The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การจัดการความรู้

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by นักประเมิน, 2023-12-04 21:56:15

การจัดการความรู้

การจัดการความรู้

Keywords: การจัดการความ,รู้

Knowledge Management สำ นักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (พ.ศ. 2564 - 2565) การจัดการความรู้


1 การจัดการความรู้ Knowledge Management ของ สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ (พ.ศ. 2564 - 2565)


3 บทสรุปผู้บริหาร การจัดการความรู้ของส านักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้พ.ศ. 2564 – 2565 มีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวม ถอดบทเรียน ถอดความรู้ และจัดการ องค์ความรู้อย่างเป็นระบบ และน าความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กร ซึ่งการจัดกิจกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นทั้งสิ้น 12 ครั้ง ด้วยรูปแบบและวิธีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งการประชุม online เพื่อปรับให้เข้ากับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 การประชุมเชิงปฏิบัติการ การศึกษา ดูงานศูนย์การเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ เพื่อถอดบทเรียนหรือ ถอดความรู้สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ และจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ สรุปสาระจากการจัดกิจกรรมฯ แต่ละครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 หัวข้อ “จุดประกายนักการศึกษายุคใหม่กับหมุดหมายที่ 12 และ (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13” แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 มีการก าหนดวิสัยทัศน์ “พลิกโฉมประเทศไทยสู่สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้าง มูลค่าอย่างยั่งยืน” ไว้เป็นหมุดหมายส าคัญของการพัฒนาบนพื้นฐานแนวคิดส าคัญ 4 ประการ ได้แก่ 1) หลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) แนวคิด Resilience 3) เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ 4) โมเดลเศรษฐกิจ BCG และเป้าหมายหลัก 5 ประการในการพัฒนาและเสริมสร้างสังคมที่ก้าวทันพลวัตของโลก สังคมที่เกื้อหนุนให้คนไทยมีโอกาสพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ ได้แก่ 1) การปรับโครงสร้างการผลิตสู่เศรษฐกิจ ฐานนวัตกรรม 2) การพัฒนาคนส าหรับโลกยุคใหม่ 3) การมุ่งสู่สังคมแห่งโอกาสและความเป็นธรรม 4) การเปลี่ยนผ่าน สู่ความยั่งยืน และ 5) การเสริมสร้างความสามารถของประเทศในการรับมือกับความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลง ภายใต้บริบทโลกใหม่ นอกจากนี้ เพื่อให้การพัฒนาเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เกิดการท างานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน จึงได้มีการ ก าหนดหมุดหมายการพัฒนา 13 ประการ ใน 4 มิติโดยหมุดหมายที่เกี่ยวข้องกับส านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา โดยตรง คือ มิติปัจจัยผลักดันการพลิกโฉมประเทศ ในหมุดหมายที่ 12 ไทยมีก าลังคนสมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต ครั้งที่ 2 หัวข้อ “เขียนโครงการอย่างไรให้ได้งบประมาณ” การเขียนโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อแปลงแผนงาน/ การด าเนินกิจกรรมสู่การปฏิบัติแก้ปัญหาที่ จ าเป็นต้องใช้งบประมาณ รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการพัฒนาองค์กร/ บริหารงาน/ จัดสรรงบประมาณ โดยการ เขียนโครงการจ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาให้ครอบคลุมถึงประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ ความสอดคล้องของภารกิจ และหน้าที่ มีความส าคัญ จ าเป็น และส่งผลกระทบสูง มีพระราชบัญญัติฯ/ มติคณะรัฐมนตรีฯ/ ข้อสั่งการให้ท า เป็นเรื่องที่มีความคุ้มค่า คุ้มทุนงบประมาณ และหน่วยงานมีความพร้อมที่จะด าเนินโครงการ เป็นต้น นอกจากนี้ โครงการที่ดี ชื่อโครงการจะต้องกระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจ เขียนให้เห็นภาพกว้างของการท างาน ที่มาและ (2)


4 ความส าคัญควรสะท้อนและเชื่อมโยงไปสู่ยุทธศาสตร์การศึกษาชาติ แผนการศึกษาชาติ ผลการศึกษาวิจัย สถิติ ข้อส าคัญส าคัญด้านการศึกษาต่าง ๆ วัตถุประสงค์ ควรมีความชัดเจน ไม่หลายข้อมากเกินไป และตอบโจทย์ การวิจัย ผลผลิต/ ตัวชี้วัด/ ผลกระทบ ควรระบุให้ชัดเจน ตอบวัตถุประสงค์ สะท้อนความส าคัญ เป้าหมายและ ปัญหาที่ต้องการจะแก้ไข วิธีด าเนินงาน/ กิจกรรม ควรสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ การก าหนด งบประมาณ ควรมีความเหมาะสมกับกิจกรรม ผลผลิต มีรายละเอียดตัวคูณที่ต้องตามอัตราที่ก าหนด และ ระยะเวลาการด าเนินงานควรมีการระบุกิจกรรมเป็นรายเดือนอย่างชัดเจน ตลอดจนการพิจารณาเกณฑ์การ ประเมินของสภาพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติอย่างครอบคลุม ครั้งที่ 3 หัวข้อ “การจัดซื้อจัดจ้างตาม พรบ. การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560” การจัดซื้อจัดจ้าง เป็นการซื้อสินค้า เช่าสินค้า จ้างเหมาบริการ จ้างท าของ จ้างก่อสร้างทุกโครงการ ที่หน่วยงานภาครัฐเป็นผู้ด าเนินการผ่านขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างตามที่ก าหนดไว้ในพรบ.การจัดซื้อจัดจ้างและ การบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 โดยทุกปีหน่วยงานภาครัฐจะต้องด าเนินการจัดท าแผนจัดซื้อจัดจ้างประจ าปี จากนั้นประกาศเผยแพร่ในระบบสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและหน่วยงานของรัฐตามวิธีที่กรมบัญชีกลาง ก าหนด ส าหรับการจัดซื้อจัดจ้างมีการด าเนินการใน 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) จัดท าแผนการจัดซื้อจัดจ้าง 2) ด าเนินการ จัดซื้อจัดจ้างมี 3 วิธี ได้แก่ วิธีการประกาศเชิญชวน วิธีการคัดเลือก และวิธีเฉพาะเจาะจง 3) ประกาศผู้ชนะและ อนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้าง 4) จัดท าสัญญาเมื่อประกาศผู้ชนะ โดยผู้ประกอบการที่ไม่ได้เป็นผู้ชนะสามารถอุทธรณ์ การตัดสินใจได้ใน 7 วัน หากครบก าหนดแล้วไม่มีผู้อุทธรณ์หรืออุทธรณ์แล้วฟังไม่ขึ้น ให้เชิญผู้ประกอบการที่ชนะ เข้ามาท าสัญญา 5) การบริหารสัญญาและการตรวจรับพัสดุเมื่อถึงก าหนดส่งมอบงาน ทั้งนี้ การจัดซื้อจัดจ้างทุกครั้ง ต้องค านึงถึง “ความคุ้มค่า ความโปร่งใส ความมีประสิทธิภาพ และสามารถตรวจสอบได้” ครั้งที่ 4 หัวข้อ “ภูมิปัญญาไทย SOFT POWER ที่ทรงพลังของชาติ” ภูมิปัญญาไทย เป็นองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ ในการด าเนินชีวิตของคนไทย เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ ผ่านกระบวนการคัดเลือก สร้างสรรค์ เรียนรู้ และสืบทอดต่อกันมา ซึ่งภูมิปัญญาไทยจะช่วยเสริมคุณลักษณะที่ดี ให้แก่สังคม สร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง สร้างความภาคภูมิใจให้แก่ชาติ และเป็นเกียรติศักดิ์ของการเป็นคนไทย ส านักงานเลขาธิการสภาการศึกษาตระหนักและเห็นถึงความส าคัญและการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย ตลอดจนการ อนุรักษ์พันธุกรรมพืชจึงร่วมเป็นหนึ่งในหน่วยงานสนองพระราชด าริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชด าริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ซึ่งการเข้าร่วมโครงการฯ ดังกล่าว ส่งผลให้ส านักงานฯ ด าเนินงานต่อยอดจากเดิม คือ การคัดเลือกครูภูมิปัญญาไทย และเพิ่มเติม คือ การสร้างจิตส านึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ผลการด าเนินงานที่ผ่านมา ส านักงานฯ มีการจัดพิมพ์หนังสือ ถอดบทเรียนครูภูมิปัญญาไทย ศึกษาวิจัย ไปจนถึงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างจิตส านึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช (3)


5 บนพื้นฐานหลักการ คือ ต่อยอดอดีต ปรับปัจจุบัน และสร้างคุณค่าใหม่ ในอนาคตส านักงานฯ มีแนวคิดที่จะพัฒนา งานตามโครงการ อพ.สธ. ให้สอดคล้องกับการด ารงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ชีวิตวิถีใหม่หลังการแพร่ระบาดของโรค โควิด – 19 เพื่อให้องค์ความรู้ส าคัญด้านภูมิปัญญาไทยยังคงอยู่ ทันยุค ทันสมัย และทันเหตุการณ์มากขึ้น ครั้งที่ 5 หัวข้อ “FUTURE EDUCATION” การจะออกแบบระบบการศึกษาที่ตอบโจทย์โลกอนาคต สิ่งส าคัญ คือ การเข้าใจถึงปัญหาการศึกษาไทย ซึ่งมีรากลึกมาจาก 3 ประการส าคัญ ได้แก่ 1) ปัญหาคุณภาพการศึกษา ที่โรงเรียนไม่สามารถเป็นพื้นที่ปลอดภัย ในการค้นพบตนเอง สร้างทักษะแห่งอนาคต และสนับสนุนทัศนคติการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) ปัญหาการเข้าถึง การศึกษาอย่างเท่าเทียมใน 3 ด้านทั้งการได้รับการศึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่าย คุณภาพระหว่างโรงเรียน และการจัด การศึกษาให้มีคุณภาพ และ 3) ปัญหาวัฒนธรรมประชาธิปไตยในโรงเรียน อันเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบ การศึกษาในด้านอื่น ๆ อาทิ การเข้าแถวซื้ออาหารกลางวัน การแสดงความคิดเห็นของผู้เรียนในห้องเรียน เป็นต้น จากข้างต้น การจะแก้ปัญหาดังกล่าว ควรด าเนินการใน 6 ประเด็น ได้แก่ 1) Focus on “skills & competencies” การปรับเปลี่ยนจากมุ่งเป้าหมายการจัดการศึกษาเพื่อสร้างความรู้และข้อมูลข่าวสารเป็นพัฒนา ทักษะและสมรรถนะ 2) Personalized การปรับเปลี่ยนจากการออกแบบการศึกษาเพื่อทุกคนเป็นออกแบบ การศึกษาที่ส่งเสริมความถนัดเฉพาะบุคคล 3) Education “supports” learning การปรับการศึกษาจากการ ท าลายการเรียนรู้สู่การศึกษาแบบส่งเสริม สนับสนุนการเรียนรู้4) Holistic development การปรับการศึกษา จากการพัฒนาผู้เรียนในด้านวิชาการต่าง ๆ เป็นพัฒนาผู้เรียนอย่างเป็นองค์รวมในทุกมิติ ทั้งวิชาการและวิชาชีวิต 5) School as a “Microcosm” การปรับเปลี่ยนโรงเรียนจากแบบสุญญากาศ มาสู่การเป็นภาพจ าลองการฝึกฝน ทักษะ และภาพจ าลองของสังคม 6) Localization การปรับการศึกษาจากการรวมอ านาจเป็นกระจายอ านาจ อย่างแท้จริงลงสู่เขตพื้นที่และสถานศึกษา โดยแบ่งการด าเนินการออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะ Retain การรักษา หรือการประคับประคองกลุ่มผู้เรียนซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด – 19 ระยะ Recover การฟื้นฟูเด็ก ในแต่ละกลุ่ม และระยะ Remake การสร้างใหม่ที่มุ่งสร้างความก้าวหน้าให้เกิดขึ้นกับโรงเรียน เพิ่มทางเลือก ที่หลากหลายของผู้เรียนในการเข้ารับการศึกษา อย่างไรก็ดี ด้วยปัจจุบันที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทส าคัญ จึงควรมีการน าเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ใน ระบบการศึกษา โดยให้เทคโนโลยีเป็นกองหลังในการแก้ปัญหาการขาดแคลนครูผู้สอน แบ่งเบาภาระงาน เสริมสร้างการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน ตลอดจนออกแบบการเรียนการสอนที่มีความเฉพาะตัวกับผู้เรียน ทั้งนี้ ครูผู้สอนยังคงเป็นกองหน้าในการเป็นผู้ให้ค าปรึกษา ผู้อ านวยการเรียนรู้ และแบบอย่างในการปลูกฝังค่านิยม แบบอย่างในสังคมให้แก่ผู้เรียน (4)


6 ครั้งที่ 6 7 และ 8 หัวข้อ “ระบบนิเวศการเรียนรู้ กับ การเรียนรู้ตลอดชีวิต” ท่ามกลางสถานการณ์ของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงผันผวนอย่างรวดเร็ว การเข้าสู่ยุคสมัยของโลกดิจิทัลไปสู่ การเกิด Disruption ด้วย Digital นวัตกรรม หรือ เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ส่งผลต่อวิถีชีวิต ส่งผลให้การศึกษาแบบเดิม สั่นคลอน ด้วยการถูกตั้งค าถามว่า “ระบบการศึกษาในปัจจุบันสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้หรือไม่” และสมรรถนะใดที่จ าเป็นในการเตรียมคนสู่โลกในอนาคต ซึ่งนักวิชาการและนักการศึกษาหลายท่านพยายามที่จะ ศึกษาในประเด็นดังกล่าวและค้นพบว่า สมรรถนะที่ส าคัญที่สุดต่อการเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ การเปลี่ยนแปลงของโลก คือ สมรรถนะต่อ “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” (Lifelong Learning) ส าหรับสมรรถนะต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถพัฒนาด้วยการปรับเปลี่ยน/ สร้างแนวความคิด ประกอบกับการสร้างและพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โดย 4 เทคนิคในการพัฒนาการเรียนรู้ ตลอดชีวิตให้เกิดขึ้น ได้แก่ 1) การสร้าง Growth Mindset ที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 2) การ จัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Active Learning 3) การพัฒนาคุณลักษณะ/ ทักษะ self – determination ให้เกิดขึ้นในตัวบุคคล และ 4) การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ หรือ ระบบนิเวศการเรียนรู้ ซึ่งการจะ พัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องมีการพัฒนาใน 4 มิติให้ครอบคลุม ประกอบด้วย แหล่งเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ พื้นที่การเรียนรู้ และบุคคลแห่งการเรียนรู้ ตัวอย่าง mega project ที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตและตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงของ โลกอนาคต ได้แก่ 1) Learning Credit การสะสมเครดิตจากการเรียนในหลักสูตร หรือ course ต่าง ๆ และ Learning Credit Bank System 2) Life & Learn Counselling Center/ Hot Line การให้ค าปรึกษา แนะแนว การเรียนรู้ในทุกที่ทุกเวลา 3) Learning City การจัดแหล่งการเรียนรู้ ศูนย์การเรียนรู้ ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย และ 4) Learning Mapping การเชื่อมโยงและน าเสนอแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ แอปพลิเคชัน เป็นต้น ตัวอย่างการจัดระบบนิเวศการเรียนรู้ของแหล่งการเรียนรู้ ศูนย์การเรียนรู้ ที่เอื้อต่อการพัฒนาทักษะ สมรรถนะการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตลอดจนคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ได้แก่ 1) ศูนย์การเรียนรู้ป่าในกรุง โดยสถาบัน ปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท.พบว่า ศูนย์ฯ มีเป้าหมายชัดเจนในการพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ด้วยหลักการ Play Learn และการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการออกแบบและวางแผนโครงการสร้างการบริหารจัดการองค์กร ที่ครอบคลุมในทุกมิติ มีการน าเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการบริหารจัดการองค์กรและออกแบบเนื้อหา วิธีการ เรียนรู้ที่หลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้ชุมชนโดยรอบ เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของศูนย์ฯ อีกด้วย 2) ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ส านักงานกลาง (EGAT Learning Center) พบว่า มีการเตรียมความพร้อมและพัฒนาในทุกด้าน ทั้งบุคลากร สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ การออกแบบวิธีการ เนื้อหาการเรียนรู้ที่หลากหลาย รวมทั้งการอ านวยความสะดวกให้คนทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัย สามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (5)


