วรรณคดีสมัยสุโขทัย-
อยุธยา พ.ศ. ๒๑๗๒
ประวัติกรุงสุโขทัย
สุโขทัย แปลว่า ที่บังเกิดสุข ความเกิดสุข เพราะเป็นถิ่นที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืช
พันธ์ธัญญาหาร ผู้คนในถิ่นนี้มีชีวิตอยู่เป็นสุขเพราะเจ้าเมืองปกครองด้วยระบอบพ่อ
ปกครองลูก เจ้าเมืองทรงธรรม
สุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรกของไทย มีอายุเก่าแก่ได้ตั้งเป็นราชธานีขึ้นเมื่อ พ.ศ.๑๘๐๐
กรุงสุโขทัยสมัยนั้นมีดินแดนกว้างขวางมาก
-ทิศเหนือ จรดหลวงพระบาฃ
-ทิศใต้ จรดนครศรีธรรมราชและแหลมมลายู
-ทิศตะวันออก จรดเวียงจันทร์
-ทิศตะวันตก จรดหงสาวดีั
พ่อขุนรามคำแหงขึ้นครองราชย์พระองค์ได้ทรงสร้างความเจริญ
นานาประการให้แก่แผ่นดินและพสกนิกรของพระองค์ จนได้รับการ
ขนานพระนามในภายหลังเป็นมหาราช
ชาติไทยได้แสดงถึงความเป็นชาติที่ยิ่งใหญ่อย่างแท้จริงเป็นครั้ง
แรก ก็ในสมัยของพ่อขุนรามคำแหง
วรรณคดีชาติไทยได้มีการจารึกไว้เป็นหลักฐานของชาติครั้งแรก ก็
ในสมัยของพ่อขุนรามคำแหงนี่เหมือนกัน
หลังจากพ่อขุนรามคำแหงสวรรคตแล้ว ได้มีพระมหากษัตริย์ครองราช
ต่อมาอีกหลายพระองค์
-พระเจ้าเลอไทย
-พระยางั่วนำถม (พระยาศรีเนาวนำถม)
-พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไทย)
-พระมหาธรรมราชาที่ ๒
-พระมหาธรรมราชาที่ ๓ (ไสยลือไทย)
-พระมหาธรรมราชาที่ ๔ (บรมปาล) ครองราชย์ถึงประมาณ พ.ศ.๑๙๘๐
กวีสำคัญสมัยสุโขทัย
กวีสมัยสุโขทัยนี้มักไม่ปรากฏนามเด่นชัดเหมือนวรรณคดียุคหลัง
เนื่องจากเป็นยุคแรก ๆ ของการสร้างสรรค์วรรณคดี และเป็นยุคแรกของการ
บันทึกวรรณคดเป็นภาษาเขียนด้วยตัวอักษรภาษาไทย อย่างไรก็ตามกวี
สำคัญในสมัยสุโขทัยที่พบโดยพิจารณาจากการกล่าวอ้างไว้ในเนื้อหา
วรรณคดีและจากข้อสันนิษฐานอื่น ๆ พบว่ากวีสำคัญ ๆ นี้ ได้แก่ กษัตริย์
แห่งกรุงสุโขทัยบางพระองค์ อาทิ พ่อขุนรามคำแหง (ศิลาจารึ หลักที่ ๑ )
พระยาลิไท (ไตรภูมิพระร่วง) เป็นต้น นอกจากกษัตริย์แล้ว กวีสำคัญสมัย
สุโขทัยก็มัก ได้แก่ พระภิษุ นักบวช หรือนักปราชญ์ราชบัณฑิตในราช
สำนัก
สภาพเหต์การณ์บ้านเมืองสมัยสุโขทัย
สมัยสุโขทัยเป็นช่วงแห่งการสร้างชาติ สร้างประเทศ ก่อนหน้านี้สุโขทัยอยู่ภายใต้
อิทธิพลของขอม ต่อมามีกลุ่มคนไทยนำโดยพ่อขุนบางกลางท่าว เจ้าเมืองบางยางและพ่อขุน
ผาเมืองเจ้าเมืองราด ได้รวมกำลังกันต่อต้านอิทธิพลของขอม และประกาศให้กรุงสุโขทัยเป็น
อาณษจักรที่มีเอกราชเป็นอิสรภาพ โดยพ่อขุน
บางกลางหาวขึ้นครองราชสมบัติเป็นกษัตริย์
พระองค์แรก ทรงพระนามว่า "พ่อขุนศรีอินทราทิตย์" หลังจากประกาศอืสรภาพแล้ว สุโขทัย
ได้ขยายอาณาจักรให้กว้างขวางและสร้างความมั่นคงเป็นปึกแผ่นขึ้นตามลำดับ ในช่วงนี้จึงยัง
มีการศึกสงครามอยู่บ้าง จนในสมัยต่อมาที่บ้านเมืองว่างจากการศึกสงคราม
สภาพเหตุการณ์บ้านเมืองสมัยสุโขทัย (ต่อ)
สุโขทัยได้เริ่มพัฒนาศิลปวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ ให้มีความเจริญรุ่งเรือง อาทิ มีการ
สถาปนาพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ขึ้นเป็นศาสนาประจำชาติ นอกจากนี้ได้มีการสร้าง
ปราสาทราชวัง วัดวาอาราม ศาสนสถานต่าง ๆ และพระพุทธรูปมากมาย ตลอดจนได้
สร้างสรรค์วรรณคดีขึ้นอีกด้วยในขณะที่ได้มีการพัฒนาศิลปวัฒนธรรมของบ้านเมืองให้
เจริญรุ่งเรืองนั้นในทางตรงกันข้ามอำนาจทางการเมือง และกาทหารของกรุงสุโขทัยก็เริ่ม
อ่อนแอลงจนในที่สุดก็ตกเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยาและผนวกเข้าเป็นอาณษจักร
เดียวกับกรุงศรีอยุธยาในเวลาต่อมา (ราวปี พ.ศ.๑๙๒๑) รวมระยะเวลาการเป็นเอกราช
ประมาณ ๑๔๐ ปี (ประจักษ์ ประภาพิทยากร.๒๕๒๕ : ๑๙)
วรรณคดีที่สำคัญสมัยสุโขทัย
๑.ศิลาจารึสมัยกรุงสุโขทัย
-ศิลาจารึพ่อขุนรามคำแหง
ศิลาจารึพ่อขุนรามคำแหง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ผู้
แต่งศิลาจารึพ่อขุนรามคำแหง ถือว่าเป็นพระราชนิพนธ์ในพ่อขุน
รามคำแหง ศิลาจารึฉบับนี้แบ่งออกเป็นสองตอน ตอกแรกเป็นการจารึก
ตามพระบรมราชโองการของพ่อขุนรามคำแหง เพราะมีข้อความกล่าวถึงพระ
ราชประวัติของพ่อขุนรามคำแหงเองโโยใช้ถ้อยคำของพ่อขุนเอง ตอนที่สอง
