The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือฝ่ายจัดการสหกรณ์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ccettd 15, 2020-05-08 04:26:38

คู่มือฝ่ายจัดการสหกรณ์

คู่มือฝ่ายจัดการสหกรณ์

ปจั จยั ความสำเรจ็ ของธรุ กจิ ซอื้
1. บุคลากรสหกรณ์มีส่วนร่วมในธุรกิจตั้งแต่สมาชิก คณะกรรมการ ผู้นำกลุ่ม เป็นหัวใจ
สำคัญของการดำเนินธุรกิจ หากสามารถให้บุคคลเหล่านี้มีส่วนร่วมได้ท้ังหมด ธุรกิจก็จะประสบผลสำเร็จ
เพราะมลี กู ค้าท่แี น่นอนเปน็ ลกู คา้ ประจำ สหกรณไ์ มต่ อ้ งเส่ียงเหมอื นกจิ การท่ัวไป
2. การบริการสมาชิกที่ร่วมธุรกิจให้เกิดความประทับใจ สมาชิกจะมีความต้องการร่วม
ธรุ กจิ กับสหกรณ์ตอ่ ไป เปน็ การสร้างความภกั ดีต่อองค์กร
3. สร้างเครือข่ายสหกรณ์ นอกจากการดำเนินธุรกิจซ้ือจะประสบความสำเร็จได้จาก
สมาชิกแล้ว เครอื ข่ายระหว่างสหกรณ์มีความจำเป็นอย่างมาก เช่น ข้าวสารของสหกรณ์อาจนำไปฝากขาย
กับสหกรณ์อื่น หากสามารถสร้างเครือข่ายขยายเป็นลักษณะใยแมงมุมได้จะส่งผลให้มีความมั่นคงทางธุรกิจ
เพิม่ ขน้ึ
4. ต้องสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นนโยบายรัฐบาลหรือสภาพเศรษฐกิจ
ปัจจุบนั
5. คุณภาพสินค้า เพราะธุรกิจซ้ือของสหกรณ์ต้องเป็นที่น่าเชื่อถือของสมาชิก ในเรื่อง
คณุ ภาพของสนิ คา้ สหกรณจ์ ะมีขอ้ ได้เปรยี บจากร้านค้าท่วั ไป คือมีการสำรวจความตอ้ งการซื้อก่อนจงึ ทำใหไ้ ม่
มีสนิ คา้ หมดอายุ หรอื คา้ งสต๊อก
6. วิเคราะห์คู่แข่ง ปัจจุบันคู่แข่งของสหกรณ์มีมากมาย ต้องวิเคราะห์คู่แข่งเพื่อนำมา
ปรับปรุงธุรกิจของสหกรณ์ ข้อมูลที่ควรนำมาเปรียบเทียบ คือ ภูมิหลัง นโยบาย ผู้นำ กิจกรรมส่งเสริม
การตลาด ผลการดำเนินงานที่ผา่ นมา ความม่นั คงดา้ นการเงิน เครอื ขา่ ยของคแู่ ขง่

เทคนคิ การดำเนนิ ธรุ กจิ ซอ้ื
การดำเนินธุรกิจซื้อของสหกรณ์ในปัจจุบันมีไม่มากนักท่ีประสบผลสำเร็จ เพราะขาด
บุคลากรท่ีมีทักษะจัดการธุรกิจน้ีและเป็นธุรกิจท่ีมีคู่แข่งมาก เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าชุมชน เป็นต้น
สหกรณ์ท่ดี ำเนนิ ธรุ กจิ ซอื้ จึงควรมีเทคนิคเพื่อความสำเรจ็ ของธุรกิจ
1. การประชาสมั พันธ์ ตอ้ งมีการประชาสมั พันธ์ใหส้ มาชกิ ทราบ เช่น เม่อื มีการประชุมกลุ่ม
ก็ควรนำสินค้าไปประชาสัมพันธ์ หรือประชาสัมพันธ์ในปฏิทิน แผ่นโฆษณา หรือวิทยุชุมชน หรือเว็บไซด์ของ
สหกรณ์
2. การสง่ เสรมิ การขาย

2.1 ลด แลก แจก แถม
การดำเนนิ ธุรกิจครัง้ แรกอาจมีการลด แลก แจก แถม บา้ งเพือ่ ให้สมาชิกเกดิ ความ
สนใจในสินค้า โดยอาจจัดร่วมกับเจ้าของสินค้า หรือร่วมกับการทำธุรกิจอื่นของสมาชิก เช่น เมื่อชำระ
ดอกเบ้ียเงนิ กู้ตามกำหนดแจกปุ๋ย 1 กระสอบ เนอ่ื งจากไมม่ ีใครไมช่ อบของฟรี
2.2 มกี ารสะสมยอดซ้ือ
โดยสหกรณ์จัดทำบัตรสะสมคะแนนตามยอดซ้ือโดยมีการมอบของขวัญ รางวัลต่างๆ
เป็นเทคนิคในการดึงดูดความสนใจจากสมาชิกได้วิธีหน่ึง ซ่ึงสหกรณ์หลาย ๆ แห่งดำเนินการแล้วประสบ
ผลสำเรจ็ ดมี าก โดยควรมเี งือ่ นไขชัดเจนและปฏบิ ตั จิ รงิ ตามหลักซอ้ื มากได้รบั ตอบแทนมาก

45

3. บริการเป็นกันเอง เจ้าหนา้ ท่ีใหบ้ ริการเป็นกันเองกับสมาชิก ยิ้มแย้มแจม่ ใส ให้สมาชิก
เกิดความประทับใจ เจ้าหน้าที่ทุกคนไม่เหมาะกับธุรกิจซ้ือ มีเพียงบางคนเท่าน้ันท่ีจะทำให้ธุรกิจประสบ
ความสำเรจ็

4. ไม่ควรส่ังสินค้ามาจำนวนมากเกินไป ในช่วงแรกควรสังเกตพฤติกรรมการซ้ือของ
สมาชิกวา่ ต้องการสนิ ค้าจำนวนมากน้อยเพยี งใด เพ่ือป้องกันสินค้าล้นสต๊อก

5. จดั สง่ สินคา้ ถงึ บา้ นสมาชกิ จากเพราะสถานการณ์โลกท่เี ปล่ียนแปลงไป ทำใหส้ มาชิกมี
การเปลี่ยนแปลง คือ การดำเนินชีวิตที่ซับซ้อน ประกอบอาชีพหลายอย่าง แข่งขันกับเวลา แสวงหาสิ่งท่ีดี
ให้กับชีวิต สหกรณ์จงึ ต้องให้ความสะดวกแกส่ มาชิก

6. นำสินค้าไปจำหนา่ ยในวันประชุมกลุ่ม ประชุมใหญ่ เพราะสมาชกิ เกือบทง้ั หมดต้องเข้า
ร่วมประชุม เพ่ือสร้างบรรยากาศการประชมุ ใหด้ ูคกึ คกั และเพิม่ ปริมาณการซอ้ื ได้มากข้นึ

7. สินค้าที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและไม่ทำลายส่ิงแวดล้อม ต้องเป็นสินค้าท่ีมีประโยชนต์ ่อ
สุขภาพและไมท่ ำลายสงิ่ แวดล้อม ถ้าเปน็ ของกินต้องมีประโยชน์ต่อร่างกาย วัสดุอุปกรณ์การเกษตรต้องไม่มี
โทษตอ่ ธรรมชาติ เช่น ขา้ วกล้อง ปุย๋ อนิ ทรีย์ เป็นตน้

8. เป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ในภาวการณ์แข่งขันการค้าเสรี ผู้ซอ้ื สามารถหาซื้อสินค้าจากที่
ใดกไ็ ด้ สหกรณ์จึงตอ้ งยดึ คณุ ภาพเปน็ สำคัญ

9. สินค้าทันสมัย สินค้าต้องทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน เช่น มีอุปกรณ์
โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ จำหนา่ ยให้สมาชิกวยั ทำงาน อาหารสุขภาพสำหรับวัยสูงอายุ อุปกรณ์บันเทิง
สำหรับคนโสด

10. สินค้าต้องมีลักษณะดูดี ตอ้ งเลอื กสินค้าที่มีความสวยงาม สมาชกิ มองเห็นคร้ังแรกก็
ต้องการซ้ือ เข้ากับวัย ย่ิงแนวโน้มคนสูงอายุมาก สินค้าคนสูงอายุต้องมีความเช่ือมโยงกับประเพณี
วฒั นธรรมยอ้ นยคุ

11. จำหน่ายทาง Web Site จากสถานการณ์โลกทเี่ ปล่ียนแปลงทำให้การติดต่อสื่อสาร
สะดวกมากข้ึน สหกรณ์ทำธุรกิจซ้ือควรมีช่องทางการจำหน่ายทาง Web Site เพื่อสมาชิกสามารถเข้า
เปิดดูสินค้าของสหกรณ์ ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง โดย Web Site ของสหกรณ์ควรนำเสนอต่อวัยรุ่นให้
สนใจ เนื่องจากคนใชส้ ื่อสารชอ่ งทางนี้คอื วัยดงั กล่าว

12. กำลังซอื้ ที่สำคัญแหง่ ยุค กำลงั ซื้อที่สำคัญแห่งยุค คือ วยั เยาวชน จึงควรหนั มาสนใจ
จัดกจิ กรรมเพอื่ เยาวชนพร้อมกับนำเสนอสนิ ค้าทเี่ ยาวชนต้องการ

13. ผู้นำต้องซ้ือเป็นตัวอย่าง คณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ ต้องเป็นตัวอย่างซ้ือสินค้าของ
สหกรณ์ เพอื่ ใหส้ มาชกิ เกดิ ความศรทั ธา เกดิ ความตอ้ งการมีส่วนร่วมในธุรกิจของสหกรณ์

14. เช่ือมโยงเครือข่ายกับสหกรณ์อ่ืน ๆ เพื่อแลกเปล่ียนสินค้า เช่น สหกรณ์ทำธุรกิจซ้ือ
เช่อื มโยงกับสหกรณ์ท่ที ำการผลติ

46

2.2 ธรุ กจิ ขาย

หมายถึง การท่ีสหกรณ์ดำเนินการรวบรวมผลผลิตของสมาชิกไปจำหน่ายหรือแปรรูป เป็นการ
ดำเนินการตามวัตถุประสงค์แห่งการจัดต้ังสหกรณ์ ในการทำงานร่วมกันไม่ใช่ต่างคนต่างผลิต ต่างคนต่าง
ขาย ผลผลิตท่ีสหกรณร์ วบรวมนน้ั เปน็ ผลผลิตทางการเกษตรหรือผลิตภัณฑ์อ่นื ๆ ทีส่ มาชกิ ทำการผลิต

วตั ถปุ ระสงคข์ องธรุ กจิ ขาย
1. เพ่ือเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิก เน่ืองจากกลไกทางการตลาดปัจจุบันผู้ซ้ือเป็นผู้กำหนด
ราคาผลผลิต ผู้ซื้อซ่ึงเป็นพ่อค้าคนกลางจึงมักจะกำหนดราคารับซื้อต่ำ การรวมกันขายให้กับสหกรณ์เพ่ือ
สหกรณ์นำไปจำหน่ายจะสามารถต่อรองราคากับผู้ซื้อหรือผู้บริโภคได้ เพราะมีปริมาณผลผลิตจำนวนมาก
จงึ สามารถกำหนดราคาผลผลิตอย่างเปน็ ธรรม
2. เพ่ือสร้างความถูกต้องในระบบการช่ัง ตวง วัด ป้องกันการเอารัดเอาเปรียบจาก
ระบบการตลาด ท่ีมีความไม่ยตุ ิธรรม ไม่เที่ยงตรง โดยสหกรณ์สามารถควบคมุ การจัดการดา้ นดังกล่าวให้
เปน็ ไปอย่างถกู ตอ้ ง เท่ียงธรรม ได้ ภายใตห้ ลกั การสหกรณไ์ มแ่ สวงหากำไร
3. เพ่ือจัดระบบการประกอบอาชีพ วางแผนการผลิตให้เหมาะสมกับตลาดผู้บริโภค โดย
สหกรณ์สามารถสำรวจตลาดก่อนแนะนำการผลิต ให้สมาชิกมีผลิตผลที่ตลาดต้องการ มีช่วงเวลาเก็บเก่ียว
ทีเ่ หมาะสม

สภาพเดิม สหกรณ์ภาคการเกษตรให้ความสำคัญในการจัดให้มีการดำเนินธุรกิจขายน้อย
กวา่ ธุรกิจสินเชื่อ มีสภาพเช่นเดียวกับธุรกิจซื้อ เนื่องจากธรุ กิจขายมีความยุ่งยากในการจัดการ โดยเฉพาะ
ผลผลิตทางการเกษตรท่ีออกเป็นฤดูกาล ตลาดไม่แน่นอน เน่าเสียง่าย ภัยธรรมชาติมีผลกระทบสูง
ประกอบกับเป็นธรุ กจิ ท่ตี อ้ งมีวัสดอุ ุปกรณใ์ นการดำเนินงานทีต่ ้องใช้เงนิ ทนุ สูง ขาดบุคลากรท่ีมคี วามชำนาญใน
การจัดการ ท้ังนี้สังเกตได้ว่าภาคเอกชนท่ีดำเนินธุรกิจขายน้ีมีจำนวนน้อยกว่าการดำเนินธุรกิจซื้อ ท่ีมีจะเป็น
เอกชนท่ีกิจการขนาดใหญ่ เช่น โรงสีข้าว เจ้าของแพปลา โรงงานอาหารสัตว์ ฯ และมีข้อมูลความ
ล้มเหลวในการดำเนินธุรกิจมากกว่าธุรกิจซ้ือ กับสภาพเดิมท่ีมักพบบ่อย ๆ คือ ระบบงานสหกรณ์ไม่
เอือ้ อำนวยต่อการดำเนนิ ธรุ กิจขาย เนื่องจากมกี ฎระเบียบไม่คลอ่ งตัวเหมือนภาคเอกชน

การดำเนินธรุ กิจขายเปน็ ความสอดคล้องกับการดำเนินชวี ิตในการประกอบอาชพี ของสมาชิก
สหกรณ์ สหกรณจ์ ึงมีความจำเป็นตอ้ งดำเนินธุรกจิ น้ี โดยมขี นั้ ตอนดำเนนิ งานคือ

ขนั้ ตอนการดำเนนิ ธรุ กจิ ขาย
1. การสง่ เสริมการผลิต
สหกรณ์ควรมีเจ้าหน้าท่ีส่งเสรมิ การผลิต เพ่ือแนะนำส่งเสรมิ การประกอบอาชีพของสมาชิก
เป็นแผนการผลิตท่ีมุ่งให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี ปริมาณมาก ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค รวมถึง
คอยช่วยแก้ปัญหาระหว่างผลผลิต เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการผลิตจะสัมผัสกับสมาชิกตลอดเวลา เป็นบุคคล
ตัวแทนสหกรณ์ที่ใกลช้ ดิ กับสมาชิก ซ่งึ นอกเหนือจากมีความรู้ ความชำนาญการผลติ ในแต่ละสาขาอาชีพแล้ว
ต้องมีความรู้ในกิจการอื่น ๆ ของสหกรณ์เพ่ือตอบข้อซักถามและแนะนำให้สมาชิกรู้ เข้าใจ มีส่วนร่วมใน

47

สหกรณ์ เน่ืองจากการส่งเสริมการผลิตมีความเก่ียวเนื่องกับธรุ กิจสินเช่ือ ธุรกิจซ้ือ รวมถึงการบริการด้าน
อ่นื ๆ จากสหกรณ์

2. สำรวจความต้องการร่วมธรุ กจิ
ใช้รูปแบบเดียวกับการสำรวจความต้องการของธุรกิจซื้อแต่ข้อมูลท่ีสำรวจจะมุ่งที่ประเภท
ผลผลติ ปริมาณ ช่วงเวลา สถานท่ี การชำระค่าผลผลิต วสั ดอุ ุปกรณท์ เี่ กี่ยวข้องรวมถึงต้นทุนในการผลิต
3. รวบรวมขอ้ มลู
เพื่อนำแผนการผลิตของสมาชิกมาวางแผนการดำเนินธุรกิจ วิเคราะห์ความเป็นไปได้
เตรียมความพร้อมด้านบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ เงินทุน สหกรณ์ภาคการเกษตรที่มีการแบ่งสมาชิกเป็นกลุ่ม
ย่อย สามารถมอบให้ประธานกลุ่มเป็นผู้รวบรวมข้อมูล สำหรับสหกรณ์อื่นควรนำรูปแบบตัวแทนสาขาของ
ธุรกิจเอกชนมาใช้ในสหกรณเ์ พ่อื สมั ผสั ข้อมูลจากสมาชกิ โดยตรง
4. ดำเนินการรวบรวมผลผลติ

4.1 ทำข้อตกลงกบั สมาชิก
ซ่งึ ควรเป็นในลักษณะความร่วมมือของกลุ่มที่ตกลงร่วมธุรกิจกับสหกรณ์ เพ่ือลงลึก

ในรายละเอียดว่ามีขั้นตอนใดบ้าง แต่ละข้ันตอนใครทำอะไร ท่ีไหน เมื่อไหร่ เท่าใด อย่างไร ราคาเท่าใด การ
ชำระเงนิ รูปแบบไหน ฯ

4.2 ตรวจสอบคุณภาพ ปรมิ าณ
เม่ือมีการส่งมอบผลผลิต ย่อมมีความแตกต่างกันตามคุณภาพถึงแม้เป็นชนิด

เดียวกัน จึงต้องมีผู้ชำนาญตัดสินคุณภาพอย่างเป็นท่ียอมรับของสมาชิก ท้ังนี้ควรมีเคร่ืองมือท่ีเป็นสากลใน
การตรวจสอบและสมาชิกควรมสี ว่ นร่วมในการตรวจสอบด้วย

4.3 ตกลงซอื้ - ขาย
เป็นการกำหนดราคาผลผลิตตามคุณภาพ ตามปริมาณ โดยสหกรณ์ยึดราคา

ตลาดเป็นราคาซ้ือขาย วธิ ีการซอื้ ขายทใ่ี ชค้ ือ
- สหกรณ์จ่ายเงินสดทันทีเป็นวิธีท่ีดึงดูดความต้องการขายจากสมาชิกได้มากเพราะเม่ือขายก็ได้รับ

