The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

แพะเนื้อ ประจำปี 2566

แพะ

40 |ข้อมูลสถิติการเลี้ยงแพะ 2.4 ต้นทุนและผลตอบแทนจากการผลิตแพะเนื้อรายย่อย จังหวัดสงขลา จากข้อมูลการเลี้ยงแพะเนื้อของจังหวัดปัตตานี(ปศุสัตว์จังหวัดปัตตานี) พบว่าเกษตรกรจังหวัด ปัตตานีส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย เลี้ยงเป็นอาชีพเสริมมากกว่าเลี้ยงเป็นอาชีพหลัก ซึ่งมีต้นทุนและ ผลตอบแทนการผลิตใกล้เคียงกับการผลิตแพะเนื้อจังหวัดสงขลา จึงได้นำงานวิจัยการผลิตและการตลาด แพะขุนในพื้นที่จังหวัดสงขลา (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9) เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้เป็นแนวทาง ในการบริหารจัดการการเลี้ยงแพะเนื้อในพื้นที่จังหวัดปัตตานี พบว่า ในพื้นที่จังหวัดสงขลาเกษตรกรมีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 2,799.15 บาทต่อตัว ประกอบด้วยต้นทุน ผันแปร 2,731.63 บาทต่อตัว หรือร้อยละ 97.59 โดยแยกเป็นต้นทุนผันแปรที่ไม่เป็นเงินสด 2,376.39 บาทต่อตัว ต้นทุนผันแปรที่เป็นเงินสด 355.24 บาทต่อตัว และต้นทุนคงที่ 67.52 บาทต่อตัว หรือร้อยละ 2.41 เมื่อพิจารณาต้นทุนผันแปร พบว่า ค่าวัสดุ มีต้นทุนสูงสุด คือ 2,400.04 บาทต่อตัว หรือร้อยละ 87.86 ซึ่งประกอบด้วย ค่าพันธุ์สัตว์มากที่สุด ร้อยละ 79.45 รองลงมาค่าอาหารหยาบ ร้อยละ 8.60 ค่าอาหารข้น ร้อยละ 5.35 ค่ายาและวัคซีน ร้อยละ 2.20 ค่าใช้จ่ายด้านวัสดุอื่นๆ ได้แก่ ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า และค่าน้ำมัน ค่าวัสดุสิ้นเปลือง ค่าซ่อมแซมอุปกรณ์การเกษตร และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดอื่นๆ ร้อยละ 1.95/1.32/0.82 และ 0.31 ตามลาดับ รองลงมาเป็นค่าแรงงาน มีต้นทุน 327.20 บาทต่อตัว หรือร้อยละ 11.98 และค่าเสีย โอกาสในการลงทุน มีต้นทุน 4.39 บาทต่อตัว หรือร้อยละ 0.16 สาหรับต้นทุนคงที่ พบว่า ค่าเสื่อมโรงเรือน และอุปกรณ์มีต้นทุนสูงสุด คือ 30.42 บาทต่อตัว หรือร้อยละ 45.05 รองลงมา ค่าใช้ที่ดิน มีต้นทุน 20.80 บาทต่อตัว หรือร้อยละ 30.81 และค่าเสียโอกาสเงินลงทุนระยะยาว มีต้นทุน 16.30 บาทต่อตัว หรือร้อยละ 24.14 44/ข้อมูลสถิติการเลี้ยงแพะ


41 |ข้อมูลสถิติการเลี้ยงแพะ สำหรับผลตอบแทนที่เกษตรกรได้รับ พบว่า เกษตรกรจำหน่ายแพะขุนโดยมีน้ำหนักเฉลี่ย 21.31 กิโลกรัมต่อตัว ในราคาเฉลี่ย 153.75 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้ได้รับผลตอบแทนจากการจำหน่าย 3,276.41 บาทต่อตัว และเมื่อหักต้นทุนทั้งหมดแล้ว ทำให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนสุทธิ 477.26 บาทต่อตัว หรือ อธิบายได้ว่า การผลิตแพะเนื้อ 1 กิโลกรัม ทาให้ได้รับผลตอบแทนสุทธิ 22.40 บาท จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นว่า เกษตรกรฟาร์มขนาดย่อยส่วนใหญ่ มีเป้าหมายในการเลี้ยงเพื่อเป็น อาชีพเสริม ใช้เวลาในการเลี้ยงขุนเฉลี่ยเพียง 69.38 วันต่อรุ่น และเลี้ยงได้ 1.69 รุ่นต่อปี สาหรับต้นทุน ในการเลี้ยงแพะเนื้อ จะพบว่า มีต้นทุนค่าพันธุ์สัตว์มากที่สุด ซึ่งค่าพันธุ์จะขึ้นอยู่กับน้ำหนักแพะที่เกษตรกร เริ่มนำมาขุน ซึ่งใช้แพะที่มีน้ำหนักเฉลี่ย 12.63 กิโลกรัมต่อตัว มาเริ่มทำการขุน โดยส่วนใหญ่เกษตรกรจะ ใช้แพะภายในฟาร์มมาขุน และมีการซื้อแพะนอกฟาร์มมาขุนแค่เพียงส่วนน้อยเท่านั้น ด้านอาหาร ส่วนใหญ่ เกษตรกรจะเน้นให้อาหารหยาบเป็นหลัก เช่น หญ้า กระถิน หยวกกล้วย และทางปาล์มสด เป็นต้น ซึ่งเป็น พืชอาหารที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น และสามารถหาได้เพียงพอต่อความต้องการของแพะขุน รวมทั้งมีการเสริม ด้วยอาหารข้น ในบางช่วงเวลา จึงทำให้แพะมีน้ำหนักเฉลี่ย 21.31 กิโลกรัมต่อตัว ซึ่งเป็นช่วงน้ำหนักที่เป็น ที่ต้องการของตลาด ในพื้นที่ โดยตลาดต้องแพะน้ำหนักระหว่าง 18-25 กิโลกรัมต่อตัว รายละเอียดดัง ตารางที่ 16 45/ข้อมูลสถิติการเลี้ยงแพะ


ตารางที่ 18 ต้นทุนและผลตอบแทน


42 |ข้อมูลสถิติการเลี้ยงแพะ การผลิตแพะขุนแยกตามขนาดฟาร์ม จังหวัดสงขลา ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 46/ข้อมูลสถิติการเลี้ยงแพะ


43 |ข้อมูลสถิติการเลี้ยงแพะ 2.5 แนวโน้สถานการณ์บ์การบริโภคเนื้อแพะเนื้อ ปี 2565 -2566 ตารางที่ 19 แนวโน้มสถานการณ์การบริโภคเนื้อแพะปี 2565-2566 ของจังหวัดปัตตานี 1. ปริมาณแพะเนื้อในแต่ละพื้นที่ - ระดับประเทศ - ระดับเขต 9 - 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ - จังหวัดปัตตานี 1,468,032 255,395 167,635 49,994 ตัว ตัว ตัว ตัว 2. อัตราส่วนประชากรที่บริโภคเนื้อแพะ - จังหวัดปัตตานี - ผู้ใหญ่ (อายุ 18 – 65 ปี) - จำนวนผู้บริโภค ร้อยละ 60 ของผู้ใหญ่ 718,077 428,522 257,113 คน คน คน 3. อัตราการบริโภคแพะเนื้อ ต่อคนต่อวัน - คิดอัตราบริโภค 0.02 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน - ปริมาณผู้บริโภคแพะเนื้อ 0.02 5,142 ต่อคนต่อวัน กิโลกรัมต่อวัน 4. ปริมาณการบริโภคแพะ ต่อตัวต่อวัน - น้ำหนักซากแพะเฉลี่ย 20-25 กิโลกรัมต่อซีก - จังหวัดปัตตานีบริโภคแพะเนื้อ 25 206 กิโลกรัมต่อซีก ตัวต่อวัน 5. ความต้องการบริมาณโคเนื้อในพื้นที่ - อัตราการบริโภค - อัตราการบริโภค - อัตราการบริโภค 206 6,171 74,049 ตัวต่อวัน ตัวต่อเดือน ตัวต่อปี 6. ปริมาณการผลิตโคเนื้อในพื้นที่ - ผลผลิตแพะเนื้อ - อัตราการบริโภค - ใช้ประกอบพิธีกรรม,ประเพณี - ขาดแคลนผลผลิตแพะเนื้อ - ต้องใช้แม่พันธุ์แพะ ประมาณ 29,996 74,049 2,000 -46,052 30,701 ตัวต่อปี ตัวต่อปี ตัวต่อปี ตัวต่อปี ตัวต่อปี ที่มา : สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดปัตตานี 47/ข้อมูลสถิติการเลี้ยงแพะ


