The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by thitimon thongpim, 2019-06-05 01:58:15

unit 2

unit 2

2562

หน่วยท่ี2 การจดั ระเบียบทางสังคม

ฐิติมน ทองพมิ พ์

1

หน่วยเรยี นรทู้ ่ี 2 การจัดระเบยี บสงั คม

สาระสาคญั

มนษุ ยเ์ ป็นสัตว์สงั คมท่อี ยรู่ ว่ มกันเปน็ กลมุ่ พ่ึงพาอาศัยกนั มนุษยแ์ ต่ละคนจะมคี วามคิดริเรมิ่
สรา้ งสรรค์มีความคิดทีแ่ ตกต่าง บางครงั้ อาจมีความขัดแย้งแย่งชิงกนั ก่อใหเ้ กดิ ปญั หาทางสงั คม ดงั น้นั
สังคมจาเปน็ ต้องมีกระบวนการควบคุมปัญหาด้วยการจดั ระเบียบสังคมเพอื่ ให้สงั คมเกิดความสงบสขุ

สาระการเรียนรู้

1. ความหมายและแนวคิดในการจดั ระเบยี บสงั คม
2. สาเหตขุ องการจัดระเบยี บสงั คม
3. องค์ประกอบของการจัดระเบียบสงั คม
4. รูปแบบการจัดระเบียบสงั คม

ผลการเรียนร้ทู ี่คาดหวงั

นักศึกษามีความตระหนักในความสาคญั ของการจัดระเบยี บทางสงั คม

จดุ ประสงค์การเรยี นรู้

เมือ่ ศึกษาหนว่ ยเรยี นร้ทู ่ี 2 จบแล้ว นกั ศกึ ษาสามารถ
1. บอกความหมายและแนวคิดของการจดั ระเบียบสงั คมได้
2. อธิบายสาเหตขุ องการจดั ระเบยี บสังคมได้
3. จาแนกองค์ประกอบของการจัดระเบียบสังคมได้
4. อธิบายรปู แบบการจดั ระเบียบสังคมได้

2

หนว่ ยเรียนรู้ที่ 2 การจัดระเบยี บสังคม
แบบทดสอบก่อนเรยี น
คาส่งั จงเลอื กคาตอบที่ถูกที่สุดแลว้ กากบาทลงในกระดาษคาตอบ ก ข ค ง จ
1. ขอ้ ใดหมายถึงการจดั ระเบียบสังคม

ก. การวางรปู แบบของพฤติกรรมในสังคม
ข. การกาหนดหนา้ ที่ความรับผิดชอบ
ค. การออกกฎหมายบังคับใช้
ง. การแบง่ งานกันทา
จ. ถูกทกุ ข้อ
2. ขอ้ ใดไมใ่ ช่แนวคดิ การจดั ระเบยี บสงั คม
ก. บรรทดั ฐานและพฤตกิ รรม
ข. แหล่งกาเนดิ ของการปฏิสัมพนั ธ์
ค. หลักธรรมชาติของมนุษย์ทงั้ กายและใจ
ง. ความเป็นจริงดา้ นอัตวิสัยและภาวะวิสยั
จ. คณุ ลกั ษณะต่างๆ ที่ก่อให้เกิดการจัดระเบยี บสงั คม
3. ขอ้ ใดไมใ่ ช่สาเหตุของการจดั ระเบียบสงั คม
ก. เพือ่ ใหบ้ ุคคลในสังคมดาเนินชวี ิตไดอ้ ยา่ งอิสระ
ข. เพอื่ สังคมดาเนินไปดว้ ยความราบรืน่ ไมเ่ กิดความขดั แย้ง
ค. เพื่อไมใ่ ห้เกิดความสบั สนและกา้ วก่ายสทิ ธิและหนา้ ท่ีซึ่งกนั และกัน
ง. เพื่อใหบ้ ุคคลร้จู ักกาหนดตาแหน่งของตนในสงั คมที่แน่นอน
จ. เพือ่ ให้บุคคลได้รู้จกั บทบาทและหน้าท่ีตอ่ ตนเองและต่อผูอ้ น่ื
4. ข้อใดไมใ่ ช่องคป์ ระกอบของการจดั ระเบียบสังคม
ก. บทบาท
ข. ความเชอื่
ค. บรรทดั ฐาน
ง. สถานภาพ
จ. สถาบันสังคม

3

5. หน่วยงาน บรษิ ัท กองทัพ โรงพยาบาล โรงงานอุตสาหกรรม อยใู่ นกลุ่มของการจัดระเบียบสังคม
รปู แบบใด

ก. แบบเครอื ญาติ
ข. แบบจงรกั ภกั ดี
ค. แบบสถานภาพ
ง. แบบพนั ธะสญั ญา
จ. แบบองค์การ
6. ขอ้ ใดไม่เข้ากลุ่มบรรทัดฐานทางสังคม
ก. วิถปี ระชา
ข. จารตี
ค. กฎหมาย
ง. ศาสนา
จ. ผิดทุกขอ้
7. ขอ้ ใดมสี ถานภาพตา่ งจากพวก
ก. ครู
ข. คนจีน
ค. ทหาร
ง. นกั รอ้ ง
จ. พยาบาล
8. ข้อใดกล่าวถึงประโยชน์ของสถานภาพและบทบาทไม่ถูกตอ้ ง
ก. ทาให้แต่ละบุคคลรู้จักหน้าทแี่ ละมีความรบั ผิดชอบ
ข. ทาใหส้ ังคมนน้ั มีการปฏิสมั พันธก์ ันอย่างมรี ะบบแบบแผนทีถ่ กู ต้อง
ค. ทาให้สงั คมขาดระบบเพราะสมาชิกในสงั คมไมป่ ฏบิ ตั ิตามหน้าท่ขี องตน
ง. ทาใหส้ ังคมแบ่งหนา้ ทีร่ ะหว่างสมาชิกทางานตามความถนัดและความสามารถ
จ. ทาใหส้ มาชิกในสังคมรู้ถงึ ฐานะของกันและกันสามารถปฏิบตั ิตอ่ กันไดอ้ ย่างถูกตอ้ ง

4

9. องค์กรใดท่ีมบี ทบาทสาคัญที่สุดในการจดั ระเบยี บสงั คม
ก. ครอบครวั
ข. โรงเรยี น
ค. ศาสนา
ง. กลุ่มเพอ่ื น
จ. ถกู ทกุ ข้อ

