The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

DDD009.พระพิมพ์สุโขทัย ในกรุงวัดราชบูรณะ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

DDD009.พระพิมพ์สุโขทัย ในกรุงวัดราชบูรณะ

DDD009.พระพิมพ์สุโขทัย ในกรุงวัดราชบูรณะ

36

ภาพจิตรกรรมอดีตพุทธเจา ท่ีวิหารพยาตองสู มีอายุอยูในราวตนพุทธศตวรรษที่1912 (ภาพที่ 14)
รวมถึงยังมีปรากฏในพระพิมพแบบลพบุรีบางพิมพ13 ความนิยมรูปแบบซุมเรือนแกวแบบดังกลาว
ยังคงมีเล่ือยมาในสมัยอยุธยาตอนตน เชน ซุมเรือนแกวปูนปนประดับปรางคประธาน วัดพระศรี
รตั นมหาธาตุ ลพบุรี 14ในคูหาปรางคมุมตะวนั ตกเฉยี งเหนือบนฐานไพทปี รางคม หาธาตุ วดั พระศรี
รัตนมหาธาตุ พระนครศรีอยุธยา15 (ภาพท่ี15) และภายในผนังมุขยื่นปรางคประธานวัดพระราม16
(ภาพท่ี16) จากหลักฐานทางศิลปกรรมในสมัยอยุธยาตอนตนท่ีเหลืออยูในปจจุบัน มีแนวโนมวา
รูปแบบซมุ ประภามณฑลแบบลอ ไปตามองคพ ระพุทธรูปมคี วามนิยมมากในสมัยอยธุ ยาตอนตน

ภาพที่ 14 จิตรกรรมภาพอดีตพทุ ธเจา ภายในวิหารพยาตองสู ศลิ ปะพกุ ามตอนปลาย
ที่มา : เชษฐ ติงสัญชลี, “สถาปตยกรรมอื่นๆ ประติมากรรม และ จิตรกรรมพุกาม,” (เอกสารคํา
สอนวิชา 317417 สัมมนาศิลปะในประเทศพมา ภาควิชาประวัติศาสตรศิลปะ คณะโบราณคดี
มหาวิทยาลัยศลิ ปากร, 2552), 80.

12 หมอ มเจา สภุ ทั รดศิ ดิศกุล และ สนั ติ เลก็ สขุ มุ , เท่ียวดงเจดียทพี่ มาประเทศผา น
ประวตั ิศาสตรศ ิลปะและวัฒนธรรม, พิมพคร้งั ที่ 2 (กรงุ เทพฯ : สาํ นักพมิ พมตชิ น, 2549), 156.

13 สันติ เลก็ สุขุม และ กมล ฉายาวฒั นะ, จติ รกรรมฝาผนงั สมยั อยธุ ยา (กรงุ เทพฯ : เจรญิ
วทิ ยก ารพมิ พ, 2524), 39-40.

14 สันติ เลก็ สขุ ุม, ววิ ัฒนาการของชั้นประดบั และลวดลายสมัยอยุธยาตอนตน (กรงุ เทพฯ
: อมรนิ ทรก ารพมิ พ, 2522), 48.

15 สนั ติ เลก็ สขุ มุ และ กมล ฉายาวฒั นะ, จติ รกรรมฝาผนังสมัยอยธุ ยา, 39-43.
16 เรอ่ื งเดยี วกนั , 38-39.

37

ภาพที่ 15 จติ รกรรมฝาผนังคูหาปรางคม ุมตะวนั ตกเฉยี งเหนือบนฐานไพทปี รางคม หาธาตุ
วัดมหาธาตุ พระนครศรีอยุธยา

ภาพที่ 16 จิตรกรรมภาพพระอดีตพทุ ธเจา บนผนังมขุ ยน่ื ปรางคประธานวดั พระราม
พระนครศรีอยธุ ยา

ทม่ี า : สนั ติ เลก็ สุขมุ และ กมล ฉายาวัฒนะ, จิตรกรรมฝาผนังสมัยอยธุ ยา (กรงุ เทพฯ : เจรญิ วทิ ย
การพิมพ, 2524), 34.

38

เราอาจพิจารณาความหมายของซุมเรือนแกวแบบดังกลาวออกเปน 2 ประการ17
ประการแรกหมายถึงประภามณฑล ที่เปนรัศมีท่ีเปลงออกมาโดยรอบพระวรกายของพระพุทธเจา
ประการที่ 2 เราอาจพิจารณาถึงความหมายของซุมเรือนแกว (รัตนฆระ) ตามหนังสือพระปฐม
สมโพธิที่ไดใหความหมายวา ในสัปดาหที่ 4 หลังการตรัสรู พระพุทธเจาทรงสถิตในรัตนฆระ
เรือนแกวท่ีลวนดวยพระสัทธรรม และทรงพิจารณาพระธรรมนั้นจนปรากฏพระฉัพพรรณรังสี
เปลงโอภาสแผออกจากพระสรีรกาย18 อยางไรก็ตามประภามณฑล หรือ เรือนแกว (รัตนฆระ)
ปรากฏรูปแบบเดียวกัน และไดถูกนํามาใชปะปนกันแตก็ไมทําใหความหมายผิดเพ้ียนนัก ทั้งน้ี
เพราะประภามณฑล หรอื เรอื นแกว ชางไดอ อกแบบเพื่อเสรมิ พทุ ธบารมีตามคัมภีร

ซุมทรงโคง มีลักษณะเปนกรอบซุมทรงโคงรอบพระวรกายของพระพุทธรูป
ดานบนกรอบซุมทาํ เปน รศั มีลักษณะเปน ครบี แหลมเรยี งรายรอบกรอบซุม ซึ่งอาจเปนลักษณะหน่ึง
ของรปู แบบประภามณฑลที่ปรากฏมาแลวในศิลปะคุปตะของอนิ เดยี (พุทธศตวรรษท่ี 9-11) และได
พัฒนารูปแบบตอเนอ่ื งมาจนเปนเอกลกั ษณข องสว นแผนหลังพระพุทธรปู ในศิลปะปาละ19

ในประเทศไทยเร่ิมปรากฏการทาํ ซมุ ทรงโคงประดับแผนหลังพระพุทธรูปในศิลปะ
ทวารวดี และมาพบอยางจริงจังในพระพุทธรูปศิลปะลพบุรี (ภาพท่ี17) โดยนาจะไดรับอิทธิพลมา
จากศิลปะปาละ จนกระทั่งในสมัยอยุธยาตอนตนก็ยังคงปรากฏรูปแบบซุมทรงโคงอยู เชน ซุม
ทรงโคงปูนปนในซุมจระนําเจดียทรงปราสาทยอด (ภาพที่18) และเจดียทรงปรางค วัดพระศรีรัต
นมหาธาตุ พระนครศรอี ยุธยา ซึ่งรปู แบบซมุ ดังกลา วนอี้ าจไดรับแรงบันดาลใจจากแหลงศิลปกรรม
ภายนอกแตปรับเปลี่ยนจนกลายเปนลักษณะเฉพาะของทองถิ่น20 หรือเปนรูปแบบที่พัฒนาสืบทอด
มาจากซมุ ทรงโคงในศลิ ปะลพบุรี

17 เรอ่ื งเดยี วกนั , 40.
18 สมเดจ็ กรมพระปรมานชุ ิตชโิ นรส, พระปฐมสมโพธกิ ถา ( กรุงเทพฯ : หางหนุ สว น
จาํ กดั อํานวยสาสนการพิมพ, 2549), 160-162.
19 เชษฐ ตงิ สญั ชล,ี “พระพุทธรปู ในศลิ ปะอินเดีย,” (เอกสารคําสอนวิชา 310 211ศิลปะ
อินเดยี และ 317 413 สมั มนาศลิ ปะอินเดยี ภาควชิ าประวตั ิศาสตรศลิ ปะ คณะโบราณคดี
มหาวทิ ยาลัยศลิ ปากร, 2550), 82-83.
20 อชริ ัชญ ไชยพจนพานิช, “ประภามณฑลรอบพระวรกายในงานปนู ปน วดั มหาธาตุ
และวดั ราชบูรณะ,” เมอื งโบราณ 30 ,1 (มกราคม-มีนาคม 2547) : 122-125.

39

ภาพท่ี 17 พระพทุ ธรปู ปางมารวิชยั สํารดิ ศลิ ปะลพบรุ ี พบในกรพุ ระปรางคว ัดราชบูรณะ
ที่มา : กรมศลิ ปากร, พระพทุ ธรูปและพระพมิ พในกรุพระปรางควัดราชบูรณะ จงั หวดั
พระนครศรีอยธุ ยา (พระนคร : หางหุนสว นจาํ กดั ศวิ พร, 2502), 15.

ภาพที่ 18 ซุมทรงโคงปูนปน ภายในจระนําเจดยี ทรงปราสาทยอด วดั มหาธาตุ
พระนครศรีอยุธยา

40

ในศิลปะสุโขทัยก็ปรากฏความนิยมประภามณฑลทรงโคงท่ีประดับลายแถวนอก
ดวยลายที่มีลักษณะคลายเปลวไฟ เชน ประภามณฑลปูนปนในซุมจระนําวัดตระพังทองหลาง
สุโขทัย (ภาพที่19) ซงึ่ สรางในสมัยพญาลิไท21 อันนาจะไดรับแรงบันดาลใจอีกทอดหน่ึงจากศิลปะ
ลงั กาสมยั โปโลนารวุ ะ22

ภาพท่ี 19 ซมุ ทรงโคงปนู ปน ในศลิ ปะสโุ ขทัย วัดตระพงั ทองหลาง สุโขทยั
พระพิมพประเภทโพธิบัลลงั ก
ทําเปนภาพพระพุทธรูปท่ีตัดเฉพาะสวนพระวรกาย ไมมีซุมเรือนแกวหรือซุม

ประภามณฑลประดับ อาจมีบางก็เพียงประภามณฑลรอบพระเศยี ร พุมโพธิ์พฤกษ หรอื ฐานบัว
พระพิมพป ระเภทแผง
ทําเปนภาพพระพทุ ธรปู หลายองคเรียงกันเปนแถว โดยอาจมีรูปพระพุทธรูปขนาดใหญ

เปนประธานภายในแผงน้ัน หรือบางพิมพก็มีพระขนาดเดียวเรียงกันหลายองค และหากพิจารณา
ลักษณะพระพมิ พประเภทแผงจะเห็นความสอดคลองกบั ภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยอยุธยาตอนตนท่ี

21 สันติ เล็กสุขมุ , ศิลปะสโุ ขทัย, พมิ พคร้งั ที่ 2 (กรงุ เทพฯ : สาํ นักพิมพเ มอื งโบราณ,
2549), 67.

22 อชิรัชญ ไชยพจนพ านชิ , “ประภามณฑลรอบพระวรกายในงานปนู ปน วดั มหาธาตุ
และวดั ราชบูรณะ,” : 125-126.

41

นิยมเขียนภาพพระพุทธเจาหลายองคประทับนั่งเรียงรายกันโดยอาจมีความหมายถึงพระอดีตพุทธ
เจา แตในพระพิมพประเภทแผงบางพิมพปรากฏภาพตนไมแทรกคั่นระหวางกลางซึ่งอาจตีความ
ถึงพุทธประวัติตอนยมกปาฏิหาริยที่เมืองสาวัตถี โดยภาพตนไมที่คั่นกลางพระพิมพนั้นอาจเปน
ไมค ณั ฑามพฤกษ (มะมว ง)

จากหลักเกณฑดังกลาวสามารถแบงรูปแบบพระพิมพสมัยอยุธยาตอนตนในกรุพระ
ปรางควัดราชบูรณะออกเปน 3 หมวดใหญ ซ่ึงบางหมวดยังแบงออกเปนกลุมยอยตามความ
แตกตางทางรูปแบบและอิทธิพลที่ปรากฏ และนอกจากนี้ในแตละหมวดก็จําแนกออกเปนพระ
พิมพประเภทตา งๆ ดังมรี ายละเอยี ดดังตอไปน้ี

หมวดท่ี 1 พระพมิ พอ ิทธิพลศิลปะลพบุรี

ศิลปกรรมท่ีเมืองลพบุรีในชวงหลังการส้ินสุดอํานาจทางการเมืองของเขมร (กลางพุทธ
ศตวรรษที่18) จนมาถึงการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเปนราชธานี (พ.ศ.1893) ในชวงระยะเวลากวา
100 ปนี้เองเมืองลพบุรีนาจะมีฐานะเปนศูนยกลางทางการเมือง และรูปแบบศิลปกรรมท่ีมีรูปแบบ
เฉพาะที่เกิดขึ้นใหม แมวาจะอยูบนพ้ืนฐานของวัฒนธรรมเขมร และดวยเหตุน้ีจึงไดมีการกําหนด
เรียกรูปแบบงานศลิ ปกรรมท่เี กดิ ขึ้นในชวงนเ้ี ปน “ศิลปะลพบรุ ี”23

รูปแบบงานศิลปกรรมที่ปรากฏในสมัยอยุธยาตอนตน โดยเฉพาะกลุมวัดที่สรางเจดีย
ทรงปรางคเปนประธานของวัด รวมทั้งงานประติมากรรม พระพุทธรูป และงานปูนปนประเภท
ลวดลายระยะแรกของอยุธยาลวนสืบทอดมาจากศิลปะลพบุรีทั้งสิ้น24 รวมถึงรูปแบบพระพิมพ
หมวดดังกลาวท่ีมีรูปแบบสืบเนื่องมาจากพระพิมพแบบลพบุรี เชน รูปแบบพระพิมพประเภทซุม
เรือนแกว และ พระพิมพประเภทซุมทรงบรรพแถลง ดังน้ันในการศึกษาคร้ังนี้ผูศึกษาไดทําการ
กําหนดช่ือเรียกพระพิมพส มัยอยุธยาตอนตนหมวดดังกลาวเปนพระพมิ พอิทธิพลศลิ ปะลพบุรี โดย
ใชวิธีการศึกษาจากรูปแบบพระพุทธรูปบนพระพิมพเปนหลัก และรองลงมาคือการศึกษาในสวน
รายละเอียดประกอบบนพระพิมพท่ีมีท้ังรูปแบบท่ีสืบเนื่องมาจากศิลปะลพบุรี และบางพิมพ
ปรากฏอิทธิพลศิลปะพุกามจากประเทศพมารวมดวย แตอยางไรก็ตามเราไดกําหนดช่ือเรียกพระ

23 ศกั ดชิ์ ัย สายสิงห, พฒั นาการศลิ ปกรรมสมยั กอ นอยธุ ยา พทุ ธศตวรรษท1่ี 8-23
(กรุงเทพฯ : มหาวทิ ยาลัยศลิ ปากร, 2549), 52.

24 เร่ืองเดียวกนั , 54.

