The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

แพะเนื้อ ประจำปี 2566

แพะ

สำ นักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด วั ปัตตานี แพะเนื้อ https://www.opsmoac.go.th/pattani ประจำ ปี 2566


(ก) คำนำ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดปัตตานี ได้จัดทำเอกสารข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ ในด้านการวางแผนพัฒนาการเกษตรรายสินค้า ประจำปี2566 เรื่อง แพะเนื้อ ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูล ทั่วไปของแพะเนื้อ ข้อมูลสถิติการเลี้ยงแพะ ข้อมูลทางด้านกายภาพ และข้อมูลการพัฒนาแพะเนื้อของ จังหวัดปัตตานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน ทั้งในส่วนของ ภาคการศึกษา และผู้สนใจทั่วไป สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง ต่อไป รายงานเล่มนี้ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดปัตตานี ได้รวบรวบและแสดงผลข้อมูล ในรูปแบบของรายงานแสดงรายละเอียด อันประกอบด้วย การบรรยาย ตารางสถิติและรูปภาพ ซึ่งได้ดำเนินการจัดเก็บและรวบรวมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการสืบค้นข้อมูล จากอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุมเนื้อหาดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น อย่างครบถ้วน และสมบูรณ์ที่สุด สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดปัตตานี สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้องขอขอบคุณทุกหน่วยงานที่ได้ให้ความอนุเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวไว้ ณ โอกาสนี้ หากข้อมูล ในรายงานเล่มนี้มีความคลาดเคลื่อนประการใด ต้องขออภัย ณ ที่นี้ด้วย และคณะผู้จัดทำ ยินดีรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อมูลเพิ่มเติมจากทุกท่าน เพื่อนำไปปรับปรุงในโอกาสต่อไป กลุ่มสารสนเทศการเกษตร สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดปัตตานี สิงหาคม 2566


(ข) สารบัญ หน้า คำนำ (ก) สารบัญ (ข)-(ค) สารบัญภาพ (ง)-(จ) สารบัญตาราง (ฉ) ส่วนที่ 1 1-30 ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ 1 1.1 สายพันธุ์แพะเนื้อ และลักษณะประจำพันธุ์ 1 1.2 รูปแบบการเลี้ยงแพะ 6 1.3 การประมาณอายุแพะ 13 1.4 วิธีการเลี้ยงดูแพะ 14 1.5 อาหารและการให้อาหารแพะ 17 1.6 การดูแลสุขภาพแพะ 20 1.7 การเลี้ยงแพะตามวิถีอิสลาม 29 ส่วนที่ 2 31-41 ข้อมูลสถิติการเลี้ยงแพะ 2.1 พื้นที่ความเหมาะสมสำหรับการเลี้ยงแพะ 31 2.2 ข้อมูลเกษตรกรและแพะ ปี 2564 – 2565 33 2.3 ข้อมูลสถานการณ์การเลี้ยงแพะเนื้อในพื้นที่จังหวัดปัตตานี 38 2.4 ต้นทุนและผลตอบแทนจากการผลติแพะเนื้อรายย่อย จังหวัดสงขลา 44 2.5 แนวโน้สถานการณ์การบริโภคเนื้อแพะเนื้อ ปี 2565 -2566 47


(ค) ส่วนที่ 3 48-57 การพัฒนาแพะเนื้อในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 3.1 ระบบการผลิตแพะเนื้อต้นน้ำ 49 3.2 ระบบการผลิตแพะเนื้อกลางน้ำ 55 ภาคผนวก 57 ก การพัฒนาแพะเนื้อ จังหวัดปัตตานี 58-66 บรรณานุกรม (ช) คณะผู้จัดทำ (ซ)


(ง) สารบัญภาพ ภาพ หน้า 1 แพะพันธุ์บอร์ (Bore) เพศผู้ 1 2 แพะพันธุ์บอร์ (Bore) เพศเมีย 1 3 แพะพันธุ์แองโกร่า (Angora) เพศผู้ 2 4 แพะพันธุ์แองโกร่า (Angora) เพศเมีย 2 5 แพะพันธุ์แคชเมียร์ (Cashmere) 2 6 แพะพันธุ์แบล็คเบงกอล (Black Bengal) 3 7 แพะพันธุ์แองโกลนูเบียน (Anglo Nubian) 4 8 แพะพันธุ์พื้นเมือง (Native Goats) 5 9 การเลี้ยงแพะแบบผูกล่าม 7 10 การเลี้ยงแพะแบบปล่อย 8 11 การเลี้ยงแพะแบบขังคอก 8 12 การเลี้ยงแพะแบบผสมผสานกับการปลูกพืช 9 13 โรงเรือนเลี้ยงแพะยกระดับจากพื้น 11 14 ทางขึ้นลงโรงเรือน 11 15 ลักษณะพื้นของโรงเรือนใช้ไม้ 11 16 ใต้โรงเรือนยกระดับสะดวกในการทำความสะอาดมูลแพะ 12 17 การประมาณอายุแพะจากฟันของแพะ 13 18 ลักษณะพ่อพันธุ์แพะที่ดี 14 19 ลักษณะแม่พันธุ์แพะที่ดี 15 20 วงจรชีวิตพยาธิตัวกลมในกระเพาะแท้ของแพะ 21


(จ) สารบัญภาพ ภาพ หน้า 21 วงจรชีวิตพยาธิตัวตืด 22 22 วงจรชีวิตพยาธิใบไม้ในตับของแพะ 23 23 การตัดแต่งกีบเท้าของแพะ 27 24 เครื่องมือที่ใช้ในการตัดแต่งกีบเท้าของแพะ 28 25 แผนที่แสดงพื้นที่ความเหมาะสมสำหรับ 31 การเลี้ยงแพะของประเทศไทย 26 แผนที่แสดงพื้นที่ความเหมาะสมสำหรับ 32 การเลี้ยงแพะของจังหวัดปัตตานี 27 โครงการธนาคารแพะตำบลสันติสุข 63 จังหวัดชายแดนภาคใต้ปีงบประมาณ 2562 – 2566 ภายใต้แผนงานโครงการส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตร ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 28 โครงการส่งเสริมการเลี้ยงและแปรรูปปศุสัตว์(แพะเนื้อ) 65 เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ชายแดนใต้ ภายใต้แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ปีงบประมาณ 2564 - 2565


(ฉ) สารบัญตาราง ตาราง หน้า 1 โปรแกรมการให้อาหารแพะ 18 2 สูตรไวตามิน-แร่ธาตุที่สามารถผสมได้เอง 19 3 ตัวอย่างแบบฟอร์มการบันทึกข้อมูลทะเบียนประวัติ 28 4 ตัวอย่างแบบฟอร์มการบันทึกข้อมูลการเจริญเติบโตของแพะ 29 5 พื้นที่เขตความเหมาะสมการเลี้ยงแพะเนื้อของจังหวัดปัตตานี 32-33 6 จำนวนเกษตรกรและแพะ ในพื้นที่เขต 9 ปี พ.ศ. 2565 34 7 จำนวนแพะ จำแนกตามประเภท เขต 9 รายจังหวัด 36 8 เปรียบเทียบจำนวนเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ ในพื้นที่เขต 9 37 ปี 2564 – 2565 9 เปรียบเทียบจำนวนแพะ ในพื้นที่เขต 9 ปี 2564 – 2565 37 10 ปริมาณการผลิตและประสิทธิภาพการผลิตแพะเนื้อ 38 จังหวัดปัตตานี ปี 2564 – 2565 11 ข้อมูลเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อในพื้นที่จังหวัดปัตตานี 39 12 การใช้พื้นที่ดินเพาะปลูกพืชอาหารสัตว์ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี40 13 การใช้พื้นที่ดินเพาะปลูกพืชอาหารสัตว์ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี31 14 ข้อมูลปริมาณผลผลิตแพะเนื้อของจังหวัดปัตตานี 41 ออกสู่ตลาด ปี 2565 15 ตารางแสดงผลผลิตที่เกษตรกรขายได้ ปี 2563 – 2565 42 16 ตารางแสดงต้นทุนและผลตอบแทนทางการเงิน ปี2563 – 2565 42 17 ตารางแสดงปัญหาสำคัญของสินค้า 43 และข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไข 18 ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตแพะขุนแยก 46 ตามขนาดฟาร์ม จังหวัดสงขลา 19 แนวโน้มสถานการณ์การบริโภคเนื้อแพะปี 2565- 2566 47 ของจังหวัดปัตตานี


1 | ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ 1.1 สายพันธุ์แพะเนื้อ และลักษณะประจำพันธุ์ การเลี้ยงแพะเนื้อเป็นการเลี้ยงแพะที่ค่อนข้างแพร่หลายในกลุ่มเกษตรกร เพราะเป็นระบบการ เลี้ยงที่ง่ายต่อการจัดการเลี้ยงดูเอาใจใส่ และให้ผลตอบแทนเป็นเนื้อเพื่อจำหน่าย ที่มีความคุ้มค่า ทางเศรษฐกิจสูง และพันธุ์แพะเนื้อที่นิยมเลี้ยงกันในเขตประเทศไทยมีอยู่หลาก หลายพันธุ์ เช่น พันธุ์บอร์ พันธุ์แองโกร่า พันธุ์แคชเมียร์ พันธุ์แบล็คเบงกอล เป็นต้น 1) พันธุ์บอร์ (Boer) ปัจจุบันประเทศไทยนิยมเลี้ยงแพะพันธุ์บอร์ (Boer) เพื่อผลิตเป็นแพะเนื้อมากขึ้น เพราะเป็น แพะเนื้อที่มีขนาดรูปร่างใหญ่ ล่ำสัน มีลำตัวใหญ่ยาวและกว้าง มีกล้ามเนื้อมาก และมีลักษณะของกระดูก โครงร่างใหญ่แข็งแรง ลักษณะสีลำตัวเป็นสีขาวมีสีน้ำตาลแดง ที่หัวและคอ หัวโหนกนูน ดั้งจมูกโด่งและงุ้มลง เขาเอนไปด้านหลังและงอโค้งลงด้านล่าง ใบหู ยาวและห้อยลง มีเคราแต่ไม่มีติ่ง (Wattle) ที่ใต้คอ น้ำหนัก ตัวเฉลี่ยของตัวผู้อยู่ที่ประมาณ 70- 90 กิโลกรัม ส่วนตัวเมียมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยอยู่ที่ 50-65 กิโลกรัม แม่แพะ มีอัตราการให้ลูก แฝดสูง โดยมีจำนวนลูก 2-3 ตัวต่อครอก แพะพันธุ์นี้มีข้อดีในการเลี้ยงเป็นแพะเนื้อเพราะ มีขนาดใหญ่ ให้เนื้อมาก หนังจะมีคุณภาพดี อัตราการเจริญเติบโตดีหากมีการดูแลให้อาหารข้นเสริม แต่มีข้อด้อยในเรื่องของ การที่แม่แพะให้นมน้อย ไม่เพียงพอในการเลี้ยงลูกแฝด ภาพที่ 1 แพะพันธุ์บอร์ (Bore) เพศผู้ ภาพที่ 2 แพะพันธุ์บอร์ (Bore) เพศเมีย 1/ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ


2 | ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ 2) พันธุ์แองโกร่า (Angora) แพะพันธุ์แองโกร่า (Angora) เป็นแพะที่มีลักษณะรูปร่างขนาดเล็ก มีความสูงจาก หัวไหล่ ประมาณ 50-60 เซนติเมตร มีขนค่อนข้างยาวเมื่อเทียบกับพันธุ์อื่นๆ เส้นขนเป็นปุย ละเอียดอ่อนนุ่ม ในต่างประเทศ จึงนิยมเลี้ยงเพื่อเป็นแพะขน หัวมีลักษณะแบน ดั้งจมูกลาดตรง มีเขาเอนไปด้านหลัง หูตก มีเครา แต่ไม่มีติ่ง (Wattle) ใต้คอ น้ำหนักตัวในเพศผู้เฉลี่ยอยู่ที่ 35- 55 กิโลกรัม น้ำหนักตัวในเพศเมียเฉลี่ยอยู่ 30-40 กิโลกรัม จำนวนลูก 1 ตัวต่อครอก แพะพันธุ์นี้มีข้อด้อยในแง่ที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักตัวน้อย หากปล่อยให้แทะเล็มอยู่ ในแปลงหญ้า จะหากินไม่เก่ง แต่ชอบหากินตามพุ่มไม้ป่าละเมาะมากกว่า และจากการที่เป็นแพะที่มีขนยาว หากเลี้ยงในเขตที่มี อากาศร้อนมากแพะจะเครียดจากความร้อนขนพันกันทำ ให้สกปรกง่ายจึงต้องตัดขนปีละ 2 ครั้ง 3) พันธุ์แคชเมียร์ (Cashmere) แพะพันธุ์แคชเมียร์ (Cashmere) เป็นแพะที่มีรูปร่างขนาดใหญ่ มีความสูงจากหัว ไหล่เฉลี่ย 60-80 เซนติเมตร ขนยาวเป็นมัน ละเอียดมีสีขาว หัวมีลักษณะแบน ดั้งจมูกลาดตรง มีเขายาวเอนไปด้านหลัง ใบหูตั้งตรงและขนานไป กับพื้น ไม่มีติ่งใต้คอ น้ำหนักตัวเฉลี่ยของตัว ผู้อยู่ที่ 50-60 กิโลกรัม ตัวเมียอยู่ที่40-50 กิโลกรัม แพะ พันธุ์นี้มีข้อดีในการเลี้ยงเป็นแพะเนื้อที่มีขนาด ภาพที่ 5 แพะพันธุ์แคชเมียร์ (Cashmere) ภาพที่ 3 แพะพันธุ์แองโกร่า (Angora) เพศผู้ ภาพที่ 4 แพะพันธุ์แองโกร่า (Angora) เพศเมีย 2/ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ


3 | ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ กลาง หนังจะมีคุณภาพดีใช้ทำกระเป๋า เครื่องหนังได้ดี ขนยาวละเอียดใช้ทอเป็นเครื่องนุ่มห่มได้ แต่มี ข้อด้อยในเรื่องของการ ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่มีอากาศร้อนได้ยากเพราะเป็นแพะที่ชอบอยู่ใ น สภาพอากาศหนาวมากกว่าและพันธุ์นี้จะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ช้าคือประมาณ 20-24 เดือนขึ้นไป 4) พันธุ์แบล็คเบงกอล (Black Bengal) แพะพันธุ์แบล็คเบงกอล (Black Bengal) เป็นแพะที่มีขนาดเล็ก มีถิ่นกำเนิดอยู่ใน ประเทศอินเดีย บังคลาเทศ มีสีดำสนิทตลอด ลำตัวซึ่งพบเป็นส่วนมากในแพะพันธุ์นี้ แต่ อาจจะ พบสีอื่นได้บ้างคือ สีขาว สีน้ำตาล สีขาว ปนดำ หรือสีน้ำตาลปนดำ ลักษณะขนสั้นเป็น มันเงา ดั้งจมูกลาดตรง หน้าเล็กสั้นมีเขาและมี เคราทั้งตัวผู้และตัวเมีย ใบหูมีขนาดเล็กสั้น มี ความสูง จากหัวไหล่เฉลี่ย 50-60 เซนติเมตร น้ำหนักตัวเฉลี่ยของตัวผู้อยู่ที่ 20-35 กิโลกรัม ตัวเมียอยู่ที่ 15-20 กิโลกรัม แพะพันธุ์นี้มีการให้ลูกแฝดสองแฝดสามสูงมาก และบางครั้งอาจได้ลูกแฝด ถึงสี่ ตัวก็ได้ แพะพันธุ์นี้มีข้อดีเด่นในเรื่องของการเลี้ยง เป็นแพะเนื้อที่มีขนาดเล็ก และให้หนังที่ นิ่มมีคุณภาพ ดีเลิศและมีมูลค่าสูง ใช้ทำกระเป๋า เครื่องหนังได้ดี ประเทศไทยรู้จักกับแพะพันธุ์ นี้เพิ่มมากขึ้นเมื่อซึ่งรัฐบาล ประเทศสาธารณรัฐประชาชนบังคลาเทศที่ได้นอมเกล้าถวายพ่อแม่พันธุ์แพะพันธุ์แบล็คเบงกอล แด่สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เมื่อปี พ.ศ. 2548 จากนั้นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรม ราชกุมารี ได้พระราชทานแพะพันธุ์แบล็ค เบงกอลให้แก่กรมปศุสัตว์นำไปศึกษาวิจัยและ ปรับปรุงพันธุ์เพื่อ ส่งเสริมให้แก่เกษตรกรต่อไปในปัจจุบันนี้ได้มีการศึกษาและขยายพันธุ์แพะพันธุ์แบล็คเบงกอล เพื่อให้ทราบ ถึงลักษณะและ คุณค่าทางเศรษฐกิจต่างๆได้แก่ อัตราการเจริญเติบโตของลูกแพะ ซึ่งมีการเจริญเติบโตที่ดี และรวดเร็ว ศักยภาพระบบสืบพันธุ์ดี มีความสามารถผสมติดสูง การให้ผลผลิตเนื้อ ซึ่งเป็นเนื้อคุณภาพดี มีความนุ่ม มีกลิ่นและรสชาติดี ไขมันน้อย และให้ปริมาณน้ำนมมากพอเพื่อ ใช้สำหรับการเลี้ยงลูกที่มีจำนวนมากได้ ภาพที่ 6 แพะพันธุ์แบล็คเบงกอล (Black Bengal) 3/ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ


4 | ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ 5) พันธุ์แองโกลนูเบียน (Anglo Nubian) แพะพันธุ์แองโกลนูเบียน (Anglo Nubian) เป็นแพะพันธุ์ที่เกิดจากการปรับปรุง พันธุ์โดยผสม พันธุ์ระหว่างแพะอียิปต์ พันธุ์ซาไรบี แพะอินเดีย พันธุ์จามนาปารี และแพะจาก สวิสเซอร์แลนด์ พันธุ์ทอกเก็นเบิร์ก ซึ่งได้มีการดำเนินการพัฒนาสายพันธุ์ในประเทศอังกฤษ เนื่องจากแพะพันธุ์แองโกลนูเบียนสืบเชื้อสาย มาจากแพะในเขตร้อนจึงสามารถที่จะปรับตัวเข้ากับ สภาพอากาศร้อนได้ดีกว่าแพะพันธุ์ยุโรป แพะ พันธุ์แองโกลนูเบียนนั้นมีสีหลายสีตั้งแต่สีดำ น้ำตาล เทา และสีขาว แพะพันธุ์นี้มีสีอะไรก็ได้ไม่ถือ ว่าผิดลักษณะประจำพันธุ์ ลักษณะทั่วไปเป็นแพะ ขนาดใหญ่ลำตัวยาวและกว้างเมื่อโตเต็มวัย เพศผู้มี น้ำหนักประมาณ 70 กิโลกรัม เพศเมียหนัก ประมาณ 60 กิโลกรัม ความสูงที่หัวไหล่ 75- 100 เซนติเมตร หัวโหนกนูน ใบหู ใหญ่ยาวและ ห้อยตกลง ดั้งจมูกโด่งและสันจมูกโค้งงุ้ม ไม่มีติ่ง (Wattle) ใต้คอ ตัวผู้มักมีเครา แต่ตัวเมียไม่มี ปกติไม่มีเขาแต่บางตัวอาจมีเขาขนาดเล็ก เขาจะมีลักษณะสั้น เอนแนบติดกับ หลังหัว แพะพันธุ์นี้ให้นมเฉลี่ยประมาณ วันละ 1 กิโลกรัม สามารถผลิตน้ำนมได้เฉลี่ย ประมาณ 300 กิโลกรัม ตลอดระยะการให้นมนานประมาณ 300 วัน แม่แพะมีอัตราของการคลอด ลูกแฝด สูง โดยจะมีอัตราการคลอดลูกเฉลี่ยอยู่ที่ครอกละ 1.6-1.9 ตัว แพะพันธุ์นี้มีข้อดีคือมีขนที่สั้นและนุ่มละเอียดเป็นมัน จึงสามารถทนทานและ สามารถปรับตัว ในสภาพอากาศร้อนได้ดี รวมทั้งแพะพันธุ์นี้มีช่วงขายาวซึ่งเป็นลักษณะดีที่จะ ช่วยทำให้การรีดนมง่าย อีก ทั้งไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเต้านมอักเสบ ภาพที่ 7 แพะพันธุ์แองโกลนูเบียน (Anglo Nubian) 4/ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ


5 | ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ 6) พันธุ์พื้นเมือง (Native goats) แพะพื้นเมือง (Native goats) เป็นแพะ ที่มีขนาดเล็ก มีการเลี้ยงและขยายพันธุ์กัน อย่าง แพร่หลายในแถบชนบทในเขตภาคใต้ของประเทศ ไทย โดยมากแพะพื้นเมืองที่มีอยู่ มีการสันนิษฐานว่า การนำแพะเข้ามาเลี้ยงนั้นได้มาจากสายพันธุ์แพะใน ประเทศอินเดีย และประเทศ มาเลเซีย ด้วยเหตุผล ของการเผยแผ่ศาสนาและวัฒนธรรมการเลี้ยงแพะ ของประชาชนที่นับถือ ศาสนาอิสลาม การเลี้ยงแพะ ในเขตภาคใต้ของประเทศไทยนั้น มักจะเป็นการเลี้ยง แบบปล่อย ให้หากินไปตามพื้นที่รกร้าง เรือกสวนไร่นา ทุ่งหญ้าสาธารณะ เขตสวนยาง หรือป่าพรุ เป็นต้น แพะพื้นเมืองเป็นแพะที่มีขนาดตัวเล็ก ลักษณะของแพะมักจะค่อนข้างแปรผันมาก ทั้งในส่วน ของขนาด รูปร่าง และสีสันของลำตัวแพะ คือมีมากมายหลายสีตั้งแต่ สีเหลือง แดง น้ำตาลแดง น้ำตาลเข้ม ดำ หรืออาจมีลักษณะแบบสีผสม เช่น ขาวน้ำตาล ขาวดำ น้ำตาลดำ อาจพบลำตัวแพะมีลายจุด หรือลาย เป็นวง เป็นแต้ม หรือมีลายกระด่างกระดำ มีการผสมสีกัน จนสีของลำตัวดูเปรอะไปทั้งตัว เป็นต้น ลักษณะนิสัยแพะพื้นเมืองจะค่อนข้างร่าเริงและมีความอดทนสูงต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่ เหมาะสมหลายอย่าง เช่น สภาพอากาศร้อน หรือความชื้นที่มีมากจากสภาพฝนตกชุกใน เขตภาคใต้ของไทย แพะพื้นเมืองมีขนาดเล็กจึงทำให้ปราดเปรียว คล่องตัวในการซอกแซกหา กินใบไม้ตามพุ่มไม้และปีน ป่าย คล่องแคล่ว เชื่อง ไม่ตื่นคน หากินเก่ง กินอาหารได้หลากหลาย ทั้งผลพลอยได้ทางการเกษตร เศษพืชผัก หรือเศษอาหารที่เหลือจากครัวเรือน แพะพื้นเมือง จะค่อนข้างเป็นสัดเร็ว แต่ก็เลี้ยงลูกเก่ง สอนลูกให้หากิน ได้เร็ว ซึ่งถือเป็นลักษณะเด่นของ แพะพื้นเมืองนั่นเอง ภาพที่ 8 แพะพันธุ์พื้นเมือง Native Goats) 5/ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ


6 | ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ 1.2 รูปแบบการเลี้ยงแพะ การเลี้ยงสัตว์กำลังได้รับการสนใจเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากการปลูกพืชแล้ว การเลี้ยงสัตว์ ยังเป็นอาชีพหนึ่งที่สามารถทำรายได้ให้แก่เกษตรกรทั้งเป็นรายได้หลักและรายได้เสริม ปัจจุบันประเทศไทย นอกจากจะเลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภคภายในประเทศแล้ว ยังสามารถส่งเป็นสินค้าออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ทำรายได้ปีละหลายพันล้านบาท แพะเป็นสัตว์เลี้ยงชนิดหนึ่งที่น่าทำการส่งเสริมให้เกษตรกรทำการเลี้ยง เช่นเดียวกับสัตว์อื่น การผลิตแพะยังสามารถขยายตัวได้อีกมาก เพราะนอกจากจะเลี้ยงแพะเพื่อการบริโภค ในประเทศแล้ว ยังมีแนวโน้มที่สามารถจะส่งแพะไปจำหน่ายยังประเทศข้างเคียงได้อีกด้วย แพะเป็นสัตว์ที่น่าเลี้ยง ทั้งนี้เพราะแพะนอกจากจะเลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์ได้เร็วแล้ว ยังมีข้อดีต่างๆ อีกมาก เช่น - แพะเป็นสัตว์ที่ให้ผลผลิตทั้งเนื้อและนม มีขนาดเล็ก ทำให้ผู้หญิงหรือเด็กก็สามารถให้การดูแลได้ - แพะเป็นสัตว์ที่หาอาหารกินเองได้เก่ง กินอาหารได้หลายชนิด ดังนั้นถึงแม้ฤดูแล้ง แพะก็สามารถหาวัชพืชที่โค-กระบือไม่กินๆ เป็นอาหารได้ - แพะมีการเจริญเติบโตเป็นหนุ่มเป็น สาวได้เร็ว สามารถใช้แพะผสมพันธุ์ได้ตั้งแต่อายุ เพียง 8เดือน - แพะมีความสมบูรณ์พันธุ์สูงแม่แพะ มักคลอดลูกแฝด และใช้ระยะเวลาในการ เลี้ยงลูกสั้น จึงทำให้สามารถตั้งท้องได้ใหม่ - แพะเป็นสัตว์ที่ใช้พื้นที่ในการเลี้ยงเพียงเล็กน้อย ทั้งพื้นที่โรงเรียนและพื้นที่สำหรับปลูกพืชอาหาร สัตว์สำหรับแพะ - แพะเป็นสัตว์ที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี มีความทนทานต่อสภาพอากาศแล้ง และร้อนได้ดี - แพะเป็นสัตว์ที่ใช้เป็นอาหารบริโภคสำหรับประชาชนของทุกศาสนา เพราะไม่มีศาสนาใด ห้ามบริโภคเนื้อแพะ 6/ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ


7 | ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ 1) ลักษณะและวิธีการเลี้ยงแพะโดยทั่วไปแบ่งเป็น 4 แบบ ดังนี้ 1. การเลี้ยงแบบผูกล่าม การเลี้ยงแบบนี้ใช้เชือกผูกล่ามที่คอแพะ แล้วนำไปผูกให้แพะหาหญ้ากินรอบบริเวณที่ผูก โดยปกติเชือกที่ใช้ผูกล่ามแพะมักมีความยาว ประมาณ 5-10 เมตร การเลี้ยงแบบนี้ผู้เลี้ยง จะต้องมีน้ำและอาหารแร่ธาตุไว้ให้แพะกิน เป็นประจำด้วย ในเวลากลางคืนก็ต้องนำ แพะกลับไปเลี้ยงไว้ในคอกหรือเพิงที่มีที่หลบฝน การผูกล่ามแพะควรเลือกพื้นที่ที่มีร่มเงาที่ แพะสามารถหลบแดดหรือฝนไว้บ้าง หากจะ ให้ดีเมื่อเกิดฝนตกควรได้นำแพะกลับเข้า เลี้ยงในคอก ที่มา: https://www.thaifranchisecenter.com/document/show.php?docuID=6336 ภาพที่9 การเลี้ยงแพะแบบผูกล่าม 7/ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ


8 | ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ 2. การเลี้ยงแบบปล่อย การเลี้ยงแบบปล่อยนี้เกษตรกรมักปล่อยแพะให้ออกหาอาหารกินใน เวลากลางวัน โดยเจ้าของจะคอยดูแลตลอดเวลาหรือเป็นบางเวลาเท่านั้นลักษณะ การเลี้ยงแบบนี้ เป็นที่ นิยมเลี้ยงกันมากในบ้านเราเพราะเป็นการเลี้ยงที่ประหยัด เกษตรกรไม่ต้องตัดหญ้ามาเลี้ยงแพะ การปล่อยแพะหา อาหารกินอาจปล่อยในแปลงผักหลังการเก็บเกี่ยวหรือ ปล่อยให้กินหญ้าในสวนยาง แต่จะต้องระมัดระวังอย่า ให้แพะเที่ยวทำความเสียหายให้แก่พืชที่เกษตรกร เพาะปลูก ทั้งนี้เพราะแพะกินพืชได้หลายชนิด การปล่อย แพะออกหาอาหารกินไม่ควรปล่อยในเวลาที่แดดร้อนจัด หรือฝนตก เพราะแพะอาจเจ็บป่วยได้ โดยปกติ เกษตรกรมักปล่อยแพะหาอาหารกิน ตอนสายแล้วไล่ ต้อนกลับเข้าคอกตอนเที่ยง หรือปล่อยแพะออกหา อาหารกินตอนบ่ายแล้วไล่ต้อนกลับเข้าคอกตอนเย็น หากพื้นที่ ที่มีหญ้าอุดมสมบูรณ์แพะจะกินอาหาร เพียง 1-2 ชั่วโมงก็เพียงพอแล้ว ที่มา :https://www.technologychaoban.com/livestock-technology/article_76649 3. การเลี้ยงแบบขังค อก การเลี้ยงแบบนี้เกษตรกรขังแพะไว้ในคอก รอบๆคอกอาจมีแปลงหญ้า บางครั้งเกษตรกร ต้องตัดหญ้าเนเปียส์หรือกินนีให้แพะกินบ้าง ในคอกต้องมีน้ำและอาหารข้นให้กิน การเลี้ยง วิธีนี้ประหยัดพื้นที่และแรงงานในการดูแล แพะ แต่ต้องลงทุนสูง เกษตรกรจึงไม่นิยมทำ การเลี้ยงกัน ที่มา : https://www.technologychaoban.com/livestock-technology/article_76649 ภาพที่ 10 การเลี้ยงแพะแบบปล่อย ภาพที่ 11 การเลี้ยงแพะแบบขังคอก 8/ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ


9 | ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ 4. การเลี้ยงแบบผสมผสานกับการปลูกพืช การเลี้ยงแบบนี้ทำการเลี้ยงได้ 3 ลักษณะ ที่กล่าวข้างต้น แต่การเลี้ยงลักษณะนี้เกษตรกร จะเลี้ยงแพะปะปนไปกับการปลูกพืช เช่น ปลูกยางพารา ปลูกปาล์มน้ำมันและปลูก มะพร้าว ในภาคใต้ของประเทศไทย มีเกษตรกร จำนวนมากที่ทำการเลี้ยงแพะควบคู่ไปกับการ ทำสวนยาง โดยให้แพะหากินหญ้าใต้ต้นยางที่มี ขนาดโตพอสมควร การเลี้ยงแบบนี้ทำให้ เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้นกว่าการเพาะปลูก เพียงอย่างเดียว ที่มา : https://108kaset.com/2018/06/26/matter/ ภาพที่ 12 การเลี้ยงแพะแบบผสมผสานกับการปลูกพืช 9/ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ


10 | ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ 2) ลักษณะโรงเรือน แพะก็เหมือนสัตว์เลี้ยงอื่นๆ คือจะต้องมีสถานที่สำหรับแพะได้พักอาศัยหลบแดด หลบฝน หรือเป็นที่สำหรับนอนในเวลากลางคืน การสร้างโรงเรือนที่ใช้เลี้ยงแพะควรได้ยึดหลัก ดังต่อไปนี้ 1. พื้นที่ตั้งของคอก คอกแพะ ควรอยู่ในที่เนินน้ำไม่ท่วมขัง แต่ถ้าหาก พื้นที่ที่ทำการเลี้ยงแพะมีน้ำท่วมขังเวลา ฝนตก ก็ควรสร้างโรงเรือนแพะให้สูงจาก พื้นดินตามความเหมาะสม แต่ทางเดิน สำหรับแพะขึ้นลงไม่ควรมีความลาดสูงกว่า 45 องศา เพราะหากสูงมากแพะจะไม่ค่อย กล้าขึ้นลงพื้นคอกที่ยกระดับจากพื้นดินควร ทำเป็นร่อง โดยใช้ไม้ขนาดหนา 1 นิ้ว กว้าง 2 นิ้ว ปูพื้นให้เว้นร่องระหว่างไม้แต่ละอัน ห่างกันประมาณ 1.5 เซนติเมตร หรือ อาจจะใช้พื้นที่คอนกรีต โดยปูพื้นคอกแพะ ด้วยสแลตที่ปูพื้นคอกสุกรก็ได้พื้นที่เป็นร่อง นี้จะทำให้มูลของแพะตกลงข้างล่าง พื้นคอกจะ แห้งและสะอาดอยู่เสมอ ที่มา : https://basicdiseases-goatfarm.blogspot.com/2017/11/blog-post_11.html ภาพที่ 13 โรงเรือนเลี้ยงแพะยกระดับจากพื้น 10/ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ


11 | ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ ทางขึ้นลงของโรงเรือนยกระดับไม่ควรลาดเอียงเกินกว่า 45 องศา และเพื่อให้แพะเดินขึ้นลงได้สะดวก ทางขึ้นลง ควรมีไม้ตอกเสริมขวางเป็นขั้นๆ ที่มา : https://www.ryt9.com/s/prg/3304962 2. ผนังคอกควรสร้าง ให้โปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดี ผนังคอกควรมีความสูงไม่ต่ำกว่า 1.5 เมตร ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ แพะกระโดดหรือปีนข้ามออกไปได้ และลักษณะพื้นของโรงเรือน ใช้ไม้ ทำพื้นเว้นระยะเป็นร่องเพื่อให้มูล แพะตกไปข้างล่างได้สะดวก https://www.technologychaoban.com/livestock-technology/article_39931 ภาพที่ 14 ทางขึ้นลงโรงเรือน ภาพที่ 15 ลักษณะพื้นของโรงเรือนใช้ไม้ 11/ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ


12 | ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ 3. หลังคาโรงเรือน แบบของหลังคาโรงเรือนเลี้ยง แพะมีหลายแบบ เช่น เพิงหมา แหงน หรือ แบบหน้าจั่ว เกษตรกร ที่สร้างควรเลือกแบบที่คิดว่า เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ และทุนทรัพย์ หลังคาโดยปกติ มักจะสร้างให้สูงจากพื้นคอก ประมาณ 2 เมตร ไม่ควรสร้าง โรงเรือนให้หลังคาต่ำเกินไปเพราะ อาจทำให้ร้อนและอากาศถ่ายเท ไม่ดี สำหรับวัสดุที่ใช้มุงหลังคาจะใช้จากหรือแฝก หรือสังกะสีก็ได้ https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_70471 ใต้โรงเรือนที่ยกระดับมักมีมูลแพะดังนั้นควรทำความสะอาดกวาดโกยมูลแพะไปทิ้งอยู่เสมอ 4. ความต้องการพื้นที่ของแพะ แพะมีความต้องการพื้นที่ในการอยู่อาศัยในโรงเรือน ประมาณตัวละ 1 ตารางเมตร ส่วนใหญ่ผู้เลี้ยงมักแบ่งภายในโรงเรือนออกเป็นคอกๆ แต่ละคอกขังแพะรวม ฝูงกันประมาณ 10 ตัว โดยคัดขนาดของแพะให้ไกล้เคียงกันขังรวมฝูงกัน แต่ถ้าหากเห็นว่าสิ้นเปลืองค่า ก่อสร้างก็อาจขังแพะรวมกันเป็นฝูงใหญ่ในโรงเรือนเดียวกัน โดยไม่แบ่งเป็นคอกๆ ก็ได้ 5. รั้วคอกแพะ เกษตรกรบางรายเลี้ยงแพะไว้ในโรงเรือนและมีบริเวณสำหรับให้แพะเดินเล่น รอบโรงเรือน บริเวณเหล่านี้จะทำรั้วล้อมรอบป้องกันไม่ให้แพะออกไปภายนอกได้ รั้วที่ล้อมรอบโรงเรือน แพะไม่ควรใช้ลวดหนามเป็นวัสดุ เพราะแพะเป็นสัตว์ซุกซน อาจได้รับอันตรายจากลวดหนามได้ รั้วควร สร้างด้วยไม้ไผ่หรือลวดตาข่าย ทุกระยะ 3-4 เมตร จะมีเสาปักเพื่อยึดให้รั้วแข็งแรง หากจะสร้างรั้วให้ ประหยัดอาจใช้กระถินปลูกเป็นแนวรั้วปนกับใช้ไม้ไผ่ก็จะทำให้รั้วไม้ไผ่คงทนและใช้งานได้นาน โดยระยะแรกสร้างรั้วไม้ไผ่แล้วปลูกกระถินเป็นแนวข้างรั้วไม้ไผ่ เมื่อกระถินโตขึ้นก็จะเป็นรั้วทดแทนต่อไป ภาพที่ 16 ใต้โรงเรือนยกระดับสะดวกในการทำความสะอาดมูลแพะ ลักษณะพื้นของโรงเรือนใช้ไม้ 12/ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ


13 | ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ 1.3 การประมาณอายุแพะ การประมาณอายุของแพะสามารถดูได้จากฟันของแพะ แพะมีฟันล่าง 8 ซี่ ฟันแท้ของแพะจะ งอกขึ้นมาแทนฟันน้านมเป็นคู่ ตั้งแต่อายุ 1 ปี ถึง 4 ปี และหลังจากแพะอายุได้ 4 ปี แล้วฟันแท้จะค่อยๆ หลุดไป ซึ่งจะเข้าใจมากขึ้นเมื่อดูจากภาพประกอบ ภาพที่ 17 การประมาณอายุแพะจากฟันของแพะ 13/ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ


14 | ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ 1.4 วิธีการเลี้ยงดูแพะ การที่จะให้การเลี้ยงแพะประสบความสำเร็จ ปัจจัยที่สาคัญอันหนึ่ง ก็คือพันธุ์แพะที่จะใช้เป็น พ่อ-แม่พันธุ์ เพราะพ่อ - แม่พันธุ์ ที่ดีหากเลี้ยงอย่างถูกวิธี จะให้ผลผลิตที่ดีด้วยการเริ่มต้นในการเลี้ยงแพะ ควรเริ่มจากการเลี้ยงแพะเมือง หรือแพะลูกผสมระหว่างแพะพันธุ์พื้นเมืองกับแพะพันธุ์พื้นเมืองกับแพะพันธุ์ ต่างประเทศที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์แล้ว เพราะนอกจากจะเลี้ยงดูง่ายแล้วยังลงทุนต่ำอีกด้วย เมื่อมีความรู้ และประสบการณ์แล้วก็เริ่มเลี้ยงแพะพันธุ์แท้ ซึ่งอาจจะใช้แต่พ่อพันธุ์แพะที่ดี นำมาผสมพันธุ์กับแม่แพะ หรือปรับปรุงพันธุ์แพะในฝูงให้ดีขึ้น การเลือกพ่อ -แม่พันธุ์แพะ ที่จะทาการเลี้ยงนั้น พ่อพันธุ์ควรคัดเลือกแพะ ที่มีสายเลือดแพะพันธุ์แท้ รูปร่างสูงใหญ่ น้าหนักตัวมากที่สุดในฝูงมีความแข็งแรง มีความสมบูรณ์พันธุ์ โดยควรคัดพ่อพันธุ์แพะที่เกิดจากแม่แพะที่ให้ลูกแฝดสูง และที่สาคัญคือพ่อพันธุ์แพะควรมี ความกระตือรือร้นที่จะทาการผสมพันธุ์กับแม่แพะที่เป็นสัด แม่พันธุ์แพะที่จะเลือกควรเป็นแม่พันธุ์ที่มี รูปร่างลักษณะดี ลาตัวยาวเต้านมมีขนาดใหญ่ สมส่วน นิ่ม และหัวนมยาวสม่ำเสมอกัน ปริมาณน้ำนมมาก สามารถผสมติง่ายและให้ลูกแฝด การปฏิบัติเลี้ยงดูแพะตัวผู้และตัวเมียก็คล้ายกันแต่ควรแยกแพะตัวผู้และตัวเมีย อย่าให้เลี้ยงปนกัน ตั้งแต่อายุได้ 3 เดือน การใช้พ่อพันธุ์ และแม่พันธุ์ผสมพันธุ์กันควรมีอายุไม่ต่ากว่า 8 เดือน 1) การเลี้ยงดูพ่อพันธุ์แพะ ภายหลังจากแยกพ่อพันธุ์แพะอายุ 3 เดือนจากแพะตัวเมียแล้วพ่อ พันธุ์ควรได้รับอาหารที่มีพลังงานสูง และได้ออกกาลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง พ่อพันธุ์แพะเริ่มให้ผสม พันธุ์เมื่ออายุได้ 8 เดือน โดยไม่ควรให้พ่อพันธุ์ผสมพันธุ์แบบคุมฝูงกับแพะ ตัวเมียเกินกว่า 20 ตัว ก่อนอายุ ครบ 1ปีหลังจากนั้นก็ค่อยๆ ให้ผสมพันธุ์ได้มากขึ้นแต่ทั้งนี้ไม่ควรใช้พ่อพันธุ์แพะคุมฝูงแพะตัวเมียเกินกว่า 25 ตัว แพะตัวผู้ควรได้รับการตัดแต่งกีบเสมอๆ และอาบน้า กาจัดเหา เป็นครั้งคราว ส้นเท้าสูง หน้าอก ลึก กว้าง อณัฑะปกติ ขาตรง หลังเป็นเส้นตรง ภาพที่ 18 ลักษณะพ่อพันธุ์แพะที่ดี 14/ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ


15 | ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ 2) การเลี้ยงดูแม่พันธุ์แพะ แพะพันธุ์พื้นเมืองมักเริ่มเป็นสัดตั้งแต่อายุน้อยๆ โดยอาการเป็นสัด ของแพะ ตัวเมียจะเป็นประมาณ 3 วัน หลังจากนั้นจะเป็นสัดครั้งต่อไปห่างจากครั้งแรกประมาณ 21 วัน แพะตัวเมียเริ่มให้ได้รับการผสมพันธุ์เมื่ออายุ 8 เดือน การผสมพันธุ์แพะตัวเมียตั้งแต่อายุยังน้อยๆอาจทำให้ แพะแคระแกร็นได้ หลังจากได้รับการผสมพันธุ์แล้วอาจจะปล่อยแพะตัวเมียเข้าฝูงโดยไม่ต้องให้การดูแล เป็นพิเศษแต่อย่างใด นอกจากแพะตัวเมียนั้นจะผอมหรือป่วย ถ้าแพะตัวเมียที่ได้รับการผสมพันธุ์แล้ว กลับมาเป็นสัดอีกภายหลังจากผสมพันธุ์ไปแล้ว 21 วัน ให้ทำการผสมพันธุ์ใหม่หากแพะตัวเมียยังกลับเป็น สัดใหม่อีก และพ่อพันธุ์แพะที่ใช่ ผสมมีความสมบูรณ์พันธุ์ดี ก็ควรจะคัดแพะตัวเมียที่ผสมไม่ติดนี้ทิ้งเสีย โดยปกติแพะตัวเมียที่ผสมติดจะตั้งท้องนานประมาณ 150 วัน ลักษณะอาการใกล้คลอดจะเห็นได้ดังนี้ - เต้านมและหัวนมจะขยายใหญ่ขึ้นก่อนคลอดประมาณ 2 เดือน - แม่แพะจะแสดงอาการหงุดหงิด ตื่นเต้น และร้องเสียงต่างๆ - บริเวณสวาป ด้านขวาจะยุบเป็นหลุมก่อน จากนั้นจะเห็นรอยยุบเป็นหลุมชัดที่สะโพกทั้ง 2 ข้าง - อาจมีเมือกไหลออกมาจากช่องคลอดเล็กน้อยก่อนคลอดหลายวันจากนั้นน้ำเมือกจะมีลักษณะ เปลี่ยนเป็นขุ่นขึ้น และสีเหลืองอ่อนๆ เต้านมเท่ากัน เต้านม ขาตรง ภาพที่ 19 ลักษณะแม่พันธุ์แพะที่ดี หลังเป็นเส้นตรง 15/ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ


16 | ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ - อาจจะคุ้ยเขี่ยหญ้า หรือฟางรอบๆ ตัวเหมือนจะเตรียมตัวคลอด - แม่แพะจะหงุดหงิดมากขึ้นทุกที เดี๋ยวนอนเดี๋ยวลุกขึ้น แล้วนอนลงเบ่งเบาๆ เมื่อแม่แพะแสดง อาการดังกล่าว ควรปล่อยแม่แพะให้อยู่เงียบๆ อย่าให้มันถูกรบกวน เตรียมผ้าเก่าๆ ด้ายผูกสายสะดือ ใบมีดโกน และทิงเจอร์ไอโอดีนไว้ เมื่อถุงน้ำคล่ำแตกแล้ว ลูกแพะจะคลอดออกมาภายใน 1 ชั่วโมง หากแม่แพะ เบ่งนานและยังไม่คลอด จะช่วยให้ลูกแพะในท้องคลอดง่ายขึ้น ทันทีที่ลูกแพะคลอดออกมา ให้ใช้ผ้าที่ เตรียมไว้เช็ดตัวให้แห้งพยายาม เช็ดเยื่อเมือกในจมูกออกให้หมดเพื่อให้ลูกแพะหายใจได้สะดวก จากนั้นผูกสายสะดือให้ห่างจากพื้นท้องประมาณ 2-3 เซนติเมตร แล้วตัดสายสะดือและทาทิงเจอร์ไอโอดีน เมื่อตัดสายสะดือแล้วอุ้มลูกแพะไปนอนในที่ที่เตรียมไว้หากเป็นไปได้ควรนำลูกแพะไปตากแดดสักครู่ เพื่อให้ตัวลูกแพะแห้งสนิท จะช่วยให้ลูกแพะกระชุ่มกระชวยขึ้น รกจะขับออกมาภายใน 4 ชั่วโมง ถ้าเกิน กว่า 6 ชั่วโมงแล้วรกยังไม่ถูกขับออก ก็ให้ปรึกษาสัตว์แพทย์ หลังจากคลอดให้เอาน้ำมาตั้งให้แม่แพะได้กิน เพื่อทดแทนของเหลวที่ร่างกายสูญเสียไป 3) การดูแลลูกแพะ ควรให้ลูกแพะกินนมน้ำเหลืองของแม่แพะและปล่อยให้ลูกแพะได้อยู่กับ แม่แพะ 3-5 วัน ถ้าต้องการรีดนมแพะก็ให้แยกแม่แพะออก ระยะนี้เลี้ยงลูกแพะด้วยหางนมละลายน้ำ ในอัตราส่วนหางนม 1 ส่วนต่อน้ำ 8 ส่วน การให้อาหารลูกแพะในระยะต่างๆ สามารถดูได้จากตาราง ในเรื่องการให้อาหาร ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป เกษตรกรไทยโดยทั่วไป มักไม่ได้แยกลูกแพะออกจากแม่ตั้งแต่เล็ก ส่วนใหญ่จะปล่อยลูกแพะให้อยู่กับแม่แพะจนมันโต ซึ่งด้วยเหตุนี้จึงทำให้แม่แพะมักไม่สมบูรณ์และ ผสมพันธุ์ ได้ช้าเพราะแม่แพะไม่ค่อยเป็นสัด ดังนั้นทางที่ดีหากเกษตรกรยังให้ลูกแพะอยู่กับแม่แพะ ตั้งแต่เล็กๆ ก็ควรแยกลูกแพะออกจากแม่แพะ เมื่อลูกแพะมีอายุได้ประมาณ 3 เดือน ลูกแพะที่มีอายุ 3 เดือน เราสามารถทำการคัดเลือกไว้เป็นพ่อ-แม่พันธุ์แพะตัวผู้ที่ไม่ต้องการผสม พันธุ์ก็ทำการตอนในระยะนี้ หากไม่ต้องการให้แพะมีเขาก็อาจกำจัดโดยจี้เขาด้วยเหล็กร้อนหรือสารเคมีก็ได้ ภายหลังหย่านม ควรทาการถ่ายพยาธิตัวกลม ตัวตืดและพยาธิใบไม้ในตับ ทาการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปาก และเท้าเปื่อยและวัคซีนป้องกันโรคเฮโมเรยิกเซพติกซีเมีย การถ่ายพยาธิและวัคซีนจะต้องทำอย่าง สม่ำเสมอเพื่อให้แพะมีสุขภาพที่ดี และสามารถใช้ผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 8 เดือน แม่แพะที่คลอดลูกแล้ว ประมาณ 3 เดือน เมื่อเป็นสัดก็สามารถเอาพ่อพันธุ์แพะมาทาการผสมพันธุ์ได้อีก หากแม่แพะใช้รีดนม ผู้เลี้ยงก็ รีดนมแม่แพะได้จนถึง 6-8 สัปดาห์ก่อนคลอดจึงหยุดทาการรีดนม 16/ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ


17 | ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ 1.5 อาหารและการให้อาหารแพะ 1) นิสัยการกินอาหารของแพะ แพะ เป็นสัตว์ที่คล่องแคล่ว หากินเก่ง สามารถกินใบไม้ตามพุ่มไม้ที่มีหนามได้เป็นอย่างดี ทน ต่อรสขมได้ดี แพะมักจะชอบออกหากินอาหารเองมากกว่า ชอบกินใบไม้มากกว่ากินหญ้า เลือกกินอาหารที่ อยู่สูงกว่าระดับพื้นดินและไม่ชอบกินอาหารอย่างเดียวเป็นเวลานานติดต่อกัน ดังนั้นแพะอาจจะโตช้า หาก ถูกบังคับให้กินอาหารเพียงชนิดเดียวเป็นเวลานานๆ แพะไม่ชอบกินหญ้าในที่เดียวกันเป็นเวลานานๆ แม้มีหญ้าอยู่มากก็ตามก็ยังเดินแทะเล็มหญ้า วนเวียนไม้ซ้ำที่กัน ยิ่งมีหญ้ามากแพะก็จะเลือกมากเลือกกินแต่หญ้าอ่อนๆ ในการปล่อยแทะเล็ม แพะชอบ กินหญ้าที่มีความสูงมากกว่า 10 นิ้ว จนถึงความสูงที่สุดเท่าที่แพะจะกินได้ ไม้พุ่มไม้หนามแพะจะชอบกิน มาก รวมทั้งยอดอ่อนของต้นพืช แพะเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องคล้ายโค แพะมีกระเพาะหมัก ซึ่งอาศัยจุลินทรีย์ที่อยู่ภายในย่อย อาหารและสังเคราะห์ไวตามิน ดังนั้นการให้อาหารข้นเสริม ก็ควรระมัดระวังอย่าให้อาหารที่มีสารต้านหรือ ทำลายจุลินทรีย์โดยเฉพาะอาหารสุกรมักมีสารดังกล่าวอยู่ ในปัจจุบันการผสมอาหารข้นสำหรับแพะ-แกะ จำหน่าย ยังไม่แพร่หลาย เกษตรกรอาจใช้อาหารโคนมผสมสำเร็จที่มีขายอยู่ทั่วไปเลี้ยงแพะแทน อาหารข้น สำหรับแพะได้ หรือหากต้องการผสมอาหารข้นเลี้ยงแพะเอง ก็สามารถทำได้ตามสูตรอาหารที่ให้ไว้ท้าย ตารางการให้อาหารที่จะกล่าวต่อไป ปกติแพะมีความต้องการอาหารหยาบ เช่น หญ้าสดต่างๆ ในปริมาณวันละประมาณร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัวแพะ และต้องการอาหารข้นประมาณวันละ 0.5-1.0 กิโลกรัม นอกจากนั้น แพะยังต้องการ น้ำและแร่ธาตุเสริมเป็นประจำอีกด้วย แพะต้องการน้ำกินวันละประมาณ 5-9 ลิตร ความต้องการน้ำ มากน้อยขึ้นอยู่กับสภาพตัวแพะและภูมิอากาศ เกษตรกรที่เลี้ยงแพะแบบพื้นบ้าน มักไม่ค่อยคำนึงถึง เรื่องการจัดหาน้ำให้แพะกิน จึงทำให้มีปัญหาแพะเจ็บป่วยอยู่เสมอ สำหรับแร่ธาตุที่ให้แพะกินผู้เลี้ยงจะใช้ แร่ธาตุก้อนสำเร็จที่มีขายอยู่ให้แพะกินก็ได้ แต่ควรคำนึงด้วยว่าแร่ธาตุก้อนนั้นไม่ควรแข็งเกินไป ทั้งนี้เพราะลิ้นของแพะสั้นกว่าลิ้นของโค การเลียแร่ธาตุ แต่ละครั้งจึงได้ปริมาณที่น้อย หากจะทำการผสม แร่ธาตุสำหรับเลี้ยงแพะเองก็สามารถทำได้ตามสูตรที่จะให้ต่อไปนี้ แต่การผสมแร่ธาตุเองมักมีปัญหาที่ แร่ธาตุไม่เป็นก้อน จึงทำให้สิ้นเปลืองเพราะหกทิ้งมาก 17/ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ


18 | ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ ตารางที่ 1 โปรแกรมการให้อาหารแพะ อายุ/ระยะ อาหาร ปริมาณที่ให้ต่อวัน แรกเกิด – 3 วัน - นมน้ำเหลือง - เต็มที่ วันละ 3-5 ครั้ง 4 วัน – 2 สัปดาห์ - นมสด 1 - ไวตามิน+แร่ธาตุ - น้ำ - 0.5-1 ลิตร ต่อตัว แบ่งให้วันละ 3 ครั้ง - เต็มที่ - เต็มที่ 2 – 16 สัปดาห์ - นมสดหรือนมเทียม (1) - หญ้าแห้งซึ่งได้จากหญ้าผสมถั่ว หรือ หญ้าสดที่มีคุณภาพดี - ไวตามิน+แร่ธาตุ - น้ำ - อาหารข้นที่มีโปรตีนรวม ร้อยละ 22 - 0.5 -1 ลิตร แบ่งให้วันละ 2 ครั้ง - เต็มที่ - เต็มที่ - เต็มที่ - เริ่มให้วันละน้อยแล้วค่อยๆ เพิ่ม ปริมาณขึ้น 4 เดือน-ให้ลูก - อาหารหยาบ เช่น หญ้าสด - ไวตามิน+แร่ธาตุผสม - น้ำ - อาหารข้นที่มีโปรตีนรวม ร้อยละ 18-20 (2) - เต็มที่ - เต็มที่ - เต็มที่ - เต็มที่ (ให้ได้ถึง 0.5 กก./ตัว) แม่พันธุ์อุ้มท้อง แม่พันธุ์ที่หยุดรีดนม พ่อพันธุ์ - อาหารหยาบ - ไวตามิน+แร่ธาตุผสม - น้ำ - อาหารข้นที่มีโปรตีนรวม ร้อยละ 16-18 (3) - เต็มที่ - เต็มที่ - เต็มที่ - เต็มที่ (ให้ได้ถึง 0.2-0.7 กก./ตัว) แม่พันธุ์ระยะให้นม - อาหารหยาบ - ไวตามิน+แร่ธาตุผสม - น้ำ - อาหารข้นที่มีโปรตีนรวม ร้อยละ 16-18 (3) - เต็มที่ - เต็มที่ - เต็มที่ - ขึ้นกับปริมาณน้านมที่รีดได้ โดยให้ อาหาร 0.3-0.5 กก./น้านมที่รีดได้ 1 ลิตร 18/ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ


19 | ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ สูตรการทำอาหารแพะ 1. นมสดอาจเป็นนมแพะหรือนมโค และภายหลังจาก 2 สัปดาห์ แล้วอาจใช้นมเทียม หรือนมผง ผสมน้ำแทนนมสดได้ 2. ตัวอย่างสูตรอาหารที่มีโปรตีนรวมร้อยละ 18- 20 - ข้าวโพด 12 กก - กากมะพร้าว 40 กก. - เนื้อและกระดูกป่น 10 กก. - เกลือป่น 1 กก. ราละเอียด 25 กก. - กากถั่วเหลือง 8 กก. - กากน้าตาล 5 กก 3. ตัวอย่างสูตรอาหารที่มีโปรตีนรวมร้อยละ 16- 18 - กากมะพร้าว 40 กก. - กากถั่วเหลือง 15 กก. - กากน้าตาล 8 กก. - เกลือป่น 1 กก. ข้าวโพด 25 กก. - ราละเอียด 10 กก. - กระดูกป่น 1 กก. 4. สูตรไวตามิน – แร่ธาตุที่สามารถผสมได้เอง - เกลือ 5 ส่วน - เปลือกหอยหรือหินปูน 1 ส่วน - ไวตามิน - แร่ธาตุผสม (พรีมิกซ์) (มีขายในท้องตลาดทั่วไป) 1/2 ส่วนะยะ ตารางที่ 2 สูตรไวตามิน-แร่ธาตุที่สามารถผสมได้เอง เกลือ 5 ส่วน เปลือกหอยหรือหินปูน 1 ส่วน ไวตามิน-แร่ธาตุผสม (พรีมิกซ์) 1/2 ส่วน (มีขายในท้องตลาดทั่วไป) 19/ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ


20 | ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ 1.6 การดูแลสุขภาพแพะ 1) โรคพยาธิในแพะ พยาธิมีผลกระทบต่อการผลิตแพะทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งพบว่าพยาธิภายในเป็นตัวก่อ ปัญหากับการเลี้ยงมากกว่าพยาธิภายนอก ถ้าแพะมีพยาธิภายในจำนวนมากจะทำให้เกิดโรคเฉียบพลันมี ความรุนแรงถึงตายได้ แต่ถ้าได้รับในปริมาณน้อยจะไม่ถึงตาย แต่ทำให้ผลผลิตลดลง เช่น เนื้อ นม นอกจากนี้ทำให้แพะอ่อนแอ เป็นโรคอื่นๆ ได้ง่าย ทำให้เกษตรกรสูญเสียรายได้จากผลผลิตที่ลดลงและเพิ่ม ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการซื้อยาถ่ายพยาธิด้วยมีแนวโน้นว่าพยาธิจะมีการดื้อยาขึ้น การใช้ยาจึงต้องไม่ใช้ยา ชนิดเดียวกันทั้งปี พยาธิภายในแพะมีหลายชนิดด้วยกัน เกิดกับแพะทุกภาคที่เลี้ยงแพะ โดยเฉพาะในเขต เอเซีย ตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พยาธิตัวกลม พยาธิตัวตืด และพยาธิตัวแบน เป็นต้น ดังที่กล่าวใน รายละเอียดให้เกษตรกรรู้จัก ดังต่อไปนี้ - พยาธิตัวกลม แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือพยาธิตัวกลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ ได้แก่ (1) พยาธิเส้นลวด อยู่ในกระเพาะอาหารส่วนอโบมาซุ่มของแพะ เป็นพยาธิที่ทำ อันตรายต่อสัตว์มากที่สุด ตัวผู้ยาว 10-20 มิลลิเมตร ตัวเมียยาว 18 -30 มิลลิเมตร ตัวผู้มีสีแดง ส่วนตัวเมียมีสี แดงสลับขาว มีวงจรชีวิตคือ เมื่อพยาธิตัวแก่ไข่ออกมาและแพะถ่ายอุจจาระออกมาไข่จะมีตัวอ่อนอยู่ภายใน เมื่อตัวอ่อนฟักตัวออกมานอกไข่ และเจริญเป็นตัวอ่อน ระยะติดโรคแล้วแพะมากินเข้าไปจะเข้าไปอาศัยอยู่ ในกระเพาะอโบมาซุ่ม ดังกล่าว และภายใน 19 วัน ตัวอ่อน ก็จะเจริญเป็นตัวแก่และเริ่มออกไข่ อันตรายที่ เกิดกับแพะก็คือ พยาธิชนิดนี้จะดูดเลือดทั้งเม็ดเลือดและโปรตีนในเลือด ทำให้แพะเกิดโลหิตจางและถ้ามี อาการรุนแรง แพะจะมีอาการบวมน้ำใต้คาง ใต้ท้อง และแพะจะไม่เจริญเติบโต น้ำหนักลด ท้องร่วง หรือ ท้องผูก ร่างกายอ่อนแอ ความต้านทานโรคต่าและตายได้ อาการในลูกสัตว์จะเป็นแบบเฉียบพลัน เพราะ การเสียเลือด อย่างรวดเร็ว โดยไม่แสดงอาการโลหิตจางให้เห็น นอกจากนี้ก็มีพยาธิเส้นดายที่อาศัยในลำไส้เล็ก มันจะแย่งอาหารทำให้ลำไส้อักเสบ แต่ความรุนแรงของพยาธินี้ไม่มากนัก และพยาธิเม็ดตุ่ม พบในลำไส้ใหญ่ ทำให้ลำไส้อักเสบ แพะจะถ่ายเป็นมูกเหลว การเจริญเติบโตลดลง ขนหยาบกระด้าง ท้องร่วง ผอมแห้งตาย บางครั้งอุจจาระมีเลือดปน 20/ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ


21 | ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ (2) พยาธิตัวตืด พบในลาไส้เล็กของแพะ มีความยาวถึง 600 เซนติเมตร กว้าง 1.6 เซนติเมตร วงจรชีวิตตัวอ่อนที่ฟักออกมาจากไข่ จะเข้าไปอาศัยเจริญเติบโตในไร เมื่อแพะกินตัวไรที่มีพยาธิเข้าไป พยาธิจะเจริญเป็นตัวเต็มวัยในแพะภายใน 6-8 สัปดาห์ ลูกสัตว์ที่มีอายุต่ากว่า 6 เดือน จะติดโรคพยาธิได้ง่าย และมีอาการรุนแรงมากกว่าแพะใหญ่ ถ้าติดโรคพยาธินี้น้อยอาจไม่แสดงอาการ แต่ถ้าติดพยาธิมากอาจตายได้ ตัวอ่อนเจริญ เป็นตัวเต็มวัย ตัวอ่อนนี้ถูกกลืนกินเข้าไปจะเจริญ เติบโตอยู่ที่เยื่อบุบผังกระเพาะแท้ ไข่ฟักออกมาเป็นตัวอ่อนปนอยู่ ตามดินและหญ้า ไข่ปนออกมา กับอุจจาระ แพะติดโรคพยาธิ โดยการกินหญ้า ที่มีตัวอ่อนพยาธิ พยาธิออกไข่ใน กระเพาะและล าไส้ ภาพที่20 วงจรชีวิตพยาธิตัวกลมในกระเพาะแท้ของแพะ ตัวแก่ของพยาธิอาศัย อยู่ในกระเพาะแท้ 21/ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ


22 | ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ - พยาธิใบไม้ในตับ พบในตับและท่อน้าดีของแพะ ขนาดตัวยาว 25 - 75 มิลลิเมตร กว้าง 12 มิลลิเมตร มีวงจรชีวิตคือตัวอ่อนที่ฟักออกมา จากไข่พยาธิจะเข้าไปเจริญเติบโตในหอยน้ำจืดใช้เวลา เจริญเติบโตในหอย 4 - 7 สัปดาห์ กลายเป็นตัวอ่อนว่ายออกมาจากหอยมาเกาะวัชพืชน้ำ และกลายเป็นตัว อ่อนระยะติดโรค รอให้แพะมากิน ความรุนแรงส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นขณะที่ตัวอ่อนของพยาธิเดินทางไปที่ตับ จะเกิดโรค 2 ชนิดคือ ชนิดเฉียบพลัน และชนิดรุนแรง เนื้อตับจะถูกทำลายอย่างมาก มีเลือดตกในช่องท้อง ซึ่งมักพบในแกะ แพะที่ป่วยจะไม่อยากเคลื่อนไหว หายใจลำบาก แสดงอาการเจ็บปวดบริเวณท้องเมื่อถูกสัมผัส และพยาธินี้ทาให้การย่อยอาหารไม่ดี ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต เช่น เนื้อ และ ปริมาณนม เป็นต้น ภาพที่ 21 วงจรชีวิตพยาธิตัวตืด 22/ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ


23 | ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ ที่มา : https://region9.dld.go.th/webnew/index.php/th/ เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 2 พฤษภาคม 2566 ข้อแนะนาการป้องกันและควบคุมพยาธิภายในของแพะ 1. ถ่ายพยาธิเป็นประจำตามโปรแกรม โดยถ่ายทุก 4-6สัปดาห์ ยาถ่ายพยาธิที่ใช้ประกอบด้วย - ยาถ่ายพยาธิตัวกลม เช่น อัลเบนดาโซล,ไทอาเบ็นดาโซล,ไพแรนเทล,เลวามิซอล เป็นต้น - ยาถ่ายพยาธิตัวตืด เช่น นิโคลซาไมด์,เมเบนดาโซล เป็นต้น - ยาถ่ายพยาธิใบไม้ในตับ เช่น ราฟอกซาไนด์,ไนโตรไซนิล เป็นต้น - ยากำจัดเชื้อบิด เช่น โทลทราซูริล,ซัลฟาควินอกซาลีน เป็นต้น หรือถ้าพบมีปัญหาพยาธิ ภายในและเชื้อบิดร่วมกัน อาจใช้ยาทั้งสามชนิด และควรถ่ายทุก 4-6 สัปดาห์ - สำหรับพยาธิตัวกลม ควรเริ่มถ่ายพยาธิครั้งแรกเมื่ออายุ 8 สัปดาห์ 2. ทำความสะอาดโรงเรือนแพะอย่างสม่ำเสมอ พื้นโรงเรือนแพะต้องเป็นแบบเว้นช่องเพื่อ อุจจาระตกลงไปข้างล่าง และต้องล้อมรอบ ใต้ถุนไว้ไม่ให้แพะเข้าไปได้ มิฉะนั้นจะติดโรคพยาธิจากอุจจาระได้ ภาพที่ 22 วงจรชีวิตพยาธิใบไม้ในตับของแพะ 23/ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ


24 | ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ 3. อุจจาระและสิ่งปฏิกูลอื่นๆ ให้ฝังหรือเผาทำลายให้หมด 4. ใช้ระบบแปลงหญ้าหมุนเวียนโดยการแบ่งแปลงหญ้าออกเป็นแปลงย่อยแต่ละแปลงล้อมรั้วกั้นไว้ ปล่อยแพะเข้าแทะเล็มหญ้านานแปลงละ 2 สัปดาห์ หลังจากนั้น ไปเลี้ยงแปลงอื่นต่อโดยจะต้องจัดการ แปลงที่แพะเล็มแล้ว ด้วยการตัดหญ้าให้สั้นลงมากที่สุด หรือให้แสงแดดส่องถึงพื้นดินเพื่อให้ไข่และตัวอ่อน ของพยาธิตาย และหญ้าเจริญงอกงามเร็ว สาหรับเลี้ยงแพะที่จะเข้ามาแทะเล็มใหม่ หมุนเวียนกันไปหรือ วิธีจากัดพื้นที่แทะเล็ม โดยการผูกล่ามแพะไม่ซ้าที่เดิม 5. ทำลายตัวนำกึ่งกลางของพยาธิ เช่น ไร และหอยน้ำจืด 6. ไม่ควรให้แพะลงแปลงหญ้าชื้นๆ แฉะๆ เพระจะติดพยาธิได้ง่ายจากตัวอ่อนพยาธิที่อาศัย อยู่นานในแปลงหญ้าที่ชื้นนั้น 2) โรคติดเชื้อในแพะ การโรคติดเชื้อในแพะอาจมีสาเหตุเนื่องมาจากอาหาร การจัดการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกวิธีทำให้สัตว์ เกิดความเครียด อ่อนแอ ไม่มีความต้านทานโรคพอผู้เลี้ยงแพะต้องทราบถึงสาเหตุและสันนิษฐานได้ซึ่งจะ ช่วยในการรักษาและป้องกันการระบาดของโรคได้ โดยให้สังเกตว่าแพะจะแสดงอาการหลายประการ เช่น การ กินอาหารลดลงกว่าปกติ มีอาการไอ จาม ท้องเสีย ขนไม่เป็นเงา จมูกแห้ง ซึมหงอย เป็นต้น โรคที่เกิด ในแพะที่ควรรู้จัก ดังต่อไปนี้ - โรคปากเปื่อย เกิดจากเชื้อไวรัส อาการคือพบแผลนูนคล้ายหูด บริเวณริมฝีปาก รอบจมูก รอบตา บางครั้งลุกลามไปตามลำตัว ถ้าเป็นแพะโตอาการรุนแรงและแผลจะตกสะเก็ด แห้งไปเองภายใน ประมาณ 28 วัน การรักษา ใช้ยาม่วง ( เจนเชี่ยนไวโอเลต ) หรือทิงเจอร์ไอโอดีน ทาแผล วันละ 1-2 ครั้ง การป้องกัน ในประเทศไทย ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้ ถ้าพบแพะ เป็นโรคนี้ให้รีบแยกตัวป่วยออกทันที และรักษาจนกว่าจะหายจึงนำเข้าร่วมฝูงได้ 24/ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ


25 | ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ - โรคปากและเท้าเปื่อย เกิดจากเชื้อไวรัส อาการที่แพะจะซึม น้ำลายไหลยืด ไม่กินอาหาร บริเวณปากและแก้มบวมแดง มีเม็ดตุ่มใสเป็นแผลบริเวณกีบและเท้า แพะจะเดินขากระเผลก แสดงอาการ เจ็บปวดและถ้าติดเชื้อโรคแทรกซ้อนอาจทำให้แพะตายได้ ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนจะหายได้เองภายใน 21 วัน แพะ ที่ตั้งท้องอาจแท้งลูกได้ เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส จึงไม่มีทางรักษาโดยตรง การป้องกัน อย่าง น้อยปีละ 1 ครั้ง และการกักกันแพะที่จะเข้ามาเลี้ยงใหม่เป็นเวลา 14 วัน ก่อนเข้าฝูง ที่สำคัญมาก คือการ เกิดโรคแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรียทำให้เป็นหนองที่แผล เม็ดตุ่มพองแตกออกและจะหายช้ามากหรืออาจ ลุกลามเกิดเลือดเป็นพิษถึงตายได้ ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนจะหายได้เองภายใน 21 วัน ผู้เลี้ยงอาจทราบว่า แพะเป็นโรคปากและเท้าเปื่อยได้ โดยสังเกตดูจากอาการเจ็บปาก แผลเม็ดตุ่ม น้ำลายไหล ไม่กินอาหาร ขา กะเผลกไม่เดิน การรักษา ใช้ยาม่วง ( เจนเชี่ยนไวโอเลต ) ทาที่แผลที่ปากและกีบ หัวนม วันละครั้ง และฉีด ยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนทั้งนี้ควรขอคาแนะนำจากสัตวแพทย์ การป้องกัน 1. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท่าเปื่อยปีละ 1 ครั้ง 2. กักแพะที่นำเข้ามาเลี้ยงใหม่ เป็นเวลา 14วัน จนแน่ใจว่าไม่เป็นโรคแล้วจึงนำเข้ารวมฝูง - โรคมงคล่อพิษเทียม โรคนี้ติดต่อถึงคนได้เช่นกัน และพบว่าจนถึงปัจจุบันมีคนเป็นโรคนี้กัน มากแล้ว ผู้เลี้ยงแพะจึงควรทราบจะได้ระมัดระวังไว้ เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ติดต่อโดย การกินเชื้ออยู่ในดิน น้ำอาหาร และหญ้าและติดต่อได้โดยการสัมผัสทางบาดแผล อาการที่พบในแพะคือ ซูบผอม ลงอ่อนเพลีย ซึม เบื่ออาหาร ซีด ดีซ่าน มีไข้ มีน้ำมูก ข้อขาหน้าบวมชักและตาย เมื่อผ่าซากแพะจะพบฝี มากมายตามอวัยวะภายใน เช่น ปอด ม้าม ไต ตับ ใต้ผิวหนัง ต่อมน้ำเหลือง และข้ออักเสบมีหนอง เชื้อนี้ มักดื้อยา การรักษาไม่ค่อยได้ผล ดังนั้นควรทำลายและกำจัดซากโดยการเผา ไม่ควรนำซากแพะมาบริโภค โดยเด็ดขาดการป้องกันและควบคุมโรคต้องกาจัดซากแพะทันทีควรตรวจเลือดแพะทุกๆ 1 ปี ถ้าพบเป็นโรค ให้กำจัดออกจากฝูงและทำลาย การรักษา ไม่แนะนาให้รักษาควรกาจัดออกจากฝูง เพราะโรคนี้รักษาหายยากและติดต่อถึงคนได้ การป้องกัน 1. กำจัดแพะป่วย และทำลายซากห้ามนำมาบริโภค 2. ตรวจสุขภาพแพะ โดยเจาะเลือดส่งห้องปฏิบัติการทุกๆ 2 ปี 3. ตรวจเลือดแพะทุกตัวที่นำเข้ามาใหม่ ถ้าพบให้ทำลายทิ้ง 25/ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ


26 | ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ - โรคปอดปวม โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง เป็นได้กับแพะทุกอายุ พบได้ทั่วไป โดยเฉพาะแพะที่อ่อนแอและไม่เคยถ่ายพยาธิ พบภาวะโรคนี้บ่อยๆในฤดูฝนเชื้อติดต่อได้รวดเร็ว โดยการกิน เชื้อที่มีอยู่ในน้ำ อาหาร หายใจ เชื้อในอากาศ การอยู่รวมฝูงกับแพะป่วยด้วยโรคนี้ อาการของแพะที่ป่วย ได้แก่มีไข้ จมูกแห้งมีน้ำมูก หอบ หายใจเสียงดัง ไอ ถ้าเป็นเรื้อรังแพะจะแคระแกร็น อ่อนแอ แพะป่วยจะ ตายถึง 60-90 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะแพะที่มีพยาธิมาก และลูกแพะหลังหย่านมใหม่จะตายมากที่สุด การรักษา โดยฉีดยาปฏิชีวนะ เช่น เพนนิซิลลิน อ๊อกซิเตตราซัยคลิน คลอแรมเฟนนิคอล อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นเวลา 3-5 วันต่อกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นควรปรึกษา สัตวแพทย์ในการรักษา โรคนี้ป้องกันได้ โดยจัดการโรงเรือนให้สะอาด พื้นคอกแห้ง อย่าให้ฝนสาดหรือลมโกรกแพะ และควรยกพื้นโรงเรือน ประมาณ 1-1.5 เมตร แพะป่วยให้แยกขังไว้ในคอกสัตว์ป่วยต่างหาก จนกว่าจะหายดีแล้วจึงค่อยนำเข้ารวม ฝูงเดิมใหม่ นอกจากนี้ควรถ่ายพยาธิ แพะ เป็นประจำตามโปรแกรมทุกๆ 4-6 สัปดาห์ เพื่อให้แพะแข็งแรง และควร ดูแลแพะหลังหย่านมเป็นพิเศษด้วยการเสริมอาหารที่มีคุณภาพดี - โรคแท้งติดต่อ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย แพะจะแท้งในช่วงลูกอายุประมาณ 4-6 สัปดาห์แต่ไม่ ค่อยเกิดโรคนี้บ่อย โรคนี้ติดต่อถึงคนได้ จึงต้องระวังในการดื่มนมแพะ อาการของแพะสังเกตยากต้องตรวจ จากเลือดเท่านั้น ดังนั้นควรได้มีการป้องกันที่ดีที่สุด คือ ทำลายแพะที่เป็นประจำโดยการตรวจเลือดปีละ 1ครั้งวิธีป้องกัน ที่ดีที่สุดคือ ทำลายแพะที่เป็นโรค และไม่คัดเลือกแพะที่พ่อ-แม่พันธุ์เคยมีประวัติเป็นโรคมาเลี้ยง 3) โรคไข้นม โรคไข้นมมักเกิดในระยะที่แพะใกล้คลอด หรือขณะที่กำลังอยู่ในระยะให้นม สาเหตุเกิดจาก แคลเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ เนื่องจากถูกนำไปใช้ในการสร้างน้ำนม อาการของแพะที่เป็นโรคไข้นม คือตื่นเต้นตกใจง่าย การทรงตัวไม่ดี กล้ามเนื้อเกร็ง นอนตะแคงและคอบิด ซีด หอบ อ่อนเพลีย ถ้าเป็นมาก รักษาไม่ทันก็ถึงตายได้ 4) โรคขาดแร่ธาตุ มักเกิดกับแพะเพศเมีย โดยที่แพะไม่ได้รับแร่ธาตุหรืออาหารข้นเสริม ในภูมิประเทศที่มีแร่ธาตุ ในดินต่ำจะพบแพะป่วยด้วยโรคนี้มาก สาเหตุเกิดจากขาดแร่ธาตุหลัก ได้แก่ แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ซีลีเนียม เป็นต้น อาการที่พบแพะแสดงอาการอ่อนแอ คอเอียง เดินหมุนเป็นวงกลม ล้มลงนอน ตะแคง ท้องอืด และตายใน 2-3 วัน 26/ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ


27 | ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ ภาพที่ 23 การตัดแต่งกีบเท้าของแพะ การรักษา ทำได้โดยการให้อาหารข้นและแร่ธาตุหลัก ได้แก่ แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ซีลีเนียม เป็นต้น อาการที่พบแพะแสดงอาการอ่อนแอ คอเอียง เดินหมุนเป็นวงกลม ล้มนอนตะแคง ท้องอืด และตายใน 2-3 วัน การรักษาทำได้โดยการให้อาหารข้นและแร่ธาตุแก่แพะเลียกิน ให้วิตามินและแร่ธาตุไว้ในโรงเรือนให้แพะได้ เลียกินตลอดเวลา 5) โรคท้องอืด โรคท้องอืดเกิดจากกินหญ้าอ่อนมาเกินไป หรืออาหารข้นที่มีโปรตีนสูงมากเกินไป (เกิน 3% ของน้ำหนักตัว) หรือการที่แพะป่วยและนอนตะแคงด้านซ้าย การแก้ไขผู้เลี้ยงแพะต้องเจาะท้องเอาแก๊สออก และกระตุ้นให้แพะลุกขึ้นเดิน 6) การตัดแต่งกีบ การตัดแต่งกีบเป็นงานประจำที่ผู้เลี้ยงแพะจะต้องปฏิบัติในการเลี้ยงแพะ การตัดแต่งกีบจะ ช่วยป้องกันไม่ให้ปลายกีบงอกผิดปกติและป้องกันไม่ให้กีบเน่าเนื่องจากมูลสัตว์เข้าไปติดอยู่ในกีบที่ไม่ได้ทำ การแต่ง การตัดแต่งกีบจะใช้มีดสำหรับแต่งกีบหรือใช้กรรไกรตัดกีบทำการตัดแต่งกีบก็ได้ดังภาพข้างล่างนี้ ลักษณะกีบเท้าของแพะก่อนการตัดแต่ง การใช้กรรไกรตัดแต่งกีบเท้าของแพะ กีบเท้าของแพะภายในหลังการตัดแต่งกีบเท้า 27/ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ


28 | ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ เครื่องมือที่ใช้ในการตัดแต่งกีบเท้าของแพะ การตัดแต่งกีบควรทำในขณะอากาศเย็นชื้น ทั้งนี้เพราะกีบจะอ่อนตัวทำให้ตัดแต่งได้ง่าย ถ้า หากทำในอากาศที่ร้อน ควรนำแพะไปยืนในที่เปียก ชื้นสักครู่หนึ่งก่อนทำการตัดแต่งกีบ ผู้ทำการตัดแต่ง กีบจะต้องทำการจับขาของแพะให้แน่น โดยยกขาขึ้น แล้วใช้ระหว่างขาหนีบ ( ใช้ด้านข้างช่วงเข่าหนีบ ) จากนั้นใช้มีดแต่งกีบตัดกีบช่วงที่ยาวออกเกินจาก รูปลักษณะปกติทิ้ง การตัดแต่งกีบทำทั้งด้านนอกและ ระหว่างร่องกีบสำหรับพื้นของเท้าควรตัดกีบให้เสมอ กับพื้นเท้าเท่านั้น การตัดแต่งกีบที่ดีควรทำแล้วรูปร่างคล้ายกับกีบเท้าของลูกแพะที่เกิดใหม่ การตัดแต่งกีบ ควรทำเสมออย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง 7) การเก็บบันทึกข้อมูล การบันทึกข้อมูลทะเบียนประวัติ ตารางที่ 3 ตัวอย่างแบบฟอร์มการบันทึกข้อมูลทะเบียนประวัติ เบอร์ตัว พันธุ์ เพศ วันเกิด เบอร์พ่อ เบอร์แม่ น้ำหนัก ลำดับคอก หมายเหตุ การบันทึกข้อมูลการสืบพันธุ์ - อายุและน้ำหนักเมื่อเริ่มผสมพันธุ์ - อัตราการคลอดลูก - อัตราการเกิดลูกเดี่ยว ลูกแฝด - อัตราการเลี้ยงลูกรอดเมื่อหย่านมและหลังหย่านม - อัตราการผสมติด - อายุและน้ำหนักเมื่อให้ลูกตัวแรก - ระยะห่างการให้ลูก ภาพที่ 24 เครื่องมือที่ใช้ในการตัดแต่งกีบเท้าของแพะ 28/ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ


29 | ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ การบันทึกข้อมูลการเจริญเติบโต - น้ำหนัก รอบอก ความยาว ส่วนสูง เมื่ออายุแรกเกิด , 3 , 6 , 9 เดือน และ 1, 2 , 3 , 4 ปี - น้ำหนักเมื่ออายุเริ่มผสมพันธุ์ - น้ำหนักเมื่อให้ลูกตัวแรก - น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ของพ่อแม่พันธุ์ ตารางที่ 4 ตัวอย่างแบบฟอร์มการบันทึกข้อมูลการเจริญเติบโตของแพะ เบอร์ตัว วันที่ชั่ง อายุ น้ำหนัก อก ยาว สูง หมายเหตุ 1.7 การเลี้ยงแพะตามวิถีอิสลาม จากการศึกษาของ ซารีนา สือแม (การเลี้ยงแพะตามวิถีมุสลิม แนวทางสู่ความสำเร็จ) สรุปได้ว่า การเลี้ยงแพะในประเทศไทยส่วนใหญ่ มี 3 วิธีดังนี้ วิธีแรกการเลี้ยงแบบปล่อยให้แพะหาอาหารกินเอง ตามแหล่งทุ่งหญ้าธรรมชาติในเวลากลางวันและต้อนกลับในช่วงเย็น วิธีนี้นิยมมากในชนบทเพราะเป็นการ เลี้ยงที่ประหยัดแรงงาน ค่าอาหารและพื้นที่ แต่ต้องระมัดระวังอย่าให้แพะทำความเสียหายแก่พืชวิธีที่สอง การเลี้ยงแบบผูกล่ามเป็นวิธีที่ใช้แรงงานมากกว่าแบบแรก แต่ปลอดภัยจากอุบัติเหตุรถชน และแพะไม่ สามารถไปทำลายพืชให้เสียหายได้พบเห็นทั่วไปตามทุ่งหญ้าสาธารณะ บริเวณริมถนน หรือผูกไว้ในสวน แต่ต้องมีน้ำให้แพะกินตลอดเวลา รวมทั้งควรเลือกพื้นที่ที่มีร่มเงาให้แพะสามารถหลบแดดหรือฝนได้ โดยเฉพาะภาคใต้มีการเลี้ยงแบบนี้มาก วิธีสุดท้าย คือการเลี้ยงแบบขังคอกเป็นวิธีที่ไม่ค่อยนิยมในชนบท หรือผู้เลี้ยงรายย่อย เพราะมีการลงทุนในการสร้างโรงเรือนสูง แต่วิธีนี้ประหยัดพื้นที่และแรงงานในการดูแล ตลอดจนปลอดภัยจากศัตรูต่างๆ ของแพะ ซึ่งวิธีการเลี้ยงแพะทั้ง 3 วิธีนั้นถือว่าเป็นแนวทางเดียวกันกับการ เลี้ยงตามวิถีอิสลาม 29/ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ


30 | ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ การเลี้ยงตามแนวทางของอิสลามนั้นต้องคำนึงถึงอาหารของแพะด้วย เพราะโดยทั่วไปแล้วแพะ เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องกินพืชเป็นหลัก เช่นพืช ตระกูลหญ้า ตระกูลถั่ว และผลพลอยได้ (By-products) จากการเกษตรตลอดจนใบไม้ชนิดต่างๆ เนื่องจากอาหารพวกนี้จะช่วยให้กระเพาะรูเมนทำงานเป็นปกติ กระตุ้นการขับน้ำลายซึ่งทำหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์ (buffer) ช่วยรักษาความเป็นกรดด่างในกระเพาะ รูเมนให้ เป็นปกติ หากกระเพาะรูเมนมีสภาพเป็นกรดจัดจะเป็นอันตรายต่อจุลินทรีย์ที่ช่วยย่อยอาหาร และต่อแพะ เอง แต่ในปัจจุบันการเลี้ยงแพะได้พัฒนาเป็นการเลี้ยงเชิงอุตสาหกรรมมากขึ้นพร้อมกันนั้นเริ่มมีการเสริม อาหารมากขึ้นทำให้ต้นทุนในการผลิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะค่าอาหาร แต่เหตุผลการเสริมอาหารก็เพื่อให้แพะมี การเจริญเติบโตเร็วขึ้น และมีระยะเวลาการเลี้ยงที่สั้นลงสำหรับวัตถุดิบที่นำมาผสมอาหารแพะนั้นมีทั้งจาก พืชและสัตว์ เช่น กระดูกป่น ปลาป่น เลือดป่น และเศษเหลือใช้จากสัตว์ซึ่งอาจมีเชื้อโรคปนมาทำให้ติดต่อ ถึงสัตว์และคนได้ถ้าหากนำผลิตภัณฑ์จากแพะเป็นโรค เช่นโรควัวบ้า (mad cow) มาบริโภคนอกจากนี้มี การใช้ยาปฏิชีวนะ และสารเร่งกานเจริญเติบโตมากขึ้น โดยสารและยาปฏิชีวนะที่ห้ามใช้ในอาหารสัตว์มี 3 กลุ่ม คือ กลุ่มสารก่อให้เกิดโรคมะเร็ง เช่น Carbadox Olaquindox Chloramphenical Nitrofurazone Diesthystilbestrol และ Nitroemidazone กลุ่มที่ก่อให้เกิดการดื้อยาของแบคทีเรีย เช่น Avoparcin และกลุ่มที่มีผลต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น Beta agonist(12) หากใช้สารเหล่านี้อาจตกค้างใน ผลิตภัณฑ์ และเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ความปลอดภัยของการบริโภคอาหารเป็นสิ่งที่ควรตระหนักถึง เนื่องจากในปัจจุบันการผลิตสัตว์ หรือการผลิตแพะมีการใช้สารเสริม (feed additive) เติมลงในอาหารสัตว์ เพื่อเร่งให้สัตว์เจริญเติบโตเร็วกว่าปกติ และเพื่อลดต้นทุนในการเลี้ยงสำหรับสารที่นิยมใช้ คือ สารเร่งการ เจริญเติบโตและยาปฏิชีวนะที่เป็นสาเหตุให้เชื้อดื้อยา และมีสารตกค้างในผลิตภัณฑ์ทำให้เกิดโรคภัยใน มนุษย์หากสัตว์ได้รับเป็นระยะเวลานาน และต่อเนื่อง เช่นการแพร่ระบาดของโรควัวบ้า มะเร็ง หรือไข้หวัดนก (bird fluenza) ดังนั้นตรงกับหลักศาสนา อิสลามที่ห้ามใช้สารอันตรายมาเลี้ยงสัตว์รวมทั้งแพะด้วย เพราะผลิตภัณฑ์ที่ได้นั้นจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค จากข้อมูลดังกล่าว จึงสรุปได้ว่าวิธีการเลี้ยงแพะโดยทั่วไปเป็นไปตามแนวทางของศาสนาอิสลาม แต่จะขัดกับหลักศาสนาหากการเลี้ยงนั้นมีการใช้วัตถุดิบจากสัตว์ โดยเฉพาะจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม รวมทั้งการใช้ยาปฏิชีวนะและสารเสริมลงในอาหารแพะ หากแพะได้รับติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน และใช้ ในปริมาณสูงจะทำให้เกิดเชื้อดื้อยาและตกค้างในผลิตภัณฑ์ได้ ในศาสนาอิสลามจึงห้ามบริโภคผลิตภัณฑ์ ดังกล่าว เพราะจะทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค ที่มา :การเลี้ยงแพะตามวิถีมุสลิม แนวทาง สู่ความสำเร็จ,ซารีนา สือแม :วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 30/ข้อมูลทั่วไปของแพะเนื้อ