เงินทันที โดยสหกรณ์สามารถหาแหล่ง เงินทุนได้จากเงินทุนของสหกรณ์เอง ธนาคาร โดยการกู้จาก ธกส.
หรอื ธนาคารพาณชิ ยอ์ นื่ ๆ เงินสนบั สนนุ จากรัฐบาล

- จ่ายเงินเพียงบางส่วน (ร้อยละ50 - 70) ส่วนที่เหลือสหกรณ์จ่ายให้สมาชิกเม่ือสหกรณ์จำหน่าย
สนิ ค้าได้ วิธกี ารนเ้ี ปน็ วิธกี ารทเ่ี หมาะสมสำหรบั ระบบงานสหกรณเ์ พอ่ื ร่วมกันรบั ผดิ - รับชอบในการดำเนนิ งาน

- ไม่จา่ ยเงนิ สดเลย โดยจ่ายใหเ้ ม่อื สหกรณ์ขายผลผลิตไดจ้ ึงให้ สมาชกิ มารับเงนิ สด
- จ่ายให้ในรปู แบบอื่นท่ีไม่ใช่เงินสด เช่นขายข้าวเปลือกใหส้ หกรณ์สมาชกิ รับข้าวสาร หรอื รับปุ๋ย หรือ
โอนเงนิ เขา้ บัญชีเงนิ ฝากของสมาชกิ

5. จำหน่ายหรือแปรรูป
เมื่อรวบรวมผลผลิตแลว้ การจำหนา่ ยทำได้ 2 วิธีการ คือ
5.1 สหกรณ์ดำเนินการหาตลาดหรือพ่อค้ามารับซื้อผลผลิตจากสหกรณ์ วิธีการน้ี

สหกรณ์ทำหนา้ ท่ีเป็นคนกลางระหว่างสมาชิกกับพอ่ ค้า

48

5.2 สหกรณ์ดำเนินการแปรรูปผลผลิตที่รวบรวมได้ เช่น สหกรณ์มีโรงสีข้าว
รวบรวมข้าวเปลือกจากสมาชิกแล้วผ่านกระบวนการสีขา้ วเป็นข้าวสาร ปลายข้าว รำ จำหน่าย ทำให้ผลผลิต
มีราคาสูงข้ึน แต่สหกรณ์ต้องมีความพร้อมเรื่องอุปกรณ์แปรรูปผลผลิต และต้องมีความสามารถในการแปร
รูปความสามารถด้านการตลาด

6. ประเมนิ ความพงึ พอใจของสมาชิก
เพ่ือนำไปปรับปรุงธุรกจิ โดยใช้วิธีการสอบถามจากสมาชิกหรือใช้การสังเกตพฤติกรรมเม่ือ
สมาชิกรว่ มธุรกิจ หรือให้หน่วยงานภายนอก เชน่ สถาบันการศกึ ษาที่มกี ารเปิดสอนหลกั สูตรการตลาดเปน็ ผู้
ประเมนิ

แผนภาพท่ี 4 ขนั้ ตอนการดำเนนิ ธรุ กจิ ขาย

การจัดการเดิม การจัดการแนวใหม่

- ไมม่ กี ารส่งเสริม ส่งเสริมการผลติ - สง่ เสรมิ โดยเอาตลาดเปน็ ตัวนำ

- มีการสำรวจน้อย สำรวจความต้องการ - เปน็ ข้อมลู ในการจดั การ

- ขอ้ มลู ไม่ทันสมยั รวบรวมขอ้ มลู - ขอ้ มูลเป็นปัจจบุ นั

- เงนิ สด รวบรวมผลผลิต - เงินสด
จำหนา่ ย / แปรรปู - ปนั สว่ น
- จำกัดเฉพาะคู่คา้ - ชำระเม่ือจำหนา่ ยผลผลติ
- ไม่มีการประเมิน - ชำระในรูปแบบอ่ืน

- ขยายเครือข่ายโดยใช้เทคโนโลยี

ประเมินความพงึ พอใจ - ประเมนิ เพอื่ พัฒนา

49

ปจั จยั ความสำเรจ็ ของธรุ กจิ ขาย
1. บุคลากรสหกรณ์ต้องให้ความสำคัญกับธุรกิจขาย โดยการมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของ
ธุรกิจตามบทบาทหน้าท่ี ความร่วมมือเป็นปัจจัยพ้ืนฐานของความสำเร็จของสหกรณ์ สหกรณ์ใดได้รับความ
ร่วมมือจากบุคลากรย่อมประสบความสำเร็จ ในทิศทางตรงกันข้ามสหกรณ์ท่ีไม่ได้รับความร่วมมือย่อม
ลม้ เหลว และฐานความร่วมมือทีส่ ำคญั คอื สมาชิกสหกรณ์
2. เชื่อมโยงธุรกิจกับภาคเอกชนและระหวา่ งสหกรณอ์ ื่น ๆ เป็นการแปรเปลี่ยนจากคแู่ ขง่ เป็น
คคู่ า้ จากการแขง่ ขนั เป็นความร่วมมือ จากศัตรเู ปน็ มิตรภาพ จากภาระเป็นพลัง
3. มีบริการที่ดีให้กับสมาชิก ปัจจัยนี้มีความสำคัญในทุกธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับคน
เน่ืองจากคนมีการยึดตัวตน การได้รับบรกิ ารทด่ี ีเป็นการทำให้มีคุณค่า แตใ่ นกรณีที่ทำให้ตนไม่มคี ุณค่าย่อมไม่
ตอ้ งการใชบ้ ริการ
4. ผลผลิตต้องมีคุณภาพ ปัจจัยนี้ควรมีการสร้างระบบตรวจสอบย้อนกลับได้ว่าผลผลิตใด
มาจากแหล่งใดเพื่อการรับประกัน ในกรณีคุณภาพดีสามารถใช้เป็นข้อมูลในการเพิ่มยอดการร่วมธุรกิจ ใน
กรณีคุณภาพไม่ดสี ามารถรว่ มพัฒนาแก้ไขปัญหาการผลิตได้ ระบบน้ีประสบความสำเรจ็ ในการดำเนินงานของ
สหกรณ์ในประเทศญ่ปี นุ่ และในปัจจบุ นั ห้างสรรพสนิ คา้ ในประเทศไทยกำลังใหค้ วามสำคัญ
5. สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เป็นการยึดตลาดเป็นหลักในการผลิต สถานการณ์
ปัจจุบันต้องการสินค้าท่ีปลอดภัยจากสารเคมี เป็นสินค้าท่ีไม่ทำลายส่ิงแวดล้อม เป็นมิตรกับธรรมชาติ ใช้ภูมิ
ปญั ญาทอ้ งถ่ิน สนิ ค้าบางชนิดเมอ่ื ทำด้วยมอื จะมรี าคาสงู
6. วิเคราะห์คู่แข่งอื่น ๆ ที่ดำเนินธุรกิจเช่นเดียวกัน โดยหลักของการผลิตจะยึด 3 ประการ
คือ เป็นผลิตภัณฑ์แรกย่อมสร้างความสนใจของลูกค้า หากเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันต้องมีความแปลก
แตกต่างจากเดมิ หากเหมือนกันต้องดกี ว่าหรือดีที่สดุ ในบรรดาผลติ ภัณฑ์เดยี วกัน
7. มกี ารสง่ เสรมิ การผลิต อนั เปน็ กจิ การทเี่ ดิมสหกรณไ์ ม่มีจงึ ตอ้ งสร้างข้ึนใหม่

เทคนคิ การดำเนนิ ธรุ กจิ ขาย
1. สหกรณต์ อ้ งสรา้ งคุณค่าใหเ้ กิดขึ้นตรงกับความตอ้ งการของสมาชิก

1.1 สมาชิกต้องได้รับความสะดวกเมื่อร่วมธรุ กิจ เชน่ สหกรณ์เขา้ ไปรับซื้อผลิตผลจาก
สมาชิกถึงบ้าน

1.2 สร้างคุณภาพชีวิตของสมาชิกให้ดีข้ึน เม่ือขายสินค้าให้กับสหกรณ์แล้วสมาชิกมี
สภาพทางสังคมดี เพราะไม่ถูกเอารดั เอาเปรยี บ สภาพทางเศรษฐกจิ ดเี พราะมรี ายไดเ้ พ่ิมขน้ึ

1.3 บรกิ ารใหส้ มาชิกมคี วามสุข เช่น ทักทายอย่างเปน็ กนั เอง หรือช่วงเวลาที่สมาชิกรอ
ขายผลผลิตก็อาจมีกิจกรรมบนั เทิง เชน่ ดูหนงั ฟังเพลง เลน่ เกม เป็นตน้

2. สรา้ งความภกั ดใี ห้เกดิ กับสมาชิก
2.1 ต้องใช้หลักช่วยเหลือเก้ือกูลกัน ต้องมีความผูกพันกัน ไม่ตัดขาดกันในระหว่างการ

ทง้ิ ชว่ งเวลาของธุรกจิ
2.2 เพม่ิ ผลประโยชนใ์ หส้ มาชิกอยา่ งตอ่ เนอ่ื ง เช่น เงินเฉลย่ี คืน การยกยอ่ งทางสังคม
2.3 ตอบแทนพิเศษให้สมาชิกเป็นครั้งคราว เช่น สมาชิกนำผลผลิตมาขายในช่วง

เทศกาลปใี หม่สหกรณ์มขี องขวญั มอบให้

50

2.4 มีการใช้เทคโนโลยีการส่ือสาร เช่น ใช้โทรศัพท์มือถือติดต่อเม่ือสมาชิกต้องการ
ขายผลผลิต หรือสหกรณ์ลง Web Site ผลผลิตท่ีสหกรณ์รวบรวมจากสมาชิกให้ตลาดภายนอกพิจารณา
เปน็ ตน้

3. การเชอ่ื มโยงเครือขา่ ย
จากการเปิดตลาดการค้าเสรี สหกรณ์ควรมีการเชื่อมโยงระหว่างสหกรณ์ผู้บริโภค ธุรกิจ
ภาคเอกชน เพ่ือเพ่ิมช่องทางการจำหน่ายสนิ คา้ หรือการรับซ้ือผลผลติ จะขยายไปถึงผู้ท่ีไมเ่ ปน็ สมาชกิ สหกรณ์
ถ้ามีความต้องการขายสหกรณ์ก็สามารถรับซ้ือได้ เพราะในปัจจุบันตลาดของสหกรณ์ไม่ปิดกั้นแต่สมาชิก
เพยี งอย่างเดียว
4. เชื่อมโยงกับธุรกจิ สนิ เชือ่
เชน่ รับชำระหนี้เป็นผลผลติ จากสมาชิกแทนเงินสด ทำให้สมาชกิ อาจเลือกวิธีการน้ี แลว้ จะ
ทำให้ประสบผลสำเรจ็ ท้ังสองธุรกจิ
5. รวมรวมผลผลติ โดยมีเงอื่ นไขน้อย
จุดอ่อนของสหกรณ์คือระเบียบ กติกา ข้ันตอนในการดำเนินการที่มีมากกว่าเอกชน หาก
สหกรณม์ ีเงือ่ นไขมากจะทำให้สมาชิกเปลยี่ นความคดิ ไปทำธรุ กิจกบั เอกชน
6. มีการประกันราคาใหก้ ับสมาชิก
โดยราคาท่ีสหกรณ์รับซื้อจะต้องไม่ต่ำกว่าตลาด แต่ไม่ทำให้สหกรณ์ประสบปัญหาในการ
จำหน่าย เพ่ือสร้างความม่ันใจ ความน่าเชื่อถือให้กับสมาชิก สร้างระบบตลาดสินค้าเกษตรในอนาคตของ
สหกรณ์
7. สง่ เสริมกล่มุ ผู้ผลติ ในสหกรณ์
ทำใหส้ หกรณ์มีผลผลิตอยา่ งแนน่ อน ธรุ กิจสามารถดำเนินไดอ้ ย่างตอ่ เนอื่ ง เชน่ ส่งเสริมการ
ปลูกผักปลอดภัย เพราะปัจจุบันคนเริ่มให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น หรือการผลิตปุ๋ยชีวภาพ เป็น
ตน้
8. คณะกรรมการ ผ้นู ำกลมุ่ หรือแม้แต่ฝา่ ยจัดการตอ้ งรว่ มกิจกรรมกบั สหกรณ์
เพือ่ สร้างความเชอ่ื ถือ ความมน่ั ใจให้กบั สมาชิก ตามหลักการบริหารทีผ่ ้นู ำเป็นตวั อยา่ ง

2.3 ธรุ กจิ สนิ เชอื่

หมายถึง การให้ทรัพย์สินสิ่งของหรือบริการที่เป็นประโยชน์ตรงกับความต้องการของสมาชิก โดยมี
เง่ือนไขเม่ือถึงกำหนดเวลาก็ต้องนำมาส่งคืนพร้อมผลตอบแทน เช่น ดอกเบ้ีย หรือผลตอบแทนอื่น ๆ ตาม
ข้อตกลงร่วมกันด้วยความเช่ือถือกัน เป็นธุรกิจดั้งเดิมของสหกรณ์ท่ีมีพ้ืนฐานมาจากการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ที่
ต้องมีความเช่ือถือไวว้ างใจกัน

วัตถปุ ระสงคข์ องธุรกิจสนิ เช่ือ
1. เพ่ือแก้ปัญหาความเดือดร้อนของสมาชิกในเรื่องการขาดแคลนเงินทุนในการประกอบ
อาชีพ ความเป็นอยู่ หรือความเดือดร้อนอ่ืน ๆ ให้สมาชิกมีความเป็นอยู่ดีขึ้น จากการใช้ประโยชน์ไม่ว่าจะ
เปน็ เงินทุนหรือส่งิ ของตา่ ง ๆ ทดแทนการขาดแคลน

51

2. เพื่อพัฒนาอาชีพ ความเป็นอยู่ หรือลงทุนด้านอ่ืน ๆ ของสมาชิก หรือครอบครัว เช่น
ลงทนุ ซอื้ ทด่ี ินประกอบอาชีพ สร้างบา้ นอยูอ่ าศัย โดยใช้ประโยชนจ์ ากเงินทนุ หรอื สง่ิ ของตา่ ง ๆ พฒั นาใหม้ ีข้ึน

3. เพ่ือรักษาสภาพความม่ันคงในอาชีพ ในความเป็นอยู่ของสมาชิกและครอบครัว เช่น การ
รับจำนำผลผลิต การศึกษาบุตร หลาน โดยใช้ประโยชน์จากเงินทุนหรือส่ิงของต่าง ๆ เพื่อทำให้เกิดความ
มั่นคงยง่ั ยืน

สภาพเดมิ
ธุรกิจสินเช่ือ เป็นธุรกิจท่ีสหกรณ์ภาคการเกษตรและสหกรณ์นอกภาคการเกษตรส่วนใหญ่
ดำเนินงาน โดยมีความเป็นมาตั้งแต่เร่ิมจัดตั้งสหกรณ์ในประเทศไทยท่ีเป็นสหกรณ์หาทุน นำเงินทุนมาให้
สมาชิกกู้ไปประกอบอาชีพการเกษตร ต้ังแต่ปี พ.ศ. 2459 เม่ือการจัดต้ังสหกรณ์ขยายไปทั่วประเทศ มีการ
นำธุรกิจสินเชื่อไปดำเนินงานในสหกรณ์ต่าง ๆ ด้วย ธุรกิจสินเช่ือจึงเป็นเสมือนธุรกิจท่ีเกิดขึ้นมาพร้อมกับ
สหกรณ์ มีการจูงใจบุคคลท่ีจะเป็นสมาชกิ ด้วยจำนวนเงินท่ีจะใหก้ ู้ การเป็นสมาชกิ สหกรณ์ในอดีตจึงหมายถึง
การต้องการกู้เงินจากสหกรณน์ ่นั เอง ตอ่ มาธุรกจิ สินเชื่อมีบทบาทสำคัญในสหกรณอ์ อมทรพั ย์ ท่ีตั้งข้นึ สำหรับ
ผูม้ ีรายได้ประจำและในสหกรณเ์ ครดิตยเู น่ียนท่ีตง้ั ข้ึนในชุมชนตา่ ง ๆ
ธุรกิจสินเชือ่ ดำเนินงานเชิงเดี่ยวในระยะแรก ๆ กล่าวคือ สหกรณ์ปล่อยให้สมาชิกกู้เงินและ
รอรับชำระคืน ต่อมามีการพัฒนาไปเช่ือมโยงกับธุรกิจอ่ืน ๆ เช่น ธุรกิจซื้อ ธุรกิจขาย โดยเชื่อมโยงกัน
เฉพาะตน้ ทางและปลายทาง คอื เช่อื มโยงเมือ่ จา่ ยเงินกแู้ ละเมอื่ ชำระคนื
ธรุ กิจสนิ เชอ่ื แนวใหม่ถูกพัฒนาโดยสถาบันธุรกิจเอกชนท่ียดึ หลักการบริการลูกค้าท่ีเน้นความ
สะดวก รวดเร็ว เรียบง่าย ไม่รู้สึกด้อยค่า มีการแข่งขันกันสูงเน่ืองจากมีเจ้าของธุรกิจน้ีจำนวนมากต้ังแต่ใน
หมู่บ้านที่มีนายทุนประจำ มีกองทุนหมู่บ้าน จนถึงระดับประเทศที่มีธนาคาร สหกรณ์ สถาบันการเงิน ธุรกิจ
สินเช่ือแนวใหม่เป็นการผูกโยงเข้ากับหลาย ๆ กิจการจนแยกกันไม่ออก เช่นสินเช่ือผ่านมือถือ สินเชื่อผ่ าน
หา้ งสรรพสินค้า สินเชอื่ กับระบบสาธารณูปโภค สนิ เช่ือกับระบบการศึกษา ระบบการเดินทาง ระบบประกนั ภัย
ฯลฯ

