พระคริสตธรรมคมั ภีร์ฉบับศกึ ษา
ผเู้ ผยพระวจนะ สมัยอาณาจกั รบาบโิ ลน
เยเรมีย์ เพลงคร่ำ�ครวญ
Study Bible for the Prophetic Books in Babylonian Period :
Jeremiah Lamentations
พระครสิ ตธรรมคมั ภรี ฉ์ บบั ศกึ ษา ผเู้ ผยพระวจนะ สมยั อาณาจกั รบาบโิ ลน
เยเรมยี ์ เพลงคร่�ำ ครวญ
Study Bible for the Prophetic Books in Babylonian Period :
Jeremiah Lamentations
สงวนลขิ สทิ ธ ์ิ 2020 โดยสมาคมพระครสิ ตธรรมไทย
พระคมั ภรี ์ : จากพระครสิ ตธรรมคมั ภรี ์ ฉบบั มาตรฐาน
ภาพ : Horace Knowles © The British & Foreign Bible Society 1954, 1967, 1972
Copyright © 2020 Thailand Bible Society
Thai Scripture Text : The Holy Bible, Thai Standard Version
Illustrations : Horace Knowles © The British & Foreign Bible Society 1954, 1967, 1972
พระครสิ ตธรรมคมั ภรี ฉ์ บบั ศกึ ษา ผเู้ ผยพระวจนะ สมยั อาณาจกั รบาบโิ ลน เยเรมยี ์ เพลงครำ�่ ครวญ น้ี
สงวนลขิ สทิ ธแิ์ ละจดั พมิ พจ์ ำ� หนา่ ยโดยสมาคมพระครสิ ตธรรมไทย การอา้ งองิ หรอื การนำ� เนอ้ื ความของพระ
ครสิ ตธรรมคมั ภรี ฉ์ บบั นไ้ี ปใชใ้ นการจำ� หนา่ ย ตอ้ งไดร้ บั อนญุ าตจากสมาคมฯ เปน็ ลายลกั ษณอ์ กั ษร และในกรณี
ทกี่ ารอา้ งองิ เปน็ เนอื้ ความยาวตอ้ งมขี อ้ ความแสดงการเปน็ เจา้ ของลขิ สทิ ธกิ์ ำ� กบั ดงั น้ี “พระครสิ ตธรรมคมั ภรี ์
ฉบบั ศกึ ษา ผู้เผยพระวจนะ สมยั อาณาจักรบาบโิ ลน เยเรมีย์ เพลงคร�ำ่ ครวญ สงวนลขิ สทิ ธโิ์ ดยสมาคม
พระครสิ ตธรรมไทย ใชโ้ ดยไดร้ บั อนญุ าต”
Quotations of the Study Bible for the Prophetic Books in Babylonian Period : Jeremiah
Lamentations in any form, must obtain written permission from the publisher. For any long quotation,
notice of copyright must appear as follows : “Study Bible for the Prophetic Books in Babylonian
Period : Jeremiah Lamentations © 2020 by Thailand Bible Society. Used by permission.”
พมิ พค์ รง้ั ท่ี 1 : มนี าคม 2020
TBS 2020-1.5M : ISBN 978-616-339-144-5
จดั พมิ พ์ และเผยแพรโ่ ดย
สมาคมพระครสิ ตธรรมไทย
319/52-55 ถนนวภิ าวดรี งั สติ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรงุ เทพฯ 10400
โทรศพั ท์ 0-2279-8341 โทรสาร 0-2616-0517
http://www.thaibible.or.th, www.thaibible.net, e-mail:[email protected]
D
คำ�น�ำ
ขอบคณุ พระเจา้ สำ� หรบั พระคมั ภรี ฉ์ บบั ศกึ ษา พระธรรมเยเรมยี แ์ ละเพลงครำ่� ครวญ ซง่ึ บรรจคุ ำ� อธบิ าย
ขอ้ ความหรอื วลีทนี่ ่าสนใจ อีกท้ังยังมบี ทความพิเศษที่เกยี่ วข้องกบั เนอื้ หาของพระธรรม
ทั้งเยเรมีย์และเพลงครำ�่ ครวญ เปน็ หนงั สือท่ีเขียนขึน้ ในช่วงท่ีเกิดวกิ ฤตในบา้ นเมืองและในชีวิตของ
ผ้เู ขยี นเอง จงึ เปน็ หนงั สือทห่ี นุนใจผูเ้ ช่อื ให้วางใจในพระเจ้า ยนื หยัดในความเชอื่ และรอคอยอนาคตขา้ ง
หน้าด้วยความหวังใจ นอกจากน้ียังชูใจผู้รับใช้ทุกคนให้ท�ำพันธกิจด้วยความซ่ือสัตย์ ปัญหาท่ีเกิดข้ึนกับ
เยเรมีย์ก็ยังสามารถพบได้ในงานรับใช้สมัยปัจจุบันด้วยเช่นกัน เยเรมีย์เป็นผู้รับใช้ท่ีซ่ือสัตย์ต่อพระวจนะ
สิ่งนี้ท�ำให้ท่านสามารถยืนหยัดรับใช้พระเจ้าและชุมชนคนอิสราเอลในเวลานั้นได้อย่างเต็มก�ำลัง แม้จะมี
ปัญหาหรอื อปุ สรรคขัดขวางงานอยู่รอบดา้ นกต็ าม
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าพระคัมภีร์ฉบับศึกษาเล่มน้ีจะช่วยเพิ่มความเข้าใจให้กับผู้อ่าน ทั้งในส่วนท่ีเป็น
ข้อพระธรรมและการตีความหมาย รวมถงึ การนำ�ไปประยกุ ต์ใช้ในชวี ติ ประจำ�วัน
สมาคมพระครสิ ตธรรมไทย
E
แนะน�ำ เนื้อหา
พระครสิ ตธรรมคัมภรี ฉ์ บบั ศึกษา ผู้เผยพระวจนะ สมัยอาณาจกั รบาบโิ ลน
เยเรมีย์ เพลงครำ่�ครวญ
เน้อื หาของหนงั สือประกอบด้วย
1. พระคมั ภรี ฉ์ บบั มาตรฐาน 2011
1.1 เนอ้ื หาพระธรรม (Text) ตรงความหมายในภาษาเดมิ ของพระคมั ภรี ์
1.2 เชงิ อรรถ (Footnote) อธบิ ายบางอยา่ งในเนอ้ื หาพระธรรมเพอ่ื ใหผ้ อู้ า่ นเขา้ ใจชดั เจน
1.3 ข้ออ้างโยง (Cross Reference) อ้างอิงข้อพระคัมภีร์อ่นื ๆ ท่มี ีเน้อื ความเดียวกันหรือ
คลา้ ยคลงึ กนั
2. คำ�นำ� (Introduction)
2.1 คำ�นำ�ของหมวดพระธรรม ช่วยผ้ศู ึกษาเห็นลักษณะและจุดประสงค์ของแต่ละหมวดใน
พระคมั ภรี ์ เชน่ หมวดเบญจบรรณ หมวดประวตั ศิ าสตร์ หมวดกวนี พิ นธ์ กลมุ่ ปญั ญานพิ นธ์ ฯลฯ
2.2 คำ�นำ�ของพระธรรมแต่ละเล่ม แนะนำ�ผู้ศึกษาเก่ียวกับลักษณะวรรณกรรม เบ้ืองหลัง
ประวตั ศิ าสตร์ หลกั ศาสนศาสตร์ ฯลฯ ของพระธรรมเลม่ นน้ั
3. โครงรา่ งของพระธรรม (Outline) ใหผ้ ศู้ กึ ษามองเหน็ ภาพกวา้ งๆ ของพระธรรมทง้ั เลม่
4. คำ�อธบิ าย (Study Note อยบู่ นพน้ื หลงั สฟี า้ ) เปน็ การอธบิ ายบางสว่ นของขอ้ หรอื ทง้ั ขอ้ หรอื ทง้ั ตอน
4.1 อธบิ ายคำ�หรอื ขอ้ ความทเ่ี ขา้ ใจยาก
4.2 อธบิ ายเบอ้ื งหลงั วฒั นธรรม ศาสนา สงั คม และประวตั ศิ าสตร์
4.3 อธบิ ายความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งพระคมั ภรี เ์ ดมิ และพระคมั ภรี ใ์ หม่
4.4 อธบิ ายความหมายโดยนำ�เสนอคำ�แปลของฉบบั ตา่ งๆ
4.5 เสนอแงค่ ดิ หรอื แนวทางการนำ�ความหมายพระธรรมมาเกย่ี วโยงกบั ชวี ติ ปจั จบุ นั ในดา้ นตา่ งๆ
คำ�อธบิ ายเปน็ ตวั หนาในแถบสขี าว อยรู่ ะหวา่ งสญั ลกั ษณ์
5. บทความพเิ ศษ (Sidebar อยถู่ ดั ลงมาจาก คำ�อธบิ าย) อธบิ ายคำ�สำ�คญั หรอื แนวคดิ บางอยา่ งทาง
ศาสนศาสตรใ์ นกรอบของพระธรรมนน้ั ๆ
6. ประมวลศพั ท์ (Glossary อยทู่ า้ ยเลม่ ) อธบิ ายคำ� หรอื วลที ป่ี รากฏบอ่ ยครง้ั ในพระคมั ภรี ์
7. หนา้ พเิ ศษ (Topical Index อยทู่ า้ ยเลม่ ) อธบิ ายหวั ขอ้ สำ�คญั ตา่ งๆ ในพระคมั ภรี ์
8. แผนท่ี (Map) แสดงตำ�แหนง่ ทต่ี ง้ั ของเมอื ง และสถานทส่ี ำ�คญั ในพระคมั ภรี ์
9. รปู ภาพ แผนภาพ ใชป้ ระกอบคำ�อธบิ ายเพอ่ื เพม่ิ ความเขา้ ใจ
10. บนั ทกึ สว่ นตวั พน้ื ทพ่ี เิ ศษสำ�หรบั ผศู้ กึ ษาใชเ้ ขยี นบนั ทกึ เพม่ิ เตมิ
F
วธิ กี ารใช้
พระคริสตธรรมคมั ภีรฉ์ บับศึกษา ผู้เผยพระวจนะ สมัยอาณาจกั รบาบิโลน
เยเรมยี ์ เพลงคร�่ำ ครวญ
1. การอา้ งองิ คำ�อธบิ าย
1.1 ดู “พระยาห์เวห์จอมทัพ” ใต้หัวข้อ “ศัพท์สำ�คัญ” ในคำ�นำ�หมวดผ้เู ผยพระวจนะใหญ่
หมายถงึ ใหไ้ ปดคู ำ�อธบิ ายเรอ่ื ง “พระยาหเ์ วหจ์ อมทพั ” ใตห้ วั ขอ้ ศพั ทส์ ำ�คญั ในคำ�นำ�หมวด
ผเู้ ผยพระวจนะใหญ่
1.2 ดูบทความพิเศษ “ที่สูง” หมายถึงให้ไปดูคำ�อธิบายบทความพิเศษ (Sidebar) เร่ือง
“ทสี่ งู ” โดยดเู ลขหนา้ ของบทความพเิ ศษได้ทสี่ ารบญั
1.3 ดู “เข้าสุหนัต” ในประมวลศัพท์ หมายถึงให้ไปดูคำ�อธิบายเร่อื ง “เข้าสุหนัต” ในหน้า
ประมวลศพั ทท์ า้ ยเลม่
1.4 ดู “บาบิโลน” ในหน้าพิเศษ หมายถึงให้ไปดูคำ�อธิบายเร่อื ง “บาบิโลน” ในหน้าพิเศษ
ทา้ ยเลม่
2. การอา้ งองิ พระคมั ภรี ์
2.1 ดู รม.9:21 หรอื เทยี บกบั รม.9:21 หรอื (รม.9:21) เปน็ การอา้ งองิ ขอ้ พระคมั ภรี ท์ เ่ี กย่ี วขอ้ ง
กบั เรอ่ื งทก่ี ลา่ วอยู่ ในทน่ี ห้ี มายถงึ ใหด้ พู ระธรรม โรม บทท่ี 9 ขอ้ 21
2.2 ดู 3:15 หรอื เทยี บกบั 3:15 หรอื (3:15) เปน็ การอา้ งองิ ขอ้ พระคมั ภรี ใ์ นเลม่ เดยี วกนั กบั
ทก่ี ำ�ลงั อธบิ ายอยู่ จงึ ไมม่ ชี อ่ื พระธรรมกำ�กบั
2.3 ดขู อ้ 12 หรอื เทยี บกบั ขอ้ 12 หรอื (ขอ้ 12) เปน็ การอา้ งองิ ขอ้ พระคมั ภรี ใ์ นเลม่ เดยี ว และ
บทเดยี วกนั กบั ทก่ี ำ�ลงั อธบิ ายอยู่ จงึ ไมม่ ชี อ่ื พระธรรมและเลขบทกำ�กบั
2.4 ดคู ำ�อธบิ าย 2:8 เปน็ การอา้ งองิ ถงึ คำ�อธบิ าย (Study Note) ทเ่ี กย่ี วขอ้ งกบั เรอ่ื งทก่ี ลา่ วอยู่
ในเลม่ เดยี วกนั กบั ทก่ี ำ�ลงั อธบิ ายอยู่ จงึ ไมม่ ชี อ่ื พระธรรมกำ�กบั
3. สญั ลกั ษณ์
3.1 สญั ลกั ษณ์ ขน้ึ ตน้ หรอื ลงทา้ ยบทความพเิ ศษ (Sidebar) หมายถงึ คำ�อธบิ ายบทความ
พเิ ศษนน้ั ยงั ไมจ่ บและมตี อ่ ในหนา้ ถดั ไป โดยในหนา้ ถดั ไปจะมชี อ่ื หวั ขอ้ บทความพเิ ศษตามดว้ ยคำ�
วา่ (ตอ่ ) และมสี ญั ลกั ษณเ์ ดยี วกนั ปรากฏอยหู่ นา้ คำ�อธบิ ายทต่ี อ่ เนอ่ื งดว้ ย
3.2 สญั ลกั ษณ์ ทา้ ยบทความพเิ ศษ (Sidebar) หมายถงึ บทความพเิ ศษนน้ั อธบิ ายจบแลว้
3.3 สญั ลกั ษณ์ กำ�กบั อยหู่ นา้ และหลงั ขอ้ ความทเ่ี ปน็ ตวั หนาและมกี ารเนน้ แถบสขี าว สว่ น
ขอ้ ความนน้ั ไดน้ ำ�เสนอแงค่ ดิ หรอื แนวทางการนำ�ไปประยกุ ตใ์ ชใ้ นชวี ติ ประจำ�วนั (Application)
G
หนา้ ตัวอย่าง
พระครสิ ตธรรมคมั ภีร์ฉบบั ศกึ ษา ผูเ้ ผยพระวจนะ สมยั อาณาจกั รบาบโิ ลน
เยเรมยี ์ เพลงครำ่�ครวญ
H
สารบัญ
พระคริสตธรรมคัมภีรฉ์ บับศึกษา ผู้เผยพระวจนะ สมัยอาณาจักรบาบิโลน
เยเรมยี ์ เพลงครำ่�ครวญ
คำ� นำ� D
คำ�นำ� หมวดผเู้ ผยพระวจนะใหญ ่ 1
เยเรมยี ์ 12
บทความพเิ ศษ (Sidebar)
การทรงเรยี กเยเรมยี ์ 19
ผเู้ ผยพระวจนะเทจ็ 23
ทส่ี งู 28
บตุ รศี โิ ยน ธดิ าศโิ ยน ธดิ าแหง่ ยดู าห์ บตุ รแี หง่ เยรซู าเลม็ ธดิ าแหง่ เยรซู าเลม็ 34
สหุ นตั 51
การพพิ ากษาบรรดาประชาชาตใิ นพระธรรมเยเรมยี ์ 139
เอโดม 148
เพลงครำ่� ครวญ 167
บทความพเิ ศษ (Sidebar) 172
การครำ�่ ครวญ
ประมวลศพั ท ์ 191
หนา้ พเิ ศษ 201
แผนท่ี 1 ปกหนา้ ดา้ นใน
แผนท่ี 2 ปกหลงั ดา้ นใน
ค�ำนำ�
หมวดผเู้ ผยพระวจนะใหญ่
หมวดผู้เผยพระวจนะ เป็นพระธรรมหมวดสุดท้ายในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมของโปรเตสแตนต์
โดยแบ่งย่อยออกเป็น ผู้เผยพระวจนะใหญ่ (Major Prophets) และผู้เผยพระวจนะน้อย (Minor Prophets)
ท้ังสองหมวดย่อยแตกต่างกันท่ีความยาวของเน้ือหา คือหมวดผู้เผยพระวจนะใหญ่มีเนื้อหายาวกว่าหมวด
ผู้เผยพระวจนะน้อย หมวดผู้เผยพระวจนะใหญ่ประกอบด้วยหนังสือ 5 เล่มได้แก่ อิสยาห์ เยเรมีย์ เพลง
คร่�ำครวญ เอเสเคียล และดาเนียล ส่วนหมวดผู้เผยพระวจนะน้อยประกอบด้วยหนังสือ 12 เล่ม ซ่ึงในพระ
คมั ภรี ฮ์ บี รูไดร้ วมเขา้ เปน็ เลม่ เดยี วและเรยี กชอื่ วา่ “หนงั สอื สบิ สองผเู้ ผยพระวจนะ” (The book of the Twelves)
อนั ได้แกโ่ ฮเชยาจนถึงมาลาคี ลักษณะการประพันธข์ องหนังสือในหมวดผ้เู ผยพระวจนะมีหลายรูปแบบ เชน่
บันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ค�ำเทศนา ค�ำตักเตือน ค�ำพิพากษาและข่าวความรอด บทกวี บทเพลงสรรสริญ
บทครำ่� ครวญไว้อาลัย บทสนทนา นมิ ิต ประสบการณ์ ค�ำพยากรณ์
ผเู้ ผยพระวจนะและหน้าท่ี
จากหลกั ฐานทางโบราณคดแี ละหลกั ฐานในพระคมั ภรี ์ (เชน่ ปฐก.20:7; อพย.7:1‑2) พบวา่ ผเู้ ผยพระวจนะ
เป็นที่รู้จักมาแต่โบราณและมีบทบาทส�ำคัญในหลายๆ วัฒนธรรม โดยพื้นฐานแล้วผู้เผยพระวจนะคือผู้ท่ีได้
รับการทรงเรียกจากพระเจ้าเพ่ือภารกิจหรือแผนงานพิเศษบางอย่างของพระองค์ ผู้เผยพระวจนะบางท่าน
อย่างเช่น เอลียาห์ ซามูเอล ฯลฯ อาจไม่ได้เน้นการบันทึกพระวจนะหรือสารจากพระเจ้า แต่พระคัมภีร์ได้
บันทึกชีวประวัติและผลงานที่ท่านท�ำอย่างละเอียด ส่วนหนังสือในหมวดผู้เผยพระวจนะน้ันเป็นงานเขียน
ของกลุ่มผู้เผยพระวจนะที่เป็นนักประพันธ์ ซึ่งได้บันทึกพระวจนะหรือสารจากพระเจ้าไว้เป็นลายลักษณ์
อกั ษรจำ� นวนมากและส่งตอ่ จนสบื ทอดมาถึงเราในปัจจุบนั หน้าท่คี วามรบั ผดิ ชอบของผเู้ ผยพระวจนะเหล่าน้ี
กค็ ือ การกล่าวหรือประกาศพระวจนะของพระเจ้าอย่างสตั ยซ์ ื่อ ไม่ว่าผูฟ้ ัง (หรอื ผอู้ า่ น) จะชอบหรือไมก่ ต็ าม
ในพนั ธสญั ญาเดมิ มคี ำ� ท่ีใชเ้ รยี กผเู้ ผยพระวจนะอยหู่ ลายอยา่ งเชน่ “คนของพระเจา้ ” (1 พกษ.13:1; 17:18,
24) “คนบริสุทธ์ิของพระเจ้า” (2 พกษ.4:9) “ผู้ท่ีมีการดลใจ” (ฮชย.9:7) และ “ผู้ท�ำนาย” (1 ซมอ.9:9‑11)
โดยค�ำว่า ผู้ท�ำนาย (Seer) ในท่ีนี้หมายถึงผู้ที่สามารถเห็นหรือเข้าใจส่ิงที่ผู้อ่ืนไม่อาจเห็นหรือไม่อาจเข้าใจ
นอกจากนย้ี ังมีผู้เผยพระวจนะเท็จดว้ ย (ยรม.23:26) ซง่ึ ตา่ งจากผ้เู ผยพระวจนะแท้ เพราะผเู้ ผยพระวจนะแท้
จะไม่กล่าวถ้อยค�ำของตัวเอง แต่จะกล่าวหรือเผยพระวจนะของพระเจ้า (1 ซมอ.3:19‑21; 1 พกษ.22:19;
ยรม.1:9,12; อมส.1:3; 3:7) โดยท่ัวไปผู้เผยพระวจนะมักเริ่มต้นประกาศถ้อยค�ำด้วยข้อความว่า “น่ีคือพระ
วจนะของพระเจ้า” หรอื บางท่านก็อาจมีโวหารเปิดอย่างเช่นผเู้ ผยพระวจนะอาโมสทกี่ ล่าววา่ “สิงหเ์ ปล่งเสียง
ค�ำรามแล้ว ใครจะไมก่ ลวั บา้ ง? พระยาห์เวห์องคเ์ จ้านายตรสั แลว้ ใครบ้างจะไมเ่ ผยพระวจนะ?” (อมส.3:8)
ถึงแมผ้ ู้เผยพระวจนะมกั มจี ุดเด่นเรือ่ งการกลา่ วถึงเหตุการณ์ในอนาคต แต่การพยากรณ์ก็ไม่ใช่งานหลกั
เสียทเี ดยี ว ค�ำวา่ ผเู้ ผยพระวจนะในภาษาอังกฤษคอื “prophet” ซ่ึงมรี ากมาจากคำ� กรยิ า “to prophesy” อนั
มีความหมายตามพจนานกุ รมวา่ ท�ำนาย หรือ บอกลว่ งหน้า จงึ อาจท�ำใหเ้ ขา้ ใจไปวา่ ผเู้ ผยพระวจนะมีหนา้
ทท่ี �ำนายแต่เรอ่ื งทจ่ี ะเกิดขึ้นในอนาคตเท่าน้ัน อย่างไรก็ตาม ในพระคมั ภีร์ฉบบั แปลไทยใชค้ ำ� ว่า “ผเู้ ผยพระ
วจนะ” ซงึ่ มคี วามหมายวา่ เปน็ ผปู้ ระกาศหรอื สอ่ื สารทกุ สงิ่ ทม่ี าจากพระเจา้ โดยอาจเปน็ ไดท้ งั้ เรอ่ื งทจี่ ะเกดิ ขน้ึ
ในอนาคต หรอื พระประสงคข์ องพระเจา้ หรอื ส่งิ ท่กี �ำลังเกิดข้นึ ในปัจจุบัน (ในสมยั ของผ้เู ผยพระวจนะ) ดังนนั้
2
ผู้เผยพระวจนะจึงไม่จ�ำเป็นต้องกล่าวแต่ค�ำพยากรณ์เสมอไป แต่งานหลักของผู้เผยพระวจนะเหล่าน้ีคือการ
เป็นกระบอกเสียงของพระเจา้ ในทุกเรือ่ งท่พี ระองคท์ รงสำ� แดง
ผ้เู ขยี นและช่วงเวลาที่เขียน
หนังสือในหมวดผู้เผยพระวจนะมีช่ือเรียกตามช่ือของผู้เผยพระวจนะ เช่น อิสยาห์ เยเรมีย์ เอเสเคียล
ดาเนียล และแม้ว่าเป็นไปได้ที่หนังสือบางเล่มอาจมีผู้ช่วยเขียนด้วย เช่น บรรดาลูกศิษย์หรือสาวกของ
อิสยาห์ (อสย.8:16) บารุคผู้เป็นอาลักษณ์ของเยเรมีย์ (ยรม.36) ฯลฯ แต่เน้ือหาของหนังสือก็มีความเป็น
เอกภาพ จึงสามารถอา่ นและท�ำความเขา้ ใจเนื้อหาของหนงั สือแตล่ ะเลม่ ไดอ้ ย่างเปน็ หนว่ ยเดียวกนั
ช่วงเวลาที่เขียนหนังสือในหมวดนี้ครอบคลุมตั้งแต่ยุคก่อนไปเป็นเชลยจนถึงหลังกลับจากการเป็นเชลย
ท่ีบาบิโลน คือศตวรรษท่ี 8‑6 ก่อน ค.ศ. โดยผู้เขียนบางคนมีชีวิตอยู่ร่วมสมัยเดียวกันหรืออยู่ในช่วงเวลา
ไล่เลี่ยกนั แต่อาจอยู่ตา่ งสถานท่ี ตา่ งสถานะ และเรม่ิ ปฏิบัตงิ านเผยพระวจนะและเขียนหนังสือในคนละช่วง
เวลากนั ดู “คำ� น�ำ” ของพระธรรมแต่ละเลม่
นอกจากน้ันเนื้อหาของหนังสือแต่ละเล่มในหมวดนี้ยังมีความเก่ียวข้องกับมหาอ�ำนาจของโลกยุค
โบราณอย่างนอ้ ย 4 อาณาจกั รไดแ้ ก่ อยี ิปต์ อสั ซเี รยี บาบิโลน และเปอรเ์ ซีย ดังนนั้ การรู้และคุน้ เคยกบั บริบท
ทางประวัตศิ าสตร์เหลา่ น้จี ะชว่ ยใหเ้ ข้าใจเนือ้ หาของหนงั สอื แต่ละเลม่ ไดก้ ระจ่างขน้ึ
เบื้องหลังทางประวัตศิ าสตร์
ตั้งแต่ปี 930 ก่อน ค.ศ. ชนชาติอิสราเอลได้แบ่งแยกเป็นอาณาจักรอิสราเอล (อาณาจักรเหนือ) กับ
อาณาจักรยูดาห์ (อาณาจักรใต้) เม่ือดูในภาพรวม ท้ังสองอาณาจักรต่างก็ได้ท�ำบาปด้วยการปฏิเสธ
พระเจ้าและหันไปปรนนิบัตินมัสการรูปเคารพหรือพระอื่นๆ พระเจ้าจึงทรงลงโทษพวกเขาด้วยพระพิโรธ
และความหวงแหน โดยให้พวกเขาตกไปเป็นเชลยยังต่างแดนจนกว่าจะครบเวลาที่ก�ำหนดไว้ อย่างไรก็ดี
แมพ้ ระเจ้าทรงกำ� หนดการลงโทษประชากรของพระองค์ไวแ้ ลว้ แต่พระองค์ก็ยังทรงใช้บรรดาผเู้ ผยพระวจนะ
มากล่าวเตือนสติพวกเขาเร่ืองความบาปและศีลธรรมท่ีตกต่�ำในสังคม เรียกให้พวกเขาส�ำนึกผิดและกลับใจ
ใหม่โดยด�ำเนินชีวิตตามทางของพระเจ้าและละทิ้งรูปเคารพกับความบาปชั่วเสีย แต่หากพวกเขายังคงใจ
แขง็ ดื้อดึงต่อไปก็ให้เตรียมพบกบั การลงโทษจากพระองค์
ผู้เผยพระวจนะเหล่านี้ปฏิบัติงานในศตวรรษที่ 8‑6 ก่อน ค.ศ. ซึ่งเป็นช่วงเวลาส�ำคัญในประวัติศาสตร์
สากลดว้ ย เพราะเปน็ ชว่ งท่ีบรรดาชาตมิ หาอ�ำนาจในโลกยุคโบราณต่างพยายามตอ่ สู้ขยายดินแดนเพ่ือเสริม
ความมง่ั ค่งั และม่นั คงให้อาณาจักรของตน และพระเจา้ ก็ไดท้ รงใช้ชนชาติต่างๆ เหลา่ นเี้ องเปน็ เครอ่ื งมอื ของ
พระองค์
ในศตวรรษที่ 8 ก่อน ค.ศ. ชนชาติอัสซีเรียทางตะวันออกเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดและแผ่อาณาเขตมา
ทางตะวันตก จึงเกิดการต่อสู้กับอียิปต์ซ่ึงเป็นมหาอ�ำนาจเก่าแก่ท่ีอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีอิสราเอล
และยูดาห์คัน่ อยตู่ รงกลาง อสิ ราเอลและยดู าหจ์ งึ เปน็ ทห่ี มายปองและตกอยู่ใต้แรงกดดนั จากทกุ ฝ่าย ทง้ั ยังมี
ความขดั แย้งกนั เองอีกดว้ ย พระธรรมอสิ ยาหม์ เี น้อื หาเกย่ี วขอ้ งกับเหตุการณ์ในชว่ งนี้ ซ่ึงตรงกบั รัชสมัยของ
กษัตริย์แห่งยูดาห์ 4 พระองค์คือ อุสซียาห์ (792‑740 ก่อน ค.ศ.) โยธาม (740‑735 ก่อน ค.ศ.) อาหัส
(735‑715 ก่อน ค.ศ.) และเฮเซคียาห์ (715‑686 ก่อน ค.ศ.) ในช่วงน้ีอิสราเอลได้เข้าเป็นพันธมิตรผนึก
ก�ำลังกับซีเรีย ท�ำให้ยูดาห์ย่ิงถูกกดดันมากขึ้น พระเจ้าจึงทรงใช้อิสยาห์มาหนุนใจและเตือนสติกษัตริย์แห่ง
