The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

สรุปอาเซียนศึกษา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Parker W., 2019-07-27 10:10:42

อาเซียนศึกษา

สรุปอาเซียนศึกษา

ASEAN - REPUBLIC OF KOREA (ROK)



อาเซยี น - สาธารณรฐั เกาหลี
สาธารณรัฐเกาหลีเร่มิ มคี วามสัมพนั ธก์ ับอาเซียนในปี พ.ศ. 2532 ในฐานะประเทศ

คู่เจรจาเฉพาะด้าน และพัฒนาไปสู่การเป็นคู่เจรจาของอาเซียนในปี พ.ศ. 2534 โดยในป ี
พ.ศ. 2547 สาธารณรัฐเกาหลีได้เข้าเป็นภาคีสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation : TAC) และลงนามใน
Joint Declaration on Comprehensive Partnership เพื่อส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วน
อยา่ งรอบดา้ น

ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 อาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลีได้ลงนามใน Joint

Declaration for Cooperation to Combat International Terrorism และ
Framework Agreement on Comprehensive Economic Cooperation ซง่ึ กำหนดให้
มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างกัน โดยทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในความตกลงว่าด้วย
การค้าสินคา้ ในปี พ.ศ. 2549 และความตกลงว่าด้วยการคา้ บริการในปี พ.ศ. 2550

ในปี พ.ศ. 2552 อาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลีไดจ้ ัดตั้งศูนยอ์ าเซยี น - เกาหลี

(ASEAN - Korea Centre) ที่กรุงโซล เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน
การท่องเที่ยว และการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกัน (www.aseankorea.org)

100

กรมอาเซียน กระทรวงการตา่ งประเทศ ASEAN’S EXTERNAL RELATIONS

และได้จดั ต้งั กองทุน ASEAN - ROK Future Oriented Cooperation Projects : FOCP
และกองทนุ ASEAN - ROK Special Cooperation Fund : SCF เพอื่ ส่งเสริมการดำเนิน
โครงการความร่วมมือระหว่างกัน

ในปี พ.ศ. 2553 อาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลีได้เห็นชอบให้ยกระดับ

ความสัมพันธ์จากหุ้นส่วนอย่างรอบด้านเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ และร่วมรับรอง
แถลงการณ์ร่วม ว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์เพื่อสันติภาพและความรุ่งเรือง
(Joint Declaration on ASEAN-Republic of Korea Strategic Partnership for Peace
and Prosperity) และแผนปฏบิ ตั กิ ารอาเซยี น - สาธารณรฐั เกาหลี เพอ่ื ดำเนนิ การตามปฏญิ ญาฯ
ระหวา่ งปี พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2558 นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2555 สาธารณรัฐเกาหลยี งั ได้
จัดต้ังคณะผแู้ ทนถาวรสาธารณรฐั เกาหลปี ระจำอาเซยี น ณ กรุงจาการต์ า อกี ด้วย

101

ASEAN - NEW ZEALAND

อาเซยี น - นวิ ซแี ลนด ์

ความสัมพันธ์อาเซียน - นิวซีแลนด์ เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ 2518 (ค.ศ. 1975) โดย
นวิ ซแี ลนดเ์ ปน็ ประเทศคเู่ จรจาลำดบั ท่ี 2 ของอาเซยี น อาเซยี นและนวิ ซแี ลนดจ์ ะมคี วามสมั พนั ธ์
ครบ 40 ปี ในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) ในระยะแรกความสัมพันธ์อาเซยี น - นิวซีแลนด์เป็น
ในลักษณะผู้รับกับประเทศผู้ให้ แต่ในปัจจุบันได้พัฒนาไปสู่ความสัมพันธ์อย่างรอบด้าน
และปรับแนวทางความร่วมมือในอนาคตเป็นระยะๆ เพื่อให้สนองตอบต่อความต้องการ
การจัดลำดับความสำคัญ ความชำนาญ และผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองฝ่าย
ความสมั พนั ธอ์ าเซยี น - นวิ ซีแลนด์ ไดค้ รอบคลุมความร่วมมอื ดา้ นการเมืองและความมั่นคง
ความสมั พนั ธด์ ้านเศรษฐกจิ และความรว่ มมอื เพื่อการพฒั นา

ในด้านการเมืองและความมั่นคง นวิ ซแี ลนดเ์ ขา้ เปน็ ภาคคี วามตกลงหรอื ภาคยานวุ ตั ิ

สนธสิ ญั ญามิตรภาพและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชยี ตะวันออกเฉยี งใต้ (Treaty of Amity
and Cooperation : TAC) ในปี พ.ศ. 2548 และลงนามในปฏญิ ญารว่ มวา่ ดว้ ยความรว่ มมอื
เพือ่ ตอ่ ต้านการกอ่ การร้ายสากลกับอาเซยี น (ASEAN - New Zealand Joint Declaration
for Cooperation to Combat International Terrorism)

ในด้านเศรษฐกิจ อาเซียน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ได้ลงนามความตกลง

เพอ่ื จดั ตง้ั เขตการคา้ เสรอี าเซยี น - ออสเตรเลยี - นวิ ซแี ลนด์ (ASEAN - Australia - New Zealand
Free Trade Agreement : AANZFTA) เมื่อปี พ.ศ. 2552 ความตกลงดังกล่าวส่งผลให้

102

กรมอาเซยี น กระทรวงการต่างประเทศ ASEAN’S EXTERNAL RELATIONS

มลู คา่ การคา้ ระหวา่ งอาเซยี น - นวิ ซแี ลนด์ ขยายตวั ขน้ึ ประมาณรอ้ ยละ 15 ตง้ั แตป่ ี พ.ศ. 2553
การค้าสินค้าระหว่างอาเซียนกับนิวซีแลนด์ในปี พ.ศ. 2554 มีมูลค่ารวม 8,733.60
ลา้ นดอลลารส์ หรฐั โดยอาเซยี นไดด้ ลุ การคา้ นวิ ซแี ลนดเ์ ปน็ มลู คา่ 1,631.52 ลา้ นดอลลารส์ หรฐั
(อาเซยี นสง่ ออกไปนวิ ซแี ลนดเ์ ปน็ มลู คา่ 5,182.56 ลา้ นดอลลารส์ หรฐั และนำเขา้ จากนวิ ซแี ลนด์
เป็นมลู คา่ 3,551.04 ลา้ นดอลลาร์สหรฐั )

ในด้านความร่วมมือเพื่อการพัฒนา นิวซีแลนด์ให้ความสำคัญกับความร่วมมือ

ดา้ นการศกึ ษา การพฒั นาทรพั ยากรมนษุ ย์ การเกษตร การจดั การภยั พบิ ตั ิ และการลดชอ่ งวา่ ง
ทางการพฒั นา ในเรือ่ งการจดั การภัยพบิ ตั ิ นวิ ซีแลนด์ไดใ้ หค้ วามช่วยเหลอื ในการจดั ต้ังศูนย์
ประสานงานอาเซยี นในการใหค้ วามชว่ ยเหลอื ดา้ นมนษุ ยธรรม (ASEAN Coordinating Centre
for Humanitarian Assistance : AHA Centre)
ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับนิวซีแลนด์ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม
พ.ศ. 2553 ได้ใหก้ ารรับรองเอกสาร 2 ฉบบั คอื
1. ปฏิญญาร่วมว่าดว้ ยความเป็นห้นุ สว่ นท่คี รอบคลุมทกุ ดา้ นระหวา่ งอาเซียนและ
นิวซีแลนด์ (Joint Declaration for an ASEAN - NZ Comprehensive
Partnership) และ
2. แผนปฏิบัติการเพื่อปฏิบัติตามปฏิญญาร่วมว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนที่
ครอบคลุมทุกด้านระหว่างอาเซียนและนิวซีแลนด์ ค.ศ. 2012-2015
(Plan of Action to Implement the Joint Declaration for an
ASEAN - NZ Comprehensive Partnership 2012 - 2015) เพอ่ื เปน็ แนวทาง
การดำเนินความร่วมมือทางการเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและ
วฒั นธรรม และการพฒั นาระหว่างอาเซียนและนวิ ซแี ลนด์

103

ASEAN - RUSSIA

อาเซยี น - รสั เซยี
ความสมั พนั ธอ์ าเซยี น-รสั เซยี
ความสัมพันธ์อาเซียน - รัสเซีย เริ่มต้นจากการหารือระหว่างอาเซียนกับรัสเซีย

ในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) และพฒั นาความสมั พนั ธจ์ นรสั เซยี ไดร้ บั สถานะประเทศคเู่ จรจา
กับอาเซียน ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ สมัยที่ 29 ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2539
ท่ีกรุงจาการ์ตา ประเทศอนิ โดนีเซีย
ในระดบั ผนู้ ำ ได้มีการประชมุ สดุ ยอดอาเซยี น - รัสเซีย คร้งั แรก ในปี พ.ศ. 2548
ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย และครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2553 ที่กรุงฮานอย
ประเทศเวียดนาม และทุกปีจะมีการประชุมระดับรัฐมนตรีต่อเนื่องกับการประชุมรัฐมนตรี
ต่างประเทศอาเซียน เพื่อกำหนดทิศทางความร่วมมือและความสัมพันธ์ระหว่างกัน
มีการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจดูแล
ภาพรวมการดำเนินความสัมพันธ์ และมีกลไกเพื่อประสานงานและติดตามการดำเนินงาน
ผา่ นการประชมุ ระดบั อธบิ ดี มกี ารประชมุ คณะกรรมการรว่ มดา้ นการวางแผนและการจดั การ
ซึ่งมคี ณะทำงานรายสาขา เชน่ คณะทำงานด้านวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี และคณะทำงาน
ว่าดว้ ยความร่วมมือดา้ นเศรษฐกิจ

104

กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ASEAN’S EXTERNAL RELATIONS

ความสมั พนั ธอ์ าเซยี น - รสั เซยี ไดม้ พี ฒั นาการอยา่ งตอ่ เนอ่ื งและครอบคลมุ หลายมติ ิ
ทั้งในด้านการเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม โดยในปี พ.ศ. 2546
ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามปฏิญญาร่วมอาเซียน - รัสเซีย ว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนเพื่อสันติภาพ
ความมั่นคง ความมัง่ คั่ง และการพฒั นาในภูมภิ าคเอเชีย - แปซฟิ กิ และเมือ่ ปี พ.ศ. 2547
รสั เซยี ไดล้ งนามในสนธสิ ญั ญามติ รภาพและความรว่ มมอื ในเอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใต้ ตอ่ มาในปี
พ.ศ. 2548 ผนู้ ำอาเซยี นและรสั เซยี ไดล้ งนามในเอกสารสำคญั คอื Joint Declaration of the
Heads of State/Government of the Member Countries of ASEAN and the Head
of State of the Russian Federation on Progressive and Comprehensive Partnership
รวมทั้งได้รับรอง Comprehensive Programme of Action 2005 - 2015 เพื่อเป็น
แนวทางการดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อาเซียน - รัสเซีย ตามปฏิญญาร่วม
ดงั กลา่ ว
สำหรับความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจนั้น รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและรัฐมนตรี
เศรษฐกิจรัสเซีย ได้จัดการประชุมหารือกันครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2553 ณ เมืองดานัง
ประเทศเวียดนาม นอกจากนี้ ในปีเดียวกันยังได้มีการจัดทำ ASEAN - Russia Energy
Cooperation Work Programme 2010 - 2015 เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริม
ความร่วมมือด้านพลังงานอาเซียน - รัสเซีย และความตกลงว่าด้วยความร่วมมือ
ทางวัฒนธรรมระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิกอาเซียนกับรัฐบาลรัสเซีย (Agreement on
Cultural Cooperation between the Governments pf the Member States of ASEAN
and the Government of the Russian Federation) ดว้ ย
เมอ่ื พ.ศ. 2554 อาเซยี นและรสั เซยี ไดฉ้ ลองครบ 15 ปคี วามสมั พนั ธอ์ าเซยี น - รสั เซยี
โดยประเทศสมาชกิ อาเซยี นได้จัดตงั้ ASEAN Moscow Committee ข้นึ เพ่ือเปน็ อกี ชอ่ งทาง
หน่ึงในการตดิ ตามและผลักดนั ความรว่ มมืออาเซยี น - รัสเซยี ต่อไป

