The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

DDD009.พระพิมพ์สุโขทัย ในกรุงวัดราชบูรณะ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

DDD009.พระพิมพ์สุโขทัย ในกรุงวัดราชบูรณะ

DDD009.พระพิมพ์สุโขทัย ในกรุงวัดราชบูรณะ

86

ภาพที่ 59 ภาพคัดลอกจติ รกรรมฝาผนงั ภายในเจดยี ประจําทศิ ตะวนั ตก วดั เจดยี เจด็ แถว
ศรีสัชนาลัย

ทมี่ า : เสมอชยั พลู สวุ รรณ, สญั ลักษณในงานจิตรกรรมไทยระหวางพทุ ธศตวรรษท่ี 19 ถึง 24
(กรุงเทพฯ : สํานักพิมพมหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร, 2539), 1.56.

พระพิมพประเภทแผง
พระพิมพประเภทดังกลาวปรากฏลักษณะของการแสดงภาพพระพุทธ

ประวัติที่ชัดเจนตามเนื้อหาในพุทธประวัติ โดยแสดงผานรูปแบบพระพิมพประเภทแผงที่ปรากฏ
ภาพตนไม ภาพพระพุทธรูปปางตางๆ รวมถึงภาพพระสาวก และภาพบุคคล (ภาพท่ี 60 ) ซึ่งพระ
แผงกลมุ ดงั กลา วมผี ูศึกษาวานาจะเปนภาพพุทธประวัติตอนยมกปาฏิหาริย62ท่ีเนนภาพพระลีลาเปน
ประธาน ลักษณะเดียวกับภาพยมกปาฏิหาริยที่จระนํามณฑปวัดตระพังทองหลาง สุโขทัย (ภาพที่
61) อยางไรก็ตามยังคงมีการนํารูปแบบพระแผงทรงส่ีเหลี่ยมมนยอดโคงแหลมซ่ึงเปนรูปแบบท่ี
นิยมสืบเนื่องมาจากพระพิมพลพบุรีมารวมใช แตมีการปรับเปล่ียนจุดกึ่งกลางที่จากเดิมนิยมทํา
เปนพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ มาเปนพระพุทธรูปลีลาในซุมหนานางอยูในตําแหนง
ประธานของพิมพ (ภาพที่ 62) และเปนที่นาสังเกตวารูปแบบพระพุทธรูปลีลาในซุมเรือนแกวท่ีอยู
ในตําแหนงประธานของพระแผงเปนรูปแบบเดียวกับพระพิมพซุมหนานาง (ภาพที่ 63) ซึ่งจาก
ลักษณะดังกลาวอาจเปนตัวอยางหน่ึงท่ีแสดงใหเห็นถึงการนําแมพิมพของพระพิมพแตละประเภท
มาจัดองคป ระกอบใหมจนกลายเปน อีกรปู แบบหนงึ่ ของพระแผง

62 รงุ โรจน ธรรมรุงเรือง, “ยมกปาฏิหาริยทวี่ ดั ราชบูรณะ,” เมอื งโบราณ 30, 1
(มกราคม- มีนาคม 2547) : 114-120.


87

ภาพที่ 60 พระพิมพป ระเภทแผง อิทธพิ ลศิลปะสุโขทัย จากกรพุ ระปรางควดั ราชบรู ณะ
พพิ ธิ ภัณฑสถานแหง ชาตเิ จาสามพระยาพระนครศรีอยธุ ยา

ภาพที่ 61 ภาพพุทธประวตั ติ อนยมกปาฏหิ ารยิ ท ่ีสาวัตถี มณฑปวัดตระพังทองหลาง สโุ ขทยั
ท่ีมา : พิริยะ ไกรฤกษ, ศลิ ปะสโุ ขทยั และอยุธยา ภาพลกั ษณท ีต่ อ งเปลี่ยนแปลง (กรงุ เทพฯ :
บรษิ ทั อมรินทรพ รนิ้ ตงิ้ แอนดพ ับลิชชงิ่ จํากัด, 2545), 81.


88

ภาพท่ี 62 พระพมิ พประเภทแผง อทิ ธพิ ลศิลปะสุโขทยั จากกรพุ ระปรางคว ดั ราชบูรณะ
ทม่ี า : กรมศิลปากร, พระพุทธรูปและพระพิมพในกรพุ ระปรางควัดราชบูรณะ จงั หวพั ระนครศรี
อยุธยา (พระนคร : หางหุน สว นจํากัดศวิ พร, 2502), 153.

ภาพท่ี 63 พระพิมพซ มุ หนานาง อิทธิพลศิลปะสโุ ขทยั จากกรุพระปรางคว ัดราชบูรณะ
ที่มา : กรมศิลปากร, พระพุทธรูปและพระพิมพใ นกรพุ ระปรางควัดราชบรู ณะ จงั หวพั ระนครศรี
อยธุ ยา (พระนคร : หางหุนสว นจาํ กัดศวิ พร, 2502), 143.


89

3.2.2.2 พระพิมพอิทธิพลศิลปะสุโขทัย ระยะที่ 2 กลุมที่ 2 พระพิมพกลุมนี้มี
รูปแบบศิลปะสุโขทัยผสมอยูมาก เชน รูปแบบพระพุทธรูป ลวดลายประเภทลายพันธุพฤกษา
ลักษณะเดียวกับพระพิมพอิทธิพลศิลปะสุโขทัยกลุมท่ี 1 แตในสวนขององคประกอบหลักของ
พิมพยงั คงเปนรปู แบบทสี่ บื เน่ืองมาจากอิทธิพลศลิ ปะลพบุรี เชน รปู แบบซุมทรงบรรพแถลง และ
รูปแบบซุมเรือนแกว อยางไรก็ดีเราไดจําแนกประเภทของพระพิมพกลุมดังกลาวน้ีออกเปนแตละ
ประเภท คอื พระพิมพป ระเภทประดบั ซมุ และ พระพมิ พป ระเภทแผง

พระพิมพประเภทประดับซุม พระพิมพประเภทดังกลาวประกอบดวย
ซมุ รปู แบบตางๆ คอื ซุม ทรงบรรพแถลง และ ซมุ เรอื นแกว ดังจะไดท าํ การศกึ ษาตอ ไป

พระพมิ พซุมทรงบรรพแถลง พระพิมพแบบดังกลาวเปนรูปแบบ
ท่ีสืบเน่ืองมาจากพระพิมพอิทธิพลศิลปะลพบุรี แตในสวนของรายละเอียดประดับบนพระพิมพ
แบบดังกลาวน้ีมีความแตกตางออกไปจากรูปแบบเดิม ซึ่งรวมถึงรูปแบบซุมทรงบรรพแถลงของ
พระพมิ พก ลมุ นท้ี ่ีไมป รากฏการประดบั ชอฟา และใบระกาทม่ี ลี ักษณะเปน ครีบเรียงรายเหนอื กรอบ
ซุม รวมถงึ เกดิ ความนิยมประดบั แถวลายเม็ดประคําในกรอบซมุ ซ่ึงเปนรูปแบบที่ไมนิยมปรากฏใน
พระพิมพอิทธิพลศิลปะลพบุรี (ภาพที่ 64 ) การแสดงออกของรูปแบบดังกลาวอาจหมายถึง
พัฒนาการทางดานรูปแบบอยางหน่ึงของซุมทรงบรรพแถลงในสมัยอยุธยาตอนตนท่ีมีรูปแบบ
บางอยางตางกับซุมทรงบรรพแถลงในศิลปะลพบุรี ซึ่งอาจเน่ืองมาจากความหางทางดาน
ระยะเวลาจึงสงผลใหความเครงครัดในดานองคประกอบของซุมทรงบรรพแถลงแบบในศิลปะ
ลพบุรีลดนอยลง พรอมกับการรับเอาอิทธิพลศิลปะสุโขทัยเขามาผสมผสาน อยางไรก็ตามเปนท่ี
นาสงั เกตวาลกั ษณะลายทปี่ ระดบั กรอบซุมกลมุ นโี้ ดยเฉพาะลายเมด็ ประคํา จะมีความสอดคลอ งกบั
ลายท่ีประดับในซุมหนานางของพระพิมพอิทธิพลศิลปะสุโขทัย รวมถึงการประดับแจกันดอกไม
บริเวณเสารองรับกรอบซุมทั้งสองขาง (ภาพท่ี 65) และในพระพิมพบางพิมพมีการประดับลาย
ดอกไมกลีบซอนดานบนกรอบซุม (ภาพที่ 66 ) ซึ่งลักษณะดังกลาวเปนรูปแบบที่มีอยูมากในพระ
พิมพอ ทิ ธิพลศิลปะสโุ ขทัยดวยเชนกัน (ภาพท่ี 67)


90

ภาพท่ี 64 พระพมิ พซุม ทรงบรรพแถลง อิทธพิ ลศลิ ปะสุโขทยั จากกรพุ ระปรางคว ดั ราชบูรณะ
ทม่ี า : กรมศลิ ปากร, พระพทุ ธรปู และพระพิมพใ นกรพุ ระปรางควัดราชบูรณะ จงั หวดั
พระนครศรอี ยธุ ยา (พระนคร : หา งหุนสว นจํากัดศวิ พร, 2502), 461.

