The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

วัฒนธรรมนครศรีธรรมราช

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ศวีระ วิเศษโชค, 2019-12-04 05:20:49

วัฒนธรรมนครศรีธรรมราช

วัฒนธรรมนครศรีธรรมราช

วฒั นธรรม

วถิ ชี วี ติ และภมู ปิ ญั ญา



วฒั นธรรม

วถิ ชี วี ติ และภมู ปิ ญั ญา



“...ชาตไิ ทยเรานัน้ ไดม้ ีเอกราช มภี าษา
ศิลปะ และขนบธรรมเนียมประเพณี
เปน็ ของตนเองมาชา้ นานหลายศตวรรษแลว้
ท้งั นี้ เพราะบรรพบรุ ุษของเราไดเ้ สียสละอุทิศชีวิต
กำ�ลงั กายและใจ สะสมสงิ่ เหลา่ นี้ไวใ้ ห้
พวกเรา จงึ จำ�เปน็ อยา่ งย่งิ ทเี่ ราจะตอ้ งรักษา
ส่ิงเหล่านไ้ี ว้ใหค้ งทนถาวรเปน็ มรดกของอนชุ น

รนุ่ หลงั ต่อไป...”

พระราชดำ�รัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ วั
ในพิธีเปดิ พพิ ิธภณั ฑสถานแห่งชาติ รามคำ�แหง จงั หวดั สโุ ขทัย วันท่ี ๒๕ มกราคม พทุ ธศกั ราช ๒๕๐๗



ค�ำปรารภ

พลเอก ประยทุ ธ์ จนั ทรโ์ อชา นายกรัฐมนตรี
เน่อื งในโอกาสจัดพิมพห์ นังสอื วฒั นธรรม วถิ ชี วี ติ และภูมปิ ญั ญา
พุทธศักราช ๒๕๕๘

ประเทศไทยเป็นประเทศเอกราชที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาอย่างยาวนาน เรามีศิลปวัฒนธรรมและ
ประเพณีที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์ไว้อย่างมีแบบแผนและงดงาม โดยศิลปวัฒนธรรมของไทยนี้
มคี วามหลากหลายและแตกตา่ งกนั ในแตล่ ะทอ้ งถนิ่ ทง้ั ขนบธรรมเนยี มประเพณี ภาษาพดู ภาษาเขยี น การแตง่ กาย
อาหาร วถิ ชี วี ติ และความเชอ่ื ซงึ่ มเี อกลกั ษณเ์ ฉพาะทบ่ี ง่ บอกถงึ คา่ นยิ ม ความเชอื่ ศาสนา วถิ ชี วี ติ ความเปน็ อยู่
ตลอดจนสภาพแวดล้อมของผู้คนในแต่ละท้องถิ่น และมีการถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น แสดงให้
เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองไพบูลย์ทางวัฒนธรรมที่แฝงไปด้วยภูมิปัญญา และความเป็นชาติท่ีมีอารยธรรม
เก่าแก่มาช้านาน จนกลายเป็นรากฐานขององค์ความรู้ทางศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาในด้านต่างๆ
ทีม่ ีคุณค่ายิ่งของชนชาติไทยและเป็นเอกลักษณท์ างวัฒนธรรมอนั งดงามของชาติ
รัฐบาลมีนโยบายในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรมของไทย เพื่อให้คนไทย
ทกุ คนไดเ้ รยี นรแู้ ละเขา้ ใจในประวตั ศิ าสตรช์ าติ โดยมงุ่ เนน้ การปลกู ฝงั คา่ นยิ มความเปน็ ไทยแกอ่ นชุ นรนุ่ หลงั
เพ่ือสร้างสรรค์ให้สังคมไทยมีความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมให้ประเทศไทยมีชื่อเสียงโดดเด่น เป็นที่รู้จัก
ไปท่ัวโลก ผมหวังว่าคนไทยทุกคนจะได้ตระหนักถึงคุณค่าความส�ำคัญขององค์ความรู้ของภูมิปัญญาไทย
และมีหน้าท่ีในการท�ำนุบ�ำรุงอนุรักษ์และหวงแหนในมรดกวัฒนธรรมทางภูมิปัญญาอันล�้ำค่านี้ ให้ด�ำรงอยู่
คชู่ าตไิ ทยสบื ไป เพอื่ สบื ทอดเปน็ มรดกสลู่ กู หลานไทยตอ่ ไปในวนั หนา้ ตลอดจนการพฒั นาตอ่ ยอดเพอื่ สรา้ ง
มลู คา่ เพ่ิมตอ่ การทอ่ งเที่ยวของไทยให้ขยายตัวเจริญรุ่งเรืองตลอดไป
หนงั สอื “วฒั นธรรม วถิ ชี วี ติ และภมู ปิ ญั ญา” เลม่ น้ี เปน็ การบนั ทกึ องคค์ วามรขู้ องวฒั นธรรม วถิ ชี วี ติ
และภมู ิปัญญาทมี่ ีความหลากหลายของไทยไวเ้ พื่อเป็นหลกั ฐานมรดกวฒั นธรรมทางภูมิปญั ญา อนั เป็นการ
สืบสานและถ่ายทอดไปยงั อนุชนรุน่ หลัง เพือ่ สรา้ งความภูมใิ จในความเป็นชนชาตไิ ทยตลอดไป

พลเอก
(ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
นายกรฐั มนตรี

สารรฐั มนตรีวา่ การกระทรวงวัฒนธรรม

วัฒนธรรม เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นไทย เป็นรากฐานของการสร้างความสามัคคีและ
ความมั่นคงของชาติ แสดงถึงศักดิ์ศรี เกียรติภูมิ รวมท้ังเปน็ หลักให้คนไทยได้ยดึ ถือประพฤตปิ ฏบิ ตั ิในทาง
ทีด่ งี าม เพือ่ พฒั นาตนเอง สงั คม และประเทศชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จงึ มงุ่ มัน่ ส่งเสริมและสนับสนนุ งาน
ด้านวัฒนธรรม ทุกมิตติ ามนโยบายของรฐั บาล
สาระทีป่ รากฏในหนงั สือวัฒนธรรมวิถีชวี ิตและภูมิปัญญา เป็นเพียงส่วนหนึ่งของมรดกภมู ปิ ญั ญา
ทางวฒั นธรรมทกี่ ระทรวงวฒั นธรรม โดยกรมสง่ เสรมิ วฒั นธรรม ไดร้ วบรวมองคค์ วามรไู้ วเ้ ปน็ หลกั ฐานสำ� คญั
และได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ โดยเฉพาะเม่ือพระราชบัญญัติ
สง่ เสรมิ และรกั ษามรดกภมู ปิ ญั ญาทางวฒั นธรรม พ.ศ. ๒๕๕๙ ทร่ี ฐั บาลผลกั ดนั ใหด้ ำ� เนนิ การไดม้ ผี ลบงั คบั ใชแ้ ลว้
ก็จะเป็นเครื่องมือส�ำคัญในการปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาเหล่านี้ นอกเหนือจากการสร้างความ
ภาคภมู ใิ จใหแ้ กค่ นในชาตแิ ลว้ ยงั สามารถนำ� ไปตอ่ ยอดใหเ้ กดิ มลู คา่ เพมิ่ ทง้ั ดา้ นการทอ่ งเทย่ี วทางวฒั นธรรม
สินค้าและบริการไดอ้ ีกดว้ ย
กระทรวงวัฒนธรรม หวังเป็นอย่างย่ิงว่า หนังสือวัฒนธรรม วิถีชีวิตและภูมิปัญญาเล่มน้ี
จะเกดิ ประโยชนใ์ นการเสรมิ สรา้ งความรู้ ความเขา้ ใจ และสรา้ งความตระหนกั ในความสำ� คญั ของวฒั นธรรม
ทั้งต่อชาวไทยและชาวตา่ งประเทศ อนั จะส่งผลตอ่ การพฒั นาท่ยี ่ังยืนต่อไป

(นายวรี ะ โรจนพ์ จนรตั น์)
รฐั มนตรวี า่ การกระทรวงวัฒนธรรม

ค�ำนำ� อธบิ ดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม

กรมสง่ เสรมิ วฒั นธรรม ไดร้ บั นโยบายจากรฐั มนตรวี า่ การกระทรวงวฒั นธรรม ใหจ้ ดั ทำ� หนงั สอื เผยแพร่
องคค์ วามรเู้ กยี่ วกบั วฒั นธรรมวถิ ชี วี ติ และภมู ปิ ญั ญา เพอ่ื ใหป้ ระชาชนทวั่ ไปไดร้ บั รแู้ ละตระหนกั ในความสำ� คญั
ของวฒั นธรรม
ดงั เปน็ ทท่ี ราบกนั โดยทว่ั ไปวา่ ไทยเปน็ ประเทศทมี่ คี วามแตกตา่ งหลากหลายทางวฒั นธรรมประเทศหนง่ึ
ผู้คนที่อาศัยอยู่ในแต่ละภูมิภาคจึงมีวิถีชีวิตท่ีแตกต่างกันออกไป เป็นความเฉลียวฉลาดของบรรพบุรุษ
ท่ีได้ใช้ภมู ิปัญญาในการด�ำเนินชวี ิตอย่างสอดคลอ้ งกับธรรมชาติ
หนังสือวฒั นธรรม วิถีชีวิตและภมู ปิ ญั ญา แบง่ เนอ้ื หาออกเปน็ ๖ ตอน คือ ปฐมบท ล้�ำคา่ ประเพณี
วถิ ชี น ศลิ ปะการแสดงสอื่ แหง่ จติ วญิ ญาณ ศาสตรแ์ ละศลิ ปง์ านชา่ งไทย อาหารวถิ ถี นิ่ กนิ อยา่ งไทย และกฬี า
ภูมิปัญญาไทย โดยในแตล่ ะตอนได้หยิบยกเรอ่ื งราวท่ีโดดเดน่ และกระจายไปทกุ ภมู ิภาค เพือ่ ให้ผู้ท่สี นใจได้
เห็นถงึ ความสำ� คญั และความแตกต่างหลากหลายดังกล่าว
กรมสง่ เสรมิ วฒั นธรรม หวงั เปน็ อยา่ งยง่ิ วา่ หนงั สอื เลม่ น้ี จะเปน็ ประโยชนใ์ นการสง่ เสรมิ ความรกั ถนิ่
รักชาติ และสรา้ งความภาคภูมิใจให้กับคนไทยทุกคน

(นางพิมพ์รวี วฒั นวรางกรู )
อธบิ ดีกรมส่งเสรมิ วฒั นธรรม

สารบญั 11
12
ปฐมบท 14
21
ปฐมบท
ความหมายแห่งวฒั นธรรม วิถีชีวิตและภมู ปิ ัญญา 27
มรดกภมู ิปญั ญาทางวฒั นธรรม 33
ภาพรวมวิถชี ีวติ ของคนไทย 4 ภาค 39
45
ลำ�้ คา่ ประเพณี วิถีชน 51
57
สงกรานต์ ดถิ ีปใี หม่ไทย
ลอยกระทง สายน้ำ� แหง่ ชวี ิต 64
พธิ ีไหวค้ รู วถิ ขี องชนทม่ี คี วามกตญั ญ ู 71
ประเพณที �ำขวัญข้าว ศรัทธาแห่งทงุ่ สที อง ๗7
ประเพณสี ารทเดอื นสิบ ส่งบุญแกบ่ รรพบุรษุ ๘2
ประเพณบี ุญบัง้ ไฟ ส่งไฟขอฝน ๘9
๙5
ศิลปะการแสดง สือ่ แห่งจิตวิญญาณ

พณิ เปย๊ี ะ เครอื่ งดีดแห่งล้านนา
โนรา วิจติ รแหง่ การแสดง
หมอลำ� ลำ� น�ำแห่งวถิ ีชน
ละครชาตรี มรดกแหง่ การร้องร�ำ
ลเิ ก นาฏกรรมพน้ื ถิ่นไทย
หุน่ ไทย ศาสตรแ์ ละศลิ ปแ์ ห่งการแสดง

