The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บทความความเชื่อ ความศรัทธา สื่อภาษาสู่บทเพลงส่งเสริมการท่องเที่ยวนครพนมและสกลนคร22

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ตั้ม วัชระ, 2021-10-30 01:10:23

บทความความเชื่อ ความศรัทธา สื่อภาษาสู่บทเพลงส่งเสริมการท่องเที่ยวนครพนมและสกลนคร22

บทความความเชื่อ ความศรัทธา สื่อภาษาสู่บทเพลงส่งเสริมการท่องเที่ยวนครพนมและสกลนคร22

ความเช่ือ ความศรัทธา ส่อื ภาษาส่บู ทเพลงสง่ เสริมการทอ่ งเที่ยว
สกลนคร นครพนม มกุ ดาหาร

วัชระ ลานเจรญิ

สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนษุ ยศาสตร*แ์ ละสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลยั ขอนแก่น

บทคดั ยอ่
บทความนี้ เป็นการศึกษาเปรียบเทียบความเช่ือความศรัทธาของผู้คนในจังหวัดสกลนคร นครพนม
และมุกดาหาร ท่ีปรากฏในบทเพลงตามแนวคิดวัฒนธรรมวิเคราะห์ เพื่อวิเคราะห์ตีความความเช่ือความศรัทธา
ให้เข้าใจระบบความคิดของสงั คมจากบทเพลง
ผลการวิจัยพบว่า บทเพลงส่งเสริมการท่องเท่ียวนอกจากจะเป็นการประพันธ์ข้ึนมาเพื่อใช้ในการ
ประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเท่ียว แต่ยังแฝงความคิด วัฒนธรรม ความเชื่อความศรัทธาไว้ในเนื้อหาของเพลง
ด้วย ผู้ประพันธ์ได้แฝงความเชื่อความศรัทธาของแต่ละจังหวัดเอาไว้ในเน้ือหา เม่ือเปรียบเทียบความเชื่อความ
ศรัทธาของผู้คนจังหวัดสกลนคร นครพนม มุกดาหาร ผ่านบทเพลงส่งเสริมการท่องเที่ยว พบว่าผู้คนท้ัง 3 จังหวัดมี
ความเชื่อความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา และมีความเชื่อความศรัทธาต่ออานาจเหนือธรรมชาติเหมือนกัน ได้แก่
อานาจความศักดิ์สิทธิ์ ความโชคดี, ผู้คนในจังหวัดสกลนครและนครพนมมีความเชื่อความศรัทธาต่อพระธาตุเจดีย์
เหมือนกันด้วย และจังหวัดนครพนมและมุกดาหารซ่ึงมีพื้นท่ีติดกับแม่น้าโขง มีความเช่ือความศรัทธาต่อพญานาค
เหมือนกัน นอกจากนี้ยังมีข้อน่าสังเกตคือ จังหวัดสกลนครให้ความสาคัญต่อความเชื่อความศรัทธาต่อศาสนาคริสต์
ผ่านเทศกาลแห่ดาว สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลทางด้านศาสนาคริสต์ในพื้นที่จังหวัดสกลนครน้ันมีมากกว่าอีกสอง
จงั หวดั ข้างต้น

คาสาคญั : ความเชื่อ, ความศรัทธา, บทเพลงส่งเสรมิ การท่องเท่ยี ว,

* นกั ศึกษาหลกั สูตรศิลปศาสตรมหาบณั ฑิต สาขาวชิ าภาษาไทย มหาวทิ ยาลัยขอนแก่น

นายวัชระ ลานเจริญ I 2564 I ความเชอ่ื ความศรทั ธา ส่อื ภาษาส่บู ทเพลงสง่ เสรมิ การทอ่ งเทย่ี วสกลนคร
นครพนม มกุ ดาหาร I สาขาวชิ าภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น

2

บทนา
บทเพลงหรือวรรณกรรมเพลงถือกาเนิดขึ้นมาพร้อมกับสังคมมนุษย์ มีท่ีมาจากชีวิตมนุษย์ และเป็น

ผลงานที่สร้างสรรค์โดยฝีมือของมนุษย์ท้ังส้ิน บทเพลงเป็นศิลปะที่แพร่หลายท่ัวไปในสังคม ซึ่งหมายรวมถึงดนตรี
และการขับร้องด้วย ดนตรีและบทเพลงเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมของมนุษยชาติ อาจเป็นขนบธรรมเนียม
ประเพณีวถิ ีการประกอบอาชีพ เชน่ การหม้ัน การแตง่ งาน การบวชพระ การเก่ียวข้าว ฯลฯ หรอื อาจเป็นเรื่องของ
ความเชื่อ เร่ืองของศาสนา เช่น เร่ืองบุพเพสันนิวาส บุญ บาป กรรมเก่า ชาติน้ี ชาติหน้า (จินตนา ดารงค์เลิศ,
2533 : บทนา) บทเพลงเป็นวรรณกรรมประเภทหน่ึง ที่มนุษย์สร้างสรรค์ข้ึนจากจินตนาการ ความรู้สึก และ
อารมณท์ างสังคม การเมือง นามาบันทึก หรือดัดแปลงให้ประณตี งดงาม ไพเราะ ด้วยศลิ ปะ การประพันธ์ เพือ่ ใช้
ส่ืออารมณ์ ความรู้สึก และทรรศนะ ของผู้ประพันธ์ออกมาให้ได้รับรู้ บทเพลงอาจบันดาลให้มนุษย์เกิดความรู้สึก
ตา่ งกันออกไปได้ เชน่ ผดิ หวงั รัก โศกเศร้า คดิ ถงึ ยนิ ดี ศรัทธา เชอื่ ถือ ปลุกใจให้ฮกึ หาญ หรอื ใหม้ ีความสนกุ สนาน
รื่นเริงได้ (สุดาจันทร์ ไชยโวหาร, 2542 : บทนา) บทเพลงจึงมีบทบาทสาคัญต่อการดารงชีวิตของมนุษย์ เพราะ
บทเพลงสามารถเข้าถึงประชาชนได้ดีกว่าวรรณกรรมประเภทอ่ืน โดยมิต้องไปพะวงอ่านหรือดูเพียงผ่านโสต
ประสาทหูก็เกิดสุนทรียะ มีความสะเทือนอารมณ์ได้ ยิ่งนับวันบทเพลงก็ยิ่งมีบทบาทมากขึ้น เน่ืองจาก
ผู้ประพันธ์ได้หยิบยกปัญหาชีวิต ความเป็นอยู่ของคนทุกระดับสังคมออกมาตีแผ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (บุญ
ยงค์ เกศเทศ, 2525 : 47 อ้างใน ประสทิ ธิ์ แยม้ ศรี, 2548 : บทนา)

จากบทบาทของบทเพลงจึงเป็นวรรณกรรมที่สะท้อนวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม ค่านิยม อารมณ์
ความรู้สึก รวมท้ังความความเชื่อ ความศรัทธาในจิตใจของผู้คน ฉะน้ันผู้วิจัยจึงมีความสนใจท่ีจะศึกษา
เปรียบเทียบมความเช่อื ความศรัทธาของผ้คู นในจังหวัดสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร ที่มีต่อวัตถุ สถานท่ี
ศาสนา ส่ิงเหนือธรรมชาติ และอ่ืน ๆ ที่ปรากฏในบทเพลงส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสกลนคร นครพนม
และมกุ ดาหาร

วัตถุประสงค์การวจิ ัย
1. เพอ่ื ศกึ ษาเปรยี บเทยี บความเชอ่ื ความศรัทธาของผ้คู นในจังหวดั สกลนคร นครพนม และมกุ ดาหาร

ท่ีมีตอ่ วตั ถุ สถานท่ี ศาสนา สิ่งเหนือธรรมชาติ และอนื่ ๆ ท่ีปรากฏในบทเพลงส่งเสริมการทอ่ งเทยี่ ว

ระเบยี บวธิ ีวิจัย
การศึกษาวิจยั คร้ังนี้เป็นงานวจิ ัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) มีวธิ กี ารดาเนินการวจิ ัย ดังตอ่ ไปน้ี
1. การเลือกข้อมลู และการเกบ็ ขอ้ มูล
ผู้วจิ ัยเลือกศึกษาข้อมลู จากเนื้อหาของบทเพลงสง่ เสริมการท่องเทย่ี วจังหวัดสกลนคร นครพนม

และมุกดาหาร โดยผู้วิจัยใช้วิธกี ารเลอื กข้อมูลแบบเจาะจง (Purposive selection) โดยใช้ข้อมูลจากเน้ือเพลง
“นครพนมเมืองงาม” ประพันธ์โดย สลา คุณวุฒิ (2560) เนื้อหาเพลง “ยินดีต้อนรับสู่สกลนคร” ประพันธ์โดย
วชั รนิ ทร์ วเิ ศษ (2563) และเนอื้ เพลง “มุกดาหารบ้านเฮา” ประพันธ์โดย พงษศ์ ักดิ์ ถนอมใจ (2562)

นายวัชระ ลานเจรญิ I 2564 I ความเช่อื ความศรัทธา สื่อภาษาสู่บทเพลงส่งเสริมการทอ่ งเทย่ี วสกลนคร
นครพนม มุกดาหาร I สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตรแ์ ละสงั คมศาสตร์ มหาวิทยาลยั ขอนแกน่

3

2. กรอบแนวคิดท่ีใช้ในการวิเคราะห์
การศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยศึกษาข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) โดยใช้กรอบ

แนวคิด “วฒั นธรรมวิเคราะห์” ของ พรศกั ดิ์ พรหมแก้ว (2544) เพอื่ วเิ คราะหต์ คี วามความเชื่อความศรัทธาให้
เข้าใจระบบความคิดของสงั คม ในบทเพลงสง่ เสริมการท่องเทีย่ วจังหวัดสกลนคร นครพนม และมกุ ดาหาร

แหล่งขอ้ มลู
การศึกษาครั้งน้ี ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากมิวสิควิดีโอเพลงท่ีเผยแพร่ผ่านทางแอพพลิเคชั่นยูทูบ