7 ครั้งที่ 9 หัวข้อ “MBTI: 16 Personality Types เข้าใจตัวตนบุคลิกภาพทั้ง 16 แบบ” MBTI เป็นเครื่องมือทางบุคลิกภาพที่ช่วยบ่งชี้จุดแข็ง กระบวนทางจิตใจที่แต่ละคนถนัด เช่น การตัดสินใจ การรับรู้ข้อมูล ทิศทางความสนใจ วิธีการรับมือกับเหตุการณ์ต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน สะท้อนตามตัวอักษร ภาษาอังกฤษ ได้แก่ 1) Extraversion (E) – Introversion (I) การรับพลังงาน 2) Sensing (S) – Intuition (N) วิธีในการรับข้อมูล 3) Thinking (T) – Feeling (F) วิธีในการตัดสินใจและสรุปข้อมูล และ 4) Judging (J) – Perceiving (P) วิธีการรับมือกับโลกภายนอก ซึ่งบุคลิกภาพทั้ง 16 แบบ เกิดจากการรวมกันของตัวอักษรในด้าน ที่แต่ละบุคคลมีความถนัดจนกลายเป็นตัวอักษรทั้ง 16 รูปแบบ (ISTJ, ISTP, ISFJ, ISFP, INFJ, INFP, INTJ, INTP, ESTP, ESTJ, ESFP, ESFJ, ENFP, ENFJ, ENTP, ENTJ) เพื่อให้เข้าใจบุคลิกภาพตาม MBTI ยกตัวอย่าง ISFJ หรือ นักอนุรักษ์ มีบุคลิกภาพในการมองโลกตาม ความเป็นจริง ให้ความส าคัญกับรายละเอียด อยู่กับปัจจุบัน เรียนรู้จากประสบการณ์ ตัดสินใจโดยค านึงถึง ผลกระทบที่มีต่อผู้อื่น นอกจากนี้ ยังมองหาทางออกที่สร้างความสมานฉันท์ ปรองดอง และไม่สร้างความขัดแย้ง ENTP หรือ นักโต้วาที เป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์ สนใจระบบ ภาพรวม ทฤษฎี ความเป็นไปได้ มีการใช้ตรรกะ เหตุผล ตลอดจนตั้งค าถามเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ เพื่อหามุมมองใหม่ ๆ ที่เป็นกลาง จากข้างต้น เห็นได้ว่ามีความแตกต่างกันในทุกตัวอักษร ซึ่งความแตกต่างเหล่านี้ส่งผลต่อความแตกต่างของ บุคลิกภาพ ขณะที่ I ชอบความสงบ รับพลังจากการอยู่คนเดียว คิดทบทวน E กลับชอบหาแรงบันดาลใจจาก ภายนอก S มองหารายละเอียด N ถนัดที่จะมองภาพกว้าง F สนใจความรู้สึก T ใช้การคิดวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจ J ถนัดรับมือกับโลกภายนอกด้วยการวางแผน ความแม่นย า ส่วน P จะรับมือกับโลกภายนอกด้วยสัญชาตญาน ความยืดหยุ่น และชอบการเปิดกว้างทางความคิด ซึ่งการเข้าใจถึงบุคลิกภาพและความแตกต่างเหล่านี้ จะช่วยใน การพัฒนาตนเองได้อย่างถูกวิธี ตัดสินใจได้สอดคล้องกับความต้องการ ค่านิยม สามารถใช้ชีวิตในแบบที่ชอบ ไปจนถึงการลดความขัดแย้งระหว่างกันในครอบครัวได้ ครั้งที่ 10 หัวข้อ “FUTURE EDUCATION FOR FUTURE CAREER” การจะออกแบบระบบการศึกษาที่ตอบโจทย์โลกอนาคต สิ่งที่ควรให้ความส าคัญเป็นอย่างยิ่ง คือ การสร้าง ความเท่าเทียมทางดิจิทัล หรือ Digital Inclusion ด้วยการร่วมกันสร้าง Open Education Platform หรือ การพัฒนาระบบการศึกษาให้เป็นระบบเปิดที่การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา การสร้างสภาพแวดล้อมที่ เอื้อต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตลอดจนการพัฒนาระบบ เนื้อหาการเรียนรู้ให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ นอกจากนี้ ภาคการศึกษาควรมุ่งเน้นความส าคัญและเนื้อหาการเรียนรู้ใน 3 ส่วน คือ 1) Financial Inclusion 2) Education Inclusion และ 3) Healthcare Inclusion และภาครัฐจะต้องเร่งพัฒนาเพื่อให้ประชาชนเข้าถึง โครงสร้างพื้นฐาน หรือ อินเทอร์เน็ต ได้ง่าย ไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้แก่ 1) Connectivity – สัญญาณอินเทอร์เน็ต (6)


8 คุณภาพ 2) Digital ID – ระบบยืนยันตัวตนทางดิจิทัลที่เชื่อมโยงกับบริการทางสังคม ครอบคลุมทั้งมิติการเงิน สุขภาพ และการศึกษา ครั้งที่ 11 หัวข้อ “การศึกษาพื้นฐานควรเรียนแค่ไหน” ด้วยสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างรวดเร็ว การถูก disrupt ในทุกมิติ ดังนั้น การศึกษา ขั้นพื้นฐานในอนาคตจึงควรมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาคนให้มีสมรรถนะที่จ าเป็น พร้อมส าหรับการเปลี่ยนแปลง สามารถพัฒนาตนเองให้เข้าถึงโอกาสและอาชีพในรูปแบบใหม่ได้ ตัวอย่างทักษะและสมรรถนะที่จ าเป็นส าหรับ โลกอนาคต ได้แก่ การเรียนรู้ตลอดชีวิต การอ่านออกเขียนได้ การค านวณและตัวเลข วิทยาศาสตร์ ความฉลาดทาง ดิจิทัล การด ารงอยู่ท่ามกลางสังคมพหุวัฒนธรรม การคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ การสื่อสาร การท างานเป็นทีม ความสงสัยใคร่รู้ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความมุ่งมั่น การปรับตัว ภาวะผู้น า ความตระหนักรู้ เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรม เป็นต้น รวมถึงการบริหารจัดการหลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพในทุกกระบวนการ ทั้งการส่งเสริมและสนับสนุน การจัดท าหลักสูตร การก ากับดูแลคุณภาพ ตลอดจนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนใน การขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรฯ การปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับบริบท การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรด้วยการ บูรณาการและจัดการเรียนรู้เชิงรุก เป็นต้น อีกทั้ง ควรมีการด าเนินการอื่น ๆ เพื่อยกระดับและพัฒนาระบบ การศึกษาให้สอดคล้องกับโลกอนาคต ได้แก่ การปรับหลักสูตรใหม่ที่มุ่งเน้นการสร้างสมรรถนะมากยิ่งขึ้น การเร่ง พัฒนาบุคลากร ระบบพัฒนาบุคลากร ระบบบริหารจัดการงบประมาณ ระบบการวัดและประเมินผล ตลอดจน ระบบการประกันคุณภาพให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ครั้งที่ 12 หัวข้อ “การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ....” ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... ถือเป็นธรรมนูญด้านการศึกษามีสาระส าคัญแบ่งออกเป็น 7 หมวด 110 มาตรา มีจุดเน้นส าคัญ คือ 1) หน่วยนโยบาย ที่มีหน้าที่ควบคุมในการจัดท านโยบายและรับผิดชอบ ต่อผลการจัดท านโยบาย 2) การให้ความส าคัญกับสถานศึกษาและครู และ 3) การส่งเสริมและการสนับสนุนความ ต่อเนื่องในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความส าเร็จของการด าเนินการ จึงต้องอาศัยหลักความร่วมมือ ใน 3 ระดับ ได้แก่ 1) ระดับปฏิบัติการ เช่น ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ 2) ระดับจังหวัด และ 3) หน่วยงานส่วนกลาง ร่วมท างานภายใต้เป้าหมายเดียวกันที่มุ่งเน้นเป้าหมายในมิติการจัดการศึกษา รวมทั้งการ ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของร่างพระราชบัญญัติฯ ฉบับใหม่ มุ่งเน้นการพัฒนาใน 2 มิติ คือ 1) การ ยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา และ 2) กลไกส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดย การยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาเน้นการให้ความส าคัญกับการพัฒนาบุคคลให้มีความสมบูรณ์ มีความภูมิใจ และตระหนักในความส าคัญของชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เท่าทันการพัฒนาของโลก และมีความรับผิดชอบต่อทุกระดับ (7)


9 (ครอบครัว สังคม ประเทศ) ส าหรับการส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตมุ่งเน้นการ ส่งเสริม สนับสนุน ช่วยเหลือ และกระตุ้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตต้องอาศัยความร่วมมือ จากหน่วยงานรัฐ สถานประกอบการ เพื่อให้เกิดแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เพียงพอ และรองรับต่อลักษณะของการ เรียนรู้ของประชาชน นอกจากนี้ ในประเด็นการมีส่วนร่วม ร่างพระราชบัญญัติฯ ยังมุ่งเน้นให้ความส าคัญกับกลไก การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน (มาตรา 18) เพื่อส่งเสริมการรวมตัวกันในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ของแต่ละพื้นที่ตามความต้องการ ซึ่งการขับเคลื่อนตามประเด็นความสนใจจะยิ่งส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืนในการ แก้ปัญหามากยิ่งขึ้น จากการจัดกิจกรรมฯ พบว่า องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ ซึ่งเป็นการจัดแบ่งตามการ น าองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ได้แก่ 1) องค์ความรู้ เกี่ยวกับภาพรวมของส านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา 2) องค์ความรู้ เกี่ยวกับส านักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ 3) องค์ความรู้ เกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากร ของส านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ดังนั้น การจะขับเคลื่อนงานของ สกศ. และสมร. ให้เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ เกิดผลลัพธ์ในเชิงปฏิบัติ ควรให้ความส าคัญกับการน าองค์ความรู้ในทุกระดับมาใช้ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ ที่ได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบ มีการเชื่อมโยงร้อยรัดไปในทิศทางเดียวกัน อาทิ ระดับภาพรวมขององค์กร องค์ความรู้จะต้องมีความชัดเจน สร้างแรงบันดาลใจ ง่ายต่อการถ่ายทอดและน าไปปฏิบัติ องค์ความรู้ในระดับ ส านักฯ จะต้องสามารถสะท้อนภาพการขับเคลื่อนแนวคิดสู่การปฏิบัติได้ และระดับบุคคลที่จะต้องมีการบริหาร จัดการองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นระดับที่ควรให้ความส าคัญมากที่สุด เนื่องจากเป็นจุดเริ่มต้นของ องค์ความรู้ทั้งการใช้และการปฏิบัติ นอกจากนี้ ระดับบุคคล ควรมีการพัฒนาให้มีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ เปิดกว้างต่อการรับ ให้ และส่งต่อความรู้ อย่างไรก็ดี การจัดกิจกรรม km ของ สมร. ในปีงบประมาณถัดไป ควรพิจารณาให้ครอบคลุมองค์ความรู้ทุกระดับ มีหัวข้อการแลกเปลี่ยนรู้ที่เหมาะสมกับการน าองค์ความรู้ไปใช้ มีการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ในภาพรวมของส านักงานฯ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ต่อยอด และน าไปใช้ ตามกระบวนการ/ ขั้นตอนของการจัดการความรู้ต่อไป (8)


10 สารบัญ หน้า คำนำ (1) บทสรุปผู้บริหาร (2) สารบัญ (9) ส่วนที่ 1 : เพรำะอะไร สมร. ถึงให้ควำมส ำคัญกับ KM 1 ส่วนที่ 2 : มำรู้จัก KM กันเถอะ 3 ส่วนที่ 3 : สมร. จัดท ำ KM อย่ำงไร 13 ส่วนที่ 4 : ผลจำกกำรจัดกิจกรรม KM 16 ส่วนที่ 5 : บทสรุปจำกกำรจัดกิจกรรม KM 84 รายการอ้างอิง 86 คณะผู้จัดทำ 87 (9)


1 ส่วนที่ 1 : เพราะอะไร สมร. ถึงให้ความสำคัญกับ KM ?? ส านักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ มีภารกิจในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามมาตรฐาน การศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 รวมทั้งมีบทบาทส าคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกช่วงวัยผ่านการศึกษาวิจัย ส่งผลให้ส านักฯ มีการผลิต เผยแพร่ เอกสารวิชาการ รายงานการศึกษาวิจัยเป็นจ านวนมาก อย่างไรก็ดีจากการ พูดคุยและสอบถามบุคลากรของส านักงานฯ พบว่า องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการท างาน หรือ การส่งต่อแนวคิด จากรุ่นสู่รุ่นอย่างเป็นระบบยังเกิดขึ้นน้อย ซึ่งองค์ความรู้ดังกล่าวล้วนเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและขับเคลื่อนงาน ของส านักงานฯ ประกอบกับช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ที่กระทบต่อโลกในทุกมิติ ความรู้ ข้อมูลที่มีอยู่ เดิมไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตในสังคมยุคใหม่ สอดคล้องกับข้อค้นพบที่ว่า องค์ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน เอกสาร และ ประสบการณ์มีแนวโน้มสูญหายไปหากไม่มีการจัดการอย่างเป็นระบบ โดยข้อมูลส่วนใหญ่ฝังอยู่ในตัวคนมากถึง ร้อยละ 42 กระดาษร้อยละ 26 เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ 20 และระบบฐานข้อมูลหรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 12 ส าหรับประเทศไทยส่วนใหญ่ฝังอยู่ในตัวคนมากถึงร้อยละ 70 – 80 (สหธร เพชรวิโรจน์ชัย, 2564) จากข้างต้น ส านักมาตรฐานการศึกษาฯ ตระถึงความส าคัญ จึงมีแนวคิดในการพัฒนาและจัดการ องค์ความรู้ของส านักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ ตลอดจนองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการท างานของ ส านักงานเลขาธิการอย่างเป็นระบบขึ้น และใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ ทั้งการพัฒนาคน ให้มีสมรรถนะ ประกอบด้วย ความรู้ ทักษะ คุณลักษณะสูงขึ้น ปฏิบัติงานได้ดีขึ้น พัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ ลดต้นทุน ผลผลิตสูงขึ้น เกิดนวัตกรรม และพัฒนาองค์กรให้บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์/ ยุทธศาสตร์ที่วางไว้ ซึ่งส านักมาตรฐานการศึกษาฯ มีก าหนดจัดกิจกรรมจัดการองค์ความรู้ในช่วงปี 2564 – 2565 ในทุกเดือน หัวข้อ การจัดกิจกรรมนอกจากพิจารณาจากภารกิจของส านักฯ แล้ว ยังค านึงถึงความสนใจทั้งด้านเนื้อหาและรูปแบบการ เรียนรู้ของบุคลากรร่วมด้วย เพื่อให้บุคลากรสามารถน าองค์ความรู้ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับเวลา ความต้องการ และน ามาซึ่งประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรอย่างแท้จริง วัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวม ถอดบทเรียน และจัดการองค์ความรู้ของส านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ตลอดจนองค์ความรู้ของส านักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ เพื่อน าองค์ความรู้ที่ได้จากการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการ พัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กร


2 รูปแบบการจัดกิจกรรม มีรูปแบบการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งการประชุม online เพื่อปรับให้เข้ากับสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 การประชุมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาดูงานศูนย์การเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ เพื่อถอดบทเรียน สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ และจัดการข้อมูล อย่างเป็นระบบ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ บุคลากรของส านักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ได้รับการพัฒนาทั้งด้านความรู้ ทักษะ และสมรรถนะจากการเข้าร่วมกิจกรรมการจัดการความรู้ ส านักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ มีการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ บุคลากร ของส านักฯ หรือ ผู้ที่สนใจสามารถเข้าถึงได้ง่าย ตลอดจนสามารถใช้องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง พัฒนางาน และพัฒนาองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ


3 ส่วนที่ 2 : มารู้จัก KM กันเถอะ !!! KM คืออะไร? การจะเข้าใจว่า km คืออะไร เบื้องต้นควรท าความเข้าใจกับค าว่า “ความรู้” ก่อน เพราะความรู้ คือ จุดเริ่มต้นของการท า km หรือ knowledge management ซึ่งนักวิชาการ นักคิด หน่วยงานต่าง ๆ ได้มีการ นิยาม ให้ความหมาย และจัดประเภทของความรู้ไว้อย่างหลากหลาย สรุปความได้ดังนี้ ความรู้ หมายถึง สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้าหรือประสบการณ์ ความสามารถ เชิงปฏิบัติและทักษะ ความเข้าใจหรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ รวมทั้งสิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือ การปฏิบัติ ตลอดจนองค์วิชาในแต่ละสาขา (ราชบัณฑิตยสถาน ,2542) ทั้งนี้ มักมีการจัด ประเภทของความรู้ว่ามีอยู่ 2 ประเภท/ รูปแบบ คือ (1) ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่ สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีการต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ เอกสาร กฎระเบียบ วิธีการปฏิบัติงาน สื่อต่าง ๆ เช่น VCD DVD Internet เทป เป็นต้น และบางครั้งเรียกว่า ความรู้แบบรูปธรรม (2) ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์ หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการท าความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็น ค าพูด หรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการท างาน งานฝีมือ ประสบการณ์ แนวความคิด บางครั้ง จึงเรียกว่า ความรู้แบบนามธรรม (ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, ม.ป.ป.) ประเภทความรู้และการนำไปปรับใช้


4 จากรูปที่ 1 การจะน าความรู้ทั้งสองประเภทมาใช้ให้เกิดประโยชน์ จะต้องผ่านกระบวนการ/ ขั้นตอน ในการจัดกระท ากับความรู้ หรือที่เรียกว่า km (knowledge management) ส าหรับการจัดการความรู้นั้น มีการให้นิยาม ความหมายไว้ ดังนี้ มหาวิทยาลัยมหิดล (2564) ให้ความหมายของการจัดการความรู้ คือ กระบวนการที่เป็นระบบในการ บริหารจัดการงานขององค์กรให้มีความรู้ส าคัญที่พร้อมใช้ เพื่อให้บุคลากรสามารถน าไปใช้ในการปฏิบัติงานประจ า และร่วมกันสร้าง แบ่งปันข้อมูลสารสนเทศและความรู้ที่ส าคัญและจ าเป็นในการท างานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อองค์กร นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงการจัดการความรู้ว่า (มหาวิทยาลัยมหิดล, ม.ป.ป.) เป็นการรวบรวมองค์ความรู้ ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล หรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กร สามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ม.ป.ป.) ให้ความหมายของการจัดการความรู้ หมายถึง แนวทางการบริหารการท างานภายในองค์กรเพื่อท าให้เกิดการนิยามความรู้ขององค์กรขึ้น และท าการ รวบรวม สร้างและกระจายความรู้ขององค์กรไปให้ทั่วทั้งองค์กรเพื่อให้เกิดการต่อยอดของความรู้ น าความรู้ไปใช้ให้ เกิดประโยชน์ รวมถึงก่อให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ภายในองค์กรขึ้น โดยการรวบรวมองค์ความรู้ซึ่งกระจัด กระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนา ตนเองให้เป็นผู้รู้ น าความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล สหธร เพชรวิโรจน์ชัย (2564) กล่าวถึง การจัดการความรู้ หมายถึง การจัดการความรู้อันกระจัด กระจายในองค์กร ทั้งในตัวบุคคล เอกสาร หรือประสบการณ์ต่าง ๆ ให้เป็นระบบระเบียบ เพื่อให้ทุกคนสามารถ เข้าถึงได้ แล้วน าความรู้เหล่านั้นไปใช้งานได้อย่างประสิทธิภาพ น ามาซึ่งประโยชน์สูงสุดขององค์กร American Promotion and Quality Center, APQC (n.d.) กล่าวว่า การจัดการความรู้ คือ การบริหาร จัดการเพื่อให้คนที่ต้องการใช้ความรู้ ได้รับความรู้ที่ต้องการใช้ในเวลาที่ต้องการ หรือ Right Knowledge, Right People and Right Time. โดยสรุป การจัดการความรู้หมายถึง กระบวนการ/ การบริหาร จัดการความรู้ขององค์กรอย่างเป็นระบบ ทั้งความรู้ที่กระจัดกระจายอยู่ใน ตัวบุคคล เอกสาร และประสบการณ์ เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงได้ สามารถนำความรู้ ไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพในเวลาที่ต้องการ และนำมาซึ่งประโยชน์สูงสุด ต่อองค์กร