เป็นการจารึกภายหลังรัชกาลพ่อขุนรามคำแหง เพราะเป็นข้อความที่ชื่นชม
พระบารมีของพ่อขุนรามคำแหง และใช้ตัวอักษรต่างกับตอนแรกอยู่บ้าง
ทำนองการแต่ง ศิลาจารึพ่อขุนรามคำแหง แต่งเป็นคำร้อยแก้วภาษาไทยแท้ แต่ละ
ประโยคมีข้อความสั้น ๆ กะทัดรัด
วัตถุประสงค์ในการแต่ง เพื่อแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในสมัยสุโขทัยโดยเฉพาะใน
สมัยพ่อขุนรามคำแหง
สาระสำคัญ ศิลาจารึพ่อขุนรามคำแหง มีเนื้อเรื่องแบ่งออกได้เป็น ๓ ตอน
ตอนที่ ๑
กล่าวถึงพระราชประวัติและพระราชจริยวัตรของพ่อขุนรามคำแหง
เช่น "พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง ตูพี่น้องท้องเดียวห้าคน
ผู้ชายสามผู้หญิงสอง พี่เผือกผู้อ้ายตายจากเผือเตียมแต่ยังเล็ก"
ตอนที่ ๒
กล่าวถึงวิถีชีวิตของชาวสุโขทัย การปกครอง ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม
เช่น "เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดีในน้ำมีปลาในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบ
ในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้าใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใคร
จักใคร่ค้าเงินค้าทองค้าไพร่ฟ้าหน้าใส "
ตอนที่ ๓
เป็รการสรรเสริญพ่อขุนรามคำแหง
ศิลาจารึพ่อขุนรามคำแหงหรือศิลาจารึหลักที่ ๑ นี้ ให้ความรู้หลายประการแก่คนชั้น
หลังอย่างพวกเราทั้งหลาย ที่เห็นเด่นชัดที่สุดก็คือ เรื่องอุปนิสัยใจคอของคนในสมัยสุโขทัย
ประเพณี ดนตรี ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ภาษา กฏหมาย การปกครอง และการเศรษฐกิจ
๑.อุปนิสัยใจคอคนไทยสมัยสุโขทัย
คนไทยในสมัยสุโขทัย ไม่ว่าจะเป็นไพร่ฟ้าประชาชน ข้าราชการ พระมหากษัตริย์
และพระราชวงศ์ ต่างมีอุปนิสัยใจคอที่เหมือนละม้ายคล้ายกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ ชอบให้ทาน
และรักษาศีลเป็นกิจวัตร โดยเฉพาะช่วงเข้าพรรษา จะเข้าวัดถือศีลกันทั่วไปทั้งเจ้าฟ้าและ
ข้าแผ่นดิน
๒.ประเพณี
ประเพณีสำคัญในสมัยสุโขทัย ที่ชาวไทยสมัยนั้นยึดถือปฏิบัติกันเป็นประจำคือ
ประเพณีทางศาสนา ได้แก่ การรักษาศีลและการทอดกฐิน การรักษาศีลที่กระทำกันเป็นล่ำ
เป็นสันก็คือ การรักษาศีลในระหว่างเข้าพรรษา
-ประเพณีการเคารพบูชาและเลี้ยงดู ผู้บุพการีและผู้หลักผู้ใหญ่ในครอบครัว
-ประเพณีที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ประเพณีการบูชาผี หรือเทพยดา
๓.ดนตรี
ในสมัยสุโขทัยก็มีเครื่องเสียงเครื่องดนตรีเหมือนกัน เครื่องดนตรีที่ใช้เป็นพวกตี
เป่า มีเครื่องดีดที่เรียกว่า พิณ
๔.ศิลปกรรม
กล่าวกันว่าศิลปกรรมสมัยสุโขทัย เป็นศิลปกรรมของไทยที่งดงามที่สุดและมีลักษณะ
เป็นของตนเองมากที่สุด
๕.สถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรมที่มีการก่อสร้างในสมัยสุโขทัย ก็จะเป็นการก่อสร้างสถานที่ทางพระพุทธ
ศาสนาและศาสนาพราหมณื การก่อสร้างบ้านเรือน ตลาด เขื่อนทำนบ
และตัวเมือง
๖.ภาษา
ภาษาในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง เป็นภาษาที่มีความประรีตไพเราะสละสลวย มี
สัมผัสคล้องจองกัน รูปประโยคมีความงดงาม เช่น "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว"
๗.กฏหมาย
ศิลาจารึหลักที่ ๑ หรือศิลาจารึพ่อขุนรามคำแหง ได้แสดงหลักทางกฏหมายหลายอย่าง
อย่างกกหมายมรดกที่ให้ทระพย์สินของผู้ตายตกเป็นทรัพย์สินของบุตรผู้ตาย
กฏหมายการพิจารณาคดีที่ให้สิทธิประชาราษฏร และให้รู้จักมีเมตตาแรานีต่อผู้เป็นเชลย
ศึกที่จับมาได้ กฏหมายที่เกี่ยวกับการร้องทุกข์ การตัดสินใจคดีโโยพระมหากษัตริย์ฏกหมาย
เกี่ยวกับการจับจองที่ดินที่มให้เป็นไปอย่างเสรี
๘.การปกครอง
ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ไทยเรามีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ซึ่งเรียกกันว่า การ
ปกครองระบอบพ่อขุน ที่พระมหากษัตริย์จะให้การดูแลปกปักรักษา ประชาราชฎร์ของพระ
องคือย่างใกล้ชิดเหมือนพ่อกับลูก
๙.เศรษฐกิจ
การเศรษฐกิจในสมัยสุโขทัยเป็นไปด้วยยดีมีความเจริยมั่นคง เป็นเศรษฐกิจเสรี