ภาพท่ี 65 พระพมิ พซ ุม ทรงบรรพแถลง อทิ ธพิ ลศลิ ปะสุโขทยั จากกรพุ ระปรางควดั ราชบูรณะ
ที่มา : กรมศลิ ปากร, พระพทุ ธรูปและพระพมิ พในกรพุ ระปรางคว ัดราชบรู ณะ จงั หวดั
พระนครศรีอยธุ ยา (พระนคร : หา งหนุ สว นจํากัดศวิ พร, 2502), 285.


91

ภาพท่ี 66 พระพมิ พซ มุ ทรงบรรพแถลง อทิ ธพิ ลศิลปะสโุ ขทัย จากกรพุ ระปรางคว ัดราชบรู ณะ
ที่มา : กรมศลิ ปากร, พระพทุ ธรปู และพระพิมพในกรพุ ระปรางควดั ราชบรู ณะ จงั หวัด
พระนครศรีอยธุ ยา (พระนคร : หางหุน สว นจาํ กัดศวิ พร, 2502), 387.

ภาพที่ 67 พระพมิ พซมุ หนา นาง อิทธพิ ลศิลปะสโุ ขทัยจากกรพุ ระปรางคว ัดราชบรู ณะ
ท่มี า : กรมศิลปากร, พระพทุ ธรูปและพระพิมพใ นกรพุ ระปรางควดั ราชบรู ณะ จงั หวัพระนครศรี
อยธุ ยา (พระนคร : หา งหนุ สว นจาํ กดั ศวิ พร, 2502), 498.

จากพัฒนาการทางดานรูปแบบซุมทรงบรรพแถลงของพระพิมพ
กลุมนี้ท่ีคลี่คลายรูปแบบมาจากซุมทรงบรรพแถลงศิลปะลพบุรี พรอมกับมีความนิยมประดับ
ลวดลายพันธพฤกษามากขึ้น และจากพัฒนาการที่เกิดข้ึนน้ีอาจเกิดจากแรงบันดาลใจจากอิทธิพล
ศิลปะสุโขทัย ซึ่งสอดคลองกับรูปแบบพระพุทธรูปบนพระพิมพท่ีมีความบอบบาง และการวาง
อิริยาบถท่ีดูออนชอยตามแบบพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย ซึ่งเปนรูปแบบพระพุทธรูปบนพระพิมพ
ท่ีพบมากในกรุพระปรางควัดราชบูรณะ ดังนั้นมีความเปนไปไดวารูปแบบพระพิมพซุมทรงบรรพ


92

แถลงแบบดังกลาวน้ีนาจะนิยมอยูในชวงคร่ึงหลังพุทธศตวรรษที่ 20 หรือในคราวสรางปรางค
ประธานวดั ราชบูรณะ

พระพิมพซุมเรือนแกว พระพิมพแบบดังกลาวเปนรูปแบบท่ีพัฒนา
สืบเน่ืองมาจากอิทธิพลศิลปะลพบุรี และมีรูปแบบท่ีพัฒนาขึ้นมาอยางเดนชัด คือ ลักษณะของซุม
เรือนแกวท่ีมีทรวดทรงออนชอยขึ้น และดานบนกรอบซุมไมนิยมประดับรัศมี (ภาพที่ 68) ความ
ออนชอยที่เกิดขึ้นนี้สวนหน่ึงอาจเน่ืองมาจากการตัดสวนรัศมีเหนือกรอบซุมออก และเนนกรอบ
ซุมใหด ลู ่นื ไหลไปตามพระวรกายขององคพ ระ รวมถึงการเขามามีบทบาทของเสนโคงในลักษณะ
ของลวดลายพันธุพ ฤกษา (ภาพท่ี 69 )

ภาพที่ 68 พระพิมพซ มุ เรอื นแกว อิทธิพลศิลปะสุโขทัยจากกรพุ ระปรางคว ัดราชบรู ณะ
พิพิธภัณฑสถานแหง ชาตเิ จา สามพระยา พระนครศรอี ยธุ ยา


93

ภาพท่ี 69 พระพมิ พซมุ เรอื นแกว อทิ ธพิ ลศิลปะสุโขทัยจากกรพุ ระปรางคว ดั ราชบูรณะ
ทม่ี า : กรมศลิ ปากร, พระพทุ ธรูปและพระพมิ พใ นกรพุ ระปรางคว ัดราชบรู ณะ จังหวัพระนครศรี
อยธุ ยา (พระนคร : หา งหุนสว นจํากัดศวิ พร, 2502), 479.

สําหรับพัฒนาการที่เกิดขึ้นดังกลาอาจเนื่องมาจากอิทธิพลศิลปะ
สุโขทัย หรืออิทธิพลศิลปะจีนที่เขามามีบทบาทตอรูปแบบงานศิลปกรรมในคราวสรางปรางค
ประธานวัดราชบูรณะ และในกรณีของลายเม็ดประคําที่นิยมประดับเรียงรายในกรอบซุมแบบนี้
เปนลักษณะลายแบบเดียวกับลายที่นิยมประดับในพระพิมพซุมหนานาง ซ่ึงเปนพระพิมพอิทธิพล
ศิลปะสุโขทัย และเปนอีกรูปแบบหนึ่งที่พบมากในกรุพระปรางควัดราชบูรณะ ประกอบกับพบ
การประดับแจกันดอกไมรวมกับพระพิมพประเภทซุมเรือนแกวแบบดังกลาวนี้ในบางพิมพ ก็
นาจะเปน รปู แบบของอิทธิพลศิลปะสุโขทัย สอดคลองกับจิตรกรรมผนังกรุประธานพระปรางควัด
ราชบูรณะ ท่ีเขียนภาพพระพุทธเจาปางมารวิชัยประทับในซุมประภามณฑลท่ีมีแจกันดอกไม
ประดบั บริเวณพระเพลา (ภาพที่ 70, ภาพลายเสนที่ 7)

ดังนั้นจะสังเกตเห็นไดวารูปแบบซุมเรือนแกวของพระพิมพแบบ
ดังกลาวน้ี สวนหน่ึงเปนรูปแบบท่ีถายทอดมาจากอิทธิพลศิลปะลพบุรี และมีอีกสวนหน่ึงที่เปน
รูปแบบพัฒนาข้ึนเอง โดยรับเอาอิทธิพลศิลปะสุโขทัยเขามาผสม ประกอบกับพระพิมพลักษณะ
ดังกลาวพบมากในกรุพระปรางควัดราชบูรณะ จึงอาจสันนิษฐานไดวารูปแบบซุมเรือนแกวท่ี
ประดับบนพระพิมพแ บบน้ีนา จะเปน รูปแบบในชวงครงึ่ หลังพทุ ธศตวรรษท่ี 20 หรอื ในคราวสราง
ปรางคป ระธานวัดราชบรู ณะ


94

ภาพท่ี 70 จติ รกรรมฝาผนัง ภาพพระพุทธเจา ในซมุ เรอื นแกว ในกรพุ ระปรางคว ัดราชบรู ณะ
พระนครศรอี ยุธยา

ภาพลายเสนที่ 7 พระพุทธเจา ในซุมเรอื นแกว ใตพ มุ โพธิ์พฤกษ จติ รกรรมฝาผนัง
ในกรพุ ระปรางคว ัดราชบรู ณะ พระนครศรอี ยุธยา
พระพมิ พประเภทแผง
สําหรับพระพิมพประเภทแผงกลุมดังกลาวน้ีปรากฏความหลากหลาย

ทางดานรูปทรงที่ไมเจาะจงแตทรงสี่เหล่ียมโคงมนปลายแหลมแตอยางเดียว หากแตมีรูปทรง
สามเหลี่ยม (ภาพที่ 71) รวมถงึ ทรงเจดยี เ ขามาผสม (ภาพที่ 72) โดยที่พระแผงแตละทรงลวนแตเปน
ภาพพระพุทธรูปหลายองคประทับน่ังเรียงรายกันเปนแถวตามแนวความคิดเร่ืองอดีตพุทธเจา


95

ลักษณะเดียวกับพระพิมพประเภทแผงหมวดท่ี 1 ท่ีไดรับอิทธิพลมาจากศิลปะพุกาม และ ศิลปะ
ลพบุรี

อยางไรก็ตามจะสังเกตเห็นวาพระพิมพประเภทแผงกลุมดังกลาวปรากฏ
เฉพาะลักษณะพระพุทธรูปประทับน่ังเรียงรายกัน ซึ่งตางกับพระพิมพประเภทแผงอิทธิพลศิลปะ
สุโขทยั กลุมท่ี 1 ทม่ี ักจะนําลักษณะพระแผงที่ประกอบดว ยพระพุทธรปู อริ ิยาบถตางๆมาจดั เปน ภาพ
เรื่องราวในพทุ ธประวัตติ อนสาํ คญั โดยเฉพาะฉากเหตกุ ารณต อนยมกปาฏหิ ารยิ 

ซ่ึงจากขอสังเกตดังกลาวแสดงใหเห็นถึงคติในการสรางพระพิมพ
ประเภทแผงของพระพิมพอิทธิพลศิลปะสุโขทัยกลุมท่ี 2 ที่ยังคงมีแนวความคิด และ รูปแบบท่ีอาจ
เช่ือมโยงไดกับพระพิมพประเภทแผงอิทธิพลศิลปะลพบุรีท่ีนิยมทําออกมาในลักษณะพระพุทธรูป
หลายองคป ระทับน่ังเรียงรายกนั ตามคตเิ รือ่ งอดีตพทุ ธเจา

ภาพที่ 71 พระพมิ พป ระเภทแผง อิทธิพลศลิ ปะสโุ ขทัย จากกรุพระปรางคว ัดราชบรู ณะ
ที่มา : กรมศิลปากร, พระพทุ ธรูปและพระพมิ พในกรุพระปรางคว ัดราชบรู ณะ จงั หวัพระนครศรี
อยธุ ยา (พระนคร : หา งหุน สว นจาํ กัดศวิ พร, 2502), 315.