ศาสตร์และศลิ ป์งานช่างไทย ๑๐3
๑๐9
เรือนไทย วถิ ีแห่งถ่ินอาศยั ๑๑๓
ผา้ ทอมอื วิจิตรหตั ถศิลปไ์ ทย ๑16
เครอ่ื งจกั สานไมไ้ ผ่ พนื้ ถนิ่ หตั ถศลิ ปไ์ ทย ๑๒1
งานดอกไมส้ ด วิจิตรศลิ ปแ์ หง่ ดอกไม้ 127
โคมลา้ นนา วจิ ติ รศิลปแ์ หง่ เคร่อื งบูชา
งานชา่ งแทงหยวก หตั ถศิลป์บนหยวกกล้วย ๑๓4
๑๔1
อาหาร วิถีถนิ่ กนิ อย่างไทย ๑46
๑๕3
ส�ำรบั อาหารไทย วัฒนธรรมการกินอยู่แบบไทย ๑58
นำ้� พริก เคร่ืองจ้มิ วิถไี ทย ๑๖5
ตม้ ยำ� สีสันแห่งรสแกง
สม้ ตำ� วิถแี หง่ รสยำ� ๑๗1
ข้าวย�ำ สีสันยำ� ปักษ์ใต้ ๑74
กระยาสารท ขนมในประเพณีท�ำบุญแด่บรรพบรุ ษุ ๑๘1
๑86
กฬี าภูมปิ ญั ญาไทย 193
199
ตะกร้อลอดหว่ ง กีฬาลกู หวายไทย
กระบ่กี ระบอง กฬี าเชิงสัประยทุ ธ์
มวยไทย ศาสตร์และศลิ ป์แห่งหมดั มวย
ซีละ ยทุ ธศลิ ป์ของภาคใต้
ว่าวไทย กฬี าแหง่ สายลม
การเลน่ พืน้ บ้านไทย การเล่นแห่งความสนกุ



วิถชี วี วติ ัฒแลนะธภรมูรมปิ ญั ญา

ปฐมบท

วฒั นธรรม วถิ ชี ีวิตและภูมิปัญญาของไทยเป็นมรดกตกทอดอันทรงคณุ ค่าทีบ่ รรพบรุ ุษไดส้ ัง่ สม
ความรแู้ ละถ่ายทอดสบื ตอ่ กนั มาจากรุ่นสรู่ ุ่น นับเป็นสงิ่ ทมี่ คี ณุ ค่า คงไว้ซงึ่ ความภาคภูมใิ จและอนรุ กั ษ์
ไวใ้ ห้ยัง่ ยืน

หนังสอื  วฒั นธรรม วิถชี ีวิตและภูมิปัญญา เปน็ ความต้ังใจของกรมสง่ เสรมิ วัฒนธรรม กระทรวง
วฒั นธรรม ทต่ี อ้ งการเผยแพรเ่ รอื่ งราวอนั ทรงคณุ คา่ และเปย่ี มเสนห่ ข์ องมรดกวฒั นธรรม เอกลกั ษณข์ อง
วถิ ชี วี ติ และภมู ปิ ญั ญา ผา่ นแงม่ มุ การดำ� เนนิ ชวี ติ ของคนไทยทอ่ี าศยั อยใู่ นภมู ภิ าคตา่ งๆ ทว่ั ประเทศไทย
โดยเฉพาะในดา้ นประเพณไี ทย ศลิ ปะการแสดง งานชา่ งฝมี อื อาหารและกฬี า สผู่ อู้ า่ นในระดบั สากล

กระบวนการทางความรู้ดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตอันผูกพันกับธรรมชาติ ความกตัญญ ู
ตอ่ บรรพบรุ ษุ และผมู้ พี ระคณุ ความสามคั คใี นชมุ ชน ความเชอ่ื และศรทั ธาในศาสนาอนั เปน็ เครอื่ งยดึ เหนยี่ ว
จิตใจ ความคิดสร้างสรรค์ในเชิงศิลปะ ตลอดจนทักษะความรู้ต่างๆ ท่ีได้คิดค้นเพ่ือพัฒนาชีวิตความ
เปน็ อยู่ใหน้ า่ รื่นรมย์และสอดรับกบั วถิ ีธรรมชาติ ซึ่งถือเปน็ แกนหลกั ในการดำ� เนนิ ชีวิต

ทั้งน้ีนอกจากการเผยแพร่ความรู้และความเข้าใจในวัฒนธรรมท่ีทรงคุณค่าของไทยแล้ว ยังมี
วตั ถปุ ระสงคเ์ พ่อื ส่งเสริมคณุ ธรรม จริยธรรมและค่านยิ มที่ถกู ต้องดีงาม ใหป้ ระชาชนทัว่ ไปได้รับรูแ้ ละ
ตระหนักถงึ ความสำ� คญั ของวฒั นธรรมไทยด้วย

ปฐมบท  |  11

ความหมายแหง่ วัฒนธรรม • ศาสนาคือหนง่ึ ในปัจจัยทีม่ ีบทบาทตอ่ วถิ ชี วี ิตและวัฒนธรรมความเป็นอยู่
วิถีชีวติ และภมู ปิ ัญญา วฒั นธรรมไทยซ่ึงมีรากฐานมาจากพทุ ธศาสนาไดร้ ับการถา่ ยทอด
สืบต่อกันมาในรูปแบบของความเชอื่ พธิ กี รรม ศลี ธรรม กฎหมาย
วฒั นธรรมเปน็ คำ� ทไี่ ดม้ าจากการรวมคำ� ๒ คำ� เขา้ ดว้ ยกนั คอื คำ� วา่ “วฒั นะ” วรรณกรรม ภาษา ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณี
หมายถงึ ความเจริญงอกงาม รุ่งเรือง และค�ำวา่ “ธรรม” หมายถงึ การกระท�ำ
หรือข้อปฏิบัติ วัฒนธรรมตามความหมายของค�ำในภาษาไทยจึงหมายถึง “วฒั นธรรมถือเป็นเคร่ืองหล่อหลอม
ขอ้ ปฏิบัตเิ พ่อื ใหเ้ กดิ ความเจริญงอกงาม สมาชิกของสงั คมให้เกิดความผูกพัน
สามัคคี และอบรมขดั เกลาใหม้ ที ศั นคติ
พระราชบญั ญัตวิ ฒั นธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้ใหค้ วามหมายของ ความเชื่อ และคา่ นิยมที่สอดคลอ้ งกัน
“วฒั นธรรม” วา่ วถิ กี ารดำ� เนนิ ชวี ติ ความคดิ ความเชอ่ื คา่ นยิ ม จารตี ประเพณี นอกจากนี้วฒั นธรรมยังเปน็ ส่งิ ท่ีมไิ ด้หยดุ
พธิ ีกรรม และภูมปิ ัญญา ซ่ึงกล่มุ ชนและสังคมไดร้ ่วมสรา้ งสรรค์ ส่ังสม ปลกู ฝัง ”นงิ่ อยู่กบั ท่ี หากแต่เปล่ียนแปลงอยตู่ ลอด
สืบทอด เรียนรู้ ปรับปรุง และเปลี่ยนแปลง เพ่ือให้เกิดความเจริญงอกงาม เวลาไปตามยคุ สมัย
ท้งั ดา้ นจิตใจและวตั ถุอย่างสันตสิ ขุ และยั่งยืน

วัฒนธรรม จึงหมายถึงทุกส่ิงที่มนุษย์สร้างข้ึนท้ังที่เป็นรูปธรรมและ
นามธรรม และยงั หมายรวมถงึ แบบแผนพฤตกิ รรมท้งั หมดของสังคมที่สบื ทอด
มานับต้ังแตอ่ ดตี ผา่ นการเรยี นรู้ คดิ ค้น ดดั แปลง เพ่อื สนองความต้องการและ
พัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ โดยมีวิวัฒนาการสืบทอดต่อกันมาอย่างมีแบบแผน
เพ่ือใหเ้ กดิ ความเจริญรุ่งเรอื งและมนั่ คงในสังคม

วถิ ชี วี ติ  หมายถงึ แนวทางการดำ� เนนิ ชวี ติ ของคนไทยตงั้ แตเ่ กดิ จนกระทง่ั
ตาย รวมถงึ ปจั จยั สที่ จ่ี ำ� เปน็ ในการดำ� เนนิ ชวี ติ อนั ไดแ้ ก่ ทอ่ี ยอู่ าศยั อาหารการกนิ
เครอ่ื งนงุ่ หม่ และยารกั ษาโรค นอกจากนวี้ ถิ ชี วี ติ ยงั หมายรวมถงึ ความรเู้ รอ่ื งสงั คม
วฒั นธรรม ภมู ปิ ญั ญา การประพฤติ ปฏบิ ตั ิ การศกึ ษาตงั้ แตอ่ ดตี จนถงึ ปจั จบุ นั

ภูมิปัญญา หมายถึง องค์ความรู้ความสามารถและทักษะซ่ึงเกิดจาก
การสงั่ สมประสบการณท์ ผ่ี า่ นกระบวนการเรยี นรู้ เลอื กสรร ปรงุ แตง่ พฒั นา ถา่ ยทอด
สืบต่อกันมาเพ่ือใช้แก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตให้สมดุลกับสภาพแวดล้อม
และเหมาะสมกับยุคสมัย ภูมิปัญญาของไทยมีความเด่นชัดในหลายด้าน
ทัง้ ด้านเกษตรกรรม ศลิ ปกรรม วรรณกรรมและภาษา

กล่าวได้ว่า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และภูมิปัญญา เป็นส่ิงสะท้อนถึง
ความสามารถของผคู้ นในทอ้ งถน่ิ อนั เกดิ จากการสงั่ สมสตปิ ญั ญาความรทู้ ห่ี ลากหลาย
และการปรบั ตวั ผสมผสานใหเ้ กดิ ความกลมกลนื กบั ธรรมชาติ กระบวนการเหลา่ นี้
ได้ผ่านมาหลายชั่วอายุคนจนสืบทอดเป็นวิถีในการด�ำเนินชีวิตท่ีเหมาะสมกับ
สงั คมไทย

12  |  วัฒนธรรม วิถีชีวิตและภูมปิ ัญญา



มรดกภูมิปัญญา
ทางวฒั นธรรม

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม หมายถึง การปฏิบัติ การเป็น
ตวั แทนการแสดงออก ความรู้ ทกั ษะ ตลอดจนเครือ่ งมือ วัตถุสิ่งประดิษฐ์
และพ้นื ทีท่ างวัฒนธรรมท่เี กี่ยวเนอ่ื งกับสิง่ เหล่านัน้ ซ่งึ ชุมชน กลมุ่ ชน และ
ในบางกรณีปัจเจกบุคคลยอมรับว่าเป็นส่วนหน่ึงของมรดกทางวัฒนธรรม
ของตน มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมซ่ึงถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคน
อกี รนุ่ หนง่ึ นเ้ี ปน็ สงิ่ ทชี่ มุ ชนและกลมุ่ ชนสรา้ งขนึ้ มาอยา่ งสมำ่� เสมอ เพอ่ื ตอบสนอง
ต่อสภาพแวดล้อมของตน เป็นปฏิสัมพันธ์ของพวกเขาที่มีต่อธรรมชาติและ
ประวัติศาสตร์ของตน และท�ำให้คนเหล่าน้ันเกิดความรู้สึกมีอัตลักษณ์และ
ความต่อเน่ือง ดังน้ันจึงก่อให้เกิดความเคารพต่อความหลากหลายทาง
วัฒนธรรม และการคิดสร้างสรรคข์ องมนุษย์

ลักษณะของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม จ�ำแนกออกเป็น
๖ สาขา ดังน้ี
๏ วรรณกรรมพืน้ บ้านและภาษา

วรรณกรรมพ้ืนบ้าน หมายถึง วรรณคดีหรือศิลปะอันเป็นผลงานท่ี
เกิดจากการคดิ และจินตนาการ แล้วน�ำมาเรยี บเรยี ง บอกเลา่ บันทึก ขับร้อง
หรือส่อื ออกมาด้วยกลวิธตี า่ งๆ โดยทวั่ ไปแลว้ วรรณกรรมมี ๒ ประเภท คอื
วรรณกรรมลายลกั ษณ์ เปน็ วรรณกรรมทบ่ี นั ทกึ ดว้ ยตวั หนงั สอื และวรรณกรรม
มขุ ปาฐะ เปน็ วรรณกรรมทเี่ ลา่ ดว้ ยปาก ไมไ่ ดม้ กี ารจดบนั ทกึ ฉะนนั้ วรรณกรรม
จงึ มคี วามหมายครอบคลมุ ถงึ นทิ าน ตำ� นาน เรอ่ื งเลา่ เรอื่ งสน้ั นวนยิ าย ประวตั ิ
บทเพลง คำ� คม เปน็ ตน้ สำ� หรบั วรรณกรรมของไทยนนั้ มที ง้ั ประเภทรอ้ ยแกว้
และรอ้ ยกรอง ซงึ่ เปน็ ทร่ี จู้ กั กนั อยา่ งแพรห่ ลาย มที ง้ั วรรณกรรมในราชสำ� นกั
และวรรณกรรมพื้นบ้าน อาทิ ศิลาจารึกไทยหลักที่ ๑ อิเหนา รามเกียรติ์
พระปฐมสมโพธกิ ถา สุภาษิตพระร่วง พระอภยั มณี ลิลติ ยวนพ่าย ต�ำนาน
พระพุทธสิหิงค์ ต�ำนานดาวลูกไก่ นิทานก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ ฯลฯ ล้วนแต่
เป็นวรรณกรรมไทยท่ีทรงคณุ คา่ ทัง้ ส้ิน