105

ASEAN - USA

อาเซยี น - สหรฐั ฯ
1. ภมู หิ ลงั

ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ เริ่มต้นอย่างเป็นทางการเมื่อปี
พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) โดยในระยะแรกเน้นความร่วมมือด้านการพัฒนา ต่อมาขยายถึง
ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน โดยประเทศสมาชิกอาเซียนประสงค์ที่จะ
สง่ เสรมิ ความรว่ มมอื ดา้ นเศรษฐกจิ กบั สหรฐั ฯ ทง้ั ในระดบั ทวภิ าคแี ละในลกั ษณะกลมุ่ ประเทศ
ทั้งนี้ สหรัฐฯ ได้ให้ความสำคัญต่อประเด็นด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย
และยังคงตอ้ งการมบี ทบาทสำคญั เชงิ ยทุ ธศาสตร์ในภมู ิภาคตลอดมา
ในปัจจุบัน รัฐบาลสหรัฐฯ ดำเนินนโยบายปรับสมดุลย์ (re-balancing)
โดยให้ความสำคัญมากขึ้นกับภูมิภาคเอเชีย และเล็งเห็นความสำคัญของอาเซียน
ทง้ั ในดา้ นการเมอื ง ความมน่ั คง และเศรษฐกจิ ทง้ั น้ี นาย Barack Obama ประธานาธบิ ดสี หรฐั ฯ
ย้ำเสมอว่า สหรัฐฯ เป็นส่วนหนึ่งของแปซิฟิก (Pacific Nation) และแสดงเจตนารมณ์ของ
สหรัฐฯ ที่จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในภูมิภาคเอเชีย นอกจากนี้ ประธานาธิบดี Obama
ยังได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit : EAS) ครั้งที่ 6
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ที่เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย และครั้งที่ 7
เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งนับว่าเป็นการยืนยันเจตนารมณ์ของผู้นำสหรัฐฯ
ในการกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือกับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยสหรัฐฯ
ใหค้ วามสำคญั กบั การประชมุ สดุ ยอดเอเชยี ตะวนั ออก และเหน็ วา่ เปน็ เวทที ส่ี ำคญั ในการหารอื
ทางยุทธศาสตร์ระหวา่ งผนู้ ำ

106

กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ASEAN’S EXTERNAL RELATIONS

ประเทศไทยเปน็ ประเทศผปู้ ระสานงานความสมั พนั ธอ์ าเซยี น - สหรฐั ฯ ในชว่ ง
เดอื นกรกฎาคม พ.ศ. 2546 - เดอื นกรกฎาคม พ.ศ. 2549 ซง่ึ ในชว่ งดงั กลา่ ว อาเซยี นและสหรฐั ฯ
มีความร่วมมือที่ใกล้ชิดในด้านการต่อต้านการก่อการร้าย โดยทั้งสองฝ่ายได้จัดทำปฏิญญา
ร่วมอาเซียน - สหรัฐฯ เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างประเทศ
(ASEAN - U.S. Joint Declaration for Cooperation to Combat International Terrorism)
เมื่อปี พ.ศ. 2545 และความร่วมมือด้านเศรษฐกิจภายใต้กรอบความตกลงการค้าและ
การลงทนุ (Trade and Investment Framework Arrangement : TIFA) ซ่ึงทงั้ สองฝา่ ย
ได้ลงนามร่วมกนั เมือ่ ปี พ.ศ. 2549
ประเด็นทสี่ หรัฐฯ ใหค้ วามสำคัญ ได้แก่ พฒั นาการในเมียนมาร์ สถานการณ์
ในทะเลจีนใต้ ความร่วมมือด้านความมั่นคงในกรอบ ASEAN Regional Forum (ARF)
การสง่ เสรมิ สทิ ธมิ นษุ ยชน การตอ่ ตา้ นอาชญากรรมขา้ มชาติ การจดั การภยั พบิ ตั ิ การสนบั สนนุ
การสร้างประชาคมอาเซียนภายในปี ค.ศ. 2015 การพัฒนาความเชื่อมโยงในภูมิภาค
ของอาเซียน การให้ความสำคัญของสถาปัตยกรรมในภูมิภาคที่มีอาเซียนเป็นศูนย์กลาง
(ASEAN Centrality) และการมีบทบาทที่แข็งขันในการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก
(East Asia Summit : EAS) การสง่ เสรมิ การคา้ และการลงทนุ รวมทง้ั การเชญิ ชวนใหป้ ระเทศ
อาเซียนพิจารณาเข้าร่วมในกรอบความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เอเชีย - แปซิฟิก
(Trans - Pacific Partnership : TPP) กรอบความริเริ่มลุ่มแม่น้ำโขง (Lower Mekong
Initiative : LMI) ซึ่งเน้นในเรื่องการส่งเสริมความร่วมมือด้านการคมนาคม การศึกษา
สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม การเชื่อมโยงระหว่างกัน ความมั่นคงทางอาหารและการเกษตร
และความม่ันคงทางพลังงาน
ทป่ี ระชมุ ผนู้ ำอาเซยี น - สหรฐั ฯ ครง้ั ท่ี 1 ยงั ไดก้ ำหนดใหม้ กี ารจดั ตง้ั ผทู้ รงคณุ วฒุ ิ
อาเซยี น - สหรฐั ฯ (ASEAN - U.S. Eminent Persons Group : EPG) โดยมอบหมายภารกจิ ให้
EPG เสนอแนะแนวทางการยกระดับความสัมพันธ์อาเซียน - สหรัฐฯ จาก ‘enhanced
partnership’ เป็น ‘strategic partnership’ ตอ่ ผูน้ ำอาเซียน-สหรฐั ฯ ท้ังนี้ ผู้ทรงคณุ วฒุ ิ
ได้เสนอรายงานข้อเสนอแนะต่อที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน - สหรัฐฯ ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่
19 พฤศจกิ ายน พ.ศ. 2555

107

2. กลไกความรว่ มมอื

เมอ่ื ปี พ.ศ. 2548 สหรฐั ฯ และอาเซยี นไดอ้ อกแถลงการณ์วิสยั ทัศน์ร่วมกนั วา่
ด้วยความเป็นหนุ้ สว่ นเพ่ิมพูนระหวา่ งอาเซยี นกับสหรฐั ฯ (Joint Vision Statement on the
ASEAN - U.S. Enhanced Partnership) ซึ่งเป็นเอกสารกำหนดแนวทางความสัมพันธ์
ระหวา่ งกนั ทง้ั ทางการเมอื ง เศรษฐกจิ สงั คม และวฒั นธรรม และความรว่ มมอื เพอ่ื การพฒั นา
ปัจจุบัน อาเซียน - สหรัฐฯ มีกลไกความร่วมมือในหลายระดับ ได้แก่
การประชมุ ผนู้ ำอาเซยี น - สหรฐั ฯ (ASEAN - U.S. Leaders’ Meeting : AULM) เปน็ การประชมุ
ระดบั ผนู้ ำ การประชมุ รฐั มนตรตี า่ งประเทศอาเซยี น - สหรฐั ฯ (PMC) เปน็ การประชมุ ประจำปี
ระหวา่ งรัฐมนตรวี า่ การกระทรวงการตา่ งประเทศอาเซยี น - สหรัฐ ฯ การประชมุ ASEAN -
U.S. Dialogue เป็นการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (SOM) ซึ่งจัดขึ้นทุกปี โดยมีหัวข้อ
การหารือครอบคลุมทกุ เรื่อง การประชุม ASEAN - U.S. Joint Cooperation Committee
: JCC เป็นการประชุมระหว่างเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรอาเซียนกับเอกอัครราชทูตกิจการ
อาเซยี นของสหรฐั ฯ และการประชมุ ASEAN - U.S. Working Group Meeting เปน็ การประชมุ
ในระดับเจ้าหน้าที่ของประเทศสมาชิก เพื่อพิจารณาโครงการความร่วมมือระหว่างอาเซียน
และสหรัฐฯ ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะในสาขาความร่วมมือตาม Plan of Action to
Implement the ASEAN - U.S. Enhanced Partnership

3. สถานะลา่ สดุ

ระหว่างการประชุมผู้นำอาเซียน - สหรัฐฯ ครั้งที่ 4 ณ กรุงพนมเปญ เมื่อเดือน
พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ทั้งสองฝ่ายมุ่งมั่นที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ให้ก้าวหน้า และตกลง
ทจ่ี ะยกระดบั ความสมั พนั ธเ์ ปน็ หนุ้ สว่ นทางยทุ ธศาสตร์ (strategic partnership) โดยทง้ั สองฝา่ ย
จะเรง่ รดั การดำเนนิ การตามแผนปฏบิ ตั กิ ารอาเซยี น - สหรฐั ฯ ค.ศ. 2011-2015 (ASEAN - U.S.
Plan of Action to Implement the ASEAN - U.S. Enhanced Partnership 2011 - 2015)
นอกจากนี้ อาเซียนและสหรัฐฯ ได้เห็นพ้องกับข้อเสนอของผู้ทรงคุณวุฒิฯ ในการยกระดับ
การประชุมผูน้ ำอาเซียน - สหรัฐฯ เปน็ การประชุมสุดยอดอาเซยี น - สหรัฐฯ (ASEAN - U.S.
Leaders Summit) โดยกำหนดจดั การประชมุ สดุ ยอดฯ เปน็ ประจำทกุ ปี เรม่ิ จากปี พ.ศ. 2556

108

กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ASEAN’S EXTERNAL RELATIONS

พร้อมกันนี้ ผู้นำอาเซียนและสหรัฐฯ ได้รับรองแถลงการณ์ร่วมผู้นำอาเซียน - สหรัฐฯ
ครั้งที่ 4 เพื่อแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองที่ทั้งสองฝ่ายจะกระชับความร่วมมือระหว่างกัน
ในทุกมิติ อาทิ ด้านการเมืองและความมั่นคง (การจัดการภัยภิบัติผ่านกรอบ ASEAN
Agreement on Disaster Management and Emergency Response : AADMER
อาชญากรรมข้ามชาติและการค้ามนุษย์ การไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ ) ด้านเศรษฐกิจ
(การเพ่ิมมลู คา่ การคา้ การลงทุนโดยผา่ น 2013 ASEAN - U.S. Trade and Investment
Framework Arrangement : TIFA) การสง่ เสรมิ ความรว่ มมอื ระหวา่ งภาคเอกชนโดยเฉพาะ
SMEs และมีการจัด ASEAN - US Business Summit เป็นประจำทุกปี) การสนับสนุน
แผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันของอาเซียน (Master Plan on ASEAN
Connectivity : MPAC) และดา้ นการพฒั นาทรพั ยากรมนษุ ยแ์ ละลดชอ่ งวา่ งในการพฒั นาของ
อาเซียนผ่านกรอบความ ริเริ่มลุ่มน้ำโขงตอนล่าง (Lower Mekong Initiative : LMI)
การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชน ผ่านการศึกษา (โครงการ U.S.
Fulbright Exchange Program และโครงการความช่วยเหลือทางวิชาการผ่าน USAID
การฝึกอบรม - วิจยั รว่ มกนั และการสอนภาษาอังกฤษ)
สหรัฐฯ ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ASEAN - U.S. Dialogue ครั้งที่ 26
ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 โดยประเด็นหลักของการหารือ
เป็นประเด็นที่ฝ่ายสหรัฐฯ ให้ความสนใจ (U.S. led agenda) และพยายามผลักดันและ
มีบทบาทในอาเซียน ได้แก่ ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมและการบริหารจัดการภัยพิบัติ
ความมน่ั คงทางทะเล อาชญากรรมขา้ มชาติ Cyber Crime / Cyber Security หลกั ธรรมาภบิ าล
และนิติธรรม ความร่วมมือ ASEAN - U.S. Expanded Economic Engagement (E3)
Initiatives พลงั งาน การศกึ ษา และขอ้ รเิ รม่ิ ลมุ่ แมน่ ำ้ โขงตอนลา่ ง (Lower Mekong Initiative
: LMI) ทง้ั น้ี สหรฐั ฯ ยงั ไดก้ ลา่ วยำ้ ถงึ นโยบายปรบั สมดลุ ยข์ องสหรฐั ฯ ทม่ี งุ่ กระชบั ความสมั พนั ธ์
กบั ภมู ภิ าคเอเชยี และพยายามผลกั ดนั ใหม้ กี ารขบั เคลอ่ื นความรว่ มมอื E3 ซง่ึ จะชว่ ยยกระดบั
มาตรฐานการจัดทำความตกลงการค้าเสรีของอาเซียน และปูทางไปสู่ Trans - Pacific
Strategic Economic Partnership Agreement (TPP) โดยเมียนมาร์จะเป็นเจ้าภาพ
จัดการประชุม ASEAN - U.S. Dialogue ครั้งที่ 27 ที่เมียนมาร์ ในช่วงครึ่งปีแรกของปี
พ.ศ. 2557

109

ASEAN - UNITED NATIONS

อาเซยี น - สหประชาชาต ิ

ความสัมพันธ์อาเซียน - สหประชาชาติ (United Nations - UN) เริ่มต้นจาก
ความรว่ มมอื ดา้ นวชิ าการระหวา่ งอาเซยี นกบั United Nations Development Programme
(UNDP) ต้งั แต่ปี พ.ศ. 2513 และ UNDP ไดร้ บั สถานะ Dialogue Partner ของอาเซยี นในปี
พ.ศ. 2520 ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับสหประชาชาติได้พัฒนาให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น
โดยอาเซยี นไดร้ บั สถานะเปน็ ผสู้ งั เกตการณข์ องสหประชาชาตใิ นปี พ.ศ. 2547 ซง่ึ แสดงใหเ้ หน็
ถึงความยอมรับบทบาทเชิงสร้างสรรค์ของอาเซียนภายในภูมิภาคว่าสอดคล้องกับความ
พยายามของประชาคมโลกที่จะร่วมมือกันสร้างความสงบสุข และส่งเสริมการพัฒนา
ทเี่ ท่าเทียมกัน
อาเซียนและสหประชาชาติ มีความร่วมมือกันในหลายระดับ ในระดับผู้นำได้มี
การประชมุ สดุ ยอดอาเซยี น - สหประชาชาติ ครง้ั แรกเมอ่ื ปี พ.ศ. 2543 โดยมวี ตั ถปุ ระสงคห์ ลกั
เพอ่ื กำหนดแนวทางความรว่ มมอื อาทิ การพฒั นาทรพั ยากรมนษุ ย์ การลดชอ่ งวา่ งในการพฒั นา
เป็นต้น รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์และเสริมสร้างการเชื่อมโยงที่ต่อเนื่องระหว่างประเทศ
ในกลุ่มอาเซียนและสหประชาติ นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้มีการประชุมระดับรัฐมนตรี
ต่างประเทศกับเลขาธกิ าร UN และประธานสมัชชาสหประชาชาติ ในช่วงการประชุมสมัชชา
สหประชาชาติ สมัยสามัญ (UN General Assembly : UNGA) ทุกปี ที่นครนิวยอร์ก
เพื่อประสานความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่ายให้มีความต่อเนื่อง รวมทั้งผลักดันนโยบายไปสู่
แผนงานและกิจกรรมทเี่ ป็นรูปธรรม

