The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

วารสารราชทัณฑ์ ฉบับที่ 1-62

วารสารราชทัณฑ์

ว า ร ส า ร เ พื่ อ ค ว า ม ก ้ า ว ห น ้ า แ ล ะ ร อ บ รู ้ ใ น ง า น ร า ช ทั ณ ฑ ์

วตั ถปุ ระสงค์ สารจากบรรณาธกิ าร

1. เพอ่ื เสริมสรา้ งความรู้และทศั นะเก่ยี วกับงานราชทัณฑ์ สวสั ดที า่ นผอู้ า่ นทเี่ คารพรกั ทกุ ทา่ น
2. เพอ่ื เผยแพรก่ ิจกรรมเกี่ยวกบั งานราชทัณฑ์ วารสารราชทัณฑ์ฉบับนี้ เป็นวารสาร
3. เพ่อื เป็นสื่อกลางในการแสดงความคดิ เห็นและแลกเปลี่ยนความรู้ ราชทัณฑ์ฉบับแรกของปีงบประมาณ
ประสบการณแ์ ละปัญหาขดั ข้องในการบรหิ าร พ.ศ. 2562 ขอเร่ิมด้วยการกล่าวสวัสดี
เนื่องในโอกาสวันข้ึนปีใหม่ไทย ซึ่งตรงกับประเพณีสงกรานต์
คณะกรรมการอำ�นวยการวารสารราชทณั ฑ์ วันท่ี 13 เมษายน 2562 ดฉิ ันขออาราธนาคุณพระศรีรตั นตรยั
สิ่งศักด์ิสิทธ์ิทั้งหลายที่ท่านให้ความเคารพนับถือ ดลบันดาล
• อธบิ ดีกรมราชทณั ฑ์ ประธานท่ปี รึกษา ให้ท่านและครอบครัวประสบแต่ส่ิงดี มีความสุข ความเจริญ
• รองอธิบดกี รมราชทัณฑ ์ ทีป่ รกึ ษา มีความก้าวหน้าในหน้าท่ีการงาน และมีสุขภาพพลานามัย
• รองอธิบดกี รมราชทณั ฑ์ ทีร่ ับผิดชอบ ประธานคณะกรรมการ ทีส่ มบูรณแ์ ละแขง็ แรงตลอดไป
การปฏิบตั ริ าชการของสถาบันพัฒนา อำ�นวยการ ส�ำหรบั เนอื้ หาภายในของวารสารฉบบั นยี้ งั คงเปย่ี มไปดว้ ย
ขา้ ราชการราชทัณฑ์ สาระและเรอ่ื งราวตา่ งๆ ทนี่ า่ สนใจในงานราชทณั ฑ์ ท่ีได้คดั สรร
• หัวหน้าผูต้ รวจราชการกรม กรรมการ มาน�ำเสนอตอ่ ทา่ นผู้อา่ นเหมือนเชน่ เคย เชน่ นโยบายเน้นหนกั
• ผู้อ�ำ นวยการกองทัณฑวิทยา กรรมการ ของอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
• ผอู้ �ำ นวยการกองทณั ฑปฏบิ ตั ิ กรรมการ กล่าวถึง การด�ำเนินงานท่ีส�ำคัญโดยยึดหลัก “ราชทัณฑ์ 4S”
• ผูอ้ �ำ นวยการกองพฒั นาพฤตนิ ิสัย กรรมการ Smart - Strong - Service – Success เคร่ืองมือในการ
• ผู้อ�ำ นวยการกองบริหารการคลัง กรรมการ ด�ำเนินงานจ�ำแนกลักษณะผู้ต้องขังในยุค 4.0 การพัฒนา
• ผ้อู �ำ นวยการกองบรหิ ารทรพั ยากรบคุ คล กรรมการ ประสิทธิภาพการตรวจค้นผู้ต้องขังตามหลักมาตรฐานสากล
• ผ้อู �ำ นวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรรมการ ซ่ึงเป็นรายละเอียดส่วนหน่ึงของนโยบายและทิศทางในการ
• ผ้อู �ำ นวยการกองกฎหมาย กรรมการ บรหิ ารงานราชทณั ฑ์ เพอ่ื ใหง้ านราชทณั ฑเ์ กดิ ประสทิ ธภิ าพและ
• ผู้อ�ำ นวยการสถาบนั พัฒนา บรรณาธกิ าร ประสิทธิผลมากขน้ึ
ขา้ ราชการราชทัณฑ์ และเลขานกุ าร กองบรรณาธิการ ต้องขอขอบคุณสมาชิกทุกท่าน
• หวั หนา้ ศูนยส์ ง่ เสรมิ และพฒั นาการเรียนรู้ ผชู้ ว่ ยบรรณาธิการและ ที่ ไ ด ้ ร ่ ว ม กั น ส นั บ ส นุ น ว า ร ส า ร ร า ช ทั ณ ฑ ์ อ ย ่ า ง ต ่ อ เ น่ื อ ง
ผชู้ ่วยเลขานกุ าร หวงั เปน็ อยา่ งยง่ิ วา่ ทา่ นผอู้ า่ นจะไดร้ บั ประโยชนจ์ ากการเผยแพร่
บทความต่างๆ ที่น�ำเสนอ และเชื่อว่าจะเป็นฉบับท่ีท่านผู้อ่าน
คณะเจ้าหน้าทีป่ ระจ�ำ กองบรรณาธิการวารสารราชทัณฑ์ จะได้รับการพัฒนาองค์ความรู้อย่างดียิ่ง และขอเชิญชวน
ท่านผู้อ่านและผู้สนใจทุกท่านส่งบทความท่ีเกี่ยวกับงาน
• นายปรีชา เครอื จนั ทร์ ประจำ�กองบรรณาธิการ ราชทณั ฑ์ หรอื เกยี่ วกบั งานในกระบวนการยตุ ธิ รรม รวมถงึ สาระ
• นางสาวมารสิ า วริ ิยะรมั ภ ์ ประจำ�กองบรรณาธิการ เกร็ดความรู้ เพื่อลงเผยแพร่ในวารสารราชทัณฑ์ โดยสามารถ
• นางสาววีรนุช นิ่มเงนิ ประจำ�กองบรรณาธกิ าร ติดต่อหรือส่งมาได้ที่อาคารสถาบันพัฒนาข้าราชการราชทัณฑ์
• นายกิตติพงษ์ เกิดนอ้ ย ประจำ�กองบรรณาธกิ าร กองบรรณาธิการวารสารราชทัณฑ์ กรมราชทัณฑ ์
• นางสวุ รรณา ตระกูลพานิชย์ ประจำ�กองบรรณาธกิ าร อ�ำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ท้ายน้ีขอขอบคุณทุกท่าน
• นายอภิรกั ษ์ แกว้ สวย ประจำ�กองบรรณาธิการ มา ณ โอกาสน้ี
• นางสาวอนั ธกิ า เจยี มจรรยารักษ ์ ประจำ�กองบรรณาธกิ าร
• นายทิฆัมพร ห่อมกระโทก เจ้าหนา้ ที่การเงนิ และบัญชี ประภาพรรณ ขจรวฒั นากลุ
• นายธรี ศกั ดิ์ อินทรช์ ว่ ย เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี บรรณาธิการวารสารราชทณั ฑ์
• นางนฤมล เครือจนั ทร์ เจ้าหน้าท่พี สั ดุ
• นางสาวขวัญใจ ไกรสงั ข ์ พิสจู น์อกั ษร
• นางสาวสภุ รภคั พยคั ฆาคม พิสูจนอ์ ักษร
• นางสาวจิณหน์ ภา รอดมี พสิ จู น์อกั ษร
• นางสาวจีระพนั ธ์ ศรีเสนพลิ า พิสจู น์อกั ษร

สารบญั

3 สารจากคณะผบู้ ริหารกรมราชทณั ฑ์
6 ความภาคภมู ใิ จของกรมราชทัณฑ์
7 ข่าวกรมราชทัณฑ์
11 ข่าวพฒั นาบคุ ลากร

13 ผู้คมุ S-SMART

19 เครอื่ งมือในการดำ� เนนิ งานจำ� แนก

ลักษณะผู้ต้องขงั ในยุค 4.0

28 ขา่ วราชทณั ฑ์รอบโลก

34 ปญั ญาประดษิ ฐ์ ( A.I.) ในงานราชทัณฑ์

39 กระบวนการพัฒนาบุคลากรยุคไซเบอร์

45 การดำ� เนินการทางวนิ ัยข้าราชการกรมราชทณั ฑ์

50 การแขง่ ขันชุดปฏบิ ตั กิ ารพิเศษ ณ ประเทศสงิ คโปร์

57 พบกนั วันสดุ ทา้ ย

60 วินยั กับคนไทย

65 แดนสามคั คีเกมส์ เรอื นจ�ำพิเศษมีนบุรี 79 บทความทางวชิ าการ นผบ.
71 เม่อื ปลดลอ๊ กกัญชาออกจากบัญชี 86 แนะนำ� หนงั สอื โทษประหารชีวิต

ยาเสพติด

76 มมุ มองต้นกล้าราชทัณฑ์ 89 เรอื นจ�ำไทยในอดตี เรอื นจำ� กลางนครสวรรค์

90 Good Products Good People

100 ใบสมคั รสมาชกิ วารสารราชทัณฑ์ ปีที่ 67
ประจำ� ปี พ.ศ. 2562

2 วารสารราชทัณฑ์

สารจากอธบิ ดีกรมราชทณั ฑ์

ในศุภวาระดิถี วันขึ้นปีใหม่ของไทยในวันที่ 13 เมษายนนี้ ผมขออํานวยพรให้บุคลากรของกรมราชทัณฑ์และครอบครัว
จงประสบแต่ความสุขสมหวัง มีความปลอดภัย มีร่างกายและจิตใจท่ีเข้มแข็ง มีปัญญาที่แจ่มใส สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่าง
เต็มความสามารถ เพือ่ ใหเ้ กดิ ผลดตี อ่ ประเทศชาตแิ ละประชาชนต่อไป
ปจั จบุ ันความคาดหวงั ของสังคมที่มีตอ่ งานราชทัณฑ์ เป็นความทา้ ทายทพ่ี วกเราต้องทําใหส้ ําเร็จ ทง้ั ในมิติของการบงั คับโทษ
อย่างมีประสิทธิภาพ และการแกไ้ ขพฒั นาพฤตนิ ิสยั อย่างมีประสทิ ธิผลเกิดเป็นผลสมั ฤทธ์ิในการคนื คนดีสสู่ งั คม นโยบายราชทัณฑ์ 4S
Smart - Strong - Service – Success จะเป็นเครื่องมอื สําคญั ทชี่ ่วยใหเ้ ราเดินไปสูอ่ นาคตอยา่ งมัน่ คงและสง่างาม
ผมทราบดีว่าพวกเราต้องเหน็ดเหน่ือยกันมามาก นับต้ังแต่ในอดีตท่ีเราต้องเผชิญกับปัญหายาเสพติดและโทรศัพท์มือถือ
ในเรอื นจํา จงึ ไดม้ กี ารจดั ระเบยี บเรอื นจําอยา่ งจรงิ จงั มกี ารขนถา่ ยวสั ดเุ ครอ่ื งใชอ้ ปุ กรณบ์ รโิ ภคสว่ นเกนิ ทไี่ มค่ วรมอี อกจากเรอื นจํา และ
เข้มงวดกวดขันในการปกครอง เป็นผลให้เรือนจําปลอดยาเสพติด โทรศัพท์มือถือ และส่ิงของต้องห้าม แต่การแก้ปัญหาเหล่านั้น
ได้นํามาสปู่ ัญหาใหม่ดา้ นอืน่ ๆ เช่น ปัญหาด้านสุขภาวะ ปัญหาดา้ นการปฏิบตั ิตอ่ ผตู้ ้องขังใหเ้ ปน็ ไปตามมาตรฐานสากลทีเ่ ป็นโจทย์ใหม่
ให้เราต้องมุง่ ม่ัน ทมุ่ เท พลงั กาย พลังใจ ในการปฏบิ ัตหิ นา้ ทีต่ ่อไป
ผมและคณะผู้บริหารจะพยายามแสวงหาวิธีการบริหารจัดการ วัสดุอุปกรณ์ และงบประมาณ เพ่ือสนับสนุนและเพ่ิมพูน
ประสิทธิภาพในการทํางาน ลดภาระความตรากตรํา เพิ่มสวัสดิการ ผลตอบแทน และขยายโอกาสความก้าวหน้าของบุคลากร
ให้มากท่ีสุด ดว้ ยตระหนักดวี ่าทุกๆ ทา่ น คือ ทรพั ยากรท่ีสําคญั ทสี่ ดุ ขององค์กร

พันตำ� รวจเอก ณรชั ต์ เศวตนนั ทน์
อธบิ ดีกรมราชทณั ฑ์
วารสารราชทัณฑ์ 3

สารจากรองอธิบดีกรมราชทณั ฑ์ ฝา่ ยบรหิ าร (นายอายตุ ม์ สินธพพนั ธ)์ุ
รองอธบิ ดีกรมราชทณั ฑ์ ฝ่ายบรหิ าร
ในการด�ำเนินชีวิตของข้าราชการ ข้าราชการต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซ่ือสัตย์
สุจริต และถูกต้องเพ่ือน�ำพาองค์กรให้เป็นที่น่าเช่ือถือ และก้าวไปข้างหน้าอย่างภาคภูมิ
พรอ้ มทจี่ ะใหต้ รวจสอบได้ สามารถอธบิ ายถงึ การกระทำ� ของตนเองหรอื หนว่ ยงานได้ รวมถงึ
ความรับผิดชอบในผลการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย และให้การด�ำเนินชีวิตด้วยความ
รอบคอบระมัดระวัง ตลอดทั้งมีการประสานสัมพันธ์ท่ีดีกันในองค์กร สร้างความพึงพอใจ
แกผ่ ู้รับบรกิ าร
เนอื่ งในโอกาสปใี หมไ่ ทยมาบรรจบครบรอบอกี วาระหนง่ึ ของคนไทย ขอสง่ ความสขุ
ใหท้ กุ ทา่ นมชี วี ติ อนั สมบรู ณด์ ว้ ยความสขุ กา้ วผา่ นการทํางานทห่ี นกั มาตลอดทง้ั ปี เปลยี่ นเปน็
ความสําเร็จ ความปิติ และภาคภูมิใจในศักดิ์ศรีของความเป็นขา้ ราชการ พรอ้ มกา้ วสปู่ ีใหม่
วันสงกรานต์ อันเป็นมงคลย่ิง ขอให้มีกําลังใจท่ีจะดําเนินชีวิตด้วยความสุข สมดังจิต
คิดปรารถนา จงสัมฤทธิด์ ้วยปญั ญา พรอ้ มคณุ ธรรม

(นายกิตติพัฒน์ เดชะพหุล) สารจากรองอธิบดกี รมราชทัณฑ์ ฝ่ายพัฒนาพฤตินสิ ยั
รองอธบิ ดกี รมราชทณั ฑ์
ฝ่ายพฒั นาพฤตินิสยั ในปจั จบุ นั การปฏบิ ตั งิ านของขา้ ราชการกรมราชทณั ฑ์ ตอ้ งทำ� งานภายใตส้ ภาพแวดลอ้ ม
ทอ่ี ยรู่ ว่ มกบั ผตู้ อ้ งขงั ทมี่ จี ำ� นวนเกนิ ความจมุ าตรฐานของเรอื นจำ� ตา่ งๆ มาก ทำ� ใหอ้ ตั ราสว่ น
ของเจ้าหน้าที่ต่อการควบคุมผู้ต้องขังไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล จึงให้การท�ำงาน
ยงุ่ ยากและทา้ ทายยง่ิ ขน้ึ โดยเฉพาะงานดา้ นการแกไ้ ขและพฒั นาพฤตนิ สิ ยั เพอ่ื คนื คนดสี สู่ งั คม
โดยไม่หวนกลับมากระท�ำผิดซ�้ำอีก การฝึกวิชาชีพที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน
การแสวงหาโอกาสใหมๆ่ ในการจา้ งงาน การสรา้ งงานสรา้ งอาชพี และการชว่ ยประคบั ประคอง
ในชว่ งแรกๆ ของการกลบั เขา้ สสู่ งั คมเมอ่ื พน้ โทษ จะชว่ ยลดอตั ราการกระทำ� ผดิ ซำ�้ และชว่ ยให้
สังคมปลอดภยั จากอาชญากรรมไปพรอ้ มๆ กนั ขอเป็นก�ำลังใจใหก้ ับชาวราชทณั ฑ์ทกุ ท่าน
ไดก้ า้ วไปสคู่ วามสำ� เรจ็ ในงานสำ� คญั ของประเทศชาติ และภาคภมู ใิ จในภารกจิ ของพวกเราครบั
เนอ่ื งในวนั ขน้ึ ปใี หมไ่ ทย ผมขออาราธนาอำ� นาจคณุ พระศรรี ตั นตรยั และสง่ิ ศกั ดส์ิ ทิ ธ์ิ
โปรดดลบนั ดาลใหท้ า่ นและครอบครวั จงประสบแตค่ วามสขุ ความเจรญิ ประสบความสำ� เรจ็
ในส่งิ อนั พงึ ปรารถนาตลอดไป

สารจากรองอธบิ ดกี รมราชทณั ฑ์ ฝ่ายปฏิบัติการ (พนั ต�ำรวจโท ประวธุ วงศส์ ีนิล)
รองอธิบดกี รมราชทัณฑ์ ฝา่ ยปฏิบัตกิ าร
เนื่องในโอกาสประเพณีสงกรานต์ วันขึ้นปีใหม่ของไทยเราน้ัน ขอส่งความสุข
และความปรารถนาดี มายงั ขา้ ราชการราชทณั ฑพ์ รอ้ มดว้ ยครอบครวั ทกุ ทา่ น ขอใหเ้ จรญิ ดว้ ย
จตุรพิธพรชัย และให้ก�ำลังใจทุกท่านในการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ปัจจุบันภารกิจการท�ำงาน
ของกรมราชทัณฑ์มีหลายด้าน ซ่ึงต้องด�ำเนินการท่ามกลางความเปล่ียนแปลงของสังคม
ในยุคดิจทิ ลั
กรมราชทัณฑ์จึงมีความจ�ำเป็นอย่างย่ิงท่ีต้องมีการปรับตัว และพัฒนาในทุกมิติ
ให้มีศักยภาพ โดยวิธีการเสริมสร้างความพร้อมของข้าราชการ การบริหารจัดการ ที่มี
ความโปรง่ ใส พรอ้ มเปน็ ขา้ ราชการราชทณั ฑม์ อื อาชพี ทเ่ี สยี สละ เขม็ แขง็ อดทน และมคี ณุ ภาพ
รอบรู้ ทันสมัย มีความคิด ริเร่ิมสร้างสรรค์ ซ่ึงเป็นรากฐานส�ำคัญในการด�ำเนินงาน
ใหส้ อดคลอ้ งกบั นโยบายกรมราชทัณฑใ์ นการเปน็ องคก์ รทีม่ ปี ระสิทธภิ าพ

4 วารสารราชทัณฑ์

(นายธวชั ชยั ชยั วัฒน์) สารจากรองอธบิ ดีกรมราชทัณฑ์ ฝ่ายวชิ าการ
รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์
ภายใต้ทิศทางและนโยบายของกระทรวงยุติธรรม ด้านการพัฒนาพฤตินิสัย
ฝ่ายวชิ าการ ของผตู้ อ้ งราชทณั ฑใ์ นหว้ งเวลาน้ี จะเหน็ วา่ ไมม่ อี ะไรสำ� คญั ไปกวา่ การมงี านทำ� อนั ประกอบไปดว้ ย
การประกอบอาชพี ตามทไ่ี ดร้ บั การฝกึ วชิ าชพี ทม่ี คี วามทนั สมยั และมที นุ ในการประกอบการ
กระบวนการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องราชทัณฑ์จ�ำเป็นต้องมีการปรับเปล่ียนตาม
ความเปลย่ี นแปลงของสงั คม ตอ้ งหากลยทุ ธใ์ หมๆ่ ในการสรา้ งการเรยี นรู้ สรา้ งทกั ษะอาชพี
ท่สี ามารถน�ำไปประกอบอาชพี หลังพน้ โทษได้จริง เช่น การน�ำผูต้ อ้ งราชทณั ฑไ์ ปฝกึ วิชาชพี
ในนิคมอุตสาหกรรม ศนู ย์ฝกึ อาชพี เฉพาะทาง (Academy) การฝึกวชิ าชพี ผูต้ ้องราชทัณฑ์
ดา้ นนวตั กรรมเกษตรอตุ สาหกรรมแปลงใหญ่ และเกษตรอจั ฉรยิ ะ (Smart Farmer) การให้
ผตู้ อ้ งราชทณั ฑท์ ำ� งานเพอ่ื เกดิ ประสบการณใ์ นการประกอบอาชพี และมกี ระบวนการตดิ ตาม
ให้ความช่วยเหลือภายหลังพ้นโทษผ่านศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานท�ำ
(CARE : Center of Assistant to Reintegration Employment) และการสร้างการรบั รู้
ของสงั คมเพอ่ื ใหผ้ ทู้ ผี่ า่ นการจำ� คกุ ไดร้ บั การยอมรบั จากสงั คม ดงั ทกี่ รมราชทณั ฑ์ ดำ� เนนิ งาน
มาอย่างต่อเน่ือง ภารกิจเหล่านี้ท�ำให้ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ เป็นไปด้วย
ความยากล�ำบาก ท่ีต้องใช้ก�ำลังกาย สติปัญญา ไหวพริบปฏิภาณ แต่ผลงานในปีที่ผ่านมา
ถอื ไดว้ า่ มคี วามสำ� เรจ็ ในระดบั ทน่ี า่ ภาคภมู ใิ จ ทสี่ ะทอ้ นถงึ ประสทิ ธภิ าพของบคุ ลากรภายใน
องค์กรไดเ้ ปน็ อย่างดี
ในโอกาสประเพณีวันขึ้นปีใหม่ของคนไทย ผมขออาราธนาส่ิงศักด์ิสิทธิ์ท้ังหลาย
ไดโ้ ปรดคมุ้ ครอง และเปน็ กำ� ลงั ใจใหข้ า้ ราชการราชทณั ฑท์ ง้ั หลาย ใหเ้ ปน็ ผมู้ ใี จรกั และชว่ ยเหลอื
ผตู้ อ้ งราชทณั ฑ์ในการท�ำงาน มคี วามกระตือรือร้น ทีจ่ ะแสวงหาความรู้ใหมๆ่ มคี วามมุ่งมั่น
ท่ีจะแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการท�ำงานด้านการพัฒนาพฤตนิสัยให้บรรลุผลส�ำเร็จ มีผู้ต้อง
ราชทัณฑ์กระท�ำผิดซ�้ำลดลง และอ�ำนวยพรให้ทุกท่านและครอบครัวประสบความสุข
ความเจรญิ ในทุกๆ ด้านตลอดไป

สารจากผู้เชย่ี วชาญเฉพาะด้านทัณฑวทิ ยา (นางพัชราภรณ์ ศโรภาส)
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านทัณฑวิทยา
กระบวนงานด้านการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังเป็นหัวใจสําคัญของแนวคิด
ทัณฑวิทยาสมัยใหม่ เป้าประสงค์การคืนคนดีสู่สังคม จึงต้องมีองค์ประกอบท่ีมุ่งเน้นไปสู่ วารสารราชทัณฑ์ 5
การเปลย่ี นแปลงทศั นคติ ความเชอ่ื และการสง่ เสรมิ องคค์ วามรทู้ จ่ี ําเปน็ เพอ่ื เปน็ การเสรมิ สรา้ ง
ทักษะวิชาชีพให้กับผู้ต้องโทษสามารถนําไปประกอบอาชีพหาเล้ียงตนเองและครอบครัวได้
ภายหลังพ้นโทษ ด้วยเจตนารมณ์ดังกล่าว ส่งผลให้บุคลากรกรมราชทัณฑ์จะต้องปรับ
กระบวนทศั นใ์ นการทำ� งาน จะตอ้ งเสรมิ สรา้ งทกั ษะความรคู้ วามสามารถในหลากหลายดา้ น
จะต้องบูรณาการ ทั้งด้านยุทธวิธีในการควบคุม เพื่อให้ภารกิจด้านการบังคับโทษ
มีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันก็ต้องพัฒนาทักษะ ทั้งในด้านศาสตร์และศิลป์ เพื่อให้งาน
ด้านการพัฒนาพฤตินิสัยเกิดประสิทธิผล เป็นท่ีประจักษ์แก่สังคม ภายใต้บริบทดังกล่าว
จึงเป็นภารกิจท่ีหนักและตรากตร�ำ เป็นการทํางานในลักษณะปิดทองหลังพระที่ไม่ค่อย
มีใครเห็นถึงความสําคัญ แต่ขอให้ทุกท่านมีความภาคภูมิใจในการเป็น “ผู้คุมมืออาชีพ”
ของพวกเราชาวราชทณั ฑ์
ในวาระศุภฤกษ์ดิถี วันขึ้นปีใหม่ไทย วันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2562 ดิฉันขอส่ง
ความรกั และปรารถนาดีมายงั ทุกทา่ นรวมถึงครอบครัว จงประสบแตค่ วามสุข ความเจริญ
มสี ุขภาพแข็งแรงท้งั กายและใจ ตลอดไป

