The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ผลงานสภานักเรียน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by KruRinny Piyamit, 2024-04-26 05:43:16

สภานักเรียน

ผลงานสภานักเรียน

คำนำ รายงานผลการดำเนินงานกิจกรรมสภานักเรียนเล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรายงานผลการดำเนินงาน สภานักเรียนโรงเรียนนครไทย ประจำปีการศึกษา 2565 ในรายงานประกอบด้วยรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับ ที่มาของสภานักเรียน และบทบาทหน้าที่ตามโครงสร้างของสภานักเรียน โครงการ/งาน/กิจกรรมที่ส่งเสริม การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยการมีส่วนร่วมของสภานักเรียน กิจกรรมที่ส่งเสริมวิถีประชาธิปไตยโดยการมีส่วนร่วมของสภานักเรียนประกอบด้วย คารวธรรม สามัคคีธรรม ปัญญาธรรม การมีจิตอาสาและการมีส่วนร่วมของสภานักเรียนในโรงเรียน การประสานงานกับองค์กรและการ สร้างเครือข่ายของสภานักเรียนกับชุมชน และองค์กรต่างๆ รวมทั้งประโยชน์ที่ได้รับ การปฏิบัติงานของสภา นักเรียนที่เป็นเลิศ (Best Practice) และการประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานที่สภานักเรียนโรงเรียน นครไทยได้ดำเนินการมีผลการดำเนินการพร้อมทั้งภาพประกอบการจัดกิจกรรม ขอขอบพระคุณคณะผู้บริหาร คณะครู และคณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียนนครไทย ทุกท่านที่มี ส่วนร่วมช่วยประสานงาน และขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ ทำให้การดำเนินงานครั้งนี้ประสบความสำเร็จลุล่วง ด้วยดี เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม งานสภานักเรียนโรงเรียนนครไทย ก


คำนิยม โรงเรียนนครไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ เป็นหน่วยงานที่จัด การศึกษาระดับมัธยมศึกษา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิบัติตนของนักเรียนภายใต้ระเบียบ กฎเกณฑ์ของสถานศึกษา รวมถึงในด้านของกฎหมายในสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่นักเรียนจะต้องเรียนรู้และเข้าใจ เพื่อนำมาพัฒนาตนเองให้เป็นพลเมืองที่สมบูรณ์พร้อม อีกทั้งได้ตระหนักถึงความสำคัญในด้านการปรับ พฤติกรรมหรือคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านวิถีประชาธิปไตย (ด้านคารวธรรม ด้านสามัคคีธรรม และด้าน ปัญญาธรรม) อันนำมาซึ่งประโยชน์ในการดำรงชีวิตในสังคมร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีคุณภาพ อนึ่งในด้านการ ปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ทางโรงเรียนได้ มุ่งสร้างความรู้ ความเข้าใจรวมถึงจัดประสบการณ์การมีส่วนร่วมของนักเรียนในด้านของการฝึกปฏิบัติจริงและ ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้อย่างถาวร โดยกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียนนครไทย ถือเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ นักเรียนได้แสดงศักยภาพในบาทบาทหน้าที่ในฐานะคณะกรรมการสภานักเรียนอย่างสมบูรณ์พร้อมส่งผลให้ นักเรียนมีภูมิคุ้มกันสำหรับการดำเนินชีวิตในสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ ข้าพเจ้าขอแสดงความชื่นชมต่อคณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียนนครไทยทุกคน ที่มีส่วนร่วมใน การพัฒนาโรงเรียนในทุกมิติ อีกทั้งยังเป็นต้นแบบในการการปฏิบัติตนตามวิถีประชาธิปไตยอย่างดียิ่ง อีกทั้ง เป็นผู้มีความรับผิดชอบต่อการเรียนและการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีคุณภาพ ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า ประสบการณ์ที่คณะกรรมการสภานักเรียนได้รับนั้น จะส่งเสริมให้นักเรียนในฐานะเยาวชนไทยจะเป็นผู้พัฒนา และส่งเสริมให้สังคมและประเทศชาติเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องอย่างมีคุณภาพ (นางพิมพ์นารา นุปิง) ผู้อำนวยการโรงเรียนนครไทย ข


คำนิยม ข้าพเจ้า นายละไม สารี ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษโรงเรียนนครไทย รับผิดชอบ การบริหารงานฝ่ายบริหารงานทั่วไปและกิจการนักเรียน ขอแสดงความชื่นชมต่อคณะกรรมการสภานักเรียน โรงเรียนนครไทย ที่มีบทบาทในการร่วมดำเนินงานและกิจกรรมภายในโรงเรียนและกิจกรรมอื่น ๆ ตามที่ได้รับ มอบหมายเป็นอย่างดียิ่ง เป็นคณะทำงานที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและบุคคลทั้ง ภายในและภายนอกองค์กรได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งเป็นคณะทำงานที่มีภาวะความเป็นผู้นำได้อย่างมีศักยภาพ อุทิศตนและเสียเวลาเพื่อส่วนรวม รวมทั้งไม่ละเลยหน้าที่ที่พึงปฏิบัติของตนให้สูญเปล่า ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียนนครไทยทุกคนที่ได้ร่วมปฏิบัติหน้าที่ ในการทำกิจกรรมฐานการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ฐานยุวชนประชาธิปไตยจะเป็นบุคคล ที่น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหา ภูมิพลอดุลยเดชมหาราชไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นต้นแบบเป็น แบบอย่างที่ดีงามให้กับบุคคลในสังคมสืบไป (นายละไม สารี) รองผู้อำนวยการโรงเรียนนครไทย ค


สารบัญ เรื่อง หน้า คำนำ ก คำนิยมของผู้อำนวยการโรงเรียนนครไทย ข คำนิยมของรองผู้อำนวยการโรงเรียนนครไทย ค สารบัญ ง องค์ประกอบที่ 1 ที่มาของสภานักเรียน และบทบาทหน้าที่ตามโครงสร้างของสภานักเรียน 1 การดำเนินงานส่งเสริมสภานักเรียนและประชาธิปไตยในโรงเรียน - ที่มาของสภานักเรียนสอดคล้องกับกระบวนการประชาธิปไตย 3 - โครงสร้างการบริหารงานคณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียนนครไทย 11 - ระเบียบโรงเรียนนครไทย ว่าด้วยสภานักเรียน คณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียนนครไทย 17 องค์ประกอบที่ 2 โครงการ/งาน/กิจกรรมที่ส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยการมีส่วนร่วมของสภานักเรียน 31 องค์ประกอบที่ 3 กิจกรรมที่ส่งเสริมวิถีประชาธิปไตยโดยการมีส่วนร่วมของสภานักเรียน ประกอบด้วย - คารวธรรม - สามัคคีธรรม – ปัญญาธรรม 54 - ด้านคารวธรรม 58 - สามัคคีธรรม 63 - ปัญญาธรรม 66 องค์ประกอบที่ 4 มีจิตอาสาและการมีส่วนร่วมของสภานักเรียนในโรงเรียน 69 องค์ประกอบที่ 5 การประสานงานกับองค์กรและการสร้างเครือข่ายของสภานักเรียน กับชุมชน และองค์กรต่าง ๆ รวมทั้งประโยชน์ที่ได้รับ 72 องค์ประกอบที่ 6 การปฏิบัติงานของสภานักเรียนที่เป็นเลิศ (Best Practice) 79 - ผลงานการปฏิบัติงานของสภานักเรียนที่เป็นเลิศ (Best Practice) 80 - การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ 91 องค์ประกอบที่ 7 มีการประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงาน 103 ภาคผนวก 111 ง


องค์ประกอบที่ 1 ที่มาของสภานักเรียน และบทบาทหน้าที่ตามโครงสร้างของสภานักเรียน การดำเนินงานส่งเสริมสภานักเรียนและประชาธิปไตยในโรงเรียน


ที่มาของสภานักเรียน และบทบาทหน้าที่ตามโครงสร้างของสภานักเรียน การดำเนินงานส่งเสริมสภานักเรียนและประชาธิปไตยในโรงเรียน ประชาธิปไตยเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับคนไทยทุกคน เพราะการดำรงชีวิตตามวิถี ของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ถือว่ามีความสอดคล้องและ เหมาะสมกับสภาพบริบทของประเทศไทย ซึ่งเป็นรูปแบบการปกครองที่เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคน ได้มีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2475 ที่ประเทศไทยได้เริ่มเข้าสู่การการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นต้นมา โดยที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ 7 ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทรงคืน อำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศคืนให้กันประชาชนชาวไทยทุกคน นับได้กว่า 80 ปี แล้วเพื่อให้ประเทศชาติเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ในระยะแรกประชาธิปไตยได้พัฒนาก้าวหน้าไปได้ ระดับหนึ่งแต่ยังไม่เป็นที่พอใจ อันเนื่องจากสภาพที่แท้จริงของการดำเนินชีวิตของประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ ที่ยังขาดความรู้เกี่ยวกับหลักการของประชาธิปไตยที่ชัดเจน ขาดความสำนึกในเรื่องของสิทธิเสรีภาพในฐานะ พลเมืองที่ดีขาดหลักการพื้นฐานที่แสดงถึงความเป็นประชาธิปไตยหรือพฤติกรรมประชาธิปไตย อาทิการมี ส่วนร่วมในการแสดงออก การเคารพสิทธิของผู้อื่น การเคารพต่อกฎระเบียบ การควบคุมดูแลตัวเอง การใช้ เหตุผล การยอมรับผู้อื่น ฯลฯ จนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาทางด้านการเมืองการปกครองหลายครั้ง ส่งผลให้ปัจจุบันประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้วทั้งสิ้น 19 ฉบับ ซึ่งฉบับปัจจุบันคือ รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 อันเกิดขึ้นจากการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบ แห่งชาตินำโดยพลเอกประยุทธ์จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและอยู่ในช่วงของ กระบวนการที่นำไปสู่การเลือกตั้งหลังจากการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อราวเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา ทั้งนี้กระบวนการในการสร้างเสริมบุคคลในชาติให้มีพฤติกรรมประชาธิปไตยดังกล่าว โดยภาพรวม ของประเทศแล้วนั้นจะเห็นได้ว่าทุกหน่วยงาน/ทุกองค์กรได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาโดยตลอด ดังจะเห็นได้ จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแผนพัฒนาการศึกษา นโยบายของรัฐบาลทุกยุคทุกสมัย รวมถึง หลักสูตรการศึกษาในทุกระดับ โรงเรียนนครไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์เป็นหน่วยงานที่จัด การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้ตระหนักถึงภาระหน้าที่ที่จะต้อง พัฒนานักเรียนที่อยู่ในความรับผิดชอบให้มีพฤติกรรมหรือคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทั้งในด้านวิถีชีวิต ประชาธิปไตย (ด้านคารวะธรรม ด้านสามัคคีธรรม และด้านปัญญาธรรม) และด้านระบบประชาธิปไตย เพราะ โรงเรียนที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นสถาบันแห่งแรกและถือเป็นสถาบันสำคัญที่ประชาชนส่วนใหญ่ของ ประเทศจะได้มีโอกาสเรียนรู้ได้รับประสบการณ์และได้รับการฝึกฝนพัฒนาตนเองให้เป็นพลเมืองที่มี คุณลักษณะที่สอดคล้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตลอดจน ทักษะในการเข้าร่วมกิจกรรมของระบอบประชาธิปไตย 2


แนวคิด การสร้างเสริมหรือเผยแพร่ความรู้และปฏิบัติตามหลักในการปกครองระบอบประชาธิปไตย และวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดนั้น วิธีหนึ่งที่คาดว่าจะประสบความสำเร็จ คือ การฝึกฝนให้นักเรียนเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประชาธิปไตย ถ้าสามารถสร้างเสริมให้นักเรียนมี ความรู้และเข้าใจวิถีประชาธิปไตยและระบบประชาธิปไตย ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาแล้ว การสร้างเสริม ประชาธิปไตยคงเป็นไปได้ด้วยดีและถูกต้องตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อันจะเป็นประโยชน์อย่างสูงสุดต่อนักเรียนในฐานะพลเมืองของชาติที่สามารถนำสิ่งที่ได้รับไปปรับใช้ ในชีวิตประจำวันได้ ที่มาของคณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียนนครไทย ที่มาของคณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียนนครไทย โดยมีนางสาวจิราภา สำรองพันธ์ ประธานสภานักเรียน ปีการศึกษา 2565 จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่ระบุว่า “การ ปฏิรูปการศึกษานั้น นักเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยมีคณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน ครู และผู้ปกครองตลอดจนชุมชนที่เข้ามามีส่วนร่วม” จากที่มาและเหตุผลดังกล่าว กลุ่มงานส่งเสริมประชาธิปไตย/สภานักเรียนโรงเรียนนครไทยได้ ตระหนักถึงความคาดหวังของแผนการศึกษาแห่งชาติที่ระบุถึงคุณลักษณะที่สังคมต้องการให้เกิดขึ้นกับเยาวชน ในด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมตลอดจนจิตสำนึก ซึ่งส่งผลให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่าง มีความสุข ทั้งในฐานะพลเมืองและพลโลกได้ทั้งสิ้น จากข้อมูลข้างต้นเป็นเหตุผลที่นำมาซึ่งการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงามให้เป็นเอกลักษณ์ของสถาบัน ด้วยการปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามความ ต้องการของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของเยาวชน ได้แก่ ความรักในสถาบันชาติ ศาสนาและมหากษัตริย์ ความซื่อสัตย์สุจริต ความมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทยและมีจิต สาธารณะ รวมทั้งได้มีการปลูกฝังและพัฒนานักเรียนในด้านคุณธรรม จริยธรรมตามหลักค่านิยม 12 ประการ ซึ่งประกอบด้วย ความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ความซื่อสัตย์ รู้จักเสียสละ รู้จักแบ่งปัน ความกตัญญูต่อผู้มี พระคุณ ความมุ่งมั่นตั้งใจและหมั่นเพียรต่อการศึกษา รู้จักอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชาติไทย การยึดมั่นและศรัทธาในหลักธรรมคำสอนตามศาสนาที่ตนเองนับถือ การเรียนรู้และพัฒนาตนเองตามวิถี ประชาธิปไตย การเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย การน้อมนำกระแสพระราชดำรัสมาปรับใช้ในการดำเนิน ชีวิต การอยู่อย่างพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ความอดทนอดกลั้นต่อความยากลำบากและ การมีจิตอาสา เห็นประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าของส่วนตน จึงได้ร่วมกันเป็นอาสาสมัครเข้ารับการเลือกตั้ง เป็นสภานักเรียน ประจำปีการศึกษา 2565 โดยมีความมุ่งมั่นที่จะบำเพ็ญคุณประโยชน์ สร้างสรรค์ความดีให้ เกิดขึ้นในสังคมตามรูปแบบของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทั้งนี้จากที่มาและความตั้งใจที่จะอาสาดำเนินการขับเคลื่อนงานกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย ดังกล่าวในเบื้องต้นนั้น ทางคณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียนนครไทย นำโดยนางสาวจิราภา สำรองพันธ์ และคณะกรรมการสภานักเรียนทุกคน จึงได้รับคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการสภานักเรียน ประจำปี 3