5 KM สำคัญอย่างไร ? จากการส ารวจองค์กรในต่างประเทศพบว่า ความรู้ที่จะน ามาท า Knowledge Management ส่วนใหญ่ กระจายอยู่ในตัวคนร้อยละ 42 รองลงมาอยู่ในกระดาษร้อยละ 26 เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ 20 และระบบ ฐานข้อมูลหรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตร้อยละ 12 ส่วนในประเทศไทยคาดว่า ความรู้จะอยู่ในตัวคนมากถึงร้อยละ 70 – 80 (สหธร เพชรวิโรจน์ชัย, 2564) เช่นเดียวกับองค์ความรู้ในการด าเนินงานของบุคลากรของ สมร.สกศ. ซึ่งเกี่ยวกับกระบวนการท างาน การส่งต่อแนวคิดจากรุ่นสู่รุ่นอย่างเป็นระบบยังเกิดขึ้นน้อย สมร. จึงเห็นความส าคัญ ของการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบขึ้น นอกจากนี้ นักวิชาการ นักคิดหลายท่าน ได้เห็นถึงความส าคัญและระบุ ความส าคัญของการจัดการความรู้ไว้ ดังนี้ วิจารณ์ พานิช (ม.ป.ป.) กล่าวว่า การจัดการความรู้ คือ เครื่องมือที่ใช้ในการบรรลุเป้าหมาย อย่างน้อย 4 ประการพร้อมกัน ได้แก่ (1) การบรรลุเป้าหมายของงาน (2) การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน (3) การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (4) การบรรลุความเป็นชุมชน หมู่คณะ มีความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ท างาน การจัดการความรู้เป็นกระบวนการที่ด าเนินการร่วมกันโดยผู้ปฏิบัติงาน ในองค์กร หรือ หน่วยงานย่อยขององค์กร เพื่อสร้างและใช้ความรู้ในการท างานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ดีขึ้นกว่าเดิม สหธร เพชรวิโรจน์ชัย (2564) กล่าวถึง Knowledge Management ว่าเป็นสิ่งส าคัญที่ทุกองค์กร ควรให้ความใส่ใจ เนื่องจากเป็นกระบวนการที่จะเพิ่มศักยภาพในการท างานหรือการตัดสินใจ เป็นการท าให้มั่นใจว่า ทุกคนในองค์กรจะสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ที่มีอยู่ได้อย่างเท่าเทียม โดยเฉพาะความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะ ขององค์กร ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นการสะสม การจัดเก็บ หรือการแบ่งปันความรู้อย่างมีประสิทธิภาพก็จะช่วยให้องค์กร สร้างวัฒนธรรรมที่มีการปรับปรุงพัฒนาอยู่เสมอ เป็นการเสริมสร้างความสุขของบุคลากรได้อีกทางหนึ่ง ตรงกันข้าม คือหากมี Knowledge Management ไม่ดีก็จะส่งผลกระทบต่อองค์กรตั้งแต่ระดับความพึงพอใจของบุคลากร ไปจนถึงระดับการเงิน ศูนย์ความรู้กินได้ (ม.ป.ป.) กล่าวว่า เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบันและโลกของ การท างาน รวมทั้งปัญหาในการท างานในปัจจุบันผลักดันให้องค์กรต้องมีการค้นหา สร้าง รวบรวม กลั่นกรอง จัดเก็บ ความรู้อย่างเป็นระบบเพื่อให้บุคลากรที่ต้องการใช้ เข้าถึงความรู้นั้นได้ตลอดเวลา บุคลากรทั้งผู้ปฏิบัติงาน และผู้บริหารก็จะต้องมีการเรียนรู้ มีการสร้างและใช้ความรู้ในการท างานอย่างสม่ าเสมอและต่อเนื่อง ซึ่งไม่เพียง จะช่วยให้องค์กรอยู่รอดปลอดภัยในโลกที่เปลี่ยนแปลงเร็วและมีการแข่งขันสูง ยังมีความเติบโตก้าวหน้าอย่างยั่งยืน อีกด้วย รวมถึงมีเหตุผลอื่น ๆ อีกอย่างน้อย 3 ประการที่สนับสนุนการน าการจัดการความรู้มาเป็นตัวช่วยในการ ท างานในองค์กร ได้แก่ (1) องค์กรชั้นน าระดับโลก เช่น Microsoft, Xerox, Roche, Chevron ฯลฯ ล้วนใช้การ


6 จัดการความรู้เป็นตัวขับเคลื่อนงาน (2) เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา (MBNQA : The Malcolm Baldrige National Quality Award) ซึ่งเป็นต้นแบบรางวัลคุณภาพแห่งชาติให้กับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย (TQA : Thailand Quality Award ส าหรับองค์กรภาคเอกชน, PMQA : Public Sector Management Quality Award ส าหรับองค์กรภาคราชการ) ก าหนดเรื่องการจัดการความรู้ไว้ในหมวด 4 จากองค์ประกอบส าคัญ 9 หมวด เป็นการยืนยันอย่างชัดเจนว่า การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ หรือ ตัวช่วยส าคัญ ส าหรับองค์กรที่มุ่งความเป็นเลิศ (3) พระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดีพ.ศ. 2546 ก าหนดให้องค์กรภาคราชการมีหน้าที่ในการจัดการความรู้โดยมีเกณฑ์รางวัลคุณภาพ PMQA ที่ส านักงาน ก.พ.ร. ประยุกต์มาจาก MBNQA เป็นตัวชี้วัดในค ารับรองการปฏิบัติราชการประจ าปี อาจสรุป ได้ว่า องค์กรต่าง ๆ ด าเนินการจัดการความรู้เพื่อ (1) ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการให้บริการ (2) ผลักดันให้ เกิดการสร้างนวัตกรรม (3) เพิ่มประสิทธิภาพในการท างาน (4) ช่วยให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาบุคลากร (5) เรียนรู้เกี่ยวกับความต้องการของผู้ใช้บริการได้ดีขึ้นและเร็วขึ้น นอกจากนี้ ศูนย์ความรู้กินได้ (ม.ป.ป.) ยังได้กล่าวถึงเป้าหมายของการจัดการความรู้ซึ่งประกอบด้วย 3 ประการ คือ (1) การพัฒนาคน ได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารให้มีสมรรถนะ ประกอบด้วย ความรู้ ทักษะ คุณลักษณะสูงขึ้น ปฏิบัติงานได้ดีขึ้น โดยบุคลากรระดับต้น ระดับกลางจะได้ประโยชน์มากที่สุด (2) การพัฒนางาน ท าให้การท างานมีประสิทธิภาพ เช่น ผิดพลาดน้อยลง รวดเร็วขึ้น มีประสิทธิผล (ลดต้นทุน ผลผลิตสูงขึ้น เกิดนวัตกรรม) (3) การพัฒนาองค์กร ท าให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์/ ยุทธศาสตร์ มีศักยภาพ ในการแข่งขันสูง สามารถเติบโตก้าวหน้าอย่างยั่งยืน ดังนั้น ด้วยกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและแข่งขันสูง การจัดการความรู้จึงเป็นเครื่องมือที่ทุกองค์กร รวมถึง สมร. ให้ความสนใจและ ใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ ทั้งการพัฒนาคนให้มีสมรรถนะ ประกอบด้วย ความรู้ ทักษะ คุณลักษณะสูงขึ้น ตลอดจนปฏิบัติงานได้ดีขึ้น พัฒนางานให้การทำงานมีประสิทธิภาพ “ลดต้นทุน ผลผลิตสูงขึ้น เกิดนวัตกรรม” และพัฒนาองค์กรให้บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์/ ยุทธศาสตร์ มีศักยภาพใน การแข่งขัน และเติบโตก้าวหน้าอย่างยั่งยืน


7 KM มีขั้นตอน/ การดำเนินการอย่างไร ? จากการจัดประเภทของความรู้ 2 ประเภท ได้แก่ (1) ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) หรือ ความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้โดยผ่านวิธีการต่าง ๆ (2) ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) หรือ ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการ ท าความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นค าพูด หรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย ซึ่งความรู้ทั้ง 2 ประเภท สามารถปรับเปลี่ยนและสร้างความรู้ใหม่ให้เกิดขึ้นใน 4 รูปแบบ ได้แก่ (1) Socialization (S) คือ การแบ่งปันและสร้าง Tacit Knowledge จาก Tacit Knowledge ของผู้ที่สื่อสารระหว่างกันโดยการ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรง เช่น หัวหน้างานสอนงานให้ลูกน้องด้วยการพูดคุย ท าให้ดู อาจให้ลูกน้องลองท า ลูกน้องก็ได้รับความรู้จากหัวหน้างาน บางครั้งความรู้ใหม่เกิดขึ้นจากการสอนงานนี้ด้วย (2) Externalization (E) คือ การแปลง Tacit Knowledge ให้กลายเป็น Explicit Knowledge เช่น ลูกน้องเมื่อเรียนรู้วิธีท างานจากหัวหน้า แล้วจดบันทึกความรู้หรือเขียนเป็นรายงานความรู้ คนอื่น ๆ ก็สามารถใช้เป็นแหล่งความรู้ต่อไป (3) Combination (C) คือ การสร้าง Explicit Knowledge ด้วยการรวบรวมความรู้ประเภท Explicit Knowledge จากแหล่งต่าง ๆ มาสร้างเป็น Explicit Knowledge ใหม่ ๆ เพื่อน ามาใช้ในการท างาน เช่น หัวหน้างาน ท าการรวบรวมความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ทั้งนอกและในองค์กร รวมทั้งความรู้ที่มีอยู่เดิมมาสรุปเป็นความรู้ใหม่และ เผยแพร่ หรือท าการเรียบเรียงความรู้จากภาษาต่างประเทศ (4) Internalization (I) คือ การแปลง Explicit Knowledge มาเป็น Tacit Knowledge โดยการน าความรู้เชิงทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติงาน ท าให้เกิดความรู้เพิ่ม เช่น หัวหน้างานค้นคว้าศึกษาวิธีท างานจากเอกสารต่าง ๆ น ามาปรับใช้กับงานของตนเองจนเกิดทักษะและความช านาญใน เรื่องนั้น เกิดเป็น Tacit Knowledge ของตน ซึ่งสามารถจะบันทึกออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร (Externalization) หรือแลกเปลี่ยนกับคนอื่น ๆ (Socialization) ต่อไป (ศูนย์ความรู้กินได้, ม.ป.ป.) ดังรูป กระบวนการสร้างความรู้/ เกลียวคลื่นความรู้


8 ทั้งนี้ การจัดการความรู้มีขั้นตอน/ กรอบการจัดการความรู้ (KM Framework) ในเบื้องต้น 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การระบุความต้องการ (Identification of needs) (2) การก าหนดแหล่งความรู้ (Identification of knowledge resources) (3) ก า รแส วงห าแล ะส ร้ างค ว าม รู้ ( Acquisition , creation or elimination of knowledges) (4) การดึงความรู้มาใช้และแบ่งปัน (Retrieval , application and sharing knowledge) และ (5) การจัดเก็บความรู้ (Storage of knowledge) (Alan Frost., 2010) ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการทำ KM ? นักวิชาการ นักคิด ตลอดจนองค์กรต่าง ๆ ได้ยกตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการความรู้ไว้ อย่างหลากหลาย ดังนี้ โมเดลปลาทู (วิจารณ์ พาณิช, ม.ป.ป.) เป็นโมเดลอย่างง่ายที่เปรียบการจัดการความรู้เหมือนกับ ปลาทูหนึ่งตัวที่มี 3 ส่วน คือ (1) ส่วน “หัวปลา” (Knowledge Vision- KV) คือ วิสัยทัศน์ของการจัดการความรู้ เป็นการ ก าหนดเป้าหมายของการจัดการความรู้ว่าด าเนินการไปเพื่อวัตถุประสงค์อะไร (2) ส่วน “ตัวปลา” (Knowledge Sharing-KS) คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจ และ ยากที่สุดส าหรับการจัดการความรู้เพราะโดยทั่วไปคนมักคิดว่า ผู้มีความรู้คือผู้ที่มีอ านาจ ถ้าต้องถ่ายทอดความรู้ ให้แก่ผู้อื่นก็จะรู้สึกไม่มั่นคง ไม่มีอ านาจ อาจโดนคนอื่นแย่งต าแหน่ง แย่งหน้าที่การงาน ดังนั้น ในการจัดการความรู้ ในส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จึงมุ่งหวังจัดการให้เกิดเหตุปัจจัย และ สิ่งแวดล้อมที่จะส่งเสริมให้คนตระหนัก และพร้อมที่จะแบ่งปันและเรียนรู้ร่วมกัน (3) ส่วน “หางปลา” (Knowledge Assets-KA) คือ ความรู้ที่ถูกจัดเก็บอยู่ในคลังความรู้ โดยความรู้ที่ถูกจัดเก็บต้องเป็นความรู้ที่จ าเป็น มีความส าคัญ และสอดคล้องกับเป้าหมายในการจัดการความรู้จะไม่ จัดเก็บความรู้ที่นอกเหนือจากนั้นในคลังความรู้นี้ โดยจะต้องมีการวางระบบในการจัดเก็บ มีการจัดหมวดหมู่ รวมถึงมีระบบที่ท าให้ผู้ใช้สามารถสืบค้น และค้นคืนได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งต้องอาศัยการสนับสนุนของเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงความรู้ที่จัดเก็บไว้ได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อินเตอร์เน็ต ที่ท าหน้าที่เป็นพื้นที่เสมือน ให้คนสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ง่ายขึ้น รวมถึงต้องมีการตรวจสอบ ปรับปรุงให้ความรู้ที่ถูกจัดเก็บในคลังความรู้มีความถูกต้อง ทันสมัยอยู่เสมอ และที่ส าคัญความรู้ที่ถูกจัดเก็บต้อง ถูกก ากับด้วยบริบทของเรื่องทุกครั้ง พร้อมกันนี้ควรมีการระบุถึงแหล่งข้อมูล ซึ่งได้แก่ ผู้ให้ข้อมูล และข้อมูลส าหรับ การติดต่อ เป็นต้น


9 สรุปได้ว่า กระบวนการการจัดการความรู้ตามรูปแบบโมเดลปลาทู ประกอบด้วย (1) การก าหนด ความรู้หลักที่จ าเป็นในการท างาน (2) การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ (3) การปรับปรุงดัดแปลงสร้างความรู้ให้เหมาะ กับตนเอง (4) การประยุกต์ใช้ความรู้ในการท างาน (5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสกัดขุมความรู้ (6) การจดบันทึก ขุมความรู้/แก่นความรู้ และ (7) การปรับปรุงและจัดเก็บความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล (ม.ป.ป.) ยกตัวอย่างเครื่องมือในการจัดการความรู้ได้แก่ การศึกษาดูงาน (Study tour) การทบทวนหลังปฏิบัติการหรือการถอดบทเรียน (AAR) การเรียนรู้ร่วมกันหลังงานส าเร็จ (Retrospect) เรื่องเล่าเร้าพลัง (Springboard Storytelling) การค้นหาสิ่งดีรอบตัว หรือสุนทรียสาธก เวทีเสวนา หรือสุนทรียสนทนา (Dialogue) เพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Assist) การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ (Action Learning) มาตรฐานเปรียบเทียบ (Benchmarking) การสอนงาน (Coaching) การเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring) ฟอรั่ม ถาม – ตอบ (Forum) บทเรียนจากความผิดพลาด (Lesson Learning) เวทีกลุ่มเฉพาะ (Focus Group) การจัดเก็บความรู้ใน Web board, Intranet R2R, การน าเสนอผลงานวิชาการในที่ประชุมวิชาการ คู่มือการปฏิบัติงาน (Standard Operation Procedure: SOP) การเล่าเรื่องพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (Coffee meeting) เป็นต้น สหธร เพชรวิโรจน์ชัย (2564) ยกตัวอย่างเครื่องมือ Knowledge Management ในองค์กร ได้แก่ (1) ระบบฐานข้อมูล (Knowledge Bases) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ที่จ าเป็นต้องใช้ในการ ท างานขององค์กรให้เป็นระบบ เพื่อให้บุคลากรที่ต้องการใช้ข้อมูลความรู้นั้นสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวก กระบวนการจัดการความรู้ โมเดลปลาทู


