The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือฝ่ายจัดการสหกรณ์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ccettd 15, 2020-05-08 04:26:38

คู่มือฝ่ายจัดการสหกรณ์

คู่มือฝ่ายจัดการสหกรณ์

คู่มือการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง หลักสูตร

ฝายจดั การสหกรณ์

โดย ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที 15
จังหวัดเพชรบุรี



คำนำ

ฝ่ายจัดการสหกรณ์เป็นบุคลากรที่มีความสำคัญมากในการขับเคล่ือนธุรกิจของกิจการ
สหกรณ์ ดังน้ันจึงจำเป็นอย่างย่ิงท่ีฝ่ายจัดการจะต้องได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในเร่ืองการ
บริหารจัดการสหกรณ์อย่างมีประสิทธิภาพตามแบบสหกรณ์และเข้าใจในบทบาท หน้าท่ีความรับผิดชอบและมี
จติ สำนึกในการให้บริการทีด่ ี

คู่มือฝ่ายจัดการสหกรณ์ จัดทำข้ึนโดยมีวัตถุประสงค์ในการนำความรู้สู่การปฏิบัติได้ เพื่อ
ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของฝ่ายจัดการสหกรณ์ สาระของคู่มือในแต่ละเรื่องแบ่งเป็น 2
ส่วนตามหลักการจัดการความรู้ (Knowledge Management) คือ ภาควิชาการที่มาจากเอกสาร จาก
ประสบการณ์ และภาคการนำไปปฏบิ ัติ สาระในคู่มอื ประกอบด้วย

- ความรทู้ วั่ ไปเกีย่ วกับสหกรณ์
- การจดั การธรุ กจิ สหกรณ์แนวใหม่
- พฤติกรรมท่ีพงึ ประสงคข์ องเจา้ หน้าที่สหกรณ์
- การบรกิ ารที่ดี (Service Mind)
ความรู้ตามคู่มือจะขับเคล่ือนอย่างมีชีวิตได้เมื่อมีการนำไปปรับใช้อย่างเหมาะสม จนพัฒนา
กลายเป็นความรู้ใหม่อย่างไม่มีส้ินสุด หวังว่าประโยชน์ที่เกิดข้ึนคือการพัฒนาของบุคคล การพัฒนาของ
สหกรณ์ และการพฒั นาของประเทศตามลำดับ

ศนู ยถ์ ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ท่ี 15
จงั หวัดเพชรบุรี
เมษายน 2563



สารบญั

หนา้
ความรทู้ ว่ั ไปเกย่ี วกบั สหกรณ์................................................................................................................. 1

1.ความร้ทู ัว่ ไปเกย่ี วกับสหกรณ์........................................................................................................................................1

ความหมาย.......................................................................................................................................................................................... 1
เอกลกั ษณ์สหกรณ์..............................................................................................................................................................................2

2. ค่านิยมสหกรณ์............................................................................................................................................................ 4

ประโยคแรกของค่านยิ มทางสหกรณ์ .............................................................................................................................................. 4
ประโยคที่สองของค่านยิ มทางสหกรณ์............................................................................................................................................ 6

3.หลกั การสหกรณ์........................................................................................................................................................... 7

หลักการสหกรณ์ ประการท่ี 1 การเป็นสมาชิกโดยสมคั รใจและเปดิ กว้าง Voluntary and Open Membership ...8
หลกั การสหกรณ์ ประการที่ 2 การควบคมุ โดยสมาชกิ ตามหลักประชาธิปไตย Democratic Member Control.....11
หลกั การสหกรณ์ ประการท่ี 3 การมสี ว่ นรว่ มทางเศรษฐกจิ โดยสมาชิก Member Economic Participation.........12
หลกั การสหกรณ์ ประการที่ 4 การปกครองตนเอง และความเปน็ อิสระ Autonomy and Independence ...........14
หลักการสหกรณ์ ประการที่ 5 การศกึ ษา ฝึกอบรมและสารสนเทศ Education, Training and Information ....15
หลกั การสหกรณ์ ประการที่ 6 ความร่วมมือระหวา่ งสหกรณ์ Co-operation among Co-operatives ..............16
หลกั การสหกรณ์ ประการท่ี 7 การเอื้ออาทรต่อชุมชน Concern for Community.......................................................16

4. ประวตั กิ ารสหกรณ์....................................................................................................................................................17

การปฏวิ ตั ิการปกครองในประเทศฝรัง่ เศส ...................................................................................................................................17
การปฏวิ ตั ิอตุ สาหกรรมในประเทศองั กฤษ....................................................................................................................................17
ระบบเศรษฐกจิ แบบสงั คมนยิ ม........................................................................................................................................................18
ระบบเศรษฐกจิ แบบสายกลาง ........................................................................................................................................................18
แนวความคดิ ในรปู แบบสหกรณ์......................................................................................................................................................18
กวา่ จะประสบความสำเรจ็ ..............................................................................................................................................................18
โรเบริ ต์ โอเวน บดิ าแห่งการสหกรณ์ ........................................................................................................................................19
นายแพทย์วลิ เลย่ี ม คงิ ผปู้ รับปรงุ วธิ ีการของโอเวน..................................................................................................................19
ชารล์ ส์ ฟรู เิ อ แนวความคดิ แบบนิคมสหกรณ์...........................................................................................................................19
ฟลิ ลิป บเู ช วางแนวทางสหกรณผ์ ู้ผลิต .....................................................................................................................................20
เฮอรม์ ัน ชลุ เซ ตน้ กำเนิดสหกรณเ์ ครดติ ในเมอื ง....................................................................................................................20
เฟรดรคิ วิลเฮลม์ ไรฟไ์ ฟเซน ตน้ กำเนดิ สหกรณเ์ ครดติ ชนบท.............................................................................................20



แนวความคิดขยายผลการต้งั สหกรณ์............................................................................................................................................21
ก่อนจะเป็นสหกรณอ์ ยา่ งแทจ้ รงิ .....................................................................................................................................................21
สหกรณแ์ หง่ แรกในประเทศอังกฤษ.................................................................................................................................................21
ต้นแบบแห่งหลักการสหกรณส์ ากล............................................................................................................................................... 22
วันสหกรณส์ ากล.............................................................................................................................................................................. 22
กอ่ นจะมีการสหกรณ์ในประเทศไทย.............................................................................................................................................23
แนวทางแกไ้ ขภาวะเศรษฐกจิ สำหรบั ชาวนา .................................................................................................................................23
จดั ตง้ั ธนาคารให้กยู้ ืมแห่งชาติ .......................................................................................................................................................23
คำแนะนำเรือ่ งสมาคมสหกรณห์ ลกั ประกนั อันยงั่ ยนื สำหรับธนาคาร.......................................................................................24
จดุ เร่ิมต้นนำการสหกรณ์มาใช้ในประเทศไทย.............................................................................................................................24
เผยแพรก่ ารสหกรณเ์ ปน็ ครง้ั แรก..................................................................................................................................................24
สหกรณแ์ หง่ แรกในประเทศไทย .....................................................................................................................................................24
รวมกลุ่มบคุ คลเปน็ คณะบุคคล จดุ เรมิ่ ตน้ ตงั้ สหกรณ์...............................................................................................................25

5. การประชุม ...............................................................................................................................................................25

องค์ประชมุ ........................................................................................................................................................................................25
ประเภทการประชมุ ในสหกรณ์.......................................................................................................................................................26
จำแนกกลุ่มผู้เขา้ มาประชุมในสหกรณ์..........................................................................................................................................26
องค์ประกอบและบทบาทหน้าท่ี...................................................................................................................................................... 27
ช่วงแรกดำเนนิ การก่อนประชุม......................................................................................................................................................29
จัดขอ้ มูลประกอบวาระการประชมุ ...............................................................................................................................................30
จดั ทำเอกสารการประชมุ ................................................................................................................................................................31
ชว่ งกลางดำเนินการระหว่างประชมุ ...............................................................................................................................................31
ขั้นตอนดำเนินการในสถานทป่ี ระชมุ ..............................................................................................................................................32
ช่วงหลงั ดำเนินการหลงั ประชมุ .....................................................................................................................................................35
โครงสรา้ งสหกรณ์ ..........................................................................................................................................................................35

การจดั การธรุ กจิ สหกรณแ์ นวใหม่ ..................................................................................................... 39

1. ธรุ กิจสหกรณ์..............................................................................................................................................................39
2. การจัดการธุรกิจแนวใหม่........................................................................................................................................39

2.1 ธรุ กิจซื้อ......................................................................................................................................................................................40
2.2 ธุรกจิ ขาย..................................................................................................................................................................................47
2.3 ธรุ กจิ สนิ เชื่อ..............................................................................................................................................................................51



2.4 ธรุ กิจรบั ฝากเงนิ ......................................................................................................................................................................60
2.5 ธรุ กจิ บรกิ าร............................................................................................................................................................................64

พฤตกิ รรมทพ่ี งึ ประสงคข์ องเจา้ หนา้ ทส่ี หกรณ์................................................................................... 69

1. เจ้าหน้าทกี่ ารตลาด ..................................................................................................................................................69
2. เจ้าหน้าที่สนิ เชือ่ .........................................................................................................................................................69
3. เจา้ หนา้ ที่ธุรการ........................................................................................................................................................70
4. เจา้ หนา้ ทก่ี ารเงนิ .......................................................................................................................................................71
5. เจา้ หนา้ ทบ่ี ญั ชี ...........................................................................................................................................................72

การบรกิ ารทด่ี ี (Service Mind) ................................................................................................... 73

เซอร์วิซ (Service) หรือบรกิ าร: ................................................................................................................................73
คำวา่ “มายด์ (Mind)” หรอื จิตใจ:...........................................................................................................................73
การบรกิ ารทด่ี ี (Service Mind) ในกระบวนการสหกรณ์ ..................................................................................75



ความรทู้ ่ัวไปเกย่ี วกบั สหกรณ์

1.ความรทู้ ว่ั ไปเกยี่ วกบั สหกรณ์

ความหมาย

สหกรณ์เป็นภาษาสันสกฤต มีการอธิบายความหมายของนักสหกรณ์ไทยและต่างประเทศ โดยยกเป็น
ตัวอยา่ งไดด้ ังน้ี

• พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงอธิบายความหมาย สหกรณ์ ว่า สห คือ ด้วยกัน กรณ์
คือ การทำงาน สหกรณ์ คือ การทำงานร่วมกัน ด้วยความรู้ความสามารถ ซื่อสัตย์สุจริต เมตตากัน
สหกรณต์ ้องอาศัยปัจจยั สำคญั ที่สดุ คือ ความสามัคคแี ละความซอื่ สัตย์

• พระราชวรวงศ์เธอ กรมหม่ืนพิทยาลงกรณ ซ่ึงถือว่าเป็นพระบิดาของสหกรณ์ในประเทศไทย
ได้ประทานคำแปล “สหกรณ์เป็นวิธีการจัดการรูปหนึ่งซึ่งบุคคลหลายคนเข้าร่วมกันโดยความสมัครใจของ
ตนเอง ในฐานะท่ีเป็นมนุษย์เท่านั้น และโดยความมีสิทธิเสมอหน้ากันหมดเพื่อจะบำรุงตัวเองให้เกิดความ
จำเริญในทางทรัพย์”

• คำนิยามที่กำหนดโดยองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour
Organization หรือ ILO) กำหนดสถานะของสหกรณ์เป็นท้ังองค์กรทางเศรษฐกิจและสังคม “สหกรณ์เป็น
สมาคมของบุคคลที่รวมกันเข้าด้วยความสมัครเพ่ือบรรลุจุดหมายร่วมกัน โดยการก่อต้ังองค์การธุรกิจที่
ควบคุมแบบประชาธิปไตย ร่วมกันออกทุนท่ีต้องการอย่างเที่ยงธรรมและยอมรับการมีส่วนอย่างยุติธรรม ใน
การเสยี่ งภัยและผลประโยชน์ของการดำเนินงานที่สมาชิกมีส่วนรว่ มอย่างแขง็ ขัน”

• Israel Packel ได้ให้คำนิยามไว้ว่า “สหกรณ์เป็นสมาคมที่ให้บริการทางเศรษฐกิจโดยไม่
คิดกำไรในฐานะผู้ประกอบการและบุคคล ผู้รับบริการของสมาคมต่างก็เป็นเจ้าของและเป็นผู้ควบคุมกิจการ
โดยเท่าเทยี มกนั ”

• W.P.Watkins ได้ให้คำนิยามว่า “สหกรณ์เป็นระบบองค์กรทางสังคมอย่างหนงึ่ ซ่ึงยึดหลัก
ความสามคั คี เศรษฐกิจ ประชาธิปไตย ความยุติธรรมและเสรีภาพ”

• ความหมายของสหกรณ์นอกจากการอธิบายดังกล่าวแลว้ ตามกฎหมาย คือ พระราชบญั ญัติ
สหกรณ์ (ฉบับท่ี 3) พ.ศ. 2562 ได้กำหนดให้สหกรณ์หมายความว่า “คณะบุคคลซึ่งร่วมกันดำเนินกิจการ
เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมโดยช่วยตนเอง และช่วยเหลือซ่ึงกันและกันและได้จดทะเบียนตาม
พระราชบัญญตั นิ ี้”

• คำแถลงการณ์ขององค์กรความสัมพันธ์ระหว่างสหกรณ์ (ICA) ได้อธิบายคำว่า “สหกรณ์”
ไว้ดังนี้ “สหกรณ์เป็นองค์การอิสระของบุคคลซ่ึงรวมกันด้วยความสมัครใจ เพื่อสนองความต้องการและมี
จุดมุ่งหมายร่วมกันทางเศรษฐกิจพ้ืนฐาน สังคม และวัฒนธรรม ผ่านวิสาหกิจท่ีเป็นเจ้าของร่วมกันและ
ควบคมุ ตามหลักประชาธปิ ไตย”

1

คำจำกัดความของ ICA น้ี เนน้ ให้ความสำคญั ลักษณะของสหกรณ์ดงั ต่อไปน้ี
1. สหกรณ์เปน็ “อิสระ” หมายถึง สหกรณเ์ ป็นอสิ ระจากรัฐและธุรกิจเอกชนเท่าทจี่ ะทำได้
2. คำว่า “เป็นองค์การของบุคคล” หมายความว่า สหกรณ์มีความเป็นอิสระท่ีจะให้คำจำกัดความ
ของคำว่า “บุคคล” ไว้ตามกฎหมายต่าง ๆ ที่พวกเขาเลือก สหกรณ์ในระดับปฐมมากมายท่ัวโลกเลือกที่จะ
ยอมรบั สมาชิกทเ่ี ป็นบคุ คลธรรมดาเท่านัน้ ในขณะท่หี ลาย ๆ สหกรณร์ ะดบั ปฐมยอมรับ “นติ ิบคุ คล” ที่กฎหมาย
กำหนดไว้มากมาย เช่น บริษัทต่าง ๆ และขยายไปถึงว่าสมาชิกที่เป็นนิติบุคคลเหล่านี้มีสิทธิเท่าเทียมกับ
สมาชิกอื่น ๆ สหกรณ์ท่ีนอกเหนือจากสหกรณ์ระดับปฐม สามารถท่ีจะมีสหกรณ์อื่นเป็นเจ้าของ แต่ในทุก
กรณสี ภาพของการดำเนนิ งานตามระบอบประชาธิปไตยเป็นสาระสำคัญท่ีจะต้องตัดสนิ ใจระหว่างสมาชิก
3. บุคคลท่ีเข้าร่วมต้อง “สมัครใจ” สมาชิกในสหกรณ์ต้องมิได้ถูกบังคับ สมาชิกต้องมีเสรีภาพใน
การทจ่ี ะพิจารณาวา่ จะรว่ มหรอื ออกจากสหกรณ์
4. สมาชิกสหกรณ์ “เพื่อสนองความต้องการด้านเศรษฐกิจพื้นฐาน สังคมและวัฒนธรรม” ในคำ
จำกัดความส่วนนี้ เห็นว่า สมาชิกร่วมกันจัดตั้งสหกรณ์เพื่อท่ีจะช่วยตนเองและช่วยเหลือซ่ึงกันและกัน โดย
ปกติสหกรณ์ต้องมีหน้าท่ีเกี่ยวกับการตลาด ซึ่งจะต้องปฏิบัติด้วยความมีประสิทธิภาพและรอบคอบ สมาชิก
ส่วนใหญ่มีจุดประสงค์ประการแรกเพ่ือสนองความต้องการด้านเศรษฐกิจ แต่ก็มีเป้าประสงค์ทางสังคมและ
วัฒนธรรมด้วย คำว่า “สังคม” หมายถึงการพบปะโดยมีเป้าหมายทางสังคม เช่น การรวมกลุ่มเพื่อการ
บริการด้านสุขภาพ และการเล้ียงดูเด็กเล็ก กิจกรรมบางกิจกรรมจัดข้ึนตามแนวทางเศรษฐกิจ เช่น การ
ขยายการบริการและผลประโยชน์ไปสู่สมาชิก สหกรณ์สามารถที่จะมีเป้าหมายทางสังคม ตัวอย่างเช่น ให้
ความชว่ ยเหลือและสนับสนุนวัฒนธรรมประจำชาติ ส่งเสริมสันตภิ าพ เปน็ ผู้อุปถัมภ์ดา้ นการกีฬาและกิจกรรม
ทางวัฒนธรรมและปรับปรุงสัมพันธภาพในชุมชน อันท่ีจริงในอนาคตความช่วยเหลือจะขยายไปถึงคุณภาพชีวิต
วฒั นธรรม สติปัญญาและจติ ใจซ่ึงจะกลายเป็นหนทางสำคัญ ทีส่ หกรณส์ ามารถให้ผลประโยชน์แก่สมาชกิ และ
มีส่วนสนับสนุนชุมชนของพวกเขา ความต้องการของสมาชิกอาจจะมีเพียงหนึ่งเดียว หรือมีขอบเขตจำกัด
อาจจะมีความต้องการท่ีแตกต่างกัน อาจมีความต้องการทางสังคมและวัฒนธรรมเช่นเดียวกับทางเศรษฐกิจ
โดยเฉพาะ แตอ่ ย่างไรกต็ ามนอกเหนือจากความต้องการเหลา่ นี้ พวกเขามจี ุดประสงค์รว่ มกนั นนั่ คือ ความ
คงอย่ขู องสหกรณ์
5. สหกรณ์เป็น “วิสาหกิจที่เป็นเจ้าของร่วมกันและควบคุมตามหลักประชาธิปไตย” วลีน้ีเน้นว่า การ
ควบคุมของสหกรณ์ในหมู่สมาชิกทว่ั ไปอยู่บนพ้ืนฐานของประชาธิปไตย ลักษณะท้ัง 2 ประการเกี่ยวกับการเป็น
เจา้ ของและการควบคุมตามหลกั ประชาธปิ ไตยเป็นสิ่งสำคัญทแ่ี สดงให้เห็นถึงความแตกตา่ งระหว่างสหกรณก์ ับ
องค์กรธุรกิจรูปอื่น เช่น การควบคมุ ดา้ นเงนิ ทุนหรือการดำเนินธรุ กจิ ภายใต้การควบคุมของรัฐ สหกรณ์แต่ละ
สหกรณก์ เ็ ป็นวิสาหกจิ ดว้ ย ในความหมายของรปู แบบความเป็นอยูข่ ององคก์ ร

เอกลกั ษณ์สหกรณ์

เอกลกั ษณส์ หกรณ์เปน็ องค์การพิเศษท่ีกรมสง่ เสรมิ สหกรณร์ ะบุว่า ประกอบด้วย
1. กล่มุ บคุ คลท่ีมผี ลประโยชนท์ างเศรษฐกจิ และสงั คมอยา่ งเดียวกัน
2. เจตนารมณ์ท่ีจะชว่ ยตนเองและช่วยเหลือซง่ึ กนั และกนั
3. จัดต้ังองคก์ รธรุ กจิ ข้ึนและร่วมกัน ดำเนินการอยา่ งตอ่ เนอื่ ง เพ่ือใหบ้ รรลวุ ตั ถปุ ระสงค์

2

4. วัตถุประสงคข์ ององค์กรธุรกิจนี้คอื ส่งเสริมผลประโยชน์ของสมาชกิ และครอบครัว
เอกลักษณ์สหกรณ์ เป็นองค์ประกอบที่ขาดข้อใดข้อหน่ึงไม่ได้ต้องพร้อมกันทั้ง 4 ข้อ จึงจะเป็นเคร่ืองช้ี
ว่าเป็นสหกรณ์ ทั้งนี้เนื่องจากสหกรณ์มีความแตกต่างจากมูลนิธิท่ีมุ่งช่วยเหลือ แตกต่างจากธุรกิจเอกชนท่ีมุ่ง
แสวงหากำไร

ตารางท่ี 1 ความแตกตา่ งระหวา่ งสหกรณจ์ ำกดั กบั บรษิ ทั จำกดั

สหกรณจ์ ำกดั บรษิ ทั จำกดั

ผกู้ อ่ ตง้ั

ไม่นอ้ ยกวา่ 10 คน ตง้ั แต่ 7 คนขึ้นไป

จดทะเบยี นตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542 จดทะเบยี นตามกฎหมายแพง่ และพาณิชย์

บรรพ 3 ลักษณะ 22 หมวด 4 มาตรา 1096-1227

วตั ถปุ ระสงค์

- ใหบ้ รกิ ารสงู สดุ แกส่ มาชกิ - เอากำไรสงู สุดให้ผู้ถือหนุ้

(Maximized Service) (Maximized Profit)

ทนุ

- คนสำคญั กว่าทนุ - ทุนเป็นใหญ่

- รวมทนุ เพ่ือใหบ้ ริการ - ลงทุน เพื่อหากำไร

หนุ้

- ผู้ถอื หนุ้ มกี ำลังทรพั ยน์ อ้ ย - ผู้ถือหนุ้ มีกำลังทรัพยม์ ากเป็นนายทนุ

- ไม่ระบุมูลคา่ ห้นุ ข้ันต่ำ - มูลค่าห้นุ ๆ หน่งึ ตอ้ งไมต่ ำ่ กว่า 5 บาท

- สมาชกิ ถือหุ้นไดไ้ ม่เกิน 1 ใน 5 ของหุ้นที่ชำระแล้ว - ไม่จำกัดจำนวนหนุ้ ท่ผี ู้ถอื หุ้นถือ

- จำนวนหุน้ ไม่แน่นอน - จำนวนหุ้นแน่นอนราคาไมค่ งท่ี

- ราคาห้นุ คงที่ - ชำระค่าหุ้นไมน่ ้อยกวา่ รอ้ ยละ 25

- ไม่มหี ุน้ บุรมิ สิทธิ - มีหนุ้ บุรมิ สทิ ธิ

- ไมบ่ ังคบั ตอ้ งมีใบหนุ้ - ต้องมใี บหนุ้ ให้ผถู้ ือหนุ้

- เข้าตลาดหลักทรพั ยไ์ มไ่ ด้

การออกเสยี งลงคะแนน

1 คน 1 เสยี ง 1 ห้นุ 1 เสียง

มอบฉนั ทะให้ผูอ้ นื่ ออกเสยี งแทนไมไ่ ด้ มอบฉนั ทะให้ผอู้ ื่นออกเสยี งแทนได้

การเรยี กประชมุ ใหญ่ “ครงั้ หลงั ” กรณี “ครง้ั แรก” ไมค่ รบองคป์ ระชมุ

นัดเรียกใหม่ภายใน 15 วนั นดั เรยี กใหม่ไม่น้อยกว่า 14 วัน ไมเ่ กนิ 6 สัปดาห์

เงนิ ทนุ สำรอง

จดั สรรเงนิ ทุนสำรอง ไม่นอ้ ยกวา่ ร้อยละสิบของผล จดั สรรเงนิ ทนุ สำรองไมน่ อ้ ยกวา่ รอ้ ยละห้าของผล

กำไร ไมก่ ำหนดขั้นสงู ของเงนิ ทนุ สำรอง กำไร จนกวา่ จะมที ุนสำรองถึงร้อยละสิบของทนุ เรือน

หนุ้

3

การจดั การ

มงุ่ ประสทิ ธิผลและประสิทธภิ าพทำธรุ กิจกับสมาชิกผู้ ม่งุ ประสิทธิภาพและประสทิ ธผิ ล ทำธุรกจิ กับลูกค้า ซึ่ง

ถือหนุ้ มกี ารเฉล่ยี คืนเงนิ สว่ นเกิน ให้สมาชกิ ตามสว่ น มใิ ชผ่ ู้ถือหนุ้ ไมม่ กี ารเฉลยี่ คืนกำไรให้กบั ลกู ค้า

ธุรกจิ

ผกู้ ่อตงั้

-สหกรณล์ กู ใหก้ ำเนดิ สหกรณ์แม่กลา่ วคือ จัดตั้ง -บรษิ ทั แมใ่ ห้กำเนิดบรษิ ัทลกู ตัง้ บรษิ ทั ท่เี ป็นสำนกั งาน

สหกรณ์ขั้นมัธยมคอื ชุมนุมสหกรณ์ ซง่ึ เป็นแม่ขา่ ยใหญ่ ใหญก่ อ่ นจึงตง้ั บริษัทสาขา

สหกรณล์ ูก ตอ้ งเลย้ี งสหกรณ์แม่

-สหกรณร์ วมกนั ตั้งบรษิ ทั ได้ -บริษทั รวมกนั ตง้ั สหกรณ์ไมไ่ ด้

อุดมการณ์

Surplus Profit

ช่วยตนเอง และช่วยเหลือซง่ึ กันและกัน แขง็ แรงอยไู่ ด้ ออ่ นแอตายไป

พงึ่ ตนเอง และเอ้ืออาทรผู้อืน่ มือใครยาว สาวไดส้ าวเอา

ลกั ษณะการรวมกนั

มุง่ รวมคน มุ่งรวมเงินทนุ

การแบง่ กำไร

-แบ่งตามการมสี ่วนร่วมในกิจการ แบง่ ตามจำนวนหุน้ ท่ถี ือ

2. คา่ นยิ มสหกรณ์

ประโยคแรกของค่านิยมทางสหกรณ์ กล่าวถงึ พืน้ ฐานค่านยิ ม 6 ดา้ น

ประโยคแรกที่กล่าวเก่ียวกับ “ค่านิยม” ในแถลงการณ์ปี ค.ศ. 1995 (พ.ศ. 2538) คือ “สหกรณ์
ต้ังอยู่บนพื้นฐาน ค่านิยมของการช่วยตนเอง, ความรับผิดชอบต่อตนเอง, ความเป็นประชาธิปไตย, ความเท่า
เทยี มกัน, ความยุตธิ รรม และความเป็นนำ้ หนึง่ ใจเดียวกัน”