ความภาคภมู ใิ จ

ของกรมราชทณั ฑ์

เป็นเรื่องน่ายินดีอย่างย่ิง ท่ีในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 กรมราชทัณฑ์ได้รับการประเมินผลระดับคุณธรรม
และความโปร่งใสในการดําเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA)
จากสํานักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สํานักงาน ป.ป.ช.) โดยได้รับผลคะแนนร้อยละ 88.20
เปน็ อันดับท่ี 29 จาก 146 หน่วยงานภาครัฐท้งั หมด ซึง่ เป็นคะแนนสงู สดุ ของหน่วยงานในกระบวนการยุตธิ รรม
โดยผลงานดังกล่าวส่งผลให้กรมราชทัณฑ์ ได้รับรางวัลหน่วยงานบริหารทรัพยากรดีเด่น ด้านความโปร่งใส
ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ประจำ� ปงี บประมาณ พ.ศ. 2562 จากมูลนิธจิ นิ ดา ณ สงขลา ส�ำนกั งาน ก.พ. และ
รางวลั ชมเชยองคก์ รโปรง่ ใส จากสํานักงานปอ้ งกันและปราบปรามการทจุ รติ แห่งชาติ (สํานกั งาน ป.ป.ช.)
จากมตคิ ณะรฐั มนตรี เมอื่ วนั ท่ี 5 มกราคม 2559 ไดก้ ําหนดใหห้ นว่ ยงานภาครฐั ทกุ แหง่ ตอ้ งเขา้ รว่ มประเมนิ ระดบั
คุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงาน ตามยุทธศาสตร์ชาติท่ีว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
ระยะท่ี 3 ทก่ี ําหนดวสิ ยั ทศั นไ์ วว้ า่ “ประเทศไทยใสสะอาด ไทยทง้ั ชาตติ า้ นทจุ รติ ” (Zero Tolerance & Clean Thailand)
ซ่ึงสํานักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ได้จัดโครงการ ประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการ
ดําเนนิ งานของหน่วยงานภาครัฐ ประเมินจากดชั นีทีเ่ กย่ี วขอ้ งใน 5 ดา้ น ได้แก่
1. ดชั นีความโปรง่ ใส (Transparency index)
2. ดัชนีความพร้อมรับผดิ (Accountability index)
3. ดัชนีการปลอดจากการทุจริตในการปฏิบตั ิงาน (Corruption - Free index)
4. ดชั นีวฒั นธรรมในองค์กร (Integrity Culture index)
5. ดชั นคี ณุ ธรรมการทํางานในหน่วยงาน (Work Integrity index)
โดยมกี ารสํารวจหลกั ฐานเชงิ ประจกั ษ์ และสํารวจความคดิ เหน็ จากผมู้ สี ว่ นไดส้ ว่ นเสยี ทง้ั ภายในและภายนอก
องคก์ ร
ผลการดําเนินงานในปงี บประมาณ พ.ศ. 2561 ถอื เปน็ พฒั นาการทีก่ ้าวกระโดดของกรมราชทณั ฑ์ เพราะใน
โครงการเดียวกันน้ี เม่ือปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 กรมราชทัณฑ์ ได้รับผลคะแนน ร้อยละ 82.13 เป็นอนั ดบั ท่ี 94 จาก
147 หนว่ ยงาน ซง่ึ ผลการดําเนนิ งานครงั้ นี้ ชใี้ หเ้ หน็ ถงึ ความรว่ มมอื รว่ มใจจากบคุ ลากรทกุ ระดบั ทง้ั ผบู้ รหิ าร ขา้ ราชการ
พนักงานราชการ และลูกจ้าง ร่วมผลักดันใหเ้ กิดความสําเร็จเชงิ ประจกั ษใ์ นครงั้ นี้
สำ� หรบั ปงี บประมาณ พ.ศ. 2562 กรมราชทณั ฑ์จะต้องด�ำเนินการเพ่อื ขบั เคลอ่ื นการปอ้ งกันและปราบปราม
การทจุ รติ และประพฤตมิ ชิ อบของกรมราชทณั ฑ์ ใหบ้ งั เกดิ เปน็ รปู ธรรมบรรลเุ จตจำ� นงตามยทุ ธศาสตรช์ าตอิ ยา่ งตอ่ เนอื่ ง
ตอ่ ไป

6 วารสารราชทัณฑ์

ข่าวกรมราชทณั ฑ์

วนั ท่ี 25 พฤศจกิ ายน 2561 พันตํารวจเอก ณรชั ต์ เศวตนันทน์ อธบิ ดกี รมราชทณั ฑ์ เปน็ ประธานในพิธี
วางพวงมาลาพระบรมราชานสุ าวรีย์ พระบาทสมเดจ็ พระมงกุฎเกล้าเจา้ อยหู่ ัว ณ กรมราชทณั ฑ์ จังหวดั นนทบรุ ี

วนั ท่ี 5 ธันวาคม 2561 กรมราชทัณฑ์ร่วมพธิ เี ปดิ งาน “อ่นุ ไอรกั
คลายความหนาว สายนำ�้ แหง่ รตั นโกสนิ ทร”์ พรอ้ มทง้ั ออกงานแสดงสนิ คา้
ผลติ ภณั ฑจ์ ากฝมี อื ผตู้ อ้ งขงั ณ พระลานพระราชวงั ดสุ ติ และสนามเสอื ปา่
เขตดสุ ติ กรงุ เทพมหานคร

วารสารราชทัณฑ์ 7

ข่าวกรมราชทณั ฑ์

วนั ท่ี 14 ธนั วาคม 2561 พระเจา้
หลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา
เสด็จเปิดศูนย์การเรียนรู้และแหล่ง
ท่องเท่ียวเกษตรอินทรีย์ ในโอกาส
ครบรอบ 12 ปี โครงการกําลังใจฯ
ณ เรอื นจําชวั่ คราวดอยฮาง อําเภอเมอื ง
เชียงราย จงั หวดั เชียงราย

วันที่ 12 ธันวาคม 2561 พันตํารวจเอก
ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์
เป็นประธานพิธีเปิดการฝึกอบรมหลักสูตร
การพัฒนาศักยภาพผู้น�ำนันทนาการเรือนจ�ำ
และทัณฑสถาน ภายใต้โครงการส่งเสริม
นันทนาการพัฒนาคุณภาพชีวิต กลุ่มบุคคลพิเศษ
และผู้ด้อยโอกาส ณ โรงแรมนนทบุรีพาเลช
อำ� เภอเมอื งนนทบุรี จงั หวดั นนทบรุ ี
8 วารสารราชทัณฑ์

วันท่ี 15 ธันวาคม 2561 ในโอกาสครบรอบ
12 ปี โครงการกําลงั ใจฯ พระเจา้ หลานเธอ พระองคเ์ จา้
พัชรกิติยาภา ทรงร่วมแข่งขันวิ่งเทรล ในโอกาส
ครบรอบ 12 ปี โครงการกําลงั ใจฯ (Run For Better
Life Doi Hang Cross Country Trail) พร้อมท้ัง
ประทานถ้วยรางวัลให้กับผู้ชนะเลิศชายและหญิง
การแข่งขันว่ิงเทรลประเภทต่างๆ ณ เรือนจําช่ัวคราว
ดอยฮาง อ�ำเภอเมอื งเชยี งราย จงั หวดั เชียงราย

วนั ที่ 19 ธนั วาคม 2561 นายอายตุ ม์ สนิ ธพพนั ธ์ุ
รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ฝ่ายบริหาร เป็นประธาน
เปิดงาน บุกคนหลังกําแพง เรือนจําพิเศษมีนบุรี
(MINBURI PRISON EXPO 2018) โดยมี นายแพทย์
สมภพ สังคุตแก้ว ผู้บัญชาการเรือนจําพิเศษมีนบุรี
กลา่ วรายงาน มเี จา้ หนา้ ทร่ี าชทณั ฑ์ และผตู้ อ้ งขงั รว่ มจดั
นิทรรศการการแสดงผลงานของเรือนจําพิเศษมีนบุรี
เพอื่ เปดิ ใหส้ งั คมภายนอกไดร้ บั รู้ รบั ทราบถงึ การปฏบิ ตั งิ าน
ของกรมราชทัณฑ์ที่มีต่อผู้ต้องราชทัณฑ์ ณ เรือนจํา
พเิ ศษมีนบรุ ี

วารสารราชทัณฑ์ 9

ขา่ วกรมราชทณั ฑ์

วนั ที่ 25 ธนั วาคม 2561 พนั ตํารวจเอก
ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์
เป็นประธานเปิดโครงการ “ทําความดีด้วยใจ
ลดภยั สง่ิ แวดลอ้ ม” ดว้ ยการจดั กจิ กรรมรณรงค์
ลดใช้พลาสติกและโฟม ตลอดจนคัดแยก
ขยะมูลฝอย พร้อมผู้บริหารกรมราชทัณฑ์
แ ล ะ ผู ้ บั ญ ช า ก า ร เ รื อ น จํา / ผู ้ อ� ำ น ว ย ก า ร
ทัณฑสถาน ข้าราชการ เจ้าหน้าท่ีในสังกัด
กรมราชทัณฑ์ ร่วมประกาศเจตนารมณ์
โดยพรอ้ มเพรยี งกนั ณ หอ้ งประชมุ กรมราชทณั ฑ์
ชนั้ 3 อาคารกรมราชทัณฑ์ จงั หวัดนนทบุรี

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2562 พันตํารวจเอก ณรัชต์
เศวตนันทน์ อธบิ ดีกรมราชทัณฑพ์ ร้อมด้วยผู้บริหารเข้ารว่ มพิธีเปดิ
งานวันมูลนิธิพันเอกจินดา ณ สงขลา ประจําปี พ.ศ. 2562
พร้อมทั้งรับมอบโล่เกียรติยศการบริหารทรัพยากรบุคคลดีเด่น
ประจําปี พ.ศ. 2562 ณ ห้องประชุมจินดา ณ สงขลา อาคาร 3
สํานกั งาน ก.พ. จงั หวัดนนทบรุ ี
10 วารสารราชทัณฑ์

ขา่ วพฒั นาบคุ ลากร

การฝึกอบรมหลักสตู รนักศกึ ษาผบู้ ัญชาการเรือนจำ� (นผบ.) รุน่ ที่ 31

ด�ำเนนิ การฝึกอบรม ระหว่างวนั ท่ี 2 กรกฎาคม – 17 สงิ หาคม 2561
มผี เู้ ข้ารบั การอบรม จ�ำนวน 50 คน ณ สถาบันพัฒนาขา้ ราชการราชทณั ฑ์ อ�ำเภอเมืองนนทบรุ ี จังหวัดนนทบรุ ี

การฝึกอบรมหลกั สตู รพนักงานราชการและลูกจา้ งภาครัฐ รนุ่ ท่ี 1

ด�ำเนินการฝกึ อบรม ระหว่างวันท่ี 19 - 30 พฤศจกิ ายน 2561
มีผูร้ ับการฝึกอบรม จำ� นวน 51 คน ณ ศนู ย์ฝกึ อบรมข้าราชการราชทณั ฑ์ประจำ� ภาคเหนอื อำ� เภอเมืองลำ� ปาง
จังหวัดล�ำปาง

วารสารราชทัณฑ์ 11

การฝกึ อบรมหลกั สตู รการปฏิบตั ติ อ่ ผู้ต้องขงั ตามขอ้ ก�ำหนดกรงุ เทพ
(Bangkok Rules) รุ่นที่ 10

ด�ำเนินการฝกึ อบรม ระหวา่ งวนั ที่ 17 – 27 ธันวาคม 2561
มผี ูร้ ับการฝกึ อบรม จ�ำนวน 50 คน ณ สถาบนั พัฒนาขา้ ราชการราชทัณฑ์ อำ� เภอเมอื งนนทบรุ ี จังหวดั นนทบุรี

การฝกึ อบรมหลกั สตู รเจ้าพนักงานเรือนจ�ำ ร่นุ ท่ี 145

ดำ� เนนิ การฝึกอบรม ระหวา่ งวันที่ 22 ตลุ าคม 2561 – 18 มกราคม 2562
มผี ู้รับการฝกึ อบรม จำ� นวน 119 คน ณ ศนู ยฝ์ กึ อบรมข้าราชการราชทณั ฑ์ประจ�ำภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนอื
อ�ำเภอสคี ิ้ว จงั หวัดนครราชสีมา

12 วารสารราชทัณฑ์

ผ้คู มุ S-SMART

โอกาสในการพัฒนาองคก์ ร

เอกธนชั นวลละออง
กองยทุ ธศาสตร์และแผนงาน

ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 พนั ตำ� รวจเอกณรัชต์ เศวตนนั ทน์ อธบิ ดีกรมราชทณั ฑ์
ไดม้ อบนโยบายการด�ำเนินงานที่สำ� คญั โดยยดึ หลกั ราชทัณฑ์ 4S
SMART STRONG SERVICE SUCCESS

โดยวารสารราชทัณฑ์ฉบับนี้จะขอกล่าวถึง S-SMART ผู้คุมยุคใหม่ต้องมีบุคลิก ท่าทางดี
มมี นุษยสัมพนั ธ์ดี มคี วามรอบรู้ เฉลยี วฉลาดทงั้ ทางดา้ น EQ และดา้ น IQ สามารถประสานงานได้ รวมทง้ั
เป็นหลายๆ อาชพี ในตวั เอง เช่น แพทย์ พยาบาล ครู อาจารย์ นกั สรา้ งแรงบนั ดาลใจ นกั จดั หางาน เปน็ ตน้
รวมถงึ เปน็ บคุ คลในเครอ่ื งแบบทสี่ งา่ งาม แตง่ กายดี รยู้ ุทธวิธี การรายงานตวั การทำ� ความเคารพท่ีถูกต้อง
และสวยงาม

วารสารราชทัณฑ์ 13

วารสารราชทณั ฑ์ ขอเชิญชวนผอู้ ่านเรยี นรู้กระบวนการพัฒนาตนเองเพอื่ เพ่มิ ระดับความ SMART ไปด้วยกัน
SMART พจนานกุ รมแปล องั กฤษ-ไทย NECTEC’s Lexitron Dictionary ใหค้ วามหมายไวว้ า่
[adj.] ฉลาด สมาร์ต เฉียบคม หลักแหลม
[syn.] bright clever quick
[ant.] dull stupid
[adj.] เนย้ี บ สะอาดและประณีต น่ามอง น�ำสมยั
[syn.] fashionable modern
[ant.] out-of-date
ความหมายในพจนานุกรม อธิบายถึงลักษณะ
ภาพลักษณ์ภายนอกและความฉลาดหลักแหลม แต่เม่ือ
พิจารณาจากนโยบายอธิบดีกรมราชทัณฑ์ SMART จะมี
ความหมายครอบคลุมความถึง “คุณค่า” ที่อยู่ภายใน
ตวั ตนของเราในทกุ ดา้ น กระบวนการพฒั นาเพอ่ื เพม่ิ ระดบั
ความ SMART จึงต้องพัฒนาในหลายด้านควบคู่กันไป
ทงั้ ดา้ น IQ ดา้ น EQ ดา้ นบุคลกิ ภาพ และด้านการรักษา
ระเบียบวินยั ในฐานะข้าราชการ

การพฒั นาดา้ น IQ

IQ = Intelligence Quotient ถูกคดิ คน้ โดย
Louis William Stern นกั จติ วทิ ยาชาวเยอรมนั และ
มาเปน็ ทีร่ ู้จกั ในวงกวา้ ง ในปี ค.ศ. 1916 เมอื่ Lewis
Terman นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ได้พัฒนา
แบบทดสอบไอคิว (IQ Test) ขึ้นเพ่ือวัดระดับ
ความฉลาดทางเชาว์ปัญญา โดยเฉพาะเรื่องการคิด
ความจำ� การใชเ้ หตผุ ล การคำ� นวณ และการเชอ่ื มโยง
ซ่ึงเป็นศักยภาพหรือความสามารถทางสมองท่ีแต่ละ
บุคคลมตี ิดตวั มาตั้งแตก่ �ำเนดิ
Richard Restak, M.D. แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาประสาทวิทยา และผู้แต่งหนังสือ ‘Think Smart’ หรือ
‘คิดอย่างฉลาดสุขุม’ ให้ค�ำแนะน�ำไว้ว่า องค์ความรู้ใหม่ๆ ในเรื่องสมองเพ่ิมข้ึนใน 10 ปีที่ผ่านมามากกว่า 200 ปี
กอ่ นรวมกนั ความรู้ใหมท่ เ่ี กิดขึน้ ได้แก่ สมองยง่ิ ใช้ยง่ิ ฉลาด หัวใจดีทำ� สมองดไี ปด้วย เพ่มิ งบี สัน้ ๆ ชว่ งบ่ายไมเ่ กนิ
30 นาที ดกี วา่ นอนกลางคนื อยา่ งเดยี ว ไอควิ สรา้ งได้ กระตนุ้ สมองได้ ดว้ ยการเชอื่ มโยงขอ้ มลู และการทำ� เรอ่ื งใหมๆ่
สมองตอ้ งการออกก�ำลงั กายกบั อาหารท่ี “ดี” และ “พอด”ี
มงี านวิจยั ระบุวา่ ขา้ ราชการสว่ นใหญ่มรี ะดับ IQ มากกวา่ 90 ขึน้ ไป และมบี ทความวิชาการหลายช้นิ บง่ ช้ีว่า
IQ นั้นสามารถพฒั นาไดใ้ นทุกช่วงอายุ

14 วารสารราชทัณฑ์

การพัฒนาด้าน EQ

EQ = Emotional Quotient คอื การวดั ความ
ฉลาดทางอรมณ์ เชาว์อารมณ์ หรือ Emotional
Intelligence
ค.ศ. 1990 นกั จติ วิทยาช่ือ Peter Salovey และ John D.Mayer เชื่อว่าความส�ำเรจ็ ในชีวติ มนษุ ยไ์ ม่น่าจะ
ข้ึนอยู่กับความสามารถเชาว์ปัญญาเพียงอยา่ งเดียว และไดใ้ ห้นิยามของ Emotional Intelligence ไวว้ า่ “เปน็ ความ
สามารถในการรอู้ ารมณ์ ความรสู้ กึ ของตนเองและผอู้ น่ื เพอ่ื จำ� แนกขอ้ แตกตา่ งของอารมณท์ เี่ กดิ ขน้ึ และใชข้ อ้ มลู น้ี
เป็นเครอื่ งช้นี ำ� ในการคิดและการกระทำ� สง่ิ ต่างๆ”
Daniel Goleman นกั จติ วิทยามหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ไดก้ ลา่ วไวใ้ นหนังสือเรอ่ื ง Working With Emotional
Intelligence ว่า “ความฉลาดทางอารมณม์ อี ิทธิพลตอ่ ความสำ� เรจ็ ของการสร้างสมั พนั ธภาพ หน้าท่ีการงาน หรอื
แมแ้ ต่ชีวติ ความเปน็ อยู่ ยิ่งกวา่ การมีเชาวป์ ัญญา (IQ) สงู ” และยังกล่าวถงึ พลังของความฉลาดทางอารมณ์ว่ามีผล
ตอ่ ภาวะผนู้ ำ� ของบุคคลตา่ งๆ ไวใ้ นหนังสือเรื่อง Leadership : The Power of Emotional Intelligence
ปัจจุบันมีงานวิจัยมากมายที่ยืนยันถึงความส�ำคัญของความฉลาดทางอารมณ์ว่ามีความส�ำคัญต่อความส�ำเร็จ
และความสุขของชีวิตมนุษยม์ ากกวา่ ไอควิ หรอื เชาว์ปัญญา

วารสารราชทัณฑ์ 15

องคป์ ระกอบพนื้ ฐานของความฉลาดทางอารมณ์ มดี งั นี้

1. ความตระหนกั ในตน (Self Awareness) หมายถงึ ความสามารถในการรบั รอู้ ารมณ์ ความรสู้ กึ ของตนเอง
มคี วามเชอ่ื มัน่ ในตนเอง และตดั สินใจไดต้ ามวยั
2. การควบคมุ อารมณ์ (Managing Emotion) หมายถงึ ความสามารถทจ่ี ะควบคุมความกลัว ความกังวล
ความโกรธของตนเองได้ และแสดงออกอยา่ งเหมาะสมกับสถานการณ์
3. การจูงใจตนเอง (Motivating Oneself) หมายถึง ความมุ่งหวังและการคิดบวกเพื่อแก้ไขปัญหา
ฟนั ฝา่ อปุ สรรค ยอมรบั ความผดิ พลาด ซงึ่ จะมผี ลระยะยาวตอ่ เดก็ ในการตงั้ เปา้ หมายและการสรา้ งความสำ� เรจ็ ในอนาคต
4. การเหน็ อกเหน็ ใจ (Empathy) หมายถึง ความสามารถในการสงั เกต รับรคู้ วามรสู้ กึ ของผอู้ ื่นจากน้ำ� เสยี ง
สีหนา้ ทา่ ทาง และตอบสนองแบบเอาใจเขามาใส่ใจเรา
5. ทักษะทางสังคม (Social Skills) หมายถึง ความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ในทางบวกต่อผู้อ่ืน
แก้ปญั หาความขัดแยง้ ดว้ ยวธิ ีประนปี ระนอม รวมไปถงึ ความมีน�ำ้ ใจ ชว่ ยเหลอื แบง่ ปัน
ถ้าเรายังรสู้ กึ วา่ EQ ของเรายงั ไม่สูงพอ ไมต่ อ้ งกงั วลไป เพราะมวี ิธใี นการพฒั นา EQ ใหส้ ูงขึ้นได้

การพัฒนาบคุ ลิกภาพ

ค�ำว่า บุคลิกภาพ มาจากภาษาลาตนิ ว่า “Persona” แปลวา่ หนา้ กาก ทีต่ ัวละครสมยั กรซี และโรมนั สวมใส่
เพื่อแสดงบคุ ลกิ ลกั ษณะที่แตกตา่ งกันให้ผอู้ นื่ เหน็ ได้ในระยะไกลๆ
บุคลกิ ภาพ ตามพจนานกุ รมไทย ฉบบั ราชบัณฑติ ยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ใหค้ วามหมายไว้ ดงั น้ี
บคุ ลกิ (บุก-คะ-ลิก, บุก-คะ-ลกิ -กะ) หมายความว่า จ�ำเพาะ
บุคลิกภาพ (บุก-คะ-ลิก-กะ-พาบ) หมายความว่า สภาพนิสัยจ�ำเพาะคน หรือในบางแห่ง จะหมายความว่า
ลกั ษณะเฉพาะประจ�ำตวั ของแต่ละบคุ คลที่ปรากฏให้เหน็
บุคลกิ ลักษณะ (บุก-คะ-ลกิ -กะ-ลกั -สะ-หนะ) หมายความว่า ลกั ษณะจำ� เพาะของแตล่ ะคน

หลกั และวธิ เี สริมสรา้ งบุคลิกภาพ

สง่ิ สำ� คญั ทเ่ี ปน็ พน้ื ฐานในการพฒั นาบคุ ลกิ ภาพ
คือ ความเป็นผู้ท่ีมีบุคลิกภาพดี ต้องมีส่วนประกอบท่ี
ส�ำคัญทางด้านร่างกายที่สมบูรณ์และจิตใจท่ีดี จึงต้อง
อาศัยสุขภาพที่ดี กล่าวคือ มีร่างกายแข็งแรง รูปร่าง
สมสว่ น มคี วามคลอ่ งตวั วอ่ งไว ปรบั ตวั ได้ง่าย ดังนั้น
บคุ คลทกุ คนสามารถพฒั นาบคุ ลกิ ภาพไดโ้ ดยกระทำ� ดงั น้ี
1. การออกก�ำลังกายเปน็ ประจำ�
2. รับประทานอาหารทดี่ มี ปี ระโยชนต์ ่อการบ�ำรงุ รา่ งกาย ในปริมาณท่ีพอดี
3. พักผ่อนให้เพียงพอ ให้เหมาะสมกับวยั
4. บรหิ ารจิตใจ เป็นการฝกึ จิตใจใหม้ ีสมาธิ มีพลัง มีความคิด
5. ผอ่ นคลายความเครยี ดเพื่อเสริมสร้างจติ ใจใหแ้ จ่มใส ปลอดโปร่ง
16 วารสารราชทัณฑ์

“....วนิ ยั น้นั เมอื่ น�ำมาฝกึ หัดปฏิบัติจะเป็นดังข้อบงั คบั ทคี่ วบคุมบคุ คลใหป้ ระพฤตปิ ฏิบตั ิ
เปน็ ระเบยี บ จึงอาจท�ำใหเ้ กิดความอดึ อดั ลำ� บากใจ เพราะตอ้ งฝกึ กระท�ำ. แต่เมอ่ื ปฏบิ ัติไปให้ชนิ

จนร้สู กึ วา่ เปน็ ไปโดยอตั โนมตั แิ ล้ว กจ็ ะสำ� เร็จผล ท�ำใหเ้ ปน็ คนมรี ะเบียบและเป็นระเบยี บ คือ
คิดก็เป็นระเบียบ ทำ� กเ็ ป็นระเบยี บ ตามลำ� ดบั ขัน้ ตอน ตามกาลเทศะ ตามความพอเหมาะพอควร
หายสบั สน หายลังเล และหายขัดแยง้ ทั้งในความคดิ ทัง้ ในการท�ำงาน สามารถน�ำวชิ าความรู้ และ
ความชำ� นาญทุกๆ ประการไปใช้ได้อย่างถูกต้องคลอ่ งแคล่ว สำ� เร็จผลเต็มเม็ดเตม็ หนว่ ย ช่วยให้

เกดิ ผลสมบรู ณ์ตามจดุ หมาย ทั้งจะเก้ือกูลรักษาผ้มู วี ินยั ใหเ้ จรญิ สวสั ดที ุกเมอ่ื ....”

พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระปรมนิ ทรมหาภมู ิพลอดุลยเดช
ในพธิ ีพระราชทานปรญิ ญาบตั รแกบ่ ณั ฑิตมหาวิทยาลัยสโุ ขทัยธรรมาธิราช ประจ�ำปกี ารศกึ ษา 2525

ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร วันเสาร์ท่ี 31 มีนาคม 2527

การพัฒนาดา้ นระเบยี บวินยั

กรมราชทัณฑ์ ได้ตระหนักถึงบาทบาทหน้าที่และลักษณะงานอันเป็น
ความพิเศษเฉพาะ ท่ีท�ำให้ข้าราชการราชทัณฑ์จ�ำเป็นต้องมีทักษะแตกต่างจาก
ขา้ ราชการพลเรอื นอน่ื จงึ มยี ทุ ธศาสตรใ์ นการพฒั นาบคุ ลากร ทสี่ อดแทรกเนอ้ื หา
ความรใู้ นดา้ นระเบียบวนิ ัยและยุทธวธิ รี าชทัณฑอ์ ยูใ่ นทกุ ระดับการฝกึ อบรม
นอกจากน้ี ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 กรมราชทัณฑ์ได้จัดฝึกอบรม
หลกั สตู รครฝู กึ ราชทณั ฑร์ ะดบั ตน้ โดยมวี ตั ถปุ ระสงคเ์ พอื่ สรา้ งบคุ ลากรทำ� หนา้ ท่ี
“ครูฝึก” ระเบียบวนิ ยั ใหแ้ ก่ “บุคลากร” ในสงั กดั กรมราชทัณฑ์ โดยประยกุ ตใ์ ช้
หลกั สตู รครฝู กึ ของกองบญั ชาการตำ� รวจตระเวนชายแดน มาจดั ฝกึ อบรมหลกั สตู ร
ในระยะเวลา 4 สปั ดาห์ เน้นการเรยี นการสอนในภาคทฤษฎที ีเ่ ก่ยี วกับภาวะผูน้ ำ�
จติ วทิ ยาความเปน็ ครู การสอ่ื สารและการสอน ภาคปฏบิ ตั ทิ เ่ี กยี่ วกบั ระเบยี บแถวชดิ
ทา่ บคุ คลมอื เปลา่ ทา่ บคุ คลประกอบอาวธุ การทำ� ความเคารพ และการรายงานตวั
ปัจจุบันมีข้าราชการราชทัณฑ์ผ่านการฝึกอบรมและได้รับการแต่งตั้งจาก
กรมราชทัณฑ์ให้มีวทิ ยฐานะ “ครฝู กึ ราชทัณฑ”์ จำ� นวน 300 คน ประจำ� อยูใ่ น
เรอื นจ�ำ/ทณั ฑสถานทวั่ ประเทศ แห่งละ 2 คน
ในก้าวต่อไปเพื่อให้ข้าราชการราชทัณฑ์มีความเข้มแข็งสง่างาม และมี
แบบแผนธรรมเนียมปฏิบัติที่เป็นเอกลักษณ์เป็นหน่ึงเดียวทั้งองค์กร
กรมราชทัณฑ์ โดยสถาบันพัฒนาข้าราชการราชทัณฑ์ได้เตรียมจัดท�ำแบบฝึก
ข้าราชการราชทัณฑ์ พ.ศ. 2562 ว่าด้วยระเบียบแถวชิด ท่าบุคคลมือเปล่า
ทา่ บุคคลประกอบอาวธุ การท�ำความเคารพ และการรายงานตวั โดยนำ� ระเบียบ
ปฏิบัติท่ีเก่ียวกับระเบียบวินัยมารวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่ พร้อมจัดท�ำค�ำอธิบาย
ประกอบที่ชัดเจนเป็นข้ันตอน รวมถึงสอดแทรกธรรมเนียมปฏิบัติอื่นๆ
ท่ีเหมาะสม เพื่อเป็นแนวทางส�ำหรับให้ข้าราชการราชทัณฑ์ยึดถือปฏิบัติ
อันจะน�ำไปสู่วฒั นธรรมองค์กรท่เี ขม้ แข็งและยงั่ ยนื

วารสารราชทัณฑ์ 17

“....การปฏบิ ตั ิงานทกุ อยา่ งของขา้ ราชการ มีผลเก่ียวเนอื่ งถึงประโยชน์สว่ นรวมของประเทศชาติ
และประชาชนทุกคน ข้าราชการทุกฝา่ ยทุกระดบั จึงตอ้ งระมัดระวงั การปฏบิ ตั ิทุกอยา่ งให้สมควร

และถกู ต้อง ด้วยหลกั วชิ า เหตุผล ความชอบธรรม ข้อส�ำคญั เมือ่ จะท�ำการใด ตอ้ งคิดใหด้ ี
โดยค�ำนงึ ถงึ ผลทจ่ี ะเกิดขึน้ ใหร้ อบคอบและรอบดา้ น เพอ่ื ใหง้ านทที่ ำ� เกดิ ผลดี ท่ีเป็นประโยชนแ์ ท้

แต่อย่างเดียว....”

พระบรมราโชวาท พระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภูมพิ ลอดลุ ยเดช
อาคารเฉลมิ พระเกยี รติ โรงพยาบาลศิรริ าช
วนั ท่ี 31 มนี าคม พุทธศักราช 2559

ปลายทางแหง่ S-SMART

ท่ามกลางความเปล่ียนแปลงของสังคม ก่อให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติงานท่ีท้าทายมากย่ิงขึ้น การด�ำเนินงาน
ตามหลักราชทัณฑ์ 4S ท่ผี ู้บริหารมอบให้จึงเป็นเครือ่ งมือสำ� คัญทจี่ ะช่วยยกระดับพัฒนาคุณภาพ ประสทิ ธภิ าพ ให้แก่
ขา้ ราชการกรมราชทณั ฑท์ กุ คน ทงั้ ภายนอกและภายใน กระบวนการปรบั ปรงุ พฒั นาเหลา่ นจี้ ะสง่ ผลใหอ้ งคก์ รเกดิ ความ
เขม้ แขง็ สงา่ งาม มปี ระสทิ ธภิ าพอยา่ งยงั่ ยนื และเกดิ ผลสมั ฤทธติ์ ามอดุ มคตขิ องขา้ ราชการ คอื การบำ� บดั ทกุ ข์ บำ� รงุ สขุ
ของประชาชน

วารสารราชทัณฑฉ์ บบั นไ้ี ด้น�ำเสนอนโยบายราชทณั ฑ์ S - SMART ท่ีเน้นการพัฒนาตนเองใหเ้ ปน็ ขา้ ราชการ
ราชทณั ฑ์ท่ีมีบุคลิกภาพสง่างาม โดยในฉบบั ถัดไปผเู้ ขยี นจะน�ำเสนอ S - STRONG SERVICE SUCCESS เพื่อให้เป็น
เครื่องมอื ขบั เคลือ่ นการปฏิบตั งิ านทมี่ ปี ระสิทธภิ าพต่อไป
อา้ งองิ
อีคิว (EQ: Emotional Quotient) (http://taamkru.com/th/อีคิว)
9 วิธีเพิ่มไอคิว (IQ)+สมรรถภาพสมอง > Blog: นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ (https://my.dek-d.com/wullopp/
blog/?blog_id=10015478)
บทความทางวิชาการ เรอ่ื ง บุคลกิ ภาพทีด่ ขี องขา้ ราชการตำ� รวจ โดย...พ.ต.ท.วโิ รจน์ บ�ำรงุ อาจารย์ (สบ 2) กลมุ่ งาน
อาจารย์ ศฝร.ภ.8 (http://school8.education.police.go.th/technical/technical06.html)
18 วารสารราชทัณฑ์

เคร่อื งมอื ในการด�ำเนนิ งาน ดร.พงษอ์ ภนิ ันทน์ จันกล่ิน
จ�ำแนกลกั ษณะผตู้ อ้ งขงั กองทัณฑปฏิบตั ิ

ในยคุ 4.0

ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 กองทัณฑปฏิบัติ ได้ด�ำเนินการพัฒนาระบบการจ�ำแนกลักษณะผู้ต้องขัง
ตามแผนปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาระบบการจ�ำแนกลักษณะผู้ต้องขังระยะสั้น (3 เดือน) โดยด�ำเนินการจัดท�ำ
แบบประเมินการจ�ำแนกลักษณะผู้ต้องขังพ้ืนฐานเพื่อการควบคุม (Screening) หรือแบบประเมิน A ซ่ึงเป็น
แบบทดสอบที่พัฒนาข้ึนมาจากแบบสอบถามปัจจัยที่มีผลหรือมีความสัมพันธ์กับการควบคุมผู้ต้องขังในเรือนจ�ำ
และทณั ฑสถาน จ�ำนวน 21 ปัจจยั
โดยแบบประเมนิ การจำ� แนกลกั ษณะผตู้ อ้ งขงั พน้ื ฐานดงั กลา่ ว มลี กั ษณะเปน็ แบบทดสอบหรอื แบบประเมนิ
ท่ีใช้รูปแบบของการให้คะแนน (Custody Rating Scale) และเป็นเคร่ืองมอื ทใ่ี ชป้ ระกอบการพจิ ารณาระดับของ
การควบคมุ ผตู้ อ้ งขงั แตล่ ะราย ควบคไู่ ปกบั ขอ้ มลู ทไ่ี ดจ้ ากการสมั ภาษณผ์ ตู้ อ้ งขงั ดว้ ยแบบจำ� แนกลกั ษณะผตู้ อ้ งขงั
(แบบ จน.1) ซงึ่ แบบประเมินดังกล่าว กองทัณฑปฏิบตั สิ รา้ งขึ้นนอกเหนอื จากการทกี่ รมราชทัณฑม์ แี บบทดสอบ
ความเป็นอาชญากร (Criminal Mind) เพ่ือเป็นทางเลือกและได้น�ำแบบประเมินการจ�ำแนกดังกล่าวไปทดสอบ
กับผ้ตู อ้ งขัง จำ� นวน 800 คน ในเรือนจำ� และทณั ฑสถานเป้าหมาย จำ� นวน 15 แห่ง แยกตามภมู ิภาคท่ัวประเทศ
โดยแยกตามประเภทคดีต่างๆ จ�ำนวน 13 ประเภท เช่น ผู้ต้องขังกระท�ำผิดครั้งแรกมีก�ำหนดโทษสูง ผู้ต้องขัง
กระท�ำผิดเก่ียวกับทรัพย์ ผู้ต้องขังกระท�ำผิดเกี่ยวกับเพศ ผู้ต้องขังปรากฏเป็นข่าวตามสื่อต่างๆ และผู้ต้องขัง
ที่มฐี านขอ้ มูลระบเุ ป็นผู้ต้องขังรายส�ำคัญ (High Profiles) เปน็ ต้น

วารสารราชทัณฑ์ 19

แบบประเมินการจ�ำแนกลักษณะผู้ต้องขังพ้ืนฐานเพ่ือการควบคุม (Screening) ได้ก�ำหนดคะแนนความเส่ียง
ในการควบคมุ สงู สดุ (130 คะแนน) และแบง่ ชว่ งของคะแนนการแปลผลคะแนนรวมหรอื สรปุ ผลความเสย่ี งในการควบคมุ
ผู้ต้องขงั แต่ละรายเปน็ 4 ระดบั ดังน้ี

ช่วงคะแนนรวมทงั้ 21 ปจั จยั ระดบั ความเสยี่ งในการควบคมุ ผูต้ อ้ งขัง

104 – 130 คะแนน มีความเส่ยี งสูงสดุ

77 – 103 คะแนน มีความเสีย่ งสงู

50 – 76 คะแนน มีความเสย่ี งปานกลาง (เฝ้าระวัง)

49 คะแนน และตำ่� กว่า มคี วามเส่ยี งตำ�่


ประกอบดว้ ยปจั จัยทีม่ ผี ลตอ่ การควบคุมผตู้ อ้ งขัง จ�ำนวน 21 ปจั จยั ได้แก่

ปจั จัยท่มี ผี ลต่อการควบคุมผตู้ อ้ งขงั คา่ คะแนนเต็ม
(130 คะแนน)

1) ดา้ นการกระทำ� ผิดวินัย/กระทำ� ผดิ ทางอาญาระหวา่ งคมุ ขงั 10 คะแนน

2) ดา้ นการมปี ระวัตกิ ารตอ้ งโทษซ�ำ้ 10 คะแนน

3) ดา้ นการมปี ระวัต/ิ พฤตกิ ารณม์ ีสิ่งของตอ้ งหา้ มในเรือนจำ� 10 คะแนน

4) ดา้ นศาลตัดสนิ มีก�ำหนดโทษสูงเมอ่ื เปรียบเทียบกบั อำ� นาจการคุมขังของเรอื นจำ� 10 คะแนน

5) ด้านการมีฐานข้อมูลจากหน่วยงานรัฐท่ีเก่ียวข้องระบุเป็นผู้กระท�ำผิดรายส�ำคัญ 10 คะแนน
(High Profiles)

6) ด้านผูต้ ้องขงั ปรากฏเปน็ ขา่ วทางสือ่ มวลชน เช่น หนงั สอื พิมพ์ 5 คะแนน

7) ดา้ นการมีพฤติการณก์ ารกระทำ� ผิดใช้ความรุนแรง โหดร้าย ทารณุ สะเทอื นขวัญ 5 คะแนน

8) ดา้ นการเคยมีประวตั ิ การกระทำ� ผดิ ก่อนตอ้ งโทษในคดปี ัจจุบนั 5 คะแนน

9) ดา้ นการมพี ฤตกิ ารณห์ วั หมอชอบยยุ งสรา้ งความปน่ั ปว่ นในเรอื นจำ� และทณั ฑสถาน 5 คะแนน

10) ดา้ นการมพี ฤติการณก์ อ่ เหตุร้ายหรือหลบหนจี ากเรอื นจ�ำ 5 คะแนน

11) ดา้ นการมีพฤติการณก์ ่อจลาจลในเรือนจำ� 5 คะแนน

12) ด้านการมีพฤติการณ์การกระท�ำผิดที่เป็นคดีละเอียดอ่อนหรืออ่อนไหวง่าย 5 คะแนน
ตอ่ ความรู้สกึ ของประชาชน เชน่ ขม่ ขืนแล้วฆา่ , ฆ่าบิดามารดา, ฆา่ พระสงฆ์, ท�ำรา้ ย
ผ้อู อ่ นแอ ฯลฯ ซึง่ มคี วามเสี่ยงจากการถกู ท�ำร้ายจากผตู้ อ้ งขังดว้ ยกนั

20 วารสารราชทัณฑ์

ปจั จยั ทมี่ ีผลตอ่ การควบคุมผตู้ อ้ งขัง คา่ คะแนนเตม็
(130 คะแนน)
13) ด้านการลับลอบสกั ลายในเรอื นจ�ำ
14) ดา้ นการมีประวัติใชส้ ารเสพตดิ หรอื แอลกอฮอลก์ ่อนตอ้ งโทษ 5 คะแนน
15) ดา้ นการมปี ญั หาสขุ ภาพจิต (มีอาการทางจิตเวช) 5 คะแนน
16) ดา้ นการมปี ญั หาสุขภาพกาย 5 คะแนน
17) ดา้ นการจ�ำคุกมาแล้วระยะเวลาหนง่ึ 5 คะแนน
18) ดา้ นอายุขณะกระทำ� ผดิ ไม่สงู (18 – 25 ปี) 5 คะแนน
19) ดา้ นการทำ� ร้ายร่างกายตนเอง 5 คะแนน
20) ดา้ นการมอี าการเมาสรุ า พดู จาไมร่ เู้ รอ่ื งในวนั แรกทเ่ี ขา้ เรอื นจำ� หรอื มคี วามเสย่ี ง 5 คะแนน
จากการถกู ท�ำรา้ ยจากผ้ตู ้องขงั อ่ืนๆ เม่อื คุมขงั ในเรอื นจำ� /ทัณฑสถาน 5 คะแนน
21) ดา้ นความเสย่ี ง/การมที ศั นคติดา้ นลบกับเจ้าหนา้ ทเ่ี รือนจำ� /ทัณฑสถาน
5 คะแนน

ผลการทดสอบในแตล่ ะปัจจยั ทง้ั 21 ปัจจยั พบว่า มีความเหมาะสม มีความสัมพนั ธ์ และสง่ ผลต่อการควบคุม
ผตู้ อ้ งขงั ในเรอื นจำ� และทณั ฑสถานอยใู่ นระดบั สงู ผลการทดสอบอยใู่ นเกณฑด์ ี และสอดคลอ้ งกบั บรบิ ทสภาพความเปน็ จรงิ
ของผู้ต้องขังท่ีเป็นกลุ่มตัวอย่าง และสามารถน�ำมาใช้ประกอบในกระบวนการรับตัวผู้ต้องขังเม่ือแรกเข้าคุมขัง และ
มคี วามสัมพนั ธ์สง่ ผลโดยตรงต่อการควบคมุ ผูต้ ้องขงั ในเรอื นจ�ำและทัณฑสถาน
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 กรมราชทัณฑ์ได้อนุมัติให้กองทัณฑปฏิบัติด�ำเนินโครงการศึกษาเพ่ือจัดท�ำแบบ
จำ� แนกลกั ษณะผตู้ อ้ งขงั เพอื่ การพฒั นาพฤตนิ สิ ยั (Rehabilitation Assessment) หรอื แบบประเมนิ B เพอื่ คน้ ควา้ สรา้ ง
เคร่ืองมือส�ำหรับการจ�ำแนกลักษณะผู้ต้องขังให้มีความทันสมัย สามารถวัดได้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับสภาพของ
เรือนจ�ำ/ทัณฑสถาน และสถานการณ์ของผู้ต้องขัง โดยแบบประเมินดังกล่าวเป็นแบบจ�ำแนกลักษณะผู้ต้องขังท่ี
กองทัณฑปฏิบัติได้สร้างและพัฒนาข้ึนต่อเน่ืองจากแบบจ�ำแนกลักษณะผู้ต้องขังพ้ืนฐานเพ่ือการควบคุม (Screening)
ในปงี บประมาณ พ.ศ. 2559 และเปน็ แบบประเมนิ หรอื แบบทดสอบอน่ื ๆ เพม่ิ เตมิ นอกเหนอื จากแบบทดสอบความเปน็
อาชญากร (Criminal Mind) ซ่ึงแบบจ�ำแนกลักษณะผู้ต้องขังทั้งสองแบบดังกล่าวจะเอื้อประโยชน์ต่อการจัดท�ำแผน
การปฏิบัติต่อผู้ต้องขังรายบุคคล (Sentence Plan) ได้อย่างมีประสิทธิภาพท้ังแผนการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังรายบุคคล
ด้านการควบคุมและแผนการปฏบิ ตั ติ ่อผตู้ อ้ งขงั รายบคุ คลดา้ นการพัฒนาพฤตนิ สิ ยั
แบบจ�ำแนกลักษณะผู้ต้องขังเพื่อการพัฒนาพฤตินิสัย (Rehabilitation Assessment) ที่คิดค้นขึ้น
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ได้รับแนวคิดและเปรียบเป็นการสร้างสรรค์ให้เป็นนวัตกรรมใหม่ของกรมราชทัณฑ์
โดยได้มีแนวทางการศึกษาจากแบบประเมินผู้ต้องขังท้ังในและต่างประเทศ ประกอบด้วย แบบประเมิน LSI-R
(ประเทศแคนาดา) OHIO Risk Assessment (ประเทศสหรฐั อเมริกา) Korea Security Treatment Classification
Criterion Index (ประเทศเกาหลใี ต)้ และประเมนิ พฤตกิ รรมเดก็ และเยาวชน (กรมพนิ จิ และคมุ้ ครองเดก็ และเยาวชน)
โดยเน้นการคิดค้นให้เหมาะสมตามบริบทสภาพสังคมและงานราชทัณฑ์ของประเทศไทยเป็นส�ำคัญ เพื่อที่จะมี

วารสารราชทัณฑ์ 21

ส่วนส�ำคัญในการช่วยประเมินความต้องการท่ีแท้จริงของผู้ต้องขังรายบุคคลเพ่ือน�ำไปสู่การจัดท�ำแผนการปฏิบัติต่อ
ผู้ต้องขังรายบุคคล (Sentence Plan) ท่ีตรงตามความต้องการของผู้ต้องขังแต่ละราย โดยเป็นการประมวลผลและ
วดั ผลจากระดับค่าคะแนนในปัจจยั ท่ีส�ำคัญด้านต่างๆ ของผู้ต้องขงั ท่สี ่งผลต่อการกระท�ำผิดกฎหมาย ทั้งหมด 8 ปจั จัย
ที่ส�ำคัญและสง่ ผลต่อการกระท�ำผิดของผู้ต้องขงั ซง่ึ ประกอบดว้ ย
1. ปัจจยั สภาพครอบครวั /ความสัมพันธใ์ นครอบครวั (Family Bonding)
2. ปจั จัยการศกึ ษา/การเรยี นหนงั สือ (Education)
3. ปจั จยั อาชีพและการเงนิ (Occupation Income)
4. ปัจจัยดา้ นที่อยูอ่ าศัย/สภาพแวดล้อม (Residence/Environment)
5. ปจั จัยการใช้สารเสพติดและภาวะทางจิตใจ (Drug Abuse/Mental Health)
6. ปจั จัยกลุ่มเพอ่ื น (Peer Group)
7. ปัจจัยทศั นคติ/พฤตกิ รรม/อารมณ์ (Attitude/ Behavior/ Emotion)
8. ปจั จยั ความรู้สกึ กบั การกอ่ อาชญากรรม (Criminal Thought)
ซงึ่ ผลลพั ธท์ ไ่ี ดจ้ ะชใ้ี หเ้ หน็ ถงึ ความจำ� เปน็ ในดา้ นตา่ งๆ ทผ่ี ตู้ อ้ งขงั แตล่ ะรายบคุ คลควรไดร้ บั การดแู ล โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งแผนปฏิบัติต่อผู้ต้องขังรายบุคคล (Sentence Plan) และน�ำไปสู่การแก้ไขพัฒนาพฤตินิสัยท่ีเหมาะสม
โดยปจั จัยในแต่ละดา้ นจะมีคะแนนเตม็ 100 คะแนน ซงึ่ หากปจั จัยดงั กลา่ วมคี ะแนนสูง (ใกล้ 100 คะแนน) สามารถ
วิเคราะห์ได้ว่า ผู้ต้องขังน้ันมีปัญหาในปัจจัยด้านน้ันสูง ซ่ึงคณะกรรมการจ�ำแนกลักษณะผู้ต้องขัง ควรน�ำปัจจัย
ด้านท่ีคะแนนสูงน้ัน มาพิจารณาก�ำหนดแผนหรือจัดท�ำแผนการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง (Sentence Plan) ในรายน้ัน
ก่อนปัจจัยอ่ืนๆ ซึ่งแบบประเมินน้ีมีส่วนช่วยก�ำหนดแผนการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังรายบุคคลก่อนและหลังได้อย่าง
มีประสิทธภิ าพ โดยพจิ ารณาจากค่าคะแนนในแต่ละด้าน
แบบจำ� แนกลกั ษณะผตู้ อ้ งขงั เพอ่ื การพฒั นาพฤตนิ สิ ยั (Rehabilitation Assessment) ไดก้ ำ� หนดคะแนนระดบั
ความเส่ียงหรือระดับการมีปัญหาในปัจจัยแต่ละด้านเพ่ือน�ำไปสู่การพัฒนาพฤตินิสัย (100 คะแนน) และแบ่งช่วง
ของคะแนนการแปลผลคะแนนรวมหรอื สรปุ ผลระดับความเส่ียง/การมีปญั หาในแต่ละปจั จยั (ด้าน) เป็น 3 ระดับ ดงั น้ี

ชว่ งคะแนนรวมทกุ ปัจจัย ระดบั ความเส่ียงในการควบคุมผู้ตอ้ งขงั

70 – 100 คะแนน มีความเสย่ี งสูงในปจั จัยดังกลา่ ว/ปจั จัยด้านนีม้ ีปัญหามาก

41 – 69 คะแนน มีความเสีย่ งปานกลางในปจั จัยดังกลา่ ว/ปัจจัยดา้ นน้ีมปี ญั หาปานกลาง

40 คะแนน และต่ำ� กว่า มคี วามเสย่ี งตำ่� ในปัจจยั ดงั กลา่ ว/ปัจจยั ดา้ นนม้ี ีปญั หาน้อย

