The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือเตรียมการฝึกประสบการณ์2565

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by sunchait65, 2022-07-05 00:08:30

คู่เตรียมฝึกภาคสนาม2565

คู่มือเตรียมการฝึกประสบการณ์2565

Keywords: คู่ม,ื

37

ดังนั้นจึงสรุปเป็นความจริงขั้นพื้นฐาน (Grounded Theory) ได้ว่า การมีความคิดริเริ่มและการ
สร้างนวัตกรรมซึ่งจ ะท ำให้ช ุมช นมีคว ามเข้มแข็งแล ะพร้อมเผ ชิญกับสภ าว ะการแข่งขัน แล ะก าร
เปลี่ยนแปลงจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี ควรให้ความสำคัญกับ ความสุขภายใน เป็นความสุข เป็นความ
สงบ สันติ ที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการมีหรือไม่มีปัจจัยภายนอกโดยตรง มักจะเป็นความสุขใน
ระดับจิตและปัญญาและ ความสุขภายนอก มักจะสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ ในการดำรงชีวิตความสัมพันธ์
ระหว่างมนุษย์ด้วยกันและปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม การมีสติ เมื่อรู้ตัวเอง ก็สามารถกำกับให้ปฏิบัติได้ถูกต้องท้ัง
ทางกาย ทางจิต ทางสงั คมและทางปัญญา หรอื ทเ่ี รยี กว่า ภาวนา หรอื การทำให้เจริญ 4 ประการ อันก่อให้เกิด
ประโยชน์ สุขอย่างยั่งยืนแต่สันติภาวะที่สูงที่สุด คือ “พระนิพพาน”ความผาสุกทางจิตวิญญาณ ความรู้สึกถึง
ความต่อเนอื่ งกลมกลืนระหวา่ งตนเองของผู้สงู อายกุ ับผอู้ ื่น ธรรมชาติ และส่ิงนอกเหนือตนเอง

จัดทำคู่มือในการประยุกต์หลักบุญกิริยาวัตถุเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และควรมี
การประยุกต์หลักธรรมทางพุทธศาสนาเช่น สังคหวัตถุ 4 ประการ คือ ทาน ให้ปัน คือ เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่
เสียสละ แบ่งปันช่วยเหลือสงเคราะห์ด้วยปจั จัยสี่ทุนหรือทรัพย์สินสิง่ ของตลอดจนให้ความรู้ ความเข้าใจ
และศิลปวทิ ยา ปยิ วาจา พูดอย่างรักกนั คอื กลา่ วคำสภุ าพ ไพเราะ น่าฟังชี้แจง แนะนำสง่ิ ที่เปน็ ประโยชน์
มีเหตุผลเป็นหลักฐาน ชักจูงในทางที่ดีงาม หรือแสดงความเห็นอกเห็นใจ ให้กำลังใจ รู้จักพูดให้เกิดความ
เขา้ ใจดี สมานสามัคคี เกดิ ไมตรีทำให้รักใคร่นับถือ และช่วยเหลอื เก้ือกลู กนั อตั ถจรยิ า ทำประโยชน์แก่กัน
คือ ช่วยเหลือด้วยแรงกาย และขวนขวายช่วยเหลือกิจการต่างๆ บำเพ็ญประโยชนร์ วมทั้งช่วยแก้ไขปัญหา และ
ช่วยปรับปรุงส่งเสริมในด้านจริยธรรม สมานัตตตา เอาตัวเข้าสมานคือ ทำตัวให้เข้ากับเขาได้ วางตนเสมอต้น
เสมอปลายให้ความเสมอภาค ปฏิบัติสม่ำเสมอกันต่อคนทั้งหลายไม่เอาเปรียบและเสมอในสุขทุกข์ คือ ร่วมสุข
ร่วมทุกข์ ร่วมรับรู้ ร่วมแก้ไขปัญหาเพื่อใหเ้ กดิ ประโยชน์ สุขร่วมกัน ชุมชนสันติสุขคือชมุ ชนที่มคี วามเชื่อมันใน
ศักยภาพของตน แก้ไขปัญหาและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ด้วยตนเอง ทุกคนมีส่วนร่วมในการร่วมคิดตัดสินใจ
ร่วมประเมินผลการแก้ปัญหาและการพัฒนาของชุมชนผ่านกระบวนการชุมชน ชุมชนมุ่งการพึ่งตนเองเอ้ือ
ประโยชน์ต่อสมาชิกชุมชนทุกๆ คน และมุ่งหวังการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน มีเครือข่ายความร่วมมือกับภาคีการ
พัฒนา เพราะเป็นหมู่บ้านชุมชนเล็กๆ สามารถดูแลกันและกันได้อย่างทั่วถึง ควรมีการน้อมนำเอาปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการน้อมนำเอาหลักบุญกิริยาวัตถุ
ทางพระพุทธศาสนาใชเ้ ปน็ แนวทางการดำเนนิ ชีวติ ใหเ้ กิดความเข้มแขง็ ของชมุ ชนตอ่ ไป

5.2 อภปิ รายผลการวิจัย

การวิจัยเรื่องนี้ มีข้อค้นพบ (Fact findings) ที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่และมีคุณค่าทางวิชาการ
ซึง่ พรอ้ มทีจ่ ะนำไปใช้ประโยชน์ตอ่ ไป จึงนำมาอภปิ รายผลโดยใชห้ ลักตรรกวทิ ยาในการให้เหตุผล เพื่อตอบ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย ซึ่งมีดังต่อไปนี้ 1. เพื่อศึกษาการเสริมสร้างความเข้มแขง็ ตามหลักบุญกริ ยิ าวตั ถุ
ของชุมชนบ้านแสนคำ อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ 2. เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์วิธีการเสริมสร้าง

38

ความเข้มแข็งตามหลักบุญกิริยาวัตถุของชุมชนบา้ นแสนคำ 3. เพื่อจัดทำคู่มือการเสริมสร้างความเข้มแข็ง
ตามหลักบุญกิรยิ าวตั ถุของชุมชนบา้ นแสนคำ

1. ท่านคิดว่าหลักบุญกริ ิยาวัตถุ คือ การให้ทาน ศลี ภาวนามีคณุ คา่ และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง
ผลการวิจัยพบว่า หลักบุญกิริยาวัตถุคือการให้ทานเป็นต้นทำให้จิตใจสบาย เข้าใจสัจธรรมของ
ชีวิต สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิต พุทธศาสนาสอนให้รู้เท่าทันอารมณ์ มีความรู้ความเข้าใจ นำมาใช้
ในชีวิตประจำวันยึดถือเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตเห็นสัจธรรมของชีวิต คุ้มครองชีวิต ระลึกถึง
พระพทุ ธเจ้าเป็นถือพระรัตนตรยั เปน็ สรณะท่ีพ่ึง มีความเกื้อกูลต่อกนั และกันรูจ้ ักเอ้ือเฟื้อเผ่ือแผ่เกื้อกูลต่อ
ผ้อู ยใู่ กลช้ ิดและเพื่อนบา้ น หลกั ศีล ทาน ภาวนาเปน็ เครอื่ งยดึ เหน่ยี วจติ ใจ ห้ามกระทำความชั่วเห็นคุณค่า
ของคุณธรรม ภาวนาทำให้จิตใจนน้ั เกิดความผ่องใส มกี ารพัฒนาจิตใจ พฒั นาความคิดสตปิ ัญญาทำให้เกิด
ความรู้ ในหลักการทางพุทธศาสนาในการดำเนินชวี ิตท่ีถูกต้องเหน็ หลักธรรมคำสอน และการดำเนินชวี ติ
ไม่ให้ตกในทางที่ชั่ว นำไปสู่ความเจริญ ช่วยให้เกิดปัญญามีหลักการในการดำเนินชีวิตเข้าใจในหลักการ
ทางพุทธศาสนามากขน้ึ กว่าเดิม มธี รรมะประจำใจ เป็นแนวทางในการดำเนนิ ชวี ิต ช่วยให้เกิดคุณค่ากล่อม
เกลาจิตใจให้เกิดความสงบสุขช่วยให้มีสมาธิดีขึ้น ช่วยให้อารมณ์ดีและอารมณ์เย็นขึ้น เป็นที่ยึดเป็นที่ยึด
เหนีย่ วจติ ใจ ทำให้คนมีจิตใจดี โดยเฉพาะเรอื่ งศีลธรรม เปน็ สงิ่ ที่มีความสำคัญกับวถิ กี ารดำเนนิ ชวี ิตของแต่
ละคน หลักการทางพุทธศาสนาหรือหลักบุญกริ ิยาวตั ถุ ช่วยให้ไมเ่ ครยี ดอยูแ่ บบพอเพยี ง มหี ลักการดำเนิน
ชีวิตตามแนวพุทธศาสนาคือปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพุทธศาสตร์ เช่ือว่าทำดีได้ดีทำชั่วได้ช่ัว
หมั่นทำความดีสั่งสมบุญไว้ ดังภาษาพระที่ท่านบอกว่าการสั่งสมซึ่งบุญนำสุขมาให้ พัฒนาจิตใจแล้วเกิด
ความสุขเขา้ ใจความทุกขเ์ ข้าใจสัจธรรมชีวติ มากขึ้น เป็นทีย่ ดึ เหนย่ี วจิตใจเป็นหลกั ในการดำเนนิ ชีวิต ให้รู้ดี
รู้ชัว่ มีจติ ใจทดี่ ี รู้จกั ดีรู้จกั ชอบ รู้จกั เสยี สละดำรงตนให้ถกู ตอ้ งแล้วหม่ันขัดเกลาจิตใจ อยู่ตลอดเวลา
การสงั่ สมซ่ึงบุญนำสขุ มาให้ ให้ทานรักษาศีลเจริญภาวนาเปน็ หลกั การทางพทุ ธศาสนามีประโยชน์
ตอ่ สังคมอยา่ งมากเพราะวา่ เป็นการสรา้ งความสามคั คี ในรูปแบบของสังคมพุทธทา่ นสอนใหเ้ อือ้ เฟอ้ื เผื่อแผ่
ซ่งึ กันและกนั พทุ ธศาสนาสอนให้มีสตปิ ัญญา เหน็ คุณคา่ ของตนเอง ทง้ั ต่อทางโลกและทางธรรม หลักบุญ
กิริยาวัตถุเป็นแนวทางในการนำชวี ติ และขัดเกลาจิตใจให้ทำให้เกิดสติปัญญาให้มีคุณธรรมเปน็ แนวทางใน
การดำเนินชีวิตให้ไม่ให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ให้เป็นปกติสุขและนำไปสู่สังคมที่มีความสงบสุข หลัก
ทาน ศีล ภาวนาช่วยเตือนสติ ช่วยให้มีสมาธิในการทำงานมากขึ้น ช่วยให้มีสติในการศึกษาช่วยให้มีจิตใจ
สงบนง่ิ ทานศลี ภาวนาทำให้เราเป็นคนดีมีมีประโยชนต์ ่อการดำเนนิ ชวี ิตประจำวนั เพราะว่าพระท่านสอน
ให้เราอยู่ในหลักการทางพุทธศาสนาคือ ทาน ศีล ภาวนา มีคุณค่าต่อจิตใจ การทำบุญทานรักษาศีลเจริญ
ภาวนา หรือบุญกริ ยิ าวัตถุมีคณุ คา่ ต่อชาวโลก สอนคนใหม้ ีคณุ ธรรมเปน็ คนดี เป็นนายแบบทางพทุ ธศาสนา
ก็คือมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตเข้าใจชีวิตดำเนินชวี ิตอย่างมสี ติปญั ญา มีความรู้
คู่คุณธรรมเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตให้กับชาวบา้ น เพราะหลักธรรมทางพุทธศาสนา เป็นฐานในการ
พฒั นาหมบู่ ้านไปดว้ ย รกั ษาศีล ให้ทาน ภาวนา เป็นส่งิ ยดึ เหนีย่ วจติ ใจทำให้มีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต
ผลที่เกิดคือทำให้มีสติในการคิดดีพูดดีทำดี ซึ่งสอดคล้องกับงานของ ยิ่งยง เทาประเสริฐ (2545, หน้า3)

39

กล่าวถึงความเข้มแข็งของชุมชน หมายถึง การมีกลุ่มประชาชนร่วมตัวกันด้วยจิตสำนึกร่วมกัน มีบทบาท
และขีดความสามารถในการจัดการเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของตนบนพื้นฐานของสิทธิร่วมกันอย่าง
เท่าเทียมและพึ่งพาตนเองได้ โดยอาศัย องค์กร กลไก กระบวนการและกิจกรรมที่หลากหลาย ที่กลุ่ม
ประชาชนจดั ขน้ึ ในลักษณะหุ้นส่วนทีเ่ กดิ จากความรัก ความสมานฉันท์ และเอือ้ อาทรต่อกัน ภายใต้ระบบ
การจัดการท่ีเชอื่ มโยงเครอื ขา่ ยในแนวราบและเป็นองคร์ วม

และของ กฤษฎา บุญชัย.(2541, หน้า 13-14) แนวคิดความเข้มแข็งของชุมชน (strengthening)
ฐานแนวคิด “ชุมชน” ปัจจุบันเป็นการแสวงหาความสมดุลกับแนวคิด “ปัจเจกนิยม”ที่ถูกเน้นมากภาย
ลัทธทิ นุ นิยม ผูค้ นต่างมุ่งแสวงหากอบโกย แขง่ ขันและไม่รับผดิ ชอบซึ่งกนั และกันอันนำมาสู่การเส่ือมโทรม
ทางศีลธรรม การทำลายทรัพยากรธรรมชาติในภาวะดังกล่าวเกิดกระแสการกลับมาสนใจ “ชุมชน” ใน
ประเทศกำลังพัฒนาซึ่งยังคงมีระบบชุมชนเข้มแข็งอยู่เพื่อเป็นการถ่วงดุลกับภาวะ “ปัจเจกนิยม” ทำให้
ชุมชนสู่ความหายนะของกระแสชุมชนจนละเลยสิทธิปัจเจกชนดังเช่น ในอดีต แต่เน้นถึง “ความเป็น
ชุมชน” อันหมายถึงกระบวนการก่อรูปความสัมพันธ์ที่ยืดหยุ่น หลากหลายในบริบทใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น
เมอื ง ชุมชน ตามความสนใจตามสาขาอาชีพ และงานวจิ ยั ของ สุจนิ ต์ สุจติ โฺ ต (แกว้ สิน) ไดศ้ ึกษาเรื่อง การ
ประยุกต์หลักพุทธธรรมในการส่งเสริมอาชีพประชาชนของวัดป่ายางจังหวัดนครศรีธรรมราช ผลการวิจัย
พบว่า กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิตได้ก่อตั้งจากแนวคิดของพระอาจารย์
สุวรรณ คเวสโก เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2542 มีหลักการสำคัญที่คณะทำงานยึดเป็นแนวปฏิบัติคือกลุ่ม
สัจจะฯ วัดป่ายางจะใช้แนวพุทธศาสนาเป็นแกนกลางในการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มและแนวทาง
ประชาคม เป้าหมายต้องการให้ชุมชนพึ่งตนเองได้ อนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน รู้จักอดออม รวมกลุ่มกัน
แก้ปัญหา และมีคุณธรรมมีรูปแบบการดำเนินงานโดยใช้งานหรือกิจกรรมทุกอย่างเป็นเครื่องมือในการ
เรียนรู้ กิจกรรมประกอบด้วยโรงงานปุ๋ยปั้นเม็ด น้ำดื่มตราบ้านเรา แปลงผักนาข้าว ร้านสวัสดิการ
กากน้ำตาล ศูนย์ฝึกอบรม เป็นกิจกรรมที่ไม่มุ่งหวังในเชิงธุรกิจ แต่เป็นการมุ่งเน้นในการศึกษาเรียนรู้ มุ่ง
แน้นแนวทางในการพัฒนาองค์กร ทั้งระดับกลุ่มและเครือข่าย เป็นกิจกรรมที่มีความสอดคล้องกับหลัก
แห่งพุทธธรรม วิถีชวี ิตในสังคมชนบทนำไปสู่การดำรงชวี ิตแบบเศรษฐกจิ พอเพยี ง หลกั พุทธธรรมสำคัญวัด
ป่ายางนำมาใช้คือ หลักอิทธิบาท 4 หลักธรรมผู้ครองเรือน หลักทิฏฐิธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม หลักอปริ
หาริยธรรม หลกั สังคหวัตถุ 4 และความสขุ ของผู้ครองเรือนมาเป็นหลักในการทำงานโดยเฉพาะในด้านการ
สง่ เสริมเศรษฐกจิ ชุมชน เพราะเปน็ ธรรมที่สอดคลอ้ งกับการทำงานเป็นเครือ่ งยึดเหน่ียวจิตใจเป็นการสร้าง
ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหน่วยงานกับชุมชน ทำให้ชุมชนมีคุณธรรม สามารถพึ่งพาตนเองได้โดยผ่าน
กิจกรรม ผลลัพธ์จากการประยุกต์หลักพุทธธรรมในการส่งเสริมอาชีพประชาชนของวัดป่ายาง ด้าน
สิ่งแวดล้อม โดยมุ่งให้สมาชิกช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น นำสมุนไพรมาใช้ในการผลิต น้ำยาล้างจาน
นำ้ ยาซกั ผ้า นำ้ ยาลา้ งหอ้ งน้ำ นำ้ ยาล้างรถ ด้านเศรษฐกจิ ทำให้รายได้เข้าครอบครัวตลอดปี คนละไม่น้อย
กว่า 5,000 บาทต่อเดือน ด้านสังคมและวัฒนธรรมมีความเป็นกันเอง ช่วยเหลือกัน สร้างจิตนิสัย ทำให้
สมาชิกเกิดความสัมพันธ์กัน ส่งผลให้เกิดความสามัคคีในกลุ่ม มีจิตใจเอื้อเฟื้อต่อกัน ขยันหมั่นเพียร ใช้

