The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การศึกษาภาวะการถดถอยทางการเรียนรู้ของนักเรียนช่วงโควิด

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Rachapoom Somsamai, 2022-05-19 18:59:24

การศึกษาภาวะการถดถอยทางการเรียนรู้ของนักเรียนช่วงโควิด

การศึกษาภาวะการถดถอยทางการเรียนรู้ของนักเรียนช่วงโควิด

220

มัธยมศึกษา ส่วนสาเหตุของภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาจากสถานการณ์การ
แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มีสาเหตุมาจาก 1) สาเหตุจากผู้เรียน ได้แก่ แรงจูงใจ และความพร้อมในการ
เรียนที่เปลี่ยนแปลงไป 2) สาเหตุจากครูผู้สอน ได้แก่ การปรับตัวต่อการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่
3) สาเหตุจากผปู้ กครอง ไดแ้ ก่ ความเขา้ ใจและการสนับสนุนการเรยี นรู้ 4) สาเหตจุ ากโรงเรียน ไดแ้ ก่ นโยบาย
และการบริหารจัดการในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และ 5) สาเหตุจากสื่อและอุปกรณ์การเรียนรู้
ได้แก่ ความไม่พรอ้ มดา้ นสื่อและเทคโนโลยี

2. ผลการศึกษาสภาพการณ์และสาเหตุภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในระดับการศึกษา
ขนั้ พื้นฐานจากสถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของไวรสั โควิด-19: การศึกษาเชิงปรมิ าณ

2.1 สภาพการณ์ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ภาพรวมของผู้เรียนระดับการศึกษาข้ันพื้นฐานมีการรับรู้ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้อยู่ในระดับปานกลาง
เมื่อพิจารณาการรับรู้ภาวะถดถอยเชิงผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกรายวิชา โดย
ผู้เรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 รับรู้ภาวะถดถอยเชิงผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการในวิชาภาษาต่างประเทศ
วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ มากที่สุดตามลาดับ ขณะที่ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 รับรู้ภาวะถดถอย
เชิงผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการในวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ และวิทยาศาสตร์มากที่สุดตามลาดับ
ส่วนภาพรวมของภาวะถดถอยเชิงคุณลักษณะของการเรียนรู้ของผู้เรียนในระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน
อยู่ในระดับปานกลาง โดยผู้เรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1-3 มีความเครียด/ความกังวลในการเรียนสูงที่สุด
รองลงมาคือ ความพยายามในการเรียนลดลง และการไม่สามารถปรับตัวในการเรียนได้ตามลาดับ ผู้เรียน
ระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 มีความเครียด/ความกังวลในการเรียนสูงที่สุด รองลงมาคือ ความพยายาม
ในการเรียนลดลง และการขาดแรงจูงใจในการเรียนตามลาดับ ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 มีความเครยี ด/
ความกงั วลในการเรียนสงู ทส่ี ดุ รองลงมาคือ การขาดแรงจูงใจในการเรยี น และความพยายามในการเรยี นลดลง
ตามลาดับ ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 มีความเครียด/ความกังวลในการเรียนสูงที่สุด รองลงมาคือ
การขาดแรงจูงใจในการเรยี น และความไม่พร้อมหรอื การขาดความสนใจในการเรียนตามลาดับ

2.2 ผลการเปรียบเทียบภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนระดับการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน
จาแนกตาม สังกัด และขนาดสถานศึกษา ภาพรวมของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเมื่อจาแนกตาม
สังกัด ได้แก่ สังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และขนาด
สถานศึกษา ได้แก่ ขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ พบว่าโดยรวมผู้เรียนมีการรับรู้ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้
แตกตา่ งกันอย่างไม่มนี ัยสาคัญทางสถิติ

2.3 ผลการศึกษาการรับรู้ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียน
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 พบว่า ผู้เรียนมีการรับรู้ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะ
ถดถอยทางการเรียนรู้ในระดับปานกลาง โดยรับรู้ทกั ษะของครูมากท่ีสุด รองลงมาคือการมีส่วนร่วมของพ่อแม่
ในการสง่ เสริมการเรียนรู้ และการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนร้ตู ามลาดบั ระดบั มธั ยมศึกษาปีท่ี 1-3 พบว่า
ผู้เรียนมีการรับรู้ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ในระดับปานกลางถึงระดับมาก โดยรับรู้

221

ทักษะของครูมากที่สุด รองลงมาคือการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมของพ่อแม่
ในการส่งเสริมการเรียนรู้ตามลาดับ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 พบว่า ผู้เรียนมีการรับรู้ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ
ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ในระดับปานกลางถึงระดับมาก โดยรับรู้ทักษะของครูมากที่สุด รองลงมาคือ
การกากับตนเองในการเรยี นรู้ และการมที กั ษะดา้ นสารสนเทศ สอื่ และเทคโนโลยตี ามลาดับ

2.4 ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในระดับการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการรับรู้ภาวะ
ถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 และผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 พบว่า
“การกากับตนเองในการเรียนรู้” เป็นปัจจัยที่ส่งอิทธิพลทางตรงและโดยรวมต่อการรับรู้ภาวะถดถอยทางการ
เรยี นร้ขู องนักเรียนทุกระดับช้ัน โดยผ้เู รยี นที่สามารถกากับตนเองในการเรียนรู้ไดด้ จี ะรับร้ภู าวะถดถอยทางการ
เรียนรู้ของตนเองในระดับต่า ขณะที่ “ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี” ส่งอิทธิพลทางตรงและ
โดยรวมต่อการรับรู้ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของนักเรียนเฉพาะในชั้นมัธยมศึกษาเท่านั้น ส่วน “ทักษะของ
ครู” เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีบทบาทสาคัญสามารถส่งอิทธิพลโดยรวมต่อการรับรู้ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของ
นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาและระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และ “การมีส่วนร่วมของพ่อแม่
ในการส่งเสริมการเรียนรู้ที่บ้าน” มีบทบาทในการส่งอิทธิพลทางอ้อมต่อการรับรู้ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้
ของผู้เรยี นในระดบั ประถมศกึ ษาตอนตน้ เท่านั้น

3. แนวทางการลดภาวะถดถอยทางการเรยี นรู้สู่การพฒั นาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
3.1 แนวทางการลดภาวะถดถอยทางการเรยี นร้สู ู่การพฒั นาคณุ ภาพการเรยี นรู้ของผเู้ รยี น

ระดบั ประถมศกึ ษา โดยมแี นวทางดงั นี้
ด้านที่ 1 ด้านนโยบายและการบริหารจัดการ ประกอบด้วย 5 แนวทาง ได้แก่ (1) การ

พฒั นาเทคนคิ การออกแบบการจัดการเรียนการสอนและการจัดการชน้ั เรียนของครู (2) การส่งเสริมการจัดการ
เรียนรู้แบบบูรณาการและเชื่อมโยงประสบการณ์ในชีวิตประจาวันของผู้เรียน (3) การลดภาระงาน และงานท่ี
ได้รับมอบหมายของนักเรียน (4) การจัดสภาพแวดล้อมท่ีเอื้อต่อการเรียนรู้และเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์
สื่อและเทคโนโลยีในการจดั การเรียนรู้ และ (5) การพฒั นาสื่อการเรยี นรูร้ ่วมกัน ดังรายละเอียดต่อไปน้ี

1) การพัฒนาเทคนิคการออกแบบการจัดการเรียนการสอนและการจัดการชั้นเรียนของครู
โดยออกแบบและใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่น่าสนใจ หลากหลาย ดึงดูดความสนใจของผู้เรียน ที่ทาให้
ผู้เรียนเกิดความสนใจ ตั้งใจ และเกิดความตื่นตัว รู้สึกอยากเรียนรู้ในบทเรียน รวมถึงการจัดการชั้นเรียนของ
ครูที่ทาให้ผู้เรียนมีสมาธจิ ดจ่อกับเนื้อหาและบทเรียนได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

2) การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการและเชื่อมโยงประสบการณ์ในชีวิตประจาวัน
ของผเู้ รยี น ผบู้ รหิ ารสถานศกึ ษาและครูผูส้ อนอาจนาแนวคิดการจัดการเรียนร้แู บบบูรณาการด้วยการเช่ือมโยง
เนื้อหาทั้งภายในและระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ รวมถึงการเชื่อมโยงองค์ความรู้เนื้อหาจากบทเรียนร่วมกับ
ประสบการณ์ในชีวิตประจาวันของผู้เรียนด้วยการเรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัว เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมี
ประสทิ ธิภาพ

222

3) การลดภาระงาน และงานที่ได้รับมอบหมายของนักเรียน โดยผู้บริหารสถานศึกษาหรือครู
อาจกาหนดนโยบายหรือแนวปฏิบัติในการลดภาระงาน แบบฝึกหัด หรือชิ้นงานที่มอบหมายเพื่อไม่ให้ผู้เรียน
รู้สึกเหนื่อยหนา่ ยและเกิดภาวะเครยี ด

4) การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ สื่อและ
เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ โดยสถานศึกษาอาจสนับสนุนหรือจัดหาอุปกรณ์ สื่อและเทคโนโลยี สัญญาณ
อินเทอร์เน็ตให้แก่ผู้เรียน ส่วนครูผู้สอนควรเลือกใช้สื่อและเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับความพร้อม ความ
หลากหลายของผู้เรียนและความเหมาะสมของเนื้อหารายวิชา ผู้ปกครองจัดสภาพแวดล้อมที่บ้านที่เอื้อและ
เหมาะสมต่อการเรียนรขู้ องผูเ้ รียนและสนับสนนุ อานวยความสะดวกใหผ้ เู้ รยี นเกดิ การเรียนรู้ที่ดแี ละมคี ณุ ภาพ

5) การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ร่วมกัน โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
และสถานศึกษาอาจมีการเจรจาหารือ หรือสร้างความร่วมมือกันและกันทั้งในระดับพื้นที่ อาเภอ จังหวัด และ
ระดับประเทศในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในแต่ละสาระการเรียนรู้ร่วมกัน และเปิดโอกาสให้มีการใช้สื่อการ
เรยี นรูน้ ั้นรว่ มกันในการจดั การเรยี นรู้ เพือ่ ให้ผ้เู รยี นเกดิ ผลลพั ธ์การเรยี นรทู้ ่ดี จี ากการเรยี นรดู้ ว้ ยส่ือการเรียนรู้ที่
มคี ณุ ภาพ

ด้านที่ 2 ด้านการส่งเสริมการเรียนรู้และคุณภาพผู้เรียน ประกอบด้วย 4 แนวทาง ได้แก่
(1) การสร้างแรงจูงใจ การตั้งเป้าหมาย และการกากับตนเองของผู้เรียนระหว่างการจัดการเรียนการสอน
(2) การส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อให้แก่นักเรียน (3) การส่งเสริมกิจกรรมผ่อนคลาย รับประทานอาหารที่มี
ประโยชน์ และการออกกาลังกายเพื่อการมีสุขภาวะที่ดีของนักเรียน และ (4) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมและ
สัมพันธภาพระหว่างนกั เรยี น ผู้ปกครอง และครู ดังรายละเอยี ดตอ่ ไปนี้

1) การสร้างแรงจูงใจ การตั้งเป้าหมาย และการกากับตนเองของผู้เรียนระหว่างการจัดการ
เรียนการสอน โดยครูผู้สอนและผู้ปกครองควรกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจ มีการเสริมแรง การกากับติดตาม
และพัฒนาใหผ้ ้เู รียนสามารถกากบั ตนเองในการเรยี นและมสี ว่ นรว่ มในกิจกรรมการเรยี นอยา่ งตอ่ เนอื่ ง

2) การส่งเสริมการร้เู ทา่ ทนั สื่อให้แก่นักเรยี น ผปู้ กครองและครคู วรสง่ เสริมให้ผู้เรียนตระหนัก
และรู้เทา่ ทันสื่อ รวมถึงการเฝ้าระวงั และกากับติดตามผู้เรียนอย่างใกล้ชิดในการเข้าถึงสื่อที่ไม่เกิดประโยชน์ตอ่
การเรียนรู้หรอื สื่อทไ่ี ม่เหมาะสมที่อาจส่งผลตอ่ การเรียนรู้ คุณลักษณะ และสขุ ภาพกายและใจของผ้เู รียน

3) การส่งเสริมกิจกรรมผ่อนคลาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และการออกกาลังกาย
เพื่อการมีสุขภาวะที่ดีของนักเรียน ผู้ปกครองควรส่งเสริมด้านสุขภาวะที่ดีของผู้เรียนเพื่อให้เกิดความพร้อมใน
การเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนทากิจกรรมผ่อนคลาย เช่น การออกกาลังกายหรือทากิจกรรมร่วมกับผู้ปกครองขณะ
อยู่ท่บี ้าน รวมไปถงึ การจัดเตรยี มอาหารทมี่ ีประโยชน์ให้แก่ผเู้ รยี น

4) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสัมพันธภาพระหว่างนักเรียน ผู้ปกครอง และครู โดย
ผู้ปกครองอาจมีสว่ นร่วมในเรื่องของการวางแผนการเรียน กากับติดตาม เตรียมความพร้อม ให้คาปรกึ ษา และ
ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน และมีการติดต่อสื่อสารกับครูผู้สอนเพื่อสอบถามและติดตามการเรียน
ของผ้เู รียน

223

3.2 แนวทางการลดภาวะถดถอยทางการเรยี นรสู้ ู่การพัฒนาคณุ ภาพการเรียนรขู้ องผเู้ รยี น
ระดับมธั ยมศึกษา มแี นวทางดงั น้ี

ด้านที่ 1 ด้านนโยบายและการบริหารจัดการ ประกอบด้วย 6 แนวทาง ได้แก่
(1) การจัดสรรงบประมาณการช่วยเหลือเยียวยาด้านสัญญาณอินเทอร์เน็ต อุปกรณ์ สื่อและเทคโนโลยี
(2) การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต (3) การพัฒนาเทคนิค
การจัดการเรียนรู้ของครู (4) การปรับเนื้อหา ลดภาระงาน และงานที่ได้รับมอบหมายของนักเรียน (5) การใช้
แหล่งทรัพยากรและสือ่ การเรียนรูร้ ว่ มกัน และ (6) การสื่อสารและช้ีแจงเพื่อทาความเข้าใจเกีย่ วกับการจัดการ
เรยี นการร้ใู ห้แกผ่ ปู้ กครองและนกั เรียน ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1) การจัดสรรงบประมาณการช่วยเหลือเยียวยาด้านสัญญาณอินเทอร์เน็ต อุปกรณ์ สื่อและ
เทคโนโลยี โดยภาครฐั และหน่วยงานทเ่ี กีย่ วข้องควรจดั สรรงบประมาณให้แกส่ ถานศึกษา ครูผูส้ อน หรือผู้เรียน
ในการช่วยเหลือเยียวยาค่าใช้จ่ายในการซื้อสัญญาณอินเทอร์เน็ต อุปกรณ์ สื่อและเทคโนโลยีที่จาเป็นในการ
จัดการเรยี นการสอนแบบออนไลน์ เพื่อให้ผ้เู รยี นสามารถเข้าถงึ อินเทอรเ์ นต็ อปุ กรณ์และส่ือเทคโนโลยีได้อย่าง
เท่าเทยี ม และเกดิ การเรียนรู้อยา่ งมคี ุณภาพ

2) การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต ผู้ปกครอง
ควรจัดสภาพแวดล้อมที่บ้านให้มีความเหมาะสมต่อการเรียนรู้และปราศจากสิ่งรบกวนสมาธิในการเรียนของ
ผู้เรียน ครูผู้สอนจัดสภาพแวดล้อมในสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรต่อการเรียนรู้ ดึงดูดความสนใจและกระตุ้น
ความต้องการในการเรียนของผู้เรียน ปราศจากสภาวะกดดันเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกมีความสุข มีความ
สบายใจในการเรยี นรู้

3) การพัฒนาเทคนิคการจดั การเรียนรขู้ องครู ครูผู้สอนควรออกแบบการจัดการเรยี นรูเ้ ชงิ รุก
(Active learning) ปรับวิธีการสอนให้น่าสนใจ หลากหลาย เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เรียนให้เกิดความตั้งใจ
รสู้ กึ อยากเรยี นรู้ และมสี มาธิจดจอ่ กบั เน้ือหาและบทเรียนมากขน้ึ