กองทณั ฑปฏบิ ตั ิ ไดด้ ำ� เนนิ การทดลองใชแ้ บบจำ� แนกลกั ษณะผตู้ อ้ งขงั เพอื่ การพฒั นาพฤตนิ สิ ยั (Rehabilitation
Assessment) กับผู้ต้องขัง จ�ำนวน 500 คน ภายในเรือนจ�ำและทัณฑสถานเป้าหมาย จ�ำนวน 9 แห่ง แยกตาม
ภูมิภาคต่างๆ ได้แก่ เรือนจ�ำกลางขอนแก่น เรือนจ�ำจังหวัดตรัง เรือนจ�ำจังหวัดเพชรบูรณ์ เรือนจ�ำอ�ำเภอปากพนัง
เรือนจ�ำพิเศษพัทยา เรือนจ�ำพิเศษธนบุรี ทัณฑสถานหญิงธนบุรี ทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ และทัณฑสถานวัยหนุ่ม
นครศรีธรรมราช

22 วารสารราชทัณฑ์

โดยผลการทดสอบ ปรากฏว่า อยู่ในเกณฑ์ดีมีความเหมาะสม และสอดคล้องกับบริบทสภาพความเป็นจริง
ของผู้ต้องขังแต่ละรายที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งแบบประเมินดังกล่าวสามารถน�ำมาใช้ในการจ�ำแนกลักษณะผู้ต้องขัง
เบื้องต้นเพ่อื เปน็ ขอ้ มลู ประกอบก่อนการจดั ทำ� แผนการปฏิบตั ิตอ่ ผูต้ อ้ งขงั รายบคุ คล (Sentence Plan) ในการประชุม
คณะกรรมการจ�ำแนกลกั ษณะผูต้ ้องขงั ของเรือนจ�ำและทณั ฑสถาน

ประโยชน์ของแบบจ�ำแนกลักษณะผูต้ อ้ งขงั เพือ่ การควบคมุ
และแบบจ�ำแนกลักษณะผตู้ อ้ งขังเพือ่ การพฒั นาพฤตินิสัย

แบบจำ� แนกลักษณะผตู้ อ้ งขงั พ้ืนฐานเพ่อื การควบคมุ แบบจำ� แนกลกั ษณะผู้ต้องขงั เพ่ือการพฒั นา
(Screening) พฤตนิ สิ ัย (Rehabilitation Assessment)

- เหมาะสมท่ีจะน�ำมาใช้ในการจ�ำแนกลักษณะผู้ต้องขัง - เหมาะสมทจ่ี ะนำ� มาใชใ้ นการจำ� แนกลกั ษณะผตู้ อ้ งขงั
เพื่อการควบคมุ เพื่อการพฒั นาพฤตินสิ ัย
- สามารถนำ� ผลคะแนนไปวเิ คราะหร์ ะดบั ความเสย่ี งในการ - คา่ คะแนนทไี่ ด้ในแต่ละปจั จยั ท้ัง 8 ปัจจัย จากแบบ
ควบคุมของผู้ต้องขังแต่ละรายระหว่างคุมขังในเรือนจ�ำ ประเมนิ ดงั กลา่ วจะเปน็ แนวทาง (Guidelines) เพอ่ื ให้
ได้อย่างมปี ระสิทธภิ าพ คณะกรรมการจ�ำแนกลักษณะผู้ต้องขัง ก�ำหนด
- ลดการใช้ดุลยพินิจของคณะกรรมการจ�ำแนกลักษณะ ความจ�ำเป็นในด้านต่างๆ ของผู้ต้องขังแต่ละราย
ผู้ต้องขงั ทค่ี วรจะไดร้ บั ระหวา่ งคมุ ขงั ในเรอื นจำ� ซงึ่ ผลคะแนน
- ผลคะแนนสามารถน�ำไปใช้เฝ้าระวังผู้ต้องขังบางราย แตล่ ะปจั จยั สามารถนำ� มาจดั ลำ� ดบั การใหก้ ารปฏบิ ตั ิ
ที่ปรากฏเป็นข่าวทางส่ือมวลชนหรือมีพฤติการณ์ ตอ่ ผตู้ ้องขงั รายบุคคล (Sentence Plan) ก่อนและ
การกระท�ำผิดที่เป็นคดีสะเทือนขวัญหรือเป็นที่สนใจ หลงั ได้อยา่ งเหมาะสม
ของสังคมหรือเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาการย้าย - ใชร้ ะยะเวลานอ้ ยในการจดั ทำ� แบบประเมนิ โดยเฉลย่ี
ไปคมุ ขังยงั เรือนจำ� ความมัน่ คงสูงไดเ้ ป็นอยา่ งดี เพียง 7 - 10 นาทตี ่อผตู้ ้องขงั 1 คน

ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 กรมราชทัณฑ์ได้เล็งเห็นถึงความส�ำคัญของกระบวนการกลั่นกรองผู้ต้องขัง
ตามนโยบาย 3 ส. 7 ก. ของอธบิ ดกี รมราชทณั ฑ์ (พนั ตำ� รวจเอก ณรชั ต์ เศวตนนั ทน)์ ตงั้ แตก่ ารจำ� แนกลกั ษณะผตู้ อ้ งขงั
แรกเข้าเรือนจ�ำ การจัดท�ำแผนการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังรายบุคคล (Sentence Plan) รวมถึงกระบวนการกล่ันกรอง
วเิ คราะหผ์ ตู้ อ้ งขงั กอ่ นการปลอ่ ยตวั เพอื่ ปอ้ งกนั การกระทำ� ผดิ ซำ้� ตลอดจนเปน็ การนำ� นโยบายของอธบิ ดกี รมราชทณั ฑ์
ประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ลงสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งได้ให้ความส�ำคัญกับการสร้างเคร่ืองมือในการ
จำ� แนกลกั ษณะผตู้ อ้ งขงั เพอ่ื เปน็ แบบประเมนิ วดั ระดบั ความเสยี่ งในการกระทำ� ผดิ ซำ�้ ของผตู้ อ้ งขงั กอ่ นไดร้ บั การปลอ่ ยตวั
ซ่ึงมีส่วนช่วยในการกล่ันกรอง วิเคราะห์ และเช่ือมโยงข้อมูลผู้ต้องขังในรายที่มีความเสี่ยงในการกระท�ำผิดซ้�ำกับงาน
ดา้ นทัณฑปฏบิ ัตอิ น่ื ๆ เช่น งานพกั การลงโทษ งานลดวนั ต้องโทษจ�ำคุก เป็นต้น เพื่อให้กระบวนการกลั่นกรองผู้ตอ้ งขัง
ก่อนปล่อยตัวมีประสิทธิภาพมากขึ้น กรมราชทัณฑ์จึงมอบหมายให้กองทัณฑปฏิบัติจัดท�ำ “แบบประเมินความเสี่ยง
ในการกระท�ำผิดซ�้ำของผู้ต้องขังก่อนได้รับการปล่อยตัว (Offender Risk Assessment: OA)” เพ่ือให้ตรงตาม
วัตถุประสงค์ของการวัดระดับความเส่ียงในการกระท�ำผิดซ้�ำของผู้ต้องขังก่อนได้รับปล่อยตัวพักการลงโทษหรือลดวัน
ต้องโทษจำ� คกุ

วารสารราชทัณฑ์ 23

เครอ่ื งมอื การประเมนิ ความเสย่ี งในการกระทำ� ผดิ ซำ้� ของผตู้ อ้ งขงั กอ่ นไดร้ บั การปลอ่ ยตวั ดงั กลา่ ว จะเนน้ ถงึ การ
ประเมนิ ของผตู้ อ้ งขงั ในปจั จยั ตา่ งๆ ทเี่ กย่ี วขอ้ ง โดยเฉพาะผตู้ อ้ งขงั ทมี่ ปี ระวตั กิ ระทำ� ผดิ ซำ�้ ซง่ึ เปน็ กลมุ่ ทสี่ งั คมใหค้ วาม
คาดหวงั ตอ่ การจดั ทำ� แผนการปฏบิ ตั ติ อ่ ผตู้ อ้ งขงั รายบคุ คล (Sentence Plan) กอ่ นปลอ่ ยตวั ตลอดจนใชใ้ นกระบวนการ
กล่นั กรองนกั โทษเดด็ ขาดเพอื่ ปล่อยตวั พักการลงโทษและลดวนั ต้องโทษจ�ำคุก
ปัจจุบันกองทัณฑปฏิบัติ และหน่วยงานท่ีมีส่วนเก่ียวข้องได้ขับเคลื่อนการด�ำเนินงานโดยด�ำเนินการปรับปรุง
“แบบประเมนิ ความเสย่ี งในการกระทำ� ผดิ ซำ�้ ของผตู้ อ้ งขงั กอ่ นไดร้ บั การปลอ่ ยตวั (Offender Risk Assessment : OA)”
ภายใต้ค�ำแนะน�ำของอธบิ ดกี รมราชทณั ฑเ์ สรจ็ เรียบรอ้ ยแล้ว มรี ายละเอยี ดพอสังเขปดงั นี้
ส่วนที่ 1 ภูมิหลังส่วนบุคคลของผู้ต้องขัง คะแนนเต็ม 55 คะแนน มีจ�ำนวน 8 ปัจจัย คือ เพศ อายุ ระดับ
การศกึ ษา อาชพี รายได้ ประวตั กิ ารถกู ดำ� เนนิ คดอี าญา อตั ราโทษสงู สดุ ทศี่ าลตดั สนิ ครงั้ แรก และสาเหตกุ ารกระทำ� ผดิ
จากการจำ� แนกลักษณะผู้ตอ้ งขัง

ส่วนที่ 2 การปฏบิ ตั ใิ นเรือนจำ� คะแนนเต็ม 45 คะแนน มีจำ� นวน 5 ปจั จัย คือ การผ่านการอบรมหลกั สูตร
ต่างๆ ที่มีใบประกาศนียบัตรจากเรือนจ�ำ ช้ันผู้ต้องขัง การได้รับการพิจารณาประโยชน์จากเรือนจ�ำ การถูกลงโทษ
ทางวินัยในเรือนจำ� การมีประวตั ิกระทำ� ผิดทางอาญาในเรือนจำ� การเป็นผตู้ อ้ งขงั เจบ็ ปว่ ย
การสรุปผลคะแนนความเส่ียงในการกระท�ำผิดซ�้ำของผู้ต้องขังก่อนได้รับการปล่อยตัว มีคะแนนเต็ม
100 คะแนน โดยน�ำคะแนนทัง้ 2 ส่วนมารวมกนั และเทียบกับเกณฑ์ระดับความเสีย่ งก่อนได้รบั การปลอ่ ยตวั 5 ระดับ
เพ่อื จำ� แนกระดับความเส่ยี งของผู้ต้องขงั กอ่ นได้รับการปล่อยตัว คอื

ระดับคะแนน ระดบั ความเส่ยี งของผตู้ ้องขงั ก่อนได้รบั การปลอ่ ยตวั
86 - 100 คะแนน มีความเส่ียงมาก
61 - 85 คะแนน
51 - 60 คะแนน มคี วามเสย่ี งค่อนข้างมาก
26 - 50 คะแนน มีความเสย่ี งปานกลาง
1 - 25 คะแนน มีความเส่ยี งค่อนขา้ งน้อย

มีความเสยี่ งน้อย

กองทณั ฑปฏบิ ตั ิ และคณะทำ� งานไดด้ ำ� เนนิ การจดั สมั มนาเชงิ ปฏบิ ตั กิ าร (Work Shop) เพอื่ การใชแ้ บบประเมนิ
ความเสี่ยงในการกระท�ำผิดซ�้ำของผู้ต้องขังก่อนได้รับการปล่อยตัว (Offender Risk Assessment: OA) อย่างมี
ประสทิ ธภิ าพ เมอ่ื วนั ท่ี 12 กรกฎาคม 2561 ณ โรงแรมรชิ มอนด์ สไตลร์ ชิ คอนเวนชนั่ จงั หวดั นนทบรุ ี โดยมขี า้ ราชการ
ทป่ี ฏบิ ัตงิ านด้านการจำ� แนกลกั ษณะผตู้ อ้ งขังจากเรือนจำ� /ทณั ฑสถานทั่วประเทศ จำ� นวน 142 คน ตลอดจนผู้บรหิ าร
และเจา้ หนา้ ทจ่ี ากสว่ นกลางกรมราชทณั ฑท์ เี่ กย่ี วขอ้ ง วทิ ยากร และเจา้ หนา้ ทกี่ องทณั ฑปฏบิ ตั ิ (ผดู้ ำ� เนนิ การจดั สมั มนา)
ผู้เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Work Shop) ทั้งส้ิน 180 คน และด�ำเนินการทดลองใช้แบบประเมินดังกล่าว
ในเรือนจ�ำและทณั ฑสถานต่อไป

24 วารสารราชทัณฑ์

สำ� หรบั ในปงี บประมาณ พ.ศ. 2562 กรมราชทณั ฑไ์ ดส้ งั่ การใหเ้ รอื นจำ� และทณั ฑสถาน ใชแ้ บบจำ� แนกลกั ษณะ
ผู้ต้องขังพื้นฐานเพื่อการควบคุม (Screening: A) ซ่ึงใช้ประเมินผู้ต้องขังในข้ันตอนของการรับตัวแรกเข้าเรือนจ�ำ
เพื่อพิจารณาค่าคะแนนความเสี่ยงในการควบคุมผู้ต้องขังในเรือนจ�ำ ตลอดจนแบบจ�ำแนกลักษณะผู้ต้องขัง
เพอื่ การพฒั นาพฤตนิ สิ ยั (Rehabilitation Assessment: B) ซงึ่ ใชป้ ระเมนิ ผตู้ อ้ งขงั ในขนั้ ตอนระหวา่ งคมุ ขงั ในเรอื นจำ�
เพ่ือพิจารณาค่าคะแนนปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ต้องขังแต่ละรายเพื่อให้ง่ายต่อการก�ำหนดแผนการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง
เป็นรายบุคล (Sentence Plan) และท้ายสุดแบบประเมินความเส่ียงในการกระท�ำผิดซ้�ำของผู้ต้องขังก่อนได้รับ
การปล่อยตัว (Offender Risk Assessment: OA) ซ่ึงใช้ประเมินผู้ต้องขังเพ่ือกล่ันกรองก่อนได้รับการปล่อยตัว
พักการลงโทษ และลดวนั ตอ้ งโทษจำ� คุกต่อไป

ประโยชนข์ องแบบประเมนิ ความเสยี่ งในการกระท�ำผดิ ซำ้� ของผู้ต้องขังก่อนได้รับการปล่อยตวั (OA)

ประโยชน์ของแบบประเมินความเสยี่ งในการกระทำ� ผดิ ซ�้ำของผตู้ อ้ งขังก่อนได้รับการปล่อยตัว (OA)

1) มีประโยชนต์ อ่ 2) สามารถนำ� มาใช้ประกอบการพิจารณาของ 3) หากใช้สมั ภาษณ์ผู้ตอ้ งขัง
กระบวนการจ�ำแนก คณะกรรมการพกั การลงโทษและคณะ ในเรือนจ�ำจะใช้เวลาการ
ลกั ษณะผตู้ อ้ งขงั กรรมการลดวนั ต้องโทษไดเ้ ป็นอยา่ งดี สมั ภาษณ์โดยเฉลี่ย ไมเ่ กนิ
2) เปน็ แบบประเมินทมี่ ี เน่อื งจาก 10 นาทตี อ่ ผูต้ ้องขงั 1 คน
คา่ คะแนนเชงิ ประจักษ์ 2.1 เปน็ การประเมินผลทม่ี คี ่าคะแนน ทำ� ใหไ้ มเ่ ปน็ ภาระงานกบั
ซง่ึ สามารถวดั หรอื ประเมิน ลดการใช้ดุลยพินจิ ของคณะกรรมการ ผสู้ ัมภาษณ์หรือผ้จู ัดทำ�
ผตู้ อ้ งขงั แตล่ ะรายก่อน 2.2 แบบประเมินความเสี่ยงยังจดั ท�ำได้งา่ ย แบบประเมนิ ดงั กลา่ ว
ปล่อยตวั พกั การลงโทษ นำ� คา่ คะแนนในแตล่ ะปจั จยั ของผตู้ อ้ งขงั
และลดวันตอ้ งโทษจำ� คกุ ออกจากระบบคอมพวิ เตอรก์ รมราชทณั ฑ์
ได้อยา่ งเป็นรปู ธรรม 2.3 เจ้าหน้าทเ่ี รอื นจำ� ทกุ ฝ่ายสามารถ
เรอื นจำ� สามารถน�ำผล ประเมนิ หรอื ใชแ้ บบประเมนิ น้ีได้
การประเมินใชไ้ ดจ้ รงิ ซึ่งขนั้ ตอนการจดั ท�ำไมย่ งุ่ ยาก
เหมอื นแบบประเมินผู้ต้องขังอน่ื ๆ
เชน่ แบบทดสอบความเป็นอาชญากร
(Criminal Mind) ท่มี ีจำ� นวนข้อ
แบบประเมินมากและใช้เวลานาน


จากการพฒั นาเครอ่ื งมอื ในการจำ� แนกลกั ษณะผตู้ อ้ งขงั ขา้ งตน้ เพอ่ื เปน็ การยกระดบั การจำ� แนกลกั ษณะผตู้ อ้ งขงั
ให้มีประสิทธิภาพสอดรับการพัฒนางานในยุค 4.0 และเพื่อให้การจ�ำแนกลักษณะผู้ต้องขัง ถูกน�ำมาใช้เป็นเคร่ืองมือ
ในการประเมินพฤติกรรม ประเมินความต้องการท่ีแท้จริงของผู้ต้องขังแต่ละราย ซึ่งเรือนจ�ำจะใช้การจ�ำแนกลักษณะ
ผู้ต้องขังเป็นเครื่องมือเพื่อการควบคุมและการพัฒนาพฤตินิสัย โดยการวิเคราะห์ถึงสาเหตุของการกระท�ำความผิด
ของผู้ต้องขัง ปัจจัยแวดล้อมต่างๆ โดยการน�ำข้อมูลดังกล่าว มาจัดท�ำเป็นแผนการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังรายบุคคล
(Sentence Plan) เป็นระยะๆ เพ่ือใช้ในการพิจารณาให้ประโยชนแ์ กผ่ ้ตู อ้ งขงั ในงานด้านทณั ฑปฏิบตั อิ ย่างเปน็ ระบบ
เช่น การเล่ือนชั้น การลดวันต้องโทษ การพักการลงโทษ การย้ายผู้ต้องขัง เป็นต้น โดยผู้เขียนเห็นว่า กรมราชทัณฑ์
ควรด�ำเนินการใช้เครื่องมือจ�ำแนกลักษณะผู้ต้องขังเพ่ือให้สามารถก�ำหนดแผนการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังรายบุคคล
และประเมินความเส่ียงในการกระท�ำผิดซ�้ำดังแผนภาพน้ี

วารสารราชทัณฑ์ 25

แผนภาพการพฒั นากระบวนการจำ� แนกลกั ษณะผู้ตอ้ งขัง
เพอ่ื กำ� หนดแผนการปฏิบตั ติ อ่ ผู้ตอ้ งขงั รายบคุ คล (Sentence Plan) และการประเมิน
ความเสีย่ งในการกระทำ� ผิดซ้ำ� ของผูต้ ้องขงั ก่อนได้รับการปลอ่ ยตัวอย่างมปี ระสิทธภิ าพ

ผู้ต้องขังแต่ละ จดั ทำ� สำ�เนาคำ�พพิ ากษา จดั ทำ�แบบจำ�แนก
ประเภทคดี ทะเบยี นประวตั ริ ายตวั ผตู้ อ้ งขงั ขา่ ว/ส่อื ตา่ งๆ/นสพ. ลกั ษณะผูต้ อ้ งขัง (จน.1)
รบั ตัวเขา้ คมุ ขัง อนิ เทอรเ์ นต็ /DXC
ในเรอื นจำ�/ (ร.ท.101) ภายใน 1 เดือน
ทัณฑสถาน จัดทำ� ฯลฯ จดั ท�ำ

แบบจำ�แนกลกั ษณะผตู้ อ้ งขัง แบบศกึ ษาประวัติผตู้ อ้ งขัง แบบจ�ำแนกลกั ษณะผู้ต้องขงั เพื่อการพัฒนา
พน้ื ฐาน เพ่ือการควบคมุ เฉพาะกรณี (Case Study) พฤตินสิ ยั (Rehabilitation Assessment)*
(Screening)
(Custody Rating Scale)* นำ� ค่าคะแนนแตล่ ะปัจจยั หลัก 8 ปัจจยั
เพ่ือพิจารณาความจำ� เป็นแต่ละดา้ นของผตู้ ้องขัง
นำ�ค่าคะแนนทีไ่ ดม้ าประกอบ
การกำ�หนดแผนการควบคุม แต่ละรายทีค่ วรจะไดร้ บั การปฏิบัติ และ
การพฒั นาพฤตนิ สิ ยั ท่ีเหมาะสม
ในแบบ จน.1

แบบประเมินเฉพาะทาง (ถา้ มี) คณะกรรมการจำ�แนกฯ ติดตามผล
- แบบ Criminal Mind พจิ ารณากำ�หนด การจำ�แนกฯ
- แบบประเมินการตอ่ ตา้ นสังคม Sentence plan ทุก 6 เดอื น
- แบบทดสอบทางจติ วทิ ยาตา่ งๆ แบบ จน.1/4
ท่ีเกยี่ วขอ้ ง

โปรแกรมการพฒั นาพฤตนิ ิสัย

แบบประเมินความเสยี่ งในการกระทำ� ผิดซ้ำ� ของผู้ตอ้ งขัง การเตรียมความพรอ้ มกอ่ นปล่อย
ก่อนไดร้ ับการปลอ่ ยตัว

(Offender Risk Assessment : OA)*

การปล่อยตัวแบบมเี งื่อนไข การปล่อยตัวแบบไมม่ ีเง่อื นไข

* ใชใ้ นเรือนจ�ำและทณั ฑสถาน ตง้ั แต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
ทม่ี า : มติการประชมุ คณะทป่ี รึกษาและคณะทำ� งานเพ่ือพฒั นาระบบการจำ� แนกลกั ษณะผู้ต้องขงั ด้านทัณฑปฏบิ ตั ิ

คร้งั ที่ 1 และครัง้ ที่ 2

26 วารสารราชทัณฑ์

วารสารราชทัณฑ์ 27

ข่าว รวบรวมและเรยี บเรยี ง
โดย สว่ นราชทณั ฑ์ต่างประเทศ
รราอชบทโณั ลกฑ์
กองทัณฑวทิ ยา

บทน�ำ

ในช่วงหลายเดือนท่ผี า่ นมา มีความ
เคลอ่ื นไหวเกดิ ขึน้ ในระบบราชทัณฑ์

ประเทศต่างๆ สว่ นราชทัณฑ์
ตา่ งประเทศ กองทัณฑวทิ ยา จงึ ขอ

นำ� ขา่ วท่ีนา่ สนใจ มารวบรวม
ให้ทราบกนั โดยสรุป ดงั นี้

สหราชอาณาจกั ร

เมื่อเดือนกรกฎาคม 2561
ผู้ต้องขังในเรือนจ�ำของสหราชอาณาจักร
ได้รับอนุญาตให้มีโทรศัพท์ในห้องขัง
ตามนโยบายของรัฐบาลเพ่ือแก้ไขปัญหา
การลักลอบน�ำโทรศัพท์มือถือเข้าเรือนจ�ำ
และเพ่ือลดปัญหาความรุนแรงที่เกิดข้ึน
จากกรณีผู้ต้องขังต้องต่อคิวนานในการ
ใชโ้ ทรศพั ทส์ าธารณะในเรอื นจำ� โดยรฐั มนตรี
ว่าการกระทรวงยตุ ธิ รรมเปิดเผยวา่ ต้องใช้
งบประมาณท้ังหมดกว่า 7 ล้านปอนด์ เพ่ือติดตั้งโทรศัพท์ในห้องขัง อย่างไรก็ดี ผู้ต้องขังจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
คา่ โทรศพั ทท์ เ่ี กดิ ขนึ้ และมขี อ้ จำ� กดั ในการใชห้ ลายประการ เชน่ การถกู บนั ทกึ เสยี ง และจำ� กดั เบอรโ์ ทรเฉพาะบางสาย
ซึ่งต้องได้รับการอนุมัติจากทางการก่อน และหากปรากฏว่ามีการน�ำไปใช้ในกิจกรรมท่ีต้องสงสัยว่าผิดกฎหมายใดๆ
จะมกี ารตดิ ตามสอดส่องอยา่ งเขม้ งวด
ปัจจบุ ัน มเี รอื นจำ� ทีต่ ดิ ต้ังเทคโนโลยีนแ้ี ลว้ กวา่ 20 แห่ง และมีอกี 20 แห่งทตี่ งั้ เปา้ จะติดตงั้ ให้แลว้ เสร็จภายใน
2 ปีข้างหน้าน้ี ผลดีที่คาดว่าจะได้รับอีกประการ คือ การส่งเสริมให้ผู้ต้องขังได้คงรักษาสายสัมพันธ์กับครอบครัว
อย่างใกลช้ ดิ ซึง่ ถูกระบวุ ่าเป็นปัจจัยส�ำคญั ในการลดโอกาสกลบั ไปกระทำ� ผดิ ซ้�ำอกี ของผู้ตอ้ งขงั เม่ือพน้ โทษ

