การพัฒนาการเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้เพลงประกอบการสอนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองตูม จังหวัดอุดรธานี THE DEVELOPMENT OF VOCABULARY LEANING BY USING SONG FOR TEACHING OF GRADE 5 STUDENTS AT BAN NONG TOOM SCHOOL, UDON THANI PROVINCE นายภูมิพัฒน์ ปัจจุฐาเน รายงานวิจัยฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ครุศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ปีการศึกษา 2566 ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ก การพัฒนาการเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้เพลงประกอบการสอนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5 โรงเรียนบ้านหนองตูม จังหวัดอุดรธานี THE DEVELOPMENT OF VOCABULARY LEANING BY USING SONG FOR TEACHING OF GRADE 5 STUDENTS AT BAN NONG TOOM SCHOOL, UDON THANI PROVINCE นายภูมิพัฒน์ ปัจจุฐาเน สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ประจำปีการศึกษา 2566 ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข ชื่อเรื่อง การพัฒนาการเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้เพลงประกอบการสอนของนักเรียชั้น ประถมศึกษาปีที่5 โรงเรียนบ้านหนองตูม จังหวัดอุดรธานี ผู้วิจัย นายภูมิพัฒน์ ปัจจุฐาเน อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์พีชยา สุริยวงศ์ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม อาจารย์กรกฏ ป้านภูมิ ปีการศึกษา 2566 บทคดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้เพลงประกอบการ สอนก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองตูม จังหวัดอุดรธานี2)เพื่อศึกษา เจตติของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้เพลงประกอบการสอนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองตูม จังหวัดอุดรธานีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 16 คน โรงเรียนบ้านหนองตูม อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานีประจำปีการศึกษา 2566 ที่ได้มาจากการ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 12 แผน แบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียน (Pre – Post test) จำนวน 40 ข้อ แบบประเมินเจดคติต่อ วิธีการสอนโดยใช้เพลงประกอบการสอนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้คำศัพท์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5 จำนวน 12 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ ผลการวิจัยพบว่า 1)นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านคำศัพท์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2)นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถทางการ พูดภาษาอังกฤษ และความรู้ด้านคำศัพท์ โดยใช้กิจกรรมเพลง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
ค Title The Development of Vocabulary Learning by Using Songs for Teaching of Grade 5 Students at Ban Nong Toom School, Udon Thani Province Author Mr. Phoomipat patchuthane Research Advisor Ms.Peechaya Suriyawong Research Co-Advisor Mr.Korrakod Panpoom Academic year 2023 ABSTRACT The purpose of research were 1) investigate the effectiveness of vocabulary learning using songs as teaching aids before and after lessons for fifth-grade students at Nong Toom Elementary School in Udon Thani province, and 2) study the attitudes of students towards vocabulary learning through song-based teaching. The sample group consists of fifth-grade students from one classroom, totaling 16 students, at Nongtum Elementary School in Muang district, Udon Thani province, selected through purposive sampling. The research tools include 12 learning management plans, pre-post tests with 40 questions, and evaluation forms assessing feedback on teaching methods using songs for developing vocabulary learning. Data analysis involves using percentages, means, standard deviations, and both independent and non-independent t-tests in accordance with the research objectives. The research findings indicate that 1) students exhibit a significantly higher post-learning vocabulary learning performance compared to pre-learning, with statistical significance at the .05 level, and 2) students express a high level of satisfaction with learning to enhance their English speaking abilities and vocabulary knowledge through song-based activities, overall.
ง กิตติกรรมประกาศ รายงานการวิจัยฉบับนี้สำเร็จได้ด้วยความกรุณาจากอาจารย์พีชยา สุริยวงศ์อาจารที่ ปรึกษาและอาจารย์กรกฏ ป้านภูมิ อาจารที่ปรึกษาร่วมที่กรุณาให้คำปรึกษาคำแนะนำและแก้ไข ข้อบกพร่องต่างๆ ของงานวิจัยจนสำเร็จสมบูรณ์ และให้กำลังใจผู้วิจัยมาโดยตลอดจนสำเร็จเรียบร้อย ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง ขอบกราบขอบพระคุณ คุณครูศรัญญา มณฑาสุวรรณ ครูพี่เลี้ยง ที่ได้กรุณาเป็นกรรมการร่วม พิจารณา ตลอดจนให้คำปรึกษา คำแนะนำ แก้ไขงานวิจัยให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ขอกราบขอบพระคุณครูท่านผู้อำนวยการอัมราคำกิ่ง และคุณครูชิสณุพงศ์ หาญกล้า ที่กรุณา ให้ความอนุเคราะห์ในการตรวจสอบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยรวมถึงให้ข้อเสนอแนะตลอดระยะเวลา ดำเนินการวิจัย ขอกราบขอบพระคุณ คณะผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านหนอง ตูม อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานีทุกท่านที่อำนวยความสะดวกให้ความร่วมมือช่วยเหลือ และเป็น กำลังใจมาโดยตลอด ขอขอบใจ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5 โรงเรียนบ้านหนองตูม จังหวัดอุดรธานี ปีการศึกษา 2566 ทุกคนที่ให้ความร่วมมือในการทดลองเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ขอกลับขอบพระคุณ บิดา มารดา และสมาชิกทุกคนในครอบครัวของผู้วิจัยที่เป็นกำลังใจให้ ความช่วยเหลือ ให้ความเข้าใจจึง ทำให้งานสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดีตลอดระยะเวลาของการศึกษาจน สำเร็จขอขอบคุณ เพื่อนนักศึกษาปริญญาตรีสาขาวิชาภาษาอังกฤษทุกคน ที่คอยช่วยเหลือสนับสนุน ข้อมูลด้านการวิจัย และให้กำลังใจผู้วิจัยตลอดการศึกษา ประโยชน์และคุณค่าจากงานวิจัยนี้ผู้วิจัยขออุทิศกุศลแห่งความดีในครั้งนี้แด่ พระคุณบิดา มารดาผู้มีพระคุณ และครูอาจารย์ทุกท่านที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ในการทำงานวิจัยทำให้ผู้วิจัย ประสบความสำเร็จในครั้งนี้ ภูมิพัฒน์ ปัจจุฐาเน
