The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เรื่องราววิถีชีวิตของนักสู้ชายผ้าเหลือง สามเณรนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรมฯ ณ วัดไผ่ดำ จ.สิงห์บุรี

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by pong2729sim, 2021-09-22 23:11:01

เณรไผ่สตอรี่

เรื่องราววิถีชีวิตของนักสู้ชายผ้าเหลือง สามเณรนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรมฯ ณ วัดไผ่ดำ จ.สิงห์บุรี

Keywords: เณรไผ่สตอรี่,วัดไผ่ดำ,เณรไผ่

บทนำ

เณรไผ่สตอรี่ เป็นเรื่องราวของสามเณรนักเรียนในวัดไผ่ดำ ผู้เขียนได้
รวบรวมเร่ืองเล่าผา่ นประสบการณ์ตนเองท้ังหมด ๙ เรื่อง และถอดเนอ้ื หาเรอ่ื งราว
จากสามเณรนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ในปีการศึกษา ๒๕๖๓ อีกจำนวน ๑๘
รูป ๑๘ เรื่อง รวมเป็นทั้งหมด ๒๗ เรื่อง และมีบทความทางวิชาการที่ผู้เขียนได้
เขียนไว้จากผลงานสารนิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา เรื่อง
พุทธสันติวิธีการให้การปรึกษาของสามเณรเพื่อนที่ปรึกษา กรณีศึกษา : โรงเรียน
วัดไผ่ดำ แผนกสามัญศึกษา โดยสารนิพนธ์เรื่องนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากการ
ทำงานเป็นพระอาจารย์ฝ่ายปกครอง ซึ่งค้นพบและเข้าใจปัญหาของสามเณร
นกั เรยี นท่ีมีความแตกตา่ งตามเหตุปจั จยั จงึ พยายามสรา้ งกระบวนการบำบัดทุกข์
โดยอาศยั เพื่อนช่วยเพอื่ น เพือ่ ใหส้ ามเณรเป็นกัลยาณมติ รตอ่ กนั และกัน

หนังสือเรื่องสั้นนี้ เป็นปฐมบทแห่งการบอกเล่าเรื่องราวของสามเณร
ภายในวัดไผ่ดำ แท้ที่จริงนั้นแต่ละรูปก็มีประสบการณ์เรื่องเล่าที่ต่างกันออกไป
ผู้เขียนจึงตัง้ ใจไว้ว่า จะให้สามเณรที่บวชเรียนมาแล้วร่วม ๖ ปี อาศัยร่มผ้ากาสาว
พัสตร์มาเป็นเวลาพอสมควร ได้คัดกรองเรื่องที่อยากเล่าอยากบอกมารูปละหน่ึง
เร่ือง เพอ่ื ท้ิงไว้เปน็ มรดกทางปญั ญาแกว่ ดั ไผ่ดำ เปน็ เรือ่ งเลา่ ท่ีส่ือสารประสบการณ์
ความสุข ความดีงามไปแก่ผู้อ่าน ในส่วนที่เป็นเรื่องสั้นของสามเณร ผู้เขียนได้นำ
ขอ้ ความเหล่านนั้ มาเรียบเรยี งสำนวนเพม่ิ เติมบา้ งบางสว่ นเพ่ือให้เน้ือความสมบูรณ์
แตไ่ ด้พยายามคงเน้อื หาใจความสำคญั ทสี่ ามเณรสอ่ื ได้อย่างครบถว้ น

ผเู้ ขียนหวงั ใจวา่ เร่ืองสน้ั เณรไผส่ ตอร่ี จะสะทอ้ นมุมมองเล็ก ๆ ในวิถีชีวิต
สามเณรน้อยที่จากบ้านมาไกล มาศึกษาเล่าเรียนเพื่อพัฒนาตนเอง ได้ไม่มากก็
น้อย เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้แก่เยาวชนรุ่นต่อ ๆ ไป ที่จะก้าวเข้ามาเป็น
ศาสนทายาท และเป็นความดีความงามตอบแทนคุณของผู้มีส่วนอุปถัมภ์บำรุง
วัดไผ่ดำ สามเณรไผ่ดำ ร่วมกันปลูกต้นกล้าในนาบุญ ให้เจริญเติบใหญ่ใน
พระศาสนา และสังคมไทยตอ่ ไป

ฐานังกรณ์ ภกิ ขุ
พระมหาพงศกร านงฺกโร

๗ มิถุนายน ๒๕๖๔

โลกไผ่ดำ

วัดไผ่ดำ หรือปัจจุบันมีชื่อเรียกทางการว่า วัดกฤษณเวฬุพุทธาราม
ตั้งอยู่ในหมู่บ้านไผ่ดำ ตำบลทองเอน อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
เป็นวัดเก่าแก่ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีเจดียเ์ ก่าทรงระฆังคว่ำอยู่ภายใน
วัด องค์เจดีย์ปัจจุบันได้รับการบูรณะหลายครั้งและยังคงเป็นศาสนสถานสำคัญท่ี
พระภกิ ษุสามเณรและพทุ ธศาสนกิ ชนให้ความเคารพศรัทธาเปน็ อย่างยิ่ง

วัดไผ่ดำ ขึ้นชื่อเรื่องเป็นสำนักเรียนพระปริยัติธรรม เปิดการเรียนแผนก
นักธรรม แผนกบาลี และแผนกสามัญศึกษา มีพระภิกษุและสามเณรจำนวนมาก
ที่สุดในจังหวัดสิงห์บุรี ที่แห่งนี้จึงเป็นดั่งนาบุญอีกแห่งหนึ่งที่เพาะเมล็ดพันธ์ุ
ศาสนทายาทมาหลายตอ่ หลายรุ่น ราว 30 กวา่ ปีมาแล้ว

หลกั ธรรมประจำใจของท่นี ี่มีอยู่วา่ วิริยะ ขนั ติ สัจจะ กตัญญู กลา่ วคอื
ขยัน อดทน ซื่อสัตย์ รู้คุณ ญาติโยมที่นำบุตรหลานมาบวชเรียนที่นี่ เชื่อมั่นว่า
หากมาบวชเรียนอยู่ที่นี่และเรียนจนจบชั้นสูงสุด จะสามารถประคับประคองชีวิต
ตนได้ดีในอนาคต เรียกว่าผ่านการอบรมฝึกฝน ผ่านสนามทดสอบมาเป็นอย่างดี



เพราะอยู่ที่วัดไผ่ดำนี้ไม่ใช่อยู่เรียนหนังสือเพียงแค่ชั่วครั้งชั่วคราว หรือเรียนตาม
ตำราอย่างเดียว แต่อยู่ที่นี่ได้เรียนรู้ตลอดชีวิต เรียนรู้ทั้งในตำรา และนอกตำรา
เรียนทั้งทฤษฎี และปฏิบัติ เรียนทั้งทางโลก และทางธรรม เรียนรู้ตั้งแต่ตื่นจนถึง
หลับนอน ด้วยวิถีชีวิตของความเป็นบรรพชิต อันมีพระธรรมวินัยเป็นเครื่องขัด
เกลา และยังมีข้อวัตรปฏิบัติ กฎกติกา ระเบียบอื่นๆ ของวัดและโรงเรียนให้
สามเณรได้ฝึกฝนตนเอง เช่น ต้องตื่นแต่เช้า ทำวัตรสวดมนต์ ทำกิจของสงฆ์
ท่องทวนตำรา เรียนหนังสือเช้า-บ่าย-ค่ำ บำเพ็ญประโยชน์ ดูแลเสนาสนะต่างๆ
อีกทั้งยังมีข้อห้ามอีกมากมายที่ท้าทายต่อความอยากรู้อยากลองในช่วงวัยรุ่น
โดยเฉพาะสิ่งเสพติด บุหรี่ เป็นต้น ซ่ึงนับเป็นสิ่งต้องห้าม รวมถึงการใช้เครื่องมือ
สื่อสารซึ่งแต่ก่อนห้ามไม่ให้สามเณรใช้โทรศัพท์ แต่ปัจจุบันก็มีการอนุวัตตามสมัย
ไปบ้าง โดยให้สามเณรใช้ได้ในเวลาที่กำหนดอย่างเหมาะสม และใช้ในที่รโหฐาน
เทา่ นัน้ ไปจนถงึ ห้ามสามเณรออกนอกพ้ืนท่ีวัดและโรงเรียน เป็นต้น

ด้วยศีล วินัย กฎ กติกา ข้อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ รูปแบบการเปน็ อยู่การดแู ล
ของครูบาอาจารย์ และการเอื้อเฟื้อแก่กันและกันอย่างพี่น้อง จึงเสมือนว่าที่นี่เป็น
โลกอีกใบหนึ่งที่หมุนไปเพื่อพัฒนาคนไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ หล่อหลอม
สามเณรให้เป็นศาสนทายาทที่ดี แม้นหากลาสิกขาไปก็ให้เป็นประชากรที่ดีของ
ชาติ เป็นพลเมอื งทด่ี ขี องโลกตอ่ ไป

๑2

พลัดถิน่

คันบ่ออกจากบา้ น บเ่ ห็นดา่ นแดนไกล
คนั บ่ไปหาเฮียน กะบม่ ีความฮู้
คันแม่นมีความฮเู้ ตม็ พุง กะตามซ่าง
โตสอนโตบไ่ ด้ ไผสยิ อ้ งว่าดี ฯ
ผญาอีสานเก่าแก่ที่ได้ยินได้ฟังมาตั้งแต่ยังเล็ก ทำให้นึกถึงภาพตอนจาก
บ้านมาไกลเพื่อศึกษาเล่าเรียน การตัดสินใจมาบวชเรียน เป็นการเริ่มต้นออก
เดินทางในวิถีชีวิตแบบใหม่ ที่ต้องอยู่ห่างไกลพ่อแม่ครอบครัวตั้งแต่อายุยังน้อย
เป็นธรรมดาว่าบางห้วงของเวลาก็อดน้ำตาคลอไม่ได้ อดคิดถึงข้าวร้อนๆ อาหาร
อร่อยๆ ฝีมือแม่ เสียงพูดคุยในวงกินข้าว บรรยากาศที่แสนอบอุ่นเหมือนแต่ก่อน
ไม่ได้ การตัดสินใจมาบวชเรียนคือการตัดสินใจอย่างกล้าหาญ กล้าที่จะฝืนทน
กิเลสตัวเอง กล้าที่จะละความขี้เกียจ กล้าที่จะละความสนุกในวัยเด็ก กล้าที่จะ
ตอ่ ส้อู ุปสรรคต่างๆ กล้าทีจ่ ะเผชญิ ต่อสง่ิ แปลกใหม่ และกล้าทจี่ ะหล่อหลอมตนเอง
ให้ดีขึ้นกว่าเดิม การจากถิ่นฐานบ้านเกิดก็เพื่อเติมเต็มความหวังความฝันของ
ตนเองและครอบครวั แตล่ ะคนก็อาจมเี หตผุ ลแตกตา่ งกันไป บางคนอยากลดภาระ
คา่ ใช้จ่ายทางครอบครัว บางคนอยากหลบหลีกจากภยั รา้ ยจากสิง่ แวดล้อมในสังคม
ภายนอก บางคนอยากมาบวชเรยี นด้วยความปรารถนาเดิมเป็นต้นทนุ หรือแม้แต่
บางคนถูกบังคับให้มาด้วยเหตุเคยเกเรบ้างก็มีเหมือนกัน แต่ไม่ว่าแต่ละคนจะมา
อยู่ที่นี่ด้วยเหตุผลอันใด เมื่อมาแล้วก็ต้องมีเป้าหมายคือที่ไปเป็นอันหน่ึ ง
อันเดียวกัน คือเรียนหนังสือ พัฒนาตนเอง ให้เป็นผู้เจริญธรรมะ เจริญความรู้
โดยแท้ท่สี ุดแล้วจะตอ้ งเรยี นรู้ทีจ่ ะนำความรู้ไปใช้ไดด้ ้วย นำความรู้ไปพัฒนา ไปต่อ
ยอด ไปเลย้ี งชพี เลยี้ งครอบครัว ดูแลตนเองและคนท่รี ักใหอ้ ยู่เย็นเป็นสุข เม่ือทำ
ได้ถึงขั้นนั้นคงจะเห็นผลของการตัดสินใจพลัดถิ่นได้ชัดเจนขึ้น แม้ว่าระหว่างทาง
ความอดทนอาจมรี สขมขนื่ แตผ่ ลของมนั น้ันหวานชนื่ เสมอ



เรยี นนักธรรม-บาลี

ทวี่ ดั ไผด่ ำมกี ารจัดการเรียนการสอนเปน็ ๒ แผนก คือ แผนกสามัญศึกษา
และแผนกธรรม-บาลี การเรียนนักธรรมกับภาษาบาลีนั้น นับว่าเป็นเรื่องแปลก
ใหม่ในสายตาของเด็กน้อยที่มาจากต่างถิ่น ซึ่งไม่ค่อยจะรู้ธรรมะธรรมโมอะไรสัก
เท่าไร ทกั ษะสำคญั ของการเรียนนกั ธรรมนน้ั คอื การจำ เพราะจะตอ้ งทอ่ ง แลว้ ก็
ท่อง และก็ทวน โดยมีพระอาจารย์เป็นผู้กวดขันความแม่นยำของการจำของ
สามเณร ที่นี่จะเรียนนักธรรมช่วงเช้า และช่วงค่ำ บางวันที่หัวข้อธรรมจำยาก
หน่อยก็มีเลิกดึกบ้าง ตามประสาเณรน้อยที่มีกำลังสติปัญญามากบ้าง น้อยบ้าง
นอกจากจะท่องจำแล้ว ยังต้องทำแบบฝึกหัด ฝึกทักษะการเขียน ซึ่งแน่นอนว่า
คำศัพท์แปลกๆ มากมาย ต้องฝึกต้องหัดเขียนสะกดให้ถูกต้อง และทุกวันเสาร์ก็
จะมีการสอบวัดความรู้ประจำสัปดาห์ เพื่อประเมินว่าที่เรียนมาทั้งสัปดาห์มี
พัฒนาการขึ้นบ้างไหม บรรยากาศการสอบแต่ละครั้งเป็นที่น่าตื่นตาตื่นใจลุ้น
ระทึกว่าข้อสอบที่พระอาจารย์ออกมาจะตรงกับที่เราท่องมาหรือเปล่า สามเณร
น้อยใหญ่มาพร้อมเพรียงกันที่สนามสอบ โดยมีอาวุธ คือ ปากกา ไม้บรรทัด และ
ปากกาลบคำผิด เมื่อเริ่มสอบพระอาจารย์แจกกระดาษคำตอบ และกระดาษ
ขอ้ สอบ บางรปู เห็นข้อสอบแลว้ ยมิ้ หวาน บางรูปเหน็ ขอ้ สอบแล้วถงึ กับย้ิมไม่ออก
ก็มี ทำได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่ก็ต้องทำให้สุดกำลังความสามารถ ใช้เวลาในสนาม
สอบอย่างคุ้มค่า บางครั้งต้องใช้วิทยายุทธ หลับตานึกระลึกความหลังตอนท่อง
ทวนกับพระอาจารย์ นึกแล้วนึกเล่า บางครั้งก็เกินจะระลึกได้ ก็ต้องยอมจำนน
ต่อชะตากรรมต่อไป หลังสอบเสร็จก็ต้องมาลุ้นผลกันอีกทีว่าจะผ่านเกณฑ์หรือ
เปล่า เพราะถ้าผ่านกส็ บายไป แต่ถ้าไม่ผ่าน มีหวังพระอาจารย์ต้องให้คัดลายมอื
ซ้ำอีกรอบเป็นแน่ เมื่อสอบเสร็จในสัปดาห์นั้นๆ แล้ว ก็จะเปลี่ยนเนื้อหาไปเรื่อง
อนื่ ๆ มขี อ้ ท่ไี ด้สาระความรู้มากมาย แลว้ วฏั จักรแหง่ การสอบก็จะกลับมาอีกครั้ง
ในวันเสาร์ถัดไป แต่ทั้งนี้ นี่ก็เป็นหนึ่งในกระบวนการบ่มเพาะศาสนทายาทให้



