The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๑-๒๕

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Sri Phak, 2024-02-04 05:32:02

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๑-๒๕

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๑-๒๕

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในภาษา เวลา ๘ ชั่วโมง เรื่อง คำนาม เวลา ๑ ชั่วโมง วันที่สอน ๑ พฤศจิกายน พ.ศ ๒๕๖๖ เวลา ๑๒.๐๐-๑๒.๕๐ น. สอนชั้น ม.๑/๖ เวลา ๑๒.๕๕-๑๓.๔๕ น. สอนชั้น ม.๑/๕ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๑๕-๑๐.๐๕ น. สอนชั้น ม.๑/๔ ครูผู้สอน นางสาวศรีเพรชรี ภักดีปัญญา โรงเรียนท่าบ่อ ๑. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐาน ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทยการเปลี่ยนแปลงของภาษาและ พลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษาและรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ ตัวชี้วัด ท ๔.๑ ม.๑/๓ วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค ๒. สาระสำคัญ คำนาม คือ คำที่เรียกชื่อสิ่งต่างๆ ทั้งที่มีชีวิต เช่น คน ช้าง เด็ก และไม่มีชีวิต เช่น บ้าน โต๊ะ เก้าอี้ ความรัก ความตาย เป็นต้น ซึ่งชนิดของคำแต่ละประเภทต่างมีหน้าที่ที่ต่างกัน ความรู้เรื่องชนิดและหน้าที่ ของคำจะทำให้ใช้ภาษาได้ถูกต้อง และเป็นพื้นฐานในการเรียนประโยคต่อไป ๓. จุดประสงค์การเรียนรู้ ๓.๑ นักเรียนสามารถวิเคราะห์คำนามจากประโยคได้ (K) ๓.๒ นักเรียนสามารถเขียนแยกประเภทของคำนามได้ (P) ๓.๓ นักเรียนมีความมุ่งมั่นในการเรียน (A) ๔. สาระการเรียนรู้ ๔.๑ คำในภาษาไทย ๔.๒ ความหมายของคำนาม ๔.๓ ประเภทของคำนาม ๔.๔ หน้าที่ของคำนาม ๕. สมรรถนะสำคัญ ๕.๑ ความสามารถในการสื่อสาร


๕.๒ ความสามารถในการคิด ๖. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๖.๑ มีวินัย ๖.๒ ใฝ่เรียนรู้ ๖.๓ มุ่งมั่นในการทำงาน ๗. ภาระงาน ๗.๑ ใบงาน เรื่อง วิเคราะห์คำนามในประโยค ๘. กระบวนการจัดการเรียนรู้ ๘.๑ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ๘.๑.๑ นักเรียนทำกิจกรรมที่ครูกำหนดคือ ให้นักเรียนเขียนตามคำบอกคำอะไรก็ได้มา คนละ ๑ คำ จากนั้นให้นักเรียนเขียนตามคำทีเพื่อนบอก โดยเรียงไปทีละคนจนครบทุกคนในห้อง จากนั้นให้นักเรียนแลกเปลี่ยนคำตอบกันว่าเขียนถูกหรือไม่ จากนั้นนักเรียนแยกประเภทของคำที่ เขียนว่าเกี่ยวข้องกันอย่างไรบ้าง นักเรียนตอบคำถามครูว่ารู้จักคำนามหรือไม่จากนั้นให้เรียน สังเกตคำที่เขียนว่าคำใดบ้างที่นักเรียนคิดว่าเป็นคำนามให้นักเรียนออกมาเขียนที่หน้ากระดาน และฟังครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ ๘.๒ ขั้นจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้ ๘.๒.๑ นักเรียนฟังครูอธิบายเรื่องคำในภาษาไทยที่มีการจำแนกออกเป็น ๗ ชนิด ซึ่ง ชนิดแรกที่เรียนในชั่วโมงนี้คือ คำนาม จากนั้นนักเรียนอ่านความหมายของคำนามพร้อมกันว่าคือ อะไร ๘.๒.๒ นักเรียนฟังครูอธิบายประเภทของคำนาม และหน้าที่ของคำนามว่ามีความสำคัญ อย่างไรจากนั้นแบ่งนักเรียนออกเป็น ๕ กลุ่ม เล่นกิจกรรม “บัตรคำหรรษา” โดยให้นักเรียนแต่ ละทีมนำคำจากบัตรคำมาติดตามประเภทของคำนามนั้นๆ ได้แก่ สามานยนาม วิสามานยนาม สมุหนาม ลักษณะนาม อาการนาม จับเวลาในการเล่น ๕ นาที ๘.๓ ขั้นสรุป ๘.๓.๑ นักเรียนสรุปบทเรียนเรื่อง คำนาม ด้วยการตอบคำถามว่าคำนามคืออะไร มีกี่ประเภทและมีหน้าที่สำคัญอย่างไร จากนั้นนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ประโยคต่อไปนี้ “แม่ทอดปลาสลิด” จากนั้นให้นักเรียนช่วยกันตอบว่ามีคำนามใดอยู่ในประโยคบ้าง


หลังจากนั้นนักเรียนรับใบงาน เรื่อง วิเคราะห์คำนามในประโยค ไปทำเป็นการบ้าน ๙. สื่อและแหล่งเรียนรู้ ๙.๑ หนังสือหลักภาษา ๙.๒ กระดาษเอสี่ ๑๐. การวัดผลและประเมินผล จุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการวัด เครื่องมือ เกณฑ์การ ประเมิน ๑. นักเรียนสามารถวิเคราะห์ คำนามจากประโยคได้ (K) ตอบคำถาม คำถามในชั้นเรียน นักเรียนผ่านเกณฑ์การ ประเมิน ร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป ๒.นักเรียนสามารถเขียนแยก ประเภทของคำนามได้ (P) ใบงาน ตอบคำถามจากใบงาน นักเรียนผ่านเกณฑ์การ ประเมิน ร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป ๓. นักเรียนมีความมุ่งมั่นในการ ทำงาน (A) การสังเกตพฤติกรรม แบบสังเกตพฤติกรรม แบบประเมินคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ นักเรียนผ่านเกณฑ์การ ประเมิน ร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป


ใบงาน เรื่อง คำนาม คำชี้แจง : ให้นักเรียนบอกชนิดของคำนามและหน้าที่ ที่เป็นตัวหนาให้ถูกต้อง ๑.นักเรียนทำการบ้าน ชนิด…………………………… หน้าที่……………………………….. ๒. จินตราชอบขายแตงโม ชนิด…………………………… หน้าที่……………………………….. ๓.ใบเตยแอบชอบบอย ชนิด…………………………… หน้าที่……………………………….. ๔.ฝูงนกบินจับต้นไม้ ชนิด…………………………… หน้าที่……………………………….. ๕. เด็กๆช่วยกันกวาดลานวัด ชนิด…………………………… หน้าที่……………………………….. ๖.น้องนั่งเล่นใกล้กองทราย ชนิด…………………………… หน้าที่……………………………….. ๗.ความรักทำให้คนตาบอด ชนิด…………………………… หน้าที่……………………………….. ๘.บอสได้รับบาดเจ็บจากการวิ่ง ชนิด…………………………… หน้าที่……………………………….. ๙.ไก่จิกอาหาร ชนิด…………………………… หน้าที่……………………………….. ๑๐.ทีมงานกองละครร่วมกันทำงาน ชนิด…………………………… หน้าที่………………………………..


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในภาษา เวลา ๘ ชั่วโมง เรื่อง คำสรรพนาม เวลา ๑ ชั่วโมง วันที่สอน ๒ พฤศจิกายน พ.ศ ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๒๐-๐๙.๑๐ น. สอนชั้น ม.๑/๖ เวลา ๑๐.๑๐-๑๑.๐๐ น. สอนชั้น ม.๑/๕ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ ๒๕๖๖ เวลา ๑๒.๕๕-๑๓.๔๕ น. สอนชั้น ม.๑/๔ ครูผู้สอน นางสาวศรีเพรชรี ภักดีปัญญา โรงเรียนท่าบ่อ ๑. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐาน ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทยการเปลี่ยนแปลงของภาษาและ พลังของภาษาภูมิปัญญาทางภาษาและรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ ตัวชี้วัด ท ๔.๑ ม.๑/๓ วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค ๒. สาระสำคัญ คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนนาม เพื่อจะได้ไม่ต้องกล่าวคำนามนั้นซ้ำๆ กัน แบ่งเป็น ๖ประเภท ซึ่งชนิดของคำแต่ละประเภทต่างมีหน้าที่ที่ต่างกันความรู้เรื่องชนิดและหน้าที่ของคำจะทำให้ใช้ภาษาได้ ถูกต้องและเป็นพื้นฐานในการเรียนประโยคต่อไป ๓. จุดประสงค์การเรียนรู้ ๓.๑ นักเรียนสามารถอธิบายหน้าที่ของคำสรรพนามได้ (K) ๓.๒ นักเรียนสามารถจับกลุ่มคำกับประเภทของคำสรรพนามได้ (P) ๓.๓ นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรม (A) ๔. สาระการเรียนรู้ ๔.๑ ความหมายของคำสรรพนาม ๔.๒ ประเภทของคำสรรพนาม ๔.๓ หน้าที่ของคำสรรพนาม ๕.สมรรถนะสำคัญ ๕.๑ ความสามารถในการสื่อสาร