96

ภาพท่ี 72 พระพมิ พป ระเภทแผง อทิ ธิพลศลิ ปะสโุ ขทัยจากกรพุ ระปรางคว ดั ราชบูรณะ
ท่ีมา : กรมศลิ ปากร, พระพทุ ธรูปและพระพิมพใ นกรพุ ระปรางคว ดั ราชบูรณะ จงั หวพั ระนครศรี
อยุธยา (พระนคร : หางหุนสว นจํากัดศวิ พร, 2502), 316.

อยางไรก็ตามพระพิมพประเภทแผงกลุมดังกลาวนี้บางสวนเกิดขึ้นจาก
การนําแมพิมพของพระพิมพแตละประเภท ท้ังในสวนของพระพิมพซุมทรงบรรพแถลง และซุม
หนานางที่ประดับพุมโพธ์ิพฤกษและฉัตร รวมถึงพระพิมพแบบซุมเสมาทิศ มาจัดเรียงกันในทรง
สามเหลี่ยม (ภาพท่ี 73) ประเด็นท่ีนาสนใจของพระพิมพแบบน้ีคือ รูปแบบพระพิมพแตละ
ประเภทท่ีรวมประกอบเปนพระแผงมีลวดลายประดับท่ีสอดคลองกัน เชน ลายเม็ดประคํา หรือ
การประดับแจกันดอกไมบ รเิ วณเสาเรอื นแกว ซึง่ ลกั ษณะดังกลา วแสดงถงึ พระพมิ พแ ตล ะประเภท
มีอายุรวมยุคเดียวกัน ถึงแมวาบางพิมพจะมีรูปแบบที่สืบทอดมาจากอิทธิพลศิลปะลพบุรี แตก็มี
การปรับเปลี่ยนลวดลายบางอยางที่แตกตางไปจากอดีต ซ่ึงอาจเนื่องมาจากกระแสอิทธิพลศิลปะ
สโุ ขทัยทเ่ี ขา มาในอาณาจักรอยธุ ยา


97

ภาพที่ 73 พระพมิ พป ระเภทแผง อิทธพิ ลศลิ ปะสุโขทัย จากกรุพระปรางคว ดั ราชบรู ณะ
ทม่ี า : กรมศลิ ปากร, พระพทุ ธรปู และพระพมิ พ ในกรพุ ระปรางคว ดั ราชบูรณะ จังหวพั ระนครศรี
อยธุ ยา (พระนคร : หา งหุน สว นจํากดั ศวิ พร, 2502), 308.

3.2.3 ขอ สันนิษฐานในการกาํ หนดอายรุ ปู แบบพระพมิ พ
พระพิมพอิทธิพลศิลปะสุโขทัยหมวดดังกลาวน้ีมีรูปแบบที่สอดคลองกันคือ พุทธ

ลกั ษณะของพระพทุ ธรูปบนพระพิมพที่ดูออนชอยบอบบางคลายพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย แตใน
สวนของรปู แบบพระพมิ พกลับปรากฏความหลากหลายของรายละเอียดที่ประดับบนพระพิมพ ดัง
พิจารณาไดจากพระพิมพประเภทประดับซุม ซึ่งประกอบดวย ซุมหนานาง และซุมทรงโคง ตาม
แบบศิลปะสุโขทัย รวมถึงซุมทรงบรรพแถลง และ ซุมเรือนแกวแบบท่ีสืบเนื่องมาจากศิลปะ
ลพบุรี ซ่ึงจากรูปแบบของซุมท่ีแตกตางกันนี้อาจแสดงออกถึงอิทธิพลทางศิลปะท่ีรับสืบทอดมา
จากตางสายกัน ดังน้ันเราอาจแบงรูปแบบพระพิมพอิทธิพลศิลปะสุโขทัย ระยะที่ 2 ออกเปน 2
กลุมดวยกนั คือ กลุมพระพมิ พท ีม่ รี ะเบยี บเชนเดยี วกบั พระพิมพศิลปะสุโขทัย และกลุมพระพิมพท่ี
มีระเบียบสืบเนื่องมาจากพระพิมพอิทธิพลศิลปะลพบุรี อยางไรก็ตามประเด็นสําคัญของพระ
พิมพหมวดดังกลาวอยูตรงการปรากฏรูปแบบที่สอดคลองกันในดานของการเขามามีบทบาทของ
อิทธิพลศิลปะสุโขทัยคอนขางมาก ทั้งในสวนของรูปแบบพระพุทธรูปบนพระพิมพ การจัดวาง
รายละเอียดบนพระพมิ พ รวมถึงลักษณะลวดลายที่ประดบั บนพระพิมพซ ง่ึ มกั เปน ลายประเภทพนั ธุ
พฤกษา ซึ่งลวดลายท่ีคลายกันดังกลาวนี้แสดงใหเห็นถึงรูปแบบท่ีนิยมในชวงระยะเวลาเดียวกัน
จึงไดจ ัดรูปแบบพระพิมพทง้ั สองกลมุ อยูในหมวดเดียวกนั


98

ในการกําหนดอายุรูปแบบพระพิมพหมวดดังกลาวนอกจากการศึกษาพุทธลักษณะ
ของพระพุทธรูปบนพระพิมพเปนหลักใหญแลว ยังตองอาศัยการศึกษารายละเอียดตางๆบนพระ
พิมพรวมดวย โดยเฉพาะลักษณะซุมรูปแบบตางๆ ซึ่งจากการศึกษารูปแบบพระพุทธรูปบนพระ
พิมพหมวดดังกลาวปรากฏรูปแบบของพระพุทธรูปแบบอูทองรุนท่ี 3 ซ่ึงเกิดจากการมีลักษณะของ
พระพุทธรูปแบบสุโขทัยเขามาผสมมากขึ้น จึงสงผลใหพระพักตรเปนรูปไข พระวรกายดูออน
ชอยขึ้นอยางชัดเจน สําหรับพุทธลักษณะแบบดังกลาวนอกจากจะปรากฏบนพระพิมพแลวยัง
ปรากฏในพระพุทธรูปท่ีพบจากกรุพระปรางควัดราชบูรณะดวยเชนกัน ซึ่งเปนท่ีนาสังเกตวา
พระพุทธรูปแบบอูทองรุนท่ี 3 ถูกพบมากกวาพระพุทธรูปแบบอ่ืนๆ63 และอาจเปนไปไดวา
พระพทุ ธรูปในลกั ษณะดังกลา วนเ้ี ปนรปู แบบท่ีนยิ มอยูในชวงคราวสรา งพระปรางคว ัดราชบรู ณะ

ในสวนของการศึกษารูปแบบซุมที่ประดับบนพระพิมพหมวดดังกลาวนี้ ปรากฏ
ความโดดเดน ทรี่ ูปแบบซมุ หนานางท่มี ลี ักษณะ และลวดลายประดับ ใกลเ คียงกับกรอบซมุ หนา นาง
ประดับจระนําภายในกรุปรางคประธานวัดราชบูรณะ นอกจากน้ีพระพิมพประเภทซุมเรือนแกว
ปรากฏการประดับแจกันดอกไมทั้งสองขางของซุม ซ่ึงเปนรูปแบบที่ตางกับรูปแบบพระพิมพซุม
เรือนแกวในอิทธพิ ลศลิ ปะลพบุรอี ยางชัดเจน แตกลับพบรูปแบบดังกลาวนี้ในจิตรกรรมฝาผนังรูป
พระพุทธเจาในซุมเรือนแกวท่ีพบในกรุพระปรางควัดราชบูรณะ จากความสอดคลองระหวาง
รูปแบบศิลปะบนพระพิมพหมวดดังกลาว กับรูปแบบงานศิลปกรรมท่ีพบภายในกรุพระปรางควัด
ราชบูรณะ แสดงถงึ ชว งระยะเวลาในการสรางทีใ่ กลเ คยี งกัน และมอี ทิ ธพิ ลศลิ ปะสุโขทัยผสมผสาน
อยูเชนเดียวกัน ดังน้ันรูปแบบพระพิมพหมวดดังกลาวอาจมีอายุอยูในชวงครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่
20 โดยเฉพาะในชว งรชั กาลสมเดจ็ พระนครินทราธริ าช ถึง สมเดจ็ เจาสามพระยา (พ.ศ.1952-1991)

นอกจากนี้รูปแบบพระพิมพหมวดดังกลาวมักจะปรากฏอิทธิพลศิลปะจีน
โดยเฉพาะพระพิมพแบบซุมเสมาทิศ ท่ีมีลักษณะลายดอกไมกลีบซอนแบบจีนประดับบนยอดซุม
(ลักษณะคลายดอกโบต๋ัน) ประกอบกับพระพิมพบางองคมีอักษรจีนจารึกอยูดานหลัง ท่ีมัก
กลาวถึงคนในราชวงศหมิงไดรวมกันสรางพระพิมพ64 ซึ่งจากขอมูลดังกลาวแสดงถึงการเขามามี
บทบาทของอิทธิพลศิลปะจีนในสมัยอยุธยาตอนตน โดยเฉพาะในสมัยสมเด็จพระนครินทราธิราช
เม่ือครั้งที่ครองเมืองสุพรรณบุรีใน พ.ศ.1920 ก็เคยเดินทางไปราชสํานักจีน สืบเนื่องจนเม่ือ

63 หมอ มเจา สภุ ทั รดศิ ดิศกุล, “โบราณวตั ถทุ ี่คนพบจากพระปรางคว ดั ราชบรู ณะรุน ท2่ี ,”
ใน พระพุทธรปู และ พระพมิ พใ นกรพุ ระปรางคว ดั ราชบูรณะ จังหวดั พระนครศรอี ยธุ ยา, 16.

