ถอดบทเรียนปฏิบตั ิการชมุ ชนการเรียนร้ทู างวชิ าชพี (PLC)1
เรอื่ งการนำเป้าหมายการพัฒนาท่ียง่ั ยืน (SDGs) เข้าสู่ห้องเรียน
ดร.กมลรตั น์ ฉิมพาลี ชนกานต์ เหลาแตว
รตั นาภรณ์ ศริ พิ งษ์ มนญั ชยา แกกลู
โรงเรียนถนนหกั พทิ ยาคม
สำนกั งานเขตพนื้ ทก่ี ารศกึ ษามัธยมศึกษาเขต 32
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
2
คำนำ
เราจะไมม่ ีทางปรบั เปลี่ยนการสอนได้ ถา้ กระบวนการคดิ ของเรายงั เท่าเดิม
การไดเ้ รียนร้แู ละลองทำสิ่งใหมๆ่ จะเป็นอกี หน่งึ วิธีการทีช่ ่วยใหก้ ระบวนการคิด
เกดิ การเปล่ียนแปลง ในแต่ละภาคเรียนเราจงึ มีโจทยท์ ่ที า้ ทายกับตัวเองวา่ จะสรา้ งสรรค์หรอื
สรา้ งกิจกรรมใดๆ ใหท้ ั้งเราและเด็กอยากไปโรงเรยี นทกุ วนั
ถ้ามเี ปา้ หมาย พลังมากมายจะหลั่งไหลมา จนทำให้เหน็ เป้าหมายเปน็ รปู ร่าง
และเปา้ หมายทีช่ ัดเจนนั้นสำคญั สำหรบั การออกเดินทาง ในแตล่ ะวันครู จึงตอ้ งตระหนกั รู้
ในหนา้ ที่ของตน ร้วู า่ จะทำอะไร เพ่ืออะไรและจะทำอย่างไร
หากการศึกษาคือการพัฒนาใหน้ ักเรียนการเปล่ียนแปลงพฤติกรรมใหม้ ีความ
รบั ผิดชอบตอ่ ตนเอง ชุมชน สงั คม และโลก การจัดการเรียนรู้ตามเปา้ หมายการพฒั นาท่ียั่งยนื
เปน็ วธิ ีการหนงึ่ ทจ่ี ะชว่ ยให้บรรลเุ ป้าหมายของการศึกษาขอ้ นี้ได้
เรือ่ งราวในเล่มน้ี เปน็ การบอกเล่าวิธีการนำเป้าหมายการพฒั นาที่ยั่งยนื เขา้ สู่
โรงเรยี น หอ้ งเรียน และเราคาดหวงั ไปไกลถงึ ข้ันนำเข้าไปส่หู วั ใจของครูและนกั เรยี น แม้จะไม่
แน่ใจว่าการเดนิ ทางในครง้ั น้ีจะใชเ้ วลานานเท่าไร แตส่ งิ่ หนึ่งทแ่ี นใ่ จคือทำใหเ้ ราอยากไป
โรงเรียนทกุ วัน
สำหรบั โลกใบนี้ ไมม่ ีการกระทำใดทีไ่ รซ้ ึง่ ผลกระทบทีต่ ามมา หากเราสรา้ ง
การเปล่ียนแปลงบางอยา่ งแมเ้ พียงเล็กน้อย กอ็ าจเป็นวัตถดุ บิ ชัน้ ดที ีร่ อวันปรุงแตง่ รว่ มกนั
จนเกิดเป็นผลลัพธท์ ่นี า่ พึงใจ
ขอขอบคณุ ผูอ้ ำนวยการโรงเรยี นทอ่ี นญุ าตใหเ้ ข้ารว่ มโครงการแลกเปลย่ี นครูใน
ภมู ภิ าคเอเชียแปวฟิ กิ สำหรับการศกึ ษาในยคุ โลกาภิวัตน์ ประจำปี 2562 ขอบคุณผเู้ ชย่ี วชาญ
ทุกท่านทท่ี ำให้หนงั สอื สมบรู ณย์ ่งิ ขน้ึ ขอบคุณชมุ ชนการเรียนรู้ทางวิชาชพี ทีเ่ รียนรู้และ
สรา้ งสรรค์งานในครง้ั นี้ และหากหนงั สือเลม่ น้ีจะมีความดอี ย่บู ้าง ขอใหค้ วามดีนนั้ เปน็ พลงั ใหค้ รู
ผสู้ ร้างการเรียนรู้ ผสู้ ร้างการเปล่ียนแปลง และผู้สร้างสรรคส์ งิ่ ท่ีดีงามสูส่ ังคม ทำงานด้วยใจที่
มุ่งมนั่ และเบิกบานต่อไป
ทมี ผเู้ ขยี น
การสอนต้องพยายามคน้ หาความหมายของบางส่ิงที่ซ่อนอยู่
ความพยายามนน้ั จะนำมาซ่งึ เรอื่ งราวอนั ทรงคุณคา่ แหง่ การสอนของเรานนั่ เอง
3
สารบญั
เร่ือง หน้า
บทนำ: ทำไมตอ้ งมีเปา้ หมายการพฒั นาท่ยี ่งั ยนื .................................................... 1
บทที่ 1: เป้าหมายการพฒั นาทย่ี งั่ ยนื คืออะไร....................................................... 4
บทท่ี 2: ครูตอ้ งร้อู ะไรเกย่ี วกับเป้าหมายการพฒั นาที่ยั่งยืน.................................. 11
บทท่ี 3: พลังของการรับรู้..................................................................................... 16
บทท่ี 4: ครวู ทิ ยส์ อนให้เด็กคดิ เรอ่ื งพลโลกไดอ้ ย่างไร........................................... 22
บทที่ 5 เรียนรู้แลว้ ลองทำ..................................................................................... 31
บทท่ี 6 หอ้ งเรียนไทย จะสร้าง SDGs อย่างไรดี................................................... 45
บทส่งท้าย............................................................................................................. 65
บรรณานุกรม........................................................................................................ 69
4
ประวตั ศิ าสตร์บอกเลา่ สง่ิ ท่เี ราเคยเปน็ มา
ปัจจุบนั คอื สิ่งที่ทกุ คนตอ้ งชว่ ยกันเพอ่ื สรา้ งอนาคตทด่ี ี
-กมลรตั น์ ฉมิ พาลี-
พิพธิ ภณั ฑแ์ ห่งชาตเิ กาหลี (The National Museum of Korea)
5
1
บทนำ
ทำไมต้องมีเป้าหมายการพฒั นาท่ียงั่ ยนื
“สรรพสิง่ ล้วนเก่ียวขอ้ งกนั ”
คำถามคอื จุดเร่ิมตน้ ของทกุ การเรียนรู้ มาดูคำถามทเ่ี ปน็ จดุ เรมิ่ ต้นของเรอ่ื งนกี้ ัน
“ทำไมเด็ดดอกไม้แลว้ สะเทอื นถึงดวงดาว”
“ทำไมเมื่อผ้ึงตายหมดรัง คนก็พงั หมดโลก”
กอ่ นทีจ่ ะตอบคำถามนั้น ลองมาอา่ นบางตอนของหนงั ซูเปอรฮ์ ีโร่และโฆษณาบางเรื่อง...
ในวันที่สไปเดอร์แมน ถูกนายจ้างเอาเปรียบ ความบอบช้ำจากความเห็นแก่ตัวของนายจ้าง
ทำให้ความคิดเต็มไปด้วยความโมโห เมื่อนายจ้างถูกโจรปล้นต่อหน้า จึงรู้สึกว่าสมควรแล้ว
เค้าทิ้งไว้เพียงแววตาที่สะใจและหันจากไปอย่างไม่ใยดี แต่คล้อยหลังเพียงไม่กี่นาที ชายที่
พยายามช่วยจบั โจรถูกยงิ ตาย และพลเมืองดีผโู้ ชครา้ ยคนน้ันคอื ลงุ ของเค้าเอง1
เด็กคนหนึ่งขโมยยาเพื่อไปรักษาแม่ เจ้าของร้านยาจับได้และตะโกนว่า “เจ้าขี้ขโมย”
พร้อมผลักเด็กจนหน้าหงาย พ่อค้าขายอาหารร้านใกล้เคียงเดินเข้าไปหา พร้อมถามเด็กว่า
ขโมยยาไปทำไม เด็กตอบว่า จะไปรกั ษาแม่ เคา้ จงึ จา่ ยค่ายาให้ แล้วหนั ไปหาลกู สาวที่
ก่อนหน้านฉี้ ดุ แขนพ่อเพ่ือบอกเป็นนยั ว่าอย่าไปยงุ่ แตก่ ย็ อมทำเกาเหลาตามที่พ่อส่ัง เพราะชาย
ผนู้ ั้น เดก็ ขี้ขโมยจงึ ได้รับยาและเกาเหลาไปใหแ้ ม่ทีป่ ว่ ยอย.ู่ ..
30 ปีต่อมา พ่อคา้ ยังคงมีน้ำใจหยิบย่นื อาหารให้คนยากลำบากเสมอ แตแ่ ลว้ คนดี
ก็ไม่ได้โชคดีเสมอไป อายุที่มากขึ้น ร่างกายที่ตรากตรำทำงาน อาการป่วยเริ่มหนักข้อขึน้ ทุกวนั
จนตอ้ งฝ่าตดั สมอง ลูกสาวมองใบเสรจ็ ค่ารกั ษาท้งั หมดรวมเป็นเงนิ เจด็ แสนกว่าบาท แมจ้ ะขาย
ทรัพย์สินทั้งหมดท่ีมี ก็ยังไม่เพียงพอต่อค่ารักษา ความเหนื่อยล้าทำให้หลับไปขา้ งเตยี งพ่อ เม่ือ
ตื่นขึ้นมา ก็พบว่าใบเสร็จค่ารักษากลายเป็น 0 เพราะเคยจ่ายค่ายาแก้ปวด 3 แผง ยาแก้ไอ 1
ขวด และเกาเหลา 1 ถงุ เมือ่ 30 ปที แ่ี ลว้ เด็กขีข้ โมยคนนัน้ กลายมาเปน็ หมอทร่ี ักษาพ่อในวันน้ี2
“Nothing happens until something moves. When something vibrates,
the electrons of the entire universe resonate with it.
Everything is connected.”
การเปล่ยี นแปลงบางสิง่ จะส่งผลตอ่ บางอยา่ ง เมื่อบางอย่างส่ันไหว
อิเลก็ ตรอนในจกั รวาลจะสนั่ พ้อง ทุกส่งิ ล้วนเกย่ี วขอ้ งกัน
—อลั เบิร์ต ไอน์สไตน์ —
2
คำถามสองข้อด้านบนที่อาจไม่มีใครอยากหาคำตอบ และ สองเรื่องราวที่อาจเป็นแค่
เรื่องเล่าหรือปาฏิหาริย์ แต่สิ่งที่เป็นแก่นของทั้งคำถามและข้อความที่ต้องการสื่อสาร นั่นก็คือ
สรรพสิ่งล้วนเกี่ยวข้อง เชื่อมโยงและส่งผลกระทบต่อกัน มีคำกล่าวว่า “มนุษย์ทุกคนมีพื้นฐาน
เดียวกัน เราล้วนพยายามหลีกเลี่ยงความเจ็บปวด ทุกขเวทนา และต่างมุ่งหาความสงบสุข”
หากเป็นเชน่ น้ันลองมาพิจารณารว่ มกันจากขอ้ ความต่อไปนี้
สำรวจความรสู้ ึกของตนเองดว้ ยการใส่เครอ่ื งหมายถูก √ ในช่อง เม่อื รสู้ ึกว่าเหน็ ด้วย
และใสเ่ คร่อื งหมายผดิ X เมอื่ รู้สกึ วา่ ไม่เหน็ ดว้ ย
เจ็บปวดเม่ือถกู เพกิ เฉย มีความสขุ เมอ่ื ไดร้ ับความใสใ่ จ
เจ็บปวดเม่ือถกู ละเลย มีความสุขเมื่อได้รบั การดแู ล
เจ็บปวดเมื่อถูกกดี กัน มีความสุขเมื่อได้รับสิทธใิ นชีวติ
เจบ็ ปวดเม่ือไม่ได้รบั ความยุติธรรม มคี วามสขุ เมือ่ ได้รับความเป็นธรรม
หากเตมิ เครอื่ งหมายถูกเป็นสว่ นใหญ่ นัน้ ก็แสดงให้เห็นว่า เราตา่ ง เปน็ อยู่ คลา้ ยคลึง
กนั อาศัยบนโลกน้ดี ว้ ยกนั ไดร้ บั ผลกระทบเชน่ เดยี วกัน เราจงึ ควรมสี ่วนร่วมและ
รว่ มมือกันสร้างโลกท่ีเหมาะสมกบั ทกุ คน
ทำไมเราถงึ ตอ้ งการ SDGs
(Sustainable Development Goals: เป้าหมายการพฒั นาทีย่ ่ังยืน)
ร้หู รอื ไมว่ ่า ในโลกใบนี้
ผูค้ นกวา่ 800 ลา้ นคน มีชีวิตอยอู่ ย่างแรน้ แคน้ และยากลำบาก
ผู้คนกวา่ 144 ล้านคนตอ้ งผลดั พรากจากบ้านทีอ่ ยู่อาศัยเพราะภัยธรรมชาติ
ทารกกวา่ 6 ล้านตายกอ่ นอายุ 5 ขวบเพราะโรคภัยไขเ้ จ็บ
และตายมากกวา่ วันละ 15,000 คน
ผู้หญงิ ใน 49 ประเทศ ยงั ตอ้ งเผชิญกับความรุนแรง
เพราะไมม่ ีกฎหมายปกป้องพวกเธอ
ในขณะที่เรากำลงั อ่านข้อความเหล่าน้ีมีสัตว์นบั หมืน่ สายพนั ธ์ุ
ทีก่ ำลังจะสญู พนั ธุ์ไปจากโลกใบนี้
เราอยากไดผ้ ลจากการกระทำอย่างสไปเดอร์แมนตอนโกรธแค้นหรอื พ่อค้าผู้ใจดกี นั นะ
3
ภาพจาก Hwadam Botanic Garden (광주 화담숲) สวนพฤกษศาสตร์ ณ สาธารณรัฐเกาหลใี ต้
4
บทท่ี 1
เป้าหมายการพฒั นาทย่ี ่ังยนื (SDGs) คอื อะไร
“พันธะร่วมใจ...เราจะไมท่ ำลายโอกาสของรุ่นต่อไป”
“เมอื่ ผึง้ หมดรงั คนก็พงั หมดโลก” ขอ้ ความทส่ี ่งสัญญาณเตือนผคู้ นท่วั โลก
จากนักฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่ นั่นคือ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ด้วยข้อความที่ว่า “If the bee
disappeared off the surface of the globe then man would only have four years
