The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แผนการเรียนรู้เพศวิถีและสัมพันธภาพศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Talanueaschool, 2022-06-07 08:25:37

แผนการเรียนรู้เพศวิถีและสัมพันธภาพศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

แผนการเรียนรู้เพศวิถีและสัมพันธภาพศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

แผนการเรยี นรู้

เพศวิถีและสมั พันธภาพศกึ ษา

ชน้ั ประถมศึกษาปที ี่ ๕

แผนการเรียนรู้เพศวถิ ี
และสัมพันธภาพศึกษา ช้ันประถมศึกษาปีที่ ๕

ISBN 978-616-7993-04-1

พิมพ์ครัง้ ที่ ๑ ๕๐๐ เล่ม
จำ� นวน
พัฒนาตน้ ฉบบั โดย มลู นธิ ิแพธทูเฮลท์
๓๗/๑ ซ.เพชรบุรี ๑๕ ถ.เพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทรศพั ท์ ๐๒-๖๕๓-๗๕๖๓-๕ โทรสาร ๐๒-๖๕๓-๗๕๖๖
เว็บไซต์ www.path2health.or.th/
สนบั สนนุ การจดั พมิ พโ์ ดย สาํ นักงานกองทนุ สนบั สนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
รปู เลม่ วฒั นสินธ์ุ สุวรัตนานนท์
พมิ พท์ ่ี บริษทั มาตา จ�ำกัด

มูลนิธิแพธทูเฮลท์ ยินดใี ห้มกี ารเผยแพรเ่ อกสารนอ้ี ยา่ งแพรห่ ลายต่อไป อย่างไรก็ตาม หากบุคคล
หรือหน่วยงานใดต้องการน�ำเน้ือหาจากเอกสารนี้ไปใช้อ้างอิงในเอกสาร หรือสื่ออ่ืนๆ ขอความ
กรณุ าอา้ งองิ ที่มาของข้อความนนั้ ตามมาตรฐานสากลดว้ ย ขอบพระคณุ ยิ่ง

คาํ ชแ้ี จง

คู่มือครู : แผนการเรยี นรเู้ พศวิถแี ละสัมพนั ธภาพศึกษา
ชั้นประถมศึกษาปที ่ี ๔-๖

มูลนิธิแพธทูเฮลท์ (path2health foundation-p2h) โดยการสนับสนุนของสํานักงาน
กองทุนสนบั สนนุ การสร้างเสริมสขุ ภาพ (สสส.) ไดด้ าํ เนินโครงการพฒั นาหลักสูตรและนําร่อง
เพศวถิ ีศกึ ษาในโรงเรียนประถมศึกษา ๑๐ จงั หวดั คอื เชยี งราย เชียงใหม่ นครสวรรค์ เลย
ชัยภูมิ มหาสารคาม กระบี่ สตลู นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ในระยะเวลา ๒ ปี ๖ เดอื น
(พฤศจิกายน ๒๕๕๙ - เมษายน ๒๕๖๒) มีวตั ถปุ ระสงคเ์ พอื่
๑. พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรการเรียนรู้เพศวิถีศึกษาในระดับประถมศึกษาที่มี
ประสทิ ธิภาพ
๒. คน้ หารปู แบบการจดั การของสถานศกึ ษาในการนาํ หลกั สตู รเพศวถิ ศี กึ ษาลงสกู่ ารปฏบิ ตั ิ
อย่างมปี ระสิทธิผลในสถานศึกษา (ตามรายละเอียดโครงการในภาคผนวก)
ทงั้ นี้ มสี ถานศกึ ษาในสงั กดั สาํ นกั งานเขตพนื้ ทก่ี ารศกึ ษาประถมศกึ ษา (สพป.) สาํ นกั งาน
คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วน
ท้องถนิ่ (อปท.) รวมทงั้ หมด ๕๖ โรงเรียนจาก ๑๐ จังหวดั ที่เขา้ ร่วมโครงการ
มูลนิธิ p2h จึงได้พัฒนา “คู่มือครู : แผนการเรียนรู้เพศวิถีและสัมพันธภาพศึกษา”
สาํ หรบั ครทู ผี่ า่ นการอบรมเตรยี มความพรอ้ ม เพอ่ื เปน็ ผจู้ ดั กระบวนการเรยี นรเู้ รอ่ื งเพศวถิ ศี กึ ษา
สําหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีท่ี ๔-๖ โดยมีกรอบเน้ือหาที่เน้นการทําความเข้าใจเรื่อง
เพศวถิ ศี กึ ษาแบบรอบดา้ นในหกมติ ิ ไดแ้ ก่ ๑) พฒั นาการของมนษุ ย์ ๒) สมั พนั ธภาพ ๓) ทกั ษะ

ส่วนบุคคล ๔) พฤตกิ รรมทางเพศ ๕) สุขภาพทางเพศ ๖) สังคม และวัฒนธรรม ซ่งึ สอดคลอ้ ง
กบั แนวคดิ ใน “คมู่ อื แนวทางการจดั การเรยี นการสอนเพศวถิ ศี กึ ษา” ทส่ี าํ นกั งานคณะกรรมการ
การศกึ ษาขนั้ พนื้ ฐาน (สพฐ.) กาํ หนดใหส้ ถานศกึ ษาดาํ เนนิ การตามพระราชบญั ญตั กิ ารปอ้ งกนั
และแก้ไขปัญหาการต้ังครรภใ์ นวัยรุน่ พ.ศ. ๒๕๕๙
แผนการเรยี นรฯู้ ฉบบั นป้ี ระกอบดว้ ยแผนการเรยี นรู้ ภาคเรยี นละ ๘ แผน (ปลี ะ ๑๖ แผน)
สําหรับแต่ละระดับช้ัน ซ่ึงได้ผ่านข้ันตอนการพัฒนาและทดลองใช้ในห้องเรียนท่ีมีบริบท
แตกตา่ งกนั รว่ มกับคณะครูที่เข้าร่วมโครงการ ผ่านการปรับปรุงให้ไดแ้ ผนการเรยี นร้ทู มี่ คี วาม
สมบรู ณ์ มลู นิธิ p2h ขอขอบคุณคณะผบู้ รหิ ารและครจู ากสถานศกึ ษาท่ีรว่ มโครงการเป็นอย่าง
ยง่ิ ทม่ี ีส่วนรว่ มในการพฒั นาแผนการเรียนร้ฉู บบั น้ี เพอ่ื น�ำไปใชป้ ระโยชนใ์ นวงกวา้ งตอ่ ไป และ
มูลนธิ ิ p2h ยังยินดีรับฟงั ความเห็นตอ่ การพัฒนาแผนการเรียนรูฉ้ บับนี้เพมิ่ เติม

มลู นิธิแพธทเู ฮลท์ (p2h)
๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๑

สารบัญ ๓

คาํ ช้ีแจง ๔๓
กระบวนการพฒั นาหลักสูตรเพศวิถแี ละสมั พนั ธภาพศึกษา ระดบั ประถมฯ ๔๗
บทสรุปจากงานวิจยั ในชนั้ เรียน ๕๗
แนวทางการจดั การเรยี นรเู้ พศวถิ แี ละสัมพันธภาพศึกษา ๖๕
แผนการเรียนรทู้ ี่ ๑ “มีดี มีพลัง” ๗๐
แผนการเรยี นรู้ที่ ๒ “เรอ่ื งวุ่นๆ ของวัยรุน่ ๑” ๗๕
แผนการเรยี นรู้ท่ี ๓ “เรื่องว่นุ ๆ ของวยั ร่นุ ๒” ๘๑
แผนการเรยี นรทู้ ี่ ๔ “ความสัมพนั ธด์ ี-ไม่ดี” ๘๗
แผนการเรียนรทู้ ่ี ๕ “มากกวา่ เพ่อื น” ๙๗
แผนการเรียนรู้ท่ี ๖ “ส่อื สารชดั เจน” ๑๐๕
แผนการเรยี นรทู้ ี่ ๗ “เรอื่ งแบบนมี้ ีโอกาสเกิดข้นึ กับฉันไหม ?” ๑๑๓
แผนการเรียนรู้ท่ี ๘ “ความปลอดภยั ต่อรองไม่ได”้ ๑๒๑
แผนการเรยี นรู้ที่ ๙ “Helping Hands : ฉนั ช่วยได”้ ๑๒๙
แผนการเรยี นรทู้ ี่ ๑๐ “รู้จกั ไวรัสเอชไอวี และเอดส”์ ๑๓๕
แผนการเรยี นรทู้ ี่ ๑๑ “กลา้ คดิ กล้าบอก และคดิ กอ่ นพูด” ๑๔๗
แผนการเรียนรู้ท่ี ๑๒ “ยนิ ยอม พรอ้ มใจ” ๑๕๙
แผนการเรียนรทู้ ่ี ๑๓ “ชายสีฟา้ หญงิ สชี มพู ?” ๑๖๗
แผนการเรยี นรู้ท่ี ๑๔ “ฉันเคยได้ยนิ วา่ ..” ๑๗๕
แผนการเรยี นรูท้ ่ี ๑๕ “ความสมั พันธ์และเพศสัมพนั ธ”์
แผนการเรยี นรู้ที่ ๑๖ “ทอ้ ง และเพศสัมพันธ์ : คดิ ก่อนท�ำ”

ภาคผนวก ๑๘๘
๑. แนวคดิ หลกั ในการพัฒนาการเรียนรเู้ รื่อง “เพศวิถีศึกษา” ของ SIECUS ๑๙๑
๒. แนวคิดหลักในการพัฒนาการเรียนรู้เรือ่ ง “เพศวถิ ศี กึ ษา” ของ UNESCO ๑๙๔
๓. เพศวถิ ศี ึกษา: Key messages ๑๙๙
๔. สรุปยอ่ โครงการฯ ๒๐๘
๕. รายช่อื ผรู้ ่วมพัฒนาหลักสตู รฯ ๒๑๐
๖. รายชื่อสถานศกึ ษาทีเ่ ข้ารว่ มโครงการฯ

กระบวนการพัฒนาหลกั สูตร

เพศวถิ ีและสัมพันธภาพศกึ ษา

ระดับประถมศกึ ษาตอนปลาย (ป.๔-๖)

(พฤศจิกายน ๒๕๕๙-เมษายน ๒๕๖๒)
วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๙ ประเทศไทยมีการบังคับใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)
การป้องกันและแก้ไขปัญหาการต้ังครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.๒๕๕๙ เพื่อจัดการสถานการณ์การต้ัง
ครรภใ์ นวัยรุน่ ท่เี พมิ่ ขึน้ อย่างต่อเนอ่ื งในทศวรรษท่ีผา่ นมา
โดย มาตรา ๖ ระบุให้ (๑) ให้สถานศึกษาจัดให้มีการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษาให้
เหมาะสมกบั ชว่ งวยั ของนักเรียน หรือนกั ศึกษา (๒) จัดหาและพัฒนาผสู้ อนใหส้ ามารถสอนเพศ
วิถีศึกษาและให้ค�ำปรึกษาในเรื่องการแก้ไขและป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่นแก่นักเรียน หรือ
นักศึกษา อีกทั้ง มาตรา ๕ ยงั รับรองสิทธิทางเพศและอนามยั เจริญพนั ธุ์ของวยั รุ่น ตงั้ แต่สทิ ธิ
ตัดสินใจด้วยตนเอง สิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารและความรู้ และสิทธิในการได้รับการจัด
สวัสดกิ ารสงั คมอย่างเสมอภาคและไมถ่ ูกเลอื กปฏิบตั ิ
ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐-
๒๕๖๙ ท่ีถกู จัดท�ำขึ้นตาม พ.ร.บ.การป้องกันและแกไ้ ขปัญหาการตัง้ ครรภใ์ นวัยรนุ่ พ.ศ.๒๕๕๙
มีวสิ ัยทศั น์ คอื
“วัยรุ่นมคี วามรู้ด้านเพศวถิ ีศึกษา มที ักษะชีวติ ท่ดี ี
สามารถเข้าถงึ บริการอนามัยเจริญพนั ธุ์ทีเ่ ป็นมติ ร เป็นส่วนตวั
รกั ษาความลับ และได้รบั สวัสดกิ ารสังคมอยา่ งเสมอภาค”
แผนยุทธศาสตร์ของการแก้ไขปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์ของประเทศ มีเป้าหมายส�ำคัญคือ
ภายในปี ๒๕๖๙ จะลดอตั ราการคลอดมชี พี ของแมว่ ยั รนุ่ อายุ ๑๐-๑๔ ปี ไมเ่ กนิ ๐.๕ ตอ่ ประชากร
หญงิ อายุ ๑๐-๑๔ ปี ๑,๐๐๐ คน (ข้อมลู ปี ๒๕๕๙ อยทู่ ี่ ๑.๔) และการคลอดมชี ีพของแมว่ ยั ร่นุ
อายุ ๑๕-๑๙ ปี ไมเ่ กิน ๒๕ คน ต่อประชากรหญงิ อายุ ๑๕-๑๙ ปี ๑,๐๐๐ คน (ข้อมูลปี ๒๕๕๙
อยู่ท่ี ๔๒.๕) โดยขับเคลอื่ นผ่านยุทธศาสตร์หลัก ๕ ขอ้ ซ่งึ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ คือ การพฒั นาระบบ
การศกึ ษาทสี่ ง่ เสรมิ การเรยี นรดู้ า้ นเพศวถิ ศี กึ ษาและทกั ษะชวี ติ ทม่ี คี ณุ ภาพ และมรี ะบบการดแู ล
ชว่ ยเหลอื นกั เรียนทเี่ หมาะสม มหี น่วยงานทร่ี บั ผิดชอบหลกั คือ กระทรวงศึกษาธกิ าร

เม่ือประกาศเป็น พ.ร.บ. แปลว่าเป็นหน้าท่ีตามกฎหมายของโรงเรียนที่ต้องจัดให้มี
การเรยี นรเู้ พศวถิ ีศกึ ษาและทกั ษะชวี ติ ในหลกั สตู รสถานศกึ ษา และมคี รูทส่ี ามารถสอนได้อย่าง
มปี ระสิทธภิ าพ เพอื่ ใหเ้ ดก็ ไดร้ บั ข้อมูล ขา่ วสารและความรูต้ ามสิทธิทางเพศและอนามยั เจริญ
พนั ธข์ุ องวยั รนุ่ สว่ นกระทรวงศกึ ษาธกิ ารมหี นา้ ทกี่ �ำกบั ตดิ ตาม สนบั สนนุ ใหส้ ถานศกึ ษาทกุ แหง่
ด�ำเนินการไดอ้ ยา่ งมปี ระสิทธภิ าพ
8

เรมิ่ ตน้ พัฒนาหลักสตู รเพศวถิ ีศกึ ษา
ระดบั ประถมศกึ ษา

จากวาระแหง่ ชาตใิ นปี ๒๕๕๓ การปอ้ งกนั และแกไ้ ขปญั หาเดก็ และเยาวชนตงั้ ครรภไ์ ม่
พรอ้ ม เปน็ ภารกจิ ทหี่ ลายหนว่ ยงานใหค้ วามส�ำคญั จนกระทงั่ การประกาศใช้ พ.ร.บ.การปอ้ งกนั
และแกไ้ ขปัญหาการตงั้ ครรภ์ในวยั รนุ่ พ.ศ.๒๕๕๙ ซ่งึ มผี ลบังคับใชต้ ้ังแตก่ ารประกาศเมือ่ วันท่ี
๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๙
หากยดึ ตาม พ.ร.บ. ดงั กลา่ ว สถานศกึ ษาทกุ แหง่ ตอ้ งจดั การเรยี นการสอนเพศวถิ ศี กึ ษา
ตามกฎหมาย แตเ่ รอื่ งแบบนี้ ไม่สามารถเกดิ ขึน้ ช่วั ข้ามวนั ประกาศใช้ พ.ร.บ. ทีผ่ า่ นมาบทเรยี น
ขององคก์ าร PATH/มลู นธิ แิ พธทเู ฮลท์ (P2H) และภาคเี ครอื ขา่ ยทรี่ ว่ มกนั ทงั้ ผลกั ดนั และสนบั สนนุ
ให้โรงเรียนจัดการเรียนรู้เพศวิถีศึกษามากว่าสิบปี๑ ท้ังพัฒนาหลักสูตร เตรียมความพร้อมครู
ผลักดันนโยบายและท�ำความเข้าใจให้กับผู้บริหารในทุกระดับให้สนับสนุน พัฒนาส่ือประกอบ
การจดั การเรยี นรแู้ ละกจิ กรรมนอกหอ้ งเรยี นส�ำหรบั เยาวชน รณรงคส์ าธารณะ รวมถงึ สรา้ งความ
เข้าใจกบั พอ่ แมผ่ ู้ปกครอง แต่สิ่งทอ่ี ยากเหน็ ก็ยงั ไม่เกดิ ข้ึน
เม่ือกระทรวงศึกษาธิการ และส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน (สพฐ.)
เรมิ่ ด�ำเนนิ งานตาม พ.ร.บ. เพราะตอ้ งก�ำกบั ใหส้ ถานศกึ ษาทกุ แหง่ ในสงั กดั จดั การเรยี นรเู้ พศวถิ ี
ศกึ ษาใหเ้ ยาวชน รวมทง้ั ระดบั ประถมศกึ ษาดว้ ย แตน่ บั ไดว้ า่ ยงั ไมม่ หี ลกั สตู รและแผนการจดั การ
เรยี นรเู้ พศวถิ ศี กึ ษาระดบั ประถมศกึ ษา ทพี่ อจะเปน็ แนวทางและเครอื่ งมอื ใหโ้ รงเรยี นน�ำไปด�ำเนนิ การ
ได้ แมว้ ่า สพฐ. เองเคยจดั ท�ำแนวทางและคูม่ อื การจดั การเรยี นรูเ้ พศศึกษาช่วงชัน้ ๑-๔ ต้งั แต่

๑ โครงการป้องกนั เอดส์ในกล่มุ เยาวชนในระบบการศึกษา หรือภายใต้ชือ่ “โครงการก้าวยา่ งอยา่ งเขา้ ใจ”
มีองค์การแพธ (PATH) เป็นหน่วยงานรับผดิ ชอบหลักในการด�ำ เนินงานร่วมกบั องคก์ รภาคที ง้ั ภาครฐั และ
เอกชน ได้รบั การสนับสนนุ จากกองทุนโลกเพอื่ การแก้ไขปญั หาเอดส์ วัณโรคและมาลาเรยี (The Global
Fund to Fight AIDS, Tuberculosis and Malaria – GFATM) เพื่อด�ำ เนินงานกับกระทรวงศึกษาธกิ าร และ
องคก์ รพฒั นาเอกชน โดยมีเปา้ หมายเป็นเยาวชนในระบบการศึกษา มีระยะเวลาดำ�เนนิ งาน ๑๑ ปี ต้ังแต่ ๑
ตุลาคม ๒๕๔๖ ถึง ๓๐ กันยายน ๒๕๕๗ ได้พฒั นาหลักสูตรเพศวิถศี ึกษาในระดับมัธยมศึกษา อาชีวศกึ ษา
การศึกษานอกโรงเรยี น และสำ�หรบั นักศึกษาคณะครศุ าสตร์ มหาวทิ ยาลัยราชภัฏ