28 วารสารราชทัณฑ์

สหรัฐอเมริกา (รฐั นวิ ยอรก์ )

เจ้าหน้าท่ีราชทัณฑ์ทุกคนในเขตปกครองท้องถ่ิน
นิวยอร์กจะได้รับการติดต้ังกล้องพกพาไว้ท่ีเสื้อ ซ่ึงถือเป็น
ความพยายามตลอดระยะเวลา 2 ปที ่ีผา่ นมา ภายหลงั ไดร้ บั
งบประมาณเพิ่มเติมจากส�ำนักงานอัยการมลรัฐอีก 70,000
เหรียญสหรัฐ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2018 เพื่อซ้ือกล้อง
พกพาร่างกาย (body camera) เพิ่มเติมอีก 140 ตัว
การดำ� เนินการน้ีมวี ตั ถปุ ระสงค์เพือ่ บนั ทกึ เหตกุ ารณท์ กุ ท่ี ตลอดเวลาของเจ้าหน้าทที่ กุ คนอันจะสง่ ผลตอ่ การเพิม่ ความ
ปลอดภยั ในชวี ติ ใหแ้ กท่ ง้ั ผตู้ อ้ งขงั และเจา้ หนา้ ทร่ี าชทณั ฑร์ ะหวา่ งปฏบิ ตั งิ านดว้ ยเหตปุ รากฏตามสอ่ื กอ่ นนน้ั วา่ ผตู้ อ้ งขงั
บางรายร้องเรียนว่าถูกทุบตีโดยเจ้าหน้าท่ีท้องถิ่นโดยการใช้ไม้ตะบอง เนื่องจากขัดค�ำสั่งขณะขนย้ายเรือนจ�ำ อีกท้ัง
พบกรณเี จา้ หนา้ ทร่ี าชทัณฑ์ถูกท�ำร้ายร่างกายโดยผตู้ อ้ งขัง 4 รายจากเรือนจำ� ไรเกอร์
ทั้งนี้ เขตปกครองท้องถ่ินนิวยอร์กจะเปน็ ทแี่ รก ท่เี จ้าหนา้ ทีท่ กุ คนไดส้ วมใส่ชดุ ทีต่ ิดตั้งกล้องไว้ จะมชี ุดพร้อม
กล้องตดิ ตั้งไว้รวม 183 ชดุ ประกอบด้วยอุปกรณอ์ ื่นๆ และทสี่ ำ� หรับเก็บขอ้ มูลในคอมพวิ เตอร์ มมี ลู ค่าทั้งโครงการกวา่
420,000 เหรยี ญสหรฐั

สหรฐั อเมรกิ า (รฐั อริโซนา)

เรอื นจำ� เกรแ์ ฮม (Graham County Adult Detention) ไดท้ ดลอง
วิธีการพัฒนาโปรแกรมสมรรถภาพทางกายของผู้ต้องขัง ซ่ึงเป็นโปรแกรม
การออกกำ� ลังกายอยา่ งงา่ ย สามารถตอบสนองความต้องการของผตู้ อ้ งขงั
ใหม้ คี วามแขง็ แรงทางรา่ งกาย โดยไมต่ อ้ งเพม่ิ ภาระใหก้ บั เจา้ หนา้ ทรี่ าชทณั ฑ์

ที่ผ่านมา กรมราชทัณฑ์ได้พยายามน�ำอุปกรณ์ออกก�ำลังกาย
ออกจากเรอื นจำ� เชน่ ดมั เบล บารเ์ บลและอปุ กรณย์ กนำ้� หนกั อนื่ ๆ ซงึ่ อาจใชเ้ ปน็
อาวธุ ได้ ท�ำให้ผู้ตอ้ งขงั ใชว้ ิธีการดดั แปลงอปุ กรณอ์ อกก�ำลังกายจากสงิ่ ของ
ต่างๆ ท่ีหาได้ภายในเรือนจ�ำ เช่น การใช้ถุงน�้ำหรืออ่ืนๆ เป็นท่ียกนำ้� หนกั
โดยใช้ด้ามไม้กวาดเป็นดัมเบลล์ ซึ่งบ่อยคร้ัง ท�ำให้เกิดความเสียหาย
ต่อทรัพย์สิน อีกทั้งท�ำให้เกิดการบาดเจ็บต่อผู้ต้องขัง เช่น เท้าแตก หรือ
มือหัก ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายที่เก่ียวข้อง รวมถึงการสูญเสียอัตราก�ำลัง
เจ้าหนา้ ท่เี พ่ือน�ำผตู้ ้องขงั ไปรักษาพยาบาล
ดว้ ยเหตนุ ี้ เรอื นจำ� จงึ ไดร้ เิ รมิ่ โครงการนำ� รอ่ งโปรแกรมการออกกำ� ลงั กาย โดยเชญิ ผสู้ อนในศนู ยอ์ อกกำ� ลงั กาย
ในทอ้ งถนิ่ เขา้ มาสอนผตู้ อ้ งขงั อยา่ งนอ้ ยสองชวั่ โมงตอ่ สปั ดาห์ บรเิ วณลานสนั ทนาการ หรอื ภายในอาคารบรเิ วณหอ้ งขงั
ถ้าสภาพอากาศไม่เอ้ืออ�ำนวย ส�ำหรับโปรแกรมการออกก�ำลังกาย จะต้องสร้างเสริมประสบการณ์ที่สนุกสนาน
รวมชว่ งเวลาของการเคลอื่ นไหว และมดี นตรปี ระกอบ โดยผตู้ อ้ งขงั หญงิ จะเขา้ รว่ มกจิ กรรมในตอนเชา้ และผตู้ อ้ งขงั ชาย
ในตอนเยน็ แต่ละช้นั เรยี นจำ� กดั จำ� นวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำ� นวน 25 คน

วารสารราชทัณฑ์ 29

ภายหลังการน�ำร่องโครงการ พบว่า สามารถช่วยให้ผู้ต้องขังมีอาการบาดเจ็บจากการออกก�ำลังกายลดลงถึง
ร้อยละ 52 รวมท้ังสามารถยกเลิกการใช้อุปกรณ์ดัดแปลงท่ีไม่เหมาะสมในการออกก�ำลังกาย นอกจากนั้น ยังช่วยให้
ผตู้ อ้ งขงั ไดบ้ รรเทาความเครยี ดมรี ะบบหวั ใจและหลอดเลอื ดทแี่ ขง็ แรงทำ� ใหส้ ขุ ภาพผตู้ อ้ งขงั โดยรวมดขี น้ึ ตลอดจนทำ� ให้
ผตู้ อ้ งขงั สามารถไมห่ วนกลบั มาใชย้ าเสพตดิ หรอื ลกั ลอบบรโิ ภคแอลกอฮอล์ โดยรวมเรอื นจำ� มคี วามพงึ พอใจและมองวา่
โครงการนปี้ ระสบผลส�ำเร็จอย่างสูง ท้ังนี้ เรือนจ�ำต้ังเป้าที่จะขยายโครงการด้วยการพัฒนาโปรแกรมและนวัตกรรม
เพมิ่ เติมเพอ่ื จะสรา้ งแรงจงู ใจและกจิ กรรมท่ีช่วยลดพฤติกรรมเชิงลบของผตู้ ้องขงั ในอนาคต

ออสเตรเลยี

เรือนจ�ำแห่งใหม่ท่ีใหญ่ที่สุดในออสเตรเลีย
อยู่ระหว่างก่อสร้างในมลรัฐนิวเซาท์เวลส์ เพ่ือคุมขัง
ผู้ต้องขัง จ�ำนวน 1,700 คน โดยมีก�ำหนดสร้างเสร็จ
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2020 เรือนจ�ำแห่งน้ีช่ือว่า
เรือนจำ� Clarence มีขนาดใหญเ่ ทยี บเท่าสนามฟุตบอล
180 สนามรวมกนั สรา้ งไวส้ ำ� หรบั คมุ ขงั ผูต้ อ้ งขงั ท้ังหญิง
และชาย ทั้งระดับความมั่นคงต�่ำถึงความม่ันคงสูง
ซึ่งถูกออกแบบในรูปแบบที่แตกต่างจากเรือนจ�ำทั่วไป
อาทิ หนา้ ตา่ งไมม่ ลี กู กรง แผนผงั การกอ่ สรา้ งเปน็ เหมอื น
แคมปัสของมหาวิทยาลัย นอกจากน้ันผู้ต้องขังทุกห้อง
จะได้รับการแจกคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตไว้ส�ำหรับ
ตรวจสอบด้านการเงินและเช็คดูโปรแกรมการพัฒนา
พฤตนิ ิสัย นาย David Elliott รฐั มนตรีว่าการราชทณั ฑ์
ของมลรฐั นวิ เซาทเ์ วลส์ กลา่ วา่ เรอื นจำ� แหง่ นยี้ งั คงเปน็ สถานทคี่ วบคมุ ผกู้ ระทำ� ผดิ แตเ่ ปน็ เรอื นจำ� ทแ่ี สดงใหเ้ หน็ ถงึ เรอื นจำ�
และราชทณั ฑ์ในศตวรรษท่ี 21
ส�ำหรับภายในเรือนจ�ำแห่งน้ี ก�ำหนดให้มีโปรแกรมการฝึกอบรมที่หลากหลาย เช่น โปรแกรมวิชาพืชสวน
งานไม้ งานโลหะ และโปรแกรมเครอื่ งยนตข์ นาดเลก็ สำ� หรับความจุผู้ตอ้ งขัง จ�ำนวน 1,700 คน แบง่ เป็นผู้ต้องขงั ชาย
จ�ำนวน 1,000 คน และผู้ต้องขังหญิง จ�ำนวน 300 คน ที่มีระดับการควบคุมความมั่นคงสูง ร่วมกับผู้ต้องขังชาย
ระดบั ความม่ันคงตำ�่ อกี จ�ำนวน 400 คน มลู คา่ ของโครงการสูงถึง 700 ล้านเหรยี ญสหรฐั

เขตบรหิ ารพเิ ศษฮอ่ งกง

กรมราชทัณฑ์ฮ่องกงจัดพิธีมอบรางวัลให้แก่
ผู้ต้องขังที่ชนะรางวัล “เลิกเพื่อชนะ” (Quit to Win)
เป็นครั้งแรก การจัดการแข่งขันนี้เป็นการสนับสนุนให้
ผตู้ อ้ งขงั เลกิ บหุ รใ่ี นเรอื นจำ� โดยกรมราชทณั ฑร์ ว่ มมอื กบั
สภาสขุ ภาพและการสบู บหุ รฮี่ อ่ งกง มหาวทิ ยาลยั ฮอ่ งกง

30 วารสารราชทัณฑ์

มหาวิทยาลัยสาธารณสุข และมหาวิทยาลัยการพยาบาลแห่งฮ่องกง โครงการนี้ได้รับความสนใจเข้าร่วมจากผู้ต้องขัง
ที่ต้องการเลกิ บหุ ร่ี โดยเรม่ิ โครงการต้ังแต่เดือนตลุ าคม ค.ศ. 2018 จนถึงปัจจุบนั เดอื นมกราคม ค.ศ. 2019 มผี ู้ต้องขงั
จำ� นวนหนงึ่ ไดร้ บั การยนื ยนั แลว้ วา่ สามารถเลกิ บหุ รไ่ี ดแ้ บบถาวร ซง่ึ จะไดร้ บั ประกาศนยี บตั รแสดงความสำ� เรจ็ ในความ
พยายามดงั กล่าว ณ เรือนจำ� Stanley
ในงานมอบรางวลั มผี ตู้ อ้ งขงั จำ� นวน 12 คน ไดอ้ า่ นแถลงการณค์ วามมงุ่ มน่ั ตง้ั ใจในตอนแรกทจ่ี ะเลกิ พฤตกิ รรม
สูบบุหรี่ พร้อมบอกเล่าประสบการณ์ความส�ำเร็จในการเลิกบุหรี่ ร่วมกับสมาชิกในครอบครัวของผู้ต้องขังท่ีได้มาร่วม
แสดงความยินดีในงาน ท้ังนี้ กรมราชทัณฑ์ฮ่องกงด�ำเนินการอย่างแข็งขันเพ่ือสนับสนุนต่อนโยบายของรัฐบาลในการ
ควบคมุ ยาสบู และช่วยใหผ้ ้ตู ้องขงั เลกิ บุหร่ีได้

โบลิเวีย

เรอื นจำ� ซาน เปโดร (San Pedro Prison) ในกรงุ ลาปาส
ถูกขนานนามว่าเป็น “เรือนจ�ำนักท่องเท่ียว” เนื่องจาก
เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปเยี่ยมชม และ
ครอบครวั ของผู้ตอ้ งขงั ยังสามารถเข้ารว่ มพกั อาศัยดว้ ยได้
เรอื นจำ� แหง่ นี้ คาดการณว์ า่ มผี ตู้ อ้ งขงั ถกู คมุ ขงั อยกู่ วา่
จ�ำนวน 3,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ต้องขังคดียาเสพติด
จากการที่รัฐบาลประกาศสงครามยาเสพติด ท�ำให้เกิดปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจ�ำและการขาดแคลนงบประมาณ
จนกระทง่ั ทา้ ยทสี่ ดุ เรอื นจำ� ซาน เปโดร กลายเปน็ เสมอื นชมุ ชนปกครองตนเอง ผตู้ อ้ งขงั เขา้ ใหมจ่ ะตอ้ งจา่ ยเงนิ เพอ่ื ซอ้ื
ห้องขังไว้อยู่ โดยจะได้รับกุญแจส�ำหรับเก็บไว้ภายในเรือนจ�ำยังอนุญาตให้มีการซ้ือขาย แลกเปลี่ยนของระหว่าง
ผตู้ อ้ งขงั ได้ นอกจากนนั้ มกี ารเลอื กตง้ั ผนู้ ำ� ระหวา่ งผตู้ อ้ งขงั กนั เองเพอื่ เปน็ หวั หนา้ ชมุ ชน โดยทว่ั ไปแลว้ นกั โทษทมี่ ฐี านะ
จะสามารถซอื้ หรอื จา่ ยเงนิ สำ� หรบั สงิ่ อำ� นวยความสะดวกตา่ งๆ ทำ� ใหใ้ ชช้ วี ติ อยใู่ นเรอื นจำ� ไดอ้ ยา่ งสขุ สบาย โดยผตู้ อ้ งขงั
จะทำ� งานรบั จา้ ง เพอ่ื เอาเงนิ มาจบั จา่ ยใชส้ อยในเรอื นจำ� ซง่ึ ตามปกตจิ ะตอ้ งจา่ ยเงนิ ตงั้ แต่ 1,000 - 1,500 เหรยี ญสหรฐั
หรือ ประมาณ 30,000 - 45,000 บาท
ทน่ี า่ สนใจคอื ภรรยา แฟน และบตุ รของผตู้ อ้ งขงั ไดร้ บั อนญุ าตใหอ้ ยรู่ ว่ มกบั ผตู้ อ้ งขงั ภายในเรอื นจำ� ได้ ซง่ึ รฐั บาล
โบลเิ วยี มองวา่ แนวคดิ นเ้ี ปน็ นโยบายทที่ นั สมยั และกา้ วหนา้ ในการชว่ ยใหผ้ ตู้ อ้ งขงั ไดค้ งรกั ษาความสมั พนั ธก์ บั ครอบครวั
หรอื สงั คมโดยสง่ ผลตอ่ กระบวนการพฒั นาพฤตนิ สิ ยั นอกจากนี้ ในชว่ ง 20 ปที ผ่ี า่ นมา นกั โทษรายหนง่ึ เกดิ แนวคดิ ใหม่

โดยการเชญิ ชวนนกั ทอ่ งเทยี่ วใหเ้ ขา้ ไปเยยี่ มชมและพกั ในเรอื นจำ� ทำ� ใหต้ อ่ มามกี ารเปดิ
ใหน้ กั ทอ่ งเทย่ี วสามารถเขา้ มาพกั เสมอื นเปน็ โรงแรมได้ จากขอ้ มลู ทเี่ ปดิ เผยปรากฏวา่
แต่ละวันมีนักท่องเท่ียวประมาณ จ�ำนวน 70 คนเข้าพัก เน่ืองด้วยมีค่าใช้จ่ายเพียง
85 เหรียญสหรัฐ ซงึ่ มรี าคาถูกกว่า hostel ทวั่ ไป ท้ังน้ี หนังสอื น�ำเท่ยี วของ Lonely
Planet เคยยกให้เรือนจ�ำซาน เปโดร เป็นสถานท่ีท่องเท่ียวท่ีแปลกประหลาดท่ีสุด
ในโลก แตต่ อ่ มารฐั บาลโบลเิ วยี ไดป้ ฏเิ สธวา่ การทอ่ งเทยี่ วทผี่ ดิ กฎหมายดงั กลา่ วไมม่ จี รงิ
แมว้ า่ จะมสี อื่ มวลชนหลายแขนง ตลอดจนคลปิ วดิ โี อของนกั ทอ่ งเทย่ี วเปดิ เผยออกมา
ให้เห็นการด�ำเนินการตามที่ร�่ำลือ ด้วยเหตุน้ี ในภายหลังรัฐบาลจ�ำเป็นต้องยกเลิก
การทอ่ งเที่ยวเชน่ นน้ั อยา่ งเป็นทางการ พร้อมกบั พยายามแก้ไขปญั หายาเสพติดและ
การทจุ ริตในเรือนจ�ำ

วารสารราชทัณฑ์ 31

อนิ เดยี

เมอื่ ปี พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา กรมราชทณั ฑข์ องอินเดีย
มีแนวคิดในการเปิดเรือนจ�ำให้กับบุคคลท่ัวไปได้มีโอกาสในการ
ลองสมั ผัสประสบการณ์แบบนักโทษ (Role Play as Inmate)
โดยการได้สวมใส่เคร่ืองแบบของผู้ต้องขังในเรือนจ�ำ และได้
รบั ประทานอาหารในรปู แบบทเ่ี รยี บงา่ ย ถกู จำ� กดั พน้ื ทแี่ ละอสิ รภาพ
ถือเป็นนโยบายหนึ่งท่ีทางกรมราชทัณฑ์อินเดียได้จัดท�ำขึ้น
เพ่ือเป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ส�ำหรับผู้คนมากมาย ให้เข้าใจถึง
วิถชี ีวติ และความลำ� บากยากเข็ญของผ้ตู อ้ งขังในเรอื นจำ� ประเทศอินเดีย
จากรายงานของ Times of India กล่าวไว้ว่าโครงการน้ีจะเป็นส่วนหน่ึงของพิพิธภัณฑ์เรือนจ�ำท่ีแหวกแนว
ภายในพื้นที่ของเรือนจ�ำกลางวีย์เยอร์ (Viyyur Central Jail) ในรัฐเกรละ แต่อย่างไรก็ตามโครงการนี้ต้องรออนุมัติ
งบประมาณโดยทางรัฐบาลก่อนว่าเห็นชอบหรือไม่ หากทางรัฐบาลเห็นด้วย เรือนจ�ำกลางแห่งน้ีจะเปิดให้บริการ
ผู้ที่สนใจไดท้ ดลองเขา้ มาใชช้ วี ติ เปน็ ผตู้ อ้ งขงั ตลอด 24 ชวั่ โมง โดยพนื้ ทใี่ นการเขา้ เยย่ี มชมจะแยกจากเรอื นจำ� หลกั ทใ่ี ช้
ในการคมุ ขงั นกั โทษจริง แต่อย่างไรแล้วผ้เู ขา้ รบั บรกิ ารกจ็ ะไดร้ บั ประทานขา้ วแดงแบบทีน่ กั โทษรับประทานด้วย ทั้งนี้
โครงการลกั ษณะดงั กลา่ วเคยดำ� เนนิ การแลว้ เมอื่ ปี ค.ศ. 2016 ทเี่ รอื นจำ� Sangareddy ในเมอื ง Telangana โดยบคุ คล
ทวั่ ไปสามารถเข้าพกั ไดใ้ นราคา 500 รูปหี ์ ต่อคนตอ่ คนื

ออสเตรีย

เมื่อปี พ.ศ. 2560 โจเซฟ โฮเฮนซินน์ สถาปนิกชาว
ออสเตรีย ได้ออกแบบเรือนจ�ำในรูปแบบหรูหรา ที่ชื่อว่า
“Justizzentrum Leoben” แหง่ เมอื งเลโอเบน ประเทศออสเตรยี
พร้อมทั้งได้จัดเตรียมและติดตั้งสิ่งอ�ำนวยความสะดวก
ครบครัน โดยมีแนวคิดในการก่อสร้างว่า ‘มนุษย์ทุกคนล้วนเกิดมามีอิสระและเท่าเทียมกันท้ังศักดิ์ศรีและสิทธิ’
โดยสถาปนิกผู้ท�ำการออกแบบได้ศึกษาพฤติกรรมของนักโทษและพบว่า นักโทษเม่ืออยู่ในที่คับแคบมืดทึบจะส่งผล
ต่อสภาพจิตใจท�ำให้ซึมเศร้าและเกิดอาการเครียด การใช้ ‘กระจกใส’ มาเป็นวัสดุหลักในอาคารจะช่วยให้นักโทษ
สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ภายนอก สภาพจิตใจของนักโทษก็ปลอดโปร่งมากยิ่งขึ้น ลดความรุนแรงท้ังหลายและ
ช่วยท�ำให้จิตใจสงบไดอ้ ีกดว้ ย และเรอื นจำ� แหง่ น้มี รี ะบบรักษาความปลอดภัยท่ีไมค่ อ่ ยเขม้ งวดเท่าใดนกั
นอกจากนี้ โจเซฟ โฮเฮนซินน์ มีความคิดว่า ยังมีคนอีกจ�ำนวนมากเชื่อว่า ‘คุก’ คือสถานท่ีที่มีสภาพความ
เปน็ อยยู่ ำ�่ แย่ แออดั ไปดว้ ยเหลา่ นกั โทษผกู้ ระทำ� ความผดิ ซงึ่ สถาปนกิ ดงั กลา่ วมคี วามตอ้ งการใหผ้ คู้ นทว่ั ไปไดป้ รบั เปลย่ี น
ทัศนคตจิ าก ‘คกุ ’ แบบเดมิ ทิ้งไป แล้วมาเปิดใจท�ำความรูจ้ กั กับ ‘คุก’ ท่ีสวยงามและหรหู ราแหง่ น้ี
ท้ังนี้ ในเรือนจ�ำแห่งน้ีมีนักโทษท่ีกระท�ำผิดซ�้ำและถูกส่งตัวกลับเข้าไปอีกน้อยมาก แสดงให้เห็นว่า นักโทษ
ท่ีออกจากเรือนจ�ำไปแล้วกลายเป็นประชากรท่ีมีคุณภาพสามารถสร้างงานสร้างรายได้เลี้ยงดูตัวเองและไม่คิด
อยากกลับเข้าไปในเรือนจำ� อกี ครั้ง

32 วารสารราชทัณฑ์

อิตาลี

เรือนจ�ำ Casa Circondariale Lorusso e Cutugno
ในแควน้ Piedmont เมอื ง Turin ซง่ึ มีผ้ตู ้องขังในการควบคมุ กว่า
1,300 คน ไดพ้ ฒั นาโปรแกรมการพฒั นาพฤตนิ สิ ยั ผตู้ อ้ งขงั ดว้ ยการ
เปิดร้านอาหารอันสวยงามท่ีชื่อว่า “Liberamensa” อันเป็นการ
สร้างเสริมรายได้ให้กับเรือนจ�ำ ร้านอาหารน้ีถูกออกแบบโดย
สถาปนิกท่ชี อื่ วา่ Andea Marcante และ Adelaide Testa เรมิ่ เปิดดำ� เนินการครง้ั แรกในปี พ.ศ. 2551

ภายในร้านอาหาร ผู้ต้องขังท�ำหน้าที่เป็นพนักงานมีหน้าที่จัดเตรียมอาหาร
ปรุงอาหาร จนถึงขั้นตอนการเสิร์ฟอาหารให้แก่ลูกค้าท่ีเข้ามารับบริการ โดยอาหาร
ทน่ี ำ� มาใหบ้ รกิ ารนนั้ ปรงุ ขน้ึ ดว้ ยวตั ถดุ บิ ในทอ้ งถน่ิ และจะมเี จา้ หนา้ ทผ่ี คู้ มุ เปน็ ผดู้ แู ล
อยหู่ ่างๆ เพ่ือเป็นการให้อิสระแก่ผู้ตอ้ งขงั ในการประกอบกจิ การภายในร้านอาหาร

สำ� หรบั วตั ถปุ ระสงคข์ องรา้ นอาหารน้ี นอกจากเปน็ สถานทฝี่ กึ วชิ าชพี ในการ
ประกอบอาหารขนมอบแก่ผู้ต้องขังแล้ว ยังเปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไป ในวันศุกร์
และเสาร์ วันละ 30 นาที ตง้ั แต่เวลา 20.00 – 20.30 น. เท่าน้ัน ซึ่งราคาของอาหาร
ในเมนูต่างๆ ไมแ่ พงมากนัก โดยราคาเฉลีย่ จะอยูท่ ่ี 30 ยูโร (ประมาณ 1,100 บาท)
อย่างไรก็ตาม ลูกค้าที่สนใจรับประทานควรมีการจองล่วงหน้า เนื่องจากมีลูกค้า
เข้ามาอดุ หนุนในแต่ละวันเปน็ จ�ำนวนมาก

บทส่งทา้ ย

ทุกระบบราชทัณฑ์ในโลก ต่างมีโครงการ การพัฒนาแนวคิดและการด�ำเนินงาน ท้ังทางด้านการควบคุม
และการพฒั นาพฤตนิ สิ ยั ผตู้ อ้ งขงั อยา่ งไมห่ ยดุ นง่ิ สำ� หรบั ในวารสารราชทณั ฑฉ์ บบั หนา้ จะมอี ะไรเกดิ ขนึ้ อกี บา้ ง
ท่ไี หน อยา่ งไร ขอไดโ้ ปรดรอตดิ ตามกันตอ่ ไป
ที่มาของขอ้ มูล
- https://www.independent.co.uk/news/uk/home-news/uk-prison-phones-cells-reforms-england-wales-
justice-secretary-david-guake-a8439811.html
- https://www.9news.com.au/2018/08/20/15/46/mega-jail-clarence-valley-new-design-grafton
- https://www.correctionsone.com/body-cameras/articles/482165187-NY-COs-LEOs-to-get-body-worn-
cameras-in-jail/
- https://www.csd.gov.hk/english/news/news_pr/20190123.html
- https://www.correctionsone.com/correctional-healthcare/articles/482161187-How-to-develop-an-in-
mate-physical-fitness-program/
- http://timesofindia.indiatimes.com/articleshow/65047414.cms?utm_source=contentofinterest&utm_me-
dium=text&utm_campaign=cppst
- https://www.spokedark.tv/posts/justizzentrum-leoben-prison/
- https://www.architectural-review.com/essays/a-law-unto-themselves-san-pedro-prison-in-la-paz-boliv-
ia/10031290.article
- https://www.azuremagazine.com/article/prison-restaurant-opens-italy/

วารสารราชทัณฑ์ 33

ปัญญาประดิษฐ์

(Artificial Intelligence: A.I.)