of life left.” แปลได้วา่ เมือ่ ผง้ึ สญู พันธุ์ มนษุ ย์เหลอื วนั เวลาบนโลกนเ้ี พยี ง 4 ปี
เพราะเหตุใดปรากฏการณก์ ารลม่ สลายของอาณานิคมผ้งึ จึงสง่ ผลโดยตรงกบั มนุษย์
ในปี 2549 นักวิจัย นักเลี้ยงผึ้ง คนเลี้ยงนก สังเกตพบคล้ายๆกันว่า ผึ้งลดลงอย่างรวดเร็ว
ผิดปกติและมแี นวโน้มจะลดลงมากข้ึนเร่ือยๆ กลไกการสูญพันธุ์น้ี เกดิ จากเมอื่ ผึ้งงานออกไปหา
อาหารแล้วไม่กลับรังหรือทิ้งรังไป นางพญาผึ้งจะไม่สามารถอยู่ได้ เมื่อนางพญาผึ้งตาย
ตัวอ่อนตาย รังจึงร้าง ดังนั้นเมื่อผึ้งงานทิ้งรัง จึงส่งผลให้เกิดการตายของผึ้งทั้งรัง ในที่สุดรังจึง
ล่มสลายลง
ปรากฏการณ์ดังกล่าวได้ถูกตั้งข้อสันนิษฐานถึงสาเหตุต่าง ๆ ได้แก่ ยาฆ่าแมลง ทำให้
สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ การตัดแต่งพันธุกรรมในพืช หรืออาจมาจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
เสาไฟฟา้ แรงสงู และไวรสั แตส่ าเหตุหนึ่งที่สำคัญ น่นั คือยาฆา่ แมลง เพราะสารเคมีสง่ ผลใหผ้ ้ึงจำ
ทางกลับรงั ไม่ได้
ผ้ึงให้มากกว่าความหวาน มคี ณุ ูปการชว่ ยงานโลกใบน้ดี ้วยการถ่ายละอองเกสรให้กับพืช
นบั ร้อยชนิดและพืชเหล่าน้ันเป็นอาหารเล้ียงประชากรมนุษย์และสัตว์ท้งั โลก
เมื่ออาณาจกั รผง้ึ ล่มสลาย ความเสียหายของพชื จะตามมา สัตวป์ า่ และสตั วท์ ้ังหลาย
จะหายไป สุดทา้ ยมนุษย์ทงั้ หลายกจ็ ะได้รับผลกระทบท่ีย่ิงใหญ่อยา่ งแนน่ อน
ใครกนั ทำใหโ้ ลกนข้ี ม เกนิ กว่าผึง้ จะดำรงอยู่ ตามไปดูขอ้ สอบ PISA ท่เี กีย่ วขอ้ งกบั
การล่มสลายของอาณาจักรผ้งึ ไดท้ ี่ YouTube:
KruPumBio https://www.youtube.com
/watch?v=Osrt0BnRwro
ภาพท่ี 1 ความสมั พนั ธข์ องผ้ึงกบั ดอกไม้
5
ถ้ามเี ด็กสักคน มายืนตรงหนา้ แล้วกล่าวว่า เธอหิวน้ำมาก ไดโ้ ปรดใหน้ ำ้ แกเ่ ธอ
เราคงกุลกี ุจอหาน้ำให้
แตเ่ มื่อมเี ยาวชนตะโกนบอกเราว่า ไดโ้ ปรดใหอ้ นาคตท่ีงดงามแก่พวกเขา
ทำไมเราจงึ เพกิ เฉยและไมท่ ำอะไร
สนุ ทรพจนข์ อง เกรต้า ธันเบิรก์
นกั เคลื่อนไหวด้านสงิ่ แวดลอ้ มชาวสวีเดนที่
อายนุ อ้ ยที่สดุ ในโลก พดู ในงาน UN
Climate Summit 2019 ในวนั ท่ี 23
กันยายน 2562 ณ นครนวิ ยอรก์
สหรัฐอเมรกิ า มาต้งั ใจอา่ น และสะทอ้ นคดิ
วา่ เธอร้สู กึ อย่างไร
“นมี่ ันผดิ ไปหมด ฉันไม่ควรมาอยู่
บนเวทีนี้ ฉนั ควรกลบั ไปเรียนหนงั สอื
ในอกี ฟากฝ่ังของมหาสมุทร แต่พวกคณุ
ภาพที่ 2 เกรต้า ธันเบริ ก์ ก็เดินทางมาหาความหวังจากพวกเรา
ผไู้ ดร้ ับยกยอ่ งในฐานะผูน้ ำรุน่ ตอ่ ไป ที่เปน็ เยาวชน
คณุ กล้าดีอยา่ งไร คณุ ขโมยเอา
ความฝนั และวยั เด็กของเราด้วยคำพูดจอมปลอม น่ฉี นั ถือว่าเป็นกลุ่มคนที่ โชคดแี ลว้ นะ ผ้คู นอยู่
อย่างทรมาน คนบาดเจ็บล้มตาย และระบบนเิ วศทัง้ หมดกำลงั ล้มลง เรากำลังจะสูญพันธ์กุ นั อยู่
แล้ว แต่พวกคุณกลับพูดกนั แตเ่ รอื่ งเงินๆ ทองๆ และผลการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ
คุณกล้าดีอย่างไร (น้ำตาไหลตามดว้ ยเสยี งปรบมอื ) วทิ ยาศาสตร์ตอบชัดเจนมากว่า
30 ปแี ล้ว คุณกลา้ ดีมาก ทีไ่ ม่ยอมใหค้ วามสำคัญกับมัน แล้วยงั มาบอกวา่ พวกคณุ ทำดพี อแล้ว
ทง้ั ๆ ที่คำตอบทางการเมืองยังไมม่ ใี ห้เห็น คุณพดู ว่าคณุ รบั ฟังและรับร้ถู ึงปัญหาท่เี รง่ ดว่ น
แตไ่ ม่ว่าฉนั จะโกรธและเศรา้ เพียงใด ฉันกไ็ มอ่ ยากจะเช่อื ว่าพวกคุณมันคอื ปศี าจ ที่รูด้ ีวา่
อะไรเป็นอะไร แตก่ ็ยังลม้ เหลวต่อการลงมอื ทำงาน ฉนั ขอไมเ่ ชอื่ วา่ คณุ เปน็ ปศี าจละกัน ไอเดยี
ทวี่ ่าเราจะลดการปล่อยกา๊ ซเรือนกระจกลงคร่ึงหนึ่งใน 10 ปีข้างหนา้ จะให้โอกาสเรา 50% ใน
โอกาสทเี่ ราจะยงั หวนกลบั ไปแกป้ ญั หาทกุ อยา่ งไดเ้ ทา่ ทนั 50% อาจจะพอรบั ไดส้ ำหรบั คณุ
แตต่ ัวเลขเหลา่ นัน้ ยงั ไมร่ วม Tipping points วงจรป้อนกลับอีกมาก
6
สภาวะอากาศทีร่ อ้ นขน้ึ จาก
มลพิษตา่ งๆ และอกี หลายๆ ปจั จัยที่
ถาโถมเขา้ มา แต่ทกุ คนยังคาดหวงั วา่
คนรนุ่ ใหม่ จะชว่ ยลดมลพิษท่ีเราต่าง
ช่วยกนั ผลติ หลายล้านตัน และคาดหวัง
ว่าจะมีเทคโนโลยที ่ีจะชว่ ยทำใหอ้ ากาศ
สะอาดขึ้นได้ แต่เทคโนโลยีนน้ั ยงั ไมม่ ี
อยจู่ รงิ เทา่ กับวา่ มคี วามเส่ียง 50% ท่ี
ตอ้ งเผชญิ กับผลเสียดา้ นอากาศ
ถ้าเราอยากมีโอกาส 67% ใน
การรกั ษาอณุ หภมู ิให้สูงไมเ่ กนิ 1.5
องศาเซลเซยี ส จากอุณหภูมโิ ลก
ภาพท่ี 3 เกรต้า ธนั เบิรก์ ทงั้ หมด ตัวเลขจาก IPCC บอกว่า
ผไู้ ด้รับยกย่องบคุ คลแหง่ ปี โลกมีคาร์บอนไดออกไซด์เหลอื อยู่ 420
กิก๊ กะตนั ในวนั ที่ 1 มกราคม 2018
วนั น้ตี วั เลขน้อี าจจะเหลอื แค่ 350 ก๊ิกกะตันแล้วก็ไดส้ ถานการณ์อยา่ งน้ี คุณจะยงั ใช้วธิ กี ารเดิมๆ
เทคนิคเดิมๆ รบั มือกับปัญหานี้อยอู่ กี หรือ ระดับแก๊สเรือนกระจกที่สูงขนาดน้ี การจะทำใหแ้ กส๊
คาร์บอนไดออกไซดห์ มดสน้ิ ภายในแปดปคี ร่ึง ไมม่ ที างทีจ่ ะเกิดขน้ึ ได้เลย ตวั เลขเหล่าน้มี ันนา่
กลวั เกนิ ไป แต่พวกคณุ กลับยังไมโ่ ตพอทจ่ี ะยอมรับความจริง พวกเราผดิ หวังในตวั คุณ
คนรนุ่ ใหมก่ เ็ ร่ิมรู้แล้วว่าพวกคุณมนั ทรยศ สายตาของคนรุ่นใหมท่ ้ังหมดจบั จ้องมาท่คี ุณ
ถ้าคุณเลอื กท่ีจะปลอ่ ยให้เราผิดหวงั ฉันขอบอกว่า เราจะไม่มีวันยกโทษใหค้ ณุ (เสียงปรบมอื )
เราจะไมป่ ล่อยให้คุณลอยตัวไปจากความผดิ ณ จดุ น้ี ณ วันน้ี คือนาทีสำคัญท่ีเราขีดเส้นเอาไว้
โลกกำลังจะต่ืนและความเปลยี่ นแปลงกำลงั จะมา ไม่ว่าคุณจะชอบมันหรือไมก่ ็ตามเถอะ
ขอบคณุ ค่ะ (เสียงปรบมือ)3
ในปี 2019 เกรตา ธนั เบริ ก์ ได้ขึ้นปกนติ ยสาร ไทม์ ซง่ึ ขนามนามเธอวา่ "ผู้นำรนุ่ ตอ่ ไป" และ "บุคคลแหง่ ปี"
นอกจากน้ันเธอไดร้ บั การเสนอช่อื ใหร้ บั รางวลั โนเบลสาขาสันติภาพ ประจำปี ค.ศ. 2019
7
หากเราได้ดคู ลิปการกลา่ วสนุ ทรพจน์ของเกรต้า จะเห็นดวงตาทม่ี ่งุ มน่ั ถ้อยคำ
ท่เี ด็ดเด่ยี ว ทา่ ทางเจอื ปนดว้ ยความโกรธ ผิดหวงั และเสยี ใจ เป็นสุนทรพจน์ที่นา่ ชืน่ ชม
และทรงพลงั แต่เรากร็ สู้ กึ เต็มไปด้วยความผดิ หวงั ในตวั เองและผู้คนท่ีใช้ทรพั ยากรอยา่ ง
ฟมุ่ เฟือยราวกับว่า มนั จะไม่มีวนั หมด
แต่นั่นแหละ
เราต่างก็เห็นด้วยกับคำกล่าวนี้
แต่จะมีสกั ก่ีคนทเี่ ปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อโลกใบน้ี
ไวรสั สร้างการเปล่ยี นแปลงเปน็ ตัวอยา่ งให้ดูวา่ ...ในความเป็นจริงเราช่วยกนั ได้
“จากไข้หวัดทดี่ ูเหมือนธรรมดา สภู่ าวะโรคระบาดท่ัวโลก เพียงชว่ งเวลา 4 เดือน
(เดือนธนั วาคม 2562 – 2563) มผี ตู้ ดิ เช้ือไวรสั โคโรนาสายพนั ธุใ์ หม่ (COVID-19) กว่า
400,000 คน และเสยี ชวี ติ ประมาณ 16,000 คน จดุ เริ่มต้นจากอฮู่ ั่น ประเทศจีน สู่ผ้คู นทวั่ โลก
นบั วา่ โควดิ 19 เปน็ วกิ ฤตร่วมกนั ของมนษุ ยชาตแิ ละไม่ว่าคุณจะอยทู่ ีใ่ ดบนโลก ตา่ งก็ได้รับ
ผลกระทบเชน่ กัน
แตใ่ นขณะเดียวกันกลบั พบว่า
มลพษิ ในอากาศลดลง ระดบั ไนโตรเจน ในอินเดีย เต่าหญ้าทะเล Olive Ridley
ไดออกไซด์และ ระดับคาร์บอนมอนอกไซด์ ส่ิงมชี วี ติ ทใ่ี กล้การสูญพนั ธุ์
ซง่ึ เป็นมลพษิ ทางอากาศร้ายแรงและสาเหตุ กลับขน้ึ มาวางไข่อีกครงั้
สำคัญของภาวะโลกรอ้ น ทงั้ ในจีนและ เม่อื นักท่องเท่ยี วหายไปจากหาด
ทางตอนเหนือของอิตาลลี ดลงมาก ทำให้มีสภาพสมบูรณ์ในการวางไข่
เมื่อเทยี บกับปที ีแ่ ลว้
ขอ้ มลู จาก BBC Thai ข้อมูลจาก Environman
เมอื่ เราใช้ทรพั ยากรมากเกินความจำเปน็ อยู่เสมอ เรากำลังเบยี ดเบยี นสิง่ มีชีวติ ชนิดอ่ืน
ไวรัสช่วยปลกุ ให้รู้ว่า ถา้ เพียงแคเ่ รามสี ติ ร้เู ทา่ ทนั และชว่ ยกนั อนุรักษ์ทรพั ยากร เรากจ็ ะ
สามารถส่งต่ออนาคตทงี่ ดงามให้กลับลกู หลานรนุ่ ตอ่ ไปได้
ถ้าหากเราไม่อยากรอวกิ ฤติ ไม่อยากให้ไวรัสเปลีย่ นแปลงชีวิตเรา เราจะลงมือทำอะไรได้บ้าง
8
เปา้ หมายการพฒั นาที่ยั่งยนื คอื อะไร ทำอะไร เพื่อใคร
คำว่า ยงั่ ยนื มคี วามหมายวา่ อย่างไร ย่งั ยืนหรอื sustainable ในภาษาองั กฤษ หาก
แปลตามพจนานกุ รม มีความหมายว่า การคงอยู่ มอี ยู่ รกั ษาไว้ (คำในภาษาอังกฤษจะพบคำวา่
maintain, certain) สามารถอธบิ ายดว้ ยคำตอบสั้นๆง่ายๆเขา้ ใจได้วา่ “ย่งั ยืนคอื ส่ิงน้ันทำซ้ำ
ทำไดอ้ ีกตลอดไปหรอื ไม่” อยากรูว้ ่าอะไรยงั่ ยนื ใหด้ วู ่าสงิ่ นนั้ จะสามารถทำซำ้ ไดอ้ กี ในอนาคต
เชน่ คนรุ่นตอ่ ไปจะมีพน้ื ท่ีเกษตรในการปลูกพชื พันธุ์ธัญญาหารไดอ้ กี ไหม คนรุ่นต่อไปจะมี
อากาศทส่ี ะอาดหายใจไดอ้ กี ไหม คนร่นุ ใหม่จะมีโลกทเี่ หมาะสมกบั การดำรงชีวิตไดอ้ ีกไหม
คนรุ่นใหมจ่ ะมโี อกาสทีจ่ ะไดใ้ ช้ทรัพยากรตา่ งๆบนโลกใบน้ีไมต่ า่ งจากรนุ่ เราหรือไม่
ดงั น้นั เป้าหมายของการพัฒนาทยี่ ่งั ยืนคือการพฒั นาสิ่งทที่ ำใหค้ นทกุ คนในตอนนี้ เวลาน้ี
และคนในรนุ่ ต่อไป ในอนาคตสามารถดำรงชวี ติ อยบู่ นโลกใบนี้ด้วยสทิ ธิเสรีภาพข้นั พ้นื ฐาน
อย่างมคี ุณภาพและท่วั ถึง น่คี ือที่มาของเปา้ หมายการพฒั นาทย่ี ่งั ยืน
Sustainable Development is development that meets the needs of the
present without compromising the ability of future generations to meet their
own needs as well.
