The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

E-Book เทคนิคการเขียนหนังสือราชการ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by sugapjn9, 2022-04-19 13:17:26

E-Book เทคนิคการเขียนหนังสือราชการ

E-Book เทคนิคการเขียนหนังสือราชการ

สารบัญ 1
36
การใช้คำ 49
การใช้ประโยค 52
การใช้เครื่องหมาย
การเขียนย่อหน้า 54
หลักการย่อหน้า เว้นวรรค และ 55
การตัดคำเมื่อสิ้นสุดบรรทัด 56
การใช้เลขไทย 57
ภาษาที่ใช้ในหนังสือราชการ 58
ลีลาการเขียน
บรรณานุกรม

การใช้คำ

1. การสะกดคำ

ในการเขียนชื่อบุคคล ชื่อเฉพาะ และการถอดคำภาษาไทย - ภาษาต่าง
ประเทศ จะต้องใช้ให้ถูกต้องตามที่ราชบัณฑิตยสถานกำหนดไว้ รวมไปถึง
การใช้คำพ้องเสียง เช่น การ การณ์ กาล กานต์ กานท์ กาญจน์ เป็นต้น โดยจะ
ต้องสะกดให้ถูกต้องทุกคำ และควรเลือกใช้ให้ตรงตามความหมายที่ต้องการ
ด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งมักมีปัญหาการสะกดคำในด้านต่าง ๆ ดังนี้

ด้านปัญหาพยัญชนะ เป็นปัญหาเกี่ยวกับพยัญชนะต้น พยัญชนะควบ
ร ล และพยัญชนะสะกด มักเกิดจากการที่ผู้เขียนสับสนในการออกเสียง
พยัญชนะดังกล่าว เช่น

คำที่ถูก คำที่ผิด

โครงการ โครงการณ์ , โคลงการ
เกษียณอายุ เกษียน , เกษียร
ฏีกา
ฎีกา

การใช้คำ

ด้านปัญหาสระ ส่วนใหญ่แล้วสาเหตุที่ผิดอาจเป็นเพราะสระเสียงเดียว
เขียนได้หลายอย่าง เช่น สระอะ เมื่อเขียนจะประวิสรรชนีย์ในบางคำ
และไม่ประวิสรรชนีย์ในบางคำ เช่นในคำว่า สะดวก สบาย เป็นต้น

คำที่ถูก คำที่ผคิดำที่ผิด
ฉะบับ
ฉบับ คณะบดี
คณบดี
นานัปการ นานับประการ

ด้านปัญหาวรรณยุกต์ มักเป็นการใช้วรรณยุกต์ผิด และใช้วรรณยุกต์
ไม่ตรงที่ เช่น

คำที่ถูก คำที่ผิด

แบงก์ แบ๊งก์ , แบ็งก์
เปอร์เซ็นต์ เปอร์เซนต์

การใช้คำ

ด้านปัญหาตัวการันต์ มักเป็นการใช้ตัวการันต์ผิด และใช้ตัวการันต์ใน
คำที่ควรมีหรือไม่ควรมี เช่น

คำที่ถูก คำที่ผคิดำที่ผิด
โจทย์
โจทก์
เซ็นชื่อ เซ็นต์ชื่อ
แผนการ แผนการณ์

ด้านปัญหาเครื่องหมายต่าง ๆ มักเป็นการใช้เครื่องหมายในที่ไม่ควรใช้
หรือไม่ใช้เครื่องหมายในที่ที่ควรใช้ เช่น

คำที่ถูก คำที่ผิด

กรุงเทพฯ กรุงเทพ

*กรุงเทพฯ ย่อมาจาก กรุงเทพมหานคร*

การใช้คำ

ตัวอย่างข้อความที่มีการสะกดคำผิด

"เปิดให้ผู้ประกอบการส่งออกสินค้า ยื่นคำขอให้จัดระดับ
เป็นผู้ประกอบการส่งออกที่ดี หรือผู้ประกอบการส่งออก
ขึ้นทะเบียน (สอ.1) ทางอินเตอร์เน็ตได้แล้วตั้งแต่วันที่ 15
กันยายน 2564"

จากข้อความดังกล่าว มีการสะกดคำว่า "อินเทอร์เน็ต" ซึ่งเป็นคำทับ
ศัพท์ภาษาอังกฤษผิดตรงตำแหน่งพยัญชนะต้น จาก อินเตอร์เน็ต ควร
แก้ไขเป็น อินเทอร์เน็ต

"เปิดให้ผู้ประกอบการส่งออกสินค้า ยื่นคำขอให้จัดระดับ
เป็นผู้ประกอบการส่งออกที่ดี หรือผู้ประกอบการส่งออก
ขึ้นทะเบียน (สอ.1) ทางอินเทอร์เน็ตได้แล้วตั้งแต่วันที่
15 กันยายน 2564"

การใช้คำ

2. การใช้คำเชื่อม

คำเชื่อม เช่น ที่ ซึ่ง อัน และ แต่ หรือ เพราะ ฉะนั้น จึง ฯลฯ ควรเลือก
ใช้ให้ถูกต้อง และไม่ใช้มากเกินไป เพราะจะทำให้ประโยคยาว ซับซ้อน
เข้าใจยาก คำเชื่อมเดียวกันไม่ควรใช้ซ้ำ ๆ ในประโยคเดียวกัน

เช่น "การตรวจสอบเอกสารที่ส่งมาซึ่งมีจำนวนมากและซับซ้อน แต่มี
เวลาตรวจสอบน้อย จึงไม่สามารถดำเนินการได้ตามกำหนด จึงขอเลื่อน
เวลา..." โดยจะเห็นได้ว่าประโยคดังกล่าวมีการใช้คำเชื่อมมากเกินไป

ทั้งนี้คำเชื่อมบางคำก็สามารถใช้ขึ้นต้นข้อความได้เช่นเดียวกัน ดังนี้

ทั้งนี้ หมายถึง ตามที่กล่าวมานี้ ใช้กล่าวเพิ่มเติมเรื่องที่กล่าวมาแล้ว
บางครั้ง มีลักษณะเป็นเงื่อนไข เช่น

"ทั้งนี้องค์กรจึงขอความร่วมมือทุกท่านให้
ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว"

การใช้คำ

ในการนี้ หมายถึง ในการดำเนินการดังที่กล่าวข้างต้นนี้ ใช้กล่าว
แทนข้อความที่กล่าวไปแล้ว เพื่อเพิ่มเติมว่าจะมีการดำเนินการ
อย่างไรต่อไป เช่น

"ในการนี้จะจัดให้มีการอบรมพัฒนา
ศักยภาพด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในช่วง