40

เวลาใหเ้ กดิ ประโยชน์ และด้านคณุ ภาพชีวิตมีฐานะความเปน็ อยู่ดีขึน้ มีสิง่ อำนวยความสะดวกในครัวเรือน
ทกุ คนพงึ พอใจต่อรายได้ท่ีไดร้ ับ ลดหนีส้ นิ ในครวั เรือน ส่งผลให้คนในชมุ ชนพึงพอใจต่อสภาพความเป็นอยู่
ของตนเอง

2. การดำเนินกจิ กรรมเพอ่ื เสริมสรา้ งความเข้มแข็งตามหลักบุญกิริยาวัตถุของชุมชนบ้านแสน
คำ ในตำบลนีเ้ ปน็ อย่างไรบา้ งแต่ละดา้ นทำอยา่ งไร

ผลการวิจัยพบว่า มีการรวมกลุ่มในชุมชน โดยจัดกิจกรรมทางศาสนาผสมผสานกับประเพณี
วัฒนธรรม แต่ละด้านประเพณี 12 เดือนทางภาคเหนือหรือวัฒนธรรมท้องถิ่น มีการพบปะกันระหว่างวัด
กบั ชุมชนหรอื อาจจะเรียกได้วา่ บวร ก็คือบ้านโรงเรยี นแล้วกว็ ัด ชาวบา้ นมคี วามใกลช้ ิดวัดมากข้ึนโดยท่าน
เจ้าอาวาสได้มีกิจกรรมทุกๆวันพระทำบุญใส่บาตรแล้วก็พากันเจริญจิตภาวนา การสร้างกิจกรรมทำให้
ชุมชนบ้านแสนคำรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวมีเป้าหมายจุดประสงค์ร่วมกันเป็นการพัฒนาในด้านต่างๆทั้งด้าน
สังคมศาสนาวัฒนธรรมแล้วก็ชุมชนให้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีการดำเนินกิจกรรมไหว้พระสว ด
มนต์ทุกวันพระแลว้ กโ็ ดยเฉพาะในช่วงพรรษาก็จะมีการ ไหว้พระสวดมนตเ์ ปน็ ประจำ ชาวบ้านมีความยดึ
มั่นถือมั่นในพระพุทธศาสนาเพราะว่ายังเป็นชุมชนที่อยู่ห่างจากตัวเมืองยังไม่ได้เป็นเมืองมากนักยังเป็น
รูปแบบของชุมชนแบบชนบทก็คือชาวบ้านทุกๆ หลังคาเรือนรู้จักกันหมดทุกเกือบทุกคนครัวเรือนทำให้
เวลาจะทำอะไร ชุมชนก็จะให้ความร่วมมือกบั ทางวัด ชุมชนนัน้ มีวดั เองเดียวก็จะมาทำกิจกรรมภายในวัด
โดยการผสมผสานกับหลักธรรมทางพุทธศาสนา การดำเนินกิจกรรมก็เป็นไปตามรูปแบบของวัฒนธรรม
ทางภาคเหนือ ก็คือทุกๆเช้าก็จะมีชาวบ้านมาทานขันข้าว (ให้ทานตอนเช้ากับพระสงฆ์) ระหว่างพระกับ
ชาวบ้านนั้นจะมีความใกล้ชิดกันไปมาหาสู่กันตลอด ถามสารทุกข์สุขดิบ ซึ่งกันและกัน เพราะว่าชาวบ้าน
จะให้ความสำคัญกับพระสงฆ์ในชนบทมากเพราะว่าคนที่จะมาบวชนั้นหายากขึ้นทุกทีในปัจจุบันนี้ การ
ดำเนินกิจกรรมก็คือการสวดมนต์ไหว้พระทำให้ชุมชนนั้นมีความเข้มแข็งเพราะว่าการสวดมนต์ไหว้พระ
กจิ กรรมดา้ นนี้เป็นที่ยึดเหนีย่ วจิตใจของผูส้ งู วยั เยาวชนอกี ส่วนหน่ึง การสวดมนต์ไหว้พระในวันศีล ในวัน
พระ ก็จะมีการฟังธรรมโดยท่านเจ้าอาวาส หรือท่านจะวัดนิมนต์มา การทำกิจกรรมทุกๆ วันพระไม่ขาด
การดำเนนิ กิจกรรม เพือ่ การเสริมสรา้ งความเข้มแข็งของชุมชนตามหลักธรรมทางพุทธศาสนาหรือหลักบุญ
กิริยาวัตถุก็คือให้ชุมชนรู้จักแบ่งปนั ซ่ึงกนั และกัน ไม่ทำให้คนอื่นเดือดรอ้ น พระสงฆ์ทำตัวเองเป็นตัวอย่าง
ทีด่ ีใหก้ ับชาวบ้าน เผยแผพ่ ระพทุ ธศาสนาให้กบั ชาวบ้านโดยให้ชาวบา้ นนั้นยดึ หลักศีล 5 ศลี 8 มกี ารรักษา
ศีลภาวนาในวนั พระโดยการพฒั นาสติหรือหลักการอานาปานสติ ตามแนวสติปฏั ฐานสตู ร การปฏบิ ัติธรรม
กรรมฐานเนอ่ื งในวนั พระหรือวนั ในวันสำคัญทางพุทธศาสนา ทกุ วนั พระมกี ารถือศลี การน่งั สมาธิ การสวด
มนต์ มีการดำเนินกิจกรรมโดยการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมภายในวัดส่งผลให้ชาวบ้านมีความสามัคคี
โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงปีใหม่มีการสวดมนต์ข้ามปสี ืบชะตาหลวง ซึ่งสอดคล้องกับงานของนภาภรณ์ หะ
วานนท์ (2550) ได้ให้ความหมายของความเข้มแข็งของชุมชนไว้ในเชิงอุดมการณ์ และเป็นการให้
ความหมายที่ชี้ให้เห็นถึงมิติต่างๆ เชิงคุณสมบัติ จำนวน 8 มิติ ของความเข้มแข็งของชุมชน สรุปได้ดังน้ี
สามารถพ่งึ ตนเองได้ คอื สามารถทำอะไรไดด้ ้วยตนเอง และนอกเหนือจากนีย้ งั สามารถท่จี ะปรบั เปลีย่ น ไป

41

ตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ด้วย เป็นชุมชนที่สามารถปรับตัวแก้ปัญหาได้อย่างต่อเนื่อง ชุมชนท่ี
เข้มแข็งนั้นต้องสามารถพึ่งตนเองได้ อันเป็นลักษณะที่ชุมชนสามารถดำเนินหรือจัดการตนเองได้ ไม่ต้องรอ
หรืออาศัยนอกชุมชน สามารถคิด สามารถวางแผนหรือกำหนดการดำเนินการหรือจัดการชีวิตของชุมชนโดย
คนในชมุ ชนและเพ่ือชุมชนได้ การจัดการตนเองได้นี้เป็นศักยภาพของชุมชน ไมต่ ้องรอรับความช่วยเหลือจาก
ที่อื่น ไม่ว่าจากภาครัฐหรือจากภาคเอกชนอื่นๆ ได้ เป็นชุมชนที่อยู่ในระดับพออยู่พอกินอย่างพอเพียง อัน
เป็นชุมชนที่สามารถผลิตเองได้ มีเทคโนโลยีเป็นของตนเอง และสามารถใช้ได้อย่างเหมาะสม และ
สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมกับการผลิตเพื่อกินเพื่อใช้ หากเหลือก็นำเอาไปขาย ต้องไม่เป็นหนี้ และไม่มี
การผอ่ นดอกเบ้ีย มีวัฒนธรรมเป็นรากฐานของชุมชน หมายความว่า วฒั นธรรมเป็นทนุ ของชวี ิตในชุมชนท่ี
มีกระบวนการผลติ ข้ึนมา เพื่อใช้เปน็ อปุ กรณ์สำหรับการอยรู่ อดและดำรงอยู่ของชุมชนอย่างมคี ุณธรรม ซึ่ง
จะมสี ถาบันทางสังคมเป็นผผู้ ลิตซ้ำหรอื ดำเนนิ การตามหน้าท่ี คอื วัดและโรงเรยี นและครอบครัวในชมุ ชน

ประเวศ วะสี (2541 ก,14-16) ลักษณะความเข้มแข็งของชุมชน เป็นชุมชนเรียนรู้ คือสมาชิก
ช่วยกันเรียนรู้ หรอื เรียนรเู้ ป็นกลุ่มที่มคี วามตนื่ ตวั อยู่ตลอดเวลา รขู้ ่าวคราวในด้านตา่ ง ๆ ท้ังทางเศรษฐกิจ
สังคม การเมือง ซึ่งอยู่นอกชุมชนและมีความรู้เกี่ยวกับชุมชนที่มีผลมาจากการปฏิบัติหรือประสบการณ์ที่
ได้รับร่วมกัน หรือเป็นกระบวนการเรียนรู้และการตัดสินใจร่วมกัน ความรู้สึกที่เกิดจากการเรียนรู้ซึ่งกัน
และกัน ผ่านการแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดร่วมกันเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ
ของชุมชน การเป็นชุมชนเรียนรู้ ทำให้สมาชิกมีการเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งเป็นจัดเริ่มตนของการดำเนินงาน
พัฒนาชุมชนร่วมกัน เพราะผลจากการเรียนรู้จะนำไปสู่การคิดหาวิธกี ารที่จดั ร่วมกันเพื่อพัฒนาชุมชนของ
ตนเอง กูเดนและคริสแมน (Gunden & Crissman, 1992) ได้กล่าวถึงทักษะของผู้นำ เพื่อการเสริมสร้าง
พลังอำนาจดังน้ี ความไว้วางใจ (Trust) ผู้นำต้องสรา้ งและคงไว้ซึ่งความไว้วางใจ โดยเป็นผู้ที่มีความมัน่ คง
ทางอารมณ์ รู้จักกาลเทศะ มีความซื่อสัตย์ รักษาข้อผูกพันและสัญญา การให้ข้อมูลย้อนกลับ
(Feedback) ผู้นำจะต้องได้รับข้อมูลย้อนกลับว่ารูปแบบการทำงานเป็นอย่างไร มีข้อดี ข้อเสีย หรือมีส่ิง
ใดบา้ งที่ตอ้ งปรบั ปรงุ การสอนและการปฏบิ ัตเิ ปน็ แบบอย่าง (Teaching coaching and role modeling)
ผ้นู ำสามารถสอนและเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้ปฏิบตั ิงาน การตดิ ต่อสื่อสาร (Communication) ผู้บริหาร
ควรใช้การสื่อสารสองทาง โดยสื่อสารได้หลายรูปแบบ เช่น การประชุมย่อย การพบปะกันในแผนก การ
ประชุมปรึกษา เพื่อให้ได้รับข่าวสารร่วมกัน การตั้งเป้าหมาย (Goal setting) ควรมีการตั้งเป้าหมาย
ร่วมกัน ซึ่งเป็นการสนับสนุนการเสริมสร้างพลังอำนาจ เพื่อให้ทุกคนรู้สึกถึงการมีส่วนร่วม รู้สึกเป็นส่วน
หนึ่งของงาน ทำให้ตนเองรู้สึกมีคุณค่า การสนับสนุนในทางบวก (Positively support) ผู้นำจะต้องสร้าง
หรือให้คำแนะนำเชิงสร้างสรรค์ จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติในการสร้างรูปแบบทางความคิด เพื่อสร้างความมั่นใจ
ในการทำงาน สรุปการเสริมสรา้ งพลังอำนาจด้านจติ ใจ เป็นการคำนึงถงึ การเสรมิ แรงทางดา้ นจิตใจ เพ่อื ให้
ผูป้ ฏิบตั งิ านมีความเชอ่ื มัน่ ในสมรรถนะของตนเองท่ีจะทำให้งานประสบความสำเรจ็

อาณา สุดชาดา ไดท้ ำการศกึ ษาเรื่อง การศึกษาบญุ กริ ยิ าวัตถุ 3 ทปี่ รากฏในประเพณบี ุญเดือนส่ี;
กรณีศกึ ษาตำบลนาคาย อำเภอตาลสมุ จงั หวดั อุบลราชธานี ผลการวิจัยพบว่า บุญกริ ิยาวตั ถุ เป็นรากแก้ว

42

แห่งการทำดีในทางพระพุทธศาสนา เป็นหลักการส่งเสริมในการทำคุณประโยชน์ที่ดี เพื่อพัฒนาคุณภาพ
ของชีวิตให้เจริญงอกงามทั้งปัจเจกบุคคล และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาได้แบ่ง
ประเภทของบุญกิริยาวัตถุเป็น 3 คือ 1) ทานมัย คือ บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน 2) ศีลมัย คือ บุญ
สำเร็จด้วยการรักษาศีล และ 3) ภาวนามัย คือ บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา ซึ่งบุญกิริยาวัตถุ 3 นี้ มี
คุณลักษณะและอานิสงส์แตกต่างกัน ไปตามแต่ระดบั ช้ัน เช่น ศลี ยอ่ มไดอ้ านิสงส์มากกว่าการให้ทาน ส่วน
ภาวนายอ่ มไดอ้ านิสงสม์ ากกวา่ รักษาศลี ประเพณีบญุ เดอื นสี่ เปน็ หนึ่งในประเพณฮี ตี 12 เดอื น เรยี กอย่าง
หนง่ึ วา่ บญุ ผะเหวส มีความเป็นมาในภาคถิ่นอสี านเป็นเวลาชา้ นาน ทกุ ข้ันตอนในการจดั พิธกี รรมในการจัด
งาน และกณั ฑ์เทศนแ์ ฝงดว้ ยหลักบญุ กริ ยิ วัตถุ 3 คอื ทาน ศลี ภาวนา วิถชี ีวติ ของชาวตำบลนาคาย อำเภอ
ตาลสมุ ไดด้ ำเนินไปตามหลักบุญกริ ิยาวตั ถุ 3 คือ ทาน ศีล ภาวนา ซ่งึ ปรากฏในประเพณบี ญุ เดือนสี่ พร้อม
ด้วยส่งผลต่ออีกหลายด้าน เช่น ด้านวัฒนธรรม ด้านวรรณกรรม ด้านฝาผนงั จิตรกรรม ด้านการท่องเที่ยว
ด้านทนุ สงั คม ดา้ นจรยิ ธรรมชีวติ ดา้ นความสามคั คี และดา้ นสงั คมสังเคราะห์

3. ชุมชนที่นี้มีวัฒนธรรมประเพณีมีอะไรบ้างเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งตามหลักบุญกิริยา
วัตถุ คือ ทาน ศีล ภาวนา แตล่ ะเรอ่ื งมอี ะไรบ้าง ทำอยา่ งไร

ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนมีการประยุกต์วัฒนธรรมท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเพณีทางด้าน
เมืองเหนือ มีการตั้งชมรมแม่บ้าน กองสะบัดชัยขึ้นโดยท่านเจ้าอาวาส สอนให้เยาวชนนั้นห่างไกลยาเสพ
ติดอยู่ใกล้วัดมากขึ้น อาจจะเรียกได้ว่ามีการผสมผสานวัฒนธรรมกับประเพณีท้องถิ่น ได้อย่าง ดีเยี่ยม มี
การเอาวฒั นธรรมการฟ้อนเลบ็ ท่เี ปน็ วฒั นธรรมทางเมืองเหนือ เปน็ การฟอ้ นบูชาพระพุทธเจา้ ให้สอดคล้อง
กบั หลักการทางพระพุทธศาสนา คือการสร้างความสามัคคภี ายในชุมชน เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับ
ชุมชน มีการจัดงานถวายทานก๋วยสลาก (ประเพณีทานสลากภัตรทางภาคเหนือ) บุพพเปตพลี ถวายทาน
ให้กับญาตผิ ลู้ ่วงลับไปแลว้ ประเพณยี ีเ่ ป็งประเพณที านข้าวใหม่ มกี ารจัดประเพณที านสลากภัตรในทุกปี มี
การแจกจ่ายทานมากมายและเชื่อมความสัมพันธ์ของผู้คนในหมู่บ้านรวมทั้งในทุกๆ วันพระก็จะมีการให้
ทานรักษาศีลรวมทั้งการเจรญิ ภาวนาด้วย การนำเอาประเพณสี งกรานต์ ประเพณีเขา้ พรรษา งานบุญเดอื น
12 ตานก๋วยสลาก ลอยกระทง และวนั สำคญั ทางพระพุทธศาสนารวมทง้ั จดั งานทุกๆวันพระโดยเจ้าอาวาส
ทั้งผู้ใหญ่ภายในหมู่บ้านแล้วก็หาผู้เฒ่าผู้แก่ในบ้านมารวมตัวกันเพื่อมาสั่งสมบุญก็คือการให้ทานรักษาศีล
และเจริญภาวนาในวนั พระวันศีล การจดั วฒั นธรรมประเพณีทำใหส้ ังคมแลชุมชนน้ันเกดิ ความเข้มแข็งโดย
เอาพระพุทธศาสนาเป็นฐานในการพัฒนาชุมชนเพื่อให้เกิดความสามัคคีภายในชุมชน มีส่วนในการสร้าง
ความเขม้ แข็งใหก้ บั ชุมชน โดยเฉพาะหลกั ธรรมทางพุทธศาสนาเปน็ การผสมผสานกบั วถิ ชี ีวิตชุมชนได้อย่าง
กลมกลืน เพราะว่าการทำกิจกรรมในแต่ละครั้งนั้นช่วยให้ชาวบ้านนั้นมารวมตัวกันแล้วก็มีการพบปะ
พูดคุยกัน เป็นประเพณีรวมใจกันจัดงานโดยเอาวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน สร้างความสามัคคีในชุมชน
ประเพณีวฒั นธรรมทานสลากภตั รหรือว่าประเพณที างเมอื งเหนือ

ในหมู่บ้านก็จะมีสภาหมู่บ้านประชุมปรึกษาหารือกันเพื่อจัดกิจกรรม การเอาวัดเป็นศูนย์กลาง
เวลามีงานอะไรก็จะให้ท่านเจ้าอาวาสไปเจิมให้ก่อนอย่างเช่นการซื้อรถใหม่ก็ดีหรือว่าการขึ้นบ้านใหม่ก็ดี