พนื้ ฐานคา่ นิยมแหง่ การช่วยตนเอง
การช่วยตนเอง ตั้งอยบู่ นพ้ืนฐานของความเชอ่ื ท่ีคนท่ัวไปสามารถและพยายามท่ีจะควบคุมชะตาชีวิต
ของตนเอง นักสหกรณ์ท้ังหลายก็เช่ือ แม้ว่า การพัฒนาของแต่ละคนอย่างเต็มรูปแบบ สามารถท่ีจะมีขึ้นใน
องค์กรที่ร่วมกับคนอื่นในฐานะที่เป็นปัจเจกบุคคล คนคนหน่ึงอาจจะอยู่ในขอบเขตจำกัด ในขณะที่อีกคนหน่ึง
สามารถที่จะทำได้เมื่อได้มาปฏิบัติร่วมกัน และมีความรับผิดชอบร่วมกันก็จะทำให้บรรลุความสำเร็จมากข้ึน
โดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ การเพิม่ จำนวนคนในสหกรณ์ทำใหเ้ กิดพลงั ดา้ นการตลาดก่อนท่ีรัฐบาลจะมาชว่ ยดำเนนิ การ
ให้ ปัจเจกบุคคลเหล่าน้ี ยังพัฒนาผ่านกิจกรรมของสหกรณ์ โดยใช้ความชำนาญท่ีเรียนรู้เพ่ือเป็นหนทางให้
สหกรณ์ของพวกเขาเจรญิ ก้าวหน้า โดยความเข้าใจที่พวกเขาไดจ้ ากสมาชกิ กนั เอง โดยความเขา้ ใจลึกซ้ึงท่ี
พวกเขาได้รับจากสังคมอันกว้างไกลที่พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของมัน ด้วยประการเหล่าน้ี ทำให้สหกรณ์เป็น
สถาบนั ท่ีมีการอุปถัมภ์เกื้อกลู มีการใหก้ ารศกึ ษาและพฒั นาอยา่ งตอ่ เนือ่ งให้แก่ทกุ คนท่ีอยใู่ นแวดวงทีเ่ ก่ยี วข้อง

4

พ้ืนฐานคา่ นิยมแห่งความรับผิดชอบตอ่ ตนเอง
ความรับผิดชอบต่อตนเอง หมายความว่า สมาชิกมีหน้าท่ีรับผิดชอบในสหกรณ์ของพวกเขา เช่น
การจัดตัง้ และการดำรงคงอยู่อย่างเข้มแข็ง ย่งิ ไปกว่าน้นั สมาชกิ ยังมีหน้าทร่ี ับผดิ ชอบส่งเสริมสหกรณ์ของเขา
ในหมู่ญาติมิตร, เพ่ือนฝูง และคนที่รู้จักท่ัวไปด้วย ท้ายที่สุดความรับผิดชอบต่อตนเองหมายถึง สมาชิกต้อง
รับผิดชอบในการทำให้แน่ใจว่า สหกรณ์ของพวกเขายังคงเป็นอิสระจากกิจการสาธารณะอื่นหรือองค์กร
เอกชน

พน้ื ฐานค่านยิ มแห่งความเทา่ เทียมกัน และความยตุ ธิ รรม
สหกรณ์ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเท่าเทียมกัน หน่วยพ้ืนฐานของสหกรณ์ก็คือสมาชิกซึ่งเป็นได้ท้ังบุคคล
ธรรมดาหรือกลุ่มของคน หลักเกณฑ์พื้นฐานในความเป็นตัวตนของมนุษย์นี้ เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้สหกรณ์
แตกต่างจากธรุ กิจรปู อ่ืน การควบคมุ เบื้องต้นเกี่ยวกับผลประโยชนจ์ ากการลงทุน สมาชิกมีสิทธิในการเข้ามา
มีส่วนร่วม สิทธิในการได้รับความรู้ สิทธิในการรู้ข่าวสาร และสิทธิในการตัดสินใจ สมาชิกจะมีส่วนร่วม
ด้วยความเท่าเทียมกันเท่าที่จะเป็นได้ ซึ่งบางคร้ังมันเป็นเร่ืองท่ีท้าทายและยากลำบากในสหกรณ์ที่ใหญ่ ๆ
หรอื ชมุ นมุ สหกรณ์
ในความเป็นจริง การเข้าไปสนับสนุนและทำให้ประสบความสำเร็จในการทำให้เกิดความเท่าเทียมกัน
เปน็ เรอ่ื งทท่ี ้าทายอยา่ งต่อเนอ่ื งในทุก ๆ สหกรณ์ ท้ายที่สุดจากการวิเคราะห์ มันเปน็ หนทางเก่ียวกับการดำเนิน
ธุรกิจมากกวา่ ท่ีจะเป็นการประกาศเป็นกฎระเบียบทัว่ ๆ ไป
ในทำนองเดียวกัน การที่จะบรรลุผลสำเร็จทางด้านความยุติธรรมในสหกรณ์ก็จะต้องดำเนินการ
ต่อไป และเป็นการท้าทายอย่างไม่มีสิ้นสุด การเกี่ยวข้องกับความยุติธรรม สิ่งแรกที่สุด คือ การ
ดำเนินการกับสมาชิกในสหกรณ์จะต้องปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน ในเรื่องการให้ผลตอบแทนการเข้ามามีส่วน
ร่วมในสหกรณ์ โดยปกติผ่านทางเงินปันผลตามส่วนแห่งการถือหุ้นท่ีสมาชิกอุดหนุน การจัดสรรเป็นเงินทุน
สำรองของพวกเขา หรือการลดค่าใชจ้ า่ ยตา่ ง ๆ

พื้นฐานคา่ นยิ มแหง่ ความเปน็ นำ้ หนึ่งใจเดยี วกัน
ค่านิยมสุดท้ายก็คือ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ค่านิยมน้ีได้รับการยึดถือมาอย่างยาวนานใน
ประวัติศาสตร์ของขบวนการสหกรณ์
ในทุกสหกรณ์ ค่านิยมน้ีทำให้แน่ใจว่าการดำเนินงานของสหกรณ์ไม่ได้เป็นรูปแบบท่ีบิดเบือนของการ
จำกัดผลประโยชนส์ ่วนบุคคล สหกรณ์เป็นได้มากกว่าองค์กรของสมาชกิ มนั ยงั เป็นการระดมคน มวลสมาชิก
มีความรับผิดชอบในการทำให้แน่ใจว่าสมาชิกทุกคนจะ ได้รับการปฏิบัติอย่างยุติธรรมเท่าที่จะเป็นได้
ผลประโยชน์โดยท่ัวไปจะถูกครอบงำไว้ภายในนั่นคือ จะมีความพยายามท่ีเป็นแนวทางเดียวกันในอันที่จะปฏิบัติ
กับพนักงานอย่างยตุ ิธรรม (ซ่ึงจะเป็นสมาชิกหรือไม่เปน็ สมาชิก) เชน่ เดียวกับการรวมไปถึงผทู้ ีไ่ ม่ได้เปน็ สมาชิก
ของสหกรณ์ด้วย
ความเปน็ นำ้ หนึง่ ใจเดยี วกัน ยังหมายถึง สหกรณต์ อ้ งมีความรับผิดชอบในการรักษาผลประโยชนข์ อง
มวลสมาชิก โดยเฉพาะในบางกรณี เป็นตัวแทนด้านการเงนิ และทรัพย์สินส่วนรวมที่เป็นของกลุ่ม ทรัพย์สินท่ี
เป็นผลมาจากการร่วมดำเนินการและเข้าไปมีส่วนร่วม ในเหตุผลด้านต่าง ๆ ค่านิยมของความเป็นน้ำหน่ึงใจ
เดยี วกัน ไดด้ ึงความสนใจให้เขา้ สคู่ วามเป็นจรงิ ท่ีว่า สหกรณ์เป็นมากกว่าองคก์ รของปัจเจกบุคคล แต่มันยัง

5

เปน็ การยนื ยันถึงการรวมความเขม้ แข็งและความรบั ผิดชอบร่วมกัน ในข้ันต่อไป “ ความเป็นน้ำหน่ึงใจเดียวกัน ”
ยังหมายความถึง นักสหกรณ์และสหกรณ์ได้มีจุดยืนร่วมกัน พวกเขามีความปรารถนาท่ีจะสร้างขบวนการ
สหกรณ์ให้เป็นหนง่ึ เดียวจากท้องถ่ิน, ระดับชาติ, ระดับภมู ิภาค และนานาชาติ พวกเขารว่ มมือกันในทุกวิถที าง
ท่ีจะให้สินค้าท่ีมีคุณภาพท่ีสุดและการบริการด้วยราคาต่ำสุดแก่สมาชิก พวกเขาทำงานร่วมกันท่ีจะเสนอแนว
ด้านน้ีสู่สาธารณะและภาครัฐ พวกเขายอมรับว่าในทุกสหกรณ์ยังมีคนบางคนที่ไม่คำนึงถึงส่ิงเหล่านี้ และมี
จดุ ประสงค์ท่ีหลากหลายและคำอธิบายท่แี ตกตา่ งกนั ออกไป
ท้ายท่ีสุด ตอ้ งการที่จะเน้นว่าความเป็นนำ้ หนึง่ ใจเดียวกนั เปน็ เหตุและเป็นผลทีต่ ามมา
ของการช่วยตนเองและช่วยเหลือซ่ึงกันและกัน ซ่ึงเป็นสองแนวความคิดพื้นฐานที่เป็นหัวใจของปรัชญาสหกรณ์
มันเป็นหลักปรัชญาที่ช้ีให้เห็นว่า สหกรณ์แตกต่างจากรูปแบบองค์กรธุรกิจอ่ืน ในหลายประเทศ
แนวความคิดการชว่ ยตนเองและการช่วยเหลือซงึ่ กนั และกนั ไดถ้ ูกละเลยโดยรัฐบาล และสหกรณ์ได้ถูกจดั ตั้งข้ึน
ผ่านการริเร่ิมของรัฐบาล การเข้ามาอุปถัมภ์และช่วยเหลือทางด้านการเงิน ผลท่ีตามมาคือ ขบวนการถูก
ควบคุมและจัดการโดยภาครัฐ ที่เป็นสาระสำคัญ เนื่องจากความเป็นน้ำหน่ึงใจเดียวกันของนักสหกรณ์และ
สหกรณ์ทัง้ หลาย มีพื้นฐานอยู่บนความรับผิดชอบของการช่วยตนเองและช่วยเหลือซง่ึ กันและกัน ต้องถูกทำ
ใหเ้ ปน็ ท่เี ขา้ ใจและยอมรบั นับถือในประเทศทีพ่ ัฒนาแลว้ พรอ้ มกบั ประเทศที่กำลงั พฒั นาดา้ นอุตสาหกรรม

ประโยคทสี่ องของคา่ นยิ มทางสหกรณ์

ประโยคที่สองมีว่า “ในประเพณีที่สืบทอดกันมาของผู้ก่อการสมาชิกสหกรณ์มีความเชื่อในจรรยาของ
ค่านิยม ท่ีเป็นความซ่ือสัตย์ ความเปิดเผย ความรับผิดชอบต่อสังคม และความเอื้ออาทรต่อผู้อ่ืน” “ใน
ประเพณีที่สืบทอดมาของผู้ก่อการ” หมายความถึง ความจริงท่ีเกิดข้ึนจากการเคลื่อนไหวครั้งยิ่งใหญ่ จาก
จุดเร่มิ ตน้ ของผ้ทู ่มี ีความสำคัญทงั้ ชายและหญิง ที่สนบั สนุนชว่ ยเหลอื ซง่ึ เรียกว่า “ผู้ก่อการ” บุคคลที่สำคญั เช่น
ผู้ริเร่ิมแห่งรอชเดล, Frederich Raiffeisen, Hermann Schultze – Delitsch , Philippe Buchez,
Bishop Grundtvig และ Alphonse Desjardins ซงึ่ ได้รบั การเคารพนับถือจากขบวนการที่พวกเขาไดใ้ ห้
การช่วยเหลือตั้งแต่แรกเริ่ม และพวกเขาเหล่านี้ยังได้รับการยกย่องสรรเสริญจากนักสหกรณ์ในขบวนการ
สหกรณ์อ่ืน ๆ ดว้ ย การสนับสนุนช่วยเหลือของพวกเขาเหล่านี้ นอกจากจะเปน็ บทความตีพิมพ์มากกว่าเขา้ ไป
ดำเนนิ การ ซึ่งเป็นส่ิงสำคัญและมงุ่ หมายท่ีจะให้เปน็ แนวทางปฏิบตั ิ มันยงั เป็นจรรยาและศีลธรรมดว้ ยในเวลา
เดียวกัน ขบวนการเคลื่อนไหวในประเทศต่าง ๆ ต่างก็มีผู้ก่อการของเขาเอง ซ่ึงมีท้ังชายและหญิงซ่ึงแนวทาง
ปฏิบัติและค่านิยมทางจรรยาก็ยังมีความสำคัญอย่างเต็มที่ เหล่านี้คือการอ้างถึง “ผู้ก่อการ” ที่ต้ังใจจะให้
เป็นผรู้ ิเร่มิ การจัดต้งั ได้เปน็ อยา่ งดี

มีการอ้างเหตุผลท่ีเหมาะสมว่า จรรยาของค่านิยมที่สหกรณ์ปรารถนาโน้มน้าวชักจูงในกิจกรรม
เก่ียวกับการควบคุมเงินทุนบางเรอื่ ง และในกิจกรรมของบางองค์กรของรัฐ มันถูกรวมเข้าไปด้วย อย่างไรก็
ตาม มันเป็นกรณีพิเศษในประเพณีนิยมของสหกรณ์ โดยเฉพาะ ความสำคัญพื้นฐานของสหกรณ์ต่าง ๆ ที่ได้
ก่อตั้งในศตวรรษท่ี 19 มนั ได้แสดงให้เห็นปรากฏการณ์ของความรับผิดชอบในความเจริญเติบโตของขบวนการ
และการพัฒนาอยา่ งมากในชว่ งระยะเวลาน้ัน

6

จรรยาค่านิยมแห่งความซ่อื สตั ย์ และเปิดเผย
สหกรณ์หลายสหกรณ์ในช่วงต้นศตวรรษท่ี 19 ท่ีเห็นได้ชัด คือ ผู้ริเริ่มแห่งรอชเดลมีข้อผูกมัดพิเศษ
เก่ียวกบั ความซื่อตรง ท่ีจริงความพยายามของพวกเขาเหน็ ได้ชัดในบางส่วนของตลาด เพราะว่าได้ยืนยนั เร่ือง
ของการชั่งตวงวัดที่ซื่อตรง คุณภาพดีและราคายุติธรรม เจ้าหน้าท่ีของสหกรณ์ในระยะเวลาที่ผ่านมามี
ช่ือเสียงในด้านความพยายามที่จะสร้างความซ่ือตรงให้เกิดกับระบบของการจัดการท่ีเปิดเผย สหกรณ์
ทางด้านการเงินได้รับชื่อเสียงอย่างดีย่ิงทั่วโลก เพราะว่า ใช้วิถีทางความซ่ือสัตย์ในการดำเนินธุรกิจ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งความซื่อตรงในการคำนวณดอกเบี้ย มากกว่าทศวรรษท่ีสหกรณ์การเกษตรเจริญรุ่งเรือง
เพราะขอ้ ผกู มัดเก่ียวกับคุณภาพสงู และการผลติ ภายใตเ้ ครือ่ งหมายของความซอ่ื ตรง
หลีกเลี่ยงไม่พดู ถึงประเพณีนิยมของความซื่อสัตย์ สหกรณ์ปรารถนาที่จะค้าขายด้วยความซื่อตรงกับ
สมาชิกของเขา ซ่ึงในทางกลับกันก็นำไปสู่การซ้ือขายท่ีซ่ือตรงกับผู้ท่ีมิได้เป็นสมาชิกด้วยเช่นกัน โดยเหตุผล
เดียวกัน พวกเขามีความโน้มเอียงในการเปิดโอกาสให้แก่คนบุคคลท่ัวไปได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารทางสหกรณ์
อยา่ งเสมอภาคกนั นอกเหนอื จากที่ให้กบั สมาชกิ ของสหกรณ์เอง

จรรยาคา่ นยิ มแหง่ ความรับผดิ ชอบตอ่ สังคม และความเออื้ อาทรตอ่ ผอู้ ื่น
จรรยาค่านิยมอ่ืน ๆ เกิดจากความสัมพันธ์พิเศษท่ีสหกรณ์มีกับชุมชน พวกเขาเปิดรับสมาชิกโดย
สมัครใจในชมุ ชนนน้ั ๆ และพวกเขามีพันธะสัญญาที่จะช่วยเหลือบุคคลเหล่านใ้ี ห้สามารถช่วยตนเองได้ พวกเขา
จะรวบรวมสถาบันบางแห่งที่มีอยู่ในชุมชนหนึ่งหรือหลายชุมชน พวกเขาจะรับช่วงประเพณีนิยมท่ีเกี่ยวข้องกับ
สหภาพของตนในชมุ ชน ความต้องการของพวกเขาในการมีพันธะขอ้ ตกลง ในความพยายามท่ีจะรับผิดชอบต่อ
สังคม ในทุกกิจกรรมของพวกเขาภายใต้ความสามารถทางการเงินที่จะทำเช่นนั้นได้ หลาย ๆ สหกรณ์ได้
พิสูจน์ให้เห็นถึงความสามารถในการให้ความเอ้ืออาทรผู้อ่ืน หลายสหกรณ์ได้ให้ความช่วยเหลืออย่างสำคัญ
เป็นแหล่งของกำลังคนและการเงินสำหรับชุมชน หลายสหกรณ์ได้ขยายความช่วยเหลือไปอย่างกว้างขวางเพื่อ
ความเจริญเติบโตของสหกรณ์ทั้งหลายผ่านโลกท่ีกำลังพัฒนา มันเป็นประเพณีนิยมท่ีนักสหกรณ์ท้ังหลายควร
ภมู ใิ จ มนั เน้นสะท้อนใหเ้ ห็นค่านยิ มที่พวกเขาตอ้ งการ

3.หลกั การสหกรณ์

หลักการสหกรณ์ หมายถึง แนวทางสำหรับสหกรณ์ต่าง ๆ ในการนำคุณค่าของสหกรณ์ไปสู่การ
ปฏิบัติอาจกล่าวได้ว่าหลักการของสหกรณ์นี้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของสหกรณ์ โดยมีหลักการพื้นฐานเดิมมา
จากหลักของผู้นำแห่งรอชเดล แล้วจึงปรับปรุงเพ่ิมเติมให้สอดคล้องกับสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่
เปลย่ี นแปลงไป

ICA ใหค้ วามเหน็ เบ้ืองตน้ เรอ่ื งหลกั การสหกรณไ์ วด้ งั น้ี
1. หลกั สหกรณ์ เหมอื นคำสง่ั ท่ีเปน็ กฎเหลก็ ท่ีตอ้ งปฏิบตั ิ ซึ่งคนทว่ั ไปมคี วามเขา้ ใจเชน่ น้นั กลา่ วคอื

• เน้อื หาในหลักสหกรณ์ บง่ บอกมาตรฐานความเปน็ สหกรณ์
• หลกั สหกรณ์ มีท้ังขอ้ ห้ามและข้อจำกัดหลายเร่อื ง
• หลักสหกรณม์ ีรปู แบบการดำเนินงานท่นี า่ เช่อื ถือ

7

• หลกั สหกรณ์นอกจากจะใชส้ ่งเสริมกันในหม่สู มาชิก แล้วยงั เผ่อื แผไ่ ปถึงชุมชน และสงั คมดว้ ย
2. หลักสหกรณ์ ไม่ใช่เพียงเป็นแค่บทบัญญัติที่ต้องปฏิบัติกันตามกฎเท่าน้ัน แต่ยังต้องมีจิตใจที่เข้าถึงภายใต้
หลักเหล่าน้ันอย่างฝังแน่นอกี ด้วย ความเป็นสหกรณ์ของเหลา่ สมาชิกจึงเป็นลักษณะของการยึดติดกบั หลักการ
สหกรณ์ทัง้ กาย และใจ
3. หลักการสหกรณ์ทุกข้อถือว่าเป็นหัวใจของสหกรณ์ และหลักแต่ละข้อล้วนเชื่อมโยงซ่ึงกันและกัน ไม่แยก
ความหมายออกเปน็ ของขอ้ ใดโดยเฉพาะ
4. หากสหกรณ์มิได้ปฏิบัติตามข้อใดข้อหน่ึง หรือปฏิบัติไม่ครบถ้วนตามหลักของข้อน้ันๆ ก็มิได้หมายความว่า
ความเป็นสหกรณ์ของสหกรณ์นั้นจะหมดส้ินไป ส่ิงสำคัญที่สหกรณ์ต้องระลึกเสมอ คือ ทำอย่างไรจึงจะมุ่งมั่น
ไปส่หู ลกั การสหกรณใ์ ห้ได้ท้งั หมด
5. หลักการสหกรณ์ตามถอ้ ยแถลงของ ICA ในปี ค.ศ.1995 ( พ.ศ.2538 ) มที ง้ั สน้ิ 7 ประการ ประกอบด้วย

• ประการที่ 1 การเป็นสมาชิกโดยสมคั รใจและเปิดกว้าง
• ประการที่ 2 การควบคมุ โดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย
• ประการท่ี 3 การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกจิ โดยสมาชิก
• ประการที่ 4 การปกครองตนเองและความเป็นอิสระ
• ประการที่ 5 การให้การศกึ ษา ฝกึ อบรม และสารสนเทศ
• ประการที่ 6 ความรว่ มมือระหวา่ งสหกรณ์
• ประการท่ี 7 การเอื้ออาทรต่อชมุ ชน
6. หลักสหกรณ์ 3 ข้อแรก เป็นหลักสำคัญที่มีอยู่ภายในของสหกรณ์แต่ละสหกรณ์ ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ต่อกัน
ระหวา่ งมวลสมาชกิ ในสหกรณ์
7. หลักสหกรณ์ 4 ข้อหลัง เปน็ เรื่องการจดั การภายในสหกรณ์ ( หลกั ประการที่ 4 และประการที่ 5 ) และ
ความสัมพันธ์กับภายนอกสหกรณ์ (หลักประการที่ 5 ท่ี 6 และประการที่ 7 )

หลักการสหกรณ์ ประการท่ี 1 การเป็นสมาชิกโดยสมัครใจและเปิดกว้าง Voluntary
and Open Membership

1. หลกั การสหกรณ์ประการที่ 1
“Co-operatives are voluntary organisations, open to all persons able to use their

services and willing to accept the responsibilities of membership, without gender, social,
racial, political or religious discrimination.”

คำแปล “สหกรณ์เป็นองค์กรที่ถูกจัดต้ังข้ึนด้วยความสมัครใจ เปิดกว้างให้กับทุกคนท่ีสามารถใช้
บริการของสหกรณ์ และจะยอมรับหนา้ ทีร่ ับผิดชอบของสมาชกิ โดยปราศจากการแบง่ แยกทางด้านเพศ สังคม
เชือ้ ชาติ การเมือง หรือศาสนา”
2. พื้นฐานสำคัญของการที่บุคคลจะเข้ามาเป็นสมาชิกสหกรณ์นั้น ทุกคนจะต้องมีความสมัครใจในการเข้า
มามีข้อผูกพันกับสหกรณ์ ดังน้ัน ก่อนตัดสินใจเข้ามาเป็นสมาชิกสหกรณ์ บุคคลเหล่าน้ันต้องศึกษาทำความ

8

เข้าใจในคา่ นยิ มทางสหกรณ์ให้ได้เสียก่อน และทสี่ ำคัญต้องไม่เกิดจากการบบี บังคับในทางใด ๆ ให้เขา้ มาเป็น
สมาชิกสหกรณ์
3. หลายประเทศ อาจมีสถานการณ์ท่ีแตกต่างไป เช่น ปัญหาทางเศรษฐกิจ ตลอดท้ังกฎเกณฑ์ของ
รฐั บาล ทำให้การเขา้ มาเปน็ สมาชิกสหกรณ์ถูกจำกดั โดยปรยิ ายวา่ มิได้เกดิ จากความสมัครใจอย่างแท้จริงใน
กรณเี ชน่ น้ี ทำให้สหกรณต์ ้องพยายามเอาใจใส่มากกวา่ ปกติในการ
ใหค้ วามรู้ความเข้าใจกบั สมาชิก เพ่ือสมาชกิ เหล่านัน้ จะไดห้ นั มาร่วมมือกนั ในสหกรณ์ด้วยความเขม้ แขง็ เกดิ
ความย่งั ยืนในสหกรณต์ ่อไป
4. ICA ชใี้ ห้เหน็ วา่ หลักการสหกรณ์ขอ้ น้ี บอกวธิ เี ปิดรบั สมาชกิ อย่างไร ดังตอ่ ไปน้ี

(1) สหกรณ์เปิดกว้างการรบั สมาชกิ สำหรับสมาชิกทกุ คนทสี่ ามารถใช้บรกิ ารของสหกรณ์
(2) สหกรณเ์ ปิดกว้างการรับสมาชิก โดยยอมรับการเขา้ มามหี น้าท่รี บั ผิดชอบในฐานะสมาชกิ
(3) สหกรณ์เปิดกว้างการรับสมาชิก โดยไม่แบ่งแยกในเร่ืองของเพศ เชื้อชาติ การเมือง หรือ
ศาสนา
5. ตามประเดน็ ข้อ 4 (1) (2) ICA อธบิ ายว่า
(1) สหกรณ์เป็นองค์กรที่จัดต้ังข้ึนโดยมีวัตถุประสงค์เป็นการเฉพาะ เช่น สหกรณ์ประมงจะเหมาะ
กับการบริการสมาชิกผู้ทำประมง สหกรณ์เคหสถานจะบริหารจัดการได้เพียงเฉพาะท่ีอยู่อาศัยของสมาชิก
สหกรณแ์ รงงาน สามารถจ้างงานสมาชกิ ได้จำนวนจำกัด
(2) ตามที่อธิบายข้างต้นพูดอีกทางหน่ึงก็คือ การเปิดกว้างการรับสมาชิกนั้น อาจจะต้องมีการ
จำกัดจำนวนด้วย เพือ่ ใหส้ อดคล้องกับกรอบวตั ถุประสงค์ทม่ี ลี ักษณะเฉพาะ ของแตล่ ะสหกรณน์ ้ัน
6. กับข้อความท่ีว่า “จะยอมรับหน้าที่รับผิดชอบในฐานะสมาชิก” ICA ย้ำหน้าที่ความรับผิดชอบท่ีสมาชิกต้องมี
ต่อสหกรณ์ ซ่งึ แต่ละสหกรณ์อาจกำหนดบทบาทหน้าท่ีความรับผิดชอบของสมาชกิ แตกต่างกันไป แต่ท่ีสำคัญ
ได้รวมเอาไว้ในเร่ืองของสิทธิการออกเสียงเข้าร่วมประชุม และเร่ืองของการใช้บริการในสหกรณ์ ภายใต้
เงือ่ นไขจะทำการสงิ่ ใดลงไปควรชอบด้วยเหตผุ ลหรอื เกิดความยตุ ธิ รรมกับมวลสมาชกิ น้ัน
7. เก่ียวกับเรื่องของเพศ ICA กล่าวถึงการไม่กีดกันทางเพศ โดยเฉพาะผู้หญิงในสหกรณ์ย่อมมีสิทธิท่ีจะมี
สว่ นร่วมเพอ่ื รบั การศกึ ษาทางสหกรณ์ ตลอดจนไดร้ บั การสง่ เสรมิ พฒั นาความเป็นผู้นำได้เท่าเทยี มกัน
8. ICA หมายความในหลักการสหกรณ์ข้อนี้ ว่าสหกรณ์ไม่ควรจะอยู่แบบตัวคนเดียว ควรจะมีส่วนร่วม
สัมพันธ์กับองค์กรอ่ืนหรือบุคคลภายนอกในชุมชน ในลักษณะผ่านกิจกรรมของสหกรณ์ ในลักษณะให้ความ
ช่วยเหลือด้านการพัฒนาไปยังชุมชน ซ่ึงรวมถึงคนกลุ่มอื่น ๆ ท่ีอยู่ในชุมชนซึ่งเขาเห็นว่า สามารถใช้ประโยชน์
บางอย่างจากสหกรณ์ได้ แต่การช่วยเหลือท้ังหลาย สหกรณ์ต้องกระทำไปด้วยความระมัดระวังบนความ
เหมาะสม รวมท้ังความคิดริเร่ิมท่ีเป็นไปได้ในกิจกรรมต่าง ๆ บนหลักสำคัญท่ีต้องยึดอยู่เสมอว่า สหกรณ์
ไม่ใช่องค์กรการกศุ ล
9. เกี่ยวกับหลักสมาชิกภาพ (การเปน็ ผู้มีสิทธเิ ป็นสมาชกิ ) ICA อธิบายว่า ตามหลักการสหกรณ์ประการที่ 1
นี้ จะพยายามรวมคนท่ีแตกต่างกันในชนชั้นทางสังคมเข้ามาอยูร่ ่วมกันให้ได้ ซ่ึงแตกต่างกับแนวความคิดเม่ือ
สมยั ศตวรรษท่ี 19
10. กับคำว่า “สังคม” ในความหมายด้านสหกรณ์อาจรวมไปถึง ชนกลุ่มน้อย (ชนชาติหลาย ๆ ชาติท่ีอยู่
รวมกันในชุมชนของประเทศใดประเทศหน่ึง) หรือคนท่ีอยู่ในความปกครองของประเทศ (สัญชาติ) ซ่ึงแนวคิด