(https://www.youtube.com) จานวน 3 ช่อง ได้แก่ 1) ช่อง ไผ่ พงศธร OFFICIAL เพลงมุกดาหารบ้านเฮา
2) ช่อง Vasumon_Au Netkijcharoen เพลงนครพนมเมืองงาม และ 3) ช่อง NAG Th เพลงยินดีต้อนรับสู่
สกลนคร โดยผู้วิจัยนามิวสิควิดีโอเพลงท่ีเลือกนามาถอดความเนื้อหาของเพลงเพื่อที่จะนามาใช้ในการศึกษา
วเิ คราะห์ตามแนวคิดทฤษฎีต่อไป

นิยามศพั ท์เฉพาะ
เพลงส่งเสริมการท่องเท่ียว หมายถึง บทเพลงท่ีใช้ในการประชาสัมพันธ์ และส่งเสริมการท่องเท่ียว

จังหวัดสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร ได้แก่ เพลงยินดีต้อนรับสู่สกลนคร เพลงนครพนมเมืองงาม
และเพลงมกุ ดาหารบ้านเฮา

จติ วิญญาณความเช่อื ความศรัทธา : สู่วรรณกรรม
ความเชื่อเกิดจากความเคารพ ความศรัทธา ความหวาดกลัว ความต้องการ โดยส่ือผ่านออกมาใน

ลักษณะท่ีเป็นรูปธรรม นามธรรม หรือแบบผสมผสาน ความเช่ือทาหน้าท่ีเป็นกุศโลบายท่ีนาไปสู่ภาพแทน คติ
คาสอน แนวทาง การช้นี า นอกจากนี้ความเชอ่ื ยังทาหน้าที่เปน็ บรรทัดฐาน แบบแผน กตกิ า และสานึกรว่ มของ
ผู้คนในสังคม ซ่ึงแต่ละสังคมก็จะมีความเชื่อที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของสังคม(สถิตย์ ภาคมฤค, 2564)
ดงั ตัวอย่างผลการวิจยั ดงั ตอ่ ไปน้ี

สุณี บุญพิทักษ์ (2549) อธิบายว่า สาเหตุท่ีทาให้บุคคลเกิดความเชื่อในผลของความดีมีมาจากหลาย
ปัจจัยได้แก่ พ่อแม่ปู่ย่าตายายพาไปวัดต้ังแต่เด็ก ๆ บ้านอยู่ใกล้วัดมีโอกาสไปวัดบ่อย ๆ เพื่อน ๆ ชวนเข้าวัดให้
ทาบุญ เปน็ ชาวพุทธควรยึดม่ันในประเพณีของชาวพุทธ เห็นแบบอยา่ งทด่ี ีของพระสงฆเ์ กิดความศรัทธาเล่ือมใส ไดม้ ี
โอกาสปฏิบัติดูแลพระสงฆ์จึงเกิดความศรัทธาเชื่อการทาความดี บุคคลในครอบครัวเป็นแบบอย่างท่ีดี
และสนใจในคาสอนของพระพุทธศาสนาจึงศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติด้วยตนเอง ผลของความดีท่ีได้รับ ครอบครัวมี
ความสุข ลูกเป็นคนดี มีสุขภาพแข็งแรงเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และดารงชีวิตอย่างมีความสุข
ส่วนพฤติกรรมของบุคคลที่มีความเช่ือในผลของความดีพบว่าจะชอบการไปทาบุญท่ีวัด สวดมนต์นั่งสมาธิ
เป็นประจา มีความซ่ือสัตย์และรักษาสัจจะดารงชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท และมีความมุ่งมั่นในการสร้างความดี
ในการสัมภาษณ์พระสงฆ์พบว่าสาเหตุของความเช่ือในผลของความดีมาจากการอบรมส่ังสอนและพ่อแม่พาไปวัด

นายวชั ระ ลานเจรญิ I 2564 I ความเชือ่ ความศรัทธา ส่อื ภาษาสูบ่ ทเพลงส่งเสรมิ การทอ่ งเที่ยวสกลนคร
นครพนม มกุ ดาหาร I สาขาวชิ าภาษาไทย คณะมนษุ ยศาสตร์และสงั คมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น

4

ต้ังแต่เด็ก ๆ อยู่ในบริบทส่ิงแวดล้อมที่ดี เห็นแบบอย่างท่ีดีของพระสงฆ์ศรัทธาในพระพุทธศาสนา เม่ือได้ออกบวช
ศกึ ษาปฏิบัตธิ รรมเกิดปัญญามองเห็นประโยชน์ของการออกบวชเหน็ ทางแห่งความสุขสงบท่ีแทจ้ ริง

พรศักด์ิ พรหมแก้ว (2544) อธิบายว่า ความเชื่อเรื่อง “ผี” เป็นความเชื่อดั้งเดิมของมนุษย์ที่มีมาช้า
นานและปรากฏอยู่ในสังคมต่าง ๆ ทุกยุคทุกสมัย จึงกล่าวได้ว่าเป็น “ความเชื่อสากล” หรือ “วัฒนธรรมรว่ ม”
อย่างหน่ึงของมนุษยชาติ ในสังคมชาวไทยพุทธภาคใต้ก็มีความเช่ือในเรื่องน้ีเช่นเดียวกับสังคมชาวไทยใน
ภูมิภาคอ่ืนและสังคมชนชาติอื่นท่ัวไป ความเช่ือเรื่อง “ผี” ของชาวไทยพุทธภาคใต้มีหลากหลายและพิสดาร
เมื่อศึกษาวิเคราะห์โดยภาพรวมแล้วพอจะจาแนก “ผี” ตามความเชือ่ ของชาวไทยกลุ่มนอี้ อกไปเป็น 3 ประเภท
คือ 1) ผีช้ันสูง หรือผีดี “เทพ” ซ่ึงแบ่งออกได้เป็นเทพชั้นสูง และเทพท่ัวไป 2) ผีชั้นกลาง หรือผีก้ากึ่งดีร้าย ซึ่ง
แบ่งได้หลายกลุ่ม ได้แก่ ผีประจาทรัพยากรธรรมชาติ ผีประจาทรัพยากรที่มนุษย์สร้าง ข้ึน
ผีประจาบ้านเมืองและถ่ินท่ีอยู่อาศัย บรรพบุรุษ ผีวีรบุรุษ เป็นต้น 3) ผีชั้นต่า หรือผีร้าย ซึ่งแบ่งออกได้เป็นผี
ร้ายท่ีมีอยู่ในธรรมชาติทั่วไป และผีร้ายท่ีอยู่ในนรก ความเชื่อเรื่อง “ผี” ของชาวไทยพุทธภาคใต้เป็นมูลเหตุให้
เกิด “พธิ กี รรม” ท่ีเก่ียวข้องในลักษณะตา่ ง ๆ มากมาย เพอ่ื เปน็ การเซ่นสรวงบูชาและวิงวอนให้ผีท่ีตนนับถือได้
ช่วยเหลือตนให้พ้นจากเหตุร้ายต่าง ๆ และดลบันดาลให้ชีวิตประสบแต่ความสุขความเจริญ สมหวังในส่ิงท่ี
ปรารถนา เมื่อศึกษาวิเคราะห์โดยภาพรวมแล้วพอจะจาแนกพิธีกรรมเก่ียวกับการนับถือผีของชาวไทยพุทธ
ภาคใตน้ ยิ มปฏบิ ัติกัน ออกอยา่ งกวา้ ง ๆ ไดเ้ ป็น 2 ลกั ษณะใหญ่ ๆ คือ พธิ ีกรรมเก่ียวกับการประกอบอาชีพ เช่น
พิธีกรรมเกี่ยวกับการทานา พิธีกรรมเก่ียวกับการทาประมง พิธีกรรมเก่ียวกับการแสดง เป็นต้น และพิธีกรรม
เก่ียวกับชีวิต เช่น พิธีกรรมเกี่ยวกับการเกิดพิธีกรรมเก่ียวกับการรักษาโรค พิธีกรรมเก่ียวกับการแต่งงาน
พธิ ีกรรมเกี่ยวกับการตาย เปน็ ต้น

นอกจากนี้ เสาวภาคย์ ดิสวัสด์ิ (2562) ได้ศึกษาการใช้ภาษาและเนื้อหาในเพลงประชาสัมพันธ์
จังหวัด ผลการศกึ ษาพบว่า มกี ารตงั้ ชอื่ เพลงตงั้ แต่ 1 พยางค์ ถึง 10 พยางค์ โดยพบจานวน 4 พยางค์ มากทส่ี ดุ
อีกทงั้ มกี ารต้ังชื่อด้วยคา วลี และประโยค พบการดัง้ ชือ่ เพลงด้วยวลีมากที่สุด ดา้ นประเภทของความหมายของ
ชื่อเพลงประชาสัมพันธ์จังหวัด พบความหมายของช่ือเพลง ได้แก่ การแสดงความรู้สึก ความสวยงาม ประเภท
ของเพลง ชื่อจังหวัดในปัจจุบัน ช่ือสถานที่สาคัญของจังหวัด ประวัติศาสตร์ ความเป็นสิริมงคล สัญลักษณ์ของ
จังหวัด และเทศกาลงานประเพณีของจังหวัด พบการใช้เสียงสัมผัสสระและสัมผัสอักษรในบทเพลง
ประชาสัมพันธ์จังหวัด ส่วนผลการศึกษาด้านการใช้คา พบการซ้าคาและซ้าวลี อีกท้ังการใช้คาซ้า คาซ้อน การ
หลากคาหรือคาไวพจน์ และคาภาษาไทยถ่ิน ด้านการใช้ภาพพจน์ในเพลงประชาสัมพันธ์จงั หวดั ปรากฎการใช้
ภาพพจน์ 7 ประเภท ได้แก่ อุปมา อุปลักษณ์ อติพจน์ บุคคลวัต นามนัย สัทพจน์ และคาถามเชิงวาทศิลป์
ด้านการใช้วัจนกรรม ปรากฏวัจนกรรม 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มบอกกล่าว กลุ่มชี้นา กลุ่มผูกมัด และกลุ่มแสดง
ความรู้สึก ส่วนวัจนกรรมท่ีไม่พบในเพลงประชาสัมพันธ์จังหวัดคือวัจนกรรมกลุ่มแถลงการณ์ ผลการศึกษา
เน้ือหาในเพลงประชาสัมพันธ์จังหวัด พบเน้ือหาที่สามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 2 กลุ่ม คือ 1) เนื้อหาเก่ียวกับ
ขอ้ มลู จงั หวัด 2) เนื้อหาเกยี่ วกบั ความรูส้ กึ พบเนือ้ หาเกยี่ วกบั ข้อมลู จังหวดั มากที่สุด