ในงานราชทณั ฑ์

ดร. พิมพ์พร เนตรพุกกณะ1
ปัจจุบันโลกได้เปล่ียนผ่านสู่ยุคท่ีมีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี มีการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ อย่างไม่
หยุดน่ิงหนึ่งในนั้น คือ การเข้ามาของส่ิงที่เรียกว่า ปัญญาประดิษฐ์ หรือ A.I. (Artificial Intelligence) ท่ีหลายคน
อาจเข้าใจว่า คือ หุ่นยนต์ โดยเมื่อปลายเดือนตุลาคม 2561 ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเข้าร่วมการประชุมสมาคมเรือนจ�ำ
และการราชทณั ฑร์ ะหวา่ งประเทศ ครง้ั ท่ี 20 (International Corrections and Prisons Association 20th Annual
General Meeting and Conference) ณ เมอื งมอนทรอี อล ประเทศแคนาดา ซึ่งมกี ารน�ำเสนอท่นี า่ สนใจหวั ขอ้ หน่ึง
ก็คือ เร่ืองของปญั ญาประดิษฐ์ในงานราชทณั ฑ์

1 รกั ษาการผู้อ�ำนวยการส่วนราชทณั ฑต์ ่างประเทศ กองทณั ฑวทิ ยา

34 วารสารราชทัณฑ์

ปัญญาประดิษฐค์ อื อะไร?

A.I. (Artificial Intelligence) หรอื ปญั ญาประดษิ ฐ์ เปน็ ศาสตรแ์ ขนงหนง่ึ ของ
วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ท่ีเกี่ยวข้องกับวิธีการท�ำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถ
คลา้ ยมนษุ ย์ หรอื เลยี นแบบพฤตกิ รรมมนษุ ย์ โดยเฉพาะความสามารถในการคดิ เองได้
หรือมีปัญญาน่ันเอง ปัญญาน้ีมนุษย์เป็นผู้สร้างให้คอมพิวเตอร์ จึงเรียกว่า
“ปญั ญาประดษิ ฐ”์ (สถาบนั นวตั กรรมและพฒั นากระบวนการเรยี นรู้ มหาวทิ ยาลยั มหดิ ล,
2562)
ท�ำไมปัญญาประดิษฐ์ถึงมีความส�ำคัญอย่างย่ิงยวด ค�ำตอบก็คือ เพราะความ
สามารถที่มากมายและหลากหลาย โดย A.I. สามารถก่อให้เกิดการเรียนรู้ และคน้ พบอตั โนมตั ิ
แบบต่อเนือ่ ง รวมท้งั สามารถวิเคราะห์ข้อมลู ต่างๆ ได้แบบลงลกึ มีความแม่นยำ� สูง

ปญั ญาประดิษฐ์ในงานราชทัณฑ์

Benny Goedbloed ผู้บริหารของบริษัทให้ค�ำปรึกษาด้านเรือนจ�ำและคุมประพฤติ อธิบายเก่ียวกับ
ปญั ญาประดษิ ฐ์ วา่ อาจแบ่งออกได้เปน็ 2 ประเภทหลัก คอื 1) การเรียนรูร้ ะบบปฏบิ ตั ิการ (Machine Learning) และ
2) การเรียนรู้แบบลงลึก (Deep Learning) ซ่ึงประเภทแรก เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการเรียนรู้
และพฒั นาไดเ้ องจากประสบการณ์ โดยไมจ่ ำ� เปน็ ตอ้ งใสโ่ ปรแกรมอธบิ ายใดๆ เพมิ่ เตมิ ขณะทปี่ ระเภททสี่ องเปน็ หนว่ ยยอ่ ย
ของประเภทแรก โดยมีความสามารถในการลอกเลียนแบบการท�ำงานของสมองมนุษย์ในการประมวลผลข้อมูล
การสรา้ งรปู แบบเพ่ือใช้ในการตัดสนิ ใจ ดังนนั้ ถา้ กล่าวโดยสรุป สองประเภทมคี วามแตกต่างกัน กล่าวคอื การเรียนรู้
ระบบปฏิบัติการ (Machine Learning) จ�ำเป็นต้องมีชุดของค�ำสั่งที่สร้างไว้ตามข้ันตอน (algorithm) เพ่ือใช้ในการ

วิเคราะห์ข้อมูล แล้วตัดสินใจจากส่ิงท่ีได้
เรียนรู้ แต่ยังต้องอยู่ภายใต้การแนะน�ำ
ของมนุษย์ ส�ำหรับการเรียนรู้แบบลงลึก
(Deep Learning) จะเปน็ ลกั ษณะโครงสร้าง
ชดุ ของคำ� สง่ั ทมี่ หี ลายระดบั เพอ่ื สรา้ งเครอื ขา่ ย
หน่วยประสาทขึ้นมา ซึ่งสามารถเรียนรู้
และตัดสินใจอย่างชาญฉลาดด้วยตัวเอง
โดยไม่ต้องมีปฏสิ มั พนั ธก์ ับมนุษย์
หากจะรวบรวมตัวอย่างของปัญญา
ประดิษฐ์ในเรือนจ�ำ ในปัจจุบันสามารถ
ยกตวั อยา่ งได้จ�ำนวน 5 ตัวอยา่ ง ดังนี้

วารสารราชทัณฑ์ 35

ตัวอยา่ งที่ 1 ผู้คมุ หุ่นยนต์ (Robotic Prison Guard)

เมื่อปี พ.ศ. 2555 มีข่าวการเร่ิมน�ำ A.I. เข้ามา
ในงานเรือนจ�ำบ้างแล้ว คือ การทดลองใช้เจ้าหน้าท่ีผู้คุม
ที่เป็นหุ่นยนต์ (Robotic Prison Guard) ในประเทศ
เกาหลใี ต้ ณ เรอื นจำ� ในเมอื ง Pohang ไดท้ ดลองใชห้ นุ่ ยนต์
ผู้คุมเป็นครั้งแรกในโลก เพ่ือท�ำหน้าที่ลาดตระเวน
ตรวจการณภ์ ายในเรอื นจำ� โดยหนุ่ ยนตป์ ระกอบดว้ ยกลอ้ ง
3 มติ ิ ระบบสอ่ื สารสองทางไรส้ ายและโปรแกรมทสี่ ามารถ
จดจำ� รปู แบบพฤตกิ รรมบางอยา่ งของมนษุ ยไ์ ด้ หนุ่ ยนตผ์ คู้ มุ
“the guard” น้มี ีความสงู 5 ฟุต คอยท�ำหน้าที่ตรวจตรา
บริเวณทางเดินของหอ้ งขัง โดยถกู ออกแบบมาใหส้ ามารถ
ลาดตระเวนไดด้ ว้ ยตนเอง ซงึ่ จะมปี า้ ยนำ� ทางบอกจดุ อยตู่ ลอด
เพดานทางเดนิ แตย่ ังมเี จา้ หนา้ ท่เี รอื นจำ� คอยควบคมุ ดแู ล
และสั่งการผ่านไอแพด ด้วยระบบชุดข้อมูลปฏิบัติการ
ที่ระบุพฤติกรรมของมนุษย์ หากเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น
การพยายามฆา่ ตวั ตาย การทำ� รา้ ยรา่ งกาย การวางเพลงิ หนุ่ ยนตจ์ ะแจง้ เตอื นไปยงั เจา้ หนา้ ท่ี เพอื่ ใหเ้ ขา้ มาระงบั เหตไุ ด้
หรือหากเหตุการณ์ไม่รุนแรงขนาดน้ัน หุ่นยนต์ซึ่งมีกล้องและไมโครโฟนสามารถใช้ในการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าท่ี
ท่ศี ูนย์ควบคุมกลางกบั ผตู้ ้องขงั ได้

หนุ่ ยนต์ the guard นเ้ี ปน็ ความรว่ มมอื พฒั นาขน้ึ
ระหวา่ ง Asian Forum for Corrections กบั สถาบนั วจิ ยั
อิเล็กทรอนิกส์และการส่ือสารทางไกล และ บริษัท
ผู้ผลิต SMEC มีมูลค่าตัวละ 1 พันล้านวอน หรือ
879,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซ่ึงหากผลการน�ำร่องนี้เป็นท่ี
นา่ พอใจ อนาคตอาจมกี ารนำ� หนุ่ ยนตผ์ คู้ มุ นมี้ าใชท้ ดแทน
อัตราก�ำลงั เจ้าหนา้ ทผี่ คู้ ุมในประเทศเกาหลใี ต้

36 วารสารราชทัณฑ์

ตวั อยา่ งที่ 2 โครงการคุมขังทางเทคโนโลยี (Technological Incarceration Project)

เป็นโครงการท่ีเสนอโดยศาสตราจารย์ Dan Hunter คณบดีของมหาวิทยาลัย
Swinburne University’s Law School และทีมงานนักวิจัยในเมลเบิร์น ประเทศ
ออสเตรเลีย โดยเป็นการใช้เทคโนโลยีในลักษณะการคุมขังท่ีบ้านและใช้ปัญญาประดิษฐ์
ประเภทชุดของค�ำสั่งที่สร้างไว้เป็นการเรียนรู้ระบบปฏิบัติการใช้ระบบตรวจจับ
อเิ ลก็ ทรอนกิ สน์ ำ้� หนกั เบา และกลอ้ งไวส้ อดสอ่ งดแู ลนกั โทษเดด็ ขาดตลอดเวลา 24 ชว่ั โมง
ดว้ ยระบบตรวจจบั ชวี ภาพ เช่น การจดจ�ำเสยี ง หรอื การวิเคราะหใ์ บหน้า
โครงการน้ีเป็นการรวบรวมเทคโนโลยีท่ีหลากหลาย และใช้ข้อมูลมหาศาลเพื่อคาดการณ์สถานการณ์ต่างๆ
ทผ่ี กู้ ระทำ� ผดิ อาจละเมดิ เงอื่ นไขการคมุ ขงั ทบี่ า้ น นอกจากนี้ ระบบยงั สามารถเรม่ิ กระบวนการโดยอตั โนมตั ิ เพอื่ ปอ้ งกนั
การกระท�ำบางอยา่ งเป็นการเฉพาะของผู้ตอ้ งขงั หรือแจ้งเตอื นเจ้าหน้าท่ไี ด้
ขอ้ ดขี องโครงการนี้ คอื การแบง่ เบางบประมาณในการคมุ ขงั ผตู้ อ้ งขงั ในเรอื นจำ� โดยผตู้ อ้ งขงั ตอ้ งเปน็ ผรู้ บั ผดิ ชอบ
คา่ ใชจ้ า่ ยทเี่ กดิ ขนึ้ ในการคมุ ขงั ทบี่ า้ น ทซ่ี งึ่ เปน็ เรอื นจำ� เสมอื นจรงิ ยง่ิ ไปกวา่ นนั้ วธิ นี จี้ ะชว่ ยใหผ้ ตู้ อ้ งขงั สามารถคงรกั ษา
ความสัมพันธ์กับครอบครัวได้อย่างใกล้ชิด และมีโอกาสปรับตัวกลับคืนสู่สังคมภายหลังพ้นโทษได้ดีกว่าผู้ต้องขัง
ที่ถกู ควบคมุ ตัวในเรอื นจ�ำ

ตัวอย่างที่ 3 การก�ำหนดหอ้ งขังส�ำหรับผู้ต้องขงั ในเรอื นจำ� (Prison Cell Allocation)

การปฏิบัติงานอีกประเภทหนึ่งท่ีสามารถน�ำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้ได้ในเรือนจ�ำ คือ การจัดห้องขัง
ใหแ้ ก่นักโทษ เนอ่ื งจากในเรือนจ�ำในแตล่ ะห้องขังมีผ้ตู ้องขังทม่ี คี วามแตกตา่ งกันท้งั อายุ พ้นื ฐานครอบครวั ความถนัด
ภูมิล�ำเนา ฐานความผิด ฯลฯ ซึ่งควรถูกน�ำมาใช้พิจารณาอย่างรอบคอบเวลาจัดหรือมอบหมายผู้ต้องขังให้อยู่
ในห้องขังร่วมกับผู้อื่น โดยปกติการก�ำหนดห้องขังของผู้ต้องขังมักต้องใช้ประสบการณ์และความช�ำนาญของผู้บริหาร
และเจ้าหน้าที่เรือนจ�ำ ซึ่งนักวิจัยของประเทศจีนได้เสนอแนวคิดว่าหากมีการวิเคราะห์ประมวลผลโดย A.I. จะท�ำให้
สามารถก�ำหนดห้องขังส�ำหรับนักโทษได้อย่างเหมาะสม โดยการประมวลผลลักษณะบุคลิก ประเภท อุปนิสัยของ
เพอ่ื นรว่ มหอ้ งขงั ได้ (ประยกุ ตจ์ ากทฤษฎขี องเบย์ เกย่ี วกบั ความนา่ จะเปน็ – Bayesian Algorithm) อยา่ งไรกด็ แี นวคดิ น้ี
ยงั ไม่มกี ารทดลองนำ� ไปใชจ้ ริงในเรือนจำ�

ตัวอย่างที่ 4 การแก้ไขปัญหาการลักลอบ
น�ำส่งิ ของต้องห้ามเขา้ เรือนจำ�

จุดเด่นของ A.I. คือ ความชาญฉลาด ในการจดจ�ำ
แยกแยะประเภทรปู แบบของสงิ่ ตา่ งๆ ซงึ่ เรอื นจำ� Altcourse
ที่เป็นเรือนจ�ำเอกชน บริหารงานโดยบริษัท G4S ในเมือง
ลเิ วอรพ์ ลู ประเทศองั กฤษ ไดเ้ รม่ิ ตดิ ตง้ั กลอ้ งเพอ่ื ความมน่ั คง
ปลอดภัย ซึ่งควบคุมด้วย A.I. (ซอฟท์แวร์ของบริษัท Avigilon Corporation) เพ่ือหยุดย้ัง
การลับลอบน�ำสิ่งของต้องห้าม รวมถึงโทรศัพท์มือถือและยาเสพติดเข้าสู่เรือนจ�ำด้วยการวิเคราะห์
พฤตกิ รรมทน่ี า่ สงสยั นอกจากนน้ั ยงั ทำ� การตรวจจบั สง่ิ ของตา่ งๆ ทร่ี ะบไุ ดว้ า่ เปน็ ยาเสพตดิ โทรศพั ท์
มือถือ และอาวุธ เปน็ ต้น

วารสารราชทัณฑ์ 37

ตวั อยา่ งท่ี 5 การตรวจจบั ผู้ตอ้ งขงั ทีก่ ำ� ลังทะเลาะววิ าทหรือกำ� ลงั จะหลบหนี

เทคโนโลยนี ี้ มกี ารนำ� ไปใชใ้ นสถานตี ำ� รวจในประเทศมาเลเซยี เปน็ ระบบใหมท่ ส่ี ามารถตรวจจบั หากผกู้ ระทำ� ผดิ
ก�ำลังทะเลาะวิวาท หรือพยายามที่จะหลบหนี ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ภาพเคล่ือนไหวแบบใหม่ ระบบ Smart
Lock-up System จะทำ� การวเิ คราะหภ์ าพเคลอ่ื นไหวจากกลอ้ งโทรทศั นว์ งจรปดิ ในหอ้ งขงั บรเิ วณทางเดนิ และภายใน
เขตรัศมีของพืน้ ที่ เพ่ือตรวจจับพฤตกิ ารณ์ เชน่ การปนี การยืนเตร็ดเตร่ การทะเลาะท�ำร้ายร่างกายกัน การพยายาม
ฆ่าตัวตาย และการท�ำลายข้าวของ โดยระบบจะระบุสถานที่เกิดเหตุและแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ ซ่ึงระบบดังกล่าวน้ี
เป็นการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ โดยใช้การวิเคราะห์ท่าเดินเพ่ือสอนให้คอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์พฤติกรรม
และการเคลอื่ นไหวของมนุษย์

การใช้ A.I. ในงานราชทัณฑ์ ทั้ง 5 ข้อข้างต้น เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนเท่านั้น
ในความเป็นจริง ปัญญาประดิษฐ์ยังสามารถน�ำไปใช้ในงานราชทัณฑ์ได้อีกหลายมิติ เช่น
การตรวจเชค็ สุขภาพ การตรวจสอบพฤติกรรมและความก้าวรา้ วของผูต้ อ้ งขัง และการใช้
chatbot หรือระบบการโต้ตอบบทสนทนาอัตโนมัติ ฯลฯ ทั้งน้ี ประเด็นเร่ืองของการใช้
ปัญญาประดิษฐ์ยังมีเร่ืองท่ีต้องพิจารณาให้ถ่ีถ้วนอีกหลายด้าน ทั้งเรื่องความปลอดภัย
ความเป็นส่วนตัว โอกาสการเข้ามาแทนที่เจ้าหน้าท่ีราชทัณฑ์ ตลอดจนประเด็น
ด้านกฎหมายท่ีอาจยังไม่เปิดช่องได้อย่างเต็มท่ี อย่างไรก็ดีตัวอย่างเหล่าน้ี เป็นสัญญาณ
แสดงให้เห็นว่า ในอนาคตเทคโนโลยีทางด้าน A.I. จะเข้ามามีบทบาทในงานราชทัณฑ์
มากข้ึน ซึ่งกรมราชทัณฑ์ไทยต้องเตรียมพร้อมรับเทคโนโลยีดังกล่าวไว้ เนื่องจากวันใด
วนั หนึง่ ข้างหนา้ จะตอ้ งเข้ามามบี ทบาทในเรอื นจ�ำเราอย่างแนน่ อน
38 วารสารราชทัณฑ์

กระบวนการพฒั นาบคุ ลากร
ยุคไซเบอร์
กิตติพงษ์ เกดิ น้อย
สถาบนั พฒั นาขา้ ราชการราชทณั ฑ์

ในยุคดิจิทัลเราต้องมีการปรับตัว
อย่างมากตามสภาพสังคมและนโยบายรัฐ
ท่ีเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การเปลี่ยนผ่านจาก Creative Economy
เป็นยคุ Thailand 4.0 เช่ือวา่ หลายท่านคงมี
ความกังวลกับการปรับตัวเพื่อให้ทันกับ
สภาพแวดลอ้ มทเี่ ปลยี่ นแปลงไปอยา่ งรวดเรว็
โดยเฉพาะการเปล่ียนแปลงทางเทคโนโลยี
หลายท่านยังกังวลว่าเป็นเช่นไร เราจะ
สามารถตามนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
ที่เกิดขึ้นทันหรือไม่ แต่ความเป็นจริง
เราตามเทคโนโลยีเหล่าน้ีค่อนข้างจะทัน
เรยี กไดว้ ่าเราไมต่ กยคุ เทรนด์ 4.0
ประการหนึ่งที่ส�ำคัญ คือ เรามี
อุปกรณ์เคร่ืองมือสื่อสารท่ีมีประสิทธิภาพ
เชอื่ วา่ หลายทา่ นมปี ระจำ� ตวั อยา่ งนอ้ ยคนละ
1 เครื่อง เชน่ โทรศัพทส์ มาร์ทโฟน ท่ีเราใชท้ �ำให้เราไม่ขาดการตดิ ต่อส่อื สาร หรือการตดิ ตามขา่ ว หรอื ขอ้ มูลท่ีเราสนใจ
สามารถใชง้ านไดท้ ุกท่ีทกุ เวลา โดยผา่ นระบบสอ่ื สารเครอื ข่ายหรืออินเทอรเ์ นต็ นอกจากเราจะใช้เปน็ เครื่องมอื ส่ือสาร
และค้นหาข้อมูลแล้วเรายังใช้ในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลด้วย และเพื่อความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลเราจะต้ังค่า
รหสั ผา่ นสำ� หรบั การใชง้ านเครอื่ งโทรศพั ทส์ มารท์ โฟน บางทา่ นเปน็ รหสั ตวั เลข ตวั อกั ษร บางทา่ นใชร้ ะบบอา่ นลายนว้ิ มอื
หรือใบหน้า แน่นอนว่าเป็นการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวได้ในระดับหน่ึง แต่เม่ือไม่นานมานี้ข้อมูลส่วนบุคคล
ของใครหลายๆ คน ไดเ้ กดิ การสญู หายหรอื ถกู สวมรอยจากแอปพลเิ คชนั สว่ นตวั เชน่ Facebook หรอื Line ทส่ี ว่ นมาก
จะถกู ขโมยขอ้ มลู และการถกู แอบใชส้ ทิ ธ์ิ ซง่ึ กอ่ ใหเ้ กดิ ความเสยี หายตอ่ ผทู้ เี่ ปน็ เจา้ ของโทรศพั ท์ สมารท์ โฟน Facebook
และ Line ซึ่งส่วนใหญ่การเข้าถึงแอปพลิเคชันต่างๆ จะเช่ือมต่อผ่านระบบการยืนยันบุคคลผ่านอีเมล ท�ำให้เกิด
การล่วงละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ในปัจจุบันอีเมลนับเป็นช่องทางการติดต่อที่มีความส�ำคัญมากช่องทางหน่ึง ไม่ว่าจะ
เป็นการติดต่อทางธุรกิจหรือจะใช้ในเร่ืองส่วนตัว และก็เป็นช่องทางท่ีผู้เข้าถึงระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต (Hacker)
นยิ มโจมตดี ว้ ยอกี เชน่ กนั บทความนจ้ี ะแนะนำ� ขน้ั ตอนวา่ ตอ้ งทำ� อยา่ งไรบา้ งเมอื่ อเี มลโดนเขา้ ถงึ ระบบโดยไมไ่ ดร้ บั อนญุ าต
(Hack) เรมิ่ ต้นดว้ ย

วารสารราชทัณฑ์ 39

ข้นั ตอนท่ี 1 เปลยี่ นรหัสผ่าน

สิง่ แรกที่ควรทำ� หลังจากทีค่ ุณสามารถกลบั เข้าใช้อเี มลของคณุ ได้อกี คร้งั ก็คือ “เปลยี่ นรหสั ผา่ น” เพ่อื ป้องกนั
ไม่ให้ผู้เข้าถึงระบบโดยไม่ไดร้ บั อนุญาต (Hacker) เขา้ มาไดอ้ ีกครั้ง โดยเปลีย่ นให้รหสั ผ่านมกี ารคาดเดาท่ียากขึ้น และ
ตอ้ งไมเ่ กีย่ วข้องกับรหัสผา่ นอันเกา่ (ไม่ใชร้ หสั ผา่ นเดมิ แตเ่ พ่มิ แค่ตวั เลข) ลองใชป้ ระโยคที่มีความหมายเช่น “Today
I will back home at 7:00” แทนทค่ี �ำ เปน็ “TIwbh@7:00” โดยใหร้ หัสผ่านของคุณนั้นมีทง้ั ตัวพมิ พ์ใหญ่ ตัวพมิ พ์
เล็กและตัวเลข

