โครงการ
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
รายวิชาวิถีไทยและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพี ยง ภาคเรียนที่ ๑/๒๕๖๔
จัดทำโดย
นักศึกษาวิทยาลัยฝึกหัดครู
กลุ่มที่ ๓
สาขาคณิตศาสตร์
คำนำ
รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 0020103 วิถีไทย
และปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านได้
ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โครงการอันเนื่องมาจากพระ
ราชดำริเพื่อช่วยเหลือประชาชนทุกหมู่เหล่า ซึ่งทุกโครงการล้วนมี
จุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ “ความอยู่ดีกินดีและความผาสุก” ของ
ประชาชน โดยเนื้อหาเอกสารเล่นนี้ได้ศึกษาหาความรู้มาจาก
หนังสือและเว็ปไซต์ต่างๆ
ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารฉบับนี้จะมีข้อมูลที่เป็น
ประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจในเรื่องนี้ หากมีข้อผิดพลาดประการใดต้อง
ขออภัยไว้ ณ ที่นี้
นักศึกษากลุ่มที่3
สาขาคณิตศาสตร์
สารบัญ หน้า
โครงการ 1-10
11-23
แก้มลิง 24-31
ฝนหลวง 32-38
แกล้งดิน 39-42
เกษตรทฤษฎีใหม่ 43-47
สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ 48-52
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 53-61
กังหันน้ำชัยพัฒนา 62-68
หญ้าแฝก 69-78
ฝายแม้ว
ชั่งหัวมัน 79
บรรณานุกรม 80
ภาพผนวก
โครงการฝนหลวง
โครงการอันเนื่องมากจากพระราชดำริ
โครงการฝนหลวง 02
โครงการฝนหลวง
หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริโครงการฝน
หลวง เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2498 นับตั้งแต่นั้น พระองค์ทรง
ทุ่มเทพระวรกายในการคิดค้น วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการทำฝน
หลวงจนประสบความสำเร็จ และช่วยให้ประเทศชาติให้รอดพ้นวิกฤติ
ภัยแล้งมาได้จนถึงปัจจุบัน ดังนั้น เพื่อแสดงความรำลึกในพระ
มหากรุณาธิคุณที่มีต่อปวงชนชาวไทย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติ
เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยกำหนดให้วันที่ 14
พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันพระบิดาแห่งฝนหลวง เพื่อให้ประชาชน
ทั้งในปัจจุบัน และอนุชนรุ่นหลัง ได้มีโอกาสแสดงความจงรักภักดี
ชื่นชมในพระบารมี และร่วมกันถวายสดุดีเฉลิมพระเกียรติในทุกปี
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เข้าใจถึงโครงการฝนหลวง ซึ่งนับเป็น
อีกหนึ่งในโครงการพระราชดำริที่มีเป็นประโยชน์นานัปการต่อปวงชน
ชาวไทยมากขึ้น ทีมงานกระปุกดอทคอม จึงได้รวมรวบข้อมูลเกี่ยวกับ
โครงการฝนหลวงมาให้ได้ทราบกันค่ะ
ประวัติความเป็นมา 03
โครงการพระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระ
มหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงห่วงใยในความ
ทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ซึ่งต้องประสบปัญหา
ขาดแคลนน้ำ เพื่ออุปโภคบริโภค และใช้ในการเกษตรกรรม อันเนื่องมา
จากภาวะแห้งแล้ง ที่มีสาเหตุจากความผันแปร และคลาดเคลื่อนของ
ฤดูกาลตามธรรมชาติ กล่าวคือ ฤดูฝนเริ่มต้นล่าช้าเกินไป หรือหมดเร็ว
กว่าปกติ หรือฝนทิ้งช่วงยาวในช่วงฤดูฝน
จากพระราชกรณียกิจในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสก
นิกรในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง นับแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ
ตราบเท่าทุกวันนี้ ทำให้ทรงพบเห็นว่า ภาวะแห้งแล้ง ได้มีแนวโน้มรุนแรง
ขึ้นตามลำดับ เพราะการตัดไม้ทำลายป่า เป็นสาเหตุให้สภาพแวดล้อม
ทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่
ราษฎร ในทุกภาคของประเทศ ส่งผลถึงความเสียหายต่อเศรษฐกิจโดย
รวมของชาติ คิดเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี
ทั้งนี้ ระหว่างทางที่เคยเสด็จพระราชดำเนิน ทั้งภาคพื้นดิน และทาง
อากาศยาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสังเกตเห็นว่า มีเมฆ
ปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้า แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้
เป็นเหตุให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงระยะยาวทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงฤดูฝน ทรงคิด
คำนึงว่า น่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์ ที่จะช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อ
รวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ ทรงเชื่อมั่นว่า ด้วยลักษณะของกาลอากาศ
ภูมิอากาศ และภูมิประเทศของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคเขตร้อน
และอยู่ในอิทธิพลของฤดูมรสุมของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะฤดูมรสุมตะวัน
ตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นฤดูฝน และเป็นฤดูเพาะปลูกประจำปีของประเทศไทย
จะสามารถดัดแปรสภาพอากาศ ให้เกิดเป็นฝนตกได้
ประวัติความเป็นมา 04
ดังนั้น ตั้งแต่ พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา พระองค์ทรงศึกษาค้นคว้า
และวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพ
อากาศ จนทรงมั่นพระทัย ก่อนพระราชทานแนวคิดนี้แก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทว
กุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรม ของกระทรวง
เกษตรและสหกรณ์ในขณะนั้น และในปีถัดมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรด
กระหม่อม ให้หาลู่ทางที่จะทำให้เกิดการทดลองปฏิบัติการบนท้องฟ้า
กระทั่งในปี พ.ศ. 2512 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้ง
หน่วยบินปราบศัตรูพืชกรมการข้าว เพื่อให้การสนับสนุนในการสนองพระราช
ประสงค์ โดยในปีเดียวกันนั้นเอง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ให้ทำการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 - 2
กรกฎาคม พ.ศ. 2512 โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งให้ ม.ร.ว.เทพ
ฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้อำนวยการโครงการ และหัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลอง
คนแรก และเลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองแห่งแรก
ต่อมา ได้มีปฏิบัติการโดยทดลองหยอดก้อนน้ำแข็งแห้ง ขนาดไม่
เกิน 1 ลูกบาศก์นิ้ว เข้าไปในยอดเมฆสูงไม่เกิน 10,000 ฟุต ที่ลอย
กระจัดกระจายอยู่เหนือพื้นที่ทดลองในขณะนั้น ทำให้กลุ่มเมฆทดลองเหล่า
นั้น มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด จนเกิดการกลั่นรวมตัวกันหนาแน่น
และก่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ในเวลาอันรวดเร็วแล้ว และจากการ
ติดตามผลโดยการสำรวจทางภาคพื้นดิน ก็ได้รับรายงานยืนยันจากราษฎรว่า
เกิดฝนตกลงสู่พื้นที่บริเวณวนอุทยานเขาใหญ่ในที่สุด การทดลองดังกล่าวจึง
เป็นนิมิตหมายที่ดี ที่บ่งชี้ให้เห็นว่า การบังคับเมฆให้เกิดฝนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้
และความสำเร็จดังกล่าว ยังส่งผลให้มีการพัฒนา ปรับปรุง และต่อยอด
โครงการฝนหลวงมาจนถึงปัจจุบัน
วิธีการทำฝนหลวง 05
การทำฝนหลวง เป็นกรรมวิธีการเหนี่ยวนำน้ำจากฟ้า ซึ่งต้องใช้เครื่อง
บินที่มีอัตราการบรรทุกมาก ๆ บรรจุสารเคมีขึ้นไปโปรยในท้องฟ้า โดย
ดูจากความชื้นของจำนวนเมฆ และสภาพของทิศทางลมประกอบกัน
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดฝน คือ ความร้อนชื้นปะทะความเย็น และมีแกน
กลั่นตัวที่มีประสิทธิภาพในปริมาณที่เหมาะสม นั่นคือ เมื่อมวลอากาศ
ร้อนชื้นที่ระดับผิวพื้นขึ้นสู่อากาศเบื้องบน อุณหภูมิของมวลอากาศจะ
ลดต่ำลงจนถึงความสูงที่ระดับหนึ่ง อุณหภูมิที่ลดต่ำลงนั้นมากพอจะ
ทำให้ไอน้ำในมวลอากาศอิ่มตัว จนเกิดขบวนการกลั่นตัวเองของไอน้ำ
ขึ้นบนแกนกลั่นตัวจนกลายเป็นฝนตกลงมาฉะนั้น สารเคมีดังกล่าว จึง
ประกอบด้วยสูตรร้อน เพื่อใช้กระตุ้น กลไกการหมุนเวียนของ
บรรยากาศสูตรเย็น ใช้เพื่อกระตุ้นกลไกการรวมตัวของละอองเมฆให้โต
ขึ้นเป็นเม็ดฝน และสูตรที่ใช้เป็นแกนดูดซับความชื้น เพื่อกระตุ้นกลไก
ระบบการกลั่นตัวให้มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น มีขั้นตอนดังนี้
วิธีทำฝนหลวง 06
ขั้นตอนที่หนึ่ง : ก่อกวน
การก่อกวน เป็นขั้นตอนที่เมฆธรรมชาติเริ่มก่อตัวทางแนว
ตั้ง การปฏิบัติการฝนหลวงในขั้นตอนนี้ จะมุ่งใช้สารเคมีไปกระตุ้น ให้
มวลอากาศเกิดการลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบน เพื่อให้เกิดกระบวนการชักนำ
ไอน้ำ หรือ ความชื้นเข้าสู่ระบบการเกิดเมฆ ระยะเวลาที่จะปฏิบัติการ
ในขั้นตอนนี้ ไม่ควรเกิน 10.00 น. ของแต่ละวัน โดยการใช้สารเคมีที่
สามารถดูดซับไอน้ำจากมวลอากาศได้ แม้จะมีเปอร์เซ็นต์
ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ เพื่อกระตุ้นกลไกของกระบวนการกลั่นตัวไอน้ำใน
มวลอากาศ ทางด้านเหนือลมของพื้นที่เป้าหมาย เมื่อเมฆเริ่มเกิดมีการ
ก่อตัวและเจริญเติบโตในแนวตั้ง จึงใช้สารเคมีที่ให้ปฏิกิริยาคายความ
ร้อน โปรยเป็นวงกลม หรือเป็นแนวถัดมาทางใต้ลมเป็นระยะทางสั้น ๆ
เข้าสู่ก้อนเมฆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดกลุ่มแกนร่วมในบริเวณปฏิบัติการ
สำหรับใช้เป็นศูนย์กลางที่จะสร้างกลุ่มเมฆฝนในขั้นตอนต่อไป
วิธีทำฝนหลวง 07
ขั้นตอนที่สอง : เลี้ยงให้อ้วน
การเลี้ยงให้อ้วน เป็นขั้นตอนที่เมฆกำลังก่อตัวเจริญเติบโตซึ่ง
เป็นระยะที่สำคัญมากในการปฏิบัติการฝนหลวง เพราะจะต้องไปเพิ่ม
พลังงานให้กับการลอยตัวของก้อนเมฆให้ยาวนานออกไป โดยต้องใช้
เทคโนโลยีและประสบการณ์ หรือศิลปะแห่งการทำฝนควบคู่ไปพร้อม ๆ
กัน เพื่อตัดสินใจ โปรยสารเคมีฝนหลวงชนิดใด ณ ที่ใดของกลุ่มก้อนเมฆ
และในอัตราใดจึงเหมาะสม เพราะ ต้องให้กระบวนการเกิดละอองเมฆ
สมดุลกับการลอยตัวของเมฆ มิฉะนั้นจะทำให้เมฆสลาย
วิธีทำฝนหลวง 08
ขั้นตอนที่สาม : โจมตี
การโจมตี ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกรรมวิธีปฏิบัติการฝน
หลวง โดย เมฆ หรือ กลุ่มเมฆฝน ต้องมีความหนาแน่นมากพอที่จะ
สามารถตกเป็นฝนได้ ภายในกลุ่มเมฆจะมีเม็ดน้ำขนาดใหญ่มากมาย
หากเครื่องบินบินเข้าไปในกลุ่มเมฆฝนนี้ จะมีเม็ดน้ำเกาะตามปีก และ
กระจังหน้าของเครื่องบิน ซึ่งในจะต้องปฏิบัติการเพื่อลดความรุนแรง
ในการลอยตัวของก้อนเมฆ หรือทำให้อายุการลอยตัวนั้นหมดไป สำหรับ
การปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ จะต้องพิจารณาจุดมุ่งหมายของการทำฝน
หลวง ซึ่งมีอยู่ 2 ประเด็น คือ เพื่อเพิ่มปริมาณฝนตก และเพื่อให้เกิด
การกระจายการตกของฝน
ด้วยความสำคัญ และปริมาณความต้องการให้มีปฏิบัติการ
ฝนหลวงช่วยเหลือทวีจำนวนมากขึ้น ฉะนั้นเพื่อช่วยเหลือทวีแห้งแล้ง
จำนวนมากนั้น เพื่อให้งานปฏิบัติการฝนหลวงสามารถปฏิบัติการช่วย
เหลือเกษตรกรได้กว้างขวาง และได้ผลดียิ่งขึ้น รัฐบาลจึงได้ตราพระราช
กฤษฎีกาก่อตั้ง สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง ในสังกัดสำนักงานปลัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2518 เพื่อ
เป็นหน่วยงานรองรับโครงการพระราชดำริฝนหลวงต่อไป กระทั่งมีการ
ปรับปรุง และพัฒนาปฏิบัติการฝนหลวงมาจนถึงปัจจุบัน
การดำเนินงาน 09
เนื่องจากการทำฝนเป็นเทคโนโลยีที่ยังใหม่ต่อการรับรู้ของบุคคล
ทั่วไป และในประเทศไทยยังไม่มีนักวิชาการ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ใน
ระยะแรกเริ่มของโครงการฯ ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรง
เป็นกำลังสำคัญ และทรงร่วมในการพัฒนากิจกรรมนี้ ทั้งโดยทางตรง
และทางอ้อม ทรงวางแผนการทดลองปฏิบัติการการติดตามและ
ประเมินผลปฏิบัติการทุกครั้งอย่างใกล้ชิดและรวดเร็วชนิดวันต่อวัน
นอกจากนั้นยังทรงปฏิบัติให้เป็นแบบอย่างในการประสานงาน
ขอความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญ และองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อ
สนับสนุนกิจกรรม อาทิ เช่น กรมอุตุนิยมวิทยา กรมชลประทาน การ
ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กองบินตำรวจ กองการสื่อสารกรม
ตำรวจ และกองทัพอากาศ ในรูปของศูนย์อำนวยการฝนหลวงพิเศษสวน
จิตรลดา และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรูปของคณะกรรมการ
ดำเนินการทำฝนหลวง ซึ่งการที่พระองค์ติดตามโครงการดังกล่าวอย่าง
ใกล้มาตลอด และได้ให้แนวทางในการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม จึงทำให้
