The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

วรรณคดีสมัยสุโขทัย - อยุธยา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Rabia Beraheng, 2022-09-15 02:16:54

สื่ออาจารย์ ดา

วรรณคดีสมัยสุโขทัย - อยุธยา

คุณค่าของลิลิตองค์การแช่งน้ำ
๑.ในด้านอักษรศาสตร์ ถือเป็นลิลิตเรื่องแรกในวรรณคดีไทย
๒.ในด้านวัฒนธรรม แสดงถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดียที่มีต่อสังคมไทยอย่าง

มากมาย
๓.ในด้านการปกครอง การที่ต้องให้คำสัตย์สาบานจะต้องซื่อตรงจงรักภักดีต่อพระมหา

ษัตริย์ทำให้เกิดความสามัคคีกันในชาติ

ลิลิตยวนพ่าย

ลิลิตยวนพ่าย คำว่า ยวน ก็คือ ไทยลานนา หรือเชียงใหม่ พ่ายก็คือแพ้วรรณคดี
เรื่องนี้เป็นวรรณคดีสดุดีวีรกรรม เป็นการยอพระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถที่
ทำศึกได้ชัยชนะต่อพระเจ้าติโลกราชเจ้าเมืองเชียงใหม่

ผู้แต่ง ไม่ปรากฏนาม แต่คงเป็นผู้รู้เรื่องวรรณคดีสันสกฤตและพงศาวดารอย่างลึก
ซึ้ง จึงแต่งได้ดีมาก

ทำนองแต่ง แต่งเป็นลิลิตดั้น กล่าวคือเป็นร่ายดั้นและโคลงดั้นบาทกุญชร
วัตถุประสงค์ เพื่อยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์
สาระสำคัญ เนื้อหาเบื้องต้นเป็นการไหว้ครู จากนั้นก็เป็นการพรรณนาพระ
เกียรติคุณของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

คุณค่าของลิลิตยวนพ่าย
๑. ในด้านอิทธิพลต่อวรรณคดีรุ่นหลัง ลิลิตยวนพ่ายมีอิทธิพลต่อนักกวีรุ่นหลังอย่าง

แน่นอน จะเห็นได้จาก ลิลิตตะเลงพ่าย ที่ประพันธ์โดยสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส
๒. ด้านอักษรศาสตร์ ลิลิตยวนพ่ายนับเป็นวรรณคดียอพระเกียรติเล่มแรก ที่เป็นบทกวี

มีสำนวนโวหารไพเราะอย่างยิ่ง แต่ก็ยากที่จะเข้าใจเหมือนกัน เพราะเต็มไปด้วยศัพท์คำ
ยากที่ต้องแปล

๓. ในด้านวิถีชีวิต ได้แสดงถึงชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยอยุธยาว่านิยมยกย่อง
พระมหากษัตริย์ของตนและจงรักภักดียิ่งนัก ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมของชาติ

๔. ในด้านประวัติศาสตร์ ทำให้ได้มองเห็น ได้รู้เรื่องราวเหตุการณ์ความเป็นไปใน
สมัยนั้น ได้รู้ถึงการทำสงครามระหว่างพระมหากษัตริย์ต่างเมืองกัน การรบซึ่งใช้ช้างและม้า
เป็นพาหนะ และมีอาวุธด้วย ได้แลเห็นว่าชาติกว่าจะเป็นชาติมาได้ ต้องมีบาดแผลไม่น้อย
แผล ชีวิตของชาติ ชีวิตของคนก็เช่นกัน

มหาชาติคำหลวง

มหาชาติคำหลวง คำว่า มหาชาติ หมายถึงการเกิดครั้งยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์
หมายความว่าในพระชาติสุดท้ายที่เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรได้ทรงบำเพ็ญบารมีมี
ครบถ้วนทุกประการ ก่อนจะได้เป็นพระพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกของโลก คำว่า คำหลวง
หมายถึงหนังสือที่พระเจ้าแผ่นดิน หรือเจ้าน
ายชั้นสูงทรงนิพนธ์หรือหนังสือที่พระเจ้าแผ่น
ดินหรือเจ้านายชั้นสูงทรงสนับสนุนให้คนอื่นแต่ง เนื้อหาจะเกี่ยวข้องกับศีลธรรม ศาสนา
คำประพันธ์ที่ใช้ค่อนข้างหลากหลายมีทั้งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย ใช้สวดเช้า
ทำนองหลวง