9

ปี ๒๕๔๗ แตไ่ มม่ กี ารตดิ ตามผลทช่ี ดั เจนวา่ ไดร้ บั การด�ำเนนิ การมากนอ้ ยเพยี งไร และมขี อ้ สงั เกต
ต่อเรอื่ งความครอบคลุมของเนอื้ หาเพศวถิ ใี นคมู่ ือดังกลา่ ว
โอกาสการพัฒนาหลักสูตรเพศวิถีศึกษาระดับประถมศึกษาจึงมาถึง หลังจากที่มีเสียง
สะทอ้ นจากครู และคนท�ำงานเรอ่ื งเพศกับเยาวชนในชว่ งหลายปที ่ีผา่ นมาวา่ การเรม่ิ สอนเร่อื ง
เพศวิถีศึกษาตอนวยั รนุ่ หรอื ระดับมัธยมน้ันช้าไปแลว้ และตอกย�ำ้ ดว้ ยสถานการณส์ ขุ ภาวะทาง
เพศของเด็กและเยาวชน จ�ำนวนแม่วัยรนุ่ ทง้ั ในกลุ่มอายุ ๑๕-๑๙ ปีและ ๑๐-๑๔ ปี ท่ียังสงู กว่า
เป้าหมายตามยทุ ธศาสตร์การป้องกันและแกไ้ ขปญั หาเดก็ และเยาวชนต้งั ครรภ์ไม่พรอ้ ม ยังไม่
นับถึงอายุการมีเพศสัมพันธ์คร้ังแรกท่ีน้อยลง และการติดเช้ือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และ
เอชไอวี
ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงสนับสนุนให้มูลนิธิ
แพธทูเฮลท์ (P2H) พัฒนาหลักสูตรและน�ำร่องเพศวิถีศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา ใน ๑๐
จังหวัด ด�ำเนินการตัง้ แต่พฤศจกิ ายน ๒๕๕๙ ถึง เมษายน ๒๕๖๒

เพศวถิ ศี ึกษา กับเด็กประถม/วัยรุน่ ตอนตน้

ความใฝ่ฝันของคนท�ำงานเพศวิถีศึกษา คือ ท�ำให้เด็กได้เรียนรู้เพศวิถีศึกษาอย่าง
ต่อเนื่องเป็นระบบในทุกระดับชั้น โดยจัดเนื้อหาและวิธีการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย
ตั้งแต่อนบุ าลไปจนถึงอุดมศึกษา
ด้วยเงื่อนไขข้อจ�ำกัดหลายประการ ท�ำให้กรอบการพัฒนาหลักสูตรเพศวิถีและ
สัมพันธภาพศึกษาส�ำหรับประถมศึกษาภายใต้โครงการนี้ จ�ำกัดอยู่ท่ีระดับประถมศึกษาตอน
ปลาย คอื ป.๔-ป.๖
จากสถานการณ์ปัญหาเร่ืองเพศในเด็กและเยาวชน ที่ไม่ได้จ�ำกัดอยู่เพียงเรื่องท้อง
วัยร่นุ และการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพนั ธ์และเอชไอวี หากยังมีเรอื่ งการล่วงละเมดิ ทาง
เพศและการใช้ความรุนแรง ผลกระทบทางสุขภาพกายใจและภาระค่าใช้จ่ายอันเน่ืองมาจาก
ความพยายามตา่ งๆ ทจ่ี ะเปลยี่ นแปลงรปู รา่ งหนา้ ตาใหส้ วยงามและดงึ ดดู ทางเพศ การลอ้ เลยี น

10

รงั แก ตตี รา เลอื กปฏบิ ตั ติ อ่ บคุ คลทแี่ ตกตา่ ง การไมส่ ามารถจดั การอารมณต์ นเองและขาดทกั ษะ
ในการจัดการความสัมพันธ์ ซึ่งส่งผลต่อการท�ำร้ายท้ังตนเองและคนอ่ืน และในหลายกรณี
ถึงแก่ชวี ิต การไม่เทา่ ทนั สอื่ เทคโนโลยแี ละผลกระทบด้านลบจากการใชส้ อ่ื ออนไลน์ เป็นต้น
ปรากฏการณแ์ ละขอ้ เทจ็ จรงิ เหลา่ นเ้ี ปน็ ภาพสะทอ้ นส�ำคญั ทท่ี �ำใหเ้ หน็ วา่ ระบบการศกึ ษา
ไทยและสังคมไทยไม่สามารถเตรียมเยาวชนให้มีความรู้เพียงพอและมีทักษะท่ีจะเผชิญและ
จัดการสถานการณ์ทา้ ทายในชีวิต โดยเฉพาะในเรือ่ งเพศ
หากเพศวถิ ศี กึ ษา คอื หนงึ่ ในอาวธุ ทเี่ ยาวชนสามารถใชใ้ นการดแู ลปอ้ งกนั ตวั เอง เตรยี ม
พรอ้ มรบั มอื กบั สถานการณท์ า้ ทายในเรอ่ื งเพศในมติ ติ า่ งๆ ทจ่ี ะถาโถมเขา้ มาในชว่ งเปลยี่ นผา่ น
เขา้ ส่วู ยั รนุ่ การสรา้ งการเรียนรู้กต็ ้องเริ่มกอ่ นท่ีเดก็ ๆ จะเข้าสสู่ ถานการณเ์ หล่านนั้ วัยทก่ี �ำลงั
จะเข้าสู่วัยรุ่น จึงเป็นโอกาสส�ำคัญในการเตรียมตัวเพื่อให้รู้ เร่ิมฝึกฝนทักษะพ้ืนฐานที่จ�ำเป็น
เร่ิมฝึกคิด ใคร่ครวญเร่ืองส�ำคัญที่มีผลต่อการด�ำเนินชีวิต ต่อการตัดสินใจในเร่ืองต่างๆ ต่อ
การปฏสิ มั พนั ธก์ บั ผคู้ นรอบตวั ซง่ึ ทกุ เรอื่ ง ลว้ นแตจ่ ะทวคี วามซบั ซอ้ นขน้ึ ตามวยั การเรม่ิ ตน้ วาง
รากฐานทแี่ ขง็ แรงไดเ้ รว็ กน็ า่ จะยงิ่ สง่ ผลตอ่ การพฒั นาเยาวชนใหม้ ภี มู ติ า้ นทานทเ่ี ขม้ แขง็ เตบิ โต
เปน็ วัยรนุ่ และผใู้ หญ่ท่ีมสี ุขภาวะ และเปน็ พลเมืองทมี่ ีคณุ ภาพของสงั คม๒

๒ จากการทบทวนบทบาทของภาคการศึกษากับการจัดการท้องไม่พร้อมในช่วงวัยรุ่นขององค์การ UNESCO
ล่าสดุ ในปี ๒๕๖๐ (Early and Unintended Pregnancy & the Education Sector: Evidence Review
and Recommendations, UNESCO 2017) แสดงให้เห็นวา่ มหี ลกั ฐานส�ำคัญ ว่าการจัดการเรียนร้เู พศวถิ ี
ศึกษาท่ีมีคุณภาพสามารถช่วยป้องกันการต้ังครรภ์ในวัยรุ่นได้ และที่ส�ำคัญต้องเริ่มจัดการเรียนรู้ก่อนท่ีเด็ก
จะเรยี นจบระดบั ประถมศกึ ษา ดงั นน้ั โรงเรยี นระดบั ประถมศกึ ษาจงึ เปน็ โอกาสทด่ี ที สี่ ดุ ในการเขา้ ถงึ วยั รนุ่ ตอน
ตน้ ในชว่ งอายุ ๑๐-๑๔ ปี กอ่ นเขา้ สู่วยั เจรญิ พันธแ์ุ ละมีประสบการณเ์ รือ่ งเพศ ทง้ั นี้ UNESCO มขี อ้ เสนอแนะ
เฉพาะตอ่ การจัดหลักสูตรเพศวถิ ีศกึ ษา ดงั นี้
• การจัดการเรียนรู้เพศวิถีศึกษาในหลักสูตรสถานศึกษาจ�ำเป็นต้องท�ำตั้งแต่ก่อนเด็กเข้าสู่วัยรุ่นต่อเน่ือง

ไปจนถึงช่วงวัยรุน่ เพอ่ื ปอ้ งกันการทอ้ งไม่พรอ้ ม
• เนื้อหาเพศวิถีศึกษาต้องส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ ช้ีให้เห็นบรรทัดฐานในเร่ืองเพศ บทบาทหญิง

ชาย และเร่อื งสมั พันธภาพ
• ตอ้ งสรา้ งและฝกึ ฝนทกั ษะทจี่ �ำเปน็ เพอ่ื ใหเ้ ยาวชนสามารถตดั สนิ ใจชะลอการมเี พศสมั พนั ธค์ รง้ั แรก และ

เลอื กการมีเพศสมั พันธท์ ี่ปลอดภัยโดยใชถ้ ุงยางและวิธกี ารคมุ ก�ำเนิด

11

อย่างไรก็ดี ครหู ลายคนอาจรสู้ ึกไมส่ บายใจนกั เมื่อคิดวา่ เดก็ ประถมศึกษาตอ้ งเรียนรู้
เรอื่ งเพศวิถี ดังเสียงสะท้อนเหล่านี้

· ป.๔-ป.๖ ยงั เด็กไปไหม ยังไม่ควรรหู้ รอก ?
· เด็กประถมยงั ไมร่ ู้จกั ยังไม่สนใจเรื่องเพศเลย !
· บางคนก็ร้มู าก แกแ่ ดด !
· สอนแล้วจะเป็นการชี้โพรงใหก้ ระรอกไหม ?
· ถา้ สอนแลว้ เดก็ ไปลองล่ะ จะท�ำยังไง ?
· เพศวถิ ศี ึกษา ตอบตัวช้ีวัดไหม มีใน O-Net หรอื เปลา่ ?
· ในสขุ ศกึ ษาก็สอนอยแู่ ล้วนะ !
· ใครจะเปน็ คนสอน ?
· ฯลฯ
แมน้ จี่ ะเป็นเสียงแหง่ ความกงั วลของครู ซงึ่ ไม่ใช่เรื่องนา่ แปลกใจ ท้งั ยังเป็นเร่อื งเข้าใจ
ได้ หากพิจารณาในบริบทความคุ้นชิน ทั้งในเรื่องเพศ เรื่องการเรียนการสอน เรื่องวิธีคิดต่อ
ความเป็นเด็ก เรื่องความเช่ือมั่นในเด็กและเยาวชน เร่ืองเป้าหมายการศึกษา และระบบการ
ศึกษาทเ่ี ป็นอยู่
ปฏิกิริยาเช่นนี้ อาจหมายถงึ เด็กๆ จะต้องเผชิญเร่อื งเพศวิถตี ามล�ำพังตอ่ ไป เพราะ
ผู้ใหญ่เกรงว่าการให้เด็กเรียนรู้จะเป็นการช้ีโพรงให้กระรอก หรือลึกๆ แล้ว เพราะรู้สึกขัดกับ
วัฒนธรรมอันดีงามของไทย และหากเด็กคนใดพลาดพลง้ั ก็จะกลายเปน็ “ปัญหา” ให้ผูใ้ หญ่
ถกเถยี งวา่ จะแกป้ ญั หาเฉพาะหนา้ กนั อยา่ งไร หลายครง้ั ความผดิ กลบั ไปตกอยทู่ เี่ ดก็ โดยผใู้ หญ่
ไม่ตระหนกั เลยว่าตนเองควรมสี ว่ นรับผิดชอบกับความพลาดพล้งั ของเด็กทีเ่ กิดขึ้น
การมี พ.ร.บ. อาจช่วยให้ไม่มีข้ออ้างในเร่ืองเหล่านี้ และจ�ำเป็นต้องลุกข้ึนมากระท�ำ
บางอยา่ งเพอ่ื ปอ้ งกนั ไมใ่ หเ้ ดก็ ๆ ตอ้ งเผชญิ ปญั หาทสี่ ามารถปอ้ งกนั ได้ หากมกี ารท�ำอยา่ งจรงิ จงั
และมปี ระสิทธภิ าพ
12

ในขณะเดยี วกนั เสยี งสะทอ้ นจากครกู บ็ อกเราวา่ ความเขา้ ใจเรอ่ื งเพศ/เพศวถิ ยี งั ผกู ตดิ
อยูก่ บั เร่อื งการมีเพศสมั พนั ธ์ ซึ่งเปน็ เรื่องของวยั อนั ควรเท่านัน้ ความไมเ่ ชือ่ มั่นในศักยภาพของ
เดก็ ขอ้ จ�ำกดั ของการจดั กระบวนการเรยี นรใู้ นหอ้ งเรยี น/โรงเรยี น ความไมช่ ดั เจนของเปา้ หมาย
การศกึ ษาทคี่ วรจะเปน็ ซง่ึ ลว้ นเปน็ เรอื่ งส�ำคญั ทตี่ อ้ งพจิ ารณาในการเตรยี มความพรอ้ มครใู นการ
จดั การเรยี นรเู้ พศวถิ ีศกึ ษา
และท่ีส�ำคัญ เสียงเหล่านี้สะทอ้ นบทเรียนของการผลกั ดันเพศวถิ ีศกึ ษาในสถานศกึ ษา
อีกครั้งว่า ไม่ใช่แค่เร่ืองเปิดพ้ืนที่การเรียนรู้และการสื่อสารเร่ืองเพศวิถีในโรงเรียน แต่การ
ผลกั ดันเพศวิถศี กึ ษาในสถานศกึ ษา ยงั จ�ำเปน็ ต้องเก่ียวขอ้ งกับระบบการศกึ ษาอีกด้วย ทัง้ เร่ือง
เป้าหมายการศึกษา การจัดกระบวนการเรียนรู้ท่ีมุ่งพัฒนาผู้เรียน ระบบการจัดการภายใน
โรงเรยี นทจ่ี ะเออ้ื ตอ่ การเรียนรู้ของนักเรยี นและการจัดการเรยี นรูข้ องครู

13

โจทยข์ องเดก็ ป.๔ - ป.๖ (วยั แรกรนุ่ อายุ ๑๐-๑๔ ป)ี คอื อะไร ?

· พฒั นาการทางรา่ งกาย
ทฤษฎตี า่ งๆ ในเรอ่ื งพฒั นาการของมนษุ ย์ จะใหค้ วามส�ำคญั กบั ความเขา้ ใจในเรอื่ งการ
เปลยี่ นแปลงทซ่ี ับซอ้ นทัง้ ทางรา่ งกาย สงั คม ความคดิ ความเข้าใจ การตระหนกั ในเพศสภาพ
และพฒั นาการดา้ นจรยิ ธรรมทเี่ กดิ ขนึ้ ในชว่ งรอยตอ่ ของวยั เดก็ สวู่ ยั รนุ่ (Skills for Health, WHO)
หากพิจารณาพฒั นาการตามช่วงวัยของวยั รนุ่ ตอนตน้ ในช่วงอายุ ๑๐-๑๔ ปี จะเห็นว่า
นค่ี อื ชว่ งวยั ทเ่ี รม่ิ มกี ารเปลยี่ นแปลงทางรา่ งกาย อารมณ์ และสงั คม ซง่ึ แตล่ ะคนจะมจี งั หวะการ
เปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่ไม่เท่ากัน ท�ำให้ในวัยนี้มีความสนใจและกังวลต่อการเปล่ียนแปลง
ท่รี วดเร็วของตวั เอง หลายคนกงั วลใจเกี่ยวกับรูปลักษณ์ทางรา่ งกายทเ่ี ปลีย่ นแปลงเรว็ ช้า หรอื
แตกตา่ งจากเพื่อนๆ
เดก็ ผหู้ ญงิ จะเปลยี่ นแปลงดา้ นรปู รา่ งภายนอกเรว็ กวา่ เดก็ ผชู้ าย ในวยั นเี้ ดก็ ผหู้ ญงิ สว่ น
ใหญ่จะเริ่มมีประจ�ำเดือน ซ่ึงเป็นประสบการณ์ท่ีน่ากังวลใจส�ำหรับเด็กผู้หญิงหากไม่ได้รับการ
เตรยี มตวั ใหร้ ู้และเขา้ ใจในเรือ่ งการมปี ระจ�ำเดือนมาก่อน นอกจากน้ัน ยงั เป็นเรือ่ งส�ำคญั ทจี่ ะ
ช่วยเตรียมให้เด็กผู้หญิงรู้ว่าจะจัดการกับประจ�ำเดือนอย่างไร การต้องดูแลรักษาความสะอาด
และรคู้ วามหมายของการมีประจ�ำเดอื น และรวู้ า่ จะเก่ยี วข้องกบั การตง้ั ครรภ์อย่างไร เช่นเดยี ว
กับ การเตรียมเด็กผูช้ ายให้เขา้ ใจเรื่องการฝันเปียก และรูว้ ่าจะท�ำใหผ้ ู้หญิงเกดิ การต้งั ครรภ์ได้
อยา่ งไร
นอกจากสรีระตา่ งๆ แล้ว ยังมีการเปล่ียนแปลงของระดับฮอรโ์ มน รวมท้ังฮอรโ์ มนทาง
เพศ ซง่ึ สง่ ผลตอ่ อารมณแ์ ละจติ ใจดว้ ย เมอื่ ฮอรโ์ มนเพศเรมิ่ ท�ำงาน ท�ำใหเ้ ดก็ ๆ เรมิ่ สนใจ อยาก
รู้ อยากลองในเรือ่ งเพศ บางคนเริ่มมีความสนใจหรอื มคี วามร้สู กึ พิเศษตอ่ คนพิเศษซ่ึงอาจเปน็
เพศเดียวกนั หรอื ตา่ งเพศ และบางคนเริม่ เรียนรเู้ รือ่ งอารมณ์เพศและการชว่ ยตัวเอง ซ่ึงถือเปน็
เรื่องธรรมดาและธรรมชาติที่วัยรุ่นจะส�ำรวจร่างกายตนเอง หากไม่ท�ำให้ตัวเองและผู้อ่ืน
เดือดรอ้ น