๕.๒ ความสามารถในการคิด ๖. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๖.๑ มีวินัย ๖.๒ ใฝ่เรียนรู้ ๖.๓ มุ่งมั่นในการทำงาน ๗. ภาระงาน ๗.๑ กิจกรรมแต่งประโยคจับกลุ่มคำกับประเภทของคำสรรพนาม ๘. กระบวนการจัดการเรียนรู้ ๘.๑ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ๘.๑.๑ นักเรียนทำกิจกรรมที่ครูกำหนดคือนักเรียนเขียนคำสรรพนามที่ใช้แทนตัวเองลง ในกระดาษที่ครูแจกให้ จากนั้นนักเรียนตอบคำถามว่าคำสรรพนามที่นักเรียนใช้แทนตัวเองส่งผล ต่อความรู้สึกอย่างไร หรือนักเรียนรู้สึกอย่างไรเมื่อมีคนเรียกสรรพนามนี้กับเรา ๘.๒ ขั้นจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้ ๘.๒.๑ นักเรียนสังเกตคำสรรพนามในกระดาษของตัวเองและคิดว่าอยากเปลี่ยนคำตอบ ในกระดาษของตัวเองหรือไม่ ถ้าไม่ให้นักเรียนแลกเปลี่ยนกระดาษสรรพนามของตัวเองกับเพื่อน จากนั้นครูจะมีกล่อง ๑ จากนั้นให้นักเรียนพิจารณาคำสรรพนามในมือของตนเองว่าคำสรรพนาม ดังกล่าว นักเรียนคิดว่าควรใช้อย่างไร ๘.๒.๒ นักเรียนและครูร่วมกันสรุปกิจกรรมโดยสุ่มคำจากแต่ละกล่องว่ามีคำอะไรบ้าง มี ใครเห็นแย้งกับคำที่เพื่อนนำไปวางในกล่องหรือไม่ จากนั้นร่วมกันอภิปรายถึงคำแทนตัวใน ปัจจุบัน ๘.๒.๓ นักเรียนฟังครูอธิบายความหมายของคำสรรพนาม ประเภทของคำสรรพนาม และหน้าที่ของคำสรรพนามและนักเรียนตอบคำถามเกี่ยวกับหน้าที่ของคำสรรพนามว่ามีความสำคัญกับ ระดับภาษาหรือไม่ ๘.๒.๔ แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๕ กลุ่ม จากนั้นให้นักเรียนแต่งประโยคมา ๓ ประโยค เกี่ยวกับชนิดของคำสรรพนามที่กลุ่มตนเองได้รับ โดยให้เวลา ๑๐ นาที เมื่อแต่งเสร็จแล้วให้ เตรียมตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอ ๘.๒.๕ นักเรียนออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียนพร้อมทั้งฟังเฉลยเพิ่มเติมจากคุณครูผู้สอน


๘.๓ ขั้นสรุป ๘.๓.๑ นักเรียนทบทวนบทเรียนเรื่อง คำสรรพนาม ว่าคืออะไรและสามารถนำไปปรับใช้ ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร ๙.สื่อและแหล่งการเรียนรู้ ๑๐. การวัดผลและประเมินผล จุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการวัด เครื่องมือ เกณฑ์การประเมิน ๑. นักเรียนสามารถอธิบาย หน้าที่ของคำสรรพนามได้ (K) ตอบคำถาม คำถามในชั้นเรียน นักเรียนผ่านเกณฑ์การ ประเมิน ร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป ๒.นักเรียนสามารถจับกลุ่มคำ กับประเภทของคำสรรพนามได้ (P) แต่งประโยคจับกลุ่ม ประเภทคำสรรพนาม กิจกรรมแต่งประโยคจับ กลุ่มประเภทคำสรรพ นาม นักเรียนผ่านเกณฑ์การ ประเมิน ร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป ๓. นักเรียนให้ความร่วมมือใน การทำกิจกรรม (A) การสังเกตพฤติกรรม แบบสังเกตพฤติกรรม แบบประเมินคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ นักเรียนผ่านเกณฑ์การ ประเมิน ร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๓ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในภาษา เวลา ๘ ชั่วโมง เรื่อง คำกริยา เวลา ๑ ชั่วโมง วันที่สอน ๖ พฤศจิกายน พ.ศ ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๕๐-๑๔.๔๐ น. สอนชั้น ม.๑/๕ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ ๒๕๖๖ เวลา ๑๒.๕๕-๑๓.๔๕ น. สอนชั้น ม.๑/๖ เวลา ๑๒.๕๕-๑๓.๔๕ น. สอนชั้น ม.๑/๔ ครูผู้สอน นางสาวศรีเพรชรี ภักดีปัญญา โรงเรียนท่าบ่อ ๑. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐาน ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและ พลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษาและรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ ตัวชี้วัด ท ๔.๑ ม.๑/๓ วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค ๒. สาระสำคัญ คำกริยา คือ คำที่แสดงอาการของนามหรือสรรพนาม คำกริยาบางคำมีความหมายสมบูรณ์ในตัว สามารถเข้าใจความหมายได้ครบถ้วน แต่บางคำต้องอาศัยคำอื่นด้วย เช่น ต้องมีกรรมหรือต้องมีส่วนขยาย ซึ่งชนิดของคำแต่ละประเภทต่างมีหน้าที่ที่ต่างกัน ความรู้เรื่องชนิดและหน้าที่ของคำจะทำให้ใช้ภาษาได้ ถูกต้อง และเป็นพื้นฐานในการเรียนประโยคต่อไป ๓. จุดประสงค์การเรียนรู้ ๓.๑ นักเรียนสามารถบอกความหมายของคำกริยาได้ (K) ๓.๒ นักเรียนสามารถแต่งคำขวัญที่มีคำกริยาได้ (P) ๓.๓ นักเรียนมีความมุ่งมั่นในการทำกิจกรรม (A) ๔. สาระการเรียนรู้ ๔.๑ ความหมายของคำกริยา ๔.๒ ประเภทของคำกริยา ๔.๓ หน้าที่ของคำกริยา ๕. สมรรถนะสำคัญ ๕.๑ ความสามารถในการคิด


๕.๒ ความสามารถในการสื่อสาร ๖. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๖.๑ มีวินัย ๖.๒ ใฝ่เรียนรู้ ๖.๓ มุ่งมั่นในการทำงาน ๗. ชิ้นงาน/ภาระงาน ๗.๑ คำขวัญคำกริยา ๘. กระบวนการจัดการเรียนรู้ ๘.๑ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ๘.๑.๑ นักเรียนทำกิจกรรมที่ครูกำหนดคือ ฟังนิทานที่ครูเปิดจาก Youtube จากนั้นให้ นักเรียนจดคำที่แสดงอาการที่ได้จากการฟังนิทานแล้วในนักเรียนนำเสนอคำที่ตนจดได้ จากนั้นนักเรียน ตอบคำถามครูว่าคำที่แสดงอาการเหล่านี้เรียกว่าอะไร และฟังครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ ๘.๒ ขั้นจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้ ๘.๒.๒ นักเรียนศึกษาเรื่องความหมายของคำกริยาว่าคืออะไรและฟังครูอธิบาย ความหมายเพิ่มเติม และอธิบายประเภทของคำกริยาและหน้าที่ของคำกริยาว่าทำหน้าที่อะไรในประโยค ๘.๒.๓ นักเรียนยกตัวอย่างประโยคที่มีคำกริยาของแต่ละประเภท จากนั้นนักเรียน แบ่งกลุ่มออกเป็น ๕ กลุ่ม ด้วยวิธีการจับกลุ่มอิสระแล้วมารับกระดาษกับครู จากนั้นให้นักเรียนร่วมกัน ระดมสมองช่วยกันแต่งคำขวัญที่มีคำกริยา โดยใช้คำกริยาที่ได้จากการฟังนิทานมาแต่งคำขวัญนั้น โดยให้ เวลาในการแต่งคำขวัญและตกแต่ง ๒๐ นาที เมื่อเสร็จแล้วให้นักเรียนออกมานำเสนอคำขวัญ พร้อมบอก ว่าคำกริยาที่ใช้แต่งคำขวัญเป็นคำกริยาประเภทใด จากนั้นร่วมกันสรุปกิจกรรม ๘.๓ ขั้นสรุป ๘.๓.๑ นักเรียนทบทวนความรู้เรื่อง คำกริยา ว่ามีหน้าที่อะไรในประโยค และใช้อย่างไร ให้ถูกต้อง และกล่าวถึงบทเรียนเรื่องต่อไป ๙. สื่อและแหล่งเรียนรู้ ๙.๑ หนังสือรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย ๑ เล่ม ๒ ๙.๒ กระดาษ ๙.๓ ลำโพง