ยดู าห์ใหเ้ ช่อื วางใจและพึ่งพาพระเจา้ ไม่ใชพ่ ง่ึ พามนุษยห์ รือชนชาติใดๆ แล้วพระองค์จะทรงสำ� แดงการชว่ ยกู้
อนั อัศจรรย์แกพ่ วกเขา ในชว่ งปลายศตวรรษนี้ กลุม่ พนั ธมติ รซเี รยี -อสิ ราเอลลว้ นถูกกองทพั อัสซีเรยี ท�ำลาย
จนสน้ิ ชาติ ขณะทย่ี ูดาห์ยังดำ� รงอยตู่ ่อมาได้อีกระยะหนึ่งตามทพ่ี ระเจา้ ตรสั ไวใ้ นพระธรรมอิสยาห์
3
ในศตวรรษท่ี 7 ก่อน ค.ศ. ชนชาติอัสซีเรียเร่ิมอ่อนแอลงในขณะท่ีบาบิโลนซึ่งเคยอยู่ใต้อาณัติกลับ
เข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ จนสามารถเอาชนะอัสซีเรียและขึ้นเป็นมหาอ�ำนาจแทนในช่วงท้ายศตวรรษ แม้แต่
อียิปต์ก็ยังพ่ายแพ้บาบิโลนและต้องถอยร่นไปเช่นกัน ในช่วงนี้อาณาจักรยูดาห์ดูเหมือนจะปลอดภัยจาก
อัสซีเรีย แต่สถานการณ์ในประเทศกลับแย่ลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะในฝ่ายจิตวิญญาณ เพราะชาวยูดาห์ได้หลง
ผิดละทิ้งพระเจ้ากันมากขึ้น เนื้อหาในพระธรรมเยเรมีย์เก่ียวข้องกับช่วงเวลาน้ีซ่ึงครอบคลุมรัชสมัยของ
กษัตริย์แห่งยูดาห์ 5 พระองค์คือ โยสิยาห์ (640‑609 ก่อน ค.ศ.) เยโฮอาหาส (ครองราชย์เพียง 3 เดือน
ในปี 609 ก่อน ค.ศ.) เยโฮยาคิม (609‑598 กอ่ น ค.ศ.) เยโฮยาคนี (598‑597 กอ่ น ค.ศ.) และเศเดคียาห์
(597‑586 ก่อน ค.ศ.) ไปจนถึงช่วงเวลาที่เกดาลิยาห์ได้รับแต่งตั้งจากทางการบาบิโลนให้เป็นผู้ว่าราชการ
มณฑลยดู าห์ (586‑581 ก่อน ค.ศ.) พระเจา้ ทรงใช้เยเรมีย์ให้ประกาศการพิพากษาว่าพระองค์จะทรงลงโทษ
ยูดาห์ผ่านบาบิโลน ท�ำให้ชาวยูดาห์ไม่พอใจเยเรมีย์อย่างรุนแรง แต่ในท่ีสุดกรุงเยรูซาเล็มก็ถูกท�ำลายและ
ชาวยูดาห์ถูกกวาดไปเปน็ เชลยจริงๆ ซ่ึงพระธรรมเพลงครำ่� ครวญมเี นือ้ หาเกี่ยวขอ้ งกับเหตกุ ารณ์ดงั กล่าว
ต้นศตวรรษท่ี 6 ก่อน ค.ศ. เป็นช่วงท่ีชาวยูดาห์ตกเป็นเชลยในบาบิโลน เรื่องราวช่วงนี้เก่ียวข้องกับ
เน้อื หาในพระธรรมเอเสเคยี ลและดาเนยี ล โดยพระธรรมท้ังสองเล่มเล่าเรอ่ื งราวในสมยั เดียวกนั แต่น�ำเสนอ
จากคนละมุมมองและคนละสถานการณ์ เพราะผู้เผยพระวจนะทั้งสองอยู่ต่างสถานที่และมีสถานะต่างกัน
บริบทของดาเนียลคือราชส�ำนักบาบิโลนและเปอร์เซีย ขณะที่บริบทของเอเสเคียลคือชุมชนเชลยชาวยูดาห์
ในช่วงกลางศตวรรษน้ี บาบิโลนเริ่มระส่�ำระสายขณะที่เปอร์เซียเร่ิมเข้มแข็งข้ึนและผนึกก�ำลังกับมีเดีย จน
ช่วงท้ายศตวรรษ กลุ่มพันธมิตรมีเดีย-เปอร์เซียก็ได้ร่วมกันพิชิตบาบิโลน แต่ต่อมามีเดียก็อ่อนแอลง จึง
เหลือเพียงเปอร์เซียเท่าน้ันที่เป็นมหาอ�ำนาจของโลก ในช่วงน้ีเองที่เชลยชาวยูดาห์ได้รับอนุญาตให้กลับถิ่น
ฐานเดิม พวกเขาจึงกลับไปฟื้นฟูบ้านเมืองข้ึนใหม่ และสร้างพระวิหารหลังใหม่ข้ึนแทนที่พระวิหารหลังเดิม
ท่ีถกู ทำ� ลายไปตอนเยรซู าเลม็ ลม่ สลาย
จะเห็นได้ว่าในศตวรรษท่ี 8‑6 ก่อน ค.ศ. เป็นยุคท่ีเต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวายและการเปลี่ยนแปลง
ชนชาติอิสราเอลเวลาน้ันจึงตกอยู่ในการทดลองให้ละทิ้งพระเจ้าไปพึ่งพาพระอื่นๆ และเอาอกเอาใจมนุษย์
ซึ่งพวกเขาก็พ่ายแพ้การทดลองนี้ ทั้งยังปล่อยให้ศีลธรรมในสังคมตกต่�ำลงด้วย จนพระเจ้าได้ทรงพิพากษา
พวกเขา แต่พระองค์ก็ยังประทานความหวังเป็นข่าวดี คือการลงโทษพวกเขาจะเป็นเพียงช่ัวขณะหน่ึง
ภายหลังพระองค์จะทรงน�ำพวกเขากลับมาและฟื้นฟูทุกส่ิงขึ้นใหม่ ทั้งยังมีพระสัญญาเก่ียวกับยุคแห่งพระ
เมสสยิ าหผ์ ูจ้ ะนำ� อาณาจกั รแห่งสันติสุขมาอยา่ งสมบรู ณ์
การจัดหมวดหมใู่ นสารบบคริสเตยี น
ในสารบบพระคัมภีร์ฮีบรูมีการแบ่งและจัดล�ำดับหนังสือหมวดผู้เผยพระวจนะต่างจากสารบบพระคัมภีร์
ของคริสเตียน โดยพระคัมภีรฮ์ ีบรูแบง่ หนังสอื หมวดน้อี อกเป็น “ผู้เผยพระวจนะยุคกอ่ น” (Former Prophets)
และ “ผู้เผยพระวจนะยุคหลัง” (Latter Prophets) หนังสือผู้เผยพระวจนะยุคก่อนหมายถึงก่อนท่ีจะมีการ
บันทกึ เนอื้ หาหรือสารเป็นงานเขยี น (ดู “ผู้เผยพระวจนะและหน้าที่") ไดแ้ กพ่ ระธรรมโยชูวาจนถงึ พงศก์ ษัตริย์
ในขณะทหี่ นงั สอื ผเู้ ผยพระวจนะยคุ หลังซึ่งมีการบันทกึ เนื้อหาหรอื สารดงั ท่ีกลา่ วมานั้นมี 4 เล่มได้แก่ อิสยาห์
เยเรมีย์ เอเสเคียล และหนังสือสิบสองผู้เผยพระวจนะ ส่วนเพลงคร�่ำครวญและดาเนียลจัดอยู่ในหมวดบท
ประพนั ธ์ (หรือหมวดเพลงสดดุ ี ดู ลก.24:44)
ในยุคต่อมา พระคัมภีร์ฉบับเซปทัวจินต์ (พระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมฉบับแปลกรีก ซ่ึงมีสัญลักษณ์
LXX) ได้เรียงล�ำดับหนังสือใหม่ และล�ำดับใหม่นี้มีความคล้ายคลึงกับพระคัมภีร์ของคริสเตียนในปัจจุบัน
ดังจะเห็นว่าในสารบบพระคัมภีร์ของคริสเตียนได้จัดหนังสือท้ัง 5 เล่มคือ อิสยาห์ เยเรมีย์ เพลงคร�่ำครวญ
เอเสเคียล และดาเนียล ไว้ด้วยกันเป็นหมวดผู้เผยพระวจนะใหญ่ และเรียงล�ำดับตามปริมาณเนื้อหา
4
(ยกเวน้ เพลงคร่�ำครวญ ซึง่ มีเนือ้ หาตอ่ เนื่องจากเยเรมยี )์
เม่ือพิจารณาดูสารบบพระคัมภีร์ทั้งแบบฮีบรูและแบบคริสเตียน จะเห็นได้ว่าหนังสือในหมวดผู้เผย
พระวจนะใหญ่ถูกแยกไว้เป็นหมวดหมู่เฉพาะเสมอ และเน้ือหาของพระธรรมหมวดนี้ยังแสดงให้เห็นพระ
ราชกิจท่ีพระเจ้าทรงกระท�ำแก่ประชาชาติต่างๆ ในระดับประวัติศาสตร์สากลบนพื้นฐานพันธสัญญา ซึ่งบ่ง
บอกว่าพระองค์ทรงเป็นพระเจา้ เท่ียงแท้ของทกุ ประชาชาติบนแผน่ ดนิ โลกในทุกยุคทุกสมยั
หัวเร่ืองหลกั และสาระส�ำคัญ
พระธรรมแต่ละเล่มในหมวดผู้เผยพระวจนะใหญ่แม้เขียนข้ึนตามสถานการณ์และมุมมองท่ีต่างกันของ
ผเู้ ขียนในแต่ละสมัย แต่ก็มีหัวเร่อื งหลักทีม่ กั ปรากฏบ่อยๆ ดงั ตอ่ ไปนี้
ก) วนั แห่งพระยาห์เวห์ (The Day of the Lord)
วลี “วนั แห่งพระยาห์เวห์” หรือ “วนั แห่งพระเจ้า” หรอื “วันสดุ ทา้ ย” เป็นวลที ี่พบมากในพระธรรมหมวด
ผเู้ ผยพระวจนะ ทง้ั อสิ ยาห์ เยเรมีย์ เอเสเคยี ล และพระธรรมอกี หลายเล่มในหมวดผเู้ ผยพระวจนะน้อย แนว
คิดหลักของเร่ืองนี้คือ วันแห่งพระยาห์เวห์เป็นวันเวลาท่ีพระเจ้าจะทรงพิพากษา หรือทรงช่วยกู้และฟื้นฟู
ประชากรของพระองค์ หรือทั้งสองอย่าง โดยใช้แสนยานุภาพของชาติมหาอ�ำนาจ (เช่น อัสซีเรีย บาบิโลน
ฯลฯ) ให้นำ� ภยั พบิ ัตมิ าถงึ ผถู้ ูกพิพากษา อยา่ งไรกต็ าม วลี “วนั แห่งพระยาหเ์ วห์” มกั จะหมายถงึ วันแห่งการ
พิพากษาท้ังหลายก่อนวันอันยิ่งใหญ่ท่ีพระเจ้าจะทรงพิพากษาทุกสิ่งในขั้นเด็ดขาด ซึ่งพระคัมภีร์ใช้ค�ำว่า
“วันทยี่ ง่ิ ใหญข่ องพระเจา้ ” (ศฟย.1:14; มลค.4:5) โดยหมายถงึ วนั สุดทา้ ย (the Last Day) ท่ีพระเจา้ จะทรง
พิพากษามนุษย์ทุกคน เม่ือน้ันพระพิโรธของพระเจ้าจะเทลงบนคนบาปท้ังปวง แต่พระองค์จะประทานพระ
เมตตาคุณแก่คนท่ีซื่อสัตย์ต่อพระองค์ ดังน้ันวันแห่งพระยาห์เวห์จึงมีลักษณะเด่นสองด้านในเวลาเดียวกัน
คอื มที ้ังการพพิ ากษาลงโทษและการชว่ ยกจู้ ากพระเจ้า ดู “วนั แหง่ พระยาหเ์ วห์” ในประมวลศัพท์
ข) พระเมสสยิ าห์ (Messiah)
ค�ำว่า “พระเมสสิยาห์” ในพันธสัญญาเดิมเทียบเท่ากับค�ำว่า “พระคริสต์” ในพันธสัญญาใหม่ ดู
“พระคริสต์” ในประมวลศัพท์ ค�ำน้ีมาจากค�ำฮีบรูว่า มาชีอาฆ (Mashiach) ซึ่งแปลว่า “ผู้ได้รับการเจิม”
(Anointed One) และยังรวมถึงผทู้ ่ีได้รบั เลอื กหรือได้รับการแตง่ ตง้ั ดว้ ย ทัง้ น้บี คุ คลทจ่ี ะตอ้ งรับการเจมิ ได้แก่
ผู้ที่จะด�ำรงต�ำแหน่งกษัตริย์ (วนฉ.9:8; 1 ซมอ.9:16; 10:1; 16:1,12‑13; 2 ซมอ.2:7; 1 พกษ.1:34,39;
19:15-16ก; 2 พกษ.9:1‑3,6; 11:12) หรอื ปโุ รหติ (อพย.28:41; 29:7; ลนต.8:12,30) และในบางครง้ั ผเู้ ผยพระ
วจนะก็ได้รับการเจิมด้วยเพ่ือแสดงถึงการเป็นผู้ที่พระเจ้าทรงเลือกหรือแต่งต้ัง (1 พกษ.19:16ข; 1 พศด.
16:22) ถึงกระน้ันพระคัมภีร์ก็ไม่ได้เรียกทุกคนที่ด�ำรงต�ำแหน่งเหล่าน้ีว่าพระเมสสิยาห์ ดังนั้นค�ำว่า “พระ
เมสสยิ าห”์ จงึ มักเลง็ ถงึ บคุ คลที่ได้รับการเจมิ หรอื แตง่ ตง้ั เป็นพิเศษนอกเหนือกรณที ่วั ไป
ดว้ ยเหตนุ ี้ พระสญั ญาเรอื่ งพระเมสสยิ าหจ์ งึ เปน็ ขา่ วสารสำ� คญั เรอ่ื งหนงึ่ ในพนั ธสญั ญาเดมิ และเปน็ ความ
หวังส�ำหรับประชากรของพระเจ้า พระสัญญาเรื่องนี้สาวกลับไปได้ถึงสมัยอาดัมและเอวา (ปฐก.3:15) ซ่ึง
พระสัญญาดังกล่าวเป็นข่าวประเสริฐแรกท่ีมนุษย์ได้รับหลังจากล้มลงในบาป (Proto-Evangelium) จากน้ัน
พระเจา้ ยงั ไดท้ รงสัญญาผ่านอับราฮัม อิสอคั ยาโคบ และยูดาห์ (ปฐก.49:10) จนถึงดาวิดผู้ไดร้ ับพระสัญญา
ว่าพระเมสสิยาหน์ ้นั จะมาบงั เกดิ ในตระกลู ของท่าน (2 ซมอ.7:1‑17; 1 พศด.17:1‑15) พวกผ้เู ผยพระวจนะ
จึงให้ความส�ำคัญและอ้างถึงอยู่บ่อยคร้ังว่าพระเมสสิยาห์จะมาทางเชื้อสายของดาวิด โดยอิสยาห์เรียกพระ
เมสสิยาหว์ า่ “หนอ่ แตกจากตอของเจสซี” หรือ “รากของเจสซี” (อสย.11:1,10) สว่ นอาโมสกลา่ ววา่ พระเจา้
จะทรงยก “กระท่อมของดาวิดทลี่ ม้ ลงแล้ว” ตง้ั ข้นึ ใหม่ (อมส.9:11) มีคาหอ์ ธบิ ายวา่ พระเมสสยิ าหจ์ ะมาจาก
บ้านเกิดของดาวิดคือเบธเลเฮม (มคา.5:2) เอเสเคียลประกาศว่าพระเมสสิยาห์ทรงเป็นด่ัง “ดาวิดผู้รับใช้
ของเรา” (อสค.34:23‑24; 37:24‑25)
5
ดังน้ัน ถ้อยค�ำของผู้เผยพระวจนะท่ีกล่าวถึงพระเมสสิยาห์จึงเล็งถึงบุคคลที่พระเจ้าทรงเจิมหรือแต่งตั้ง
ไว้เป็นพิเศษเพื่อมวลมนุษย์ ให้เป็นพระผู้ช่วยให้รอดตามพระสัญญาแรกท่ีพระองค์ประทาน ท่านจะเข้ามา
ในโลกน้ีทางเช้ือสายของดาวิดกษัตริย์แห่งชนชาติอิสราเอล เพ่ือว่าประชาชาติท่ัวโลกจะได้รับพรน้ันร่วมกัน
ด้วย (ปฐก.18:18; 22:18; 26:4; สดด.72:17; มลค.3:12)
ค) กิจพยากรณ์ (Prophetic Acts)
คือการเผยพระวจนะด้วยการแสดงบทบาทประกอบ เป็นส่ือหรือวิธีการสอนรูปแบบหนึ่งซ่ึงพบได้มาก
ในหมวดผู้เผยพระวจนะ โดยใช้ส่ิงของหรือการกระท�ำบางอย่างส่ือสารแทนการพูด เพ่ือให้กลุ่มผู้รับสารนั้น
เหน็ ภาพและเกดิ อารมณร์ ว่ มในเน้ือหาได้งา่ ย วิธีการน้ีมีมาต้ังแต่สมยั โมเสสและผู้เผยพระวจนะยคุ ตน้ ๆ (เช่น
อพย.7:14‑20; 1 ซมอ.15:27‑28; 1 พกษ.11:29‑32; 2 พกษ.13:14‑19) ในหมวดผู้เผยพระวจนะใหญ่ก็มี
ปรากฏอยบู่ อ่ ยครง้ั โดยมที งั้ แบบทเ่ี ปน็ การกระทำ� บางอยา่ งในชว่ งเวลาหนงึ่ หรอื เปน็ การดำ� เนนิ ชวี ติ ในลกั ษณะ
ท่เี ฉพาะเจาะจง กิจพยากรณ์ทพ่ี บในหมวดผเู้ ผยพระวจนะใหญม่ ดี งั ต่อไปนี้
กิจพยากรณ์ในพระธรรมอิสยาห์
1) อิสยาหต์ ้งั ชอ่ื บตุ รชายว่า “เชอารยาชูบ” (คนที่เหลืออยู่จะกลบั มา) (7:3)
2) อิสยาห์ต้ังชอ่ื บุตรชายว่า “อมิ มานเู อล” (พระเจา้ สถิตกบั เรา) (7:10‑17)
3) อสิ ยาห์ตง้ั ช่อื บตุ รชายวา่ “มาเฮร์-ชาลาล-หชั -บัส” (สิง่ ของซึง่ ถูกรบิ อย่างรวดเร็ว) (8:1‑4)
4) อสิ ยาหเ์ ดนิ เปลอื ยกายเพอ่ื แสดงภาพการตกเป็นเชลย (20:1‑6)
กิจพยากรณใ์ นพระธรรมเยเรมีย์
1) เยเรมยี ซ์ ่อนผา้ ป่านคาดเอวเพื่อสื่อถงึ การตกไปเป็นเชลยในตา่ งแดน (13:1‑11)
2) เยเรมีย์ครองชีวติ โสดเพื่อสื่อถึงการเตรยี มพบกับภัยพิบตั ทิ ม่ี าใกล้แลว้ (16:1‑4)
3) เยเรมยี ท์ ำ� เหยือกดนิ ให้แตกเพ่ือสอื่ ถึงการล่มสลายของกรุงเยรซู าเล็ม (19:1‑2,10‑11)
4) เยเรมยี ์สวมแอกเพอ่ื แสดงภาพการตกเปน็ ทาสกษตั ริยบ์ าบิโบน (27:1‑13)
5) เยเรมยี เ์ กบ็ โฉนดการซอื้ ทนี่ าเพอ่ื สอื่ ถงึ การไดก้ ลบั มาแผน่ ดนิ เกดิ อกี ในอนาคต (32:6‑15,25,42‑44)
6) เยเรมยี ์ซ่อนหนิ ก้อนใหญ่ใตท้ างเดินเพื่อสื่อถงึ การพิชติ ดินแดนของกษัตรยิ ์บาบโิ ลน (43:8‑13)
7) เยเรมยี ส์ ง่ั ใหเ้ สไรยาหอ์ า่ นและถว่ งหนงั สอื มว้ นลงแมน่ ำ�้ ยเู ฟรตสิ เพอื่ สอื่ ถงึ การพพิ ากษาอาณาจกั ร
บาบโิ ลน (51:59‑64)
กจิ พยากรณ์ในพระธรรมเอเสเคยี ล
1) เอเสเคียลอยูล่ ำ� พงั และเปน็ ใบเ้ พื่อเรยี กความสนใจใหฟ้ ังคำ� เตอื นจากพระเจา้ (3:22‑27)
2) เอเสเคียลทำ� แบบจำ� ลองการลอ้ มกรุงเยรูซาเล็ม (4:1‑3)
3) เอเสเคียลนอนตะแคงเปน็ สัญลกั ษณก์ ารแบกความผดิ บาป (4:4‑8)
4) เอเสเคยี ลกนิ อาหารท่ีแสดงภาพความทุกข์ล�ำบากเม่ือตกเป็นเชลย (4:9‑17)
5) เอเสเคยี ลใช้ดาบฟนั เสน้ ผมเพอ่ื สอ่ื ถงึ การบกุ พชิ ิตกรงุ เยรซู าเลม็ (5:1‑5,12)
6) เอเสเคียลขนข้าวของผ่านช่องกำ� แพงเพ่อื แสดงภาพการอพยพเมือ่ ตกเปน็ เชลย (12:1‑16)
7) เอเสเคยี ลกนิ ดม่ื ดว้ ยทา่ ทางหวน่ั หวาดเพอ่ื แสดงภาพความหวาดกลวั เมอ่ื ตกเปน็ เชลย (12:17‑19)
8) เอเสเคียลขีดเส้นทางให้ดาบเพ่ือสื่อวา่ กษตั ริย์บาบโิ ลนจะบกุ มาตีเยรูซาเลม็ (21:18‑22)
9) เอเสเคียลงดไว้ทุกข์ให้ภรรยาเพ่อื สื่อถงึ ความทกุ ข์ใจในการตกเปน็ เชลย (24:15‑27)
10) เอเสเคยี ลรวบไมส้ องอนั เปน็ อนั เดยี วเพอ่ื สอื่ ถงึ การรวมชนชาตอิ สิ ราเอลเขา้ ดว้ ยกนั อกี ครงั้ (37:15‑22)
6
ง) การพพิ ากษาบรรดาประชาชาติ (Oracle Against the Nations)
สารอกี ประเภทหนง่ึ ทีพ่ บบอ่ ยในหนงั สือหมวดผู้เผยพระวจนะคอื การพพิ ากษาบรรดาประชาชาติ (Oracle
Against the Nations - OAN) ซึ่งมีเนื้อหาเป็นค�ำกล่าวโทษหรือแจ้งข้อหาชนชาติต่างๆ โดยเฉพาะชาติ
มหาอ�ำนาจหรือชาติท่ีเป็นศัตรูกับประชากรของพระเจ้า แล้วตามด้วยค�ำพิพากษาหรือภัยพิบัติท่ีพระเจ้าจะ
ทรงน�ำมาถงึ ชนชาตนิ นั้ ๆ สารประเภทน้มี ักเก่ียวข้องหรอื ประกาศควบคูไ่ ปกบั เร่อื งวันแหง่ พระยาห์เวห์ (The
Day of the Lord)
ส�ำหรับชนชาตอิ ิสราเอล สารเรื่องการพพิ ากษาบรรดาประชาชาตนิ ับเปน็ ข่าวดแี ละเปน็ ความหวงั เพราะ
เป็นการประกาศวา่ พระเจา้ จะทรงสำ� แดงความยุตธิ รรมด้วยการพพิ ากษาส่ิงทีช่ นชาตเิ หลา่ นนั้ กระทำ� เปน็ การ
แกแ้ คน้ ทพี่ วกเขาโหดรา้ ยทารณุ ตอ่ ประชากรของพระองค์ ขณะเดยี วกนั กเ็ ปน็ การชว่ ยกปู้ ระชากรของพระองค์
ให้รอดพ้นความทุกข์ล�ำบากด้วย นอกจากนี้ยังเป็นการส�ำแดงถึงความเป็นพระเจ้าแห่งสากลโลก เพราะคน
สมัยโบราณเชื่อว่าแต่ละชนชาติมีพระของตนคอยปกป้องดูแล และเม่ือชนชาติใดรบชนะอีกชนชาติหน่ึงก็
แสดงวา่ พระของชาตทิ ช่ี นะนน้ั ยงิ่ ใหญก่ วา่ และมชี ยั เหนอื พระของชาตทิ แี่ พ้ แต่ในสารเรอ่ื งการพพิ ากษาบรรดา
ประชาชาติ พระเจา้ ทรงเปน็ พระเจา้ เดยี วและเปน็ ผกู้ ำ� หนดความเปน็ ไปของทกุ ชนชาตบิ นแผน่ ดนิ โลก ภายหลงั
การพพิ ากษา ทุกชนชาตจิ ะได้รูจ้ ักและย�ำเกรงพระเจา้ ของอสิ ราเอล รวมถึงหนั มาปรนนบิ ัตนิ มสั การพระองค์
และแสดงไมตรตี อ่ ประชากรของพระองค์
จ) ธรรมบัญญัติและพระกิตติคณุ (Law and Gospel)
เราพบรูปแบบหรือแนวคิดเร่ืองธรรมบัญญัติและพระกิตติคุณควบคู่กันเสมอในพระคัมภีร์ตลอดทั้งเล่ม
โดยธรรมบญั ญตั สิ ะทอ้ นพระลกั ษณะดา้ นความยตุ ธิ รรมและความเขม้ งวดของพระเจา้ ในการสนองตอบมนษุ ย์
สว่ นพระกติ ตคิ ุณสะท้อนพระลกั ษณะอันเปี่ยมดว้ ยพระคุณความรกั เมตตาของพระเจ้าในการจัดเตรียมและทำ�
ตามแผนการชว่ ยกหู้ รอื ฟน้ื ฟหู ลงั จากทที่ รงสนองตอบมนษุ ยต์ ามความยตุ ธิ รรมของพระองคแ์ ลว้ (ฉธบ.32:39)
อย่างไรก็ดีพระลักษณะทั้งสองด้านนี้ไม่ได้แยกขาดจากกันหรือขัดแย้งกันเอง เพราะพระเจ้านั้นมั่นคงและ
ไมเ่ ปลยี่ นแปลง เปน็ พระเจา้ ผทู้ รงพระชนมอ์ ยตู่ ลอดไป จงึ ทรงวนิ จิ ฉยั และปฏบิ ตั ติ อ่ มวลมนษุ ยต์ ามความเปน็
จริงท่ีเกิดข้ึนโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานพระลักษณะของพระองค์ ตัวอย่างเน้ือหาท่ีแสดงแนวคิดเร่ืองธรรมบัญญัติ
และพระกิตติคุณในพระคัมภีร์ เชน่
แผนการฟ้นื ฟปู ระชาชาตทิ ว่ั ผืนแผ่นดินโลก ปฐก.11:1-9
ธรรมบญั ญตั ิ การท�ำใหม้ นษุ ยก์ ระจัดกระจายไปทั่วแผ่นดนิ ปฐก.12:1-3
พระกติ ติคุณ การเรียกอับรามเพ่ือชนทกุ ชาตทิ ัว่ โลก
การครอบครองประชากรของพระเจา้ ผา่ นกษตั ริยท์ ีท่ รงต้ังไว้ วนฉ.17:6; 21:25; 1 ซมอ.8
ธรรมบัญญัติ การปล่อยใหป้ ระชาชนท�ำตามใจตนเอง นรธ.4:13‑22; 1 ซมอ.16:1‑13; 2 ซมอ.7
พระกิตติคณุ การจัดเตรยี มราชวงศด์ าวิด
ข่าวประเสรฐิ ที่เปโตรประกาศในกรุงเยรูซาเล็ม กจ.2:32-37,40
ธรรมบัญญัติ พระเจ้าทรงแตง่ ตง้ั พระเยซคู รสิ ต์ทพ่ี วกเขา
กจ.2:38‑39
ได้ตรงึ ไวบ้ นกางเขน
พระกติ ติคณุ พระเจา้ จะทรงยกบาปแกผ่ ู้ทกี่ ลับใจใหม่
และเชื่อวางใจในพระเยซูครสิ ต์
7
ในหมวดผู้เผยพระวจนะใหญ่ก็มีเนื้อหาที่แสดงแนวคิดเร่ืองธรรมบัญญัติและพระกิตติคุณด้วยเช่นกัน
โดยเฉพาะเรื่องการพิพากษาให้ตกไปเป็นเชลยยังต่างแดนเพื่อตีสอนประชากรของพระองค์ (ธรรมบัญญัติ)
และการสงวนคนท่ีเหลืออยู่ไว้และนำ� พวกเขากลับมายังแผ่นดินเดิมอันเป็นข่าวที่หนุนใจและให้ความหวัง
(พระกิตตคิ ุณ)
ศพั ท์สำ� คญั
ในหมวดผูเ้ ผยพระวจนะใหญ่มีศพั ทส์ ำ� คัญจ�ำนวนหนึง่ ที่ใช้บอ่ ยๆ ดงั นี้
ก) การตกเป็นเชลย (Captivity)
คำ� ภาษาฮีบรคู อื กาลาห์ แปลว่า “ย้ายที”่ หรอื “เปิดเผย” เมื่อคำ� น้ปี รากฏในรูปทีม่ ีความหมายเน้นหนัก
ก็มักจะหมายถึง “การน�ำไปเป็นเชลย (ยังต่างแดน)” ในหมวดผู้เผยพระวจนะมักใช้ค�ำนี้เพื่อกล่าวถึงการที่
ชาวยูดาห์ตกไปเป็นเชลยในบาบิโลน (Babylonian Captivity) ครั้งแรกทค่ี �ำนป้ี รากฏในหมวดผ้เู ผยพระวจนะ
ใหญ่คือ อสย.5:13 ค�ำเรียกบรรดาเชลยท่ีถูกน�ำตัวไปบาบิโลนว่า โกลาห์ หรือ กาลูท (ยรม.28:6; 29:1,22)