14  |  วฒั นธรรม วถิ ีชวี ติ และภูมปิ ญั ญา

“ภูมิปัญญาของแตล่ ะทอ้ งถิ่นคอื ภาษา หมายถึงเคร่ืองมือที่มนุษย์ใช้สื่อสารในการด�ำรงชีวิต ปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มชนต่างๆ
มรดกทีบ่ รรพบรุ ษุ ได้สรา้ งสรรค์ ซ่งึ สะท้อนโลกทศั น์ ภมู ปิ ญั ญา และวัฒนธรรมของแต่ละกลมุ่ ชน ทง้ั วจั นภาษา (ภาษาทใี่ ช้ถอ้ ยคำ� ) และ
สง่ั สม และสืบทอดกนั มาอย่าง อวจั นภาษา (ภาษาท่ไี มใ่ ชถ้ ้อยคำ� ) ส�ำหรับประเทศไทยมภี าษาไทยเป็นภาษาประจำ� ชาติ สามารถแบ่ง
ต่อเน่ือง เกิดเปน็ เร่อื งราว ประเภทได้ ดังน้ี
อันทรงคณุ คา่ ท่ีคนในทอ้ งถ่ิน
ตลอดจนคนในชาตคิ วรเลง็ เหน็ “ภาษาไทย” หมายถงึ ภาษาราชการที่ใชใ้ นประเทศไทย
คุณค่า มีความภาคภมู ิใจ “ภาษาไทยถิ่น” หมายถึง ภาษาที่ใช้ติดต่อส่ือสารตามท้องถ่ินต่างๆ สามารถสื่อความหมาย
”ทจ่ี ะสบื สานให้ยั่งยืนตอ่ ไปใน และสรา้ งความเขา้ ใจกนั ในทอ้ งถน่ิ นน้ั ๆ โดยแตล่ ะทอ้ งถน่ิ อาจพดู แตกตา่ งกนั ไปทง้ั ในดา้ นเสยี งและคำ�
อนาคต ได้แก่ ภาษาไทยภาคเหนือ ภาษาไทยภาคอสี าน ภาษาไทยภาคกลาง และภาษาไทยภาคใต้
“ภาษากลุ่มชาตพิ นั ธุ”์ หมายถึง ภาษาท่ีใช้ตดิ ตอ่ สือ่ สารภายในกล่มุ ชาตพิ นั ธ์ตุ า่ ง ๆ ทอี่ าศยั
อยใู่ นประเทศไทย ได้แก่ กลุ่มภาษาตระกลู ไท กลุ่มภาษาตระกูลจีน-ทเิ บต และกลมุ่ ภาษามง้ -เมีย่ น
นอกจากน้ี ในภาษาไทยยังมีระดับของค�ำหรือศักด์ิของค�ำท่ีใช้เฉพาะแก่บุคคล กาลเทศะ
อันเปน็ เอกลกั ษณท์ างภาษาไทย เช่น มกี ารใชค้ ำ� ราชาศัพท์ซงึ่ กำ� หนดขึ้นไว้ใช้สำ� หรับพระมหากษัตรยิ ์
หรอื ระดบั ของการเรยี กบคุ คลแบบเครอื ญาติ พน่ี อ้ ง ลงุ ปา้ นา้ อา ปู่ ยา่ ตา ยาย แมว้ า่ บคุ คลเหลา่ นน้ั
จะมิได้มีความสมั พันธ์ทางเครือญาตกิ นั เลย

ปฐมบท  |  15

• วัฒนธรรมและประเพณขี องทอ้ งถ่นิ ไทยแตล่ ะแห่งอาจมีรูปแบบแตกตา่ ง
กนั ไปตามสภาพทางภมู ิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสภาพแวดล้อม
แต่กย็ งั คงเอกลกั ษณ์ของตนเอง ไมว่ า่ จะเปน็ ภาษา ศิลปวตั ถุ ดนตรี
อาหาร และการแต่งกาย

๏ ศิลปะการแสดง

ศิลปะการแสดง หมายถึง การแสดงละคร เต้น ร�ำ และดนตรที ่แี สดง
เป็นเร่อื งราว ท้งั ทีเ่ ป็นการแสดงตามขนบแบบแผน และ/หรอื มีการประยกุ ต์
เปลย่ี นแปลง การแสดงทเี่ กดิ ขนึ้ นนั้ เปน็ การแสดงตอ่ หนา้ ผชู้ มและมจี ดุ มงุ่ หมาย
เพ่อื ความงาม ความบนั เทิง หรอื เปน็ การแสดงทกี่ ่อให้เกิดการคิด วพิ ากษ์
จนน�ำไปสู่การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงสังคม ซ่ึงเป็นได้ทั้งแบบดั้งเดิม
หรอื ประยกุ ต์ ไดแ้ ก่ การละคร การดนตรี และการแสดงพืน้ บา้ น

ศิลปะการแสดงแบ่งไดเ้ ปน็ ๒ ประเภท คือ

“ประเภทดนตรแี ละเพลงรอ้ ง” หมายถงึ เสยี งทเ่ี กดิ จากเครอื่ งดนตร ี
และการขับร้องท่ีประกอบกันเป็นท�ำนองเพลง ท�ำให้รู้สึกเพลิดเพลินหรือ
เกดิ อารมณต์ า่ งๆ โดยมบี ทบาทหนา้ ทเ่ี พอื่ บรรเลงขบั กลอ่ ม ใหค้ วามบนั เทงิ
ประกอบการแสดงและประกอบพิธีกรรม ส่วนดนตรีแบ่งออกเป็นดนตรี
ในการแสดงและดนตรใี นพธิ กี รรม เชน่ การดดี พณิ เปา่ แคน ตรี ะนาด เปา่ ขลยุ่
สีซอ และการรอ้ งเพลงกลอ่ มเด็ก
• ขนบธรรมเนียมประเพณี หมายถึง การประพฤติปฏิบัติและ
“ประเภทนาฏศลิ ปแ์ ละการละคร” หมายถงึ การแสดงออกทางรา่ งกาย การกระทำ� กจิ กรรมทสี่ บื ทอดตอ่ ๆ กนั มาในวถิ ชี วี ติ และสงั คมของชมุ ชนนนั้ ๆ
ทว่ งทา่ การเคลอ่ื นไหว ทา่ เตน้ ทา่ รำ� การเชดิ การพากย์ การใชเ้ สยี ง การขบั รอ้ ง ได้แก่ ประเพณเี ก่ียวกับศาสนา ประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล ประเพณีเก่ียวกับ
การใชบ้ ท การใชอ้ ปุ กรณ์ ฯลฯ ซง่ึ สอ่ื ถงึ เรอ่ื งราว อารมณค์ วามรสู้ กึ อาจแสดง วงจรชีวิต และประเพณีเกีย่ วกับการทำ� มาหากนิ
รว่ มกบั ดนตรแี ละการขบั รอ้ งหรอื ไมก่ ไ็ ด้ การแสดงแบง่ ออกเปน็ การแสดงใน
พิธกี รรม การแสดงทเี่ ป็นเร่อื งราวและไม่เปน็ เรื่องราว เชน่ ละครใน ลเิ ก โขน - ประเพณเี กย่ี วกบั ศาสนา เชน่ วนั พระ วนั เขา้ พรรษา วนั ออกพรรษา
ลำ� ตัด หมอล�ำ มโนราห์ รองเง็ง ฟอ้ นร�ำ เป็นต้น วันวิสาขบูชา วนั มาฆบูชา วันอาสาฬหบูชา

๏ แนวปฏบิ ตั ิทางสังคม พธิ ีกรรม ประเพณี และเทศกาล - ประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล เช่น ลอยกระทง สงกรานต์
แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล หมายถึง แหเ่ ทยี นพรรษา ผตี าโขน สารทเดอื นสบิ ชกั พระ บญุ พระเวส เทศนม์ หาชาติ
การประพฤติปฏิบัติในแนวทางเดียวกันของคนในชุมชนท่ีสืบทอดต่อกันมา - ประเพณเี กย่ี วกบั วงจรชวี ติ ตงั้ แตเ่ กดิ จนกระทงั่ ตาย เชน่ ตดั ผมไฟ
บนหนทางมงคลวถิ ี จนนำ� ไปสูส่ งั คมแหง่ สันตสิ ขุ แสดงให้เหน็ ถงึ อัตลกั ษณ์ โกนจกุ งานศพ งานแตง่ งาน ข้นึ บา้ นใหม่ สบื ชะตา การบวชนาค บงั สกุ ุล
ของชุมชนและชาติพนั ธน์ุ น้ั ๆ โดยแบ่งไดด้ ังนี้ บายศรสี ขู่ วญั ผกู เส่ยี ว

• มารยาท หมายถงึ การประพฤตปิ ฏบิ ตั ทิ ดี่ งี ามตอ่ ผอู้ นื่ เชน่ การพดู - ประเพณีเกีย่ วกบั การท�ำมาหากิน เช่น พิธไี หวค้ รู ท�ำขวญั ข้าว
การไหว้ การกราบ การเดนิ การนง่ั การหมอบ มารยาทบนโตะ๊ อาหาร เปน็ ตน้ แหน่ างแมวขอฝน บุญบ้ังไฟ พระราชพธิ จี รดพระนงั คัลแรกนาขวัญ

16  |  วฒั นธรรม วถิ ีชวี ติ และภมู ิปัญญา



“ลกั ษณะของสภาพภูมอิ ากาศ ๏ ความร้แู ละแนวปฏิบตั ิเกี่ยวกับธรรมชาตแิ ละจกั รวาล
และสภาพแวดล้อมทแี่ ตกตา่ งกัน ความรู้และแนวปฏิบัติเก่ียวกับธรรมชาติและจักรวาล หมายถึง องค์ความรู้
ในแตล่ ะภาคของไทย ก่อให้เกิด
”วัฒนธรรมความเป็นอยู่ วิธีการ ทักษะ ความเช่ือแนวปฏิบัติและการแสดงออกท่ีพัฒนาข้ึนจากการมีปฏิสัมพันธ์
ที่หลากหลาย ระหว่างคนกบั สภาพแวดลอ้ มตามธรรมชาติและเหนอื ธรรมชาติ สามารถแบง่ ได้ดังนี้

18  |  วฒั นธรรม วถิ ชี วี ิตและภูมิปญั ญา • อาหารและโภชนาการ หมายถึง สิง่ ทีม่ นุษย์บรโิ ภค รวมทง้ั วิธีการปรงุ อาหาร
วธิ ีการบรโิ ภค และคณุ คา่ ทางโภชนาการ เชน่ คนไทยในภาคอีสาน