ไตรมาสที่สามของปีนี้"

อนึ่ง หมายถึง อีกอย่างหนึ่ง อีกประการหนึ่ง ใช้ในกรณีที่จะ
กล่าวเพิ่มเติม แต่ไม่สามารถใช้คำว่า "และ" ได้ เพราะมี
ประเด็นที่แตกต่างจากที่กล่าวไปแล้วอยู่บ้าง มิใช่แตกต่างโดย
สิ้นเชิง เช่น

"นักวิชาการสรรพากรระดับชำนาญ
การจะเข้าร่วมประชุมจำนวน 10 คน
อนึ่งนักวิชาการสรรพากรระดับอาวุโส

จะเข้าร่วมด้วยบางส่วน"

การใช้คำ

อย่างไรก็ตาม อย่างไรก็ดี คำสองคำนี้สามารถใช้แทนกันได้
หมายถึง ถึงเช่นนั้น แม้กระนั้น แต่ ใช้กล่าวเพิ่มเติมในกรณีที่
ขัดแย้งกับข้อความที่กล่าวมาแล้ว แต่มีลักษณะผ่อนปรน นุ่ม
นวล เห็นอกเห็นใจ เช่น

"ทางหน่วยงานจึงขอเรียนให้ทุกท่านทราบ
ว่า ไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้าใช้

บริการห้องน้ำของเจ้าหน้าที่ อย่างไรก็ตาม
ท่านสามารถใช้บริการห้องน้ำสำหรับบุคคล

ภายนอกได้ที่ชั้นล่างของอาคาร"

การใช้คำ

ตัวอย่างข้อความที่มีการใช้คำเชื่อมผิด

"อธิบดีกรมสรรพากร และผู้บริหารกรมสรรพากร เข้าตรวจ

เยี่ยมสำนักงานสรรพากรพื้นที่นครพนม รับฟังผลการปฏิบัติ

งาน และมอบนโยบายการทำงานให้ตอบโจทย์ตรงเป้า ตรง

กลุ่ม ตรงใจ ด้วยกลยุทธ์ D2RIVE เน้นมองผู้เสียภาษีเป็น

ศูนย์กลาง อย่างไรก็ตามได้มอบหน้ากากอนามัยให้กับ

ข้าราชการเพื่อใช้ป้องกันการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา 2019"

จากข้อความดังกล่าว มีการใช้คำเชื่อมว่า "อย่างไรก็ตาม" ผิด
บริบท ควรแก้ไขใช้คำว่า พร้อมนี้ หรือ อีกทั้ง เพราะใจความใน
ประโยคหลังเป็นการกล่าวเพิ่มเติมเสริมอีกเรื่องหนึ่ง ไม่ได้เป็นการ
กล่าวเพิ่มเติมในกรณีที่ขัดแย้งกับข้อความที่กล่าวมาแล้ว

"อธิบดีกรมสรรพากร และผู้บริหารกรมสรรพากร เข้าตรวจ

เยี่ยมสำนักงานสรรพากรพื้นที่นครพนม รับฟังผลการปฏิบัติ

งาน และมอบนโยบายการทำงานให้ตอบโจทย์ตรงเป้า ตรง

กลุ่ม ตรงใจ ด้วยกลยุทธ์ D2RIVE เน้นมองผู้เสียภาษีเป็น

ศูนย์กลาง พร้อมนี้/อีกทั้งได้มอบหน้ากากอนามัยให้กับ

ข้าราชการเพื่อใช้ป้องกันการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา 2019"

การใช้คำ

3. การใช้คำให้เหมาะสมและถูกหลักไวยากรณ์

คำที่ความหมายคล้ายกันแต่ใช้แทนกันไม่ได้นั้นมีจำนวนมาก หากใช้
คำที่มีความหมายคล้ายกันแทนกัน ความบกพร่องที่อาจจะเกิดขึ้น คือคำที่
ใช้ไม่เหมาะสม เมื่อผู้ส่งสารใช้คำไม่เหมาะสม ผู้รับสารจะยังเข้าใจความ
หมาย แต่ก็อาจจะมีผู้ตำหนิผู้ส่งสารได้ว่า ไม่รู้จักเลือกใช้คำหรือไม่พิถีพิถัน
ในการใช้คำ โดยคำที่ผู้ส่งสารใช้อาจจะไม่เหมาะสมในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

ผู้ส่งสารใช้คำไม่เหมาะกับบุคคล เช่น

"ตามหมายกำหนดการกรม
สรรพากรจะประกาศรับสมัคร
สอบคัดเลือกลูกจ้างชั่วคราว
ภายในเดือนมกราคม 2565 นี้"

จากข้อความดังกล่าว คำว่า "หมายกำหนดการ" ใช้สำหรับ
กำหนดการของพระมหากษัตริย์ ถ้าเป็นบุคคลหรือหน่วย
งานภายนอกควรใช้ว่า กำหนด/กำหนดการ

"ตามกำหนดการกรมสรรพากรจะประกาศ
รับสมัครสอบคัดเลือกลูกจ้างชั่วคราวภายใน

เดือนมกราคม 2565 นี้"

การใช้คำ

ผู้ส่งสารใช้คำไม่เหมาะกับโอกาส เช่น

"เนื่องจากเดือนมกราคม - มีนาคม ของทุกปีเป็น
ช่วงเวลาการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้

บุคคลธรรมดาประจำปี จึงมีผู้ใช้บริการติดต่อ
สอบถามมายังกรมสรรพากรเป็นจำนวนมาก ส่ง
ผลให้การติดต่อกับเจ้าหน้าที่อาจใช้เวลานานและ

โทรติดต่อยาก"

จากข้อความดังกล่าว คำว่า "โทร" เป็นคำที่ใช้พูดย่อ ๆ ใน
โอกาสที่ไม่เป็นทางการได้ แต่ถ้าในโอกาสที่เป็นทางการ
ควรใช้คำเต็มว่า โทรศัพท์

"เนื่องจากเดือนมกราคม - มีนาคม ของทุกปีเป็นช่วง
เวลาการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคล
ธรรมดาประจำปี จึงมีผู้ใช้บริการติดต่อสอบถามมายัง
กรมสรรพากรเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้การติดต่อกับ
เจ้าหน้าที่อาจใช้เวลานานและโทรศัพท์ติดต่อยาก"

การใช้คำ

ทั้งนี้นอกจากที่ผู้เขียนต้องระวังการใช้คำของผู้ส่งสารที่อาจใช้
ไม่เหมาะสมกับบุคคลและโอกาสแล้วนั้น ผู้เขียนก็ควรคำนึงถึงการ
ใช้ชนิดของคำต่าง ๆ ให้ถูกหลักไวยากรณ์ด้วยเช่นเดียวกัน ดังนี้

คำสรรพนาม ควรใช้ คำว่า "ผม กระผม ดิฉัน" ไม่ใช้
"ข้าพเจ้า" ซึ่งเป็นคำที่พระราชวงศ์ชั้นสูงทรงใช้ ในกรณีที่
มิใช่เรื่องเฉพาะบุคคล ควรใช้ชื่อหน่วยงาน ไม่ควรใช้คำว่า
"ท่าน หน่วยงานของท่าน" เพราะบุคคลย่อมมิใช่เจ้าของ
หน่วยงาน ควรใช้ชื่อหน่วยงานเท่านั้น เช่น

"ตามหนังสือที่อ้างถึง กรมสรรพากรได้หารือว่า....."