10. คณุ ลกั ษณะใดของกลมุ่ บุคคลทก่ี ่อใหเ้ กิดการจัดระเบียบสงั คม
ก. ความแตกตา่ ง
ข. การกระทาต่อกันอย่างต่อเนื่อง
ค. การควบคุมหรือการบังคบั
ง. กจิ กรรมหรือพฤติกรรมที่เกิดขน้ึ ซ้าๆ
จ. ถูกทุกข้อ

5

1. ความหมายและแนวคดิ ในการจัดระเบยี บสงั คม
การจดั ระเบยี บสังคม เปน็ วิธกี ารทม่ี นุษยใ์ นสังคมต่างๆ เป็นผู้กาหนดขึ้นเพ่ือใช้เป็นแนวทาง

ประพฤตปิ ฏิบัติ ต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข ทาให้สมาชิกแต่ละคนรู้บทบาทหน้าที่ของตน
สามารถติดต่อสัมพันธก์ นั ไดอ้ ย่างราบรนื่ มผี ้ใู หค้ วามหมายไว้ ดงั นี้

ณรงค์ เสง็ ประชา (2538, หน้า 131) กลา่ วว่า การจัดระเบียบทางสังคม เป็นการวางรูปแบบ
ของพฤติกรรมและกระบวนการความสัมพนั ธ์ระหวา่ งบุคคลและระหว่างกลุม่ คน

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2553, หน้า 71) กล่าวว่า การจัดระเบียบสังคม (Social
organization) หรือระเบียบสังคม (Social order) หมายถึง กฎเกณฑ์หรือระเบียบแบบแผน
ท้ังหลายอันเก่ียวกับความสัมพันธ์ต่อกันระหว่างบุคคลและกลุ่ม เช่น การจัดระเบียบสังคมในเรื่อง
ความสมั พันธ์ระหว่างสามี ภรรยา และบุตร การจัดระเบียบสังคมของกลุ่มกรรมกร ทุกสังคมจาเป็นที่
จะต้องมีการจัดระเบียบมากน้อยแตกต่างกันไป สามารถกล่าวได้ว่า การจัดระเบียบสังคมเป็น
ส่ิงจาเปน็ พืน้ ฐานตอ่ การดารงอยู่ของสงั คมทุกสงั คม

ไพฑูรย์ มีกุศล (2556, หน้า 227) กล่าวว่า การจัดระเบียบสังคม (Social organization)
การจัดให้สังคมมีระเบียบแบบแผน ซ่ึงเป็นการวางรูปแบบของพฤติกรรมและกระบวนความสัมพันธ์
ระหว่างบุคคลและกลุ่มคน การจัดระเบียบสังคมจึงเกิดขึ้นตั้งแต่ครอบครัว หมู่บ้าน ประเทศ และ
นานาประเทศ

สรุปได้ว่า การจัดระเบียบสังคม หมายถึง การวางรูปแบบของพฤติกรรมและกระบวนการ
สรา้ งความสัมพนั ธ์ระหวา่ งกล่มุ บคุ คลทุกสังคมจะมากน้อยแตกต่างกันไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติซ่ึง
เป็นสิ่งจาเป็นพ้ืนฐานต่อการดารงอยู่ของสังคมทุกสังคมโดยจะเกิดข้ึนตั้งแต่ครอบครัวไปจนถึงระดับ
นานาประเทศ

ดังน้ัน แนวคิดในการจัดระเบียบทางสังคมอาจเกิดจากปัจจัยต่างๆ ตามที่ ไพฑูรย์ มีกุศล
(2556, หน้า 227) กลา่ ว สรปุ ได้ ดงั น้ี

1.1 แหล่งกาเนิดของการปฏิสัมพันธ์ ในสังคมหนึ่งๆ บุคคลย่อมมีการไปมาหาสู่กัน มีการ
กระทาตอ่ กนั การคบค้าสมาคม การเจรจาต่อรอง การโต้แย้งกันโดยการกระทาของบุคคลหนึ่งบุคคล
ใดหรอื กลุ่มบุคคลเพอื่ สรา้ งแบบแผนปฏิบัตใิ ห้เกดิ ขึ้นในกลุ่มสังคม กระบวนการท่ีคนปฏิบัติต่อกันตาม
แนวทางท่ีสังคมยอมรับนี่เอง เรียกว่าเป็นการกระทาต่อกันทางสังคมหรือการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
การมปี ฏิสมั พนั ธท์ างสงั คมจงึ ก่อใหเ้ กดิ การจดั ระเบียบแบบแผนของการปฏิบัติในสังคมข้ึน

1.2 คณุ ลักษณะตา่ งๆ ทก่ี อ่ ใหเ้ กิดการจัดระเบียบสงั คม การจัดระเบียบสังคมอาจเกิดขึ้นได้
จากคณุ ลักษณะกลมุ่ ตา่ งๆ ซ่ึงเกดิ ข้ึนได้จากคณุ ลกั ษณะตา่ งๆ ดงั นี้

6

1.2.1 การกระทาตอ่ กันอยา่ งต่อเน่อื ง คอื การตดิ ต่อกนั ระหวา่ งกลมุ่ ต่างๆ ซ่ึงเกิดขึ้นอยู่
เสมอในรูปแบบหรอื กจิ กรรมทางสงั คม จนเกิดเปน็ แบบแผนของกิจกรรมท่ีกระทารว่ มกนั และก่อให้เกิด
การจดั ระเบยี บสงั คมระหวา่ งกนั ได้

1.2.2 การควบคมุ หรอื การบังคบั คือ การควบคมุ โดยบุคคลท่ีมีอิทธพิ ลหรอื มีพฤติกรรม
เหนือผู้อื่น จะเห็นได้จากการกระทาของกลุ่มต่างๆ ที่มีอิทธิพลหรือมีอานาจควบคุมในลักษณะเดียวกัน
อาจจะพบเห็นแบบแผนที่ชัดเจน เช่น การท่องเที่ยวที่มีผู้นาหรือมัคคุเทศก์เป็นผู้ควบคุมกาหนดการ
เดนิ ทาง ตลอดจนการจัดระเบยี บของการนาเท่ยี วภายในกล่มุ