9

การรวมกลุ่มจากบุคคลเหล่าน้ีมาเป็นสหกรณ์ค่อนข้างจะเป็นไปได้ยาก แต่ก็ยังมีสหกรณ์บางแห่งสามารถ
ต้ังขึ้นได้จากการรวมกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกัน สหกรณ์เหล่าน้ีสามารถดำเนินกิจการกันได้ตาม
วัตถปุ ระสงค์ โดยมีขอ้ แมว้ ่า

(1) สหกรณไ์ มไ่ ดก้ ดี ขวางการดำเนนิ งานของสหกรณ์ ในกลุม่ วฒั นธรรมอน่ื
(2) สหกรณไ์ มไ่ ด้เอาเปรียบคนทว่ั ไปท่ีอยใู่ นชุมชน รวมถึง
(3) สหกรณน์ ้ันยอมรบั ท่จี ะร่วมสนับสนุนการพัฒนาสหกรณ์ในพื้นท่ีนน้ั ดว้ ย
11. ในหลักการน้ี ได้มีความหมายรวมไปถงึ “เช้ือชาติ” ด้วย โดยมมุ มองหน่ึงเหน็ ว่า การนำ “เช้อื ชาติ” มา
เกี่ยวข้องในเรื่องการแบ่งแยกชนช้ัน ทำให้เกิดปัญหามากมายท้ังในเรื่องสงคราม และการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุ
ดังน้ัน ในการรับสมาชิกเข้ามาในสหกรณ์จึงไม่ควรนำ “เชื้อชาติ” มาเป็นเง่ือนไข แถลงการณ์ของ ICA จึง
ยอมรบั ในเร่อื งน้ี
12. แต่ในอีกมุมหน่ึงยังเห็นว่า กลุ่มคนท่ีมีพื้นฐานทางเช้ือชาติแตกต่างกัน ย่อมมีความคิดและการปฏิบัติตน
ในสหกรณ์ที่แตกต่างกัน อาจเป็นอุปสรรคต่อการอยู่ร่วมกันในสหกรณ์ ดังนั้น หากมีการพิจารณาหลัก
สหกรณใ์ นครงั้ ต่อไป อาจลดความสำคญั ในเรอ่ื ง “เชอื้ ชาต”ิ ท่ีจะนำมาเขา้ หลักสหกรณน์ ้ีกไ็ ด้
13. สหกรณ์สนับสนุนผู้คนท่ีมีแนวความคิดและความศรัทธาในทางการเมืองท่ีแตกต่างกันให้เข้ามาอยู่ร่วมกัน
ได้ ซึ่งในทางการเมืองมักจะมีแต่เรื่องความขัดแย้ง ความวุ่นวาย และความตึงเครยี ด สหกรณ์พยายามลบ
ล้างส่ิงเหล่าน้ีออกไป นับเป็นสิ่งสำคัญอย่างหน่ึงที่สหกรณ์อยากจะให้กลุ่มคนท่ีมีความแตกต่างกันในทาง
การเมืองเข้ามามบี ทบาทร่วมกนั ในสหกรณ์
14. สหกรณ์เกือบทั้งหมดรับสมาชิกโดยไม่คำนึงถึงความเช่ือทางศาสนา แต่ก็มีบางสหกรณ์ถูกต้ังข้ึนมาโดย
โบสถ์หรือชุมชนทางศาสนา ซ่ึงส่วนใหญ่เป็นสหกรณ์ทางการเงิน การต้ังสหกรณ์รูปแบบน้ี ถือว่าไม่ขัดกับ
หลกั การสหกรณข์ อ้ น้ี หากวา่
(1) ไม่มกี ารขดั ขวางการจดั ตั้งสหกรณร์ ะหว่างกลุ่มศาสนาอืน่
(2) สหกรณ์ไม่ได้เอาเปรยี บบคุ คลในชุมชนนั้น
(3) สหกรณ์สามารถร่วมมอื กบั สหกรณ์อืน่ ได้ทุกเรือ่ งที่เป็นไปได้
(4) สหกรณย์ อมรับทีจ่ ะมีสว่ นร่วมพัฒนาขบวนการสหกรณใ์ นพนื้ ทนี่ ้ัน
15. ICA กล่าวถงึ วา่ หลักการรับสมาชกิ นั้น มีความเชอื่ มโยงใกล้ชิดกับหลักการสหกรณต์ ่อไปน้ี
(1) หลกั การให้การศกึ ษาฝึกอบรม และสารสนเทศ
(2) หลกั การควบคมุ โดยสมาชิก ตามหลักประชาธิปไตย
16. หลักในการรับสมัครสมาชิก เช่ือมโยงกับหลักการให้การศึกษา ฝึกอบรม และสารสนเทศ รวมถึงหลัก
ในการควบคมุ โดยสมาชิกตามหลกั ประชาธปิ ไตย กลา่ วคอื
(1) สามารถกำหนดแนวทางการดำเนนิ ธรุ กิจในสหกรณ์ ท่ีมาจากความตอ้ งการของสมาชิกได้
(2) สามารถกำหนดโครงสร้างการดำเนินธุรกิจในระยะยาว รวมทั้งแผนการดำเนินธุรกิจสำหรับ
สหกรณ์ในอนาคตได้อย่างย่ังยืน
(3) สามารถทำใหส้ หกรณ์เปน็ ศนู ย์กลางแห่งการบริการสมาชกิ อนั สำคัญ
(4) สามารถทำใหส้ มาชกิ มีความภักดีและยืนหยัดอยู่ในสหกรณไ์ ดต้ ลอดไป

10

หลักการสหกรณ์ ประการที่ 2 การควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย
Democratic Member Control

1. หลักการสหกรณ์ประการที่ 2
“Co-operatives are democretic organizations controlled by their members, who

actively participate in setting their policies and making decisions. Men and women
saving as elected respresentives are accountable to the membership. In primary co-
operatives members have equal voting rights (one member, one vote) and co-operatives
at other levels are also organised in a democretic manner.”

คำแปล “สหกรณ์เป็นองค์กรประชาธิปไตยที่ถูกควบคุมโดยสมาชิก ผู้ซึ่งมีส่วนร่วมในการกำหนด
นโยบายและทำการตัดสินใจ ท้ังผู้ชายและผู้หญิงที่ถูกเลือกเป็นตัวแทนของสหกรณ์สามารถถูกตรวจสอบได้
โดยสมาชิก ในสหกรณ์ข้ันปฐม สมาชิกทุกคนต่างมีสิทธิในการเลือกต้ังเท่าเทียมกัน (1 คน 1 เสียง) และ
สหกรณใ์ นระดับอืน่ ๆ ก็มีวิธปี ฏบิ ัตทิ างประชาธิปไตยเช่นเดียวกนั ”
2. ICA อธิบายว่า

(1) คำว่า “ประชาธิปไตย” เป็นคำท่มี ีความหมายหลายอยา่ ง
(2) ในทางการเมือง ซึ่งในช่วง 2 ศตวรรษที่ผ่านมาใช้หลักประชาธิปไตย ไปในทางการใช้สิทธิของ
ประชาชน
(3) ในทางสหกรณ์ เปน็ การนำเร่ืองของประชาธปิ ไตยมาพจิ ารณากรอบความหมาย ทั้งในเร่ืองของ
สิทธิ หน้าท่ี ความรับผิดชอบและมากไปกว่านั้นต้องพร้อมด้วยการมีจิตใจที่เข้าถึงในความเป็นประชาธิปไตย
ด้วย
(4) ประชาธิปไตยในสหกรณ์ ถูกมองว่าเป็นส่ิงที่มีความสำคัญ มีคุณค่า ซ่ึงปฏิบัติกันไม่ได้ง่าย ๆ
นัก จึงต้องกำหนดใหเ้ ปน็ ภาระหนา้ ที่อย่างหนึ่งสำหรบั สมาชกิ สหกรณ์
3. ในข้อความท่ีกล่าวว่า “สหกรณ์เป็นองค์กรประชาธิปไตยที่ถูกควบคุมโดยสมาชิก ผู้ซ่ึงมีส่วนร่วมในการ
กำหนดนโยบายและทำการตดั สินใจ” ICA ให้ความหมาย ดงั นี้
(1) สมาชิกมีสิทธสิ งู สดุ ในการควบคมุ สหกรณ์ของตน
(2) สมาชิกพงึ มหี น้าทีป่ ฏิบัติตามแนวทางของประชาธิปไตย
(3) สมาชิกมีบทบาท เกี่ยวข้องในสหกรณ์ด้านกำหนดนโยบาย และการตัดสินใจ เพื่อกระทำการ
ในส่ิงท่ีสำคัญต่าง ๆ ซ่ึงเห็นได้ท่ัวไปในสหกรณ์หลาย ๆ แห่ง ที่มีการนำนโยบายสำคัญของสหกรณ์มาหารือ
และตดั สนิ ใจ โดยรวมถึงการพิจารณาใหค้ วามเหน็ ชอบกจิ กรรมสำคญั ท้งั หลายดว้ ย
(4) ในสหกรณ์อ่ืน ๆ เช่นสหกรณ์แรงงาน สหกรณ์การตลาด สหกรณ์เคหสถาน สมาชิกจะมีส่วน
ร่วมในกิจกรรมแต่ละวันของสหกรณ์ที่มากกว่าการจะมากำหนดนโยบายและการตัดสินใจในเร่ืองที่สำคัญ
ยกตัวอย่าง สหกรณ์แรงงาน สมาชิกซ่ึงรับจ้างทำงานในสหกรณ์เป็นประจำทุกวัน (ประเทศไทยมีสหกรณ์
แบบนี้แต่ยังไม่ชัดเจนตามความหมายของสหกรณ์ทั่วไปในต่างประเทศ) สหกรณ์การตลาด สมาชิกอาจนำ
ผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์มาให้สหกรณ์เพ่ือจัดการจำหน่ายให้ สหกรณ์เคหสถานสมาชิกสามารถใชบ้ ริการจาก
สหกรณ์ในการเก็บขยะได้

11

4. ในหลักการสหกรณ์ประการท่ี 2 ตรงเน้ือความส่วนของข้อ 3 ข้างต้น ICA เชื่อมโยงความหมายต่อไปอีก
วา่

(1) ผู้ชายและผู้หญิง ที่ได้ถูกเลือกเป็นผู้แทน (คณะกรรมการ) ในทุกสหกรณ์สามารถถูกตรวจสอบ
ได้โดยสมาชิก

(2) กรรมการสหกรณ์ที่เป็นผู้แทนสมาชิกเป็นผู้เข้ามาปฏิบัติหน้าท่ีดูแลในสหกรณ์ เพ่ือสร้าง
ผลประโยชนใ์ ห้กบั สมาชกิ ทง้ั ในเวลาระยะส้นั หรอื ระยะยาว

(3) ทั้งสหกรณ์ท่ีมีคณะกรรมการมาปฏิบัติหน้าที่ในสหกรณ์โดยตรง และสหกรณ์ที่มีการจัดหา
พนักงานมาปฏิบัติหน้าที่ภายใต้การสั่งการของคณะกรรมการ ต่างอยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
ซึง่ จะทำหนา้ ท่ที ั้งเร่ืองของการเลือกตั้ง และเรอื่ งอ่นื ใดทง้ั หมดทตี่ ้องทำให้กบั สมาชกิ
5. สำหรับข้อความท่ีกล่าวว่า “ในสหกรณ์ขั้นปฐม สมาชิกทุกคนมีสิทธิในการเลือกต้ังเท่าเทียมกัน (1 คน 1
เสียง) และสหกรณใ์ นระดับอ่ืน ๆ กม็ ีวิธปี ฏบิ ัตทิ างประชาธปิ ไตยเชน่ เดยี วกนั ” ICA อธิบายว่า

(1) ถือเป็นกฎตายตัวสำหรับการเลือกต้ังในสหกรณ์ขั้นปฐมที่มีการสืบทอดแบบแผนกันมาในการใช้
สทิ ธิของสมาชกิ ตามแนวทางประชาธิปไตย (1 คน 1 เสียง)

(2) ในสหกรณ์ระดับอื่น ๆ กฎการออกเสียงเลือกตั้งไม่ได้กำหนดไวต้ ายตัว สหกรณ์ในระดับทุติยภูมิ
(ชุมนุมสหกรณ์ระดับภูมิภาค) และตติยภูมิ (ชุมนุมสหกรณ์ระดับประเทศ) หลายแห่งมักใช้ระบบสัดส่วนใน
การออกเสียงเพื่อความเหมาะสมในเร่ืองของส่วนได้ส่วนเสียและการผูกพันของแต่ละสหกรณ์สมาชิก ซึ่งมี
สมาชกิ ของแตล่ ะสหกรณ์มากนอ้ ยต่างกนั

(3) การกำหนดระบบสัดส่วนในการออกเสียง สำหรับสหกรณ์ระดับอ่ืน ๆ จึงมีการปรับใช้เป็นระยะ
ๆ โดยไม่ไดก้ ำหนดตายตวั เหมอื นเชน่ สหกรณ์ปฐมภูมิ

(4) มีข้อเสียของการกำหนดระบบสัดส่วนในการออกเสียง เน่ืองจากสหกรณ์เล็ก ๆ ที่เป็นสหกรณ์
สมาชิกในสหกรณ์ระดับทุติยภูมิหรือตติยภูมิ มักจะมีสิทธิในการจัดการต่าง ๆ ท่ีน้อยมากรวมถึงข้อได้เปรียบ
เสียบเปรียบในสิทธิการออกเสียงด้วย ซึ่งทำให้สหกรณ์สมาชิกซ่ึงเป็นสหกรณ์ขนาดเล็กไม่ค่อยพอใจมาโดย
ตลอด

หลักการสหกรณ์ ประการที่ 3 การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจโดยสมาชิก Member
Economic Participation

1. หลกั การสหกรณ์ประการท่ี 3
“Members contribute equitably to, and democratically control, the capital of their

co-operative. At least part of that capital is usually the common property of the co-
operative. Members usually receive limited compensation, if any, on capital subscribed as
a condition of membership. Members allocate surpluses for any or all of the following
purposes: developing their co-operative, possibly by setting up reserves, part of which at
least would be indivisible; benefiting members in proportion to their transactions with the
co-operative; and supporting other activities approved by the membership.”

12

คำแปล “สมาชิกมีส่วนในสิทธิท่ีเท่าเทียมกันตามวิธีการทางประชาธิปไตย ในการควบคุมทุนของ
สหกรณ์ของพวกเขา อย่างน้อยท่ีสดุ สว่ นหนึ่งของทุนก้อนนนั้ จะเป็นทรพั ย์สินรว่ มกันในสหกรณ์สมาชิกจะได้รับ
ผลตอบแทนที่จำกัดในทุนใด ๆ ก็ตามท่ีได้จ่ายไปในเงื่อนไขของการเป็นสมาชิก สมาชิกจะจัดสรรเงินส่วนเกิน
เป็นบางส่วนหรอื ท้ังหมดเพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปน้ี คือ เพื่อพัฒนาสหกรณ์ของพวกเขา เป็นไปได้ที่จะมีการ
จัดตั้งทุนสำรองที่ในที่สุดแล้วจะไม่สามารถนำมาแบ่งปันกนั ได้ โดยจ่ายให้กับสมาชิกตามสัดส่วนของปริมาณ
ธรุ กจิ ทท่ี ำกบั สหกรณ์ และสนับสนนุ กิจกรรมท่ไี ดร้ บั ความเหน็ ชอบจากสมาชิก”
2. ในหลกั การสหกรณข์ ้อน้ี ICA อธบิ ายวา่

(1) สง่ิ สำคญั ท่สี หกรณจ์ ะดำรงอยูไ่ ด้ คอื การสนองความต้องการของสมาชิก
(2) การดำเนินงานของสหกรณ์จัดเรื่องทุนในสหกรณ์เป็นส่วนรอง ต่อจากเร่ืองการสนองความ
ตอ้ งการ
(3) เนื้อหาในหลกั การ บ่งบอกว่าสมาชิกลงทุนในสหกรณ์ และเม่ือลงทุนแล้วเกดิ ผลประโยชน์ขึน้ มา
สมาชิกจะจดั การผลประโยชน์ทเ่ี กนิ ทนุ นนั้ กนั อยา่ งไร
3. ส่วนที่ว่า “สมาชิกมสี ่วนในสทิ ธิทีเ่ ท่าเทยี มกัน และมีวิธีการทางประชาธิปไตยในการควบคมุ ทุนของสหกรณ์
ของพวกเขา” ICA หมายความว่า
(1) สมาชิกต้องรว่ มกนั ลงทนุ ในสหกรณ์กบั ตอ้ งจัดสรรเงนิ ทนุ ท่ลี งกนั ไวอ้ ยา่ งเป็นธรรม
(2) ตามหลักในการจดั สรรเงินทุนสามารถกระทำได้ 4 วธิ ี คือ

วิธีที่หนึ่ง สมาชิกถูกเรียกร้องให้ลงทุนในสหกรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์ให้สมาชิกแสดงความ
เป็นเจ้าของทุนกบั ใช้ประโยชนจ์ ากสหกรณ์ วิธีน้ี สมาชกิ อาจให้ความร่วมมือนอ้ ย จึงไดท้ ุนโดยรวมน้อยเกนิ ไป
ซึ่งไมส่ ามารถทำใหเ้ กดิ ผลประโยชน์สว่ นเกินได้ การจ่ายคนื ผลประโยชน์ในสว่ นนี้จึงไมค่ ่อยได้พบเหน็ นัก

วิธีที่สอง สหกรณ์ท่ีดำเนินการได้ผล (มีผลประโยชน์ส่วนเกิน) อาจกำหนดให้มีทุนสำรองไว้
แล้วนำผลประโยชนส์ ่วนเกิน (กำไรจากการดำเนนิ งาน) นี้ ไปเก็บสะสมไว้ในทุนสำรองจะเป็นส่วนมาก หรือ
ทัง้ หมดก็ได้ ทนุ สำรองนสี้ ่วนใหญ่แล้วไม่สามารถนำมาแบง่ ปนั กันระหวา่ งสมาชกิ หากมีการเลกิ สหกรณ์ ทุน
สำรองจะถกู จัดไปใหก้ บั วิสาหกิจชมุ ชนหรอื สหกรณอ์ ื่น

วิธีท่ีสาม สหกรณ์อาจมีความต้องการเงินทุนที่มากข้ึน ขณะเดียวกันก็ต้องการให้มีการ
ประหยดั ค่าใช้จ่ายในการลงทุนด้วย สหกรณ์อาจขอหรือคาดหวงั จากสมาชิกในการแบง่ เงินปันผลบางส่วนกลับ
เข้ามาไว้เป็นทุนในสหกรณ์ วิธีน้ีสมาชิกจะไม่ได้รับผลตอบแทน แต่สมาชิกจะได้รับสิทธิการมีส่วนร่วมใน
สหกรณ์ รวมทงั้ มสี ทิ ธริ ับเงนิ ปันผลในระยะเวลาขา้ งหน้า

วธิ ีที่ส่ี การให้สมาชิกเกิดความตั้งใจท่ีจะนำเงนิ มาลงทุนในสหกรณ์ สหกรณ์อาจให้สิ่งดึงดูด
ใจบางอย่างแก่สมาชิก เช่นการจ่ายผลตอบแทนในอัตราที่สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยธนาคารของรัฐบาล
หรือธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ การจ่ายผลตอบแทนในลักษณะน้ีแค่อัตราท่ีพอแข่งขันดึงดูดใจสมาชิกเท่าน้ัน
ไม่ใช่อัตราทเี่ ป็นการเกง็ กำไรในสหกรณ์
4. ในการควบคมุ เงินทุนของสหกรณ์ สมาชิกมีวิธีการควบคมุ 2 วธิ ี คือ

วิธีท่ีหนึ่ง สหกรณ์จัดหาเงินทุนมาได้ด้วยวิธีใดก็ตามหากจะพิจารณาการใช้เงินทุนนั้น ผู้ที่
ตดั สินใจสดุ ท้ายเปน็ อำนาจของมวลสมาชกิ

13

วิธีที่สอง สมาชิกมีสิทธิเป็นเจ้าของในทุนที่อย่างน้อยสมาชิกมีส่วนร่วมในการลงทุน รวมท้ัง
ตดั สนิ ใจในผลประโยชนท์ ี่ได้จากเงนิ ลงทุนน้นั
5. เม่ือสหกรณ์นำเงินทุนเหล่านั้นไปสร้างผลประโยชน์แล้วมีเงินส่วนเกินเกิดข้ึน มวลสมาชิกเป็นผู้พิจารณา
จัดสรรผลประโยชน์ส่วนเกินนั้น ในแต่ละข้อหรอื ทุกขอ้ ดังตอ่ ไปนี้

(1) จัดสรรเพื่อเก็บไว้เป็นทุนพัฒนาสหกรณ์ ในรูปของ “เงินทุนสำรอง” ทุนจำนวนน้ีจะไม่สามารถ
นำมาแบง่ กันไดใ้ นหมสู่ มาชิก

(2) จัดสรรเพื่อจ่ายคนื สมาชิก ในรูปของ “เงินปันผล” โดยการจ่ายตามส่วนของการลงทุน (ถอื หุ้น)
ของสมาชกิ สหกรณ์ ซึ่งทำกันเป็นประเพณปี ฏบิ ัติ เปน็ การใหร้ างวลั กับสมาชิกท่ีมารว่ มลงทนุ ไว้กบั สหกรณ์

(3) จดั สรรเพ่ือใช้ในกิจกรรมตามความต้องการของมวลสมาชิก ท่ีเห็นว่าสำคัญมากและสมควรจะ
จัดสรรในลักษณะน้ีได้แก่การนำไปพัฒนาขบวนการสหกรณ์ ท้ังในระดับท้องถิ่น ระดับ ภูมิภาค และ
ระดับประเทศ

หลักการสหกรณ์ ประการท่ี 4 การปกครองตนเอง และความเป็นอิสระ Autonomy
and Independence

1. หลกั การสหกรณป์ ระการท่ี 4
“Co-operatives are autonomous, self-help organisations controlled by their

members. If they enter into agreements with other organizations, including
governments, or raise capital from external sources, they do so on terms that ensure
democratic control by their members and maintain their co-operative autonomy.”

คำแปล “สหกรณ์เป็นองค์กรท่ีมีความเป็นอิสระ และเป็นองค์กรท่มี ีการช่วยตนเอง ซ่ึงถูกควบคุมโดย
สมาชิก ถ้าสหกรณ์มีการทำสัญญา หรือกระทำข้อตกลงกับหน่วยงานอื่น รวมถึงรัฐบาล หรือมีการจัดหา
เงินทุนจากแหล่งภายนอก สหกรณ์น้ันได้กระทำโดยอิสระ และกระทำภายใต้เงื่อนไขที่ว่าสหกรณ์ยังคงอยู่
ภายใตก้ ารควบคุมตามหลักประชาธปิ ไตยและการปกครองตนเองของสหกรณ์ยังคงถกู รกั ษาไว้”
2. ในหลกั การสหกรณข์ อ้ นี้ ICA เห็นว่า สหกรณ์ต้องมคี วามรอบคอบในการพฒั นาตนเอง รวมท้งั การสร้าง
ความสัมพันธท์ ีช่ ดั เจนกับรัฐบาล
3. ด้านความสัมพันธ์กับรัฐบาล ICA มองว่า นโยบายของรัฐท่ีเก่ียวกับสหกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาษี
เศรษฐกิจ หรือสังคม อาจท้ังมีส่วนท่ีเป็นประโยชน์หรือเป็นโทษต่อสหกรณ์ได้ เพราะรัฐเป็นผู้ออกกฎหมายท่ีไป
กำหนดกรอบโครงสร้าง ตลอดจนบทบาทหน้าที่ของสหกรณไ์ ว้
4. หลักสำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาตนเองที่สหกรณ์จะต้องยึดถือ คือการปกครองตนเอง โดยเฉพาะการ
ตัดสินใจใช้เงินทนุ ของตนเองอย่างเป็นอิสระตามความต้องการของมวลสมาชิก ซ่งึ ไมอ่ ยู่ภายใต้การบังคับของ
รฐั บาล
5. ในการนี้ยังหมายรวมถึง การทำสัญญา ทำข้อตกลงกับหน่วยงานอ่ืน ตลอดท้ังรัฐบาล รวมถึงการจัดหา
เงินทุนจากแหล่งภายนอก ล้วนใช้หลักดำเนินการอย่างเป็นอิสระ ภายใต้การควบคุมของสมาชิกตามหลัก
ประชาธปิ ไตย

14

6. แม้กระทั่งการเข้าร่วมโครงการใด ๆ กับภาคเอกชน สหกรณ์ก็ยังคงต้องรักษาความเป็นอิสระในการ
ตัดสนิ ใจที่สอดคลอ้ งกบั ทิศทางของสหกรณเ์ มื่อต้องไปทำข้อตกลงกับภาคเอกชนเหล่าน้นั

หลักการสหกรณ์ ประการท่ี 5 การศึกษา ฝึกอบรมและสารสนเทศ Education,
Training and Information

1. หลกั การสหกรณ์ประการท่ี 5
“Co-operatives provide education and training for their members, elected

representatives, managers, and employees so they can contribute effectively to the
development of their co-operatives. They inform the general public – particularly young
people and opinion leaders – about the nature and benefits of co-operation.”

