The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การพยาบาลในระบบทางเดินอาหาร

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Thammawit Ranron, 2020-03-17 16:07:14

การพยาบาลในระบบทางเดินอาหาร

การพยาบาลในระบบทางเดินอาหาร

การพยาบาลผ้ใู ช้บรกิ ารท่มี ภี าวะผิดปกตขิ องระบบทางเดินอาหาร

จัดทำโดย
อาจารย์เกษร เกตุชู
อาจารย์ธรรมวิทย์ ราญรอน

กลุ่มวชิ าการพยาบาลผ้ใู หญแ่ ละผู้สงู อายุ
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลยั พะเยา

สารบัญ

หนา้

หัวขอ้ ที่ 4.1 การประเมินสภาพ ผใู้ ชบ้ ริการทมี่ ีความผดิ ปกติของ ระบบทางเดนิ อาหาร ระบบทางเดินนำ้ ดี ถงุ นำ้ ดี ตับ
และตับออ่ น.....................................................................................................................................................................1

1. การซักประวัติ.........................................................................................................................................................3
2. การตรวจร่างกายทั่วไป...........................................................................................................................................5
3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ..................................................................................................................................8
4. การตรวจพเิ ศษ.....................................................................................................................................................12
หวั ข้อที่ 4.2 การพยาบาลผใู้ ชบ้ รกิ าร ที่มีความผดิ ปกติในระบบทางเดินอาหาร...........................................................23
1. ภาวะกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease) ..............................................................................27
2. มะเรง็ หลอดอาหาร (Esophagus cancer) .........................................................................................................29
3. กระเพาะอาหารอักเสบ (Gastritis)......................................................................................................................32
4. แผลในกระเพาะอาหาร (Peptic ulcer)..............................................................................................................35
5. มะเรง็ กระเพาะอาหาร (Stomach cancer) .......................................................................................................38
6. ภาวะลำไส้อุดตนั (Intestinal Obstruction)......................................................................................................42
7. ไสต้ ิง่ อักเสบ (Appendicitis) ...............................................................................................................................45
8. เย่ือบุช่องทอ้ งอักเสบ (Peritonitis)......................................................................................................................46
9. ไสเ้ ลอื่ น (Hernia).................................................................................................................................................48
หวั ขอ้ ที่ 4.4 การพยาบาลผู้ใชบ้ ริการท่มี ีความผดิ ปกติของลำไสใ้ หญ่และทวารหนกั และ หัวขอ้ ท่ี 4.5 ความบาดเจบ็
ของ อวยั วะในระบบทางเดนิ อาหาร..............................................................................................................................52
1. ลำไส้ใหญอ่ ักเสบเรอ้ื รัง (Ulcerative colitis)......................................................................................................55
2. ถุงผนงั ลำไสใ้ หญ่อักเสบ (Diverticulitis).............................................................................................................59
3. ริดสดี วงทวาร (Hemorrhoids) ...........................................................................................................................62
4. ฝคี ณั ฑสูตร (Fistula in ano/Anal Fistula).......................................................................................................66
5. มะเรง็ ลำไส้ใหญ่ (Colon cancer).......................................................................................................................68
6. ทวารเทียมทางหนา้ ท้อง (Colostomy)...............................................................................................................71
7. การบาดเจบ็ ของอวัยวะในระบบทางเดินอาหาร..................................................................................................76

บทที่ 4

หัวข้อที่ 4.1 การประเมนิ สภาพ
ผู้ใชบ้ รกิ ารท่มี ีความผิดปกติของ

ระบบทางเดนิ อาหาร
ระบบทางเดินนำ้ ดี ถงุ นำ้ ดี ตับและตับออ่ น

1

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลยั พะเยา
เอกสารประกอบการสอนรายวชิ า 301222 การพยาบาลผู้ใหญ่ 2

ภาคการศกึ ษา ภาคปลาย ปีการศึกษา 2562
เรอ่ื ง การประเมินสภาพผูใ้ ชบ้ รกิ ารท่ีมีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร

ระบบทางเดนิ นำ้ ดี ถงุ น้ำดี ตับและตับออ่ น
หวั เรอ่ื ง

1. การซักประวตั ิผูป้ ว่ ยทม่ี ีปญั หาในระบบทางเดินอาหาร
2. การตรวจรา่ งกายผปู้ ่วยทีม่ ปี ญั หาในระบบทางเดนิ อาหาร
3. การตรวจทางหอ้ งปฏิบตั ิการผู้ปว่ ยท่ีมีปญั หาในระบบทางเดินอาหาร
4. การตรวจพิเศษ และการพยาบาลผู้ป่วยทไ่ี ด้รบั การตรวจพเิ ศษในระบบทางเดินอาหาร
วตั ถปุ ระสงค์เฉพาะ เมอ่ื สน้ิ สดุ การเรยี นการสอน นิสิตสามารถ
1. อธิบายการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจทางห้องปฏิบัติการในผู้ป่วยที่มีปัญหาในระบบทางเดินอาหาร
ระบบทางเดนิ น้ำดี ถุงนำ้ ดี ตบั และตบั อ่อนได้
2. อธิบายการพยาบาลก่อนและหลังการตรวจพิเศษผู้ป่วยระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินน้ำดี ถุงน้ำดี
ตบั และตับออ่ นได้
ผู้สอน อ.เกษร เกตุชู กล่มุ วชิ าการพยาบาลผใู้ หญแ่ ละผสู้ งู อายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยพะเยา
ผู้เรียน นสิ ติ หลักสตู รพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยพะเยา

2

แนวคดิ

ระบบทางเดินอาหารเป็นระบบหนึ่งของร่างกายที่มีหน้าที่ในการย่อย การดูดซึมและการขับถ่าย
ประกอบด้วยอวัยวะหลายอวัยวะที่มีบทบาทสำคัญต่อการย่อยอาหารและการผลติ นำ้ ย่อยและเอนไซม์ชนดิ ต่าง ๆ ซ่ึง
เป็นกลไกทางเคมีที่ทำให้อาหารซึ่งเป็นโมเลกุลขนาดใหญ่ถูกสลายเป็นโมเลกุลขนาดเล็กและถูกดูดซึมได้ในที่สุด
พยาบาลทใี่ ห้การพยาบาลในผ้ทู ีม่ คี วามผิดปกตใิ นระบบทางเดินอาหารจะตอ้ งมคี วามร้คู วามเขา้ ใจการประเมนิ ผู้ปว่ ยที่
มีปัญหาในระบบทางเดินอาหารซึ่งประกอบด้วยการซักประวัติ การตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และ
การตรวจพเิ ศษ เพื่อนำข้อมลู ไปวางแผนและให้การพยาบาลผูป้ ว่ ยในระบบทางเดนิ อาหารต่อไป

การประเมินผู้ปว่ ยระบบทางเดนิ อาหาร
การประเมินระบบทางเดินอาหาร ประกอบด้วยการซักประวัติ การตรวจร่างกาย การตรวจทาง
ห้องปฏบิ ตั ิการ และการตรวจพิเศษ มีรายละเอยี ดดงั นี้

1. การซกั ประวตั ิ

การซักประวัตใิ นผปู้ ่วยท่มี ปี ญั หาในระบบทางเดนิ อาหาร ควรซกั ประวัติอาการผดิ ปกตทิ ่ีพบบ่อย ดงั น้ี
1.1 ปวดท้อง (abdominal pain) อาการปวดท้องเป็นความรู้สกึ ไมส่ บายในชอ่ งท้อง เกิดจากมีการกระต้นุ
ปลายประสาทที่มาเลี้ยงอวัยวะภายในช่องท้องหรืออุ้งเชิงกราน อาจเกิดจากการอักเสบ ระคายเคืองหรือการบีบตัว
ของกล้ามเนอ้ื ซึ่งอาการปวดทอ้ ง อาจเกดิ จากความผดิ ปกติในระบบทางเดินอาหาร ระบบขบั ถ่ายปัสสาวะ หรอื ระบบ
สบื พนั ธ์ุกไ็ ด้
สาเหตขุ องอาการปวดท้องทีพ่ บ ได้แก่

1. สาเหตุภายในชอ่ งทอ้ ง (intraabdominal) ไดแ้ ก่
1.1 อวัยวะทเี่ ปน็ ท่อ เช่น หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เลก็ ลำไสใ้ หญ่ ทางเดินนำ้ ดี
- มีการบบี ตวั รุนแรง (spasm) ทำให้เกิดอาการปวดตามจังหวะการบีบตัวของอวัยวะนัน้ ช่วง

คลายตัว อาการปวดจะนอ้ ยลง เช่น การบีบตัวของลำไส้จากภาวะลำไส้อุดตนั
- มีการอักเสบ (inflammation) มีผลทำให้ร่างกายปล่อยสารเคมีบางอย่าง เช่น serotonin,

prostaglandins, histamine ซง่ึ มีฤทธิก์ ระตุน้ ตอ่ ปลายประสาทรับความรสู้ ึกเชน่ เดียวกับการอกั เสบ
1.2 อวยั วะทเี่ ป็นก้อน เช่น ตบั ตบั ออ่ น อาการปวดเกดิ ข้นึ จากการขยายตัวอยา่ งรวดเรว็ ของอวยั วะ

เหล่านี้จนทำให้เยื่อหุ้มตึงกระตุ้นต่อปลายประสาทรับความรู้สึก เช่น การขยายตัวของตับอ่อนจากการอักเสบ
เฉยี บพลัน (acute pancreatitis)

2. สาเหตุจากผนงั ลำตัวบรเิ วณท้อง
2.1 ผนังหน้าท้องถูกกระตุ้นจากการอักเสบหรือถูกยืดอย่างรวดเร็ว เช่น การมีเลือดออกใน

กล้ามเนอื้ หนา้ ท้อง (rectus sheath)

3

2.2 เย่อื บุชอ่ งท้องดา้ นนอก
- การอกั เสบจากอวยั วะภายในช่องท้องลุกลามมาถงึ เย่ือบุช่องท้องดา้ นนอก เช่น ไสต้ ่งิ อักเสบ

ลำไสต้ ิดเชอ้ื
- การทะลหุ รอื แตกของอวัยวะภายใน ทำให้มขี องเหลวไหลเข้ามาในชอ่ งทอ้ งดา้ นนอก เชน่ ไส

ต่งิ แตก กระเพาะอาหารทะลุ
2.3 เยื่อแขวนลำไส้ถูกกระตุ้นด้วยการดึงรั้ง เช่น โรคลำไส้บิดเป็นเกลียว ลักษณะของอาการปวด

อาจเป็นไปไดท้ ัง้ 3 ลกั ษณะ ดงั นี้
- visceral pain เป็นลักษณะการปวดทีบ่ อกตำแหน่งที่ไม่แนน่ อนกระจายท่วั ไป เชน่ ลำไส้อุด

ตัน ไสต้ ่ิงอักเสบในระยะแรก
- somatic pain เป็นลักษณะอาการปวดที่อยู่เฉพาะที่บอกตำแหน่งได้ชัดเจนกว่า เช่น ไส้ต่ิง

อกั เสบระยะลกุ ลาม
- referred pain เป็นลักษณะอาการปวดที่เกิดขึ้นบรเิ วณหนึง่ แล้วร้าวไปบริเวณอ่ืน เช่น ตับ

ออ่ นอกั เสบจะปวดบริเวณยอดอก แลว้ รา้ วไปกลางหลัง
1.2 เบื่ออาหาร (Anorexia) สาเหตุ ด้านร่างกายอาจเกิดจากการมีภาวะคล่ืนไส้ ความรู้สึก การรับรสและ

กลิ่นลดลง การมีความผิดปกติในช่องปาก หรือฤทธิ์ของยาบางชนิด ในด้านของจิตใจ การมีความวิตกกังวล ซึมเศร้า
หรอื ความไม่สบายใจก็จะส่งผลให้เกิดอาการเบื่ออาหารได้

1.3 คลื่นไสอ้ าเจยี น (Nausea and Vomiting)
อาการคลื่นไส้ (nausea) เป็นความรู้สึกไมส่ ุขสบายมักจะเกิดก่อนการอาเจียน เป็นผลของการเพิ่มความดนั
ในระบบทางเดินอาหารในส่วนของหลอดอาหารจนถึงลำไส้เล็กส่วนต้น อาการคลื่นไส้อาจเป็นแบบต่อเนื่องหรือเปน็
พักๆ โดยไม่มีการอาเจียนร่วมด้วยก็ได้ อาการที่เกิดร่วมด้วย คือเป็นลม อ่อนเพลีย น้ำลายมาก (hypersalivation)
เหงื่อออกมาก ซีด ความดันโลหิตลดต่ำลงหน้าท้องแข็งเกร็ง ตัวเย็น สาเหตุของการคลื่นไส้มักมีสาเหตุมาจากการ
ระคายเคอื ง การติดเชื้อ การฉายแสง ยาหรือสารเคมี การเปล่ียนแปลงและความไม่สมดลุ ของฮอรโมนหรือแม้แต่ผู้ท่ีมี
ความผิดปกติในชอ่ งหู
อาการอาเจียน (Vomiting) มักควบคู่ไปกับการคลื่นไส้ ซึ่งการอาเจียนเป็นการผลักดันเอาเศษอาหารหรือ
ของเหลวที่มีอยู่ในกระเพาะอาหารและลำไส้ออกมาทางปากอย่างรุนแรง อาการคลื่นไส้จะทำให้เกิดความรู้สึ กไม่สุข
สบาย แต่การอาเจียนจะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและอเิ ลค็ โตรลัยท์ ร่างกายเกดิ ภาวะขาดน้ำ (dehydration) และยงั
จะก่อให้เกิดความไม่สมดุลกรด-ด่าง ในร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่มักเปน็ metabolic alkalosis เนื่องจากสญู เสียกรดจาก
กระเพาะอาหาร
โดยพบอาการที่สมั พันธ์กบั การคลนื่ ไสอ้ าเจยี น ได้แก่

1) การอาเจยี นที่เกีย่ วขอ้ งกบั มอื้ อาหารและเวลา เช่น อาเจียนหลงั รับประทานอาหารเกิน 1 ช่วั โมง พบ
ในผู้ปว่ ย pyloric ulcer หรอื อาเจยี นตอนกลางคนื หรอื เวลาท้องวา่ งซ่ึงจะพบใน ผู้ป่วย duodenum ulcer

2) การบรรเทาอาการปวดด้วยการอาเจียน หลังการอาเจียน อาการปวดจะทุเลาลง ซึ่งจะพบใน
peptic ulcer

3) การอาเจียนพุง่ (Projectile vomiting) มกั เกดิ ขึ้นทนั ทีโดยไมม่ ีอาการคลื่นไสม้ าก่อน มักพบในพวก
ทมี่ ี increased intracranial pressure

4

4) ลักษณะของอาเจียน (Content of Vomitus) ลักษณะของอาเจียนไม่ว่าจะเป็น จำนวน สี กลิ่น
ลักษณะ ของอาเจียนพยาบาลควรบนั ทึกไว้ เชน่

- เศษอาหารทีก่ นิ มาหลายช่ัวโมงไมย่ ่อยและมักมปี ริมาณมากส่วนใหญ่เกดิ จากกระเพาะอาหารอุด
ตนั

- น้ำดี การอาเจียนตอ่ เนื่องกนั นานมักจะมลี ักษณะอาเจยี นสีเขยี ว ขม เนอื่ งจากมีน้ำดีผสมออกมา
ยกเว้นเมื่อมีการอุดตันของ pylorus ฉะนั้นถ้าอาเจียนเป็นน้ำดีแสดงว่ามีการอุดตนั ลำไส้ต่ำกวา่
Ampulla of Vater (กระเปาะตรงตำแหนง่ ทท่ี อ่ นำ้ ดเี ปดิ เขา้ ลำไสเ้ ล็ก)

- เลือดสด (bright red) หรือเลือดเก่า (coffee grounds) ถ้าเลือดมีลักษณะสีแดงสด แสดงว่ามี
เลือดออก ในระบบทางเดินอาหารส่วนของ esophagus หรือ stomach หรือหากคั่งค้างใน
กระเพาะอาหารนานอาจเปลยี่ นเปน็ สคี ลำ้ ได้

- กลิ่น (odor of Vomitus) อาเจียนมีกลิ่นอุจจาระ แสดงว่ามีการอุดตันในลำไส้ส่วนล่าง มีแผล
ทะลุระหว่างกระเพาะอาหารหรอื ลำไสเ้ ลก็ ส่วนต้นกบั ลำไส้ใหญ่

1.4 ท้องอืด (Flatulence) Flatulence หมายถงึ อาการอดึ อัดแนน่ ท้องเน่อื งจากมีกา๊ ซในกระเพาะอาหาร
และลำไส้มากกว่าปกติ ผู้ป่วยจะมีอาการจุกเสียดท้อง อึดอัดไม่สบายในท้องและมีอาการคลื่นไส้อาเจียน หายใจ
ลำบากจากการขยายของทรวงอกไม่เต็มที่ อีกทั้งยังต้องประเมินถึงภาวะโภชนาการด้วย เนื่องจากอาการแน่นอึดอัด
ท้อง ทำให้ไม่อยากรบั ประทานอาหารและน้ำ ถ้ามอี าการบอ่ ยครงั้ หรอื ตอ่ เน่อื งอาจทำใหเ้ กดิ การขาดสารอาหารได้

2. การตรวจร่างกายทว่ั ไป

2.1 ลักษณะท่วั ไป ดูลกั ษณะทว่ั ไปของผ้ปู ว่ ย อว้ น ผอม ทา่ ทางสบายดี หรือไมส่ บาย อาการท่ีแสดงถงึ ความ
ปวด มากน้อยเพียงใด (สังเกตจากสีหน้า โดยเฉพาะเวลาคลำท้อง) อยู่ในท่านอน หรือนั่งบนเตียง มีการเคลื่อนไหว
หรือไม่

2.2 การตรวจน้ิว และเลบ็
- clubbing of finger พบไดใ้ นโรคตบั แข็ง
- เล็บหวำ (งอเหมอื นช้อน, koilonychia) พบในภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก
- เลบ็ ขาว (leukonychia) หรอื Terry’s nail ในโรคตบั เรื้อรงั

2.3 การตรวจมอื
- ฝา่ มอื แดงโดยรอบ (palmar erythema) ในโรคตับเรอ้ื รัง
- มอื งอ (Dupuytren’s contracture) พบในโรคตับแขง็ ท่เี กิดจากการดืม่ สรุ าเร้ือรัง
- flapping tremor (อาการมือสน่ั ทง้ั สองข้าง) ซ่งึ เปน็ อาการของ hepatic encephalopathy
- ก้อนไขมัน (Xanthoma) ตามฝ่ามือ พบได้ในผู้ป่วยท่ีมีการอุดกั้นของการไหลของน้ำดีเรื้อรังจึงทำ
ให้การยอ่ ยไขมนั ลดลง มีไขมนั ในเลอื ดสูง

2.4 การตรวจแขน
- หลอดเลอื ดโป่งพองใตผ้ ิวหนงั คล้ายใยแมงมมุ (spider nevi/spider angioma) พบในโรคตับแข็ง

5

- รอยช้ำจากเลือดออกใต้ผิวหนัง (ecchymosis) พบในโรคตับที่มีความผิดปกติของการแข็งตัวของ
เลือดทำใหม้ ีภาวะเลอื ดออกง่าย

2.5 การตรวจผวิ หนงั
- สีผวิ ซดี หรือเหลอื ง ตาตวั เหลอื ง (jaundice) พบในผ้ทู เ่ี ปน็ โรคตับแข็ง หรือมกี ารอดุ ก้นั ทางเดินนำ้ ดี
- ผิวสคี ลำ้ ทั่วไป (hyperpigmentation) อาจเกิดจากตับแข็ง
- ผิวหนังสีขาวเป็นจุดๆ (vitiligo) พบใน chronic active hepatitis
- การอักเสบของชั้นไขมันบริเวณผิวหนัง (erythema nodosum) พบใน ภาวะลำไส้ใหญ่อักเสบ
เร้อื รงั (chronic ulcerative colitis)

2.6 การตรวจชอ่ งปาก ประกอบดว้ ย
2.6.1 การตรวจริมฝปี าก
- ปากนกกระจอก (angular stomatitis) เกิดจากขาดวิตามินบี 2 พบในผู้ป่วยโรคตับ โรคพิษสุรา
เรอ้ื รงั นอกจากนวี้ ติ ามินบี 2 ยังมีสว่ นช่วยในการเผาพลาญคารโ์ บไฮเดรต ไขมนั โปรตนี
- จุดดำท่รี มิ ปาก (Peutz-Jegher’s syndrome) มักพบรว่ มกบั Polyp ในลำไส้
- เยื่อในปากอักเสบ (leukoplakia) และแผลอาจจะเป็นมะเร็งในช่องปากได้และทำให้รับประทาน
อาหารได้น้อยลงนำไปสกู่ ารขาดสารอาหาร
2.6.2 การตรวจเหงือกและฟนั
- จุดสีดำบริเวณรากฟนั (lead line) พบในผปู้ ่วยท่มี ีอาการปวดทอ้ งจากสารตะก่วั เปน็ พษิ
- เหงือกอักเสบ บวม หรอื มเี ลือดออก อาจเปน็ โรคมะเร็งเมด็ เลอื ดขาว (leukemia)
- การมีฟันผุ ฟนั หัก อาจเปน็ สาเหตุของอาการ อาหารไมย่ อ่ ย (indigestion)
2.6.3 การตรวจลิน้
- ล้นิ บวมแดง พบในการขาดโฟเลตในผ้ปู ว่ ยโรคตบั หรือวติ ามินบี 12
- ลิ้นเลี่ยน (atrophic glossitis) มักพบในผู้ที่ตัดกระเพาะอาหาร และผู้ที่เป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรงั
พบความผดิ ปกติของการดดู ซึมวติ ามินในกระเพาะอาหารและลำไส้ คอื ดดู ซมึ วติ ามนิ ได้ลดลง
2.6.4 การตรวจ Pharynx
- การอักเสบท่ี pharynx และ tonsil อาจเป็นสาเหตขุ องการกลืนลำบาก

2.7 การตรวจรา่ งกายส่วนอืน่
- โรคตับเรื้อรัง อาจตรวจหน้าอก พบ gynecomastia และตรวจอวัยวะเพศ พบ testicular
atrophy

2.8 การตรวจท้อง การตรวจทอ้ งใช้เทคนิคการดู การฟงั การเคาะ และการคลำ
2.8.1 การดู ดูรูปร่างลักษณะของท้องว่าปกติ สมมาตรกันหรือไม่ ท้องโต หรือแฟบ โดยมองจากปลาย

เท้าของผูป้ ่วย ผูป้ ว่ ยท่ีมีความผดิ ปกตขิ องระบบทางเดินอาหารอาจพบความผดิ ปกตดิ ังน้ี
1) ท้องโตกว่าปกติ (abdominal distention)
2) ทอ้ งแฟบกวา่ ปกตมิ าก (scaphoid abdomen)
3) หลอดเลอื ดดำท่ีโปง่ พอง บริเวณหนา้ ท้องในกรณีทีผ่ ปู้ ่วยผอมมาก

6

4) สะดอื อาจถูกดึงหรือดันจนผดิ ปกติ หรือมกี ารอกั เสบ
5) ไม่พบการเคล่อื นไหวของกระเพาะอาหาร หรือลำไส้ (visible peristalsis)
6) ไม่พบการเคล่ือนไหวของผนังหน้าท้องตามการหายใจ
7) ท่ีขาหนีบมีก้อนนนู
2.8.2 การฟัง การฟังเสียงในช่องท้องควรทำก่อนการเคาะและการคลำ ตำแหน่งที่ฟัง เสียงที่ต้องฟังใน
การประเมนิ ระบบทางเดินอาหารมดี งั น้ี
1) bowel sounds บริเวณที่ฟังเสียงได้ชัดเจนที่สุด คือ บริเวณท้องด้านล่างขวา (right lower
quadrant) คือ เสียงเคลื่อนไหวของลำไส้ดัง กร๊อก กร๊อก คล้ายเสียงเทน้ำออกจากขวด ปกติจะได้ยินเสียงทุก 2-10
วินาที ในภาวะที่มีการอักเสบของลำไส้ หรือมีการอุดตันของลำไส้จะได้ยนิ เสียงลำไส้เคลื่อนไหวดงั และบ่อยข้ึน เมื่อมี
การขยายตัวของลำไส้ จะได้ยินเสียง กรุ๋ง-กริ๊ง (tinkling sound) ซึ่งเป็นเสียงน้ำปนกับอากาศในลำไส้ และมักได้ยนิ
พรอ้ มกบั เวลาท่มี อี าการปวดท้อง
2) Vascular sound คือเสียงที่เกิดจากหลอดเลือดบอกถึงการรบกวนต่อการไหลของกระแส
เลอื ด