ขนั้ ตอนการดำเนนิ ธรุ กจิ สนิ เชอ่ื
1. สมาชิกมคี วามตอ้ งการ
สามารถแยกความต้องการสินเช่ือของสมาชิกออกได้ 2 ประเภท คือความต้องการแท้กับ
ความตอ้ งการเทียม ความต้องการแทถ้ ูกแบ่งย่อยออกไดเ้ ป็น 2 ประเภท คือ ต้องการทส่ี ามารถใชบ้ รกิ าร
สินเชื่อได้โดยตรง หมายถึง มีความต้องการที่ตรงกับข้อกำหนดให้รับสินเช่ือได้ และต้องการท่ีสามารถใช้
บริการได้ทางอ้อม หมายถึง มีความต้องการที่ไม่ตรงกับข้อกำหนดจึงต้องปรับปรุงความต้องการท าง
เอกสารจึงจะรับสินเช่ือได้ ทั้งนี้ความต้องการแท้นี้เป็นความต้องการสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของธุรกิจ
สินเช่ือ สำหรับความต้องการเทียมเป็นความต้องการอื่น ๆ ท่ีไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของธุรกิจสินเชื่อ แต่
พยายามนำความต้องการนัน้ มาใช้บรกิ ารสินเช่ือ
ตัวอย่าง สมาชิกผู้ชายต้องการแต่งงานเป็นความต้องการเพ่ือพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ตาม
ธรรมชาติของมนุษย์ หากสหกรณ์เปิดโอกาสใหก้ ู้ได้ตามระเบยี บตามความตอ้ งการกู้เงินแต่งงานจะเป็นความ
ต้องการแท้โดยตรง แต่หากสหกรณ์ไม่ได้กำหนดการกู้เงินเรื่องน้ีไว้ สมาชิกจะกู้ได้ต้องระบุวัตถุประสงค์ว่า

52

ลงทนุ ทำนา ความต้องการน้เี ป็นความต้องการแท้โดยอ้อม เนอ่ื งจากไดแ้ รงงานภรรยามาทำนาเพิม่ แต่หาก
สมาชิกมคี วามตอ้ งการกู้เงินไปลงทุนเล่นการพนนั อนั ไมใ่ ช่แก้ปัญหาความเดือดร้อน ไม่ใช่พัฒนา ไมใ่ ชร่ ักษา
อาชพี ความเป็นอยู่ ความตอ้ งการนีเ้ ป็นความตอ้ งการเทียม หากใชว้ ธิ ีการขอกแู้ บบความต้องการแทโ้ ดยออ้ ม

โดยสภาพท่ัวไปแล้ว ความต้องการของสมาชกิ สหกรณ์จะมีอยู่ตลอดเวลาตามธรรมชาติของ
มนุษย์ เพียงแค่ข้ันตอนนี้ต้องเป็นความต้องการที่แก้ปัญหาความเดือดร้อน ความต้องการเพ่ือการพัฒนา
ความตอ้ งการเพื่อปกปอ้ งรกั ษาอาชีพและความเป็นอยู่ของสมาชกิ

การจัดการธุรกิจสินเชื่อแนวใหม่ควรใช้ความต้องการแท้เป็นฐานของการเริ่มต้นธุรกิจ ไม่
ควรยึดความสามารถส่งชำระคนื ได้เปน็ หลักสำคัญในการพิจารณา แค่ควรยึดหลกั ส่งเสริมคนดีใหม้ ีโอกาส
พัฒนา แกป้ ัญหาการประกอบอาชพี และความเป็นอยู่

2. ขอใชบ้ ริการสนิ เชอื่
จากการดำเนินธุรกิจดั้งเดิมท่ีนำเงินกู้มาจูงใจให้เข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์พัฒนาเป็นความ
เขม้ งวดในการให้บริการ โดยต้องมีหลักประกัน ต่อมามีการผ่อนคลายความเข้มงวดเพ่อื ให้สหกรณส์ ามารถ
ทำธรุ กิจน้ีได้ในเชิงปรมิ าณ ซ่ึงมีปัญหาเร่ืองหนี้สินค้างชำระติดตามมา ในรูปแบบการจัดการแนวใหม่เห็นว่า
อันดับแรกต้องมีฐานข้อมูลความต้องการแท้เป็นหลัก หลังจากน้ันจึงพิจารณาแผนการใช้เงินกู้ถึงแนวโน้ม
ความเป็นไปได้ของการลงทุนและความสามารถชำระคืน ต่อไปจึงเป็นข้ันตอนที่จะประสานข้อมูลระหว่าง
สมาชิกกับสหกรณ์เข้าหากัน โดยกำหนดลู่ทางการขอใช้บริการธุรกิจอย่างชัดเจน สะดวก เรียบง่าย ด้วย
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ที่เม่ือสมาชิกแสดงความต้องการจะสามารถแสดงผลได้ทันทีถึงวงเงินกู้ ระยะเวลา
ชำระคืน อัตราดอกเบี้ย และท่ีสำคัญในแนวใหม่สำหรับธุรกิจนี้คือ ควรมีแผนการประกอบอาชีพ แผนการ
ลงทนุ ท่ีสามารถช้ไี ดว้ ่าสหกรณ์จะเขา้ ไปมสี ว่ นร่วมแนะนำไดอ้ ย่างไร
ด้านเอกสารท่ีมักเป็นภาระของทั้งสหกรณ์และสมาชิก ควรจัดการแก้ไขด้วยเทคโนโลยีท่ี
ทันสมัย สามารถใช้บัตรประจำตัวเพียงฉบับเดียวหรือการแสกนลายมือครั้งเดียว สามารถดำเนินการขอใช้
บรกิ ารธรุ กจิ สินเช่อื ได้ทนั ที
สำหรับสหกรณ์ภาคการเกษตรที่มีระบบกลุ่มย่อยตามพ้ืนท่ีและยังไม่มีระบบเทคโนโลยี ควร
ให้ความรู้ความเข้าใจในการติดต่อธุรกิจด้านเอกสารที่เกี่ยวข้อง คุณสมบัติผู้กู้ ขั้นตอนการร่วมธุรกิจ โดย
สหกรณ์ควรสร้างระบบกลุ่มให้เข้มแข็ง ควบคุมดูแลจัดการภายในกลุ่มเองได้ คล้ายกับชุมชนเข้มแข็งที่
สามารถดูแลคนในชุมชนให้ปลอดยาเสพตดิ ได้ สำหรับกลุ่มสหกรณ์ควรมีบทบาทคัดเลือกสมาชกิ เข้ากลุ่ม ให้
ความเห็นชอบสมาชิกขอใช้บริการธุรกิจสินเช่ือ ควบคุมการใช้เงินกู้ตามวัตถุประสงค์ แนะนำส่งเสริมการ
ประกอบอาชพี ตดิ ตามทวงถามการชำระคืนเงินกสู้ มาชิกในกลมุ่
3. อนุมตั ใิ หบ้ ริการสินเชื่อ
สหกรณ์จะยึดหลักความสามารถชำระคนื ได้เป็นเกณฑ์สำคัญในการอนุมัติ ซ่ึงเห็นไดช้ ัดจาก
สหกรณ์ออมทรัพย์ทมี่ ีสมาชิกเป็นบุคคลที่มีเงนิ ได้รายเดือนจะอนุมัติให้โดยไม่สนใจวัตถุประสงค์ในการกู้ ท้ังนี้
เน่ืองจากสามารถหักชะรำหน้ีคืนได้จากต้นสังกัด เคยมีการกล่าวว่าเหตุผลท่ีมักใช้ขอกู้กันคือ การต่อเติมที่
อยอู่ าศัย ซ่ึงหากเป็นจริงนบั ตงั้ แต่ขอกู้มาถึงปจั จุบนั แต่ละคนคงมีบ้านยาวเป็นกโิ ลเมตร
ในแนวทางใหม่ ควรยึดความสามารถสร้างสมาชิกให้พ่ึงตนเองได้เป็นหลักสำคัญในการ
พิจารณา โดยเม่ือมแี ผนการใช้เงิน แผนการลงทุน สหกรณ์เห็นว่าสามารถสร้างอาชพี สร้างความมั่นคงใน

53

ชีวิตให้สมาชิกได้ ประกอบกับวิเคราะห์แล้วมีแนวโน้มกอ่ ให้เกิดรายได้ทสี่ ามารถนำมาชำระหนี้คืนได้จึงอนุมัติ
สินเชื่อ แนวทางใหม่นี้สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่แนะนำแนวทางการดำเนินชีวิตให้มีความ
พอประมาณ มีเหตุมีผล สร้างภูมิคุ้มกันตัวเองได้ กล่าวคือ เม่ืออนุมัติสินเชื่อท่ีขอใช้บริการมาอยา่ งมีเหตุมี
ผล พอดีกับความสามารถของตนเองแล้ว ทำให้สมาชิกพึ่งตนเองได้มีอาชีพมั่นคง ครอบครัวเป็นสุข เป็น
ภมู คิ ุ้มกนั ในการดำเนินชีวติ ได้

หลักประกันคนดี ดีกว่าหลักประกันอ่ืน เป็นอีกหนึ่งข้อเสนอในการจัดการธุรกิจสินเชื่อแนว
ใหม่ เพ่ือเปล่ียนแปลงจากการใชท้ ่ีดนิ เป็นหลักประกัน ซ่ึงมีความยุง่ ยากในการจดทะเบยี นจำนองประกัน จด
ทะเบยี นถอนจำนองและการฟ้องร้อง ซ่งึ ถึงแม้จะหาตัวชวี้ ัดเปน็ วทิ ยาศาสตรย์ ากว่าใครเปน็ คนดี แต่โดยระบบ
การรวมกล่มุ สามารถช้ีได้ว่าใครเป็นคนดี การส่งเสรมิ คนดีในการใชบ้ ริการสินเช่ือ จะเป็นประโยชนท์ ้ังการใช้
เงินอย่างเป็นประโยชน์ การส่งเสริมคนดีให้เป็นตัวอย่าง และสามารถลดขั้นตอนการทำงานได้มาก โดยลด
เรอ่ื งการหาหลักประกนั ลดเรื่องการตรวจสอบการใชเ้ งนิ ลดเรอื่ งการเร่งรัดหนี้สนิ

โดยทัว่ ไปหลักเกณฑ์ท่ีควรใช้เป็นองค์ประกอบในการอนุมตั ิสินเชื่อคอื เป็นคนดี การใช้เงินดี
ต่ออาชีพและชีวิต ไม่มีปัญหาเร่ืองการชำระคืน อีกประการท่ีสำคัญคือ ความสะดวกรวดเร็วในการอนุมัติ
เน่ืองจากปัจจบุ ันมเี ทคโนโลยีในการทำงาน สหกรณจ์ ึงนำมาใชใ้ ห้เป็นประโยชน์

4. การใชป้ ระโยชน์
เมื่อสหกรณ์อนุมัติให้สมาชิกใช้บริการสินเช่ือได้ ระบบการรับสินเชื่อควรสะดวก ปลอดภัย
ทันใช้ ทันความต้องการ โดยควรเปล่ียนจากการรับเงินสดเป็นวัสดุที่ต้องการ หรือรับเครดิตที่สมาชิก
สามารถนำไปใช้ในระบบเศรษฐกจิ ได้
การใชป้ ระโยชน์จากธุรกิจสนิ เชื่อของสมาชกิ คอื การใชเ้ งินสดหรือสิ่งของตามวตั ถุประสงค์
ท่ีระบุไว้ในคำขอกู้ ซึ่งส่วนใหญ่แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ การประกอบอาชีพและความเป็นอยู่ ซ่ึงการจัดการ
แนวใหม่ไม่ควรให้ขั้นตอนนี้สร้างความห่างเหินกับสหกรณ์ โดยควรมีการดูแลหลังการขายบริการ กล่าวคือ
ต้องมีการแนะนำอาชีพในกรณีสมาชกิ กเู้ งินเพือ่ การประกอบอาชีพ และแนะนำการดำเนนิ ชีวติ ในกรณสี มาชิกกู้
เงนิ เพื่อความเป็นอยู่
การให้บริการภายหลังจากการรับสินเช่ือไปแล้วอาจทำได้ 2 แนวทางคือ แนวทางแรก
เป็นการให้บริการท่ีคิดค่าใช้จ่ายอันมีลักษณะเป็นธุรกิจบริการ กับแนวทางท่ีสองเป็นการให้บริการที่ไม่คิด
ค่าใชจ้ ่าย มีลกั ษณะเป็นการบริการชมุ ชน สหกรณจ์ ะใช้แนวทางใดขน้ึ อย่กู ับความพร้อม องคป์ ระกอบของแต่
ละสหกรณ์ โดยสหกรณ์ขนาดใหญ่ท่ีมีความมั่นคง มีฐานะการเงินดีควรเลือกใชแ้ นวทางที่สอง แต่สหกรณ์ที่
ยังไม่มีความพร้อมด้านกำลังคน ฐานะการเงิน ควรเลือกใช้แนวทางแรก ท้ังนี้สามารถใช้เทคนิคทางการ
บริหารโดยขอความรว่ มมอื กับหน่วยงานราชการในการเป็นผู้ทำหน้าที่บริการหลังขายแทนสหกรณ์ เช่น กรณี
สมาชิกกู้เงินไปลงทุนเลี้ยงปลา สามารถประสานงานให้สำนักงานประมงจังหวัดให้บริการคำแนะนำ กรณีกู้
เงินไปเลี้ยงโคขุน สามารถประสานงานให้สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดให้บริการคำแนะนำ เป็นต้น หรือกรณีกู้
เงินทุนการศกึ ษาให้บตุ ร สามารถประสานงานสำนกั งานจดั หางานด้านขอ้ มลู แหลง่ งานให้
การมีความเกี่ยวข้องผูกพันกันในข้ันตอนน้ีมีประโยชน์มาก ยิ่งในกรณีมีสภาพปัญหาทางการ
ผลิต หรือปัญหาในการดำเนินชีวิตสหกรณ์จะได้รับรู้ข้อมูลทันที จะได้พิจารณาทำแนวทางแก้ไขไม่ต้องรอถึง
ส้นิ ปบี ญั ชี ซ่งึ เมือ่ รับรู้ข้อมูลในขณะนน้ั ไมส่ ามารถแกไ้ ขปัญหาตา่ ง ๆ ได้

54

5. การชำระคืน
ข้ันตอนสุดท้ายของสมาชิกในการร่วมธุรกิจสินเช่ือ เป็นขั้นตอนท่ีสมาชิกที่ดีจะหมดความ
กังวลความเครียดจากการเป็นหนี้ โดยจะรีบชำระคืนทันที แตกต่างจากสมาชิกท่ีขาดความรับผิดชอบท่ีเป็น
ปัญหาของสหกรณ์ แตห่ ากดำเนนิ การตามขัน้ ตอนต่าง ๆ ท่รี ะบไุ ว้ ขัน้ ตอนนีจ้ ะไม่มปี ัญหาอุปสรรค
แนวทางหน่ึงของการจัดการธุรกิจสินเช่ือที่ตอนหลังนิยมนำมาใช้กันคือ การจัดการเชิงรวม
หมายถึง สร้างความเกี่ยวเน่ืองผูกพันกันกับธุรกิจอ่ืน อันสามารถนำมาใช้ในข้ันตอนนี้ได้ดี โดยสมาชิก
สามารถชำระคืนได้ด้วยผลผลิตที่สามารถผลิตได้ ชำระคืนได้ด้วยการโอนเงินฝากที่สะสมเป็นประจำชำระ
หน้ีสิน ชำระคืนได้ด้วยแรงงานท่ีช่วยงานสหกรณ์ สำหรับวิธีการชำระคืนสหกรณ์ควรอำนวยความสะดวกให้
สมาชิก สิ่งที่เลวร้ายท่ีสุดของธุรกิจสินเช่ือคือ สมาชิกนำเงินมาชำระแต่ไม่สามารถชำระได้ ไม่ว่าจะเหตุผล
ใด ๆ ก็ตาม อีกเรื่องท่ีนำเสนอคือ สมาชิกของสหกรณ์ใดนำเงินมาชำระพร้อมกับการเตรียมดอกเบี้ยอย่าง
พอดีเพราะสามารถคิดดอกเบี้ยเงินกู้ได้ คือความยอดเยี่ยมของสหกรณ์นั้น เพราะเป็นการให้ความรู้สมาชิก
ไปด้วยหรือไม่ก็เป็นเพราะสหกรณ์มีสมาชิกที่มีความรู้ การที่สหกรณ์มีสมาชิกที่มีความรู้ความเข้าใจเร่ือง
สหกรณ์ยอ่ มทำให้สหกรณ์ประสบความสำเรจ็ ไดด้ ีกวา่ สหกรณ์มีสมาชกิ ที่ขาดความรู้ ความเขา้ ใจ ตรงกับคำ
กล่าวว่า สหกรณ์ของคนยากจนแต่มีความรู้ความเข้าใจ ย่อมดกี วา่ สหกรณข์ องคนรวยแต่ขาดความรู้ ความ
เข้าใจ จากประสบการณ์ในข้ันตอนน้ีกรณีสหกรณ์ท่ีหักชำระจากเงินได้รายเดือนของสมาชิกที่หน่วยงานต้น
สงั กดั สมาชิกมักไม่คอ่ ยสนใจตรวจสอบจนนำสู่ปัญหาทุจริตในบางสหกรณ์ จงึ ควรมีระบบการตรวจสอบภายใน
ที่เข้มงวด จริงจงั ได้ผล
ปญั หาใหญ่สุดของธุรกิจสินเช่ือคือ การมหี น้ีคา้ ง ซง่ึ ข้อเสนอการจัดการแนวใหมข่ องธุรกิจน้ี
คือ การสร้างระบบ GCP คือ Good Credit Practice หรือระบบการปฏิบัติที่ดีในการให้สินเชื่อ อัน
หมายถึง การปฏิบัติงานในแต่ละขั้นตอนของให้สินเช่ืออย่างดี ย่อมได้รับผลออกมาดี รายละเอียดตามผัง
ขนั้ ตอนน้ี

55

แผนภาพท่ี 5 ขนั้ ตอนการดำเนนิ ธรุ กจิ สนิ เชื่อกรณกี รู้ อบเดยี ว

การจดั การเดมิ สมาชิกต้องการสนิ เชื่อ การจดั การแนวใหม่

- ฝา่ ยจัดการเริ่มทำธุรกจิ เลย - ใช้เปน็ ข้อมลู ประกอบการ
แลว้ หาสมาชิกเข้าร่วม ดำเนินธุรกิจ