64 กรมศลิ ปากร, พระพุทธรปู และพระพิมพ ในกรุพระปรางคว ดั ราชบูรณะ จังหวดั
พระนครศรอี ยธุ ยา, 41-42.


99

พระองคข้ึนครองราชยในราว พ.ศ.1952 พระองคก็ทรงมีสัมพันธอันดียิ่งกับราชสํานักจีน65ซึ่งจาก
ความสมั พันธดงั กลาวนอี้ าจสงผลตอรูปแบบงานศิลปะท่พี บในกรพุ ระปรางคว ัดราชบูรณะทป่ี รากฏ
อทิ ธิพลศลิ ปะจีนคอ นขางมาก

จากการศึกษารูปแบบศิลปะบนพระพมิ พใ นเบื้องตน สันนษิ ฐานไดว ารปู แบบพระ
พมิ พหมวดดังกลาวมีอายุอยูในชวง คร่ึงหลังพุทธศตวรรษท่ี 20 หรือ ในชวงรัชกาลสมเด็จพระนคริ
นทราธิราช และสมเด็จพระบรมราชาธิราชท่ี 2 (เจาสามพระยา) โดยมีเอกลักษณอยูท่ีการเขามามี
บทบาทของอิทธิพลศิลปะสุโขทัยคอนขางมาก ทั้งในดานรูปแบบพระพิมพ หรือลวดลายประดับ
ซ่ึงอิทธิพลศิลปะสุโขทัยท่ีพบในพระพิมพหมวดดังกลาวนี้มีความชัดเจนมากกวาในพระพิมพ
หมวดอ่ืนๆ ทําใหคิดวาในชวงอยุธยาตอนตนอาจมีการเขามาของกระแสอิทธิพลศิลปะสุโขทัย 2
ชวงดวยกัน โดยชวงแรกอาจเกิดข้ึนหลังจากสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ตี
สโุ ขทยั เปนเมืองขึ้นไดในป พ.ศ.192166 ซึ่งสงผลตอรูปแบบพระพิมพอิทธิพลศิลปะสุโขทัย ระยะที่
1 สวนในระยะท่ี 2 ซ่ึงเปนระยะที่มีการเขามาของอิทธิพลศิลปะสุโขทัยมากย่ิงข้ึนอาจเกิดข้ึน
ในชวงรัชกาลสมเด็จพระนครินทราธิราช และสมเด็จเจาสามพระยา ดังศึกษาไดจากรูปแบบงาน
ศิลปกรรม และรูปแบบพระพิมพหมวดดังกลาวท่ีพบในกรุพระปรางควัดราชบูรณะ ซึ่งปรากฏ
หลักฐานวาสรางข้ึนใน พ.ศ.1967 โดยสมเด็จเจาสามพระยา และเปนที่นาสังเกตวาหลักฐาน
ทางดานรปู แบบศิลปกรรมท่สี รา งขึน้ ในสมัยสมเดจ็ เจาสามพระยา มกั ปรากฏอิทธิพลศิลปะสุโขทัย
รวมดวยเสมอ รวมถึงรูปแบบเจดียประธานวัดมเหยงค67 ที่ทําเปนเจดียทรงระฆังมีชางลอมตาม
แบบศิลปะสุโขทยั 68

ความชัดเจนของอทิ ธิพลศลิ ปะสุโขทยั ท่ีปรากฏชัดเจนในชวงรัชกาลสมเด็จเจาสาม
พระยา อาจสบื เน่อื งจากความสัมพันธท างดา นการเมืองที่อาจเกี่ยวพันกับระบบเครือญาติ ระหวาง
สุโขทัย กับ อยุธยา ซ่ึงเปนท่ีทราบกันวาสมเด็จเจาสามพระยาทรงมีพระมเหสีเปนเจาหญิงชาว
สุโขทัย รวมถึงสมเด็จเจาสามพระยาก็อาจมีเชื้อสายสุโขทัยผานทางฝายพระมารดาดวยเชนกัน69

65 สืบแสง พรหมบญุ , ความสมั พันธในระบบบรรณาการระหวา งจีนกับไทย (กรงุ เทพฯ :
มลู นธิ ิโครงการตําราสังคมศาสตรแ ละมนษุ ยศาสตร, 2525), 85-104.

66 “พระราชพงศาวดารกรงุ เกา ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนติ ิ์,” ใน คําใหก ารชาวกรุงเกา
คาํ ใหการขนุ หลวงหาวดั และพระราชพงศาวดารกรุงเกา ฉบบั หลวงประเสรฐิ อกั ษรนติ ิ์, 445.

67 เรอื่ งเดยี วกนั , 447.
68 สันติ เล็กสขุ มุ , ศลิ ปะอยธุ ยา งานชา งหลวงแหง แผน ดิน, 67-69.
69 พเิ ศษ เจยี จนั ทรพ งษ, “การรวมอาณาจกั รสุโขทยั กบั อยธุ ยา,” : 32-33.


100

ความสัมพันธทางเครือญาติระหวางอาณาจักรทั้งสองนี้ นอกจากจะสงผลตอดานการเมืองแลว ยัง
สงผลโดยตรงตอรูปแบบงานศิลปะท่ีมีอิทธิพลศิลปะสุโขทัยผสมอยูมาก ดังที่ปรากฏในพระพิมพ
หมวดดงั กลาว นอกจากนีใ้ นจงั หวดั สพุ รรณบุรี เมอื งซึง่ ในสมยั อยธุ ยาตอนตนเคยเปนเมืองภายใต
การปกครองของกษัตริยอยุธยาในราชวงศสุพรรณบุรี ก็มักพบพระพิมพท่ีแสดงอิทธิพลศิลปะ
สุโขทัยลักษณะเดียวกับที่พบในกรุพระปรางควัดราชบูรณะ ซึ่งมีทั้งพระพิมพแบบซุมหนานาง
และพระพิมพท่ีทําเปนพระพุทธรูปลีลาในซุมทรงโคง ดังตัวอยางพระพิมพที่พบจากกรุวัดพระศรี
รัตนมหาธาตุ และ วดั ชุมนุมสงฆท่ีเชื่อวาสรางข้ึนสมยั สมเด็จพระนครนิ ทราธริ าช70

ดงั นน้ั จะสังเกตเหน็ วา กษัตริยอยุธยา โดยเฉพาะที่มาจากราชวงศสุพรรณบุรี มักจะ
มีความเกี่ยวของทางดานเครือญาติกับอาณาจักรสุโขทัย ทั้งน้ีเพื่ออาจหวังผลโดยตรงตอการผนวก
ดนิ แดนโดยใชร ะบบเครือญาตทิ ่ีฝายหนงึ่ แทรกซึมครอบงําอีกฝายหนึ่งทีละเล็กทีละนอยจนในที่สุด
อาณาจักรทั้งสองก็สามารถรวมเขาเปนอันหนึ่งอันเดียวอยางม่ันคงในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตร
โลกนาถ71

ผลจากการศึกษารูปแบบศิลปะบนพระพิมพหมวดที่ 3 ระยะท่ี 2 อาจสันนิษฐานได
วา เปน รปู แบบพระพมิ พท่ีนิยมอยูในชวงครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 20 หรือในชวงระยะเวลาของการ
สรางพระปรางควัดราชบูรณะ อันอยูในชวงรัชกาลสมเด็จพระนครินทราธิราช และ สมเด็จพระ
บรมราชาธิราชท่ี 2 (เจาสามพระยา) ซ่ึงก็สอดคลองกับการพบพระพิมพรูปแบบดังกลาวในจังหวัด
ที่มีความเกี่ยวของกบั กษตั ริยคูด ังกลาวโดยเฉพาะจังหวัดสุพรรณบุรี

70 มนสั โอภากลุ , พระกรเุ มอื งสุพรรณ, 51.
71 พิเศษ เจยี จนั ทรพงษ, “การรวมอาณาจกั รสุโขทัยกบั อยธุ ยา,” : 31-37.


