The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2565 (SAR)_compressed

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2565 (SAR)_compressed

รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2565 (SAR)_compressed

43 คิดอย่างมีวิจารณญาณ ส่งเสริมการทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มได้อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหาร่วมกัน โดยนำส่งกลุ่มบริหารวิชาการก่อนนำไปใช้จัดการเรียนรู้อีกทั้งบูรณาการผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ของสถานศึกษา เช่น กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยภายในสถานศึกษา การเลือกตั้ง อบน.วส., กิจกรรมค่ายต่าง ๆ, กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน รวมถึงการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้ความสามารถ โดยมีกิจกรรมที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนทุกเพศ ทุกระดับ ทุกชั้นปี มีส่วนร่วมได้อย่างเสมอภาคตามความรู้ความสามารถที่ตนเองถนัด นำไปสู่การพัฒนาทักษะคุณภาพชีวิตของผู้เรียนให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และนอกจากนี้สถานศึกษา ได้มีการประชุมประจำเดือนเพื่อวางแผนการดำเนินงานของกิจกรรมทุกกิจกรรม ให้มีการดำเนินกิจกรรม ไปในทางเดียวกัน ซึ่งโครงการ/กิจกรรม ทั้งในภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ที่บ่งชี้ว่าผู้เรียน มีสุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคมที่ดี ได้แก่ กิจกรรมการดูแลปฐมพยาบาลเบื้องต้น, กิจกรรมจัดหายารักษาโรค และเวชภัณฑ์, กิจกรรมส่งเสริมมาตรการป้องกันโรค (COVID-19)และไข้เลือดออก, โครงการปรับเปลี่ยน พฤติกรรม ลดพุง ลดโรค และกิจกรรมการประเมินพฤติกรรมนักเรียน โดยสถานศึกษาดำเนินการกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยกระบวนการ PDCA มีการวางแผน ดำเนินการ ตรวจสอบ ประเมินผลและสรุปผล เพื่อนำผลการประเมินไปใช้ ในการพัฒนาต่อไป 3. ผลการดำเนินงาน 1) ด้านการมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ 99.00 ซึ่งเป็นไปตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด โดยพิจารณาจากการวิเคราะห์ สภาพปัญหา ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน มีการปรับ แผนปฏิบัติการเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ ร่วมพัฒนาตามแนวนโยบายปฏิรูปการศึกษา พร้อมทั้งมีการจัดหาทรัพยากร จัดสรรงบประมาณ มอบให้ครูที่รับผิดชอบดำเนินงานพัฒนาตามแผนเพื่อให้บรรลุ ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ติดตามประเมินผลการดำเนินงานและสรุปผลการดำเนินงาน มีการร่วมประชุม วางแผนการดำเนินงานร่วมกันในการปรับพฤติกรรมของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ระดมความคิดเห็น จากบุคลากรทางการศึกษาในระดับชั้น ครูที่ปรึกษา กลุ่มบริหารกิจการนักเรียน และกลุ่มบริหารวิชาการ ส่งผลให้ การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบและมีข้อมูลชัดเจนเพื่อนำเสนอข้อมูลได้อย่างถูกต้อง มีการจัดกระบวนการ ทำงานอย่างต่อเนื่องและส่งต่อในระดับต่อไป 2) ด้านความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ 95.51 เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด ซึ่งวิเคราะห์จากนโยบายของสถานศึกษา ที่ส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดทำโครงการที่มุ่งเน้นให้เกิดผลแก่ผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยโครงการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียน เกิดกระบวนการคิด วิเคราะห์ อย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา ที่บรรจุลงใน แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 2565 ซึ่งมีกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เกิดผลแก่ผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยโครงการ


44 ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิด วิเคราะห์ อย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา เช่น กิจกรรมเกษียณอายุราชการ เพื่อแสดงมุทิตาจิตแก่คุณครูที่เกษียณอายุราชการ และอนุรักษ์ วัฒนธรรมไทย, กิจกรรมสอบธรรมศึกษา เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม, กิจกรรมทำบุญตักบาตร ในวันสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนได้ร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย, กิจกรรมบริจาคโลหิต เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรม, กิจกรรมรณรงค์เลือกตั้ง เพื่อส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และผู้เรียนได้รับ ประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติจริง, กิจกรรมแข่งขันทักษะทางวิชาการ ได้แก่ ตอบปัญหาทางกฎหมาย ศิลปะหัตถกรรมนักเรียน, กิจกรรมบริษัทสร้างการดีของโครงการโรงเรียนสุจริต, กิจกรรมหล่อเทียน แห่เทียน เพื่อส่งเสริมพระพุทธศาสนา รักษาวัฒนธรรมประเพณีของไทย และกิจกรรมการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ชาติไทย “สร้างความภาคภูมิใจในความเป็นไทย และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น” ตามนโยบาย ของสำนักงานการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นต้น 3) ด้านการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างที่หลากหลาย มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ 90.00 ซึ่งเป็นไปตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด โดยพิจารณาจากการเข้าร่วม กิจกรรมที่ส่งเสริมการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลายของผู้เรียนผ่านโครงการ/กิจกรรม ต่าง ๆ ของสถานศึกษา เช่น กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยภายในสถานศึกษา การเลือกตั้ง อบน.วส., กิจกรรมค่าย ต่าง ๆ, กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน รวมถึงการส่งเสริมศักยภาพนักเรียนที่มีความรู้ความสามารถ ซึ่งผู้เรียนทุกคน มีส่วนร่วมในโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ตามความสมัครใจ ตามความรู้ความสามารถและความเหมาะสม ซึ่งผู้เรียน ทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี 4) ด้านสุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคม มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม คิดเป็น ร้อยละ 97.89 เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด ซึ่งวิเคราะห์ได้จากการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น กิจกรรมการดูแลปฐมพยาบาลเบื้องต้น, กิจกรรมจัดหายารักษาโรคและเวชภัณฑ์, กิจกรรมส่งเสริม มาตรการป้องกันโรค (COVID-2019) และไข้เลือดออก, โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดพุง ลดโรค และกิจกรรมการประเมินพฤติกรรมนักเรียน ซึ่งผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ และให้ความร่วมมือในทุกกิจกรรม เป็นอย่างดี เมื่อพิจารณาผลจากการพัฒนาผู้เรียนในมาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน ประเด็นหลักที่ 2 คุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ทั้ง 4 ตัวบ่งชี้ มีการดำเนินงานอยู่ในระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ ร้อยละ 95.60 ซึ่งเป็นไปตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด


45 โดยผลจากการพัฒนาผู้เรียนในมาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน ประเด็นหลักที่ 2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของผู้เรียน ซึ่งเกิดจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการดำเนินโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้ผู้เรียน มีความสำเร็จ มีตัวอย่างผลงานและรางวัลสนับสนุนผลการพัฒนา ยกตัวอย่างดังนี้ 1. ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 4 ระดับประเทศ จากการแข่งขันตอบปัญหากฎหมาย ชิงโล่พระราชทานสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดย คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ - นางสาววัชรภรณ์ ประกอบแก้ว ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 - นายทรรศนพล บุญญาลัย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 2. สถานศึกษาได้รับรางวัลเกียรติยศในโครงการวิทยากรกระบวนสื่อสร้างสรรค์รู้เท่าทันโลกโซเชียลมีเดีย ของมูลนิธิครอบครัวพอเพียง (องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนและสภาวิชาชีพ) 4. นักเรียนและคุณครูได้รับรางวัลชนะเลิศระดับจังหวัด การประกวดคลิปวีดีโอสั้นในโครงการ อัจฉริยะยุวชนประกันภัยประจำปี 2565 3. นักเรียนและคณะครูได้รับคัดเลือกให้จัดทำวิดีทัศน์เป็นภาษาอังกฤษ "รำเหย่ย" เป็นตัวแทนประเทศ ไทยในการถ่ายทำวิดีทัศน์นำเสนอวัฒนธรรมการแสดงของไทย เป็นภาษาอังกฤษ ร่วมประชุม ในงาน 14th Asia Pacific Regional Conference ประจำปี 2565 โ ดยสมาคมผู้บำเ พ็ญ ปร ะ โ ย ช น์ แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์เป็นเจ้าภาพ 4. นักเรียนและคณะครูได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันกิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์ ระดับภาคกลาง โครงการขับเคลื่อนกิจกรรมสร้างสรรค์ชุมชนตามเป้าหมายการพัฒนาโลกที่ยั่งยืน (SDGs) ในทุกภูมิภาค 5. ได้รับรางวัล “เด็กและเยาวชนดีเด่น และเด็กและเยาวชนที่นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติ ประจำปี 2566” เป็นนักเรียนจิตอาสางานธนาคารโรงเรียน (1 ใน 20 คน จากธนาคารโรงเรียนทั่วประเทศ) ได้รับการคัดเลือกให้เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี เนื่องในงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2566 ได้แก่ - นายพชร หนูผาสุก ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 6. ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นตัวแทนจังหวัดกาญจนบุรี เข้าร่วม การอบรมสัมมนาสภานักเรียน ระดับประเทศ ประจำปีพุทธศักราช 2566 และได้ร่วมนำเสนอความคิดเห็น ต่อการขับเคลื่อนสภานักเรียนแก่ท่านนายกรัฐมนตรี ณ ทำเนียบรัฐบาลในเนื่องวันเด็กแห่งชาติในหัวข้อ “สภานักเรียน สพฐ. สานต่อแนวทางที่สร้างสรรค์ เรียนรู้อย่างเท่าทัน มุ่งมั่นพัฒนาประชาธิปไตย” ได้แก่ - นางสาวกวินธิดา สินคงเจริญ คณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี (อบน.วส.)


46 4. จุดเด่น 1) ผู้เรียนมีพฤติกรรมที่เหมาะสมตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ซึ่งนำมาสู่อัตลักษณ์ของสถานศึกษา “ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูสถาบัน ยึดมั่นความดี” รวมทั้งตรงตามเอกลักษณ์ของสถานศึกษา “วิชาการเป็นเลิศ เชิดชูคุณธรรม” 2) ผู้เรียนมีความกล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้อง ได้รับการดูแลและส่งเสริมในเรื่องของสุขภาพอย่างชัดเจน รวมทั้งได้เรียนรู้วิธีการป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติด 3) ผู้เรียนมีสุขภาพจิตที่ดี มีมนุษยสัมพันธ์อันดีต่อผู้อื่น เคารพสิทธิเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น เกิดการเพิ่มทักษะการดำรงชีวิตให้กับตนเอง ผู้เรียนมีการพัฒนาทักษะด้านความเป็นผู้นำ เกิดเครือข่ายการทำงาน ระหว่างสถานศึกษาและองค์กรภายนอก รวมไปถึงสร้างเกียรติประวัติให้กับตนเองและสถานศึกษา 4) ผู้เรียนมีความรัก ความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจกันในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ อย่างมีความสุข ผู้เรียน และบุคลากรได้รับการดูแลสุขภาพที่ดี ได้รับความรู้เรื่องการดูแลตนเองเบื้องต้นให้สุขภาพดี มีการออกกำลังกาย การเลือกรับประทานอาหารและการควบคุมน้ำหนักของตนเอง อีกทั้งได้รับการประเมินพฤติกรรมผู้เรียนจาก ตนเอง คณะครูที่ปรึกษาและผู้ปกครอง 5. จุดที่ควรพัฒนา 1) ควรพัฒนาให้ผู้เรียนมีความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองและการทำงานเป็นทีม เชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์มาใช้ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ 2) ควรพัฒนาให้ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเอง และสังคมในการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงานอย่างสร้างสรรค์ และมีคุณธรรม 3) ควรพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ทักษะพื้นฐานในการจัดการเจตนคติที่ดี มีพฤติกรรมเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพกติกาในการทำงานหรืออาชีพ 4) ควรพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามสถานศึกษากำหนด มีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของความเป็นไทย และยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย


47 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ 1. ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม 2. กระบวนการพัฒนา โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี ภายใต้การบริหารงานโดย ผู้อำนวยการหงษ์ดี ศรีเสน และคณะผู้บริหาร มีกระบวนการบริหารการจัดการภายในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ พัฒนาสถานศึกษาให้บรรลุ เป้าหมาย โดยผสานหลักการทางการบริหารเข้ากับแนวคิดในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ และยึดหลักการบริหาร โดยใช้รูปแบบการบริหารงานโรงเรียนอย่างมีส่วนร่วม ตามหลักการ STEM – Par Model ซึ่งนำไปสู่การประชุม วางแผนการดำเนินงานและกำกับติดตามการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด รวมไปถึงการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษา โดยมีการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาระยะ 3 ปี ซึ่งในปีการศึกษา 2565 เป็นการใช้การกำหนดทิศทางการจัดการศึกษาระยะกลาง 3 ปี (พ.ศ. 2566 – 2568) โดยมีการประชุม เพื่อวิเคราะห์ จุดอ่อน - จุดแข็ง (SWOT) (จากคำสั่งที่ 107/2565 เรื่องการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนพัฒนา การจัดการศึกษา ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2566 – 2568) ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2565) โดยใช้ข้อมูลจากแผนการศึกษา ชาติ, นโยบายและจุดเน้นการจัดการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ 2566, แผนยุทธศาสตร์ สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษากาญจนบุรี, มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษา, รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564, เอกสารวิเคราะห์วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ อัตลักษณ์ เอกลักษณ์ กลยุทธ์ของสถานศึกษา, เอกสารการถอดบทเรียนของผู้เรียน จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอน, สรุปความรู้สึกของผู้ปกครองที่มีต่อสถานศึกษา และสรุป สิ่งที่ผู้ปกครองสะท้อนความต้องการต่อสถานศึกษาจากโครงการเยี่ยมบ้าน เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำ ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ มีศักยภาพตามความถนัดของตนเอง และส่งเสริม ให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้ โดยการดำเนินงานดังกล่าวนำไปสู่ การจัดสรรงบประมาณ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ภาคเรียนที่ 1 โดยในการจัดสรร งบประมาณ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดสรรงบประมาณและจัดทำแผนปฏิบัติการ จากนั้นดำเนินการขออนุมัติแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณจากคณะกรรมการสถานศึกษา ในการประชุม คณะกรรมการสถานาศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี ครั้งที่ 1/2565 และในระยะที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ภาคเรียนที่ 2 โดยในการจัดสรรงบประมาณ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อประชุมเชิง ปฏิบัติการเพื่อจัดสรรงบประมาณและจัดทำแผนปฏิบัติการ จากนั้นดำเนินการขออนุมัติแผนปฏิบัติการประจำปี งบประมาณจากคณะกรรมการสถานศึกษา ในการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี ครั้งที่ 2/2565 ซึ่งในการดำเนินโครงการตามแผนปฏิบัติการในแต่ละระยะนั้น