กม็ รี ากศพั ทม์ าจากคำ� นี้ สว่ นการใชค้ ำ� นเ้ี พอ่ื กลา่ วถงึ การตกไปเปน็ เชลยของคนอสิ ราเอล (ในอาณาจกั รเหนอื )
มปี รากฏเฉพาะใน 2 พกษ.17:5‑6,23 เท่านน้ั
การตกเป็นเชลยเป็นการท่ีพระเจ้าทรงตีสอนลงโทษประชากรของพระองค์ เพราะพวกเขาได้กระท�ำบาป
ด้วยการลืมและปฏิเสธพระเจ้า พระองค์จึงทรงเหว่ียงพวกเขาออกไปเสียจากแผ่นดิน (2 พกษ.17:7‑23;
24:1‑4; ยรม.16:10‑13) และนี่เป็นเหตุการณ์ที่ส�ำคัญมากตอนหนึ่งในประวัติศาสตร์ชนชาติอิสราเอลจนท�ำ
ให้เกิดการแบ่งช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ของชนชาติออกเป็น ยุคก่อนเป็นเชลย (Pre-exilic period) ยุคตก
เป็นเชลย (Exilic period) และยคุ กลับจากการเปน็ เชลย (Post-exilic period) ตามทป่ี รากฏใน มธ.1:17
ในบางคร้ัง สารเรื่องการตกเป็นเชลยก็ปิดท้ายด้วยเรื่องการได้กลับมายังแผ่นดินเดิม ซ่ึงในแง่หน่ึงก็
เป็นสารที่หนุนใจและให้ความหวัง แต่ขณะเดียวกันก็เป็นการประกาศอย่างชัดเจนว่าพวกเขาจะต้องตกเป็น
เชลยจนกว่าจะครบเวลาที่พระเจ้าทรงกำ� หนดไว้ นอกจากนี้สารเร่ืองการตกเป็นเชลยและการกลับจากเป็น
เชลยยังมกั เกีย่ วขอ้ งหรอื มีการกล่าวถึงควบคูไ่ ปกบั เรอ่ื ง “คนทเี่ หลืออย”ู่ ดว้ ย
ข) คนที่เหลอื อยู่ (Remnant)
ค�ำภาษาฮีบรูคือ เชอาร์ แปลว่า “(คนหรือส่ิง) ที่เหลืออยู่” โดยมีรากมาจากคำ� กริยา ชาอาร์ ที่แปลว่า
“หลงเหลือไว้” ในบางกรณีค�ำนี้ยังใช้หมายถึงสิ่ง “อื่นๆ” ได้ด้วย (เช่น 2 พศด.9:29) แต่ในพันธสัญญาเดิม
มักใช้ค�ำนี้ในบริบทที่หมายถึงสิ่งของหรือบุคคลที่เหลือรอดจากสงครามหรือภัยพิบัติ ซึ่งบ่งบอกถึงการที่
พระเจ้าทรงสงวนหรือรักษาไว้ เช่น การท่ีทรงเหลือ 7,000 คนท่ียังซื่อสัตย์ต่อพระเจ้าไว้ในอิสราเอลใน
สมัยของเอลียาห์ (1 พกษ.19:18) ส่วนในหมวดผู้เผยพระวจนะใหญ่มักใช้ค�ำน้ีเพ่ือหมายถึงกลุ่มคนท่ีหลง
เหลือจากการล่มสลายของกรุงเยรูซาเล็ม ซ่ึงก็คือชาวยิวท่ีถูกกวาดไปเป็นเชลยนั่นเอง คำ� นี้ปรากฏตั้งแต่ใน
ฉธบ.4:27 อนั เปน็ พนั ธสญั ญาทพี่ ระเจา้ ทรงทำ� กบั ชนชาตอิ สิ ราเอล และอสิ ยาหก์ ็ไดต้ งั้ ชอื่ บตุ รชายคนหนง่ึ ของ
ท่านว่า เชอารยาชูบ (อสย.7:3) แปลวา่ “คนท่เี หลอื อยู่ (เชอาร) จะกลับมา (ยาชูบ)”
ในหมวดผู้เผยพระวจนะใหญ่ ค�ำน้ีปรากฏในพระธรรมอิสยาห์เท่าน้ัน แต่แนวคิดเรื่องดังกล่าวก็มีอยู่
ในพระธรรมเล่มอ่ืนด้วย ส�ำหรับชาวยูดาห์ท่ีอยู่ในเยรูซาเล็มก่อนท่ีกรุงจะล่มสลายนั้น พวกเขาเข้าใจว่า
ตนคือคนท่ีเหลืออยู่ และล�ำพองใจว่าภัยพิบัติได้ผ่านพ้นไปแล้ว จึงไม่ยอมรับผู้เผยพระวจนะท่ีพระเจ้าทรง
ใช้มาว่ากล่าวตักเตือนและดื้อดึงไม่ยอมกลับใจจากบาป (2 พศด.36:11‑14; ยรม.14:13‑16; 23:16‑17;
26:20‑23; 27:9‑10) แต่พระเจ้าทรงส�ำแดงให้เห็นว่าแท้จริงแล้วคนที่เหลืออยู่คือพวกท่ีถูกกวาดไปเป็น
เชลยตา่ งหาก เป็นพวกท่ีพระเจ้าทรงสงวนไว้และจะทรงน�ำกลับมาฟนื้ ฟแู ผ่นดนิ ในอนาคต สว่ นพวกที่ยังคง
อยู่ในเยรซู าเล็มจะตอ้ งประสบภยั พบิ ตั อิ ยา่ งไมอ่ าจหลกี เล่ยี งได้เลย (ยรม.24; อสค.9; 11:14‑17; 14:21‑23;
8
15:6‑8) นอกจากน้ี พระเจ้ายังทรงสงวนชีวิตกษัตริย์เยโฮยาคีน (หรือ เยโคนิยาห์) ผู้เป็นเช้ือสายราชวงศ์
ดาวิดไว้อีกด้วย (2 พกษ.25:27‑30; ยรม.52:31‑34) นี่เป็นความหวังที่ส�ำคัญมากอย่างหนึ่งส�ำหรับพวก
เชลย เพราะเปน็ ไปตามพระสญั ญาวา่ ราชวงศด์ าวิดจะไม่สน้ิ สุด ท้งั ยงั เป็นการรบั ประกันพระสญั ญาเรือ่ งพระ
เมสสยิ าห์ผ้จู ะมาจากเชือ้ สายของดาวดิ ที่พวกเขารอคอย
ค) ครวุ าท (Burden)
คำ� ภาษาฮบี รคู ือ มสั ซา แปลวา่ “สมั ภาระ” หรอื “ของหนกั ” (ที่ตอ้ งแบกหรอื บรรทกุ ไป) ตวั อยา่ งการใช้คำ�
น้ีในความหมายแบบตรงตัวได้แก่ อพย.23:5; ยรม.17:21‑22,24 คำ� นยี้ งั พบไดบ้ ่อยในหมวดผเู้ ผยพระวจนะ
ด้วย โดยมักจะใช้เรียกสารหรือถ้อยค�ำท่ีพระเจ้าทรงเปิดเผยแก่ผู้เผยพระวจนะและทรงให้พวกเขาประกาศ
ออกไป (ตัวอย่างเช่น อสย.13:1; 14:28; อสค.12:10) มักเป็นถ้อยค�ำที่มีเนื้อหารุนแรง จึงได้แปลค�ำน้ีว่า
“ครุวาท” เพ่อื บง่ วา่ เปน็ คำ� พดู หรือสารท่หี นกั แนน่ และรุนแรง ทั้งส�ำหรับผ้รู บั สารนัน้ ๆ และอาจส�ำหรับผ้เู ผย
พระวจนะเองด้วย โดยสารน้นั เปน็ เหมอื นภาระที่หนักอ้ึงอย่ภู ายในจติ ใจและจำ� เปน็ ต้องประกาศออกไปตามท่ี
พระเจ้าทรงบญั ชา ดู “ผเู้ ผยพระวจนะและหนา้ ท่ี”
อย่างไรกต็ าม แม้คำ� น้จี ะใช้บ่อยในหมวดผูเ้ ผยพระวจนะ แต่ในพระธรรมเยเรมยี แ์ ละเพลงครำ�่ ครวญกลับ
ไม่พบการใช้ค�ำน้ี ทั้งนี้เพราะในสมัยของเยเรมีย์เต็มไปด้วยผู้เผยพระวจนะเท็จท่ีคอยแอบอ้างว่าถ้อยค�ำของ
ตนเป็นครวุ าทจากพระเจา้ เช่นกนั พระเจ้าจงึ ทรงใหเ้ ยเรมยี ์เตอื นสติผูฟ้ งั วา่ การท่ีพวกเขาไมร่ จู้ กั แยกแยะว่า
อนั ใดเป็น “ครวุ าท” ท่ีแทจ้ รงิ พวกเขาเองจึงกลายเปน็ “ภาระ” ส�ำหรับพระเจ้า (ยรม.23:33‑34) และเยเรมีย์
จงึ ไม่ใชค้ ำ� นเี้ รยี กสารทท่ี า่ นไดร้ บั จากพระเจา้ เพอื่ ใหเ้ กดิ ความแตกตา่ งและเปน็ การแยกตวั ออกจากพวกผเู้ ผย
พระวจนะเท็จในสมยั ของทา่ น (ยรม.23:35‑40; พคค.2:14)
ง) ความยุตธิ รรม (Justice, Judgement)
คำ� ภาษาฮบี รูคือ มชิ พาท แปลว่า “ความยตุ ธิ รรม” หรือ “การพิพากษา” หรอื “การปกครอง” โดยหลาย
ครง้ั คำ� นกี้ บั คำ� วา่ เซเดค (ความชอบธรรม) ปรากฏควบคกู่ นั หรอื มแี นวคดิ ใกลเ้ คยี งกนั คำ� วา่ มชิ พาท ปรากฏ
ในหมวดผู้เผยพระวจนะใหญ่ท้ังสิ้น 120 ครั้ง โดยอยู่ในพระธรรมอิสยาห์ 42 คร้ัง เยเรมีย์ 32 ครั้ง และ
เอเสเคียล 43 ครั้ง สว่ นในพระธรรมเพลงครำ่� ครวญปรากฏ 2 คร้ัง (พคค.3:35,59) และในดาเนียลพบเพยี ง
ครั้งเดียว (ดนล.9:5) ค�ำนี้มกั แปลว่าความยุตธิ รรม หรือการพพิ ากษา และบางคร้งั กย็ งั แปลวา่ ความเปน็ ธรรม
ความถูกต้อง ความเท่ียงธรรม และกฎหมายได้ด้วย โดยบ่อยครั้งเม่ือใช้กับพระเจ้ามักมีความหมายในแง่
การปกครองและการพิพากษา ขณะที่เม่ือใช้กับมนุษย์มักจะหมายถึงเรื่องความยุติธรรมในสังคมและในการ
ด�ำเนินชวี ติ
ในหมวดผู้เผยพระวจนะใหญ่ จุดเร่ิมต้นความบาปทั้งสิ้นของชนชาติอิสราเอลนั้นมาจากการที่พวกเขา
ปฏิเสธพระเจ้าและหันไปหารูปเคารพหรือพระอ่ืนๆ ซึ่งในการท�ำเช่นน้ันพวกเขาก็ได้ปฏิเสธแนวทางและกฎ
เกณฑ์ต่างๆ ในธรรมบัญญัติอันเป็นพันธสัญญาระหว่างพระเจ้ากับพวกเขาด้วย ผลของส่ิงเหล่านี้จึงปรากฏ
ออกมาในการดำ� เนนิ ชวี ติ และในสภาพสงั คมของพวกเขา (อสย.1:2‑4,21; 59:12‑15; ยรม.1:16; 5:1‑5,24,28;
อสค.20:16; 22:3‑4) เป็นความอยุติธรรมและการท�ำบาปต่อเพ่ือนมนุษย์ในรูปแบบต่างๆ เช่น การทุจริต
รบั สนิ บน การบดิ เบอื นความเปน็ ธรรม การเมนิ เฉยและเอารดั เอาเปรยี บคนทอี่ อ่ นแอกวา่ การหลงมวั เมาเสพ
สุขฝ่ายเนื้อหนัง และการท�ำเร่ืองโหดร้ายทารุณ (อสย.1:23; 59:3‑7; ยรม.5:26‑28; อสค.22:6‑12) ดังนั้น
เมื่อผู้เผยพระวจนะพูดถึงการกลับใจใหม่ ก็มักจะพูดถึงเร่ืองความยุติธรรมในสังคมควบคู่ไปด้วยอย่างแยก
กนั ไมอ่ อก (เช่น อสย.1:16‑20; ยรม.22:13‑17) และเพราะพระเจ้าได้ทอดพระเนตรดูประชากรของพระองค์
แล้วไม่พบ “ความยุตธิ รรม” ภายในพวกเขา พระองคจ์ ึงประทาน “การพิพากษา” ลงมายังพวกเขา (อสย.5:7,
13‑16)
นอกจากน้ี พระคัมภรี ์ยังมักกลา่ วถึงความยุตธิ รรมในลกั ษณะทเ่ี ป็นการกระท�ำเชิงรกุ คอื เปน็ การ “แสดง
9
ความยุติธรรม” หรือ “มอบความเป็นธรรม” เพ่ือผู้อ่ืนและส่วนรวม มากกว่าจะเป็นการเรียกร้องสิทธิหรือ
ความเป็นธรรมให้ตนเอง เช่น การชว่ ยปกปอ้ งหรอื เปน็ ปากเป็นเสยี งแทนคนบางกลมุ่ อยา่ งลกู กำ� พร้า หญิง
มา่ ย คนตา่ งด้าว หรอื คนอนาถา เพ่อื ใหค้ นเหล่านีท้ ี่มกั ถูกละเลยหรือถกู เอารดั เอาเปรียบในสังคมได้รบั ความ
เปน็ ธรรมในเรือ่ งตา่ งๆ
จ) ผูร้ ับใช้ (Servant)
ค�ำภาษาฮบี รคู อื เอเบด แปลว่า “ทาส” หรอื “ผูร้ บั ใช้” ค�ำน้ีมีรากมาจากค�ำกรยิ า อาบาด ซง่ึ นอกจากแปล
ว่า “รบั ใช”้ ยงั แปลได้อกี วา่ “ปรนนบิ ัติ” หรอื “นมสั การ” และในหมวดผู้เผยพระวจนะยงั มกี ารใช้ค�ำวา่ “ผ้รู ับ
ใชข้ องพระยาหเ์ วห”์ โดยหมายถงึ บคุ คลทพ่ี ระเจา้ ทรงใชใ้ หก้ ระทำ� การหรอื ทำ� บางสงิ่ ใหส้ ำ� เรจ็ ตามแผนการของ
พระองค์ ท้ังน้ีโดยไม่ได้เจาะจงหรอื ก�ำหนดตายตัววา่ บุคคลผ้นู ้นั จะเปน็ ใครหรอื รู้จกั พระเจา้ หรอื ไม่ แต่ในบาง
คร้งั คำ� นีก้ ็ใชเ้ ก่ยี วขอ้ งกับเรอ่ื งพระเมสสิยาหด์ ว้ ย ดู “พระเมสสิยาห”์ ใน “หัวเร่อื งและสาระส�ำคญั ”
ในหมวดผเู้ ผยพระวจนะใหญม่ คี ำ� วา่ “ผรู้ บั ใชข้ องเรา (พระยาหเ์ วห)์ ” ปรากฏทงั้ หมด 42 ครง้ั โดยอยู่ในพระ
ธรรมอิสยาห์ 21 ครั้ง เยเรมยี ์ 14 ครัง้ และเอเสเคียล 7 ครั้ง โดยการใชค้ �ำน้ีในพระธรรมอสิ ยาห์น้นั หมายถงึ
1) ผู้เผยพระวจนะอสิ ยาห์เอง (20:3)
2) เอลียาคมิ หรอื เยโฮยาคมิ (22:20)
3) กษตั รยิ ด์ าวิด (37:35)
4) ชนชาตอิ สิ ราเอลหรอื ประชากรของพระเจา้ (41:8‑9; 43:10; 44:1‑2,21; 45:4; 49:3; 65:8‑9,13‑14)
5) พระเมสสิยาห์ (42:1,19; 52:13; 53:11)
ส่วนผรู้ ับใชข้ องพระยาหเ์ วหท์ ่กี ล่าวถึงในพระธรรมเยเรมียน์ ้ันหมายถงึ
1) บรรดาผเู้ ผยพระวจนะในอดีต (7:25; 26:5; 29:19; 35:15; 44:4)
2) เนบคู ัดเนสซาร์ กษัตรยิ ์บาบิโลน (25:9; 27:6; 43:10)
3) ชนชาติอิสราเอลหรอื ประชากรของพระเจ้า (30:10)
4) กษัตริยด์ าวดิ (33:21‑22,26)
5) ยาโคบ บรรพบุรุษของคนอิสราเอลทเ่ี ป็นตวั แทนของชนชาติอิสราเอล (46:27‑28)
และผู้รบั ใชข้ องพระยาห์เวหท์ ่ีกลา่ วถึงในพระธรรมเอเสเคียลนัน้ หมายถึง
1) ยาโคบ บรรพบุรษุ ของคนอสิ ราเอล (28:25; 37:25)
2) กษตั รยิ ์ดาวิด ซึ่งเปน็ ภาพเล็งถงึ พระเมสสยิ าห์ (34:23‑24; 37:24‑25)
3) บรรดาผู้เผยพระวจนะในอดีต (38:17)
ดังนั้นจะเห็นว่า “ผู้รับใช้ของพระยาห์เวห์” อาจเป็นได้ทั้งบุคคลในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ทั้งยังอาจ
เป็นไดท้ ง้ั คนอิสราเอลและคนตา่ งชาติ แต่ผูท้ ่ีเป็นจดุ สนใจสำ� คัญท่สี ดุ คือ พระเมสสยิ าหท์ ่เี ป็นดัง่ ดาวดิ ผรู้ บั ใช้
ของพระเจ้าซึง่ จะเสดจ็ มาในอนาคต
ฉ) พระยาหเ์ วหจ์ อมทัพ (The Lord of Hosts)
คำ� ภาษาฮบี รคู อื ยาหเ์ วห์ เซบาโอท เปน็ พระนามหนง่ึ ของพระเจา้ ทเ่ี กา่ แกม่ าแตโ่ บราณ พระนามนป้ี ระกอบ
ด้วยคำ� ฮบี รูสองคำ� คอื ยาหเ์ วห์ และ เซบาโอท โดยพน้ื ฐานแลว้ คำ� วา่ เซบาโอท เปน็ ศพั ทท์ างทหารหมายถ ึง
กองทัพหรอื การทำ� สงคราม และยังใช้หมายถงึ สิ่งทีม่ ีจ�ำนวนมากๆ ไดด้ ว้ ย เมือ่ ประกอบคำ� น้ีเข้ากับพระนาม
ยาหเ์ วห์ ก็กลายเป็นพระนามวา่ “พระยาหเ์วห์จอมทพั ” ซ่ึงส่ือถงึ ฤทธาน ภุ าพ ความยงิ่ ใหญ่ และการเปน็ ผู้
ครอบครองและพิพากษาโลกนี้ ดูคำ� อธิบายเพิม่ เติมท่ี “พระยาหเ์ วหจ์ อมทพั ” ในประมวลศพั ท์
พระนามนปี้ รากฏในหมวดผเู้ ผยพระวจนะ 139 ครง้ั (จากทงั้ หมด 259 ครงั้ ตลอดพนั ธสญั ญาเดมิ ) โดยอยู่
ในพระธรรมอิสยาห์ 62 ครั้ง และในเยเรมยี ์ 77 ครั้ง จะเห็นได้ว่าพระนามน้เี ป็นทน่ี ิยมและคุ้นเคยเป็นพเิ ศษ
ในชว่ งก่อนตกเป็นเชลย อาจเพราะบรรยากาศและสถานการณ์ในสมัยนนั้ เตม็ ไปดว้ ยความขัดแยง้ และแรง
10
กดดนั จากชาติมหาอำ� นาจ ดู “เบ้ืองหลงั ทางประวตั ศิ าสตร”์ พระธรรมทง้ั สองเลม่ นี้จึงเน้นยำ�้ พระลกั ษณะของ
พระเจ้าวา่ ทรงเป็นผนู้ �ำกองทพั แห่งฟ้าสวรรค์และทรงเป็นพระเจ้าสงู สุดผูก้ �ำหนดความเป็นไปของประชาชาติ
ทง้ั ปวงอย่างแท้จรงิ
ช) พนั ธสัญญา (Covenant)
ค�ำภาษาฮีบรูคอื เบอะรีท แปลวา่ “พนั ธสัญญา” ซ่ึงเป็นสิง่ ท่ผี ้คู นในตะวันออกกลางสมัยโบราณคุ้นเคย
ดี การทำ� พันธสัญญาคอื การท่สี องฝา่ ยให้สญั ญาหรือทำ� ขอ้ ตกลงในเร่ืองบางอย่างด้วยกนั โดยมกี ารกำ� หนด
เง่ือนไขของสัญญาหรือขอ้ ตกลงนน้ั ๆ ท่ที ั้งสองฝ่ายตอ้ งรกั ษาหรอื ปฏบิ ัติตามพร้อมกบั ระบผุ ลที่จะไดร้ ับเมอ่ื
ทั้งสองฝา่ ยตา่ งรักษาสญั ญาหรือขอ้ ตกลง และผลทจี่ ะเกดิ ขึ้นเม่อื ฝ่ายหนึง่ ฝา่ ยใดละเมดิ สัญญาหรือขอ้ ตกลง
ในพระคัมภีร์ก็มีบันทกึ เรื่องทีค่ นอสิ ราเอลสมยั โบราณทำ� พนั ธสัญญาท้ังกับกันและกันและกับคนตา่ งชาติ
(ยชว.9:6,11,15‑16; 1 ซมอ.18:3; 20:16) แต่พนั ธสญั ญาทพ่ี ระเจา้ ทรงทำ� กบั มนษุ ยน์ น้ั มคี วามพเิ ศษคอื พระเจา้
ทรงมฐี านะทสี่ งู กวา่ และเปน็ ผปู้ ระทานพนั ธสญั ญาแตฝ่ า่ ยเดยี ว ขณะทม่ี นษุ ยม์ ฐี านะตำ่� กวา่ และเปน็ ผรู้ บั พนั ธ
สญั ญาเทา่ นน้ั ตวั อยา่ งเชน่ พนั ธสญั ญากบั โนอาห์ (ปฐก.9:8‑17) และพนั ธสญั ญากบั อบั ราฮมั (ปฐก.15:7‑21)
ในหมวดผู้เผยพระวจนะใหญ่มีพันธสัญญาอยู่สองชุดท่ีถูกกล่าวถึงมากท่ีสุด ชุดแรกคือพันธสัญญาท่ี
ซนี ายซง่ึ พระเจา้ ทรงทำ� กบั ชนชาตอิ สิ ราเอลในสมยั โมเสส (อพย.20; ฉธบ.4-11) โดยเงอ่ื นไขสญั ญาเกย่ี วขอ้ ง
กับการด�ำเนินชีวิตในฐานะประชากรของพระเจ้าเมื่อพวกเขาเข้าอาศัยในแผ่นดินที่พระองค์ทรงสัญญาไว้
กับบรรพบุรุษของพวกเขา และมีการระบถุ งึ พระพรกบั คำ� สาปแชง่ ทพ่ี วกเขาจะไดร้ บั ตามการกระทำ� ของพวก
เขาบนพืน้ ฐานความสัมพันธ์ทม่ี ีกบั พระเจ้า (ฉธบ.28‑30) สว่ นชดุ ทีส่ องคือพันธสญั ญาที่พระเจา้ ทรงท�ำกับ
ดาวิด (2 ซมอ.7; 1 พศด.17) โดยสญั ญาน้ีเก่ียวข้องกับการสถาปนาราชวงศ์และเช้อื สายของดาวดิ ซึ่งเปน็
การจดั เตรยี มไปถึงเร่ืองพระเมสสยิ าหด์ ว้ ย (ยรม.33:17‑22) เนอ้ื หาพันธสญั ญาท้งั สองชุดเป็นแนวคิดหลักใน
สารของหมวดผู้เผยพระวจนะใหญ่
นอกจากนี้ ในหมวดผเู้ ผยพระวจนะใหญย่ งั มกี ารกลา่ วถงึ “พนั ธสญั ญาใหม”่ (New Covenant) หรอื ทภ่ี าษา
ฮีบรเู รียกวา่ เบอะรีท ฆะดาชาห์ โดยคำ� นปี้ รากฏใน ยรม.31:31‑34 เกี่ยวขอ้ งกบั พระราชกจิ ที่พระเจา้ จะทรง
กระทำ� ในอนาคตภายหลงั ยคุ สมยั ของพวกเขา และสารเรอื่ งพนั ธสญั ญาใหมก่ ็ไดส้ ำ� เรจ็ ค รบถว้ นในอ งคพ์ ระเยซู
ครสิ ต์ ผทู้ รงเปน็ ทง้ั ผสู้ ถาปนาและเปน็ คนกลางของพระเจา้ กบั มนษุ ย์ในพนั ธสญั ญาน้ี (ลก.22:20; ฮบ.8:6‑13;
9:15) ดูค�ำอธิบายเพ่ิมเติมที่ “พนั ธสญั ญา” ในประมวลศพั ท์
ซ) จอกแห่งพระพโิ รธ (Cup of Wrath)
วลนี ี้ในภาษาฮบี รปู ระกอบดว้ ยคำ� สองคำ� ซง่ึ มรี ากจากคำ� วา่ โคส ทแี่ ปลวา่ “จอก” หรอื “ถว้ ย” (cup, goblet)
และค�ำวา่ เฆมาห์ ทีแ่ ปลว่า “พระพิโรธ” หรือ “ความโกรธ” (wrath, fury) โดยคำ� ว่าจอกหรือถ้วยนมี้ กี ารใช้ทง้ั
ในแบบความหมายตรงตวั (เชน่ ปฐก.40:11; ยรม.35:5) และในแบบทเ่ี ปน็ ภาพเปรยี บเทียบ
จอกหรือถ้วย เป็นท้ังภาชนะส�ำหรับใส่เครื่องด่ืมและใช้ในการตวง ส�ำนวนท่ีกล่าวถึงจอกหรือถ้วยจึงมี
ความหมายถงึ ส่วนแบ่ง (portion) ส�ำหรับผู้ทีร่ ับจอกหรอื ถ้วยนัน้ ๆ ไดด้ ว้ ย และการทผ่ี ใู้ ดมอบจอกหรอื ถ้วย
ให้อีกผ้หู นึง่ ด่ืม ยังเป็นภาพแสดงถงึ การจดั เตรยี ม (provision) ตามขนาดหรือปรมิ าณสว่ นแบ่งท่ีผมู้ อบเห็น
ว่าเหมาะสมหรือคคู่ วรแกผ่ ้รู ับ เชน่ ภาพของถ้วยทเี่ ตม็ จนล้นใน สดด.23:5 ซึ่งสือ่ ถึงการเลย้ี งดูอย่างบริบูรณ์
ของพระเจ้า หรอื ในบางกรณียังมีเจตนาทีเ่ จาะจงตอ่ ผ้รู บั ด้วย เช่น “ถ้วยแห่งการปลอบใจ” (ยรม.16:7) ดังน้ัน
จอกหรอื ถว้ ยจงึ เปน็ ภาพเปรยี บเทยี บหมายถงึ แผนการทพี่ ระเจา้ ทรงดำ� รแิ ละจดั เตรยี มไวแ้ ลว้ อนั เปน็ สว่ นแบง่
หรือส่งิ ทีเ่ หมาะสมคู่ควรแก่ผรู้ บั หรอื ผทู้ อ่ี ยู่ในแผนการนนั้ ๆ ตามพระทยั หรือพระประสงค์ของพระองค์ เช่น
“ถว้ ยแห่งความรอด” (สดด.116:13)
ในหมวดผ้เู ผยพระวจนะใหญ่มีส�ำนวนส�ำคัญคือ “จอกแห่งพระพิโรธ” (อสย.51:17) หรือ “ถว้ ยแห่งความ
พิโรธ” (อสย.51:22) นอกจากนี้ยงั มี “ถ้วยแห่งความโซเซ” (อสย.51:17) “จอกแห่งความโซเซ” (อสย.51:22)
11
“ถว้ ยเหลา้ องุ่นแห่งความโกรธ” (ยรม.25:15) “ถ้วยน่าสะพรึงกลวั และอา้ งว้าง” (อสค.23:33) และในบางตอน
อาจมีเพียงคำ� ว่า “ถว้ ย” (ยรม.25:17,28; 49:12; พคค.4:21; อสค.23:31‑33) สำ� นวนทง้ั หมดนหี้ มายถึง
พระพิโรธของพระเจ้าท่ีมาถงึ อาณาจกั รยดู าหห์ รือชนชาติต่างๆ ในการพิพากษาลงโทษตามความบาปผิดของ
พวกเขา ซ่งึ เป็นสิง่ ที่พวกเขาไม่อาจปฏิเสธหรอื หลกี เลยี่ ง แต่ตอ้ งรบั จนเต็มขนาดหรอื ตามแผนการทพ่ี ระเจา้
ทรงจดั เตรียมไว้แล้ว
นอกจากน้ีใน ยรม.51:7 กลา่ วว่า อาณาจกั รบาบโิ ลนนัน้ เคยเปน็ “ถว้ ยทองคำ� ” ในพระหัตถข์ องพระเจ้า
ทมี่ อบให้บรรดาประชาชาตดิ ม่ื ซงึ่ หมายถงึ การทีบ่ าบโิ ลนเคยเป็นเครอ่ื งมือทีพ่ ระองคท์ รงใชใ้ นการพิพากษา
ประชาชาตเิ หลา่ นั้น จนพวกเขามึนเมาหรือถูกลงโทษเต็มขนาด แต่ในทีส่ ดุ บาบิโลนเองกก็ ลายเปน็ ด่ังถ้วย
ท่ีแตก คอื ถกู พระเจา้ พิพากษาลงโทษดว้ ยเช่นกนั (ยรม.51:8)
ภาพเปรยี บเทยี บดงั กลา่ วยงั มปี รากฏในพนั ธสญั ญาใหมด่ ว้ ย พระเยซคู รสิ ตต์ รสั ถงึ “ถว้ ย” ทพ่ี ระองคจ์ ำ� เปน็
ต้องรับมาดื่มตามพระทัยของพระบิดา (มธ.20:22‑23; 26:39,42; มก.10:38‑39 ;14:36; ลก.22:42; ยน.