การศึกษา 2565 โดยคณะกรรมการสภานักเรียนชุดปัจจุบันจะต้องอยู่ในวาระตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 1 ปี ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนนครไทย ตราประจำโรงเรียน พ่อขุนบางกลางท่าว สีประจำโรงเรียน สีขาว – แดง หมายถึง ความรัก ความสามัคคีและความมีวินัยอันมีพระพุทธศาสนา เป็นสิ่งน้อมนำจิตใจ สีขาว หมายถึง พระพุทธศาสนา ความบริสุทธิ์ สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ ความเสียสละ ความอดทนและความสามัคคีมีวินัย คติพจน์ โรงเรียนนครไทย ไขทาง สร้างคนดี คำขวัญ มีความรู้คู่คุณธรรม ก้าวทันเทคโนโลยี เป็นคนดีของสังคม ปรัชญา สิกฺขา วิรุฬฺห สมฺปตฺตา การศึกษาช่วยพัฒนาคนให้เจริญ อัตลักษณ์ นักเรียนเป็นคนดี มีคุณธรรม รักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น เอกลักษณ์ มีความรู้ คู่คุณธรรม ต้นไม้ประจำโรงเรียน ต้นจำปาขาว อักษรย่อ น.ท. (NT) ข้อมูลนักเรียน ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1,529 คน ครูและบุคลากร ปีการศึกษา 2565 จำนวน 105 คน เนื้อที่ 85 ไร่ 300 ตารางวา พื้นที่ปลูกสร้าง 13 ไร่ 240 ตารางวา จำนวนอาคารเรียนถาวร 4 หลัง จำนวน 38 ห้องเรียน อาคารเรียนคอมพิวเตอร์ 1 หลัง จำนวน 4 ห้องเรียน ห้องสมุดและศูนย์อาเซียนศึกษา จำนวน 1 หลัง สภาพชุมชนโดยรอบมีลักษณะสังคมชนบท มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย มีการอนุรักษ์วัฒนธรรมและ สิ่งแวดล้อม ดังนั้นตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทางคณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียนนครไทยได้ยึดหลักการ ทำงานตามหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานของการบริหารที่ดี 6 ประการ อันประกอบด้วย หลักนิติธรรม (The Rule of Law) คือ การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด หลักคุณธรรม (Morality) คือ การยึดมั่นในการทำความดีและทำในสิ่งที่ถูกต้อง หลักความ โปร่งใส (Accountability) คือ มีกระบวนการให้การตรวจสอบความถูกต้องอย่างชัดเจน หลักความมีส่วนร่วม (Participation) คือ การเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและร่วมตัดสินใจ ในเรื่องต่าง ๆ หลักความรับผิดชอบ (Responsibility) คือ การตระหนักในสิทธิและหน้าที่ของตนเองและผู้อื่น ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม และหลักความคุ้มค่า (Cost – effectiveness or Economy) คือ การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดให้เกิดความคุ้มค่า ก่อให้เกิดประโยชน์อันสูงสุดแก่ส่วนรวม อนึ่งจากพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงพระราชทานไว้เพื่อเป็นหลักในการทำงาน ความว่า “หลักการสำคัญ ประการหนึ่งที่จะส่งเสริมให้การปฏิบัติงานสำเร็จและเจริญก้าวหน้าได้แท้จริง คือการไม่ทำตัวหรือทำความคิด ให้คับแคบ หากให้มีเมตตาและไมตรียินดีประสานสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ร่วมงานอย่างจริงใจ” และ 4


“การทำงานใด ๆ ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ง่ายหรือยาก ถ้าย่อหย่อนจากความเพียรแล้วก็ยากที่จะให้สำเร็จเรียบร้อย ทันเวลาได้ และเมื่อใดพลังของความเพียรนี้เกิดขึ้น เมื่อนั้นการงานทั้งหลายก็สำเร็จได้โดยง่ายดายและ รวดเร็ว” จากหลักการดังกล่าวรวมถึงแนวพระบรมราโชวาทที่ทรงพระราชทานให้กับประชาชนชาวไทย ดังกล่าวนั้น คณะกรรมการสภานักเรียนจึงได้น้อมนำมาเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินงานขับเคลื่อนกิจกรรม สภานักเรียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างแท้จริง วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งคณะกรรมการสภานักเรียน 1. เพื่อเป็นการปลูกฝังค่านิยมประชาธิปไตยให้กับเยาวชน 2. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 3. เพื่อฝึกฝนให้นักเรียนมีส่วนร่วมและมีประสบการณ์ในด้านการบริหารและการปกครองนักเรียน โดยนักเรียนและเพื่อนักเรียน 4. เพื่อฝึกฝนให้นักเรียนทำหน้าที่เป็นผู้นำในฐานะตัวแทนของนักเรียน ในการกระทำกิจการใด ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา 5. เพื่อให้นักเรียนได้แสดงออกถึงความเป็นประชาธิปไตย บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการสภานักเรียน 1. เป็นผู้ประสานงานกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียนและดำเนินการแจ้งให้นักเรียนในโรงเรียนทราบ ในทุกช่องทางสำหรับการประชาสัมพันธ์ 2. เป็นผู้คอยสอดส่องดูแลความประพฤติของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถปฏิบัติตนตาม กฎระเบียบของโรงเรียน 3. เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเดินแถวไป–กลับของนักเรียน รวมถึงปฏิบัติหน้าที่ดูแลความ เรียบร้อยบริเวณทางเข้าของโรงเรียน เพื่อฝึกความมีระเบียบวินัยในการปฏิบัติตามกฎจราจร 4. เป็นผู้นำในการจัดกิจกรรมหน้าเสาธง ในการขับร้องเพลงชาติ การเชิญธงชาติและชักธงชาติ สวดมนต์ นั่งสมาธิ ตลอดจนการประชาสัมพันธ์และกิจกรรมอื่น ๆ ตามความเหมาะสม 5. เป็นผู้ควบคุมดูแลระเบียบแถวหน้าเสาธง เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการปฏิบัติกิจกรรม หน้าเสาธงของนักเรียน 6. เป็นผู้ตรวจสอบความเรียบร้อยในด้านความสะอาดของชั้นเรียนตามอาคารเรียนต่าง ๆ 7. เป็นผู้ควบคุมดูแลความเรียบร้อยในการรับประทานอาหารกลางวันของนักเรียน 8. เป็นผู้ดำเนินการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์งานกิจการนักเรียนผ่านเพจสภานักเรียนและเสียง ตามสาย เพื่อรายงานความเคลื่อนไหวในด้านของข้อมูลข่าวสารและเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ให้คณะครู นักเรียนและชุมชนทราบ 9. เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากทางโรงเรียนนครไทยหรือหน่วยงานต่าง ๆ อย่างเต็มความสามารถ 5


แผนภูมิแสดงขั้นตอนของการสร้างเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนนครไทย แผนภูมิแสดงกระบวนการฝึกพฤติกรรมด้านวิถีประชาธิปไตยและระบบประชาธิปไตยในโรงเรียนนครไทย แผนภูมิการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการกลุ่ม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลที่เกิดขึ้น อ นักเรียน / ครู วิถีชีวิตแบบ ประชาธิปไตย การฝึกในห้องเรียน การดำเนินงาน ในระบอบ ประชาธิปไตย นักเรียน / ครู มีพฤติกรรม ประชาธิปไตย นักเรียนและครู นักเรียนและครู คารวธรรม สามัคคีธรรม ปัญญาธรรม การฝึกโดยใช้ กระบวนการกลุ่ม สร้างเงื่อนไข หรือข้อตกลง เป้าหมาย การ ประเมินผล สร้างกระบวนการ ควบคุม ครู นักเรียน เนื้อหาวิชา สื่อการเรียน กิจกรรมการเรียนการสอน การทำงานเป็นกลุ่ม การสาธิต การอภิปรายกลุ่ม การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การศึกษานอกสถานที่ การแสดงบทบาทสมมติ การสร้างสถานการณ์จำลอง การทดลอง ฯลฯ ครูจัดทำ แผนการสอน หรือ บัตรงาน สร้างเสริมพฤติกรรมด้วย กระบวนการกลุ่ม บทบาทครู - แนะนำวิธีการ ปฏิบัติงาน และกระบวนการกลุ่ม - สังเกต - ประเมินผล - ฯลฯ บทบาทนักเรียน - ปฏิบัติกิจกรรม ตามบัตรงานด้วย กระบวนการกลุ่ม - ฯลฯ 1. ความรู้ตาม จุดประสงค์การ เรียนรู้ 2. พฤติกรรม ประชาธิปไตย และบทบาท กระบวนการ ประชาธิปไตย ตีความเป็นกิจกรรม อ อ อ จัดกิจกรรมด้วยกระบวนการกลุ่ม จัดกิจกรรมการเรียนการสอน บรรลุเป้าหมาย ประเมินผลเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน ประเมินทั้งระบบและรายบุคคล ประเมินผลโดยใช้วิธีที่หลากหลาย ประเมินหลายครั้ง ประเมินทั้งด้านลึกและด้านกว้าง 6


การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยกระบวนการกลุ่มที่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ตัวอย่างเช่น กิจกรรม สภานักเรียน กิจกรรมสหกรณ์โรงเรียน กิจกรรมชุมนุม กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ กิจกรรมส่งเสริมวิชาการ กิจกรรมกลุ่มการงานอาชีพ ฯลฯ โดยกิจกรรมสภานักเรียนจะเป็นกิจกรรมหลักที่นำไปสู่กิจกรรมอื่นทุก กิจกรรม ดังนั้นวิธีการส่งเสริมวิถีชีวิตประชาธิปไตยและระบบประชาธิปไตยที่ได้ผลดีที่สุด คือ การส่งเสริมให้มี การดำเนินงานของสภานักเรียน กิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียนนครไทย ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีโดยมี จุดเริ่มต้นจากการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและปัญหาทางด้านสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมเดี่ยว เศรษฐกิจที่ เปลี่ยนเป็นระบบทุนนิยมเต็มตัว ส่งผลให้เกิดปัญหาอย่างหลากหลายในสถาบันครอบครัว อาทิ ปัญหา ครอบครัวขาดความอบอุ่น กล่าวคือ พ่อแม่ไม่มีเวลาให้กับบุตรของตนเอง บางครั้งอาจทิ้งบุตรให้อยู่กับญาติ ผู้ใหญ่หรืออยู่โดดเดี่ยว เพื่อเข้าสู่ระบบการจ้างงานในสังคมใหญ่ จึงอาจส่งผลให้นักเรียนที่มีพฤติกรรมที่ เปลี่ยนแปลงไปในเชิงลบทำให้เกิดอุปสรรคต่อการเรียนรู้และการอบรมสั่งสอน ประกอบกับในปัจจุบันมี นักเรียนในพื้นที่ให้ความสนใจที่จะเข้ามาศึกษาต่อที่โรงเรียนนครไทยเป็นจำนวนมาก จึงอาจเกิดพฤติกรรมที่ไม่ พึงประสงค์อย่างหลากหลาย อันเนื่องมาจากสภาพการเลี้ยงดูและการอบรมดูแลจากสถาบันครอบครัวความ หลากหลายทางด้านความคิด ความเชื่อและในด้านวัฒนธรรม จึงส่งผลให้นักเรียนขาดระเบียบวินัย การไม่ เคารพเชื่อฟังคำสั่งสอน ฯลฯ จากปัญหาดังกล่าวทางคณะครูโรงเรียนนครไทยจึงได้ร่วมกันวางแผนแนวทางที่จะดำเนินการ แก้ปัญหาเพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยในรูปแบบของสภา นักเรียนจนประสบความสำเร็จ โดยรูปแบบของสภานักเรียนที่ได้ดำเนินการจนประสบผลสำเร็จเริ่มต้นจากการ ประชุมวางแผนร่วมกันจากทุกภาคส่วน เพื่อกำหนดให้มีธรรมนูญนักเรียนขึ้น ซึ่งในธรรมนูญนักเรียนจะ ประกอบด้วยกฎระเบียบ แนวปฏิบัติที่นักเรียนควรประพฤติ รวมถึงกำหนดระเบียบโรงเรียนนครไทย ว่าด้วย สภานักเรียน คณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียนนครไทย ปีพุทธศักราช 2558 (แก้ไขเพิ่มเติมในปีพุทธศักราช 2563) ซึ่งเป็นที่มาของสภานักเรียน และบทบาทหน้าที่ตามโครงสร้างของสภานักเรียน ประกอบไปด้วย 1. คณะกรรมการสภานักเรียนที่มาจากการเลือกตั้ง จำนวน 30 คน ประกอบด้วย ประธานนักเรียน 1 คน รองประธาน 2 คน และคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ที่ปฏิบัติหน้าที่ตามโครงสร้างของสภานักเรียนรวม ทั้งสิ้น 30 คน 2. คณะกรรมการที่ปรึกษาสภานักเรียน ที่มาจากการแต่งตั้งจากคณะกรรมการสภานักเรียนที่เคย ปฏิบัติหน้าที่สภานักเรียนในปีการศึกษาก่อนหน้า ซึ่งหมดวาระในการดำรงตำแหน่งคณะกรรมการสภานักเรียน มาแล้ว จำนวน 5 คน 3. คณะกรรมการนักเรียนที่มาจากผู้แทนชั้นเรียน ห้องละ 1 คน 7


แผนภูมิแสดงขั้นตอนการเลือกตั้งคณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียนนครไทย กลุ่ม กลุ่ม เลือกตัวแทน กลุ่ม เตรียม การเลือกตั้ง การเลือกตั้ง นักเรียน คณะกรรมการ สภานักเรียน 8


ขั้นตอนและกระบวนการอันได้มาซึ่งคณะกรรมการสภานักเรียน ขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรม กิจกรรม บทบาทของครูที่ปรึกษา สอนประชาธิปไตยในด้านใด วางแผน / กำหนดวันเลือกตั้ง 1. การสมัครรับเลือกตั้ง - ประกาศรับสมัครรับเลือกตั้ง - ผู้สมัครรับเลือกตั้งทุกกลุ่มยื่นใบสมัคร รับเลือกตั้งต่อคณะกรรมการรับสมัคร เลือกตั้ง ภายในระยะเวลาที่กำหนด - แนะนำวิธีการสมัครเพื่อรับ การเลือกตั้งเพื่อให้นักเรียน ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง - มีทักษะในการเลือกตั้ง (มีทักษะในระบบ) 2. เตรียมการเลือกตั้ง - คณะกรรมการกลุ่มวางแผน เพื่อการ ประชาสัมพันธ์ แถลงนโยบายของ กลุ่มให้กับผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในทุก ช่องทางของการประชาสัมพันธ์ - กระบวนการในการหาเสียง - ประชาสัมพันธ์ขั้นตอนและวิธี ในการเลือกตั้ง - จัดเตรียมรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง พร้อมประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง - กำหนดสถานที่ในการเลือกตั้ง จัดเตรียมสถานที่ วัสดุ / อุปกรณ์ใน การเลือกตั้ง - แนะนำวิธีการประชาสัมพันธ์ ในเรื่องสำคัญ คือ - วิธีการพูดในที่ชุมชน (การประชาสัมพันธ์หรือแถลง นโยบาย) - ทักษะในการการสื่อสารการ ใช้ภาษา / ระดับภาษาที่ควร นำมาใช้ในการประชาสัมพันธ์ - การเคารพและรักษามิตรภาพ และไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น - ชี้แจงแนวปฏิบัติและขั้นตอน ในการเลือกตั้ง - กระตุ้นให้นักเรียนติดตาม ข่าวสาร / การประชาสัมพันธ์ - แนะนำ / ชี้แจงแนวการ พิจารณาในด้านการรับฟัง นโยบายของแต่ละกลุ่ม - มีทักษะในระบบ - เคารพผู้อื่นทางกาย และวาจา (คารวธรรม) - รู้จักใช้ปัญญาในการ ตัดสินใจ (ปัญญาธรรม) - รู้รักสามัคคี สละเวลา เกิดความร่วมมืออันดี (สามัคคีธรรม) 3. กระบวนการเลือกตั้ง - ผู้มีสิทธิเลือกตั้งตรวจสอบรายชื่อ ตนเองที่หน่วยเลือกตั้ง - ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งแสดงบัตรประจำตัว หรือบัตรแสดงตนต่อกรรมการหรือ เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง - ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งใช้สิทธิ์เลือกตั้ง - การนับคะแนนเลือกตั้ง - รายงานผลการเลือกตั้ง - ประกาศผลการเลือกตั้ง - ชี้แจงให้นักเรียนเข้าใจถึงสิทธิ และหน้าที่ของตนเองต่อการ ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ตลอดจน ชี้ให้เห็นถึงคุณค่าความสำคัญ ของการเลือกตั้งและการ รับผิดชอบต่อส่วนรวม - ชี้แจงแนวปฏิบัติ / ขั้นตอนใน การเลือกตั้งที่ถูกต้อง รวมถึง ในด้านของการปฏิบัติตนตาม กฎหมาย ข้อพึงระวังในการ ปฏิบัติตนในขณะที่มีการ เลือกตั้ง - ขั้นตอนในการเลือกตั้ง / การใช้สิทธิ์ในการออกเสียง เลือกตั้ง (ระบบ) - วิธีการออกเสียงเลือกตั้ง (ระบบ) - เคารพผู้อื่นทางกาย และวาจา (คารวธรรม) - รู้จักใช้ปัญญาในการ ตัดสินใจ (ปัญญาธรรม) - รู้รักสามัคคี สละเวลา เกิดความร่วมมืออันดี (สามัคคีธรรม) 9


ขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรม กิจกรรม บทบาทของครูที่ปรึกษา สอนประชาธิปไตยในด้านใด 4. คณะกรรมการสภา นักเรียนเตรียมเข้า ปฏิบัติงาน - เปิดประชุมสภานักเรียน (สมัยสามัญ) ครั้งที่ 1 - เริ่มดำเนินการขั้นต้น โดยการจัดตั้ง อนุกรรมการต่างๆตามความสามารถ และความเหมาะสม - การแนะนำกระบวนการใน การทำงานตามวงจรคุณภาพ PDCA และการทำงานร่วมกัน - แนวทางในการการปฏิบัติตน ตามบทบาทและหน้าที่ - ขั้นตอนการประชุม / ระเบียบวาระการประชุม - เคารพผู้อื่นทางกาย และวาจา (คารวธรรม) - รู้จักใช้ปัญญาในการ ตัดสินใจ (ปัญญาธรรม) - รู้รักสามัคคี สละเวลา เกิดความร่วมมืออันดี (สามัคคีธรรม) 5. คณะกรรมการสภา นักเรียนวางแผนในการ ปฏิบัติงาน - กรรมการสภานักเรียนร่วมกันวางแผน ในการปฏิบัติงาน - นำเสนองาน / กิจกรรม / โครงการ ต่อที่ประชุมและนำเสนอต่อ ผู้บังคับบัญชาเพื่อขอความเห็นชอบ - ดำเนินงานกิจกรรมตามแผนการ ดำเนินโครงการ - ครูให้คำแนะนำในการ วางแผนปฏิบัติงาน - ควบคุมดูแล / ติดตามผลการ ดำเนินงานของคณะกรรมการ สภานักเรียน พร้อมชี้แนะ แนวทางในการแก้ไข พัฒนา ปรับปรุงการทำงานให้มี คุณภาพมากยิ่งขึ้น - ระบบการบริหารงาน ในรูปของกรรมการ - รู้รักสามัคคี สละเวลา เกิดความร่วมมืออันดี (สามัคคีธรรม) 6. ควบคุมการปฏิบัติงาน ของคณะกรรมการสภา นักเรียน - ประชุมคณะกรรมการสภานักเรียน เป็นประจำทุกเดือน - จัดทำเอกสารรายงานผล - จัดประชุมใหญ่เพื่อแถลงผลการ ปฏิบัติงานในวาระโอกาสที่สำคัญ - การตรวจสอบการทำงานโดย คณะกรรมการนักเรียนที่เป็นตัวแทน จากแต่ละชั้นเรียนในวาระที่มีการร้อง ขอหรือในโอกาสที่เหมาะสม - การสะท้อนผลการปฏิบัติงาน - การยื่นหนังสือประท้วงเมื่อเห็นว่ามี ความจำเป็น - คณะกรรมการสภานักเรียนเข้าร่วม ประชุมตอบปัญหา / ชี้แจงในกรณีที่มี การทักท้วงหรือมีการร้องเรียน - ครูให้คำแนะนำในการ วางแผนปฏิบัติงาน รวมถึง การปฏิบัติตนตามบทบาท และหน้าที่ของสภานักเรียน - แนะนำวิธีการควบคุม ปฏิบัติงาน / ตรวจสอบการ บริหารงานของคณะกรรมการ สภานักเรียนต่อ คณะกรรมการนักเรียน - ระบบการบริหารงานในรูป ของกรรมการ - การควบคุมการปฏิบัติงาน ของคณะกรรมการนักเรียน - เคารพผู้อื่นทางกาย และวาจา (คารวธรรม) - รู้จักใช้ปัญญาในการ ตัดสินใจ (ปัญญาธรรม) 7. การประเมินผลงาน - การรายงานผลการดำเนินงานเสนอ ต่อคณะกรรมการทุกฝ่าย - คณะกรรมการทำการประเมินผลงาน ในการดำเนินงานทั้งหมดและจัดทำ รูปเล่มรายงาน - แนะนำวิธีการประเมินผลงาน และการจัดทำรายงาน - วิธีการประเมินผลงาน (ระบบ) 10


โครงสร้างการบริหารงานคณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียนนครไทย ผู้อำนวยการโรงเรียนนครไทย รองผู้อำนวยการ ฝ่ายบริหารงานกิจการนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนนครไทย สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนนครไทย ครูที่ปรึกษางานสภานักเรียน ครูหัวหน้าระดับชั้น ประธานสภานักเรียน ครูที่ปรึกษาประจำชั้นเรียน รองประธานสภานักเรียน คนที่ 1 ประธานสภานักเรียน คนที่ 2 คณะกรรมการนักเรียน / ผู้แทนนักเรียน คณะกรรมการที่ปรึกษาสภานักเรียน เลขานุการและคณะกรรมการสภานักเรียน ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายกีฬา ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายศิลปวัฒนธรรม ฝ่ายเหรัญญิก ฝ่ายสถานที่ ฝ่ายปฏิคม 11


คณะกรรมการสภานักเรียนประจำปีการศึกษา 2565 12


คำสั่งโรงเรียนนครไทย ที่ 167/ 2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการส่งเสริมคุณภาพนักเรียนด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ กิจกรรมการเสริมสร้างและพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำสำหรับคณะกรรมการสภานักเรียน ปีการศึกษา 2565 ………….………..........…………………………………….…………………… ด้วยงานส่งเสริมประชาธิปไตย/สภานักเรียนโรงเรียนนครไทย ฝ่ายบริหารงานกิจการนักเรียน ได้จัดกิจกรรมการเสริมสร้างและพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำสำหรับคณะกรรมการสภานักเรียน ปีการศึกษา 2565 ตามโครงการส่งเสริมคุณภาพนักเรียนด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์คณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียน นครไทย ถือเป็นกลุ่มงานที่มุ่งเสริมสร้างคุณลักษณะทางด้านประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นกับนักเรียนโดยมุ่ง เสริมสร้างทักษะด้านการทำงาน การวางแผนงานต่าง ๆ ตลอดจนกระบวนการคิดและการแก้ปัญหาอย่าง ถูกต้อง เสริมสร้างภาวะความเป็นผู้นำตลอดจนคุณลักษณะพื้นฐานของประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นกับนักเรียน ทั้งนี้งานส่งเสริมประชาธิปไตย/สภานักเรียน จึงเห็นในความสำคัญของการส่งเสริมการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงได้กำหนดจัดทำโครงการส่งเสริมคุณภาพนักเรียนด้าน คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ภายใต้กิจกรรมการเสริมสร้างและพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำสำหรับคณะกรรมการ สภานักเรียนขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีคุณภาพตรงตามวัตถุประสงค์จึงอาศัย อำนาจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบการบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 มาตรา 39 (1) และ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 มาตรา 27 “ผู้อำนวยการ สถานศึกษาเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา” จึงขอแต่งตั้งให้ครูและบุคลากรปฏิบัติ หน้าที่ ดังนี้ 1) คณะกรรมการอำนวยการ 1.1) จ่าสิบเอกประมวล วันมี ผู้อำนวยการโรงเรียนนครไทย ประธานกรรมการ 1.2) นางสาวเทียมใจ อำไพวรรณ รองผู้อำนวยการโรงเรียนนครไทย รองประธานกรรมการ 1.3) นายละไม สารี รองผู้อำนวยการโรงเรียนนครไทย กรรมการและเลขานุการ 1.4) นายนทีบดี เมฆาทรัพย์อนันต์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนนครไทย กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ มีหน้าที่ ให้คำปรึกษา แนะนำ สนับสนุน ส่งเสริม วินิจฉัย สั่งการในการดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ 13


2) ครูที่ปรึกษาคณะกรรมการสภานักเรียน ประกอบด้วย 2.1) นายนทีบดี เมฆาทรัพย์อนันต์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนนครไทย ประธานกรรมการ 2.2) นางจริญญา ปิยะมิตร ครูโรงเรียนนครไทย รองประธานกรรมการ 2.3) นางกาญจนา กัณฑษา ครูโรงเรียนนครไทย กรรมการ 2.4) นายราชสิทธิ์ คำสอนเจริญ ครูโรงเรียนนครไทย กรรมการ 2.5) นายสุธี เที่ยงคำ ครูโรงเรียนนครไทย กรรมการและเลขานุการ 2.6) นางสาวกนกมาศ คุ้มปากพิง ครูผู้ช่วยโรงเรียนนครไทย กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ มีหน้าที่ เป็นครูที่ปรึกษา ให้คำปรึกษาคณะกรรมการสภานักเรียน แนะนำการทำงานพร้อมทั้งร่วมแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานของคณะกรรมการสภานักเรียนให้เป็นไปตามรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 3) คณะกรรมการดำเนินงาน งานส่งเสริมประชาธิปไตย/สภานักเรียนโรงเรียนนครไทย ประกอบด้วย 3.1) นายละไม สารี รองผู้อำนวยการโรงเรียนนครไทย ประธานกรรมการ 3.2) นางสาวเทียมใจ อำไพวรรณ รองผู้อำนวยการโรงเรียนนครไทย รองประธานกรรมการ 3.3) นายนทีบดี เมฆาทรัพย์อนันต์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนนครไทย รองประธานกรรมการ 3.4) นายสมทราย มาตชัยเคน ครูโรงเรียนนครไทย กรรมการ 3.5) นายภูเมศวร์ หมั่นกิจ ครูโรงเรียนนครไทย กรรมการ 3.6) นางอุราลักษณ์ แสงคำ ครูโรงเรียนนครไทย กรรมการ 3.7) นางญาณิดา แก้ววงหิว ครูโรงเรียนนครไทย กรรมการ 3.8) นางแก้วกัลยาณี ใจสมัคร ครูโรงเรียนนครไทย กรรมการ 3.9) นางสาวกรชญาดา ทองคำพงษ์ ครูโรงเรียนนครไทย กรรมการ 3.10) นายสมพงษ์ น้อยทุ่ง ครูโรงเรียนนครไทย กรรมการ 3.11) นายสุธี เที่ยงคำ ครูโรงเรียนนครไทย กรรมการ 3.12) นายธงชัย คำป้อง ครูโรงเรียนนครไทย กรรมการ 3.13) นายธนพัฒน์ ศรีคำสุข ครูโรงเรียนนครไทย กรรมการ 3.14) นายอริยะ เอมสมบุญ ครูโรงเรียนนครไทย กรรมการ 3.15) นางสุภาพรรณ เอมสมบุญ ครูโรงเรียนนครไทย กรรมการ 3.16) นางสาวผกามาศ สุขรัตนปรีชา ครูอัตราจ้างโรงเรียนนครไทย กรรมการ 3.17) นางสาวนิสิต สีใส ครูอัตราจ้างโรงเรียนนครไทย กรรมการ 3.18) นางจริญญา ปิยะมิตร ครูโรงเรียนนครไทย กรรมการและเลขานุการ 3.19) นายราชสิทธิ์ คำสอนเจริญ ครูโรงเรียนนครไทย กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 3.20) นางสาวกนกมาศ คุ้มปากพิง ครูผู้ช่วยโรงเรียนนครไทย กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ มีหน้าที่ ดำเนินงานงานส่งเสริมประชาธิปไตย/สภานักเรียนโรงเรียนนครไทย ตามระเบียบโรงเรียนนครไทยว่า ด้วยคณะกรรมการสภานักเรียน พุทธศักราช 2563 และเป็นไปตามรูปแบบการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 14


4. คณะกรรมการสภานักเรียน ประจำการศึกษา 2565 ประกอบด้วย 4.1) นางสาวจิราภา สำรองพันธ์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.4 ประธานสภานักเรียน 4.2) นางสาวณัฐริญานันท์ ปิยะมิตร นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.4 รองประธานสภานักเรียน 4.3) นางสาววิภาวดี ไชยคำ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.2 รองประธานสภานักเรียน 4.4) นายธนากร วัฒนธรรม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.4 กรรมการฝ่ายเหรัญญิก 4.5) นางสาวชญาภา สระทองน้อย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.2 กรรมการฝ่ายเหรัญญิก 4.6) นางสาวกมลพรรณ กันคำ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.4 กรรมการฝ่ายเหรัญญิก 4.7) นายธรกร ศรีพงศ์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.4 กรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ 4.8) นายสิทธินนท์ ฉิมมากรม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.2 กรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ 4.9) นางสาวปราริชาติ ป้องผัด นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.1 กรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ 4.10) นางสาววิยะดา เชื้อบุญมี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.4 กรรมการฝ่ายปฏิคม 4.11) นางสาวนัฐอนันตา ฮวดพงษ์วิทย์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.2 กรรมการฝ่ายปฏิคม 4.12) นางสาวศศิประภา ตุ้ยสอน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.6 กรรมการฝ่ายปฏิคม 4.13) นางสาวขวัญจิรา สุขสีทา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.4 กรรมการฝ่ายวิชาการ 4.14) นางสาววรฤทัย ภูมิดี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.2 กรรมการฝ่ายวิชาการ 4.15) นางสาวพิชญาภา กันยาเฮง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.5 กรรมการฝ่ายวิชาการ 4.16) นายฐิติ แสงสีห์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.4 กรรมการฝ่ายกีฬา 4.17) นางสาวเกสรา ตันตุลา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.2 กรรมการฝ่ายกีฬา 4.18) นางสาวณัฐกฤตา เสนานุช นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.5 กรรมการฝ่ายกีฬา 4.19) นายธนาวุฒิ จันทร์ปาน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.4 กรรมการฝ่ายศิลปวัฒนธรรม 4.20) นางสาวศุทธินี สอนเสียม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.2 กรรมการฝ่ายศิลปวัฒนธรรม 4.21) นางสาวนริศรา สนิทนวล นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.5 กรรมการฝ่ายศิลปวัฒนธรรม 4.22) นายธนกฤต ศรีพงศ์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.4 กรรมการฝ่ายกิจกรรม 4.23) นางสาวกานต์รวี ศรีคราม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.2 กรรมการฝ่ายกิจกรรม 4.24) นางสาวจิตติมา สว่างวงษ์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.6 กรรมการฝ่ายกิจกรรม 4.25) นายอภิชิต ด้วงทา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.4 กรรมการฝ่ายสารวัตรนักเรียน 4.26) นายธนภัทร ชมดี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.7 กรรมการฝ่ายสารวัตรนักเรียน 4.27) นางสาวสุรัตน์ดา สาลี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.6 กรรมการฝ่ายสารวัตรนักเรียน 4.28) นางสาวพริมรตา หล่ออินทร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.4 กรรมการและเลขานุการ 4.29) นางสาวชัชฎาภรณ์ โพธิ์ปลัด นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.2 กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 4.30) นายเตชวัน ชูช่วย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.5 กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ มีหน้าที่ ปฏิบัติตามภาระหน้าที่หลักตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดและภาระงานที่ได้รับ มอบหมายจากโรงเรียน คือ 15