จะเห็นได้ว่า ความเชื่อความศรัทธาของผู้คนในสังคมมีเหตุปัจจัยจากสรรพส่ิงหลายประการ เช่น
มนุษย์ อมนุษย์ ธรรมชาติ วัตถุสิ่งของ สถานที่ ศาสนา และอื่น ๆ โดยความเช่ือความศรัทธาของแต่ละสังคมก็

นายวชั ระ ลานเจรญิ I 2564 I ความเชอื่ ความศรัทธา สอื่ ภาษาสูบ่ ทเพลงส่งเสรมิ การท่องเทีย่ วสกลนคร
นครพนม มกุ ดาหาร I สาขาวชิ าภาษาไทย คณะมนุษยศาสตรแ์ ละสงั คมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่

5

จะมีความแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของสังคม วิธีคิด ภูมิศาสตร์ วิถีชีวิตของผู้คน ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความ
สนใจท่ีจะศึกษาเปรียบเทียบความเช่ือ ความศรัทธาของผู้คนในจังหวัดสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร
ที่มีต่อวัตถุ สถานท่ี ศาสนา ส่ิงเหนือธรรมชาติ และอื่น ๆ ที่ปรากฏในบทเพลงส่งเสริมการท่องเท่ียวจังหวัด
สกลนคร นครพนม และมกุ ดาหาร

ผลการศกึ ษาวิจยั
1. การศึกษาเปรียบเทียบความเช่ือ ความศรัทธาของผู้คนในจังหวัดสกลนคร นครพนม

และมกุ ดาหารท่มี ตี อ่ วัตถุ สถานท่ี ศาสนา สงิ่ เหนอื ธรรมชาติ และอื่น ๆ ทปี่ รากฏในบทเพลง
1.1 เพลงส่งเสรมิ การท่องเทยี่ วจงั หวัดนครพนม “นครพนมเมอื งงาม”
จังหวัดนครพนมเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคอีสานตอนบน มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน อดีต

เปน็ ศูนย์กลางของอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์อันรุ่งเรือง เดิมทตี วั เมืองตั้งอยู่ทางฝ่ังซ้าย ของลาน้าโขง (ฝงั่ ประเทศลาว)
บริเวณทางใต้ปากเซบั้งไฟ ตรงข้ามกับอาเภอพระธาตุพนมในปัจจุบัน ตามอุรังคนิทานหรือตานานพระธาตุพนม
(พิสดาร) ของพระธรรมราชานุวัตร อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม ได้เรียบเรียงไว้ ตอนหนึ่งว่า สมัยพุทธกาล
พระพทุ ธเจ้าได้เสด็จมาโปรดสัตวท์ ี่แคว้นศรีโคตรบูรณ์ มีพทุ ธทานายว่า เมอื่ พระองค์ปรินิพพานไปแล้วเมืองศรีโคตร
บูรณ์จักย้ายไปตั้งที่ “ป่าไม้รวก” มีนามว่า “เมืองมรุกขนคร” ซึ่งสันนิษฐานกันว่าหมายถึง เมืองที่อยู่ในดงไม้รวก
ตามสภาพภูมิประเทศที่สร้างบ้านแปงเมืองนั่นเอง (เว็บไซต์จังหวัดนครพนม, 2553) ด้วยประวัติศาสตร์อันยาวนาน
จึงทาให้จังหวัดนครพนมเป็นจังหวัดที่มีความหลากหลายทางอารยธรรม ประเพณีวัฒนธรรม ศิลปะ ภูมิปัญญา
ความเช่ือ ความศรัทธาของผู้คน ทาให้รัฐบาลและผู้นาของจังหวัดเล็งเห็นถึงความสาคัญ จึงมีการส่งเสริมให้จังหวัด
นครพนมเป็นแหล่งท่องเท่ียวเชิงวัฒนธรรมขนึ้ นอกจากนี้ยังมีการประพันธ์บทเพลงส่งเสริมการท่องเท่ียวในชื่อเพลง
“นครพนมเมืองงาม”ขึ้นด้วย โดยมี สลา คุณวุฒิ นักประพันธ์เพลงช่ือดังของเมืองไทยเป็นผู้ประพันธ์เนื้อร้อง
และทานอง ขับร้องโดย ต่าย อรทัย (อรทัย ดาบคา) เนื้อหาของเพลงเป็นการบอกเล่าลักษณะทางภูมิศาสตร์
ประวัติศาสตร์ สถานท่ีศักดิ์สิทธ์ิสาคัญของจังหวัดนครพนม อีกทั้งยังได้บรรยายถึงความงดงามของหญิงสาวชาว
ผู้ไทย อีกท้ังยังได้บรรยายถึงพระธาตุประจาวันเกิดทั้ง 8 พระธาตุ ดังน้ันผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาวิเคราะห์
ด้านความเชื่อความศรัทธาของผู้คนในจังหวัดนครพนมท่ีมีต่อส่ิงต่าง ๆ ท่ีถ่ายทอดผ่านเน้ือหาของเพลงส่งเสริม
การท่องเท่ียว “นครพนมเมืองงาม” โดยมรี ายละเอยี ดดังน้ี

1.1.1 จงั หวดั นครพนมมคี วามเชือ่ ความศรทั ธาเก่ียวกับเทพ เทวดา
จากเน้ือหาของเพลง “นครพนมเมืองงาม” แสดงให้เห็นว่าผู้คนในจังหวดั นครพนมมี

ความเช่ือเก่ียวกับเทพ เทวดา ซึ่งถือว่าเป็นผู้อิทธิฤทธิ์ช่วยดลบันดาลให้มีความสุข คอยปกป้องคุ้มครองให้ห่าง
พน้ จากเพศภัยต่าง ๆ ดังในเนอ้ื เพลงทวี่ า่

“ตง้ั อยรู่ ิมฝัง่ โขงโค้งงาม อยู่ตรงขา้ มแขวงคาม่วนชวนชม
ศรีโคตรบรู ณ์ ดินแดนแคว้นเก่า อนู่ า้ อู่ข้าวแผน่ ดนิ งามสม
คอื เมอื งนครพนม ทีอ่ ินทร์พรหมจอบส่องป้องภัย”

นายวัชระ ลานเจรญิ I 2564 I ความเช่ือ ความศรทั ธา สื่อภาษาส่บู ทเพลงส่งเสรมิ การทอ่ งเทยี่ วสกลนคร
นครพนม มกุ ดาหาร I สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนษุ ยศาสตร์และสงั คมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่

6

(สลา คุณวฒุ ิ, 2560)

จากเน้ือหาของเพลงข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า ผู้คนในจังหวัดนครพนมมีความเช่ือต่อ

เทพ เทวดา ได้แก่ พระอินทร์ ซ่ึงเป็นเทพชั้นสูงคติความเช่ือของคนอีสาน นอกจากน้ียังมีความเช่ือเก่ียวกับ

พระพรหม ซึ่งเป็นหนึ่งในเทพสูงสุดของศาสนาพราหมณ์ แสดงให้เห็นว่า จังหวัดนครพนมได้รับอิทธิพลความ

เช่ือมาจากศาสนาพราหมณด์ ้วย

1.1.2 จังหวดั นครพนมมีความเชอ่ื ความศรทั ธาเกย่ี วกับพญานาค

พญานาคเป็นความเชื่อของผู้คนในแถบทวีปเอเชีย โดยเฉพาะลาว กัมพูชา และไทย

ถือว่าลึกซ้ึงจนเก่ียวข้องกับความเป็นอยู่ในชีวิตประจาวัน ไม่ว่าจะเป็นด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี

(โชติ ศรีสุวรรณ และเกริก ท่วมกลาง, 2560) ความเช่ือของชาวไทยเกี่ยวกับพญานาคโดยส่วนใหญ่จะเชื่อว่า

พญานาคเป็นสัตว์กึ่งเทพ มีอิทธิฤทธิ์ศักดานุภาพ สามารถเนรมิตร่างกายเป็นมนุษย์ชายและหญิงได้ ทั้งยังมีความ

เชื่อว่าพญานาคนั้นเป็นสัญลักษณ์แห่งสายน้า เป็นผู้พิทักษ์รักษาและเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ในด้าน

การสร้างความสามัคคีปรองดอง สงบสันติสุขในสังคม นอกจากนั้นพญานาคมีอิทธิพลในด้านต่าง ๆ (จิตรกร

เอมพันธุ์, 2545 อ้างใน Chittima Phutthanathanapa, 2018) จังหวัดนครพนมมีพ้ืนที่เลียบตามลาน้าโขงจึงทา

ให้ผู้คนจังหวดั นครพนมมีความเช่ือเกยี่ วกบั พญานาคด้วยเช่นกัน ดงั ในเนอื้ เพลงทีว่ ่า

“...องคศ์ รสี ตั ตนาคา แผ่ปรกเมตตาส่งพรคุม้ ให้

องคพ์ ระธาตุพนมกางรม่ ใจ ไพรฟ่ า้ หนา้ ใสสาวผไู้ ทยงามตา

ไพรฟ่ า้ หน้าใสสาวนครงามตา...”