หรือ



"หวังว่าจะได้รับความอนุเคราะห์จากหน่วยงาน และ
ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้"

การใช้คำ

คำนาม ผู้เขียนส่วนใหญ่มักมีปัญหาใช้ผิดไวยากรณ์ คือการ
ใช้นามทั่วไปแทนลักษณนาม นัยว่าทำให้ข้อความกระชับขึ้น
แต่ความนิยมเช่นนี้ทำให้ภาษาไทยสูญเสียเอกลักษณ์ การใช้
ลักษณนามผิดระเบียบในภาษาแบบแผนจึงเป็นข้อห้ามที่
เคร่งครัดในปัจจุบัน เช่น

"การยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตเป็น
อีกหนึ่งทางเลือกที่ให้ความสะดวก

สบายแก่ผู้เสียภาษี"

"การยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต
เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่ให้
ความสะดวกสบายแก่ผู้เสียภาษี"

การใช้คำ

คำกริยา ในกรณีที่กริยาสกรรมที่มีกริยาวิเศษณ์ การเรียงคำ
ต้องมีกรรมวางคั่น แต่ปัจจุบันพบการนำกริยาทั้งหมดวางติด
กันแล้วตามด้วยกรรม เช่น

"ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการ
ปรับปรุงและการทำลายทรัพย์สิน

ทุบทิ้งอาคาร"

"ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการ
ปรับปรุงและการทำลายทรัพย์สิน

ทุบอาคารทิ้ง"

การใช้คำ

คำเชื่อม ในประโยคความซ้อนจะประกอบด้วยประโยคหลัก
และประโยคย่อย ซึ่งอาจจะเป็นนามานุประโยค คุณานุ
ประโยค หรือวิเศษณานุประโยคก็ได้ ระหว่างประโยคหลัก
และประโยคย่อยต้องมีคำเชื่อม แต่ก็พบบ่อยว่าผู้เขียนมักมี
การใช้คำเชื่อมไม่ถูกต้อง เช่น

"การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และ
การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่าย
รางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใด ๆ

ซึ่งเกิดจากการส่งเสริมการขาย"

"การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และ
การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่าย
รางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใด ๆ

เนื่องจากการส่งเสริมการขาย"

การใช้คำ

คำบุพบท ผู้เขียนส่วนใหญ่มักใช้คำว่า "กับ แก่ แต่ ต่อ" ผิด
เสมอ ซึ่งควรใช้คำว่า "แก่" แทน "กับ" และควรใช้คำว่า "แด่"
สำหรับผู้ที่อาวุโสหรือตำแหน่งสูงกว่า เช่น

"ส่งรายงานการประชุมให้แก่บริษัท"



และ



"ข้าราชการฝ่ายบริหารทั่วไปมอบกระเช้าปีใหม่แด่
ท่านอธิบดีกรมสรรพากร"

การใช้คำ

การยกตัวอย่าง โดยใช้คำว่า "เช่น ได้แก่ อาทิ" ในการยก
ตัวอย่าง มักใช้กันสับสน เพราะที่ถูกต้องควรเป็น ดังต่อไปนี้

เช่น ใช้ยกตัวอย่างคำต่าง ๆ ที่มีความสำคัญใกล้เคียงกัน
แล้วลงท้ายด้วย "ฯลฯ เป็นต้น"
ได้แก่ ไม่ใช่การยกตัวอย่าง แต่ต้องยกมาทั้งหมด
อาทิ ยกมาเฉพาะที่สำคัญหรือลำดับต้น ๆ ไม่ต้องใช้
ไปยาลใหญ่ เพราะที่สำคัญมีเพียงเท่านั้น เช่น

"กรมสรรพากรได้ยกระดับการให้บริการภาครัฐในระบบ
ดิจิทัลมา อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่เกิด
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID–19) ได้มีการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้

มาติดต่อราชการกับกรมสรรพากรผ่านช่องทาง
อิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น เช่น การสนับสนุนให้ผู้เสียภาษี
ทำธุรกรรมภาษีที่บ้าน TAX from Home การขอคัดสำเนา

แบบ แสดงรายการภาษีฯ การสร้าง Tax Literacy ให้
ความรู้ภาษีผ่านการจัดสัมมนาออนไลน์ เป็นต้น"

การใช้คำ

"กรมสรรพากรทำหน้าที่จัดเก็บภาษีตาม
ประมวลรัษฎากร ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคล
ธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ รวมถึงจัดเก็บ

ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมและภาษีมรดก"

"เอกสารประกอบการยื่นคำร้องขอทุเลาการชำระ
ภาษี ประกอบด้วย สำเนาใบรับคำอุทธรณ์หรือคำ
อุทธรณ์หรือสำเนาคำฟ้อง และเอกสารอื่น ๆ อาทิ
หนังสือมอบอำนาจ หนังสือรับรองของกรมพัฒนา

ธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์"

การใช้คำ

คำที่มักใช้ผิด ประกอบด้วยคำว่า "จะ จัก ใคร่ ไป มา" ดังนี้
จะ ใช้ได้ทั่วไป เป็นภาษาราชการที่ใช้ได้เสมอ
จัก ความหมายของคำค่อนข้างหนัก มีความหมายคล้ายคำว่า
"ต้อง" ซึ่งไม่มีความนุ่มนวล สละสลวย มักใช้ในคำสั่ง คำกำชับ
ใคร่ หมายถึง อยาก ต้องการ มักใช้กันทั่วไป เพราะเข้าใจผิด
ว่าเป็นคำสุภาพ
ไป-มา มักใช้สลับกัน โดยการใช้คำนี้ควรคำนึงถึงผู้รับหนังสือ
เป็นสำคัญ หากผู้รับหนังสือเป็นผู้ที่เดินทางไป ควรใช้ว่า "จึง
ขอเชิญท่านไป..." และหากผู้รับหนังสือเป็นผู้จัดงานเอง ย่อม
คิดว่าจะมีผู้มาร่วมงาน ก็ควรใช้ว่า "หน่วยงาน...ขอส่งผู้
แทนมาร่วมงาน..." เช่น