48 ต้องมีการขออนุญาตดำเนินการตามโครงการโดยผ่านความเห็นชอบของผู้อำนวยการสถานศึกษา ผ่านงานแผนงาน และเจ้าหน้าที่พัสดุเป็นผู้รับผิดชอบ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกลุ่มนโยบายและแผนงาน (ตามคำสั่งที่ 62/2565 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการกลุ่มบริหารแผนงานและประกันคุณภาพ โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี) ในภาค เรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 และ (ตามคำสั่งที่ 195/2565 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการกลุ่มบริหารแผนงานและ ประกันคุณภาพ โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี) ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ซึ่งได้มีการประชุม ติดตามการดำเนินโครงการและกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการประจำปี โดยใช้แบบกำกับติดตาม (ผ.1- ผ.7) และ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการประกันคุณภาพภายใน (ตามคำสั่งที่ 67/2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการ ดำเนินงานตามมาตรฐาน เพื่อการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาและจัดทำรายงานการพัฒนาคุณภาพ การศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2565) เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความต่อเนื่องและมีคุณภาพ โดยมีการประชุมคณะกรรรมการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและงานสารสนเทศ เพื่อกำหนดระดับคุณภาพ กำหนดค่าเป้าหมายของแต่ละมาตรฐานตัวบ่งชี้ ให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา เพื่อการประกัน คุณภาพภายในของสถานศึกษา พร้อมทั้งยื่นเสนอให้กับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี ได้พิจารณาลงมติเห็นชอบและรับรองค่าเป้าหมายดังกล่าว ในการประชุมคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี ครั้งที่ 1/2565 พร้อมทั้งกำหนดขอบเขตและ ประเภทของเอกสาร หลักฐาน ร่องรอย ตามตัวบ่งชี้ ตามมาตรฐานของงานประกันคุณภาพ เพื่อนำไปใช้ เป็นแนวทางในการบริหารจัดการของสถานศึกษาในลำดับต่อไป ในด้านระบบบริหารจัดการคุณภาพของ สถานศึกษา มีรูปแบบวิธีการดำเนินการโดยเริ่มต้นที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย (คณะครู ผู้บริหาร คณะกรรมการ สถานศึกษา ผู้แทนชุมชน/ผู้ทรงคุณวุฒิ) ร่วมกันวางแผนประชุมพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ในเรื่องการกำหนด แผนพัฒนาการจัดการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปี กลยุทธ์ ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ รวมถึงเป้าหมาย ของสถานศึกษา ตามความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ และจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ซึ่งประกอบด้วยเป้าหมาย กลยุทธ์ และแนวปฏิบัติที่ชัดเจน สมบูรณ์ คลอบคลุมการพัฒนาทุกกิจกรรม ที่เป็นส่วนประกอบหลักของการจัดการศึกษา ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา และ เป็นที่ยอมรับร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดบทบาทและหน้าที่ให้บุคลากรของสถานศึกษาทุกคน รวมทั้งผู้เรียน ในการรับผิดชอบและดำเนินงานตามกิจกรรม/โครงการที่สอดคล้องกับเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีการบริหารจัดการให้คณะครูได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับ ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด โดยให้การสนับสนุน ส่งเสริมและหาแนวทางการแก้ไข ปัญหาในทุกๆ ด้าน อีกทั้งดำเนินการกำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง มีการตรวจสอบผลการดำเนินงาน เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงแก้ไข เปลี่ยนแปลงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อเป็นแนวทางให้บรรลุเป้าหมายตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ยกตัวอย่างจากการจัดให้มีโครงการนิเทศ การจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนภายในสถานศึกษา ซึ่งการดำเนินโครงการคิดเป็นร้อยละ 100 รวมทั้งนำผลที่ได้ จากการนิเทศดังกล่าวมาพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่อไป นอกจากนี้สถานศึกษายังดูแลผู้เรียนอย่างรอบด้าน


49 และครอบคลุมผ่านทางระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยมีการสรุปผลการประเมินตนเอง (SDQ) เพื่อทราบ พฤติกรรมของนักเรียนเป็นรายบุคคล กิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน พาน้องกลับมาเรียน ซึ่งการดำเนินโครงการ ทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 100 และนำผลที่ได้จากการดำเนินโครงการมาวิเคราะห์และแก้ปัญหาให้กับผู้เรียน ในด้านต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น ร่วมสนับสนุนและจัดหาทุนการศึกษาสำหรับผู้เรียนที่ด้อยโอกาส เป็นต้น อีกทั้งยังมี การบริหารอัตรากำลังและทรัพยากรทางการศึกษาอย่างเพียงพอ เป็นไปตามอัตรากำลังข้าราชการครูตามเกณท์ ที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สำนักงาน ก.ค.ศ.) กำหนด ในด้านการพัฒนา วิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมายนั้นดำเนินการปรับปรุงและ พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา พุทธศักราช 2565 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2560) โดยมุ่งเน้นคุณภาพผู้เรียนตามกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน มีการวิเคราะห์มาตรฐาน การเรียนรู้ ตัวชี้วัด นำไปจัดทำหน่วยการเรียนรู้รายวิชา ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และ ผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมไปถึงตามเป้าหมายของสถานศึกษา มีการพัฒนา หลักสูตรที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนเฉพาะด้าน เช่น โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และ สิ่งแวดล้อม (ESMTE), โครงการส่งเสริมความสามารถด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (IP), โครงการ พัฒนาศักยภาพวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ, โครงการพัฒนาความสามารถด้านกีฬา ด้านดนตรี เป็นต้น สร้างหน่วยการเรียนรู้ใหม่ให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ดำเนินการ ประเมินการใช้หลักสูตรอย่างเป็นระบบ และนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรให้มีความทันสมัย และ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน สามารถเป็นต้นแบบด้านการใช้หลักสูตร โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การ ใช้หลักสูตรกับสถานศึกษาอื่น ๆ มีการบันทึกผลการใช้หลักสูตรที่มีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ มีการนำผลการ ดำเนินงานไปพัฒนาโดยการวิจัยต่อยอด ผ่านการพัฒนาผู้เรียนด้วยการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน ซึ่งคิดเป็น ร้อยละ 100 ของครูผู้สอนทั้งหมด ส่วนด้านการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ ครูและ บุคลากรทางการศึกษาได้รับการส่งเสริมให้มีการพัฒนาตนเองเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญด้านวิชาการและวิชาชีพ โดยการจัดทำโครงการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ (ตามมาตรฐาน ตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะ) ในกิจกรรมส่งเสริมครูและบุคลากรทางการศึกษาเข้ารับการอบรม ซึ่งเป็น กิจกรรมที่สนับสนุนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาเข้าร่วมการอบรม ประชุม รวมทั้งการสัมมนาในโครงการและ กิจกรรมต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา อาทิเช่น การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตร แกนกลงการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อพัฒนาสรรถนะผู้เรียน ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning), การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในนิทรรศการ “เปิดบ้านนวัตกรรมกาญจน์ 65” ตามโครงการพัฒนา ระบบการศึกษาโดยใช้รูปแบบพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี ประจำปี พ.ศ. 2565, การประชุม เชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพครูแกนนำโรงเรียนศูนย์วิทยาศาสตร์พลังสิบ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เครือข่ายภาคกลางตอนล่าง, การอบรมโครงการส่งเสริมการพัฒนาครูและบุคลกรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ “การให้ความรู้ วิธีการประเมินนตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู Performance Agreement : PA ปีการศึกษา 2565” เป็นต้น ซึ่งนอกจากโครงการและกิจกรรม ดังกล่าวแล้ว


50 ยังมีการจัดทำแผนพัฒนาตนเองของครูและบุคลากรทางการศึกษา (Id Plan) และอบรมจัดทำแบบบันทึกข้อตกลง ในการพัฒนางาน (Performance Agreement : PA) ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาสร้างชุมชนการ เรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โดยจัดให้มีการดำเนินการในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ อีกทั้งมีการส่งเสริมให้ครูพัฒนา ศักยภาพสู่มาตรฐานสากล โดยการสนับสนุนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับทุนสำหรับอบรมครู ในต่างประเทศ ในโครงการต่าง ๆ นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนา องค์ความรู้ในด้านเทคโนโลยีและส่งเสริมให้ได้รับการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อความเป็นครูมืออาชีพและยึดมั่น ในจรรยาบรรณวิชาชีพและมีกระบวนการติดตามผลที่ได้รับจากการอบรม การพัฒนาครูและบุคลากร ทางการศึกษา ด้วยกระบวนการนิเทศ ติดตามและพัฒนา (Coaching and Mentoring) ส่วนในด้าน การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ โดยสถานศึกษาดำเนินการ ดูแล จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้โดยมีกลุ่มงานบริหารทั่วไป ฝ่ายงานอาคารสถานที่ ดำเนินการ ดูแลสถานศึกษา มีการประชุมครูและผู้ที่เกี่ยวข้อง ประชุมวางแผนหัวหน้างานกลุ่มบริหารทั่วไป และประชุม แม่บ้านนักการ เพื่อดำเนินงานจัดการให้สถานศึกษามีสภาพแวดล้อมที่ดี สวยงาม เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้ มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ ปลอดภัย และเพียงพอต่อผู้เรียน มีห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ที่มีความพร้อม เอื้อต่อการเรียนรู้ อีกทั้งยังมีการจัดแหล่งเรียนรู้ภายในห้องเรียน เช่น การจัดบอร์ด ป้ายนิเทศ ภายในห้องเรียน การจัดมุมความรู้มีแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน เช่น สวนพฤกษศาสตร์ ถนนสายหมอก ห้องปฏิบัติการโครงการโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม (Fabrication Lab) มีห้องสมุดที่ทันสมัย มีระบบ อินเทอร์เน็ตไร้สายไว้บริการให้ผู้เรียนได้สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม นอกจากนี้ยังมีการดำเนินงานพัฒนาซ่อมแซม ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ห้องน้ำ ห้องประชุมให้สะอาดและถูกสุขลักษณะ โดยมีโครงการส่งเสริมสุขภาวะ ทางร่างกายและจิตสังคม, กิจกรรมพัฒนาสุขอนามัยในโรงอาหาร ประจำปีการศึกษา 2565 และกิจกรรม ทำความสะอาดท่อระบายน้ำภายในโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น มีการจัดระบบ รักษาความปลอดภัยโดยการจัดเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและการติดตั้งกล้องวงจรปิด ที่ครอบคลุมพื้นที่ บริเวณสถานศึกษา ซึ่งทุกโครงการและทุกกิจกรรมของกลุ่มบริหารทั่วไป มีการกำกับติดตาม ประเมินผล และรายงานผลโครงการ เพื่อนำไปสู่ปรับปรุงพัฒนา ในลำดับต่อไป และในด้านการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้นั้น ปัจจุบันการเรียนการสอนจำเป็นต้องนำเทคโนโลยี มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สถานศึกษาจึงติดตั้งกระดานอัจฉริยะ กระดานอิเล็คทรอนิกอินเตอร์แอคทีฟ บอร์ด เพื่อให้ครูผู้สอนได้นำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้และเพิ่ม ประสิทธิภาพทางการเรียนรู้แก่ผู้เรียน นอกจากนี้ ยังมีการจัดการระบบข้อมูลโดยนำเทคโนโลยีมาใช้ ดังนี้การใช้โปรแกรม D-school ในการจัดข้อมูลผู้เรียน รายบุคคล, ใช้โปรแกรมเครื่องตรวจข้อสอบ/แบบสอบถามอัตโนมัติ WAC OMR ในการวัดและประเมินผลผู้เรียน และใช้โปรแกรม Book Mark จัดการระบบประมวลผลการเรียน ฯลฯ ในด้านการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้กับผู้เรียนและบุคลากรของสถานศึกษา ได้จัดให้มีคอมพิวเตอร์สำหรับจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 ทุกคน จำนวน 5 ห้องเรียน โดยอัตราส่วนคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ในแต่ละห้องเท่ากับ 1 คน : 1 เครื่อง สามารถเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ทุกเครื่อง


51 เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้สอนและผู้เรียน รวมทั้งสามารถสืบค้นความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มเติม จากอินเทอร์เน็ตได้ มีคอมพิวเตอร์ประจำห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้สำหรับครูใช้ในการเตรียมการสอน และงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี จึงมีการนำเทคโนโลยีและโปรแกรมต่างๆ เช่น โปรแกรม G-Suit (Google Classroom, Google Meet, Zoom, Google form) แอปพลิเคชัน Line, Facebook และ YouTube เป็นต้น เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ ดังนั้นสถานศึกษาจึงจัดทำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารจัดการ โดยกำหนดหมวดหมู่ ของข้อมูลให้ถูกต้อง ครอบคลุม และพร้อมใช้โดยจัดหาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพ ใช้งานได้ง่าย ถูกต้อง และมีความปลอดภัย อีกทั้งมีการจัดทำและให้บริการข้อมูลสารสนเทศที่เป็นระบบแก่ผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูล ทุกฝ่าย บุคลากรทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก รวดเร็ว เป็นปัจจุบัน และมีช่องทางให้บริการประชาสัมพันธ์ ข้อมูล ข่าวสาร สำหรับประชาชน ผู้เรียนและผู้ปกครอง ได้ที่ เว็บไซต์โรงเรียน www.visut.ac.th, เว็บไซต์ ของกลุ่มงาน, แอปพลิเคชัน (Application) Line และ Facebook ของโรงเรียนวิสุทธรังษีจังหวัดกาญจนบุรี 3. ผลการดำเนินงาน 1) จากการดำเนินงาน โครงการ กิจกรรมที่ส่งเสริม สนับสนุน และตอบสนองนโยบาย เป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดนั้น มีผลการดำเนินงานคุณภาพอยู่ที่ระดับ 5 ซึ่งวิเคราะห์ได้ว่า ผลการประเมิน อยู่ใน ระดับ ยอดเยี่ยม เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด โดยสถานศึกษามีแผนพัฒนา การจัดการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2566 – 2568 ที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ สภาพของสถานศึกษา โดยสำรวจความคิดเห็นของผู้เรียน ผู้ปกครอง ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา และชุมชน ซึ่งผลจากการวิเคราะห์ที่ได้ เป็นการกำหนดทิศทางในการกำหนดกลยุทธ์ คือกลยุทธ์ สร้างการเจริญเติบโต (ขยาย พัฒนา ส่งเสริม) มีการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี ในการดำเนินการใช้งบประมาณ อย่างต่อเนื่อง โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี และผ่านความเห็นชอบ ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี ผ่านการประเมินสถานศึกษา เพื่อรับรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษา ระดับสถานศึกษา (ขนาดใหญ่) ระดับกลุ่มจังหวัด มีการดำเนินการ การจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบพัสดุ ได้มีการเบิกจ่ายตามระเบียบพัสดุ โดยผ่านความคิดเห็นของหัวหน้างาน ตามสายการปฏิบัติงาน งานแผนงาน งานพัสดุ โดยผู้อนุมัติกิจกรรมคือผู้อำนวยการ ซึ่งดำเนินการอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมประเมินการบริหารงานการเงินการคลังของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน มีการปรับปรุง ระบบการจัดซื้อ จัดจ้าง โดยมีรายงานปิดโครงการและสรุปงานการใช้จ่ายงบประมาณ (เอกสาร พ1 – พ3) มีการกำกับติดตาม โครงการ/กิจกรรม โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผล ใช้แบบกำกับติดตาม (ผ.1 - ผ.9) และมีรายงานการประชุมฝ่ายแผนงาน เพื่อกำกับติดตามการดำเนินโครงการ ให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการและนโยบายของต้นสังกัด มีการปรับปรุงแบบการรายงานการติดตามและดำเนินงาน ตามแผนงาน (ผ.7) ให้ครอบคลุมความคุ้มค่าในการใช้งบประมาณ และประเมินการดำเนินโครงการ/กิจกรรม เพื่อให้การติดตามและประเมินผลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด มีคณะกรรมการดำเนินการประกันคุณภาพ