18:11) ซง่ึ หมายถงึ ภารกจิ ของพระองคท์ ี่พระบิดาได้ทรงด�ำรไิ วแ้ ลว้ คอื การเสด็จมาทนทุกข์และสน้ิ พระชนม์
บนไม้กางเขนเพื่อรับเอาพระพิโรธของพระบิดาไปและไถ่บาปให้ผู้เชื่อ ยังมีถ้วยเหล้าองุ่นในพิธีมหาสนิท
(มธ.26:27‑29; มก.14:23‑25; ลก.22:17‑18,20; 1 คร.11:25‑26) ซ่ึงเล็งถงึ พระโลหิตของพระเยซคู รสิ ต์ท่ี
หล่งั ออกเพอ่ื ช�ำระความบาป ท�ำใหผ้ ้ทู ี่เชอ่ื วางใจในพระองค์ไดเ้ ข้าสู่พนั ธสัญญาใหม่ของพระเจ้า หรอื เรียกได้
ว่าเป็นถว้ ยแหง่ พันธสญั ญาใหม่ท่ีพระเจา้ ทรงจัดเตรยี มใหแ้ ก่ประชากรของพระองค์ นอกจากน้ยี งั มีการกล่าว
ถงึ “เหลา้ อง่นุ แห่งความกรวิ้ ...ในถว้ ยแห่งพระพิโรธ” (วว.14:10) และ “ถ้วยเหลา้ องุ่นแหง่ พระพิโรธรุนแรง”
(วว.16:19) ซึ่งหมายถงึ การพิพากษาในขนั้ สุดท้ายของพระเจา้ สำ� หรับศัตรทู ้งั สนิ้ ของพระองค์ จึงอาจกลา่ วได้
วา่ ในพนั ธสญั ญาใหมม่ ภี าพเปรยี บเทยี บระหวา่ งถว้ ยสองแบบคอื ถว้ ยแหง่ พนั ธสญั ญาท่ีใหช้ วี ติ และถว้ ยแหง่
การพพิ ากษาที่น�ำสู่ความพนิ าศ โดยมีแนวคดิ มาจากพนั ธสญั ญาเดมิ น่ันเอง
เยเรมีย์
คำ� น�ำ
พระธรรมเยเรมีย์บันทึกเรื่องราวในยุคสมัยถัดจากเร่ืองราวในพระธรรมอิสยาห์ คือหลังจากท่ีอาณาจักร
อสิ ราเอลลม่ สลายแลว้ เหลอื เพยี งอาณาจักรยดู าหช์ ่วงกอ่ นทจ่ี ะตกเปน็ เชลยของอาณาจกั รบาบิโลน อนั เปน็
ชว่ งเวลาที่ผเู้ ผยพระวจนะเยเรมีย์มชี วี ติ อยู่
เยเรมยี เ์ ปน็ ผเู้ ผยพระวจนะที่โดดเดน่ และเปน็ ทรี่ จู้ กั ดอี กี ทา่ นหนงึ่ ทา่ นไดร้ บั สมญานามวา่ “ผเู้ ผยพระวจนะ
เจา้ นำ�้ ตา” (The Weeping Prophet) เนอ่ื งจากมบี ทคร่ำ� ครวญเกย่ี วกบั ความทกุ ข์ลำ� บากในการท�ำพนั ธกจิ ของ
ทา่ นและความเศร้าโศกอาลัยถงึ กรุงเยรซู าเลม็ ท่ีทา่ นรัก (ยรม.8:18-9:3; 13:15‑17) ทั้งนอี้ าจเปน็ เพราะความ
ออ่ นวยั ของท่านเมอ่ื เรมิ่ ทำ� พนั ธกจิ ประกอบกบั การเปน็ บตุ รหลานตระกูลปโุ รหติ ทม่ี คี วามผกู พนั กบั พระวหิ าร
และกรุงเยรซู าเล็ม (ดหู วั ขอ้ “ผูเ้ ขียน”) จงึ ยงิ่ ท�ำให้ท่านออ่ นไหวมากตอ่ เรอื่ งดงั กลา่ ว อย่างไรก็ตาม แมเ้ ยเร
มีย์จะประสบความทกุ ขย์ ากท้ังกายและใจ แต่กบ็ ากบ่ันสทู้ นตามการทรงเรียกของพระเจา้ ตลอดชีวิตของท่าน
แทจ้ ริงแล้วท่านคือ “ผูเ้ ผยพระวจนะท่ีมุมานะ” (The Persevering Prophet) ผู้ไดม้ อบมรดกใหค้ นรุ่นหลงั ไว้
ในหนงั สือเลม่ นที้ เ่ี รยี กตามชอื่ ของท่านเอง
ผเู้ ขียน
พระธรรมเยเรมีย์ไม่ได้ระบุช่ือผู้เขียนแบบเจาะจง ค�ำขึ้นต้นหนังสือกล่าวเพียงว่า “ถ้อยค�ำของเยเรมีย์”
(1:1ก) จึงเป็นไปได้ว่าอาจมีผู้ช่วยบันทึก ผู้เขียนหรือผู้บอกเล่าเนื้อหาต้องเป็นพยานท่ีอยู่ในเหตุการณ์กรุง
เยรซู าเลม็ ล่มสลาย ซ่ึงเยเรมยี ์และบารคุ อาลักษณ์คนสนทิ ของทา่ นต่างก็มคี ณุ สมบตั ดิ ังกล่าว
เยเรมีย์เป็นคนในตระกูลปุโรหิต บิดาชื่อ ฮิลคียาห์ ท่านมาจากเมืองอานาโธทในแผ่นดินของเผ่าเบน
ยามิน ซึ่งอยู่ไม่ไกลนักจากกรุงเยรูซาเล็มไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (1:1) ท่านจึงน่าจะมาจากตระกูล
อาบียาธาร์ ผู้เป็นปุโรหิตร่วมกับศาโดกในสมัยกษัตริย์ดาวิด (2 ซมอ.15:24‑29) แต่ถูกกษัตริย์ซาโลมอน
เนรเทศให้มาอยู่ท่ีเมืองน้ีเพราะไปสนับสนุนให้อาโดนียาห์เป็นผู้สืบทอดราชบัลลังก์ (1 พกษ.2:26‑27)
เยเรมียจ์ งึ มาจากตระกลู ปุโรหติ ทม่ี ีเบื้องหลังดงั กล่าว ทง้ั ยังมอี ายนุ อ้ ยเมอื่ เร่ิมทำ� พันธกิจ (1:6‑8) ปัจจยั เหล่า
นจ้ี ึงอาจสรา้ งความกดดนั ภายในใหแ้ กท่ า่ น
ชอื่ “เยเรมยี ”์ มคี วามหมายอยา่ งไรไม่แน่ชดั นักวชิ าการบางคนเสนอคำ� แปลว่า “พระยาห์เวห์ทรงยกชู”
หรอื “พระยาหเ์ วหท์ รงเหวี่ยง” หากเป็นความหมายแรก อาจหมายถึงการทีพ่ ระเจา้ ทรงตง้ั ทา่ นเป็นผเู้ ผยพระ
วจนะเหนอื บรรดาประชาชาติ (1:5,9‑10) แตห่ ากเปน็ ความหมายหลงั กอ็ าจหมายถงึ การทพี่ ระเจา้ ทรงเหวย่ี ง
ท่านเข้าไปในโลกที่ไมเ่ ป็นมิตร (1:17‑19)
เยเรมยี ม์ ีชีวติ อยใู่นช่วงป ลายศตวรรษท ี่ 7 จนถึงต้นศ ตวรรษท ี่ 6 ก่อน ค.ศ. พันธกิจข องทา่ นคือการเตือน
สติประช าชนในกรุงเยรซู าเล็มที่ละท้ิงพระเจา้ ไปหารูปเคารพ และหนุนใจพวกทีถ่ ูกกวาดไปเปน็ เชลยในบา
บิโลนว่าพวกเขาจะได้กลบั มาและรับการฟนื้ ฟูขนึ้ ใหม่ ค�ำเผยพระวจนะดงั กลา่ วทำ� ให้เพอ่ื นรว่ มชาติไม่ชอบ
ทา่ น แต่ท่านก็ยังมมี ิตรสหายคอยช่วยเหลือ เชน่ อาหคิ ัม (26:24) เกดาลิยาห์บตุ รอาหคิ ัม (39:14; 40:5‑6)
เอเบดเมเลคคนคูช (38:7‑13; 39:15‑18) และบารคุ ซงึ่ น่าจะใกล้ชิดกับท่านมากทีส่ ดุ โดยเป็นอาลักษณ์ท่ี
ช่วยเขยี นและอ่านถอ้ ยคำ� ของท่าน (36:4‑19,32) ชว่ ยเกบ็ รักษาโฉนดการซือ้ ท่ีดนิ (32:9‑16) ได้รว่ มทุกขก์ บั
ทา่ นในการถูกนำ� ตัวไปยังอยี ิปต์ (43:1‑7) และพระเจ้าได้ทรงสัญญาว่าแม้จะตอ้ งเผชิญภยันตราย แต่บารคุ
จะได้รับชีวิตเป็นบำ� เหน็จ (45:1‑5) นกั วิชาการส่วนใหญ่จึงเช่ือวา่ บารุคคนน้ีนา่ จะเป็นผชู้ ่วยเขียนบันทกึ คน
13
สำ� คัญของเยเรมยี ์ ในบัน้ ปลายชีวิต เยเรมยี ์และบารุคอาศยั อยู่ในอยี ิปต์กบั ชาวยูดาห์ทห่ี ลบหนอี �ำนาจของ
บาบิโลน (43:6‑7) ตามธรรมเนียมของชาวยิวเชื่อว่าเยเรมีย์สิ้นชีวิตท่ีอียิปต์จากการถูกประชาทัณฑ์โดย
เพื่อนร่วมชาติของท่านซึ่งไม่พอใจค�ำเผยพระวจนะท่ีท่านกล่าวถึงความดื้อดึงไม่ยอมกลับใจของพวกเขา
(44:2‑14,21‑30)
ผูร้ ับสาร
เน่ืองจากพระธรรมเยเรมีย์น่าจะเขียนและรวบรวมเสร็จในช่วงหลังจากการตกเป็นเชลยที่บาบิโลนแล้ว
(1:1‑3) ผู้เขียนจึงน่าจะค�ำนึงถึงกลุ่มคนท่ีเหลืออยู่ภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าว คือชาวยูดาห์ที่ถูกกวาดไป
เป็นเชลยและคนรุ่นถัดมาท่ีเกิดมาในบาบิโลน ซ่ึงจ�ำเป็นต้องได้รับความหวังใจจากพระสัญญาของพระเจ้า
จนกว่าจะไดก้ ลับมายงั แผ่นดนิ เดมิ อกี ครั้ง
พระธรรมเยเรมีย์จึงเป็นหนังสือที่เขียนให้แก่ประชากรของพระเจ้าท่ีก�ำลังประสบความทุกข์ยากในการ
ตกเป็นเชลยยังต่างแดนอันเป็นการตีสอนชั่วขณะหนึ่งจากพระองค์ เพื่อให้คนเหล่านี้รับรู้ถึงสาเหตุของการ
ตกเป็นเชลย พระประสงค์ของพระเจ้า และพระสัญญาของพระองค์ที่จะทรงน�ำพวกเขากลับมาและฟื้นฟู
พวกเขาขึ้นใหม่ เมื่อรู้เช่นนี้แล้วพวกเขาจะได้มีความหวัง ความอดทน และสันติสุขในช่วงเวลาดังกล่าว
นอกจากน้ีเน้ือหาบางตอนยังชี้ไปไกลกว่ายุคสมัยของพวกเขาเอง โดยบอกเล่าถึงยุคแห่งพันธสัญญาใหม่
ซ่ึงแตกตา่ งจากพันธสัญญาเดิมในสมยั บรรพบรุ ุษของพวกเขา (31:31‑34)
เวลาและสถานทีเ่ ขียน
พระธรรมเยเรมีย์ไม่ได้ระบุชัดเจนถึงช่วงเวลาที่เร่ิมเขียน แต่จาก 1:1‑3 บ่งว่าเนื้อหาโดยรวมน้ันเขียน
เสร็จแล้วและมกี ารเรียบเรยี งเข้าดว้ ยกนั ประมาณหลงั ปี 586 กอ่ น ค.ศ. ไปจนถงึ การปล่อยตัวเยโฮยาคนี เมื่อ
ประมาณปี 560 กอ่ น ค.ศ. (52:31‑34 เทียบกบั 2 พกษ.25:27‑30) นอกจากนี้พระธรรมเยเรมีย์ยงั เป็นทรี่ ้จู ัก
และยอมรับในหมู่ชาวยวิ แล้วตงั้ แต่ยุคกลับจากการเป็นเชลยในชว่ งปลายศตวรรษท่ี 6 ก่อน ค.ศ. (ดนล.9:2)
ในสมัยพระเยซูคริสต์ก็คุ้นเคยกับผู้เผยพระวจนะเยเรมีย์และงานเขียนของท่านเป็นอย่างดี (เช่น มธ.2:17;
16:14; 21:13) ข้อสังเกตท้ังหมดนี้ช้ีว่าการเขียนและรวบรวมพระธรรมเยเรมีย์น่าจะเสร็จส้ินเป็นอย่างช้า
ประมาณช่วงศตวรรษท่ี 6 ก่อน ค.ศ. หรอื ในชว่ งปลายชวี ิตของเยเรมยี ์และบารุคขณะอยทู่ ีอ่ ียิปต์
นอกจากน้ียงั มีข้อถกเถยี งเกย่ี วกบั เนอ้ื หาด้ังเดิมของพระธรรมเล่มนีจ้ ากการเปรียบเทยี บพระคัมภีรฮ์ บี รู
ฉบบั มาโซเรตกิ (Masoretic Text หรอื MT) กบั พระคมั ภรี ฉ์ บบั เซปทวั จนิ ต์ (พระคมั ภรี ฮ์ บี รฉู บบั แปลกรกี หรอื
LXX ดูหัวขอ้ “เซปทวั จนิ ต”์ ในหน้าพิเศษ) กล่าวคอื พระธรรมเยเรมยี ์ใน LXX มเี นือ้ หาส้นั กวา่ ใน MT และ
การเรียงล�ำดับสารถึงบรรดาประชาชาติก็แตกตา่ งกัน (ดูบทความพิเศษ “การพิพากษาบรรดาประชาชาติใน
พระธรรมเยเรมีย”์ ) อย่างไรก็ดีจากการค้นพบพระคัมภรี ฉ์ บบั ทะเลตายในถำ้� คมุ รานซงึ่ นับเป็นสำ� เนาโบราณ
ที่เก่าแก่ท่ีสุด (ประมาณศตวรรษท่ี 3 ก่อน ค.ศ.) ปรากฏว่ามีส�ำเนาคัดลอกพระธรรมเยเรมีย์อยู่หลายฉบับ
ด้วยกัน โดยมีท้ังฉบับที่เนื้อหาเหมือนกับ MT และฉบับท่ีเหมือนกับ LXX จึงเป็นข้อบ่งชี้ว่า เนื้อหาพระ
ธรรมเยเรมยี ์ของ MT และของ LXX น้นั เกา่ แกท่ ้งั คู่ แต่เกดิ เปน็ สองฉบบั เน่ืองจากประเพณกี ารคดั ลอกทแ่ี ตก
ตา่ งกนั ของอาลกั ษณส์ มยั โบราณ และแมจ้ ะมคี วามแตกตา่ งดงั ทก่ี ลา่ วมา สาระสำ� คญั ในเลม่ กย็ งั คงเหมอื นกนั
ลำ� ดบั เหตุการณ์
เรอ่ื งราวในพระธรรมเยเรมีย์เก่ียวขอ้ งกับกษตั ริย์ 5 รชั กาลสุดทา้ ยแหง่ อาณาจกั รยูดาห์ไปจนถงึ ชว่ งหลงั
กรุงเยรูซาเล็มล่มสลาย แต่เนื้อหาในพระธรรมนี้ไม่ได้เล่าตามล�ำดับเวลา (ดูหัวข้อ “ลักษณะการประพันธ์”)
การท�ำความเข้าใจล�ำดับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์จึงช่วยให้เห็นกรอบเวลาในภาพรวมและช่วยให้ระบุช่วง
14
เวลาของเนือ้ หาตอนต่างๆ ในพระธรรมนี้ได้ดขี น้ึ
รชั กาล (ช่วงเวลา) เนอื้ หาในพระธรรมเยเรมีย์ ผูเ้ ผยพระวจนะในสมัยเดียวกนั
โยสยิ าห์ (ปี 640‑609 กอ่ น ค.ศ.) 1:1‑6:30; 8:4‑13:27; 15:1‑20:18 นาฮมู ฮาบากกุ เศฟนั ยาห์
ท�ำพันธกจิ
เยโฮอาหาส (ครองราชยเ์ พียง - -
3 เดือนในปี 609 ก่อน ค.ศ.)
เยโฮยาคมิ (ปี 609‑598 กอ่ น ค.ศ.) 7:1‑8:3; 22:1‑23; 25:1‑26:24; ดาเนยี ล ถกู กวาดไปเป็นเชลย
35:1‑36:32; 45:1‑5; 46:1‑12 ที่บาบิโลน
เยโฮยาคีน (ปี 598‑597 กอ่ น ค.ศ.) 14:1‑22; 22:24‑30 เอเสเคยี ล ถกู กวาดไปเปน็
เชลยทีบ่ าบโิ ลน
เศเดคยี าห์ (ปี 597‑586 ก่อน ค.ศ.) 21:1‑14; 24:1‑10; 27:1‑29:32; -
32:1‑34:22; 37:1‑39:18; 49:34-
39; 51:59-64; 52:1-30
หลงั กรงุ เยรซู าเลม็ ลม่ สลาย (เกดาลิ 40:1‑44:30; 52:31‑34 โอบาดีห์ ท�ำพันธกิจ
ยาห์เปน็ ผู้ว่าราชการในปี 586‑581
ก่อน ค.ศ.)
จะเห็นได้ว่า เยเรมีย์ท�ำพันธกิจในกรุงเยรูซาเล็มในช่วงที่ไม่มีผู้เผยพระวจนะคนอื่น (นอกจากผู้เผยพระ
วจนะอรุ ียาหท์ ่ีกล่าวถึงใน 26:20‑23) ดังนัน้ ในเชิงประวัติศาสตร์ พระธรรมเยเรมียจ์ งึ เป็นแหลง่ ข้อมลู สำ� คญั
เกี่ยวกบั สถานการณ์ในกรงุ เยรูซาเลม็ ช่วงปลายศตวรรษท่ี 7 จนถงึ ตน้ ศตวรรษที่ 6 อันเป็นชว่ งเวลาส�ำคัญอกี
ชว่ งหน่ึงในประวตั ิศาสตร์ของชนชาตอิ สิ ราเอล
ภูมิหลงั และมุมมอง
ในรชั สมยั ของกษัตริย์โยสยิ าห์ (ปี 640‑609 กอ่ น ค.ศ.) พระองคท์ รงเป็นผู้น�ำในการปฏิรูปฟนื้ ฟูศาสนา
และสงั คมในอาณาจกั รยดู าห์ (2 พกษ.23:1‑25; 2 พศด.34:29‑35:19) แตท่ งั้ ชนชาตยิ งั ไมไ่ ดก้ ลบั ใจใหมอ่ ยา่ ง
แทจ้ รงิ ในรชั สมยั ตอ่ ๆ มา ทง้ั กษตั รยิ ์ ปโุ รหติ และประชาชนตา่ งกเ็ สอ่ื มทรามลงอยา่ งหนกั ความอยตุ ธิ รรมใน
สงั คมแผก่ วา้ งออกไป (2 พกษ.23:31‑32,36‑37; 24:8‑9,18‑20; ยรม.7:8‑15; 8:4‑17; 22:11‑30) นอกจากนี้
พวกเขายงั นง่ิ นอนใจเพราะคำ� ประกาศของพวกผเู้ ผยพระวจนะเทจ็ วา่ พระเจา้ จะไมท่ รงลงโทษ จะมแี ตส่ นั ตภิ าพ
(14:13‑16; 23:9‑32; 28:1‑4,10‑17) ดว้ ยเหตนุ ้ี พระเจา้ จงึ ทรงใช้เยเรมีย์มาประกาศข่าวสารทีแ่ ทจ้ รงิ เรอื่ ง
การพิพากษาลงโทษอาณาจักรยดู าห์เพราะความบาปช่วั ซงึ่ ทำ� ใหผ้ ู้รับสารต่างก็ไม่ชอบท่าน (26:7‑11) ท่าน
จงึ ต้องประสบกับการขม่ เหงและตอ่ ตา้ นอยา่ งหนัก
ในด้านการเมือง อาณาจักรบาบิโลนกลายเป็นมหาอ�ำนาจท่ีแข็งแกร่งทางฝั่งตะวันออกแทนท่ีอัสซีเรีย
อาณาจกั รอียิปตท์ างฝ่งั ตะวนั ตกและชาวยดู าห์จึงเร่ิมเฝ้าระวังบาบิโลน และสง่ ผลใหช้ าวยูดาหจ์ ำ� นวนมากใน
ช่วงนี้กลายเป็นพวกฝักใฝ่อียิปต์ โดยเช่ือว่าอียิปต์จะสามารถต่อกรกับบาบิโลนได้ (อสย.30:1‑3,7; 31:1‑3;
ยรม.2:17‑18,36‑37; 43:4‑7) ซ่งึ สวนทางกบั ท่ีพระเจา้ ทรงสำ� แดงว่าบาบโิ ลนเป็นเคร่อื งมือของพระองคแ์ ละ
ชาวยดู าห์จะต้องตกเป็นเชลยในท่สี ุด (4:7; 21:10; 27:8‑11) เยเรมยี พ์ ยายามเตอื นเพ่ือนร่วมชาติของทา่ นให้
ยอมรับและยอมจำ� นนตอ่ บาบิโลน (27:12‑13; 38:17‑18) ซึง่ ทำ� ใหต้ ัวท่านกบั มติ รสหายถกู ประณามว่าเป็น
15
พวกฝกั ใฝ่บาบโิ ลนและหาช่องทางแปรพกั ตร์เพื่อเอาตัวรอด (37:11‑16; 43:1‑3)
ดังน้ัน อาจกล่าวได้ว่า ยุคสมัยของเยเรมีย์เป็นช่วงเวลาแห่งความตึงเครียดท้ังด้านการเมืองและศาสนา
อันเนอ่ื งมาจากอทิ ธพิ ลของพวกผู้เผยพระวจนะเทจ็ และกระแสของการฝกั ใฝ่อียปิ ต์เพ่ือต่อต้านบาบโิ ลน
ลักษณะการประพันธ์
พระธรรมเยเรมยี ป์ ระกอบด้วยวรรณกรรมหลายประเภท เชน่ บันทึกประวตั ศิ าสตร์ บทกวี คำ� พยากรณ์
ส�ำนวนฟ้องคดีความ ค�ำอุปมา ค�ำอธิษฐาน ฯลฯ ซ่ึงน�ำมาเรียบเรียงเข้าด้วยกันตามหัวข้อ มิใช่ตามลำ� ดับ
เหตกุ ารณ์ ผอู้ า่ นจงึ ตอ้ งคำ� นงึ อยเู่ สมอวา่ เนอ้ื หาในพระธรรมนี้ไมไ่ ดเ้ ลา่ ตามลำ� ดบั เวลาในประวตั ศิ าสตร์ แตม่ กั
จะกลา่ วถงึ เรอ่ื งราวหรอื สารทปี่ ระกาศในชว่ งเวลาตา่ งๆ แบบสลบั ไปมา เพอื่ แสดงใหเ้ หน็ ถงึ สถานการณภ์ ายใน
อาณาจักรยูดาห์ท่ีก�ำลังเสื่อมทรามลงในทุกด้าน พร้อมกับความตึงเครียดทางการเมืองท่ีรุนแรงขึ้นเร่ือยๆ
นอกจากน้ีในช่วงก่ึงกลางพระธรรมยังเน้นถึงพวกผู้เผยพระวจนะเท็จเป็นพิเศษ คนพวกน้ีเองท่ีเป็นต้นเหตุ
หรอื อยเู่ บอื้ งหลงั ความตกตำ�่ เสอ่ื มทรามนแี้ ละเปน็ อปุ สรรคสำ� คญั ของเยเรมยี ์ (ดหู วั ขอ้ “ภมู หิ ลงั และมมุ มอง”)
จนกระทั่งเร่ืองท้ังหมดด�ำเนินมาถึงจุดสูงสุดท่ีเหตุการณ์การล่มสลายของกรุงเยรูซาเล็มและอาณาจักรยูดาห์
สำ� เรจ็ ตามคำ� พยากรณท์ ี่เยเรมยี ์ไดร้ บั จากพระเจ้า
มุมมองในการด�ำเนินเรื่องของพระธรรมเยเรมีย์ยังเกี่ยวข้องกับสองสิ่งคือ ตัวของเยเรมีย์เองและ
กรุงเยรซู าเลม็ ย่งิ สถานการณ์ในกรุงเยรูซาเล็มตกตำ่� เส่ือมทรามมากเทา่ ไร ตัวเยเรมียเ์ องก็ได้รับการปฏิบตั ิ
หรอื ตอบสนองเลวรา้ ยมากเทา่ นนั้ โดยเฉพาะจากกษตั รยิ ย์ ดู าห์ 3 รชั กาลสดุ ทา้ ยซงึ่ เปน็ ชว่ งทเี่ รอื่ งราวเขม้ ขน้
ท่สี ุด พระธรรมเยเรมยี ์จึงอาจแบง่ เปน็ ห วั ข้อใหญ่ๆ ตามลักษณะการประพนั ธ์ได้ดงั น ้ี
1) สารจากพระเจา้ ถงึ อาณาจกั รยดู าห์ในรชั สมยั ของกษตั รยิ ์โยสยิ าห์ เยโฮยาคมิ เยโฮยาค นี และเศเดคยี าห์
2) บันทกึ เรือ่ งการทำ� พนั ธกิจและเหตุการณส์�ำคญั ต า่ งๆ ในช ีวิตของเยเรม ยี ์
3) สารจากพ ระเจ้าเกีย่ วก ับอาณาจกั รยูดาหแ์ ละประช าชาติต่างๆ
4) ภาคผนวกเชงิ ป ระวัติศาสตร์เรื่องการลม่ สลายข องกรุงเยรซู าเล็มแ ละก ารต กเป็นเชลยท บี่ าบ โิ ลน
เนอ้ื หาและสาระส�ำคญั
พระธรรมเยเรมียม์ ีเนือ้ หาหลายตอนที่อา้ งองิ แนวคดิ จากหมวดเบญจบรรณ อาจเพราะเยเรมยี ม์ ีภูมหิ ลงั