4) การปรับเนื้อหา ลดภาระงาน และงานที่ได้รับมอบหมายของนักเรียน สถานศึกษาอาจ
กาหนดนโยบายหรือแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการปรับเนื้อหาในบทเรียน การลดภาระงานและงานที่มอบหมายเพ่ือ
ชว่ ยให้ผู้เรียนไมเ่ กิดภาวะเครยี ด ตลอดจนช่วยให้ผู้เรียนเกิดเจตคตแิ ละแรงจงู ใจท่ีดีในการเรยี นได้

5) การใช้แหล่งทรพั ยากรและสื่อการเรยี นรู้ร่วมกัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการศกึ ษา
อาจเจรจาหารอื หรอื สรา้ งความร่วมมือกนั ในการจัดทาและใชส้ ่ือ นวตั กรรม และแหล่งเรยี นรใู้ นแตล่ ะสาระการ
เรียนรู้ที่มีคุณภาพ มีประโยชน์ และเอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนและผู้ปกครองสามารถ
เขา้ ถงึ ทรพั ยากรการเรียนรไู้ ดอ้ ย่างท่วั ถึง

6) การสื่อสารและชี้แจงเพื่อทาความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้ปกครองและ
นักเรียน สถานศึกษาควรสื่อสารและใหข้ ้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้และตอบประเด็นข้อสงสัยอย่างชัดเจน
และตรงไปตรงมา เพ่อื ใหผ้ เู้ รียนและผู้ปกครองรบั ทราบถึงสถานการณ์แนวปฏิบตั ขิ องสถานศกึ ษา

224

ด้านที่ 2 ด้านการส่งเสริมการเรียนรู้และคุณภาพผู้เรียน ประกอบด้วย 4 แนวทาง ได้แก่
(1) การส่งเสริมการทากิจกรรมและการออกกาลังกายเพื่อสุขภาวะที่ดีของนักเรียน (2) การส่งเสริมการมีส่วน
ร่วมและปฏิสมั พันธร์ ะหว่างนักเรยี น ผปู้ กครอง และครู (3) การสง่ เสรมิ และเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ สื่อ
และเทคโนโลยี และ (4) การส่งเสริมแรงจูงใจ และเสริมสร้างการเรียนรู้แบบนาตนเองให้แก่นักเรียน
ดงั รายละเอียดตอ่ ไปนี้

1) การส่งเสริมการทากจิ กรรมและการออกกาลังกายเพ่ือสุขภาวะท่ีดขี องนักเรียน ผู้ปกครอง
ควรสนับสนุนและส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้เรียนโดยอาจกระตุ้นให้ผู้เรียนทากิจกรรมยามว่าง การออกกาลัง
กายเพื่อช่วยให้ผู้เรยี นเกิดความพร้อมและเกดิ พลงั ในการเรยี นรู้

2) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมและปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ควรมีการ
สร้างปฏิสัมพันธ์และสัมพันธภาพที่ดีระหว่าง ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครอง อาจใช้การติดต่อสื่อสารเพ่ือ
สอบถามและกากับติดตามการเรียนรู้ ความก้าวหน้า ความพร้อม และส่งเสริมสนับสนุนในเรื่องต่าง ๆ ให้แก่
ผ้เู รียน

3) การส่งเสริมและเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ สื่อและเทคโนโลยี สถานศึกษาควร
สนับสนุน จัดหาอุปกรณ์ สื่อเทคโนโลยี ตลอดจนสัญญาณอินเทอร์เน็ตให้แก่ผู้เรียน รวมไปถึงการเลือกใช้สื่อ
และเทคโนโลยี ท่ีสอดคลอ้ งกบั ความถนัด ความต้องการ และความพรอ้ มของผู้เรียน

4) การส่งเสริมแรงจูงใจ และเสริมสร้างการเรยี นรู้แบบนาตนเองให้แก่นักเรียน ครูผู้สอนและ
ผู้ปกครองควรเสริมสร้างการเรียนรู้แบบนาตนเองให้แก่ผู้เรียนด้วยการกระตุ้นและส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิด
แรงจูงใจ สอนให้ผู้เรียนรู้วิธีการเรียนรู้ และเสริมแรงให้แก่ผู้เรียนอยู่เสมอเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้
อยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ

อภปิ รายผลการวิจยั
1. ผลการศึกษาสภาพการณ์และสาเหตุภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในระดับการศึกษา

ขน้ั พนื้ ฐานจากสถานการณ์การแพรร่ ะบาดของไวรสั โควิด-19
1.1 สภาพการณ์การจัดการเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจากสถานการณ์การแพร่

ระบาดของไวรัสโควิด-19 พบว่า สถานศึกษามีการจัดการเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ มีการใช้
เครื่องมือและเทคโนโลยีในการเรียนการสอนอย่างหลากหลาย มีการปรับเปลี่ยนนโยบาย การบริหารจัดการ
และการวัดและประเมินผลของสถานศึกษา ผลการวิจัยในส่วนน้ีเป็นไปตามแนวทางการปรับเปลี่ยนรูปแบบ
การจัดการเรียนการสอน โดยในปีการศึกษา 2564 สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้
กาหนดรูปแบบการเรียนการสอนไว้ 5 รูปแบบ ตามบริบทและความเหมาะสมของแตล่ ะโรงเรยี น คือ ON-AIR,
ONLINE, ON–DEMAND, ON-HAND และ ON–SITE โดยไม่จาเป็นว่าโรงเรียนที่ปิดเรียนต้องใช้การเรียนการ
สอนแบบออนไลน์เพยี งอย่างเดียวเทา่ นั้น (ภมู ศิ รัณย์ ทองเลยี่ มนาค, 2564ก)

225

1.2 สภาพการณแ์ ละสาเหตุภาวะถดถอยทางการเรียนรเู้ ชิงผลสัมฤทธ์ขิ องผเู้ รยี น
ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้เชิงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษา
และมัธยมศึกษาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จากข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า ผู้เรียนเกิด
ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ด้านความรู้ การเชื่อมโยงความรู้ เกิดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ด้านทักษะทาง
วิทยาศาสตร์และทักษะการปฏิบัติ ซึ่งมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงปริมาณ ที่พบว่าผู้เรียนเกิดภาวะถดถอย
ทางการเรียนรู้ด้านทักษะการอ่าน และคณิตศาสตร์ โดยภาพรวมของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีการ
รับรู้ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้เชิงผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการอยู่ในระดับปานกลางทุกรายวิชา โดยผู้เรียนระดับ
ประถมศึกษาปีที่ 1-6 รับรู้ภาวะถดถอยเชิงผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการในวิชาภาษาต่างประเทศ วิทยาศาสตร์ และ
คณิตศาสตร์ มากที่สุดตามลาดับ ขณะที่ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 รับรู้ภาวะถดถอยเชิงผลสัมฤทธิ์ทาง
วิชาการในวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ และวิทยาศาสตร์มากที่สุดตามลาดับ เมื่อพิจารณาจาก
ผลการวิจัยแล้วพบว่าในทุกระดับชั้นนั้นการรับรู้ภาวะถดถอยของผู้เรียนสอดคล้องกันในทุกระดับ กล่าวคือ
สามลาดับแรกเป็นรายวิชาภาษาต่างประเทศ วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ซึ่งผลการวิจัยสอดคล้องกับ ซึ่ง
ส อดค ล ้ องกั บ Asian Development Bank (2021); Azim Premji Foundation (2021); Blaskó et al.
(2021); Cardinal (2020); Fitzpatrick et al. (2020); Kaffenberger (2021); Locke et al. (2021);
Raymond (2021); Salciccioli (2021) และ Zierer (2021) ที่กล่าวถึงภาวะถดถอยของผู้เรียนส่วนใหญ่นั้น
เกิดขึ้นทั้งทางด้านทักษะและความสามารถทางภาษา ได้แก่ การพูด การเขียน ความคล่องแคล่วในการอ่าน
และความเข้าใจในการอ่าน รวมถึงคณิตศาสตร์ ได้แก่ จานวน การดาเนินการทางคณิตศาสตร์ การแก้โจทย์
ปัญหาทางคณิตศาสตร์ รูปทรง ฯลฯ รวมถึงสอดคล้องกับ Azim Premji Foundation (2021); Conto et al.
(2020) และ Locke et al. (2021) ที่ได้ระบุว่า ระดับชั้นเรียนที่ต่างกันนั้นมีภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ที่
แตกต่างกัน ทั้งน้ีทั้งนี้สามารถอธิบายเพิ่มเติมในเชิงบริบทการจัดการศึกษาไทยได้ว่า วิชาภาษาต่างประเทศ
วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เป็นรายวิชาท่ีผู้เรียนต้องอาศยั ความรู้ความเข้าใจรวมถงึ การฝกึ ปฏิบตั ิ และต้อง
ใช้ความสามารถของผู้สอนในการถ่ายทอดความรู้และทักษะไปยังผู้เรียน จึงทาให้ผู้เรียนรับรู้ถึงภาวะถดถอยได้
มากกว่ารายวิชาอื่น ๆ ซึ่งหากเป็นในรายวิชาอื่น ๆ นั้นผู้ปกครองหรือพ่อแม่ของผู้เรียนสามารถสอนได้ด้วย
ตนเอง หรือผู้เรยี นสามารถศกึ ษาคน้ คว้าดว้ ยตนเองได้
1.3 สภาพการณแ์ ละสาเหตุภาวะถดถอยทางการเรียนรเู้ ชงิ คณุ ลกั ษณะของการเรยี นรขู้ อง
ผ้เู รยี น
จากผลการวิจัยในเชิงคุณภาพที่พบว่า คุณลักษณะของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ผู้เรียน
ไมก่ ล้าตอบคาถาม การขาดการมีส่วนร่วมในการเรยี นรู้ ทกั ษะชวี ติ สขุ ภาพจติ สภาวะทางอารมณ์ สมั พันธภาพ
และการทางานร่วมกับผู้อื่นลดลง รวมถึงเจตคติต่อการเรียนและวิชาที่เรียนลดลง ซึ่งผลการศึกษาเชิงคุณภาพ
นั้นสอดคล้องกับผลการศึกษาเชิงปริมาณที่ระบุว่า ภาพรวมของภาวะถดถอยเชิงคุณลักษณะของการเรียนรู้
ของผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับปานกลาง โดยผู้เรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1-3 มี
ความเครียด/ความกงั วลในการเรียนสูงที่สุด รองลงมาคือ ความพยายามในการเรียนลดลง และการไม่สามารถ

226

ปรับตัวในการเรียนได้ตามลาดับ ผู้เรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 มีความเครียด/ความกังวลในการเรียนสูง
ที่สุด รองลงมาคือ ความพยายามในการเรียนลดลง และการขาดแรงจูงใจในการเรียนตามลาดับ ผู้เรียนระดับ
มัธยมศึกษาปีที่ 1-3 มีความเครียด/ความกังวลในการเรียนสูงที่สุด รองลงมาคือ การขาดแรงจูงใจในการเรียน
และความพยายามในการเรียนลดลงตามลาดับ ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 มีความเครียด/ความกังวลใน
การเรียนสูงที่สุด รองลงมาคือ การขาดแรงจูงใจในการเรียน และความไม่พร้อมหรือการขาดความสนใจในการ
เรียนตามลาดับ หากพิจารณาผลการวิจัยของทุกระดับชั้นนั้น พบว่าอันดับที่ 1 คือความเครียดและความวิตก
กังวลของผู้เรียนซึ่งผลการวิจยั สอดคล้องกับ DiPietro et al. (2020) ที่ได้กล่าวถึงภาวะที่ผู้เรียนใช้เวลาในการ
เรียนรู้ลดลง ถูกจากัดให้อยู่แต่ในบ้านทาให้เกิดความเครียดและความวิตกกังวล ซึ่งส่งผลลบต่อความสามารถ
ของผู้เรียนในการทาการบ้าน ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการทากิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ลดลง และสอดคล้องกับ
Asian Development Bank (2021) และ Fitzpatrick et al. (2020) ที่ได้ระบุว่าภาวะถดถอยทางการเรียนรู้
ของผู้เรียนนั้นไม่เพียงแต่เกิดขึ้นกับการเรียนรู้ในเชิงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แต่ยังเกิดขึ้นกับทักษะทาง
กายภาพ ทักษะทางสังคม ทักษะทางอารมณ์ สุขภาพจิต และความเป็นอยู่ของผู้เรียนด้วยเช่นกัน ทั้งนี้สาเหตุ
ที่พบส่วนหนึ่งคือความไม่พร้อมของการจัดการเรียนรู้ รวมถึงสื่ออุปกรณ์และเทคโนโลยีในการเรียนรู้
ซ่ึงสอดคล้องกบั Cho et al. (2021) ทพ่ี บขอ้ จากัดของการจดั การเรียนการสอนทางไกล (Distance learning)
ทง้ั ในเร่อื งของอุปกรณ์ อนิ เทอร์เน็ต

1.4 ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจาแนกตาม สังกัด
และขนาดสถานศึกษา

จากผลการวิจัยภาพรวมพบว่าของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเมื่อจาแนกตามสังกัด
ได้แก่ สังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และขนาด
สถานศึกษา ได้แก่ ขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ พบว่าโดยรวมผู้เรียนมีการรับรู้ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้
แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสาคัญทางสถิติ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะในแต่ละสถานศึกษาทั้งหมดล้วนได้รับผลกระทบ
จากสถานการณ์โควิด-19 ทั้งสิ้น และมีการบริหารจัดการสถานศึกษาตามแนวนโยบายของ
กระทรวงศกึ ษาธิการ รวมถงึ แนวทางของต้นสงั กัด หรอื พื้นท่ีจังหวดั ที่มีมาตรฐานการป้องกัน เชน่ แนวทางการ
ปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนการสอนของสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่ได้
กาหนดรูปแบบการเรียนการสอนไว้ 5 รูปแบบ ตามบริบทและความเหมาะสมของแต่ละโรงเรียนโดยไม่จาเป็น
ว่าโรงเรียนที่ปิดเรียนต้องใช้การเรียนการสอนแบบออนไลน์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น (ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค,
2564ก) ทั้งนี้ หากพิจารณาในรายละเอียดแล้วพบว่า ผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษามีการรับรู้ภาวะถดถอย
ทางการเรียนรู้เชิงผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการในบางกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่แตกต่างกันเมื่อจาแนกตามขนาด
สถานศึกษา โดยผู้เรียนที่อยู่ในสถานศึกษาขนาดเล็กและขนาดกลางมีการรับรู้ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ท่ี
มากกว่าผู้เรียนในสถานศึกษาขนาดใหญ่ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะสถานศึกษาขนาดใหญ่มีความพร้อมทั้งจานวน
บคุ ลากร สอ่ื แหล่งเรยี นรู้ และสง่ิ สนบั สนุนอานวยความสะดวกท่ีมากกว่าโรงเรียนขนาดกลางและขนาดเล็ก

227

1.5 การรับรู้ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนระดับการศึกษา
ขนั้ พนื้ ฐาน

ข้อสังเกตจากผลการศึกษาในทุกระดับชั้น พบว่า ผู้เรียนมีการรับรู้ทักษะของครูมากที่สุด
แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมานั้น ผู้เรียนรับรู้ได้ว่าครูได้ดาเนินการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการ
เรียนรู้ ส่วนในด้านการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ในการส่งเสริมการเรียนรู้นั้น ผู้เรียนในระดับประถมศึกษาและ
มัธยมศึกษาตอนต้นรับรู้มากเป็นลาดับที่สอง แสดงว่าผู้เรียนเห็นถึงบทบาทของพ่อแม่หรือผู้ปกครองในการ
ช่วยหรือส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนในสถานการณ์โควิด-19 ยกเว้นผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอน
ปลายอยู่ในลาดับท้ายสุด ทั้งนี้เนื่องจากผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายนั้นมีวุฒิภาวะมากขึ้น สามารถ
ควบคุมหรือกากับตนเองได้ด้วยตนเอง บทบาทของพ่อแม่หรือผู้ปกครองจึงน้อยลง ซึ่งสอดคล้องกับสุรางค์
โค้วตระกูล (2564) ว่าพัฒนาการของวัยรุ่นนั้นมีความอิสระทางด้านจิตใจและอารมณ์จากพ่อแม่และผู้ใหญ่ท่ี
ใกล้ชิด และดารณี อุทัยรัตนกิจ (2559) ที่กล่าวถึงผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาว่าเป็นช่วงวัยที่เริ่มเผชิญกับความ
ซับซ้อนของสังคม ทั้งนี้ จากผลการวิจัยสะท้อนว่า ผู้เรียนรับรู้เกี่ยวกับการกากับตนเองในการเรียนรู้ และรับรู้
ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยีของผู้เรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นน้อยกว่า
ด้านอื่น ๆ แสดงให้เห็นว่า ผู้เรียนควรได้รับการส่งเสริมในด้านนี้เนื่องจากการศึกษางานวิจัยทั้งในประเทศและ
ต่างประเทศ พบว่า การกากับตนเองในการเรียนรู้เป็นตัวแปรสาคัญอย่างหนึ่งที่ส่งผลต่อความสาเร็จหรือ
ผลสมั ฤทธิ์ทางการเรียน (Cleary & Kitsantas, 2017; Dent & Koenka, 2016; Trias et al., 2021)