บทท่ี 4
บทวเิ คราะห และ สรปุ

พระพิมพจํานวนมากทพี่ บภายในกรพุ ระปรางควัดราชบูรณะ นับเปนหลักฐานสําคัญใน
การทําความเขาใจ และศึกษารูปแบบของพระพิมพในสมัยอยุธยาตอนตน ทั้งน้ีวัดราชบูรณะ
ปรากฏขอมูลทางประวัติศาสตรรองรับเก่ียวกับชวงระยะเวลาในการสรางที่แนชัด โดยพระราช
พงศาวดารกรงุ เกา หลายฉบบั กลาวในทิศทางเดยี วกันวา วัดราชบรู ณะสรา งขึ้นในรัชกาลของสมเดจ็
พระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจาสามพระยา) ซึ่งก็สอดคลองกับหลักฐานทางศิลปกรรมของปรางค
ประธานวัดราชบูรณะที่มีรูปแบบศิลปะในชวงอยุธยาตอนตน ท้ังน้ีเปนที่ชัดเจนวาวัตถุส่ิงของ
ภายในกรุพระปรางคจะตองสรางข้ึนในคราวสรางพระปรางค หรือมีอยูกอนการสรางพระปรางค
ดงั ตัวอยางพระพิมพศลิ ปะทวารวดี และ พระพิมพศลิ ปะลพบุรี

พระพิมพในกรุพระปรางควัดราชบูรณะปรากฏจํานวน และ รูปแบบที่หลากหลาย
ท้ังน้ีอาจเน่ืองมาจากการท่ีประชาชนท่ัวไปไดมีสวนรวมในการสรางพระพิมพบรรจุภายในกรุพระ
ปรางคคร้ังน้ีดวย ดังปรากฏหลักฐานจารึกดานหลังพระพิมพท่ีมีอักษรไทยแบบสุโขทัย และ
อักษรขอมสมัยอยุธยาตอนตน กลาวถึงรายนามผูสรางพระพิมพ และที่สําคัญคือจารึกอักษรจีน
ดานหลังพระพมิ พท ก่ี ลา วถึงคนจีนในราชวงศเหม็งไดรว มกันสรางพระพิมพน ไ้ี ว ซ่งึ จากเหตุปจ จยั
ดังกลาวจึงสงผลใหพระพิมพในกรุพระปรางควัดราชบูรณะมีรูปแบบที่หลากหลายดวยกัน ซึ่งจาก
ความหลากหลายของรูปแบบพระพิมพในกรุพระปรางควัดราชบูรณะแหงน้ี ชวนใหคิดไดวาใน
สมัยอยุธยาตอนตนอาจมีการพัฒนารูปแบบพระพิมพอยางตอเน่ือง ซ่ึงอาจขึ้นอยูกับระยะเวลา
และอทิ ธิพลทางศลิ ปะท่เี ขา มามีบทบาทในอาณาจกั รอยุธยา

ดังนั้นในการศึกษาพระพิมพในกรุพระปรางควัดราชบูรณะคร้ังน้ีจึงมุงเนนเฉพาะกลุม
พระพิมพที่มีรูปแบบศิลปะในชวงอยุธยาตอนตน เพื่อที่ตองการทราบถึงรูปแบบพระพิมพ และ
พัฒนาการของรูปแบบพระพิมพสมัยอยุธยาตอนตนแตละชวงสมัย จนกระท่ังสามารถทราบถึง
รปู แบบพระพิมพท น่ี ยิ มอยใู นคราวสรางพระปรางคว ัดราชบรู ณะ รวมถึงอทิ ธิพลศิลปะท่ีมีบทบาท
อยูในขณะน้ัน โดยใชการศึกษาจากรูปแบบพระพุทธรูปบนพระพิมพ รูปแบบประเภทของพระ
พิมพ รวมถึงลวดลายประดับบนพระพิมพ มาเทียบเคียงกับหลักฐานทางประวัติศาสตร และ
โบราณคดี ดังท่ีสามารถจําแนกลําดับวิวัฒนาการทางดานรูปแบบพระพิมพศิลปะอยุธยาตอนตน
ออกเปน 3 หมวดดว ยกนั ดังตอ ไปน้ี

101


102

1. ลําดับวิวัฒนาการทางดานรูปแบบของพระพิมพศิลปะอยุธยาตอนตน ที่จบจากกรุพระปรางค
วัดราชบรู ณะ

1.1 พระพมิ พอ ทิ ธิพลศิลปะลพบุรี (ปลายพุทธศตวรรษท่ี 19 - ตนพทุ ธศตวรรษท่ี 20)
เปน พระพมิ พท ีม่ รี ูปแบบสบื ทอดมาจากศิลปะลพบุรที ั้งในสวนของพุทธลักษณะของ

พระพุทธรูปบนพระพิมพที่สอดคลองกับรูปแบบพระพุทธรูปแบบอูทองรุนที่ 2 รวมถึงรูปแบบ
พระพิมพ และรายละเอียดตางๆที่ประดับบนพระพิมพ เชน รูปแบบซุมทรงบรรพแถลงท่ีมี
องคประกอบคลายกับลักษณะหนาบรรพ (หนาบัน)ในสถาปตยกรรม รวมถึงรูปแบบซุมเรือนแกว
ท่ีมีการประดับใบระกาบนกรอบซุม ถึงแมวาพระพิมพหมวดดังกลาวจะปรากฏอิทธิพลศิลปะ
ลพบุรีอยูมากก็ตาม แตก็มีรายละเอียดบนพระพิมพบางสวนที่ชวนใหนึกถึงอิทธิพลศิลปะพุกาม
โดยเฉพาะการประดับพระสาวก หรือภาพบุคคลกระทําอัญชลี ขนาบท้ังสองขางของพระพุทธเจา
และการประดับพุมโพธิ์พฤกษทรงกลมท่ีดานบนซุม รวมถึงลักษณะรูปทรงส่ีเหล่ียมมนยอดโคง
แหลมของพระพมิ พประเภทแผงที่มปี รากฏมากอ นแลวอยา งมากในศลิ ปะพกุ าม

จากรูปแบบพระพิมพที่สืบทอดมาจากอิทธิพลศิลปะรุนเกา เชน ศิลปะพุกาม และ
ศิลปะลพบุรี ประกอบกับรูปแบบพระพุทธรูปบนพระพิมพที่เปนรูปแบบของพระพุทธรูปใน
ระยะแรกของอาณาจักรอยุธยา จึงอาจเปนไปไดวารูปแบบพระพิมพดังกลาวเปนรูปแบบท่ีนิยมอยู
ในชวง ปลายพุทธศตวรรษท่ี 19 ถึง ตนพุทธศตวรรษท่ี 20 และจากการเปดกรุพระปรางควัดราช
บูรณะไดพบพระพุทธรูปแบบอูทองรุนที่ 2 ในจํานวนนอย ประกอบกับความไมหลากหลายของ
พระพิมพรูปแบบดังกลาวที่พบในกรุแหงน้ี จึงอาจเปนไปไดวาในชวง พ.ศ.1967 รูปแบบ
พระพทุ ธรูปแบบอทู องรุนที่ 2 และรูปแบบพระพมิ พแ บบดงั กลาวไดค ลายความนยิ มลงไปแลว

1.2 พระพมิ พศิลปะสโุ ขทยั (ตนพุทธศตวรรษท่ี 20- ครึ่งหลังพทุ ธศตวรรษท2ี่ 0)
พระพิมพหมวดดังกลาวมีรูปแบบศิลปะสุโขทัยอยางชัดเจน โดยเฉพาะรูปแบบ

พระพุทธรูปบนพระพิมพที่มีลักษณะคลายพระพุทธรูปหมวดใหญศิลปะสุโขทัย รวมถึงการทํา
ลกั ษณะพระอริ ิยาบถลลี าทีไ่ ดสดั สว นตามแบบศลิ ปะสุโขทัย นอกจากน้ีความนิยมประดับลวดลาย
ประเภทลายพนั ธพุ ฤกษาก็คงมอี ยูทั่วไปบนพระพิมพห มวดดังกลา ว โดยเฉพาะลักษณะการประดับ
แจกันดอกไมบริเวณเสาซุม อยางไรก็ตามรูปแบบซุมเรือนแกวของพระพิมพหมวดดังกลาวมีการ
นํารูปแบบกรอบซุมหนานางท่ีนิยมอยูในศิลปะสุโขทัยชวงปลายพุทธศตวรรษท่ี 19-ตนพุทธ
ศตวรรษท่ี 20 ซึ่งก็อาจสันนิษฐานไดวารูปแบบพระพิมพหมวดดังกลาวเปนรูปแบบที่มีมาแลว
ต้ังแตตนพุทธศตวรรษท่ี 20 เปนอยางนอย และเปนพระพิมพที่เปนรูปแบบเฉพาะ และมีความ
แพรหลายไมมากนัก ทั้งนี้รูปแบบพระพิมพหมวดดังกลาวนอกจากจะพบในกรุพระปรางควัดราช


103

บูรณะแลว ยังพบอีกเปนจํานวนมากในจังหวัดสุพรรณบุรี เชน กรุเจดียวัดชุมนุมสงฆที่อาจสราง
ขึ้นในสมยั สมเด็จพระนครินทราธิราช และ ในกรุพระปรางคป ระธานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งมี
หลักฐานวาอาจสรางข้ึนในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจาสามพระยา) เชนเดียวกับปรางค
วัดราชบูรณะ ดงั นนั้ รปู แบบพระพมิ พหมวดดังกลา วมคี วามนยิ มอยใู นชว งคร่งึ หลงั พุทธศตวรรษที่
20 โดยเฉพาะในรัชกาลสมเด็จพระนครินทราธิราช และ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ซึ่งเปน
กษตั รยิ ก รงุ ศรอี ยธุ ยาที่มาจากราชวงศส ุพรรณบรุ ี

1.3 พระพมิ พอ ิทธพิ ลศลิ ปะสโุ ขทัย (ตน พทุ ธศตวรรษที่ 20- ครึง่ หลงั พทุ ธศตวรรษท่ี20)
พระพิมพหมวดดังกลาวปรากฏการเขามามีบทบาทของอิทธิพลศิลปะสุโขทัยอยาง