10 รวดเร็ว การรวบรวมจัดเก็บฐานข้อมูลความรู้สามารถท าได้ 2 วิธีคือ จัดเก็บในรูปแบบเอกสาร และจัดเก็บในระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศ (2) เก็บวิธีปฏิบัติที่ประสบผลส าเร็จ (Best Practice) เป็นการจัดเก็บความรู้หรือข้อมูลขององค์กรใน รูปแบบง่าย ๆ เพื่อความสะดวกในการค้นหาและน าไปใช้ เช่น คู่มือ การจัดฝึกอบรม คู่มือการตรวจประเมิน 5 ส. คู่มือการจัดการความรู้ (3) ใช้การเล่าเรื่อง (Story Telling) เป็นการใช้เทคนิคการเล่าเรื่องเป็นวิธีการเผยแพร่ โดยต้องสร้าง ความสมดุลระหว่างความน่าสนใจและเนื้อหาที่ต้องการสื่อ เช่น การใช้เทคนิคการเล่าเรื่องในประเด็นเกี่ยวกับ ความส าเร็จหรือล้มเหลวมาผูกเป็นเรื่องราว มักเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและกระตุ้นให้เกิด การแลกเปลี่ยนข้อมูล (4) การทบทวนหลังการปฏิบัติงาน (AAR: After Action Reviews) เป็นการอภิปรายเกี่ยวกับเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นจากการท างาน โดยให้สมาชิกแต่ละคนได้พูดสะท้อนความคิดเห็น หรือความรู้สึกที่มีต่อการท างานที่ ผ่านมาว่า มีจุดเด่น จุดด้อย และข้อควรปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ถ้าจะมีการท างานนี้อีกครั้ง จะท าให้สมาชิกในทีม ได้เรียนรู้ความส าเร็จ ความผิดพลาดและสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขต่อไป (5) ระบบพี่เลี้ยง (Mentoring System) เป็นวิธีการถ่ายทอดความรู้แบบตัวต่อตัวจากผู้ที่มีความรู้และ ประสบการณ์มากกว่าไปยังบุคลากรรุ่นใหม่หรือผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์น้อยกว่า ซึ่งระบบพี่เลี้ยงเป็นวิธีการหนึ่ง ในการสอนงานและค าแนะน าอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะสร้างความคุ้นเคยความสัมพันธ์และความเข้าใจกัน (6) การจัดตั้งทีมข้ามสายงาน (Cross–Functional Team) เป็นการจัดตั้งทีมเพื่อมาท างานร่วมกันในเรื่อง ใดเรื่องหนึ่ง ภายใต้ความเชื่อที่ว่าการท างานในแต่ละเรื่องต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญจากหลาย ๆ ด้านมาแลกเปลี่ยน ประสบการณ์และท าางานร่วมกันจึงจะประสบความส าเร็จ (7) การประชุมระดมสมอง (Workshop/Brainstorming) เป็นเครื่องมือช่วยให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่มี วัตถุประสงค์เพื่อปรึกษาหารือก าหนดแนวทางแก้ไขปัญหาหรือตัดสินใจด าเนินการปฏิบัติงานที่ผ่านประสบการณ์ และมุมมองจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ศูนย์ความรู้กินได้ (ม.ป.ป.) ยกตัวอย่างเครื่องมือในการจัดการความรู้ ได้แก่ (1) ฐานข้อมูล (Knowledge Bases) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ที่จ าเป็นต้องใช้ในการ ท างานขององค์กรให้เป็นระบบ เพื่อให้บุคลากรที่ต้องการใช้ข้อมูลความรู้นั้นสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวก รวดเร็ว การรวบรวมจัดเก็บฐานข้อมูลความรู้สามารถท าได้ 2 วิธีคือ จัดเก็บในรูปแบบเอกสาร และจัดเก็บในระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศ


11 (2) การจัดเก็บความรู้และวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ในรูปของเอกสาร เป็นการจัดเก็บความรู้ หรือข้อมูลขององค์กรในรูปแบบง่ายๆ เพื่อความสะดวกในการค้นหาและน าไปใช้ เช่น คู่มือการจัดฝึกอบรม คู่มือ การตรวจประเมิน 5 ส. คู่มือการจัดการความรู้ (3) การใช้เทคนิคการเล่าเรื่อง (Story Telling) การใช้เทคนิคการเล่าเรื่องนี้เป็นวิธีการเผยแพร่สิ่งที่ได้ เรียนรู้มาให้แก่ผู้สนใจหรือคนในกลุ่มงานเดียวกัน โดยต้องสร้างความสมดุลระหว่างความน่าสนใจในการบรรยาย เรื่องและเนื้อหาที่ต้องการสื่อ เช่น การใช้เทคนิคการเล่าเรื่องในประเด็นเกี่ยวกับความส าเร็จ หรือ ล้มเหลวมาผูก เป็นเรื่องราวให้น่าสนใจ ท าให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ ที่มีระหว่างกันจนได้องค์ความรู้ที่ดีไว้ใช้ประโยชน์ (4) การทบทวนหลังการปฏิบัติงาน (AAR: After Action Reviews) คือ การอภิปรายเกี่ยวกับเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นจากการท างาน โดยให้สมาชิกแต่ละคนได้พูดสะท้อนความคิดเห็น หรือความรู้สึกที่มีต่อการท างานที่ผ่านมาว่า มีจุดเด่น จุดด้อย และข้อควรปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ถ้าจะมีการท างานนี้อีกในครั้งต่อไป ซึ่งจะท าให้สมาชิกในทีมได้ เรียนรู้ความส าเร็จ ความผิดพลาดและสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขในการท างานครั้งต่อไป (5) ระบบพี่เลี้ยง (Mentoring System) ระบบพี่เลี้ยงเป็นวิธีการถ่ายทอดความรู้แบบตัวต่อตัวจากผู้ที่มี ความรู้และประสบการณ์มากกว่าไปยังบุคลากรรุ่นใหม่หรือผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์น้อยกว่าซึ่งระบบพี่เลี้ยง เป็นวิธีการหนึ่งในการสอนงานและค าแนะน าอย่างใกล้ชิด ผู้ที่เป็นพี่เลี้ยงมักจะมีต าแหน่งและอาวุโสกว่าซึ่งอาจอยู่ ในหน่วยงานเดียวกันหรือต่างหน่วยงานก็ได้โดยทั่วไประบบพี่เลี้ยงจะใช้เวลาค่อนข้างนาน เพราะทั้งสองฝ่าย จะต้องสร้างความคุ้นเคยความสัมพันธ์และความเข้าใจกัน ผู้ที่เป็นพี่เลี้ยงนอกจากจะให้ค าปรึกษาในด้านการงาน แล้วยังเป็นที่ปรึกษาในเวลามีปัญหาหรือสับสน ที่ส าคัญพี่เลี้ยงจะต้องเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องพฤติกรรมจริยธรรม และการท างานให้สอดคล้องกับความต้องการขององค์กรด้วย (6) การจัดตั้งทีมข้ามสายงาน (Cross–Functional Team) เป็นการจัดตั้งทีมเพื่อมาท างานร่วมกันในเรื่อง ใดเรื่องหนึ่งที่ก าหนดขึ้น ภายใต้ความเชื่อที่ว่าการท างานในแต่ละเรื่องต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญจากหลายๆ ด้าน มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์และท างานร่วมกันจึงจะประสบความส าเร็จ (7) การประชุมระดมสมอง (Workshop/Brainstorming) เป็นเครื่องมือช่วยให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่มี วัตถุประสงค์เพื่อปรึกษาหารือ ก าหนดแนวทางแก้ไขปัญหาหรือตัดสินใจด าเนินการ ปฏิบัติงานที่ผ่านประสบการณ์ และมุมมองจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (8) ชุมชนนักปฏิบัติ (Communities of Practice : CoP) เป็นกลุ่มคนที่มารวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยน เรียนรู้เกี่ยวกับการท างานทั้งในส่วนที่เป็นวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ซึ่งเป็นประสบการณ์ความส าเร็จและ การสรุปบทเรียน (Lessons Learned) ซึ่งเป็นความผิดพลาดล้มเหลวและข้อควรระวังต่าง ๆ ในการท างาน เพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้กับเพื่อนสมาชิกในกลุ่มน าไปใช้แก้ปัญหา และพัฒนางานในหน้าที่ของตน


12 ให้ดี CoP สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งที่เป็นรูปแบบทางกายภาพ (มีสถานที่การพบปะ) หรือ แบบเสมือนจริง (virtual) เช่น ทางออนไลน์ สรุปได้ว่า กระบวนการการจัดการความรู้เป็นการดำเนินการต่อความรู้อย่าง น้อย 6 ประการ ได้แก่ (1) การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นในการทำงาน (2) การเสาะหา ความรู้ที่ต้องการ (3) การปรับปรุงดัดแปลงสร้างความรู้ให้เหมาะกับตนเอง (4) การ ประยุกต์ใช้ความรู้ในการทำงาน (5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสกัดขุมความรู้ (6) การจด บันทึกขุมความรู้/แก่นความรู้ และ (7) การปรับปรุงและจัดเก็บความรู้ (วิจารณ์ พาณิช, ม.ป.ป.) ตัวอย่างเครื่องมือในการจัดการความรู้ได้แก่ การศึกษาดูงาน (Study tour) การทบทวนหลังปฏิบัติการหรือการถอดบทเรียน (AAR) การเรียนรู้ร่วมกันหลังงานสำเร็จ (Retrospect) เรื่องเล่าเร้า พลัง (Springboard Storytelling) การค้นหาสิ่งดีรอบตัว หรือสุนทรียสาธก เวทีเสวนา หรือสุนทรียสนทนา (Dialogue) เพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Assist) การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ (Action Learning) มาตรฐานเปรียบเทียบ (Benchmarking) การสอนงาน (Coaching) การเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring) ฟอรั่ม ถาม – ตอบ (Forum) บทเรียนจากความผิดพลาด (Lesson Learning) เวทีกลุ่มเฉพาะ (Focus Group) การจัดเก็บความรู้ใน Web board, Intranet R2R, การนำเสนอ ผลงานวิชาการในที่ประชุมวิชาการ คู่มือการปฏิบัติงาน (Standard Operation Procedure: SOP) การเล่าเรื่องพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น (Coffee meeting) เป็นต้น (มหาวิทยาลัยมหิดล, ม.ป.ป.)


13 ส่วนที่ 3 : สมร. จัดทำ KM อย่างไร ?? การจัดกิจกรรม “การจัดการความรู้ของส านักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ (สมร.)” พ.ศ. 2564 – 2565 มีเป้าหมายเพื่อจัดการองค์ความรู้ของ สมร. ไปจนถึงองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการท างานของ สกศ. อย่างเป็นระบบ ทั้งความรู้ที่กระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล เอกสาร ประสบการณ์ เพื่อให้บุคลากรของ สมร. ทุกคน ตลอดจนผู้ที่สนใจเข้าถึงได้ สามารถน าความรู้ไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพในเวลาที่ต้องการ และน ามา ซึ่งประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร ส าหรับการจัดกิจกรรม km ของ สมร. ในระหว่างช่วงเวลาดังกล่าวนั้น เกิดขึ้นจ านวน 12 ครั้ง ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2564 ถึงสิงหาคม 2565 ด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งการจัดกิจกรรม online เพื่อปรับให้ เข้ากับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 และ on-site เพื่อถอดบทเรียนจากศูนย์การเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้รายละเอียดการด าเนินการ ดังนี้ ขั้นตอนการจัดกิจกรรม KM 1) ดำเนินการ แต่งตั้งคณะทำงานการ จัดการความรู้ (KM) ของส านักมาตรฐานการศึกษา และพัฒนาการเรียนรู้ รายละเอียดคณะท างานฯ และอ านาจหน้าที่ ดังรูป 2) ศึกษาเอกสาร ทบทวนวรรณกรรมและ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความรู้ การจัดการความรู้ กระบวนการ/ ขั้นตอน/ รูปแบบของการจัดการ ความรู้ รวมถึงตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการ ความรู้ เป็นต้น 3) กำหนดกรอบ/ ประเด็นสำคัญในการ เก็บรวบรวมข้อมูล การออกแบบและสร้างเครื่องมือ ในการจัดการความรู้ทั้งนี้ ประเด็นในการเก็บ รวบรวมข้อมูลและจัดท า km จะพิจารณาจาก ภารกิจงานของ สกศ. สมร. เป็นหลัก ตลอดจน ประเด็นที่บุคลากรของ สมร. ให้ความสนใจ อาทิ


14 (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 13 การเขียนโครงการ การจัดซื้อจัดจ้าง การอนุรักษ์พันธุกรรมพืชตาม โครงการ อพ.สธ. Future Education ระบบนิเวศกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... เป็นต้น 4) ประสานไปยังบุคลากรของ สกศ. สมร. และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง/ ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อเป็นวิทยากร ในการให้ความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็น/ หัวข้อที่ก าหนดไว้ 5) ดำเนินการจัดกิจกรรม km ตามกำหนดการที่วางไว้โดยภายในกิจกรรมมีการก าหนดบทบาท/ หน้าที่ ของบุคลากรที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน อาทิคุณเอื้อ “ผู้บริหารระดับสูงท าหน้าที่จัดการความรู้ขององค์กร” คุณอ านวย “ผู้อ านวยความสะดวกในการจัดกิจกรรม” คุณกิจ “ผู้เข้าร่วมกิจกรรมและรับผิดชอบตามหน้าที่ ของตน” คุณลิขิต “ผู้ท าหน้าที่จดบันทึก สกัดองค์ความรู้” และ คุณวิศาสตร์ “ผู้ดูแลระบบ ICT” เป็นต้น 6) เก็บรวบรวม จัดเก็บความรู้ในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งรูปแบบออนไลน์ใน Google Drive และ ออฟไลน์ ในรูปแบบเอกสารวิชาการ นอกจากนี้สมร. ได้มีการเผยแพร่กิจกรรม (ผ่านทางช่องทางไลน์ของ สกศ.) เอกสารองค์ความรู้จากการจัดท า km ให้บุคลากรภายในและผู้ที่สนใจสามารถเข้าถึงและน าความรู้ไปใช้ได้ง่าย สรุป ก ำหนดกำรและหัวข้อในกำรจัดกิจกรรม km ของ สมร. ครั้งที่ 1 วันพุธที่ 27 ตุลำคม 2564 หัวข้อ จุดประกำยนักกำรศึกษำยุคใหม่กับหมุดหมำยที่ 12 และ (ร่ำง) แผนพัฒนำเศรษฐกิจและสังคมแห่งชำติ ฉบับที่ 13 โดย นำงสำวศศิรัศม์ วีรไวทยะ ครั้งที่ 2 วันพุธที่ 10 พฤศจิกำยน 2564 หัวข้อ เขียนโครงกำรอย่ำงไรให้ได้งบประมำณ โดย นำงสำวอุษำ คงสำย ครั้งที่ 3 วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกำยน 2564 หัวข้อ กำรจัดซื้อจัดจ้ำง โดย นำงสำวกรกมล จึงส ำรำญ ครั้งที่ 4 วันจันทร์ที่ 20 ธันวำคม 2564 หัวข้อ กำรอนุรักษ์พันธุกรรมพืชตำมโครงกำร อพ.สธ. โดย นำงสำวณุตตรำ แทนข ำ นำงสำวทัศน์วลัย เนียมบุบผำ และนำงสำวปิยะมำศ เมิดไธสง ครั้งที่ 5 วันจันทร์ที่ 4 เมษำยน 2565 หัวข้อ FUTURE EDUCATION โดย นำยพริษฐ์ วัชรสินธุ


15 ครั้งที่ 6 วันอังคำรที่ 5 เมษำยน 2565 หัวข้อ ระบบนิเวศกำรเรียนรู้ กับ กำรเรียนรู้ตลอดชีวิต โดย นำยชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ ครั้งที่ 7 วันพุธที่ 20 เมษำยน 2565 ศึกษำดูงำนศูนย์เรียนรู้ป่ำในกรุง ปตท. ครั้งที่ 8 วันศุกร์ที่ 22 เมษำยน 2565 ศึกษำดูงำนศูนย์กำรเรียนรู้ EGAT Learning Center ครั้งที่ 9 วันศุกร์ที่ 29 เมษำยน 2565 หัวข้อ MBTI: 16 Personality Types เข้ำใจตัวตนบุคลิกภำพทั้ง 16 แบบ โดย นำยณัฐพล ศรีพธูรำษฎร์ ครั้งที่ 10 วันอังคำรที่ 14 มิถุนำยน 2565 หัวข้อ Future Education For Future Career โดย นำยจิรำยุส ทรัพย์ศรีโสภำ ครั้งที่ 11 วันอังคำรที่ 5 กรกฎำคม 2565 หัวข้อ กำรศึกษำพื้นฐำนควรเรียนแค่ไหน ครั้งที่ 12 วันอังคำรที่ 30 สิงหำคม 2565 หัวข้อ กำรจัดกำรเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมตำม พระรำชบัญญัติกำรศึกษำแห่งชำติ พ.ศ. .... โดย นำยสมพงษ์ ผุยสำธรรม และ นำงสำวณัฐิกำ นิตยำพร


16 ส่วนที่ 4 : ผลจากการจัดกิจกรรม KM !!! ผลจากการจัดกิจกรรม km ของส านักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ในปีพ.ศ. 2564 – 2565 จ านวน 12 ครั้ง สรุปองค์ความรู้จากกิจกรรมแต่ละครั้ง ดังนี้ กิจกรรม KM ครั้งที่ 1 วันพุธที่ 27 ตุลาคม 2564 หัวข้อ “จุดประกายนักการศึกษายุคใหม่กับหมุดหมายที่ 12 และ (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13” โดย นำงสำวศศิรัศม์ วีรไวทยะ ผู้อ านวยการกลุ่มมาตรฐานการศึกษา ส านักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ เนื้อหาของกิจกรรมเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) ซึ่งแผนฯ ดังกล่าวมีการก าหนดทิศทางและเป้าหมายการพัฒนาบนพื้นฐานแนวคิดส าคัญ 4 ประการ หมุดหมายการพัฒนา 13 ประการ ตลอดจนค าส าคัญ หรือ Keyword ที่น าสู่การปฏิบัติรายละเอียดดังนี้ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 มีการกำหนดวิสัยทัศน์ “พลิกโฉมประเทศไทยสู่สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน” ไว้เป็นหมุดหมายส าคัญของการพัฒนาบนพื้นฐานแนวคิดส าคัญ 4 ประการ ได้แก่ 1) หลักปรัชญของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการสืบสาน รักษา ต่อยอดการพัฒนาตามหลักปรัชญาของ