52 ภายในสถานศึกษา ร่วมประชุม การกำหนดค่าเป้าหมายตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2565 2) จากการดำเนินงานต่าง ๆ ของระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา มีการดำเนินงานคุณภาพ อยู่ที่ระดับ 5 ผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด โดยด้านระบบ บริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งคณะครู ผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้แทนชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิ ให้ความร่วมมือเข้าร่วมประชุม ร่วมกันวางแผนกำหนดแผนปฏิบัติงาน แผนกลยุทธ์ ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายของสถานศึกษา ที่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ ได้แผนพัฒนาการจัดการศึกษาระยะกลาง 3 ปี (พ.ศ. 2566 – 2568) และแผนปฏิบัติการประจำปี โดยมีการจัดสรรงบประมาณแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ภาคเรียนที่ 1 โดยในการจัดสรร งบประมาณ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดสรรงบประมาณและจัดทำแผนปฏิบัติการ และขออนุมัติแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณจากคณะกรรมการสถานศึกษา ในการประชุมคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรีครั้งที่ 1/2565 และในระยะที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ภาคเรียนที่ 2 โดยในการจัดสรรงบประมาณ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดสรร งบประมาณและจัดทำแผนปฏิบัติการ และขออนุมัติแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณจากคณะกรรมการ สถานศึกษา ในการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรีครั้งที่ 2/2565 ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา และเป็นที่ยอมรับร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และนำไปสู่การปฏิบัติโดยทุกฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องล้วนมีโครงสร้างการบริหารงาน ประกอบด้วยกลุ่มบริหารวิชาการ , กลุ่มบริหารกิจการนักเรียน, กลุ่มบริหารบุคคลและงานธุรการ, กลุ่มบริหารทั่วไป, กลุ่มบริหารแผนงานและ ประกันคุณภาพ และกลุ่มงานการเงินและพัสดุ ซึ่งในแต่ละฝ่ายมีบุคลากรที่รับผิดชอบ และโครงการ ที่ได้รับ มอบหมายแล้วดำเนินการตามปฏิทินในโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ กิจกรรม โครงการ ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ตามแผนปฏิบัติการประจำปีที่วางไว้ ซึ่งผู้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ ได้จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน แต่ละกิจกรรม และมีการสรุปโครงการ โดยปีการศึกษา2565 ภาคเรียนที่ 1 มีกิจกรรมทั้งหมด 21 โครงการ 196 กิจกรรม ได้ดำเนินการทั้งหมด 21 โครงการ 183 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละของความสำเร็จ 93.36 และปีการศึกษา2565 ภาคเรียนที่ 2 มีกิจกรรมทั้งหมด 227 กิจกรรม ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ 219 กิจกรรม คิดเป็นค่าความสำเร็จ ร้อยละ 96.48 ซึ่งค่าเฉลี่ยความสำเร็จของการดำเนินโครงการในปีการศึกษา 2565 คิดเป็น ร้อยละ 94.92 ตลอดจนมีข้อเสนอแนะที่สามารถนำไปปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้เกิดการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นต่อไป ส่วนในด้านครูผู้สอน สถานศึกษามีครูที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญตรงตามสาชาวิชา และมีจำนวนครูที่เพียงพอ ต่อจำนวนผู้เรียน


53 3) ด้านการพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย มีผลการดำเนินงานคุณภาพอยู่ที่ระดับ 5 ผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม เป็นไปตามค่าเป้าหมาย ที่สถานศึกษากำหนด โดยสถานศึกษามีหลักสูตรสถานศึกษา พุทธศักราช 2565 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2560) ที่พัฒนาผู้เรียนได้เต็มตามศักยภาพ 4) ด้านการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ (ตามมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐาน วิทยฐานะ) มีผลการดำเนินงานในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ร้อยละ 100 คุณภาพอยู่ที่ระดับ 5 ผลการประเมิน อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด โดยครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการพัฒนาสู่ศตวรรษที่ 21 ครูมีการเสริมแรงและมีการสร้างบรรยากาศในการพัฒนาตนเองได้มากขึ้น เห็นได้จากการเข้ารับรางวัลครูดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2565 อีกทั้งครูและบุคลากรทางการศึกษามีการจัดทำ แผนพัฒนาตนเอง (Id Plan) คิดเป็นร้อยละ 100 ดำเนินการจัดทำแบบบันทึกข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement : pa) คิดเป็นร้อยละ 100 รวมไปถึงครูในตำแหน่งครูผู้ช่วยทุกคนได้รับการประเมิน การเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ในโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี สู่วิทยฐานะและความก้าวหน้าในวิชาชีพ ในปีการศึกษา 2565 ครูที่เข้ารับการประเมินเพื่อเลื่อนวิทยฐานะในรูปแบบการประเมินแบบเก่า (ว17/2552 และ ว21/2560) ผ่านการประเมินคิดเป็นร้อยละ 100 และครูที่เข้ารับการประเมินเพื่อเลื่อนวิทยฐานะในรูปแบบการประเมิน แบบใหม่ (ว9/2564) จำนวน 38 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 11 เมษายน พ.ศ.2566) ซึ่งอยู่ในลำดับขั้นตอน ของการประเมิน นอกจากนั้นครูและบุคลากรทางการศึกษา ร้อยละ 100 ยังมีการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเรียนการสอนร่วมกัน มีการติดตามการอบรม พัฒนาครู และบุคลากรด้วยกระบวนการนิเทศ ติดตามและพัฒนา เพื่อพัฒนาตนเองและพัฒนางานมากขึ้น ดังแผนภูมิ แสดงผลการดำเนินงาน ดังนี้ แผนภูมิแสดงจำนวนครูและบุคลากรให้มีการพัฒนาตนสู่ความเชี่ยวชาญมืออาชีพ ปีการศึกษา 2565 0 10 20 30 40 50


54 5) ด้านการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มีผลการดำเนินงานคิดเป็น ร้อยละ 85.27 คุณภาพอยู่ที่ ระดับ 5 ผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนดกลุ่มบริหารทั่วไป ฝ่ายงานอาคารและสถานที่ โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรีได้ดำเนินการตามโครงการพัฒนาปรับปรุงบรรยากาศสภาพแวดล้อมบริเวณสถานศึกษา โดยมีห้องเรียน ห้องปฏิบัติการที่เอื้อกับการจัดการเรียนรู้มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ อีกทั้งได้ดำเนินการปรับปรุงบรรยากาศสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา ในปีการศึกษา 2565 โดยการดำเนิน โครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ เช่น กิจกรรมจัดหาเครื่องมือ และน้ำยาทำความสะอาดอาคารสถานที่, กิจกรรมซ่อม บำรุงและปรับปรุงระบบประปา, กิจกรรมซ่อมบำรุงและปรับปรุงระบบไฟฟ้าทุกเครื่องและถนน, กิจกรรมปรับปรุง อาคารเรียน อาคารประกอบ ห้องน้ำ, กิจกรมกำจัดปลวก โครงการรักษาความสะอาดอาคารเรียนและรักษา ความปลอดภัย กิจกรรมโรงเรียน ปลอดขยะ (Zero Waste School) อีกทั้งยังมีการให้ความรู้เรื่องการแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) รวมทั้งการดูและสุขอนามัยด้านอื่น ๆ โดยการจัดบอร์ดวิธีการรักษาความสะอาด การป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคอย่างถูกวิธีให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ มี มีเจลแอลกอฮอล์และจุดล้างมือทุก ๆ อาคารเรียน พร้อมทั้งมีการนำเสนอข้อมูลการจัดการดูแลสภาพแวดล้อมของโรงเรียนผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ให้รับทราบข้อมูลข่าวสารในเว็ปโรงเรียน และเพจ facebook , Website กลุ่มบริหารทั่วไป โรงเรียนวิสุทธรังษี โดยมีการติดตาม ประเมินผล รายงานผล และสรุปผลสำเร็จของโครงการ 6) ด้านการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้มีผล การดำเนินงาน ร้อยละ 100 คุณภาพอยู่ที่ระดับ 5 ผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม เป็นไปตามค่าเป้าหมาย ที่สถานศึกษากำหนด จัดทำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษา ดำเนินการกำหนดหมวดหมู่ข้อมูล ให้ถูกต้อง ครอบคลุม ทันสมัยและพร้อมใช้งาน โดยบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่เดิม รวมทั้งจัดหาฮาร์ดแวร์ และซอฟแวร์ใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพ ใช้งานง่าย สะดวก ถูกต้อง ปลอดภัย โดยการกำหนดรหัสแต่ละระดับ ของผู้ใช้งาน ฝ่ายงานทุกฝ่าย กำหนดผู้รับผิดชอบจัดทำระบบสารสนเทศ ดำเนินการจัดการข้อมูลสำคัญ ที่ครอบคลุมภารกิจงานทั้ง 6 กลุ่มบริหาร คือ กลุ่มบริหารวิชาการ, กลุ่มบริหารกิจการนักเรียน กลุ่มบริหารงานบุคคล, กลุ่มบริหารทั่วไป, กลุ่มบริหารการเงินและพัสดุ รวมถึงกลุ่มบริหารแผนงานและประกัน คุณภาพ โดยจัดทำและให้บริการข้อมูลสารสนเทศที่เป็นระบบแก่ผู้ต้องการใช้ทุกฝ่าย บุคลากรทุกคน สามารถเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน ผ่านทางเว็บไซต์ของสถานศึกษา www.visut.ac.th แอปพลิเคชัน Line และ Facebook ของโรงเรียนวิสุทธรังษีจังหวัดกาญจนบุรี


55 ดังนั้นจากการดำเนินงานในมาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการทั้ง 6 ตัวบ่งชี้ ในภาพรวม สามารถสรุปได้ว่าสถานศึกษามีผลการประเมินอยู่ในระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม ผลการดำเนินงานอยู่ที่ระดับ 5 เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด ซึ่งมีผลงานและรางวัลสนับสนุนผลการพัฒนา ดังนี้ 1. สถานศึกษาเข้ารับการประเมินสถานศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทาน และได้ผ่านการคัดเลือก ระดับจังหวัด อันดับที่ 1 ตามโครงการคัดเลือกนักเรียนและสถานศึกษา เพื่อรับรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษา ขนาดใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2565 2. สถานศึกษาได้รับเกียรติบัตรดีเด่น รางวัล “สถานศึกษาปลอดภัย” ประจำปี พ.ศ. 2565 ปีที่ 1 จากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน 3. ได้รับรางวัล ผู้บริหารสถานศึกษา ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ในด้านคุณธรรม จริยธรรม กิจกรรม คุรุชน คนคุณธรรม ประจำปี พ.ศ. 2565 ตามโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับเขตตรวจราชการ ได้แก่ - นายหงษ์ดี ศรีเสน ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี 4. ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ "รางวัลผู้บริหารสถานศึกษาตามศาสตร์ของพระราชาเป็นเลิศ" ในโครงการ ครอบครัวพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชน ประจำปีการศึกษา 2564 ณ วันที่ 14 ตุลาคม 2565 ได้แก่ - นายหงษ์ดี ศรีเสน ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี 5. ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ"รางวัลผู้บริหารสถานศึกษาตามศาสตร์ของพระราชายอดเยี่ยม" ในโครงการ ครอบครัวพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชน ประจำปีการศึกษา 2564 ณ วันที่ 14 ตุลาคม 2565 ได้แก่ - นางพัณณ์ชิตา แสงใส รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารกิจการนักเรียน 6. คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ "รางวัลครูดีศรีแผ่นดิน" ในโครงการ ครอบครัวพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชน ประจำปีการศึกษา 2564 ณ วันที่ 14 ตุลาคม 2565 - นางสาวชุติมา จันทร์ประเสริฐ - นางสาวนริศรา อ่วมอ่อง - นางสาวดวงพร ปิ่นตุรงค์ 7. ได้รับรางวัล ครู-อาจารย์ ที่ปรึกษาผลงานนักเรียน ประเภทคลิปวิดีโอสั้น ชนะเลิศ ระดับจังหวัด โครงการอัจฉริยะยุวชนประกันภัย ประจำปี 2565 ได้แก่ - นางวิพาดา อินทวิชัย รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ - นางสาวเกสร เหมะรักษ์ - นางสาววันนิษา ปิ่นแก้ว


56 8. ได้รับรางวัลกลุ่มสาระการเรียนรู้ต้นแบบ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ระดับ "ดีเยี่ยม" ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรีประจำปี 2565 ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี, กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์, กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ และ กลุ่มสาระ การเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 9. ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับทุนสำหรับอบรมครูในต่างประเทศ ดังนี้ - นายวัชระ ศรีฐาน ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ได้รับทุนฝึกอบรม จากศูนย์ภาษา SEAMEO RELC หลักสูตร Postgraduate Diploma in Applied Linguistics ณ ประเทศสิงคโปร์ - นางสาวมัทนิน เจริญพร ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ได้รับการคัดเลือก ให้ได้รับทุน INTENSIVE TRAINING PROGRAM FOR COUNTERPART TEACHERS OF THE NIHONGO PARYNERS โดยเจแปนฟาวน์เดชั่น ณ ศูนย์ภาษาญี่ปุ่นนานาชาติ เจแปนฟาวน์เดชั่น จังหวัดไซตะมะ ประเทศ ญี่ปุ่น - นางสาวพงศ์ฉวี พันธุ์เจริญ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศได้รับการคัดเลือก ให้ได้รับทุนอบรมครู ณ ประเทศญี่ปุ่น ครั้งที่ 1 (JAPANES LANGUAGE PROGRAM) โดย สพฐ. มูลนิธิฮาคูโฮโด เจแปนฟาวน์เดชั่น และ JTAT ณ ศูนย์ภาษาญี่ปุ่นนานาชาติ เจแปนฟาวน์เดชั่น จังหวัดไซตะมะ ประเทศญี่ปุ่น - นางสาวอริญชยา ตะพังพินิจการ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ได้รับการคัดเลือก ครูอาสาสมัคร โครงการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศ ประจำปี พ.ศ. 2566 - นายไชยวัฒน์ อารีโรจน์ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ได้รับการคัดเลือกครู อาสาสมัคร โครงการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศ ประจำปี พ.ศ. 2566 - นายสิริพงศ์ แพทย์วงศ์ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับการคัดเลือกในการเข้าร่วมโครงการศึกษาดูงานที่เซิร์น ประจำปี 2566 10. สถานศึกษาได้รับรางวัล เกียรติบัตรเหรียญทอง อันดับ 3 ประเภท ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ จากสำนักงาน ลูกเสือแห่งชาติกระทรวงศึกษาธิการ 11. สถานศึกษาได้รับรางวัล ได้รับการสนับสนุนการดำเนินการจัดตั้งศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคล สู่ความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) เพื่อส่งเสริมศักยภาพนักเรียน ครู ผู้บริหาร และ บุคคลที่สนใจ ในโรงเรียนและพื้นที่ใกล้เคียง 12. สถานศึกษาได้รับประกาศนียบัตร ประเภท ค่ายมวยเล็กระดับ 4 ดาว จากสำนักงานคณะกรรมการ กีฬามวย การกีฬาแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รับรองมาตรฐานค่ายมวยไทยอาชีพ เกณฑ์มาตรฐานค่ายมวยไทยอาชีพ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2563)


57 4. จุดเด่น 1) มีแผนพัฒนาการจัดการศึกษาระยะกลาง 3 ปี (พ.ศ. 2566 – 2568) ได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทั้งประธานคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้แทนชุมชน ผู้แทนศาสนา ผู้แทนผู้ปกครองและผู้แทนนักเรียน มีการกำกับ ติดตาม โครงการ/กิจกรรม โดยมีการรายงานโครงการ/กิจกรรม โดยมีการประเมินความคุ้มค่าของการใช้จ่าย งบประมาณในการจัด โครงการ/กิจกรรม ซึ่งผู้รับผิดชอบโครงการจะได้ประเมินการใช้งบประมาณของตนเอง และผู้ที่ร่วมกิจกรรมจะได้ประเมินทรัพยากรที่ใช้ในการทำกิจกรรม มีการประชุมกำกับติดตาม โครงการเป็นระยะ ตามปฏิทินโครงการ โดยแต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายกำกับติดตามและใช้แบบกำกับติดตาม (ผ.1 - ผ.9) 2) มีการกำหนด เกณฑ์คุณภาพตามตัวบ่งชี้ โดยตั้งเป็นระดับคุณภาพตามแนวทางการประเมินคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2565 ตามประกาศโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี เรื่องการใช้มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี ปีการศึกษา 2565 3) มีผลการประเมิน จากหน่วยงานภายนอก รายงานการประเมินคุณภาพภายนอก : ผลการประเมิน SAR ภายใตสถานการณ COVID – 19 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) มีหลักสูตรการศึกษาที่หลากหลาย ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและชุมชน มีการพัฒนาศักยภาพ ของผู้เรียนรอบด้าน ส่งผลให้ผู้เรียนเรียนอย่างมีความสุข เกิดการเรียนรู้และสามารถแข่งขันทักษะทางวิชาการ และได้รับรางวัลระดับประเทศ 5) ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรัก ความสามัคคีในองค์กร ได้รับการส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนา ให้มีศักยภาพสู่มารฐานสากลอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับการบริหารจัดการตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และการขับเคลื่อน PLC ประจำปีการศึกษา 2565 สู่สถานศึกษาระดับโรงเรียน ซึ่งครูและบุคลากรทางการศึกษา สามารถนาความรู้ที่ได้จากการอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน มาพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกิดความก้าวหน้า ในวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา 6) สถานศึกษามีผลงานและมีชื่อเสียงทางด้านวิชาการเป็นที่ยอมรับของสังคมและชุมชนการจัดการเรียนรู้ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้มีการดำเนินการตามกิจกรรมการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียน ทั้งด้านอาคาร สถานที่รวมไปถึงแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการเรียนรู้และมีความปลอดภัย กิจกรรมส่งเสริมการเรียน รู้ จัดซ่อมแซมโต๊ะ เก้าอี้ และจัดซื้อโต๊ะนักเรียน สื่อ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เพียงพอกับความต้องการของผู้เรียน 7) สถานศึกษามีกิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้มีสภาพแวดล้อมที่สวยงาม ร่มรื่น เหมาะกับการจัดการ เรียนรู้ทั้งมีการจัดมุมสวนหย่อม ป้ายนิเทศ เพื่อให้สถานศึกษามีแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกห้องเรียน ที่เหมาะสมและเอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน สร้างบรรยากาศให้สวยงาม เหมาะกับการจัดการเรียนรู้ อย่างมีคุณภาพ