42

พิมพหมวดดังกลาวตามอิทธพิ ลศลิ ปะลพบุรีท่ีถายทอดสูรูปแบบพระพุทธรูปบนพระพิมพเปนหลัก
ดังทไี่ ดทาํ การศึกษาไวต อไปน้ี
1.1 การศึกษารปู แบบพระพทุ ธรปู บนพระพมิ พ

รูปแบบพระพุทธรูปบนพระพิมพหมวดดังกลาวมีพระพักตรอยูในทรงสี่เหล่ียม การ
แสดงออกทางสีพระพกั ตรคอ นขา งดดุ ัน มไี รพระศกคาด พระเกศาเปนแบบเม็ดและแบบพระเกศา
หวี พระรัศมีรูปเปลว พระวรกายล่ําสัน หากเปนอิริยาบถประทับน่ังจะครองจีวรหมเฉียงพาด
สังฆาฏิที่เปนแผนกวางและยาวลงมาจรดบริเวณพระนาภี ชายสังฆาฏิเปนรูปคลายหางปลาหรือตัด
ตรง บริเวณบ้ันพระองคประดับแถบรัดประคดอยางชัดเจน และนิยมแสดงปางมารวิชัย (ภาพท่ี
20)

ภาพที่ 20 พระพิมพซุม ทรงบรรพแถลง อิทธิพลศลิ ปะลพบรุ ี จากกรุพระปรางคว ัดราชบูรณะ
ท่ีมา : กรมศิลปากร, พระพุทธรูปและพระพิมพในกรุพระปรางควัดราชบูรณะ จังหวัด
พระนครศรีอยธุ ยา (พระนคร : หา งหนุ สวนจํากดั ศิวพร, 2502), 265.

43

ในสวนอิริยาบถประทับยืนจะครองจีวรหมคลุมแบบบางแนบพระวรกายโดยมีชายสบง
โผลพนขอบจีวรดานลาง บริเวณบั้นพระองคทําเปนแถบรัดประคดขนาดใหญคาดทับแนวจีบผา
หนานาง (ภาพท่ี 21) โดยนิยมทําเปนภาพพระพุทธรูปประทับยืนพระหัตถขวายกใหฝาพระหัตถ
ต้ังข้ึน พระหัตถซายปลอยลงขางพระวรกาย หรือท่ีนิยมเรียกกันวาปางประทานอภัยซ่ึงเปน
ลักษณะเดียวกับพระพุทธรูปปางประทานอภัยในศิลปะอยุธยาตอนตนโดยทั่วไป และหาก
ยอนกลับไปศึกษารูปแบบพระพุทธรูปปางประทานอภัยในศิลปะอยุธยาตอนตนอาจพบวาเปน
รูปแบบทส่ี ืบเนือ่ งมาจากศลิ ปะลพบรุ อี ีกทอดหนง่ึ ซง่ึ ในศลิ ปะลพบุรกี ป็ รากฏการทําพระพิมพปาง
ประทานอภัยดว ยเชนกนั หรือทนี่ ักนยิ มพระเครื่องเรียกกันวา “ พระรว ง”

ภาพที่ 21 พระพิมพซมุ ทรงบรรพแถลง อทิ ธพิ ลศลิ ปะลพบรุ ี จากกรพุ ระปรางควดั ราชบรู ณะ
พพิ ธิ ภณั ฑสถานแหงชาติเจา สามพระยา พระนครศรีอยธุ ยา
สําหรับความหมายของพระพิมพในแตละพิมพอาจแสดงออกผานรูปแบบปางตางๆ

โดยเฉพาะปางมารวิชัย และปางแสดงธรรม เปน ตน แตใ นสว นของพระพิมพป างประทานอภยั อาจ
เจาะจงถึงพุทธประวัติตอนใดตอนหน่ึงไดไมชัดเจนนัก ทั้งนี้เพราะความหมายของประทานอภัย
หรือ อภัยมุทราเมื่อแปลตรงตัวแลว แปลวา “ขอจงไมมีภัย” อันแสดงใหเห็นถึงการคุมครองที่ผู
ศรัทธาจะไดรับเมื่อไดเคารพบูชาประติมากรรมที่แสดงมุทราดังกลาว จึงเปนมุทราที่ไมไดเจาะจง

44

กับพุทธประวัติตอนใดตอนหน่ึงโดยเฉพาะ มุทราดังกลาวมักเปน “มุทรากลาง”ที่สามารถใช
รวมกับพุทธประวัติหลายตอน25 และทั้งน้ีในศิลปะสุโขทัยก็นิยมนํารูปแบบพระพุทธรูปปาง
ประทานอภัยมาแทนสัญลักษณข องพระอัฏฐารส (พระประทับยืนท่ีมคี วามสงู 18 ศอก)

จากรายละเอียดตางๆของรูปแบบพระพุทธรูปบนพระพิมพแบบดังกลาวน้ี รวมถึง
รูปแบบการแสดงปางชวนใหนึกถึงรูปแบบพระพุทธรูปแบบอูทองรุนท่ี 2 ซ่ึงเปนรูปแบบ
พระพุทธรปู ท่นี ยิ มในดินแดนภาคกลางของประเทศไทยในชวงพทุ ธศตวรรษท่ี 19-2026

1.2 การศึกษารปู แบบพิมพ
พระพิมพหมวดดังกลาวแบงออกเปน พระพิมพประเภทประดับซุม และพระพิมพ

ประเภทแผง ดังจะไดทําการศกึ ษาในรายละเอียดตอไป
พระพมิ พประเภทประดบั ซุม
พระพิมพประเภทดังกลาวประกอบดวยซุมรูปแบบตางๆ คือ ซุมทรงบรรพแถลง และ

ซมุ เรอื นแกว ดงั จะไดทําการศึกษาตอไป
พระพิมพซุมทรงบรรพแถลง พระพิมพประเภทนี้นิยมการประดับซุมทรง

บรรพแถลงที่มีลกั ษณะโดยรวมเปนซุม ทรงจวั่ ท่ีมกี รอบซุมโคงเขา สลับโคงออก คลายลักษณะหนา
บรรพ (หนาบัน) ปราสาทขอม โดยในสวนปลายกรอบซุมทั้งสองขางทําเปนกระหนกมวนหัวเขา
ดานบนกรอบซุมประดับแถวครีบท่ีมีลักษณะคลายใบระการูปสามเหล่ียม หรือแถวกระหนกที่
คลายกระหนกตัวเหงาเรียงรายเหนือกรอบซุม และกรอบซุมทั้งหมดถูกรองรับดวยเสารองรับ
กรอบซุมท่ีมีลักษณะการประดับลวดบัว (ภาพที่ 22) จากรูปแบบซุมทรงบรรพแถลงที่ประดับบน
พระพิมพกลุมนี้ปรากฏลักษณะท่ีสอดคลองกันคือ มีความพยายามคงลักษณะขององคประกอบ
ตามรูปแบบจั่วหนาบรรพแบบศิลปะขอม โดยเฉพาะลักษณะการทํากรอบซุมทรงจ่ัวท่ีมีลักษณะ
คดโคง ปลายกรอบซุมทั้งสองขางเปนกระหนก และดานบนกรอบซุมประดับ ชอฟา ใบระกา
อยางครบถว น

ลักษณะการทําซุมทรงบรรพแถลงที่มีองคประกอบครบถวนตามแบบซุมหนา
บรรพน้ี มีความเครง ครดั มากในพระพมิ พศิลปะลพบุรี อยางไรกต็ ามความเครงครัดในรายละเอียด

25 เชษฐ ติงสญั ชลี, พระพุทธรูปในศลิ ปะอนิ เดยี , 12-13.
26 สนั ติ เลก็ สุขุม, ประวตั ศิ าสตรศ ลิ ปะไทยฉบบั ยอ การเรมิ่ ตน และการสบื เน่อื งงานชา ง
ในศาสนา, 152.

45

ซุมทรงบรรพแถลงในศิลปะลพบุรีนาจะถายทอดและพัฒนารูปแบบลงมาในสมัยอยุธยาตอนตน
ดวยเชนกัน ดังพบไดจากพระพิมพทองคําดุนนูนในกรุพระปรางควัดราชบูรณะท่ีทําเปน
พระพุทธรูปแบบอูทองรุนที่ 2 ปางมารวิชัยประทับภายในซุมทรงบรรพแถลงที่มีการประดับชอฟา
ใบระกาอยางครบถว น และสว นปลายกรอบซุมทาํ เปนเศียรนาค (ภาพที่ 23)

ภาพที่ 22 พระพิมพซ มุ ทรงบรรพแถลง อิทธิพลศิลปะลพบรุ จี ากกรุพระปรางควัดราชบรู ณะ
พพิ ธิ ภณั ฑสถานแหงชาติเจา สามพระยา พระนครศรีอยุธยา

ภาพที่ 23 พระพิมพทองคํา พบในกรพุ ระปรางควดั ราชบูรณะพิพิธภณั ฑสถานแหงชาติเจาสาม
พระยา พระนครศรอี ยธุ ยา

ท่ีมา : กรมศลิ ปากร, เคร่อื งทองกรุวัดราชบรู ณะศิลปะของแผนดนิ (กรงุ เทพฯ : รุง ศิลปการพมิ พ,
2550), 114.

46

ถึงแมวาสวนปลายกรอบซุมทรงบรรพแถลงของพระพิมพเนื้อชินในกรุพระ
ปรางควัดราชบูรณะหมวดดังกลาวนี้จะไมปรากฏเศียรนาคในสวนปลายกรอบซุมก็ตาม แต
รูปแบบการทําสวนปลายกรอบซุมเปนกระหนกทําใหคิดไดวาอาจใชแทนลักษณะของเศียรนาค27
ซึ่งเปนรูปแบบทม่ี มี าแลวในซมุ ทรงบรรพแถลงศิลปะลพบุรีเล่ือยมาถึงสมัยอยุธยาตอนตน และทํา
ใหเกิดรูปแบบกระหนกท่ีเปนเอกลักษณในสมัยอยุธยาตอนตนซึ่งมีลักษณะแบงออกเปน 2 สวน
สวนที่ 1 อยูดานลางเปนกระหนกตัวเหงาตอยอดขึ้นไปเปนสวนที่ 2 เรียกวากระหนกตัวยอด มีหัว
กระหนกเล็กๆ ไลเรียงลงมาถึงสวนลาง (ภาพลายเสนที่1) อยางไรก็ตามความนิยมในการใช
กระหนกประดบั ปลายกรอบซมุ ก็เปน ที่นิยมมากในอยุธยาตอนตนเลือ่ ยมา

ภาพลายเสน ท่ี 1 ภาพลายเสน กระหนกซมุ ประภามณฑลประดับจระนําเจดียว ัดไกเตย้ี สพุ รรณบุรี
ทม่ี า : สันติ เล็กสุขุม, ววิ ฒั นาการของช้นั ประดับและลวดลายสมยั อยธุ ยาตอนตน (กรุงเทพฯ :
อมรนิ ทรการพิมพ, 2522), 316.

ดังนั้นรูปแบบซุมทรงบรรพแถลงที่ยังคงลักษณะขององคประกอบทาง
สถาปตยกรรมตามรปู แบบจว่ั หนา บรรพ (หนาบัน) นาจะถายทอดมาจากพระพิมพแบบลพบุรีและ
เปนรูปแบบงานศิลปกรรมในระยะแรกของอาณาจักรอยุธยา สอดคลองกับรูปแบบพระพุทธรูป
บนพระพิมพหมวดที่ 1 นีม้ ีลักษณะทีใ่ กลเ คียงกบั รูปแบบพระพทุ ธรปู แบบอูทองรุนท่ี 2 แบบทยี่ งั คง

27 สันติ เลก็ สุขุม, ววิ ัฒนาการของชน้ั ประดบั และลวดลายสมัยอยธุ ยาตอนตน, 5-6.

47

มีอิทธิพลศิลปะลพบุรีผสมอยูมาก และมีอายุอยูในชวง พุทธศตวรรษที่ 19-20 ซึ่งสงผลตอความ
เปนไปไดว าพระพิมพร ปู แบบดังกลา วนม้ี มี าแลว กอนการสรางปรางคประธานวดั ราชบรู ณะ

พระพิมพซุมเรือนแกว ทําออกมาในลักษณะของกรอบลอมรอบองค
พระพุทธรูป กรอบดังกลาวน้ีลอมไปตามเสนรอบนอกพระวรกายองคพระ โดยอาจแบงสวนของ
ซุมเรือนแกวเปนสองสวน คือสวนลางเริ่มจากกระหนกมวนเขาบริเวณพระเพลาแลวเปนเสนตั้งว่ิง
ข้ึนไปโคงเขารับกับสวนพระศอขององคพระ โดยในชวงโคงน้ีนิยมทําเปนกระหนกมวนหัวเขา
และตอ ขนึ้ ไปเปนสวนบนซ่ึงมีการทําสวนปลายมาบรรจบกันเปนรูปเรียวแหลมรับกับทรงของพระ
เศียรอันมีพระรัศมีเปนยอดแหลม ดานบนกรอบซุมนิยมประดับรัศมีที่มีลักษณะคลายใบระกา
เรยี งรายเหนือกรอบซมุ (ภาพที่ 24 , 25)

ภาพที่ 24 พระพิมพซ มุ เรอื นแกว อิทธิพลศลิ ปะลพบุรี จากกรพุ ระปรางคว ัดราชบรู ณะ
ที่มา : กรมศิลปากร, นําชมพิพธิ ภณั ฑสถานแหง ชาตเิ จาสามพระยา (กรงุ เทพฯ : รงุ ศิลปก ารพิมพ,
2548), 119

48

ภาพท่ี 25 พระพมิ พซุม เรือนแกว อทิ ธพิ ลศิลปะลพบุรจี ากกรุพระปรางควัดราชบรู ณะ
ทีม่ า : กรมศลิ ปากร, พระพทุ ธรปู และพระพิมพใ นกรพุ ระปรางคว ัดราชบูรณะ จงั หวดั
พระนครศรีอยธุ ยา (พระนคร : หา งหนุ สว นจาํ กัดศวิ พร, 2502), 163.

รูปแบบเรือนแกวในพระพิมพกรุพระปรางควัดราชบูรณะหมวดนี้ นาจะมี
ความสอดคลองกับรูปแบบซุมเรือนแกวปูนปนประดับปรางคประธานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
ลพบุรี ที่สันนิษฐานวานาจะสรางขึ้นกอนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา 100 ป28 (ภาพที่ 26) โดยซุม
เรือนแกวที่นี่มีลักษณะที่วาดลอไปกับเสนรอบนอกขององคพระ และในชวงโคงบริเวณพระเพลา
และพระศอประดับกระหนกท่มี ลี กั ษณะสืบทอดมาจากแบบเขมรแตไดคล่ีคลายมามีเอกลักษณแบบ
ไทย และเปนตนแบบใหกับรูปแบบกระหนกในสมัยอยุธยาตอนตน29 ในสวนกรอบบนกรอบซุม
ประดบั รศั มีทท่ี าํ ออกมาในลักษณะแถวครีบเรียงรายรอบกรอบซุมอยา งชดั เจน

28 หมอมเจา สุภทั รดศิ ดศิ กลุ , “รายงานสํารวจทางโบราณคด,ี ” ศิลปากร 9 , 3
(กรกฎาคม 2537) : 36-37, ทรงแปลจาก Boiselier.J.Rapport de Mission ( 24 Juillet-28 November
1964) Art Asiatique XII, 1965.