17 เศรษฐกิจพอเพียง 2) แนวคิด Resilience ที่มุ่งเน้นการลดความเปราะบางต่อความเปลี่ยนแปลงทั้งจากภายนอก และภายในประเทศ 3) เป้ำหมำยกำรพัฒนำอย่ำงยั่งยืนของสหประชำชำติโดยการมุ่งเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ให้กับประชาชนทุกกลุ่ม 4) โมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งเป็นแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจใน 3 รูปแบบควบคู่กัน ทั้งเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว โดยการใช้ศักยภาพและความเข้มแข็งของประเทศ เป็นฐานส าคัญ นอกจากนี้ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ดังกล่าว จึงได้มีการก าหนดเป้าหมายหลัก 5 ประการ ในการ พัฒนาและเสริมสร้างสังคมที่ก้าวทันพลวัตของโลก สังคมที่เกื้อหนุนให้คนไทยมีโอกาสพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ ได้แก่ 1) กำรปรับโครงสร้ำงกำรผลิตสู่เศรษฐกิจฐำนนวัตกรรม ด้วยการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ของภาคการผลิตและบริการส าคัญให้สูงขึ้น สามารถตอบโจทย์พัฒนาการของเทคโนโลยีและสังคมยุคใหม่2) กำรพัฒนำ คนส ำหรับโลกยุคใหม่ ด้วยการพัฒนาให้คนไทยมีทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสมกับโลกยุคใหม่ 3) กำรมุ่งสู่ สังคมแห่งโอกำสและควำมเป็นธรรม ด้วยการลดความเหลื่อมล้ าทั้งในเชิงรายได้และความมั่นคั่ง การจัดให้มี บริการสาธารณะที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม 4) กำรเปลี่ยนผ่ำนสู่ควำมยั่งยืน ด้วยการปรับปรุงการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติในการผลิตและบริโภคให้มีประสิทธิภาพ และ 5) กำรเสริมสร้ำงควำมสำมำรถของประเทศใน กำรรับมือกับควำมเสี่ยงและกำรเปลี่ยนแปลงภำยใต้บริบทโลกใหม่ ด้วยการสร้างความพร้อมในการรับมือและ แสวงหาโอกาสจากการเปลี่ยนผ่านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ดังรูป ทั้งนี้เพื่อให้การพัฒนาเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เกิดการท างานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน จึงได้มีการ ก าหนดหมุดหมายการพัฒนา 13 ประการ ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 มิติ ดังนี้


18 1) มิติภำคกำรผลิตและกำรบริกำรเป้ำหมำย หมุดหมำยที่ 1 ไทยเป็นประเทศชั้นน าด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง หมุดหมำยที่ 2 ไทยเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน หมุดหมำยที่ 3 ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่ส าคัญของโลก หมุดหมำยที่ 4 ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง หมุดหมำยที่ 5 ไทยเป็นประตูการค้าการลงทุนและยุทธศาสตร์ทางโลจิสติกส์ที่ส าคัญของภูมิภาค หมุดหมำยที่ 6 ไทยเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลและอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะของอาเซียน 2) มิติโอกำสและควำมเสมอภำคทำงเศรษฐกิจและสังคม หมุดหมำยที่ 7ไทยมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้มแข็ง มีศักยภาพสูง และสามารถแข่งขั้นได้ หมุดหมำยที่ 8 ไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน หมุดหมำยที่ 9 ไทยมีความยากจนข้ามรุ่นลดลง และคนไทยทุกคนมีความคุ้มครองทางสังคมที่พอเพียง เหมาะสม 3) มิติควำมยั่งยืนของทรัพยำกรธรรมชำติและสิ่งแวดล้อม หมุดหมำยที่ 10 ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ า หมุดหมำยที่ 11 ไทยสามารถลดความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ 4) มิติปัจจัยผลักดันกำรพลิกโฉมประเทศ หมุดหมำยที่ 12ไทยมีก าลังคนสมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต หมุดหมำยที่ 13 ไทยมีภำครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภำพ และตอบโจทย์ประชำชน


19 ส า ห รั บ ห มุ ด ห ม า ย ที่ เกี่ยวข้องกับส านักงานเลขาธิการ สภาการศึกษาโดยตรง คือ มิติปัจจัย ผลักดันการพลิกโฉมประเทศใน หมุดหมายที่ 12 ไทยมีกำลังคน สมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่าง ต่อเนื่อง ตอบโจทย์การพัฒนา แห่งอนาคต อย่างไรก็ดีภายในแผนฯ ยังมีการก าหนด “ค ำส ำคัญ หรือ Keyword” เพื่อให้หน่วยงำนน ำสู่กำรปฏิบัติ ได้แก่ EmpathySoft-skills Authentic AssessmentInnovation School System Passion Soft Power Working Skills Social Emotional Learning Learning Losses Disruption Resilient Future Careers Synergy Higher Order Thinking Personalised Learning Learning Ecosystems Job Market NEETs Global Citizenship Essential Future Skills Digitalization Active Learning Multiple Intelligence Supply Chain Crisis


20 กิจกรรม KM ครั้งที่ 2 วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน 2564 หัวข้อ “เขียนโครงการอย่างไรให้ได้งบประมาณ” โดย นำงสำวอุษำ คงสำย ผู้อ านวยการกลุ่มพัฒนานโยบายด้านการเรียนรู้ ส านักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ เนื้อหาของกิจกรรม เกี่ยวกับแนวทาง เทคนิคการเขียนโครงการ ตลอดจนเกณฑ์การพิจารณา โครงการเพื่อให้ได้รับการจัดสรรงบประมาณ รายละเอียดดังนี้ การเขียนโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อแปลงแผนงาน/ การด าเนินกิจกรรมสู่การปฏิบัติ แก้ปัญหาที่ จ าเป็นต้องใช้งบประมาณ รวมทั้งใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาองค์กร/ บริหารงาน/ จัดสรรงบประมาณ โดยการ เขียนโครงการจ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาให้ครอบคลุมถึงประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ ความสอดคล้องของภารกิจ และหน้าที่ เป็นประเด็นที่มีความส าคัญ จ าเป็น และส่งผลกระทบสูง มีพระราชบัญญัติฯ/ มติคณะรัฐมนตรีฯ/ ข้อสั่งการให้ท า เป็นเรื่องที่มีความคุ้มค่า คุ้มทุน งบประมาณ และหน่วยงานมีความพร้อมที่จะด าเนิน โครงการ สำหรับตัวอย่างไอเดีย/ แนวคิดเพื่อ เป็นจุดเริ่มต้นของการเขียนโครงการ อาจมาจาก 1) ปัญหา/ การเปลี่ยนแปลง/ แนวโน้มส าคัญ ๆ 2) แผนปฏิบัติการ/ นโยบายส าคัญ/ มติ/ ข้อสั่งการ 3) ผลการประเมิน/ ผลการวิจัยที่เป็นประเด็นพัฒนา


21 4) นวัตกรรม/ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น ทั้งนี้ การเขียนโครงการที่ดีชื่อโครงกำรจะต้องกระตุ้นให้เกิด แรงบันดาลใจ เขียนให้เห็นภาพกว้างของการท างาน ที่มำและควำมส ำคัญควรสะท้อนและเชื่อมโยงไปสู่ยุทธศาสตร์ การศึกษาชาติ แผนการศึกษาชาติ ผลการศึกษาวิจัย สถิติ ข้อส าคัญส าคัญด้านการศึกษาต่าง ๆ วัตถุประสงค์ ควรมีความชัดเจน ไม่หลายข้อมากเกินไป และตอบโจทย์การวิจัย ผลผลิต/ ตัวชี้วัด/ ผลกระทบ ควรระบุให้ชัดเจน ตอบวัตถุประสงค์ สะท้อนความส าคัญ เป้าหมายและปัญหาที่ต้องการจะแก้ไข วิธีด ำเนินงำน/ กิจกรรม ควรสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ การก าหนดงบประมาณ ควรมีความเหมาะสมกับกิจกรรม ผลผลิต มีรายละเอียดตัวคูณที่ต้องตามอัตราที่ก าหนด และระยะเวลำกำรด ำเนินงำนควรมีการระบุกิจกรรมเป็นรายเดือน อย่างชัดเจน ตลอดจนการพิจารณาเกณฑ์การประเมินของสภาพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติอย่างครอบคลุม สภาพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินโครงการ สำคัญในปี 2566 ไว้ได้แก่ 1) โครงการส่งผลต่อปัจจัยหลักภายใต้ห่วงโซ่คุณค่าของเป้าหมายแผนแม่บทย่อย ที่เลือกมา (ตามข้อเท็จจริง) และสามารถส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายแผนแม่บทและยุทธศาสตร์ชาติ (XYZ) 2) เป็นการจัดตั้งกองทุนฯ/ หน่วยงาน/ คณะกรรมการต่าง ๆ 3) ความจ าเป็นที่ต้องมีโครงการ 4) เป็นการจัดท า ข้อมูลเชิงประจักษ์ เช่น มีข้อมูลสถิติ/ ข้อเท็จจริงรองรับ 5) โครงการมีวัตถุประสงค์ ผลผลิต ผลลัพธ์ และ กลุ่มเป้าหมายผู้รับประโยชน์ที่ชัดเจน สามารถส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรม 6) มีแผนการ ด าเนินงานและกิจกรรมที่ชัดเจน เป็นไปได้จริง ส่งผลโดยตรงต่อการบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการ อย่างแท้จริง 7) มีตัวชี้วัดที่สามารถสะท้อนการบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายได้อย่างเป็นรูปธรรม และ 8) กรณีที่ เป็นโครงการจัดซื้อครุภัณฑ์/ ปรับปรุง/ ซ่อมแซม/ ก่อสร้างอาคารสถานที่ของส่วนราชการ โครงการต้องส่งผลต่อ การบรรลุเป้าหมายแผนแม่บทย่อยที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน ตัวอย่างโครงการของสำนักมาตรฐานการฯ และการพิจารณาตามปัจจัยหลักภายใต้ห่วงโซ่ คุณค่าตามเป้าหมายของ แผนแม่บทแต่ล ะ ร ะดับ ดังรูป


22 กิจกรรม KM ครั้งที่ 3 วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2564 หัวข้อ “การจัดซื้อจัดจ้าง” ตาม พรบ.การจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 โดย นำงสำวกรกมล จึงส ำรำญ ผู้อ านวยการกลุ่มพัฒนานโยบายด้านการมีส่วนรวม และการเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ส านักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ เนื้อหาของกิจกรรม ได้แก่ ความหมายของการจัดซื้อจัดจ้าง พัสดุ ค าศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ จัดจ้าง ขั้นตอนในการจัดซื้อจัดจ้าง วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง และช่วงถาม - ตอบ รายละเอียดดังนี้ การจัดซื้อจัดจ้าง หมายถึง การซื้อสินค้า เช่าสินค้า จ้างเหมาบริการ การจ้างท าของ การจ้าง ก่อสร้างทุกโครงการที่หน่วยงานภาครัฐเป็นผู้ด าเนินการผ่านขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างตามที่ก าหนดไว้ใน พรบ. การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 พัสดุแบ่งออกเป็น 5 ชนิด ได้แก่ สินค้า งานบริการ งานจ้างที่ปรึกษา งานจ้างออกแบบหรือควบคุม งานก่อสร้าง และงานก่อสร้าง โดยพัสดุแต่ละชนิดมีความหมายและรายละเอียด ดังนี้ สินค้ำ ได้แก่ วัสดุ ครุภัณฑ์ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และทรัพย์สินอื่น ๆ ซึ่งรวมงานบริการที่อยู่ในสินค้านั้น งำนบริกำร ได้แก่ งานจ้างบริการ งานจ้างเหมาบริการ งานจ้างท าของ และการรับขน


23 งำนจ้ำงที่ปรึกษำ ได้แก่ งานจ้างบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล เพื่อเป็นผู้ให้ค าปรึกษาหรือแนะน าแก่ หน่วยงานของรัฐ ในด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม ผังเมือง กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การเงิน การคลัง สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สาธารณสุข ศิลปวัฒนธรรม การศึกษาวิจัย หรือด้าน อื่นที่อยู่ในภารกิจของหน่วยงานภาครัฐ ง ำน จ้ ำ งออกแบบ ห รื อ ควบคุมงำนก่อสร้ำง ได้แก่ งานจ้างจาก บุคคล ธ ร รมด าห รื อนิ ติบุคคลเพื่ อ ออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง งำนก่อสร้ำง ได้แก่ งานก่อสร้างอาคาร งานก่อสร้างสาธารณูปโภค หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นใด การซ่อมแซม ต่อเติม ปรับปรุง รื้อถอน หรือการกระท าอื่น ๆ ที่มีลักษณะท านองเดียวกันกับอาคาร สาธารณูปโภค หรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ซึ่งรวมถึงงานบริการที่รวมอยู่ในสินค้านั้น คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ราคากลาง การบริหารพัสดุ เจ้าหน้าที่ หน่วยงานของรัฐ หลักการจัดซื้อ จัดจ้าง แผนจัดซื้อจัดจ้าง ความหมายและรายละเอียดดังนี้ รำคำกลำง หมายถึง ราคาที่ใช้เป็นฐานส าหรับเปรียบเทียบราคาที่ผู้ยื่นข้อเสนอได้ยื่นเสนอไว้ซึ่งสามารถ จัดซื้อจัดจ้างได้จริง มีดังนี้(1) ราคาที่ได้จากการค านวณ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการราคากลางก าหนด (ส่วน ใหญ่จะใช้วิธีนี้) (2) ราคาที่ได้มาจากฐานข้อมูลราคาอ้างอิงที่กรมบัญชีกลางจัดท า (3) ราคามาตรฐานที่ส านัก งบประมาณหรือหน่วยงานกลางอื่นก าหนด (4) ราคาที่ได้จากการสืบทอดราคาจากท้องตลาด(5) ราคาที่เคยซื้อหรือ จ้างครั้งหลังสุดภายในระยะเวลา 2 ปีงบประมาณ (6) ราคาอื่นตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือแนวทางปฏิบัติของ หน่วยงานภาครัฐ ทั้งนี้ การด าเนินการพิจารณาโดยเรียงล าดับจาก (1) – (6) กำรบริหำรพัสดุ ได้แก่ การเก็บ การบันทึก การเบิกจ่าย การยืม การตรวจสอบ การบ ารุงรักษา และ การจ าหน่ายพัสดุ เจ้ำหน้ำที่ คือ ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจาก ผู้มีอ านาจให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง หรือการบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐ หน่วยงำนของรัฐ คือ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจตาม กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ องค์การมหาชน องค์กรอิสระ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ หน่วยธุรการของศาล มหาวิทยาลัยในก ากับของรัฐ หน่วยงานสังกัดรัฐสภาหรือในก ากับรัฐสภา หน่วยงานอิสระของรัฐ และหน่วยงานอื่น ตามที่ก าหนดในกฎกระทรวง


24 หลักกำรจัดซื้อจัดจ้ำง ประกอบด้วย คุ้มค่า คือ มีคุณภาพ ราคาเหมาะสม มีแผนบริหารพัสดุที่ เหมาะสมและชัดเจน โปร่งใส คือ ท าอย่างเปิดเผย แข่งขันอย่างเป็นธรรม เท่าเทียมกัน มีระยะเวลาเหมาะสมต่อ ก า ร ยื่ น ข้ อเ ส น อ มีห ลั ก ฐ าน ก า ร ด าเนินงานชัดเจน เปิดเผยข้อมูลจัดซื้อ จัดจ้างในทุกขั้นตอน ประสิทธิภาพ คือ มีการวางแผนการจัดซื้อจัดจ้างล่วงหน้า ก าหนดเวลาที่เหมาะสม ตรวจสอบได้ คือ เก็บข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ และการบริหารพัสดุอย่างเป็นระบบ แผนกำรจัดซื้อจัดจ้ำง โดย หน่วยงานภาครัฐ ต้องจัดท าแผนจัดซื้อจัดจ้างประจ าปี และ ประกาศเผยแพร่ในระบบสารสนเทศของ กรมบัญชีกลางและของหน่วยงานของรัฐ ตามวิธีที่กรมบัญชีกลางก าหนด และประกาศโดยเปิดเผย ณ หน่วยงาน ภาครัฐ ขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) จัดท ำแผนกำรจัดซื้อจัดจ้ำง ด าเนินการท าแผนการจัดซื้อจัดจ้างพร้อมก าหนดขอบเขตของงานหรือ คุณลักษณะพัสดุที่ต้องการ ท ารายงานไปยังหัวหน้าส่วนฯ ให้ความเห็นชอบ แล้วประกาศเผยแพร่ให้สาธารณชน รับทราบ (แผนการจัดซื้อจัดจ้าง ประกอบด้วย ชื่อ โครงการ วงเงิน ช่วงเวลาที่จะจัดซื้อจัดจ้าง) 2) ด ำเนินกำรจัดซื้อจัดจ้ำง มี 3 วิธีได้แก่ วิธีการประกาศเชิญชวน วิธีการ คัดเลือก และวิธีเฉพาะเจาะจง 3) ประกำศผู้ชนะและอนุมัติ สั่งซื้อสั่งจ้ำง โดยคณะกรรมการฯ เสนอ ขออนุมัติการสั่งซื้อหรือสั่งจ้างต่อหัวหน้า ส่วนฯ และประกาศผู้ชนะผ่านเว็บไซต์ ส่วนราชการ (กรมบัญชีกลาง หน่วยงาน ของรัฐ และปิดประกาศด้วย) 4) จัดท ำสัญญำเมื่อประกำศผู้ชนะ โดยหน่วยงานภาครัฐเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่ไม่ได้เป็นผู้ชนะ สามารถอุทธรณ์การตัดสินได้ใน 7 วัน หากครบก าหนดแล้วไม่มีผู้อุทธรณ์หรืออุทธรณ์แล้วฟังไม่ขึ้น ให้เชิญ ผู้ประกอบการที่ชนะเข้ามาท าสัญญา