110

กรมอาเซยี น กระทรวงการต่างประเทศ ASEAN’S EXTERNAL RELATIONS

ในปี พ.ศ. 2550 อาเซยี นกบั สหประชาชาติ ไดร้ ่วมกันลงนามในบันทึกความเขา้ ใจ
วา่ ดว้ ยความรว่ มมอื ระหวา่ งอาเซยี นกบั สหประชาชาติ (Memorandum of Understanding
Between the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) and the United
Nations (UN) on ASEAN - UN Cooperation) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่าง
สำนักเลขาธิการอาเซียนกับสำนักเลขาธิการสหประชาชาติให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น โดยเน้นให้
องค์การทั้งสองทำงานร่วมกันเพื่อเสริมสร้างและรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค
และเพอ่ื บรรลเุ ปา้ หมายการพฒั นาแหง่ สหสั วรรษ (Millennium Development Goals) ในปี
พ.ศ. 2558 นอกจากนี้ ทั้งสององค์การจะร่วมมือกันในการสนับสนุนการสร้างประชาคม
อาเซียนทั้ง 3 เสา รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกลไกเฉพาะด้านของอาเซียนกับ
UN specialized agencies โดยเฉพาะความรว่ มมอื กับ UNESCAP เพอ่ื แลกเปล่ยี นขอ้ มลู
ความเชย่ี วชาญในประเดน็ ความรว่ มมอื ตา่ งๆ ซง่ึ บนั ทกึ ความเขา้ ใจฉบบั นไ้ี ดก้ ลายเปน็ พน้ื ฐาน
สำคัญสำหรับความร่วมมือในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ผู้ประสบภัยจาก
ไซโคลนนาร์กิส ที่ประเทศเมียนมาร์ เมื่อปี พ.ศ. 2551 และนำไปสู่การรับรอง Joint
Declaration on ASEAN - UN Collaboration in Disaster Management ระหวา่ งผูน้ ำ
อาเซียนและสหประชาชาติในการประชุมสดุ ยอดอาเซยี น - สหประชาชาติครง้ั ท่ี 3 เมื่อเดือน
พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ในการประชุมสุดยอดอาเซียน - สหประชาชาติ ครั้งที่ 4 เมื่อเดือนพฤศจิกายน
พ.ศ. 2554 ผู้นำอาเซียนและเลขาธิการสหประชาชาติ ได้รับรองปฏิญญาว่าด้วย
ความเปน็ หนุ้ สว่ นระหวา่ งอาเซยี นกบั สหประชาชาติ (Joint Declaration on Comprehensive
Partnership between the ASEAN and the UN) เพื่อส่งเสริมและขยายความร่วมมอื
ท่ีเปน็ หุน้ ส่วนระหว่างอาเซียนกับสหประชาชาติให้มากยง่ิ ข้นึ โดยเฉพาะในประเด็นที่ท้าทาย
ต่อภูมิภาคและต่อโลก อาทิ การรักษาสันติภาพ การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
การบริหารจัดการภัยพิบัติ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล
สทิ ธมิ นุษยชน การขจดั ปัญหาความยากจน ความมัน่ คงของมนุษย์ การบรรลุเปา้ หมายแห่ง
สหัสวรรษของสหประชาชาติ การพัฒนาแบบยั่งยืน ความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน
และโรคระบาด

111

ASEAN+3 (CHINA-JAPAN-ROK)

อาเซยี น +3
(จนี ญป่ี นุ่ และสาธารณรฐั เกาหล)ี

กรอบความรว่ มมอื อาเซยี น+3 เรม่ิ ตน้ ขน้ึ เมอ่ื ปี พ.ศ. 2540 ในชว่ งทเ่ี กดิ วกิ ฤตการณ์
ทางการเงินในภูมิภาคเอเชียตะวันออก โดยมีการพบหารือระหว่างผู้นำของประเทศสมาชิก
อาเซียนและผู้นำของจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี เป็นครั้งแรก ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์
ประเทศมาเลเซีย เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2540 นับแต่นั้นเป็นต้นมา การประชุมสุดยอด
อาเซยี น+3 ไดจ้ ดั ข้นึ เปน็ ประจำทุกปีในช่วงเดียวกบั การประชมุ สดุ ยอดอาเซียน
กรอบความรว่ มมอื อาเซยี น+3 เรม่ิ เปน็ รปู เปน็ รา่ งภายหลงั การออกแถลงการณร์ ว่ ม
ว่าด้วยความร่วมมือเอเชียตะวันออก เมื่อปี พ.ศ. 2542 และการจัดตั้ง East Asia Vision
Group : EAVG ในปี พ.ศ. 2542 เพอื่ จัดวางวสิ ัยทศั นค์ วามร่วมมอื ในเอเชียตะวนั ออก EAVG
ไดเ้ สนอแนะแนวคิดการจัดต้ังประชาคมเอเชยี ตะวนั ออก (East Asian Community : EAc)
และมาตรการความร่วมมอื ในดา้ นต่างๆ เพอ่ื นำไปส่กู ารจดั ตัง้ EAc
ในการประชมุ สุดยอดอาเซียน+3 ครั้งที่ 9 ทก่ี รงุ กัวลาลัมเปอร์ เมอ่ื ปี พ.ศ. 2548
ผู้นำได้ลงนามใน Kuala Lumpur Declaration on the ASEAN+3 Summit กำหนด
ให้การจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออกเป็นเป้าหมายระยะยาว และให้กรอบอาเซียน+3

112

กรมอาเซียน กระทรวงการตา่ งประเทศ ASEAN’S EXTERNAL RELATIONS

เป็นกลไกหลักในการนำไปสู่เป้าหมายระยะยาวดังกล่าว ในโอกาสครบรอบ 10 ปี
ของกรอบอาเซียน+3 ในปี พ.ศ. 2550 ได้มีการออกแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือ
เอเชียตะวนั ออก ฉบับที่ 2 และแผนงานความร่วมมืออาเซยี น+3 (พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2560)
ปจั จุบัน ความรว่ มมอื ในกรอบอาเซยี น+3 ครอบคลมุ ความรว่ มมือต่างๆ มากกวา่
20 สาขา ภายใตก้ รอบการประชมุ ในระดบั ตา่ งๆ ประมาณ 60 กรอบการประชมุ ซง่ึ ประเทศไทย
ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมความเชื่อมโยงในภูมิภาค ตลอดจนผลักดันการดำเนินการ
ตามแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน (Master Plan on ASEAN
Connectivity : MPAC) ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของการเป็นประชาคมอาเซียน
การรวมตัวกันในภูมิภาค และการลดช่องวา่ งดา้ นการพัฒนา โดยที่ประชุมสดุ ยอดอาเซยี น+3
สมัยพิเศษ เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ที่กรุงพนมเปญ ได้รับรองแถลงการณ์
ผู้นำว่าดว้ ยความเป็นหนุ้ ส่วนความเช่อื มโยงอาเซียน+3 (Leaders’ Statement on ASEAN
Plus Three Partnership on Connectivity) ตามข้อริเริม่ ของประเทศไทย

113

7 TH EAST ASIA SUMMIT
PLENARY SESSON

Phnom Penh, 20 November 2012

การประชมุ สดุ ยอดเอเชยี ตะวนั ออก (East Asia Summit : EAS)

การประชมุ สุดยอดเอเชยี ตะวันออก (East Asia Summit : EAS) เดมิ เปน็ ขอ้ ริเรม่ิ
ในกรอบอาเซียน+3 (จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี) โดยจะเป็นการวิวัฒนาการของ
การประชมุ สดุ ยอดอาเซยี น+3 ไปสกู่ ารประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก อย่างไรกด็ ี อาเซยี น
เหน็ วา่ ควรเปิดกวา้ งใหป้ ระเทศนอกกลมุ่ อาเซยี น+3 เขา้ ร่วมดว้ ย โดยไดก้ ำหนดหลกั เกณฑ์
3 ประการสำหรับการเขา้ ร่วม ได้แก่
การเปน็ ประเทศคเู่ จรจาเต็มตัวของอาเซียน
การมคี วามสมั พันธท์ ีแ่ นน่ แฟน้ กบั อาเซยี น และ
การภาคยานวุ ตั สิ นธสิ ญั ญามติ รภาพและความรว่ มมอื ในเอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใต ้
(Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia : TAC)
ในปัจจุบัน มีประเทศที่เข้าร่วมใน EAS จำนวน 18 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน
10 ประเทศ ออสเตรเลีย จีน อนิ เดยี ญีป่ ุ่น สาธารณรฐั เกาหลี นิวซีแลนด์ รัสเซีย และสหรัฐฯ
โดยรสั เซียและสหรัฐฯ เขา้ รว่ มการประชมุ EAS เปน็ คร้ังแรกในเดือนพฤศจกิ ายน พ.ศ. 2554
ที่บาหลี
ในการประชุม EAS ครงั้ ท่ี 1 ท่กี รงุ กัวลาลัมเปอร์ เมือ่ วนั ท่ี 14 ธนั วาคม พ.ศ. 2548
ไดม้ กี ารลงนาม Kuala Lumpur Declaration on East Asia Summit กำหนดให้ EAS
เปน็ เวทีหารอื ทางยุทธศาสตรท์ ่เี ปดิ กวา้ ง โปรง่ ใส และครอบคลุม และทป่ี ระชมุ ฯ ยังเห็นพ้อง
กบั แนวคดิ ของประเทศไทยทใ่ี ห้ EAS เปน็ เวทขี องผนู้ ำทจ่ี ะแลกเปลย่ี นความเหน็ และวสิ ยั ทศั น์

114

กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ASEAN’S EXTERNAL RELATIONS

ในประเด็นยุทธศาสตร์อย่างเปิดกว้างอีกด้วย การประชุม EAS มีขึ้นเป็นประจำทุกปี
ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน โดยมีประเทศที่เป็นประธานอาเซียนในปีนั้นเป็นประธาน
ในการประชมุ EAS ครง้ั ท่ี 6 ทบ่ี าหลี เมอ่ื เดอื นพฤศจกิ ายน พ.ศ. 2554 ทป่ี ระชมุ ฯ ไดเ้ นน้ ยำ้
การสง่ เสริมความร่วมมอื ใน 5 สาขา ได้แก่ พลังงาน การเงนิ การศึกษา การจดั การภัยพิบัติ
และการสาธารณสุขและป้องกันโรคระบาด ควบคู่ไปกับการหารือเชิงยุทธศาสตร์เพื่อเสริม
สร้างสนั ตภิ าพ เสถยี รภาพ และความมง่ั ค่ังในภูมิภาค และทปี่ ระชุมฯ ได้รับรอง
Declaration of the East Asia Summit on the Principles for Mutually
Beneficial Relations เพอ่ื แสดงเจตนารมณท์ จ่ี ะยอมรบั รว่ มกนั ในหลกั การและแนวปฏบิ ตั ิ
ต่างๆ ที่จะเป็นตัวกำหนดรูปแบบและแนวทางในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เข้าร่วม
EAS และ
Declaration of the East Asia Summit on ASEAN Connectivity
เพื่อแสดงเจตนารมณ์ที่จะร่วมมือกันส่งเสริมการมีส่วนร่วมและความร่วมมือระหว่างอาเซียน
กับประเทศคู่เจรจาที่เข้าร่วม EAS ในการพัฒนาความเชื่อมโยงในอาเซียนตามแผนแม่บท
อาเซยี นวา่ ดว้ ยความเชอ่ื มโยงระหวา่ งกนั ในอาเซยี น (Master Plan on ASEAN Connectivity
: MPAC)
ในการประชมุ EAS คร้งั ที่ 7 เมื่อวันท่ี 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ทกี่ รุงพนมเปญ
ทป่ี ระชุมฯ ไดร้ ับรองเอกสารจำนวน 2 ฉบบั ไดแ้ ก่
แถลงการณพ์ นมเปญวา่ ดว้ ยขอ้ รเิ รม่ิ ดา้ นการพฒั นาของการประชมุ สดุ ยอด
เอเชยี ตะวันออก (Phnom Penh Declaration on East Asia Summit Development
Initiative) ซึ่งเป็นข้อเสนอของจีน เพื่อให้ EAS ให้ความสำคัญมากขึ้นเกี่ยวกับประเด็น
ดา้ นการพัฒนา
แถลงการณก์ ารประชมุ สดุ ยอดเอเชยี ตะวันออก ครง้ั ท่ี 7 วา่ ดว้ ยการรบั มือ
ในระดบั ภมู ภิ าคเกย่ี วกบั การควบคมุ และจดั การกบั ปญั หาโรคมาลาเรยี ทด่ี อ้ื ยา (Declaration
of the 7th East Asia Summit on Regional Responses to Malaria Control and
Addressing Resistance to Antimalarial Medicines) ซึ่งเสนอโดยออสเตรเลีย