14

ส่วนการเปล่ียนแปลงทางจิตใจ วัยแรกรุ่นเป็นวัยท่ีเริ่มต้องการการยอมรับจากเพ่ือน
มากขน้ึ แมย้ งั ต้องการความรกั ความเอาใจใส่จากพ่อแมห่ รอื คนท่มี ีความส�ำคญั แต่ไม่ตอ้ งการ
ให้ปฏิบัติเหมือนเป็นเด็กเล็กๆ เร่ิมอยากมีอิสระ อยากเป็นตัวของตัวเอง อยากมีส่วนในการ
ตัดสินใจ เร่ิมไม่อยากท�ำตามค�ำสง่ั ของพอ่ แม่
· พฒั นาการด้านการเรียนรู้
เด็กในวัยน้ีเริ่มมีพัฒนาการด้านการคิดจากรูปธรรมสู่นามธรรม พฤติกรรมต่างๆ มัก
เกดิ จากอารมณ์ความรู้สึก และแรงกระตนุ้ อยากรอู้ ยากลอง อยากลองผิดลองถกู การรับรู้และ
เขา้ ใจพฤตกิ รรมมเี พยี งถกู หรอื ผดิ ดหี รอื ไมด่ ี โดยเรยี นรจู้ ากปฏกิ ริ ยิ าของคนรอบขา้ งตอ่ สงิ่ ทที่ �ำ
มีการพัฒนาทกั ษะการตัดสนิ ใจที่มีความซบั ซอ้ นขึน้
· พัฒนาการด้านสังคม
วัยรุ่นตอนต้นเร่ิมมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมซับซ้อนข้ึน ใช้เวลากับเพื่อนมากขึ้น ใช้เวลา
กับครอบครัวน้อยลง และเร่ิมมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศ ความสามารถในการสร้าง
สมั พันธภาพกบั คนรอบข้างเร่ิมพัฒนาขน้ึ
นอกจากนั้น ในช่วงวัยน้ี เป็นช่วงของการพัฒนารากฐานทางจริยธรรมเช่นกัน วัยรุ่น
เร่ิมคิด หาเหตุผล และท�ำความเข้าใจกับความคิดเห็นและส่ิงต่างๆ ที่ได้รับรู้จากแหล่งต่างๆ
ทอ่ี าจแตกต่างกนั และเรมิ่ พัฒนาชดุ คุณค่าและหลกั การของตนเองเพือ่ จดั การและสรา้ งสมดลุ
ในเร่ืองต่างๆ ของตนเองและผู้อื่นท่ีอาจขัดแย้งกัน สนใจและให้ความส�ำคัญอย่างจริงจังกับ
ความถกู ต้องและความยุติธรรม
เมื่อชวนให้ครูเห็นและตระหนักถึงพัฒนาการตามช่วงวัย และตระหนักว่าเรื่องเพศวิถี
เรม่ิ ตน้ จากการรจู้ กั ตวั เอง การมสี มั พนั ธภาพ และการอยรู่ ว่ มกบั คนอน่ื ๆ ในสงั คมแลว้ เรอ่ื งเลา่
จากครูเมื่อถามถึงปรากฏการณ์และพฤติกรรมของเด็กๆ ที่สังเกตเห็น และเร่ืองท่ีครูรู้สึกเป็น
หว่ ง หรือคดิ วา่ เป็นปญั หา ท�ำให้เราไดย้ ินเรือ่ งของเด็กๆ วัยประถมปลายมากขึน้ ตัวอยา่ งเช่น

15

· ปัญหาการล้อเลียน กลั่นแกล้ง หรือรังแกกัน อันเน่ืองจากรูปลักษณ์ภายนอกที่
แตกตา่ ง หรอื การแสดงออกทางเพศทตี่ า่ งจากบทบาททางเพศทค่ี าดหวงั เชน่ กลมุ่
คนหลากหลายทางเพศ ซึ่งหากพิจารณาปัญหาน้ีโดยเชื่อมโยงกับพัฒนาการตาม
ช่วงวัยท่ีเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เด็กๆ จะเปรียบเทียบและเห็นความแตกต่างของ
ตนเองและเพือ่ นๆ จากรูปลกั ษณภ์ ายนอก รวมทั้งการรับรู้ “แบบ” หรอื “ภาพจ�ำ”
บางอยา่ งของสง่ิ ทถ่ี กู ใหค้ ณุ คา่ วา่ เปน็ มาตรฐาน เชน่ อะไรสวย อะไรหลอ่ ขาวดกี วา่
ด�ำ สงู ดกี วา่ เตี้ย อ้วนไป ผอมไป ไมใ่ ช่หญิง ไมใ่ ชช่ าย และเห็นความแตกต่างเปน็
เร่ืองผดิ ปกติ

· เดก็ บางคนเรม่ิ แสดงออกถึงอตั ลกั ษณ์ทางเพศ มกี ารล้อกนั เร่ืองแฟน บางคนเริม่ มี
แฟน บางคนมรี นุ่ พม่ี าจบี (ในกรณีท่เี ป็นโรงเรียนขยายโอกาส)

· เด็กบางคนเร่ิมสนใจความสวยงาม พยายามจัดการร่างกายตัวเองตามแบบฉบับ
ของความสวยงาม การเลียนแบบพฤติกรรมของคนที่เป็นไอดอล ตามแฟชั่น ใน
ดา้ นการรวมกลมุ่ กบั เพอ่ื น เรม่ิ มกี ารแบง่ เพศ ปรากฏการณเ์ หลา่ นส้ี ะทอ้ นใหเ้ หน็ ถงึ
การเรยี นรขู้ องเดก็ ๆ ในวยั น้ี ในเรอื่ งบรรทดั ฐานความเปน็ ชาย ความเปน็ หญงิ และ
มาตรฐานทถ่ี ูกบอกเรอ่ื งความสวยงาม ผ่านสถาบันทางสงั คมและสอื่ ตา่ งๆ โดยไม่
ตระหนกั ถงึ อคติทางเพศหลายประเด็นทแ่ี ฝงอยู่

เราปฏิเสธไม่ได้ว่า เด็กในวัยนี้เร่ิมเรียนรู้เร่ืองเพศจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
ตนเอง รวมท้ังการถูกบอก ถกู สอนในเรอ่ื งความเป็นหญิงความเป็นชาย การปฏิบตั ติ วั ทางเพศ
และยงั รบั รขู้ า่ วสารเรื่องเพศ และเร่ืองเพศท่ีตนสนใจผา่ นเพอื่ นและสื่อต่างๆ โดยเฉพาะในยคุ
สมัยท่ีส่ือออนไลน์เข้าถึงได้ง่ายดาย แต่เราแน่ใจได้อย่างไรว่าส่ิงที่เด็กและเยาวชนเรียนรู้เป็น
ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงแบบใด ส่งผลต่อการรับรู้ ทัศนคติ และวิธีคิดในเร่ืองเพศของพวกเขา
อยา่ งไร
ดงั นน้ั ในเรอ่ื งเพศวถิ ี ใชห่ รอื ไมว่ า่ “การรดู้ กี วา่ ไมร่ ”ู้ “การรใู้ หถ้ กู ตอ้ งดกี วา่ รแู้ บบผดิ ๆ”
เด็กทุกคนจึงควรได้เรียนรู้เร่ืองพัฒนาการทางร่างกายของตัวเอง และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
เมอื่ ยา่ งเขา้ สวู่ ยั รนุ่ กอ่ นทจ่ี ะไดเ้ จอกบั ประสบการณเ์ หลา่ นนั้ เพอ่ื ลดความกงั วลใจ และสามารถ
16

รับมือกับการเปลี่ยนแปลงในตวั เอง นอกจากน้นั สถานการณป์ ัญหาเรื่องเพศมากมายท่ีเกดิ ขึน้
กับเยาวชนในช่วงวัยรุ่นที่สะท้อนถึงการไม่รู้ ขาดทักษะ และการเตรียมพร้อมในการรับมือกับ
ความทา้ ทายเรอ่ื งความสมั พนั ธ์และเพศสัมพันธ์ท่ีแวดล้อมชวี ิตวยั รนุ่ ย่ิงท�ำใหเ้ ห็นความจ�ำเป็น
ในการสื่อสารสร้างการเรียนรู้กับเด็กๆ ในช่วงก่อนเข้าสู่วัยรุ่น หรือในระดับประถมศึกษา
ตอนปลาย
ย่ิงไปกว่าน้ัน ความแตกต่างหลากหลายของเยาวชนในระดับประถมศึกษาตอนปลาย
เป็นเร่ืองที่ต้องให้ความส�ำคัญ เพราะส่งผลต่อการน�ำหลักสูตรไปปรับใช้จริงในห้องเรียน โดย
สง่ิ ทต่ี อ้ งค�ำนงึ ถงึ คอื

· ความหลากหลายทางเพศ แม้ว่าระบบการศึกษาไทยและสังคมไทยอาจคุ้นชินกับ
การพูดเรื่องเพศในบริบทชายหญิงและความสัมพันธ์ของคนต่างเพศ นั่นท�ำให้เรา
ละเลยเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศและมีเพศวิถีที่ไม่ใช่กระแสหลัก การ
เปดิ พน้ื ที่ การมองเหน็ และการนบั รวมกลมุ่ คนหลากหลายทางเพศในหอ้ งเรยี นเพศ
วิถีศึกษา และท�ำให้เนื้อหาการเรยี นรู้ตอบโจทย์ของทุกคนจงึ เปน็ สง่ิ ส�ำคญั

· ความแตกต่างของบริบทครอบครัวของนักเรียน อีกหนึ่งความคุ้นชินของการ
ให้ความหมายของครอบครัวท่ีจ�ำกัดอยู่เพียงครอบครัวอุดมคติ พ่อ-แม่-ลูก แม้
ปรากฏการณ์ของครอบครัวในสังคมไทยได้เปล่ียนไปและมีหลายรูปแบบมากข้ึน
เด็กและเยาวชนจ�ำนวนไม่น้อย ที่ไมไ่ ดเ้ ติบโตอยู่ในครอบครวั แบบอุดมคติ และถูก
ท�ำให้รู้สึกด้อยและเป็นปัญหา หากเรายังเช่ือว่าครอบครัวเป็นพ้ืนฐานส�ำคัญ การ
เปล่ียนมุมมองและเสริมคุณค่าครอบครัวทุกรูปแบบ โดยการชี้ให้เห็นถึงรูปแบบ
ครอบครวั ทหี่ ลากหลาย ทสี่ �ำคญั คอื ความสมั พนั ธ์ ความรกั ความหว่ งใยของสมาชกิ
ในครอบครวั ทุกแบบ ลว้ นมีคณุ คา่ เหมือนกัน

· ความแตกต่างทางเศรษฐสถานะของนักเรียน อาจส่งผลต่อปัจจัยพื้นฐานในการ
ด�ำรงชวี ติ การเขา้ ถงึ ขอ้ มลู ขา่ วสาร เครอ่ื งอปุ โภคบรโิ ภคในชวี ติ ประจ�ำวนั และการ
ดูแลสุขอนามัยของนักเรียนแต่ละคน โดยเฉพาะในเรื่องเพศ ซ่ึงหลายๆ เร่ืองยัง
เป็นเร่อื งยากหรอื ถกู ท�ำใหร้ ้สู กึ อายในการพดู คยุ สอ่ื สาร
17

ตวั อย่างเช่น ข่าวท่ีปรากฏในสื่อเมื่อเดอื นสิงหาคม ๒๕๖๑ ว่า “๑ ใน ๑๐ ของเด็กหญงิ
ในสหราชอาณาจกั รไมส่ ามารถซอ้ื ผลติ ภณั ฑอ์ นามยั เพอื่ ซมึ ซบั ประจ�ำเดอื นของพวกเธอได้ และ
ถกู บงั คับให้ใช้กระดาษทิชชู ถงุ เทา้ หรือแม้กระท่ังหนังสอื พมิ พ์” (https://www.brandbuffet.
in.th/2018/08/hey-girls-uk-period-poverty-campaign/)
ข่าวนชี้ วนให้คิดวา่ เดก็ ๆ ของเราก็เผชญิ ปัญหาลกั ษณะนีด้ ้วยหรอื ไม่ รวมทงั้ เร่อื งเลา่
สู่กันฟังของคนท�ำงานพัฒนาที่เคยพบว่า ในบางพื้นท่ี โรงเรียนไม่มีที่ทิ้งขยะในห้องน�้ำให้เด็ก
นักเรียนหญิงทิ้งผ้าอนามัย ตัวอย่างเหล่านี้ หลายเร่ืองเราอาจมองข้าม เพียงเพราะเราไม่เคย
ประสบในชวี ิตประจ�ำวันของเรา และเร่อื งเพศ-เพศวิถยี งั เป็นเร่ืองละเอียดอ่อน มคี วามเป็นสว่ น
ตวั มกี ตกิ าทางสงั คมก�ำกบั ทท่ี �ำใหเ้ ราอาจไมร่ ใู้ นหลายเรอ่ื งทส่ี ง่ ผลตอ่ สขุ ภาวะทางเพศของเดก็
และเยาวชนของเรา
นอกจากนน้ั ในแผนการเรยี นร้ทู ่ีพฒั นาขน้ึ มีเนอื้ หาบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับส่อื ออนไลน์
หรือสินคา้ ที่เกี่ยวข้องกบั การดแู ลรา่ งกาย หรอื เสรมิ ความสวยงาม เพ่อื สร้างการเรียนรู้ในหลาย
มติ ิ แตค่ รอู าจตอ้ งค�ำนงึ ถงึ บรบิ ทของนกั เรยี นแตล่ ะคนดว้ ย เพอ่ื ไมใ่ หเ้ กดิ ความรสู้ กึ เปรยี บเทยี บ
หรือความรู้สกึ ด้อย หรอื ความรสู้ กึ ไมเ่ ท่าเทยี ม ท่อี าจเกดิ ขึ้น

· สงั คมมกั ควบคมุ ก�ำกบั เรอ่ื งเพศของผหู้ ญงิ มากกวา่ ผชู้ าย ซงึ่ สะทอ้ นในการสอนเรอ่ื ง
เพศท่ีมักเน้นไปที่เด็กหญิงมากกว่าเด็กชาย การบอกให้เด็กหญิงหลีกเล่ียงที่จะยุ่ง
เกย่ี วหรือสนใจเรือ่ งเพศ เพราะเป็นเรื่องน่าอาย ไมง่ าม และผู้หญิงจะเป็นฝา่ ยเสยี
หายในเรื่องเพศ เพราะคุณค่าของผู้หญิงถูกผูกโยงกับประสบการณ์การมีเพศ
สมั พนั ธ์ และเปน็ ฝา่ ยทอ้ ง ดงั นนั้ ในการจดั การเรยี นรเู้ รอื่ งเพศ ครจู งึ ตอ้ งระมดั ระวงั
ทีจ่ ะไม่ตอกย�้ำค่านิยมเหล่านี้ และสรา้ งการเรยี นรู้ใหก้ บั เด็กทกุ เพศ

เมื่อส�ำรวจและพิจารณาบริบทของเด็กประถมปลายแล้ว พบว่าสัมพันธภาพเป็นแกน
หลกั ของประสบการณก์ ารเรยี นรใู้ นชว่ งวยั น้ี ตง้ั แตจ่ ะสมั พนั ธก์ บั ตวั เองอยา่ งไรในชว่ งวยั แหง่ การ
เปลยี่ นแปลง จะแสดงและรกั ษาความเปน็ ตวั ของตวั เอง ไปพรอ้ มๆ กบั การสรา้ งการยอมรบั จาก
เพ่อื นอยา่ งไร จะเริ่มพฒั นา รักษา และจดั การสัมพันธภาพกบั เพ่ือนอย่างไร จะจัดการความ

18

คาดหวงั ทแ่ี ตกตา่ งและระยะความสมั พนั ธก์ บั พอ่ แมแ่ ละครอบครวั อยา่ งไร จะเรยี นรแู้ ละจดั การ
กบั ความสมั พันธพ์ เิ ศษแบบใหมอ่ ยา่ งไร จะเผชญิ และปฏิบตั ิอย่างไรกับคนที่แตกต่าง ความคิด
เหน็ ทแี่ ตกตา่ ง ความรูส้ กึ ท่ีแตกต่าง มุมมองและทศั นคตทิ ่ีแตกต่าง การใหค้ วามส�ำคัญกับเรื่อง
ต่างๆ ท่ีแตกต่าง ฯลฯ
มิติของสัมพันธภาพเหล่านี้ล้วนผูกโยงอยู่กับเรื่องเพศวิถี และเป็นพ้ืนฐานในการด�ำรง
ชีวติ รว่ มกบั คนอ่ืนๆ ในสงั คม เป็นทง้ั ทกั ษะ วธิ ีคิด และประสบการณ์ชวี ิตท่ตี อ้ งเรียนรู้ เราจงึ
เลือกใช้ชื่อหลักสตู รวา่ “เพศวิถแี ละสมั พันธภาพศึกษา”

ตอ้ งการสร้างการเรียนรู้อะไร ?

เป้าหมาย
การจัดการศึกษาเรื่อง “เพศวิถีและสัมพันธภาพศึกษา” นอกจากเป้าหมายเฉพาะท่ี
ตอ้ งการลดความเสยี่ งในเรอ่ื งเพศและการปอ้ งกนั การทอ้ งไมพ่ รอ้ มและโรคตดิ ตอ่ ทางเพศสมั พนั ธ์
แล้ว ยังมุ่งหวังให้นักเรียนได้พัฒนาตนเอง มีทักษะในการจัดการสัมพันธภาพและการอยู่ร่วม
กบั ผ้อู ่ืนในสงั คม มบี ทบาทในการดูแลและพัฒนาสุขภาวะทางเพศเชิงบวกแบบองคร์ วมทง้ั ของ
ตนเองและสังคม
ผลลัพธข์ องการจดั การเรียนรู้
เยาวชนร้จู ัก เคารพ เหน็ คณุ คา่ ในตนเอง มที กั ษะในการสร้างและรักษาสัมพันธภาพ
กับคนอ่ืนๆ มีทักษะในการคิด วิเคราะห์ เท่าทัน ตัดสินใจในการด�ำเนินชีวิตให้ปลอดภัย
มคี วามสุข และรับผิดชอบตอ่ ตนเองและผู้อน่ื เปน็ สมาชกิ ท่ีมีคณุ ภาพของสังคม เคารพความ
แตกต่าง เคารพสิทธิ เหน็ ใจและปฏิบตั ติ อ่ ผอู้ ่นื อยา่ งเท่าเทยี ม และมีส�ำนึกพลเมือง
หากอยากเห็นผลลัพธ์ในตัวเยาวชนเช่นน้ี การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศวิถีและ
สัมพันธภาพศึกษาเปน็ ส่วนส�ำคญั และตอ้ งท�ำอยา่ งมปี ระสิทธภิ าพ ตอ่ เนื่อง และเป็นระบบ

19

หากสามารถจดั การเรยี นรเู้ พศวถิ แี ละสมั พนั ธภาพศกึ ษาไดอ้ ยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ เดก็ ๆ
ในวัยประถมปลายควรได้เร่ิมเรียนรู้ พัฒนาและฝึกฝนในเรื่องพื้นฐานท่ีส�ำคัญและจะเป็น
ประโยชนใ์ นการเตบิ โตสู่ชวี ิตวยั รุ่น การใช้ชวี ิตร่วมกับคนอืน่ ๆ และด�ำเนินชีวติ อยา่ งมสี ขุ ภาวะ
และมคี วามหมายในโลกท่เี ปลยี่ นแปลงอย่างรวดเร็วและมคี วามซับซ้อนมากขึ้น ดงั นี้
· รู้จกั ส่วนต่างๆ ของรา่ งกาย เข้าใจพฒั นาการทางรา่ งกาย อารมณ์ จติ ใจ รวมทั้งวิธีการ