๑๐. การวัดผลและประเมินผล จุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการวัด เครื่องมือ เกณฑ์การประเมิน ๑. นักเรียนสามารถบอก ความหมายของคำกริยาได้ (K) ตอบคำถาม คำถามในชั้นเรียน นักเรียนผ่านเกณฑ์ การประเมิน ร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป ๒. นักเรียนสามารถแต่งคำ ขวัญที่มีคำกริยาได้ (P) นักเรียนแต่งคำขวัญที่มี คำกริยา แบบประเมิน คำขวัญ นักเรียนผ่านเกณฑ์ การประเมิน ร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป ๓. นักเรียนมีความมุ่งมั่นในการ ทำกิจกรรม (A) การสังเกตพฤติกรรม แบบสังเกตพฤติกรรม แบบประเมินคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ นักเรียนผ่านเกณฑ์ การประเมิน ร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๔ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในภาษา เวลา ๘ ชั่วโมง เรื่อง คำวิเศษณ์ เวลา ๑ ชั่วโมง วันที่สอน ๘ พฤศจิกายน พ.ศ ๒๕๖๖ เวลา ๑๒.๐๐-๑๒.๕๐ น. สอนชั้น ม.๑/๖ เวลา ๑๒.๕๕-๑๓.๔๕ น. สอนชั้น ม.๑/๕ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๑๕-๑๐.๐๕ น. สอนชั้น ม.๑/๔ ครูผู้สอน นางสาวศรีเพรชรี ภักดีปัญญา โรงเรียนท่าบ่อ ๑. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู้ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษา และพลังของ ภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ ตัวชี้วัด ม.๑/๓ วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค ๒. สาระสำคัญ คำวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ประกอบหรือขยายคำนาม สรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ เพื่อให้ได้ ใจความชัดเจนและละเอียดมากขึ้น ๓. จุดประสงค์การเรียนรู้ ๓.๑. นักเรียนสามารถอธิบายความหมายของคำวิเศษณ์ได้ (K) ๓.๒. นักเรียนสามารถจำแนกคำวิเศษณ์ได้ถูกต้อง (P) ๓.๓. นักเรียนเอาใจใส่ต่องานที่ได้รับมอบหมาย (A) ๔. สาระการเรียนรู้ ๔.๑. คำวิเศษณ์ ๔.๒. ลักษณะของคำวิเศษณ์ ๕. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ๕.๑. ความสามารถในการสื่อสาร ๕.๒. ความสามารถในการคิด ๖. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๖.๑. มีวินัย


๖.๒. ใฝ่เรียนรู้ ๖.๓. มุ่งมั่นในการทำงาน ๗. ภาระงาน ๗.๑ นักเรียนทำใบงานเรื่อง คำวิเศษณ์ ๘. กระบวนการจัดการเรียนรู้ ๘.๑ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นที่ ๑ การตั้งคำถามและสมมติฐาน ๘.๑.๑.นักเรียนทบทวนความรู้เรื่องที่เรียนไปแล้วเกี่ยวกับ คำนาม คำกริยา และคำสรรพนาม ๘.๑.๒ นักเรียนร่วมกันสังเกตลักษณะของตนเองว่าเป็นอย่างไร เช่น ผิวขาว ผิวเหลือง ผมตรง ตัวสูง เป็นต้น ๘.๑.๓ จากนั้นให้นักเรียนลองบอกลักษณะของตนเองกับครู โดยครูจะเขียนไว้บน กระดาน ๘.๒ ขั้นจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้ ขั้นที่ ๒ การแสวงหาสารสนเทศ ๘.๒.๑ นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น ๕ กลุ่ม กลุ่มละเท่า ๆ กัน ให้ตัวแทนแต่ละกลุ่ม ออกมา จับสลาก เพื่อศึกษาหัวข้อดังต่อไปนี้ -ลักษณวิเศษณ์ และกาลวิเศษณ์ -สถานวิเศษณ์ และประมาณวิเศษณ์ -นิยมวิเศษณ์ และอนิยมวิเศษณ์ -ปฤจฉาวิเศษณ์ และประพันธวิเศษณ์ -ประติชญาวิเศษณ์ และประติเษธวิเศษณ์ ๘.๒.๒ นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาหัวข้อที่กลุ่มของตนเองได้รับจากใบความรู้ที่ครูแจกให้ และอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ภายในกลุ่มจนเข้าใจทุกคน จากนั้นให้แต่ละกลุ่มเวียนไปอธิบายหัวข้อของ ตนเองให้แต่ละกลุ่มฟังจนเข้าใจ โดยมีครูให้คำชี้แนะ ขั้นที่ ๓ การสร้างองค์ความรู้ ๘.๒.๓ นักเรียนรับกระดานคำตอบกลุ่มละ ๑ ชุด ๘.๒.๔ นักเรียนอ่านประโยคที่อยู่บนจอโปรเจคเตอร์พร้อมกัน ดังนี้


-เดินช้าแบบนี้เมื่อไหร่จะถึงบ้าน -พรุ่งนี้โรงเรียนก็ปิดเทอมแล้ว -พี่ชายของเธอผอมมาก -ลูกรักแม่ที่สุด -มะนาวเปรี้ยวจี๊ด -เธอจะไปเรียนต่อต่างประเทศเมื่อไหร่ -เพราะเหตุใดจึงเกิดโรคระบาดขึ้น -เด็กทุกคนควรได้รับการศึกษา -เธอสอบได้ที่สองของชั้นเรียน -ตอนเช้าเธอลุกขึ้นมาใส่บาตรตลอด ๘.๒.๕ นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันสังเกตว่าคำที่ขีดเส้นใต้แต่ละประโยคเป็นคำวิเศษณ์ ชนิดใด จากนั้นเขียนลงในกระดานคำตอบ ๘.๒.๖ นักเรียนรอฟังสัญญาณจากครู เมื่อได้ยินเสียงนกหวีดให้ยกกระดานคำตอบขึ้น พร้อมกัน หากตอบถูกจะได้รับ ๑ คะแนน กลุ่มใดที่สะสมคะแนนมากที่สุด จะเป็นฝ่ายชนะ ๘.๒.๗ นักเรียนฟังครูอธิบายว่าประโยคที่ยกมานั้นประกอบไปด้วยชนิดของคำวิเศษณ์ ชนิดใดบ้าง ขั้นที่ ๔ การสื่อสาร และนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ ๘.๒.๘ นักเรียนแต่ละกลุ่มรับกระดาษดอกไม้จากครู แล้วให้แต่ละกลุ่มเขียนตัวอย่าง คำวิเศษณ์ตามหัวข้อที่แต่ละกลุ่มได้ศึกษา จากนั้นตกแต่งระบายสีให้สวยงาม ๘.๒.๙ นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมาแสดงผลงานของตนเองหน้าชั้นเรียน ๘.๓ ขั้นสรุป ขั้นที่ ๕ การตอบแทนสังคม ๘.๓.๑ นักเรียนนำกระดาษดอกไม้คำวิเศษณ์ของแต่ละกลุ่มมารวมกันจากนั้นนำไปติดไว้ ที่บอร์ดแสดงผลงานหน้าชั้นเรียน พร้อมตกแต่งบอร์ดให้สวยงาม ๘.๓.๒ นักเรียน และครูสรุปเรื่อง ความหมายของคำวิเศษณ์ และชนิดของคำวิเศษณ์ ร่วมกัน โดยใช้สื่อนำเสนอจาก PowerPoint ประกอบการสรุป ๘.๓.๓ นักเรียนทำแบบฝึกหัด เรื่อง คำวิเศษณ์


๙. สื่อและแหล่งการเรียนรู้ ๙.๑ PowerPoint เรื่อง คำวิเศษณ์ ๙.๒ ใบความรู้ เรื่อง คำวิเศษณ์ จำนวน ๒๐ ชุด ๙.๓ ชุดกระดานคำตอบ จำนวน ๕ ชุด ๙.๔ กระดาษดอกไม้ทำสื่อ จำนวน ๒๐ ชุด ๑๐. การวัดและการประเมินผล จุดประสงค์ วิธีการวัด เครื่องมือในการวัด เกณฑ์การวัดและ ประเมินผล ๑. นักเรียนสามารถอธิบาย ความหมายของคำวิเศษณ์ได้ (K) - การตอบคำถาม - การถาม-ตอบ นักเรียนตอบคำถามได้ ถูกต้องร้อยละ ๘๐ ๒. นักเรียนสามารถจำแนก คำวิเศษณ์ได้ถูกต้อง (P) - การทำใบงาน - ใบงานเรื่องคำวิเศษณ์ นักเรียนตอบคำถามได้ ถูกต้องมากกว่าร้อยละ ๗๐ ๓. นักเรียนนักเรียนเอาใจใส่ ต่องานที่ได้รับมอบหมาย (A) - การสังเกตพฤติกรรม แบบสังเกตพฤติกรรม นักเรียนผ่านการประเมิน อยู่ในเกณฑ์ดีขึ้นไป


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๕ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในภาษา เวลา ๘ ชั่วโมง เรื่อง คำบุพบท เวลา ๑ ชั่วโมง วันที่สอน ๙ พฤศจิกายน พ.ศ ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๒๐-๐๙.๑๐ น. สอนชั้น ม.๑/๖ เวลา ๑๐.๑๐-๑๑.๐๐ น. สอนชั้น ม.๑/๕ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ ๒๕๖๖ เวลา ๑๒.๕๕-๑๓.๔๕ น. สอนชั้น ม.๑/๔ ครูผู้สอน นางสาวศรีเพรชรี ภักดีปัญญา โรงเรียนท่าบ่อ ๑. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู้ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของ ภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ ตัวชี้วัด ม.๑/๓ วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค ๒. สาระสำคัญ คำบุพบท คือ คำที่ปรากฏหน้าคำนาม หรือคำสรรพนามเพื่อบอกความสัมพันธ์ระหว่างคำนั้น กับคำอื่นในประโยคเดียวกัน ๓. จุดประสงค์การเรียนรู้ ๓.๑. นักเรียนสามารถอธิบายความหมายของคำบุพบทได้ (K) ๓.๒. นักเรียนสามารถจำแนกคำบุพบทได้ถูกต้อง (P) ๓.๓. นักเรียนมีความกระตือรือร้นต่อกิจกรรมการเรียนการสอน (A) ๔. สาระการเรียนรู้ ๔.๑. คำบุพบท ๔.๒. ลักษณะบุพบท ๕. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ๕.๑. ความสามารถในการสื่อสาร ๕.๒. ความสามารถในการคิด ๖. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๖.๑. มีวินัย