43

หรือว่าทานเข้าใหม่ก็ดีอย่างนี้เป็นต้น การจัดกิจกรรมมีการผสมผสานประเพณีท้องถิ่น เป็นการเอา
วัฒนธรรมทอ้ งถนิ่ คือประยกุ ต์วัฒนธรรมท้องถิ่นเช่นกลองสะบดั ชัยเปน็ ตน้ มาผสมผสานกบั ในงานบุญในวัด
วัฒนธรรมมีส่วนช่วยให้คนในชุมชนรู้จักเข้าวัด วัดในทางภาคเหนือให้ความสำคัญในวันพระ การมาจำศีล
ในทุกวันพระ มีการจัดงานปอยหลวง ทอดกฐิน การสืบทอดวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยการฟ้อนเล็บและ
ประเพณีทางภาคเหนือส่วนใหญ่ผสมผสานกับพระพุทธศาสนานั้นเป็นหลักในการพัฒนาสังคม มีเทศน์
ธรรมแบบทำนองล้านนา และการสวดมนต์ ยึดถอื พระพุทธรูปหรือพระรตั นตรัยเป็นสรณะท่ีพึ่งตลอดชีวิต
ประเพณวี ัฒนธรรม มสี ่วนชว่ ยในการเสรมิ สร้างความเขม้ แขง็ ของชมุ ชนโดยอาศัยพุทธศาสนาเปน็ ฐาน เช่น
ปีใหม่เมืองมีประเพณีสงกรานต์ มีประเพณีการเข้าพรรษา ประเพณีการออกพรรษาตานก๋วยสลาก
ประเพณที อ้ งถ่ินภาคเหนือ มีประเพณียเี่ ปง็ หรือประเพณีลอยกระทงประเพณีบญุ เดือน 12 บพุ เปตพลี ตัก
บาตรเป็งปุ๊ด การแสดงพระธรรมเทศนาทุกๆ วนั พระ หรอื มกี ารรวมกลุ่มของแม่บ้านเพื่อทำกจิ กรรมชุมชน
อย่าง เช่น การฟ้อนเล็บ ซึ่งสอดคล้องกับงานของ ประเวศ วะสี (2543, หน้า 4-5) ได้ให้ความหมายของ
ชมุ ชนเข้มแขง็ วา่ หมายถงึ การทีป่ ระชาชนในชุมชนต่างๆ ของเมือง หรือชนบทมารวมตัวกันเป็น “องค์กร
ชุมชน” โดยมีการเรียนรู้การจัดการและแก้ไขปัญหาร่วมกัน มีการร่วมมือช่วยเหลือเพื่อประโยชน์ร่วมกนั
และมีความเอื้ออาทร ต่อชุมชนอื่น ๆ ในสังคมด้วย คานเตอร์ (Kanter, 1993 cited in Laschinger, et.
al., 1999) เจ้าของทฤษฎีการเสริมสร้างพลังอำนาจในองค์กร (Kanter’s Theory of Organization
Empowerment) เสนอว่า อำนาจทั้งสองส่วนนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นของการเสริมสร้างพลังอำนาจ ซ่ึง
ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ การได้รับทรัพยากร หมายถึงความสามารถในการจัดหาสิ่งที่จำเป็นในการ
สนับสนุนการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย ได้แก่ ปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน ดังนี้ ปัจจัยภายนอก
ประกอบด้วย วัสดุอุปกรณ์ (Material) เงินทุน (Fund) ขอบเขต (Space) และเวลา (Time) ซึ่งวัสดุ
อปุ กรณ์ หมายถงึ อาคารสถานที่ ท่ีให้ความสะดวกหรือเอื้อต่อการปฏิบัติงาน รวมถงึ เคร่ืองมือเคร่ืองใช้ท่ี
มีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมให้การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมาย เงินทุน หมายถึง งบประมาณที่องค์กร
จัดสรร เพื่อใช้ในกิจกรรมของแต่ละแผนก ขอบเขต หมายถึง การเปิดช่องว่างให้กว้าง เพื่อให้บุคคลได้
ปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ ส่วนเวลา หมายถึง การใช้เวลาที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติงานของ
บุคลากร ปจั จัยภายใน ประกอบดว้ ย คณุ ลกั ษณะสว่ นบคุ คล ซงึ่ เปน็ ทรพั ยากรส่วนบคุ คล ไดแ้ ก่

แนวคิดเกี่ยวกับตนเองด้านบวก ทักษะการรับรู้ ความสามารถในการปรับตัว ความกล้าหาญ
อดทน สิ่งเหล่านี้ถือเป็นทรัพยากรภายในที่ผู้นำควรสนับสนุน ส่งเสริม ให้เกิดขึ้นเพื่อให้สามารถนำ
ทรัพยากรภายนอก ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความสำเร็จได้ตามเป้าหมาย เป็นการเอื้ออำนวยต่อการ
ปฏิบัติงาน และทำให้เกิดความพึงพอใจในงาน เนื่องจากได้รับการตอบสนองความต้องการในการ
ปฏิบัติงาน มคี วามผกู พันในงาน และทมุ่ เทให้กับงานอย่างเต็มที่เพื่อประโยชน์ขององค์กร และมีความสุข
ในการทำงาน ด้านการได้รับการสนับสนุน หมายถึง การที่ผู้บริหารสนับสนุนและส่งเสริมผู้ปฏิบัติงาน
ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การให้การยอมรับและเห็นชอบตามกฎหมาย ส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
และหมคู่ ณะเพื่อใหเ้ กิดความร่วมมือในการปฏบิ ตั ิงาน และเปน็ การสร้างเครือข่ายในการทำงาน รวมไปถึง

44

การท่ีผบู้ รหิ ารสนบั สนนุ ให้บคุ ลากรมีพฤติกรรมทีก่ ่อให้เกดิ การทำงานที่มีประสิทธิภาพ (Porter-O’Grady,
1986) ได้แก่ การส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติแสดงความคิดริเร่ิมสรา้ งสรรค์ ให้โอกาสตัดสินใจแก้ปัญหา
การปฏิบัติงาน พัฒนางาน หรือปรับปรุงแนวทางในการปฏบิ ัติงานให้ดีขึ้น การให้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับ
ผลการปฏิบัติงาน (feedback) การยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน การยอมรับในความผิดพลาด การแสดง
ความพึงพอใจในงานที่ทำสำเร็จ การแสดงความห่วงใย รับฟัง และเข้าใจปัญหาทุกด้านของบุคลากร
ตลอดจนการแสดงไมตรีจิต ยิ้มแย้ม และให้ความเป็นกันเองกับบุคลากร การได้รับการสนับสนุนจากผู้
บังคบั บัญชา จะทำใหบ้ ุคลากรรู้สึกสุขใจ และมีคณุ คา่ มีการรับรู้ถงึ การไดร้ ับการเสริมสรา้ งพลังอำนาจใน
งานเป็นแรงจูงใจให้เกิดความพึงพอใจในการทำงาน เมื่อบุคคลมีความพึงพอใจในการทำงานแล้ว ย่อมมี
ขวัญและกำลังใจที่จะปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ มีความกระตือรือร้น ขยันหมั่นเพียรและ
ยึดมั่นผูกพันต่อองค์กร ด้านการได้รับข้อมูลข่าวสาร ซึ่งได้แก่ ข้อมูลความรู้ทางเทคนิค ทักษะความ
ชำนาญในการปฏิบัตงิ าน และขา่ วสารการเมือง ขอ้ มูลขา่ วสารทผี่ ู้บริหารควรแบ่งปนั ใหผ้ ู้ปฏิบัติ ควรเป็น
ข้อมูลที่สนับสนุนการตัดสินใจ และวางแผนในการดำเนินการและได้รับข้อมูลข่าวสาร ทำให้ผู้ปฏิบั ติรู้
การเคลื่อนไหวภายในองค์กร ทราบนโยบายและการตัดสินใจขององค์กร ข้อมูลข่าวสารที่ได้ ควรมีการ
สื่อสารแบบสองทาง ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและทันต่อเหตุการณ์ จะช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของ
ผู้ปฏิบัติงาน และทำให้เกิดคุณภาพและประสิทธิผลขององค์กร ในทางตรงข้ามถ้าผู้ปฏิบัติไม่ได้รับข้อมูล
ข่าวสารที่ถูกต้องเพียงพอ และไม่ทราบว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างในองค์กร (Gunden & Crissman, 1992) ผู้
ปฏิบัติจะรู้สึกผิดหวัง ไม่พอใจกับการกระทำของผู้บังคับบัญชา ส่งผลให้เกิดความไม่พึงพอใจในงานและ
ประสิทธิผลขององค์กรต่ำลง การได้รับโอกาส ผู้บริหารต้องตระหนักถึงการเติบโตและความก้าวหน้าใน
ตำแหน่งหนา้ ทีแ่ ละการงาน รวมทั้งโอกาสในการเพ่มิ พนู ความรู้ ทกั ษะ ความสามารถของผปู้ ฏิบัตงิ านดว้ ย

ซึ่งการไดร้ บั โอกาสนี้ คานเตอร์ (Kanter, 1977) สรปุ คือการไดร้ บั ความก้าวหน้าในหนา้ ที่การงาน
(Advancement) การส่งเสริมสนับสนุนผู้ปฏิบัติงานในการเลื่อนตำแหน่ง พิจารณาความดีความชอบ
เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งอย่างยุติธรรม ให้โอกาสก้าวหน้าในการปฏิบัติงานในระดับที่สูงขึ้นการได้รับความ
เพ่มิ พนู ทกั ษะความสามารถ (Competence and skill) การให้โอกาสผูป้ ฏิบตั งิ านในการไปอบรม เพิ่มพูน
ความรู้ในการประชุมวิชาการ การศึกษาดูงาน หรือลาศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น การได้รับการยกย่อง
ชมเชยและการยอมรับ (Reward and recognition) การให้ความสำคญั กับผู้ปฏบิ ัตทิ ีป่ ฏิบตั ิงานดี โดยการ
กล่าวคำยกย่องชมเชย ประกาศเกียรติคุณ หรือให้รางวัล เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ เกิดความภาคภูมิใจ
และรู้สึกตัวเองมีคุณค่า และสมบูรณ์ ธรรมลงกา ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็ง
ของชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานในจังหวัดเชียงราย ผลการวิจัยพบว่า ในบริบททางด้านสังคม
ของชุมชนที่เข้มแข็งในจังหวัดเชียงราย เป็นสังคมแบบเครือญาติ มีโครงสร้างทางสังคมเป็นทั้งแนวราบ
และแนวตั้ง ทางด้านการเมือง มีการกระจายอำนาจแบ่งการปกครองชุมชนเป็นหมวดหรือคุ้มชุมชนต่างๆ
ทางด้านวัฒนธรรมชุมชน มีวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อและพิธีกรรมที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ และ
ทางด้านเศรษฐกิจ มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์เป็นต้นทุนในการผลิต มีการรวมกลุ่มเพื่อการผลิต

45

การจำหน่ายผลผลิตเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจของชุมชน การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานในการเสริมสร้าง
ความเข้มแข็งของชุมชน ในจังหวัดเชียงราย มีอาทิเช่นภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านผู้นำชุมชน การเรียนรู้และ
การถ่ายทอดความรู้การอนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การปรับตัวกบั การเปลี่ยนแปลง ส่วนปัจจัยท่ีมีผลต่อ
ความเข้มแข็งของชุมชน มีปัจจัยสำคัญคือ กระบวนการเรียนรู้ของชุมชน ระบบเครือข่าย ระบบ
ความสัมพันธ์ในชุมชน และภูมปิ ัญญาทอ้ งถน่ิ ในการพฒั นารปู แบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
โดยใช้ภูมปิ ัญญาท้องถน่ิ เป็นฐานไดใ้ ชป้ ัจจยั ต่างๆเหลา่ นี้มากำหนดรปู แบบการเสริมสรา้ งความเข้มแข็งของ
ชุมชนและตัวชี้วัดความเข้มแข็งของชุมชน ส่วนกลยุทธ์การนำรูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของ
ชุมชนโดยใช้ภูมิปญั ญาท้องถิ่นเป็นฐาน ได้แก่ กลยุทธ์การบริหารจัดการชุมชน กลยุทธ์การมีสว่ นร่วมของ
ชุมชน กลยุทธ์การสร้างกระบวนการเรียนรู้ กลยุทธ์การสร้างเครือข่าย และกลยุทธ์สร้างจิตสำนึกรักบ้าน
เกิด พวงรัตน์ วิทยมาภรณ์ (2541) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การใช้แหล่งความรู้ในชุมชนในการเรียนการสอน
กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต (วิชาสังคมศึกษา) ในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดขอนแก่น ผล
การศึกษาพบวา่ ครูผู้สอนมคี วามเห็นว่าการนำแหล่งความรู้ในชุมชนมาใชใ้ นการเรยี นการสอนมีประโยชน์
มากที่สุดต่อการเรียนการสอนวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต (วิชาสังคมศึกษา) ด้านผู้เรียน จากการ
สัมภาษณ์พบว่า ผู้เรียนมีความสนใจและกระตือรือร้นในการเรียนโดยใช้แหล่งความรู้จากชุมชม และ
ต้องการให้ครูนำความรู้จากชุมชนมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนมากกวา่ การสอนแบบปกติ เพราะเป็น
วิธีการสอนอีกรปู แบบหน่งึ ท่ผี ู้เรยี นได้ไปสัมผสั กับสถานท่ีจริงผู้เรยี นเบื่อหน่ายการเรียนท่ีเกิดขึ้นแต่เฉพาะ
ในห้องเรียน

4. วัฒนธรรมประเพณีท่ีสำคัญของชุมชนมีสิ่งสนับสนนุ อะไรบา้ ง ท่ีทำใหเ้ กิดการเปล่ียนแปลง
ทางสงั คมและเพอื่ เสรมิ สร้างความเขม้ แขง็ ตามหลักบญุ กิริยาวตั ถุ คือ ทาน ศีล ภาวนา

ผลการวิจัยพบว่า วัฒนธรรมประเพณีที่สำคัญของชุมชนเช่นการจัดตั้งเปน็ กลุ่มแมบ่ ้านการฟ้อน
เล็บ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมโดยเอาหลักการทางพุทธศาสนาเป็นฐานในการพัฒนาสังคมเกิด
การเปลี่ยนแปลงทางชวี ิตคนเข้าวัดเข้าวาเอาไว้เป็นศูนย์กลางเป็นศูนย์รวมจิตใจเกิดการปลูกฝังให้กับเด็กๆ
ทำให้เดก็ ๆ น้ันไม่หา่ งวดั เขา้ วดั เข้าวาเข้าชว่ ยกิจกรรมภายในวดั แล้วก็มีจติ อาสามกี ารสร้างความสามคั คีให้
เกิดขึ้นภายในชุมชนมากขึ้นกว่าเดิม สอนให้มีความรู้มีสถานที่ปฏิบัติให้คนรู้จัก รวมรวมเอาวัฒนธรรม
ประเพณีทางพุทธกับวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นผสมผสานกันได้ดีมาก มีกิจกรรมในทางพุทธศาสนามาก
ขน้ึ มีการทำบุญและการฟังธรรม การสวดมนตไ์ หว้พระแลว้ ก็ท่านเจ้าอาวาสหรอื ผนู้ ำชมุ ชนท่ีนกี่ ็สอนวิธีการ
เจริญภาวนาดว้ ย ในวันพระ 8 ค่ำ 15 ค่ำ วัฒนธรรมประเพณี ที่สำคัญก็คือ การรวมกลุ่มกัน กลุ่มแม่บ้าน
มีการฟอ้ นเลบ็ เกดิ การเปลยี่ นแปลงในด้านกิจกรรมต่างๆ ภายในสังคมและชมุ ชนเกษตรกรรมภายในวัดน้ัน
จะเกิดผลดีในด้านต่างๆ เช่นความร่วมมือของคนในชุมชนและสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงความคิดเห็น
ต่างๆ ของแต่ละคนเป็นต้นไปในทางที่ดีขึ้น วัดกับชาวบ้านก็ไม่ห่างกัน ผู้นำชุมชนและพระสงฆ์ผู้เฒ่าผู้แก่
ชาวบ้านทุกคนร่วมกันส่งเสริมสนับสนุนเอาประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น การจัดกรรมของพระสงฆ์มา
ผสมผสานกับชาวบ้านอย่างพร้อมเพียงกัน มีการนำวัฒนธรรมท้องถิ่นเช่นกันเอากลองสะบัดชัยมาเล่นใน

46

ขณะที่ทางวัดจัดงานหรือไปร่วมงานกับวัดอื่น เกิดการเปลี่ยนแปลง วิธีการคิดหรือวิถีการดำเนินชีวิต
ชาวบ้านก่อนท่จี ะออกไปทำงานกต็ ้องมาวัดก่อน เวลาวดั มีงานช่วยให้วดั ดมี คี วามสามคั คี