1.2.3 ความแตกต่าง คือ ความแตกต่างระหว่างกิจกรรมท่ีบุคคลกระทาแตกต่างกัน
เช่น กิจกรรมของบุคคลชาติต่างๆ ย่อมก่อให้เกิดการจัดระเบียบสังคมที่แตกต่างกันตามวัตถุประสงค์
หรอื กจิ กรรมของแต่ละสังคม

1.2.4 กิจกรรมหรือพฤติกรรมที่เกิดขึ้นซ้าๆ กันหรือกิจกรรมคล้ายๆ กันในสังคม อาจ
ก่อให้เกิดการจัดระเบียบในสังคมได้เช่นเดียวกัน คุณลักษณะต่างๆ ที่เกิดจากพฤติกรรมของบุคคลใน
สังคม ซึ่งมีจุดประสงค์และเป้าหมายต่างกันไป การเข้าร่วมกิจกรรมและการปฏิบัติตามขอบเขตท่ีตก
ลงกนั และยอมรับกันเพอ่ื ความเปน็ ระเบียบเรยี บรอ้ ย จึงกลา่ วได้ว่า การจัดระเบยี บสังคมได้เกิดขึ้นเมื่อ
บคุ คลหรือสมาชกิ ของกลุ่มได้ปฏิบัตติ ามกฎระเบยี บทีว่ างไว้

1.3 บรรทัดฐานและพฤติกรรม การจัดระเบียบสังคมมีท้ังบรรทัดฐานสังคมและพฤติกรรม
ของบุคคลในสังคม บรรทัดฐานเกิดจากแบบพฤติกรรมท่ีสังคมกาหนดขึ้นเพ่ือเป็นแนวทางให้บุคคล
ยึดถือปฏิบัติในสถานการณ์ต่างๆ บรรทัดฐานน้ีจะเห็นได้ชัดเจนจากแบบแผนครอบครัว เช่น การ
แตง่ งานแบบผัวเดยี วเมียเดยี วซ่ึงมีกฎหมายรองรับ แตก่ ารมสี ามหี รอื มภี รรยาหลายคนในขณะเดียวกัน
ซ่ึงถือว่าเปน็ ข้อหา้ มในสังคมต่างๆ จึงเป็นการกระทาทางสังคมท่ีไม่มีการยอมรับกันและถือว่าเป็นการ
กระทาที่ไม่ถูกต้อง ในด้านพฤติกรรมของการจัดระเบียบสังคมน้ัน เป็นการกระทาที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ
หรือเปน็ ปกติ แตเ่ ป็นการกระทาทีบ่ ุคคลมีส่วนรว่ มในสงั คมนน้ั โดยตรงหรือจากสถานการณ์ต่างๆ

การดาเนนิ ชีวิตทางสังคมส่วนใหญ่ เป็นการผสมผสานลักษณะของมาตรฐานทางพฤติกรรม
และบรรทดั ฐาน เช่น การแตง่ งานในปัจจุบันจะมกี ารเปลยี่ นแปลงในระเบียบกฎเกณฑ์ท่ีเคร่งครัดหรือ
ยุ่งยากในอดีตมาเป็นการกระทาท่ีสะดวกและง่ายต่อการปฏิบัติ ทางด้านคู่บ่าวสาวก็จะมีเสรีภาพใน
การตดั สนิ ใจและการจดั การแตง่ งานดว้ ยตนเองมากกว่าในอดีต

1.4 ความเปน็ จริงด้านอัตวสิ ัยและภาวะวิสัย การจดั ระเบียบทางสังคมท่ีสาคัญประการหน่ึง
คอื ปรากฏการณท์ เ่ี ป็นอัตวสิ ยั ซง่ึ เกิดจากจิตใจของบุคคลในการตัดสินใจ แต่โดยท่ัวไปแล้วบุคคลที่อยู่
ในวัฒนธรรมเดียวกัน หรือคล้ายๆ กันมักจะมีความคิดเห็นในส่ิงต่างๆ ที่คล้ายๆ กันทางด้านทัศนคติ
และความเช่ือ น่ันคือ การตีความหมายของการกระทาใดๆ ย่อมอยู่บนพ้ืนฐานของสามัญสานึกและ

7

สมมติฐานของชีวิตและเหตุผลของการกระทาน้ันๆ การกระทาที่เป็นอัตวิสัยจึงอาจจะไม่สมบูรณ์
หรือไม่แน่นอน เพราะขึ้นอยู่กบั ความคดิ เหน็ ของตนเปน็ สาคัญ ตรงข้ามกับการจัดระเบียบสังคมที่เป็น
ภาวะวิสยั ซ่ึงต้องอาศัยการวเิ คราะห์ภาวะตา่ งๆ จากการกระทาหรอื กิจกรรมต่างๆ มาพิจารณาร่วมกัน
ในการตดั สินใจ แม้ว่าความคิดเห็นของบางคนจะไม่สอดคล้องกับแนวคิดของกลุ่มก็ต้องให้ความสนใจ
ด้วย ดังนั้นแนวคิดของการจัดระเบียบสังคมจึงต้องพิจารณาจากปรากฏการณ์สังคมท่ีเกิดขึ้นในภาวะ
วิสัยซ่ึงต้องศึกษา วิเคราะห์ หรือกล่ันกรองปรากฏการณ์ต่างๆ ท่ีเกิดข้ึนจริง จึงควรนาแนวคิดจาก
ปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวมาพิจารณาอย่างถ่ีถ้วนเพ่ือให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับท่ีมา หรือแนวคิดของการ
จัดระเบียบสงั คมไดอ้ ย่างชดั เจน หรือเขา้ ใจความสัมพนั ธ์ระหว่างบคุ คลหรือระหว่างกลุ่มสังคมได้อย่าง
ถูกต้องตามความเปน็ จริง

2. สาเหตขุ องการจดั ระเบียบสังคม
การจัดระเบียบสังคม ของสังคมใดก็ตามเป็นความจาเป็นอย่างย่ิง ท้ังนี้ เพื่อให้บุคคลใน

สังคมมจี ุดยืน รจู้ ักกาหนดตาแหนง่ แห่งทขี่ องตนในสงั คมที่แน่นอนและมีจุดหมายปลายทาง ยิ่งไปกว่า
น้ันยังได้รู้จักบทบาทและหน้าท่ีต่อตนเองและต่อผู้อื่นในสังคม ทาให้ไม่เกิดความสับสนและก้าวก่าย
สทิ ธิและหนา้ ท่ซี งึ่ กันและกัน ทาให้สังคมมีระเบียบและสงบสุข และดาเนินไปด้วยความราบร่ืนไม่เกิด
ความขัดแย้ง วุ่นวาย ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้สังคมล่มสลายไปได้ในท่ีสุด (นิยพรรณ วรรณศิริ. 2550,
หน้า 152)