42 |การพัฒนาแพะเนื้อในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนที่ 3 การพัฒนาแพะเนื้อในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การเลี้ยงแพะเนื้อใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นการเลี้ยงแบบเกษตรกรรายย่อย ส่วนใหญ่เลี้ยง เพื่อใช้ประโยชน์ในครัวเรือนและพิธีกรรมทางศาสนา และในการเลี้ยงของเกษตรกรยังมีปัญหาและอุปสรรค ที่สำคัญคือ ปัญหาด้านการจัดการการผลิต ระบบตลาด ด้านการจัดจำหน่าย กล่าวคือ เกษตรกรผู้ผลิตยัง เป็นเกษตรกรรายย่อย มีการกระจายตัวไม่มีการรวมกลุ่ม การจัดการผลิต และระบบตลาด ส่งผลให้การ เลี้ยงไปสู่ระบบธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จ ดังนั้นเพื่อให้สอดรับกับนโยบายของภาครัฐ ในการเพิ่มปริมาณ ผลผลิตแพะเนื้อในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน คือ การจัดลำดับของกระบวนการทั้งหมดที่มีต่อการสร้างความพอใจ ให้กับลูกค้า โดยส่วนหนึ่งของโซ่อุปทานซึ่งเป็นกระบวนการเริ่มต้นตั้งแต่การวางแผนจากจุดเริ่มต้นในการ ผลิตที่ทำหน้าที่จัดหาสินค้าส่งต่อไป เพื่อการจัดการสินค้าให้เหมาะสมกับการจำหน่ายที่ทำหน้าที่จัดหา สินค้าบริการ และสารสนเทศ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ผู้บริโภคไปสู่จุดสุดท้ายของผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคต้องการ ดังนั้น ห่วงโซ่อุปทานเพื่อพัฒนาธุรกิจการเลี้ยงแพะเนื้อใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงได้ ดำเนินการเพื่อนำผลไปใช้พัฒนาการเลี้ยงแพะเนื้อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ มีปริมาณเพียงพอสำหรับการ บริโภค และพัฒนาสู่อุตสาหกรรมอาหาร ทำให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร และรายได้แก่เกษตรกรใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป 48/การพัฒนาแพะเนื้อในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้


43 |การพัฒนาแพะเนื้อในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 3.1 ระบบการผลิตแพะเนื้อต้นน้ำ จากการศึกษาวิจัย ห่วงโซ่อุปทานเพื่อพัฒนาธุรกิจการเลี้ยงแพะเนื้อใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ของประเทศไทย (วารสารแก่นเกษตร : ณฤทธิ์ ไทยบุรี,ฐิตินันท์ โสระบุตร, สมนึก ลิ้มเจริญ มหาวิทยาลัย นราธิวาสราชนครินทร์) ซึ่งผลสรุปจากการวิจัยครั้งนี้ เกษตรกรสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา ธุรกิจการเลี้ยงแพะเนื้อ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะละ นราธิวาส) ได้แก่ ระบบต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำในการผลิตแพะเนื้อ ดังนี้ ระบบการผลิตแพะเนื้อต้นน้ำ ประกอบด้วยปัจจัย ดังนี้ 1) ระบบการผลิตแพะเนื้อ การจัดการปัจจัยการผลิตที่สำคัญ คือ ด้านพันธุ์แพะเนื้อใน 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ส่วนใหญ่เป็นแพะพันธุ์พื้นเมือง หน่วยงานปศุสัตว์ที่เกี่ยวข้องต้องปรับปรุงพันธุ์แพะเนื้อ และ ต้องมีการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์แพะเนื้อ นักปรับปรุงพันธุ์แพะเนื้อต้องพยายามคัดเลือกและผสมพันธุ์ แพะเนื้อ เร่งการพัฒนาสายพันธุ์แพะเนื้อให้โดดเด่นเป็นพันธุ์แพะเนื้อที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น มีรูปร่าง น้ำหนัก การเจริญเติบโตเร็ว ทนต่อสภาพแวดล้อม มีความ เหมาะสมกับการตลาด ใช้บริโภคในพื้นที่ พันธุ์แพะที่เหมาะสมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปัจจุบันมีการเลี้ยงแพะเนื้อแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์ (1) พันธุ์แพะต่างประเทศ แพะพื้นเมืองลูกผสมกับแพะต่างประเทศ เช่น แพะพันธุ์บอร์และ ลูกผสมบอร์มีน้ำหนักตัวเมื่อโตเต็มที่อยู่ในช่วง 70-90 กก. แพะพันธุ์แองโกลนูเบียน และลูกผสมแองโกล นูเบียน มีน้ำหนักตัวโตเต็มที่อยู่ในช่วง 45-65 กก. (2) แพะพื้นเมืองภาคใต้มีน้ำหนักตัวโตเต็มที่อยู่ในช่วง 25-45 กก. และความสำคัญในการปรับปรุงคัดเลือกพันธุ์ ให้มีการเจริญเติบโตที่เร็วขึ้น มีน้ำหนักมากขึ้น ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคของพื้นที่และตลาดเป็นหลัก ได้แก่ 1) ตลาดพิธีกรรมทางศาสนา ปัจจุบันแพะมีความสำคัญและยังคงนิยมใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของชาวไทยมุสลิม โดยการเชือด แพะ ในพิธีแพะเนื้อต้องมีอายุ 2 ปีขึ้นไป โดยแพะเนื้อที่ใช้ไม่เลือกสายพันธุ์ 2) ตลาดแพะเนื้อเพื่อใช้ใน บริโภคเนื้อ ได้แก่ ผู้บริโภคเนื้อแพะ ร้านอาหารแปรรูปเนื้อแพะ แพะที่ใช้ในตลาดนี้จะต้องมีปริมาณเนื้อ มาก เนื้อแพะมีความเหมาะสมกับการแปรรูป ได้แก่ พันธุ์พื้นเมืองลูกผสมกับแพะต่างประเทศ ที่มีอัตราการ เจริญเติบโตเร็ว ปริมาณเนื้อมาก 49/การพัฒนาแพะเนื้อในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้


44 |การพัฒนาแพะเนื้อในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) การจัดการด้านอาหารสัตว์แพะเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่นเดียวกับโค กระบือ และแกะ เป็นต้น สัตว์เคี้ยวเอื้องมีกายวิภาคและสรีระวิทยาของระบบทางเดินอาหารแตกต่างจากสัตว์กระเพาะเดี่ยว ที่สำคัญที่สุดคือ มีความสามารถในการใช้อาหารที่มีเยื่อใยสูงได้ดีกว่าสัตว์กระเพาะเดี่ยว แพะมีกระเพ าะ รูเมนหรือกระเพาะหมัก (rumen) ซึ่งเป็นแหล่งทำงานของจุลินทรีย์ต่าง ๆ ในการหมักย่อยอาหารเยื่อใย การเลี้ยงแพะเนื้อในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ส่วนใหญ่ แพะได้รับอาหารที่มีคุณภาพต่ำ การเลี้ยงแพะใน ปริมาณมาก ๆ ควรมีการปลูกพืชอาหารสัตว์เพียงพอ ในทางปฏิบัติควรมีการปลูกพืชอาหารสัตว์ก่อนการ เลี้ยงแพะเนื้อ 6–12 เดือน และปริมาณที่ปลูกต้องเพียงพอในการเลี้ยงแพะถึงจำหน่าย ดังนั้นอาหารใช้เลี้ยง แพะเนื้อ ทั้งอาหารหยาบและอาหารข้น ต้องมีคุณภาพดี มีคุณค่าทางอาหารทางโภชนะครบและมีเพียงพอ กับความต้องการ สำหรับอาหารใช้เลี้ยงแพะเนื้อแบ่งออกได้ 2 ประเภท 1. อาหารหยาบ เป็นอาหารที่มีเยื่อใยสูง (มากกว่า 18 เปอร์เซ็นต์ ของวัตถุแห้ง) มีลักษณะฟ่าม ได้แก่ หญ้า ถั่ว วัสดุเศษเหลือต่าง ๆ การเลี้ยงแพะใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนใหญ่ เลี้ยงโดยเกษตรกรรายย่อย แพะถูกปล่อยให้แทะเล็มหญ้าในทุ่งหญ้าสาธารณะ อาหารหยาบในทุ่งหญ้า สาธารณะมีโภชนะต่ำ ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมน และทำให้แพะมีการ เจริญเติบโตช้า ให้ผลผลิตต่ำ และจะขาดแคลนพืชอาหารสัตว์ในช่วงฤดูฝน เกิดน้ำท่วมหญ้าตามธรรมชาติ ถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหาย ส่วนฤดูแล้ง หญ้าธรรมชาติมีน้อย ทำให้ได้รับอาหารไม่เพียงพอต่อความ ต้องการของร่างกาย ทำให้แพะสุขภาพไม่ค่อยดี พืชอาหารสัตว์ที่ใช้เลี้ยงแพะเนื้อใน 3 จังหวัดชายแดน ภาคใต้ มีดังนี้ (1) กระถิน ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นพืชตระกูลถั่วที่ขึ้นอยู่ในพื้นที่สาธารณะเป็น จำนวนมาก เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อบางราย นำใบกระถินเลี้ยงแพะหลังจากปล่อยให้หากินตามธรรมชาติ แล้ว ทำให้แพะสามารถดำรงชีพอยู่ได้ ในช่วงที่อาหารขาดแคลน ต้นกระถินในพื้นที่ภาคใต้ เกิดขึ้นเองตาม พื้นที่สาธารณะและเกษตรกรบางรายปลูกกระถินใช้เลี้ยงแพะ เนื่องจากเป็นพืชที่ให้ผลผลิตสูงมีโปรตีนสูง ประมาณ 16 % เทียบเท่าอาหารข้น แพะกินใบกระถินอย่างเดียว ได้รับโปรตีนอย่างเพียงพอ ผลการวิจัย จากประเทศออสเตรเลีย ยืนยันว่า แพะที่เลี้ยงในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีใบกระถินขึ้นอยู่ตาม ธรรมชาติมานาน แพะพื้นเมืองหรือลูกผสมที่มีสายเลือดแพะพื้นเมืองของประเทศไทย สามารถปรับตัวให้ สามารถกินใบกระถินได้โดยไม่เกิดพิษ โดยจุลินทรีย์ในกระเพาะหมักที่สามารถทำลายพิษของไมโมซิน (Mimosine) ได้ (2) หญ้าเนเปียร์ เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อนิยมนำหญ้าเนเปียร์ ปากช่อง 1 หรือสายพันธุ์เน เปียร์อื่น ๆ มาปลูกกันในพื้นที่ภาคใต้ เนื่องจากมีลำต้นและใบมีขนาดใหญ่มีคุณค่าทางอาหารสัตว์สูง เจริญเติบโตเร็ว ให้ผลผลิตสูงสามารถเก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปี เป็นหญ้าที่มีอายุนาน 5-7 ปี ต่อการปลูก 1 ครั้ง สายพันธุ์หญ้าเนเปียร์ พันธุ์ต่าง ๆ สามารถปลูกเลี้ยงแพะเนื้อได้ดี แต่จะต้องมีเครื่องสับให้กิน ถ้าให้ กินทั้งต้นแพะจะกินใบ ส่วนลำต้นจะเหลือทำให้สินเปลื้อง แต่มีข้อเสียไม่ทนน้ำท่วมขังหรือแห้งแล้งขาด 50/การพัฒนาแพะเนื้อในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้