เป็นผู้แกร่งกล้าสามารถ มีภูมิรู้ ภูมิธรรม เพียงพอต่อการไม่เก้อเขินแก่การดำรง
สมณเพศของตน

หลังจากฝึกฝนเรียนรู้นักธรรมพอสมควรแล้ว จากนั้นก็ต้องรอสอบจริง
สอบสนามหลวงประจำปี ซงึ่ หนึ่งปีจะมีการสอบเพียงหนึ่งครง้ั ตกแล้วตกเลยต้อง
เรียนใหม่ปีหน้า ดังนั้นการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนสอบจึงสำคัญมาก และเวลา
สอบจรงิ กต็ อ้ งตง้ั ใจให้ดีมากกว่าสนามสอบวัดความรู้ประจำสัปดาห์ขึ้นไปอีกหลาย
เท่า มิเชน่ นัน้ จะเข้าทำนองท่ีวา่ หมูสนามจรงิ สิงห์สนามซอ้ ม กเ็ ปน็ ได้ ฯ



ชีวติ ใหม่ในรม่ ธรรม

สมัยเป็นเด็กผมเป็นคนหนึ่งที่พูดไม่ค่อยมีหางเสียง “ครับ” เสียเลย อาจ
ด้วยสง่ิ แวดลอ้ มทีเ่ ราอยหู่ รือเปลา่ ไมร่ ู้ ไมค่ ่อยเห็นเพอ่ื นพดู “ครับ” กัน จะพดู บ้าง
กต็ อ่ เมอื่ ในโรงเรียนทดี่ เู ป็นทางการหน่อย แตถ่ ้าเป็นช่วงปกตกิ ับพ่อแมห่ รือญาติ ๆ
นั้น แทบไม่กล้าพูดเลย ปกติแล้วผมก็ไม่ได้เป็นคนก้าวร้าวหรอกครับ เพียงแต่
อายที่จะพูด มันไมช่ นิ เท่าน้นั เอง

ต่อมาได้มีโอกาสมาบวชเรียน ช่วงแรก ๆ มาเป็นเตรียมสามเณร
เพ่ือเตรียมความพรอ้ มก่อนบรรพชาเป็นสามเณรท่ีวัดไผ่ดำ ระหว่าง 3 เดือนจะมี
พี่เลี้ยงคอยให้การอบรมอย่างใกล้ชิด แนะนำสิ่งต่าง ๆ ทั้งการใช้ชีวิตพื้นฐาน
ฝึกซักผ้า เก็บที่นอน ล้างถ้วยจาน ไปจนถึงให้คำปรึกษาการเรียน การอยู่
รว่ มกนั กับเพ่อื น ๆ เปน็ ต้น ชว่ งแรก ๆ พ่เี ลยี้ งมกั จะให้ทอ่ งกลอนคติธรรมสอนใจ
ทีแรกก็นึกในใจ ทำไมให้ท่องบ่อยจัง ท่องวนไปวนมาอยู่นั่นแหละ แต่ตอนนี้กลับ
รสู้ กึ ไดว้ ่า เออมันมีประโยชน์ดนี ะ กลอนทท่ี อ่ งบอ่ ยมาก ๆ ในตอนนนั้ ทำให้จำ
ได้ไม่ลมื ในตอนนี้ และยงั ไดห้ ยบิ ยกขึ้นมาพูดได้เรื่อย ๆ ในเม่อื มีโอกาสได้อยู่หน้า
ไมค์ อีกสิ่งที่พี่เลี้ยงกำชับบ่อยมาก ๆ คือการพูดให้มีหางเสียง “ครับ/ครับผม”
พูดกับพระอาจารย์ต้องประนมมือด้วยนะ นั่นมันเป็นมิติใหม่ของเด็กน้อย
ต่างจังหวัดอย่างผมเลย ในขณะที่ไม่เคยทำมาก่อน รู้สึกเขินอายที่จะประนมมือ
พูด และพูดให้มีหางเสียง จนกระทั่งวันหนึ่งเห็นพี่เณรที่เป็นพี่เลี้ยง คนที่สอนเรา
นั่นแหละ ได้เข้าไปคุยกับพระอาจารย์ จำได้ถนัดตาว่า ตอนนั้นพระอาจารย์นั่ง
อยู่ม้าหินอ่อนใต้ร่มไม้หน้าองค์พระเจดีย์ ส่วนพี่เล้ียงได้เข้าไปพูดคุยกับ
พระอาจารย์ โดยนั่งคุกเข่าที่พื้นและประนมมือพูดคุยกับพระอาจารย์อย่าง
นอบนอ้ ม ผมเหน็ ภาพในขณะนัน้ แล้วรู้สึกประทับใจมาก ดสู งบ งามสง่า จึงคิด
ขึ้นมาได้ว่า เราต้องเอาเป็นแบบอย่างให้ได้ จึงเริ่มทดลองทำ ฝึกประนมมือพูด
กับพระอาจารย์ พ่ีเณรพี่เล้ยี ง ฝกึ พดู มีหางเสียง “ครบั /ครับผม” ระยะแรกท่ีทำ



ก็รู้สึกไม่คุ้นชนิ แต่ทำไปได้สักระยะก็รู้สึกเป็นปกติ รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ทำแลว้ สบาย
ใจ ที่สำคัญเวลาคุยกับพระอาจารย์ ประนมมือด้วยมีหางเสียงด้วย คุยอะไรก็
มักจะสมประสงค์ตลอด ขออะไรก็ง่าย 555+ น่าจะเป็นเพราะอานิสงส์แห่งการ
นอบน้อม

และเวลาโทรศัพทก์ ลบั บา้ น ผมเริ่มติดพดู มหี างเสยี ง เวลาคยุ กับพ่อแม่ก็
พูดมีหางเสียงไปด้วย รู้สึกดมี ากเลย ที่ตนเองก้าวผา่ นความเขนิ อายตรงนัน้ มาได้
จากเด็กที่ดูจะเป็นคนก้าวร้าวด้วยคำพูดที่ห้วน ๆ ตอนนี้ไม่อายเลยท่ีจะพูด
“ครับ/ครับผม” กลับรู้สึกชอบด้วยซ้ำ และก็คิดว่า พ่อกับแม่ก็คงจะชอบที่ลูก
ชายพูดจาไพเราะขึ้น หลังจากบวชเป็นสามเณรแล้วก็คงต้องฝึกพูดอีกคำ นั่นคือ
“เจริญพร”



ดอกไม้หลากสี แจกนั เดยี วกนั

สามเณรที่มาบวชเรียนที่นี่ล้วนมาจากต่างถิ่นต่างที่ ต่างสิ่งแวดล้อม
บางรปู ก็มคี รอบครวั ที่อบอนุ่ บางรปู กไ็ ม่ไดเ้ ป็นเชน่ น้ัน และดูเหมือนวา่ เกิน 50%
มีพื้นฐานทางครอบครัวทีพ่ ่อแม่หย่ารา้ ง หรือเติบโตมากับปู่ยา่ ตายาย หรือบางรูป
พ่อแม่เสียชีวิตไปแล้วก็มี ด้วยสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง ก็จึงทำให้สามเณรมี
ความแตกต่างเชน่ กัน เหมือนดง่ั ตน้ ไม้คนละสายพนั ธุ์ ดอกไม้คนละสี หากแต่เรา
พินิจดูให้ดี พืชพันธุ์ต้นไม้ดอกไม้แต่ละต้นแต่ละดอก ก็มีความงามในแบบของมัน
เมื่อถกู นำมาประดับตกแต่งรวมลงในแจกนั อาศยั ช่างผูว้ ิจิตรศลิ ปค์ อยตัดแต่งก้าน
ใบจัดเหลี่ยมจัดมุมให้ดอกไม้รับช่วงกัน อยู่ในมุมที่เหมาะ รวมช่อในแจกันก็ทำให้
แจกันนัน้ สวยสดงดงามขนึ้ ได้

ดอกไม้หลากสีก็เหมือนสามเณรที่มีความหลากหลาย อาศัยแจกันคือ
ธรรมวินัย และช่างผู้วิจิตรศิลป์คือพระคณาจารย์ คอยชี้แนะสั่งสอน ตักเตือน
ลงโทษบ้างในบางครั้งที่เดินทางผิด ให้โอกาส ให้กำลังใจ ให้ความมุทิตายินดีเม่ือ
สามเณรประพฤติตนได้ดแี ลว้

เมื่อแจกันถูกประดับด้วยดอกไม้อย่างงดงามแล้วจะนำไปตั้งวางที่ไหนก็
พลอยใหท้ น่ี ั้นสวยงามนา่ ชื่นชมไปด้วย



เจา้ ถิ่นสาย 3 ศตั รนู ักบณิ

นักบิณที่ว่านี้ หมายถึง บิณฑบาต อันเป็นกิจสำคัญอย่างหนึ่งของ
พระภิกษุสามเณร การออกรับบิณฑบาตนอกจากจะต้องตื่นแต่เช้าเพื่อจัดเตรียม
ความพร้อมแล้ว ขณะออกรับบิณฑบาตก็ต้องสำรวมระมัดระวังอากัปกิริยาต่าง ๆ
ให้เปน็ ไปเพอื่ ยงั ศรทั ธาแก่สาธชุ น และถือเป็นการฝกึ ฝนตนเองไปดว้ ย

ที่วัดไผ่ดำในปัจจุบันออกรับบิณฑบาต 3 สาย คือ สาย 2 สาย 3
สาย 4 เดิมทีมีสาย 1 แต่ถูกยกเลิกไปด้วยเป็นสายที่ออกบิณโซนรอบวัดไม่ไกล
นัก และญาติโยมโซนน้ีก็มาวัดเปน็ ปกติอยูแ่ ล้ว อีกอย่างด้วยจำนวนสามเณรลดลง
จึงปรับไปตามสถานการณ์

มีครั้งหนึ่งที่สาย 3 สามเณรออกรับบิณฑบาตตามปกติ ออกจากวัด
ประมาณ ๐5.45 น. บรรยากาศโพล้เพล้ยังไม่สว่างมากนัก ประจบกับพอมีแสง
ไฟริมถนนหนทางจากบ้านเรือนด้วยก็พอให้เห็นเส้นทางเดินได้สะดวก สามเณร
เดินออกบิณฑบาตได้สักพักเป็นทางเข้าไปในซอย ซอยนั้นมีบ้านหลังหนึ่งเขียน
ป้ายไว้หน้าบ้านวา่ “ระวังหมาดุ” และมันก็ดุจริงๆ ทันทีที่สามเณรเดินผา่ นรว่ มๆ
สิบกว่ารูป น้องหมาก็เริ่มเห่าทักทายก่อน สามเณรก็พยายามเดินเงียบๆ ด้วย
อาการกลัวๆ หวั่นๆ รูปแล้ว รูปเล่าก็ผ่านไปด้วยดี จนถึงรูปที่อยู่ท้ายๆ แถว
ปรากฏว่าไม่รอด น้องหมาทำทีจะเข้ามาดมแล้วก็งับเข้าไปจังๆ ที่ต้นขาของ
สามเณรรูปนั้น สามเณรรูปที่อยู่แถวหน้าได้ยินเสียง “แผ่ง ๆ ๆ” แล้วทุกรูปก็หนั
หลังกลับมาดูพร้อมกัน เป็นเสียงฝาบาตรที่หลุดมือสามเณรจากความตระหนก
ตกใจ แล้วก็พากันไล่น้องหมาแล้วรบี เดินออกจากจุดนั้น รูปที่ถูกกัดก็เลยต้องเดนิ
กลับมาวัดก่อนเพ่ือมาทำแผล และไปฉีดวัคซีน ส่วนรูปทีเ่ หลือก็เดินบิณฑบาตกนั
ตอ่ ไปดว้ ยใจหวัน่ ๆ วา่ บ้านข้างหน้าจะมีอกี ไหมน้อ...



เหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้น 2-3 ครั้ง สามเณรผู้เคราะห์ร้าย 3-4 รูป
ในช่วงเดือนนั้น ทางวัดจึงได้ประสานไปที่มัคทายกและผู้นำหมู่บ้าน ได้ขอความ
ร่วมมือกับญาตโิ ยมให้ปิดประตบู ้านและดแู ลน้องหมาให้ดี และก็ไดร้ ับความรว่ มมือ
จากญาติโยมด้วยดี ทำให้หลังจากนั้นก็ยังไม่มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีก
เดนิ บณิ ฑบาตไดอ้ ยา่ งสบายใจ...

๑๐

ตดิ อาวุธทางปัญญา

การอ่านหนังสือเป็นเหมือนยาขมสำหรับเด็กๆ บางครั้งเห็นหนังสือแทบ
จะเบือนหน้าหนี แต่พระอาจารย์ก็มักจะบอกให้อ่านอยู่เสมอ ให้พี่เณรเอาหนังสอื
มาแนะนำหน้าแถวบา้ ง หาบทกลอนมาชกั ชวนใหอ้ ยากอา่ นหนังสือบ้าง มีกจิ กรรม
ส่งเสริมให้อ่านเดือนละเล่มบ้าง สามเณรก็ทำๆ ไป อ่านบ้าง ไม่อ่านบ้าง อ่านไป
ดีๆ บางทีเผลอหลับก็บ่อย แรกๆ ก็ไม่ค่อยเห็นผลของการอ่านเท่าไหร่ แต่พออ่าน
ไดห้ ลายเล่มข้นึ ความรู้สึกเรมิ่ เปลย่ี นไป เหมอื นวา่ เราได้รู้อะไรมากขน้ึ เข้าใจอะไร
มากขึ้น บางเรือ่ งพออา่ นจบแลว้ นำมาเลา่ ให้เพอ่ื นๆ นอ้ งๆ ฟัง มนั ก็เกดิ ความอิม่ ใจ
มีความสุขที่เราไดร้ สู้ งิ่ นน้ั ๆ และยังได้แบง่ ปันสง่ิ ดีๆ แก่คนรอบข้างอีกด้วย

เมื่อก่อนห้องสมุดที่โรงเรียนไม่ใหญ่มาก เป็นห้องหนึ่งภายในอาคารเรียน
ภายหลัง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยาม
บรมราชกุมารี ทรงดำริให้จัดสร้างห้องสมุด “กฤษณเวฬุ” ดำเนินการจัดสร้าง
เสร็จในปี พ.ศ. 2551 ทำให้มีห้องสมุดที่กว้างขวาง และมีหนังสือหลากหลาย
มีพื้นที่ทำกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ได้อีกด้วย นอกจากนี้พระองค์ทรงมีพระกระแส
รับสั่งให้ทางโรงเรียนส่งเสริมการอ่านของสามเณรอย่างต่อเนื่องและติดตามผล
กิจกรรมห้องสมุดในทกุ ๆ ปี

แม้ปัจจุบันการอ่านหนังสือแบบรูปเล่มจะถูกลดความนิยมลงด้วย
เทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้น มี E-Book มีสื่ออื่นๆ ตามเว็บไซต์ให้เข้าถึงได้อย่าง
หลากหลาย แต่การอ่านหนังสือจากเล่มหนังสือจริงๆ นั้นก็ยังคงมนต์เสน่ห์ที่
แตกตา่ ง เพราะนอกจากจะได้ความร้จู ากส่ิงท่ีอ่านแล้ว ยงั ไดฝ้ ึกสมาธิจากการอ่าน
ไปในตัว ไม่มีสิ่งมารบกวนล่อใจให้ฟุ้งซ่าน เมื่อการอ่านถูกอ่านอย่างถูกวิธี มีสติ
สมาธิ ถึงพรอ้ ม ตัวรู้จะพฒั นาความรู้ทไี่ ด้ใหก้ ลายเป็นปญั ญา