โครงการฝนหลวง พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับประเทศอื่น
วัตถุประสงค์ของโครงการฝนหลวง 10
จากความเป็นมาของโครงการฝนหลวงนั้นจะเห็นได้ว่า
วัตถุประสงค์หลักของโครงการดังกล่าวเกิดขึ้นเพื่อบรรเทาความ
ทุกข์ยากของประชาชนในประเทศ โดยเฉพาะการที่ท้องถิ่นหลาย
แห่งที่ประสบปัญหาพื้นดินแห้งแล้ง หรือการขาดแคลนน้ำเพื่อการ
อุปโภค บริโภค และทำการเกษตร นอกจากนี้ภาวะความต้องการใช้
น้ำของประเทศ ที่นับวันจะทวีปริมาณความต้องการสูงขึ้น เพราะ
การขยายตัวเจริญเติบโตทางด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม
นั่นเอง
ประโยชน์ของโครงการฝนหลวง 11
สืบเนื่องจากเดิมที โครงการฝนหลวง มีขึ้นเพื่อรับภาระหน้าที่ในการ
บำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาชน ดังนั้น นอกจากการบรรเทาปัญหา
ภัยแล้งแล้ว เมื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับการร้องเพื่อขอให้ขยายการ
บรรเทาความเดือดร้อนที่สืบเนื่องมาจากการพัฒนาอุตสาหกรรม และ
ภาวะสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ การทำฝนหลวงจึงมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ
ที่น่าสนใจ โดยเฉพาะการมีส่วนช่วยเหลือในการพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมของประเทศไทย ดังนี้
ด้านการเกษตร : มีการร้องขอฝนหลวงเพื่อแก้ไขปัญหา
ขาดแคลนน้ำในช่วงที่เกิดภาวะฝนแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงยาวนาน ซึ่งมี
ผลกระทบต่อแหล่งผลิตทางการเกษตรที่กำลังให้ผลผลิตในพื้นที่ต่าง ๆ
ด้านการอุปโภค บริโภค : การทำฝนหลวงได้ช่วยตอบสนอง
ภาวะความต้องการ น้ำกิน น้ำใช้ ที่ทวีความรุนแรงมากในภาคตะวัน
ออกเฉียงเหนือ เนื่องจากคุณสมบัติของดินในภูมิภาคนี้เป็นดินร่วนปน
ทรายไม่สามารถอุ้มซับน้ำได้ จึงไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ดีเท่าที่ควร
ด้านการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำ : เนื่องจากใต้พื้นดินของ
ภาคอีสานมีแหล่งหินเกลือเป็นจำนวนมากและครอบคลุมพื้นที่กว้าง
ขวาง หากยามใดอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กและขนาดกลางเกิดมีปริมาณน้ำ
เหลือน้อย ย่อมส่งผลให้น้ำเกิดน้ำกร่อยหรือเค็มได้ ดังนั้น การทำฝน
หลวงมีความจำเป็นมากในการช่วยบรรเทาปัญหาดังกล่าว
ประโยชน์ของโครงการฝนหลวง 12
ด้านการเสริมสร้างเส้นทางคมนาคมทางน้ำ : เมื่อปริมาณน้ำในแม่น้ำลดต่ำลง
จนไม่สามารถสัญจรไปมาทางเรือได้ จึงต้องมีการทำฝนหลวงเพื่อเพิ่ม
ปริมาณน้ำให้กับบริเวณดังกล่าว เพราะการขนส่งสินค้าทางน้ำเสียค่าใช้จ่าย
น้อยกว่าทางอื่น และการจราจรทางน้ำยังเป็นอีกช่องทางหนึ่ง สำหรับผู้ที่
ต้องการหลีกเลี่ยงปัญหาการจราจรทางบก ที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงมาก
ด้านการป้องกันและบำบัดภาวะมลพิษของสิ่งแวดล้อม : หากน้ำใน
แม่น้ำเจ้าพระยาลดน้อยลงเมื่อใด น้ำเค็มจากทะเลอ่าวไทยก็จะไหลหนุนเนื่อง
เข้าไปแทนที่ทำให้เกิดน้ำกร่อย และสร้างความเสียหายแก่เกษตรกรเป็น
จำนวนมาก ดังนั้นการทำฝนหลวง จึงช่วยบรรเทาภาวะดังกล่าว อีกทั้งการ
ทำฝนหลวงยังช่วยในเรื่องของสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษอันเกิดจากการระบายน้ำ
เสียทิ้งลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา โดยปริมาณน้ำจากฝนหลวงจะช่วยผลักสิ่ง
แวดล้อมที่เป็นพิษให้ออกสู่ท้องทะเล ทำให้ภาวะมลพิษจากน้ำเสียเจือจางลง
ด้านการเพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์เพื่อผลิต
กระแสไฟฟ้า : เนื่องจากบ้านเมืองเราเริ่มประสบปัญหาการขาดแคลน
พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น เนื่องจากมีความต้องการใช้ไฟฟ้าในปริมาณที่สูงมาก
ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะวิกฤติ โดยระดับน้ำเหนือเขื่อนมีระดับต่ำมากจนไม่เพียง
พอต่อการใช้พลังงานน้ำในการผลิตกระแสไฟฟ้า การทำฝนหลวงจึงมีความ
สำคัญในด้านดังกล่าวด้วยเช่นกัน เป็นต้น
ทั้งนี้ จากประโยชน์นานัปการของโครงการฝนหลวง อันเกิดจาก
พระปรีชาสามารถ และสายพระเนตรอันยาวไกลของพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงคำนึงถึงประโยชน์ทุกข์สุขของราษฎรชาวไทยเสมอมานั้น
การขนานนามพระองค์ว่า พระบิดาแห่งฝนหลวง จึงเป็นการแสดงความรำลึก
ในพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ ที่จะคงอยู่ในใจของปวงชนชาวไทยตลอด
ไปตราบนานเท่านาน
นางสาวณัฐกมล น้อยคำ
6410121204053
สาขาคณิตศาสตร์
โครงการแกล้งดิน
แนวพระราชดำริเกี่ยวกับการเร่งดินให้เป็นกรดจัดรุนแรงที่สุด โดยการทำให้ดินแห้งและ
เปียกสลับกัน แล้วศึกษาวิธีการปรับปรุงดินโดยการใช้น้ำล้างดิน การใช้หินปูนฝุ่น และใช้
ทั้งสองวิธีควบคู่กันไป สามารถปรับปรุงดินเพื่อปลูกพืชในดินเปรี้ยวจัดไว้
“...ด้วยพื้นที่จำนวนมากในจังหวัดนราธิวาสเป็นที่ลุ่มต่ำ มีน้ำขังตลอดปี ดินมีคุณภาพต่ำ
ซึ่งพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 3 แสนไร่ เกษตรกรจำนวนมากไม่มีที่ทำกิน แม้เมื่อระบายน้ำ
ออกจากพื้นที่หมดแล้ว ยังยากที่จะให้ประโยชน์ทางการเกษตรให้ได้ผลทั้งนี้ เนื่องจากดิน
มีสารประกอบไพไรท์ ทำให้เกิดกรดกำมะถัน เมื่อดินแห้งทำให้ดินเปรี้ยว ควรปรับปรุงดิน
ให้ดีขึ้น ดังนั้น เห็นสมควรที่จะมีการปรับปรุงพัฒนา โดยให้มีหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
เข้ามาดำเนินการศึกษาและพัฒนาพื้นที่พรุร่วมกันแบบผสมผสาน และนำผลสำเร็จของ
โครงการไปเป็นแบบอย่างในการที่จะพัฒนาพื้นที่ดินพรุในโอกาสต่อไป...”
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
พระราชทานแก่ หม่อมเจ้าจักรพันธุ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ องคมนตรี นายสุเมธ ตันติเวชกุล
เลขาธิการ กปร.นายชิต นิลพานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส นายเล็ก จินดาสงวน ผู้
ช่วยอธิบดีกรมชลประทาน นายอำเภอท้องที่ และข้าราชการที่ เกี่ยวข้องในจังหวัด
นราธิวาส พ.ศ. 2524
ทำไมถึงต้อง "แกล้งดิน "
สืบเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จ
พระราชดำเนินแปรพระราช ฐานและทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในภาคใต้ อย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ปี พ.ศ.