เป็นปโุ รหิต (ดหู วั ขอ้ “ผูเ้ ขียน”) ท่านจึงสามารถเชือ่ มโยงเนอ้ื หาข่าวสารท่ที ่านไดร้ ับจากพระเจา้ เข้ากบั บรบิ ท
ทางศาสนาและวฒั นธรรมของคนอสิ ราเอลซงึ่ มรี ากฐานอยู่ในหนงั สอื ของโมเสสไดอ้ ยา่ งกลมกลนื ขณะเดยี วกนั
ก็มีความสดใหมแ่ ละเก่ียวพนั กบั ความเปน็ จรงิ ในยคุ สมัยของท่าน ตลอดจนถึงความหวงั ในอนาคตซึง่ ชี้ไปยงั
แผนการของพระเจ้าทสี่ �ำเรจ็ ในพระชนม์ชพี และพระราชกิจของพระเยซคู รสิ ต์ สาระสำ� คัญท่ีพบในเนอ้ื หาพระ
ธรรมเยเรมีย์มดี ังน้ี
1) ธรรมบัญญตั ิและพระกติ ติคณุ
สารและเร่อื งราวในพระธรรมเยเรมียแ์ สดงใหเ้ ห็นถงึ ธรรมบัญญัติและพระกติ ตคิ ุณ (ดคู �ำอธบิ ายเพิ่มเติม
เรื่องน้ีในหวั ขอ้ “หวั เรื่องหลกั และสาระส�ำคญั ” ในคำ� น�ำหมวดผู้เผยพระวจนะใหญ่) โดยในภาพรวมสามารถ
จัดกล่มุ เน้ือหาได้ดงั น้ี
บทน�ำ การทรงเรียกและพนั ธกจิ ของเยเรมีย ์ 1:1‑19
ธรรมบญั ญัต ิ การแจ้งความผดิ บาปและภัยพบิ ตั ขิ องอาณาจกั รยูดาห ์ 2:1‑29:32
พระกิตตคิ ณุ พระสญั ญาเรอ่ื งพนั ธสญั ญาใหม่และการฟนื้ ฟูประชากรของพระเจ้า 30:1‑33:26
ธรรมบัญญตั ิ ค�ำพิพากษาอาณาจักรยูดาห์และประชาชาติตา่ งๆ 34:1‑51:64
บทสรปุ การลม่ สลายของอาณาจกั รยดู าห์และเชอื้ สายของดาวดิ ที่เหลืออย่ ู 52:1‑34
16
2) คนทเ่ี หลอื อยู่
แมพ้ ระธรรมเยเรมียจ์ ะไม่มคี �ำน้ปี รากฏโดยตรง แต่กม็ ีแนวคิดนี้ปรากฏอยู่ชดั เจน (ดูเพมิ่ เตมิ เร่อื ง “คนที่
เหลอื อยู่” ใต้หัวข้อ “ศพั ท์สำ� คญั ” ในค�ำนำ� หมวดผูเ้ ผยพระวจนะใหญ)่
ในประวัติศาสตร์มีการกวาดต้อนชาวยูดาห์ไปเป็นเชลย 3 ครั้ง (ดูหัวข้อ “ล�ำดับเหตุการณ์”) โดยใน
รัชสมัยเศเดคียาห์นั้น ชาวยูดาห์ที่ยังอยู่ในกรุงเยรูซาเล็มคิดว่าพวกเขาคือคนที่เหลืออยู่หลังจากภัยพิบัติ
ความม่นั ใจดังกล่าวส่วนหนงึ่ มาจากคำ� ประกาศของพวกผเู้ ผยพระวจนะเทจ็ (ดูหัวข้อ “ภูมิหลังและมุมมอง”)
ส่วนประชาชนที่ถูกกวาดไปเปน็ เชลยน้นั ถูกมองวา่ เปน็ พวกทถ่ี ูกสาปแช่ง เพราะถกู ส�ำรอกออกจากแผ่นดิน
และสนิ้ หวังไม่มีอนาคต
ดว้ ยเหตนุ ้ี พระเจา้ จงึ ทรงมอบหมายภารกจิ สำ� หรบั คนทง้ั สองกลมุ่ ใหเ้ ยเรมยี ์ นนั่ คอื ทา่ นตอ้ งประกาศการ
พพิ ากษาของพระเจ้าท่ีจะมาถงึ ชาวยดู าห์ในกรุงเยรซู าเล็มถา้ พวกเขาไม่ยอมกลบั ใจใหม่ และทา่ นต้องหนุน
ใจพวกเชลยในบาบโิ ลนวา่ พวกเขาคอื คนทีเ่ หลืออยู่และจะไดก้ ลับจากการเป็นเชลย เรือ่ งนป้ี รากฏชดั เจนใน
24:1‑10 ซง่ึ เป็นนมิ ิตเร่ืองกระจาดมะเด่ือ 2 ใบวางไว้ทห่ี นา้ พระวหิ าร เนื้อหาอีกตอนหนึง่ ซงึ่ เป็นที่รจู้ ักดคี อื
จดหมายทเี่ ยเรมยี ส์ ง่ ไปถงึ พวกเชลยทบ่ี าบโิ ลนใน 29:4‑23 เพอื่ หนนุ ใจใหพ้ วกเขาเชอื่ วางใจในพระเจา้ และดำ�
เนนิ ชวี ิตอย่างมคี วามหวงั (29:11) พรอ้ มกบั เตอื นใหร้ ะวงั ผู้เผยพระวจนะเท็จท่ีกล่าวแย้งกับสารนี้ (29:8‑9,
21‑23) ดังนั้น สารเรอ่ื งคนทีเ่ หลอื อยู่ในพระธรรมน้จี ึงเปน็ ทงั้ คำ� เตอื นสตชิ าวยดู าห์ในกรงุ เยรซู าเลม็ ทเ่ี ขา้ ใจ
ผิดและยงั ดื้อดงึ ท�ำบาป กับเปน็ คำ� หนนุ ใจพวกเชลยในบาบโิ ลนให้มคี วามหวังและรอคอยพระเจ้า
3) พันธสญั ญาใหม่
การมภี มู หิ ลงั เปน็ เชอ้ื สายปโุ รหติ นา่ จะทำ� ใหเ้ ยเรมยี ค์ นุ้ เคยและสนใจเรอ่ื งพนั ธสญั ญามากเปน็ พเิ ศษ โดยสาร
ทท่ี า่ นประกาศกม็ กั เกยี่ วขอ้ งกบั เรอื่ งพนั ธสญั ญาในธรรมบญั ญตั ิ (ดเู พมิ่ เตมิ เรอ่ื ง “พนั ธสญั ญา” ใตห้ วั ขอ้ “ศพั ท์
ส�ำคัญ” ในคำ� นำ� หมวดผ้เู ผยพระวจนะใหญ)่
เรอ่ื งพนั ธสญั ญาใหม่ (New Covenant) ซง่ึ ปรากฏใน 31:31‑34 จงึ เป็นเน้ือหาเดน่ ของพระธรรมเยเรมยี ์
(แนวคิดที่คลา้ ยคลึงกนั ปรากฏใน อสค.11:19‑20) โดยเปน็ เน้อื หาตอนสำ� คญั ในสารเรื่องการฟ้ืนฟูประชากร
ของพระเจา้ ในอนาคต (30:1‑33:26) พนั ธสญั ญาใหมน่ มี้ คี วามพเิ ศษไมเ่ หมอื นกบั พนั ธสญั ญาดง้ั เดมิ ทพ่ี ระเจา้
ได้ทรงทำ� กับคนอสิ ราเอลในสมยั โมเสส ซึง่ จารกึ ไว้บนแผ่นศิลา (อพย.31:18; 34:1,4,28) เพราะพนั ธสัญญา
ใหม่จะถูกจารึกไว้ในจิตใจประชากรของพระเจ้า แสดงถึงความสัมพันธ์ที่มีกับพระองค์ (31:33-34ก) และ
พระองคจ์ ะทรงให้อภยั และไมจ่ ดจ�ำความผดิ บาปของพวกเขาอกี ตอ่ ไป (31:34ข)
ลกั ษณะเด่นของพนั ธสญั ญาใหมน่ จี้ งึ ช้ีไปไกลกวา่ ยุคสมัยของเยเรมีย์ และสำ� เรจ็ เปน็ จรงิ ในองค์พระเยซู
คริสต์ (มธ.26:28; ฮบ.8:8‑12; 10:16‑17) เน้ือหาสว่ นนีจ้ ึงเปน็ ดั่งพระกิตตคิ ุณอีกตอนหน่งึ ในพนั ธสัญญาเดมิ
4) กิจพยากรณ์
ผูเ้ ผยพระวจนะเยเรมยี ์ได้กระทำ� กิจพยากรณ์ทส่ี ำ� คญั หลายอยา่ ง (ดูเพ่มิ เตมิ เรือ่ ง “กจิ พยากรณ”์ ใตห้ ัวขอ้
“หวั เรอ่ื งหลกั และสาระสำ� คญั ” ในคำ� นำ� หมวดผเู้ ผยพระวจนะใหญ)่ โดยกจิ พยากรณท์ ปี่ รากฏในพระธรรมเยเร
มยี ม์ ีดงั ต่อไปนี้
ขอ้ พระธรรม กจิ พยากรณ์ แสดงภาพหรอื ส่อื ถึง
13:1‑11 เยเรมยี ซ์ อ่ นผ้าป่านคาดเอว การตกไปเป็นเชลยในตา่ งแดน
16:1‑4 เยเรมีย์ครองชีวิตโสด การเตรยี มพบกบั ภยั พบิ ตั ทิ ม่ี าใกลแ้ ลว้
19:1‑2,10‑11 เยเรมียท์ ำ� เหยือกดินใหแ้ ตก การลม่ สลายของกรงุ เยรูซาเลม็
17
ขอ้ พระธรรม กิจพยากรณ์ แสดงภาพหรอื สอื่ ถงึ
27:1‑13 เยเรมียส์ วมแอก การตกเป็นทาสกษัตรยิ บ์ าบโิ ลน
32:6‑15,25,42‑44 เยเรมยี เ์ กบ็ โฉนดการซอื้ ที่นา การไดก้ ลบั แผน่ ดนิ เกิดอกี ในอนาคต
43:8‑13 เยเรมยี ซ์ ่อนหินกอ้ นใหญ่ใต้ทางเดนิ การพิชิตดนิ แดนของกษัตรยิ บ์ าบิโลน
51:59‑64 เยเรมยี ส์ ง่ั ใหเ้ สไรยาหอ์ า่ นและถว่ งหนงั สอื มว้ น การพพิ ากษาอาณาจักรบาบิโลน
ลงแมน่ �้ำยเู ฟรติส
5) พระเมสสิยาห์
นอกจากเร่ืองพันธสัญญาใหม่ที่พระเจ้าจะทรงท�ำในอนาคตแล้ว พันธสัญญาท่ีส�ำคัญอีกอย่างหน่ึงคือ
พันธสัญญาเรื่องเช้ือสายของดาวิด (2 ซมอ.7; 1 พศด.17) ซึ่งเล็งถึงพระเมสสิยาห์ (ดูเพ่ิมเติมเร่ือง “พระ
เมสสยิ าห”์ ใตห้ ัวข้อ “หัวเรือ่ งหลักและสาระส�ำคัญ” ในค�ำน�ำหมวดผ้เู ผยพระวจนะใหญ่)
สารเร่ืองเช้ือสายของดาวิดที่จะมาเป็นกษัตริย์ครอบครองประชากรของพระเจ้าน้ันมีปรากฏใน 23:3‑6;
33:14‑26 บุคคลผู้นี้มีลักษณะเด่นคือ เป็นกษัตริย์ที่ชอบธรรม ซ่ึงแตกต่างจากบรรดากษัตริย์ของยูดาห์ท่ี
บันทกึ ในพระธรรมเยเรมีย์ (ดูหัวขอ้ “ล�ำดบั เหตกุ ารณ์”) และเป็นดัง่ ผู้เลี้ยงแกะท่พี ระเจา้ ทรงตงั้ ไว้ (23:4) เปน็
“กง่ิ ชอบธรรม” ของดาวิด (23:5; 33:15) เป็นผ้ชู ว่ ยกปู้ ระชากรของพระเจ้า (23:6; 33:16) สารน้จี งึ เป็นขา่ ว
แหง่ ความหวังในอนาคต เพราะหลงั การตกเปน็ เชลยในบาบิโลน คนในราชวงศ์ดาวดิ ที่เหลอื อยู่ก็ตกเปน็ เชลย
ดว้ ย ซงึ่ เปน็ เร่อื งท่ีทา้ ทายความเช่ือวางใจในพระสญั ญาดังกลา่ ว (33:17; 2 ซมอ.7:16) แตพ่ ระเจ้ากท็ รงย้ำ�
พันธสัญญาน้ีกับเยเรมีย์ (33:19‑22,25‑26) และในที่สุดพวกเชลยในบาบิโลนก็ได้พบความหวังเม่ือพระเจ้า
ทรงสงวนเชือ้ สายของดาวิดที่เหลอื อยูไ่ วส้ ำ� หรบั แผนการเร่ืองนี้ในอนาคต (52:31‑34; 2 พกษ.25:27‑30)
ในยุคหลังกลับจากการเป็นเชลย แม้จะมีการฟื้นฟูชนชาติอิสราเอลข้ึนอีกต้ังแต่สมัยของเศรุบบาเบล
เป็นต้นมา แต่สถาบันกษัตริย์ของอิสราเอลก็ไม่เคยฟื้นฟูกลับมาได้ดังเดิมโดยตลอดประวัติศาสตร์จนกระท่ัง
ถึงสมยั พระเยซูคริสต์ พระองค์ทรงเป็นผู้สถาปนาพนั ธสญั ญาใหม่ (มธ.26:28) เป็นผูเ้ ลีย้ งแกะที่พระเจ้าทรง
ตงั้ ไวเ้ พอ่ื รวบรวมฝงู แกะเขา้ มา (ยน.10:10‑11,14‑16) ทรงเปน็ ผชู้ ว่ ยประชากรของพระเจา้ ใหร้ อด (มธ.1:21)
และเป็นผู้ครอบครองบัลลังก์ของดาวิดตลอดนิรันดร์ (ลก.1:31‑33) ดังน้ัน พระสัญญาเรื่องพระเมสสิยาห์
ผ้จู ะมาเป็นกษตั รยิ ค์ รอบครองประชากรแห่งพนั ธสัญญาใหมข่ องพระเจ้า จึงได้ส�ำเร็จเปน็ จรงิ ในองคพ์ ระเยซู
ครสิ ตน์ ี่เอง
6) เยเรมยี ก์ ับพระเยซคู ริสต์
นอกจากขา่ วสารตา่ งๆ ทเี่ ยเรมยี ์ไดป้ ระกาศแลว้ เรอ่ื งราวชวี ติ และการทำ� พนั ธกจิ ของตวั ทา่ นเองกน็ า่ สนใจ
เชน่ กนั เยเรมยี ถ์ อื เปน็ ผเู้ ผยพระวจนะทส่ี ำ� คญั คนหนงึ่ ในประวตั ศิ าสตรข์ องชนชาตอิ สิ ราเอลเชน่ เดยี วกบั ผเู้ ผย
พระวจนะที่โดง่ ดังอยา่ งเอลยี าห์ อิสยาห์ และเอเสเคยี ล
ในพนั ธสญั ญาใหม่ ฝงู ชนทตี่ ดิ ตามพระเยซคู รสิ ตบ์ างคนลอื กนั วา่ พระองคท์ รงเปน็ เยเรมยี ์ (มธ.16:13‑14)
มมุ มองเชน่ น้ีเป็นสง่ิ ที่น่าสนใจมาก พวกเขาอาจมองวา่ ตัวเยเรมยี ์เป็นภาพทเ่ี ล็งถึงพระเยซูครสิ ตห์ รือเปน็ เงา
ของพระองค์ หรอื บางคนอาจคดิ วา่ พระองคค์ อื เยเรมยี ท์ ก่ี ลบั มามชี วี ติ อยู่ในเวลานน้ั จรงิ ๆ หากเทยี บเคยี งชวี ติ
และพนั ธกจิ ของเยเรมยี ก์ บั พระชนมช์ พี และพระราชกจิ ของพระเยซคู รสิ ตด์ แู ลว้ กอ็ าจเหน็ ความสอดคลอ้ งกนั
ในหลายๆ ด้านดงั น้ี
18
การเทียบเคียง เยเรมีย์ พระเยซูครสิ ต์
ชว่ งอายุทีท่ ำ� พนั ธกจิ เป็นคนหนมุ่ อายนุ ้อย (1:6‑7) ประมาณ 30 พรรษา (ลก.3:23)
สถานการณ์ในยคุ สมยั อยูภ่ ายใตอ้ าณาจกั รบาบโิ ลน อย่ภู ายใตอ้ าณาจักรโรม
สารทป่ี ระกาศ ความบาปของชนชาติและค�ำเชญิ ชวนให้ ความบาปในชีวิตและคำ� เชญิ ชวนให้
กลับใจใหม่ กลับใจใหม่
การตอบสนองท่ีไดร้ ับ ถูกปองร้ายจากเพอ่ื นร่วมชาติและผูน้ �ำ ถูกปองร้ายจากเพื่อนร่วมชาตแิ ละ
ทางศาสนาและการเมือง ผ้นู ำ� ทางศาสนา
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาสารเรื่อง “ผู้รับใช้ท่ีทนทุกข์” ซึ่งปรากฏใน อสย.52:13‑53:12 ชาวยิวบางคน
เช่ือว่าพระธรรมตอนน้ีหมายถึงเยเรมีย์ โดยสังเกตจากถ้อยค�ำของเยเรมีย์ใน 11:18‑19 เทียบกับ อสย.
53:7‑8 น่ันท�ำให้ตัวเยเรมีย์เป็นภาพที่เล็งถึงพระเยซูคริสต์หรือเป็นเงาของพระองค์ในการเป็นผู้รับใช้ที่ทน
ทกุ ขจ์ ากการปฏิบตั ติ ามพระทัยของพระเจ้า จึงอาจกล่าวไดว้ ่า พระธรรมเยเรมียเ์ ต็มไปด้วยเน้อื หาที่เล็งไปถงึ
แผนการไถข่ องพระเจา้ ซึ่งสำ� เรจ็ เป็นจรงิ อยา่ งครบถว้ นสมบูรณ์ในองคพ์ ระเยซูครสิ ต์
โครงร่าง
1. การลงโทษยดู าห์ (1:1‑12:17)
2. พระเจา้ ทรงเปิดเผยเร่ืองการลม่ สลายของยดู าห์ (13:1‑20:18)
3. การพพิ ากษายูดาห์และเยรซู าเล็ม (21:1‑29:32)
4. พระเจา้ จะทรงน�ำประชากรของพระองค์กลับแผ่นดินเกดิ (30:1‑33:26)
5. ถอ้ ยค�ำถงึ เศเดคยี าหแ์ ละคนตระกลู เรคาบ (34:1‑35:19)
6. เยเรมยี ท์ นทุกขเ์ พราะตอ้ งกลา่ วพระวจนะของพระเจา้ (36:1‑45:5)
7. การเผยพ ระวจนะกล่าวโทษบรรดาประชาชาติ (46:1‑51:64)
8. การลม่ สลายข องกรุงเยรซู าเล็ม (52:1‑34)
19 เยเรมีย์ 1:3
ถ อ้ ยค ำ� ข องเยเรมยี บ์ ตุ รของฮลิ ค ยี าห์ เยเรม ยี เ์ ปน็ แห่งยูด าห์ จนถงึ ส้ินปีที่ 11 แห่งรัชก าลเศเดค ียาห ์ค
1 หนง่ึ ในหมปู่ โุ รหติ อยเู่ มอื งอานาโธทใ นแผน่ ด นิ ข อง โอรสของโยสิยาห์กษัตริย์แห่งยูดาห์ เมอ่ื มีการกวาด
เผา่ เบนยามนิ 2 พระวจนะข องพระยาหเ์ วหม์ าถงึ เยเรมยี ์ ชาวกรงุ เยรูซ าเล็มไปเป็นเชลยในเดอื นท ห่ี ้า
ในรชั กาลข องโยสยิ าห ์กโอรสข องอาโมน กษตั รยิ แ์ ห่ง
ยดู าหใ์ นป ที ่ี 13 แหง่ การครองราชยข์ องพ ระองค์ 3 และ ก 2 พกษ.22:3‑23:27; 2 พศด.34:8‑35:19
ข 2 พกษ.23:36‑24:7; 2 พศด.36:5‑8
มมี าในรชั กาลของเยโฮยาคมิ ขโอรสของโยสยิ าหก์ ษตั รยิ ์ ค 2 พกษ.24:18‑25:21; 2 พศด.36:11‑21
1:1‑19 บททหี่ นง่ึ เปน็ การทรงเรยี กเยเร 1:1 ถ้อยคำ� ของเยเรมีย์ แม้ขอ้ ความต่อ ทรงฝักใฝ่อียิปต์มากกว่าบาบิโลน ท�ำ
มีย์ เปน็ บทสนทนาเมอื่ พระเจ้าทรงเรยี ก ไปน้ีจะเป็นถ้อยค�ำของผู้เผยพระวจนะ ให้บาบิโลนยกทัพบุกตียูดาห์และน�ำ
เยเรมยี ์ใหเ้ ปน็ ผเู้ ผยพระวจนะ ในตอนตน้ แต่ยังคงเป็นถ้อยค�ำที่ได้รับการดลใจ ประชาชนไปเปน็ เชลยในชว่ งปี 605 กอ่ น
มคี ำ� แนะนำ� เกยี่ วกบั ยคุ สมยั และเบอ้ื งหลงั จากพระเจา้ (เทยี บกบั ขอ้ 4; 2 ปต.1:21) ค.ศ. (ดาเนียลกับเพ่ือนๆ เป็นเชลยอยู่
ทางประวัตศิ าสตร์ (เทยี บกับค�ำขึ้นต้น 1:1 เมืองอานาโธท เป็นหนึ่งในส่ีเมือง ในกลุ่มน้ีด้วย ดนล.1:1‑2) ต่อมาเย
ใน อสย.1:1; อสค.1:1‑2; ฮชย.1:1; อมส. ในเขตแดนของเผา่ เบนยามินทีย่ กใหแ้ ก่ โฮยาคิม ท�ำทีหันมาเป็นพันธมิตรกับ
1:1; มคา.1:1; ศฟย.1:1; ศคย.1:1) โครง คนเลวี (ยชว.21:17‑18) อานาโธทเป็น บาบิโลนแล้วก็กลับไปคบกับอียิปต์อีก
รา่ งของบทน้ีคอื บา้ นเกิดของเยเรมยี ์ อยหู่ ่างจากเยรซู า การกระทำ� ครง้ั นน้ี ำ� ไปสสู่ งครามและทำ� ให้
1. ค�ำนำ� (ข้อ 1‑3) เลม็ ไปทางตะวนั ออกเฉยี งเหนอื ประมาณ ยูดาห์ต้องตกไปเป็นเชลยคร้ังท่ีสองใน
2. การทรงเรยี กเยเรมยี ์ (ขอ้ 4‑10) ซ่ึง 4.8 กิโลเมตร ราวปี 597 ก่อน ค.ศ. (เอเสเคียลไปเป็น
จำ� แนกเปน็ 1:2 โยสยิ าห์ โยสยิ าหก์ บั เฮเซคยี าหเ์ ปน็ เชลยท่ีบาบ โิ ลนในกลุ่มนี้)
2.1 เยเรมียป์ ฏิเสธการทรงเรยี ก (ข้อ กษตั รยิ ส์ องพระองคท์ ผ่ี เู้ ขยี นพระธรรม 1 1:3 เศเดคยี าห์ เป็นกษตั ริย์องค์สุดทา้ ย
4‑6) และ 2 พงศก์ ษตั รยิ ย์ กยอ่ งวา่ เปน็ กษตั รยิ ์ ของยดู าห์ ปกครองประมาณปี 597‑586
2.2 พระเจ้าทรงหนนุ ใจและมอบพระ ที่ซ่ือสัตย์ต่อพระเจ้า (2 พกษ.18:5‑7; ก่อน ค.ศ. พระองค์ได้ขอคำ� ปรึกษาจาก
วจนะกบั พนั ธกจิ ใหเ้ ยเรมยี ์ (ขอ้ 7‑10) 22:1‑2) กษัตริย์โยสิยาห์ปกครองเยรู เยเรมีย์ แต่ก็ไม่ยอมเชื่อฟังหรือท�ำตาม
3. นิมิตสองเร่ืองและความหมาย (ข้อ ซาเล็มประมาณปี 640‑609 ก่อน ค.ศ. ค�ำปรึกษาน้ัน (21:1‑10; 38:14‑28)
11‑16) ไดแ้ ก่ และได้ท�ำการปฏิรูปศาสนาประมาณปี พระองคท์ รงกบฏตอ่ บาบโิ ลน เปน็ เหตใุ ห้
3.1 นมิ ติ เรอ่ื งกงิ่ อลั มอนด์ (ขอ้ 11‑12) 622 ก่อน ค.ศ. (2 พกษ.22:8-23:27) ยดู าหต์ อ้ งตกไปเปน็ เชลยอกี ครงั้ ในเดอื น
3.2 นมิ ติ เรื่องหมอ้ เดือด (ข้อ 13‑16) 1:2 ในปีที่ 13 คือประมาณปี 627 ก่อน ทห่ี า้ ซง่ึ ตรงกบั เดอื นกรกฎาคม-สงิ หาคม
ท้ังสองนิมิตมีรูปแบบเหมือนกันคือ ค.ศ. เป็นไปได้ว่านี่ เป็นปีท่ีเยเรมีย์ได้ ของปี 587 หรือปี 586 กอ่ น ค.ศ. โดย
ก. คำ� ถามของพระยาหเ์ วห์ ข.คำ� ตอบ รับการทรงเรียกจากพระเจ้า (ราวห้าปี ประมาณ (39:1‑10)
ของเยเรมีย์ ค. ค�ำอธิบายของพระ ก่อนกษตั ริย์โยสิยาหจ์ ะเริ่มปฏิรปู ศาสนา 1:3 ไปเปน็ เชลย หมายถึงการตกไปเป็น
ยาหเ์ วห์ ในปี 622 ก่อน ค.ศ.) เชลยทบ่ี าบิโลนในปี 587/586 กอ่ น ค.ศ.
4. ค�ำก�ำชับให้เยเรมีย์ท�ำพันธกิจ และ 1:3 เยโฮย าคมิ ปกครองในปี 609‑598 1:3 เดอื นทห่ี า้ ตามปฏทิ นิ คนยวิ คอื เดอื น
ค�ำสัญญาว่าจะทรงคุ้มครองท่าน (ข้อ กอ่ น ค.ศ. กษัตรยิ เ์ ยโฮยาคิมทรงเกลียด อับ (ประมาณกลางเดอื นกรกฎาคมถึง
17‑19) ค�ำเทศนาของเยเรมยี ์ (36:26) พระองค์ กลางเดือนสิงหาคม) ดู 39:1‑10; 52:12
การทรงเรียกเยเรมยี ์
วันเวลา เหตุการณ์
กกาษรตั ทรรยิ ง์โเยรสยี ยิกาเหยเท์ รรมงยี ช์ ำ�(ประที พี่ 1ร3ะวใหิ นารรชั (สปมที ัย่ี 1ข2อใงนกรษชั ัตสรมิยยั์โยขสอิยงพาหร์)ะองค)์
ปี 628/627 กอ่ น ค.ศ.
ปี 627 กอ่ น ค.ศ.