๑๑

น้ำทว่ มกุฎิ

สมยั ก่อนทจี่ ะมีหอพักสามเณรกฤษณเวฬุ สามเณรสว่ นใหญพ่ กั อยูภ่ ายใน
วัด มีอาคารสุรวรรณ อาคารธรรมปัญญาจารย์ อาคารสหมิตร อาคารร่วมใจ และ
กุฎิอื่นๆ ที่รองรับให้สามเณรที่เป็นเจ้าหน้าที่อยู่อาศัย เช่น กุฏิหลวงตา (ปัจจุบัน
เปลย่ี นเป็นอาคารสำนักงานธรรม-บาลี) กุฏิเจา้ หนา้ ทโ่ี รงครวั กฏุ ิป่า (เป็นท่ีอาศัย
ของสามเณรเจ้าหน้าที่โรงเรียน ซึ่งเป็นสถานที่ที่ตั้งของอาคารหอพักสามเณร
กฤษณเวฬุในปัจจุบัน)

สามเณรจำนวนร่วมๆ 200 กว่ารูป อาศัยอยู่ร่วมกัน สถานที่พักก็ไม่
ค่อยสัปปายะสักเท่าไหรน่ ัก สมัยนั้นเพียงแค่มีพัดลมสักตวั พัดให้คลายร้อน ไล่ยุง
ได้บ้าง ก็ดใี จแล้ว

วันหนึ่งในฤดูฝน สามเณรกลุ่มหนงึ่ รว่ มๆ 30 รปู ทีพ่ กั อาศยั ในอาคารร่วม
ใจ เป็นอาคาร 2 ชั้น โดยมีห้องพี่เลี้ยงอยู่ที่ชั้น 1 ซึ่งอยู่ข้างในลึกสุดจากประตู
พอถึงเวลาจำวัดทุกรูปก็สวดมนต์ไหว้พระ ปิดไฟ เข้าจำวัดในที่ของตน ซึ่งก็เป็น
อาคารโล่งๆ มีที่พักเรียงรายกัน 2 ฟากฝั่งของผนังอาคาร สามเณรก็นอนที่พื้นมี
ฟูกบ้าง ผ้าห่มบ้างที่ใช้ปูนอน ตกดึกของวันนั้น อากาศเย็นสบายมีฝนตกโปรย
ปรายเล็กนอ้ ยพอทำให้หลบั สนิทได้งา่ ย ทกุ รูปตา่ งกห็ ลบั พกั ผ่อนกันไปตามประสา
คนที่เรียนหนักมาทั้งวัน ล่วงเข้าช่วงตี 2 มีสามเณรน้อยมาเคาะประตูห้องพี่เล้ียง
(ซึ่งตอนนั้นพี่เลี้ยงคือผู้เขียนเอง) พอเปิดประตูออกมาน้องเณรก็บอกว่า “พี่เณร
ครบั นำ้ ท่วมกุฎแิ ลว้ ครบั ” ทนั ใดท่ีได้ยินเช่นนั้นกต็ กใจ เลยรบี เปิดไฟในกฏุ ิ ปรากฏ
ว่ามีน้ำท่วมมาแล้ว ไหลมาถึงครึ่งอาคาร และยังมีน้องเณรบางรูปที่ยังหลับอยู่
แบบทั้งๆ ที่น้ำไหลมานองเต็มที่นอนผ้าห่มของตนเองแล้ว สงสัยจะกำลังฝันดี
555+ จากนน้ั กร็ บี ปลกุ กันตน่ื ท้งั หมด ช่วยกนั เก็บทนี่ อน ชว่ ยกันทำทีก่ ั้นน้ำไม่ให้
ไหลเข้ามา อีกฝ่ายก็เอาขันบ้าง ถังบ้างมาตักน้ำออกจากกุฎิ นาทีนั้นต้องช่วยกัน
สมกบั ชอ่ื กุฎจิ ริงๆ “กุฎริ ่วมใจ”

๑๒

พอสถานการณ์ดีขึ้นก็ล่วงเลยเข้าประมาณตี 3 จึงย้ายให้สามเณรขึ้นไป
จำวัดร่วมกับเพื่อนๆ ที่ชั้น 2 ก่อน เพื่อจะได้พักผ่อนให้เต็มที่ พร้อมลุยทำ
กิจกรรมในวนั พร่งุ นต้ี อ่ ไป

เพื่อนๆ ที่อยู่ชั้น 2 ก็แบ่งปันผ้าห่มที่นอนให้เพื่อน เข้านอนด้วยกัน จาก
มงุ้ ละรปู สองรูป ก็เพม่ิ เป็นสห่ี ้ารปู อบอ่นุ ดี เกอื้ กูลกันฉันท์พนี่ อ้ ง

๑๓

ปดิ เทอม

ในเดือนมีนาคมของทุกปี เป็นช่วงเวลาที่สามเณรใจจดใจจ่อรอการปิด
ภาคเรียน และจะได้เดินทางกลับมาตุภูมิเพื่อเยี่ยมเยียนพ่อแม่ปู่ย่าตายาย และ
ญาตพิ นี่ อ้ ง หลงั จากห่างบ้านมาไกล เปน็ เวลาหลายเดอื น

ในขณะเดียวกันเดือนมีนาคมก็มีภารกิจหลายอย่างที่สามเณรต้อง
รับผิดชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการสอบปลายภาค จะได้คะแนนดีๆ เกรด 4
เยอะๆไปฝากญาติโยมหรือเปล่าก็ต้องวัดจากความตั้งใจเรียน ตั้งใจเตรียมตัวสอบ
และสามเณรที่จะเดินทางกลับมาตุภูมินั้นจะต้องทวนพระพุทธมนต์ให้จบตามที่
พระอาจารย์กำหนด บางรูปมีความเป็นเลิศด้านความทรงจำก็ท่องทวนไว้ก่อนแต่
เน่นิ ๆ รวดเดียวจบกม็ ี บางรูปก็ค่อยเป็นค่อยไป สวดไป ทวนไปวนั ละบทสองบท
เรียกว่าเก็บเล็กผสมนอ้ ยไปเรือ่ ย ๆ ก็ทวนจบได้เหมือนกัน บางรูปมีความทรงจำ
ไม่ดีนัก ก็ต้องอาศัยไม้เด็ดเข้าสู้ ช่วยงานครูบาอาจารย์บ่อย ๆ แล้วขอคัดลายมือ
แทน พระอาจารย์ท่านเมตตาใหค้ ัดบทละ 10 รอบ 15 รอบ บา้ งกม็ ี

การทบทวนบทพระพุทธมนต์ช่วงน้ีก็จะเป็นอานิสงส์แก่ตัวสามเณรเอง
ด้วย เมื่อกลับมาตุภูมิไปก็จะได้ใช้สวดในพิธีต่าง ๆ ในการฉัน ให้พรอนุโมทนา
ญาติโยม ตามประเพณีนิยมในท้องท่ีในวดั ท่ีไปพกั อาศยั จะไดไ้ ม่เกอ้ เขินเวลาไปนั่ง
สวดแล้วสวดไม่ได้ และพอไปสวดมนต์บางทีญาติโยมก็จะถวายปัจจัยให้ลูกเณร
ดว้ ย พอไดเ้ ปน็ คา่ น้ำปานะ นก่ี ็เป็นอีกส่วนของอานสิ งส์ผลพลอยได้จากความเพียร
พยายามของสามเณรทมี่ มุ านะท่องทวนจนจำได้

และเมื่อเวลาแห่งการรอคอยมาถึง คือพิธีปัจฉิมนิเทศ นับเป็นพิธีอันทรง
เกียรติ ที่ประกาศชัยชนะของสามเณรที่จบการศึกษา ผ่านร้อน ผ่านหนาว ผ่าน
อุปสรรคนานัปการ สำคัญที่สุดคือการชนะใจตนเอง ที่อดทนสู้ต่อสิ่งรบเร้า
ภายนอกต่าง ๆ ประคับประคองฝึกฝนตนเองภายใต้ร่มผ้ากาสาวพัสตร์ จน
ประสบความสำเร็จในชีวติ อกี ขนั้ หนึง่

๑๔

หลังพิธีร่วมมุทิตายินดี สามเณรก็เตรียมตัวแยกย้ายเดินทางกลับมาตุภูมิ
บางรูปก็มีผูป้ กครองมารับ บางรูปก็เดินทางกลับด้วยตนเอง เป็นไปตามวิถีของแต่
ละรูป ประหนึ่งไปเป็นเน้ือนาบุญให้ญาติโยมที่บ้านเกิดได้ทำบุญ พ่อแม่พี่น้องก็ได้
เข้าวัดฟังธรรมมาอุปถัมภ์อุปัฏฐากลูกเณรหลานเณร เป็นบุญอิงอาศัยกัน
การกลับมาตุภมู ิแตล่ ะปีมีเวลารว่ ม ๆ 1 เดือน และเราจะกลับมาพบกันใหม่ในปี
การศึกษาหน้า ชว่ งเดือนพฤษภาคม

๑๕

มีในความไมม่ ี

เรื่องราวที่จะเล่าต่อไปนี้ เป็นช่วงที่เข้ามาไผ่ดำในช่วงปี 58 ซึ่งก็มาอยู่
เปน็ เด็กวัดก่อน ทางวัดไผด่ ำเรยี กเด็กทีเ่ ขา้ มาใหมว่ า่ “เตรยี มสามเณร” เด็กท่ีจะ
เขา้ มาศึกษาทีว่ ัดไผ่ดำจะไดอ้ ยูเ่ ป็นเตรยี มสามเณร 3 เดอื น ซ่งึ ในช่วงท่ีอยู่ก็ต้อง
เรียนรู้วิถีชีวิตการเป็นสามเณรไปด้วย ฝึกหัดสวดมนต์ ตื่นแต่เช้าตรู่เพื่อที่จะ
เตรียมตัวทำวัตรเช้า ทำวาระช่วยพี่เณร เพื่อที่เข้ามาอยู่ด้วยกันราวๆ 40 คน
ซึ่งก็มาจากทั่วประเทศมีทุกภาค แต่เพื่อนส่วนมากจะมาจากแถวอีสาน เมื่อเข้า
มาอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมาก มันเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องมีกฎเกณฑ์ กฎกติกา
ในช่วงที่มาอยู่ที่นี่ไม่มีโทรศัพท์เลย จน ม.3 จะขึ้น ม.4 ถึงจะได้มีโทรศัพท์
ซ่งึ บรรยากาศแบบนนั้ ไม่สามารถที่จะหาได้อีก บรรยากาศในชว่ งเวลานั้นทำให้ตัว
ผมต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตครั้งใหม่ จากเดิมที่อยู่บ้านเคยเล่น
เคยกิน ตามใจตนเอง ก็ต้องมาใช้ชีวิตให้อยู่ในกรอบขอบเขตที่อาจารย์ได้ตั้งไว้
ในช่วงที่ไมม่ ีโทรศพั ท์มสี ่ิงทผ่ี มและเพอื่ นๆ ไดท้ ำร่วมกันมากขนึ้ ได้เรียน ไดเ้ ลน่ ได้
ทำงานร่วมกัน ยอมรับว่าในบางครั้งมันก็มีอารมณ์รู้สึกเบื่อบ้าง แต่ก็มีเพื่อนๆ
นี่แหละที่ทำให้หายเบื่อหายเหงาได้ ย้อนคิดกลับไปดู ตอนนั้นมันก็ดีมากๆ นะ
ทำใหไ้ ดข้ ้อคิดมากมาย ใชเ้ วลาอยูก่ บั ตนเองอย่กู ับเพื่อนๆ อยา่ งเต็มท่ี ถึงแม้เรา
จะไม่มีโทรศัพท์ท่องโลกออนไลน์ แต่เรามีเวลาได้สัมผัสโลกแห่งความเป็นจริง มี
เวลาได้สัมผัสกับมิตรภาพ มีเวลาได้เห็นรอยยิ้มของคนข้างๆ ในแบบที่เราไม่เคย
เห็น ได้ยินเสียงหัวเราะของคนใกล้ชิด ที่มันดังชัดเจนยิ่งกว่าเดิม มันเป็นความสขุ
ใจที่ยากจะอธิบายได้ ทำให้เรารู้สึกไม่มีอะไรขาดหาย เพราะเราได้เติมเต็มสิ่ง
ตา่ งๆ ใหแ้ ก่กันและกนั และสิง่ เหลา่ น้ีเองทหี่ ล่อหลอมใหผ้ มมคี วามอดทนมากข้ึน
ในทกุ วนั น้ี

ผเู้ ขยี น : สามเณรศุภฤกษ์ ทพิ ศร

๑๖

ผลแหง่ ความพยายาม

ตลอดระยะเวลา 6 ปี ที่ผมอยู่โรงเรียนวัดไผ่ดำ แผนกสามัญศึกษา
มีหลายเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับผม แต่มีอยู่เหตุการณ์หนึ่งที่ผมย้อนคิดกลับไปทีไร
แล้วกร็ สู้ กึ ดีทุกคร้ัง นัน่ คอื เหตุการณ์ท่ผี มสอบผา่ นบาลีประโยค 1-2 ย้อนกลับไป
เมอื่ พ.ศ. 2562 การสอบบาลีในจงั หวดั สงิ หบ์ ุรีถกู จดั ขึ้นท่ีวัดพิกุลทอง ตามปกติ
ของทกุ ปี ผมก็เปน็ นกั เรียนบาลีคนหนงึ่ ซ่ึงเรียนซำ้ มาแล้วถงึ 3 ปี ปีนั้นกเ็ ปน็ อีก
ปีที่ผมคาดหวังไว้ว่าจะสอบผ่าน และได้ตั้งใจเรียนบาลีเป็นอย่างมาก ทั้งในเวลา
เรียนก็ตัง้ ใจ พอจบจากเวลาเรียน ผมก็ยงั จับหนังสอื บาลมี าแปล โดยความตั้งใจ
และคาดหวังจะได้หรือตรงเก็งสักเก็ง ด้วยระยะเวลาการเรียนบาลีแบบจริงๆ
จังๆ น้ันมคี ่อนข้างน้อย นกั เรยี นท้ังสายสามัญ สายธรรม-บาลี อย่างเราๆ ก็ต้องมี
อาศัยการเก็งเนื้อหากนั บ้าง เพราะเน้อื หาบาลีที่เรียนท้ังหมดนนั้ มเี ยอะมาก ปีนั้น
พระอาจารย์ที่สอนเก็งภาค 3 ไว้ ผมก็แปลภาค 3 จบเกือบจะครบทุกเก็ง
จนเวลาที่รอคอยมาถึง ซึ่งก็คือเวลาสอบบาลีนั่นเอง ครั้งนี้ผมเข้าไปสอบด้วย
ความมั่นใจมากว่าจะตรงเก็งและสอบผ่านแน่ๆ เมื่อเข้าสนามสอบก็มีการฟัง
โอวาทก่อนสอบและเปิดสอบ พอกรรมการเดินมาแจกกระดาษ หลังจากที่ผม
เห็นข้อสอบ มันมีหลากหลายความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ทั้งเสียใจ น้อยใจ
และอื่นๆ อีกมากมาย แอบคิดในใจว่าต้องตกอีกปีแล้วเหรอเนี่ย เพราะข้อสอบ
ไม่คุ้นตาเลย นอกจากไม่ตรงเก็งแล้ว ข้อสอบยังอยู่ภาค 2 คนละภาคที่เก็งไว้
เลย หลังจากเห็นข้อสอบแล้วผมจึงตัดสินใจคว่ำกระดาษและเผลองีบหลับไป
พอตื่นขึ้นมาลองอ่านข้อสอบดูอีกรอบ ผมคิดว่าคำศัพท์ต่างๆ ก็ไม่ค่อยยาก
เท่าไหร่ และประโยคหลายๆ ประโยคก็ดูคุ้นตาดี ผมจึงแปลไปผ่านๆ แปลให้
ครบทุกตัวเพื่ออย่างน้อยที่สุดก็จะได้มาสอบแก้ครั้งที่ 2 พอเสร็จผมก็เดินไปส่งท่ี
โต๊ะกรรมการคมุ สอบแลว้ เดินจากมา วนั ต่อมากส็ อบวชิ าบาลีไวยากรณ์ ผมทำได้
โดยไม่ลำบากนัก จากนั้นก็นับวันคืนรอประกาศผลสอบ จนวันที่ 26 มีนาคม
พ.ศ. 2562 เป็นวันที่ผลสอบออก ตอนเวลาเที่ยงคืน ซึ่งผมก็ไม่ได้สนใจมากนัก