3. องค์ประกอบของการจดั ระเบยี บสังคม
ในการวางรปู แบบของพฤติกรรมและกระบวนการสรา้ งความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มบุคคลทุก

สงั คมเพอ่ื ให้สังคมสงบสุขนั้น ต้องอาศัยการจดั ระเบียบสังคมซึ่งมีองค์ประกอบสาคัญ 4 ประการ ดังที่
ไพฑูรย์ มีกศุ ล (2556, หนา้ 232-234) สรุปได้ ดังน้ี

3.1 บรรทัดฐาน (Norms) หมายถึง ระเบียบแบบแผนท่ีสังคมกาหนดไว้เพ่ือเป็นแนวทาง
สาหรับบคุ คลหรือสมาชกิ ในสังคมนั้นยดึ ถือปฏิบัติในสถานการณ์ต่างๆ หรือเป็นแนวทางในการปฏิบัติ
ในกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน เช่น ในการศึกษาอบรม จะมีระเบียบเป็นแนวปฏิบัติในการเรียนการสอน
การสอบและการเลื่อนชั้น เป็นต้น บรรทัดฐานมีหลายประเภท แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ วิถีประชา
(Folkways) จารีต (Mores) และกฎหมาย (Laws)

3.1.1 วิถีประชาหรือวิถชี าวบา้ น เป็นบรรทดั ฐานทบ่ี ุคคลในสังคมเคยกระทามาจนเคย
ชินและถือเป็นแนวปฏิบัติในชีวิตประจาวันจนเกิดเป็นปกติวิสัย เช่น การยกมือไหว้เม่ือพบเห็นผู้ใหญ่
การก้มหรือโน้มตัวลงเม่ือเดินผ่านผู้ใหญ่หรือผู้ที่ตนเคารพกราบไหว้ เป็นต้น ในสังคมต่างๆ ย่อมจะมี
แนวปฏิบัตแิ ตกต่างกันไป

8

3.1.2 จารีต เป็นบรรทัดฐานที่ปฏิบตั ิสบื ทอดกันมา เปน็ แนวทางทีบ่ คุ คลจะต้องกระทา
เพ่ือความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม ถือว่าเป็นความสาคัญกว่าวิถีประชา หากผู้ใดฝ่าฝืนจะถูก
สังคมติเตียนหรือถูกตัดออกจากสังคมไม่มีผู้ใดคบหาสมาคมด้วย ส่ิงต้องห้ามก็ถือว่าเป็นจารีตอย่าง
หน่ึง ในสงั คมแบบจารีต เช่น สังคมไทยโบราณหรือสังคมไทยในชนบทเม่ือประมาณ 50 ปีขึ้นไป ยังมี
ความเช่ือเร่ืองจารีตต่างๆ อย่างเคร่งครัด เช่น ถ้ามีพระภิกษุเสพเมถุนกับสีกา เม่ือชาวบ้านรู้เข้าก็จะ
พากันเดินทางไปทว่ี ัดเพื่อขบั ไลพ่ ระภิกษรุ ูปนั้นใหห้ นอี อกจากชุมชนไปหรือถูกจบั สึก เปน็ ตน้

3.1.3 กฎหมาย เป็นบรรทัดฐานสังคมท่ีกาหนดไว้เป็นระเบียบแบบแผน มีความสาคัญ
มากในสังคม เพราะเป็นบรรทัดฐานที่กาหนดถึงระดับของการกระทาความผิดและมีบทลงโทษน้ันๆ
ด้วย ในสังคมไทยมีกฎหมายท่ีกาหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ได้กาหนดข้ึนมาเป็นบรรทัดฐานทาง
สังคมตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมา ในปัจจุบัน กฎหมายมีผลต่อการกาหนดพฤติกรรมของบุคคลใน
สังคม แตก่ ฎหมายบางอย่างในอดีตอาจจะไม่เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจบุ ัน รัฐก็ตอ้ งยกเลิกไป

บรรทัดฐานอ่ืนๆ เช่น ศีลธรรม ธรรมเนียม สมัยนิยม พิธีกรรมและมารยาททางสังคม ก็
จัดเป็นแนวทางในการปฏิบัติของคนในสังคมท่ีสาคัญเช่นกัน การปฏิบัติตามบรรทัดฐานต่างๆ ของ
สังคมดังกล่าวแล้วน้ี จะก่อให้เกิดระเบียบข้ึนในสังคมและจะช่วยให้บุคคลกระทากิจกรรมต่างๆ ได้
อยา่ งเหมาะสมว่าสิ่งใดควรทา หรือส่งิ ใดไม่ควรทาในกาละและโอกาสตา่ งๆ

3.2 สถานภาพ (Status) หมายถึง ตาแหน่งหรือฐานะของบุคคลท่ีได้จากการเป็นสมาชิก
ของกลุ่มหรือสังคม สถานภาพจะกาหนดว่าบุคคลน้ันๆ มีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติต่อบุคคลและสังคม
อย่างไร สถานภาพจึงเปน็ ส่งิ เฉพาะตวั แต่ละบคุ คล สถานภาพแบง่ ออกเปน็ 2 ประเภท คอื

3.2.1 สถานภาพโดยกาเนิด (Ascribed Status) เช่น สถานภาพโดยการเกิดมาเป็น
หญิงหรือชาย สถานภาพทางเชื้อชาติ เช่น บุคคลเกิดมาเป็นเชื้อชาติไทย เช้ือชาติอเมริกัน และเชื้อ
ชาติลาว เป็นตน้

ภาพที่ 2.1 สถานภาพทางเพศ (ชายและหญิง) เป็นสถานภาพโดยกาเนดิ
ทม่ี า : https://hilight.kapook.com/view/17298 (สืบค้น 1 มกราคม 2558)

9

3.2.2 สถานภาพโดยความสามารถ (Achieved Status) เป็นสถานภาพที่หามาได้โดย
การกระทาหรือด้วยความสามารถของบุคคล เช่น สถานภาพสมรส สถานภาพความเป็นบิดามารดา
สถานภาพทางการศกึ ษา สถานภาพทางอาชพี และสถานภาพทางการเมือง เปน็ ต้น