ชุมชนที่น่ียึดเอาพุทธศาสนาเป็นฐานในการพัฒนาเขา้ มาใหค้ วามร่วมมือให้การสนบั สนนุ ในทางที่
เป็นประโยชน์ เพื่อความสามัคคีในชุมชน เกิดความสามัคคี ในชุมชนอยากให้วิหารสร้างเสร็จเร็วๆ ก็คือ
ทางวัดได้จัดทำสร้างวิหารสร้างวิหาร ชุมชนรวมตัวกัน จัดกิจกรรมทุกๆ วันพระมีมีการจัดงานประเพณี
ปอยหลวง มีการจัดงานประเพณีประจำปีการปล่อยโคมการละเล่นต่างๆ คือโดยเจตนาการบูชา
พระพุทธเจ้า โดยสอดแทรกหลักธรรมทางพุทธศาสนาคือการเน้นการทำบุญแล้วก็การเจริญภาวนาและ
การเดนิ ประทกั ษณิ ในวันพระ เวียนเทยี น มีความร่วมมอื ความสามคั คีสร้างความสามัคคี วิถชี ีวติ ของชุมชน
เปลีย่ นไปตงั้ แต่มีวัดเปน็ ของชุมชนของตนเองคือ ชมุ ชนเป็นวิถเี กษตรกรรม เพราะฉะนนั้ แล้วชาวบ้านจึงมี
เวลาว่างมาก เวลากลางวันก็เข้ามาสนทนาธรรมกับพระบ้างเข้ามาคยุ เล่นกับพระบ้างอยา่ งน้ีเป็นต้นจึงทำ
ให้ชุมชนกับวัดหรือพระมีความคุ้นเคยกันมาก ส่วนทางด้านประเพณีวัฒนธรรมหรือสังคมนั้นก็มีการ
เปลี่ยนแปลงไปบ้างเล็กน้อยเพราะว่าตามกระแสวัตถุนิยมก็คือเศรษฐกิจปัจจุบัน สังคมปัจจุบันเน้นที่วัตถุ
นิยม พัฒนาด้านวัตถุนิยมมากกว่าพัฒนาด้านจิตใจ การที่วัฒนธรรมประเพณีชุมชนทำให้เกิดการ
เปลีย่ นแปลงก็คือ เอาพุทธศาสนาเป็นฐานในการรวมกลุ่มในชมุ ชนเกิดใหเ้ พื่อให้เกดิ ความสามัคคีในชุมชน
ช่วยให้สังคมมีความสามัคคีช่วยเหลือกันและกันให้รู้จักทำทานเพราะมีความเชื่อด้านการสั่งสมบุญซึ่งบญุ
นำสขุ มาให้ วัฒนธรรมประเพณี สง่ เสรมิ ใหเ้ กิดความสามคั คเี กิดข้ึนในสังคมความเปน็ น้ำหนงึ่ อนั นนั้ น้ำหน่ึง
ใจเดียวกัน โดยใช้หลักสามัคคีธรรมเป็นหลักอย่างพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่าสุขา สังฆัสสะ สามัคคี ความ
สามคั คนี ำมาซ่งึ ความสุข

การทที่ ่านเจ้าอาวาสก็ดที ้ังผู้นำกด็ รี ู้จักนำเอาวฒั นธรรมประเพณีท้องถ่ินมาประยุกต์กับหลักธรรม
ทางศาสนาเป็นกุศโลบายที่ดีมากสามารถทำให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมและส่งเสริมความสามัคคีต่อกันและกัน
ภายในหมู่บ้าน ทำให้ชาวบ้านนั้นมีจิตสาธารณะเพิ่มมากขึ้นคือมีจติ อาสาช่วยเหลอื ซึ่งกันและกัน ทุกคนมี
จิตอาสามากยิ่งขึ้น วัฒนธรรมท้องถิ่นที่สนับสนุนในด้านวัดก็คือการตีกลองสะบัดชัย มีการช่วยเหลือจาก
หน่วยงานต่างๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมทุกคนมีจิตอาสาช่วยเหลือซึ่งกันและกันเอาใจใส่
สอดส่องดูแลกิจกรรมชุมชนและวัดเพิ่มมากขึ้น วัฒนธรรมที่สำคัญของชุมชนมีส่วนช่วยสนับสนุนให้เกิด
พัฒนาขึ้นในชุมชนโดยสังคมเองชุมชนมีความเข้มแข็งมีความสามัคคีโดยมีการร่วมมือกัน ภายในชุมชน
โดยเฉพาะกิจกรรมทางพระพุทธศาสนายิง่ แล้วชุมชนจะใหค้ วามสำคัญ โดยเฉพาะการจดั กิจกรรม ภายใน
วดั หรือในชมุ ชนกด็ ีศาสนามีส่วนช่วย ใหช้ มุ ชนนนั้ เกิดความสามคั คีโดยยึดหลักความสามัคคีธรรมเป็นหลัก
เพราะการพัฒนาสังคมชุมชนนั้นต้องอาศัยพุทธศาสนาหรือหลักธรรมทางพุทธศาสนาเป็นฐานในการ
พัฒนาชมุ ชนพระพุทธศาสนาสอนให้คนเกดิ ปญั ญา ชว่ ยให้คนเข้าใจสัจธรรมของชีวติ ร้หู ลกั การดำเนนิ ชีวติ
เอามาปรบั ใช้ในการดำเนินชีวติ ได้อย่างผสมผสานกลมกลนื และการใช้ความคดิ ในการพัฒนาตนเอง สร้าง
จิตสำนึกให้รู้จักความกตัญญูกตเวทีต่อท้องถิ่น ศาสนาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ วิถีชีวิตชุมชนทำอาชีพ
เกษตรกรรมมีการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมชุมชน ให้ความสำคัญกับพระพุทธศาสนา และเอา

47

พระพุทธศาสนาป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ชุมชนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ซึ่งสอดคล้องกับงาน
ของ พระเทพเวที (ป.อ.ปยุตโต) (2535 หน้า 17-27) หลกั พุทธรรมที่สอดคล้องกบั จรยิ ธรรมเหมาะสำหรับ
การเสริมสร้างชุมชนใหเ้ ขม้ แข็งในพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้วา่ ภิกษุทั้งหลายสิกขา 3 นี้ คือ
อธศิ ีลสกิ ขา 1 อธจิ ิตสกิ ขา 1 อธปิ ญั ญาสิกขา 1 อธศิ ีลสิกขาเป็นผมู้ ศี ีล สำรวมดว้ ยปาฏิโมกข์สังวร สมบรู ณ์
ด้วยอาจาระและโคจร มีปกตภิ ายในเห็นโทษแม้เพยี งเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายภิกษุ
ทั้งหลายนี้เรียกว่าอธิศีลสิกขา สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมเข้าถึงปฐมฌานอันมีวิตกวิจารปีติและสุข
เกดิ แตว่ เิ วกอยู่เขา้ ถึงทุตยิ ฌานอันมีความโปรง่ ใสแห่งจิตภายในมีภาวะใจเป็นหนง่ึ ผุดข้ึน ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร
เพราะวิตกวิจารระงับไป มีปิติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่เพราะปิติจางไป เธอมีอุเบกขาอยู่ มีสติสัมปชัญญะ
และเสวยสขุ ดว้ ยนามกายเข้าถึงตติยฌานทพ่ี ระอริยะท้งั หลายกลา่ วว่าเปน็ ผ้มู ีอุเบกขามีสติอยูเ่ ป็นสขุ เพราะ
ละสุขและทุกข์และเพราะโสมนัสโทมนัสดับหายไปก่อนเข้าถึงจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ไม่มีสุขมีสติบริสุทธิ์
เพราะอุเบกขาอยู่ภกิ ษุท้ังหลายน้ีเรียกวา่ อธจิ ิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา การร้ชู ัดตามเปน็ จริงว่านี้ทุกข์ น้ีเหตุ
ให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏบิ ัติให้ถึงความดับทกุ ข์ ภิกษุทั้งหลายน้ีเรียกว่า อธิปัญญาสิกขา นี้แล
เรียกว่า สิกขา 3 ไตรสิกขาเป็นหลักการพื้นฐานเพื่อการปฏิบัติธรรม สงเคราะห์ด้วยกองธรรม 3 ประการ
สัมมาวาจาก็ดี สัมมากัมมันตะก็ดี สัมมาอาชีวะก็ดี ธรรมเหล่านี้ จัดเข้าด้วยสีลขันธ์ สัมมาวายามะก็ดี
สัมมาสติก็ดี สัมมาสมาธิก็ดี ธรรมเหล่านี้ สงเคราะห์เข้าด้วยสมาธิขันธ์ สัมมาทิฏฐิก็ดี สัมมาสังกัปปะก็ดี
ธรรมเหล่านี้สงเคราะห์ เข้าด้วยปัญญาขันธ์ คำว่าไตรสิกขา แปลว่า สิกขา แปลว่า การศึกษา การฝึกฝน
ฝึกอบรม ได้แก่ข้อปฏิบัติที่เป็นหลักสำหรับฝึกอบรมพัฒนากายวาจาจิตใจ และปัญญาให้เจริญงอกงาม
ยิง่ ขึ้นไปจนบรรลจุ ุดมุ่งหมายสูงสุดคือความหลุดพน้ หรือนิพพาน มีความหมายรัชการย์ วิชชุรงั ศรี (2545)
ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง “แนวคิดและตัวชี้วัดความเข้มแข็งของชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนบ้านนาหว้า ตำบลนา
หว้า อำเภอจะนะ จงั หวดั สงขลา” พบวา่ แนวคิดในการก่อต้งั กลุ่มออมทรัพย์บ้านนาหว้า ไดก้ ่อต้งั เมือ่ วันท่ี
16 มกราคม 2522 ได้รับแนวคิดมาจากกรมการพัฒนาชุมชน มีสมาชิกเริ่มก่อตั้ง 56 คน และมีเงิน 860
บาท ปัจจุบันมีสมาชิก 1,760 คน มีเงิน 34 ล้านกว่าบาท และกองทุนสวัสดิการรวม 83 กองทุน โดยใช้
หลักการบริหารกองทุน คือ ไม่จ่ายเงินต้น แต่ใช้เฉพาะดอกเบี้ยและต้องเก็บดอกเบี้ยไว้สมทบทนุ ปลี ะ 10
% และได้แนวคดิ เรือ่ งกระบวนการเรยี นรู้ขององค์กรชุมชนทีส่ ่งผลตอ่ การพฒั นาองค์กรและชุมชนบ้านนา
หว้า มีการศึกษาศักยภาพชุมชน ได้แก่ คน ความรู้ และทรัพยากร โดยใช้กระบวนการเรียนรู้และหลักใน
การวเิ คราะห์ 3 ขั้นตอน คอื 1. การเรียนร้เู พ่อื รู้จักตนเอง 2. การเรยี นร้โู ลกภายนอก (นอกชมุ ชน) 3. การ
นำข้อมูลจากการเรียนรู้จากโลกภายนอกมาวิเคราะห์เพื่อกำหนดทิศทางในการพัฒนาองค์กรและชุมชน
ตัวชี้วัดความเข้มแข็งของชุมชน ต้องประกอบไปด้วย 5 ประการ คือ 1.ผู้นำชุมชน 2.การเป็นชุมชนแห่ง
การเรียนรู้ สมาชิกในชุมชนมีการเรียนรู้ร่วมกัน 3.การจัดการชุมชนที่ดีโดยมีโครงสร้างบริหารการจัดการ
ตนเอง 4.การพ่ึงตนเองไดแ้ ละมกี ารพัฒนาแบบยั่งยืน 5.การมศี กั ยภาพในชุมชน

จีระพันธ์ ออ่ นเถือ่ น (2549) ได้ศึกษาวจิ ยั เร่ือง การดำรงอยู่ของเพลงพื้นฐานและคุณลักษณะต่อ
การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน : กรณีศึกษา เพลงอีแซว ชุมชนบ้านลาดป้อม ตำบลวังน้ำซับ

48

อำเภอศรปี ระจัน จังหวัดสุพรรณบุรี มวี ัตถุประสงค์เพอ่ื ศึกษาปัจจยั ต่างๆ ทีม่ ผี ลต่อการดำรงอยูข่ องเพลงอี
แซวและศึกษาคุณลักษณะของเพลงอีแซวต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ผลการศึกษาพบว่า
ปัจจัยที่มผี ลตอ่ การดำรงอยู่ของเพลงอีแซวชุมชนบ้านลาดป้อม คือ กระบวนการถ่ายทอดและเรียนรู้ การ
เห็นคุณประโยชน์ของเพลงอีแซว กาประยุกต์รูปแบบและเนื้อหาให้สอดคล้องกับสังคมปัจจุบัน การ
ส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนเป็นไปอย่างกวา้ งขวางเพลงอีแซว จึงได้รับการเผยแพร่อย่าง
ทั่วถึง การยอมรับจากสังคมภายนอกการท่ีสถานศกึ ษานำไปใช้ในหลักสูตรทอ้ งถิน่ ทำใหเยาวชนในชุมชน
มีโอกาสเรียนรู้เพลงอีแซวมากขึ้น และพบว่าเพลงอีแซวมีคุณลักษณะต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของ
ชุมชน คือ ในด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม ด้านเศรษฐกิจ และด้านการศึกษา กล่าวคือ เพลงอีแซวช่วยสร้าง
สมั พันธท์ ่แี นน่ แฟน้ ของคนในชมุ ชน ศลิ ปินเพงี ไดถ้ า่ ยทอดความเชอ่ื และวิถีชีวติ การดำเนนิ ชีวติ ที่เหมาะสม
เห็นคุณค่าของวัฒนธรรมท้องถิ่น การร่วมกลุ่มเป็นคณะเพลงอีแซวเป็นการสร้างงานและการกระจาย
รายได้ใหแ้ ก่ชุมชน นอกจากนี้เพลงอีแซวยังชว่ ยเสริมสร้างการเรียนรู้ให้แกช่ ุมชน ได้แก่การให้ความรู้ การ
เป็นศูนย์กลางในการเรยี นรูก้ ารกระจายข้อมูลข่าวสาร การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการสร้างเครอื ข่าย และ
ของธันยาภรณ์ โพธิกาวิน (2553) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง กระบวนการเรียนรู้และการถ่ายทอดภูมิปัญญา
ท้องถิ่นด้านดนตรีประเภทขลุ่ยและแคนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนคบู วั อำเภอเมืองราชบุรี มี
วัตถุประสงค์ 1) ศึกษาภูมิปัญญาและกระบวนการเรียนรู้และถ่ายทอดภูมิปัญญาในการทำเครื่องดนตรี
ขลุ่ยและแคนของชุมชนคูบัว 2) เพื่อศึกษาเง่ือนไขของกระบวนการเรียนรู้และถ่ายทอดภูมิปัญญาในการ
ทำเครื่องดนตรีขลุ่ยและแคนของชุมชนคูบัว ได้แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านครอบครัว ด้านชุมชน และ
ด้านพิธีกรรม เงือนไขที่ทำให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชนด้านสังคม ได้แก่ การสร้างระบบเครือญาติ
ความสัมพันธ์ในสังคม พิธีกรรมทางสังคม การสร้างทุนทางสังคมผ่านระบบโรงเรียน ความเข้มแข็งด้าน
วัฒนธรรม ได้แก่ ประเพณีของชุมชนการสร้างอัตลักษณะของชุมชนผ่านพิธีกรรม การสร้างทุนทาง
วัฒนธรรมผ่านระบบโรงเรียน และความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ พิธีกรรมการผลิต การช่วยเหลือ
เกอื้ กลู ในวิถีการผลิต การปรบั ตัวของชมุ ชนในระบบเศรษฐกิจเพื่อการค้า ความรว่ มมอื กบั ภาครฐั และการ
พัฒนาทนุ ชมุ ชนทางภูมปิ ญั ญาดา้ นดนตรี

5. ท่านใชห้ ลกั ธรรมอะไรบา้ งในการดำเนินชีวติ
ผลการวิจัยพบว่า ก็คือหลักศีล 5 หลักธรรมอิทธิบาท 4 หลักการเจริญปัญญาและหลักโยนิโส
มนสิการ แล้ว หัวใจเศรษฐี อุฏฐานะสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียร อารักขสัมปทา รู้จักเก็บ
รักษา กัลยาณมิตตตา คบเพื่อนที่ดี สมชีวิตา ครองชีพอย่างพอประมาณ หลักการภาวนา หลักความ
ซอื่ สตั ย์ หลักความขยนั ความไม่ประมาท หลกั การเจรญิ กรรมฐาน การระลึกถึงพระพุทธเจ้า ใช้หลักธรรม
อุเบกขาและเมตตากรุณาพรหมวิหาร 4 หลักธรรมที่นำมาใช้ก็คือความกตัญญู ความศรัทธา ความ
ขยันหมั่นเพียร ความอดทน ความเข้มแข็ง การให้อภัย การทำทานโดยการให้การช่วยเหลือในชุมชนจิต
อาสา เพื่อช่วยเหลือชุมชนความรับผิดชอบในหน้าที่การงานในหมู่บ้านและ การทำงานทุกๆ อย่างด้วย
ความตั้งใจ มีการน้อมนำเอาปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ ความซื่อสัตย์ ความขยันการให้ทาน

49

การไม่เบียดเบียนใคร สังคหวัตถุ 4 คือทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตตา ใช้หลักปัญญาในการดำเนนิ
ชีวิต คิดดีพูดดีทำดี มีความปรารถนาดกี ับผู้อืน่ น้อมนำเอาหลกั ไตรลักษณ์มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ว่าทุกสิ่งทุกอย่างนั้นมีความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปเป็นธรรมดาตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงสอนไว้ หลัก
ความเพียรความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค หลักบุญกิริยาวัตถุก็คือทาน ศีล ภาวนา การให้ทาน
ความเมตตาธรรมเกี่ยวกับความไม่ประมาทการใช้ชีวิต การอยู่แบบพอเพียงการพัฒนาสติปัญญาอยู่เสมอ
ตามที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ สอนไม่ให้ประมาทในชีวิตในการใช้ชีวิต ประยุกต์หลักธรรม ศีล สมาธิ
ปัญญามาใช้ในชีวติ ประจำวันรู้จักการคบมติ รทีด่ ี เป็นกัลยาณมิตรท่ีดีต่อเพื่อนบ้าน บำเพ็ญตามหลกั ธรรม
ที่พระได้สอนไว้หลักเรื่องสังคหวัตถุ 4 ศีล 5 หลักอริยสัจ 4 คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค พระพุทธศาสนา
สอนให้เราดำรงตนอยู่ในศีล 5 ทำให้เป็นคนดแี ละน้อมนำเอาหลกั ธรรมคำสอนของพุทธเจ้าเรื่องอริยสัจ 4
มาช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ได้ ยึดทางสายกลางตามแนวทางพระพุทธศาสนา หลักธรรมที่ชุมชนยึดถือร่วมกันก็
คือศีล 5 หลักศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญาและความสามัคคี ความกตัญญูกตเวที สติสัมปชัญญะ ความ
ขยันหมั่นเพียร อีกประการหนึ่งก็คือหลักธรรมที่ชุมชนใช้ร่วมกันก็คือหลักปัญญาในการดำเนินชีวิตใช้มรรคมี
องค์ 8 ในการดำเนินชีวิต หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐานในการคิดพิจารณาในการดำเนินชีวิต หลัก
โยนิโสมนสิการ หลักอิทธิบาท 4 พละ 5 สติ สัมปชัญญะ สังคหวัตถุ 4 หลักศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญา ซ่ึง
สอดคล้องกับงานของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) (2553, หน้า 547), คำว่าวินัยนี้เป็นการจัด
เตรยี มการท่ีจะทำให้คนมีศลี หรอื เป็นเครื่องมือฝึกคนใหม้ ีศีลยงั ไม่ใชเ่ ป็นตัวศลี แท้ แต่เพราะเหตุว่าท่ีว่าเม่ือ
มองในแงข่ องการศกึ ษาการฝึกอบรมคน วินยั นั้นกพ็ ่วงมากบั ศลี เป็นฐานของศีล วนิ ัยน้ี ตามความมุง่ หมาย
ของชุมชนหรือสังคม เช่น วินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสำหรับพระสงฆ์ มีข้อกำหนดเกี่ยวกับความ
ประพฤติส่วนตัวของภิกษุ และภิกษุณีแต่ละรูป กับทั้งข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดระบบความเป็นอยู่ของ
ชุมชนการปกครอง การสอบสวนพิจารณาคดี ลงโทษ วิธีแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ระเบียบและตลอดจนกระทั่ง
ระเบียบข้อปฏิบัติและมารยาทต่างๆ ในการต้อนรับแขกในการไปกันมาของอาคันตุกะและในการใช้สา
ธารณสมบตั เิ ปน็ ต้น