115

การเชอ่ื มโยง

ระหวา่ งกนั ในอาเซยี น (ASEAN Connectivity)

ความเปน็ มา

ทป่ี ระชมุ สดุ ยอดอาเซยี น ครง้ั ท่ี 15 เมอ่ื เดอื นตลุ าคม พ.ศ. 2552 ทช่ี ะอำ - หวั หนิ
ประเทศไทย เห็นชอบกับข้อเสนอของไทยเกี่ยวกับแนวคิดความเชื่อมโยงระหว่างกัน
ในอาเซียน (ASEAN Connectivity) เพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นของอาเซียนและ
นำอาเซียนไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 และได้ออกแถลงการณ์ว่าด้วย
ความเชอ่ื มโยงระหวา่ งกนั ในอาเซยี น รวมทง้ั ไดจ้ ดั ตง้ั คณะทำงานระดบั สงู วา่ ดว้ ยความเชอ่ื มโยง
ระหวา่ งกันในอาเซยี น (High Level Task Force on ASEAN Connectivity : HLTF - AC)
เพอ่ื จัดทำแผนแม่บทวา่ ดว้ ยความเช่ือมโยงระหว่างกันในอาเซียน (Master Plan on ASEAN
Connectivity : MPAC) ให้แล้วเสร็จ เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 17

116

กรมอาเซยี น กระทรวงการตา่ งประเทศ

á¼¹á ‹Á º·ÇÒ‹ ´ÇŒ ¤ÇÒÁàªÍè× Áâ§ÃÐËÇÒ‹ §¡¹Ñ
ã¹ÍÒà«ÂÕ ¹

¤ÇÒÁàª×èÍÁ⧴ŒÒ¹ ¤ÇÒÁàªÍè× Áâ§
â¤Ã§ÊÃÒŒ §¾×é¹°Ò¹ ´ŒÒ¹»ÃЪҪ¹

• คมนาคม • การศึกษาและ
• เทคโนโลยีสารสนเทศ วัฒนธรรม
• พลังงาน • การทองเท่ียว

¤ÇÒÁàª×èÍÁ⧴Ҍ ¹¡®ÃÐàºÂÕ º
• เปด เสรแี ละอำนวยความสะดวก • ความตกลงการขนสง ในภมู ิภาค
ทางการคา • พธิ กี ารในการขามพรมแดน
• เปด เสรีและอำนวยความสะดวก • โครงการเสริมสรา งศกั ยภาพ
ในการบริการและการลงทุน
• ความตกลง/ขอ ตกลงยอมรับรว มกนั

ในปี พ.ศ. 2553 โดยในส่วนของไทย คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแต่งตั้ง นายประดาป ASEAN CONNECTIVITY
พิบูลสงคราม อดีตเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม และอดีตรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
เปน็ ผู้แทน
ทป่ี ระชมุ สดุ ยอดอาเซยี น ครง้ั ท่ี 17 เมอ่ื เดอื นตลุ าคม พ.ศ. 2553 ณ กรงุ ฮานอย
ประเทศเวียดนาม ได้ให้การรับรองแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน
เพื่อเป็นกรอบความร่วมมอื ในการสร้างความเช่อื มโยงระหว่างกัน โดยความเชอื่ มโยงดังกล่าว
จะเน้นภายในอาเซียนในเบื้องต้นและจะเป็นพื้นฐานการเชื่อมโยงไปสู่ภูมิภาคต่างๆ อาทิ
เอเชยี ตะวนั ออก เอเชียใต้ และอ่นื ๆ ต่อไป
แผนแม่บทฯ มีเจตนารมณ์ที่จะเร่งรัดการเชื่อมโยงประเทศสมาชิกทั้ง 10
ประเทศให้เป็นหนึ่งเดียว ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านกฎระเบียบ และด้านประชาชน
โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อการสนับสนุนการสร้างประชาคมอาเซียนอย่างแท้จริงภายในปี
พ.ศ. 2558 และใหอ้ าเซยี นเปน็ ศูนย์กลางของสถาปตั ยกรรมภมู ภิ าค

117

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ในแผนแม่บทฯ
ในการกอ่ สรา้ ง ถนน เสน้ ทางรถไฟ การขนสง่ ทางนำ้ การขนสง่ ทางอากาศ รวมทง้ั การเชอ่ื มโยง
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและด้านพลังงาน (โครงการท่อก๊าซและระบบสายส่งไฟฟ้าของ
อาเซยี น) โดยมคี ณะทำงานสาขาตา่ งๆ ของอาเซยี น (ASEAN Sectoral Bodies) เปน็ หนว่ ยงาน
รบั ผดิ ชอบหลกั ในการดำเนนิ การใหบ้ รรลเุ ปา้ หมาย ตามกรอบเวลาทก่ี ำหนดไวใ้ นแผนแมบ่ ทฯ
ด้านกฎระเบียบ แผนแม่บทฯ จะมีส่วนในการเร่งรัดการดำเนินการตาม
ความตกลง พธิ สี าร ข้อบงั คับต่างๆ ท่มี ีขึน้ เพอื่ อำนวยความสะดวกในการขา้ มแดนใหส้ ะดวก
รวดเร็ว โปร่งใส ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง การเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ และการลงทุน
ทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน ในขณะเดียวกันก็ป้องกันและแก้ไขปัญหาที่จะเกิดจาก
อาชญากรรมข้ามชาติ แรงงานผิดกฎหมาย การค้ามนุษย์และมลภาวะต่างๆ ที่ตามมาจาก
การเชื่อมโยง
ด้านประชาชน แผนแม่บทฯ จะช่วยส่งเสริมและอำนวยความสะดวก
การไปมาหาสกู่ นั ระหวา่ งประชาชน การเชอ่ื มโยงทางสงั คม วฒั นธรรม และการสรา้ งความรสู้ กึ
ของการเปน็ ประชาคมอาเซยี นทเี่ ป็นอนั หนึ่งอนั หน่งึ เดียวกันมากข้นึ

กลไกในการดำเนนิ การ

อาเซยี นไดจ้ ดั ตง้ั คณะกรรมการประสานงานอาเซยี นวา่ ดว้ ยความเชอ่ื มโยงระหวา่ งกนั
ในภมู ภิ าค (ASEAN Connectivity Coordinating Committee : ACCC) เพอ่ื ทำหนา้ ทต่ี ดิ ตาม
กำกบั ดแู ล ผลักดันและเรง่ รดั ประเมนิ ความคืบหนา้ รวมทัง้ ระดมทนุ ในการดำเนนิ การตาม
แผนแมบ่ ทฯ โดยประสานงานกบั ผปู้ ระสานงานของแตล่ ะประเทศสมาชกิ อาเซยี น (National
Coordinator) Sectoral Bodies ประเทศคเู่ จรจาและองคก์ รระหวา่ งประเทศอน่ื ๆ ทเ่ี กย่ี วขอ้ ง
คณะกรรมการ ACCC ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ
เปน็ กรรมการ ACCC มกี ารประชมุ ร่วมกนั ปีละ 4 คร้งั ต้งั แต่ปี พ.ศ. 2555

118

กรมอาเซยี น กระทรวงการต่างประเทศ ASEAN CONNECTIVITY

สถานะการดำเนินการภายใต้แผนแมบ่ ท (ระหวา่ งปี พ.ศ. 2553-2556)

การดำเนนิ การทง้ั หมดภายใตแ้ ผนแมบ่ ทฯ สว่ นใหญก่ ำหนดไวว้ า่ จะตอ้ งเสรจ็ สน้ิ ในปี
พ.ศ. 2558 อยา่ งไรกด็ ี มกี ารดำเนนิ การในมาตรการทม่ี กี ำหนดเวลาจะตอ้ งเสรจ็ สน้ิ ระหวา่ งปี
พ.ศ. 2553 - 2556 ดงั น้ี
ดา้ นโครงสรา้ งพน้ื ฐาน โครงการและมาตรการทม่ี กี ำหนดตอ้ งเสรจ็ สน้ิ ภายในปี
พ.ศ. 2556 สว่ นใหญเ่ ปน็ ไปตามกรอบเวลาทต่ี ง้ั ไว้ อาทิ การยกระดบั ถนนตา่ งๆ ของทางหลวง
อาเซยี น ใหเ้ ปน็ ระดบั 3 ยงั คงมเี พยี งบางสว่ นในลาวและเมยี นมารท์ ย่ี งั ไมเ่ สรจ็ (ถนนสว่ นใหญ่
ของไทยเปน็ ระดบั 1 และ 2 ไมม่ ถี นนทเ่ี ปน็ ระดบั 3) การกอ่ สรา้ งทางรถไฟสงิ คโปร์ - คนุ หมงิ
ในเสน้ ทางจากสงิ คโปร์ - พนมเปญ เปน็ ไปตามกรอบเวลา (สำหรบั missing link ทอ่ี ยใู่ นประเทศไทย
ระหวา่ งอรญั ประเทศ - คลองลกึ 6 กโิ ลเมตร ไดร้ บั จดั สรรงบประมาณสำหรบั ปี พ.ศ. 2556
และคาดว่าจะสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2557) อย่างไรก็ดี เส้นทางช่วงต่อจากพนมเปญยังคงมี
อุปสรรคด้านงบประมาณและด้านเทคนิค นอกจากนั้น โครงการอื่นๆ เช่น การพัฒนา
Mekong - India Economic Corridor การสร้างโครงข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง
(ASEAN Broadband Corridor) อยรู่ ะหวา่ งการดำเนนิ การ
ด้านกฎระเบียบ อาเซียนกำลังเร่งดำเนินการเพื่อให้ความตกลง 3 ฉบับ
มีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์ ได้แก่ ความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวก
ในการขนส่งสนิ คา้ ผา่ นแดน ความตกลงวา่ ดว้ ยการอำนวยความสะดวกในการขนสง่ ขา้ มแดน
และความตกลงวา่ ด้วยการขนส่งตอ่ เนอื่ งหลายรปู แบบ อย่างไรกด็ ี ยงั ไมส่ ามารถดำเนินการ
ไดเ้ ตม็ รปู แบบ เนอ่ื งจากบางประเทศยงั ตดิ ขดั การดำเนนิ การตามกฎหมายภายใน (ประเทศไทย
ไดใ้ หส้ ตั ยาบนั แลว้ ทง้ั 3 ฉบบั ) อกี ทง้ั อาเซยี น (รวมทง้ั ไทย) ยงั ไมไ่ ดล้ งนามพธิ สี ารสำคญั 2 ฉบบั
แนบท้ายความตกลง ความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้า
ผา่ นแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Goods in Transit
: AFAFGIT ไดแ้ ก่ พธิ สี าร 2 การกำหนดทท่ี ำการพรมแดน และพธิ สี าร 7 ระบบศลุ กากรผา่ นแดน
(พธิ สี าร 7 มเี พยี ง ลาว เวยี ดนาม และอนิ โดนเี ซยี แสดงความพรอ้ มทจ่ี ะลงนาม)
ดงั นั้น อาเซียนจึงต้องเร่งผลกั ดนั การดำเนนิ การดา้ นกฎระเบยี บให้รดุ หนา้ เพอ่ื ให้
การเชอ่ื มโยงระหวา่ งกนั ในอาเซยี นมปี ระสทิ ธภิ าพและชว่ ยเรง่ รดั การกา้ วไปสปู่ ระชาคมอาเซยี น
รวดเรว็ ตามเปา้ หมาย

119

ด้านประชาชน มีความคืบหน้าในด้านการศึกษา อาทิ การพัฒนา ASEAN
Curriculum Sourcebook และหลักสูตรอาเซียนศึกษาของ ASEAN University
Network : AUN อย่างไรก็ดี การพัฒนา ASEAN Virtual Resource Learning ยังไม่มี
ความคืบหน้าเท่าที่ควร และสำหรับการส่งเสริมการไปมาหาสู่ระหว่างประชาชนยังคงต้อง
เร่งดำเนินการเรอ่ื งการยกเวน้ การตรวจลงตราระหว่างอาเซียนทุกประเทศ (เมยี นมารย์ ังตอ้ ง
มกี ารทำความตกลงทวภิ าคเี ปน็ รายประเทศ) และ ASEAN Common Visa ซง่ึ หลายประเทศ
ยงั ไม่พร้อมเนื่องจากมคี วามห่วงกงั วลเรอ่ื งความมั่นคง (รวมทั้งไทย)
การระดมทนุ อาเซยี นดำเนนิ การเรอ่ื งการระดมทนุ เพอ่ื การดำเนนิ การภายใต้
แผนแมบ่ ท ฯ หลายรปู แบบดว้ ยกนั ไดแ้ ก่
1) งบประมาณของแตล่ ะประเทศ
2) การสนบั สนนุ จากประเทศคเู่ จรจา และองคก์ รเพอ่ื การพฒั นา
3) การลงทนุ แบบการรว่ มลงทนุ ระหวา่ งภาครฐั และเอกชน (Public-Private
Partnership : PPP) ทง้ั ภายในอาเซยี นและประเทศคเู่ จรจา
4 ) กองทนุ เพอ่ื การพฒั นาโครงสรา้ งพน้ื ฐานในภมู ภิ าคอาเซยี น
สำหรบั PPP อาเซียนกำลงั ร่วมมือกบั หลายองคก์ ร เชน่ ธนาคารพฒั นาเอเชยี
(Asian Development Bank : ADB) ธนาคารโลก (World Bank) และสถาบนั วจิ ัยเศรษฐกจิ
แห่งอาเซียนและเอเชียตะวันออก (Economic Research Institute for ASEAN and
East Asia : ERIA) ในเร่ืองการนำ PPP มาใชใ้ นการระดมทุนเพือ่ ดำเนินโครงการภายใต้แผน
แม่บทฯ นอกจากนนั้ ACCC ยงั อยู่ระหว่างพจิ ารณาจดั ตง้ั Private Sector Consultative
Group เพอื่ สนบั สนุนการดำเนนิ การเรอื่ ง PPP ด้วย
นอกจากน้ี สำนกั งานเลขาธกิ ารอาเซยี นไดจ้ ดั ทำ project information sheet
รวม 15 โครงการเร่งด่วนภายใต้แผนแม่บทฯ เพือ่ เปน็ คูม่ อื สำหรับการระดมทุนกบั ประเทศ
คู่เจรจา องค์กรเพื่อการพัฒนา และภาคเอกชน ที่สนใจจะลงทุน / ร่วมมือกับอาเซียน
ในโครงการทีส่ ามารถสร้างผลตอบแทน (bankable-viable project)