ในพันธสญั ญาเดิม เราพบเร่อื งราวทพ่ี ระเจ้าทรงเรยี กผู้รบั (วนฉ.6:11‑24) อิสยาห์ (อสย.6) เม่ือดูจากบันทึกในเฉลย
ใชข้ องพระองคห์ ลายคน เชน่ โมเสส (อพย.3:1‑4:17) กเิ ดโอน ธรรมบัญญัติ 18:15‑22 (โดยเฉพาะข้อ 18)
เยเรมยี ์ 1:4 20
การท รงเรยี กและพ ระบ ญั ชาถงึ เยเรมีย์ เจา้ นาย ดเู ถดิ ขา้ พระอ งคพ์ ดู ไมเ่ ปน็ เพราะข า้ พระอ งค์
4 พระวจนะของพระยาห์เวหม์ าถึงข า้ พเจา้ วา่ เปน็ เด็ก” 7 แต่พระยาห์เวห์ตรัสก บั ข า้ พเจ้าวา่
5 “เราไดร้ จู้ กั เ จา้ กอ่ นท เี่ ราไดก้ อ่ รา่ งต วั เจา้ ขนึ้ ในค รรภ์ “อย่าพูดวา่ เจ้าเปน็ เด็ก
และก่อนท ีเ่ จา้ คลอดจากครรภ์ เราก็ได้ก �ำห นดตวั เพราะเจ้าตอ้ งไปหาทกุ ค นท่เี ราใช้ใหเ้ จ้าไป
เจา้ ไว้ และท กุ ส่ิงท่ีเราบญั ชาเจา้ เจา้ ต้องพ ูด
เราไดแ้ ต่งต ้งั เจ้าเปน็ ผ เู้ ผยพ ระวจนะแก่บรรดา 8 อย่ากลัวพวกเขาเลย
ประชาชาติ” เพราะเราอย่กู ับเจา้ เพอ่ื ช ว่ ยกเู้ จ้า”
6 แลว้ ขา้ พเจา้ กก็ ราบทลู วา่ “ขา้ แต่พระยาหเ์ วห์องค์ พระยาหเ์วห์ตรสั ด ังน ้แี หละ
1:5 รู้จกั ในบรบิ ทของพระคมั ภรี ์ คำ� นีม้ ี เลอื กของพระเจา้ (เทยี บกบั ปฐก.18:19; ได้ (1 ซมอ.14:1) เยเรมยี ต์ อบสนองการ
หลายความหมาย หากใช้โดยมีพระเจ้า ฮชย.13:5; อมส.3:2) ทรงเรียกของพระเจ้าโดยบอกวา่ ตัวเอง
เปน็ ประธานของประโยค มกั มคี วามหมาย 1:6 เดก็ คำ� วา่ “เดก็ ” ในภาษาฮีบรูคำ� น้ี เป็น “เด็ก” น่ันคือท่านรูส้ กึ วา่ ตวั เองยงั
วา่ พระองคท์ รงเขา้ ใจมนษุ ยท์ งั้ เรอ่ื งความ มคี วามหมายกวา้ งมาก อาจหมายถงึ เดก็ มคี ุณสมบัติไม่เพียงพอทจ่ี ะเป็นผู้รบั ใช้
คดิ ความตง้ั ใจ ตลอดจนถงึ อารมณค์ วาม ตง้ั แตว่ ยั ทารก เชน่ โมเสส (อพย.2:9) ไป พระเจา้ ยงั ออ่ นเยาว์ อ่อนประสบการณ์
รู้สึก ส�ำหรับบริบทน้ีน่าจะหมายถึงการ จนถึงเด็กหนุ่มที่สามารถถอื เครอื่ งอาวธุ เปน็ ตน้ (เทยี บกับโมเสสใน อพย.4:10)
การทรงเรียกเยเรมยี ์ (ตอ่ )
ทกี่ ลา่ วถึงผู้เผยพระวจนะแทก้ ับผู้เผยพระวจนะเท็จ กลา่ วถ้อยคำ� เผยพระวจนะไปแลว้ ไมม่ ีใครฟงั แมเ้ วลาผ่านไป
เยเรม ยี ์ไดช้ ือ่ ว่าเผยพระวจนะท่มี าจากพระเจา้ เทา่ นนั้ ท่านจึง หลายปี ค�ำประกาศการพิพากษาก็ยังถูกละเลย ไมม่ ีคนสนใจ
เปน็ ผู้เผยพระวจนะแท้ในแบบที่โมเสสกลา่ วถงึ เยเรมยี ์เป็นผู้ ทา่ นถึงกับคร่ำ� ครวญกบั พระเจา้ ตดั พอ้ ว่า “ขา้ แตพ่ ระยาหเ์ วห์
เผยพระวจนะของพระเจา้ ไมเ่ พยี งแก่ชนชาติอิสราเอล แต่ พระอ งค์ทรงห ลอกลวงขา้ พระอ งค์ และขา้ พระอ งคก์ ็ถ กู ห ลอก
รวมถึงแก่บรรดาประชาชาติในตะวันออกใกลย้ คุ โบราณด้วย ลวง พระองค์ทรงมีก�ำลงั ย่ิงกวา่ ข้าพระองค์ และพระองค์ทรง
(25:15‑38) ชนะ ข้าพระองค์เป็นท่ีให้เขาหัวเราะวันยงั ค่ำ� ทุกคนเยาะเย้ย
เรื่องการทรงเรียกเยเรมีย์ เปน็ เรื่องที่เดน่ มากเรอ่ื งหนง่ึ ใน ข้าพระอ งค”์ (20:7)
พระธรรมเล่มนี้ พระเจา้ ทรงประกาศว่าพระองค์ได้ทรงเลอื ก มีอยู่หลายครั้งที่เยเรมีย์พยายามไม่กล่าวค�ำประกาศการ
เยเรมยี ์ตง้ั แตก่ ่อนท่ที า่ นจะเกดิ (ยรม.1:5) การตอบสนองของ พิพากษาแต่ก็ท�ำไม่ได้ เพราะหากไม่กล่าวถ้อยค�ำเหล่าน้ัน
เยเรมีย์ในตอนแรกต่อการทรงเรียกนั้นเป็นไปในเชิงปฏิเสธ ท่านจะรู้สึกเหมอื น “ไฟไหม้ อัดอยู่ในกระดูกของข้าพระองค์”
มากกว่า เพราะเยเรมีย์กล่าวว่า ตัวท่านเองน้ันไม่มีความ (20:9) ทา่ นไมม่ ที างเลอื กอนื่ จงึ ไดแ้ ตอ่ ดทนกลา่ วคำ� พพิ ากษา
สามารถท่ีจะพดู แต่พระเจา้ ทรงตอบทา่ นว่า ท่ีทา่ นได้รบั การ การที่เยเรมียม์ กั รอ้ งไห้หรอื คร่ำ� ครวญ ไม่ไดห้ มายความวา่
ทรงเรียก ไม่ใช่เพราะอายุ หรอื ความสามารถ แตเ่ พราะพระ ท่านเป็นคนอ่อนแอ แต่แสดงใหเ้ หน็ ว่าท่านรกั ประชาชนของ
เจ้าทรงเลือกทา่ นใหเ้ ปน็ ผ้รู บั ใชข้ องพระองค์ ทา่ นและรกั พระเจา้ มาก ทา่ นเปน็ คนทอี่ อ่ นไหวและมจี ติ ใจเมตตา
ทนั ใดน้ัน เยเรมยี ์ได้เห็นพระหัตถข์ องพระเจา้ เหยียดออก อยา่ งยิ่ง บุคลิกลักษณะเชน่ น้ขี องเยเรมียจ์ ึงท�ำให้ผ้อู า่ นคดิ ถึง
สมั ผสั ปากของทา่ น (1:9) นบั แตน่ น้ั คำ� เผยพระวจนะทอ่ี อกจาก การคร�่ำครวญเพอื่ กรุงเยรซู าเลม็ ของพระเยซู (มธ.23:37‑39)
ปากของเยเรมยี ก์ เ็ ปน็ ถอ้ ยค�ำของพระเจ้า พันธกิจทที่ ่านต้อง และสาวกบางคนกค็ ดิ วา่ พระเยซทู รงเหมอื นเยเรมยี ์ (มธ.16:14)
ท�ำจึงมีท้ังการประกาศข่าวการพิพากษาและข่าวดีแห่งความ ประเทศยดู าห์ไดม้ าถงึ กาลสนิ้ สดุ ในปี 587/586 กอ่ น ค.ศ. โดย
หวังใจจากพระเจ้า (1:10) เยเรมีย์ถูกก�ำหนดไว้ล่วงหน้าให้ ถูกพระเจ้าพิพากษาเนอื่ งดว้ ยความผิดบาปและการไม่เชือ่ ฟงั
เปน็ ผเู้ ผยพระวจนะทต่ี อ้ งทำ� งานอยา่ งยากลำ� บาก ประสบเรอื่ ง สำ� เรจ็ ตามทเ่ี ยเรมยี พ์ ยากรณ์ไว้ กรงุ เยรซู าเลม็ ถกู ทำ� ลาย และ
ทีน่ ่าตกใจกลวั ถกู ห้ามไม่ใหแ้ ต่งงาน (16:1‑13) ตลอดชวี ติ ประชาชนเกอื บทงั้ หมดถกู กวาดตอ้ นไปเปน็ เชลยทบ่ี าบโิ ลน แต่
ของทา่ น ทา่ นรบั ฟงั แตเ่ ร่ืองทพ่ี ระเจ้าจะทรงนำ� กรงุ เยรซู าเลม็ เยเรมยี เ์ องยงั คงทำ� งานรบั ใชป้ ระชาชนสว่ นนอ้ ยทยี่ งั อาศยั อยู่ใน
ไปถงึ จุดจบ และพระองค์จะทรงโยนประชากรแหง่ พันธสญั ญา มสิ ปาห์(40:1,6) ภายใตก้ ารปกครองของเกดาลยิ าหผ์ นู้ ำ� ทบ่ี าบิ
ของพระองค์เข้าสกู่ ารพพิ ากษา พวกเขาต้องตกไปเปน็ เชลย โลนแตง่ ตงั้ อยา่ งไรกต็ าม ในเวลาตอ่ มาคนกลมุ่ นอ้ ยในมสิ ปาห์
การรบั รเู้ รอ่ื งเหลา่ นที้ ำ� ใหเ้ ยเรมยี เ์ ศรา้ ใจมาก ทา่ นไดร้ บั สมญา ไดก้ ่อกบฏต่อต้านบาบิโลนอีกครัง้ แต่ล้มเหลว ผนู้ ำ� กลุ่มกบฏ
วา่ “ผู้เผยพระวจนะเจา้ น�ำ้ ตา” เพราะท่านมักรอ้ งไห้เก่ยี วกบั จึงบังคับเยเรมีย์ใหห้ นีไปท่อี ยี ิปตพ์ ร้อมกบั พวกเขา (43‑44)
บาปของเพื่อนร่วมชาติ (9:1) หลายครั้งท่านต้องหดหู่ใจท่ี และนี่เปน็ บันทกึ สุดทา้ ยเกีย่ วกับเรือ่ งราวชวี ิตของเยเรมยี ์ †
21 เยเรม ีย์ 1:17
9 แล้วพ ระยาห์เวหเ์หยยี ดพ ระห ตั ถส์ ัมผสั ป ากข ้าพเจา้ องค์เห็นหม้อใบหน่ึงก�ำลังเดือดอยู่ ปากหม้อเทมา
และพ ระยาห์เวห์ต รสั ก บั ข ้าพเจ้าวา่ จากทางท ศิ เหนอื ” 14 แลว้ พ ระยาหเ์ วหต์ รสั ก บั ข า้ พเจา้
“นี่แน่ะ เราเอาถ้อยค�ำของเราใสใ่ นป ากข องเจา้ วา่ “เหตรุ า้ ยจ ะป ะทจุ ากทศิ เหนอื ม าเหนอื ช าวแผน่ ด นิ
10 ดูสิ วันน ้เี ราไดต้ ั้งเจา้ ไว้เหนือบ รรดาประช าชาติ นี้ทงั้ สน้ิ 15 เพราะนี่แน่ะ เราก�ำลงั รอ้ งเรียกทกุ ตระก ูล
และเหนือราชอาณาจักรท ้ังห ลาย แหง่ บ รรดาราชอาณาจกั รทศิ เหนอื ” พระยาหเ์ วหต์ รสั
ให้ถอนรากแ ละใหร้ อื้ ลง ดงั นแ้ี หละ “พวกเขาจะมา และตา่ งกจ็ ะวางบลั ลงั กข์ อง
ให้ท�ำลายแ ละให้ลม้ ลา้ ง ตนไวต้ รงทางเขา้ ประตกู รงุ เยรซู าเลม็ เพอื่ สกู้ บั ก ำ� แ พง
ให้สรา้ งแ ละใหป้ ลกู ” ท่ีล้อมรอบ และส ู้ก บั เมืองท ้ังส น้ิ ข องยูด าห์ 16 และเรา
11 และพระวจนะของพระยาห์เวห์มาถงึ ข้าพเจา้ ว่า จะกล่าวค�ำพิพากษ าของเราต่อคนในเมืองเหลา่ น้ัน
“เยเรมียเ์ อย๋ เจ้าเห็นอ ะไร?” ข้าพเจ้ากราบท ูลว่า “ขา้ เพราะความชั่วร้ายของพวกเขาท่ีได้ทอดทิ้งเรา และ
พระองคเ์ หน็ กงิ่ ของตน้ อ ลั ม อนด ์๑” 12 แลว้ พ ระยาหเ์ วห์ ไดเ้ ผาเครอื่ งห อมบูชาพระอ น่ื ๆ และนมัสก ารส ่งิ ท ่ีมอื
ตรสั ก บั ขา้ พเจา้ วา่ “เจา้ เหน็ ถ กู ตอ้ งแ ลว้ เพราะเราเฝา้ ของต นไดท้ ำ� ไว้ 17 สว่ นเจ้าจงค าดเอวข องเจา้ แลว้ ลุก
ดถู อ้ ยค �ำของเรา เพื่อจะท�ำใหส้ �ำเรจ็ ” ขนึ้ ไปบ อกพ วกเขาถงึ ท กุ สงิ่ ท เี่ ราบญั ชาเจา้ ไวน้ นั้ อยา่
13 พระวจนะของพระยาห์เวห์มาถงึ ขา้ พเจา้ ครั้งท่ี ตกใจกลัวพวกเขา มิฉะนั้นเราจะท�ำให้เจ้าตกใจกลัว
สองว่า “เจ้าเหน็ อะไร?” ข้าพเจา้ กราบทูลวา่ “ขา้ พระ ๑ คำ� น ้ีในภาษาฮีบรมู เี สยี งคล้ายก บั คำ� วา่ เฝา้ ดู ในขอ้ 12
บนั ทึกสว่ นตัว
___________________________________________________________________________________________________________________
___________________________________________________________________________________________________________________
___________________________________________________________________________________________________________________
___________________________________________________________________________________________________________________
___________________________________________________________________________________________________________________
___________________________________________________________________________________________________________________
___________________________________________________________________________________________________________________
1:10 ให้ถอนรากและใหร้ ือ้ ลง ให้ท�ำล าย พระเจา้ กต็ รสั ตอบทา่ นในขอ้ 12 โดยใชค้ ำ� 1:16 ทอดท้ิง ในที่น้ีหมายถึงการที่คน
และให้ล้มล้าง ให้สร้างและให้ปลูก ใน ทอ่ี อกเสยี งคลา้ ยกบั ชาเคด (“อลั มอนด”์ ยูดาห์ได้ละท้ิงพันธสัญญาที่ท�ำไว้กับ
วลีน้ีมีค�ำกริยาส�ำคัญถึงหกคำ� แสดงถึง ขอ้ 11) คอื โชเคด (“เฝา้ ดู” ขอ้ 12) ดอก พระเจา้ และหนั ไปนมสั การพระอนื่ ๆ (2:8)
สาระสำ� คญั ในการทำ� พนั ธกจิ ทงั้ สองดา้ น อลั มอนดม์ กั จะบานกอ่ นดอกไม้อื่นๆ ใน 1:16 พระอน่ื ๆ และนมสั ก ารสงิ่ ทมี่ อื ของ
ของเยเรมยี ์ คอื ทง้ั ประกาศการพพิ ากษา ช่วงปลายฤดูหนาว เป็นไปได้ว่าพระเจ้า ตนได้ท�ำไว้ คนอิสราเอลท้ังกราบไหว้
(ถอน รอ้ื ทำ� ลาย ลม้ ลา้ ง) และประกาศพระ ทรงปรารถนาให้เยเรมีย์แน่ใจว่า สิง่ ที่ รปู เคารพของศาสนาคานาอันและท�ำรปู
คุณของพระเจ้า (สร้าง ปลูก) ค�ำกริยา พระองค์ทรงบอกน้ันจะเกิดข้นึ จริง เคารพข้ึนเองเพ่ือนมัสการราวกับเป็น
ดา้ นลบทงั้ สคี่ ำ� นา่ จะสอ่ื ความหมายเหมอื น 1:13 หม้อใบหน่ึงก�ำลังเดือด...ปาก พระเจ้าของพวกเขา
กัน แม้ค�ำเผยพระวจนะของเยเรมีย์จะ หม้อเทมาจากทางทิศเหนือ หมายถึง 1:17 คาดเอว...ลกุ ขนึ้ ...บอก...อยา่ ตกใจ
เน้นไปทางการพิพากษากล่าวโทษ แต่ก็ กองทพั จากทศิ เหนอื กำ� ลงั จะบกุ มาโจมตี กลวั พระเจา้ ทรงสง่ั ใหเ้ ยเรมยี ์ “คาดเอว”
ยงั มขี ่าวความหวงั ใจให้ประชาชนดว้ ย ยดู าหแ์ ละกรงุ เยรซู าเลม็ ซง่ึ กค็ อื กองทพั และ “ลุกขึ้น” คอื ให้เตรียมพร้อมท�ำงาน
1:11 เจ้าเห็นอะไร? คำ� ถามเดียวกนั นี้ บาบโิ ลน หลงั จากทบ่ี าบโิ ลนไดบ้ กุ ทำ� ลาย ของพระเจ้า เยเรมียต์ อ้ ง “ไปบอก” ส่ิงที่
ใช้กล่าวน�ำนิมิตท่ีผู้เผยพระวจนะจะได้ อสั ซีเรียแลว้ พระเจา้ ตรสั สงั่ ใหบ้ อกเทา่ นน้ั (ขอ้ 7) และ
เห็น เช่น อมส.7:8; 8:2; ศคย.4:2; 5:2 1:14 เหตุรา้ ย ในทน่ี หี้ มายถงึ การทำ� ลาย อย่ากลัวศัตรูท้ังหลายในขณะที่ท�ำงาน
ในตอนนี้พระเจ้าทรงถามเยเรมีย์สอง หรอื หายนะ หรอื ปญั หาทจ่ี ะเกดิ ขน้ึ (เทยี บ ของพระเจ้า เพราะพระเจา้ สถติ กับเยเร
ครงั้ (ขอ้ 11,13) เยเรมีย์ไดท้ ูลตอบ แลว้ กบั 29:11) มยี ์ (ข้อ 19)
เยเรมยี ์ 1:18 22
ตอ่ หน้าพวกเขา 18 ส่วนเรา น่ีแนะ่ วนั นี้เราทำ� ให้เจ้า คือเป็นผ ลิตผ ลรนุ่ แรกของพ ระอ งค์
เปน็ เมอื งมปี อ้ มเปน็ เสาเหลก็ และเปน็ กำ� แ พงทองสมั ทุกคนทกี่ นิ ผลน ้ันก ็ผดิ
ฤทธิ์ เพอ่ื จะสกู้ บั แผ่นดินทง้ั หมด สกู้ บั บรรด ากษัตริย์ เหตรุ้ายจงึ มาถึงพ วกเขา
แหง่ ยดู าห์ สกู้ บั เจา้ นาย สกู้ บั ปโุ รหติ และสกู้ บั ราษฎ ร พระยาหเ์ วห์ต รสั ด งั น แ้ี หละ”
ในแผน่ ด ิน 19 พวกเขาจะต อ่ ส ู้กบั เจา้ แตจ่ ะไมช่ นะเจ้า
เพราะเราอย่กู บั เจา้ เพอื่ จะชว่ ยกเู้ จา้ ไว”้ พระยาหเ์ วห์ 4 จงฟ ังพ ระวจนะข องพ ระยาห์เวห์ เชอ้ื สายข องยา
ตรัสด ังน แ้ี หละ โคบและทกุ ต ระกูลในเชือ้ สายข องอิสราเอลเอย๋ 5 พระ
ยาห์เวห์ตรัสด ังน ีว้า่
2 พระเจ้าทรงเรยี กรอ้ งอสิ ราเอลให้กลบั ใจ “บรรพบ รุ ุษข องเจ้าพบความผ ิดอ ะไรในเราเลา่ ?
พ ระวจนะของพระยาหเ์ วหม์ าถงึ ขา้ พเจา้ วา่ 2 “จง เขาจึงห ่างเหนิ จากเรา
ไปป ระก าศก รอกห ูชาวกรงุ เยรูซ าเลม็ ว่า
และไปต ดิ ต ามสง่ิ ไรค้ ่า และได้กลายเป็นสง่ิ ไรค้ ่า
พระยาหเ์ วหต์ รสั ด งั น ว้ี ่า 6 เขาท้งั ห ลายไม่ไดก้ ลา่ วว่า ‘พระยาหเ์วห์ทรงอ ยู่ท่ี
เรายงั จำ� ความจงรักภกั ดีในวยั สาวข องเจา้ ได้ ไหน
ความรกั ข องเจา้ ตอนเป็นเจา้ สาว ผ้ไู ดท้ รงพาเราข้ึนมาจากแผ่นด ินอียิปต์
เจา้ ตามเราไปในถ ิ่นท รุ ก ันด าร ผไู้ ดท้ รงน �ำเราในถ ิ่นท รุ ก นั ดาร
ในดนิ แ ดนที่ไมไ่ดห้ ว่านพ ืช ในด ินแดนแ ห้งแล้งแ ละหลมุ บ ่อ
3 อสิ ราเอลน ้ันบรสิ ทุ ธติ์ อ่ พระยาหเ์ วห์ ในแ ดนที่แหง้ แ ลง้ และมดื ท บึ
2:1‑3:5 ในตอนน้ีเยเรมยี ์กลา่ วประณาม ชว่ ยอะไรพวกเขาไมไ่ ด้ (ข้อ 36‑37) พระเจา้ ดู อพย.23:16,19; 34:26; ฉธบ.
ยดู าห์เรื่องความไมซ่ อื่ สตั ยต์ ่อพระเจ้า จากโครงร่างน้ี มขี ้อสังเกตคือ 26:2 เปน็ ตน้ ในบรบิ ทนเี้ ปรยี บอสิ ราเอล
2:1‑37 โครงรา่ งของบทนคี้ อื 1. หัวขอ้ 6.1 และ 6.4 ซงึ่ กล่าวถึงความ วา่ เปน็ ผลติ ผลรนุ่ แรกของพระเจา้ หมาย
1. พระเจ้าทรงส�ำแดงความรักต่อคน อบั อายของยดู าหเ์ ปน็ กรอบลอ้ มเนอ้ื หาไว้ ถงึ เป็นประชากรของพระเจ้า ดงั น้ันใคร
อสิ ราเอล (ขอ้ 1‑3) 2. หัวข้อ 6.2 และ 6.3 เป็นเนื้อหาซึ่ง ทมี่ าทำ� รา้ ยหรอื ทำ� ลายอสิ ราเอลกจ็ ะตอ้ ง
2. บาปของบรรพบุรุษเรอื่ งการไหว้รูป กลา่ วถงึ บาปของยูดาห์ ถกู พระเจ้าลงโทษ
เคารพ (ขอ้ 4‑8) 2:2 กรงุ เยรูซาเล็ม...เจ้าสาว เยรูซาเลม็ 2:5 ส่ิงไร้ค่า ในที่นี้หมายถึงบรรดารูป
3. พระเจ้าทรงกลา่ วโทษอสิ ราเอลสอง เป็นเมืองหลวงของยูดาห์ และเป็นศูนย์ เคารพ (เทียบกับค�ำแปลของค�ำนี้ใน
กระทง (ขอ้ 9‑13) คือ กลางทางศาสนาของชนชาติอิสราเอล 14:22; 2 พกษ.17:15) ซงึ่ เป็นสิง่ เทียม
3.1 อสิ ราเอลทงิ้ พระเจ้า ผู้เผยพระวจนะมกั เปรียบพระเจ้าเปน็ ดง่ั เท็จที่ไม่อาจช่วยพวกเขาได้ ดังนน้ั พวก
3.2 อสิ ราเอลสรา้ งและบชู ารูปเคารพ สามีของอิสราเอล (อสย.54:5; ฮชย. เขาจะกลายเปน็ เหมอื นสงิ่ ที่ไรค้ า่ ไมเ่ ปน็
4. ผลแห่งความไม่ซ่อื สัตย์ของอสิ ราเอล 2:16‑20) พระเจา้ ทรงเลอื กอสิ ราเอล และ ประโยชนต์ อ่ ไป
(ข้อ 14‑19) อิสราเอลต้องมีชีวติ ที่อุทิศตัวแดพ่ ระเจา้ 2:6 เขาทั้งหลายไม่ได้กล่าวว่า ‘พระ
5. อิสราเอลนอกใจพระเจ้าไปนมสั การ เท่าน้ัน เหมอื นเจา้ สาวหรอื ภรรยาท่ดี ที ี่ ยาห์เวห์ทรงอยู่ท่ีไหน ท้ังในข้อนี้และ
พระอื่นๆ (ข้อ 20‑25) ต้องซื่อสัตย์ต่อสามีของตน นอกจาก ข้อ 8 เป็นส�ำนวนท่ีใช้โดยหมายความ
6. อิสราเอลสมควรถูกลงโทษ (ขอ้ 26‑ นี้ชนชาติอิสราเอลยังถูกเปรียบว่าเป็น ว่า พวกผู้นำ� ในเวลานน้ั ไม่ได้หันกลับมา
37) ซงึ่ จ�ำแนกเปน็ “ผลิตผลรุ่นแรก” หรือส่วนที่ดีท่ีสุดของ หาพระเจ้าเพื่อทูลขอการชว่ ยกู้ ทัง้ ๆ ที่
6.1 ยดู าหต์ อ้ งอบั อายเพราะรปู เคารพ พระเจา้ ดูค�ำอธิบาย 2:3 พระเจ้าทรงช่วยกูพ้ วกเขาออกจากการ
ชว่ ยอะไรพวกเขาไม่ได้ (ขอ้ 26‑28) 2:3 ผลิตผลรุ่นแรก หมายถึงผลท่ีไดร้ บั เป็นทาสในอียิปต์ และช่วยในชว่ งที่อยู่
6.2 ยูดาห์ลืมพระเจ้าของตน (ข้อ จากการเกบ็ เกยี่ วครง้ั แรก ซึ่งมักถือวา่ ในถน่ิ ทรุ กนั ดาร จนกระทง่ั นำ� พวกเขาให้
29‑32) เป็นส่วนท่ีดีท่ีสุด คนอิสราเอลโบราณ ไดอ้ าศยั ในแผน่ ดนิ แห่งพระสัญญา พวก
6.3 ยดู าห์ไมย่ อมรบั ผดิ จงึ ถกู พพิ ากษา ถอื วา่ การถวายผลแรกแดพ่ ระเจา้ เปน็ การ เขาไม่ได้ระลึกถึงการช่วยกทู้ ่ีได้รบั เสมอ
(ขอ้ 33‑35) ยอมรบั วา่ พืชผลนั้นเป็นของพระเจา้ ถอื มาในประวตั ศิ าสตร์ของพวกเขาเลย
6.4 ยดู าหต์ อ้ งอบั อายเพราะมหาอำ� นาจ เป็นการขอบพระคณุ ในการเล้ยี งดูของ
23 เยเรม ยี ์ 2:8
ในแผ่นดินทไี่ มม่ ีใครผา่ นไปได้ และท ำ� ให้มรดกข องเราเปน็ ส่ิงน ่ารังเกยี จ
และไมม่ ีมนษุ ยอ์ าศยั อ ยทู่ ี่น น่ั ?’ 8 พวกป ุโรห ิตไมไ่ ดก้ ล่าววา่ ‘พระยาหเ์วห์ท รงอยทู่ ี่
7 และเราได้พาพวกเจา้ เข้ามาในแ ผน่ ด นิ ทีม่ เีรือก
สวนไรน่ า ไหน?’
เพ่ือรับประทานผลไมแ้ ละบ รรด าส่ิงทดี่ ี คนเหลา่ นน้ั ท เ่ี ชย่ี วช าญธรรมบ ญั ญตั ไิ มร่ จู้ กั เรา
แต่เมื่อเจ้าเข้ามา เจา้ ไดท้ ำ� ให้แ ผน่ ดินข องเรา
เปน็ มลทนิ บรรดาผู้ป กค รองก ท็ รยศตอ่ เรา
พวกผ ูเ้ ผยพระวจนะไดเ้ ผยพระวจนะโดยพระ
บาอลั
2:7 เป็นมลทิน การท�ำให้แผ่นดินเป็น 8:12; 16:18; 32:35; 44:4,22) มกั ใช้ ของพระเจ้าเทียบได้กับการไม่ร้จู กั พระ
มลทินหมายความว่า ชนชาติอสิ ราเอล หมายถึงศาสนพิธีหรือการกระท�ำที่พึง เจา้ พวกเขาจงึ ไมส่ ามารถสัง่ สอนประ
ได้เข้าไปอยู่ในแผ่นดินแห่งพระสัญญา รงั เกยี จซง่ึ เก่ียวขอ้ งกบั การนมสั การเทพ ชาชนให้ดำ� เนินชวี ติ ในทางของพระเจ้า
แต่ไมไ่ ด้ใช้ชีวติ อยา่ งสตั ยซ์ ่อื ตอ่ พระเจ้า แหง่ ความอดุ มสมบรู ณ์ในศาสนาคานาอนั (เทียบกบั ฮชย.4:1‑3)
กลับหันไปเคารพนับถือพระต่างๆ ของ 2:8 ปุโรห ิต...ผู้ปกครอง...ผู้เผยพระ 2:8 พระบาอัล ค�ำแปลพ้ืนฐานของค�ำ
ชาวคานาอนั (วนฉ.2:11‑15) วจนะ ผู้น�ำทงั้ สามกลุ่มน้ีต้องรับผิดชอบ ฮบี รูคำ� น้ีคือ “เจา้ นาย” หรอื “สาม”ี ชอ่ื
2:7 มรดกข องเรา หมายถึงทรัพย์สมบัติ เรื่องความไม่ซื่อสัตย์ของคนอิสราเอล นี้ใช้หมายถึงพระแห่งความอุดมสม
อาจเป็นแผน่ ดนิ ตึก อาคาร หรือทรพั ย์ ปุโรหิตได้ละเลยพันธสัญญาของพระ บูรณ์ของชาวคานาอัน ผู้นมัสการพระ
สิ่งของที่เคลื่อนย้ายไดซ้ ่งึ ผู้คนไดร้ ับเป็น เจ้า ซ่ึงรวมถึงการไมเ่ ช่อื ฟงั พระบญั ญตั ิ บาอัลมักท�ำศาสนพิธีที่มีการร่วมประ
มรดกตกทอดหรือยดึ มา ในขอ้ น้ีเป็นคำ� ของพระองค์ ผ้ปู กครองได้วางใจในมหา เวณีกบั เทวทาสปี ระจ�ำวิหาร เพอื่ ให้พระ
คู่ขนานกับค�ำวา่ “แผน่ ดนิ ของเรา” จึง อำ� นาจอน่ื ๆ มากกวา่ เชอื่ วางใจในพระเจา้ บาอัลประท านความอุดมสมบูรณ์แก่พ้นื
หมายถึงแผ่นดินแห่งพระสัญญาท่ีพระ และผู้เผยพระวจนะเท็จก็มักกล่าวเท็จ ดิน ในพระธรรมเยเรมีย์ผู้เขยี นมกั ใช้ค�ำ
เจ้ามอบใหค้ นอิสราเอล (เทยี บกับ 3:19; หรอื บดิ เบอื นถอ้ ยคำ� ของพระเจา้ ใหป้ ระ วา่ “สิง่ ไร้ประโยชน”์ หรือ “สงิ่ ที่อับอาย”
16:18; 17:4) ชาชนฟัง เยเรมยี จ์ งึ ต้องท�ำพันธกิจต่อ เรยี กแทนชอ่ื พระบาอัล เช่น 11:13 ดู
2:7 สงิ่ น า่ รงั เกยี จ คำ� นพ้ี บทงั้ หมด 8 ครงั้ ต้านผูน้ �ำเหล่านตี้ ลอดเวลา “บาอัล” ในประมวลศพั ท์
ในพระธรรมเยเรมยี ์ (2:7; 6:15; 7:10; 2:8 ไมร่ จู้ กั เรา การไมท่ ำ� ตามพระบญั ญตั ิ
ผเู้ ผยพระวจนะเทจ็
(False Prophet)
ผ้เู ผยพระวจนะเปน็ กล่มุ คนท่ีมีบทบาทสำ� คญั และมอี ทิ ธพิ ล มากมาย (1 พกษ.18:19,22; 22:6‑7,10‑12,23; 2 พกษ.10:19)
ในทุกๆ ศาสนาและวฒั นธรรมของสงั คมชาวตะวันออกกลาง ท้งั น้ีจะเหน็ ไดว้ า่ ผูเ้ ผยพระวจนะเทจ็ ในหม่คู นอิสราเอลจะ
ยคุ โบราณเสมอ ดู “ผเู้ ผยพระวจนะและหนา้ ท”ี่ ในคำ� นำ� หมวด เก่ียวข้องกับศาสนาของชาวคานาอันเสมอ และศาสนาหรือ
ผู้เผยพระวจนะใหญ่ พระท่ีชาวคานาอันนับถอื มากทีส่ ดุ กค็ ือพระบาอัล ซ่ึงเชอื่ กัน
ในธรรมบัญญัติของโมเสส มีค�ำเตือนให้ชนชาติอิสราเอล วา่ เป็นเทพแห่งความอดุ มสมบรู ณ์ในเร่อื งการเกษตรและการ
ระวังผูเ้ ผยพระวจนะเทจ็ (ฉธบ.13:1‑4) ไม่ว่าจะเป็นผ้เู ผยพระ มีบุตร ศาสนาพระบาอัลเร่ิมแทรกซึมและรุ่งเรืองในหมู่คน
วจนะของพระอน่ื ๆ หรือผแู้ อบอ้างว่าเป็นผเู้ ผยพระวจนะของ อิสราเอลต้ังแต่รัชสมัยของกษัตริย์อาหับกับราชินีเยเซเบล
พระเจา้ ทง้ั ทพี่ ระเจา้ มไิ ดท้ รงใชม้ า คนเหลา่ นต้ี า่ งกเ็ กย่ี วขอ้ งกบั แหง่ อาณาจักรอิสราเอลเม่ือประมาณปี 874‑853 ก่อน ค.ศ.