• การแพทยแ์ ผนไทยและการแพทย์พนื้ บ้าน 
“การแพทย์แผนไทย” หมายถึง กระบวนการทางการแพทย์เก่ียวกับการตรวจ
วนิ จิ ฉยั บ�ำบดั รักษา หรือปอ้ งกันโรค การสง่ เสรมิ และฟน้ื ฟูสุขภาพของมนษุ ย์และ/หรือ
สตั ว์ ด้วยภมู ิปัญญาการแพทย์แผนไทย
“การแพทย์พื้นบ้าน” หมายถึง การดูแลสุขภาพตนเองในชุมชนแบบด้ังเดิม
โดยอาศยั ความเชอื่ พธิ กี รรม และทรพั ยากรทแี่ ตกตา่ งกนั ไปในแตล่ ะทอ้ งถนิ่ จนกลายเปน็
ส่วนหนง่ึ ของชีวิต
• โหราศาสตรแ์ ละดาราศาสตร ์
“โหราศาสตร”์ หมายถงึ ความรใู้ นการทำ� นายโชคชะตา ทำ� นายอนาคตของบคุ คล
และบ้านเมอื ง โดยอาศยั ต�ำแหน่งของดวงดาวในวนั เวลาท่ีเกดิ เหตกุ ารณ์ตา่ งๆ
“ดาราศาสตร์” หมายถึง ความรู้ที่เก่ียวกับการสังเกต การอธิบายธรรมชาต ิ
ของดวงดาวและท้องฟา้ เช่น การเกิดสรุ ิยุปราคา การพยากรณ์อากาศ
• การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง ความรู้การจัดการระบบนิเวศ
เพ่อื การอนรุ กั ษ์และการใชป้ ระโยชนท์ รัพยากรธรรมชาติอย่างยงั่ ยนื
• ชยั ภมู แิ ละการตง้ั ถนิ่ ฐาน หมายถงึ ความรแู้ ละความเชอื่ ในการเลอื กทอ่ี ยอู่ าศยั
ใหส้ อดคล้องกับสภาพแวดล้อมและวฒั นธรรมของชุมชน
๏ งานชา่ งฝีมือดั้งเดมิ
งานชา่ งฝมี อื ดง้ั เดมิ  หมายถงึ ภมู ปิ ญั ญา ทกั ษะฝมี อื ชา่ ง การเลอื กใชว้ สั ดุ และกลวธิ ี
การสรา้ งสรรคท์ แ่ี สดงถงึ อตั ลกั ษณท์ อ้ งถนิ่ สะทอ้ นพฒั นาการทางสงั คมและวฒั นธรรมของ
กลุ่มชน โดยใชว้ ัสดุท่ีหาได้ในทอ้ งถ่ินผสมผสานกับความรทู้ ีไ่ ดร้ บั การถ่ายทอดกันมาจาก
รุ่นสู่รุ่น แล้วพัฒนาเป็นความช�ำนาญเฉพาะบุคคล จนเกิดเป็นงานช่างฝีมือที่มีคุณภาพ
และมีเอกลักษณะเฉพาะในแต่ละท้องถ่ิน เช่น การทอผ้าไหมหรือผ้าฝ้าย การท�ำ
เครอื่ งจกั สานจากหวายหรอื กระจดู การทำ� เครอื่ งเงนิ และเครอ่ื งทองเหลอื ง เครอื่ งปน้ั ดนิ เผา
เคร่ืองหนงั งานแกะสลักไม้ เปน็ ตน้

๏ การเลน่ พน้ื บา้ น กฬี าพนื้ บา้ น และศลิ ปะการตอ่ สปู้ อ้ งกนั ตวั
การเลน่ พนื้ บา้ น กฬี าพนื้ บา้ น และศลิ ปะการตอ่ สปู้ อ้ งกนั ตวั

หมายถึง การเล่นเกมกีฬาและศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวที่มี
การปฏบิ ตั กิ นั อยใู่ นประเทศไทยและมเี อกลกั ษณส์ ะทอ้ นวถิ ไี ทย
แบง่ ออกเปน็ ๓ ประเภท ไดแ้ ก่

“การเล่นพ้ืนบ้าน” หมายถึง กิจกรรมการเคล่ือนไหว
ทางกายทที่ ำ� ดว้ ยความสมคั รใจ ตามลกั ษณะเฉพาะของทอ้ งถน่ิ
เพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน เกิดความรักและ
ความสามัคคีในหมู่คณะ โดยไม่มีกฎกติกาท่ีแน่นอน แต่เป็น
การตกลงในกล่มุ ผเู้ ล่นในบางครง้ั เชน่ หมากเกบ็ มอญซอ่ นผา้
มา้ กา้ นกลว้ ย แมง่ เู อย๋ โพงพาง รรี ขี า้ วสาร ซอ่ นหาหรอื โปง้ แปะ

“กฬี าพนื้ บา้ น” หมายถงึ การแขง่ ขนั ทกั ษะทางกายทต่ี อ้ ง
ใช้ความสามารถทางการเคล่ือนไหว มีลักษณะของการแข่งขัน
ทม่ี งุ่ หวงั ผลแพช้ นะโดยมกี ฎกตกิ าทเี่ ปน็ ลกั ษณะเฉพาะถนิ่ เชน่
วง่ิ ววั วง่ิ ควาย ตจ่ี บั ตะกรอ้ ลอดหว่ ง แยล้ งรู วา่ วไทย หมากรกุ

“ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว” หมายถึง วิธีการหรือ
รูปแบบการต่อสู้ท่ีใช้ร่างกายหรืออุปกรณ์ โดยได้รับการฝึกฝน
ตามวัฒนธรรมท่ีไดร้ ับการถา่ ยทอดกันมา เชน่ กระบี่กระบอง
มวยไทย

ปฐมบท  |  19

20  |  วฒั นธรรม วถิ ีชวี ติ และภูมปิ ญั ญา

ภาพรวมวิถีชวี ติ
ของคนไทย ๔ ภาค

การด�ำเนินชีวิตของคนไทยมีท้ังความเหมือนและแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค ทั้งน้ีขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ
ทัง้ สภาพแวดลอ้ ม ชาตพิ นั ธุ์ ความเชือ่ ศาสนา และประเพณี ที่หลอมรวมจนก่อใหเ้ กิดเป็นวิถีชีวติ และอตั ลักษณใ์ น
แต่ละภูมิภาคของประเทศไทย ซ่ึงจะเป็นตัวบ่งบอกถึงค่านิยมและรูปแบบการด�ำเนินชีวิตของผู้คนในท้องถิ่นนั้นๆ
ได้เป็นอย่างดี

ภาคเหนือ เดิมคืออาณาจักรล้านนาซึ่งมีวัฒนธรรมความเป็นอยู่ที่มีเอกลักษณ์ทั้งภาษาพูด ภาษาเขียน
วัฒนธรรม และประเพณี ด้วยสภาพภูมิอากาศท่ีหนาวเยน็ กวา่ ทกุ ภาค ท�ำให้การด�ำเนินชวี ติ ของผ้คู นในภาคเหนือ
เป็นไปอย่างเรียบรอ้ ยละมุนละไม ทั้งภาษาพดู แบบค�ำเมืองทไี่ พเราะออ่ นหวานประเพณแี ละการแสดงพน้ื เมอื งอนั
ออ่ นช้อยสวยงาม เชน่ ประเพณปี อยหลวง ยเี่ ปง็ ลอยโคม การแสดงฟอ้ นเลบ็ ฟอ้ นเง้ยี ว ตกี ลองสะบดั ชยั อกี ท้งั
ผคู้ นในภมู ภิ าคนยี้ งั มคี วามเลอ่ื มใสศรทั ธาในพทุ ธศาสนาเปน็ อยา่ งมากแตก่ ย็ งั คงนบั ถอื ผตี ามความเชอ่ื ทม่ี มี าแตเ่ ดมิ
เห็นไดจ้ ากการท�ำพิธสี ืบชะตาหรือการสง่ แถน

ปฐมบท  |  21

ในเรอื่ งวฒั นธรรมการกนิ มคี วามคลา้ ยคลงึ กบั ชาวอสี าน คอื นยิ มรบั ประทานขา้ วเหนยี วและปลารา้ อาหารที่
มชี ่อื ของชาวเหนอื ไดแ้ ก่ นำ้� พรกิ หนุ่ม ไส้อว่ั ขนมจนี น้�ำเงยี้ ว เปน็ ต้น เนอื่ งจากสภาพภูมปิ ระเทศท่ีเปน็ ภเู ขาสูงซงึ่
อดุ มไปดว้ ยปา่ ไมน้ านาพนั ธ์ุ ชาวเหนอื สว่ นใหญจ่ งึ นยิ มเลย้ี งสตั วแ์ ละทำ� เกษตรกรรมอยตู่ ามพน้ื ทรี่ าบระหวา่ งหบุ เขา
ด้วยวถิ ชี วี ิตทไ่ี ม่รีบเรง่ ท�ำให้ผู้คนในภาคเหนือมอี ธั ยาศยั ท่อี ่อนโยนโอบออ้ มอารี และยังคงยดึ มน่ั ในขนบธรรมเนียม
และจารตี ประเพณีท่ีสืบทอดกนั มาหลายชวั่ อายคุ น จนเกดิ เป็นวิถีแบบคนเมืองลา้ นนา

ภาคอสี านหรอื ภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนอื  เปน็ ภมู ภิ าคทม่ี คี วามหลากหลายทางศิลปวฒั นธรรมและประเพณที ี่
แตกตา่ งกนั ไปในแต่ละทอ้ งถิ่นอันเนือ่ งมาจากการปะทะสงั สรรค์ระหวา่ งประชากรหลากหลายเชือ้ ชาติ ผู้คนในภาค
อสี านมวี ถิ คี วามเปน็ อยทู่ เ่ี รยี บงา่ ย แมส้ ภาพแวดลอ้ มความเปน็ อยจู่ ะแรน้ แคน้ แตย่ งั คงมนี ำ้� ใจ ขยนั อดทน และยงั คง
สบื ทอดวฒั นธรรมประเพณเี กา่ แกต่ ามบรรพบรุ ษุ อยา่ งเครง่ ครดั ทงั้ ในเรอ่ื งของภาษาถนิ่ ทใี่ ชใ้ นการสอื่ สาร ความเชอ่ื
เรอ่ื งผบี รรพบรุ ษุ ผนี า ผไี ร่ โดยจะตอ้ งมพี ธิ เี ซน่ ไหวอ้ ยเู่ ปน็ ประจำ� เพราะเชอื่ วา่ ผมี อี ทิ ธฤิ ทธสิ์ ามารถใหค้ ณุ ใหโ้ ทษได้

ประเพณีและการละเล่นพื้นบ้านของภาคอีสานก็โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เช่น ประเพณีแห่ผีตาโขน
ประเพณีบญุ บ้ังไฟ ไหลเรือไฟ การแสดงหมอล�ำ ดดี พิณ เปา่ แคน ลว้ นแสดงออกถึงความสนกุ สนานและมชี วี ิตชีวา
เพ่ือทดแทนกับสภาพภูมิประเทศท่ีแห้งแล้ง อีกสิ่งหนึ่งที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมากของภาคอีสานก็คืออาหาร
โดยเฉพาะ “สม้ ตำ� ” ซงึ่ เปน็ ทน่ี ยิ มของผคู้ นทกุ ภาคในประเทศไทย โดยเครอ่ื งปรงุ หลกั ทข่ี าดไมไ่ ดส้ ำ� หรบั อาหารอสี าน
คอื “ปลารา้ ” หรือที่ชาวอสี านเรียกวา่ “ปลาแดก”

22  |  วัฒนธรรม วถิ ชี ีวติ และภูมปิ ัญญา

ภาคกลาง วถิ ชี วี ติ ของคนในภาคกลางจะมคี วามเกย่ี วพนั กบั นำ�้ บา้ นเรอื นสว่ นใหญ ่
จึงเป็นแบบยกพ้ืนใต้ถุนสูงเพ่ือป้องกันน�้ำท่วมในฤดูน�้ำหลากและนิยมใช้เรือเป็น
พาหนะเพ่ือความสะดวกในการคมนาคม ภูมิภาคนี้ถือเป็นแหล่งปลูกข้าวที่ส�ำคัญของ
ประเทศ ผู้คนในภาคกลางมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับสังคมเกษตรกรรมโดยเฉพาะการท�ำนา
ยังคงพบพิธีกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงความเช่ือในสังคมข้าว เช่น การบูชาแม่โพสพ
และการลงแขกท�ำนา คนในภาคกลางนิยมรับประทานข้าวเจ้าเป็นอาหารหลัก และ
ด้วยสภาพภูมิประเทศที่สมบูรณ์ท�ำให้อุดมไปด้วยปลาหลากชนิด ดังน้ัน อาหารส�ำคัญ
ที่มีอยู่ในแทบทุกมื้อของชาวภาคกลางคือ “น้�ำพริก” เช่น น�้ำพริกกะปิ น้�ำพริกลงเรือ
น้�ำพริกปลาย่าง อีกทั้งยังมีพืชผักนานาพันธุ์ จึงท�ำให้สามารถรังสรรค์อาหารท่ีมีความ
หลากหลายและละเมียดละไมท้งั อาหารคาวและอาหารหวาน