2516 เรื่อยมา ทำให้ทรง ทราบว่าราษฎรในพื้นที่แถบจังหวัดนราธิวาส และจังหวัดใกล้เคียง ประสบ
ปัญหาอยู่นานัปการ ราษฎรขาดแคลนที่ทำกิน อันเป็นสาเหตุสำคัญใน การดำรงชีพพื้นที่ดินพรุที่มี
การ ระบายน้ำออกจะแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด เนื่องจากสารไพไรท์ที่มีอยู่ในดินทำ ปฏิกริยากับ
ออกซิเจนในอากาศแล้วปลดปล่อย กรดกำมะถันออกมามากจนถึงจุดที่เป็น อันตรายต่อพืชที่ปลูกหรือ
ทำให้ผลผลิต ลดลงอย่างเห็นได้ชัดจึงได้มี พระราชดำริให้จัดตั้ง " โครงการศูนย์ศึกษา การพัฒนาพิกุล
ทองอันเนื่องมาจากพระ ราชดำริ" ขึ้น ณ จังหวัดนราธิวาส เมื่อปี พ.ศ. 2524 เพื่อศึกษา และปรับปรุง
แก้ไขปัญหาพื้นที่พรุให้ สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและด้าน อื่น ๆ ได้ ต่อมาเมื่อวันที่ 16
กันยายน 2527 ณ ศูนย์ ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจาก พระราชดำริพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่ หัวได้มีพระราชดำริเกี่ยวกับเรื่อง "แกล้งดิน" ความว่า
"...ให้มีการทดลองทำดินให้เปรี้ยวจัดโดย การระบายน้ำให้แห้งและศึกษาวิธีการแกล้ง ดินเปรี้ยว เพื่อ
นำผลไปแก้ปัญหาดินเปรี้ยว ให้แก่ราษฎรที่มีปัญหาเรื่องนี้ในเขตจังหวัด นราธิวาสโดยให้ทำโครงการ
ศึกษาทดลอง ในกำหนด2 ปี และพืชที่ทำการทดลอง ควรเป็นข้าว..."
แกล้งดินทำอย่างไร
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้ทำการศึกษาวิจัยและปรับปรุงดิน โดย
วิธีการ "แกล้งดิน" คือ ทำให้ดินเปรี้ยว เป็นกรดจัดรุนแรงที่สุด กล่าวคือ การทำให้ดินแห้ง และเปียก
โดยนำน้ำเข้าแปลงทดลองระยะหนึ่ง และระบายน้ำออกให้ดินแห้งระยะหนึ่งสลับกัน จะเป็นการ
กระตุ้นให้เกิดกรดมากยิ่งขึ้น ด้วยหลักการนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรม
นาถบพิตร จึงทรงให้เลียนแบบสภาพธรรมชาติ ซึ่งมีฤดูแล้งและฤดูฝนเป็นปกติในแต่ละปี แต่ให้ใช้วิธี
การร่นระยะเวลาช่วงแล้ง และช่วงฝนในรอบปีให้สั้นลง โดยปล่อยให้ดินแห้ง 1 เดือน และขังน้ำให้ดิน
เปียกนาน 2 เดือน สลับกันไป เกิดภาวะดินแห้ง และดินเปียก 4 รอบ ต่อ 1 ปี เสมือนกับมีฤดูแล้งและ
ฤดูฝน 4 ครั้ง ใน 1 ปี หลังจากนั้นจึงให้หาวิธีการปรับปรุงดิน ดังกล่าวให้สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจได้
การดำเนินงานศึกษาทดลองในโครงการแกล้งดิน
ได้มีการดำเนินการในช่วง ต่าง ๆ ตามแนวพระราชดำริดังนี้
ช่วงที่ 1 (มกราคม 2529-กันยายน 2530) เป็นการศึกษา การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของดิน
เปรียบเทียบระหว่างดินที่ปล่อยทิ้งไว้ตามธรรมชาติ กับดินที่ทำให้แห้งและเปียกสลับกัน
โดยวิธีการสูบน้ำเข้า-ออก การทำดินให้แห้งและเปียกสลับกัน ดินจะเป็นกรดจัดรุนแรง และ
มีผล ต่อการเจริญเติบโตของพืช พบว่าข้าวสามารถ เจริญเติบโตได้ แต่ให้ผลผลิตต่ำ
ช่วงที่ 2 (ตุลาคม 2530-ธันวาคม 2532) ศึกษาการเปลี่ยน แปลงทางเคมีของดินโดยเปรียบ
เทียบระหว่างระยะเวลา ที่ทำให้ดินแห้งและ เปียกแตกต่างกัน การปล่อยให้ดินแห้งนาน
มากขึ้น ความเป็นกรดจะรุนแรงมากกว่าการใช้ น้ำแช่ขังดินนาน ๆ และการให้น้ำหมุนเวียน
โดยไม่มีการระบายออก ทำให้ความเป็นกรดและ สารพิษสะสมในดินมากขึ้น ในการปลูกข้าว
ทดสอบความรุนแรงของกรด พบว่าข้าวตายหลังจากปักดำได้ 1 เดือน
ช่วงที่ 3 (มกราคม 2533-ปัจจุบัน) ศึกษาถึงวิธีการปรับปรุงดิน โดยใช้น้ำชะล้างความเป็นก
รด ใช้น้ำชะล้างควบคู่กับการใช้หินปูนฝุ่น ใช้หินปูนฝุ่นอัตราต่ำ เฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลง
ของดิน หลังจากที่ปรับปรุงแล้วปล่อยทิ้งไว้ ไม่มีการใช้ประโยชน์ และศึกษาการเปลี่ยนแปลง
ของดินเปรี้ยวจัด เมื่ออยู่ในสภาพธรรมชาติ ในปริมาณเล็กน้อย พบว่าวิธีการใช้น้ำชะล้างดิน
โดยขังน้ำไว้นาน 4 สัปดาห์ แล้วระบายออก ควบคู่กับการใช้หินปูนฝุ่นในปริมาณเล็ก น้อยจะ
สามารถปรับปรุงดินเปรี้ยวจัด ได้เป็นอย่างดี ส่วนวิธีการใช้น้ำชะล้างก็ให้ผลดีเช่นเดียวกัน
แต่ต้องใช้เวลานานกว่า หลังจากมีการปรับปรุงดินแล้ว หากปล่อยทิ้งไว้ไม่มีการใช้ประโยชน์
อย่างต่อเนื่อง จะทำให้ดินกลับเป็นกรดจัดรุนแรงขึ้นอีก สำหรับพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดตาม
ธรรมชาติ ที่ไม่มีการปรับปรุงการเปลี่ยนแปลง ของความเป็นกรดน้อยมาก
แกล้งดินสำเร็จแล้วราษฎรได้ประโยชน์อะไร
เมื่อผลของการศึกษาทดลอง สำเร็จผลชั้นหนึ่ง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้นำ
ผลการศึกษาทดลองขยายผลสู่พื้น ที่ทำการเกษตรของราษฎร ที่ประสบปัญหาดินเปรี้ยว
จัด ซึ่งในเรื่องนี้ได้มีพระราชดำริว่า
"...พื้นที่บริเวณบ้านโคกอิฐ และโคกในเป็นดินเปรี้ยว เกษตรกรมีความต้องการจะปลูก
ข้าว ทางชลประทานได้จัดส่งน้ำชลประทานให้ ก็ให้พัฒนาดินเปรี้ยว เหล่านี้ให้ใช้
ประโยชน์ได้ โดยให้ประสานงานกับชลประทาน..."