๑๗

เพราะคดิ ว่าคงจะไมผ่ า่ น แต่ทันใดนัน้ ก็มีสายโทรเขา้ จากพี่เณรรูปหนึ่งแล้วบอกว่า
น้องสอบผ่านบาลีแล้วนะ ผมได้ยินเช่นนั้นจึงตอบกลับไปว่า อย่ามาพูดเล่นสิพี่
พีเ่ ณรกต็ อบย้ำอีกว่า จรงิ ๆ พร้อมสง่ รูปรายชื่อผู้สอบผา่ นให้ดู เมื่อเห็นว่าตัวเอง
สอบผ่าน ผมดใี จมาก ทัง้ ๆ ทไ่ี ม่เคยคดิ เลยว่าจะผา่ น พอลองคิดกลับไปดูท่ีสอบ
ผ่านนั้น อาจจะเป็นเพราะความพยายามของผมที่แปลเยอะ หรืออาจจะเป็น
เพราะดวงดีที่ข้อสอบไม่ยากมากนัก แต่ไม่ว่าจะเป็นเพราะอะไร ผมก็รู้สึกดีทุก
คร้ังที่คดิ ถงึ เรอ่ื งน้ี
ผูเ้ ขียน : สามเณรจารุวฒั น์ อุดสุรินทร์

๑๘

มติ รภาพ

ผมเข้ามาเรียนต่อในชั้น ม.2 สิ่งที่ผมจำได้ดีเลยในช่วงที่เข้ามาใหม่
คือ แต่ละคนในชั้นเรียนเดียวกันนั้นดื้อมากๆ สิ่งที่ผมประทับใจในรุ่นนี้คือ
ความวุ่นวายที่เป็นระบบ ยกตัวอย่างเช่น ก่อนที่พวกเราจะทำงานรุ่น หรืองาน
กลุ่มอะไรต่างๆ นั้น ต้องมีการถกเถียงกัน อาจจะมีความเห็นต่างกันบ้าง แต่ก็
ไม่ถึงขั้นรุนแรงจนแตกหักกัน แต่เมื่อทำงานเสร็จแล้วมันออกมาดี ทุกคนก็
Happy เป็นแบบน้ที กุ งาน ทุกครงั้ จรงิ ๆ ยอมรบั ว่าผมเปน็ คนหนึง่ ที่ไม่ค่อยได้ทำ
อะไรมากนักในแต่ละครั้งที่ได้ทำงานร่วมกัน ผมเคยคิดว่าผมไม่ค่อยมีประโยชน์
อะไรมากนักในรุ่นนี้ เพราะผมไมค่ ่อยเก่งอะไรเลย มพี ่ีเณรหลาย ๆ รูปในรุ่นที่มี
ความสามารถโดดเดน่ ต่างจากผม แต่มอี ยเู่ หตกุ ารณห์ น่งึ ทีท่ ำใหผ้ มคิดข้ึนได้ คอื
ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา ที่คณะกรรมการสภานักเรียนได้จัด
กิจกรรมวันปีใหม่ขึ้น ในที่ประชุมได้ทำงานแบ่งงานตามที่แต่ละคนถนัด ส่วนผม
ได้รับงานในการจัดกิจกรรมการแข่งขันทำ ส.ค.ส. ทั้งระดับ ม.ต้น และ ม.ปลาย
ซึ่งก็มีพี่เณรประธานนักเรียน พี่เณรแบงค์ และพี่เณรฟิวส์ มาช่วย ซึ่งถ้าผมทำ
คนเดียวในกิจกรรมนี้ ก็คงไปไม่รอดแน่ และอีกคร้ังหนึ่งในตอนจัดเวทีกิจกรรม
ซึ่งตอนแรกก็มีคนมาช่วยทำน้อยมาก มีแค่พี่เณรสัญญา พี่เณรปาล์ม ทำกันอยู่
2 รูป พอผมได้เห็นอย่างนั้น เลยได้ไปช่วยประกอบจัดแต่งเตรียมความพร้อม
เวที และมีพี่เณรรูปอื่นๆ ที่ตามมาช่วยอีกทีหลัง ทำให้งานออกมาสำเร็จลุล่วง
อาจจะไม่ได้สวยงามที่สุด แต่สิ่งที่ผมทำ ทำให้ผมรู้สึกดีและจดจำเหตุการณ์ใน
ครั้งนั้นได้ขึ้นใจเลย คือ ความร่วมมือร่วมใจกัน ความสามัคคี และมีการ
ชว่ ยเหลอื กนั เหมอื นกับที่ อซุ ึมากิ นารโู ตะ ไดพ้ ูดในสงครามโลกครั้งท่ี 4 ไว้ว่า
“คาถานินจาที่แกร่งที่สุดไม่ใช่คาถาอ่านจนั ทรานิรันดร์ แต่เป็นคาถาพันธมิตรนจิ
จาต่างหากละ่ ”

ผเู้ ขียน : สามเณรรชั ชานนท์ จิตอารี

๑๙

ไม่มโี รคเป็นลาภอนั ประเสริฐ

หลังจากการปิดเทอมที่สามเณรได้เดินทางกลับมาตุภูมิ เป็นช่วงเดียวกนั
กับที่โรคไวรัสโคโรน่าเริ่มแพร่ระบาด ทำให้เมื่อเดินทางกลับมายังโรงเรียน
สามเณรทั้งหมดจะต้องกกั ตัวเพื่อดูอาการ ปอ้ งกันไมใ่ ห้มผี ู้นำเชอ้ื มาแพร่สู่หมู่คณะ
โดยทางโรงเรยี นได้ใช้อาคารเรยี นเปน็ สถานทก่ี ักตวั ในชว่ งท่กี กั ตวั น้ันก็มีสามเณร
ที่ป่วยเป็นไข้ เป็นที่หวาดระแวงกันมากทั้งสามเณรและครูอาจารย์ แต่ผลตรวจ
ออกมาก็ทราบว่าเป็นไข้เลือดออก เมื่อเป็นหนึ่งรูป นำไปสู่การแพร่ระบาดไปรูป
ทีส่ อง รูปทสี่ าม จนถงึ ราวๆ 15 รูปได้ เพอื่ นเณรน้องเณรท่ีจำวัดใกล้กันกับผม
ก็ติดกันเกือบทั้งหมด แต่ผมนั้นยังไม่ติดยังสบายดีอยู่ อยู่มาวันหนึง่ ผมไดถ้ ูกเลือก
ให้ไปเฝ้าไข้ผู้ปว่ ยที่โรงพยาบาล คนที่ป่วยนอนอยู่โรงพยาบาลมปี ระมาณ 4 – 5
ห้อง ผมก็ได้ไปเฝ้าผู้ป่วยที่เป็นรุ่นน้อง เฝ้าได้สามวัน พอใกล้ถึงตอนจะกลับอีก
หนึ่งวัน ผมก็เริ่มมีอาการเป็นไข้ เริ่มมีอาการปวดหัว ผมก็บอกอาการที่ผม
เป็นอยู่แก่พยาบาล และได้ไปตรวจเช็คอาการ โดยการเจาะเลือด ตรวจปัสสาวะ
ผลก็ออกมาว่าผมติดไข้เลือดออก ในช่วงที่ป่วยน้ันก็คิดในใจนะว่า “นี่เราโดนเขา้
แล้วหรอเนีย่ ” ปกติแล้วผมไม่ได้ป่วยงา่ ยๆ การเป็นไข้เลือดออกครัง้ น้ีทรมานอยู่
พอสมควร ตอ้ งเจาะเลือดวันละ 2 คร้ัง ทำอยู่อยา่ งนี้ 7 วนั จนไม่มีเลือดจะให้
เจาะ แขนใส่สายน้ำเกลือกบ็ วมข้นึ ปวดดว้ ย ทีแรกก็รสู้ กึ กลวั เข็มเอามากๆ เจาะ
บ่อยเขา้ บอ่ ยเข้าทำให้ผมเลิกกลัวไปเลย ในการป่วยเปน็ ไข้เลือดออกครั้งนี้ก็ทำให้
ผมได้เรียนรู้อะไรอย่างหนึ่ง คือ ความประมาท ประมาทที่ไม่ป้องกันตนเองใน
ขณะท่ีอยู่กบั คนไข้ จนเปน็ เหตุใหต้ นต้องกลายมาเป็นผู้ปว่ ยเสยี เอง และบทเรียน
ครั้งนี้ก็มีสิ่งที่ผมประทับใจคือ การดูแลเอาใจใส่ของคณะครูบาอาจารย์
ของเพื่อนที่มาเฝ้าไข้ผม ทำให้ผมอุ่นใจ และมีกำลังใจเป็นอย่างมาก พร้อมทั้ง
ได้รับการดแู ลรักษาอย่างดจี ากคุณหมอ ขอบคุณมากๆ นะครับ

ผเู้ ขียน : สามเณรปริวฒั น์ เพ็งรตั น์

๒๐

เดก็ หลงั หอ้ ง

ในชว่ ง ม.1 เปน็ ชว่ งเวลาทผ่ี มเข้ามาในวัดไผ่ดำครั้งแรก กจ็ ะมเี จา้ หน้าท่ี
ต่างๆ เชน่ เจ้าหน้าทโ่ี รงเรยี นกจ็ ะมีหน้าท่ดี ูแลทำความสะอาดโรงเรียน เจา้ หน้าที่
หอพักก็จะมหี น้าทด่ี ูแลรักษาความสะอาดหอพัก ในช่วงเทศกาลอบรมบาลี ผมก็
ได้ทำหน้าท่ีอยา่ งหนึ่ง คือ เจ้าหน้าที่ทำน้ำปานะ ก็จะมีรุ่นพ่ีและญาติโยมมาช่วย
ทำน้ำปานะด้วย ผมก็จะมหี นา้ ท่หี ลกั ๆ เป็นเดก็ เสิรฟ์ ประจำวดั ผมไดเ้ รยี นรู้อะไร
ต่างๆ ในตอนนน้ั และไดป้ ระสบการณ์มากมาย

เวลาผ่านไป ผมขึ้น ม.2 เป็นช่วงเวลาที่ผมทำงานหนักพอสมควร
เพราะว่าตอนนั้นผมได้ดูแลรับผิดชอบอาวุธสำคัญของนักบวช นั่นคือ เป็น
เจ้าหน้าทีล่ ้างบาตร บาตรทุกใบในวัดผ่านมือผมมาหมดแล้ว นับเป็นเจา้ หน้าท่ที ่ี
มีความสำคัญ เพราะที่วัดจะมีการแบง่ หน้าที่กันรูปทีบ่ ิณฑบาตกลับมาแล้วก็จะได้
พักผ่อนรอฉนั ไดเ้ ลย บาตรจำนวนราวๆ 60 ใบท่ถี ูกใชง้ านในทกุ เช้า ผมกับเพ่ือน
เณรอีก 2 รูป ก็ช่วยกันทำความสะอาด ล้าง ตาก เช็ด และจัดเก็บไว้ใช้งานใน
เชา้ วนั ถัดไป

พอขึ้น ม.3 ผมได้รับมอบหมายหน้าที่ใหม่ นั่นคือ เจ้าหน้าที่โรงครัว
ซง่ึ เปน็ งานทีส่ ำคญั อยา่ งมาก เพราะเรือ่ งการอยูก่ ารฉนั นบั เปน็ หัวใจสำคัญของการ
หล่อเลี้ยงสามเณรทั้งวัด ศาลาหอฉันนอกจากจะเป็นที่ทำภัตกิจแล้วยังเป็นที่ใช้
ต้อนรับคณะศรัทธาญาติโยมที่มาทำบุญอีกเป็นจำนวนมาก ตอนนี้ผมเองนับว่า
เป็นสามเณรน้องใหม่และอายนุ อ้ ยท่ีสดุ ท่ีมารับผดิ ชอบภาระนี้ ภาระสำคญั งานก็
ใหญ่ก็มากขึ้นไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการดูแลทำความสะอาดอาคาร ดูแลต้นไม้ ตี
ระฆังให้สัญญาณ เป็นต้น ขณะเดียวกันก็ทำให้ผมได้เรียนรู้และมีประสบการณ์
อย่างมากเลยทีเดียว

ทนั ทีทขี่ นึ้ ม.ปลาย ผมกไ็ ด้ถูกยา้ ยให้มาเปน็ เจ้าหน้าท่สี หกรณ์ ทำหน้าที่
ดแู ลสนิ ค้า จำหน่ายสินคา้ น้ำปานะ ขนม ของใช้ทจี่ ำเปน็ ตา่ งๆ และยงั ได้มีเวลา

๒๑

ศึกษาพัฒนาตนเองในด้านการถ่ายภาพ ในยามที่มีญาติโยมมาทำบุญถวาย
ภัตตาหารเพลแก่พระภิกษุ-สามเณร ผมก็จะต้องทำหน้าที่ถ่ายภาพ เก็บความ
ทรงจำในการที่ญาติโยมได้มาทำบุญในแต่ละครั้ง และได้ใช้ภาพเหล่านั้นเพื่อป่าว
ประกาศอนุโมทนาบุญผ่านโลกออนไลน์ หรือเฟซบุ๊กทางการของวัด อาจจะเป็น
เพราะการหมั่นเรียนรแู้ ละการรักในสิ่งท่ีทำทำในส่ิงทีร่ ักน้ี ทำให้พระอาจารย์ได้ให้
โอกาสผมเป็นส่วนหนึ่งในทีมเพื่อเข้าแข่งขันทำหนังสั้น และแล้วผมก็สามารถคว้า
รางวลั อนั ดบั ทหี่ น่งึ ในระดับประเทศมาได้ ดว้ ยคะแนนการตัดสิน 99 คะแนน
ผมรู้สึกดีใจและภูมิใจในตนเองเป็นอย่างมาก แม้ว่าแท้จริงแล้วผมจะเรียนไม่เก่ง
เรียกได้ว่าเป็นเด็กหลังห้องเลยก็ตามแต่ แต่ทุกครั้งที่มีงานอะไรที่พระอาจารย์
มอบหมายให้ผมทำ ผมก็พร้อมที่จะทำและเรียนรู้มันอยู่เสมออย่างเต็ม
กำลังสตปิ ัญญาของผม ถงึ แม้มนั อาจจะไม่ดที ี่สุด แต่ผมกท็ ำอย่างดีทีส่ ดุ พอเวลา
ผ่านไปยาวนาน มันพิสูจน์ให้ผมรู้แล้วว่ามันคุ้มค่าเหนื่อยจริงๆ มันทำให้ผมได้
สมั ผสั ถึงความสขุ กบั สง่ิ ที่ได้ทำมากๆ
ผูเ้ ขียน : สามเณรอาทิตภมู ิ หวานหอม

๒๒

เพอื่ นต่างถน่ิ

วันแรกที่เข้ามาอยู่วัดไผด่ ำ ผมรู้สึกประทับใจมากเลยครับ เพราะได้รู้จัก
รนุ่ พี่ ไดร้ ู้จักเพอื่ นใหม่อกี หลายคนทีม่ าจากทุกภูมภิ าค ผมเองเป็นคนภาคใต้ และ
ผมชอบที่ได้เรียนรู้ภาษาถิ่นของเพื่อนๆ ผมมองว่ามันเป็นเสน่ห์มันน่าฟังมากเลย
และช่วงเวลาที่เราได้อยู่ด้วยกันนั้น ได้ทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยกัน มีสุขร่วมเสพมี
ทุกข์ร่วมต้าน มันทำให้เราสนทิ สนมกันได้อย่างรวดเร็ว ผมบรรพชาเป็นสามเณร
ในวันที่ 8 สงิ หาคม พ.ศ. 2558 ผมยังจำความรู้สึกตอนนนั้ ได้ดี ผมรสู้ กึ ต่ืนเตน้
มากๆ ที่ได้บวชเป็นสามเณร ประสบการณ์จากการบวชเรียนเป็นสามเณรที่น่ี
สอนให้เราทำในสิ่งที่เราไม่เคยทำมาก่อน เช่น ฝึกตื่นแต่เช้า ทำวัตรสวดมนต์
ออกรับบิณฑบาต สอนวิธีคดิ ให้กับเรา สอนให้เรามีความขยันหม่ันเพียร สอนให้
เรากตัญญูรูค้ ณุ อบรมบ่มเพาะให้เราเป็นคนดี
ผ้เู ขียน : สามเณรสกุ ฤษฎ์ิ ไกรแก้ว