ชัดเจน ดังที่แสดงผานรูปแบบพระพุทธรูปบนพระพิมพท่ีมีพระพักตรรูปไข พระวรกายมีลักษณะ
ผอมบาง แตอยา งไรกต็ ามพระพิมพห มวดดงั กลาวยงั คงแสดงถึงความแตกตางของรูปแบบพิมพ ที่
อาจเกิดจากความแตกตางทางดานระยะเวลา ซ่ึงสงผลโดยตรงตอรูปแบบศิลปะสุโขทัยท่ีมีอยูมาก
นอยแตกตางกันไปในแตละพิมพ จึงสงผลใหสามารถแยกศึกษาพระพิมพหมวดดังกลาวออกเปน
2ระยะดว ยกนั

1.3.1 ระยะแรก (ชว งคร่งึ แรกของพุทธศตวรรษท่ี 20)
รูปแบบอิทธิพลทางศิลปะรวมถึงการจัดวางรายละเอียดตางๆในพระพิมพกลุม

ดังกลาวมีรูปแบบเดียวกับพระพิมพอิทธิพลศิลปะลพบุรีซ่ึงมีพื้นฐานมาจากอิทธิพลศิลปะพุกาม
และศิลปะลพบุรี โดยแสดงผานรูปแบบพระพิมพประเภทประดับซุมทรงบรรพแถลง และซุม
เรือนแกว และพระพิมพประเภทแผง แตอีกสวนหน่ึงก็มีการพัฒนารูปแบบเพ่ิมข้ึน ท้ังน้ีอาจ
เน่ืองจากการเขามาของกระแสอิทธิพลศิลปะสุโขทัยซึ่งสงผลโดยตรงตอรูปแบบพระพุทธรูปที่มี
ลักษณะพระพักตรรูปไข พระรัศมีเปนรูปเปลว และพระวรกายบอบบางคลายพระพุทธรูปหมวด
ใหญศ ลิ ปะสโุ ขทัย รวมถงึ การนําลักษณะพระพุทธรปู อิริยาบถลลี ามาทําเปน พระพิมพ

อยางไรก็ตามเปนที่นาสังเกตวาพุทธลักษณะของพระพุทธรูปบนพระพิมพ
กลุมดังกลาวถึงจะดูบอบบางตามแบบพระพุทธรูปหมวดใหญศิลปะสุโขทัยก็ตาม แตก็ยังคงมี
ลักษณะสีพระพักตรท่ีดุดัน มีไรพระศก รวมถึงมีพระอิริยาบถที่ดูแข็งกระดาง นอกจากน้ีลักษณะ
พระพุทธรูปลีลาบนพระพิมพกลุมดังกลาวยังคงมีความแข็งกระดาง หรือปรากฏแถบรัดประคด
คาดทับจีบผาหนานางตามลักษณะการครองผาของพระพุทธรูปศิลปะลพบุรี ซึ่งรูปแบบดังกลาว
อาจแสดงถึงอิทธิพลศิลปะสุโขทัยท่ีเขามาในระยะเริ่มแรกของอาณาจักรอยุธยา ท้ังนี้จะเห็นถึง
อิทธิพลทางศิลปะลพบุรที ่ยี ังคงปรากฏอยูมากในพระพิมพก ลุมดังกลา วนี้


104

จากหลักฐานในพระราชพงศาวดารกรุงเกากลาวถึงเหตุการณความสัมพันธ
ระหวางอยุธยากับสุโขทัย ปรากฏอยางชัดเจนในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะ
งั่ว) พระองคทรงตีเมืองสุโขทัยเปนเมืองข้ึนไดในป พ.ศ.1921 ซึ่งชวงเวลาดังกลาวอาจเปนชวงท่ี
อิทธิพลศิลปะสุโขทัยแพรเขามาในอยุธยาอยางจริงจัง รวมถึงรูปแบบพระพิมพกลุมดังกลาวดวย
เชนกัน และจากการเปดกรุพระปรางควัดราชบูรณะ พบความหลากหลายของรูปแบบพระพิมพ
กลุมดังกลาวพอสมควร จึงเช่ือวารูปแบบพระพิมพอิทธิพลศิลปะสุโขทัย ระยะแรก นาจะเกิดขึ้น
ในชวง ตนพทุ ธศตวรรษที่ 20 และยงั คงมีเลื่อยมาถงึ คร่งึ หลังพุทธศตวรรษที่ 20

1.3.2 ระยะที่ 2 (คร่ึงหลงั พทุ ธศตวรรษที่ 20)
พระพิมพหมวดดังกลาวปรากฏอิทธิพลศิลปะสุโขทัยอยางชัดเจนท้ังในสวน

ของพุทธลักษณะพระพุทธรูปบนพระพิมพที่ดูออนชอยตามแบบศิลปะสุโขทัยมากย่ิงข้ึน รวมถึง
ความนิยมรูปแบบพระพิมพท่ีทําเปนภาพพระพุทธรูปลีลาแบบสุโขทัย รายละเอียดตางๆบนพระ
พิมพ เชน รูปแบบซุมหนานาง และ ลวดลายประดับบนพระพิมพก็ยังคงเปนรูปแบบท่ีสืบ
เน่ืองมาจากพระพิมพแบบสุโขทัย โดยเฉพาะความนิยมลวดลายพันธุพฤกษา และลักษณะการ
ประดับแจกันดอกไมบริเวณเสาเรือนแกวท้ังสองขาง อยางไรก็ตามเปนที่นาสังเกตวาพระพิมพ
หมวดดังกลา วนอกจากจะมีรูปแบบทสี่ ืบเนื่องมาจากพระพิมพแบบสโุ ขทัย นอกจากนี้ยังมีรูปแบบ
จากอิทธิพลศิลปะลพบุรีสืบเน่ืองอยูดวยเชนกัน โดยเฉพาะพระพิมพประเภทซุมทรงบรรพแถลง
ซุมเรือนแกว และพระพิมพประเภทแผง แตส่ิงที่ทําใหเราสามารถกําหนดไดวาพระพิมพแบบ
ตางๆเหลานี้มีอายุอยูในชวงเดียวกัน ไดแก รูปแบบพระพุทธรูปบนพระพิมพ และความไม
เครงครัดของระเบียบซุมทรงบรรพแถลง และ ซุมเรือนแกวท่ีมีความออนชอยมากขึ้น รวมถึงไม
นยิ มประดบั ชอฟา ใบระกา บนกรอบซุม ประกอบกับลักษณะลายเม็ดประคําท่ีประดับเรียงรายใน
กรอบซมุ ประเภทตางๆซง่ึ ไมเคยปรากฏในพระพมิ พศ ลิ ปะลพบรุ ี

รูปแบบศิลปะบนพระพิมพหมวดดังกลาวน้ีมีความสอดคลองกับงาน
ศิลปกรรมท่ีพบภายในกรุพระปรางควัดราชบูรณะ โดยเฉพาะรูปแบบกรอบซุมหนานางปูนปน
ประดับซุมในกรุหองท่ี 2 ที่มีลักษณะใกลเคียงกับรูปแบบซุมเรือนแกวบนพระพิมพหมวดดังกลาว
ในสว นของการปรับเปลี่ยนสวนปลายกรอบซุมมาเปนลักษณะกระหนกแบบอยุธยาตอนตน ซึ่งแต
เดิมซุมหนานางในศิลปะสุโขทัยจะเปนกลุมกระหนกวงโคงคลายลายพันธุพฤกษา รวมถึงการ
คนพบพระพุทธรูปแบบอูทองรุนที่ 3 ในกรุพระปรางควัดราชบูรณะ ซ่ึงมีจํานวนมากกวา
พระพุทธรูปแบบอื่นๆ สอดคลองกับรูปแบบพระพุทธรูปบนพระพิมพหมวดดังกลาวที่มีลักษณะ
เดียวกับพระพุทธรูปแบบอูทองรุนที่ 3 ในสวนของพระพิมพแบบซุมเรือนแกว ไมปรากฏการ
ประดับใบระกาบนกรอบซุม และกรอบซุมประดับลายเม็ดประคํา รวมถึงมีการประดับแจกัน


105

ดอกไมทั้งสองขางของซุม สําหรับลักษณะการประดับแจกันดอกไมบริเวณเสาซุมเปนรูปแบบท่ี
นิยมมากในพระพิมพศิลปะสุโขทัย และเปนรูปแบบที่พบมากในงานจิตรกรรมภาพพระพุทธเจา
ภายในกรุพระปรางควัดราชบูรณะ ลักษณะดังกลาวตางกับรูปแบบพระพิมพซุมเรือนแกวอิทธิพล
ศิลปะลพบรุ อี ยา งชดั เจน