29 สนั ติ เลก็ สขุ มุ , ววิ ัฒนาการของช้นั ประดบั และลวดลายสมัยอยุธยาตอนตน , 48.

49

ภาพที่ 26 ซุม เรือนแกว ปนู ปนประดับปรางคประธาน วดั พระศรรี ตั นมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี
ที่มา : สันติ เลก็ สขุ ุม, ววิ ัฒนาการของช้นั ประดบั และลวดลายสมยั อยธุ ยาตอนตน (กรงุ เทพฯ :
อมรินทรการพมิ พ, 2522), 320.

จะเหน็ วา รูปแบบซุมเรือนแกวในสมัยอยุธยาตอนตนยังคงปรากฏองคประกอบ
หลัก 3 สวนอยางชัดเจนคือ กรอบซุม กระหนกชวงโคงกรอบซุม และแถวครีบเหนือกรอบซุม
ในงานจิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนตนก็ยังคงปรากฏองคประกอบดังกลาวอยางชัดเจน ดังที่รูปแบบ
ซุมเรือนแกวในจิตรกรรมฝาผนังรูปซุมเรือนแกวในคูหาปรางคมุมตะวันตกเฉียงเหนือบนฐานไพที
ปรางคมหาธาตุ วัดมหาธาตุ อยุธยา และเปนท่ีนาสังเกตวาสวนครีบดานบนซุมเรือนแกวในงาน
จิตรกรรมที่ดังกลาวนี้มีลักษณะเปนกระหนกตัวเหงาเรียงรายอยางชัดเจน ซึ่งก็ชวนใหนึกถึง
รูปแบบซุมเรือนแกวในศิลปะพุกามตอนปลาย (ภาพท่ี 27) ซึ่งอาจเปนตนเคาใหรูปแบบซุมเรือน
แกว ในศิลปะอยธุ ยาตอนตน

50

ภาพท่ี 27 ลกั ษณะซมุ เรือนแกว ในจติ รกรรมภาพอดีตพทุ ธเจา ภายในวิหารพยาตองสู
ศลิ ปะพุกามตอนปลาย

ท่ีมา : เชษฐ ติงสัญชลี, “สถาปตยกรรมอ่ืนๆ ประติมากรรม และ จิตรกรรมพุกาม,” (เอกสารคํา
สอนวิชา 317417 สัมมนาศิลปะในประเทศพมา ภาควิชาประวัติศาสตรศิลปะ คณะโบราณคดี
มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2552), 80.

สําหรับการนําเสนอรูปแบบซุมเรือนแกวที่ปรากฏในพระพิมพจะมีขอจํากัด
ทางดานขนาดเพราะโดยทั่วไปพระพิมพจะมีขนาดคอนขางเล็ก แตจากรูปแบบซุมเรือนแกวท่ี
ปรากฏในพระพิมพกรุพระปรางควัดราชบูรณะหมวดที่ 1 น้ียังคงจําลองลักษณะทางองคประกอบ
ของรูปแบบซุมเรือนแกว อันประกอบดวยกรอบซุม กระหนกชวงโคงกรอบซุม รวมถึงแถวครีบ
เรียงรายเหนือกรอบซุม ลงไปในพระพิมพอยางครบถวน ซึ่งอาจเปนเพราะความรูความเขาใจ
รูปแบบซุม ประภามณฑลของชา ง รวมถึงกระแสอทิ ธิพลศิลปะลพบรุ ียังคงมอี ยูคอนขา งมาก

อยางไรก็ตามนอกจากการประดับซุมเรือนแกวในพระพิมพหมวดดังกลาว
บางครั้งมีการประดับพุมโพธิ์พฤกษบริเวณเหนือซุม ซึ่งในสวนของการเพ่ิมเติมพุมโพธ์ิพฤกษ
ลักษณะเปนพุมคอนขางกลมประดับดานบนซุมเรือนแกวน้ัน ในพระพิมพศิลปะลพบุรีก็มีปรากฏ

51

แตเปนลักษณะกิ่งโพธิ์ท่ีแผก่ิงออกแบบกระจาย สําหรับลักษณะโพธ์ิพฤกษท่ีเปนพุมแบบคอนขาง
กลมนั้นเปนรูปแบบที่นิยมในศิลปะพุกาม หากลองพิจารณารูปแบบพระพิมพหมวดดังกลาวจะ
พบวา มหี ลายสว นดว ยกันทีม่ ีรปู แบบใกลเ คยี งกับศลิ ปะพกุ ามของพมา เชน ลักษณะซุมเรือนแกว
รวมถึงลักษณะพมิ พท ีท่ าํ เปนภาพพระพุทธรูปประทับในซุมเรือนแกวใตพุมโพธิ์พฤกษและมีบุคคล
ขนาบท้งั สองขางของพระพุทธเจา ซึ่งกม็ ที ้งั ภาพพระสาวก และภาพเทวดา (ภาพที่ 28)

ภาพท่ี 28 พระพมิ พซ มุ เรือนแกว อทิ ธพิ ลศิลปะลพบุรี จากกรุพระปรางคว ดั ราชบรู ณะ
ท่ีมา : กรมศิลปากร, พระพุทธรูป และพระพิมพ ในกรุพระปรางควัดราชบูรณะ จังหวัด
พระนครศรีอยุธยา (พระนคร : หางหุนสว นจํากดั ศิวพร, 2502), 244.

องคประกอบแบบดังกลาวนี้ปรากฏมาแลวในพระพิมพศิลปะพุกามตอน
ปลาย30 และในศิลปะลพบุรี แตในศลิ ปะลพบุรีสวนใหญภาพบุคคลขนาบขางพระพุทธเจาจะเปน
ภาพพระโพธิสัตวโลเกศวรประทับยืนอยูเบื้องขวา ภาพพระนางปญญาบารมีประทับยืนเบ้ืองซาย31
และทั้งสองพระองคจะหันหนาไปในทิศทางเดียวกับพระพุทธเจา (ภาพท่ี 29) แตในพระพิมพสมัย
อยุธยาตอนตน หมวดดงั กลาว หรอื แมแ ตในจติ รกรรมสมัยอยธุ ยาตอนตน มักจะแสดงภาพบุคคลท่ี
ขนาบขางพระพุทธเจามีลักษณะหันหนาเฉียงเขาหาพระพุทธเจาเพื่อกระทําสักการะ ซ่ึงรูปแบบ
ดังกลา วมีความใกลเ คยี งศลิ ปะพกุ ามมากกวา ในศลิ ปะลพบุรี (ภาพที่ 30)

30 Haskia Hassan, ANCIENT BUDDHIS ART From BURMA (Singapore : Image
Printers Pte Ltd, 1993), 76.

31 ยอรช เซเดส, ตาํ นานพระพมิ พ (พระนคร : ศลิ ปาบรรณาคาร, 2495), 12.

52

ภาพที่ 29 พระพมิ พศิลปะลพบุรี จากกรพุ ระปรางควัดราชบูรณะ
พพิ ธิ ภณั ฑสถานแหงชาติเจา สามพระยา พระนครศรีอยุธยา

ภาพท่ี 30 พระพิมพทองคาํ ศลิ ปะพกุ าม
ที่มา : Haskia Hassan, ANCIENT BUDDHIS ART From BURMA (Singapore : Image Printers
Pte Ltd, 1993), 63.

จากการศึกษารายละเอียดตางๆบนพระพิมพประเภทดังกลาวลวนแสดงถึง
รปู แบบอิทธิพลศิลปะรุนเกา ทง้ั จากอิทธิพลศิลปะพกุ าม และอทิ ธิพลศิลปะลพบุรี ทส่ี บื ตอรูปแบบ
เลื่อยมาในพระพิมพหมวดดังกลาว สอดคลองกับรูปแบบพระพุทธรูปบนพระพิมพที่เปนรูปแบบ

53

พระพุทธรูประยะแรกของอาณาจักรอยุธยา ดังน้ันพระพิมพแบบดังกลาวอาจเปนรูปแบบที่เกิดข้ึน
กอนการสรางปรางคประธานวัดราชบูรณะ

พระพิมพป ระเภทแผง
พระพิมพประเภทแผงเปนอีกรูปแบบหนึ่งของพระพิมพอิทธิพลศิลปะลพบุรี ที่แสดง
ผานรูปแบบพระพุทธรูปบนพระพิมพ ถึงแมวาพระพุทธรูปบนพระพิมพกลุมดังกลาวนี้จะมีขนาด
คอนขางเล็ก แตความพยายามที่จะแสดงพุทธลักษณะที่ล่ําสัน มีปริมาตร ชวนใหนึกถึงรูปแบบ
พระพุทธรูปแบบอูทอง อยางไรก็ตามระเบียบการจัดวางองคประกอบภายในพระพิมพท่ีนิยมทํา
ออกมาในลักษณะพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดเล็กประทับน่ังเรียงรายกันหลายแถวอยูภายใน
กรอบทรงส่ีเหลี่ยมปลายมน และตรงจุดก่ึงกลางทําเปนพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญแทรก
เปนประธาน (ภาพท่ี 31) ซึ่งรูปแบบพิมพลักษณะดังกลาวนี้นอกจากปรากฏในพระพิมพประเภท
แผงศิลปะลพบุรีแลว ยังปรากฏมากอนในพระพิมพประเภทแผงศิลปะพุกาม (ภาพที่ 32) ทั้งน้ีอาจ
เปนไปไดวาพระพิมพประเภทแผงในชวงอยุธยาตอนตน สืบเนื่องถึงพระพิมพประเภทแผงศิลปะ
ลพบุรี มีการรับรูปแบบมาจากพระพิมพประเภทแผงศิลปะพุกาม แตเนื่องจากความแตกตาง
ทางดานระยะเวลา และอิทธิพลศิลปะ จึงสงผลใหมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบพระพุทธรูปบนพระ
พมิ พใหเ ปนลกั ษณะที่นิยมของแตละอาณาจกั ร

ภาพที่ 31 พระพิมพประเภทแผง อทิ ธพิ ลศิลปะลพบุรี จากกรุพระปรางควดั ราชบรู ณะ
ที่มา : กรมศิลปากร, พระพุทธรูปและพระพิมพในกรุพระปรางควัดราชบูรณะ จังหวัด
พระนครศรอี ยธุ ยา (พระนคร : หา งหนุ สวนจาํ กดั ศิวพร, 2502), 311.

54

ภาพท่ี 32 พระพมิ พประเภทแผง ศิลปะพกุ าม
ทีม่ า : Gordon H. Luce, Old Burma Early Pagan Volume 3 (New York : J.J.Augustin Pubuisher,
1970), 65 a .

ภาพที่ 33 พระพิมพประเภทแผง อิทธิพลศิลปะลพบรุ ี จากกรพุ ระปรางควัดราชบรู ณะ
ที่มา : กรมศิลปากร, พระพุทธรูป และพระพิมพ ในกรุพระปรางควัดราชบูรณะ จังหวัด
พระนครศรีอยุธยา (พระนคร : หา งหุนสวนจาํ กัดศวิ พร, 2502), 172.

55

อยา งไรก็ตามเปนท่ีเขาใจกันวาพระแผงท่ีมีภาพพระพุทธรูปประทับน่ังเรียงรายกันหลาย
องคอาจมคี วามหมายถึงพระอดีตพุทธเจา แตในสวนของพระแผงบางพิมพท่ีทําออกมาในลักษณะ
พระพุทธรูปประทับนั่งเรียงรายในกรอบทรงสี่เหลี่ยมยอดโคงแหลมแตมีภาพตนไมแทรกอยู
ระหวางกึ่งกลางอาจมีความหมายถึงพุทธประวัติตอนยมกปาฏิหาริยที่เมืองสาวัตถี โดยพระพุทธ
องคท รงแสดงปาฏิหารยิ ท่ไี มค ัณฑามพฤกษ3 2 (ภาพที่ 33 )

1.3 ขอ สันนษิ ฐานในการกาํ หนดอายรุ ูปแบบพระพมิ พ
รูปแบบพระพิมพห มวดดงั กลา วอาจเปนรูปแบบพระพิมพในระยะเริ่มแรกของอาณาจักร

อยุธยา ทั้งน้ีเพราะมีรูปแบบทางศิลปะท่ีสอดคลองกับอิทธิพลศิลปะรุนเกา เชน ศิลปะพุกาม และ
ศิลปะลพบุรี ซ่ึงพระพิมพกลุมดังกลาวปรากฏอิทธิพลศิลปะลพบุรีอยางชัดเจน ทั้งในดานของ
รูปแบบพิมพ ลวดลาย ลักษณะซุมทรงบรรพแถลง และซุมเรือนแกว รวมถึงพุทธลักษณะของ
พระพุทธรูปบนพระพิมพที่มีรูปแบบศิลปะลพบุรีอยางชัดเจน เชน พระพักตรเหล่ียม สีพระพักตร
ดุดัน คาดไรพระศก พระวรกายลํ่าสัน แตในสวนของพระรัศมีปรากฏเปนรูปเปลวลักษณะ
เดียวกับพระพุทธรูปหมวดใหญศ ลิ ปะสุโขทัย

พทุ ธลักษณะพระพุทธรูปแบบอูทองรุนที่ 2 นาจะมีมากอนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา 26
ป ดังปรากฏหลักฐานในพงศาวดารเกี่ยวกับการสถาปนาพระพุทธเจา เจาแพนงเชิง33 ซ่ึงปจจุบัน
เรียกพระนามวา “หลวงพอพนัญเชิง” เปนพระพุทธรูปขนาดใหญ มีเคาพระพักตรเหลี่ยมพระรัศมี
เปนรูปเปลวตามแบบพระพุทธรูปแบบอูทองรุนท่ี 234 ดังนั้นอาจสรุปไดวารูปแบบพระพิมพกลุม
ดังกลาวมีรูปแบบอิทธิพลศิลปะลพบุรีผสมอยูคอนขางมาก ประกอบกับรูปแบบพระพุทธรูปบน
พระพิมพท่ีเปนแบบของพระพุทธรูปในระยะแรกของอาณาจักรอยุธยา จึงอาจเปนไปไดวาพระ
พิมพกลุมดังกลาวเปนรูปแบบพระพิมพในชวงปลายพุทธศตวรรษท่ี 19 ถึง ตนพุทธศตวรรษที่ 20
และจากการเปดกรุพระปรางควัดราชบูรณะ ไดพบพระพุทธรูปแบบอูทองรุนท่ี 2 เพียง 26 องค3 5
ประกอบกับความไมหลากหลายของรูปแบบพระพิมพแบบดังกลาวท่ีพบในกรุแหงนี้ ซ่ึงอาจ

32 สมเดจ็ กรมพระปรมานุชติ ชโิ นรส, พระปฐมสมโพธกิ ถา, 326.
33 “พระราชพงศาวดารกรุงเกา ฉบับหลวงประเสรฐิ อักษรนติ ์ิ,” ใน คาํ ใหก ารชาวกรงุ เกา
คาํ ใหการขุนหลวงหาวดั และพระราชพงศาวดารกรงุ เกา ฉบบั หลวงประเสรฐิ อกั ษรนติ ์ิ, 443.
34 สันติ เลก็ สขุ ุม,ศลิ ปะอยุธยา งานชา งหลวงแหง แผน ดนิ , 10.
35 หมอมเจา สุภทั รดิศ ดิศกลุ , “โบราณวตั ถทุ ีค่ น พบจากพระปรางควดั ราชบูรณะ รนุ ที่
2,” ใน พระพทุ ธรูป และพระพิมพ ในกรพุ ระปรางคว ัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยธุ ยา (พระ
นคร : หางหุนสวนจํากดั ศิวพร, 2502), 16.