120

กรมอาเซียน กระทรวงการตา่ งประเทศ ASEAN CONNECTIVITY

ความรว่ มมอื กบั ประเทศคเู่ จรจา
ขณะนี้มีประเทศคู่เจรจาที่ได้จัดตั้งคณะทำงาน หรือคณะกรรมการเฉพาะกิจ

มาหารอื กับ ACCC เพ่อื สง่ เสรมิ การเชอื่ มโยงกบั อาเซียน ได้แก่ ญีป่ ุ่น (ประชมุ ร่วมกนั แล้ว
4 คร้ัง) และจีน (ประชุมร่วมกันแล้ว 1 ครง้ั และจะมกี ารประชมุ คร้งั ตอ่ ไปในเดือนมิถนุ ายน
พ.ศ. 2556) นอกจากนั้น ยังมีประเทศที่ได้จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจในลักษณะเดียวกัน
และจะมกี ารหารอื รว่ มกนั ในลำดบั ตอ่ ไปในเดอื นมถิ นุ ายน พ.ศ. 2556 ไดแ้ ก่ สาธารณรฐั เกาหลี
และอนิ เดีย

สถานะความรว่ มมอื

ญี่ปุน่ ใหค้ วามสำคัญกบั เรื่องดงั ตอ่ ไปนี้
การส่งเสริมความเชื่อมโยงในแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก - ตะวันตก
(East - West Economic Corridor : EWEC) และระเบยี งเศรษฐกิจตอนใต้ (Southern
Corridor) โดยเนน้ การเชือ่ มโยงท้งั ทางบก และทางทะเล ญี่ปนุ่ ได้จดั ตง้ั Japan Task Force
on Connectivity เพอ่ื เปน็ กลไกการหารอื กบั ACCC ในการสนบั สนนุ การดำเนนิ การภายใต้
แผนแมบ่ ทฯ โดยเนน้ การพฒั นาระบบโลจสิ ตกิ สแ์ ละมาตรฐานการขนสง่ ทเ่ี ออ้ื ตอ่ การสนบั สนนุ
หว่ งโซอ่ ปุ ทาน การผลติ และสง่ ออกเปน็ หลกั ทง้ั น้ี ACCC กบั Japan Task Force มกี ารประชมุ
รว่ มกันแลว้ 4 ครงั้ ครัง้ สุดทา้ ยจดั ข้ึน back to back กับการประชุม ACCC ครงั้ ที่ 1/2556
เม่ือเดอื นเมษายน พ.ศ. 2556
ญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการความเชื่อมโยงด้านกฎระเบียบ
ซ่ึงกระทบต่อหว่ งโซ่อุปทานของสนิ คา้ และผลประโยชน์ญป่ี ุ่นในภูมภิ าค ญีป่ ุ่นมองวา่ ไทยควร
มีบทบาทนำในการจัดการเรื่องนี้ โดยญี่ปุ่นพร้อมให้การสนับสนุนทั้ง Software และ
Hardware แต่ญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการศึกษาประเด็นปัญหาเชิงลึกแบบรอบด้าน
(cross - cutting issues) นำหนา้ การใหค้ วามชว่ ยเหลอื ทางการเงิน

121

ญป่ี นุ่ ใหค้ วามสำคญั กบั Expanded Connectivity หรอื การขยายการเชอ่ื มโยง
ไปนอกอาเซยี นหรอื จากฐานการผลติ สตู่ ลาดสนิ คา้ โดยมเี ปา้ หมายทอ่ี นิ เดยี ผา่ นการเชอ่ื มโยง
ทั้งทางบกและทางทะเล (ทางบก ถนน 3 ฝ่าย ไทย - เมียนมาร์ - อินเดีย ทางทะเลทา่ เรอื
ติละวาและทวาย) เพื่อเป็นเส้นทางส่งสินค้าและวัตถุดิบระหว่างกัน รวมทั้งเชื่อมโยงห่วงโซ่
อุปทานในผลิตภัณฑ์ที่แต่ละฝ่ายมีความเชี่ยวชาญ เช่น ส่งรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์
จากอาเซียนไปอนิ เดยี
ญี่ปุ่นขอให้อาเซียนให้ความสำคัญในการผลักดันในเรื่อง Cross Border
ให้มากขน้ึ เพอ่ื ใหท้ นั กบั ความคืบหนา้ ในการดำเนินการในเรือ่ งโครงสรา้ งพนื้ ฐาน
ญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลือในการศึกษาเพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการ
เรง่ ดว่ นของอาเซยี น ไดแ้ ก่ ดา้ น ICT ญป่ี นุ่ มโี ครงการศกึ ษา (Feasibility Study) 2 โครงการ
ไดแ้ ก่ Feasibility Study for the Implementation of ICT Infrastructure among ASEAN
states และ Enhancement of ICT intra - regional Network among ASEAN Member
States (ASEAN Smart Network) ดา้ นพลังงาน ญี่ปุ่นได้ทำการศกึ ษา Feasibility Study
for Melaka - Pekanbaru Power Interconnection ดา้ นการขนสง่ ทางทะเล ญป่ี นุ่ ไดศ้ กึ ษา
ความเป็นไปไดใ้ นการสร้างเครือขา่ ยเรอื บรรทุกยานพาหนะลอ้ เลื่อนในอาเซยี นและทางเลือก
ในการส่งเสรมิ การพัฒนาการขนสง่ ทางทะเลระยะสั้น (Study on the Roll - on / Roll - off
RO - Ro Network and Short sea Shipping)
จนี ใหค้ วามสำคัญกบั
การเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานตามแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ - ใต้
(North - South Economic Corridor : NSEC) โดยจีนได้จัดสรรเครดิตสินเชื่อจำนวน
25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการเชื่อมโยง
ในอาเซยี น รวมทั้งโครงการสำคัญอื่นๆ ในอาเซยี น

122

กรมอาเซียน กระทรวงการตา่ งประเทศ ASEAN CONNECTIVITY

จนี ไดต้ งั้ กองทุนเพือ่ การลงทุนอาเซียน - จนี (China - ASEAN Investment
Cooperation Fund : CAF) จำนวน 10,000 ลา้ นดอลลาร์สหรัฐ ซงึ่ สามารถใช้เพอื่ ลงทุน
ในโครงสร้างพน้ื ฐานในอาเซียนด้วย
จีนได้ตั้ง Chinese Working Committee of the China - ASEAN
Connectivity Cooperation Committee เพอ่ื เป็นกลไกการหารอื ระหว่าง ACCC กับจีน
โดยให้คณะกรรมการดังกล่าวมีการประชุมกับอาเซียนในช่วงเดียวกับการประชุม ACCC
โดยได้มีการประชุมร่วมกัน ครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 โดยได้หารือเรื่อง
แนวทางการมีส่วนร่วมของจีนในการสนับสนุนการดำเนินการภายใต้แผนแม่บทฯ และ
โครงการทม่ี ศี กั ยภาพอน่ื ๆ ตลอดจนโครงการเรง่ ดว่ น 15 โครงการ การประชมุ ระหวา่ ง ACCC
กบั จีนคร้ังต่อไปจะมีขน้ึ ในเดือนมถิ นุ ายน พ.ศ. 2556
โครงการทจี่ ีนไดใ้ ห้ความชว่ ยเหลืออาเซียน อาทิ
(1) การใหเ้ งนิ ทนุ สนบั สนนุ การสรา้ งถนนดา้ นตะวนั ตกของแมน่ ำ้ โขงเชอ่ื มตอ่
คุนหมิง - กรุงเทพฯ ภายใต้ระเบียงเศรษฐกิจเหนือ - ใต้ / (สะพานมิตรภาพไทย - ลาว
เชียงของ - ห้วยทราย) / เสน้ ทางนำรอ่ ง (Navigation route) แมโ่ ขงตอนบน / โครงข่าย
สายไฟฟา้ ในเวียดนามและลาว
(2) การจดั ทำ Feasibility Study ในเรอ่ื ง Missing Link ทางรถไฟในกมั พชู า /
ทางรถไฟในลาว / ทางรถไฟในเมียนมาร์ / รถไฟความเร็วสูงจากกรุงเทพฯ - เชียงใหม่
กรงุ เทพฯ - หนองคาย และลาว - คนุ หมงิ / และโครงขา่ ยทางหลวงในอนภุ มู ภิ าคลมุ่ แมน่ ำ้ โขง
(Greater Mekong Sub - region : GMS) เป็นต้น

123

สหภาพยโุ รป
ให้ความสำคัญแก่การเชื่อมโยงด้านกฎระเบียบ การจัดการข้ามพรมแดนและ
การเชื่อมโยงระหว่างประชาชน โดยในด้านกฎระเบียบได้ให้การสนับสนุนการสร้าง
ขีดความสามารถของอาเซียนในการอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งด้านการค้า
และการจดั การดา้ นศลุ กากรเปน็ เงนิ 15 ลา้ นยโู ร (ระหวา่ งปี พ.ศ. 2555 - 2558) การพฒั นา
ตลาดการบินเดยี วของอาเซียน 5 ลา้ นยูโร (ระหว่างปี พ.ศ. 2555 - 2559) ด้านประชาชน
ใหก้ ารสนบั สนนุ ดา้ นการพฒั นาการศกึ ษาระดบั สงู 10 ลา้ นยโู ร (ระหวา่ งปี พ.ศ. 2556 - 2560)
อาเซยี นไดเ้ สนอใหส้ หภาพยโุ รปจดั ตง้ั คณะกรรมการเฉพาะเพอ่ื หารอื กบั อาเซยี น
ในเร่อื งความเชือ่ มโยง และสหภาพยุโรปได้แสดงความสนใจตอ่ ข้อเสนอดังกล่าว
สหรฐั อเมรกิ า
สหรัฐฯ ได้มีข้อริเริ่มความร่วมมือเพื่อความเชื่อมโยงสหรัฐฯ - อาเซียน
(US - ASEAN Connectivity Cooperation Initiative) ต้งั แตเ่ ดือนพฤศจกิ ายน พ.ศ. 2554
โดยการสนับสนุนของ United States Trade and Development Agency (USTDA)
ความริเริม่ ดังกลา่ วเนน้ การส่งเสรมิ ความเชอ่ื มโยง 3 ด้านได้แก่ พลังงาน การคมนาคมขนส่ง
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และส่งเสริมการใช้ทรัพยากรและความเชี่ยวชาญ
ของภาคเอกชนสหรฐั ฯ ใหเ้ ปน็ ประโยชน์ เพอื่ สนับสนนุ การเตรยี มความพรอ้ มเขา้ ส่ปู ระชาคม
เศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ. 2558
สหรฐั ฯ ไดจ้ ัดการประชุมเชิงปฏบิ ัติการดา้ นการเชอื่ มโยง 2 คร้งั คือ
1) “ASEAN Disaster Management, Mitigation, and Response
Technologies”
2) “ASEAN Smart Grid and Power Transmission Workshop and Reverse
Trade Mission”
โดยทั้ง 2 การประชุมเน้นบทบาทและความร่วมมือจากภาคเอกชนในการส่งเสริม
การเชือ่ มโยงระหว่างทัง้ สองฝา่ ย