2.1) เสยี ง bruits เหมอื นเสยี ง murmur ของหัวใจจะต้องไดย้ นิ ทงั้ ช่วง systolic และ diastolic
แสดงถงึ การมภี าวะอุดตนั ในหลอดเลอื ดท่ีหลอดเลอื ดในช่องทอ้ ง

2.8.3 การเคาะ มปี ระโยชน์ในการตรวจหาสารน้ำในช่องท้อง วดั ขนาดของตับ มา้ ม และก้อนในชอ่ งท้อง
ร่วมกบั การคลำ ตรวจหาแกส๊ ในกระเพาะอาหาร ลำไส้ และชอ่ งทอ้ ง

1) การเคาะท้อง ปกตจิ ะไดย้ ินเสยี งโปรง่ (tympany) เสยี งโปร่งมาก (hypertympany) พบในกรณีมลี ม
มากกว่าปกติ ส่วนเสียงโปร่งน้อยลง (hypotympany) หรือเสียงทึบ (dull) พบในกรณีมีสารน้ำหรือก้อน ซึ่งแยกโดยการ
ตรวจสารน้ำในชอ่ งท้อง ซง่ึ มี 2 วิธี คอื shifting dullness และ Fluid trill

วิธี shifting dullness โดยเริ่มเคาะจากสะดือไปที่เอวซ้าย แล้วจึงเคาะจากสะดือไปที่เอวข้างขวาในท่าที่
นอนหงาย กรณีมนี ้ำในชอ่ งท้องจะเคาะได้เสยี งทึบกวา้ งกว่าเส้น midclavicular line เข้ามาทางด้านสะดอื ทั้ง 2 ขา้ ง และเมื่อ
ให้ผู้รับบริการเปลี่ยนมานอนตะแคง เสียงทึบทางด้านบนจะหายไป วิธีนี้จะได้ผลบวกเมื่อมีน้ำในช่องท้องมากกว่า 1 ลิตร
บรเิ วณท่ีมสี ารน้ำจะเคาะทบึ และยา้ ยไปอยูท่ ตี่ ำ่ สดุ เสมอ

ส่วนวธิ ที เี่ รยี กวา่ fluid thrill ใชห้ ลักการวา่ นำ้ ในช่องทอ้ งจะเป็นตัวนำให้เกิดการส่นั สะเทอื น ตรวจโดยให้
ผ้รู บั บริการนอนหงาย พยาบาลใช้มอื ซา้ ยวางบนหน้าทอ้ งด้านขวาของผ้รู บั บริการ แล้วใช้มอื ขวาดีดหรอื เคาะเบา ๆ ท่ีบ้ันเอว
ด้านซ้าย ถ้ามีน้ำในช่องท้อง พยาบาลจะรู้สกึ ถงึ การสั่นสะเทือนที่มือซ้าย อาจใหผ้ ู้รบั บริการใช้สันมอื ก้นั ไว้กึ่งกลางหน้าท้อง
เพื่อป้องกนั การส่นั สะเทือนผ่านผนังหน้าทอ้ ง

2) การเคาะตับ ตับเล็กกว่าปกติ พบในภาวะถุงลมปอดโป่งพองมาก หรือมีก๊าซใต้ กระบังลมมาก
สว่ นตบั โตมากกว่าปกติ พบในผู้ท่ีมีพยาธสิ ภาพของตบั

3) การเคาะมา้ ม อาจพบเสยี งทึบของม้ามมากกวา่ ปกติในช่วงหายใจเขา้ อาจมีมา้ มโต
2.8.4 การคลำ

1) การคลำท้อง กรณีมีความผิดปกติ จะตรวจพบว่าท้องตึงแข็ง (guarding abdomen) กดเจ็บ
(tenderness abdomen) ตึงแข็งและกดเจ็บ (guarding and tenderness) เจ็บบริเวณเอว (frank pain) พบก้อน
อวัยวะในช่องท้องขนาดผดิ ปกติ และมี rebound tenderness

7

2) การคลำตับ ปกติจะคลำขอบตับไมพ่ บ ถ้าตับโตเกินขอบชายโครงมาก ตับแน่น แข็ง ผิวขรุขระ
และกดเจ็บแสดงถงึ ความผิดปกติ เช่น ตับแขง็ มะเรง็ ตบั

3) การคลำมา้ ม ปกตจิ ะคลำไมพ่ บขอบมา้ ม มา้ มต้องโต 2 – 3 เทา่ ของขนาดปกติ จึงจะคลำได้
4) การคลำขาหนีบ ภาวะผิดปกติ คือ คลำชีพจรขาหนีบได้เบาลง ต่อมน้ำเหลืองโต อักเสบ เป็นฝี
หรอื มีการบวมนูนข้นึ ผดิ ปกติ ซงึ่ อาจเปน็ ไส้เลือ่ น
2.9 การตรวจทวารหนัก
1) การดู ดผู วิ หนงั รอบทวารหนัก รดิ สดี วงทวาร (external hemorrhoid) มสี ว่ นใดย่ืนย้อย มีรอย
เกา การฉีกขาดหรอื มีการอักเสบหรอื ไม่
2) การคลำ กรณีมีความผิดปกติ จะพบว่ามีแผล รอยเกา รอยอักเสบ มีการฉีกขาดเป็นร่อง
(fissure) มี fistula ริดสีดวงทวาร และฝี ถุงน้ำ ก้อน มีอวัยวะยื่นโผล่ กล้ามเนื้อหูรูดหย่อน ต่อมลูกหมากโตและมี
ความผิดปกติ

3. การตรวจทางห้องปฏบิ ตั ิการ

Liver function tests (LFTs) เป็นการตรวจที่บ่งบอกความผิดปกติที่เกิดขึ้นในตับประกอบด้วย 2 ส่วน
หลกั ไดแ้ ก่

1. การตรวจเอมไซม์ตบั (enzyme tests) เป็น markers ของ liver injury ได้แก่
1.1 enzyme บ่งบอกการอักเสบของเซลล์ตับ ( hepatocellular injury) ได้แก่ serum

aminotransferases ประกอบด้วย 1) alanine aminotransferase (ALT หรือ เดิมเรียกว่า serum glutamic-
pyruvic transaminase หรือ SGPT) และ 2) aspartate aminotransferase (AST หรือเดิมเรียกว่า serum
glutamic-oxaloacetic transaminase หรอื SGOT)

โดย Markers ของ hepatocellular injury หรือ necrosis ได้แก่ serum aminotransferases
โดยทั่วไป ALT ส่วนใหญ่มาจาก cytosol ของเซลล์ตับ ในขณะที่ AST สร้างจาก cytosol ของเซลล์ตับร้อยละ 20
และจาก mitochondria ของกล้ามเนื้อลาย กล้ามเนื้อหัวใจ ไต สมอง ตับอ่อน ปอด เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว
เป็นต้น อยู่ที่ร้อยละ 40 ดังนั้น AST จึงมีความจำเพาะในการวินิจฉัยโรคตับน้อยกว่า ALT เนื่องจากมาจากหลาย
อวัยวะ

1.2 enzyme บ่งบอกภาวะอุดตันของถุงน้ำดี (cholestasis) หรือโรคของระบบท่อน้ำดี ได้แก่ 1)
alkaline phosphatase (ALP) และ 2) gamma glutamyl transpeptidase (GGT)

โดย ALP และ GGT เป็น markers ของภาวะ cholestasis (ภาวะที่น้ำดีไปไม่ถึง duodenum)
ท้ังนี้ ALP สร้างมาจากตับและกระดูกเป็นส่วนใหญ่ และพบในที่อื่นๆ เช่น ลำไส้เล็ก ไต หรือรก ส่วน GGT เป็น
เอนไซม์ที่พบมากตามเนื้อเยื่อไต ตับอ่อน ตับและต่อมลูกหมาก แม้จะพบมากที่สุดในเซลล์ไต แต่ GGT ที่พบใน
พลาสมาเป็น GGT ที่มาจากเซลล์ตับ ในภาวะที่เซลล์ตับถูกทำลายจะตรวจพบ GGT ในพลาสมามากกว่าปกติ ดังนนั้
ถ้ามี ALP และ GGT สงู รว่ มด้วย จะช่วยบ่งบอกวา่ ALP มาจากตับหรอื ท่อนำ้ ดี และควรอดอาหารกอ่ นตรวจเนือ่ งจาก
อาหารไขมนั อาจทำให้ ALP สงู ได้

8

2. การตรวจการทำงานของตบั (tests of liver function) ได้แก่
2.1 serum albumin เป็น Markers ของ synthetic function albumin โดยปกติตับสร้าง

albumin 12 กรมั ตอ่ วนั ถ้าการทำงานของตับลดลงไมม่ าก หรอื มีการสญู เสีย albumin จากภาวะตา่ งๆ ในระยะแรก
ตับก็สามารถ compensate โดยสร้าง albumin เพิ่มเป็น 2 เท่าของภาวะปกติได้ โดยทั่วไป 2 ใน 3 ของ albumin
ในร่างกายอยทู่ ่ี extravascular, extracellular space ซึง่ มีการแลกเปลยี่ นกับในเลอื ด และ half-life ของ albumin
ในเลือดนานประมาณ 20 วัน ดังนั้นระดับ albumin ในเลือดขึ้นกับอัตราการสร้างและปริมาณ plasma volume
โดยในผู้ป่วยโรคตับแข็ง ตับจะสร้าง albumin ลดลง ประกอบกับมีภาวะการขาดสารอาหาร ร่วมกับมีการเสีย
albumin มาใน ascites (ภาวะท้องมานน้ำ) ทำให้เกิดภาวะ hypoalbuminemia ในทางตรงข้ามผู้ป่วย โรคตับแข็ง
มักมี serum globulin สูงขึ้นเชื่อว่าอาจเกิดจากมี transient bacteremia ดังนั้น ใน LFTs จึงพบลักษณะ reverse
albumin/globulin (A/G) ratio

2.2 prothrombin time (PT) Coagulation factors โดยส่วนใหญ่สร้างจากตับ ไม่ว่าจะเป็น
fibrinogen, factor V และ vitamin K-dependent factors (ต้องการวิตามิน K เป็นปัจจัยร่วม (cofactor) ได้แก่
prothrombin, factors VII, IX, และ X เพราะฉะนั้นในภาวะการอุดกั้นของทางเดินน้ำดีจะทำใหค่า PT ยาวขึ้นกว่า
ค่าปกติ ดังนั้นจึงใช้ค่า prothrombin time (PT) เพื่อวัดการทำงานของตับ บอกความรุนแรงและพยากรณ์โรค
อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่มี prolonged PT อาจเกิดจากการทำงานของตับลดลงหรือจากภาวะ cholestatic liver
disease ก็ได้

2.3 serum bilirubin คำวา่ bilirubin (บิลริ บู ิน) กระบวนการการเกิดขน้ึ ของ bilirubin นนั้ เป็นผล
มาจากการที่เม็ดเลือดแดงซึ่งหมดอายุ (ปกติจะมีอายุขัยประมาณ 120 วัน) ถูกม้ามสลาย hemoglobin ที่อยู่ภายใน
เม็ดเลือดแดงใหเ้ ป็นกรดอะมิโนและ heme ซึ่งละลายในน้ำ (เลือด) ไม่ได้ ต้องถูก albumin จับตัว เรียกว่า indirect
bilirubin หรือ unconjugated bilirubin ซึ่งมีสีเขียว แล้ว albumin จะพา indirect bilirubin ไปสู่ตับ เมื่อถึงตับก็
ถูกตับจับไป conjugated (ผสม) กับ glucuronic acid ทำให้มีคุณสมบัติสามารถละลายน้ำได้ เรียกว่า direct
bilirubin หรือ conjugated bilirubin และเก็บรวมกับน้ำดีในถุงน้ำดีทำให้น้ำดีมีสีเขียว เมื่อมีอาหารไขมันเข้าสู่
ทางเดนิ อาหารจะถกู หลัง่ ออกมาทที่ างเดินอาหารพรอ้ มกับน้ำดี และถูกแบคทเี รยี ในทางเดนิ อาหารเปลยี่ นใหอ้ ยใู่ นรูป
urobilinogen ซ่ึงไม่มสี ี urobilinogen บางส่วนถูกขบั ออกจากร่างกายกบั อุจจาระ เม่อื อย่ใู นทางเดินอาหารบางส่วน
จะถูก oxidized ได้เป็น urobilin ที่มีสีเหลืองน้ำตาลจึงพบอุจจาระเป็นสีนั้น บางส่วนถูกดูดกลับเข้าสู่กระแสเลือด
ผ่าน enterohepatic circulation เข้าไปเก็บไว้ในถุงน้ำดีร่วมกับน้ำดีดังเดิม จากนั้น urobilinogen ในกระแสเลือด
บางส่วนจะถกู กรองท่ีไตออกมากับปัสสาวะระหวา่ งทางเดนิ ของปสั สาวะบางสว่ นถูก oxidized ไดเ้ ป็น urobilin ที่มีสี
เหลืองนำ้ ตาล ปสั สาวะจงึ มสี เี หลืองเช่นกนั

9

การตรวจทางห้องปฏิบตั กิ ารในระบบทางเดนิ อาหาร

การตรวจ ความหมาย คา่ ปกติ ภาวะทมี่ คี ่าต่ำกว่า ภาวะท่ีมคี า่ สงู กว่าปกติ
ปกติ
0 – 0.9 mg/dL
1. Liver function test (ผลไดจ้ ากการเจาะเลือดส่งตรวจ) 0 - 0.3 mg/dL
0 - 0.6 mg/dl
1.1 Serum bilirubin สารทท่ี ำใหเ้ กดิ สีของน้ำดโี ดยเกดิ จากกระบวนการ 1 - 36 units/L - Hemolytic jaundice, Hepatocellular
jaundice และ Obstructive jaundice
- Total bilirubin สลาย hemoglobin 1 – 45 units/L ภาวะตาตัวเหลืองไดช้ ดั เจนเมือ่ คา่ serum
bilirubin มากกวา่ 2.5 mg/dL
- Direct (Conjugated) Bilirubin ทผี่ สมกบั glucuronic acid แล้ว 35 – 150 Unit/L
ผู้ชาย 4–23 IU/I - คา่ ที่เพ่ิมขน้ึ พบในภาวะท่ีเซลลต์ ับได้รับ
- Indirect (Unconjugated) Bilirubin ทีย่ ังไม่ได้ผสมกบั glucuronic acid ผหู้ ญงิ 3.5–13 IU/I อันตราย ไดแ้ ก่ ตบั อักเสบเฉยี บพลัน หรือมี
6.0 – 8.0 g/dl การอุดตนั ของทางเดนิ นำ้ ดี
1.2 Asparate aminotransferase Enzyme จากตบั กล้ามเนอื้ ลาย กลา้ มเนอ้ื หวั ใจ 3.5 – 5.5 g/dl - ค่า ALT/AST > 1.0 พบในภาวะตับ
อกั เสบ
(AST) หรือ Serum glutamic - ไต สมอง ตบั ออ่ น ปอด เม็ดเลือดแดงและเม็ด - ค่า ALT/AST < 1.0 มักพบในโรคตับอ่นื ๆ

oxaloacetic transaminase (SGOT) เลือดขาว - เซลลต์ บั ทท่ี ำงานผดิ ปกติ มีการอกั เสบ/อดุ ตัน
ของทางเดนิ นำ้ ดี เชน่ Cholangitis,
1.3 Alanine aminotransferase Enzyme จากเซลล์ตับ Cholecystitis

(ALT) หรือ Serum glutamic -

pyruvic transaminase (SGPT)

1.4 Alkaline phosphatase Enzyme ทม่ี าจากกระดกู ตับ ไต ผนงั ลำไส้ รก

(ALP)

1.5 Gamma glutamyl Enzyme ทพี่ บในไต ตับ ตบั ออ่ น ตอ่ มลกู หมาก

transpeptidase (GGT)

1.6 Serum protein ภาวะที่ตับลม้ เหลว Dehydration
ถูกจำกัดอาหาร
- Total protein คา่ โปรตีนรวมในรา่ งกาย (ผลรวมของค่า Albumin แผล burn หรือเสยี
เลือดมาก
และ Globulin)

- Serum albumin โปรตีนทสี่ รา้ งจากตับ

10 - Serum globulin เป็นImmunoglobulins (Ig) ท้งั หมดท่ีวดั ในซรี มั 1.5–3.2 g/dl

การตรวจ ความหมาย ค่าปกติ ภาวะท่มี คี ่าต่ำกว่าปกติ ภาวะที่มีค่าสงู กว่าปกติ

2. Urine test (ผลไดจ้ ากการเกบ็ ปสั สาวะส่งตรวจ)

2.1 Urine bilirubin Bilirubin ในปัสสาวะ 0 - ถ้าพบ Conjugated bilirubin ในปัสสาวะ
0.05 -2.5 mg/24 hr. แสดงวา่ มกี ารอดุ ตันของทางเดินนำ้ ดี
2.2 Urine urobilinogen ปริมาณสาร urobilinogen ทไ่ี ดจ้ ากการทำ Cholethiasis, Cancer toxin hepatitis, Hemolytic anemia and
ปฏิกิริยาของ enteric bacteria ในลำไสเ้ ล็ก of the head of jaundice, Cirrhosis
กับนำ้ ดี pancreas, Severe
diarrhea

3. Coagulation test (ผลได้จากการเจาะเลือดสง่ ตรวจ)

3.1 Prothrombin time (PT) ทดสอบการแข็งตวั ของเลอื ดโดยทดสอบความบก 12 – 16 วินาที - - โรคตับ เชน่ ตบั แข็ง ตบั อักเสบ
- ขาดวติ ามนิ เค
พรองของ coagulation factor (factor V, VII, X, 30 – 53 วนิ าที - ท่อน้ำดอี ุดตันเนือ่ งจากวิตามนิ เคจะถกู ผลิต
และส่งออกมาใช้ทางทอ่ นำ้ ดี
prothrombin, fibrinogen) ใน extrinsic & 80 – 150 U/dl หรอื 25 –
125 units/liter
common pathway

3.2 Activated Partial เปน็ การทดสอบ ความบกพรองของ coagulation

thromboplastin time (aPTT) factor ใน Intrinsic pathway e.g. factor XII, XI,

X, IX, VIII, V, II, fibrinogen (ยกเว้น Factor VII, XIII,

platelet)

4. Serum amylase เป็นเอนไซม์ในการย่อยแปง้ หล่ังจากตับออ่ น Hepatitis, Cirrhosis acute & Chronic pancreatitis,
Obstructive of the pancreatic ducts &
และตอ่ มนำ้ ลาย common bile duct, Perforated peptic
ulcer, Acute cholecystitis

11

4. การตรวจพิเศษ

4.1 การตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก
4.1.1 การส่องกล้องตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น (Esophagogastroduodenoscopy:

EGD)
4.1.2 การตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น (Upper gastrointestinal study: upper

GI series/UGI)
4.2 การตรวจลำไส้ใหญ่

4.2.1 การตรวจลำไส้ใหญ่ (Barium enema study: BE/lower GI series)
4.2.2 การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญแ่ ละทวารหนกั (colonoscope)
4.3 การตรวจระบบทางเดินนำ้ ดีและตบั ออ่ น
4.3.1 Oral Cholecystography (OC/Gall bladder series/GB series/Cholecystogram)
4.3.2 Intravenous Cholecystography (IVC)
4.3.3 การส่องกล้อง ตรวจแ ละ รัก ษา ท่อทา งเด ินน้ำด ีแ ละตั บอ่อน ( Endoscopic Retrograde
Cholangiopancreatography: ERCP)
4.4 Percutaneous transhepatic cholangiography (PTHC/PTC)
4.5 Cholangiography
4.6 Liver biopsy
4.7 การตรวจอ่นื ๆ
4.7.1 Ultrasound (Liver, Pancreas)
4.7.2 Computerized Tomography Scan (CT scan)
4.7.3 Magnetic resonance imaging (MRI)

4.1 การตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก
4.1.1 การส่องกล้องตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น

(Esophagogastroduodenoscopy : EGD) เป็นการตรวจเยื่อบุหลอดอาหาร เยื่อบุกระเพาะอาหาร และเยื่อบุลำไส้
เล็ก เพื่อตรวจหาก้อน (Tumor) แผล และการอุดกั้นในหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น โดยให้
ผู้ป่วยนอนราบ ผู้ป่วยจะได้รับยาระงับความรู้สึก เพื่อให้ผู้ป่วยมีอาการผ่อนคลาย แพทย์จะให้ atropine ด้วยเพื่อลด
การหลั่งของนำ้ เมือกทำให้สะดวกในการตรวจ และให้ยา xylocaine พน่ ในคอเพอ่ื ลด gag reflex โดยการใชก้ ล้องทีเ่ ปน็
ท่อขนาดเล็กปรับโค้งงอได้เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ที่ปลายกล้องจะมีเลนส์ขยายภาพ ส่องเข้าไปใน
ปาก ผ่านหลอดอาหารลงไปในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น เพ่อื วินิจฉัยโรคและเพ่อื การรกั ษา เช่น เครื่องมือ
ขยายหลอดอาหาร หรอื รัดหลอดเลอื ดโป่งพองของหลอดอาหาร เป็นต้น

การพยาบาลผู้ป่วยกอ่ นตรวจ
1. ดแู ลให้ผู้ปว่ ยงดนำ้ และอาหารก่อนตรวจประมาณ 8 ชม.
2. ในกรณีที่ผู้ป่วยใสฟ่ ันปลอมให้ถอดออก และดแู ลให้ผู้ปว่ ยทำความสะอาดปาก ฟันให้เรียบร้อย
3. เตรียมการชว่ ยเหลอื ให้พร้อมในกรณที ี่เกิดอาการแทรกซ้อน

12

การพยาบาลผู้ปว่ ยระหว่างตรวจ
1. ดูแลให้ผู้ป่วยจะได้รับยาชาเฉพาะที่บริเวณลำคอและได้รับยาคลายความวิตกกังวลทางหลอดเลือด

ดำตามแผนการรักษา
2. จดั ทา่ ให้ผู้ปว่ ยนอนตะแคงซ้าย
3. ขณะแพทยใ์ สก่ ล้องตรวจเข้าทางปากแนะนำให้ผู้ป่วยชว่ ยกลนื เพ่อื ให้ใส่กล้องง่ายขนึ้
4. ดแู ลดดู น้ำลายให้เป็นระยะ ๆ เน่อื งจากขณะตรวจอาจมีน้ำลายออกมา
5. แนะนำให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวขณะตรวจโดยให้ผู้ป่วยหายใจช้าๆ สูดลมหายใจเข้า-ออก ลึกๆ ยาวๆ

ปลอ่ ยตวั ตามสบายไม่เกร็ง และเบี่ยงเบนความสนใจ โดยมองภาพการตรวจบนจอภาพ
การพยาบาลผู้ปว่ ยหลงั ตรวจ
1. การดูแลให้ผู้ป่วยเริ่มรับประทานอาหารควรเริ่มหลังจากที่ผู้ป่วยมี gag reflex แล้วปกติจะพบ

ประมาณ 2-4 ชม. หลังการตรวจ พร้อมท้ังระมัดระวังการสำลัก
2. ประเมินสัญญาณชีพ ทุก 15-30 นาที สังเกตอาการปวดท้อง มีเลือดออก มีอาการคลื่นไส้และ

หายใจลำบากซึง่ อาจเกดิ ได้
3. ในกรณีทีผ่ ู้ป่วยง่วงนอนหรือมนึ งงจากผลของยา ควรป้องกนั อุบตั เิ หตทุ ีอ่ าจเกิดข้ึน
4.1.2 การตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนตน้ (Upper gastrointestinal study:

upper GI series/UGI) คือ การถ่ายภาพทางรังสีเป็นระยะๆ เพื่อดูความผิดปกติของหลอดอาหาร กระเพาะและลำไส้
เล็กส่วนต้น โดยผู้ป่วยจะต้องดื่มสารแบเรี่ยม (barium sulfate) ซึ่งเป็นสารทึบรังสี จากนั้นต้องเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ
เช่น หงาย ควำ่ ตะแคง ยนื เพอ่ื ให้แบเรีย่ มเคลื่อนไปตามทางเดินอาหาร