อย่างที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำหลักการกว้างๆ ไว้สำหรับผู้ปกครองบ้านเมืองจะพึงนำไปกำหนด
รายละเอียดวิธีปฏิบัติต่อสังคมระดับประเทศชาติ เช่น ทรงสอนหลักที่เรียกว่าจักรวรรดิวัตรให้พระเจ้ า
จกั รพรรดิจัดการคุ้มครองป้องกันอันชอบธรรมให้เหมาะสมกบั ประชาชนแต่ละจำพวกแตล่ ะประเภทให้วาง
วิธีการป้องกันแก้ไขปราบปรามไม่ให้มีการทำชั่วหรือความชั่วร้ายเดือดร้อนขึ้นในแผ่นดินให้หาทางจัด
แบ่งปนั รายได้เลยเฉล่ียทุนทรัพยไ์ ม่ให้มคี นขดั สน ยากไร้ในแผน่ ดนิ เปน็ ต้น วนิ ัยจะสรา้ งเสริมสำหรบั สังคม
วงกว้างนี้ก็คือระบบการปกครองทั้งบริหารนิติบัญญัติและตุลาการระบบเศรษฐกิจระเบียบแบบแผนทาง
กำหนดธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมตลอดถึงระบบการทางสังคมอย่างอื่นรวมทั้งส่วนที่สำคัญเช่นวิธี
อำนวยหรอื ไมอ่ ำนวยโอกาสเก่ียวกับสถานท่ีเริงรมย์ สถานทอ่ี บายมุข สงิ่ เสพติด การประกอบอาชญากรรม
ตา่ งๆ และมาตรการเก่ียวกบั การงานอาชีพ เป็นตน้ ดา้ นสมาธิ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยตุ โต) (2553,
หน้า 547-548) สมาธิว่าโดยระดับสูงสุดหรือเต็มรูปแบบ ก็ได้แก่สมถะวิธี วิธีบำเพ็ญกรรมฐานแบบต่างๆ

50

ซึ่งมีสำนักปฏิบัติได้จัดกำหนดขึ้นและวิวัฒนาการเรื่อยมาในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาดังที่ปรากฏใน
แบบแผนชั้นอรรถกถา ขยายดัดแปลงเพ่ือใหม้ ีมุมมองกว้างครอบคลุมไปทุกระดับ และมวี ิธีการปฏิบัติมากมาย
เป็นการชักจูงจิตใจของคนให้สงบให้มีจิตใจยึดมั่นและมั่นคงในคุณธรรมมีวิริยะอุตสาหะในการทำความดี งาม
ยิ่งขึ้นไป สมาธิหรืออธิจิตสิกขา สามารถครอบคลุมไปถึงการจัดระบบกัลยาณมิตรและจัดสรรสัปปายะทั้ง 7
ประการ คือ ที่อยู่อาศัยแหล่งอาหาร การพูดการฟังธรรมบุคคล อากาศสภาพแวดล้อม อิริยาบถ รวมทั้งอุบาย
วิธีต่างๆ สถานที่จะช่วยส่งเสริมคุณภาพจิตของคนให้พร้อมที่จะก้าวไปในทางของการเจริญสมาธิ และที่จะ
พัฒนาจิตใจให้ดยี ิ่งข้ึนไปเช่นการมีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจอันสงบร่มรื่นชักจูงความคิดในทางท่ีดีงามการสร้าง
บรรยากาศในสถานที่อยู่อาศัยในที่ทำงานสถานประกอบอาชีพเป็นต้น ให้สดชื่นแจ่มใสประกอบด้วยเมตตา
กรุณาชวนให้อยากทำแต่ความดีและทำให้มีคุณภาพจิตประณีตยง่ิ ข้ึนกิจกรรมต่างๆ ท่ีปลกุ เรา้ คุณธรรมการ
ส่งเสริมกำลังใจในการทำความดี ความมีอุดมคติและการฝึกจิตใจให้เข้มแข็งหนักแน่นมั่นคงมีสภาพสูง
ด้านปญั ญา พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) (2553, หนา้ 547-548) ด้านปัญญาซง่ึ มวี วิ ฒั นาการในด้าน
วิธีฝึกปฏิบัตจิ นเป็นแบบแผนทำนองเดียวกบั สมรรถนะวิธแี ก้เมื่อมองให้กว้างตามสาระและความมุ่งหมาย
เรอ่ื งของปญั ญา ไดแ้ ก่กิจกรรมการฝกึ หรือพัฒนาความรู้ความคิดซ่ึงเรียกว่าการศึกษาเล่าเรียนท้ังหมดที่อาศัย
กัลยาณมิตรโดยเฉพาะครูอาจารย์มาชว่ ยถา่ ยทอดความรู้แบบการถ่ายทอดหรือแบบเล่าเรียน และความชัดเจน
ในศิลปะวิทยาการต่างๆ เริ่มตั้งแต่วิทยาลัยอาชีพเรื่องระดับศีล เป็นต้นไป แต่การที่จะเป็นอธิปัญญาได้นั้น
เพยี งความรู้ความชัดเจนในวชิ าชีพและวิทยาการต่างๆ หาเพียงพอไม่ ผสู้ อนจึงเป็นกลั ยาณมิตรที่สามารถสร้าง
ศรัทธาและสามารถใช้ในให้ผู้เรียนเป็นคนรู้จักคิดเองได้อย่างน้อยทำให้เขามีความเห็นชอบตามทำนองคลอง
ธรรมและสามารถทำได้ยิ่งกว่านั้น ให้เขารู้จักมองโลกในชีวิตอย่างรู้เท่าทันตามความเป็นจริงที่จะให้วางใจวาง
ท่าที มีความสำคัญสัมพันธ์อย่างถูกต้อง ดำเนินชีวิตด้วยปัญญาเป็นผู้มีการศึกษาชนิดที่เรียกว่าขัดเกลา
กิเลสได้ แก้ทุกข์ได้ สามารถทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นพร้อมกับที่ตนเองมีจิตใจเป็นสุข ความสุขที่เน้นคน
ส่วนรวมเป็นสำคัญ การแสดงพฤติกรรมที่คนส่วนใหญ่กระทำจึงเป็นสิ่งที่ดี เพราะเป็นการช่วยให้สังคมมี
ความสุขด้วย หลักธรรมที่สุขนิยมนำเสนอว่าเป็นความดีสูงสุดและเป็นแนวทางที่นำไปสู่ความสุขหลาย
ประการ เชน่ ทางสายกลาง อรยิ ทรัพย์ เบญจศีลเบญจธรรม มงคลชวี ติ บญุ กริ ยิ าวัตถุ อทิ ธิบาท อริยทรัพย์
เป็นตน้ โดยเฉพาะธรรมทเ่ี ปน็ อริยทรัพย์นนั้

จำเรญิ รตั น์ เจอื จนั ทร์ (2548) กล่าววา่ นกั บรหิ ารการศึกษาสามารถจะนำไปประยุกต์ใช้ได้ในทุก
ประเด็น ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ดังนี้ (1) ศรัทธา การมีความเชื่ออย่างมี
เหตุผล (2) ศลี การควบคมุ พฤตกิ รรมทางกาย วาจา ใจให้อยู่ในกฎระเบียบอนั ดงี ามของสังคมซ่ึงได้แก่การ
มศี ีล (3) หิริ การมคี วามละอายตอ่ พฤติกรรมท่ีไม่พึงประสงค์ เช่น คิดฉ้อราษฎร์บังหลวง (4) โอตปั ปะ การ
มคี วามอดกล้นั โดยเกรงกลวั ท่จี ะไม่ทำชวั่ (5) พาหสุ ัจจะ การรอบรู้ รู้ลึกโดยใช้หลกั การรับฟังข้อเสนอแนะ
รู้จักโต้แย้งด้วยหลักการที่เป็นเหตุเป็นผล รู้จักวิธีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และนำไปสู่การบูรณาการเป็น
ข้อมูล สำหรับการบริหารจัดการการศึกษา (6) จาคะ การมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความเสียสละ มีน้ำใจ
ต่อผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้อื่น (7) ปัญญา การมีความรู้ที่กว้างและเห็นจริง มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ใน

51

เหตุผล รู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว ถูก ผิด มีคุณ มีโทษ มีประโยน์หรือไม่มีประโยชน์ เป็นต้น พระธรรมโกศา
จารย์ (2547, หน้า 8-9) หลักพุทธรรมที่สอดคล้องการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางพุทธจริยธรรมใน
พระพุทธศาสนาอีกประการคือ หลักพุทธธรรมที่นํามาประยุกต์ใชในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งมีความ
จําเป็นจะต้องฝึกฝนตนเองตามหลักพระพุทธศาสนา เพื่อให้การดํารงอยูด้วยความไมประมาท ไม่เมาใน
ชีวิต เมาในความมั่งมี เมาในสิ่งนั้นในสิ่งนี้ ซึ่งเป็นส่ิงไมถาวรแต่ประการใดเลยนอกจากธรรมะที่เปนยา
รักษาใจใหพ้ ้นจากความทุกขแม้เราจะมีความเกดิ ความแก่ความเจ็บความตายเป็นกฎธรรมดาของโลก แต่
ถ้ารูจักพัฒนาตนให้ปฏิบัติต่อการดําเนินชีวิตที่ดีแล้วยอมดําเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพไปในตัวเอง และ
งานวิจัยของ มิ่งขวัญ แดงสุวรรณ (2545) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง กระบวนการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
บา้ นโป่ง อำเภอสนั ทราย จังหวดั เชยี งใหม่ ผลการศกึ ษาพบวา่ ชมุ ชนบา้ นโปง่ มปี ระวตั ศิ าสตรค์ วามเป็นมา
มีผู้นำชุมชนที่เป็นคนซื่อสัตย์เสียสละ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล คนในชุมชนมีความสัมพันธ์ระบบเครือญาติ มี
ความเอ้ือเฟ้ือเผื่อแผ่ช่วยเหลือกัน มคี ณุ ธรรม มีจรยิ ธรรม มีศนู ยร์ วมทางจติ ใจ ซ่งึ ถือว่าเป็นทุนทางสังคมที่
สำคัญ ดังนั้นชุมชนที่มที ุนทางสังคมที่มีอยู่ในการร่วมกลุ่มกนั วิเคราะหห์ าทางเลือกในการแก้ไขปัญหา ทำ
ใหช้ ุมชนมีการเรียนรูจ้ ากการทำงาน รว่ มกัน มกี ารจดั การ มแี ผน มโี ครงการ สมาชกิ ทกุ คนมีความเสียสละ
มีการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างยุติธรรม การที่สมาชิกในชุมชนมีคุณภาพ มีคุณธรรม ทำให้ชุมชนมี
สันติภาพ มีชุมชนเข้มแข็ง สามารถดำรงความเป็นชุมชนต่อไปได้ งานศึกษาชิ้นนี้ชี้ให้เห็นถึง ความสำคัญ
ของทุนทางสังคมที่ส่งผลให้เกิดการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนผ่านกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในการ
วิเคราะห์หาทางเลือกของตนเองในการแก้ไขปญั หา นำมาซ่ึงความเข้มแขง็ มั่งคงย่ังยนื

วิรตั น์ ไชยชนะ (2543) ศึกษาเร่ือง “โครงสร้างของกล่มุ ออมทรพั ย์และปัจจยั ทีท่ ำให้กลุม่ เข้มแข็ง
กรณีศึกษากลุ่มออมทรัพย์คลองเปียะ” โดยมีประเด็นศึกษาคือ 1) โครงสร้างของกลุ่มออมทรัพย์ และ 2)
ปัจจัยที่ให้กลุ่มเข้มแข็ง ด้วยการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ การ
สังเกต และศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ทำให้กลุ่มออมทรัพย์ตำบลคลองเปียะ
เข้มแข็ง มีปัจจัยสำคัญ 7 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยด้านผู้นำและสมาชิกกลุ่ม ผู้นำมีจำนวนและความหลากหลาย
มีจิตนิสัยของการเป็นผู้นำและเป็นผู้ที่มีความสามารถ สมาชิกกลุ่มส่วนใหญ่เป็นเครือญาติ มีจิตสำนึกที่ดี
ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ กลุ่มมีเงินทุน 2 ประเภท คือ เงินสัจจะสะสมของสมาชิกกับเงินบริจาคและ
เงินกองทุนต่าง ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม ประกอบด้วยการตั้งถิ่นฐานการปกครอง การศึกษา
ศาสนา ความเช่อื ประเพณี มกี ารตั้งถ่ินฐานแบบรวมกล่มุ กอ้ นมีบ้านเรือนอยูใ่ กล้ชดิ กัน มกี ารพบปะพูดคุย
กันของคนในชุมชนเป็นประจำ ทำให้เกิดความร่วมมือและความช่วยเหลือในการทำกิจกรรมต่างๆ ปัจจัย
ด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานที่สำคัญประกอบด้วยถนน ไฟฟ้า ประปา และการสื่อสาร คนในชุมชนมีความ
พร้อมสามารถปรับตัว พัฒนาสิ่งที่เป็นประโยชนต์ ่อชุมชน มีความเป็นปึกแผ่น ส่งผลให้เกิดการทำงานที่มี
ประสิทธิภาพ ปัจจัยด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ ดิน น้ำ ป่าไม้ของตำบลคลองเปียะมีความ
สมบูรณ์ จากการทค่ี นในชมุ ชนชว่ ยกนั ดูแลรักษาทำให้มีทรัพยากรธรรมชาติท่เี พยี งพอ ทำให้คนในชุมชนมี
อาชีพและรายได้ ส่งผลให้การออกเงินเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ปัจจัยด้านการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นๆ

52

ไดแ้ ก่ การสนับสนุนด้านงบประมาณ เจ้าหนา้ ทจี่ ากกระทรวงมหาดไทย ทำให้กลุ่มมกี ารแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ศึกษาดงู าน เพอื่ นำมาปรับใช้ในการดำเนินงานกลุ่ม เกิดการเชือ่ มโยงเป็นเครือข่ายระหว่างกลุ่มอื่นๆ และ
ปัจจัยด้านโครงสร้างของกลุ่ม ประกอบด้วย สถานภาพ บทบาท บรรทัดฐาน การบังคับบัญชา และ
บรรยากาศในกลุ่มทางกลุ่มได้มีการกำหนดโครงสร้างกลุ่มไว้อย่างชัดเจนและเหมาะสม ทำให้การ
ปฏิบตั ิงานของกลุม่ เป็นไปอย่างมีประสทิ ธิภาพ

5.3 ขอ้ เสนอแนะ

จากผลการวจิ ยั และอภิปรายผลการวิจัยดงั กล่าวมาแลว้ คณะผวู้ จิ ยั จงึ นำผลการวิจยั มาดำเนินการ
จัดทำเปน็ ขอ้ เสนอแนะไว้เป็น 3 ระดบั ดงั น้ี

1) ขอ้ เสนอแนะเชิงนโยบาย

1. หนว่ ยงานทางพระพุทธศาสนาควรให้การสนับสนุนมากกว่านี้ เช่น การรกั ษาศีล การเจรญิ ภาวนา
สง่ เสริมใหเ้ ห็นคณุ คา่ และประโยชน์ในการดำเนนิ ชีวติ กบั เยาวชนให้เยาวชนให้มากกวา่ น้ี

2. ควรให้ชุมชนร่วมกลุ่มกันมากขึ้น โดยจัดกิจกรรมทางศาสนาผสมผสานกับประเพณีวัฒนธรรม
เชน่ การถวาย ตุงล้านนา รวมมือกบั บ้านวัด โรงเรียน

3. ควรมีการส่งเสริมกิจกรรมเกี่ยวกับทางพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง วันสำคัญทางศาสนา
ประเพณีท้องถิ่นต้องมีการจัดกิจกรรมเสมอ หรือควรหาตัวแทนเจ้าอาวาสไว้ ถ้าเจ้าอาวาสก็ต้องมีคนจัด
กจิ กรรมแทน

4. ควรมีการรวมเอาวัฒนธรรมประเพณีทางพุทธกับวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นผสมผสานกันกับ
กิจกรรมในทางพทุ ธศาสนามากข้นึ สรา้ งภาวะผ้นู ำให้มีทง้ั เจ้าอาวาสและผูต้ ามให้เกิดมีขนึ้

5. ควรมีการส่งเสริมหลักปัญญาในการดำเนินชีวิตใช้มรรคมีองค์ 8 ในการดำเนินชีวิต หลักปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐานในการคิดพิจารณาในการดำเนินชีวิต หลักธรรมเหล่านี้มีส่วนช่วยเสริมสร้างความ
เข้มแข็งของชุมชนโดยอาศัยพระพุทธศาสนาเป็นฐานในการพัฒนาชุมชนให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และย่ังยืน
ต่อไป

2) ขอ้ เสนอแนะสำหรบั ผปู้ ฏิบตั ิ
2.1 ด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนด้วยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น ควร

ใหป้ ระชาชนรู้จักธรรมะในหลายประเด็นควรที่จะเปิดสอนหรือเปิดศูนย์การเรียนรู้ทางพระพุทธศาสนาขึ้น
ในชุมชน การประยุกต์ใชธ้ รรมะในชวี ิตไดจ้ ริง

2.2 ด้านการสร้างความรู้ ชุมชนแห่งการเรียนรู้หรือองค์ความรู้เพราะความรู้นำไปสู่ความ
เข้มแข็ง ควรสรา้ งความเข้าใจในหลกั ธรรมทางพระพุทธศาสนาใหม้ ากขึน้ เมือ่ เกิดความเขา้ ใจทุกอย่างก็จะ
ไม่มปี ญั หาสิ่งทส่ี ำคญั คือศนู ย์การเรยี นรพู้ ระพุทธศาสนาควรใหเ้ กดิ ข้ึนในชุมชน

3) ข้อเสนอแนะสำหรับศึกษาวิจัยคร้ังต่อไป

53

3.1 ควรศึกษาวิจัยเรื่อง การเรียนรู้และการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านดนตรีประเภท
พืน้ เมืองเพือ่ เสรมิ สรา้ งความเข้มแข็งของชมุ ชน

3.2 ควรศึกษาเกี่ยวกบั การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยใช้ภมู ปิ ัญญาท้องถนิ่ เป็นฐาน
3.3 ควรศึกษาเกี่ยวกับ การใช้แหล่งความรู้ในชุมชนในการเรียนการสอนกลุ่มสร้างเสริม
ประสบการณช์ วี ิต
3.4 ควรศึกษาเกี่ยวกับ แนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมให้กับชุมชนเพ่ือ
สรา้ งความเขม้ แข็งทางบ้าน วดั โรงเรยี น (บวร)

บรรณานุกรม ตัวอยา่ งบรรณานุกรม

1) ภาษาไทย
ก.ข้อมลู ปฐมภมู ิ (Primary Sources)

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฏกฉบับภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพมิ พ์มหาจุฬา
ลงกรณราชวทิ ยาลัย. ๒๕๓๙.