1.6 ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในระดับการศึกษา
ข้ันพ้นื ฐาน จากสถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของไวรัสโควิด-19

จากผลการศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุ พบว่า ในทุกระดับชั้นโมเดลเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อภาวะ
ถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดย
สอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม (Social cognitive theory) ของ Bandura (1986) ที่ระบุว่า
พฤติกรรมของบุคคลนั้นไม่ได้เกิดขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงไปจากปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมเพียงเท่านัน้ แต่เกิดขึ้นและ
เปลี่ยนแปลงไปจากปัจจัยภายในบุคคลร่วมด้วย และเป็นลักษณะของการกาหนดซึ่งกันและกัน (Reciprocal
determinism) ไดแ้ ก่ บคุ คล (Person) พฤตกิ รรม (Behavior) และสิง่ แวดลอ้ ม (Environment)

ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการรับรู้ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปี
ที่ 1-6 และผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 พบว่า “การกากับตนเองในการเรียนรู้” เป็นปัจจัยที่ส่งอิทธิพล
ทางตรงและโดยรวมต่อการรับรู้ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของนักเรียนทุกระดับชั้น โดยผู้เรียนที่สามารถ
กากับตนเองในการเรียนรู้ได้ดีจะรับรู้ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของตนเองในระดับต่า ซึ่งสอดคล้องกับ
งานวิจัยของ Cho et al. (2021); Cleary & Kitsantas (2017); Dent & Koenka (2016); Pelikan et al.
(2021) และ Trias et al. (2021) ที่ระบุว่าการกากับตนเองในการเรียนรู้เป็นตัวแปรสาคัญอย่างหนึ่ง
ที่เก่ยี วข้องและส่งผลตอ่ ความสาเร็จหรอื ผลสมั ฤทธ์ิทางการเรียน

228

“ทกั ษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลย”ี ส่งอทิ ธิพลทางตรงและโดยรวมต่อการรับรู้ภาวะ
ถดถอยทางการเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งสอดคล้องกับ DiPietro et al. (2020) และ Kasradze & Zarnadze
(2021) ที่ได้ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยีกับภาวะถดถอยทางการ
เรียนรู้ของผู้เรียน แต่ผลการวิจัยในงานวิจัยนี้ส่งผลเฉพาะในชั้นมัธยมศึกษาเท่านั้น ทั้งนี้ สาหรับทักษะด้าน
สารสนเทศ สือ่ และเทคโนโลยีผเู้ รียนช้นั ประถมศึกษาอาจตอ้ งได้รับการดูแลชว่ ยเหลือจากครแู ละผู้ปกครองใน
การจัดการเรียนรู้ สว่ น

“ทกั ษะของครู” เปน็ ปัจจยั หนึง่ ทม่ี บี ทบาทสาคญั สามารถสง่ อิทธพิ ลโดยรวมต่อการรับรู้ภาวะ
ถดถอยทางการเรียนรูข้ องนักเรียนในระดบั ชั้นประถมศึกษาและระดบั ชั้นมธั ยมศกึ ษาตอนต้น ซึ่งสอดคล้องกบั
DiPietro et al. (2020); Fitzpatrick et al. (2020); Ikeda & Yamaguchi (2021); Kaffenberger (2021);
Kuhfeld et al. (2020) และ Raymond (2021) ที่ได้ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างทักษะครูกับภาวะถดถอย
ทางการเรียนรู้ของผู้เรียน ทั้งนี้สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายบทบาทของครูในการสอนอาจลดลง
ครูจึงอาจเป็นเพียงผู้แนะนาการเรียนหรือผู้อานวยความสะดวกได้ ดังที่ดารณี อุทัยรัตนกิจ (2559) ที่กล่าวถึง
ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาท่ีครูต้องคานึงถึงหลักพัฒนาการทางสมองและความสามารถในการค้นหาความรู้เพื่อ
พัฒนาศักยภาพทีส่ าคญั ของผูเ้ รยี น โดยมงุ่ พฒั นาผู้เรียนใหส้ ามารถอยู่รว่ มกบั ผ้อู ่นื ในสงั คมไดอ้ ยา่ งมคี วามสุข

“การมีส่วนร่วมของพ่อแม่ในการส่งเสริมการเรียนรู้ที่บ้าน” มีบทบาทในการส่งอิทธิพล
ทางอ้อมต่อการรับรู้ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งสอดคล้องบางส่วนกับ Núñez, Suárez,
Rosário, Vallejo, Valle, & Epstein (2015) ที่ทาการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การมีส่วนร่วมของ
พ่อแม่เรื่องการบ้าน พฤติกรรมการทาการบ้านของนักเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ผลการศึกษาพบว่าการรับรู้การมีส่วนร่วมของ
พ่อแม่เรื่องการบ้าน พฤติกรรมการทาการบ้านของนักเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
ประถมศึกษามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสาคัญ และ Boonk, Gijselaers, Ritzen & Brand-Gruwel (2018)
ที่ดาเนินการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของพ่อแม่กับผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรยี น ผลการศึกษาพบว่าการมีส่วนร่วมของพ่อแมม่ ีความสัมพนั ธ์กับผลสมั ฤทธิ์ทางการเรยี นของนักเรียนในทุก
ช่วงอายุ เนื่องจากผลการวิจัยนี้ส่งอิทธิพลที่ชัดเจนกับผู้เรียนในระดับประถมศึกษาตอนต้นเท่านั้น ซึ่งไม่
สอดคล้องกับ Lia, Hub, Geb, & Auden (2016) ทาการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของพ่อแม่
ที่บ้าน ความคาดหวังทางการศึกษาของพ่อแม่ และผลการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ผล
การศึกษาพบว่าควาคาดหวังทางการศึกษาของพ่อแม่ การสอนการบ้านหรือติวหนังสือ และการกากับติดตาม
เรื่องการบ้านมีผลกระทบต่อผลการเรียนของนักเรียนมากที่สุด และไม่สอดคล้องกับ Farooq & Asim (2020)
ทาการศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ การกากับตนเองในการเรียนรู้ และ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษา ผลการศึกษาพบว่าการอบรมเลี้ยงดูส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนและการกากับตนเองในการเรียนรู้ในระดับสูง นอกจากนี้ยังพบว่าการอบรมเลี้ยงดูเป็นตัวกาหนด
เจตคติของนักเรียนต่อการกากับตนเองในการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผลการวิจัยของ Thomas, Backer, Peeters &

229

Lombaerts (2019) ที่ทาการศึกษาความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ตามการรับรู้ของนักเรียน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการกากับตนเองในการเรียนรู้ของนักเรียนวัยรุ่น ผลการศึกษาพบว่าการมีส่วน
ร่วมของพ่อแม่ตามการรับรู้ของนักเรียนมีความสัมพันธ์กับการกากับตนเองในการเรียนรู้ของนักเรียนและ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นอกจากนี้ยังพบว่าการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ
นักเรียน โดยมีการกากับตนเองในการเรียนรู้เป็นตัวแปรคั่นกลาง ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยในครั้งนี้ของ
ผู้เรียนระดบั ประถมศึกษาตอนต้น

2. แนวทางการลดภาวะถดถอยทางการเรยี นรูส้ กู่ ารพัฒนาคณุ ภาพการเรียนรู้ของผ้เู รียน
ผลการวิจัยเกี่ยวกับแนวทางการลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้สู่การพัฒนาคุณภาพการ

เรียนรู้ของผู้เรียนนั้น ได้กาหนดเป็นแนวทางในด้านนโยบายและการบริการจัดการ และด้านการส่งเสริมการ
เรียนรู้และคุณภาพผู้เรียน โดยกาหนดให้ทุกภาคส่วนที่จัดการศึกษาได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพ
ผเู้ รยี น โดยเปน็ การแกไ้ ขปัญหาระยะส้นั และระยะยาว ซ่งึ เปน็ ไปตามท่ี Khan & Ahmed (2021) ไดเ้ สนอแนะ
ว่ารัฐบาลควรมีการออกแบบมาตรการการปอ้ งกันทางสังคมที่เข้มแขง็ และมีกลยุทธ์ของการศึกษาทางไกลเพือ่
บรรเทาผลกระทบทางลบจากการท่ีโรงเรียนปิด อีกทั้งควรมีมาตรการระยะยาวในการแก้ไขปัญหาและฟื้นตวั
ระบบการศึกษาในอนาคตต่อไป ดังเช่นแนวทางของ Hanover Research (2020) ท่ีได้กล่าวถึงกลยุทธ์การกู้
คืนทางวชิ าการมกั อาศัยการใช้เวลาในการสอนเพิ่มเตมิ เพ่ือจัดการกบั การสูญเสยี การเรยี นรู้ โดยเวลาเพม่ิ เตมิ น้ี
อาจอยู่ในรูปแบบของวันเรียนเพิ่มเติม เวลาเพิ่มเตมิ ในวันท่ีเปิดเรียน หรือการขยายเวลาเรียนภาคฤดูรอ้ น เพิ่ม
เวลาเรยี นกอ่ นหรือหลังเลกิ เรียน จดั โปรแกรมช่วยเหลอื นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษหรือนักเรียนที่ระบุว่ามี
ความเส่ยี งต่อความลม้ เหลวทางวิชาการ

2.1 แนวทางการพัฒนาเทคนิคการออกแบบการจัดการเรียนรู้ การจัดการช้ันเรียนของครู
การลดภาระงาน และงานทีไ่ ด้รบั มอบหมายของนักเรียน การส่งเสรมิ การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการและ
เช่อื มโยงประสบการณใ์ นชวี ติ ประจาวันของผู้เรยี น

แนวทางทางดงั กลา่ วน้ันสอดคลอ้ งกบั วิชัย วงษใ์ หญ่ และมารุต พฒั ผล (2563) ท่ีกล่าวว่าการ
ออกแบบการเรยี นรใู้ น New normal มีจดุ เน้นอยทู่ ่กี ารทาใหผ้ ูเ้ รียนเกดิ การเรียนรทู้ ่มี ีคุณภาพท่ีเป็นการเรียนรู้
เชิงลึก คือ รู้จริง รู้ชัด นาไปประยุกต์ใช้ และสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ โดย Fitzpatrick et al. (2020) ได้
กล่าวถึงผูก้ าหนดนโยบายควรจัดหาทรัพยากรหรอื ฝกึ อบรมครูเพื่อให้มีกลยุทธ์หรือเทคนิคในการสอนออนไลน์
และการใชเ้ ทคโนโลยี กาหนดแนวทางท่ชี ัดเจนให้แกผ่ ูส้ อนโดยเนน้ ความกา้ วหนา้ การประเมินทีไ่ มเ่ ปน็ ทางการ
การทดสอบท่ีสรา้ งโดยครู หลกี เลี่ยงการทดสอบแบบมาตรฐาน การเยียวยาด้วยการสอนซา้ การใหค้ วามสาคัญ
กับทักษะพื้นฐานที่จาเป็น การสอนที่ปรับเหมาะกับระดับความสามารถของผู้เรียนรายบุคคล การบูรณาการ
หลักสูตรในรูปแบบทางการ ไม่เป็นทางการ หรือการจัดหลักสูตรแบบเร่งรัด เพื่อช่วยเหลือผู้เรียนในเนื้อหาที่มี
ปัญหา และเตรียมความพร้อมให้ก่อนเปิดเรียน นอกจากนี้ Conto et al. (2020) เสนอแนวทางว่าควรหา
วิธีการวัดประเมินประสิทธิผลของการเรียนออนไลน์ในช่วงโควิด-19 ที่ให้ข้อมูลแบบทันท่วงที และวิธีการหรือ
นวัตกรรมใหม่ ๆ ท่ีนามาใช้ในการกากบั ติดตามผลการเรียนการสอนออนไลน์ เช่น การประเมินโดยใชโ้ ทรศัพท์

230

เป็นฐาน (Telephone-based assessments) รวมถึงการใหค้ วามสาคัญกับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์
ทีม่ ีคณุ ภาพสาหรบั นักเรียนที่มีอายุน้อยเป็นอันดับแรก รวมท้ังพิจารณารายได้ของครอบครัวและความสามารถ
ในการเข้าถึงเทคโนโลยีด้วย และเพิ่มการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพระหว่างครู พ่อแม่ผู้ปกครอง และ
ผู้เรียน ทั้งนี้ DiPietro et al. (2020) ได้เสนอการพัฒนาให้ครูทุกช่วงวัยมีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
และฝึกอบรมเทคนิควิธีการสอนที่เหมาะสมกับการเรียนการสอนออนไลน์ ทั้งแนวทางการเรียนแบบประสาน
เวลาและไม่ประสานเวลา (Asynchronous synchronous) บนแพลตฟอร์มเทคโนโลยี และมีการให้ข้อมูล
ย้อนกลับ (Kurniawan & Budiyono, 2021)

นอกจากนี้ Cardinal (2020) ได้เสนอให้เน้นการพัฒนาผู้เรียนด้วยการจัดการศึกษาแบบองค์
รวม ลดความสาคัญของคะแนนผลการเรียน แต่เน้นกิจกรรมทางสังคมและอารมณ์ เพื่อสร้างแรงจูงใจและ
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ สนับสนุนให้ผู้เรียนปรับตัวให้เข้ากับกิจกรรมทางวิชาการใหม่ ๆ ได้ดี
ขึ้น ในส่วนการออกแบบการจัดการเรียนรู้นั้น Asian Development Bank (2021) ได้เสนอแนวคิดในการ
ออกแบบแผนการเรียนรู้ที่มีโครงสร้างและกาหนดทิศทางที่ชัดเจน เป็นไปได้ ซึ่งไม่จาเป็นต้องเหมือนหลักสูตร
เดิมในภาวะปกติ มีการจัดการฝึกอบรมอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการรู้เท่าทันเทคโนโลยีดิจิทัลให้แก่ผู้เรียนและ
ผู้ปกครอง และอบรมเพิ่มประสิทธิภาพในการสอนออนไลน์ (ทางไกล) ให้แก่ครู รวมถึงด้านการเตรียมความ
พร้อมนั้น Kaffenberger (2021) ได้กล่าวถึงการสร้างโปรแกรมและฝึกอบรมครใู หส้ ามารถสร้างสรรค์การสอน
อย่างต่อเนื่องได้ทันทีที่เปิดโรงเรียน ใช้วิธีการประเมินความก้าวหน้าในการระบุระดับการเรียนรู้ของผู้เรียน
ควรมีการนาเนื้อหาบางส่วนในขณะที่นักเรียนได้เรียนตอนโรงเรียนปิดมากล่าวถึงซ้าอีกครั้งในระดับชั้นถัดไป
และครูควรปรับวิธีการสอนให้สอดคล้องกับระดับความสามารถของนักเรียน โดย Kuhfeld et al. (2020) ได้
เสนอว่าครูควรทางานร่วมกันเพื่อค้นหาวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพ ควรใช้ข้อมูลจากการจัดการเรียนรู้แบบ
ออนไลน์เพื่อการบริหารจัดการ ให้ครูและบุคลากรสามารถตรวจสอบได้ว่านักเรียนคนใดมีความเสี่ยงที่จะหลดุ
จากระบบการศกึ ษา