คำแปล “สหกรณ์ให้การศึกษา และฝึกอบรมกับสมาชิกของสหกรณ์ ตัวแทนที่ได้รับการเลือกต้ัง
ผูจ้ ัดการ และลูกจ้าง ดังน้ันพวกเขาจึงสามารถทีจ่ ะมีการจัดสรรท่ีมีประสิทธภิ าพท่จี ะพัฒนาสหกรณ์ของพวก
เขา สหกรณ์ได้มีการบอกแก่สาธารณะโดยท่ัวไป โดยเฉพาะคนหนุ่มสาว และผู้นำทางความคิด กับบุคคล
หรือชมุ ชนเกย่ี วกับธรรมชาตแิ ละประโยชน์ของสหกรณ์”
2. โดยหลักการสหกรณ์ข้อน้ี ได้พูดถึงการศึกษา และการฝึกอบรมซ่ึงสหกรณ์จะต้องทำกับสมาชิก
คณะกรรมการ ผู้จัดการและลูกจ้างของสหกรณ์ ซ่ึงผลจากการศึกษาและฝึกอบรมจะก่อให้เกิดผลกับบุคคล
ต่าง ๆ ข้างตน้ ดงั น้ี

(1) ทำให้สมาชิก คณะกรรมการ และฝ่ายจัดการได้บังเกิดความรู้ความเข้าใจแนวคิดวิธีการทาง
สหกรณ์อยา่ งลกึ ซงึ้

(2) ทำให้บุคคลซ่ึงอยู่กับสหกรณ์มีความสามารถอย่างเพียงพอในการปฏิบัติหน้าท่ีท่ีรับผิดชอบได้
อยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ

(3) ทำให้ผู้นำของสหกรณ์สามารถเข้าใจความต้องการของสมาชิก ซง่ึ ผู้นำเหล่านั้นย่อมเกิดแนวคิด
ในการกำหนดแนวทางการดำเนินกจิ กรรมของสหกรณไ์ ด้อย่างตอ่ เนื่อง

(4) ทำให้ผนู้ ำสหกรณ์ นำแนวทางการพัฒนาสหกรณ์หรือการให้บริการใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนไป
เผยแพร่แก่สมาชิกโดยตรง ในลกั ษณะการส่อื สารแบบสองทางซง่ึ วธิ ีการน้คี อ่ นขา้ งจะทำแล้วไดผ้ ล
3. ส่วนสุดท้าย หลักการสหกรณ์ข้อน้ี คือการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้แก่สาธารณชนทั่วไป โดยเฉพาะคน
หนุ่มสาวและผู้นำทางความคิดของชุมชน (เช่นนักการเมือง ข้าราชการ ส่ือสารมวลชน และนักการศึกษา)
ในเรื่องของลักษณะความเป็นสหกรณ์ตลอดจนประโยชน์ของสหกรณ์ โดยคาดหวังว่าบุคคลเหล่าน้ันจะบังเกิด
ความเข้าใจ เห็นคุณค่าของสหกรณ์ และหันมาให้ความสนใจ สนับสนุน กิจการทางสหกรณ์ในที่สุด บทบาท
การเผยแพรข่ อ้ มูลขา่ วสารจึงถือเป็นหนา้ ท่รี บั ผดิ ชอบของสหกรณ์ท่สี ำคญั อยา่ งหน่ึง
4. ท้ายที่สุด ICA กล่าวว่า ในหว้ งทศวรรษทผี่ ่านมา สหกรณ์จำนวนมากในหลายประเทศเพกิ เฉย ไม่ค่อยให้
ความสำคัญด้านสารสนเทศ จึงหวังว่าต่อจากน้ีไป ถ้าสหกรณ์ทำได้ จะทำให้เพ่ิมขีดความสามารถของ
สหกรณ์ใหเ้ ปน็ ท่ปี ระจกั ษ์ตอ่ สาธารณะชนได้

15

หลักการสหกรณ์ ประการท่ี 6 ความรว่ มมอื ระหวา่ งสหกรณ์ Co-operation among
Co-operatives

1. หลักการสหกรณ์ประการที่ 6
“Co-operatives serve their members most effectively and strengthen the co-

operative movement by working together through local, national, regional and
international structures.

คำแปล “สหกรณ์ให้บริการสมาชิกอย่างมีประสิทธิภาพมากท่ีสุด และทำให้สหกรณ์เข้มแข็งด้วยการ
ทำงานร่วมกนั ผา่ นโครงสรา้ งระดับท้องถน่ิ ประเทศ ภูมภิ าค และระหว่างประเทศ”
2. ในหลักการสหกรณ์ข้อน้ี ICA ย้ำว่า เป็นการนำหลักสหกรณ์ท่ีเคยปรับปรุงในครั้งท่ี 2 (ค.ศ.1966 หรือ พ.ศ.
2509) มาขยายผลเพ่ือให้เกิดความเข้มข้นมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะการหลีกหนีการแทรกแซงจากรัฐบาลและหัน
มาใช้ประโยชน์บนความร่วมมือระหว่างสหกรณ์ เพื่อไปสู่จดุ มงุ่ หมายอย่างมคี วามเขม้ แข็ง
3. สหกรณร์ ะดับท้องถ่นิ อาจดำเนินการใหป้ ระสพความสำเร็จดว้ ยตัวเองได้ แต่ในความเป็นสหกรณ์ควรจะ
สร้างประโยชน์ให้แก่ขบวนการสหกรณ์ได้มากยิ่งขึ้นกว่านั้น ด้วยการร่วมมือกันระหว่างสหกรณ์ เกิดเป็น
ลักษณะขององค์การขนาดใหญ่ ถือว่าเป็นเร่ืองยากในการแบ่งปันผลประโยชน์ให้กับผู้เกี่ยวข้องในขบวนการ
สหกรณไ์ ดอ้ ย่างลงตวั
4. บนความยากดังกล่าวข้างต้น นับเป็นการทดสอบความท้าทายและความร่วมมือต่อกันระหว่างสหกรณ์
อย่างแท้จริง
5. ความเป็นรัฐของแต่ละประเทศ ไม่สามารถทีจ่ ะควบคุมเศรษฐกจิ ระหว่างประเทศได้ แต่ความเป็นสหกรณ์
กลับมโี อกาสท่แี ตกต่างไปจากรัฐ ซึง่ สหกรณ์สามารถทำได้โดยการรว่ มมือต่อกนั ในระหว่างประเทศ
6. ถึงบัดน้ี จะต้องยอมรับกันว่า การร่วมมือกันระหว่างสหกรณ์ ในด้านการสนับสนุนและดำเนินกิจกรรม
รว่ มกันเป็นสิ่งจำเป็น และต้องทำให้เข้มขน้ มากกว่าในอดตี ทผี่ ่านมา และการร่วมมือตอ่ กนั ระหว่างสหกรณ์นั้น
ย่อมทำได้ในสหกรณป์ ระเภทเดยี วกัน และต่างประเภทกัน

หลกั การสหกรณ์ ประการที่ 7 การเออ้ื อาทรตอ่ ชมุ ชน Concern for Community

1. หลักการสหกรณป์ ระการท่ี 7
“Co-operatives work for the sustainable development of their communities

through policies approved by their members.”
คำแปล “สหกรณ์มีบทบาทท่ีจะกระทำในการสนับสนุนพัฒนาชุมชนตามนโยบายที่เกิดจากความ

เห็นชอบของเหลา่ สมาชิก”
2. ICA อธบิ ายวา่

(1) ความเข้มแข็งของสหกรณ์ขึ้นอยู่กับสมาชิก สหกรณ์จะอยู่ได้ก็ด้วยการสนองความต้องการของ
สมาชกิ เป็นหลกั

(2) เน่ืองจากสหกรณ์ต้ังอยใู่ นชุมชนจึงถือว่าเป็นสว่ นหนึง่ ของชมุ ชน ดังน้ันสหกรณ์จึงสมควรมบี ทบาท
และมีหน้าท่ีรับผิดชอบในการพัฒนาชุมชน ทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รวมถึงการปกป้องรักษา
สภาพแวดล้อมของชุมชนโดยสม่ำเสมอดว้ ย

16

(3) การเอาใจใส่ต่อชุมชนดงั กล่าว ถอื เป็นการเออื้ อาทรต่อชุมชนซงึ่ การชว่ ยเหลือชุมชนจะมีมากน้อย
แคไ่ หน หรอื จะใช้วิธีการใด ขึน้ อยกู่ บั การตดั สนิ ใจของสมาชกิ ซง่ึ เป็นเจา้ ของสหกรณ์

(4) ตามหลักการสหกรณ์ข้อน้ี เป็นอีกบทบาทหน้าท่ีหน่ึงที่สมาชิกสหกรณ์ จะละเลยเพิกเฉยไม่ได้
ตามแถลงการณข์ อง ICA ซงึ่ กลา่ วถงึ หลักการสหกรณใ์ นตอนท้าย ผูเ้ ขียนสรปุ ได้ดังนี้

1. หลักสหกรณ์ เป็นผลท่ีได้รับมาจากค่านิยมทางสหกรณ์ ซึ่งซึมซับอยู่ในสายเลือดของ
ขบวนการสหกรณ์มาแตแ่ รก

2. หลักสหกรณ์ ได้รบั การถา่ ยทอดโครงสร้างและแนวความคดิ เพ่ือให้สหกรณม์ ีความพเิ ศษ
สามารถปฏบิ ตั ิไดใ้ นทุกสหกรณ์ มีความยดื หยนุ่ ต่อการนำไปปรับใช้บนความแตกต่างของสหกรณ์แต่ละประเภท
ในสถานการณท์ ี่แตกต่างกนั

3. หลักสหกรณ์ มีพื้นฐานการกำหนดตามประสบการณ์หลายช่ัวอายุตลอดท้ังแนวความคิด
ทางปรชั ญาจากนกั สหกรณ์ผู้ริเรมิ่ (กอ่ การ) จัดต้งั สหกรณ์ ซึ่งมุ่งหวงั ใหเ้ ป็นแนวทางพฒั นาสหกรณต์ ลอดไป

4. การดำเนินการใด ๆ ทั้งหมด ที่กล่าวถึง ล้วนอยู่ภายใต้การตัดสินใจของเหล่าสมาชิก
สหกรณ์ ตามแนวทางประชาธปิ ไตย

4. ประวตั กิ ารสหกรณ์

การปฏิวตั กิ ารปกครองในประเทศฝรงั่ เศส

ปี ค.ศ.1789 (พ.ศ.2332) เกิดการปฏิวัติการปกครองในประเทศฝรั่งเศส เพ่ือเปล่ียนแปลงการ
ปกครองจากระบบกษัตริย์เป็นระบอบประชาธิปไตย การปฏิวัติครั้งน้ีทำให้เกิดการเผยแพร่อุดมการณ์
เกี่ยวกบั สิทธิเสรีภาพของประชาชน ซ่ึงเป็นอุดมการณ์ทางประชาธิปไตย และทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจแบบทุน
นิยม (Capitalism) ขึน้ มา

ระบบเศรษฐกิจแบบน้ีถือหลักการประกอบกิจการใด ๆ กำไรจะเป็นของเจ้าของกิจการทั้งหมด จึง
เปิดโอกาสให้นายทุนเข้ามาแข่งขันเพ่ือแสวงหากำไรโดยเสรี ผู้ตกอยู่ในฐานะเสียเปรียบคือ ผู้ใช้แรงงานหรือ
ลกู จา้ ง ซึ่งไดร้ บั ค่าจา้ งในอัตราต่ำ และตกอยู่ในสภาพจำยอม ทำให้เกดิ ความยากจนตามมาในท่สี ดุ

การปฏวิ ตั อิ ตุ สาหกรรมในประเทศองั กฤษ

ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18-19 ได้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้นในทวีปยุโรป โดยเฉพาะท่ีประเทศ
อังกฤษ มีการคิดค้นเทคนิคใหม่ ๆ ในการผลิตทางอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการนำเครื่องจักรมาใช้ในการ
ผลิตแทนแรงงานคน ทำให้ได้สินค้าจำนวนมากมีคุณภาพดีกว่าใช้แรงงานคนทำให้พวกช่างฝีมือ หรือจำพวก
อุตสาหกรรมขนาดเล็กในครัวเรือนต้องเลิกกิจการไป และบุคคลเหล่าน้ีต้องไปรับจ้างเป็นคนงานในโรงงาน
ใหญ่ ๆ

ในสภาพดังกล่าวของประเทศอังกฤษ จึงมีลักษณะคล้ายคลึงกับประเทศฝร่ังเศส คือ ผู้ใช้แรงงาน
หรือลูกจ้างได้รับค่าจ้างในระดับต่ำ ตกอยู่ในสภาพจำยอม และยากจน ขณะเดียวกันผลกำไรที่ได้จากการ
ผลติ ในโรงงานจะตกแก่นายทุนทง้ั หมดแตเ่ พียงฝ่ายเดยี ว

17

ระบบเศรษฐกิจแบบสงั คมนยิ ม

ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ซ่ึงเป็นอุดมการณ์ทางประชาธิปไตยในสมัยน้ัน ถูกมองโดย นัก
เศรษฐศาสตรบ์ างพวกว่าไม่สามารถแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของประชาชนส่วนใหญไ่ ด้ และมคี วามคิดเหน็ ว่า
ควรยกเลิกระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสีย ไม่ควรให้เอกชนมีกรรมสิทธ์ิในทรัพย์สินทุกแห่ง รัฐหรือรัฐบาล
เท่าน้ันควรเป็นผู้ประกอบกิจกรรมท้ังหมด ประชาชนถือเป็นคนงานของรัฐ และได้รับค่าจ้างเท่าท่ีจำเป็นเพื่อ
การดำรงชีพเทา่ น้นั ระบบเศรษฐกิจแบบนี้ เรยี กว่าระบบเศรษฐกิจแบบสงั คมนิยม (Socialism)

ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ค่อนข้างขัดกับหลักสำคัญของระบอบประชาธิปไตย คือ ไปริดรอน
สิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยตรง ทำลายความคิดริเร่ิม ความคิดสร้างสรรค์ และความต้องการศึกษา
ค้นคว้าในสิ่งใหม่ ๆ ของประชาชน

ระบบเศรษฐกจิ แบบสายกลาง

นักเศรษฐศาสตร์อีกพวกหนึ่งมีความคิดเห็นว่า ระบบเศรษฐกิจท้ัง 2 ระบบ ไม่สามารถแก้ไขความ
ยากจนของประชาชนส่วนใหญ่ได้ เพราะระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเป็นแบบเศรษฐกิจท่ีเอารัดเอาเปรียบผู้ใช้
แรงงาน กอบโกยหาผลประโยชนเ์ ข้าตัวเอง ไมย่ อมเหลยี วแลผใู้ ชแ้ รงงาน รวมถึงเกษตรกรผู้ผลติ ก็มักถูกเอา
รัดเอาเปรยี บในเรอื่ งราคา ตอ้ งจำยอมขายพชื ผลในราคาต่ำ

สว่ นระบบเศรษฐกจิ แบบสังคมนยิ ม ก็หนักไปในทางรดิ รอนสิทธิ และเสรภี าพของเอกชนมากเกินไปไม่
เปิดโอกาสให้เอกชนมีส่วนช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจส่วนรวมให้เจริญก้าวหน้า จึงมีความคิดเห็นว่าควรจะมี
ระบบเศรษฐกิจแบบสายกลาง คือเป็นวิธีการที่ให้บุคคลท่ีมีฐานะยากจน หรือขัดสนในทางทรัพย์ ดำเนินการ
ชว่ ยตนเองโดยการรวมทุน และรวมกำลังเข้ากันด้วยความสมัครใจ เพ่ือจัดต้ังเป็นสมาคม ซ่ึงแนวความคิด
ดงั กลา่ วได้กอ่ ให้เกิดระบบสหกรณข์ น้ึ ในเวลาต่อมา

แนวความคดิ ในรปู แบบสหกรณ์

ตามแนวความคิดระบบเศรษฐกิจแบบสายกลางนี้ คือการรวมตัวบุคคลก่อตั้งเป็นรูปสหกรณ์ ซึ่งทุก
คนที่มารวมกันจะต้องทำด้วยความสมัครใจ การรวมจะต้องรวมกันท้ังกำลังใจ กำลังความคิด กำลัง
ความสามารถ เพ่ือก่อให้เกิดพลัง เกิดอำนาจในการต่อรอง ทุกคนจะต้องเสียสละ ช่วยเหลือตนเอง
ช่วยเหลือซ่ึงกันและกัน เพ่ือแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของแต่ละคน ทุกคนจะต้องมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน
ไม่ว่าจะเป็นสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น แสดงความสามารถ หรือแม้แต่การได้รับผลประโยชน์
จากการประกอบกจิ การในรปู แบบสหกรณ์ เป็นตน้

กวา่ จะประสบความสำเรจ็

จากแนวความคิดเกี่ยวกับการรวมตัวกันเพ่ือก่อตั้งเป็นรูปสหกรณ์ ได้มีผู้นำเอาแนวความคิดนี้ไป
ทดลองปฏิบัติ บางคนประสพความล้มเหลว บางคนประสพความสำเร็จพอควร แต่ก็ไม่ยั่งยืนและมีที่ประสพ
ความสำเรจ็ ในการดำเนนิ กิจการจดั ว่าเปน็ สหกรณ์แรกทเี่ กิดขน้ึ ในโลก คือรา้ นสหกรณ์รอชเดล

18

โรเบริ ต์ โอเวน บดิ าแหง่ การสหกรณ์

บุคคลแรกที่สอนให้คนทั่วไปรู้จักคำว่า “สหกรณ์” คือ โรเบิร์ต โอเวน ชาวอังกฤษ ซึ่งถือว่าเป็น
ผู้ให้กำเนิดการสหกรณ์ข้ึนในโลก และได้ช่ือว่าเป็นบิดาแห่งสหกรณ์ เดิมโอเวนเป็นคนยากจน แต่มีความ
เฉลียวฉลาด และรู้จักวิธีการทำมาหากิน จึงทำให้เขาได้มีโอกาสเป็นผู้จัดการและมีหุ้นส่วนเป็นเจ้าของ
โรงงานเขาเป็นนายจ้างท่ีมีความหวังดีต่อกรรมกร จึงได้ปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ท่ัวไปของคนงานให้ดีข้ึน
หลังจากนั้นโอเวนได้หาวิธีช่วยเหลือกรรมกรอ่ืน ๆ โดยสอนให้รู้จักการช่วยตนเอง และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
เพ่ือขจัดปัญหาความเดือดร้อนต่าง ๆ ซ่ึงเป็นวิธีการของระบบสหกรณ์ โอเวนเสนอให้จัดต้ัง “ชมรมสหกรณ์”
ให้ชมรมสหกรณ์นี้ผลิตส่ิงของเครื่องใช้ต่าง ๆ ใช้เอง โดยไม่ใช้เครื่องจักร ทรัพย์สินของชมรมเป็นของส่วนรวม
เพ่ือมิใหส้ ภาพนายทุนปะปนอยูใ่ นชมรม การจัดตงั้ ชมรมสหกรณ์จะตอ้ งใช้เงินทุนและท่ีดินเป็นจำนวนมาก และ
โอเวนก็ได้พยายามเผยแพร่แผนการจัดต้ังชมรมสหกรณ์เพื่อให้คนทั่วไปได้เข้าใจสหกรณ์ในฐานะสมาคมเพ่ือ
เศรษฐกิจ แต่โอเวนยังไม่สามารถจัดตั้งชมรมสหกรณ์ในประเทศอังกฤษได้ เพราะมีปัญหาเก่ียวกับสภาพ
สังคมในสมยั นั้น

โอเวนเดินทางไปประเทศสหรัฐอเมริกา ทดลองจัดตั้งชมรมสหกรณ์ขึ้นเป็นคร้ังแรกท่ีนิวฮาโมนี่ รัฐ
อินเดียนา สหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ.1825 (พ.ศ.2368) ให้ช่ือว่า นิวฮาโมน่ี แต่ได้เลิกล้มไปในระยะเวลา
ต่อมา เน่ืองจากไม่ได้คัดเลือกสมาชิก และไม่มีกิจกรรมเพียงพอให้คุ้มค่ากับค่าใช้จ่าย นอกจากน้ียังมี
ปัญหาเกีย่ วกับการปกครองและศาสนา

อย่างไรก็ตาม แนวความคิดของโอเวนก็มีอิทธิพลต่อนักปฏิรูปทางเศรษฐกิจ เขาได้ให้แนวความคิด
เก่ียวกับความร่วมมือร่วมใจระหว่างมนุษย์ในอันท่ีจะช่วยตัวเองและช่วยเหลือซ่ึงกันและกัน เพ่ือยกมาตรฐาน
ความเป็นอยู่ให้สูงข้ึน แนวความคิดของโอเวนในเร่ืองชมรมสหกรณ์ และการขจัดกำไรเป็นพื้นฐานของการต้ัง
สหกรณ์ผ้บู ริโภคขึน้ ในสมัยตอ่ มา

นายแพทยว์ ลิ เลยี่ ม คงิ ผปู้ รบั ปรงุ วธิ กี ารของโอเวน

วิลเล่ียม คิง เป็นชาวอังกฤษ เป็นผู้นิยมในความคิดโอเวน แต่เห็นว่าโครงการของโอเวนต้องใช้
เงินทนุ จำนวนมาก ซงึ่ จะทำให้เปน็ จรงิ ได้ยาก

เขาจึงเร่ิมต้นโดยการช้ีแจงให้คนงานรวมทุนกันคนละเล็กละน้อยตั้ง “สมาคมการค้า” ในรูปสหกรณ์
ข้ึน เม่ือปี ค.ศ.1827 (พ.ศ.2370) เป็นรูปร้านสหกรณ์จำหน่ายสินค้า แต่มีข้อแตกต่างไปจากร้านสหกรณ์ใน
ปัจจุบัน คือ กำไรที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจของร้านสหกรณ์น้ีจะไม่นำมาแบ่งปันกัน แต่จะเก็บสมทบไว้เป็น
ทนุ เพื่อใช้ขยายงานของรา้ นสหกรณ์ตอ่ ไป จนสามารถต้ังชมรมสหกรณ์ตามแบบของโอเวนได้

จากการกระทำดังกล่าว ทำให้ร้านค้าแบบสหกรณ์ในรูปแบบนี้ ไม่ประสพผลสำเร็จเน่ืองจากเก็บ
กำไรท้ังหมดไว้ไม่จ่ายคืนสมาชิก ทำให้สมาชิกไม่ศรัทธาสหกรณ์ อย่างไรก็ตามกิจการของนายแพทย์คิงก็
คล้ายกับร้านสหกรณใ์ นปัจจุบนั ดงั นนั้ วงการร้านสหกรณใ์ นสมยั น้จี งึ ให้เกียรติยกย่องแกท่ ่านมาก

ชารล์ ส์ ฟรู เิ อ แนวความคดิ แบบนคิ มสหกรณ์

ชาร์ลส์ ฟูริเอ เป็นชาวฝรั่งเศส มีแนวความคิดเน้นการให้เสรีภาพแก่บคุ คลอย่างแท้จริง เพราะผล
จากการปฏิวัติการปกครองในประเทศฝรง่ั เศส ฟรู เิ อเห็นวา่ ไม่ไดท้ ำใหฐ้ านะของคนจนดขี ้ึน

19

ฟรู ิเอ แนะนำหลักการสหกรณ์ ซ่ึงมหี ลักการรว่ มมือมาใช้แทนระบบทุนนยิ มและได้ทดลองตง้ั สหกรณ์
ในฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกาในรูปของนิคมสหกรณ์ ซึ่งเป็นสหกรณ์สมบูรณ์แบบเช่นเดียวกับของโอเวน แต่ก็
ไดเ้ ลิกลม้ ไป เพราะสมาชิกขาดอุดมคตอิ ย่างแทจ้ รงิ

ฟลิ ลปิ บเู ช วางแนวทางสหกรณผ์ ผู้ ลติ

เป็นชาวฝรั่งเศส เป็นผู้คิดและเผยแพร่แนวความคิดด้านสมาคมผู้ผลิตให้เป็นสหกรณ์ขนาดเล็ก
สมาชิกเป็นพวกช่างฝีมือประเภทต่าง ๆ การทำงานมีรูปแบบให้สมาชิกทำงานกันเองในโรงงาน และควบคุม
กันเอง ปลายปีสมาชิกจะได้รับส่วนแบ่งกำไรในรูปเงินปันผลตามส่วนแบ่งการทำงานของตนในระหว่างปี และ
กันกำไรบางส่วนไวเ้ ปน็ เงินสะสมเพื่อขยายกจิ การโดยไมต่ ้องพง่ึ เงนิ ทนุ จากภายนอก

ในทางประวัติศาสตร์ บูเชถือเป็นผู้วางแนวทางให้แก่สหกรณ์ผู้ผลิต ซึ่งมีหลักการสำคัญที่ยึดถือ
ปฏิบัติในสหกรณผ์ ผู้ ลติ ถึงปจั จุบัน

เฮอรม์ นั ชลุ เซ ตน้ กำเนดิ สหกรณเ์ ครดติ ในเมอื ง

ชุลเซ เป็นชาวเยอรมนี เป็นผู้นำทางความคิดท่านหนึ่ง ในสมัยนั้นเกิดสภาพปัญหาทางเศรษฐกิจ
และสังคมอย่างรุนแรง อันสืบเน่ืองมาจากการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมในประเทศเยอรมนี เช่นเดียวกับ
ประเทศอังกฤษ ชุลเซให้แนวความคิดวา่ สาเหตขุ องปญั หาท่ีชุมชนช่างฝีมือกลุ่มเลก็ เชน่ ชา่ งไม้ ชา่ งรองเท้า
ซึ่งเป็นชุมชนท่ีอยู่ในเมือง ไม่ได้มาจากการเกิดขึ้นของโรงงานอุตสาหกรรม แต่มาจากการท่ีชุมชนช่างฝีมือ
เหล่าน้ันไม่สามารถรวมตัวกันทางเศรษฐกิจเพ่ือร่วมกันแกป้ ัญหา เขาจึงเสนอแนวความคิดให้มีการรวมตัวกัน
โดยระบบสหกรณ์

สหกรณ์ท่ีชุลเซริเริ่มให้ก่อต้ัง มี 2 แห่ง คือ สหกรณ์ช่างไม้ และสหกรณ์ช่างทำรองเท้า เมื่อปี
ค.ศ.1849 (พ.ศ. 2392) วตั ถปุ ระสงค์ทส่ี ำคญั คือ อำนวยประโยชน์ร่วมกันในหมู่มวลสมาชิก ใช้วิธกี ารรวมซื้อ
วัสดุอุปกรณ์การผลิตด้วยกัน การบริหารงานยึดหลัก 3 ประการ คือ การช่วยตนเอง การบริหารงานด้วย
ตนเอง และการรับผดิ ชอบด้วยตนเอง หลังการจัดตั้งสหกรณ์ทั้งสองแห่ง ประสพความล้มเหลว เพราะขาด
แคลนเงนิ ทุนและแหล่งสินเชื่อดว้ ยภาวะเศรษฐกจิ ของประเทศในสมัยน้นั มีปญั หาขาดแคลนทรพั ยากรมาก

สหกรณ์พยายามแก้ปัญหาด้วยการจัดตั้งสมาคมเพ่ือการสงเคราะห์ (Welfare association) ข้ึน
เพื่อเป็นแหล่งระดมทุนก็ยังไม่ประสพความสำเร็จ จนได้ก่อตั้งสหกรณ์สินเช่ือหรือเครดิตไม่จำกัดสินใช้ข้ึนมา
จึงสามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเงินทุนไปได้ สหกรณ์ประเภทหลังน้ีได้พัฒนาเรื่อยมาจนกลายเป็น
สหกรณธ์ นาคารประชาชน (People’s Bank) ในเวลาต่อมา