ดูแลสุขอนามัยที่ดี เพื่อเตรียมพร้อมในการรับมือกับการเปล่ียนแปลงต่างๆ ในช่วงเข้าสู่
วยั รุ่น
· เข้าใจเพศวิถี การสืบพนั ธุ์ สขุ ภาพทางเพศ อารมณ์ ความรู้สึกและความสมั พนั ธ์
· ผลท่ีอาจเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ และเหตุผลท่ีวัยรุ่นควรชะลอการมีเพศสัมพันธ์จนกว่า
จะพรอ้ ม
· วธิ แี ละทางเลอื กในการดแู ลความปลอดภยั ของตนเองและการมสี ขุ อนามยั ทางเพศทดี่ ี รวม
ถงึ การปอ้ งกนั การมเี พศสมั พนั ธท์ ไ่ี มป่ ลอดภยั การตง้ั ครรภท์ ไี่ มพ่ รอ้ ม การตดิ เชอื้ โรคตดิ ตอ่
ทางเพศสมั พนั ธ์และเอชไอวี การรงั แก การใชค้ วามรนุ แรง และการลว่ งละเมดิ ทางเพศ
· ร้แู หล่งช่วยเหลือหรือบริการปรกึ ษาในเร่อื งปัญหาความสมั พนั ธ์และสุขภาวะทางเพศ
· ทักษะในการจดั การอารมณ์ การจัดการความสมั พันธ์ และการใส่ใจความร้สู กึ ผู้อ่นื
· ความมั่นใจในตนเอง ความมน่ั คงในตวั ตนและอารมณ์
· การควบคุมตนเอง ร้ขู ีดจ�ำกดั ปรับตัวและรับมอื กับความผดิ พลาด
· การนบั ถือตนเอง การเหน็ อกเห็นใจผ้อู นื่ การปกปอ้ งสิทธิตนเองและผ้อู นื่
· การรับฟงั ความคิดเหน็ ทีแ่ ตกตา่ ง เคารพประสบการณ์และมมุ มองของผูอ้ น่ื
· ทักษะและความมนั่ ใจในการส่อื สาร บอกและยนื ยันความรู้สึกความตอ้ งการของตนเองได้
ในขณะเดยี วกัน เคารพและยอมรบั ความรสู้ กึ และความตอ้ งการของผู้อ่นื
· ทักษะการมีสัมพันธภาพท่ีดี โดยเน้นว่าพ้ืนฐานส�ำคัญของความสัมพันธ์ คือ การเคารพ
ตนเอง การเคารพคนอ่ืน และการใส่ใจความรู้สึกของคนท่ีมีความสัมพันธ์ด้วย และการ
ยินยอมพรอ้ มใจ
20

· ทักษะการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ ก่อนตัดสินใจเลือก และการรบั ผิดชอบตอ่ ผลการตดั สนิ
ใจและการกระท�ำของตนเอง ฝึกฝนการตัดสินใจในสถานการณ์ทท่ี า้ ทายจรยิ ธรรมพน้ื ฐาน

· ทักษะการจัดการความขัดแย้ง และหลีกเล่ียงการใช้ความรุนแรง โดยตระหนักว่าความ
ขัดแย้งเป็นเร่อื งปกติทเ่ี กดิ ข้ึนได้ แต่ความรนุ แรงเปน็ สิง่ ทยี่ อมรับไม่ได้

· ร้จู ักและหลีกเล่ียงการเอาเปรยี บ การบงั คับ และการลว่ งละเมดิ ในความสมั พนั ธ์
· เทา่ ทันสอ่ื และกรอบทางสงั คมวฒั นธรรมในเร่ืองเพศ กลา้ ตงั้ ค�ำถามกับอคตแิ ละการเหมา

รวมที่ส่งผลกระทบตอ่ ความสัมพนั ธ์ โดยเฉพาะทนี่ �ำไปสู่การล้อเลยี น รังแก เหยียดหยาม
เลอื กปฏิบตั ิ ใชค้ วามรุนแรงต่อบคุ คลทแี่ ตกตา่ งในทุกมิติ

เรยี นอะไรในเพศวถิ ีและสัมพันธภาพศึกษา ?

เมอ่ื เข้าใจพฒั นาการของวยั เดก็ ตอนปลายและวยั รนุ่ ตอนตน้ จะเห็นว่า นค่ี ือช่วงเวลา
ทีเ่ ปน็ จงั หวะและโอกาสส�ำคัญท่ีจะสรา้ งและพัฒนาทักษะสว่ นบคุ คลที่ส�ำคญั เชน่ การควบคุม
ตนเอง การจัดการอารมณ์ การตดั สินใจ เป็นต้น ที่เปน็ พ้ืนฐานส�ำคญั ตอ่ การมีพฤติกรรมทาง
สงั คมทพ่ี งึ ประสงค์ และบม่ เพาะคณุ ลกั ษณะ อปุ นสิ ยั ดา้ นบวก และจรยิ ธรรมพนื้ ฐาน ดว้ ยเดก็ ๆ
ในวัยน้ีก�ำลังพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงนามธรรม เร่ิมเข้าใจผลกระทบที่ตามมาจาก
การกระท�ำต่างๆ เรม่ิ ปฏสิ ัมพันธ์แบบใหม่ๆ กับเพอื่ น และเร่มิ เรียนรู้การแกป้ ญั หาด้วยตวั เอง
การคดิ เรียนรทู้ ่จี ะควบคมุ ก�ำกับชีวิตตนเอง ท้งั หมดนี้จะเปน็ พื้นฐานส�ำคญั ต่อการสรา้ งตวั ตน
ทมี่ ัน่ คง๓


๓ Pan America Health Organization (2001). Life Skills Approach to Child and Adolescent Healthy
Human Development

21

การพัฒนาเน้ือหาของเพศวิถีและสัมพันธภาพศึกษาส�ำหรับประถมปลาย ใช้กรอบ
แนวคดิ หลกั เพศวถิ ศี กึ ษา ๖ ดา้ นของ SIECUS๔ (ดูรายละเอยี ดในภาคผนวก ๑) ร่วมกบั กรอบ
แนวคดิ หลักเพศวถิ ศี กึ ษาของ UNESCO๕ (ดรู ายละเอียดในภาคผนวก ๒)
ส่วนเนื้อหาในรายละเอยี ดแตล่ ะระดบั ช้ัน เป็นการพิจารณาพฒั นาการตามช่วงวยั ของ
วยั รนุ่ ตอนต้น ๑๐-๑๔ ปี โดยเนน้ ในเรอื่ งใกล้ตัว รอบตวั และเรื่องท่จี ะเกดิ ขึ้นในอนาคตอันใกล้
ให้เปน็ พน้ื ฐานส�ำคัญของการมีสขุ ภาวะทางเพศและการมีสัมพันธภาพทดี่ ี
จากการศึกษาแนวทางการจัดเนื้อหาเพศวิถีและสัมพันธภาพศึกษาในระดับประถม
ศกึ ษาตอนปลาย หรือช่วงวัยรุ่นตอนตน้ ของหลายประเทศ พบว่ามเี นือ้ หาใกล้เคียงกนั โดยเนน้
เรื่องท่ีสอดคล้องกับความสนใจ อยากรู้ และพัฒนาการตามช่วงวัย และมักให้น�้ำหนักกับ ๓
เรื่องหลัก ดังนี้

· การรูจ้ ักตวั เอง
· การปฏสิ ัมพันธ์กบั คนอน่ื ๆ
· การดแู ลสุขอนามยั ทางเพศและความปลอดภยั ในความสัมพันธ์
นอกจากน้ัน ยงั พบว่าหลักสตู รเพศวิถแี ละสัมพนั ธภาพศึกษาส�ำหรบั เด็กประถมปลาย
ยงั ใหค้ วามส�ำคญั กบั การสรา้ งคณุ ลกั ษณะ อปุ นสิ ยั จรยิ ธรรม และการพฒั นาทกั ษะในการด�ำเนนิ
ชวี ติ ซงึ่ จะเปน็ พน้ื ฐานส�ำคญั ในการใชช้ วี ติ เมอื่ เตบิ โตขนึ้ โดยบรู ณาการในเนอ้ื หาทม่ี กี ารจดั การ
เรียนรู้

๔ แนวคดิ หลกั เพศวถิ ศี กึ ษา ๖ ดา้ นของ SIECUS ประกอบดว้ ย ๑. พฒั นาการของมนษุ ย์ (Human Develop-
ment) ๒. สมั พนั ธภาพ (Relationships) ๓. ทักษะสว่ นบุคคล (Personal Skills) ๔. พฤตกิ รรมทางเพศ
(Sexual Behavior) ๕. สุขภาพทางเพศ (Sexual Health) ๖. สงั คมและวัฒนธรรม (Social and Culture)
๕ กรอบแนวคิดหลักเพศวิถีศึกษาของ UNESCO ประกอบด้วย ๑. สมั พนั ธภาพ (Relationships) ๒. คุณคา่
สิทธิ วฒั นธรรม และเพศวิถี (Values, Rights, Culture and Sexuality) ๓. เข้าใจเพศสภาพ (Under-
standing Gender) ๔. ความรุนแรงและการท�ำ ใหต้ วั เองปลอดภัย (Violence and Staying Safe) ๕. ทักษะ
สขุ ภาพและการอยดู่ ีมีสขุ (Skills for Health and Well-being) ๖. รา่ งกายและพฒั นาการของมนษุ ย์ (The
Human Body and Development) ๗. เพศวิถีและพฤตกิ รรมทางเพศ (Sexuality and Sexual Behavior)
๘. สขุ ภาพทางเพศและอนามยั เจรญิ พันธ์ุ (Sexual and Reproductive Health)

22

การสรา้ งคุณลกั ษณะ อปุ นสิ ยั และจริยธรรม หรอื Character Education หรอื อาจ
ถกู เรียกเปน็ ทักษะทางอารมณแ์ ละสังคม (social and emotional learning) พัฒนาการทาง
สติปัญญา (cognitive development) ทักษะชีวิต (life skills education) ฯลฯ แม้จะมี
คุณลักษณะพ้นื ฐานบางประการที่เห็นตรงกัน เช่น ความซอ่ื สตั ย์ ความมีนำ้� ใจ การเอาใจเขามา
ใสใ่ จเรา ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ความกลา้ หาญ เสรภี าพ ความเท่าเทียม ความยตุ ธิ รรม การ
เคารพ ความรบั ผดิ ชอบ ฯลฯ ซงึ่ แตล่ ะหนว่ ยงาน โครงการ หรอื หลกั สตู ร ตา่ งเลอื กและใหค้ วาม
ส�ำคัญกับคุณลักษณะบางประการท่ีคิดว่าจะตอบโจทย์ในบริบทท่ีต้องการท�ำงานกับเยาวชน
อยา่ งไรก็ดี การจัดการเรยี นรเู้ หลา่ น้ี ลว้ นมีเป้าหมายเดยี วกนั คือ การมุ่งสร้างบุคลิก อุปนสิ ัย
และจริยธรรมที่ดีให้เกิดข้ึนกับเยาวชน เพ่ือเป็นพ้ืนฐานในการด�ำเนินชีวิตและเป็นพลเมืองที่มี
คุณภาพของสังคม๖
ส�ำหรับหลักสูตรเพศวิถีและสัมพันธภาพศึกษาส�ำหรับเด็กประถมปลายที่พัฒนาขึ้นนี้
ไดเ้ ลอื กคณุ ลกั ษณะ/จรยิ ธรรมพนื้ ฐานทเ่ี ปน็ จดุ เนน้ ในการสง่ เสรมิ การรจู้ กั ตวั เอง การปฏสิ มั พนั ธ์
กับคนรอบข้าง และการเปน็ สมาชกิ ทมี่ ีคณุ ภาพของสงั คม รวม ๑๒ ขอ้ ดงั นี้

๑. การรัก-เคารพ-เห็นคุณคา่ ตวั เอง
๒. ความมนั่ ใจในตนเอง
๓. การเคารพความแตกตา่ ง
๔. การรแู้ ละเคารพสทิ ธิ

๖ ตัวอย่างจากกลมุ่ ทท่ี ำ�งานศกึ ษาวจิ ัยและพฒั นาการ Character Education มาอยา่ งตอ่ เน่อื ง เชน่
กลมุ่ Character Counts เสนอคณุ ลกั ษณะพ้นื ฐานและทกั ษะสำ�หรับศตวรรษท่ี ๒๑ สบิ สองประการที่
เยาวชนควรได้รบั การเรียนรฝู้ ึกฝน แบ่งเป็นคุณลักษณะพื้นฐาน ๖ ข้อ ได้แก่ ความซอื่ สตั ย์และน่าเชือ่ ถอื
(Trustworthiness) การเคารพ (Respect) ความรบั ผิดชอบ (Responsibility) ความเป็นธรรม (Fairness)
การดูแลใสใ่ จ (Caring) และการมสี �ำ นึกพลเมอื ง (Citizenship) ส่วนทักษะในศตวรรษท่ี ๒๑ ได้แก่ ทกั ษะ
การเรียนรู้ (Learning) การมีวินัยในตนเอง (Self-Discipline), การคิดบวก (Positivity), ความมุ่งมั่นอตุ สาหะ
(Perseverance), ความเข้มแขง็ ทางใจ สามารถปรบั ตวั /ฟน้ื ตัวจากภาวะวกิ ฤต (Resilience) และความขยนั
(Diligence)

23

๕. การเห็นอกเห็นใจ/เขา้ ใจคนอนื่
๖. ความรับผิดชอบ
๗. การดแู ลความปลอดภัย
๘. การไมใ่ ชค้ วามรนุ แรง
๙. การไม่เอาเปรียบผู้อน่ื
๑๐. ความเทา่ เทียม
๑๑. การมีเสรีภาพในการเลอื กและแสดงออก
๑๒. การมสี �ำนึกพลเมือง
การรกั เคารพ เหน็ คณุ คา่ ในตวั เอง หากเขา้ ใจสงิ่ ทเี่ กดิ ขนึ้ กบั รา่ งกาย อารมณข์ องตนเอง
รู้สึกเป็นส่วนหนง่ึ ของครอบครัว ชมุ ชน สงั คม รู้สทิ ธิเนื้อตัวรา่ งกาย รูเ้ ทา่ ทันและแยกแยะอคติ
ทางเพศท่ีปรากฏในค่านิยมและบรรทัดฐานของสังคมได้ แม้ตนเองจะมีเพศวิถีท่ีแตกต่างจาก
คนอื่นๆ หรือจากบรรทัดฐานของสงั คม จะชว่ ยใหเ้ ยาวชนตระหนักในคุณค่าของตนเอง น�ำไป
ส่กู ารรัก เคารพ และดูแลใหต้ วั เองอยู่ดีมสี ขุ
ความมน่ั ใจในตนเอง การเรยี นรศู้ กั ยภาพของตนเอง ความแตกตา่ งระหวา่ งบคุ คล และ
เสรมิ สรา้ งความมัน่ ใจในการมปี ฏสิ มั พันธ์กับคน การแสดงและรกั ษาจุดยนื ของตนเอง เมื่ออยู่
ในภาวะขดั แยง้ กับคนรอบข้าง
การเคารพความแตกต่าง การอยู่ร่วมกันในสังคมท่ีมีความหลากหลาย ความอดกล้ัน
ต่อความคิดเหน็ ความเปน็ อย่ทู แี่ ตกตา่ งจากตนเองเปน็ สิ่งส�ำคัญ เพราะจะส่งผลตอ่ การปฏบิ ตั ิ
ตอ่ ผอู้ น่ื โดยเฉพาะคนทแ่ี ตกตา่ งจากตวั เองอยา่ งเคารพกนั ในศกั ดศ์ิ รคี วามเปน็ มนษุ ยท์ เี่ ทา่ เทยี ม
และน�ำไปสู่การตระหนักว่า เราควรใส่ใจในความรู้สึกของคนอื่น ไม่ท�ำร้ายคนอื่น ทั้งร่างกาย
และจิตใจ และจัดการความขดั แยง้ อยา่ งสรา้ งสรรค์
การเหน็ อกเหน็ ใจ/เขา้ ใจคนอนื่ การเอาใจเขามาใสใ่ จเรา ใสใ่ จและรบั ฟงั ความรสู้ กึ ของ
คนอน่ื ช่วยเหลอื เมอื่ คนอน่ื ล�ำบาก หรอื เปน็ ทุกข์ เป็นพนื้ ฐานของการสรา้ งสมั พนั ธภาพท่ดี ี

24

การรู้และเคารพสิทธิ เรียนรู้ที่จะปกป้องสิทธิของตนเองและเคารพสิทธิของผู้อ่ืน ให้
ความส�ำคัญต่อสิทธิ เสรีภาพ การมีกฎกติกาที่มีความยุติธรรมและชอบธรรม นอกจากสิทธิ
มนุษยชนพื้นฐานแล้ว ในการเรียนรู้เพศวิถี เยาวชนควรได้เรียนรู้สิทธิในเนื้อตัวร่างกาย สิทธิ
ทางเพศ สทิ ธอิ นามยั เจรญิ พนั ธ์ุ สทิ ธใิ นการศกึ ษา สทิ ธสิ ขุ ภาพ สทิ ธใิ นการแสดงความเหน็ และ
สิทธใิ นการรับรู้ข้อมูลขา่ วสาร
ความรับผิดชอบ เรียนรู้ที่จะรับผิดชอบผลการกระท�ำของตัวเอง ท้ังท่ีมีต่อตนเองและ
ผู้อน่ื เปน็ เรือ่ งส�ำคัญท่ตี ้องฝกึ ฝนจากเร่อื งเลก็ ๆ ในการใช้ชวี ติ ประจ�ำวนั ไปจนถงึ เรื่องส�ำคัญที่
จะสง่ ผลตอ่ ชวี ติ เช่น เรื่องการมเี พศสัมพันธ์ การมลี ูก ฯลฯ
การคำ� นงึ ถงึ ความปลอดภยั ทงั้ ของตนเองและผอู้ น่ื ในวยั ทอี่ ยากรู้ อยากลอง ชอบความ
ตน่ื เตน้ ทา้ ทาย อาจท�ำใหว้ ยั รนุ่ ท�ำพฤตกิ รรมทม่ี คี วามเสย่ี ง ทอี่ าจน�ำมาซง่ึ อนั ตรายทง้ั ตอ่ ตนเอง
และผู้อื่น การสร้างความตระหนกั ในการปอ้ งกนั ความเสย่ี ง จรงิ จงั ต่อการป้องกนั ให้ตนเองและ
ผอู้ นื่ ปลอดภยั เหน็ ประโยชนข์ องการปอ้ งกนั และเหน็ โทษหรอื อนั ตรายจากพฤตกิ รรมเสยี่ งตา่ งๆ
จะเปน็ หลักช่วยในการตดั สินใจเม่ือตอ้ งเผชิญสถานการณท์ า้ ทายต่างๆ
การไม่ใช้ความรุนแรง ในการอยู่ร่วมกันในสังคมท่ีมีความแตกต่างหลากหลาย ความ
ขดั แยง้ เปน็ เรอ่ื งธรรมดาทเี่ กดิ ขนึ้ ได้ เพราะแตล่ ะคนมคี วามตอ้ งการทแ่ี ตกตา่ งกนั แตก่ ารจดั การ
ความขดั แยง้ ในทุกระดับความสมั พันธ์ มที างเลอื กหลายอยา่ งโดยไมจ่ �ำเป็นตอ้ งใช้ความรนุ แรง
ท่ีสง่ ผลต่อการท�ำรา้ ยอกี ฝ่ายท้ังทางรา่ งกาย วาจา จติ ใจ
นอกจากนั้น การตระหนักถึงความรุนแรงในสัมพันธภาพ และความสัมพันธ์ทางเพศ
จะชว่ ยท�ำใหเ้ ยาวชนเรยี นรทู้ จี่ ะปอ้ งกัน หาความช่วยเหลือ รวมทัง้ การไม่เป็นผู้กระท�ำตอ่ ผูอ้ น่ื
เพ่ือใหไ้ ดม้ าซึง่ ส่ิงทีต่ นเองตอ้ งการ
การไมเ่ อาเปรยี บผอู้ นื่ การปฏบิ ตั กิ บั ผอู้ น่ื ดว้ ยความยตุ ธิ รรม เคารพความรสู้ กึ และความ
ตอ้ งการของผอู้ นื่ เชน่ เดยี วกบั ของตนเอง เปน็ พน้ื ฐานของการเรยี นรเู้ รอ่ื งการยนิ ยอมพรอ้ มใจใน
สมั พนั ธภาพทุกรูปแบบ