นอกจากจะเปน็ แหลง่ อาหารทสี่ ำ� คญั แลว้ ภาคกลางยงั เปน็ แหลง่ สงั่ สมศลิ ปวฒั นธรรม
ไทยทั้งของราชส�ำนักและของชาวบ้าน ดังจะเห็นได้จากการแสดงโขน ลิเก ล�ำตัด
เพลงเกย่ี วขา้ ว เพลงอแี ซว เพลงฉอ่ ย ตลอดจนงานชา่ งฝมี อื ตา่ งๆ ทถ่ี อื เปน็ ตน้ แบบงานศลิ ป ์
ของไทย อกี ทงั้ ผคู้ นในภมู ภิ าคนย้ี งั คงผกู พนั อยกู่ บั ศาสนา เหน็ ไดจ้ ากประเพณแี ละความเชอ่ื
เช่น ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ ตักบาตรดอกไม้ ประเพณีรับบัว แม้ปัจจุบัน
วิถีชีวิตของผู้คนในภาคกลางจะเปล่ียนแปลงไปเน่ืองจากความเจริญที่ถาโถมเข้ามา
แต่ในอกี หลายพื้นทขี่ องภาคกลางยังคงรกั ษาวิถชี ีวติ แบบเดมิ ไวไ้ ด้เป็นอย่างดี

ภาคใต้ วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของผู้คนในภูมิภาคน้ีมีความหลากหลายท้ังในด้าน
ความเชอื่ ทางศาสนา มีการนบั ถือศาสนาท้งั พุทธและอสิ ลาม ในสว่ นของชาติพันธมุ์ กี าร
อยูร่ ่วมกนั ท้งั ชาวไทยพุทธ ไทยมสุ ลมิ จนี จนี -มลายู(ยะหยา) และชาวเล การแตง่ กายก็
แตกตา่ งกนั ตามเอกลกั ษณท์ บ่ี ง่ บอกเฉพาะกลมุ่ มปี ระเพณี “สารทเดอื นสบิ ” ซงึ่ แสดงออก
ถงึ ความเคารพและกตญั ญตู อ่ บรรพบรุ ษุ ทงั้ ยงั มปี ระเพณแี ละเทศกาลสำ� คญั อยา่ งประเพณี
ชกั พระ การแห่ผา้ ขึน้ พระธาตุ การแขง่ เรอื เทศกาลกินเจ วนั ฮารรี ายอหรือวนั อีฎลิ ฟติ รี
นอกจากนี้ภาคใต้เป็นแหล่งรวมศิลปะการแสดงและการเล่นพ้ืนบ้านท่ีมีความสนุกสนาน
คึกคักเร้าใจ เช่น การแสดงหนังตะลุง มโนราห์ ลิเกฮูลู รองเง็ง การแข่งขันนกเขาชวา
เป็นต้น ส่วนอาหารการกินพื้นถิ่นภาคใต้น้ันจะมีเอกลักษณ์ในเรื่องของรสชาติที่จัดจ้าน
และเผด็ รอ้ น เช่น แกงเหลือง ข้าวย�ำ แกงไตปลา ผัดสะตอ การประกอบอาชพี นยิ มปลกู
ยางพารา ปลูกปาลม์ ทำ� ประมง ท�ำสวนผลไม้ เชน่ เงาะ ทุเรียน มังคดุ และลองกอง

ด้วยความแตกต่างทางชาติพันธุ์ ความเชือ่ ศาสนา และวัฒนธรรมในแตล่ ะพื้นที่
ของภาคใต้ เสมอื นเปน็ การสรา้ งมนตรเ์ สนห่ ใ์ นวถิ กี ารดำ� เนนิ ชวี ติ ทเ่ี ตม็ ไปดว้ ยความหลากหลาย
ทผ่ี นวกเขา้ กนั ไดอ้ ยา่ งแนบเนยี น รวมทง้ั ความเขม้ แขง็ ของวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ก่อให้เกิด
เปน็ อตั ลักษณข์ องผคู้ นในภมู ิภาคน้ี 

ปฐมบท  |  23



ลำ้� ค่าประเพณี วถิ ชี น

รูปแบบการด�ำเนินชีวิตของผู้คนในสังคมเป็นส่ิงท่ีมนุษย์สร้างขึ้นโดยอิงกับ
ธรรมชาติความเป็นอยู่ ก่อให้เกิดประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดต่อๆ กันมาของคน
ในชมุ ชน สะทอ้ นให้เห็นถงึ คติความเชอ่ื และส่งิ ทผ่ี คู้ นในชมุ ชนเดยี วกนั ยดึ เหนี่ยว
จิตใจ

ประเพณลี อยกระทง พธิ ที ำ� ขวญั ขา้ ว บญุ บง้ั ไฟของภาคอสี าน สอื่ ใหเ้ หน็ ความ
ออ่ นนอ้ มตอ่ ธรรมชาตทิ เ่ี กอื้ กลู กนั ในแงข่ องการเปน็ แหลง่ อาหารและการประกอบ
อาชีพ ประเพณีสงกรานต์นอกจากเป็นการข้ึนปีใหม่ไทยแล้ว ยังเป็นส่ิงที่แสดง
ใหเ้ ห็นถงึ ความรกั ความสามคั คีในสถาบนั ครอบครัว ประเพณสี ารทเดือนสิบของ
ภาคใตส้ ะทอ้ นใหเ้ หน็ ถงึ ความกตญั ญรู คู้ ณุ ตอ่ บพุ การี บรรพบรุ ษุ สว่ นการแสดงออก
ถึงการร�ำลึกในบุญคุณต่อผู้มีพระคุณและครูบาอาจารย์ เกิดเป็นพิธีไหว้ครูท่ีมีมา
แตโ่ บราณ

���������������� �� �  |  25



สงกรานต์

ดถิ ีปใี หม่ไทย

ช่วงเวลาแห่งการเปล่ียนศักราชใหม่ของชีวิตในแต่ละขวบปีถือเป็นส่ิงส�ำคัญ “สงกรานต ์ เป็นประเพณีของฤดูรอ้ น
ทพ่ี งึ ตระหนกั และระลกึ ถงึ ความเปน็ ไปทผ่ี า่ นมา ประเพณสี งกรานตซ์ ง่ึ เปรยี บไดก้ บั ประเพณี ดังน้ั น “น้� ำ” จึงถกู น�ำมาใชเ้ ปน็
การขน้ึ ปีใหม่ไทยน้นั สะทอ้ นให้เหน็ ถึงวัฒนธรรมการดำ� เนนิ ชวี ิตของคนในสงั คมทผ่ี ูกพนั สญั ลกั ษณบ์ รรเทาความอบอ้าว�
กบั พุทธศาสนา และการยึดมน่ั ในความกตัญญูต่อบุพการีและบรรพบรุ ษุ เขา้ ไวด้ ว้ ยกนั ของสภาพอากาศ โดยมีการใชน้ ้� ำรด
ใหแ้ ก่กันเพอ่ื ความชุ่มชนื่ และขอพร�
ประเพณีของการก้าวผ่านปีเก่าเพ่ือขึ้นปีใหม่ของไทยมีพ้ืนฐานความเช่ือเร่ือง ”จากญาติผู้ใหญ่เพอ่ื ความเปน็ �
การขจดั สงิ่ ไมด่ ใี หผ้ า่ นพน้ ไปจากชวี ติ และพรอ้ มเปดิ รบั สงิ่ ใหมอ่ นั เปน็ มงคลใหเ้ ขา้ มาแทนที่ สิริมงคลด้วย
ไมต่ า่ งจากความหมายของคำ� วา่ “สงกรานต”์ ในภาษาสนั สกฤต มหี มายความวา่ กา้ วขน้ึ
ย่างข้นึ หรือการเคล่ือนยา้ ย ซ่ึงในท่นี ีห้ มายถงึ เวลาทดี่ วงอาทิตยเ์ คล่อื นจากราศหี นงึ่ ไปสู่
อกี ราศหี นงึ่ ทกุ ๆ เดอื น จวบจนเมอื่ ยา้ ยจากราศมี นี สรู่ าศเี มษจงึ ครบรอบปี นบั เปน็ ประเพณี
การฉลองขึ้นปีใหม่ตามสุริยคติ โดยทั่วไปมกี ำ� หนด ๓ วัน คอื วนั ที่ ๑๓ เมษายน ถอื เปน็
วนั มหาสงกรานต์ หรอื วนั สนิ้ ปเี กา่ สว่ นวนั ที่ ๑๔ เมษายน เปน็ วนั เนา (เปน็ คำ� ภาษาลา้ นนา
หมายถึง วนั อยู)่ คือวันทเี่ ชอ่ื มตอ่ ระหว่างปเี กา่ กบั ปใี หม่ และวันที่ ๑๕ เมษายน นบั เปน็
วันเถลงิ ศก หรือวันขนึ้ ปใี หม่ สว่ นประเพณสี งกรานต์ตามแบบจนั ทรคติ ก�ำหนดวันตรษุ
หรอื วนั สน้ิ ปคี ือวนั แรม ๑๕ คำ�่ เดือน ๔

การเตรยี มรบั การขนึ้ ปใี หมเ่ รมิ่ ดว้ ยการทำ� ความสะอาดบา้ นเรอื นทอี่ ยอู่ าศยั ขา้ วของตา่ งๆ
รวมถึงวัดวาอารามอันเปรียบเป็นสถานท่ีส�ำหรับสาธารณชน ขึ้นวันใหม่ด้วยการ
ท�ำบุญตักบาตรในตอนเช้าหรือน�ำอาหารไปถวายพระสงฆ์ที่วัด การสรงน้�ำพระภิกษุ
การสรงน้�ำพระพุทธรูป เพ่ือสืบทอดและท�ำนุบ�ำรุงพระพุทธศาสนา ตลอดจน
การกลอ่ มเกลาจิตใจใหร้ ้จู กั การให้ การเสียสละ โดยไมม่ ุง่ หวังส่ิงใดตอบแทน และการก่อ
พระเจดีย์ทรายด้วยจุดประสงค์เพื่อให้วัดได้น�ำทรายไปใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างหรือ
ถมพื้น ถอื เป็นการทำ� บญุ อีกลักษณะหนงึ่ ทีไ่ ดท้ ้งั บญุ และความสามัคคี

����� ������������� �  |  27

การท�ำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษถือเป็นการแสดง • “สะบ้ามอญ” การเลน่ พื้นเมืองของชาวไทยรามัญในประเพณีสงกรานตพ์ ระประแดง
ความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณที่ล่วงลับไปแล้ว ส่วนการรดนำ�้ ผู้ใหญ่ จังหวัดสมทุ รปราการ
หรือการรดน�้ำขอพรถือเป็นการแสดงความเคารพต่อผู้ใหญ่
ของครอบครัว หรือผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือของชุมชนท่ียังมีชีวิตอยู่
นบั เปน็ การแสดงความกตญั ญกู ตเวทตี อ่ ผมู้ พี ระคณุ ทผ่ี มู้ อี าวโุ สนอ้ ย
พึงปฏิบัติต่อผู้มีอาวุโสมาก ตามวัฒนธรรมอันดีงามของไทย
ส่วนการเล่นสาดน�้ำหลังจากเสร็จพิธีการต่างๆ แล้ว นับเป็น
การเลน่ เพอื่ เชอื่ มความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งญาตมิ ติ รเพอื่ นฝงู โดยการ
ใชน้ ำ�้ สะอาดอาจผสมนำ�้ อบหรอื นำ้� หอมกไ็ ดร้ ดกนั ดว้ ยความสภุ าพ
จากนน้ั จงึ เปน็ การเลน่ รนื่ เรงิ ตา่ งๆ ทแี่ ตกตา่ งกนั ไปในแตล่ ะทอ้ งถนิ่
เช่น เข้าทรงแม่ศรี เข้าทรงผีต่างๆ เล่นสะบ้า เล่นลูกช่วง ฯลฯ
เพื่อความสนุกสนานและเพือ่ เช่อื มความสามัคคี

แมป้ จั จบุ นั วถิ ชี วี ติ ของคนไทยจะเปลยี่ นแปลงไป การเดนิ ทาง
ไปต่างถ่ินเพ่ือประกอบสัมมาชีพท�ำให้คนในครอบครัวอาจไม่ได้
อยู่พร้อมหน้าดังเช่นในอดีต แต่ประเพณีสงกรานต์ยังนับเป็น
จดุ เชอ่ื มโยงของการนำ� สายใยและวฒั นธรรมอนั ดงี ามใหก้ ลบั คนื สู่
ตัวตนและชมุ ชนอีกครงั้ อกี ทัง้ ยงั ถือเปน็ การอนุรกั ษ์ประเพณแี ละ
วัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไป ตรงตามแก่นความคิดท่ีให้ตระหนักรู้ถึง
ความเป็นไปในหนึ่งปีที่ผ่านมา และมีสติพร้อมจะก้าวต่อไปด้วย
การปฏิบตั อิ ันดงี าม