56

เปนไปไดวาในชวง พ.ศ.1967 รูปแบบพระพุทธรูปแบบอูทองรุนท่ี 2 และรูปแบบพระพิมพ
ดงั กลาวไดค ลายความนิยมลงไปแลว

หมวดท่ี 2 พระพมิ พศิลปะสุโขทัย

เน่ืองจากรูปแบบศิลปะท่ีปรากฏบนพระพิมพหมวดดังกลาวมีความสอดคลองโดยตรง
กับรูปแบบศิลปะสุโขทัย โดยเฉพาะในสวนของพุทธลักษณะพระพุทธรูปบนพระพิมพ รวมถึง
ลักษณะลวดลายที่ประดับบนพระพิมพที่สงผลโดยตรงตอการกําหนดชื่อเรียกพระพิมพหมวด
ดังกลา ว เปน “พระพิมพศิลปะสโุ ขทัย” ดงั ที่จะทาํ การศึกษาในรายละเอยี ดตอ ไป

2.1 รปู แบบพระพุทธรปู บนพระพิมพ
พุทธลักษณะของภาพพระพุทธรูปในพระพิมพหมวดดังกลาวปรากฏพระพักตรรูปไข

พระขนงโกงโคง พระโอษฐยิ้มเล็กนอยตามแบบพระพักตรพระพุทธรูปหมวดใหญในศิลปะ
สุโขทัย พระพุทธรูปบนพระพิมพแสดงอิริยาบถลีลา พระหัตถซายทรงยกข้ึนแสดงปางประทาน
อภัย สวนพระหัตถขวาทอดลงขางพระวรกายพรอมกับยกพระบาทขวาในลักษณะที่คลายการเขยง
พระบาท ทรงครองจีวรหมเฉียงแบบบางแนบพระวรกายพรอมกับพาดสังฆาฏิแผนเล็กมีสวน
ปลายคลา ยเขี้ยวตะขาบ (ภาพที่ 34)

ส่ิงท่ีเปนเอกลักษณอีกประการหน่ึงคือการนํารูปแบบพระพุทธรูปลีลาที่นิยมในศิลปะ
สุโขทัยมาสรางเปนพระพิมพ สําหรับพระพุทธรูปลีลาอาจมีความหมายถึงพุทธประวัติตอนพระ
พุทธองคเสด็จลงจากดาวดึงส หรือในบางคร้ังถาหากมีองคประกอบภาพเปนพระโมคคัลลานะ
และพระสารีบุตรขนาบขางพระพุทธรูปลีลาก็อาจแสดงถึงตอนเสด็จลงมาถึงโลกมนุษยยังเมือง
สังกัสสะ และมีความเปน ไปไดว า ภาพพุทธประวัติตอนน้ีในสมัยสุโขทัยอาจเรียกพระพุทธรูปลีลา
วา “พระเจาหยอนตนี ” ตามทป่ี รากฏในจารกึ วดั สรศักด์ิ พ.ศ.196036

36 กรมศลิ ปากร, จารึกสมยั สโุ ขทยั (กรงุ เทพฯ : กรมศิลปากร, 2526), 128-134.

57

ภาพท่ี 34 พระพิมพซ มุ หนานาง ศลิ ปะสุโขทัย จากกรพุ ระปรางคว ดั ราชบูรณะ
ท่มี า : กรมศิลปากร, นําชมพพิ ธิ ภณั ฑสถานแหงชาตเิ จาสามพระยา (กรุงเทพฯ : รงุ ศิลปก ารพมิ พ,
2548), 115.

ภาพท่ี 35 รูปพุทธประวัติตอนเสด็จลงจากดาวดงึ ส มณฑปวดั ตระพงั ทองหลาง สโุ ขทัย
ทีม่ า : มหาธาตุ (กรงุ เทพฯ : อมรินทรพ รน้ิ ต้ิงกรฟุ จาํ กัด, 2534), 165.

58

นอกจากน้ีในจารึกวัดสรศักดิ์ไดมีใจความตอนหน่ึงกลาวถึง “นายสรศักดิ์ขออากรไดสี่ท่ี
หมูวัดพายัพ 2 ที่ ท่ีหนึ่งกับพระเจาหยอนตีน ท่ีหนึ่งกับพระเจาจงกรม” สําหรับความหมายของ
พระเจาหยอนตีนไดมีนักวิชาการอธิบายถึงตอนพระพุทธเจาเสด็จจากดาวดึงสลงมาถึงโลกมนุษย3 7
สวนพระเจาจงกรมอาจหมายถึงพุทธประวัติตอนสัปดาหที่ 3 หลังการตรัสรู ซ่ึงอาจทําออกมาใน
ลกั ษณะพระลลี าดวยเชนกนั ทั้งนใ้ี นจติ รกรรมฝาผนังกรุหองที่ 2 ผนังดานทิศใต ในกรุพระปรางค
วัดราชบูรณะก็ปรากฏภาพพระลีลาในพุทธประวัติตอนเสวยวิมุติสุขในสัปดาหที่ 3 (รัตนจงกรม
เจดีย)38 อยางไรก็ดีการบูชาพระเจาจงกรมอาจนับเนื่องมาจากคติการบูชาสัตตมหาสถาน (สถานท่ี
ประทับอยูหลังจากตรัสรู 7 แหง) ซึ่งกอนหนาน้ีเปนที่นิยมมากในพระ 14 ปาง ของศิลปะพุกามท่ี
มักจะสลักภาพสัตตมหาสถานรวมเขาไปในพระอสั สตมหาปาฏิหารยิ  (พระ 8 ปาง)

อยางไรก็ตามพระพุทธรูปลีลายังไดนําไปใชกับพุทธประวัติตอนยมกปาฏิหาริย ดังท่ี
ปรากฏอยูท่ีงานปูนปนประดับมณฑปวัดตระพังทองหลาง สุโขทัย (ภาพที่ 35) ฉะน้ันพระพุทธรูป
ลีลาอาจไมไดหมายถึงพุทธประวัติตอนเสด็จลงจากดาวดึงส หรือทรงเสด็จมาถึงเมืองสังกัสสะ
เพียงเทานั้น แตอาจเปนการใชอิริยาบถลีลาเปนสัญลักษณในขณะทรงพระดําเนิน ดังน้ันในการ
ตีความพุทธประวัติจากพระพุทธรูปลีลาอาจตองใชรายละเอียดประกอบฉากเปนหลักในการชวย
พจิ ารณา

สําหรับภาพพระพุทธรูปลลี าทปี่ รากฏในพระพิมพหมวดนท้ี รงประทบั อยูภายในซุม เรอื น
แกวที่สวนยอดซุมประดับฉัตร ซ่ึงอาจเจาะจงถึงพุทธประวัติตอนใดตอนหนึ่งคอนขางลําบาก แต
กพ็ อสันนิษฐานไดวารูปแบบพระพิมพดังกลาวอาจมีแรงบันดาลใจมาจากพุทธประวัติตอนเสด็จลง
จากดาวดึงส ดังท่ีพบความนิยมพุทธประวัติตอนดังกลาวในงานปูนปนประดับศาสนสถานใน
สุโขทัย เชน วัดตระพังทองหลาง และจากลักษณะการประดับฉัตรดานบนซุมเรือนแกวอาจเปน
การเนนความสาํ คญั ตอความหมายของฉัตร ท่ีทาวมหาพรหมกางก้ันใหพระพุทธองคขณะทรงพระ
ดําเนินลงจากดาวดึงส รวมถึงการประดับชอดอกไมเหนือซุมเรือนแกวที่อาจแทนความหมายของ
ดอกมณฑาบุปผาชาติท่ีตกจากเทวโลกเมื่อครั้งพระพุทธเจาเสด็จลงจากดาวดึงส39 สอดคลองกับ

37 ศกั ดิ์ชยั สายสิงห, ศลิ ปะสโุ ขทัย บทวิเคราะหห ลกั ฐานโบราณคดี จารกึ และ
ศิลปกรรม, 136-137.

38 สวา ง สมิ ะแสงยาภรณ, “แบบศลิ ปะทปี่ รากฏในงานจติ รกรรมฝาผนงั ภายในกรุ ณ
พระปรางคประธานวดั ราชบรู ณะ จังหวดั พระนครศรีอยธุ ยา” (ศิลปะนพิ นธปริญญาศลิ ปะบณั ฑิต
ภาควิชาประยกุ ตศิลปศึกษา คณะมณั ฑนศลิ ป มหาวทิ ยาลยั ศลิ ปากร, 2522), 33.

39 สมเด็จกรมพระปรมานุชติ ชโิ นรส, พระปฐมสมโพธิกถา, 401.

59

รูปแบบพระพุทธรูปบนพระพิมพที่ทําเปนอิริยาบถลีลา ซึ่งเปนท่ีเขาใจโดยทั่วไปวาพระพุทธรูป
อิริยาบถดงั กลาวอาจมคี วามหมายถึงการเสด็จลงจากดาวดึงส

2.2 รปู แบบพระพมิ พท ่ปี รากฏ
พระพิมพประเภทประดบั ซมุ (ซุมหนานาง)
นิยมทํารูปเสารองรับหลังคาแบบซุมหนานาง โดยมีพระพุทธรูปประทับอยูภายใน

และมีฉัตรลักษณะคลายลม กางกนั้ อยูเ หนือซุมหนา นาง รวมถงึ นยิ มประดับแจกนั ปกดอกบวั บรเิ วณ
เสาเรือนแกวท้ังสองขางเพ่ือเปนพุทธบูชา และเปนที่นาสังเกตวาพระพิมพแบบสุโขทัยมีลักษณะ
นิยมทําพระพุทธรูปประทับบนฐานบัว 2 ชั้น คือ ฐานบัวช้ันแรกทําออกมาในลักษณะดอกบัว
รองรับองคพระ และฐานบัวชั้นที่สองรองรับซุมเรือนแกวและแจกันดอกไม โดยทําเปนลวดบัว
หงายประดับกลีบบวั ทองไม และลวดบวั คว่ําประดบั กลีบบัว ซึ่งฐานทงั้ หมดมีลกั ษณะคลา ยอยใู น
ผังยกเกจ็ (ภาพลายเสนที่ 2 )

ลักษณะเดนของซุมหนานางบนพระพิมพหมวดน้ีอยูที่การประดับกระหนกตัวเล็กเรียง
ลายอยูรอบขอบบน และขอบลางของกรอบซุม สวนกึ่งกลางดานบนของกรอบซุมจะมีการ
ประดับตาบทรงรีที่ประดับกระหนกขนาดเล็กอยูภายใน และในสวนปลายกรอบซุมท้ังสองขางมี
ลักษณะของการทําเปนลายกลุมกระหนกท่ีโคงเขาโคงออก และสวนโคนของกระหนกวงโคง
กลุม ดังกลาวไดถูกปดทับดวยลายดอกไมคร่ึงวงกลม ท้ังน้ีลวดลายกระหนกท้ังหมดในสวนปลาย
กรอบซุมทั้งสองขา งนถ้ี กู จัดวางอยูในกรอบทรงโคง มนอยา งเปนระเบียบ (ภาพลายเสน ที่ 3)

ภาพลายเสน ที่ 2 ลักษณะสว นฐานของพระพมิ พศิลปะสโุ ขทัย จากกรพุ ระปรางคว ัดราชบรู ณะ
พระนครศรีอยธุ ยา

60

ภาพลายเสน ท่ี 3 ซมุ หนานางบนพระพิมพศ ลิ ปะสุโขทยั จากกรุพระปรางคว ัดราชบรู ณะ
พระนครศรีอยุธยา

จากลักษณะเดนของรูปแบบซุมหนานางในพระพิมพหมวดดังกลาวท่ีเปนลักษณะของ
กรอบซุมหนา นางศิลปะสโุ ขทัย โดยสามารถวเิ คราะหไดจ ากสวนของปลายกรอบซุมที่ทําเปน กลุม
กระหนกวงโคง และในสวนโคนของกลุมกระหนกปดทับดวยลายดอกไมคร่ึงวงกลม รวมถึง
ระเบียบการจัดวางกระหนกตัวเหงาเรียงลายรอบขอบบนและขอบลางของกรอบซุม ซึ่งลักษณะ
ดังกลาวนช้ี วนใหน ึกถงึ ระเบียบการจัดลายของกรอบซุมหนานางในศิลปะสุโขทัย โดยเฉพาะกรอบ
ซุมหนานางปูนปนประดับเจดียรายบางองคในวัดเจดียเจ็ดแถว ศรีสัชนาลัย อาทิเชน ซุมจระนํา
เจดยี ป ระจาํ ดานหมายเลข 33 ซุมจระนําเจดียรายหมายเลข 10 และซุมจระนําเจดียรายหมายเลข 25
เปนตน (ภาพท่ี 36, ภาพลายเสนท่ี 4 ) ซ่ึงเจดียรายกลุมดังกลาวนี้สันนิษฐานวาสรางขึ้นในชวง
รัชกาลพญาลิไทย (ปลายพทุ ธศตวรรษที1่ 9)40

40 สันติ เล็กสมุ , เจดียสมยั สุโขทัย ท่วี ดั เจดยี เ จด็ แถว, 27.