45 |การพัฒนาแพะเนื้อในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แคลนน้ำลำต้นจะแข็ง และ (3) หญ้าซิกแนลเลื้อย เป็นหญ้าที่นิยมปลูกเพื่อปล่อยให้แพะแทะเล็มหรือใช้เป็น พืชคลุมดินก็ได้ เจริญเติบโตในพื้นที่ที่มีความชื้นและดินมีความเป็นกรด ระบายน้ำได้ไม่ดี หญ้าซิกแนลเลื้อย จะสามารถเติบโตได้ในพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำเป็นหญ้าที่สามารถเจริญเติบโตได้ทุกฤดูกาล ทนน้ำท่วม ขัง ทนแล้ง แต่มีเปอร์เซ็นต์โปรตีนต่ำ ต้องเสริมด้วยพืชตระกูลถั่ว เช่น ใบกระถิน ใบแคฝรั่ง ใบมันสำปะหลัง และหญ้าอื่น ๆ ที่สามารถปลูกได้ในพื้นที่ สำหรับการจัดการทุ่งหญ้ามีวิธีการดำเนินการดังนี้ ❖ การจัดการทุ่งหญ้า แพะเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องใช้อาหารหยาบเป็นหลัก การเลี้ยงแพะเนื้อจำเป็นต้องมีการสร้างแปลงหญ้าเสียก่อน หญ้าที่ปลูกควรเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม มี คุณค่าทางโปรตีนสูง การปลูกหญ้าที่เหมาะสมจะทำให้การเลี้ยงแพะมีประสิทธิภาพ มีอาหารหยาบที่มีราคา ถูกให้แพะกินได้ตลอดการเลี้ยง การทำแปลงหญ้าให้ประสบผลสำเร็จนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับพันธุ์หญ้าเพียงอย่าง เดียว จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยแวดล้อมในแต่ละพื้นที่และประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติมาประกอบ ตัวชี้วัดที่จะ บ่งบอกว่าสิ่งใดเหมาะสมที่สุดก็คือผลผลิตที่ได้เพียงพอกับความต้องการของแพะ และแพะสามารถนำหญ้า ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ได้อย่างสูงสุด ปัจจัยที่มีผลต่อการคัดเลือกพันธุ์หญ้าให้เหมาะสมกับรูปแบบการเลี้ยง ในแต่ละราย มีดังนี้ สภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ ลักษณะดิน ระบบชลประทาน ขนาดของพื้นที่ และ จำนวนแพะเนื้อ ❖ การสร้างแปลงหญ้า มีที่ดินเพียงพอสำหรับการปลูกหญ้าเลี้ยงแพะ ตามจำนวนแพะที่ต้องการเลี้ยง เลือกพันธุ์หญ้าที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในพื้นที่ ได้แก่ คุณค่าทาง อาหาร ความสามารถในการเจริญเติบโต ความคงทนที่จะอยู่ได้ในสภาพแห้งแล้ง น้ำท่วมขัง สภาพของชุดดินนั้น ๆ นอกจากนั้นมีความตอบสนองต่อปุ๋ยดีและมีความคงทนต่อศัตรู เช่น หนูกินหน่ออ่อน โรคและแมลง ❖ การใช้ประโยชน์แปลงหญ้า มี 2 วิธี 1. การตัดหญ้ามาเลี้ยงแพะในคอก สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อ ที่มีพื้นที่จำกัดการเลี้ยงแพะ อาจเลี้ยงแบบขังคอกโดยการสร้างคอกและ โรงเรือน แล้วใช้การตัดหญ้ามาให้แพะกิน การเลี้ยงแบบนี้จะเป็น วิธีการที่ประหยัดพื้นที่และแรงงานในการ เลี้ยงดูและเฝ้าระวัง โดยใช้การขังแพะไว้ในคอกที่มีโรงเรือน ภายในคอกอาจ มีแปลงหญ้า หากไม่มีแปลง หญ้า เกษตรกรจะใช้วิธีการตัดหญ้ามาให้แพะในคอก และมีการเสริมอาหารข้นให้กิน ร่วมกับการให้หญ้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเจริญเติบโตของแพะ ทำให้แพะมีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีให้ผลผลิตที่สูง มี ผลตอบแทนที่คุ้มค่าในการเลี้ยง และ 2. การปล่อยแพะแทะเล็มในแปลงหญ้า ต้องมีระยะเวลาเป็นเกณฑ์ กำหนดประมาณ 45 วัน ถ้าปล่อยเข้าแทะเล็มเร็วเกินไปผลผลิตยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ปริมาณน้อยผลผลิต ต่ำไม่เพียงพอกับแพะ ถ้าปล่อยแทะเล็มช้าเกินไปหญ้ามีอายุมากหญ้าจะแก่มีคุณภาพต่ำมีเยื่อใยสูงและ โปรตีนต่ำ 51/การพัฒนาแพะเนื้อในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้