การพัฒนาเพ่อื ตอบสนองความต้องการของคนในยุคปัจจบุ ันและชว่ ยกนั ทำให้
คนรนุ่ ต่อไปได้มีความสามารถในการตอบสนองความต้องการเช่นกัน
-education.microsoft.com-
ภาพที่ 4 คอร์สการเรียนรู้ ภาพที่ 5เกยี รติบตั รจากการเรยี นรู้
เรอ่ื งเป้าหมายการพฒั นาท่ีย่งั ยืน
สามารถเข้าไปเรยี นรู้เป้าหมายการพัฒนาที่ย่งั ยืน เม่ือทำแบบทดสอบ
ผา่ นรอ้ ยละ 80 จะไดร้ ับเกยี รตบิ ัตร
ศึกษาเพม่ิ เติมทีเ่ ว็บไซต์ https://education.microsoft.com/en-us-
9
เป้าหมายการพัฒนาท่ยี ่ังยืน (Global Goals) ท้ัง 17 ข้อ มอี ะไรบ้าง มารจู้ กั เบื้องตน้ กันกอ่ น
เปา้ หมายท่ี 1 ขจัดความยากจน
เปา้ หมายท่ี 2 ขจดั ความหิวโหย
เป้าหมายที่ 3 การมีสขุ ภาพและความเปน็ อยูท่ ่ีดี
เป้าหมายท่ี 4 การศกึ ษาทเ่ี ท่าเทยี ม
เป้าหมายที่ 5: ความเท่าเทยี มทางเพศ
เปา้ หมายท่ี 6: การจดั การน้ำและสุขาภิบาล
เป้าหมายที่ 7: พลังงานสะอาดที่ทกุ คนเขา้ ถึงได้
เป้าหมายที่ 8: การจ้างงานท่ีมีคณุ คา่ และการเติบโตทางเศรษฐกิจ
เปา้ หมายที่ 9: อุตสาหกรรม นวตั กรรม โครงสร้างพ้ืนฐาน
เปา้ หมายที่ 10: ลดความเหลอ่ื มลำ้
เปา้ หมายท่ี 11: เมืองและถนิ่ ฐานมนษุ ยอ์ ยา่ งย่ังยืน
เป้าหมายท่ี 12: แผนการบรโิ ภคและการผลติ ที่ย่ังยนื
เป้าหมายท่ี 13: การรบั มอื การเปล่ียนแปลงสภาพภมู ิอากาศ
เปา้ หมายท่ี 14: การใชป้ ระโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล
เปา้ หมายท่ี 15: การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก
เป้าหมายท่ี 16: สังคมสงบสขุ ยุตธิ รรม ไม่แบง่ แยก
เป้าหมายที่ 17: ความร่วมมอื เพือ่ การพัฒนาท่ีย่ังยนื
ทัง้ 17 ข้อน้ี ตอนแรกอาจจะจำไดไ้ มห่ มดในคร้งั เดยี ว ลองจดจำสัก 3 ขอ้ ก่อน แน่นอน
ว่า ขอ้ ท่ีเก่ียวขอ้ งกบั ครโู ดยตรงคือขอ้ 4 เราต้องเป็นสว่ นหนึ่งทสี่ รา้ งคณุ ภาพการศกึ ษาและ
ชว่ ยให้ผู้เรยี นทุกคนเขา้ ถงึ การศึกษาท่มี คี ุณภาพ แตเ่ ดีย๋ วเราจะได้เห็นกิจกรรมตา่ งๆในโรงเรียน
ท่เี ราสามารถนำมาบูรณาการกับเป้าหมายการพฒั นาที่ย่งั ยนื ได้
รว่ มเปน็ สว่ นหนึ่งของเปา้ หมาย
เพ่อื เรา เพ่อื โลก
ภาพที่ 6 ครปู ุ้มและ
เปา้ หมายการพฒั นาท่ยี ัง่ ยืน
10
11
บทที่ 2
ครูต้องรอู้ ะไรเกยี่ วกับเปา้ หมายการพัฒนาทีย่ ั่งยนื
“เราสามารถสรา้ งความแตกต่างไดใ้ นแบบเรา: We can make difference in own way”
ประสบการณ์จากการเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนครูในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกสำหรับ
การศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์ ณ สาธารณรัฐเกาหลี ในปี 2562 เป็นเวลา 3 เดือน สิ่งที่ได้เรียนรู้
จากการเป็นครูแลกเปลี่ยนโดยมี Asia-Pacific Centre of Education for International
Understanding (APCIEU เรียกว่า อัพเซยู) เป็นหน่วยงานหลักสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับครู ในปี 2012 องค์การสหประชาชาติ(United Nations:
UN) ได้ประกาศเป้าหมายของการศึกษาความเป็นพลโลกเป็นครั้งแรก ด้วยวิสัยทัศน์ที่ว่า
“การศึกษาควรเป็นมากกว่าการปูทางสู่อาชีพ แต่ต้องเป็นพลังที่สร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืนใน
อนาคตและสร้างโลกที่ดีขึ้น” นโยบายของการศึกษาจึงต้องสนับสนุนเรื่องสันติภาพ ความ
เคารพในมนษุ ยชน และการดูแลส่งิ แวดล้อม
“การศกึ ษาหาใช่เพยี งอา่ นออก เขยี นได้ คดิ เลขเป็นเท่านัน้
แตค่ วรหลอ่ หลอมใหม้ นษุ ย์อยรู่ ่วมกนั ดว้ ยสนั ตภิ าพ
และเปน็ สงั คมทเ่ี ปิดกวา้ งสำหรบั ความหลากหลายทางวัฒนธรรม”
ในปี 2015 เป้าหมายการศึกษาจะมุ่งเน้นที่การเข้าถึง (Access) สร้างความเท่าเทียม
อย่างเป็นธรรม (Equity) มีคุณภาพ (Quality) + การพัฒนาที่ยั่งยืน สิทธิเพศสภาพ สิทธิ
มนุษยชน สันติภาพ ความเป็นพลโลก (Target 4.7 + Global Citizen Education (GCED))
เพิ่มความร่วมมือระหว่างประเทศให้มากขึ้น ยังรวมถึงพัฒนาเป้าหมายของ Global Goals ทงั้
17 ข้อ
ภาพที่ 7 ศูนยก์ ารเรียนรูเ้ ป้าหมายการพัฒนาที่ย่งั ยืน ณ APCIEU
12
การประชมุ ท่ีอนิ ชอน (Incheon) เกาหลี ในปี 2015 ประกาศถงึ เปา้ หมายของการศึกษา
ที่ต้องการบรรลุเป้าหมายในปี 2030 คือการพาสังคมโลกก้าวเข้าสู่การเรียนร่วมที่มีความเท่า
เทยี ม มีคณุ ภาพและการศกึ ษาตลอดชีวิตเพอ่ื ทกุ คน ด้วยพนั ธะสัญญาเพื่อการศกึ ษาท่ีมีคุณภาพ
มพี ฒั นาการด้านการเรียนรู้ ทกั ษะ ค่านิยมและเจตคติท่ีจะเป็นพลเมืองท่ีมีสุขภาพและชีวิตท่ีดี
ตระหนักถึงวิธีการตัดสินใจบนเหตุผลและหลักการ มีความรับผิดชอบต่อท้องถิ่นและโลก
ตลอดจนการศึกษาที่สร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืน ( Education for Sustainable
Development) และการศึกษาเพื่อความเป็นพลโลก (Global Citizenship Education:
GCED)
ภาพท่ี 8 เดก็ ทุกคนควรไดร้ ับการศกึ ษาอย่างท่ัวถึงและเทา่ เทียม
การศึกษาเพื่อความเป็นพลโลก (Global Citizenship Education) สอดคล้องกับ
เป้าหมาย ในข้อที่ 4 น้ีคือความเท่าเทียมของคุณภาพการศึกษา ผู้เรียนทุกคนจะได้รับความรู้
ทักษะ ความเข้าใจในเรื่องของสิทธิมนุษยชน ความเท่าเทียมทางเพศสภาพ สร้างวัฒนธรรม
สันติภาพไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา การเป็นพลโลก มีความเคารพในพหุวัฒนธรรม
รวมถึงสรา้ งวัฒนธรรมการพฒั นาทยี่ งั่ ยืน
ภาพท่ี 9 กจิ กรรมการเรยี นรใู้ นศูนย์
13
การศึกษาเพื่อความเป็นพลโลก ยังมุ่งพัฒนาด้านครูผู้สอน คือการเพิ่มจำนวนครูที่มี
คุณภาพ การร่วมมือกันในระดับนานาชาติเพื่อพัฒนาและอบรมครูในประเทศที่กำลังพัฒนาให้
สามารถจัดการศกึ ษาเพอื่ เป้าหมายการพฒั นาทย่ี งั่ ยนื ได้
หนา้ ทีส่ รา้ งคนพลโลก
ถ้าไม่ใชค่ รู
จะเปน็ หน้าทใ่ี คร
ถ้าไม่เรมิ่ ตอนนี้
จะถงึ เปา้ หมายตอนไหน
ครูทกุ คนจงึ เปน็ สว่ นสำคัญ
ของภารกิจคร้ังน้ี
ภาพที่ 10 ครไู ทยทไี่ ดร้ ับทนุ ปี 2562
เปา้ หมายดา้ นการศกึ ษาของ UNESCO’s มี
หลักการสำคญั โดยพจิ ารณา 3 มติ ิ คอื
Cognitive, Socio-Emotional และ
Behavioral ดังนี้
ดา้ น Cognitive
1. นักเรยี นได้รบั ความรู้และความเข้าใจใน
ประเด็น SDGs ระดับท้องถิ่น ระดับชาตแิ ละโลก
เห็นความสัมพันธแ์ ละความเชือ่ มโยงกนั แมจ้ ะมี
ภาพที่ 11 บรรยากาศศูนย์การเรียนรู้ ความแตกตา่ งในแตล่ ะประเทศและความ
แตกต่างระหว่างบคุ คล
2. นักเรียนไดพ้ ัฒนาทกั ษะการคิดอย่าง วจิ ารณญาณและการคดิ วิเคราะห์
ดา้ น Socio- Emotional
๑. นักเรียนได้รับประสบการณ์เรื่องสิทธิพื้นฐานของการเป็นมนุษยชน การเรียนรู้ค่านิยมท่ี
หลากหลายและความรบั ผดิ ชอบบนพื้นฐานของสิทธมิ นษุ ยชน
๒. นักเรียนได้รับการพัฒนาความเข้าอกเข้าใจต่อผู้อื่น เห็นความสำคัญของความเป็นหนึ่ง
เดียว และใหค้ วามเคารพในความแตกตา่ งของความหลากหลายทางพหวุ ัฒนธรรม
14
ดา้ น Behavioral
๑. นักเรียนปฏิบตั ติ นอย่างมคี ุณภาพและรับผดิ ชอบตอ่ ท้องถิ่น ประเทศและโลก
มสี ่วนรว่ มในการสร้างสันติภาพและพัฒนาความยัง่ ยืนของโลก
๒. นกั เรียนได้รบั แรงจูงใจไปสู่ความต้ังใจในการลงมือปฏิบัติตนในฐานะพลโลก
ภาพที่ 12 คำถาม “ใครคือพลโลก” คำตอบคือเราทุกคนล้วนเป็นพลโลก
ครูต้องรู้อะไร
ครูต้องรู้ว่า...เป้าหมายการพัฒนาทย่ี ัง่ ยนื เปน็ เรื่องของทุกคน
ครูต้องรู้ว่า...ครูเปน็ ผ้สู ร้างการศกึ ษาทีม่ ีคณุ ภาพ
ครตู อ้ งรูว้ า่ ...เมื่อครเู ปล่ียน การจัดการเรยี นรูเ้ ปล่ียน นักเรียนเปลย่ี น สังคมเปล่ียน
โลกใบนีก้ ็จะเปลี่ยนแปลงไปในทางทด่ี ีขึ้นได้
15
กรอบงานของการศกึ ษาเพ่ือความเป็นพลโลก สำหรับความร่วมมือของสาธารณรัฐ
เกาหลแี ละประเทศที่เข้าร่วมโครงการ4
1. สร้างความเข้าใจอันดีและความร่วมมอื
2. แลกเปลี่ยนความรู้ แนวคิดและการปฏบิ ัติการ
สอนในระบบการศึกษาและกลวิธีการสอน
ระหวา่ งประเทศ
3. พฒั นาการศกึ ษาและคณุ ภาพการศกึ ษา
ในแตล่ ะประเทศ รวมถึงการสร้างวิสยั ทัศนใ์ หม่ทง้ั
การศึกษาและเป้าหมายโลก
ภาพที่ 13 หอ้ งประชุม ณ APCIEU
3.1 การรวู้ ัฒนธรรมระหว่างประเทศเพอ่ื ความสามารถในการใชช้ ีวิตและการทำงาน
3.2 ความเปน็ พลโลกท่ที กุ คนสามารถอยู่ร่วมกันอย่างปกตสิ ุข
3.3 สมรรถของพลโลกในการสร้างความย่ังยนื และสนั ตภิ าพในสังคม
ครผู ู้เป็นตน้ แบบของความเป็นพลโลก ต้องมีสามารถดังนี้
1. สร้างการศึกษาเพ่ือสันติภาพ เคารพสิทธิมนุษยชน ยอมรบั ความหลากหลายและ
การพฒั นาท่ยี ัง่ ยืน
2. สร้างการเรียนร้เู พอ่ื อยู่รว่ มกันและเข้าใจความต้องการทีห่ ลากหลายสำหรบั นกั เรียน
ในศตวรรษท่ี 21
สมรรถนะของครใู นศตวรรษที่ 21 (GCED) กรอบการทำงานของ APCIEU
1. ความเปน็ พลโลก (The Asia-Pacific Centre of Education
2. ปฏิบัตติ นเป็นต้นแบบในฐานะสมาชกิ for International Understanding)
คณุ ภาพของสงั คม ทำงานเพ่ือพฒั นาด้านต่างๆดังนี้
3. ความรว่ มมอื ในโปรแกรมอบรมพฒั นา 1. ครู
ครู 2. โรงเรียนแกนนำ
4. ผู้อำนวยความสะดวกในการเรยี นรู้ 3. บคุ ลากรทางการศึกษา
5. เป็นผู้เรียนรตู้ ลอดเวลาและเปน็ นักวิจัย 4. การกำหนดนโยบาย
ตลอดชีวิต 5. การพัฒนาหลกั สูตรและความเช่ยี วชาญ
ด้านการศึกษา
6. การพฒั นาเยาวชน
16
บทที่ 3
พลงั ของการรบั รู้
“การรบั รู้ที่โดนใจคอื บันไดกา้ วแรกของการเปล่ียนแปลง”
โลกคาดหวังคนเกง่ เพ่อื เปล่ยี นแปลงนวตั กรรมใหก้ บั โลก
โลกคาดหวงั คนกล้า เพ่ือสรา้ งความยตุ ิธรรมให้กับทุกคน
โลกคาดหวงั คนมคี วามรบั ผิดชอบ เพื่ออยู่ร่วมกนั อย่างสนั ตภิ าพ
พริสซิลานักศึกษาชาวกานา ภาควิชาชีวเคมี
เริ่มต้นการนำเสนอด้วยคำถามที่ว่า มีชื่อของ
สัตว์อะไรบ้างที่ขึ้นต้นด้วยตัว e จากนั้น ชื่อ
ประเทศที่ขึ้นต้นด้วยตัว U คำตอบข้อแรก
ของคนส่วนใหญ่มักจะตอบ elephant แต่
ภาพท่ี 14 พริสซิลาเสนอกิจกรรมสรา้ งสันตสิ ุข แน่นอน ว่ามีคำตอบอื่นๆในขณะที่คำตอบ
ต่อมาเริ่มมีความหลากหลายและเธอยังมีคำถามที่ทำให้เห็นว่าคำตอบของเรามักขึ้นอยู่ความ
ประสบการณแ์ ละความรู้เดิมท่ีมี และน้อยมากท่ีเราทุกคนจะมีประสบการณ์ท่ีเหมือนกัน ดังน้ัน
คนเราจึงมีความคดิ และวิธีคิดทีห่ ลากหลายแตกต่างกันไป สิ่งที่ Priscilla Kini ทำก็คือสร้างการ
รับรู้ใหม่ด้วยการกระตุ้นให้ผู้คนรอบตัวและในชุมชนของเธอ ปฏิบัติต่อกันด้วยสันติภาพ เช่น
การสร้างชมรมสันติภาพมีกิจกรรมต่างๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเพื่อนในชมรมให้มี
ทางเลือกของการตอบสนองที่มีสันติภาพมากกว่าความรุนแรง การสร้างกิจกรรมทีใ่ ห้ผู้คนไดม้ ี
ส่วนร่วมในการแสดงออกอย่างสันติภาพ ประสบการณ์เหล่านี้จะทำให้ผู้คนรับรู้ว่าสันติภาพ
สร้างได้จากความคิดและการกระทำของพวกเรา ในตอนท้ายการนำเสนอเธอขอให้ผู้ฟังจับคาง
แต่เธอจับที่แก้ม แล้วมองมายังผู้ฟัง เธอพบว่า ผู้ฟังส่วนมากจับแก้มตามเธอ นั่นเพราะ
“People follows your act not your words.” เป็นขอ้ สรุปท่ีประทับใจมากทเี ดียว
“People follows your act not your words.”