58 8) มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย เป็นปัจจุบัน ถูกต้อง ทุกกลุ่มงานสามารถนำไปใช้ในการบริหาร จัดการด้านต่าง ๆ รวมถึงการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็วและปลอดภัย 5. จุดที่ควรพัฒนา 1) ในการดำเนินโครงการ/กิจกรรมในปีการศึกษา 2565 ควรจะมีการกำหนดการติดตามอย่างชัดเจน และสรุปผลการดำเนินโครงการในรูปแบบของร้อยละและระดับคุณภาพ 2) การพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพเป็นพลโลกในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ 3) ครูและบุคลากรทางการศึกษาควรตระหนักและให้ความสำคัญต่อการพัฒนาตน เพื่อเพิ่มศักยภาพ ในปรับเปลี่ยนการเรียนรู้สู่สมรรถนะ ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) 4) เนื่องจากสถานศึกษามีพื้นที่ขนาดใหญ่ การบำรุงรักษา ดูแล อาคารสถานที่และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ บางครั้งเกิดความล่าช้าในการบำรุงรักษาและแก้ไขส่วนที่เกิดปัญหา จำเป็นต้องจัดสรรลำดับการปฏิบัติงาน ของนักการภารโรง เพื่อให้การซ่อมแซมแก้ไขป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ


59 มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 1. ระดับคุณภาพ ระดับยอดเยี่ยม 2. กระบวนการพัฒนา โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยจัดการ เรียนรู้ที่สอดคล้องตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา เน้นการจัดการเรียนรู้รูปแบบการจัดการ เรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้และมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรม การเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติอย่างหลากหลายรูปแบบ มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ส่งเสริม การสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูและผู้เรียน ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผลผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และเชื่อถือได้ และนำผลการประเมินที่ได้มาใช้ในการพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำผลที่ได้มาให้ข้อมูลป้อนกลับ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน โดยมีรายละเอียด กระบวนการพัฒนาทั้ง 5 ด้าน เริ่มจากด้านการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถ นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้หลังจากประเทศไทยผ่านพ้นช่วงวิกฤติการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) สถานศึกษาได้เปิดการจัดการเรียนการสอนแบบ On-site โดยดำเนินการจัดการเรียนรู้ที่สถานศึกษา อย่างเต็มรูปแบบร้อยละ 100 ซึ่งทางสถานศึกษาส่งเสริมให้มีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมให้คณะครู และบุคลากรทางการศึกษาจัดการเรียนรู้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่เน้นให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง เพิ่มเจตคติที่ดีในการศึกษาหาความรู้ของผู้เรียน และสามารถ นำความรู้มาบูรณาการได้ เช่น การเรียนรู้ในรายวิชา STEM, รายวิชาค้นคว้าอิสระ (IS), รายวิชาโครงงานการงาน อาชีพ, รายวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์, รายวิชาหุ่นยนต์ และรายวิชาวิทยาการคำนวณ (Coding) เป็นต้น มีการจัดโครงการส่งเสริมการเรียนรู้นอกจากกระบวนการจัดการเรียนรู้ เช่น โครงการส่งเสริมการกระบวนการ จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้, โครงการส่งเสริมการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้และโครงการส่งเสริม นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ESMTE เป็นต้น ตัวอย่างกิจกรรม เช่น กิจกรรม ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC), กิจกรรมค่ายวิชาการ ครูได้ออกแบบกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะ การแสดงออก การนำเสนอผลงาน แสดงความคิดเห็น คิดเป็น ทำเป็น แสวงหาความรู้จากสื่อและเทคโนโลยี ด้วยตนเอง สรุปองค์ความรู้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง คณะครู ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้มีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ครบทุกกลุ่มสาระ ทุกระดับชั้น คิดเป็นร้อยละ 100


60 นอกจากนี้ยังมีการจัดสภาพแวดล้อม สื่อการเรียนรู้และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยมีห้องปฏิบัติการครบทุกรายวิชาที่มีการจัดการเรียนรู้ในภาคปฏิบัติ และครบทุกชั้นเรียน เช่น ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา), ห้องปฏิบัติการโครงการโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม (Fabrication Lab : FAB LAB), ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์, ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue Culture Room), ห้องปฏิบัติการทางภาษา และห้องปฏิบัติการการงานอาชีพและเทคโนโลยี อีกทั้งสถานศึกษา ยังมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันต่าง ๆ ทั้งทางด้านวิชาการและด้านกีฬา ทำให้ ผู้เรียนได้รับรางวัลและสร้างชื่อเสียงให้กับสถานศึกษา ส่วนด้านการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้นั้น สถานศึกษาดำเนินการส่งเสริมให้ครูทุกคนมีการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ โดย ดำเนินการจัดหาสื่อและอุปกรณ์ที่มีความทันสมัยและเหมาะสมกับการเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ 21 ครูทุกคน มีการสร้างห้องเรียนออนไลน์โดยใช้โปรแกรมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น Google Classroom, Line Facebook ฯลฯ เพื่อใช้สำหรับการรับ-ส่งชิ้นงานที่รวดเร็วและสะดวกมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งเป็นช่องทางที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างครูและนักเรียน นอกจากนั้นสถานศึกษาจัดทำโครงการส่งเสริมกระบวนการบริหารจัดการ ชั้นเรียน เชิงบวก ส่งเสริมกระบวนการจัดการเรียนรู้ผ่านรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ( Active Learning) และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้โครงการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้กิจกรรมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) กิจกรรมค่ายวิชาการ โดยส่งเสริมให้ครูใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน เข้ามาใช้ ในการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน โดยนำสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายมาประกอบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียน เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น มีความชัดเจน และสามารถดึงดูดความสนใจได้เป็นอย่างดี อันเป็นส่วนสนับสนุนให้ผู้เรียนเรียนรู้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาสร้างและพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี ทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้ เพื่อนำมาใช้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ Smart Classroom ได้อย่างเหมาะสม กับผู้เรียนทุกคน ครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้มีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ และใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ครบทุกกลุ่มสาระและทุกระดับชั้น นอกจากนี้โรงเรียนวิสุทธรังษียังมีแหล่งข้อมูลและคลังสื่อการเรียนรู้มากมาย ที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนกระบวนการคิด การแก้ปัญหา การสืบค้นข้อมูลผ่านการเข้าใช้ระบบ E-book โดยใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ดังกล่าวในการสืบค้นข้อมูลนอกห้องเรียน และนำมาใช้พัฒนาตนเอง ในด้านการเรียนรู้ทักษะต่าง ๆ เช่น การแข่งขันทักษะทางวิชาการ, การแข่งขันหุ่นยนต์ เป็นต้น เสริมสร้างความ กล้าแสดงออก การนำเสนอผลงาน การแสดงความคิดเห็น คิดเป็น ทำเป็น ด้วยการจัดให้มีการนำเสนอผลงาน ของผู้เรียน ที่แสดงถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน อีกทั้งด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอนมีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก มีการจัดการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน ส่งเสริมให้เด็กรักครู ครูรักเด็ก และเด็กรักเด็ก โดยกำหนดแนวทางให้ครูผู้สอนมีการวางแผนกระบวนการ


61 จัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย เลือกใช้เทคนิคการสอน การวัดและประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริง เน้นผู้เรียน เป็นศูนย์กลาง จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาที่ตนเองรับผิดชอบที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้ ในชั้นเรียนและรักที่จะเรียนรู้ ครูทุกคนมีข้อมูลของนักเรียนเป็นรายบุคคล และนำข้อมูลในระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียนมาพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามความถนัดของผู้เรียน ครูและนักเรียนร่วมกันกำหนดแนวทางการ จัดการเรียนรู้และสร้างข้อปฏิบัติในห้องเรียนร่วมกัน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจในการอยู่ร่วมกัน กับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข สร้างบรรยากาศเรียนรู้ที่ดี มีการเสริมแรงบวกและสร้างขวัญกำลังใจผู้เรียน อยู่เสมอ เพื่อให้ผู้เรียนมีความกล้าคิด กล้าทำ และกล้าแสดงออก ครูมีการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยให้นักเรียน ครู และผู้ปกครองทำแบบประเมินจุดแข็งและจุดอ่อ น (Strengths and Difficulties Questionnaire: SDQ) ของนักเรียน ส่งเสริมการทำแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนต่อครูผู้สอน หลังจากสิ้นสุดกระบวนการจัดการเรียนรู้ในแต่ละรายวิชา เพื่อไว้ใช้เป็นข้อมูลของฝ่ายวิชาการในการพัฒนาครู เป็นรายบุคคลและครูผู้สอนทุกคนได้ทำการประเมินผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมปฏิสัมพันธ์เชิงบวกของตนเอง นอกจากนี้ สถานศึกษาได้ดำเนินการจัดทำโครงการกิจกรรมการนิเทศภายในชั้นเรียน และการจัดทำการวิจัย ในชั้นเรียนในทุก ๆ ภาคเรียน เพื่อให้ครูผู้สอนได้พัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมไปถึง ด้านการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน สถานศึกษาได้ดำเนินการส่งเสริม ให้ครูจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยศึกษา วิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร จัดทำโครงสร้าง รายวิชา การวัดและประเมินผล เน้นให้ครูจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างหลากหลาย มีการตรวจสอบและประเมิน ผู้เรียนตามสภาพจริงอย่างเป็นระบบ สามารถนำผลมาใช้ในการพัฒนาผู้เรียนได้อีกทั้งสถานศึกษาได้ส่งเสริมให้ครู มีขั้นตอนตรวจสอบและประเมินคุณภาพการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ จัดทำโครงการสอน โครงสร้างรายวิชา แผนการจัดการเรียนรู้ การวิเคราะห์การออกแบบ การสร้างแบบทดสอบ (Test Blueprint) เครื่องมือวัด และประเมินผลที่มีคุณภาพ มีการบันทึกหลังการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ฝ่ายวิชาการตรวจสอบมาตรฐานและตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ตามรายวิชา และเสนอผู้อำนวยการสถานศึกษา มีการนิเทศการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน โดยครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ของตนเองในทุกภาคเรียน ส่งเสริมให้ครูมีเครื่องมือวัดและวิธีการวัดที่หลากหลาย เช่น การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ (Testing) แบบประเมินชิ้นงาน แบบประเมินสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน หรือแบบสัมภาษณ์ เป็นต้น โดยให้ผู้เรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการวัดและประเมินผล รวมถึงให้ข้อมูล ย้อนกลับและนำผลการประเมินผู้เรียนมาพัฒนาและปรับปรุง โดยสถานศึกษามีระบบให้ผู้เรียนดำเนินการ ลงทะเบียนแก้ 0 , ร , มส โดยมีการลงทะเบียน 2 แบบ คือ ผ่านระบบออนไลน์ และลงทะเบียนโดยพบผู้ปกครอง เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาของผู้เรียน โดยผู้เรียนได้รับทราบผลการเรียนในทุกภาคเรียน และครูนำผลที่ได้ จากการจัดการเรียนรู้มาปรับปรุงพัฒนากระบวนการดำเนินงาน โดยการทำวิจัยในชั้นเรียนทุกปีการศึกษา ส่วนในด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระ


62 การเรียนรู้ ดำเนินการจัดทำแผนการเรียนรู้ในทุกรายวิชาที่สถานศึกษาจัดหลักสูตร ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-ม.3) และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-ม.6) ที่เหมาะสมกับระดับผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ประกอบกับการพิจารณาเลือกใช้กลยุทธ์และเทคนิควิธีการสอนในรูปแบบต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับการจัดการเรียนรู้ ในแต่ละสาระการเรียนรู้ หลังจากนำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้แล้ว ครูผู้สอนต้องบันทึกผลหลังการสอน ในรายวิชาของตนเองไว้เป็นหลักฐาน เพื่อใช้ในการพัฒนาผู้เรียนในภาคเรียนต่อไป โดยครูผู้สอนจัดการเรียนรู้ ในแต่ละรายวิชา มีการพัฒนาและออกแบบสื่อ นวัตกรรม ประกอบการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning), บทเรียนสำเร็จรูป, สื่อ PowerPoint และสื่อวิดีทัศน์ เป็นต้น เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้อย่างเต็มตามศักยภาพ ซึ่งครูผู้สอนร้อยละ 100 จัดการเรียนรู้นำข้อมูลที่ได้จากการ จัดการเรียนรู้ และนำผลจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนในแต่ะภาคเรียน ด้วยการทำวิจัยในชั้นเรียน (Classroom Action Research) โดยกลุ่มบริหารวิชาการกำหนดให้ทำวิจัยในชั้นเรียน ปีการศึกษาละ 1 เรื่อง ในทุกปีการศึกษา หลังจากสิ้นสุดภาคเรียนครูผู้สอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครูผู้สอนให้ผู้เรียนในรายวิชานั้น ๆ ทำการประเมิน ความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน และนำผลของการประเมินมาพัฒนาการสอนในครั้งต่อไป อีกทั้งครูมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับคณะนิเทศของกลุ่มบริหารวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และครูที่ได้รับมอบหมายแต่งตั้งให้ทำหน้าที่นิเทศการจัดการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 100 ได้มีการนิเทศ การจัดการเรียนรู้ครูผู้สอนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาคเรียนละ 2 ครั้ง เพื่อให้ครูในกลุ่มสาระได้มีโอกาส แลกเปลี่ยนประสบการณ์การสอนซึ่งกันและกัน ส่งผลให้ผู้เรียนมีผลงานที่เกิดจากการจัดการเรียนรู้ มีความหลากหลาย ซึ่งเกิดจากความรู้ ความเข้าใจของผู้เรียน ส่งผลให้เกิดทักษะกระบวนการในการนำความรู้ ไปใช้ได้อย่างเหมาะสม และเกิดศักยภาพแก่ผู้เรียนทางด้านวิชาการและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Academic Skills & Critical Thinking) ทักษะช ีว ิ ต (Life Skills) คว ามคิดสร้ างส รร ค์ (Creativity) และความเป็นผู้นำ (Leadership) สนับสนุนผู้เรียนในการนำเสนอผลงานเข้าแข่งขันศักยภาพผู้เรียนในทักษะต่าง ๆ ของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ในระดับโรงเรียน ระดับจังหวัด ระดับภาคและระดับประเทศ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทางการศึกษาหรือองค์การต่าง ๆ ที่จัดขึ้น นอกจากนี้ ครูผู้สอนร้อยละ 100 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในแต่ละสาระการเรียนรู้โดยการจัดกลุ่มสมาชิกเพื่อการปรึกษาหารือ หาแนวทางในการแก้ปัญหา หรือต่อยอด การจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ในรูปแบบของการทำ PLC ร่วมกัน และบันทึกการจัดทำนำเสนอต่อผู้บริหาร และกลุ่มบริหารวิชาการตามลำดับ


