73 94.60 มากที่สุด
หน้า | 37 ตารางที่ 8 ความคิดเห็นและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบรรยาย ของ รศ.ชัยยุทธ ถาวรานุรักษ์ โดยรวมอยู่ ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.73 และร้อยละของความพึงพอใจ เท่ากับ 94.60 สรุปผลการฝึกอบรมวันที่ 20 พฤษภาคม 2566 วันที่ 20 พฤษภาคม 2566 เวลา 09.00 -12.00 น. ได้ดำเนินการบรรยาย หัวข้อ “การมีส่วนร่วมของ ชุมชนในการพัฒนาย่านและเมือง และความท้าทายของการจัดการศึกษาเพื่ออนาคตของท้องถิ่น ” โดย ผศ.ดร.พรสรร วิเชียรประดิษฐ์ ประมวลภาพการฝึกอบรม
หน้า | 38 ประเมินผลลัพธ์การฝึกอบรม วันที่ 20 พฤษภาคม 2566 เกณฑ์ในการแปรผลค่าเฉลี่ย 1.00 - 1.50 ระดับน้อยที่สุด 1.50 - 2.50 ระดับน้อย 2.51 - 3.50 ระดับปานกลาง 3.51 - 4.50 ระดับมาก 4.51 - 5.00 ระดับมากที่สุด ตารางที่ 9 ความคิดเห็นและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบรรยาย ของ ผศ.ดร.พรรสรร วิเชียรประดิษฐ์ รายละเอียด ระดับความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ของความ พึงพอใจ ระดับการ ประเมิน 5 4 3 2 1 1.ความสอดคล้องของเนื้อหาวิชากับ วัตถุประสงค์ของการจัดอบรม 27 8 0 0 0 4.77 95.43 มากที่สุด 2.ความเหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการ บรรยายหัวข้อนี้ 21 12 2 0 0 4.54 90.86 มากที่สุด 3.ความรอบรู้ของวิทยากร วิธีการ นำเสนอ และเอกสารประกอบการ บรรยาย 24 10 1 0 0 4.66 93.14 มากที่สุด 4.วิทยากรเสนอเนื้อหาเหมาะสมกับ เวลา 27 7 1 0 0 4.74 94.86 มากที่สุด 5.วิทยากรเปิดโอกาสให้ซักถามและ ตอบคำถามได้ชัดเจน 28 7 0 0 0 4.80 96.00 มากที่สุด 6.เนื้อหาของหัวข้อการอบรมเป็น ประโยชน์ต่อท่าน 26 9 0 0 0 4.74 94.86 มากที่สุด 7.ท่านสามารถนำสิ่งที่ได้รับจากการ อบรมในหัวข้อนี้ไปใช้ประโยชน์และ/ หรือ ประยุกต์ใช้ได้จริง 29 5 1 0 0 4.80 96.00 มากที่สุด 8.ความพึงพอใจในภาพรวมของ วิทยากร 28 7 0 0 0 4.80 96.00 มากที่สุด 9.ความพึงพอใจในภาพรวมของวิชา 30 4 1 0 0 4.83 96.57 มากที่สุด รวม 4.74 94.86 มากที่สุด
หน้า | 39 ตารางที่ 9 ความคิดเห็นและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบรรยาย ของ ผศ.ดร.พรสรร วิเชียรประดิษฐ์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.74 และร้อยละของความพึงพอใจ เท่ากับ 94.86 สรุปผลการฝึกอบรมวันที่ 20 พฤษภาคม 2566 วันที่ 20 พฤษภาคม 2566 เวลา 13.00 -16.00 น. ได้ดำเนินการบรรยาย หัวข้อ “การจัดการ สิ่งแวดล้อมระดับเมืองที่ยั่งยืน และการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการระดับเมือง” โดย รศ.ดร.รณชัย ติยะรัตนาชัย ประมวลภาพการฝึกอบรม