การพยาบาลก่อนตรวจ
1. ดแู ลให้ผู้ปว่ ยงดนำ้ งดอาหารกอ่ นตรวจ 8-12 ชัว่ โมง
2. อธิบายข้ันตอนและการปฏบิ ตั ติ ัวขณะการตรวจ

การพยาบาลหลังตรวจ
1. ประเมินสัญญาณชีพและสังเกตอาการแพ้หรือผลข้างเคียงจากสารทึบรังสี เช่น มีผื่นขึ้น หายใจไม่

ออกแนน่ หน้าอก
2. อธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่าหลังการตรวจลักษณะอุจจาระจะมีสีซีดจาง และมีภาวะท้องผูก ควรดื่มน้ำ

มากๆ เพื่อขับแบเรีย่ มออกจากร่างกาย และให้คำแนะนำเพอ่ื ป้องกนั ภาวะท้องผกู
ข้อห้ามของการตรวจ
ห้ามทำให้ผู้ทีม่ ีการอุดตนั ของลำไส้อย่างสมบูรณ์ มรี ูทะลขุ องอวัยวะในช่องท้อง และผู้ทีส่ ัญญาณชพี ไม่คงที่
4.2 การตรวจลำไสใ้ หญ่
4.2.1 การตรวจลำไส้ใหญ่ (Barium enema study: BE / lower GI series) เป็นการตรวจทาง

รังสีวิทยาโดยการถ่ายภาพเป็นระยะๆ เพื่อดูความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ เช่น เนื้องอก ติ่งเนื้อ โดยสวนแบเรี่ยม
ซัลเฟต 500 ซีซี ผสมน้ำ 1,000 ซีซี เข้าไปในทวารหนกั ให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกยาวๆ ลึกๆ ไม่ให้เบง่ ออก แลว้ ถา่ ยภาพ
เอกซเรยไ์ ว้เป็นระยะๆ

การพยาบาลกอ่ นตรวจ
1. ดูแลการเตรียมลำไส้ก่อนการตรวจ

13

- ดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารเหลวหรือที่มีกากน้อย 2 - 3 วันก่อนตรวจ หรืองดน้ำงด
อาหารอยา่ งน้อย 8 ชวั่ โมงก่อนตรวจ

- ดแู ลให้ผู้ปว่ ยได้รบั ยาระบายหรือสวนอจุ จาระจนกระทั้งลำไส้สะอาด
2. ดูแลให้ได้รบั สารละลายทางหลอดเลอื ดดำ
การพยาบาลหลงั ตรวจ
1. แนะนำให้ผู้ป่วยดม่ื นำ้ มากๆ เพอ่ื ทดแทนการเสียนำ้ จากการถ่ายอจุ จาระ
2. อธิบายให้ผู้ปว่ ยทราบหลังจากการตรวจลักษณะของอจุ จาระจะมสี ีซีดจางจากการมี Barium ค้างอยู่
หากผู้ป่วยมอี าการท้องผกู ควรให้ยาระบาย ให้คำแนะนำในการป้องกนั ภาวะท้องผกู
3. ดแู ลให้ได้รบั ยาชาเฉพาะที่ ทีเ่ ป็น ointment ทาให้ หากมีอาการปวดทวารหนักจากการคาหัวสวน
4. ดูแลให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนหลังการตรวจเพราะอาจมอี าการอ่อนเพลยี
ข้อห้ามของการตรวจ
ห้ามทำให้ผู้ที่สงสัยว่าเป็นลำไส้อุดตัน ลำไส้อักเสบหรือลำไส้ทะลุ เพราะถ้าแบเรี่ยมเข้าช่องท้องจะเกิด
อนั ตรายได้

4.2.2 การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (colonoscope) เป็นการตรวจเพื่อดูลำไส้
ใหญ่ส่วนปลาย ส่วนกลาง ส่วนต้น และลำไส้เล็กส่วนปลาย การตรวจ มี 2 ประเภท คือ การส่องกล้องตรวจภายใน
ทวารหนักและลำไส้ใหญ่ส่วนซิกมอยด์ (Sigmoidoscopy หรือ lower GI endoscopy) และการตรวจลำไส้ใหญ่ทุกส่วน
(Colonoscope) สิ่งที่ตรวจพบจากการส่องกล้อง ได้แก่ ริดสีดวงทวาร ลำไส้อักเสบ ติ่งเนื้อ ถุงโป่งจากลำไส้ใหญ่
(Diverticulum) และเนื้องอกโดยให้ผู้ป่วยนอนท่า Knee – chest เพื่อให้ sigmoid colon ตรง อาจให้นอนตะแคงใน
ผู้สงู อายุ หรอื ผู้ทีม่ ีอาการอ่อนเพลยี หลงั จากนนั้ ใสเ่ ครื่องมอื proctoscope เข้าไปทางทวารหนกั

การพยาบาลก่อนตรวจ
1. อธิบายขั้นตอน วิธีการตรวจให้ผู้ปว่ ยเข้าใจและให้ความร่วมมือดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อน

ย่อยงา่ ยและอาหารทีม่ ีกากน้อย 3 วนั ก่อนตรวจ และอาหารเหลวใส 1 วันกอ่ นตรวจ
2. ดูแลให้ให้รับประทานยาระบายหลังอาหารเย็น 1 วันก่อนตรวจ เช่น polyethylene glycol (PEG) หรือ

สารละลาย sodium phosphate (Swiff และ Fleet) พรอ้ มท้ังด่มื นำ้ มากๆ เพอ่ื ป้องกันการขาดนำ้
3. ดูแลให้งดน้ำงดอาหาร 8 ชวั่ โมงกอ่ นตรวจ

การพยาบาลขณะตรวจ
1. เมอ่ื ผู้ปว่ ยอยใู่ นหอ้ งสำหรบั ตรวจ ดแู ลให้ได้รบั ยาระงบั ความรู้สกึ ฉีดเข้าเส้นเลอื ดดำ
2. จดั ทา่ ผู้ป่วยนอนตะแคงซ้าย ก้นชิดริมเตยี ง งอเข่าชดิ อก คลมุ ผ้าสะอาดมชี ่องเปิดทีก่ ้น
- หายใจชา้ ๆ สูดลมหายใจเขา้ -ออก
- ปล่อยตวั ตามสบาย ไมเ่ กรง็
- แนะนำให้ผู้ป่วยนอนนิ่ง ๆ
3. อธิบายให้ผู้ป่วยทราบขณะทำการตรวจแพทย์อาจจะต้องเป่าลมเข้าไปในกรณีที่มองไมช่ ัด ผู้ป่วยจะ

รู้สึกอึดอัดท้อง หรือมีอาการท้องอืดเล็กน้อย ถ้าแน่นอึดอัดท้องมากจนทนไม่ไหว ให้รายงานแพทย์ แพทย์จะดูดลม
ออกให้

14

การพยาบาลหลังตรวจ
1. ประเมินสญั ญาณชพี และสงั เกตอาการปวดท้องหรือถ่ายเป็นเลือด ซึง่ อาจเกดิ จากมีลำไส้ทะลุ หรือ

มเี ลอื ดออกจากลำไส้
2. ดูแลให้ผู้ป่วยให้ได้รบั นำ้ และอาหารอย่างเพียงพอหากไม่มขี ้อห้าม
3. ดูแลให้ผู้ป่วยพกั ผ่อนเน่อื งจากอ่อนเพลยี และจากฤทธิ์ยาท่ไี ด้รับ และป้องกนั การเกิดอบุ ตั เิ หตุ
4.3 การตรวจระบบทางเดินนำ้ ดีและตบั ออ่ น (Biliary tract and pancreas)
4.3.1 Oral Cholecystography (OC/ Gall bladder series/ GB series/ Cholecystogram) เป็นการ

ถ่ายภาพทางรังสีของถุงน้ำดี หลังการรับประทานสารทึบรังสี (radiopaque iodinated dye) ไปแล้ว 12 ชั่วโมง ปกติจะ
มองเห็นถงุ นำ้ ดีทีม่ ีสารทึบรังสีเต็มถงุ ในกรณีทีเ่ ป็นนิ่วจะเหน็ เป็นจุดดำๆ ในถุงนำ้ ดี ถ้ามี tumors or polyp กจ็ ะเห็นเป็น
จดุ อยูต่ รงตำแหนง่ นนั้

การพยาบาลก่อนตรวจ
1. ซักประวัตกิ ารแพไ้ อโอดนี หรืออาหารทะเล เนอ่ื งจากสารทึบรังสีมีส่วนประกอบของไอโอดนี
2. อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจข้ันตอนของการตรวจ โดยเฉพาะการตรวจจะสามารถมองเห็นภาพทางรังสีได้

ขนึ้ อยกู่ ับ
- ผู้ป่วยตอ้ งรบั ประทานสารทึบรงั สีในปริมาณท่กี ำหนดให้
- อาจจะมอี าการท้องเสีย หรืออาเจียน เน่อื งจากมกี ารดูดซึมลดลง
- การรับประทานอาหารประเภทไขมันจะทำให้มีการหดตัวของถุงน้ำดี และขัดขวางการขจัดสาร

ทึบรังสีออกจากระบบทางเดินนำ้ ดี
- หากมีการอุดตันของท่อทางเดินน้ำดี สารทึบรังสีจะไม่สามารถผ่านเข้าสู่ถุงน้ำดีได้ เนื่องจาก

สารทึบรงั สีจะถกู หลงั่ ออกมาโดยตับ และจะผา่ นทอ่ ตับเข้าสถู่ ุงนำ้ ดีโดยผา่ นทอ่ ทางเดินนำ้ ดี
- ในกรณีที่มีการอักเสบของถุงน้ำดีจะทำให้เยื่อบุผนังไม่สามารถดูดซึมน้ำออกจากน้ำดีได้

ตามปกติ จึงทำให้สารทึบรงั สีไมม่ คี วามเข้มข้นพอ
- ในกรณีที่เซลล์ตบั ทำหน้าทีผ่ ิดปกติ ตับจะไมส่ ามารถขจดั และขับถา่ ยสารทึบรังสีได้ตามปกติ

3. ตดิ ตามคา่ บิลริ บู ินไมใ่ ห้เกิน 1.8 gm/dl เพราะมกั จะทำการตรวจด้วย OC ไม่ได้ผล หากเกิน 1.8 gm/dl
ตอ้ งรายงานให้แพทย์ทราบซึ่งอาจตอ้ งเลอ่ื นการตรวจออกไป

4. ดูแลอาหารในม้ือเยน็ กอ่ นตรวจให้รับประทานอาหารชนิดไขมันน้อย หรือไมม่ ไี ขมนั งดน้ำ งดอาหาร
กอ่ นเทีย่ งคืน

5. ดูแลให้ได้รับประทาน iopanoic acid 0.5 กรัม 6 เม็ด ห่างกันเม็ดละ 5 นาทีและให้ดื่มน้ำตามก่อน
ตรวจ 12 ชม.

5. หลังจากที่ผู้ป่วยรับประทานยาแล้วไม่ควรรับประทานอาหารอีก และให้สังเกตอาการปวดท้อง
คลื่นไส้อาเจียนและท้องเสีย ถ้าผู้ป่วยอาเจียนหรือท้องเสียหลังให้ยาควรรายงานแพทย์ อาจได้รับยาเพิ่มหรืองดการ
ตรวจไปก่อน

การพยาบาลหลงั การตรวจ
1. ประเมินสัญญาณชพี และอาการแพส้ ารทึบรังสี
2. ดแู ลให้ผู้ปว่ ยด่มื นำ้ และรับประทานอาหาร ถ้าไม่มขี ้อห้าม
3. อธิบายให้ผู้ปว่ ยทราบอาจมอี าการปัสสาวะขัดเนอ่ื งจากยาถูกขับออกมาทางปสั สาวะ

15

4.3.2 Intravenous Cholecystography (IVC) เป็นการตรวจเพื่อศึกษาท่อทางเดินน้ำดี (biliary
duct) โดยการฉีดสารทึบรังสี (radiographic dye) เข้าทางเส้นเลือดซึ่งจะถูกทำให้มีความเข้มข้น (concentrate) ในตับ
และหลั่งออกสู่ท่อน้ำดี แตกต่างจากการตรวจ OC คือสามารถเห็นทั้งท่อตับ ท่อน้ำดีร่วม และถุงน้ำดี นอกจากนี้ยัง
สามารถบอกความผิดปกติได้ว่ามีนิ่วหรือท่อตีบ หรือมีก้อนเนื้องอกที่ท่อตับ ท่อน้ำดีร่วม และถุงน้ำดี การตรวจแบบ
IVC มขี ้อบง่ ชีใ้ นการทำคือ

1) ตอ้ งการดูทอ่ ทางเดินนำ้ ดี
2) ในผู้ป่วยทีม่ ีนิว่ ในถงุ นำ้ ดี และต้องการพสิ ูจน์ว่ามกี ้อนน่วิ ลงไปในท่อน้ำดรี ่วมหรือไม่
3. ในรายที่ไม่สามารถทนต่อการรับประทานยา iopanoic acid ได้ และมีค่าบิลิรูบินเกิน 1.8 gm/dl
แต่ไมเ่ กิน 3.5 mg/dl
4. ในรายที่มีการอกั เสบในช่องท้องที่ไม่เกีย่ วกบั ระบบทางเดินนำ้ ดี
การพยาบาลก่อนตรวจ
1. ซกั ประวัตกิ ารแพไ้ อโอดนี หรืออาหารทะเล เนื่องจากสารทึบรังสีมีส่วนประกอบของไอโอดนี
2. ดูแลให้ผู้ปว่ ย on injection plug โดยใชเ้ ข็มเบอร์ 18 หรอื 20
3. อธิบายวิธีการทำ IVC ให้ผู้ป่วยเข้าใจและบอกผู้ป่วยให้ทราบว่าอาจแสบร้อนบริเวณที่ฉีดสีเข้าทาง
เส้นเลอื ดดำ
4. ตรวจเช็คระดับบิลริ บู ินให้ไมเ่ กิน 3.5 mg/dl
5. ดูแลให้ผู้ปว่ ยได้รบั ยาระบายในตอนเชา้ ก่อนวันตรวจ
6. เย็นกอ่ นวันตรวจให้รบั ประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย มีกากนอ้ ย งดอาหารจำพวกไขมัน
7. งดนำ้ และอาหารหลังเทีย่ งคืน จนกวา่ จะตรวจเสร็จ
การพยาบาลหลังตรวจ
1. วดั สัญญาณชีพ และสังเกตอาการแพ้สารทึบรังสี เชน่ ใจสนั่ หยดุ หายใจ เหงอ่ื ออก คลื่นไส้ อาเจียน
ใจสัน่ เป็นต้น
2. อธิบายให้ผู้ปว่ ยทราบวา่ สารทึบรังสีจะถูกขับออกทางปัสสาวะ อาจมีปสั สาวะแสบขัดได้
4.3.3 การส่องกล้องตรวจและรักษาท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (Endoscopic Retrograde
Cholangiopancreatography of the biliary : ERCP) คือการตรวจทางเดินน้ำดี โดยใช้กล้อง duodenoscope ส่องเข้าไป
ทางปาก ผ่านหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้นจนถึงท่อเปิดของน้ำดีในลำไส้เล็ก แล้วฉีดสารทึบ
รงั สเี ข้าไปยังท่อน้ำดรี ว่ ม (common bile duct) และทอ่ ตับอ่อน แลว้ ถ่ายภาพเอกซเรยไ์ ว้ เพ่อื ตรวจหาความผิดปกติของ
ทอ่ ทางเดินนำ้ ดีและตับออ่ น อาจพบภาวะแทรกซ้อนจากการตรวจ ได้แก่ ทอ่ น้ำดอี กั เสบ นำ้ ดีร่ัวเข้าชอ่ งท้อง ตกเลือด
ภายในชอ่ งท้อง และตบั อ่อนอกั เสบ เป็นต้น
การพยาบาลก่อนตรวจ
1. ซักประวัตกิ ารแพไ้ อโอดนี หรืออาหารทะเล เนื่องจากสารทึบรงั สีมีสว่ นประกอบของไอโอดนี
2. ดูแลทำความสะอาดชอ่ งปากให้สะอาด ถ้ามฟี นั ปลอมให้ถอดออก
3. ดูแลให้ผู้ป่วยงดนำ้ งดอาหารหลังเทีย่ งคืน เพื่อป้องกันการขย้อนกลับขณะสอดสาย
การพยาบาลขณะตรวจ
1. ดแู ลจดั ท่าให้ผู้ปว่ ยนอนตะแคงซ้าย เขา่ งอเล็กน้อย
2. อธิบายให้ผู้ป่วยทราบวา่ การตรวจไมเ่ จ็บปวด แต่อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สกึ อึดอดั เล็กน้อย

16

3. อธิบายให้ผู้ปว่ ยทราบว่าขณะสอดสาย scope ผู้ป่วยตอ้ งไมพ่ ูด
การพยาบาลหลังการตรวจ

1. ประเมินสัญญาณชพี ทกุ 15 - 30 นาทแี ละให้ผู้ปว่ ยนอนพัก เพ่อื สงั เกตอาการผิดปกติ
2. สงั เกตว่ามเี ลอื ดออก ไข้ ปวดท้อง กลนื ลำบากและหายใจลำบากหรือไม่
3. ประเมิน gag reflex ถ้าปกติให้ผู้ป่วยดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารได้ โดยทั่วไป gag reflex จะปกติ
ภายใน 2 – 4 ช่ัวโมง
4. อธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่าหลังจากยาชาหมดฤทธิแ์ ล้ว อาจจะรู้สึกเสียงแหบหรือเจ็บคอ ให้ดื่มน้ำเยน็
และกล้ัวคอบอ่ ยๆ
5. อธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่าอาจมีบางส่วนของตับอ่อนพอง และอาจทำให้อักเสบได้ และควรส่งตรวจ
enzyme amylase
4.4 Percutaneous transhepatic cholangiography (PTHC/PTC) เป็นการถ่ายภาพรังสีของท่อทางเดิน
น้ำดี ใช้ในการวินิจฉัยแยกโรค obstructive jaundice และ hepatocellular jaundice และทำในรายที่สงสัยว่ามีนิ่วใน
ทางเดินนำ้ ดี วธิ ีทำโดยใชเ้ ขม็ เจาะผ่านผิวหนงั เข้าไปจนถึงตบั เข้าไปในท่อนำ้ ดี ฉีดสารทึบรังสี แลว้ ถา่ ยภาพท่อทางเดิน
นำ้ ดี อาจมีภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ peritonitis เนอ่ื งจากการรัว่ ของนำ้ ดีหลงั จากถอนเขม็ การมเี ลอื ดออก เนอ่ื งจากแทง
เข็มถกู หลอดเลอื ด และอาจเกดิ การติดเช้อื ได้ เน่อื งจากการฉีดสารทึบรังสี ทำให้ดนั แบคทเี รียเข้าไปในกระแสเลอื ด
การพยาบาลก่อนตรวจ
1. ซักประวัตกิ ารแพไ้ อโอดนี หรืออาหารทะเล เนื่องจากสารทึบรังสีมีสว่ นประกอบของไอโอดนี
2. ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น platelet count และ prothrombin time และเตรียมเลือดให้
พร้อม
3. ดูแลให้ยาก่อนการตรวจ (premedication) ประมาณ 30 นาที
การพยาบาลหลังตรวจ
1. วดั สญั ญาณชพี และสังเกตอาการผิดปกติ เช่น การมีเลอื ดออก หรือนำ้ ดีรวั่
2. ดแู ลให้ผู้ปว่ ยงดนำ้ งดอาหารไว้ก่อน
3. หลีกเลีย่ งการให้ยาแก้ปวด เพ่อื ดอู าการปวดท้องและเลอื ดออก หรอื น้ำดรี ั่ว
4. กรณมี สี าย drain จากทอ่ ทางเดินนำ้ ดี ดูแลทำความสะอาดและให้อยู่ในระบบปิด
4.5 Cholangiography เป็นการตรวจโดยการฉีดสารทึบรังสีเข้าไปยังท่อน้ำดีขณะผ่าตัด หรือภายหลังตัด
ถงุ น้ำดอี อก เพ่อื หาส่งิ ผิดปกติ เช่น นิว่ หรือสิ่งอุดตนั ในท่อน้ำดี การทำมี 3 วธิ ีคอื
1. Surgical Cholangiography เป็นการถ่ายภาพเอกซเรย์ในระหว่างผ่าตัดถุงน้ำดี จะฉีดสารทึบรังสีเข้า
ไปยังท่อน้ำดี เพอ่ื ตรวจดูนว่ิ หรือมกี ารอดุ ตนั ในทอ่ น้ำดี แล้วถา่ ยภาพเอกซเรย์
2. Intravenous Cholangiography การตรวจคล้าย Intravenous Cholecystography (IVC)
3. T – tube cholangiography เป็นการถ่ายภาพเอกซเรย์ให้เห็นท่อน้ำดี จากการผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก
แล้ว เพื่อดูว่านิ่วในทอ่ น้ำดีมีการอุดตันหรือไม่ หรือจะทำการตรวจ ก่อนที่จะเอา T – tube ออก วิธีทำ ภายหลังผ่าตัด
จะมี T – tube คาไว้ ฉีดสารทึบรงั สี (เช่น บลิ ิกราฟิน ไอโอดราส รีโนกราฟนิ เปน็ ต้น) เข้าไปใน T – tube ชา้ ๆ จนผู้ป่วย
รู้สกึ ปวดจะหยดุ ฉีดแล้วถ่ายภาพเอกซเรยไ์ ว้
การพยาบาลก่อนตรวจ
1. ซกั ประวัตกิ ารแพไ้ อโอดนี หรืออาหารทะเล เนือ่ งจากสารทึบรงั สีมีสว่ นประกอบของไอโอดนี
2. ดูแลให้ผู้ปว่ ยงดนำ้ งดอาหารหลงั เทีย่ งคืนก่อนวันตรวจ

17

การพยาบาลหลงั ตรวจ
1. ประเมินสัญญาณชีพ และสังเกตอาการข้างเคียงจากสารทึบรังสี เช่น คลื่นไส้ อาเจียน หนาวส่ัน

หายใจลำบาก หน้ามดื เป็นลม ใจส่ัน เปน็ ต้น
2. ถ้าไม่ได้ถอด T-tube ออก ดูแลท่อให้สะอาดและปดิ ปลายท่อไว้เพ่อื ป้องกนั การตดิ เช้อื
3. ถ้าเอา T–tube ออก ดูแลทำแผลและสังเกตสารเหลวที่รว่ั ซึมออกมา

4.6 Liver biopsy เป็นการเอาเนื้อตับมาตรวจ โดยใช้เข็มเจาะผ่านผิวหนังหน้าท้องไปยังตับและดูดเอาชิ้น
เนื้อตับมา ใช้สำหรับวินิจฉัยโรคตับ อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนคือ เลือดออก เยื่อบุช่องท้องอักเสบ (peritonitis) น้ำดีร่ัว
ในชอ่ งท้อง และอาจเกิดลมในช่องปอด (Pneumothorax) จากการแทงเขม็ เข้าช่องปอด

การพยาบาลกอ่ นตรวจ
1. ตรวจดผู ลเลอื ด Coagulation profile โดย prothrombin time ไมค่ วรเกิน 5 วนิ าที
2. ดแู ลให้ผู้ป่วยเซน็ ใบยนิ ยอมให้ตรวจ
3. ดแู ลให้ผู้ปว่ ยงดนำ้ งดอาหารหลงั เที่ยงคืนกอ่ นวันตรวจ
4. เตรียมเลอื ดไว้ใชก้ รณมี เี ลอื ดออกหลังเจาะ