63 3. ผลการดำเนินงาน 1) ด้านการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ มีการดำเนินงานคิดเป็นร้อยละ 100 อยู่ในระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม ผลการประเมินเป็นไปตามค่าเป้าหมาย ที่สถานศึกษากำหนด โดยผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดด้วยการปฏิบัติจริงที่เน้นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เชิงรุก (Active Learning) ด้วยกระบวนการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งในและนอกห้องเรียน ทำให้ผู้เรียน สามารถนำความรู้และทักษะที่ได้ในชั้นเรียนไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม และผู้เรียน ได้มีการเรียนรู้จากกิจกรรมนอกเหนือจากการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียน เพื่อส่งเสริมศักยภาพต่าง ๆ ทั้งทักษะ กระบวนการคิดและทักษะการปฏิบัติของผู้เรียน จากการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ อาทิเช่น การจัดการเรียนรู้ รายวิชาสะเต็มศึกษา (STEM) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3, การจัดการเรียนการสอนบูรณาการ ในรายวิชาโครงงานให้กับผู้เรียนในทุกระดับชั้น และนำนักเรียนเข้าร่วมแข่งขันและนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ ในหน่วยงานต่าง ๆ ระดับประเทศ, การเข้าค่ายวิชาการที่ส่งเสริมการเรียนรู้สาขาวิชาต่าง ๆ ของผู้เรียนในโครงการ ห้องเรียนพิเศษต่าง ๆ ของสถานศึกษา เป็นต้น รวมถึงครูมีการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยมีการนิเทศติดตามกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนา การจัดการเรียนรู้ของครูให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ 2) ด้านการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีการดำเนินงาน คิดเป็น ร้อยละ 100 อยู่ในระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม ผลการประเมินเป็นไปตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด ซึ่งครูมีการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อและเทคโนโลยีอย่างหลากหลาย ครูมีการผลิตสื่อการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ที่เอื้อต่อการเรียนรู้และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกกระบวนการคิด การแก้ปัญหา ได้แก่ คลิปการสอน, เกมการศึกษา, สื่อ PowerPoint, ใบงาน, แบบฝึกทักษะ, ข้อสอบออนไลน์ รวมถึงการนำสื่อออนไลน์มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ ในชั้นเรียนร่วมด้วย ได้แก่ คลิปจาก YouTube, TikTok, Facebook ฯลฯ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ผู้เรียนมีความสามารถในการสืบค้นข้อมูล มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อพัฒนา ตนเองและสามารถดำรงตนอยู่ได้ในสังคมแห่งการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน และการนำเสนออย่างสร้างสรรค์ จะเห็นว่า ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและระบบอินเตอร์เน็ตในการค้นคว้าหาความรู้ นอกเหนือจากการเรียนรู้ในชั้นเรียนมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะกระบวนการคิด การวิเคราะห์ และการสืบค้น ข้อมูลด้วยตนเอง ส่งผลให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากการเรียนรู้ และเข้าร่วมการแข่งขันจนได้รับรางวัล ชนะเลิศระดับประเทศจากทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เช่น รางวัลชนะเลิศโครงการ ENVI MISSION : ภารกิจ รักษ์สิ่งแวดล้อม จัดขึ้นโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, รางวัลชนะเลิศกิจกรรมแข่งขันนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นต้น


64 3) ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก มีการดำเนินงานคิดเป็นร้อยละ 100 อยู่ในระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม ผลการประเมินเป็นไปตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด โดยในปีการศึกษา 2565 โรงเรียน วิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี มีการจัดการเรียนรู้แบบ On-site ทั้งหมด นักเรียนทุกคนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข โดยสถานศึกษามีการส่งเสริมให้ครูบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก และมีนโยบายสนับสนุนการจัดสภาพของห้องเรียน และห้องปฏิบัติการให้มีความทันสมัย และมีความพร้อมที่จะดำเนินการจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ครูผู้สอนคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล มีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก เตรียมพร้อมและวางแผนการจัดการเรียนรู้ ที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ในชั้นเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผู้เรียนรักในการเรียน มีความใฝ่เรียนใฝ่รู้ ผู้เรียนทุกคนสร้างสรรค์ชิ้นงานและผลงานตามที่ได้รับมอบหมายด้วยความตั้งใจ ส่งผลให้ผู้เรียนมีผลการเรียน ผ่านตามเกณฑ์ตามที่สถานศึกษากำหนด นอกจากนี้ ครูผู้สอนยังได้ดำเนินการต่าง ๆ ที่นอกเหนือ จากการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน อาทิเช่น มีการประเมิน SDQ ของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง รวมทั้งผู้เรียน ทำแบบประเมินผลความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนเมื่อสิ้นสุดกระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อประเมินผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมปฏิสัมพันธ์เชิงบวก 4) ด้านการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน มีการดำเนินงาน คิดเป็นร้อยละ 100 อยู่ในระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม ผลการประเมินเป็นไปตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด โดยสถานศึกษามีการดำเนินงาน โครงการ กิจกรรมที่หลากหลาย มีการตรวจสอบและประเมินผู้เรียน อย่างเป็นระบบ และนำผลการประเมินมาใช้พัฒนาผู้เรียน อีกทั้งสถานศึกษายังดำเนินการโครงการพัฒนาครู ให้มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ครูผู้สอนมีการจัดการและการบริหาร ชั้นเรียนเชิงบวกด้วยรูปแบบและเทคนิคที่หลากหลาย รวมถึงส่งเสริมให้ครูผู้สอนมีการวัดและประเมินผล การเรียนรู้ของผู้เรียนตามสภาพจริง ทั้งก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน โดยใช้แบบทดสอบ แบบสังเกต พฤติกรรมและแบบสอบถามที่หลากหลาย มีความน่าเชื่อถือ ส่งผลให้ครูมีพฤติกรรมการสอนที่มีคุณภาพ ได้แก่ มีการประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริงบนความแตกต่างระหว่างบุคคล, ประเมินผลการอ่าน คิด วิเคราะห์ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล, มีการวิเคราะห์การออกแบบการสร้างแบบทดสอบ (Test Blueprint) และวิเคราะห์ข้อสอบเพื่อนำผลที่ได้มาพัฒนาการจัดการเรียนการสอน และมีการวิเคราะห์ ผู้เรียนเป็นรายบุคคล โดยสร้างแบบสังเกตพฤติกรรม เพื่อใช้ในการติดตามและตรวจสอบผู้เรียนและแก้ไขปัญหา ของผู้เรียนให้มีพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ดีขึ้น นอกจากนี้ครูยังจัดทำโครงการรักการอ่าน เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียน มีลักษณะนิสัยรักการอ่าน พบว่าผู้เรียนมีผลการเรียนที่ดีขึ้นและผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด 5) ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ มีการดำเนินงานคิดเป็นร้อยละ 100 อยู่ในระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม ผลการประเมินเป็นไปตามค่าเป้าหมาย ที่สถานศึกษากำหนด โดยสถานศึกษามีนโยบายให้ครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระฯ จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ทุกรายวิชา ตามหลักสูตร สถานศึกษา โดยกำหนดกลยุทธ์หรือเทคนิควิธีสอนในการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน และนำแผนการเรียนรู้ไปใช้


65 จัดการเรียนรู้ในห้องเรียน ประกอบกับการออกแบบสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ อย่างเต็มศักยภาพ ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายส่งผลให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจต่อการเรียนในชั้นเรีย น มีการบันทึกผลหลังการสอนเพื่อนำผลการบันทึกมาวางแผนพัฒนาหรือต่อยอดในการเรียนรู้ เพื่อนำผล ของการประเมินมาปรับแผนการจัดการเรียนรู้ให้มีคุณภาพและเหมาะกับบริบทของผู้เรียนและจัดทำงานวิจัย ในชั้นเรียน (Classroom Action Research) ในทุกปีการศึกษา อีกทั้งฝ่ายบริหารวิชาการ โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรีได้กำหนดให้ครูผู้สอนทุกคนต้องมีการนิเทศการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วยรองผู้อำนวยการ กลุ่มบริหารวิชาการ หัวหน้าคณะนิเทศ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และครูชำนาญการพิเศษของแต่ละกลุ่มสาระ การเรียนรู้ ทำหน้าที่นิเทศและร่วมให้คำปรึกษา แนะนำในกรณีที่พบปัญหาโดยปฏิบัติการนิเทศอย่างน้อย ภาคเรียนละ 2 ครั้ง ส่งผลให้เกิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูผู้สอนในรายวิชาเดียวกัน รวมถึงครูได้เกิดการพัฒนา ความรู้ความสามาระถและทักษะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ดีมากยิ่งขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ทางโรงเรียน มีการสนับสนุนผู้เรียนในการนำเสนอผลงานเข้าแข่งขันเพื่อเพิ่มศักยภาพของผู้เรียนในทักษะต่าง ๆ ของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ในระดับโรงเรียน ระดับจังหวัด ระดับภาคและระดับประเทศ ทั้งกับหน่วยงาน ของภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาจัดขึ้น ดังนั้นจากการดำเนินงานในมาตรฐานที่ 3 กระบวนการบริหารและการจัดการทั้ง 5 ตัวบ่งชี้ ในภาพรวม สามารถสรุปได้ว่า สถานศึกษามีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม คุณภาพโดยเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 100.00 เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด ซึ่งมีผลงานและรางวัลสนับสนุน ผลการพัฒนา ยกตัวอย่างดังนี้ 1. ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ โครงการ ENVI MISSION : ภารกิจรักษ์สิ่งแวดล้อม ปีที่ 3 Make It Balance: มั่นคงรอบด้าน อาหาร-น้ำ-พลังงาน ได้แก่ - นายนนนท์ ศิลปาภิสันทน์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 - นายปานตะวัน พวงแก้ว ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 - นายปุณยวีร์ ตันติปิธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 2. ได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับรางวัล ชนะเลิศระดับประเทศ ได้แก่ - นางสาวสิริอาภา พงศ์รัตนมงคล ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 - นายสุชาครีย์ สระศรีสม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/10 3. รางวัลเหรียญทองชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขัน โครงงานประเภททดลอง ในการประชุมวิชาการกลุ่ม เครือข่ายภาคกลางตอนล่าง ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ฯ ได้แก่ - นางสาวณภาภัช ชัยวันดี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1


66 - นางสาวมัตติกาล์ งาหอม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 - นายสุทธวิชญ์ แก้วเมืองฝาง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 4. จุดเด่น 1) ด้านจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ โดยสถานศึกษา มีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ให้ผู้เรียน ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้และมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริงอย่างหลากหลาย รูปแบบ ส่งเสริมให้ผู้เรียนกล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก แสดงความคิดเห็นในเชิงสร้างสรรค์และสรุปองค์ความรู้ ด้วยตนเองได้ โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญดังต่อไปนี้ สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่ เน้นให้ผู้เรียน เรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ เช่น รายวิชาโครงงาน วิทยาศาสตร์ การบูรณาการการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา (STEM) วิทยาการคำนวณ (Coding) เป็นต้น มีการดำเนินโครงการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียน เรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจำวันได้ ส่งเสริมให้ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ นอกจากนี้สถานศึกษา ยังมีการส่งเสริมการเข้าร่วมแข่งขันของผู้เรียนในกิจกรรมต่าง ๆ ที่องค์กรทางการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนจัดขึ้น ส่งผลให้ผู้เรียนได้รับรางวัลระดับประเทศ สร้างชื่อเสียงให้กับตนเองและสถานศึกษา 2) ด้านใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้สถานศึกษามีการส่งเสริมให้ครู ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้มีการใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายและมีความทันสมัย สามารถพัฒนาสื่อการเรียนรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาต่าง ๆ มาใช้ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี เช่น คลิปวิดีทัศน์ จากเว็บไซต์ออนไลน์ YouTube, Facebook, TikTok, สื่อการนำเสนอ PowerPoint ฯลฯ และเผยแพร่ ให้กับผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยไม่จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้อยู่แค่ภายในห้องเรียน เพื่อส่งเสริม ให้ผู้เรียนมีทักษะความรู้ความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ( Digital Literacy) ได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติและนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการโดยให้สถานศึกษา 3) ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก โดยครูที่ปรึกษาและครูประจำวิชา วางแนวทางระบบดูแล ช่วยเหลือนักเรียนร่วมกัน ช่วยให้ครูมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยจัดกิจกรรมให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการคิดและเน้นการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติ มีการส่งเสริมการใช้วิธีการ และจัดหาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายให้กับผู้เรียน เพื่อใช้ในการแสวงหาความรู้ จากสื่อ เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ทันสมัย ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง และยังให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศชั้นเรียน สภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น การจัดบอร์ดความรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน


67 4) ด้านการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน มีการสนับสนุนให้ครู มีการประเมินผู้เรียนตามสภาพจริง โดยมีการประเมินสมรรถนะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน อย่างรอบด้าน มีการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ การอ่าน คิด วิเคราะห์ของผู้เรียนในแต่ละรายวิชา คิดเป็น ร้อยละ 100 โดยมีรูปแบบการประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและมีความน่าเชื่อถือ ส่งผลให้เกณฑ์การประเมิน มีความชัดเจน สามารถตรวจสอบได้ รวมถึงให้ครูใช้การประเมินสรรถนะการเรียนรู้ของผู้เรียนผ่านสถานการณ์ ในชีวิตจริง โดยการใช้การทดสอบวัดความรู้นักเรียนนานาชาติ (Programmed for International Student Assessment : PISA) เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีความเทียบเท่าระดับสากล นอกจากนี้ ยังมีการตรวจสอบผู้เรียนทั้งด้านความรู้และด้านคุณธรรมจริยธรรมของผู้เรียนจากเครื่องมือวัด และประเมินผลต่าง ๆ ร่วมด้วย เช่น การใช้แบบทดสอบ ชิ้นงาน สมุดบันทึกการอ่าน เป็นต้น 5) ด้านการมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ มีการส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพในทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ การเป็นผู้นำในการเรียนรู้และการนำเสนองานโดยใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศตามหลักสูตรที่สถานศึกษา จัดขึ้นอย่างหลากหลาย โดยใช้ทักษะภาษาเพื่อการสื่อสารได้อย่างคล่องแคล่วเสมือนกับเจ้าของภาษา ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้มีการพัฒนาความรู้ทางวิชาชีพ และนำมาปรับใช้กับการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาของตนเอง นอกจากนี้ฝ่ายบริหารวิชาการ โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี สนับสนุนให้มีการนิเทศการจัดการเรียนรู้ภายในชั้นเรียน เพื่อให้คณะครูและผู้ที่เกี่ยวข้อง แลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับซึ่งกันและกัน ส่งผลให้การจัดการเรียนรู้ในชั้น เรียนมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น 5. จุดที่ควรพัฒนา 1) การจัดสรรงบประมาณเพื่อใช้ในการซื้ออุปกรณ์ สารเคมี และสื่อเทคโนโลยีให้พร้อมสำหรับการเรียน การสอนทุกรายวิชา เพื่อให้เกิดความพร้อมและสามารถรองรับการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกคนได้เป็นอย่างดี 2) การพัฒนาระบบกำกับ ติดตามการดำเนินงานต่าง ๆ ของครูผู้สอน โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาเป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกต่อการจัดการภายในชั้นเรียนต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 3) ชิ้นงานของผู้เรียนควรมีความหลากหลาย โดยมีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือเทคโนโลยีที่ทันสมัย เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ก่อให้เกิดทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 4) การจัดอบรมและให้ความรู้ในด้าน “การวัดและประเมินผลในระบบออนไลน์” ปัจจุบันประเทศไทย ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ไทยแลนด์ 4.0 ดังนั้น การดำเนินงานต่าง ๆ ในชั้นเรียน ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผล ฯลฯ ควรปฏิบัติได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทุกที่และทุกเวลา 5) การพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพในทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ เพื่อเป็นผู้นำ ในการเรียนรู้และการนำเสนอผลงาน ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ โดยใช้ภาษาไทย และ ภาษาต่างประเทศตามหลักสูตรที่สถานศึกษาจัดขึ้น