ขั้นตอนที่ 2 กู้คนื บญั ชขี องคุณ

ในกรณีที่ไม่สามารถเข้าใช้อีเมลได้เลย (โดนผู้เข้าถึงระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต (Hacker) เปลี่ยน Password
ไปแล้ว) จ�ำเป็นจะต้องกู้คืนบัญชีผู้ใช้อีเมลของคุณโดยเลือกคลิกไปท่ี “ลืมรหัสผ่าน” ในหน้าจอการเข้าระบบ หรือใช้
อเี มลสำ� รองเพอื่ กคู้ นื บญั ชี โดยคณุ ตอ้ งตอบคำ� ถามทใี่ ชใ้ นการรกั ษาความปลอดภยั ใหถ้ กู ตอ้ งทสี่ ดุ เพอื่ ยนื ยนั วา่ คณุ เปน็
เจา้ ของบญั ชผี ใู้ ชน้ จ้ี รงิ ๆ สำ� หรบั ขน้ั ตอนในแตล่ ะ Email Provider จะแตกตา่ งกนั ไป สามารถเขา้ ดรู ายละเอยี ดในแตล่ ะ
ผูใ้ หบ้ ริการตาม Link นค้ี รับ Gmail, Outlook.com/Hotmail, Yahoo! และ AOL

ขัน้ ตอนท่ี 3 เปดิ ใชง้ านการยนื ยนั ตวั ตนแบบสองระดับ (Two-factor authentication)

ตั้งคา่ ใหอ้ เี มลของท่านให้มกี ารยนื ยนั ตวั ตน นอกจากการใช้ Password เพียงอยา่ งเดยี ว วธิ ีการยืนยันตวั ตน
แบบสองระดับจะท�ำให้เม่ือไหร่ก็ตามท่ีคุณล็อกอินเข้าใช้อีเมลจากเคร่ืองท่ีไม่เคยเข้าใช้มาก่อน จะต้องใส่ Password
และจากนน้ั ต้องใสข่ อ้ ความทไี่ ด้รบั จากโทรศพั ทม์ ือถือ หรือแอปพลเิ คชนั ดว้ ยอีกขน้ั ตอนหน่ึง

ข้ันตอนท่ี 4 ตรวจสอบการตั้งคา่ อีเมลของคุณ

ตรวจสอบการตงั้ คา่ อเี มลวา่ มกี ารตง้ั คา่ ใหส้ ง่ ตอ่ อเี มลไปทอ่ี น่ื นอกจากทคี่ ณุ ตงั้ ไวห้ รอื ไม่ เพราะบางครงั้ ผเู้ ขา้ ถงึ
ระบบโดยไมไ่ ดร้ บั อนญุ าต (Hacker) อาจเขา้ มาแกไ้ ขใหส้ ง่ ตอ่ อเี มลทคี่ ณุ ไดร้ บั ไปยังอเี มลของผเู้ ขา้ ถงึ ระบบโดยไม่ได้รบั
อนญุ าต (Hacker) และตอ้ งตรวจสอบ Email Signature ทคี่ ณุ ตงั้ ไวใ้ นระบบวา่ มกี ารใส่ URL แปลกๆ ของผเู้ ขา้ ถงึ ระบบ
โดยไม่ได้รับอนุญาต (Hacker) หรือเปล่า และดูว่ามีการตั้งค่าให้อีเมลมีการช่วยตอบกลับอัตโนมัติหรือไม่ ไม่เช่นน้ัน
ผเู้ ขา้ ถึงระบบโดยไม่ไดร้ ับอนญุ าต (Hacker) กจ็ ะเปลยี่ นระบบตอบกลบั อัตโนมัติ ใหก้ ลายเปน็ เครอ่ื งสง่ Spam ชน้ั ดี
น่ันเอง

40 วารสารราชทัณฑ์

ขน้ั ตอนท่ี 5 สแกนมลั แวร์ในเครื่องคอมพวิ เตอร์ของทา่ น

สแกนไวรัสแบบเต็มรูปแบบด้วยโปรแกรม Anti-Malware
ถ้ายังไม่มีแนะน�ำให้ใช้โปรแกรม Malwarebytes (หรือในกรณี
ทมี่ อี ยแู่ ลว้ กย็ งั แนะนำ� ใหล้ องใชโ้ ปรแกรม Malwarebytes สแกนใหม่
อกี ครง้ั ) และเมอื่ สแกนแลว้ พบวา่ มมี ลั แวรอ์ ยใู่ นเครอื่ งคอมพวิ เตอร์
ของคุณ แนะน�ำใหก้ ลับไปแก้ไข Password ตามขอ้ ท่ี 1 อกี ครั้ง

ขนั้ ตอนที่ 6 หาสิง่ อน่ื ท่ีได้รับการโจมตี

ผู้ใช้บางคนอาจจะเก็บรหัสผ่านโดยส่งอีเมล รหัสผ่านของตัวเอง
สำ� หรบั เวบ็ อื่นๆ เขา้ อเี มลของตัวเอง (อาจจะใชว้ ธิ ตี ัง้ Label ใน Gmail) ซึง่ เปน็ วิธีทไ่ี ม่
ควรท�ำแต่ท�ำไปแล้ว ผู้เข้าถึงระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต (Hacker) อาจค้นหารหัสผ่านเหล่าน้ีที่คุณบันทึกไว้ ดังน้ัน
เพ่ือความปลอดภัยควรเปล่ียนรหัสผ่านในทุกบัญชีผู้ใช้ของคุณนี้ทันที เพราะบางทีผู้เข้าถึงระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต
(Hacker) อาจพยายามเข้าส่รู ะบบอ่ืนๆ ของคุณจากขอ้ มูลทค่ี ุณบันทกึ ไว้

ขน้ั ตอนที่ 7 แจง้ เพอื่ นในรายชอ่ื ผตู้ ดิ ตอ่ อเี มลวา่ โดนเขา้ ถงึ ระบบโดยไม่ไดร้ บั อนญุ าต (Hack)

แจง้ รายชอ่ื ผตู้ ดิ ตอ่ ของคณุ ใหร้ วู้ า่ อเี มลของคณุ ถกู เขา้ ถงึ ระบบโดยไมไ่ ดร้ บั อนญุ าต (Hack) และไมค่ วรเปดิ อเี มล
ที่น่าสงสัยหรอื คลกิ ลงิ กแ์ ปลกๆ ในอีเมลท่ีเพิง่ ไดร้ บั จากคณุ ถึงแมเ้ พือ่ นสว่ นใหญอ่ าจร้อู ยแู่ ลว้ วา่ ไมใ่ ช่คณุ แน่ๆ แต่บาง
คนอาจคิดวา่ คอื คณุ เราจึงควรบอกเพ่อื ไม่ให้เค้าหลงเชื่อ

ขนั้ ตอนท่ี 8 ป้องกันไมใ่ ห้โดนเขา้ ถึงระบบโดยไม่ไดร้ บั อนุญาต (Hack) อกี

เมื่อแก้ไขตามขัน้ ตอนแลว้ เราควรระวังเรอื่ งที่จะเกดิ ในอนาคต เพอื่ ไมใ่ ห้โดนเข้าถึงระบบโดยไม่ไดร้ ับอนุญาต
(Hack) อกี สง่ิ ที่สำ� คัญคือควรระมัดระวงั การใช้คอมพวิ เตอรส์ าธารณะเสมอ คิดกอ่ นใช้เพราะเราไม่มีทางรู้เลยวา่ ก่อน
หน้าน้ีมีโปรแกรมอะไรติดตั้งมาเพ่ือดักข้อมูลรหัสผ่านเราหรือเปล่า และท่ีมองข้ามไม่ได้ก็คือฟรี Wi-Fi ท่ีไม่น่าเชื่อถือ
หลกั ๆ เพือ่ ปอ้ งกันการโจมตีจากผเู้ ข้าถงึ ระบบโดยไมไ่ ด้รับอนญุ าต (Hacker) ควรใชร้ หัสผา่ นทคี่ าดเดายาก หมั่นสแกน
ไวรัส อปั เดตฐานข้อมูลไวรัส และแมก้ ระทงั่ ซอฟแวร์คอมพวิ เตอรข์ องคณุ สม�่ำเสมอ เพอ่ื ปอ้ งกนั ไม่ใหม้ นั เกดิ ขนึ้ อกี

ขนั้ ตอนการดำ� เนนิ การทางกฎหมาย

1. ลงบนั ทึกประจ�ำวัน/แจ้งความไว้ทสี่ ถานตี ำ� รวจใกล้บ้าน

ถา้ คุณมัน่ ใจแล้วว่าโดนเข้าถงึ ระบบโดยไมไ่ ด้รบั อนญุ าต (Hack) เช่น มคี นเขา้ เฟซบุ๊ก เขา้ ไลน์คุณแลว้ ไปทักยืม
เงินเพื่อนคนอ่ืน มีการแจ้งเตือนว่ามีการล็อกอินอีเมลหรือบัญชีคุณ โดยท่ีไม่ใช่คุณ หรือมีคนมาบอกว่าคุณถูกเข้าถึง
ระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต (Hack) ส่ิงท่ีควรท�ำเป็นอย่างแรกคือ แจ้งความ โดย บก.ปอท. (กองบังคับการ
ปราบปรามการกระท�ำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี) ซ่ึงเป็นหน่วยงานต�ำรวจที่รับผิดชอบความผิด
ทางไอทขี องประเทศไทย แนะนำ� ขน้ั ตอนมาตามนค้ี รบั

วารสารราชทัณฑ์ 41

ขน้ั ตอนการแจ้งความ ที่เกีย่ วกับคอมพิวเตอร์

1. ใหผ้ เู้ สยี หายเตรียมเอกสารสว่ นตัว และส�ำเนาบัตรประจ�ำตัวประชาชน
2. กรณีที่เสียหายต่อชื่อเสียง ให้เตรียมหลักฐานท่ีพบว่ามีการกระท�ำความผิด เช่น พิมพ์เอกสารหน้าจอ
หนา้ เวบ็ ไซต์ หน้าโปรแกรมไลน์ โปรแกรมเฟซบกุ๊ หรอื หน้าเพจทีพ่ บการกระท�ำความผดิ
3. กรณีทีเ่ สียหายต่อทรัพย์ ใหเ้ ตรียมหลกั ฐานที่พบการกระทำ� ความผดิ การหลอกลวง พิมพ์เอกสารออกมา
จากระบบคอมพิวเตอร์ใหเ้ รียบรอ้ ย หลักฐานการโอนเงิน เปน็ ตน้
4. ให้ไปแจง้ ความ สถานีต�ำรวจทอ้ งทเ่ี กดิ เหตุ สถานีตำ� รวจนครบาล หรือสถานีต�ำรวจภูธร หรอื ท่านสามารถ
เดนิ ทางมาร้องทุกข์ที่ บก.ปอท. ได้เชน่ กัน
หมายเหตุ บก.ปอท. ไม่สามารถด�ำเนินการลบหรอื ปิดก้ันโพสตใ์ ดๆ ได้ทันที เพราะขอ้ มูลอนิ เทอรเ์ นต็ อยภู่ าย
ใต้การดูแลของผู้ให้บริการส่ือนั้นๆ การด�ำเนินการใดจ�ำเป็นต้องเป็นไปตามข้ันตอนทางกฎหมาย ท่ีต้องมีผู้เสียหาย
มาร้องทกุ ข์กลา่ วโทษด้วยตนเอง สถานตี �ำรวจ หรือที่ บก.ปอท. แลว้ เท่าน้นั
หมายเหตุ ประโยชน์ของการแจ้งความ คือ อย่างน้อยคุณมีหลักฐานยืนยันว่า ถ้าโจรน�ำบัญชีอีเมลหรือ
คอมพวิ เตอรข์ องคณุ ไปใชก้ ระทำ� ความผดิ สงิ่ ทเ่ี กดิ ขน้ึ นนั้ คณุ ไมไ่ ดท้ ำ� และจะไมย่ อมเปน็ แพะ รวมถงึ เปน็ การขม่ ขตู่ อบโต้
โจรว่าคุณได้นำ� เรอ่ื งไปถึงต�ำรวจแลว้ ส่ิงทโ่ี จรท�ำเป็นความผดิ คดอี าญายอมความไมไ่ ด้ โดนจบั ได้ เสยี เงนิ ติดคกุ

42 วารสารราชทัณฑ์

2. เปลย่ี นรหสั ผา่ นทง้ั หมด

รหสั ผา่ นเป็นหวั ใจของความปลอดภยั โดยเฉพาะอีเมล เช่น Gmail, Outlook รวมถงึ Apple ID และบญั ชี
Social Network ต่างๆ Facebook, LINE ... ค�ำแนะน�ำการต้ังรหัสผ่านท่ีดีคือ ให้ใช้รหัสผ่านท่ียาวและเดาไม่ได้
ไม่ต้องยากก็ได้ และจ�ำเป็นต้องไม่ให้ซ้�ำกันแต่ละท่ี หนึ่งในวิธีการต้ังรหัสผ่านท่ีแนะน�ำคือเอาหลายๆ ค�ำมาต่อกัน
ยาวๆ ตัวอยา่ งรหสั ผา่ น เชน่ grandpalacetokyohomecastle เพ่อื ใหง้ ่ายตอ่ การจำ� แต่ยากต่อการเดา
* ห้ามใชร้ หัสผ่านเปน็ เบอร์โทรศพั ท์ ช่อื คน ช่อื สถานท่ลี ว้ น วันเดือนปเี กดิ ตัวเลขลว้ น เด็ดขาด
2.1. 2FA
ถา้ สะดวกควรเปิด 2-factor authentication (2FA) ด้วย มนั คอื ปกติเวลาเราลอ็ กอนิ ใชแ้ คช่ ื่อ
กับรหัสผา่ น แต่ถา้ เปดิ 2FA เราจะต้องใสร่ หสั ทร่ี ับมาจาก SMS หรอื แอปพลิเคชนั มือถอื ลงไปดว้ ย ท�ำใหถ้ ้ารหสั ผา่ น
เราโดนผู้เข้าถึงระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต (Hacker) ถ้าโจรไม่ได้เข้าถึงมือถือเราได้ก็จะเอารหัสผ่านไปใช้ไม่ได้อยู่ดี
แตล่ ะบริการ Google, Apple, Facebook มวี ิธีเปดิ ไมเ่ หมอื นกัน ลองถามกูเกิลหรือให้เพ่อื นชาวไอทสี อนวิธที ำ� ให้
2.2. KeepassX
ถ้าเราแนะน�ำว่าไม่ให้ใช้รหัสผ่านซ้�ำกันเลยสักท่ีเดียว ค�ำถามคือเราจะจ�ำรหัสผ่านจ�ำนวนมากๆ
ไดย้ ังไง ค�ำตอบคอื แนะนำ� ให้ใช้โปรแกรมชว่ ยเก็บรหสั ผา่ น ช่ือวา่ KeepassX ในการรวบรวมรหัสผา่ นทง้ั หมดไวแ้ ลว้
ตั้งรหัสผ่านยากมากๆ มาเป็น Master Key (คือรหัสที่ให้ปลดล็อกรหัสผ่านทั้งหมด) แล้วเวลาจะใช้ก็เข้าไปน�ำส�ำเนา
มาใช้ อกี วธิ ีทีใ่ ช้เก็บรหัสผ่านได้ดี คือ พิมพอ์ อกมาเปน็ กระดาษแลว้ เก็บในต้นู ริ ภัย
* หา้ มเก็บรหัสผ่านในไฟล์ .txt .doc ห้ามเกบ็ ในอีเมล ในไลน์ ในแชท ห้ามโพสต์เปน็ แบบส่วนตัวในเฟซบุ๊ก

3. ติดตง้ั โปรแกรม anti-virus ในคอมพิวเตอร์

แนะนำ� ใหย้ อมซอ้ื เสยี เงนิ มาใชเ้ ลย ในไทยมขี ายเปน็ จำ� นวนมาก Kaspersky
กบั NOD32 ลงแล้วอปั เดตเวอร์ชน่ั ล่าสุดเสมอ ทีแ่ นะนำ� เพราะว่า กรณสี ่วนมากไม่
ได้เกิดจากผู้เข้าถึงระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต (Hacker) ขั้นเทพใช้สุดยอดโค้ดเจาะ
ระบบเหยอ่ื แตจ่ ะเปน็ คนไอทที พี่ อมคี วามรเู้ รอื่ งคอมพวิ เตอรน์ ดิ หนอ่ ย แตเ่ อาโปรแกรม
สำ� เรจ็ รปู ทไ่ี วค้ วบคมุ เครอ่ื ง (Trojan) ไปหลอกใหเ้ หยอ่ื เปดิ หรอื ไปเปดิ เองทเ่ี ครอ่ื งเหยอ่ื
จนสามารถดักรหัสผ่าน หรือดูดรหัสผ่านอีเมล เฟซบุ๊ก ไลน์ของเหยื่อเข้าไปดูดข้อมูล
จนถึงหลอกขโมยเงนิ เหยือ่ หรอื คนรจู้ ักของเหย่อื ได้ ซงึ่ โทรจันแบบสำ� เร็จรูปสว่ นมากแล้ว
ถกู ตรวจจบั ไดง้ า่ ยๆ ดว้ ยโปรแกรม Anti-Virus นน้ั เอง และควรทำ� Full Scan อยา่ งนอ้ ยเดอื น
ละครง้ั อกี สงิ่ ทค่ี วรสำ� รวจคอื ไวรสั บางตวั ตรวจสอบไดย้ าก เชน่ มาในรปู แบบของไฟลเ์ อกสาร
PDF DOCX ฝงั โค้ดอันตรายมาเปดิ ป๊บุ โดนเขา้ ถงึ ระบบโดยไมไ่ ดร้ บั อนญุ าต (Hack) ตรงนจี้ ะต้องอปั เดตโปรแกรมเปิด
เอกสาร (MS Office, Adobe Reader) เปน็ เวอรช์ นั่ ลา่ สดุ อยเู่ สมอดว้ ยจะปอ้ งกนั ได้ และในบางกรณไี วรสั มาในรปู แบบ
โปรแกรมเสริมของ Web Browser เชน่ Chrome ก็ควรตรวจสอบในรายชอื่ ของ Extension ใน Web Browser ท่ีใช้
ดว้ ยวา่ ไม่มโี ปรแกรมเสริมทน่ี ่าสงสัยวา่ เปน็ อันตรายตดิ ตง้ั อยู่
เพ่ิมเติมคือควรอัปเดตระบบปฏิบัติการ (Windows/Android/iOS) เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดเสมอ และไม่ root
(การแก้ไข OS ในระบบปฏิบัติการ Android) ไม่ jailbreak (การแก้ไข OS ในระบบปฏิบัติการ iOS) เครื่องมือถือ
ไม่ลงโปรแกรมที่เพ่ือนหรือใครไม่รู้ส่งมาให้เป็นไฟล์ หรือเป็น link ที่ไม่น่าเช่ือถือ ควรเข้าไปดาวน์โหลดเองจาก
เวบ็ ผูผ้ ลิตโปรแกรมนัน้ ๆ

วารสารราชทัณฑ์ 43

4. ลง Windows ใหม่

เวลาไมร่ จู้ ะแก้ไวรัสกันยังไง แตก่ ็ยงั เป็นวธิ ีทแ่ี นะนำ� เพม่ิ เตมิ ถา้ ท�ำ ข้อ 2 กบั 3 แล้ว ถ้าท�ำไม่เป็นก็ยกไป
ใหร้ า้ นลง Windows ใหม่ให้ แนะนำ� ใหล้ ง Windows ลขิ สิทธิแ์ ทเ้ พ่อื ความปลอดภัยและอปั เดตได้อย่างสบายใจ

5. ทำ� ความเข้าใจและไม่ตืน่ ตระหนก

จากประสบการณ์ส่วนตัวมีคนเข้ามาถามหลังเพจเยอะมากว่า โดนเข้าถึงระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต
(Hack) แบบนั้นแบบน้ี ส่วนใหญ่แล้วจะโดนจากวิธีการว่าไปดาวน์โหลดไฟล์ท่ีเพื่อนส่งมาให้ ไปดาวน์โหลดโปรแกรม
บอกว่าใชโ้ กงเวบ็ พนันได้ มาเปดิ ไปใหค้ นอื่น teamviewer เข้ามาลงโปรแกรม แล้วจากน้ันคอมกโ็ ดนเข้าถงึ ระบบโดย
ไมไ่ ดร้ บั อนญุ าต (Hack) อเี มล เฟซบุก๊ ไลน์ รูปส่วนตวั เอกสารสว่ นตัว งาน โดนไปหมด จะเหน็ ว่ากรณีพวกนสี้ ว่ นมาก
เกดิ จากผใู้ ชง้ านเองทไี่ ปเปดิ ไฟลท์ เ่ี ปน็ ไวรสั เหมอื นเปน็ การเปดิ ประตใู หโ้ จรเขา้ บา้ น ตรงนก้ี ต็ อ้ งปอ้ งกนั ดว้ ยการมคี วาม
ตระหนักไม่เปดิ ไฟล์จากแหล่งไม่น่าเช่อื ถอื จากอีเมลไมน่ ่าเช่อื ถอื + กบั ขอ้ 3 คือติดตัง้ โปรแกรม Anti-Virus กช็ ว่ ยได้
เยอะมากๆ 95% แลว้ ถา้ คุณไม่ใช่นกั ธุรกิจรอ้ ยล้าน หรือนักการเมืองละก็ คณุ ไม่โดน 5% ทเี่ หลือแนๆ่
บางกรณเี กดิ จากตัง้ รหัสผา่ นง่าย เช่น เบอรโ์ ทรศพั ท์หรือต้ังรหสั ผา่ นซ้�ำกันทกุ เว็บ แล้วมเี ว็บนงึ โดนเข้าถงึ
ระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต (Hack) โจรเลยเอารหัสผ่านมาเข้าอีเมลเข้าเฟซบุ๊กเราได้ ก็ต้องแก้ด้วยวิธีในข้อ 2
หลายๆ ครัง้ โจรนอกจากจะมคี วามรู้ด้านไอทีแลว้ ยงั มจี ติ วทิ ยาสูง มักจะมวี ิธีหลอกเหยื่อต่างๆ เชน่ แจ้งความไปกจ็ ับ
ไม่ได้ หรือแก้ยังไงก็แก้ไม่ได้ แนะน�ำวา่ ต้องตั้งสติในการคุยกับโจรพวกนี้อย่าให้จิตวิทยาเหล่านี้เอาความเท็จมาหลอก
เราได้

44 วารสารราชทัณฑ์

การด�ำเนินการทางวินัย
ข้าราชการกรมราชทัณฑ์

ตามพระราชบญั ญัตวิ ินยั ขา้ ราชการกรมราชทณั ฑ์
พุทธศกั ราช 2482

วจิ ักด์ิ ปัญญานี 1
กองบรหิ ารทรพั ยากรบุคคล
พระราชบัญญัติวินัยข้าราชการกรมราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2482 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยวินัยและโทษผิดวินัย
ส�ำหรับข้าราชการกรมราชทัณฑ์ ซ่ึงได้รับการแต่งต้ังให้ปฏิบัติราชการในเรือนจ�ำ ทัณฑนิคม นิคมฝึกอาชีพ หรือ
ทัณฑสถานอื่นที่ต้ังข้ึนตามกฎหมาย และสถานฝึกอบรม โดยแยกออกเป็นกฎหมายพิเศษต่างจากกฎหมายว่าด้วย
ระเบียบข้าราชการพลเรือน คือ พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พุทธศักราช 2551 ลักษณะของพระราชบัญญัติ
วนิ ยั ขา้ ราชการกรมราชทณั ฑ์ พทุ ธศกั ราช 2482 เปน็ กฎหมายพเิ ศษซงึ่ ใชบ้ งั คบั เฉพาะขา้ ราชการกรมราชทณั ฑท์ ไี่ ดร้ บั
การแตง่ ตงั้ ใหป้ ฏบิ ตั ริ าชการในเรอื นจำ� ทณั ฑนคิ ม นคิ มฝกึ อาชพี หรอื ทณั ฑสถานอนื่ ทต่ี งั้ ขน้ึ ตามกฎหมาย และสถานฝกึ
อบรมเทา่ นน้ั แตใ่ นปจั จบุ นั กระทรวงยตุ ธิ รรม2 ไดป้ ระกาศกำ� หนดให้ พนกั งานราชการ และลกู จา้ งประจำ� สงั กดั กรมราชทณั ฑ์
เป็นผู้มีคุณสมบัติเป็นเจ้าพนักงานเรือนจ�ำตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 เพื่อปฏิบัติหน้าที่
ตามกฎหมายราชทัณฑ์ แต่ยังมีข้อสังเกตอยู่ว่า หากพนักงานราชการและลูกจ้างประจ�ำดังกล่าวน้ันได้กระท�ำผิดวินัย
ในส่วนท่ีเก่ียวกับภารกิจในการควบคุมผู้ต้องขังตามที่ได้รับมอบหมายข้ึน จะถูกพิจารณาด�ำเนินการทางวินัย
ตามพระราชบัญญัติวินัยข้าราชการกรมราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2482 หรือไม่ หรือถูกพิจารณาด�ำเนินการทางวินัย
ตามกฎหมายเฉพาะแตล่ ะประเภทเทา่ นนั้ เนอ่ื งจากวธิ ดี ำ� เนนิ การพจิ ารณาโทษทางวนิ ยั และบทลงโทษแตกตา่ งกนั ดงั นนั้
วธิ กี ารด�ำเนินการข้ันตอนต่างๆ ตลอดจนบทลงโทษ จึงแตกต่างกับการด�ำเนินการตามกฎหมายระเบียบข้าราชการ
พลเรือน พทุ ธศกั ราช 2551 เนื่องจากพระราชบญั ญัตวิ นิ ยั ข้าราชการกรมราชทณั ฑ์ พทุ ธศกั ราช 2482 มเี จตนารมณ์
ในการใชบ้ งั คบั แกแ่ บบแผนความประพฤตขิ องขา้ ราชการกรมราชทณั ฑใ์ นการปฏบิ ตั หิ นา้ ทเี่ กยี่ วกบั การควบคมุ ผตู้ อ้ งขงั
หรอื กจิ การภายในของเรอื นจำ� ทณั ฑสถาน และสถานฝกึ อบรม ซง่ึ เปน็ งานทม่ี ลี กั ษณะพเิ ศษแตกตา่ งไปจากการบรหิ าร
ราชการโดยท่ัวไป