๒๓

ตดั สินใจสรู่ ่มผ้ากาสาวพัสตร์

ก้าวแรกที่ไผ่ดำ ย้อนกลับไปตอนที่ผมอยู่บ้าน ผมเป็นเด็กทีด่ ือ้ ไม่ค่อย
ตั้งใจเรียนสักเท่าไหร่ ผมเป็นคนหนึ่งที่ขี้อายมากๆ ไม่ค่อยพูดกับคนอื่น มีวัน
หนง่ึ พ่เี ณรรูปหนงึ่ มาแนะนำพ่อแม่และผมกอ็ ยู่ในเหตุการณ์ พ่เี ณรวา่ อยากแนะนำ
ให้ไปบวชเรียนต่อทวี่ ัดไผ่ดำ พ่อแม่ของผมกป็ รึกษากันว่าจะให้ผมบวชเรียนในศีล
ในธรรม แล้วพ่อแม่ก็มาตกลงกับผมว่าพ่อแม่จะให้บวชเรียนต่อนะ ผมก็คิดครู่
หนึง่ แลว้ ก็ตอบตกลงว่า ผมจะบวชเรียน วนั ตอ่ มาหลังเลกิ เรยี นผมได้เล่นบอลกับ
เพ่ือน แลว้ กม็ ีครคู นหนงึ่ เรยี กผมมาคุยท่หี ้อง ครูกถ็ ามผมวา่ ตกลงปาล์มจะเรียน
ต่อที่ไหน ครูได้ไปคุยกับแม่ปาล์มแล้ว แม่บอกว่าอยากจะให้ลูกบวชเรียนท่วี ัดไผ่
ดำใช่ไหม? แลว้ ครกู ็ถามต่อว่า แลว้ แม่ไดบ้ งั คับไหมล่ะ ผมกบ็ อกไปวา่ แม่บังคับ
ให้บวชเรียนครับ ครูก็เลยจะไปคุยกับแม่อีกครั้งหนึ่ง พอผมเดินทางกลับมาถึง
บ้านและขณะที่ผมกำลังนั่งดูทีวีอยู่ ตอนนั้นแม่ผมไปซื้อส้มตำที่ร้านค้า พอแม่
มาถึงผมก็เหน็ แม่รอ้ งไห้ แล้วบอกผมว่า ไหนว่าผมตอบตกลงแล้วไม่ใชห่ รอว่าจะ
บวชเรียนต่อ ตอนอยู่ร้านค้าครูมาบอกแม่ว่า บังคับลูกบวชเรียนเหรอ แม่ผม
ทราบว่าผมพูดแบบนั้นก็เสียใจมาก ผมก็เลยบอกแม่ว่า ผมขอโทษครับที่บอกครู
วา่ แม่บงั คับใหบ้ วชเรียน ผมขอสัญญาวา่ ต่อไปน้ี ผมจะไม่ทำใหแ้ ม่เสยี ใจอีกครับ
วันต่อมา พอถึงวันที่จะเดินทางไปสมัครเรียนท่ีวัดไผ่ดำ พอมาถึงวัดเป็นครัง้ แรก
ผมรู้สึกต่นื เต้น บรรยากาศร่มเย็น ตอ่ มาได้เจอเพื่อนคนหนง่ึ เดินมาหาผม เพื่อน
คนนั้นชื่อว่า หม่ำ เขาก็พาผมไปนั่งเล่นที่ศาลาข้างสระน้ำ นั่งคุยเรื่องนั้นเรื่องน้ี
พอถึงเวลาพ่อแม่จะเดินทางกลับ ท่านก็บอกว่า ดูแลกันดีๆ ตั้งใจเรียน เชื่อฟัง
ครูอาจารย์ ต่อมาพ่อกับแม่ก็เดินทางกลับบ้านไป พอวันรุ่งขึ้นผมก็คิดถึงพ่อแม่
มากๆ ผมก็เลยมานั่งร้องไห้อยู่ใต้ต้นมะขาม แล้วก็มีพี่เณรคนหนึง่ เดินมาถามผม
วา่ ร้องไหท้ ำไม ผมกบ็ อกวา่ คดิ ถึงบ้านคิดถงึ พอ่ แม่ ต่อมากม็ ีเพ่อื นหลายคนมา
ปลอบใจผมให้กำลังใจผม เราต้องอดทน ช่วงเวลานั้นผมก็เริม่ รู้สึกผ่อนคลายขนึ้
เลยหยุดร้องไห้ ผมกเ็ ลยไดใ้ ชช้ วี ิตเป็นสามเณรตั้งแต่ ม.1 จนถึง ม.6 การเข้ามา

๒๔

ศึกษาเล่าเรียนในวัดไผ่ดำนี้ทำให้ผมได้เรียนรู้หลายอย่าง มีทักษะการใช้ชีวิต
มีประสบการณ์ต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาให้ผมได้พัฒนาตนเองอยู่เสมอๆ ทำให้ผมรู้สกึ
ผูกพัน รัก และห่วงใยพี่เณรน้องเณร และขอบคุณสถานศึกษาแห่งนี้ที่ให้โอกาส
กับผมครบั
ผู้เขยี น : สามเณรกติ ตศิ ักด์ิ สาระวัน

๒๕

บณิ ฑบาต

ตอนเป็นเด็กผมเคยทำบุญตักบาตรตอนเช้ากับครอบครัวอยู่บ่อยๆ
เคยสงสยั ในพิธกี รรมตา่ งๆ ทช่ี าวพทุ ธเราได้ทำกนั มา แตก่ ไ็ ม่ไดใ้ ส่ใจอะไรมากนัก
เพราะเห็นผู้ใหญ่พาทำเราก็ทำต่อกนั มา จนกระทัง่ ผมได้มาบวชเรียนท่ีโรงเรียนวัด
ไผ่ดำ ได้บรรพชาเป็นสามเณร จึงเป็นต้นเหตุที่ทำให้ผมได้เรียนรู้วิถีปฏิบัติต่างๆ
ได้มากขึ้น หลังจากบวชเป็นสามเณรแล้วก็ได้มีการฝึกหัดการออกรับบิณฑบาต
ฝึกวิธีการห่มผ้า การอุ้มบาตร การเดิน การรับของบิณฑบาตจากญาติโยม
การสำรวมอาการต่างๆ รวมไปถึงต้องท่องบทสวดอนุโมทนาให้พรญาติโยมด้วย
ตอนแรกพอเห็นบทสวดผมก็คิดว่าผมจำไม่ได้แน่ ด้วยความที่ผมเป็นคนจำไม่เก่ง
แต่พอฝึกอ่านบ่อยๆ ท่องไปท่องมาซ้ำอยู่บ่อยๆ มันก็เริ่มจำติดปากขึ้น จนใน
ที่สุดผมก็สามารถสวดอนุโมทนาจบ หลังจากที่ผมได้เป็นสามเณร ได้ออกรับ
บิณฑบาต ทำให้ผมได้รับรู้มุมมองอีกด้านหนึ่ง มุมมองของการเป็นผู้รับ ที่ไม่ใช่
แคก่ ารรบั ข้าวปลาอาหารธรรมดา แต่เปน็ การรองรบั ศรัทธาของญาตโิ ยมที่หวังพ่ึง
บญุ จากการใหท้ าน การสละความโลภ บชู าขา้ วเหนือหัวน้อมใส่ในบาตรถวายแด่
พระภิกษุสามเณร เพื่อเป็นเครื่องเติมเต็มกำลังพลังทางกาย และเมื่อพระภิกษุ
สามเณรรับบิณฑบาตมาแล้วก็จึงต้องสำรวมตนเอง ไม่ประมาท และตั้งใจศึกษา
เลา่ เรยี น ตง้ั ใจทำความดี ให้สมกบั เป็นเน้อื นาบญุ ใหก้ ับญาติโยมต่อไป
ผเู้ ขียน : สามเณรพงษ์ศักด์ิ ชอบชู

๒๖

อิคคิวซงั

ผมได้รู้จักกับเพื่อนกลุ่มหนึ่ง แต่ละคนน้ันมาจากคนละจงั หวดั เป็นกลุ่ม
เลก็ ๆ ทีอ่ ยดู่ ้วยแลว้ มีความสขุ ทำใหผ้ มไม่อยากกลับบา้ นเลย พออยู่ไปได้สักพักก็
ไดร้ ู้จักเพื่อนท่ีมาจากตา่ งจังหวัดเพม่ิ มากข้นึ ทำใหค้ ิดไดว้ ่า เรียนทนี่ ี่กไ็ มต่ ่างอะไร
จากเรียนข้างนอก ตอนที่มาแรกๆ ผมก็นึกว่าเรียนแค่นักธรรมบาลี แต่มันไม่ได้
เป็นอย่างนั้น เพราะท่ีนี่มีเรียนทั้งทางธรรมและทางโลก เรียนเป็นฆราวาสคงได้
แค่ทางโลก แต่อยู่ที่นี่ได้ทั้ง 2 อย่าง ทำให้เราได้เรียนรู้ธรรมะเป็นเครื่องยึด
เหนี่ยวจิตใจ และก็ได้ความรู้ที่เป็นทางโลก มีประสบการณ์หลายอย่างที่ได้จาก
สถานที่แห่งน้ี ทำให้ผมอยู่แลว้ มีความสุขกบั การใชช้ ีวิต มีความผูกพันที่ดี วัดไผ่
ดำแห่งนีอ้ าจไมใ่ ช่ทท่ี ี่ดที สี่ ดุ แตส่ ำหรับผมท่นี ่ีทำใหผ้ มอยแู่ ล้วสบายใจ

ครั้งหนึ่งผมได้เข้าอบรมค่ายอิคคิวซัง ตอนผมเข้าไปในค่ายช่วงแรกๆ
ผมกำลังเรียนอยู่ชั้น ม.3 ตอนนั้นในค่ายถือว่าผมเด็กที่สุด และผมก็ไม่ค่อยมี
พื้นฐานในการทำสิ่งของที่ใช้งานอัตโนมัติ ผมก็ให้รุ่นพี่ช่วยแนะนำต่างๆ นานา
จนผ่านค่ายแรกมาได้ และค่ายที่ 2 ค่ายที่ 3 ก็ผ่านมาได้เช่นกัน จนถึงค่าย
สุดท้าย ซึ่งมีการแข่งขันกับโรงเรียนทั่วประเทศ ที่บ้านวิทยาศาสตร์ สิ่งประดิษฐ์
ที่ผมทำในตอนนั้นคือ เครื่องล้างมืออัตโนมัติ หลังจากการแข่งขันจบลงก็รอการ
ประกาศผล ผลการแข่งขันตอนนั้นกลุ่มของผมได้รับรางวัลเหรียญเงิน ผมกับ
เพื่อนๆ ดีใจมาก จากนั้นก็ได้นำผลงานนี้ไปแข่งขันต่อที่ปัญญาภิวัฒน์ พอไปถึง
ได้เห็นผลงานของนักเรียนโรงเรียนอื่นๆ ที่เข้ารอบมาแล้วดูอลังการมาก จึงทำ
ให้ผลการแขง่ ขนั ครั้งน้ันกลุ่มของผมไม่ได้เข้ารอบครับ แต่นั่นก็ใชว่ า่ สิง่ ท่ีผมทำมา
มันเปล่าประโยชน์ ผมได้ประสบการณ์ที่ดีมากครับ มันได้เปิดโลกทัศน์ของผม
ได้เห็นมุมมองที่กว้างขึ้น ได้ลองทำในสิ่งใหม่ๆ และผมจะเก็บเอาประสบการณ์น้ี
ไปตอ่ ยอดในอนาคตครบั

ผเู้ ขยี น : สามเณรเกษฎา แสนสดุ ตา

๒๗

พด่ี แู ลนอ้ ง

ผมจบช้นั ประถมศึกษาปีท่ี 6 จากโรงเรียนบา้ นดงจงอาง ซงึ่ เป็นโรงเรยี น
ใกล้บ้านเกิดผม และได้มาเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนวัดไผ่ดำ
เหตุผลทผ่ี มมาเรยี นตอ่ ท่ีน่ี เดิมทีผมกอ็ ยากบวชเรยี นอยูแ่ ล้วบวกกับผมมีญาติท่ีมา
บวชเรียนอยู่ที่นี่หลายรุ่น ผมจึงได้มาบวชเรียนที่นี่ ช่วงที่ผมเป็นเตรียมสามเณร
ก่อนจะมีพิธีบรรพชา ใน 7 วันแรกของการมาอยู่ที่นี่ ผมได้พบเจอเพื่อนใหม่ๆ
มากมาย ทั้งคนที่เตม็ ใจท่ีจะมาบวช หรือถูกพ่อแม่บังคับให้บวชก็มี แต่ผมเชื่อว่า
เพอ่ื นบางคนท่ีถูกบังคบั มาน่ันก็คงเป็นเพราะความหวังดีของพ่อแม่ ผมมีความสุข
มากในเวลาที่ได้ทำอะไรกับเพื่อนๆ ผมเป็นรุ่นที่ 28 ในปี พ.ศ. 2558 รุ่นของ
ผมมีพี่เณรที่เป็นพี่เลี้ยงอยู่ 4 รูป คือ พี่เณรแวน, พี่เณรแบล็ค, พี่เณรป้อม,
และพี่เณรต้อม ซึ่งเป็นพี่เณรพี่เลี้ยงที่น่ารักมากในตอนนั้น พี่เณรคอยดูแลอบรม
สั่งสอนผม และเพื่อนๆ ในเรื่องของการทำความดี เช่น การช่วยเหลือคนอื่น
การเปน็ อยู่ เออื้ เฟ้ือเผือ่ แผก่ นั และกัน พเี่ ณรเปน็ คนท่เี สยี สละมาก โดยภาพรวม
ผมคิดว่าวัดไผ่ดำแห่งนี้เป็นสถานที่ที่ดีมาก มีสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ธรรมดาครับมัน
คือสีสันของชีวิต อยู่ที่เราจะอดทนต่อสู้กับมันหรือจะยอมแพ้ ทุกอย่างไม่มีอะไร
กำหนดชวี ิตเราไดค้ รับ นอกจากตัวของเราเอง
ผเู้ ขียน : สามเณรรุง่ เรอื ง นิลกจิ