68 สรุปผลการประเมินในภาพรวม 1. ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม 2. นำเสนอข้อมูลสนับสนุนผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา จากผลการดำเนินงาน โครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ส่งผลให้สถานศึกษาจัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในแต่ละมาตรฐาน ซึ่งจากผลการประเมินทั้ง 3 มาตรฐานนั้น สถานศึกษา มีผลการประเมินคุณภาพโดยภาพรวมอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม โดยมีผลด้านมาตรฐานคุณภาพของผู้เรียน ในประเด็นหลักเรื่องผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม และประเด็นหลักเรื่องคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ของผู้เรียน อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม ส่วนมาตรฐานด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม รวมไปถึงมาตรฐานด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม ทั้งนี้ สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย เป็นไปตามปัญหาและความต้องการ ของผู้เรียน พัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ สอดคล้องกับจุดเน้นของสถานศึกษาและสภาพของชุมชนท้องถิ่น จนมีผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอยู่ในระดับยอดเยี่ยม โดยวิเคราะห์ได้จากหลักฐาน ร่องรอย และค่าความสำเร็จต่าง ๆ ทั้งค่าเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 (O-NET) ค่าเฉลี่ยการพัฒนาของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของผู้เรียนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ที่เป็นไปตามค่าเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สถานศึกษากำหนด ซึ่งสามารถสนับสนุนและเป็นหลักฐานยืนยันได้ว่า สถานศึกษามีการส่งเสริมความสามารถด้านวิชาการของผู้เรียน ตามหลักสูตรของสถานศึกษา อีกทั้งผู้เรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียนและการสื่อสารได้เป็นอย่างดี มีความสามารถในการคิด คำนวณ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีความประพฤติด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่สถานศึกษากำหนดปรากฏอย่างชัดเจน ซึ่งสอดคล้อง กับผลการประเมินในด้านกระบวนการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา มีผลประเมินในรายมาตรฐาน อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม เนื่องจากสถานศึกษามีการวางแผน ออกแบบกิจกรรมและดำเนินงานตามแผนที่เกิดจาก การมีส่วนร่วม ใช้ผลการประเมินและการดำเนินงานที่ผ่านมาเป็นฐานในการพัฒนา และสอดคล้องกับเป้าหมาย การพัฒนา ตรวจสอบผลการดำเนินงาน และการปรับปรุงแก้ไขงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีการบริหาร จัดการให้คณะครูได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ โดยให้การสนับสนุนและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ในทุก ๆ ด้าน ที่ครูผู้สอนประสบปัญหา เพื่อให้การจัดการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล กับผู้เรียนมากที่สุดมีการกำกับ ติดตามและประเมินผล ซึ่งมีการนำเทคโนโลยีและโปรแกรมต่าง ๆ เช่น โปรแกรม G-Suit (Google Classroom, Google Meet, Google Form, Zoom) รวมถึงแอปพลิเคชัน Line มาใช้สนับสนุน การจัดการเรียนรู้ รวมทั้งการติดตามและประเมินผล โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอนนั้นจะเน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ เน้นให้ผู้เรียนเกิดนการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริงผ่านการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning


69 และมีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม โดยครูผู้สอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้กำเนินการวิเคราะห์ ออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เป็นไปตามความต้องการของหลักสูตรและบริบทของสถานศึกษา มีการพัฒนา กิจกรรมการเรียนรู้ ใช้สื่อการเรียนรู้ ติดตาม ตรวจสอบและช่วยเหลือผู้เรียนเพื่อพัฒนาพร้อมทั้งแก้ปัญหาผู้เรียน เป็นรายบุคคล มีการประเมินผลจากสภาพจริงในทุกขั้นตอน ซึ่งจากการดำเนินงานของสถานศึกษาในทุก ๆ ด้าน ได้ให้ความสำคัญกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการวางระบบและดำเนินงานประกันคุณภาพ ภายในของสถานศึกษาเป็นอย่างดี ส่งผลให้การดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ ก่อให้เกิดคุณภาพ ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความมั่นใจ ต่อระบบการบริหารและการจัดการของสถานศึกษาในระดับสูง


70 ส่วนที่ 3 สรุปผล แนวทางการพัฒนาและความต้องการการช่วยเหลือ 1. สรุปผล ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาถือเป็นข้อมูลสารสนเทศสำคัญที่สถานศึกษาจะต้องนำไปวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อสรุปและนำไปสู่การเชื่อมโยงหรือสะท้อนภาพความสำเร็จกับแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ของสถานศึกษาระยะ 3 ปี (2566-2568) และนำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ดังนั้น จากผลการดำเนินงานของสถานศึกษา สามารถสรุปผลการประเมินในภาพรวมของจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา ของแต่ละมาตรฐาน พร้อมทั้งแนวทางการพัฒนาในอนาคตและความต้องการการช่วยเหลือได้ ดังนี้ ด้านคุณภาพผู้เรียน ประเด็นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จุดเด่น สถานศึกษาจัดทำโครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในด้านความสามารถ ในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ อย่างหลากหลาย สามารถตอบสนองต่อความต้องการ และความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนได้เป็นอย่างดีส่งผลให้พัฒนาผู้เรียนได้ตามศักยภาพได้อย่างเหมาะสม และผู้เรียนทุกคนได้รับการประเมินความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ ในแต่ละระดับชั้น ตามเกณฑ์การประเมินและตัวชี้วัดที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน รวมทั้งมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถตรงตามสาขาวิชาที่จัดการเรียนรู้โดยสามารถมุ่งเน้นและส่งเสริม ให้ผู้เรียนร่วมกันคิด วิเคราะห์ อย่างมีวิจารณญาณ รวมทั้งอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และหาทางแก้ปัญหา ร่วมกัน ส่งผลให้สถานศึกษามีผลงานเป็นที่ประจักษ์ โดยสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีโครงการต่าง ๆ รองรับ และมุ่งเน้นผู้เรียน ตลอดจนการส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดและดำเนินงานโครงงานของตนเอง ทำให้ผู้เรียนมีทักษะ ด้านการคิด วิเคราะห์ และทักษะการคิดขั้นสูง ซึ่งสถานศึกษาเปิดกว้างให้ผู้เรียนสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบใหม่ ๆ มีการส่งเสริมให้ครูพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และมีการจัดการความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ เช่น PLC เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันหาแนวทางการแก้ไขปัญหา และเทคนิควิธีการในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน อย่างรอบด้าน โดยผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านระบบออนไลน์(online) เพื่อพัฒนาศักยภาพ ของผู้เรียน และส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันทางวิชาการ ซึ่งส่งผลให้ร้อยละของจำนวนผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนสูงกว่าค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด มีค่าเฉลี่ยเป็นร้อยละ 86.24 ซึ่งเพิ่มขึ้น จากปีการศึกษา 2564 ร้อยละ 1.41 (ปีการศึกษา 2564 เท่ากับ 84.83) และมีผลการทดสอบทางการศึกษา


71 ระดับชาติขั้นพื้นฐาน ทั้งระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ยระดับโรงเรียน สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศทุกวิชา อีกทั้งสถานศึกษามีการจัดการเรียนรู้แบบเน้นบทบาทและการมีส่วนร่วม ของผู้เรียน โดยการนำวิธีการสอน เทคนิคการสอนที่หลากหลาย มาออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ และจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ทักษะงานวิชางานบ้าน ทักษะวิชางานประดิษฐ์ ทักษะวิชางานช่าง ทักษะวิชางาน เกษตร รวมทั้งการแสดงออกด้านการนำเสนอผลงาน การแสดงความคิดเห็น ศึกษาหาความรู้จากสื่อและเทคโนโลยี ด้วยตนเองอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง กระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ ทักษะและเชื่อมโยงองค์ความรู้นำไปปฏิบัติ เพื่อแก้ไขปัญหาหรือสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ในอนาคต จุดที่ควรพัฒนา การจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาทักษะการสืบค้นข้อมูล การเลือกใช้ข้อมูล แหล่งข้อมูล และกิจกรรม ที่ส่งเสริมทักษะนักเรียนกลุ่มอ่อนให้ได้รับการพัฒนาปรับปรุงทักษะด้านการอ่าน เขียน สื่อสารและการคิดคำนวณ อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน รวมไปถึงการสร้างกลุ่มเครือข่าย ระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีเนื้อหาความรู้สัมพันธ์กัน เช่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระ ภาษาต่างประเทศ และกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม หรือกลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งมีการบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่น ๆ เช่น กลุ่มสาระ การเรียนรู้ศิลปะ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เพื่อตอบสนอง การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของผู้เรียน จึงจะเป็นการพัฒนาการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ รวมถึง อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม โดยสถานศึกษาควรส่งเสริมกิจกรรมบูรณาการ ที่ก่อให้เกิดทักษะการคิด แก้ปัญหา อย่างสร้างสรรค์ พัฒนาผู้เรียนตามความสนใจและความถนัด โดยมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย เหมาะสมกับผู้เรียนตามกลุ่มความถนัด และจัดให้มีการประกวด นวัตกรรมภายในสถานศึกษา เพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน มีการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาผู้เรียน ให้มีศักยภาพทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการ เรียนการสอนเพิ่มขึ้น ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการสร้างนวัตกรรมสำหรับนักเรียน อีกทั้งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แยกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ เมื่อพิจารณาในบางกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่ามีร้อยละของจำนวนนักเรียน ที่มีผลการเรียนผ่านค่าเป้าหมายลดลงในภาคเรียนที่ 2 เมื่อเทียบกับจำนวนนักเรียนที่มีผลการเรียน ผ่านค่าเป้าหมายในภาคเรียนที่ 1 ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ และกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ซึ่งอาจเป็นผลจากในภาคเรียนที่ 2 มีกิจกรรมการเรียนรู้นอกเหนือ จากการเรียนการสอนในห้องเรียน เช่น การแข่งขันกีฬาสี, กิจกรรมการเข้าค่ายต่าง ๆ, กิจกรรมเปิดบ้านวิสุทธรังษี, และกิจกรรมทัศนศึกษาฯ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อรายวิชาที่ต้องการเวลาในการเรียนรู้จากครูผู้สอน และการฝึกฝนทักษะในการสร้างชิ้นงานและผลงานที่เกิดจาการเรียนรู้ในชั่วโมงเรียนทั้ง 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และเนื่องจากการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ( Active Learning) เป็นรากฐานการสร้างองค์ความรู้ใหม่ โดยผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้จากข้อมูลที่ได้รับมาใหม่ ประกอบกับประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เรียน การนำไปใช้


72 อาจมีความคลาดเคลื่อน และจะนำไปประยุกต์ใช้แบบผิด ๆ ดังนั้นครูผู้สอนควรต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่หลากหลายและถ่ายทอดความรู้อย่างถูกต้อง และควรจัดสรรงบประมาณในการซื้ออุปกรณ์ เครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการฝึกวิชาชีพให้แก่ผู้เรียนให้เพียงพอและทันสมัย ทันเหตุการณ์ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน ที่จะส่งผลต่อการเรียนรู้ ประเด็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน จุดเด่น ผู้เรียนมีพฤติกรรมที่เหมาะสมตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ซึ่งนำมาสู่อัตลักษณ์ของสถานศึกษา “ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูสถาบัน ยึดมั่นความดี” รวมทั้งตรงตามเอกลักษณ์ของสถานศึกษา “วิชาการเป็นเลิศ เชิดชูคุณธรรม” ผู้เรียนมีความกล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้อง ได้รับการดูแลและส่งเสริมในเรื่องของสุขภาพ อย่างชัดเจน รวมทั้งได้เรียนรู้วิธีการป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติด ผู้เรียนมีสุขภาพจิตที่ดี มีมนุษยสัมพันธ์อันดี ต่อผู้อื่น เคารพสิทธิเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น เกิดการเพิ่มทักษะการดำรงชีวิตให้กับตนเอง ผู้เรียนมีการพัฒนา ทักษะด้านความเป็นผู้นำ เกิดเครือข่ายการทำงานระหว่างสถานศึกษาและองค์กรภายนอก รวมไปถึงสร้างเกียรติ ประวัติให้กับตนเองและสถานศึกษา และผู้เรียนมีความรัก ความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจกันในการร่วมกิจกรรม อย่างมีความสุข ผู้เรียนและบุคลากรได้รับการดูแลสุขภาพที่ดี ได้รับความรู้เรื่องการดูแลตนเองเบื้องต้นให้สุขภาพดี มีการออกกำลังกาย การเลือกรับประทานอาหารและการควบคุมน้ำหนักของตนเอง อีกทั้งได้รับการประเมิน พฤติกรรมผู้เรียนจากตนเอง คณะครูที่ปรึกษาและผู้ปกครอง จุดที่ควรพัฒนา ควรพัฒนาให้ผู้เรียนมีความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองและการทำงานเป็นทีมเชื่อมโยง ความรู้และประสบการณ์มาใช้ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ควรพัฒนาให้ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเอง และสังคมในการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงานอย่างสร้างสรรค์ และมีคุณธรรม ควรพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ทักษะพื้นฐานในการจัดการเจตนคติที่ดี มีพฤติกรรมเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพกติกาในการทำงานหรืออาชีพ และควรพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดี ตามสถานศึกษากำหนด มีความภูมิใจในท้องถิ่นเห็นคุณค่าของความเป็นไทย และยอมรับที่จะอยู่ร่วมกัน บนความแตกต่างและหลากหลาย


73 ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา จุดเด่น มีแผนพัฒนาการจัดการศึกษาการจัดการศึกษาระยะกลาง 3 ปี (พ.ศ. 2566 – 2568) ได้รับความร่วมมือ จากหลายฝ่าย ทั้งประธานคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้แทนชุมชน ผู้แทนศาสนา ผู้แทนผู้ปกครองและผู้แทน นักเรียน มีการกำกับติดตาม โครงการ/กิจกรรม โดยมีการรายงานโครงการ/กิจกรรม โดยมีการประเมินความคุ้มค่า ของการใช้จ่ายงบประมาณในการจัด โครงการ/กิจกรรม ซึ่งผู้รับผิดชอบโครงการจะได้ประเมินการใช้งบประมาณ ของตนเองและผู้ที่ร่วมกิจกรรมจะได้ประเมินทรัพยากรที่ใช้ในการทำกิจกรรม มีการประชุมกำกับติดตาม โครงการ เป็นระยะ ตามปฏิทินโครงการ โดยแต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายกำกับติดตามและใช้แบบกำกับติดตาม (ผ.1 - ผ.7) มีการกำหนด เกณฑ์คุณภาพตามตัวบ่งชี้ โดยตั้งเป็นระดับคุณภาพตามแนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐาน การศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2565 ตามประกาศโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี เรื่องการใช้มาตรฐานการศึกษา ขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรีปีการศึกษา 2565 มีผลการประเมิน จากหน่วยงานภายนอก รายงานการประเมินคุณภาพภายนอก : ผลการประเมิน SAR ภายใตสถานการณ COVID – 19 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหลักสูตรการศึกษาที่หลากหลาย ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและชุมชน มีการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน รอบด้าน ส่งผลให้ผู้เรียนเรียนอย่างมีความสุข เกิดการเรียนรู้และสามารถแข่งขันทักษะทางวิชาการ และได้รับรางวัลระดับประเทศ ซึ่งครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรัก ความสามัคคีในองค์กร ได้รับการส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาให้มีศักยภาพสู่มารฐานสากลอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับการบริหาร จัดการตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงและการขับเคลื่อน PLC ประจำปีการศึกษา 2565 สู่สถานศึกษา ซึ่งครูและบุคลากรทางการศึกษา สามารถนาความรู้ที่ได้จากการอบรม สัมมนา ศึกษาดูงา น มาพัฒนา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เกิดความก้าวหน้าในวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา อีกทั้งสถานศึกษามีผลงาน และมีชื่อเสียงทางด้านวิชาการเป็นที่ยอมรับของสังคมและชุมชนการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีการดำเนินการตามกิจกรรมการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียน ทั้งด้านอาคารสถานที่ รวมไปถึง แหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการเรียนรู้และมีความปลอดภัย กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้จัดซ่อมแซมโต๊ะ เก้าอี้ และจัดซื้อโต๊ะนักเรียน สื่อ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เพียงพอกับความต้องการของผู้เรียน สถานศึกษามีกิจกรรมพัฒนา สิ่งแวดล้อมให้มีสภาพแวดล้อมที่สวยงาม ร่มรื่น เหมาะกับการจัดการเรียนรู้ทั้งมีการจัดมุมสวนหย่อม ป้ายนิเทศ เพื่อให้สถานศึกษามีแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกห้องเรียนที่เหมาะสมและเอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน สร้างบรรยากาศให้สวยงาม เหมาะกับการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย เป็นปัจจุบัน ถูกต้อง ทุกกลุ่มงานสามารถนำไปใช้ในการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ รวมถึงการจัดการเรียนรู้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็วและปลอดภัย