การพยาบาลหลังตรวจ
1. ให้ผู้ปว่ ยนอนพักบนเตยี ง 12 – 24 ชวั่ โมง ในทา่ นอนตะแคงขวา
2. ประเมินสัญญาณชพี ทุก 15 นาทีจนกว่าจะคงที่
3. สงั เกตภาวะแทรกซ้อน เช่น เลอื ดออก การร่ัวของนำ้ ดี ประเมินอาการปวดท้อง แน่นท้อง เหงื่อออก

หนา้ ซีด ตัวเยน็ เพราะอาจจะมกี ารตกเลอื ดหรือมี bile peritonitis
4. เจาะ Hematocrit เปน็ ระยะ ๆ เพือ่ ประเมินวา่ มีเลอื ดออกในช่องท้องหรือไม่
5. ถ้าผู้ป่วยอาการปกติ ดูแลให้ผู้ป่วยรบั ประทานอาหารได้

4.7 การตรวจอน่ื ๆ
1. Ultrasound (Liver, Pancreas) ตรวจโดยใช้เครื่องมือ ultrasonic scanner เป็นการใช้คลื่นเสียงที่มี

ความถี่สงู ปล่อยเข้าไปในเนือ้ เยอ่ื ร่างกายและจะสะทอ้ นกลับทีผ่ ิวหน้าของอวยั วะที่ต้องการตรวจ
2. Computerized Tomography Scan (CT scan) การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์

คอมพิวเตอร์ ซึง่ แพทยจ์ ะฉายรังสีเอกซเรย์ตามร่างกายบริเวณท่ตี ้องการตรวจ แลว้ ใช้คอมพวิ เตอรส์ ร้างเป็นภาพฉาย
ลกั ษณะและอวยั วะภายในรา่ งกาย เพอ่ื ประกอบการวนิ จิ ฉยั หาความผิดปกติของร่างกายตอ่ ไป โดยวิธีการนีจ้ ะได้ภาพ
ที่มีความละเอยี ดสงู กวา่ การเอกซเรย์แบบธรรมดา และสามารถใชต้ รวจอวัยวะภายในร่างกายได้เกือบทกุ สว่ น

การพยาบาลก่อนตรวจ
1. ดูแลให้ผู้ป่วยเซน็ ใบยนิ ยอมให้ตรวจ
2. ดูแลให้ผู้ป่วยสวมเสื้อผ้าหลวมๆ ที่ไม่มีส่วนประกอบของโลหะ เช่น ซิป เข็มขัด ถอดแว่นตา ฟัน

ปลอม และไม่สวมใสเ่ คร่อื งประดบั ใด ๆ
3. ในผู้ป่วยบางราย แพทย์อาจให้สารทึบรงั สี (Contrast Material) เข้าไปในร่างกายเพ่อื ชว่ ยให้ภาพฉาย

ในบริเวณต่าง ๆ ที่ต้องการตรวจเห็นได้ชัดเจนขึ้น โดยอาจใช้วิธีให้ผู้ปว่ ยรับประทานสารทึบรังสีเข้าไป ฉีดสารทึบรังสี
เข้าสู่เส้นเลือด หรือสอดสารทึบรังสีเข้าสู่ลำไส้ผ่านทางทวารหนัก พยาบาลควรซักประวัติการแพ้สารทึบรังสีและ
อาหารทะเล

18

4. ให้คำแนะนำผู้ป่วยว่าขณะทำ CT Scan ผู้ป่วยต้องนอนราบลงบนเตียงของเครื่องสแกน เตียงจะถกู
เคลื่อนเข้าไปภายในเครื่อง ให้บริเวณทีต่ ้องการจะสแกนอยู่ตรงกับวงแหวนสแกน และเครื่องจะเริ่มทำการสแกนด้วย
การหมนุ เพอ่ื ฉายรงั สีเอกซเรยไ์ ปรอบตัวผู้ปว่ ย โดยทีเ่ คร่อื งคอมพวิ เตอร์จะฉายภาพที่ได้ออกมาเรือ่ ยๆ ผู้ปว่ ยควรผ่อน
คลายความกังวล นอนราบนิ่งๆ และหายใจตามปกติ ในบางกรณีผู้ป่วยอาจต้องหายใจเข้า หายใจออก หรือกลั้น
หายใจตามคำสั่งแพทย์ เพอ่ื ให้ภาพถ่ายรังสีออกมาชดั เจน

การพยาบาลหลังตรวจ
ในรายทีใ่ ชส้ ารทึบรังสี ให้ประเมินการแพส้ ารทึบรงั สี และแนะนำให้ผู้ปว่ ยควรด่มื นำ้ ในปริมาณมาก เพ่ือ

ช่วยให้ไตขับสารทึบรังสีออกจากรา่ งกายผ่านทางปัสสาวะ
3. Magnetic resonance imaging (MRI) ตรวจโดยใช้เทคนิคการเกิดภาพ โดยไม่ใช้รังสีเอกซ์ แต่

อาศยั คุณสมบตั พิ เิ ศษของนิวเคลียสของอะตอม ทีเ่ รียกวา่ nuclear magnetic resonance การตรวจ MRI ทำให้ทราบถึง
โครงสร้างอวยั วะภายในได้อย่างชดั เจน เช่น การบวม การไหลเวียนเลอื ด และ infarction

19

สรุปการตรวจพิเศษในระบบทางเดนิ อาหาร

การตรวจ วิธกี ารตรวจ การพยาบาล ข้อสังเกต/ข้อหา้ ม
Esophagogastroduodenoscopy: EGD สอ่ งกล้องดูความผดิ ปกติของ หลอด - NPO 8 ช่วั โมงก่อนตรวจ -
ตรวจเย่อื บหุ ลอดอาหาร เย่อื บุกระเพาะอาหาร อาหาร กระเพาะอาหาร และ ลำไส้เลก็ -ถอดฟันปลอมกอ่ นตรวจ
และเยอ่ื บลุ ำไสเ้ ลก็ ส่วนตน้ - หลงั ตรวจประเมิน gag reflex และระวงั การสำลกั - อาจจะทอ้ งผูกหรอื อุจจาระจะมสี ซี ีด
- หา้ มทำใหผ้ ู้ทส่ี งสยั ว่าเปน็ ลำไสอ้ ดุ ตนั ลำไส้
Upper gastrointestinal study: upper GI ดม่ื สารแบเรีย่ ม (barium sulfate) แล้ว - NPO 8-12 ช่วั โมงก่อนตรวจ อักเสบหรอื ลำไส้ทะลุ
series/UGI) เพอื่ ดูความผดิ ปกติของหลอด - ห้ามทำใหผ้ ู้ท่สี งสยั ว่าเป็นลำไสอ้ ดุ ตนั ลำไส้
อาหาร กระเพาะและลำไส้เล็กส่วนต้น ถา่ ยภาพเอกซเรย์ - หลังตรวจดม่ื นำ้ มากๆ เพ่อื ระบาย barium sulfate อกั เสบหรือลำไสท้ ะลุ

- สงั เกตอาการแพ้สาร barium sulfate - สังเกตอาการปวดท้องหรอื ถา่ ยเป็นเลือด
จากมีลำไส้ทะลหุ รือมเี ลือดออกจากลำไส้
Barium enema study: BE/lower GI สวนสาร barium sulfate เขา้ ไปใน - รบั ประทานอาหารอ่อนย่อยงา่ ย 1 วนั กอ่ น NPO 8 - อาจมีปสั สาวะแสบขดั ได้
series เพื่อดคู วามผดิ ปกตขิ องลำไสใ้ หญ่ เชน่ ทวารหนัก แล้วถา่ ยภาพเอกซเรย์ ช่ัวโมงกอ่ นตรวจ และสวนอุจจาระ - ไมท่ ำหากบลิ ริ บู นิ เกนิ 1.8 gm/dl
เนอื้ งอก ตง่ิ เน้อื - ดม่ื นำ้ มากๆ เพ่ือระบาย barium และสงั เกตการแพ้ - อาเจียน/ทอ้ งเสยี ใหร้ ายงานแพทย์
Colonoscope ดูความผดิ ปกติของลำไสเ้ ลก็ สอ่ งกล้องเขา้ ไปในลำไสเ้ ลก็ สว่ นปลาย - รบั ประทานอาหารเหลวใส 1 วันก่อนตรวจ
ส่วนปลาย และลำไส้ใหญ่ทงั้ หมด และลำไส้ใหญ่ทั้งหมด - NPO 8 ชวั่ โมงก่อนตรวจ และใหย้ าระบาย -
Oral Cholecystography (OC) รับประทานสารทบึ รงั สี (radiopaque - NPO after midnight กอ่ นตรวจ
เพอ่ื ตรวจดูความผดิ ปกตขิ องถงุ นำ้ ดีและ iodinated dye) แล้วอกี 12 ชัว่ โมง - หลีกเล่ียงอาหารทม่ี ไี ขมันก่อนมาตรวจ
ทางเดนิ นำ้ ดี ถ่ายภาพเอกซเรย์ - ซักประวัติการแพไ้ อโอดีนหรืออาหารทะเล
Cholangiography เพือ่ ตรวจดคู วามผิดปกติ ฉีดสารทึบรังสีเข้าไปยงั ท่อน้ำดีขณะ - งดน้ำงดอาหาร
ของถุงนำ้ ดีและทางเดินนำ้ ดี ผ่าตดั หรอื ภายหลังตดั ถุงนำ้ ดอี อก เพื่อ - ซักประวัติการแพไ้ อโอดนี หรอื อาหารทะเล
หา นิว่ หรอื ส่งิ อุดตันในทอ่ น้ำดี - ดแู ล t-tube

20

การตรวจ วิธีการตรวจ การพยาบาล ขอ้ สังเกต/ข้อหา้ ม
Intravenous Cholecystography (IVC) - อาจมีแสบร้อนบรเิ วณทฉี่ ดี สารและ
เพื่อตรวจดูความผดิ ปกติของถุงนำ้ ดแี ละ ฉีดสารทบึ รังสี (radiopaque - NPO after midnight ก่อนตรวจ ปสั สาวะแสบขัดได้
ทางเดนิ นำ้ ดี - ไมท่ ำหากบลิ ริ บู ินเกนิ 3.5 gm/dl
iodinated dye) เข้าหลอดเลอื ดดำ - หลกี เลยี่ งอาหารทม่ี ไี ขมันกอ่ นมาตรวจ - ประเมนิ gag reflex
Endoscopic Retrograde
Cholangiopancreatography of the แลว้ ถ่ายภาพเอกซเรย์ - ซกั ประวัตกิ ารแพไ้ อโอดีนหรืออาหารทะเล - ภาวะแทรกซอ้ นคอื peritonitis
biliary: ERCP เพอื่ ตรวจดคู วามผิดปกตขิ อง
ถงุ น้ำดีและทางเดนิ นำ้ ดี - ใหย้ าระบายตอนเชา้ ก่อนตรวจ - ภาวะแทรกซอ้ น มภี าวะเลอื ดออก น้ำดี
ร่วั และเยือ่ บชุ ่องทอ้ งอักเสบ
Percutaneous trans hepatic ใชก้ ลอ้ งสอ่ งเขา้ ไปทางปาก ผา่ นหลอด - งดน้ำและอาหาร
cholangiography (PTHC/PTC) - แนะนำใหผ้ ู้ป่วยควรดื่มน้ำในปรมิ าณมาก
เพอ่ื ตรวจดูความผดิ ปกติของถุงน้ำดแี ละ อาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก - ใหย้ าระงบั gag reflex
ทางเดินนำ้ ดี
Liver biopsy เพ่ือดคู วามผิดปกติของตับ สว่ นตน้ จนถึงท่อเปดิ ของน้ำดีในลำไส้ - ซักประวัติการแพไ้ อโอดนี หรอื อาหารทะเล

Computerized Tomography Scan (CT เลก็ แล้วฉดี สารทบึ รงั สเี ขา้ ไปแล้ว - หลังตรวจประเมิน gag reflex และระวงั การสำลกั
scan) ตรวจวนิ จิ ฉยั โรคดว้ ยเครอ่ื งเอกซเรย์
คอมพวิ เตอร์ ถา่ ยภาพเอกซเรย์

ใชเ้ ขม็ เจาะผา่ นผวิ หนงั เขา้ ไปจนถงึ ตบั - งดน้ำงดอาหารก่อนตรวจ

เขา้ ไปในทอ่ น้ำดี ฉีดสารทึบรังสี แล้ว - ประเมิน Platelet, PT,PTT กอ่ นตรวจ

ถ่ายภาพทอ่ ทางเดินน้ำดี - ประเมินการรัว่ ของน้ำดี หรอื เขม็ ทะลอุ วยั วะอนื่

- ซักประวตั กิ ารแพไ้ อโอดนี หรอื อาหารทะเล

เอาเนอื้ ตบั มาตรวจ โดยใช้เขม็ เจาะผา่ น - NPO after midnight ก่อนตรวจ

ผิวหนังหนา้ ทอ้ งไปยงั ตบั และดดู เอาชิ้น - ผลเลือด prothrombin time ไมค่ วรเกนิ 5 วินาที

เน้ือตับมา - หลงั ทำพกั บนเตียง 12 – 24 hr. ในทา่ นอนตะแคงขวา

- ประเมินสญั ญาณชพี ทุก 15 นาทจี นกว่าจะคงที่

ฉดี หรือรบั ประทานสารทบึ รังสแี ลว้ ตรวจ - สวมเสอ้ื ผ้าหลวมๆ ทีไ่ มม่ สี ่วนประกอบของโลหะ

ดว้ ยเคร่ืองเอกซเรย์คอมพวิ เตอร์ - ซกั ประวัติการแพไ้ อโอดนี หรอื อาหารทะเล

21

บรรณานกุ รม
ชมนาด วรรณพรศริ ิ และวราภรณ์ สัตยวงศ์. (2553). การพยาบาลผู้ใหญ่ เลม่ 1. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: ธนา

เพรส.
เพ็ญจนั ทร์ สวุ รรณแสง โมโนยพงศ์. (2551). การวิเคราะห์ผลการตรวจทางหอ้ งปฏบิ ตั กิ ารสำหรับพยาบาล.

ภาควิชาการพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธบิ ดี มหาวทิ ยาลัยมหดิ ล.
ธรรมวทิ ย์ ราญรอน. (2562). เอกสารประกอบการสอน เรื่องการประเมินสภาพผูใ้ ชบ้ ริการที่มคี วามผิดปกติ

ของระบบทางเดนิ อาหาร. พะเยา: มหาวทิ ยาลยั พะเยา
สมพร ชินโนรส. (2557). การพยาบาลทางศลั ยศาสตร์ เล่ม 1. กรงุ เทพฯ: รำไทยเพรส.
Lewis, S. L., Dirksen, S. R., Heitkemper, M. M., & Bucher, L. (2014). Medical-surgical nursing: assessment

and management of clinical problems, single volume. Elsevier Health Sciences.
Cooper, K., & Gosnell, K. (2015). Foundation and Adult Health Nursing. (7th Ed.). Elsevier Health Sciences.
Pellico, L. H. et al. (2019). Focus on adult health: medical-surgical nursing. (2nd Ed.). Philadelphia: Wolters

Kluwer Health/Lippincott Williams&Wilkins.

22

บทที่ 4

หวั ขอ้ ท่ี 4.2 การพยาบาลผู้ใช้บริการ
ทม่ี คี วามผิดปกตใิ นระบบทางเดนิ อาหาร

23

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 301222 การพยาบาลผ้ใู หญ่ 2

ภาคการศึกษา ภาคปลาย ปกี ารศกึ ษา 2562

เรือ่ ง การพยาบาลผใู้ ชบ้ รกิ ารท่มี คี วามผิดปกตใิ นระบบทางเดนิ อาหาร

หัวเร่ือง การพยาบาลผ้รู บั บริการท่มี ีความผิดปกตดิ งั น้ี
1. ภาวะกรดไหลยอ้ น (Gastroesophageal reflux disease)
2. มะเรง็ หลอดอาหาร (Esophagus cancer)
3. กระเพาะอาหารอกั เสบ (Gastritis)
4. แผลในกระเพาะอาหาร (Peptic ulcer)
5. มะเรง็ กระเพาะอาหาร (Gastric cancer)
6. ลำไสอ้ ดุ ตนั (Intestinal obstruction)
7. ไสต้ ง่ิ อกั เสบ (Appendicitis)
8. เยอ่ื บชุ ่องทอ้ งอักเสบ (Peritonitis)
9. ไสเ้ ลอ่ื น (Hernia)

วตั ถุประสงค์เฉพาะ เมอื่ สิน้ สุดการเรยี นการสอน นสิ ิตสามารถ
1. อธบิ ายการประเมนิ สภาพผใู้ ชบ้ ริการท่ีมีความผดิ ปกตใิ นระบบทางเดนิ อาหารได้
2. อธิบายอาการและอาการแสดงผู้ใช้บริการทม่ี คี วามผิดปกตใิ นระบบทางเดนิ อาหารได้
3. อธิบายการพยาบาลผูร้ บั บริการผใู้ ชบ้ ริการทีม่ คี วามผิดปกตใิ นระบบทางเดนิ อาหารได้

ผู้สอน อ.เกษร เกตุชู กลมุ่ วชิ าการพยาบาลผู้ใหญแ่ ละผสู้ งู อายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยพะเยา
ผเู้ รยี น นิสติ หลักสตู รพยาบาลศาสตรบัณฑติ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยพะเยา

24

แนวคิด

ในระบบทางเดินอาหารประกอบไปด้วยอวัยวะตั้งแต่ ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ทำ
หนา้ ท่ใี นการบบี ตัว การผลติ สารคัดหลั่งเพอ่ื ยอ่ ย และดูดซมึ โดยมี ตบั ตับออ่ น ถงุ น้ำดี เปน็ อวัยวะในการช่วยย่อยซ่ึงมี
หน้าที่ทั้งช่วยย่อย และเผาพลาญ ส่วนลำไส้ใหญ่ จนถึงทวารหนัก มีหน้าที่ในการขับถ่าย ความผิดปกติของอวัยวะใน
ระบบทางเดินอาหารที่ให้การทำหน้าที่ของอวัยวะดังกล่าวสูญเสียไปด้วยจึงเกิดความผิดปกติ ในการบีบตัว การผลิต
สารคัดหลัง่ เพื่อย่อยอาหาร การย่อยและการดูดซึม การขับถ่าย โดยบทที่จะเรียนดังต่อไปนีเ้ ป็นความผิดปกติของการ
ยอ่ ยและการดดู ซมึ ดังต่อไปนี้
หนา้ ที่ของทางเดนิ อาหารทเ่ี ป็นท่อ ประกอบด้วย

- หลอดอาหาร (esophagus) เป็นท่อกล้ามเนื้อตั้งแต่หลอดคอ (pharynx) ถึง cardia ของกระเพาะ
อาหาร มีความยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร ผนังของหลอดอาหารมีกล้ามเนื้อ 2 ชั้น ชั้นในเป็นกล้ามเนื้อวงรอบ
ชั้นนอกเป็นกล้ามเนื้อตามยาว ปลายล่างของหลอดอาหารที่ต่อกับกระเพาะอาหารเรียกว่า esophagogastric
junction (EG junction) กล้ามเน้ือของหลอดอาหารบริเวณนี้หนาตวั ข้ึนฟอร์มเป็นหูรูด เรียกว่า lower esophageal
sphincter ปกติจะหดตัวตลอดเวลาเพื่อป้องกันกรดไหลย้อนและเปิดขณะกลืนอาหาร เส้นประสาทที่มาเลี้ยงหลอด
อาหาร ในระบบ parasympathetic nervous system มาจาก vagus nerves ทั้งซ้ายและขวาฟอร์มเป็น
esophageal plexus รอบ ๆ หลอดอาหาร ส่วนในระบบ sympathetic nervous system มาจาก sympathetic
trunk ซา้ ยและขวา

- กระเพาะอาหาร (stomach) มีความจุประมาณ 1,200-1,500 ml มีบทบาทในการย่อยอาหารโดยการ
บดและการย่อยทางเคมี นอกจากนีย้ งั หลั่ง intrinsic factor เพื่อช่วยในการดูดซึมวิตามิน B12 ตำแหน่งของกระเพาะ
อาหารอยู่ท่ี epigastric, left hypochondriac และ umbilical regions

สว่ นตา่ ง ๆ ของกระเพาะอาหาร แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดงั ภาพ
1. Cardiac part หรือ cardia of stomach เป็นบริเวณท่ีล้อมรอบ esophageal opening หรือบริเวณ

ทตี่ อ่ กับหลอดอาหาร
2. Fundus เปน็ ตำแหนง่ สงู สดุ ของกระเพาะอาหาร ซ่ึงสัมพนั ธ์กับความโคง้ ของกะบงั ลมด้านซ้าย
3. Body คอื บรเิ วณตรงกลาง ซ่ึงเปน็ ส่วนทใี่ หญท่ ีส่ ดุ ของกระเพาะอาหาร
4. Pyloric part คือ บรเิ วณ pyloric antrum และ pyloric canal ซงึ่ เป็นส่วนทา้ ยทส่ี ุด

แสดงลกั ษณะของกระเพาะอาหาร

25

บริเวณ body และ fundus มี fundic gland ต่อมบริเวณนี้มี parietal และ chief cells จำนวนมาก
โดยที่ parietal
cell สังเคราะห์กรดและ intrinsic factor สำหรับ chief cell สังเคราะห์ pepsinogen ส่วนบริเวณ antrum มีต่อม
pyloric gland สังเคราะห์สารน้ำที่เป็นด่างเหมือนกับส่วนต้นของ duodenum นอกจากนี้บริเวณ pylorus ยังมี G-
cell สงั เคราะห์ gastrin
บริเวณส่วนปลายของ pyloric part กล้ามเนื้อวงรอบหนาตัวขึ้นฟอร์มเป็นหูรูด เรียกว่า pyloric
sphincter ปอ้ งกนั
อาหารจากลำไส้เลก็ ส่วนตน้ ย้อนกลับมายังกระเพาะอาหารและเป็นตำแหน่ง gastroduodenal junction
ระบบประสาทที่มาเลี้ยงกระเพาะอาหาร parasympathetic nervous system มาจาก left และ right
vagus nerves โดยฟอร์มเป็น anterior และ posterior vagal trunks สว่ น sympathetic nervous system มาจาก
thoracic spinal nerve ระดับที่ 5-10 รวมกันเป็น greater splanchnic nerve แตกแขนงไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ใน
ช่องท้อง
- ลำไส้เล็ก (small intestine) ประกอบด้วย duodenum, jejunum และ ileum ทั้งหมดยาวประมาณ
7-8 เมตร
1. ลำไส้เล็กส่วน duodenum เป็นส่วนของลำไส้เล็กที่สั้นที่สุด เริ่มต้นจาก pylorus ถึง
duodenojejunal junction เกือบทั้งหมดของลำไส้เล็กส่วนนี้ถูกดันไปติดกับผนังท้องด้านหลัง (retroperitoneal
structure) แบ่ง duodenum ออกเป็น 4 ส่วน คือ superior part, descending part, horizontal part และ
ascending part
2. ลำไส้เล็กส่วน jejunum กับ ileum ลำไส้ส่วน jejunum เริ่มต้นที่ duodenojejunal flexure ต่อไป
ยงั ileum ซงึ้ ไปสิ้นสุดท่ี ileocecal junction ความยาวตงั้ แต่ jejunum ถงึ ileum ยาวประมาณ 6-7 เมตร ตำแหน่ง
ของ jejunum อยู่ left upper quadrant ในขณะที่ ileum สว่ นใหญ่อยู่ท่ี right lower quadrant
ผนังของ jejunum และ ileum ประกอบด้วย mucosa, submucosa และ muscularis externa โดย
กล้ามเนื้อมี 2 ชั้น ชั้นในเป็นกล้ามเนื้อวงรอบและชั้นนอกเป็นกล้ามเนื้อตามยาวระหว่างกล้ามเนื้อทั้งสองมีกลุ่มเซลล์
ประสาท myenteric plexus ซึ่งเป็น parasympathetic ganglion แทรกอยู่ กลุ่มเซลล์ประสาทนี้ไปกระตุ้นให้
กล้ามเนอ้ื เรยี บหดตัวและตอ่ มท่อี ยู่ตามผนัง ลำไสม้ ีการหลั่งสารน้ำเขา้ สู่โพรงลำไส้
-ลำไส้ใหญ่ (large intestine) มีความยาวประมาณ 1.5 เมตร ประกอบด้วย cecum, vermiform
appendix, colon ( ascending, transverse, descending, sigmoid แ ล ะ rectum) ล ำ ไ ส ้ ส ่ ว น ascending,
transverse และ descending colons จะฟอรม์ เป็นกรอบ โดยมลี ำไส้เล็กอยภู่ ายในกรอบ infracolic compartment
-ไส้ติ่ง (vermiform appendix) เป็นท่อตันมีลักษณะ worm-shaped blind tube มีความยาวเฉลี่ย
ประมาณ 8 เซนติเมตร การระบุตำแหน่งของไส้ติ่งจากผนังหน้าท้อง โดยลากเส้นสมมติจากสะดือ (umbilicus) ไปยงั
anterior superior iliac spine แบ่งเส้นนี้ออกเป็น 3 ส่วน ตำแหน่งของไส้ติ่งจะอยู่ 1/3 จากด้านนอก เรียกจุดนี้ว่า
McBurney’s point ดงั ภาพ