ภาพที่ 2.2 สถานภาพทางอาชพี พยาบาล เป็นสถานภาพโดยความสามารถ
ทมี่ า : https://www.tcijthai.com/news/2012/03/scoop/425

(สืบค้น 1 มกราคม 2558)
สถานภาพของบุคคลบางคร้ังหรือบางโอกาสอาจจะเกิดความขัดแย้งกัน เพราะบุคคลน้ันมี
หลายสถานภาพในขณะเดียวกัน จึงต้องเลือกปฏิบัติ เรียกว่า สถานภาพขัดกัน เช่น นาย ก. เป็น
ตารวจและเป็นบิดาของนาย ข. ด้วย เมื่อนาย ข. ลักขโมยคนอ่ืน นาย ก. ซึ่งมีสองสถานภาพจึงมี
ความลาบากใจเม่ือต้องจับนาย ข. ในฐานะท่ีเป็นบุตรของตน หน้าท่ีของนาย ก. ในตาแหน่งของ
ตารวจจึงอาจเกิดเลือกการปฏบิ ตั ิได้ จึงเรียกอกี อย่างหนง่ึ วา่ บทบาทขดั กันไดเ้ ชน่ เดียวกัน
3.3 บทบาท (Roles) หมายถึง หน้าท่ีหรือพฤติกรรมที่บุคคลจะต้องปฏิบัติตามสถานภาพ
นน้ั เชน่ บุตรต้องเคารพเชื่อฟังพ่อแม่ ครู อาจารย์และผู้มีพระคุณ ส่วนพ่อแม่มีหน้าต้องอบรมสั่งสอน
บุตรของตนให้เป็นคนดีของสังคมและสืบทอดวงศ์ตระกูลต่อไป ทหารมีบทบาทในการรักษาป้องกัน
ประเทศหรือเป็นรั้วของชาติ ดังน้ัน ผู้ใดมีสถานภาพหรือตาแหน่งใดก็ต้องทาหน้าท่ีให้เป็นไปตาม
หนา้ ทท่ี ่ที างราชการหรอื สงั คมกาหนดไว้ บทบาทจึงเปน็ หน้าทท่ี ่ีจะต้องทาและสถานภาพเป็นตาแหน่ง
หรือฐานะทค่ี นนน้ั ๆ เป็นอยู่ สถานภาพและบทบาทจึงเป็นคาทค่ี นทั่วๆ ไปมักพดู ควบคูก่ ันอยเู่ สมอ
บทบาทของบคุ คลอาจจะมีการเปลีย่ นแปลงได้เสมอเม่ือบุคคลนั้น มีการเล่ือนตาแหน่งใหม่
หรือเมือ่ มกี ารเปลย่ี นตาแหน่งที่สูงขึ้นซ่ึงเป็นสถานภาพที่ได้มาด้วยความสามารถ หน้าที่ของบุคคลน้ัน
ก็ย่อมตอ้ งเปลี่ยนไปดว้ ย

10

3.4 สถาบนั สังคม (Social Institution) หรือสถาบันทางสังคม หมายถึงองค์การทางสังคม
หรือกลุ่มทางสังคมท่ีมีระเบียบ แบบแผน ซึ่งมีการรวมบุคคลเป็นกลุ่มของตนท่ีเห็นได้ชัดเจนและ
แตกต่างจากกลุ่มประเภทอื่นๆ ก่อให้เกิดสถาบันขึ้นมา ดังน้ัน สถาบันสังคมจึงมีลักษณะเป็นองค์การ
หรือเป็นกลุ่มทางสังคมท่ีมีการกระทาต่อกันตามแบบอย่างบรรทัดฐานหรือตามบทบาทหน้าที่ ซ่ึงมี
ระเบียบหรือกฎเกณฑ์ควบคุมอยู่ตามมาตรฐานของแต่ละสังคมว่าเป็นแบบแผนพฤติกรรมท่ีคนส่วน
ใหญใ่ นสังคมยอมรับกันว่าเป็นส่ิงที่ดีและควรนามาปฏิบัติในการดาเนินชีวิต ทางสังคมวิทยาส่วนใหญ่
แบง่ สถาบนั สังคมออกเปน็ 7 ประเภท ดังนี้

3.4.1 สถาบันครอบครวั
3.4.2 สถาบนั เศรษฐกิจ
3.4.3 สถาบันการศึกษา
3.4.4 สถาบนั การเมืองการปกครอง
3.4.5 สถาบนั ศาสนา
3.4.6 สถาบันพกั ผ่อนหยอ่ นใจ (สถาบันนันทนาการ)
3.4.7 สถาบนั การประดษิ ฐ์คิดคน้

4. รปู แบบการจดั ระเบียบสังคม
สงั คมแต่ละสังคมจะมวี ถิ ชี วี ิตวฒั นธรรมที่แตกตา่ งกนั ขึ้นอยู่กับสภาวะสิ่งแวดล้อมท่ีต่างกัน

แตใ่ นภาพรวมแลว้ ทกุ สังคม มจี ดุ มุ่งหมายทเี่ หมอื นกันหรือคลา้ ยกนั เพอ่ื ความเป็นระเบยี บและสงบสุข
ของสมาชิกในสงั คม โดยจะหาวิธีการหรือรูปแบบการจัดระเบียบสังคมที่มีความเหมาะสมตามวิถีชีวิต
ของตนเอง ดงั ที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2553, หนา้ 79-80) แบง่ รูปแบบการจัดระเบียบสังคมไว้
5 แบบ ดงั น้ี

4.1 แบบเครือญาติ ได้แก่ การจัดระเบียบสังคมโดยใช้บรรทัดฐานและสถานภาพในระบบ
ครอบครัวเป็นหลัก เช่น ผู้อาวุโสในวงศ์เครือญาติ เป็นผู้นาใช้กฎของความสัมพันธ์ฉันญาติควบคุม
ความประพฤติ การจัดระเบียบสังคมแบบน้มี ีอยู่ในสงั คมดั้งเดิม หรือสังคมเผ่าชน ในสังคมชนบท และ
สงั คมจนี โบราณ