61

ภาพที่ 36 กรอบซุมหนานางประดับเจดยี หมายเลข 25 วดั เจดยี เ จ็ดแถว ศรีสชั นาลยั

ภาพลายเสน ที่ 4 กรอบซมุ หนา นางประดับเจดียหมายเลข 25 วัดเจดยี เจด็ แถว ศรีสัชนาลยั
2.3 ขอสนั นษิ ฐานในการกําหนดอายุรูปแบบพระพิมพ

ในบรรดาพระพิมพที่พบในกรุพระปรางควัดราชบูรณะ พระพิมพลีลาในซุมหนานาง
หรอื ทน่ี ิยมเรียกกันวา “พระกําแพงศอก” แสดงถึงรูปแบบอิทธิพลศิลปะสุโขทัยอยางแทจริง ทั้งใน
สว นของพุทธลักษณะของพระพุทธรูปลีลาแบบพระพุทธรูปหมวดใหญ รวมถึงพระอิริยาบถลีลาท่ี

62

ไดสัดสวนสมบูรณ 41 และที่สําคัญคือรูปแบบซุมหนานางที่มีลวดลายใกลเคียงกับซุมหนานาง
ประดับสถาปต ยกรรมสุโขทยั ท่ีสรา งข้ึนในรชั กาลพญาลไิ ทย (ราวปลายพทุ ธศตวรรษท่ี19)

อยางไรก็ตามเปนท่ีนาสังเกตวารูปแบบของพระพิมพหมวดดังกลาวท่ีแสดงถึงรูปแบบ
ศิลปะสุโขทัยอยางชัดเจนนี้ไมนิยมพบมากนักในจังหวัดสุโขทัย แตพบมากในดินแดนของ
อาณาจักรอยุธยา ซึ่งนอกจากจะพบบรรจุอยูภายในกรุพระปรางควัดราชบูรณะแลว ยังมีการพบ
อีกเปนจํานวนมากในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยเฉพาะในกรุปรางคประธานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
(ภาพที่ 37 ) ในกรุเจดียทรงระฆังวัดชุมนุมสงฆ และในกรุเจดียวัดสนามชัย 42 และเปนท่ีทราบกัน
บางแลววาจังหวัดสุพรรณบุรีในสมัยอยุธยาตอนตนมีความเกี่ยวพันธกับอาณาจักรอยุธยาอยาง
ใกลชิด โดยเฉพาะเปนเมืองท่ีกษัตริยในราชวงศสุพรรณบุรีเคยปกครองมากอนที่จะมาเสวยราชย
ในอยุธยา นับต้ังแต สมเด็จพระบรมราชาธิราชท่ี 1 (ขุนหลวงพะง่ัว) และสมเด็จพระนครินทราธิ
ราช43

ภาพที่ 37 พระพิมพซ ุม หนานาง ศิลปะสโุ ขทัย จากกรปุ รางคป ระธานวัดพระศรีรตั นมหาธาตุ
สพุ รรณบุรี

ทม่ี า : มนสั โอภากลุ , พระกรุเมืองสุพรรณ (กรุงเทพฯ : โรงพิมพรงุ วัฒนา, 2516), 2.

41 สันติ เล็กสุขุม, ศิลปะสโุ ขทัย, พิมพค ร้งั ที่ 2 ( กรงุ เทพฯ : สาํ นกั พมิ พเมืองโบราณ,
2549), 141.

42 มนสั โอภากลุ , พระกรุเมืองสุพรรณ (กรงุ เทพฯ : โรงพิมพรงุ วัฒนา, 2516), 29-30.
43 “พระราชพงศาวดารกรุงเกา ฉบบั หลวงประเสรฐิ อักษรนิต์ิ,” ใน คาํ ใหการชาวกรงุ
เกา คําใหก ารขนุ หลวงหาวดั และพระราชพงศาวดารกรงุ เกา ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิต,ิ์ 444,
445, 446.

63

ปรางคประธานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี นับเปนกรุใหญที่พบพระพิมพลีลา
กําแพงศอกเปนจํานวนมาก ซ่ึงพระปรางคองคดังกลาวนี้มีประเด็นการกําหนดอายุโดยวิเคราะห
จากขอความบนจารึกท่ีพบในพระปรางค พอสันนิษฐานไดวาสมเด็จพระบรมราชาธิราชท่ี 2 (เจา
สามพระยา) ทรงสรางพระปรางค และตอมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ผูเปนพระราชโอรสทรง
สรางซอมใหสูงกวาเดิม44 ซ่ึงก็สอดคลองกับลวดลายปูนปนประดับปรางคที่บงวาควรเปนลายท่ี
นิยมอยูในชวงพุทธศตวรรษที่ 21 ซึ่งหมายถึงฝมือซอมของชางในสมัยสมเด็จพระบรมไตร
โลกนาถ45 เพราะฉะน้ันพระพิมพที่บรรจุภายในกรุพระปรางคก็ควรบรรจุในคราวแรกสราง ซ่ึงก็
คอื ในสมัยสมเดจ็ เจาสามพระยา

ดังน้ันอาจสันนิษฐานไดวาสมเด็จเจาสามพระยาทรงสรางพระปรางควัดราชบูรณะในป
พ.ศ.1967 และหลังจากน้ันก็ทรงสรางพระปรางควัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี
สอดคลองกับรูปแบบพระพิมพบางพิมพท่ีพบในกรุท้ังสองแหงนี้ก็มีความใกลเคียงกัน โดยเฉพาะ
พระพิมพลีลาในซุมหนานาง หรือพระลีลากําแพงศอก อยางไรก็ตามรูปแบบพระพิมพที่บรรจุอยู
ในกรุพระปรางควัดราชบูรณะนาจะมีมาแลวในสมัยสมเด็จพระนครินทราธิราช ทั้งน้ีเพราะในป
พ.ศ.1967 เปนปทสี่ มเด็จพระนครนิ ทราธิราชสวรรคตและสมเด็จเจาสามพระยาท่ีทรงข้ึนครองราชย
สืบตอพรอ มกับทรงสรา งวัดราชบูรณะข้ึนในปเดียวกัน สอดคลองกับการพบพระพิมพลีลากําแพง
ศอกแบบดังกลาวในกรุเจดียทรงระฆัง วัดชุมนุมสงฆ จังหวัดสุพรรณบุรี ซ่ึงในคราวเปดกรุในป
พ.ศ.2504 จากคําปราศรัยของ นายกฤษณ อินทโกศัย รองอธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้นได
สันนิษฐานวาเจดียวัดชุมนุมสงฆสรางข้ึนกอนวัดราชบูรณะ 15 ป46 ซึ่งก็ตรงกับรัชกาลของสมเด็จ
พระนครนิ ทราธิราช (พ.ศ.1952-1967)47

เปนท่ีนาสังเกตวาเหตุใดพระพิมพลีลากําแพงศอกท่ีมีรูปแบบศิลปะสุโขทัยในชวงปลาย
พุทธศตวรรษท่ี 19 ทําไมจึงพบมากในเมืองของอาณาจักรอยุธยา และมีความเกี่ยวของกับสมเด็จ
พระนครินทราธิราช และ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจาสามพระยา) ท้ังน้ีจากขอมูลในจารึก

44 ประเสรฐิ ณ นคร, “จารกึ ลานทอง วัดพระศรรี ัตนมหาธาตุ สุพรรณบรุ ,ี ” ใน อกั ษร
ภาษา จารกึ วรรณกรรม รวมบทนิพนธ “เสาหลักทางวิชาการ” ของ ศาสตราจารย ดร.ประเสรฐิ ณ
นคร ( กรุงเทพฯ : สาํ นักพิมพม ตชิ น, 2549), 179-187.

45 สนั ติ เลก็ สุขมุ , วิวัฒนาการของช้นั ประดบั และลวดลายสมยั อยุธยาตอนตน , 62.
46 มนัส โอภากลุ , พระกรุเมืองสุพรรณ, 51.
47 “พระราชพงศาวดารกรุงเกา ฉบบั หลวงประเสริฐอักษรนติ ิ์,” ใน คําใหก ารชาวกรุงเกา
คําใหการขนุ หลวงหาวดั และพระราชพงศาวดารกรุงเกา ฉบบั หลวงประเสริฐอกั ษรนติ ์ิ, 445-446.

64

วดั สรศักด์สิ ามารถทาํ ใหพ อเขาใจวาวา สมเด็จพระนครินทราธิราชทรงมพี ระมเหสีพระองคห น่ึงเปน
ชาวสุโขทัย ซ่ึงพระมเหสีพระองคนั้นทรงเปนพระราชมารดาของ “สมเด็จพระบรมราชาธิบดีศรี
มหาจักรพรรดิราช” ซ่ึงพระนามดังกลาวสันนิษฐานวาเปนพระนามของสมเด็จเจาสามพระยา แต
สําหรับในสว นของสมเดจ็ พระนครินทราธริ าชจะทรงมเี ช้ือสายสุโขทยั ดวยหรือไมยังไมอาจสรปุ ได
แนชัดนัก แตมีขอ สังเกตวา กอนหนาทส่ี มเด็จพระนครินทราธิราชจะทรงขึ้นครองกรุงศรีอยุธยาใน
พ.ศ.1952 พระองคอยูท่ีสุพรรณบุรี และหลังจากขึ้นครองได 7 ป โอรสของพระองคคือเจาสาม
พระยาไดเคยไปท่ีสุโขทัย ทําใหคิดวาขณะท่ีพระองคอยูท่ีสุพรรณบุรีพระองคไดมีความเกี่ยวของ
กับราชวงศสุโขทัยมากอนแลว 48สอดคลองกับการพบพระพิมพลีลาแบบสุโขทัยจํานวนมากใน
จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเปนเมืองที่พระองคเคยปกครองมากอน ดังน้ันพระพิมพลีลากําแพงศอก
แบบดังกลาวอาจเปนสัญลักษณแสดงความเปนเช้ือสายราชวงศสุโขทัยของสมเด็จพระนครินทราธิ
ราชก็อาจเปน ได

ผลจากการศึกษารายละเอยี ดสวนตางๆ ท้งั ในสว นของรูปแบบพระพุทธรูปบนพระพิมพ
และรปู แบบซมุ หนานางบนพระพิมพ รวมถึงรูปแบบของพระพิมพล วนสง ผลไปในทิศทางเดยี วกัน
คือ รูปแบบพระพิมพศิลปะสุโขทัยหมวดดังกลาวน้ีนาจะมีมาแลวต้ังแตรัชกาลของพญาลิไท หรือ
ในชวงปลายพุทธศตวรรษท่ี 19 แตจากการพบพระพิมพแบบดังกลาวในอาณาจักรอยุธยาชวงครึ่ง
หลัง พุทธศตวรรษที่ 20 และมีความแพรหลายไมมากนัก สวนใหญพบในกรุพระปรางควัดราช
บูรณะ และในจังหวัดสุพรรณบุรี ซ่ึงเปนกลุมโบราณสถาน ที่มีความเก่ียวของกับสมเด็จพระนคริ
นทราธิราช และ สมเด็จเจาสามพระยา ซึ่งกษัตริยคูดังกลาวมีความเก่ียวของในดานเครือญาติกับ
อาณาจักรสโุ ขทัย

หมวดท่ี 3 พระพมิ พอิทธพิ ลศลิ ปะสโุ ขทัย

พระพิมพหมวดดังกลาวปรากฏการเขามามีบทบาทของอิทธิพลศิลปะสุโขทัยอยาง
ชัดเจน ดังพิจารณาในข้ันตนไดจากรูปแบบพระพุทธรูปบนพระพิมพท่ีมีพระพักตรรูปไข พระ
วรกายมีลักษณะผอมบาง แตอยางไรก็ตามพระพิมพหมวดดังกลาวยังคงแสดงถึงความแตกตาง
ของรูปแบบพิมพ ท่ีอาจเกิดจากความแตกตางทางดานระยะเวลา ซ่ึงสงผลโดยตรงตอรูปแบบ

48 พิเศษ เจยี จนั ทรพงษ, “การรวมอาณาจกั รสุโขทยั กับอยธุ ยา,” เมืองโบราณ 1 , 2
( มกราคม-มนี าคม 2518) : 32-33.

65

ศิลปะสุโขทัยท่มี อี ยูมากนอยแตกตางกันไปในแตละพิมพ จึงสงผลใหสามารถแยกศึกษาพระพิมพ
หมวดดังกลา วออกเปน 2 ระยะดวยกัน ดังทจ่ี ะไดท ําการศกึ ษาตอ ไป

3.1 พระพิมพอทิ ธพิ ลศิลปะสุโขทัย ระยะที่ 1
3.1.1 รูปแบบพระพุทธรูปบนพระพิมพ
ลักษณะพระพักตรเปนรูปไข พระขนงโกงโคง การแสดงออกของสีพระพักตร

ยังคงดุดัน ประดับไรพระศก พระรัศมีเปนเปลว พระวรกายบอบบางแตการวางอิริยาบถดูแข็ง
กระดาง ลักษณะการครองจีวรนิยมครองจีวรหมเฉียงในอิริยาบถประทับน่ัง และนิยมครองจีวร
หมคลุมในอิริยาบถประทับยืน ในสวนรายละเอียดของจีวรมีลักษณะเชนเดียวกับรูปแบบ
พระพุทธรูปหมวดที่ 1 ซ่ึงพุทธลักษณะแบบดังกลาวจัดเปนรูปแบบพระพุทธรูปแบบอูทองรุนท่ี 3
ทนี่ ยิ มสรา งในชว งพทุ ธศตวรรษท่ี 2049

อยางไรก็ตามลักษณะสีพระพักตรของพระพุทธรูปกลุมน้ีคอนขางดุดันตางกับสี
พระพักตรที่ออนหวานแบบพระพุทธรูปสุโขทัย รวมถึงมีการประดับไรพระศก หรือแถบ
รัดประคดขนาดใหญคาดทับจีบผาหนานาง ซึ่งลักษณะดังกลาวน้ีแสดงภาพลักษณของอิทธิพล
ศิลปะลพบุรีอยางชัดเจน สําหรับพุทธลักษณะแบบดังกลาวนี้มีความสอดคลองกับรูปแบบ
พระพุทธรูปแบบอูทองรุนที่ 3 แตก็มีความเปนไปไดวาอาจเปนรูปแบบพระพุทธรูปอูทองรุนท่ี 3
ในระยะเริ่มแรก ท้ังน้ีเน่ืองจากปรากฏอิทธิพลศิลปะลพบุรีอยูคอนขางมาก รวมถึงการแสดงพระ
อิริยาบถท่ียังดูแข็งกระดางอยูหากเทียบกับพระพุทธรูปแบบสุโขทัย อยางไรก็ตามการเขามามี
บทบาทของอิทธิพลสุโขทัยที่มีตอรูปแบบพระพุทธรูปแบบดังกลาวน้ีสอดคลองกับการพบรูปแบบ
พระพุทธรูปอิริยาบถลีลาในพระพิมพกลุมน้ีดวย ซึ่งเปนท่ีทราบกันดีแลววาพระพุทธรูปลีลาเปน
เอกลักษณของศิลปะสุโขทัย แตเปนท่ีนาสังเกตวารูปแบบพระพุทธรูปลีลาของพระพิมพกลุมน้ีมี
รายละเอียดบางอยางท่ีแตกตางไปจากพระพุทธรูปลีลาในศิลปะสุโขทัย โดยเฉพาะ การครองจีวร
แบบหมคลุม มีแถบรัดประคดคาดทับจีบผาหนานาง ตามลักษณะการครองผาแบบพระอิริยาบถ
ประทับยืนในศิลปะอยุธยาตอนตน หรือหากปรากฏการครองจีวรหมเฉียงก็ยังคงแสดงแถบ
รัดประคดคาดทับจีบผาหนานางอยางชัดเจน รวมถึงอิริยาบถลีลาก็ขาดความงดงามออนชอยตาม
แบบศิลปะสโุ ขทยั อยางเห็นไดช ัด

49 สันติ เล็กสขุ ุม, ประวตั ิศาสตรศลิ ปะไทยฉบับยอ การเรมิ่ ตน และการสบื เนื่องงานชา ง
ในศาสนา, 152-153.