"กรณีภาษีต้องชำระน้อยกว่า 1 บาท
จะแสดงในกลุ่มไม่มีภาษีต้องชำระ"

การใช้คำ

“จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และ
ดำเนินการต่อไปด้วย จักขอบคุณยิ่ง”

"กรมส่งเสริมการเกษตรใคร่
จะได้ของบริจาคภายในวันที่

16 กันยายน 2565"

การใช้คำ

"ทางคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
จึงขอเชิญท่านอธิบดีกรมสรรพากรไปเป็นวิทยากรให้
ความรู้นิสิตในหัวข้อเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา"



และ



"สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 13 ขอส่งตัว

แทนฝ่ายบริหารทั่วไปมาร่วมงานอบรมสัมมนาภาษี
ประจำปีนี้"

การใช้คำ

4. การใช้คำถูกความหมาย

ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีคำเป็นจำนวนมาก ผู้ใช้ต้องศึกษา
ความหมายลักษณะต่าง ๆ ของคำที่ใช้การปรากฏร่วม โดยคำนึงถึง
ความถูกต้องของความหมาย ทั้งนี้ไม่ว่าจะใช้ภาษาระดับใดต้องใช้
คำให้ถูกความหมายเสมอ แม้เป็นคำสร้างใหม่ก็ต้องสามารถเชื่อม
โยงความคิดไปถึงความหมายที่ต้องการสื่อ จึงจะเป็นการใช้คำที่
ถูกความหมาย เช่น

"มาตรฐานการแก้ไข
ปรับปรุงการลดหย่อน
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ปี 2564"

"มาตรการการแก้ไข
ปรับปรุงการลดหย่อน
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ปี 2564"

การใช้คำ

ตัวอย่างข้อความที่มีการใช้คำผิดความหมาย

"สำนักงานสรรพากรพื้นที่ชัยนาท เข้าร่วมกิจกรรม จิต
อาสา ประชารัฐร่วมใจ คลองสวยน้ำใส ไร้ผักตบชวา ซึ่ง
ผักตบชวาเป็นวัชพืชที่สร้างปัญหาในแหล่งน้ำสาธารณะ
ต่างๆ ทำให้เกิดปัญหาและส่งผลกระทบวงกว้างต่อสังคม
และสิ่งแวดล้อม เช่น ขัดขวางการไหลระบายของแม่น้ำ

ลำคลองในฤดูน้ำหลาก ก่อให้เกิดปัญหาน้ำล้นตลิ่ง"

จากข้อความดังกล่าว มีการใช้คำผิดความหมาย โดยคำว่า
"ขัดขวาง" เป็นคำที่ใช้กับพฤติกรรมทั่วไป ดังนั้นควรแก้ไข
เป็นคำว่า กีดขวาง เพราะเป็นคำที่ใช้กับสิ่งของที่ทำให้ไม่
สะดวกในการใช้งาน

"สำนักงานสรรพากรพื้นที่ชัยนาท เข้าร่วมกิจกรรม จิตอาสา ประชา
รัฐร่วมใจ คลองสวยน้ำใส ไร้ผักตบชวา ซึ่งผักตบชวาเป็นวัชพืชที่
สร้างปัญหาในแหล่งน้ำสาธารณะต่างๆ ทำให้เกิดปัญหาและส่งผลก
ระทบวงกว้างต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น กีดขวางการไหลระบาย

ของแม่น้ำลำคลองในฤดูน้ำหลาก ก่อให้เกิดปัญหาน้ำล้นตลิ่ง"

การใช้คำ

5. การใช้คำถูกระดับภาษา

เงื่อนไขปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารเป็นเหตุให้ภาษาแปร
ไป ทำให้ภาษาแบ่งเป็นระดับต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่คำจะเป็นเครื่อง
บ่งชี้ระดับภาษาได้เด่นชัดที่สุด หนังสือราชการจัดเป็นการเขียนที่
ใช้ระดับภาษาแบบแผน คำที่ใช้จะเป็นคำมาตรฐาน คำสุภาพ เช่น

"ด้วยกรมสรรพากร โดยสำนักงานสรรพากรภาค 11 จะรับสมัครคน
พิการเพื่อจัดจ้างเป็นพนักงานราชการทั่วไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจ
ตามประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง หลัก
เกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสรรหาและการเลือกสรรพนักงาน
ราชการ และแบบสัญญาจ้างของพนักงานราชการ พ.ศ. 2552"

การใช้คำ

ตัวอย่างข้อความที่มีการใช้คำผิดระดับภาษา

"ขอให้แม่ค้าแม่ขายทั้งหลายยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงิน
ได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ผ่านทางเน็ต"

จากข้อความดังกล่าวควรอยู่ในระดับภาษาทางการ แต่มีการใช้คำตก
ระดับอยู่หลายตำแหน่ง ซึ่งผิดระเบียบการใช้ภาษา ได้แก่ คำว่า ขอให้
แม่ค้าแม่ขาย ทั้งหลาย และเน็ต

"ขอเชิญผู้ประกอบการยื่น
แบบแสดงรายการภาษีเงิน
ได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ผ่าน

ทางระบบอินเทอร์เน็ต"

การใช้คำ

6. การใช้คำอักษรย่อ

คำลักษณะนี้ปัจจุบันมีใช้มากและมักเป็นชื่อหน่วยงานองค์กร
เนื่องจากคำเดิมยาวมากทำให้เสียเวลาเขียน เพื่อความกะทัดรัดจึง
ใช้อักษรย่อ ปัจจุบันสังเกตเห็นได้ว่าเมื่อมีการตั้งชื่อหน่วยงาน
องค์กร มักกำหนดคำย่อไว้ด้วยเลย

ปัจจุบันชื่อหน่วยงานนิยมใช้คำอักษรย่อกันมาก เนื่องจากชื่อ

หน่วยงานบางหน่วยยาวมาก เพื่อการสื่อสารที่ต้องการความ

รวดเร็วจะใช้คำอักษรย่อแทน เช่น

คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่
ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คคส.)

คำย่อต่าง ๆ ที่กำหนดใช้ในหน่วยงานบางครั้งก็ยากที่คนนอก
หน่วยงานจะทราบ นอกจากนี้คำย่อที่มาจากคนละหน่วยงานก็อาจ
ซ้ำกันได้ การใช้คำย่อทำให้สื่อความหมายกับคนทั่วไปไม่ได้ชัดเจน
หรืออาจสื่อไม่ได้เลย เช่น

ผู้อำนวยการศูนย์บริการการ
ศึกษานอกโรงเรียนเขต
(ผอ.ศบข.)