2.2 การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการและเชื่อมโยงประสบการณ์ใน
ชวี ติ ประจาวันของผู้เรยี น

แนวทางด้านการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการและเชื่อมโยงประสบการณ์ใน
ชีวิตประจาวันของผู้เรียนนั้นสอดคล้องกับแนวคิดของดารณี อุทัยรัตนกิจ (2559) ที่กล่าวถึงกระบวนการ
จัดการเรียนการสอนในระดบั ประถมศึกษาต้องเน้นใหผ้ ู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ และพัฒนาความรูไ้ ด้ตาม
ธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพของตนเอง สอนให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีการจัดกิจกรรมและ
กระบวนการใหผ้ ูเ้ รยี นไดค้ ดิ วเิ คราะห์ สังเคราะห์ ประเมินและสร้างสรรคส์ ่งิ ต่างๆ ซ่ึงจะทาให้ผเู้ รยี นสามารถนา
สิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ได้จริงในชีวิตประจาวัน ส่วนระดับมัธยมศึกษา ครูต้องคานึงถึงหลักพัฒนาการทางสมองและ
ความสามารถในการค้นหาความรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพที่สาคัญของผู้เรียน โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้สามารถอยู่
ร่วมกับผ้อู นื่ ในสงั คมไดอ้ ยา่ งมีความสขุ

231

2.3 การพฒั นา การใช้แหลง่ ทรัพยากร และสื่อการเรียนรูร้ ่วมกนั
แนวทางการพัฒนา การใช้แหล่งทรัพยากร และสื่อการเรียนรู้ร่วมกันนี้สอดคล้องกับแนวคิด
ของ Raymond (2021) ที่ได้เสนอแนวทางเกี่ยวกับการวางแผนฟื้นฟูระยะยาวเพื่อตอบสนองความต้องการ
ทางการศึกษาและอารมณ์ทางสังคม (Socio-emotional) ของผู้เรียน ควรเตรียมกลยุทธ์หลากหลายรูปแบบ
เพื่อช่วยเหลือผู้เรียนที่ได้รับผลกระทบจากโควิดและการเรียนทางไกล โดยเฉพาะผู้เรียนที่มีรายได้ต่า
หลากหลายเชื้อชาติ ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ อาจให้ครูที่มีศักยภาพในการสอนมาสอนเนื้อหาและ
ถ่ายทอดให้ผู้เรียนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เพื่อเพิ่มความหลากหลายและช่องทางในการพัฒนาความรู้ให้ผู้เรียน
มากขน้ึ
2.4 การส่งเสริมและเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ สื่อและเทคโนโลยี การจัดสรร
งบประมาณการช่วยเหลือเยียวยาดา้ นสัญญาณอนิ เทอรเ์ น็ต อปุ กรณ์ สือ่ และเทคโนโลยี
แนวทางการส่งเสริมและเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ สื่อและเทคโนโลยี การจัดสรร
งบประมาณการช่วยเหลือเยียวยาด้านสัญญาณอินเทอร์เน็ต อุปกรณ์ สื่อและเทคโนโลยีนั้นสอดคล้องกับ
แนวคิดของ Ikeda & Yamaguchi (2021) ท่ีได้เสนอว่าการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์อาจช่วยให้
นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ในช่วงที่โรงเรียนปิดจากสถานการณ์การแพร่ระบาด รัฐบาลควรมีการส่งเสริม และ
นโยบายในการเตรียมความพร้อม อุปกรณ์ และการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพในกลุ่ม
โรงเรียนที่คาดว่าจะต้องปิดในช่วงของการแพร่ระบาดต่อไป และควรคานึงถึงความเหลื่อมล้าในด้านอุปกรณ์
และอินเทอร์เน็ตร่วมด้วย นอกจากนี้ DiPietro et al. (2020) ได้เสนอการจัดหาอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพ่ือ
สนับสนุนการเรียนออนไลน์อย่างเพียงพอและทั่วถึง มีการปรับรูปแบบการสอนให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ทาง
ออนไลน์ จัดการเรียนรู้ผ่านโทรทัศน์หรือวิทยุกระจายเสียง สาหรับนักเรียนที่ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีใน
รูปแบบออนไลน์ได้ ปรับเทคโนโลยีที่ใช้ในการเรียนออนไลน์ให้เหมาะสมกับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ
หรือนักเรียนที่มีความบกพร่องด้านต่าง ๆ และ Daniela et al. (2021) ที่ได้กล่าวถึงการให้ความสาคัญถึงการ
เรยี นรอู้ ยา่ งตอ่ เนื่อง การใชเ้ ทคโนโลยดี ิจิทัล และการดูแลช่วยเหลอื ผเู้ รยี น
2.5 การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ สื่อและ
เทคโนโลยใี นการจัดการเรียนรู้
แนวทางการจัดสภาพแวดล้อมท่เี ออ้ื ตอ่ การเรยี นรูแ้ ละเตรยี มความพร้อมของอุปกรณ์ สือ่ และ
เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้นั้นสอดคล้องกับแนวคิดของ Zarnadze (2021) ท่ีเสนอว่ารัฐบาลสนับสนุน
เทคโนโลยีที่ใช้ในการสอนออนไลน์ และ Dorn et al. (2020) ที่ได้กล่าวถึงการสนับสนุนการจัดระบบให้
โรงเรียนได้มีส่วนช่วยส่วนส่งเสริมในการเรียนรู้ของผู้เรียน และจัดหาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ที่มี
ประสิทธิภาพ ภายใตเงื่อนไขที่ Cardinal (2020) เสนอให้จัดสภาพแวดล้อมเชิงบวกให้แก่ผู้เรียนจะช่วย
บรรเทาผลกระทบที่มีตอ่ ความสามารถทางวิชาการได้

232

2.6 การสร้างแรงจูงใจ การตั้งเป้าหมาย การเสริมสร้างการเรียนรู้แบบนาตนเอง การ
กากับตนเองของผู้เรียน รวมถึงการส่งเสริมกิจกรรมผ่อนคลาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และการ
ออกกาลังกายเพ่ือการมีสขุ ภาวะทดี่ ีของผู้เรยี น

แนวทางที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพกืนและสุขภาพจิตของผู้เรียนนี้ สอดคล้องกับแนวคิด
Fitzpatrick et al. (2020) ได้กล่าวถึงผู้กาหนดนโยบายควรให้ความสาคัญกับเรื่องความเป็นอยู่ที่ดีและ
สุขภาพจติ ในการวางแผนกลับมาเปดิ เรียนใหม่โดยคานึงถงึ ทั้งผู้เรียนและผสู้ อน และให้ความสาคัญกับนักเรียน
ด้อยโอกาส/ชายขอบให้มากที่สุด ควรพัฒนาการจัดการศึกษาทางไกลให้มีคุณภาพต่อไปเพื่อเตรียมพร้อมกับ
การปิดโรงเรียนในอนาคต รวมถึง Dorn et al. (2020) ที่ได้กล่าวถึงการสนับสนุนนักเรียนกลุ่มเปราะบางที่
เสี่ยงต่อการออกกลางคนั อีกทั้งการจดั ระบบให้โรงเรียนได้มีส่วนช่วยส่วนส่งเสริมในการเรียนรู้ของผู้เรยี น การ
จัดตั้งระบบการช่วยเหลือเกี่ยวกับสุขภาพจิต และสังคมของผู้เรียนเพื่อลดความเครียดและผลกระทบจาก
ความเครยี ดในสถานการณ์การแพร่ระบาด และให้ความมัน่ ใจแก่นักเรียน และ Salciccioli (2021) ได้กล่าวถงึ
การติดตามเกี่ยวกับสุขภาพจิตของผู้เรียน การส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัวเกี่ยวกับการเรียนทางไกล
ของนักเรียน โดย Carvalho et al. (2020) ได้เสนอแนะในการเปิดโรงเรียนภายหลังโควิด-19 อาจมีการใช้
ชมุ ชนและการมสี ่วนรว่ ม โดยมีการส่อื สาร การใหก้ าลังใจ การใหค้ วามสาคญั กบั ส่งิ แวดล้อม การสร้างสุขภาวะ
และความปลอดภยั ของผู้เรยี น

2.7 การส่งเสริมการมีส่วนร่วม ปฏิสัมพันธ์ สัมพันธภาพระหว่างผู้เรียน ผู้ปกครอง และ
ครู และการส่ือสารและชแี้ จงเพ่ือทาความเขา้ ใจเกีย่ วกับการจดั การเรยี นการรู้ให้แก่ผู้ปกครองและผู้เรียน

แนวทางที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วม ปฏิสัมพันธ์ สัมพันธภาพระหว่างผู้เรียน
ผู้ปกครอง และครู และการสื่อสารและชี้แจงเพื่อทาความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนการรู้ให้แก่ผู้ปกครอง
และผู้เรยี นนี้ สอดคล้องกบั แนวคิดของ Cho et al. (2021) ได้กล่าวถึงวิธกี ารติดตามปญั หาที่เกดิ ขึ้นกับผู้เรียน
เพือ่ ให้เกิดความมน่ั ใจและเป็นการอานวยความสะดวกแกผ่ เู้ รยี น และพฒั นาความสามารถในการสือ่ สารของครู
และนักเรียน รวมไปถึงทาความเข้าใจแก่ผู้ปกครอง รวมถึง Dorn et al. (2020) ที่ได้กล่าวถึงการทางาน
ร่วมกับผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน และ DiPietro et al. (2020) ที่เสนอการส่งเสริมและ
สนับสนุนให้พ่อแม่ผปู้ กครองเข้ามามสี ว่ นร่วมในการเรยี นรู้ของลกู และเพิม่ การตดิ ตอ่ สื่อสารระหว่างผู้ปกครอง
ครู และโรงเรียนให้มากขึ้น รวมถึง Raymond (2021) ที่ได้เสนอแนวทางเกี่ยวกับการวางแผนฟื้นฟูระยะยาว
โดยผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลแสดงความก้าวหน้าในการเรียนแจ้งไปยังโรงเรียนเพื่อสะท้อนผล
การจัดการเรียนรู้และ Asian Development Bank (2021) ที่ได้เสนอแนวคิดการส่งเสริมให้มีปฏิสัมพันธ์
ร่วมกนั ระหว่างผ้เู รียน ผู้สอน และผูป้ กครอง ภายในสภาพแวดลอ้ มของการเรยี นทางไกล

233

ขอ้ เสนอแนะในการวิจัย
ขอ้ เสนอแนะในการนาผลการวจิ ยั ไปใช้

1. ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการที่ควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนามากที่สุดในสถานการณ์โควิด-19 คือ
รายวิชาภาษาต่างประเทศ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ โดยสถานศึกษาและครอบครัวควรช่วยเหลือหรือ
ดาเนินการให้ผู้เรียนมีความรู้ เจตคติ และทักษะการปฏิบัติที่จาเป็นตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น
พ้นื ฐาน โดยอาจสอนเสรมิ หรอื ใชส้ ื่อประกอบการเรียนร้ตู า่ ง ๆ เพ่มิ เติมอย่างเหมาะสม

2. นอกเหนือจากผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการแล้ว สถานศึกษาและครอบครัวควรมุ่งเน้นการส่งเสริม
คุณลักษณะของการเรียนรู้ด้วย อันได้แก่ สุขภาวะทางกายและทางจิตใจ เช่น การออกกาลังกาย การทา
กิจกรรมอื่น ๆ ร่วมกับครอบครัว เพื่อลดภาวะความเครียด ความวิตกกังวล มุ่งกระตุ้นการเรียนรู้ การเสริม
แรงจูงใจ และความพยายามในการเรยี นรู้ของผเู้ รยี น

3. สถานศกึ ษาและครอบครัวควรมุ่งเน้นการกากบั ตนเองของผเู้ รยี น อนั เปน็ ปจั จัยหลักท่ีสาคญั ทท่ี าให้
ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีและเพื่อลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียน ในระดับประถมศึกษา
ควรเน้นบทบาทที่พ่อแม่หรือผู้ปกครองในการส่งเสริมผู้เรียน ในระดับมัธยมศึกษาเน้นการส่งเสริมให้ผู้เรียน
เรียนรไู้ ดด้ ว้ ยตนเอง

4. สถานศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมหรือพัฒนาครูในการออกแบบการจัดการเรียนรู้
อย่างยืดหยุน่ และสอดคล้องกับสถานการณท์ ี่ผูเ้ รียนไม่สามารถมาเรียนทีโ่ รงเรียนได้ตามปกติ เช่น การวางแผน
การจัดการเรียนรู้ การเลือกใช้กิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การพัฒน าและการใช้สื่อหรือ
แหล่งเรียนรู้สาหรับผู้เรียนในรูปแบบต่าง ๆ การใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ รวมถึงบทบาทและหน้าท่ี
ของครูในการดแู ลชว่ ยเหลอื ผู้เรียนในสถานการณ์ทผี่ เู้ รยี นไม่สามารถมาเรียนที่โรงเรียนได้ตามปกติ

5. สถานศึกษาหรอื หน่วยงานท่เี ก่ียวขอ้ งควรสนับสนุนส่ือ อุปกรณ์ แหล่งเรียนรู้ สญั ญาณอินเทอร์เน็ต
หรือเครื่องมือการเรียนรู้ในลักษณะต่าง ๆ ให้กับทั้งผู้เรียนและครูผู้สอนอย่างเหมาะสมกับสภาพการณ์และ
บรบิ ทแวดลอ้ มของผเู้ รยี น

6. ผู้บริหารสถานศึกษาควรสร้างความร่วมมือและสร้างความเข้าใจกับครู ผู้ปกครอง ชุมชน หรือ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสื่อสารและสร้างความเข้าใจ อย่างชัดเจนเกี่ยวกับแนวทางหรือแนวปฏิบัติการ
ดาเนินงานของโรงเรียนในสภาพการณ์ที่ผู้เรียนไม่สามารถมาเรียนได้ที่โรงเรียนตามปกติ โดยเน้นการ
ติดต่อสื่อสารหลากหลายช่องทาง รวดเร็ว และกากับติดตามความก้าวหน้าเปน็ ระยะและรับฟังข้อมูลย้อนกลับ
หรือความคิดเห็นเพอ่ื นาสารสนเทศสกู่ ารตัดสนิ ใจต่อไป

7. แนวทางการลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้สู่การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนในงานวิจัยนี้
เปน็ ขอ้ เสนอทเี่ ป็นข้อค้นพบจากหลากหลายภาคสว่ น ทง้ั น้ี สถานศึกษาหรอื หนว่ ยงานทเี่ ก่ียวข้องสามารถนาไป
ปรบั ใชภ้ ายใต้เงอื่ นไขสถานการณข์ องพน้ื ที่ หรือตามบรบิ ทและสภาพแวดลอ้ มของโรงเรยี น

8. สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดาเนินการใช้แนวทางการลดภาวะถดถอยทางการ
เรียนรู้สู่การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนประกอบการกาหนดนโยบาย แผนงาน โครงการ กิจกรรม

234

ต่าง ๆ ที่เป็นการจัดขึ้นเฉพาะกิจในสถานการณ์ที่ผู้เรียนไม่สามารถเรียนรู้ที่โรงเรียนได้ตามปกติ หรือใช้ในการ
การสอดแทรกหรือแทรกเสริมระหว่างการจดั การเรียนรู้เพือ่ ลดภาวะถดถอยทางการเรียนรขู้ องผู้เรียน

9. เพื่อเป็นการขยายผลข้อค้นพบและองคค์ วามรู้จากการวจิ ัยสู่บริบทของผู้เรียนที่มีความใกลเ้ คยี งกัน
ทงั้ ชว่ งวัยและวฒุ ิภาวะน้ัน ผลการวจิ ยั นอี้ าจนาไปใชป้ ระโยชนค์ รอบคลุมไปถึงผูเ้ รียนระดบั อาชวี ศึกษาในระดบั
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ที่มีช่วงวัยเดียวกันกับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาปลาย รวมถึงอาจนาข้อค้นพบ
ของการวจิ ยั บางส่วนไปใช้กับผเู้ รยี นการศึกษานอกระบบโรงเรยี นไดต้ ามความเหมาะสม