124

กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ASEAN CONNECTIVITY

สหรฐั ฯ มคี วามรว่ มมอื ดา้ นการพฒั นาทรพั ยากรมนษุ ย์ ดา้ นการศกึ ษา สว่ นใหญ่
จะเป็นในลักษณะของความร่วมมือทวิภาคี และเป็นความร่วมมือผ่านโครงการ Fulbright
กบั ประเทศตา่ งๆ ในอาเซยี น ส่วนความรว่ มมอื กับอาเซยี นเพง่ิ มีการดำเนินการโครงการแรก
คอื โครงการฝกึ อบรมภาษาองั กฤษ โดยเปน็ การรว่ มมอื ระหวา่ งบรไู นดารสุ ซาลามและสหรัฐฯ
ภายใต้ชื่อโครงการ “Brunei - US English Language Enrichment Programme for
ASEAN, University Brunei Darussalam (UBD) in collaboration with East-West
Center (EWC) in Hawaii” ระหวา่ งวนั ท่ี 13 พฤษภาคม - 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เปน็ เวลา
11 สัปดาห์ โดยมผี ู้เขา้ รว่ มจากประเทศอาเซียนจำนวน 10 คน / ประเทศ ทัง้ นี้ โครงการฯ
แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การฝึกอบรมภาษาอังกฤษแก่ครูสอนภาษา เพื่อให้บุคคลเหล่านี้
สามารถกลบั มาถา่ ยทอดวชิ าใหแ้ กน่ กั ศกึ ษาอาเซยี นตอ่ ไป ในลกั ษณะ “Train the Trainers”
และการอบรมสำหรับข้าราชการ และนกั การทตู ของประเทศสมาชิกอาเซียน
ผทู้ รงคณุ วฒุ อิ าเซยี น - สหรฐั (ASEAN - US Eminent Persons Group : EPG)
ไดม้ ขี อ้ เสนอแนะเพอ่ื สง่ เสรมิ ดา้ นความเชอ่ื มโยงในอาเซยี นตอ่ ทป่ี ระชมุ ผนู้ ำอาเซยี น - สหรฐั ฯ
ครง้ั ท่ี 4 เม่อื เดือนพฤศจกิ ายน พ.ศ. 2555 ณ กรงุ พนมเปญ ดงั น้ี
1) สนบั สนนุ ใหต้ ง้ั U.S. Task Force on Connectivity เพอ่ื เปน็ กลไกการหารอื
กับ ACCC เกี่ยวกับการสนับสนุนการดำเนินการภายใต้แผนแม่บทฯ รวมทั้งเสนอข้อริเริ่ม
ใหม่เพ่ือส่งเสรมิ ความเชอื่ มโยงในอาเซียน
2) ส่งเสริมความร่วมมืออาเซียน - สหรัฐฯ ในด้านความร่วมมือทางทะเล
โดยเน้นการเสริมสร้างขีดความสามารถ การแลกเปลี่ยนข้อมูล และความร่วมมือทางด้าน
เทคโนโลยี
3) สง่ เสรมิ การฝกึ อบรมสำหรบั บคุ คลากรของประเทศ กมั พชู า ลาว เมยี นมาร์
เวียดนาม (CLMV) ในสาขาต่างๆ กว่า 10,000 คน ในระยะเวลา 2 ปี โดยสนับสนุน

125

ความร่วมมือภายใต้ Initiative for ASEAN Integration (IAI) และ Lower Mekong
Initiative (LMI) เพ่อื สร้างขดี ความสามารถ CLMV ในการลดช่องว่างดา้ นการพัฒนา

อนิ เดยี ให้ความสำคญั กบั การเช่อื มโยงแบบรอบดา้ น
ทางบก อนิ เดียสนบั สนุนการสร้างทางหลวงสามฝา่ ยไทย - เมียนมาร์ - อนิ เดยี
และการขยายเส้นทางดังกล่าวไปยังกัมพูชาและลาว รวมทั้งการสร้างทางหลวงสายใหม่
เช่อื มโยงเวยี ดนาม กัมพชู า ลาว และเมยี นมาร์ กบั อนิ เดีย
ทางทะเล อินเดียพยายามเชื่อมโยงกับอาเซียนผ่านทะเลอันดามันโดยมี
ทวายของเมยี นมารเ์ ปน็ ประตสู ำคญั อนิ เดยี จงึ สนบั สนนุ แนวคดิ ของกรอบการประชมุ สดุ ยอด
เอเชยี ตะวันออก (East Asia Summit : EAS) ในการพัฒนา Mekong - India Economic
Corridor (โฮจมิ นิ ห์ - พนมเปญ - กรุงเทพฯ - ทวาย - เจนไน) เพือ่ เป็นเสน้ ทางลัดเชือ่ มโยง
ภมู ภิ าคลมุ่ แมน่ ำ้ โขงกบั อนิ เดยี ฝง่ั ตะวนั ออก และพฒั นาเขตเศรษฐกจิ และอตุ สาหกรรมพรอ้ ม
กนั ไปดว้ ย
ทางอากาศ อนิ เดยี สนบั สนุนการเปดิ นา่ นฟ้าเสรกี บั อาเซยี น ปัจจบุ นั อนิ เดยี
อยู่ระหว่างการเจรจาจัดทำความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศมีเป้าหมายให้แล้วเสร็จ
ภายในปี พ.ศ. 2558
อินเดียได้จัดตั้ง India Inter - Ministerial Group on ASEAN Connectivity
เพื่อร่วมมือกับอาเซียนในเรื่องการเชื่อมโยงด้วย โดยมีการประชุมกับ ACCC ครั้งแรก
ในเดอื นมิถุนายน พ.ศ. 2556 ทีป่ ระเทศอนิ โดนีเซีย

สาธารณรัฐเกาหลี
ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความความเชื่อมโยงโดยเฉพาะด้าน ICT เช่น
โครงการ ASEAN - ROK Cyber University เพ่อื จะส่งเสรมิ ความร่วมมือดา้ นการศึกษาและ
การแลกเปล่ยี นระดบั ประชาชน
สาธารณรัฐเกาหลีได้จัดตั้งกลไกเพื่อหารือกับ ACCC เพื่อผลักดันความร่วมมือ
ด้านความเช่ือมโยงอยา่ งรอบด้าน โดยมกี ารประชมุ คร้ังแรกรว่ มกับ ACCC ในเดือนมถิ นุ ายน
พ.ศ. 2556 ทีป่ ระเทศอนิ โดนีเซยี

126

กรมอาเซียน กระทรวงการตา่ งประเทศ

ออสเตรเลีย
เป็นประเทศที่มีบทบาทเรื่องความเชื่อมโยงและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
ภายใต้กรอบความร่วมมือในอนุภูมิภาค โดยเฉพาะภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงเป็นเวลายาวนาน
ภายใต้แผนแม่บทฯ ออสเตรเลียสนใจร่วมมือกับอาเซียนในเรื่องการพัฒนากฎระเบียบ
ทางการคา้ (ROO) / การรว่ มลงทนุ ระหวา่ งรฐั กบั เอกชน (PPP) / การศกึ ษาแนวทางการจดั ทำ
ASEAN single visa การพฒั นาศกั ยภาพในการบรหิ ารจดั การขา้ มพรมแดน นอกจากน้ี ยงั สนใจ
ท่ีจะจัดต้ัง Taskforce เพอื่ ทำงานรว่ มกบั ACCC ในระยะต่อไปดว้ ย

แคนาดา ASEAN CONNECTIVITY
มีความสนใจที่จะร่วมมือกับอาเซียนในเรื่องการจัดการผลกระทบด้านลบ
จากการเชอ่ื มโยง นอกจากนั้น แคนาดาไดเ้ สนอใหม้ ีความร่วมมือในการพัฒนาประสทิ ธภิ าพ
ในการเชอ่ื มโยงหว่ งโซอ่ ปุ ทาน (supply chains) ระหวา่ งอาเซยี น-แคนาดา โดยใหค้ วามสำคญั
กบั การขนส่งตอ่ เน่ืองหลายรปู แบบ แคนาดาเสนอใหอ้ าเซียนใชป้ ระโยชนจ์ าก Asia Pacific
Gateway and Corridor Initiative (APGCI) เปน็ ชอ่ งทางเชื่อมโยงห่วงโซอ่ ปุ ทานระหว่าง
สองภูมิภาค

อาเซียน+3 (จนี ญป่ี นุ่ สาธารณรัฐเกาหลี)

ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน+3 ครั้งที่ 13 เมื่อเดือนกรกฎาคม
พ.ศ. 2555 ที่กรุงพนมเปญ เห็นชอบกับข้อเสนอของไทยที่เสนอให้ผู้นำอาเซียน+3
ออกแถลงการณ์ ASEAN Plus Three Partnership on Connectivity ในการประชุม
สุดยอดอาเซียน+3 เม่ือเดอื นพฤศจกิ ายน พ.ศ. 2555

การประชุมสดุ ยอดเอเชยี ตะวันออก (East Asia Summit : EAS)
ในการประชมุ EAS ครง้ั ท่ี 6 เมอ่ื วนั ท่ี 19 พฤศจกิ ายน พ.ศ. 2554 ทเ่ี มอื งบาหลี
ประเทศอินโดนเี ซีย ทีป่ ระชมุ ฯ ได้รับรอง Declaration of the 6th East Asia Summit
on ASEAN Connectivity เพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันส่งเสริมการมีส่วนร่วมและ
ความรว่ มมอื ระหวา่ งอาเซยี นและประเทศคเู่ จรจาทเ่ี ขา้ รว่ ม EAS ในการพฒั นาความเชอ่ื มโยง
ในอาเซียนตามแผนแมบ่ ทฯ

127

กองทนุ เพอ่ื การพฒั นาโครงสรา้ งพน้ื ฐานในภมู ภิ าคอาเซยี น
(ASEAN Infrastructure Fund)

ในการระดมทุนเพื่อการเชื่อมโยงในภูมิภาค นอกเหนือจากงบประมาณของ
ประเทศสมาชกิ แต่ละประเทศ รวมทั้งความร่วมมอื สนบั สนนุ โดยประเทศคเู่ จรจาและองค์กร
เพื่อการพัฒนาแล้ว อาเซียนยังได้ก่อตั้ง AIF ขึ้นเพิ่อสนับสนุนโครงการความเชื่อมโยง
ทีม่ คี วามสำคัญเร่งดว่ นด้วย
AIF มีวัตถุประสงค์เพอ่ื เร่งรัดการพฒั นาโครงสรา้ งพืน้ ฐานภายในและระหว่าง
พรมแดนของประเทศสมาชกิ อาเซยี น และสง่ เสรมิ การใชเ้ งนิ ออมของอาเซยี นในการสนบั สนนุ
ทางการเงินสำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว โดยมีเป้าหมายระยะยาวที่จะออก
พนั ธบัตรทีธ่ นาคารกลางสามารถถอื เพ่ือเปน็ ทุนสำรองระหว่างประเทศได้ในท่ีสดุ
กองทนุ นม้ี เี งนิ ตง้ั ตน้ จำนวน 485.2 ลา้ นดอลลารส์ หรฐั โดยธนาคารพฒั นาเอเชยี
(Asian Development Bank : ADB) ให้เงินสนับสนุน จำนวน 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ส่วนที่เหลือจะเป็นการสมทบทุนของประเทศสมาชิกอาเซียนอีก 335.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ดังนี้
มาเลเซยี 150 ลา้ นดอลลารส์ หรัฐ บรไู นฯ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
อนิ โดนเี ซยี 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เวียดนาม 10 ลา้ นดอลลารส์ หรัฐ
ฟิลิปปินส ์ 15 ลา้ นดอลลารส์ หรฐั กมั พูชา 0.1 ล้านดอลลารส์ หรัฐ
ไทย 15 ลา้ นดอลลาร์สหรฐั ลาว 0.1 ล้านดอลลารส์ หรัฐ
สงิ คโปร ์ 15 ล้านดอลลารส์ หรฐั เมียนมาร ์ 0 ลา้ นดอลลาร์สหรัฐ
กองทุน AIF มีที่ตั้งที่ประเทศมาเลเซีย มีลักษณะเป็นบริษัทจำกัดภายใต้
กฎหมายมาเลเซีย และมีอำนาจในการทำสัญญาและดำเนนิ การต่างๆ ในนามของตนเอง

128

กรมอาเซยี น กระทรวงการต่างประเทศ ASEAN CONNECTIVITY

ในปแี รก กองทนุ ฯ จะใหเ้ งนิ ยมื จำนวน 300 ลา้ นดอลลารส์ หรฐั เพอ่ื สนบั สนนุ
โครงการด้านการเชื่อมโยงในภูมิภาคใน 3 ด้าน คือ การคมนาคมขนส่ง พลังงานและ
การจัดการน้ำ โดย ADB จะออกเงินสมทบโครงการเหล่านี้ด้วยในระยะต่อไปเมื่อมี
ความเข้มแข็งมากขึ้นจะมีการออกพันธบัตรกึ่งหนี้กึ่งทุนเพื่อให้ประเทศสมาชิกและผู้สนใจ
รว่ มลงทุนดว้ ย
ประเทศไทยได้ให้เงินสนับสนุนกองทุนฯ ตามพันธกรณีในงวดแรกไปแล้ว
จำนวน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อสิ้นไตรมาส 3 ของปี พ.ศ. 2555 และมีกำหนดจะจ่าย
เงินงวดท่ี 2 อีก 5 ล้านดอลลารส์ หรัฐ ในช่วงไตรมาสท่ี 3 ของปี พ.ศ. 2556
กองทุน AIF อย่รู ะหว่างจัดสรรเงินยืมและเงินสมทบจาก ADB เพ่อื สนบั สนุน
โครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานของอาเซียน โดยในระยะแรกโครงการส่วนใหญ่ยังเป็น
โครงการพัฒนาสาธารณูปโภคพืน้ ฐานของอาเซยี นนอกแผนแมบ่ ทฯ