25 5) กำรบริหำรสัญญำและกำรตรวจรับพัสดุเมื่อถึงก าหนดส่งมอบงาน วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง มี 3 วิธีได้แก่ วิธีการประกาศเชิญชวน วิธีการคัดเลือก และวิธีเฉพาะเจาะจง รายละเอียดดังนี้ 1) วิธีประกำศเชิญชวน ได้แก่ วิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ วิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ และวิธีสอบราคา รายละเอียดดังนี้ (1) วิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (E-Market) จัดซื้อจัดจ้างสินค้ากรณีที่วงเงินเกิน 500 บาทขึ้นไป สินค้ามีคุณลักษณะเฉพาะ ไม่ซับซ้อน มีมาตรฐาน เช่น กระดาษ ตลับผงหมึก แฟ้มเอกสาร เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องปรับอากาศ คอมพิวเตอร์ หรือสินค้าอื่นที่ก าหนดคุณลักษณะไว้ในระบบ E-Catalog (2) วิธีประกวดราคา อิเล็กทรอนิกส์ (E-Bidding) จัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่มีวงเงินเกิน 500 บาทขึ้นไป เป็นสินค้าและบริการที่ ไม่ได้ก าหนดไว้ใน E-Catalog เช่น เครื่องมือแพทย์ เวชภัณฑ์ยา งานก่อสร้าง การวางระบบสารสนเทศ เป็นต้น (3) สอบราคา การซื้อหรือจ้างที่มีวงเงินเกิน 50,000 บาท ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 5 ล้านบาท ใช้เฉพาะกรณีที่ไม่สามารถ จัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธี Market หรือ Bidding เนื่องจากพื้นที่ไม่มีอินเตอร์เน็ต 2) วิธีคัดเลือก โดยหน่วยงานภาครัฐส่งหนังสือเชิญชวนไปยังผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไข ให้เข้ามายื่นข้อเสนอตามวัน เวลา และสถานที่ที่ก าหนด โดยต้องมีผู้ยื่นข้อเสนอไม่ต่ ากว่าหรือไม่น้อยกว่า 3 ราย ใช้ ใน 7 กรณี ดังนี้(1) เมื่อประกาศเชิญชวนแล้วไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอหรือข้อเสนอที่ยื่นมาไม่ได้รับการคัดเลือก (2) จัดซื้อ จัดจ้างพัสดุที่มีคุณลักษณะพิเศษหรือซับซ้อนหรือให้บริการโดยผู้ประกอบการที่มีความช านาญเป็นพิเศษและ ประกอบการที่มีจ านวนจ ากัด (3) มีความจ าเป็นเร่งด่วนที่ต้องใช้พัสดุ (4) จ าเป็นต้องใช้พัสดุที่มีคุณลักษณะหรือ ข้อจ ากัดทางเทคนิคที่จ าเป็นต้องระบุยี่ห้อเป็นการเฉพาะ (5) จ าเป็นต้องซื้อพัสดุโดยตรงจากต่างประเทศ (6) จัดซื้อ จัดจ้างพัสดุที่ใช้ในราชการลับหรือเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ (7) ต้องการจ้างซ่อมพัสดุที่ต้องมีการถอดตรวจ และต้องประเมินค่าความเสียหายก่อนแล้วจึงประเมินค่าซ่อมได้ เช่น ซ่อมเครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น 3) วิธีเฉพำะเจำะจง โดยหน่วยงานภาครัฐส่งหนังสือเชิญชวนหรือด าเนินการจัดซื้อจัดจ้างกับ ผู้ประกอบการเพียงรายเดียวที่มีคุณสมบติตรงตามที่ก าหนด ให้ยื่นข้อเสนอหรือเข้ามาเจรจาต่อรองราคากับ หน่วยงานของรัฐโดยตรง รายละเอียดของการเลือกวิธีเฉพาะเจาะจง ได้แก่ (1) เมื่อประกาศเชิญชวนทั่วไปและวิธี คัดเลือกแล้วไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอ (2) ต้องการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่มีวงเงินไม่เกิน 500,000 บาท (3) ต้องการจัดซื้อจัด จ้างพัสดุที่มีผู้ประกอการหรือตัวแทนจ าหน่ายเพียงรายเดียวในประเทศไทย (4) ต้องการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุเพื่อ น าไปใช้โดยฉุกเฉิน (5) ต้องการซื้อพัสดุเพิ่มเติมหรือจ้างต่อเนื่องกับรายเดิมเพื่อความสมบูรณ์และต่อเนื่องในการใช้ พัสดุ (6) เป็นพัสดุที่จะขายทอดตลาด (7) ต้องการซื้อหรือเช่าที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่จ าเป็นต้องซื้อเฉพาะที่แห่งนั้น ๆ วิธีเฉพำะเจำะจง : จ้ำงเหมำเอกชน (จ้ำงท ำของ) มีขั้นตอน ดังนี้(1) อนุมัติหลักการจ้าง (2) แต่งตั้ง คณะกรรมการ TOR หรือคณะกรรมการ ร่าง ขอบเขตของงาน และคณะกรรมการราคากลาง (3) คณะกรรมการ


26 TOR ประชุม ร่าง TOR และจัดท าบันทึกขออนุมัติ TOR (4) ประสานเอกชนส่งข้อเสนอมา 3 ราย เพื่อประชุม คณะกรรมการราคากลาง (5) คณะกรรมการราคากลางประชุมและขออนุมัติราคากลางการจ้างเหมาเอกชน (6) ท า บันทึกขอให้ด าเนินการจ้างเอกชน และแต่งตั้งคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างและคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ (7) ประสานเอกชนส่งข้อเสนอโครงการ (8) คณะกรรมการจัดจ้างประชุมและขออนุมัติจัดซื้อจัดจ้าง (9) รายงานผลการ พิจารณาและขออนุมติสั่งซื้อสั่งจ้าง ฝ่ายพัสดุด าเนินการออกใบสั่งจ้าง (สอ.) (10) ลงนามในสัญญาจ้าง ผู้รับจ้าง ช าระตราสารหรืออากรแสตมป์(11) ท า PO สัญญาจ้างในระบบ (สอ.) หมายเหตุ : ด าเนินการไม่ควรเกิน 3 สัปดาห์ และควรยึดหลักบริสุทธิ์ใจ รอบคอบ เกิดประโยชน์สูงสุด กับหน่วยงาน ส าหรับขั้นตอนการอนุมัติหลักการจ้างและแต่งตั้งคณะกรรมการ TOR ราคากลาง ขึ้นอยู่กับนโยบาย ของผู้บริหารหน่วยงาน ซึ่งสามารถขออนุมัติพร้อมกันได้ไม่ผิดระเบียบพัสดุฯ แต่จะอนุมัติเฉพาะหลักการก่อนแล้ว ค่อยท าบันทึกขออนุมัติกรรมการ TOR ราคากลาง ทีหลังก็ได้ วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง “จ้างที่ปรึกษา ม.69-78” ตัวอย่างวิธีการประกาศเชิญชวน วิธีคัดเลือก และวิธี เฉพาะเจาะจง ดังนี้ 1) วิธีประกำศเชิญชวนทั่วไป เป็นการเชิญชวนที่ปรึกษาทั่วไปที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่ก าหนด เข้ายื่นข้อเสนอ ใช้กับงานที่ไม่ซับซ้อน 2) วิธีคัดเลือก เป็นการเชิญชวนเฉพาะที่ปรึกษาทั่วไปที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่ก าหนด ไม่น้อยกว่า 3 ราย ให้เข้ายื่นข้อเสนอ เว้นแต่ในงานนั้นมีที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติตามตามที่ก าหนดน้อยกว่า 3 ราย ด าเนินการ เนื่องจาก (1) ประกาศเชิญชวนแล้วไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอหรือไม่ได้รับการคัดเลือก (2) เป็นงานซับซ้อน ซับซ้อนมาก มีเทคนิคเฉพาะไม่เหมาะที่จะด าเนินการโดยวิธีประกาศเชิญชวน (3) มีที่ปรึกษาในงานที่จะจ้างจ านวนจ ากัด (4) กรณีอื่นตามที่ก าหนดในกฎกระทรวง 3) วิธีเฉพำะเจำะจง ด าเนินการเนื่องจาก (1) ใช้ทั้งวิธีประกาศเชิญชวนและคัดเลือก หรือใช้วิธีคัดเลือก แล้ว แต่ไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอ หรือข้อเสนอที่ยื่นไม่ได้รับการคัดเลือก (2) การจ้างในวงเงินครั้งหนึ่งไม่เกินวงเงินที่ ก าหนดในกฎกระทรวง (3) เป็นงานที่จ าเป็นต้องจ้างที่ ปรึกษารายเดิมท าต่อจากงานที่ ได้ท าไว้แล้ว เนื่องจากเหตุผล ทางเทคนิค (4) เป็นงานจ้างที่ ปรึกษาที่มีที่ปรึกษาเพียงราย เดียว (5) เป็นงานจ้างที่มีความ จ าเป็นเร่งด่วนหรือเกี่ยวกับ


27 ความมั่นคงของชาติ(6) กรณีอื่นตามที่ก าหนดในกฎกระทรวง โดยให้ผู้มีอ านาจแต่งตั้งคณะกรรมการด าเนินการ จ้างที่ปรึกษา เพื่อรับผิดชอบในการด าเนินงานจ้างที่ปรึกษา ทั้งนี้ หลักเกณฑ์พิจารณาคัดเลือกข้อเสนอการจ้างที่ ปรึกษา ได้แก่ (1) ผลงานและประสบการณ์ของที่ปรึกษา (2) วิธีการบริหารและวิธีการปฏิบัติงาน (3) จ านวน บุคลากรที่ร่วมงาน (4) ประเภทของที่ปรึกษาที่รัฐส่งเสริมหรือสนับสนุน (5) ข้อเสนอทางการเงิน (6) เกณฑ์อื่น ตามที่ก าหนดในกฎกระทรวง กรณีงำนจ้ำงที่ปรึกษำแบ่งออกเป็น 3 กรณีได้แก่ (1) กรณีงานจ้างที่ปรึกษาเพื่อด าเนินงานประจ า ให้คัดเลือกผู้ที่ยื่นข้อเสนอที่ผ่านเกณฑ์คุณภาพแล้ว และให้คัดเลือกจากรายที่เสนอราคาต่ าสุด (2) กรณีงานจ้างที่ ปรึกษาที่เป็นไปตามมาตรฐานของหน่วยงานหรืองานที่ซับซ้อน ให้คัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอที่ผ่านเกณฑ์ด้านคุณภาพ แล้ว และให้คัดเลือกจากรายที่ได้คะแนนด้านคุณภาพและด้านราคามากสุด (3) กรณีงานจ้างที่ปรึกษาที่ซับซ้อนมาก ให้คัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอที่ผ่านเกณฑ์ด้านคุณภาพแล้ว และให้คัดเลือกจากรายที่ได้คะแนนด้านคุณภาพมากที่สุด วิธีเฉพำะเจำะจง : จ้ำงที่ปรึกษำ มีขั้นตอน ดังนี้(1) อนุมัติหลักการจ้าง (2) แต่งตั้งคณะกรรมการ TOR หรือคณะกรรมการ ร่าง ขอบเขตของงาน และคณะกรรมการราคากลาง (3) คณะกรรมการ TOR ประชุม ร่าง TOR และจัดท าบันทึกขออนุมัติ TOR (4) คณะกรรมการราคากลางประชุมกรรมการเพื่อพิจารณาราคากลาง และ ท าบันทึกขออนุมัติราคากลาง (5) ท าบันทึกขอให้ด าเนินการจ้างเอกชน และแต่งตั้งคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างและ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ (บันทึก 6 ข้อ) (6) ประกาศค าสั่งส านักงานฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง และคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ และประกาศจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีเฉพาะเจาะจง (7) ลงนามในหนังสือเชิญ ทปษ. เสนอโครงการ (ก าหนดวันยื่นข้อเสนอในหนังสือ) (8) มหาวิทยาลัยยื่นข้อเสนอ (9) ประชุมกรรมการจ้างเพื่อ พิจารณาภายใน... ตามที่ท าบันทึก 6 ข้อ (10) ส่งรายงานผลการพิจารณาการจ้างให้เลขาฯ เพื่ออนุมัติ(11) พัสดุส่ง เรื่องไปให้คณะกรรมการกลั่นกรองประชุมพิจารณา (สอ.ไปสกม.) (12) สอ. โดยพัสดุท ารายงานผลการอนุมัติ(13) ประกาศผู้ชนะวันเดียวกับอนุมัติ(14) พัสดุท าสัญญาจ้าง (15) ส่งสัญญาให้มหาวิทยาลัยลงนามในสัญญาจ้างและ กลับมาให้เลขาธิการลงนามในสัญญาจ้าง ถาม – ตอบ กำรแบ่งซื้อ แบ่งจ้ำง สำมำรถท ำได้หรือไม่ ตอบ ไม่สามารถท าได้ ทั้งนี้ การจัดซื้อจัดจ้างจะต้องยึดเนื้องานเป็นหลัก ถ้างานลักษณะเดียวกัน ผลผลิต ที่ได้เหมือนกัน ควรจัดซื้อจัดจ้างโดยบุคคลหรือนิติบุคคลท ารายเดียว ถ้าจัดซื้อจัดจ้างหลายราย ถือว่าเป็นการ แบ่งซื้อแบ่งจ้าง ไม่สามารถด าเนินการได้ ผิดระเบียบพัสดุ หากพิจารณาเนื้องานแล้ว การซื้อหรือการจ้างนั้น มีวิธีการท าต่างกัน ผลผลิตที่ได้ต่างกัน หรือวิธีการเหมือนกันแต่ลักษณะพื้นที่ ลักษณะกลุ่มที่ท างานด้วยแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการได้มาของผลผลิตที่มีความแตกต่างกัน ลักษณะนี้ สามารถจัดซื้อจัดจ้างได้หลายรายตามความ เหมาะสมของงาน ไม่จ าเป็นต้องจัดซื้อจัดจ้างกับบุคคลหรือนิติบุคคลรายเดียว เพราะถือว่าไม่ได้แบ่งซื้อหรือแบ่งจ้าง


28 กรณีผู้ว่ำจ้ำงอยู่ในสถำนะผู้ทิ้งงำน และอยู่ในระหว่ำงกำรจ้ำงงำนกับทำงส ำนักฯ ควรท ำอย่ำงไร ตอบ ด าเนินการการจ้างใหม่ เปลี่ยนผู้ว่าจ้าง และด าเนินการตามขั้นตอนตามระเบียบพัสดุ เพราะตาม พรบ.จัดซื้อจัดจ้าง หมวด 8 เรื่องการทิ้งงานมาตรา 192 ห้ามหน่วยงานของรัฐก่อนิติสัมพันธ์กับผู้ทิ้งงานที่ ปลัดกระทรวงการคลังได้ระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานและได้แจ้งเวียนชื่อแล้ว เว้นแต่จะได้มีการเพิกถอนการเป็น ผู้ทิ้งงาน บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลใดที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาให้เป็นผู้ทิ้งงานตามข้อก าหนดในส่วนนี้ และในวรรคสาม ก าหนดว่า ให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิยื่นข้อเสนอให้แก่หน่วยงานของรัฐได้ แต่ถ้าผลการ พิจารณาต่อมาปลัดกระทรวงการคลังได้สั่งให้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลนั้นเป็นผู้ทิ้งงาน ให้หน่วยงานของรัฐ ตัดรายชื่อบุคคลดังกล่าวออกจากรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับการคัดเลือกหรือยกเลิกการซื้อหรือจ้าง หรือยกเลิกการลง นามในสัญญาซื้อหรือจ้างที่ได้กระท าก่อนการสั่งการของปลัดกระทรวงการคลัง เว้นแต่ในกรณีที่หัวหน้าหน่วยงาน ของรัฐพิจารณาเห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่หน่วยงานของรัฐอย่างยิ่ง หัวหน้าหน่วยงานของรัฐจะไม่ตัดรายชื่อบุคคล ดังกล่าวออกจากรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับการคัดเลือก หรือจะไม่ยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้าง หรือจะไม่ยกเลิกการลงนามใน สัญญาซื้อหรือจ้างที่ได้กระท าก่อนการสั่งการของปลัดกระทรวงการคลังก็ได้แต่โดยปกติ เพื่อความปลอดภัยควร ด าเนินการจัดซื้อจัดจ้างใหม่ กรณีส่งงำนช้ำ และต้องกำรขยำยเวลำสำมำรถท ำได้หรือไม่ ตอบ ส่งงานช้า ต้องโดนค่าปรับ แต่หากต้องการขยายเวลาสามารถท าได้ ทั้งนี้ ต้องเป็นเหตุสุดวิสัยตาม ประกาศของทางราชการ เช่น สถานการณ์โควิด เป็นต้น และถ้าหากต้องการขยายเวลา ผู้รับจ้างควรด าเนินการ ก่อนสิ้นสุดสัญญาประมาณ 1 เดือนครึ่ง – 2 เดือน ควำมแตกต่ำงระหว่ำงจ้ำงที่ปรึกษำ และจ้ำงท ำของคืออะไร ตอบ จ้างที่ปรึกษา คือ การจ้างศึกษาวิจัย ส่วนการจ้างท าของ เป็นการจ้างเพื่อท างานเป็นชิ้น ได้ผลของ งานเฉพาะเรื่อง เช่น การจ้างเก็บข้อมูล ผลผลิตหรือของที่ได้คือ ข้อมูลที่จ้างไปเก็บ หรือการจ้างวิเคราะห์ข้อมูล ผลผลิตคือ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น กำรแบ่งงวดส่งและตรวจรับงำนยึดตำมหลักเกณฑ์อะไร ตอบ ขึ้นอยู่กับผู้ว่าจ้างก าหนด ซึ่งโดยปกติจะก าหนดตามเนื้องานหรือลักษณะงานที่จ้าง ขั้นตอนการ ด าเนินงาน ผลผลิตของงานในแต่ละขั้นตอนของงานที่ต้องการ ทั้งนี้ ไม่ควรก าหนดงานงวดที่ 1 ร้อยละ 50 เนื่องจากเป็นยอดเงินที่มาก เสี่ยงต่อการตรวจรับงานของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุซึ่งเป็นผู้บริหารสัญญา ซึ่งผล ของงานที่ได้กับยอดเงินที่เบิกจะต้องมีความสมดุลกัน รวมทั้งยังเสี่ยงต่อการด าเนินงานเพื่อให้ได้ผลงานตามงวดงาน และการเบิกเงินตามงวดงาน