66

3.1.2 รปู แบบพระพมิ พทปี่ รากฏ
สามารถแบงออกเปนแตละประเภทคือ พระพิมพประเภทประดับซุม และพระ

พมิ พป ระเภทแผง ดังจะไดท ําการศกึ ษาในสวนของรายละเอยี ดตอไป
พระพิมพป ระเภทประดับซุม พระพิมพประเภทดังกลาวประกอบดวยซุมรูปแบบ

ตางๆ คอื ซุมทรงบรรพแถลง และ ซมุ เรือนแกว ดงั จะไดท ําการศกึ ษาตอไป
พระพิมพซุมทรงบรรพแถลง มีลักษณะเปนซุมทรงจ่ัวคลายหนาบรรพ

(หนาบัน) ปราสาทขอม ซ่ึงตัวกรอบซุมถูกรองรับดวยเสารองรับกรอบซุมที่มีลักษณะการประดับ
ลวดบัว ในสวนของกรอบซุมจะประกอบดวยใบระกาทรงสามเหลี่ยม ชอฟา และปลายกรอบ
ซุมท่ีทําเปนกระหนกมวนหัวเขา ลักษณะโดยรวมของซุมทรงบรรพแถลงแบบดังกลาวน้ีมีความ
ใกลเคียงกับซุมทรงบรรพแถลงในพระพิมพอิทธิพลศิลปะลพบุรี หมวดที่ 1 คอนขางมาก
โดยเฉพาะลักษณะซุมทรงบรรพแถลงที่มีลักษณะคลายการจําลององคประกอบของอาคารลงไปใน
ซุม เชน ลักษณะของหนาบรรพทรงจ่ัวที่ประกอบดวย ชอฟา ใบระกา รวมถึงเสารองรับกรอบ
ซมุ ท่ีมีการประดบั ลวดบัวในทาํ นองคลา ยกับเสาในอาคารจริง (ภาพที่ 38,39)

ภาพที่ 38 พระพิมพซุมทรงบรรพแถลง อิทธิพลศลิ ปะสุโขทัย จากกรพุ ระปรางคว ัดราชบรู ณะ
ทีม่ า : กรมศลิ ปากร, นาํ ชมพิพิธภัณฑสถานแหงชาตเิ จา สามพระยา (กรุงเทพฯ : รงุ ศลิ ปการพมิ พ,
2548), 123.

67

ภาพท่ี 39 พระพมิ พซ มุ ทรงบรรพแถลง อทิ ธพิ ลศลิ ปะสุโขทยั จากกรพุ ระปรางคว ัดราชบูรณะ
ที่มา : กรมศิลปากร, พระพทุ ธรูปและพระพิมพใ นกรุพระปรางคว ดั ราชบรู ณะ จังหวัด
พระนครศรีอยธุ ยา (พระนคร : หางหนุ สว นจํากัดศวิ พร, 2502), 366.

พระพิมพซุมเรือนแกว ทําเปนกรอบซุมที่ลอมไปตามเสนรอบนอกพระ
วรกายองคพระและมาบรรจบกันเปนทรงเรียวแหลมรับกับทรงของพระเศียร ในสวนปลายกรอบ
ซุมดานลางและชวงโคงเขาบริเวณพระศอทําเปนกระหนกโคงเขาซึ่งจะสังเกตไดชัดในกรณีท่ีพระ
พิมพมีขนาดใหญ สวนพระพิมพที่มีขนาดเล็กบางคร้ังจะตัดสวนกระหนกชวงพระศอออกไป ใน
สวนพน้ื ท่ดี านบนกรอบซุมนิยมประดบั รัศมีทีค่ ลา ยใบระกาเรยี งรายรอบกรอบซมุ (ภาพท่ี 40 )

รูปแบบซุมเรือนแกวแบบดังกลาวปรากฏระเบียบท่ีสอดคลองกับรูปแบบซุม
เรือนแกวในพระพิมพอิทธิพลศิลปะลพบุรี หมวดท่ี 1 กลาวคือ ปรากฏการประดับรัศมีท่ีคลาย
ใบระกาดานบนกรอบซุม และในชวงโคงบริเวณพระศอรวมถึงสวนปลายกรอบซุมทําเปน
กระหนกมวนหัวเขาซ่ึงจะสังเกตไดชัดเจนในกรณีพระพิมพท่ีมีขนาดใหญ แตในสวนของพระ
พิมพที่มีขนาดเล็กจะตัดทอนรายละเอียดของซุมบางสวนออกไปบางแตยังคงระเบียบแบบเดิมอยู
ลักษณะดังกลาวน้ีแสดงใหเห็นถึงกระแสอิทธิพลศิลปะอันสืบเนื่องมาจากศิลปะลพบุรียังคงมี
บทบาทอยูมากในพระพิมพกลุมนี้ อยางไรก็ดีเราไดพบพระพิมพที่มีรูปแบบซุมเรือนแกวประดับ
รวมกับพระลีลา (ภาพที่ 41) ทั้งน้ีเรามักพบวาพระลีลานิยมประดับรวมกับซุมทรงโคง แตการนํา
รูปแบบซุมเรือนแกวแบบดังกลาวมาใชรวมกับพระลีลาอาจเปนการผสมผสานระหวางความนิยม
รูปแบบซุม เรือนแกวของอยุธยาตอนตนกับรูปแบบพระพุทธรูปลีลาที่นิยมมากในศิลปะสุโขทัย ดัง

68

ปรากฏดวยเชนกันในงานประดับสถาปตยกรรมสมัยอยุธยาตอนตน เชน พระพุทธรูปลีลาปูนปน
ประดับจระนําเจดียแปดเหลี่ยมวัดไกเตี้ย สุพรรณบุรี ท่ีไดมีการกําหนดอายุอยูในชวงตนพุทธ
ศตวรรษที่ 2050

ภาพที่ 40 พระพิมพซมุ เรอื นแกว อิทธิพลศิลปะสโุ ขทัย จากกรพุ ระปรางควดั ราชบูรณะ
ที่มา : กรมศิลปากร, นําชมพิพิธภณั ฑสถานแหง ชาตเิ จาสามพระยา (กรงุ เทพฯ : รุงศลิ ปก ารพิมพ,
2548), 120.

ภาพที่ 41 พระพิมพซมุ เรือนแกว อิทธิพลศิลปะสโุ ขทัย จากกรพุ ระปรางควัดราชบรู ณะ
ทมี่ า : กรมศิลปากร, พระพทุ ธรูปและพระพิมพในกรพุ ระปรางคว ัดราชบรู ณะ จงั หวดั
พระนครศรอี ยธุ ยา (พระนคร : หางหนุ สว นจาํ กดั ศวิ พร, 2502), 211.

50 สนั ติ เลก็ สขุ มุ , ววิ ัฒนาการของชนั้ ประดบั และลวดลายสมัยอยธุ ยาตอนตน, 81.

69

พระพิมพป ระเภทแผง
ทําเปนพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับนั่งประทับน่ังเรียงรายภายในกรอบทรง
สี่เหล่ียมปลายมนลักษณะใกลเคียงกับพระพิมพประเภทแผงอิทธิพลศิลปะลพบุรี หมวดท่ี 1 แตจะ
ไมนิยมปรากฏภาพพระพุทธรูปองคใหญประดิษฐานเปนประธานอยูกลางพระแผง และในสวน
พุทธลกั ษณะของพระพทุ ธรปู บนพระพมิ พจะมคี วามบอบบางมากยง่ิ ขนึ้ (ภาพที่ 42)

ภาพท่ี 42 พระพิมพป ระเภทแผง อิทธพิ ลศิลปะสุโขทัย จากกรุพระปรางคว ัดราชบรู ณะ
ที่มา : กรมศิลปากร, พระพุทธรูป และพระพิมพ ในกรุพระปรางควัดราชบูรณะ จังหวัด
พระนครศรอี ยธุ ยา (พระนคร : หางหนุ สวนจํากดั ศวิ พร, 2502), รปู ที่ 171.

3.1.3 ขอสนั นิษฐานในการกําหนดอายุรูปแบบพระพิมพ
รูปแบบอิทธิพลทางศิลปะรวมถึงระเบียบการจัดวางรายละเอียดตางๆบนพระพิมพ

กลุมดังกลาวมีรูปแบบเดียวกับพระพิมพอิทธิพลศิลปะลพบุรี ซ่ึงมีพ้ืนฐานมาจากอิทธิพลศิลปะ
พุกาม และศิลปะลพบุรี แตอีกสวนหน่ึงก็มีการพัฒนารูปแบบเพิ่มข้ึน ท้ังนี้อาจเน่ืองจากการเขา
มาของกระแสอิทธิพลศิลปะสุโขทัยซึ่งสงผลโดยตรงตอรูปแบบพระพุทธรูปท่ีมีลักษณะพระพักตร
รูปไข พระรัศมีเปนรูปเปลว และพระวรกายบอบบาง คลายพระพุทธรูปหมวดใหญศิลปะสุโขทัย
ดังนน้ั ในการกําหนดอายุรูปแบบพระพิมพกลุมดังกลาวจะตองทําความเขาใจเก่ียวกับการเขามาของ
อิทธพิ ลศิลปะสโุ ขทัยในอาณาจกั รอยธุ ยาวาเกดิ ขึ้นในระยะเวลาใด

จากหลักฐานในพงศาวดารกลาวถึงเหตุการณความสัมพันธระหวางอยุธยากับ
สุโขทัย เริ่มปรากฏชัดเจนในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชท่ี 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ท้ังน้ีเพราะใน

70

รัชกาลของพระองคสามารถตีเมืองสุโขทัยเปนเมืองขึ้นไดในป พ.ศ.192151 ซ่ึงชวงเวลาดังกลาว
อิทธิพลศิลปะสุโขทัยอาจเขามามีบทบาทอยางจริงจังในดินแดนอยุธยา ดังเห็นไดจากรูปแบบ
ศิลปกรรมท่ีสรางขึ้นในสมัยของพระองค เชน เจดียประจําดานทรงปราสาทยอดแบบสุโขทัย52
และพระพุทธรูปหินทรายแบบอูทองรุนที่ 3 ประดิษฐานทางตะวันตกของปรางคมหาธาตุ วัด
มหาธาตุ พระนครศรีอยุธยา (ภาพที่ 43) ประกอบกับพระพิมพที่พบจากกรุพระปรางควัดมหาธาตุ
แหง น5ี้ 3 ก็ปรากฏอิทธิพลศิลปะสุโขทัยผานรูปแบบพระพุทธรูปบนพระพิมพท่ีมีพุทธลักษณะแบบ
อูท องรุนที่ 3 (ภาพท่ี 44 )

ภาพท่ี 43 พระพุทธรูปแบบอูทองรนุ ท่ี 3 หินทราย วัดมหาธาตุ พระนครศรอี ยุธยา
51 “พระราชพงศาวดารกรงุ เกา ฉบบั หลวงประเสริฐอกั ษรนติ ์,ิ ” ใน คําใหก ารชาวกรุงเกา

คาํ ใหการขนุ หลวงหาวดั และพระราชพงศาวดารกรุงเกา ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนติ ์ิ, 445.
52 สันติ เล็กสขุ ุม, เจดยี ร ายทรงปราสาทยอด วัดราชบรู ณะ จังหวดั พระนครศรีอยุธยา,

51.
53 กรมศิลปากร, นาํ ชมพิพธิ ภณั ฑสถานแหง ชาตเิ จา สามพระยา, (กรุงเทพฯ : รงุ ศิลปก าร

พิมพ, 2548), 220. (ภาพประกอบ)

71

ภาพท่ี 44 พระพิมพดนุ เงนิ พบจากกรพุ ระปรางควัดมหาธาตุ
ท่มี า : กรมศลิ ปากร, นําชมพิพิธภัณฑสถานแหงชาตเิ จา สามพระยา (กรุงเทพฯ : รุงศลิ ปก ารพมิ พ,
2548), 220.