(สลา คณุ วุฒิ, 2560)

จากเนื้อหาของเพลงข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า ผู้คนจังหวัดนครพนมมีความเช่ือ

เกี่ยวกับพญานาค คอื “พญาศรีสตั นาคา” หรอื “พญาศรีสัตตนาคราช” โดยมีความเชื่อว่าพญาศรสี ตั ตนาคราช

น้ัน เป็นนาคาธิบดีท่ีปกครองอาณาเขตทางฝั่งประเทศลาว หากศึกษาด้านประวัติศาสตร์จะพบว่า จังหวัด

นครพนมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านช้างหรือประเทศลาวในปัจจุบัน ดังนั้นผู้คนนครพนมจึงเช่ือว่าพญา

ศรสี ัตตนาคราชนัน้ คอยให้ความเมตตา ปกปอ้ งคมุ ครองใหผ้ ู้คนนครพนมมีความสขุ สงบรม่ เยน็

1.1.3 จงั หวัดนครพนมมคี วามเชื่อ ความศรัทธาเกยี่ วกบั พระธาตพุ นม และพระธาตอุ ืน่

พระธาตุพนมเป็นโบราณสถานและศาสนสถานสาคัญในจังหวัดนครพนม ซึ่งคนท้องถ่ิน

สืบทอดความเช่ือ/ความรู้ตามตานานอุรังคธาตุว่าพระธาตุพนมได้รับการสร้างข้ึนเมื่อ พ.ศ. 8 และผา่ นการบูรณะอีก

หลายครั้งก่อนที่จะพังล้มลงใน พ.ศ. 2518 ทาให้กรมศิลปากรได้ศึกษาโบราณวัตถุที่อยู่ภายในองค์พระธาตุจนได้

ข้อสรุปว่าองค์พระธาตุพนมถูกสร้างขึ้น “เม่ือระยะเวลาประมาณ พ.ศ.1200-1400”(กรมศิลปากร, 2522 อ้างใน

Benjawan Narasaj and Pakawadee Thongchompunuch, 2018) ภายในองค์พระธาตุพนมประดิษฐาน

พระอุรังคธาตุหรือกระดูกส่วนหน้าอกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระธาตุพนมถือเป็นศูนย์รวมจิตใจของ

พทุ ธศาสนิกชนท้ังฝ่ังไทยและฝั่งลาวนับจากอดีตจนถึงปจั จุบัน รวมทัง้ ผู้คนในจังหวดั นครพนมด้วย โดยคนนครพนม

เช่ือวา่ หากใครได้ไปกราบสักการะพระธาตุพนมครบ 7 คร้ัง ถอื ว่าเป็น “ลูกพระธาตุพนม” แสดงให้เห็นถึงความเชื่อ

นายวัชระ ลานเจรญิ I 2564 I ความเชือ่ ความศรัทธา ส่ือภาษาสบู่ ทเพลงส่งเสริมการท่องเทย่ี วสกลนคร
นครพนม มกุ ดาหาร I สาขาวชิ าภาษาไทย คณะมนษุ ยศาสตรแ์ ละสงั คมศาสตร์ มหาวิทยาลยั ขอนแก่น

7

ความศรัทธาที่มีต่อพระธาตุพนมอย่างเหนียวแน่นของผู้คนในจังหวัดนครพนม ผู้ประพันธ์เน้ือเพลงจึงได้นามา

ถ่ายทอดในเพลง “นครพนมเมืองงาม” ดงั เน้ือเพลงทวี่ า่

“...องคพ์ ระธาตพุ นมกางรม่ ใจ ไพรฟ่ า้ หนา้ ใสสาวผู้ไทยงามตา

ไพร่ฟ้าหน้าใสสาวนครงามตา...”

(สลา คุณวฒุ ิ, 2560)

นอกจากนีใ้ นเนอื้ เพลง “นครพนมเมอื งงาม” กลา่ วถึงความศรทั ธาทีต่ ่อพระธาตุอ่นื ๆ

ภายในพ้ืนที่จังหวัดนครพนม โดยกาหนดให้เป็นพระธาตุประจาวันเกิดของผคู้ นในรอบหน่ึงสปั ดาห์ดังเน้ือเพลง

ตอ่ ไปนี้

“เกิดวนั อาทิตยพ์ ระธาตุพนมได้อมุ้ ชู พระธาตุเรณคู นเกิดวนั จันทร์ไดพ้ ่ึงบุญ

เกดิ วนั อังคารไปไหวพ้ ระธาตุศรคี ุณ คนเกิดวนั พธุ กลางวันเสริมบญุ

ไปกราบพระธาตุมหาชยั พระธาตุมรุกขนครแนน่ อนท่สี ดุ

คนเกดิ วนั พธุ กลางคนื ยึดเป็นร่มใจ วนั พฤหสั พระธาตปุ ระสิทธท์ิ กุ คนต้องไป

วันศุกรไ์ ปไหว้พระธาตุท่าอุเทน วันเสาร์รม่ เยน็ ไปกราบองคพ์ ระธาตนุ คร”

(สลา คณุ วุฒิ, 2560)

จากเน้ือเพลงข้องต้นสะท้อนให้เห็นว่า ผู้คนในจังหวัดนครพนมมีความเช่ือความศรัทธา

ต่อพระธาตุต่าง ๆ โดยกาหนดพระธาตุเหล่าน้ีเป็นพระธาตุประจาวันเกิด โดยให้พระธาตุพนม อาเภอธาตุพนม

เป็นพระธาตุประจาวันเกิดวันอาทิตย์ ช่วยอุ้มชูให้ผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ที่ได้ไปนมัสการเกิดความเจริญรุ่งเรือง

ให้พระธาตเุ รณู อาเภอเรณนู ครเป็นพระธาตุประจาวันเกิดของผ้เู กิดวนั จันทร์ได้ยึดถือเป็นท่ีพ่ึงทางจิตใจ ใหพ้ ระธาตุ

ศรคี ณุ อาเภอนาแก เป็นพระธาตุประจาวันเกิดของผู้เกิดวันอังคาร ใหพ้ ระธาตุมหาชัย อาเภอปลาปาก เปน็ พระธาตุ

ประจาวันเกิดของผู้เกิดวันพุธกลางวันเพ่ือสักการะเสริมบุญเสริมสิริมงคล ให้พระธาตุมรุกขนคร อาเภอธาตุพนม

เป็นพระธาตุประจาวันเกิดของผู้เกิดวันพุธกลางคืนได้ยึดถือเป็นร่มเงาสร้างความสงบร่มเย็นทางจิตใจ ให้พระธาตุ

ประสิทธิ์ อาเภอนาหว้า เป็นพระธาตุประจาวันเกิดของผู้เกิดวันพฤหัสบดีท่ีทุกคนต้องไปนมัสการเพื่อความเป็นสิริ

มงคล ให้พระธาตุท่าอุเทน อาเภอท่าอุเทน เป็นพระธาตุเพื่อเสริมสร้างสิริมงคลของผู้เกิดวันศุกร์ และให้พระธาตุ

นคร อาเภอเมืองนครพนม เป็นพระธาตุประจาวนั เกดิ ของผู้เกิดวันเสาร์ได้กราบไหว้เพื่อความสงบร่มเย็น จงึ กล่าวได้

ว่า ผคู้ นในจังหวัดนครพนมใหค้ วามสาคญั ต่อพระธาตุเจดีย์ ซึง่ เป็นศาสนสถานทางพระพุทธศาสนาอยา่ งย่ิง

1.1.4 จังหวัดนครพนมมีความเช่ือความศรัทธาเก่ียวกับความศักด์ิสิทธ์ิและอานาจ

เหนอื ธรรมชาติ

จากเน้ือหาของเพลง “นครพนมเมืองงาม” ผู้ประพันธ์ได้นาเสนอความเช่ือความ

ศรัทธาของผคู้ นในจงั หวดั นครพนมทม่ี ีต่อความศักด์ิและอานาจเหนือธรรมชาตทิ ่ีมีลกั ษณะเป็นนามธรรมซง่ึ มีผล

ทางจติ ใจของผูค้ นดังเนอื้ หาของเพลงต่อไปน้ี

“...ไผวา่ เมอื งอสี านแห้ง เคยมาเบ่งิ แงงนครพนมแลว้ ไป่

ไผว่าคนอีสานผฮู้ ่าย ถูกสาวผ้ไู ทยสง่ ยิม้ ให้แลว้ ละ่ บ้อ

อยากให้มาเยอื นอยากให้มาอยู่ใกลช้ ดิ แผ่นดินบญุ แผ่นดินศักดิส์ ิทธเิ์ ด้น้อ

นายวชั ระ ลานเจริญ I 2564 I ความเชอื่ ความศรทั ธา ส่อื ภาษาส่บู ทเพลงส่งเสรมิ การท่องเทีย่ วสกลนคร
นครพนม มกุ ดาหาร I สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนษุ ยศาสตรแ์ ละสงั คมศาสตร์ มหาวิทยาลยั ขอนแก่น

8

มแี ปดพระธาตุ ประจาวนั เกดิ ไวร้ อ มที ุกขม์ ที อ้ มากราบขอบารมี

เพราะแผน่ ดินน้ี…คอื ศรโี คตรบูรณ.์ ..”

(สลา คณุ วุฒิ, 2560)

จากเนื้อหาของเพลงข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า ผู้คนจังหวัดนครพนมมีความเชื่อต่อ

อานาจศักด์ิสิทธ์ิ เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสรา้ งความเป็นสิรมิ งคล ความอยู่เย็นเป็นสุข ซ่ึงผู้คนนครพนมเช่ือวา่ อานาจ

ศักดิ์สิทธ์ิเกิดขึ้นจากพระธาตุประจาวันเกิดทั้งแปดพระธาตุ ท่ีช่วยปัดเป่าความทุกข์ความท้อท่ีเกิดขึ้นภายใน

จิตใจให้หมดไป และช่วยเสริมสร้างบุญบารมีให้แก่ผู้คน นอกจากน้ียังมีความเชื่อต่อพญาศรีสัตตนาคราชด้วย

ซึ่งในเน้ือหาของเพลงได้กล่าวว่า หากผู้ใดได้มาไหว้สักการะจะช่วยเสริมสร้างพลังชีวิตอันเกิดจากความศรัทธา

ดังในเน้อื หาของเพลงทีว่ ่า

“...มาไหวอ้ งคศ์ รสี ตั ตนาคาสกั คร้ัง สิไดพ้ ลงั สเิ กิดศรทั ธาน้อมนา

มาเบิง่ เฮอื ไฟ ยามออกพรรษางดงาม วัฒนธรรมแปดชนเผา่ งดงามอีหลี

มาแผ่นดินน้สี ิมีแต่ฮกั …ค้าจนุ ...”