1 รัฐศาสตรบัณฑิต มหาวทิ ยาลัยรามค�ำแหง
นิตศิ าสตรบัณฑติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
นติ ศิ าสตรมหาบณั ฑิต มหาวทิ ยาลยั ธรุ กจิ บณั ฑติ ย์
หลกั สตู รประกาศนยี บตั รกฎหมายปกครองและวธิ พี จิ ารณาคดปี กครองตามมาตรฐานที่ ก.ศ.ป. รบั รอง รนุ่ ท่ี 6 สำ� นกั งานศาลปกครอง
2 ประกาศกระทรวงยุติธรรม เร่ือง ก�ำหนดคุณสมบัติเจ้าพนักงานเรือนจ�ำ ตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 ประกาศ

ณ วันที่ 7 สิงหาคม 2561
วารสารราชทัณฑ์ 45

ดังนั้นเพื่อให้การด�ำเนินการทางวินัยตามพระราชบัญญัติวินัยข้าราชการกรมราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2482
มรี ะเบยี บแบบแผน ขน้ั ตอนด�ำเนินการเปน็ ไปในแนวทางเดยี วกัน งา่ ยแกก่ ารทำ� ความเข้าใจและเป็นคมู่ อื ในปฏิบัติงาน
เกยี่ วกับการดำ� เนินการทางวนิ ยั ตามพระราชบญั ญตั วิ ินัยขา้ ราชการกรมราชทณั ฑ์ พทุ ธศักราช 2482


หลกั เกณฑ์ในการพจิ ารณาแบง่ แยกการดำ� เนนิ การทางวนิ ยั ระหวา่ งพระราชบญั ญตั ริ ะเบยี บขา้ ราชการ
พลเรอื น พทุ ธศกั ราช 2551 กับ พระราชบัญญัตวิ นิ ยั ข้าราชการกรมราชทัณฑ์ พทุ ธศักราช 2482

ข้าราชการกรมราชทัณฑ์ท่ีได้รับการแต่งต้ังให้ปฏิบัติราชการในเรือนจ�ำ ทัณฑนิคม นิคมฝึกอาชีพ หรือ
ทัณฑสถานอื่นที่ต้ังข้ึนตามกฎหมาย เมื่อได้มีการกระท�ำผิดวินัยข้ึน อาจถูกพิจารณาโทษทางวินัยตามพระราชบัญญัติ
ระเบยี บขา้ ราชการพลเรอื น พทุ ธศกั ราช 2551 หรอื พระราชบญั ญตั วิ นิ ยั ขา้ ราชการกรมราชทณั ฑ์ พทุ ธศกั ราช 2482 ได้
หลกั เกณฑใ์ นการพจิ ารณาวา่ การกระทำ� ลกั ษณะเชน่ ใดเปน็ ความผดิ ทข่ี า้ ราชการกรมราชทณั ฑท์ ไี่ ดร้ บั การแตง่ ตง้ั
ให้ปฏิบัติราชการในเรือนจ�ำ ทัณฑนิคม นิคมฝึกอาชีพ หรือ ทัณฑสถานอ่ืนที่ต้ังขึ้นตามกฎหมาย และสถานฝึกอบรม
หากมกี ารกลา่ วหาวา่ กระทำ� ผดิ วนิ ยั จะถกู พจิ ารณาโทษตามพระราชบญั ญตั วิ นิ ยั ขา้ ราชการกรมราชทณั ฑ์ พทุ ธศกั ราช 2482
หรอื พระราชบญั ญตั ริ ะเบยี บขา้ ราชการพลเรอื น พทุ ธศกั ราช 2551 นน้ั ยงั ไมม่ หี ลกั เกณฑก์ ารพจิ ารณาทแ่ี นน่ อนชดั เจน
ซึ่งกรมราชทัณฑ์ได้ยึดถือเป็นหลักในการพิจารณาแบ่งแยก คือ3 พฤติการณ์ในการมีลักษณะเป็นเร่ืองเกี่ยวกับกิจการ
ภายในของเรือนจ�ำหรือทัณฑสถานจะเข้าองค์ประกอบตามกฎหมายว่าด้วยวินัยราชทัณฑ์หรือพฤติการณ์กระท�ำผิด
อาจปรับเข้าองค์ประกอบ ท้ังกฎหมายว่าด้วยวินัยราชทัณฑ์และกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนแล้ว
จะลงโทษหรือลงทัณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน หรือตามกฎหมายว่าด้วยวินัยข้าราชการ
กรมราชทัณฑ์อย่างใดอย่างหน่ึงตามควรแก่กรณีและพฤติการณ์ก็ได้ แต่หากพฤติการณ์เป็นการกระท�ำผิด เป็นเรื่อง
เกี่ยวกับความประพฤติ หรือการปฏิบัติราชการทั่วไป ที่อาจเกี่ยวข้องหรือกระทบต่อหน่วยงานอ่ืนหรือประชาชน
เข้าองค์ประกอบตามกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนเพียงกฎหมายฉบับเดียว ก็ให้ลงโทษตามกฎหมาย
พลเรอื นจะน�ำกฎหมายวา่ ด้วยวินัยราชทณั ฑ์ ซ่งึ เป็นกฎหมายเฉพาะมาลงโทษไม่ได้
ดังน้ัน จึงสรุปได้ว่า หลักเกณฑ์การพิจารณาท่ีจะพิจารณาโทษทางวินัยกับข้าราชการกรมราชทัณฑ์ท่ีได้รับ
การแตง่ ตงั้ ใหป้ ฏบิ ตั ริ าชการในเรอื นจำ� ทณั ฑนคิ ม นคิ มฝกึ อาชพี หรอื ทณั ฑสถานอน่ื ทต่ี ง้ั ขน้ึ ตามกฎหมาย และสถานฝกึ
อบรมได้นั้น ต้องมีพฤติการณ์อันมีลักษณะเป็นเร่ืองเก่ียวกับกิจการภายในของเรือนจ�ำหรือทัณฑสถาน จึงจะเข้า
องค์ประกอบตามกฎหมายวา่ ดว้ ยวนิ ัยราชทัณฑไ์ ด้

3 ประชุม ก.อ.พ. กระทรวงมหาดไทย ครัง้ ท่ี 9/2537 เมอื่ วันที่ 3 กันยายน 2537

46 วารสารราชทัณฑ์

ขน้ั ตอนการดำ� เนนิ การทางวนิ ัยพระราชบญั ญตั ิวนิ ยั ข้าราชการกรมราชทณั ฑ์ พทุ ธศักราช 2482 4

เพอื่ ใหง้ า่ ยแกก่ ารทำ� ความเขา้ ใจในขนั้ ตอนการดำ� เนนิ การทางวนิ ยั พระราชบญั ญตั วิ นิ ยั ขา้ ราชการกรมราชทณั ฑ์
พทุ ธศักราช 2482 สามารถแบ่งเปน็ ข้นั ตอนการดำ� เนนิ การตามลำ� ดบั ดังน้ี
1. เม่ือมีการตรวจพบการกระท�ำผิดหรือพฤติการณ์แห่งการกระท�ำผิดตามพระราชบัญญัติวินัยข้าราชการ
กรมราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2482 เกิดข้ึน การรายงานการตรวจพบการกระท�ำผิดหรือพฤติการณ์แห่งการกระท�ำผิด
ตามพระราชบญั ญตั วิ นิ ยั ขา้ ราชการกรมราชทณั ฑ์ พทุ ธศกั ราช 2482 ตอ่ ผบู้ งั คบั บญั ชา (ผบู้ ญั ชาการเรอื นจำ� /ผอู้ ำ� นวยการ
ทัณฑสถาน/สถานกักกัน/สถานท่ีกักขัง) น้ัน เจ้าหน้าท่ีผู้ท�ำรายงานต้องรวบรวมพยานหลักฐานท่ีเกี่ยวข้องท่ีใช้ในการ
สนับสนุนข้อกล่าวหา เช่น หนังสือร้องเรียน บันทึกการจับกุม บันทึกการตรวจค้น ค�ำส่ังมอบหมายหน้าท่ี รายงาน
การปฏิบัติหน้าที่ประจ�ำวัน ใบรับรองแพทย์ ค�ำให้การของผู้กล่าวหา ค�ำให้การของพยานผู้เห็นเหตุการณ์ ภาพถ่าย
และภาพจากกล้องวงจรปดิ เปน็ ต้น ให้ได้มากเพยี งพอแกก่ ารพิจารณาวา่ มีมลู เปน็ ความผดิ วนิ ยั หรอื ไม่
1.1 กรณีมีมูลอันควรกล่าวหาเจ้าหน้าท่ีในสังกัดกระท�ำผิดวินัยตามพระราชบัญญัติวินัยข้าราชการ
กรมราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2482 ให้ผู้บังคับบัญชา (ผู้บัญชาการเรือนจ�ำ/ผู้อ�ำนวยการทัณฑสถาน/สถานกักกัน/
สถานทีก่ ักขัง) พิจารณาดำ� เนินการตาม ข้อ 2 ตอ่ ไป
1.2 กรณไี มม่ มี ลู อนั ควรกลา่ วหาเจา้ หนา้ ทใี่ นสงั กดั กระทำ� ผดิ วนิ ยั ตามพระราชบญั ญตั วิ นิ ยั ขา้ ราชการ
กรมราชทณั ฑ์ พทุ ธศักราช 2482 ผูบ้ งั คับบัญชา (ผ้บู ญั ชาการเรือนจำ� /ผอู้ �ำนวยการทณั ฑสถาน/สถานกักกนั /สถานท่ี
กักขัง) มีอ�ำนาจยุติเร่ืองโดยไม่ต้องท�ำเป็นค�ำส่ัง แล้วรายงานพร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องท้ังหมดเสนอต่ออธิบดี
กรมราชทัณฑ์เพือ่ พจิ ารณาสงั่ การ (แบบ 9)
2. กรณีมีมูลอันควรกล่าวหาเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระท�ำผิดวินัยตามพระราชบญั ญตั วิ ินัยข้าราชการกรมราชทัณฑ์
พทุ ธศักราช 2482 ให้ผู้บงั คับบญั ชา (ผบู้ ญั ชาการเรอื นจำ� /ผอู้ ำ� นวยการทณั ฑสถาน/สถานกกั กัน/สถานท่ีกักขงั ) แต่งต้ัง
คณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง (แบบ 1) เพ่ือด�ำเนินการรวบรวมพยานหลักฐานท่ีเก่ียวข้องกับข้อกล่าวหา และ
พิจารณาว่ามีพยานหลักฐานใดสนบั สนนุ ข้อกล่าวหาวา่ ผถู้ กู กลา่ วหาได้กระท�ำการใด เมือ่ ใด อย่างไร และเปน็ ความผดิ
วินัยกรณีใด ตามมาตราใด
3. คณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง จะต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานท่ีสนับสนุนข้อกล่าวหา
ใหผ้ ู้ถูกกลา่ วหาทราบ (แบบ 2)
4. ใหโ้ อกาสผถู้ กู กลา่ วหาไดช้ แี้ จงแกข้ อ้ กลา่ วหาเปน็ หนงั สอื หรอื ใหถ้ อ้ ยคำ� หรอื นำ� สบื แกข้ อ้ กลา่ วหาพรอ้ มทง้ั
พยานหลกั ฐาน (ถา้ ม)ี ต่อคณะกรรมการสบื สวนขอ้ เทจ็ จรงิ (แบบ 3)
5. เมอื่ ดำ� เนนิ การเสรจ็ สนิ้ แลว้ ใหค้ ณะกรรมการ
สืบสวนข้อเท็จจริงพิจารณาผลการสืบสวนโดยการ
เปรียบเทียบพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหา
พร้อมค�ำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาให้เป็นที่ยุติ แล้วให้
รายงานผลการสืบข้อเท็จจริง โดยระบุความเห็น
ของคณะกรรมการสบื สวนขอ้ เทจ็ จรงิ (แบบ 4) รายงาน
ผู้บังคับบัญชา (ผู้บัญชาการเรือนจ�ำ/ผู้อ�ำนวยการ
ทณั ฑสถาน/สถานกกั กนั /สถานทก่ี กั ขงั ) เพื่อพิจารณา

4 อา้ งถึง หนังสือกรมราชทัณฑ์ ท่ี ยธ 0707.2/29088 ลงวันที่ 18 กนั ยายน 2561

วารสารราชทัณฑ์ 47

6. ผ้บู งั คับบญั ชา (ผบู้ ญั ชาการเรอื นจำ� /ผอู้ ำ� นวยการทณั ฑสถาน/สถานกักกัน/สถานทก่ี กั ขงั ) พิจารณา
6.1 หากเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่มีมูลอันควรกล่าวหาว่ากระท�ำความผิดวินัยให้ส่ังยุติเรื่อง (แบบ 6)
หากเป็นการกระท�ำผิดวินัยเล็กน้อยเห็นควรว่ากล่าวตักเตือน (แบบ 7) หรือเห็นว่าเป็นการกระท�ำผิดวินัยเล็กน้อย
เหน็ ควรท�ำหนังสอื ท�ำทัณฑ์บน (แบบ 8)
6.2 หากเห็นว่าการกระท�ำของผู้ถูกกล่าวหากระท�ำผิดวินัยตามพระราชบัญญัติวินัยข้าราชการ
กรมราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2482 ให้ผู้บังคับบัญชา (ผู้บัญชาการเรือนจ�ำ/ผู้อ�ำนวยการทัณฑสถาน/สถานกักกัน/
สถานท่ีกกั ขงั ) สง่ั ลงโทษให้เป็นไปตามมาตรฐาน และแนวทางการลงโทษทีก่ รมราชทัณฑไ์ ด้กำ� หนดไวโ้ ดยเครง่ ครัด
7. รายงานพร้อมเอกสารหลักฐานที่เก่ียวข้องท้ังหมด (แบบ 9) เสนอต่ออธิบดีกรมราชทัณฑ์เพื่อพิจารณา
สัง่ การทุกกรณี
แต่ในบางกรณี แม้พฤติการณ์ดังกล่าวน้ัน จะมีลักษณะเป็นเร่ืองเกี่ยวกับกิจการภายในของเรือนจ�ำหรือ
ทัณฑสถาน ซึ่งเข้าองค์ประกอบตามกฎหมายว่าด้วยวินัยราชทัณฑ์ได้ แต่กรมราชทัณฑ์พิจารณาเห็นว่าพฤติการณ์
ดังกล่าว ส่งผลเสียหายแก่การบริหารกิจการของกรมราชทัณฑ์และอาจเกิดความเสียหายต่อราชการอย่างร้ายแรงได้
จงึ ได้มหี นังสือสัง่ การกรมราชทณั ฑ์ มใิ ห้เรอื นจำ� /ทณั ฑสถาน/สถานกักกัน/สถานท่กี กั ขงั พจิ ารณาด�ำเนนิ การทางวนิ ัย
ตามพระราชบัญญัติวินัยข้าราชการกรมราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2482 ได้แต่เพียงรวบรวมพยานหลักฐานที่เก่ียวข้อง
กับการกระท�ำความผิดให้มากท่ีสุด แล้วให้รายงานกรมราชทัณฑ์เพ่ือพิจารณาด�ำเนินการต่อไป ซึ่งในปัจจุบันนี้
กรมราชทัณฑ์ได้มหี นงั สือสั่งการกรมราชทณั ฑใ์ นลกั ษณะดงั ทก่ี ล่าวน้ี คือ
1. แนวทางปฏบิ ตั ิ กรณมี กี ารตรวจพบเจา้ หนา้ ทใ่ี นสงั กดั กรมราชทณั ฑ์ ลกั ลอบนำ� ยาควบคมุ ในกลมุ่ ยาอนั ตราย
มีฤทธ์ิกดการท�ำงานของระบบประสาทเข้าไปในสถานท่ีคุมขัง ตามหนังสือสั่งการกรมราชทัณฑ์ ที่ ยธ 0702.2/612
ลงวนั ที่ 8 มกราคม 2561
2. แนวทางการรายงานการด�ำเนินการทางวินัย ตามหนังสือสั่งการกรมราชทัณฑ์ ที่ ยธ 0702.2/5604
ลงวนั ท่ี 26 กุมภาพันธ์ 2561
2.1 กรณีผู้ต้องขังหลบหนีการควบคุมภายในเรือนจ�ำหรือทัณฑสถานหรือหลบหนีการควบคุม
ขณะออกรักษาที่โรงพยาบาลนอกเรือนจ�ำหรอื ทัณฑสถาน
2.2 กรณีตรวจพบสิ่งของต้องห้ามตามมาตรา 72 และมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์
พุทธศกั ราช 2560
2.3 กรณีมกี ารกระท�ำผิดเก่ียวกบั เงิน พัสดุ เงนิ ขาดบัญชหี รอื ทุจริตเกี่ยวกับเงนิ
3. การด�ำเนินการ กรณีตรวจพบสารเสพติดในปัสสาวะของเจ้าหน้าท่ี ตามหนังสือส่ังการกรมราชทัณฑ์
ที่ ยธ 0702.2/6550 ลงวันท่ี 27 กมุ ภาพันธ์ 2561

อา้ งองิ
แบบที่ 1 หมายถงึ ค�ำสงั่ แตง่ ตงั้ คณะกรรมการสืบสวนขอ้ เทจ็ จรงิ
แบบที่ 2 หมายถงึ บนั ทกึ การแจง้ ขอ้ กล่าวหาและสรปุ พยานหลักฐานท่สี นับสนุนข้อกล่าวหา
แบบที่ 3 หมายถงึ ค�ำชีแ้ จงแกข้ ้อกล่าวหาเปน็ หนังสอื และพยานหลักฐานแกข้ อ้ กล่าวหา
แบบที่ 4 หมายถงึ รายงานการสบื สวนขอ้ เท็จจรงิ โดยระบคุ วามเหน็ ของคณะกรรมการสบื สวนข้อเท็จจริง
แบบท่ี 5 หมายถึง คำ� สั่งลงโทษ
แบบที่ 6 หมายถึง อืน่ ๆ เช่น คำ� ส่ังยุตเิ ร่อื ง
แบบท่ี 7 หมายถงึ หนังสอื วา่ กลา่ วตกั เตือน
แบบที่ 8 หมายถึง หนงั สอื ทำ� ทัณฑบ์ น
แบบที่ 9 รายงานการตรวจสำ� นวนการด�ำเนินการทางวินยั ตามพระราชบญั ญตั ิวนิ ยั ข้าราชการกรมราชทัณฑ์ พทุ ธศกั ราช 2482

48 วารสารราชทัณฑ์

แผนผังขั้นตอนการด�ำเนนิ การทางวนิ ยั ข้าราชการกรมราชทัณฑ์
ตามพระราชบัญญตั วิ ินัยข้าราชการกรมราชทัณฑ์ พทุ ธศักราช 2482

เมอ่ื มกี ารกล่าวหาหรอื มีกรณีเปน็ ที่สงสัยวา่ ขา้ ราชการกรมราชทัณฑ์ (ผใู้ ตบ้ ังคบั บญั ชา) ผใู้ ดกระทำ� ผิดวนิ ัยตามพระราชบัญญตั ิวนิ ยั
ข้าราชการกรมราชทณั ฑ์ พุทธศักราช 2482 ใหผ้ ู้บงั คับบญั ชา (ผู้บัญชาการเรือนจำ� /ผูอ้ �ำนวยการทณั ฑสถาน/สถานกกั กัน/สถานที่กักขงั )

มีหน้าทดี่ ำ� เนินการสืบสวนขอ้ เทจ็ จรงิ หรือพิจารณาในเบื้องต้นใหเ้ ป็นที่ยตุ วิ ่า

กรณีไมม่ ีมลู อันควรกลา่ วหาวา่ กระท�ำผิดวนิ ัยใหผ้ ู้บงั คบั บัญชา กรณมี มี ูลใหผ้ บู้ ังคับบญั ชา (ผบู้ ัญชาการเรอื นจำ� /
(ผบู้ ัญชาการเรือนจ�ำ/ผอู้ �ำนวยการทณั ฑสถาน/สถานกกั กนั / ผ้อู ำ� นวยการทัณฑสถาน/สถานกักกัน/สถานท่ีกกั ขงั )

สถานที่กักขงั ) ยตุ ิเร่ืองโดยไม่ต้องท�ำเป็นค�ำสั่งยตุ ิเรื่อง

ให้รายงานพรอ้ มเอกสารหลักฐาน แต่งต้งั คณะกรรมการสบื สวนขอ้ เทจ็ จริง (แบบ 1) เพอ่ื ด�ำเนนิ การรวบรวมพยานหลกั ฐาน
ทเ่ี กีย่ วข้องทงั้ หมดเสนอตอ่ อธบิ ดี ทเี่ กี่ยวขอ้ งกบั ข้อกล่าวหา แลว้ พิจารณาว่ามพี ยานหลักฐานใดสนับสนนุ ข้อกล่าวหา
กรมราชทัณฑเ์ พ่อื พจิ ารณาสัง่ การ
วา่ ผถู้ กู กลา่ วหาไดก้ ระทำ� การใด เมอ่ื ใด อยา่ งไร และเปน็ ความผดิ วนิ ยั กรณใี ด ตามมาตราใด
(แบบ 9) (แบบ 2) แลว้ แจง้ ขอ้ กล่าวหาพรอ้ มทัง้ สรปุ พยานหลักฐานทีส่ นับสนุนข้อกล่าวหา
ใหผ้ ้ถู กู กลา่ วหาทราบและใหโ้ อกาส ผูถ้ ูกกล่าวหาได้ช้แี จงแก้ขอ้ กล่าวหาเปน็ หนังสอื

หรือใหถ้ อ้ ยคำ� หรอื น�ำสืบแกข้ ้อกล่าวหาพร้อมท้งั พยานหลกั ฐาน (ถา้ ม)ี ตอ่ คณะกรรมการ
สืบสวนขอ้ เท็จจรงิ (แบบ 3)

หากเห็นว่าการกระทำ� เมือ่ ด�ำเนนิ การสบื สวนเสรจ็ สิน้ แล้ว กรณผี ้บู ังคบั บัญชาเหน็ ว่าเปน็ การ
ของผูถ้ กู กล่าวหา ใหค้ ณะกรรมการสบื สวนพิจารณาผลการ กระท�ำผดิ วนิ ัยเลก็ น้อย ให้ผ้บู งั คบั
สืบสวนโดยการเปรียบเทียบพยานหลักฐาน
ไม่เป็นความผิดวนิ ัยให้ ทส่ี นับสนนุ ขอ้ กล่าวหาพร้อมคำ� ชีแ้ จงแกข้ ้อ บัญชาใชอ้ ำ� นาจในทางบรหิ าร
ยุติเรอื่ ง (แบบ 6) กล่าวหาให้เปน็ ทีย่ ุติโดยระบคุ วามเหน็ ของ ท�ำทัณฑบ์ นเป็นหนงั สอื (8) หรือ
คณะกรรมการสืบข้อเท็จจรงิ (แบบ 4)
โดยท�ำเปน็ คำ� สัง่ ยุตเิ ร่อื ง วา่ กล่าวตกั เตอื น (7)

ใหร้ ายงานพร้อมเอกสารหลักฐาน หากเห็นวา่ การกระท�ำของผถู้ กู กล่าวหาก ใหร้ ายงานพร้อมเอกสารหลักฐาน
ที่เกี่ยวข้องทัง้ หมดเสนอต่ออธิบดี กระท�ำผิดวนิ ยั ใหส้ ั่งลงโทษให้เปน็ ไปตาม ที่เกีย่ วข้องทั้งหมดเสนอต่ออธบิ ดี
กรมราชทณั ฑ์เพ่อื พิจารณาสง่ั การ กรมราชทัณฑเ์ พื่อพิจารณาส่ังการทกุ กรณี
มาตรฐาน และแนวทางการลงโทษที่
ทุกกรณี (แบบ 9) กรมราชทัณฑ์ไดก้ ำ� หนดไวโ้ ดยเครง่ ครัด (แบบ 9)

ให้รายงานพรอ้ มเอกสารหลักฐานทีเ่ ก่ียวขอ้ งทัง้ หมดเสนอต่อ
อธบิ ดกี รมราชทณั ฑ์เพ่ือพจิ ารณาสั่งการทกุ กรณี (แบบ 9)

วารสารราชทัณฑ์ 49


Click to View FlipBook Version