4.2 แบบจงรักภกั ดี หรือ แบบนายกับบ่าว เป็นการยึดถือความสัมพันธ์และความผูกพันกัน
ฉันทน์ ายซง่ึ เป็นผู้ท่ีมพี ระคณุ ตอ่ บ่าวซ่ึงเป็นผู้รับใช้ท่ีซื่อสัตย์ ดังเช่น ระบบฟิวดัล ในยุโรปสมัยก่อนท่ีมี
เจา้ ท่ดี นิ เป็นศนู ย์กลางอานาจปกครองดูแลทด่ี ิน ซ่ึงอาศยั ท่ดี นิ ของนายทามาหากิน หรือ ระบบเจ้าขุน
มลู นายของไทยสมัยโบราณ

4.3 แบบสถานภาพ หมายถึง การจัดระเบียบสังคมท่ีมีกฎเกณฑ์ท่ีแน่นอนตามสถานภาพที่
กาหนดติดตัวมาแต่กาเนิด เช่น ในสังคมอินเดียโบราณที่แบ่งคนเป็นวรรณะต่างๆ ได้แก่ พราหมณ์

11

กษัตริย์ แพศย์ ศูทร ซึ่งแต่ละฝ่ายมีกฎเกณฑ์การใช้ชีวิตของตนเองและจากัดขอบเขตความสัมพันธ์ท่ี
ชัดเจน

4.4 แบบพันธะสญั ญา เป็นความสัมพันธ์ท่ีเกิดจากข้อตกลงที่สองฝ่ายกระทาเป็นสัญญาต่อ
กัน โดยมีการแลกเปล่ียนผลประโยชน์ซึ่งกันและกันเป็นความสัมพันธ์ในสังคมอุตสาหกรรมท่ีสมาชิก
ส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กันในฐานะนายจ้างกับลูกจ้าง รัฐบาลมีบทบาทเป็นผู้ประสานประโยชน์หรือ
เป็นคนกลางระหว่างกลุ่มผลประโยชนต์ ่างๆ ท่ีผูกพนั กันด้วยสัญญา

4.5 แบบองค์การ เป็นลักษณะของสังคมสมัยใหม่ที่สมาชิกสังคมจะเข้าร่วมอยู่ในองค์การ
ขนาดใหญ่ เช่น บรษิ ัท หน่วยงานราชการ กองทพั โรงพยาบาล โรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ โดยบุคคล
ในองค์การขนาดใหญ่น้ี จะดาเนินชีวิตอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ขององค์การ ผู้มีอานาจ คือ ฝ่ายจัดการมือ
อาชีพ สมาชิกแต่ละคนจะถูกแยกไปอยู่ตามกลุ่มต่างๆ ที่มีหน้าท่ีเฉพาะด้าน และมีความสัมพันธ์กัน
ตามระบบสายงาน คนที่อย่ใู นสังคมแบบนี้จะถูกเรยี กว่าเป็น “มนษุ ยอ์ งคก์ าร”

บทสรุป
การจัดระเบียบสังคม หมายถึง การวางรูปแบบของพฤติกรรมและกระบวนการสร้าง

ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มบุคคลทุกสังคมจะมากน้อยแตกต่างกันไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติซ่ึงเ ป็น
สิง่ จาเปน็ พน้ื ฐานต่อการดารงอยู่ของสังคมทุกสังคมโดยจะเกิดขึ้นตั้งแต่ครอบครัวไปจนถึงระดับนานา
ประเทศ สาเหตุของการจัดระเบียบสังคม เพื่อให้บุคคลในสังคมรู้จักบทบาทและหน้าท่ีต่อตนเองและ
ต่อผู้อื่นในสังคม ทาให้ไม่เกิดความสับสนและก้าวก่ายสิทธิและหน้าท่ีซ่ึงกันและกัน ส่งผลให้สังคมมี
ระเบยี บและสงบสุข องคป์ ระกอบของการจัดระเบียบสงั คม 4 ประการ ดังนี้ 1) บรรทัดฐาน (Norms)
หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่สังคมกาหนดไว้เพ่ือเป็นแนวทางสาหรับบุคคลหรือสมาชิกในสังคมน้ัน
ยึดถือปฏิบัติในสถานการณ์ต่างๆ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ วิถีประชา (Folkways) จารีต (Mores)
และกฎหมาย (Laws) 2) สถานภาพ (Status) หมายถึง ตาแหน่งหรอื ฐานะของบคุ คลที่ได้จากการเป็น
สมาชิกของกลุ่มหรือสังคม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สถานภาพโดยกาเนิด และสถานภาพโดย
ความสามารถ 3) บทบาท (Roles) หมายถึง หน้าที่หรือพฤติกรรมท่ีบุคคลจะต้องปฏิบัติตาม
สถานภาพ 4) สถาบันสังคม (Social Institution) หรือสถาบันทางสังคม หมายถึงองค์การทางสังคม
หรือกลุ่มทางสังคมที่มีระเบียบ แบบแผน ซ่ึงมีการรวมบุคคลเป็นกลุ่มของตนที่เห็นได้ชัดเจนและ
แตกต่างจากกลุ่มประเภทอื่นๆ ก่อให้เกิดสถาบันข้ึนมา ดังนั้น สถาบันสังคมจึงมีลักษณะเป็นองค์การ
หรือเป็นกลุ่มทางสังคมท่ีมีการกระทาต่อกันตามแบบอย่างบรรทัดฐานหรือตามบทบาทหน้าท่ี ซ่ึงมี
ระเบียบหรือกฎเกณฑ์ควบคุมอยู่ตามมาตรฐานของแต่ละสังคมว่าเป็นแบบแผนพฤติกรรมที่คนส่วน
ใหญ่ในสังคมยอมรับกันว่าเป็นส่ิงท่ีดีและควรนามาปฏิบัติในการดาเนินชีวิต แบ่งออกเป็น 7 ประเภท
ได้แก่ 1) สถาบันครอบครัว 2) สถาบันเศรษฐกิจ 3) สถาบันการศึกษา 4) สถาบันการเมืองการ

12

ปกครอง 5) สถาบนั ศาสนา 6) สถาบนั พักผ่อนหยอ่ นใจ (สถาบนั นนั ทนาการ) 7) สถาบันการประดิษฐ์
คิดค้น รูปแบบการจัดระเบียบทางสังคมมี 5 แบบ ดังนี้ 1) แบบเครือญาติ 2) แบบจงรักภักดี หรือ
แบบนายกับบ่าว 3) แบบสถานภาพ 4) แบบพนั ธะสัญญา 5) แบบองค์การ