ดังนั้นอาจสรุปไดวารูปแบบพระพิมพกลุมดังกลาวอาจเปนรูปแบบพระพิมพที่มี
มาแลวในชวงระยะแรกของอาณาจักรอยุธยา ซ่ึงเปนชวงท่ีอิทธิพลศิลปะลพบุรียังคงนิยมอยู
รวมถงึ มกี ารเร่มิ เขามาของอิทธิพลศิลปะสุโขทัย ซ่ึงก็อาจอยูในชวงรัชกาลขุนหลวงพะง่ัวเปนอยาง
นอย และจากการเปดกรุพระปรางควัดราชบูรณะ ก็พบความหลากหลายของรูปแบบพระพิมพ
กลุมดังกลาวพอสมควร จึงเช่ือวาเปนรูปแบบพระพิมพท่ีมีการเขามาของอิทธิพลศิลปะสุโขทัยใน
ระยะแรก ซ่ึงอาจเปนรูปแบบท่ีเกิดข้ึนในชวงตนพุทธศตวรรษที่ 20 และยังคงมีเลื่อยมาถึงครึ่งหลัง
พุทธศตวรรษท่ี 20
3.2 พระพมิ พอ ิทธพิ ลศลิ ปะสโุ ขทัย ระยะท่ี 2

3.2.1 รูปแบบพระพทุ ธรูปบนพระพมิ พ
รูปแบบพระพิมพในระยะดังกลาวปรากฏอิทธิพลศิลปะสุโขทัยชัดเจนกวาในพระ

พิมพอิทธิพลศิลปะสุโขทัยระยะแรก ดังสังเกตไดจากลักษณะพระพักตรรูปไขที่มีสีพระพักตรดู
ออ นหวาน และไมนิยมประดบั ไรพระศก ในสว นของพระวรกายมลี กั ษณะผอมบางและดอู อ นชอ ย

72

สอดคลองกับพระกรที่มีขนาดเล็กและเรียวยาว รวมถึงลักษณะการครองจีวรท่ีไมนิยมการทําแถบ
รดั ประคดขนาดใหญ โดยเฉพาะในพระพุทธรูปอิริยาบถประทับนั่ง แตยังคงมีการทําสังฆาฏิท่ียาว
จรดพระนาภี และมีสวนปลายคลายเข้ียวตะขาบ นอกจากนี้ลักษณะพระพุทธรูปลีลาบนพระพิมพ
กลมุ ดงั กลา วยงั คงแสดงถงึ อริ ยิ าบถลลี าที่ดูออ นชอยใกลเคยี งศลิ ปะสุโขทัยมากยิง่ ข้นึ

3.2.2 รูปแบบพิมพท ่ีปรากฏ
รูปแบบพระพิมพในระยะดังกลาวแสดงความเปนรูปแบบศิลปะสุโขทัยโดยผาน

พทุ ธลกั ษณะของพระพุทธรูปอยางชัดเจน แตลักษณะลายละเอียดในพระพิมพกลับมีทั้งแบบอยาง
ศิลปะสุโขทัย และแบบท่ีสืบเนื่องมาจากอิทธิพลศิลปะลพบุรี จึงสงผลใหในการศึกษาพระพิมพ
หมวดน้ีสามารถจาํ แนกออกเปน 2 กลมุ ไดดังตอไปนี้

3.2.2.1 พระพิมพอิทธิพลศิลปะสุโขทัย ระยะที่ 2 กลุมที่ 1 แบงเปน พระพิมพ
ประเภทประดบั ซุม พระพมิ พป ระเภทแผง และ พระพมิ พประเภทโพธบิ ัลลงั ก ดังตอ ไปนี้

พระพิมพประเภทประดับซุม พระพิมพประเภทดังกลาวประกอบดวยซุม
รปู แบบตางๆ คือ ซมุ หนา นาง และ ซุมทรงโคง ดังจะไดท ําการศึกษาตอ ไป

พระพิมพซุมหนานาง รูปแบบพระพิมพกลุมน้ีเปนรูปแบบที่สืบ
เนื่องมาจากพระพิมพแบบศิลปะสุโขทัย โดยเฉพาะการนําลักษณะพระพุทธรูปปางมารวิชัย และ
พระพุทธรูปลีลาที่ประทับอยูภายในซุมหนานางท่ีประดับลวดลายประเภทพันธุพฤกษาอยาง
มากมาย เชน การประดับแจกันดอกไมบริเวณเสาเรือนแกว รวมถึงลักษณะฐานบัวสองช้ัน ที่ช้ัน
แรกเปนกลีบบัวรองรับพระพุทธรูป ชั้นที่สองรองรับซุมเรือนแกวและแจกันดอกไม โดยมี
ลกั ษณะเปนกลีบบัวหงาย ทองไม และกลีบบวั คว่ํา

ลกั ษณะโดยรวมของซุมหนานางแบบน้ีมีลักษณะเปนกรอบซุมหนา
นางท่ีไมมีการประดับแถวลายกระหนกที่ดานบนและดานลางของกรอบซุม คงเหลือไวเพียงแต
ลกั ษณะของกรอบซมุ เรียบๆ แตใ นสวนกลางของกรอบซุมมีการประดับแถวลายลูกประคํา 1 แถว
ไลเรียงไปตามแนวกรอบซุม ในสวนกลางดานบนของกรอบซุมมีการประดับตาบที่มีลักษณะ
แตกตางกันไป เชน ตาบทรงรีประดับลายลูกประคํา ตาบทรงกลีบบัวประดับลายลูกประคํา และ
ตาบลายดอกไมกลีบซอนอยางจีน และในสวนปลายกรอบซุมท้ัง 2 ขางมีลักษณะเปนลาย
กระหนกแบบอยุธยาตอนตน (ภาพที่ 45,46 ) ซึ่งตางจากซุมหนานางในศิลปะสุโขทัยที่นิยมทํา
สวนปลายกรอบซมุ หนานางเปน กลุมกระหนกคดโคง

73

ภาพท่ี 45 พระพมิ พซุมหนานาง อทิ ธิพลศิลปะสโุ ขทัย จากกรพุ ระปรางคว ัดราชบรู ณะ
ทีม่ า : กรมศลิ ปากร, พระพทุ ธรปู และพระพมิ พในกรพุ ระปรางคว ดั ราชบูรณะ จงั หวดั
พระนครศรีอยธุ ยา (พระนคร : หางหุนสว นจาํ กดั ศวิ พร, 2502), 294.

ภาพท่ี 46 พระพิมพซ ุมหนา นาง อทิ ธพิ ลศลิ ปะสโุ ขทัย จากกรุพระปรางควดั ราชบรู ณะ
ที่มา : กรมศลิ ปากร, พระพทุ ธรปู และพระพมิ พในกรพุ ระปรางควัดราชบรู ณะ จังหวัด
พระนครศรอี ยธุ ยา (พระนคร : หา งหนุ สว นจํากัดศวิ พร, 2502), 143.

74

นอกจากนี้ยังปรากฏพระพิมพประเภทซุมหนานางที่ประดับดอกไม
กลบี ซอนบนยอดซมุ (ซุมเสมาทิศ) ลักษณะดอกไมคลายดอกไมในอิทธิพลศิลปะจีน(ภาพท่ี 47) ซ่ึง
รูปแบบลายดอกไมอยางจีนท่ีประดับรวมกับพระพิมพแบบดังกลาวปรากฏรูปแบบเดนชัดในพระ
พิมพทองคําดุนนูนอิทธิพลศิลปะจีนที่พบในกรุพระปรางควัดราชบูรณะ54 (ภาพที่ 48 ) ความเปน
รูปแบบศิลปะจีนขององคพระพุทธรูปบนพระพิมพองคน้ีมีความสอดคลองกับรูปแบบของลาย
ดอกไมอยางจีนที่ประดับบนกรอบซุม และนอกเหนือจากอิทธิพลศิลปะจีนท่ีพบในรูปแบบของ
พระพิมพแลว งานจิตรกรรมภายในกรุ รวมถึงลายปูนปนประดับเรือนธาตุองคปรางค และลาย
ทองดุนนูนท่ีพบในกรุพระปรางคบางสวนท่ีปรากฏอิทธิพลศิลปะจีน อันแสดงใหเห็นวาชนชาวจีน
มีสวนรวมในการสรางพระปรางควัดราชบูรณะในคร้ังน้ี อิทธิพลศิลปะจีนจึงมีบทบาทสําคัญใน
คร้งั น้ดี วย55

ภาพท่ี 47 พระพมิ พซมุ หนานาง (ซุม เสมาทิศ) อิทธิพลศลิ ปะสโุ ขทยั จากกรพุ ระปรางค
วดั ราชบรู ณะ พพิ ิธภณั ฑสถานแหง ชาตเิ จาสามพระยา พระนครศรีอยธุ ยา

54 ชาญคณิต อาวรณ, “ริ้วจีวรแบบธรรมชาตใิ นศลิ ปะอยธุ ยา กับขอสันนิษฐานอิทธพิ ล
ศิลปะจีน หลกั ฐานจากวดั ราชบูรณะและวดั มหาธาตุ,” เมอื งโบราณ 35, 1 (มกราคม- มีนาคม 2552)
: 62-64.

55 ศักด์ชิ ยั สายสิงห, พัฒนาการศิลปกรรมสมัยกอนอยธุ ยา (พุทธศตวรรษที่ 18-23),
155.

75

ภาพท่ี 48 พระพิมพทองคาํ ดนุ นนู แสดงอทิ ธพิ ลศลิ ปะจนี จากกรุพระปรางคว ดั ราชบรู ณะ
พิพิธภณั ฑสถานแหงชาตเิ จาสามพระยา พระนครศรอี ยธุ ยา

ทมี่ า : กรมศิลปากร, เครอื่ งทองกรุวดั ราชบรู ณะ ศลิ ปะของแผน ดนิ (กรงุ เทพฯ : รงุ ศิลปการพิมพ,
2550), 112.

สําหรับลักษณะการประดับดอกไมที่ยอดซุมนับเปนรูปแบบเฉพาะ
ของพระพิมพกลุมนี้ ซึ่งดอกไมท่ีประดับอาจมีแรงบันดานใจจากดอกไมที่โปรยปรายลงมาจาก
สวรรค ท้ังน้ีในภาพปูนปนบนผนังมณฑปดานทิศตะวันตก วัดตระพังทองหลาง สุโขทัย แสดง
ภาพพุทธประวัติตอนยมกปาฏิหาริย โดยท่ีดานบนเปนภาพเหลาเทพยาดากําลังโปรยดอกไม ซ่ึงมี
ดอกไมดอกหน่ึงมีขนาดใหญรวงลงมาประดับอยูกึ่งกลางดานบนของซุมประภามณฑล (ปจจุบัน
หลุดรวงลงมาเกือบหมดแลว) (ภาพท่ี 49 ) ลักษณะดังกลาวนี้ชวนใหนึกถึงพระพิมพประเภท
ประดับดอกไมเหนือซุมทั้งในดานรูปแบบของดอกไม และตําแหนงของการประดับดอกไม ใน
ดานของความหมายดอกไมท่ีโปรยปรายลงมา รวมถึงดอกไมท่ีประดับเหนือซุมเรือนแกวของพระ
พิมพอาจมีความหมายถึงดอกมณฑาบุปผาชาติ ท่ีจะตกจากเทวโลกลงสูมนุษยโลกตอเมื่อกาลท่ี
พระพุทธเจาประสูติ กาลออกสูมหาภิเนษกรมณ กาลตรัสรู กาลตรัสเทศนาพระธรรมจักร กาล
กระทํายมกปาฏิหาริย กาลเสด็จลงจากดาวดึงส และกาลกําหนดปลงพระชนมายุสังขาร56 ดังน้ัน
ในการประดับดอกไมเหนือซุมที่มีพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับอยูภายในจึงแสดงถึงพุทธ

56 สมเด็จกรมพระปรมานชุ ติ ชโิ นรส, พระปฐมสมโพธิกถา, 401.

76

ประวัติตอนตรัสรูไดเชนเดียวกับการประดับพุมโพธิ์พฤกษเหนือซุมเรือนแกว รวมถึงพระพิมพที่
ทําเปนพระพุทธรูปลีลาประทับในซุมยอดดอกไม ซึ่งอาจแทนพุทธประวัติตอนเสด็จลงจาก
ดาวดงึ ส (ภาพท่ี 46 ) ทง้ั น้หี ากเปนตอนยมกปาฏหิ ารยิ จะตอ งปรากฏภาพตนคณั ฑามพพฤกษ

ภาพท่ี 49 เทวดาโปรยดอกไม ในภาพพทุ ธประวัติตอนยมกปาฏหิ าริย มณฑปวดั ตระพังทองหลาง
สุโขทัย

ทมี่ า : พริ ยิ ะ ไกรฤกษ, ศลิ ปะสโุ ขทัยและอยธุ ยา ภาพลกั ษณทตี่ อ งเปลย่ี นแปลง (กรงุ เทพฯ :
บริษทั อมรินทรพรน้ิ ติ้งแอนดพ บั ลชิ ชิ่งจาํ กดั , 2545), 81.

ดังน้ันรูปแบบซุมหนานางท้ัง 2 แบบน้ีปรากฏรายละเอียดที่ตางไป
จากรปู แบบซุมหนา นางศลิ ปะสโุ ขทยั รวมถงึ มีความสอดคลองกับลักษณะซุมหนานางประดับซุม
จระนําปูนปนที่พบภายในกรุพระปรางควัดราชบูรณะท่ีปรากฏรูปแบบในทํานองเดียวกับซุมหนา
นางแบบดังกลา ว ท้ังในสว นของกรอบซมุ หนานางทดี่ ูเรยี บงายไมมกี ารประดบั แถวกระหนกทง้ั ใน
สวนของดานบนและดานลางของกรอบซุม รวมถึงการประดับตาบทรงรีในสวนกลางดานบน
ของซุม และที่สําคัญในสวนปลายกรอบซุมทั้ง 2 ขางยังทําออกมาในลักษณะของกระหนกแบบ
อยุธยาตอนตน ดังนั้นจึงมีความเปนไปไดวารูปแบบกรอบซุมหนานางแบบดังกลาว นาจะเปน

77

รูปแบบท่ีเกิดข้ึนในชวงของการสรางปรางควัดราชบูรณะราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 20 (ภาพที่
50, ภาพลายเสน ที่ 5)

ภาพที่ 50 กรอบซุม หนา นางประดับซุมจระนาํ ในกรพุ ระปรางควัดราชบูรณะ

ภาพลายเสนที่ 5 กรอบซุมหนานางประดับซุม จระนําในกรุพระปรางคว ดั ราชบูรณะ
และจากจํานวนที่พบมากของพระพิมพซุมหนานางแบบดังกลาวใน

กรพุ ระปรางคว ดั ราชบูรณะ ก็นาเชอื่ วา เปนรูปแบบซุมท่ีประดับบนพระพิมพที่นิยมชวงคราวสราง
ปรางควัดราชบูรณะ หรือในราวคร่ึงหลังพุทธศตวรรษท่ี 20 เชนเดียวกัน อยางไรก็ตามพระพิมพ

78

ประเภทประดับซุมรูปแบบดังกลาวยังพบอีกเปนจํานวนมากในจังหวัดสุพรรณบุรี เชน ในกรุ
ปรางคป ระธานวัดพระศรรี ตั นมหาธาตุ57

พระพิมพซุมทรงโคง พระพิมพประเภทดังกลาวนิยมทําซุมทรงโคง
ครอบพระวรกายของพระพุทธรูปท่ีมีท้ังพระพุทธรูปปางมารวิชัย และพระพุทธรูปอิริยาบถลีลา
สําหรับลักษณะซุมแบบดังกลาวนี้อาจมีความหมายถึงพระรัศมีท่ีเปลงออกมาโดยรอบพระวรกาย
ของพระพุทธเจา ลักษณะซุมชนิดนี้มักจะมีรูปแบบกรอบซุมท่ีโคงรอบองคพระ บนสันกรอบซุม
ดา นบนนยิ มประดับแถวกระหนกตวั เหงา หรือครีบยาวทปี่ ระดบั เรยี งรายรอบกรอบซมุ สว นปลาย
กรอบซุมมีลักษณะกระหนกแบบอยุธยาตอนตน (ภาพท่ี 51 ) รวมถึงทําเปนมกรชูงวงหันหัวออก
(ภาพที่ 52 )

ภาพที่ 51 พระพิมพซ ุมทรงโคง อิทธพิ ลศิลปะสุโขทยั จากกรพุ ระปรางคว ดั ราชบูรณะ
ทมี่ า : กรมศิลปากร, พระพทุ ธรูปและพระพมิ พในกรุพระปรางคว ัดราชบูรณะ จังหวดั
พระนครศรอี ยธุ ยา (พระนคร : หา งหุน สว นจาํ กดั ศิวพร, 2502), 205.