๒๘

Paradox

กระผมเปน็ เด็กท่ีเกดิ และเตบิ โตในตะเข็บชายแดนไทย - กัมพูชา เม่ือจบ
ชั้น ป.6 ที่จ.สุรินทร์ ก็ได้ออกจากบ้านมาเดินทางในเวลาของลูกผู้ชาย ก็คือมา
บวชเรียนที่โรงเรียนวัดไผ่ดำ แผนกสามัญศึกษา จ.สิงห์บุรี เป็นการเปิด
ประสบการณ์ในชีวิตของกระผม ผมมาที่นี่เมื่อวันที่ 10 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.
2558 วันแรกที่มาก็ร้องไห้ และก็ได้ปฏิบัติตนตามกฎเกณฑ์ของที่นี่ ก่อนจะ
บวชจะต้องมาเปน็ เตรยี มสามเณรอยู่ 3 เดือน กไ็ ดร้ จู้ กั เพอ่ื นท่มี าจากหลายๆ ที่
เรียกได้ว่ามาทุกภาคของประเทศไทย อีสาน กลาง เหนือ ใต้ ทำให้ปัจจุบันก็
สามารถฟังภาษาถิ่นในแต่ละภาคได้อยู่พอสมควร ช่วงแรกๆ ที่มาอยู่ตัวผมเองก็
ไม่ค่อยมีบทบาทอะไรมาก จนมาถึงชั้น ม.5 ผมก็เริ่มมีบทบาทเล็กๆ ช่วยงาน
คณะกรรมการสภานักเรียน คือ เป็นเลขานุการ ซึ่งก็เป็นจุดเริ่มต้นของความ
รบั ผิดชอบทีผ่ มรูส้ ึกประทับใจ และเมือ่ ขึ้นชั้น ม.6 ผมก็ตดั สินใจลงสมคั รเลือกตั้ง
เป็นรองประธานคณะกรรมการสภานักเรียน มีสามเณรปริวัฒน์ เพ็งรัตน์ สมัคร
เปน็ ประธาน และสามเณรรัชชานนท์ จิตอารี สมคั รเป็นเลขานุการ ลงสมัครใน
ชื่อพรรคคำตัน (แต่แนวคิดไม่ตัน) และผมได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นสามเณรพี่เลี้ยง
กระผมรสู้ กึ ภมู ิใจ รสู้ กึ ประทบั ใจ ในการปฏบิ ตั งิ าน อาจจะมีเหน่ือยบ้าง แตเ่ มื่อ
ได้พูดคุยอะไรเฮฮากับเพื่อนๆ ก็เป็นอันผ่อนคลาย เพื่อนหลายๆ คน ก็มีหลาย
เรอื่ งเลา่ อนั นา่ ขบขนให้ฟังกัน

เมื่อวันพฤหัสบดีของต้นเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 ในช่วงเย็นของวัน
นั้นกระผมรู้สึกเบลอๆ รู้สึกได้ว่าสมองของกระผมไม่เหมือนเดิม รู้สึกเบื่อบ้าง
รู้สกึ อะไรหลายๆ อย่าง กระผมไมส่ ามารถรู้ได้ว่าสาเหตุท่แี ทจ้ ริงน้ันเกดิ จากอะไร
บางครั้งกระผมก็แบบคิดว่าคงเป็นวบิ ากกรรมของตัวกระผมเอง แต่การเป็นแบบ
นี้ก็ทำให้บางครั้งก็แอบคิดอะไรไปเรื่อยเปื่อย ทำให้ใส่ใจชีวิตของตัวเองและคน
รอบข้างมากขึ้น กระผมเคยคิดว่าตวั เองจะเสียชวี ิต ผมได้ทำอะไรหลายๆ อย่าง

๒๙

ได้โทรศัพท์ไปหาโยมพ่อ แล้วถามในสิ่งที่ผมอยากรู้ วันนั้นผมโทรคุยกับโยมพ่อ
นานมาก รู้สึกมีความสุขมาก และได้โทรหาปู่ ย่า ตา แต่ไม่ได้คุยกับยาย
เพราะยายเป็นไข้ ได้โทรหาน้องชายสุดที่รัก โทรหาพี่ๆ ที่เป็นญาติกัน และได้
ติดต่อกับอีกหลายคน สิ่งที่ผมทำไปราวกับเหมือนโทรไปบอกลาครั้งสุดท้าย ผม
คิดว่าผมคือผู้เสพความตาย ผมเดินเข้าหาความตายอยู่ตลอดเวลา ผมมีข้อคิด
ที่ว่า “อย่าเชื่อว่าวันพรุ่งนี้มีจริง วันพรุ่งนี้ไม่ได้มีไว้ให้ทุกคนได้ใช้กัน ทำในสิ่งท่ี
คิดวา่ ดี และอยากทำให้สำเร็จในวนั น้”ี

ต่อมาเมื่อวันอาทิตย์ ที่ 31 เดือนมกราคม พ.ศ. 2564 ในระหว่างท่ี
ร่วมกิจกรรม Big Meeting ของทางโรงเรียน ผมคิดได้ว่า เวลามนุษย์เรา
แมก้ ระทงั่ ตวั กระผมเองได้ของใหมๆ่ ส่งิ ใหม่ๆ แล้วรูส้ กึ ดใี จ รู้สึกยินดีกับสิ่งนั้นๆ
แต่ทำไมเวลาที่เราได้วันใหม่ๆ ได้ใช้ชีวิตในวันนั้นๆ ซึ่งเป็นของใหม่ และเป็น
ของขวญั ทลี่ ำ้ ค่าที่สุด เป็นของขวัญท่ีใครหลายคนไม่ได้รับ ทำไมกระผมถึงไม่ดีใจ
กับของขวัญชิ้นนี้ เพราะฉะนั้นกระผมจะต้องตระหนักถึงของขวัญชิ้นนี้ให้มาก
และจะดีใจเมื่อรู้ว่า ผมเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับของขวัญชิ้นนี้ที่ชื่อว่า วันพรุ่งนี้
วันใหม่ และอาจมีหลายชื่อให้เรียก ของขวัญอันล้ำค่าชิ้นนี้ แม้จะเป็นของฟรี
แต่ต้องมวี ันใดวนั หนึง่ ที่คณุ ไม่ไดร้ ับมนั
ผู้เขียน : สามเณรปารมี เพียรเสมอ

๓๐

กำลงั ใจสำคญั

สิ่งที่ทำให้ผมประทับใจที่สุดในชีวิต คือ การที่ผมได้เกิดมาแล้วมี
ครอบครัวท่ีอบอุ่น คือ มีพอ่ แม่ พีน่ ้อง ปู่ ย่า ตา ยาย พร้อมหน้าพร้อมตา
ครอบครัวของผมอย่กู ันอยา่ งมีความสุขมีความอบอุน่ และนัน่ ก็เปน็ กำลังใจสำคัญ
ทท่ี ำให้ผมบวชเรียนและมีกำลังใจต่อสู้กับปัญหาต่างๆ หรือเวลาท่ีท้อก็ยังมีพ่อแม่
ที่คอยให้กำลังใจอยู่เสมอ จึงทำให้ผมอยากที่จะดำเนินชีวิตต่อไปเรื่อยๆ และมี
กำลังใจที่จะทำอะไรหลายๆ อย่างให้สำเร็จ ครอบครัวของผมนับเป็นศูนย์กลาง
ของแรงบนั ดาลใจ ความสขุ และรอยยิ้ม ตง้ั แตผ่ มจำความไดก้ ็เหน็ สมาชกิ ทุกคน
ในครอบครัวอยู่กันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา อาจจะดูน่ารำคาญแต่สำหรบั ผมมัน
เป็นความอบอุ่นที่ดี ทุกคนต่างสอนให้ผมเป็นคนดี ไม่ทำชั่ว โดยเฉพาะพ่อและ
แม่ซึ่งสอนผมทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำการบ้าน มีความรับผิดชอบ และ
สอนให้มีความซื่อสัตย์สุจริต ให้รู้ผิดชอบชั่วดี สอนให้มีความขยันหมั่นเพียรต่อ
หน้าที่การงานและสอนอีกหลายๆ เรื่อง ผมว่าคำว่า ครอบครัว เป็นคำสั้นๆ
แต่มีความหมายสำหรับผมมาก หมายถึง พ่อแม่ญาติพี่น้อง และเพื่อนๆ ก็เป็น
ครอบครัวทอี่ บอุน่ ตลอด 18 ปที ีผ่ า่ นมาและผา่ นไป อาจมเี รื่องทีด่ ีบ้างไม่ดีบ้าง
ก็ทำให้ผมเป็นผมจนถึงวันนี้ ครอบครัวเป็นสิ่งที่ทำให้ผมประทับใจมากที่สุดใน
ชวี ิต
ผเู้ ขียน :
สามเณรสัญญา สวงโท

๓๑

หนังสอื เลม่ สดุ ทา้ ย

“ผมเป็นคนที่เขียนหนังสือทั้ง 6 เล่มจนถึงเล่มสุดท้าย” สวัสดีครับ ผมเป็น
คนที่เขียนหนงั สือทส่ี มบูรณ์แลว้ มา 5 เล่ม ซงึ่ เลม่ ที่ 6 ใกลจ้ ะเสรจ็ แล้วแค่อีกไม่นาน
ผมจะพยายามตั้งใจเขียนมันให้ออกมาดีที่สุด ถ้าพูดถึง 5 เล่มที่ผ่านมาละก็เนื้อหา
ของแต่ละเล่มจะแตกต่างกันออกไป เพราะบทเรียนของแต่ละเล่มสอนไม่เหมือนกัน
แตผ่ มไมแ่ นะนำใหไ้ ปอา่ นเล่ม 1-3 เพราะวา่ ผมไมค่ ่อยต้ังใจเขยี นมนั สักเทา่ ไหร่ แตผ่ ม
ไม่เคยลืมทั้ง 3 เล่มนั้นเลย เพราะมันก็เป็นบทเรียนที่ทำให้ผมมาปรับปรุงในเลม่ ต่อๆ
ไปได้เช่นกัน ใช่ครับ! หนังสือแต่ละเล่มมันเป็นเรื่องราวชีวิตที่ผ่านมาของผมนั่นเอง
แตช่ า่ งนา่ เสียดายทเ่ี รอ่ื งราวในแตล่ ะเล่มท่ผี มเขยี นมามันไม่สามารถกลบั ไปแก้ไขเน้ือหา
มันได้อีกแล้ว !!! ถ้ามันมีโอกาสที่จะกลับไปแก้ไขได้จริงผมก็บอกกับตัวละครหลักของ
เรื่องนี้ว่า นายฉันคดิ ถึงนายมากนะ แล้วนายละเป็นอย่างไรบ้าง? ฉันต้องขอโทษนาย
จริงๆ นะที่ตอนนี้ก็ยังทำตามความฝันของนายไปไม่ได้ไกลสักเท่าไหร่ แต่ฉันก็จะ
พยายามมันต่อไปนะ นายไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องราวของนาย สอนให้ฉันได้รู้อะไร
มากมายเลยล่ะ ขอบคณุ นายมากนะที่มอบบทเรียนให้ฉนั โตมาจนถึงตอนนไี้ ด้ ขอบคุณ
มากจรงิ ๆ

หลังจากที่ผมได้บทเรียนจากทั้ง 3 เล่มนั้นมาแล้ว ผมก็พยายามเขียน
เรื่องราวของผมเองให้มันออกมาอย่างเต็มที่ถึงมันจะออกมาไม่ดีอย่างที่คิดไว้ แต่ผมก็
คงจะไม่ไปนั่งเสียใจหรอก เพราะผมก็พยายามแล้ว และก็คงต้องพยายามต่อไป
ยิ่งผ่านไปหลายเล่มๆ ก็จะได้บทเรยี นจากประสบการณ์ของก่อนหน้านีม้ ากมายเลยละ
และมันคงจะเป็นสิ่งล้ำค่ามาก เพราะมันหาไม่ได้จากท่ีไหนแล้ว และสุดท้ายนี้ผมก็จะ
บอกว่า ผมเคยได้ยนิ ประโยคๆ หนง่ึ จากคนๆ หน่งึ เขาบอกวา่ อดีตไหนท่ีมันไมด่ กี ็ลืม
มันไป แต่ผมเก็บคำนี้และมาดัดแปลงเองนิดหน่อยว่า คงไม่ต้องพยายามลืมอดีตทีม่ นั
ไมด่ ีจนหมด แต่เอามนั ตัง้ เป็นโจทยเ์ พ่ือแกไ้ ขในปจั จุบัน

ผ้เู ขียน : สามเณรณรงคฤ์ ทธิ์ ดลิ กแพทย์

๓๒

อบรมนักธรรม

ท่ามกลางอากาศหนาวเย็นในเวลาประมาณตี 5 หลังจากตื่นจากการจำ
วดั ผมกไ็ ด้ลุกมาเกบ็ ท่นี อน ล้างหน้าแปรงฟัน จัดเตรยี มหนงั สอื นกั ธรรมใสย่ า่ ม ใช่
แล้วครบั ผมกับเพ่ือนเตรยี มตัวเข้าอบรมชว่ งย่ำรุ่ง เปน็ ชว่ งทต่ี ้องเรียนอย่างเข้มข้น
ตง้ั แต่ย่ำร่งุ - เชา้ - บ่าย - เย็น – ค่ำ เรยี กไดว้ า่ เรยี นทัง้ วัน โดยในระหว่างนั้นรูปท่ี
อบรมไมต่ ้องทำกิจวตั รอ่ืนๆ เลย ไม่ตอ้ งบณิ ฑบาต ไม่ตอ้ งทำวตั ร ใหเ้ ป็นหน้าท่ีของ
สามเณรทจี่ บนกั ธรรมแล้ว

ที่นี่อบรมหลายครั้งทั้งนักธรรมตรี โท เอก และบาลี แต่ครั้งที่ผม
ประทับใจที่สุดคือครั้งอบรมนักธรรมตรี ซึ่งเป็นครั้งแรก จากที่อยู่บ้านเรียนหนัก
สุดก็แค่เข้าเรียนให้ครบเช้ากับบ่าย แต่พอมาบวชเรียนแล้วเทียบไม่ได้เลย ด้วย
ความเป็นเดก็ ในตอนนั้นพระอาจารย์ให้เรยี นอะไรเราก็เรียน พระอาจารย์พาเขียน
พาท่อง พาทวน เราก็ทำ จะมอี บู้ ้างบางครง้ั แอบหลบั แอบไมส่ ่งงาน พระอาจารย์
ก็จะตามเก็บทุกรายละเอียด หนักๆ เข้าก็จะโดนไม้เรียวพระอาจารย์ ทำเอาผมไม่
กล้าอู้อีกเลย

การอบรมมีระยะเวลา ๒ สปั ดาห์ หนักบา้ ง เบาบา้ ง กส็ นุกคละเคลา้ กันดี
บางทีหลังเรียนหนักๆ พระอาจารย์นำขนมน้ำปานะมาเลี้ยงพวกเราก็ชื่นใจ ย้ิม
หน้าบานเลย หายเหนื่อยไปได้ตามประสาเด็กๆ ผมอาจจะเรียนไม่เก่งแต่พระ
อาจารย์ท่านก็เมตตาพยายามสอน พยายามบอก จนทำให้ผมและเพื่อนๆ
สอบผ่านกันมาได้ เมื่อมองย้อนกลับไปช่วงเวลานั้น ถึงตอนนั้นจะรู้สึกเหนื่อย
แตต่ อนนีร้ สู้ กึ ขอบคณุ ช่วงเวลานนั้ มากครับ

ผู้เขียน : สามเณรอัครเดช กลางวงศ์

๓๓

ขนั ตธิ รรม

เมื่อเราพูดถึงโรงเรียนนักเรียนหรือสามเณรจ ะคิดได้อัน ดั บแ ร กว่า
เป็นสถานทีท่ ีใ่ ห้ความรูใ้ ห้เพื่อนและสงั คมใหม่ๆ มีครบู าอาจารย์คอยให้คำปรึกษา
แนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่างๆ คอยสั่งสอนให้เป็นคนดีเปรียบเสมือนว่า
เป็นพอ่ แม่ของเราอกี คนหน่ึง ตอนนีท้ ไ่ี ผ่ดำกเ็ หมือนกบั บ้านหลงั ทีส่ องของผม