๖.๒. ใฝ่เรียนรู้ ๖.๓. มุ่งมั่นในการทำงาน ๗. ภาระงาน/ชิ้นงาน ๗.๑ นักเรียนทำใบงานเรื่อง คำบุพบท ๘. กระบวนการจัดการเรียนรู้ ๘.๑ ชั้นนำเข้าสู่บทเรียน ๘.๑.๑ นักเรียนสังเกตประโยคที่ครูนำมาให้ดู (ตัวอย่างประโยค แมวนอนบนโซฟา สมุดอยู่ใต้โต๊ะ) ๘.๑.๒ นักเรียนยกตัวอย่างประโยคเพิ่มเติมนอกเหนือจากประโยคที่ครูนำมาให้ดู ๘.๒ ขั้นจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้ ๘.๒.๑ นักเรียนรับฟังครูอธิบายให้ความรู้ในเรื่อง คำบุพบท ว่ามีความหมายว่าอย่างไร ชนิดและหน้าที่ของคำบุพบทมีอะไรบ้าง ๘.๒.๒ นักเรียนทำแบบฝึกหัดที่ ๑ และแบบฝึกหัดที่ ๑.๑ จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกัน เฉลยและตรวจสอบความถูกต้อง ๘.๒.๓ นักเรียนทำแบบฝึกหัดที่ ๑.๒ โดยให้นักเรียนแต่งเรื่องจากภาพที่กำหนดให้และ ต้องมีคำบุพบทอย่างน้อย ๕ คำ ๘.๒.๔ ครูสุ่มนักเรียนออกมานำเสนอเรื่องที่แต่งจากภาพ ๓ คนโดยการจับไม้มงคล ๘.๓ ขั้นสรุป ๘.๓.๑ นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้เรื่องคำบุพบท ๙. สื่อและแหล่งการเรียนรู้ ๙.๑ พาวเวอร์พ้อย เรื่อง คำบุพบท ๙.๒ แบบฝึกหัดคำบุพบท ๙.๓ ไม้มงคล ๑๐. การวัดและการประเมินผล จุดประสงค์ วิธีการวัด เครื่องมือในการวัด เกณฑ์การวัดและ ประเมินผล ๑. นักเรียนสามารถอธิบาย ความหมายของบุพบทได้ (K) - การตอบคำถาม - การถาม-ตอบ นักเรียนตอบคำถามได้ ถูกต้องร้อยละ ๘๐


จุดประสงค์ วิธีการวัด เครื่องมือในการวัด เกณฑ์การวัดและ ประเมินผล ๒. นักเรียนสามารถจำแนกคำ บุพบทได้ถูกต้อง (P) - การทำใบงาน - ใบงานเรื่องคำบุพบท นักเรียนตอบคำถามได้ ถูกต้องมากกว่าร้อยละ ๗๐ ๓. นักเรียนมีความกระตือรือร้น ต่อกิจกรรมการเรียนการสอน (A) การสังเกต พฤติกรรม แบบสังเกตพฤติกรรม นักเรียนผ่านการประเมิน อยู่ในเกณฑ์ดีขึ้นไป


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๖ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในภาษา เวลา ๘ ชั่วโมง เรื่อง คำสันธาน เวลา ๑ ชั่วโมง วันที่สอน ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๕๐-๑๔.๔๐ น. สอนชั้น ม.๑/๕ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ ๒๕๖๖ เวลา ๑๒.๕๕-๑๓.๔๕ น. สอนชั้น ม.๑/๖ เวลา ๑๒.๕๕-๑๓.๔๕ น. สอนชั้น ม.๑/๔ ครูผู้สอน นางสาวศรีเพรชรี ภักดีปัญญา โรงเรียนท่าบ่อ ๑. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐาน ท ๕.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของ ภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ ตัวชี้วัด ม.๑/๓ วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค ๒. สาระสำคัญ คำสันธาน หมายถึง คำที่ใช้เชื่อมคำหรือข้อความให้ติดต่อเป็นเรื่องเดียวกัน ทำให้ประโยค มีความกระชับและสละสลวยขึ้น ๓. จุดประสงค์การเรียนรู้ ๓.๑. นักเรียนสามารถอธิบายความหมายของคำสันธานได้ (K) ๓.๒. นักเรียนสามารถจำแนกชนิดของคำสันธานได้ถูกต้อง (P) ๓.๓ นักเรียนมีความกระตือรือร้นต่อกิจกรรมการเรียนการสอน (A) ๔. สาระการเรียนรู้ ๔.๑. คำสันธาน ๔.๒. ลักษณะคำสันธาน ๕. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ๕.๑. ความสามารถในการสื่อสาร ๕.๒. ความสามารถในการคิด ๖. คุณลักษณะอันพึงประสงค์


๖.๑. มีวินัย ๖.๒. ใฝ่เรียนรู้ ๖.๓. มุ่งมั่นในการทำงาน ๗. ภาระงาน/ชิ้นงาน ๗.๑ นักเรียนทำใบงานเรื่อง คำสันธาน ๘. กระบวนการจัดการเรียนรู้ ๘.๑ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ๘.๑.๑ นักเรียนสังเกตตัวอย่างประโยคบนกระดาน ดังนี้ - แม่....พ่อเป็นข้าราชการครูทั้งคู่ (และ) - เขาสอบตก......เขาไม่ได้อ่านหนังสือ (เพราะ) - นักเรียนชอบเรียนวิชาภาษาไทย....วิชาคณิตศาสตร์ (หรือ) ๘.๑.๒ นักเรียนตอบคำถามครูว่าจะสามารถทำให้ประโยคสมบูรณ์ได้อย่างไร และสังเกต คำที่นำมาเชื่อมประโยคให้สมบูรณ์ ๘.๑.๓ นักเรียนยกตัวอย่างประโยคที่ใช้คำสันธานในการเชื่อมประโยค (ครูสุ่มตัวอย่าง นักเรียนลุกขึ้นมาตอบ ประมาณ ๔-๕ ตัวอย่าง) ๘.๒ ขั้นจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้ ๘.๒.๑ นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น ๔ กลุ่ม เท่า ๆ กัน (แบ่งตามชนิดของคำสันธาน) ๘.๒.๒ นักเรียนแต่ละกลุ่มรับใบความรู้เรื่องคำสันธาน ๘.๒.๓ นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาใบความรู้เรื่อง คำสันธาน (ใช้เวลา ๕ - ๑๐ นาที) ๘.๒.๔ นักเรียนรับกระดาษชาร์ตจากครูกลุ่มละ ๑ แผ่น พร้อมเขียนเป็นแผนผังความคิด เรื่องชนิดของคำสันธาน ๘.๒.๕ นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอองค์ความรู้ที่ได้ศึกษาจากใบความรู้เรื่อง ชนิด ของคำสันธาน (แต่ละกลุ่มนำเสนอในแต่ละชนิด คนที่เหลือให้จดบันทึกลงสมุด) ๘.๒.๖ นักเรียนรับฟังครูอธิบายให้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่อง คำสันธาน ว่าคำสันธานคือ อะไร ชนิดของคำสันธานมีอะไรบ้าง ๘.๓ ขั้นสรุป ๘.๓.๑ นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันระบุข้อสังเกตชนิดของคำสันธาน


๘.๓.๒ นักเรียนและครูร่วมกันสรุปบทเรียนเรื่อง คำสันธาน ว่าคำสันธานคืออะไร ชนิด ของคำสันธานมีอะไรบ้าง โดยใช้สื่อผังมโนทัศน์จาก PowerPoint ช่วยในการสรุป ๘.๓.๓ นักเรียนรับใบงาน เรื่องคำสันธาน ๙. สื่อและแหล่งการเรียนรู้ ๙.๑ สื่อ PowerPoint เรื่อง คำสันธาน ๙.๒ ใบความรู้ เรื่อง คำสันธาน (ชนิดและหน้าที่ ของคำสันธาน) จำนวน ๑๖ แผ่น ๙.๓ กระดาษชาร์ต จำนวน ๔ แผ่น ๙.๔ ใบงาน เรื่อง คำสันธาน ๑๐. การวัดและการประเมินผล จุดประสงค์ วิธีการวัด เครื่องมือในการวัด เกณฑ์การวัดและ ประเมินผล ๑. นักเรียนสามารถอธิบาย ความหมายของสันธานได้ (K) - การตอบคำถาม - การถาม-ตอบ นักเรียนตอบคำถามได้ ถูกต้องร้อยละ ๘๐ ๒. นักเรียนสามารถจำแนก ชนิดของคำสันธานได้ถูกต้อง (P) - การทำใบงาน - ใบงานเรื่องคำสันธาน นักเรียนตอบคำถามได้ ถูกต้องมากกว่าร้อยละ ๗๐ ๓ . น ั ก เ ร ี ย น ม ี ค ว า ม กระตือรือร้นต่อกิจกรรมการ เรียนการสอน (A) - ก า ร ส ั ง เ ก ต พฤติกรรม แบบสังเกตพฤติกรรม นักเรียนผ่านการประเมิน อยู่ในเกณฑ์ดีขึ้นไป