46 |การพัฒนาแพะเนื้อในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2. อาหารข้นและการผลิตอาหารข้นใช้เอง ในปัจจุบันใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มี การทดลองผลิตอาหารข้นใช้เอง แต่วัตถุดิบในพื้นที่มีน้อย ต้องสั่งวัตถุดิบมาจากภาคอื่น ๆ เมื่อผลิตออกมา ต้นทุนสูง สูงกว่าอาหารแพะสำเร็จรูปที่ขายอยู่ตามท้องตลาด ดังนั้นต้องมีการส่งเสริมการปลูกพืชที่เป็น วัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพดอาหารสัตว์ ใบกระถิน เป็นต้น ให้มีปริมาณ เพียงพอในการใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ และในปัจจุบัน เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะบางรายให้ความ สนใจปลูกพืชที่เป็นวัตถุดิบในการนำมาใช้ประกอบเป็นอาหารข้น มาใช้เลี้ยงแพะมากขึ้น 3. การคำนวณความต้องการอาหารของแพะ สามารถคำนวณความต้องการได้ตาม ตัวอย่างต่อไปนี้ แพะเนื้อมีน้ำหนักตัว 30 กิโลกรัม และมีความต้องการอาหาร % ของน้ำหนักตัวในรูปวัตถุ แห้ง ดังนั้นต้องการอาหาร 30X3/100=0.90 กิโลกรัม หรือ 900 กรัม ถ้าแพะกินหญ้าสดอย่างเดียว หญ้า สดมีวัตถุแห้งเพียงร้อยละ 20 ดังนั้นแพะต้องกินหญ้าสด 1,000/200X900=4,500 กรัม หรือ 4.5 กิโลกรัม/ วัน ซึ่งจะเห็นว่าถ้าใช้คำแนะนำนี้ เกษตรกรให้หญ้าขนสดวันละ 10 กิโลกรัม/วัน จึงเพียงพอ แต่ถ้าใช้ตาม ข้อเสนอแนะ กินหญ้าสดวันละประมาณ 10 % ของน้ำหนักตัว ซึ่งเท่ากับ 3 กิโลกรัม/วัน อาจทำให้แพะ ได้รับอาหารต่ำกว่าที่ควรจะได้รับเล็กน้อย และในกรณีที่เลี้ยงแพะแบบปล่อยแทะเล็มในแปลงหญ้าขนและ ให้อาหารข้นเสริมวันละประมาณ 150 กรัม/ตัว อาหารข้นมีวัตถุแห้งประมาณร้อยละ 90 ดังนั้นแพะได้รับ วัตถุแห้งจากอาหารข้น 135 กรัม จึงต้องการหญ้าสดอีก 765 กรัมหรือเท่ากับหญ้าสด 3.8 กิโลกรัม จะเห็น ได้ว่าการเลี้ยงแพะโดยให้กินหญ้าสดอย่างเดียวต้องกินในปริมาณมาก จึงจะได้ปริมาณวัตถุแห้งตามที่ ต้องการ ในขณะที่อาหารข้นแม้ได้รับในปริมาณที่น้อยกว่าแต่สามารถให้ปริมาณวัตถุแห้งใน สัดส่วนที่สูง 3) การจัดการโรงเรือนเลี้ยงแพะเนื้อ จะต้องมีสถานที่สำหรับแพะได้พักอาศัยหลบแดด หลบฝน หรือเป็นที่สำหรับนอนในเวลากลางคืน พื้นที่ตั้งของโรงเรือน ควรอยู่สูงจากพื้นดินตามความเหมาะสม สามารถเข้าไปทำความสะอาดใต้คอกได้ ทางเดินสำหรับแพะขึ้นลงไม่ควรมีความสูงลาดสูงกว่า 45 องศา พื้นคอกควรให้เป็นร่อง โดยใช้ไม้หนาขนาด 1 นิ้ว กว้าง 2 นิ้ว ปูพื้นให้เว้นร่องระหว่างไม้แต่ละอันห่างกัน ประมาณ 1.5 -2.0 เซนติเมตร หรืออาจจะใช้พื้นคอนกรีต โดยปูพื้นคอกแพะด้วยสแลตที่ปูพื้นคอกสุกรแทน พื้นที่เป็นร่องนี้จะทำให้มูลของแพะตกลงข้างล่าง พื้นคอกจะแห้งและสะอาดอยู่เสมอ ความต้องการพื้นที่ ของแพะ แพะมีความต้องการพื้นที่ในการอยู่อาศัยในโรงเรือนประมาณตัวละ 1 ตารางเมตร ส่วนใหญ่ผู้เลี้ยง มักแบ่งภายในโรงเรือนประมาณตัวละ 1 ตารางเมตร ส่วนใหญ่ผู้เลี้ยงมักแบ่งภายในโรงเรือนออกเป็นคอกๆ แต่ละคอกขังแพะรวมฝูงกันประมาณ 10 ตัว โดยคัดขนาดของแพะ ให้ใกล้เคียงกันขังรวมฝูงกัน แต่ถ้าหาก เห็นว่าสิ้นเปลืองค่าก่อสร้างก็อาจขังแพะรวมกันเป็นฝูงใหญ่ในโรงเรือนเดียวกัน โดยแบ่งเป็นคอกๆ ก็ได้ 52/การพัฒนาแพะเนื้อในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้


47 |การพัฒนาแพะเนื้อในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 4) การจัดการสวัสดิภาพสัตว์ เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อ ต้องตรวจสุขภาพแพะอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจดูสุขภาพแพะสมบูรณ์แข็งแรง ภายในโรงเรือนต้องสะอาด ถูกสุขลักษณะ จัดการพื้นที่ให้ เหมาะสมกับจำนวนแพะที่เลี้ยง ต้องดูแลแพะให้ได้รับอาหารอย่างทั่วถึงทุกตัวและตรงตามสายพันธุ์ การดูแลแพะที่เจ็บป่วย หรือพิการ ต้องได้รับการรักษาอย่างรีบด่วน แพะเนื้อเป็นโรคหรือป่วยตาย เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อต้องแจ้งสัตวแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ที่ได้รับมอบหมายภายใน 24 ชั่วโมง 1. โรคที่พบทำให้แพะเนื้อใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดปัญหาสุขภาพไม่สมบูรณ์ คือ โรคพยาธิภายใน ในการป้องกันรักษาแพะใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เกษตรกรส่วนใหญ่ขาดความรู้ การจัดการการเลี้ยง ไม่ให้ความสำคัญในการป้องกันโรค รูปแบบการเลี้ยงแพะนิยมเลี้ยงแบบปล่อยให้หากิน เองตามธรรมชาติ เกษตรกรส่วนใหญ่ขาดการเอาใจใส่และวิธีปฏิบัติยังเป็นการเลี้ยงไม่ถูกต้อง ส่งผลต่อ ต้นทุนการผลิตและทำให้ผลตอบแทนจากการเลี้ยงแพะลดน้อยลง เช่น สุขภาพทั่วไปของแพะไม่สมบูรณ์ ส่งผลต่อน้ำหนักตัวของแพะ อัตราการตายของลูกแพะระยะก่อนหย่านมสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีสภาพภูมิอากาศที่เอื้อต่อความเหมาะสมของการระบาดของพยาธิตัวกลมภายใน ระบบทางเดินของแพะเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีอากาศร้อนชื้น และมีฝนตกชุก ตัวอย่างเช่น มีการตรวจพบ พยาธิมากในแพะที่เลี้ยงใน จังหวัดสงขลา ได้แก่ พยาธิตัวกลมในระบบทางเดิน อาหาร(Gastro intestinal nematodes) และ โอโอซีสต์ (Oocyst) ของโปรโตซัว เชื้อบิด (Eimena spp) นอกจากนี้ยัง พบว่า แพะ พื้นเมืองเพศเมียในจังหวัด ปัตตานีและสงขลาที่ซื้อเข้ามาเป็นแม่พันธุ์ทุกตัว มี พยาธิภายในอย่าง น้อยหนึ่ง ชนิด พยาธิที่พบมากได้แก่ พยาธิตัวกลมในระบบทางเดินอาหาร และโอโอซีสต์ ของโปรโตซัว เชื้อบิด 2. การป้องกันรักษาโรคพยาธิภายในระบบทางเดินอาหารของแพะเนื้อ ❖ การถ่ายพยาธิแพะใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในช่วงฤดูฝนควรมีการ ถ่ายพยาธิอย่างน้อยทุก 2-3 เดือน/ครั้ง เนื่องจากพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง เหมาะสมกับการแพร่ระบาดของพยาธิ ควรมีการถ่ายพยาธิประมาณ 4-6 เดือนต่อครั้ง ❖ สำหรับการเลี้ยงแพะปล่อยให้แทะเล็มในแปลงหญ้า ควรมีการหมุนเวียน การใช้แปลงหญ้า เป็นการลดโอกาสที่แพะจะได้รับไข่และตัวอ่อนของพยาธิจากแปลงหญ้าให้น้อยที่สุด โดย ให้แปลงหญ้าได้มีเวลาพักระยะหนึ่งซึ่งเป็นการตัดวงจรชีวิตของพยาธิอีกทาง และมีการถ่ายพยาธิแพะก่อน ปล่อยลงในแปลงหญ้า ทำให้โอกาสพยาธิจะปนในแปลงหญ้ามีน้อย สามารถลดความถี่ของการใช้ยาลงได้ ระยะเวลาในการพักแปลงหญ้าขึ้นอยู่กับวงจรชีวิต ของพยาธิตัวกลมในระบบทางเดินอาหาร (Gastro intestinal nematodes) ถ้าสภาพความชื้นและ อุณหภูมิที่เหมาะสม วงจรชีวิตประมาณ 4 สัปดาห์ สำหรับการถ่ายพยาธิ ในแพะ 53/การพัฒนาแพะเนื้อในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้