จากการพัฒนาบ้านโคกอิฐ และบ้านโคกใน ปรากฏว่าราษฎรในพื้นที่ดังกล่าว สามารถ
ปลูกข้าวให้ได้ผล ผลิตเพิ่มมากขึ้นจนเป็นที่พอพระราชหฤทัย ถึงกับมีรับสั่งว่า "...เราเคย
มาโคกอิฐ โคกใน มาดูเขาชี้ตรงนั้น ๆ เขาทำ แต่ว่าเขาได้เพียง 5 ถึง 10 ถัง แต่ตอนนี้ได้
ขึ้นไปถึง 40-50 ถัง ก็ใช้ได้แล้ว เพราะว่าทำให้เปรี้ยวเต็มที่แล้ว โดยที่ขุดอะไร ๆ ทำให้
เปรี้ยวแล้วก็ระบาย รู้สึกว่านับวันเขาจะดีขึ้น... อันนี้สิเป็นชัยชนะที่ดีใจมาก ที่ใช้งานได้
แล้ว ชาวบ้านเขาก็ดีขึ้น ...แต่ก่อนชาวบ้านเขาต้องซื้อ ข้าว เดี๋ยวนี้เขามีข้าวอาจจะขาย
ได้"
แกล้งดินสำเร็จแล้วราษฎรได้ประโยชน์อะไร
เมื่อผลของการศึกษาทดลอง สำเร็จผลชั้นหนึ่ง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้นำ
ผลการศึกษาทดลองขยายผลสู่พื้น ที่ทำการเกษตรของราษฎร ที่ประสบปัญหาดินเปรี้ยว
จัด ซึ่งในเรื่องนี้ได้มีพระราชดำริว่า
"...พื้นที่บริเวณบ้านโคกอิฐ และโคกในเป็นดินเปรี้ยว เกษตรกรมีความต้องการจะปลูก
ข้าว ทางชลประทานได้จัดส่งน้ำชลประทานให้ ก็ให้พัฒนาดินเปรี้ยว เหล่านี้ให้ใช้
ประโยชน์ได้ โดยให้ประสานงานกับชลประทาน..."
จากการพัฒนาบ้านโคกอิฐ และบ้านโคกใน ปรากฏว่าราษฎรในพื้นที่ดังกล่าว สามารถ
ปลูกข้าวให้ได้ผล ผลิตเพิ่มมากขึ้นจนเป็นที่พอพระราชหฤทัย ถึงกับมีรับสั่งว่า "...เราเคย
มาโคกอิฐ โคกใน มาดูเขาชี้ตรงนั้น ๆ เขาทำ แต่ว่าเขาได้เพียง 5 ถึง 10 ถัง แต่ตอนนี้ได้
ขึ้นไปถึง 40-50 ถัง ก็ใช้ได้แล้ว เพราะว่าทำให้เปรี้ยวเต็มที่แล้ว โดยที่ขุดอะไร ๆ ทำให้
เปรี้ยวแล้วก็ระบาย รู้สึกว่านับวันเขาจะดีขึ้น... อันนี้สิเป็นชัยชนะที่ดีใจมาก ที่ใช้งานได้
แล้ว ชาวบ้านเขาก็ดีขึ้น ...แต่ก่อนชาวบ้านเขาต้องซื้อ ข้าว เดี๋ยวนี้เขามีข้าวอาจจะขาย
ได้"
จัดทำโดย
นางสาวอริศรา สุยะระ
รหัสนักศึกษา 6410121204055
สาขา คณิตศาสตร์
เกษตรทฤษฎีใหม่
จัดทำโดย นางสาวอาแอเซ๊าะ สาเมาะ
สาขาคณิตศาสตร์ 6410121204045
ค ว า ม เ ป็ น ม า ข อ ง โ ค ร ง ก า ร
ปญหาหลักของเกษตรกรในอดีตจนถึงปัจจุบันที่สําคัญ ประการหนึ่ง คือ การขาด
แคลนน้ําเพื่อเกษตรกรรม โดยเฉพาะ อย่างย่ิงในเขตพื้นที่อาศัยน้ําฝน ซึ่งเป็นพ้ืนที่ส่วน
ใหญ่ของ ประเทศที่อยู่ในเขตที่มีฝนค่อนข้างน้อยและส่วนมากเป็นนาข้าว และพืชไร่
เกษตรกรยังคงทําการเพาะปลูกได้ปีละครั้งในช่วง ฤดูฝนเท่าน้ัน และมีความเสี่ยงกับ
ความเสียหายอันเนื่องมาจาก ความแปรปรวนของดิน ฟ้า อากาศ และฝนท้ิงช่วง แม้ว่า
จะมี การขุดบ่อหรือสระเก็บน้ําไว้ใช้บ้างแต่ก็ไม่มีขนาดแน่นอน หรือมี ปัจจัยอ่ืน ๆ ที่เป็น
ปัญหาให้มีน้ําใช้ไม่เพียงพอรวมทั้งระบบ การปลูกพืชไม่มีหลักเกณฑ์ใด ๆ และส่วนใหญ่
ปลูกพืชนิดเดียว
ด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทาน พระราชดําริเพื่อ
เป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบความยาก ลําบากดังกล่าวให้สามารถผ่านพ้นช่วง
เวลาวิกฤต โดยเฉพาะ การขาดแคลนน้ําได้โดยไม่เดือดร้อนและยากลําบากนัก พระรา
ชดํารินี้ ทรงเรียกว่า “ทฤษฎีใหม่” อันเป็นแนวทางหรือ หลักการในการบริหารจัดการท่ี
ดินและน้ําเพื่อการเกษตรในที่ดิน ขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด
วัตถุประสงค์
เพื่อให้เกษตรกรที่มีพื้นที่ทำกินน้อย สามารถยกระดับผลผลิตไร่นา
ของตนให้พอเพียงและสามารถเลี้ยงตนเองได้ในระดับหนึ่ง บนพื้นฐานของ
ความประหยัดและสามัคคีในท้องถิ่นช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
สามารถดำรงชีพอยู่ในสังคมอย่างยั่งยืน โดยไม่ได้รับผลกระทบจากสภาพ
เศรษฐกิจการค้า และเพื่อลดการเคลื่อนย้ายแรงงาน
ห ลั ก ก า ร สำ คั ญ ข อ ง ท ฤ ษ ฎี ใ ห ม่
การบริหารจัดการทรัพยากรโดยเฉพาะดินและน้ําที่มีอยู่จํากัดให้เกิด
ประโยชน์ สูงสุด เพื่อให้เกษตรกรสามารถดําเนินชีวิตอยู่ได้อย่างพอเพียง
โดยเน้นการพึ่งพา ตนเองให้มากที่สุด
เหตุที่เรียก “ทฤษฎีใหม่”
๑. มีการบริหารและจัดแบ่งที่ดินขนาดเล็กออกเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน เพื่อ
ประโยชน์สูงสุดของเกษตรกร
๒. มีการคํานวณโดยหลักวิชาการ เกี่ยวกับปริมาณน้ําที่จะเก็บกักให้พอ
เพียงต่อ การเพาะปลูกได้อย่างเหมาะสมตลอดปี
๓. มีการวางแผนที่สมบูรณ์แบบ
ขั้นตอนของทฤษฎีใหม่ การทําเกษตรทฤษฎีใหม่ มี ๓ ขั้นตอน
ข้ันที่ ๑ เป็นการผลิตแบบพึ่งตนเองด้วยวิธีง่ายๆ ค่อยเป็นค่อยไปตาม
กําลัง พอมีพอกินไม่อดอยาก
ขั้นที่ ๒ เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ ร่วมแรงในเรื่อง
ของ การผลิต การตลาด การเป็นอยู่ สวัสดิการ การศึกษา สังคม และ
ศาสนา
ขั้นที่ ๓ ร่วมมือกับแหล่งเงินและพลังงาน ต้ังและบริการโรงสี ตั้งและ
บริการ ร้านสหกรณ์ ช่วยกันลงทุน ช่วยกันพัฒนาคุณภาพชีวิตของ
ประชาชนในชนบท ซึ่ง มิใช่ทําอาชีพเกษตรเพียงอย่างเดียว
ขั้นที่ ๑ เป็นการสร้างความพอเพียงในระดับครอบครัว
ขั้นที่ ๒ และ ๓ เป็นการสร้างความพอเพียงในระดับชุมชน
ก า ร จั ด ก า ร ใ น ท ฤ ษ ฎี ใ ห ม่
การจัดสรรพื้นที่ในการทําเกษตรทฤษฎีใหม่ข้ันที่ ๑ ซึ่งเป็นขั้นพื้นฐาน
สําคัญ แบ่งออกเป็นเกษตรทฤษฎีใหม่อาศัยน้ําฝน และเกษตรทฤษฎีใหม่
อาศัยน้ํา ชลประทาน (เติมน้ําได้)
เกษตรทฤษฎีใหม่อาศัยน้ําฝน การจัดสรรพื้นที่อยู่อาศัยและที่ทํากิน แบ่งออก
เป็น ๔ ส่วน ตามสัดส่วน ๓๐ : ๓๐ : ๓๐ : ๑๐
ส่วนที่ ๑ สระน้ํา ๓๐ %
ส่วนที่ ๒ นาข้าว ๓๐ %
ส่วนที่ ๓ พืชสวนพืชไร่ ๓๐ %
ส่วนที่ ๔ ที่อยู่อาศัย ๑๐ %
เงื่อนไข คือมีพ้ืนที่น้อย (ประมาณ ๑๕ ไร่) อยู่ในเขตเกษตรน้ําฝน ฝนตก
ไม่ชุก ปลูกข้าวเป็นพืชหลัก สภาพดินสามารถขุด สระเก็บกักน้ําได้ ฐานะค่อน
ข้างยากจน มีสมาชิกในครอบครัวปานกลางประมาณ ๕ - ๖ คน และไม่มี
อาชีพหรือรายได้อื่นท่ีดี กว่าในบริเวณใกล้เคียง
เกษตรทฤษฎีใหม่อาศัยน้ําชลประทาน (เติมน้ําได้) การทําทฤษฎีใหม่
สามารถ ยืดหยุ่นปรับสัดส่วนการใช้พื้นที่ให้มีความเหมาะสมตามสภาพพื้นที่
เช่น พ้ืนที่ภาคใต้ ที่มีฝนตกชุกกว่าภาคอื่น หรือพ้ืนที่ที่มีแหล่งน้ํามาเติมได้หรือ