มหาชาติคำหลวง เป็นหนังสือมหาชาติภาษาไทยซึ่งเป็นคำหลวงเรื่อวแรกของไทย ซึ่ง
แต่เดิมได้หายไปบ้าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ ๒
ทรงให้แต่งซ่อมจนครบ ๑๓ กัณฑ์ ที่แต่งเพิ่มเข้ามา คือ กัณฑ์หิมพานต์ กัณฑ์ทานกัณฑ์
กัณฑ์จุลพล กัณฑ์มัทรี กัณฑ์สับบรรพและกัณฑ์ฉกษัตริย์

ผู้แต่ง นักปราชญ์ราชบัณฑิตหลายคนช่วยกันแต่ง ตามพระบรมราชโองการของสมเด็จ
พระบรมไตรโลกนาถ เมื่อ พ.ศ.๒๐๒๕

ทำนองแต่ง ใช้คำประพันธ์หลายประเภทในการแต่ง คือมีทั้งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน
และร่าย โดยมีภาษาบาลีแรงแทรกอยู่ตลอดทั้งเรื่อง

สาระสำคัญ มหาชาติคำหลวง มีข้อความแบ่งเป็น ๑๓ ตอน คือ

-ตอนที่หนึ่ง ว่าด้วยกัณฑ์ทศพร -ตอนที่สอง ว่าด้วยกัณฑ์หิมพานต์

-ตอนที่สาม ว่าด้วยกัณฑ์ทานกัณฑ์ -ตอนที่สาม ว่าด้วยกัณฑ์วนปเวสน์

-ตอนที่ห้า ว่าด้วยกัณฑ์ชูชก -ตอนที่หก ว่าด้วยกัณฑ์จุลพน

-ตอนที่เจ็ด ว่าด้วยกัณฑ์มหาพน -ตอนที่แปด ว่าด้วยกัณฑ์กุมาร

-ตอนที่เก้า ว่าด้วยกัณฑ์มัทรี -ตอนที่สิบ ว่าด้วยกัณฑ์ลักกบรรพ

-ตอนที่สิบเอ็ด ว่าด้วยกัณฑ์มหาราช -ตอนที่สิบสอง ว่าด้วยกัณฑ์ฉกษัตริย์

-ตอนที่สิบสาม เป็นตอนสุดท้าย ว่าด้วยกัณฑ์นครกัณฑ์

คุณค่าของมหาชาติคำหลวง

๑ในด้านอักษรศาสตร์ นับเป็นหนังสือที่แต่งดีมาก เพราะผู้แต่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้มี
ฝีมือในการประพันธ์ทั้งนั้น เนื่องจากเป็นหนังสือที่แต่งโดยนักประพันธ์หลายคน นัก
ประพันธ์ทั้งหลายคงจะฝากฝีมือกันไว้เพียบ สำนวนโวหารจึงไพเราะเพราะพริ้ง

๒. ในด้านประเพณีวัฒนธรรม ได้ให้ความรู้เกี่ยวประเพณีวัฒนธรรมการฟังเทศน์
ซึ่งเชื่อกันว่าใครฟังมหาชาติตั้งแต่ต้นจนจบ จะมีอานิสงส์มากถึงได้ไปสวรรค์เลยทีเดียว สิ่ง
ที่สำคัญก็คือ มหาชาติเวสสันดรมีอิทธิพลต่อสังคมไทยมากโดยเฉพาะเรื่องการให้ทาน

๓. ในด้านการปกครอง มหาชาติคำหลวงช่วยแสดงให้เห็นถึงการปกครองในสมัย
โบราณว่าเป็นการครองแบบระบอบประชาธิปไตย เพราะประชาชนมีสิทธิ์มีเสียงในการ
ปกครอง มีอำนาจในการตัดสินชะตาชีวิตของตนเอง ส่วนว่าจะมีความเห็นแก่ตัวอยู่ด้วย
หรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ๔. ในด้านพฤกษศาสตร์และสัตวศาสตร์ หมาชาติคำหลวงทำให้
เรามีความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ไม้และสิงสาราสัตว์ต่างๆ นานามากมาย ทำให้เกิดความรักชาติ
มากยิ่งขึ้น

รูปแบบวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้น

รูปแบคำประพันธ์ของวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้นนี้มีข้อน่าสังเกต คือ ส่วนใหญ่
มักไม่นิยมแต่งคำประพันธ์ชนิดใดชนิดหนึ่งโดดๆ แต่จะมีคำประพันธ์ชนิดอื่นปนด้วย
และคำประพันธ์ที่นิยมแต่งมากได้แก่ โคลง ร่าย ซึ่งมักแต่งเรียงร้อยเข้าด้วยกัน เรียก
ว่า ลิลิต โคลงที่ใช้นี้มีทั้งโคลงดั้นและโคลงสุภาพ ร่ายก็เช่นเดียวกัน มีทั้งร่ายดั้นและ
ร่ายสุภาพ หากนำโคลงดั้นมาแต่งปนกับร่ายดั้นเรียกว่า “ลิลิตสุภาพ” เช่น ลิลิตยวน
พ่าย หากนำโคลงสุภาพแต่งปนกับร่ายสุภาพ จงเรียกว่า “ลิลิตสุภาพ” เช่น ลิลิตพระ
ลอ เป็นต้น นอกจากจะใช้โคลงแต่งปนกับร่ายแล้ว ยังมีวรรณคดีที่ใช้คำประพันธ์
หลายๆ ชนิดในเรื่องเดียวกันด้วย เช่น มหาชาติคำหลวง ใช้ทั้งโคลงดั้น ร่ายดั้น ร่าย
ยาว ร่ายโบราณ โคลงสุภาพ กาพย์ และฉันท์บางชนิดรวมแต่งอยู่ในเรื่องเดียวกัน

๑. วรรณคดีที่ใช้ในพิธีกรรม
๒. วรรณคดีสดุดีพระมหากษัตริย์และบันทึกเหตุการณ์
๓. วรรณคดีศาสนา
๔. วรรณคดีนิทานนิยาย
๕. วรรณคดีพรรณนาอารมณ์

ลักษณะของวรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยา

๑. รูปแบบคำประพันธ์สมัยกรุงศรีอยุธยา รูปแบบคำประพันธ์ในระยะต้นๆ นอกจาก
กฎหมายและกฎมนเฑียรบาลซึ่งแต่งเป็นร้อยแก้วแล้ว วรรณคดีอื่นๆ นิยมแต่งเป็นคำ
ประพันธ์ประเภทกาพย์และลิลิตดั้น คำประพันธ์ดังกล่าวนี้คงจะดัดแปลงจากฉันท์ใน
วรรณคดีบาลีสันสกฤษ อันเป็นบ่อเกิดของวรรณคดีไทย

๒. เนื้อหาและประเภทของวรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยา เนื้อหาในวรรณคดีไทยสมัยกรุง
ศรีอยุธยานั้น นอกจากเรื่องเกี่ยวกับศาสนาโดยตรง เช่น นันไทปนันทสูตรคำหลวง
มหาชาติแล้ว ก็มีเรื่องรักเป็นส่วนใหญ่ ภายในเรื่องรักก็จะมีรบปะปนไปด้วย โครงเรื่องมัก
จะยืดแบบตัวเอกของเรื่องเป็นคนในอุดมคติทั้งความงามและคงามประพฤติ แต่มีกรรมเก่า
ส่งให้ได้รับทุกขเวทนาหรือต้องออกผจญภัย แล้วไปพบรัก กรรมก็นำให้พลัดพรากจากกัน
ต้องตกระกำลำบากระยะหนึ่ง เมื่อสิ้นกรรมแล้วจึงจะได้รับการช่วยเหลือจากเทพเจ้าให้
ประสบความสุขสมบูรณ์ ทำนองนี้แทบทุกเรื่อง