จ สารบัญ หัวเรื่อง หน้า บทคัดย่อ ก ABSTRACT ข กิตติกรรมประกาศ ค สารบัญ ง สารบัญตราราง สารบัญรูปภาพ บทที่ 1 บทนำ 1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 1 วัตถุประสงค์ 2 สมมติฐานงานวิจัย 2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 2 ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา 3 วิธีดำเนินงาน 3 เนื้อหาสาระ 3 ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย 3 นิยามศัพท์เฉพาะ 3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 4 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 5 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 6 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับแผนการเรียนรู้ 9 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษ 11 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเพลง 14 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ในการเรียน 20 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับเจตคติ 22 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 25 กรอบแนวคิดงานวิจัย 27 บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย 29 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 29 รูปแบบการวิจัย 29 เครื่องมือที่ใชในการวิจัย 30
ฉ สารบัญ(ต่อ) หัวเรื่อง หน้า วิธีการสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ 30 การเก็บรวบรวมข้อมูล 42 ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 42 การวิเคราะห์ข้อมูล 43 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ 43 บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 45 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล 45 ลำดับขั้นตอนในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล 45 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 45 บทที่ 5 สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ 49 วัตถุประสงค์การวิจัย 49 สรุปผลการวิจัย 49 อภิปรายผล 49 ข้อเสนอแนะ 51 เอกสารอ้างอิง 52 ภาคผนวก 54 ภาคผนวก ก แผนการจัดการเรียนรู้ 55 ภาคผนวก ข แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คำศัพท์ก่อนเรียน – หลังเรียน 69 ภาคผนวก ค ผลการประเมินความสอดคล้องระหว่างผลการเรียนรู้ที่ดาดหวังและแบบทดสอบ 80 ภาคพนวก ง แบบประเมินเจตคติของผู้เรียน 84 ประวัติผู้วิจัย 88
ช สารบัญรูปภาพ หัวเรื่อง หน้า ภาพกรอบแนวคิดของงานวิจัย 28
ซ สารบัญตาราง หัวเรื่อง หน้า ตารางที่ 2.11 ที่แสดงคำถามต่อไปนี้ 18 ตารางที่ 3.1 แสดงแบบแผนการทดลองแบบ 29 ตารางที่ 3.2 Outline แผนการสอนโดยใช้เพลงประกอบการสอน 31 ตารางที่ 4.1 จะแสดงคะแนนผลสัมฤทธิ์ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ก่อนเรียน - หลังเรียน 46 ตารางที่ 4.2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความรู้ด้านดำศัพท์ภาษาอังกฤษ 47 ตารางที่ 4.3 เจตคติของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาการเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้เพลง 47 ตารางที่ 4.4 (ต่อ) 48
1 บทที่ 1 บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ภาษาเป็นเครื่องมือช่วยให้มนุษย์ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เป็นนามธรรมต่อกัน ไม่ว่าจะเป็นการ ติดต่อกับผู้อื่นในลักษณะใด ย่อมต้องอาศัยภาษาเป็นเครื่องมือ เช่น การแสดงความคิดเห็น การวางแผน การ ทำงานร่วมกัน เป็นต้น ภาษาจึงเป็นพฤติกรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นตัวให้เด็กมีพัฒนาการทางสังคม ช่วยให้เด็กเกิด ความมั่นคง ภาษาช่วยให้เกิดการเรียนรู้ ช่วยให้มีแนวคิด ความรู้สึก ตลอดจนเจตคติต่าง ๆ การปรับตัวของเด็ก จึงได้รับอิทธิพลมาจากการพูด (ศรียา นิยมธรรม และประภัสสร นิยมธรรม,2541) ปัจจุบันภาษาอังกฤษเป็น ภาษาต่างประเทศที่มีความสำคัญเนื่องจากเป็นภาษาสากล ทำให้ภาษาอังกฤษเข้ามามีบทบาทต่อ ชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การเรียนรู้ภาษาอังกฤษของเด็กไทยจึงมีความจำเป็นต่อ การใช้ชีวิตในยุคปัจจุบัน ดังนั้นเด็กไทยจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้เกิดความคุ้นเคยและสามารถ นำไปใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและถูกต้อง องค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งที่ช่วยให้เข้าใจภาษาได้ดี คือ ความ เข้าใจและรู้ความหมายของคำศัพท์ การที่เด็กจะพูดถูกต้องเนื่องมาจากการรู้คำศัพท์มาก และสามารถใช้ได้ อย่างเข้าใจ เหมาะสมกับสถานการณ์นั้น ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ และยัง สามารถใช้เกี่ยวกับการเรียน การผูกเรื่องราว การอ่านหนังสือ ฯลฯ ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า ความรู้เกี่ยวกับ คำศัพท์เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเรียนภาษาต่าง ๆ ที่สนใจ (Cross, 1992 อ้างถึงใน ฌลาธิป เหรียญทอง, 2550) ในการเรียนภาษาใดก็ตาม ทุกภาษามีองค์ประกอบที่สำคัญเหมือนกัน คือ เสียง คำศัพท์ และ ไวยากรณ์ การเรียนภาษาที่จะช่วยให้เข้าใจภาษาได้ดียิ่งขึ้น คือ ความเข้าใจโครงสร้างของภาษา และ การรู้ความหมายของคำศัพท์ (ดวงเดือน จังพานิช. 2542:3 ; อ้างอิงจาก Long and Richards. 1987: 305) ซึ่งกล่าวได้ว่าคำศัพท์เป็นองค์ประกอบหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของภาษา การที่ผู้เรียนได้เรียนรู้คำศัพท์ มากและสามารถนำมาใช้ได้อย่างถูกต้องคล่องแคล่วย่อมช่วยให้การเรียนภาษาได้ผลดี(ดวงเดือน แสงชัย. 2539: 118) ดังคำกล่าวที่ว่านักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษได้ดีนั้น จำเป็นต้องมีความแม่นยำและมีความคงทนใน การจำคำศัพท์ (สำเนา ศรีประมงค์. 2547: 2) การจำคำศัพท์ได้มากเท่าใดก็ย่อมได้เปรียบมากเท่านั้น และเมื่อ ยิ่งรู้หน้าที่การใช้คำศัพท์นั้นๆ ก็ถือว่าได้เปรียบมากอีกทั้งยังเกิดทักษะในการใช้ภาษาและจำได้ตลอดไป (นเรศ สุรสิทธิ์. 