25

ความเทา่ เทยี ม ตระหนกั ถงึ ศกั ดศิ์ รคี วามเปน็ มนษุ ย์ และปฏบิ ตั ติ อ่ ผอู้ น่ื อยา่ งเสมอภาค
และเป็นธรรม เคารพศักด์ิศรีความเป็นมนุษย์ที่ทุกคนเกิดมามีคุณค่าเท่ากัน และไม่อาจล่วง
ละเมิดได้ ไม่เลอื กปฏบิ ตั ิตอ่ บุคคลด้วยเหตแุ หง่ เพศ เช้อื ชาติ สผี วิ ภาษา ศาสนา ความคิดเหน็
ทางการเมอื ง ความสามารถทางรา่ งกาย และสขุ ภาพ เปน็ ตน้
การมีเสรีภาพในการเลือกและแสดงออก เรียนรู้ว่าตนเองมีอ�ำนาจและมีอิสระในการ
ควบคมุ ชวี ิตตัวเอง เรยี นร้ทู ่จี ะวางแผน ตดั สินใจ เลือก แสดงออก รวมท้ังรับผิดชอบตอ่ ผลการ
กระท�ำของตัวเอง โดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อ่ืน แม้เป็นไปด้วยความแตกต่างจากคนอ่ืนและ
แตกตา่ งจากบรรทดั ฐานของสังคม
การมสี �ำนึกพลเมือง รว่ มรับผดิ ชอบสังคม ใหค้ วามรว่ มมอื ในกจิ กรรมของชมุ ชน มจี ิต
อาสา เคารพกตกิ าทเี่ ปน็ ธรรมของสงั คม ‘รสู้ กึ รสู้ า’ และไมป่ ลอ่ ยผา่ นกบั ความเหลอ่ื มลำ้� และสง่ิ
ทขี่ าดหายไปในสงั คม และมสี ว่ นรว่ ม สง่ เสยี งในการน�ำการเปลยี่ นแปลงทดี่ แี ละเปน็ ธรรมสสู่ งั คม
แผนการเรียนรู้เพศวิถีและสัมพันธภาพศึกษาแต่ละแผนของแต่ละระดับชั้น เลือก
คุณสมบตั เิ หลา่ นีใ้ หส้ อดคลอ้ งไปกบั เนือ้ หาเพศวถิ ีและสัมพนั ธภาพที่จะใหน้ กั เรยี นเรียนรู้ ทั้งนี้
เม่ือเห็นโอกาสท่ีเกิดขึ้นในห้องเรียน ครูจึงมีบทบาทส�ำคัญในการเน้นย�้ำ ถึงคุณสมบัติและ
จรยิ ธรรมพ้ืนฐานท่ีเราพึงปฏบิ ตั ิตอ่ กนั
การพัฒนาทกั ษะส่วนบุคคลและทักษะสังคม เปน็ องค์ประกอบส�ำคญั อีกดา้ นหนึง่ ของ
เนื้อหาหลักสูตรน้ี ทักษะส�ำคัญในเรื่องสัมพันธภาพและเพศวิถีท่ีเป็นจุดเน้น ได้แก่ การรู้จัก
ตนเอง/การให้คุณคา่ ต่อเร่อื งตา่ งๆ ของตนเอง การตัดสินใจ การสือ่ สาร การยืนยันความคิด
ความต้องการ ความรู้สึกของตนเอง การตอ่ รอง การหาความชว่ ยเหลือ การจดั การแรงกดดัน
ตา่ งๆ การตดั สนิ ใจ การเทา่ ทนั สอ่ื และเทคโนโลยี และการเทา่ ทนั บรรทดั ฐาน คา่ นยิ ม และอคติ
ทางเพศทีส่ ่งผลต่อการด�ำเนนิ ชีวิตตามเพศวถิ ขี องตน ซ่ึงทกั ษะเหลา่ นีส้ อดคลอ้ งกับทกั ษะชวี ิต
26

ในบรบิ ททัว่ ไปที่หลายหน่วยงานส่งเสรมิ เช่น องคก์ ารอนามยั โลก๗ สพฐ.๘ และทกั ษะทจี่ �ำเป็น
ในการอยูใ่ นโลกศตวรรษท่ี ๒๑๙
เมอ่ื ประกอบท้งั ๓ ส่วน คอื เนอื้ หาเพศวิถแี ละสัมพันธภาพ คณุ สมบตั ิ อปุ นสิ ัยและ
จริยธรรมพ้ืนฐาน และทักษะส่วนบุคคลและสังคม ในการออกแบบหลักสูตรเพศวิถีและ
สมั พนั ธภาพศกึ ษาในระดบั ประถมศกึ ษาตอนปลาย (ป.๔-ป.๖) จงึ ไดแ้ ผนการเรยี นรทู้ คี่ รอบคลมุ
เรื่องการรู้จักและเข้าใจตนเอง พัฒนาการตามวัย ครอบครัว เพื่อน เพศวิถี ทักษะในเรื่อง
สมั พนั ธภาพ และการดแู ลสขุ อนามยั ทางเพศ เพอื่ เปน็ พนื้ ฐานในการมสี มั พนั ธภาพทดี่ ใี นการอยู่
ร่วมกบั คนอ่นื ๆ และการมีพฤติกรรมท่ีมสี ขุ ภาวะ

๗ ทกั ษะชีวติ ตามองคก์ ารอนามัยโลก (WHO) ซ่ึงประกอบด้วยทกั ษะชวี ติ ๕ คู่ คือ ๑) การคดิ วิเคราะห์และ
การคิดสรา้ งสรรค์ ๒) การตระหนกั รู้ในตนเอง และการเหน็ ใจผ้อู น่ื ๓) การสรา้ งสัมพนั ธภาพและการส่อื สาร
๔) การตัดสินใจและการแกไ้ ขปัญหา ๕) การจัดการอารมณ์และความเครยี ด
๘ สพฐ.ได้บรรจุ “การพฒั นาทกั ษะชีวิต” ไวใ้ นหลกั สูตรแกนกลางการศกึ ษาข้นั พื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยระบุ
ในสมรรถนะผเู้ รยี นขอ้ ๔ วา่ “ผู้เรยี นมคี วามสามารถในการพัฒนาทักษะชีวติ ” และไดก้ �ำหนดองคป์ ระกอบ
ส�ำคัญของทักษะชีวิตครอบคลุม ๔ ด้านคือ ๑) การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตัวเองและผู้อ่ืน
๒) การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ๓) การจัดการกับอารมณ์และความเครียด
๔) การสร้างสัมพนั ธภาพทดี่ ีกับผูอ้ ื่น
๙ ทกั ษะที่จ�ำเป็นในศตวรรษท่ี ๒๑ โดย น.พ.วิจารณ์ พานิช ประกอบด้วย ๑) อา่ นออก ๒) เขียนได้ ๓) คิด
เลขเป็น ๔) ทกั ษะดา้ นการคิดอยา่ งมวี ิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปญั หา ๕) ทักษะด้านการสร้างสรรค์
และนวัตกรรม ๖) ทกั ษะดา้ นความเขา้ ใจตา่ งวัฒนธรรม ต่างกระบวนทศั น์ ๗) ทกั ษะด้านความร่วมมอื การ
ท�ำงานเปน็ ทมี และภาวะผนู้ �ำ ๘) ทกั ษะดา้ นการสอ่ื สารสารสนเทศและรเู้ ทา่ ทนั สอื่ ๙) ทกั ษะดา้ นคอมพวิ เตอร์
และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสอ่ื สาร ๑๐) ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้

27

...เด็กวยั ประถม เร่มิ สามารถแยกแยะระหวา่ งผดิ และถกู ได้ และสนใจว่าท�ำอย่างไรจงึ
จะถูก เปน็ วยั ท่ีก�ำลังรู้จักความผิดชอบชว่ั ดี (conscience) เป็นวยั ทภ่ี าษาก�ำลงั เจริญมาก เดก็
พูด อ่าน เขียน เรยี นรู้ไดห้ ลายทางนอกจากพ่อแม่ ครอบครัว เด็กจะได้รับการสอนอบรมเรียน
รู้จากโรงเรยี น ครู เพือ่ น หนังสือ สอ่ื ตา่ งๆ โทรทศั น์ วิดีโอ ภาพยนตร์ คอมพวิ เตอร์ การเลน่
ฯลฯ เด็กจะให้ความสนใจและมคี �ำถาม “อย่างไร” “ท�ำไม” เป็นวัยของ “years of magic” คอื
เด็กจะมีความต้องการความรู้เพิ่ม ใฝ่รู้ค้นหา ไต่ถาม เป็นเวลาของความเจริญด้านความคิด
imagination และซึมซบั ด้านคุณธรรม เรยี นรู้กฎเกณฑก์ ตกิ า เร่ิมสามารถรบั รู้ในมมุ มองของ
คนอน่ื ได้ เด็กเปน็ ตัวของตนเองมากข้ึน สามารถคดิ ไตร่ตรองและอย่ตู ามล�ำพงั คิดเงยี บๆ มอง
ตนเองได้เปน็ (introspection) เมอ่ื เขา้ ประถมปลาย เดก็ จะสามารถท�ำความเข้าใจกับค�ำสอน
ของคนอื่น เชน่ ครู ท่ไี มเ่ หมือนพ่อแม่ เรยี นรผู้ ดิ ถกู ความซับซอ้ น ความไม่แน่นอนและความ
แตกตา่ งไดม้ ากขน้ึ พรอ้ มกบั ปรบั อารมณใ์ นการอยรู่ ว่ มกบั ผอู้ น่ื ไดด้ ขี นึ้ การสอนเรอื่ งราวเนอื้ หา
ทางคณุ ธรรมจรยิ ธรรมจงึ เร่ิมไดเ้ ม่อื อายุ ๗-๘ ปี ที่เด็กจะสามารถรบั รู้ ไตถ่ าม มีความรู้สกึ ผิด
รสู้ กึ อายทสี่ ามารถพดู บอกได้ การพฒั นาของสมองดา้ นความคดิ และพฒั นาดา้ นอารมณจ์ ะตอ้ ง
ควบคไู่ ปด้วยกันเสมอในการพฒั นาด้านคณุ ธรรมตงั้ แตเ่ ริม่ แรกจนถึงวยั เรียนและวยั รุ่น”
....
การพัฒนาจิตใจทางด้านคุณธรรมมีจุดประสงค์เพื่อให้ตนเองสามารถเคารพสิทธิผู้อ่ืน
ปฏิบัติตามข้อบังคับ กฎเกณฑ์ และกฎหมายได้ มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่ืนได้เหมาะสมถูกต้อง
รู้จักคิดอย่างมีเหตุผลตามความเป็นจริง สามารถควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมของตนเองได้
รู้จกั ช่วยเหลือผูอ้ ื่นและสงั คม ตนจึงจะสามารถอย่รู ่วมกบั ผ้อู น่ื และอย่ใู นสงั คมได้อย่างเป็นสุข
....
การพฒั นาจรยิ ธรรมและคณุ ธรรมตอ้ งเรมิ่ ตง้ั แตว่ ยั เดก็ เลก็ และพฒั นาเพม่ิ เตมิ ตอ่ เนอ่ื ง
เรอื่ ยมาจนถงึ วยั ผ้ใู หญ่ คณุ ธรรมมอี งค์ประกอบทีส่ �ำคญั คือ
· ดา้ นอารมณ์ (empathy) เช่น เดก็ เหน็ ผ้อู ่นื เสยี ใจ เด็กแสดงความเหน็ อกเหน็ ใจได้
หรอื เม่อื ตนร้วู า่ เปน็ สาเหตขุ องความผิดจะรสู้ กึ อาย (shame) และส�ำนึกผดิ ได้ (guilt)
28

· ระดบั สตปิ ญั ญา สมองจะต้องเจรญิ ใหเ้ กดิ การรับรู้ เรียนรู้ และเข้าใจได้ (cognitive
component)
· ส่งิ แวดล้อม ต้ังแตค่ รอบครวั พอ่ แม่ ญาติ พนี่ อ้ ง ไปจนถึงสงั คมทเี่ ดก็ เตบิ โตขนึ้ มา
ไดแ้ ก่ โรงเรียน ครู เพื่อน ชมุ ชน ศาสนา วฒั นธรรม ขนบธรรมเนยี มประเพณี เป็นตน้
ถงึ กระนนั้ แมเ้ ดก็ จะรบั รู้ มคี วามคดิ ความรสู้ กึ และเขา้ ใจไดแ้ ลว้ กต็ าม ไมไ่ ดห้ มายความ
ว่าเด็กจะประพฤติปฏิบัติตามด้วยเสมอไป จึงเห็นพ้องต้องกันโดยท่ัวไปว่าระยะแรกของการมี
คุณธรรม เด็กจะตอ้ งได้รบั การสอนโดยตรงจากผู้ใหญ่ท่ีเลีย้ งดู โดยมกี ารแนะน�ำอบรมส่งั สอน
ด้วยการให้รางวัลที่ประพฤติดีท�ำดี หรือมีการลงโทษถ้าประพฤติผิด กล่าวคือผู้มีอ�ำนาจ
รับผิดชอบ เชน่ พอ่ แม่ ครู ผูป้ กครอง เปน็ ผทู้ �ำหน้าทีเ่ หลา่ นีไ้ ปตลอด จนกว่าเด็กจะเตบิ โตข้นึ
สามารถรับหลักการและกฎทางศีลธรรมจริยธรรมเข้าไปเป็นของตนเอง (internalize) และ
รบั ผดิ ชอบพฤตกิ รรม จดั การกับการกระท�ำของตนเองไดโ้ ดยไมต่ ้องมีผู้ใหญค่ อยควบคุม

จากบทความเกยี่ วกับการพฒั นาเดก็ ดา้ นคณุ ธรรม ของ
ศ.เกียรตคิ ณุ แพทยห์ ญิงวัณเพ็ญ บญุ ประกอบ

อ้างองิ ถึงในบทความ “การพัฒนาเดก็ และวยั รุน่ ด้านคุณธรรมจรยิ ธรรม”
ของเพจชมรมจติ แพทย์เด็กและวัยรุน่

ในแต่ละระดับช้ันประกอบด้วยแผนการเรียนรู้ ๑๖ แผน และมีแนวความคิดในการ
ออกแบบสาระส�ำคัญของแต่ละชน้ั คอื

ป. ๔ การเตบิ โตและการเปลย่ี นแปลง (Growing and Changing)
ป. ๕ การรูจ้ ักสทิ ธิ และการเคารพตนเองและคนอื่น (Rights and Respect)
ป. ๖ สัมพันธภาพที่ดี และการตัดสินใจที่ดี (Healthy Relationships, Healthy
Decisions)

29

แผนการเรียนรู้ในระดับชั้นประถมศึกษาปีท่ี ๔ เน้นเน้ือหาในเร่ืองพัฒนาการและ
สัมพนั ธภาพ เปน็ การเตรยี มนักเรยี นให้เรยี นรเู้ รอ่ื งการเปลยี่ นแปลงเมอ่ื เตบิ โตเขา้ สูว่ ัยรนุ่ เพ่อื
ใหเ้ ดก็ ๆ ไดร้ จู้ กั ตวั เองทง้ั รา่ งกายและอารมณ์ รจู้ กั ความแตกตา่ งระหวา่ งตนเองกบั เพอื่ นๆ ความ
แตกตา่ งในเรอ่ื งครอบครวั และเพศวถิ ี ทงั้ เพอื่ เสรมิ สรา้ งความมน่ั ใจในตนเองและการเคารพคน
อืน่ รวมทงั้ เรยี นรู้พ้ืนฐานในการปฏสิ ัมพนั ธก์ บั เพื่อน รจู้ ักแบง่ ปนั ขอโทษ การเอาใจเขามาใสใ่ จ
เรา ประกอบดว้ ยแผนการเรียนรู้ ๑๖ แผน ดังน้ี

๑. ทุกคนเปน็ คนพิเศษ
๒. เตบิ โต เปลีย่ นแปลง
๓. สุขภาพดี ถ้าใช้เปน็
๔. ครอบครวั มหี ลายแบบ
๕. เพอ่ื น
๖. แบ่งปัน
๗. เป็นหญิง เปน็ ชาย
๘. รูส้ กึ อยา่ งไร
๙. หยอกลอ้ รงั แก ใครสนกุ ?
๑๐. ขอโทษ
๑๑. ร้สู กึ บอกได้
๑๒. ฉลาดใชอ้ นิ เทอร์เน็ต
๑๓. รสนยิ มทแี่ ตกตา่ ง
๑๔. เอชไอวี อยู่ร่วมกันได้
๑๕. ถงุ วเิ ศษ
๑๖. น่คี ือฉนั
30

แผนการเรยี นรใู้ นระดบั ชนั้ ประถมศกึ ษาปที ่ี ๕ ชวนผเู้ รยี นส�ำรวจค�ำถามและหาค�ำตอบ
ในเรอื่ งการเปลยี่ นแปลงทเี่ กดิ ขน้ึ กบั ตนเอง รวมทงั้ เรอ่ื งเพศ เพศสมั พนั ธ์ ทร่ี บั รจู้ ากทต่ี า่ งๆ เพอ่ื
ฝกึ ฝนการแยกแยะขอ้ มลู ขอ้ เทจ็ จรงิ และความเชอื่ รวมทงั้ เรยี นรกู้ ารปอ้ งกนั ทอ้ งและโรคตดิ ตอ่
ทางเพศสัมพนั ธ์ ด้านสมั พันธภาพ เนน้ การรู้จักสทิ ธติ นเองและเคารพสทิ ธิคนอ่นื การสร้างพลงั
ดา้ นบวกและคณุ คา่ ในตนเอง ฝกึ ฝนการสอ่ื สาร ทง้ั การบอกความรสู้ กึ ความตอ้ งการของตนเอง
การรับฟังและเคารพความคิดเห็นท่ีแตกต่าง เรียนรู้การประเมินสถานการณ์เส่ียง ผลกระทบ
และการป้องกัน มแี ผนการเรยี นรรู้ วม ๑๖ แผน ดังนี้