- ใชเ้ อกสาร ทำเรื่องขอใชบ้ ริการ - จัดเกบ็ ดว้ ยระบบคอมพิว-
เตอร์มโี ปรแกรมเฉพาะท่ี
สามารถใหส้ มาชกิ ได้ทันที

- ใชเ้ วลานาน ตอ้ งรอประชุม อนุมตั โิ ดยคณะกรรมการ - ตรวจสอบข้อมลู สมาชิก
- ยดึ หลักชำระคนื ได้ แลว้ ตัดสินอย่างรวดเรว็

- รบั เปน็ เงินสด สมาชกิ รับสินเชื่อและใช้ประโยชน์ - ยึดหลักชว่ ยคนดี

- ไมม่ ีบรกิ าร บริการหลงั การขาย - รบั เงนิ สด, บัตรเครดิต ,
โอนเข้าบญั ชี ,รับเป็นวสั ดุ
- แบบธนบตั ิ

- จัดบรกิ ารแนะนำทั้งอาชีพ
และความเป็นอยู่

- ด้วยเงนิ สด ชำระคนื - โอนเงินเข้าบัญชี
- ชำระดว้ ยผลผลิต
- ชำระด้วยอนื่ ๆ

56

แผนภาพที่ 6 ขนั้ ตอนการดำเนนิ ธรุ กจิ สนิ เชอื่ กรณกี หู้ ลายรอบ
สมาชกิ ต้องการสินเช่ือ

ชำระคนื ทำเรื่องขอใชบ้ รกิ าร

สมาชกิ รับสนิ เช่ือ อนมุ ัติโดยคณะกรรมการ

ปจั จยั ความสำเรจ็ ของธรุ กจิ สนิ เชอ่ื
1. บุคลากรมีส่วนร่วมกับธุรกิจซ่ึงเป็นปัจจัยสำคัญของความสำเร็จในทุกธุรกิจ เป็น
ปจั จยั ความสำเรจ็ ของสหกรณ์ รวมถงึ เปน็ ปจั จัยความสำเร็จของทุกองคก์ ร
2. เช่ือมโยงกับสหกรณ์อ่ืน เชื่อมโยงกับเอกชนในเรื่องเงินทุน เช่อื มโยงกับธุรกิจอ่ืนของ
สหกรณ์ การจัดการธุรกจิ แบบเช่อื มโยงเป็นการสร้างความมั่นคงดว้ ยการเพิ่มฐานรากของธุรกจิ
3. บริการที่ดีให้กับสมาชิก ตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้ายคือการบริการ
หลงั จากร่วมธรุ กจิ อนั เปน็ ความผกู พนั ทีไ่ ม่รา้ งรา
4. ต้องสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น เรื่องอัตราดอกเบ้ีย ภาวการณ์ลงทุน
ต้องมีการตรวจสอบข้อมูลทางเศรษฐกิจทางการเงินในประเทศและต่างประเทศเนื่องจากปัจจุบันการ
เคลื่อนย้ายเงนิ ทุนเปน็ ไปอยา่ งรวดเรว็ และมีความอ่อนไหว
5. วิเคราะห์คแู่ ขง่ ปจั จบุ นั คูแ่ ข่งธุรกิจสินเชื่อมมี าก แข่งขันกนั ด้วยเทคนิควิธกี ารตา่ ง ๆ
สหกรณ์ควรมีข้อมูลที่นำมาประกอบการวิเคราะห์ คือ ข้ันตอนการดำเนินธุรกิจ อัตราดอกเบี้ย วงเงินกู้
เงื่อนไขการชำระคืน การลด แลก แจก แถมเพือ่ ประชาสมั พนั ธ์ ตอ้ งดำเนนิ ธุรกจิ ด้วยหลักการว่า เพ่อื ชว่ ย
สมาชิกให้มีความเป็นอยู่ท่ีดี ไม่ใช่เพ่ือหากำไรเข้าสหกรณ์ ซึ่งเป็นจุดแข็งของสหกรณ์ท่ีเป็นภูมิคุ้มกันธุรกิจให้
พฒั นาอยา่ งมัน่ คง

เทคนคิ การดำเนนิ ธรุ กจิ สนิ เชอื่
1. ตอ้ งรบั สมาชิกทด่ี ี
ดีในท่ีน้ีต้องพิจารณาจากหลาย ๆ ด้าน เช่น ฐานะการเงินของครอบครัวมีความมั่นคง
หรือไม่ การประกอบอาชีพมีความม่ันคงหรือไม่ มีคุณธรรมในการพ่ึงตนเองคือขยัน ประหยัด พัฒนาชีวิต
ไม่เสพตดิ อบายมขุ ซ่งึ หากเรม่ิ ตน้ ทค่ี นดยี อ่ มนำสกู่ ารประสบความสำเร็จสงู

57

2. ต้องมีการทำความเขา้ ใจกบั สมาชิกก่อนจ่ายเงนิ กู้
เพ่อื ชีแ้ จงการรว่ มธรุ กจิ กบั สหกรณท์ ไ่ี มใ่ ชใ่ นฐานะเจ้าหนก้ี บั ลกู หน้ีเหมือนกับการทำธรุ กิจทวั่ ไป
แตเ่ ป็นการชว่ ยเหลอื กนั เพอ่ื สรา้ งอาชพี สรา้ งความเป็นอยู่โดยยมื เงนิ ทนุ ของเพื่อนสมาชกิ ในระยะเวลาหนึ่ง และ
ในระหว่างนั้นต้องมีความร่วมมือกันตลอดเวลา รวมถึงการช้ีแจงสัญญาและเง่ือนไขการชำระหนี้ให้มีความ
ชัดเจน สมาชิกก็จะปฏิบัตติ ามเงือ่ นไขไดถ้ ูกต้อง หากสมาชกิ ที่ปฏิบัตติ ามเงื่อนไขไม่ได้ก็สามารถแจง้ ยกเลิก
การกู้เงินได้
3. เจ้าหนา้ ทสี่ หกรณ์ตอ้ งเป็นนกั บรกิ าร
ให้บริการทันกับความต้องการของสมาชิก เพราะสภาพการณ์ในปัจจุบันเปล่ียนแปลง
ตลอดเวลา สมาชิกมีการดำเนินชีวิตที่สลับซับซ้อนมากข้ึน สหกรณ์ต้องปรับเปล่ียนวิธีการบริการให้ทันกับ
เหตุการณ์ปจั จบุ นั และเป็นนกั บริการท่ีดี
4. กลุ่มยอ่ ยของสหกรณ์ ตอ้ งมีระบบทด่ี ี ควบคุม ดแู ลภายในกลุม่ ได้ดี
ผูน้ ำกลุ่มต้องเป็นหลักคือ สามารถควบคุมสมาชิกได้ ต้องรู้ว่าสมาชกิ แต่ละคนเป็นอย่างไร
ใช้บริการสินเชื่อตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ต้องการรับความช่วยเหลือด้านใด มีกำลังชำระคืนหรือไม่ เป็นผู้
กระต้นุ สมาชกิ เมื่อถงึ กำหนดชำระคนื สหกรณใ์ ดที่ไม่มีระบบกลุ่มย่อยควรสรา้ งระบบนีข้ น้ึ
5. มีการสง่ เสรมิ อาชพี ให้กบั สมาชกิ

เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มจากอาชีพเดิมหรืออาชีพเสริม เมื่อสมาชิกมีรายได้
เพ่ิมขึ้น ธุรกิจสินเช่ือของสหกรณ์ก็สามารถดำเนินการไปได้อย่างต่อเนื่อง อาชีพท่ีควรส่งเสริม เช่น ปลูกผัก
ปลอดสารพษิ ผลิตภณั ฑข์ องใช้ในครวั เรือนทีป่ ลอดสารเคมี เพื่อตรงกบั ความตอ้ งการของตลาดในปจั จบุ นั

6. มีการเชอื่ มโยงระหว่างธุรกจิ สินเชือ่ กบั ธรุ กจิ ขาย
เช่น สมาชิกกู้เงินไปแต่ไม่มีเงินชำระหนี้ ก็ใช้วิธกี ารนำผลผลิตมาให้กับสหกรณ์ เป็นวิธีการ
แกไ้ ขปัญหาหนีค้ า้ งชำระได้วิธีหนง่ึ หรอื เชอ่ื มโยงกันโดยวธิ ีอ่นื ตามแต่สมาชกิ ต้องการและมีความพร้อม
7. ผนู้ ำตอ้ งเปน็ ตัวอยา่ งทีด่ ี
ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการ ผู้นำกลุ่ม เมื่อร่วมธุรกิจสินเช่ือต้องเป็นตัวอย่างให้กับสมาชิก
ชำระตรงกำหนดเวลา ปฏิบัติตามเงื่อนไขของสหกรณ์ สำหรับสังคมไทยท่ียดึ ถือตัวบุคคลถือวา่ เป็นขอ้ กำหนด
ทส่ี ำคัญทผ่ี นู้ ำตอ้ งปฏบิ ตั ิตนเปน็ แบบอย่างท่ีดี
8. เจ้าหน้าท่ตี ้องทุ่มเทการทำงานดว้ ยความซือ่ สัตย์
หลายสหกรณ์ท่ีเจ้าหน้าท่ีใช้ธุรกิจสินเชื่อเป็นช่องทางการทุจริต เช่น ปลอมชื่อสมาชิกกู้เงิน
จากสหกรณ์ไป หรอื เม่อื สมาชิกมาชำระเงินก็ไม่นำเข้าสหกรณ์ อาจใชว้ ิธีแก้ไขด้วยการตรวจสอบหนี้คงเหลือ
จากสมาชิกว่าถูกต้องตรงกับทะเบียนคุมยอดลูกหน้ีหรือไม่ สิ่งสำคัญเมื่อกำหนดให้สมาชิกสหกรณ์เป็นคนดี
ธุรกิจสินเชื่อจัดบริการสำหรับคนดีเจ้าหน้าท่ีสหกรณ์จึงต้องเป็นคนดีเท่านั้น ควรกำจัดคนไม่ดีออกจากระบบ
สหกรณ์และควรใหค้ นดขี ้นึ เป็นผู้ปกครองคนในสหกรณ์
9. การจดั ชน้ั สมาชิก
โดยการพิจารณาจากประวัติการมีส่วนร่วมในสหกรณ์ของสมาชิก เช่นการเข้าร่วมประชุม
การถือหุ้น การฝากเงิน การทำธุรกิจ โดยจัดระดับการมีส่วนร่วมเป็นสามระดับแล้วนำมาจัดชั้นสมาชิกเป็น

58

ชั้นหน่ึง ชั้นสอง ช้ันสาม หรือชั้นดี ชั้นปานกลาง ช้ันควรปรับปรุง ใครเป็นสมาชิกชั้นหนง่ึ ชั้นดี ก็ได้วงเงิน
กู้มาก เสยี ดอกเบ้ียต่ำ ระยะเวลาชำระคนื นาน โดยมีการประเมนิ การจัดชั้นสมาชกิ ทุกปี เพื่อปรับเปลยี่ นช้นั

10. การต้งั กองทนุ ชำระหนี้
เป็นการรวมเงินของสมาชิกต้ังเป็นกองทุนไว้ เม่ือถึงกำหนดเวลาชำระ สมาชกิ คนใดมีเงนิ ไม่
พอก็สามารถยืมเงินจากกองทุน นำไปชำระหน้ีกับสหกรณ์ เม่ือยื่นกู้ใหม่ได้รับเงินกู้ก็นำมาชำระคืนกองทุน
หมุนเวียนกันไป ดีกว่าการใช้วิธีกู้เงินนอกระบบต้องเสียดอกเบี้ยท่ีสูง สมาชิกก็จะเดือดร้อนมากข้ึน การ
จดั ตั้งกองทนุ ชำระหนเ้ี ป็นการแก้ไขปัญหาในยามจำเป็นเช่นเกิดอุทกภัย เป็นต้น ทั้งน้เี พือ่ ไม่ให้เสียประวัติของคน
ดี
11. การตอบแทนในการทวงหนี้
เพื่อให้โอกาสคนที่มีความสามารถในการทวงหนี้ได้รับค่าตอบแทน เช่น ญาติ ผู้นำชุมชน
ผใู้ หญ่ที่ลูกหน้ีให้ความเคารพและเกรงใจ โดยกำหนดเป็นมติที่ประชุมคณะกรรมการว่าหากใครสามารถทวง
หนี้ท่ีค้างชำระ 10 – 20 ปี ตามรายชื่อท่ีกำหนด จะได้รับค่าตอบแทนร้อยละเท่าไร หรือเงื่อนไขอ่ืน ๆ ที่
คณะกรรมการกำหนด โดยวัตถุประสงค์ก็เพอ่ื แกไ้ ขปญั หาหนท้ี ่ีค้างชำระนาน ๆ จนจะกลายเป็นหนสี้ ูญให้ไดร้ ับ
ชำระคืน นอกจากได้รบั ชำระคนื แลว้ ทำให้สหกรณ์มที นุ หมุนเวียนให้สมาชกิ เพิม่ ขนึ้ อกี ด้วย
12. การดำเนินคดีกบั คนดงั
เม่ือมีการทวงถามถึงท่ีสุดแล้ว สหกรณ์จำเป็นต้องดำเนินคดีกับผู้ที่ไม่มาชำระหน้ี โดยอาจ
เร่ิมทค่ี นมีชือ่ เสียงในตำบล อำเภอ เพ่ือให้สมาชิกได้เห็นว่าสหกรณ์มีความจริงจัง จะได้ไม่กล้าค้างชำระนาน
ๆ แต่บางคร้ังสหกรณ์ก็ต้องเลือกสมาชิกท่ีจะฟ้องว่าถ้าฟ้องแล้วต้องได้รับชำระคืนแน่ ๆ เพื่อป้องกันการ
เสียเวลา เสยี ท้งั เงินค่าธรรมเนยี ม ค่าทนาย ไม่คุ้มกับท่ีเส่ียงฟ้องร้อง และท่ีสำคัญเมื่อฟอ้ งร้องแล้วสหกรณ์
ต้องเดด็ ขาด ไมใ่ จอ่อน ประนีประนอม ไม่เช่นนั้นก็จะส่งผลต่อหนค้ี ้างรายอนื่ ท่อี าจดื้อแพ่งตามมา
13. การปล่อยเงินก้รู วดเรว็
ปจั จุบันคนเร่ิมดำเนินชีวติ ภายใต้การแขง่ ขันที่สูงข้นึ ประกอบอาชีพหลายอย่าง สหกรณ์ควร
ใช้เวลาพิจารณาเงินกู้ให้ส้ันลง เช่น พิจารณาจากจำนวนหุ้น ประวัติ ฐานะการเงิน ถ้าผ่านก็อนุมัติเลยไม่
ต้องรอประชุมคณะกรรมการท้ังน้ีต้องดำเนินการให้มีระเบียบรองรับ สหกรณ์ควรปล่อยเงินกู้หลายประเภท
เช่น เงินกู้ฉุกเฉิน กู้แล้วได้รับเงินทันเมื่อมีเหตุการณ์เร่งด่วน แต่ควรมีกำหนดวงเงินและระยะเวลาคืนให้
ชัดเจนรวดเร็วเหมือนตอนท่ีขอกู้ เงินกู้ระยะสั้นควรมีการจ่ายทุกสัปดาห์หรือสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เงินกู้ระยะ
ปานกลางควรปรับปรุงระบบค้ำประกันให้สามารถดำเนินการได้รวดเร็ว เพ่ือสามารถจ่ายเงินกู้ได้รวดเร็วข้ึน
หรืออาจมีการเพ่ิมหลักประกันอ่ืน ๆ เช่น ถ้าจ่ายเงินกู้ให้แม่ค้าก็ใช้แผงค้าเป็นหลักประกันคล้ายกับการแปลง
สนิ ทรพั ย์เป็นทนุ
14. ทยอยรับชำระ
บางคร้ังการรับชำระหน้ีทั้งหมดสมาชิกบางคนอาจไม่สามารถรวบรวมมาชำระได้ แต่ถ้าใช้
วิธีการทยอยชำระครั้งละ 100, 200 หรือ 500 บาท ก็จะทำให้สามารถทยอยชำระได้ง่ายขึ้น สหกรณ์
ต้องใช้วิธีการสังเกตว่ารายได้ของสมาชิกมีช่วงไหนจะได้ทยอยเก็บช่วงน้ันได้ หรือให้ความสะดวกกับสมาชิก
โดยการเดินเก็บตามบ้าน จะทำให้สมาชิกเต็มใจท่ีจะชำระหนี้ สหกรณ์ก็ลดความเสี่ยงหนี้ค้างชำระได้

59

ยกตัวอย่างเช่นสมาชิกสหกรณ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีรายได้พิเศษในช่วงเทศกาลสงกรานต์เน่ืองจาก
บุตรหลานเดินทางกลบั จากกรุงเทพมหานครเพ่ือฉลองวนั ปีใหมไ่ ทยโดยจะนำเงินมาให้คณุ พอ่ คณุ แม่

15. นำระบบเทคโนโลยีมาใช้
เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว ถูกต้อง เกิดประโยชน์กับสมาชิกมากข้ึน เช่น ใช้
คอมพิวเตอร์กรอกรายละเอียดในการขอกู้ของสมาชิก เก็บข้อมูลการกู้ การชำระเงิน ประวัติสมาชิก เป็น
ต้น สหกรณ์สามารถสร้างระบบเว็บไซด์เป็นของตนเองเพ่ืออำนวยความสะดวกให้สมาชกิ ตรวจสอบขอ้ มูลได้ที่
บา้ น
16. การยกหน้ใี ห้
สำหรับเทคนิคน้ีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนได้สร้างวิธีการท่ีน่าสนใจโดยสมาชิกท่ีเข้าหลักเกณฑ์
เม่ือเสียชีวิตจะได้รับการยกหนี้ให้ โดยบางกรณีสหกรณ์เพิ่มค่าหุ้นคืนให้มากกว่าท่ีถืออยู่ สำหรับสหกรณ์อ่ืน
สามารถสร้างระเบียบขึ้นถือใช้กรณีสมาชิกท่ีดี แต่เสียชีวิตขณะมีหนี้กับสหกรณ์ สหกรณ์ลดหย่อนหรือยกหน้ีให้
ทั้งน้ีต้องศกึ ษาแนวทางที่เหมาะสม