หน้า | 40 ประเมินผลลัพธ์การฝึกอบรม วันที่ 20 พฤษภาคม 2566 เกณฑ์ในการแปรผลค่าเฉลี่ย 1.00 - 1.50 ระดับน้อยที่สุด 1.50 - 2.50 ระดับน้อย 2.51 - 3.50 ระดับปานกลาง 3.51 - 4.50 ระดับมาก 4.51 - 5.00 ระดับมากที่สุด ตารางที่ 10 ความคิดเห็นและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบรรยาย ของ รศ.ดร.รณชัย ติยะรัตนาชัย รายละเอียด ระดับความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ของความ พึงพอใจ ระดับการ ประเมิน 5 4 3 2 1 1.ความสอดคล้องของเนื้อหาวิชากับ วัตถุประสงค์ของการจัดอบรม 23 12 0 0 0 4.66 93.14 มากที่สุด 2.ความเหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการ บรรยายหัวข้อนี้ 17 16 2 0 0 4.43 88.57 มาก 3.ความรอบรู้ของวิทยากร วิธีการ นำเสนอ และเอกสารประกอบการ บรรยาย 28 6 1 0 0 4.77 95.43 มากที่สุด 4.วิทยากรเสนอเนื้อหาเหมาะสมกับ เวลา 13 15 7 0 0 4.17 83.43 มาก 5.วิทยากรเปิดโอกาสให้ซักถามและ ตอบคำถามได้ชัดเจน 16 17 2 0 0 4.40 88.00 มาก 6.เนื้อหาของหัวข้อการอบรมเป็น ประโยชน์ต่อท่าน 14 20 1 0 0 4.37 87.43 มาก 7.ท่านสามารถนำสิ่งที่ได้รับจากการ อบรมในหัวข้อนี้ไปใช้ประโยชน์และ/ หรือ ประยุกต์ใช้ได้จริง 15 20 0 0 0 4.43 88.57 มาก 8.ความพึงพอใจในภาพรวมของ วิทยากร 18 17 0 0 0 4.51 90.29 มากที่สุด 9.ความพึงพอใจในภาพรวมของวิชา 19 15 1 0 0 4.51 90.29 มากที่สุด รวม 4.47 89.46 มาก
หน้า | 41 ตารางที่ 10 ความคิดเห็นและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบรรยาย ของ รศ.ดร.รณชัย ติยะรัตนาชัย โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 และร้อยละของความพึงพอใจ เท่ากับ 89.46 สรุปผลการฝึกอบรมวันที่ 21 พฤษภาคม 2566 วันที่ 21 พฤษภาคม 2566 เวลา 09.00 -12.00 น. ได้ดำเนินการบรรยาย หัวข้อ “การวิเคราะห์และ การจัดทำยุทธศาสตร์/นโยบายเมือง” โดย อ.พัณณ์ชิตา หิรัณย์ชนาสิน ประมวลภาพการฝึกอบรม
หน้า | 42 ประเมินผลลัพธ์การฝึกอบรม วันที่ 21 พฤษภาคม 2566 เกณฑ์ในการแปรผลค่าเฉลี่ย 1.00 - 1.50 ระดับน้อยที่สุด 1.50 - 2.50 ระดับน้อย 2.51 - 3.50 ระดับปานกลาง 3.51 - 4.50 ระดับมาก 4.51 - 5.00 ระดับมากที่สุด ตารางที่ 11 ความคิดเห็นและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบรรยาย ของ อ.พัณณ์ชิตา หิรัณย์ชนาสิน รายละเอียด ระดับความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ของความ พึงพอใจ ระดับการ ประเมิน 5 4 3 2 1 1.ความสอดคล้องของเนื้อหาวิชากับ วัตถุประสงค์ของการจัดอบรม 23 12 0 0 0 4.66 93.14 มากที่สุด 2.ความเหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการ บรรยายหัวข้อนี้ 14 21 0 0 0 4.40 88.00 มาก 3.ความรอบรู้ของวิทยากร วิธีการ นำเสนอ และเอกสารประกอบการ บรรยาย 23 12 0 0 0 4.66 93.14 มากที่สุด 4.วิทยากรเสนอเนื้อหาเหมาะสมกับ เวลา 20 15 0 0 0 4.57 91.43 มากที่สุด 5.วิทยากรเปิดโอกาสให้ซักถามและ ตอบคำถามได้ชัดเจน 23 12 0 0 0 4.66 93.14 มากที่สุด 6.เนื้อหาของหัวข้อการอบรมเป็น ประโยชน์ต่อท่าน 20 15 0 0 0 4.57 91.43 มากที่สุด 7.ท่านสามารถนำสิ่งที่ได้รับจากการ อบรมในหัวข้อนี้ไปใช้ประโยชน์และ/ หรือ ประยุกต์ใช้ได้จริง 25 10 0 0 0 4.71 94.29 มากที่สุด 8.ความพึงพอใจในภาพรวมของ วิทยากร 21 14 0 0 0 4.60 92.00 มากที่สุด 9.ความพึงพอใจในภาพรวมของวิชา 20 15 0 0 0 4.57 91.43 มากที่สุด รวม 4.60 92.00 มากที่สุด