ดังน้ันอาจสรุปไดวารูปแบบพระพิมพอิทธิพลศิลปะสุโขทัย ระยะที่ 2 ท้ังใน
กลุมแบบอยางศิลปะสุโขทัย และกลุมแบบอยางอิทธิพลศิลปะลพบุรี ลวนแตปรากฏรายละเอียดท่ี
ใกลเคียงกันท้ังในดานพุทธลักษณะของพระพุทธรูปบนพระพิมพที่ดูออนชอยแบบพระพุทธรูปใน
ศิลปะสุโขทัย รวมถึงลักษณะลวดลายประดับที่นิยมประเภทลายพันธุพฤกษา และการประดับ
แถวลายเม็ดประคําภายในกรอบซุมรูปแบบตางๆ ท้ังในสวนของซุมทรงบรรพแถลง ซุมเรือนแกว
และ ซุม หนานาง ประกอบกบั เปน ที่นา สงั เกตวาพระพมิ พหมวดดังกลาวที่พบในกรุพระปรางควัด
ราชบูรณะมีจํานวนคอนขางมาก และมีความหลากหลายทางดานรูปแบบพิมพที่ปรากฏรูปแบบ
ศิลปะสุโขทัยอันสอดคลองกับงานศิลปกรรมที่พบภายในกรุพระปรางควัดราชบูรณะ ทั้งในสวน
รูปแบบจิตรกรรม รูปแบบซุมหนานางที่ประดับซุมจระนําในกรุพระปรางควัดราชบูรณะ รวมถึง
รูปแบบพระพุทธรปู บนพระพิมพทส่ี อดคลองกับรปู แบบพระพทุ ธรูปแบบทพี่ บมากในกรดุ งั กลาวน้ี
ดังนั้นจึงอาจสันนิษฐานไดวาพระพิมพหมวดท่ี 3 อิทธิพลศิลปะสุโขทัย นาจะเปนรูปแบบพระ
พิมพที่นิยมอยูในชวง ครึ่งหลังพุทธศตวรรษท่ี 20 หรือในชวงคราวสรางพระปรางควัดราชบูรณะ
โดยเฉพาะในชวงรัชกาลสมเด็จพระนครนิ ทราธิราช และสมเดจ็ เจาสามพระยา

2. รูปแบบนิยมพระพิมพอิทธิพลศิลปะสุโขทัยในกรุพระปรางควัดราชบูรณะ ความสัมพันธกับ
หลกั ฐานทางประวัติศาสตร

ผลจากการศึกษารูปแบบพระพิมพในเบ้ืองตนช้ีใหเห็นถึงอิทธิพลศิลปะสุโขทัยที่สงผล
ตอรูปแบบพระพิมพจํานวนมากท่ีพบในกรุพระปรางควัดราชบูรณะ โดยเฉพาะรูปแบบพระพิมพ
ที่มีพัฒนาการทางดานศิลปะจัดอยูในชวงครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 20 ซึ่งเปนรูปแบบที่นิยมอยูใน
คราวสรางพระปรางควัดราชบูรณะ สอดคลองกับรูปแบบศิลปกรรมภายในกรุพระปรางควัดราช
บูรณะที่ปรากฏอิทธิพลศิลปะสุโขทัยอยางชัดเจน ท้ังในสวนของรูปแบบงานจิตรกรรมฝาผนัง
และ รปู แบบพระพุทธรูปแบบอทู องรุน ที่ 3 ที่พบเปนจาํ นวนมากภายในกรดุ งั กลาว ส่งิ ตา งๆเหลา น้ี
บงบอกถึงกระแสอิทธิพลศิลปะสุโขทัยที่เขามามีบทบาทอยางมากในชวงคราวสรางพระปรางควัด
ราชบูรณะ ซ่ึงคาบเก่ยี วในระหวางรชั กาลสมเด็จพระนครนิ ทราธิราช และ สมเด็จเจาสามพระยา

ความชัดเจนของอิทธิพลศิลปะสโุ ขทัยที่ปรากฏในชว งรัชกาลสมเด็จพระนครนิ ทราธิราช
และสมเด็จเจาสามพระยา อาจสืบเนื่องจากความสัมพันธทางดานการเมืองท่ีอาจเกี่ยวพันกับระบบ


106

เครือญาติ ระหวางสุโขทัย กับ อยุธยา ซ่ึงเปนท่ีทราบกันวาสมเด็จเจาสามพระยาทรงมีพระมเหสี
เปนเจาหญิงชาวสุโขทัย รวมถึงสมเด็จเจาสามพระยาก็อาจมีเช้ือสายสุโขทัยผานทางฝายพระ
มารดาดวยเชนกัน ความสัมพันธทางเครือญาติระหวางอาณาจักรทั้งสองนี้ นอกจากจะสงผลตอ
ดานการเมอื งแลว ยงั สงผลโดยตรงตอรูปแบบงานศิลปะท่ีมอี ทิ ธิพลศลิ ปะสโุ ขทัยผสมอยูมาก ดังที่
ปรากฏในพระพมิ พหมวดดังกลาว

นอกจากนี้ในจังหวัดท่ีมีความเก่ียวของโดยตรงกับกษัตริยคูดังกลาวมักจะพบพระพิมพ
รูปแบบท่ีปรากฏอิทธิพลศิลปะสุโขทัยเชนเดียวกัน โดยเฉพาะจังหวัดสุพรรณบุรีซ่ึงเปนเมืองท่ี
กษัตริยจากอยุธยาท่ีมาจากราชวงศสุพรรณบุรีเคยปกครองมากอน โดยเฉพาะสมเด็จพระนครินท
ราธิราชท่ีพระองคทรงอาจมีเชื้อสายสุโขทัยดวยเชนกัน ดังนั้นจะสังเกตเห็นวากษัตริยอยุธยา
โดยเฉพาะที่มาจากราชวงศสุพรรณบุรี มักจะมีความเก่ียวของทางดานเครือญาติกับอาณาจักร
สุโขทัย ท้ังน้ีเพื่ออาจหวังผลโดยตรงตอการผนวกดินแดนโดยใชระบบเครือญาติจนในท่ีสุด
อาณาจักรทั้งสองก็สามารถรวมเขาเปนอันหน่ึงอันเดียวอยางม่ันคงในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตร
โลกนาถ

ผลจากการศึกษารูปแบบศิลปะบนพระพิมพหมวดที่ 3 อาจสันนิษฐานไดวาเปนรูปแบบ
พระพิมพที่นิยมอยูในชวงครึ่งหลังพุทธศตวรรษท่ี 20 หรือในชวงระยะเวลาของการสรางพระ
ปรางควัดราชบูรณะ โดยอยูในชวงรัชกาลสมเด็จพระนครินทราธิราช และ สมเด็จพระบรม
ราชาธิราชท่ี 2 (เจาสามพระยา) ซึ่งก็สอดคลองกับการพบพระพิมพรูปแบบดังกลาวในจังหวัดที่มี
ความเก่ยี วขอ งกับกษัตรยิ คูดงั กลา ว


107

บรรณานุกรม

ภาษาไทย
กรมศลิ ปากร. จารกึ ในประเทศไทย เลม 5. กรุงเทพฯ : กรมศลิ ปากร, 2529.

. จารกึ สมยั สุโขทัย. กรงุ เทพฯ : กรมศลิ ปากร, 2526.
. นําชมพพิ ิธภัณฑสถานแหง ชาติเจาสามพระยา. กรุงเทพฯ : รงุ ศลิ ปก ารพมิ พ, 2548.
กฤษณ อนิ ทโกศยั . “รายงานการเปดกรุ ในองคพ ระปรางค วดั ราชบูรณะ.” ใน จิตรกรรม และ
ศิลปวัตถุ ในกรุพระปรางควัดราชบูรณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, 22-28. พระนคร :
กรมศลิ ปากร, 2501.
. “เปด กรุวดั ราชบรู ณะ จงั หวดั พระนครศรอี ยธุ ยา.” ใน พระพุทธรูป และพระ
พมิ พ ในกรพุ ระปรางควัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, 11-14. พระนคร : หาง
หุนสว นจาํ กัดศิวพร, 2502.
ฉา่ํ ทองคาํ วรรณ. “คาํ อานจารึก.” ใน จิตรกรรม และ ศลิ ปวตั ถุ ใน กรุพระปรางคว ดั ราชบรู ณะ
จังหวดั พระนครศรีอยธุ ยา, 60. พระนคร : กรมศิลปากร, 2501.
เชษฐ ติงสัญชล.ี “พระพทุ ธรูปในศิลปะอินเดยี .” เอกสารคําสอนวชิ า 310 211ศิลปะอนิ เดีย และ
317 413 สัมมนาศิลปะอินเดีย ภาควิชาประวัติศาสตรศิลปะ คณะโบราณคดี
มหาวทิ ยาลัยศิลปากร, 2550. (อดั สาํ เนา)
บริบาลบุรีภณั ฑ, หลวง. “ประติมากรรมสมัยอยธุ ยา.” ใน จิตรกรรม และ ศลิ ปวตั ถุ ใน กรุพระ
ปรางควัดราชบรู ณะ จงั หวดั พระนครศรอี ยุธยา, 41. พระนคร : กรมศลิ ปากร, 2501.
ปรมานชุ ติ ชโิ นรส, สมเด็จกรมพระ. พระปฐมสมโพธกิ ถา. กรุงเทพฯ : หา งหนุ สว นจาํ กดั อาํ นวย
สาสการพิมพ, 2549.
ประเสรฐิ ณ นคร. “จารึกลานทอง วดั พระศรรี ัตนมหาธาตุ สุพรรณบรุ .ี ” ใน อักษร ภาษา จารึก
วรรณกรรม รวมบทนิพนธ “เสาหลักทางวิชาการ” ของ ศาสตราจารย ดร.ประเสริฐ ณ
นคร, 179-187. กรุงเทพฯ : สาํ นกั พิมพมตชิ น, 2549.
. “พิษณุโลกกบั อาณาจกั รสุโขทยั .” ใน ประวตั ศิ าสตรเบ็ดเตล็ด รวมบทนิพนธ “เสา
หลักทางวิชาการ”ของ ศาสตราจารย ดร.ประเสริฐ ณ นคร, 94-98. กรุงเทพฯ :
สํานักพมิ พม ติชน, 2549.
“พระราชพงศาวดารกรงุ เกา ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนติ ์ิ.” ใน คาํ ใหก ารชาวกรุงเกา คาํ ใหก าร
ขุนหลวงหาวัด และพระราชพงศาวดารกรุงเกา ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์. พิมพ
คร้งั ที่ 2. กรงุ เทพฯ : สาํ นกั พิมพค ลังวิทยา, 2510.