รปู เคารพหรอื ศาสนาของชาวคานาอนั ทง้ั สนิ้ (ฉธบ.12:29‑32) (1 พกษ.16:31‑34) ทำ� ใหผ้ เู้ ผยพระวจนะของพระบาอลั มจี ำ� นวน
ธรรมบญั ญตั ไิ ดร้ ะบชุ ดั เจนวา่ ผเู้ ผยพระวจนะเทจ็ จะตอ้ งมโี ทษถงึ มากมาย (1 พกษ.18:19,22; 2 พกษ.10:19,21) ในขณะทผ่ี เู้ ผย
ตาย (ฉธบ.13:5; 18:20) รวมถึงคนทหี่ ลงไปตดิ ตามผูเ้ ผยพระ พระวจนะของพระเจา้ กลับถูกขม่ เหง (1 พกษ.18:4,13) และ
วจนะเทจ็ กบั รปู เคารพหรอื พระอนื่ ๆ กต็ อ้ งมโี ทษถงึ ตายเชน่ กนั ดูเหมือนวา่ ศาสนาพระบาอัลจะแพร่มาสอู่ าณาจกั รยูดาห์ ทงั้
(ฉธบ.13:6‑18) นอกจากน้ียงั สอนหลกั การพิสจู น์ผ้เู ผยพระ ยงั เหลือรอดจากการปฏิรูปฟื้นฟศู าสนาและสังคมของกษัตรยิ ์
วจนะเท็จด้วย (ฉธบ.18:21‑22) ตวั อย่างผเู้ ผยพระวจนะเท็จท่ี โยสิยาห์มาจนถึงสมัยของเยเรมีย์ (2:8; 32:29‑35)
มชี อื่ เสยี งในสมยั โบราณ เชน่ บาลาอมั (กดว.22‑25; 31:8,16) สำ� หรับเยเรมีย์เองซึ่งเป็นปุโรหิตและนา่ จะค้นุ เคยกบั ธรรม
และยังมผี ูเ้ ผยพระวจนะเท็จในยคุ ท่ีอาณาจักรถูกแบง่ แยกอีก บญั ญัตขิ องโมเสสดี ทา่ นจึงมคี วามรู้สกึ ละเอียดอ่อน
เยเรม ีย์ 2:9 24
และติดตามสิ่งไร้ประโยชน์ แม้วา่ พระเหล่าน้นั ไม่ไดเ้ ปน็ พ ระ?
9 “เพราะฉะนั้น เราจงึ ยงั ค งโตแ้ ย้งกบั เจา้ ” แต่ประช ากรของเราไดเ้อาศักดศ์ิ รขี องเขา
พระยาห์เวหต์ รสั ดังน ี้แหละ แลกกบั สิ่งทไ่ี มเ่ป็นป ระโยชน์
“เราจะโตแ้ ย้งก บั ลูกห ลานของเจ้า 12 โอ ฟ้าสวรรค์
10 จงข า้ มไปยงั ฝ ง่ั เกาะไซปรัสแลว้ ม องด ู จงต กตะลึงด ้วยสิ่งนี้ จงสยดสยองแ ละจงร้าง
หรือใชค้ นไปยังเมอื งเคด าร์ แ ล้วใหพ้ จิ ารณา เปล่า”
อย่างถถ่ี ว้ น พระยาหเ์วหต์ รัสด ังน ีแ้ หละ
ดูวา่ เคยม อี ยา่ งน ้ีบา้ งไหม 13 “เพราะว่าประช ากรข องเราไดท้ �ำค วามช ่วั ถึงส อง
ประการ
11 มีชนชาติใดเคยเปล่ยี นพ ระของต น
เขาไดท้ อดท ้งิ เรา
2:9 โต้แย้ง เป็นค�ำท่ีมักใช้ในเวลา ผิดกับคนต่างชาติที่นับถือและเช่ือใน พระเจ้าผู้ย่ิงใหญ่และทรงฤทธานุภาพ
พจิ ารณาคดคี วาม พระหรือเทพเจ้าของพวกเขา คนต่าง พระองค์ทรงเป็นศกั ด์ศิ รขี องพวกเขา
2:10‑11 ข้อกล่าวหาทีพ่ ระเจ้าทรงใชค้ อื ชาติเหล่านี้ซื่อสัตย์ต่อพระหรือเทพเจ้า 2:12 โอ ฟา้ สวรรค์ ในการพิจารณาคดี
ประชาชาติท้ังหลายมักซื่อสัตย์ต่อพระ ของตวั เอง ไมว่ า่ จะเปน็ คนต่างชาติทอ่ี ยู่ ความ จำ� เป็นตอ้ งอา้ งพยาน ในทีน่ ้ีพระ
ของพวกเขา แตอ่ สิ ราเอลกลบั ละทง้ิ พระ ไกลไปทางตะวันตกอย่างท่ีเกาะไซปรัส เจ้าทรงเรยี กให้ฟ้าสวรรคเ์ ป็นพยาน
เจา้ ของตนและพนั ธสญั ญาทพี่ ระเจา้ ทรง หรือคนในทะเลทรายที่อยทู่ างตะวนั ออก 2:13 ความช่ัวถึงสองประการ หมายถึง
ท�ำกับพวกเขา (“ศกั ด์ิศรีของเขา”) การ (เคดาร์ ต้งั อยู่ในทะเลทรายอาระเบยี ใน ความบาปท่อี ิสราเอลทำ� ไดแ้ ก่ ก. พวก
กระทำ� ของอสิ ราเอลนอกจากจะเปน็ เรอ่ื ง ท่ีนี้ใชห้ มายถึงคนทวั่ ไปในตะวันออก) ดู เขาไดล้ ะทง้ิ การนมสั การพระยาหเ์ วห์ และ
ผดิ ปกติวิสัยแล้ว ยงั เป็นการอกตัญญตู อ่ 49:28; อสย.60:7 ข. พวกเขาได้หันไปนมัสการพระที่ไม่มี
พระเจา้ ดว้ ย 2:11 ศกั ดศิ์ รีของเขา จากบรบิ ทน้ี คำ� ว่า ชวี ิตและไม่มปี ระโยชนข์ องคนต่างชาติ
2:10 เกาะไซปรัส...เมืองเคดาร์ ประชา “ศักดิ์ศรี” ไม่ได้หมายถึงความสง่างาม
กรของพระเจ้าไม่เชอ่ื ในพระเจา้ ของตน หรอื เกยี รตยิ ศของประชาชน แตห่ มายถงึ
ผเู้ ผยพระวจนะเท็จ (ต่อ)
และไวต่อเรื่องน้ีเป็นพิเศษ นอกจากนี้ ผู้เผยพระ เท็จอยู่ในกลุ่มเชลยชาวยูดาห์ท่ีถูกกวาดต้อนไปยังบาบิโลน
วจนะเทจ็ ยงั เปน็ อปุ สรรคส�ำคัญท่ีท�ำให้ท่านท�ำพันธกิจได้อย่าง ด้วย (29:8‑9) เชน่ อาหบั บุตรโคลายาห์และเศเดคียาหบ์ ตุ ร
ยากล�ำบาก อีกท้ังมกั ทำ� ใหผ้ ู้รับฟังสารหรอื คำ� เผยพระวจนะ มาอาเสยาห์ (29:20‑23)
ของทา่ นเกดิ ความสบั สนดว้ ย ดู “ภมู หิ ลงั และมมุ มอง” ในคำ� นำ� จากสถานการณ์ดังกล่าวน้ีเอง เม่ือเยเรมีย์ประกาศสารที่
ในพระธรรมเยเรมยี ์จึงมีบันทกึ เกยี่ วกับผู้เผยพระวจนะเทจ็ ท่านได้รับจากพระเจ้าเร่ืองการพิพากษาความผิดบาปของ
อยูม่ ากมาย พวกเขาเปน็ กลุ่มคนท่ีมีอิทธพิ ลในการชี้น�ำคน อาณาจักรยูดาห์ ท่านจึงถูกตอบโต้อย่างรุนแรง ทั้งถูกปอง
ทกุ ระดบั ในสงั คมของอาณาจกั รยดู าห์ ตง้ั แตป่ ระชาชน ปโุ รหติ รา้ ยถึงข้ันจะเอาชีวติ ถูกประจานและด่าทอ ถกู ใสร่ ้ายวา่ เปน็
ไปจนถึงกษัตริย์ (5:30‑31; 18:18; 27:9‑10,14‑18) โดยผู้ คนบา้ (26:7‑11; 29:26‑27; 38:4) ในพระธรรมเยเรมยี จ์ ึงมี
เผยพระวจนะเทจ็ ในสมัยเยเรมียล์ ้วนประกาศขา่ วสารเทจ็ ว่า เน้ือหาท่ีเป็นบทคร่�ำครวญและประณามผู้เผยพระวจนะเท็จ
อาณาจกั รยดู าหจ์ ะมแี ตส่ วสั ดภิ าพ เปน็ เหตใุ หป้ ระชาชนยา่ มใจ เหล่าน้ีอยู่หลายตอน และพระเจ้าทรงส�ำแดงว่า ในท้ายท่ีสุด
และไมค่ ดิ จะกลบั ใจใหม่ ตวั อยา่ งผเู้ ผยพระวจนะเทจ็ คนสำ� คญั ผู้เผยพระวจนะเท็จเหล่าน้ีจะต้องพบกับความพินาศท่ีพวก
ในสมยั ของเยเรมยี ์ไดแ้ ก่ ฮานนั ยาห์ (28:1‑17) เชไมยาหช์ าว เขาเองปฏิเสธมาโดยตลอด (8:8‑12; 14:13‑18; 23:9‑40;
เนเฮลาม (29:24‑32) นอกจากนยี้ งั มบี นั ทกึ วา่ มผี เู้ ผยพระวจนะ พคค.2:14) †
25 เยเรมยี ์ 2:19
ซง่ึ เป็นน้�ำพ ทุ ี่มีน ้ำ� แ หง่ ช ีวิต 17 เจา้ หาเรือ่ งเหลา่ นม้ี าใสต่ วั เจ้าเองไมใ่ ชห่ รอื
แลว้ สกดั บ ่อน ้ำ� ไวส้ �ำหรบั ต นเอง โดยการท อดท ิง้ พระยาห์เวห์พระเจ้าของเจ้า
เม่อื พ ระองคท์ รงน ำ� เจา้ ไปต ามท าง?
เปน็ บ่อแตกทข่ี ังน ำ�้ ไมไ่ด้
14 “อิสราเอลเป็นท าสเขาหรือ? หรอื เปน็ ท าสท เี่ กิด 18 ดังน ัน้ เจา้ ไดอ้ ะไรจากก ารล งไปยังอียิปต์
เพื่อด ื่มน �้ำในแม่นำ้� ไนล?์
มาในบ้าน?
เหตุใดเขาจงึ ต กเปน็ ของปล้น? หรือเจา้ ไดอ้ ะไรจากก ารลงไปยงั อ สั ซเี รีย
เพื่อด ่ืมน ้�ำในแม่น ้�ำยูเฟรตสิ ?
15 เหลา่ สงิ ห์ห นมุ่ ค ำ� รามใส่เขา
มันแผดเสยี งด งั ม าก 19 ความชวั่ ร้ายของเจ้าจะต สี อนเจ้าเอง
และความไมซ่ ่อื สัตยข์ องเจา้ จะต�ำห นิเจ้า
และพวกม นั ได้ท �ำให้แผ่นด นิ ของเขาร้างเปล่า
เมอื งท้งั หลายข องเขากถ็ ูกไฟเผา ไมม่ คี น เจา้ จงรแู้ ละเหน็ เถดิ ว่ามนั เปน็ ความช่วั และความ
อาศัยอยู่ ขมข น่ื
16 ยิง่ กว่านั้นอกี ประชาชนเมืองเมมฟ สิ แ ละเมือง ทที่ อดทง้ิ พ ระยาห์เวห์พระเจ้าของเจ้า
ทาปานเหส และความย�ำเกรงเราไมไ่ด้อยใู่ นเจ้าเลย”
ไดโ้กนกระห มอ่ มของเจา้ แลว้ พระยาห์เวห์อ งคเ์ จา้ นายผ ้ทู รงเป็นจอมท พั ต รสั
ดงั น ี้แหละ
บันทกึ สว่ นตวั
___________________________________________________________________________________________________________________
___________________________________________________________________________________________________________________
___________________________________________________________________________________________________________________
___________________________________________________________________________________________________________________
___________________________________________________________________________________________________________________
___________________________________________________________________________________________________________________
___________________________________________________________________________________________________________________
___________________________________________________________________________________________________________________
2:13 น้�ำพุที่มีน�้ำแห่งชีวิต...บ่อแตก อัสซีเรีย บาบิโลน (2:18,36) ศีรษะคนอสิ ราเอลใหล้ ้าน เปน็ การบังคบั
“น้�ำพุ” หมายถึงน�ำ้ จากตานำ้� ใต้ดนิ “บ่อ 2:16 เมืองเมมฟิสและเมอื งทาปานเหส โกน เปน็ สญั ลกั ษณแ์ สดงถงึ การลดฐานะ
แตก” หมายถึงบอ่ ท่ีสกดั จากหนิ ปูน ซึ่ง ทงั้ สองเมอื งนเี้ ปน็ เมอื งสำ� คญั ของอยี ปิ ต์ คนผู้นน้ั ใหก้ ลายเปน็ ทาสรับใช้
ทำ� ให้บ่อมีรูพรนุ จงึ ต้องเคลือบดว้ ยปนู เป็นเมืองที่อิสราเอลไปพบปะกับชาว 2:18 ลงไปยงั อยี ปิ ต.์ ..ลงไปยงั อัสซีเรีย
หากปนู เกดิ รอยร้าวหรอื รอยแตก น้ำ� พุ อียิปต์เพ่ือขอรว่ มเปน็ พันธมติ ร ฟาโรห์ ผู้น�ำของอิสราเอลได้ร้องขอความช่วย
ใตด้ นิ ท่กี ักไวก้ ็จะไหลออกจากบ่อ บ่อน�้ำ เนโคแห่งอียิปต์ได้สังหารกษัตริย์โยสิ เหลอื จากทั้งสองมหาอำ� นาจน้ี ดู อสย.
ท่ปี ระชาชนสร้างข้นึ น้ันไม่ใช่แหลง่ น�ำ้ ที่ ยาห์ในสงครามท่ีเมืองเมกิดโด เม่ือปี 30:1‑3; ฮชย.8:9 กษตั ริย์เยโฮยาคิม
แทจ้ ริง เพราะน้�ำมาจากพระเจ้า บอ่ ของ 609 ก่อน ค.ศ. และยดู าห์ต้องตกอยู่ใต้ แห่งยูดาห์ ได้ท�ำสนธิสัญญากับอียิปต์
พวกเขาทแี่ ตกหรอื มรี อยรา้ ว เปน็ บอ่ ท่ีไม่ การปกครองของอียปิ ตจ์ นกระท่ังอยี ปิ ต์ และอัสซีเรีย เพ่ือให้ช่วยต่อต้านบาบิ
มปี ระโยชน์ เพราะสรา้ งน้�ำเองไม่ไดแ้ ละ แพส้ งครามต่อบาบิโลนท่เี มืองคารเคมิช โลน (ยรม.2:36)
กักน�้ำไว้ก็ไม่ได้ พระทั้งหลายจงึ เปรยี บ ในปี 605 กอ่ น ค.ศ. 2:19 พระยาห์เวห์องค์เจ้านายผู้ทรง
เหมอื นบ่อแตกท่ีไม่อาจชว่ ยประชาชนผู้ 2:16 โกนกระห ม่อม ในภาษาฮบี รู ค�ำว่า เปน็ จอมทัพ ดู “พระยาหเ์ วหจ์ อมทพั ”
นมสั การพวกเขา “โกน” อาจหมายถึง การตีใหแ้ ตก หรอื ใต้หัวข้อ “ศัพท์ส�ำคัญ” ในค�ำน�ำหมวด
2:15 เหล่าสงิ ห์ห นมุ่ หมายถงึ ศัตรทู ่เี ขา้ การครูด ถาก หรอื ท�ำใหถ้ ลอก ในบรบิ ท ผเู้ ผยพระวจนะใหญ่
รุกรานและทำ� ลายอิสราเอล เช่น อยี ปิ ต์ นจี้ งึ อาจหมายถงึ การท่ีคนอยี ปิ ต์จะโกน
เยเรมยี ์ 2:20 26
20 “เพราะว่านานม าแล้วเจ้าหักแอกข องเจ้า แต่รอยเป้อื นความผิดบ าปข องเจ้ากย็ ังปราก ฏอ ยู่
ต่อห น้าเรา”
และท �ำลายโซ่ตรวนของเจา้ เสยี พระยาห์เวห์องคเ์ จา้ นายต รัสด งั น ้แี หละ
และเจา้ ไดก้ ลา่ วว่า ‘ขา้ จะไมป่ รนน บิ ัติ’
เพราะเจ้าได้นอนลงเล่นช ู้ 23 “เจ้าจะพูดไดอ้ ย่างไรว่า ‘ข้าไมเ่ ปน็ ม ลทิน
บนเนินเขาสงู ทุกแห่ง ขา้ ไม่ไดต้ ิดต ามบ รรดาพระบ าอ ัลไป’
และใตต้ น้ ไม้เขียวสดท ุกต้น
21 แต่เราได้ปลูกเจ้าไวเ้ปน็ เถาองุน่ อยา่ งด ี จงม องด ทู า่ ทางของเจ้าทใ่ีนหบุ เขาสิ
เปน็ พนั ธ์ุแทท้ ้งั นัน้ จงส�ำนึกว่าเจา้ ไดท้ �ำอ ะไรไป
แลว้ ท �ำไมเจ้าเส่อื มทรามลง
จนก ลายพ นั ธไ์ุ ปได้? เหมอื นอ ูฐสาวค ะน องอ ยู่ไมส่ขุ
22 ถงึ แมว้่าเจา้ ช�ำระตวั ด ว้ ยน ้�ำด่าง 24 เหมือนลาป่าที่คุ้นเคยก ับถ ิน่ ท ุรกนั ด าร
และใชส้ บมู่ าก
ไดสู้ดลมห ายใจดว้ ยความอยากอ ันรุนแรงข องม ัน
ใครจะระงบั ความใครข่ องมันได้
ทุกคนท ีแ่ สวงห ามนั จะไมต่ อ้ งเหน็ดเหนือ่ ย
2:20 แอก เปน็ ไมว้ างขวางบนคอววั หรอื นี้ บางคร้ังผู้นมัสการพระบาอัลจะมเี พศ พระเจา้ เท่านัน้ ท่สี ามารถลบลา้ งบาปได้
ควาย ใชไ้ ถนา คราดนา หรอื เทยี มเกวยี น สมั พันธ์กับเทวทาสี ซ่ึงก็คือหญิงท่ีถือ 2:23 ในหบุ เขา ในทนี่ ้ีหมายถึงหบุ เขา
เปน็ อปุ กรณ์ที่ใชค้ วบคมุ สตั ว์ เป็นตัวแทนของเทวีในศาสนาคานาอัน เบนฮินโนม ซ่ึงเปน็ หุบเขาแคบๆ ต้งั อยู่
2:20 หกั แอก...ทำ� ลายโซต่ รวน...‘ขา้ จะ เทวทาสีถือเป็นตำ� แหน่งที่มีเกียรติ ท�ำ ทางตอนใต้ของกรุงเยรูซาเล็ม ในพันธ
ไมป่ รนน บิ ตั ’ิ วลเี หลา่ นอ้ี ยู่ในวรรคคขู่ นาน หนา้ ทช่ี ว่ ยใหก้ ารถวายบชู าครบถ้วนและ สัญญาเดิมมักเอ่ยถึงหุบเขาน้ีว่าเป็น
ในข้อนี้เป็นภาษาเปรียบเทียบ แสดงถึง ได้รับผลส�ำเร็จ ในบริบทนี้พระเจ้าทรง สถานทีท่ เี่ ดก็ ๆ ถกู น�ำมาเผาบูชาถวาย
การกบฏไม่เชื่อฟังมากกว่าจะหมายถึง ประณามชนชาตอิ สิ ราเอลทลี่ ะทง้ิ พระองค์ พระโมเลค (7:30,31; 19:1‑6; ลนต.
การกระทำ� ทีม่ ุ่งหาอสิ รภาพ และหันไปนับถือศาสนาของพระบาอัล 20:1‑5; 2 พกษ.23:10)
2:20 นอนลงเลน่ ช ู้ เปน็ ภาษาเปรยี บเทยี บ โดยใช้โวหารเปรียบเทียบการนมัสการ 2:23‑24 อูฐส าว...ล าป่า เยเรมยี ์ใช้ภาพ
หมายถึงผู้ท่ีเช่ือพระเจ้าแต่ยังไปร่วม พระเจา้ กบั การนมสั การของชาวคานาอนั สัตว์สองชนิด คืออูฐสาวและลาป่ามา
นมัสการเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบรู ณ์ 2:21 ปลูกเจ้า เป็นภาษาเปรียบเทียบ เปรียบเทียบกบั คนอสิ ราเอล อฐู สาวเป็น
เหมือนกับการท่ีสามีหรือภรรยาไปมชี ู้ หมายถึงการที่พระเจ้าทรงสถาปนาคน สตั ว์ที่ไวใ้ จไม่ได้ เทอะทะ และตกใจงา่ ย
ในที่น้ีอิสราเอลเปรียบเหมอื นเทวทาสี อสิ ราเอลให้เป็นชนชาติหน่ึง เหมอื นที่ คำ� บรรยายทวี่ า่ “อฐู สาวคะนองอยไู่ มส่ ขุ ”
หรือหญิงโสเภณีที่ร่วมหลับนอนกับชาย ชาวสวนเร่ิมต้นปลูกองุ่นพันธ์ดีในสวน หมายถึงทว่ งทีการเดนิ ในเชิงให้ท่าเพศ
ท่เี ขา้ มาทำ� พิธกี รรมตอ่ หนา้ เทพเจ้าแหง่ ของเขา ตรงข้าม เปรยี บเหมือนพฤตกิ รรมท่ีไม่
ความอดุ มสมบรู ณ์ ในศาสนาคานาอันเช่ือ 2:21 เถาองุ่นอย่างดี อิสราเอลเปรียบ น่าไว้ใจของคนอสิ ราเอล กระนน้ั ก็ตาม
ว่าการท�ำเช่นนจ้ี ะท�ำให้เทพเจ้าประทาน เหมือนเถาองุ่นพันธุ์ดีท่ีจะเกิดแต่ผลดี ในเวลาทอ่ี ากาศรอ้ นจัด อฐู สาวจะมีท่าที
ฝนรดแผ่นดินก่อให้เกิดความสมบรู ณ์ (อสย.5:2) สงบกว่าลาป่าตัวเมียท่ีมักมีกิริยาก้าว
แต่ในความเป็นจริงน่ีเป็นการกระทำ� ที่ 2:22 ชำ� ระตวั ดว้ ยนำ�้ ดา่ ง “นำ�้ ดา่ ง” หมาย ร้าวรนุ แรง มันจะพยายามสดู ดมกลิน่ ลา
ผิดศีลธรรม ยิ่งกว่าน้ันคนอิสราเอลยัง ถึงโพแทสเซียมคาร์บอเนต มีลักษณะ ตัวผู้ (จากกล่ินปัสสาวะของตัวผู้) เมื่อ
ได้ท�ำพิธีกรรมน้ีร่วมไปกับการนมัสการ คล้ายเกลอื สีขาว ละลายในนำ้� ได้และมี ได้กล่ินก็จะโลดแลน่ ไปหา ลาตัวผจู้ งึ ไม่
พระเจ้า และไม่อาจแยกแยะพิธีกรรมน้ี ภาวะเป็นด่าง มักใช้ในการชำ� ระล้างส่งิ จำ� เป็นตอ้ งว่ิงหาตัวเมีย แตก่ ลบั เปน็ ตวั
กับการนมัสการพระเจ้าท่ีแท้จริงได้ สกปรกเหมือนสบู่ ในทนี่ ้ีใช้เปรยี บเทียบ เมยี ทจี่ ะวง่ิ เสาะหาตวั ผเู้ อง เยเรมยี ์ใชภ้ าพ
2:20 เนนิ เขาสงู สถานนมสั การในศาสนา ประชาชนอสิ ราเอลทคี่ ดิ วา่ การทำ� ศาสน ลาตัวเมียที่กระสนั ว่งิ หาตัวผู้ มาเปรยี บ
คานาอันมักสร้างอยู่บนเนินเขาสงู ใกล้ พธิ สี ามารถลบลา้ งบาปของตนได้ (เทยี บ กับคนอิสราเอลท่ขี วนขวายเสาะหาพระ
กบั ตน้ ไมใ้ หญท่ ี่มีใบเขยี วสด (ฉธบ.12:2; กบั สดด.51:2,7; อสย.1:15‑20) แตพ่ วก บาอัล
1 พกษ.14:23) ประชาชนมักท�ำพิธีขอ เขาเขา้ ใจผดิ เพราะมแี ตก่ ารสารภาพบาป
ความอุดมสมบูรณ์ ณ บริเวณท่ีสูงเหลา่ การกลับใจใหม่ และการอภัยโทษจาก
27 เยเรม ีย์ 2:35
เม่อื ถงึ เดอื นท่ีก�ำหนดของมันจะพ บมนั เอง พระยาหเ์ วหต์ รสั ด งั น ี้แหละ
25 อย่าไปเท้าเปล่า 30 “เราได้โบยตลี กู ห ลานข องเจา้ เสยี เปล่า
และอ ยา่ ให้คอแ ห้ง พวกเขาก็ไม่รับก ารสั่งสอน
แตเ่ จ้ากล่าวว่า ‘เหลวไหล ดาบของเจ้าเองไดก้ ลนื ผ เู้ผยพระวจนะข องเจ้า
เพราะข า้ ได้รกั พระอ่ืน ๒ เหมอื นอย่างสงิ ห์ชา่ งท�ำลาย
และข ้าจะติดตามไป’ 31 ค นยคุ น เี้ อย๋ เจา้ ทง้ั ห ลายจงค ดิ พ จิ ารณ าดพู ระวจนะ
26 “เมอ่ื โจรถูกจับมคี วามอ บั อายอยา่ งไร
เช้อื สายข องอิสราเอลก ็จะอบั อายอยา่ งน ัน้ ของพ ระยาห์เวห์
ทงั้ ตวั เขา กษตั รยิ ์ เจ้านาย เราเปน็ เหมอื นถ ิ่นท รุ กันดารแ กอ่ สิ ราเอลห รอื
ปโุ รหติ และผเู้ ผยพ ระวจนะของเขา
27 ผ้กู ลา่ วแ ก่ต ้นไมว้่า ‘ท่านเป็นบดิ าของข้าพเจ้า’ หรือเหมือนแ ผน่ ด ินท มี่ ืดทึบ?