27 |ข้อมูลสถิติการเลี้ยงแพะ ส่วนที่2 ข้อมูลสถิติการเลี้ยงแพะ 2.1 พื้นที่ความเหมาะสมสำหรับการเลี้ยงแพะ 1) พื้นที่ความเหมาะสมสำหรับการเลี้ยงแพะในประเทศไทย ประเทศไทยมีพื้นที่ตามเขตความเหมาะสมสำหรับการเลี้ยงแพะรวมทั้งสิ้น 323,051,507.97 ไร่ ประกอบด้วย พื้นที่เหมาะสมสูง 5,770,470 ไร่ พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย 76,127,292 ไร่ พื้นที่เหมาะสม ปานกลาง 88,849,219 ไร่ และพื้นที่ไม่เหมาะสม 152,304,843 ไร่ รายละเอียดตามภาพที่ 25 ภาพที่25 แผนที่แสดงพื้นที่ความเหมาะสมสำหรับการเลี้ยงแพะของประเทศไทย ที่มา : กลุ่มสารสนเทศและข้อมูล ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมปศุสัตว์ . สืบค้นจาก Agri-Map Online (kea-agrimap.appspot.com) เข้าข้อมูล วันที่ 1-12-65 31/ข้อมูลสถิติการเลี้ยงแพะ


28 |ข้อมูลสถิติการเลี้ยงแพะ 2) พื้นที่ความเหมาะสมสำหรับการเลี้ยงแพะในพื้นที่จังหวัดปัตตานี จังหวัดปัตตานี มีพื้นที่เขตความเหมาะสมสำหรับการเลี้ยงแพะ รวมทั้งหมด 1,234,307.77 ไร่ ประกอบด้วย พื้นที่เหมาะสูง 595,535 ไร่ เหมาะสมปานกลาง 495,585 ไร่ ไม่เหมาะสม 143,187 ไร่ รายละเอียด ตามภาพที่ 26 ภาพที่26 แผนที่แสดงพื้นที่ความเหมาะสมสาหรับการเลี้ยงแพะของจังหวัดปัตตานี ที่มา : กลุ่มสารสนเทศและข้อมูล ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมปศุสัตว์ . สืบค้นจาก Agri-Map Online (kea-agrimap.appspot.com) เข้าข้อมูล วันที่ 1-12-65 ตารางที่5 พื้นที่เขตความเหมาะสมการเลี้ยงแพะเนื้อของจังหวัดปัตตานี พื้นที่ พิ้นที่ในเขตความเหมาะสม (ไร่) พื้นที่รวม เหมาะสมสูง (S1) เหมาะสมปานกลาง (S2) ไม่เหมาะสม (N) จังหวัดปัตตานี 1,234,308.06 595,535.48 495,585.18 143,187.41 กะพ้อ 51,649.27 0.00 41,878.60 9,770.67 โคกโพธิ์ 188,895.35 86,972.35 71,551.31 30,371.69 32/ข้อมูลสถิติการเลี้ยงแพะ


29 |ข้อมูลสถิติการเลี้ยงแพะ พื้นที่ พิ้นที่ในเขตความเหมาะสม (ไร่) พื้นที่รวม เหมาะสมสูง (S1) เหมาะสมปานกลาง (S2) ไม่เหมาะสม (N) ทุ่งยางแดง 86,867.25 0.00 70,050.70 16,816.55 ปะนาเระ 89,748.84 49,422.39 37,549.82 2,776.63 มายอ 126,213.81 57,618.64 53,172.66 15,422.51 เมืองปัตตานี 58,857.53 1,883.79 53,553.10 3,420.63 แม่ลาน 48,777.59 28,768.40 19,194.10 815.09 ไม้แก่น 36,239.32 17,599.03 14,587.61 4,052.69 ยะรัง 136,368.02 93,600.11 29,256.20 13,511.71 ยะหริ่ง 135,047.16 79,564.47 41,792.28 13,690.41 สายบุรี 127,285.45 88,189.17 30,473.50 8,622.78 หนองจิก 148,358.47 91,917.13 32,525.30 23,916.05 ที่มา : กรมปศุสัตว์ ปี 2559 – 2560. สืบค้นจาก http://kea-agrimap.appspot.com. เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2566 2.2 ข้อมูลเกษตรกรและแพะ ปี 2564 - 2565 1) จำนวนเกษตรกรและแพะ ปี 2565 ปี2565 ประเทศไทย มีเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะทั้งหมด จำนวน 92,997 ราย ซึ่งส่วนใหญ่ อยู่ใน พื้นที่เขต 9 จำนวน 44,888 ราย (ร้อยละ 48.27) รองลงมาคือ เขต 8 จำนวน 9,649 ราย (ร้อยละ 10.38) และเขต 3 จำนวน 9,078 ราย (ร้อยละ 9.76) ตามลำดับ โดยมีการเลี้ยงแพะทั้งหมด จำนวน 1,505,381 ตัว ซึ่งในพื้นที่เขต 7 เลี้ยงแพะมากที่สุด จำนวน 290,218 ตัว (ร้อยละ 19.28) รองลงมาคือ เขต 9 จำนวน 260,351 ตัว (ร้อยละ 17.29) และเขต 3 จำนวน 210,651 ตัว (ร้อยละ 13.99) ตามลำดับ 33/ข้อมูลสถิติการเลี้ยงแพะ


30 |ข้อมูลสถิติการเลี้ยงแพะ ในพื้นที่เขต 9 มีเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะทั้งหมด จำนวน 44,888 ราย ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ จังหวัดยะลา จำนวน 13,735 ราย (ร้อยละ 30.60) รองลงมาคือนราธิวาส จำนวน 10,168 ราย (ร้อยละ 22.65) จังหวัดปัตตานี จำนวน 9,871 ราย (ร้อยละ 21.99) จังหวัดสงขลา จำนวน 5,978 ราย (ร้อยละ 13.32 ) และจังหวัดสตูล จำนวน 5,136 ราย (ร้อยละ 11.44) ตามลำดับ โดยมีการเลี้ยงแพะทั้งหมด จำนวน 260,351 ตัว ซึ่งในพื้นที่จังหวัดยะลา จำนวน 68,864 ตัว (ร้อยละ 26.45) รองลงมาคือสงขลา จำนวน 58,575 ตัว (ร้อยละ 22.50) จังหวัดนราธิวาส จำนวน 51,424 ตัว (ร้อยละ 19.75 ) จังหวัดปัตตานี จำนวน 50,559 ตัว (ร้อยละ 19.43) และจังหวัดสตูล จำนวน 30,929 ตัว (ร้อยละ 11.88) ตามลำดับ (รายละเอียดตามตารางที่ 6) ตารางที่ 6 จำนวนเกษตรกรและแพะ ในพื้นที่เขต 9 ปี พ.ศ. 2565 เขต 9 จังหวัด เกษตรกร (ราย) แพะ (ตัว) จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ รวม 44,888 100.00 260,351 100.00 สงขลา 5,978 13.32 58,575 22.50 นราธิวาส 10,168 22.65 51,424 19.75 ยะลา 13,735 30.60 68,864 26.45 ปัตตานี 9,871 21.99 50,599 19.43 สตูล 5,136 11.44 30,929 11.88 ที่มา : สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดปัตตานี 34/ข้อมูลสถิติการเลี้ยงแพะ


31 |ข้อมูลสถิติการเลี้ยงแพะ 2) ข้อมูลการเลี้ยงแพะตามประเภท ปี 2565 จำนวนแพะที่เลี้ยงในพื้นที่ เขต 9 ทั้งหมดรวมจำนวน 260,351 ตัว จำแนกเป็น แพะเนื้อ จำนวน 255,395 ตัว (ร้อยละ 98.77) และแพะนม จำนวน 4,956 ตัว (ร้อยละ 1.92) ตามลำดับ รายละเอียดตามแผนภูมิ - แพะเนื้อ จำนวน 255,395 ตัว ส่วนใหญ่เลี้ยงในพื้นที่จังหวัดยะลา จำนวน 66,419 ตัว (ร้อยละ 26.01) รองลงมาคือ จังหวัดสงขลา จำนวน 58,237 ตัว (ร้อยละ 22.80) จังหวัดนราธิวาส จำนวน 51,222 ตัว (ร้อยละ 20.06 จังหวัดปัตตานี จำนวน 49,994 ตัว (ร้อยละ 19.58) และจังหวัดสตูล จำนวน 29,523 ตัว (ร้อยละ 11.18) ตามลำดับ - แพะนม จำนวน 4,956 ตัว ส่วนใหญ่เลี้ยงในพื้นที่จังหวัดยะลา จำนวน 2,445 ตัว (ร้อยละ 0.96) รองลงมาคือ จังหวัดสตูล จำนวน 1,406ตัว (ร้อยละ 0.55) จังหวัดปัตตานี จำนวน 565 ตัว (ร้อยละ 0.22) จังหวัดสงขลา จำนวน 338 ตัว (ร้อยละ 0.13) และจังหวัดนราธิวาส จำนวน 202 ตัว (ร้อยละ 0.07) ตามลำดับ (รายละเอียดตามตารางที่ 7) แพะเนื้อ : 255,395 ตัว (98.77 %) แพะนม : 4,956 ตัว (1.92 %) ภาพที่ 26 แผนภูมิแสดงจ านวนแพะ พื้นที่เขต 9 จ าแนกตามประเภท 35/ข้อมูลสถิติการเลี้ยงแพะ


32 |ข้อมูลสถิติการเลี้ยงแพะ ตารางที่ 7 จำนวนแพะ จำแนกตามประเภท เขต 9 รายจังหวัด เขต 9 จังหวัด แพะเนื้อ แพะนม จำนวน (ตัว) ร้อยละ จำนวน(ตัว) ร้อยละ รวม 255,395 98.77 4,956 1.92 สงขลา 58,237 22.80 338 0.13 นราธิวาส 51,222 20.06 202 0.07 ยะลา 66,419 26.01 2,445 0.96 ปัตตานี 49,994 19.58 565 0.22 สตูล 29,523 11.56 1,406 0.55 ที่มา : สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดปัตตานี 3) ข้อมูลเปรียบเทียบการเลี้ยงแพะ ปี 2564 – 2565 (1) ข้อมูลเปรียบเทียบเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ ในพื้นที่เขต 9 ปี 2564 – 2565 เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะลดลง จำนวน 56 ราย โดยในพื้นที่จังหวัดสงขลา เพิ่มขึ้น จำนวน 168 ราย จังหวัดยะลา เพิ่มขึ้น จำนวน 132 ราย จังหวัดสตูล เพิ่มขึ้น 5 ราย และจังหวัดที่ลดลง จังหวัด นราธิวาส จำนวน 303 ราย รองลงมาคือ จังหวัดปัตตานี ลดลง 58 ราย ตามลำดับ (รายละเอียดตาม ตารางที่ 8) 36/ข้อมูลสถิติการเลี้ยงแพะ


33 |ข้อมูลสถิติการเลี้ยงแพะ ตารางที่ 8 เปรียบเทียบจำนวนเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ ในพื้นที่เขต 9 ปี 2564 – 2565 เขต 9 จังหวัด เกษตรกร (ราย) การเปลี่ยนแปลง ปี 2564 ปี 2565 จำนวน ร้อยละ รวม 44,944 44,888 -56 0 สงขลา 5,810 5,978 168 3 นราธิวาส 10,471 10,168 -303 -3 ยะลา 13,603 13,735 132 1 ปัตตานี 9,929 9,871 -58 -1 สตูล 5,131 5,136 5 0 ที่มา : สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดปัตตานี (2) ข้อมูลเปรียบเทียบจำนวนแพะ ในพื้นที่เขต 9 ปี 2564 – 2565 จำนวนแพะเพิ่มขึ้น จำนวน 1,776 ตัว โดยในพื้นที่จังหวัดสงขลา เพิ่มขึ้นมากที่สุด จำนวน 6,138 ตัว จังหวัดปัตตานี เพิ่มขึ้น จำนวน 175 ตัว จังหวัดยะลา เพิ่มขึ้น จำนวน 31 ตัว และจังหวัดที่ลดลง มากที่สุด คือ จังหวัดนราธิวาส ลดลง จำนวน 2,864 ตัว จังหวัดสตูล ลดลง จำนวน 1,664 ตัว ตามลำดับ (รายละเอียดตามตารางที่ 9) ตารางที่ 9 เปรียบเทียบจำนวนแพะ ในพื้นที่เขต 9 ปี 2564 – 2565 เขต 9 จังหวัด แพะ (ตัว) การเปลี่ยนแปลง ปี 2564 ปี 2565 จำนวน ร้อยละ รวม 258,575 260,351 1,776 0.69 สงขลา 52,437 58,575 6138 11.71 นราธิวาส 54,288 51,424 -2,864 -5.28 ยะลา 68,833 68,864 31 0.05 ปัตตานี 50,424 50,599 175 0.35 สตูล 32,593 30,969 -1,664 -5.11 37/ข้อมูลสถิติการเลี้ยงแพะ