๓. ภาษา ในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีการเปลี่ยนแปลงแตกแต่ไปจากสมัยสุโขทัย
หลายอย่าง เช่น รูปแบบการปกครอง ซึ่งเปลี่ยนจากพ่อปกครองลูกมาเป็นเจ้าปกครอง
ไพร่ ทำให้ภาษาที่ใช้ในวรรณคดีเปลี่ยนไป มีระดับของคำที่ใช้ มีภาษาราชาศัพท์
ใช้ในวรรณคดี และความเชื่อเรื่องของเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์เข้ามามีอิทธิพล
ต่อภาษาในวรรณคดีไทยมาก ภาษาต่างประเทศเฉพาะภาษาบาลีและสันสกฤตเข้ามา
ปะปนอยู่ในภาษาไทย ซึ่งภาษาราชการและภาษาวรรณคดีคำภาษาเขมรกลายมาเป็น
ราชาศัพท์ที่นำมาใช้ทั้งในพิธีการและชีวิตประจำวัน นับเป็นข้อแตกต่างที่สำคัญทาง
ภาษาวรรณคดี ระหว่างวรรณคดีสุโขทัยกับวรรณคดีกรุงศรีอยุธยา

แนวคิดและคุณค่าของวรรณคดีสมัยอยุธยา

ตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น แนวคิดของวรรณคดีไทยเป็นในทางพุทธปรัชญาเป็น
ส่วนใหญ่ เช่น เรื่องมหาชาติคำหลวง นันไทปนันทสูตรคำหลวง พระมาลัยคำหลวง
เป็นต้น แต่ก็มีส่วนหนึ่งของการเมืองและเนติศาสตร์ที่พราหมณ์นำเข้ามาสมัยนั้น เพื่อ
อบรมสั่งสอนข้าราชการไทยในหลักปฏิบัติราชการ และการปกครอง เช่น เรื่องทศรถ
สินพระราม พาลีสอนน้อง เป็นสร้างตัวละครที่มีคุณค่าขึ้นเช่นทศรถหรือพาลี

ในด้านสุนทรียภาพและสารัตถประโยชน์ วรรณคดีในสมัยกรุงศรีอยุธยามีมาก
เพราะเป็นยุคสมัยที่ยาวนาน มีวรรณคดีเกิดขึ้นมาก แม้จะเหลือตกทอดต่อมาไม่ทั้งหมด
ก็ตาม ในระยะสั้นๆ ก็มีวรรณคดีเชิงบันเทิงคดีบ้าง เช่น ลิลิตพระลอ เรื่องเชิงพรรณนา
อารมณ์ เช่น กำสรวลโคลงดั้น ต่อมาก็มี กาพย์เห่เรือ กาพย์ห่อโคลงประพาสธาร
ทองแดง เป็นต้น

ด้านรัตถประโยชน์ โดยเฉพาะบันทึกเรื่องราวประวัติศาสตร์ เช่น ลิลิตยวนพ่าย
โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์ และพงศาวดารหลายฉบับ

บรรณานุกรม




เอกรัตน์ อุดมพร. วรรณคดีสมัยสุโขทัย.กรุงเทพฯ : พัฒนาศึกษา, ๒๕๔๔
เอกรัตน์ อุดมพร. วรรณคดีอยุธยางกรุงเทพฯ : พัฒนาศึกษา, ๒๕๔๔
องอาจ โอ้โลม. วรรณคดีศึกษา.กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล กรุ๊ป, ๒๕๕๕

คณะกรรมการกลุ่มผลิตชุดวิชาภาษาไทย๔. ภาษาไทย๔ : วรรณคดีไทย
พิมพิ์ครั้งที่ ๕ นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช, ๒๕๕๐

สมาชิกในกลุ่ม

(วรรณคดีสมัยสุโขทัย อยุธยา พ.ศ. ๒๑๗๒)




๑.นางสาวนาซีฟะห์ สะแปอิง ๔๐๖๔๑๑๐๐๒
๒.นางสาวราเบีย บือราเฮง ๔๐๖๕๑๑๐๐๘
๓.นางสาวซูไฮเราะห์ แวนาแว ๔๐๖๕๑๑๐๑๔
๔.นางสาวสุวรรณี ชนะกาญจน์ ๔๐๖๕๑๑๐๑๗
๕.นางสาวฟารีดา ราแดง ๔๐๖๕๑๑๐๒๙
๖.นางสาวซอบีเร๊าะ อาเด็ง ๔๐๖๕๑๑๐๓๔
๗.นางสาวนาดียา เวาะเยาะ ๔๐๖๕๑๑๐๓๘
๘.นางสาวต่วนฟาตีนีย์ โตะนิแต ๔๐๖๕๑๑๐๔๒
๙.นางสาวซาฟูรอฮ กูทา ๔๐๖๕๑๑๐๔๔


Click to View FlipBook Version