13

กจิ กรรมเสรมิ บทเรยี น

1. ให้นกั ศกึ ษาทากจิ กรรมสรุปบทเรยี นหน่วยเรยี นรูท้ ่ี 2 การจดั ระเบียบสงั คม ดว้ ยแผนภมู คิ วามคดิ
2. ใหน้ กั ศึกษาทากิจกรรมเขยี นบรู ณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทีส่ ามารถนาไปใชด้ ารงชวี ติ

ในดา้ น การจัดระเบยี บสังคม
3. ให้นักศึกษาเขยี นสะทอ้ นความคิดจากบทเรยี น เรือ่ ง การจดั ระเบยี บสงั คม

14

ใบงานการเรยี นรู้
หน่วยเรยี นร้ทู ่ี 2

จงตอบคาถามต่อไปน้ี
1. บอกความหมายของการจัดระเบียบสงั คม (Social organization)
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
2. ปจั จยั ใดท่ีทาใหเ้ กิดแนวคิดการจัดระเบยี บสังคม
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
3. องคป์ ระกอบของการจัดระเบียบสังคมมีอะไรบ้าง
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
4. บรรทัดฐาน (Norms) คืออะไร แบ่งได้กี่ประเภท อะไรบ้าง
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
5. สถานภาพ (Status) คืออะไร เกยี่ วข้องกบั บทบาท (Roles) อยา่ งไร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………

15

หนว่ ยเรียนรูท้ ี่ 2 การจดั ระเบียบสังคม
แบบทดสอบหลังเรียน
คาสั่ง จงเลอื กคาตอบท่ถี ูกท่สี ุดแลว้ กากบาทลงในกระดาษคาตอบ ก ข ค ง จ
1. คณุ ลักษณะใดของกลมุ่ บุคคลทก่ี ่อใหเ้ กดิ การจัดระเบยี บสงั คม

ก. ความแตกต่าง
ข. การกระทาต่อกนั อย่างต่อเนื่อง
ค. การควบคุมหรือการบงั คบั
ง. กจิ กรรมหรือพฤติกรรมทเ่ี กิดขนึ้ ซา้ ๆ
จ. ถูกทุกข้อ
2. ขอ้ ใดไมใ่ ชอ่ งคป์ ระกอบของการจัดระเบียบสังคม
ก. บทบาท
ข. ความเช่อื
ค. บรรทัดฐาน
ง. สถานภาพ
จ. สถาบันสังคม
3. ขอ้ ใดไมเ่ ขา้ กลุม่ บรรทัดฐานทางสงั คม
ก. วิถปี ระชา
ข. จารีต
ค. กฎหมาย
ง. ศาสนา
จ. ผิดทกุ ข้อ
4. ข้อใดหมายถงึ การจดั ระเบียบสังคม
ก. การวางรูปแบบของพฤตกิ รรมในสังคม
ข. การกาหนดหนา้ ท่ีความรับผดิ ชอบ
ค. การออกกฎหมายบังคับใช้
ง. การแบ่งงานกันทา
จ. ถูกทกุ ข้อ

16

5. ข้อใดไมใ่ ชแ่ นวคดิ การจัดระแบบสังคม
ก. บรรทัดฐานและพฤติกรรม
ข. แหล่งกาเนดิ ของการปฏิสัมพันธ์
ค. หลักธรรมชาติของมนุษย์ทงั้ กายและใจ
ง. ความเป็นจริงด้านอัตวิสยั และภาวะวิสยั
จ. คณุ ลักษณะตา่ งๆ ที่ก่อให้เกดิ การจดั ระเบียบสังคม

6. ขอ้ ใดไมใ่ ชส่ าเหตขุ องการจัดระเบียบสงั คม
ก. เพอ่ื ใหบ้ ุคคลในสงั คมดาเนนิ ชวี ิตไดอ้ ยา่ งอิสระ
ข. เพอ่ื สงั คมดาเนนิ ไปดว้ ยความราบรืน่ ไมเ่ กิดความขัดแย้ง
ค. เพือ่ ไม่เกิดความสบั สนและก้าวก่ายสิทธิและหนา้ ท่ีซง่ึ กัน
ง. เพ่ือใหบ้ ุคคลรูจ้ ักกาหนดตาแหน่งของตนในสงั คมที่แนน่ อน
จ. เพื่อให้บุคคลไดร้ ู้จกั บทบาทและหน้าที่ตอ่ ตนเองและต่อผู้อ่ืนๆ

7. ขอ้ ใดกล่าวถึงประโยชน์ของสถานภาพและบทบาทไม่ถูกตอ้ ง
ก. ทาใหแ้ ต่ละบุคคลรู้จกั หน้าทแี่ ละมีความรับผิดชอบ
ข. ทาใหส้ งั คมนั้นมีการปฏิสมั พันธก์ นั อยา่ งมีระบบแบบแผนทถ่ี ูกต้อง
ค. ทาใหส้ งั คมขาดระบบเพราะสมาชกิ ในสงั คมไม่ปฏบิ ัตติ ามหน้าทีข่ องตน
ง. ทาใหส้ งั คมแบ่งหนา้ ทรี่ ะหว่างสมาชกิ ทางานตามความถนดั และความสามารถ
จ. ทาให้สมาชกิ ในสังคมรู้ถึงฐานะของกนั และกนั สามารถปฏบิ ตั ิตอ่ กนั ไดอ้ ย่างถูกตอ้ ง

8. ข้อใดมสี ถานภาพตา่ งจากพวก
ก. ครู
ข. คนจนี
ค. ทหาร
ง. นกั รอ้ ง
จ. พยาบาล

17

9. หน่วยงานบรษิ ทั กองทัพ โรงพยาบาล โรงงานอุตสาหกรรม อยูใ่ นกลุ่มของการจัดระเบียบสงั คม
รูปแบบใด

ก. แบบเครือญาติ
ข. แบบจงรักภกั ดี
ค. แบบสถานภาพ
ง. แบบพันธะสัญญา
จ. แบบองค์การ
10. องค์กรใดที่มีบทบาทสาคัญทีส่ ุดในการจัดระเบียบสังคม
ก. ครอบครัว
ข. โรงเรยี น
ค. ศาสนา
ง. กล่มุ เพ่ือน
จ. ถกู ทุกข้อ