48 |การพัฒนาแพะเนื้อในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ❖ ยาถ่ายพยาธิที่นิยมใช้ควบคุมพยาธิตัวกลมในระบบทางเดินอาหาร ของแพะ ยาถ่ายพยาธิใช้ควบคุมพยาธิตัวกลมในระบบทางเดินอาหารของแพะ มี 3 กลุ่ม ได้แก่ คือกลุ่ม เบนซิมิดาโซล (benzimidazoles) เช่น อัลเบนดาโซล (albendazole) ออกเฟนดาโซล (oxfendazole) เฟนเบนดาโซล(fenbendazole) กลุ่ม อิมิดาโซไทอะโซล (imdazothiazole) เช่น เลวามิโซล (levamizole) และกลุ่มไอเวอรเมกติน (ivermectin) ในการออกฤทธิ์ของยาทั้ง 3 กลุ่ม ในปัจจุบันยาถ่าย พยาธิในแพะมีทั้งชนิดออกฤทธิ์กว้าง (broad spectrum) กับพยาธิหลายชนิดและชนิดที่ออกฤทธิ์เฉพาะ พยาธิบางชนิด (narrow spectrum) 5) การบันทึกข้อมูล ได้แก่ 1) การบันทึกข้อมูลทะเบียนประวัติแพะเนื้อ ทำหมายเลขประจำตัว เมื่อลูกแพะเกิด เพศ พันธุ์ วันเกิด น้ำหนักแรกเกิด หมายเลขพ่อแม่ น้ำหนักหย่านม 2) บันทึกอาหารใช้ เลี้ยงแพะ 3) บันทึกข้อมูลการป้องกันและรักษาโรค เช่น การใช้เวชภัณฑ์ การใช้วัคซีน การถ่ายพยาธิ การ รักษาโรค และการดูแลสุขภาพ 4) บันทึกข้อมูลบัญชีฟาร์ม เป็นการทำบัญชีจำนวนสัตว์ภายในฟาร์ม และ บัญชีรายรับรายจ่ายต่าง ๆ 6) การจัดการสิ่งแวดล้อม มลภาวะและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการเลี้ยงสัตว์ ก่อให้เกิดมลภาวะ หลายอย่าง เช่น เสียง กลิ่น มูลสัตว์ น้ำเสีย รวมทั้งแมลงวัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ที่อาศัยอยู่ โดยรอบ ทั้งอาจทำให้น้ำในแม่น้ำ ลำคลอง ลำรางสาธารณะเน่าเสีย จึงต้องมีกฎหมายไว้คุ้มครอง ในช่วง แรกของการตั้งฟาร์มผู้ประกอบการอาจจะคิดว่าเราได้ตั้งฟาร์มในที่รกร้าง หรือห่างไกลชุมชน จึงไม่ จำเป็นต้องมีระบบต่าง ๆ เพื่อป้องกันมลภาวะ ซึ่งคิดไม่ถึงว่าเวลาผ่านไปไม่กี่ปีจะมีผู้จับจองผืนดินทำที่อยู่ อาศัย จนสุดท้ายกลายเป็นชุมชนขึ้นมา กลายเป็นท่านสร้างเหตุรำคาญให้กับชุมชนถึงขั้นถูกชุมชนขับไล่ ดังนั้น ผู้ประกอบการรายใหม่จึงต้องคำนึงถึงการสร้างโรงเรือนที่ปลอดมลภาวะด้วย ในส่วนการกำจัดซากแพะที่ตายให้อยู่ดุลยพินิจของ สัตวแพทย์ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ในการ ทำลายต้องฝังไว้ใต้ผิวดินไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร ใช้ยาฆ่าเชื้อโรคราดหรือปูนขาวโรยทับให้ทั่ว กลบดิน ปิดปากหลุม แล้วพูนดินกลบหลุมเหนือระดับผิวดินไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตรหรือตามที่กรมปศุสัตว์กำหนด 7) การจัดการแหล่งเงินทุน แหล่งเงินทุนในการพัฒนาการเลี้ยงแพะเนื้อใน 3 จังหวัดชายแดน ภาคใต้ การเลี้ยงแพะเนื้อในพื้นที่ต้องใช้วิธีรวมกลุ่มการเลี้ยง มีการจัดตั้งกลุ่มมีการจดทะเบียนรับรองจาก รัฐบาลถูกต้อง แหล่งเงินทุนของรัฐบาล ธนาคารที่กำกับดูแลของรัฐบาลมีนโยบายในการปล่อยสินเชื่อให้ เกษตรกร แต่จะต้องให้ประธานกลุ่มหรือหัวหน้ากลุ่มเป็นคนขอสินเชื่อเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งถ้าจะทำได้ใน กลุ่มจะต้องมีความต้องการนำมาพัฒนาการเลี้ยงอย่างจริงจัง ก่อให้เกิดรายได้ สามารถสร้างเป็นอาชีพได้ ต้องมีความซื่อสัตย์ สุจริต มีความรับผิดชอบ แต่ในปัจจุบันยังมีปัญหา ประธานกลุ่มไม่กล้าที่จะขอสินเชื่อ 54/การพัฒนาแพะเนื้อในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้


49 |การพัฒนาแพะเนื้อในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 3.2 ระบบการผลิตแพะเนื้อกลางน้ำ การรวมกลุ่มของเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะในปัจจุบันเป็นการรวมกลุ่มเฉพาะกิจ เกษตรกรในกลุ่มยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการบริหารจัดการกลุ่ม ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย สำนักงานปลัดกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ ได้มีโครงการเงินกู้กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร เพื่อให้แก่กลุ่มเกษตรกรกู้ยืมเพื่อการพัฒนา ทางการเกษตร การผลิตแพะเนื้อกลางน้ำ ประกอบด้วยพ่อค้าแพะเนื้อ 3 ระดับ ได้แก่พ่อค้าระดับท้องที่/พ่อค้า ระดับท้องถิ่น/พ่อค้าระดับจังหวัด (เป็นผู้รวบรวม/ค้าส่ง/ค้าปลีก) และร้านอาหารหรือภัตตาคารแปรรูปเนื้อ แพะจำหน่ายให้ผู้บริโภคเนื้อแพะ ซึ่งผู้รวบรวมผลผลิตมีความสำคัญในการเคลื่อนย้ายแพะเนื้อจาก เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อสู่ตลาด โดยใช้กิจกรรมห่วงโซ่อุปทานหรือเครือข่ายโลจิสติกส์ที่เกิดขึ้น ได้แก่ โครงสร้างการตลาดซื้อขายแพะเนื้อ กระบวนการซื้อแพะ กระบวนการรวบรวมแพะเนื้อ กระบวนการเลี้ยง ก่อนส่งมอบหรือก่อนชำแหละ กระบวนการตรวจสอบคุณภาพก่อนชำแหละ รวมถึงการจัดการขนส่งแพะเนื้อ การบรรจุหีบห่อเนื้อแพะชำแหละและ อาหารแปรรูปจากเนื้อแพะ การเก็บรักษาเนื้อแพะชำแหละและ อาหารแปรรูปจากเนื้อแพะ เพื่อให้สินค้าคุณภาพมาตรฐานตลอดเวลา แล้วนำผลิตภัณฑ์นั้นขายให้ร้านค้า หรือผู้บริโภคต่อไป 1) รูปแบบระบบตลาดและธุรกิจการเลี้ยงแพะเนื้อใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ระบบธุรกิจการ เลี้ยงแพะเนื้อ กลุ่มเกษตรกรหรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการเลี้ยงแพะเนื้อจะต้องมีการจัดการความรู้ในระบบ การผลิตแพะเนื้อให้เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อรายย่อย นำไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ถูกต้องตามหลักการ และ กฎระเบียบของกลุ่ม และต้องมีความซื่อสัตย์ สุจริต ภายในกลุ่ม ระบบตลาดจะเกิดขึ้นได้ด้วย 2 ปัจจัย คือ 1. ปัจจัยการส่งออก จะต้องทราบความต้องการของตลาดต่างประเทศหรือยอดความ ต้องการก่อน ว่าต้องการปริมาณเท่าไรใน 1 เดือน หรือ 1 ปี หลังจากนั้นมาวางแผนการผลิต ในการผลิต ควรรวมตัวกันเป็นกลุ่ม หรือวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกรหรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจะต้องเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ที่ เพียงพอในการผลิตลูกแพะเนื้อตามความต้องการของตลาดที่กำหนดไว้ เมื่อผลิตลูกแพะได้ตามความ ต้องการ ส่งต่อให้เกษตรกรรายย่อยในกลุ่มนำไปเลี้ยง รายละไม่เกิน 5-10 ตัว เพื่อที่เกษตรกรผู้เลี้ยงจะได้มี แหล่งพืชอาหารสัตว์เพียงพอในการเลี้ยงแพะเพื่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตที่ตรงตามความต้องการ ของตลาด เมื่อถึงกำหนดระยะเวลาแพะเนื้อโตได้ขนาด รวบรวมกลับมาไว้ในกลุ่ม โดยในกลุ่มจะต้องสร้าง 55/การพัฒนาแพะเนื้อในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้


