The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ใบความรู้ เรื่องการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศไทย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by , 2022-04-13 23:53:54

ใบความรู้ เรื่องการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศไทย

ใบความรู้ เรื่องการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศไทย

เอกสารประกอบการเรียนรู้

สาระที่ 1 พระพุทธศาสนาฯ

ม.1BUDกDาHรIเSMผยPRแผOP่AพGระพุทธศาสATนIOาNสู่ปINระTHเทAIศLAไNทDย

ใบความรู้

เรื่อง การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศไทย

พระพุทธศาสนาที่เผยแผ่เข้าสู่ประเทศไทยในแต่ละอาณาจักรมีการนับถือที่
แตกต่างกันออกไป เช่น อาณาจักรตามพรลิงค์และอาณาจักรศรีวิชัย นับถือนิกาย

มหายาน ส่วนอาณาจักรทวาราวดีอาณาจักรพุกาม และอาณาจักรหริภุญไชย
นับถือนิกายเถรวาทสำหรับการนับถือพระพุทธศาสนาของคนไทย ไม่สามารถระบุ

ให้ชัดเจน แต่ยึดถือเอาอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้น
การนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศไทยนั้นแบ่งออกเป็น 4 ยุค

พ.ศ. 274 ยุคเถรวาทสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช

พ.ศ. 1300 ยุคมหายาน

พ.ศ. 1600 ยุคเถรวาทแบบพุกาม

พ.ศ. 1696 ยุคเถรวาทแบบลังกาวงศ์

ยุคเถรวาทสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พ.ศ. 274

พระเจ้าอโศกมหาราชทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ 3 ได้ทรงส่งพระสงฆ์ไป
ประกาศพระศาสนาในดินแดนต่าง ๆ รวม 9 สาขา นำโดยพระโสณะและพระอุตตระ
นําพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานในอาณาจักรสุวรรณภูมิซึ่งสันนิษฐานกันว่า ได้แก่
จังหวัดนครปฐม โดยมีโบราณสถานและโบราณวัตถุต่างๆ เช่น พระปฐมเจดีย์ เป็นต้น

เป็นประจักษ์พยานอยู่จนบัดนี้

เส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ยุคเถรวาทสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช

แผนที่แสดงเส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=Spfl7x9yew0

ยุคมหายาน พ.ศ. 1300

ในยุคมหายานแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้่แก่

ช่วงที่ 1 พ.ศ. 620 ช่วงที่ 2 พ.ศ. 1300 ช่วงที่ 3 พ.ศ. 1550
สมัยอาณาจักรอ้ายลาว สมัยอาณาจักรศรีวิชัย สมัยลพบุรี

สมัย เหตุการณ์ หลักฐานสำคัญ

พระเจ้ากนิษกะมหาราช ทรงอุปถัมภ์ สังคายนาครั้งที่ 4 ของ ไม่มีหลักฐาน
ฝ่ายมหายาน ณ เมืองชลันธร และทรงส่งสมณทูตออก
ประกาศพระศาสนาในเอเชียกลางเป็นต้น

พ.ศ. คราวนั้นพระเจ้ามิ่งตี่ ทรงนําพระพุทธศาสนาจากเอเชียกลาง
620 เข้าไปเผยแพร่ในประเทศจีน และได้ทรงส่งทูตสันถวไมตรี

มายัง ขุนหลวงเม้า กษัตริย์ไทยผู้ครองอาณาจักรอ้ายลาว
คณะทูตได้นําพระพุทธศาสนาเข้ามาด้วย คนไทยจึงหันมา

นับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานเป็นครั้งแรก

พ.ศ. กษัตริย์แห่งศรีวิชัย ในเกาะสุมาตราเรืองอํานาจ แผ่อาณาเขต พระบรมธาตุ
1300 เข้ามาถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานี กษัตริย์ศรีวิชัยทรงนับถือ ไชยา
พระโพธิสัตว์อว
พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน จึงทําให้พระพุทธศาสนาฝ่าย โลกิเตศวรสำริด
มหายานเผยแผ่เข้ามาในภาคใต้ของประเทศไทย