มีระบบชลประทานเข้าถึง สัดส่วนของสระน้ําอาจเล็กลง แล้วเพิ่มเติมพื้นที่
ปลูกไม้ผล พืชไร่ พืชผักแทน โดย อาจแบ่งพ้ืนที่ออกเป็น ๔ ส่วน
ตามอัตราส่วน ๑๖ : ๒๔ : ๕๐ : ๑๐
อ่างเก็บน้ํา สระน้ํา แปลงเกษตรกรรม
ส่วนที่ ๑ สระน้ํา ๑๖ %
ส่วนที่ ๒ นาข้าว ๒๔ %
ส่วนที่ ๓ ไม้ผล พืชหลัก และพืชไร่ ๕๐ % ส่วนที่ ๔ ที่อยู่อาศัย ๑๐ %
ที่ดอน จัดเป็นพ้ืนที่สําหรับปลูกไม้ผล เลี้ยงสัตว์ และท่ีอยู่อาศัย ที่ลุ่ม จัดเป็น
พื้นท่ีทํานาข้าว แปลงผัก และสระน้ํา
ป ร ะ โ ย ช น์ ท ฤ ษ ฎี ใ ห ม่
จากพระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ได้
พระราชทานใน โอกาสต่าง ๆ นั้น พอสรุปถึงประโยชน์ของทฤษฎี
ใหม่ได้ดังนี้
๑. ให้ประชาชนพออยู่พอกินสมควรแก่อัตภาพในระดับที่ประหยัด
ไม่อดอยาก และเลี้ยงตนเองได้ตามหลักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง”
๒. ในหน้าแล้งมีน้ําน้อย ก็สามารถเอาน้ําท่ีเก็บไว้ในสระมาปลูกพืช
ผัก เลี้ยงปลา หรือทําอะไรอ่ืนๆ ก็ได้แม้แต่ข้าวก็ยังปลูกได้ ไม่ต้อง
เบียดเบียนชลประทาน ระบบใหญ่เพราะมีของตนเอง
๓. ในปีที่ฝนตกตามฤดูกาลโดยตลอดปี ทฤษฎีใหม่นี้ก็สามารถ
สร้างรายได้ ให้ร่ํารวยขึ้นได้ ในกรณีที่เกิดอุทกภัยก็สามารถท่ีจะฟื้ นตัว
และช่วยตัวเองได้ใน ระดับหน่ึง โดยทางราชการไม่ต้องช่วยเหลือมาก
เกินไป อันเป็นการประหยัด งบประมาณด้วย
3 ห่ ว ง 2 เ งื่ อ น ไ ข
ปรัชญา/หลัก 3 ห่วง คือ
1. หลักความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยไป และไม่มาก
เกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเอง
และผู้อื่น เช่น การผลิต การบริโภค การใช้จ่าย ฯลฯ ที่อยู่ในระดับพอ
ประมาณ
2. หลักความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียง
นั้น จะต้องเป็นไปอย่างมี
เหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัย ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคานึงถึงผลที่
คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทานั้นๆ อย่าง
รอบคอบ
3. หลักการสร้างภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ
และการเปลี่ยนแปลงด้าน
ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคานึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่
คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
เงื่อนไขของการตัดสินใจและดาเนินกิจกรรมให้อยู่ในระดับพอ
เพียง ๒ ประการ คือ
1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่
เกี่ยวข้องรอบด้าน เพื่อจะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อ
ประกอบการวางแผน และระมัดระวังในการปฏิบัติ
2. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน
คุณธรรม มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีความอดทน มีความเพียร และมีการแบ่ง
ปัน ใช้สติปัญญาในการดาเนินชีวิต
ดํ า ริ โครงการพระราช
สถานี
เกษตรหลวง
อินทนนท์
นางสาวไซตน หัดขะเจ
รหัส 6410121204046
สาขาคณิตศาสตร์
ป ร ะ วั ติ ค ว า ม เ ป็ น ม า
ศุภนิมิตอันดีของโครงการหลวงอินทนนท์ก็เพราะถือกำเนิดหนึ่งวันหลังวันเฉลิมพระชนมพรรษา
วันเฉลิมฯ ปี พ.ศ.2522
ทรงเชิญคณะรัฐมนตรีไปรับพระราชทานเลี้ยงร่วมกับข้าราชบริพารที่พระราชวังบางประอิน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงรับสั่งถามผู้เขียนว่าเรื่องดอยอินทนนท์เป็นอย่างไร
และเมื่อทราบว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น ก็มีรับสั่งกับนายกรัฐมนตรี พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์
หลังจากนั้นงานพระราชทานงานเลี้ยงผู้เขียนขับรถกลับกรุงเทพฯ เข้านอนยังไม่หลับดีก็ได้รับโทรศัพท์
ว่ารุ่งขึ้นเช้า วันที่ 6 ธันวาคม 2522 ท่านนายกขอให้ร่วมคณะบินไปดอยอินทนนท์ คณะของนายกรัฐมนตรี
ประกอบด้วย รมต.สำนักนายก รองเลขาฯนายก ผู้เขียน อธิบดี 4 กรม เลขาธิการปฏิรูปที่ดินและผู้ว่าราชการ
เชียงใหม่ ข้าราชการท้องที่ เช่น นายอำเภอ ตำรวจ และหัวหน้าอุทยานแห่งชาติ
ขึ้นไปสมทบที่บังกะโลป่าไม้ขุนกลาง
**เก็บความจากหนังสือ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และโครงการหลวง”
บทนิพนธ์ของหม่อมเจ้า ภีศเดช รัชนี พุทธศักราช 2531
ส ถ า นี เ ก ษ ต ร ห ล ว ง วั น นี้
สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เลขที่ 202 หมู่ที่ 7
ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ราษฎรที่อาศัยบนพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นชาวไทย
ภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงและเผ่าม้ง ซึ่งบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ ทำไร่เลื่อนลอย ปลูกข้าวไร่ ข้าวโพด และฝิ่น
ส่งผลให้ป่าที่เคยสมบูรณ์กลายสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ที่จะช่วยเหลือชาวเขาเหล่านั้นให้มีพื้นที่ทำกิน
เป็นหลักแหล่ง และได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้ทางด้านการเกษตรแผนใหม่ ปรับปรุงฐานะ
ความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น ด้วยการหันมาทำการเกษตรแบบถาวร อันเป็นที่มาของการจัดตั้ง
“สถานีวิจัยโครงการหลวงอินทนนท์” ในปี พ.ศ.2522 ณ บริเวณบ้านขุนกลาง
เพื่อเป็นสถานีวิจัยของมูลนิธิโครงการหลวงอีกแห่งหนึ่ง ดำเนินงานวิจัยด้านไม้ดอก ไม้ประดับ
พืชผัก และไม้ผล รวมทั้งถ่ายทอดผลงานวิจัยไปสู่การส่งเสริมให้เป็นรายได้ของครอบครัว
เกษตรกรทั้งชาวกะเหรี่ยง และ ม้งในหมู่บ้านรอบๆ สถานีฯ พร้อมกับการพัฒนาปัจจัยพื้นฐาน
พัฒนาด้านสังคมและการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำลำธารและโปรดให้เป็น “สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์”
ในปี พ.ศ.2550
วั ต ถุ ป ร ะ ส ง ค์
- เพื่ออบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีและส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้และทักษะให้มีความมั่นคงในการประกอบ