“ผูค้ นจะคล้อยตามจากส่งิ ท่เี ราทำ ไมใ่ ชค่ ำที่เราพดู ”
---Priscilla Kini---
17
Olha Bondarenko จากยเู ครน
อายุ 20 ปี เธอเริ่มต้นด้วยการมี
ชีวิตเหมือนเด็กทั่วๆไป ชีวิต
วัยเด็กเต็มไปด้วยความ
สนุกสนาน ได้เรียน ได้เล่น
ภาพที่ 15 ความเจบ็ ปวดของชาวยูเครนเม่ือผ้กู ่อการรา้ ย ได้เต้นรำกับเพื่อนๆ ได้กิน
อาหารที่อยากกิน ได้มีบ้าน
ของรฐั เซียถอื อาวุธครบมือเขา้ รกุ รานประชาชน อยู่อาศัย อย่างปลอดภัย
แต่แล้วทุกอย่างก็เปลี่ยนไป เมื่อทหารรัฐเซียเข้ามาก่อการร้ายในประเทศจากเคยวิ่งเล่นเพ่ือ
ความสนุก กลายเป็นต้องวิ่งหนีเพื่อเอาตัวรอด จากเคยเต้นรำด้วยบทเพลงแห่งความสุข
กลายเป็นดำเนินชีวิตด้วยบทแห่งความทุกข์แสนสาหัส การจะมีชีวิตอยู่ต่อในแต่ละวัน
ไม่ใช่เรื่องง่าย แทบไม่มีใครอยากจะลืมตาขึ้นมา เพราะลมหายใจที่ยังมีอยู่ ช่างดูไร้ความหวัง
ไร้ซึ่งสิ่งใด ชีวิตน้อยๆของเธอถูกพัดพาไปเรื่อยๆ จนได้เข้าไปอยู่และเติบโตในค่ายอพยพ
สงครามและความสูญเสียเป็นสิ่งที่โหดร้ายเกินสิ่งใดจะเยียวยา แต่เธอบอกเราอย่างเข้มแข็งว่า
เราทุกคนสามารถช่วยบรรเทาความทุกข์ให้ผู้คนที่เจอในสถานการณ์เดียวกันเธอด้วยวิธีการ 3
ประการดังต่อไปนี้ 1. ความเห็นอกเห็นใจกัน (Empathy) เธอยกตัวอย่างกิจกรรมของ
Labyrinth theatre Blind Performance โรงละครที่ถูกสร้างขึ้น ใช้การแสดงสื่อสารความ
หลากหลายทางวัฒนธรรม เพื่อสอนและสะท้อนให้ผู้คนเห็นถึงพลังของการไม่ดูถูกหรือไม่
เหยียดสีผิว เป็นการรวมกลุ่มของคนที่เชื่อมั่นในการเคารพความหลากหลายทางพหุวัฒนธรรม
2. ความใฝ่เรียนรู้ (Curiosity) เราทุกคนต้องมีความฝัน มีแรงบันดาลใจและความหวัง ว่าจะ
สร้างคนที่เข้าใจและปฏิบัติตนตามบทบาทของพลโลกได้ ต้องมีวิธีที่เราจะทำได้สำเร็จ สิ่งนี้จะ
ทำใหเ้ รามีพลังที่จะค้นหาวธิ ีการ ลงมือทำและกา้ วต่อไป 3. การคิดอยา่ งมีวิจารณญาณและการ
รู้เรื่องสื่อ (Critical Thinking and Media Literacy) สื่ออาจสร้างความเกลียดชังเพราะ
น่าติดตามมากว่าความเข้าอกเข้าใจ สื่ออาจบิดเบือนข้อเท็จจริงเพราะมีผลประโยชน์บางอย่าง
ในฐานะของครูต้องให้ความรู้ ต้องฝึกฝนให้นักเรียนและเยาวชนมีทักษะการคิดอย่างมี
วิจารณญาณและการรู้เรื่องสื่อ จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันความเกลียดชังและใช้สันติวิธีในการยุติ
ปัญหามากกวา่ ใชก้ ำลงั ใชอ้ าวธุ หรอื ใช้ความรุนแรงในการแกป้ ัญหา
3 ส่ิงที่ครตู อ้ งปลูกฝงั เพ่อื สรา้ งสรรคโ์ ลกทน่ี ่าอยู่สำหรับทุกคน
1. ความเหน็ อกเหน็ ใจกนั (Empathy) 2. ความใฝ่เรยี นรู้ (Curiosity)
3. การคดิ อย่างมีวจิ ารณญาณและการรู้เรื่องสอ่ื
(Critical Thinking and Media Literacy)
18
พลงั ทสี่ ำคญั ของมนษุ ยค์ อื การท่ีเราสร้างความเช่ือมั่นในคนๆหนง่ึ
จนทำให้คนผนู้ ัน้ เชอ่ื ม่นั ในตนเอง
เรื่องราวเหล่านี้ ทำให้นึกถึงเมื่อครั้งที่ได้รับฟังการประชุมสัมมนา ณ มหาวิทยาลัย
Appalachian ในหวั ข้อ Woman in Education Leadership Symposium (ตรงกับเป้าหมาย
การพัฒนาที่ย่งั ยนื (SDGs) ขอ้ ที่ 5: ความเท่าเทียมทางเพศ) ถงึ กรณีศกึ ษาในโรงเรียนแห่งหนึ่ง
โรงเรียน Doris Henderson Newcomers School เป็นโรงเรียนท่ีดูแลนักเรียนซ่ึง
อพยพลี้ภัยมาจากที่ต่างๆ สิ่งที่นักเรียนใหม่ทุกคนพกติดตัวมาคือ ความแปลกแยก โดดเดี่ยว
และ ไรค้ า่ ส่งิ ท่ีโรงเรียนต้องทำคอื การสรา้ งการรับรู้ในเปา้ หมายของโรงเรียนและการรบั รคู้ ุณค่า
ในตัวเอง แต่จะทำอย่างไร
แรกๆได้ใช้การท่องกฎเพื่อจะได้รู้ว่าควรปฏิบัติตนเช่นไร เหมือนการกล่าวคำปฏิญาณ
ของนกั เรียนในทุกเช้า แต่พบวา่ เดก็ ๆไม่มแี รงจงู ใจในการปฏบิ ตั ติ ามถ้อยคำของกฎเลย
โรงเรียนจงึ เปล่ยี นแนวทางใหม่ คือ ให้ท่องเปา้ หมายของตนเอง แต่ละคนมเี ป้าหมาย
ไมเ่ หมอื นกนั เมอ่ื ถึงเวลาที่ตอ้ งปฏิญาณก็ให้เปลง่ เปา้ หมายของตวั เองออกมา เพื่อให้ทุกคนรับรู้
เป้าหมายของตนเอง บทเรียนต่อมาคือนักเรียนจะต้องได้เรียนรู้ในการปรับตัว นั่นคือการสร้าง
การรับรใู้ หม่
- รู้คณุ ค่าในตัวเอง ถงึ แมจ้ ะโชคร้ายที่ต้องลี้ภยั ไม่มพี อ่ แม่ แตเ่ ด็กๆตอ้ งสามารถรับรูใ้ น
ความโชคดนี ี้ นัน่ คือ ความโชคดีทีย่ งั มชี ีวติ อยู่ ยังได้หายใจ และชวี ติ ใหมก่ ำลังจะเรมิ่ ขน้ึ โดยจะ
มีรุ่นพี่ผู้ลี้ภัยที่ประสบความสำเร็จในชีวิต กลับมาเล่าให้น้องๆฟัง เด็กๆจะมีแว่นตาอันใหม่
ท่ีจะมองเห็นและรบั รู้ว่า ตวั เองไม่ได้โชครา้ ยไปกว่าใคร ส่งิ ทเ่ี กดิ ข้ึนเป็นความจริงที่ต้องยอมรับ
เรยี นรู้ และเติบโตให้ได้
- เรยี นรทู้ ี่จะรบั ผิดชอบและทำความดี แล้วรบั ร้วู ่าสิ่งท่ีเราทำคือการเปลยี่ นแปลงภายใน
ของตนเอง การมีความรับผิดชอบและการทำความดีใดๆ ไม่ต้องรอคนอื่นมาชื่นชม
เพราะทกุ ครง้ั ที่ปฏบิ ตั ิคือดอกไม้แห่งความงดงามท่ีกำลังเบง่ บานในใจของเรา
เร่ืองราวเปลี่ยนการรับรู้
การรบั รู้เปลีย่ นการลงมือทำ
การลงมือทำเปลี่ยนโลก...
19
ครูตอ้ งเป็นหน้าตา่ งเพอื่ ให้เดก็ เหน็ โอกาสและ
ตอ้ งเปน็ กระจกทส่ี ะท้อนคณุ คา่ ของเด็กให้ได้
- ยอมรับในความแตกต่าง ไม่ต้องบงั คับให้ใครเหมอื นเราและเราไม่ต้องพยายามเหมือน
ใคร เด็กบางคนจะมีปมด้อยในเรื่องหน้าตา มีรอยแผลเป็น และร่องรอยของ การสูญเสีย
โรงเรียนจงึ มีกิจกรรมใหเ้ ด็กๆไดเ้ ห็นความดขี องตนเอง เรม่ิ ต้นจากกจิ กรรมท่งี ่ายมากๆ นั่นกค็ อื
การทำส่ิงดๆี ให้ผอู้ ่นื น่นั เอง
- เด็กที่ยังอ่านหนังสือไม่ได้เมื่อมาเรียน ครูจะพามาอ่านหนังสือใต้ต้นไม้ อ่านนิทาน
วรรณกรรม ทม่ี คี วามหมายดๆี ให้ฟังทุกวนั สว่ นเดก็ ทอ่ี า่ นออกจะได้อ่านหนังสือวรรณกรรมทด่ี ี
มคี ุณค่าตอ่ ชีวิต ส่งิ เหล่านเี้ พอ่ื สรา้ งการรบั รู้ท่ีดีใหก้ บั เด็กน่ันเอง
โรงเรียนจะให้ความสำคัญกับการอ่านเป็นอย่างมาก ให้เวลาเด็กในการปรับตัวปรับใจ
จนเมื่อเด็กพร้อมที่จะเรียนวิชาการก็เข้าไปเรียนได้ เพราะเมื่อเด็กรับรู้คุณค่าของตนเองแล้วถงึ
จะต้องไปเรียนกบั รุ่นน้องกไ็ ม่มีปัญหา ดว้ ยครจู ะคอยตดิ ตามตลอด
เรื่องของจิตใจ...ไม่ใช่ไข้หวัดที่จะรักษาให้หายได้ในเวลาไม่นานนัก เรื่องของจิตใจต้อง
ติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง
เมื่อถกู ถามวา่ "ทำงานเหนอื่ ยไหม"คำตอบท่ปี ระทบั ใจคอื การตอบดว้ ยคำถามว่า
"คุณคิดว่าพวกเรารักในงานน้ีมากแค่ไหนละ่ ”
แม้แตค่ นที่ (เนอื้ ตวั จิตใจ) เต็มไปดว้ ยความแปลกแยก โดดเด่ียว และรสู้ ึกไรค้ ่า
เมอื่ การรับรูเ้ ปล่ยี นไป ยังสามารถสร้างชวี ิตใหมไ่ ด้อยา่ งมคี ณุ ค่า
การรับรู้ว่าเราทกุ คนมีฐานะพลโลก
อาจเปล่ียนแปลงความคิดและการลงปฏิบตั ิของเราได้
มารว่ มสร้างเรือ่ งราว...เพอื่ เปลีย่ นแปลงการรบั รู้ของเราและผูค้ นไปดว้ ยกัน
20
มาทดสอบการรับรกู้ นั
ใชจ้ ินตนาการในระหว่างอ่านข้อความตอ่ ไปน้ี
ในวันที่อากาศดี เรากำลังถือตะกร้าเดินเข้าไปในไร่ข้าวโพดหลังบ้าน ต้นข้าวโพดสูง
ท่วมศีรษะ เว้นระยะห่างกันเป็นแถว ภาพสีเขียวทำให้รู้สึกสดชื่นและต้นข้าวโพดเต็มไปด้วย
ฝกั ข้าวโพดมากมาย เราคอ่ ยๆเดนิ เขา้ ไปแล้วใช้มอื เกบ็ ฝกั ข้าวโพดมาใส่จนเตม็ ตะกร้า จากนนั้ จงึ
เดนิ กลบั เขา้ มาในบา้ น เราวางตะกร้าขา้ วโพด หยิบฝักข้าวโพดขึ้นมา ปอกเปลอื กข้าวโพด...
คำถามคือ คุณคดิ ว่าจะมองเห็นฝกั ข้าวโพดมีสีอะไร
ซึ่งคำตอบอาจจะเป็นสีเหลือง สีมว่ ง สีขาว
แต่อย่าลืมว่า ยังมีข้าวโพดสีรุ้ง ข้าวโพดที่หลากหลายสีสันอยู่บนฝกั เดียวกัน อาจเพราะ
มีเมล็ดพันธุ์ปนมา เราอาจตื่นเต้นหรือผิดหวัง เมื่อสิ่งที่เห็นไม่เป็นไปตามที่คิด สิ่งนี้สะท้อนให้
เห็นว่าเราส่วนมากจะมีบรรทัดฐานอยู่ในใจ นั่นมาจากการรับรู้และประสบการณ์ต่างๆ ที่เรา
ผ่านมา แต่หากต้องพบเจอความแตกต่าง ความแตกต่างนั้นไม่ใช่ความไม่ถูกต้องหรือสิ่งที่ต้อง
กำจัดทิ้งไป แต่คือการเปิดใจค่อยๆเรียนรู้ในความแตกต่างนั้นด้วยการเคารพความหลากหลาย
น่นั เอง
ภาพท่ี 16 ข้าวโพดสีรงุ้
เพราะโลกใบนี.้ ..