74 จุดที่ควรพัฒนา ในการดำเนินโครงการ/กิจกรรมในปีการศึกษา 2565 ควรจะมีการกำหนดการติดตามอย่างชัดเจน และสรุปผลการดำเนินโครงการในรูปแบบของร้อยละและระดับคุณภาพ ควรมีการพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพ เป็นพลโลกในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ ครูและบุคลากรทางการศึกษาควรตระหนัก และให้ความสำคัญต่อการพัฒนาตน เพื่อเพิ่มศักยภาพในปรับเปลี่ยนการเรียนรู้สู่สมรรถนะ ด้วยการจัดการเรียนรู้ เชิงรุก (Active Learning) และเนื่องจากสถานศึกษามีพื้นที่ขนาดใหญ่ การบำรุงรักษา ดูแล อาคารสถานที่ และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ บางครั้งเกิดความล่าช้าในการบำรุงรักษาและแก้ไขส่วนที่เกิดปัญหา จำเป็นต้องจัดสรรลำดับ การปฏิบัติงานของนักการภารโรง เพื่อให้การซ่อมแซมแก้ไขป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จุดเด่น ด้านจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ โดยสถานศึกษา มีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ให้ผู้เรียน ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้และมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริงอย่างหลากหลาย รูปแบบ ส่งเสริมให้ผู้เรียนกล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก แสดงความคิดเห็นในเชิงสร้างสรรค์และสรุปองค์ความรู้ ด้วยตนเองได้ โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญดังต่อไปนี้ สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่ เน้นให้ผู้เรียน เรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ เช่น รายวิชาโครงงาน วิทยาศาสตร์ การบูรณาการการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา (STEM) วิทยาการคำนวณ (Coding) เป็นต้น มีการดำเนินโครงการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียน เรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจำวันได้ ส่งเสริมให้ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ นอกจากนี้สถานศึกษา ยังมีการส่งเสริมการเข้าร่วมแข่งขันของผู้เรียนในกิจกรรมต่าง ๆ ที่องค์กรทางการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนจัดขึ้น ส่งผลให้ผู้เรียนได้รับรางวัลระดับประเทศ สร้างชื่อเสียงให้กับตนเองและสถานศึกษา ด้านใช้สื่อ เทคโนโลยี สารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้สถานศึกษามีการส่งเสริมให้ครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้มีการใช้สื่อ การเรียนรู้ที่หลากหลายและมีความทันสมัย สามารถพัฒนาสื่อการเรียนรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ต่าง ๆ มาใช้ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี เช่น คลิปวิดีทัศน์จากเว็บไซต์ออนไลน์ YouTube, Facebook, TikTok, สื่อการนำเสนอ PowerPoint ฯลฯ และเผยแพร่ให้กับผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยไม่จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้อยู่แค่ภายในห้องเรียน เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะความรู้ความเข้าใจ และใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) ได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการโดยให้สถานศึกษา ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก โดยครูที่ปรึกษา


75 และครูประจำวิชา วางแนวทางระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนร่วมกัน ช่วยให้ครูมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการพัฒนา การจัดการเรียนรู้โดยจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการคิดและเน้นการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนา ทักษะการปฏิบัติ มีการส่งเสริมการใช้วิธีการและจัดหาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายให้กับผู้เรียน เพื่อใช้ในการแสวงหาความรู้ จากสื่อ เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ทันสมัยได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง และยังให้ผู้เรียน มีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศชั้นเรียน สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น การจัดบอร์ดความรู้ ทั้งในและนอกห้องเรียน ด้านการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน มีการสนับสนุนให้ครูมีการประเมินผู้เรียนตามสภาพจริง โดยมีการประเมินสมรรถนะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียนอย่างรอบด้าน มีการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ การอ่าน คิด วิเคราะห์ ของผู้เรียนในแต่ละรายวิชา คิดเป็น ร้อยละ 100 โดยมีรูปแบบการประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และมีความน่าเชื่อถือ ส่งผลให้เกณฑ์การประเมินมีความชัดเจน สามารถตรวจสอบได้ รวมถึงให้ครูใช้การประเมิน สรรถนะการเรียนรู้ของผู้เรียนผ่านสถานการณ์ในชีวิตจริง โดยการใช้การทดสอบวัดความรู้นักเรียนนานาชาติ (Programmed for International Student Assessment : PISA) เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับใช้ในการพัฒนาคุณภาพ ผู้เรียนให้มีความเทียบเท่าระดับสากล นอกจากนี้ ยังมีการตรวจสอบผู้เรียนทั้งด้านความรู้และด้านคุณธรรม จริยธรรมของผู้เรียนจากเครื่องมือวัดและประเมินผลต่าง ๆ ร่วมด้วย เช่น การใช้แบบทดสอบ ชิ้นงาน สมุดบันทึก การอ่าน เป็นต้น ส่วนด้านการมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุง การจัดการเรียนรู้มีการส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพในทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ มีการเป็นผู้นำในการเรียนรู้และการนำเสนองานโดยใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรที่สถานศึกษาจัดขึ้นอย่างหลากหลาย โดยใช้ทักษะภาษาเพื่อการสื่อสารได้อย่างคล่องแคล่ว เสมือนกับเจ้าของภาษา ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้มีการพัฒนาความรู้ ทางวิชาชีพ และนำมาปรับใช้กับการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาของตนเอง นอกจากนี้ฝ่ายบริหารวิชาการ โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี สนับสนุนให้มีการนิเทศการจัดการเรียนรู้ภายในชั้นเรียน เพื่อให้คณะครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง แลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับซึ่งกันและกัน ส่งผลให้การจัดการเรียนรู้ ในชั้นเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น จุดที่ควรพัฒนา การจัดสรรงบประมาณเพื่อใช้ในการซื้ออุปกรณ์ สารเคมี และสื่อเทคโนโลยีให้พร้อมสำหรับการเรียน การสอนทุกรายวิชา เพื่อให้เกิดความพร้อมและสามารถรองรับการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกคนได้เป็นอย่างดี ควรพัฒนาระบบกำกับ ติดตามการดำเนินงานต่าง ๆ ของครูผู้สอน โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกต่อการจัดการภายในชั้นเรียนต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่วนด้านชิ้นงานของ ผู้เรียนควรมีความหลากหลาย โดยมีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ก่อให้เกิดทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการจัดอบรม ให้ความรู้


76 ในด้าน “การวัดและประเมินผลในระบบออนไลน์” ปัจจุบันประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ไทยแลนด์ 4.0 ดังนั้น การดำเนินงานต่าง ๆ ในชั้นเรียน ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผล ฯลฯ ควรปฏิบัติ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทุกที่และทุกเวลา รวมไปถึงการพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพในทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ เพื่อเป็นผู้นำในการเรียนรู้และการนำเสนอผลงาน ทั้งในระดับประเทศและระดับ นานาชาติ โดยใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศตามหลักสูตรที่สถานศึกษาจัดขึ้น


ส่วนที่ 4 ภาคผนวก 1. มาตรฐานและค่าเป้าหมายของสถานศึกษา 2. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและจัดทำรายงานประจำปี (SAR) ปีการศึกษา 2565 3. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ระบบประกันคุณภาพและประเมินคุณภาพภายใน สถานศึกษา ปีการศึกษา 2565 4. บันทึกการให้ความเห็นชอบรายงานประจำปีของสถานศึกษา ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 5. ผลการประเมินตามมาตรฐานตัวชี้วัดที่สถานศึกษากำหนด 6. เปรียบเทียบร้อยละผลการเรียนของนักเรียนตามค่าเป้าหมาย 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ 7. ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET ม.3 และ ม.6 ปีการศึกษา 2565 8. รายงานผลการศึกษาต่อระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 ปีการศึกษา 2565 9. เอกสารอ้างอิง ปีการศึกษา 2565 (แผนปฏิบัติการประจำปี, รายงานผลการประเมินตนเองประจำปี, สารสนเทศประจำปี)


ประกาศโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี เรื่อง การใช้มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ------------------------------------------------------------------------------------------------------------ ด้วยโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี มีการจัดการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้หลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนบรรลุถึงซึ่ง คุณลักษณะตามที่หลักสูตรกำหนด และเป็นไปตามเจตนารมณ์ วัตถุประสงค์การจัดการศึกษาแห่งชาติ พร้อม ตอบสนองความต้องการของผู้ปกครองและเอกลักษณ์ของท้องถิ่นและขับเคลื่อนด้วยแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี เพื่อเกิดการพัฒนาสู่คุณภาพอย่างมีประสิทธิภาพ โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี กำหนดมาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตาม นโยบายปฏิรูประบบการประเมินและการประกันคุณภาพการศึกษา จากกฎกระทรวงการประกันคุณภาพ การศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ ลงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้ใช้มาตรฐาน การศึกษา ระดับการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๓ มาตรฐาน ลงวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๖๑ โดยความ เห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษา และการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง ทั้งบุคลากรทุกคนในเรื่อง ผู้ปกครอง และชุมชน ให้เหมาะสมและสอดคล้องกันเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา การประเมินคุณภาพ ภายใน และเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี จึงประกาศการใช้มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ เพื่อเป็นเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน การศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการประเมินคุณภาพภายใน ทั้งนี้ ให้ดำเนินการตั้งแต่เริ่มปีการศึกษา ๒๕๖๕ ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ลงชื่อ........................................................... (นายหงษ์ดีศรีเสน) ผู้อำนวยการโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี


มาตรฐานการศึกษา โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี แนบท้ายประกาศโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี เรื่อง การใช้มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ฉบับลงวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ----------------------------------------------------------- มาตรฐานการศึกษา โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. ๒๕๖๕ มีจำนวน ๓ มาตรฐาน ได้แก่ มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน ๑.๑ ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน ๑.๒ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แต่ละมาตรฐานมีรายละเอียด ดังนี้ มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพผู้เรียน ๑.๑ ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน ๑) มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ ๒) มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและ แก้ปัญหา ๓) มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ๔) มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ๕) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ๖) มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ ๑.๒ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ๑) มีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด ๒) มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย ๓) มีการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและความหลากหลาย ๔) มีสุขภาวะทางร่างกาย และลักษณะจิตสังคม มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา ๒.๑ มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน ๒.๒ มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา


๒.๓ มีการดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุก กลุ่มเป้าหมาย ๒.๔ ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน ๒.๕ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ๓.๑ จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ ๓.๒ ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ๓.๓ มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ๓.๔ ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน ๓.๕ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้


คำอธิบายของมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี มาตรฐานที่ ๑ ด้านคุณภาพผู้เรียน ผลการเรียนรู้ที่เป็นคุณภาพของผู้เรียนทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ประกอบด้วย ความสามารถ ในการอ่าน การเขียน การสื่อสารการคิดคำนวณ การคิดประเภทต่างๆ การสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตร การมีความรู้ ทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดี ต่อวิชาชีพ และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่เป็นค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด ความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทย การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย รวมทั้งสุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ เป็นการจัดระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษามีการกำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจ อย่างชัดเจน สามารถดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา ในทุกกลุ่มเป้าหมาย จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ดำเนินการพัฒนาครูและบุคลากร ให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ และจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการ และการเรียนรู้รวมทั้งจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นกระบวนการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา สร้างโอกาส ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดี ครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำผลที่ได้มาให้ข้อมูลป้อนกลับ เพื่อพัฒนา และปรับปรุงการจัดการเรียนรู้


ประกาศโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี เรื่อง การใช้มาตรฐานการศึกษา เพื่อการประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ------------------------------------------------------------------------------------------------------------ ตามที่โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี ได้ปรับปรุงมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนเพื่อให้การจัด การศึกษาของโรงเรียนสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติและมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไปแล้วนั้น บัดนี้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้พิจารณาแล้ว และเห็นชอบให้ใช้มาตรฐานการศึกษาของ โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจบุรี ได้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ลงชื่อ........................................................... (นายหงษ์ดีศรีเสน) ผู้อำนวยการโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี


ประกาศโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี เรื่อง การกำหนดค่าเป้าหมายตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ------------------------------------------------------------------------------------------------------------ ตามที่มีประกาศใช้กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ในทศวรรษที่สองที่กำหนดเป้าหมายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาคุณภาพคนไทยและการศึกษาไทยใน อนาคต ประกอบกับมีนโยบายให้ปฏิรูประบบการประเมินและการประกันคุณภาพทั้งภายในและภายนอกของทุก ระดับก่อนจะมีการประเมินคุณภาพในรอบต่อไป จำเป็นต้องปรับปรุงมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานให้สอดคล้อง กัน จึงให้ยกเลิกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการ ประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ลงวันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ และให้ใช้มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของ สถานศึกษา ฉบับลงวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ มีจำนวน ๓ มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ ๑ มาตรฐานคุณภาพ ของผู้เรียน (๑.๑ ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน และ ๑.๒ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน) มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ และมาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรีจึงกำหนดค่าเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาชาติ เอกลักษณ์โรงเรียน และมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของกระทรวงศึกษาธิการ จากการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งบุคลากรทุกคนในโรงเรียน ผู้ปกครอง และ ประชาชนในชุมชนให้เหมาะสมสอดคล้องกันกับศักยภาพของนักเรียน ชุมชนและท้องถิ่น และเพื่อให้ไปเป็นตาม นโยบายการประกันคุณภาพจากหน่วยงานต้นสังกัด พร้อมทั้งนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐาน การศึกษาขั้นพื้นฐาน การประเมินคุณภาพภายในและรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก โดยความเห็นชอบของ กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕เพื่อให้ การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี มีคุณภาพและมาตรฐาน จึง กำหนดค่าเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตาม เอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ลงชื่อ............................................................... (นายหงษ์ดีศรีเสน) ผู้อำนวยการโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี


แนบท้ายประกาศโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี เรื่อง กำหนดค่าเป้าหมายตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ...................................................................................... มาตรฐาน/ประเด็นพิจารณา ค่าเป้าหมาย ร้อยละ ระดับคุณภาพ มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพผู้เรียน ระดับยอดเยี่ยม ประเด็นหลักที่ ๑ ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน ระดับยอดเยี่ยม ๑.๑.๑ มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ ร้อยละ ๘๐.๙๕ ระดับยอดเยี่ยม ๑.๑.๒ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา ร้อยละ ๙๐.๘๓ ระดับยอดเยี่ยม ๑.๑.๓ มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ร้อยละ ๘๒.๕๐ ระดับยอดเยี่ยม ๑.๑.๔. มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร้อยละ ๘๕.๘๓ ระดับยอดเยี่ยม ๑.๑.๕. มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ร้อยละ ๗๕.๐๐ ระดับยอดเยี่ยม ๑.๑.๖ มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ ร้อยละ ๘๓.๓๓ ระดับยอดเยี่ยม ประเด็นหลักที่ ๒ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ระดับยอดเยี่ยม ๑.๒.๑. การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด ร้อยละ ๙๐.๐๐ ระดับยอดเยี่ยม ๑.๒.๒ ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย ร้อยละ ๙๐.๐๐ ระดับยอดเยี่ยม ๑.๒.๓ การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย ร้อยละ ๙๐.๐๐ ระดับยอดเยี่ยม ๑.๒.๔ สุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม ร้อยละ ๙๓.๐๐ ระดับยอดเยี่ยม มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ ระดับยอดเยี่ยม ๒.๑ มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน ระดับ ๕ ระดับยอดเยี่ยม ๒.๒ มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา ระดับ ๕ ระดับยอดเยี่ยม ๒.๓ ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุก กลุ่มเป้าหมาย ระดับ ๕ ระดับยอดเยี่ยม ๒.๔ พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ ระดับ ๕ ระดับยอดเยี่ยม ๒.๕ ดูสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ระดับ ๕ ระดับยอดเยี่ยม ๒.๖ ดูระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ ระดับ ๕ ระดับยอดเยี่ยม มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ระดับยอดเยี่ยม ๓.๑ จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ ร้อยละ ๑๐๐.๐๐ ระดับยอดเยี่ยม ๓.๒ ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ร้อยละ ๑๐๐.๐๐ ระดับยอดเยี่ยม ๓.๓ มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ร้อยละ ๑๐๐.๐๐ ระดับยอดเยี่ยม ๓.๔ ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน ร้อยละ ๑๐๐.๐๐ ระดับยอดเยี่ยม ๓.๕ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ร้อยละ ๑๐๐.๐๐ ระดับยอดเยี่ยม


การให้ความเห็นชอบ ประกาศมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรีนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรีปีการศึกษา ๒๕๖๕ ********************************* ในการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ณ ห้องประชุมอาคาร ๑๐๐ โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กาญจนบุรี คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้พิจารณามาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ของโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี มีความเห็นชอบ ดังนี้ ได้ผ่านการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลมาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่ว่าด้วยการประกันคุณภาพในสถานศึกษา ตามที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้มีความเหมาะสมเป็นไปได้ในการนำสู่การปฏิบัติ เนื้อหาในมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ผ่านการตรวจสอบที่มาที่ไปของข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ได้ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลมาตรฐานการศึกษา ประเด็นพิจารณา และเกณฑ์ พิจารณาตัวชี้วัดความสำเร็จ มีข้อมูลที่ตรงตามสภาพจริงทุกประเภท เห็นชอบให้ใช้มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่เห็นชอบให้ใช้มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เนื่องจาก ................................................................................. ลงชื่อ……………………………………………………… ลงชื่อ................................................................... (นายหงษ์ดี ศรีเสน) (นายอุดม เหลืองสด) ผู้อำนวยการโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี


คำสั่งโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี ที่ ๖๗ / ๒๕๖๕ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามมาตรฐาน เพื่อการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา และจัดทำรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษา (SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ …………………………………………………. ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่๒) พ.ศ.๒๕๔๕ มาตรา ๙(๓) ได้กำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภท การศึกษา โดยมาตรา ๔๘ ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดย ให้มีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อ นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา และเพื่อรองรับการประกันภายนอก ประกอบประกาศของ กระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๖๑ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๓ มาตรฐาน ประกอบด้วย มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพผู้เรียน มาตรฐานที่ ๒ การบริหารและการจัดการ มาตรฐานที่ ๓ การ จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตัวบ่งชี้ จำนวน ๒๑ ตัวบ่งชี้ และการจัดทำรายงานประจำปี (SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย อาศัยอำนาจตามความในมาตราที่ ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ จึงขอแต่งตั้งคณะกรรมการ ดังนี้ ๑. คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิประกอบด้วย ๑) นายอุดม เหลืองสด ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา ๒) พระเทพปริยัติโสภณ ผู้แทนพระภิกษุสงฆ์ ๓) พระเทพเมธาภรณ์ ผู้แทนพระภิกษุสงฆ์ ๔) นายจักรกฤษ แย้มสรวล ผู้ทรงคุณวุฒิ ๕) นายสมหมาย ปราบสุธา ผู้ทรงคุณวุฒิ ๖) นายวสันต์ ภูษิตกาญจนา ผู้ทรงคุณวุฒิ ๗) นายไฉน เรืองพยุงศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ


๘) พันตำรวจเอกสุชาย เทศัชบุตร ผู้ทรงคุณวุฒิ ๙) นางเพียงใจ ศิริชุมแสง ผู้ทรงคุณวุฒิ ๑๐) นายจรัญ รุ่งมณี ผู้แทนองค์กรชุมชน ๑๑) นายประสิทธิ์ หินอ่อน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๑๒) นางนัฏฐิณี ธรรมชาติ ผู้แทนผู้ปกครอง ๑๓) นายเฉลิมพล มหาอุดมรักษ์ ผู้แทนศิษย์เก่า ๑๔) นายพิสิทธิ์ ธรรมวิเศษ ผู้แทนครู ๑๕) นายหงษ์ดี ศรีเสน ผู้อำนวยการโรงเรียนวิสุทธรังษี มีหน้าที่ ให้คำปรึกษา แนะนำ วางแผนการดำเนินงาน ๒. คณะกรรมการอำนวยการ ประกอบด้วย ๑) นายหงษ์ดี ศรีเสน ผู้อำนวยการโรงเรียน ประธานกรรมการ ๒) นางนงนุช เกษมจิต รองผู้อำนวยการโรงเรียน กรรมการ ๓) นางวิพาดา อินทวิชัย รองผู้อำนวยการโรงเรียน กรรมการ ๔) นางพัณณ์สิตา แสงใส รองผู้อำนวยการโรงเรียน กรรมการ ๕ ว่าที่ร.ต.ปิยะพงษ์ โสเสมอ รองผู้อำนวยการโรงเรียน กรรมการ ๖) นายสุทัศน์ ไคลมี ครูปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการโรงเรียน กรรมการ ๗) นายสิรพงศ์ พงศ์เชื้อทอง ครูปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการโรงเรียน กรรมการ ๘) นางคนึงนิตย์ เนียมหอม ครูปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียน กรรมการ ๙) นายธีรเสฏฐ์ โพธิ์นิล ครูปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียน กรรมการ ๑๐) นายรัฐวุฒิ ชินวงษ์เกตุ ครูปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียน กรรมการ ๑๑) นางสาวกัญญาณัฐ เขียวบ้านยาง ครู กรรมการและเลขานุการ ๑๒) นางสาวจิราพร แสนวันดี ครู กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ มีหน้าที่ ๑. กำหนดบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของบุคลากรในการประเมินคุณภาพภายใน สถานศึกษา ๒. ประสานงานกับคณะทำงานเพื่อให้การประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาเป็นไปด้วยความ เรียบร้อย ๓. นำผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษามาปรับปรุงและพัฒนาต่อไป


๓. คณะกรรมการดำเนินงาน ประกอบด้วย ๑) คณะผู้บริหารสถานศึกษา ๒) คณะครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ๓) คณะครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ๔) คณะครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๕) คณะครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ๖) คณะครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ๗) คณะครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ๘) คณะครูกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ๙) คณะครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ๑๐) คณะครูกลุ่มโครงการห้องเรียนพิเศษ EP ๑๑) คณะครูกลุ่มโครงการห้องเรียนพิเศษ Education Hub ๑๒) คณะครูกลุ่มสนับสนุน มีหน้าที่ ๑. ดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ๒. ดำเนินการจัดกิจกรรมกระบวนการบริหารและการจัดการ ๓. ดำเนินการจัดกิจกรรมกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ๔. ดำเนินการตามระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ๕. ดำเนินการสรุปผลรายงานผลการจัดกิจกรรมทุกกิจกรรมเพื่อให้ผู้บริหารได้รับทราบ ๔. คณะกรรมการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลและเขียนรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ดังนี้ มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพผู้เรียน ๑.๑ ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของนักเรียน ๑.๑.๑ มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ ๑) นางสาวศิริมา วงษ์สกุลดี ครู หัวหน้า ๒) นางสาวดวงกมล สาโรชสัมพันธ์ ครู ผู้ช่วย ๓) นางสาวปาจรินทร์ หนูเจริญ ครู ผู้ช่วย ๔) นายณัฐพล กำเนิดรัตน์ ครู ผู้ช่วย ๕) นางนิตยา สังข์มา ครู ผู้ช่วย ๖) นางสาววันนิษา ปิ่นแก้ว ครู ผู้ช่วย ๗) นางสาวนริศรา เพ่งพาณิชย์ ครูอัตราจ้าง ผู้ช่วย


๑.๑.๒ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความ คิดเห็น และแก้ปัญหา ๑) นางสาวกิติพร พลศร ครู หัวหน้า ๒) นายยุทธพิชัย บุตรน้ำเพ็ชร ครู ผู้ช่วย ๓) นายชัยประสิทธิ์ ชิวปรีชา ครู ผู้ช่วย ๔) นายอาทิตย์ สุวรรณสุข ครู ผู้ช่วย ๕) นางสาวนริศรา อ่วมอ่อง ครู ผู้ช่วย ๖) นายณัฐนนท์ เดือนขึ้น ครู ผู้ช่วย ๗) นางสาวอริญชยา ตะพังพินิจการ ครู ผู้ช่วย ๘) นางสาวอาภาภัทร รัตนโอภา ครู ผู้ช่วย ๑.๑.๓ มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ๑) นางสาวปรารถนา ดาวเจริญพร ครู หัวหน้า ๒) นางสาวเนาวรัตน์ จันทร์สวัสดิ์ ครู ผู้ช่วย ๓) นางศศลักษณ์วัฒนา ครู ผู้ช่วย ๔) นางสาวสาริวรรณ มิสกริม ครู ผู้ช่วย ๕) นางคมคาย ปวุตตานนท์ ครู ผู้ช่วย ๖) นางสาวจิรัตติกาล ถิ่นกาญจน์วัฒนา ครู ผู้ช่วย ๑.๑.๔ มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ๑) นายอำนาจ ชื่นบาน ครู หัวหน้า ๒) นายวีรพัฒน์ ไสยาวัน ครู ผู้ช่วย ๓) นางสาวปรารถนา ดาวเจริญพร ครู ผู้ช่วย ๔) ว่าที่ ร.ต.วรานุรักษ์ เหลืองสด ครู ผู้ช่วย ๕) นางอาริสา ทิแพง ครู ผู้ช่วย ๖) นางสาวพรประภัสสร์ ไมตรีเวช ครู ผู้ช่วย ๗) นายภัทราวุฒิ อะโน ครู ผู้ช่วย ๘) นายไกรสิภณณ์ พงษ์วิทยภานุ ครู ผู้ช่วย ๙) นางสาวอจินไตย พวงทอง ครู ผู้ช่วย ๑๐) นางสาวนนทกานต์ แก้วเรือง ครู ผู้ช่วย ๑๑) นางสาวจิตติพร ใจคำ ครู ผู้ช่วย


๑๒) นางสาวจิราพร ศานติกาญจน์ ครู ผู้ช่วย ๑๓) นางยุพดี ทิพย์บำรุง ครู ผู้ช่วย ๑๔) นายณัฐนนท์ เดือนขึ้น ครู ผู้ช่วย ๑๕) นายพลวัฒน์ พรหมพิพัฒน์ ครู ผู้ช่วย ๑๖) นางสาวกมลชนก บุญมี ครู ผู้ช่วย ๑๗) นายสุรวัจน์ สุคนธมณี ครู ผู้ช่วย ๑๘) นางสาวจิราพร แสนวันดี ครู ผู้ช่วย ๑๙) นายเฉลิมชัย กาญจนคเชนทร์ ครู ผู้ช่วย ๒๐) นายธีรพงศ์ จิตเจริญ ครู ผู้ช่วย ๒๑) นางนิตยา สังข์มา ครู ผู้ช่วย ๒๒) นางสาวกฤตพร กลัวผิด ครู ผู้ช่วย ๒๓) นางสาวเพียงรฐา มาสว่าง ครู ผู้ช่วย ๒๔) นางนริศรา เพ่งพาณิชย์ ครูอัตราจ้าง ผู้ช่วย ๑.๑.๕ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ๑) นางจินตนา หนูอินทร์ ครู หัวน้า ๒) นายวิริยะ กิติกุล ครู ผู้ช่วย ๓) นายวิโรจน์ สามสี ครู ผู้ช่วย ๔) นายเฉลิมชัย กาญจนคเชนทร์ ครู ผู้ช่วย ๕) นางสาวแสงดาว สืบด้วง ครู ผู้ช่วย ๖) นายไกรสิภณณ์ พงษ์วิทยภานุ ครู ผู้ช่วย ๗) นายวิสุทธิ์ เจียมธโนปจัย ครูอัตราจ้าง ผู้ช่วย ๑.๑.๖ มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ ๑) นางสาวพรทิพย์ ทองมาก ครู หัวหน้า ๒) นายคงศักดิ์ โฉมยงค์ ครู ผู้ช่วย ๓) นางสาวปทิตตา บุญวาสนาลิขิต ครู ผู้ช่วย ๔) นายนเรศ คนรำ ครู ผู้ช่วย ๕) นายรักษ์พล ฝอยทับทิม ครู ผู้ช่วย ๖) นายสุรวัจน์ สุคนธมณี ครู ผู้ช่วย


๗) นางกัญจนพร ภัคพาณิชย์ ครู ผู้ช่วย ๘) นางพรรณี เพ็งศาสตร์ ครู ผู้ช่วย ๙) นางสาวพิกุล วนาพิทักษ์กุล ครู ผู้ช่วย ๑๐) นางสาวนัดดา ทำจะดี ครู ผู้ช่วย ๑๑) นางสาวประภาพร ทองคำ ครู ผู้ช่วย ๑๒) นายวิสุทธิ์ เจียมธโนปจัย ครูอัตราจ้าง ผู้ช่วย ๑.๒ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ๑.๒.๑ มีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด ๑) นางสาวลาวัลย์ น้อยอยู่ ครู หัวหน้า ๒) นางพรรณี เพ็งศาสตร์ ครู ผู้ช่วย ๓) นางสาวหทัยรัตน์ เมฆจินดา ครู ผู้ช่วย ๔) ว่าที่ร.ต.วรานุรักษ์ เหลืองสด ครู ผู้ช่วย ๕) นายวุฒิชัย บุญมา ครู ผู้ช่วย ๖) นางปวีณา เกษมโสตร ครู ผู้ช่วย ๗) นางสาวธัญญารัตน์ โพธิ์ทอง ครู ผู้ช่วย ๘) นางสาววันทนา พวงแก้ว ครู ผู้ช่วย ๙) นายจำนงค์ นรดี ครู ผู้ช่วย ๑๐) นายนิติธร ต้นโพธิ์ ครู ผู้ช่วย ๑๑) นางภิญญาพัชญ์ แบ่งเพชร ครู ผู้ช่วย ๑๒) นางสาวปพิชญา จีนอิ่ม ครู ผู้ช่วย ๑๓) นางสาวดวงพร ปิ่นตุรงค์ ครู ผู้ช่วย ๑๔) นายวิสุทธิ์ เจียมธโนปจัย ครูอัตราจ้าง ผู้ช่วย ๑.๒.๒ มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย ๑) นางสาวชุติมา จันทร์ประเสริฐ ครู หัวหน้า ๒) นางยุพดี ทิพย์บำรุง ครู ผู้ช่วย ๓) นายวรวรรธน์ แสงมาลา ครู ผู้ช่วย ๔) นางสาวพรประภัสสร์ ไมตรีเวช ครู ผู้ช่วย ๕) นายอาทิตย์ สุวรรณสุข ครู ผู้ช่วย


Click to View FlipBook Version