26

จดุ McBurney’s point

โรคในระบบทางเดินอาหาร
1. ภาวะกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease)

ภาวะกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease หรือ GERD) คือ ภาวะที่มีกรดจากกระเพาะ
อาหาร หรือกรดจากลำไสเ้ ล็กส่วน duodenal ไหลย้อนขนึ้ มาในหลอดอาหาร ที่ไมใ่ ชจ่ ากการเรอ หรอื อาเจยี น

สาเหตุ หรอื ปจั จยั ในการเกิดโรค
1. กลไกในการปอ้ งกนั การไหลยอ้ นกลบั ของน้ำย่อยในกระเพาะเขา้ มาในหลอดอาหารผดิ ปกติ
1.1. การบีบตัวของหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างสูญเสียไปทำให้มีน้ำย่อย น้ำดีจากกระเพาะ

อาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นไหลย้อนกลับไปที่หลอดอาหาร ปัจจัยที่ทำให้การบีบตัวของหูรูดลดลงได้แก่ เครื่องดื่ม
คาเฟอนี อาหารไขมนั สงู หรอื ยากลมุ่ anticholinergics (ออกฤทธิท์ ำใหก้ ลา้ มเนอ้ื เรียบของทางเดินอาหารคลายตวั )

1.2. การมี hiatal hernia (ไสเ้ ลอื่ นกระบังลม) ซึ่งเกดิ จากความผดิ ปกติของ diaphragm ทำให้
มีการดันหรอื เลื่อนของกระเพาะอาหารสว่ นบนเขา้ ไปในช่องอกทำใหม้ กี ารไหลยอ้ นของกรดเขา้ มาในหลอดอาหาร

1.3. มีการเพ่ิมขึ้นของความดันในช่องทอ้ ง เชน่ ในผูท้ ี่มนี ำ้ หนักเกิน หรือมกี อ้ นในชอ่ งทอ้ ง
1.4. การมีปรมิ าตรของกระเพาะเพม่ิ มากขึ้น หรอื กระเพาะขยายตัวมากข้นึ ทำให้กล้ามเนื้อหูรูด
ส่วนลา่ งของหลอดอาหารนนั้ ยดื ขยายตาม
1.5. สง่ิ กระตนุ้ ท่ที ำใหม้ กี ารหล่งั กรดมากขึ้น เชน่ การสูบบุหร่ี
2. ความสามารถของหลอดอาหารในการกำจดั กรดท่ไี หลยอ้ นเข้ามาในหลอดอาหารใหล้ ดลง โดยการ
กลืนน้ำลายจะช่วยลดความเป็นกรดในหลอดอาหาร ดังนั้นผู้ที่มีน้ำลายน้อยหรือการเคลื่อนไหวของหลอดอาหารท่ี
ผดิ ปกติอาจเกิด หลอดอาหารอกั เสบจากการไหลยอ้ นกลับของกรด (reflux esophagitis) ได้มากข้นึ
พยาธิสรีรวิทยา ในภาวะปกติจะไม่มีกรดจากกระเพาะอาหาร หรือจาก duodenal ไหลย้อนขึ้นมาใน
หลอดอาหาร เนอื่ งจากหรู ูดส่วนล่างของหลอดอาหารจะปิด แต่จะทำการเปดิ เมื่อกลืนอาหารและลำเลียงอาหารเข้าสู่
กระเพาะ ในกรณเี กิดการไหลย้อนกลับของกรดเกิดได้จากความผิดปกติของหูรูดส่วนลา่ งของหลอดอาหาร และภาวะ
ท่มี ีความดนั ในกระเพาะอาหารมากกว่าหรู ูดส่วนลา่ งของหลอดอาหารเม่ือหูรูดสว่ นลา่ งเปิดออกจงึ มกี รดจากกระเพาะ
อาหาร หรือจาก duodenal ไหลย้อนขน้ึ มาในหลอดอาหาร ดงั ภาพ

27

อาการและอาการแสดง แสบร้อนกลางอก (heart burn) เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด รองลงมาคือเรอ
เปรี้ยว (acid regurgitation) กลืนลำบาก (dysphagia) อาหารไม่ย่อย (dyspepsia) เจ็บขณะกลืนอาหาร ไอเรื้อรัง
กล่องเสียงอักเสบ

ภาวะแทรกซอ้ น
1. ภาวะหลอดอาหารอกั เสบ (esophagitis) จากการระคายเคอื งของกรด
2. ปอดอกั เสบ (pneumonia)

การประเมินสภาพ
1. ซกั ประวตั ิ อาการแสบร้อนกลางอก (retrosternal burning) กลนื แล้วเจบ็ กลนื ลำบาก ไอ เสียง

แหบ ประกอบกับพฤตกิ รรมการรบั ประทานอาหาร สบู บุหรี่ ดืม่ เหล้า
2. การตรวจดูระดับความเป็นกรดที่ไหลย้อนเข้ามาในหลอดอาหาร ( ambulatory 24-hour

esophageal pH monitoring) โดยการกลืนสายเล็ก ๆ เข้าไปค้างไว้ในหลอดอาหารและเก็บข้อมูลไว้ เพื่อประเมิน
ความถีแ่ ละระยะเวลาของกรดทไี่ หลย้อนเขา้ มาในหลอดอาหาร รวมทง้ั ความสมั พนั ธข์ องการมีกรดไหลย้อนกับอาการ
ต่าง ๆ ของผปู้ ว่ ย นอกจากน้ียังชว่ ยวินิจฉัยเพอื่ ปรับยาในการรกั ษา

3. การส่องกล้องตรวจดูภายในหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น (EGD) ควรทำ
ในกรณีที่มีอาการแสบร้อนกลางอก กลนื ลำบาก หรือมเี ลือดออกร่วมด้วย เพ่ือประเมนิ สภาพภายในเยื่อบุหลอดอาหาร
และวินจิ ฉยั แยกโรคในระบบทางเดินอาหารสว่ นต้นรวมถงึ โรคอน่ื ๆ ท่มี ีอาการคล้ายกบั GERD อีกด้วย

การรักษา
1.การรักษาโดยไม่ใช้ยา ได้แก่ การลดน้ำหนัก การนอนศีรษะสูง หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร

ก่อนนอน หลกี เลีย่ งอาหารไขมันสงู งดสบู บหุ ร่ี เครอื่ งด่ืมแอลกอฮอล์ และเครอ่ื งด่ืมท่ีมคี าเฟอีน ควรหลีกเลี่ยงยาบาง
ชนดิ ที่มีผลทำให้แรงบบี รัดตวั ของกล้ามเน้ือหูรดู หลอดอาหารส่วนล่างลดลง เช่น diazepam, barbiturate, calcium
channel blocker

2.การรักษาโดยการใช้ยา ได้แก่ ยาลดกรด (antacid), H2 receptor antagonist (cimetidine),
proton inhibitor (omeprazole) ยากลุ่ม prokinetic (domperidone, metoclopramide) ช่วยทำให้กล้ามเน้ือหู
รูดหลอดอาหารบบี ตวั แรงขึ้น และทำให้หลอดอาหารเคล่อื นไหวดีข้นึ

28

3.การรักษาโดยการผ่าตัด Nissen fundoplication ทำในกรณีที่การรักษาด้วยยา และไม่ใช้ยาไม่
ได้ผล ซึ่งเปน็ การผ่าตดั ซ่อมแซมเพื่อเสรมิ สร้างกล้ามเนื้อหูรูดให้แข็งแรงขน้ึ

ตวั อยา่ งข้อวนิ ิจฉยั พยาบาลโรคกรดไหลย้อน
ขอ้ วนิ ิจฉัยทางการพยาบาลข้อท่ี 1: พรอ่ งความรใู้ นการปฏบิ ตั ติ วั เกี่ยวกบั โรคกรดไหลยอ้ น
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่ 2: ไม่สุขสบายจากอาการแสบร้อนกลางอกเนื่องจากกรดทำลายเยื่อบุ
หลอดอาหาร
กิจกรรมการพยาบาล
โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่มีภาวะกรดไหลย้อนหากไม่มีอาการแสดงที่รุนแรง จะไม่ได้เข้าพักรักษาใน
โรงพยาบาล จะเป็นการใหค้ ำแนะนำในการปฏิบตั ิตวั โดย ใหค้ ำแนะนำในการปรับเปลีย่ นพฤติกรรมสขุ ภาพดงั นี้

1. กรณีทีเ่ ป็นคนรูปร่างอ้วนใหล้ ดน้ำหนกั เพ่อื ลดแรงดนั ในช่องท้อง
2. หลกี เล่ยี งอาหารท่ีสง่ เสรมิ ให้เกดิ อาการไม่สขุ สบาย เช่น อาหารไขมันสูง ชา กาแฟ นม
3. รับประทานอาหารที่ละน้อย ๆ บ่อย ๆ ครั้งโดยแบ่งรับประทานวันละ 6 มื้อ เพื่อหลีกเลี่ยงการ
ขยายตัวของกระเพาะอาหารที่เป็นสาเหตใุ ห้หูรดู คลายตัว
4. หลงั รบั ประทานอาหารไม่ควรออกกำลงั กาย หรอื นอนทันที
5. ในกรณที ่ผี ปู้ ว่ ยมีภาวะเบ่อื อาหารร่วมด้วยควรประเมินภาวะโภชนาการ และส่งเสริมให้รับประทาน
อาหารทีม่ ีแคลอร่สี ูง

2. มะเร็งหลอดอาหาร (Esophagus cancer)

คือ เซลลข์ องหลอดอาหารมีการแบง่ ตัวท่ีผิดปกตจิ นกลายเป็นมะเร็งของหลอดอาหาร มักพบ 2 ชนิด คือ
1) squamous cell carcinoma (SCC) และ 2) adenocarcinoma (AD)

สาเหตุหรือปจั จัย สาเหตทุ ีแ่ ทจ้ รงิ ยงั ไมช่ ัดเจน อาจเกดิ จากการระคายเคอื งเรือ้ รงั และมีความสัมพันธ์กบั
ปจั จยั ดงั ต่อไปน้ี

1. อาหารที่มี nitrosamine ปริมาณสูง มักพบในอาหารที่นิยมใส่ดนิ ประสิว ได้แก่ เนื้อหมู เนื้อปลา
เนื้อวัว เนอ้ื เคม็ ปลาเค็ม กุนเชียง ไสก้ รอก เบคอน แหนม เนอ้ื สวรรค์ ไตปลาดิบ ปลารา้ และจำพวกเนอ้ื สัตวป์ ง้ิ ยา่ ง

2. การสูบบุหร่ี เนื่องจากมีสาร nitrosamine นอกจากนี้บุหรี่ยังทำให้เกิดภาวะหลอดอาหารอักเสบ
ไดง้ า่ ยขนึ้ เนอื่ งจากการมนี ำ้ ลายลดลง

3. การตีบตันของหลอดอาหารเรอื้ รงั เช่น จากการกลนื ดา่ ง
4. หลอดอาหารอักเสบเรอื้ รังจากการรับประทานอาหารหรือดื่มเครอ่ื งดื่มรอ้ น และจากกรดไหลย้อน
5. ภาวะอ่ืน เชน่ การมีประวตั ิเป็นมะเร็งของศีรษะและลำคอ การตดิ เช้อื HPV
พยาธิสรีรวิทยาของการเกิด squamous cell carcinoma (SCC) ของหลอดอาหาร พบบ่อยบริเวณ
ส่วนกลางของหลอดอาหาร ส่วนใหญ่มักมีอาการเมื่อก้อนมะเร็งมีขนาดโตมาก และลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองแล้ว
มะเร็งสามารถแพร่กระจายได้หลายทางท้ังโดยลุกลามจากหลอดอาหารโดยตรง หรือแพร่กระจายทางระบบน้ำเหลือง
หรือแพร่กระจายไปตามกระแสเลือด ตำแหน่งที่มะเร็งมักลุกลาม หรือแพร่กระจายไป ได้แก่ อวัยวะข้างเคียง ต่อม
น้ำเหลอื ง ตับ ปอด และกระดูก

29

พยาธิสรีรวิทยาของการเกดิ adenocarcinoma (AD) ของหลอดอาหาร พบบ่อยบริเวณหลอดอาหาร
สว่ นปลาย ซ่งึ สามารถแยกออกจากภาวะ GERD และ Barrett’s esophagus ไดย้ ากเนอ่ื งจากลกั ษณะของกอ้ นมะเร็ง
อาจเป็นแผล หรือเป็นก้อนคล้ายติ่งยื่นออกมา (polyp) บางครั้งไม่สามารถแยกได้ว่ามะเร็งที่เกิดขึ้น เกิดจากหลอด
อาหารส่วนปลาย หรือเกดิ จากกระเพาะอาหารบรเิ วณทีต่ ิดกบั หลอดอาหาร (gastric cardia) แล้วลุกลามข้นึ มา

อาการและอาการแสดง
1. อาการกลืนลำบาก เป็นๆ หายๆ เริ่มจากกลืนอาหารแข็งลำบาก แล้วค่อยๆ เป็นทั้งอาหารแข็ง

และเหลว อาจรู้สึกไม่สบายอึดอัดบริเวณหลังกระดูกสันอก (retro-sternum) หรือรู้สึกว่าอาหารผ่านได้ช้า ในระยะ
หลังอาจพบการคัง่ คา้ งของอาหารในหลอดอาหารทำให้ลมหายใจมกี ล่นิ เหมน็ หรอื อาจมีอาการขย้อนหลังรับประทาน
อาหาร น้ำหนักลดลงอย่างมาก

2. เสียงแหบ หากมีการลุกลามของมะเรง็ ไปถูกเสน้ ประสาท recurrent laryngeal หรืออาการปวด
หลงั จากการลกุ ลามเขา้ ไปที่ mediastinum

3. อาเจียนเป็นเลือดจากแผลที่ก้อนมะเร็ง หรือการทะลุติดต่อระหว่างหลอดอาหารกับหลอดเลือด
แดงใหญ่ซ่ึงเกดิ จากการลกุ ลามของมะเรง็

4. อาการของระบบทางเดินหายใจ เชน่ ไอ ปอดอักเสบเปน็ ๆ หายๆ จากการสดู สำลัก (aspiration)
หรอื การลุกลามของกอ้ นมะเรง็ ไปยงั หลอดลม

การประเมนิ สภาพ
1. ซักประวัติ การสบู บุหรี่ ดมื่ สุรา ดืม่ น้ำรอ้ นนำ้ ชา และการกลืนอาหารลำบาก อาเจียน ไอ เสยี งแหบ
2. ตรวจร่างกาย ผอมซีด อ่อนเพลีย น้ำหนกั ลด อาเจยี นเปน็ เลือด
3. เอ็กซเรย์ปอด อาจพบการแพร่กระจายของมะเร็งไปที่ปอด หรืออาจพบภาวะแทรกซ้อนที่ปอด

เช่น ปอดอกั เสบจากการระคายเคอื ง (aspiration pneumonia)
4. Barium swallow อาจพบหลอดอาหารตีบ ตนั ทะลุ หรือมีรตู ่อไปยงั อวยั วะข้างเคยี ง
5. การส่องกล้องตรวจดูในหลอดอาหาร (EGD) เป็นวิธีการตรวจที่ดที ีส่ ดุ ควรทำในผู้ป่วยทีม่ ีอาการ

กลืนลำบากทุกราย เพราะสามารถตดั ช้นิ เน้อื ไปตรวจได้
6. การตรวจโดยเอก็ ซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computer Tomography, CT)
7. การตรวจ Magnetic Resonance Imaging (MRI)

การรักษา
1. การผ่าตัดในรายที่เป็นมะเร็งในระยะแรกทำให้มีโอกาสหายขาดได้ ไม่มีการแพร่กระจายของ

มะเร็งสอู่ วัยวะอนื่
1) การผ่าตัด esophagectomy เป็นการผ่าตัดเอาหลอดอาหารบางส่วนออก และนำ Dacron
graft (พลาสติกทางการแพทย)์ มาแทนในสว่ นทีต่ ดั ออกไป
2) การผ่าตัด esophagogastrostomy เป็นการผ่าตัดเอาหลอดอาหารที่เป็นมะเร็งออกแล้วนำ
สว่ นท่เี หลอื ต่อกับกระเพาะอาหาร
3) Esophagoenterostomy การผ่าตัดเอาหลอดอาหารที่เป็นมะเร็งออก แล้วนำลำไส้ส่วน
colon มาใสแ่ ทนหลอดอาหารที่ตัดออกไป

30

2. การฉายแสง (radiation therapy) ได้ผลดีในรายที่เป็นแบบ SCC ซึ่งจะนิยมฉายแสงในระยะ
ลกุ ลามมากแลว้ ในรายทีเ่ ป็น AD จะไม่ไดผ้ ลดีนกั อาจแค่บรรเทาอาการเท่านัน้

3. การให้ยาเคมีบำบัด (chemotherapy) ไม่ได้ผลดีนักในผู้ป่วยที่เป็นแบบ SCC แต่ในผู้ป่วยที่เปน็
แบบ AD พบวา่ การให้เคมีบำบัดรว่ มกบั การฉายแสงก่อนการผ่าตดั ใหผ้ ลดกี ว่าการผ่าตัดอยา่ งเดยี ว

4. นอกจากนี้การรักษาแบบใหม่ เช่น Endoscopic mucosectomy คือการส่องกล้องเพื่อตัดชิ้น
เนื้อ มีประโยชน์ในมะเร็งขนาดเล็กระยะแรก, Endoscopic laser therapy การส่องกล้องเพื่อทำเลเซอร์ ช่วยรักษา
แบบประคับประคองดา้ นลดอาการกลนื ลำบาก

ตวั อย่างขอ้ วินจิ ฉยั ทางการพยาบาลก่อนผา่ ตัด
ขอ้ วินิจฉัยการพยาบาลขอ้ ที่ 1: ขาดสารอาหารและอิเล็คโตรไลท์ เนือ่ งจากมีการขัดขวางการกลืนอาหาร
กจิ กรรมการพยาบาล

1. ประเมินภาวะโภชนาการ และการชงั่ น้ำหนักทกุ วัน เพือ่ ประเมินผลการใหส้ ารอาหารแก่ผ้ปู ว่ ย
2. กระตนุ้ ใหร้ บั ประทานอ่อนหรืออาหารเหลว แคลอรส่ี งู คร้ังละน้อยๆ บ่อยๆ ครงั้
3. ดแู ลใหไ้ ดร้ ับสารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรกั ษา
4. สังเกตอาการเปล่ียนแปลงด้านการขาดอิเลค็ โตรไลท์ บันทึกจำนวนน้ำที่ร่างกายไดร้ บั และขับออก
จากร่างกาย
ตัวอยา่ งขอ้ วินิจฉยั ทางการพยาบาลหลงั ผา่ ตดั
ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดก้อนมะเร็งออกจากหลอดอาหารนั้นหลังผ่าตัดให้การดูแลหลังผ่าตัด
โดยทวั่ ไปซึ่งได้เรียนมาแลว้ ในหวั ข้อการดูแลผ้ปู ่วยท่ีไดร้ ับการผ่าตดั แต่หากผูป้ ่วยไดร้ ับการผา่ ตดั แบบตัดต่อลำไส้ คือ
ตดั หลอดอาหาร กระเพาะอาหารบางสว่ นต่อกบั ลำไส้เล็กน้นั จะขอยกไปอธิบายในการผา่ ตดั ตัดต่อลำไส้ในหัวข้อต่อไป
แต่ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดบริเวณหลอดอาหารเพื่อรักษามะเร็งในหลอดอาหารอาจจะมีภาวะแทรกซ้อนที่ปอดและ
หัวใจได้ เนื่องจากตำแหน่งของการผ่าตัดอยู่บริเวณใกล้เคียงกับปอดและหัวใจ ทำให้มีปอดอักเสบ ปอดแฟบ และ
หัวใจเต้นผิดจังหวะจากการถูกรบกวนของเยื่อหุ้มหัวใจ โดยจะขอยกตัวอย่างวินิจฉัยทางการพยาบาล และการ
พยาบาลดงั น้ี
ข้อวนิ จิ ฉยั การพยาบาลขอ้ ที่ 1: เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตดั : ปอดอักเสบ, ปอดแฟบ, หัวใจเต้นผิด
จงั หวะ
ข้อวินิจฉยั การพยาบาลขอ้ ที่ 2: เสี่ยงตอ่ การสำลักเน่อื งจากหรู ดู ของหลอดอาหารถกู ตัดออก
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 1: เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด: ปอดอักเสบ, ปอดแฟบ, หัว
ใจเต้นผดิ จงั หวะ
กจิ กรรมการพยาบาล
1. ประเมิน บันทึกการหายใจและสัญญาณชพี ทุก 1 - 2 ชั่วโมงโดยการฟังเสียงปอด สังเกตอาการ
หายใจเหน่ือยหอบ วดั สัญญาณชีพ และคา่ O2 sat ซึ่งเปน็ การพยาบาลท่สี ำคัญทส่ี ดุ ในชว่ ง 24 ชว่ั โมงแรก
2. ประเมินภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะโดยการติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซักประวัติอาการใจสั่น วั ด
สัญญาณชพี โดยเฉพาะจบั อตั ราการเตน้ ของหวั ใจครบ 1 นาทีโดยการสัมผสั
3. สังเกตลกั ษณะและบันทึกจำนวนปสั สาวะที่ออกมาทุก 1 ชั่วโมง ปัสสาวะควรออกอย่างน้อย 0.5
ซีซ/ี กก./ช่วั โมง

31

4. สอนการบริหารปอดหลังผ่าตัด เช่น deep breathing ทุก ๆ 2 ชั่วโมง และสอนการใช้
spirometer เพอื่ บริหารปอด

5. จัดท่านอนศรี ษะสงู (semi-fowler’s or fowler’s position) เพ่อื ป้องกนั การไหลทน้ ของน้ำย่อย
จากกระเพาะอาหารทำให้เกิดการระคายเคอื ง และเพ่อื ทำให้ปอดขยายตัวไดด้ ีข้นึ

ขอ้ วินจิ ฉยั การพยาบาลข้อที่ 2: เสี่ยงต่อการสำลกั เน่อื งจากหรู ดู ของหลอดอาหารถูกตดั ออก
กิจกรรมการพยาบาล

1. สังเกตปริมาณเลือดหรือสิ่งคัดหลั่งจากกระเพาะอาหาร (gastric content) ที่ออกมา และดูแล
การทำงานของ NG-tube with suction โดยแพทย์มักเย็บผูก NG-tube ไว้อย่างดี ห้ามขยับ NG-tube โดยเด็ดขาด
เพราะอาจจะเป็นผลเสียต่อบริเวณที่เย็บหรือตัดต่อ โดยในระยะแรก gastric content จะเป็นเลือด แล้วสีจะค่อยๆ
จางลง ตอ่ มาจะเป็นสเี หลืองเขยี ว

2. จัดท่านอนศีรษะสูง (semi-fowler’s or fowler’s position) เนื่องจากในกรณีที่หูรูดของหลอด
อาหารถูกตัดออก ผู้ป่วยเส่ียงต่อการสำลักเนื่องจากไม่มีหูรูดของหลอดอาหาร (esophageal sphincter) ที่ป้องกัน
การไหลย้อนกลบั ของอาหาร นำ้ และน้ำยอ่ ย