ประชาชนมีเสรีในการประกอบอาชีพที่สุจริต ดังที่กล่าวไว้ว่า "ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจัก
ใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้าไพร่ฟ้าหน้าใส"
-ศิลาจารึกวัดศรีชุม
ศิลาจารึกวัดศรีชุม ก็คือศิลาจารึกหลักที่ ๒ พบในอึโมงค์วัดศรีชุมท่านศาสตราจารย์
ยอร์ช เซเดย์กล่าวไว้วในหนังสือประชุมจารึกสยามภาคที่ ๑ จารึกกรุงสมัยสุโขทัยว่า เดิม
คงอยู่ที่วัดมหาธาตุเมืองสุโขทัย เพราะมีข้อความจารึกเลาถึงการปฏิสังขรณ์วัดมหาธาตุไว้
อย่างยืดยาว
ผู้แต่ง ไม่เป็นที่รู้กันว่าใครเป็นผู้แต่งศิลาจารึกหลักนี้ แต่ก็ได้มีการสันนิษฐานว่า
คงจะได้มีการจารึกกันในสมัยของพระเจ้าลิไทย กาัตริย์กรุงสุโขทัยที่ครอฃราชย์ในปี
พ.ศ.๑๘๙๑ สวรรคตในปี พ.ศ.๑๙๒๑
ทำนองแต่ง ศิลาจารึกวัดศรีชุม แต่งเป็นคำร้อยแก้ว
วัตถุประสงค์ในการแต่ง เพื่อเป็นการเล่าเหตุการณ์ ประวัติและสรรเสริญผู้ปฏิบัติ
ธรรม
สาระสำคัญ มีเนื้อเรื่องแบ่งออกได้เป็น ๙ ตอน
ตอนที่ ๑
เป็นคำนำ กล่าวถึงพระมหาเถรศรีศรัทธา จุฬามุนีศรีรัตนลังกาทีปมหาสามีเจ้า ทรงก่อพระ
ทันตธาตุเจดีย์ในเมืองสระหลวง สองแควเนื้อความส่วนใหญ่ชำรุดไปบ้าง
ตอนที่ ๒
กล่าวถึงประวติของพระยาศรีนาวนำถม การสร้างเมืองแฝดอันได้แก่ สุโขทัยและศรีสัชนาลัย
อาณาเขตทั้ง ๔ ทิศ และปาฏิหาริย์
ตอนที่ ๓
กล่าวถึงพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ที่ช่วยตั้งราชวงศ์สุโขทัยและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบ้าน
เมือง
ตอนที่ ๔
เป็นการกล่าวสรรเสริญพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนีศณีรัตนลังกาทีปมหาสามี
ตอนที่ ๕
กล่าวถึงการอธิษฐานจิตพระมหาเถรฯ เพื่อขอให้ต้นโพธิ์ที่ท่านปลูกขึ้นงอกงามดี เพื่อ
เป็นการบูชาพระพุทะเจ้า แสดงถึงศรัทธาอย่างแรงกล้า
ตอนที่ ๖
กล่าวถึงประวัติของพระมหาเถรฯเมื่อครั้งที่ท่านยัฃเป็นคฤหัสถ์ได้ทำยุทธหัตถีคือชนช้างกับ
ขุนจัง
ตอนที่ ๗
กล่าวถึงพระมหาเถรฯ ได้กระทำบุญต่าง ๆ มากมายด้วยหวงบรรลุพระโพธืญาณ
ตอนที่ ๘
กล่าวถึงพระมหาเถรฯ ที่ได้ทำการปฏิสังขรณ์วัดมหาธาตุแห่งเทืองสุโขทัย แต่การครั้งนี้
ทำได้ยากมาก ท่านจึงอธิษฐานจิต ทำให้การที่ทำสำเร็จลงด้วยดี
ตอนที่ ๙
กล่าวถึงเรื่องราวทางโบราณคดีและโบราณราชประเพณีที่เกี่ยวกับการบรรจุถพระธาตุ เรื่อง
ราวของพระพุทธศาสนา ปาฏิหาริย์ และการก่อสร้างแบบเจดีย์
-ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง
ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง ก็คือศิลาจารึกที่เรียกกันว่าศิลาจารึกหลักที่ ๔ - ๕ - ๖ - ๗ - ๘
ศิลาจารึกหลักที่ ๔ มีลักษณะพเป็นเสาหินทราย จารึกด้วยภาษาเขมรแล้วได้มีผู้แปลกัน
ออกมาเป็นภาษา
ผู้แต่ง ไม่ปรากฏนาม
ทำนองแต่ง แต่งเป็นร้อยแก้ว
วัตถุประสฃค์ในการแต่ง เพื่อสรรเสริญพระเจ้าเลอไทย
สาระสำคัญ ศิลาจารึกหลักที่ ๔ แบ่งออกได้เป็น ๔ ตอน
ตอนที่ ๑
กล่าวถึงการที่พระเจ้าลือไทยเสด็จออกปราบจลาจลก่อนเข้าพระราชพิธีราชาภิเษกเป็น
กษัตริย์กรุงสุโขทัย
ตอนที่ ๒
กล่าวถึงพระเจ้าลือไทยที่ทรงปัญญาเฉียบแหลมสามารถเล่าเรียนพระไตรปิฎกได้จน
เจนจบหมดสิ้น และทรงศึกษาศิลปวิทยาสำเร็จ ตลอดจนได้กล่าวถึงการต้อนรับพระมหา
เถรฯ และการออกผนวก
ตอนที่ ๓
ศิลาจารึกชำรุดมากจนอ่านไม่ได้
ตอนที่ ๔
มีข้อความ้จือนผู้คนรีบเร่งทำความดีเสียแต่เนิ่น ๆ อย่าได้ประมาทในชีวิต ส่วนบาปกรรม
ไม่ควรกระทำเลย
ศิลาจารึกหลักที่ ๔ ก็เหมือนกับหลักที่ ๔ แต่จารึกด้วยอีกษรไทยและภาษาไทยโบราณ
ผู้แต่ง ไม่ปราฏกนาม
ทำนองแต่ง แต่งเป็นร้อยแก้ว
วัตถุประสงค์ในการแต่ง มุ่งประสงค์สรรเสริญพระเกียรติยศและประกาศคุณธรรม
ของพระเจ้าลือไทย
สาระสำคัญ ศิลาจารึกหลักที่ ๕ มีเนื้อหากล่าวถึงพ่อขุนรามคำแหงที่ทรงปลูกต้นมะม่วง
จากนั้นก็กล่าวถึงพนะเจ้าลือไทยที่ทรงเจนจบพระไตรปิฎกทรงเป็นกษัตริย์ที่
ตั้งอยู่ในธรรมมีเมตตาปรานีแก่ราษฎร
ศิลาจารึกหลักที่ ๖ มีลักษณะเป็นศิลา จารึกด้วยอักษรขอมและเขียนเป็นภาษา
ขอม
ผู้แต่ง คือพระมหาสามีสังฆรราชจากลังกาแต่งเนื้อความ๓าษามคธแล้วพระยา
ปริยัติธรรมดาแปลเป็นไทย
ทำนองแต่ง แต่งเป็นร้อยแก้ว