2544: 221) จะเห็นได้ว่าคำศัพท์เปรียบเสมือนองค์ประกอบพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อการเรียน ภาษาอังกฤษเป็นอย่างมาก ความสำคัญของคำศัพท์การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษาเพื่อให้นักเรียนสามารถ อ่านออกเขียนได้ อย่างเหมาะสมกับระดับชั้นเรียน ผู้สอนมักจะดำเนินการสอนโดยเริ่มตั้งแต่การสอนศัพท์สอน อ่าน แล้วจึงสอนโครงสร้างของประโยค คำศัพท์จึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของภาษาที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ ข้อความประโยคและโครงสร้างของภาษา ดังนั้นสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(2547) ได้กล่าวถึง ความสำคัญของคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่าคำศัพท์จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจความหมายของคำ สามารถเรียงลำดับ ตัวอักษรได้ถูกต้อง กล้าพูด อ่าน และเขียนเป็นประโยคอย่างมั่นใจ สรุปศัพท์ภาษาอังกฤษมีความสำคัญเพราะ
2 จะช่วยให้เข้าใจความหมายของคำที่อ่าน อันจะนำไปสู่การพูด การฟัง การอ่านและการเขียนอย่างมีความหมาย ที่ถูกต้อง จากประสบการณ์ของผู้วิจัยในจัดการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาอังกฤษพบว่านักเรียนส่วนใหญ่ไม่ สามารถจำคำศัพท์และเรียนรู้คำได้ดีพอ ซึ่งเมื่อนักเรียนไม่สามารถจำคำศัพท์ จึงเป็นเรื่องยากที่นักเรียนจะเรียน เรื่องต่างๆ ที่ต่อยอดต่อไปได้ จากปัญหาที่พบนี้ทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะพัฒนาทักษะการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้คำคล้องจองซึ่งจะช่วยให้เด็กจดจำแล้วเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินมากขึ้นเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาเรื่อง ความคงทนในการจดจำคำศัพท์ โดยคำคล้องจองจะทำให้เด็กมีความเพลิดเพลินกับการได้ท่องคำคล้องจอง ทั้งนี้เด็กบางคนอาจมีจินตนาการ คล้อยตามไปกับเนื้อหาในคำคล้องจองนั้นด้วย ซึ่งสอดคล้องกับความหมาย ที่ว่าคำคล้องจองจึงมีความสำคัญสำหรับเด็กชั้นประถมศึกษาอย่างมากทางด้านสังคม เด็กได้ฝึกความมีระเบียบ วินัย เรียนรู้ข้อตกลงกฎระเบียบภายในห้องเรียน และทางด้านสติปัญญา เด็กได้ฝึกความจำ เข้าใจบทเรียนดี ยิ่งขึ้น และที่สำคัญเด็กมีพัฒนาการทางภาษาและคำศัพท์เพิ่มขึ้น จินตนา ใบกาซูยี (2551) ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมี ความสนใจที่จะทำการทดลองเรื่อง การพัฒนาการพัฒนาทักษะการเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้เพลงประกอบการสอน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองตูม จังหวัดอุดรธานีเพื่อให้เด็กมีความคุ้นเคยกับ ภาษาอังกฤษ และสามารถใช้คำศัพท์อย่างง่ายในชีวิตประจำวันได้ รวมทั้งเป็นพื้นฐานในการเรียนภาษาอังกฤษ ระดับชั้นที่สูงขึ้นต่อไป วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้เพลงประกอบการสอนก่อนและหลังเรียนของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองตูม จังหวัดอุดรธานี 2. เพื่อศึกษาเจตติของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้เพลงประกอบการสอนของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองตูม จังหวัดอุดรธานี สมมติฐานงานวิจัย 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้เพลงประกอบการสอนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองตูมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองตูมมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้คำศัพท์โดยการใช้ เพลงประกอบการสอน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1. ประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนบ้านหนองตูม จังหวัดอุดรธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 126 คน ซึ่งการจัดนักเรียนในแต่ละห้องเรียนเป็น แบบคละความสามารถ 2. กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองตูมจังหวัดอุดรธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 16 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
3 ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ตัวแปรอิสระ คือ วิธีการสอนโดยใช้เพลงประกอบการสอน ตัวแปรตาม คือ ความรู้ด้านคำศัพท์ วิธีดำเนินงาน 1. ศึกษาข้อมูล - ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร ตำรา งานวิจัย - การสัมภาษณ์ - การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย - แบบสอบถาม - แบบทดสอบ - แผนการสอน 3. การเก็บรวบรวมข้อมูล 4. วิเคราะห์ข้อมูล เนื้อหาสาระ คำศัพท์ที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ ได้แก่ คำศัพท์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ระดับช่วงชั้นประถมศึกษาที่ 5 และได้คัดเลือกจากหนังสือ Book Smile Unit 1-6 จำนวน 120 คำ ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ผู้วิจัยทดลองโดยใช้เพลงประกอบการสอนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โดยระยะเวลาในการ ทดลองจำนวน 3 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 คาบ คาบละ 60 นาที รวมทั้งสิ้น 12 คาบ ซึ่งไม่รวมคาบการทดสอบ ก่อนและหลังเรียน นิยามศัพท์เฉพาะ 1.การสอนโดยใช้เพลง หมายถึง การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยการนำเพลง คำคล้องจอง หรือกิจกรรมเข้าจังหวะ(Chant)ที่มีจังหวะมาเป็นตัวช่วยในกิจกรรมของบทเรียน 2.การเรียนรู้คำศัพท์หมายถึง ความรู้ ความจําและความเข้าใจ ในด้านความหมายของคําศัพท์การ สะกดคํา และความสามารถในการนําคําศัพท์ไปใช้ในโครงสร้างภาษาอังกฤษซึ่งวัดได้จากแบบทดสอบวัดผล การเรียนรู้คําศัพท์ที่ ผู้วิจัยสร้างขึ้น
4 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ระดับของคะแนนที่ได้จากแบบทดสอบด้านคำศัพท์ เช่น การ เติมคำศัพท์ การบอกความหมายของคำศัพท์ และการนำคำศัพท์ไปใช้ได้อย่างถูกต้อง ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. นักเรียนพัฒนาทักษะกระการบวนการคิด จดจำ และมีผลสมฤทธิ์ที่ดีในการเรียนภาษาอังกฤษ 2. นักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษด้วยเพลง