และก ลา่ วแ กศ่ ิลาว่า ‘ทา่ นค ลอดข ้าพเจา้ มา’ ทำ� ไมป ระชากรของเราจงึ กล่าววา่ ‘ขา้ พระอ งค์
เพราะพ วกเขาไดห้ ันห ลงั ใหเ้ รา ท้งั ห ลายเปน็ อ สิ ระ
ไมใ่ช่หนั ห นา้ มา
แตเ่ มอ่ื ถ ึงเวลาลำ� บ ากเขากลา่ วว่า ข้าพระอ งคจ์ ะไมม่ าหาพระอ งคอ์ ีก’?
‘ขอท รงลุกข น้ึ ช ่วยข้าพระองค์ทั้งหลายใหพ้ ้น’ 32 สาวพ รหมจารจี ะลมื เครอ่ื งป ระดบั ข องเธอไดห้ รอื ?
28 แต่บรรด าพระของเจา้ อยูท่ ไ่ี หนเล่า
ซึ่งเปน็ พระท ่ีเจ้าสร้างไว้สำ� หรบั ตัวเอง? เจา้ สาวจะลมื อาภรณข์ องต นไดห้ รอื ?
ถ้ามันช่วยเจ้าให้พน้ ได้ ก็ใหม้ ันลุกขนึ้ ช ว่ ย แต่ป ระช ากรข องเราไดล้ ืมเรา
เมือ่ ถึงเวลาล�ำบ ากของเจ้า
ยดู าหเ์อ๋ย เจา้ มีเมอื งต ่างๆ มากเท่าใด เปน็ จำ� น วนวันที่นบั ไมถ่ ้วน
เจ้ากม็ ีพ ระมากเท่าน้ัน 33 “เจา้ หาทางไปพ บรกั ไดอ้ ย่างแ นบเนียน
29 “เจา้ ท้งั ห ลายจะมาโต้แย้งเราท�ำไม?
เจา้ ไดก้ บฏต่อเราหมดทกุ คนแ ลว้ ” ซ้ำ� เจ้ายังสอนท างข องเจา้ ให้หญงิ ชั่ว
34 ที่ชายเสือ้ ข องเจ้ามี
โลหิตของค นจนทไ่ี รค้ วามผ ิดต ดิ อ ยู่
ทัง้ ท่เี จา้ ไม่ไดจ้ับเขาขณะท ำ� การโจรกรรม
แต่ถ งึ จะมีเร่อื งต า่ งๆ เหลา่ นี้
35 เจา้ ก็ยงั ก ลา่ วว่า ‘ข้าไมม่ คี วามผ ิดเลย
พระพิโรธข องพระอ งคไ์ด้หันกลบั จากข า้ แล้ว’
๒ ภาษาฮบี รแู ปลต รงต ัวว่า คนแปลกหน้า
2:25 อยา่ ไปเทา้ เปลา่ และอยา่ ใหค้ อแหง้ วจนะ ผู้เขียนอาจหมายถึงเหตุการณ์ท่ี 2:32 สาวพรหมจารีจะลมื เคร่ืองประดับ
พระเจ้าประทานรองเท้าให้คนอิสราเอล บนั ทกึ ใน 2 พกษ.21:16 ตามธรรมเนยี ม ของเธอได้หรอื ? เจ้าสาวจะลมื อาภรณ์
(ฉธบ.29:5) และนำ�้ ดม่ื (เชน่ อพย.17:6) ของคนยวิ เชือ่ วา่ ผเู้ ผยพระวจนะอสิ ยาห์ ของตนได้หรือ? เป็นคำ� ถามเชงิ โวหาร
ตลอดเวลาที่เดินทางในถิ่นทุรกันดาร นา่ จะถกู สังหารในการข่มเหงคร้งั นด้ี ว้ ย (Rhetorical Question) คำ� ตอบนน้ั ชดั เจน
พระเจ้าเปรยี บเหมอื น “สามี” ท่คี อยเกื้อ 2:30 สงิ ห์ช่างท�ำลาย เป็นภาษาเปรียบ อยู่แล้วคอื “ไมม่ ที างท่ีหญงิ พรหมจารี
หนุนคนอิสราเอล กระนั้นพวกเขายังรัก เทียบ ดูคำ� อธบิ าย 2:15 หรือเจ้าสาวจะลมื เสื้อผา้ ของตนเอง”
ทจี่ ะตดิ ตามพระอ่นื 2:31‑34 แมพ้ ระเจา้ ทรงชว่ ยคนอสิ ราเอล 2:34 โลหติ ข องค นจนท ี่ไรค้ วามผ ิด ตาม
2:26 กษัตรยิ ์ เจ้านาย ปโุ รห ติ และผ เู้ผย ให้พ้นจากการเป็นทาสในอียิปต์ และไม่ พระบญั ญัติ เจ้าของบ้านมีสทิ ธิ์ฆ่าขโมย
พระวจนะ ผนู้ ำ� ทง้ั หลายของคนอสิ ราเอล ได้ทอดท้ิงพวกเขาในถ่ินทุรกันดาร แต่ ที่เขา้ มาลักทรัพย์ได้ (อพย.22:2‑3) แต่
ไดน้ ำ� ความอบั อายมาสปู่ ระเทศชาติ ดู 2:8 อสิ ราเอลกลบั ไปนมัสการพระอนื่ ๆ และ ในกรณนี ้ี เยเรมยี ก์ ล่าวโทษคนอิสราเอล
2:28 บรรด าพระของเจา้ ดคู ำ� อธบิ าย 1:16 มักหันไปขอความช่วยเหลือจากประเทศ ท่มี สี ่วนในการทำ� ใหค้ นจนที่ไร้ความผิด
2:30 ลูกหลาน หมายถึงประชาชนอสิ เพอื่ นบา้ น การกระทำ� เชน่ นท้ี ำ� ใหพ้ วกเขา ตามธรรมบัญญัติต้องตาย (เทียบกับ
ราเอล เปน็ เหมือนเจา้ สาวผู้ไม่ซอ่ื สตั ย์ เหมอื น 26:20‑23; 1 พกษ.21:16; นหม.9:26)
2:30 ดาบของเจ้าเองได้กลืนผู้เผยพระ หญงิ ทที่ �ำตวั เปน็ โสเภณี
เยเรมีย์ 2:36 28
นแ่ี นะ่ เราจะนำ� เจา้ ไปส่กู ารพพิ ากษา 3 อิสราเอลผ ู้ไม่ซ่อื สัตย์
เพราะเจา้ กล่าววา่ ‘ขา้ ไมไ่ด้ท�ำบาป’ “ถา้ ชายใดหยา่ ภรรยาของตน
และเธอก ็ไปจากเขาเสีย
36 ท�ำไมเจ้าเรร่ อ่ นไปอ ย่างน นั้ และไปเปน็ ภ รรยาของชายอีกค นห นึง่
โดยเปลย่ี นเส้นท างข องเจา้ ? เขาจะกลับไปห าเธอห รือ?
แผ่นดินนัน้ จะไมโ่ สโครกม ากม ายหรอื ?
อียปิ ต์จะท �ำใหเ้ จ้าอับอาย เจ้าไดเ้ ลน่ ช กู้ ับคนรักหลายคนแ ลว้
เหมือนท่ีอ สั ซ ีเรยี ท �ำใหเ้ จา้ อบั อายม าแล้วนนั้ และเจา้ จะกลบั ม าหาเราหรือ?”
พระยาหเ์ วหต์ รสั ด งั น แี้ หละ
37 เช่นเดียวก ันเจ้าจะอ อกมาจากทน่ี ่นั 2 “จงแหงนหนา้ ข้ึนสูบ่ รรดาทสี่ ูงโลง่ น ้ัน และด สู ิ
โดยเอามือก มุ ศรี ษะของเจ้าไว ้๓
ท่ไี หนบ ้างท เี่ จา้ ไมม่ ีค นม านอนด ว้ ย?
เพราะพ ระยาหเ์ วหท์ รงป ฏิเสธค นเหลา่ น้นั ทีเ่ จ้า
ไวว้ างใจ ๓ มีความห มายว่า ไดร้ ับความอ บั อาย
เจา้ จะไมเ่ จริญข น้ึ ดว้ ยความช ว่ ยเหลือจาก
พวกเขา”
2:36 เปลี่ยนเสน้ ทางของเจ้า หมายถึง เพราะคิดว่าอียิปต์หรืออัสซีเรียจะช่วย เธอมีมลทินแล้วจากการมีสามีคนทีส่ อง
การท่คี นอิสราเอลมักหันไปหาประเทศ พวกเขาให้รอดจากกองทัพบาบิโลน แต่ มฉิ ะนน้ั จะเปน็ การผดิ ธรรมบญั ญตั ิ (ฉธบ.
เพอ่ื นบา้ นเพอ่ื ขอความชว่ ยเหลอื ทางการ ทั้งสองประเทศช่วยอสิ ราเอลไม่ได้ พระ 24:1‑4) ยดู าหเ์ ปรยี บเหมอื นหญงิ ดงั กลา่ ว
เมอื ง ดูข้อ 18 ไม่ว่าอิสราเอลจะเลือก เจา้ เองทรงลงโทษพวกเขาผา่ นบาบโิ ลน ทแ่ี ตง่ งานถึงสองครงั้ คือเป็นประชากร
ใคร (อียปิ ต์หรอื อสั ซเี รีย) ตา่ งก็นำ� ความ 3:1‑5 ตอนน้ีต่อเนอื่ งจากบทที่ 2 กล่าว ของพระเจา้ แตไ่ ปนมสั การพระอน่ื ๆ พวก
อับอายมาให้พวกเขา ถึงความไม่ซื่อสัตย์ของอสิ ราเอล ในทีน่ ี้ เขาไดท้ �ำให้ตัวเองเป็นมลทิน โดยการ
2:37 มอื กมุ ศรี ษะของเจา้ เปน็ สญั ลกั ษณ์ หมายถงึ ยดู าห์ (อาณาจกั รใต)้ โดยเปรยี บ นมสั การพระเจ้าควบคไู่ ปกบั การกราบ
แสดงวา่ อับอายมาก ใน 2 ซมอ.13:19 ยูดาห์กับหญิงท่ีหย่าสามีแล้วไปมีสามี ไหว้พระอื่นๆ (เทียบกับ 2:25,27,35‑36)
ทามาร์เอามือกุมศีรษะหลงั จากถูกอัม ใหม่ ต่อมาไม่ว่าสามคี นหลงั จะเสยี ชีวติ พระเจ้าไม่ต้องการความสัมพันธ์เช่นน้ี
โนนข่มขืนและขับไล่ แต่ในท่นี เี้ ป็นคน หรอื เธอหย่ากับเขา สามีคนแรกจะรับ ยูดาหต์ อ้ งนมัสการพระเจ้าแตอ่ งค์เดียว
อสิ ราเอลเองที่นำ� ความอับอายมาสู่ตน เธอมาเป็นภรรยาอีกไมไ่ ดเ้ พราะถอื ว่า
ทีส่ ูง
High Places
“ท่ีสูง” หรือ “ปูชนียสถานสูง” มาจากค�ำฮีบรูว่า บาโมท สง่ิ เหล่านั้น เชน่ รปู สัตว์ ดวงดาว เจ้าแม่ (อาเช-ราห์) หรอื
(bamoth) หมายถึงสถานนมัสการบนเนนิ เขาสูง แตบ่ างแห่ง เทพแห่งความอุดมสมบรู ณ์
อาจอยู่บนลานท่ีราบในตัวเมือง สถานที่เหล่าน้ีมักใช้เป็นท่ี ประชาชนไดล้ ะเลยคำ� สง่ั สอนของพระเจา้ และการนมสั การท่ี
ถวายสัตวบูชา คนอิสราเอลและผู้น�ำในอดีตใช้สถานท่ีเหล่า กรงุ เยรซู าเลม็ แลว้ ไปนมสั การพระเทยี มเทจ็ ณ ปชู นยี สถาน
นี้นมัสการพระเจ้า (ปฐก.12:6‑8; 28:18‑19; อพย.19:1‑3; สงู เหลา่ นี้ เชน่ การถวายบตุ รชายบตุ รหญงิ แดพ่ ระโมเลค หรอื
ยชว.4:20) กอ่ นจะมพี ระวหิ ารในเยรซู าเลม็ (เทยี บกบั 1 พกษ. สรา้ งปูชนยี สถานสงู เพอ่ื พระบาอัล (32:35) กษตั รยิ ท์ ่ีไมช่ อบ
3:2‑4) อย่างไรกต็ าม ภายหลงั การสร้างพระวิหาร บรรดาท่ี ธรรมและผู้เผยพระวจนะเท็จมักสนับสนุนการนมัสการจอม
สงู หรอื ปชู นยี สถานสงู เหลา่ นี้ไดถ้ กู ใชเ้ ปน็ ทน่ี มสั การแบบผสม ปลอมเหล่านี้ แต่เราก็พบว่ายังมีกษัตริย์ที่ชอบธรรมและผู้
คือมีการนมัสการพระเจ้าและพระอ่ืนๆ ควบคู่กันไป (กดว. เผยพระวจนะของพระเจ้าอีกหลายคนท่ีได้หนุนใจประชาชน
33:52; ลนต.26:30) ปูชนยี สถานสูงเหลา่ นี้มักจะมีแท่นบชู า ให้หันกลับไปนมัสการพระเจ้าที่พระวิหารในกรุงเยรูซาเล็ม
และสิ่งของที่ถือว่าศักดิ์สิทธ์ิ เช่น เสาหิน หรือเสาไม้ที่แกะ เยเรมีย์ประณามการท�ำบาปด้วยการนมัสการท่ีปูชนียสถาน
สลกั เป็นรปู ร่างตา่ งๆ เพื่อใชเ้ ป็นสัญลกั ษณข์ องการกราบไหว้ สูง (7:31; 17:3; 19:5) †
29 เยเรม ยี ์ 3:10
เจ้าไดน้ ่ังคอยคนรักข องเจ้าอยรู่ มิ ท าง ทรงเรียกใหก้ ลับใจ
อย่างค นเร่รอ่ นในถ ่นิ ท ุรกนั ด าร 6 พ ระยาหเ์ วหต์ รสั ก บั ข า้ พเจา้ ในรชั กาลก ษตั รยิ โ์ ยสิ
ยาห์ฆ ว่า “เจ้าเหน็ อสิ ราเอลผู้กลับสัตย์ทำ� อะไร? เธอ
เจ้าไดท้ ำ� ใหแ้ ผน่ ด นิ โสโครก ข้นึ ไปบนภูเขาสูงทุกลูก และใต้ต้นไม้เขียวสดทุกต้น
ดว้ ยก ารแพศยาอยา่ งช ่วั ร้ายข องเจ้า แลว้ ก็ไปเลน่ ชู้อยู่ท่ีน่นั 7 และเราคิดวา่ เม่อื เธอท �ำทกุ
สงิ่ เหลา่ นแี้ ลว้ เธอจะก ลบั มาหาเรา แตเ่ ธอก ไ็ มก่ ลบั ม า
3 เพราะฉะน้ัน ฝนจงึ ถูกระงับเสีย และยดู าหน์ อ้ งสาวทที่ รยศนนั้ กเ็ หน็ 8 เราเหน็ วา่ เพราะ
และฝ นปลายฤ ดูจงึ ข าดไป การลว่ งประเวณีทง้ั สน้ิ ของอสิ ราเอลผกู้ ลบั สตั ย์ เราจงึ
ไล่เธอไปพรอ้ มกบั ใหห้ นงั สอื หยา่ แต่ยดู าห์นอ้ งสาวท่ี
แตเ่จ้ามหี นา้ ผากข องหญิงแพศยา ๔ ทรยศน้นั ก ไ็ มก่ ลวั เธอก ลับไปเลน่ ช ู้ด้วย 9 เพราะเห็น
เจา้ ปฏิเสธไมย่ อมอาย วา่ การแพศยาของเธอยังเบาไป เธอก็ทำ� ให้แผ่นดิน
โสโครก โดยไปล่วงประเวณีกับศิลาและต้นไม้ 10 แม้
4 เจ้าเพงิ่ จะเรยี กเราไมใ่ ชห่ รือว่า
‘พระบ ดิ าของข า้ พระอ งค์ พระองคท์ รงเปน็ ๔ ผู้เช่ียวชาญบางคนเขา้ ใจว่าหญิงโสเภณีสมัยน้ันจะมีเคร่อื ง
สหายในวยั เยาวข์ องข ้าพระองค์ หมายท ี่หน้าผาก
ฆ 2 พกษ.22:1‑23:30; 2 พศด.34:1‑35:27
5 พระองคจ์ะท รงพระพิโรธอยู่เปน็ น ติ ย์ห รือ?
พระอ งค์จะกร้วิ อยจู่นถ งึ ทสี่ ุดป ลายห รอื ?’
นแี่ นะ่ เจ้าลน่ั วาจาแล้ว
แตเ่ จ้าก็ยงั ท �ำความช ว่ั ทุกอย่างซ ่ึงเจ้าทำ� ได”้
บันทกึ สว่ นตวั
___________________________________________________________________________________________________________________
___________________________________________________________________________________________________________________
___________________________________________________________________________________________________________________
___________________________________________________________________________________________________________________
___________________________________________________________________________________________________________________
___________________________________________________________________________________________________________________
3:3 ฝน...และฝนปลายฤดู ค�ำว่า “ฝน” ท�ำบาปทกุ ชนดิ 3:6 ตน้ ไม้เขียวสด มกั เกยี่ วข้องกับพระ
หมายถึงฝนที่ตกช่วงเดือนตลุ าคมถงึ 3:6‑4:4 เปน็ ตอนทพี่ ระเจา้ ทรงประณาม อาเช-ราห์ เทวีทคี่ นคานาอนั สกั การบูชา
ธันวาคม ส่วน “ฝนปลายฤดู” หมายถงึ การกราบไหวร้ ูปเคารพ เปน็ พระแห่งการมีลกู ดก ตามความเช่อื
ฝนทต่ี กในชว่ งมนี าคมถงึ เมษายน ฝนทง้ั 3:6‑18 พระเจ้าทรงประณามอิสราเอล ของศาสนาคานาอนั ผนู้ มสั การทต่ี อ้ งการ
สองช่วงน้ีอาจเรียกว่า “ฝนต้นฤดู” และ (อาณาจักรเหนอื ) และยูดาห์ (อาณาจักร ขอความอดุ มสมบูรณ์ หรอื ต้องการให้มี
“ฝนปลายฤดู” (เทียบกับ 5:24) เปน็ ฝน ใต)้ ซ่ึงเปรียบดังพีน่ ้องสองสาว ท่ีกลับ ฝนตกรดไร่นา มกั จะท�ำพธิ ีนมสั การโดย
ทจี่ ำ� เป็นต่อการเตบิ โตของพืชผล ไปหาสามีคนแรกไม่ได้เพราะเธอเป็น มเี พศสมั พันธ์กับเทวทาสีใตต้ น้ ไมท้ ี่เป็น
3:3 หนา้ ผากข องห ญงิ แพศยา อาจหมาย “มลทิน” จากการไปมีสามีคนใหม่ ดู สัญลักษณ์ของพระอัชเทราห์ หรือเสา
ถงึ เคร่ืองหมายท่ีทำ� ไว้ที่หน้าผากของ ค�ำอธิบาย 3:1‑5 เยเรมีย์เรียกร้องให้ (ไม)้ อาเช-ราห์ (เทยี บกบั 1 พกษ.14:23;
หญงิ โสเภณี หรืออาจเป็นภาษาเปรียบ อิสราเอลและยูดาหก์ ลบั ใจใหม่ โครงรา่ ง 2 พกษ.17:16)
เทยี บแสดงถงึ ความดอื้ ดา้ นของคนยดู าห์ ของตอนนค้ี ือ 3:8 หนงั สอื หยา่ ผเู้ ผยพระวจนะมกั เปรยี บ
(เทียบกบั อสย.48:4) 1. ยูดาห์ไม่ได้เรยี นรจู้ ากบทเรียนทีเ่ กิด ความบาปกบั ความไมซ่ อื่ สตั ย์ในชวี ติ สมรส
3:5 เจา้ ลนั่ วาจาแลว้ เปน็ การอา้ งกลบั ไป กบั อสิ ราเอล (ข้อ 6‑10) พระเจ้าเป็นดั่ง “สามี” ท่ีมีสิทธ์ิหย่ากับ
ถงึ ประโยคก่อนข้อ 4 ถึงข้อ 5ก ซงึ่ เป็น 2. พระเจ้าทรงเรยี กใหอ้ ิสราเอลกลับมา อสิ ราเอลผเู้ ปน็ ดงั่ “ภรรยา” ของพระองค์
ค�ำพูดของคนยูดาห์ที่คิดว่าพระเจ้าจะไม่ หาพระองค์ (ขอ้ 11‑13) การหย่าถือเป็นสิ่งที่กระทำ� ไดต้ ามธรรม
กร้ิวอยู่ป็นนิตย์ น่ีเป็นความม่ันใจท่ีไม่ 3. พระเจ้าทรงเรียกใหย้ ูดาห์กลับมาหา บัญญตั ิ หากภรรยาไมซ่ อ่ื สัตย์ตอ่ สามี ดู
ถกู ตอ้ ง เพราะพระเจา้ ทรงพโิ รธการกระ พระองค์ (ขอ้ 14‑18) คำ� อธิบาย 3:1‑5 (เทยี บกับ อสย.50:1)
เยเรม ยี ์ 3:11 30
เปน็ อยา่ งน ้ีท้งั สิ้น ยดู าห์น้องสาวท่ที รยศของเธอก ไ็ม่ และเราจะนำ� เจา้ มาถึงศ ิโยน”
ไดห้ นั กลบั มาห าเราดว้ ยสดุ ใจ แตแ่ สรง้ ทำ� เปน็ กลบั มา” “15 และเราจะให้บรรด าผู้เล้ยี งแกะคนท่ีเราพอใจแก่
พระยาห์เวหต์ รสั ดังนแ้ี หละ พวกเจ้า ผู้ซ่ึงจะเล้ยี งเจา้ ดว้ ยความรู้และความเขา้ ใจ
11 แล้วพระยาหเ์ วห์ตรสั กับขา้ พเจา้ วา่ “อสิ ราเอลผู้ 16 และเมอื่ พวกเจ้าทวีและเพิ่มข้ึนในแผ่นดินน้ัน ใน
กลบั สตั ยย์ งั สำ� แดงต วั วา่ ชอบธรรมยงิ่ กวา่ ยดู าหท์ ที่ รยศ เวลานั้น” พระยาห์เวห์ตรัสดงั น้ีแหละ “เขาทั้งหลาย
12 จงไปประก าศถ ้อยค�ำเหล่านี้ทางท ิศเหนือก ล่าวว่า จะไม่กล่าวอีกวา่ ‘หีบพันธส ัญญาแห่งพระยาห์เวห’์
อิสราเอลผกู้ ลับสัตยเ์ อย๋ กลับม าเถดิ เรื่องนี้จะไม่มีข้นึ ในใจ ไม่มีใครกล่าวถึง ไม่มีใครนึก
พระยาหเ์วหต์ รัสด งั นี้แหละ ถงึ จะไม่ท�ำขึ้นอีกเลย 17 ในครง้ั นน้ั จะเรียกกรุงเยรู
เราจะไมม่ องด ูพวกเจา้ ดว้ ยความโกรธ เพราะเรา ซาเล็มวา่ เป็นพระท่ีน่ังของพระยาห์เวห์ และบรรดา
มคี วามรักมนั่ คง ประชาชาตจิ ะรวบรวมก นั เขา้ มายงั กรงุ เยรซู าเลม็ เพอื่
พระยาห์เวห์ตรสั ดงั น ีแ้ หละ พระนามของพระยาห์เวห์ และพวกเขาจะไม่ด้ือรั้น
เราจะไมโ่ กรธอยูเ่ป็นน ิตย์ ดำ� เนนิ ตามใจชวั่ ของเขาอกี ตอ่ ไป 18 ในเวลานนั้ เชอื้ สาย
13 เพียงแตย่ อมรับความผ ิดข องเจ้า ของยูดาห์จะเดินมากับเชื้อสายของอิสราเอล เขาทงั้
วา่ เจา้ ได้กบฏตอ่ พระยาห์เวหพ์ ระเจ้าของเจ้า สองจะรวมกนั มาจากแผน่ ดนิ ฝา่ ยเหนอื มายงั แผน่ ดนิ
และเท่ยี วเอาใจบ รรดาพระอ่นื ทใ่ี ตต้ น้ ไมเ้ขยี วสด ซึ่งเรามอบให้แกบ่ รรพบ ุรุษข องเจา้ เป็นม รดก
ทกุ ต ้น
และพวกเจ้าไมไ่ ดฟ้ ังเสียงข องเรา 19 “เราคดิ วา่
พระยาหเ์วห์ต รสั ดงั น ี้แหละ เราจะตั้งเจา้ ไว้ท่ามกลางบ ุตรท ง้ั หลายข องเรา
14 พระยาห์เวห์ต รัสด งั นี้ว่า ลกู ห ลานท ี่กลับส ัตย์เอ๋ย อยา่ งไรด ีหนอ
กลบั มาเถิด และให้แผน่ ดินท ี่น่าปรารถน าแกเ่ จา้
เพราะเราเปน็ น ายเหนือพ วกเจา้ เปน็ ม รดกสวยงามทสี่ ุดในบรรดาประช าชาติ
เราจะรับพวกเจ้ามาเมืองละคนและตระก ลู ละสอง และเราคดิ วา่ เจา้ จะเรยี กเราวา่ พระบ ดิ าของข า้ พระ
คน องค์
3:10 หนั ก ลบั ม าเปน็ วลที พ่ี บบอ่ ยครง้ั ใน ของพวกเขา ไม่ใชพ่ ระบาอลั ดคู ำ� อธบิ าย เทียบ หมายถึงผู้ปกครองหรือผู้น�ำที่ดี
พนั ธสญั ญาเดมิ และหลายครง้ั มกั แปลวา่ “พระบาอัล” ใน 2:8 (เทียบกบั ผ้นู �ำท่ีไมด่ ีใน 2:8)
“กลับใจ” ในพระธรรมเยเรมีย์หมายถึง 3:14 เมอื งละค นและตระกลู ละสองคน ใน 3:15 ด้วยค วามรู้และความเข้าใจ หมาย
การเรียกให้ประชาชนสารภาพความผิด ที่นี้ “ตระกลู ” เปน็ ค�ำคูข่ นานกบั “เมือง” ถงึ พระประสงค์ของพระเจ้าทต่ี ้องการให้
บาป ทลู ขอพระเมตตาจากพระเจ้า และ จากบริบทจึงน่าจะหมายถงึ การแบ่งตาม คนของพระองค์เปน็ คนท่เี ช่ือฟงั และทำ�
หันกลับมาด�ำเนินชีวิตตามวิถีทางของ ภูมิประเทศหรือตามเขตการปกครอง ตามธรรมบัญญัติของพระองค์ หัวข้อผู้
พระเจา้ (เทยี บกับ สดด.51) สว่ นคำ� วา่ “คน” และ “สองคน” เป็นคำ� เลย้ี งแกะที่ดีและที่ไมด่ ปี รากฏหลายคร้งั
3:14 เป็นนาย ผู้เขียนก�ำลังเล่นค�ำกับ เปรียบเทียบแทนจ�ำนวนที่น้อย เมื่อพิ ในพระธรรมเยเรมยี ์ (เทยี บกบั 2:8; 10:21;
ความหมาย ค�ำวา่ “เป็นนาย” ในภาษา จารณ าคกู่ บั ขอ้ 15 จงึ หมายถงึ การทพี่ ระ 23:1‑4; 50:6; อสค.34)
ฮีบรูมาจากค�ำกริยาที่มีรากศัพท์เดียว เจ้าทรงรวบรวมคนที่เหลืออยู่จากแต่ละ 3:19‑25 ตอนนกี้ ลา่ วถงึ การเรยี กใหก้ ลบั
กบั คำ� นาม “บาอลั ” ทหี่ มายถงึ พระบาอลั เมืองแต่ละตระกูลให้ได้กลับมายังศิโยน มาหาพระเจา้ ในสองขอ้ แรก (ขอ้ 19‑20)
ซึ่งเป็นเทพเจ้าของศาสนาคานาอัน ค�ำ คนเหล่านี้คือประชากรที่แท้จริงของ ยงั คงเปน็ คำ� ตำ� หนทิ ค่ี นอสิ ราเอลนมสั การ
วา่ “บาอลั ” อาจแปลว่า “เจา้ นาย” หรอื พระเจา้ ดู “คนทเ่ี หลอื อย”ู่ ใตห้ วั ขอ้ “ศพั ท์ พระอ่ืน แต่ในห้าข้อต่อมา (ข้อ 21‑25)
“สามี” ก็ได้ ในบรบิ ทของตอนนี้ พระเจ้า ส�ำคัญ” ในค�ำน�ำหมวดผู้เผยพระวจนะ เป็นค�ำเชิญชวนให้ประชาชนสารภาพ
กำ� ลงั เนน้ กบั คนอสิ ราเอลวา่ พระองคท์ รง ใหญ่ (เทยี บกบั อสย.6:11‑13; 10:20‑23) บาปและกลบั มาหาพระเจา้
เปน็ องคเ์ จ้านาย (หรือ “สาม”ี ) ทแ่ี ท้จรงิ 3:15 ผเู้ ลี้ยงแกะ ในทนี่ เี้ ปน็ ภาษาเปรยี บ