57 มนัส โอภากลุ , พระกรุเมอื งสพุ รรณ, รปู ท่ี 12,13 . (ภาพประกอบ)

79

ภาพที่ 52 พระพมิ พซมุ ทรงโคง อิทธิพลศิลปะสโุ ขทยั จากกรพุ ระปรางควดั ราชบูรณะ
ท่ีมา : กรมศลิ ปากร, นาํ ชมพพิ ธิ ภณั ฑสถานแหงชาตเิ จา สามพระยา (กรงุ เทพฯ : รุง ศลิ ปก ารพิมพ,
2548), 114.

สําหรับรูปแบบพระพิมพประดับซุมทรงโคงปรากฏมาแลวใน
ศิลปะลพบุรี สุโขทัย และอยุธยาตอนตน ซึ่งในศิลปะลพบุรีนั้นซุมทรงโคงมีลักษณะการประดับ
ครีบแบบเรียวแหลมเรียงรายรอบกรอบซุม ในสวนศิลปะสุโขทัยรัศมีรอบซุมมักทําออกมาใน
ลักษณะคลายเปลวไฟ ซึ่งอาจเปนอิทธิพลศิลปะลังกา สวนในศิลปะอยุธยาตอนตนก็ยังคงพบ
หลักฐานการทําซุมทรงโคง โดยเฉพาะซุมทรงโคงปูนปนประดับจระนําเจดียทรงปราสาทยอด
แบบสุโขทัยประจํามุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และท่ีจระนําเจดียทรงปรางคประจํามุมทิศ
ตะวันตกเฉียงเหนือของปรางคประธาน วัดมหาธาตุ พระนครศรีอยุธยา สําหรับซุมทรงโคงท่ี
ดังกลาวนี้สนั นิษฐานวานาจะสรางขน้ึ โดยไดรบั อิทธิพลศลิ ปะสุโขทัย แตก็มีลักษณะเฉพาะซึ่งอาจ
เปน รปู แบบที่พัฒนาสบื เนอ่ื งมาจากในศลิ ปะลพบรุ ี โดยเฉพาะลักษณะการทาํ รศั มีที่เปน ครีบยืดยาว
ทั้งนี้ในชวงสมัยรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชท่ี 2 (ขุนหลวงพะง่ัว) ท่ีทรงยกกองทัพขึ้นไป

80

รุกรานและในที่สุดสามารถยึดสุโขทัยไดนับตั้งแต พ.ศ.192158เปนตนมา ซึ่งก็อาจสงผลใหอิทธิพล
ศิลปะสุโขทัยเขามามีบทบาทในชวงน้ี สอดคลองกับรูปแบบเจดียทรงปราสาทยอดแบบสุโขทัย
และพระพทุ ธรูปแบบอูทองรนุ ท่ี 3 ภายในวัดนี้

เปนท่ีสังเกตวารูปแบบซุมทรงโคงในพระพิมพกรุพระปรางควัด
ราชบูรณะหมวดน้ีสวนใหญมักประดับรวมกับพระพุทธรูปลีลาซ่ึงเปนท่ีนิยมมากในศิลปะสุโขทัย
แตกลับไมปรากฏการทํารัศมีแบบเปลวไฟอยางในศิลปะสุโขทัย ซ่ึงก็อาจเนื่องมาจากขนาดที่เล็ก
ของพระพิมพจ งึ ทําเปนเพยี งเสน ขดี เรียงรายกนั เทา นั้น แตในสวนพระพิมพองคที่มีขนาดใหญมาก
ก็ไมปรากฏการทํารัศมีแบบเปลวไฟดวยเชนกัน หากแตมีรูปแบบใหมเกิดข้ึนคือการทํากระหนก
ตัวเหงาเรียงรายรอบกรอบซุมและสวนปลายกรอบซุมทําเปนกระหนก หรือมกร และเปนที่นา
สังเกตวาในพระพิมพทองคําดุนนูนในกรุพระปรางควัดราชบูรณะบางองคปรากฏซุมทรงโคงใน
ลักษณะมกรสองตัวชูหางข้ึนเก้ียวกันเปนทรงโคงของซุม และใชครีบหลังมกรแทนลักษณะรัศมี
(ภาพที่ 53 ) ลักษณะดังกลาวน้ีนาจะเปนรูปแบบท่ีเกิดขึ้นเฉพาะในศิลปะอยุธยาตอนตน ทั้งนี้
เพราะศิลปะอยุธยานิยมนําลกั ษณะของนาค หรือ มกร มาทําเปนกรอบซุม เชน กรอบซุมทรงบรรพ
แถลงซ่ึงไดรับอทิ ธิพลมาจากศิลปะขอม อีกตอ หน่ึง ดังน้ันอาจชวนใหคิดไดวารูปแบบซุมทรงโคง
ของศิลปะอยุธยาตอนตน รวมถึงในพระพิมพกรุพระปรางควัดราชบูรณะประเภทดังกลาวนี้ยังคง
ปรากฏอิทธิพลศิลปะลพบุรีอยู และรูปแบบซุมทรงโคงแบบดังกลาวนอกจากจะปรากฏในพระ
พิมพกรุพระปรางควัดราชบูรณะแลว ยังปรากฏเปนลวดลายประดับกรอบศิลาจารึกวัดสรศักดิ์ท่ี
จารึกข้ึนใน พ.ศ.196059 (ภาพที่ 54 ) ซึ่งเปนชวงเวลาท่ีอาณาจักรสุโขทัยตกอยูภายใตอํานาจของ
อาณาจักรอยธุ ยาแลว

58 “พระราชพงศาวดารกรงุ เกา ฉบบั หลวงประเสริฐอักษรนติ ิ์,” ใน คาํ ใหก ารชาวกรุงเกา
คาํ ใหก ารขนุ หลวงหาวดั และพระราชพงศาวดารกรงุ เกา ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนติ ิ์, 445.

59 กรมศลิ ปากร, จารึกสมัยสโุ ขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526), 128-134.

81

ภาพท่ี 53 พระพิมพท องคาํ ดนุ นูนในกรอบทองแดงรูปซมุ ทรงโคง จากกรุพระปรางคว ดั ราชบรู ณะ
พิพธิ ภณั ฑสถานแหงชาตเิ จาสามพระยา พระนครศรอี ยุธยา

ท่มี า : กรมศลิ ปากร, เครื่องทองกรวุ ดั ราชบูรณะ ศิลปะของแผนดนิ (กรุงเทพฯ : รงุ ศิลปการพมิ พ,
2550), 163.

ภาพที่ 54 ลายประดับกรอบจารกึ วดั สรศกั ด์ิ พิพธิ ภณั ฑสถานแหงชาตสิ โุ ขทยั
ท่มี า : กรมศลิ ปากร, จารกึ สมยั สุโขทัย (กรงุ เทพฯ : กรมศลิ ปากร, 2526), 129.

82

ในสว นของพระพมิ พป ระเภทซุมทรงโคง ที่นยิ มประดับรวมกบั พระ
ลีลา เปนอีกรูปแบบหนึ่งที่เก่ียวพันธกับอิทธิพลศิลปะสุโขทัย ซึ่งมีพระพิมพพิมพหนึ่งทําออกมา
ในลักษณะพระพุทธรูปลีลาประทับภายในซุมทรงโคงท่ีมีลวดลายพันธุพฤกษาประดับอยูภายใน
และทั้งสองขางของพระพุทธองคมีพระสาวกประทับยืนกระทําอัญชลีมุทรา (ภาพที่ 55 ) ซ่ึงพระ
พิมพดังกลาวอาจตรงกับพุทธประวัติตอนที่เสด็จลงจากดาวดึงสโดยเปนตอนที่เสด็จมาถึงโลก
มนุษยแลวซ่ึงแสดงภาพออกมาในลักษณะที่มีพระโมคคัลลานะ และพระสารีบุตรมารอรับเสด็จยัง
เมืองสังกัสสะ ดังมีตัวอยางลักษณะองคประกอบแบบเดียวกันน้ีในภาพลายเสนดานหน่ึงของจารึก
วัดสรศักดิ์ (ภาพลายเสนท่ี 6 ) สาํ หรบั จารึกหลักดังกลา วนมี้ ีขอความบางตอนเอย ถงึ คําวา “พระเจา
หยอ นตีน” ซึง่ อาจมคี วามหมายถึงพุทธประวตั ติ อนดงั กลาวนกี้ ็เปนได6 0

ดังนั้นพระพิมพซุมทรงโคงนาจะแสดงอิทธิพลศิลปะสุโขทัยที่เขา
มามีบทบาทในสมัยอยุธยาตอนตน ซ่ึงสงผลใหรูปแบบของพระพุทธรูปบนพระพิมพดูบอบบาง
และมีความนิยมพระพุทธรูปอิริยาบถลีลาตามแบบสุโขทัยมากย่ิงขึ้นดวย สอดคลองกับอิทธิพล
ศลิ ปะสโุ ขทยั ที่พบรว มในกรพุ ระปรางควัดราชบูรณะ เชน ภาพจติ รกรรมพระพุทธเจา ประทบั นงั่ ใน
ประภามณฑลทรงโคง (ภาพท่ี 56 ) ภาพพระพุทธรูปลีลาท่ีแวดลอมดวยซุมทรงโคง (ภาพที่ 57 )
รวมถึงประภามณฑลทรงโคงปูนปนประดับจระนําปรางคประธานวัดราชบูรณะที่มีรูปแบบ
ใกลเ คยี งศิลปะสุโขทัย ดังน้ันจึงพอสันนิษฐานไดวารูปแบบซุมทรงโคงลักษณะดังกลาวน้ีมีความ
นิยมอยูในชวงคร่ึงหลังพุทธศตวรรษที่ 20 หรือคราวสรางปรางคประธานวัดราชบูรณะ อยางไรก็
ตามพระพมิ พร ปู แบบดงั กลาวพบอกี เปน จํานวนมากในกรุเจดียวัดชุมนมุ สงฆ จงั หวัดสพุ รรณบุร6ี 1

60 ศักดิ์ชัย สายสงิ ห, ศิลปะสโุ ขทยั บทวเิ คราะหหลักฐานโบราณคดี จารกึ และ
ศิลปกรรม, 136-137.

61 มนัส โอภากลุ , พระกรเุ มืองสุพรรณ, 51-52.

83

ภาพท่ี 55 พระพมิ พซ มุ ทรงโคง อทิ ธพิ ลศิลปะสโุ ขทยั จากกรพุ ระปรางคว ดั ราชบูรณะ
ที่มา : กรมศิลปากร, พระพทุ ธรปู และพระพิมพใ นกรพุ ระปรางคว ดั ราชบรู ณะ จังหวัด
พระนครศรีอยธุ ยา (พระนคร : หา งหนุ สว นจํากัดศวิ พร, 2502), 139.

ภาพลายเสนที่ 6 ภาพพุทธประวัติตอนเสดจ็ ลงจากดาวดงึ ส สลักบนจารกึ วัดสรศกั ดิ์
พพิ ิธภณั ฑสถานแหง ชาตสิ โุ ขทยั

ทีม่ า : ศกั ดิช์ ยั สายสงิ ห, ศลิ ปะสุโขทัย บทวิเคราะหห ลกั ฐานโบราณคดี จารกึ และศิลปกรรม,
พมิ พค รงั้ ที่ 2 (กรุงเทพฯ : โรงพิมพมหาวทิ ยาลัยศลิ ปากร, 2551), 178.

84

ภาพที่ 56 จิตรกรรมฝาผนัง ภาพพระพทุ ธเจาประทบั ในซมุ ทรงโคง
ภายในกรพุ ระปรางควดั ราชบรู ณะ

ภาพท่ี 57 จิตรกรรมฝาผนงั ภาพพระพุทธรูปอิริยาบถลีลา ประทบั ในซมุ ทรงโคง ภายในกรพุ ระ
ปรางคว ดั ราชบูรณะ

ท่มี า : สันติ เล็กสขุ ุม, วิวฒั นาการของชน้ั ประดบั และลวดลายสมัยอยธุ ยาตอนตน (กรงุ เทพฯ :
อมรนิ ทรการพิมพ, 2522), 305.

85

พระพมิ พประเภทโพธิบลั ลงั ก
เปนท่ีทราบโดยทั่วไปวารูปแบบพระพิมพท่ีพบในกรุพระปรางควัดราช
บรู ณะสว นใหญม กั จะประดบั ซุมรปู แบบตา งๆดวยเสมอ แตอยางไรกต็ ามยังมีพระพิมพบางพิมพท่ี
ไมมีการประดับซุม แตทําออกมาในลักษณะของพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับน่ังบนฐาน
ดอกบัวภายใตพุมโพธ์ิพฤกษทรงกลม (ภาพที่ 58 ) อยางไรก็ตามรูปแบบพระพิมพกลุมดังกลาวน้ี
อาจมีแรงบันดาลใจมาจากอิทธิพลศิลปะสุโขทัย ท้ังน้ีเพราะเราไดพบเคาโคลงลักษณะการจัดวาง
ภาพในลักษณะเดียวกับพระพิมพกลุมดังกลาวในงานจิตรกรรมสมัยสุโขทัย (ภาพท่ี 59 ) ที่ทํา
ออกมาในลักษณะภาพพระพุทธเจาปางมารวิชัยประทับนั่งบนฐานดอกบัว ภายใตพุมโพธิ์พฤกษ
ทรงกลม และมีประภามณฑลทรงรีที่เนนเฉพาะสวนรอบพระเศียร สําหรับรูปแบบดังกลาวแสดง
ถึงความเรียบงายซึ่งตางจากในศิลปะอยุธยาท่ีจะประดับประดาประภามณฑลใหมีขนาดใหญโต
และมลี วดลายที่ซับซอนเสมอ ซึ่งจากรูปแบบที่แสดงถึงความเรียบงายแบบศิลปะสุโขทัยนี้เองอาจ
สงอิทธิพลมายังรูปแบบพระพิมพท่ีพบในกรุพระปรางควัดราชบูรณะบางพิมพ สอดคลองกับพุทธ
ลักษณะโดยรวมของพระพทุ ธรปู บนพระพิมพท่ีปรากฏอทิ ธิพลศิลปะสุโขทยั อยางชดั เจน

ภาพท่ี 58 พระพมิ พป ระเภทโพธบิ ลั ลงั ก อทิ ธิพลศิลปะสโุ ขทัย จากกรพุ ระปรางคว ดั ราชบรู ณะ
ท่ีมา : กรมศิลปากร, พระพุทธรูป และพระพิมพ ในกรุพระปรางควัดราชบูรณะ จังหวัด
พระนครศรอี ยุธยา (พระนคร : หา งหุนสว นจํากัดศวิ พร, 2502), 240.


Click to View FlipBook Version