ขอ้ เสนอแนะในการวิจยั ครัง้ ต่อไป
1. งานวิจัยนี้วัดตัวแปรภาวะถดถอยทางการเรียนรู้จากการรับรู้ของผู้เรียนในสถานการณ์โควิด-19

หากสถานการณ์กลับมาเป็นปกติที่ผู้เรียนพร้อมเข้าสู่การเรียนที่โรงเรียนอีกครั้ง อาจมีการวัดภาวะถดถอย
ทางการเรียนรู้จากเครื่องมือที่มีมาตรฐานที่สามารถให้สารสนเทศเกี่ยวภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียน
อย่างรอบด้าน ครอบคลุมทั้งผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการและคุณลักษณะการเรียนรู้ของผู้เรียน และอาจทา
ฐานข้อมูลเก่ยี วกบั การเรียนรู้เพ่อื วเิ คราะหภ์ าวะถดถอยทางการเรยี นรขู้ องผู้เรียน

2. ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้สามารถนาไปสู่การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ
หรือในลักษณะต่าง ๆ โดยอาจการบูรณาการจากแนวทางการลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้สู่การพัฒนา
คุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยเป็นการนาแนวทางไปสู่การปฏิบัติทั้งในระดับเขตพื้นที่ ระดับสถานศึกษา
ระดบั ช้นั เรยี น หรอื ระดับผ้เู รียนรายบคุ คล

3. ผลจากการศึกษาพบว่าสถานศึกษาหลายแห่งมีการดาเนินการส่งเสริมหรือแก้ปัญหาเพื่อลดภาวะ
ถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในลักษณะหรือวิธีการที่แตกต่างกันและประสบผลสาเร็จ เช่น การคิดค้น
นวัตกรรม วิธีการ รูปแบบที่มีความเฉพาะเจาะจงตามบริบทของตนเอง ทั้งนี้ อาจมีการทาการถอดบทเรียน
จากกรณศี กึ ษาทมี่ ีความโดดเดน่ มกี ารปฏบิ ัตทิ น่ี า่ สนใจ เพ่อื เปน็ ต้นแบบและแนวทางให้กับสถานศึกษาท่ีเผชิญ
กับปัญหาในลักษณะท่ีคล้ายคลึงกนั

4. สถานศึกษา หน่วยงาน หรือองค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา อาจดาเนินการทาการ
วิจัยเชิงนโยบายหรือการวิจัยสถาบันโดยใช้แนวทางการลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในระดับ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่เป็นข้อค้นพบจาก งานวิจัยนี้เพื่อต่อยอดสู่การปฏิบัติที่ชัดเจนตามบริบท พื้นที่ของ
สถานศึกษา

5. นักวิชาการ นักการศึกษา อาจใช้ผลจากการวิจัยนี้ในการการศึกษารปู แบบหรือแนวทางการพัฒนา
ครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับสถานการณ์ที่ผู้เรียนไม่สามารถเรียน
ท่โี รงเรียนไดต้ ามปกติ ท้งั ดา้ นการจดั การเรียนรู้ การให้คาแนะนาและคาปรึกษา เป็นต้น

6. งานวจิ ยั น้ีมุ่งศึกษาผู้เรียนระดับการศึกษาขนั้ พื้นฐานโดยภาพรวม ท้ังนจ้ี ากการศึกษาพบว่ามีผู้เรียน
ที่เป็นกลุ่มเฉพาะ เช่น กลุ่มเปราะบาง กลุ่มผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ ฯลฯ มีลักษณะการถดถอยทางการ

235

เรยี นรู้ที่ควรได้รบั การสง่ เสริมเฉพาะทาง การวิจยั ครั้งตอ่ ไปอาจทาการศึกษากบั ผู้เรียนในกลุ่มท่ีเป็นกลุ่มเฉพาะ
นี้เพอื่ ให้ได้สารสนเทศและแนวทางท่ีเหมาะสมและมคี วามชัดเจนเฉพาะเจาะจงกบั กล่มุ ดงั กล่าว

236

รายการอา้ งองิ

กฤษณา ทบชิน. (2556). การจัดสภาพสิง่ แวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนกั เรียนโรงเรียนบ้านไทรทอง สานักงาน
เขตพนื้ ท่กี ารศกึ ษาประถมศึกษาสระแกว้ เขต 1. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยปทมุ ธาน)ี .

กดิ านันท์ มลทิ อง. (2548). เทคโนโลยีและการสื่อสารเพอ่ื การศึกษา. กรุงเทพฯ : อรุณการพมิ พ.์
ชนินทร์ ฐิติเพชรกุล ณรงค์ สมพงษ์ และณัฐพล ราไพ. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้บนระบบ

คลาวด์คอมพิวติงตามแนวคิดคอนเน็คติวิสต์ซึมเพื่อส่งเสริมการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สาหรบั นกั ศกึ ษาระดับปริญญาตรี.วารสารราชพฤกษ,์ 18(1), 38-48.
ณัชชา ปกจิ เฟือ่ งฟู. (2559). การพัฒนารปู แบบการเรียนร้โู ดยใชก้ ารคิดเป็นฐานดว้ ยส่ือเครือขา่ ยสังคมเพ่ือส่งเสริม
การรู้เท่าทันส่ือของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. (วิทยานิพนธ์หาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์
มหาวทิ ยาลัย.
ณัฐวฒุ ิ จารุวงศ์ และอนชุ า โสมาบตุ ร. (2562). การออกแบบและพฒั นาสง่ิ แวดล้อมการเรยี นรู้ท่ีส่งเสริมทักษะการ
รสู้ ื่อและสารสนเทศสาหรบั นักเรียนระดับชั้นมัธยมศกึ ษาโดยอาศยั ฐานองค์ความรทู้ ้องถิ่น. วารสารวจิ ัย
มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบบั บณั ฑติ ศกึ ษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 48-58.
ดลนภา ไชยสมบัติ. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction) ต่อการ
พัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการชี้นา
ตนเอง : กรณีศึกษานักศึกษาพยาบาลที่เรียนรายวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 วิทยาลัย
พยาบาลบรมราชชนนี พะเยา. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 11(3), 79-94.
ดารณี อุทัยรัตนกิจ. (2559). ครูแนะปรับวิธีสอน 3 ช่วงวัย “อนุบาล-ประถม-มัธยม”. ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้น
เมอื่ 13 กรกฎาคม 2564, จาก https://mgronline.com/qol/detail/9590000003478
ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2563). การบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษท่ี 21. สืบค้นเม่ือ
วนั ที่ 30 กนั ยายน 2564 จาก https://th.city/dP2s.
ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่
10. กรงุ เทพฯ: สานกั พิมพแ์ หง่ จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลยั .
ธนะวัฒน์ วรรณประภา และอมรรักษ์ ทศพิมพ์. (2562). การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ออนไลน์กับการศึกษา
ในศตวรรษที่ 21. วารสาร e-Journal of Education Studies, Burapha University, 1(1), 1-10.
บุญยืน จันทร์สว่าง. (2548). ทักษะการรู้สารสนเทศ. กรุงเทพฯ : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศ
ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

237

พัชราภรณ์ โพธิสัย. (2558). สภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านนาคานาในสังกัดสานักงานเขต
พ้ืนท่ีการศกึ ษาประถมศกึ ษาบงึ กาฬ . (วทิ ยานิพนธป์ รญิ ญามหาบณั ฑิต, มหาวิทยาลยั บรู พา).

ภมู ิศรณั ย์ ทองเลย่ี มนาค. (2564ก). สารวจผลกระทบ COVID-19 จดุ เปลีย่ นคร้งั สาคญั ของการศกึ ษาโลก.
สืบคน้ เมอ่ื 13 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.eef.or.th/article1-02-01-211/

ภูมิศรัณย์ ทองเล่ียมนาค. (2564ข). เอฟเฟกตโ์ ควิดเขย่าการศึกษา เพมิ่ แรงถดถอยการเรียนรู้. สืบค้นเม่ือ 13
กรกฎาคม 2564, จาก https://www.eef.or.th/article-effects-of-covid-19/

วรรณรี ตันตเิ วชอภกิ ลุ . (2562). การพฒั นาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนสาหรับครอบครัวเพ่ือเสริมสร้าง
ทักษะการร้เู ทา่ ทนั สือ่ . (วิทยานพิ นธป์ ริญญาดุษฎบี ัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลยั ).

วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา. (2561). แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศของนักศึกษาการศึกษา
นอกระบบในกรุงเทพมหานคร. (รายงานการวิจัยคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั ).

วนิดา ปณุปิตตา. (2561). การพัฒนาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียนบงใต้โนนรังพัฒนา สังกัด
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,
มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏสกลนคร).

วิชิต เทพประสทิ ธ์ิ. (2558). การจัดสภาพแวดลอ้ มในหอ้ งเรยี น. กรงุ เทพฯ: แสงจนั ทรก์ ารพิมพ์.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2563). การออกแบบการเรียนรู้ใน New normal. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิต

วิทยาลัย มหาวทิ ยาลยั ศรนี ครินทรวโิ รฒ.
วซี านา อบั ดลุ เลาะ และวุฒชิ ัย เนยี มเทศ. (2563). การจดั สภาพแวดล้อมการเรียนร้เู พ่ือส่งเสริมทักษะการเรียนรูใ้ น

ศตวรรษที่ 21 “แนวคิด ทฤษฎี และแนวปฏิบัติ”. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขา
มนุษยศาสตร์และสงั คมศาสตร,์ 7(2), 227-246.
สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน และเครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย. (2559). กรอบแนวคิดในการ
พัฒนาหลักสูตรการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล เพื่อสร้างพลเมือง ประชาธิปไตย, เอกสาร
ประกอบการประชุมโต๊ะกลม การพัฒนา กรอบแนวคิด และ หลักสูตรการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และ
ดิจิทัล เพื่อสร้างพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ณ โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน
2559.
สัญญา พงษศ์ รีดา. (2561). การพฒั นาทกั ษะการสอนของครูพนั ธ์ุใหม่ในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสาร มจร หริภญุ ชัย
ปรทิ รรศน,์ 2(1), 73-82.
สิทธิพงศ์ วัฒนานนท์สกุล (2560). การตรวจสอบความตรงโมเดลการวัดกลยุทธ์การกากับตนเองในการเรียนรู้เชิง
วชิ าการของนกั ศึกษามหาวิทยาลัย เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารพฤตกิ รรมศาสตร,์ 23(2), 43-60.
สุนีย์ คล้ายนิล. (2555). การศึกษาวิทยาศาสตร์ไทย การพัฒนาการและภาวะถดถอย. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริม
การสอนวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลย.ี

238

สุนีย์ คล้ายนิล. (2558). การศึกษาคณิตศาสตร์ในระดับโรงเรียนไทย การพัฒนา-ผลกระทบ-ภาวะถดถอยใน
ปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสรมิ การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สุรางค์ โค้วตระกลู . (2564). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพค์ รง้ั ท่ี 13. กรุงเทพฯ: สานกั พมิ พ์จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลยั .
สุวิมล มธรุ ส. (2564). การจดั การศกึ ษาในระบบออนไลน์ในยคุ New normal COVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์,

15(40), 33-42.
อาชัญญา รัตนอุบล. (2550). การรู้สารสนเทศ (Information literacy). สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2564, จาก

http://www.aritbooks.nrru.ac.th/uploadfiles/books/11-2018-03-29-05-26-49.pdf
อนชุ า โสมาบุตร. (2556). แนวคดิ การจดั การเรยี นรสู้ าหรบั ครใู นศตวรรษที่ 21. สบื คน้ เมอ่ื 24 ธนั วาคม 2564, จาก

:https://teacherweekly.wordpress.com
Angrist, N., de Barros, A., Bhula, R., Chakera, S., Cummiskey, C., DeStefano, J., Floretta, J.,

Kaffenberger, M., Piper, B., & Stern, J. (2021). Building back better to avert a learning
catastrophe: estimating learning loss from COVID-19 school shutdowns in Africa and
facilitating short-term and long-term learning recovery. International Journal of
Educational Development, 84, 102397.
Angzell, P., Frey, A., & Verhagen, D., M. ( 2 0 2 1 ) . Learning loss due to school closures during the
COVID-1 9 pandemic. Proceedings of the National Academy of Sciences Apr 2 0 2 1 , 1 1 8
(17), 1-7.
Asian Development Bank. (2021). Learning and earning losses from COVID-19 school closures in
developing Asia. Special Topic of the Asian Development Outlook 2021.
Azim Premji Foundation. (2021). Loss of learning during the pandemic. Azim Premji University.
Bandura, A. (1986). Social foundation of thought and action: a cognitive theory. New Jersey:
Prentice-Hall, Inc.
Bandura, A. (1991). Social cognitive theory of self-regulation. Organizational behavior and human
decision process, 50, 2480287.
Bates, A., W. ( 2 0 1 5 ) . Teaching in a digital age: guidelines for designing teaching and learning.
Vancouver: Tony Bates Associates ltd.
Boonk, L., Gijselaers, H. J. M., Ritzen, H., & Brand-Gruwel, H. (2018). A review of the relationship
between parental involvement indicators and academic achievement. Educational
Research Review, 24, 10–30.

239

Brown, M. B., & Lippincott, J. K. (2003). Learning spaces: more than meets the eye. Educause
Quarterly, 1, 14–16.

Blaskó, Z., Costa, P., & Schnepf, V., S. (2021). Learning loss and educational inequalities in Europe:
mapping the potential consequences of the COVID-19 Crisis, Discussion paper series. Bonn,
Germany: Deutsche Post Foundation.

Cardinal, J. (2020). “Lost Learning”: What does the research really say?. Geneva, Switzerland:
International Baccalaureate Organization.

Carvalho, S., Rossiter, J., Angrist, N., Hares, S., & Silverman, R. (2020). Planning for school reopening
and recovery after COVID-1 9 : an evidence kit for policymakers. Washington: Center for
Global Development.

Chetty, R., Friedman, J, N., & Rockoff, J, E. (2014). Measuring the Impacts of Teachers II: Teacher
Value-Added and Student Outcomes in Adulthood. American Economic Review, 104(9),
2633-2679.

Cho, Y., Kataoka, S., & Piza, S. (2021). Philippine basic education system: strengthening effective
learning during the COVID-1 9 pandemic and beyond, Philippines COVID-19 Monitoring
Survey Policy Notes

Claro, M. et al. (2 0 1 2 ) . Assessment of 2 1 st century ICT skills in Chile: test design and results
from high school level students. Computers & Education, 59(3), 1042-1053.

Clayton, J. (2004). Investigating online learning environments. In R. Atkinson, C. McBeath, D. Jonas-
Dwyer & R. Phillips (Eds), Beyond the comfort zone: Proceedings of the 21st ASCILITE
Conference (pp. 197-200). Perth, 5-8 December.

Cleary, T., & Kitsantas, A. (2 0 1 7 ) . Motivation and Self-Regulated Learning Influences on Middle
School Mathematics Achievement. School Psychology Review, 46(1), 88-107.

Cleveland, B. (2009). Engaging spaces: An investigation into middle school educational
opportunities provided by innovative built environments: a new approach to
understanding the relationship between learning and space. International Journal of
Learning, 16, 385–397.

Cleveland, B., & Fisher, K. (2014). The evaluation of physical learning environments: A critical view
of the literature. Learning Environments Research, 17(1), 1–28.

240

Conto, A, C., Akseer, S., Dreesen, T., Kamei, A., Mizunoya, S. & Rigole, A. (2020). COVID-19: Effects
of school closures on foundational skills and promising practices for monitoring and
mitigating learning loss, Innocenti Working Paper 2020-13, Innocenti, Florence: UNICEF
Office of Research.

Daniela, L., Rubene, Z., & Rūdolfa, A. (2021). Parents’ perspectives on remote learning in the
pandemic context. Sustainability, 13(7), 3640.

Dent, A, L., & Koenka, A, C. (2 0 1 6 ) . The relation between self-regulated learning and academic
achievement across childhood and adolescence: a meta-analysis. Education Psychology
Review, 28, 425–474.

Dorn, E., Hancock, B., Sarakatsannis, J. & Viruleg, E. (2020). COVID-19 and student learning in the
United States: the hurt could last a lifetime. Washington: McKinsey & Company.