5 บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้เพลงประกอบการ สอนก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองตูม จังหวัดอุดรธานี2) เพื่อ ศึกษาเจตติของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้เพลงประกอบการสอนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองตูม จังหวัดอุดรธานีซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้ 1. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการ เรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 2. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับแผนการเรียนรู้ 2.1 ความหมายของแผนการจัดการเรียนรู้ 2.2 ประโยชน์ของแผนจัดการเรียนรู้ 2.3 การทำแผนการจัดการเรียนรู้ 3. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษ 3.1 ความหมายของคำศัพท์ 3.2 ความสำคัญของคำศัพท์ 3.3 ประเภทของคำศัพท์ 3.4 องค์ประกอบของคำศัพท์ 3.5 หลักการเลือกคำศัพท์เพื่อนำมาสอน 4. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับเพลง 4.1 ความหมายของเพลง 4.2 วัตถุประสงค์ในการใช้เพลงในการสอน 4.3 บทบาทของเพลงต่อการสอน 4.4 รูปแบบของเพลง 4.5 ขั้นตอนการใช้เพลงในการสอน 5. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ในการเรียน 5.1 ความหมายของผลสัมฤทธิ์ 5.2 องค์ประกอบของผลสัมฤทธิ์ในการเรียน 3.3 การวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียน 6. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับเจตคติ 6.1 ความหมายของเจตคติ 6.2 แนวคิดทฤษฎีหลักการที่เกี่ยวข้องกับเจตคติ
6 7. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 7.1 งานวิจัยในประเทศ 7.2 งานวิจัยต่างประเทศ 8. กรอบแนวคิดงานวิจัย 8.1 ความหมายของกรอบแนวคิด 8.2 ภาพกรอบแนวคิดของงานวิจัย 1.เอกสารที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ ผู้วิจัยได้นำเสนอเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภายาต่างประเทศ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551 : 1-71) ดังนี้ 1.1 ทำไมต้องเรียนภาษาต่างประเทศ ในสังคมโลกปัจจุบัน การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน เนื่องจากเป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสาร การศึกษา การแสวงหาความรู้ การประกอบอาชีพ การสร้าง ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมและวิสัยทัศน์ของชุมชนโลก และตระหนักถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม และมุมมองของสังคมโลก นำมาซึ่งมิตรไมตรีและความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีความ เข้าใจตนเองและผู้อื่นดีขึ้น เรียนรู้และเข้าใจความแตกต่างของภายาและวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี การคิด สังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง มีเจตคติที่ดีต่อการใช้ภาษาต่างประเทศ และใช้ ภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสารได้ รวมทั้งเข้าถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ ได้ง่ายและกว้างขึ้นและมีวิสัยทัศน์ในการ ดำเนินชีวิตภาษาต่างประเทศที่เป็นสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ซึ่งกำหนดให้เรียนตลอดหลักสูตรการศึกยาขั้น พื้นฐาน คือ ภาษาอังกฤษ ส่วนภาษาต่างประเทศอื่น เช่น ภาบฝรั่งเศส เยอรมัน จีน ญี่ปุ่น อาหรับ บาลี และ ภาษากลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน หรือภายาอื่น ๆ ให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษาที่จะจัดทำรายวิชาและจัดการ เรียนรู้ตามความเหมาะสม 1.2 เรียนรู้อะไรในภาษาต่างประเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ มุ่งหวังให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อภาษาต่างประเทศ สามารถใช้ ภาษาต่างประเทศ สื่อสารในสถานการณ์ต่าง ๆ แสวงหาความรู้ประกอบอาชีพ และศึกษาต่อ ในระดับที่สูงขึ้น รวมทั้งมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องราวเเละวัฒนธรรมอันหลากหลายของประชาคมโลก และสามารถถ่ายทอด ความคิดและวัฒนธรรมไทยไปยังสังคมโลกได้อย่างสร้างสรรค์ ประกอบด้วยสาระสำคัญดังนี้ 1. ภาษาเพื่อการสื่อสาร การใช้ภาษาต่างประเทศในการฟัง-พูด-อ่าน-เขียน แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สึกและความคิดเห็น ตีความ นำเสนอข้อมูลความคิดรวบยอดและความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ และ สร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอย่างเหมาะสม
7 2. ภาษาและวัฒนธรรมการใช้ภาษาต่างประเทศตามวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาความสัมพันธ์ ความ เหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภายา กับวัฒนธรรมไทย และนำไปใช้อย่างเหมาะสม 3. ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น การใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้ กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น เป็นพื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้และเปิดโลกทัศน์ของตน 4. ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลกการใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งใน ห้องเรียนและนอกห้องเรียน ชุมชน และสังคมโลก เป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อประกอบอาชีพ และ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก 3. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ สาระที่ 1 ภายาเพื่อการสื่อสาร มาตรฐาน ต 1.1 เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่าง ๆ และแสดง ความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล มาตรฐาน ต 1.2 มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารแสดง ความรู้สึก และความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ มาตรฐาน ต 1.3 นำเสนอข้อมูลข่าวสารความคิดรวบยอดและความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ โดยการพูดและการเขียน สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม มาตรฐาน ต 2.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาและ นำไปใช้ ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ มาตรฐาน ต 2.2 เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของ เจ้าของภาษากับภาษาและวัฒนธรรมไทยและนำมาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม สาระที่ 3 ภายากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น มาตรฐาน ต 3.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และเป็นพื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน สาระที่ 4 ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก มาตรฐาน ต 4.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในสถานศึกษาชุมชนและ สังคม มาตรฐาน ต 4.2 ใช้ภายาต่างประเทศเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อการประกอ อาชีพและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก
8 4. คุณภาพผู้เรียน เมื่อนักเรียนเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความสามารถ ดังนี้ 1. ปฏิบัติตามคำสั่ง กำขอร้อง และคำแนะนำที่ฟังและอ่าน อ่านออกเสียง ประโยค ข้อความ นิทาน และบทกลอนสั้น ๆ ถูกต้องตามหลักการอ่าน เลือก/ระบุประโยคและข้อความตรงตามความหมายของ สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายที่อ่านบอกใจความสำคัญและตอบคำถามจากการฟังและอ่าน บทสนทนา นิทาน ง่าย ๆ และเรื่องเล่า 2. พูดเขียนโต้ตอบในการสื่อสารระหว่างบุคคล ใช้คำสั่ง คำขอร้อง และให้คำแนะนำ พูดเขียน แสดงความต้องการ ขอความช่วยเหลือ ตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ง่าย ๆ พูดและ เขียนเพื่อขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง เพื่อน ครอบครัว และเรื่องใกล้ตัว พูด/เขียนแสดงความรู้สึกเกี่ยวกับ เรื่องต่าง ๆ ใกลัตัว กิจกรรมต่างๆ พร้อมทั้งให้เหตุผลสั้น ๆ ประกอบ 3. พูดเขียนให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง เพื่อน และสิ่งแวคล้อมใกล้ตัวเขียนภาพเผนผัง แผนภูมิ และตารางแสดงข้อมูลต่าง ๆ ที่ฟังและอ่าน พูดเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ใกล้ตัว 4. ใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง และกิริยาท่าทางอย่างสุภาพเหมาะสมตามมารยาทสังคมและวัฒนธรรม ของเจ้าของภาษา ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเทศกาล/วันสำคัญ/งานฉลอง/ชีวิตความเป็นอยู่ของเจ้าของภาษาเข้าร่วม กิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมตามความสนใจ 5. บอกความเหมือน/ความแตกต่างระหว่างการออกเสียงประโยคชนิดต่าง ๆ การใช้ เครื่องหมายวรรคตอน และการลำดับคำตามโครงสร้างประโยดของภาษาต่างประเทศและภาษาไทย เปรียบเทียบความเหมือน/ความแตกต่างระหว่างเทศกาล งานฉลองและประเพณีของเจ้าของภายากับของไทย 6. ค้นคว้า รวบรวมคำศัพท์ที่เกี่ยวช้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นจากแหล่งการเรียนรู้ และ นำเสนอด้วยการพูด/การเขียน 7.ใช้ภาษาสื่อสารในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในห้องเรียนและสถานศึกษา 8. ใช้ภาษาต่างประเทศในการสืบต้นและรวบรวมข้อมูลต่างๆ 9. มีทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ (เน้นการฟัง-พูด-อ่าน-เขียน)สื่อสารตามหัวเรื่องเกี่ยวกับ ตนเองครอบครัว โรงเรียน สิ่งแวดล้อม อาหาร เครื่องดื่ม เวลาว่างและนันทนาการ สุขภาพและสวัสดิการ การ ซื้อ-ขาย และลมฟ้าอากาศ ภายในวงดำศัพท์ประมาณ 1,050-1,200 คำ (คำศัพท์ที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม) 10. ใช้ประโยคเดี่ยวและประโยคผสม (Compound Sentences) สื่อความหมายตามบริบท ต่างๆ สรุปได้ว่า หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ทำไม ต้องเรียนภาษาต่างประเทศ เรียนรู้อะไรในภายาต่างประเทศ สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ คุณภาพผู้เรียน ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง ที่มุ่งเน้นในการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียน สามารถใช้ภายาในการสื่อสารกับผู้อื่นได้ อันจะนำไปสู่การเน้นให้ผู้เรียนพึ่งพาตัวเอง ได้ และสามารถเรียนได้ ตลอดชีวิต
9 2.เอกสารที่เกี่ยวข้องกับแผนการเรียนรู้ 2.1 ความหมายของแผนการจัดการเรียนรู้ กรมวิชาการ (2545 : 11) ได้ให้ความหมายของแผนการจัดการเรียนรู้ว่า เป็นการจัดโปรแกรมการ สอนของวิชาใดวิชาหนึ่งไว้ล่วงหน้าเพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุจุดมุ่งหมายณัฐวุฒิ กิจรุ่งเรื่อง และคณะ (2545 : 53) ได้ให้ความหมายของแผนการจัดการเรียนรู้ว่าแผนการจัดการเรียนรู้ (Lesson PIan) หมายถึง การเตรียมการจัดการเรียนรู้ไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบและเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการ ดำเนินการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาใดวิชาหนึ่งให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่หลักสูตรกำหนด ถวัลย์ มาศจรัส (2546 : 32) ให้ความหมายของแผนการจัดการเรียนรู้ไว้ว่า หมายถึงการนำวิซาการ หรือกลุ่มประสบการณ์ที่จะต้องสอนตลอด ภาคเรียน มาสร้างเป็นแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตลอด ภาคเรียน โดยมีจุดประสงค์การเรียนการสอน เนื้อหาสาระกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อและการวัดผล ประเมินผล โดยให้สอดคล้องกับจุดเน้นของหลักสูตร สภาพผู้เรียน ความพร้อมของโรงเรียน สำลี รักสุทธี (2546 : 16) ให้ความหมายของแผนการจัดการเรียนรู้ไว้ว่า เป็นการนำวิชาหรือกลุ่ม ประสบการณ์ ที่ต้องทำการสอนตลอดภาคเรียนมาสร้างเป็นแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อ อุปกรณ์การสอน และการวัดผลประเมินผล สำหรับเนื้อหาและจุดประสงค์การเรียนย่อย ๆให้สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ หรือจุดเน้นของหลักสูตร สภาพผู้เรียนความพร้อมของโรงเรียน ในด้านวัสดุอุปกรณ์ตรงกับชีวิต จริงในท้องถิ่น ซึ่งกล่าวอีกนัยหนึ่งแผนการจัดการเรียนรู้ก็คือ การเตรียมการสอนเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้า หรือบันทึกการสอนตามปกตินั่นเอง สุวิมล สุวรรณจันดี (2554 : 7) ให้ความหมายของแผนการจัดการเรียนรู้ไว้ว่า แผนการจัดการเรียนรู้ คือ การเตรียมการสอนของครู ซึ่งจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร และมีการเตรียมการสอนไว้อย่างเป็นระบบ ขั้นตอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการจัดการเรียนการสอน และเครื่องมือวัดผลประเมินผล ช่วย พัฒนากระบวนการเรียนรู้ของการจัดการศึกษา ช่วยให้ครูบรรลุวัตถุประสงค์ไปสู่เป้าหมายของการจัด การศึกษาตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ ดังที่กล่าวมาแล้วสรุปได้ว่า แผนการจัดการเรียนรู้ คือ การวางแผนการจัดการเรียนรู้ โดยจัดทำเป็น ลายลักษณ์อักษรไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบตามขั้นตอน