ผคู้ นมปี ระสบการณ์ มกี ารรบั ร้ทู ่แี ตกตา่ งกนั
สิง่ ทเ่ี ราจะรว่ มดว้ ยช่วยกนั ได้คือ
การเปดิ ใจใหส้ ่งิ ตา่ งๆ
ท่แี ตกต่างไปจากบรรทัดฐานหรือความเชื่อของเรา
สรา้ งการรบั รู้ในความหลากหลาย...
พรอ้ มทีจ่ ะเรยี นร.ู้ ..เพ่ืออยู่รว่ มกัน
21
ครูมีหน้าท่สี รา้ งประสบการณ์การเรยี นรทู้ ่ีหลากหลาย
...สุดทา้ ยเดก็ จะตดั สนิ ใจเองวา่
จะเป็น จะอยู่ และปฏิบัตแิ บบใด
แม้จะทำไดแ้ ค่นน้ั
แตเ่ ราตอ้ งทำใหด้ ที ส่ี ดุ เพราะเราเป็นครู
-กมลรัตน์ ฉมิ พาลี-
22
บทที่ 4
ครวู ิทยาศาสตร์สอนใหเ้ ดก็ คิดเรอื่ งพลโลกไดอ้ ยา่ งไร
“เพียงแค่เด็กคดิ ว่า จำเป็นตอ้ งคิดเกยี่ วกบั สงิ่ นนั้ การสอนครง้ั นัน้ กม็ ีความหมายแลว้ ”
ครแู ซนทอสจากประเทศฟลิ ิปปนิ ส์ เชอ่ื ว่าความเปน็ วิทยาศาสตร์ไมแ่ บง่ แยกเช้ือชาติ
ไม่แบ่งแยกผิวพรรณ ภายใต้ความวทิ ยาศาสตร์ พวกเราลว้ นเป็นหนง่ึ เดียวกัน (In Science,
We are United. In Sciencia Nos Solidaritas) จงึ พฒั นากจิ กรรมการเรียนการสอน
วิทยาศาสตรโ์ ดยบูรณาการเป้าหมายการพัฒนาทยี่ ง่ั ยนื (SGDs) สรา้ งเป็นกิจกรรมทง้ั 10
เป้าหมายเพอ่ื พฒั นาความเปน็ พลโลกให้กบั นกั เรยี นชัน้ มธั ยมศกึ ษาปีท่ี 2 ดังน้ี
1. Zero Hunger 6. Responsibility Consumption and Productions
2. Clean water and sanitation 7. Sustainable cities and communities
3. Good health and well-being 8. Climate action
4. Quality education 9. Life below water
5. Affordable and clean energy 10. Life and Land
ซ่งึ จากการพิจารณาจะพบว่า เป้าหมายเหล่านีส้ ามารถบรู ณาการกับเนอื้ หาสาระ
วิทยาศาสตร์ได้ โดยกิจกรรมไม่ได้มุง่ เน้นที่ความรเู้ พียงอย่างเดยี วแต่จะมงุ่ พฒั นาผ้เู รียนในด้าน
ความรับผดิ ชอบต่อสงั คม ความห่วงใยตอ่ ส่งิ แวดลอ้ มและรบั ร้ถู ึงพนั ธะสญั ญาในการพัฒนา
อย่างย่งั ยนื
ตัวอย่างกิจกรรมวิทยาศาสตร์บูรณาการร่วมกับเป้าหมายข้อ 3 Good health and
well-being ทำให้เห็นการกระจายของเชื้อโรคและการตัดวงจรการกระจายเชื้อโรค
(Germ Buster) ครูให้นักเรียนล้อมวงจากนั้นให้หลับตาพร้อมส่งผ้าเช็ดหน้าต่อๆกัน
(ที่ผ้าเช็ดหน้าจะมีกลิตเตอร์) จากนั้นเมื่อ นักเรียนลืมตาครูเปิดเพลงสันติภาพ ให้นักเรียน
ล้อมวงจับมือเพื่อนไปเรื่อยๆ เมื่อจบเพลงทุกคนสังเกตที่มือของตนเอง ทุกคนจะพบ
กลิตเตอรท์ ่มี อื ตนเอง คำถามคอื กลติ เตอรก์ ระจายไปไดอ้ ยา่ งไร แลว้ เชือ้ โรคละ่
จากนั้นเราจะทำการตัดวงจรของการแพร่กระจายเชื้อโรคได้อย่างไร ถ้าเราใช้ผ้า
สะอาดห่อมือถือและเปลี่ยนทุกครั้งที่ส่งต่อ มือของเราจะเป็นอย่างไร ผ้าสะอาดที่ห่อมือถือ
เปรยี บกบั การล้างมือดว้ ยน้ำสบใู่ ห้สะอาดทกุ คร้งั จะช่วยลดการแพร่กระจายของเช้ือโรค
23
ในกิจกรรมนี้ถ้าต้องการให้นักเรียนตระหนักในความสะอาดของการล้างมือด้วยน้ำสบู่
สามารถใช้กิจกรรมน้ีเพิ่มเติมได้ กิจกรรม “ล้างน้ำเปล่าเอา (เชื้อโรค) ไม่ออก” โดยใช้อุปกรณ์
ในครัวอย่างง่าย คือพรกิ ไทย เมอื่ เทนำ้ ลงในชาม โรยพริกไทยลงไปจะลอยอยบู่ นผิวนำ้ จากนั้น
จุ่มนิ้วชี้ลงไป พริกไทยจะติดนิ้วมือขึ้นมาจากนั้นใช้นิ้วชี้อีกข้างจุ่มลงไปในโฟมล้างมือจุ่มลงไป
ในนำ้ จะพบว่า พริกไทยจะแยกออกจากกันและไม่ติดน้ิวมือข้ึนมา (อาจจะใช้ยางรัดของแทนนิ้ว
มือได้) ซึ่งจะทำให้เดก็ ๆเหน็ วา่ การล้างมือดว้ ยสบู่หรอื โฟมลา้ งมอื จะสามารถทำลายเช้ือโรคได้
ผงพริกไทยลอยเตม็ ผิวนำ้
วางยางลงบนจานท่มี พี ริกไทยลอยอยู่ นำยางไปจ่มุ ลงในสบู่เหลวล้างมอื
นำมาวางบนจานทมี่ พี รกิ ไทยลอยอยู่
ภาพที่ 17 การสาธติ กิจกรรมด้วยพรกิ ไทย
24
อธบิ ายด้วยหลกั การทางวทิ ยาศาสตร์
เมื่อสบู่ละลายน้ำจะอาศัยหลักการปลายทางด้านไม่มีขั้วของโมเลกุล เป็นส่วนที่ไม่ชอบ
น้ำ สามารถละลายไขมันและน้ำมันได้ ขณะที่อีกด้านเป็นส่วนที่มีขั้วหรือไอออนิก จะจับกับ
โมเลกลุ น้ำได้ดี คุณสมบัตขิ ้อนี้ทำให้สบู่มีประสทิ ธิภาพท่สี ุดในการลา้ งเช้ือโรคหรอื ไวรัส
เมอ่ื ล้างมือด้วยสบู่ เชือ้ จะถูกลอ้ มรอบด้วยไขมันและโปรตีน สบู่จะแยกไขมันเหล่าน้ี
ออกจากกันและส่วนที่ไม่มีขั้วบางตัวจะเข้าไปรวมตัวกับไขมัน เพื่อแยกโปรตีนและไขมันที่เปน็
เกราะป้องกันไวรัสจับตัวกันอยู่หลวมๆ ทำให้สบู่สามารถทำลายเกราะป้องกันของไวรัสได้
ง่ายดาย เมอ่ื เกราะคุ้มกันแตก เชอื้ ไวรสั กแ็ ตกออกดว้ ยและหมดฤทธไิ์ ปในท่สี ุด
ควรมือล้างมืออย่างน้อย 20 วินาที เพื่อให้สบู่ได้ทำปฏิกิริยาอย่างเต็มที่และถูมือได้
ทุกซอกทกุ มมุ ท้งั สองมือ
เทคนิคการลา้ งมอื ให้สะอาด ต้องลา้ งอยา่ งนอ้ ยนาน 20 วินาที ประมาณการร้องเพลงช้าง
หรือเพลง Happy Birthday 2-3 รอบ
เมื่อนักเรียนได้มีประสบการณ์เกี่ยวกับการแพร่กระจายของไวรัสที่เราไม่สามารถ
มองเห็นด้วยตาเปล่า แต่เชื้อโรคเหล่านั้นมีอยู่จริงและทำให้เราเจ็บป่วย นำมาซึ่งการสูญเสีย
ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาและบางครั้งนำมาซึ่งการสูญเสียชีวิต การป้องกันง่ายกว่า
การรักษา การล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดทุกครั้งหลังทำกิจกรรม จะช่วยให้หยุดวงจรของ
การกระจายตวั ของไวรัสได้
ครูควรฉายคลิปให้นักเรียนได้เห็นถึงการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส ตั้งแต่อีโบลา
(Ebola) ซาร์ (SARs) เมิสร์ (MERS) และ โควิด-19 (COVID-19) ล้วนเป็นโรคที่เกิดจากไวรัส
ซึ่งแพร่กระจายผ่านทางอากาศ สารคัดหลั่ง แพร่กระจายจากคนสู่คน จากการสัมผัส (ผ่าน
ผิวหนงั ที่ถลอกหรอื ผา่ นเย่ือบุ) เลอื ด, อวยั วะ หรอื ของเหลวอนื่ ๆ จากรา่ งกายของผตู้ ิดเช้อื และ
ผ่านการสัมผัสทางอ้อมจากสิ่งแวดล้อมท่ีปนเปื้อนของเหลว เชือ้ โรคเหล่านอี้ าจทำให้เสียชีวิตได้
การสร้างความตระหนักให้เด็กๆดูแลความสะอาดและดูแลสุขภาพเบื้องต้นของตนเองด้วย
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ จึงเท่ากับสร้างความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อสังคม สอดคล้องกับ
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อที่ 3 Good Health and Well-being ด้านสุขภาพและความ
เปน็ อยทู่ ี่ดีอีกด้วย
25
ตวั อย่างกิจกรรมจาก Seed : STEM5
กิจกรรมวัดความขุ่นของน้ำด้วยสมาร์ทโฟน หลักการทางวิทยาศาสตร์คือการกระจาย
การดูดกลืนและการสะท้อนแสง เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อที่ 3 สุขภาพและการเป็นอยู่
ที่ดี และข้อที่ 6 การจัดการน้ำและสุขาภิบาล เพราะมนุษย์จำเป็นต้องได้รับการจัดการน้ำที่
สะอาด ปลอดภัย มีคุณภาพ เพ่ือสขุ ภาพและการเป็นอยู่ท่ดี ี
กิจกรรมนี้จะปูพื้นฐานความรู้ว่า ความขุ่นเป็นตัวชี้วัดที่บอกคุณภาพเบื้องต้น
ของนำ้ ได้ โดยอาศยั หลักการทว่ี า่ การกระจายแสงจะเกดิ ขน้ึ เม่ือลำแสงตกกระทบลงบนอนุภาค
ขนาดเล็กที่ละลายอยู่ในน้ำแล้วเกิดการซึมซับ จากนั้นจึงกระจายออกไปทุกทิศทุกทาง ขนาด
ของอนุภาคที่กระจายแสงนั้นจะมีขนาดเกือบเท่ากับขนาดความยาวคลื่นของแสงเอง แสงที่
สามารถมองเห็นได้ด้วยตา จะมีความยาวคลื่นอยู่ที่ 400-700 นาโนเมตร แสงที่กระจายออกมี
คุณสมบัติที่ต่างจากแสงที่ได้รับมาเล็กน้อย สีที่เปลี่ยนไปนอกจากการกระจายของแสงแล้ว
อนุภาคในนั้นก็จะสามารถสะท้อนแสง การสะท้อนแสงจะมองเห็นได้ชัดเจนเมื่อขนาดของ
อนุภาคมีขนาดใหญก่ ว่าความยาวคลื่นของแสงทีไ่ ด้รับมา ยิ่งมีอนุภาคในน้ำมากเท่าไร แสงก็จะ
ยิ่งกระจายตัวหรือสะท้อนได้มากขึ้นเท่านั้น การดูดซับของแสงทำให้เกิดความเข้มของแสงท่ี
ส่องผ่านเพื่อให้ปริมาณแสงค่อยๆลดลงระหว่างการเดินทางหรือค่อยๆหายไป หากน้ำมี
สารละลายที่หนาแน่นและขุ่นเกินไป นี่คือความสัมพันธ์ของการกระจาย การสะท้อนและการ
ดูดกลืนของแสงกบั ความขุ่นของนำ้
ภาพที่ 18 Application ทใี่ ชว้ ัดแสงและการแสดงผลการวัดแสง
26
ข้นั ตอนการทำกิจกรรมคอื
1. นักเรียนต้องดาวโหลด application ที่ใช้วัดความเข้มแสง เช่น Light Meter ซึ่งจะ
บอกค่าตา่ งๆโดยยดึ จากปริมาณของแสงทีจ่ บั ได้ด้วยกล้อง
2. ใช้แก้วใสเป็นอุปกรณ์ใส่น้ำ หากมีสมาร์ทโฟนสองเครื่องใช้เครื่อง หนึ่งเปิด
แอปพลิเคชัน Light Meter และใช้อีกเครื่องหนึง่ เป็นไฟฉาย หรืออาจใช้วงจรไฟ LED ที่ทำเอง
เปน็ แหล่งกำเนดิ แสงกไ็ ด้
3. วางไฟไวใ้ ตแ้ กว้ น้ำเพอ่ื ใหแ้ สงสวา่ งอย่ดู ้านลา่ งของก้นแกว้ ใช้กล้องจากสมารท์ โฟน
อีกเครื่องหนึ่งเป็นเซ็นเซอรว์ ัดแสงเพื่อจับแสงที่กระจายหรือสะท้อนออกมาจากอนุภาคที่อย่ใู น
นำ้ สามารถนำกลอ้ งสมารท์ โฟนทีเ่ ปดิ แอปพลเิ คชัน light Meter มาวางติดกับแกว้ น้ำได้
4. สงั เกตการเปล่ยี นแปลงของตวั เลขท่ีแสดงบนหน้าจอของสมาร์ทโฟนทกุ คร้ังทีม่ ี
การเปลย่ี นแปลงความข่นุ ของนำ้ เชน่ เมอื่ เตมิ นมลงไปทีละเลก็ น้อย ตรวจสอบใหม้ นั่ ใจทกุ ครั้ง
ที่หยดนมลงไปทีละหยด รอสักครูให้เจือจางจนทั่วก่อน (สามารถเปลี่ยนจากนมเป็น เกลือ
นำ้ ตาล หรือชาได้)
คำถามชวนคดิ
เมอ่ื หยดนมลงไปในแกว้ อย่างต่อเนอื่ ง ส่งผลตอ่ การสะท้อนหรอื การกระจายแสงอย่างไร
(คา่ ทว่ี ัดได้จากสมารท์ โฟนเปน็ อยา่ งไร)
จากหลักการทท่ี ดลองเบื้องตน้ จะทำใหเ้ ราสามารถไปเก็บน้ำในบรเิ วณต่างๆรอบๆ
โรงเรียนหรอื หมู่บา้ น มาทำการวดั ความขุ่นของน้ำได้
คำถามเชื่อมโยงสู่ SDGs
1. เราสามารถทำให้นำ้ ทีข่ ุ่นใสขึ้นไดห้ รือไม่ (การกรองหรือการแกวง่ สารส้ม)