2.4 ธรุ กจิ รบั ฝากเงนิ

หมายถึง การท่ีสมาชิกนำเงินมาฝากกับสหกรณ์ สหกรณ์ทำหน้าที่รับฝากเงินของสมาชิกไว้ เมื่อ
สมาชิกต้องการใช้เงินก็สามารถถอนเงินฝากดังกล่าวได้ ระหว่างท่ีฝากไว้สมาชิกได้รับ ผลตอบแทนจาก
สหกรณ์ในรปู ดอกเบย้ี เงินฝาก ธรุ กิจรบั ฝากเงนิ น้ีบางคร้ังก็รวมอยู่กับธุรกิจสินเชอ่ื เนื่องจากต้องอาศัยความ
เชอ่ื ใจกันจงึ จะนำเงนิ ฝากไว้ แต่ในการนำเสนอครง้ั นข้ี อแยกเปน็ ธุรกจิ ต่างหากเพอ่ื ลงในรายละเอยี ดเฉพาะ

วตั ถปุ ระสงคข์ องธรุ กจิ รบั ฝากเงนิ
การจัดให้มีข้ึนของธุรกิจรับฝากเงิน ควรได้รับความสำคัญเป็นอันดับแรกของธุรกิจสหกรณ์
ทงั้ น้ีเพราะเป็นการสนบั สนุนอดุ มการณส์ หกรณ์ในการมุ่งให้สมาชกิ พงึ่ พาตนเองได้ การพึ่งพาตนเองได้จะต้อง
มีเงินออมเปน็ ทุนในการประกอบอาชพี เป็นทนุ ในการดำเนินชีวิต ธุรกจิ รับฝากเงนิ จึงมีวัตถุประสงค์คือ
1. เพื่อส่งเสริมการออมของสมาชิก อันเป็นการสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตความเป็นอยู่ใน
อนาคต
2. เพอ่ื ชว่ ยเหลือสมาชกิ ด้วยกนั อนั เป็นการเอื้ออาทรระหว่างกันในสถานะคนที่มีฐานะดกี ว่า
ช่วยเหลือคนที่ฐานะดอ้ ยกว่า คนแข็งแรงชว่ ยเหลือคนออ่ นแอกว่า

สภาพเดิม
การรับฝากเงินของสหกรณ์สภาพเดิมไม่ค่อยได้รับความนิยมจากสมาชิก สังเกตได้จาก
เวลาต้องการใช้เงินสมาชิกจะมากู้เงินท่ีสหกรณ์ แต่เวลามีเงินเหลือจะนำเงินไปฝากธนาคาร ด้วยภาพท่ีเช่ือ
ว่าธนาคารมีความม่ันคงกว่าสหกรณ์ ประกอบกบั สหกรณ์เองยังไม่ส่งเสริมธุรกิจนี้มากนัก เนื่องจากมีปัญหา
ความกังวลใจเรื่องการหมุนเวียนเงินเพ่ือสำรองจ่ายคืน กรณีมีสมาชิกมาถอนเงิน แต่ต่อมามีการรณรงค์
ระดมการออมเงนิ เพื่อส่งเสริมการประหยัดตามอุดมการณ์สหกรณ์ สหกรณ์ต่าง ๆ จึงสนใจทำธุรกิจรับฝาก
เงนิ เพ่ิมข้นึ บคุ ลากรฝ่ายจัดการมคี วามรู้ด้านการเงินเพม่ิ ข้ึน มีเทคนิคการบริหารเงินเพ่ิมขึ้น มีประสบการณ์

60

กับวงจรหมุนเวียนการเงินของสหกรณ์เพิ่มขึ้น สิ่งต่าง ๆ เป็นเหตุที่ส่งผลต่อการขยายกิจการรับฝากเงินใน
ปจั จบุ ัน

เหตุการณ์สำคัญมากต่อการขยายตัวของธุรกิจรับฝากเงินของสหกรณ์เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.
2538 – 2540 ที่ประเทศไทยประสบภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ สถาบันการเงินขนาดใหญ่ เช่น ธนาคาร กองทุน
การเงิน บรรษัทหลักทรัพย์ ประสบภาวะหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้จนขาดเงินทุนหมุนเวียน ต้องปิดกิจการ อัน
ส่งผลให้ลูกค้าที่ฝากเงินไม่สามารถถอนเงินฝากได้จนถึงข้ันรัฐบาลต้องเข้ารับประกันเงินฝาก เพื่อยืดเวลาใน
การหาทางแก้ปัญหาวิกฤตกิ ารณ์ครั้งนี้ ทำให้เงินฝากจำนวนมากไหลเข้าสรู่ ะบบสหกรณ์ เนื่องจากในสภาวะ
นั้นสหกรณ์ยังสามารถดำเนินงานได้ตามปกติไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤติ จากเหตุการณ์ดังกล่าว
สถาบันสหกรณ์ได้รับความเชอื่ มั่นอยา่ งสูงจากประชาชน เกิดการขยายตัวในธุรกิจรับฝากเงนิ แบบเท่าตัว ซ่ึง
ยังสง่ ผลทางจิตวทิ ยาถงึ ปจั จบุ นั

ขนั้ ตอนการดำเนนิ ธรุ กจิ รบั ฝากเงนิ
1. สมาชกิ มีรายได้
ซง่ึ หลังหกั ค่าใช้จ่ายในการประกอบอาชีพ ในการดำเนินชีวติ แล้วยังคงเหลือ ด้วยการปฏิบัติ
ตนตามอดุ มการณส์ หกรณท์ ่ีสมาชิกต้องมีความขยันหารายได้ และประหยัดรายจ่าย
2. สมาชิกต้องการออมเงนิ ไวก้ บั สหกรณ์
โดยมคี วามเช่อื มั่นในระบบและจากการสง่ เสริมทางธุรกิจของสหกรณ์
3. สหกรณ์เปิดดำเนินธรุ กิจรบั ฝาก
โดยกำหนดระเบียบขึ้นถือใช้ ที่มีการกำหนดอัตราดอกเบ้ียเงินฝาก ประเภทเงินฝาก
เงื่อนไขการฝาก – ถอน
4. สหกรณ์รับฝากเงิน
ขั้นตอนนค้ี วรเปลี่ยนแปลงจากระบบบนั ทกึ ด้วยมือเปน็ ใชร้ ะบบคอมพิวเตอร์ในการบันทึกข้อมูล
การคำนวณดอกเบ้ีย การพิมพ์สมุดเงินฝาก และควรอำนวยความสะดวกเพิ่มเติมจากการถือเงินสดมาฝาก
เป็นการรับฝากเงินดว้ ยวิธีอ่ืน ๆ เพ่มิ เช่น การโอนเงินค่าขายผลผลิตเป็นเงินฝาก การโอนเงินระหว่างบัญชี
ธนาคารฝากกบั บัญชีสหกรณ์
ข้ันตอนน้ีหลักการสำคัญ คือ สมาชิกทุกคนควรมีเงินฝากกับสหกรณ์และสมาชิกควรฝาก
อยา่ งสมำ่ เสมอ กลา่ วได้ว่าสหกรณ์ทม่ี สี มาชกิ จำนวนมากฝากเงินแมจ้ ำนวนเงินนอ้ ย แต่ย่อมดกี ว่าสหกรณ์ที่
มีสมาชิกจำนวนน้อยมาฝากเงินมาก ๆ เพราะยังคงยืนยันหลักการสหกรณ์ท่ีว่าด้วยการมีส่วนร่วมทาง
เศรษฐกิจของสมาชกิ
5. สมาชิกถอนเงิน
ขั้นตอนการถอนเงินเน้นเรื่องความสะดวก และถอนได้ดังใจ ในสมัยปัจจุบันเป็นไปไม่ได้ท่ีผู้
ฝากเงินมาถอนเงินแล้วถอนไม่ได้เพราะไม่มีเงินจ่าย สหกรณ์จึงต้องมีการสำรองเงิน หมุนเวียนเงินอย่าง
คล่องตวั โดยสามารถสร้างเครือขา่ ยกบั ธนาคารหรอื สถาบันการเงนิ ตา่ ง ๆ รวมทง้ั สหกรณ์ดว้ ยกัน
ความเห็นท่ีสำคัญในข้ันตอนการถอนเงินนี้จากผู้จัดการสหกรณ์ท่านหนึ่ง คือ ย่ิงการถอน
เงินสะดวกเท่าใด ยิ่งทำให้มีเงินฝากเพ่ิมขึ้น ซ่ึงหากฟังอย่างผิวเผินแล้วไม่น่าจะเป็นไปได้ การถอนเงินง่าย
น่าจะทำให้เงินฝากลด แต่เหตุผลท่ีผู้พูดอ้างประกอบคือ เม่ือธนาคารใช้การถอนเงินผ่านตู้อัตโนมัติ 24

61

ชั่วโมง ทำให้ลูกค้าถอนเงินฝากได้ง่ายมาก สะดวกมาก จากการทำเช่นน้ีของธนาคารแรก ส่งผลให้
ธนาคารน้ันมีเงินฝากไหลเข้ามากมาย จึงสรุปได้ว่าลูกค้าฝากเงินเพราะต้องการถอน เม่ือถอนง่ายก็ย่ิงฝาก
มาก ต่อความเหน็ นี้เสนอวา่ สหกรณค์ วรนำไปพจิ ารณาประกอบการจัดการธุรกจิ รับฝากเงนิ แนวใหม่

6. ประเมินความพงึ พอใจ
ขั้นตอนเพ่ือชี้วัดความมั่นคงของธุรกิจ คือ ต้องเป็นกิจการที่สมาชิกมีความ พึงพอใจ
สหกรณ์จงึ ต้องประเมนิ ผลเพ่ือนำมาพฒั นาธุรกิจ

แผนภาพท่ี 7 ขน้ั ตอนการดำเนนิ ธรุ กจิ รบั ฝากเงนิ

การจดั การเดมิ การจดั การแนวใหม่

- ไม่มขี อ้ มลู การมีส่วนร่วม สมาชกิ มีรายได้และ - ใชเ้ ป็นขอ้ มลู การตดั สินใจ
จากสมาชิก ต้องการฝากเงนิ ประกอบธรุ กจิ

- ไมม่ ีขอ้ มูล สำรวจความต้องการของ - ใช้เป็นขอ้ มูลการตดั สินใจ
จากสมาชกิ สมาชิก ประกอบธรุ กจิ

- ข้อมูลำม่ทนั สมยั รวบรวมขอ้ มลู - รู้สถานะทางเศรษฐกิจของ
- ล่าช้า ใช้ระบบมือ ดำเนินธรุ กิจรับฝาก - ถอน สมาชกิ
- ไม่มกี ารประเมนิ
- ข้อมลู เปน็ ปจั จุบนั
- ใช้ข้อมลู วางแผนธรุ กจิ

- รวดเร็วดว้ ยระบบเทคโนโลยี
- สะดวก รวดเร็ว ถกู ต้อง

ประเมนิ ความพึงพอใจ - ปรบั ปรงุ และพฒั นา

62

ปจั จยั ความสำเรจ็ ของธรุ กจิ รบั ฝากเงนิ
1. บุคลากรสหกรณ์มีสว่ นรว่ มในธุรกิจอย่างต่อเนอ่ื งเช่นเดยี วกบั ทุกธรุ กจิ
2. ใหก้ ารบริการสมาชิกทด่ี ี ต้ังแต่สมาชิกเรม่ิ ทำธรุ กิจ จนถึงขั้นตอนสุดท้าย
3. เชื่อมโยงกับธุรกิจอื่นของสหกรณ์ เช่นจัดสวัสดิการสงเคราะห์สำหรับสมาชิกท่ีมีเงิน
ฝาก โอนถอนเงินฝากชำระค่าสินคา้
4. วเิ คราะหส์ ถานการณ์ปัจจุบันแลว้ ดำเนินการให้สอดคล้อง เช่น อัตราดอกเบ้ยี ของ
สถาบันการเงินอ่ืน ๆ หรือ คนเริ่มให้ความสำคัญเรื่อง สุขภาพ คุณภาพชีวิต จึงเห็นความสำคัญของการ
ออมมากขึ้น กลมุ่ เยาวชนที่มกี ารส่งเสรมิ การออม เปน็ ตน้
5. มีบริการหลังขาย ธุรกิจรับฝากเงินสามารถจัดบริการหลังขายได้ เช่นเมื่อนำเงินมา
ฝากมกี ารแนะนำให้บริการจัดการรายได้-รายจา่ ย เม่ือถอนเงนิ มีบริการแนะนำการใชเ้ งนิ เป็นต้น

เทคนคิ การดำเนนิ ธรุ กจิ รบั ฝากเงนิ
1. อตั ราดอกเบ้ยี ตอ้ งดึงดูดสมาชกิ หากสหกรณ์มีเงินทุนเพียงพอหรอื หมนุ เวียนทำธรุ กิจให้มี
รายได้ก็สามารถกำหนดให้สูงกวา่ สถาบันการเงินอื่นได้เล็กน้อย เพื่อให้สมาชิกมีส่วนรว่ มมากขึ้น และควร
ข้นึ - ลงตามสถานการณ์
2. ตอ้ งบรกิ ารใหเ้ กิดความประทับใจกับสมาชิก เชน่ เมอ่ื สมาชิกเปิดประตูเขา้ มากท็ ักทาย
สวัสดีคล้ายกับการบริการของเซเว่นอิเลฟเว่น เป็นความประทับใจครั้งแรกสมาชิกก็เกิดความอบอุ่นใจ
นอกจากนี้ควรบริการด้วยสีหน้าย้ิมแย้มแจ่มใส รวดเร็วทันใจ เพราะปัจจุบันเวลาของสมาชิกมีจำกัดและ
ประกอบอาชพี หลายอย่าง ถ้าตอ้ งมานัง่ รอนาน ๆ อาจจะเกดิ ความเบื่อหน่ายได้ ในการบริการเจ้าหนา้ ท่ีควร
คำนึงถงึ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา แลว้ จะทำใหธ้ ุรกจิ ประสบผลสำเร็จไปกวา่ ครงึ่
3. สำนักงาน การแต่งกาย ต้องดูดี การที่จะให้คนมีเงินเอาเงินมาให้ ต้องมีความน่าเชื่อถือ
ซ่งึ รูปลักษณ์ภายนอกเหน็ ได้จากสำนกั งานทด่ี ูมัน่ คง โอ่โถง เจา้ หนา้ ที่แตง่ กายนา่ เช่อื ถอื
4. มีเงินรางวัลให้กับสมาชิกท่ีมีเงินฝากสูงสุด พิจารณา 1 ปี 1 คร้ังและประกาศในวัน
ประชุมใหญ่ โดยสหกรณ์กำหนดรางวัล เช่น ทองคำ วัสดุอุปกรณ์ ส่ิงของ หรือเพิ่มยอดเงินฝากให้กับ
สมาชกิ ตามความเหมาะสม เปน็ วิธกี ารดึงดดู ใจใหส้ มาชิกตอ้ งการฝากเงินมากขึน้
5. สหกรณก์ ำหนดสทิ ธพิ เิ ศษ ใหส้ ำหรับสมาชิกที่มีเงินฝากกับสหกรณ์ในการรว่ มธรุ กจิ อน่ื ๆ
เช่น ผู้ท่ีเปิดบัญชีเงินฝากกับสหกรณ์เมื่อกู้เงินจะเสียอัตราดอกเบี้ยถูกกว่าสมาชิกรายอ่ืน หรือเม่ือร่วมธุรกิจ
ซือ้ กบั สหกรณจ์ ะไดส้ ่วนลดพเิ ศษ เปน็ ต้น
6. ผ้นู ำสหกรณต์ ้องเริม่ เป็นตัวอย่างทดี่ กี ับสมาชกิ โดยการเปดิ บัญชีเงินฝากกบั สหกรณ์ทุก
คน เพ่ือสร้างความน่าเช่ือถือให้กับสมาชิก รวมถึงเจ้าหน้าท่ีสหกรณ์ทุกคนต้องฝากเงินกับสหกรณ์ การจ่าย
เงินเดอื นเจ้าหน้าท่ใี ช้วธิ กี ารโอนเขา้ เป็นเงินฝาก
7. ขยายกรอบการร่วมธุรกิจกับสหกรณ์ โดยให้ผู้ที่ไม่ใช่สมาชิก เช่น ลูกสมาชิก ใช้
วิธีการแจกกระปุกออมสินแล้วนำเงินฝากกับสหกรณ์ เป็นกลุ่มที่สหกรณ์ควรส่งเสริมในยุคสมัยน้ี หน่วยงาน
ภายในชุมชน เช่น วัด โรงเรียน บุคคลท่ัวไป โดยอาจแนะนำให้มาสมัครเป็นสมาชิกสมทบ แต่ทั้งน้ีควรมี
การกำหนดวงเงินตามความเหมาะสม ข้อแนะนำที่หลายสหกรณ์ถือปฏิบัติ คือ การรับฝากเงินจากวัดหรือ

63

พระ ซ่งึ จะเปน็ เงนิ ฝากท่ีไม่คอ่ ยถอน ทำใหว้ างแผนบริการการเงินไดง้ ่ายขึ้น ท้ังนี้ต้องดำเนนิ การใหส้ อดคล้อง
กับระเบยี บด้วย

8. ใช้เทคโนโลยีการส่อื สารทาง Web Site ซึ่งปจั จบุ นั เป็นการสอื่ สารทสี่ ะดวก รวดเรว็
สหกรณ์ควรลงข้อมูลกิจกรรมธุรกิจใน Web Site เพ่ือประชาสัมพันธ์หรือใช้วิธีการใหม่ ๆ เช่น เปิดบัญชี
ผ่านทาง Web Site แล้วโอนเงนิ เขา้ บญั ชสี หกรณ์ เป็นตน้

9. เช่ือมโยงกับธุรกจิ อ่ืน ๆ เมื่อสมาชิกนำสินค้ามาขายกใ็ ห้สมาชกิ ฝากเงนิ เขา้ บัญชี โดย
ไม่ต้องรับเงินสด หรือเม่ือสมาชิกซื้อสินค้าสามารถหักเงินฝากชำระค่าสินค้าได้ หรือใช้บัญชีเงินฝากเป็น
หลักประกันเงนิ กไู้ ด้