การใช้คำ

ตัวอย่างข้อความที่มีการใช้คำอักษรย่อ

"ขอหนังสือรับรองเพื่อการรัษฎากรเป็นภาษาอังกฤษ
(ร.อ.01) ได้ที่ กองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ (ภญ)

อาคารกรมสรรพากรชั้น 11 เท่านั้น"

จากข้อความดังกล่าวมีการใช้คำอักษรย่อ 2 ตำแหน่ง ดังนี้
ร.อ.01 เป็นอักษรย่อของ หนังสือรับรองเพื่อการรัษฎากร
ภญ เป็นอักษรย่อของ กองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่

ข้อควรระวัง ปัจจุบันพบว่ามีการใช้คำอักษรย่อไม่มาตรฐานหรือมี
การใช้อักษรย่ออย่างไร้กฎเกณฑ์ ทำให้สื่อความหมาย
ไม่ชัดเจนได้ เช่น สวล. แทนคำว่า สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
ดังนั้นควรใช้คำอักษรย่อที่เป็นมาตรฐาน จะทำให้สื่อ
ความหมายได้ชัดเจนและเข้าใจตรงกันมากกว่า

การใช้คำ

7. การเลี่ยงใช้คำต่ำกว่ามาตรฐาน

คำต่ำกว่ามาตรฐานหากปรากฏในระดับภาษาแบบแผนหรือ
ในหนังสือราชการจะทำให้ภาษาตกระดับ ทั้งยังขาดกุสุมรส การ
ใช้คำต่ำกว่ามาตรฐานมีความหมายแฝงบ่งบอกความเป็นกันเอง
หรือพื้นเพทางสังคม โดยคำต่ำกว่ามาตรฐาน ได้แก่ คำตลาด คำ
ต่ำ คำหยาบ และคำผวน เช่น

"แผนดำเนินการในสภาวะ
วิกฤต กรณีพบคนป่วย

หรือผู้มีเหตุอันควรสงสัยว่า
ป่วยเป็นโรคติดเชื้อไวรัส

โคโรนา 2019 (COVID-19)
ในอาคารสำนักงาน"

=คนป่วย คำผวน "แผนดำเนินการในสภาวะ
วิกฤต กรณีพบผู้ป่วยหรือผู้
มีเหตุอันควรสงสัยว่าป่วย

เป็นโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019 (COVID-19)

ในอาคารสำนักงาน"

การใช้คำ

8. การเลี่ยงใช้คำและความกำกวม

คำกำกวมเป็นคำที่สื่อความหมายได้มากกว่าหนึ่ง โดยปริบท
ไม่อาจช่วยให้เลือกความหมายให้แน่ชัดได้ โดยความกำกวมนั้น
เกิดมาจากสาเหตุสำคัญ 3 ประการ ดังนี้

เกิดจากคำกำกวม คำบางคำมีความหมายหลายอย่าง เมื่อใช้
คำเหล่านั้นก็จะทำให้เกิดลักษณะกำกวมได้ ซึ่งบางครั้งจะเกิด
เฉพาะในการเขียนเท่านั้น ถ้าพูดจะไม่กำกวม เพราะผู้พูดจะ
แบ่งวรรคตอนให้รู้ได้ว่าประสงค์จะให้ผู้ฟังเข้าใจอย่างไรแน่
เกิดจากข้อความทั้งประโยคมิใช่คำใดคำหนึ่งในประโยคนั้น
เกิดจากการลำดับคำในประโยค ลักษณะเช่นนี้ไม่ได้เกิดจาก
คำใดคำหนึ่งในประโยคเป็นคำกำกวม และไม่ได้เกิดจาก
ข้อความทั้งประโยคชวนให้ตีความได้ต่าง ๆ กัน แต่เกิดจาก
การลำดับคำในประโยค

ทั้งนี้ลักษณะของคำและความกำกวมนั้นเป็นลักษณะประจำ
ของภาษา ผู้เขียนควรที่จะรู้จักลักษณะนั้น ๆ ไว้เพื่อที่จะได้
ระมัดระวังในการใช้ภาษา

การใช้คำ

ตัวอย่างข้อความที่มีการใช้คำและความกำกวม

"ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร
พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร

ร่วมเปิดรร.สรรพากร แหล่งรวบรวมองค์ความรู้
จากผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ของกรมสรรพากร
เพื่อให้บุคลากรของกรมฯ ได้ศึกษาหาข้อมูลผ่านระบบ

KM Online"

จากข้อความดังกล่าวมีการใช้คำกำกวมเป็นคำ
อักษรย่อว่า "รร." ซึ่งเป็นคำอักษรย่อของคำ
ว่า โรงเรียน หรือ โรงแรม เหมือนกันทั้งสองคำ
โดยหากผู้เขียนใช้คำอักษรย่อดังกล่าวอาจ
ทำให้เกิดความสับสนได้ว่าเป็นโรงเรียนหรือ
โรงแรม ดังนั้นควรเขียนเป็นคำเต็มให้ชัดเจน
ว่า โรงเรียน ดีกว่าการใช้คำอักษรย่อ จะทำให้
ข้อความนี้สื่อสารได้ถูกต้องและชัดเจนมากขึ้น

"ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร
พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร

ร่วมเปิดโรงเรียนสรรพากร แหล่งรวบรวมองค์ความรู้
จากผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ของกรมสรรพากร

เพื่อให้บุคลากรของกรมฯ ได้ศึกษาหาข้อมูลผ่านระบบ
KM Online"

การใช้คำ

9. การเลี่ยงใช้คำฟุ่มเฟือย

ลักษณะการใช้คำฟุ่มเฟือยอย่างแรก คือการใช้คำมากแต่
ได้ความเท่าเดิม ซึ่งการเขียนประโยคยาว ใช้คำมากอาจจะช่วยให้
ข้อความสละสลวย ไม่ห้วน แต่ถ้าใช้มากเกินไปก็อาจจะทำให้
ข้อความยาวเยิ่นเย้อได้

ลักษณะการใช้คำฟุ่มเฟือยอีกอย่างหนึ่ง คือการซ้ำความ
ลักษณะเช่นนี้ต่างจากลักษณะแรกในแง่ที่ว่า ใช้คำมาก แต่ได้
ความซ้ำความเดิม ดังนั้นควรแก้ไขโดยการตัดข้อความส่วนที่ซ้ำ
ออกไป