วัตถุประสงค์ในการแต่ง เพื่อสรรเสริญพระเจ้าลือไทย
สาระสำคัญ ศิลาจารึกหลักที่ ๖ มีเนื้อหากล่าวถึงพระเจ้าลือไทยที่ทรงเลื่อมใส
พระพุทธศาสนาได้เสด็จออกผนวชระยะหนึ่ง ทรงเป็นฉลาดในโหราศาสตร์และ
พระำตรปิฏก
ศิลาจารึกหลักที่๗ มีลักษณะเป็นแผ่นหิน
ผู้แต่ง ไม่ปรากฏนาม
ทำนองแต่ง แต่งเป็นร้อยแก้ว
วัตถุประสงค์ในการแต่ง เพื่อสรรเสริญพระเจ้าลือไทย
สาระสำคัญ มีเนื้อหากล่าวถึงพระเจ้าลือไทยที่ทรงสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ ที่สำคัญไว้
พระพุทธศาสนาเป็นสำคัญ ตลอดจนกล่าวถึงพุทธประวัติตอนปลาย เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จ
ปรินิพพาน
ศิลาจารึกหลักที่ ๘ มีลักษณะเป็นศิลา
ผู้แต่ง ไม่ปราฏกนาม
ทำนองแต่ง แต่งเป็นร้อยแก้ว
วัตถุประสงค์ในการแต่ง เพื่อประกาศการจำลองพระพุทธบาทจากลังกามาประดิษฐาน
ไว้ที่ยอดเขาในสุโขทัย
สาระสำคัญ กล่าวถึงการพิมพ์รอยพระพุทธบาท และจึดมุ่งหมาย
ในการสร้างพระพุทธบาทจำลองขึ้น การแห่แหนรอยพระบาทจำลอง
การมาสักการบูชารอยพระบาทจำลองบุคคลทั่วไป
ไตรภูมิพระร่วง
ไตรภูมิพระร่วง ต้นฉบับเดิมชื่อว่า "เตภูมิกถา" แปลว่า เรื่องภูมิ ๓ อัน ได้แก่ กามภูมิ
ชั้นที่อยู่ในกามภูมิ รูปภูมิ ชั้นที่อยู่ในรูป อรูปภูม ชั้นที่อยู่ในอรูปแต่ละภูมิ ๆ ยังแบ่งออกอีก
หลายประการ
หนังสือเรื่องนี้เป็นหนังสือเก่ามาก มีศัพท์เก่า ๆ ที่ไม่เข้าใจ และที่เป็นศัพท์อันเคยพบ
แต่ในศิลาจารึกครั้งกรุงสุโขทัยหลายศัพท์ น่าเชื่อถือว่าหนังสือไตรภูมินี้ ฉบับเดิมจะ
ได้แต่งครั้งกรุงสุโขทัยจริง แต่ดันลอกสืบกันมาหลายชั้นหลายต่อจนวิปลาสคลาดเคลื่อน
เรื่องไตรภูมิเป็นเรื่องที่นับถือกันแพร่หลายมาแต่โบราณ ถึงคิดขึ้นเป็น
รูปภาพไว้ตามฝาผนังวัดและเขียนจำลองไว้ในสมุด มีมาแต่ครั้งกรุงเก่ายังปรากฏ
อยู่จนถึงทุกวันนี้ แต่ที่เปผ็นเรื่องหนังสือในครั้งกรุงเก่า
วรรณคดีที่มีชื่อเสียงไม่น้อยของกรุงสุโขทัยก็คือ ไตรภูมิพระร่วงซึ่งนับถือกันว่าเป็น
วรรณคดีแนวปรัชญาชิ้นแรกของไทยที่มีคุณค่าสำคัญยิ่งจนถึงสมัยปัจจุบัน
ในศิลาจารึก ปร่กฏว่าพระญาลิไทยอยู่ในราชสมบัติกว่า ๓๐ ปี แลทรงเลื่อมใสพระ
ศาสนามาก อาจจะให้แต่หนังสือเช่นเรื่องไตรภูมินี้ได้ด้วยประการทั้งปวง แต่ศักราชที่ลง
ไว้หนังสือแ ว่าแต่งเมื่อปีระพกา ศักราชได้ ๒๓ ปีนั้นจุลศักราช ๒๓ ปี เป็นปีระกาจริง แต่
เวลาช้านานก่อนรัชกาลพระญาลิไทยมากนัก จะเป็นจุลศักราชไม่ได้ เดิมเข้าใจว่าจะเป็น
พุทธศักราชหรือมหาศักราช แต่ถ้าหากผู้คัดลอกทีหลังจะตกตัวเลขหน้าหรือเลขหลังไปสอง
ตัว ลองสอบดูสถาน ก็ไม่สามารถจะหันเข้าให้ตรง หรือแม้แต่เพียงจะให้ใกล้กับศักราช
อะไร ต้องทิ้งไว้ให้ท่านผู้อ่านสอบหาความจริงต่อไป
ทำนองแต่ง แต่งเป็นร้อยแก้ว
วัตถุประสงค์ในการแต่ง แต่งเพื่อเทศนาถวายพระราชมารดาและเพื่อให้เป้นธรรม
ทานแก่บุคคลทั่วไป
สาระสำคัญ เนื้อหาเป็นการแสดงเรื่องไตรภูมิให้เห็น ไตรภูมิ ก็คือ ภูมิสาม อันได้แก่
กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ
รูปภูมิ ก็คือโลกของสัตว์ที่ยังมีกิเลสตัณหา ยังมีอกุศล - รากเหง้าความชั่วร้าย ๓ ประการ
คือ
๑.โลภะ ความโลภ ความอยากจะได้เกินขอบเขตความถูกต้องผิดศีลธรรม อิ่มไม่รู้จักพอ
มีความต้องการไม่สิ้นสุด
๒.โทสะ ความคิดประทุษร้าย ความโกรธ ความเกลียดชังคั่งแค้น
๓.โมหะ ความหลง ความงาย ความเขลาไม่เข้าใจ ไม่รู้ความจริง
รูปภูมิ ก็คือโลกของสัตว์ที่เป็นพรหม คือผู้ที่มีแต่รูปกา่ย ใจไม่มีหรือหมายถึงผู้ที่
เข้าณามสงบนิ่ง จนไม่ไหวติง
อรูปภูมิ ก็คือโลกของสัตวืที่เป็นพรหมเช่นกับพรหม ๑๖ ชั้น แต่ต่างกันที่อรูปภูมิ
ไม่มีรูปร่าง มีแต่กายอย่างเดียว มีอยู่ ๔ ชั้น คือ
๑.อากาสานัญจายตนะ แดนของผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ คือ ณามกำหนดอากาศ
หรือช่องว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณื
๒.วิญญานัญญายตนะ แดนของผู้เข้าถึงวิญญานัญจายตนะ คือ ญาน
กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณื
๓.อากิญจัญญายตนะ แดนของผู้เข้าถึงกิญจัญญายตนณาน คือ ณาม
กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์
๔.เนวสัญญานาสัญญายตนะ แดนของผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ คือ ภาวะที่มี
สัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เป็นชื่ออรูปณามหรืออรูปภพที่ ๔
หนังสือไตรภูมิพระร่วง นอกจากจะมีคุณค่าดังที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรง
กล่าวไว้แล้วในเบื้องต้น ในหนัฃสือเรียนภาษาไทย ท ๐๓๑ ของ รศ. บรรเทา กิตติศักดิ์
และ อ. กรรณิการ์ กิตติศักดิ์ ได้กล่าวถึงคุณค่าและประโยชน์ของวรรณคดีเล่มนี้ไว้ ๔ ด้าน
ด้วยกันคือ
๑.เรื่องนั้นมีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับบาปบุญคุณโทษการเกิดการตายเกี่ยวกับ
โลกทังสาม (ไตรภูมิ) ซึ่งทำให้คนสมัยกรุงสุโขทัยเข้าใจเรื่องชีวิตของตนเองว่าเกิดมา
อย่างไร ตายแล้วไปไหน โลกที่อยู่ปัจจุบันและโลกหน้าเป็นอย่างไร
๒.ด้านภาษา สำนวนโวหารในไตรภูมิ โดนเฉพาะพรรณนาโวหารนั้นประณีตละ
เอียดลอเป็นอย่างยิ่ง จนทำให้นึกเห็นสมจริง ให้เห็นสภาพอันน่าสยองขวัญของนรก สภาพ
อันรุ่งเรืองบรมสุขของสวรรค์
๓.ด้านสังคม มุ่งใช้คุณธรรมความดีเป็นพื้นฐานการสร้างสรรค์ความสุขในสังคม
๔.ด้านอิทธิพลต่อกวียุคหลัง กวียุคหลังได้ใช้ไตรภูมินี้เป็นแนวพรรณนาป่าหิมพานต์
เขาพระสุเมรุ วิมานพระอินทร์
อิทธิพลของไตรภูมิพระร่วงต่อสังคม
"มีอิทธิพลอย่างมากมายและมั่นคงในอุดทการณ์ของคนไทย ในส่วนที่เกี่ยวกับลักษณะ
คนมีบุญมีบารมีเป็นที่นิยมยกย่องของบุคคลในสังคม คือ คนมีบุญต้องมีใจเมตตากรุณา
เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ นำบุคคลอื่น ๆ ให้บำเพ็ญทาน และเสียสละทรัพย์สินสร้างวัตถุสาธารณะ
ประโยชน์และศาสนาสถาน
อิทธิพลของไตรภูมิอีกอย่างหนึ่งในสังคมไทยก็คือ การเชื่อเรื่องพุทธทำนายโดยเฉพาะ
อย่างยิ่งที่ว่าพุทะศาสนาจะแผ่ไพศาลไปทั่วโลก"
สุภาษิตพระร่วง
-สุภาษิตพระร่วง มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บัญญัติพระร่วง เป็นสุภาษิตที่สำคัญ
ยิ่ง ถึงขนาดท่านอาจารย์เจือ สตะเวทิน ผู้รู้ทางภาษาไทยกล่าวว่า เป็นสุภาษิตเก่าแก่
ที่สุดของชาติไทย
สุภาษิตพระร่วงเป็นสุภาษิตที่เก่าแก่ ได้รับการจดจำกันมาหมายชั่วคนแล้วเพิ่งมา
บันทึกเป็นหลักฐานกันครั้งแรกก็ในสมัยรัชกาลที่ ๓
ผู้แต่ง สันนิิษฐานกันว่าพ่อขุนรามคำแหงเป็นผู้พระราชนิพนธ์
ทำนองแต่ง แต่งเป็นร่ายสุภาพ จบด้วยโคลงสองสุภาพ และต่อด้วยโคลงสี่สุภาพ
กระทู้ ๑ บท
วัตถุประสงค์ในการแต่ง เพื่อใช้สั่งสอนประชาชน
สาระสำคัญ กล่าวถึงพระร่วงแห่งกรุงสุโขทัยทรงมุ่งหวังถึงประโยชน์ในภายหน้า จึงทรง
บัญญัติสุภาษิตขึ้นมา เพื่อใช้อบรม สั่งสอน เป็นคติเตือนใจแก่ปรพชาชน ให้ประชาชน
อาศัยสุภาษิตเป็นเครื่องมือในการดำเนินให้เป็นไปอย่างถูกต้อง เนื้อความทั้งหมดกของ
สุภาษิตพระร่วงไม่ยาวนัก มีดังนี้
เมื่อน้อยให้เรียนวิชา
ให้หาสินเมื่อใหญ่
อย่าใฝ่เอาทรัพย์ท่าน
อย่าริร่านแก่ความ
ประพฤติตามบูรพระบอบ
สุภาษิตพระร่วง มีคุณค่าที่ควรนึกถึงอยู่ ๕ ประการ คือ
๑.ในด้านอักษรศาสตร์ ใช้คำง่าย ตรงไปตรงมา สั้น กะทัดรัด มีสัมผัสคล้องจอง ทำให้
จำง่าย
๒.ในด้านการปกครอง แสดงให้เห็นถึงการปกครองสมัยสุโขทัยที่กษัตริย์กับประชาชน
มีความใกล้ชิดกันมาก ดั่งพ่อกับลูก
๓.ในด้านสังคม ได้แสดงให้เห้นชีวิตความเป็นอยู่และค่านิยมของสังคมสมัยสุโขทัย
เป็นต้นว่า ค่านิยมยกย่องการแสวงหาความรู้ การขยันทำมาหากิน การยกย่องความซื่อสัตย์
การเคารพผู้หลักผู้ใหญ่ และการจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ เป็นต้น
๕.ในด้านวัมนธรรมประเพณี ให้รู้จักความเป็นผู้น้อยผู้ใหย่ ให้รู้จักที่ต่ำที่สูง
เช่น คนเป็นผู้น้อยก็ไม่ควรจะนั่งชิดผู้ใหญ่ เป็นผู้น้อยควรนบนอบต่อผู้ใหญ่
รูปแบบวรรณคดีไทยสมัยสุโขทัย
รูปแบบวรรณคดีไทยสมัยสุโขทัยอาจแบ่งได้เป็น ๒ ประเภท คือ
๑.ความเรียงร้อยแก้ว เป็นลักษณะคำปร
ะพันธ์ที่เด่นที่สุดและพบมากที่สุดส่วนใหญ่
ความเรียงร้อยแก้วในสมัยนี้จะเป็นการจดบันทึกเรื่องราว และเหตุการณ์ต่าง ๆ ไว้เป็นหลัก
ฐานโดยมักเป็นการพรรณนาสภาพเหตุการณ์สำคัญต่าาง ๆ ที่เกิดขึ้นจริงในสมัยนั้นไว้อย่าง