ประกอบด้วย สาระสำคัญจุดประสงค์การเรียนรู้ สาระ การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ และการวัดผลและประเมินผล เพื่อให้ผู้สอนสามารถ นำไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแก่ผู้เรียน พัฒนาผู้เรียนให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้ 2.2 ประโยชน์ของแผนจัดการเรียนรู้ ณัฐวุฒิ กิจรุ่งเรื่อง และคณะ (2545 : 53) กล่าวถึงประโยชน์ของแผนการจัดการเรียนรู้ไว้ว่า ช่วยให้ การเรียนรู้สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ ความต้องการของผู้เรียน สามารถเตรียมวัสดุอุปกรณ์ และ แหล่งเรียนรู้ให้พร้อมก่อนทำการสอนจริง ทำให้ผู้สอนมีความมั่นใจและเชื่อมั่นในการจัดการเรียนรู้ ทำให้ผู้อื่น สอนแทนได้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็น เป็นหลักฐานในการพิจารณาผลงานและคุณภาพในการปฏิบัติการสอนและ เป็นเครื่องบ่งซี้ความเป็นวิชาชีพของครูผู้สอน
10 สำลี รักสุทธิ์(2546 : 101) กล่าวถึงประโยชน์ของแผนการจัดการเรียนรู้ไว้ว่า แผนการจัดการเรียนรู้ ช่วยให้กระบวนการจัด วัด อย่างเป็นระบบ รัดกุม ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวเป็นลำดับ ขั้นตอนจากหัวไปท้าย จากง่ายไปยาก เป็นรูปธรรมชัดเจน มองเห็นความเคลื่อนไหวของกิจกรรมอย่างสอดคล้องเป็นลูกโซ่สัมพันธ์กัน ตลอดตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ นักเรียนได้ร่วมกิจกรรมอย่างมีชีวิตชีวา มีความสุขสนุกสนานกับการเรียน และ นักเรียนเป็นจุดศูนย์กลางการเรียนรู้ สุวิมล สุวรรณจันดี (2554 : 10) กล่าวถึงประโยชน์ของแผนการจัดการเรียนรู้ไว้ว่า ช่วยให้ผู้สอนมี ความมั่นใจในการสอน สามารถจัดเตรียมสื่อ วัสดุอุปกรณ์ อีกทั้งจัดเตรียมกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้ สอดคล้องกับท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังนำไปเสนอเป็นผลงานวิชาการได้ สรุปได้ว่าแผนการจัดการเรียนรู้มีประโยชน์เพราะเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามลำดับ ขั้นตอนอย่างเป็นระบบไว้ล่วงหน้า เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ รวมทั้งมีการเตรียมวัสดุอุปกรณ์และสื่อการ สอน ทำให้เกิดความพร้อมและความมั่นใจเมื่อทำการสอน ผู้เรียนร่วมกิจกรรมได้อย่างเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน ตั้งแต่ต้นจนจบเป็นการแสดงถึงประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอน และสามารถให้ผู้อื่นสอนแทนหรือ นำไปใช้กับผู้เรียนกลุ่มอื่นได้ 2.3 การทำแผนการจัดการเรียนรู้ 2.3.1 ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรสถานศึกษา โดยศึกษา ขอบข่ายของเนื้อหารายวิชาและจุดประสงค์การเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศในระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 2.3.2 ศึกษาทฤษฎี หลักการ งานวิจัยและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนด้วยการใช้ เพลงเป็นกิจกรรมหลักประกอบการเรียนการสอน เพื่อสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ 2.3.3 ศึกษาคำศัพท์ที่จะใช้สอน เพื่อคัดเลือกคำศัพท์ที่จะใช้สอนจำนวน 60 คำซึ่งประกอบด้วยคำ เดี่ยว เช่น move คำประสม เช่น grocery store และคำวลี เช่น do the laundry โดยคัดเลือกจากคำศัพท์ที่ อยู่ในแบบเรียน Book Smile 5 2.3.4 นำคำศัพท์และเพลงที่คัดเลือกไว้ ไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นอาจารย์ ผู้สอนภาษาอังกฤษในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนบ้านหนองตูม ตรวจดูว่าคำศัพท์เพลงและบท พูดเข้าจังหวะที่คัดเลือกมานั้นมีความยากง่าย สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายและผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของทาง โรงเรียนเพียงใด 2.3.5 สร้างแผนการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษด้วยการใช้เพลง และบทพูดเข้าจังหวะ เป็นกิจกรรมหลักในการจัดการเรียนการสอน จำนวน 12 แผน ขั้นตอนในแผนการจัดการเรียนรู้มีดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นเร้าความสนใจ (Warm-up activity) ขั้นที่ 2 ขั้นนำ เสนอเนื้อหา (Presentation) ขั้นที่ 3 ขั้นการฝึกทักษะ (Practice) ขั้นที่ 4 ขั้นการนำ ไปใช้ (Production)
11 ขั้นที่ 5 ขั้นสรุป (Wrap up) 2.3.6 นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาอังกฤษจากมหาวิทยาลับ ราชภัฏอุดรธานีจำนวน 2 ท่าน และจากโรงเรียนบ้านหนองตูม จำนวน 1 ท่านตรวจสอบความถูกต้องของการ ใช้ภาษา ความเหมาะสมของเนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและวิธีการวัดประเมินผล เพื่อหาค่า ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา(Content Validity) เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมยิ่งขึ้น 2.3.7 นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ได้รับการปรับปรุง 2.3.8 นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านการปรับปรุงแล้ว ไปใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง 3.เอกสารที่เกี่ยวข้องกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษ 3.1 ความหมายของคำศัพท์ พรสวรรค์ สีป้อ (2550, หน้า 128) ได้ให้ความหมายของคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ว่าหมายถึงเป็นหน่วย เสียงหลายๆ หน่วยเสียงมารวมกันเป็นข้อมูลที่รวบรวมความหมาย และการออกเสียงของคำที่ใช้ในการสื่อสาร คำศัพท์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการ คือ รูปคำ และความหมาย Wan gru (2016) ได้ให้ความหมายของคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ว่าหมายถึง คำทุกคำในภาษาคำศัพท์ เป็นพื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์ และมีการเชื่อมโยงกันอย่างมีความสัมพันธ์กับความหมาย Hunt and Feng (2016) ได้ให้ความหมายของคำศัพท์ ว่าหมายถึง คำที่มีความหมาย ที่มีการสะกด อ่านออกเสียงได้ มีรูปแบบของคำ มีวากยสัมพันธ์ และอาจจะมีหลายความหมายในคำๆเดียว พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2530:853) ได้ ให้ความหมายของคำศัพท์ไว้ว่า คำศัพท์ หมายถึง กลุ่มเสียง เสียงพูด หรือลายลักษณ์อักษรที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้น เพื่อแสดงความคิดเป็นคำหรือคำยากที่ต้องแปล มอร์ริส (Morris. 