DiNapoli, P., T. (2021). Disruption to special education services: closing the gap on learning loss
from COVID-19. Office of the New York state controller.

DiPietro, G., Biagi, F., Costa, P., Karpiński Z., Mazza, J,. (2020). The likely impact of COVID-19 on
education: Reflections based on the existing literature and international datasets.
Luxembourg: Publications Office of the European Union.

Domingue, W., B., Hough, J. H., Lang, D., & Yeatman, J. (2021). Changing patterns of growth in oral
reading fluency during the COVID-1 9 pandemic. Policy Analysis for California Education:
Stanford Graduate School of Education.

Education Development Trust. (2020). Prevent a lost learning generation: nine recommendations
to policymakers in response to COVID-19. Berkshire: Education Development Trust.

Education Testing Service. (2 0 0 2 ) . Digital transformation: a Framework for ICT literacy.
Retrieved from https://www.ets.org/research/policy_research_reports/ict-report

Englund, M, M., Luckner, A. E., Whaley, G. J., ... et al. (2 0 0 4 ) . Children’s achievement in early
elementary school: Longitudinal effects of parental involvement, expectations, and
quality of assistance. Journal of Educational Psychology, 96(4), 723–730.

Engzell, P., Frey, A., & Verhagen, D, M. ( 2021) . Learning loss due to school closures during the
COVID-19 pandemic. Proceedings of the National Academy of Sciences, 118(17), 1-7.

Epstein, J. L. (1995). School/family/community partnerships: caring for the children we share. Phi
Delta Kappan, 76(9), 701–712.

241

Farooq, M., S., & Asim, I. (2020). Parental involvement as predictor for self-regulated learning and
academic achievement of students at secondary school level. Journal of Educational
Sciences & Research, 7(1), 14-32.

Fray, J. L., Miller, A. et al. (2021). The impact of COVID-19 on student learning in New South Wales
primary schools: an empirical study. The Australian Educational Researcher, 48, 605–637.

Fredy, F., Prihandoko, A, L., & Anggawirya, M, A. (2020). The effect of learning experience on the
information literacy of students in the Ri-Png border during COVID-19 period. International
Journal of Multicultural and Multireligious Understanding, 7(10), 171-180.

Fink. (2003). Creating significant learning experience. San Francisco: Jossey-Bass.
Finn, J, D. (1998). Parental engagement that makes a difference. Educational Leadership, 55(8),

20-24.
Fitzpatrick, R., Korin, A., & Riggall, A. ( 2 0 2 0 ) . An international review of plans and actions for

school reopening. Berkshire: Education Development Trust.
Gibbons, K. & Pekel, K. ( 2 0 2 1 ) . How to redirect the tempting conversation of “learning loss”

absence of data, disruptions to learning have created a “perfect storm” for schools.
Minnesota: Minnesota School Boards Association.
Goldberg, B, S. (2021). Education in a pandemic: the disparate impacts of COVID-19 on America’s
students. The Department’s Office for Civil Right.
Gonzales-DeHass, A, R., Willems, P, P., & Holbein, M, F. (2005). Examining the relationship between
parental involvement and student motivation. Educational Psychology Review, 1 7 ( 2 ) ,
99–123.
Gouëdard, P., & Pont, B. (2020), Education and COVID-19: focusing on the long-term impact of
school closures, OECD Education Working Papers. Paris: OECD Publishing.
Grolnick, W, S. (2009). The role of parents in facilitating autonomous self-regulation for education.
Theory and Research in Education, 7, 164–173.
Gurland, S, T., & Grolnick, W, S. (2 0 0 5 ) . Perceived threat, controlling parenting, and children’s
achievement orientations. Motivation and Emotion, 29, 103–121.
Great schools partnership. (2021). Learning Loss. https://www.edglossary.org/learning-loss/

242

Hammerstein, S., König, C., Dreisörner, T. & Frey, A. (2 0 2 1 ) . Effects of COVID-1 9 related school
closures on student achievement: a systematic review. Frontiers in Psychology, 1 2 ,
746289.

Hanover Research. (2020). Resource compilation toolkit to overcome learning loss.
https://www.hanoverresearch.com/reports-and-briefs/toolkit-to-overcomelearning-loss/

Hanushek, A, E., & Woessmann, L. ( 2 0 2 0 ) . The economic impacts of learning losses, Education
Working Papers No. 225. Paris: OECD Publishing.

Hazar, E., Akkutay, U., & Keser, H. (2 0 2 1 ) . Information, media and technology skills in terms of
curricula, process and product in middle and high schools. International Journal of
Technology in Education and Science, 5(3), 288-310.

Hill, N, E., & Tyson, D, F. (2009). Parental involvement in middle school: A meta-analytic
assessment of the strategies that promote achievement. Developmental Psychology, 45,
740-763.

Ho, E, S, C. (2003). Students’ self-esteem in an Asian educational system: Contribution of parental
involvement and parental investment. School Community Journal, 13(1), 65–84.

Hoover-Dempsey, K, V., Bassler, O, C., & Burow, R. (1 9 9 5 ) . Parents’ reported involvement in
students’ homework: Strategies and practices. The Elementary School Journal, 9 5 ( 5 ) :
435-450.

Hoover-Dempsey, K, V., Battiato, A, C., Walker, J, M, T., Reed, R, P., DeJong, J, M., & Jones, K, P.
(2001). Parental involvement in homework. Educational Psychologist, 36, 195–209.

Hoover-Dempsey, K, V. & Sandler, H, M. (2005). Final performance report for OERI
Grant#R305T010673: the social context of parental involvement: a path to enhanced
achievement. Presented to Project Monitor, Institute of Education Sciences, U.S.
Department of Education, March 22, 2005.

Hoover-Dempsey, K, V., & Sandler, H, M. (1995). Parental involvement in children’s education
Why does it make a difference?. Teachers College Record, 97(2), 310–331.

Hobbs, R. (2003). Measuring the acquisition of media-literacy skills. Reading Research Quarterly,
38(3), 330-355.

Ikeda, M., & Yamaguchi, S. (2021). Online learning during school closure due to COVID-19. Japanese
economic review (Oxford, England), 1–37.

243

Ilomäki, L., Kantosalo, A., & Lakkala, M. (2 0 1 1 ) . What is digital competence? Brussels: EUN
Partnership AISBL.https://helda.helsinki.fi/bitstream/handle/10138/154423/
Ilom_ki_etal_2011_What_is_digital_co mpetence.pdf?sequence=1

Jæger, M, M., & Blaabæk, E, H., ( 2 0 2 0 ) . Inequality in learning opportunities during COVID-19:
evidence from library takeout, Research in Social Stratification and Mobility, 68, 1-5.

Johny, L., Lukose, L. & Magno, C. (2012). The assessment of academic self-regulation and learning
strategies: can they predict school ability?. Educational Measurement and Evaluation
Review , 3, 77-89.

Jugar, R, R. & Ena, T, O. ( 2 0 1 9 ) . “Reference points for the design and delivery of degree
programmes in teacher education”. Tuning Asia-South East, University of Deusto, Bilbao,
Spain.

Kaffenberger, M. (2021). Modelling the long-run learning impact of the COVID-19 learning shock:
actions to (more than) mitigate loss. International journal of educational development,
81, 102326.

Kasradze, T., & Zarnadze, N. ( 2 0 2 1 ) . Learning losses caused by the Covid-1 9 pandemic – a
significant threat to economic development. European Journal of Education Articles, 4(1),
45-57.

Khan, J, M., & Ahmed, J. ( 2 0 2 1 ) . Child education in the time of pandemic: Learning loss and
dropout, Children and Youth Services Review, 127, 106065.

Kivunja, C. (2 0 1 5 ) . Unpacking the Information, media, and technology skills domain of the new
learning paradigm. International Journal of Higher Education, 4(1), 166-181.

Kuhfeld, M., Soland, J., Tarasawa, B., Johnson, A., Ruzek, E., & Liu, J. (2020). Projecting the potential
impact of COVID-19 school closures on academic achievement. Educational Researcher,
49(8), 549–565.

Kurniawan, H., & Budiyono, B. (2021). Heroe’s model: case study to reduce students’ learning
loss and anxiety. Cypriot Journal of Educational Sciences, 16(3), 1122–1140.

Lamb, S., Maire, Q., Doecke, E., Macklin, S., Noble, K., & Pilcher, S. (2020). Impact of learning from
home on educational outcomes for disadvantaged children. Centre for International
Research on Education Systems and the Mitchell Institute, Victoria University.

244

Larsen, L., Helland, M. S., & Holt, T. (2021). The impact of school closure and social isolation on
children in vulnerable families during COVID-19: a focus on children's reactions. European
child & adolescent psychiatry, 1–11.

Lia, Y., Hub, T., Geb, T., & Auden, E. (2016). The relationship between home-based parental
involvement, parental educational expectation and academic performance of middle
school students in mainland China: A mediation analysis of cognitive ability. International
Journal of Educational Research, 97, 139–153.

Locke, N. V., Patarapichayatham, C. & Lewis, S. (2021). Learning loss in reading and math in U.S.
schools due to the COVID-19 pandemic. Istation.

Magno, C. (2 0 1 1 ) . The predictive validity of the academic self-regulated learning scale.
International Journal of Educational and Psychological Assessment, 9(1), 48-56.

Noam et al. (2021). Building back better to avert a learning catastrophe: Estimating learning loss
from COVID-19 school shutdowns in Africa and facilitating short-term and long-term
learning recovery. International Journal of Educational Development, 84,1-14.

Núñez, J, C., Suárez, N., Rosário, P., Vallejo, G., Valle, A., & Epstein, A. L. (2005). Relationships
between perceived parental involvement in homework, student homework behaviors, and
academic achievement: differences among elementary, junior high, and high school
students. Metacognition Learning, 10, 375–406.

Okoye, K., Rodriguez-Tort, J, A., Escamilla, J. ... et al. (2021). Technology-mediated teaching and
learning process: A conceptual study of educators’ response amidst the COVID-19
pandemic. Education and Information Technologies, 26, 7225–7257.

Palkovitz, R. (1997). Reconstructing "involvement": Expanding conceptualizations of men's caring
in contemporary families [Online]. Available from: http://udel.edu/ ~robp/
downloads/reconstructing%20involvement.pdf

Pedro, A, J., Amer, H., Diana, I, G., Aroob, S, & Koen, G. (2020). Simulating the potential impacts
of COVID-1 9 school closures on schooling and learning outcomes: a set of global
estimates. Policy Research Working Paper No. 9284. Washington: World Bank Organization.

Pelikan, E, R., Lüftenegger, M., Holzer, J. et al. (2021). Learning during COVID-19: the role of self-
regulated learning, motivation, and procrastination for perceived competence.
Z Erziehungswiss, 24, 393–418.

245

Pokhrel, S., & Chhetri, R. (2021). A literature review on impact of COVID-19 pandemic on teaching
and learning. Higher Education for the Future, 8(1), 133–141.

Radcliffe, D. (2008). A pedagogy-space-technology (PST) framework for designing and evaluating
learning places. In D. Radcliffe, W. Wilson, D. Powell, & B. Tibbetts (Eds.), Learning spaces
in higher education: Positive outcomes by design. Brisbane: The University of Queensland.

Raymond, M. E. (2021). Learning Losses—What to Do About Them. Hoover Institution: Stanford
University

Sabates, R., Carter, E., & Stern, J. (2021). Using educational transitions to estimate learning loss
due to COVID-19 school closures: The case of complementary basic education in Ghana.
International Journal of Educational Development, 82, 102377.

Saeed, A., & Akbar, R, A. ( 2021) . Relationship of teachers’ professional skills and students’
achievement in English at BA level. Bulletin of Education & Research, 43(1), 31-44.

Salciccioli, M. (2021). Understanding and addressing disruptions to learning during the COVID-19
pandemic, CSBA Research and Policy Brief.

Salmani Nodoushan, M, A. (2012). Self-regulated learning (SRL): emergence of the RSRLM model.
International Journal of Language Studies, 6(3), 1-16.

Shepherd, D. & Mohohlwand, N. (2021). The impact of COVID-19 in education - more than a year
of disruption, National Income Dynamics Study (NIDS) – Coronavirus Rapid Mobile Survey

Soenens, B., & Vansteenkiste, M. (2005). Antecedents and outcomes of self-determination in 3 life
domains: the role of parents’ and teachers’ autonomy support. Journal of Youth and
Adolescence, 34(6), 589–604.

Spitzer, M., & Musslick, S. (2021). Academic performance of K-12 students in an online-learning
environment for mathematics increased during the shutdown of schools in wake of the
COVID-19 pandemic. PloS one, 16(8), e0255629.

Stronge, J, H., & Hindman, J, L. (2006). The teacher quality index: a protocol for teacher selection.
Virginia: Association for Supervision and Curriculum Development.

Thomas, V., Backer, F, D., Peeters, J., & Lombaerts, K. (2019). Parental involvement and adolescent
school achievement: the mediational role of self‑regulated learning. Learning
Environments Research, 22, 345–363.

246

Toren, N, K., & Seginer, R. (2 0 1 5 ) . Classroom climate, parental educational involvement, and
student school functioning in early adolescence: a longitudinal study. Social Psychology
of Education: An International Journal, 18(4), 811-827.

Trias, D., Huertas, J. A. ., Mels, C. ., Castillejo, I., & Ronqui, V. (2 0 2 1 ) . Self-regulated learning,
academic achievement and socioeconomic context at the end of primary school. Revista
Interamericana De Psicología/Interamerican Journal of Psychology, 55(2), e1509.

U.S. Department of Education, Office for Civil Rights. ( 2 0 2 1 ) . Education in a pandemic: the
disparate impacts of COVID-19 on America’s students. Washington: U.S. Department of
Education.

Vuorikari, R., Punie, Y., Carretero Gomez S., & van den Brande, G. (2016). DigComp 2.0: The digital
competence framework for citizens. Update phase 1 : The conceptual reference model.
Luxembourg: Luxembourg Publication Office of the European Union.

Wolters, C, A., Pintrich, P, R. & Karabenick, S, A. (2 0 0 3 ) . Assessing self-regulated learning. paper
presented at the conference on indicators of positive development: definitions, measures,
and prospective validity (March 12-13, 2003).

Zierer, K. (2021). Effects of pandemic-related school closures on pupils’ performance and
learning in selected countries: a rapid review. Education Sciences, 11(6), 252.

Zimmerman, B. J. (1 9 9 0 ) . Self-regulated learning and academic achievement: an overview.
Educational Psychologist, 25(1), 3-17.

Zhou, M., Ma, W. J., & Deci, E. L. (2009). The importance of autonomy for rural Chinese children’s
motivation for learning. Learning and Individual Differences, 19, 492–498.

Zorlu, Y., & Zorlu, F. ( 2021) . Investigation of the relationship between preservice science
teachers’ 2 1 st century skills and science learning self-efficacy beliefs with structural
equation model. Journal of Turkish Science Education, 18(1), 1-16.