บทบาทของไทย

ประเทศไทยมบี ทบาทนำในการเสนอแนวความคดิ เรอ่ื ง ASEAN Connectivity
ตั้งแต่เริ่มต้นและต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เสนอ Concept Paper
วา่ ดว้ ยการเชอ่ื มโยงระหวา่ งกนั ในอาเซยี นตอ่ ทป่ี ระชมุ ASEAN Foreign Ministerial Retreat
ที่เมืองดานัง ประเทศเวียดนาม เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2553 ซึ่งได้รับการตอบรับจาก
ประเทศสมาชกิ อาเซยี นอน่ื ๆ และเปน็ จดุ กำเนดิ ของการจดั ทำรา่ งแผนแมบ่ ทฯในเวลาตอ่ มา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะประธานคณะกรรมการ
อาเซียนแห่งชาติ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน
เพื่อเป็นกลไกการประสานงานและติดตามให้มีการดำเนินการตามแผนแม่บทว่าด้วย
ความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียนที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของประเทศไทยและ
ทำหน้าที่เป็น National Coordinator ทั้งนี้ โดยมีรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็น
ประธานคณะอนุกรรมการฯ

129

ประเทศไทยผลกั ดนั ใหม้ กี ารเรง่ รดั การดำเนนิ การเชอ่ื มโยงภายใตแ้ ผนแมบ่ ทฯ
โดยได้ริเริ่มจัดโครงการสำรวจเส้นทางสำหรับรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน 2 ครั้ง
เพื่อสำรวจศักยภาพทางเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน คือ ครั้งที่ 1 การสำรวจเส้นทาง
หมายเลข 9 (มุกดาหาร - สะหวันนะเขต - ดานัง) เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2553 และ
ครั้งที่ 2 การสำรวจ เส้นทาง R3A (เชียงของ - ห้วยทราย - จิ่งหง) เมื่อเดือนมกราคม
พ.ศ. 2554 ซง่ึ จากการสำรวจ เสน้ ทางทง้ั 2 ครง้ั พบวา่ เสน้ ทางทง้ั 2 มศี กั ยภาพทางเศรษฐกจิ สงู
สามารถใชเ้ ปน็ เสน้ ทางขนสง่ สนิ คา้ เกษตรและสนิ คา้ อปุ โภคบรโิ ภค และการทอ่ งเทย่ี ว อยา่ งไรกด็ ี
ยงั คงมปี ญั หาเร่ืองการจดั การขา้ มพรมแดนทจี่ ะต้องเร่งแกไ้ ข
เมอ่ื วนั ท่ี 13 - 15 มถิ นุ ายน พ.ศ. 2555 ประเทศไทยไดเ้ ปน็ เจา้ ภาพจดั การประชมุ
“ASEAN Workshop on Cross - Border Management : A Key to Efficient ASEAN
Connectivity” และการประชมุ “ASEAN+3 Partnership on Connectivity” ที่กรุงเทพฯ
เชญิ คณะอนกุ รรมการฯ ผแู้ ทนจากหนว่ ยงานทเ่ี กย่ี วขอ้ งของไทยและประเทศสมาชกิ อาเซยี น
ผู้แทนจากประเทศคู่เจรจา องค์การระหว่างประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
เขา้ ร่วมประชมุ
การประชมุ “ASEAN Workshop on Cross-Border Management : A Key
to Efficient ASEAN Connectivity”
มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจในการดำเนินการตาม
แผนแม่บทฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสริมสร้างศักยภาพของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของ
อาเซียนในด้านการบริหารจัดการข้ามพรมแดน เพื่ออำนวยความสะดวกการขนส่งสินค้า
ขา้ มแดน การเคลื่อนยา้ ยแรงงาน และการไปมาหาสู่ระหว่างประชาชนให้มปี ระสิทธิภาพ
การประชมุ “ASEAN+3 Partnership on Connectivity”
มีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันและพัฒนาแนวคิดเรื่องหุ้นส่วนความเชื่อมโยง
อาเซยี น+3 ซง่ึ จะชว่ ยสนบั สนนุ แผนแมบ่ ทฯ และชว่ ยปทู างนำไปสกู่ ารยกระดบั ความเชอ่ื มโยง
ระหว่างกันในเอเชียตะวันออก รวมถึงระดมความคิดเห็นเพื่อตอบโจทย์ในการขับเคลื่อน
หุ้นส่วนความเชื่อมโยงอาเซียน+3 อย่างเป็นรูปธรรม โดยตระหนักถึงเป้าหมายในระยะยาว
ทีจ่ ะสรา้ งประชาคมเอเชียตะวนั ออก (East Asia Community)

130

กรมอาเซยี น กระทรวงการต่างประเทศ ASEAN CONNECTIVITY

ประเทศไทยเสนอใหผ้ นู้ ำอาเซยี น+3 ออกแถลงการณ์ ASEAN+3 Partnership
on Connectivity ในระหว่างการประชมุ สดุ ยอดอาเซียน+3 ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555
ที่กรุงพนมเปญ เพื่อเป็นการแสดงเจตนารมณ์ของผู้นำในการสนับสนุนการดำเนินการ
เรื่องความเชื่อมโยงภายใต้แผนแม่บทฯ และยกระดับความเชื่อมโยงระหว่างกันในภุมิภาค
เอเชยี ตะวนั ออก โดยดำเนนิ การภายใตส้ าขาความรว่ มมอื ตา่ งๆ ทม่ี อี ยแู่ ลว้ ในกรอบอาเซยี น+3
เพอ่ื ตอ่ ยอดจากผลและขอ้ เสนอแนะจากการประชมุ เชงิ ปฏบิ ตั กิ าร “ASEAN+3
Partnership on Connectivity” เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 ประเทศไทยกำหนด
จะจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “Enhancing Connectivity through Multi - layered
Regional Frameworks : The Role of Dialogue Partners” ในเดอื นกรฏาคม พ.ศ. 2556
เพื่อระดมความคิดเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือของประเทศคู่เจรจาในการสนับสนุน
ความเชื่อมโยงในภูมิภาคฯ โดยทบทวนแนวทางและกลไกความร่วมมือที่มีอยู่ในกรอบต่างๆ
เพื่อใหส้ นบั สนุนการดำเนนิ การภายใต้แผนแมบ่ ทให้มปี ระสทิ ธภิ าพย่ิงขึ้นและไมซ่ ้ำซอ้ นกนั
ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพร่วมกับนิวซีแลนด์ จัดการประชุม EAS Regulatory
Roundtable ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556 โดยมวี ัตถปุ ระสงคเ์ พอ่ื ระดมความคดิ เก่ียวกับ
แนวทางการรว่ มมอื ในกลมุ่ EAS เพอ่ื สนบั สนนุ การดำเนนิ การดา้ นการเชอ่ื มโยงดา้ นกฎระเบยี บ
ภายใตแ้ ผนแม่บทฯ

131

132

กรมอาเซยี น กระทรวงการต่างประเทศ THAILAND AND ASEAN

บทบาทไทยในอาเซยี น

นับตั้งแต่อาเซียนได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2510 ประเทศไทยได้มีบทบาทสำคัญ
ในการผลักดันความร่วมมือของอาเซียนให้มีความคืบหน้ามาโดยตลอด และอาเซียน
ถอื เปน็ หวั ใจสำคญั ของนโยบายดา้ นการตา่ งประเทศของประเทศไทยเรอ่ื ยมาจนถงึ ปจั จบุ นั
เนอ่ื งจากการสง่ เสรมิ ความรว่ มมอื ในกรอบตา่ งๆ ของอาเซยี น เปน็ การสรา้ งความไวเ้ นอ้ื เชอ่ื ใจ
ระหว่างประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมสันติภาพ
เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรอื งในภมู ิภาคสืบไป
ในชว่ งทป่ี ระเทศไทยดำรงตำแหนง่ ประธานอาเซยี นเมอ่ื ปี พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2552
ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการวางรากฐานสำหรับประชาคมอาเซียนโดยมีประชาชน

เปน็ ศูนยก์ ลาง โดยได้มีการจดั ทำแผนงานสูป่ ระชาคมอาเซียนปี พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2558
(Cha-am Hua Hin Roadmap for an ASEAN Community 2009 - 2015) ซง่ึ ครอบคลมุ
แผนงานการจดั ตง้ั ประชาคมอาเซยี นในทง้ั สามเสา รวมทง้ั การอนวุ ตั กิ ารกฎบตั รอาเซยี น
เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพของกลไกต่างๆ ของอาเซียนให้สามารถร่วมแก้ไขปัญหา
ทม่ี ผี ลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนได้อย่างทันท่วงที โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในโลกปัจจุบันท่ีต้องเผชิญกบั ปญั หาทา้ ทายความม่ันคงในรปู แบบใหม่ เชน่ โรคระบาด
การกอ่ การรา้ ย ยาเสพติด การคา้ มนุษย์ สิง่ แวดลอ้ ม และภัยพิบัติ

133

ในดา้ นการเมอื งและความมน่ั คง ประเทศไทยพยายามผลักดันให้อาเซียนดำเนินการ

ดา้ นการส่งเสริมความไว้เน้อื เชอ่ื ใจและการทตู เชิงปอ้ งกนั โดยใชก้ ลไกตา่ งๆ ในกรอบอาเซียน
เช่น การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ADMM) การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน
กบั คเู่ จรจา (ADMM Plus) และการประชมุ วา่ ดว้ ยความรว่ มมอื ดา้ นการเมอื งและความมน่ั คง
ในเอเชีย - แปซิฟิก (ARF) รวมทั้งได้ผลักดันการจัดตั้งเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาค
เอเชยี ตะวนั ออกเฉียงใต้ (SEANWFZ) และส่งเสริมใหอ้ าเซยี นร่วมมอื กันมากขึ้นในการรบั มอื
กบั ภยั คกุ คามดา้ นความมน่ั คงรปู แบบใหม่ อาทิ ยาเสพตดิ ภยั พบิ ตั ิ และอาชญากรรมขา้ มชาติ

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน
ในอาเซยี น โดยได้ผลักดนั การจดั ตั้งและคณะกรรมาธกิ ารระหวา่ งรฐั บาลอาเซยี นวา่ ดว้ ยสิทธิ
มนุษยชน (AICHR) และให้การสนับสนุนการทำงานของ AICHR อย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึง
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ในการจัดทำปฏิญญาอาเซียนว่าด้วย
สทิ ธมิ นษุ ยชน (Asean Human Rights Declaration) ซึ่งผู้นำอาเซียนได้รับรองเมื่อวันที่
17 พฤศจกิ ายน พ.ศ. 2555 ระหวา่ งการประชมุ สดุ ยอดอาเซยี นครั้งที่ 21 ณ กรุงพนมเปญ
ประเทศกมั พชู า

ในดา้ นเศรษฐกจิ ประเทศไทยตระหนักถงึ ความสำคญั ของการรวมตัวทางเศรษฐกจิ

ในภูมิภาคที่จะช่วยส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
ของภูมิภาคอย่างยั่งยืน โดยนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ได้เป็นผู้เสนอและ
รเิ รม่ิ ใหม้ กี ารจดั ตง้ั เขตการคา้ เสรอี าเซยี น (AFTA) ขน้ึ เมอ่ื ปี พ.ศ. 2535 ซง่ึ ตอ่ มา อาเซยี นไดจ้ ดั ทำ
ความตกลงเขตการค้าเสรีกับอีก 6 ประเทศได้แก่ จีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย
ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ นอกจากนี้ อาเซียนยังอยู่ระหว่างการเจรจาจัดทำความตกลง
พนั ธมติ รทางเศรษฐกจิ ระดบั ภมู ภิ าค (Regional Comprehensive Economic Partnership
หรือ RCEP) ซึ่งจะนำไปสู่เขตการค้าเสรีระดับภูมิภาคขนาดใหญ่ ครอบคลุมประชากร
เกินครึ่งหนึ่งของโลก โดยประเทศไทยจะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเรื่องนี้ต่อไป
เพ่ือสง่ เสรมิ ศกั ยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศและของภูมิภาค

134

กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ THAILAND AND ASEAN

ประเทศไทยยังเป็นผู้ริเริ่มและผลักดันแนวคิดเกี่ยวกับความเชื่อมโยงในอาเซียน
(Enhanced Connectivity in ASEAN) โดยครอบคลมุ ทกุ มติ ิ ไดแ้ ก่ ความเชอ่ื มโยงดา้ นกายภาพ
ดา้ นกฎระเบยี บ และระหว่างประชาชน ซึ่งนำไปสู่การจัดทำแผนแมบ่ ทว่าดว้ ยความเช่ือมโยง
ในอาเซียน อันเป็นกรอบยุทธศาสตร์หลักที่จะช่วยสนับสนุนเกื้อกูลการดำเนินการด้าน
ความเชื่อมโยงในกรอบอื่นๆ ทั้งในระดับอนุภูมิภาคและทวิภาคี และต่อมาประเทศไทย
ยังได้ผลักดันแนวคิดความเชื่อมโยงกับนอกภูมิภาค (Connectivity Beyond ASEAN)
เพือ่ ขยายเครือขา่ ยการคมนาคมขนส่งไปสู่ประเทศนอกภูมิภาค เชน่ จีน และอนิ เดยี ดว้ ย