1. ดูแลทุกข์สุขของนักเรียน และร่วมแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียน 2. ประสานงานกับบุคลากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านต่าง ๆ เพื่อประโยชน์และความก้าวหน้า ที่นักเรียนควรได้รับ 3. รับผิดชอบงาน และกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากโรงเรียน 4. คิดริเริ่มโครงการที่เป็นประโยชน์ สามารถปฏิบัติได้จริง และส่งผลต่อการพัฒนาโรงเรียน 5. ดูแล สอดส่อง และบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในโรงเรียน ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า 6. ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ ทันต่อเหตุการณ์ และตรงไปตรงมา 7. เสนอความคิดเห็นต่อโรงเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนและเพื่อพัฒนาโรงเรียนในทุกด้าน 8. วางแผนดำเนินงานกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับครูที่ปรึกษา 9. ปฏิบัติงานโดยไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบหรือข้อบังคับอื่นใดของทางราชการพร้อมทั้งรักษาไว้ซึ่งศีลธรรม วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ทั้งนี้ให้ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งปฏิบัติหน้าที่ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ เพื่อให้เกิดผลดี และเป็นไปด้วย ความเรียบร้อย ตามนโยบายของโรงเรียน อันจะนำชื่อเสียงมาสู่โรงเรียนในภาพรวมต่อไป สั่ง ณ วันที่ 17 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2565 จ่าสิบเอก (ประมวล วันมี) ผู้อำนวยการโรงเรียนนครไทย 16


ระเบียบโรงเรียนนครไทย ว่าด้วย สภานักเรียน คณะกรรมการนักเรียนโรงเรียนนครไทย พุทธศักราช 2563 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 และให้นักเรียนมีความรับผิดชอบ มีประสบการณ์ในการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะภายใต้ขอบเขตของสิทธิ และหน้าที่ของตน ส่งเสริมความสามัคคี ความมีวินัย รู้เหตุ รู้ผล อนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามและ เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการบริหารงานของโรงเรียนตามครรลองของวิถีประชาธิปไตย โรงเรียนนครไทย จึงวางระเบียบโรงเรียนนครไทยว่าด้วยสภานักเรียน คณะกรรมการนักเรียน พุทธศักราช 2563 ดังนี้ หมวดที่ 1 บททั่วไป ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบโรงเรียนนครไทยว่าด้วยสภานักเรียน คณะกรรมการนักเรียน พุทธศักราช 2563” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับนับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกระเบียบโรงเรียนนครไทยว่าด้วยคณะกรรมการสภานักเรียน คณะกรรมการ นักเรียนทุกฉบับตามที่มีมาแต่เดิม นับแต่วันที่ประกาศใช้ระเบียบนี้ ข้อ 4 ในระเบียบนี้ “โรงเรียน” หมายความว่า โรงเรียนนครไทยและหมายความรวมถึงผู้อำนวยการโรงเรียน นครไทยด้วย “ผู้อำนวยการ” หมายความว่า ผู้อำนวยการโรงเรียนนครไทยและหมายความรวมถึงที่ ผู้อำนวยการมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทน “ครู” หมายความว่า ข้าราชการครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนนครไทย “บุคลากร” หมายความว่า เจ้าหน้าที่หรือบุคลากรอื่นที่มิใช่ข้าราชการครู แต่ปฏิบัติหน้าที่ใน โรงเรียนนครไทย “คณะกรรมการครูที่ปรึกษา” หมายความว่า คณะกรรมการครูที่ปรึกษาสภานักเรียน “คณะกรรมการสภานักเรียน” หมายความว่า สภานักเรียนโรงเรียนนครไทย “คณะกรรมการนักเรียน” หมายความว่า คณะกรรมการนักเรียนโรงเรียนนครไทย “คณะกรรมการที่ปรึกษาสภานักเรียน” หมายความว่า คณะกรรมการที่ปรึกษาสภานักเรียน โรงเรียนนครไทย 17


“ประธานสภานักเรียน” หมายความว่า ประธานสภานักเรียนโรงเรียนนครไทย “ประธานคณะกรรมการนักเรียน” หมายความว่า ประธานคณะกรรมการนักเรียนโรงเรียน นครไทย “นักเรียน” หมายความว่า นักเรียนโรงเรียนนครไทย “การเลือกตั้ง” หมายความว่า การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนนักเรียน สมาชิกที่ปรึกษาสภา นักเรียนแล้วแต่กรณี “กลุ่มหรือพรรค” หมายความว่า กลุ่มหรือพรรคที่นักเรียนร่วมกันจัดตั้งขึ้น โดยจดแจ้งและ จดทะเบียนจัดตั้งตามระเบียบนี้ ข้อ 5 ให้คณะกรรมการคณะหนึ่ง ซึ่งผู้อำนวยการโรงเรียนนครไทยแต่งตั้งขึ้นมาจากครูและ บุคลากรโรงเรียนนครไทย เรียกว่า คณะกรรมการครูที่ปรึกษาสภานักเรียนและคณะกรรมการนักเรียนโรงเรียน นครไทย ประกอบด้วย รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงานกิจการนักเรียนโรงเรียนนครไทย เป็นประธานที่ปรึกษา ของคณะครูที่ปรึกษาสภานักเรียน มีหัวหน้าที่ให้คำปรึกษาสภานักเรียน จำนวน 1 คน กรรมการและครูอื่นอีก จำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 25คน เป็นกรรมการที่ปรึกษาสภานักเรียน เพื่อดูแล ให้คำปรึกษาและ แนะนำต่อคณะกรรมการสภานักเรียนหรือคณะกรรมการนักเรียนในปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินกิจการ ของคณะกรรมการสภานักเรียนและคณะกรรมการนักเรียนและมีอำนาจหน้าที่อื่น ดังต่อไปนี้ (1) ดูแลให้การดำเนินงานของคณะกรรมการสภานักเรียนและคณะกรรมการนักเรียนเป็นไป ด้วยความเรียบร้อย ภายใต้ข้อบังคับกฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับของโรงเรียน (2) พิจารณาและเสนอความเห็นต่อผู้อำนวยการเพื่อวินิจฉัยสั่งการเกี่ยวกับโครงการหรือการ จัดทำกิจกรรมตามที่คณะกรรมการนักเรียนได้ยื่นคำขอดำเนินการ (3) พิจารณาและเสนอความคิดเห็นต่อผู้อำนวยการเพื่อวินิจฉัยสั่งการร่างข้อเสนอนโยบาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับหรือข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับกิจกรรมหรือกิจการทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนของ คณะกรรมการสภานักเรียนหรือคณะกรรมการนักเรียน (4) สนับสนุน ชี้แนะแนวทาง ให้การศึกษาเกี่ยวกับการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (5) ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการการเลือกตั้ง (6) กำหนดวันและเรียกประชุมสภานักเรียนครั้งแรก โดยการอนุมัติของผู้อำนวยการ (7) จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีรวมถึงข้อสังเกตและข้อเสนอของผู้อำนวยการ ข้อ 6 คณะกรรมการที่ปรึกษาและกรรมการครูที่ปรึกษามีวาระดำรงตำแหน่งหนึ่งปีการศึกษาเว้น แต่ผู้อำนวยการเห็นสมควรเป็นอย่างยิ่ง ไม่มีคำสั่งเปลี่ยนแปลงให้อยู่ในวาระตลอดไปจนกว่าจะมีคำสั่งยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น กรรมการครูที่ปรึกษาซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่า กรรมการการเลือกตั้งซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่จะเข้ารับหน้าที่ 18


หมวด 2 คณะกรรมการสภานักเรียน ส่วนที่ 1 บททั่วไป ข้อ 7 คณะกรรมการสภานักเรียน ประกอบด้วย สภาผู้แทนนักเรียนและสภาที่ปรึกษา คณะกรรมการสภานักเรียน คณะกรรมการสภานักเรียนจะประชุมร่วมกันหรือแยกกันให้เป็นไปตามกำหนดไว้ ในระเบียบนี้ ข้อ 8 ประธานสภาผู้แทนนักเรียนเป็นประธานสภานักเรียน ในกรณีที่ไม่มีประธานสภาผู้แทนนักเรียนหรือมีแต่ไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ประธานสภา นักเรียนได้ให้รองประธานสภานักเรียนคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานสภานักเรียนแทน ประธานสภานักเรียนและผู้ที่ทำหน้าที่แทนประธานสภานักเรียนต้องวางตนเป็นกลางในการปฏิบัติ หน้าที่ ข้อ 9 ประธานสภาผู้แทนนักเรียนจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนนักเรียนและสมาชิกสภาที่ปรึกษา คณะกรรมการสภานักเรียนในขณะเดียวกันมิได้ ข้อ 10 ร่างข้อเสนอนโยบาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับหรือข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับกิจกรรม หรือกิจการ ทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสภานักเรียนแล้ว ให้ประธานสภา นักเรียนนำเสนอต่อคณะกรรมการครูที่ปรึกษาภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่ได้รับร่างข้อเสนอนโยบาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับหรือข้อควรปฏิบัติดังกล่าว จากคณะกรรมการสภานักเรียน เพื่อนำเสนอต่อผู้อำนวยการได้ วินิจฉัยและสั่งการต่อไป ส่วนที่ 2 สภาผู้แทนนักเรียน ข้อ 11 สภาผู้แทนนักเรียนประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมากจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ จำนวนไม่ เกินสามสิบคน ข้อ 12 สภาผู้แทนนักเรียน มีอำนาจดังนี้ (1) พิจารณาและมีข้อมติเห็นชอบสมาชิกสภาผู้แทนนักเรียนซึ่งสมควรดำรงตำแหน่ง ประธานสภานักเรียน (2) พิจารณาและมีมติในร่างข้อเสนอนโยบาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับหรือข้อควรปฏิบัติ เกี่ยวกับกิจกรรมหรือกิจการทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน (3) ควบคุมการบริหารงานของคณะกรรมการสภานักเรียน ข้อ 13 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนนักเรียนแบบบัญชีรายชื่อ ให้มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออก เสียงลงคะแนนเลือกบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่กลุ่มหรือพรรคจัดตั้งขึ้น โดยให้เลือกบัญชีรายชื่อใดบัญชี รายชื่อหนึ่งเพียงบัญชีเดียวและให้ถือโรงเรียนเป็นเขตเลือกตั้งบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งตามวรรคหนึ่งให้ 19


กลุ่มหรือพรรคจัดทำขึ้น จำนวนกลุ่มหรือพรรคละหนึ่งบัญชีไม่เกินบัญชีละสิบคนและให้ยื่นต่อคณะกรรมการ เลือกตั้งก่อนวันเปิดรับสมัครรับเลือกตั้ง รายชื่อของนักเรียนผู้สมัครรับเลือกในบัญชีรายชื่อตามพรรคหนึ่งจะต้อง (1) ไม่ซ้ำกับรายชื่อในบัญชีที่กลุ่มหรือพรรคอื่นจัดทำขึ้น (2) จัดทำรายชื่อตามลำดับหมายเลข การเลือกตั้งให้ใช้วิธีออกเสียงคะแนนโดยตรงและลับ ข้อ 14 อายุของสภาผู้แทนนักเรียนมีกำหนดหนึ่งปีการศึกษา ข้อ 15 สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนนักเรียน เริ่มตั้งแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็น ทางการจากผู้อำนวยการ โดยผ่านการเห็นชอบและนำเสนอโดยคณะครูที่ปรึกษาสภานักเรียน ข้อ 16 สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนนักเรียนสิ้นสุดลงเมื่อ (1) ถึงคราวออกตามอายุของสภาผู้แทนนักเรียน (2) ตาย (3) ลาออก (4) ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานนักเรียน (5) ลาออกจากกลุ่มหรือพรรคที่ตนเป็นสมาชิกหรือกลุ่มหรือพรรคที่ตนเป็นสมาชิกมีมติด้วย คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของที่ประชุมร่วมของคณะกรรมการบริหารและสมาชิกสภาผู้แทนนักเรียนที่ สังกัดกลุ่มหรือพรรคนั้นให้พ้นจากการเป็นสมาชิก โดยให้ถือว่าสิ้นสุดสมาชิกภาพนับแต่วันที่ลาออกหรือกลุ่ม หรือพรรคมีมติ (6) พ้นสภาพการเป็นนักเรียนโรงเรียนนครไทย (7) ขาดประชุมเกินกว่าสามครั้งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร (8) กระทำความผิดต่อกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับของโรงเรียนและถูกลงโทษให้ทำ ทัณฑ์บนหรือพักการเรียน ข้อ 17 เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนนักเรียนว่างลง เพราะเหตุอื่นนอกจากคราวออกตามอายุ ของสภาผู้แทนนักเรียนให้ดำเนินการดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่ตำแหน่งที่ว่างเป็นตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนนักเรียนในบัญชีรายชื่อกลุ่ม หรือ พรรคใดจัดทำขึ้นให้ประธานสภาผู้แทนนักเรียน รายงานต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อพิจารณาและ ประกาศให้นักเรียนมีรายชื่อในบัญชีรายชื่อของกลุ่มหรือพรรคนั้น ในลำดับถัดไปได้เลื่อนขึ้นมาเป็น สมาชิกสภาผู้แทนนักเรียน ข้อ 18 นักเรียนผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องเป็นนักเรียนโรงเรียนนครไทยและไม่อยู่ระหว่างถูกลงโทษ พัก การเรียน ข้อ 19 นักเรียนผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งต้องไม่เป็นผู้ที่อยู่ระหว่างถูกลงโทษให้ทำทัณฑ์บนหรือ พักการเรียน 20


ส่วนที่ 3 คณะกรรมการที่ปรึกษาสภานักเรียน ข้อ 20 คณะกรรมการที่ปรึกษาสภานักเรียน ประกอบด้วย สมาชิกซึ่งเป็นนักเรียนในโรงเรียน นครไทยเลือกตั้งจำนวนไม่เกิน 10 คน และ/หรือคณะกรรมการสภานักเรียนชุดเดิมที่หมดวาระลง โดยให้ คณะกรรมการครูที่ปรึกษาพิจารณาและเสนอต่อผู้อำนวยการให้แต่งตั้งเป็นคณะกรรมการสภาที่ปรึกษาสภา นักเรียน ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (1) พิจารณาร่างข้อเสนอนโยบาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับหรือข้อควรปฏิบัติ เกี่ยวกับกิจกรรม หรือกิจการทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนที่สภาผู้แทนนักเรียนพิจารณาและลงมติเห็นชอบแล้ว (2) ควบคุมการบริหารงานของคณะกรรมการสภานักเรียน ข้อ 21 สมาชิกสภาที่ปรึกษาคณะกรรมการสภานักเรียน จะเป็นคณะกรรมการนักเรียนหรือเป็น สมาชิกหรือดำรงตำแหน่งในกลุ่มหรือพรรคไม่ได้ ข้อ 22 อายุของสมาชิกที่ปรึกษามีกำหนดหนึ่งปีการศึกษา ข้อ 23 สมาชิกภาพของสมาชิกสภาที่ปรึกษาเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ได้รับการเลือกตั้งและหรือแต่งตั้ง ข้อ 24 สมาชิกภาพของสมาชิกสภาที่ปรึกษาสิ้นสุดลงเมื่อ (1) ถึงคราวออกตามอายุของสภาผู้แทนนักเรียน (2) ตาย (3) ลาออก (4) พ้นสภาพการเป็นนักเรียนโรงเรียนนครไทย (5) ขาดประชุมเกินกว่าสามครั้งโดยไม่มีเหตุผลอันควร (6) กระทำความผิดต่อกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับของโรงเรียนและถูกลงโทษให้ทำ ทัณฑ์บนหรือพักการเรียน ข้อ 25 เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภาที่ปรึกษาคณะกรรมการสภานักเรียนว่างลง เพราะเหตุอื่นนอกจาก ถึงคราวออกตามวาระ ให้ประธานสภาที่ปรึกษาคณะกรรมการสภานักเรียน แจ้งต่อประธานสภานักเรียน โดยเร็วและให้ประธานสภานักเรียน รายงานต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อขออนุมัติผู้อำนวยการให้จัดการ เลือกตั้ง และ/หรือแต่งตั้งสมาชิกสภาที่ปรึกษาขึ้นแทน ทั้งนี้เว้นแต่ผู้อำนวยการโรงเรียนจะพิจารณาให้เป็น อย่างอื่น ส่วนที่ 4 บทที่ใช้แก่สภา ข้อ 26 ก่อนรับหน้าที่ให้คณะกรรมการครูที่ปรึกษาดำเนินการให้สมาชิกคณะกรรมการสภา นักเรียนและสมาชิกที่ปรึกษาคณะกรรมการสภานักเรียน ปฏิญาณตนต่อหน้าอนุสาวรีย์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ในโรงเรียนนครไทย ดังต่อไปนี้ 21