2. มีเครอ่ื งมอื หรือนวตั กรรมใดท่ชี ว่ ยใหผ้ ู้คนทข่ี าดแคลนน้ำสะอาด มโี อกาสเขา้ ถงึ นำ้
ที่ปลอดภัยสำหรบั ผ้คู น (เช่น โครงการWine to water และ อุปกรณ์ life straw)
3. ในฐานะที่เราอยู่ในประเทศที่มีน้ำดื่ม น้ำใช้ที่มีความสะอาดและความปลอดภัย
เราจะมีวิธีการใชน้ ้ำใหค้ ้มุ ค่าอยา่ งไร
4. ใช้คำถามให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นว่า คิดอย่างไรกับข้อความที่ว่า “บนโลกใบนี้
มีคนมากมายอยู่ได้แม้ไร้รัก แต่ ไม่มีใคร อยู่ได้แม้แต่คนเดียวหากขาดน้ำ”
5. นำภาพประเทศที่ยังขาดแคลนน้ำและยังไม่สามารถเข้าถึงน้ำสะอาด เพื่อเป็น
จุดเริ่มตน้ ของการสนทนาว่า ทำไมเราถึงมีน้ำสะอาดใช้
27
ตวั อยา่ งการนำบทความมาอภิปราย
ศาสตราจารย์เจฟฟี่ แชคส์6 จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ดำรงตำแหนง่ เป็นผู้อำนวยการ
สถาบันของ The Earth Institute คาดการณ์ว่าสงครามครั้งต่อไปอาจเกิดจากการแย่งชิงน้ำ
เพราะน้ำเป็นปัจจัยสำคัญของการดำรงชีวิตและการเกษตร ประเทศที่ขาดน้ำจะนำไปสู่ความ
ยากจน ความยากจนจะนำไปสู่การแยง่ ชงิ และนำไปสู่สงคราม
ประเทศไทยกับภัยแล้ง7 กรมอุตุนิยมวิทยาบันทึกว่า ปี 2562 มีปริมาณฝนน้อยที่สุด
และแล้งมากในรอบ 40 ปี เขื่อนขนาดใหญ่หลายที่พบว่ามีปริมาณน้ำน้อยกว่า 30% นำมาสู่
ความกังวลใจของชาวบ้าน ภาคเอกชน นักลงทนุ เกรงวา่ ปี 2563 นำ้ อาจไมเ่ พยี งพอตอ่ ภาคการ
ผลติ โดยเฉพาะภาคเกษตร ภยั แลง้ สร้างความเสยี หายทำใหส้ ญู เสยี เงนิ มากกว่า 8,000-10,000
ล้านบาท เกษตรกรมีรายได้ลดลง แต่ค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น หนี้ครัวเรือนจึงสูงมากขึ้นด้วย
เราจะยังมีน้ำใช้ต่อไปในอนาคตหรือไม่ ซึ่งคำตอบเหล่านี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับรัฐบาลเพียงอย่างเดียว
แต่ขนึ้ อยูก่ บั เราทุกคนดว้ ยเช่นกัน
ผู้ใหญ่หลายคนโชคดี8 ที่เติบโตมาในยุคสมัยที่เคยเห็นแม่น้ำลำคลองหลายแห่งใน
ประเทศไทยยังใสสะอาด มองเห็นปลา กุ้ง เต่าว่ายไปมาในน้ำ แต่ทุกวันนี้แม่น้ำลำคลองหลาย
แห่งทั้งในเมืองหลวงและต่างจังหวัด มีความแตกต่างจากในอดีตอย่างชัดเจน ทั้งมีสีดำ มีกล่ิน
เหม็น กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลกู น้ำ ยงุ และแมลงวนั ตอมของเน่าเสียทีอ่ ยู่ในแม่น้ำ ในท่ีสุดก็
จะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค สาเหตุที่ทำให้แม่น้ำลำคลองกลายเป็นน้ำเน่าเสีย มาจาก 3 แหล่ง
ดังนี้ 1. แหล่งน้ำเสียที่เกิดจากชุมชน (Domestic Wastewater) 2. แหล่งน้ำเสียที่เกิดจาก
อุตสาหกรรม (Industrial Wastewater) 3. แหล่งน้ำเสียที่เกิดจากเกษตรกรรม (Agricultural
Wastewater)
ครูใชค้ ำถามใหน้ ักเรยี นอ่านประเดน็ ต่างๆ จากบทความ เชน่ นกั เรยี นรู้สึก
อย่างไร เกิดความคดิ อย่างไรบ้างจากการได้ข้อมูลเหลา่ นี้ ชวนนกั เรียนออกสำรวจแหล่ง
นำ้ จากโรงเรียน/หมู่บา้ น มีเพยี งพอได้อยา่ งไร ใครเป็นคนจดั การระบบน้ำในโรงเรียน/
หมบู่ ้าน มีระบบการจดั การอยา่ งไร มีโอกาสทโ่ี รงเรยี นจะขาดนำ้ หรอื ไม่ หรอื มีกจิ กรรมใด
ทสี่ ง่ ผลต่อระบบน้ำของโรงเรยี นบ้างหรือไม่ เราจะมีส่วนช่วยอนุรักษ์น้ำได้อย่างไรบา้ ง และ
เราจะแบง่ ปันข้อมลู น้เี พ่อื สรา้ งการรับรู้ใหค้ นอืน่ ได้อย่างไรบา้ ง
28
เมื่อครั้งที่ได้รับทุน Teacher Excellence Achievement ปี 2560 (Fulbright) ได้มี
โอกาสไปเยี่ยมชม โครงการ Win to Water ที่เกิดจากความคิดของบาร์เทนเดอร์หนุ่มใน
ระหว่างชงเครื่องดื่ม ในบาร์แห่งหนึ่ง ผู้ก่อตั้งได้มีโอกาสใช้ชีวิตในประเทศซูดาร์นและ
แอฟริกา เพื่อติดตั้งระบบน้ำให้กับเหยื่อที่ถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ แต่แล้วชีวิตก็ไม่เหมือนเดิมอีก
ต่อไป เมื่อสูญเสียสมาชิก 2 จากการถูกฆ่าในระหว่างทำงาน จึงดินทางกลับมายังบ้านเกิด
ทำงานเพอื่ หวังจะลบความทรงจำ แต่แล้วบาดแผลในคร้งั น้นั กลบั ทำให้อยากมอบนำ้ ทส่ี ะอาด
และปลอดภัยให้กับผู้คนในถิ่นทุรกันดารและประสบภัยจากสงคราม จึงได้คิดริเริ่มโครงการ
สร้างน้ำสะอาดและปลอดภยั ให้กบั ผคู้ นในขณะท่ที ำงานในบารน์ น้ั เอง
โดยนำเงินสะสมที่มีมาเป็นกองทุนการพัฒนานวัตกรรมเครื่องกรองน้ำทั้งแบบพกพา
เครือ่ งกรองแบบถงั และการใชเ้ ครื่องปน้ั ดินเผาเซรามิกกรองนำ้ เพื่อช่วยให้ผูค้ น มีสิทธ์เิ ข้าถงึ
น้ำที่มีคุณภาพในการดำรงชีวิต นี่คือจุดเริ่มต้นของ Wine to Water (เปลี่ยนไวน์กลายเป็น
น้ำ)
ภาพท่ี 20 เคร่อื งปัน้ ดินเผา ภาพ 19 หลอดกรองนำ้
เซรามกิ กรองน้ำ จากโครงการ Wine to
Water และภาพแสดง
การใชห้ ลอดกรองน้ำ
จากเพจ I fucking love
science ซ่งึ หลอดกรอง
สามารถฆ่าเชอ้ื โรคตา่ งๆใน
น้ำไดถ้ ึง 99.99%
29
ภาพท่ี 21 เครือ่ งกรองน้ำแบบถงั
ภาพที่ 22 ประทบั ใจกบั ทีมงาน Wine to Water
การจัดการเรียนการสอนแบบนี้สามารถทำใหเ้ ด็กๆเรียนรกู้ ารกระจาย การดูดกลนื
การสะท้อนแสง และการสร้างเครอ่ื งกรองนำ้ ซ่งึ เป็นความรู้ หลกั การและทกั ษะทาง
วิทยาศาสตร์ ได้เหน็ ประโยชน์ของการนำวิทยาศาสตร์ไปช่วยเหลอื ผู้คนนอกจากนย้ี ังไดเ้ รยี นรู้
เปา้ หมายการพฒั นาทยี่ ัง่ ยืน (SDGs) ข้อที่ 6 clean water and sanitation: การจดั การน้ำ
และสุขาภิบาลอีกด้วย
การทำประโยชนเ์ พ่อื ผู้อน่ื ไมว่ า่ จะเล็กน้อยเพยี งใด ก็ไม่เคยไร้ค่า
สงิ่ เหล่านี้ไม่เพียงเปล่ยี นแปลงตวั เรา แต่ยังเปลี่ยนแปลงโลกใบนีไ้ ปด้วย
30
ถ้าต้องรอจนมัน่ ใจ...อาจจะไมไ่ ด้ทำอะไรเลย
ลงมอื ทำตอนน.้ี ..ประสบการณ์จากการปฏิบตั ิน่ันแหละ
จะสรา้ งความมนั่ ใจให้เราเอง
-กมลรัตน์ ฉมิ พาลี-
31
บทที่ 5
เรียนรู้แล้วลองทำ
“Those that know do, those that understand teach.” — Aristotle
“เม่อื รู้แลว้ ลองทำ เมื่อเขา้ ใจแลว้ จงึ สอน” อรสิ โตเติล
ประสบการณ์การออกแบบกิจกรรมการเรียนรูท้ ีบ่ ูรณาการกับ SDGs
เมื่อได้ปฏิบัติหน้าที่การสอนโรงเรียนการศึกษาพิเศษ ณ เมืองกังนัม ที่มีการสอนตั้งแต่
ระดับอนุบาลไปจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้รับมอบหมายให้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มี
นักเรียน 6 คน แม้ไม่เคยมีประสบการณ์ในการสอนด้านการศึกษาพิเศษและการสอนช้ัน
ประถมศึกษาเลย แต่ในฐานะครูแลกเปลีย่ นทำหน้าที่เป็นตวั แทนครูไทย ต้องเปิดใจเรียนรู้ เพื่อ
ปรบั ตวั ใหส้ ามารถสร้างสรรคง์ านด้านการสอนให้ได้ ในเวลานั้นต้องทำการบ้านและการเตรียม
สอนหนกั ข้นึ เทา่ ตวั
ครปู ระจำชัน้ ท่ีสอนรว่ มกัน (Co-teacher) ใหข้ ้อมลู การสอนเบอื้ งต้นวา่ หลักการ
การออกแบบกจิ กรรมการสอนจะประกอบด้วย
1. Theme หรือหัวข้อที่จะสอนนักเรียนในแต่ละสัปดาห์ เช่น สัปดาห์แห่งการขอบคุณ
สปั ดาหแ์ หง่ ความปลอดภยั สปั ดาห์แห่งนทิ าน สปั ดาหแ์ ห่งเทศกาล สปั ดาห์แหง่ วฒั นธรรม ฯลฯ
2. ทกุ กิจกรรมนักเรยี นตอ้ งมีการเคลอ่ื นไหวร่างกาย (Physical movement) จะใหเ้ ด็ก
แค่ฟังหรือดูอย่างเดียวไม่ได้ เด็กต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้วย ต้องได้ หยิบ จับ สัมผัส
และลงมือทำ
3. สอดแทรกวทิ ยาศาสตร์ วัฒนธรรมหรอื คณติ ศาสตร์ในกจิ กรรม
4. บรู ณาการสร้างการรบั รเู้ ก่ยี วกับเป้าหมายการพัฒนาท่ยี ่ังยืน
ภาพท่ี 22 หลกั การ 3 สว่ นในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
1. การเคลอื่ นไหวร่างกาย 2. ใสค่ วามเป็นวิทยาศาสตร์ 3. ความเปน็ พลโลก
32
ในสัปดาห์แรก จะมีการเรียนการสอนเรื่องการขอบคุณและการขอโทษ โดยย้อนกลับ
ไปดูเป้าหมายทัง้ 4 ขอ้ เพ่ือการออกแบบการเรยี นการสอน
ตัดสินใจเลือกกจิ กรรมไหว้ครู เพื่อแสดงถึงวัฒนธรรมความเป็นไทย เรียนรู้การขอบคณุ
การขอโทษหรือขอขมาด้วยความนอบน้อม (ถือเป็นการเอาฤกษ์เอาชัยในการสอน ให้กำลังใจ
ตัวเอง) การเรียนรู้เรื่องต้นไม้และดอกไม้ ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ จากนั้นเชื่อมโยงกับเป้าหมาย
การพัฒนาทย่ี ่งั ยนื (SDGs) ในหัวข้อ 13: การรบั มอื การเปล่ียนแปลงสภาพภูมอิ ากาศ
เราวางแผนร่วมกันว่าจะเริ่มกิจกรรมด้วยการพาเด็กๆออกไป สำรวจ ต้นไม้ ใบไม้
ดอกไม้ที่สวนและให้นักเรียนเลือกมาคนละ 1 ต้น (ต้องขออนุญาตครูผู้ดูแลสวนและให้เด็กๆ
กล่าวขอบคุณก่อนเด็ดดอกไม้และใบไม้) อธิบายส่วนประกอบของต้นไม้ ราก ใบ ดอก ผล
(Science) นำมาจัดแจกันดอกไม้ (Physical activity) สาธิตการไหว้ครู จากนั้นอธิบาย
ความหมายของพานดอกไม้ (Cross-culture) นำเสนอความสำคัญของต้นไม้ต่อสรรพสิ่งและ
โลกใบน้ี (SDGs)
ภาพท่ี 23 บริเวณสวนของโรงเรยี นและการเรียนรู้เรื่องต้นไม้
ทง้ั จากของจรงิ และเปรยี บเทยี บกบั ในหนงั สือ
ความละเอยี ดลออในการสอน คอื สิง่ ท่ที ำใหค้ รแู ต่ละคนมีคุณลักษณะแตกต่างกัน ดงั นั้น
การใส่ใจในรายละเอียดการสอนมีความสำคัญมาก ซึ่งเราเองก็ได้เรียนรู้จากครูเกาหลี นับว่า
เป็นการทำงานด้วยรูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning
Community: PLC) ร่วมกัน เพราะครูพี่เลี้ยง (mentor) และครูสอนร่วม Co-teacher ต้อง
เข้าใจทุกอย่างที่จะสอนเพื่อแปลให้เด็กๆ เข้าใจด้วย ช่วยเสนอแนะในสิ่งที่เราต้องระมัดระวัง
หรือเสริมกิจกรรมเพื่อให้การออกแบบการเรียนการสอนครอบคลุมและช่วยให้นักเรียนบรรลุ
วัตถุประสงคก์ ารเรยี นการสอน
33
ระหว่างที่เดินชมสวน ให้เด็กลองอยู่ใต้ต้นไม้ กับยืนกลางแดด นักเรียนชอบแบบไหน