50 |การพัฒนาแพะเนื้อในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 3.3 ระบบการผลิตแพะเนื้อปลายน้ำ ฟาร์มให้ได้มาตรฐานตามกฎระเบียบของกรมปศุสัตว์ลดขั้นตอนไปกักแพะที่ด่านกักสัตว์และลดค่าใช้จ่ายใน การเลี้ยงดูให้ต่ำลง กักแพะเนื้อภายในกลุ่มรอการส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ 2. ปัจจัยใช้ในพิธีกรรมหรือกุรบ่านทางศาสนาอิสลาม ต้องทราบปริมาณการใช้ของ ตลาดเสียก่อน หลังจากนั้นวางแผนการผลิต ในการผลิตควรรวมตัวกันเป็นกลุ่ม หรือวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกรหรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจะต้องเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ที่เพียงพอ แพะในปัจจัยนี้ไม่จำเป็นต้องมี ขนาดใหญ่มากนักขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจของผู้บริโภค ส่วนใหญ่ชอบแพะพื้นเมืองหรือพื้นเมืองลูกผสมที่ ขนาดไม่ใหญ่เกินไป การผลิตลูกแพะเนื้อตามความต้องการของตลาดที่กำหนดไว้ เมื่อผลิตลูกแพะได้ ส่งต่อ ให้เกษตรกรรายย่อยในกลุ่มนำไปเลี้ยง รายละไม่เกิน 5-10 ตัว เพื่อที่เกษตรกรผู้เลี้ยงจะได้มีแหล่งพืช อาหารสัตว์เพียงพอในการเลี้ยงแพะเพื่อการเจริญเติบโต และให้ผลผลิต เมื่อถึงกำหนดระยะเวลาแพะเนื้อ โตได้ขนาด รวบรวมกลับมาไว้ในกลุ่ม ควรมีการกักให้ได้มาตรฐานตามกฎระเบียบของกรมปศุสัตว์ เช่นเดียวกัน และส่งจำหน่ายตามเทศกาลต่าง ๆ ซึ่งในปัจจัยนี้ถ้าได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องก็สามารถทำ การส่งออกเช่นเดียวกัน 3. การส่งเสริมจัดทำมาตรฐานเนื้อแพะ การจัดชั้นมาตรฐานเนื้อแพะ การผลิตเนื้อแพะ ให้มีคุณภาพสามารถนำไปใช้ประโยชน์ตามลักษณะการตัดแต่งและเพิ่มมูลค่าการขาย และเพื่อให้มีความ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ควรมีการส่งเสริมการจัดตั้งโรงงานชำแหละสัตว์ (แพะ) ที่ถูกสุขลักษณะตามหลัก วิชาการและได้มาตรฐาน มีสัตวแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพซาก ตรวจเชื้อโรค ตามหลัก มาตรฐานสากล เช่น ฮาลาล และส่งเสริมสนับสนุนการจัดตั้งโรงงานแปรรูปและผลิตภัณฑ์เนื้อแพะที่ หลากหลาย เพื่อการบริโภคภายในและการส่งออก เชิงธุรกิจและอุตสาหกรรมส่งออก ภายในพื้นที่ เป็นกระบวนการเคลื่อนย้ายแพะเนื้อที่มีชีวิตหรือเนื้อแพะชำแหละและผลิตภัณฑ์แปรรูปออกสู่ ตลาด โดยสินค้าทั้งหมดจะถูกจำหน่ายให้ พ่อค้าส่ง/พ่อค้าปลีก/ตัวแทนจำหน่ายส่งออก กระจายสินค้าไปสู่ ผู้บริโภคต่อไป โดยใช้กิจกรรมห่วงโซ่อุปทานหรือเครือข่ายโลจิสติกส์ ประกอบด้วย การจัดการธุรกิจ เช่น หาลูกค้า การตัดสินใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากเนื้อแพะและการบริการที่จำเป็น โดยใช้หลักการปัจจัยส่วน ประสมทางตลาด (Marketing Mix) ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ (Product) การกำหนดราคา (Price) การจัดจำหน่าย (Place or Distribution) และการส่งเสริมการตลาด (Promotion) ในการสร้างและสนับสนุนจากลูกค้า ควบคุมการจัดคุณภาพมาตรฐานของเนื้อแพะ มีการจัดเก็บผลิตภัณฑ์ตามหลักมาตรฐานเนื้อแพะ โดยเนื้อ แพะ (goat meat) หมายถึง เนื้อที่ได้จากแพะสุขภาพดีและไม่มีโรคที่ผ่านกระบวนการฆ่าแบบไม่ทรมาน เพื่อใช้เป็นอาหารมนุษย์โดย นำเลือด หนัง หัว หาง ข้อเท้าหน้า ข้อเท้าหลัง รวมทั้งอวัยวะ ภายในออก แล้วตัดแต่ง (cutting) เป็นชิ้นส่วนขนาดใหญ่ โดยผ่านการตรวจสอบแล้วว่าสามารถบริโภค เป็นอาหารได้ 56/การพัฒนาแพะเนื้อในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้


51 |การพัฒนาแพะเนื้อในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และมีกล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle) เพื่อสนองความต้องการของลูกค้า (Customer Need) และ สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าหรือผู้บริโภค (Customer Satisfaction) ห่วงโซ่อุปทานที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาธุรกิจการเลี้ยงแพะเนื้อของเกษตรกรใน 3 จังหวัดชายแดน ภาคใต้ จะต้องประกอบไปด้วย ปัจจัยที่เข้าที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องทำให้การเลี้ยงแพะเนื้อของเกษตรกร ประสบความสำเร็จ คือ อายุเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อ พื้นที่ของเกษตรกรใช้ทำการเกษตร พันธุ์แพะเนื้อ การเลี้ยงดูแพะรุ่นหนุ่มสาว การจัดตั้งตลาดแพะในอำเภอ แปลงหญ้าใช้เลี้ยงแพะเนื้อ อาหารข้นในการเลี้ยง แพะเนื้อ และประสบการณ์เลี้ยงแพะเนื้อ สำหรับกระบวนการห่วงโซ่อุปทานการพัฒนาธุรกิจการเลี่ยงแพะเนื้อ เริ่มต้นจากการเคลื่อนย้ายผลผลิตแพะเนื้อ จะเริ่มจากเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเป็นผู้ผลิตแพะเนื้อได้มาตรฐาน ตรงตามความต้องการของตลาด และเคลื่อนย้ายไปสู่พ่อค้าหรือผู้รวบรวมแพะเนื้อในรูปแบบแพะเนื้อมีชีวิต หรือเนื้อแพะชำแหละ จนเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปและส่งไปยังลูกค้าหรือผู้บริโภค ในขณะที่ผลตอบแทน (รายได้) จากการขายสินค้าจะเคลื่อนที่จากผู้ซื้อหรือผู้บริโภคขั้นสุดท้าย จนถึงเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อ ระหว่างนั้นจะมีการเคลื่อนไหวของของข้อมูล ทั้งไปและกลับ เช่น ข้อมูลของสินค้า (แพะเนื้อหรือเนื้อแพะ ชำแหละหรือผลิตภัณฑ์แปรรูป) ข้อมูลความต้องการของผู้บริโภค ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ดังนั้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาธุรกิจการเลี้ยงแพะเนื้อของเกษตรกร 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ ประสบผลสำเร็จ เกษตรกรควรจะดำเนินการ เพิ่มเติม 1) ควรมีการส่งเสริมการตั้งกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงแพะ เพื่อพัฒนากลุ่มเลี้ยงแพะเนื้อหรือเครือข่าย เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะให้เกิดรูปธรรมและยั่งยืนของกลุ่มในการเลี้ยงแพะเพื่อให้เป็นอาชีพที่มั่นคงก่อให้เกิด รายได้ในพื้นที่ 2) ควรมีการวางแผนระบบตลาดแพะเนื้อการซื้อขายแพะเนื้อที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เช่น การจำหน่ายด้วยวิธีชั่งน้ำหนัก มีการประชาสัมพันธ์การบริโภคแพะเนื้อ ทั้งเนื้อแพะชำแหละสด ผลิตภัณฑ์ แปรรูปที่หลากหลายเผยแพร่ข้อมูลถึงคุณค่าทางอาหารของเนื้อแพะ อีกทั้งขยายช่องทางการจำหน่าย ให้กว้างขวางมากขึ้น มีการจัดจำหน่ายเนื้อแพะในตลาดสด 4) ส่งเสริมการผลิตแพะ ในระบบห่วงโซ่อุปทาน ระดับต้นน้ำ ระดับกลางน้ำ และระดับปลายน้ำ 5) นำแนวทางห่วงโซ่อุปทานเพื่อพัฒนาธุรกิจการเลี้ยงแพะ เนื้อใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 57/การพัฒนาแพะเนื้อในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้


(ก) 51 | ก า ร พั ฒ น า แ พ ะ เ นื้ อ จั ง ห วั ด ปั ต ต า นี ( ภ า ค ผ น ว ก ก ) 1. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพการเลี้ยงแพะ SWOT Analysis) ภาคผนวก การพัฒนาแพะเนื้อจังหวัดปัตตานี สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดปัตตานี ได้ทำการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพการเลี้ยงแพะ (SWOT Analysis) ของการเลี้ยงแพะ ในพื้นที่จังหวัดปัตตานีเพื่อนำไปใช้ในการกำหนดแผนพัฒนาการเลี้ยงแพะ เนื้อ จังหวัดปัตตานี ดังนี้ (1) จุดแข็ง (Strengths) 1. แพะเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย เกษตรกรสามารถเลี้ยงได้ในครัวเรือนแม้มีพื้นที่ ไม่มากนัก โดยอาจเลี้ยงเป็นอาชีพเสริมได้การเลี้ยงแพะใช้เงินลงทุนต่ำเมื่อเทียบกับการเลี้ยงโค กระบือ มีความเสี่ยง ในการลงทุนน้อยและให้ผลตอบแทนสูง เนื่องจากแพะเป็นสัตว์ที่ขยายพันธุ์ได้เร็วและใช้ระยะเวลาเลี้ยงสั้น ก็สามารถขายส่งตลาดได้แล้ว 2. อาชีพการเลี้ยงแพะสอดคล้องกับวิถีชีวิต ศาสนาและประเพณีของชุมชนชาวมุสลิม ซึ่งมีประชากรสูงมากในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง 3. เกษตรกรมีความพร้อมที่จะเลี้ยงแพะแกะ ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย แต่ก็อยากจะเลี้ยงแพะแกะเพิ่มหากมีโอกาส 4. ผลผลิตแพะในพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการบริโภค ต้องนำเข้าจากตอนบนของประเทศและ ราคาแพะในพื้นที่สูงกว่าภูมิภาคอื่นจึงเป็นที่จูงใจให้มีการเลี้ยงแพะแกะ (2) จุดอ่อน (Weaknesses) 1. ปัญหาด้านการผลิตที่สำคัญคือยังมีแหล่งผลิตแพะพันธุ์ดีหรือแพะที่จะเลี้ยงเป็นพ่อแม่พันธุ์ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการเลี้ยงเป็นการค้ามักประสบประสบปัญหาในการรวบรวมสัตว์ 2. ลักษณะภูมิอากาศในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างไม่เหมาะกับแพะเนื่องจากมีความชื้นสูงทำให้ มีปัญหาด้านสุขภาพของแพะ เช่น เป็นหวัด ปอดบวม พยาธิภายใน เป็นต้น 58/การพัฒนาแพะเนื้อจังหวัดปัตตานี (ภาคผนวก ก)