29 กรณีส่งงำนครบตำม TOR แต่คุณภ ำพที่ได้ยังไม่ได้ ตำมที่เจ้ำของงำนต้องกำร ควรท ำ อย่ำงไร ตรวจรับงำนได้หรือไม่ ตอบ คณะกรรมการตรวจ รับพัสดุ ควรเร่งด าเนินการตรวจรับ ง านแล ะมีผลก า รป ร ะชุ ม ข อง คณะกรรมการตรวจรับพัสดุแจ้งไป ยังผู้รับงาน เพื่อให้ด าเนินการ ปรับปรุงคุณภาพของงาน ซึ่งการตรวจรับงานปกติจะอิงรายละเอียดตาม TOR เป็นหลัก ถ้ารายละเอียดของผลผลิต ครบตาม TOR สามารถตรวจรับได้ แต่คุณภาพเป็นอีกเรื่อง ยกเว้นก าหนดคุณภาพของงานไว้ใน TOR ด้วย สัญญำจ้ำงกับใบสั่งจ้ำงต่ำงกันอย่ำงไร ตอบ มีผลทางกฎหมายเหมือนกัน ใบสั่งจ้างระบุรายละเอียดน้อยกว่าสัญญาจ้าง หากการจ้างท าของ ถ้าหน่วยงานราชการให้ผู้รับจ้างลงนามในสัญญาจ้าง จะต้องมีการวางเงินประกันสัญญา แต่ถ้าเป็นใบสั่งจ้างไม่ต้อง วางเงินประกันสัญญา


30 กิจกรรม KM ครั้งที่ 4 วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม 2564 หัวข้อ “ภูมิปัญญาไทย SOFT POWER ที่ทรงพลังของชาติ” โดย นำงสำวณุตตรำ แทนข ำ นักวิชาการศึกษาช านาญการพิเศษ นำงสำวทัศน์วลัย เนียมบุบผำ นักวิชาการศึกษาช านาญการพิเศษ นำงสำวปิยะมำศ เมิดไธสง นักวิชาการศึกษาช านาญการพิเศษ ส านักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ เนื้อหาของกิจกรรม เกี่ยวกับการด าเนินงานของส านักงานเลขาธิการสภาการศึกษาด้านภูมิปัญญาไทย และโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชด าริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) รายละเอียดดังนี้ ภูมิปัญญาไทย กับ การดำเนินงานของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ในปี 2540 ด้วยกระแสของชุมชนที่แรงมาก ประกอบกับระบบการศึกษาที่ไม่ตอบโจทย์ จึงมีการทบทวน และสะท้อนว่า การศึกษาในระบบเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ควรมีการส่งเสริมการศึกษานอกระบบ การศึกษา เพื่ออาชีพ ตลอดจนภูมิปัญญาไทยมากขึ้น เพื่อเป็นหนึ่งในทางเลือกของการศึกษา ด้วยเหตุนี้ จึงมีการสรุป แบ่งประเภทและองค์ประกอบของภูมิปัญญาไทยส าหรับการศึกษา พัฒนา และต่อยอด ดังนี้ ประเภทของภูมิปัญญำไทย แบ่งออกเป็น 9 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านเกษตรกรรม (2) ด้านอุตสาหกรรม และหัตถกรรม (3) ด้านการแพทย์แผนไทย (4) ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (5) ด้านกองทุน


31 และธุรกิจชุมชน (6) ด้านศิลปกรรม (7) ด้านภาษาและวรรณกรรม (8) ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี (9) ด้าน โภชนาการ องค์ประกอบของภูมิปัญญำไทย ประกอบด้วย (1) เป็นเรื่องการใช้ความรู้ ทั้ง ทักษะ ความเชื่อ พฤติกรรม (2) มีการแสดง ถึงค ว ามสัมพัน ธ์ ร ะห ว่ าง คน -คน คนธรรมชาติ คน-สิ่งเหนือธรรมชาติ (3) มี องค์กร/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต (4) การแก้ไขปัญหา การจัดการ ปรับตัว เรียนรู้ เพื่อความอยู่รอดของชุมชนและสังคม (5) เป็นแกนหลักหรือกระบวนทัศน์ในการมอง ชี วิต เป็นพื้นคว ามรู้เ รื่ องต่ าง ๆ (6) มี ลักษณะเฉพาะ หรือเป็นเอกลักษณ์ในตัวเอง (7) มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อการปรับสมดุลใน การพัฒนาทางด้านสังคมอยู่ตลอดเวลา โดยสรุป ภูมิปัญญำไทย หมำยถึง องค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ ของการด าเนินชีวิต ของคนไทยที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ ผ่านกระบวนการคัดเลือก สร้างสรรค์ เรียนรู้ และสืบทอดต่อกันมา โดยภูมิปัญญาไทยช่วยเสริมสร้างคุณลักษณะ ที่ดีให้แก่สังคม เพื่อสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคงและสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ชาติ เป็นเกียรติศักดิ์ศรีของ การเป็นคนไทย ส ำหรับส ำนักงำนเลขำธิกำรสภำกำรศึกษำ มีการด าเนินงานด้านภูมิปัญญาไทยมาตั้งแต่ปี 2542 เป็นการ ด าเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรี ผ่านความเห็นชอบจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นการด าเนินการใน 4 ส่วน ได้แก่ (1) การน าภูมิปัญญาเข้าสู่การศึกษาของชาติ โดยเลือกสรรสาระและ กระบวนการเรียนรู้เข้าสู่ระบบการศึกษา ทั้งการศึกษาในโรงเรียน นอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย (2) การยกย่องและเชิดชูเกียรติครูภูมิปัญญาไทย เพื่อสนับสนุนให้มีบทบาทเสริมในการถ่ายทอดภูมิปัญญาเข้าไป ในการศึกษาทุกระดับ (3) การสนับสนุนการศึกษาวิจัยด้านภูมิปัญญา เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาให้หลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น และชุมชน และ (4) การจัดท าข้อมูลเกี่ยวกับ องค์กรเครือข่ายภูมิปัญญา ทั้งระดับท้องถิ่น ระดับชาติ


32 การด าเนินงานในส่วนที่ 2 “กำรยกย่องและเชิดชูเกียรติครูภูมิปัญญำไทย” ถือได้ว่าเป็น “แบรนด์ของ สภำกำรศึกษำ” ปัจจุบันมีครูภูมิปัญญาไทยทั้งสิ้น จ านวน 9 รุ่น ด าเนินการคัดเลือกครูภูมิปัญญาไทยตั้งแต่ปี 2544 – 2561 มีการคัดเลือกครูภูมิปัญญาไทย ซึ่งคือครูชาวบ้าน ครูนอกระบบ ผู้ที่มีคุณสมบัติ ได้แก่ (1) มีสัญชาติไทย (2) มีคุณธรรม จริยธรรม (3) มีความรู้ความสามารถในด้านหนึ่งด้านใดจาก 9 ด้าน (4) สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ เพราะหากครูเก่งอยู่ผู้เดียวโดยไม่สามารถถ่ายทอดได้ ย่อมไม่นับเป็นครูภูมิปัญญาไทย (5) ผลงานต้องเป็นประโยชน์ ต่อชุมชนและสังคม (6) ไม่เคยได้รับการประกาศยกย่องเป็นครูภูมิปัญญาไทยมาก่อน จากนั้น เมื่อได้รายชื่อครู ผู้ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกจะมีการจัดท าประกาศผู้ได้รับการแต่งตั้งหรือสรรหาคัดเลือก จัดพิธีมอบเครื่องหมายเชิดชู เกียรติ ได้แก่ ใบประกาศนียบัตร เข็มเชิดชูเกียรติรูปกระชังตาอ้อย (หมายถึงครูภูมิปัญญาไทย 9 ด้าน ท าจาก ทองค าแท้ เนื้อท าด้วยเงินแท้แสดงถึงคุณความดีของครู) บางปีมอบเงินสนับสนุนให้ครูเพื่อน าไปถ่ายทอด องค์ความรู้ต่อไป อย่างไรก็ดี พบจุดอ่อนของโครงกำรฯ คือ ครูส่วนใหญ่มีอายุมาก หลังการคัดเลือกเพียงไม่นานครูบางท่าน เสียชีวิต บางท่านยังไม่ได้มอบเข็มแต่ครูก็เสียชีวิต และเป็นประเด็นที่ สกศ. ควรกลับมาทบทวนและให้ความส าคัญ นอกจากนี้ สกศ. ไม่ใช่หน่วยปฏิบัติ แต่เป็นหน่วยนโยบาย งานภูมิปัญญาไทยจึงด าเนินการในลักษณะ pilot project คือ เป็นต้นทางและหน่วยงานอื่นเป็นผู้รับไปสานต่อ ตัวอย่างโครงการที่หน่วยงานอื่นรับไปสานต่อ อาทิ โครงการปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน เป็นโครงการฯ ที่น าหลักเกณฑ์จากโครงการภูมิปัญญาไทยในการคัดเลือก เกษตรกรดีเด่นเพื่อเข้ารับรางวัลในวันพืชมงคล โครงการปราชญ์ของส านักงานการศึกษานอกระบบ (กศน.) โครงการปราชญ์พอเพียงของ กปร. โครงการปราชญ์ความมั่นคงของ กอ.รมน. เป็นต้น ด้วยเหตุของการเป็น หน่วยงานต้นทาง การจะเกิดความยั่งยืนในเชิงปฏิบัติได้นั้น จ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยความร่วมมือจาก หน่วยงานปฏิบัติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งครูภูมิปัญญาไทยไม่มีเงินเดือน สกศ. จึงท าได้เพียงการจัดสรร สวัสดิการอื่น ๆ ให้แก่ครูภูมิปัญญาไทย ได้แก่ (1) การให้เงินรางวัลการเขียนงาน (2) การขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์


33 อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ให้แก่ครูภูมิปัญญาไทย เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนให้ครูภูมิปัญญาไทยสามารถ สร้างงาน สร้างคน และสร้างชาติได้อย่างต่อเนื่องสืบไป โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) และการดำเนินงานของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา โครงกำรอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมำจำกพระรำชด ำริสมเด็จพระเทพรัตนรำชสุดำฯ สยำมบรม รำชกุมำรี (อพ.สธ.) เริ่มขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2503 จาก การเสด็จไปยังที่ต่าง ๆ ของรัชกาลที่ 9 พบว่า ยางนาใกล้จะสูญพันธุ์ จึงมีพระประสงค์จะอนุรักษ์ ต้นยางนาและริเริ่มการปลูกที่สวนจิตรลดา ต่อมา ในปี พ.ศ. 2535 สมเด็จพระเทพฯ ทรงงานเพื่อ สานต่อพระราชปณิธานจนเป็น “โครงการอนุรักษ์ พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชด าริ” และมี พระกระแส รับสั่งในเ ริ่มต้นของก า รด าเนิน โครงการฯ ว่า “การรัก(ษ์)ทรัพยากร คือ การรักชาติ รักแผ่นดิน” กำรด ำเนินงำนของโครงกำร อพ.สธ. มีเป้ำหมำยเพื่อ (1) การพัฒนาบุคลากร หมายถึง ให้คนไทยได้ใช้ ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า (2) ให้ประชาชนเข้าใจและเห็นความส าคัญ เนื่องจากเมื่อเข้าใจ เห็นความส าคัญ ย่อมเห็นว่ามีคุณค่า เกิดการร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ และ (3) ให้มีระบบข้อมูลพันธุกรรมพืชที่ทุกภาคส่วน สามารถเข้าถึงได้ง่าย และมุ่งเน้นการด าเนินงาน 3 ฐาน คือ (1) ทรัพยากรชีวภาพ คือ สิ่งมีชีวิต (2) ทรัพยากร กายภาพ คือ สิ่งไม่มีชีวิต และ (3) ทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ในฐำนที่ 3 คือ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับงำนของ สกศ. คือ กำรคัดเลือกครูภูมิปัญญำไทยและพัฒนำฐำนข้อมูล ส าหรับหน่วยงานที่เข้าร่วมสนองพระราชด าริ ปัจจุบันมีมากถึง 204 หน่วยงาน แบ่งเป็น 10 กลุ่ม คือ G1-G10 สกศ. จัดอยู่ในกลุ่ม G2 คือ กลุ่มสร้างจิตส านึกใน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยกลุ่มนี้ ได้แก่ หน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการทั้งหมด และหน่วยงานอื่น ๆ มีกรอบการด าเนินงาน 3 กรอบ 8 กิจกรรม ได้แก่ กรอบที่ 1 การเรียนรู้ทรัพยากร กรอบที่ 2 การใช้ทรัพยากร กรอบที่ 3 การสร้างจิตส านึก ส าหรับ สกศ. อยู่ในบทบาทหน่วยงานสนองพระราชด าริฯ ในกิจกรรมที่ 7 และ 8 ผลงำนที่ผ่ำนมำภำยใต้กำรด ำเนินงำนโครงกำร อพ.สธ. ได้แก่ การจัดพิมพ์หนังสือ “ครูภูมิปัญญาไทย 5 ด้าน ผู้อารักษ์พันธุ์พืช” “ถอดบทเรียนสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน” โดยในปี 2563 มีการด าเนิน “โครงการถอดบทเรียน ต่อยอดการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านการอนุรักษ์ทรัพยากร วัฒนธรรมและภูมิปัญญา” บนพื้นฐาน “การต่อยอดอดีต” คือ การมองกลับไปที่รากเหง้าทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต ซึ่งหมายถึงภูมิปัญญา “การปรับปัจจุบัน”


34 คือ การน ารากเหง้ามาปูพื้นฐานสู่ปัจจุบัน “การสร้างคุณค่าใหม่” คือ การสร้างผู้ประกอบการ ด้วยแนวคิดนี้ จึงด าเนินการถอดบทเรียนครูภูมิปัญญาไทย 3 ท่าน ได้แก่ ครูจินดำ บุษสระเกษ ครูภูมิปัญญำไทย ด้ำนกองทุน ครูโดดเด่นเรื่องการสร้างเครือข่าย สามารถ สร้างเครือข่ายเพื่อยกระดับชุมชนให้พัฒนาขึ้นได้ ครูจินดา เป็นคนแรกที่ปลูกเฟื่องฟ้าแล้วขยายผลจนกระทั่งคนใน ชุมชนมีงานท า มีการคิดค้นเฟื่องฟ้าดัดหลากสีจนสามารถ สร้างมูลค่าการขายได้ถึง 15,000 – 150,000 บาท/ต้น มีการใช้เฟื่องฟ้าเป็นค าขวัญประจ าอ าเภอหนองบุญมาก อีกทั้ง ครูยังเป็นนักพัฒนา พัฒนาให้ชุมชนสามารถ ช่วยเหลือตนเอง สร้างรายได้จนชุมชนได้รับรางวัลและ การยกย่องจากหลายภาคส่วน ครูบุญเลิศ ไทยทัตกุล ครูโดดเด่นเรื่อง ควำมคิดริเริ่มสร้ำงสรรค์ เป็นบุคคลแรก ๆ ที่ริเริ่มการ ปลูกเห็ดหลินจือและได้เข้าถวายแด่สมเด็จพระเทพฯ ครูมี การพัฒนาต่อยอด พัฒนาเห็ดหลินจือให้เป็นอาหารเสริมที่ มีมูลค่า สามารถเพิ่มราคาได้ อาทิ เครื่องส าอาง มีการเปิด คลินิกรักษาโรคด้วยเห็ดหลินจือ มหาวิทยาลัย เว็บไซต์เพื่อขยายต่อองค์ความรู้ ครูนับได้ว่าเป็นตัวอย่างของ นักพัฒนา พัฒนาตนเองทุกยุคสมัย รวมถึงการเป็นผู้ประกอบการที่สร้างรายได้นับล้าน ครูมงคลชัย เสเล ครูโดดเด่นเรื่องการคิดค้นและประดิษฐ์เครื่องดึงหลังแบบพกพา และได้ จดอนุสิทธิบัตร เครื่องดึงหลังดังกล่าวสามารถช่วยคนที่มีอาการกระดูกทับเส้น ครูมีการพัฒนาเครื่องดึงหลัง อย่างต่อเนื่องตั้งแต่รุ่นที่ยึดติดกับเตียงผู้ป่วยไปจนถึงรุ่นที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ทั้งนี้ มีการขยายต่อองค์ความรู้จากโครงการฯ ให้แก่บุคลากรของ สกศ. ทั้งในแง่ของการอบรมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ อพ.สธ. การฝึกปฏิบัติจากครูภูมิปัญญาไทย เนื่องจากในความเป็นจริงแล้ว งาน อพ.สธ. เป็นงานภาพรวมของส านักงานฯ