อาชีพที่เหมาะสม (อย่างน้อยให้มีรายได้พอกิน)
- เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านสังคม การศึกษา สาธรณสุข และความเข็มแข็งของชุมชน
- เพื่อส่งเสริมและพัฒนาฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ทดสอบสาธิตการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ประมง
ก า ร ดำ เ นิ น ง า น
งานส่งเสริมและพัฒนาอาชีพภาคการเกษตร
พัฒนาและส่งเสริมอาชีพด้านการปลูกพืช จำนวน 7 ชนิด ได้แก่
ผักอินทรีย์ ผักปกติ (GGP,GAP) ไม้ผล ไม้ผลขนาดเล็ก ไม้ดอก
กาแฟ พืชไร่นอกภาคการเกษตร ส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้เสริม
อีกทางหนึ่งนอกเหนือจากกิจกรรมภาคการเกษตร ได้แก่
งานหัตถกรรม เป็นการสนับสนุนการทอผ้าและย้อมสีผ้าจาก
วัสดุธรรมชาติ งานแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าทอกะเหรี่ยงเป็นของที่ระลึก
เพื่อจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวและงานท่องเที่ยว เป็นการจัดกิจกรรม
ส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรบ้านแม่กลางหลวง
ในการจัดกลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยมีที่พัก โฮมสเตย์
จัดประชุมการท่องเที่ยว เช่ากางเต็นท์
ผ ล ก า ร ดำ เ นิ น ง า น
ผลการดำเนินงานปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอินทนนท์ได้ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ
ให้เกษตรกรในพื้นที่ความรับผิดชอบของศูนย์ฯ ให้มีชีวิตความเป็นอยู่และรายได้เพิ่มขึ้น โดยการลดใช้สารเคมี
และคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม เช่น ระบบปลูกพืชที่ดีและปลอดภัย (GAP)
ของพืชผัก ไม้ผล ระบบปลูกพืชผักอินทรีย์ โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้าน งานทดสอบสาธิตและขยายพันธุ์
ไม้ตัดดอก ไม้ถุงเพื่อสนับสนุนงานส่งเสริม 6 ชนิดพืช ส่วนงานส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแบ่งออกเป็น
1. ภาคการเกษตรได้ส่งเสริมอาชีพการปลูกพืช จำนวน 8 ชนิด ได้แก่ พืชผัก ไม้ผลเขตหนาว
ไม้ผลขนาดเล็ก ไม้ดอก ดอกไม้แห้ง พืชไร่ กาแฟ และปลูกป่าชาวบ้าน
2. นอกภาคการเกษตรได้ส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้อีกทางหนึ่ง เช่น งานหัตถกรรม
งานท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
นอกจากนี้ศูนย์ฯ อินทนนท์ ได้ส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน เช่น กลุ่มสตรีแม่บ้าน กลุ่มเยาวชน
กลุ่มสหกรณ์ ฯลฯ การฟื้นฟูและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้เกษตรกรหันมาทำการเกษตรแบบยั่งยืนต่อไป
โครงการเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
เป็นโครงการตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลย
เดช ที่ทรงดำริให้สร้างเขื่อนเพื่อเก็บกักน้ำและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เป็นเขื่อนดินที่
ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ได้พระราชทานนามว่า “เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์” และเสด็จทรงเปิดเขื่อนฯ เมื่อวันที่ 25
พฤศจิกายน 2542
ความเป็นมา
“แม่น้ำป่าสัก” เป็นแม่น้ำสายสำคัญที่สุดสายหนึ่งของชาวจังหวัดลพบุรีและสระบุรี
ประชาชนจะได้ประโยชน์จากแม่น้ำป่าสักอย่างมหาศาล แต่ในช่วงเดือนสิงหาคม ถึง
เดือนตุลาคมของทุกปี จะเกิดน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ของจังหวัดลพบุรีและ
หมู่บ้านใกล้เคียงอีกรวมไปถึงจังหวัดสระบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
กรุงเทพมหานคร สำหรับในช่วงเดือนมกราคม ถึงเดือนพฤษภาคม พื้นที่ในลุ่มน้ำป่า
สักก็จะประสบภาวะแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำใช้เพื่อการเกษตรและอุปโภค บริโภค
ในปี พ.ศ. 2508 กรมชลประทานได้เริ่มศึกษาโครงการเขื่อนเก็บกักน้ำแม่น้ำป่า
สัก แต่เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูงจึงได้ระงับโครงการ
แต่หลายครั้งที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาเยี่ยมราษฎรจังหวัดลพบุรีด้วย
ความห่วงใย และได้เสด็จไปทอดพระเนตรพื้นที่ในเขตอำเภอชัยบาดาล จังหวัด
ลพบุรีที่กำลังประสบปัญหาอยู่
ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล ด้วยความห่วงใยและด้วยพระอัจฉริยภาพที่ล้ำลึก
ทรงแก้ปัญหาให้ “ความโหดร้าย” ของแม่น้ำป่าสักกลับกลายเป็น “ความ
สงบเสงี่ยม”
ที่น่านิยม พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงหาทางแก้ไข
ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532
พระองค์ท่านได้มีพระราชดำริให้กรมชลประทานดำเนินการศึกษาความเหมาะ
สมของโครงการเขื่อนกักเก็บน้ำแม่น้ำป่าสักอย่างเร่งด่วน เพื่อแก้ปัญหาความ
ขาดแคลนน้ำ เป็นประโยชน์ต่อพื้นที่
เพาะปลูก และบรรเทาอุทกภัยที่เกิดขึ้น
การดำเนินงาน
กรมชลประทาน ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี2542 สามารถเก็บกักน้ำได้
960 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งใน
เขตลุ่มน้ำป่าสักและลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2543 กรมชลประทานได้
พัฒนาระบบชลประทานเพื่อส่งน้ำสนับสนุน พื้นที่การเกษตรรวม 174,500 ไร่ดังนี้
- โครงการสูบน้ำพัฒนานิคม พื้นที่ชลประทาน 28,500 ไร่
-โครงการสูบน้ำ แก่งคอย-บ้านหมอ พื้นที่ชลประทาน 86,700 ไร่
-โครงการสูบน้ำพัฒนานิคม – แก่งคอย พื้นที่ชลประทาน 29,300 ไร่
-โครงการจัดหาน้ำเพื่อการเกษตร พื้นที่ชลประทาน 30,000 ไร่
นอกจากนั้นเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ได้นำระบบโทรมาตร มาใช้ในการคำนวณ
พยากรณ์และคาดการณ์สถานการณ์น้ำในบริเวณลุ่มน้ำป่าสักตลอดจนการเก็บ
ข้อมูล สถิติน้ำฝนน้ำท่า อย่างต่อเนื่องเป็นระบบ ทำให้สามารถควบคุมปริมาณน้ำ