หน้า | 43 ตารางที่ 11 ความคิดเห็นและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบรรยาย ของ อ.พัณณ์ชิตา หิรัณย์ชนาสิน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 และร้อยละของความพึงพอใจ เท่ากับ 92.00 สรุปผลการฝึกอบรมวันที่ 21 พฤษภาคม 2566 วันที่ 21 พฤษภาคม 2566 เวลา 13.00 -19.00 น. ได้ดำเนินการบรรยาย หัวข้อ “สัมมนาเชิง ปฏิบัติการเพื่อการวิเคราะห์และการจัดทำนโยบายการพัฒนานครนนทบุรีแห่งอนาคต” โดย อ.พัณณ์ชิตา หิรัณย์ชนาสิน, ผศ.ดร.ปนายุ ไชยรัตนานนท์ และ อ.มนต์ทวี จิระวัฒน์ทวี ประมวลภาพการฝึกอบรม
หน้า | 44 ประเมินผลลัพธ์การฝึกอบรม วันที่ 21 พฤษภาคม 2566 เกณฑ์ในการแปรผลค่าเฉลี่ย 1.00 - 1.50 ระดับน้อยที่สุด 1.50 - 2.50 ระดับน้อย 2.51 - 3.50 ระดับปานกลาง 3.51 - 4.50 ระดับมาก 4.51 - 5.00 ระดับมากที่สุด ตารางที่ 12 ความคิดเห็นและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบรรยาย ของ อ.พัณณ์ชิตา หิรัณย์ชนาสิน ผศ.ดร.ปนายุ ไชยรัตนานนท์ และ อ.มนต์ทวี จิระวัฒน์ทวี รายละเอียด ระดับความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ของความ พึงพอใจ ระดับการ ประเมิน 5 4 3 2 1 1.ความสอดคล้องของเนื้อหาวิชากับ วัตถุประสงค์ของการจัดอบรม 28 7 0 0 0 4.80 96.00 มากที่สุด 2.ความเหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการ บรรยายหัวข้อนี้ 27 8 0 0 0 4.77 95.43 มากที่สุด 3.ความรอบรู้ของวิทยากร วิธีการ นำเสนอ และเอกสารประกอบการ บรรยาย 28 7 0 0 0 4.80 96.00 มากที่สุด 4.วิทยากรเสนอเนื้อหาเหมาะสมกับ เวลา 28 7 0 0 0 4.80 96.00 มากที่สุด 5.วิทยากรเปิดโอกาสให้ซักถามและ ตอบคำถามได้ชัดเจน 29 6 0 0 0 4.83 96.57 มากที่สุด 6.เนื้อหาของหัวข้อการอบรมเป็น ประโยชน์ต่อท่าน 28 7 0 0 0 4.80 96.00 มากที่สุด 7.ท่านสามารถนำสิ่งที่ได้รับจากการ อบรมในหัวข้อนี้ไปใช้ประโยชน์และ/ หรือ ประยุกต์ใช้ได้จริง 26 8 1 0 0 4.71 94.29 มากที่สุด 8.ความพึงพอใจในภาพรวมของ วิทยากร 28 7 0 0 0 4.80 96.00 มากที่สุด 9.ความพึงพอใจในภาพรวมของวิชา 27 8 0 0 0 4.77 95.43 มากที่สุด รวม 4.79 95.75 มากที่สุด
หน้า | 45 ตารางที่ 12 ความคิดเห็นและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบรรยาย ของ อ.พัณณ์ชิตา หิรัณย์ชนาสิน ผศ.ดร.ปนายุ ไชยรัตนานนท์ และ อ.มนต์ทวี จิระวัฒน์ทวี โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.79 และร้อยละของความพึงพอใจ เท่ากับ 95.75 สรุปผลการฝึกอบรมวันที่ 25 พฤษภาคม 2566 (ระบบออนไลน์) วันที่ 25 พฤษภาคม 2566 เวลา 09.00 -12.00 น. ได้ดำเนินการบรรยาย หัวข้อ “การออกแบบเมือง สำหรับผู้บริหาร” โดย ผศ.คมกริช ธนะเพทย์ ประมวลภาพการฝึกอบรม