(1) ข้าพเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอปฏิญาณตนว่า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายด้วย ความมานะอดทน พากเพียรพยายามอย่างสุดความสามารถ ด้วยจะปฏิบัติงานความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อความ เจริญก้าวหน้าของโรงเรียนนครไทยและประเทศชาติ (2) ข้าพเจ้าจะปฏิบัติทุกอย่าง เพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยในด้านคารวะธรรม ด้านสามัคคี ธรรมและด้านปัญญาธรรม ให้เกิดขึ้นในโรงเรียนนครไทยและรักษาไว้ซึ่งระเบียบวินัยอันดีงามของโรงเรียน ข้อ 27 ให้ประธานสภานักเรียนและประธานสภาที่ปรึกษาคณะกรรมการสภานักเรียน มีอำนาจ หน้าที่ในการดำเนินกิจการของสภานั้น ๆ โดยให้เป็นไปตามข้อบังคับของระเบียบนี้ รองประธานนักเรียนมี อำนาจหน้าที่ตามที่ประธานมอบหมายและปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภานักเรียนเมื่อประธานไม่อยู่หรือไม่ สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ประธานสภาผู้แทนนักเรียน ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการสภานักเรียนและผู้ที่ทำ หน้าที่แทนต้องวางตนเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่ ข้อ 28 เมื่อประธานสภานักเรียน รองประธานสภานักเรียนหรือประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการ สภานักเรียน รองประธานที่ปรึกษาสภานักเรียนไม่อยู่ในที่ประชุม ให้สมาชิกแห่งสภานั้น ๆ ทำการเลือกตั้งหรือ คัดเลือกกันเองเพื่อหาบุคคลทำหน้าที่เป็นประธานในคราวประชุมนั้นเป็นการชั่วคราว ข้อ 29 การประชุมคณะกรรมการสภานักเรียนและการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาสภา นักเรียนจะต้องมีสมาชิกเข้าร่วมการประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดหรือเท่าที่มีอยู่ของแต่ ละสภาจึงจะเป็นองค์ประชุม การลงมติวินิจฉัยให้ถือเอาเสียงข้างมาก สมาชิกคนหนึ่งมีสิทธิออกเสียงหนึ่งเสียง ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียง เพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด การออกเสียงลงคะแนนให้กระทำโดยเปิดเผย ข้อ 30 ภายในเจ็ดวันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนนักเรียนและไม่เกินสิบห้าวัน ให้มีการ ประชุมคณะกรรมการสภานักเรียน เพื่อให้สมาชิกมาประชุมเป็นครั้งแรก และให้มีการประชุมสามัญทั่วไปเดือน ละหนึ่งครั้ง การประชุมคราวอื่นถือเป็นการประชุมวิสามัญ ซึ่งประธานสภานักเรียนโดยความเห็นชอบของ คณะกรรมการครูที่ปรึกษาจะเรียกให้มีการประชุมได้ก็ต่อเมื่อมีกิจกรรมสำคัญที่จำเป็นต้องประชุมหรือเมื่อ สมาชิกไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภาแสดงรายชื่อหรือร้องขอ ข้อ 31 ให้ประธานสภานักเรียน ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการสภานักเรียน จัดให้มีการรายงาน การประชุมทุกคราวและนำเสนอรายงานการประชุมนั้นต่อคณะกรรมการครูที่ปรึกษา ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ มีการประชุม ข้อ 32 ร่างข้อเสนอนโยบาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับหรือข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับกิจกรรมหรือกิจการ ทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน จะเสนอได้แต่โดยสมาชิกสภาผู้แทนนักเรียนหรือคณะกรรมการนักเรียนและ ต้องเสนอต่อสภาผู้แทนนักเรียนก่อน ข้อ 33 เมื่อสภาผู้แทนนักเรียนได้พิจารณาร่างข้อเสนอนโยบาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับหรือข้อควร ปฏิบัติเกี่ยวกับกิจกรรมหรือกิจการทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนที่เสนอตาม ข้อ 32 และมีการลงมติเห็นชอบ แล้วให้สภาผู้แทนนักเรียนร่างข้อเสนอนโยบาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับหรือข้อควรปฏิบัติ เกี่ยวกับกิจกรรมหรือ กิจการทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนนั้นต่อคณะกรรมการที่ปรึกษาสภานักเรียน โดยสมาชิกสภาที่ปรึกษา 22


คณะกรรมการสภานักเรียนจะต้องทำการพิจารณาร่างข้อเสนอ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับหรือข้อควรปฏิบัติ เกี่ยวกับกิจกรรมหรือกิจการทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนที่เสนอมานั้นให้เสร็จภายในสิบห้าวัน ข้อ 34 สมาชิกสภาผู้แทนนักเรียนและสมาชิกสภาที่ปรึกษาคณะกรรมการสภานักเรียนมีอำนาจ ควบคุมการบริหารงานของคณะกรรมการนักเรียนโดย (1) ตั้งกระทู้ถามต่อคณะกรรมการนักเรียนในเรื่องใดเกี่ยวกับงานในหน้าที่ได้ (2) การอภิปรายทั่วไป ข้อ 35 สมาชิกสภาผู้แทนนักเรียนหรือสมาชิกสภาที่ปรึกษาคณะกรรมการสภานักเรียน จำนวนไม่ น้อยกว่าสองในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปใน สภาผู้แทนนักเรียนหรือสภาที่ปรึกษาคณะกรรมการสภานักเรียน เพื่อให้คณะกรรมการนักเรียนหรือ คณะกรรมการสภานักเรียนแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารงานโดยไม่มีการลงมติ ข้อ 36 ให้สภาผู้แทนนักเรียนและสภาที่ปรึกษาคณะกรรมการสภานักเรียน โดยความเห็นชอบของ คณะกรรมการครูที่ปรึกษา โดยอนุมัติของผู้อำนวยการ มีอำนาจตราข้อบังคับ การประชุมที่เกี่ยวกับการเลือก และปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภานักเรียน รองประธานสภานักเรียน วิธีการประชุม การเสนอและพิจารณา ร่างข้อเสนอนโยบาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับหรือข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับกิจกรรมหรือกิจการทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง กับโรงเรียน การเสนอญัตติ การปรึกษา การอภิปราย การลงมติ การบันทึก การตั้งกระทู้ถามการเปิดอภิปราย ทั่วไป การรักษาระเบียบและความเรียบร้อย ประมวลจริยธรรมของสมาชิกและกรรมาธิการ และกิจการอื่นเพื่อ ดำเนินการตามระเบียบนี้ ส่วนที่ 5 การเลือกตั้ง ข้อ 37 ให้นักเรียนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกคนต้องมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการการ เลือกตั้งจัดทำบัญชีรายชื่อของนักเรียนผู้มีสิทธิเลือกตั้งประกาศไว้โดยเปิดเผยก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ข้อ 38 นักเรียนผู้สมัครรับเลือกตั้งจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่ระเบียบ นี้กำหนด ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนนักเรียนหรือคณะกรรมการสภานักเรียน ต้องสมัครในนามกลุ่ม หรือพรรคใดเพียงกลุ่มหรือพรรคเดียว ข้อ 39 การสมัครรับเลือกตั้ง ให้ผู้สมัครยื่นใบสมัครต่อคณะกรรมการเลือกตั้งภายในกำหนด ระยะเวลาการรับสมัคร ข้อ 40 กลุ่มหรือพรรคใดจะเสนอบัญชีรายชื่อ เพื่อสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อต้องจัดทำ บัญชีรายชื่อโดยหลักเกณฑ์ ดังนี้ (1) ต้องได้รับความยินยอมเป็นหลักฐานโดยชัดแจ้งจากนักเรียนผู้มีรายชื่อในบัญชีรายชื่อ (2) ผู้มีรายชื่อในบัญชีรายชื่อต้องเป็นสมาชิกกลุ่มหรือพรรคเพียงกลุ่มหรือพรรคเดียว (3) บัญชีรายชื่อที่จัดทำนั้นให้เป็นไปตามรูปแบบที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด โดยให้ จัดเรียงลำดับรายชื่อผู้สมัครตามลำดับหมายเลข จำนวนไม่เกินยี่สิบสี่คน 23


ข้อ 41 ในการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาที่ปรึกษาคณะกรรมการสภานักเรียน ให้ผู้สมัครรับ เลือกตั้งได้รับหมายเลขที่จะใช้ในการลงคะแนนเลือกตั้งเรียงลำดับก่อนหลังในการมายื่นสมัคร ถ้ายื่นพร้อมกัน และไม่อาจตกลงกันได้ให้ใช้วิธีจับฉลาก (ในกรณีที่มีการเลือกตั้ง) ข้อ 42 ห้ามมิให้ผู้สมัครสมาชิกสภาที่ปรึกษาคณะกรรมการสภานักเรียนหรือบุคคลอื่นใด ดำเนินการหาเสียงเลือกตั้ง เว้นแต่การแนะนำตัวผู้สมัครตามที่คณะกรรมการเลือกตั้งเป็นผู้ดำเนินการ ส่วนที่ 6 การลงคะแนนเลือกตั้ง ข้อ 43 หีบบัตรเลือกตั้งต้องลักษณะมองเห็นภายในได้ง่าย มีวิธีปิดผนึกเพื่อป้องกันการเปิดหีบโดย ไม่ชอบ บัตรเลือกตั้งต้องมีหมายเลขผู้สมัครครบถ้วนตามจำนวนผู้สมัครในเขตหรือมีหมายเลขและชื่อของ กลุ่มหรือพรรคครบทุกกลุ่มหรือพรรคที่ลงสมัครและมีช่องทำเครื่องหมายว่าไม่ประสงค์ลงคะแนนด้วย บัตรเลือกตั้งสำหรับการลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนนักเรียน แบบบัญชีรายชื่อและสำหรับ สมาชิกสภาที่ปรึกษาคณะกรรมการสภานักเรียน ต้องมีลักษณะแตกต่างที่สามารถจำแนกออกจากกันได้อย่าง ชัดเจน ข้อ 44 ก่อนเริ่มเปิดให้มีการลงคะแนนให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งนับและปิดประกาศ แสดงจำนวนบัตรเลือกตั้งทั้งหมดของหน่วยเลือกตั้งที่มีอยู่ไว้ในที่เปิดเผย ข้อ 45 เมื่อถึงเวลาเปิดให้มีการลงคะแนน ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งทำการเปิดหีบ บัตรเลือกตั้งแสดงให้ผู้อยู่ ณ หน่วยเลือกตั้งนั้นเห็นว่าเป็นหีบเปล่าและปิดตามวิธีการที่กำหนด แล้วบันทึกการ ดังกล่าวให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งอยู่ในที่เลือกตั้งขณะนั้น อย่างน้อยสองคนลงชื่อรับรองด้วย ข้อ 46 ในระหว่างเวลาเปิดการลงคะแนน ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งแสดงตนและหลักฐานบัตรประจำตัว นักเรียนหรือหลักฐานอื่นที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดต่อกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง เมื่อตรวจสอบ ถูกต้องแล้วให้ขานชื่อผู้นั้นดัง ๆ ถ้าไม่มีผู้ใดทักท้วง ให้หมายเหตุโดยบันทึกเกี่ยวกับหลักฐานและให้ผู้มีสิทธิ เลือกตั้งลงลายมือชื่อหรือลายพิมพ์นิ้วมือในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งประจำหน่วยนั้น แล้วให้กรรมการ ประจำหน่วยนั้น แล้วให้กรรมการประจำหน่วยมอบบัตรเลือกตั้งให้มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งดังกล่าวนั้นเพื่อไป ลงคะแนน หากมีการทักท้วงให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งนั้นทำการสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาดและ รายงานผลการสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาดดังกล่าวต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งทราบโดยเร็ว ข้อ 47 การลงคะแนนเลือกตั้งให้ทำเครื่องหมายกากบาทลงไปในช่องของผู้สมัครหรือบัญชีรายชื่อ ที่ต้องการหรือในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน ข้อ 48 เมื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งตามบัตรเลือกตั้งเรียบร้อยแล้ว ให้นำบัตร เลือกตั้งดังกล่าวส่งมอบต่อกรรมการซึ่งประจำอยู่ ณ หีบบัตรเลือกตั้งและให้กรรมการดังกล่าวนำบัตรเลือกตั้งที่ ได้รับชูแสดงขึ้นสูงเหนือศีรษะ เพื่อให้ผู้อยู่ในบริเวณดังกล่าวเห็นได้โดยชัดเจนก่อนนำใส่ลงในหีบบัตรเลือกตั้ง ต่อไปห้ามมิให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งนำบัตรเลือกตั้งออกไปจากที่เลือกตั้ง 24


ข้อ 49 เมื่อถึงกำหนดเวลาปิดการลงคะแนนเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ประกาศปิดการลงคะแนนและงดจ่ายบัตรเลือกตั้ง แล้วให้ทำเครื่องหมายในบัตรเลือกตั้งที่เหลืออยู่ให้เป็นบัตร ที่ใช้ลงคะแนนไม่ได้ตามวิธีการที่กำหนด และเมื่อผู้แสดงตนและรับบัตรเลือกตั้งภายในกำหนดเวลาการ ลงคะแนนเลือกตั้งที่เหลืออยู่ในที่เลือกตั้งได้ทำการลงคะแนนเลือกตั้งเสร็จสิ้นแล้ว ให้ทำการปิดช่องใส่บัตร เลือกตั้งของหีบเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจัดทำรายการเกี่ยวกับจำนวนบัตร ผู้แสดงตนและรับบัตร เลือกตั้งและจำนวนบัตรเลือกตั้งที่เหลือ แล้วให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในขณะนั้น ทุกคนลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานและประกาศให้ผู้อยู่บริเวณดังกล่าวทราบโดยเปิดเผย ข้อ 50 ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งนำหีบบัตรเลือกตั้งและหลักฐานที่เกี่ยวข้องไปยัง สถานที่นับคะแนนโดยเร็ว หีบบัตรเลือกตั้งที่จะส่งจากหน่วยเลือกตั้งต้องมีการจัดทำเครื่องหมาย เพื่อป้องกันการเปิดหีบบัตร หรือการเปลี่ยนหีบบัตร โดยลงลายมือชื่อของกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งทุกคนในลักษณะที่สามารถเห็นได้ ง่ายหากมีการเปลี่ยนแปลงหรือทำลาย ส่วนที่ 7 การนับคะแนน ข้อ 51 การนับคะแนนในเขตเลือกตั้งใด ให้เริ่มนับเมื่อมีการส่งหีบบัตรเลือกตั้งจากหน่วยเลือกตั้ง ทุกหน่วยในเขตเลือกตั้งนั้นมายังสถานที่นับคะแนนครบถ้วนแล้ว โดยได้มีการตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อย แล้ว เมื่อตรวจสอบความถูกต้องของหีบบัตรเลือกตั้งเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการเปิดหีบบัตรและนำบัตร เลือกตั้งในหีบบัตรเลือกตั้งจากหน่วยเลือกตั้งทั้งหมดในเขตเลือกตั้งเดียวกันมารวมและคละเข้าด้วยกัน แล้วจึง เริ่มทำการนับคะแนน การนับคะแนนต้องกระทำโดยเปิดเผยให้เสร็จในรวดเดียวและเป็นไปตามวิธีการที่คณะกรรมการ การเลือกตั้งกำหนดโดยความเห็นชอบของผู้อำนวยการโรงเรียน ข้อ 52 ให้มีการนับคะแนนสำหรับบัตรเลือกตั้งที่ผู้เลือกตั้งทำเครื่องหมายว่าไม่ประสงค์ลงคะแนน และประกาศจำนวนด้วย หากปรากฏว่ามีบัตรเสียให้แยกบัตรเสียออกไว้ต่างหากและห้ามมิให้นับบัตรเสียเป็น คะแนนไม่ว่ากรณีใด บัตรเลือกตั้งดังต่อไปนี้ถือว่าเป็นบัตรเสีย (1) บัตรปลอม (2) บัตรที่มิได้ทำเครื่องหมายลงคะแนนตามที่กำหนดไว้ตามข้อ 47 (3) บัตรที่ไม่อาจทราบว่าลงคะแนนให้กับผู้สมัครหรือกลุ่มหรือพรรคใด (4) บัตรที่มีการขีดเขียนหรือทำเครื่องหมายอื่น ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งสลักหลังบัตรเสียนี้ว่า “บัตรเสีย” และลงลายมือชื่อ กำกับไว้ด้วย 25