(สลา คณุ วฒุ ิ, 2560)

1.1.5 จงั หวดั นครพนมมคี วามเชอ่ื ความศรทั ธาเกี่ยวกับเรอ่ื งอื่น ๆ

ในเน้ือหาของเพลง “นครพนมเมืองงาม” ได้มีการกล่าวถึงประเพณีสาคัญประเพณี

หน่ึง คือ “ไหลเรือไฟ” ประเพณีไหลเรือไฟเป็นประเพณีท่ีผู้คนจังหวัดนครพนมให้ความสาคัญเป็นอย่างมาก

จดั ข้ึนในวันข้ึน 15 ค่าเดอื น 11 ของทกุ ปี แตป่ ัจจบุ ันปรับจานวนวันเพม่ิ ขนึ้ ใหส้ อดคลอ้ งกบั บริบทการท่องเท่ียว

มากย่ิงขึ้น ประเพณีไหลเรือไฟจะจัดต้ังแต่ระดับหมู่บ้าน ระดับตาบล ระดับอาเภอ และระดับจังหวัด ซึ่งใน

ระดับจังหวัดจะประกอบพิธีบริเวณริมฝ่ังแม่น้าโขง ผู้คนในนครพนมมีความเช่ือว่า เป็นการบูชาพระพุทธเจ้า

กลับจากโปรดพทุ ธมารดาบนสวรรค์ บูชาพระแม่คงคา และเป็นการจุดไฟเพ่ือเผาเคราะห์ ปดั เปา่ เรือ่ งราวท่ีไม่ดี

ดงั ในเนือ้ หาของเพลงทวี่ า่

“...มาไหว้องค์ศรีสตั ตนาคาสักครั้ง สไิ ดพ้ ลังสิเกดิ ศรทั ธาน้อมนา

มาเบ่งิ เฮอื ไฟ ยามออกพรรษางดงาม วัฒนธรรมแปดชนเผ่า งดงามอหี ลี

มาแผน่ ดนิ นส้ี ิมแี ตฮ่ กั …คา้ จุน...”

(สลา คุณวุฒิ, 2560)

1.2 เพลงสง่ เสรมิ การทอ่ งเที่ยวจังหวดั มกุ ดาหาร “มกุ ดาหารบา้ นเฮา”
จังหวัดมุกดาหารเคยเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดนครพนม และไดแ้ ยกออกมาตั้งเป็นจังหวัดเมื่อปี

พ.ศ. 2525 แท้จริงแล้วจังหวัดมุกดาหารมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานกว่าสองร้อยปี จึงทาให้มุกดาหาร
มีอัตลักษณ์ของตนเองที่น่าสนใจอย่างย่ิง ทั้งทางด้านศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรมต่าง ๆ และมุกดาหารเป็นจังหวัด
หนึ่งที่รัฐบาลให้การส่งเสริมให้เป็นจังหวัดท่องเท่ียวเชิงวัฒนธรรม พร้อมท้ังมีการประพันธ์เพลงส่งเสริมการ
ท่องเท่ียวข้ึน ในชื่อผลงานเพลง “มุกดาหารบ้านเฮา” โดยมี พงษ์ศักด์ิ ถนอมใจ เป็นผู้ประพันธ์ ศิลปินผู้ขับร้องคือ
ไผ่ พงศธร (ประยรู ศรีจนั ทร์) โดยเน้อื หาของเพลงจะเป็นการเล่าถึงลักษณะภูมิศาสตร์ พนื้ ทีใ่ กลเ้ คยี ง ประวัติศาสตร์

นายวชั ระ ลานเจริญ I 2564 I ความเช่อื ความศรทั ธา สื่อภาษาสูบ่ ทเพลงส่งเสรมิ การทอ่ งเทยี่ วสกลนคร
นครพนม มกุ ดาหาร I สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนษุ ยศาสตร์และสงั คมศาสตร์ มหาวิทยาลยั ขอนแก่น

9

กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัด และวัฒนธรรม ความเช่ือของท้องถ่ิน ดังน้ันผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาการถ่ายทอด

ความเช่ือของผู้คนในจังหวัดมุกดาหารผ่านออกทางบทเพลงส่งเสริมการท่องเท่ียวน้ี โดยผู้วจิ ยั ไดว้ ิเคราะหด์ ้านความ

เชื่อดังรายละเอียดต่อไปน้ี

1.2.1 จังหวัดมุกดาหารมคี วามเชือ่ ความศรัทธาเก่ยี วกับฮตี หรือจารตี ดั้งเดิม

“ฮีต” หมายถึง จารีตประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน ซ่ึงฮีตน้ีจะต้อง

ปฏิบัติเหมือนกันต้ังแต่ประชาชนธรรมดาจนถึงเจ้าฟ้าพระมหากษัตริย์เมื่อถึงคราววาระและเดือนท่ีจะต้อง

ประกอบพธิ ีกรรมตามฮีต แต่ละชมุ ชนจะตอ้ งปฏิบัตเิ หมือนกัน มีท้ังหมด 12 ฮีต หากใครประพฤติฝ่าฝืนหรืองด

เว้นไปไม่กระทาตามท่ีกาหนดไว้จะถือว่ามีความผิดเป็นเร่ืองช่ัว (อิศราภรณ์ ประเสริฐศร, 2560) ส่วนคาว่า

“คองสิบส่ี” หมายถึง แบบอย่างแนวทางการปกครอง หรือระบบการปกครอง เป็นลักษณะกฎหมาย หรือข้อ

กติกาของบ้านเมืองที่เน้นให้บุคคลในสังคมในแต่ละระดับช้ันปฏิบัติต่อกันตามจารีตประเพณีเพ่ือนา มาซ่ึง

ความสขุ สงบ ร่มเยน็ ในสังคม คองสบิ ส่ีนนั้ เปน็ ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวอีสาน ท่มี กี ารปฏิบัตสิ ืบทอดกัน

มานานจึงทาให้มีการพัฒนาและเปลย่ี นแปลงไปตามกาลเวลา ซ่ึงในเพลง “มุกดาหารบ้านเฮา” ผู้ประพันธ์ได้มี

การกล่าวถึงฮีต 12 คอง 14 ไว้ด้วย สะท้อนให้เห็นว่า ผู้คนในจังหวัดมุกดาหารยังคงให้ความสาคัญและรักษา

ขนบธรรมเนยี มดัง้ เดิมไวจ้ นมาถึงปจั จบุ ัน ดังในเนือ้ หาของเพลงที่ว่า

“ฮตี 12 คอง 14 เปน็ วถิ ที ่ียงั คอื เก่า

บญุ กองขา้ วไขประตูเล้า ประเพณีทบ่ี เ่ คยสญู หาย

ประเพณีแหก่ ัณฑห์ ลอน เป็นตาสะออนไดบ้ ญุ สขุ ใจ

ออกพรรษากะยงั มีบญุ ใหญ่”

(พงษศ์ ักดิ์ ถนอมใจ, 2562)

จากเนอ้ื หาของเพลงขา้ งต้นอธิบายใหเ้ ห็นวา่ ผู้คนในจงั หวดั มุกดาหารมีการดาเนินพิธี

ตามประเพณีในฮีต 12 คอง 14 เช่น บุญกองข้าวไขประตูเล้า ซ่ึงเป็นการทาบุญสู่ขวัญข้าวเพ่ือแสดงความ

กตัญญูกตเวทีต่อแม่โพสพหรือตาแฮกท่ีบันดาลให้ได้ข้าวอุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงประเพณีแห่

กณั ฑ์หลอน ซึง่ เปน็ ประเพณีย่อยในประเพณีบุญผะเหวด โดยการแหต่ น้ เงนิ กัณฑเ์ ทศน์ท่ีจะถวายพระไปรอบ ๆ

หมบู่ ้าน เพือ่ เฉลิมฉลองกอ่ นที่จะนาไปถวายพระภกิ ษสุ งฆใ์ นวนั ถดั ไป พรอ้ มท้งั ได้มีการกล่าวถึงงานบญุ ใหญ่ช่วง

ออกพรรษาด้วย สะท้อนให้เห็นว่า ผู้คนในจังหวัดมุกดาหารมีความเช่ือความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาโดยส่อื

ผา่ นบุญออกพรรษา ประเพณแี ห่กณั ฑห์ ลอน และมคี วามเชื่อความศรัทธาต่อผี เทพ เทวดา โดยส่ือผ่านบุญกอง

ข้าวไขประตูเลา้ น่นั เอง

1.2.2 จงั หวดั มุกดาหารมคี วามเช่ือความศรทั ธาเก่ยี วกับหมอลาผีฟา้ หรอื หมอเหยา

“เหยา” เป็นพิธีตามความเช่ือของคนอีสาน บางท้องถ่ินเรียกว่า “ผีฟ้า” บุญชม

ศรีสะอาด และคณะ (2559) อธิบายว่า เป็นพิธีท่ีดาเนินการข้ึนเพ่ือรักษาอาการเจ็บป่วย สาหรับรักษาโรคภัยที่เชื่อ

ว่าเกิดจากการกระทาของผี หรือสิ่งเหนือธรรมชาติ การไปรักษากับแพทย์แผนปัจจุบันไม่สามารถรักษาให้หายขาด

ได้ เชื่อว่าโรคที่ในลักษณะอย่างน้ีต้องทาพิธีเหยาเท่าน้ันจึงจะหาย ในเพลง “มุกดาหารบ้านเฮา” ผู้ประพันธ์ใด้หยิบ

ยกมาสะท้อนให้เหน็ ถึงวัฒนธรรมและความเชื่อของท้องถ่นิ สอดแทรกไวด้ ว้ ย ดังเน้ือหาของเพลงท่วี ่า

นายวชั ระ ลานเจริญ I 2564 I ความเชือ่ ความศรทั ธา ส่ือภาษาสบู่ ทเพลงส่งเสริมการท่องเที่ยวสกลนคร
นครพนม มกุ ดาหาร I สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนษุ ยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลยั ขอนแกน่

10

“เฮามีหมอลาผฟี ้า ชว่ ยรกั ษาคนป่วยใหเ้ ซา

เฮามพี ิธีเหยา ที่หมเู่ ฮายงั คงสืบสาน”

(พงษศ์ กั ด์ิ ถนอมใจ, 2562)

จากเน้ือหาของเพลงข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า ผู้คนจังหวัดมุกดาหารมีความเช่ือ