เฟรดรคิ วลิ เฮลม์ ไรฟไ์ ฟเซน ตน้ กำเนดิ สหกรณเ์ ครดติ ชนบท

ไรฟ์ไฟเซนเป็นชาวเยอรมนี มีแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยม และได้รับอิทธพิ ลแนวคิดมาจากครสิ เตยี น ได้
ริเร่ิมจัดตั้งสหกรณ์ในหมู่ชาวเกษตรกรซ่ึงอยู่ชนบทท่ีประสบปัญหาไม่ย่ิงหย่อนกว่าชุมชนเมือง โดยเกษตรกร
กลุ่มเล็กต้องดำเนินธุรกิจกับพ่อคา้ คนกลางในท้องถิ่น ซึ่งจัดหาปัจจัยการผลิตให้เกษตรกรในราคาแพง และ
รับซอ้ื ผลผลติ จากเกษตรกรในราคาตำ่

สหกรณ์ดังกล่าวเป็นสหกรณ์ขนาดเล็ก จำกัดสมาชิกอยู่ในกลุ่มสังคมเดียวกัน มีความรู้จักและ
คุ้นเคยกันสะดวกแก่การควบคุมด้านการปล่อยสินเช่ือ สมาชิกร่วมกันรับผิดชอบในหน้ีสินของสหกรณ์โดยไม่

20

จำกัด คณะกรรมการดำเนินการเป็นฝ่ายจัดการธุรกิจของสหกรณ์ โดยไม่มีค่าตอบแทน การดำเนินธุรกิจ
ของสหกรณ์ไม่มีการแสดงผลงานโดยตรง แต่ผลงานสามารถเห็นได้จากการสะสมทุนท่ีเกิดจากการจัดสรร
ผลกำไรมาเป็นทุนสำรองของสหกรณ์ ต่อมาสหกรณ์เครดิตน้ียังขายบริการแก่สมาชิกนอกเหนือไปจากธุรกิจ
สินเชื่อ และให้บริการด้านธุรกิจการซ้ือและธุรกิจการขายอย่างกว้างขวาง กล่าวได้ว่าไรฟ์ไฟเซนเป็นผู้ให้
กำเนิดสหกรณ์เครดติ ในชนบท

แนวความคดิ ขยายผลการตง้ั สหกรณ์

จากแนวความคิดทางสหกรณ์ของโรเบิร์ต โอเวน และนายแพทย์วิลเล่ียม คิง ได้จุดประกายความ
ต้องการและความหวังของชาวเมืองรอชเดล ประเทศอังกฤษเป็นอย่างยิ่ง โดยในระหว่างปี ค.ศ.1830 – 1833
(พ.ศ.2373 – 2376) ชาวเมืองรอชเดลได้พยายามต้ังร้านสหกรณ์ขน้ึ มาถึงสองครง้ั แต่ล้มเหลว และเลิกไปท้ัง
สองคร้ัง แต่ชาวเมืองกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่งยังไม่หมดความพยายาม ยังหวังที่จะจัดตั้งชุมชนสหกรณ์ตาม
แนวความคดิ ของโอเวนขึ้นมาให้ได้ เพ่ือทีพ่ วกเขาจะไดม้ ีโรงงานทอผา้ เปน็ สถานทท่ี ำงาน มีทน่ี าทำการเกษตร
มีบ้าน มีโรงเรียน และมีการค้าขายของบริโภคในราคายุติธรรมสำหรับพวกเขา เขาจึงมีการประชุม
อภิปราย แลกเปลย่ี นความคิดเหน็ ดา้ นสหกรณ์กันอยูอ่ ย่างตอ่ เนอื่ งตลอดเวลา

ก่อนจะเปน็ สหกรณอ์ ยา่ งแท้จรงิ

ผู้นำในการก่อตั้งสหกรณ์รอชเดลน้ัน ส่วนใหญ่เป็นช่างทอผ้า แต่มีอีกบ้างบางคนเป็นช่างฝีมือ
ค่าแรงงานสูง บ้างเป็นนักธุรกิจ พลังจูงใจของคนกลุ่มน้ีจึงมิใช่ความอดอยากยากจนเพียงอย่างเดียว แต่ยัง
เปน็ ความปรารถนาทีจ่ ะจดั ระเบยี บทางสงั คมใหด้ ขี ึ้น

เม่ือได้ประชุมกำหนดวัตถุประสงค์ในการกอ่ ต้ังสหกรณแ์ ละวางแผนงานแล้ว จึงได้มกี ารระดมทนุ เพื่อ
ต้ังรา้ น ข้อตกลงแต่แรกเริ่มนั้นกำหนดว่า สมาชกิ คนหน่ึงจะตอ้ งถือหุ้นมูลค่า 4 ปอนด์ หลงั จากทใี่ ช้เวลาสอง
ปพี บว่ารวบรวมเงนิ ทุนได้เพียง 28 ปอนด์ รวมทั้งเงินท่ีกู้มาด้วย บรรดาผู้นำจึงช่วยกันร่างกฎระเบียบท่ีจะใช้
ในการบริหารจัดการ และควบคมุ การดำเนินงานของร้านข้ึนมาตามหลกั การประชาธปิ ไตย คณะกรรมการ
เป็นผบู้ ริหารร้าน การซื้อขายต้องกระทำเป็นเงนิ สด ผลกำไรท่ีเกิดข้นึ ตอ้ งจดั สรรในแนวทางที่สร้างสรรค์ ซ่ึง
กำหนดไว้ว่า ให้จ่ายปันผลต่อหุ้นในอัตราร้อยละ 3.5 ต่อปี ส่วนกำไรท่ีเหลือให้เฉล่ียคืนต่อสมาชิกตามส่วน
ของธรุ กิจทท่ี ำกบั สหกรณ์

สหกรณแ์ หง่ แรกในประเทศองั กฤษ

ในการประชุมใหญ่ครั้งแรกในวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ.1844 (พ.ศ.2387) ท่ีประชุมได้เลือกต้ัง
คณะกรรมการดำเนินการชุดแรก ประกอบด้วยประธาน เหรัญญิกและเลขานุการ สามคนนี้ นับว่าเป็น
เจ้าหน้าท่ี (Officers) และมีกรรมการดำเนินการ (Board of director’s members) อีก 5 คน มี
กรรมการควบคมุ (Trustees) 3 คน มีผูส้ อบบญั ชี 2 คน และอนุญาโตตลุ าการ 5 คน

สหกรณ์จัดประชุมคร้ังที่ 2 ในวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ.1844 (พ.ศ.2387) และมีมติให้บันทึกวันน้ีเป็น
วันก่อตั้งสหกรณ์รอชเดล นับเป็นสหกรณ์ประเภทผู้บริโภคแห่งแรกท่ีเกิดขึ้นในประเทศอังกฤษอย่างสมบูรณ์
แบบ และมีระบบการบริหารจัดการตามหลักการสหกรณ์ท่ีเรียกกันว่า ร้านค้าของสหกรณ์รอชเดล สหกรณ์
แห่งน้ีตั้งอยู่ที่ตรอกคางคก (Toad Lane) ในเมืองรอชเดล เม่ือแรกตั้งมีสมาชิก 28 คน มีทุนดำเนินงาน

21

28 ปอนด์ ระยะแรกกิจการเจริญเติบโตอย่างล่าช้า แต่ในปีต่อ ๆ มา กิจการของร้านสหกรณ์ได้เติบโต
ก้าวหนา้ อยา่ งม่ันคง และตอ่ เนอื่ งตลอดมา

ตน้ แบบแหง่ หลกั การสหกรณ์สากล

สหกรณ์ผู้บริโภคแห่งรอชเดล มีหลักการในการดำเนินงานสหกรณ์ตามระบบประชาธิปไตย โดยยึด
หลักความเท่าเทียมกัน ความเสมอภาค และความยุติธรรมจนเป็นที่ยอมรับและเผยแพร่ไปทั่วโลก โดยท่ี
ขบวนการสหกรณ์ประเภทต่าง ๆ ได้ยอมรับและนำไปปฏิบัติกันทั่วโลก แม้หลักการสหกรณ์สากลที่ถือปฏิบัติ
กันในปัจจุบันยังได้แนวคิดและปรับปรุงมาจากหลักการของสหกรณ์รอชเดล ซ่ึงได้แถลงไว้ในปฏิทินการ
ดำเนินงานประจำปี ค.ศ.1860 (พ.ศ.2403) ข้อกำหนดในการดำเนินงานของสหกรณ์รอชเดลหรือ หลักการ
สหกรณ์ผ้บู รโิ ภคนี้ มสี าระสำคญั พอสรุปได้ ดงั น้ี

(1) มกี ารควบคุมแบบประชาธิปไตย
(2) เปิดรับสมาชิกท่ัวไปโดยใจสมคั ร
(3) จ่ายดอกเบี้ยแกเ่ งนิ ทนุ เรอื นห้นุ ในอัตราท่กี ำหนดไว้ตายตวั
(4) จ่ายคืนเงินสว่ นเกินให้แกส่ มาชกิ ตามสว่ นของการซอื้
(5) ขายสินคา้ ดว้ ยเงนิ สด ตามราคาตลาด
(6) ขายสนิ ค้าบรสิ ทุ ธ์ิ และมีคุณภาพ
(7) จดั ให้มีการศกึ ษาอบรมแก่สมาชิก
(8) มคี วามเป็นกลางทางการเมอื ง และศาสนา

อย่างไรก็ตามหลักการสหกรณ์ของสหกรณ์รอชเดล ซึ่งเป็นหลักในการดำเนินธุรกิจของร้านสหกรณ์
รอชเดลนั้น ได้มีการรวบรวมและเรียบเรียงเป็นแนวทางการปฏิบัติจากบุคคลหลายท่าน พร้อมทั้งได้กำหนด
วา่ แนวทางการปฏิบตั ิดงั กล่าวเปน็ หลักการของสหกรณ์รอชเดล โดยท่รี ้านสหกรณ์รอชเดลเองก็มไิ ด้กำหนดไว้
ว่าท้ังหมดจะต้องเป็นหลักการของสหกรณ์ บางท่านก็ว่ามี 14 ข้อบ้าง 9 ข้อบ้าง หรือ 8 ข้อบ้าง เป็นต้น
ทง้ั น้แี ลว้ แตว่ า่ แต่ละท่านจะมองเนน้ ความสำคัญตรงจดุ ใดใหเ้ ปน็ หลกั การ

วนั สหกรณส์ ากล

สหประชาชาติ (United Nation : UN) และองค์การสัมพันธภาพสหกรณ์ระหว่างประเทศ
(International Cooperative Alliance : ICA) ได้ร่วมกันกำหนดให้วันเสาร์แรกของเดือนกรกฎาคมของ
ทุกปีเป็นวันสหกรณ์สากล เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995 (พ.ศ. 2538) อันเป็นปีท่ี ICA มีอายุครบ 100 ปี โดย
มีวัตถปุ ระสงคเ์ พ่ือให้สหกรณ์ทัว่ โลกได้แสดงวสิ ัยทัศน์แลกเปลย่ี นทัศนคติและอุดมการณ์ระหวา่ งกัน อันจะเป็น
ประโยชนส์ ูงสุดตอ่ การพฒั นาขบวนการสหกรณข์ องโลก

อย่างไรก็ตามก่อนหน้าน้ี ICAได้เคยจัดเฉลิมฉลองวันสหกรณ์สากล โดยกำหนดกิจกรรมการ
รณรงคใ์ หส้ อดคลอ้ งกนั กบั กจิ กรรมขององคก์ ารสหประชาชาตเิ ปน็ ปี ๆ ไป เช่น

ปี ค.ศ.2009 (พ.ศ. 2552) เน้นกิจกรรมในเรื่อง Driving global recovery Through
Cooperatives. การขบั เคล่อื นไปสูก่ ารฟืน้ ฟทู วั่ โลกผ่านสหกรณ์

22

ปี ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551) กิจกรรมด้าน Confronting Climate Change Through
Cooperatives Enterprise. การเผชิญหน้ากบั การเปลี่ยนแปลงทางสงั คมและประเพณีผ่านวสิ าหกิจสหกรณ์

ปี ค.ศ. 2007 (พ.ศ. 2550) รณรงค์ในเรื่อง Cooperative Values and Principles for
Corporate Social responsibility. หลักและค่านิยมสหกรณ์สำหรับความรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะ
หนว่ ยธรุ กิจ

ปี ค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549) กิจกรรม Peace - building Through Cooperatives. การ
สรา้ งความสงบสุขผ่านสหกรณ์

ปี ค .ศ . 2005 (พ .ศ . 2548) ร ณ ร ง ค์ กั น ใน เร่ื อ ง Microfinance is our business
cooperating out of poverty. สินเชือ่ ขนาดย่อมเพื่อผู้ยากไร้เป็นการดำเนินธุรกิจของเราเพ่ือการหลุดพ้น
จากความยากจน

นอกจากน้ี UN และ ICA ได้ประกาศล่วงหน้าแล้วว่า ให้ปี ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555) เป็นปี
สหกรณ์สากล (International year of cooperatives) ตามข้อเสนอท่ี 64 / 136 เมื่อวันที่ 18
ธันวาคม พ.ศ. 2552 เสนอโดยประเทศต่าง ๆ 55 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย ที่ประชุมใหญ่ของ
องค์การสหประชาชาติลงมติโดยเอกฉันท์ รับรองเพ่ือกระตุ้นให้รัฐบาลของสมาชิกในประเทศต่าง ๆ ได้
ตระหนักถงึ ความสำคญั ของสหกรณ์ ทีม่ ตี อ่ ระบบเศรษฐกจิ และสังคม ของชุมชนและประเทศชาติ

ก่อนจะมกี ารสหกรณใ์ นประเทศไทย

ก า ร ส ห ก ร ณ์ ใน ป ร ะ เท ศ ไท ย มี ก ำ เนิ ด สื บ เน่ื อ ง ม า ตั้ ง แ ต่ ช่ ว ง ป ล า ย รั ช ส มั ย พ ร ะ บ า ท ส ม เด็ จ พ ร ะ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งขณะนั้นประเทศไทยเร่ิมมีการติดต่อค้าขายกับ
ตา่ งประเทศมากขึน้ ระบบเศรษฐกิจของชนบทมกี ารเปล่ยี นแปลงจากระบบเศรษฐกจิ เพ่ือเลี้ยงตนเองไปสู่ระบบ
เศรษฐกิจแบบเพ่ือการค้า ความต้องการเงินลงทุนและการครองชีพจึงต้องมีมากขึ้น แต่ข้อจำกัดของ
เกษตรกรไทยโดยเฉพาะชาวนามีมากมายนานาประการ ท่ีสำคัญคือการขาดแคลนเงนิ ทุน การถูกเอารัดเอา
เปรียบจากพ่อค้า ความเสี่ยงภัยในการผลิตทางการเกษตรซึ่งได้ผลผลิตไม่แน่นอน เนื่องจากสภาพปัญหา
โรคแมลง และดนิ ฟ้าอากาศ

แนวทางแกไ้ ขภาวะเศรษฐกจิ สำหรบั ชาวนา

รฐั บาลต้งั แตป่ ลายรชั กาลท่ี 5 จงึ คิดทจ่ี ะแก้ไขภาวะเศรษฐกจิ ในการครองชีพของชาวนาให้สูงขนึ้ โดย
จัดตั้งธนาคารการเกษตร (Agricultural Bank) ให้มีสาขาแผ่ไปในส่วนภูมิภาค เพื่อช่วยเหลือให้สินเชื่อ
การเกษตรแกช่ าวนาทีย่ ากจน แต่มาขดั ข้องอย่ทู ี่ปัญหาในเรื่องหลักประกนั เงนิ กู้ และการควบคุมมิใหช้ าวนาท่ี
กู้ยมื เงินจากธนาคารทอดทิง้ ทนี่ าและหลบหน้ไี ด้ ความคดิ นี้จึงเป็นอนั ลม้ เลกิ ไป

จดั ตงั้ ธนาคารใหก้ ยู้ มื แหง่ ชาติ

ปี พ.ศ. 2456 บริษัทแบงค์สยามกัมมาจล จำกัด (ต่อมาเปล่ียนเป็นธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด)
ประสบวิกฤติการณ์ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (ปัจจุบันคือกระทรวงการคลัง) ต้องเข้าช่วยเหลือเพิ่มหุ้น
และเงินทุนให้ ประกอบกับในสมัยนั้นแบงค์สยามกัมมาจลมีข้อจำกัดสู้ธนาคารอื่นในเรื่องการขยายเงินซ้ือเงิน
(Exchange Bank)ไม่ได้ เพราะมตี ัวแทนจำนวนน้อยในตา่ งประเทศ ทางราชการจึงคิดปรับปรุงแก้ไขจัดเป็น

23

ธนาคารให้ราษฎรกู้ยืมเงินไปทำการผลิต และปลดเปลื้องหน้ีสิน (Loan Bank) ดำเนินกิจการให้ราษฎรกู้ยืม
เงนิ โดยยดึ ถอื ท่ดี ินและหลักทรพั ย์อื่นเปน็ หลกั ประกนั

คำแนะนำเรอื่ งสมาคมสหกรณห์ ลกั ประกนั อนั ยง่ั ยนื สำหรบั ธนาคาร

สำหรับปัญหาการควบคุมมิให้ชาวนาท่กี ู้ยืมเงนิ ทอดทิ้งท่ีนาและหลบหน้สี ิน ซ่ึงยังแก้ไมต่ กแต่แรกน้ัน
นายเบอร์นาร์ด ฮันเตอร์ หัวหน้าธนาคารแห่งมัทราส ประเทศอินเดีย ซ่ึงเข้ามาสำรวจหลักการจัดตั้ง
ธนาคารในเร่ืองข้างต้น ตามคำเชิญของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ แนะนำว่า สมาคมซึ่งประชาชน
รวบรวมกันจัดตั้งขึ้นเพื่อทำการช่วยเหลือซ่ึงกันและกัน เรียกว่า Co-operation (ซ่ึง พระราชวรวงศ์เธอกรม
หม่ืนพิทยาลงกรณ ทรงบัญญัติศัพท์ภาษาไทยข้ึนแทนไว้ และ ใช้กันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ว่า “สหกรณ์”) นั้น
เป็นหลกั ประกันอันมนั่ คงสมควรที่ธนาคารรูปนี้จะให้สมาคมสหกรณด์ ังกล่าวกยู้ ืมเงินเปน็ อย่างย่ิง

ความขัดข้องยังปรากฏอีก เม่ือคณะกรรมการของแบงค์สยามกัมมาจล ได้ชี้แจงและให้เหตุผลว่า
บริษัทแบงค์สยามกัมมาจล เป็นธนาคารพาณิชย์ของคนไทยก่อตั้งข้ึนด้วยทุนของคนไทยเป็นส่วนใหญ่ ถ้าต้อง
เปลี่ยนเป็นธนาคารให้กู้ยืมเงินแห่งชาติ จะไม่มีธนาคารพาณิชย์ของคนไทยเหลืออยู่เลย นอกจากนี้ผล
ประกอบการขายเงินซ้ือเงินซงึ่ ธนาคารกระทำอยู่ได้ผลดีเปน็ ทปี่ ระจักษ์ตามดำรขิ องทางราชการ ดงั นัน้ การทีจ่ ะ
ดดั แปลงแบงค์สยามกมั มาจลจึงเป็นเหตอุ ันระงับไป

จดุ เรมิ่ ตน้ นำการสหกรณม์ าใชใ้ นประเทศไทย

อย่างไรก็ดีการท่ีนายเบอร์นาร์ด ฮันเตอร์ เข้ามาสำรวจตรวจตรา และให้ความคิดเห็นเพ่ือตั้ง
ธนาคารให้กู้ยืมแห่งชาติคร้ังนั้น เป็นมูลเหตุสำคัญที่ควรจารึกไว้ได้ว่า ได้ทำให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
บังเกิดความคิดเห็นท่ีจะชักนำเอาวิธีการสหกรณ์เข้ามาใช้ในประเทศไทย เพ่ือแก้ไขภาวะความเป็นอยู่ของ
ราษฎรชาวนาท่ไี ดร้ ับความเดือดรอ้ นในเรื่องหน้ีสนิ และยากจน ให้ดขี นึ้ กว่าทเี่ ปน็ อยใู่ นขณะนั้น

เผยแพรก่ ารสหกรณเ์ ปน็ ครงั้ แรก

เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 ได้มีการประชุมสมุหเทศาภิบาล ณ หอรัษฎากรพิพัฒน์ และ
กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ได้เชิญบรรดาอุปราชและสมุหเทศาภิบาลผู้สำเร็จราชการมณฑลต่าง ๆ มา
ปรึกษาหารือและชี้แจงข้อดำริแนวทางการจัดตั้งสหกรณ์ โดยเพียงประสงค์ทดลองดูในท้องที่ที่สะดวก มี
ช่องทางสำเร็จรวมทั้งแจกแบบคำถามสืบสวนสถิติทางทรัพย์ของประชาชน เพื่อขอให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง
รวบรวมตอบเป็น รายจังหวดั อำเภอ ทั้งกรมพาณิชย์และสถิตพิ ยากรณ์ยังได้แจกหนงั สือชอื่ สหกรณ์ แก่ผูเ้ ข้า
ประชมุ เพื่อนำไปพิจารณาแจกจ่ายบรรดาผู้ว่าราชการจังหวัดต่าง ๆ การเผยแพร่การสหกรณ์ครั้งนี้ นับว่า
เป็นการเผยแพร่คร้งั แรกในประเทศไทย และเปน็ การฉลาดทเี่ ร่มิ เผยแพรไ่ ปยังบรรดาเจ้าหนา้ ทฝี่ า่ ยปกครองช้ัน
ผู้ใหญ่ เพื่อจะได้ใช้เป็นหลักพิจารณาปฏิบัติสหกรณ์ในท้องท่ีของตน และเผยแพร่ต่อ ๆ ไป จนถึงราษฎรใน
ท้องทีน่ ัน้ ๆ

สหกรณแ์ หง่ แรกในประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2459 เมื่อรฐั บาลได้ตง้ั อธบิ ดกี รมพาณิชย์และสถติ ิพยากรณเ์ ป็นนายทะเบียนสหกรณ์เพ่ือให้
มีอำนาจดำเนินการจัดตั้งและจดทะเบยี นสหกรณ์แล้ว จึงมคี วามคิดกำหนดสถานที่ท่จี ะต้ังสหกรณ์ ซ่ึงในทส่ี ุด

24

ตกลงกันว่า จะจัดตั้งสหกรณ์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรบางตำบลในท้องท่ีจังหวัดพิษณุโลกเป็นการทดลองก่อน
โดยมีเหตุผลว่าจงั หวัดพิษณุโลกยังมีราษฎรไม่หนาแน่น และราษฎรส่วนมากเป็นคนจน เพ่ิงอพยพมาจากทาง
ใต้ เพื่อไปจับจองทำประโยชน์ที่ดินรกร้างว่างเปล่า ราษฎรเหล่าน้ีขาดแคลนเงินทุนต้องกู้ยืมและเสียดอกเบ้ีย
ในอัตราสูง ได้ผลไม่คุ้มทุนที่ลงไป ทำให้ตกเป็นหนี้สินจนไม่อาจต้ังตัวเป็นหลักฐานได้ จึงเป็นเหตุให้ผู้ที่จะ
อพยพขึ้นไปใหมเ่ กิดความท้อถอย ฉะนนั้ การเลือกจัดตัง้ สหกรณ์ประเภทหาทุนข้ึนในทอ้ งทีจ่ ังหวดั นี้ จึงเปน็ ทาง
ช่วยเหลอื ราษฎรที่ไปตัง้ หลกั ฐานทำการเพราะปลูกอยู่แลว้

พระราชวรวงศเ์ ธอกรมหมื่นพทิ ยาลงกรณ ขณะนนั้ ทรงเป็นอธิบดแี ละเปน็ นายทะเบียนสหกรณ์พระองค์
แรก จึงได้รับจดทะเบียนสหกรณ์ซ่ึงได้จัดต้ังขึ้นในจังหวัดพิษณุโลกเป็นสหกรณ์สมาคมแรกในประเทศไทย ชื่อ
สหกรณ์วัดจันทร์ ไม่จำกัดสินใช้ มีสำนักอยู่ตำบลวัดจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เม่ือวันที่ 26
กุมภาพนั ธ์ พ.ศ.2459 นับเปน็ การเร่ิมตน้ การสหกรณ์ไทยทสี่ มบูรณ์

ต่อจากน้ัน แผนกการสหกรณ์สังกัดกรมพาณิชย์ และสถิติพยากรณ์ก็ได้ทดลองจัดต้ังสหกรณ์
ประเภทหาทุนเพิ่มขึ้นในจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นจังหวัดแรก และขยายลงมาถึงลพบุรี อันเป็นเมืองอู่ข้าว อู่
นำ้ มีราษฎรที่มฐี านปานกลางและชน้ั เล็ก สมควรได้รับการช่วยเหลอื เช่นเดยี วกนั การจัดตั้งสหกรณท์ ดลองนี้
ใชเ้ วลา 4 ปี คอื ต้ังแต่ปี พ.ศ.2460 จนถึงปี พ.ศ.2463 ในตอนสนิ้ ปี พ.ศ.2463 มีสมาคมทจ่ี ดทะเบียนแล้ว
60 สมาคม

รวมกลมุ่ บคุ คลเปน็ คณะบคุ คล จดุ เรม่ิ ตน้ ตงั้ สหกรณ์

ในนิยามสหกรณ์ “การรวมกลุ่ม” เป็นการขึ้นต้นการต้ังสหกรณ์ เพราะต่อไปบุคคลที่จะมา
รวมกลุ่มกันจะต้องเป็นทั้งเจ้าของสหกรณ์และเป็นผู้ใช้บริการจากสหกรณ์ ไปพร้อมกันด้วย กลุ่มของ
บคุ คลจึงต้องคำนงึ ถึงจำนวนบุคคลที่จะมารวมกนั ให้มจี ำนวนพอเพียงท่ีจะบริหารจดั การภายในสหกรณ์ได้อย่าง
คุ้มค่า ทั่วถึง สหกรณ์ท่ีจดทะเบียนตามกฎหมายสหกรณ์ถูกกำหนดให้มีบุคคลที่มารวมกันต้องเป็นบุคคล
ธรรมดาและบรรลุนิติภาวะ (จำนวนไม่น้อยกว่าสิบคน) รวมทั้งต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์
ทางเศรษฐกจิ และสังคมร่วมกันโดยวธิ ชี ว่ ยตนเองและช่วยเหลือซงึ่ กันและกนั ตามหลกั การสหกรณ์

5. การประชมุ

องคป์ ระชมุ

องค์ประชุมในสหกรณ์หมายถึงจำนวนสมาชิกสหกรณ์ หรือจำนวนกรรมการดำเนินการ
สหกรณ์ที่มาประชุมตามกฎท่ีกำหนดไว้ให้ประชุมได้ ส่วนใหญ่หรือโดยทั่วไปการกำหนดจำนวนท่ีสามารถ
ดำเนินการประชุมได้ คือต้องมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกหรือจำนวนกรรมการดำเนินการ
สหกรณ์ท้ังหมด เรียกให้ชัดเจนขึ้นว่า ครบองค์ประชุม (เต็มจำนวนตามกฎที่กำหนดให้ประชุมได้) ยกเว้น
องค์ประชุมของกลุ่มบุคคลท่ีมาจากประชาชนทั่วไป มารวมตัวกันเพ่ือประชุมจัดต้ังสหกรณ์ การประชุม
ลักษณะนี้ไม่ต้องนำข้อจำกัดของจำนวนบุคคลมาเกี่ยวข้องกับการเป็นองค์ประชุม ขอเพียงแต่ให้มีจำนวน
พอสมควรสำหรับการมารว่ มประชุมปรกึ ษาหารือกใ็ ช้ได้