3. ดแู ลสขุ อนามัยของปากฟนั ให้สะอาดเสมอ
4. ดูแลงดน้ำและอาหารประมาณ 4-5 วันจนกว่าการทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้จะ
กลับคนื มา
5. เมื่อแพทย์ใหเ้ ริ่มรับประทานอาหาร หลังจากน้ีจะเริ่มให้รับประทานนำ้ ทีละน้อย แล้วค่อยๆ เพิ่ม
ปรมิ าณและความถี่เทา่ ท่ผี ูป้ ่วยจะรบั ได้ ถ้าไมม่ ปี ัญหาจงึ เปล่ยี นเป็นอาหารเหลว และอาหารอ่อนรสจดื การประเมนิ ว่า
ระบบทางเดินอาหารของผู้ป่วยสามารถรับอาหารได้ โดยประเมินจาก bowel sound อาการท้องอืดแน่นท้อง และ
การผายลมหรือขบั ถา่ ย
6. ปอ้ งกนั การสำลกั ในผปู้ ่วยที่ไม่มหี ูรูดของหลอดอาหาร (esophageal sphincter) ดงั นี้

- หมุนหวั เตยี งสงู หรอื ให้ผูป้ ่วยนั่งทานอาหารหรือด่มื นำ้
- หมนุ หัวเตยี งสูงขณะนอนหลับ (เพ่อื ปอ้ งกันการสำลักในเวลากลางคนื )
- หลีกเล่ียงการกม้ ตัวหรอื โก้งโค้ง
- เตรียมอปุ กรณ์ในการดูดเสมหะไว้ขา้ งเตยี งเสมอ

3. กระเพาะอาหารอักเสบ (Gastritis)

กระเพาะอาหารอักเสบเป็นความผิดปกติในระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อย โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
ได้แก่ 1) กระเพาะอาหารอักเสบเฉียบพลัน (acute gastritis) คือ การที่เนื้อเยื่อกระเพาะอาหารถูกทำลายโดยเกิด
อาการแบบทันทีทนั ใด และ 2) กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง (chronic gastritis) คือ การที่เนื้อเยื่อกระเพาะอาหาร
เกิดการบวมแดง ถลอกและมีเลือกออกอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้มีการเสียเลือดเรื้อรังเกิดภาวะโลหิตจา งตามมา
โดยจำแนกความแตกต่างได้ ดังนี้

32

ความแตกตา่ ง กระเพาะอาหารอกั เสบเฉียบพลัน กระเพาะอาหารอักเสบเร้ือรงั
สาเหตุและปจั จยั
เป็นการอักเสบที่เกิดขึ้นชว่ั คราว โดยเก่ียวขอ้ งกับ 1. การตดิ เชื้อ Helicobacter pylori
พยาธสิ รีรวิทยา
ปจั จัย ดังนี้ 2. เกดิ ภายหลงั ผ่าตัดกระเพาะ
อาการและอาการ
แสดง 1. การดืม่ แอลกอฮอล์ พษิ สุราเฉียบพลนั อาหาร
การวินจิ ฉัย
2. การสบู บุหรจ่ี ัด และทำการตัดต่อกับลำไส้เล็ก

3. ภาวะเครยี ดอย่างรุนแรง (gastrojejunostomy) เน่อื งจาก

4.การแพ้อาหารรนุ แรง อาหารเป็นพิษ นำ้ ดแี ละเกลอื น้ำดไี หลยอ้ นกลบั เขา้

5. การติดเช้ือ ไปในกระเพาะอาหารส่วนที่เหลอื ทำ

6. การได้รับสารเคมีบางชนดิ ให้เกิดการอกั เสบ

7. การไดร้ ับเคมีบำบัด การฉายรงั สี

8.การด่ืมชา กาแฟ มาก

9. การรบั ประทานอาหารทเ่ี ป็นกรดหรือด่าง

10. การเจบ็ ปว่ ยดว้ ยโรคท่ีสัมพนั ธ์กบั กระเพาะ

อาหารอกั เสบ

ชัน้ เยื่อเมอื กเกดิ การระคายเคืองจากการทำลายด้วย เริม่ จากการอักเสบท่ีชน้ั ผิวของ

กรด hydrochloric และ pepsin ทำให้เกิดการ เยื่อเมือกแลว้ นำไปสกู่ ารฝอ่ ของต่อม

อักเสบและเกดิ เป็นแผลทชี่ ัน้ ผิว มีการทำลายหลอด parietal และ chief cells ของ

เลอื ดแดง เกดิ การบวมและอาจมีเลอื ดออก หาก เนอื้ เยือ่ กระเพาะอาหาร ทำให้มกี าร

รนุ แรงอาจเกดิ เนอ้ื ตายได้ หากเกิดบาดแผลหลงั จาก หลงั่ เมือกลดลงเมอ่ื ถูกทำลายเรือ่ ย ๆ

การบาดเจ็บศีรษะหรอื การผา่ ตดั ใหญ่ โดยเกดิ จาก จึงเกดิ การฝอ่ และผนงั เย่อื บุบางลง

การขาดเลือดของเยอ่ื บกุ ระเพาะอาหารเนือ่ งจาก เกิดการหลง่ั กรดลดลง สูญเสยี การ

หลอดเลือดหดตวั ผลติ intrinsic factors ทำให้

ความสามารถในการดดู ซมึ วติ ามิน

B12 ลดลง และทำใหเ้ กิดภาวะโลหติ

จางตามมา

ปวดแสบบรเิ วณลิ้นปี่ เบ่อื อาหาร คลืน่ ไส้ อาเจียน อาการไมช่ ดั เจน อาจมเี บอ่ื อาหาร

ท้องกดเจบ็ อาจเป็นตะครวิ ทที่ อ้ ง บางรายอาจมี ไมส่ ขุ สบายอืดท้องหลังรบั ประทาน

เลอื ดสด (hematemesis) หรือมีอาการถ่ายดำ อาหาร ท้องอดื เรอ คลน่ื ไส้อาเจยี น

(melena) บางรายอาจมีอาการท้องเสีย ถ้ามีอาการ มกั มีภาวะซีด และอ่อนเพลยี

รนุ แรงอาจมีภาวะช็อคได้ หากมแี ผลทะลุ อาจมี

อาการปวดทอ้ งรุนแรงในชว่ งแรกและตามมาดว้ ย

อาการของเย่ือบุชอ่ งท้องอกั เสบ

1. ซกั ประวัตเิ กีย่ วกบั อาการและอาการแสดง เชน่ อาการแสบรอ้ น จกุ ใตล้ น้ิ ป่ี คลนื่ ไส้

อาเจียน อาหารที่รับประทาน ระยะเวลาท่รี ับประทานมื้อสดุ ทา้ นก่อนเกิดอาการ การด่มื

33

ความแตกต่าง กระเพาะอาหารอกั เสบเฉยี บพลนั กระเพาะอาหารอกั เสบเรอื้ รัง
การรกั ษา
แอลกอฮอล์ ความเครียด การอาเจียนหรือถา่ ยดำ ลักษณะสีและปริมาณ ประวัติเกีย่ วกบั

การใชย้ าตา่ ง ๆ

2. การตรวจร่างกาย โดยตรวจทางชอ่ งท้อง การดู ฟงั เคาะ คลำ และตรวจระบบอืน่ ๆ เชน่

ระบบผวิ หนัง การประเมินภาวะซีด ดีซ่าน นำ้ หนกั ลดหรอื เพมิ่ ความดนั โลหิตต่ำ ลกั ษณะที่

เล็บผดิ ปกติ เชน่ เล็บช้อน เลบ็ เปน็ คราบ ปากเปน็ แผล มุมปากเป็นร่อง เป็นตน้

3. การตรวจเฉพาะเพื่อประเมนิ ความผดิ ปกติ ได้แก่ 1) colicky pain (GI obstruction) 2)

localized to pain (peritonitis) 3) heart burn 4) severe pain for hours และการ

ตรวจทางทวารหนกั (rectal examination)

4. การตรวจพเิ ศษอื่น ๆ เช่น gastric analysis, CBC, serum vitamin B12, upper

endoscopy

1. การรักษาข้นึ อยกู่ บั สาเหตทุ ี่ทำให้เกดิ การอักเสบ การักษาคล้ายคลึงกัน ดังน้ี

เชน่ หากเกิดจากการรับประทานยากลุ่ม NSAID 1. ใหย้ าลดกรด ยาลดอาการปวด

หรือดม่ื สุรามากให้หยดุ หากเกิดจากการตดิ เชอื้ H. 2. ให้อาหารออ่ น รสจืด จำนวนนอ้ ย

pylori รกั ษาโดยใหย้ าปฏชิ ีวนะกลุ่ม ๆ แต่บอ่ ยคร้ัง

metronidazole เปน็ ระยะเวลา 10-14 วัน 3. การใหย้ า H2 blockers และ

2. ให้ยายบั ยั้งการสร้างกรดและสง่ เสรมิ การหายของ proton pump inhibitor

แผลในกล่มุ proton pump inhibitor (PPI) ได้แก่ 4. การใหย้ าปฏิชีวนะ หากไมไ่ ดผ้ ล

omeprazole เปน็ ตน้ ใน 1 สัปดาห์ใหซ้ ้ำอีก 1 สัปดาห์

3. ให้ยาลดการสรา้ งกรดกลมุ่ H2 blockers เพื่อลด 5. หากมีภาวะโลหติ จางให้ vitamin

การหลงั่ กรดและลดอาการปวด เชน่ ranitidine B12 ฉดี เขา้ กลา้ มเนอื้ ทกุ เดอื น
4. ใหย้ ากล่มุ antacid เพ่อื ลดปวด 6. หากมีอาการคล่ืนไสอ้ าเจยี น

5. การรักษาอ่ืน ๆ เช่น รนุ แรงให้งดน้ำและอาหารทางปาก

- การใหง้ ดนำ้ และอาหารใน 6-12 ชว่ั โมงแรก จนกว่าอาการจะทุเลา

- เรม่ิ ให้อาหารท่ีมลี ักษณะขน้ เช่น ซปุ นม จนถงึ 7. หลกี เลีย่ งอาหารระคายเคอื ง

อาหารปกติ หากมอี าการคล่นื ไสอ้ าเจียน พิจารณา กระเพาะอาหารและงดสุรา เบยี ร์

ให้สารน้ำทางหลอดเลอื ดดำ บุหรี่

- หากมเี ลือดออกให้ทำ gastric lavage 8. หากไม่สามารถควบคมุ ภาวะ

เลือดออกได้ อาจจะตอ้ งผ่าตัด

34

4. แผลในกระเพาะอาหาร (Peptic ulcer)

คือ ความผิดปกติของทางเดนิ อาหารสว่ นบนซ่ึงมีการทำลาย หรือเกิดแผลของเยื่อบบุ ริเวณหลอดอาหาร
ส่วนล่าง กระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนบน (duodenum) มีผลทำให้เยื่อบุสัมผัสกับกรด และ pepsin เกิดการ
ยอ่ ยตัวเองจนกระทง่ั มีการทำลายเย่ือบุผิวเล็กน้อยจนเกิดแผลรนุ แรง สามารถแบ่ง Peptic ulcer ได้ 2 แบบ คือ

1.1 Gastric ulcer คอื แผลในกระเพาะอาหาร
สาเหตุ และปัจจัย

1. ยาแก้อักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น salicylate, indomethacin มีฤทธิ์เป็นกรด
อ่อนซง่ึ จะไมแ่ ตกตัว และสามารถซมึ ผ่านเซลล์เยอ่ื บุกระเพาะอาหารได้

2. การติดเชอ้ื Helicobacter pyloric (H.pylori)
3. การไหลย้อนกลับของ pepsinogens และ pepsin ใน duodenum
4. การไหลเวียนเลือดของเยอ่ื บุ โดยแผลมกั เกิดสว่ นปลายของกระเพาะใกล้กับส่วนโคง้ ด้านในซง่ึ ไมม่ ี
หลอดเลือดฝอยประสานเป็นร่างแหเป็นตำแหนง่ ท่ขี าดเลือดง่าย จงึ ทำให้เกิดแผลไดง้ า่ ย
อาการ และอาการแสดง จะมีอาการปวดท้องทันทีหลังรับประทานอาหารหรือครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชัว่ โมง
หลงั รบั ประทานอาหาร ถ้าเป็นมากอาจปวดท้องตลอดเวลา หรอื ปวดรา้ วไปทางด้านหลัง เบอื่ อาหาร แสบยอดอก เรอ
เปรี้ยว อาเจยี น และอาจมนี ้ำหนักลด
1.2 Duodenal ulcer คอื แผลในลำไสเ้ ลก็ ส่วนตน้ (duodenum)
สาเหตุ และปัจจยั
1. การหล่งั กรดจากกระเพาะอาหาร โดยมีการหลั่งกรดมากกวา่ ปกติ
2. การบีบตัวของกระเพาะอาหาร มกี ารบบี ตวั เร็วทำใหอ้ าหารยังไมไ่ ด้คลกุ เคล้ากับนำ้ ย่อยทำให้กรด
ลงไปสู่ duodenum
3. ระดบั pepsinogens และ pepsin สงู
4. การติดเช้ือ Helicobacter pyloric (H.pylori)
5. ความผิดปกตขิ องกลไกป้องกันเยื่อบุผิว
6. ปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ การสูบบุหรี่ ยาสเตอรอยด์ ยาแอสไพริน ยาต้านการอักเสบ คาเฟอีน
แอลกอฮอล์ ภาวะเครยี ด และยาบางชนิด
อาการ อาการแสดง มักมีอาการปวดเวลาหิวอาหาร หรือเวลากลางคืนขณะกระเพาะอาหารและลำไส้
วา่ ง ปวดบริเวณยอดอก ปวดแบบตอื้ ๆ อาการปวดจะทเุ ลาลงเมือ่ รับประทานอาหารหรอื ยาที่ทำให้กรดเปน็ กลาง และ
ยงั พบอาการคลืน่ ไส้ อาเจยี นรว่ มด้วย
พยาธิสรีรวทิ ยา
กลไกที่ 1 จากสาเหตแุ ละปจั จยั ขา้ งต้นทำใหค้ วามตา้ นทานของเยื่อบุกระเพาะอาหารลดลง มีการทำลาย
เซลล์เยื่อบุ เป็นผลให้ไฮโดรเจนไอออนสามารถซึมเข้าเยื่อบุ ทำให้มีการปล่อย histamine และ pepsinogen
histamine กระตุ้นการหลั่งกรด และมีผลให้หลอดเลือดขยายตัว เพิ่มการซึมผ่านของหลอดเลือดฝอย เยื่อบุทางเดิน
อาหารบวมและสูญเสียโปรตีน กรดกระตุ้นให้กล้ามเนื้อทางเดินอาหารหดเกร็ง มีอาการปวดท้อง ผลการทำลายจาก

35

กรด pepsin ทำให้เกิดแผล ซึ่งทำให้ไฮโดรเจนไอออนสามารถซึมเข้าเยื่อบุมากขึ้นเกิดวงจรของการทำลายตัวเอง
เพม่ิ ขน้ึ เร่ือยๆ

กลไกที่ 2 จากเช้ือ H.pylori ซึ่งเป็นแบคทีเรีย Gram negative รูปร่างแท่ง มีแฟลกเจลลา (flagella) ท่ี
ใช้ในการยดึ เกาะและบกุ รุกบรเิ วณชน้ั ในสดุ (mucous layer) ของกระเพาะอาหาร จึงมกั พบเชื้อ อาศยั อยบู่ ริเวณเย่ือ
บผุ วิ ชนั้ ในของกระเพาะอาหาร (luminal surface of the gastric epithelium) การติดแบคทีเรียชนดิ นจี้ ะก่อให้เกิด
โรคกระเพาะอาหารอักเสบ โดยเชอ้ื นส้ี ามารถเจริญ ได้ในกระเพาะอาหารท่ีมสี ภาวะเป็นกรด เพราะเช้ือสามารถสร้าง
เอนไซม์ urease ได้ โดยเปลี่ยน urea ที่อยู่ในน้ำย่อยของกระเพาะอาหาร ให้เป็น ammonia และ carbon dioxide
ช่วยให้สภาวะกรดในกระเพาะอาหาร ลดลงเหมาะสมในการเจริญเติบโต โดยเชื้อจะหลั่งสาร cytokine กระตุ้นให้มี
การสร้างกรดเพมิ่ ข้ึน และลด somatostatin ซึ่งทำหน้าทย่ี บั ยั้งการหลัง่ กรด จึงมกี รดเพม่ิ ขน้ึ ทำใหก้ รดจำนวนมากทำ
ใหเ้ กดิ การระคายเคอื งเย่อื บุ และที่สำคัญเช้อื ยังสร้าง proteases และ phospholipases ทำลาย glycoprotein ของ
เมอื กทำใหเ้ มือกบางลงเย่ือบุจึงถกู ทำลายได้ง่าย เมอ่ื เมือกบางลงกรดเข้าถึงตวั เชือ้ ได้ เช้อื จะทำการย้ายไปอย่จู ุดอน่ื ที่มี
เมือกหนาเป็นปกติ จึงพบเชื้ออยู่เป็นหย่อมๆ ประกอบกับปัจจัยด้านความผิดปกติของกลไกป้องกันเยื่อบุผิวผิดปกติ
การติดเชื้อระยะเวลา นานหรือเรื้อรังจะทำให้เกิดการพัฒนาไปเป็น gastric ulcer or duodenal ulcer มะเร็งใน
กระเพาะอาหารและมะเรง็ ตอ่ มน้ำเหลอื งได้

นอกจากนี้ยังพบแผลที่เกิดจากความเครียด (stress ulcer) เกิดขึ้นหลังจากจากที่เกิดภาวะวิกฤติ หรือ
ภาวะเครยี ดถอื เปน็ แผลทีเ่ กดิ เฉยี บพลัน (acute ulcer) ได้แก่

- การไดร้ บั บาดเจ็บรุนแรงหรือเจบ็ ปว่ ยหนัก
- ไฟไหม้รนุ แรง
- อบุ ตั เิ หตศุ ีรษะ หรือมอี าการทางสมอง
- ภาวะชอ็ ค
- การตดิ เช้อื ในกระแสเลอื ด (sepsis)
การวนิ จิ ฉัย
1. การซักประวัติเกี่ยวกับ อาการ อาการแสดง สาเหตุและปัจจัยทีท่ ำให้เกิดแผลในทางเดนิ อาหาร
เช่น การสบู บุหรี่ การรบั ประทานยาแอสไพรนิ หรอื ยาอื่น โรคประจำตัว เปน็ ตน้
2. การตรวจร่างกาย คลำบรเิ วณ Xiphoid อาจแข็งเกรง็ (tenderness) ฟงั เสียงการเคลือ่ นไหวของ
ลำไส้ Bowel sound จะ Hyper active หรือไม่มี Bowel sound
3. การตรวจ Stool antigen test เปน็ การตรวจหา antigen ของเชื้อ H.pylori ท่ีอาจปะปนมากับ
อจุ จาระของผปู้ ่วย
4. การตรวจ stool occult blood ใหผ้ ล positive และตรวจพบ Hemoglobin และ Hematocrit
ต่ำกวา่ ปกติ
5. การตรวจทางรังสี barium swallow สามารถพบแผลในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนตน้
ได้
6. การทำ EGD เป็นการประเมินความรุนแรงของแผล ซึ่งอาจเป็นแผลทะลุ เนื้อเยื่อมีการพัฒนา
เป็นเซลลม์ ะเรง็ หรอื อาจพบภาวะเลือดออก นอกจากนย้ี ังมีการทำ EGD พรอ้ มกบั หตั ถการอ่นื ดงั นี้
- การตดั ชิน้ เน้ือเยือ่ บกุ ระเพาะอาหารแลว้ จึงนำมาทดสอบหาเช้ือ H.pylori

36

- การตรวจ rapid urease test ใช้สมบัติของเอนไซม์ urease ที่เชื้อ H.pylori ผลิตขึ้น โดย
วิธีการนี้ควรหยุดยา proton pump inhibitor (PPI) ก่อนทดสอบอย่างน้อย 2 สัปดาห์ และเป็นวิธีที่นิยมที่สุดใน
ประเทศไทย

การรกั ษา การรักษาดว้ ยยา เพือ่ กำจัดสิ่งสง่ เสริมท่ีทำให้เกิดแผล และเพ่อื ใหก้ ระเพาะอาหารและลำไส้มี
ค่า pH เปน็ กลางจะทำให้การหายของแผลดีขึน้

1. ยาลดกรด (antacid) ชว่ ยให้กรดเปน็ กลาง ลดอาการปวดท้อง เช่น Alum milk
2. ยาต้านกระต้นุ H2 receptor ออกฤทธิโ์ ดยยบั ยั้ง H2 receptor ท่ี parietal cell เช่น cimetidine
(Tagamet) หรอื ranitidine (Zantac) เพื่อลดกรดในกระเพาะอาหาร
3. ยากล่มุ proton pump inhibitors (PPIs) เช่น omeprazole เพื่อยับยัง้ การหลงั่ กรด
4. ยาตา้ นการออกฤทธ์ิของปลายประสาทวากัส (antimuscarinic) เชน่ dimenhydrinate
5. ยาช่วยป้องกันเยื่อบุ (mucosal barrier protectant) เช่น Rebamipide, Sucralfate, Colloidal
bismuth, Misoprostol
6. ยา antibiotic ในกรณีที่เกดิ แผลจากเชือ้ H. pylori เชน่ amoxicillin และ metronidazole
ภาวะแทรกซอ้ น
1. เลอื ดออกในทางเดินอาหาร (GI Bleeding) จากการมแี ผลโดยจะมอี าการอาเจยี นเป็นเลือดสดหรอื
สีกาแฟ (Coffee grounds) และมีถ่ายดำ (Melena) ถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ และพบบ่อยที่สุด จะขอกล่าว
เพอ่ื อธิบายเพิ่มเติมเก่ยี วกับภาวะเลือดออกในทางเดนิ อาหารในหัวข้อถัดไป (ภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร)
2. Hypovolemic shock จากการเสียเลือด เนื่องจากการเกิดแผลทำให้เส้นเลือดที่เยื่อบุฉีกขาด มี
เลือดออก
3. แผลทะลุ (Perforate) โดยเกิดการทะลุไปอวัยวะข้างเคียงเช่น ตับอ่อน ท่อน้ำดี ตับจะมีอาการ
ปวดท้องส่วนบน (Epigastric) กดเจ็บ (Guarding) กดแล้วปล่อยจะเจ็บมากขึ้น (Rebound tenderness) และไม่มี
การเคลื่อนไหวของลำไส้ (Bowel sounds) ชีพจรเต้นเรว็ และมไี ข้ ทำให้เกดิ เยือ่ บุชอ่ งทอ้ งอกั เสบได้
4. การอดุ ตัน (Obstruction) มอี าการแนน่ ท้อง อาเจียนหลังรับประทานอาหาร
ตัวอย่างขอ้ วินจิ ฉยั ทางการพยาบาล
วนิ จิ ฉัยทางการพยาบาลของแผลในทางเดินอาหารนั้น จะขอกลา่ วในกรณที ่ียงั ไมเ่ กดิ ภาวะแทรกซ้อน ใน
ส่วนของการดูแลภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย คือ ภาวะเลือดออกและจำเป็นจะต้องได้รับการผ่าตัดนั้นจะข้อกล่าว ใน
หวั ขอ้ ถัดไป พบตวั อยา่ งขอ้ วนิ จิ ทางการพยาบาล ดงั นี้
ข้อวนิ ิจฉยั การพยาบาลข้อท่ี 1: ไม่สุขสบายปวด เน่ืองจากมีแผลทเี่ ยอ่ื บุทางเดนิ อาหาร
ขอ้ วนิ ิจฉยั การพยาบาลขอ้ ท่ี 2: พร่องความรู้ในการปฏบิ ตั ติ วั เก่ยี วกับโรค
ขอ้ วนิ ิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 3: ภาวะโภชนาการเปลย่ี นแปลงเนอ่ื งจากรับประทานอาหารได้นอ้ ย คล่นื ไส้ อาเจยี น
ข้อวินิจฉยั การพยาบาลข้อท่ี 1: ไม่สุขสบายปวด เนอ่ื งจากมแี ผลที่เยื่อบทุ างเดนิ อาหาร
ขอ้ วินจิ ฉยั การพยาบาลขอ้ ที่ 2: พร่องความรูใ้ นการปฏิบัตติ วั เก่ียวกบั โรค