วิธีแก้ไขการใช้คำฟุ่มเฟือย คือการใช้คำอย่างประหยัด โดย
การใช้คำแต่พอเหมาะ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่กล่าวซ้ำแล้วซ้ำอีกในความ
หมายเดิม จนทำให้เห็นเป็นส่วนเกิน ทำให้ความไม่กะทัดรัด รวม
ทั้งเลี่ยงการใช้อาการนามอย่างไม่จำเป็น ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น
ทำให้ข้อความขาดความกะทัดรัดเช่นเดียวกัน คำอาการนามที่
นิยมใช้ เช่น ทำการ มีการ มีความ เป็นต้น

การใช้คำ

ตัวอย่างข้อความที่มีการใช้คำฟุ่มเฟือย

"นางแพตริเซีย มงคลวนิช รองอธิบดีกรมสรรพากร
ให้การต้อนรับ Mr. Ken Dwijugiasteadi อธิบดีกรม

สรรพากรอินโดนีเซีย และคณะ
เนื่องในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทย"

จากข้อความดังกล่าวมีการใช้คำฟุ่มเฟือย โดยใช้
อาการนามอย่างไม่จำเป็น คือคำว่า "ให้การ" ซึ่ง
สามารถตัดออก ไม่จำเป็นต้องใช้ในข้อความนี้ได้
เลย จะทำให้ข้อความกระชับขึ้น และยังสื่อความ
หมายได้เข้าใจถูกต้องเหมือนเดิม

"นางแพตริเซีย มงคลวนิช รองอธิบดีกรม
สรรพากร

ต้อนรับ Mr. Ken Dwijugiasteadi อธิบดี
กรมสรรพากรอินโดนีเซีย และคณะ

เนื่องในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทย"

การใช้คำ

10. การใช้คำเรียกขานบุคคล คำขึ้นต้น คำลงท้าย และ
สรรพนาม ในหนังสือราชการ

คำเรียกขานบุคคล เป็นคำเรียกบุคคลที่พูดด้วย คำเรียกขานบ่ง
บอกว่าผู้ส่งสารต้องการสื่อสารกับผู้รับสารในลักษณะใด หรือ
ฐานะใด โดยในการสื่อสารอย่างเป็นแบบแผนในหนังสือราชการ
คำเรียกขานก็บ่งบอกลักษณะการสื่อสาร เช่น

"เรียน อธิบดีกรมสรรพากร"



การใช้ชื่อตำแหน่งเป็นคำเรียก
ขาน แสดงให้เห็นว่าเป็นการ

สื่อสารในเรื่องราชการ

การใช้คำ

คำขึ้นต้น คำลงท้าย สรรพนาม สามารถแบ่งการเขียนถึงบุคคล
ต่าง ๆ ออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

พระภิกษุสงฆ์ทั่วไป

คำขึ้นต้น คำลงท้าย สรรพนาม

นมัสการ ขอนมัสการ ท่าน ผม
ด้วยความเคารพ กระผม ดิฉัน

"นมัสการ พระอาจารย์
.....ดิฉันมีความประสงค์

ถวายปัจจัยเพื่อร่วม
สร้างอุโบสถวัด
บางเตย.....

ขอนมัสการด้วยความ
เคารพ"

การใช้คำ

บุคคลธรรมดา สามารถแบ่งได้อีกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
บุคคลทั่วไป

คำขึ้นต้น คำลงท้าย สรรพนาม

เรียน ขอแสดงความ ท่าน ผม
นับถือ กระผม ดิฉัน

"เรียน สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 13
.....ดิฉันมีความประสงค์จะขอย้ายไปรับ
ราชการที่สรรพากรพื้นที่สงขลา 1.....

ขอแสดงความนับถือ"

การใช้คำ

ประธานองคมนตรี นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา
ประธานส.ส. ประธานส.ว. ประธานศาลฎีกา รัฐบุรุษ
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด
ประธานกกต. ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ประธานป.ป.ช. ประธานคตง. และผู้ตรวจการแผ่นดิน
ของรัฐสภา

คำขึ้นต้น คำลงท้าย สรรพนาม

กราบเรียน ขอแสดงความ ท่าน ผม
นับถืออย่างยิ่ง กระผม ดิฉัน

"กราบเรียน ประธานศาลฎีกา
คำพิพากษาฎีกาที่ 1/2531

เรื่องภาษีอากร.....
ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง"

การใช้ประโยค

ปัญหาสำคัญประการหนึ่งในการเขียนหนังสือราชการ คือ
ประโยคยาว ซับซ้อน อันเกิดจากการใช้คำเชื่อมมากเกินไป ส่งผล
ให้อ่านเข้าใจยาก อย่างไรก็ตามในการเขียนหนังสือราชการควร
ใช้ประโยคที่สั้น กระชับ เข้าใจง่าย ควรหลีกเลี่ยงประโยคยาวที่มี
คำเชื่อมมาก หรือหากจำเป็นต้องใช้ประโยคยาวก็ต้องพิจารณา
อย่างรอบคอบ โดยหลักการใช้ประโยคแบ่งเป็นเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

1. การใช้ประโยคให้ถูกไวยากรณ์

เมื่อผู้เขียนใช้ประโยคถูกไวยากรณ์ ผู้อ่านก็จะมีความเข้าใจ
ในสารที่ผู้เขียนร่างเป็นหนังสือราชการได้ถูกต้อง ชัดเจน โดยการ
ใช้ประโยคให้ถูกไวยากรณ์นั้นขึ้นอยู่กับเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

คำที่ประกอบกันเป็นประโยค ถ้าคำที่ประกอบกันเป็นประโยค
ไม่ควรนำมาใช้ร่วมกัน ประโยคอาจผิดไวยากรณ์ได้

การใช้ประโยค

จำนวนคำในประโยค ถ้าประโยคนั้นมีคำขาดไปหรือมีคำ
เกินเข้ามา ประโยคอาจผิดไวยากรณ์ได้

การเรียงลำดับคำในประโยค ถ้าคำในประโยคอยู่ใน

ตำแหน่งที่ผิด โดยปกติประโยคในภาษาไทยจะเรียงแบบ

ประธาน กริยา กรรม หรือบางประโยค กรรมก็กลับมาอยู่

หน้าประธานได้บ้าง และคำขยายจะอยู่หลังคำที่มันขยาย

ถ้าการเรียงลำดับสับสนไป ประโยคอาจผิดไวยากรณ์ได้

การใช้ประโยค

ตัวอย่างข้อความที่มีการใช้ประโยคผิดไวยากรณ์

"ด้วย สำนักงานสรรพากรพื้นที่เชียงราย
ได้ปรับปรุงระบบโทรศัพท์ภายในสำหรับ
อำนวยความสะดวกรวดเร็วในการสื่อสา