พ.ศ. กษัตริย์กัมพูชา ราชวงศ์สุริยวรมัน เรืองอํานาจแผ่อาณาเขต พระปรางค์สาม
1550 ลงมาทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางของ ยอด จ.ลพบุรี
ปราสาทหิน
ประเทศไทย และตั้งเมืองละโว้หรือลพบุรีเป็นเมืองหลวง พิมาย
(จึงเรียกสมัยนี้ว่าสมัยลพบุรี) กษัตริย์กัมพูชาทรงนับถือ จ.นครราชสีมา
พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่งได้เผยแผ่ต่อขึ้นมาจาก ปราสาทหิน
เขาพนมรุ้ง
อาณาจักรศรีวิชัย จ.บุรีรัมย์

ที่มา : https://www.watnyanaves.net/en/book-reading/289/6

ยุคเถรวาทแบบพุกาม พ.ศ. 1600

พระเจ้าอนุรุทธมหาราช หรืออโนรธามังช่อ กษัตริย์พุกามเรืองอํานาจขึ้น
ทรงปราบรามัญรวมพม่าเข้าได้ทั้งหมด แล้วแผ่อาณาเขตเข้ามาถึงอาณาจักรล้านนา
ล้านช้าง จรดลพบุรี และทวาราวดี พระเจ้าอนุรุทธทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
ฝ่ายเถรวาท ทรงทํานุบํารุงและเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ด้วยพระราชศรัทธาอย่างแรงกล้า

เมื่ออาณาจักรพุกามแผ่เข้ามาครอบงํา คนไทยในถิ่นนี้ซึ่งนับถือพระพุทธศาสนา
สืบ ๆ มาอยู่แล้ว ก็รับนับถือพระพุทธศาสนาแบบพุกามจนเจริญ
แพร่หลายขึ้นทั่วไปในฝ่ายเหนือ

หลักฐานสำคัญยุคเถรวาทแบบพุกาม

เจดีย์วัดเจ็ดยอด จังหวัดเชียงใหม่
สร้างเลียนแบบเจดีย์พุทธคยาในอินเดีย

ที่มา : https://www.chiangmainews.co.th

ยุคเถรวาทแบบลังกาวงศ์ พ.ศ. 1696

สมัยพระเจ้าปรากรมพาหุมหาราช กษัตริย์แห่งลังกาได้ทรงทำนุบำรุงพระพุทธ
ศาสนา โดยรวมพระสงฆืเป้นนิกายเดียว และมีการสังคายนาครั้งที่ 7 ขึ้น ทำให้
พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากขึ้นมีพระสงฆ์จากดินแดนสุวรรณภูมิได้ไปศึกษา
พระพุทธศาสนาที่ลังกา แล้วนำกลับมาเผยแผ่ในประเทศไทย
พระพุทธศาสนาในยุคนี้ คือ แบบที่นับถือมาเป็นศาสนาประจําชาติของ
ไทยจนถึงปัจจุบัน แยกย่อยเป็นสมัย ๆ ดังนี้

สมัยสุโขทัย สมัยล้านนา

สมัยธนบุรี สมัยอยุธยา

สมัย
รัตนโกสินทร์

ยุคเถรวาทแบบลังกาวงศ์
สมัยสุโขทัย

พ.ศ. 1820 พ่อขุนรามคําแหงเสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงสดับกิตติศัพท์ของพระสงฆ์
ลังกาวงศ์แล้วอาราธนาพระมหาเถรสังฆราชจากนครศรีธรรมราชเข้ามาพํานัก
ณ วัดอรัญญิก ในกรุงสุโขทัย พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ก็รุ่งเรืองแต่นั้นมา
เบื้องต้นยังมีพระสงฆ์ 2 พวก คือ คณะสงฆ์เดิมกับคณะสงฆ์ลังกาวงศ์ แต่ในที่สุด
ได้รวมเข้ามาเป็นนิกายเดียวกัน ส่วนพระพุทธศาสนามหายานก็เสื่อมแล้วสูญไป
ในรัชกาลนี้ได้นํา พระพุทธสิหิงค์ ซึ่งสร้างในลังกาขึ้นมาจากนครศรีธรรมราชไว้

ณ กรุงสุโขทัยด้วย




หลักฐานสำคัญสมัยสุโขทัย

วัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย

ที่มา : https://th.readme.me/p/27185

วัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย

ที่มา : https://thai.tourismthailand.org/Attraction

ยุคเถรวาทแบบลังกาวงศ์

สมัยล้านนา สมัยล้านนาไทยตรงกับสมัยสุโขทัย และคาบเกี่ยว
เข้าไปในสมัยอยุธยาตอนต้น แต่แยกต่างหากเพื่อ