37

กิจกรรมการพยาบาล
ใหค้ ำแนะนำในการปฏิบัตติ วั หรอื การดูแลตนเองทีบ่ ้านดงั น้ี

1. แนะนำหลกี เลี่ยงอาหารที่เป็นการกระตุ้นการสร้างกรด เช่น กาแฟ ชา น้ำอัดลม แอลกอฮอล์ น้ำ
ผลไมท้ ่ีมรี สเปร้ยี ว ยาแกป้ วด อาหารทอด เครอ่ื งเทศ

2. สอนเทคนิคคลายเครยี ดในผู้ท่ีมคี วามสมั พนั ธ์กับภาวะเครยี ด
3. หลีกเลี่ยงการรบั ประทานยา แอสไพรนิ (Aspirin) และ ยาประเภท NSAID
4. อธิบายใหเ้ ข้าใจวา่ ต้องได้รับการรกั ษาอยา่ งตอ่ เนื่องถงึ แม้วา่ จะไม่มีอาการแลว้ ถา้ การรักษาด้วยยา
และการปรับเปลยี่ นพฤตกิ รรมไม่ไดผ้ ลมอี าการรนุ แรงมากข้นึ อาจจะต้องรกั ษาดว้ ยการผา่ ตดั
ในกรณีทม่ี ีอาการเฉยี บพลนั กำเรบิ มอี าการปวดมากขนึ้ ผ้ปู ว่ ยอาจจะได้รับการรกั ษาโดยการพกั รักษาใน
โรงพยาบาล ควรใหก้ ารพยาบาลดังน้ี
5. วัดสญั ญาณชพี เพ่อื เป็นการประเมนิ ภาวะชอ็ คจากการเสยี นำ้ และเลอื ดในระบบทางเดินอาหาร
6. ดแู ลใหไ้ ด้รับการงดนำ้ งดอาหาร และดแู ลใหไ้ ดร้ ับการ on NG tube with suction เพื่อบรรเทา
อาการอดึ อัดแนน่ ท้อง และทำใหก้ ระเพาะอาหารไดพ้ ักไม่กระตุ้นการหลั่งกรด และสงั เกตสีของ content พร้อมท้ังลง
บนั ทึก เช่น อาจพบเลอื ด หรือน้ำดี หรือเศษอาหาร
7. ดแู ลให้ไดร้ ับสารนำ้ ทางหลอดเลอื ดดำ
8. ในกรณีที่คาดว่าจะมีภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหารควรซักประวัติอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำ
และติดตามค่า Hematocrit (Hct) Hemoglobin (Hb)
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 3: ภาวะโภชนาการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากรับประทานอาหารได้น้อย
คลน่ื ไส้ อาเจียน
กิจกรรมการพยาบาล
1. ประเมินภาวะโภชนาการ
2. แนะนำรบั ประทานอาหารครงั้ ละน้อย แต่บอ่ ยครงั้ โดยเพมิ่ ม้ืออาหารเปน็ วนั ละ 6 มอื้
3. แนะนำรบั ประทานอาหารออ่ น ย่อยงา่ ย รสจดื พลังงานสงู
4. แนะนำหลีกเล่ียงการด่ืมนม เนอื่ งจากจะทำให้กระตุ้นการหลัง่ กรดมากขึ้น

5. มะเรง็ กระเพาะอาหาร (Stomach cancer)

มะเร็งกระเพาะอาหาร ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยที่มีช่วงอายุ 50-70 ปี ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ท่ี
ผิดปกติที่เกิดขึ้นบริเวณเยื่อบุภายในโพรงกระเพาะอาหารในชั้นเยื่อเมือก ( mucosa) โดยเป็นเซลล์ชนิด
adenocarcinoma ส่วนใหญ่ตำแหน่งที่พบ คือ pyloric แต่ตำแหน่งที่พบอัตราการป่วยที่สูงขึ้นคือ กระเพาะอาหาร
ส่วนต้น (proximal) จากการที่ตำแหน่งของกระเพาะอาหารมีอวัยวะใกล้เคียงอยู่จำนวนมาก เมื่อเกิดก้อนมะเร็ง ทำ
ให้มกี ารแพร่กระจายไดง้ า่ ยและรวดเรว็ โดยแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลอื ง ตับ มา้ ม ตับอ่อน หรือหลอดอาหาร

สาเหตแุ ละปจั จัยทเี่ กยี่ วขอ้ ง
สาเหตุทแี่ ทจ้ รงิ ยังไม่ชัดเจน โดยมกั เกิดจากปจั จยั รว่ มหลายปัจจัย ดงั นี้

38

1. การบาดเจ็บของเยือ่ บุกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจเกิดจากความเสื่อมของเซลล์ผนังเย่ือบแุ ละเกิดการระคาย
เคือง

2. กระเพาะอาหารอกั เสบจากภาวะภูมิคมุ้ กนั ทำลายตนเอง
3. การถูกกัดจากสารเคมี กรด น้ำย่อยซำ้ ๆ เช่น น้ำดี ยาต้านการอกั เสบ ยาแอสไพรนิ หรอื การสบู บหุ รจ่ี ัด
4. การมปี ระวัติติ่งเน้ือหรอื การผา่ ตดั กระเพาะอาหารบางส่วน
5. ภาวะซดี (pernicious anemia)
6. ภาวะกรดไฮโดรคลอริคต่ำ
7. กระเพาะอาหารอักเสบเรอื้ รังและมีแผลในกระเพาะอาหาร
8. การรับประทานอาหารบางชนดิ ทีม่ สี ารไนไตรซานัยสงู เช่น อาหารหมักดอง
9. การสูบบุหร่ี ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ค่อยรับประทานผักและผลไม้
พยาธสิ รรี วทิ ยา
มะเร็งกระเพาะอาหาร เกี่ยวข้องกับเซลล์ที่สร้างเมือกในกระเพาะอาหาร โดยเริ่มจากการอักเสบเรื้อรังของ
กระเพาะอาหาร และมีการเปลี่ยนแปลงจากเซลล์ปกติไปสู่การขยายตัวที่มีการขยายตัวผิดปกติ ซึ่งเป็นมะเร็งชนิด
adenocarcinoma ซึ่งสามารถลุกลามกระจายไปทั่วกระเพาะอาหาร รวมถึงแพร่ไปยังตับ มีลักษณะเป็นก้อน การ
แพร่กระจายไปยงั ต่อมนำ้ เหลืองเกิดได้อยา่ งรวดเรว็ เน่ืองจากกระพะอาหารเปน็ ตำแหน่งท่ีมีเลือดไปเลย้ี งมาก รวมถึง
ทอ่ น้ำเหลืองและแพรก่ ระจายไปสู่ ตับ ปอด รังไข่ และเย่ือบุช่องท้องตามมา
การแบง่ ระยะของมะเร็งกระเพาะอาหาร
การประเมินระยะของโรคที่ใช้กันมากที่สุดสำหรับโรคมะเร็งกระเพาะอาหารเป็นระบบ TMN กำหนดโดย
International union against cancer (UICC) และ American joint committee on cancer โดยในระบบ TNM
น้นั T (tumor) แสดงถงึ ความลึกของการลุกลามของโรคไปในชัน้ ต่าง ๆ ของผนังกระเพาะอาหารแบ่งเป็นระยะตา่ ง ๆ
ดังนี้
T1 = มะเร็งลกุ ลามอยู่ในชนั้ เยอื่ บุ mucosa หรอื submucosa
T2 = มะเร็งลุกลามอย่ใู นชน้ั muscularis propria
T3 = มะเรง็ ลกุ ลามผา่ นช้นั serosa
T4 = มะเรง็ ลกุ ลามผา่ นชนั้ serosa และเขา้ ไปในอวัยวะทอี่ ย่ตู ิดกนั
N (nodes) แสดงถึงปริมาณของน้ำเหลืองที่ถูกโรคลุกลาม โดยขนาดของต่อมน้ำเหลืองไม่เกี่ยวข้องกับการจัดระบบ
ของ N ใน TNM
N0 = ไม่มสี ว่ นของต่อมนำ้ เหลอื งท่ีถกู ลกุ ลาม
N1 = มสี ่วนของต่อมนำ้ เหลอื ง 1-6 ต่อมในบรเิ วณใกล้เคียง
N2 = มีส่วนของตอ่ มนำ้ เหลอื ง 7-15 ต่อมในบริเวณใกลเ้ คยี ง
N3 = มีสว่ นของตอ่ มนำ้ เหลืองมากกวา่ 15 ต่อมในบริเวณใกลเ้ คยี ง

39

M (metastasis) แสดงวา่ มกี ารแพร่กระจายไปยงั อวัยวะอ่ืน ๆ กลา่ วคือ
M0 = ไม่มีการแพร่กระจาย
M1 = มกี ารแพรก่ ระจายไปยงั อวัยวะอน่ื ๆ
อาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดง ได้แก่ รู้สึกอิ่มเร็ว เบื่ออาหาร อาหารไม่ย่อย บางรายมอี าการอาเจียนหรือปวดท้อง

รับประทานยาลดกรดแลว้ อาการไม่ทุเลา หากโรคลุกลามจะมนี ำ้ หนักลด ขาดสารอาหาร
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมาหาแพทย์เมื่อมีอาการขั้นรุนแรง หากมีการแพร่ไปยังต่อมน้ำเหลือง อาจจะมีอาการนำ้

เกนิ ในชอ่ งทอ้ ง ตัวเหลือง ตบั โต บางรายอาจมกี ระเพาะทะลุ มีเลือดออกหรอื เยอ่ื บุชอ่ งทอ้ งอกั เสบ
การตรวจวนิ จิ ฉยั
1. การซักประวัติ: ประวัติการท้องอืด แน่นอัดอัดท้อง อาหารไม่ย่อย ถ่ายอุจจาระสีดำ หรือปวดท้อง

รับประทานยาลดกรดแล้วอาการไม่ทุเลา น้ำหนักลด ผอมลง คลำได้ก้อนในท้องและตรวจพบเลือดในอุจจาระ
พฤติกรรมในการรับประทานอาหาร ประวัติพันธุกรรมเกย่ี วกับการเปน็ โรคมะเรง็

2. การตรวจรา่ งกาย อาจคลำพบกอ้ นในท้อง หากก้อนมขี นาดใหญ่
3. การตรวจทางห้องปฏบิ ตั ิการและตรวจพิเศษ

3.1 การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ CBC เพื่อประเมิน RBCs, Hb, Hct รวมถึง serum B12
และ stool occult blood เพอ่ื ประเมนิ เลือดทอ่ี อกในทางเดินอาหาร

3.2 การตรวจพเิ ศษ ไดแ้ ก่
- การกลืนแป้งสารทบึ รงั สี (radiographic barium studies: GI series)
- การตรวจระบบทางเดนิ อาหารสว่ นตน้ โดยการสอ่ งกล้องและการส่งตรวจชน้ื เนอ้ื ทาง

พยาธวิ ทิ ยา (endoscopic or gastroscopy examination and biopsy)
- การตรวจเอกซเรยค์ อมพิวเตอร์ (CT scan)
- การส่องกลอ้ งอัลตร้าซาวน์ (endoscopic ultrasonography)
- การตรวจหาการกระจายและปรมิ าณความผิดปกติของสารเภสชั รงั สโี พสิตรอน

(position emission tomography: PET scan)
- การตรวจสารบง่ ชี้การเปน็ มะเรง็ (carcinoembryonic antigen: CEA) ซ่ึงในโรคมะเรง็

กระเพาะอาหาร คอื carbohydrate antigen 19-9 tumor marker (CA19-9) ค่าปกตคิ อื นอ้ ยกว่า 37
units/ml หากมากกว่าอาจจะเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารหรือมะเร็งในระบบทางเดนิ อาหารอน่ื ๆ ได้ เช่น มะเร็งลำไส้
ตับอ่อน หรือนิ่วในถุงน้ำดี

การรกั ษาดว้ ยการผ่าตดั
การผ่าตัดกระเพาะอาหาร (gastrectomy) แบง่ เปน็ 3 ประเภท ไดแ้ ก่
1. Antrectomy คือผ่าตัดกระเพาะอาหารส่วน Antrum ออก แล้วเชื่อมต่อกระเพาะอาหารกับ

ลำไส้เล็กสว่ น Duodenal (Billroth l Gastrectomy) หรือ jejunal (Billroth ll Gastrectomy)

40

2. Total gastrectomy คือการผ่าตัดกระเพาะอาหารออกทั้งหมดเชื่อม (Anastomosis) ระหว่าง
หลอดอาหารกบั ลำไส้เล็กสว่ น jejunum เรียกวา่ Esophageal Jejunal Anastomosis

3. Partial gastrectomy หรือ Subtotal gastrectomy คือการผ่าตัดกระเพาะอาหารออก
บางสว่ นและเชื่อมตอ่ (Anastomosis) ระหวา่ งลำไส้เล็กกับกระเพาะอาหาร

ภาวะแทรกซอ้ นที่อาจพบได้ภายหลงั การผา่ ตดั Gastrectomy คอื ภาวะ Dumping syndrome แบ่ง
ออกเป็น 2 ระยะ ดงั นี้

1. Early dumping syndrome มักจะพบบ่อยในการทำ gastrectomy with billroth II reconstruction
สาเหตเุ กดิ มาจากมี rapid gastric emptying time มักอาการ 10-30 นาทีภายหลงั รับประทานอาหาร ทฤษฎขี องการ
เกิด dumping syndrome เชื่อว่า เมื่อมีการทำ bypass หรือ resection ของ stomach ทำให้ pyloric function
impairment เป็นผลให้อาหารที่รับประทานเข้าไป (hyperosmolar chyme) ผ่านลงสู่ลำไส้เล็กส่วนต้นเร็วขึน้ ทำให้
มีการ shift ของ extracellular fluid เข้าสู่ intraluminal of intestine อย่างรวดเร็วทำให้มีการลดลงของ
intravascular volume จนร่างกายตอบสนองด้วยการหลั่งสารส่ือสารทางประสาท ได้แก่ serotonin, neurotensin
และ vasoactive intestinal polypeptide ทำใหเ้ กิดอาการทาง vasomotor ได้ เชน่

- Epigastric Fullness (ปวดหรือแน่นท้องบริเวณใต้ล้ินป่ี)
- Nausea/Vomiting/dizziness (คลน่ื ไส้ อาเจยี น เวยี นศรี ษะ)
- Abdominal Cramping (ปวดเกร็งหนา้ ท้อง)
- Diaphoresis (เหง่อื ออกมาก)
- Blurred vision (มองเหน็ ภาพไมช่ ดั )
- Palpitation, Tachycardia (ใจสนั่ หัวใจเต้นเรว็ )
2. Late dumping syndrome อาการมักจะเกดิ 1-3 ชั่วโมงภายหลังรบั ประทานอาหารอาการโดยทั่วไป
จะมีลักษณะของ vasomotor symptoms แต่จะไม่มี abdominal cramping พบมีภาวะ postprandial
hypoglycemia สาเหตุเนื่องมาจากอาหารที่มี carbohydrate สูงผ่านลงสู่ลำไส้เล็กอย่างรวดเร็ว จะกระตุ้นให้มีการ

หลั่ง enteroglucagon จากลำไส้เล็ก ซึ่งส่วนดังกล่าวจะไปกระตุ้น β-cell ของ pancreas ให้มีการหลั่ง insulin
เกดิ ขึน้ และ sensitive มากขึน้ กว่าเดิมทำให้เกิด hypoglycemia ตามมา

ตัวอย่างข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลก่อนผ่าตัด ภาวะวิกฤติของเลือดออกในทางเดินอาหารน้ันคือชอ็ ค
จากเลือดออกเป็นปริมาณมากและเสียชีวิตได้ ดังนั้นพยาบาลควรประเมนิ และติดตามปริมาณเลือดท่ีออกจากทางเดิน
อาหาร รวมถงึ อาการและอาการแสดงของภาวะช็อค จึงสามารถพบวนิ ิจฉัยทางการพยาบาลได้ ดงั น้ี

ข้อวินิจฉยั ทางการพยาบาลขอ้ ที่ 1: มีภาวะปรมิ าณเลือดออกจากหัวใจในหน่ึงนาทลี ดลงจากการเสีย
เลือดในระบบทางเดินอาหาร

กิจกรรมการพยาบาล
1. ประเมนิ ระดบั ความร้สู กึ ตัว วดั สัญญาณชีพ เพอ่ื ประเมนิ ภาวะช็อคจากการเสียเลือด
2. สังเกต ติดตามปริมาณปัสสาวะที่ออกในแต่ละ 1 ชั่วโมง หากน้อยกว่า 0.5-1 cc/Kg/hr. ควร

รายงานแพทย์
3. ดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ และเลือดทดแทน พร้อมทั้งตรวจสอบความถูกต้องของ

การให้เลอื ด ดูแลหลงั ได้รับการให้เลอื ด เชน่ สังเกตอาการแพเ้ ลือดอยา่ งใกลช้ ิด

41

4. บันทึก ปริมาณสารนำ้ เข้า-ออก รา่ งกาย
5. ทำการสวนล้างกระเพาะอาหารอย่างนุ่มนวล และสังเกตสี และลักษณะของ content เพ่ือ
ประเมินปริมาณเลอื ดทีอ่ อกจากทางเดนิ อาหารได้
6. ดูแลให้งดน้ำและอาหาร พร้อมทั้งอธิบายเหตุผลของการรักษาให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจเพื่อเกิด
ความร่วมมือในการรักษา
ตัวอย่างข้อวินิจฉยั การพยาบาลหลังการผา่ ตัดกระเพาะอาหาร ในระยะ 24 ชั่วโมงแรกนั้นให้การดูแล
หลังผา่ ตัดทว่ั ไปเน้นภาวะตกเลือดหลงั การผ่าตดั หลงั จากน้ันควรระมัดระวงั สังเกตการณ์ตดิ เชื้อที่แผลผ่าตัดซึ่งได้กล่าว
ไปแล้วในหัวข้อการพยาบาลก่อนและหลังผ่าตัด ในหัวข้อน้ีจึงขอกล่าวการพยาบาลหลังผ่าตัดที่เฉพาะเจาะจงกับการ
ผา่ ตัดกระเพาะอาหาร ดงั ตอ่ ไปน้ี
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่ 1: เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดรักษาแผลในกระเพาะ
อาหาร: Dumping Syndrome
กิจกรรมการพยาบาล
1. สงั เกตอาการและอาการแสดงของภาวะ dumpling syndrome
2. ให้คำแนะนำในการปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระเพาะอาหาร โดยการรักษาหลักข อง
ภาวะ dumping syndrome คือ dietary modification มีหลกั การดังน้ี
1) ไม่รับประทานอาหารที่เป็นของเหลวและของแข็งปนกัน (Liquid & solid Diet) เช่น นม ครีม
ตา่ งๆ
2) หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำหรือของเหลวระหว่างรับประทานอาหาร โดยให้ดื่มน้ำหลังจากรับประทาน
อาหารอย่างน้อย 30 นาที
3) ปรมิ าณอาหารควรเพ่มิ เปน็ อยา่ งนอ้ ย 6 มือ้ ต่อวัน
4) ลดอาหารประเภท carbohydrates หรือรับประทานเป็น complex form มากกว่า simple
carbohydrate
5) เนน้ อาหารทีม่ โี ปรตีน และไขมนั สูง เพ่ือให้ได้พลงั งานตามท่ีตอ้ งการ
6) อาหารท่มี ี fiber ตา่ งๆ ช่วยลดอาการของ late hypoglycemia
7) บางรายอาจแนะนำให้นอนราบเป็นเวลา 30 นาทีหลังรับประทานอาหาร เพื่อลดอาการ
syncope โดยสามารถลด gastric emptying และชว่ ยเพม่ิ venous return
3. ดูแลให้ผู้ปว่ ยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ หรือให้อาหารทางสายยางให้อาหารตามแผนการรักษา
เพ่อื ใหผ้ ปู้ ่วยไดร้ ับสารอาหารเพียงพอกบั ความตอ้ งการของร่างกาย
4. บนั ทกึ ปริมาณน้ำเขา้ นำ้ ออก เพ่อื เฝ้าระวังการขาดน้ำ

6. ภาวะลำไส้อดุ ตนั (Intestinal Obstruction)

คือ ภาวะที่การเคลื่อนที่ภายในท่อลำไส้จากส่วนต้นไปสู่ส่วนปลายถูกขัดขวางมีทั้งแบบอุดตันทั้งหมด
(complete obstruction) และอดุ ตันบางสว่ น (partial obstruction)

42

สาเหตแุ ละปจั จยั เส่ียง
การอักเสบ เนื้องอก พังผืดมักพบในผู้ที่มีประวัติการผ่าตัดในช่องท้อง ไส้เลื่อน ลำไส้กลืนกัน การอุดตนั
จากอาหารหรอื มกี ารกดลำไส้เลก็ จากภายนอก ลำไสอ้ ืด มะเร็งลำไสใ้ หญ่ หรอื มกี ารอดุ ตนั ของเสน้ เลือด
พยาธสิ รรี วทิ ยา

1. การเปลี่ยนแปลงการไหลเวียนเลือดของผนังลำไส้ คือ เมื่อเกิดการบีบรัดของลำไส้ไส้เลื่อน เนื้อ
งอก การบิดเป็นเกลียวและลำไส้กลืนกัน ทำให้ลำไส้ขาดเลือดซึ่งจะมีผลต่อการขนส่งดูดซึมอาหาร และลำไส้เสีย
คณุ สมบตั ใิ นการปอ้ งกนั แบคทเี รียของผนงั ลำไส้ หากไมม่ กี ารรกั ษาเกิดการเนา่ ตายของลำไส้ ลำไสท้ ะลุ เยอ่ื บุช่องท้อง
อกั เสบหรอื การตดิ เชื้อในกระแสเลือดตามมา

2. การเปลี่ยนแปลงของแบคทีเรียในลำไส้ทำให้มีการสะสมของเชื้อโรคและเชื้อเจริญเติบโต มีการ
ทำลายผนงั ลำไสเ้ ปน็ แผลเกดิ การเน่าตายเช้อื ผา่ นออกส่ชู อ่ งท้องและกระแสเลือด เกิดชอ็ คจากการติดเชอ้ื

3. การเปลยี่ นแปลงของสารน้ำในลำไส้ เมอื่ มกี ารอดุ ตันของลำไสจ้ ะมีการสะสมของน้ำและอิเล็คโตร
ไลทเ์ หนือสว่ นท่อี ุดตันทำให้ลำไสพ้ องออกเป็นผลให้แน่นท้อง อาเจียนร่วมกบั รับประทานได้นอ้ ยและการขยายตัวของ
หลอดเลอื ดในช่องทอ้ งทำให้ปรมิ าณเลือดลดลงเกดิ ภาวะช็อค

4. การเปลี่ยนแปลงการบบี ตัวของลำไส้ ซึ่งช่วงแรกของการอุดตนั ลำไส้จะมีการบบี ตัวแรง หลังจาก
นน้ั รเี ฟลก็ ซย์ บั ยงั้ ของลำไสจ้ ะทำให้การบบี ตัวของลำไส้ลดลง และไม่มกี ารบีบตวั

อาการและอาการแสดง
1. ปวดท้อง เป็นอาการนำของลำไสอ้ ุดตันปวดแบบบดิ (colicky pain) และรนุ แรงข้นึ ตามตำแหน่ง

ท่มี กี ารอดุ ตัน
2. คล่นื ไส้ อาเจยี น ทอ้ งอดื แนน่ ท้องมกั เกดิ ร่วมกับอาการปวดทอ้ ง หากมกี ารอุดตันในลำไสส้ ว่ นต้น

จะมอี าการแน่นทอ้ งเล็กนอ้ ย อาเจยี นมลี กั ษณะนำ้ ดปี น หากมกี ารอุดตนั ในลำไสส้ ่วนลา่ งจะมอี าการแน่นทอ้ งมากและ
อาเจยี นในระยะหลงั จะมอี ุจจาระปน

3. ถา่ ยอุจจาระผิดปกติ เชน่ ทอ้ งผกู ท้องเสยี ถา่ ยเปน็ มกู เลือด อุจจาระก้อนเลก็ มกั เกิดในการมกี าร
อดุ ตันของลำไส้บางส่วน (partial obstruction)