34 |ข้อมูลสถิติการเลี้ยงแพะ 2.3 ข้อมูลสถานการณ์การเลี้ยงแพะเนื้อในพื้นที่จังหวัดปัตตานี สถานการณ์ทั่วไปในภาพรวมของการเลี้ยงแพะในพื้นที่จังหวัดปัตตานีประกอบด้วยข้อมูลที่สำคัญ ด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1) ปริมาณการผลิตและประสิทธิภาพการผลิตแพะเนื้อ (ข้อมูลย้อนหลัง 3 ปีการผลิต ได้แก่ ปี พ.ศ. 2563 ปี พ.ศ. 2564 ปี พ.ศ. 2565) ตารางที่ 10 ปริมาณการผลิตและประสิทธิภาพการผลิตแพะเนื้อจังหวัดปัตตานีปี 2564 – 2565 ปี พ.ศ. เกษตรกร (ราย) อายุ เฉลี่ย (ปี) จำนวน ฟาร์ม (ฟาร์ม) จำนวนตัว ณ วันที่ 1 มกราคม ของปี ผลผลิตในรอบปี แหล่งผลิตสำคัญ (อำเภอที่มีสัตว์เลี้ยง มาก 3 อันดับแรก) จำนวน(ตัว) น้ำหนัก (ตัน ) ปี 2563 9,751 40 9,751 16,615 24,923 280 1.มายอ 2.สายบุรี 3.ยะรัง ปี 2564 9,878 40 9,878 19,199 28,799 324 1.มายอ 2.ยะรัง 3.สายบุรี ปี 2565 9,817 40 18,138 18,917 28,376 319 1.มายอ 2.ยะรัง 3.หนองจิก หมายเหตุ: แพะเนื้อ จำนวนผลผลิต (ตัว) หมายถึง จำนวนสัตว์ที่เกษตรกรจำหน่ายเพื่อแปรสภาพ เป็นเนื้อ (ตัว) และ น้ำหนัก (ตัน) หมายถึง น้ำหนักสัตว์มีชีวิตทั้งหมดที่เกษตรกรจำหน่าย ที่มา : สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดปัตตานี 38/ข้อมูลสถิติการเลี้ยงแพะ


35 |ข้อมูลสถิติการเลี้ยงแพะ ผลการวิเคราะห์ 1) เกษตรกรทั้งหมดเป็นเกษตรกรรายย่อย 2) อายุเฉลี่ยของเกษตรกรส่วนใหญ่มากกว่า 40 ปีขึ้นไป 3) เกษตรกรปี 2564 เพิ่มขึ้นจากปี 2563 จำนวน 127 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.30 และในปี 2565 ลดลงจากปี 2564 จำนวน 61 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.62 ในส่วนของผลผลิตในรอบปี จำนวนแพะ ปี 2564 เพิ่มขึ้นจากปี 2563 จำนวน 3,876 ตัว คิดเป็นร้อยละ 15.55 และในปี 2565 ลดลง จากปี 2564 จำนวน 423 ตัว คิดเป็นร้อยละ 1.47 4) จำนวนเกษตรกรและผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจาก ปริมาณความต้องการเพิ่มขึ้น และลดลง เนื่องจากพื้นที่เลี้ยงโคเนื้อลดลง 2) ทรัพยากรการผลิต (1) เกษตรกร (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565) ตารางที่ 11 ข้อมูลเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ประเภทเกษตรกร จำนวน (กลุ่ม) เกษตรกร (ราย) 1. เกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Famer) 1.1 เกษตรกรปราดเปรื่อง (Existing Smart Famer) - 30 1.2 เกษตรกรปราดเปรื่องต้นแบบ (Model Smart Famer) 2 30 1.3 เกษตรกรปราดเปรื่องรุ่นใหม่ (Young Smart Famer) - 30 2. สถาบันเกษตรกร 2.1 กลุ่มแปลงใหญ่ 1 - 2.2 วิสาหกิจชุมชน 67 - 2.3 สหกรณ์การเกษตร 1 35 2.4 กลุ่มเกษตรกร 281 - 3. บริษัท/ห้างหุ้นส่วนจำกัด 3.1 บริษัท - - 3.2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด - - ที่มา : สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดปัตตานี ,สำนักงานเกษตรจังหวัดปัตตานี ,สำนักงานสหกรณ์จังหวัดปัตตานี 39/ข้อมูลสถิติการเลี้ยงแพะ


36 |ข้อมูลสถิติการเลี้ยงแพะ ผลการวิเคราะห์1) เกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Famer) ดำเนินการตามเป้าหมายที่ได้รับ 2) การรวมกลุ่มสถาบันเกษตรกรค่อนข้างเป็นสัดส่วนที่น้อย 3) ไม่มีการดำเนินการในรูปแบบ/ห้างหุ้นส่วนจำกัดในพื้นที่ (2) พื้นที่ดินที่ใช้เพาะปลูกพืชอาหารสัตว์ (ข้อมูล ปีเพาะปลูก 2564/65) ตารางที่ 12 การใช้พื้นที่ดินเพาะปลูกพืชอาหารสัตว์ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี พื้นที่ พื้นที่ เหมาะสม มาก (S1) (ไร่) พื้นที่ เหมาะสม ปานกลาง (S2) (ไร่) พื้นที่ เหมาะสมน้อย (S3) (ไร่) พื้นที่มา เหมาะสม (N) (ไร่) พื้นที่ไม่มี เอกสารสิทธิ์ (ไร่) รวม ทั้งหมด (ไร่) 1. พื้นที ่ตาม Agri-Map - - - - - - 1. 2. พื้นที่ปลูก จริง - 2,139.65 (824 ราย) - - - 2,139.65 ร้อยละ - 100 - - - 100 ที่มา : สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดปัตตานี ,สำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดปัตตานี ผลการวิเคราะห์ 1) สัดส่วนของพื้นที่มีการปลูกพืชอาหารสัตว์น้อย เนื่องจาก - มีพื้นที่ปลูกพืชชนิดอื่นที่เหมาะสม และได้ราคาดีกว่า เช่น พืชสวน พืชไร่ - ขาดพื้นที่ชลประทาน 2) พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืชอาหารสัตว์ส่วนใหญ่ คือ พืชที่ราบ เป็นพื้นที่เหมาะสมปานกลาง 40/ข้อมูลสถิติการเลี้ยงแพะ


37 |ข้อมูลสถิติการเลี้ยงแพะ (3) คุณภาพมาตรฐานการผลิต (ข้อมูลผลการรับรองยังไม่หมดอายุ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565) ตารางที่ 13 การใช้พื้นที่ดินเพาะปลูกพืชอาหารสัตว์ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี มาตรฐาน เกษตรกร (ราย) จำนวนฟาร์ม (ฟาร์ม) 1. GAP - - 2. GFM 78 78 3. Organic Thailand - - 4. ฮาลาล - - รวม 78 78 ที่มา : สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดปัตตานี ผลการวิเคราะห์ 1) ในพื้นที่ไม่มีมาตรฐานฟาร์ม GAP และฟาร์มมาตรฐาน GFM ค่อนข้าง น้อย คิดเป็นร้อยละ 0.79 ของจำนวนเกษตรกร เนื่องจากเกษตรกรมีพื้นที่จำกัดในการเลี้ยงแพะเนื้อ และมี ต้นทุนการผลิตน้อย ไม่สามารถปรับระบบการเลี้ยงได้ 2) ส่วนใหญ่เป็นฟาร์มรายย่อย ยังไม่ค่อยเห็นความสำคัญของการยกระดับ ฟาร์มแพะเนื้อ เป็นฟาร์ม GAP และฟาร์ม GSM (4) ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาด (ผลผลิตที่ส่งออกสู่ตลาดปี พ.ศ.2565) ตารางที่ 14 ข้อมูลปริมาณผลผลิตแพะเนื้อของจังหวัดปัตตานีออกสู่ตลาด ปี 2565 หน่วย : ตัว รายการ ปี 2565 ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. รวม ปริมาณ 1,206 1,206 1,277 1,277 1,277 1,277 851 1,206 1,206 1,135 1,135 1,135 14,188 ร้อยละ 8.5 8.5 9 9 9 9 6 8.5 8.5 8 8 8 100 ที่มา : สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดปัตตานี ผลการวิเคราะห์1) ปริมาณความต้องการบริโภคแพะเนื้อในพื้นที่ ๗๔,๐๔๙ ตัว/ปี และใช้ ประกอบพิธีกรรม ๒,๐๐๐ ตัว/ปี ดังนั้น ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาด มีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการ บริโภค คิดเป็นร้อยละ 18.66 ของจำนวนปริมาณความต้องการบริโภค 2) ปริมาณผลผลิตที่เหลือ เกษตรกรใช้บริโภคเอง เช่น บริโภคในครัวเรือน งานพิธีกรรม งานบุญ ฯ 41/ข้อมูลสถิติการเลี้ยงแพะ


38 |ข้อมูลสถิติการเลี้ยงแพะ 3) ช่วงเดือนมีนาคม – มิถุนายน มีผลผลิตออกสู่ตลาดมาก เนื่องจากเป็น ช่วงนิยมจัดงานบุญและงานแต่งในพื้นที่ และในช่วงเดือนกรกฎาคม มีผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย เนื่องจาก ตรงกับช่วงพิธีกรรมกรุบาน ทำให้มีเนื้อเพื่อใช้สำหรับบริโภคในครัวเรือนได้หลายวัน (5) ราคาผลผลิตที่เกษตรกรขายได้ (ข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี ปี พ.ศ. 2563 – 2565) ตารางที่ 15 ตารางแสดงผลผลิตที่เกษตรกรขายได้ ปี 2563 - 2565 หน่วย : บาท/กก. ปี พ.ศ. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. เฉลี่ย 2563 3,750 3,750 3,750 3,750 3,750 4,500 3,750 3,750 3,750 3,750 3,750 3,750 3,813 2564 3,750 3,750 3,750 3,750 3,750 3,750 4,500 3,750 3,750 3,750 3,750 3,750 3,813 2565 3,750 3,750 3,750 3,750 3,750 3,750 3,750 4,500 3,750 3,750 3,750 3,750 3,813 ที่มา : สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดปัตตานี ผลการวิเคราะห์ 1) ราคาผลผลิตที่เกษตรกรขาย มีการจำหน่ายเป็นตัว โดยไม่มีการชั่งน้ำหนัก ในการจำหน่าย 2) แนวโน้มราคาในปี 2563 – 2565 ไม่เปลี่ยนแปลง 3) โดยเฉพะแพะที่ใช้สำหรับอากีเกาะ ราคาจำหน่ายโคมีชีวิตในพื้นที่มีราคา ค่อนข้างสูง (6) ต้นทุนและผลตอบแทนทางการเงิน (ข้อมูลย้อนหลัง 3 ปีการผลิต ปี พ.ศ. 2563 –2565) ตารางที่ 16 ตารางแสดงต้นทุนและผลตอบแทนทางการเงิน ปี 2563 - 2565 รายการ ปี พ.ศ. 2563 ปี พ.ศ. 2564 ปี พ.ศ. 2565 1. ต้นทุนการผลิต 1.1 ต้นทุนคงที่ (บาท/ตัว) (บาท/กก.) 625 625 625 1.2 ต้นทุนผันแปร (บาท/ตัว) (บาท/กก.) 1,925 1,925 1,925 1.3 ต้นทุนรวม (บาท/ตัว) (บาท/กก.) 2,550 2,550 2,550 2. รายได้ (บาท/ตัว) (บาท/กก.) 3,750 3,750 3,750 3. กำไรสุทธิ (บาท/ตัว) (บาท/กก.) 1200 1200 1200 4. อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) (%) 47 47 47 หมายเหตุ: กำไรสุทธิ = รายได้ – ต้นทุนรวม อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน = กำไรสุทธิx 100 ต้นทุนรวม ที่มา : สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดปัตตานี ,สำนักงานปศุสัตว์เขต 9 42/ข้อมูลสถิติการเลี้ยงแพะ


39 |ข้อมูลสถิติการเลี้ยงแพะ ผลการวิเคราะห์ 1) พื้นที่ส่วนใหญ่เลี้ยงแม่เพื่อผลิตลูก ต้นทุนการผลิต จากการเลี้ยงแม่ผลิตลูกแบบปล่อย 2) ต้นทุนการผลิต รายได้ และอัตราผลตอบแทน ในปี 2563 –2565 ไม่แตกต่างกัน 3) ต้นทุนการผลผลิตในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา มีต้นทุนการผลิตที่ไม่แตกต่างกัน (7) ปัญหาสำคัญของสินค้า (Pain Point) และข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไข ตารางที่ 17 ตารางแสดงปัญหาสำคัญของสินค้า และข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไข ประเด็น ปัญหาสำคัญ (Pain Point) ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไข ด้านการผลิต ๑) ปริมาณผลผลิตในพื้นที่มีไม่เพียงพอกับความ ต้องการบริโภค ๒) ฐานการผลิตแพะเนื้อในพื้นที่มีไม่เพียงพอกับแม่ พันธ์แพะพื้นฐานในการผลิต ๓) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย เลี้ยง เป็นอาชีพเสริมมากกว่าเลี้ยงเป็นอาชีพหลัก ๔) เกษตรกรมีการเลี้ยงปศุสัตว์ที่มีต้นทุนต่ำ เช่น พื้นที่เลี้ยงสัตว์ เงินทุน/แหล่งทุน ทำให้ไม่มี ความสามารถและความกล้าในการลงทุนมากนัก ๕) เกษตรกรไม่ให้ความสำคัญกับการยกระดับการ เลี้ยงที่ดี ๑) รัฐควรสนับสนุนจัดหาแม่พันธุ์แพะพื้นฐาน เพื่อสร้างแม่พันธุ์แพะพื้นฐานให้เพียงพอต่อการ ผลผลิตตามความต้องการในพื้นที่ ๒) หาแหล่งทุนให้กับเกษตรกรที่มีความพร้อม 3) สร้างแรงจูงใจให้แก่เกษตรกรใส่ใจและ ให้ความสำคัญกับการยกระดับการเลี้ยงที่ดี ด้านการแปรรูป ๑) เกษตรกรส่วนใหญ่เน้นจำหน่ายแพะมีชีวิต มากกว่าการแปรรูป เนื่องจาก สะดวก และไม่ต้อง ลงทุนเพิ่ม ๒) ไม่มีผลผลิตที่เพียงพอต่อการแปรรูปอย่างครบ วงจร ๓) เน้นการแปรรูปแบบรวมกลุ่ม มากกว่าเป็นราย ย่อย ๔) ขาดต้นทุน/แหล่งทุน ๑) เพิ่มฐานการผลิตในพื้นที่ให้มีเพียงพอ ต่อผลผลิตที่ต้องการบริโภคในพื้นที่ ๒) เน้นให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่ม เพื่อสร้าง เครือข่ายในการจัดหาผลผลิตให้เพียงพอต่อการ แปรรูป ด้านการตลาด ๑) ไม่มีโรงฆ่าสัตว์ ๒) จำเป็นต้องนำสัตว์จากนอกพื้นที่เข้ามา เนื่องจาก ผลผลิตในพื้นที่มีไม่เพียงพอ และมีราคาถูกกว่า ๑) กำหนดนโยบายที่จัดเชน เพื่อให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นให้ความสำคัญต่อผู้บริโภคในการจัดตั้ง โรงฆ่าสัตว์ ๒) ลดการนำสัตว์นอกพื้นที่ โดยการพื้นฐานการ ผลผลิตให้เพียงพอ 43/ข้อมูลสถิติการเลี้ยงแพะ


Click to View FlipBook Version