สะดวกแก่การกําหนด

สมัย เหตุการณ์ หลักฐานสำคัญ

พ.ศ. พระเจ้าเม็งราย ครองราชย์ ณ เมืองเชียงใหม่ วัดเชียงมั่น
1802 ทรงทํานุบํารุงพระพุทธศาสนา พระธาตุเจดีย์ที่วัด
บุบผารามหรือ
พ.ศ. พระเจ้ากือนา พระองค์ทรงส่งราชทูตมายังพระเจ้า (วัดสวนดอก)
1913 ลิไท ทูลขออาราธนาพระสังฆราชสุมนเถระไปเผยแผ่ พระธาตุดอยสุเทพ
พระพุทธศาสนาและนําพระบรมสารีริกธาตุไปยัง (ที่บรรจุพระบรม
ล้านนา เป็นการเริ่มต้นพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ใน สารีริกธาตุ)
ล้านนา วัดโพธาราม
มังคลัตถทีปนี
พ.ศ. ในรัชกาลพระเจ้าติโลกราช โปรดอุปถัมภ์จัดการ เวสสันตรทีปนี
1978 สังคายนาครั้งที่ 1 ของประเทศไทย จักกวาฬทีปนี

พ.ศ. ในรัชกาลพระเมืองแก้ว เป็นระยะรุ่งเรืองแห่ง
2038 วรรณคดีพระพุทธศาสนาของล้านนาไทย
มีพระสงฆ์เป็นนักปราชญ์คัมภีร์ภาษาบาลีขึ้นมาก เช่น
พระสิริมังคลาจารย์

ที่มา : https://www.watnyanaves.net/en/book-reading/289/6

ยุคเถรวาทแบบลังกาวงศ์

สมัยอยุธยา พระพุทธศาสนาในสมัยอยุธยาได้รับอิทธิพลของพราหมณ์เข้ามามาก
พิธีกรรมต่าง ๆ ได้ปะปนพิธีของพราหมณ์ เน้นความขลังความศักดิ์สิทธิ์

และอิทธิปาฏิหาริย์ มีเรื่องไสยศาสตร์เข้ามาปะปนอยู่มาก ประชาชน
มุ่งเรื่องการบุญ การกุศล สร้างวัดวาอาราม สร้างปูชนียวัตถุ

บำรุงศาสนาเป็นส่วนมาก ในสมัยอยุธยาต้องประสบกับภาวะสงคราม
กับพม่าจนเกิดภาวะวิกฤตทางศาสนาหลายครั้ง

สมัย เหตุการณ์ หลักฐานสำคัญ

อยุธยาตอนแรก สมัยพระบรมไตรโลกนาถ ทรงทำนุบำรุงพระพุทธ หนังสือมหาชาติ
ศาสนา ทรงผนวชเป็นเวลา 8 เดือน ให้พระ คำหลวง
พ.ศ. 1991 - 2031 ราชโอรสกับพระราชนัดดาผนวชเป็นสามเณรด้วย กาพย์มหาชาติ
สันนิษฐานว่าเป็นการเริ่มต้นของประเพณีการบวช พระไตรปิฎก
เรียนของเจ้านายและข้าราชการ วัดพระศรีรัตน
มหาธาตุ
อยุธยาตอนที่สอง ทั้งกษัตริย์และประชาชนทั่วไป นิยมสร้างวัด จ. ลพบุรี
ประจำตระกูล ในสมัยพระเจ้า ทรงธรรมได้
พ.ศ. 2034 - 2173 พบพระพุทธบาทสระบุรี ทรงให้สร้างมณฑป
ครอบพระพุทธบาทไว้

อยุธยาตอนที่สาม สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงส่งเสริม
พระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า สมัยนี้พวกฝรั่งเศส
พ.ศ. 2173 - 2310 ได้เข้ามาติดต่อกับไทย และได้พยายามเผยแผ่
ศาสนา พระองค์ทรงนำพาประเทศชาติรอดพ้น
จากการเป็นเมืองของฝรั่งเศสได้

อยุธยาตอนที่สี่ ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้ส่งพระ นิกายสยามวงศ์
ภิกษุเถระชาวไทยไปฟื้นฟูพุทธศาสนาในประเทศ
พ.ศ. 2275 - 2310 ลังกาตามคำทูลขอของกษัตริย์ลังกา