ข. ข้อมลู ทุตยิ ภมู ิ (Secondary Sources)
1. หนงั สือทั่วไป
กรมวิชาการ กระทรวงศกึ ษาธิการ,. (2504). ความเป็นมาของแผนการศึกษาแห่งชาติ, กรุงเทพมหานคร
: โรงพมิ พม์ งคลการพมิ พ์.
กรมวิชาการ, (2523). “แนวทางการพัฒนาจริยธรรมไทย”. การประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับจริยธรรม
ไทย 22 – 27 มกราคม 2523. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
กรมวชิ าการ. (2539). คู่มอื การสรา้ งเครอ่ื งมอื คุณลักษณะด้านจติ พสิ ัย. กรงุ เทพมหานคร : คุรุสภา.

54

กฤษฎา บุญชัย. (2541). ความยากจนในชนบท. ใน ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ (บรรณาธิการ), คนจนไทยใน
ภาวะวิกฤติ (น.137-151) , กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลยั .

เกรียงศักด์ิ เจรญิ วงศศ์ ักดิ์. (2539). เรยี นรู้ : วิถีสคู่ วามสำเรจ็ . พมิ พค์ รั้งท่ี 3, กรุงเทพมหานคร : ซคั เซสมี
เดีย.

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน สำนักนายกรัฐมนตรี,. (2536). แผนการศึกษาแห่งชาติ
พทุ ธศกั ราช 2535. กรงุ เทพมหานคร : อรรถพลการพิมพ.์

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน สำนักนายกรัฐมนตรี,. (ม.ป.ป.). แผนการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ.2542 ท่แี ก้ไขเพ่มิ เตมิ (ฉบบั ท่ี2) พ.ศ.2545. กรงุ เทพมหานคร : บรษิ ัทพรกิ หวานกราฟฟิค
จำกดั .

คณะกรรมการการศกึ ษาแหง่ ชาติ, สำนกั งาน สำนักนายกรัฐมนตรี. (2520). แผนการศกึ ษาแหง่ ชาติ ฉบบั
ที่ 4 พ.ศ.2520-2524. กรงุ เทพมหานคร : โรงพิมพ์สำนกั เลขาธิการคณะรัฐมนตร.ี

จำเริญรัตน์ เจือจันทร์. (2548). จริยศาสตร์: ทฤษฎีจริยธรรมสำหรับนักบริหารการศึกษา.
กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส. พริน้ ตง้ เฮ้าส์.

ชาติชาย ณ เชยี งใหม.่ (2542). ดุจฝนชโลมดนิ ทแี่ หง้ ผาก.กระบวนทศั น์และการจดั การพัฒนาตาม แนว
ทฤษฏีใหม่. กรุงเทพมหานคร : โครงการเอกสารวชิ าการเพ่ือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบัน
บณั ฑิตบริหารศาสตร์.

ชมุ ชนบา้ นแสนคำ. (2555). ประวัตบิ ้านแสนคำ. เชียงใหม่ : มลู นธิ ลิ ้ิงค์เช่ือมโยงป่าและน้ำ.
ณรงค์ เส็งประชา (2543). กลุม่ ธรุ กจิ เพ้ืนบา้ นกับการพฒั นาชุมชน .กรุงเทพมหานคร : โอเดยี นสโตร.์
นงลักษณ เทพสวัสด์ิ. (2543). วิเคราะห์ปญหาสําคัญในสังคมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร :

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นภาภรณ์ หะวานนท์ (2550). ทฤษฎีฐานรากในเรื่องความเข้มแข็งของชุมชน. กรุงเทพมหานคร :

สำนกั งานกองทนุ สนับสนุนการวจิ ัย (สกว.),.
ประเวศ วะสี. (2550). ระบบการศึกษาที่คุณธรรมนำความรู้. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์และทำปก

เจริญผล, นนทบุรี.
ประเวศวะส.ี (2541). บนเส้นทางใหม่ การส่งเสริมสุขภาพ อภวิ ัฒน์ชีวตและสงั คม. หมอชาวบา้ น. กรุงเทพฯ.
ปาริชาติวลัยเสถียร และคณะ. (2543). กระบวนการและเทคนิคการทํางานของนักพัฒนา.

กรุงเทพมหานคร: สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. และธีรพงษ์ แก้วหาวงษ์ (2544 : 46)
กระบวนการเสริมสร้างชมุ ชนเข้มแข็ง, ขอนแกน่ : โรงพมิ พ์คลงั นานาวิทยา.
พระเทพเวที (ป.อ.ปยุตฺโต). (2535). การพัฒนาจริยธรรม. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราช
วทิ ยาลยั .
พระธรรมโกศาจารย์. (2547). ธรรมะกับชีวิตประจาํ วัน. กรงุ เทพมหานคร : ธรรมสภา.

55

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต),. (2540)พุทธศาสนากับชีวิตและสังคม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์
ธรรมสภา.

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2546). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ: มัชเฌนธรรม
เทศนา/มัชฌิมาปฏิปทา หรือ กฎธรรมชาติและคุณค่าสำหรับชีวิต. พิมพ์ครั้งท่ี11.
กรุงเทพมหานคร : มหาวทิ ยาลัยมหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ), (2546), อนุปุพพิกถาทีปนี, พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพมหานคร : โรง
พมิ พ์ มหามกฏุ ราชวทิ ยาลยั .

พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม), (มปป. หน้า 3-5). ทาน ศีล ภาวนา นำพาพ้นกรรม,
กรุงมหานคร : สำนกั พิมพแ์ อล ซพี ี เด็กดมี ีบุญ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ ปยุตฺโต), (2550) พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้งที่
15, กรุงเทพมหานคร : สำนักพมิ พ์จนั ทร์เพ็ญ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), (2550) ธรรมะฉบับเรียนลดั , กรุงเทพมหานคร : สถาบนั บนั ลอื ธรรม.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยตุ โต),. (2553). พจนานกุ รมพุทธศาสตรฉ์ บบั ประมวลศัพท์, พิมพ์พิมพ์คร้ัง

ที่ 15, กรงุ เทพมหานคร : โรงพมิ พส์ หธรรมิกจำกัด.
พระไพศาล วสิ าโล, พระชาย วรธมฺโม. (2559). ฉลาดทำบญุ . กรุงเทพมหานคร : มูลนธิ ิพุทธธรรม.
พระไพศาล วิสาโล. (2549). ฝ่าพ้นวิกฤตศีลธรรมดวยทัศนะใหม่. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์หางหุน ส่วน

สามลดา.
พุทธทาสภิกขุ, (2543) ศึกษาธรรมอย่างถกู วิธี, พิมพ์ครงั้ ที่ 7, กรงุ เทพมหานคร : โรงพมิ พส์ ขุ ภาพใจ.
เพ็ชรี รูปะวิเชตร์. (2547). เอกสารรวบรวมบทความทางวชิ าการ บทความพเิ ศษ และบทความงานวิจัย

ของอาจารย์ ดร. เพ็ชรี รูปะวิเชตร์. สาขาวิชาบริหารธุรกิจ ภาควิชาอาชีวศึกษาคณะ
ศึกษาศาสตรม์ หาวทิยาลัยเชยี งใหม่.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2534) ความรู้คู่คุณธรรม, กรุงเทพมหานคร : สำนกั พิมพ์จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย.
มหาวิทยาลยั มหามกฏุ ราชวิทยาลัย. (2536). มงั คลตั ถทปี นี ภาค 2. นครปฐม : โรงพมิ พม์ หามกุฏราชวิทยาลยั .
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2555). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ของมหามกุฏราชวิทยาลัย. พิมพ์
ครัง้ ท่ี 6. นครปฐม : โรงพมิ พ์มหามกุฏราชวิทยาลยั .
ยงยุทธ เกษสาคร. (2541). ภาวะผู้นำและการจงู ใจ. กรุงเทพมหานคร : SK Booknet.
ยิ่งยง เทาประเสริฐ. (2542). เครือข่ายชุมชนวิทยาการราชภัฏด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น. เชียงราย : ศูนย์
วจิ ยั และพฒั นาการแพทยพ้ืนบา้ นสถาบันราชภฏั เชยี งราย.
รัตนวดี โชติกะพาณิชย์, รศ.,. (มปป). จริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพครู. กรุงเทพมหานคร :
ภาควชิ าหลกั สูตรและการสอนคณะศึกษาศาสตรม์ หาวิทยาลยั รามคำแหง.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2542. พิมพ์ครั้งที่ 6.
กรุงเทพมหานคร : ราชบณั ฑติ ยสถาน.

56

ลว้ น สายยศและอังคณา สายยศ. (2543). เทคนคิ การวจิ ยั ทางการศึกษา. พมิ พค์ รงั้ ท่ี 3, กรุงเทพมหานคร
: สุวรี ิยาสาสน์ .

วศิน อินทสระ. (2541). พทุ ธจริยศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพท์ องกวาว.
วศนิ อินทสระ. (2544). จริยศาสตร,์ พิมพ์ครั้งท่ี 4, กรงุ เทพมหานคร : บรรณกิจ.
วิทย์ วิศเวศและเสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2533). จริยธรรมกับบุคคล, พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพมหานคร :

อกั ษรเจริญทัศน.์
สมเดจ็ พระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฒฺ โน). (2541). หัวใจพระพทุ ธศาสนา, พิมพ์ครั้งที่

2, กรงุ เทพมหานคร : มหามกฏุ ราชวิทยาลัย.
สมเดจ็ พระญาณสงั วร สมเด็จพระสงั ฆราช สกลมหาสงั ฆปริณายก, (2553) .วธิ สี รา้ งบญุ บารมี, พมิ พค์ รั้งที่

28, กรุงเทพมหานคร : บรษิ ัทพมิ พส์ วย จำกัด.
สมทรง บุญญฤทธ.์ิ (2544). วธิ ที ำบุญฉบับสมบรู ณ์. พมิ พิ์ครั้งท่ี 2. กรุงเทพมหานคร : สำนกั พมิ พ์สุขภาพ

ใจ.
สมทรง ปุญญฤทธ์ิ, (2544). ฝากความดีไวใ้ นแผน่ ดิน, กรุงเทพมหานคร : สำนกั พิมพส์ ขุ ภาพใจ.
สาํ นกั งานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกจิ และสงั คมแหง่ ชาติ. (2554). แผนพฒั นาเศรษฐกิจและสงั คม

แหง่ ชาติฉบบั ที่ 11. กรงุ เทพมหานคร : สาํ นักนายกรัฐมนตร.ี
สาํ นักงานคณะกรรมการพฒั นาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาต.ิ (2559). แผนพฒั นาเศรษฐกิจและสงั คม

แห่งชาติฉบับที่ 12. กรุงเทพมหานคร : สาํ นกั นายกรฐั มนตร.ี
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศกึ ษา. (2550). ตัวบงชี้และเกณฑ์พิจารณาเพือ่ การ

ประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศกึ ษาขั้นพื้นฐาน 2553. กรุงเทพมหานคร : บริษัทจุดทอง
จำกัด.
สุมน อมรวิวัฒน์. (2549). บทบาทของสถาบันการศึกษาตอ่ การตอ่ การพัฒนาจิตใจ. กรุงเทพมหานคร :
โรงพมิ พแ์ ละการทำปกเจริญผล, นนทบรุ ี.
เสฐียรโกเศศ. วัฒนธรรม. (กรุงเทพมหานคร : อมรการพิมพ์, 2525), อ้างใน ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2534).
ความรู้ค่คู ณุ ธรรม. กรงุ เทพมหานคร : สำนกั พิมพ์จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลัย
แสง จันทร์งาม. (2542). ศาสนศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช
จำกัด.
โสรีช์ โพธิแก้ว. (2544). “การปรึกษาเชิงจิตวิทยาในแนวพุทธธรรม.” ในเอกสารการสอนการ
ปรึกษาเชิงจิตวิทยาตามหลักพระพทุ ธศาสนา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลยั .
ไสว มาลาทอง. (2542). คู่มือ การศกึ ษาจรยิ ธรรม. กรงุ เทพมหานคร : กรมการศาสนา.
อนุชาติ พวงสำลี และอรทยั อาจอ่ำ (2541). การพฒั นาเครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตและสังคมไทย พิมพ์ครั้ง
ท่ี 2.กรงุ เทพฯ : สำนกั งานคณะกรรมการสิทธมิ นษุ ยชนแห่งชาติ,.

57

อนุชาติ พวงสำลีและอรทัย อาจอ่ำ (2539) การพัฒนาเครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตและสังคมไทย /อนุชาติ
พวงสำล,ี อรทัย อาจอ่ำ บรรณาธกิ าร.กรุงเทพฯ : สำนกั งานกองทุนสนับสนนุ การวิจยั (สกว.),.

2. วารสาร
จิตรศิริ ขันเงิน. (2545). การสังเคราะห์งานวิจัยโดยวธิ ีวิเคราะห์เมตตา้ : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กบั

การเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 25(2-
3): 82-102.
ชำนาญ วัฒนศิริ, “ความเข้มแข็งของชุมชนและประชาคม”, วารสารพัฒนาชุมชน, 12 (ธันวาคม, 2542),
17-18.
ประเวศ วะส.ี (2541).ยทุ ธศาสตร์ชาติเพ่ือความเขม้ แข้งทางเศรษฐกจิ สงั คมและวัฒนธรรมปาฐกถาพิเศษ
ปวย อึ๊งภากรณ์. กรุงเทพมหานคร : หมอชาวบ้าน.
ทัศนา บญุ ทอง. (2533). ความเครยี ดและการคลายเครียด. วารสารสภาพยาบาล, 3 (1), 12-13.

3. วิทยานิพนธ/์ งานวิจัย
จรี ะพนั ธ์ ออ่ นเถ่ือน. 2549. การดำรงอยขู่ องเพลงพน้ื ฐานและคุณลักษณะต่อการเสริมสรา้ งความเข้มแข็ง

ของชุมชน: กรณศี ึกษา เพลงอแี ซว ชุมชนบา้ นลาดป้อม ตำบลวังน้ำซับ อำเภอศรปี ระจัน จังหวัด
สุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาศึกษา มหาวิทยาลัย
ศิลปากร.
ธันยาภรณ์ โพธิกาวิน. 2553. กระบวนการเรียนรู้และการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านดนตรีประเภท
ขลุ่ยและแคนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนคูบัว อำเภอเมืองราชบุรี. สาขาวิทยานิพนธ์
ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบณั ฑติ สาขาพฒั นาศกึ ษา มหาวทิ ยาลัยศิลปากร.
นางสาวสาวิณี รอดสิน. 2554. ชุมชนเขม้ แขง็ : กรณีศึกษาชมุ ชนปางจำปี ตำบลห้วยแกว้ อำเภอแม่ออน
จังหวัดเชียงใหม่. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาตร์, บัณฑิต
วิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปริญญา สิงห์เรือง. 2551. ชุมชนเข้มแข้ง : กรณีศึกษาบ้านดอนหมู ตำบลขามเปื้ย อำเภอตระการพืชผล
จังหวัดอุบลราชธาน.ี ปรญิ ญาศลิ ปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์และการพัฒนา คณะ
ศิลปะศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยอุบลราชธาน.ี
ปัญจศิลป์ เสนีย์. 2547. กระบวนการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในจังหวัด
สงขลา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการ
จดั การ มหาวทิ ยาลัยสงขลานครินทร,์ สงขลา.

58

พระมหาไฉน ประกอบผล. 2544). “การศึกษาหลักพุทธจริยธรรมเรื่องหน้าที่ของบุตรธิดาตอบิดามารดา
กรณีศึกษา:นักเรียนโรงเรียนปากเกร็ดจังหวัดนนทบุรี”. วิทยานิพนธอักษรศาสตรมหาบัณฑิต,
(บัณฑติ วิทยาลยั มหาวทิ ยาลัยมหดิ ล.