25

ประเภทการประชมุ ในสหกรณ์

ภายใตข้ ้อกำหนดของกฎหมายสหกรณ์ ขอ้ บังคบั สหกรณ์ และรูปแบบการดำเนินกิจกรรมทางสหกรณ์
พอจะจำแนกประเภทของการประชมุ ในสหกรณท์ สี่ ำคัญดังตอ่ ไปน้ี

1. การประชุมจัดต้ังสหกรณ์ เป็นการประชุมของบุคคลท่ีมาจากประชาชนท่ัวไป เพื่อร่วมกันหารือ
เตรียมการจดั ตง้ั สหกรณ์

2. การประชุมใหญ่ เป็นการประชุมของสมาชิกทั้งสหกรณ์ การประชุมใหญ่ดังกล่าวถูกกำหนดไว้
ในขอ้ บังคับสหกรณ์ซึง่ แบง่ ออกไดเ้ ป็นสองลกั ษณะ คือ

(1) การประชุมใหญ่สามัญ เป็นการประชุมของมวลสมาชิกท้ังสหกรณ์
ตามปกติธรรมดา ซึ่งโดยธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันมา และท่ีกฎหมายสหกรณ์กำหนดไว้ ให้มีการประชุมใหญ่
สามัญปีละหนึง่ ครงั้

(2) การประชุมใหญ่วิสามัญ เป็นการประชุมของมวลสมาชิกท้ังสหกรณ์ท่ีไม่
ปกติธรรมดา หรือเป็นการประชุมเฉพาะเรอื่ งสำคัญ เรื่องเร่งด่วนเม่ือมเี หตอุ ันสมควร เมื่อสหกรณ์ขาดทุน
เกินกึ่งของจำนวนทุนเรือนหุ้นที่ชำระแล้ว หรือสมาชิกบางส่วนร้องขอ ฯลฯ ก็สามารถจัดให้มีการประชุม
ใหญ่วสิ ามัญได้

3. การประชุมคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์เป็นผู้แทน
ของมวลสมาชกิ ทีไ่ ด้รับการเลอื กตัง้ จากทปี่ ระชุมใหญ่ เพ่ือมาทำหน้าที่ ดำเนินการเร่ืองต่าง ๆ ให้กับสมาชิก
สหกรณ์ การประชมุ คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ถูกกำหนดไว้ในข้อบงั คับสหกรณ์

4. การประชุมกลุ่มสมาชิก เพื่อความสะดวกในการติดต่อประสานงานระหว่างสหกรณ์กับสมาชิก
ไม่ว่าจะเป็นเร่ืองการศึกษา ฝึกอบรม เผยแพร่ข่าวสาร รวมท้ังการอำนวยประโยชน์แก่สมาชิกสหกรณ์ได้
อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว สหกรณ์อาจจัดแบ่งกลุ่มสมาชิกในสหกรณ์ไปเป็นกลุ่มย่อย ๆ อีกก็ได้ โดยกำหนด
ความเปน็ กล่มุ สมาชกิ ไว้ในขอ้ บงั คบั หรอื ระเบียบสหกรณ์

5. การประชุมคณะกรรมการอ่ืนหรือคณะทำงานของสหกรณ์ เป็นการประชุมของกลุ่มบุคคลท่ี
ได้รับแต่งตั้งจากผู้มีอำนาจของสหกรณ์ (อาจมาจากกรรมการดำเนินการสหกรณ์ สมาชิกสหกรณ์
เจ้าหน้าที่หรือพนักงานในฝ่ายจัดการสหกรณ์ รวมถึงบุคคลอ่ืนใดท่ีมาจากภายนอกสหกรณ์) ให้กระทำ
ภารกิจซ่ึงสหกรณ์มอบหมายเป็นคร้ังคราว ภารกิจอาจดำเนินการแล้วเสร็จภายในระยะเวลาส้ันหรือยาว
ขึ้นอย่กู บั ลักษณะงานที่ไดร้ ับมอบหมาย เมอื่ ดำเนนิ การแลว้ คณะผไู้ ด้รับการแต่งตงั้ มอบหมาย ต้องรายงาน
ผลให้ผู้ส่ังแต่งต้งั หรือตามท่ไี ดส้ ง่ั การไวใ้ นคำสง่ั น้ัน

จำแนกกลมุ่ ผเู้ ขา้ มาประชมุ ในสหกรณ์

โดยปกติการจัดประชุมในสหกรณ์ไม่ว่าจะเป็นการประชุมใหญ่ การประชุมคณะกรรมการ
ดำเนินการสหกรณ์ การประชุมกลุ่มสมาชิก ฯลฯ จะแบ่งผู้เก่ียวข้องซ่ึงมาอยู่ในที่ประชุม เป็นสองพวก
ได้แก่ พวกที่หนึ่ง เรียกว่าผู้เข้าประชุม ในที่น้ีคือบุคคลผู้เป็น องค์คณะประชุมของการประชุมนั้น กรณี
การประชุมใหญ่จะหมายถึงสมาชิกสหกรณ์ท้ังสหกรณ์ หรือกรณีเป็นการประชุมคณะกรรมการดำเนินการ
สหกรณ์จะหมายถึงคณะกรรมการท่ีได้รับเลือกต้ังจากท่ีประชุมใหญ่ กรณีการประชุมกลุ่มจะหมายถึง
สมาชิกสหกรณ์ท่ีเข้าสังกัดกลุ่มตามท่ีจัดไว้ ส่วนการประชุมคณะกรรมการอ่ืนหรือคณะทำงานจะหมายถึง

26

บุคคลที่ถูกแต่งต้ังตามคำส่ัง ผู้เข้าประชุมซ่ึงเป็นองค์คณะประชุมและเป็นองค์ประชุม มีอำนาจหน้าท่ีใน
การพิจารณาวินิจฉัย ออกเสียงลงมติในเร่ืองท่ีประชุมกัน ตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ ระเบียบ
ตลอดจนคำส่ังแต่งตั้ง พวกท่ีสองเรียกว่าผู้เข้าร่วมประชุม หมายถึงบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เข้าร่วมเป็น
ผูร้ ับฟังการประชุมและสามารถให้ข้อเสนอแนะ ข้อชี้แจง ในเรื่องที่เก่ียวข้องแก่องค์คณะประชมุ ของที่ประชุม
แต่ไม่มีสิทธิที่จะพิจารณาวินิจฉัยออกเสียงลงมติสำหรับเร่ืองท่ีประชุมน้ันได้ ผู้เข้าร่วมประชุมในสหกรณ์
โดยท่ัวไปมักจะได้แก่ เจ้าหน้าท่ีส่งเสริมสหกรณ์และตรวจสอบบัญชีของส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ตามท่ี
กฎหมายสหกรณ์กำหนดไว้ (นายทะเบียนสหกรณ์ รองนายทะเบียนสหกรณ์ ผู้ตรวจการสหกรณ์ ผู้สอบ
บัญชี ฯลฯ) เจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ (ผู้ไม่ได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการหรือคณะทำงาน) รวมถึง
เจา้ หน้าทห่ี รอื บุคคลท่เี ก่ียวข้องจากภาคราชการภาคเอกชนอื่น ๆ

องคป์ ระกอบและบทบาทหนา้ ที่

องค์คณะต่าง ๆ ในสหกรณ์การที่จะทำให้การประชุมปรกึ ษาหารือบังเกิดความเรยี บร้อยและประสพ
ผลสำเร็จด้วยดีตลอดการประชุมน้ัน ผู้เกี่ยวข้องในองค์ประชุมจำเป็นต้องมีความเข้าใจบทบาทหน้าท่ีของตน
และรักษามารยาทการประชุมตามกฎเกณฑ์ท่ีกำหนดกันไว้ ในที่น้ีจะขอแยกส่วนองค์ประกอบท่ีเป็นตำแหน่ง
(ฐานะ) ขององคค์ ณะตา่ ง ๆ ในสหกรณ์ และผ้ดู ำเนินการประชมุ ในแตล่ ะคณะ ดงั นี้

1. ตำแหน่งของผู้เก่ียวข้องในการประชุมใหญ่สหกรณ์ เป็นตำแหน่งของบุคคลที่เป็น
สมาชิกสหกรณ์ (ในฐานะเจ้าของสหกรณ์) รวมกับตำแหน่งคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ (ในฐานะ
ผู้แทนสมาชิกที่ถูกเลือกต้ังมาจากท่ีประชุมใหญ่) สมาชิกสหกรณ์เป็นผู้มีสิทธิออกเสียงพิจารณาวินิจฉัยในที่
ประชมุ ใหญ่ โดยมีองคป์ ระชุมเป็นไปตามทีก่ ำหนดไว้ ผดู้ ำเนนิ การประชุมคอื ประธานการประชุม (ประธานใน
ที่ประชุม) ซึ่งมาจากประธานกรรมการดำเนินการสหกรณ์ หรือตามที่กำหนดในข้อบังคับสหกรณ์ก รณีที่
ประธานกรรมการฯ ไม่สามารถทำหน้าท่ีเปน็ ประธานการประชมุ ได้ ส่วนผชู้ ว่ ยในการดำเนนิ การประชุมคือ
ผทู้ ี่อยู่ในตำแหน่งเลขานุการ ซึง่ มาจากกรรมการดำเนินการสหกรณ์ (ผูแ้ ทนสมาชกิ ที่ถกู เลอื กตง้ั จากทีป่ ระชุม
ใหญ่)

2. ตำแหน่งของผู้เกี่ยวข้องในการประชุมคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ เป็นตำแหน่ง
ของบุคคลท่ีมาจากการเลือกต้ังได้แก่ตำแหน่งประธานกรรมการดำเนินการสหกรณ์ และตำแหน่งกรรมการ
ดำเนินการสหกรณ์ ในสหกรณ์อาจเรียกกรรมการฯ แยกส่วนออกไปอีก เช่น ตำแหน่งรองประธาน
(กรรมการ ฯ ทำหน้าที่รองประธานกรรมการ ฯ) ตำแหน่งเลขานุการ (กรรมการฯ ทำหน้าที่เลขานุการ)
ตำแหน่งเหรัญญิก (กรรมการฯ ทำหน้าที่เหรัญญิก) ในสหกรณ์ขนาดเล็กหรือสหกรณ์ที่ไม่ได้จัดหาฝ่าย
จัดการมาช่วยปฏิบัติงานแทน คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์จะต้องเป็นผู้ดำเนินการทุกเร่ืองในฐานะ
ผู้แทนสมาชกิ สหกรณ์

เมื่ออยู่ในที่ประชุมประธานกรรมการฯ เป็นหัวหน้ากรรมการฯ และเป็นประธานการประชุม
(ประธานในท่ีประชุม) รองประธานกรรมการฯ เป็นรองหัวหน้ากรรมการฯ กรรมการฯ และเลขานุการเป็น
กรรมการฯ ซึ่งทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลด้านหนังสือและเอกสารต่าง ๆ ของสหกรณ์ กรรมการฯ และ
เหรัญญิกเป็นกรรมการฯ ซ่ึงทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลด้านการเงินของสหกรณ์ มีองค์ประชุมเป็นไปตามที่
กำหนดไว้ ผู้ดำเนินการประชุมคือประธานการประชุมซึ่งเป็นประธานกรรมการดำเนินการสหกรณ์ หรือ

27

ตามท่ีกำหนดในข้อบังคับสหกรณ์กรณีประธานกรรมการฯ ไม่สามารถทำหน้าท่ีเป็นประธานการประชุมได้
ผูช้ ่วยในการทำหนา้ ทด่ี ำเนินการประชุมคือผูท้ ี่อยู่ในตำแหนง่ เลขานุการซงึ่ มาจากกรรมการฯ เชน่ เดียวกัน

3. ตำแหน่งในการประชุมกลุ่มสมาชิกสหกรณ์ เป็นตำแหน่งของบุคคลท่ีเป็นสมาชิกกลุ่มที่
ตนสังกัด รวมกับตำแหน่งประธานกลุ่มสมาชิก รองประธานกลุ่มสมาชิก และเลขานุการกลุ่มสมาชิก ซ่ึง
เลือกต้ังมาจากสมาชิกในกลุ่มแต่ละกลุ่ม ไม่นิยมมีเหรัญญิกกลุ่มสมาชิกเพราะไม่มีความจำเป็นต้องทำ
หน้าท่ีทางการเงิน มีองค์ประชุมตามที่กำหนดไว้ ผู้ดำเนินการประชุมคือประธานกลุ่มสมาชิก และ
เลขานกุ ารกลุ่มสมาชกิ

4. ตำแหน่งในการประชุมคณะกรรมการอื่นหรือคณะทำงาน เป็นตำแหน่งของบุคคลท่ี
ได้รับการแต่งต้ังจากผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ซึ่งประกอบด้วยตำแหน่งประธานกรรมการหรือประธานคณะทำงาน
รองประธานกรรมการหรือรองประธานคณะทำงาน กรรมการและเลขานุการหรือคณะทำงานและ
เลขานกุ าร ที่เหลือเป็นกรรมการอื่น ส่วนตำแหน่ง เหรัญญิกจะมีดว้ ยหรือไม่ขึ้นอยู่กบั วตั ถุประสงค์ของการสั่ง
แต่งตั้ง มีองค์ประชุมตามท่ีกำหนดไว้ ผู้ดำเนินการประชุมคือประธานการประชุมที่มาจากประธาน
กรรมการหรอื ประธานคณะทำงาน และมเี ลขานกุ ารเปน็ ผ้ชู ่วยดำเนินการประชมุ

ผู้ดำเนินการประชุมมีบทบาทหน้าท่ีสำคญั ในการกำกบั ดแู ลการประชมุ และจัดเตรียมข้อมูลเพื่อใช้
ในการประชุม ตลอดการประชุมนั้น ในท่นี ี้ขอคดั เลือกบุคคลสำคัญซงึ่ ทำหน้าที่ดังกล่าวมาอธิบายเพมิ่ เติมจาก
ที่ได้อธบิ ายไปแลว้ ในขอ้ 1 ถึงขอ้ 4 ดงั ตอ่ ไปน้ี

1. ประธานในที่ประชุมหรือประธานการประชุม ทำหน้าที่ดำเนินการและควบคุมการ
ประชุมในแต่ละครัง้ ให้เป็นไปดว้ ยความเรียบรอ้ ย ประธานในท่ีประชมุ ใหญ่ของสหกรณ์
หรือประธานในท่ีประชุมคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์คือประธานกรรมการดำเนินการสหกรณ์ หาก
ประธานกรรมการฯไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ที่ประชุมอาจมอบหมายให้รองประธานกรรมการฯ
หรือกรรมการฯ คนหน่ึงคนใดเป็นผู้ทำหน้าท่ีประธานในที่ประชุมแทนก็ได้ สำหรับประธานในที่ประชุมกลุ่ม
สมาชกิ ก็จะเป็นประธานกลุ่มของกลุ่มสมาชิกนั้น ๆ ส่วนในที่ประชมุ คณะกรรมการอ่ืนหรอื คณะทำงาน ตัว
ประธานในทปี่ ระชุมก็ทำหนา้ ท่ใี นลกั ษณะเดียวกันกบั องคค์ ณะอ่นื ตามทก่ี ล่าวมาแล้ว

2. เลขานุการ ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยดำเนินการประชุมหรือทำหน้าท่ีเก่ียวกับการจัด
ประชุม และทำรายงานการประชุม ในที่ประชุมใหญ่สหกรณ์ ท่ีประชุมคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์
เลขานุการเป็นกรรมการฯ คนหนึ่งในบรรดากรรมการฯ อื่นหรือในคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์
นอกจากมีหน้าที่ดังกล่าวแล้วยังต้องดูแลรักษาเอกสารและรายงานการประชุมของสหกรณ์รวมทั้งจัดหา
จัดเตรียมเอกสารที่เก่ียวข้องซึ่งจะต้องนำมาใช้ประกอบการประชุมแต่ละคร้ัง นอกจากนี้เลขานุการยังมี
หน้าที่ในการจัดสถานที่ประชุม จัดทำระเบียบวาระการประชุมพร้อมเอกสารการประชุม นัดหมายประชุม
แจ้งผลการประชุมไปยังผู้เก่ียวขอ้ ง รวมทั้งติดตามการดำเนินงานตามมติที่ประชุมเพ่ือรายงานท่ีประชุมครั้ง
ต่อไปทราบ รวมทั้งทำหน้าที่เสนอข้อมูลตามระเบียบวาระการประชมุ เม่ือได้รับมอบหมายจากประธานในท่ี
ประชุมเป็นต้น การทำหน้าที่ของเลขานุการในสหกรณ์ซ่ึงมีระดับขีดความสามารถของแต่ละบุคคลไม่เท่ากัน
เปน็ ปัญหาอยา่ งหนงึ่ ในการจัดประชุม เพอื่ แกไ้ ขปัญหาดงั กล่าวเลขานุการอาจหาผู้ทำหนา้ ทช่ี ว่ ยเหลือด้วยกไ็ ด้
เช่น กรรมการคนใดคนหนงึ่ หรือเจ้าหนา้ ทีข่ องสหกรณ์

28

3. ผู้จดบันทึกรายงานการประชุม ทำหน้าท่ีบันทึกการประชุมตามระเบียบวาระท่ีกำหนด
หรือท่ีประชุมกัน ผู้รับผิดชอบการจดบันทึกคือเลขานุการ แต่หากเลขานุการไม่สะดวกอาจมอบหมาย
กรรมการคนใดคนหน่งึ หรือเจ้าหน้าท่ีของสหกรณ์ เป็นผู้จดบันทึกรายงานการประชุมแทน แต่เลขานุการยัง
ต้องรบั ผดิ ชอบตรวจสอบความถกู ตอ้ งการจดบันทกึ รายงานการประชมุ ทุกครงั้

วางขนั้ ตอนการประชมุ
ในการประชมุ ใหญ่ การประชุมคณะกรรมการดำเนนิ การสหกรณ์ หรือการประชุมอืน่ ๆ สามารถ
แบง่ ขนั้ ตอนการประชมุ เป็นสามช่วง คือ

ชว่ งแรก เรียกว่า ดำเนินการก่อนประชุม
ช่วงกลาง เรียกว่า ดำเนนิ การระหวา่ งประชมุ
ชว่ งหลัง เรียกว่า ดำเนนิ การหลังประชมุ
ทั้งสามช่วงจะอธิบายให้ทราบเป็นลำดับกัน และขอยกตัวอย่างการประชุมสองแบบคือการ
ประชุมใหญ่กับการประชุมคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ เพราะเป็นการประชมุ หลักในสหกรณ์ ส่วน
การประชุมแบบอน่ื ๆ ส่วนมากจะใช้รูปแบบใกล้เคียงกันไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวแน่นอน สำคัญที่เรื่องราวการ
ประชุมมีความสมบูรณ์ในตัวเองมากน้อยแค่ไหน ได้ประโยชน์อย่างไร เหล่านี้ล้วนมาจากองค์ประกอบท่ี
เกย่ี วขอ้ งในการประชุมทง้ั สามชว่ งทัง้ ส้นิ

ชว่ งแรกดำเนนิ การกอ่ นประชมุ

การจัดระเบียบวาระการประชุม เป็นการกำหนดหัวข้อการประชุม หากไม่กำหนด
หวั ข้อการประชุมไวจ้ ะทำให้เม่ือถึงเวลาประชุมจรงิ ไมส่ ามารถกำหนดเป้าหมายการประชุมทช่ี ัดเจนได้ ทำให้
การประชุมออกนอกลู่นอกทางยากแก่การกำกับควบคุม หาข้อยุติไม่ได้ ท่ีประชุมเกิดความเบื่อหน่าย
และขาดประสิทธิภาพการประชุม การจัดระเบียบวาระ (ลำดับรายการท่ีกำหนดไว้เสนอท่ีประชุม) การ
ประชมุ ในสหกรณ์พอจะจำแนกแนวทางเป็นตวั อยา่ ง ดังนี้

1. การจดั ระเบียบวาระการประชมุ ใหญ่ ประกอบด้วย
ระเบียบวาระที่ 1 เร่ืองที่ประธานแจง้ ใหท้ ่ีประชุมทราบ
ระเบียบวาระท่ี 2 เร่ืองรับรองรายงานการประชุมใหญ่ครง้ั ท่แี ลว้ (กรณีเป็นการ

ประชมุ ใหญค่ รั้งแรกไมต่ อ้ งมรี ะเบยี บวาระข้อนี้)
ระเบยี บวาระที่ 3 เรือ่ งเพ่ือทราบ (กรณมี เี รือ่ งเพอื่ ทราบหลายเรื่อง ใหแ้ ยก

หวั ขอ้ เร่ืองเป็น 3.1, 3.2, 3.3 และ ฯลฯ )
ระเบียบวาระที่ 4 เรอ่ื งเพ่ือพิจารณา (กรณมี ีเรือ่ ง

เพื่อพจิ ารณาหลายเรื่อง ให้แยกหัวข้อเร่ืองเปน็ 4.1, 4.2, 4.3 และ ฯลฯ )
ระเบยี บวาระที่ 5 เรอื่ งอ่ืนๆ (ถา้ ม)ี
ระเบียบวาระที่ 6 เรอ่ื งรับรองรายงานการประชมุ ใหญ่ในครั้งที่ประชุม (กรณีมี

การเตรียมและจัดทำรายละเอียดการบันทึกรายงานการประชุมไว้ดีและเรียบร้อย ท่ีประชุมอาจพิจารณาลง
มติรับรองรายงานการประชุมคร้ังนี้ได้ แต่ในทางปฏิบัติของสหกรณ์ไม่สามารถเรียบเรียงบันทึกรายงานการ

29

ประชมุ ไดท้ ัน จึงตอ้ งยกไปพจิ ารณาลงมติรบั รองรายงานการประชุมในการประชุมคร้งั ต่อไป ตามทีก่ ำหนดไวใ้ น
ระเบียบวาระท่ี 2)

2. การจดั ระเบยี บวาระการประชมุ คณะกรรมการดำเนนิ การสหกรณ์ ประกอบดว้ ย
ระเบยี บวาระท่ี 1 เรื่องทีป่ ระธานแจง้ ให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระท่ี 2 เร่อื งรบั รองรายงานการประชุมคณะกรรมการดำเนินการ

สหกรณค์ รัง้ ทแี่ ล้ว
ระเบียบวาระท่ี 3 เร่ืองติดตามผลความก้าวหนา้ ตามมตทิ ี่ประชมุ ครัง้ ก่อน
ระเบยี บวาระที่ 4 เรอื่ งข้อเสนอแนะของหนว่ ยงานทเี่ กีย่ วขอ้ ง
ระเบยี บวาระที่ 5 เรอื่ งเพือ่ ทราบ (กรณมี เี ร่ืองเพอ่ื ทราบหลายเรอ่ื ง ใหแ้ ยก

หัวขอ้ เรอื่ งเปน็ 5.1, 5.2, 5.3 และ ฯลฯ )
ระเบียบวาระที่ 6 เรอ่ื งเพอ่ื พจิ ารณา (กรณมี เี รื่องเพ่อื พจิ ารณาหลายเรอื่ ง

ใหแ้ ยกหวั ขอ้ เรอ่ื งเปน็ 6.1, 6.2, 6.3 และ ฯลฯ )
ระเบยี บวาระที่ 7 เร่ืองอืน่ ๆ (ถ้ามี)

จดั ขอ้ มลู ประกอบวาระการประชมุ

เลขานุการเป็นผู้เตรียมข้อมูลโดยมีเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์เป็นผู้คอยช่วยเหลือหรือทำหน้าท่ีเป็น
ผูช้ ว่ ยเลขานกุ าร ขอ้ มูลที่เตรียมเป็นข้อมูลท่ีใช้ประกอบวาระการประชุมแตล่ ะวาระ หากมีการเตรียมขอ้ มูล
ไว้ดีการประชมุ จะดำเนินไปดว้ ยความสะดวกรวดเรว็ การอธิบายข้อมลู ประกอบวาระการประชุมต่อไปน้ีจะขอ
รวมในสว่ นของการประชมุ ใหญ่และการประชมุ คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ไปพรอ้ มกนั คือ

1. เรอ่ื งท่ีประธานแจ้งให้ทป่ี ระชุมทราบ มักเปน็ เรือ่ งท่วั ไปท่ีไม่เจาะจงเป็น
ขอ้ สำคัญในระเบยี บวาระ แต่ประธานในทีป่ ระชมุ มีความประสงคจ์ ะนำมาบอกกล่าวตอ่ ท่ปี ระชุม หรืออาจเป็น
เรอ่ื งการแนะนำบุคคลสำคัญทม่ี าเขา้ ร่วมการประชมุ ในคร้งั ที่มกี ารประชุม

2. เรือ่ งรบั รองรายงานการประชมุ ครง้ั ที่แล้ว กอ่ นทจี่ ะมกี ารประชุม ในครง้ั ต่อไป
ของทุกประเภทการประชุม เลขานุการต้องจัดให้มีการบันทึกรายงานการประชุมครั้งก่อนให้เรียบร้อย
เพื่อให้ท่ีประชุมในครั้งถัดไปตรวจสอบความถูกต้องตลอดจนพิจารณาแก้ไขรายงานการประชุมให้ตรงตาม
ข้อเท็จจรงิ ท่ไี ด้ประชมุ กนั เมอื่ คร้ังกอ่ น จากนัน้ จงึ ลงมติรบั รองรายงานการประชุมดงั กล่าวในท่สี ุด

3. เร่ืองติดตามผลความก้าวหน้าตามมติท่ีประชุมคร้ังก่อน เลขานุการต้อง
ตรวจสอบว่า ในการประชุมครั้งท่ีผ่านมามีการลงมติให้ดำเนินการในเร่ืองใดไว้บ้าง เลขานุการจะต้อง
ตดิ ตามประสานงานเพอื่ เตรียมข้อมลู ความคบื หนา้ จากผเู้ ก่ียวข้องหรือผู้รับผิดชอบท่เี ป็นเจ้าของเรื่อง พรอ้ มท้ัง
ซักซ้อมผู้รับผิดชอบเตรียมช้ีแจงต่อที่ประชุมคร้ังใหม่ หรือเลขานุการรับไปช้แี จงเองกรณีไม่เป็นเรื่องซับซ้อนมี
ปญั หา

4. เร่ืองข้อเสนอแนะของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามหัวข้อนี้เลขานุการไม่จำเป็นต้อง
เตรียมเร่อื ง แตค่ วรประสานงานกับผู้แทนหนว่ ยงานที่เกี่ยวข้อง วา่ มเี รื่องอะไรบ้าง เน้ือหาเป็นอย่างไร เพ่ือ
เลขานกุ ารจะได้นำไปสรปุ ลงในรายงานการประชุมของสหกรณอ์ ย่างถกู ตอ้ ง

30

5. เรื่องเพ่ือทราบ ส่วนหนึ่งของเร่ืองเพ่ือทราบในท่ีประชุมใหญ่ ท่ีประชุมคณะกรรมการ
ดำเนินการสหกรณ์ มีการกำหนดไว้ในข้อบังคับสหกรณ์ หากไม่มีในข้อบังคับ เลขานุการต้องพิจารณา
เนอ้ื หาของเรือ่ งท่ีจะนำมาบรรจใุ นระเบยี บวาระว่าควรจะใหเ้ ป็นเร่อื งเพื่อทราบหรือไม่ อย่างไร