ที่มา : https://www.watnyanaves.net/en/book-reading/289/6

ยุคเถรวาทแบบลังกาวงศ์

สมัยธนบุรี พระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นผู้นำในการกอบกู้อิสระภาพ
สามารถกอบกู้เอกราชจากพม่าได้ ทรงตั้งราชธานีใหม่ คือเมือง

ธนบุรี ทรงครองราชและปกครองแผ่นดินสืบมา ทรงบูรณะ
ปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม และสร้างวัดเพิ่มเติมอีกมาก

ทรงบำรุงพระพุทธศาสนารวบรวมคัมภีร์พระไตรปิฎกจาก
หัวเมืองมาคัดเลือกจัดเป็นฉบับหลวง

หลักฐานสำคัญสมัยธนบุรี

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง) วัดราชคฤห์ (วัดบางยี่เรือเหนือ)
ที่มา : https://sites.google.com/site/beampoohpooh/wad- ที่มา : https://sites.google.com/site/beampoohpooh/wad-
xrun-rachwraram-rach-wrmhawihar xrun-rachwraram-rach-wrmhawihar

วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร (วัดบางหว้าใหญ่)
ที่มา : https://sites.google.com/site/beampoohpooh/wad-
xrun-rachwraram-rach-wrmhawihar

ยุคเถรวาทแบบลังกาวงศ์

สมัยรัตนโกสินทร์ พระพุทธศาสนาในสมัยรัตนโกสินทร์สืบต่อมาจากสมัยธนบุรี
โดยพระมหากษัตริย์ตั้งแต่รัชสมัยที่ 1- 9 ทรงเห็นถึงความ
สำคัญของพระพุทธศาสนา จึงได้มีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาขึ้น

จนเกิดความรุ่งเรืองทางศาสนาเรื่อยมา



รัชสมัย เหตุการณ์ หลักฐานสำคัญ

พระบาทสมเด็จ ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์วัดต่าง ๆ เช่น สร้าง
พระพุทธยอดฟ้า วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดสุทัศนเทพวรา
จุฬาโลกมหาราช ราม วัดสระเกศ และวัดพระเชตุพนฯ เป็นต้น
ทรงโปรดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่

9 และถือเป็นครั้งที่ 2 ในประเทศไทย

วัดพระเชตุพนวิมนมังคลาราม

พระบาทสมเด็จ ทรงจัดส่งสมณทูต 8 รูป ไปฟื้นฟูพระพุทธ
พระพุทธเลิศหล้า ศาสนาในประเทศลังกา ทรงฟื้นฟูวันวิสาขบูชา

นภาลัย ขึ้นเป็น ครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

วันวิสาขบูชา

พระบาทสมเด็จ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระนอน ยาว 49 เมตร
พระนั่งเกล้า ไว้ที่วัดพระเชตุพน มีการแต่งวรรณคดี
เจ้าอยู่หัว
พระพุทธศาสนา เช่น ร่ายยาวมหาเวสสันดร
ชาดก โปรดให้แปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย

พระนอนมัวงัดคพลราระาเชมตุพนวิมน

วัดพระเชตุพนวิมนมังคลาราม
ที่มา : https://www.matichon.co.th/columnists/news_1189376
พว::ันhhรวะttิสนttppาอขssนบ:://ูชว//ัาttดrrพaavvระeeเllช.bmตlุoพthgน.aeวิiมx.cpนoeมmัdงค/iabล.าcloรoาg.มt/h2/1g0u8id5e0/.hbtamngl kok-travel-guide/attachment/a-side-view-of-a-reclining-golden-buddha/
ที่มา
ที่มา

ยุคเถรวาทแบบลังกาวงศ์
สมัยรัตนโกสินทร์

รัชสมัย เหตุการณ์ หลักฐานสำคัญ

พระบาทสมเด็จ เมื่อยังทรงเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎ ทรงผนวชเป็น
พระจอมเกล้า ภิกษุ ทรงตั้งนิกายใหม่เรียกว่าธรรมยุติกนิกาย
โปรดเกล้าฯ ให้มีพิธีมาฆบูชาขึ้นเป็นครั้งแรก
เจ้าอยู่หัว ทรงคิดสร้างพระพุทธรูปที่มีลักษณะใกล้เคียง