(ก) 52 | ก า ร พั ฒ น า แ พ ะ เ นื้ อ จั ง ห วั ด ปั ต ต า นี ( ภ า ค ผ น ว ก ก ) 3. เกษตรกรในพื้นที่ยังมีการเลี้ยงแพะตามวิถีชีวิตอย่างเดิมไม่ยอมรับเทคโนโลยีใหม่ๆ และไม่นิยมปลูกหญ้าเสริมสำหรับการเลี้ยงแพะทำให้อาหารสัตว์ไม่เพียงพอและมีคุณภาพต่ำ 4. เกษตรกรขาดแคลนพันธุ์พืชอาหารสัตว์และไม่เล็งเห็นถึงความสำคัญในการจัดหาพืช อาหารสัตว์ที่มีคุณภาพ 5. มีปัญหาด้านการตลาดหลายประการ เช่น ไม่มีระบบตลาดที่ชัดเจน แหล่งข้อมูลด้าน การตลาดมีน้อยปริมาณและคุณภาพของแพะแกะไม่แน่นอนทำให้นักธุรกิจไม่กล้าที่จะลงทุนทั้ง ด้านการเลี้ยงและการแปรรูปสินค้าอาหารจากแพะแกะ ขาดการสนับสนุนและการพัฒนาด้านการตลาด จากภาครัฐ รวมถึงเนื้อแพะแกะยังมีการบริโภคไม่แพร่หลาย ส่วนมากจะนิยมบริโภคในกลุ่มคนมุสลิมและ คนจีนบางส่วน ซึ่งคนทั่วไปยังเห็นว่าเนื้อแพะแกะมีกลิ่นสาบ 6. ระบบการเลี้ยงยังไม่มาตรฐาน ไม่มีโรงฆ่าชำแหละและเขียงจำหน่ายเนื้อแพะแกะที่ถูก สุขลักษณะทำให้ผู้บริโภคขาดความมั่นใจ 7. ขาดงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเลี้ยงแพะแกะในระบบการค้าและอุตสาหกรรม (3) โอกาส (Opportunities) 1. หน่วยงานราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กรมปศุสัตว์ และกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน มีนโยบายภาครัฐที่สำคัญ เช่น นโยบายกำหนดให้แพะเป็นสินค้าใน ยุทธศาสตร์นโยบายพัฒนาแพะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และนโยบายรัฐส่งเสริมสินค้าฮาลาล ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสที่สำคัญในการสนับสนุนการเลี้ยงแพะของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2. หน่วยงานภาครัฐมีนโยบายสร้างและพัฒนาเครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะให้เข้มแข็ง 3. ผลผลิตจากแพะสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย และเป็นสินค้า ที่สามารถ ตอบสนองความต้องการบริโภคสินค้าสุขภาพ 4. นอกจากการผลิตแพะแกะไม่เพียงพอต่อความต้องการในพื้นที่แล้ว กลุ่มประเทศมุสลิม ยังมีความต้องการสินค้าแพะและผลิตภัณฑ์สำหรับการอุปโภคและบริโภค 5. การเลี้ยงแพะช่วยสนับสนุนนโยบายลดภาวะโลกร้อน และสอดคล้องกับแนวทางการ ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนปุ๋ยเคมีโดยมูลแพะแกะ 6. กรมปศุสัตว์มีการจัดตั้งศูนย์สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ในพื้นที่จังหวัดสงขลา ยะลา และ ปัตตานีซึ่งเป็นแหล่งผลิตแพะพันธุ์ดีและเป็นแหล่งศึกษาวิจัยพัฒนาการเลี้ยงแพะแกะ รวมถึงในส่วนของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และโครงการฟาร์มตัวอย่างของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ 59/การพัฒนาแพะเนื้อจังหวัดปัตตานี (ภาคผนวก ก)


(ก) 53 | ก า ร พั ฒ น า แ พ ะ เ นื้ อ จั ง ห วั ด ปั ต ต า นี ( ภ า ค ผ น ว ก ก ) 2. วิสัยทัศน์ 3. พันธกิจ (4) อุปสรรค (Threats) 1. มีการลักลอบนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านทำให้เสี่ยงต่อ การควบคุมโรค 2. ผู้บริโภคมีความรู้และทัศนคติในการบริโภคแพะและผลิตภัณฑ์ไม่ถูกต้อง 3. การบริโภคแพะส่วนใหญ่ยังอยู่เฉพาะในบางกลุ่ม 4. ปัญหาโรคระบาดสำคัญต่อการเลี้ยงแพะ แท้งติดต่อ และ CAE 5. ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 6. การลักลอบการเคลื่อนย้ายสัตว์ระหว่างเขต 7. การขยายของเมืองและพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจ ลดพื้นที่เลี้ยงแพะ ปัตตานี Hub ศูนย์กลางแพะชายแดนใต้ 1) เพิ่มปริมาณการเลี้ยงแพะและพัฒนาคุณภาพผลผลิตจากการเลี้ยงแพะ 2) สร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกร สถาบันเกษตรกร เครือข่าย และชมรมผู้เลี้ยงแพะ 3) พัฒนาและเพิ่มจำนวนฟาร์มแพะมาตรฐานและโรงฆ่าแพะมาตรฐานให้มากขึ้น 4) การผลิตแพะและผลิตภัณฑ์แพะที่มีความปลอดภัยทางอาหารและสร้างความมั่นใจให้กับ ผู้บริโภค 5) พัฒนาระบบการตลาดภายในประเทศเชื่อมโยงกับตลาดต่างประเทศ 6) เพิ่มปริมาณประเภทของผลิตภัณฑ์จากแพะและคุณภาพให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ประสานความร่วมมือทางด้านการผลิต แปรรูปและการตลาดสินค้าฮาลาลในพื้นที่ภูมิภาคและระหว่าง ประเทศ กับหน่วยงานของ กระทรวงพาณิชย์กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงการต่างประเทศ 60/การพัฒนาแพะเนื้อจังหวัดปัตตานี (ภาคผนวก ก)


(ก) 54 | ก า ร พั ฒ น า แ พ ะ เ นื้ อ จั ง ห วั ด ปั ต ต า นี ( ภ า ค ผ น ว ก ก ) 4. วัตถุประสงค์ 5. เป้าหมาย 6. ยุทธศาสตร์ 7. กลยุทธ์ 1) เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้องค์กรเกษตรกรและเครือข่าย 2) เพื่อเพิ่มปริมาณแพะและผลิตภัณฑ์ให้เพียงพอต่อการบริโภคและส่งออก 3) เพื่อส่งเสริมการบริโภคและพัฒนาระบบการตลาด 4) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร 5) เพื่อพัฒนาระบบการผลิตแพะและผลิตภัณฑ์แพะให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย และยั่งยืน 1) เพิ่มมูลค่าแพะสายพันธุ์ดี ยกระดับรายได้ของเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะของจังหวัดปัตตานี 2) ประชากรแพะในพื้นที่ เพิ่มขึ้นปีละไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 3) มีฟาร์มแพะที่ผ่านการรับรองเป็นฟาร์มมาตรฐาน จำนวน 2 แห่ง 1) ประเด็นยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและองค์กรเกษตรกรเพื่อการ พัฒนาที่ยั่งยืน 2) ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาการผลิตและผลิตภัณฑ์ให้เพียงพอได้มาตรฐานและปลอดภัย 3) ประเด็นยุทธศาสตร์การส่งเสริมการบริโภคและพัฒนาระบบการตลาดสู่อุตสาหกรรมฮาลาล 1) วางรูปแบบการเลี้ยงแพะที่เหมาะสมกับพื้นที่ 2) กำหนดจัดหาแพะสายพันธุ์ดีจากต่างประเทศ 3) นำเทคโนโลยีการผสมเทียมเข้ามาปรับใช้กับสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ 4) เพิ่มมูลค่าผลผลิตจากสายพันธุ์แพะเนื้อและแพะนมของจังหวัดปัตตานี 5) วางรูปแบบการพัฒนาห่วงโซ่การผสมอาหารแพะเป็น feed center ด้านการใช้อาหาร TMRในแพะ 6) กำหนดจุดวางจำหน่ายผลผลิตเกี่ยวกับแพะครบวงจร 61/การพัฒนาแพะเนื้อจังหวัดปัตตานี (ภาคผนวก ก)