พวงรัตน์ วิทยมาภรณ์. 2541. การใช้แหล่งความรู้ในชุมชนในการเรียนการสอนกลุ่มสร้างเสริม
ประสบการณ์ชีวิต (วิชาสังคมศึกษา) ในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์
ปรญิ ญาศกึ ษาศาสตรมหาบณั ฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พูนฤดี สุวรรณพันธุ. (2537). “ปัจจัยทางครอบครัวและโรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับลักษณะทางพุทธศาสนา
ของนักเรียนในชุมชนที่มีระดับการพัฒนาต่างกัน”, วิทยานิพนธมหาบัณฑิต, คณะสาขาการ
จัดการการพัฒนาสงั คม สถาบนั บณั ฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เพียงใจ คงพันธ์. 2553. การศึกษาจริยธรรมนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชปี
การศึกษา 2553. รายงานวจิ ยั . นครศรธี รรมราช : มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั พระนครศรธี รรมราช.

มิ่งขวัญ แดงสุวรรณ. 2545. กระบวนการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนบ้านโป่ง อำเภอสันทราย จังหวัด
เชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ)) –
มหาวิทยาลยั เชยี งใหม่ : บณั ฑติ วิทยาลยั : มหาวทิ ยาลัยเชียงใหม่.

รัชการย์ วิชชุรังศรี. 2545. แนวคิดและตัวชี้วัดความเข้มแข็งของชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนบ้านนาหว้า
ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา. งานวิจัยได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจาก สำนักงาน
คณะกรรมการวฒั นธรรมแห่งชาติ กระทรวงศกึ ษาธิการ ประจำปงี บประมาณ พุทธศักราช 2545.

รัตนากร วงศ์ศรีและคณะ,. 2550. การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนนักศึกษาโรงเรียนลำปาง
พาณิชยการเทคโนโลยี. รายงานการวิจยั . ลำปาง : โรงเรยี นลำปางพาณชิ ยการและเทคโนโลย.ี

ลัดดาวัลย์ ศรีนิมิตแก้ว. 2552. แนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมให้กับนักศึกษา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ, รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลกรงุ เทพ.

วิรัตน์ ไชยชนะ. 2543. โครงสร้างของกลุ่มออมทรัพย์และปัจจัยท่ีทำให้กลุ่มเข้มแข็ง กรณีศึกษากลุ่มออม
ทรัพย์คลองเปียะ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขา
วิชาเอกไทยคดศี ึกษา มหาวิทยาลยั ทักษณิ . จงั หวดั สงขลา.

สมบูรณ์ ธรรมลงกา. รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานใน
จังหวัดเชียงราย. ปริญญาเอก สาขาการศึกษาและการพัฒนาสังคม คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัย
ราชภฎั เชียงราย.

สุคนธ์ ชูทพิ ย์. 2547. การวิจัยและพัฒนาเชิงปฏิบตั ิการแบบมีส่วนร่วมเพ่ือเสรมิ สรา้ งการบริหารจัดการที่
ดีของกลุ่มออมทรัพยเ์ พือ่ การผลิต : กรณีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลติ บ้านสพันธ์อ่างทอง หมู่ท่ี 8
ตำบลหนองบวั อำเภอพัฒนานคิ ม จงั หวดั ลพบุรี. วทิ ยานิพนธ์ยทุ ธศาสตร์การพัฒนา มหาบณั ฑิต
สาขาวิชายทุ ธศาสตร์การพฒั นา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

59

อาชญั ญา รัตนอุบล และคณะ. 2548. การจัดการเรยี นรขู้ องแหลง่ เรยี นรู้ตลอดชวี ติ : หอ้ งสมดุ ประชาชน,
รายงานการวจิ ัย. กรงุ เทพมหานคร : วทิ ซี ี คอมมวิ นิเคชั่น.

อาณา สุดชาดา. 2557. การศึกษาบุญกริ ิยาวัตถุ 3 ท่ปี รากฏในประเพณีบุญเดือนส่ี ; กรณีศึกษาตำบลนา
คาย อำเภอตาลสุม จังหวดั อุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑติ (พระพุทธศาสนา).
บัณฑิตวทิ ยาลัย : มหาวิทยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลยั .

4. เว็บไซต์
พระมหาสาคร ศรดี ี. (2560). พทุ ธจรยิ ธรรม, บัณฑิตวิทยาลยั มหาวิทยาลยั มหิดล. สืบค้นเม่ือวนั ท่ี [13 ตุลาคม

2561] . เ ข ้ า ถ ึ ง ไ ด ้ จ า ก . http://www.thaicadet.org/Buddhism/BuddhistEthics-
SakonSridee.html,

2) ภาษาอังกฤษ
Conger, J. A., & Kanungo, R. N. (1988). The empowerment process: Integrating theory and

practice. Academy Management Review, 13(3): 471-482.
Conger, J. A., & Kanungo, R. N. (1988). The empowerment process: Integrating theory and

practice. Academy Management Review, 13(3): 471-482.
Ekeberg, C. Lagerstrom, M., & Lutzen, K. (1997). Empowerment and occupational health

nursing. American Association of Occupational Health Nursing, 45(7):342-348.
Fawcett, S. B. et al. (1995). Using empowerment theory in collaborative partnerships for

community health and development. American Journal of Community
Psychology, 23:677-697.
Gibson, C. H. (1991). A concept analysis of empowerment. Journal of Advanced Nursing,
16:354-361.
Gibson, C. H. (1995). The process of empowerment in mothers of chronically ill children.
Journal of Advanced Nursing, 21: 1201-1210.
Gomez, C., & Rosen, B. (2001). The leader-member exchange as a link between
managerial trust and employee. Group & Organization Management, 26(1):53-70.
Greasley, K., & King, N. (2005). Employee perceptions of empowerment. Employee
Relations, 27.
Greasley, K., & King, N. (2005). Employee perceptions of empowerment. Employee
Relations, 27.

60

Gunden, E., & Crissman, S. (1992). Leadership skills for empowerment. Journal of Nursing
Administration Quarterly, 16 (3) : 6-10.

Hawks, J. H. (1992). Empowerment in nursing education: Concept analysis and application
to philosophy, learning and instruction. Journal of Advanced Nursing, 17 (5): 609-
617.

Honold, L. (1997). A review of the literature on employee empowerment. Empowerment
in Organizations, 5(4):202-212.

Kanter, R. M. (1997). Frontiers of management. United States of American : A Harvard
Business Review Book.

Kanter, R. M. (1979). Power failure in management circuits. Harvard Business Review,
57:65-75.

Kanter, R. M. (1993). Men and women of the corporation. New York: Basic Books.
Kinlaw, D. C. (1995). The practice of empowerment. Hampshire England: Gower.
Kinlaw, D. C. (1995). The practice of empowerment. Hampshire England: Gower.
Klakovich, M. D. (1996). Registered nurses empowerment: Model testing and implications

for nurse administrators. Journal of Nursing Administration, 26(9): 29-35.
Laschinger, H. K. S. (1996). A theoretical approach to studying work empowerment in

nursing: a review of studies testing Kanter's theory of structural power in
organizations. Nursing Administration Qauterly,20(2):25-41.
Laschinger, H. K. S., Wong, C., McMabon, L., & Kaufmann, C. (1999). Leader behavior
impact on staff nurse empowerment, job tension, and work effectiveness. Journal
of Nursing Administration, 29(5): 28-39.
Laschinger, H. K. S., & Havens, D. S. (1995). Staff nurse work empowerment and perceived
control over nursing practice: Conditions for work effectiveness. Journal of Nursing
Administration, 26(9): 27-35.
Laschinger, H. K. S., Finegan, J. E., Shamian, J., & Wilk, P. (2004). A longitudinal analysis of
the impact of workplace empowerment on work satisfaction. Journal of
Organizational Behavior, 25: 527-545.
Laschinger, H.K., Finegan, J., Shamian, J. (2001). The impact of workplace empowerment,
organizational trust on staff nurses' work satisfaction and organizational
commitment.Health Care Manage Rev., 26(3):7-23

61

MaKay, B.; Forbes, J. A. ; & Bourner, K. (1990) Empowerment in general practice. The
trilogies of caring. Aust Fam Physician,19(4):513, 516-20.

McDermont, K., Laschinger, H. K. S., & Shamian, J. (1996). Work empowerment and
organizational commitment. Nursing Management, 27(5):44-48.

McDermont, K., Laschinger, H. K. S., & Shamian, J. (1996). Work empowerment and
organizational commitment. Nursing Management, 27(5):44-48.

McGraw, J. P. (1992). The road to empowerment. Journal of Nursing Administration
Quarterly, 16 (3): 16-19.

Merriam Webster Online Dictionary. (2005). Available from : http://www.m-w.com
[September 18, 2005].

Merriam Webster Online Dictionary. (2005). Available from : http://www.m-w.com
[September 18, 2005].

Morrison, R. S., Jones, L., & Fuller, B. (1997). The relation between leadership style and
empowerment on Job satisfaction of nurses. Journal of Nursing Administration,
27(5):27-34.

Ozaralli, N. (2003). Effects of transformational leadership on empowerment and team
effectiveness. Leadership & Organization Development Journal, 24 (6):335-344.

Porter-O’Grady, T. (1986). Creative nursing administration: participative management
into the 21st century. Rockville,Md.: Aspen Systems.

Puetz, B. E. (1988). Empowerment in occupational health nursing: wielding power through
expertise. AAOHN Journal, 36(12):503-7.

Rappaport, J. (1987). Terms of empowerment/exemplars of prevention: Toward a theory
of community psychology. American Journal of Community Psychology, 15: 121-
148.

Sabiton, J. A., & Laschinger, H. K. S. (1995). Staff nurse work empowerment and perceived
autonomy: Testing Kanter’s Theory of Structural Power in Organizations. Journal
of Nursing Administration, 25(9): 42-45

Spreitzer, G. M. (1995). Psychological empowerment in the workplace: Dimensions,
measurement, and validation. Academy of Management Journal, 38(5): 1442-1465.

Spreitzer, G. M. (1995). Psychological empowerment in the workplace: Dimensions,
measurement, and validation. Academy of Management Journal, 38(5):1442-1465.

Stewart, A. M. (1994). Empowering people. London: Pitman.

62

Tebbitt, B. V. (1993). Demystifying organizational empowerment. Journal of Nursing
Administration, 23(1):18-23.

Tebbitt, B. V. (1993). Demystifying organizational empowerment. Journal of Nursing
Administration, 23(1):18-23.

Thomas, K. W., & Velhouse, B. A. (1990). Cognitive element of empowerment. Journal of
Nursing Administration, 23(1):18-23.

Tracy, D. (1990). 10 steps to empowerment: A common-sense guide to managing people.
New York: William Morrow.

Wallerstein N, &Bernstein E. (1988). Empowerment education: Freire's ideas adapted to
health education. Health Education Qualterly. 15(4):379-94.

Walton, M. (1986). The Deming management method. London: Mercury Books.
Wilkinson, A. (1998). Empowerment: Theory and practice. Personnel Review, 27(1):40-46.
Wilson, B., & Laschinger, H. K. S. (1994). Staff nurses’ perception of job empowerment

and organizational commitment : A test theory of Structural Power in Organizations.
Journal of Nursing Administration, 24(4s): 39-45.
Wilson, B., & Laschinger, H. K. S. (1994). Staff nurses’ perception of job empowerment and
organizational commitment : A test theory of Structural Power in Organizations.
Journal of Nursing Administration, 24(4s): 39-45.

63

ภาคผนวก ก ตัวอย่างภาคผนวก

ภาพถา่ ยสถานทป่ี ฏิบตั ิงานสหกิจศึกษา ณ .....................................

64
ตัวอย่างภาคผนวก

ภาคผนวก ข
ตวั อย่างเอกสารทางการบัญชี

65

ที.่ ............./.................... ชื่อหนว่ ยงาน..........................................................
เลขท.ี่ ............หมทู่ ี.่ ...............ถนน..........................
ตำบล...............................อำเภอ............................
จังหวัด....................................................................
โทรศพั ท.์ ................................................................

วนั ท่ี................เดือน................................พ.ศ.......................

เร่ือง แจ้งผลตอบรบั เรือ่ งนักศึกษาฝึกประสบการณอ์ าชีพทางพุทธศาสตร์

เรียน/นมสั การ ผา่ นผู้อำนวยการวทิ ยาลัยศาสนศาสตร์ลา้ นนา (อาจารย์ประจำหลักสตู ร)

อ้างถึง หนังสือที่ .........................../..................... ลงวันที่ ...............................................ตามท่ี
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ ได้ส่งหนังสือขอความอนุเคราะห์รับ
นักศกึ ษา ระดบั ปริญญาตรี สาขาพุทธศาสตร์ ในรายวชิ าPH1039 การฝึกภาคสนาม (ประสบการณอ์ าชีพทางพุทธ
ศาสตร์)เพอื่ ปฏบิ ัตงิ านในหน่วยงาน..................................................................................................
.........................................................จำนวน ..........คน เปน็ ระยะเวลา ๑ ภาคการศกึ ษา ต้งั แตว่ ันที่ ........
เดือน .................. พ.ศ. ๒๕๖๓.... ถึง วันที่ ...... เดือน .................. พ.ศ. ๒๕๖๔... ตามความทราบแลว้
นนั้

บดั นี้ ขอแจง้ ผลตอบรบั เรื่องนักศกึ ษาปฏบิ ัตงิ าน ดังน้ี
 สามารถรบั นกั ศกึ ษาปฏิบตั งิ านได้ท้งั หมด
 สามารถรับนักศกึ ษาปฏิบัติงานได้ จำนวน ........... คน
 ไมส่ ามารถรบั นักศึกษาปฏิบตั ิงานได้
 อื่น ๆ (ระบุ)...............................................................................................

ชื่อ................................................ ................นามสกุล....................................................
ชอ่ื ................................................................นามสกุล.................................................. ..
ชื่อ................................................................นามสกลุ .................................................. ..
ชอื่ ................................................................นามสกลุ .................................................. ..

จึงเรียน/นมัสการมาเพื่อทราบและหากมีความประสงค์จะติดต่อขอทราบรายละเอียด
เพ่มิ เตมิ โปรดตอ่ โดยตรงกับ ...............................................นามสกลุ ........................... ........................
เบอร์โทรศัพท.์ ................................................................และโทรสาร........................................................

66

เรยี น/นมัสการมาด้วยความเคารพ
(.................................................)
ตำแหน่ง ...................................................................
หมายเหตุ : นำสง่ ท่ี อาจารยผ์ รู้ บั ผิดชอบหลกั สตู รฯ สาขาวชิ าพทุ ธศาสตร,์ พระครูวินัยธรสัญชยั ญาณวโี ร, ดร.

ปฏทิ นิ การฝึกงาน (รหัส 62) (ร่าง)

ปฏทิ ินการฝกึ ประสบการณ์อาชีพพทุ ธศาสตร์ สาขาวิชาพุทธศาสตร์

ภาคเรยี นที่ 2/2565 ประจำปีการศกึ ษา 2565

กจิ กรรม เวลาดำเนินการ

1. ตดิ ต่อขอฝกึ งานต่อสถานท่ีฝกึ งาน 1 สิงหาคม 2563

2. ยน่ื คำร้องขอฝกึ งานต่อสาขาวชิ า ฯ ถึง 27 สงิ หาคม 2563

3. รับหนังสือขอความร่วมมือไปติดต่อสถานทฝี่ ึกงาน 3 กนั ยายน 2563

4. นำใบตอบรับจากสถานที่ฝึกงานย่ืนต่อสาขาวิชา 17 กนั ยายน 2563

5. แตง่ ต้ังอาจารยน์ ิเทศ/ทปี รึกษาฝึกงาน 17 กันยายน 2563

6. ปฐมนิเทศก่อนการฝึกงาน 15 ตลุ าคม 2563

7. จดั สง่ ระเบียนขอ้ มูลนักศึกษาฝึกงานต่ออาจารยน์ เิ ทศ 15 ตุลาคม 2563

8. รับหนังสอื ส่งตวั นกั ศกึ ษาปฏบิ ตั ิการฝึกงานส่งสถาน รับหนังสือสง่ ตวั นักศึกษาปฏิบัตกิ ารฝึกงาน
ประกอบการพร้อมแบบประเมินผล ส่งสถานท่ี พร้อมแบบประเมินผล 15
ตุลาคม 2563

9. เรม่ิ ปฏบิ ัตกิ ารฝกึ งาน 2 พฤศจิกายน 2563

10. บันทึกภาระงานประจำวัน ระหวา่ งการฝกึ งาน

11. รอรับการนิเทศการฝึกงาน สปั ดาหแ์ รก – สัปดาห์สดุ ทา้ ยของการ

ปฏิบัติการฝึกงาน

12. จบการปฏบิ ัตกิ ารฝกึ งาน วนั ปิดภาคเรยี น 28 กุมภาพันธ์ 2564

13. สง่ เอกสาร / ข้อมูลประเมนิ ผลต่ออาจารย์นิเทศ 5 มนี าคม 2564

- แบบประเมนิ ผลจากสถานประกอบการ

- รายงานสรปุ การฝกึ งาน

- สง่ เล่มรายงานการฝกึ งานเลม่ เสร็จสมบรู ณ์

14. ปจั ฉิมนเิ ทศหลังการฝกึ งาน 5 มนี าคม 2564

15. ประชมุ อาจารยน์ เิ ทศประเมินผล 15 มีนาคม 2564

หมายเหตุ หากมีปญั หาระหว่างการฝึกงาน โปรดติดต่อฝ่ายประสานงาน/อาจารยป์ ระจำหลักสูตร

มหาวิทยาลยั มหามกุฏราชวทิ ยาลัย วิทยาแขตล้านนา โทรศัพท์ 086-422, 7439,

67

ปฏิทินการฝกึ งานสามารถปรับเปล่ยี นได้ตามความเหมาะสมของสถานการณ์

68

กำหนดการปฐมนเิ ทศนักศกึ ษาในรายวชิ าฝึกประสบการณอ์ าชีพพุทธศาสตร์
สาขาวชิ าพุทธศาสตร์

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศกึ ษา 2563
ณ ห้องประชุมพระราชปรยิ ัตโยดม (โอภาส โอภาโส) MBU4

กำหนดการปฐมนเิ ทศ

เวลา กจิ กรรม
13.00 – 13.30 น. ลงทะเบียน
13.31 – 14.15 น. หวั หนา้ ภาควชิ ากล่าวเปดิ งานและใหโ้ อวาท
14.16 – 15.09 น. ผชู้ ว่ ยหัวหน้าภาคฝ่ายกิจการนักศกึ ษาแนะนำการฝกึ
ประสบการณ์อาชีพพุทธศาสตร์
15.10 – 15.15 น. ปิดการปฐมนเิ ทศ

กำหนดการปจั ฉมิ นเิ ทศนักศกึ ษาในรายวิชาฝึกประสบการณอ์ าชพี พทุ ธศาสตร์

เวลา กจิ กรรม
08.30 – 09.00 น. ลงทะเบยี น
09.00 – 09.45 น. หวั หน้าภาควิชากลา่ วเปดิ งานและใหโ้ อวาท
09.45 – 10.15 น. ผู้ชว่ ยหัวหน้าภาคฝ่ายกจิ การนักศึกษาให้ข้อคิดเห็น
10.15 – 11.15 น. นักศึกษา / ตัวแทนรายงาน / อภิปราย / สรุปการฝึก
ประสบการณ์อาชพี พทุ ธศาสตร์
11.15 – 11.45 น. อาจารยน์ ิเทศกส์ รุปและให้ข้อคดิ เหน็
11.45 – 12.00 น. ปดิ การปัจฉิมนิเทศ

กำหนดการอาจมีการเปลีย่ นตามความเหมาะสม

69

บรรณานกุ รม

พระครวู นิ ยั ธรสัญชัย ญาณวีโร,ดร.. (2563). คูม่ อื การฝกึ ประสบการณ์อาชพี ทางพุทธศาสตร์. เชยี งใหม่ : มหาวิทยาลัย
มหามกฏุ ราชวิทยาลยั วิทยาเขตลา้ นนา.