เกี่ยวกับหมอเหยา ซึ่งเป็นผู้ประกอบพิธีหรือร่างตัวแทนของผีฟ้าในการติดต่อกับผีที่มากระทาให้ผู้คนเกิดการ

เจ็บป่วย หมอเหยาจะส่ือสารกับผีโดยใช้บทขับร้องแบบหมอลาเพ่ือเสาะหาสาเหตุหรือความต้องการของผี

พร้อมท้ังแนวทางในการรักษา หรือทาให้อาการเจ็บป่วยทุเลาเบาบางลง แสดงให้เห็นว่าผู้คนจังหวัดมุกดาหาร

ยงั มคี วามเช่ือเกี่ยวกบั ผีอย่างมากถงึ ปัจจุบัน

1.2.3 จงั หวดั มุกดาหารมคี วามเช่ือความศรทั ธาเก่ยี วกับบายศรสี ู่ขวญั

พิธีบายศรีสู่ขวัญเป็นประเพณีที่คนอีสานนิยมทาเป็นประจาเมื่อจะออกจากบ้าน

เดินทาง การแต่งงาน คลอดลูก เป็นพิธีท่ีนิยมกระทากันมากในภาคอีสาน เพ่ือป้องกันภัยอันตรายจากภูตผี

ปีศาจ และเปน็ การสรา้ งขวัญกาลงั ใจใหก้ บั เจ้าของขวญั อีกทั้งยังชว่ ยเสรมิ ความเปน็ สริ ิงมคลให้เข้าเจ้าของขวัญ

และผู้ร่วมพิธี ในเพลง “มุกดาหารบ้านเฮา” ผู้ประพันธ์ได้นาเอาพิธีท่ีเช่อื ว่ามีความศักดิ์สิทธิ์และเป็นสริ มิ งคลนี้

มาเขียนไวใ้ นเน้ือหาของเพลงนด้ี ว้ ย ดังเนอื้ เพลงทวี่ ่า

“มาเบิง่ โซ่ถั่งบั้ง มาผกู แขนบายศรสี ู่ขวญั

ลาผญายอ่ ยหัวดอนตาล”

(พงษศ์ กั ดิ์ ถนอมใจ, 2562)

1.2.4 จงั หวัดมุกดาหารมีความเช่ือความศรัทธาเก่ียวกับพระพุทธรูปใหญ่ประจาจังหวัด

จากเนื้อหาของเพลง “มุกดาหารบ้านเฮา” ผู้ประพันธ์ได้มีการกล่าวถึงพระพุทธรูปองค์

ใหญ่ซ่ึงหมายถึงพระเจ้าใหญ่แก้วมุกดาศรีไตรรัตน์ ประดิษฐานอยู่บนยอดภูมโนรมย์ พระเจ้าใหญ่แก้วมุกดาศรีไตร

รัตน์เป็นพระพุทธรูปมารวิชัยสีขาวขนาดใหญ่ ผู้คนในจังหวัดมุกดาหารให้ความเคารพศรัทธามีความเช่ือด้านความ

ศกั ดส์ิ ิทธ์ิ แสดงให้เหน็ ว่า ผู้คนในจงั หวดั มกุ ดาหารมีความเช่ือความศรัทธาและนับถือศาสนาพุทธ ดงั เนอ้ื เพลงทว่ี ่า

“มุกดาหารเมอื งดีน่าเที่ยว ไผมาเท่ยี วมีแต่ความโชคดี

องค์พระใหญศ่ กั ด์ิสิทธอิ์ ิหลี สาธชุ นกราบไหว้บชู า”

(พงษ์ศักดิ์ ถนอมใจ, 2562)

1.2.5 จังหวดั มกุ ดาหารมีความเชื่อความศรัทธาเกี่ยวกับพญานาค

สาหรับจังหวัดมุกดาหาร เป็นจังหวัดท่ีมีอาณาเขตติดกับแม่น้าโขง ซึ่งผู้คนท่ีอาศัยอยู่

บริเวณลุ่มแม่น้าโขงเช่ือและนับถือศรัทธาพญานาค เห็นได้จากพญานาคได้ปรากฏในสถานท่ีศักด์ิสิทธ์ิผ่าน

สญั ลกั ษณต์ า่ ง ๆ โดยพบไดจ้ ากงานสถาปัตยกรรมวัดวาอารามในพระพุทธศาสนา แหลง่ ท่องเที่ยวหรือสถานท่ีสาคัญ

ในจังหวัด Chittima Phutthanathanapa, Wanichcha Narongchai and Rukchanok Chumnanmak, 2018)

สาหรับการสร้างพญาศรีมุกดามหามุนีนีลปาลนาคราชหรือพ่อปู่ศรีมุกดาก็เป็นไปตามความเช่ือท่ีมีต่อพญานาค

เพื่อให้พญานาคตนน้ีเป็นผู้เฝ้าพิทักษ์รักษาพระเจ้าใหญ่แก้วมุกดาศรีไตรรัตน์ที่ประดิษฐานอยู่บนยอดภูมโนรมย์

ทาใหผ้ ทู้ มี่ ีจิตศรัทธาแวะเวยี นไปนมสั การไม่ขาดดังเน้ือหาของเพลงท่ีผปู้ ระพันธ์นามากลา่ วไว้ดังนี้

นายวัชระ ลานเจริญ I 2564 I ความเชอื่ ความศรัทธา ส่อื ภาษาส่บู ทเพลงส่งเสริมการทอ่ งเท่ยี วสกลนคร
นครพนม มกุ ดาหาร I สาขาวชิ าภาษาไทย คณะมนษุ ยศาสตรแ์ ละสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลยั ขอนแกน่

11

“องค์นาคราชยงิ่ ใหญ่ ไหว้ขอพรพ่อปู่ศรมี ุกดา

อยากชมเมอื งที่สวยงามจบั ตา”

(พงษศ์ กั ด์ิ ถนอมใจ, 2562)

1.2.6 จังหวัดมุกดาหารมีความเช่ือความศรัทธาเก่ียวกับเร่ืองอื่น ๆ

ในเนื้อหาของเพลง “มุกดาหารบ้านเฮา” ยังแสดงให้เห็นถึงความเชื่อความศรัทธา

ของผู้คนในจังหวัดมุกดาหารในด้านอื่น ๆ คือ อานาจเหนือธรรมชาติ ได้แก่ อานาจความศักด์ิสิทธิ์ ความโชคดี

ซ่ึงเป็นอานาจเหนือธรรมชาติเชิงบวก เป็นอานาจท่ีก่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล มีความสุข สงบร่มเย็น เป็นความ

เชอื่ ที่เป็นนามธรรม ไม่สามารถจับต้องหรือสัมผัสได้ ดงั ในเนื้อหาของเพลงต่อไปน้ี

“มกุ ดาหารเมืองดนี ่าเทย่ี ว ไผมาเทีย่ วมแี ต่ความโชคดี

องค์พระใหญ่ศักดิส์ ิทธ์ิอหิ ลี สาธชุ นกราบไหว้บูชา”

(พงษ์ศักด์ิ ถนอมใจ, 2562)

1.3 เพลงส่งเสรมิ การทอ่ งเท่ียวจงั หวัดสกลนคร “ยินตอ้ นรบั สู่สกลนคร”
จังหวัดสกลนครเป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์ท่ียาวนาน ตามท่ีมีอธิบายโดย สานักพิมพ์จินดา

สาส์น (2528) ว่า เมืองหนองหานหลวงหรือสกลนครปรากฏหลักฐานว่าเป็นเมืองหนึ่งในอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์
ราชธานี มีโคราชเป็นเมืองอุปราช ซ่ึงตรงกับสมัยของขอมเรืองอานาจ ปรากฏในโบราณสถานหลายแห่ง เช่น พระ
ธาตุนารายณ์เจงเวงหรือพระธาตุนารายณ์เชงเวง พระธาตุภูเพ็ก พระธาตุดุม และสะพานขอม เป็นต้น และสืบเนื่อง
มาจนถึงปัจจุบัน ด้วยประวัติศาสตร์ท่ียาวนาน ทาให้จังหวัดสกลนครมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประเพณี
ศิลปะ ขนบธรรมเนียมประเพณี รวมท้ังความเชื่อความศรัทธาของผู้คนในจังหวัด ดังน้ันจังหวัดสกลนครจึงถูกเลือก
ให้เป็นจังหวัดสง่ เสริมการท่องเทีย่ วเชิงวัฒนธรรมหน่ึงในสามจังหวดั นอกจากจังหวัดนครพนม และมุกดาหาร ผวู้ จิ ัย
จึงมีความสนใจท่ีจะศึกษาด้านความเช่ือความศรัทธาของผู้คนท่ีสื่อผ่านเพลงส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสกลนคร
ในผลงานเพลง “ยินดีต้อนรบั สสู่ กลนคร” โดยมีรายละเอียดการวเิ คราะห์ดังนี้

1.3.1 จังหวัดสกลนครมีความเช่ือความศรัทธาเก่ียวกับพระธาตุเชิงชุมและพระธาตุ
เจดีย์อ่นื ๆ

พระธาตุเชิงชุมชุมเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนแสดงรูปแบบเอกลักษณ์ของเจดีย์ล้านช้าง เป็น
สิ่งศักด์ิสิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองสกลนคร ส่วนยอดของเจดีย์เป็นบัวเหล่ียมคล้ายพระธาตุพนมสร้างครอบทับปราสาทเขมร
ที่ก่อด้วยศิลาแลง โดยพบหลักฐานเป็นจารึกอักษรขอมโบราณ (กรมศิลปากร, 2554 อ้างใน เบญจพร คล้ายเกตุ,
ม.ป.ป.) ภายหลังพระธาตุเชิงชุมถูกเปลี่ยนมาปูชนียสถานสาคัญทางพระพุทธศาสนา ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวง
ประจาหวัดสกลนคร พทุ ธศาสนิกชนหมุนเวียนไปกราบนมัสการกันอย่างต่อเนื่องทุกวัน โดยผ้คู นในจังหวัดสกลนคร
มีความเชื่อว่า พระธาตุเชิงชุมสร้างขึ้นเพ่ือครอบรอบพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า 4 พระองค์ โดยพระเจ้าสุวรรณ
ภิงคาระสังเกตในคานมัสการพระธาตุเชิงชุม ซึ่งช่วยเสริมสร้างความเป็นสิริมงคลสูงสุดแก่ตนเองและครอบครัวให้มี
ความเจริญรุ่งเรือง ในเพลง “ยินดีต้อนรับสู่สกลนคร” ผู้ประพันธ์เพลงนี้ได้กล่าวเก่ียวกับพระธาตุเชิงชุมไว้ในเน้ือหา