247

ภาคผนวก

248

ภาคผนวก ก
รายช่อื ผ้เู ช่ยี วชาญพจิ ารณาเครือ่ งมือวิจยั

249

รายช่ือผูเ้ ชยี่ วชาญพิจารณาเคร่อื งมอื วจิ ยั

รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง ภาควิชาวจิ ัยและจิตวิทยาการศกึ ษา
รองศาสตราจารย์ ดร.พัชราภรณ์ ศรสี วัสดิ์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย
รองศาสตราจารย์ ดร.พชั รี จนั ทรเ์ พ็ง ภาควชิ าการแนะแนวและจิตวิทยาการศกึ ษา
รองศาสตราจารย์ ดร.กนั ตฤ์ ทัย คลังพหล คณะศกึ ษาศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
รองศาสตราจารย์ ดร.บญุ จันทร์ สสี นั ต์ สาขาวชิ าการวัดและประเมนิ ผลการศกึ ษา
คณะศกึ ษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแกน่
คณบดีบัณฑติ วิทยาลยั
มหาวิทยาลยั ราชภฏั วไลยอลงกรณ์
ภาควิชาครศุ าสตรอ์ ุตสาหกรรม
คณะครุศาสตรอ์ ุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
สถาบนั เทคโนโลยพี ระจอมเกลา้ เจา้ คณุ ทหารลาดกระบงั

250

ภาคผนวก ข
รายช่อื ผู้เขา้ ร่วมการสนทนากลุ่ม (Focus group discussion)
การศกึ ษาและวเิ คราะหส์ าเหตุของภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผ้เู รยี นในระดับการศกึ ษาขนั้ พ้นื ฐาน

จากสถานการณ์การแพรร่ ะบาดของไวรสั โควดิ -19

251

รายชื่อผู้เขา้ รว่ มการสนทนากลมุ่ (Focus group discussion)
การศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุของภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรยี นในระดบั การศึกษาขน้ั พน้ื ฐาน

จากสถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของไวรสั โควิด-19

ระดับประถมศึกษา

วันศุกรท์ ี่ 24 กนั ยายน 2564

1. นางสาวชลธชิ า บุรีรตั น์ศรสี กลุ ครโู รงเรยี นบา้ นหนองยางไคล (สพป. ลาพูน)

2. นางสาวสุราณีย์ ปาจารย์ ครโู รงเรียนเทศบาล 3 บา้ นเหลา่ (อปท. อดุ รธานี)

3. นายเกรียงไกร สมประสงค์ ครโู รงเรียนบา้ นป่าเดง็ (สพป. เพชรบรุ ี)

4. นางสาวสรุ ยี พ์ ร สขุ สถาพร ครโู รงเรยี นเทศบาล 1 วดั นางวงั (สหราษฎร์อทุ ศิ )

(อปท. สมทุ รสงคราม)

5. นายอามัน สามะ ครโู รงเรยี นบ้านแขนทา้ ว (สพป. ปัตตาน)ี

6. นายปิยะวฒั น์ กรมระรวย ครโู รงเรียนบ้านขุนประเทศ (กทม.)

ระดับมัธยมศึกษา

วันพุธที่ 22 กนั ยายน 2564

1. นางสาวพชิ ญา ขันเพชร ครโู รงเรียนศรสี วสั ด์วิ ทิ ยาคาร (สพม. น่าน)

2. นายศกร พรหมทา ครโู รงเรยี นราษีไศล (อปท. ศรสี ะเกษ)

3. นางสาววันดี โค้ไพบูลย์ ครโู รงเรยี นอ่างทองปทั มโรจน์วิทยาคม (สพม. สิงห์บุรี อา่ งทอง)

4. นายเกียรติชัย ดว้ งเอียด ครโู รงเรียนอบุ ลรัตนราชกญั ญาราชวทิ ยาลัย (อปท. พัทลงุ )

5. นางสาวกัญญาวีร์ วุฒิศริ พิ รรณ ครโู รงเรียนมธั ยมวัดหนองจอก (สพม.กทม.เขต 2)

6. นางสาววนชิ ญา เครือแดง ครโู รงเรยี นธญั รตั น์ (สพม. ปทมุ ธาน)ี

252

ภาคผนวก ค
รายช่อื ผูเ้ ขา้ รว่ มการสนทนากลมุ่ (Focus group discussion)
แนวทางการลดภาวะถดถอยทางการเรียนรขู้ องผู้เรียนในระดบั การศกึ ษาขนั้ พ้นื ฐาน

จากสถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของไวรสั โควดิ -19

253

รายชื่อผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่ม (Focus group discussion)
แนวทางการลดภาวะถดถอยทางการเรยี นรขู้ องผู้เรยี นในระดบั การศกึ ษาขัน้ พน้ื ฐาน

จากสถานการณ์การแพรร่ ะบาดของไวรสั โควิด-19
วนั ศกุ รท์ ่ี 14 มกราคม 2565

ระดับประถมศึกษา อาจารยป์ ระจาภาควชิ าการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา
1. ผชู้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.พาสนา จุลรัตน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยศรนี ครนิ ทรวิโรฒ
อาจารยป์ ระจาภาควิชาหลักสตู รและการสอน
(ผทู้ รงคุณวฒุ ิดา้ นจติ วทิ ยาการศกึ ษา) คณะศกึ ษาศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ศิลปากร
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรณัฐ กจิ รงุ่ เรือง อาจารย์ประจาภาควิชาหลักสตู รและการสอน
คณะศกึ ษาศาสตร์ มหาวิทยาลยั ศรีนครนิ ทรวิโรฒ
(ผ้ทู รงคุณวฒุ ดิ า้ นการประถมศกึ ษา) ผู้อานวยการโรงเรยี นประถมสาธติ
3. ผชู้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงใจ สีเขียว มหาวิทยาลยั ราชภัฏพระนคร
อาจารยป์ ระจาภาควิชาหลกั สตู รและการสอน
(ผูท้ รงคณุ วฒุ ิด้านการประถมศึกษา) คณะศกึ ษาศาสตร์ มหาวิทยาลยั ศลิ ปากร
4. ดร.ธัชทฤต เทยี มธรรม อาจารยป์ ระจาภาควชิ าสงั คมวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ศรนี ครนิ ทรวโิ รฒ
(ผู้ทรงคณุ วฒุ ิ/ผู้บริหารสถานศึกษา) ผอู้ านวยการโรงเรยี นวัดไผโ่ รงววั
5. ดร.มนัสนนั ท์ น้าสมบูรณ์ ผู้อานวยการโรงเรยี นกมลศรี

(ผทู้ รงคณุ วฒุ ิ/ผปู้ กครอง) ศึกษานิเทศกช์ านาญการ
6. ดร.อญั ชลี สุขในสิทธ์ิ สานักงานศึกษาธิการจังหวดั อตุ รดิตถ์
ครโู รงเรยี นวดั มาบข่า (มาบขา่ วิทยาคาร)
(ผูท้ รงคุณวฒุ ิ/ผปู้ กครอง) ครโู รงเรียนอนุบาลเทศบาลด่านสาโรง
7. นางนันทยา ใจตรง
8. นายสุวทิ ย์ ดาวงั ปา ครโู รงเรียนอนบุ าลเอีย่ มสุรยี ์ (อนุบาลเมืองสมทุ รปราการ)
ผู้ปกครอง
(ผู้บริหารสถานศกึ ษา/ผู้ปกครอง)
9. นางสาววชิ ุดา แดนเมอื ง

10. นายวัลค์ุวริ ุฬห์ นลิ วงษ์
11. นางละมยั แก้วสวรรค์

(ครูผสู้ อน/ผูป้ กครอง)
12. นางสาวปยิ ธดิ า ลออเอยี่ ม
13. นางเกษรา บวั เล็ก

254

ระดับมัธยมศึกษา ประธานกรรมการบรหิ ารหลกั สูตรสาขาจิตวทิ ยา
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วธิ ัญญา วัณโณ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลยั ศรีนครินทรวโิ รฒ
อาจารย์คณะวทิ ยาการเรียนรูแ้ ละศกึ ษาศาสตร์
(ผทู้ รงคุณวฒุ ดิ า้ นจิตวทิ ยา) มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสมอกาญจน์ โสภณหิรญั รกั ษ์ อาจารย์ประจาวทิ ยาลยั วจิ ยั นวตั กรรมทางการศึกษา
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจา้ คุณทหาร
(ผู้ทรงคณุ วฒุ ิดา้ นการเรียนรู)้ ลาดกระบัง
3. ผู้ชว่ ยศาสตราจารย์ ดร.จารวุ รรณ พลอยดวงรัตน์ อาจารยป์ ระจาภาควิชาหลกั สตู รและการสอน
คณะศกึ ษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรนี ครนิ ทรวิโรฒ
(ผู้ทรงคุณวฒุ ิด้านการบรหิ ารการศกึ ษา/ผู้ปกครอง) รองผู้อานวยการโรงเรยี นเทศบาลวารนิ วชิ าชาติ
รองผู้อานวยการโรงเรียนวัดไทร
4. ดร.วรินทร โพนนอ้ ย รองผอู้ านวยการโรงเรยี นคงคาราม
(ผูท้ รงคุณวฒุ ิดา้ นหลักสูตรและการสอน/ผู้ปกครอง) ศึกษานิเทศกช์ านาญการ
สานักงานเขตพ้ืนทีก่ ารมธั ยมศึกษา
5. นายสรรชยั คาอดุ ม กรงุ เทพมหานครเขต 2
6. นายเกรียงศักด์ิ อุบลไทร ศึกษานิเทศก์ชานาญการ
7. นายศรีสดุ า สุขสาราญ สานักงานเขตพนื้ ที่การประถมศกึ ษา สตูล
8. นางสาวชามาศ ดษิ ฐเจริญ ครโู รงเรยี นศรอี ยุธยา
ครโู รงเรยี นเมอื งถลาง
9. นางสาวศภุ วัลย์ ชมู ี ครูโรงเรียนสรุ ศกั ด์มิ นตรี

10. นายธนากร จนั ทนากร
11. นายวรกร ประทปี ณ ถลาง
12. นายวรวฒุ ิ สุขสถิตย์

255

ภาคผนวก ง
แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพการณ์และสาเหตุของภาวะถดถอยทางการเรยี นรขู้ องผู้เรยี น

ในระดบั การศกึ ษาขน้ั พ้นื ฐานจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรสั โควิด-19
(ระดับชนั้ ประถมศกึ ษาตอนต้น)

256

ระดบั ชนั้ ประถมศกึ ษาตอนต้น
แบบสอบถามเก่ยี วกับสภาพการณแ์ ละสาเหตขุ องภาวะถดถอยทางการเรยี นร้ขู องผ้เู รียน

ในระดบั การศกึ ษาขน้ั พ้ืนฐานจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรสั โควดิ -19

ขอให้ผู้ปกครองหรือครูช่วยอ่านคาถามหรืออธิบายให้นักเรียนฟังแล้วให้นักเรียนตอบ ข้อมูล
นี้จะนาเสนอในภาพรวมต่อสานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา โปรดตอบตามความเป็นจริง เพื่อ
เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการศึกษาต่อไป

☺☺☺☺☺

ใหน้ ักเรียนทาเครื่องหมาย ✓ ลงใน  ตามความเปน็ จรงิ

1. เพศ  ชาย  หญิง

2. ระดบั ชนั้  ประถมศึกษาปีท่ี 1  ประถมศึกษาปที ่ี 2

 ประถมศึกษาปีท่ี 3

3. ภมู ิภาค  เหนอื  ตะวันออกเฉยี งเหนอื

 กลาง ตะวันตก และตะวนั ออก  ใต้

 กรงุ เทพฯและปรมิ ณฑล

4. สงั กัดของโรงเรยี น  สพฐ.  อปท./กทม.

5. ขนาดโรงเรียน  เลก็  กลาง  ใหญ่

6. ระดบั การศึกษาของผ้ปู กครอง  ป.1-6  ม.1-3  ม.4-6

 ปรญิ ญาตรี  ปริญญาโท  ปริญญาเอก

7. อาชพี ของผปู้ กครอง  ข้าราชการ/พนกั งานรฐั วิสาหกจิ  พนกั งานบริษัทเอกชน

 คา้ ขาย/ทาธรุ กจิ ส่วนตวั  รบั จ้าง

 วา่ งงาน  อ่นื ๆ

(โปรดระบุ) ....................

8. รายไดข้ องครอบครวั ต่อเดอื น  ตา่ กว่า 10,000 บาท  10,000-30,000 บาท

 30,001-50,000 บาท  มากกว่า 50,000 บาท

257

9. สถานะครอบครัว  พอ่ แมอ่ ยดู่ ว้ ยกนั  พอ่ แมห่ ยา่ ร้าง

 พ่อหรือแมเ่ สยี ชวี ิต  อน่ื ๆ

(โปรดระบ)ุ ....................

10. สภาพความเป็นอยู่ของนกั เรียน

 อาศยั อยกู่ บั พ่อแม่  อาศัยอยกู่ ับญาติ

 อ่นื ๆ (โปรดระบ)ุ .......................................

11. ผู้ท่ีมีบทบาทหลักในการดแู ลเรื่องการเรียนของนกั เรยี น

 พอ่ แม่  ญาติ

(โปรดระบ)ุ ......................

12. จานวนชั่วโมงเฉลย่ี ต่อวนั ทผ่ี ูป้ กครองดูแลเอาใจใส่เรอ่ื งการเรยี นของนกั เรียน

 น้อยกวา่ 1 ชว่ั โมง  1-2 ชว่ั โมง

 3-4 ชวั่ โมง  มากกว่า 4 ช่ัวโมง

13. ประวัติการตดิ เชอ้ื โควดิ -19 ของสมาชกิ ในครอบครวั

 ไม่มผี ้ตู ิดเช้อื  มผี ู้ตดิ เชื้อ

ในช่วงโควิด-19 ฉันคดิ ว่าฉันมีการเรียนรู้ท่ีลดลงในวิชาเหล่านี้อย่างไรบ้าง

กล่มุ สาระการเรียนรู้ ลดลงมาก ลดลงปาน ลดลง
 กลาง น้อย☺

1. ภาษาไทย

2. คณิตศาสตร์

3. วทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี

4. สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

5. พลศกึ ษาและสุขศึกษา

6. ศลิ ปะ

7. การงานอาชพี

8. ภาษาตา่ งประเทศ

258

ในชว่ งโควิด-19 ลกั ษณะการเรยี นรขู้ องฉันเปน็ อยา่ งไร

ข้อความ มาก / จริง ปานกลาง / ไม่แนใ่ จ นอ้ ย / ไมจ่ รงิ
1. ฉนั ไม่อยากเรียนหนังสอื ในช่วงโควดิ
☺ 

2. ฉนั ปรบั ตัวไม่ไดก้ ับการเรยี นในชว่ งโควดิ

3. ความพยายามในการเรียนของฉนั น้อยลง

ในชว่ งโควิด

4. ฉันรู้สึกว่าไม่มสี ่ิงที่ทาให้อยากเรยี นในช่วงโควิด

5. ฉันรสู้ กึ เครยี ดและกงั วลกบั การเรยี นในช่วงโควิด

6. ฉนั อยากลาออกจากโรงเรยี นและไม่เรียนอีกแลว้

ทักษะด้านสารสนเทศ สอื่ และเทคโนโลยี ของฉันเป็นอย่างไร

ขอ้ ความ มาก / จริง ปานกลาง / ไมแ่ น่ใจ นอ้ ย / ไม่จรงิ
1. ฉนั ศกึ ษาเน้อื หาวิชาทค่ี รสู ง่ ใหไ้ ดต้ าม
☺ 

กาหนดเวลา

2. ฉนั รู้วา่ ตอ้ งหาข้อมลู จากทไ่ี หน จงึ จะทางาน

สง่ ครไู ด้

3. ฉันเขา้ ใจเนอ้ื หาท่ีครสู อน เพราะมคี วามรู้เดิม

4. ฉันใช้สอ่ื การเรยี นร้ทู ่ีครสู ่งใหไ้ ด้

5. ฉนั รวู้ า่ สือ่ ของครู จะทาให้เข้าใจเนือ้ หาดขี น้ึ

6. ฉันใช้สือ่ เพือ่ ทบทวนเนื้อหาบทเรยี น

7. ฉันใช้เทคโนโลยใี นการเรียนรูไ้ ด้

8. ฉันนาเสนองานโดยใชโ้ ปรแกรมออนไลน์ได้

9. ฉนั ใช้เทคโนโลยีในการพดู คุยกบั เพอื่ นได้

259

การกากบั ตนเองในการเรียนของฉันเป็นอย่างไร

ข้อความ มาก / จริง ปานกลาง / ไมแ่ นใ่ จ น้อย / ไม่จริง
1. ฉันเรยี บเรยี งเนอ้ื หาทค่ี รสู อนได้
☺ 