1979: 143) ได้ให้ความหมายของคำศัพท์ไว้ว่า คำศัพท์ หมายถึง คำทุกคำในภาษาที่ ถูกใช้และเป็นที่เข้าใจในเฉพาะบุคคล วงสังคม วงการอาชีพ เชื้อซาติ หรือรายการคำหรือวลีที่ถูกจัดเรียงตาม ระบบการเรียงอักษร พร้อมกับมีการอธิบายความหมาย แปล หรือยกตัวอย่างประกอบ ศิธร แสงธนู และ คิด พงษ์ทัต (2541: 35) ได้ให้ความหมายของคำศัพท์ไว้ว่า คำศัพท์หมายถึง กลุ่ม เสียงกลุ่มหนึ่งซึ่งมีทั้งความหมายให้รู้ว่าเป็นคน สิ่งของ อาการหรือลักษณะอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง จากความหมายของคำศัพท์ที่กล่าวมาแล้วนั้น สรุปได้ว่า คำศัพท์ คือ คำ วลี ที่มีการสะกดคำ อ่าน ออกเสียงคำกลุ่มหนึ่งในภาษาและนำไปใช้สร้างประโยค ซึ่งมีความหมายที่มนุษย์ในสังคมใช้เป็นเครื่องมือสื่อ ความหมาย สื่อความรู้ความคิดระหว่างบุคคลในสังคมหรือชนชาติ 3.2 ความสำคัญของคำศัพท์ ในการเรียนภาษาอังกฤษนั้นสิ่งที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญของผู้เรียนก็คือการเรียนรู้คำศัพท์มีนักการศึกษา และผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวถึงความสำคัญของคำศัพท์ภาษาอังกฤษไว้ดังต่อไปนี้
12 สตีวิค (Stewick. 1972: 2) กล่าวว่า ในการเรียนภาษานั้นการเรียนรู้คำศัพท์ของภาษาใหม่ ถือว่าเป็น เรื่องที่สำคัญมาก ความสำเร็จในการเรียนภาษาต่างประเทศส่วนหนึ่งนั้น ขึ้นอยู่กับ ความสามารถในการใช้ องค์ประกอบของภาษาซึ่งประกอบด้วย เสียง โครงสร้างและคำศัพท์ ซึ่ง องค์ประกอบทั้งสามประการนี้จะช่วย ให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเรื่องที่ผู้อื่นพูด และสามารถพูดให้ผู้อื่น เข้าใจได้ คำศัพท์จึงนับเป็นหัวใจสำคัญอย่าง หนึ่งในการเรียนภาษา โดยถือว่าผู้เรียนได้เรียนรู้ ภาษาต่างประเทศก็ต่อเมื่อ 1. ได้เรียนรู้ระบบเสียง คือ สามารถพูดได้ดีและสามารถเข้าใจได้ 2. ได้เรียนรู้และสามารถใช้โครงสร้างของภาษานั้นๆ ได้ 3. ได้เรียนรู้คำศัพท์จำนวนมากพอสมควร และสามารถนำมาใช้ได้ กาเดสซี่ (Ghadessy, 1998: 24) กล่าวว่า คำศัพท์มีความสำคัญยิ่งกว่าโครงสร้างทาง ไวยากรณ์ เพราะคำศัพท์เป็นพื้นฐานของการเรียนภาษา หากผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ จะสามารถนําคำศัพท์มา สร้างเป็นหน่วยที่ใหญ่ขึ้น เช่น วลี ประโยค เรียงความ แต่หากไม่เข้าใจ คำศัพท์ ก็ไม่สามารถเข้าใจหน่วยทาง ภาษาที่ใหญ่กว่าได้เลย ดังนั้นในบรรดาองค์ประกอบทั้งหลาย ของภาษา “คํา” เป็นสิ่งที่เรารู้จักมากที่สุด ภาษา ก็คือการนําคํามารวมกัน (A language is a collection of words.) นั่นเอง พิตรวัลย์ โกวิทวที (2540: 17) กล่าวว่า คำศัพท์มีความสำคัญและเป็นพื้นฐานในการที่จะ นําไปใช้ ประโยชน์ในการสื่อสารทางภาษาทุกๆ ด้านโดยเฉพาะการสอนภาษาเพื่อสื่อความหมาย จากการศึกษาดังกล่าวข้างต้น พอสรุปได้ว่า คำศัพท์เป็นปัจจัยพื้นฐานในการเรียนภาษา ทุกภาษา เพราะการรู้คำศัพท์ช่วยให้สื่อความหมายได้ดี และการที่จำคำศัพท์ได้มากจะทำให้สามารถสื่อความหมายได้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 3.3 ประเภทของคำศัพท์ นักภาษาศาสตร์ได้แบ่งประเภทของคำศัพท์ไว้หลายรูปแบบ ดังเช่น ฟินอคชิอาโร (Finocchiaro. 1983: 136) ได้จําแนกคำศัพท์ออกเป็น 2 ประเภท ตามลักษณะของการ ใช้ ดังนี้ 1. Active vocabulary คือ คำศัพท์ที่ผู้เรียนในระดับนั้นๆ ได้พบเห็นบ่อยๆ ทั้งในการฟัง พูด อ่าน และเขียน ควรจะใช้ให้เป็นและใช้ได้อย่างถูกต้อง ฉะนั้น คำศัพท์ประเภทนี้ครูจะต้องฝึกฝนบ่อยๆ ซ้ำๆ จน สามารถใช้คําในประโยคได้ ทั้งในการพูด (Speaking) และการเขียน (Writing) ซึ่งถือว่าเป็น ทักษะขั้น Production คำศัพท์ประเภทนี้ได้แก่ คำศัพท์ที่เกี่ยวกับบ้าน เวลา วัน เดือน ปี ฤดูกาล อากาศ อาหาร ส่วน ต่างๆ ของร่างกาย เครื่องนุ่งห่ม ตลอดจนคําซึ่งบรรยายลักษณะทางกายภาพ (Physical characteristics) ได้แก่ รูปร่าง สี น้ำหนัก และรส 2. Passive vocabulary คือ คำศัพท์ที่ผู้เรียนในระดับนั้นๆ พบเห็นและนําไปใช้น้อย การสอนคำศัพท์ ประเภทนี้มุ่งเพียงสอนให้รู้ความหมาย ไม่จำเป็นต้องฝึกเหมือน Active vocabulary ทั้งนี้เนื่องจากผู้เรียนใน ระดับนั้นยังไม่จำเป็นต้องใช้ แต่คำศัพท์เหล่านี้อาจกลายเป็น Active vocabulary เมื่อผู้เรียนนั้นเรียนรู้ใน ระดับสูงขึ้น
13 ขณะเดียวกันเดลและคณะ (Dale and others. 1999 : 37-38) ได้จําแนกคำศัพท์ออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. Content Words คือ คำศัพท์ประเภทที่เราบอกความหมายได้โดยไม่ต้องขึ้นอยู่กับ โครงสร้างของ ประโยค เป็นคำศัพท์ที่มีความหมายตามพจนานุกรม หรือเปลี่ยนความหมายไปเมื่ออยู่ ในตำแหน่งที่ต่างกันใน ประโยค ได้แก่ คํานาม คำกริยา คำคุณศัพท์ และคําวิเศษณ์ 2. Function Words คือ คําที่มีความหมายในตัวเองน้อยมาก หรือไม่อาจกำหนดความหมายให้ได้เมื่อ อยู่โดด ๆ แต่เมื่อคําเหล่านี้ปรากฏในประโยคแล้วจะทำให้ประโยคนั้นได้ใจความ ถูกต้องตามโครงสร้างของ ภาษา ได้แก่ คําสรรพนาม และคําบุพบท กล่าวโดยสรุปได้ว่า ประเภทของคำศัพท์นั้นแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทตามลักษณะการแบ่ง ของ นักภาษาศาสตร์แต่ละคน นักภาษาศาสตร์คนแรกจําแนกได้ว่า คำศัพท์มีทั้งคําที่ผู้เรียนในแต่ละ ระดับได้พบ เห็นในชีวิตประจำวันและคำศัพท์ที่พบเห็นน้อยครั้ง นักภาษาศาสตร์อีกท่านหนึ่งจําแนกออกเป็น คำศัพท์ที่ บอกความหมายได้โดยไม่ต้องขึ้นอยู่กับโครงสร้างของประโยคและคำศัพท์ที่มี ความหมายในตัวเองน้อยมาก แต่เมื่ออยู่ในประโยคแล้วทำให้ได้ใจความถูกต้องตามโครงสร้างทางภาษา ซึ่งแต่ละประเภทจะต้องใช้วิธีสอนที่ แตกต่างกัน โดยคำนึงถึงความสามารถที่จะนําไปใช้ในการ สื่อสารให้เหมาะสม 3.4 องค์ประกอบของคำศัพท์ ชมิท (Sc hmitt. 2000: 35) กล่าวถึงองค์ประกอบหลักที่สำคัญของคำศัพท์ภาษาอังกฤษไว้ดังนี้ 1. รูปคำ (Form) คือ รูปร่างหรือการสะกดตัวของคำนั้นๆ แบ่งออกได้เป็น 1.1 รูปคำในการเขียน (Written Form หรือ Orthographical) 1.2 รูปคำในการพูด (Spoken Form หรือ Phonological) 2. ความหมาย (Meaning) คือ ความหมายของคำศัพท์นั้นๆ ซึ่งจะเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างคำศัพท์นั้นกับ สิ่งที่อ้างถึงหรือสิ่งที่เกี่ยวข้องด้วย กล่าวโดยสรุป องค์ประกอบหลักของคำศัพท์ภาษาอังกฤษมี 2 ประการ คือ รูปคำและความหมาย 3.5 หลักการเลือกคำศัพท์เพื่อนำมาสอน แม็ควอร์เทอร์ ( Mc Whorter. 1990: 52 ) กล่าวว่า ในการเลือกคำศัพท์ ผู้สอนควรเลือกคำศัพท์ที่มี ประโยชน์และใช้มากกับตัวผู้เรียน แต่ก็ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่ต่างกันไป สิ่งที่สำคัญที่ต้องพิจารณา คือ ต้อง เป็นคำศัพท์ที่สอดคล้องกับเป้าหมายในการเรียนหรือแผนงานที่สามารถนำไปใช้หรือมีส่วนเกี่ยวข้องมากที่สุด แม็คคีย์ (Mackey. 1997: 176-177 ) กล่าวว่า หลักการในการเลือกคำศัพท์มาสอนนักเรียนมีดังนี้ 1. คำศัพท์ที่ผู้เรียนอ่านหรือได้ยินโดยนับคำที่ปรากฎบ่อยที่สุดหรือมีความถี่ในการใช้มากแล้วจึง คัดเลือกคำศัพท์นั้นมาสอนเพื่อให้นักเรียนรู้จักและนำมาใช้อย่างถูกต้อง 2. คำศัพท์ที่ปรากฎนั้นควรจะมาจากหนังสือหรือตำราหลายๆ เล่ม หลายๆ สถานการณ์เพราะคำที่จะ หาได้จากหลายแหล่งย่อมมีความสำคัญมากกว่าคำที่จะพบเฉพาะในหนังสือเล่มใดเล่ม