ในแม่น้ำป่าสักส่งผลให้ลดผลกระทบที่มีต่อปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาช่วย
ป้องกันและบรรเทาสภาวะอุทกภัยได้
ประโยชน์ของโครงการ
1.บรรเทาปัญหาอุทกภัยให้กับพื้นที่บริเวณลุ่มน้ำป่าสักและพื้นที่ด้านท้ายเขื่อนซึ่ง
ช่วยลดความเสียหายด้านเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยได้อย่างมหาศาล
2.ด้านการเกษตรกรรมเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ทำหน้าที่ส่งน้ำให้พื้นที่การเกษตรคิดเป็น
ปริมาตร 840ล้านลบ.ม.และยังมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอีกเนื่องจากความต้องการใช้
น้ำเพื่อการเกษตรเพิ่มขึ้น
3.เพื่อการอุปโภค-บริโภคและอุตสาหกรรมซึ่งเป็นความต้องการรองลงมาจากการ
ใช้น้ำเพื่อการเกษตรอันประกอบด้วยการส่งน้ำเพื่อใช้ผลิตน้ำประปาและใช้เพื่อ
กิจการของโรงงานอุตสาหกรรม ส่งผลให้พื้นที่มีการขยาย
4.เพื่อฟื้ นฟูและรักษาสมดุลของระบบนิเวศน์ผลของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ส่งผลให้
ปริมาณน้ำใต้ดินบริเวณเขื่อนและพื้นที่ด้านท้ายน้ำมีระดับสูงขึ้นส่งผลประโยชน์ให้
แก่ราษฎรในพื้นที่ในด้านและเพื่อการเกษตรนอกจากนั้นยังสร้างความชุมชื้นให้แก่
พื้นที่ป่าใหม่ให้มีความอุดมสมบูรณ์สร้างความหลากหลายให้แก่ระบบนิเวศน์
5.เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลา และแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่ เนื่องจากลักษณะ
ของเขื่อนมีลักษณะแบนราบ ทำให้แสงแดดและออกซิเจนกระจายตัวได้อย่างทั่ว
ถึงทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การขยายพันธุ์สัตว์น้ำเห็นได้จากผลการ
ศึกษาวิจัยของคณะประมง มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ที่พบว่าปัจจุบันภายใน
เขื่อนป่าสักมีหลากหลายของพันธุ์ปลาประมาณ 130 ชนิดพันธุ์เป็นชนิดพันธุ์ปลา
ที่พบเพิ่มขึ้น 52 ชนิด จากเดิมประมาณ 80 ชนิดพันธุ์ทำให้เขื่อนป่าสักเป็นแหล่ง
ประมงที่สำคัญแห่งใหม่ของประเทศนอกจากนี้ยังเป็นการสร้างอาชีพ และราย
ได้ด้านการประมงให้แก่ราษฎรในพื้นที่อีกด้วย
6.เป็นแหล่งท่องเที่ยว เนื่องจากเขื่อนมีลักษณะเป็นเหมือนทะเลสาบน้ำจืดขนาด
ใหญ่ประกอบ การมีการสร้างเส้นทางเดินรถไฟผ่านบริเวณเขื่อนซึ่งเป็นจุดดึงดูด
ความสนใจของนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ตลอดสองข้างทางของถนนที่มุ่งหน้าสู่
เขื่อนป่าสัก มีการปลูกต้นทานตะวันซึ่งจะบานสะพรั่ง มีจำนวนนักท่องเที่ยวไป
เยี่ยมชมเขื่อนป่าสักสูงขึ้น
ผลกระทบที่ชัดเจนจากการก่อสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจนได้แก่ ความเข้มข้นปริมาณตะกอนท้ายน้ำที่ลด
ลง 2.28 เท่าจึงอาจกระทบกับอายุของอ่างเก็บน้ำ นอกจากนี้ การเพิ่มพื้นที่ชุมชน
บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำจากเดิม10 ตารางกิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2538 เป็น 575
ตารางกิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2545 และจากการไม่มีแหล่งอุตสาหกรรมในปีพ.ศ.
2538 เป็นแหล่งอุตสาหกรรม จำนวน 67.04 ตารางกิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2545ก่อ
ให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพน้ำที่เกิดจากการปนเปื้ อนของน้ำเสียจากชุมชนและ
อุตสาหกรรมและถึงแม้ว่าเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ทำให้เกิดความสูญเสียโบราณคดีใน
สภาพจริง 27 แห่งแต่เขื่อนก็ยังช่วยบรรเทาอุทกภัยให้กับโบราณสถานสำคัญ เช่น
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น ซึ่งการพัฒนาเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
ทำให้เกิดการรวมตัวของชุมชนมากขึ้นมีเส้นทางคมนาคมที่เข้าถึงในชุมชนต่างๆ
มากขึ้น มีการอนุรักษ์ชุมชนดั้งเดิมการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ให้เป็น
ระบบให้มีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องรวมถึงส่งเสริมการศึกษาวิจัยในพื้นที่
จะทำให้สภาพแวดล้อมสังคมและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์จะยังคงควบคู่กับ
การบริหารโครงการต่อไป
บทสรุป
ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับโครงการนอกจากผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น
โดยตรงจากการใช้น้ำที่มีเสถียรภาพมากขึ้นในด้านการอุปโภคบริโภคการสร้าง
รายได้ทั้งภาคการเกษตร การประมงในอ่างเก็บน้ำ และอุตสาหกรรมแล้วเขื่อน
ป่าสักชลสิทธิ์ยังมีประโยชน์ด้านการบรรเทาอุทกภัย รายได้จากการท่องเที่ยว
การฟื้ นฟูด้านสิ่งแวดล้อมโดยการรักษาคุณภาพน้ำจากการไล่น้ำเสียและน้ำเค็ม
บริเวณท้ายเขื่อนลงมาถึงบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑลทำให้มีผล
ประโยชน์สุทธิ เท่ากับ 49,788.51 ล้านบาทสัดส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุนเท่ากับ
1.39และอัตราผลตอบแทนภายในโครงการเท่ากับร้อยละ 16.75 ทั้งนี้อาจทำให้
ผลประโยชน์โครงการสูงมากขึ้นถึง 63,701.24 ล้านบาท หากมีการพัฒนาและ
บริหารโครงการที่ดีอย่างต่อเนื่องด้วย
สรุปได้ว่าผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นภายหลังจากมีเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มี
มากกว่าต้นทุนของทรัพยากรที่ใช้ไปในโครงการทั้งทางตรงและทางอ้อมนับเป็น
ตัวอย่างการบริหารโครงการยุคใหม่ การศึกษาของ สกว. ได้เสนอแนะให้
กรมชลประทานเป็นหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการโครงการโดยประสาน
ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งเรื่องแหล่งน้ำต้นทุน ผู้ใช้น้ำ รวมถึงการ
ส่งเสริมอาชีพและการพัฒนาชุมชนบริเวณเขื่อนอย่างยั่งยืนโดยให้มีการประเมิน
ผลการดำเนินการอย่างสม่ำเสมอทุก 10 ปีเพื่อความสำเร็จและความยั่งยืนของ
โครงการสมเจตนารมณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงให้กำเนิด
โครงการสืบต่อไป