ละเอียดและเกิดภาพพจน์ วรรณคดีไทยในลักษณะนี้มักพบในรูปของ
ศิลาจารึกต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมายรวมทั้งที่เป็นหนังสือด้วย เช่น ไตรภูมิพระร่วง
เช่น ไตรภูมิพระร่วง เป็นต้น
๒.ร้อยกรอง ในสมัยสุโขทัยพบวรรณคดีร้อยกรองที่มีฉันทลักษณ์
แน่นอนชัดเจนน้อยมากมากที่พบได้แก่ สุภาษิตที่มีลักษณะคำ
ประพันธ์เป็นร่ายสุภาพ โดนมีการแบ่งคำออกเป็นวรรค วรรคหนึ่งมี ๔
คำ บทหนึ่งมี ๕ วรรคขึ้นไป และจบลงด้วยโครงสองสุภาพ
เนื้อหาและแนวคิดของวรรณคดีสมัยสุโขทัย
โดยเหตุที่สังคมไทยสมัยสุโขทัยอยู่ในยุคบุกเบิกในการสร้างชาติ ดังนั้น เนื้อหาและ
แนวคิดในการแต่งวรรณคดีจึงมาจากความต้องการสร้างคสามภาคภูมิใจความเป็นชาติและ
ต้องการจัดระเบียบการดำเนินชีวิตของคนในสังคมให้สังคมอยู่รวมกันได้ด้วยความสงบ
เรียบร้อยจากที่กล่าวมาจึงสามารถแบ่งเนื้อหาและแนวคิดของวรรณคดีไทยสมัยสุโขทัยออก
ได้ดังนี้
๑.บันทึกเหตุการณ์ โดยส่วนใหญ่วรรณคดีสมัยสุโขทัยมีเนื้อหาและความคิดที่เป็น
บันทึกทางประวัติศาสตร์ โดยมักจะบันทึกลงบนแผ่นหิน หรือที่เรียกกันว่า "ศิลาจารึ" ศิลา
จารึนี้นอกจากจะอยู่ในรูปของแผ่นหินนี้ยังอยู่ในรูปของหลักหิน เสาหิน กรอบประตู
ใบเสมา ผนัง ฯลฯ นอกจากนี้ยังพบการบันทึกด้วยวิธีจารลงบนใบลาน แผ่น
เงิน แผ่นโลหะอื่นรวมทั้งฐานพระพุทธรูป ฐานเทวรูป อีกด้วย
๑.๑ สะท้อนเหตุการณ์ประวัติการก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย พบได้จากศิลาจารึที่เป็นบันทึก
เหตุการณ์การต่อสู้กับขอมเพื่ออิสระภาพของคนไทย ได้แก่ ศิลาจารึหลักที่ ๒ จารึกวัดศรี
ชุม (จารึกประมาณปี พ.ศ.๑๘๙๑ - ๑๙๓๑) ซึ่งจะมีเนื้อหากล่าวถึงพ่อขุนบางกลางท่าว
และพ่อขุนผาเมือง ได้ร่วมการต่อต้านอิทธิพลของขอม และแยกตัวเป็นอิสระตั้งสุโขทัย
ได้เป็นผลสำเร็จ
๑.๒ สะท้อนสภาพบ้านเมืองและเหตุการณ์บ้านเมืองที่สำคัญ ๆ พบได้ในศิลาจารึกหลักที่
๑ (จารึกประมาณปี พ.ศ.๑๘๓๕ -๑๙๒๑) มีเนื้อหาเกี่ยวกับอัตชีวประวัติของพ่อขุน
รามคำแหงมหาราช กล่าวถึงสภาพกรุงสุโขทัยในด้านต่าง ๆ เช่น การค้า การเกษตร
การชลประทาน การศาสนา และการขยายอาณาเขตของ
กรุงสุโขทัย เป็นต้น
๑.๓ สะท้อนประวัติศาสตร์การศาสนา ศิลาจารึกสุโขทัยจำนวนมากได้มีการบันทึกเหตุการณ์
สำคัญทางศาสนาไว้ทำให้คนไทยรุ่นหลังได้ทราบว่า เดิมคนสมัยสุโขทัยถือศาสนา
พราหมณ์ มีการสถาปนาศาสนาพุทธลัทธิลังกาวงศ์ขึ้นเป็นศาสนาประจำชาติ
๒.ปลูกฝังคุณธรรม จากที่กล่าวมาว่าในสมัยสุโทัยเป็นระยะแรกของการก่อตั้งอาณาจักร
จึงเป็นช่วงที่ต้องเร่งสร้างคน สร้างสังคมให้เกิดความสงลสุขโดยการปลูกฝังคุณธรรมต่าง ๆ
ให้กับประชาชน ดังนั้น จุงทไให้เกิดวรรณคดีคำสอน และวรรณคดีเทศณ์ เกิดขึ้น
๓.สร้างเสริมความเป็นปึกแผ่น ได้แก่วรรณคดีสัตยาธิษฐานต่าง ๆ ที่มุ่งสร้างเสริม
ความเป็นแผ่นของชาติ สร้างเสริมความสามัคคีในหมู่ข้าราชการและเจ้านายในราชวงศ์
ตลอดจนการสร้างสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ เช่น ศิลาจารึกหลักที่ ๔๐ จารึกเจดีย์น้อยวัด
หมาธาตุ และจารึกหลักที่ ๔๕ เป็นต้น
แนวคิดและคุณค่าของวรรณคดีสมัยสุโขทัย
เนื่องจากวรรณคดีสมัยสุโขทัยเหลือดทอดมาจนปัจจุบันอยู่ไม่กี่เรื่อง จึงไม่อาจพูดได้
ชัดเจนว่ามีแนวคิดใดเป็นเอกลักษณ์ ศิลาจารึมีแนวคิดสัจนิยม คือกล่าวถึงเรื่องราวที่มีเนื้อหา
เป็นความจริงแท้ บรรยากาศถึงสภาพทั่ว ๆ ไปของบ้านเมืองตามความเป็นจริง ส่วนไตรภูมิ
พระร่วงนั้นเป็นแนวคิดแบบพุทธปรัชญา หรือปรัชญาจิตนิยม เช่น ในเรื่องที่กล่าวถึงความ
เป็นอยู่ของผู้คนอุตรกุรุทวีป ซึ่งเป็นลักษณะของคนในสังคมในอุดมคติ ทำนองเดียวกับเรื่อง
ยูโทเปีย ของเซอร์โทมาส มอร์
สำหนับคุณค่าของวรรณคดีสมัยสุโขทัยนั้นกล่าวไว้ว่า เป็นวรรณคดีอันหาค่ามิได้ ทั้ง
นั้นสารัตถประโยชน์และสุนทรียรส การชำระประวัติศาสตร์ชาติไทย ก็อาศัยหลักฐานจาก
ศิลาจารึกหลักต่าง ๆ ในสมัยสุโขทัยเป็นส่วนมาก
ส่วนไตรภูมิพระร่วงนั้น มีอิทธิพลมากมายและมั่นคงในอุดมการของคนไทย โดย
เฉพาะเรื่องบาปบุญคุณโทษ เรื่องนรกสวรรค์ ความดีความชั่ว ลักษณะของคนมีบุญบารมีที่