ครน้ั ทก่ี ระผมไดก้ ้าวเข้ามาท่ีวดั แห่งน้ี ผมรู้สกึ ตนื่ เต้นอยา่ งมาก นอกจาก
ความตื่นเต้นแล้วยังมีอีกความรู้สึกหนึ่งคือความกลัว กลัวที่จะได้พบเพื่อนใหม่
และสังคมใหม่ๆ ที่กระผมไม่เคยรู้จัก กลัวที่จะรู้จักเพื่อนที่มาจากต่างสถานท่ี
หรือต่างจังหวัด ที่โรงเรียนวัดแห่งนี้ไม่ได้ใหญ่โตมาก ที่โรงเรียนแห่งนี้อยู่ใน
จังหวัดสิงห์บุรี สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของโรงเรียนนี้ก็คือ ความอดทน ใช่ครับ
ความอดทน หลังจากที่กระผมไดเ้ ขา้ มา กระผมได้เป็นเตรียมสามเณร 3 เดือน
ซึ่งต้องใช้ความอดทนอย่างมาก จนถึงปัจจุบันเพื่อนๆ ที่ผมกลัวในตอนนั้นก็
อดทนอยู่กับกระผมมาด้วยกัน จนสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ของโรงเรียนแห่งนี้ ซึ่งนับเป็นความอดทนที่ยากมาก แต่โรงเรียนแห่งนี้ก็สอน
กระผมทั้งเรื่องนอกโรงเรียน และในโรงเรียน เป็นบ้านที่มีพี่น้อง พ่อและแม่อยู่
พร้อมหน้าพร้อมตากัน ตลอดระยะเวลาท่ีกระผมศึกษาอยู่ในที่แหง่ นี้ตัวกระผมได้
ประสบการณ์ที่ดีมากมาย และนั่นก็เป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นว่า ผลของความ
อดทนนนั้ มันหวานหอมเสยี จริง
ผูเ้ ขยี น : สามเณรศรราม จนุ จันทร์

๓๔

ประสบการณช์ ีวิต

ตั้งแต่เป็นสามเณรมาสอนให้รู้อะไรหลายๆ อย่าง สอนให้เราใช้ชีวิตอยู่
กับตวั เอง เวลาผา่ นไปหลายๆ ปี มันจะสอนให้เราเปลี่ยนเปน็ คนละคน ในตอน
แรกๆ ก็อาจจะไม่มีเพื่อนมากเท่าไหร่ แต่เวลาผ่านไปเพื่อนก็เยอะขึ้น ใน
บางอย่างการใช้ชีวิตแบบนี้มันก็ดีนะ เพราะเป็นการสอนให้เรารู้จักใช้ชีวิตกับ
ตนเองมากขึ้น ใครที่บอกว่าเป็นสามเณรไม่ดีนั้นให้คิดใหม่ การเป็นสามเณรที่น่ี
ไมเ่ หมือนท่อี ืน่ นะ ที่อื่นจะอยแู่ คป่ ระมาณ 7 วนั เป็นตน้ แต่ทนี่ ีต่ ้องเปน็ เตรียม
สามเณร 3 เดอื น ถงึ จะบวชเป็นสามเณร และการเรยี นกไ็ ม่เหมอื นคนด้านนอก
อกี เพราะสามเณรต้องเรยี น 3 สายหลกั ๆ แรกๆ ก็ไมเ่ ข้าใจเทา่ ไหรห่ รอกครับ
เพราะผมไม่รู้เร่ืองเกี่ยวกับเรื่องนี้ เชน่ บาลี แปลวา่ อะไร ก็เข้าใจว่าทำไมต้อง
เรียน จนเราเรียนเท่านั้นแหละ มันเป็นภาษาของพระภิกษุที่มีมาตั้งนานแล้ว
เพราะฉะนั้นเปน็ สามเณรที่ต้องเรียนภาษาบาลี แต่พอเป็นแบบนี้แล้ว การศึกษา
ทุกอย่างสำคัญหมดอยู่แล้ว และการเรียนนักธรรมคิดว่ายากแต่ก็ผ่านจดุ น้ันมาได้
ถ้าคนไม่เข้าใจจริงๆ แต่ละระดับชั้นนักธรรม ถ้าสอบไม่ผ่านก็ยังมีอีกปีอยู่แบบนี้
เรื่อยๆ แต่ดีหน่อยที่ผมสอบผ่านปีละขั้นไม่ต้องเรียนซ้ำหลายปี ผมเองก็ไม่รู้
เหมือนกันว่าผ่านมาได้อย่างไร ผมมาเข้าเรียนตอน ม.4 จาก ม.4 จนถึง ม.6
ระยะเวลา 3 ปี ก็ทำให้ผมจบนักธรรมชั้นเอกพอดี ทั้งหมดทั้งมวลนี้ไม่ว่าจะเป็น
เรื่องการเรียน การเป็นอยู่ มิตรภาพที่ดี สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความทรงจำ เป็น
ความรู้สึกที่ดี และผมจะนำความรู้ และหลักธรรมต่างๆ ที่ได้เรียนรู้มามาพัฒนา
ตนเองเพอื่ เป็นคนดีต่อสังคมดา้ นนอก

ผู้เขยี น : สามเณรสมเกียรติ ธมิ าส

๓๕

ภาษาไทยพิเศษ

ตอนแรกที่ผมมาอยู่วัดไผ่ดำ ผมอ่านหนังสือไม่ออก ผมกลัวมากที่จะมา
เรียนที่นี่ กลัวเรียนไม่รู้เรื่อง กลัวเรียนไม่ทันเพื่อน กลัวไปต่างๆ นานา พอเข้า
มาอยู่ทางโรงเรียนก็ให้ผมเข้าเรียนภาษาไทยพิเศษ สอนโดย ครูปราณี สุดาทิศ
โดยใช้ช่วงเวลาเย็นๆ หลังเลิกเรียนคาบปกติแล้ว ราว 1 ชั่วโมง ของทุกวัน
จันทร์ - ศุกร์ แรกๆ ของการเรียนผมไม่รู้เรื่องอะไรเลย ตอนนั้นเป็นเตรียม
สามเณรโดนทำโทษสารพัด แต่ผมก็ไม่เคยท้อ ผมเขา้ เรียนตลอด จนกระทัง่ เขา้ สู่
ปีที่ 2 ปีที่ 3 ผมเริ่มรู้สึกว่าตัวเองมีพัฒนาการมากขึ้น ผมเร่ิมอ่านออกเขียนได้
แมจ้ ะยงั มคี ำผิดพลาดอยบู่ ้างแต่ก็สามารถเข้าใจเนื้อหาข้อความได้ จากน้นั ผมก็ได้
ออกจากห้องเรียนภาษาไทยพิเศษ อยู่มาวันหนึ่งขณะที่ผมกำลังทำความสะอาด
ภายในวัด กม็ เี พอื่ นคนหน่งึ ไปเหน็ หนงั สือเก่ียวกับการพัฒนาตนเอง แลว้ นำมาให้
ผม พร้อมกับบอกผมว่า เอาไว้อ่านจะได้พัฒนาขึน้ ไปอีก ผมก็รับมาและลองเอา
ไปอ่านดู ก็ได้บทเรียนข้อคิดอะไรมากมาย จากนั้นผมก็พยายามศึกษาความร้อู ยู่
เร่ือยๆ ผ่านทางยทู ปู บ้าง อา่ นหนังสอื บ้าง ตอนน้ีผมเข้าใจความปรารถนาดีของ
ครูบาอาจารย์แล้ว การที่ท่านดุด่าเพราะท่านอยากให้เราได้ดี ถ้าตอนนี้ผมยัง
อ่านหนังสือไม่ออกผมก็ไม่รู้เลยว่าอนาคตของผมจะเป็นอย่างไร แต่ตอนนี้ผม
สามารถทำมันได้แล้ว ถึงแม้จะยังไม่ดีมากเท่าที่ควร แต่ผมก็จะพยายามพัฒนา
มนั ให้ดีขน้ึ เรือ่ ยๆ ขอบคณุ ครปู ราณี มากๆ ครบั
ผู้เขยี น : สามเณรณภทั ร สีชุมพร

๓๖

ย้อนรอยในวันวาน

มเี รอื่ งราวของเด็กชายคนหนงึ่ ที่ได้ให้คำมั่นสญั ญากับพระอาจารย์รูปหน่ึง
ว่า เมื่อเขาจบ ป.6 แล้ว เขาจะมาบวชเรียนเพื่อพ่อแม่ในระยะเวลา 10 ปี
พอเวลาผ่านไปจนถึงวันที่เขาต้องมาบวชเรียน ณ วัดแห่งหนึ่งในจังหวัดสิงห์บุรี
ในวันแรกที่ได้มาเห็นวัดแห่งนี้ทำให้เขามีความสุขกบั ธรรมชาตภิ ายในวัด และเม่ือ
ถึงเวลาวัดความรู้ของนักเรียนใหม่เขาได้เจอเพื่อนใหม่ที่มาจากหลายๆ จังหวัด
ในช่วงแรกของการเข้ามาบวชก็ต้องเป็นเตรียมสามเณร คอยอบรมศึกษาข้อ
ปฏิบัติภายในวัดแห่งน้ี ระยะเวลาผ่านไป 3 เดือน ก็ถึงวันที่จะได้บรรพชาเปน็
สามเณร ในโรงเรียนที่เขาศึกษานั้นมีคณะครูและพระอาจารย์ที่แสนดีคอยดูแล
เอาใจใส่สามเณรทุกรปู คอยสอนในเรื่องต่างๆ และทำให้เขามีความสุขและยิ้มได้
ในทุกๆ วัน พระอาจารย์ที่ได้ทำให้เขามีความสุขนั้นเป็นพระอาจารย์ที่รัก
ธรรมชาติและชอบปลูกตน้ ไม้มาก ในการใช้ชวี ิตในแต่ละวันน้นั พระอาจารย์จะพา
เขาปลูกต้นไม้ตัดกิ่งต้นไม้และจัดสวนภายในวัดให้มีความงดงาม ในเวลาที่ได้
ทำงานนั้นพระอาจารย์จะสอนในสิ่งต่างๆ และความเป็นอยู่ของโลกความเป็น
บรรพชิต มีความแตกต่างกับโลกของฆราวาส เช่นคำสอนที่พระอาจารย์นั้นได้
บอกกับเขาตลอดว่า “ต้นไม้นั้นมีหนามแต่ดอกไม้สวยงาม ก็เหมือนสตรีท่ี
สวยงามและเรียบร้อยมักมีคมดาบ” เป็นต้น พอเวลาผ่านมาจนถึงวันที่ต้องจาก
ลาไปจากวัดแหง่ นี้ เขาได้มีความคิดถึงวันเก่าๆ ที่ได้ทำอะไรภายในวัดและคิดถงึ
พระอาจารย์ที่ได้อบรมสั่งสอนในทุกๆ เรื่อง แต่เขาต้องก้าวเดินไปเพื่ออนาคต
ของตัวเอง และทำเพื่อความหวังของครอบครัว ในที่สุดนี้เขาคนนั้นคือสามเณร
รูปหน่ึงที่รักพระอาจารยภ์ ายในวัดนน้ั มาก และอยากขอบคุณในทกุ ๆ เรื่องท่ีเคย
อบรมสงั่ สอนเขา ขอบคณุ มากครบั

ผ้เู ขียน : สามเณรกฤษดาภรณ์ กรุ ะอ่มิ

๓๗

๓๘

พทุ ธสนั ติวธิ กี ารใหก้ ารปรกึ ษาของสามเณรเพอื่ นที่ปรกึ ษา
กรณีศึกษา : โรงเรยี นวดั ไผด่ ำ แผนกสามัญศึกษา

BUDDHIST PEACEFUL MEANS AS A TOOL OF
THE NOVICE YOUTH COUNSELORS IN COUNSELING:
A CASE STUDY OF WAT PHAIDAM BUDDHIST SCHOOL.

พระมหาพงศกร ฐานงฺกโร (สมิ พา) 1
Phramaha Pongsakorn Thanangkaro (Simpa)
สาขาวชิ าสนั ติศึกษา บณั ฑิตวิทยาลยั มหาวิทยาลยั มหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลัย1
Peace Studies Program, Graduate School, Mahachulalongkornrajavidyalaya University
Corresponding Author. Email: [email protected]

๓๙

บทคัดยอ่

บทความวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ภาคสนาม มีวัตถุประสงค์เพื่อ
วิเคราะห์กระบวนการให้การปรึกษาของสามเณรเพื่อนที่ปรึกษา โรงเรียนวัดไผ่ดำ
แผนกสามัญศึกษา และนำเสนอพุทธสันติวธิ กี ารใหก้ ารปรึกษาของสามเณรเพื่อนที่
ปรึกษา โดยทำการวิจัยจากการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ให้
ขอ้ มูลสำคญั จำนวน ๓ กลมุ่ รวม ๒๕ รูป/คน ผลการศกึ ษาพบว่า

๑. ผลการวเิ คราะห์ จดุ แขง็ คือ สามเณรมีชว่ งวยั ใกล้เคยี งกันทำให้เข้าถึง
ปัญหาง่ายได้รับความไว้วางใจ สามเณรเพื่อนที่ปรึกษามีทักษะการให้การปรึกษา
มีการประยุกต์ใช้ธรรมะเพื่อแก้ไขปัญหาและใหก้ ำลงั ใจดว้ ยความเป็นกัลยาณมิตร
และมคี วามตอ่ เน่ือง ในสว่ นจุดอ่อน คอื ความเป็นส่วนตวั ของสามเณร ไม่กลา้ บอก
ความจรงิ ทำให้แก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด การไมส่ ามารถควบคุมอารมณ์ได้ ความเส่ียง
ต่อการรักษาความลับไมไ่ ด้ อีกทั้งกรณีปัญหารุนแรงจะตอ้ งอาศัยความระมัดระวัง
อย่างยิ่ง และขอ้ จำกัดการให้การปรึกษาแก่กลุ่มเยาวชนภายนอกท่ีไม่ใชส่ ามเณร

๒. พุทธสันติวิธีการให้การปรึกษาของสามเณรเพื่อนที่ปรึกษาได้นำ
หลักธรรม ๑) อริยสัจ, ๒) ไตรสิกขา, ๓) สังคหวัตถุ, ๔) พรหมวิหาร, ๕) มิตรแท้,
๖) องค์แห่งพหูสูต, ๗) คารวะธรรม, ๘) กัลยาณมิตร, และ ๙) โอวาทปาฎิโมกข์
มาประยกุ ตใ์ ช้

องค์ความรู้งานวิจัย ได้นำเสนอเป็นโมเดล คือ “RA - CERD Model”
มี ๖ ขั้นตอน ประกอบด้วย ๑) Relationship การสร้างสัมพันธภาพ
๒) Agreement การสร้างข้อตกลงร่วมกัน ๓) Comprehension การรับรู้และ
กำหนดขอบเขตของปัญหา ๔) Eradication การกำจัดสาเหตุของปัญหา
๕) Realization การทำจุดหมายที่ต้องการให้ชัด และ ๖) Development การ
พัฒนาลงมือปฏิบัติแก้ไขปญั หา

คำสำคัญ: พทุ ธสันตวิ ิธี, การใหก้ ารปรึกษา, สามเณรเพือ่ นท่ปี รกึ ษา

๔๐

Abstract

This research is qualitative field research. The research objectives
are 1) To analyze the counseling process of the novice youth counselors at Wat
Phaidam Buddhist School according to Buddhist peace principles. 2) To present
the Buddhist peace counseling methods of the novice youth counselors at Wat
Phaidam Buddhist School. By researching document studies and in-depth
interviews of 3 groups, totaling 25 people. Study results;

1. Analysis found that the strengths are that novices have a similar
age range, making access to problems easy, trusted and feel safe in keeping
secrets. The novice youth counselors are trained in counseling skills and have
good listening skills, thinking skills, asking questions skills, strong heart, providing
direct consultation with the application of Dhamma to solve problems and
encourage. On the other hand, follow the progress of the solution and proceed
with friendliness. In the weakness, some novices have a high level of privacy
and are not open-minded and telling the truth. That causes the novice youth
counselors not to understand the problem or not reflect on the feelings.
Including the inability to control emotions may lead to inappropriate use of
words or expressions. No risk of confidentiality Also, in the case of complex,
delicate or severe problems, extreme care must be taken. And restrictions on
reaching the target group if counseling to non-novice youth groups outside.