6. เรื่องเพื่อพิจารณา ให้ดูจากข้อบังคับของสหกรณ์ว่า เรื่องเพ่ือพิจารณาสำหรับการ
ประชุมใหญ่และการประชุมคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ควรจะประกอบด้วยเรื่องอะไรบา้ ง หากไม่มี
ในข้อบังคับ เลขานกุ ารต้องพิจารณาเนือ้ หาของเร่ืองท่ีจะนำมาบรรจุในระเบียบวาระว่าควรจะให้เป็นเรอื่ งเพ่ือ
พิจารณาหรอื ไม่ อยา่ งไร

7. เรื่องอืน่ ๆ (ถ้ามี) กรณีของเร่ืองอ่ืนๆ ทีใ่ ส่วงเลบ็ ว่า “ถ้ามี” นัน้ หมายถึงว่าเป็น
หัวข้อระเบียบวาระท่ีเตรียมเผ่ือไว้ หากมีหัวขอ้ การประชมุ ที่มีเน้ือหาเพิ่งจะนำมาแจ้งหรือพิจารณาในที่ประชุม
เพิ่มเติม หรือเป็นเรื่องเร่งด่วน จัดทำวาระการประชุมไว้ไม่ทัน ก็สามารถบรรจุลงในระเบียบวาระเร่ืองอ่ืนๆ
ได้ และหากมีเรอ่ื งอืน่ ๆ หลายเรอ่ื งกใ็ ห้จัดแบง่ เป็นข้อย่อย เชน่ 7.1, 7.2 และ ฯลฯ เป็นต้น อน่ึงในการ
จดบันทึกรายงานการประชุมสำหรับวาระนี้ ไม่ต้องระบุคำ (ถ้ามี) ไว้ในหัวข้อการประชุม เพราะมีเร่ือง
เข้าท่ปี ระชมุ

จดั ทำเอกสารการประชมุ

ปัจจุบันเครื่องมืออำนวยความสะดวกด้านการพิมพ์ การเก็บข้อมูลมีแพร่หลายมากขึ้น สหกรณ์
ควรดำเนินการจัดทำเอกสารการประชุมไว้ล่วงหน้าเพ่ือว่าเม่ือถึงเวลาประชุมจริงจะสามารถบรรจุเร่ืองท่ี
ประชุมได้มากพอ ทำให้การประชุมเกิดความรวดเร็วไม่เสียเวลาเพราะมีข้อมูลให้ศึกษาพิจารณาได้ดีพอ
แต่สำหรับสหกรณ์ขนาดเล็กหรือสหกรณ์ท่ีขาดแคลนอุปกรณ์ในเร่ืองดังกล่าวคงต้องปรับปรุงวิธีการจัดทำ
เอกสารการประชุมให้สอดคล้องกับขีดความสามารถท่ีมีอยู่ โดยคำนึงว่าต้องพยายามทำให้การประชุมน้ัน
สำเรจ็ ลุล่วงไปดว้ ยดี

ชว่ งกลางดำเนนิ การระหวา่ งประชมุ

ในช่วงนี้ผู้เก่ียวข้องกับการประชุมได้มาอยู่กันพร้อมหน้า ณ สถานที่จัดประชุม เลขานุการหรือ
เจ้าหน้าที่สหกรณ์ผู้ได้รบั มอบหมาย ตอ้ งทำหน้าที่ จดั ใหม้ ีการลงลายมือชอื่ ผู้มาประชุมโดยให้ลงลายมือชื่อทั้ง
ผู้ที่เป็นองค์คณะประชุมเรียกว่าผู้เข้าประชุม กับผู้ไม่ใช่เป็นองค์คณะประชุมเรียกว่าผู้เข้าร่วมประชุม เพ่ือ
เป็นหลักฐานว่าการประชุมคร้ังน้ีมีผู้ใดมาประชุมบ้าง และผู้ท่ีเป็นองค์คณะประชุมมาประชุมถูกต้องครบองค์
ประชุม ตามกฎทก่ี ำหนดไว้

สำหรับการจัดที่นั่งประชุมของผู้ท่ีมาประชุม ถ้าเป็นการประชุมคณะกรรมการดำเนินการ
สหกรณ์มีผู้เข้าประชมุ ไม่มากเท่าการประชุมใหญ่ ผ้เู ข้าประชุมประกอบด้วยองค์คณะประชุมซ่ึงเป็นกรรมการ
ดำเนินการสหกรณ์ นอกนั้นจะเป็นผู้เข้าร่วมประชุมที่เป็นฝ่ายจัดการของสหกรณ์ ผู้แทนท่ีเกี่ยวข้องของ
หน่วยงานต่างๆ รวมท้ังประธานกลุ่มของสหกรณ์ การจัดที่น่ังประชุมสามารถจัดได้ตามสภาพของสถานที่
และวสั ดุอุปกรณข์ องสหกรณ์เท่าทม่ี ีใชส้ อย

31

ขนั้ ตอนดำเนนิ การในสถานทปี่ ระชมุ

จะขออธิบายรวบยอดในส่วนของการประชมุ ใหญแ่ ละประชุมคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ในคราว
เดยี วกนั ดังน้ี

1. เลขานุการตรวจสอบดูว่ามีผู้มาประชุมพร้อมแล้วโดยเฉพาะองค์คณะประชุมมาครบองค์ประชุม
จากนั้นแจง้ ให้ประธานในทป่ี ระชุมทราบ

2. เมื่อองคค์ ณะประชมุ ครบองค์ประชุมแล้ว ประธานในทป่ี ระชมุ กลา่ วเปิดการประชุมและ
ดำเนนิ การประชมุ ตามระเบียบวาระ

3. ในแต่ละวาระการประชุม ประธานในที่ประชุมเป็นผู้กล่าวนำทุกครั้ง หากจะให้มีผู้กล่าวแทน
ประธานฯ ควรมอบหมายก่อน

4. ระหว่างการประชุมผู้อยู่ในสถานที่ประชุมต้องอยู่ในความสงบ ไม่ส่งเสียงดังแทรกแซงขณะ
ประธานในที่ประชุม หรือผู้ช้ีแจงตามระเบียบวาระกำลังพูด หากผู้ใดประสงค์ขอพูด หรืออภิปราย (พูด
แสดงความเห็น) ต้องขออนญุ าตประธานฯ ก่อน เมอ่ื ไดร้ ับอนุญาตแล้วจึงพดู ได้

5. ประธานในท่ีประชุมตอ้ งทำหนา้ ทกี่ ำกับดแู ลการประชมุ กลา่ วคือ
(1) กำกับเวลา (ความยาวนาน) โดยควบคุมการประชุมให้อยู่ในระยะเวลาท่ี

เหมาะสมตลอดเวลาการประชมุ ไมใ่ ชเ้ วลามากหรือนอ้ ยเกนิ ความจำเปน็
(2) กำกบั สาระ (สว่ นสำคัญ) โดยควบคุมการเสนอรายละเอียดของเรื่อง

ความคิด คำชแ้ี จง ความเหน็ และการเสนออภปิ รายของผู้มาประชุมให้อย่ใู นประเดน็ (ข้อความสำคัญที่ยกขึ้น
มาพิจารณา) ของเรอ่ื งทป่ี ระชมุ

(3) กำกับความเรียบร้อย (มีระเบียบ) โดยควบคุมการประชุมใหอ้ ยูใ่ นความเป็น
ระเบียบ ใช้ถ้อยคำสุภาพ เพ่ือไม่ให้เกิดการกระทบกระท่ังโต้เถียง เม่ือผู้มาประชุมมีความเห็นไม่ตรงกัน
หรอื ขดั แย้งกนั

6. ถ้าเร่ืองท่ีกำลังประชุม เกี่ยวข้องกับเจ้าของเรื่องผู้ใด ประธานในท่ีประชุมจะบอกให้
ผู้เกี่ยวข้องน้ันช้ีแจงหรือรายงาน หากประธานฯ หรือเลขานุการชี้แจงแทนได้ ประธานฯ อาจชี้แจงเองหรือ
มอบให้เลขานุการช้แี จงกไ็ ด้

7. ระหว่างการประชุม ผู้ที่ประธานในที่ประชุมอนุญาตหรือมอบหมายให้พูดเร่ืองที่
เกี่ยวข้องกับการประชุม ควรหันหน้าและพูดกับประธานฯ เท่านนั้ ไม่หันหนา้ พูดกับคนอื่น เป็นการป้องกัน
การถกเถียง อันเน่ืองมาจากความเห็นไม่ตรงกันหรือขัดแย้งกันซึ่งพบเห็นได้บ่อยๆ ขณะท่ีประชุมกัน และ
หากผูอ้ ยใู่ นห้องประชุมกระทำตนจนทำให้บรรยากาศในห้องประชุมเสียไป ประธานฯ มีสิทธิว่ากลา่ วตักเตือน
และอาจถงึ ข้นั เชิญออกจากหอ้ งประชมุ นน้ั ถา้ ไม่เชอ่ื ฟงั ประธาน ฯ

8. กรณีเร่ืองเพื่อทราบ โดยท่ัวไปประธานในที่ประชุมอาจแจ้งเองหรือมอบหมาย
เลขานกุ าร หรอื ผู้อ่ืนเปน็ ผู้แจง้ รายงานตอ่ ที่ประชุม

9. กรณีเรื่องเพื่อพิจารณา ประธานในที่ประชุมเป็นผู้กล่าวนำหัวข้อเร่ือง จากนั้นจะมอบให้
เลขานุการเป็นผดู้ ำเนินเร่อื ง การดำเนนิ เรื่องเพอื่ พจิ ารณาควรประกอบด้วยเร่ืองตามกรอบต่อไปนี้

(1) เรอ่ื งเดิมหรอื ความเปน็ มา
(2) สาระสำคญั ของเร่ืองทีน่ ำไปสูก่ ารพิจารณา

32

(3) ประเดน็ การขอใหพ้ ิจารณา
(4) ความเห็นของผู้ที่เป็นองค์คณะประชุม รวมถึงการซักถามคำช้ีแจงเรื่องท่ี
ประชุม
(5) มติ (ความเห็นสรปุ ) ของที่ประชมุ
10. กรณีเรื่องอ่ืนๆ การกำหนดระเบียบวาระการประชุมท่ีเป็นเร่ืองอื่นๆ ไว้ ก็เพ่ือให้ท่ี
ประชุมหยิบยกเร่ืองที่ต้องการให้มีการทราบหรือพิจารณาเพ่ิมเติม ซ่ึงไม่ได้เตรียมบรรจุไว้ในวาระมาก่อน
เรยี กอีกอย่างหนึ่งวา่ “วาระจร”
11. เม่ือจบส้ินทุกระเบียบวาระการประชุมแล้ว ประธานในท่ีประชุมจะต้องกล่าวปิดการ
ประชุมทุกครง้ั ซ่ึงหมายถึงการประชุมตามระเบียบวาระในคราวนี้ยุติลงแล้ว หากจะมีการพูดคุยกนั ต่อไป
ถอื วา่ ไม่ได้อยใู่ นห้วงเวลาของการประชมุ ท่ถี ูกตอ้ งบันทึกรายงานการประชุมเป็นหลกั ฐาน
ในการบันทึกรายงานการประชุม เลขานุการต้องจัดให้มีการจดบันทึกรายงานการประชุมทุก
คร้ังท่ีมีการประชุม วิธีการจดบันทึกคือฟังที่ประชุมพูดกันแล้วจดตาม หรือหาเทปบันทึกเสียงการประชุมไว้
แต่สุดท้ายก็ต้องบันทึกลงในกระดาษ สมุด โดยบันทึกด้วยลายมือ หรือพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์สุดแต่ความ
ตอ้ งการของสหกรณ์นัน้ ๆ ลักษณะการจดบันทึกรายงานการประชุม โดยท่ัวไปสามารถทำได้สามวิธแี ล้วแต่
ความต้องการของทป่ี ระชุมกลา่ วคือ
1. จดละเอยี ดทุกคำพูดขององคค์ ณะประชมุ และผูเ้ กี่ยวข้องกับการประชมุ พร้อมกบั มติการ
ประชมุ
2. จดย่อคำพดู ทเี่ ป็นประเด็นสำคัญขององค์คณะประชุมและผู้เกยี่ วข้องกับการประชุมอันเป็น
เหตผุ ลนำไปสู่มติของทป่ี ระชมุ พรอ้ มกับมติการประชมุ
3. จดแต่เหตุผลกับมติการประชุมซ่ึงเรยี กว่าบันทึกการประชมุ
การบันทึกรายงานการประชุมของสหกรณ์ไม่ว่าจะเป็นการประชุมใหญ่ การประชุม
คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ หรือการประชุมอ่ืนใด สามารถนำวิธีการทั้งสามวิธีข้างต้นมาใช้ร่วมกัน
ได้ หรือตามความตอ้ งการขององค์คณะประชมุ
สำหรบั แบบบนั ทกึ รายงานการประชุมในสหกรณ์มีส่วนสำคัญทีเ่ ปน็ ขอ้ แนะนำไวด้ งั นี้
1. “รายงานการประชุม” ให้ลงชื่อการประชุมหรือคณะที่ประชุมนั้น เช่น “รายงานการประชุมใหญ่
สามัญ” “รายงานการประชุมใหญ่วิสามัญ” “รายงานการประชุมคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์”
“รายงานการประชมุ คณะกรรมการ…….”
2. ใหร้ ะบุ “ช่อื สหกรณ์” ต่อจากคำ “รายงานการประชุม” วา่ เป็นสหกรณ์ช่ืออะไร
3. “ชุดท่ี” ให้ระบุชุดที่ (ถ้ามี) ขององค์คณะประชุม หรือของคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ที่
ไดร้ ับการแตง่ ตั้งหรือเลอื กตัง้ แล้วแต่กรณี
4. “คร้ังที่” ให้ระบุคร้ังที่ประชุม กรณีมีการประชุมบ่อยคร้ัง (มากกว่าหน่ึงคร้ัง) โดยใช้ครั้งท่ีทับปีท่ี
ประชุม (ครง้ั ท่ี...../……)
5. “วนั ที่” ใหร้ ะบวุ นั ทป่ี ระชมุ
6. “ณ” ให้ระบุสถานท่ปี ระชุม

33

7. “ผู้เข้าประชุม” ให้ระบุช่ือและตำแหน่งขององค์คณะประชุม (ผู้ได้รับแต่งตั้งหรือเลือกต้ังหรือผู้มีสิทธิ
ให้เป็นองค์ประชุม) ซ่ึงมาประชุม ในกรณีการประชุมใหญ่ ผู้เข้าประชุมและเป็นองค์ประชุมคือสมาชิก
สหกรณ์ แต่ละสหกรณ์มักมีสมาชิกเป็นจำนวนมากไม่สะดวกในการนำรายช่ือมาลงในรายงานการประชุมก็
ให้สรุปเฉพาะจำนวนผู้เข้าประชุมได้แต่ต้องบันทึกหลักฐานการลงลายมือชื่อของผู้เข้าประชุมแยกต่างหาก
ออกไป

8. “ผู้ไมม่ าประชมุ ” ให้ระบุชือ่ หรือตำแหนง่ ขององคค์ ณะประชุมซ่งึ มไิ ดม้ าประชุม พร้อมทงั้ เหตผุ ล (ถ้า
ม)ี สำหรบั การประชมุ ใหญ่ไมต่ ้องระบุผไู้ มม่ าประชมุ

9. ผู้เข้าร่วมประชุม” ให้ระบุช่ือและหรือตำแหน่งและสังกัด (ถ้ามี) ของผู้เข้าร่วมประชุม ซ่ึงได้เข้า
รว่ มประชุมในแตล่ ะครง้ั ทม่ี ีการประชุม

10. “เรม่ิ ประชมุ เวลา” ให้ระบุเวลาท่เี ริม่ ประชุม
11. “ข้อความหรือรายละเอียดในการประชุม” ให้ระบุข้อความท่ีมีการประชุม โดยปกติจะเร่ิมต้นด้วย
ประธานในที่ประชุมกล่าวเปิดการประชุม ต่อจากนั้นจึงเป็นข้อความตามเรื่องราวที่ประชุมในแต่ละเรื่อง
(ระเบียบวาระ) กับมติการประชุม สาระการบันทึกรายงานการประชุมเลือกใช้ตามลักษณะการจดบันทึก
รายงานการประชุมในข้อ 1 ถึงข้อ 3 ที่กล่าวว่า จดละเอียดทุกคำพูดกับมติการประชุม หรือจดย่อคำพูด
กบั มตกิ ารประชุม หรือจดเหตุผลกับมติการประชมุ หรอื ประยกุ ต์ใชร้ ว่ มกนั
12. “เลิกประชมุ เวลา” ใหร้ ะบเุ วลาที่สน้ิ สุดการประชมุ น้ันๆ
13. “ผู้บันทึกรายงานการประชุม” ให้ลงชื่อผู้จดบันทึกรายงานการประชุม เป็นเลขานุการหรือผู้ที่
เลขานุการมอบหมาย (แต่อยู่ในความรับผิดชอบของเลขานุการ) หรือผู้ทีถ่ ูกกำหนดไว้ในขอ้ บังคับของสหกรณ์
เช่น “ใหป้ ระธานในท่ีประชุม (ประธานกรรมการฯ) กับกรรมการฯ อกี คนหนึ่งทเี่ ข้าประชุมนน้ั ลงลายมอื ช่ือ
ไวเ้ ปน็ สำคัญ เปน็ ตน้

เลือกใชถ้ ้อยคำลงบนั ทกึ ใหเ้ หมาะสม
การบันทึกรายงานการประชุมท่ีดีจะต้องทำให้ผู้อ่านหรอื ผู้เกี่ยวข้องเมื่ออ่านแล้วเข้าใจเร่ืองได้ง่ายและ
เข้าใจเป็นอย่างเดียวกัน ไม่สับสนและตีความแตกต่างกันออกไป ดังนั้นควรเลือกใช้คำหรือข้อความให้
เหมาะสมดงั ตอ่ ไปน้ี
1. ไดส้ าระ ในระหวา่ งการประชมุ ผู้จดบันทึกรายงานการประชุมควรจบั ประเด็นท่มี ีการประชมุ แลว้ นำไป
บันทกึ ให้ครบถว้ น ไดส้ าระ (ส่วนสำคัญ) ทงั้ ในสว่ นทเ่ี ปน็ เหตซุ ึ่งนำมาอ้าง และที่เปน็ ผลซง่ึ ออกมาเปน็ มติการ
ประชมุ ความเป็นสาระของเร่ืองจงึ ควรครอบคลุมถึง “ใคร?” “ทำอะไร?” “ทำทไ่ี หน?” “ทำอยา่ งไร?”
และ “ทำทำไม?” เปน็ ตน้
2. ชัดเจน ข้อความที่นำไปบันทึกรายงานการประชุมควรให้มีความชัดเจน (ถูกต้องแน่นอน) เข้าใจได้ง่าย
ไม่ควรให้มีข้อความท่ีกำกวมหรือคลุมเครือ หรือมีแง่มุมที่ทำให้ตีความแตกต่างกันออกไป ในบางเร่ืองท่ี
ประชุมกันหากนำมาบันทึกด้วยข้อความสั้นๆ อาจไม่ได้ใจความท่ีชัดเจน ก็ต้องเขียนให้ยาวขึ้นเพ่ือให้อ่านรู้
เร่ือง
3. กะทดั รดั นอกเหนอื จากการบนั ทึกรายงานการประชมุ ให้มีความชดั เจนแลว้ ถ้าสามารถบันทกึ ได้อย่าง
กะทัดรดั (เหมาะเจาะ) โดยไมใ่ ชถ้ ้อยคำที่ฟ่มุ เฟอื ยจนเกินจำเปน็ กจ็ ะทำให้บนั ทกึ นัน้ ดดู ยี ิง่ ขึ้น

34

4. ตรงประเด็น เป็นการบันทึกรายงานการประชุมให้ได้ข้อความท่ีเน้นจุดประเด็น (ข้อความสำคัญท่ียกขึ้น
มาพิจารณา) สอดรับกับเรื่องท่ีได้ประชุมกัน เมื่ออ่านบันทึกแล้วสามารถเข้าใจเรื่องได้ถูกต้องตรงกัน หาก
บันทึกวกไปวนมาไม่พยายามเน้นจดุ เป็นประเดน็ กจ็ ะทำใหผ้ อู้ ่านไม่เข้าใจในบันทึกนัน้

ชว่ งหลงั ดำเนนิ การหลงั ประชมุ

หลังจากเสร็จสิ้นการประชุมแล้ว เลขานุการต้องดำเนินการต่อไปในการแจ้งผลแห่งมติการประชุม
เพราะบางเร่ืองหรือบางหัวข้อการประชุมมีข้อสรุปแห่งมติให้ดำเนินการ เลขานุการจะต้องตรวจสอบและ
แจ้งผลแห่งมติน้ันไปยังผู้เกี่ยวข้องหรือผู้รับผิดชอบ นอกจากนี้หากได้บันทึกรายงานการประชุมเสร็จแล้ว
เลขานุการอาจส่งเป็นร่างบันทึกรายงานการประชุมให้องค์คณะประชุม (รายบุคคล) พิจารณาตรวจแก้เป็น
เบ้ืองตน้ ก่อนนำไปพจิ ารณารับรองในคร้ังตอ่ ไปก็ได้

บนั ทึกรายงานการประชุมที่จัดทำ เมื่อตรวจสอบความถูกต้องเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ถึงแม้จะยังไม่
มีการรับรองกันในที่ประชุม ก็สามารถให้ผู้รับผิดชอบลงชื่อกำกับท้ายบันทึกรายงานการประชุมให้เรียบร้อย
ตามข้อกำหนด (เช่นข้อบังคับสหกรณ์) ที่วางไว้ กับแนบเอกสารท่ีใชป้ ระกอบวาระการประชุมแยกตามหัวข้อ
ต่อจากบันทึกรายงานการประชุมให้ครบถ้วน (ถ้ามี) สุดท้ายให้จัดเก็บรักษาบันทึกรายงานการประชุมไว้ในท่ี
ปลอดภยั งา่ ยตอ่ การตรวจสอบคน้ หาอ้างองิ

โครงสรา้ งสหกรณ์

การบริหารงานของสหกรณ์ที่ 7 ประเภท จะยึดหลักเดียวกัน คอื บริหารงานโดยสมาชกิ สมาชิกทุกๆ
คน จะเลือกตัวแทนซึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการดำเนินการ” จากท่ีประชุมใหญ่คณะกรรมการดำเนินการมี
หน้าท่ีกำหนดนโยบายการบริหารงานใหส้ หกรณ์โดยจัดจ้าง “ผู้จัดการ” ให้ปฏิบัติงานในสหกรณ์ ภายใต้การ
ควบคมุ ดแู ลของคณะกรรมการดำเนนิ การ

แผนภาพที่ 1 โครงสรา้ งการดำเนนิ งานของสหกรณ์

สมาชิก สมาชิก สมาชิก สมาชิก

ที่ประชุมใหญ่
…….…………… เลือกตั้ง

คณะกรรมการดาเนินการ

…………………. แตง่ ตง้ั
ผจู้ ดั การ

แผนกบญั ชี/การเงิน แผนกธุรการ/ทะเบียน แผนกธุรกิจต่าง ๆ

35

สมาชิก
หมายถึง ผู้ลงชื่อขอจดทะเบียนสหกรณ์และผู้ท่ีมีช่ืออยู่ในบัญชีของผู้ที่จะเป็นสมาชิกสหกรณ์ ก่อนจด
ทะเบยี นจดั ตัง้ สหกรณ์ รวมท้ังผู้ที่สมัครเป็นสมาชกิ ภายหลังที่สหกรณไ์ ด้จดทะเบียนแล้ว โดยถือว่าได้เป็นสมาชิก
เมื่อไดช้ ำระคา่ หนุ้ ตามจำนวนท่จี ะถือครบถว้ นแล้ว
• คุณสมบตั ขิ องสมาชกิ คอื
1. ตงั้ บา้ นเรือนและประกอบอาชพี ในทอ้ งทด่ี ำเนนิ งานของสหกรณ์
2. เปน็ บุคคลธรรมดาและบรรลนุ ติ ิภาวะ
3. เป็นผูท้ ่ีมีความซ่ือสัตย์ ขยันขันแข็ง ในการประกอบอาชีพและร้จู ักประหยดั
4. ไมเ่ ปน็ คนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไรค้ วามสามารถ
5. ไมเ่ ปน็ บุคคลล้มละลาย หรือมหี นสี้ ินล้นพ้นตัว
6. ไมเ่ คยถกู ใหอ้ อกจากสหกรณใ์ ด ๆ โดยมีความผิด
• สิทธหิ นา้ ท่สี มาชกิ สหกรณ์
1. เปน็ เจ้าของสหกรณ์ โดย

- ถือห้นุ กบั สหกรณ์
- มที รัพย์สินอยูใ่ นสหกรณ์
- มีหน้สี ินอยใู่ นสหกรณ์
- มีส่วนรบั ผดิ ชอบต่อสหกรณ์
- มีสว่ นได้เสยี ในสหกรณ์
2. มสี ทิ ธิ มีสิทธใิ นการใชบ้ รกิ ารของสหกรณ์
- มสี ิทธิในการควบคุมสหกรณ์
- มสี ิทธิในการตรวจสอบสหกรณ์
- มสี ทิ ธิในการเข้าประชมุ ใหญ่
- มสี ทิ ธใิ นการสมคั รเป็นกรรมการสหกรณ์
- มีสทิ ธเิ ลือกตงั้ กรรมการสหกรณ์
3. มีหนา้ ท่ี มหี นา้ ท่ปี ฏบิ ตั ิตามกฎหมาย ระเบยี บ ข้อบังคบั
- มติคณะกรรมการ และคำสัง่ ของสหกรณ์
- มีหน้าท่เี ขา้ รว่ มประชุม
- มหี น้าท่ีสง่ เสรมิ สนบั สนนุ กจิ การของสหกรณ์
- มหี นา้ ทส่ี อดส่องดแู ลกจิ การของสหกรณ์

36

คณะกรรมการดำเนนิ การสหกรณ์
หมายถึง สมาชิกสหกรณ์ท่ีได้รับเลือกตั้งจากท่ีประชุมใหญ่ ให้เป็นกรรมการดำเนินการ ซึ่ง
ประกอบด้วยประธานกรรมการ 1 คน และกรรมการอ่ืนอีกไม่เกิน 14 คน คณะกรรมการเป็นผู้ดำเนินกิจการ
และเปน็ ผ้แู ทนสหกรณ์ในกจิ การอนั เกี่ยวกับบคุ คลภายนอก