10. จัดเทศกาลเงินฝาก โดยเม่ือสมาชิกนำเงินมาฝากในช่วงเทศกาลจะมีของที่ระลึกมอบ
ให้

11. สร้างวัฒนธรรมการฝากเงินให้เกิดกับสมาชิก อบรมให้ความรู้ ประโยชน์ ของการ
ฝากเงินอย่างต่อเน่ือง เพราะในยุคปัจจุบันคนเร่ิมให้ความสำคัญเร่ืองการออมกันมากข้ึน เป็นผลมาจาก
กระแสของระบบเศรษฐกิจพอเพียงท่ีทุกหน่วยงานให้ความสำคัญ ประกอบกับผู้สูงอายุมีเพิ่มขึ้นการดำเนินชีวิต
ในวยั สูงอายุจำเปน็ ต้องมีเงินออม

12. ต้องรกั ษาภาพพจน์ ช่ือเสยี ง ในเรื่องการเงนิ ของสหกรณ์ เพ่ือสมาชิกเกดิ ความเชอ่ื ถือ
ต้องยอมรับว่าหากเกิดความเสียหายด้านการเงินขึ้นในสหกรณ์จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจรับฝากเงินมาก และ
เม่ือกระทบแล้วกวา่ จะกลับคนื ใชเ้ วลานานมาก

2.5 ธรุ กจิ บรกิ าร

หมายถึง กิจการท่ีสหกรณ์จัดให้มีขึ้นเพื่อบริการ อำนวยความสะดวก ตอบสนองความต้องการของ
สมาชิก โดยสหกรณ์คิดค่าตอบแทนในอัตราที่เหมาะสม รูปแบบของกิจการมคี วามหลากหลาย แตกต่างกัน
ไปตามวิถีชีวิตของสมาชิก ตัวอย่างเช่น สมาชิกต้องทำงานต้ังแต่โมงเช้าจนถึงหกโมงเย็นไม่มีใครเล้ียงลูกให้
สหกรณ์จึงทำธุรกิจบริการรับเลี้ยงลูก โดยให้สมาชิกมาส่งลูกตอนเช้าและรับกลับตอนเย็น นอกจากน้ีอาจ
หมายถึงกิจการจัดงานแต่งงาน งานบวช หรืองานศพ หรือกิจการที่เก่ียวข้องกับการประกอบอาชีพ เช่น
สมาชกิ ทำนาสหกรณจ์ ัดบริการรถเก่ียวขา้ ว สมาชกิ ปลูกมะพรา้ วสหกรณ์จัดบรกิ ารเก็บมะพรา้ ว หรอื สมาชิก
ต้องการบา้ นทีอ่ ย่อู าศัยสหกรณบ์ ริการปลูกบ้านใหส้ มาชิก เปน็ ต้น

วตั ถปุ ระสงคข์ องธรุ กจิ บรกิ าร
1. เพอ่ื อำนวยความสะดวกในการประกอบอาชีพของสมาชิก
2. เพอ่ื อำนวยความสะดวกในการดำเนินชวี ติ ของสมาชิก

สภาพเดิม
สหกรณจ์ ัดบรกิ ารธุรกิจน้นี ้อยมากจนมีการจัดต้ังเปน็ สหกรณป์ ระเภทบรกิ ารดำเนนิ กิจการ
เฉพาะด้าน เช่น สหกรณ์บริการไฟฟ้า สหกรณ์มีดอรัญญิก สหกรณ์เคหสถาน สหกรณ์แท็กซี่ สหกรณ์
บริการน้ำประปา เปน็ ต้น สหกรณ์บริการเหลา่ น้ีจะเป็นลกั ษณะเอกประสงค์ ทำงานด้านเดยี ว ต่อมาพัฒนา
มีกจิ การอน่ื ๆ ในเครือข่ายเดยี วกนั เพิม่ ขึ้น เช่น สหกรณ์เคหสถานนอกจากร่วมทนุ กันจัดซอ้ื บ้านแล้ว ต่อมา

64

ดำเนนิ กิจการด้านรักษาความปลอดภัย ซอ่ มแซมบ้าน สหกรณ์แท็กซ่ีนอกจากรว่ มทุนกันซ้ือรถแท็กซี่ ตอ่ มา
ดำเนินกจิ การดา้ นนำ้ มนั ดา้ นวทิ ยสุ อื่ สาร บรกิ ารเรยี กรถรับ – สง่

รูปแบบของการจัดการธุรกิจบริการแนวใหม่เกิดข้ึนจากการพัฒนาการของธุรกิจเดิมที่มีอยู่
เน่ืองจากแต่ละธุรกิจจะดำเนินการเฉพาะเรื่องไม่ครบถ้วนทุกข้ันตอน ส่งผลให้สมาชิกต้องพ่ึงพาธุรกิจจาก
บุคคลอื่น เม่ือข้อมูลเหล่านี้รู้ถึงสหกรณ์ก็มีการสร้างเป็นกิจการบริการข้ึนมา ตามตัวอย่างท่ียกในช่วงแรก
สหกรณ์ใดมีการพัฒนาตามลักษณะน้ีนับได้ว่าเป็นการจัดการที่ยึดสมาชิกเป็นสำคัญ ให้ความสำคัญกับ
สมาชิก โดยเคยมีคำพูดของผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรขนาดใหญ่สหกรณ์หน่ึงบอกว่า ธุรกิจต่าง ๆ ท่มี ีอยู่
ทุกวันน้ี ล้วนมาจากสมาชิกมาบอกทั้งส้ิน ไม่ได้คิดธุรกิจข้ึนเอง แม้แต่กิจการตลาดกลางพืชผักผลไม้ขนาด
ใหญ่ก็เกิดขึ้นจากสมาชิกมาแนะนำว่าควรทำ ซึ่งเม่ือดำเนินการแล้วก็ได้รับความร่วมมือจากสม าชิกจน
ประสบผลสำเรจ็ สง่ิ เหล่าน้คี ือแนวทางการจดั การธรุ กจิ บรกิ ารแนวใหมข่ องสหกรณ์

อีกประการหนึ่งที่คิดว่าสำคัญมากก็คือ เคยมีการจัดแบ่งการพัฒนาสังคมของโลกว่า จะ
เร่ิมจากสังคมเกษตรกรรมที่มีประชากรประกอบอาชีพทำการเกษตร ต่อมาจะพัฒนาเปน็ สงั คมอตุ สาหกรรมท่ี
มกี ารใช้เครอ่ื งจักรกลเขา้ มาทำการผลิต และจากนั้นจะพฒั นาเป็นสังคมบริการทีเ่ ต็มไปด้วยเทคโนโลยีต่าง ๆ
โดยผู้คนให้ความสำคัญกับการได้รับบริการท่ีดี ซ่ึงแนวคิดนี้พิสูจน์ได้ว่ามีความเป็นจริง โดยสังเกตจาก
เมืองไทยได้วา่ จากท่ีประชาชนใช้ที่ดินและแรงงานเพ่ือการประกอบอาชีพการเกษตรในอดีต ปัจจุบันประชาชน
จำนวนมากปฏิบัติงานอยู่กับโรงงานอุตสาหกรรม ท่ีดินจำนวนมากถูกใช้เพ่ือการปลูกสร้างอาคารทางการ
อุตสาหกรรมท่ีนาถูกปล่อยรกร้าง และทิศทางภายหน้าจะเห็นว่าประเทศไทยมีรายได้หลักจากธุรกิจการ
ท่องเท่ียวที่ประกอบด้วย ธุรกิจที่พัก ธุรกิจอาหาร ธุรกิจการเดินทาง ธุรกิจนำเที่ยว ธุรกิจการเสริมสวย
กิจการเพื่อสุขภาพ อันหมายถึงแนวโน้มการพัฒนาเข้าสู่สังคมบริการ ย่ิงเทคโนโลยีการส่ือสารท่ีรวดเร็ว
ทันสมัย ย่ิงส่งให้ประเทศไทยพัฒนาเข้าสู่สังคมบริการเร็วขึ้น เม่ือเป็นดังนี้สหกรณ์ควรให้ความสำคัญในการ
จัดให้มีธุรกิจบริการในสหกรณ์อย่างครอบคลุมเพ่ือให้ทันยุคทันสมัย และที่สำคัญเพ่ือให้สหกรณ์อยู่ได้
เน่ืองจากหากสหกรณ์ไม่ปรับตัวตามสังคม สหกรณ์จะเป็นองค์กรโบราณล้าสมัย ไม่มีใครคบค้าด้วยและ
จะต้องตกยุคไปในท่ีสุด สหกรณ์ใดต้องการเป็นสหกรณ์ที่ทันสมัย เป็นสหกรณ์สมัยใหม่ก็ต้องหันมาให้
ความสำคญั ดำเนินกจิ การธรุ กิจบริการ

ขน้ั ตอนการดำเนนิ ธรุ กจิ บรกิ าร
1. สมาชิกดำเนินชีวิตตามปกติ ประกอบอาชีพปกติ เป็นอยู่ตามปกติ แต่มีบางเร่ืองที่ต้อง
จัดซ้ือหรอื จัดจ้างจากผู้รับจ้างท่วั ไปซึง่ สหกรณไ์ ม่มกี ารบริการเชน่ นัน้
2. สมาชิกร้องขอให้สหกรณ์จัดบริการ หรือเจ้าหน้าท่ีสหกรณ์สังเกตเห็นเองว่ามีความ
จำเปน็ ของสมาชิกในการต้องใช้บรกิ าร การชา่ งสงั เกตเปน็ เรอื่ งท่ีการจดั การแนวใหมต่ ้องใหค้ วามสำคญั
3. สหกรณ์สำรวจข้อมูล เพ่ือประกอบการพิจารณาทำแผนธุรกิจ การประกอบกิจการใด
ของสหกรณ์ต่อไปน้ีต้องมีแผนธุรกิจ ไม่เพียงแต่คิดแต่นึกแต่เห็นก็ลงมือทำเลยเพราะมีโอกาสผิดพลาดใน
รายละเอยี ด
4. เสนอแผนธรุ กจิ ใหค้ ณะกรรมการดำเนนิ การพจิ ารณา เม่ือคณะกรรมการอนมุ ัติแผน ให้
นำเสนอที่ประชุมใหญ่เพื่อขออนุมัติแผนงานงบประมาณประจำปี ในขั้นตอนนี้อาจจะดูว่าเป็นข้ันตอนที่ต้องใช้
เวลา ในสถานการณ์ปัจจุบันอาจจะทำให้ไม่ทันการกับคู่แข่ง แต่ในข้อเสนอตามแนวคิดเห็นว่าเป็นการสร้าง

65

ธรุ กิจใหม่ ควรประชาสัมพันธ์และร่วมกันพิจารณาจากเจ้าของสหกรณ์ และหากได้รับความเห็นชอบผู้อนุมัติ
จะเป็นลูกคา้ ไดท้ นั ที

5. ใหบ้ ริการตามแผนธุรกิจ ขั้นตอนน้หี ากเป็นธุรกิจใหม่ควรเริม่ จากเล็กไปหาใหญ่ ไม่ควร
ทำแบบใหญโ่ ตโดยไมม่ ีประสบการณ์เพราะอาจจะพบกับสภาพปัญหาทีแ่ ก้ไขไม่ได้ จนทำให้ต้องลม้ เลิกกจิ การ
ไป การเร่ิมจากเล็กเป็นการทำกิจการไปเรียนรู้ไปมีประสบการณ์ไปทำให้มีรากฐานที่มั่นคง การเริ่มจาก
ใหญเ่ ปน็ เหมือนคนตวั โตท่อี ุย้ อ้าย เคล่อื นยา้ ยตัดสนิ ใจอะไรยาก และคนตัวใหญ่ตอ้ งมคี า่ ใชจ้ า่ ยสงู

6. สมาชิกร่วมธุรกิจ ธุรกิจบริการมีข้ันตอนเชน่ เดียวกับธุรกิจอ่ืนคือ จัดให้มีขึ้นเพ่ือบริการ
สมาชิก ลูกค้าของธุรกิจสหกรณ์คือสมาชิก ทุกธุรกิจดำเนินการอยู่ได้เพราะลูกค้า เมื่อมีสมาชิกเป็นลูกค้า
ธรุ กิจของสหกรณ์จงึ อย่ไู ด้เพราะสมาชกิ

7. ประเมินความพึงพอใจ เป็นขั้นตอนที่การจัดการสหกรณ์ทุกธุรกิจควรนำมาใช้ให้มีเพ่ือ
พฒั นาปรับปรุงให้ตรงกบั ความต้องการของสมาชกิ อยา่ งต่อเน่ือง

แผนภาพที่ 17 ขน้ั ตอนการดำเนนิ ธรุ กจิ บรกิ าร

การจัดการเดมิ การจดั การแนวใหม่

- สมาชิกไมต่ ้องการมีส่วนร่วม - จดั บรกิ ารตรงกับความตอ้ ง
- จัดบริการไมต่ รงความต้องการ สมาชิกแจง้ ความต้องการ การของสมาชิก

- สมาชกิ เต็มใจให้สว่ นร่วม

- สอดคล้องกบั วิถีชวี ิต สหกรณ์สำรวจ - เป็นขอ้ มลู ในการจดั การ
- มกี ารสำรวจนอ้ ยหรือบาง รวบรวมข้อมลู - บริหารอย่างมีข้อมูล

สหกรณ์ไม่มีเลย บริการ - ข้อมลู เป็นปจั จุบนั
- มีการวางแผนตามข้อมลู สนบั สนุน
- ข้อมลู ไม่ทนั สมยั - รวดเรว็ ตรงกบั ความตอ้ งการ
- ไม่มกี ารวางแผน
รับค่าตอบแทน - ผอ่ นชำระ
- ไม่ตรงกับความต้องการ ประเมินความพึงพอใจ - ผลผลิต
- ล้าช้า - แลกเปลยี่ น
- มงุ่ กำไร
- เพอ่ื พฒั นาปรับปรุง
- เงินสดทันที - ยึดความพอใจของสมาชกิ

- ไมม่ กี ารประเมิน
- ยดึ ตามความพอใจของคน

ทำงาน

66

ปจั จยั ความสำเรจ็ การดำเนนิ ธรุ กจิ บรกิ าร
1. บคุ ลากรสหกรณม์ สี ่วนร่วมในธุรกจิ เชน่ เดยี วกับธรุ กิจอ่นื ๆ ของสหกรณ์
2. การให้บริการท่ีดีกับสมาชิกตั้งแต่เร่ิมดำเนินการจนถึงขั้นตอนสุดท้าย เพื่อสร้างความ
ภกั ดตี อ่ องค์กร
3. สอดคล้องกับความต้องการของสมาชิกตามสถานการณ์ปัจจุบันท่ีมีการเปล่ียนแปลง
เปน็ ธุรกจิ ที่แปรเปล่ียนได้เมื่ออาชีพเปล่ยี นเมือ่ วถิ ีชวี ติ เปล่ยี น
4. สิ่งท่ีบริการสมาชิกต้องมีคุณภาพ ยิ่งบริการเพ่ือชีวิตความเป็นอยู่ต้องปลอดภัย ได้
ประโยชน์
5. เช่ือมโยงธุรกิจอ่ืน ๆ เช่ือมโยงกับหน่วยงานอื่น ๆ เช่น กิจการดูแลผู้สูงอายุโดยร่วมกับ
พระภิกษุสงฆ์
6. วิเคราะห์คู่แข่งขัน โดยข้อมูลท่ีควรวิเคราะห์ คือ ข้ันตอนการดำเนินงาน กิจการ
บริการ ความพรอ้ มทางดา้ นบุคลากร เงินทุน วสั ดอุ ุปกรณ์ กระบวนการส่งเสรมิ ธุรกจิ
ปัจจัยความสำเรจ็ การดำเนินธุรกจิ บริการของสหกรณ์ดังกล่าวแยกได้เป็น 2 ปัจจยั ใหญ่ ๆ
คือ ความสำเร็จที่เกิดจากสหกรณ์เอง กับความสำเร็จที่เกิดจากการร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ซึ่งอธิบายได้
ว่า ตัวสหกรณ์ต้องมีความแข็งแรงในการดำเนินธุรกิจ และต้องแสวงหาส่วนร่วมในกิจการ ยกตัวอย่าง
สหกรณ์จัดบริการสอนภาษาอังกฤษให้สมาชิกที่มีที่อยู่ในแหล่งท่องเท่ียว โดยสมาชิกได้ทำโครงการนำเท่ียว
สหกรณ์สามารถร่วมมือกับสถานศกึ ษากับการท่องเที่ยวแหง่ ประเทศไทยกับองค์การบรหิ ารสว่ นตำบล ดำเนิน
กิจการดังกล่าว

เทคนคิ การดำเนนิ ธรุ กจิ บรกิ าร
1. บรกิ ารเกยี่ วกับสขุ ภาพ ปัจจบุ นั ประชาชนให้ความสำคัญเรื่องสขุ ภาพ สหกรณค์ วรบรกิ าร
เก่ยี วกบั สขุ ภาพ เช่น จัดบรกิ ารแอโรบคิ ตอนเยน็ จัดบริการตรวจสุขภาพ
2. บรกิ ารรองรับโครงสร้างประชากรทเ่ี ปล่ียนแปลง โครงสร้างทางประชากรทำให้มีขอ้ มูล
ประชากรวัยโสดจะเพิ่มมากขึ้น สหกรณ์ก็ควรจัดบริการสำหรับคนโสด เช่น จัดบริการอุปกรณ์กีฬา
บริการเสริมสวย นอกจากน้ีประชากรวยั เดก็ มีสดั สว่ นใกลเ้ คียงกับวัยสูงอายุ สหกรณ์จดั บริการรับเล้ยี งคนชรา
หรือบรกิ ารรกั ษาพยาบาล ซ่งึ เปน็ ธรุ กิจที่หลายประเทศดำเนนิ การแลว้ ประสบความสำเร็จอย่างมาก
ส่วนวัยเด็กก็ควรจัดบริการรับเลี้ยงเด็ก จัดบริการสวนสนุก สถานที่ต้ังอาจจะเป็นใจกลาง
ชมุ ชนท่สี มาชกิ อยู่ หรอื ท่ที ำการสหกรณ์เวลาสมาชกิ มาติดต่องานลูกสมาชิกสามารถใชบ้ รกิ ารได้
3. บริการอินเตอร์เน็ต จัดบริการอินเตอร์เน็ตท่ีสหกรณ์เพราะปัจจุบันการส่ือสารสามารถ
ติดต่อกันได้รวดเร็ว และส่ือสารกันได้ทั่วโลก ลูกสมาชิกที่อยู่ในวัยเยาวชนก็จะใช้บริการได้สะดวกข้ึน หรือ
บริการเช่าโทรศัพทม์ อื ถอื สำหรับสมาชิกบางรายทต่ี ้องการตดิ ต่อสือ่ สารทางโทรศัพท์
4. ผู้นำต้องเป็นตัวอย่าง คณะกรรมการ ผู้นำกลุ่ม ควรใช้บริการของสหกรณ์เพ่ือเป็น
ตวั อย่างใหก้ ับสมาชิกและต้องรว่ มธุรกจิ อย่างตอ่ เนื่อง
5. ค่าตอบแทนเหมาะสม คดิ คา่ ตอบแทนในอตั ราทเี่ หมาะสมไม่สงู จนเกนิ กำลงั ของสมาชกิ
6. บรกิ ารรวดเร็ว บริการรวดเร็วทันต่อความต้องการใช้บริการของสมาชิก เพราะปัจจุบัน
ต้องดำเนินการชวี ิตแขง่ กับเวลาสมาชกิ อาจจะเปลย่ี นไม่ร่วมธุรกิจกบั สหกรณ์