108

พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เลม1. พมิ พคร้ังท่ี 7. กรงุ เทพฯ : สํานกั พิมพค ลังวทิ ยา,
2516.

พริ ยิ ะ ไกรฤกษ. ประวัติศาสตรศลิ ปะในประเทศไทย ฉบับคมู อื นักศึกษา. กรงุ เทพฯ : อมรินทร
การพมิ พ, 2528.

มนัส โอภากลุ . พระกรเุ มืองสุพรรณ. กรงุ เทพฯ : โรงพิมพร ุงวัฒนา, 2516.
มานิต วลั ลิโภดม. “พระพิมพว ดั ราชบรู ณะ.” ใน พระพทุ ธรปู และพระพิมพ ในกรุพระปรางคว ัด

ราชบรู ณะ จังหวัดพระนครศรอี ยธุ ยา, 28-38. พระนคร : กรมศิลปากร, 2502.
ยอรช เซเดส. ตาํ นานพระพมิ พ. พระนคร : ศลิ ปาบรรณาคาร, 2495.
ศรีศักร วัลลโิ ภดม. พระเคร่ืองในเมอื งสยาม. กรงุ เทพฯ : สํานักพิมพมตชิ น, 2537.
ศักดช์ิ ัย สายสิงห. พัฒนาการศลิ ปกรรมสมยั กอนอยธุ ยา พทุ ธศตวรรษที1่ 8-23. กรงุ เทพฯ :

มหาวิทยาลยั ศลิ ปากร, 2549.
. ศิลปะสโุ ขทยั บทวิเคราะหหลกั ฐานโบราณคดี จารึกและศิลปกรรม. พมิ พค รงั้ ท่ี 2.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพมหาวิทยาลยั ศลิ ปากร, 2551.
สนั ติ เลก็ สขุ มุ . เจดียความเปน มาและคาํ ศัพทเรยี กองคประกอบเจดียใ นประเทศไทย. พมิ พค รง้ั ท่ี 5.
กรงุ เทพฯ : สาํ นกั พมิ พมตชิ น, 2552.
. เจดียร ายทรงปราสาทยอด วัดราชบรู ณะ จงั หวดั พระนครศรอี ยุธยา. กรงุ เทพฯ :
อมรินทรวชิ าการ, 2541.
. เจดียส มยั สโุ ขทยั ทีว่ ดั เจดียเ จด็ แถว. กรุงเทพฯ : สาํ นักพมิ พเ มืองโบราณ, 2534.
. ประวัติศาสตรศิลปะไทย ฉบับยอ การเร่มิ ตนและการสืบเนือ่ งงานชา งในศาสนา. พมิ พ
ครง้ั ท่ี 2. กรุงเทพฯ : สาํ นักพมิ พเมอื งโบราณ, 2547.
. ววิ ฒั นาการของชั้นประดบั และลวดลายสมยั อยธุ ยาตอนตน . กรงุ เทพฯ : อมรินทรการ
พมิ พ, 2522.
. ศิลปะสุโขทัย. พมิ พค รงั้ ที่ 2. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพเ มอื งโบราณ, 2549.
. ศิลปะอยุธยา งานชางหลวงแหง แผน ดนิ . พิมพค รั้งท่ี 3. กรุงเทพฯ : สาํ นักพิมพเมอื ง
โบราณ, 2550.
สันติ เล็กสุขุม และ กมล ฉายาวฒั นะ. จิตรกรรมฝาผนังสมัยอยุธยา. กรงุ เทพฯ : เจริญวิทยก าร
พิมพ, 2524.
สืบแสง พรหมบุญ. ความสมั พันธในระบบบรรณาการระหวา งจนี กบั ไทย. กรุงเทพฯ : มลู นิธิ
โคลงการตําราสังคมศาสตรแ ละมนษุ ยศาสตร, 2525.


109

สุภัทรดศิ ดิศกลุ , หมอมเจา . และ สนั ติ เลก็ สขุ ุม. เทย่ี วดงเจดียท พี่ มา ประเทศผา นประวตั ศิ าสตร
ศลิ ปะและวัฒนธรรม. พิมพคร้งั ที่ 2. กรุงเทพฯ : สาํ นักพิมพมติชน, 2549.
. “โบราณวตั ถทุ ีค่ นพบจากพระปรางคว ัดราชบูรณะ รนุ ท2ี่ .” ใน พระพุทธรูป และพระ
พิมพ ในกรพุ ระปรางคว ัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, 17-18. พระนคร : กรม
ศลิ ปากร, 2502.

แสง มนวทิ รู . “เรอื่ งพระอดตี พุทธ.” ใน จติ รกรรม และ ศลิ ปวัตถุ ใน กรุพระปรางคว ัดราชบูรณะ
จังหวดั พระนครศรอี ยุธยา, 42-53. พระนคร : กรมศิลปากร, 2501.

อชิรชั ญ ไชยพจนพ านิช. “ประภามณฑลรอบพระวรกายในงานปนู ปนวัดมหาธาตุ และวัดราช
บรู ณะ.” เมืองโบราณ 30 ,1 (มกราคม-มีนาคม 2547) : 122-125.

อไุ รศรี วนศะริน. “จารึกภาษามอญบางหลกั ในภาคตะวันออกเฉียงเหนอื .” ใน ดินแดนไทยจาก
ยุคประวัติศาสตรตอนตนจนถึงคริสตศตวรรษท่ี 15, 501-514. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย
ศิลปากร, 2531. (เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการระดับชาติฝรั่งเศสไทย ครั้งท่ี
1).

บทความ
ชาญคณิต อาวรณ. “ร้ิวจีวรแบบธรรมชาติในศิลปะอยุธยา กับขอสันนิษฐานอทิ ธิพลศลิ ปะจนี

หลักฐานจากวัดราชบูรณะและวัดมหาธาตุ.” เมืองโบราณ 35, 1 (มกราคม- มีนาคม
2552) : 62-64.
พิเศษ เจยี จันทรพงษ. “การรวมอาณาจกั รสโุ ขทยั กบั อยุธยา.” เมอื งโบราณ 1 , 2
(มกราคม-มนี าคม 2518) : 32-33.
รงุ โรจน ธรรมรุง เรอื ง. “ยมกปาฏิหาริยท ว่ี ัดราชบรู ณะ.” ใน เมืองโบราณ 30, 1 (มกราคม- มนี าคม
2547) : 114-120.
สนั ติ เล็กสขุ ุม. “เรือนแกว หรอื ซุมคือรปู สญั ลักษณของอาคาร.” ศิลปวฒั นธรรม 16, 12 (ตลุ าคม
2538) : 176 -177.
สภุ ัทรดิศ ดศิ กลุ , หมอมเจา . “รายงานสาํ รวจทางโบราณคดี.” ศลิ ปากร 9 , 3 (กรกฎาคม 2537) :
36-37.


110

วทิ ยานพิ นธ
สวาง สมิ ะแสงยาภรณ. “แบบศลิ ปะท่ปี รากฏในงานจติ รกรรมฝาผนังภายในกรุ ณ พระปรางค

ประธานวัดราชบูรณะ จงั หวดั พระนครศรีอยุธยา.” ศิลปะนิพนธปริญญาศิลปะบัณฑติ
ภาควิชาประยุกตศ ลิ ปศกึ ษา คณะมัณฑนศลิ ป มหาวทิ ยาลัยศลิ ปากร, 2522.
สริ ินุช เรืองชวี ิน. “จติ รกรรมฝาผนังสมยั อยธุ ยาตอนตน ในกรพุ ระปรางคว ัดราชบรู ณะ จงั หวดั
พระนครศรีอยุธยา.” สารนิพนธปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร
ศิลปะ บณั ฑติ วิทยาลยั มหาวิทยาลยั ศิลปากร, 2549.

เอกสารตา งประเทศ
Hassan Haskia. ANCIENT BUDDHIS ART From BURMA. Singapore : Image Printers Pte

Ltd, 1993.


111

ประวตั ิการศกึ ษา

ชื่อ-สกุล นายนพพล งามวงษว าน
ทีอ่ ยู 16/1 หมู 2 ตาํ บลเทพราช อําเภอบา นโพธิ์ จังหวดั ฉะเชิงเทรา 24140

ประวตั กิ ารศึกษา -ปรญิ ญาศิลปะบณั ฑติ (จติ รกรรม) คณะศลิ ปกรรมมหาวทิ ยาลยั เทคโนโลยี
2550 ราชมงคลรัตนโกสินทร (วิทยาเขตเพาะชา ง)
-ศกึ ษาตอระดบั ปรญิ ญามหาบัณฑิต สาขาประวตั ศิ าสตรศ ลิ ปะ บัณฑิต
2551 วิทยาลัย มหาวทิ ยาลัยศิลปากร


Click to View FlipBook Version