2. ฉันเล่าสรปุ ความรู้ทเ่ี รยี นเป็นคาพดู ของ

ตนเอง

3. ฉันสามารถทางานสง่ ครทู นั เวลา

4. ฉันคิดว่าหากตงั้ ใจเรียนก็จะทาใหพ้ ่อแมภ่ ูมใิ จ

5. เมอ่ื ครูให้ทางานยาก ฉนั บอกกบั ตวั เองว่าฉนั

ทาได้

6. ฉนั เช่อื ว่าการทางานทย่ี าก จะทาให้ฉนั เก่งขนึ้

7. ฉันเขา้ เรยี นทันเวลาและตัง้ ใจเรยี นทกุ วชิ า

8. ฉันหาท่ีนง่ั เรยี นทไ่ี มม่ สี งิ่ รบกวน

9. หากเรียนไม่เข้าใจ ฉันจะถามครหู รอื เพ่ือน

ทักษะของครเู ปน็ อย่างไร มาก / จรงิ ปานกลาง / ไม่แนใ่ จ นอ้ ย / ไม่จรงิ

ข้อความ ☺ 

1. ครูใชเ้ วลาสอนได้เหมาะสมทาให้ฉนั สนใจเรอ่ื ง
ทีเ่ รยี น
2. ครูอธิบายเนือ้ หาและตอบคาถามได้ชดั เจน
3. ครจู ัดกจิ กรรมการเรยี นทาใหฉ้ ันเรียนเข้าใจ
4. ครเู อาใจใส่ สนใจสงิ่ ทฉ่ี นั ทา และให้กาลังใจ
5. ครูใชส้ ่ือเทคโนโลยใี นการสอนได้อยา่ ง
คล่องแคลว่
6. ครใู ช้สือ่ เทคโนโลยใี นการสอนได้นา่ สนใจ ทา
ให้ฉันเข้าใจบทเรียน

260

การมีส่วนร่วมของผปู้ กครองในการเรียนเป็นอย่างไร

ข้อความ มาก / จริง ปานกลาง / ไม่แน่ใจ นอ้ ย / ไมจ่ ริง
1. ผปู้ กครองถามฉันเกย่ี วกบั กจิ กรรมการเรยี นใน
☺ 

แตล่ ะวนั

2. ผปู้ กครองถามฉนั เก่ียวกับการเรยี นในอนาคต

3. ผู้ปกครองช่วยเหลือฉันเม่อื เกดิ ปญั หาขณะทา

การบ้านหรอื งานทคี่ รมู อบหมาย

4. ผ้ปู กครองชว่ ยตอบคาถามเก่ยี วกับการบ้านท่ี

ฉนั สงสัย

5. ผปู้ กครองไมห่ งุดหงิดขณะสอนการบ้านฉัน

6. ผู้ปกครองตดิ ตามการสง่ การบา้ นและงานของ

ฉันให้ครบและทันตามเวลาที่กาหนด

7. ผู้ปกครองติดตามและทราบผลการเรียนของฉนั

สภาพแวดลอ้ มในการเรียนของฉนั เป็นอย่างไร

ขอ้ ความ มาก / จริง ปานกลาง / ไมแ่ นใ่ จ น้อย / ไม่จรงิ
1. พน้ื ทใ่ี นบา้ นของฉนั เหมาะสมกบั การเรยี น
☺ 

2. ฉันมสี อื่ อุปกรณก์ ารเรยี นท่ีเพียงพอ

3. ฉันมสี ญั ญาณอนิ เทอร์เนต็ ทีเ่ พียงพอในการเรยี น

4. ผ้ปู กครองช่วยเหลือฉันเมื่อเกิดปญั หาในการ

ใชเ้ ทคโนโลยใี นการเรยี น

5. ฉนั ได้รับการสอนเกยี่ วกบั การใชเ้ ทคโนโลยีใน

การเรยี น

6. เนื้อหาในการเรยี นไมม่ ากหรอื น้อยเกนิ ไป

261

ข้อความ มาก / จรงิ ปานกลาง / ไมแ่ นใ่ จ นอ้ ย / ไมจ่ รงิ

7. บรรยากาศในการเรยี นทบ่ี ้านทาใหฉ้ ันรูส้ ึก ☺ 
อยากเรยี น
8. โรงเรียนปรับตารางและวธิ กี ารเรยี นการสอน
ไดเ้ หมาะสม
9. โรงเรยี นสนับสนุนสื่อและอุปกรณ์ที่จาเปน็ ใน
การเรียน

☺ ขอขอบคณุ ในการตอบแบบสอบถาม ☺

262

ภาคผนวก จ
แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพการณแ์ ละสาเหตขุ องภาวะถดถอยทางการเรยี นรูข้ องผูเ้ รยี น

ในระดบั การศกึ ษาข้นั พ้นื ฐานจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรสั โควดิ -19
(ระดบั ชน้ั ประถมศกึ ษาตอนปลาย)

263

ระดับชัน้ ประถมศึกษาตอนปลาย
แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพการณแ์ ละสาเหตุของภาวะถดถอยทางการเรียนรูข้ องผ้เู รยี น

ในระดบั การศกึ ษาขนั้ พื้นฐานจากสถานการณ์การแพรร่ ะบาดของไวรสั โควดิ -19

ขอให้ผู้ปกครองหรือครูช่วยอ่านคาถามหรืออธิบายให้นักเรียนฟังแล้วให้นักเรียนตอบ ข้อมูล
นี้จะนาเสนอในภาพรวมต่อสานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา โปรดตอบตามความเป็นจริง เพื่อ
เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการศึกษาต่อไป

☺☺☺☺☺

ใหน้ ักเรียนทาเครอื่ งหมาย ✓ ลงใน  ตามความเปน็ จริง

1. เพศ  ชาย  หญงิ

2. ระดับช้นั  ประถมศึกษาปีที่ 4  ประถมศึกษาปีท่ี 5

 ประถมศกึ ษาปีที่ 6

3. ภมู ภิ าค  เหนือ  ตะวนั ออกเฉียงเหนอื

 กลาง ตะวนั ตก และตะวนั ออก  ใต้

 กรงุ เทพฯและปรมิ ณฑล

4. สงั กดั ของโรงเรยี น  สพฐ.  อปท./กทม.

5. ขนาดโรงเรยี น  เลก็  กลาง  ใหญ่

6. ระดบั การศกึ ษาของผ้ปู กครอง  ป.1-6  ม.1-3  ม.4-6

 ปริญญาตรี  ปรญิ ญาโท  ปรญิ ญาเอก

7. อาชีพของผู้ปกครอง  ข้าราชการ/พนักงานรฐั วสิ าหกิจ  พนักงานบรษิ ทั เอกชน

 ค้าขาย/ทาธรุ กิจส่วนตวั  รับจ้าง

 วา่ งงาน  อนื่ ๆ

(โปรดระบ)ุ ....................

8. รายได้ของครอบครวั ต่อเดือน  ตา่ กว่า 10,000 บาท  10,000-30,000 บาท

 30,001-50,000 บาท  มากกวา่ 50,000 บาท

264

9. สถานะครอบครวั  พอ่ แมอ่ ยดู่ ว้ ยกนั  พอ่ แมห่ ยา่ ร้าง

 พอ่ หรอื แม่เสียชวี ิต  อนื่ ๆ

(โปรดระบุ) ....................

10. สภาพความเปน็ อยูข่ องนักเรียน

 อาศยั อยกู่ บั พอ่ แม่  อาศัยอยกู่ ับญาติ

 อืน่ ๆ (โปรดระบุ) .......................................

11. ผทู้ ม่ี ีบทบาทหลักในการดูแลเร่อื งการเรียนของนักเรียน

 พอ่ แม่  ญาติ

(โปรดระบ)ุ ......................

12. จานวนช่ัวโมงเฉล่ียตอ่ วนั ทผ่ี ู้ปกครองดแู ลเอาใจใส่เรอ่ื งการเรียนของนักเรยี น

 น้อยกว่า 1 ชัว่ โมง  1-2 ชว่ั โมง

 3-4 ชวั่ โมง  มากกว่า 4 ชวั่ โมง

13. ประวตั ิการตดิ เช้อื โควดิ -19 ของสมาชกิ ในครอบครวั

 ไมม่ ผี ตู้ ิดเชอ้ื  มผี ตู้ ดิ เชื้อ

ในช่วงโควิด-19 ฉันคดิ ว่าฉันมีการเรียนรู้ที่ลดลงในวชิ าเหล่าน้ีอย่างไรบ้าง

กลุ่มสาระการเรยี นรู้ ลดลง ลดลงมาก ลดลง ลดลงน้อย ลดลง
มากทสี่ ุด ปานกลาง น้อยทส่ี ดุ

1. ภาษาไทย

2. คณติ ศาสตร์

3. วิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี

4. สงั คมศกึ ษา ศาสนา และวัฒนธรรม

5. พลศกึ ษาและสขุ ศกึ ษา

6. ศิลปะ

7. การงานอาชพี

8. ภาษาตา่ งประเทศ

265

ในชว่ งโควิด-19 ลกั ษณะการเรียนรู้ของฉันเป็นอย่างไร

ข้อความ มากทีส่ ุด / มาก / ปาน น้อย / น้อยที่สุด /
จริงที่สดุ จริง กลาง / จริงน้อย ไม่จรงิ
ไม่แน่ใจ

1. ฉนั ไม่อยากเรยี นหนังสอื ในชว่ งโควดิ

2. ฉนั ปรับตวั ไมไ่ ดก้ ับการเรียนในชว่ งโควิด

3. ความพยายามในการเรยี นของฉนั นอ้ ยลง

ในชว่ งโควดิ

4. ฉันรสู้ กึ วา่ ไมม่ สี ิ่งที่ทาให้อยากเรียนในช่วงโควดิ

5. ฉนั ร้สู ึกเครยี ดและกังวลกบั การเรียนในช่วงโควิด

6. ฉนั อยากลาออกจากโรงเรียนและไมเ่ รียนอกี แล้ว

ทักษะด้านสารสนเทศ สือ่ และเทคโนโลยี ของฉนั เป็นอย่างไร

ขอ้ ความ มากทส่ี ดุ / มาก / ปาน นอ้ ย / น้อยที่สุด /
จรงิ ทีส่ ดุ จรงิ กลาง / จรงิ น้อย ไมจ่ ริง
ไม่แน่ใจ

1. ฉันศกึ ษาเนอื้ หาวิชาทค่ี รูส่งให้ไดต้ าม

กาหนดเวลา

2. ฉนั รู้วา่ ต้องหาขอ้ มลู จากทีไ่ หน จึงจะทางาน

สง่ ครไู ด้

3. ฉนั เข้าใจเน้อื หาทค่ี รสู อน เพราะมคี วามรู้เดิม

4. ฉนั ใชส้ ือ่ การเรยี นรู้ที่ครสู ง่ ใหไ้ ด้

5. ฉันรวู้ ่าสอ่ื ของครู จะทาใหเ้ ขา้ ใจเนือ้ หาดขี ้นึ

6. ฉันใชส้ ่ือเพื่อทบทวนเนอื้ หาบทเรยี น

7. ฉนั ใชเ้ ทคโนโลยีในการเรียนรไู้ ด้

8. ฉันนาเสนองานโดยใช้โปรแกรมออนไลนไ์ ด้

9. ฉันใช้เทคโนโลยใี นการพดู คุยกบั เพอ่ื นได้

266

การกากบั ตนเองในการเรียนของฉันเป็นอย่างไร

ข้อความ มากทีส่ ดุ / มาก / ปาน นอ้ ย / น้อยที่สุด /
จริงทีส่ ุด จริง กลาง / จริงน้อย ไมจ่ รงิ
ไมแ่ นใ่ จ

1. ฉนั เรียบเรยี งเนื้อหาทค่ี รูสอนได้

2. ฉันเลา่ สรปุ ความรู้ที่เรยี นเป็นคาพดู ของตนเอง

3. ฉันสามารถทางานสง่ ครูทันเวลา

4. ฉันคดิ ว่าหากตงั้ ใจเรยี นกจ็ ะทาใหพ้ อ่ แม่ภูมใิ จ

5. เม่ือครใู ห้ทางานยาก ฉันบอกกบั ตวั เองวา่ ฉนั

ทาได้

6. ฉนั เชือ่ ว่าการทางานที่ยาก จะทาให้ฉนั เก่งข้นึ

7. ฉันเข้าเรียนทันเวลาและตง้ั ใจเรียนทกุ วชิ า

8. ฉนั หาทน่ี งั่ เรยี นทไี่ ม่มสี ง่ิ รบกวน

9. หากเรียนไมเ่ ข้าใจ ฉันจะถามครหู รอื เพอื่ น

ทกั ษะของครูเป็นอยา่ งไร

ข้อความ มากทีส่ ดุ / มาก / ปาน น้อย / น้อยที่สุด /
จรงิ ทส่ี ดุ จริง กลาง / จรงิ น้อย ไมจ่ รงิ
ไมแ่ น่ใจ

1. ครใู ชเ้ วลาสอนไดเ้ หมาะสมทาให้ฉนั สนใจเร่อื ง

ทีเ่ รยี น

2. ครอู ธิบายเนื้อหาและตอบคาถามไดช้ ดั เจน

3. ครูจัดกิจกรรมการเรยี นทาใหฉ้ นั เรยี นเขา้ ใจ

4. ครเู อาใจใส่ สนใจสิ่งทีฉ่ ันทา และให้กาลงั ใจ

5. ครใู ชส้ อื่ เทคโนโลยใี นการสอนไดอ้ ย่าง

คล่องแคล่ว

6. ครูใชส้ ่อื เทคโนโลยใี นการสอนไดน้ ่าสนใจ ทา

ให้ฉนั เข้าใจบทเรียน

267

การมสี ่วนรว่ มของผ้ปู กครองในการเรียนเป็นอย่างไร

ขอ้ ความ มากทีส่ ุด / มาก / ปาน น้อย / น้อยที่สุด /
จรงิ ทสี่ ดุ จริง กลาง / จรงิ นอ้ ย ไม่จรงิ
ไมแ่ น่ใจ

1. ผู้ปกครองถามฉันเกีย่ วกับกจิ กรรมการเรยี นใน

แตล่ ะวนั

2. ผู้ปกครองถามฉนั เกย่ี วกับการเรียนในอนาคต

3. ผ้ปู กครองชว่ ยเหลือฉนั เมอ่ื เกิดปญั หาขณะ

ทาการบ้านหรอื งานท่ีครมู อบหมาย

4. ผู้ปกครองช่วยตอบคาถามเกยี่ วกบั การบ้านท่ี

ฉันสงสัย

5. ผปู้ กครองไม่หงดุ หงดิ ขณะสอนการบ้านฉัน

6. ผู้ปกครองตดิ ตามการส่งการบา้ นและงาน

ของฉนั ให้ครบและทนั ตามเวลาทีก่ าหนด

7. ผูป้ กครองติดตามและทราบผลการเรียนของฉนั

สภาพแวดลอ้ มในการเรยี นของฉันเป็นอย่างไร

ขอ้ ความ มากทส่ี ุด / มาก / ปาน น้อย / น้อยที่สุด /
จริงที่สุด จริง กลาง / จริงน้อย ไม่จรงิ
ไมแ่ น่ใจ

1. พน้ื ทใ่ี นบา้ นของฉนั เหมาะสมกบั การเรยี น

2. ฉันมสี ื่ออปุ กรณ์การเรยี นทเี่ พียงพอ

3. ฉันมีสญั ญาณอินเทอรเ์ นต็ ทเี่ พยี งพอในการเรียน

4. ผู้ปกครองชว่ ยเหลือฉนั เมื่อเกดิ ปัญหาในการ

ใช้เทคโนโลยีในการเรียน

5. ฉนั ได้รับการสอนเก่ียวกับการใชเ้ ทคโนโลยใี น

การเรียน

6. เน้ือหาในการเรียนไม่มากหรือน้อยเกินไป

268

ข้อความ มากท่ีสุด / มาก / ปาน นอ้ ย / น้อยที่สุด /
จริงทส่ี ดุ จรงิ กลาง / จรงิ นอ้ ย ไมจ่ ริง
ไมแ่ นใ่ จ

7. บรรยากาศในการเรียนท่บี ้านทาให้ฉันรูส้ กึ

อยากเรยี น

8. โรงเรยี นปรับตารางและวิธีการเรยี นการสอน

ได้เหมาะสม

9. โรงเรียนสนับสนุนสอื่ และอปุ กรณ์ท่ีจาเปน็ ใน

การเรยี น

☺ ขอขอบคุณในการตอบแบบสอบถาม ☺

269

ภาคผนวก ฉ
แบบสอบถามเกยี่ วกับสภาพการณแ์ ละสาเหตุของภาวะถดถอยทางการเรยี นรู้ของผู้เรยี น

ในระดบั การศกึ ษาขัน้ พ้นื ฐานจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรสั โควดิ -19
(ระดับชน้ั มธั ยมศกึ ษา)


Click to View FlipBook Version