ข้อ 53 เมื่อการนับคะแนนเสร็จสิ้นแล้ว ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง รวบรวม ผลการนับคะแนนจำนวนบัตรเลือกตั้งที่มีอยู่ทั้งหมดในเขตนั้น จำนวนบัตรเลือกตั้งที่ใช้และจำนวนหีบบัตร เลือกตั้งที่เหลือจากการลงคะแนนและรายงานไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อประกาศผลตามวิธีการซึ่ง กำหนดโดยความเห็นชอบของผู้อำนวยการโรงเรียน ส่วนที่ 8 การคัดค้าน ข้อ 54 การคัดค้านการเลือกตั้งให้กระทำได้โดยทันทีต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำหน่วย หรือเขตเลือกตั้งนั้นหรือภายในเจ็ดวันนับแต่วันเลือกตั้งโดยยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ส่วนที่ 9 บทกำหนดโทษ ข้อ 55 ผู้ใดเจตนากระทำผิดในการเลือกตั้งถือว่าเจตนากระทำผิด กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของ โรงเรียนเกี่ยวกับความประพฤติและต้องถูกลงโทษ ส่วนที่ 10 คณะกรรมการการเลือกตั้ง ข้อ 56 ให้คณะกรรมการครูที่ปรึกษาโดยผู้อำนวยการแต่งตั้งขึ้น ทำหน้าที่คณะกรรมการการ เลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ (1) ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ภายในภาคเรียนที่ 2 ก่อนวันเปิดการศึกษาประจำปีในปีการศึกษาใหม่ (2) พิจารณาและให้ความเห็นต่อผู้อำนวยการในการประกาศหรืออกกำหนดการทั้งหลาย อันจำเป็นแก่การจัดการเลือกตั้ง เช่น ประกาศกำหนดวันและเวลาเลือกตั้ง ประกาศกำหนดวันรับสมัคร เลือกตั้ง ประกาศกำหนดวันยื่นบัญชีรายชื่อ ประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (3) พิจารณาและให้ความเห็นต่อผู้อำนวยการในการแต่งตั้งครูหรือนักเรียนเพื่อปฏิบัติหน้าที่ เกี่ยวกับการเลือกตั้งตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมอบหมาย (4) ประกาศผลการเลือกตั้ง (5) วินิจฉัยเมื่อมีการคัดค้านการเลือกตั้งและเสนอความเห็นเพื่อผู้อำนวยการเพื่อดำเนินการ พิจารณาสั่งการ (6) พิจารณารับจดทะเบียนจัดตั้งกลุ่มหรือพรรคโดยความเห็นชอบและอนุมัติของ ผู้อำนวยการ (7) พิจารณาและมีคำสั่งให้ยุบหรือเลิกกลุ่มหรือพรรคโดยความเห็นชอบและอนุมัติของ ผู้อำนวยการ ข้อ 57 ให้ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นนายทะเบียนกลุ่มหรือพรรค 26


หมวดที่ 3 คณะกรรมการนักเรียน ข้อ 58 ให้มีคณะกรรมการนักเรียนขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วย ประธานนักเรียนและคณะกรรมการ อื่น ๆ อีก ตามจำนวนห้องเรียนของนักเรียนซึ่งผู้อำนวยการโรงเรียนนครไทยแต่งตั้งขึ้น ประธานนักเรียนต้องเป็นนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หรือระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สมาชิกคณะกรรมการนักเรียนมาจากตัวแทนชั้นเรียนและ/หรือหัวหน้าห้องทุกห้องทุกระดับชั้น เป็นสมาชิกคณะกรรมการนักเรียน จำนวนห้องเรียนละ 1 คนโดยตำแหน่ง ข้อ 59 คณะกรรมการนักเรียนต้องบริหารงานกิจกรรมนักเรียน ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนให้ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ภายใต้วัตถุประสงค์และระเบียบข้อบังคับของโรงเรียน โดยความเห็นชอบของ คณะกรรมการครูที่ปรึกษาและได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการโรงเรียนและมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ (1) เป็นผู้แทนนักเรียนทั้งหมดในด้านการบริหารงานกิจกรรมและกิจการของนักเรียนร่วมกับ คณะกรรมการสภานักเรียนและโรงเรียนนครไทย (2) เป็นตัวแทนของนักเรียนทั้งโรงเรียนในการติดต่อประสานงานกับโรงเรียนหรือสถาบัน อื่น ๆ หรือคณะกรรมการสภานักเรียน โรงเรียนหรือสถาบันอื่น ๆ (3) เป็นตัวแทนของโรงเรียนไปร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นการส่งเสริมขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมอันดีของสังคมหรือกิจกรรมอื่นที่เป็นประโยชน์แก่สังคมภายนอกโรงเรียน (4) เป็นศูนย์กลางในการประสานงานระหว่างโรงเรียนกับนักเรียน (5) ส่งเสริม สนับสนุนและปฏิบัติตามนโยบายของโรงเรียน (6) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เป็นไปเพื่อส่งเสริมการเรียน ระเบียบวินัยและสวัสดิภาพของนักเรียน (7) ดูแลสวัสดิการของนักเรียนและความต้องการของนักเรียนในด้านสร้างสรรค์ (8) ให้คำแนะนำและดูแลช่วยเหลือในการจัดกิจกรรมของนักเรียน (9) ช่วยสอดส่องดูแลและให้คำแนะนำแก่นักเรียนที่มีความประพฤติไม่เรียบร้อยและรายงาน ให้ครูที่ปรึกษาทราบและให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในการควบคุมดูแลความประพฤติของนักเรียน (10) สนับสนุนช่วยเหลือ เสนอแนะในการพัฒนาโรงเรียน (11) จัดกิจกรรมภายในโรงเรียนที่เป็นประโยชน์ต่อเพื่อนนักเรียน (12) พิจารณาและเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการขอจัดทำกิจกรรมของกลุ่มหรือชมรมต่าง ๆ ของนักเรียนต่อคณะกรรมการครูที่ปรึกษา เพื่อพิจารณา (13) เป็นผู้นำนักเรียนในการพัฒนาโรงเรียนและช่วยดูแลควบคุมรักษาความสะอาดบริเวณ โรงเรียนของนักเรียนชั้นต่าง ๆ (14) เสนอโครงการในการจัดกิจกรรม ผ่านคณะกรรมการครูที่ปรึกษา เพื่อให้ผู้อำนวยการ พิจารณาอนุมัติ 27


(15) ปฏิบัติหน้าที่และรับผิดชอบในกิจกรรมอื่น ๆ ที่โรงเรียนมอบหมายให้ดำเนินการตาม ความเหมาะสม เช่น การจัดพิธีไหว้ครู การดำเนินกิจกรรมหน้าเสาธง การจัดกิจกรรมแข่งขันกีฬาและอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย (16) ประสานงานและดำเนินกิจกรรมร่วมกับสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนนครไทย สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนนครไทย เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียน (17) รับฟังข้อคิดเห็นจากนักเรียน ครูและบุคลากรในโรงเรียนนครไทยเพื่อนำมาพิจารณา ดำเนินการตามความเหมาะสม (18) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ระเบียบนี้กำหนด (19) เสนอรายงานการประชุมทุกครั้งต่อคณะกรรมการครูที่ปรึกษาเพื่อรายงานให้ ผู้อำนวยการโรงเรียนทราบ (20) ต้องทำรายงานสรุปผลการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ และแจ้งต่อคณะกรรมการที่ปรึกษา เพื่อรายงานให้ผู้อำนวยการทราบ ข้อ 60 ให้สภาผู้แทนนักเรียน/ประธานสภานักเรียน ดำเนินการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคล ผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานนักเรียนให้แล้วเสร็จภายในเจ็ดวันนับแต่มีการเรียกประชุมสภา นักเรียนครั้งแรก บุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นประธานนักเรียนจะต้องเป็นผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนนักเรียน/คณะกรรมการสภานักเรียนในปีการศึกษาก่อนหน้าและไม่ดำรงตำแหน่งในวาระ ปัจจุบันรวมถึงต้องเป็นนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และหรือระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 การเสนอชื่อต้องมีสมาชิกผู้แทนนักเรียน/คณะกรรมการสภานักเรียนรับรองไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้า ของสมาชิกทั้งหมด การลงมติเห็นชอบต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด เมื่อได้บุคคลผู้สมควรเป็นประธานนักเรียนแล้ว ให้ประธานนักเรียนรายงานต่อคณะกรรมการครูที่ ปรึกษาเพื่อเสนอต่อผู้อำนวยการโรงเรียนแต่งตั้งต่อไป ข้อ 61 ให้ประธานนักเรียนเสนอรายชื่อผู้สมควรเป็นคณะกรรมการนักเรียน ซึ่งมีจำนวนไม่เกิน 50 คน เพื่อให้ผู้อำนวยการโรงเรียนแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการนักเรียน เพื่อทำหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ โดยคณะกรรมการนักเรียนประกอบด้วย ประธานนักเรียน 1 คน รองประธานนักเรียนไม่เกิน 2 คน เลขานุการ เหรัญญิก ประชาสัมพันธ์สวัสดิการ กีฬา และนันทนาการ กิจกรรมทั่วไป ระเบียบทั่วไป ข้อ 62 ประธานนักเรียนและคณะกรรมการนักเรียนจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนนักเรียน / คณะกรรมการนักเรียนหรือสมาชิกสภาที่ปรึกษาในขณะเดียวกันมิได้ 28


หมวดที่ 4 กลุ่มหรือพรรค ข้อ 63 นักเรียนจำนวนตั้งแต่สิบคนขึ้นไปสามารถรวมตัวจัดตั้งกลุ่มหรือพรรคได้โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างเจตนารมณ์ในการดำเนินกิจกรรมของนักเรียนและเพื่อดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ โดย ต้องไม่ขัดต่อกฎหรือระเบียบหรือข้อบังคับของโรงเรียนตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ข้อ 64 ในการจัดตั้งกลุ่มหรือพรรค ให้ผู้จัดตั้งจัดให้มีการประชุมเพื่อกำหนดนโยบาย กำหนด ข้อบังคับและเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารกลุ่มหรือพรรค โดยนโยบายและข้อบังคับต้องไม่ก่อให้เกิดความ แตกแยกในระหว่างนักเรียนและไม่ขัดต่อกฎหรือระเบียบหรือข้อบังคับของโรงเรียน ข้อ 65 ข้อบังคับของกลุ่มหรือพรรคอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้ (1) ชื่อกลุ่มหรือพรรค (2) นโยบายของกลุ่มหรือพรรค (3) การประชุมใหญ่ของกลุ่มหรือพรรค (4) สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก (5) วินัยและจรรยาบรรณของสมาชิก (6) การเป็นสมาชิกและการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิก (7) การเลิกกลุ่มหรือพรรค ข้อ 66 ให้ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นหัวหน้ากลุ่มหรือพรรค ยื่นคำขอจดทะเบียนกลุ่มหรือพรรคต่อนาย ทะเบียนพร้อมทั้งนโยบาย ข้อบังคับ พร้อมแนบรายชื่อและลงลายมือชื่อของผู้จัดตั้งกลุ่ม/พรรครวมถึงแนบ รายชื่อและลงลายมือชื่อของคณะกรรมการบริหารกลุ่ม / พรรค ข้อ 67 ให้หัวหน้ากลุ่ม / พรรคเป็นผู้แทนกลุ่มหรือพวกในการดำเนินกิจการทั้งหลาย หมวดที่ 5 การบริหารงานของคณะกรรมการสภานักเรียน ข้อ 68 การบริหารงานของคณะกรรมการสภานักเรียน กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้ (1) ครูที่ปรึกษามีหนาที่ให้คําปรึกษาในการวางแผนหรือการเขียนโครงการและมีอํานาจ หน้าที่ในการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสภานักเรียนให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย (2) การปฏิบัติงานในกิจกรรมต่าง ๆ ของนักเรียนให้คณะกรรมการสภานักเรียนเป็นผู้เสนอ โครงการ โดยได้รับความเห็นชอบจากครูที่ปรึกษาและให้รองผู้อํานวยการฝ่ายบริหารงานบุคคลและกิจการ นักเรียนเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อเสนอต่อผู้อํานวยการโรงเรียนในการพิจารณาอนุมัติ 29


บทเฉพาะกาล ข้อ 69 การแก้ไข เพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงและยกเลิกข้อความใด ๆ ในระเบียบโรงเรียนนครไทยว่า ด้วยคณะกรรมการสภานักเรียน คณะกรรมการนักเรียน พุทธศักราช 2563 ให้กระทำโดยคณะกรรมการสภา นักเรียนและคณะกรรมการครูที่ปรึกษา ข้อ 70 ในกรณีที่คณะกรรมการสภานักเรียนดำเนินงานผิดวัตถุประสงค์ของคณะกรรมการสภา นักเรียนหรือขัดแย้งกับระเบียบนี้และการปฏิบัติหน้าที่หรือการดำเนินการนั้นได้ส่งผลเสียหายต่อโรงเรียนให้ ผู้อำนวยการมีอำนาจสั่งเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกตามควรแก่กรณี ข้อ 71 เมื่อคณะกรรมการสภานักเรียนถูกยุบไม่ว่าในกรณีใด ๆ ทรัพย์สินของคณะกรรมการสภา นักเรียนให้โอนเป็นกรรมสิทธิ์ของโรงเรียน ข้อ 72 ให้รองผู้อํานวยการฝ่ายบริหารงานกิจการนักเรียนเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ตั้งแต่วันที่ มีการประกาศใช้ระเบียบนี้เป็นต้นไป ทั้งนี้ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบนี้ทุกประการ ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤษภาคม พุทธศักราช 2563 จ่าสิบเอก (ประมวล วันมี) ผู้อำนวยการโรงเรียนนครไทย 30


องค์ประกอบที่ 2 โครงการ/งาน/กิจกรรมที่ส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยการมีส่วนร่วมของสภานักเรียน ในการส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมของโรงเรียน


โครงการ/งาน/กิจกรรมที่ส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข โดยการมีส่วนร่วมของสภานักเรียน กิจกรรมที่ส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยการมีส่วนร่วมของสภานักเรียน โรงเรียนนครไทยได้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ โดยใช้รูปแบบการบริหารงาน NT TEAMS Model ภายใต้วงจรบริหารงานคุณภาพ ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน Plan-วางแผน Do-ปฏิบัติ Check-ตรวจสอบ Act-ปรับปรุง คณะกรรมการสภานักเรียน มีส่วนร่วมในกระบวนการขับเคลื่อนการ ดำเนินงานอย่างเป็นระบบ โดยการร่วมการจัดกิจกรรมเพื่อขันเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้ 1. กิจกรรมการเลือกตั้งคณะกรรมการสภานักเรียน 2. กิจกรรมการเสริมสร้างและพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำสำหรับคณะกรรมการสภานักเรียน 3. กิจกรรมไหว้ครูสู่ขวัญศิษย์ สานมิตรไมตรีพี่น้องขาวแดง 4. กิจกรรมร้อยความรัก ถักทอใจ สานสายใยมุทิตา 5. กิจกรรมสวัสดีปีใหม่ สุขใจวันเด็ก 6. กิจกรรมรวมใจน้อง คล้องใจพี่ สดุดีสถาบัน 32 รูปแบบการบริหารงาน NT TEAMS Model ภายใต้วงจรบริหารงานคุณภาพ PDCA งานสภานักเรียนโรงเรียนนครไทย


สรุปโครงการ/กิจกรรมที่ได้รับการอนุมัติประจำปีงบประมาณ 2565 กิจกรรม งบประมาณ ที่ได้รับ งบประมาณ ที่ใช้ ผู้รับผิดชอบ หมายเหตุ 1.กิจกรรมเลือกตั้ง คณะกรรมการสภานักเรียน ประจำปีการศึกษา 2564 และ 2565 5,000 5,000 นางจริญญา ปิยะมิตร และครูที่ปรึกษางาน สภานักเรียน สามารถดำเนินงานได้ตรง ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยจัดกการเลือกตั้ง 2 ครั้ง ได้แก่ ปีการศึกษา2564 และ 2565 เนื่องจากมีการแพร่ ระบาดของเชื้อโรคโควิด 19 โรงเรียนนครไทยมีการปรับ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อเป็นมาตรการในการ ป้องกันการแพร่ระบาดของ เชื้อโรคอย่างเคร่งครัด จึงทำ ให้มีการเลื่อนกำหนดการ เลือกตั้งออกไป 2.กิจกรรมไหว้ครูสู่ขวัญศิษย์ 10,000 10,000 นางจริญญา ปิยะมิตร และครูที่ปรึกษางาน สภานักเรียน สามารถดำเนินงานได้ตรง ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ 3.กิจกรรมกตเวทิตาจิต ศิษย์นำบูชาครู 3,000 3,000 นางจริญญา ปิยะมิตร และครูที่ปรึกษางาน สภานักเรียน สามารถดำเนินงานได้ตรง ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ 4.กิจกรรมพัฒนาศักยภาพ คณะกรรมการสภานักเรียน 5,000 5,000 นางจริญญา ปิยะมิตร และครูที่ปรึกษางาน สภานักเรียน สามารถดำเนินงานได้ตรง ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ 5.กิจกรรมสวัสดีปีใหม่ สุขใจวันเด็ก 3,000 3,000 นางจริญญา ปิยะมิตร และครูที่ปรึกษางาน สภานักเรียน สามารถดำเนินงานได้ตรง ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ 6.กิจกรรมรวมใจน้อง คล้องใจพี่ สดุดีสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2564 4,000 4,000 นางจริญญา ปิยะมิตร และครูที่ปรึกษางาน สภานักเรียน สามารถดำเนินงานได้ตรง ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ 33


กิจกรรม การเลือกตั้งคณะกรรมการสภานักเรียน ประจำปีการศึกษา 2564 และ 2565 หลักการและเหตุผล กิจกรรมการเลือกตั้งถือเป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งแสดงให้เห็นถึงสิทธิและเสรีภาพของประชาชนคนไทยในฐานะเจ้าของ อำนาจอธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 การเลือกตั้งคณะกรรมการสภา นักเรียนโรงเรียนนครไทยจึงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนในฐานะพลเมืองของชาติไทย ได้มี ความรู้และประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับการปฏิบัติตามหน้าที่ รู้จักใช้สิทธิของตนเอง เพื่อผลประโยชน์ต่อตนเอง สังคมและประเทศชาติในอนาคตต่อไป อนึ่งเด็กและเยาวชนเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าหากได้รับการพัฒนา และได้รับโอกาสให้ใช้ความสามารถอย่างเต็มศักยภาพ ย่อมเป็นกำลังสำคัญในการสืบทอดเอกลักษณ์ความเป็น ไทย ธำรงไว้ซึ่งความเป็นชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อีกทั้งยังเป็นการมุ่งเสริมสร้างวิถีประชาธิปไตยให้เกิด ขึ้นกับนักเรียนทั้งโดยตรงและโดยอ้อม คณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียนนครไทย ถือเป็นกลุ่มงานที่มุ่งเสริมสร้างคุณลักษณะทางด้าน ประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นกับนักเรียน โดยมุ่งเสริมสร้างทักษะด้านการทำงาน การวางแผนงานต่าง ๆ ตลอดจน กระบวนการคิดและการแก้ปัญหาอย่างถูกต้อง เสริมสร้างภาวะความเป็นผู้นำตลอดจนคุณลักษณะพื้นฐานของ ประชาธิปไตย อันได้แก่ ด้านคารวธรรม ด้านปัญญาธรรม และด้านสามัคคีธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียน ทั้งนี้งาน ส่งเสริมประชาธิปไตย/สภานักเรียนจึงเห็นในความสำคัญของการส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงได้กำหนดจัดทำโครงการส่งเสริมคุณภาพนักเรียนด้านคุณลักษณะที่พึง ประสงค์ ภายใต้กิจกรรมการเลือกตั้งคณะกรรมการสภานักเรียน ประจำปีการศึกษา 2564 ขึ้น วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักเรียนได้ใช้สิทธิของตนเองจากการเลือกตั้งคณะกรรมการสภานักเรียนที่เป็นไปตาม รูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2. เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบและกระบวนการของการเลือกตั้งตามระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง 3. เพื่อให้นักเรียนได้แสดงออกถึงหน้าที่ของตนเองตามบทบัญญัติของระเบียบโรงเรียนนครไทย ว่าด้วยคณะกรรมการสภานักเรียน พุทธศักราช 2563 ได้ถูกต้อง 4. เพื่อให้นักเรียนได้รับการส่งเสริมพฤติกรรมทางด้านประชาธิปไตย งบประมาณ งบประมาณที่ได้รับ จัดสรร งบประมาณที่ใช้ไป หมวดรายจ่าย คงเหลือ หมายเหตุ ค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ 5,000 5,000 5,000 0 34


ผลการดำเนินงาน สรุปเป้าหมาย 1) เป้าหมายด้านปริมาณ (Outputs) 1.1 นักเรียนโรงเรียนนครไทย ร้อยละ 92.05 มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเลือกตั้งคณะกรรมการสภา นักเรียน 1.2 นักเรียนโรงเรียนนครไทย ร้อยละ 92.05 ได้ใช้สิทธิของตนเองจากการเลือกตั้งคณะกรรมการ สภานักเรียนที่เป็นไปตามรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 1.3 นักเรียนโรงเรียนนครไทย ร้อยละ 92.05 ได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบและกระบวนการ ของการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง 1.4 นักเรียนโรงเรียนนครไทย ร้อยละ 92.05 ได้แสดงออกถึงหน้าที่ของตนเองตามบทบัญญัติของ ระเบียบโรงเรียนนครไทย ว่าด้วยคณะกรรมการสภานักเรียน พุทธศักราช 2563 1.5 นักเรียนโรงเรียนนครไทย ร้อยละ 100 ได้รับการส่งเสริมพฤติกรรมทางด้านประชาธิปไตย 1.6 นักเรียนโรงเรียนนครไทย ร้อยละ 90 มีความพึงพอใจในกิจกรรมการเลือกตั้งคณะกรรมการสภา นักเรียน 2) เป้าหมายด้านคุณภาพ (Outcomes) นักเรียนโรงเรียนนครไทย ได้รับการส่งเสริมพฤติกรรมทางด้านประชาธิปไตยให้มีความรู้ความเข้าใจ มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเลือกตั้งคณะกรรมการสภานักเรียน ได้ใช้สิทธิของตนเองจากการเลือกตั้ง คณะกรรมการสภานักเรียนที่เป็นไปตามรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุขที่ถูกต้อง ปัญหา/อุปสรรค/แนวทางการพัฒนา เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในอำเภอนครไทยมีความเสี่ยงสูง จึงมีการ เลือกตั้งคณะกรรมการสภานักเรียน ประจำปีการศึกษา 2564 เลื่อนกำหนดการจัดกิจกรรมจากเดือน พฤษภาคม 2564 เป็นเดือนพฤศจิกายน 2565 และเปลี่ยนจากรูปแบบ Onsite เป็นแบบ Online แทน และมีการจักกิจกรรมเลือกตั้งคณะกรรมการสภานักเรียน ประจำปีการศึกษา 2564 ในช่วงเดือนมีนาคม 2565 เพื่อเป็นการรองรับการทำหน้าที่ของคณะกรรมการสภานักเรียนชุดใหม่ให้มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ ในช่วงการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 35


กิจกรรมการเลือกตั้งคณะกรรมการสภานักเรียน ประจำปีการศึกษา 2564 ภาพกิจกรรม 36


โครงการ ส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน (มฐ. 1.2) กิจกรรม การเลือกตั้งคณะกรรมการสภานักเรียน ประจำปีการศึกษา 2565 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักเรียนได้ใช้สิทธิของตนเองจากการเลือกตั้งคณะกรรมการสภานักเรียนที่เป็นไปตาม รูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2. เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบและกระบวนการของการเลือกตั้งตามระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง 3. เพื่อให้นักเรียนได้แสดงออกถึงหน้าที่ของตนเองตามบทบัญญัติของระเบียบโรงเรียนนครไทย ว่า ด้วยคณะกรรมการสภานักเรียน พุทธศักราช 2564 ได้ถูกต้อง 4. เพื่อให้นักเรียนได้รับการส่งเสริมพฤติกรรมทางด้านประชาธิปไตย สรุปเป้าหมาย 1) เป้าหมายด้านปริมาณ (Outputs) 1.1 นักเรียนโรงเรียนนครไทย ร้อยละ 93.06 มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเลือกตั้งคณะกรรมการสภา นักเรียน 1.2 นักเรียนโรงเรียนนครไทย ร้อยละ 93.06 ได้ใช้สิทธิของตนเองจากการเลือกตั้งคณะกรรมการ สภานักเรียนที่เป็นไปตามรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 1.3 นักเรียนโรงเรียนนครไทย ร้อยละ 93.06 ได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบและกระบวนการ ของการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง 1.4 นักเรียนโรงเรียนนครไทย ร้อยละ 93.06 ได้แสดงออกถึงหน้าที่ของตนเองตามบทบัญญัติของ ระเบียบโรงเรียนนครไทย ว่าด้วยคณะกรรมการสภานักเรียน พุทธศักราช 2563 1.5 นักเรียนโรงเรียนนครไทย ร้อยละ 100 ได้รับการส่งเสริมพฤติกรรมทางด้านประชาธิปไตย 1.6 นักเรียนโรงเรียนนครไทย ร้อยละ 95 มีความพึงพอใจในกิจกรรมการเลือกตั้งคณะกรรมการสภา นักเรียน 2) เป้าหมายด้านคุณภาพ (Outcomes) นักเรียนโรงเรียนนครไทย ได้รับการส่งเสริมพฤติกรรมทางด้านประชาธิปไตยให้มีความรู้ความเข้าใจ มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเลือกตั้งคณะกรรมการสภานักเรียน ได้ใช้สิทธิของตนเองจากการเลือกตั้ง คณะกรรมการสภานักเรียนที่เป็นไปตามรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุขที่ถูกต้อง 37


กิจกรรมการเลือกตั้งคณะกรรมการสภานักเรียน ประจำปีการศึกษา 2565 ภาพกิจกรรม 38


กิจกรรม การเสริมสร้างและพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำสำหรับคณะกรรมการสภานักเรียน หลักการและเหตุผล เด็กและเยาวชนจัดเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง หากได้รับการพัฒนาและได้รับโอกาสให้ ใช้ความสามารถอย่างเต็มศักยภาพ ย่อมเป็นกำลังสำคัญในการสืบทอดความเป็นชาติสามารถพัฒนาประเทศ ให้เจริญก้าวหน้า เทียบเท่านานาอารยประเทศ เด็กและเยาวชนจึงเป็นความหวังในการจรรโลงชาติศาสนา พระมหากษัตริย์ภูมิปัญญา วัฒนธรรม รวมทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้อยู่คู่สังคมไทยองค์การ สหประชาชาติได้มีการลงนามในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิเด็ก ปีพุทธศักราช 2533 เพื่อให้การรับรอง อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก โดยให้คำมั่นว่าจะให้การปกป้องคุ้มครองเด็กทุกคนให้เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มี คุณภาพ ภายใต้การดูแลเลี้ยงดูจากครอบครัวด้วยความรัก ความอบอุ่น ให้มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีโดยได้ ให้การรับรองสิทธิพื้นฐานของเด็ก 4 ประการ คือ สิทธิที่จะมีชีวิต (Right to life) สิทธิที่จะได้รับการปกป้อง (Right to be protected) สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา (Right to be developed) สิทธิที่จะมีส่วนร่วม (Right to participate) อีกทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ได้บัญญัติรับรองศักดิ์ศรีของความ เป็นมนุษย์เพื่อให้ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม มีสิทธิมีช่องทางในการเข้าไปมีส่วนร่วมการ พัฒนาสังคมทุกระดับ ตั้งแต่การร่วมรับรู้ข้อมูล การร่วมแสดงความคิดเห็น การร่วมตัดสินใจ การร่วม ตรวจสอบ โดยผ่านกระบวนการต่าง ๆ ตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข การดำเนินงานสภานักเรียนเปรียบเสมือนเวทีสำหรับฝึกให้นักเรียนเป็นนักประชาธิปไตยอย่าง แท้จริง คือ รู้จักการเป็นผู้ให้ผู้รับ ผู้นำ และผู้ตามที่ดีมีความรับผิดชอบในหน้าที่และเป็นประโยชน์ในการ ปกครองโดยช่วยแบ่งเบาภาระของครูได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และ เข้าใจวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย มุ่งเน้นให้เด็กคิดเป็นทำเป็นแก้ปัญหาเป็น เป็นสมาชิกที่ดีของสังคมและ ส่งเสริมความสามัคคีในหมู่คณะ อีกทั้งส่งเสริมการเรียนการสอนตามหลักสูตรปัจจุบันที่มุ่งเน้นความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ คณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียนนครไทย ถือเป็นกลุ่มงานที่มุ่งเสริมสร้างคุณลักษณะทางด้าน ประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นกับนักเรียน โดยมุ่งเสริมสร้างทักษะด้านการทำงาน การวางแผนงานต่าง ๆ ตลอดจน กระบวนการคิดและการแก้ปัญหาอย่างถูกต้อง เสริมสร้างภาวะความเป็นผู้นำตลอดจนคุณลักษณะพื้นฐานของ ประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นกับนักเรียน ทั้งนี้งานส่งเสริมประชาธิปไตย/สภานักเรียนจึงเห็นในความสำคัญของการ ส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงได้กำหนดจัดทำโครงการ ส่งเสริมคุณภาพนักเรียนด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ภายใต้กิจกรรมการเสริมสร้างและพัฒนาภาวะความ เป็นผู้นำสำหรับคณะกรรมการสภานักเรียนขึ้น 39


วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้คณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียนนครไทยและนักเรียนแกนนำได้รับการพัฒนาทักษะภาวะ ความเป็นผู้นำที่ดี 2. เพื่อให้คณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียนนครไทยและนักเรียนแกนนำได้ปฏิบัติตนตามระเบียบของ โรงเรียนว่าด้วยคณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียนนครไทย พุทธศักราช 2563 3. เพื่อให้คณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียนนครไทยและนักเรียนแกนนำได้รับการเสริมสร้างและพัฒนา ประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น 4. เพื่อให้คณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียนนครไทยและนักเรียนแกนนำได้เรียนรู้กระบวนการทำงาน และรู้จักการแก้ปัญหาด้วยตนเอง ตลอดจนพัฒนาความสามารถในการทำงานเป็นทีม 5. เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของบทบาทและหน้าที่ของตนเอง ตลอดจนเสริมสร้างความ สามัคคีในหมู่คณะให้เกิดขึ้นกับคณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียนนครไทยและนักเรียนแกนนำ งบประมาณ งบประมาณ ที่ได้รับจัดสรร งบประมาณที่ใช้ไป หมวดรายจ่าย คงเหลือ หมายเหตุ ค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ 5,000 0 5,000 5,000 ผลการดำเนินงาน 1.1 คณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียนนครไทยและนักเรียนแกนนำร้อยละ 90 ได้รับการพัฒนา ทักษะภาวะความเป็นผู้นำที่ดี 1.2 คณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียนนครไทยและนักเรียนแกนนำร้อยละ 90 ได้ปฏิบัติตนตาม ระเบียบของโรงเรียนว่าด้วยคณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียนนครไทย พุทธศักราช 2565 1.3 คณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียนนครไทยและนักเรียนแกนนำร้อยละ 90 ได้รับการ เสริมสร้างและพัฒนาประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น 1.4 คณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียนนครไทยและนักเรียนแกนนำร้อยละ 90 ได้เรียนรู้ กระบวนการทำงานและรู้จักการแก้ปัญหาด้วยตนเอง ตลอดจนพัฒนาความสามารถในการทำงานเป็นทีม 1.5 คณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียนนครไทยและนักเรียนแกนนำร้อยละ 90 ตระหนักถึง ความสำคัญของบทบาทและหน้าที่ของตนเองและเกิดความสามัคคีในหมู่คณะ 1.6 นักเรียนโรงเรียนนครไทย ร้อยละ 90 มีความพึงพอใจในกิจกรรมการเสริมสร้างและพัฒนาภาวะ ความเป็นผู้นำสำหรับคณะกรรมการสภานักเรียน 2. เป้าหมายด้านคุณภาพ (Outcomes) คณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียนนครไทยและนักเรียนแกนนำ มีทักษะภาวะความเป็นผู้นำที่ดี ตระหนักถึงความสำคัญของบทบาทและหน้าที่ของตนเองและเกิดความสามัคคีในหมู่คณะ นำความรู้ไปปรับใช้ ในกระบวนการทำงานและรู้จักการแก้ปัญหาด้วยตนเอง ตลอดจนพัฒนาความสามารถในการทำงานเป็นทีมได้ อย่างมีประสิทธิภาพ 40


ปัญหา/อุปสรรค/แนวทางการพัฒนา เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในอำเภอนครไทยมีความเสี่ยงสูง จึงมีการ เลือกตั้งคณะกรรมการสภานักเรียน ประจำปีการศึกษา 2564 เลื่อนกำหนดการจัดกิจกรรมจากเดือน พฤษภาคม 2564 เป็นเดือนพฤศจิกายน 2565 และเปลี่ยนจากรูปแบบ Onsite เป็นแบบ Online แทน และมีการจักกิจกรรมเลือกตั้งคณะกรรมการสภานักเรียน ประจำปีการศึกษา 2564 ในช่วงเดือนมีนาคม 2565 เพื่อเป็นการรองรับการทำหน้าที่ของคณะกรรมการสภานักเรียนชุดใหม่ให้มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ ในช่วงการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ดังนั้นการจัดกิจกรรมการเสริมสร้างและพัฒนาภาวะความเป็น ผู้นำสำหรับคณะกรรมการสภานักเรียนจึงกำหนดจัดอีกครั้งก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 การเสริมสร้างและพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำสำหรับคณะกรรมการสภานักเรียน ปีการศึกษา 2564 ภาพกิจกรรม 41


กิจกรรม สวัสดีปีใหม่ สุขใจวันเด็ก ประจำปี 2565 หลักการและเหตุผล กิจกรรมทำบุญส่งท้ายปีเก่า-ต้อนรับปีใหม่ (พิธีทำบุญสืบชะตาโรงเรียนนครไทย) เป็นกิจกรรมที่มี ความสำคัญต่อวิถีสังคมของไทย และเป็นเอกลักษณ์ของโรงเรียนนครไทยที่ได้ทำการปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่าง ต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี กิจกรรมวันขึ้นปีใหม่ถือเป็นกิจกรรมที่มีความเป็นสากลที่มนุษยชาติในโลกให้ ความสำคัญ ถือเป็นโอกาสอันดีที่เป็นจุดเริ่มต้นในการปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องและเป็นจุดเริ่มต้นในการใช้ชีวิตใน ศักราชใหม่ ทั้งนี้กิจกรรมวันขึ้นปีใหม่โรงเรียนนครไทยถูกจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยเป็น กิจกรรมที่เน้นสร้างความสุขและเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครู บุคลากรและนักเรียนโรงเรียนนครไทยเป็น อย่างดียิ่ง โดยการส่งมอบของขวัญเพื่อสร้างความสุขและรอยยิ้มให้กับนักเรียนโรงเรียนนครไทย ซึ่งถือเป็น ความร่วมร่วมใจระหว่างคณะครูและบุคลากรโรงเรียนนครไทย โดยกิจกรรมดังกล่าวได้มีการบูรณาการร่วมกับ กิจกรรมเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ที่แสดงถึงความสำคัญของเด็กและเยาวชนไทยในฐานะพลเมืองของชาติที่เป็น กำลังสำคัญ และเป็นอนาคตของประเทศไทย จากที่กล่าวมาข้างต้น เด็กและเยาวชนจึงถือเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญของประเทศชาติในการที่ จะพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าและมั่นคง เด็กทุกคนควรได้รับการเอาใจใส่จากครอบครัวชุมชนและรัฐ เพื่อส่งเสริมให้เด็ก ๆ ได้รับการศึกษา ได้รับการอบรมคุณธรรมจริยธรรม เพื่อพัฒนาด้านร่างกายและจิตใจ ส่งเสริมให้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต มีความเมตตาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ ตลอดจนค่านิยมที่พึงประสงค์ของคนไทย โดยสิ่งเหล่านี้ที่ผู้ใหญ่ทุกคนล้วนต้องช่วยกันฝึกฝน เนื่องจากเด็กและ เยาวชนเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อประเทศชาติ หน่วยงานรัฐจึงได้จัดให้วันเสาร์ของสัปดาห์ที่ 2 ของเดือน มกราคมของทุกปีเป็นวันเด็กแห่งชาติ เพื่อให้ทุกคนเห็นความสำคัญและเพื่อสร้างความตระหนักให้เด็กและ เยาวชนต่อไป คณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียนนครไทย ถือเป็นกลุ่มผู้นำนักเรียนที่ตระหนักถึงความสำคัญของ เด็กและเยาวชนของโรงเรียนนครไทย เพื่อเป็นการดำเนินกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความสามัคคีและบรรยากาศ ของกิจกรรมวันขึ้นปีใหม่และวันเด็กแห่งชาติให้กับนักเรียนโรงเรียนนครไทย ทั้งนี้งานส่งเสริมประชาธิปไตย/ สภานักเรียนจึงเห็นในความสำคัญของการส่งเสริมคุณภาพนักเรียนด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ จึงได้กำหนด จัดกิจกรรมสวัสดีปีใหม่ สุขใจวันเด็ก 2565 ขึ้น วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักเรียน ครูและบุคลากรโรงเรียนนครไทยได้เห็นในความสำคัญของวันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีที่ ดีงามของไทย 2. เพื่อให้นักเรียน ครูและบุคลากรได้มีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกันในวันขึ้นปีใหม่เพื่อสืบทอดประเพณีและ วัฒนธรรมของชาติ 3. เพื่อให้นักเรียนได้รับโอกาสในการแสดงออกทางด้านคุณธรรม จริยธรรมตามบทบาทที่พึงกระทำได้ ตามฐานานุรูปให้สอดคล้องกับความเป็นเด็กและเยาวชนของชาติไทย 42


4. เพื่อให้นักเรียนได้ตระหนักถึงสิทธิ หน้าที่และบทบาทของตนเองได้อย่างเหมาะสม สามารถนำไปปรับ ใช้ในชีวิตประจำวันในฐานะพลเมืองดีได้เต็มตามศักยภาพ งบประมาณ งบประมาณ ที่ได้รับจัดสรร งบประมาณที่ใช้ไป หมวดรายจ่าย คงเหลือ หมายเหตุ ค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ 3,000 3,000 250 2,750 0 ผลการดำเนินงาน 1. เป้าหมายด้านปริมาณ (Outputs) 1.1 นักเรียนโรงเรียนนครไทย ร้อยละ 90 ได้เข้าร่วมกิจกรรมสวัสดีปีใหม่ สุขใจวันเด็ก 1.2 นักเรียนโรงเรียนนครไทย ร้อยละ 90 ได้เห็นในความสำคัญของวันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีที่ดี งามของไทย 1.3 นักเรียนโรงเรียนนครไทย ร้อยละ 90 ได้มีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกันในวันขึ้นปีใหม่เพื่อสืบทอด ประเพณีและวัฒนธรรมของชาติ 1.4 นักเรียนโรงเรียนนครไทย ร้อยละ 90 ได้รับโอกาสในการแสดงออกทางด้านคุณธรรม จริยธรรม ตามบทบาทที่พึงกระทำได้ตามฐานานุรูปให้สอดคล้องกับความเป็นเด็กและเยาวชนของชาติไทย 1.5 นักเรียนโรงเรียนนครไทย ร้อยละ 90 เกิดความตระหนักถึงสิทธิ หน้าที่และบทบาทของตนเอง ได้อย่างเหมาะสม สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันในฐานะพลเมืองดีได้เต็มตามศักยภาพ 1.6 นักเรียนโรงเรียนนครไทย ร้อยละ 90 มีความพึงพอใจในกิจกรรมสวัสดีปีใหม่ สุขใจวันเด็ก 2. เป้าหมายด้านคุณภาพ (Outcomes) นักเรียนโรงเรียนนครไทย มีความตระหนักเห็นในความสำคัญของวันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีที่ดีงาม ของไทย เกิดความตระหนักถึงสิทธิ หน้าที่ และบทบาทของตนเองได้อย่างเหมาะสม โดยทำกิจกรรมร่วมกันใน วันขึ้นปีใหม่เพื่อสืบทอดประเพณีและวัฒนธรรมของชาติ ซึ่งเป็นการแสดงออกทางด้านคุณธรรม จริยธรรมตาม บทบาทที่พึงกระทำได้ตามฐานานุรูปให้สอดคล้องกับความเป็นเด็กและเยาวชนของชาติไทยและสามารถนำไป ปรับใช้ในชีวิตประจำวันในฐานะพลเมืองดีได้เต็มตามศักยภาพ ปัญหา/อุปสรรค/แนวทางการพัฒนา เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในอำเภอนครไทยมีความเสี่ยงสูง จึงมีการ กิจกรรมสวัสดีปีใหม่ สุขใจวันเด็ก ประจำปี 2565 เลื่อนกำหนดการจัดกิจกรรมจากช่วงปลายเดือนธันวาคม 2564 ก่อนหยุดในวันที่ 31 – 2 มกราคม 2565 เป็นการปรับรูปแบบกิจกรรมโดยให้นักเรียนร่วมตักบาตร ข้าวสารอาหารแห้งแทนการจัดกิจกรรมรื่นเริง โดยมีคณะผู้บริหาร และครูเวรประจำวันไปแจกของขวัญที่หน้า ประตูทางเข้าโรงเรียนในตอนเข้าแทน เป็นต้น 43


กิจกรรมสวัสดีปีใหม่ สุขใจวันเด็ก ประจำปี 2565 ภาพกิจกรรม 44


กิจกรรม รวมใจน้อง คล้องใจพี่ สดุดีสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2564 หลักการและเหตุผล ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติหมวดที่ 4 แนวทางการจัดการศึกษา มาตราที่ 22 การ จัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนได้และถือว่าผู้เรียนมี ความสำคัญทีสุด ดังนั้นการจัดการเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องหาความรู้เพียงในห้องเรียนเท่านั้น แต่สามารถค้นคว้า หาความรู้นอกห้องเรียนได้เช่นกัน และเป็นการฝึกประสบการณ์ในการเรียนรู้การใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ โรงเรียนถือมีส่วนสำคัญในการที่จะช่วยที่ทำให้เด็กและเยาวชนเป็นผู้ได้รับการพัฒนาในความรู้ทางด้านวิชาการ ควบคู่ไปกับการมีคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งโรงเรียนนครไทยได้มีการปลูกฝังสิ่งเหล่านี้ให้กับนักเรียนอย่างต่อเนื่อง โดยปรับใช้วิธีการสอดแทรกเข้าในเนื้อหาสาระวิชาต่าง ๆ ในรูปแบบการดำเนินกิจกรรมของโรงเรียนที่ได้ดำ เนินการเพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของผู้เรียน มีการดำเนินด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อสอนให้นักเรียนมี คุณธรรม จริยธรรม ควบคู่ไปกับความเป็นเลิศทางวิชาการ ส่งเสริมให้นักเรียนมีความกตัญญูกตเวทีต่อครูผู้สอน และสถานศึกษา ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนได้แสดงออกซึ่งความรักความผูกพัน ความปรารถนาดีต่อกัน และความกตัญญูกตเวทีต่อสถานศึกษาและครูผู้สอน ซึ่งจะส่งผลดีต่อนักเรียน เพื่อให้เกิดผลดังกล่าวจึงได้จัด โครงการนี้ขึ้น เพื่อเสริมสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของเด็กและเยาวชนที่จะสำเร็จการศึกษา งานส่งเสริมประชาธิปไตย/สภานักเรียน จึงกำหนดแนวทางในการพัฒนากิจกรรม “ส่งเสริมประชาธิปไตย/สภา นักเรียน” ให้นักเรียนได้นำไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง อันส่งผลต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์บน พื้นฐานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมก้าวสู่ความเป็นสากลโดยอาศัยความร่วมมือของทุกภาคี เครือข่าย เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตสู่การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนทั้งในระดับโรงเรียน ชุมชน ประเทศชาติและ อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นและสืบทอดประเพณีของสถาบันการศึกษา ทั้งนี้งานส่งเสริมประชาธิปไตย/สภานักเรียนจึงเห็นในความสำคัญของการส่งเสริมคุณภาพนักเรียน ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ จึงได้กำหนดจัดกิจกรรมรวมใจน้อง คล้องใจพี่ สดุดีสถาบันขึ้น เพื่อการเป็นการ เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างครูและศิษย์ตลอดจนสายสัมพันธ์อันดีของความเป็นพี่กับน้องของ นักเรียนโรงเรียนนครไทยต่อไป วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนนครไทยได้ปฏิบัติตนสืบทอดประเพณีของสถาบันการศึกษา 2. เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนนครไทยได้สร้างความรักความสามัคคีอันดีต่อระบบอาวุโสของโรงเรียน 3. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนโรงเรียนนครไทยมีความรับผิดชอบร่วมกันในกิจกรรมที่โรงเรียนกำหนด 4. เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนนครไทยได้มีโอกาสแสดงความยินดีต่อผู้ที่สำเร็จการศึกษา 5. เพื่อสร้างวัฒนธรรมอันดีในการประพฤติปฏิบัติร่วมกัน รวมทั้งรักษาประเพณีอันดีงามให้เกิดขึ้นกับ นักเรียนโรงเรียนนครไทย 45


Click to View FlipBook Version