• อำนาจหน้าทค่ี ณะกรรมการดำเนินการ
1. กำหนดระเบียบถือใชใ้ นสหกรณ์
2. กำหนดนโยบายและควบคุมกิจการธรุ กจิ ให้เป็นไปตามวตั ถปุ ระสงค์
3. ปฏิบัติตามคำส่ังนายทะเบียนสหกรณ์ รองนายทะเบียนสหกรณ์ ผู้ตรวจการสหกรณ์ ผู้สอบบัญชี
หรอื เจา้ หนา้ ที่ซึง่ นายทะเบียนมอบหมาย
4. พิจารณาการรบั สมาชิกและสมาชกิ ออก
5. แตง่ ต้งั หรือจา้ ง ผู้จดั การและเจ้าหน้าท่ี
6. มอบหมายอำนาจหนา้ ทีใ่ หบ้ ุคคลท่ีเหมาะสม
7. แต่งต้ังบุคคลภายนอกเปน็ ท่ีปรึกษาสหกรณ์
8. อนมุ ตั ิรายการการเงินท่สี ำคญั
9. พจิ ารณารายงานกจิ การประจำเดือน หรือรายงานอ่นื
10. ดำเนนิ การประชุมใหญ่
11. เสนอแนะการจัดสรรกำไรสุทธิ เสนอแผนงานงบประมาณตอ่ ท่ีประชุมใหญ่
12. ดำเนนิ การเก่ยี วกบั ทรัพยส์ นิ
13. เป็นตัวแทนสหกรณ์ในการทำนิตกิ รรม

• ความรบั ผิดชอบ
- รับผดิ ชอบทั้งคณะ กรณสี หกรณ์ดำเนินการยดึ วัตถุประสงค์ หรือกรณลี ะเวน้ การปฏบิ ัติหน้าที่
- รบั ผิดชอบรายงานกรณลี งมตทิ ไี่ มช่ อบ

ผู้ตรวจสอบกิจการ
เป็นบุคคลหรือคณะบุคคลท่ีได้รับการแต่งตั้งจากท่ีประชุมใหญ่ โดยเป็นผู้มีคุณวุฒิ ความรู้
ความสามารถ ในดา้ นกิจการ ธุรกจิ บญั ชี การเงิน การสหกรณ์

• บทบาทหนา้ ที่
- ตรวจสอบเอกสารทกุ ธรุ กิจ ทกุ กจิ การของสหกรณ์
- ตรวจสอบหลักฐานต่างๆ ในสหกรณ์
- ตรวจสอบการปฏิบัติงานตามแผนงาน การใช้จา่ ยงบประมาณ
- ตดิ ตามผลการดำเนินงานของคณะกรรมการดำเนนิ การ
- ตรวจสอบหลกั ประกนั การจัดจ้างเจา้ หนา้ ทส่ี หกรณ์
- เข้าประชมุ ใหญเ่ สนอผลการตรวจสอบกจิ การ

ฝ่ายจัดการ

37

เป็นบุคคลที่คณะกรรมการดำเนินการจัดจ้างให้ปฏิบัติงานตามที่มอบหมาย โดยได้รับค่าตอบแทนจาก
สหกรณ์

• บทบาทหนา้ ท่ี
- ดำเนินงานกจิ การ ธรุ กจิ ของสหกรณ์
- จดั ทำหลักฐาน เอกสารทเี่ กี่ยวข้อง
- ทำแผนปฏิบัติงานตามนโยบายของสหกรณ์
- รายงานผลการดำเนินกิจการ
- รับผดิ ชอบการเงนิ การบัญชี พัสดุ ครุภณั ฑ์
- ปฏิบตั งิ านอน่ื ๆ

38

การจดั การธรุ กจิ สหกรณแ์ นวใหม่

1. ธรุ กจิ สหกรณ์

สหกรณ์เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มคน เพ่ือทำกิจกรรมร่วมกันโดยมีเป้าหมายสูงสุด คือ การอยู่ดี
กินดี มีสันติสขุ ในการรวมกลุ่มจัดต้ังเป็นสหกรณน์ ้ัน หลังจากมีการจดทะเบยี นตามพระราชบัญญัติสหกรณ์
(ฉบับท่ี 3) พ.ศ. 2562 แลว้ สหกรณ์สามารถดำเนินกจิ กรรมต่าง ๆ เพ่ือให้เกดิ การพัฒนาท่ีเกิดประโยชน์แก่
สมาชกิ มากทสี่ ุด กำหนดใหส้ หกรณส์ ามารถดำเนนิ กจิ การได้ดงั น้ี

1. การผลิต การคา้ การบรกิ าร อตุ สาหกรรมเพื่อประโยชนส์ มาชิก
2. การสวสั ดิการ หรอื การสงเคราะห์สมาชิกและครอบครวั
3. ช่วยเหลือทางวชิ าการแก่สมาชิก
4. รับความชว่ ยเหลอื จากราชการ หรือหน่วยงานหรือบคุ คล
5. รับฝากเงนิ จากสมาชกิ หรือสหกรณ์
6. ให้กู้ ให้สินเช่ือ ให้ยืม ให้เช่า ให้เช่าซื้อ โอน รับจำนำ รับจำนองทรัพย์สินของ

สมาชกิ
7. จัดให้ได้มา ซ้ือ ถือกรรมสิทธ์ิ ครอบครอง กู้ยืม เช่า เช่าซื้อ รับโอน จำนอง

จำนำ ขาย จำหนา่ ยทรพั ยส์ นิ
8. ให้สหกรณอ์ ื่นกู้เงนิ ตามระเบียบทนี่ ายทะเบียนเหน็ ชอบ
9. ดำเนินกิจการอย่างอ่นื เพอื่ ความสำเรจ็ แห่งวตั ถุประสงค์ของสหกรณ์
โดยท่วั ไปแลว้ ธุรกิจท่สี หกรณ์ดำเนนิ การสว่ นใหญ่ คอื ธุรกิจสนิ เชื่อ
ธรุ กิจรับฝากเงนิ ธุรกจิ ซือ้ ธรุ กิจขาย และธรุ กิจบรกิ าร

2. การจดั การธรุ กจิ แนวใหม่

ทม่ี าคือการเปลี่ยนแปลงรูปแบบวิธกี ารจดั การอยา่ งใดอยา่ งหน่งึ เพอื่ ใหท้ นั ต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก
ปจั จบุ นั โดยสถานการณ์ที่สำคัญ 5 ประการ คือ

1. การส่ือสารเปล่ียนไป ปัจจบุ ันสามารถติดต่อส่ือสารกันได้ท่ัวโลกภายในระยะเวลารวดเร็ว จาก
อุปกรณ์การสื่อสารโทรศัพท์มือถือและระบบอินเทอร์เน็ต ทำให้มีการรับรู้ การตัดสินใจรวดเร็ว เกิดความ
คล่องตวั ในการดำเนินธรุ กิจ

2. การส่งเสริมสุขภาพและบำรุงรักษาส่ิงแวดล้อม ความเปลี่ยนแปลงจากสังคมอุตสาหกรรมท่ี
ส่งเสริมการผลิต จนส่งผลเสียต่อสุขภาพและส่ิงแวดล้อม เป็นสังคมยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดน ที่
ประชาชนเรียนรู้ที่จะรักษาสุขภาพให้ปลอดภัย แข็งแรง จึงมีการส่งเสริมสุขภาพ ด้านอาหาร ออกกำลัง
กาย อารมณ์ และบำรงุ รักษาส่งิ แวดลอ้ ม เพือ่ ใหค้ นอยู่ในส่ิงแวดล้อมทีด่ ี ป้องกันอากาศเป็นพษิ

3. โครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลง จากเดิมประชากรโลกจะมเี ดก็ จำนวนมาก คนสงู อายุจำนวน
น้อย เน่ืองจากการแพทย์ยังไม่เจริญ แต่ปัจจุบันโครงสร้างประชากรเปล่ียนแปลงไป โดยประชากรเด็กมี
สัดส่วนใกล้เคียงกบั คนสูงอายุ เน่ืองจากสามารถป้องกันรักษาชีวติ จากโรคภัยต่าง ๆ ได้ดีข้นึ นอกจากนั้นมี

39

ขอ้ มูลท่ีน่าสังเกตอีกประการหนึ่งคือ มีคนโสดเพิ่มขึ้นทั้งหญิงและชาย โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในชุมชนเมือง และ
จากข้อมลู พบวา่ วัยทม่ี กี ำลงั ซอ้ื มากคอื วยั เยาวชน

4. การค้าเสรี การพัฒนาจากการแลกเปลี่ยนสินค้ากันในอดีตเป็นการซื้อขายโดยใช้เงินเป็น
ตวั กลาง แต่ละประเทศแต่ละภมู ิภาคจะมีผลผลติ ตามสภาพแวดล้อม มีการซื้อขายกันภายในประเทศและนอก
ประเทศ โดยมีระบบกฎหมายและภาษีเป็นตัวควบคุมสินค้า แต่ในปัจจุบันระบบการค้าเสรีเข้ามีบทบาท
ส่งผลต่อผู้ผลิตและผูบ้ รโิ ภค จงึ นำสู่การพฒั นาผลติ ผล ผลติ ภัณฑ์ การแข่งขนั ท่สี ูงขน้ึ

การจัดการธุรกิจสหกรณ์แนวใหม่ เป็นการนำสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน มาสู่การ
จัดการกับทกุ ๆ ธุรกิจสหกรณ์ เพ่อื ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเนน้ การยึดลูกค้าเป็นสำคัญ เป็นการจดั การ
ธุรกิจที่อำนวยความสะดวกด้วยการเน้นการบริการ มีการวิเคราะห์ความต้องการ สภาพแวดล้อมท่ี
เกี่ยวเนื่องกัน รวมถึงการจัดการท่ีไม่มีช่วงว่าง เป็นความผูกพันกันตลอดเวลา ท้ังน้ีเพื่อสู่เป้าหมายการอยู่ดี
กินดี มีสนั ติสขุ ตามวตั ถปุ ระสงค์แหง่ การจัดต้งั สหกรณ์

5. ผลการศึกษาบริษัทที่ย่ังยืน จากการศึกษาบริษัทท่ีมีการจัดต้ังดำรงอยู่ได้ยาวนานท่ีสุดของโลก
พบวา่ มปี ัจจัยเป็นองค์ประกอบสำคัญอยา่ งน้อย 2 รายการ คือ การมีทุนสะสมของตนเอง และการปรับเปลี่ยน
กิจการไปตามสถานการณ์ ซง่ึ ข้อมูลนเ้ี ป็นแนวทางท่ดี ีสำหรับการป้องกนั ความลา้ สมยั ของสหกรณ์

แผนภาพที่ 2 การจดั การธรุ กจิ สหกรณแ์ นวใหม่

ความเปลี่ยนแปลง สหกรณ์

- การสอื่ สาร - ธรุ กิจการเงิน สมาชกิ
- การส่งเสรมิ สขุ ภาพ - ธรุ กิจการตลาด
- ธรุ กจิ บรกิ าร
และสิ่งแวดล้อม
- โครงสรา้ งประชากร
- ตลาดเสรี

ยดึ ลูกค้าเปน็ สำคัญ คนเปน็ อยดู่ ี

เนน้ บรกิ าร มสี นั ติสขุ

สมั พันธต์ ่อเน่ือง

2.1 ธรุ กจิ ซอ้ื

หมายถึง การจัดหาสิ่งของท่ีสมาชิกต้องการมาจำหน่าย เพื่อตอบสนองความต้องการของสมาชิก

ควบคู่กับวัตถุประสงค์ให้สมาชิกมีส่วนร่วมอย่างต่อเน่ือง โดยสหกรณ์ภาคการเกษตรมักจะทำธุรกิจนี้ เพื่อ

บริการสมาชิกที่ทำการเกษตร สินค้าท่ีสหกรณ์จัดจำหน่ายจึงมักเป็นวัสดุการเกษตร เช่น ปุ๋ย ยาปราบ

ศัตรูพืช พันธุ์พืช น้ำมัน รถไถหรือสินค้าอุปโภค เช่น ข้าวสาร เสื้อผ้า ของใช้ในครัวเรือน เป็นต้น

สำหรบั สหกรณ์ร้านคา้ เป็นสหกรณ์ที่จดั ตง้ั ขนึ้ เพื่อดำเนินกจิ การดา้ นน้โี ดยตรง โดยเนน้ ท่ีสินค้าอุปโภคบริโภค

40

วตั ถปุ ระสงคข์ องธรุ กจิ ซอื้ คือ
1. เพ่ือให้สมาชิกได้ซื้อสินค้าท่ีมีคุณภาพดีในราคายุติธรรม ปราศจากการเอาเปรียบจากผู้ค้า

ทวั่ ไปซ่งึ หวังผลกำไรมาก
2. เพ่ือส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากสมาชิกอย่างสอดคล้องกับชีวิต เพราะการดำเนินชีวิต

จำเป็นต้องใช้สินค้า สิ่งของ สมาชิกจำเป็นต้องซื้อสินค้า จึงเป็นธุรกิจหน่ึงที่ใช้เพ่ิมการมีส่วน
ร่วมจากสมาชิกได้

สภาพเดิม การจัดการธุรกิจซ้ือของสหกรณ์ได้รับความสำคัญน้อยกว่าธรุ กิจสินเชอื่ หากมีการดำเนิน
ธุรกิจมักจะยึดการให้บริการสินค้าจำเป็นหลักสำหรับประกอบอาชีพ และสำหรับความเป็นอยู่ การดำเนิน
ธุรกิจมักใช้รูปแบบราชการ กลุ่มลูกค้าท่ีให้บริการยึดเฉพาะตัวสมาชิก การตัดสินใจทางธุรกิจเป็นบทบาท
ฝา่ ยจดั การ และเปน็ การดำเนินธรุ กจิ ทรี่ กั ษาสภาพไมป่ รับตามสถานการณข์ าดการบริหารความเปลย่ี นแปลง

การจดั การธรุ กิจซอ้ื แนวใหม่เพื่อให้สอดคลอ้ งรับกบั ความเปลี่ยนแปลง และเพื่อพฒั นาให้ธุรกิจซ้อื เป็น
กิจการสำคัญของสหกรณ์ โดยประเด็นนำเสนอคือ ข้ันตอนการดำเนินธุรกิจ เทคนิค และปัจจัย
ความสำเร็จ

ขน้ั ตอนการดำเนนิ ธรุ กจิ ซอ้ื
1. สมาชกิ จำเป็นและตอ้ งการใช้สนิ ค้า
เป็นความต้องการตามความจำเป็นในการประกอบอาชีพและการดำเนินชีวิต ซ่ึงโดยปกติจะต้องใช้
สินค้าสนับสนุนความจำเป็นดังกล่าวเพียงแต่สมาชิกกับสหกรณ์ยังไม่ได้ปรับคล่ืนความต้องการเสนอซ้ือและ
ความต้องการเสนอขายให้ตรงกัน จึงมีลักษณะสมาชิกต้องการซื้อ สหกรณ์ไม่มีขาย สหกรณ์จะขายแต่
สมาชิกไม่ซื้อ หรือทั้งสมาชิกท้ังสหกรณ์ไม่เคยสนใจเร่ืองธุรกิจซ้ือร่วมกัน ข้ันตอนแรกเป็นความจำเป็นท่ีมี
ความต้องการกระจายอยู่ในตัวสมาชิก ซึ่งสหกรณ์จะดำเนินธุรกิจน้ีหรือไม่ก็ตามจะยังคงมีสภาพความจำเป็น
และความตอ้ งการน้ีอยู่เพียงแตห่ ากสหกรณ์ไม่จัดบรกิ ารด้านนส้ี มาชิกจะแสวงรบั การตอบสนองความตอ้ งการ
จากแหล่งอ่ืน นักบริหารจัดการสหกรณ์แนวใหม่จงึ ตอ้ งยอมรับว่าสามารถเปดิ ตัวธุรกจิ สำหรับสหกรณท์ ่ียังไมม่ ี
ธุรกิจน้ี และนำสกู่ ารดำเนินธุรกิจอย่างม่นั คงได้สำหรับสหกรณ์ท่ดี ำเนินธุรกิจซ้อื แล้วโดยความจำเป็นและความ
ต้องการใช้สินค้าในยุคใหม่เป็นประเภทสินค้าที่เก่ียวข้องกับการสื่อสาร การส่งเสริมสุขภาพและส่ิงแวดล้อม
ชนดิ สนิ ค้าทป่ี ระชากรต้องการและมีกำลงั ซือ้ สูงคือสนิ ค้าสำหรับเยาวชน
2. สำรวจความต้องการซอ้ื สินค้าจากสมาชกิ
สหกรณ์จะขายอะไร รู้ได้จากสมาชิก เปน็ คำกล่าวของนักจัดการสหกรณ์แนวใหม่ การสำรวจความ
ตอ้ งการเปน็ ขัน้ ตอนทมี่ คี วามสำคญั มากท่สี ดุ โดยการจดั การธรุ กิจแนวใหมจ่ ะใหค้ วามสำคญั กับลูกค้าโดยถือ
วา่ ลูกค้าเป็นพระเจ้า ลูกค้าของสหกรณ์ก็คอื สมาชิกจะเป็นผู้ชว้ี ่าธรุ กิจจะอยู่รอดหรือไม่ หลายสหกรณ์ดำเนิน
ธุรกิจแล้วไม่ประสบความสำเร็จ เพราะใช้แนวคิดเดิม ๆ เช่น จำหน่ายสินค้าท่ีเคยจำหน่าย ยึดความพอใจ
ของคนขายเป็นหลัก การสำรวจควรใช้วิธกี ารสอบถามเพ่ือให้ได้ขอ้ มูลความตอ้ งการ สหกรณจ์ ึงต้องสอบถาม
สมาชิกท่ีพบโดยตรงว่าต้องการให้สหกรณ์จัดหาสินค้าใดมาบริการบ้างแล้วบันทึกชนิดสินค้า หรือใช้
แบบสอบถามส่งให้สมาชิกกรอกข้อมูล หรืออีกวิธกี ารหน่งึ คือการประชุมกลุ่มสำรวจความต้องการ โดยเมื่อ
นัดประชมุ กลมุ่ แลว้ จะให้แบบสอบถามหรือถามตรงแบบสัมภาษณร์ ายคน สำหรบั ข้อมลู ทีค่ วรสำรวจคือ กลุ่มท่ี

41

อายุ เพศ เช้ือชาติ รายได้ การศึกษา การประกอบอาชีพ ขนาดครอบครัว วงจรการดำเนินชีวิต ชนิด
สนิ ค้าที่ต้องการ ปริมาณ ชว่ งระยะเวลาทต่ี อ้ งการ ลักษณะการซือ้ ความตอ้ งการจัดสง่

3. รวบรวมขอ้ มูลท่ีไดจ้ ากการสำรวจจากสมาชกิ
การเก็บข้อมูลจากสมาชิกควรสำรวจทั้งหมด หรือ สุ่มเป็นกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนในจำนวนที่
เช่ือถือได้โดยแบ่งเป็นพื้นที่ ตัวอย่างเช่น สหกรณ์มีสมาชิกสังกัดกลุ่ม 20 กลุ่ม ใช้สุ่มตัวแทนกลุ่มละ 10
คน หรือใน 20 กลุ่มสามารถจัดตามลักษณะพื้นท่ไี ด้ 2 พนื้ ที่ จงึ สุ่มตัวแทนพื้นทล่ี ะ 20 คน การรวบรวม
ข้อมูลของสหกรณ์ควรใช้วิธีการรวบรวมจากคนสู่คน เพ่ือเพิ่มความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันอันสามารถทำได้
โดยงา่ ยจากระบบเครอื ข่ายของสหกรณ์ เมอ่ื ไดข้ อ้ มูลจากการสำรวจใหจ้ ดั เกบ็ รวบรวมเพอ่ื ทำการวเิ คราะห์
4. วิเคราะหข์ ้อมูลจากการรวบรวม
เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ประกอบการตัดสินใจดำเนินธุรกิจจัดซ้ือสินค้ามาจำหน่ายให้กับสมาชิก
โดยแนวทางวเิ คราะห์ข้อมูล 2 วิธี คือ

4.1 วิเคราะห์ด้วยเคร่ืองคอมพิวเตอร์ ซ่ึงมีโปรแกรมสำเร็จรูปท่ีนิยมใช้ คือ โปรแกรม
SPSS เหมาะสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลท่ีมีจำนวนมาก หรือในกรณีท่ีข้อมูลจำนวนไม่มากนักก็นิยมใช้
โปรแกรม EXCEL โดยจะทำการสรปุ ยอดรวมแตล่ ะรายการได้รวดเรว็ เชน่ กัน

4.2 วิเคราะห์ด้วยเคร่ืองคำนวณเลข เหมาะสำหรับข้อมูลจากสมาชิกมีจำนวนไม่มากนัก
จงึ สามารถใชเ้ คร่ืองคำนวณเลขไดโ้ ดยออกแบบตารางรายการท่ีต้องการและคำนวณขอ้ มูลลงในตาราง

ผลที่ไดร้ ับจากการวเิ คราะหค์ อื สมาชิกสหกรณ์แยกเป็นเพศชาย หญงิ ก่คี น ร้อยละเท่าไหร่ อายแุ ตล่ ะ
ช่วงมีกี่คน นับถือศาสนาอะไร ประกอบอาชีพใด ต้องการสินค้าชนิดใดปริมาณเท่าไหร่ ช่วงระยะเวลาใด
ต้องการซื้อด้วยเงินสดหรือวิธีอ่ืน เป็นต้น หลังจากวิเคราะห์ชนิดสินค้าที่มีแนวโน้มสามารถดำเนินเป็นธุรกิจได้
สหกรณ์ควรทำความตกลงกบั สมาชิกในการร่วมธุรกิจ

5. จัดหาแหล่งซอื้ สนิ ค้า
วิธีการจัดหาแหล่งซื้อสินค้าต้องไม่ไกลจากสหกรณ์มากนักเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่งและ
สะดวกตอ่ การจดั ซื้อใหท้ ันใหเ้ พียงพอต่อความต้องการ เชน่

5.1 จดั ซื้อจากแหลง่ ผลิตในกรณีจัดซ้ือปรมิ าณมากและตอ่ เนื่อง
5.2 จดั ซ้ือจากร้านคา้ สง่ ซึ่งมีกระจายในทุกจงั หวดั
5.3 จัดซอื้ จากแหลง่ ท่ีมสี นิ คา้ ให้เลือกหลายชนิด เชน่ หา้ งสรรพสินค้า
5.4 ส่งั ซ้อื ทางระบบอินเตอร์เนต็
5.5 จดั ซ้ือผลผลติ ของชุมชน กลมุ่ อาชีพ
6. สหกรณด์ ำเนินการจดั ซอ้ื สินค้า
วิธที ่สี หกรณ์นิยมใช้มี 3 วธิ ี คือ
6.1 จัดซือ้ ด้วยเงินสด กรณีสหกรณม์ ีเงินทุนหมุนเวยี นเพยี งพอ
6.2 จัดซื้อด้วยเงินเชื่อ จะต้องมีการกำหนดเง่ือนไขการชำระเงินให้ชัดเจน โดยการทำ

สัญญาเพอื่ ใช้เป็นหลกั ฐาน
6.3 วิธีการฝากขาย โดยผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่าย ฝากให้สหกรณ์ขายและชำระเงินตาม

ยอดจำหน่ายสนิ คา้

42

6.4 เป็นตวั กลางเจรจาระหวา่ งผู้ซื้อกบั ผขู้ ายโดยสหกรณ์ไมต่ ้องจัดซ้ือสนิ ค้า
7. จดั สถานทสี่ ำหรบั จำหน่ายสนิ คา้ ใหส้ มาชกิ
โดยยึดหลักความสะดวกในการซ้อื ของสมาชกิ ดงั น้ี

7.1 สำนักงานของสหกรณ์หรือกลุม่ เกษตรกร
7.2 ร้านค้าในชมุ ชนที่มสี มาชกิ สหกรณ์
7.3 บา้ นผูน้ ำกลมุ่
7.4 หน่วยงานราชการ องค์การบริหารสว่ นตำบล โรงเรียน ฯ
7.5 ส่งถึงบ้านสมาชิก โดยอาจมีการกำหนดเป็นชว่ ง ๆ เช่น เดือนละ 1 คร้ัง หรือ 2

คร้ังตามความต้องการของสมาชิก
8. จำหน่ายสินค้าให้กบั สมาชกิ
โดยใช้วิธกี ารดังนี้

8.1 จำหนา่ ยดว้ ยเงินสด คือชำระเงนิ ทนั ทีเม่อื ซอื้ สินค้า
8.2 จำหน่ายสินค้าด้วยเงินเช่ือ จะต้องมีการตกลงกับสมาชิกในเง่ือนไขการ ชำระเงิน

ภายในระยะกี่วัน หรืออาจใช้วิธีการทำสินเชื่อ คือ ทำสัญญาเงินกู้แต่ให้ในรูปสินค้า
ใหซ้ ้ือสนิ คา้ ไดจ้ นครบวงเงินกทู้ ่ีกำหนดหลงั จากน้นั กช็ ำระเงินตามเงื่อนไข
8.3 นำเงินไปฝากกับสหกรณ์ เม่ือทำการซื้อสินค้าก็ถอนเงินเท่า กับมูลค่าของสินค้า
สหกรณ์โอนเงินชำระคา่ สินค้า
9. บรกิ ารหลังการขาย
ขั้นตอนนี้มีความสำคัญในการจัดการแนวใหม่เพื่อให้เกิดความผูกพัน และให้เกิดประโยชน์กับการใช้
สินค้านั้น ๆ การจัดการในรปู แบบของสหกรณ์จะมีผนู้ ำกลุ่มอยู่ครอบคลมุ ทุกพื้นท่ี จึงสามารถพฒั นาให้เป็นผู้
บริการหลงั ขายใหก้ บั สหกรณไ์ ด้
10. ประเมินความพงึ พอใจจากสมาชิก
เพ่อื นำไปปรับปรงุ ธรุ กิจให้ดีขนึ้ หลายสหกรณ์ใชร้ ปู แบบเก่า ๆ คือ ทำธุรกิจไปเร่ือย ๆ โดยไม่มีการ
มองผลตอบรับจากสมาชิก ธุรกิจก็ไม่ประสบผลสำเร็จ จึงควรประเมินโดยใช้หน่วยงานภายนอก เช่น
สถาบันการศกึ ษาที่มีการเปิดสอนหลักสตู รการตลาด

43

แผนภาพที่ 3 ขนั้ ตอนการดำเนนิ ธรุ กจิ ซอ้ื

การจัดการเดมิ การจัดการแนวใหม่
- มกั ไม่นำมาใชเ้ ปน็ ขอ้ มูล
สมาชกิ มีความตอ้ งการ - ใชเ้ ปน็ ขอ้ มลู ประกอบ
การดำเนินธุรกจิ

- ใช้ความคิดเหน็ ฝา่ ยจัดการ สำรวจความต้องการ - ดำเนินการสำรวจสม่ำเสมอ
เปน็ หลกั

- ไม่มขี ้อมลู เกบ็ รวบรวมข้อมลู - ใช้ข้อมูลเปน็ ฐานธรุ กจิ

- ใช้ความเคยชนิ วิเคราะหข์ ้อมูล - ใช้คอมพิวเตอร์

- แหลง่ ซอ้ื ประจำ จดั หาแหล่งซ้ือสินค้า - เปล่ียนแปลงตามสถานการณ์

- จำหนา่ ยท่สี ำนักงาน จัดสถานทีจ่ ำหน่าย - บริการให้สมาชกิ มีความสะดวก
- เฉพาะเงนิ สด จำหนา่ ยสินคา้
- เงนิ สด (บัตรเครดติ )
- ไมม่ ีการบรกิ าร บริการหลังการขาย - เงนิ เช่ือ
- ไมม่ ีการประเมนิ ประเมินความพอใจ - รับฝากเงิน
- จดั บริการแนะนำ

- ประเมินเพือ่ ปรับปรงุ พฒั นา

44


Click to View FlipBook Version