28  |  วัฒนธรรม วิถีชีวิตและภมู ิปญั ญา

สงกรานต์ ๔ ภาค
แมง้ านขน้ึ ปใี หมข่ องแตล่ ะภาคอาจแตกตา่ ง
ในดา้ นรายละเอยี ด แต่ทกุ ขน้ั ตอนยังคงไว้ซึ่งแกน่
ของวถิ ชี วี ติ ทด่ี ำ� เนนิ ไปโดยมหี ลกั ยดึ ของความเปน็
ครอบครัว ความกตัญญูรู้คุณ และหลักค�ำสอน
ในพระพุทธศาสนา

ภาคกลาง

ประเพณีสงกรานต์ของภาคกลางเร่ิมต้นท่ี
วนั มหาสงกรานต์ ๑๓ เมษายน จากนน้ั ในวนั ที่ ๑๔
เมษายน ถือเป็นวันกลาง หรือวันเนา และวันที่
๑๕ เมษายน เรยี กวา่ วนั เถลงิ ศก กจิ กรรมทงั้ ๓ วนั
แบง่ เปน็ การทำ� บญุ ตกั บาตร ปลอ่ ยนกปลอ่ ยปลา
การกรวดน้�ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ
การสรงน้�ำพระภิกษุและการสรงน�้ำพระพุทธรูป
การขนทรายเขา้ วดั การก่อพระเจดยี ท์ ราย

�� ����������� ������  |  29

• สายน�ำ้ เย็นฉำ่� ทีส่ าดใสก่ นั ด้วยวิถีแหง่ สภุ าพชน ชว่ ยดบั ความร้อนแหง่ ฤดูกาล เติมความร่ืนเริงใหพ้ ธิ สี งกรานตแ์ ละเสริมสรา้ ง
มิตรภาพใหค้ นในชุมชน

ภาคเหนือ ประเทศทม่ี ีประเพณีสงกรานต์
เช่นเดียวกบั ประเทศไทย ไดแ้ ก่
วนั ปใี หมข่ องภาคเหนอื เรียกอกี อยา่ งหนงึ่ ว่า ประเพณีปีใ๋ หม่เมอื ง ซงึ่ เร่มิ ตน้ ด้วย วนั สังขารลอ่ ง สาธารณรฐั ประชาธิปไตย
ประชาชนลาว ราชอาณาจกั ร
“หรอื วันมหาสงกรานต์ ๑๓ เมษายน เปน็ วนั ทคี่ นในครอบครัวจะรว่ มกันท�ำความสะอาดบ้านเพื่อความ กัมพูชา สาธารณรัฐ�
แห่งสหภาพเมยี นมา รวมท้งั
เป็นสิริมงคล วันเนา ๑๔ เมษายน ถือคติในการรักษาความเป็นมงคลไว้ด้วยการคิดดีท�ำดีตลอดวัน
ไมค่ ิดร้ายต่อผูอ้ น่ื วันพญาวนั หรือวันเถลิงศก ๑๕ เมษายน เริ่มตน้ วันดว้ ยการทำ� บุญตกั บาตร เข้าวัด ”กลมุ่ ชนที่พูดภาษาตระกลู ไท
ฟงั ธรรม และรดน�ำ้ ด�ำหัวญาตผิ ้ใู หญ่ในชว่ งบ่าย ต่อเนื่องไปจนถงึ วันปากปี ๑๖ เมษายน พากนั รดน้�ำ
เจ้าอาวาสตามวัดตา่ งๆ เพ่ือขอขมาคารวะ และสดุ ท้ายทว่ี นั ปากเดือน ๑๗ เมษายน ส่งเคราะหต์ า่ งๆ อกี ด้วย
ออกจากตวั

ภาคอสี าน

ชาวอีสานเรียกประเพณีสงกรานต์ว่า บุญเดือนห้า โดยมีกิจกรรมไม่ต่างไปจากภาคอื่นๆ
หากแต่กิจกรรมหลักคือ การสรงน้�ำพระพุทธรูป การรดน้�ำด�ำหัวญาติผู้ใหญ่ เพ่ือขอขมาลาโทษ
และการทำ� บญุ อฐั บิ รรพบรุ ุษ

ภาคใต้

ตามความเชอ่ื ของภาคใต้ สงกรานตถ์ อื เปน็ ชว่ งเวลาแหง่ การผลดั เปลย่ี นเทวดาผรู้ กั ษาดวงชะตา
บา้ นเมอื ง จงึ เรยี กวนั แรกของสงกรานตว์ า่ เปน็ วนั สง่ เจา้ เมอื งเกา่ ๑๓ เมษายน โดยจะทำ� พธิ สี ะเดาะเคราะห์
สิ่งไม่ดีออกไป ส่วนวันถัดมาถือเป็นวันว่าง ๑๔ เมษายน ปราศจากเทวดารักษาเมือง ชาวบ้าน
จึงไปท�ำบุญตักบาตรท่ีวัดและสรงน�้ำพระพุทธรูป จากน้ันในวันสุดท้ายที่เรียกว่า วันรับเจ้าเมืองใหม่
๑๕ เมษายน จะมกี ารต้อนรับเทวดาองค์ใหมด่ ้วยการแตง่ ตัวสวยงาม สง่ ทา้ ยประเพณสี งกรานต์

30  |  วัฒนธรรม วิถีชีวิตและภูมิปญั ญา





ลอยกระทง

สายน้ำ� แหง่ ชวี ิต

สายนำ�้ คอื เสน้ เลอื ดหลกั ในการดำ� เนนิ ชวี ติ ของคนไทยผเู้ ปน็ ชาวลมุ่ นำ�้ และประกอบ
อาชีพทางเกษตรกรรมเป็นหลัก ประเพณีลอยกระทงจึงเป็นการขอขมาและการระลึกถึง
พระคุณของแม่น�้ำล�ำคลองท่ีหล่อเล้ียงชีวิต สายน้�ำอันเต็มเปี่ยมของคืนเพ็ญเดือน ๑๒
เป็นช่วงท่ีน�้ำข้ึนสูงที่สุดในรอบปี จึงเป็นช่วงเวลาอันเหมาะสมที่จะแสดงความกตัญญู
และตระหนกั ร้ใู นบญุ คุณของธรรมชาติ

ประเพณีลอยกระทงเกิดข้ึนด้วยพื้นฐานความเช่ือในเร่ืองพิธีขอขมาต่อสายน้�ำท่ี
ได้ลว่ งลำ�้ ก้ำ� เกนิ โดยรเู้ ท่าไม่ถึงการณ์ เช่น เหยยี บยำ่� ขบั ถ่าย ท้ิงของเสยี สง่ิ ปฏิกูล และ
อาจทำ� สงิ่ อนื่ ทไ่ี มเ่ หมาะสม นอกเหนอื จากการแสดงความกตญั ญแู ละขอขมาตอ่ สายนำ�้ แลว้
การลอยกระทงยงั มวี ตั ถปุ ระสงคอ์ น่ื อกี หลากหลายซง่ึ ขนึ้ อยกู่ บั ความเชอื่ ของแตล่ ะทอ้ งถนิ่
อาทิ เพ่ือบูชาพระพุทธเจ้าในวันเสด็จกลับจากเทวโลกเมื่อคร้ังเสด็จไปจ�ำพรรษาอยู่
บนสวรรค์ช้ันดาวดึงส์เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพุทธมารดา หรือเป็นการสักการบูชา
รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า ท่ีประทับไว้บนหาดทรายท่ีริมฝั่งแม่น้�ำนัมมทา
ในประเทศอินเดีย เพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ซึ่งเป็นที่บรรจุ
พระเกศาของพระพุทธเจ้า ตลอดจนเพ่ือลอยเคราะห์หรือสะเดาะเคราะห์คล้ายกับพิธี
ลอยบาปของพราหมณ์

พิธีการขอขมาในประเพณีลอยกระทงจะใช้วัสดุจากธรรมชาติที่ลอยน�้ำได้ เช่น
ต้นกล้วย กระบอกไม้ไผ่ ฯลฯ มาท�ำเป็นกระทงใส่เครื่องเซ่นให้ลอยไปกับน�้ำ ภายใน
ตงั้ พมุ่ ทองนอ้ ยธูป ๑ ดอก และเทยี น ๑ เล่ม หากเปน็ กระทงแบบพราหมณ์จะมีวิธกี าร
ท�ำแบบเดียวกับกระทงแบบพุทธ แต่ต่างกันตรงที่ไม่มีเคร่ืองทองน้อย บางท้องถิ่นจะมี
การใส่หมากพลู เงินเหรียญ หรือตัดเส้นผม เล็บมือ เล็บเท้า ใส่ในกระทงด้วยเพ่ือเป็น
การสะเดาะเคราะห์

• “พระราชพธิ ีจองเปรียง ลอยพระประทปี ”
ภาพจากจิตรกรรมฝาผนงั ชุดพระราชพธิ สี บิ สองเดือน
วดั ราชประดิษฐสถติ มหาสีมารามราชวรวหิ าร

�������������������  |  33

ส่วนการประดิษฐ์กระทงให้วิจิตรงดงามดังเช่นที่เห็นได้
ทั่วไปในปจั จุบัน สบื ทอดมาจากการทำ� กระทงใบตองทปี่ รากฏ
หลักฐานครั้งแรกจากหนังสือพระราชพงศาวดาร รัชกาลท่ี 3
วา่ กรมหมนื่ อปั สรสดุ าเทพ พระราชธดิ าองคโ์ ปรดไดแ้ ตง่ กระทง
เล่นทุกปี เมื่อนานเข้าก็เร่ิมแพร่หลายสู่ราษฎรในกรุงเทพฯ
แลว้ ขยายไปยงั หวั เมอื งใกลเ้ คยี งในบรเิ วณทร่ี าบลมุ่ แมน่ ำ้� เจา้ พระยา
และเรมิ่ เปน็ ทนี่ ยิ มแพรห่ ลายทวั่ ประเทศประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๐

จากความผูกพันกับสายน�้ำและความตระหนักรู้ถึง
คุณประโยชน์ในการเก้ือกูลซ่ึงกันและกันในการด�ำเนินชีวิต
กอ่ ใหเ้ กดิ ประเพณอี นั ดงี ามดงั เชน่ ประเพณลี อยกระทงทสี่ ะทอ้ น
ใหเ้ หน็ วา่ คนไทยเรามวี ฒั นธรรมทผี่ กู พนั กบั สายนำ้� และประเพณี
แหง่ การขอขมาสายนำ�้ นน้ั ยงั มงุ่ หวงั ทจ่ี ะใหท้ กุ คนในชมุ ชนดแู ล
รกั ษาทรพั ยากรนำ�้ อนั สมบรู ณไ์ วใ้ หส้ บื ตอ่ ไปตราบนานเทา่ นาน

ลอยกระทง ๔ ภาค

ภาคเหนือ

การลอยกระทงของชาวเหนือนิยมท�ำกันในคืนวันเพ็ญ
ของเดือนย่ี (เดือนสองตามจันทรคติตรงกับเดือนธันวาคม
หรือมกราคม) แต่ในปัจจุบันได้มีการจัดงานในวันข้ึน ๑๕ ค่�ำ
เดือน ๑๒ โดยจัดเป็นประเพณีย่ิงใหญ่ในหลายจังหวัด เช่น
ประเพณีย่ีเป็งของจังหวัดเชียงใหม่ ประเพณีลอยกระทงสาย
จังหวัดตาก และประเพณีล่องสะเป่าของจังหวัดล�ำปาง
และงานลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟของจงั หวดั สโุ ขทยั

34  |  วฒั นธรรม วิถีชีวิตและภมู ิปญั ญา





• เมอ่ื ถงึ วนั ลอยกระทง จะมกี ารประดษิ ฐ์ “กระทง” จากวสั ดตุ า่ งๆ ตกแตง่ เปน็ ภาคอีสาน
รปู คลา้ ยดอกบวั บาน ปกั ธปู เทยี น ทงั้ ยงั นยิ มตดั เลบ็ เสน้ ผม หรอื ใสเ่ หรยี ญ
กษาปณล์ งไปในกระทงแลว้ นำ� ไปลอยนำ�้ เพอ่ื ขอขมาตอ่ พระแมค่ งคา