รติดต่อกับเจ้าหน้าที่ภายในกรม
สรรพากรและผู้ขอรับบริการ"

จากข้อความดังกล่าวมีการใช้คำที่ไม่ควรนำมาใช้ร่วมกันคือ
คำว่า "สำหรับ" ควรแก้ไขเป็น เพื่อ จากนั้นมีคำเกินเข้ามา
คือคำว่า "อำนวย" ควรแก้ไขโดยการตัดทิ้ง และมีการเรียง
ลำดับคำในประโยคผิดจาก "สื่อสารติดต่อ" ควรแก้ไขเป็น
ติดต่อสื่อสาร

"ด้วย สำนักงานสรรพากรพื้นที่
เชียงราย ได้ปรับปรุงระบบโทรศัพท์
ภายในเพื่อความสะดวกรวดเร็วใน
การติดต่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ภายใน
กรมสรรพากรและผู้ขอรับบริการ"

การใช้ประโยค

2. การใช้ประโยคที่ไม่กำกวม

การใช้ประโยคกำกวมทำให้ผู้อ่านอาจจะเข้าใจสารในหนังสือ
ราชการไม่ตรงกับผู้เขียน อาจทำให้เกิดอุปสรรคในการสื่อสารได้
โดยการใช้ประโยคที่กำกวมนั้นอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้

ประโยคมีคำที่มีหลายความหมาย
คำขยายบางคำหรือกลุ่มคำขยายบางกลุ่มอยู่ห่างกับคำที่
มันขยายมาก ทำให้เข้าใจไปว่าขยายคำอื่น
คำที่ขาดไป หรือเกินเข้ามา อาจทำให้ประโยคกำกวม
การเว้นวรรคผิดที่ก็ทำให้ประโยคกำกวม

การใช้ประโยค

ตัวอย่างข้อความที่มีการใช้ประโยคกำกวม

"คณะกรรมการกรมสรรพากร ประกอบ
ด้วย นายกสมาคมข้าราชการกรม

สรรพากร และอุปนายก หรือบุคคลอื่น
ซึ่งนายกสมาคมข้าราชการกรมสรรพากร

เสนอชื่อแทน"

จากข้อความดังกล่าวกำกวมตรงที่ว่า “บุคคลอื่น” ที่นายก
สมาคมข้าราชการกรมสรรพากรเสนอชื่อแทนนั้น แทน
นายกสมาคมข้าราชการกรมสรรพากรหรืออุปนายก หรือ
ว่าแทนทั้ง 2 คน ซึ่งถ้าจะให้ชัดเจนว่า แทนคนใดคนหนึ่ง
ก็ได้ หรือแทนทั้ง 2 คนก็ได้ จะต้องใช้คำว่า และหรือ

"คณะกรรมการกรมสรรพากร ประกอบ
ด้วย นายกสมาคมข้าราชการกรม

สรรพากร และอุปนายก หรือบุคคลอื่นซึ่ง
นายกสมาคมข้าราชการกรมสรรพากร

เสนอชื่อแทนนายกสมาคมข้าราชการกรม
สรรพากร และหรืออุปนายก"

การใช้ประโยค

3. การใช้ประโยคที่กะทัดรัด

การใช้ประโยคไม่กะทัดรัดเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งในการ
เขียนหนังสือราชการ ทำให้ผู้อ่านต้องเสียเวลาในการอ่านอยู่
นานเกินความจำเป็น แต่ไม่ถึงกับทำให้อ่านแล้วเข้าใจผิดดังเช่น
การใช้ประโยคผิดไวยากรณ์ ควรแก้ไขโดยเลี่ยงการใช้ประโยคที่
ฟุ่มเฟือย เยิ่นเย้อ หรือสร้างประโยคที่ไม่กระชับ มีส่วนเกินด้วย
คำและส่วนขยาย จะทำให้ประโยคมีความกระทัดรัดขึ้น โดย
การใช้ประโยคที่ไม่กะทัดรัดนั้นอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้

ใช้กลุ่มคำแทนที่จะใช้คำ หรือใช้ประโยคขยายแทนที่
จะใช้วลี
เติมคำบางคำที่ไม่จำเป็นไปในประโยค
ใช้คำที่มีความหมายซ้ำกัน หรือใช้คำที่ไม่จำเป็นเพราะ
บริบทบ่งบอกอยู่แล้ว

การใช้ประโยค

ตัวอย่างข้อความที่มีการใช้ประโยคไม่กะทัดรัด

"กรมสรรพากรสนับสนุนให้ผู้ประกอบ
การมีการจัดทำใบกำกับภาษี

อิเล็กทรอนิกส์ ช่วยลดต้นทุนให้กับธุรกิจ
และส่งเสริมประเทศให้ก้าวสู่เศรษฐกิจ

ดิจิทัล"

จากข้อความดังกล่าวไม่กะทัดรัดเนื่องจากมีการเติมคำ
บางคำที่ไม่จำเป็นไปในประโยคหลายตำแหน่ง ได้แก่
คำว่า "ให้ มีการ กับ" ซึ่งถ้าไม่มีคำเหล่านี้ประโยคก็
สมบูรณ์ และผู้อ่านสามารถเข้าได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น
ควรแก้ไขโดยการตัดคำที่ไม่จำเป็นเหล่านี้ออกไป เพื่อ
ให้ประโยคกะทัดรัดมากขึ้น

"กรมสรรพากรสนับสนุนผู้ประกอบ
การจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์
ช่วยลดต้นทุนให้ธุรกิจ และส่งเสริม

ประเทศก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิทัล"

การใช้ประโยค

4. การใช้ประโยคที่สละสลวย

การใช้ประโยคไม่สละสลวยทำให้ผู้อ่านอ่านสารหรือ
ข้อความในหนังสือราชการไม่ราบรื่น แต่ก็ยังเข้าใจความหมาย
ในสารดังกล่าวได้อย่างถูกต้อง โดยการใช้ประโยคที่ไม่สละสลวย
นั้นอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้

ใช้คำโดยไม่คำนึงถึงเสียงในภาษาไทย ส่วนใหญ่จะนิยม
ซ้อนคำให้เป็นคำ 2 พยางค์ หรือ 4 พยางค์ ไม่นิยมคำ
ซ้อน 3 พยางค์ จะทำให้รู้สึกว่ามีคำขาดหายไป
ประโยคมีคำขาดหายไป
ประโยคมีคำซ้ำซาก
ใช้คำไม่คงที่
ใช้คำไม่เหมาะระดับกัน