67

7. การประชาสัมพันธ์ ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกทราบว่ามีธุรกิจบริการด้าน
ใดบ้างเพ่ือให้สมาชิกมีส่วนร่วมมากขึ้น โดยการประชาสัมพันธ์ผ่านผู้นำกลุ่ม ที่ประชุมใหญ่ ปากต่อปาก
หรอื ลง Web Site ของสหกรณ์

8. กิจการรองอาจหล่อเล้ียงธุรกิจหลัก เช่น ธุรกิจตลาดกลางของสหกรณ์มีรายได้หลัก
จากการคิดค่าบริการใช้ห้องสุขา หรือค่าเช่าที่พักผู้ซ้ือสินคา้ ที่ตอ้ งเดินทางไกล บริการรถเกี่ยวข้าวทำใหก้ าร
ชำระหนี้ดขี ึน้

9. ธุรกิจบริการจะสร้างความรู้สึกทีด่ ีต่อกัน เนอ่ื งจากเปน็ การอำนวยความสะดวกในการ
ดำเนนิ ชวี ิต จงึ ยอ่ มเสรมิ ให้สมาชกิ รว่ มมอื กบั ธุรกิจอ่นื ของสหกรณ์

10. คนให้บรกิ ารตอ้ งมจี ติ วญิ ญาณบริการ ตรวจสอบงา่ ย ๆ ไดจ้ าก รบั ฟังคนอื่นไดท้ กุ เร่อื ง
หรือไม่ ยิม้ กบั คนไมร่ ูจ้ ักได้หรอื ไม่ ขอโทษคนอน่ื ได้ทกุ กรณีหรอื ไม่ ขอบคุณคนอ่ืนได้ทุกกรณไี หม ต้องการให้
ผู้อน่ื มคี วามสขุ ใช่หรอื ไม่ เหน็ ความไม่ถูกใจเปน็ เร่อื งปกตใิ ช่หรอื ไม่

68

พฤติกรรมท่พี ึงประสงคข์ องเจา้ หนา้ ทสี่ หกรณ์

1. เจา้ หนา้ ทก่ี ารตลาด

พฤตกิ รรมการทำงานใหป้ ระสบผลสำเร็จ
1. ต้องพูดเก่ง พูดดี พูดเป็น สามารถอธิบายเรื่องราคา เร่ืองคุณภาพสินค้าให้สมาชิกรู้และ
เข้าใจเป็นรายคนท่ีมาซื้อสินค้าท่ีสหกรณ์ รวมเลยไปถึงสมาชิกที่ไม่ได้มาซ้ือสินค้าที่สหกรณ์
และสดุ ท้ายคือประชาชนทพ่ี บท่เี จอทไ่ี หนต้องอธิบายเรอ่ื งสนิ ค้าของสหกรณ์ได้ 24 ชัว่ โมง
2. มีความรู้ ความเข้าใจในสินค้าอย่างละเอียด ลึกซ้ึงก่อนพูด เจ้าหน้าท่ีต้องทำความรู้จัก ทำ
ความคุ้นเคยกับสินค้าทุกชนิดที่มีจำหน่ายเพ่ือสามารถตอบคำถามทุกคำถามให้สมาชิกได้
รวมเลยไปถึงสินค้าที่ไม่มีจำหน่ายท่ีสหกรณ์แต่สมาชิกต้องใช้ต้องเกี่ยวข้องเจ้าหน้าท่ี
การตลาดก็ตอ้ งรูด้ ว้ ย
3. ทำทีมวิทยากรให้ความรู้สมาชิก โดยทั้งทีมสหกรณ์พูดเป็นเร่ืองเดียวกันสอดคล้องกัน
ส่งเสรมิ ซ่งึ กนั และกนั ไม่ขดั แย้งกัน โดยนำทีมเขา้ ถงึ แตล่ ะหมบู่ ้าน แตล่ ะชุมชน
4. อบรมกลุ่มสมาชิกเพื่อหาวิธีการลดค่าใช้จ่าย เนื่องจากเม่ือรายจ่ายลดลงสมาชิกย่อมมี
โอกาสซื้อสินค้าที่สหกรณ์ หรือการซื้อด้วยความเข้าใจว่าสินค้าสหกรณ์ทำให้เขาประหยัดข้ึน
เหลือเงินมากขน้ึ โดยเปรยี บเทียบเปน็ ตัวเลขใหเ้ ห็นไดจ้ ริง
5. กำหนดกติกามัดจำคา่ สนิ ค้า เมื่อสมาชิกส่ังซื้อสินค้าตอ้ งวางมัดจำสินค้าเพราะเคยพบว่าส่ัง
แลว้ ไมม่ ารบั สนิ คา้ แต่กรณสี ำคญั คอื ความสามารถมัดใจตอ้ งทำให้ได้

สรุปพฤตกิ รรมทพี่ ึงประสงค์ของเจ้าหน้าทีต่ ลาดสหกรณ์

พูดเก่งให้คนเขา้ ใจ เหมือนนกั ขายมืออาชพี

เสนอสนิ ค้าเขา้ ไปจบี ใหค้ นอยากรีบซือ้ หา

รู้ซ้ึงถงึ สินค้าทกุ ตำรา มีกตกิ ามัดใจและมัดจำ

2. เจา้ หนา้ ทส่ี นิ เชอ่ื

พฤติกรรมการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ
1. รับทำคำขอกู้แล้วตรวจสอบให้ละเอียดในทุกเอกสารท่ีเกี่ยวข้อง ท่ีสำคัญต้องมีกระบวนการ
ผ่านการพิจารณาของผู้นำกลุ่มมากอ่ นแล้ว
2. เก็บข้อมูลสำหรับสอบประวัติ(ทง้ั ทม่ี ใี นสหกรณแ์ ละนอกสหกรณ)์ และวัตถุประสงค์การใชเ้ งินกู้
ของสมาชกิ
3. ให้ความสำคัญกับพิจารณาหลักประกันซึ่งสัมพันธ์มากกับประวัติ มกี ารสำรวจหลักทรัพย์ค้ำ
ประกันด้วยห้ามนัง่ นกึ เอาเอง หา้ มอา้ งวา่ เคยเห็นแล้ว
4. กำหนดวงเงินให้กู้อยา่ งเปน็ วทิ ยาศาสตร์ ไมใ่ ช้ไสยศาสตร์
5. ก่อนจ่ายเงนิ กูต้ อ้ งคยุ กนั ให้รูเ้ รอ่ื งทกุ เรอื่ งจนมองตารู้ใจ

69

6. ติดตามและตามตดิ การใช้เงินก้ใู ห้ตรงกบั วตั ถุประสงค์
7. แสดงความรัก ความปรารถนาดีเมื่อใกล้ถงึ เวลาชำระหน้ี
8. รบั ชำระหน้อี ย่างมติ รไมตรี
9. จดั กระบวนการแกไ้ ขปญั หาหน้ีคา้ งชำระจากมิตรสู่ศัตรู จากคู่รักเป็นค่พู ิพาท (หาอ่านได้จาก

เทคนิคการทวงหน้ใี นเว็บนี้)
10. จดั เกบ็ หลักฐานสญั ญาเงนิ กแู้ ละหลกั ทรัพย์ค้ำประกนั ใหเ้ ป็นระบบท่ปี ลอดภัย หาง่าย
11. มีสัมผสั พเิ ศษในเรือ่ งต่อไปน้ี

− ภยั ธรรมชาติ
− เศรษฐกจิ ตกตำ่
− สมาชกิ ใชเ้ งินผดิ วตั ถปุ ระสงค์
− สมาชกิ ไมซ่ ่ือสตั ย์ต่อสหกรณ์
− สมาชิกปกปิดขอ้ มูลเมือ่ มกี ารติดตามหน้ี
− สมาชกิ ขาดความเชอื่ มัน่ ตอ่ คณะกรรมการ
− สมาชกิ มีรายจา่ ยมากกว่ารายได้
− สมาชกิ มปี ัญหาหนซ้ี ำ้ ซ้อน
− สมาชกิ หลงเชอ่ื กองทนุ ฟ้นื ฟู
− สมาชิกเสพตดิ อบายมขุ

สรปุ พฤติกรรมทพี่ ึงประสงค์ของเจ้าหนา้ ท่สี ินเชือ่

ขยนั และซือ่ สตั ย์ เป็นคุณสมบัตทิ ต่ี ้องมี

การเจรจาพาที ดูดนี า่ เช่ือถือ

บริการรวดเร็ว จนเลอื่ งลือ

สามารถจำช่ือ สมาชิกไดท้ ุกคน

การตามหนี้ เป็นเรอื่ งทชี่ อบมาก

กลา้ เอย่ ปาก แม้คนดังคบั ตำบล

สัมผัสทห่ี ก รู้ลว่ งหน้ากอ่ นปิดบญั ชี

3. เจา้ หนา้ ทธี่ รุ การ

พฤตกิ รรมการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ
1. ต้งั หน้าตั้งตารบั - สง่ หนงั สอื ด้วยรอยยิม้ ทง้ั วัน ทกุ วัน
2. ลงเลขท่ีรับ - สง่ ทุกฉบบั ทกุ เรื่องท่เี ปน็ เอกสาร
3. สรปุ เรือ่ งรายงานอยา่ งถูกต้อง ชัดเจน รวดเรว็ พรอ้ มเอกสารประกอบ
4. ดำเนนิ การต่อเนอ่ื งจนกวา่ เรื่องจะจบ
5. คัดแยกเอกสารเป็นหมวดหมู่ตามระเบียบสารบรรณ

70

6. นัดหมายวัน เวลา และสถานท่ีให้ชัดเจนกับผู้ท่ีมาติดต่อและมีการจดบันทึกทุกครั้ง ทั้ง
บนั ทกึ ของตัวเองและบนั ทกึ ประกาศของหน่วยงาน

7. นำเอกสารทเี่ ขา้ - ออกอย่างเปน็ ระบบ ระเบียบ จนหาง่ายหายรู้
8. มีที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ของบุคคล หน่วยงานท่ีเก่ียวข้องท้ังหมด โดยรวมถึงข้อมูลเฉพาะที่

เปน็ ประโยชนด์ ้วย
9. จัดทำเอกสารเพ่ือเผยแพร่ให้สมาชิกทราบ เช่น จัดรายการวิทยุชุมชน ประกาศต่าง ๆ

หนังสือเชญิ ประชุม ภาพกจิ กรรมต่าง ๆ
10. ทำเอกสารประกอบรายงานการประชุม พร้อมท้ังจดบันทึกรายงานการประชุมได้ดี โดยใช้

เทคโนโลยที ีท่ ันสมัย นา่ สนใจ

สรปุ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ของเจา้ หน้าท่ธี ุรการ

เปน็ คณุ ละเอยี ด ชอบรับมอบงาน

ยมิ้ แยม้ หนา้ บาน งานเอกสารชัดเจน

ไม่พอกหางหมดู ้วยอนื่ ตอ้ งต่นื ก่อนนอนทหี ลัง

สติดี ศลิ ปต์ ั้ง ชอบฟังชอบพูด

4. เจา้ หนา้ ทก่ี ารเงนิ

พฤติกรรมการทำงานใหป้ ระสบผลสำเร็จ
1. แยกเงินตวั เอง กบั เงนิ สหกรณ์
2. ออกใบเสรจ็ รับเงนิ ทุกครัง้ เมอื่ มีรายการรับ– จ่าย เงินสดตามจรงิ
3. บันทึกรายการรับ – จ่าย ในสมุดเงนิ สดให้เป็นปจั จุบัน
4. รวบรวมเงินสดประจำวันใหห้ ัวหน้าผู้รบั ผิดชอบ
5. การถอนเงนิ จากธนาคาร ตอ้ งมสี ำเนาหลกั ฐานแนบใบสำคัญรับทกุ ครง้ั
6. รับเอกสารการเงนิ เชน่ เช็ค ดรา๊ ฟ ควรนำฝากธนาคารภายในวนั ทไี่ ดร้ ับ
7. การจ่ายมีบิลแนบใบสำคัญทุกคร้ัง กรณีไม่มีบิลให้ลงรายการในใบเบิกเงินของสหกรณ์
โดยมีลายเซน็ ผูร้ ับเงินและผู้อนมุ ตั ิ
8. การรบั เงินแทนมใี บรับมอบฉันทะ และแนบสำเนาบัตรประชาชนทุกครั้ง
9. ต้องมกี ารประทับตรา “ จ่ายเงนิ แลว้ ” ทุกครง้ั หลงั จากมกี ารจ่ายเงิน
10. กรณีเงินสดเกินบัญชี ใหร้ ับนำฝากธนาคารภายในวันนั้น หากไมท่ ันให้ระบุสาเหตขุ องเงินเกิน
บัญชี และแจง้ ผู้มีอำนาจให้รบั ทราบ
11. ปดิ รายการรบั – จ่ายให้เป็นปจั จุบนั
12. ตรวจรบั เงนิ สดคงเหลือดว้ ยตนเองทุกวัน และส่งผจู้ ดั การเซน็ รบั ทราบ
13. การถอนเงนิ จำนวนมาก ใหเ้ สนอผ้มู ีอำนาจอนุมตั ิ
14. การรบั – จา่ ยเงินตอ้ งนับอย่างน้อย 2 ครั้ง
15. ตรวจสอบเอกสารและเงนิ ใหต้ รงกนั
16. ก่อนบนั ทึกรายการในเอกสารควรมกี ารตรวจสอบยอดเงนิ ก่อนเพื่อป้องกันความผิดพลาด

71

สรุปพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของเจา้ หนา้ ท่กี ารเงนิ

ซือ่ สัตย์ซือ่ ตรง ม่นั คงในศีลธรรม

งานประจำเป็นปัจจุบนั บุคลิกมน่ั น่าเชอื่ ถือ

ภาพพจน์ต้องลำ่ ลอื วา่ คณุ คือเปาปนุ้ จ้นิ

5. เจา้ หนา้ ทีบ่ ญั ชี

พฤตกิ รรมการทำงานใหป้ ระสบผลสำเร็จ
1. รวบรวมเอกสารรับ – จา่ ยจากการเงินแลว้ นำมาบันทกึ บัญชปี ระจำวนั
2. ปดิ บญั ชีประจำวนั ทุกวันภายในเวลา 15.30 น.
3. บนั ทึกสมุดเงินสดและสมุดรายวันทั่วไป
4. แยกประเภทบัญชีแตล่ ะประเภท
5. จดั ทำงบทดลองประเดือน จัดทำงบทดลอง ณ วันสนิ้ ปี
6. ตรวจสอบเงนิ สดคงเหลอื กับเจา้ หนา้ ที่การเงิน ภายใน เวลา 14.30 น.
7. ตรวจนบั สนิ ค้าคงเหลอื ของสหกรณ์
8. เปน็ อสิ ระในการทำงานตามความถูกตอ้ งทางบัญชี

สรุปพฤติกรรมทพ่ี ึงประสงค์ของเจา้ หนา้ ทบี่ ญั ชี
มคี วามแม่นยำเรือ่ งตวั เลข ทำงานเป็นปัจจุบนั
มไี หวพริบ ชา่ งสงั เกตเท่าทนั ใช้ข้อมูลบริหารสหกรณ์

72

การบรกิ ารทดี่ ี (Service Mind)

Service Mind ถือเป็นหัวใจสำคัญของงานบริการ คนที่ทำงานบริการจะต้องให้บริการแก่ลูกค้า
ด้วยจิตใจที่รักงานบริการอย่างเต็มเปี่ยม และแสดงออกให้ลูกค้าเห็นถึงความเอาใจใส่ของคุณที่มีต่อลูกค้าให้
สมกับที่ เป็นพนักงานบริการลูกค้า โดยคำว่า Service Mind สามารถแยกออกเป็น 11 คำ ตามตัวอักษร
ได้ดงั นี้

เซอร์วิซ (Service) หรือบริการ:

S (smile) ย้มิ แย้มเข้าไว้ เพ่ือให้ลูกคา้ เกิดความรู้สึกดี ๆ เวลาเข้ามารับบริการจากเรา ฝึกย้มิ บ่อย ๆ
โดยฝึกย้ิมกับกระจก เวลาพูดให้มองกระจกไปด้วย ยิ้มไปเพื่อให้เกิดรอยย้ิมในน้ำเสียง แม้ไม่ได้เห็นหน้ากันก็
สามารถรบั รไู้ ด้ว่าคนพูดกำลังยิ้มอยู่

R (rapidness) รวดเร็วและมีคุณภาพ ยุคนี้ทุกอย่างต้องรีบเร่งแข่งขันกัน ใครให้บริการได้รวดเร็ว
ทันใจกวา่ ย่อมได้เปรยี บ