(แม้ที่เกาหลีจะอากาศหนาวแต่เด็กจะตอบว่าชอบอยู่ใต้ร่มไม้) จากนั้นนำหนังสือแบบเรียนมา
ศกึ ษาส่วนตา่ งๆของตน้ ไม้ อธิบายองค์ประกอบของต้นไม้ และให้นักเรยี นเปรียบเทียบกับต้นไม้
ในสวน ตั้งคำถามว่าแต่ละส่วนของตน้ ไม้ มีหน้าที่สำคัญอยา่ งไร ถ้าตอบได้ กล่าวขอบคณุ ต้นไม้
ดอกไม้ทีท่ ำหนา้ ทีอ่ ย่างดี จากน้ันสามารถเลอื กหยิบตน้ ไม้ได้ 1 ชนดิ เพ่อื นำมาใส่แจกนั ชวนให้
เด็กๆคิดว่าทำไมเราชอบมอบดอกไม้แทนการชื่นชม แทนกำลังใจ แทนการขอบคุณให้กันและ
กัน (แนวคำตอบ เพราะดอกไม้เปรียบเสมือนการอดทนจนเหมาะสมกว่าที่จะบาน เพราะ
ดอกไม้เป็นผู้ให้อาหารแก่แมลง ดอกไม้สืบเผ่าพันธุ์ ดอกไม้เป็นสัญลักษณ์แห่งฤดูกาล และ
ดอกไม้ทำใหเ้ รารสู้ ึกสดช่นื สบายใจ ซ่ึงคนท้ังโลกใชด้ อกไม้ในกจิ กรรมตา่ งๆของวิถีชีวิตเสมอ)
สำหรับพิธีการไหว้ครูของคนไทยเป็นการแสดงความระลึกถึงพระคุณครู ซึ่งมีการทำ
พานดอกไม้ ซึ่งภายในพานดอกไม้ไหว้ครู นอกจากจะมีธูปเทียนแล้ว ยังมีข้าวตอก ดอกมะเขือ
ดอกเข็ม และหญ้าแพรก ซงึ่ เป็นของหางา่ ยและมีความหมายดี ๆ ทแี่ ฝงอยอู่ ีกดว้ ย
มีสติปัญญาให้เฉียบคมราวกับเข็ม จึงเลือกดอกไม้ที่มีชื่อและลักษณะคล้ายความหมาย
จึงเลือกใช้ ดอกเขม็
มคี วามอดทนจนเกิดความเจริญงอกงาม แทนด้วย หญ้าแพรก
มีความบรสิ ุทธิ์ ความซอื่ สัตย์ ออ่ นน้อม แทนด้วย ดอกมะเขอื
มคี วามมวี นิ ัย รู้จกั ควบคุมตัวเอง แทนดว้ ย ข้าวตอก (ฝึกฝนตามขนั้ ตอนได้เพราะกว่าจะ
ทำให้ขา้ วเปลอื กเปน็ ข้าวตอกไดต้ อ้ งคว่ั อย่างสมำ่ เสมอและใชเ้ วลา)
(กิจกรรมเพิม่ เติม ให้นักเรียนลองเสนอว่า หากจะใช้ตน้ ไม้ ดอกไมท้ เ่ี กาหลี เพือ่ แสดงถึง
สัญลักษณ์ตา่ งๆ นกั เรยี นจะเลือกใช้ต้นอะไร ใช้แทนลกั ษณะใด เพราะอะไร)
เมื่อจัดแจกันเสร็จก่อนจะมอบพานให้คุณครู จึงชวนเด็กๆคิดต่อว่า พานดอกไม้นี้ แทน
พันธะสัญญาต่อกันอย่างไรบ้าง เด็กๆบอกว่าให้ ซอนเซนิม (คุณครู) ใจดี และเด็กๆก็จะใจดีกบั
คุณครเู ชน่ กนั
ภาพที่ 24 ผลงานพานดอกไมไ้ หว้ครู
34
จากนั้นเราจึงถามเด็กๆว่า ยังจำความรู้สึกตอนยืนในร่มกับตอนยืนกลางแดดได้ไหม
รู้สกึ อย่างไร ถา้ โลกใบนไ้ี ม่มีต้นไม้ จะเกดิ อะไรขึน้ กับเรา เดก็ ๆ (ชน้ั ประถมศกึ ษาปีที่ 3) ก็จะให้
คำตอบว่า ร้อน ไม่มีดอกไม้ ไม่มีอาหาร จากนั้นให้เลือกรูปแทนความรู้สึก เด็กๆก็จะเลือกรูป
เศร้า เราก็ถามต่อว่า ทำอย่างไรดี เด็กจะตอบว่าช่วยกันดูแลต้นไม้ รดน้ำต้นไม้ เรานำภาพให้
เด็กๆเห็นวา่ โลกใบนร้ี อ้ นข้นึ เพราะต้นไมล้ ดลง เพราะคนทำลายตน้ ไม้ (เราสามารถนำฮีตเตอร์
(heater)) มาให้เด็กๆสัมผัสได้วา่ ความร้อนที่มากข้ึนเป็นอย่างไร) นำภาพหมีข้ัวโลกเหนือท่ไี มม่ ี
อาหาร เพราะธารนำ้ แข็งถูกทำลายมาใหน้ กั เรียนศกึ ษา
ดังนั้น คนทั่วโลกจึงร่วมใจกันดูแลต้นไม้และสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันการเกิดภาวะโลก
ร้อนและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่รุนแรง คนทุกคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งได้ เช่น การดูแล
รักษาต้นไม้ การใช้กระดาษอย่างรู้คุณค่าเพื่อลดการตัดต้นไม้ เป็นต้น เด็กๆอาจจะไม่ได้เข้าใจ
อย่างลึกซึ้ง แต่ก็ทำให้ได้รับรู้ว่า เกิดอะไรขึ้นบ้างและส่งผลกับตัวเด็กอย่างไร ที่สำคัญคือทำให้
ครูไทยและครูเกาหลี ได้มีประสบการณ์จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อเป้าหมายการพัฒนา
ทีย่ งั่ ยนื (SDGs) รว่ มกนั
กอ่ นทานข้าวพาเดก็ ๆเดนิ ไปอ่านปา้ ยบอกรักตน้ ไมท้ ่ีพๆ่ี
ป. 5 ทำป้ายไว้ จากวชิ าศิลปะทน่ี ักเรียนไดว้ าดภาพต้นไม้
และเขียนขอบคณุ เช่น
ภาพท่ี 25 ป้ายบอก ➢ ขอใหเ้ ตบิ โตไวๆ ต้นใหญ่แขง็ แรงในโรงเรียนของเรานะ
รกั ต้นไม้ ➢ ขอให้เพือ่ นรักตวั สเี ขียวมีความสุข
➢ ขอให้อารมณ์ดีในทกุ วันด้วยความรักจากพวกเรา
➢ กินน้ำมากๆ รับแสงแดดเยอะๆ โตเร็วๆนะ
เราอา่ นไปกย็ ้มิ ไป เป็นขอ้ ความน่ารกั ๆ
ท่ีแสดงให้เหน็ ถึงการปลูกฝังเรือ่ งการดแู ลต้นไม้ให้กบั นักเรยี น
ของโรงเรยี นแหง่ นี้
สปั ดาห์เรอ่ื งความปลอดภัยครสู อนรว่ ม (Co-teacher) ออกแบบกจิ กรรมเพื่อเรียนรู้การ
ป้องกันการถูกลักพาตัว ครูเริ่มต้นด้วยภาพเทศกาลชูซอกท่ีผู้คนเฉลิมฉลองคับคั่ง จากนั้นพา
เด็กล้อมวงจับมือเต้นเพลงท่ีแสดงถึงการเฉลมิ ฉลองของชาวเกาหลี ฝึกนบั จงั หวะของเพลง ครูก็
จะอธิบายว่าเวลาไปไหนกับพ่อแม่ให้จับมือไว้แบบนี้ เพราะถ้าเราไปสถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน
เราอาจจะพลัดหลงกับพ่อแม่หรอื อาจถูกลักพาตัวได้ จากนั้นนำเสนอคลิปรายงานข่าวเรื่องการ
35
ลักพาเด็กค่อยๆอธิบายว่าถ้ามีคนเอาขนมมาให้และชวนไปด้วย ควรจะไปด้วยไหม เด็กๆก็จะ
ตอบว่า ไม่ไป (อานีโย่) มีคนแปลกหน้ามาชวนคุยให้มือถือเล่นเกมชวนไปเที่ยว จะไปด้วยไหม
เด็กๆก็จะตอบว่าอานีโย่ (ไม่ไป) เปิดการ์ตูนเรื่องตำรวจกับการช่วยเหลือเด็กถูกลักพาตัว
จากนั้นครูพานักเรียน ไปเดินเล่นโดยให้จับมือเหมือนที่ซ้อมโดยมีกติกาว่า หากใครปล่อยมือ
ก็เท่ากับถูกลกั พาตัว ฝึกใหเ้ ด็กๆ ทำตามขอ้ ตกลงและมีสติในการทำกจิ กรรม
จากนน้ั เป็นหนา้ ที่ของครทู ี่ต้องออกแบบการเรียนการสอนเร่ืองความปลอดภัยบ้าง จึง
ปรกึ ษากับ Co-teacher ว่า จดั กิจกรรมการเรียนการสอนเป็นเร่อื งปลอดภัยจากเชื้อโรคได้ไหม
(แน่ล่ะ เราอยากลองนำกิจกรรมตัวอย่างที่ได้อ่านมาทดลองใช้) ก็ได้รับการตอบรับทันทีว่าเป็น
กิจกรรมทีด่ ี เพราะเป็นพ้นื ฐานในชวี ิตประจำวนั ท่เี ด็กๆตอ้ งเรียนรเู้ ร่อื งการล้างมอื
ในกิจกรมนจ้ี ะมีแผนการจัดการเรยี นรู้ ใหค้ ุณครชู ว่ ยวเิ คราะห์ไปพรอ้ มๆกนั
เป้าหมายการ วัตถปุ ระสงคก์ ารเรียนรู้
เรียนรู้พลโลก 1. นกั เรียนเข้าใจว่าอวยั วะรับสัมผสั ของมนษุ ยม์ ขี อ้ จำกัด จงึ ตอ้ งพัฒนา
เครอ่ื งมือทางวิทยาศาสตร์มาใชใ้ นการศึกษาหาความรู้
ความรู้ 2. นกั เรียนเขา้ ใจวา่ เช้อื โรคมรี อบตวั แมจ้ ะมองไม่เห็น ตอ้ งล้างมอื ให้
ความเข้าใจ สะอาดอย่เู สมอเพ่อื กำจัดเช้อื โรคและตดั วงจรการแพร่ระบาดของเชื้อโรค
(Cognitive) นักเรยี นตอ้ งตระหนักถงึ การปอ้ งกนั ตวั เองและสงั คม จากโรคภยั ต่างๆ
มีส่วนร่วมในการสื่อสารการป้องกนั เชอ้ื โรคท้ังทโ่ี รงเรียนและบา้ น
(จิตสังคม)
Social นักเรียนสามารถล้างมอื ได้ครบตามกระบวนการเพ่อื ปอ้ งกันเชื้อโรค
Emotional หลงั จากการเล่นและการทำกิจกรรมต่างๆ
(พฤติกรรม)
Behavioral
ขน้ั ตอนการจัดกิจกรรมการเรยี นรู้
ขั้นเร้าความสนใจ บนมอื มอี ะไร
1. ครูเริ่มต้นด้วยคำถามว่า มือแต่ละข้างมีข้างละกีน่ ิว้ แต่ละนิ้วเรียกว่าอะไร (เปิดเพลง
เกี่ยวกับนิ้ว Fingers Family) คำถามต่อมาคือ นิ้วมือมีประโยชน์อย่างไรบ้าง (แนวคำตอบ
เขียนหนังสือ ถือของ ปรบมือ ฯลฯ) ลักษณะของนิ้วมือเราแตกต่างจากนิ้วมือของสัตว์ชนิดอ่ืน
อย่างไร (แนวคำตอบ นิ้วมือมนุษย์แยกออกจากกัน มีความยาวที่เหมาะสมในการหยิบ จับ
36
อุปกรณ์) ควรอธิบายเพิ่มเติมว่า ในบางประเทศใช้การจับมือเป็นการทักทายและฝ่ามือของเรา
มลี ายนิ้วมือซงึ่ เกี่ยวข้องกับความเช่ือเรอ่ื งโชคชะตาอกี ด้วย
2. ครูให้นักเรียนสังเกตลายนิ้วมือที่หัวแม่มือ ซึ่งจะมีขนาดเล็กมาก ทำอย่างไร จึงจะสามารถ
มองเห็นลายนว้ิ มอื ให้ชดั ข้ึน น่นั กค็ อื การใช้แว่นขยายน่นั เอง
3. ครูอธิบายเพิ่มเติมว่า แว่นขยายคือเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยขยายขอบเขตการ
มองเห็นเนอื่ งจากตาของเรามีข้อจำกัดในการสังเกตส่ิงของหรอื ส่งิ มชี วี ติ ขนาดเลก็
4. ให้นักเรียนได้ลองใช้แว่นขยาย จากนั้นทำลายพิมพ์หัวนิ้วมือ ด้วยการฝนดินสอลงบน
กระดาษ (แทนหมึก) แล้วกดนิ้วมือลงไป ก่อนจะประทับลงบนกระดาษ เพื่อศึกษาลายนิ้วมือ
โดยครูอธิบายเพิ่มเติมว่า ลายนิ้วมือของเราทุกคนมีเอกลักษณ์เฉพาะ จึงสามารถใช้พิสูจน์
เอกลกั ษณข์ องบุคคลได้
ภาพท่ี 26 วิธกี ารใช้แวน่ ขยาย
จากนั้นตั้งคำถามว่า มีอะไรอีกบ้างที่อยู่รอบๆตัวเรา แต่เรามองไม่เห็น (เด็กๆอาจจะ
ตอบว่าอากาศ ผี เราจะต้องพยายามชวนคุยเพื่อไปสู่คำตอบที่ว่า เชื้อโรค เช่น อะไรที่ทำให้เรา
ไม่สบาย เป็นไข้แตเ่ รามองไม่เห็น) เพื่อสร้างข้อสรุปร่วมกันว่า ตาของเรามีข้อจำกัด แว่นขยาย
เป็นเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยขยายขอบเขตการมองเห็น ยังมีสิ่งที่เรามองไม่เห็นและ
เป็นโทษกบั เรา เพราะการท่ีเรามองไม่เห็น อาจทำให้เราไม่ระมัดระวงั เราจึงเป็นส่วนหนึ่งของ
การสง่ ต่อเช้อื โรคหากไม่รักษาความสะอาดเพียงพอ ทิ้งคำถามใหน้ กั เรียนคดิ ก่อนเข้าสู่กิจกรรม
ต่อไปว่า “ทำอย่างไร เราจึงจะปลอดภัยจากเช้อื โรค”
ข้ันสำรวจคน้ ควา้ การละเล่นของไทย
ครูไทยนำเสนอกิจกรรม เกมไข่แตกและการโยนลูกสะบ้า (ใช้ขวดน้ำทำเหมือนโบว์ลิ่ง
และใช้ลูกบอล) เกมไข่แตก นักเรียนและครูวางมือต่อๆกัน ใครอยู่ล่างสุดก็ค่อยๆแบมือ
เมื่อเพลงจบแล้วจะตีมือต่อๆกัน (มือของครูมีกลิตเตอร์เป็นจุดเริ่มต้น) การโยนสะบ้า (ทา
กลิตเตอร์ที่ลูกบอล) เมื่อเล่นเสร็จแล้ว ให้ทุกคนสังเกตท่ีมือของตนเอง (เหตุผลที่เลือกกิจกรรม
การละเล่นของไทย เนื่องจากวันที่ 9 ตุลาคม เป็นวันภาษาเกาหลี เด็กๆได้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับ
37
ภาษาเกาหลี จึงได้นำเสนอวนั ภาษาไทยซึ่งตรงกับวันท่ี 29 ตุลาคมของทุกปี ซึ่งในวันภาษาไทย
เราจะมีการใสช่ ุดไทย การละเล่นของไทยและการแขง่ ทกั ษะด้านภาษาไทย)
ข้นั อธิบาย ทำอยา่ งไรใหก้ ลิตเตอรอ์ อกไป!