การใช้ประโยค

ตัวอย่างข้อความที่มีการใช้ประโยคไม่สละสลวย

"กรมสรรพากรมีมาตรการภาษีสำหรับเจ้าหน้าที่
ด้านสาธารณสุข ซึ่งทำหน้าที่ต้านภัย COVID 19
รวมทั้งมาตรการเลื่อนเวลาการยื่นแบบและชำระ

ภาษีของผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา"

จากข้อความดังกล่าวไม่สละสลวยเนื่องจากมีการใช้คำไม่เหมาะระดับ
กัน โดยข้อความดังกล่าวใช้ภาษากึ่งทางการ-ทางการ แต่มีบางคำที่
เป็นภาษาไม่เป็นทางการอยู่ ได้แก่ คำว่า "เจ้าหน้าที่ ทำ ต้าน เลื่อน"
ดังนั้นจึงควรแก้ไขคำเหล่านั้นให้อยู่ในภาษาระดับเดียวกันทั้งหมด จะ
ทำให้ประโยคสละสลวยขึ้น

"กรมสรรพากรมีมาตรการภาษีสำหรับ
บุคลากรด้านสาธารณสุข ซึ่งปฏิบัติหน้าที่
ป้องกันภัย COVID 19 รวมทั้งมาตรการ
ขยายเวลาการยื่นแบบและชำระภาษีของ

ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา"

การใช้ประโยค

5. การใช้ประโยคที่ใช้สัมพันธ์กัน

ถ้าผู้เขียนใช้ถ้อยคำหลาย ๆ ประโยค ประโยคเหล่านั้นควรจะ
สัมพันธ์กัน และมีลักษณะที่แสดงความสัมพันธ์ของประโยคเหล่า
นั้น ผู้เขียนประโยคที่ไม่สัมพันธ์กันจะทำให้ผู้อ่านรับสารความคิด
ได้ยาก และถ้าในประโยคมีลักษณะที่แสดงความสัมพันธ์แต่แสดง
ผิด ผู้อ่านก็จะต้องเข้าใจผิดตามไปด้วย

ดังนั้นข้อบกพร่องเกี่ยวกับการใช้ประโยคที่ไม่สัมพันธ์กันเป็น
ข้อบกพร่องที่เกี่ยวกับการคิด ผู้ที่คิดสลับสับสน ย่อมแสดงความคิด
ออกมาสลับสับสนเช่นเดียวกัน การแก้ไขจึงควรเริ่มตั้งแต่การคิด
พยายามคิดให้เป็นลำดับขั้นและใช้สันธานช่วยเชื่อมความคิดเหล่า
นั้น โดยข้อบกพร่องเกี่ยวกับการใช้ประโยคที่ไม่สัมพันธ์กันนั้นมี
หลายประการ ดังนี้

ใช้ประโยคที่ไม่มีความหมายเกี่ยวข้องกัน
แทรกประโยคที่ไม่เกี่ยวกับข้อความ
ไม่ใช้สันธาน ในกรณีที่ประโยคอาจสัมพันธ์กันได้หลาย
อย่าง ทำให้ผู้อ่านไม่ทราบว่าประโยคสัมพันธ์กันอย่างไร
ใช้สันธานผิด

การใช้ประโยค

ตัวอย่างข้อความที่มีการใช้ประโยคไม่สัมพันธ์กัน

"ผู้เสียภาษีที่ใช้บริการ สามารถมั่นใจในความ
ปลอดภัยของข้อมูล ดังนั้นกรมสรรพากรได้วาง
ระบบการยืนยันตัวตนเมื่อเข้าใช้งานด้วยรหัสผู้ใช้
และรหัสผ่านที่สมัครใช้บริการกับกรมสรรพากร"

จากข้อความดังกล่าวประโยคไม่สัมพันธ์กันเนื่องจากมีการ
ใช้สันธานผิด คือคำว่า "ดังนั้น" ซึ่งควรแก้ไขเป็น เพราะ
เพราะประโยคดังกล่าวมีเนื้อความเป็นการแสดงเหตุผล จึง
ควรใช้คำสันธานที่เชื่อมความเป็นเหตุเป็นผลกัน

"ผู้เสียภาษีที่ใช้บริการ สามารถมั่นใจใน
ความปลอดภัยของข้อมูล เพราะกรม
สรรพากรได้วางระบบการยืนยันตัวตน
เมื่อเข้าใช้งานด้วยรหัสผู้ใช้ และรหัส
ผ่านที่สมัครใช้บริการกับกรมสรรพากร"

การใช้ประโยค

เทคนิคการสร้างประโยคที่ดี

นอกจากการใช้ประโยคสั้น ๆ ที่มีคำเชื่อมไม่มากแล้ว ยังมี
เทคนิคการสร้างประโยคที่ดี โดยการกำหนดคำขึ้นต้นประโยค ใช้
หลัก 5W1H และฝึกพิจารณาประโยคจากตัวอย่าง ๆ ดังราย
ละเอียดต่อไปนี้

กำหนดคำขึ้นต้นประโยค ผู้เขียนควรคำนึงเสอว่า การ
ขึ้นต้นประโยคจะต้องมีประธาน และจะต้องใช้เริ่มต้น
การสนทนาได้ คำขึ้นต้นประโยคอาจเป็นคำคำเดียวหรือ
กลุ่มคำที่ไม่ยาวนัก เช่น การเขียนบันทึกเสนอขออนุมัติ
โครงการฝึกอบรม ในส่วนเนื้อหาจะต้องสรุปประเด็น
สำคัญของโครงการ ซึ่งมีหลายประเด็น อาจกำหนดคำขึ้น
ต้นประโยค (ที่ขีดเส้นใต้) ดังนี้

"ผู้เข้ารับการอบรม ได้แก่ ข้าราชการและพนักงาน
ธุรการในสังกัด จำนวน 5 คน วิธีการอบรม เป็นการ
บรรยายประกอบสื่อวิดีทัศน์ งบประมาณ จำนวนเงิน
10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) เบิกจ่ายจากงบกลาง"

การใช้ประโยค

ใช้หลัก 5W1H ได้แก่ ใคร ทำอะไร (ให้แก่ใคร) ที่ไหน
เมื่อไร ทำไม และอย่างไร ซึ่งอาจใช้ครบหรือไม่ครบทุกตัว
ก็ได้

ใคร (WHO) ทำอะไร
(WHAT)

อย่างไร
(HOW)

ทำไม
(WHY)

ที่ไหน
(WHERE)

เมื่อไร
(WHEN)


Click to View FlipBook Version