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๗ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในภาษา เวลา ๘ ชั่วโมง เรื่อง คำอุทาน เวลา ๑ ชั่วโมง วันที่สอน ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ ๒๕๖๖ เวลา ๑๒.๐๐-๑๒.๕๐ น. สอนชั้น ม.๑/๖ เวลา ๑๒.๕๕-๑๓.๔๕ น. สอนชั้น ม.๑/๕ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๑๕-๑๐.๐๕ น. สอนชั้น ม.๑/๔ ครูผู้สอน นางสาวศรีเพรชรี ภักดีปัญญา โรงเรียนท่าบ่อ ๑. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐาน ท ๕.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของ ภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ ตัวชี้วัด ม.๑/๓ วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค ๒. สาระสำคัญ คำอุทาน หมายถึง คำที่แสดงอารมณ์ของผู้พูดในขณะที่ตกใจ ดีใจ เสียใจ ประหลาดใจ หรือ อาจจะเป็นคำที่ใช้เสริมคำพูด เช่นคำว่า อุ๊ย เอ๊ะ ว้าย โธ่ อนิจจา อ๋อ เป็นต้น ๓. จุดประสงค์การเรียนรู้ ๓.๑. นักเรียนสามารถอธิบายความหมายของคำอุทานได้ (K) ๓.๒. นักเรียนสามารถจำแนกคำอุทานได้ถูกต้อง (P) ๓.๓ นักเรียนมีความกระตือรือร้นต่อกิจกรรมการเรียนการสอน (A) ๔. สาระการเรียนรู้ ๔.๑. คำอุทาน ๔.๒. ลักษณะอุทาน ๔.๓. หน้าที่ของคำอุทาน ๕. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ๕.๑. ความสามารถในการสื่อสาร ๕.๒. ความสามารถในการคิด


๖. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๖.๑. มีวินัย ๖.๒. ใฝ่เรียนรู้ ๖.๓. มุ่งมั่นในการทำงาน ๗. ภาระงาน ๗.๑ นักเรียนทำใบงานเรื่อง คำอุทาน ๘. การจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้ ๘.๑ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ๘.๑.๑ นักเรียนยกตัวอย่างคำที่นักเรียนมักจะพูดออกมาเวลานักเรียนแสดงอารมณ์ ต่าง ๆ (ตัวอย่างการตอบของนักเรียน โอ้ย แสดงออกตอนนักเรียนเดินชนโต๊ะเรียน) ๘.๑.๒ นักเรียนยกตัวอย่างประโยคที่ใช้คำอุทานเหล่านั้น (ครูสุ่มตัวอย่างนักเรียน ลุก ขึ้นมาตอบ ประมาณ ๔-๕ ตัวอย่าง) ๘.๑.๓ นักเรียนจดคำอุทานที่เพื่อนยกตัวอย่างลงในสมุด ๘.๒ ขั้นสอน ๘.๒.๑ นักเรียนฟังครูอธิบายเกี่ยวกับความหมายของคำอุทาน ชนิด และหน้าที่ของคำ อุทาน โดยใช้สื่อประกอบจาก PowerPoint ๘.๒.๒ นักเรียนตอบคำถามจากครูว่า คำอุทานคืออะไร ๘.๒.๓ นักเรียนแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม “ฉัน คือ คำอุทาน” เป็น ๓ กลุ่ม เท่า ๆ กัน ผลัด กันมาหยิบแผ่นป้ายคำอุทานที่ด้านหน้าแถวของแต่ละกลุ่ม ไปจับคู่กับชนิดของคำอุทานที่ติดอยู่ด้านหน้า ห้องให้ถูกต้อง ภายในเวลา ๓ นาที เช่น ถ้าได้คำว่า “หมดเวรหมดกรรม ” ให้นำไปติดตรงกับป้าย คำ อุทานทำหน้าที่เพิ่มน้ำหนักของคำ เป็นต้น ถ้ากลุ่มใดเสร็จก่อนและถูกต้องจะเป็นฝ่ายที่ชนะ ๘.๒.๔ นักเรียนตรวจสอบความถูกต้องจากกิจกรรมร่วมกันกับครู ๘.๓ ขั้นสรุป ๘.๓.๑ นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันระบุข้อสังเกตความหมาย ชนิด และหน้าที่ของคำ อุทาน ๘.๓.๒ นักเรียนและครูร่วมกันสรุปบทเรียนเรื่อง คำอุทาน ว่าความหมายของคำอุทาน คืออะไร คำอุทานมีกี่ชนิด และหน้าที่ของคำอุทานว่าแตกต่างกันอย่างไร โดยใช้ตัวอย่างคำจากกิจกรรมมา ช่วยประกอบการอธิบาย


๘.๓.๓ นักเรียนรับใบงาน เรื่องคำอุทาน ๙. สื่อและแหล่งการเรียนรู้ ๙.๑ สื่อ Power Point เรื่อง คำอุทาน ๙.๒ ป้ายหน้าที่ของคำอุทาน จำนวน ๓ ป้าย ๙.๓ ป้ายคำอุทาน จำนวน ๒๔ ป้าย ๙.๔ ใบงาน เรื่อง คำอุทาน จำนวน ๕๓ ชุด ๑๐. การวัดและการประเมินผล จุดประสงค์ วิธีการวัด เครื่องมือในการวัด เกณฑ์การวัดและ ประเมินผล ๑. นักเรียนสามารถอธิบาย ความหมายของคำอุทานได้ (K) - การตอบคำถาม - การถาม-ตอบ นักเรียนตอบคำถามได้ ถูกต้องร้อยละ ๘๐ ๒. นักเรียนสามารถจำแนกคำ อุทานได้ถูกต้อง (P) - การทำกิจกรรม - การทำใบงาน - การทำกิจกรรม “ฉัน คือ คำอุทาน” - ใบงานเรื่องคำอุทาน นักเรียนตอบคำถามได้ ถูกต้องมากกว่าร้อยละ ๗๐ ๓. นักเรียนมีความกระตือรือร้น ต่อกิจกรรมการเรียนการสอน (A) -การสังเกตพฤติกรรม แบบสังเกตพฤติกรรม นักเรียนผ่านการประเมินอยู่ ในเกณฑ์ดีขึ้นไป


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในภาษา เวลา ๘ ชั่วโมง เรื่อง ประโยค เวลา ๑ ชั่วโมง วันที่สอน ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๒๐-๐๙.๑๐ น. สอนชั้น ม.๑/๖ เวลา ๑๐.๑๐-๑๑.๐๐ น. สอนชั้น ม.๑/๕ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ ๒๕๖๖ เวลา ๑๒.๕๕-๑๓.๔๕ น. สอนชั้น ม.๑/๔ ครูผู้สอน นางสาวศรีเพรชรี ภักดีปัญญา โรงเรียนท่าบ่อ ๑. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐาน ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและ พลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติ ของชาติ ตัวชี้วัด ท ๔.๑ ม. ๔-๖/๒ ใช้คำและกลุ่มคำสร้างประโยคตรงตามวัตถุประสงค์ ๒. สาระสำคัญ ประโยคประกอบด้วย ภาคประธานและภาคแสดง บางประโยคอาจมีการเพิ่มคำหรือวลีเพื่อให้ ใจความของประโยคชัดเจนขึ้นหรืออาจมีค าเชื่อมใจความของประโยคให้ต่อเนื่องกัน การลำดับคำใน ประโยคแสดงความสัมพันธ์ของคำในประโยคนั้น บางประโยคเมื่อลำดับคำเปลี่ยนไปจะทำให้ความหมาย ของประโยคเปลี่ยนไปด้วย ประโยคสามารถเพิ่มรายละเอียดให้ยาวออกไปอย่างไม่จำกัด และสามารถตัด ให้สั้นได้โดยแยกรายละเอียดออกไปเป็นประโยคย่อย จึงควรศึกษาให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และสามารถ นำไปใช้ได้ถูกต้องเหมาะสม เพื่อช่วยให้ใช้ภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๓.จุดประสงค์การเรียนรู้ ๓.๑. นักเรียนสามารถอธิบายการสร้างประโยคในภาษาไทยได้ (K) ๓.๒. นักเรียนวิเคราะห์ส่วนประกอบของประโยคได้(P) ๓.๓. นักเรียนตระหนักถึงคุณค่าของการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง (A) ๔. สาระการเรียนรู้ ๔.๑ ส่วนประกอบของประโยค ๔.๒ ลำดับคำในประโยค ๔.๓ ความยาวของประโยค ๕. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน


๕.๑ ความสามารถในการสื่อสาร ๕.๒ ความสามารถในการคิด ๖. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๖.๑ มีวินัย ๖.๒ ใฝ่เรียนรู้ ๖.๓ มุ่งมั่นในการทำงาน ๗.ภาระงาน ๗.๑ แต่งประโยค ๘.กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ๘.๑ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ๘.๑.๑. ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น โดยครูใช้คำถามท้าทาย ดังนี้- คำ กลุ่มคำ และประโยค สื่อความหมายเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร ๘.๑.๒. ให้นักเรียนช่วยกันบอกความหมายของคำ ครูอธิบายเพิ่มเติม จากนั้นนักเรียน ช่วยกันยกตัวอย่างคำ เช่น ( นก มด บ้าน ) ครูบันทึกคำเหล่านั้นบนกระดาน จากนั้นนักเรียน ช่วยกันขยายคำที่ยกตัวอย่างให้เป็นกลุ่มคำ (เช่น นกสีนวลตัวนั้น มดแดงตัวน้อย บ้านหลังใหญ่) ๘.๒ ขั้นจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ ๘.๒.๑ ให้นักเรียนฝึกใช้กลุ่มคำที่ยกตัวอย่างบนกระดานมาร้อยเรียงเป็นประโยคที่ สมบูรณ์เช่น นกสีนวลตัวนั้นกำลังจิกปลาตัวใหญ่ มดแดงตัวน้อยเกาะอยู่บนต้นมะม่วง บ้านหลัง ใหญ่เป็นบ้านของคุณพ่อฉัน ๘.๒.๒ ให้นักเรียนศึกษาความรู้ เรื่อง ส่วนประกอบของประโยคลำดับคำในประโยค ความยาวของประโยค แล้วร่วมกันสรุปความเข้าใจ ๘.๒.๓ ครูแจกบัตรคำให้นักเรียนคนละ ๑ ใบ แต่ละคนเขียนคำใดก็ได้ลงในบัตรคำ ให้ นักเรียนแบ่งกลุ่มกลุ่มละ ๑๐ คน ประกอบคำให้เป็นประโยค เช่น ฉันรักเขากลุ่มใดเร็วที่สุดและ ถูกต้องได้รับรางวัล นักเรียนส่งตัวแทนแต่ละกลุ่มนำเสนอประโยคหน้าชั้นเรียนพร้อมบอก ส่วนประกอบของประโยค (ภาคประธานและภาคแสดง) แล้วลองลำดับคำในประโยคใหม่ เช่น เขารักฉันจากนั้นร่วมกันวิเคราะห์ถึงความหมายที่เปลี่ยนไปให้ถูกต้อง ๘.๒.๔ นักเรียนนำประโยคของแต่ละกลุ่มมาฝึกแต่งประโยคให้มีความยาวเพิ่มขึ้น เช่น เขาชอบไปเที่ยวทะเลเขาและเธอชอบไปเที่ยวทะเลที่จังหวัดภูเก็ต เขาซึ่งเป็นนักดำน้ำและเธอซึ่งเป็นเพื่อนสนิทชอบไปเที่ยวทะเลที่จังหวัดภูเก็ตทุกครั้งที่มีเวลาว่าง ตรงกัน


๘.๒.๕ ให้นักเรียนทำใบกิจกรรม เรื่อง การวิเคราะห์ส่วนประกอบของประโยค แล้ว ร่วมกันตรวจสอบความถูกต้อง ๘.๓ ขั้นสรุป ๘.๓.๑ ให้นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้ ดังนี้- ประโยคประกอบด้วย ภาคประธาน และภาคแสดง บางประโยคอาจมีการเพิ่มคำหรือวลีเพื่อให้ใจความของประโยคชัดเจนขึ้นหรือ อาจมีคำเชื่อมใจความของประโยคให้ต่อเนื่องกัน การลำดับคำในประโยคแสดงความสัมพันธ์ของ คำในประโยคนั้น บางประโยคเมื่อลำดับคำเปลี่ยนไปจะทำให้ความหมายของประโยคเปลี่ยนไป ด้วย ประโยคสามารถเพิ่มรายละเอียดให้ยาวออกไปอย่างไม่จำกัด และสามารถตัดให้สั้นได้โดย แยกรายละเอียดออกไปเป็นประโยคย่อย จึงควรศึกษาให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และสามารถ นำไปใช้ได้ถูกต้องเหมาะสม เพื่อช่วยให้ใช้ภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๙. สื่อการเรียนรู้ ๙.๑. บัตรคำ ๙.๒. ใบกิจกรรม ๑๐.การวัดผลและประเมินผล จุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการวัด เครื่องมือวัด เกณฑ์การให้คะแนน ๑. นักเรียนสามารถอธิบายการสร้าง ประโยคในภาษาไทยได้ (K) ตอบคำถาม คำถามในชั้นเรียน นักเรียนตอบคำถามได้ ถูกต้องร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป ๒. นักเรียนวิเคราะห์ส่วนประกอบ ของประโยคได้(P) ตอบคำถาม ใบกิจกรรม นักเรียนตอบคำถามได้ ถูกต้องร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป ๓. นักเรียนตระหนักถึงคุณค่าของการ ใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง (A) สังเกตพฤติกรรม แบบประเมินการ สังเกตพฤติกรรม นักเรียนผ่านเกณฑ์การ ประเมินในระดับดี


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๙ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ คำพ้อง เวลา ๔ ชั่วโมง เรื่อง คำพ้องเสียง เวลา ๑ ชั่วโมง วันที่สอน ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๕๐-๑๔.๔๐ น. สอนชั้น ม.๑/๕ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ ๒๕๖๖ เวลา ๑๒.๕๕-๑๓.๔๕ น. สอนชั้น ม.๑/๖ เวลา ๑๒.๕๕-๑๓.๔๕ น. สอนชั้น ม.๑/๔ ครูผู้สอน นางสาวศรีเพรชรี ภักดีปัญญา โรงเรียนท่าบ่อ ๑. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู ท ๔.๑ เขาใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิ ปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไวเป็นสมบัติของชาติ ตัวชี้วัด ท๔.๑ ม.๑/๒ สรางคำในภาษาไทย ๒. สาระสำคัญ ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด คำส่วนใหญ่จะเป็นคำพยางค์เดียว ความหมายของคำขึ้นอยู่กับ ถ้อยคำที่แวดล้อมหรือการทำหน้าที่ของคำนั้นในประโยค ภาษาไทยจึงมีคำที่มีเสียงเหมือนกันแต่ต่าง ความหมาย คำที่มีความหมายเหมือนกันแต่เขียนต่างกัน หรือมีคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน ๓. จุดประสงคการเรียนรู ๓.๑ นักเรียนสามารถอธิบายความหมายและลักษณะคำพองเสียงได้ (K) ๓.๒ นักเรียนสามารถเลือกคำพองเสียงมาเติมในแบบฝึกให้ได้ใจความถูกต้อง (P) ๓.๓ นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนการสอน (A) ๔. สาระการเรียนรู้ ๔.๑ ความหมายของคำพ้องเสียง ๔.๒ คำพ้องเสียง ๕. สมรรถนะสำคัญ ๕.๑ ความสามารถในการคิด ๕.๒ ความสามารถในการสื่อสาร ๖. คุณลักษณะอันพึงประสงค


๖.๑ ใฝเรียนรู ๖.๒ มีวินัย ๖.๓ มุ่งมั่นในการทำงาน ๗.ภาระงาน ๗.๑ แบบฝึกหัดเรื่องคำพ้องเสียง ๘. กระบวนการจัดการเรียนรู้ ๘.๑ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ๘.๑.๑ นักเรียนสังเกตตัวอยางบทประพันธตอไปนี้ โดยใหนักเรียนวิเคราะหวามีวิธีการใช้ ภาษาอยางไรที่เดนชัด “สายลมพัดพัทธผูกสายใยรัก เจริญพัฒนกาวไกลภัตตอาหาร พัสตรเสื้อผาพัชรเพชรงามตระการ ภัสมผงฝุนดินดานฟุงกระจาย” ๘.๑.๒ นักเรียนวิเคราะหจากบทประพันธขางตน เนื้อหาสาระการเรียนรูวันนี้คือเรื่องอะไร โดยครู เชื่อมโยงเขาสูเนื้อหาการเรียนรูเรื่อง คำพอง ๘.๒ ขั้นกิจกรรมการเรียนรู้ ๘.๒.๑ ๓. นักเรียนรับฟังอธิบายเนื้อหา คำพอง พร้อมครูตั้งคำถามวา นักเรียนคิดว่าคำพ องเสียงมีลักษณะอยางไรรวมกันอภิปราย การอธิบายคำพองเสียง คือ คำที่ออกเสียงเหมือนกัน แตเขียน แตกตางกัน และความหมายตางกัน ๘.๒.๒ ครูยกตัวอยางประโยคใหนักเรียนวิเคราะห ดังตอไปนี้ -เขาเอาน้ำที่ใชลางรถไปรดน้ำตนไม -ขาทาสบริวารทุกคนมีคุณคา ไมสำควรลงโทษดวยการฆา -คุณยาตัดหญาที่สนาม ๘.๒.๓ นักเรียนทำแบบฝึกหัดเรื่องคำพ้องเสียง พร้อมทั้งครูและนักเรียนร่วมกันเฉลย แบบฝึกหัดเรื่องคำพ้องเสียง ๘.๓ ขั้นสรุป ๘.๓.๑ นักเรียนและครูร่วมกับสรุปเนื้อหาเรื่องคำพ้องและคำพ้องเสียง


๙. สื่อและแหล่งการเรียนรู้ ๙.๑ พาวเวอร์พ้อย เรื่อง คำพ้อง ๙.๒ แบบฝึกหัด เรื่อง คำพ้อง ๑๐. การวัดและการประเมินผล จุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการวัด เครื่องมือวัด เกณฑ์การประเมิน ๑ นักเรียนสามารถอธิบาย ความหมายและลักษณะคำพอง เสียงได้ (K) ตอบคำถาม คำถาม นักเรียนตอบคำถามได้ถูกต้อง ร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป ๒ นักเรียนสามารถเลือกคำพ องเสียงมาเติมในแบบฝึกให้ได้ ใจความถูกต้อง (P) ตอบคำถาม แบบฝึกหัดเรื่อง คำพ้องเสียง นักเรียนตอบคำถามได้ถูกต้อง ร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป ๓ นักเรียนมีความกระตือรือร้น ในการเรียนการสอน (A) สังเกตพฤติกรรม แบบสังเกต พฤติกรรม นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับดี


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๑๐ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ คำพ้อง เวลา ๔ ชั่วโมง เรื่อง คำพ้องรูป เวลา ๑ ชั่วโมง วันที่สอน ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ ๒๕๖๖ เวลา ๑๒.๐๐-๑๒.๕๐ น. สอนชั้น ม.๑/๖ เวลา ๑๒.๕๕-๑๓.๔๕ น. สอนชั้น ม.๑/๕ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๑๕-๑๐.๐๕ น. สอนชั้น ม.๑/๔ ครูผู้สอน นางสาวศรีเพรชรี ภักดีปัญญา โรงเรียนท่าบ่อ ๑. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู ท ๔.๑ เขาใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิ ปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไวเป็นสมบัติของชาติ ตัวชี้วัด ท๔.๑ ม.๑/๒ สรางคำในภาษาไทย ๒. สาระสำคัญ ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด คำส่วนใหญ่จะเป็นคำพยางค์เดียว ความหมายของคำขึ้นอยู่กับ ถ้อยคำที่แวดล้อมหรือการทำหน้าที่ของคำนั้นในประโยค ภาษาไทยจึงมีคำที่มีเสียงเหมือนกันแต่ต่าง ความหมาย คำที่มีความหมายเหมือนกันแต่เขียนต่างกัน หรือมีคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน ๓. จุดประสงคการเรียนรู ๓.๑ นักเรียนสามารถอธิบายความหมายและลักษณะคำพ้องรูปได้ (K) ๓.๒ นักเรียนสามารถเลือกคำพองรูปมาเติมในแบบฝึกให้ได้ใจความถูกต้อง (P) ๓.๓ นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนการสอน (A) ๔. สาระการเรียนรู้ ๔.๑ ความหมายของคำพ้องรูป ๔.๒ คำพ้องรูป ๕. สมรรถนะสำคัญ ๕.๑ ความสามารถในการคิด ๕.๒ ความสามารถในการสื่อสาร


๖. คุณลักษณะอันพึงประสงค ๖.๑ ใฝเรียนรู ๖.๒ มีวินัย ๖.๓ มุ่งมั่นในการทำงาน ๗.ภาระงาน ๗.๑ แบบฝึกหัดเรื่องคำพ้องเสียง ๘. กระบวนการจัดการเรียนรู้ ๘.๑ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ๘.๑.๑ นักเรียนสังเกตตัวอยางบทประพันธตอไปนี้และใหนักเรียนอ่านพร้อมกัน “เห็นคมกรีที่หัวกุงสะดุงโหยง กรีชางเปนโขลงในไพรสณฑ นกกรอดตัวเล็ก ๆ บินรอนวน ตัวกรอดจนเห็นกระดูกผอมซีดเซียว” ๘.๑.๒ นักเรียนวิเคราะหจากบทประพันธขางตน เนื้อหาสาระการเรียนรูวันนี้คือเรื่องอะไร โดยครู เชื่อมโยงเขาสูเนื้อหาการเรียนรูเรื่อง คำพองรูป ๘.๒ ขั้นกิจกรรมการเรียนรู้ ๘.๒.๑ นักเรียนร่วมกันตอบคำถาม “นักเรียนคิดวาคำพองรูปมีลักษณะอยางไร” รวมกัน อภิปราย และครูเชื่อมโยงเขาสูการอธิบายคำพองรูป คือ คำที่เขียนเหมือนกัน แตออกเสียงแตกตางกัน และความหมายตางกัน ๘.๒.๒ นักเรียนรับฟังครูอธิบายเนื้อหาความรู้เรื่องคำพ้องรูป ๘.๒.๓ นักเรียนร่วมกันวิเคราะห ดังตอไปนี้ -เพลาเชาอากาศดีมาก & เพลาเกวียนของฉันหัก -ฉันไปซื้อยาถายพยาธิ & หลวงพอมีอายุมากแลว มีโรคาพยาธิมาเบียดเบียน -รานสระผม & สระน้ำ & สระในภาษาไทย แนวคำตอบ คำวา “เพลา” จากประโยคแรก อานออกเสียงวา “เพลา” แปลวา เวลา คำวา “เพลา” จากประโยคที่สอง อานออกเสียงวา “เพ-ลา” แปลวา แกนสำหรับใหลอหมุน คำวา “พยาธิ” จากประโยคแรก อานออกเสียงวา “พะ-ยาด” แปลวา สัตวไมมีกระดูก


สันหลังชนิดหนึ่ง คำวา “พยาธิ” จากประโยคที่สอง อานออกเสียงวา “พะ-ยา-ทิ” แปลวา ความเจ็บไข คำวา “สระ” จากประโยคแรก อานออกเสียงวา “สะ” แปลวา ชำระลาง คำวา “สระ” จากประโยคที่สอง อานออกเสียงวา “สะ” แปลวา แองน้ำ คำวา “สระ” จากประโยคที่สาม อานออกเสียงวา “สะ-หระ” เชน ะ, า ๘.๓ ขั้นสรุป ๘.๓.๑ นักเรียนและครูร่วมกับสรุปเนื้อหาเรื่องคำพ้องและคำพ้องรูป ๙. สื่อและแหล่งการเรียนรู้ ๙.๑ พาวเวอร์พ้อย เรื่อง คำพ้อง ๙.๒ แบบฝึกหัด เรื่อง คำพ้อง ๑๐. การวัดและการประเมินผล จุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการวัด เครื่องมือวัด เกณฑ์การประเมิน ๑ นักเรียนสามารถอธิบาย ความหมายและลักษณะคำพอง เสียงได้ (K) ตอบคำถาม คำถาม นักเรียนตอบคำถามได้ถูกต้อง ร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป ๒ นักเรียนสามารถเลือกคำพ องเสียงมาเติมในแบบฝึกให้ได้ ใจความถูกต้อง (P) ตอบคำถาม แบบฝึกหัดเรื่อง คำพ้องเสียง นักเรียนตอบคำถามได้ถูกต้อง ร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป ๓ นักเรียนมีความกระตือรือร้น ในการเรียนการสอน (A) สังเกตพฤติกรรม แบบสังเกต พฤติกรรม นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับดี


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๑๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ คำพ้อง เวลา ๔ ชั่วโมง เรื่อง คำพ้องรูปคำพ้องเสียง เวลา ๑ ชั่วโมง วันที่สอน ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๒๐-๐๙.๑๐ น. สอนชั้น ม.๑/๖ เวลา ๑๐.๑๐-๑๑.๐๐ น. สอนชั้น ม.๑/๕ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ ๒๕๖๖ เวลา ๑๒.๕๕-๑๓.๔๕ น. สอนชั้น ม.๑/๔ ครูผู้สอน นางสาวศรีเพรชรี ภักดีปัญญา โรงเรียนท่าบ่อ ๑. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู ท ๔.๑ เขาใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิ ปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไวเป็นสมบัติของชาติ ตัวชี้วัด ท๔.๑ ม.๑/๒ สรางคำในภาษาไทย ๒. สาระสำคัญ ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด คำส่วนใหญ่จะเป็นคำพยางค์เดียว ความหมายของคำขึ้นอยู่กับ ถ้อยคำที่แวดล้อมหรือการทำหน้าที่ของคำนั้นในประโยค ภาษาไทยจึงมีคำที่มีเสียงเหมือนกันแต่ต่าง ความหมาย คำที่มีความหมายเหมือนกันแต่เขียนต่างกัน หรือมีคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน ๓. จุดประสงคการเรียนรู ๓.๑ นักเรียนสามารถอธิบายความหมายและลักษณะคำพองรูป-คำพ้องเสียงได้ (K) ๓.๒ นักเรียนสามารถเขียนความหมายคำพ้องรูป-คำพ้องเสียงในประโยคได้ถูกต้อง (P) ๓.๓ นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนการสอน (A) ๔. สาระการเรียนรู้ ๔.๑ ความหมายคำพ้องรูป-คำพ้องเสียง ๔.๒ ลักษณะคำพ้องรูป-คำพ้องเสียง ๕. สมรรถนะสำคัญ ๕.๑ ความสามารถในการคิด ๕.๒ ความสามารถในการสื่อสาร ๖. คุณลักษณะอันพึงประสงค


๖.๑ ใฝเรียนรู ๖.๒ มีวินัย ๖.๓ มุ่งมั่นในการทำงาน ๗.ภาระงาน ๗.๑ แบบฝึกหัดเรื่องคำพ้องรูป คำพ้องเสียง ๘. กระบวนการจัดการเรียนรู้ ๘.๑ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ๘.๑.๑ นักเรียนร่วมกันตอบคำถาม “คำพองรูปและเสียงมีจริงหรือไม มีลักษณะ อยางไรรวมกันอภิปราย”และครูเชื่อมโยงเขาสูการอธิบายคำพองทั้งรูปและเสียง คือ คำที่รูปเขียน เหมือนกัน ออกเสียงเหมือนกัน แตความหมายแตกตางกันแลวแตการนำไปใช ๘.๒ ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ๘.๒.๑ นักเรียนร่วมกันวิเคราะหตัวอย่างประโยค ดังตอไปนี้ -เด็กที่มัดผมจุกกินไปเลนไปจนจุกทอง -ตาเตือนฉันวาไมควรเอามือขยี้ตา -เจาหนาที่กำลังวัดความกวางของศาลาวัด แนวคำตอบ คำวา “จุก” จากประโยคคำแรก อานออกเสียงวา “จุก” แปลวา คำวา “จุก” จากประโยคคำที่สอง อานออกเสียงวา “จุก” แปลวา คำวา “ตา” จากประโยคคำแรก อานออกเสียงวา “ตา” แปลวา คำวา “ตา” จากประโยคคำที่สอง อานออกเสียงวา “ตา” แปลวา คำวา “วัด” จากประโยคคำแรก อานออกเสียงวา “วัด” แปลวา คำวา “วัด” จากประโยคคำที่สอง อานออกเสียงวา “วัด” แปลวา ๘.๒.๒ นักเรียนรวมกันสรุปลักษณะของคำพองทั้งรูปและเสียง คือ คำที่รูปเขียนเหมือนกัน ออกเสียง เหมือนกันแตความหมายแตกตางกันแลวแตการนำไปใช ๘.๒.๓ นักเรียนทำแบบฝึกหัดเรื่องคำพ้องรูป คำพ้องเสียงในหนังสือฝึกเสริมประสบการณ์ภาษาไทยเล่มที่ ๒ ๘.๒.๔ ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยแบบฝึกหัด


๘.๓ ขั้นสรุป ๘.๓.๑ นักเรียนและครูร่วมกันสรุปเนื้อหาเรื่องคำพ้องรูปคำพ้องเสียง ๙. สื่อและแหล่งการเรียนรู้ ๙.๑ พาวเวอร์พ้อย ๙.๒ หนังสือเรียนภาษาไทยพื้นฐานมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ๑๐. การวัดและการประเมินผล จุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการวัด เครื่องมือวัด เกณฑ์การประเมิน ๑. นักเรียนสามารถอธิบาย ความหมายและลักษณะคำพอง รูป-คำพ้องเสียงได้ (K) ตอบคำถาม คำถามในชั้นเรียน นักเรียนตอบคำถามได้ถูกต้อง ร้อยละ ๗๐ ขั้นไป ๒. นักเรียนสามารถเขียน ความหมายคำพ้องรูป-คำพ้องเสียง ในประโยคได้ถูกต้อง (P) เขียนความหมาย จากประโยค แบบฝึกหัด นักเรียนตอบคำถามได้ถูกต้อง ร้อยละ ๗๐ ขั้นไป ๓. นักเรียนมีความกระตือรือร้นใน การเรียนการสอน (A) สังเกตพฤติกรรม แบบประเมิน พฤติกรรม นักเรียนผ่านเกณฑ์การ ประเมินในระดับดีขั้นไป


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๑๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ คำพ้อง เวลา ๔ ชั่วโมง เรื่อง คำพ้องความหมาย เวลา ๑ ชั่วโมง วันที่สอน ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๕๐-๑๔.๔๐ น. สอนชั้น ม.๑/๕ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ ๒๕๖๖ เวลา ๑๒.๕๕-๑๓.๔๕ น. สอนชั้น ม.๑/๖ เวลา ๑๒.๕๕-๑๓.๔๕ น. สอนชั้น ม.๑/๔ ครูผู้สอน นางสาวศรีเพรชรี ภักดีปัญญา โรงเรียนท่าบ่อ ๑. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู ท ๔.๑ เขาใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิ ปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไวเป็นสมบัติของชาติ ตัวชี้วัด ท๔.๑ ม.๑/๒ สรางคำในภาษาไทย ๒. สาระสำคัญ คำพ้องความเป็นคำที่มีความหมายเหมือนกัน หรือมีความหมายใกล้เคียงกัน บางตำราเรียกว่าคำ พ้องความหมาย คำศัพท์ทรงวรรณคดีใช้ว่าคำไวพจน์ ต้องเลือกใช้ให้ถูกต้องเหมาะสม ๓. จุดประสงคการเรียนรู ๓.๑ นักเรียนสามารถอธิบายความหมายและลักษณะคำพ้องความหมายได้ (K) ๓.๒ นักเรียนสามารถวิเคราะห์และเขียนความหมายของคำพ้องความหมายได้ถูกต้อง (P) ๓.๓ นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนการสอน (A) ๔. สาระการเรียนรู้ ๔.๑ ความหมายคำพ้องความหมาย ๔.๒ ลักษณะคำพ้องความหมาย ๔.๓ ตัวอย่างคำพ้องความหมาย ๕. สมรรถนะสำคัญ ๕.๑ ความสามารถในการคิด ๕.๒ ความสามารถในการสื่อสาร ๖. คุณลักษณะอันพึงประสงค


๖.๑ ใฝเรียนรู ๖.๒ มีวินัย ๖.๓ มุ่งมั่นในการทำงาน ๗.ภาระงาน ๗.๑ กิจกรรมไวพจน์น่ารู้ ๘. กระบวนการจัดการเรียนรู้ ๘.๑ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ๘.๑.๑ นักเรียนร่วมกันตอบคำถามจากบัตรคำ “วิหค ปักษา สกุณา” ว่ามีความหมาย อย่างไร แนวคำตอบ แปลว่า นก ๘.๒ ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ๘.๒.๑ นักเรียนศึกษาความหมาย ลักษณะ ประโยชน์ของคำพ้องความหมายในหนังสือ เรียนโดยมีครูคอยแนะนำความรู้เพิ่มเติม ๘.๒.๒ นักเรียนร่วมกันทำกิจกรรมไวพจน์น่ารู้ โดยครูจะแจกบัตรคำให้นักเรียนดังนี้ ลิง วอก วานร กระบี่ กบิล พานร ดอกไม้ มาลี ผกา กุสุมา บุษบา บุปผา ภูเขา บรรพต คีรี สิงขร ภูผา ภูธร พระจันทร์ ศศิธร แข มาศ บุหลัน รัตติกร ไฟ อัศนี เดช เพลิง ปราพก อัคคี สวย โสภณ พะงา วิศิษฏ์ เสาวภาคย์ รุจิเรช ปลา มัจฉา มีนา มัสยา ชลจร มีน ๘.๒.๓ นักเรียนนำบัตรคำไปติดที่สื่อกระดานให้ถูกต้อง ๘.๒.๔ ครูและนักเรียนร่วมดันเฉลยและตรวจสอบความถูกต้องของกิจกรรมไวพจน์น่ารู้ และให้ครูมอบหมายให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดคำไวพจน์ ๘.๓ ขั้นสรุป ๘.๓.๑ ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเนื้อหาและประโยชน์ของคำพ้องความหมาย ๙. สื่อและแหล่งการเรียนรู้ ๙.๑ บัตรคำกิจกรรมไวพจน์น่ารู้


๑๐.การวัดผลและประเมินผล จุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการวัด เครื่องมือวัด เกณฑ์การประเมิน ๑. นักเรียนสามารถอธิบาย ความหมายและลักษณะคำพ้อง ความหมายได้ (K) ตอบคำถาม คำถามในชั้น เรียน นักเรียนตอบคถามได้ถูกต้องร้อย ละ ๗๐ ขึ้นไป ๒. นักเรียนสามารถวิเคราะห์และ เขียนความหมายของคำพ้อง ความหมายได้ถูกต้อง (P) กิจกรรมไวพจน์ น่ารู้ กิจกรรมไวพจน์ น่ารู้ นักเรียนตอบคถามได้ถูกต้องร้อย ละ ๗๐ ขึ้นไป ๓. นักเรียนมีความกระตือรือร้นใน การเรียนการสอน (A) สังเกตพฤติกรรม แบบสังเกต พฤติกรรม นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินใน ระดับดี


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๑๓ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓ สำนวนที่เป็นคำพังเพยและสุภาษิต เวลา ๓ ชั่วโมง เรื่อง ความหมายสำนวนที่เป็นคำพังเพยและสุภาษิต เวลา ๑ ชั่วโมง วันที่สอน ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ ๒๕๖๖ เวลา ๑๒.๐๐-๑๒.๕๐ น. สอนชั้น ม.๑/๖ เวลา ๑๒.๕๕-๑๓.๔๕ น. สอนชั้น ม.๑/๕ ๑ ธันวาคม พ.ศ ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๑๕-๑๐.๐๕ น. สอนชั้น ม.๑/๔ ครูผู้สอน นางสาวศรีเพรชรี ภักดีปัญญา โรงเรียนท่าบ่อ ๑.มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด มาตรฐาน ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและ พลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ ตัวชี้วัด ท ๔.๑ ม. ๑/๖ จำแนกและใช้สำนวนที่เป็นคำพังเพยและสุภาษิต ๒.สาระสำคัญ คำพังเพยและสุภาษิตเป็นถ้อยคำสำนวนที่มุ่งให้คติในการดำเนินชีวิต โดยคำพังเพยมีความหมาย กลาง ๆ ที่แฝงข้อคิดเตือนใจให้นำไปปฏิบัติ ส่วนสุภาษิตมุ่งเน้นการสั่งสอนตักเตือนให้จดจำ ในโคลงโลก นิติมีคำสอนที่สอดคล้องกับคำพังเพยและสุภาษิต การเข้าใจเนื้อหาทำให้สามารถนำคำพังเพยและสุภาษิต ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ๓.จุดประสงค์การเรียนรู้ ๓.๑ นักเรียนบอกความหมายของสำนวน สุภาษิต และคำพังเพยได้ (K) ๓.๒ นักเรียนจับคู่สำนวน สุภาษิตและความหมายได้ถูกต้อง (P) ๓.๓ นักเรียนตระหนักถึงคุณค่าของสำนวนไทย (A) ๔. สาระการเรียนรู้ ๔.๑ ความหมายของสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ๕. สมรรถนะสำคัญ ๕.๑ ความสามารถในการสื่อสาร ๕.๒ ความสามารถในการคิด


Click to View FlipBook Version