ได้รับการยกย่องจากสังคม เช่น ต้องมีใจเมตตากรุณาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป็นผู้นำในการ
ทำบุญให้ทาน เสียสละทรัพย์สินเพื่อสร้างถาวรวัตถุ สาธารณประโยชน์และศาสนสถาน
ความเชื่อเหล่านี้จึงฝังแน่นอยู่ในคนไทยจนถึงทุกวันนี้
อิทธิพลสำคัญอีกประการหนึ่งของไตรภูมิพระร่วงก็คือ เป็นบ่อเกิดของวรรณคดีศาสนา
และวรรณคดีไทยอื่น ๆ ในสมัยต่อมา
ประวัติกรุงศรีอยุธยา
กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทยของไทยแต่โบราณ ถัดจากกรุงสุโขทัยโดยเป็น
ราชธานีอยู่ประมาณ ๔๐๗ ปี นับว่าไม่น้อยเลยทีเดียว มีพระราชวงศ์ที่ผลัดกันปกครอง
ประเทศ ๕ พระราชงวศ์ด้วยกันคือ
๑. พระราชวงศ์อู่ทอง
๒. พระราชวงศ์สุพรรณภูมิ
๓. พระราชวงศ์สุโขทัย
๔. พระราชวงศ์ปราสาททอง
๕. พระราชวงศ์บ้านพลูหลวง
กรุงศรีอยุธยามีพระมหากษัตริย์ที่ปกครองประเทศ ๓๓ พระองค์ แต่ตามหลักฐาน
ปรากฏว่า มีพระมหากษัตริย์เพียง ๖ พระองค์เท่านั้นที่ได้ทรงสร้างสรรค์และส่งเสริมผล
งานด้านวรรณคดี คือ
๑. สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง (สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑)
๒. สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
๓. สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒
๔. สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
๕. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
๖. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
กรุงศรีอยุธยาได้รับสถาปนาได้รับการสถาปนาเป็นราชธานี เมื่อวันศุกย์ขึ้น ๖
ค่ำ เดือน ๕ ปีขาล จุลศักราช ๗๑๒ หรือพุทธราช ๑๘๙๓ โดยสมเด็จพระเจ้าอุ่ทอง
หรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ซึ่งทรงเป้นต้นพระราชวงศ์อู่ทอง และเป้นปฐมบรม
กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา
ตลอดระยะเวลาแห่งการเป็นราชธานี กรุงศรีอยุธยาได้ทำศึดสงครามกับต่างชาติ
มาหลายครั้งหลายหน ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะเรื่อยมา จนมาปี พ.ศ ๒๑๑๒ ก็เสียกรุง
ให้พม่าเป็นครั้งแรก
อีก ๑๕ ปีต่อมา สมเด็จพระเนศวรมหาราช กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของไทยเราทรง
สามารถกู้เอกราชคืนมาได้ ประกาศตนเป็นอิสรภาพในทันที
กรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรืองมาได้ ๔๑๗ ปี ทั้งด้านการปกครอง การศาสนา การ
ต่างประเทศ และวรรณคดี
ในปี พ.ศ ๒๓๑๐ พระมหากษัตริย์ทรงอ่อนแอ แย่งชิงอำนาจกันเองประชาชนแตก
สามัคคี แบ่งกันเป็นก๊ก แย่งกันเป็นใหญ่ กรุงศรีอยุธยาจึงพลาดท่าเสียกรุงให้แก่พม่าอีก
เป็นครั้งที่สอง สร้างความอัปยศสูให้ผู้คนชาวไทยโดยทั่งหน้ากัน
แต่แล้ว พระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่าพระเจ้าตากสิน
มหาราชก็ทรงกอบกู้เอกราชกลับคืนมาได้ และทรงตั้งกรุงธนบุรีขึ้นเป็นราชธานีในยุค
สมัยต่อมา
กวีสำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้น
วรรณคดีในสมัยอยุธยาตอนต้นนี้ ส่วนใหญ่มักไม่ปรากฏนามผู้แต่งว่าเป็นผู้ใดแต่สิ่ง
ที่ทราบก็คือในยุคนี้มีองค์อุปถัมภ์ถกวรรณคดีที่สำคัญ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง สมเด็จ
พระบรมไตรโลกนาถ และสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ทั้งสามรัชกาลนี้ได้ทรงโปรดให้นัก
ปราชญ์ราชบัณฑิตสร้างสรรค์ วรรณคดีที่ทรงคุณค่าไว้หลายเรื่อง เช่น สมเด็จพระเจ้า
อู่ทอง ทรงโปรดให้แต่งลิลิตโองการแช่งน้ำ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีมหาชาติ
คำหลวง สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมมีกาพย์มหาชาติ เป็นต้น
กวีสำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้น
วรรณคดีในสมัยอยุธยาตอนต้นนี้ ส่วนใหญ่มักไม่ปรากฏนามผู้แต่งว่าเป็น
ผู้ใดแต่สิ่งที่ทราบก็คือในยุคนี้มีองค์อุปถัมภ์ถกวรรณคดีที่สำคัญ ได้แก่ สมเด็จ
พระเจ้าอู่ทอง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ทั้ง
สามรัชกาลนี้ได้ทรงโปรดให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตสร้างสรรค์ วรรณคดีที่ทรง