นายวัชระ ลานเจริญ I 2564 I ความเชื่อ ความศรัทธา สอื่ ภาษาสบู่ ทเพลงสง่ เสรมิ การทอ่ งเท่ียวสกลนคร
นครพนม มุกดาหาร I สาขาวชิ าภาษาไทย คณะมนุษยศาสตรแ์ ละสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลยั ขอนแกน่

12

ของเพลงหลายท่อน และมีการกล่าวถึงพระธาตุเจดีย์อ่ืน ๆ ได้แก่ เจดีย์ที่บรรจุพระอรหันตธาตุของบูรพาจารย์

สาคญั ของจงั หวัดสกลนคร เช่น หลวงปมู่ ่ัน หลวงปู่ฝ่นั ดังในเนอ้ื หาของเพลงต่อไปนี้

“พระธาตเุ ชงิ ชุมคู่บ้าน พระตาหนกั ภูพานคู่เมือง”

(วชั รินทร์ วิเศษ, 2560)

“จากโคง้ ป้งิ งูเข้าสู่อาเภอเมือง พระธาตุเชิงชมุ ลอื เลอ่ื ง

ชมสระพงั ทองแดนดิน”

(วชั รินทร์ วิเศษ, 2560)

“รามวยโบราณ กราบบูรพาจารย์เจดียว์ ดั ”

(วชั รินทร์ วิเศษ, 2560)

1.3.2 จังหวดั สกลนครมีความเชื่อความศรทั ธาเกี่ยวกับปราสาทผึ้ง

“ผาสาทเผ้ิง” หรือ “ปราสาทผ้ึง” เป็นเคร่ืองสักการบูชาอย่างหน่ึงของพุทธศาสนิกชน

มักประกอบด้วยหลายลักษณะรูปทรง เช่น ทรงตะลุ่ม ทรงหอปราสาท และทรงปราสาทยอด เป็นต้นจาลองขึ้นจาก

รูปลักษณะของปราสาทบนสรวงสวรรค์ โดยใช้กาบของต้นกล้วยหุ้มขึ้นบนโครงไม้ไผ่ที่ทาเป็นรูปปราสาท

ปิดประดับด้วยดอกผ้ึง ซ่ึงนิยมใช้ในพิธีทาบุญอุทิศส่วนกุศลให้แด่บรรพบุรุษ และนอกจากนี้ช่วงประเพณีบุญออก

พรรษายังนิยมทาถวายเป็นพุทธบูชาด้วย (สลองปราสาทผ้ึง, 2563) ผู้คนสกลนครมีความเชื่อความศรัทธาเกี่ยวกับ

เร่ืองน้ีสืบเน่ืองต่อกันมาอย่างเหนียวแน่นจนถึงปัจจุบัน แม้ปราสาทผึ้งจะมีวิวัฒนาการเปลี่ยนไปแต่ความเช่ือความ

ศรัทธายังคงมั่น ผู้ประพันธ์ได้นามาใช้ในกล่าวไว้เน้ือหาเพลง “ยินดีต้อนรับสู่สกลนคร” ด้วย ดังเน้ือหาของเพลง

ดงั น้ี

“พระธาตเุ ชงิ ชุมคูบ่ ้าน พระตาหนกั ภูพานคู่เมือง

งามลือเลื่องหนองหาร แลตระการปราสาทผึง้

สวยสดุ ซงึ้ สาวภูไท ถิน่ มัน่ ในพุทธธรรม”

(วชั รนิ ทร์ วิเศษ, 2560)

1.3.3 จงั หวดั สกลนครมคี วามเช่ือความศรัทธาเก่ียวกับศาสนาคริสต์

จากเนื้อหาของเพลง “ยินดีต้อนรับสู่สกลนคร” ได้กล่าวถึงเทศกาลทางศาสนาคริสต์

ได้แก่ เทศกาลแห่ดาว สะทอ้ นให้เห็นว่าศาสนาคริสต์มีบทบาทต่อความเช่ือความศรัทธาของผู้คนในจังหวัดสกลนคร

มากพอสมควร โดยเฉพาะอย่างย่ิงในพ้ืนท่ีตาบลท่าแร่ ของอาเมืองสกลนครเป็นอัครสังฆมณฑลคริสตจักรด้วย

ซ่ึงผู้ประพันธไ์ ด้ถ่ายทอดไว้ในเน้ือหาของเพลงไวด้ งั นี้

“อยา่ ลมื ของฝากของต้อนโคขนุ โพนยางคา เทีย่ วอทุ ยานบัวงาม ชมท่าแรแ่ หด่ าว”

(วัชรินทร์ วเิ ศษ, 2560)

1.3.4 จังหวัดสกลนครมคี วามเช่ือความศรัทธาเก่ียวกับเร่ืองอืน่ ๆ

ในเน้ือหาของเพลง “ยินดีต้อนรับสู่สกลนคร” ยังแสดงให้เห็นถึงความเช่ือความศรัทธา

ของผู้คนในจังหวัดสกลนครในด้านอ่ืน ๆ คือ อานาจเหนือธรรมชาติ ได้แก่ ความโชคดี ซ่ึงเป็นอานาจที่ก่อให้เกิด

นายวชั ระ ลานเจริญ I 2564 I ความเช่ือ ความศรัทธา สื่อภาษาสบู่ ทเพลงส่งเสริมการทอ่ งเทยี่ วสกลนคร
นครพนม มกุ ดาหาร I สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตรแ์ ละสงั คมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น

13

ความเป็นสิริมงคล มีความสุข สงบร่มเย็น เป็นความเชื่อที่เป็นนามธรรม ไม่สามารถจับต้องหรือสัมผัสได้ ดังใน
เนือ้ หาของเพลงต่อไปน้ี

“หลายหม่องหลายบ่อน ยังบไ่ ด้แนะนา มาแดนดินธรรมขอมให้โชคดีออนซอน”
(วัชรินทร์ วเิ ศษ, 2560)

จากการศึกษาวิเคราะเคราะห์ความเช่ือความศรัทธาของผู้คนจังหวัดสกลนคร นครพนม มุกดาหาร
ผ่านบทเพลงส่งเสริมการท่องเที่ยว จากบทเพลงจานวน 3 เพลง ได้แก่ เพลงนครพนมเมืองงาม เพลงมุกดาหารบ้าน
เฮา และเพลงยินดีต้อนรับสสู่ กลนครพบว่าผู้คนท้ัง 3 จังหวดั มีความเช่ือความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา และมีความ
เช่ือความศรัทธาต่ออานาจเหนือธรรมชาติเหมือนกัน ได้แก่ อานาจความศักดิ์สิทธิ์ ความโชคดี, ผู้คนในจังหวัด
สกลนครและนครพนมยังมีความเชื่อความศรัทธาต่อพระธาตุเจดีย์เหมือนกันด้วย จังหวัดนครพนม
และมุกดาหารซ่ึงมีพ้ืนทีต่ ิดกับแม่น้าโขง มีความเชื่อความศรัทธาต่อพญานาคเหมือนกัน นอกจากนี้ยังมีรายละเอียด
เพิ่มเติมการเปรียบเทียบความเช่ือความศรัทธาในเพลงส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสกลนคร นครพนม มุกดาหาร
ต่อไปนี้

ตารางที่ 1 การเปรยี บเทียบความเชอ่ื ความศรัทธาในเพลงส่งเสริมการท่องเท่ยี วจังหวดั สกลนคร นครพนม มุกดาหาร

ความเช่ือความศรัทธาจังหวัด ความเชื่อความศรัทธาจงั หวดั ความเชื่อความศรัทธาจังหวดั

นครพนม (นครพนมเมืองงาม) มกุ ดาหาร (มุกดาหารบ้านเฮา) สกลนคร (ยนิ ดตี ้อนรบั สู่สกลนคร)

1) เทพ เทวดา 1) ฮีตหรือจารีตด้ังเดิม (ฮีต 12 1) ปราสาทผึ้ง

2) พญานาค (พญาศรีสัตตนาคราช) คอง 14) 2) เทศกาลแห่ดาว (ศาสนาครสิ ต)์

3) พระธาตพุ นม และพระธาตุอนื่ 2) หมอลาผฟี ้าหรือหมอเหยา 3) พระธาตเุ ชิงชมุ และพระธาตุ

(พระธาตเุ รณ,ู พระธาตุศรคี ุณ, 3) บายศรสี ่ขู วญั เจดยี ์อนื่ ๆ (เจดยี ์บรู พาจารย์

พระธาตุมหาชัย, พระธาตุมรกุ 4) พญานาค (พญาศรีมุกดามหา ต่าง ๆ เช่น หลวงปู่มนั่ หลวงปู่

ขนคร, พระธาตปุ ระสิทธิ์, มนุ ีนลี ปาลนาคราช) ฝ่นั )

พระธาตุทา่ อุเทน, 5) พระพทุ ธรูปใหญป่ ระจาจังหวัด 4) เร่อื งอนื่ ๆ (ความโชคดี)

พระธาตนุ คร) 6) เร่ืองอืน่ ๆ (อานาจความ

4) ความศกั ดิ์สทิ ธแ์ิ ละอานาจ ศกั ด์สิ ิทธิ์ ความโชคดี)

เหนอื ธรรมชาติ

5) เร่อื งอ่ืน ๆ (ไหลเรอื ไฟ)

บทสรปุ และอภปิ รายผล
บทเพลงส่งเสริมการท่องเท่ียว นอกจากจะเป็นการประพันธ์ข้ึนมาเพื่อในในการประชาสัมพันธ์ด้านการ