๑. มีดี มพี ลงั
๒. เรอ่ื งวนุ่ ๆ ของวัยรนุ่ ๑
๓. เร่ืองวุ่นๆ ของวัยรุ่น ๒
๔. ความสัมพนั ธด์ ี-ไมด่ ี
๕. มากกวา่ เพ่อื น
๖. สอื่ สารชดั เจน
๗. เร่อื งแบบน้มี โี อกาสเกดิ ขึ้นกบั ฉันไหม ?
๘. ความปลอดภยั ต่อรองไม่ได้
๙. Helping Hands: ฉันช่วยได้
๑๐. รจู้ กั ไวรัสเอชไอวี และเอดส์
๑๑. กล้าคิด กลา้ บอก และคิดกอ่ นพดู
๑๒. ยนิ ยอม พรอ้ มใจ
๑๓. ชายสีฟ้า หญิงสชี มพู ?
๑๔. ฉันเคยได้ยนิ ว่า..
๑๕. ความสัมพนั ธ์และเพศสมั พันธ์
๑๖. ทอ้ ง และเพศสัมพนั ธ์ : คดิ กอ่ นท�ำ

31

ในระดับชั้นประถมศึกษาปีท่ี ๖ แผนการเรียนรู้ทั้ง ๑๖ แผนมุ่งไปสู่การฝึกฝนการ
ตดั สนิ ใจทจี่ ะสง่ ผลตอ่ ความปลอดภยั ของตนเอง ทงั้ ดา้ นสขุ อนามยั ทางเพศและสมั พนั ธภาพกบั
คนรอบข้าง โดยตระหนกั ถึงความคาดหวงั อคติ แรงกดดนั อิทธิพลทัง้ จากเพ่ือนและสือ่ ต่างๆ
ท่ีส่งผลต่อการรับรู้ข้อมูล และการตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งระหว่างครอบครัว เพ่ือน
แฟน และการมีข้อมูลท่ีถูกต้องรอบด้านในเรื่องการแสดงความรัก การจัดการอารมณ์เพศ
เพศสัมพนั ธ์ การตงั้ ครรภ์ การป้องกนั ท้อง และความพร้อมในการมลี กู ดงั นี้

๑. วัยเปลีย่ น อารมณ์เปลีย่ น สังคมเปล่ยี น
๒. จะเลือกสัมพนั ธภาพแบบไหน
๓. อะไรจรงิ เรอื่ งอารมณเ์ พศ
๔. เพื่อนเขา้ ใจเพอ่ื นไหม ?
๕. แสดงความรกั มีหลายวิธี
๖. กันดีกวา่ แก้
๗. โลกของสื่อ
๘. อคติ และการตีตรา
๙. เม่อื ฉนั โตขนึ้
๑๐. ใครมอี ิทธิพลกบั เราบา้ ง
๑๑. ส�ำรวจโฆษณาสินคา้
๑๒. ร่างกายของใคร
๑๓. สอื่ สาร-ตอ่ รอง-ยนื ยัน
๑๔. ความคาดหวงั
๑๕. ตง้ั ทอ้ งได้อยา่ งไร และถ้าฉนั ท้อง
๑๖. ถา้ ฉันตอ้ งเลยี้ งลกู
32

ทั้งนี้ แผนการเรียนร้แู ตล่ ะแผนออกแบบโดยค�ำนงึ ถึงการจดั การเรียนรูใ้ น ๑ คาบเรียน
(๕๐-๖๐ นาที) บางแผนมีการบ้านเพ่ือให้นักเรียนได้เรียนรู้นอกห้องเรียนและมีปฏิสัมพันธ์กับ
คนในครอบครวั หรอื คนอน่ื ๆ บางแผนจ�ำเปน็ ตอ้ งมกี ารมอบหมายการเตรียมการลว่ งหน้า และ
แผนส่วนใหญ่จ�ำเป็นต้องเตรียมอุปกรณ์หรือส่ือประกอบการเรียนรู้ล่วงหน้า ดังนั้น ครูจึงควร
ศกึ ษาแผนลว่ งหนา้ เพอ่ื เตรยี มการจดั การเรยี นรู้ การจดั การเวลาและหอ้ งเรยี นใหเ้ หมาะสม และ
เพ่อื ให้บรรลวุ ตั ถุประสงคก์ ารเรยี นรู้ของแผนน้นั ๆ

จดั กระบวนการเรียนรู้เพศวิถแี ละสมั พนั ธภาพศกึ ษา อย่างไร ?

เพศวถิ ศี กึ ษาเปน็ วชิ าชวี ติ ทแี่ ตล่ ะคนลว้ นมปี ระสบการณต์ ามชว่ งวยั และตามบรบิ ทชวี ติ
ของตนเอง ทุกคนเรียนรู้เร่ืองเพศจากการเล้ียงดูในครอบครัว การอยู่กับกลุ่มเพื่อน สภาพ
แวดลอ้ ม และส่ือ โดยเฉพาะอย่างย่ิงในยคุ สมยั น้ที ีเ่ ยาวชนสามารถเขา้ ถึงสอื่ ได้ง่าย ทง้ั ความรู้
ขอ้ มลู เรอื่ งเพศ สอื่ กระตนุ้ อารมณท์ างเพศหลายรปู แบบ ขา่ วสารเรอ่ื งเพศวถิ จี ากทกุ มมุ โลก ลว้ น
หาไดเ้ พยี ง click เดียว
หอ้ งเรยี นจงึ เปน็ เพยี งอกี พนื้ ทหี่ นงึ่ ทโี่ ดยทว่ั ไป หากจะมบี ทสนทนาเรอื่ งเพศวถิ ี มกั เปน็
แนว “ส่งั สอน” “หา้ มปราม” มากกวา่ การสรา้ งการ “เรียนร”ู้ ใหเ้ ยาวชน
เมอ่ื เราตง้ั ใจน�ำ “เพศวถิ แี ละสมั พนั ธภาพศกึ ษา” เขา้ สหู่ อ้ งเรยี น กระบวนการเรยี นรจู้ งึ
เปน็ เรอื่ งส�ำคญั ทงั้ ยังท้าทายว่า จะท�ำอยา่ งไรกับขอ้ มลู ชุดความเชอ่ื ค่านยิ ม ที่เด็กๆ มีอยแู่ ล้ว
และจะสร้างการเรียนรู้ใหม่ที่มีความหมายกับการน�ำไปใช้ต่อในชีวิตอย่างมีสุขภาวะได้อย่างไร
ท่ามกลางสังคมท่ีมีวัฒนธรรม ความเช่ือ บรรทัดฐานในเร่ืองเพศหลายอย่างท่ีขัดแย้งกับ
แนวปฏิบตั ิ หรือปรากฏการณ์ทีเ่ กิดขึ้นในวิถีทางเพศของผู้คน
การออกแบบแผนการเรียนรู้ในหลักสูตรเพศวถิ แี ละสัมพนั ธภาพศึกษาในระดบั ประถม
ศกึ ษาตอนปลายวางอยบู่ นหลกั การการเรียนรู้ ต่อไปน้ี

33

þ การใหค้ วามสำ� คญั กบั ผ้เู รยี น (Learner-centered)
การจดั การเรยี นรแู้ บบยดึ ผเู้ รยี นเปน็ ศนู ยก์ ลางนนั้ ตอ้ งเรม่ิ จากความเขา้ ใจผเู้ รยี น
อยา่ งแทจ้ รงิ หากตอ้ งการใหเ้ ยาวชนเขา้ ใจและรเู้ ทา่ ทนั การใชช้ วี ติ ทางเพศ เราจ�ำเปน็ ตอ้ งสอื่ สาร
กับเยาวชนอย่างตรงไปตรงมา และรอบด้าน เพ่ือช่วยให้พวกเขาเข้าใจถึงสิ่งที่จ�ำเป็นต้องรู้
ทกั ษะทเี่ ขาพงึ มี รคู้ ดิ และรบั ผดิ ชอบในการเลอื กใชช้ วี ติ ถงึ แมว้ า่ พฤตกิ รรมหรอื การใชช้ วี ติ แบบ
ที่เขาเลือกอาจไม่เป็นไปตามค่านิยมส่วนบุคคลท่ีเราแต่ละคนมีอยู่ก็ตาม ครูในฐานะผู้จัด
กระบวนการเรยี นรู้ตอ้ งเช่อื มัน่ ว่าเยาวชนสามารถเลอื กทางทด่ี ที ส่ี ุดส�ำหรับตัวเขาเองได้
þ การเรียนรผู้ ่านประสบการณ์ (Experiential Learning)
แนวคดิ การจดั การเรยี นรผู้ า่ นประสบการณ์ (Experiential Learning) ของ David
A. Kolb อธบิ ายว่า กระบวนการเรียนรู้ที่เกดิ ขนึ้ อยา่ งตอ่ เนื่องตลอดชีวติ เกดิ จากการเรยี นรูผ้ า่ น
ประสบการณ์ เมื่อบุคคลได้กระท�ำการอย่างหน่ึงและได้เห็นผลของการกระท�ำน้ันๆ ก็จะเกิด
ความเข้าใจและน�ำไปสู่การคาดการณ์ในคราวต่อไปว่า หากมีเหตุอย่างน้ีก็จะมีผลเกิดตามมา
อยา่ งนนั้ บคุ คลจะส่ังสมความเข้าใจถงึ เหตแุ ละผลของการกระท�ำท่ีเกิดต่างกรรมต่างวาระไป
จนกระท่ังสามารถสรุปเช่ือมโยงเป็นหลักการท่ีน�ำไปอธิบายปรากฏการณ์อื่นๆ ที่ใกล้เคียงกัน
และน�ำไปสูก่ าร “ลอง” เพอ่ื ทดสอบหลักการนัน้ วา่ จะได้ผลอย่างไรในสถานการณ์ใหม่ๆ
หัวใจของการเรียนรู้แบบนี้จึงอยู่ที่การสร้างเงื่อนไขให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จาก
ประสบการณต์ รงหรอื สถานการณจ์ �ำลองทค่ี ลา้ ยคลงึ หรอื จากเรอ่ื งราวทจี่ ะตอ้ งประสบตอ่ ไปใน
ชวี ติ จรงิ การออกแบบแผนการเรยี นรเู้ พศวถิ แี ละสมั พนั ธภาพศกึ ษา โดยใชห้ ลกั การ experiential
learning ใหค้ วามส�ำคญั กับ

· การสร้างการมสี ่วนรว่ มจากนักเรยี นในการท�ำกิจกรรมการเรยี นรู้ แสดงความ
คิดเห็น บอกความรู้สึก รบั ฟงั เพื่อน แสดงบทบาทสมมติ ตง้ั ค�ำถาม ตอบค�ำถาม หาข้อมูลมา
เลา่ ชว่ ยกนั สรปุ ครจู งึ มหี นา้ ทเี่ ออ้ื อ�ำนวยและกระตนุ้ การมสี ว่ นรว่ มของนกั เรยี น และสรา้ งความ
รู้สึกปลอดภยั

· การเปิดโอกาสให้นักเรียนทบทวน ใคร่ครวญถึงอารมณ์ ความนึกคิด
ความรสู้ กึ และการกระท�ำของตวั เองในกจิ กรรมและประสบการณก์ ารเรยี นรทู้ จี่ ดั ขน้ึ (reaction)
34

ครูจึงต้องไม่เพียงแต่ท�ำกิจกรรมให้จบไปเท่านั้น แต่ต้องแปรประสบการณ์ไปสู่การเรียนรู้ด้วย
การชวนสะท้อนคดิ หลงั การท�ำกิจกรรม

· การชวนให้คิด วิเคราะห์ ฟังความเห็นต่าง หาเหตุผลโต้แย้งหรือสนับสนุน
ช่วยให้แต่ละคนได้ข้อสรปุ โดยไม่จ�ำเป็นตอ้ งเหมอื นกัน หรือตรงกบั ความคดิ เหน็ ของครู ครูต้อง
ไม่ใช่คนสรุปและบอกค�ำตอบที่ถูกต้องที่สุด แต่บทบาทส�ำคัญคือ ครูต้องเป็นผู้ตั้งค�ำถาม
ไมต่ ดั สินคณุ ค่า และเป็นผใู้ หข้ ้อมูลที่ถูกต้อง รอบดา้ น ครบถว้ น และช้แี นะแหลง่ ขอ้ มลู และให้
แนวทางไปคน้ ควา้ ตอ่

· การเชอื่ มโยงสงิ่ ทเี่ กดิ ขนึ้ ในหอ้ งเรยี นกบั ชวี ติ ของนกั เรยี น ใหเ้ หน็ ความเกย่ี วขอ้ ง
และการน�ำไปประยุกตใ์ ช้ในชีวติ จริง

þ สไตล์การเรียนรู้ (Learning Style)
แตล่ ะคนมวี ธิ กี ารเรยี นรทู้ แ่ี ตกตา่ งกนั ซง่ึ VARK Learning Styles (Fleming, N.D.
and Mills, C., 1992) แบ่งออกเป็น ๔ แบบตามสไตลก์ ารเรยี นรู้ตามความชอบหรอื ความถนัด
ของแตล่ ะคน

·· แบบ V = Visual รปู แบบการเรยี นรทู้ สี่ อื่ ดว้ ยภาพและสญั ลกั ษณ์ แผนที่ แผนผงั
แผนภาพ กราฟ แผนภูมิ และลกู ศรสัญลกั ษณ์ สีสันตา่ งๆ

·· แบบ A = Auditory รปู แบบการเรยี นรทู้ สี่ ่ือด้วยเสียง หรือผา่ นการได้ยินได้ฟงั
ผทู้ ีม่ ีสไตลก์ ารเรยี นรแู้ บบนีจ้ ะชื่นชอบการฟังบรรยาย ฟังเทป การสนทนากล่มุ ย่อย การพดู คยุ
ทางโทรศัพท์ แมแ้ ตก่ ารพูดคุยกับตวั เอง หรอื คดิ ออกมาดงั ๆ

·· แบบ R = Read/write รูปแบบการเรียนรทู้ ่สี ื่อดว้ ยอกั ษร เนน้ การรบั และสง่
ข้อมลู ผา่ นการอ่านและการเขยี น

·· แบบ K = Kinesthetic รปู แบบการเรยี นรทู้ สี่ อื่ ดว้ ยสมั ผสั และการกระท�ำ การใช้
ประสบการณแ์ ละการลงมอื ปฏบิ ตั ิ ไมว่ า่ จะเปน็ ในสถานการณจ์ �ำลองหรอื สถานการณจ์ รงิ กต็ าม
ดังน้ัน การออกแบบในหลักสูตรน้ี จึงพยายามใช้วิธีการเรียนรู้ที่หลากหลายในแต่ละ
แผนการเรียนรู้ ทง้ั การอา่ น การเขยี น การพดู การฟงั การลงมือท�ำ เพอื่ ใหเ้ กดิ การเรียนรู้ท่ีมี
ประสิทธิภาพมากที่สุดส�ำหรับผู้เรียนทุกคน และการใช้วิธีการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบเพื่อ

35

“ดงึ และคง” ความสนใจของผเู้ รยี นไวใ้ หไ้ ด้ รวมทงั้ การทบทวนหรอื ยำ�้ เนอ้ื หาเดยี วกนั ในกจิ กรรม
หลายรปู แบบเชน่ กัน
บางขน้ั ตอนในแผนการเรียนร้ทู ่ีออกแบบไว้ ครูอาจร้สู ึกยุ่งยากในการเตรียม หรอื รู้สึก
ว่าต้องใช้เวลามากในการท�ำกิจกรรม ก่อนจะตัดสินใจว่าไม่ท�ำกิจกรรม บอกเลยก็ได้ หรือ
ตัดทอนเพ่อื รวบรดั ขัน้ ตอนการท�ำกิจกรรม ควรประเมินเปรียบเทยี บถงึ ประสบการณ์ทนี่ กั เรยี น
จะไดเ้ รียนรู้ หากเราเชื่อมนั่ ว่าการเรียนรทู้ ่ีดมี าจากการลงมอื ท�ำ (Learning by doing) ไมใ่ ช่
เพยี งการบอกหรือการสอน
หลายกจิ กรรมเปน็ การแบง่ กลมุ่ ใหแ้ ลกเปลยี่ นแสดงความเหน็ หาขอ้ สรปุ และน�ำเสนอ
หลายกจิ กรรมใหเ้ ดก็ เขยี น รปู แบบพนื้ ฐานเหลา่ นี้ ไมใ่ ชก่ ารออกแบบเพอ่ื ใหเ้ ดก็ ลงมอื ท�ำเทา่ นน้ั
แต่ทั้งการพูด การเขียนเป็นทักษะการส่ือสารที่ต้องฝึกฝน ฝึกการเรียบเรียงความคิด และ
ถา่ ยทอดใหค้ นอืน่ เข้าใจ ครูอาจต้องมองเหน็ ว่า ทักษะเหล่านจ้ี �ำเป็นต้องท�ำบอ่ ยๆ และพัฒนา
ใหด้ ขี น้ึ เรอื่ ยๆ ครจู �ำเปน็ ตอ้ งชว่ ยสะทอ้ นและชแี้ นะ และจดั การเพอื่ ใหเ้ ดก็ ทกุ คนไดร้ บั การฝกึ ฝน
เช่น ผลัดกันออกมาน�ำเสนอ ฝึกให้ทวนสิ่งที่เพ่ือนน�ำเสนอ เปรียบเทียบความเห็นแต่ละกลุ่ม
เปน็ ตน้ นอกจากนน้ั เมอื่ ใหเ้ ดก็ แสดงความเหน็ หรอื ใหเ้ ขยี น ครจู �ำเปน็ ตอ้ งแสดงใหเ้ หน็ วา่ ครรู บั
ฟงั และอ่าน รวมทัง้ ใหข้ อ้ คิดเหน็ หรือขอ้ เสนอแนะด้วย ไมเ่ พียงปล่อยผา่ นไปเพยี งใหเ้ ด็กได้ท�ำ
ในการจดั เพศวถิ ศี กึ ษาทเ่ี นน้ หลกั การของ experiential learning ทกี่ ลา่ วมาในตอนตน้
หวั ใจส�ำคญั อยทู่ กี่ ารปรบั บทบาทของครไู ปเปน็ “ผจู้ ดั การเรยี นร”ู้ เพราะผจู้ ดั การเรยี นรเู้ ปน็ กลไก
ส�ำคัญท่ีจะท�ำให้เกิดการผันประสบการณ์จากกิจกรรมไปสู่การ “รู้แจ้ง” ของแต่ละบุคคล
ขั้นตอนการสะท้อน (reaction) ในวงจรการเรียนรู้แบบ experiential learning จะขาด
ประสิทธิภาพ ถ้าไม่มีผู้ท�ำหน้าท่ีเป็นกระจกส่องให้เกิดการพิจารณาแต่ละแง่มุมอย่างรอบคอบ
โดยเฉพาะเมื่อเป็นการเรียนรู้ของกลุ่ม ซ่ึงหัวใจส�ำคัญอยู่ท่ีการแลกเปล่ียนความคิด ผู้จัดการ
เรียนรู้จึงต้องเป็นผู้ท่ีช่วยท�ำประเด็นให้ชัดข้ึน คอยจัดล�ำดับเร่ืองเพ่ือไม่ให้สับสนหรือตกหล่น
คอยเปิดโอกาสให้คนท่ีอยากพูดได้มีโอกาสพูดบ้าง ช่วยให้กลุ่มสรุปถึงสิ่งที่ต้องการจะบรรลุ
ชว่ ยสร้างบรรยากาศท่เี ป็นมิตรและทกุ คนร้วู ่าตนเองได้รบั การยอมรับ รวมไปถงึ การแนะแหลง่
ขอ้ มลู ทีผ่ ู้เรียนควรคน้ ควา้ หาความรู้ตอ่ ไป
36