35 ส ำหรับกำรด ำเนินงำนในปี 2564 ยังคงยึดแผนแม่บทระยะ 5 ปีที่หก และคงไว้ซึ่ง 4 กิจกรรมหลัก คือ (1) การถอดบทเรียน (2) การประชุม (3) การจัดท าฐานข้อมูล และ (4) การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ โดยกิจกรรม หลัก คือ การถอดบทเรียนผ่านการศึกษาวิจัย เพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มศักยภาพศูนย์การเรียนรู้ด้านเกษตรกรรม การอนุรักษ์ สืบสานทรัพยากรพื้นถิ่นอย่างยั่งยืน การถอดบทเรียนผ่านการศึกษาวิจัยดังกล่าว มีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นที่ปรึกษาด าเนินการถอดบทเรียนปัจจัยความส าเร็จ การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ฯ ของครู โดยมุ่งเน้น 3 ด้านหลัก ส าคัญ ได้แก่ (1) การต่อยอดอาชีพ (2) การพัฒนา อนุรักษ์พันธุกรรมพืช/ทรัพยากร (3) การถ่ายทอดองค์ ความรู้ การจัดการเรียนรู้ของครู ซึ่งครูที่ สกศ. คัดเลือก เพื่อศึกษาและถอดบทเรียน ได้แก่ (1) ครูสุทิน มีความ โดดเด่นเรื่องการแปรรูปไผ่ ครูจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ผ่าน แนวคิด “กินทุกอย่างที่ปลูก ปลูกทุกอย่างที่กิน” (2) ครูบุญลือ มีความโดดเด่นเรื่องการท าน้ าหมักชีวภาพ ครูจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงส าหรับผู้คน ทั่วไปได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ รวมถึงการบ าบัดเยาวชนที่ ติดยาเสพติดด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (3) ครู พิมพำ มีความโดดเด่นเรื่องข้าว มีการปลูก พัฒนาจนมี มาตรฐาน และส่งออกไปยังต่างประเทศ (4) ครูดอเลำะห์ มีความโดดเด่นด้านเกษตรกรรม ศูนย์การเรียนรู้ฯ ของ ครูมีการปลูกผลไม้ที่หลากหลายทั้งสละอินโด ทุเรียน สามขา เป็นต้น จากการศึกษา วิจัย และถอดบทเรียนพบว่า ครูทุกท่านเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต มีทักษะของการเรียนรู้ ด้วยตนเอง ซึ่งขั้นตอนการเรียนรู้ด้วยตนเองของครู ได้แก่ (1) ตั้งจุดมุ่งหมาย สร้างแรงจูงใจในสิ่งที่ท า (2) พัฒนา ไปให้ถึง (3) ประเมิน และ (4) ปรับเปลี่ยนและพัฒนา อีกทั้งครูทุกท่านยังเป็นต้นแบบของผู้น าการเปลี่ยนแปลง ผู้พัฒนาด้วยหลักคิด กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีการสรุปองค์ความรู้ พัฒนาศูนย์การเรียนรู้เพื่อถ่ายทอด องค์ความรู้อย่างครบวงจร (ทั้งการเป็นแหล่งผลิต แปรรูป และตลาด) บนพื้นฐานหลักคิดของเศรษฐกิจพอเพียง อย่างไรก็ดี จากการศึกษาวิจัยมีการจัดท าข้อเสนอเพื่อการพัฒนาไว้ ได้แก่ ควรพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ศูนย์การเรียนรู้ฯให้มากขึ้น ศูนย์การเรียนรู้ฯ ควรเป็นแหล่งให้ค าปรึกษา ฝึกอบรม ผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตลอดจนมีการน าเทคโนโลยีมาใช้ หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นแหล่งเรียนรู้ทรัพยากรการเกษตร นอกจากนี้ ควรมีการ พัฒนาศูนย์การเรียนรู้ฯเฉพาะด้าน และภาครัฐควรให้การสนับสนุนด้านเทคโนโลยีในการจัดอบรม รวมทั้งการให้


36 ความรู้ควรเป็นแบบ 2 ทาง คือ ครูมีเครือข่าย ครูสอนเครือข่าย เครือข่ายกลับมาสอนและพัฒนาให้ครูมีความรู้ใหม่ เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ในปี 2564 ยังมีการจัดพิมพ์หนังสือเล่มเล็ก เป็นหนังสืออ่านง่าย รวมถึงการ พัฒนาฐานข้อมูลซึ่งเริ่มต้นจาก 4 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านเกษตรกรรม (2) ด้านอุตสาหกรรม (3) ด้าน การแพทย์แผนไทย (4) ด้านการ จัดก า รทรัพย ากรธ ร รมช าติ มีการประชุมคณะท างาน การ เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ใน รูปแบบต่าง ๆ เป็นต้น ส ำหรับในปี 2565 มีกำรด ำเนินกิจกรรม ได้แก่ กิจกรรม ส่งเสริมจิตส านึกอนุรักษ์ทรัพยากร วัฒนธรรม และภูมิปัญญา: กรณีศึกษา สมุนไพรพื้นบ้านที่เป็นอัตลักษณ์พื้นถิ่น ในปีนี้มีการ ด าเนินการด้านแพทย์แผนไทย ซึ่งเกิดจากแนวคิดที่ว่า มีพืชหลาย ชนิดที่สูญหายไป อีกทั้ง มีการพัฒนาฐานข้อมูลซึ่งต่อเนื่องจากปี 2564 ที่ได้มีการพัฒนาแล้ว 4 ด้าน และยังเหลืออีก 5 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านกองทุนฯ (2) ด้านศิลปกรรม (3) ด้านภาษาและวรรณกรรม (4) ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี (5) ด้านโภชนาการ มีการจัด ประชุมคณะท างานฯ การเข้าร่วมจัดนิทรรศการ การจัดพิมพ์หนังสือ เขียนบทความ เป็นต้น ในอนำคต (ปี 2566) จะด าเนินการด้าน ท รั พ ย า ก ร ธ ร ร ม ช า ติ เ รื่ อง ก า ร ป ลู ก จิ ต ส า นึ ก อ นุ รั ก ษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ ควบคู่กับการเสริมสร้างทักษะการด ารงชีวิตใน ศตวรรษที่ 21 ของปราชญ์ชาวบ้าน สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ท าให้ต้องกลับมา ทบทวนถึงวิถีในการด ารงชีวิตของคนเมืองใหม่ การปรับตัว การมีทักษะชีวิตโดยถอดบทเรียนจากครูภูมิปัญญาไทย


37 กิจกรรม KM ครั้งที่ 5 วันจันทร์ที่ 4 เมษายน 2565 หัวข้อ “FUTURE EDUCATION” โดย นำยพริษฐ์ วัชรสินธุ (คุณไอติม) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท เอ็ดดูเคชั่น เทคโนโลยี จ ากัด เนื้อหาของกิจกรรม ได้แก่ ปัญหาพื้นฐานของการศึกษา การสรุปปัญหาด้วยโมเดล SCHOOL การน าหลัก 6 Key Shift ไปสู่การปฏิบัติสรุปบทบาทของเทคโนโลยีที่มีต่อการศึกษา รายละเอียดดังนี้ ปัญหาพื้นฐานของการศึกษา คุณพริษฐ์ วัชรสินธุ (คุณไอติม) น าเสนอปัญหาพื้นฐานของการศึกษา เกิดจาก 3 ปัจจัย ได้แก่ ปัญหำ คุณภำพกำรศึกษำที่โรงเรียนไม่สามารถเป็นพื้นที่ปลอดภัยในการค้นพบตนเอง สร้างทักษะแห่งอนาคต และ สนับสนุนทัศนคติการเรียนรู้ตลอดชีวิต ปัญหำกำรเข้ำถึงกำรศึกษำอย่ำงเท่ำเทียมใน 3 ด้านทั้งการได้รับการศึกษา โดยไม่มีค่าใช้จ่าย คุณภาพระหว่างโรงเรียน และการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ ปัญหำวัฒนธรรมประชำธิปไตย ในโรงเรียน อาทิ การเข้าแถวซื้ออาหารกลางวัน การแสดงความคิดเห็นของผู้เรียนในห้องเรียน เป็นต้น ปัญหำคุณภำพกำรศึกษำ จากประเด็น “ท าไมต้องมีการศึกษา ท าไมต้องเรียนในโรงเรียน” ในอดีต การศึกษาคือการหล่อหลอมขัดเกลาผู้เรียน โดยกระบวนการดังกล่าวกระท าผ่านโรงเรียนซึ่งเป็นองค์กรของการ ให้ความรู้ การให้การศึกษาเรียนรู้ หล่อหลอมขัดเกลา โดยผู้เรียนได้ฝึกฝน รับความรู้ ประสบการณ์ต่าง ๆ จากการ ถ่ายทอดของครูผู้สอน แต่ปัจจุบันสภาพแวดล้อมและบริบทในสังคมเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต การศึกษาหาความรู้ ในเรื่องต่าง ๆ ไม่ได้ยึดโยงอยู่ที่โรงเรียนแต่เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป การค้นหาองค์ความรู้ต่าง ๆ เป็นสิ่งที่สามารถ ค้นหาได้หลากหลายช่องทาง จากการเกิด Technology Disruption จึงก่อให้เกิดการทบทวนบทบาทการมีอยู่ของ โรงเรียน และการจัดการศึกษาในโรงเรียนปัจจุบันว่า โรงเรียนควรเป็นพื้นที่ปลอดภัยในการค้นพบตัวเอง การสร้าง ทักษะแห่งอนาคต และการสนับสนุนทัศนคติการเรียนรู้ตลอดชีวิต


38 โรงเรียนควรเป็นพื้นที่ปลอดภัยในกำรค้นพบตัวเอง: โรงเรียนในปัจจุบันไม่สามารถท าให้ ผู้เรียนค้นพบตัวเอง จากปัญหาการมุ่งเน้นการเรียน บังคับจ านวนวิชา จ านวนชั่วโมงเรียน จ านวนหน่วยกิต และ การท าการบ้านที่มากเกินไป หากเปรียบเทียบการศึกษาของประเทศไทยกับต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น พบว่า เด็กไทยอายุ 11 ปี เรียน 1200 ชั่วโมง/ปี ในขณะประเทศญี่ปุ่น เด็กอายุ 11 ปี เรียน 761 ชั่วโมง/ปี เมื่อพิจารณา จากจ านวนชั่วโมงเรียนของผู้เรียนไทยกลับไม่สอดคล้องกับประสิทธิภาพที่ผู้เรียนจะต้องได้รับจากการศึกษา ทั้งจาก คะแนนวัดประเมินผล PISA ของไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง การใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารของไทยอยู่ในอันดับที่ 89/100 ของโลก และ 7/8 ของ ASEAN ตลอดจนความสนใจในรายวิชาที่ถนัดลดลง ความเครียดจากการเรียนใน โรงเรียน และปัญหาค่านิยมทางสังคมที่ก าหนดทิศทางการศึกษาไม่รองรับความหลากหลายหรือความถนัดส าหรับ สังคมยุคใหม่ กำรสร้ำงทักษะแห่งอนำคต: ในอดีตโรงเรียนจะช่วยสร้างทักษะด้านต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียนเพื่อ เข้าสู่ตลาดแรงงาน แต่ในปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยหรือการ Disruption ที่เน้นการน าความรู้ มุมมอง ในด้านต่าง ๆ มาพัฒนา ปรับประยุกต์ใช้ในการท างาน การเข้ามาถึงของเทคโนโลยีถือเป็นการ Disrupt ที่เพิ่ม ช่องทางที่หลากหลายในการเข้าถึงองค์ความรู้ เสริมสร้างทักษะผู้เรียนในด้านต่าง ๆ ได้ นอกเหนือจากการเรียนใน โรงเรียน ดังนั้น การศึกษาในโรงเรียนหรือการศึกษาในระบบจึงต้องปรับให้ช่วยสร้างทักษะแห่งอนาคตที่จ าเป็น ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการเห็นอกเห็นใจ ฯลฯ กำรสนับสนุนทัศนคติกำรเรียนรู้ตลอดชีวิต: โรงเรียนควรจัดกระบวนการที่สนับสนุน การสร้างทัศนคติการเรียนรู้ตลอดชีวิต เนื่องจากการเกิด Disruption ของเทคโนโลยีที่น ามาประยุกต์ใช้ในการ ท างาน เกิดการใช้เทคโนโลยีทดแทนก าลังแรงงานในสายวิชาชีพและในอาชีพที่ไม่คาดคิด เช่น การวิเคราะห์/ ประมวลผล Suggestion สู่ Recommendation โดยใช้ AI ซึ่งมีความแม่นย าและไม่เกิดข้อผิดพลาดอย่างในมนุษย์ แต่ในบางอาชีพยังคงต้องการก าลังของมนุษย์เช่นในงานประชาสัมพันธ์ การแสดงออกถึงมนุษย์สัมพันธ์ หรือ Soft Power เป็นสิ่งที่ AI ยังไม่สามารถทดแทนการท างานได้ ดังนั้น โรงเรียนจะต้องส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนสร้าง ทัศนคติการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาตนเอง ในทักษะที่หุ่นยนต์ท าไม่ได้ ได้แก่ ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะ การสื่อสาร ทักษะการเป็นผู้น า ทักษะการท างานเป็นทีม และทักษะการเห็นอกเห็นใจ การศึกษาในปัจจุบันจะต้อง ลดการตีกรอบ อย่าให้กระบวนการเรียนรู้ของการจัดการศึกษาในระบบท าลายการเรียนรู้ในตัวผู้เรียน ซึ่งการศึกษา ในโรงเรียนจะต้องปรับหรือพัฒนาการส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียนและการแสวงหาความรู้ของผู้เรียน ปัญหำกำรเข้ำถึงกำรศึกษำอย่ำงเท่ำเทียม ปัจจุบันพบปัญหาของการเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียม ทั่วถึง 3 เรื่อง คือ ปัญหาการได้รับการศึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ปัญหาความเหลื่อมล้ าทางด้านคุณภาพระหว่าง โรงเรียน และ ปัญหาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ


39 ปัญหำกำรได้รับกำรศึกษำโดยไม่มีค่ำใช้จ่ำย: ปัญหาคือ ผู้เรียนยังคงต้องจ่ายค่าใช้จ่าย อันเกิดจากการศึกษา นโยบายการให้ผู้เรียนทุกคนได้รับการศึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่ายยังเป็นนโยบายที่ไม่ครอบคลุม ค่าใช้จ่ายในการเรียนทั้งหมด โดยมีแค่ค่าใช้จ่ายที่รัฐสนับสนุนให้ผู้เรียน ได้แก่ ค่ำเครื่องแบบ (ค่าใช้จ่ายที่รัฐ สนับสนุนสามารถซื้อได้เพียง 1 ชุด) ค่ำหนังสือเรียน (รัฐจัดซื้อจากส านักพิมพ์จัดส่งให้โรงเรียนส าหรับแจก เด็กนักเรียน) ค่ำอุปกรณ์กำรเรียน อาทิ ดินสอ ปากกา สมุดเรียน สมุดศิลปะ สมุดจดการบ้าน ฯลฯ (ค่าใช้จ่ายที่รัฐ สนับสนุน ระดับประถมศึกษา จ านวน 195 บาท/เทอม ระดับมัธยมศึกษา จ านวน 210 บาท/เทอม ซึ่งไม่เพียงพอ ต่อค่าใช้จ่ายตามจริงในการศึกษา) ค่ำใช้จ่ำยที่รัฐสนับสนุน ผู้ปกครองก็ยังคงต้องใช้จ่ายเพิ่มอยู่ดี นอกจากนี้ยังมี ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ซึ่งผู้ปกครองแบกรับภาระค่าใช้จ่ายเอง รวมทั้งวิกฤติโรคระบาดโควิด-19 ส่งผลให้ เกิดปัญหาเด็กหลุดจากระบบการศึกษามากขึ้น อันเนื่องมาจากปัญหาการตกงานของผู้ปกครอง ปัญหาการย้ายถิ่นฐาน ปัญหำควำมเหลื่อมล้ ำทำงด้ำนคุณภำพระหว่ำงโรงเรียน: คุณภาพการจัดการศึกษาของ โรงเรียนในประเทศไทยไม่เท่ากัน ต่างจากต่างประเทศที่โรงเรียนที่จัดการศึกษามีคุณภาพไม่แตกต่างกัน ในประเทศ ไทยโรงเรียนขนาดเล็กกับโรงเรียนขนาดใหญ่มีคุณภาพการจัดการศึกษาไม่เท่ากัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระบบ สาธารณูปโภค อุปกรณ์การจัดการเรียนการสอน ทรัพยากรทางการศึกษาอื่น ๆ ฯลฯ ส่งผลต่อค่านิยมและการเข้าเรียน ในโรงเรียนที่เด็กนักเรียนและผู้ปกครองมักจะเลือกเข้าเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงมากกว่าโรงเรียนขนาดเล็ก ใกล้บ้าน ซึ่งปัญหาดังกล่าวถือเป็นปัญหาความเหลื่อมล้ าของคุณภาพโรงเรียนที่แตกต่างกันและยังไม่สามารถ แก้ปัญหาได้ในภาพรวม ปัญหำกำรจัดกำรศึกษำไม่มีคุณภำพ: โรงเรียนส่วนใหญ่ประสบปัญหาเรื่องการจัดการศึกษา ที่มีคุณภาพด้วยข้อจ ากัดหลายประการ ปัญหาการจัดการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพของโรงเรียนจึงส่งผลให้เด็กต้อง ขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติมจากช่องทางอื่น ๆ เช่น เรียนเพิ่มเติมจากโรงเรียนกวดวิชาเพื่อสอบเข้าศึกษาต่อใน ระดับมหาวิทยาลัยหรือหลักสูตรส าคัญอื่น ๆ ซึ่งปัญหาการจัดการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพสะท้อนให้เห็นถึง ความล้มเหลวของการจัดการศึกษาในโรงเรียนปัจจุบัน ต่อการขวนขวายหาความรู้เพิ่มทางการการศึกษา การเรียน ในโรงเรียนกวดวิชาเพื่อแข่งขันต่อการเข้าการศึกษา (มีเงิน = มีโอกาสมากขึ้น) สะท้อนความเหลื่อมล้ าและ ความล้มเหลวในคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนในปัจจุบัน ปัญหำวัฒนธรรมประชำธิปไตยในโรงเรียน: ความเป็นประชาธิปไตยในโรงเรียนปัจจุบันไม่ได้จ ากัด อยู่แค่เพียงวิชาการในห้องเรียน แต่แทรกซึมในทุกภาคส่วนของโรงเรียน เช่น การเข้าแถวซื้ออาหารกลางวัน ขนม ผลไม้ที่เด็กนักเรียนต้องเข้าแถวเพื่อซื้อ ขณะที่ครูสามารถเดินเข้ามาซื้อที่ร้านค้าได้เลยโดยไม่ต้องเข้าแถว การแสดงความคิดเห็นของผู้เรียนในห้องเรียน การเปิดโอกาสให้เด็กนักเรียนได้แสดงออกทางความคิดที่โรงเรียน มักไม่เปิดโอกาสให้เด็กได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น หรือแสดงความคิดเห็นภายใต้กรอบที่จ ากัด จึงเกิดเป็นค าถาม ถึงความเป็นประชาธิปไตยในโรงเรียน


Click to View FlipBook Version