2. Buddhist peaceful means on the path of counseling of the novice
youth counselors, as follows: 1) Ariyasacca: The Four Noble Truths 2) Sikkha: The

๔๑

Threefold Learning 3) Sangahavatthu: bases of social solidarity 4) Brahmavihara:
holy abidings 5) Suhadamitta: true friends 6) Bahussutanga: qualities of a learned
person 7) Garavata: reverence 8) Kalyanamitta-dhamma: qualities of a good
friend and 9) Buddha-ovada: Exhortations of the Buddha.

Knowledge from the research to presented as a 6-step is "RA -
CERD Model" consisting of 1) Relationship to create relationship 2) Agreement
to create a mutual agreement 3) Comprehension to recognition and determining
the scope of the problem 4) Eradication to eliminate the root cause of the
problem 5) Realization, aiming to clear the desired destination, and 6)
Development to take action to solve the problem.
Keywords: Buddhist peaceful means, counseling, the novice youth counselors

๔๒

บทนำ

การจัดการศึกษาของพระภิกษุสามเณรในยุคปัจจุบัน ค่อนข้างมีความ
ละเอียดและมีความซับซ้อน ต่างจากในอดีตที่มีหลวงปู่ หลวงตา เป็นผู้ให้วิชาทำ
หน้าที่ถ่ายทอดความรู้ให้การศึกษา ด้วยระบบการศึกษาของสามเณรมีความ
ซับซ้อนขึ้น ทำให้สามเณรต้องมีการปรับตัวอย่างมาก เพราะการดำรงชีวิตของ
สามเณรจะแตกต่างจากการดำรงชีวิตของคนท่ัวไปหลายประการ ถ้าสามเณรไม่
สามารถปรับตัวได้ก็จะทำให้เกิดปัญหาทางจิตใจ ขาดความสุข ส่งผลกระทบต่อ
การเรียน จนอาจทำให้ต้องลาสิกขาระหว่างเรียนไปในที่สุด กองพุทธศาสนศึกษา
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พบว่า ในแต่ละปีการศึกษาจะมีสามเณร
ลาออกระหว่างเรียนประมาณร้อยละ ๕ ส่งผลให้จำนวนสามเณรที่จะเป็นศาสนา
ทายาทมีจำนวนลดลงตามไปด้วย โดยสรุปปัญหา ๓ ด้านหลักๆ ของสามเณร
ได้แก่ ๑) ปัญหาด้านการเรียนรู้ อาทิ เรียนรู้ช้า อ่านหนังสือไม่ออก คิดเลขไม่เปน็
๒) ปัญหาด้านสุขภาพร่างกาย ๓) ปัญหาด้านจิตใจ มีสามเณรเป็นโรคภาวะ
ซึมเศร้า เหงา เพราะหา่ งไกลพ่อแม่ และขาดทป่ี รึกษา จึงทำให้สามเณรไมส่ ามารถ
แก้ไขปัญหาได้ ในขณะเดียวกัน การปฏิบัติศาสนกิจที่เคร่งครัด จะทำให้สามเณร
รู้สกึ ว่าเรียนหนักเกินไป

ในทัศนะของผู้วิจัยเหน็ ว่า ปัญหาเรือ่ งจติ ใจ นบั วา่ เป็นปัญหาท่ีเป็นต้นตอ
ของปัญหาทั้งหมด ข้อนี้จึงควรตระหนักและให้ความใส่ใจ รวมถึงควรมีระบบการ
ดูแลปัญหาด้านจิตใจอย่างจริงจัง จากประสบการณ์ของผู้วิจัยในฐานะพระพี่เลี้ยง
ของสามเณร เห็นว่าแนวคิดเพื่อนช่วยเพื่อน เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ไข
ปัญหาของสามเณร การให้การปรึกษา มีวัตถุประสงค์เป็นไปเพื่อมุ่งช่วยเหลือให้
ผู้รับการปรึกษาสามารถพึ่งตนเองได้ และใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ในการ
แก้ปัญหา ดังนั้นเพื่อนที่ปรึกษา (Youth Counselors) อาจเป็นกุศโลบายอันดีที่
สามารถลดปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที สำนักวิชาการและมาตรฐาน
การศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพื้นฐานได้ระบุว่า ระบบการดูแล

๔๓

ช่วยเหลือนักเรียนเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สถานศึกษาดำเนินการป้องกันแก้ไข
ปัญหาได้อย่างเป็นระบบ โดยอาศัยการผนึกพลังการมีส่วนร่วมรับผิดชอบของ
ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างย่ิงผู้ที่ใกล้ชิดเข้าถึง และเข้าใจนักเรียนมาก
ที่สุดพวกหนึ่งคือ เพื่อนนักเรียนด้วยกันเอง และนักเรียนได้รับการปลูกฝังให้มี
น้ำใจช่วยเหลือเพื่อนๆ ได้รับการพัฒนาความรู้ความสามารถด้านจิตวิทยาให้
คำปรึกษาเบื้องต้นจะเป็นพลังสำคัญในการช่วยป้องกัน ลดความเสี่ยง และ
แกป้ ัญหาท่ีนักเรียนเผชญิ อยู่ไดม้ าก

โรงเรียนวัดไผ่ดำ แผนกสามัญศึกษา เป็นโรงเรียนปริยัติธรรมที่ได้นำ
โครงการสามเณรเพื่อนที่ปรึกษามาปรับใช้เป็นเครื่องมือเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
ของสามเณรนักเรียน โดยดำเนินงานร่วมกับกลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลอินทร์บุรี
ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้มีส่วนร่วมในการสังเกตการณ์และพัฒนากระบวนการดังกล่าว จึง
สนใจศึกษาพุทธสันติวิธีการให้การปรึกษาของสามเณรเพื่อนที่ปรึกษา โดยศึกษา
กรณีของโรงเรียนวัดไผ่ดำ แผนกสามัญศึกษา เป็นการศึกษาถอดบทเรียนถึง
แนวทางที่ใช้ในการพัฒนาสามเณรเพื่อนที่ปรึกษาได้นำหลักพุทธสันติวิ ธีใดมาใช้
และผลที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาสามเณรเพื่อนที่ปรึกษาเป็นอย่างไร ซึ่งผู้วิจัย
คาดหวังว่าการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ในการนำไปพัฒนาต่อยอดขยายผล และ
ทำให้สถานศึกษาได้ตระหนักถึงการสร้างระบบเพื่อนที่ปรึกษาในโรงเรียน ซึ่งจะ
เป็นอีกเส้นทางหน่ึงทีส่ ามารถบ่มเพาะสันติวิถีให้กับเยาวชนทั้งที่เป็นสามเณรและ
เยาวชนในสถานศึกษาทวั่ ไป

วตั ถปุ ระสงค์การวจิ ัย

๑. เพือ่ ศกึ ษาวิเคราะหก์ ระบวนการให้การปรึกษาของสามเณรเพ่ือนท่ี
ปรกึ ษา โรงเรยี นวดั ไผด่ ำ แผนกสามญั ศึกษา

๒. เพื่อนำเสนอพุทธสนั ตวิ ิธกี ารใหก้ ารปรึกษาของสามเณรเพอื่ นท่ีปรึกษา
โรงเรียนวดั ไผ่ดำ แผนกสามัญศกึ ษา

๔๔

วิธีดำเนินการวิจัย

การวิจัย “พุทธสันติวิธีการให้การปรึกษาของสามเณรเพื่อนที่ปรึกษา
กรณีศึกษา : โรงเรียนวัดไผ่ดำ แผนกสามัญศึกษา” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ
(Qualitative Research) แบบภาคสนาม โดยการสมั ภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตอย่าง
มีส่วนร่วม ประกอบกับการศึกษาเอกสาร เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และบูรณาการ
สร้างองค์ความรู้ประชากรเป้าหมายที่ศึกษาเป็นกลุ่มสามเณรและผู้เกี่ยวข้องกับ
โครงการสามเณรเพื่อนที่ปรึกษา โรงเรียนวัดไผ่ดำ แผนกสามัญศึกษา จังหวัดสิงห์บุรี
โดยผู้ใหข้ ้อมูลสำคญั ในการศึกษาครง้ั นี้ แบง่ เปน็ ๓ กล่มุ ได้แก่

๑) กลุ่มครู และเจ้าหนา้ ทผ่ี ูเ้ กีย่ วข้อง จำนวน ๕ คน
๒) กล่มุ สามเณรเพื่อนทป่ี รกึ ษา จำนวน ๑๐ รูป
๓) กลุ่มสามเณรผู้รับการปรกึ ษา จำนวน ๑๐ รูป
มีขน้ั ตอนการวจิ ยั ดงั ต่อไปน้ี

ขั้นตอนที่ ๑ ศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง (๑) ข้อมูลแบบปฐมภูมิ
(Primary Data)โดยการรวบรวมจากหนังสืออ้างอิงทางพระพุทธศาสนาต่างๆจาก
พระไตรปิฎก (ภาษาบาลี) พระไตรปฎิ ก (ภาษาไทย) ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจฬุ าลง
กรณราชวิทยาลัย (๒) ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data)โดยการรวบรวมจาก
หนงั สอื วารสารบทความงานวิจัยท่ีเกี่ยวกับหลักการแนวคิด ศกึ ษาแนวคิด หลักการ
ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการให้การปรึกษาในตะวนั ตก และตะวันออก รวมถึงกระบวนการการ
สร้างสันติภาพในรูปแบบพระพุทธศาสนา การให้การปรึกษาเชิงพุทธ และหลักสูตร
ฝึกอบรมนักเรียน : เพื่อนที่ปรึกษา (YC : Youth Counselor) กระทรวงศึกษาธิการ
โดยผวู้ ิจยั ได้รวบรวมทัง้ ขอ้ มูลจากงานวิจัยเอกสารวชิ าการ และบทความที่เกยี่ วข้องจาก
เอกสารต่าง ๆ เพื่อเป็นฐานคิดในการนำไปวิเคราะห์ บทบาทการให้การปรึกษาของ
สามเณรเพอ่ื นทป่ี รึกษาตามหลักพุทธสันตวิ ิธี

๔๕

ขั้นตอนที่ ๒ ศึกษาภาคสนาม ผู้วิจัยได้เริ่มต้นจากการนำแนวคิดทฤษฎีที่
เกี่ยวข้องมาเป็นกรอบคิดสำหรับการออกแบบคำถามที่จะทำการสัมภาษณ์กับกลุ่ม
ตัวอย่างโดยผู้วิจัยได้ให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาและความ
สอดคลอ้ งของเน้ือหาจำนวน๓ท่านเมอื่ ได้ประเดน็ คำถามแล้วผู้วิจัยได้ทำการสัมภาษณ์
เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่างตามที่ระบุไว้ในขอบเขตประชากรจำนวน๓กลุ่มโดยใช้การ
บันทกึ เสยี ง และบนั ทกึ วดี ีโอ นอกจากนีผ้ ู้วิจยั ยังได้ทำการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม
และไมม่ ีส่วนรว่ ม กับกลมุ่ สามเณรเพื่อนท่ปี รกึ ษาในการใหก้ ารปรึกษาแกเ่ พ่ือนสามเณร
ผู้ประสบปัญหา หลังจากท่ีได้ทบทวนเอกสารงานวิจัยทีเ่ ก่ียวข้องอยา่ งละเอียดแลว้
ผู้วิจัยนำมาสร้างเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย จากการทบทวนวรรณกรรมและ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในครั้งนี้ ผู้วิจัยจะได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลตามขั้นตอน
ดังต่อไปนี้

(๑) จัดเตรียมเครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์เจาะลึก (In–depth Interview)

(๒) ติดต่อขอหนังสือจากหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสันติ
ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยขออนุญาตและ
ขอความร่วมมือท่ีจะเข้าสัมภาษณ์

(๓) ตรวจสอบความสมบูรณ์ครบถ้วนของผลการสัมภาษณ์แล้วนำไป
วิเคราะห์ข้อมูล

นอกจากนี้ผู้วิจัยดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview)
ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ใช้การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ (Informal interview)
ดำเนินการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูล มีขั้นตอนดำเนินการ ดังนี้ ๑) ขั้นเตรียมการ
สมั ภาษณ์ ก่อนดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการสมั ภาษณ์ ผูว้ ิจัยนดั หมายวันเวลา
ที่จะสัมภาษณ์กับกลุ่มตัวอย่าง พร้อมนี้ผู้วิจัยศึกษาประเด็นคำถามที่ใช้ในการ
สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล เตรียมและศึกษาวิธีใช้เครื่องบันทึกเสียง และอุปกรณ์ท่ี
เกีย่ วข้อง ใหพ้ ร้อมกอ่ นดำเนินการสัมภาษณ์ ๒) ขัน้ ดำเนินการสมั ภาษณ์ ก่อนการ

๔๖

สัมภาษณ์ผ้วู จิ ยั แจ้งกลุ่มเปา้ หมายผู้ให้สัมภาษณ์ ให้ทราบถงึ วัตถุประสงค์ของการ
สัมภาษณ์ อธิบายเหตุผลและขออนุญาตใช้เครื่องบันทึกเสียงในขณะที่สัมภาษณ์
ขออนุญาตถ่ายภาพเพื่อใช้อ้างอิงในการสัมภาษณ์ รวมทั้งแจ้งให้ทราบว่าข้อมูล
ต่างๆ ทีบ่ นั ทกึ เสยี งไว้ผู้วจิ ัยจะเก็บไวเ้ ป็นความลับ หากผใู้ ห้สัมภาษณ์ไม่ประสงค์ท่ี
จะใหบ้ นั ทึกเสยี งช่วงใด ผวู้ จิ ยั กจ็ ะไม่บนั ทึกเสียงในช่วงนนั้

ขั้นตอนท่ี ๓ การวเิ คราะห์ข้อมลู จากการสมั ภาษณก์ ลุม่ ตัวอยา่ ง ผ้วู ิจัยได้
นำเทปบันทึกเสียงสัมภาษณ์ของกลุ่มตัวอย่างมาถอดเทปและสกัดประเด็นที่ผู้ให้
สมั ภาษณ์ไดต้ อบไว้ตรงกันและคัดแยกประเดน็ ท่ีให้ไว้ไมเ่ หมือนกันวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้
จากการสังเกตแบบมสี ่วนรว่ มและการสมั มนาในโอกาสต่างๆผู้วิจัยไดน้ ำข้อมูลเหล่านั้น
มาวิเคราะห์อธิบายตีความและสังเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อจัดทำและนำเสนอเป็น
งานวิจัยที่สมบูรณ์ในโอกาสต่อไปจากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากภาคสนามมาวิเคราะห์
ประกอบกับขอ้ มลู แนวคิดทฤษฎีตามท่ปี รากฏในขั้นตอนท่ี ๑ เพือ่ แสดงให้เห็นถึงความ
สอดคล้องของแนวคิดทฤษฎีกับปรากฏการณ์จริงในพื้นที่ศึกษาและได้นำเสนอเป็น
บทเรียนพุทธสันติวิธกี ารให้การปรึกษาของสามเณรเพอ่ื นท่ปี รกึ ษา

ผลการวจิ ัย

ประเด็นที่ ๑ วิเคราะห์กระบวนการให้การปรึกษาของสามเณรเพื่อนที่
ปรกึ ษา โรงเรียนวัดไผด่ ำ แผนกสามัญศกึ ษา

กระบวนการดำเนินงานให้การปรึกษาของสามเณรเพื่อนที่ปรึกษา มี
การทำงานร่วมกันจากทั้งหน่วยงานภายใน และหน่วยงานภายนอก โดย
ผู้อำนวยการโรงเรียนได้เป็นผู้มอบหมายภาระงาน ให้มีการทำงานร่วมกันอย่าง
เป็นระบบ ซึ่งดำเนินการตามลำดับ ๑) ผู้บริหารมอบหมายภาระงาน
๒) ประสานงาน และจัดทำโครงการ ๓) คัดเลือกสามเณรเข้าร่วมโครงการ
๔) จัดอบรมสามเณรเพื่อนที่ปรึกษา ๕) ฝึกทักษะการให้การปรึกษา และ

๔๗


Click to View FlipBook Version