ดว้ ยบทบาทของ “ผจู้ ดั การเรยี นร”ู้ สง่ิ ท่ีต้องเนน้ มากท่ีสดุ จงึ ไม่ใช่เนอื้ หา แตเ่ ปน็ เร่อื ง
กระบวนการทจี่ ะชว่ ยให้ผู้เรียนแปรเนอื้ หาไปส่วู ธิ กี ารเรยี นรู้ และไมไ่ ด้หมายความว่าครูไมต่ อ้ ง
มีความร้มู าก ความรู้ยังเป็นเรอื่ งจ�ำเป็น แตส่ ่ิงท่คี รตู ้องมมี ากกวา่ คอื ต้อง “เก่ง” ในการท�ำให้
ผ้เู รยี นตระหนกั ถึง “กระบวนการเรียนร”ู้ เพราะจะตดิ ตัวไปภายหน้า ช่วยใหเ้ ขาสามารถพ่งึ สติ
ปญั ญาของตัวเองในการรับมอื กับสถานการณ์ตา่ งๆ ได้ เม่ือไม่มีครหู รือพ่อแมก่ �ำกบั อยขู่ า้ งๆ
บทบาทของการเป็น “ผู้จัดกระบวนการเรียนรู้เพศวิถีและสัมพันธภาพศึกษา” ผ่าน
ประสบการณน์ ้ี มีข้อทา้ ทายอย่างนอ้ ย ๓ ประการท่ีส�ำคญั

๑. การยึดมัน่ ว่าครรู ดู้ กี ว่า ครูจงึ สามารถคดิ แทนและบอกทางเลอื กทด่ี ที ี่สุดใหก้ บั เดก็
ครูไม่เชื่อมากนักว่าเด็กคิดเองได้ โดยเฉพาะการรู้ซ้ึงถึงผลด้านลบท่ีจะเกิดขึ้น เพราะเด็กมี
ประสบการณ์จ�ำกัด ความยดึ มั่นนมี้ าในรูปของความหวงั ดี ต้องการปกป้องไม่ให้เดก็ ตอ้ งเผชิญ
กับเรื่องร้ายๆ จึงเป็นด่านท่ีส�ำคัญท่ีสุด เพราะเม่ือคิดว่าเป็นเจตนาดี ก็ไม่ตระหนักว่าต้อง
เปลย่ี นแปลง

๒. ความเชื่อที่ตกทอดมาจากการกลอ่ มเกลาทางสงั คมวา่ เร่ืองเพศเปน็ เรือ่ งทนี่ า่ อาย
เป็นเรื่องท่ีต้องควบคุม ท�ำให้รู้สึกผิดบาป ผู้ชายกับผู้หญิงแตกต่างกันทางสรีระและผู้หญิง
ต้องเป็นฝ่ายตาม ผู้หญิงเป็นฝ่ายเสียหายในเร่ืองเพศ และมีข้อจ�ำกัดเร่ืองเพศมากกว่าผู้ชาย
รวมทั้งเรื่องเพศไม่ใช่เร่ืองของเด็ก หากให้รู้มากจะเป็นการชี้โพรงให้กระรอก การปลูกฝังและ
ขดั เกลานมี้ ีผลฝังลึกเสียจนผคู้ นจ�ำนวนไม่น้อยไมเ่ คยฉุกคดิ และตั้งค�ำถามวา่ จรงิ หรือไม่ และ
ท�ำไมจงึ ต้องเป็นเชน่ นั้น

๓. ทกั ษะการฟังและจับประเดน็ การตั้งค�ำถามใหเ้ กดิ การแลกเปลยี่ นความคิดเหน็ ซ่งึ
เปน็ ทกั ษะส�ำคญั ในการ “สรา้ งการเรยี นร”ู้ แตท่ กั ษะเหลา่ นเี้ ปน็ ทกั ษะทใี่ ชน้ อ้ ยในการสอนทเ่ี นน้
เน้ือหาเปน็ หลกั ท่ีครูอาจคนุ้ เคยมากกวา่
อย่างไรก็ดี หากนับว่าการจดั กระบวนการเรียนรูเ้ พศวถิ แี ละสมั พันธภาพศึกษา เปน็ อีก
หนงึ่ ประสบการณท์ ี่ครจู ะได้เรยี นรู้ผ่านการลงมอื ท�ำ การท�ำบอ่ ยๆ ก็เชน่ เดยี วกับทกั ษะอ่ืนๆ ท่ี
จะท�ำใหท้ �ำไดค้ ลอ่ งขน้ึ เกดิ ความเขา้ ใจทมี่ ากขน้ึ ทงั้ ตอ่ ผเู้ รยี นและเนอื้ หา รวมทงั้ อาจน�ำไปสกู่ าร
เกดิ ค�ำถามใหม่ๆ ท่ีตอ้ งการหาค�ำตอบมากขน้ึ

37

โดยสรปุ ผูจ้ ัดกระบวนการเรยี นรู้เพศวิถศี กึ ษาฯ ต้องค�ำนงึ ถงึ
þ การให้ขอ้ มูลท่ถี กู ต้อง รอบด้านในเร่อื งเพศวิถี
þ การเปดิ โอกาสใหน้ ักเรยี นไดต้ ้ังค�ำถาม ส�ำรวจ ถกเถยี ง แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ในเรอื่ งทศั นคติ คา่ นยิ ม และบรรทดั ฐานเรอื่ งเพศวถิ ขี องตนเองและสงั คมไดอ้ ยา่ งรสู้ กึ ปลอดภยั
และไม่ถกู ตัดสนิ คณุ คา่

þ การพฒั นาและฝกึ ทกั ษะตา่ งๆ ทจ่ี �ำเปน็ ในการมปี ฏสิ มั พนั ธ์ และการอยรู่ ว่ มกบั ผอู้ น่ื
þ การพฒั นาและฝกึ ฝนความรับผิดชอบต่อตนเอง ผ้อู ืน่ และสงั คม

ข อ้ แนะน�ำในการน�ำหลกั สูตรเพศวิถแี ละสมั พันธภาพศกึ ษาไปใช้

หลักสูตรเพศวิถีและสัมพันธภาพศึกษาระดับประถมศึกษาตอนปลาย ออกแบบโดย
ค�ำนงึ ถึงข้อแนะน�ำของหลายสถาบนั ว่า การเรยี นรจู้ ะน�ำไปสง่ ผลตอ่ การปรบั เปลย่ี นพฤติกรรม
จะตอ้ งจดั อยา่ งตอ่ เนอื่ งอยา่ งนอ้ ย ๑๖ ชว่ั โมง ดงั นน้ั แตล่ ะระดบั ชนั้ ประกอบดว้ ยแผนการเรยี นรู้
๑๖ แผน และวางล�ำดับเน้ือหาให้ตอ่ เนอื่ งจากเรือ่ งใกล้ตัวส่เู รื่องทก่ี วา้ งขนึ้ จากเรอื่ งง่ายสู่เรอื่ ง
ทซ่ี บั ซอ้ นขนึ้ นอกจากนนั้ ยงั พจิ ารณาถงึ ความสอดคลอ้ งกบั มาตรฐานการเรยี นรแู้ ละตวั ชวี้ ดั ของ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ในระดับประถมปลายท่ีเก่ียวข้อง ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขน้ั พนื้ ฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑
บทเรยี นการน�ำรอ่ งการน�ำหลกั สตู รฯ ไปใชพ้ บวา่ เปน็ เรอื่ งยากทส่ี ถานศกึ ษาและครจู ะ
สามารถจดั กระบวนการเรียนร้ไู ดค้ รบท้งั ๑๖ แผนในแตล่ ะระดับชน้ั ดงั น้นั หลักสตู รฯ จงึ เปน็
แนวทางในการจดั การเรยี นรู้ ทแ่ี ตล่ ะสถานศกึ ษาและครแู ตล่ ะคนสามารถพจิ ารณาเลอื กแผนการ
เรยี นรใู้ หส้ อดคลอ้ งและเหมาะกบั บรบิ ทของผเู้ รยี น และจ�ำนวนเวลาทสี่ ามารถจดั การเรยี นรเู้ พศ
วิถศี กึ ษาฯ ได้จรงิ
แผนการเรยี นรแู้ ตล่ ะแผนประกอบดว้ ยสาระส�ำคญั วตั ถปุ ระสงคก์ ารเรยี นรู้ คณุ ลกั ษณะ
และทกั ษะส�ำคญั ทแี่ ผนนนั้ ๆ ตอ้ งการสรา้ งเสรมิ ใหก้ บั ผเู้ รยี น ขนั้ ตอนการจดั การเรยี นรทู้ ใี่ หเ้ หน็
กระบวนการ ค�ำถามในการชวนคดิ ชวนคยุ และแนวทางการสรปุ รวมทงั้ มตี วั อยา่ งเอกสาร หรอื
38

ส่อื ที่จะใชป้ ระกอบในการท�ำกจิ กรรมการเรียนรู้ ซง่ึ ครอู าจตอ้ งปรับให้เหมาะกบั บริบท หรอื ทัน
สถานการณม์ ากขน้ึ โดยยงั คงยดึ วตั ถปุ ระสงคก์ ารเรยี นรู้ และเนอื้ หา-ทกั ษะทต่ี อ้ งการใหเ้ กดิ กบั
ผเู้ รยี น รวมทั้งเอกสารอ้างอิงทเี่ ป็นข้อมลู ความรสู้ �ำหรบั ครู ซึ่งบางเร่อื งอาจตอ้ งคอยตดิ ตามให้
ข้อมูลทนั สมัยดว้ ยเช่นกนั โดยพึงตระหนกั วา่ หลกั สตู รนพ้ี ัฒนาข้ึนในปี ๒๕๖๐
ทา่ ทขี องครูจึงเป็นเรอ่ื งส�ำคัญ และมผี ลต่อเนอ้ื หาทีต่ อ้ งการให้เด็กเรยี นรู้ การเลอื กใช้
ค�ำท่ีไม่ตัดสินคุณค่าหรือสะท้อนอคติในเร่ืองเพศวิถี เป็นส่ิงที่ครูควรตระหนักและระมัดระวัง
เพราะผเู้ รยี นสามารถประเมนิ ทศั นคตหิ รอื คา่ นยิ มของครไู ด้ ทง้ั จากวธิ กี ารพดู ถงึ การตง้ั ค�ำถาม
การตอบค�ำถาม การยกตัวอย่างประกอบการอธิบาย รวมถึงสีหน้าท่าทางท่ีมีต่อค�ำพูดหรือ
การแสดงออกของผู้เรียน และอาจท�ำให้ผเู้ รยี นไม่กล้าแสดงความเหน็ หรือความรสู้ ึกจริงๆ ใน
เร่อื งที่เหน็ ต่างจากครู หรอื กอ่ ใหเ้ กิดความรสู้ ึกไม่ดี หรือตอกย�้ำทศั นะในทางลบ เช่นการพูดถึง
เพศทางเลือก ความหลากหลายทางเพศ ครอบครวั ในรปู แบบต่างๆ ทไ่ี มใ่ ชค่ รอบครัวอุดมคติ
วยั รุน่ ที่ต้ังครรภ์ การท�ำแทง้ เป็นต้น
นอกจากนน้ั การตระหนกั วา่ สงั คมไทยมคี า่ นยิ ม ความคาดหวงั และบรรทดั ฐานในเรอ่ื ง
เพศตอ่ หญงิ และชายตา่ งกนั การมปี ระสบการณเ์ รอื่ งเพศของหญงิ ถกู ตดั สนิ คณุ คา่ มากกวา่ ชาย
การแสดงออกทางเพศของชายไดร้ บั การยอมรบั มากกวา่ หญงิ การสอนเรอ่ื งเพศ จงึ มกั มงุ่ ควบคมุ
ฝา่ ยหญงิ มากกว่าฝ่ายชาย ดงั น้นั ครูจึงควรตระหนักในเรือ่ งน้ี และท�ำใหเ้ นอื้ หาในการเรยี นรู้
พดู คยุ ในหอ้ งเรยี นเกย่ี วขอ้ งกบั ทกุ เพศ โดยเฉพาะในสว่ นทเี่ กยี่ วขอ้ งกบั การเคารพ และรบั ผดิ ชอบ
ในสมั พนั ธภาพ วา่ เปน็ เรอ่ื งของทุกคน และไมต่ อกย้ำ� อคติ และความไมเ่ ท่าเทยี มทางเพศ ทม่ี ี
อย่ใู นสังคม รวมทง้ั เปิดพ้ืนทกี่ ารเรียนรูใ้ ห้กบั กลมุ่ ท่ีมีความหลากหลายทางเพศด้วยเช่นกนั
แผนการเรียนรู้ที่ออกแบบเป็นการเรียนรู้ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนและการลงมือ
ปฏบิ ัติ โดยมขี ้นั ตอนหลักๆ ท่สี �ำคญั ตอ่ การเรยี นรูข้ องผู้เรียน โดยครูอาจใชเ้ ป็นแนวทางในการ
ตรวจสอบและวางแผนการจัดการเรียนรู้ในแต่ละครั้ง ว่าได้ท�ำ/ชวนให้ผู้เรียนได้ท�ำขั้นตอน
ต่อไปน้ี หรือไม่

· เชอ่ื มโยงกบั ความรู้ การรบั รู้ หรอื ประสบการณเ์ ดมิ ของผเู้ รยี น เพอื่ พฒั นาและขยาย
ความเขา้ ใจท่รี อบดา้ น ลึกซึ้งมากข้ึน
39

· เปิดโอกาสให้มกี ารลงมอื ท�ำมากท่ีสดุ เพ่อื ฝกึ ทกั ษะส่วนบุคคลและทักษะสงั คม
· ชวนส�ำรวจ ทบทวน เปรยี บเทยี บ ความเชอ่ื และทศั นคตขิ องตนเองทมี่ ตี อ่ เรอื่ งตา่ งๆ
· สะท้อนส่งิ ใหมท่ ไ่ี ด้เรียนรู้ และ
· บอกความต้ังใจหรอื แผนทจี่ ะน�ำสง่ิ ทเ่ี รียนรู้ไปใช้ได้

ฝากครู...ส่งทา้ ย

ถงึ วนั นตี้ อ้ งสอน ไมว่ า่ ครจู ะรสู้ กึ อยา่ งไร จะจดั การเรยี นรเู้ พศวถิ แี ละสมั พนั ธภาพศกึ ษา
หรอื ไม่ เดก็ และเยาวชนสว่ นใหญก่ ส็ นใจและพรอ้ มจะเรยี นรเู้ รอื่ งเหลา่ นจี้ ากเพอ่ื นและสอื่ ตา่ งๆ
อยแู่ ลว้ โดยเฉพาะในยคุ สมยั ท่ีสอื่ ออนไลนเ์ ข้าถงึ ได้งา่ ยดาย แต่เราแน่ใจได้อยา่ งไรวา่ ส่ิงทเี่ ด็ก
และเยาวชนเรียนรู้เป็นข้อมูลหรือข้อเท็จจริงแบบใด ส่งผลต่อการรับรู้ ทัศนคติ และวิธีคิดใน
เรือ่ งเพศของพวกเขาอย่างไร
วยั ประถมเป็นโอกาสทอง วัยทเ่ี ป็นจดุ เริ่มตน้ ของการเปล่ยี นผา่ นจากเด็กส่วู ยั รุ่น เป็น
โอกาสส�ำคญั ของครใู นการวางรากฐาน บ่มเพาะคุณสมบัติ อุปนิสัย จริยธรรมทพี่ ึงมี เรมิ่ ฝกึ ฝน
ทักษะในการด�ำเนินชีวิตกับผู้อ่ืน โดยเร่ิมจากเรื่องง่ายๆ ใกล้ตัวสู่เร่ืองท่ีซับซ้อนข้ึน และให้
ความรู้ที่รอบดา้ น แกไ้ ขการรับรทู้ ่ผี ดิ
เพศวถิ เี ปน็ เรอื่ งชวี ติ และการอยรู่ ว่ มกนั เรอื่ งเพศวถิ ี เปน็ เรอื่ งทมี่ ากกวา่ การมเี พศสมั พนั ธ์
แต่ยังรวมถึงเรอ่ื งอารมณค์ วามรูส้ กึ ความสัมพนั ธ์ ความรกั อนามัยเจรญิ พนั ธ์ุ สุขภาพทางเพศ
ความร่ืนรมย์ รสนิยม ความเป็นหญิง ความเป็นชาย รสนิยมทางเพศ ค่านิยม ความเชื่อ
วัฒนธรรมที่หลากหลายในเรื่องเพศและเพศวิถี ดังน้ัน การจัดการเรียนรู้เร่ืองเพศวิถีและ
สมั พนั ธภาพศกึ ษาเปน็ โอกาสในการชว่ ยใหเ้ ดก็ และเยาวชนพฒั นาคณุ คา่ ทศั นคติ และพฤตกิ รรม
ท่สี ่งผลต่อการพฒั นาความสมั พนั ธ์และสขุ ภาวะทางเพศ สรา้ งความรู้สกึ ดแี ละม่ันใจในตนเอง
มีทักษะในการสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับคนรอบข้าง ตลอดจนการคิดใคร่ครวญ และ
ตัดสินใจในการดูแลป้องกันตัวเองในเรื่องเพศสัมพันธ์ท่ีไม่ปลอดภัย ทั้งเร่ืองท้องไม่พร้อม
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการล่วงละเมิดทางเพศ รวมทั้งได้ฝึกถกเถียง แลกเปลี่ยน