(ก) 55 | ก า ร พั ฒ น า แ พ ะ เ นื้ อ จั ง ห วั ด ปั ต ต า นี ( ภ า ค ผ น ว ก ก ) 8. แผนงาน/โครงการ ขอรับการสนับสนุนงบประมาณภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ 1) โครงการธนาคารแพะตำบลสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดปัตตานีได้รับจัดสรรงบประมาณจากกรมปศุสัตว์ ภายใต้ โครงการส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โครงการธนาคารแพะตำบลสันติสุขจังหวัด ชายแดนภาคใต้ดังนี้ ปีงบประมาณ 2562 จัดตั้งธนาคารแพะตำบลสันติสุข งบประมาณ 10,110,000 บาทจำนวน 38 ตำบล เกษตรกร 500 ราย แพะเนื้อ จำนวน 2,500 ตัว (เพศผู้ 500 ตัว , เพศเมีย 2,000 ตัว) ปีงบประมาณ 2563 จัดตั้งธนาคารแพะตำบลสันติสุข งบประมาณ 6,470,400 บาทจำนวน 16 ตำบล เกษตรกร 320 ราย แพะเนื้อ จำนวน 1,600 ตัว (เพศผู้ 320 ตัว , เพศเมีย 1,280 ตัว) ปีงบประมาณ 2564 จัดตั้งธนาคารแพะตำบลสันติสุข งบประมาณ 6,470,400 บาท จำนวน 16 ตำบล เกษตรกร 320 ราย แพะเนื้อ จำนวน 1,600 ตัว (เพศผู้ 320 ตัว , เพศเมีย 1,280 ตัว) ปีงบประมาณ 2565 จัดตั้งธนาคารแพะตำบลสันติสุข งบประมาณ 4,448,400 บาท จำนวน 11 ตำบล เกษตรกร 220 ราย แพะเนื้อ จำนวน 1,100 ตัว (เพศผู้ 220 ตัว , เพศเมีย 880 ตัว) ปีงบประมาณ 2566 จัดตั้งธนาคารแพะตำบลสันติสุข งบประมาณ 4,448,400 บาท จำนวน 11 ตำบล เกษตรกร 220 ราย แพะเนื้อ จำนวน 1,100 ตัว (เพศผู้ 220 ตัว , เพศเมีย 880 ตัว) สรุปผลการดำเนินงานโครงการธนาคารแพะตำบลสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562 -2566 รวมทั้งหมด 92 ตำบล เกษตรกร 1,580ราย แพะเนื้อ 7,900 ตัว(เพศผู้ 1,580 ตัว , เพศเมีย 6,320 ตัว) 62/การพัฒนาแพะเนื้อจังหวัดปัตตานี (ภาคผนวก ก)


(ก) 56 | ก า ร พั ฒ น า แ พ ะ เ นื้ อ จั ง ห วั ด ปั ต ต า นี ( ภ า ค ผ น ว ก ก ) โครงการธนาคารแพะตำบลสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ปีงบประมาณ 2562 - 2566 ภายใต้แผนงานโครงการส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 63/การพัฒนาแพะเนื้อจังหวัดปัตตานี (ภาคผนวก ก)


(ก) 57 | ก า ร พั ฒ น า แ พ ะ เ นื้ อ จั ง ห วั ด ปั ต ต า นี ( ภ า ค ผ น ว ก ก ) 2) โครงการส่งเสริมการเลี้ยงและแปรรูปปศุสัตว์เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ชายแดนใต้ กิจกรรม การเลี้ยงแพะเนื้อในสวนยางเพื่อสร้างอาชีพเสริม ปีงบประมาณ 2564 - สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดปัตตานี ได้รับการอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ 2564 ภายใต้แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน โครงการส่งเสริมการเลี้ยงและแปรรูปปศุสัตว์ เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ชายแดนใต้งบประมาณ 9,678,080 บาท กิจกรรมสนับสนุนอาชีพการเลี้ยงแพะเนื้อ ในสวนยางเพื่อสร้างอาชีพเสริม งบประมาณ 5,109,240 บาท สนับสนุนพันธุ์แพะเนื้อ จำนวน 600 ตัว ปีงบประมาณ 2565 - สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดปัตตานี ได้รับการอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ 2565 ภายใต้แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน โครงการส่งเสริมการเลี้ยงและแปรรูปปศุสัตว์ เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ชายแดนใต้งบประมาณ 8,598,330 บาท กิจกรรมสนับสนุนอาชีพการเลี้ยงแพะเนื้อ เพื่อสร้างอาชีพ งบประมาณ 2,708,930 บาท สนับสนุนพันธุ์แพะเนื้อ จำนวน 480 ตัว - ได้รับการอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2565 ภายใต้แผนพัฒนากลุ่ม จังหวัดภาคใต้ชายแดน โครงการส่งเสริมการเลี้ยงและแปรรูปปศุสัตว์เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ชายแดนใต้ กิจกรรมสนับสนุนอาชีพการเลี้ยงแพะเนื้อเพื่อสร้างอาชีพ งบประมาณ 2,708,930 บาท สนับสนุนพันธุ์แพะเนื้อ จำนวน 480 ตัว 64/การพัฒนาแพะเนื้อจังหวัดปัตตานี (ภาคผนวก ก)


(ก) 58 | ก า ร พั ฒ น า แ พ ะ เ นื้ อ จั ง ห วั ด ปั ต ต า นี ( ภ า ค ผ น ว ก ก ) โครงการส่งเสริมการเลี้ยงและแปรรูปปศุสัตว์(แพะเนื้อ) เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ชายแดนใต้ ภายใต้แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ปีงบประมาณ 2564 - 2565 65/การพัฒนาแพะเนื้อจังหวัดปัตตานี (ภาคผนวก ก)


(ก) 59 | ก า ร พั ฒ น า แ พ ะ เ นื้ อ จั ง ห วั ด ปั ต ต า นี ( ภ า ค ผ น ว ก ก ) 3.9 ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1) เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะมีประสิทธิภาพในการผลิตที่มีคุณภาพมาตรฐาน และมีต้นทุนการผลิตที่ เหมาะสม 2) ผลผลิตและผลิตภัณฑ์จากแพะที่เกษตรกรผลิตได้มีเสถียรภาพด้านราคา และตลาดรองรับได้ตลอดปี 3) มีผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากผลผลิตแพะมีจำนวนหลากหลายชนิดเพิ่มตามขึ้น 4) องค์กรเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะมีความเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้น 66/การพัฒนาแพะเนื้อจังหวัดปัตตานี (ภาคผนวก ก)


บรรณานุกรม กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ - การเลี้ยงแพะ เข้าถึงข้อมูลได้จาก https://pvlo-cmi.dld.go.th/ - กลุ่มสารสนเทศและข้อมูล ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมปศุสัตว์ . สืบค้นจาก https://ict.dld.go.th/webnew/images/stories/stat_web/yearly/2565/province/T8-1-Goat.pdf เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 1-12-2565 - แผนที่ความเหมาะสมการเลี้ยงแพะ กลุ่มสารสนเทศและข้อมูล ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร กรมปศุสัตว์ สืบค้นจาก Agri-Map Online (kea-agrimap.appspot.com) เข้าถึงข้อมูลเมื่อ วันที่ 1-12-65 กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศด้านการปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดปัตตานี - ยุทธศาสตร์แพะจังหวัดปัตตานี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 สำนักงานเศณษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ - การผลิตและการตลาดแพะขุน ในพื้นที่จังหวัดสงขลา ภาพแผนที่ข้อมูลพื้นที่การเลี้ยงแพะ เข้าถึงข้อมูลได้จาก Agri-Map Online (kea-agrimap.appspot.com) เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 1-12-2565 การเลี้ยงแพะตามวิถีมุสลิม: วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา แนวทางสู่ความสำเร็จ การพัฒนากลยุทธ์การตลาดแพะในพื้นที่จังหวัดสงขลา Development of Marketing Strategies for in Songkhla Province Meat Goats : ณฌา ขวัญมณี และ กลาโสม ละเต๊ะ สืบค้นข้อมูลได้จาก https://www.tci-thaijo.org/ เมื่อ 18-08-2566 แนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงแพะเนื้อใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย Guidelines of Meat Goat Production in the Three Southern Border Provinces of Thailand : วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ปีที่ 13 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2564 สมนึก ลิ้มเจริญ, สุนีย์ ตรีมณี, ณฤทธิ์ ไทยบุรี,จานงค์ จุลเอียด, สุรศักดิ์ คชภักดีสืบค้นข้อมูลได้จาก https://www.tci-thaijo.org/ เมื่อ 18-08-2566 (ช)


คณะผู้จัดทำ ที่ปรึกษา นายฉลาด แก้วขาว เกษตรและสหกรณ์จังหวัดปัตตานี ผู้จัดทำ นางเพียงเพ็ญ ขวดแก้ว หัวหน้ากลุ่มสารสนเทศการเกษตร นางสาววาสนา สมสุข นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ นางสาวเจะแอเสาะ เจะอาลี เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน (ซ)


Click to View FlipBook Version