ภาคอีสานมีการเรียกประเพณีลอยกระทงว่า สิบสองเพ็ง หมายถึงวันเพ็ญเดือน
สบิ สอง ซึ่งจะมเี อกลกั ษณแ์ ตกต่างกนั ออกไปในแตล่ ะจังหวัด เช่น จงั หวัดร้อยเอ็ด มงี าน
ประเพณสี มมานำ�้ คนื เพง็ เสง็ ประทปี หมายถึงการขอขมาพระแมค่ งคา จงั หวัดสกลนคร
มกี ารลอยกระทงจากกาบกลว้ ย ลกั ษณะคลา้ ยกบั การทำ� ปราสาทผง้ึ โบราณ เรยี กงานนวี้ า่
เทศกาลลอยพระประทีปพระราชทาน สบิ สองเพง็ ไทสกล

ภาคใต้

ภาคใตม้ ปี ระเพณลี อยกระทงเชน่ เดียวกบั ภาคอน่ื พ้นื ที่ทีม่ กี ารจัดงานลอยกระทง
อย่างย่ิงใหญ่คืออ�ำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นอกเหนือจากการขอขมาพระแม่คงคา
แลว้ ชาวใตย้ ังมคี วามเชื่อเรอื่ งการลอยกระทงเพ่อื สะเดาะเคราะห์ โดยนำ� หยวกกลว้ ยมา
“ประเทศที่มีประเพณีลอยกระทง� แทงหยวกเป็นลวดลายสวยงาม ทำ� เป็นแพบรรจุเครอื่ งอาหาร ดอกไม้ ธปู เทียน และเงนิ
คล้ายกับประเทศไทย ได้แก่ � แล้วลอยไป

ภาคกลาง

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว � การลอยกระทงของภาคกลางซึ่งเป็นท่ีมาของการลอยกระทงท่ีนิยมปฏิบัติกันท้ัง
ประเทศนั้น มีหลักฐานว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยามีพระราชพิธี “จองเปรียง ลดชุดลอย
ราชอาณาจกั รกมั พชู า และ� โคม” ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระน่ังเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้มีพิธี “ลอยพระ
ประทปี กระทง” ขนึ้ และจดั เป็นหนงึ่ ในพระราชพิธสี บิ สองเดือน 
”สาธารณรฐั แห่งสหภาพเมียนมา
����� �������� ������  |  37



“การไหวค้ รขู องศิลปนิ ในพิธไี หวค้ ร�ู พิธไี หวค้ รู
ครอบโขนละคร การรบั ครอบ�
หมายความว่าผรู้ บั ครอบเปน็ ศิลปนิ � วิถีของชนทมี่ ีความกตญั ญู
โดยสมบรู ณ ์ พิธีครอบมี ๓ ระดบั คอื
รบั ครอบเขา้ เปน็ เครอื ศิลปนิ และเพอ่ื บิดามารดาคือครูคนแรกของบุตร ครูบาอาจารย์ผู้ประสิทธ์ิประสาทวิชาความรู้ให้ก็เปรียบดัง
เปน็ สิริมงคล รบั ครอบ เพอ่ื เปน็ ครู� บิดามารดาคนทสี่ องในชีวิต เป็นผใู้ หว้ ชิ าความรู้เพื่อนำ� ไปใชใ้ หเ้ กดิ ประโยชนต์ อ่ ไปในภายภาคหนา้
ผปู้ ระสทิ ธป์ิ ระสาทความรแู้ กศ่ ษิ ย์ และ
รบั ครอบให ้ เพอ่ื เปน็ ตวั แทนของครู การเคารพนอบนอ้ มและความกตญั ญตู อ่ ผมู้ พี ระคณุ ถอื เปน็ วฒั นธรรมอนั ดงี ามของไทยทสี่ บื ทอด
”หมายถงึ เปน็ ผทู้ ส่ี ามารถทำ� พิธไี หวค้ รู มาแตโ่ บราณ เชน่ เดยี วกบั วชิ าความรู้ เมอ่ื มกี ารถา่ ยทอดใหแ้ กก่ นั ผใู้ หค้ วามรจู้ งึ นบั เปน็ ครทู ง้ั สนิ้ กอ่ ให้
ครอบครู และพิธมี อบได้ เกดิ พธิ ีไหวค้ รูซง่ึ จะกระทำ� ในโอกาสแรกท่ีขอมอบตวั เป็นศิษย์ และมกั ปฏิบัติเปน็ ประจำ� ทุกปีเพ่ือแสดง
• เทพองคส์ ำ� คญั ทางดา้ นนาฏศลิ ป์และดุริยางคศิลป์ ถงึ ความเคารพ กตัญญกู ตเวทีในพระคณุ ของครู อีกท้ังยงั เปน็ โอกาสขออนญุ าตจากครใู หช้ ่วยส่งั สอน
วิทยาการในระดับทส่ี ูงขึ้นดว้ ย

วตั ถปุ ระสงคห์ ลกั ของการไหวค้ รเู ปน็ การแสดงความคารวะอยา่ งจรงิ ใจของศษิ ยว์ า่ ยอมรบั นบั ถอื
ครผู เู้ พยี บพรอ้ มดว้ ยคณุ ธรรม ความรู้ ขณะเดยี วกนั ศษิ ยใ์ นฐานะผสู้ บื ทอดมรดกทางวชิ าการกพ็ รอ้ มใจ
ท่ีจะปวารณาตนรับการถ่ายทอดวิชาความรู้น้ันจากครูด้วยความวิริยอุตสาหะ เพื่อให้บรรลุจุดหมาย
ปลายทางของการศกึ ษาตามท่ีตัง้ ใจไว้เช่นกัน เหตทุ ่คี วามหมายของค�ำว่า “ครบู าอาจารย์” นนั้ แปลวา่
ความเปน็ ผรู้ ู้ท่สี ามารถถ่ายทอดความร้ใู ห้แก่ศิษย์และสามารถดูแลศิษย์ได้ สาระส�ำคัญของการเปน็ ครู
จงึ ใชเ่ พยี งแตก่ ารถา่ ยทอดความรคู้ วามเขา้ ใจในวทิ ยาการดา้ นตา่ งๆ หากแตค่ รยู งั พรอ้ มจะวา่ กลา่ วตกั เตอื น
โดยใจอันเท่ียงธรรม และอบรมสง่ั สอนศิษย์ใหเ้ ปน็ ผปู้ ระพฤตดิ ี ประพฤติชอบตอ่ ไป

���������������� �� �  |  39

ในอดีต ผ้ทู จี่ ะฝากตวั เข้าเปน็ ศิษยจ์ ะต้องนำ� ดอกไม้ ธปู เทยี น ไปคำ� นับครู เมอ่ื ครู “เครอ่ื งสักการะท่ีศษิ ยใ์ ช้ในพิธไี หว้ครู
รับแลว้ จะกล่าวคาถาบชู าครใู ห้นักเรียนว่าตาม จากนัน้ ครจู ะจบั มอื สอนให้เพอื่ ความเป็น นาฏศิลป ์ เรียกว่า ขันก�ำนล เป็นขัน
สิรมิ งคล เชน่ ถา้ จะเรียนหนังสือ ครูจะจับมือเขียนกระดานชนวน ใสส่ ่ิงของต่างๆ ท่ใี ชเ้ ป็นเครอื่ งบชู าครู
ประกอบด้วย ดอกไมม้ งคล (ดอกเขม็
ดว้ ยวถิ ไี ทยทย่ี ดึ ความกตญั ญรู คู้ ณุ เปน็ หลกั ใหญใ่ นการดำ� เนนิ ชวี ติ พธิ ไี หวค้ รใู นสงั คมไทย ดอกมะเขือ หญา้ แพรก) หรือดอกไม้
จึงมีหลายประเภท เช่น ไหว้ครูดนตรีไทย ไหว้ครูช่าง ไหว้ครูนาฏศิลป์ ไหว้ครูหมอ หอมใสก่ ระทงทมี่ กี รวยครอบเพอ่ื
ไหวค้ รมู วยไทย ตลอดจนการไหวค้ รขู องนกั เรยี นในปจั จบุ นั แมจ้ ะแตกตา่ งกนั ในรายละเอยี ด ป้องกันมิให้เหยี่ วเฉา ธูป ๑ แหนบ �
หากภาพรวมนั้นละม้ายคล้ายคลึงกันเป็นอย่างยิ่ง และส่ิงหน่ึงท่ียังสืบทอดต่อมาคือการ ”เทยี น ๑ เล่ม ผา้ ขาว ๑ ผนื �
ท�ำพิธีไหว้ครูในวันพฤหัสบดี ซ่ึงถือเป็นวันครูในคติความเช่ือของศาสนาฮินดู-พราหมณ์ และเงินก�ำนลบูชาครู
โดยครขู องเทพในศาสนาดงั กลา่ วคอื พระพฤหัสบดี

พิธีไหว้ครูประเภทต่างๆ ที่จัดข้ึนใช่เพียงแต่เพ่ือน้อมร�ำลึกถึงพระคุณของครู
ทปี่ ระสทิ ธป์ิ ระสาทวชิ าใหโ้ ดยตรงเทา่ นน้ั หากแตย่ งั กระทำ� เพอ่ื เปน็ การทำ� บญุ อทุ ศิ กศุ ลแด่
ครใู นอดีต นอกเหนอื จากพธิ ไี หว้ครู ในบางสาขาวิชา เชน่ มวยไทย นาฏศลิ ปแ์ ละดนตรี
หลังจากเรียนรู้วิชาจนครบถ้วนแตกฉานแล้ว ยังมีพิธีครอบครูเพื่อแสดงให้เห็นว่าผู้เรียน
น้ันมีวิชาความรู้พอจะนำ� ไปถ่ายทอดต่อผู้อื่นได้ ซ่ึงนับเป็นภูมิปัญญาท่ีใช้ในการกระตุ้น
ผู้เรียนอยา่ งแยบยลให้ขยันหมน่ั เพียรจนประสบความสำ� เรจ็

• พิธคี รอบครูทางฝา่ ยดุรยิ างคศิลป์ • พิธคี รอบครสู วมมงคลตามประเพณีการไหว้ครูมวยไทย

40  |  วัฒนธรรม วิถีชีวิตและภมู ิปญั ญา



นับไดว้ า่ ความละเอยี ดออ่ นและขั้นตอนของพธิ ไี หวค้ รูน้นั เป็นสง่ิ ที่บูรณาการไวด้ ้วยภูมิธรรม ภมู ิปัญญาและ
คณุ คา่ อยา่ งชาญฉลาด คือให้คนในสงั คมมคี วามเคารพซึ่งกนั และกัน และยงั เคารพในคณุ คา่ ของวิชาความรทู้ ่ไี ด้รับ
มา อนั ถือเปน็ ทรพั ยส์ นิ ทางปญั ญาทคี่ รูบาอาจารยส์ ง่ั สมไวแ้ ละถ่ายทอดดว้ ยความตงั้ ใจ เพ่ือใหศ้ ษิ ย์เป็นผู้มีวชิ าอนั
แตกฉาน 

เคร่ืองสกั การะ

ในวันไหว้ครู ศิษย์ต้องท�ำเคร่ืองสักการะมามอบแก่ครู ได้แก่ พานดอกไม้ ซึ่งประกอบด้วย ธูป เทียน
ดอกมะเขอื หญ้าแพรก ดอกเขม็ และขา้ วตอก ซ่งึ ดอกไม้แต่ละชนดิ และขา้ วตอกมีความหมายดังนี้

• ดอกมะเขือ สัญลักษณ์ของความเคารพ ความอ่อนน้อมถ่อมตนเน่ืองจากธรรมชาติของดอกท่ีจะให้ผล
มะเขอื ไดต้ อ้ งโค้งลง เหมือนผอู้ ยู่ในอาการแสดงความเคารพ

• หญ้าแพรก สัญลักษณ์ของความอดทน เนื่องจากหญ้าแพรกสามารถงอกงามได้ในทุกฤดูกาล จึงต้องมี
ความอดทนเป็นสำ� คัญ

• ขา้ วตอก สญั ลกั ษณข์ องความมรี ะเบยี บวนิ ยั อยใู่ นกรอบและควบคมุ ตวั เองได้ เปรยี บกบั การคว่ั ขา้ วเปลอื ก
ให้เป็นข้าวตอก ถ้าเมล็ดข้าวเปลือกเมล็ดในกระเด็นออกจากภาชนะท่ีครอบไว้ ก็จะไม่มีโอกาสได้เป็นข้าวตอก
เปรียบกับนกั ศึกษาทไี่ มส่ ามารถควบคุมตัวเองได้ ก็จะกระเด็นออกไปนอกกรอบของระเบยี บวนิ ยั