V (value) ไม่ว่าจะทำอะไรต้องคำนึงถึงมูลค่าเพิ่มด้วย ทำอย่างไรให้บริการของเราเกิดคุณคา่ สูงสุด
ลูกค้าเกดิ ความพงึ พอใจสูงสุด และปรารถนาจะกลบั มาใช้บริการอกี และจะทำอยา่ งไรจงึ จะปรบั เปลยี่ นใหง้ าน
ในสว่ นของเราใหม้ คี ณุ คา่ เพิม่ ขนึ้ เร่ือยๆ

I (impression) ทำช่วงเวลาแรกพบให้น่าประทับใจมากที่สุด ดูแลในเร่ืองบุคลิก การแต่งกายให้
สะอาด สุภาพ ถูกกาลเทศะ ดูดใี นภาพรวม เพือ่ ให้ลกู ค้าเกิดความประทบั ใจตั้งแตแ่ รกพบ

C (courtesy) ความสุภาพอ่อนโยนทำให้ผู้ท่ีพบเห็นหรือมีปฏิสัมพันธ์ด้วย รู้สึกประทับใจในความอ่อน
น้อมถ่อมตน สำหรับคนไทยการยกมือไหว้ เปน็ มารยาทอนั งดงามทจ่ี ะทำใหผ้ ูใ้ หญ่เกิดความรกั ใคร่เอ็นดู

E (endurance) ความอดทน จำเป็นมากสำหรับงานบริการ เพราะลกู ค้ามหี ลากหลายรูปแบบ บาง
คนมาแบบอารมณ์ร้อน เราก็ตอ้ งร้จู กั ควบคุมอารมณ์ เอานำ้ เย็นเข้าลบู จะชว่ ยผ่อนหนกั ให้เปน็ เบาได้

คาว่า “มายด์ (Mind)” หรือจติ ใจ:

M (make believe) การมีความเช่ือในส่ิงท่ีถูกต้อง ดีงาม ทำให้คนเรามีความสุข เช่ือในงานที่ทำ มี
ความสุขและรกั ในงานบรกิ าร เพอ่ื ใหเ้ กดิ การบริการทดี่ ีที่สดุ ลูกคา้ ได้รับส่งิ ท่ดี ีทสี่ ุดจากเรา

I (insist) ยืนหยัดในส่ิงที่ทำ ไม่วา่ จะเจออุปสรรคปญั หาสักก่ีคร้ัง ก็ไม่ทอ้ ถอย แม้เจอลูกค้าตำหนิ ต่อ
วา่ หรือลูกค้าเอาแตใ่ จ ก็ต้องอดทน และจะประสบความสำเร็จในทสี่ ุด

N (necessitate) เพราะลูกคา้ คือคนสำคัญ และต้องการได้รับการดูแลจากเราเป็นอย่างดี เราต้อง
ทำใหล้ ูกคา้ ทุกคนเปน็ คนพิเศษ ไม่แบ่งแยกหรอื เลือกท่ีรักมักที่ชัง

D (devote) อุทิศตนให้กับงานที่ทำ ทุ่มเททำงานด้วยหัวใจบริการอย่างเต็มท่ี สักวันก็จะมีความเห็น
ความตง้ั ใจจรงิ ของเรา ลกู คา้ รัก เพอื่ นรว่ มงานชื่นชอบ เจา้ นาย ชื่นชม

ทั้ง 11 คุณสมบัติของ Service Mind ที่กล่าวมานี้ คือ หัวใจของงานบริการที่คนทำงานบริการพึงมี
เพื่อการเป็นพนักงานบรกิ ารลูกคา้ ที่ดี สร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้าเมื่อเข้ามารับบรกิ ารจากคุณ และเม่ือ
คณุ สามารถมัดใจลกู ค้าไวไ้ ด้ คุณก็จะไดล้ กู คา้ ที่ภกั ดี และไม่เปลีย่ นใจไปไหน

73

การให้บริการที่ดีและมีคุณภาพ เป็นหัวใจหลักของธุรกิจบริการทุกแห่ง ดังน้ันบุคลากรท่ีปฏิบัติงานใน
ธุรกิจบริการต้องมีจิตใจรักในงานด้านบริการ (Service Mind) ผู้ให้บริการต้องมีความสมัครใจทุ่มเทท้ัง
แรงกายและแรงใจ มคี วามเสยี สละ ผูท้ ่ีจะปฏิบตั ิหนา้ ทไ่ี ดต้ ้องมีใจรกั และชอบในงานบรกิ าร

สรปุ Service Mind มคี วามหมายดงั นี้
S= Smile ต้องมีรอยยิ้ม
E = Enthusiasm ความกระตอื รือรน้ เอาใจใส่ลกู คา้
R= Responsiveness มีความรบั ผิดชอบในหนา้ ที่ทีม่ ตี อ่ ลูกคา้
V= Value ให้บรกิ ารลูกค้าอย่างมีคุณคา่
I = Impression ใหบ้ ริการอยา่ งประทับใจ
C= Courtesy บรกิ ารลูกค้าอย่างสภุ าพอ่อนโยน
E= Endurance ความดทนการเก็บอารมณ์
M= Make Believe มคี วามเชื่อ
I = Insist การยอมรับ
N = Necessitate การให้ความสำคัญ
D = Devote การอุทิศตน

การเปน็ ผู้ใหบ้ รกิ ารท่เี ป็นเลิศนัน้ ผู้ปฏิบตั งิ านทกุ ท่านควรคำนึงถงึ ขอ้ อืน่ ๆ อีก ดังน้ี

• ต้องมีความรู้ในงานที่ให้บริการ (Knowledge) ผู้ให้บริการต้องมีความรู้ในงานที่ตนรับผิดชอบท่ี
สามารถตอบข้อซักถามจากผู้รับบริการได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ ในเร่ืองของสินค้าที่นำเสนอ
ประวัติองค์กร ระเบียบ นโยบายและวิธีการต่าง ๆ ในองค์กร เพ่ือมิให้เกิดความผิดพลาดเสียหาย
และ ตอ้ งขวนขวายหาความรจู้ าก เทคโนโยลีใหม่ ๆ เพิม่ ข้ึนอยา่ งสมำ่ เสมอ

• มีความช่างสังเกตุ (Observe) ผู้ทำงานบริการจะต้องมีลักษณะเฉพาะตัวเป็นคนมีความช่างสังเกต
เพราะหากมีการรับรู้ว่าบริการอย่างไรจึงจะเป็นท่ีพอใจของผู้รับบริการก็จะพยายามนำมาคิด
สร้างสรรค์ ให้เกิดบริการ ที่ดีย่ิงขึ้น เกิดความพอใจและตอบสนองความต้องการของลูกค้าหรือ
ผู้รับบริการได้ มากยงิ่ ขึน้

• ต้องมีความกระตือรือร้น (Enthusiasm) พฤติกรรมความกระตือรือร้น จะแสดงถึงความมีจิตใจใน
การต้อนรับ ให้ช่วยเหลอื แสดงความห่วงใย จะทำให้เกิดภาพลักษณท์ ด่ี ี ในการช่วยเหลอื ผรู้ ับบริการ

• ต้องมีกิริยาวาจาสุภาพ (Manner) กิริยาวาจาเป็นส่ิงที่แสดงออกจากความคิด ความรู้สึก และ
สง่ ผลให้เกิดบคุ ลกิ ภาพที่ดี ดังนน้ั เพอ่ื ใหล้ กู คา้ หรอื ผ้รู บั บรกิ ารมคี วามสบายใจที่จะตดิ ตอ่ ขอรบั บรกิ าร

• ต้องมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creative) ผู้ให้บริการควรมีความคิดใหม่ ๆ ไม่ควรยึดติดกับ
ประสบการณ์หรือบริการท่ีทำอยู่ เคยปฏิบัติมาอย่างไรก็ทำไปอย่างน้ันไม่มีการปรับเปล่ียนวิธีการ
ให้บริการจึงควรมีความคิดใหม่ ๆ ในการปฏิรูปงานบรกิ ารไดด้ ี

• ต้องสามารถควบคุมอารมณ์ได้ (Emotional control) งานบริการเป็นงานที่ให้ความช่วยเหลือจาก
ผอู้ นื่ ต้องพบปะผูค้ นมากมายหลายชนช้ัน มกี ารศึกษาทต่ี ่างกัน ดังนั้นกิริยามารยาทจากผู้รับบรกิ ารจะ

74

แตกต่างกัน เมื่อผู้รับบริการไม่ได้ตั้งใจ อาจจะถูกตำหนิ พูดจาก้าวร้าว กิริยามารยาทไม่ดี ซ่ึงผู้
ให้บรกิ ารตอ้ งสามารถควบคมุ สติอารมณไ์ ด้เป็นอย่างดี

• ต้องมีสติในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น (Calmness) ผู้รับบริการส่วนใหญ่จะติดต่อขอความช่วยเหลือ
ตามปกติ แต่บางกรณีลกู ค้าท่มี ีปัญหาเร่งด่วน ผู้ให้บรกิ ารจะต้องสามารถวิเคราะห์ถึงสาเหตุและคิด
หาวิธีในการแก้ไขปัญหาอย่างมีสติ อาจจะเลือกทางเลือกท่ีดีท่ีสุดจากหลายทางเลือกในการ
ใหบ้ ริการแก่ลูกค้า

• มีทศั นคติตอ่ งานบริการดี (Attitude) การบริการเป็นการช่วยเหลือ ผ้ทู ำงานบริการเป็นผูใ้ ห้ จึงตอ้ งมี
ความคิดความรู้สึกตอ่ งานบรกิ ารในทางที่ชอบ และเต็มใจที่จะใหบ้ ริการ ถ้าผใู้ ดมีความคดิ ความรู้สึก
ไม่ชอบงานบริการ แม้จะพอใจในการรับบริการจากผู้อื่น ก็ไม่อาจจะทำงานบริการให้เป็นผลดีได้
ถ้าบุคคลใดมีทัศนคติต่องานบริการดี ก็จะให้ความสำคัญต่องานบริการ และปฏิบัติงานอย่างเต็มที่
เป็นผลให้งานบรกิ ารมคี ุณคา่ และนำไปสู่ความเปน็ เลิศ

• มีความรับผิดชอบต่อลูกค้าหรือผู้รับบริการ (Responsibility) ในด้านงานทางการตลาด และการ
ขาย และงานบริการ การปลกู ฝังทัศนคตใิ ห้เห็นความสำคัญของลูกคา้ หรือผู้รบั บริการด้วยการยกยอ่ ง
ว่า “ลูกค้าคือบุคคลที่สำคัญที่สุด” และ “ลูกค้าเป็นฝ่ายถูกเสมอ” ทั้งน้ีก็เพ่ือให้ ผู้ให้บริการมีความ
รบั ผิดชอบตอ่ ลูกคา้ อย่างดีทีส่ ดุ
ดังน้ัน เพ่ือคุณภาพและคุณค่าในงานบริการ ทุกฝ่ายจะต้องให้ความร่วมมือกันเพื่อทำให้บรรลุ

วัตถุประสงค์ ได้รบั ผลประโยชน์ทง้ั สองฝา่ ย ผใู้ ช้บรกิ ารพอใจองค์กรก็อยู่รอด (Win – win Strategy)

การบริการทดี่ ี (Service Mind) ในกระบวนการสหกรณ์

ความพึงพอใจของสมาชิกสหกรณ์ต่อคุณภาพการให้บริการ หมายถึง ความรู้สึกของสมาชิกสหกรณ์
ตอ่ การบริการของสหกรณใ์ น 5 ประเด็นคือ

1. ความเป็นรูปธรรมของบริการ หมายถึง ลกั ษณะทางกายภาพท่ัวไปท่ีเป็นส่ิงอํานวยความสะดวกต่าง
ๆ ให้แก่สมาชิก ได้แก่ สถานท่ีอุปกรณ์เครื่องมือ เอกสารที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารและสัญลักษณ์รวมท้ังภาพ
แวดล้อมต่าง ๆ

2. ความเชื่อถือไว้วางใจได้ หมายถึง ความสามารถในการให้บริการให้ตรงกับสัญญาท่ีให้ไว้กับ
สมาชกิ การบริการมีความถกู ต้อง เหมาะสม และมคี วามสม่ำเสมอ มรี ะบบข้อมูลทเ่ี ป็นระบบและเช่อื ถือได้

3. การตอบสนองต่อผู้รับบริการ หมายถึง ความพร้อมและความเต็มใจที่จะบริการสมาชิก
กระบวนการข้ันตอนต่าง ๆ มีความสะดวกรวดเร็ว สมาชิกสามารถเข้ารับบริการได้ง่ายรวมท้ังมีการกระจาย
การบริการไปถึงสมาชกิ อย่างทวั่ ถึง

4. การให้ความเช่ือมั่นต่อผู้รับบริการ หมายถึง ความเช่ือมั่นต่อคณะกรรมดําเนินการโดยมีการ
บริหารงานขององค์กรอย่างเป็นระบบ มีความซื่อสัตย์สุจริต คํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวมและความเชื่อม่ันต่อ
เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน โดยเป็นผู้ท่ีมีความรู้ทักษะ ความสามารถในการให้บริการรวมทั้งมีมนุษยสัมพันธ์ท่ีดีต่อ
สมาชกิ ผเู้ ข้ามารับบรกิ าร

5. การรู้จักและเข้าใจผรู้ ับบริการ หมายถึง ความสามารถของบคุ ลากรภายในองค์กรท่ีเข้าใจสมาชิก
แต่ละรายความสามารถในการดูแลเอาใจ ตามความต้องการทีแ่ ตกต่างของสมาชกิ แตล่ ะราย

75

ความพึงพอใจและสัมพนั ธภาพท่ีดีระหว่างผู้ให้บริการและผ้รู บั บรกิ าร ความพึงพอใจเป็นปัจจยั หนงึ่ ของ
มนุษย์ทุกคน ที่มีความรู้สึกเชิงบวก ประทับใจเมื่อได้รับการบริการ ที่ตรงกับความต้องการของตัวเอง โดยมี
ความคิดวา่ การให้บริการเป็นธรรมเคารพสิทธิของประชาชนผู้รบั บริการ ไมเ่ ลอื กปฏิบัติไม่มีการคอรัปชั่น
ซ่ึงระดับความพึงพอใจอาจจะแตกต่างกันไปตามทัศนคติค่านิยม ระดับการศึกษาของบุคคล ประกอบกับ
สถานการณ์สภาพแวดล้อมคือ ความพึงพอใจเกิดขึ้นเน่ืองจากได้รับส่ิงทต่ี นปรารถนาและไดร้ ับการตอบสนอง
ความตอ้ งการนั้น

ในการจัดการคุณภาพของการให้บริการองค์กรต่าง ๆ จึงนิยมใช้ความพึงพอใจเป็นเกณฑ์เพื่อวัดซ่ึง
แนวคดิ นีส้ มั พันธภาพอันดีระหว่างผ้ใู หบ้ ริการและผู้รับบริการ ไวด้ งั น้ี

1. ผู้ให้บริการจะต้องมีทัศนคติที่ดีต่อผู้รับบริการ อีกท้งั จะต้องปฏิบัติตนให้ผู้รับบริการมีทัศนคติที่ดีต่อ
ผูใ้ ห้บริการอีกด้วย

2. เจ้าหนา้ ท่ีผู้ให้บรกิ ารจะตอ้ งเปน็ ผมู้ ีความร้มู คี วามภมู ิฐาน บุคลิกภาพดีแตง่ กายสะอาดเรียบร้อย
3. เจ้าหน้าท่ีผู้ให้บริการควรแจ้งให้ผู้รบั บริการทราบว่าตนต้องการทําอะไรบ้างจะต้องใช้เวลาเท่าไหร่
ในการติดต่อหรือให้บรกิ าร
4. เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการจะต้องให้ความสําคัญและความสนใจแก่ผู้รับบริการเมื่อมีผู้รับบริการเขา้ มา
ตดิ ต่อขอรับบริการทนั ที
5. อย่าพูดหรือเน้นในส่ิงที่เป็นจุดเด่นของการให้บริการ แต่จะต้องกล่าวถึงความสําคัญของ
ผรู้ บั บรกิ ารสาํ คญั มากกว่า
6. เจ้าหน้าท่ีควรพยายามให้ความช่วยเหลือหรือบริการที่สามารถแก้ไขปัญหาหรือตอบสนองความ
ตอ้ งการของผรู้ ับบรกิ ารเท่าท่ีสามารถกระทําได้
7. หากเกิดความล่าช้าเนื่องมาจากสาเหตุท่ีคาดไม่ถึง ควรขออภัยและรับผิดต่อผู้รับบริการพร้อมทั้ง
อธบิ ายใหท้ ราบถงึ สาเหตุเหลา่ นนั้
8. ผู้ให้บรกิ ารจะต้องมีความสนใจและตอบคําถามเม่ือผรู้ ับบริการมีความขอ้ งใจหรือขอ้ สงสยั โดยไม่
รีรอ
9. ตอบหรอื แก้ไขขอ้ ร้องเรยี นของผ้มู ารับบรกิ ารอย่างไมร่ รี อในการตอบข้อซกั ถาม
10. ถ้าไม่สามารถให้บริการ เนื่องจากเหตุผลต่าง ๆ เช่น แบบฟอร์มเอกสารต่าง ๆ หมด ผู้
ใหบ้ ริการจะต้องชว่ ยเหลอื ผู้รับบรกิ ารใหไ้ ด้แบบฟอรม์ ที่ตอ้ งการได้
ความหมายของการให้บรกิ ารและคุณภาพของการให้บรกิ าร โดยสรุปแล้วการบริการเปน็ การดําเนิน
กจิ กรรมระหว่างผใู้ หบ้ รกิ ารและผู้รบั บรกิ าร โดยมีวตั ถุประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบรกิ าร
ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากท่ีสุด ดังน้ัน การบริการจึงต้องมีคุณภาพ สามารถตอบสนองคามต้องการ
ตรงตามความคาดหวังของผู้รับบริการ และเพ่ือให้การบริการมีการดําเนินการอย่างต่อเน่ือง จึงต้องมีปัจจัย
หรือองค์ประกอบด้านต่าง ๆ ซ่ึงผู้ให้บริการจะต้องมีการจัดการอย่างเป็นระบบ ให้ภาพรวมของการบริการ
เกิดความพงึ พอใจต่อผ้รู บั บริการ และเป็นคณุ ภาพบรกิ าร

76




Click to View FlipBook Version