คุณค่าไว้หลายเรื่อง เช่น สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ทรงโปรดให้แต่งลิลิตโองการ
แช่งน้ำ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีมหาชาติคำหลวง สมัยสมเด็จพระเจ้า
ทรงธรรมมีกาพย์มหาชาติ เป็นต้น
สภาพเหตุการณ์บ้านเมืองสมัยอยุธยาตอนต้น
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้นนี้ เริ่มตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทองถึงสมัยพระอาทิตยวงศ์
(พ.ศ.๑๘๘๓-๒๑๗๖)ยุคทองของวรรณคดีสมัยนี้ คือ สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
และพระเจ้าทรงธรรม เหตุการณ์บ้านเมืองในสมัยนี้เป็นยุคต้นๆในหารสร้างบ้านเมือง
ดังนั้นการพัฒนาบ้านเมืองจึงมุ่งไปที่การขยายอาณาเขตให้กว้างขวาง จึงมีการทำสงคราม
บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการทำศึกกับพม่า เขมร เชียงใหม่หรือแม้กับกลุ่มคนไทยด้วยกัน
คือสุโขทัย ประกอบกันในช่วงสมัยนี้มีการแก่งแย่งราชสมบัติในช่วงเปลี่ยนรัชกาลเกือบ
ทุกครั้ง เหตุการณ์เหล่านี้เป็นเหตุการณ์ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการสร้างสรรค์วรรณคดีทั้งสิ้น
จึงทำให้มีการสร้างสรรค์วรรณคดีน้อย อีกทั้งบ้านเมืองยังประสบกับเหตุการณ์เสียกรุง
ศรีอยุธยาแห่พม่า ครั้งที่๑ เมื่อ พ.ศ.๒๑๑๒ ซึ่งอาจทำให้มีวรรณคดีสูญหายไปในช่วง
เวลาดังกล่าวด้วย จึงทำให้เหลือวรรณคดีในสมัยอยุธยาตอนต้นนี้ไม่มากนัก
วรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
วรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องของพระศาสนา
ได้แก่ พระพุทธศาสนา และศาสนาพราหมณ์ อีกเรื่องหนึ่งที่มีการกล่าวถึงเป็นสำคัญ
และเกี่ยวโยงกับพระศาสนาด้วยคือ สถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ปกครองเป็นสำคัญ
วรรณคดีสมัยนี้มีวรรณคดีบริสุทธิ์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะแต่งเป็นลิลิต อันมีคำยากจากภาษา
บาลีสันสกฤต แบะเขมรปะปนอยู่มาก ต้องแปลออก เข้าใจความหมาย จึงจะเกิดความ
ซาบซึ้ง
วรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น มีดังต่อไปนี้ ก. ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง
(สมเด็จพระรามาธิบดีที่๑) ได้แก่
๑. ลิลิตโองการแช่งน้ำ
ข. ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีดังต่อไปนี้
๒. ลิลิตยวนพ่าย
๓. มหาชาติคำหลวง
ลิลิตโองการแช่งน้ำ
ลิลิตโองการแช่งน้ำ แต่งขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ต้นฉบับเดิมเขียนเป็น
อักษรขอม เป็นวรรณคดีที่อิงความเชื่อทางไสยศาสตร์มีการแต่งเติมเสริมต่อกันมาเรื่อย
ตั้งแต่สมัยอยุธยา แม้ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ก็มีการต่อเติมกันในรัชกาลที่๔
ผู้แต่ง ตามหลักฐานไม่ปรากฏนามผู้แต่ง แต่ตามที่มีการสันนิษฐานกันน่าจะเป็น
พราหมณ์ผู้รอบรู้และเป็นผู้ประกอบพิธถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
ทำนองแต่ง แต่งเป็นลิลิต กล่าวคือมีร่ายโบราณ ต่อด้วยโคลงห้าหรือโคลงมณฑกคดี
วัตถุประสงค์ในการแต่ง เพื่อใช้ในพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา(สาบาน)
สาระสำคัญ เนื้อหาเริ่มแรกเป็นการกล่าวถึงพระนารายณ์ พระอิศวรแบะพระพรหมซึ่ง
เป็นเทพเจ้าของอินเดียอย่างยกย่อง ต่อไปกล่าวถึงเมื่อโลกหมดอายุสิ้นกัปกัลป์ ก็จะมีไฟมา
ไหม้เผาโลกให้หมดสิ้นไป พระพรหมจะสร้างโลกขึ้นมาใหม่แทนโลกเก่า สิ่งมีชีวิตอย่าง
มนุษย์เกิดขึ้นมา เกิดดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ มีวัน เดือน ปีตามา มีพระราชา ซึ่งแปลว่าผู้ยัง
ความชอบใจพอใจให้เกิดขึ้น มีการอัญเชิญปู่เจ้า ชื่อว่าพระกรรมบดีให้มาร่วมพิธี อาราธนา
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์มาร่วมในพิธี เชื้อเชิญเทวดา อสูร ผี ไปจนถึงสัตว์มาร่วมใน
พิธีแล้วให้ร่วมกันเป็นพยานในการลงโทษคนทรยศหักหลังทำการกบฏต่อพระมหากษัตริย์
และให้พรแก่ผู้จงรักภักดีสัตย์ชื่อต่อพระมหากษัตริย์ให้มีความสุข ความเจริญสมบูรณ์ด้วยลา
พยศศักดิ์อัครฐาน