• ดอกเขม็  สญั ลักษณ์ของความมสี ติปญั ญาเฉียบแหลมประดจุ ดังเขม็

42  |  วฒั นธรรม วิถีชีวิตและภูมิปัญญา





ประเพณที �ำขวัญขา้ ว

ศรทั ธาแห่งท่งุ สที อง

กวา่ ต้นกลา้ จะเตบิ โตเป็นรวงขา้ วสที องทพี่ รอ้ มเกบ็ เกีย่ วผลผลติ ต้องอาศัยผนื ดนิ “ในช่วงข้าวในนากำ� ลังตัง้ ท้อง �
อนั อดุ มสมบรู ณแ์ ละการดแู ลอยา่ งตอ่ เนอื่ งนานกวา่ ๔ เดอื น ขวญั และกำ� ลงั ใจอนั แรงกลา้ ชาวนาจะน�ำกล้วย ออ้ ย ถั่ว งา ส้ม �
ของชาวนาจงึ เปน็ สง่ิ สำ� คญั ทจี่ ะตอ่ สกู้ บั ความเปลย่ี นแปลงของธรรมชาตซิ ง่ึ เกดิ ขน้ึ ไดท้ กุ เมอื่ อย่างละ ๑ คำ� ใสต่ ะกรา้ สาน พรอ้ มกบั �
ในช่วงเวลาการเพาะปลูกประเพณีท�ำขวัญข้าวมิใช่เป็นแค่เพียงประเพณีที่เซ่นสรวง หมากและพลูจบี ๑ คำ� มาท�ำพิธี�
บชู าแมโ่ พสพของชาวนาไทยใหค้ มุ้ ครองตน้ ขา้ วอนั บอบบางเทา่ นน้ั หากแตเ่ ปน็ การหลอมรวม ทำ� ขวญั บชู าแมโ่ พสพตามความเชอื่ ว่า�
พลงั แหง่ ศรทั ธาของทกุ คนในชมุ ชนทจี่ ะชว่ ยใหก้ ารเพาะปลกู และเกบ็ เกย่ี วเปน็ ไปไดอ้ ยา่ ง จะช่วยใหเ้ มล็ดข้าวไม่ล้ม หนอน�
ราบรื่น ”และสัตวต์ ่างๆ ไมม่ ากล้� ำกราย �
ได้ผลผลิตอุดมสมบรู ณ์
เพราะข้าวคืออาหารหลักและเป็นพืชท่ีเลี้ยงชีวิตคนไทยมาแต่โบราณ
ความส�ำคัญของข้าวจึงเปรียบได้กับของศักด์ิสิทธิ์ท่ีต้องให้ความเคารพ อีกทั้งยังเชื่อว่า
ข้าวเป็นพืชพรรณเพียงหน่ึงเดียวที่มีขวัญและมีส่ิงศักด์ิสิทธ์ิคุ้มครอง เรียกว่า
แม่ขวัญข้าว หรือ แม่โพสพ ที่ปกป้องให้ต้นข้าวเจริญงอกงามดี หากขวัญข้าวไม่อยู่กับ
ต้นข้าว ข้าวก็จะไม่เจริญงอกงามและให้ผลผลิตที่สมบูรณ์ ดังนั้นจึงต้องปฏิบัติต่อข้าว
ด้วยความกตัญญูรู้คุณ และเม่ือใดท่ีมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับข้าว เช่น ข้าวต้ังท้อง
หรือจะเกยี่ วขา้ ว ตอ้ งขอขมาต่อต้นขา้ วทกุ คร้งั

การทำ� ขวัญข้าวถอื เป็นภูมปิ ญั ญาและความเช่ือของชาวไทยทกุ ภาคในการอยู่รว่ ม
และเคารพวถิ ีธรรมชาติ อกี ทง้ั ยงั เป็นพธิ กี รรมท่ีตอบสนองทางดา้ นจิตใจ ช่วยสร้างขวัญ
และก�ำลังใจให้แก่ชาวนาไทย พิธีกรรมเก่ียวกับข้าวในประเทศไทยแบ่งได้เป็น ๓ ระยะ
เร่ิมตั้งแต่ก่อนการเพาะปลูก ในช่วงเพาะปลูก และเมื่อได้ผลผลิตแล้ว อย่างไรก็ตาม
ในแต่ละภาคก็มีวิธีการปฏิบัติที่แตกต่างกันไป ชาวนาภาคกลางและภาคใต้ท�ำขวัญข้าว
หลายคร้ังตั้งแต่ข้าวเริ่มออกรวงอ่อนๆ ล�ำต้นป่องกลางเหมือนคนท้อง หรือที่เรียกว่า
ข้าวกลดั หางปลาทู อีกคร้งั ตอนเก็บเกีย่ วขนข้าวเข้าลานและตอนขนข้าวเขา้ ยุ้ง ในขณะท่ี
ชาวนาภาคเหนอื และภาคอสี านจะทำ� ขวญั ขา้ วในชว่ งทไี่ ดผ้ ลผลติ และเตรยี มขนขา้ วเขา้ ยงุ้
เท่าน้นั

������������������ � | 45



• การท�ำพธิ ที �ำขวัญอกี ครัง้ หลงั การเก็บเกย่ี วผลผลิตและน�ำข้าวมาวางรวมกนั ท่ีลาน นับเปน็ การแสดงความกตญั ญูรูค้ ณุ
สิ่งศกั ดส์ิ ทิ ธิแ์ ละแมโ่ พสพทชี่ ว่ ยให้ได้ผลผลติ ที่สมบรู ณ์

วถิ กี ารทำ� นาในแตล่ ะรอบปนี นั้ หมนุ เวยี นไปตามรอบของฤดกู าลเพาะปลกู หลงั จากเกบ็ เกย่ี วเสรจ็
ชาวนาจะอญั เชญิ ขวญั ขา้ วหรอื แมโ่ พสพขนึ้ ไวบ้ นยงุ้ ฉาง เมอ่ื ถงึ คราวจะเรม่ิ หวา่ นขา้ วในปถี ดั ไป จงึ ตอ้ ง
ท�ำพิธีแรกหว่านข้าวเพื่อเชิญแม่โพสพลงนา โดยเลือกเอาวันดีตามความเชื่อ น�ำข้าวขวัญท่ีเก็บไว้
มารวมกบั ขา้ วปลกู แลว้ หวา่ นเมลด็ ขา้ วเพอื่ เอาฤกษเ์ อาชยั บอกกลา่ วดว้ ยคาถาและถอ้ ยคำ� ดๆี ขอฝาก
แมโ่ พสพไวก้ บั แมธ่ รณี พระภมู ิ และผตี า่ งๆ ในทงุ่ นา จากนน้ั จงึ เลอื กเอาวนั ดอี กี วนั เพอ่ื ทำ� พธิ แี รกดำ� นา

จวบจนเม่ือข้าวเร่ิมตั้งท้อง ชาวนาจะสร้างศาลเพียงตาช่ัวคราวข้ึนใส่เคร่ืองเซ่นเพ่ือรับขวัญ
แม่โพสพ เตรยี มไม้ไผส่ านเป็นเฉลวรปู ห้าแฉกและชะลอมใบนอ้ ยเพ่อื ใสเ่ ครื่องเซน่ ด้วยความเชือ่ ทีว่ า่
แม่โพสพเป็นผู้หญิงสาว เมื่อถึงคราวต้องจัดเคร่ืองเซ่นส�ำหรับการท�ำขวัญข้าวในยามที่ข้าวต้ังท้อง
จึงมกั จัดเป็นอาหารสำ� หรับคนท้อง ไดแ้ ก่ น้�ำมะพร้าว ออ้ ย หมาก พลู โดยเฉพาะของรสเปรี้ยว เชน่
ส้ม มะขาม นอกจากนผี้ ู้ทำ� พิธีท่ีมักจะเป็นผหู้ ญงิ เจา้ ของนายังต้องเตรียมกระจก หวี แปง้ น�้ำอบ สผี ึ้ง
ผ้าซิน่ ธงกระดาษ ตดิ ตวั ไปในยามท�ำพิธีรบั ขวญั ข้าวหรือเยย่ี มแมโ่ พสพในท่งุ นาอกี ดว้ ย

������������� ��� �� �  |  47

เมอื่ ถงึ คราวเกบ็ เกย่ี วและนำ� ผลผลติ มารวมอยทู่ ลี่ านนวดขา้ ว ชาวนาจะทำ� พธิ ที ำ� ขวญั และขอขมา “ในฤดูเกบ็ เกยี่ วชาวนา
แมโ่ พสพอกี ครง้ั พธิ ที ำ� ขวญั ลานนวดขา้ วจงึ เปน็ การทำ� บญุ สขู่ วญั ขา้ วและเฉลมิ ฉลองในโอกาสเกบ็ เกย่ี ว แต่ละทอ้ งถิ่นมกั จะมา
ข้าวเสร็จ ซ่ึงทางภาคกลางเรียกพิธีน้ีว่า ท�ำขวัญลาน ในขณะที่ทางภาคอีสานเรียกว่า บุญคูณลาน ลงแรงช่วยกนั เกี่ยวข้าว
นอกเหนือจากการสู่ขวัญเพื่อกล่อมขวัญแม่โพสพให้หายตกใจและขอขมาที่ล่วงเกินแล้ว ยังเพ่ือ ถอื เป็นการสรา้ ง�
แสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อข้าว ส่ิงศักด์ิสิทธ์ิและธรรมชาติด้วย หลังจากนวดข้าวแล้วเสร็จ ความสมัครสมานสามคั คี �
จงึ เก็บข้าวขึ้นยงุ้ และเม่ือจะขายข้าวต้องทำ� พิธเี ปิดยงุ้ หรอื ตกั ยุง้ เพ่ือขออนุญาตขายเช่นกัน ร่วมช่นื ชมผลผลิต�
อนั น่าภาคภมู ิใจ�
ประเพณกี ารทำ� ขวญั ขา้ วใชเ่ พยี งแตเ่ ปน็ พธิ กี รรมทแ่ี สดงใหเ้ หน็ ถงึ ความกตญั ญรู คู้ ณุ ตอ่ ธรรมชาติ ”จากความเหนอ่ื ยยาก
เท่านั้น แต่ยังเป็นความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อสรรพส่ิงรอบตัวที่เก้ือกูลให้ชีวิตและการด�ำรงอยู่ อีกท้ัง ตลอดทง้ั ปี
ยังแสดงให้เห็นถึงจิตใจอันโอบอ้อมอารีและความสมัครสมานสามัคคีของคนในชุมชนท่ีเมื่อมีการ
เก็บเกย่ี วข้าวก็จะมาช่วยลงแรงชว่ ยเหลอื กันให้สำ� เร็จลลุ ่วงไปไดด้ ว้ ยดี

แม้ปัจจุบันในหน่ึงขวบปีจะสามารถท�ำนาได้หลายคร้ัง แต่พิธีท�ำขวัญข้าวจะท�ำเฉพาะกับ
การปลูกขา้ วนาปี อย่างไรก็ตาม ด้วยวิถชี วี ติ และวธิ กี ารท�ำนาทีเ่ ปล่ียนแปลงไปเนือ่ งจากยึดเอาวิธกี าร
ท�ำเกษตรและเทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นหลัก ท�ำให้ประเพณีท�ำขวัญข้าวในปัจจุบันอาจไม่ได้ครบถ้วน
ทกุ ขน้ั ตอนดงั เชน่ ในอดตี หรอื มกี ารปรบั ใหร้ วบรดั มากขน้ึ แตค่ วามเชอ่ื เรอื่ งแมโ่ พสพยงั คงอยกู่ บั ชาวนา
ในบางพื้นท่ีท่ียังอาศัยการท�ำนาจากน้�ำฝนและพึ่งพิงธรรมชาติแบบเกษตรอินทรีย์ บางชุมชน
ประกอบพิธที ำ� ขวัญข้าวรว่ มกบั การท�ำพิธีผา้ ปา่ ขา้ วเปลอื ก ในขณะท่บี างชุมชนจัดพธิ ีทำ� ขวญั แม่โพสพ
รว่ มกบั งานประจำ� ปขี องวดั  

48  |  วฒั นธรรม วิถีชีวิตและภูมิปัญญา


Click to View FlipBook Version