1. ครูและนักเรียนอธิบายเส้นทางการแพร่กระจายที่เริ่มจากแค่มือของครู 1 คนและ
ลูกบอล 1 ลูก เมื่อเราเล่นด้วยกัน กลิตเตอร์ก็แพร่กระจายไปยังทุกคน เปรียบเสมือน
การแพร่กระจายของเช้อื โรค
2. ใหเ้ ดก็ ๆสงั เกตกลติ เตอรบ์ นมือ ช่วยกนั คดิ วา่ ทำอย่างไรกลติ เตอร์จะหลดุ ออกจากมอื
3. ให้นักเรียนลองใช้ทชิ ชูเช็ดออก ลองใช้น้ำสะอาดล้าง และลองใช้สบู่ มีความแตกต่าง
กันอย่างไร (คนที่ 1 ไม่ทำอะไร คนท่ี 2 ใชท้ ชิ ชูเชด็ คนท่ี 3 ลา้ งมือด้วยนำ้ เปล่า คนที่ 4 ล้างมือ
ด้วยสบู่ นำมาเปรยี บเทยี บกัน)
4. ครูนำเสนอคลิปวิดิทัศน์การล้างมือให้ถูกขั้นตอน ครูสาธิตการล้างมือ จากนั้นให้
นักเรยี นได้ลองการลา้ งมือตามขนั้ ตอน
5. ครูต้ังคำถามเพือ่ ให้นกั เรียนแสดงความคิดเหน็ ถงึ วธิ กี ารหยุดวงจรของเชื้อโรค
ภาพที่ 27 กจิ กรรมการละเล่นไทยเพ่ือสาธิตการแพร่กระจายของเชอื้ โรค
(ฝา่ มือของเดก็ ๆเต็มไปดว้ ยกลิตเตอร์)
38
ภาพท่ี 28 เทคนิคการการลา้ งมือให้สะอาดครูจะมีเพลงใหเ้ ด็กๆรอ้ งขณะลา้ งมอื
เพอ่ื ให้ลา้ งมอื นานพอ ถ้าเปรยี บกับเพลงไทยเดก็ ประถมศึกษาสามารถรอ้ งเพลงชา้ ง 2-3 รอบ
ภาพที่ 29 ฝึกล้างมอื ตามข้ันตอน
39
ขนั้ ขยายความรู้ ทำอย่างไรเมอื่ เราไมส่ บาย
1. ตัง้ คำถามให้นกั เรียนคดิ วา่ รตู้ วั ไดอ้ ยา่ งไร ว่ามีอาการไม่สบาย (แนวคำตอบ
ไอ ตัวรอ้ น เจ็บคอ ปวดหัว เปน็ ต้น)
2. นกั เรียนจะปฏิบัติอยา่ งไรเมอ่ื รตู้ ัวว่าไมส่ บาย เช่น บอกผู้ปกครอง
กินยา พักผ่อนให้เพยี งพอ เม่อื ไอ/จามตอ้ งปิดปาก ไม่ไอ/จาม ใส่ผู้อืน่ และการหยดุ โรงเรียน
เพือ่ ปอ้ งกนั การแพรก่ ระจายเชอ้ื โรค ต้องมีความรับผดิ ชอบตอ่ ตนเองและผ้อู ่ืน
ในการมสี ขุ ภาพท่ีดี
ข้ันวดั และประเมนิ ผล
ครูติดตามการล้างมอื ของนกั เรยี นว่าปฏิบตั ติ ามขัน้ ตอนอย่างสม่ำเสมอหรือไม่
ตดิ ตามอยู่ 2 สปั ดาหก์ อ่ นสรปุ ผล
แชร์ประสบการณ์เพม่ิ เติม เนอื่ งจากในกจิ กรรมนี้ เราวางแผนทำวจิ ัยในชัน้ เรียน
รว่ มกัน ได้ข้อสรุปจากการทำกิจกรรมร่วมกนั ในครั้งน้ี ดงั นี้
1. การจัดการเรียนการสอนสำหรับเดก็ ที่มีความตอ้ งการพิเศษ ตอ้ งออกแบบบน
พื้นฐานการเรียนรู้ผ่านอวัยวะรับสัมผัส (Sensory learning) ข้อน้ี ไม่แตกต่างจากนักเรียนที่
เรียนอ่อน เพราะนักเรียนจะไม่สามารถจดจ่อกับเรื่องที่เรียนได้นานเกิน 15-20 นาที ต้องมี
กิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายหรือให้ใช้อวัยวะสัมผัสในการเรียนรู้นอกเหนือจากการฟัง
บรรยายหรือการพูดคุยสนทนา
2. การเล่นเป็นการเรียนรู้และพัฒนานักเรียนไปพร้อมๆกัน การเล่นช่วยให้
นกั เรยี นรบั รูค้ วามสามารถของตนเอง รู้สึกดีเกี่ยวกบั ตนเอง พฒั นาความสามารถในการทำตาม
กติกา พัฒนาทั้งร่างกาย ความคิดและทักษะทางสังคม ในขณะเดียวกันเด็กมัธยมศึกษา หาก
เน้นเพียงวิชาการอย่างเดียว เด็กอาจจะมีปัญหาทักษะทางสังคมได้ การใช้กิจกรรมที่ทำให้เด็ก
ได้ทำงานร่วมกนั เป็นวิธีการพัฒนาทกั ษะทางสงั คมไดเ้ ปน็ อยา่ งดี
3. การบูรณาการความเป็นพลโลกช่วยเพิ่มมุมมองในการออกแบบกิจกรรม
การเรียนรู้ โดยปกตหิ ากการออกแบบการเรียนการสอน เราอาจจบลงที่การลา้ งมือ แต่เมือ่ มอง
ถึงความเป็นพลโลก ทำให้เราต้องไปถึงการรับผิดชอบตนเอง การป้องกันไม่ให้ตนเองแพร่เชื้อ
โรคไปยังผู้อ่ืน
40
4. การจัดการเรียนรู้แบบทีมสอนจะเพิ่มทักษะการจัดการเรียนรู้ให้ครูได้
การเป็นครูประจำการที่ไทย จะได้สอนรายวิชาที่ตนเองถนัด จึงคุ้นชินการกับสอนด้วยตนเอง
ขาดโอกาสที่จะได้สอนเป็นทีม แต่ในขณะที่เกาหลี ครูทุกคนจะมีโอกาสสอนร่วมกับผู้อื่น
การสอนร่วมกัน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมุมมอง ทำให้กิจกรรมมีความ
สมบูรณ์มากขึ้นเพราะครูคือทรพั ยากรที่สำคัญทีส่ ุด การได้เรียนรู้จากครูด้วยกันทำให้ได้พัฒนา
ทกั ษะการสอนมากข้ึน
ภาพท่ี 30 ผลงานวิจัยในชั้นเรียนได้นำเสนอ Poster ในงานประชมุ SAEM จัดโดย
กระทรวงศึกษาธิการสาธารณรัฐเกาหลี
ซึ่งหากวิเคราะห์ดูแล้วจะสังเกตว่า การบูรณาการเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
เข้าสู่การเรียนการสอน ไม่ได้เพิ่มภาระให้กับครูผู้สอน แต่กลับเพิ่มมุมมองและความตะหนักท่ี
จะสรา้ งประสบการณ์ใหน้ กั เรียนเพิ่มการรบั รแู้ ละวธิ ีการปฏบิ ตั ิตนในฐานะพลโลก
ครูสามารถเข้าไปศึกษาแนวคิดการออกแบบการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริม
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในแต่ละข้อ และยังมีใบงานต่างๆเป็นตัวอย่างการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี แหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ https://worldslargestlesson.
globalgoals.org/ ตัวอย่างสื่อตา่ งๆจากเว็บไซต์
41
การออกแบบกจิ กรรมท่ีดี ไมเ่ พยี งแตส่ รา้ งมวลประสบการณท์ ่ีมคี า่ แกน่ ักเรียน
แตย่ ังให้บทเรียนทนี่ ่าสนใจสะท้อนกลับมาใหค้ รไู ดป้ รับปรุงและพฒั นา
การจัดการเรียนรูอ้ กี ดว้ ย
-กมลรัตน์ ฉมิ พาลี-
หอ้ งท่ี 2 เราจัดกจิ กรรมโรงทานในงานวดั (บรู ณาการเป้าหมายขอ้ ที่ 2 Zero hunger)
นกั เรยี นช้นั มัธยมศกึ ษาปีที่ 4 ซง่ึ หวั ขอ้ นี้จะสอนรว่ มกันระหว่างครวู ิทยาศาสตรแ์ ละ
ครภู าษาองั กฤษ
เปา้ หมายการเรียนรูพ้ ล วัตถปุ ระสงคก์ ารเรียนรู้
โลก 1. นักเรียนออกแบบเมนอู าหารทม่ี ีสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่
ความรคู้ วามเข้าใจ นกั เรยี นตระหนกั ถงึ วธิ ีการเลอื กอาหารเพื่อสขุ ภาพ
(Cognitive)
(จิตสังคม) นกั เรยี นสามารถแสดงถึงการรบั ประทานอาหารทดี่ ตี อ่ สขุ ภาพ
Social Emotional
(พฤตกิ รรม)
Behavioral
ขนั้ นำเขา้ สู่บทเรียน
1. นำเสนอวิดที ศั น์บรรยากาศในงานวดั อธิบายกจิ กรรมภายในงานวดั และเชญิ ชวน
นกั เรยี นเทย่ี วงานวัด โดยอธบิ ายลกั ษณะของงานวดั ในประเทศไทยท่นี อกจากจะเตม็ ไปดว้ ย
กิจกรรมที่สนกุ สนานแล้ว ยงั มีกิจกรรมโรงทานท่ีแจกอาหารให้ผ้คู นได้รับกินฟรีอีกดว้ ย
2. นำเสนอขอ้ มลู ใหน้ กั เรยี นไดเ้ ห็นวา่ ในประเทศตา่ งก็มีการแจกอาหารให้ผู้
เชน่ เดยี วกัน เพราะในโลกใบนยี้ ังมีคนท่ีหวิ โหยมาก เทียบให้เหน็ วา่ 1 ใน 7 คน ตอ้ งหลับไป
ทงั้ ๆ ท่ที อ้ งรอ้ ง ดงั น้นั ในขณะทีน่ ักเรียนสามารถเลอื กทานอาหารได้ นักเรียนควรจะทานอาหาร
ใหพ้ อดี อย่าใหเ้ หลือทิ้ง และทานอาหารทีม่ ีประโยชนต์ ่อรา่ งกาย เพ่ือดแู ลสุขภาพตัวเองการ
พัฒนาท่ยี ัง่ ยืน (SDGs) จึงมเี ป้าหมายการพัฒนาทย่ี งั่ ยนื ในขอ้ ท่ี 2: Zero Hunger นน่ั คอื
ขจดั ความหิวโหยใหห้ มดไป
42
3. จากนนั้ นำเสนอเมนอู าหารในงานวัดทจี่ ดั ขนึ้ ในวนั น้ี แตก่ ่อนทจ่ี ะไดช้ ิมอาหาร ครู
ภาษาอังกฤษจะนำเสนอประโยคเกย่ี วกับอาหารอย่างง่ายๆ คอื What kind of food do you
like the most? Why? พรอ้ มฝึกวิธกี ารตอบคำถาม
I like ....(kind of food) …. Because____ และ I don’t like ..(kind of food)..
Because ____ - It’s delicious / testy. - It’s sour. -It’s salty. -It’s sweet.
It’s bitter. -It’s spicy.
4. ครูวทิ ยาศาสตร์จะนำเสนออาหารหลกั 5 หมู่ โดยใช้เกมจ๊ิกซอรต์ อ่ ภาพ 5 หมู่
ปรมิ าณสดั สว่ นทคี่ วรรบั ประทาน
ขนั้ กิจกรรม
1. นักเรียนสำรวจอาหารที่ครจู ัดเตรียมไว้ ประกอบไปด้วย ผดั ไท ต้มยำกงุ้
กลว้ ยบวชชี (ประยกุ ต)์ ขนมขบเค้ยี ว ผลไม้ น้ำผลไม้ น้ำเปล่า
2. นกั เรียนจดั อาหารสำหรับตนเองแบบที่ชอบ 1 ชุด และแบบทด่ี ตี อ่ สุขภาพ 1 ชุด
เปรยี บเทยี บอาหารทงั้ 2 ชดุ ว่ามีความเหมือนหรือแตกตา่ งอย่างไร
3. ครูและนกั เรยี นรบั ประทานอาหารร่วมกัน
ข้นั สรปุ
ครแู ละนักเรยี นพดู คยุ ในประเดน็ ต่อไปน้ี
1. นักเรียนจะมวี ิธีการเลือกอาหารอย่างไรให้ดตี อ่ สุขภาพ
2. นกั เรียนจะลด/เลิก อาหารท่ไี ม่ดีตอ่ สุขภาพอยา่ งไร
3. วิธกี ารใดบ้างนอกเหนอื จากเรอื่ งอาหารท่จี ะชว่ ยทำใหร้ า่ งกายเรามสี ขุ ภาพที่
แข็งแรง
4. เราจะเป็นสว่ นหนงึ่ ของเปา้ หมายการพัฒนาทยี่ ั่งยืนได้อย่างไร
จนนำไปส่ขู อ้ สรุปที่วา่ เราตอ้ งดูแลสขุ ภาพตวั เองให้แขง็ แรง ตอ้ งเรียนรเู้ กยี่ วกับเรอื่ ง
อาหารและสารอาหารเพ่ือใหส้ ามารถดแู ลตวั อยา่ งได้อยา่ งถกู ต้องและเหมาะสม จากนัน้ ต้องคิด
ก่อนทจ่ี ะซื้อหรอื เลือกอาหาร และเม่ือซ้ือหรือเลือกมาแลว้ ต้องทานใหห้ มดเพอ่ื ลดขยะ ท่ีสำคัญ
เราควรซือ้ ผักและผลไมจ้ ากสวนในชุมชน เพื่อสนับสนุนชาวสวน
43
ภาพที่ 31 นำเสนอสดั สว่ น
ของอาหารหลัก 5
ภาพที่ 32 อธิบายการเล่น
เกมจกิ๊ ซอรส์ ดั ส่วนอาหาร
44
มหี วั ข้อสื่อให้เลือกมากมาย นิทานหลากหลายเรอ่ื ง
ตัวอย่างกจิ กรรมครบ 17 เป้าหมาย ตัวอยา่ งที่ดีเปน็ แนวทางต่อยอดการสอน
ไอเดียดีๆ เพ่อื ริเริ่มกิจกรรมในโรงเรยี น ส่อื สรา้ งสรรค์น่าทดลองใช้
ภาพที่ 33 แผนการจัดการเรยี นรู้เปน็ จุดเร่มิ ตน้ แนวคิดการออกแบบการเรียนการสอน
45
“คณุ คา่ ของการรว่ มมอื กัน
คือการมแี หล่งเรียนรแู้ ละแหล่งพลงั งานทส่ี ่งเสรมิ ซงึ่ กันและกัน
เมื่อครเู รยี นรดู้ ว้ ยกันข้อจำกัดตา่ งๆจะลดลง”
เมื่อครูรว่ มมอื กัน ในทกุ วกิ ฤตจิ ะมโี อกาส
เม่อื รว่ มมอื กัน ในทุกการขาดแคลนจะถูกเติมเตม็
เม่อื ร่วมมอื กัน ในทุกความเปน็ ไม่ไดจ้ ะมโี อกาสเปน็ ไปได้
-กมลรัตน์ ฉิมพาลี-