4. ท้องผูก ทั้งการอุดตันของลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็กอย่างสมบูรณ์ (complete obstruction) ใน
ระยะแรกอาจจะผายลมหรอื ถา่ ยอจุ าระทีต่ กค้างอยไู่ ด้แตใ่ นระยะต่อมาไมส่ ามารถถ่ายหรือผายลมได้

5. การขาดน้ำ (dehydration) เนือ่ งจากลำไส้สูญเสียหน้าท่ใี นการดูดซึมนำ้ และอเิ ลค็ โตรไลทร์ ว่ มกบั
มีอาการอาเจียนจึงส่งผลให้เพิ่มการสูญเสียน้ำและอิเล็คโตรไลท์ในร่างกาย หากอาการขาดน้ำรุนแรง อาจทำให้เกิด
ภาวะช็อค (hypovolemic shock) ในกรณีที่มีการอุดตันของลำไส้เล็กส่วนต้นซึ่งการสูญเสียหน้าที่ในการดูดซึมกลับ
ของ hydrogen ions ทำให้เกดิ ภาวะ metabolic alkalosis ได้ หรือมกี ารอดุ ตันของลำไส้สว่ นลา่ งซ่งึ สญู เสียหนา้ ทีใ่ น
การดดู ซึมกลบั ของ bicarbonate จากตับออ่ นและนำ้ ดี ทำใหเ้ กิดภาวะ metabolic acidosis

การประเมินสภาพ
1.ซักประวัติอาการ อาเจียนลักษณะของสิ่งที่อาเจียนออกมา สี กลิ่น ท้องอืด ตำแหน่งของอาการ

ปวดท้อง และความรุนแรง การขับถ่ายอุจจาระที่ผิดปกติ รวมทั้งประวัติการเจ็บป่วยในอดีต การเป็นไส้เลื่อน การ
ได้รบั การผา่ ตดั ทางหน้าท้อง

43

2.การตรวจรา่ งกาย อาจมองเห็นการเคลอื่ นไหวของลำไสใ้ นรายท่ีผอมมาก พบรอยแผลจากการได้รบั
การผา่ ตดั คร้ังก่อน ท้องแข็ง กดเจ็บ โป่งตงึ ฟงั ไดเ้ สยี งลำไส้เคลอื่ นไหวดงั มากมักสมั พันธ์กบั อาการปวดทอ้ ง

3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจหาระดับเกลือแร่ในเลือด พบโซเดียม แมกนีเซียมและ
โพแทสเซียมลดลงจากการไม่สามารถดูดซึมสารอาหารและอิเล็คโตรไลท์ได้ หากมีภาวะชอ็ คจะพบปัสสาวะออกน้อย
มีสเี ขม้ ตรวจค่าความถว่ งจำเพาะปสั สาวะสูงกว่าปกติ

4.การตรวจพิเศษ อัลตราซาวด์ (ultrasound) หรือกลืนสารทึบรังสีแบเรียม (barium swallow)
หรอื การสอ่ งกล้องเข้าไปในสำไส้ (endoscope) มักพบการตบี แคบของลำไส้ กอ้ นเนอื้ งอก เปน็ ต้น

การรักษา รักษาด้วยการผ่าตัดกรณีทีม่ ีการอุดกั้นอย่างสมบูรณ์และไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอ่นื ได้ผลโดย
ตัดลำไส้และเนื้อเยื่อสว่ นที่ขาดเลือดและเน่าตายออก แล้วนำส่วนที่มีสภาพดีมาต่อกัน เช่น การผ่าตัดลำไส้เลก็ ส่วนที่
อุดตันออกและเยบ็ ตอ่ ลำไส้ส่วนทีป่ กติ

การรักษาแบบประคบั ประคอง (supportive treatment)
- การใส่สายสวนจากจมูกลงสู่กระเพาะอาหารดูดสารที่คั่งค้างออกและพักกระเพาะอาหารและ

ลำไส้ส่วนนน้ั
- การงดอาหารและนำ้ ทางปากจนกวา่ การอักเสบของลำไสส้ ว่ นทอ่ี ดุ กน้ั ดีขนึ้
- การใหย้ าลดการขบั หล่ังกรดจากกระเพาะ และการให้ยาปฏิชีวนะ
- ให้สารน้ำและเกลือแร่ หรือสารอาหารชดเชยทางหลอดเลือดดำ เพื่อแก้ไขภาวะเสียสมดุลน้ำ

และเกลอื แร่
ตวั อยา่ งขอ้ วนิ จิ ฉัยทางการพยาบาล
ข้อวินิจฉยั ทางการพยาบาลข้อท่ี 1: ไมส่ ุขสบายปวดทอ้ งอย่างรนุ แรงเนือ่ งจากลำไสเ้ คลอ่ื นไหวเพมิ่ ข้นึ
ข้อวนิ ิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่ 2: เสีย่ งตอ่ ภาวะชอ็ คเนอื่ งจากขาดสารน้ำอย่างรุนแรง
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่ 1: ไม่สุขสบายปวดท้องอย่างรุนแรงเนื่องจากลำไส้เคลื่อนไหว

เพม่ิ ขึ้น
กจิ กรรมการพยาบาล
1. ประเมินอาการปวด ระดับของอาการปวดด้วย pain score
2. ดูแลให้งดนำ้ งดอาหารเพื่อลดการทำงานของลำไส้
3. ดูแลการได้รับการใส่ท่อระบายของเหลวทางจมูก (NG tube with suction) เพื่อระบายเศษ

อาหาร บรรเทาอาการอึดอัดแน่นท้อง
ข้อวนิ ิจฉยั ทางการพยาบาลขอ้ ท่ี 2: เสยี่ งตอ่ ภาวะชอ็ คเนอ่ื งจากขาดสารน้ำอยา่ งรนุ แรง
กิจกรรมการพยาบาล
1. ประเมินอาการขาดนำ้ และเกลือแร่ ปากแห้ง ผิวหนังเห่ียว ปัสสาวะออกนอ้ ย ติดตามผล

ตรวจทางห้องปฏบิ ตั กิ าร เชน่ โซเดียม แมกนเี ซียม และโพแทสเซยี ม
2. ประเมนิ สัญญาณชพี โดยเฉพาะค่า ความดนั โลหติ ชีพจร
3. ประเมนิ ปริมาณ content ที่ออกจากสาย NG เพื่อประเมินการสูญเสยี สารนำ้ ออกจากร่างกาย
4. ดูแลให้ได้รับสารน้ำทดแทนอย่างเพียงพอ ควบคุมการไหลของสารน้ำอย่างเหมาะสมตาม

แผนการรักษา

44

5. ติดตามและบันทึกปริมาณปัสสาวะทุก 1 ชั่วโมง โดยหากปริมาณปัสสาวะน้อยกว่า 0.5-1
ml/Kg/hr. แสดงถงึ ภาวะชอ็ ค

6. สำหรบั การพยาบาลหลังผ่าตัดตดั ต่อลำไส้ในภาวะลำไสอ้ ดุ ตนั น้นั ให้การพยาบาลเชน่ เดยี วกันกับ
การพยาบาลหลงั ผ่าตัดในผปู้ ่วยท่มี ีภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร และมีการรักษาดว้ ยการผ่าตดั ตัดตอ่ ลำไส้

7. ไส้ต่ิงอักเสบ (Appendicitis)

พยาธิสรีรวิทยาไส้ติ่งอักเสบเกิดจากการอุดกั้นของช่องไส้ติ่ง อาจมีกากอาหารอุด หรือแบคทีเรียที่อยู่ใน
ลำไส้เพิ่มจำนวน ทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อรุนแรง ถ้าการอักเสบแพร่กระจายไปทั่วเยื่อบุช่องท้อง ( generalized
peritonitis) จะเกดิ เยื่อพังผืด (fibrosis) การบีบรัดของเยอ่ื พังผดื ทำใหเ้ กิดการอุดกน้ั ลำไส้ หรอื บริเวณไสต้ ิ่งได้ หากไม่
รีบรักษา ความดันในชอ่ งไสต้ ิ่งเพ่ิมขึน้ ทำใหผ้ นังเยื่อบุตายจากการขาดเลือดมาเล้ียงและแตกทะลุได้

อาการและอาการแสดง
1. ปวดท้องเพม่ิ ขึน้ เรอื่ ยๆ บริเวณท้องน้อยด้านขวา
2. กดเจ็บทต่ี ำแหนง่ ท้องนอ้ ยด้านขวาระหว่างสะดือกับขอบเชิงกราน (Mc. Burney’s point)
3. อาจมอี าการคลน่ื ไส้อาเจยี นร่วมดว้ ย
4. มีไขต้ ำ่ ๆ ถึงปานกลาง

การประเมินสภาพ การซักประวัติ ผู้ป่วยมักจะมีประวัติปวดท้อง การเคลื่อนไหวทำให้ปวดมากขึ้นบางราย
อาจมอี าการคลืน่ ไส้ อาเจยี น ท้องเสียร่วมดว้ ยมไี ขต้ ่ำๆ

1.การตรวจร่างกาย พบวา่ จะกดเจบ็ และกดแล้วปลอ่ ยเจ็บ (rebound tenderness) บรเิ วณบริเวณ
ท้องน้อยด้านขวา

2.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ จาก CBC พบว่าเมด็ เลือดขาวสงู กว่าปกติ
3. การตรวจทางรังสี โดยการเอ็กซเรย์ช่องท้องอาจพบเงาของ fecalith หรือ localized ileus ที่
RLQ
การรกั ษา
1.ไส้ต่ิงอักเสบถอื เป็นภาวะทเ่ี ร่งดว่ นรักษาโดยการผา่ ตดั เอาไสต้ ิ่งออก (Appendectomy) โดยดว่ น
2. กรณีที่มีการแตกของไส้ติ่งก่อนผ่าตัด จะให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ เพื่อป้องกันเยื่อบุช่อง
ท้องอักเสบ และภาวะตดิ เช้ือในกระแสเลือด
3. ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเพอ่ื ป้องกนั ภาวะช็อคจากขาดนำ้
4. ในกรณที ่ีมอี าการทอ้ งอดื มาก ใสส่ ายสวนจากจมูกลงสูก่ ระเพาะอาหารเพ่อื ดูดสารคดั หลั่งและส่ิงที่
คง่ั ค้างภายในกระเพาะอาหารออก
ภาวะแทรกซ้อน
1. การแตกทะลุ การเกิดฝี (appendiceal abscess) และเยื่อบุช่องท้องอักเสบทั่วไป (generalizes
peritonitis) ในกรณีไส้ต่ิงแตกเฉยี บพลัน
2. ภาวะแทรกซ้อนในระยะหลงั เช่น ภาวะลำไส้อดุ ตันเน่อื งจากมพี งั ผดื (adhesion)

45

การใหก้ ารพยาบาลผปู้ ่วยไส้ตงิ่ อักเสบ พยาบาลต้องมที ักษะในการประเมินสภาพโดยเฉพาะการตรวจรา่ งกาย
เพือ่ ประเมินภาวะแทรกซ้อนคือ มไี ส้ตง่ิ แตก (rupture appendices) ขณะที่ผู้ปว่ ยรอรับการผา่ ตดั ทำให้เกิดภาวะเย่ือ
บชุ ่องท้องอักเสบตามมาถอื ว่าเปน็ ภาวะวิกฤติมีอนั ตรายถึงชวี ิตได้ (กลา่ วในหัวข้อต่อไป)

ตวั อยา่ งข้อวนิ ิจฉัยทางการพยาบาลกอ่ นผ่าตดั
ขอ้ วนิ จิ ฉัยทางการพยาบาลข้อท่ี 1: ไมส่ ขุ สบายปวดเนือ่ งจากการไสต้ ิ่งอักเสบ
ขอ้ วินิจฉัยทางการพยาบาลข้อท่ี 2: เส่ียงต่อการได้รับอันตรายจากการแตกทะลุของไส้ติง่
ขอ้ วินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่ 1: ไม่สุขสบายปวดเน่อื งจากการไส้ติ่งอักเสบ
กจิ กรรมการพยาบาล

1.ประเมนิ อาการปวด ประเมิน pain score แนวโนม้ ของระดบั ความเจบ็ ปวดเพิ่มขึน้ หรือไม่ประกอบ
กบั การประเมนิ abdominal signs เพอื่ ติดตามการเกิดภาวะแทรกซอ้ น คอื เยื่อบุชอ่ งท้องอกั เสบ

2.หลีกเลี่ยงการให้ยาลดปวดเนื่องจากจะทำให้ปิดบังอาการและไม่สามารถประเมินภาวะเยื่อบุช่อง
ท้องอักเสบได้ ให้คำแนะนำในการบรรเทาปวด เช่น การเบี่ยงเบนความสนใจ การกำหนดลมหายใจ หรือ การจัดท่า
นอนให้ผปู้ ่วยอยู่ในท่าท่ีสขุ สบายมากท่สี ุด

3.อธิบายแผนการรักษาของแพทย์ และให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวก่อนและหลังผ่าตัดเพื่อให้ผู้ป่วย
คลายความวิตกกงั วล และใหค้ วามรว่ มมอื ในการรกั ษา

ขอ้ วนิ จิ ฉัยทางการพยาบาลข้อท่ี 2: เส่ียงต่อการได้รบั อนั ตรายจากการแตกทะลุของไส้ต่ิง
กจิ กรรมการพยาบาล

1. ประเมินอาการ อาการแสดง และ abdominal signs ของการเกิดภาวะแทรกซ้อน คือ
การแตกทะลุของไส้ติ่ง และเยอื่ บชุ ่องทอ้ งอกั เสบ

2. ลดการกระตุ้นของลำไส้ งดเว้นการสวนอุจจาระในการเตรียมผู้ป่วยเข้าห้องผ่าตัด และจำกัด
กิจกรรม ให้ผปู้ ว่ ยนอนพักบนเตยี งเท่าน้นั

วนิ ิจฉยั ทางการพยาบาลระยะหลังผ่าตัด ในระยะนข้ี ้อวนิ ิจฉยั การพยาบาลและกิจกรรมการพยาบาลมักพบ
เช่นเดียวกับหลังการผ่าตัดทั่วไป แต่ข้อแตกต่างคือ ในผู้ป่วยที่มีแตกทะลุของไส้ติ่ง แพทย์จะทำการเย็บแผลโดยท่ยี งั
ไม่ได้เยบ็ ปดิ ผิวหนังทหี่ นา้ ท้อง (delayed primary suture) จะต้องทำแผลแบบ wet dressing

8. เยอ่ื บชุ ่องท้องอักเสบ (Peritonitis)

คือ ภาวะที่มีการอักเสบของเยื่อบุช่องท้องเนื่องจากได้รับเชื้อแบคทีเรียซึ่งมาจากการแตกทะลุของอวัยวะ
ต่างๆ ในชอ่ งท้อง นอกจากนยี้ งั เกดิ จากการอกั เสบตดิ เช้อื ของอวัยวะภายนอกเยอื่ บุช่องทอ้ งได้

สาเหตทุ พี่ บไดบ้ อ่ ย
1. การทะลุของแผลในระบบทางเดนิ อาหาร เช่น กระเพาะอาหารมแี ผลทะลุ
2. ตับออ่ นอกั เสบเฉยี บพลนั
3. ไส้ตงิ่ อกั เสบเฉยี บพลันและมีการแตกทะลเุ กิดขึ้น
4. ท่อรงั ไขอ่ กั เสบเฉียบพลนั

46

5. ถุงนำ้ ดอี ักเสบเฉยี บพลนั
6. ถกู แทง ถูกยงิ
พยาธิสรีรวิทยา เยื่อบุช่องท้องอักเสบเกิดจากมีการรั่วของสิ่งคัดหลั่งของอวัยวะในช่องท้องออกสู่ช่องท้อง
จากการอักเสบ หรือ แผล อุบัติเหตุ เมื่อมีการอักเสบในช่องท้องทำให้มีเลือดมาเลี้ยงบริเวณส่วนนั้นมากเพื่อให้เม็ด
เลือดขาวทำลายเช้อื มีการเพิม่ ขนึ้ ของเม็ดเลอื ดขาว โปรตีน เนือ้ เยื่อท่ตี ายแลว้ เกิดการคง่ั ของนำ้ และแก๊สในลำไส้เพ่ิม
ความดนั ในท่อลำไส้ เนอ้ื เยื่อตา่ งๆ จะบวม ความดันในช่องทอ้ งเพิ่มข้ึนจึงดนั กล้ามเน้ือกระบังลมทำใหห้ ายใจลำบาก
อาการและอาการแสดง
1. ปวดทว่ั ท้อง ปวดเสียดอย่างรนุ แรง ผ้ปู ว่ ยมักปวดจนตัวงอ
2. กลา้ มเน้ือหน้าทอ้ งแข็ง ตงึ (Guarding) กดเจ็บ (tenderness)
3. ไม่สขุ สบาย แนน่ ท้อง คล่นื ไส้อาเจยี น
4. มอี าการของรา่ งกายขาดน้ำ เชน่ ปากแห้ง ผิวแห้ง
การประเมนิ สภาพ
1. ซกั ประวตั ิอาการปวด ลักษณะอาการปวด ความรนุ แรงของการปวด
2. ตรวจทอ้ งจะพบทอ้ งตงึ แข็ง กดเจ็บ ฟงั เสียงลำไสเ้ คลือ่ นไหวน้อย หรือไม่มกี ารเคล่ือนไหว
3. การตรวจทางหอ้ งปฏิบัติการ พบ WBC สงู มากโดยเฉพาะ neutrophil สูง และระดับอิเลค็ โตรไลท์ใน
เลือดผิดปกติ การตรวจเพาะเชอ้ื ในเลือดพบเช้ือ
4. การเอกซเรย์พบวา่ ลำไสใ้ หญ่ และลำไสเ้ ล็กมกี ารโป่งพอง
การรกั ษา
การรักษาแบบประคับประคอง
1. รกั ษาภาวะสมดลุ ของน้ำและอเิ ล็คโตรไลท์ โดยการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำป้องกันภาวะชอ็ คจาก
การขาดนำ้
2. ใส่ nasogastric tube ระบายสิ่งคัดหลั่ง และแกส๊ เพอ่ื ลดความดนั ในกระเพาะอาหารและลำไส้
3. ให้ยาแก้ปวดเพอื่ ลดอาการปวด เชน่ morphine และใหย้ าปฏชิ วี นะซงึ่ ให้ในขนาดสูง เช่น penicillin
รว่ มกับ tetracycline หรือ clindamycin
4. ให้ออกซิเจนในรายท่มี กี ารหายใจลำบาก
การรกั ษาแบบผ่าตดั
ผ่าตัดเปิดเข้าไปในช่องท้อง (Exploratory laparotomy: Explore-lap) แล้วทำการ Irrigation of the
peritoneal cavity เพื่อล้างช่องท้องโดยใช้น้ำเกลือขจัด content จากกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก ขจัดพวกเน้ือ
ตาย และสารเหลวท่ีอยู่ในเย่ือบชุ อ่ งท้อง
ตัวอยา่ งข้อวนิ ิจฉยั ทางการพยาบาลกอ่ นการผา่ ตดั
ข้อวนิ จิ ฉัยทางการพยาบาลขอ้ ท่ี 1: เสี่ยงต่อภาวะช็อค เนือ่ งจากมีการสูญเสยี นำ้ เขา้ สเู่ ยอ่ื บุช่องท้องและหรือ
เกิดการติดเชอ้ื ในเยอ่ื บุชอ่ งทอ้ ง
ข้อวนิ จิ ฉยั ทางการพยาบาลขอ้ ที่ 2: ไม่สขุ สบายปวดเนื่องจากการอักเสบในช่องท้อง และการขยายของชอ่ งทอ้ ง
ขอ้ วินิจฉัยทางการพยาบาลข้อท่ี 3: เสี่ยงต่อภาวะเน้ือเย่ือไดร้ ับออกซิเจนไมเ่ พียงพอเนื่องจากกระบังลมถูกดัน

47

ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่ 1: เสี่ยงต่อภาวะช็อคเน่ืองจากมีการสญู เสียน้ำเข้าสู่เยือ่ บุช่องท้องและ
หรือเกิดการตดิ เช้อื ในเยอ่ื บุช่องทอ้ ง

กิจกรรมการพยาบาล
1. ดแู ลให้ไดร้ บั ยาปฏิชีวนะตามแผนการรกั ษา
2. ประเมนิ อาการขาดนำ้ ไดแ้ ก่ ปากแหง้ ผิวหนงั เหย่ี ว ปสั สาวะออกน้อย และระดับความรู้สกึ ตัว
3. ประเมินสัญญาณชพี ทกุ 1 ชัว่ โมง ตดิ ตามและบันทกึ จำนวนปัสสาวะทุก 1 ชวั่ โมง
4. ประเมนิ ปรมิ าณ content ทีอ่ อกจากสาย NG เพ่อื ประเมนิ การสญู เสียสารน้ำออกจากร่างกาย
5. ดูแลให้ไดร้ ับสารนำ้ ทดแทนอยา่ งเพยี งพอ ควบคมุ การไหลของสารน้ำอยา่ งเหมาะสม
6. ติดตามประสิทธิภาพการทำงานของไตจากปริมาณการไหลเวียนร่างกายลดลงจากค่า BUN Cr

และ GFR
7. ดแู ลใหไ้ ดร้ ับการตรวจทางหอ้ งปฏิบตั กิ าร เชน่ hemoculture, blood lactate

ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่ 2: ไม่สุขสบายปวดเนื่องจากการอักเสบในช่องท้อง และการขยายของ
ชอ่ งทอ้ ง

กิจกรรมการพยาบาล
1. ประเมนิ อาการปวด ระดบั ความเจบ็ ปวด
2. ดแู ลใหไ้ ดร้ ับยาปฏิชวี นะและยาลดปวดตามแผนการรักษา

ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่ 3: เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเย่ือไดร้ ับออกซิเจนไม่เพียงพอเน่ืองจากกระบังลม
ถูกดนั

กิจกรรมการพยาบาล
1. จัดท่านอนศรี ษะสงู เพือ่ ชว่ ยใหป้ อดขยายตัวไดม้ ากข้นึ
2. ดูแลใส่ nasogastric tube ตอ่ ลงถงุ หรอื ต่อกบั เครอ่ื งดูดแบบต่อเนื่อง
3. ดแู ลช่วยเหลอื กิจกรรมของผู้ปว่ ย ให้ผูป้ ่วยได้รบั การพกั ผ่อนเพอ่ื ลดการใช้ออกซิเจน
4. สงั เกตระดับความรู้สกึ ตัว ลกั ษณะการหายใจ สผี ิวบรเิ วณรมิ ฝปี าก เย่ือบตุ า เลบ็ มือ วดั O2 sat

วินิจฉัยทางการพยาบาลหลังผ่าตัด วินิจฉัยการพยาบาล และการพยาบาลหลังผ่าตัดนั้นคล้ายกับการ
พยาบาลในหวั ข้อไส้ต่ิงอักเสบทไ่ี ด้กล่าวไปแล้วข้างตน้

9. ไสเ้ ลอ่ื น (Hernia)

คือ ภาวะที่ก้อนของอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง หรืออวัยวะในช่องท้องเคลื่อนที่ผ่านโพรงหรือยื่นเข้าไปในช่อง
เปิดทางช่องทอ้ ง หรือมกี ารออ่ นแอของเนื้อเยื่อแผ่น (fascia) ในผนังชอ่ งท้อง สว่ นท่ยี ่ืนเขา้ ไปอาจเปน็ ไขมันเยือ่ บุช่อง
ท้อง (peritoneal fat) ส่วนโค้งของลำไส้ (Loop of bowel) เยื่อแขวน (Omentum) หรือส่วนของกระเพาะอาหาร
หรือกระเพาะปสั สาวะ สามารถแบ่งเป็น 5 ชนดิ

1.Indirect inguinal hernia เกิดจากความอ่อนแอของชอ่ งเปิดผนังหน้าทอ้ ง พบในเพศชายมากกว่า
เพศหญิง โดยในเพศชายเล่ือนผ่านเข้าไปทาง spermatic cord ลงไปอยู่ในลูกอัณฑะ และผ่าน round ligament ใน
เพศหญงิ ลงไปอยู่ในแคมนอก

48


Click to View FlipBook Version