ท่องเท่ียว แต่ยังแฝงความคิด วัฒนธรรม ความเชื่อความศรัทธาไว้ในเน้ือหาของเพลงด้วย ตามเน้ือหาของเพลง
นครพนมเมืองงาม มุกดาหารบ้านเฮา และยินดีต้อนรับสู่สกลนคร ท้ัง 3 เพลงนี้ ผู้ประพันธ์ได้แฝงความเชื่อความ
ศรัทธาของแต่ละจังหวัดเอาไว้ในเนื้อหา ซ่ึงสะท้อนให้เห็นว่าผู้คนจังหวัดนครพนมมีความเช่ือเก่ียวกับเทพเทวดา

นายวัชระ ลานเจริญ I 2564 I ความเชือ่ ความศรทั ธา สอื่ ภาษาส่บู ทเพลงส่งเสรมิ การทอ่ งเทย่ี วสกลนคร
นครพนม มกุ ดาหาร I สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสงั คมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่

14

ความเชื่อความศรัทธาเก่ียวกับพญานาค (พญาศรสี ัตตนาคราช) ความเช่ือความศรัทธาต่อพระธาตุพนมและพระธาตุ
บริวารท้งั 7 พระธาตุ ความเชอื่ เกี่ยวกับความศักด์สิ ิทธ์ิและอานาจเหนือธรรมชาติ และความเชื่อด้านอน่ื ๆ ส่วนผคู้ น
จังหวัดมุกดาหารมีความเช่ือเก่ียวกับฮีตหรือจารีตด้ังเดิม (ฮีต 12 คอง 14) ความเชื่อเก่ียวกับหมอลาผีฟ้าหรือหมอ
เหยา ความเชอื่ เกี่ยวกับการบายศรีสู่ขวัญ ความเช่ือความศรัทธาเกี่ยวกับพญานาค (พญาศรีมุกดามหามุนีนีลปาลนา
คราช) ความเช่ือความศรัทธาเกี่ยวกับพระพุทธรูปใหญ่ประจาจังหวัด ความเช่ือเก่ียวกับเร่ืองอ่ืน ๆ (อานาจความ
ศกั ดิ์สิทธิ์ ความโชคดี) ทง้ั นีย้ งั ได้ทราบถึงความเช่ือความศรัทธาของผู้คนจังหวดั สกลนครเกี่ยวกับพระธาตเุ ชิงชุมและ
พระธาตุเจดีย์อื่น ๆ (เจดีย์บูรพาจารย์ต่าง ๆ เช่น หลวงปู่มั่น หลวงปู่ฝั่น) ความเช่ือเกี่ยวกับการสร้างปราสาทผ้ึง
ความเช่ือความศรัทธาเก่ียวกับเทศกาลแห่ดาว (ศาสนาคริสต์) และความเชื่อเก่ียวกับเร่ืองอ่ืน ๆ (ความโชคดี) จาก
ความเช่ือความศรัทธาเหล่าน้ีจึงก่อเกิดเป็นอัตลักษณ์เฉพาะจังหวัดของตนเองขึ้นมา จึงนาไปสู่การส่งเสริมการ
ทอ่ งเที่ยวเชิงวฒั นธรรมของทั้ง 3 จงั หวัดนั่นเอง

จากการเปรียบเทียบความเช่ือความศรัทธาของผู้คนจังหวัดสกลนคร นครพนม มุกดาหารผ่านบทเพลง
ส่งเสริมการท่องเที่ยว พบว่าผู้คนทั้ง 3 จังหวัดมีความเชื่อความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา และมีความเชื่อความ
ศรัทธาต่ออานาจเหนือธรรมชาติเหมือนกัน ได้แก่ อานาจความศักดิ์สิทธ์ิ ความโชคดี, ผู้คนในจังหวัดสกลนคร
และนครพนมยังมีความเช่ือความศรัทธาต่อพระธาตุเจดีย์เหมือนกันด้วย และจังหวัดนครพนมและมุกดาหารซึ่งมี
พ้ืนที่ติดกับแม่น้าโขง มีความเชื่อความศรัทธาต่อพญานาคเหมือนกัน นอกจากน้ียังมีข้อน่าสังเกตคือ จังหวัด
สกลนครให้ความสาคัญต่อความเช่ือความศรัทธาต่อศาสนาคริสต์ผ่านเทศกาลแห่ดาว สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพล
ทางด้านศาสนาคริสต์ในพนื้ ทจี่ ังหวัดสกลนครดว้ ย

บรรณานกุ รม
จินตนา ดารงค์เลิศ. (2533). วรรณกรรมเพลงลูกทุ่งขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม และการดาเนินชีวิต

ของชาวชนบทไทยท่ีปรากฏในเพลงลูกทุ่งไทย ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งท่ีสองจนถึงปัจจุบัน.
สถาบันไทยคดศี ึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
โชติ ศรสี วุ รรณ และเกริก ทว่ มกลาง. (2560). ภาคท่ี 1 ตานานพญานาค. วารสารตานานพญานาคและคาชะโนด
ปากทางส่เู มืองบาดาลม, ม.ป.ท.
ทัศน์ไท พลมณี. (2560). ความเชื่อและพิธีกรรมของชุมชนต่อปราสาทวัดพู แขวงจาปาสัก สปป.ลาว. วารสาร
ศลิ ปกรรมศาสตร์ : มหาวิทยาลยั ขอนแกน่ .
บุญชม ศรีสะอาด, พรวีนัส ข่วงสิมมา, ประวิทย์ รักษาแสง, ธารทิพย์ พลสิทธ์ิ, ณัฐพล โยธา. (2559). การศึกษา
ความเชื่อในการใช้พิธีเหยาเพ่ือรักษาอาการเจ็บป่วยของชาวผู้ไทยในหมู่บ้านนาตาล ตาบลเต่างอย
อาเภอเต่างอย จังหวดั สกลนคร. วารสารศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เบญจพร คล้ายเกตุ. (ม.ป.ป.). รอยพระพุทธบาทที่พระธาตุเชิงชุม. วารสารสานักศิลปากรที่ 8 ขอนแก่น
กรมศลิ ปากร.

นายวชั ระ ลานเจริญ I 2564 I ความเชอ่ื ความศรทั ธา ส่ือภาษาสบู่ ทเพลงสง่ เสริมการท่องเทีย่ วสกลนคร
นครพนม มุกดาหาร I สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนษุ ยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลยั ขอนแก่น

15

ประสทิ ธ์ิ แย้มศรี. (2548). ภาพลักษณ์ของผหู้ ญิงไทยในเพลงลูกทุ่ง ศึกษากรณีเพลงแนวคาเฟ่. วทิ ยานพิ นธ์
ศิลปศาสตรมหาบณั ฑิต สาขาวิชาภาษาไทย(กล่มุ วรรณคดี) มหาวทิ ยาลยั มหาสารคาม.

ผชู้ ว่ ยศาสตราจารยส์ ถิตย์ ภาคมฤค. (2564). การบรรยายทางคติชนวิทยาผ่านระบบออนไลน์ หัวข้อ “ความเชื่อ-
ภมู ปิ ัญญา”. คณะมนษุ ยศาสตรแ์ ละสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลยั ราชภฏั ราไพพรรณ.ี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุณี บุญพิทักษ์. (2549). การศึกษาความเชื่อในผลของความดี. วารสารการประชุมวิชาการ
ระดบั ชาติ คร้ังที่ 1 สถาบันวจิ ยั และพฒั นา : มหาวทิ ยาลัยราชภฏั กาแพงเพชร.

พรศักด์ิ พรหมแก้ว. (2544). ความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับการนับถือผี กับบทบาททางสังคมของชาวไทยที่
นับถือศาสนาพทุ ธในภาคใต้. งานวิจยั สานกั คณะกรรมการวฒั นธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ.

ม.ป.พ. (2528). ประวตั ิจังหวัดสกลนคร. กรุงเทพฯ : จินดาสาสน์ .
รองศาสตราจารย์รัตนา จันทร์เทาว์. (2559). พลวัตของบทบาทหน้าที่ประเพณีการแข่งเรือยาวในภาคอีสาน.

บทความวจิ ัย : วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ 33 (3).
เว็บไซต์จังหวัดนครพนม. (2553). ประวัติความเป็นมาของจังหวัดนครพนม. เข้าถึงได้จาก : http://www2.

nakhonphanom.go.th/content/history_office, สืบคน้ 14 ตุลาคม 2564.
สดุ าจนั ทร์ ไชยโวหาร. (2542). การสื่อความทางเพศจากวรรณกรรมเพลงลูกทุ่งของรักร้องหญิง ในช่วงปี พ.ศ.

2541. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวชิ าภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เสาวภาคย์ ดิสวัสดิ์. (2562). การใช้ภาษาและเน้ือหาในเพลงประชาสัมพันธ์จังหวัด. การค้นคว้าอิสระปริญญา

มหาบณั ฑิต ภาควิชาภาษาไทย บัณฑติ วทิ ยาลยั มหาวทิ ยาลยั ศิลปากร.
อิศราภรณ์ ประเสริฐศร. (2560). การศึกษาประเพณีฮีตสิบสอง เพ่ือออกแบบภาพประกอบ : กรณีศึกษาบุญ

เดือนห้า (ประเพณีสงกรานต์). ปริญญาศิลปประยุกต์บัณฑิต สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์
คณะศิลปประยุกต์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ : มหาวิทยาลยั อุบลราชธานี.
Benjawan Narasaj and Pakawadee Thongchompunuch. (2018). ตานานอุรังคธาตุกับวาทกรรมว่า
ด้วยการสร้างเจดีย์พระธาตุพนม. Proceedings of 14th International Conference on
Humanities and Social Sciences, Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen
University, Thailand.
Chittima Phutthanathanapa, Wanichcha Narongchai and Rukchanok Chumnanmak. ( 2 0 1 8 ) .
พุทธกับพราหมณ์ : ความเชื่อพญานาคในบริบทสังคมอีสาน . Proceedings of 14th
International Conference on Humanities and Social Sciences, Faculty of Humanities
and Social Sciences, Khon Kaen University, Thailand.

นายวชั ระ ลานเจริญ I 2564 I ความเชือ่ ความศรัทธา สอื่ ภาษาสบู่ ทเพลงส่งเสรมิ การทอ่ งเที่ยวสกลนคร
นครพนม มกุ ดาหาร I สาขาวชิ าภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสงั คมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่


Click to View FlipBook Version