พระสัญชัย ญาณวีโร และคณะ. (2561). การเสริมสร้างความเข้มแข็งตามหลักบุญกิริยาวัตถุของชุมชนบ้านแสนคำ
อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากสถาบันวิจัยญาณสังวรมหาวิทยาลยั
มหามกฏุ ราชวทิ ยาลยั ประจำปงี บประมาณ 2561.

สาขาพุทธศาสตร์ มมร ล้านนา. (2563). คู่มือการฝึกประสบการณ์อาชีพทางพุทธศาสตร์. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัย
มหามกฏุ ราชวิทยาลัย วทิ ยาเขตล้านนา.

70

ประวัติผเู้ รยี บเรยี ง

ชื่อ-นามสกุล

(ภาษาไทย) พระครูวินัยธรสัญชัย ญาณวโี ร (ทพิ ย์โอสถ) ดร.

(ภาษาอังกฤษ) PHRAKHU VINAIDHORN SANCHAI NANAVIRO

(THIPOSOT)

เลขบตั รประจำตวั ประชาชน 123456789011222345678

ตำแหน่งปัจจุบนั อาจารย์ สาขาวิชาพุทธศาสตร์

หน่วยงานที่สงั กัด 103 ถ.พระปกเกลา้ ต.พระสงิ ห์ อ.เมอื ง จ.เชยี งใหม่

แผนกพทุ ธศาสตร์

คณะศาสนาและปรชั ญา

มหาวทิ ยาลัยมหามกฏุ ราชวิทยาลัย วทิ ยาเขตลา้ นนา

โทรศัพท์: 08-6422-7439

อีเมล์: [email protected]

ประวัตกิ ารศึกษา

2561 ปริญญาเอก สาขาวชิ าพระพทุ ธศาสนา (พธ.ด.)

มหาวทิ ยาลัยมหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลัย

2550 ปริญญาโท สาขาวชิ าพทุ ธศาสนาและปรัชญา (ศน.ม.)

มหาวิทยาลัยมหามกฏุ ราชวทิ ยาลยั

2548 ประกาศนียบตั รวชิ าชพี ครู สาขาวิชาพุทธศาสตร์ (ปวค.)

มหาวิทยาลยั มหามกุฏราชวทิ ยาลัย วิทยาเขตล้านนา

2546 ปรญิ ญาตรี สาขาวชิ าพุทธศาสตร์ (ศน.บ.)

มหาวทิ ยาลยั มหามกฏุ ราชวิทยาลัย

2539 เปรียญธรรม ประโยค 1-2 สำนักเรียนวัดเจดยี ห์ ลวง วรวหิ าร

2535 นกั ธรรม ชน้ั เอก สำนักเรยี นวัดวชิราลงกรณวราราม

การฝกึ อบรม

2561 อบรมการเขียนโครงการวิจยั เพอ่ื ขอทุนของสำนกั งบประมาณแหง่ ชาตผิ ่าน

สถาบันวิจยั

ญาณสังวร

2559 พระนักเผยแผล่ ุ่มน้ำโขง มหาวทิ ยาลัยมหามกุฏราชวทิ ยาลัย

2559 อบรมการเขยี นวจิ ยั เชงิ ปฏิบัตการของคณะศาสนาและปรัชญา ร่นุ ที่ 1

มหาวิทยาลยั มหามกุฏราชวิทยาลยั

ผลงานวจิ ัย

71

หัวหนา้ โครงการวิจยั
2563 พระครูวินัยธรสัญชัย ญาณวีโร, ดร. การพัฒนาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาสาขา

พุทธศาสตร์ มหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา เป็นงานวิจัยหลักสูตร งานวิจัยเกี่ยวกับการ
เรียนการสอนของสาขาวชิ า
2562 พระครวู ินยั ธรสัญชัย ญาณวีโร, ดร. การเสรมิ สร้างพุทธจริยธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงฆ์:
ศึกษาเฉพาะกรณี วิทยาเขตล้านนา ทุนอุดหนุนจากชมรมพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาสังคมและ
สิง่ แวดลอ้ ม
2561 พระสัญชัย ญาณวีโร, รูปแบบการเรียนรู้เรื่องไตรสิกขาในรายวิชาพระไตรปิฏกศึกษา 1 ของ
นักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ทุนวิจัย
พัฒนาอาจารยส์ ถาบนั วิจัยญาณสงั วร
2561 พระสัญชัย ญาณวีโร, การเสริมสร้างความเข้มแข็งตามหลักบุญกิริยาวัตถุของชุมชนบ้านแสนคำ
อำเภอแม่วาง จังหวดั เชียงใหม่ ทุนวิจัยงบประมาณแผน่ ดิน (วช).
2560 พระสัญชัย ญาณวีโร, การจัดการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรมของวัดเจดีย์หลวง วรวิหาร
อำเภอเมอื ง จงั หวดั เชียงใหม่ ทนุ วิจัยพัฒนาอาจารย์สถาบนั วิจัยญาณสงั วร
2559 พระสัญชัย ญาณวีโร, กระบวนการขดั เกลาพฤติกรรมของสามเณรวัดเจดยี ์หลวง วรวิหาร อำเภอ
เมือง จงั หวัดเชียงใหม่ ทุนวิจัยพัฒนาอาจารยส์ ถาบันวิจัยญาณสงั วร
2557 พระสัญชัย ญาณวโี ร, การนาํ ศีล 5 ไปประยกุ ต์ใชในชีวติ ประจําวันของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
เพื่อพัฒนาทักษะด้านคุณธรรม ในรายวิชาการปฏิบัติกรรมฐาน ทุนวิจัยพัฒนาอาจารย์
สถาบนั วจิ ยั ญาณสงั วร
ผู้ร่วมโครงการวิจัย
2563 การพัฒนานักเรียนโรงเรียนเมตตาศึกษา ในพระราชูปถัมภ์ฯ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ด้วย
หลักคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ, ทุนวิจัยพัฒนาอาจารย์ มมร ล้านนา ผ่านสถาบันวิจัยญาณ
สงั วร
2563 การเสริมสร้างพุทธจริยธรรมตามหลักไตรสิกขาของสามเณรวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อำเภอเมือง
จังหวัดเชียงใหม่, ทุนวจิ ยั พัฒนาอาจารย์ มมร ลา้ นนา ผ่านสถาบันวิจยั ญาณสงั วร
2559 การฟื้นฟูสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านสระลงเรือ อำเภอห้วยกระเจา
จังหวัดกาญจนบรุ ี ทุนวิจัยสถาบันวิจัยญาณสังวร มมร
2555 ความพึงพอใจของสถานศึกษาที่มีต่อครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมหาวิทยาลัยมหามกุฏราช
วทิ ยาลยั วิทยาเขตลา้ นนา ทนุ วิจัยงบประมาณแผ่นดนิ (วช). สถาบันวจิ ัยญาณสังวร มมร
2554 หลักธรรมที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาพฤติกรรมผิดศีลธรรมของเยาวชน 8 จังหวัดภาคเหนือ
ตอนบน
ทุนวจิ ยั งบประมาณแผ่นดิน (วช).

72

หนงั สอื /ตำรา
พระครูวินยั ธรสัญชยั ญาณวโี ร (ทพิ ยโ์ อสถ) ดร., วิเคราะห์ทรรศนะของพระพุทธศาสนาทมี่ ตี ่อเดรัจฉาน

วิชาหรือไสยศาสตร์ (Analyze the views of Buddhism with the Low arts or
superstition), เชียงใหม่ : โรงพมิ พส์ ยามลา้ นนาการพิมพ,์ 2562. 106 หน้า.
พระครวู นิ ัยธรสญั ชยั ญาณวโี ร (ทพิ ย์โอสถ) ดร., ความรเู้ บ้ืองตน้ เก่ยี วกับพระไตรปฎิ กศึกษา1, พระ
ไตรปฏิ กศึกษา 1 BU 5002 Tipitaka Studies 1, (ปรับปรุงเพมิ่ เติม), เชียงใหม่ : โรงพิมพ์สยาม
ล้านนาการพิมพ์, 2562.
พระครูวนิ ยั ธรสัญชยั ญาณวีโร (ทิพยโ์ อสถ) ดร., PH1038คมู่ อื เตรยี มความพร้อมก่อนฝึกงาน PH1038
การเตรียมความพร้อมก่อนการฝกึ งาน 100 หนา้ 1/2563 (อดั สำเนา)

การตีพมิ พบ์ ทความวจิ ยั /บทความวชิ าการ
2567 พระครูวินัยธรสัญชัย ญาณวีโร, ดร. การจัดการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรมของวัดเจดีย์

หลวง วรวหิ าร อำเภอเมือง จงั หวัดเชียงใหม่ ทุนวจิ ัยพฒั นาอาจารยส์ ถาบนั วิจัยญาณสังวร
2566 พระครูวินัยธรสัญชัย ญาณวีโร, ดร. พฤติกรรมเชิงพุทธจริยธรรมที่ควรส่งเสริมของนิสิตและ

นักศึกษามหาวิทยาลัยสงฆ์ในภาคเหนือBuddhist Ethical Behaviors to Encourage Of
Buddhist University Students In The Northern Region.
2565 พระครูวินัยธรสัญชัย ญาณวีโร, ดร. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพุทธศาสตร์, Efficiency
Economics on the Buddhist Concept, วารสาร มมร วชิ าการลา้ นนา ISSN 2286-8267 ปีที่
(กำลังดำเนินการตีพมิ พท์ ่ีมมร ลา้ นนา)
2564 พระครูวนิ ัยธรสัญชัย ญาณวีโร, ดร. การฟืน้ ฟสู ภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการท่องเท่ียวของชุมชน
บ้านสระลงเรอื อำเภอหว้ ยกระเจา จงั หวัดกาญจนบุรี, วารสาร มมร วิชาการล้านนา ISSN 2286-
8267 ปีที่ (กำลังดำเนินการตีพิมพท์ ่ีมมร ลา้ นนา)
2563 พระครูวินัยธรสัญชัย ญาณวีโร, ดร. การพัฒนาชุมชนลดปัจจัยเสี่ยง “ลด ละ เลิก บุหรี่ และสุรา
ในชุมชนห้วยแทง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน” ตามแนวพระพุทธศาสนา Community
Development Reduces Risk Factors "Reduce, stop smoking and alcohol in the Ban
Huaytang, Ban Hong District Lamphun Province "according to the Buddhism. 2563
การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 The 2 nd, National Academic Conference, หัวข้อ
เร่อื ง ปรชั ญาสวุ รรณภมู ิ กระบวนทัศน์พระพุทธศาสนาเพ่ือพฒั นาชวี ิตในศตวรรษท่ี 21, วันที่ 18
กนั ยายน 2563, ณ ห้องประชมุ อาคารสุชพี ปญุ ญานุภาพ มหาวิทยาลยั มหามกุฏราชวิทยาลยั .
2563 พระครูวินัยธรสัญชัย ญาณวีโร, ดร. การเสริมสร้างพุทธจริยธรรมในสังคมไทย Strengthening
Buddhist ethics in Thai society. 2563 วารสาร มมร วิชาการล้านนา ISSN 2286-8267 ปีท่ี
(กำลงั ดำเนนิ การตพี มิ พท์ ่ีมมร ลา้ นนา)

73

2562 พระสัญชัย ญาณวโี ร, ดร. การเสรมิ สร้างความเข้มแขง็ ตามหลักบญุ กิริยาวตั ถุของชุมชนบ้านแสน
คำ อำเภอแมว่ าง จงั หวัดเชยี งใหม่. 2562 วารสาร มมร วิชาการล้านนา ISSN 2286-8267 ปีที่ 8
เลม่ ทรา 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2562

2562 พระสัญชัย ญาณวีโร, การส่งเสริมพฤติกรรมเชิงพุทธจริยธรรมของนิสิตและนักศึกษา
มหาวิทยาลัยสงฆ์ในภาคเหนือEncouragement on the Buddhist Ethical Behaviors of
Buddhist University Students in Northern Region. ว า ร ส า ร ม ห า จ ุ ฬ า น า ค ร ท ร ร ศ น์
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช ปีที่ 6 ฉบับที่ 5
(กรกฎาคม 2562) TCI Group 1. หน้า 2271.

2562 พระสัญชัย ญาณวีโร, หลกั ธรรมที่เหมาะสมในการแก้ปญหั าพฤติกรรมผิดศีลธรรมของเยาวชน 8
จังหวดั ภาคเหนือตอนบน. ในการประชมุ สมั มนาวิชาการนำเสนอผลงานวิจยั ระดับชาติ “วิชาการ
ล้านนาเพ่ือการศึกษาและพัฒนายคุ 4.0” 13 กมุ ภาพนั ธ์ 2562 TCI Group 2 หน้า 136

2562 พระสัญชัย ญาณวีโร, กระบวนการขัดเกลาพฤติกรรมของสามเณร วัดเจดีย์หลวง วรวิหาร
อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่: ในการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ
“วชิ าการล้านนาเพื่อการศึกษาและพัฒนายคุ 4.0” 13 กุมภาพันธ์ 2562 TCI Group 2 หน้า 159

2559 พระสัญชัย ญาณวีโร, การท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาและวัฒนธรรมกับการสร้างมูลค่าเพิ่มทาง
การตลาด. วารสาร มมร วิชาการล้านนา ISSN 2286-8267 ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม –
ธันวาคม 2559 TCI Group 2 , หนา้ 159.

2558 พระสัญชัย ญาณวีโร, ศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องทุกข์ในพุทธปรัชญาเถรวาท กับแนวคิด
ทกุ ขนิยมของโชเปน็ เฮาเออร์. วารสารพุทธศาสตรศ์ ึกษา มจร ปีท่ี 6 ฉบบั ที่ 2 2558 TCI Group
1, หน้า 46.

การประชุมวชิ าการระดบั นานาชาติ
-

การประชมุ วิชาการระดับชาติ
ภาคบรรยาย

2563 พระครูวนิ ยั ธรสัญชยั ญาณวโี ร.ดร., การพัฒนาชุมชนลดปัจจยั เสี่ยง “ลด ละ เลกิ บุหรี่ และสุรา
ในชุมชนห้วยแทง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน” ตามแนวพระพุทธศาสนา Community
Development Reduces Risk Factors "Reduce, stop smoking and alcohol in the Ban
Hauytang, Ban Hong District Lamphun Province "according to the Buddhism. ก า ร
ประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 The 2nd National
academic conference ในหัวข้อเรื่อง "ปรัชญาสุวรรณภูมิ" "Suvarnabhumi Philosophy :
Buddhist Paradigm for life Development in the 21st century" วันที่ 18 กันยายน 2563
ที่ มมร ศาลายา จังหวัดนครปฐม

74

2562 พระสัญชัย ญาณวีโร, กระบวนการขัดเกลาพฤติกรรมของสามเณร วัดเจดีย์หลวง วรวิหาร
อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่: ในการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ
“วิชาการล้านนาเพื่อการศึกษาและพัฒนายุค 4.0” 13 กุมภาพันธ์ 2562 TCI Group 2 หน้า
159

2562 พระสญั ชัย ญาณวโี ร, หลกั ธรรมทีเ่ หมาะสมในการแกป้ ญหั าพฤติกรรมผดิ ศีลธรรมของเยาวชน 8
จงั หวดั ภาคเหนอื ตอนบน. ในการประชมุ สมั มนาวชิ าการนำเสนอผลงานวจิ ยั ระดับชาติ “วิชาการ
ล้านนาเพอื่ การศกึ ษาและพัฒนายุค 4.0” 13 กมุ ภาพันธ์ 2562 TCI Group 2 หนา้ 136
ภาคโปสเตอร์

ผทู้ รงคณุ วุฒิ/กรรมการวทิ ยานิพนธ์และพิจารณาบทความวารสารวิชาการ
ผูท้ รงคุณวฒุ ิพจิ ารณาบทความ
ผู้ทรงคุณวฒุ /ิ กรรมการควบคุมและสอบวิทยานพิ นธป์ ริญญาโท/เอก

ทปี่ รึกษาโครงการวจิ ัย

ขอรบั รองว่าประวตั แิ ละผลงานท้ังหมดข้างตน้ เปน็ ความจริงทุกประการ

(พระครูวนิ ัยธรสัญชัย ทพิ ย์โอสถ ดร.)
เจา้ ของประวัติ


Click to View FlipBook Version