18

เฉลยแบบทดสอบ กอ่ นเรยี น-หลังเรียน
หนว่ ยเรียนรูท้ ่ี 2

เฉลยแบบทดสอบ เฉลยแบบทดสอบ
ก่อนเรียน หลังเรียน
1.จ 1.จ
2.ค 2.ข
3.ก 3.ง
4.ข 4.จ
5.จ 5.ค
6.ง 6.ก
7.ข 7.ค
8.ค 8.ข
9.ก 9.จ
10.จ 10.ก

เกณฑ์การประเมนิ ผล ดมี าก
คะแนนเต็ม 10 คะแนน ขอ้ ละ 1 คะแนน ดี
ระดับคะแนน 9-10 คะแนน พอใช้
ปรบั ปรุง
7-8 คะแนน
5-6 คะแนน
0-4 คะแนน

19

แนวตอบใบงานการเรียนรู้
หนว่ ยเรยี นรทู้ ี่ 2

1. บอกความหมายของการจดั ระเบียบสังคม (Social organization)
การจัดระเบียบสังคม หมายถึง การวางรูปแบบของพฤติกรรมและกระบวนการสร้าง

ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มบุคคลทุกสังคมจะมากน้อยแตกต่างกันไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติซึ่งเป็น
ส่ิงจาเป็นพ้นื ฐานต่อการดารงอยูข่ องสังคมทุกสังคมโดยจะเกิดข้ึนตั้งแต่ครอบครัวไปจนถึงระดับนานา
ประเทศ
2. ปจั จยั ใดที่ทาให้เกดิ แนวคดิ การจัดระเบยี บสังคม

ปัจจยั ตา่ งๆ ท่ีทาให้เกดิ แนวคดิ การจดั ระเบียบสังคม มดี งั นี้
1. แหล่งกาเนิดของการปฏิสัมพันธ์มีการกระทาต่อกัน เช่น การคบค้าสมาคม การเจรจา
ตอ่ รอง การโตแ้ ยง้
2. คุณลกั ษณะต่างๆ ทีก่ อ่ ใหเ้ กดิ การจัดระเบยี บสงั คม เชน่ การกระทาต่อกันอย่างต่อเน่ือง
การควบคุมหรือการบังคับความแตกต่างระหว่างกิจกรรมท่ีบุคคลกระทาแตกต่างกัน พฤติกรรมที่
เกิดขน้ึ ซ้าๆ
3. บรรทัดฐานและพฤติกรรม การจัดระเบียบสังคมมีท้ังบรรทัดฐานสังคมและพฤติกรรม
ของบุคคลในสังคม โดยบรรทัดฐานเกิดจากแบบพฤติกรรมที่สังคมกาหนดข้ึนเพ่ือเป็นแนวทางให้
บุคคลยดึ ถือปฏิบตั ใิ นสถานการณ์ตา่ งๆ
4. ความเป็นจริงด้านอัตวสิ ัยและภาวะวิสัย การจัดระเบยี บสงั คมทส่ี าคัญนั้นจาเป็นจะต้อง
พิจารณาทง้ั อัตวสิ ัยและภาวะวิสัยควบคู่กัน เพราะอัตวสิ ยั เป็นการยึดวัฒนธรรม ด้านคติ ความเชื่อของ
ตนเองและบุคคลในสังคมสว่ นใหญ่เป็นหลัก แต่ภาวะวิสัยต้องอาศัยการพิจารณาวิเคราะห์ภาวะต่างๆ
จากกิจกรรมรว่ มกนั ตดั สินใจ
3. องค์ประกอบของการจดั ระเบียบสังคมมีอะไรบ้าง
องค์ประกอบของการจดั ระเบียบสังคมมี 4 ประการ ดงั ต่อไปน้ี
3.1 บรรทดั ฐาน (Norms)
3.2 สถานภาพ (Status)
3.3 บทบาท (Roles)
3.4 สถาบนั สงั คม (Social Institution)
4. บรรทดั ฐาน (Norms) คืออะไร แบง่ ไดก้ ี่ประเภท อะไรบ้าง
บรรทดั ฐาน (Norms) คอื ระเบียบแบบแผนทสี่ ังคมกาหนดไว้เพ่อื เปน็ แนวทางสาหรับบุคคล
หรือสมาชิกในสังคมน้ันยึดถือปฏิบัติในสถานการณ์ต่างๆ หรือเป็นแนวทางในการปฏิบัติในกิจกรรม
ต่างๆ ร่วมกนั เช่น ในการศกึ ษาอบรม จะมรี ะเบยี บเป็นแนวปฏิบัติในการเรียนการสอน การสอบและ

20

การเล่ือนช้ัน เป็นต้น บรรทัดฐานแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ วิถีประชา (Folkways) จารีต (Mores)
และกฎหมาย (Laws)
5. สถานภาพ (Status) คืออะไร เกี่ยวขอ้ งกับบทบาท (Roles) อย่างไร

สถานภาพ (Status) คือ ตาแหน่งหรือฐานะของบุคคลที่ได้จากการเป็นสมาชิกของกลุ่ม
หรือสังคม สถานภาพจะกาหนดว่าบุคคลน้ันๆ จะเกี่ยวข้องกับบทบาท (Roles) โดยมีหน้าท่ีที่ต้อง
ปฏบิ ตั ติ อ่ บคุ คลและสังคมตาม สถานภาพเฉพาะตวั แตล่ ะบคุ คล

21

เอกสารอา้ งองิ

ณรงค์ เสง็ ประชา. (2538). มนษุ ย์กับสังคม. กรุงเทพฯ: สานกั พิมพโ์ อเดยี นสโตร์.
นิยพรรณ วรรณศิริ. (2550). มานษุ ยวทิ ยาสงั คมและวัฒนธรรม. กรงุ เทพฯ: บริษัท เอ็กซเปอร์เน็ท.
ไพฑรู ย์ มีกุศล. (2556). มนุษยก์ ับการจัดระเบียบสงั คม. นนทบรุ ี: สานักพมิ พ์

มหาวิทยาลยั สโุ ขทัยธรรมาธิราช.
มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์. (2553). มนุษยก์ ับสังคม. กรงุ เทพฯ: สานกั พมิ พ์

มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์.
เว็บไซต์
https://hilight.kapook.com/view/17298 (สืบคน้ 1 มกราคม 2558)
https://www.tcijthai.com/news/2012/03/scoop/425 (สบื ค้น 1 มกราคม 2558)


Click to View FlipBook Version