มนุษย์ คือ พระนิรันตราย

พระบาทสมเด็จ ทรงสถาปนาสถาบันการศึกษาสงฆ์ขั้นสูง คือ พระนิรันตราย
พระจุลจอมเกล้า มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สำหรับ วัดเบญจมบพิตร
คณะสงฆ์มหานิกาย และมหาวิทยาลัยมหามกุฏ พระร่วงโรจนฤทธิ์
เจ้าอยู่หัว ราชวิทยาลัย สำหรับคณะสงฆธรรมยุติกนิกาย

ทรงให้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย

พระบาทสมเด็จ ทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีพระพุทธศาสนา
พระมงกุฏเกล้า เช่น พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร มงคลสูตรคำฉันท์
โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยน ร.ศ. รัตนโกสินทร์ศก
เจ้าอยู่หัว
เป็น พ.ศ. ปฏิสังขรณ์และพระราชทานนาม
พระพุทธรูปยืน ที่พบที่เมืองศรีสัชนาลัยว่า

พระร่วงโรจนฤทธิ์

พระนิรันตราย
ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki

วัดเบญจมบพิตร
ที่มา : https://mgronline.com/travel/detail/9580000141206

พระร่วงโรจนฤทธิ์
ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki

ยุคเถรวาทแบบลังกาวงศ์
สมัยรัตนโกสินทร์

รัชสมัย เหตุการณ์ หลักฐานสำคัญ

พระบาทสมเด็จ ทรงจัดให้พิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ
พระปกเกล้า เพิ่มหลักสูตรทางจริยศึกษาสำหรับนักเรียน
เจ้าอยู่หัว
ได้เปิดให้ฆราวาส เรียนพระปริยัติธรรม
แผนกธรรม โดยจัดหลักสูตรใหม่
เรียกว่า "ธรรมศึกษา"

พระบาทสมเด็จ มีการแปลพระไตรปิฎกเป็นสำนวนธรรมดาและ พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ
พระปรเมนทร สำนวนเทศนา เรียกว่า พระไตรปิฎกเทศนา พระไตรปิฎกเทศนาฉบับหลวง
มหาอานันท- ฉบับหลวง
มหิดล พระอัฐม วัดพระรามเก้า
รามาธิบดินทร

พระบาทสมเด็จ ได้มีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งในและ
พระบรมชนกา- ต่างประเทศ และสร้างวัดไทยขึ้นในต่างประเทศ
ธิเบศร มหภูมิพล มีการจัดตั้งชมรมพุทธศาสตร์ ในมหาวิทยาลัย
อดุลยเดชมหาราช
บรมนาถบพิตร และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ

พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ
ที่มา : http://www.trilakbooks.com/product/2004404.html
พระไตรปิฎกเทศนาฉบับหลวง
ที่มา : https://book100y.com/detail.php?book_id=000108
วัดพระรามเก้า
ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki

คำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา

Vocabulary in Buddhism

ศาสนาพุทธ Buddhism
เถรวาท Theravada
มหายาน Mahayana
Bodhisattva
พระโพธิสัตว์ Propagation
การเผยแผ่
Age
ยุค Period
สมัย Sukhothai period
สมัยสุโขทัย Lan Na period
สมัยล้านนา Ayutthaya period
สมัยอยุธยา Thonburi period
สมัยธนบุรี Rattanakosin period
สมัยรัตนโกสินทร์

คำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา

Vocabulary in Buddhism

วัด Temple
อาราม Monastery
สังคายนา Rehearsal / Buddhist council
วิหาร a dwelling – place
เจดีย์
สงฆ์ Pagoda
ภิกษุ The Sangha
วันวิสาขบูชา Buddhist monk
มาฆบูชา Visakhabupuja Day
นิมนต์ Makhapucha Day

Invitation

อ้างอิง

ธรรมะไทย. (ม.ป.ป.). พระพุทธศาสนาในประเทศไทย.
สืบค้น 2565, มีนาคม 30,

จาก http://www.dhammathai.org/thailand/thailand.php

พระพุทธศาสนาในประเทศไทย. (ม.ป.ป.).
สืบค้น 2565, มีนาคม 30,

จาก https://www.watnyanaves.net/en/book-reading/289/6?

ธนภรณ์ มาพันชวน. (2564). สื่อการเรียนการสอนสังคมศึกษา ม.1
พระพุทธศาสนา. สืบค้น 2565, มีนาคม 30,

จาก https://pubhtml5.com/rfnl/bvfz/basic?


Click to View FlipBook Version