40

ต้ังค�ำถามกับคา่ นยิ ม กติกาทางสงั คมท่สี ่งผลตอ่ การเลือกปฏิบัตแิ ละความไม่เสมอภาคในเร่อื ง
เพศ รวมท้ังการปฏบิ ัติต่อบุคคลโดยละเลยสิทธพิ ืน้ ฐานและศักดศ์ิ รคี วามเปน็ มนษุ ย์ทเ่ี กิดข้นึ ใน
สังคม
ครูคือคนส�ำคัญ “ครู” เป็นบุคคลส�ำคัญในการช่วยสร้างบรรยากาศการเรียนรู้เร่ือง
เพศวถิ ี ซ่งึ เปน็ เรื่องใกลต้ วั แต่ยงั คงเปน็ เร่อื งพูดยากในหลายครอบครัวและในหลายบริบทของ
สังคมไทย ครูจึงตอ้ งเท่าทนั กรอบและการให้คณุ ค่าเรอ่ื งเพศ เพศวถิ ีในสงั คม และพร้อมโอบอมุ้
เด็กท่ีแตกต่าง สิ่งหนึ่งท่ีครูท�ำได้ผ่านการจัดการเรียนรู้เพศวิถีและสัมพันธภาพศึกษา คือ
การท�ำใหเ้ ด็กๆ รู้สกึ วา่ “ครู” ของเขา เป็นผ้ใู หญ่อย่างนอ้ ยหนึง่ คนทีเ่ ขาสามารถคยุ ได้ ถามได้
และพร้อมฟังความรู้สึก ความกังวลในเรื่องท่ียากจะคุยกับผู้ใหญ่คนอ่ืนๆ ที่ส�ำคัญกว่านั้น
หากครสู ามารถท�ำใหเ้ ดก็ ๆ มน่ั ใจวา่ หากเขาเผชญิ ปญั หาหรอื ความพลาดพลง้ั ในชวี ติ นอกจาก
ครูของเขาจะไม่ทับถมเขาแล้ว ครูยังจะช่วยให้ค�ำปรึกษา หาทางเลือก และยืนเคียงข้างเขา
เพ่อื ท่ีจะผ่านพน้ ช่วงทา้ ทายของชีวติ ไปกบั เขา

ตอ่ ให้มีหลักสูตร แผนการเรียนรู้ สือ่ การเรียนการสอนทีด่ ี
ก็ไม่มคี วามหมายใดๆ

หากครูไม่ได้จัดกระบวนการเรียนรอู้ ยา่ งเหมาะสม
หรอื แย่กว่านัน้ คอื

ไม่ไดน้ �ำไปใช้จดั การเรยี นรกู้ บั เดก็ ๆ เลย

41

42

บทสรุปจากงานวจิ ัยในชัน้ เรยี น

โครงการวิจยั เรื่อง การศกึ ษาผลการใช้หลักสตู รเพศวิถแี ละสมั พันธภาพ
ศึกษา ของนักเรียนช้นั ประถมศกึ ษาปที ่ี ๔-๖
ในโรงเรยี นประถมศกึ ษา ๑๐ จังหวดั

โครงการวิจัยเร่ืองการศึกษาผลการใช้หลักสูตรเพศวิถีและสัมพันธภาพศึกษาของ
นักเรยี นชนั้ ประถมศึกษาปีท่ี ๔-๖ ในโรงเรยี นประถมศึกษา ๑๐ จังหวดั มวี ัตถปุ ระสงค์การวจิ ัย
เพอื่ ศกึ ษาผลการใชห้ ลกั สตู รเพศวถิ แี ละสมั พนั ธภาพศกึ ษาของนกั เรยี นชนั้ ประถมศกึ ษาปที ่ี ๔-๖
ในโรงเรียนประถมศึกษา ๑๐ จังหวัด โดยศึกษาผลทเ่ี กดิ ข้นึ กบั นกั เรยี นดงั นี้ ๑) ผลการเปรียบ
เทยี บความรคู้ วามเขา้ ใจเรอื่ งเพศของนกั เรยี นชนั้ ประถมศกึ ษาปที ่ี ๔-๖ ในโรงเรยี นประถมศกึ ษา
๑๐ จงั หวดั ระหวา่ งกอ่ นและหลงั การใชห้ ลกั สตู รเพศวถิ แี ละสมั พนั ธภาพศกึ ษา ๒) ผลการเปรยี บ
เทียบเจตคติท่ีมีต่อเร่ืองเพศของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีท่ี ๔-๖ ในโรงเรียนประถมศึกษา
๑๐ จังหวัด ระหว่างก่อนและหลังการใช้หลักสูตรเพศวิถีและสัมพันธภาพศึกษา ๓) ผลการ
เปรียบเทียบทักษะการจัดการสัมพันธภาพของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีท่ี ๔-๖ ในโรงเรียน
ประถมศึกษา ๑๐ จังหวดั กอ่ น ระหวา่ ง และหลังการใช้หลักสตู รเพศวิถแี ละสัมพนั ธภาพศกึ ษา
และ ๔) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีท่ี ๔-๖ ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้
โดยใช้หลักสตู รเพศวถิ ีและสัมพนั ธภาพศกึ ษาในโรงเรียนประถมศึกษา ๑๐ จังหวดั

กลมุ่ ตวั อย่างทเ่ี ขา้ รว่ มในการน�ำหลกั สตู รเพศวถิ ีและสมั พันธภาพศึกษาไปใช้ ประกอบ
ดว้ ย ๑) ครผู ้สู อนระดบั ชนั้ ประถมศกึ ษาปีท่ี ๔-๖ ในโรงเรยี นประถมศึกษาจ�ำนวน ๑๕ โรงเรียน
จาก ๘ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ นครสวรรค์ ชัยภูมิ มหาสารคาม เลย
กรุงเทพมหานคร และกระบ่ี จ�ำนวน ๑๘ คน ๒) นักเรียนระดับชนั้ ประถมศึกษาปที ี่ ๔-๖ จ�ำนวน
๙๒๙ คน เครอ่ื งมือทใ่ี ชใ้ นการเก็บรวบรวมข้อมลู ไดแ้ ก่ ๑) หลักสตู รเพศวิถีและสัมพันธภาพ
ศกึ ษา ๒) แบบสอบถามผลลพั ธก์ ารจดั การเรยี นรรู้ ายวชิ าเพศวถิ แี ละสมั พนั ธภาพศกึ ษา ๓) แบบ
ประเมนิ ทกั ษะการจดั การสมั พนั ธภาพของผเู้ รยี น และ ๔) แบบสอบถามความคดิ เหน็ ของนกั เรยี น

43

ท่ีมีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้หลักสูตรเพศวิถีและสัมพันธภาพศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้
ค่าความถ่ี ร้อยละ คา่ เฉลี่ย ส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะหเ์ นื้อหา

ผลการวิจยั พบวา่ นกั เรยี นระดับช้นั ป. ๔-๖ มีความรู้ ความเขา้ ใจ เจตคติเก่ยี วกับเรื่อง
เพศ และทกั ษะการจัดการสมั พนั ธภาพหลังเรยี นสงู ขึน้ กวา่ ก่อนเรยี น ดงั น้ี

๑. ผลการเปรยี บเทยี บความรคู้ วามเขา้ ใจเรอื่ งเพศของนกั เรยี นชน้ั ประถมศกึ ษาปที ่ี ๔-๖
ระหว่างก่อนและหลังการใช้หลักสูตรเพศวิถีและสัมพันธภาพศึกษาพบว่า ในภาพรวมนักเรียน
ชน้ั ป.๔-๖ มคี วามรคู้ วามเขา้ ใจเรอื่ งเพศหลงั เรยี นสงู กวา่ กอ่ นเรยี น โดยมคี ะแนนเฉลย่ี หลงั เรยี น
เท่ากับ ๘.๒๕ ก่อนเรียนมีคา่ เฉลยี่ เทา่ กบั ๗.๑๑ มรี อ้ ยละของความกา้ วหน้าเทา่ กบั ๑๑.๔๑ โดย
นักเรยี นช้นั ป.๔ มีร้อยละของความกา้ วหนา้ มากทีส่ ดุ รองลงมาคอื นักเรยี นชั้น ป.๕ และ ป.๖
ตามล�ำดบั

๒. ผลการเปรียบเทียบเจตคติที่มีต่อเร่ืองเพศของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีที่ ๔-๖
ระหว่างก่อนและหลังการใช้หลักสูตรเพศวิถีและสัมพันธภาพศึกษาพบว่า ในภาพรวมนักเรียน
ช้นั ป.๔-๖ มีเจตคตติ อ่ เร่ืองเพศหลงั เรียนสงู กว่าก่อนเรียน โดยมคี า่ เฉลยี่ หลงั เรยี นเท่ากับ ๓.๗๑
ก่อนเรียนมีค่าเฉล่ียเท่ากับ ๓.๓๖ มีร้อยละของความก้าวหน้าเท่ากับ ๗.๐๖ โดยนักเรียน
ชน้ั ป.๕ มรี อ้ ยละของความกา้ วหน้ามากท่ีสดุ รองลงมาคอื ชนั้ ป.๖ และ ป.๔ ตามล�ำดับ

๓. ผลการเปรียบเทียบทักษะการจัดการสัมพันธภาพของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีที่
๔-๖ ก่อน ระหว่าง และหลังการใช้หลักสูตรเพศวิถีและสัมพันธภาพศึกษาพบว่า ในภาพรวม
นักเรียนช้ัน ป.๔-๖ มีทักษะการจัดการสัมพันธภาพหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยนักเรียน
ชั้น ป.๔ มคี า่ เฉล่ียหลังเรียนเทา่ กบั ๒.๒๗ ก่อนเรียนเทา่ กบั ๒.๒๕ มรี อ้ ยละของความก้าวหนา้
เท่ากับ ๑.๔๙ นักเรียนชั้น ป.๕-๖ มีค่าเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ ๒.๖๖ ก่อนเรียนเท่ากับ ๒.๓๗
มีรอ้ ยละของความก้าวหน้าเท่ากบั ๖.๗๖ ในส่วนของการประเมนิ ระหวา่ งเรยี นพบวา่ นกั เรียน
ชน้ั ป.๔-๖ มพี ัฒนาการสูงขนึ้ ในการวดั แต่ละครง้ั โดยนกั เรียนชนั้ ป.๖ มีพัฒนาการมากท่ีสุด
รองลงมาคือ ช้นั ป.๕ และ ป.๔ ตามล�ำดับ

44

๔. ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชนั้ ประถมศกึ ษาปที ่ี ๔-๖ ทมี่ ตี ่อการจัดการ
เรียนรู้โดยใช้หลักสูตรเพศวิถีและสัมพันธภาพศึกษาพบว่า ในภาพรวมนักเรียนชั้น ป.๔-๖ มี
ความคดิ เห็นอยใู่ นระดับมากถงึ มากทส่ี ดุ ในทุกด้าน โดยมคี า่ เฉลย่ี เทา่ กับ ๔.๓๔ เมอื่ แยกเป็น
รายดา้ นพบวา่ นกั เรยี นเหน็ วา่ ดา้ นเนอื้ หาสาระมคี วามเหมาะสมมากทสี่ ดุ รองลงมาคอื ดา้ นสอื่
ดา้ นครผู สู้ อน และดา้ นกจิ กรรมตามล�ำดบั โดยนกั เรยี นชนั้ ป.๕ มคี วามคดิ เหน็ วา่ เหมาะสมมาก
ทสี่ ุด รองลงมาคอื นักเรยี นชั้น ป.๖ และชัน้ ป.๔ ตามล�ำดบั

นอกจากนั้น จากการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของครูผู้สอนหลักสูตรเพศวิถีและ
สัมพันธภาพศึกษา ในด้านเพศ ประสบการณ์ในการสอนเพศวิถีศึกษา ต�ำแหน่ง และวิชาที่
รับผิดชอบสอนพบว่า แม้ว่าครูจะมีพื้นฐานและประสบการณ์แตกต่างกัน แต่สามารถพัฒนา
ความรู้ ความเขา้ ใจ เจตคติ และทกั ษะการจัดการสัมพนั ธภาพของผเู้ รยี นไม่แตกตา่ งกัน

งานวิจยั ภายใต้โครงการพัฒนาหลกั สตู รและน�ำร่องเพศวถิ ีศกึ ษา
ในโรงเรยี นประถมศึกษาใน ๑๐ จังหวัด
ดำ� เนนิ การโดย มลู นธิ แิ พธทูเฮลท์ (P2H)
ผู้ทำ� วิจัยช้ันเรยี น

๑) โรงเรียนเชยี งรายวทิ ยาคม ๒) โรงเรียนสหศาสตร์ศึกษา ๓) โรงเรยี นบา้ นสนั ก�ำแพง
๔) โรงเรยี นอนบุ าลหนองป่าครงั่ ๕) โรงเรยี นบ้านศาลเจา้ ไก่ต่อ ๖) โรงเรียนอนชุ นวฒั นา
๗) โรงเรยี นอนบุ าลทา่ ตะโก ๘) โรงเรยี นชมุ ชนบา้ นแกง้ ครอ้ หนองไผ่ ๙) โรงเรยี นศรโี กสมุ วทิ ยาฯ
๑๐) โรงเรยี นอนบุ าลมหาสารคาม ๑๑) โรงเรยี นอนุบาลเชียงคาน ๑๒) โรงเรยี นบา้ นโคกงาม
๑๓) โรงเรียนพบิ ลู อปุ ถมั ภ์ ๑๔) โรงเรียนชมุ ชนบ้านศาลาด่าน ๑๕) โรงเรยี นบา้ นพรุดินนา

ผคู้ วบคมุ การวิจยั
รศ.ดร.สายฝน เอกวรางกูร และ ผศ.ดร.นัยนา หนนู ิล มหาวิทยาลัยวลยั ลกั ษณ์
ดร.พิกลุ เอกวรางกรู และ รศ.ดร.ชานนท์ จนั ทรา มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์
นายวสิ ทุ ธิศกั ดิ์ หวานพรอ้ ม ผู้อ�ำนวยการโรงเรยี นวัดทางขึน้

45

46

แนวทางการจัดการเรียนรู้
เพศวถิ แี ละสมั พนั ธภาพศึกษา
ตามหลกั สูตรแกนกลางการศกึ ษาขัน้ พน้ื ฐาน
พุทธศกั ราช ๒๕๕๑

หลกั การส�ำคญั ในหลกั สตู รการศึกษาข้นั พนื้ ฐาน พ.ศ.๒๕๕๑ คือการส่งเสรมิ ให้ผเู้ รียน
ได้พัฒนาและเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเน่ืองตลอดชีวิต โดยถือว่าผู้เรียนส�ำคัญท่ีสุด การจัด
หลกั สตู รในสถานศึกษาจึงมีความยืดหย่นุ ทงั้ ด้านสาระ เวลา และการจดั การเรียนรู้
การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศวถิ แี ละสัมพันธภาพศึกษาระดบั ประถมศกึ ษาปีท่ี ๕ ให้
ความส�ำคญั กบั การเรยี นรทู้ ตี่ อ่ เนอื่ ง และเปน็ ระบบตามล�ำดบั ขน้ั ตอนของเนอื้ หาและความเชอื่ ม
โยงกบั วิถชี วี ิตของผเู้ รยี น เพอื่ น�ำไปสกู่ ารปรับเปลีย่ นพฤติกรรมของผเู้ รยี นในระยะยาว
จากการวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวช้ีวัด และสาระการเรียนรู้แกนกลางฯ ใน
หลกั สตู รเพศวถิ แี ละสัมพันธภาพศกึ ษาระดับประถมศึกษาปที ่ี ๕ น้ีพบว่า เน้อื หาสาระของเพศ
วถิ แี ละสมั พนั ธภาพศกึ ษาสอดคลอ้ งกบั ตวั ชวี้ ดั และสาระการเรยี นรแู้ กนกลางของกลมุ่ สาระการ
เรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และกลุ่มสาระ
ภาษาไทย ซ่ึงจะเป็นประโยชน์ต่อครูผู้จัดการเรียนรู้ ท่ีจะน�ำแผนการเรียนรู้เพศวิถีและ
สมั พนั ธภาพศึกษาไปปรับใชไ้ ด้
นอกจากนนั้ ยงั พบวา่ เนอ้ื หาเพศวถิ แี ละสมั พนั ธภาพศกึ ษา มคี วามสอดคลอ้ งกบั แนวคดิ
และแนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ดังน้นั สถานศกึ ษาจึงมที างเลือกในการจดั การเรียน
รเู้ พศวถิ แี ละสมั พนั ธภาพศกึ ษาเขา้ สหู่ ลกั สตู รสถานศกึ ษาตามความพรอ้ มของสถานศกึ ษา อาทิ
จดั ใหเ้ ป็นสว่ นหนึง่ ของกล่มุ สาระสุขศึกษา กลมุ่ สาระสงั คมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กลมุ่
สาระภาษาไทย จัดไวใ้ นวชิ าแนะแนว ชวั่ โมงโฮมรมู หรอื การเปิดสาระเพ่ิมเติม เปน็ ตน้

47

จากการวิเคราะห์ความเก่ียวข้องระหว่างตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้แกนกลางตาม
หลักสูตรแกนกลางฯ ๒๕๕๑ นี้พบว่า เพศวิถีและสัมพันธภาพศึกษาสอดคล้องและสามารถ
บรู ณาการกบั กลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังน้ี
๑. กลุ่มสาระสขุ ศึกษาและพลศกึ ษา

สาระท่ี ๒ ชวี ติ และครอบครัว
มาตรฐาน พ ๒.๑ เข้าใจและเห็นคณุ ค่าตนเอง ครอบครัว เพศศกึ ษา และมที ักษะในการ

ด�ำเนนิ ชวี ติ
ป ๕/๑ อธิบายการเปลยี่ นแปลงทางเพศและปฏิบัตไิ ดเ้ หมาะสม
ป ๕/๓ ระบุพฤติกรรมท่ีพึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ในการแก้ไขความขัดแย้งใน

ครอบครวั และกล่มุ เพื่อน
สาระที่ ๔ การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพ และการปอ้ งกันโรค
มาตรฐาน พ ๔.๑ เห็นคุณค่าและมที ักษะในการสรา้ งเสริมสขุ ภาพ การด�ำรงสขุ ภาพ การ

ป้องกนั โรค และการสร้างเสริมสมรรถภาพเพ่อื สขุ ภาพ
ป ๕/๒ ค้นหาข้อมูลขา่ วสารเพ่อื ใช้สรา้ งเสรมิ สขุ ภาพ
สาระที่ ๕ ความปลอดภัยในชวี ติ
มาตรฐาน พ ๕.๑ ป้องกันและหลีกเล่ียงปัจจัยเส่ียง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ อุบัติเหตุ

การใช้ยาเสพติด และความรุนแรง
ป ๕/๔ วเิ คราะหอ์ ทิ ธพิ ลของสอ่ื ท่ีมีต่อพฤติกรรมสขุ ภาพ
๒. กลมุ่ สาระสังคมศกึ ษา ศาสนา และวัฒนธรรม
สาระที่ ๒ หนา้ ท่ีพลเมือง วัฒนธรรม และการดำ� เนินชวี ติ ในสังคม
มาตรฐาน ส ๒.๑ เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าท่ีของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมท่ีดีงาม

และธ�ำรงรกั ษาประเพณแี ละวฒั นธรรมไทย ด�ำรงชวี ติ อยรู่ ว่ มกนั ในสงั คม
ไทย และสังคมโลกอย่างสนั ติสุข

48


Click to View FlipBook Version