ในดา้ นสงั คมและวฒั นธรรม ประเทศไทยได้ผลักดันการสร้างประชาคมอาเซียนทมี่ ี

ประชาชนเปน็ ศนู ยก์ ลางมาโดยตลอด รวมทง้ั ใหค้ วามสำคญั กบั การมสี ว่ นรว่ มของประชาชน
ในการสรา้ งประชาคมอาเซียน โดยประเทศไทยได้ริเริ่มการประชุมระหว่างผู้นำอาเซียนกับ
ผู้แทนสมัชชารัฐสภาอาเซียน ผู้แทนภาคประชาสังคม และผู้แทนเยาวชน เพื่อส่งเสริม
การปฏสิ มั พนั ธร์ ะหว่างอาเซยี นกบั ประชาชนกลมุ่ ตา่ งๆ นอกจากน้ี ประเทศไทยไดร้ ว่ มมอื กบั
ประเทศสมาชกิ อาเซยี นอ่ืนๆ อยา่ งแข็งขันเพ่ือเพมิ่ พนู ความร่วมมือด้านสงั คมและวัฒนธรรม
อาทิ การบรหิ ารจดั การภยั พบิ ตั ิ การศกึ ษา สง่ิ แวดลอ้ ม สาธารณสขุ การลดชอ่ งวา่ ง ดา้ นการพฒั นา
และการสรา้ งอตั ลกั ษณอ์ าเซยี น เพอ่ื ใหบ้ รรลกุ ารสรา้ งสงั คมทเ่ี ออ้ื อาทรและแบง่ ปนั ในอาเซยี น

135





ตราสญั ลกั ษณป์ ระเทศและขอ้ มลู พน้ื ฐานประเทศสมาชกิ อาเซยี น

เนการาบรไู นดารุสซาลาม (NEGARA BRUNEI DARUSSALAM)
เมอื งหลวง บนั ดาร์เสรีเบกาวนั
วนั ชาติ 23 กุมภาพันธ์
สกุลเงนิ ดอลลารบ์ รูไน
วันเขา้ รว่ มอาเซยี น 8 มกราคม 2527
ราชอาณาจักรกัมพูชา (KINGDOM OF CAMBODIA)
เมืองหลวง กรุงพนมเปญ
วนั ชาติ 9 พฤศจิกายน
สกุลเงนิ เรียล
วันเขา้ รว่ มอาเซยี น 9 เมษายน 2542
สาธารณรฐั อินโดนเี ซยี (REPUBLIC OF INDONESIA)
เมืองหลวง กรุงจาการ์ตา
วันชาติ 17 สงิ หาคม
สกุล รูเปีย
วันเขา้ รว่ มอาเซยี น 8 สงิ หาคม 2510
สาธารณรัฐประชาธปิ ไตยประชาชนลาว
(LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC)
เมืองหลวง เวียงจันทน์
วันชาติ 2 ธันวาคม
สกลุ เงนิ กีบ
วนั เขา้ ร่วมอาเซียน 23 กรกฎาคม 2540
มาเลเซีย (MALAYSIA)
เมอื งหลวง กรุงกัวลาลมั เปอร์
วันชาต ิ 31 สิงหาคม
สกุ ลเงนิ รงิ กิต
วันเขา้ ร่วมอาเซยี น 8 สิงหาคม 2510

หมายเหตุ : การถอดชอ่ื เมืองและสกลุ เงินอ้างองิ ตามราชบญั ฑติ ยสถาน
138

กรมอาเซียน กระทรวงการตา่ งประเทศ GENERAL INFORMATION ON ASEAN MEMBER STATES

สาธารณรัฐแหง่ สหภาพเมยี นมาร์ (THE REPUBLIC OF UNION OF MYANMAR)
เมอื งหลวง กรุงเนปยดี อ
วนั ชาติ 4 มกราคม
สกลุ เงนิ จตั
วันเขา้ รว่ มอาเซียน 23 กรกฎาคม 2540
สาธารณรัฐฟลิ ิปปนิ ส์ (REPUBLIC OF THE PHILIPPINES)
เมืองหลวง กรุงมะนิลา
วันชาติ 12 มถิ นุ ายน
สกุลเงนิ เปโซ
วันเข้ารว่ มอาเซียน 8 สงิ หาคม 2510
สาธารณรัฐสิงคโปร์ (REPUBLIC OF SINGAPORE)
เมอื งหลวง สงิ คโปร์
วันชาต ิ 9 สิงหาคม
สกลุ เงิน ดอลลาร์สิงคโปร์
วันเขา้ ร่วมอาเซยี น 8 สิงหาคม 2510
ราชอาณาจกั รไทย (KINGDOM OF THAILAND)
เมอื งหลวง กรุงเทพมหานคร
วันชาต ิ 5 ธันวาคม
สกุลเงนิ บาท
วนั เข้ารว่ มอาเซียน 8 สิงหาคม 2510
สาธารณรฐั สังคมนยิ มเวยี ดนาม
(SOCIALIST REPUBLIC OF VIETNAM)
เมอื งหลวง กรงุ ฮานอย
วนั ชาต ิ 2 กนั ยายน
สกลุ เงนิ ดอง
วันเข้าร่วมอาเซียน 28 กรกฎาคม 2538

139

ดอกไมป้ ระจำชาตขิ องประเทศสมาชกิ อาเซยี น

บรไู นดารสุ ซาลาม

ดอกซมิ ปอร์ หรือ ดอกสา้ นชะวา (SIMPOR or DILLENIA) เป็น
ดอกไม้ที่มีกลีบดอกขนาดใหญ่สีเหลือง เมื่อบานเต็มที่กลีบดอก
จะบานออกคล้ายกับร่ม รูปดอกซิมปอร์พบได้บนธนบัตรราคา
1 ดอลลาร์ของประเทศบรูไนฯ และถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย
ในด้านศิลปะการออกแบบงานฝีมือพื้นเมือง ดอกซิมปอร์พบทั่วไป
ตามแม่น้ำของประเทศบรูไนฯ โดยเฉพาะแม่น้ำ Tem-burong
และยงั พบตามบึงหรอื บรเิ วณทม่ี ที รายสขี าว สว่ นตา่ งๆ ของซมิ ปอร์
นำมาใชป้ ระโยชนไ์ ด้หลากหลาย เช่น ใชใ้ นการรกั ษาบาดแผล

กมั พชู า

ดอกลำดวน (RUMDUL) เป็นดอกสีขาวเหลืองอยู่บนใบเดี่ยว
มีกลิ่นหอมในเวลาค่ำ เนื่องจากกลิ่นหอมนี้เองทำให้ในอดีต
มีการเปรียบดอกลำดวนกับสตรีชาวกัมพูชา ต้นลำดวนมีความสูง
8-12 เมตร พบได้ทั่วไปในประเทศกัมพูชาและนิยมปลูก
ในสวนสาธารณะ

อนิ โดนเี ซยี

ดอกกล้วยไม้ราตรี (MOON ORCHID) เป็นกล้วยไม้ในสายพนั ธ์ุ
Phalaenopsis amabilis ซง่ึ เปน็ หนง่ึ ในสามของดอกไมป้ ระจำชาติ
อินโดนีเซีย โดยดอกไม้ประจำชาติอีกสองดอก คือ ดอกมะลิซ้อน
(Jasmi-num sambac) และดอก Rafflesia arnoldii
ดอกกลว้ ยไมร้ าตรจี ะบาน 2-3 ครั้งต่อปี และสามารถเจริญเติบโต
ได้ดใี นอากาศชื้น จึงมักพบได้ทั่วไปบริเวณที่ราบต่ำของประเทศ
อนิ โดนเี ซยี

140

กรมอาเซยี น กระทรวงการตา่ งประเทศ

ลาว GENERAL INFORMATION ON ASEAN MEMBER STATES

ดอกจำปาลาว หรือดอกลีลาวดี (DOK CHAMPA or
PLUMERIA) เป็นสัญลักษณ์ของประเทศลาว มีกลิ่นหอมและ
มีหลายสี เช่น สีแดง สีเหลือง สีชมพู และโทนสีอ่อนต่างๆ
ดอกจำปาลาว เปน็ ตวั แทนของความจรงิ ใจและความสุขในชีวติ
จึงนยิ มใชป้ ระดับในพธิ ตี า่ งๆ หรือทำพวงมาลยั เพอื่ ตอ้ นรับแขก
ดอกจำปาลาวผลิบานทุกวัน และอยู่ได้นานจึงมักปลูกอย่าง
แพร่หลายและพบเห็นได้ทั่วไป โดยเฉพาะในบริเวณวัดและ
สถานท่ีศกั ดส์ิ ทิ ธิ์

มาเลเซยี

ดอกชบาแดง (BUNGA RAYA) เป็นดอกไม้ประจำชาติของ
ประเทศมาเลเซีย โดยกลีบของดอกชบาแดงเป็นตัวแทน
5 หลักการแห่งความเป็นชาติของประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็น
ปรชั ญาเพอ่ื เสรมิ สรา้ งความเปน็ ปกึ แผน่ และความอดทนในชาติ
ดอกชบาแดง พบไดท้ ว่ั ไปในประเทศมาเลเซยี และบางส่วนของ
ลำต้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และความงาม
ได้อีกด้วย

เมยี นมาร์

ดอกประดู่ (PADUAK) มีสีเหลืองทองและส่งกลิ่นหอม
หลังฤดูฝนแรกของเดือนเมษายน ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับ
การเฉลมิ ฉลองเทศกาลปีใหมข่ องประเทศเมยี นมาร์ เมอ่ื ผลดิ อก
ต้นของดอกประดู่จะเป็นสีทองตลอดทั้งคืน ชาวเมียนมาร์
จึงถือว่า ต้นประดู่เป็นสัญลักษณ์ของความแข็งแรงและ
ความทนทาน ดอกไมช้ นดิ นย้ี งั หมายถงึ วยั หนมุ่ สาวและความรกั
ดอกประดู่เป็นดอกไม้ที่ขาดไม่ได้ในงานประเพณีและพิธี
ทางศาสนาในประเทศเมียนมาร์ นอกจากนี้ ลำต้นยังสามารถ
นำไปทำเครอื่ งเรอื นได้อีกดว้ ย

141

ฟลิ ปิ ปนิ ส์

ดอกพดุ แกว้ (SAMPAGUITA JASMINE) เปน็ ดอกไม้ประจำ
ชาติของประเทศฟิลิปปินส์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1934 ดอกพุดแก้ว
มกี ลบี ดอกรปู ดาวสขี าวทบ่ี านตลอดทง้ั ปี โดยจะแยม้ ดอกในตอน
กลางคนื และสง่ กลน่ิ หอมประมาณหนง่ึ วนั สำหรบั ชาวฟลิ ปิ ปนิ ส์
ดอกไม้ชนิดนี้เป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความเรียบง่าย
ความอ่อนน้อมถ่อมตนและความเข้มแข็ง กลิ่นหอมหวลของ
ดอกพดุ แกว้ ถกู นำมากลา่ วขานในตำนานเรือ่ งเลา่ และบทเพลง
ของประเทศฟิลิปปนิ ส์ โดยมคี วามเช่ือว่าดอกพดุ แก้วนี้ถกู นำมา
จากแถบเทือกเขาหิมาลายา ในศตวรรษท่ี 17

สงิ คโปร์

ดอกกล้วยไม้ตระกูลแวนด้า (VANDA MISS JOAQUIM)
เปน็ ดอกกลว้ ยไมส้ มี ว่ งซง่ึ เปน็ ทร่ี จู้ กั มากทส่ี ดุ ในประเทศสงิ คโปร์
โดยตั้งชื่อตามผู้ผสมพันธุ์ ด้วยรูปลักษณ์ที่สวยงามและยังบาน
ตลอดปี ทำใหด้ อกไมช้ นดิ นถ้ี กู คดั เลอื กใหเ้ ปน็ ดอกไมป้ ระจำชาติ
ของประเทศสงิ คโปร์ต้งั แต่ปี ค.ศ. 1981

ไทย

ดอกราชพฤกษ์หรือดอกคูน (Golden Shower tree or
Ratchaphrek) ชาวไทยถือว่าสีเหลืองของดอกไม้ชนิดนี้ คือสี
ของพระพุทธศาสนาและความรุ่งโรจน์ อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์
ของความสามคั คปี รองดอง ดอกราชพฤกษจ์ ะเรม่ิ บานตง้ั แตเ่ ดอื น
กุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม ขณะผลิบานลำต้นจะทิ้งใบ
เหลือเพียงดอกสีเหลืองอร่าม ดอกราชพฤกษ์เป็นที่รู้จักทั่วไป
ในประเทศไทยและปลูกอย่างแพรห่ ลายตามข้างถนน

142

กรมอาเซียน กระทรวงการตา่ งประเทศ GENERAL INFORMATION ON ASEAN MEMBER STATES

เวยี ดนาม

ดอกบัวสชี มพู (PINK LOTUS FLOWER) เปน็ ดอกไมท้ ่ไี ด้รบั
การคดั เลอื กจากชาวเวยี ดนามใหเ้ ปน็ ดอกไมป้ ระจำชาติ ดอกบวั
ถอื เป็น 1 ใน 4 ดอกไมแ้ ละพืชทมี่ ีความสง่างามประกอบไปดว้ ย
ต้นสน ต้นไผ่ และดอกเบญจมาศ ดอกบัวเป็นที่รู้จักในนาม
“ดอกไม้แห่งรุ่งอรุณ” พบได้ทั่วไปตามแหล่งน้ำของประเทศ
เวยี ดนาม สำหรบั ชาวเวยี ดนามแล้ว ดอกบัว คือสญั ลักษณ์ของ
ความบรสิ ทุ ธ์ิ ความผกู พนั และการมองโลกในแงด่ ี ความสงา่ งาม
ของดอกบัวมักถูกกล่าวถึงในบทกลอนและเพลงพื้นเมืองของ
ประเทศเวียดนาม

143




Click to View FlipBook Version