14 หนึ่งอย่างเดียว 3. คำศัพท์ที่มีความจำเป็นสำหรับสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง ควรจะนำมาสอนถึงแม้จะ ไม่ปรากฏบ่อย เช่น คำว่า blackboard เป็นคำศัพท์ที่เกี่ยวกับห้องเรียนที่ครูและนักเรียนจำเป็นต้อง ใช้คำนี้ แม้จะไม่ปรากฏบ่อยในสถานการณ์อื่นก็ตาม 4. คำศัพท์คำหนึ่งอาจครอบคลุมได้หลายความหมายหรือสามารถใช้คำอื่นแทนได้ ควร พิจารณาเลือกนำมาสอนเพื่อให้นักเรียนเข้าใจยิ่งขึ้น 5. คำศัพท์ที่เลือกมาสอนควรคำนึงถึงคำที่เรียนรู้ได้ง่าย ซึ่งมีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องคือ 5.1 คำศัพท์บางคำที่เลือกนำมาสอนเพราะมีความคล้ายคลึงกับภาษาเดิมของผู้เรียน 5.2 คำศัพท์บางคำมีความหมายชัดเจน ทำให้นักเรียนเข้าใจง่าย 5.3 คำศัพท์ที่สั้น ออกเสียงได้ง่าย ทำให้นักเรียนสามารถจดจำได้รวดเร็ว 5.4 คำศัพท์ที่ผู้เรียนเคยเรียนผ่านมาแล้ว เมื่อนำมาผสมเป็นคำศัพท์ใหม่ทำให้ง่าย ต่อการเข้าใจและการจำ หลักการดังกล่าวสอดคล้องกับ ลาโด (Lado. 1986: 1 19-120 เป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นบางข้อที่ลาโดได้ เสนอเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักการเลือกคำศัพท์เพื่อนำมาสอนไว้ดังนี้ 1. ควรเป็นคำศัพท์ที่มีความสัมพันธ์กับประสบการณ์และความสนใจของผู้เรียน 2. ควรมีปริมาณของตัวอักษรในคำศัพท์เหมาะสมกับระดับอายุ และสติปัญญาของผู้เรียน เช่น ในระดับประถมศึกษาตอนต้น ก็ควรนำคำศัพท์สั้นๆ มาสอน 3. ควรมีคำศัพท์ไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไปในบทเรียนหนึ่งๆ แต่ควรเหมาะสมกับระดับ ของผู้เรียน 4. ควรเป็นคำศัพท์ที่ผู้เรียนมีโอกาสนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น นำไปพูดสนทนาหรือพบ เห็นคำศัพท์นั้นๆ ตามป้ายโฆษณา เป็นต้น สรุปได้ว่า การเลือกคำศัพท์สำหรับการสอน ควรพิจารณาเลือกคำศัพท์ที่ปรากฎบ่อยในชีวิตประจำวัน โดยคำนึงถึงความหมายของคำศัพท์ที่เหมาะสมกับรูปประโยคที่จะสอน และเป็นคำศัพท์ที่มีประโยชน์และใช้ มากกับตัวผู้เรียน เป้าหมายในการเรียน โดยเฉพาะการเลือกสรรคำศัพท์จะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับ ระดับอายุ วุฒิภาวะ และการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนเป็นสำคัญทำให้จดจำได้ง่ายยิ่งขึ้น 4.เอกสารที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเพลง 4.1 ความหมายของเพลง ราชบัณฑิตยสถาน (2546: 601) ได้ให้ความหมายของเพลงไว้ว่า เพลง หมายถึง สําเนียงขับ ร้อง ทํานองดนตรี กระบวนวิธีรําดาบ ทวน เป็นต้น ธีระศักดิ์ วดีศิริศักดิ์ (2540: 2) ได้ให้ความหมายของเพลงไว้ว่า เพลง หมายถึง ภาษาอย่าง หนึ่งที่สามารถสื่อความคิดเป็นจินตนาการและความรู้สึกออกมาในรูปของถ้อยคําและเสียง ซึ่งผู้ฟังแต่ละคน สามารถรับรู้ได้ด้วยความนึกคิดที่แตกต่างกันออกไป
15 นิวเฟลด์ท และกูราลนิค (Neufeldt and Guralnik. 1978: 108) กล่าวว่า เพลงคือ ศิลปะ ของการขับร้อง ดนตรีที่บรรเลงหรือแต่งขึ้นเพื่อบรรเลงเพลง คําประพันธ์หรือบทร้อยกรองที่แต่งไว้ สำหรับขับ ร้อง เช่น คําโคลง หรือโคลงที่แสดงความรู้สึก กล่าวโดยสรุปได้ว่า เพลง หมายถึง ภาษาที่ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดด้วยการขับร้อง ประกอบทํานองดนตรีที่แตกต่างออกไป ทำให้ผู้ฟังเกิดจินตภาพ 4.2 วัตถุประสงค์ในการใช้เพลงในการสอน วัตถุประสงค์ในการใช้เพลงในการสอนการจัดการเรียนการสอนแต่ละขั้นตอนจำเป็นจะต้องมี จุดประสงค์เพื่อการนำเพลงไปใช้ในชั้นเรียน ควรมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน โดยทั่วไปการนำเพลงไปใช้ในชั้นเรียนมี จุดมุ่งหมายหลากหลายคังต่อไปนี้ เรืองศักดิ์ อำไพพันธ์ (2542 : 9) กล่าวถึงจุดมุ่งหมายในการนำเพลงมาใช้ในการสอนภาษาได้ ดังนี้ 1. เพื่อสอนคำศัพท์หรือโครงสร้างใหม่ตลอดจนหน้าที่ทางภาษาต่างๆ 2. เพื่อทบทวนเนื้อหาที่ผ่านมา 3. เพื่อจัดกิจกรรมเสริมบทเรียนให้น่าสนใจ 4. เพื่อสอนขนบธรรมเนียม ประเพณีที่เกี่ยวกับภายาและบทเพลงนั้นๆ 5. เพื่อส่งเสริมการแสดงออกทางด้านภาษา และกิจกรรมทั้งรายบุคคลและกลุ่มย่อย พิมพ์สวัสดิ์ สุขสวัสดิ์ (2546 : 5-6) กล่าวถึง จุดมุ่งหมายของการใช้เพลงอย่างกว้างๆไว้ว่าเพื่อเน้น เนื้อหาของวิชาทำให้ผู้เรียนจดจำเรื่องราวของบทเรียนได้รวคเร็วและ ง่าย นักเรียนจะเกิดความสนุกสนานไม่ เบื่อห น่าย ทั้งยั่งช่วยให้บทเรียนนั้นมีกิจกรรมอีกด้วย และเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการ เรียนซึ่งนับว่ามีความสำคัญและจำเป็นมาก วิรัช ชุยสูงเนิน และ ฉวีวรรณ กินาวงศ์ (2522 : คำนำ) กล่าวถึง จุดมุ่งหมายของการใช้เพลงดังนี้ 1. เพื่อเป็นแนวทางนำเข้าสู่บทเรียน 2. เพื่อส่งเสริมหรือขยายความสนใจให้แก่เด็กและเยาวชน 3. เพื่อส่งเสริมการแสดงออกของเด็กให้กว้างขวางยิ่งขึ้น 4. เพื่อให้การเรียนการสอนน่าสนใจและสนุกสนานเพลิดเพลิน 5. เพื่อตรวจสอบความเข้าใจในบทเรียนและเป็นแนวทางในการประเมินผลบทเรียน จากวัตถุประสงค์ของการใช้บทเพลงประกอบการสอน สรุปได้ว่า บทเพลงมีความสำคัญมากต่อ การศึกษา นอกจากจะทำให้การเรียนการสอนแต่ละครั้งไม่เบื่อแล้ว ยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนเกิดความ พอใจ สนุกสนานและจดจำเรื่องราวต่างๆ ได้รวดเร็ว แม่นยำ เป็นเวลานานครูสามารถนำบทเพลงมาใช้ ประกอบการเรียนการ สอนได้หลากหลายกิจกรรม เช่น สร้างความคุ้นเคยอย่างรวดเร็ว ใช้นำเข้าสู่บทเรียนเพื่อ เร้าความสนใจ ใช้ดำเนินการสอนเพื่อจดจำรายละเอียดได้แม่นยำ และยังใช้สรุปบทเรียนหรือใช้เพลงสอน เนื้อหาเพื่อให้นักเรียนเกิดความสนุกสนาน
16 4.3 บทบาทของเพลงต่อการสอน ในการจัดการเรียนการสอน วิธีหนึ่งที่จะช่วยนักเรียนให้มีความสนใจเรียนมากขึ้นคือการใช้เพลง ประกอบการสอน เพราะบทเพลงจะช่วยให้นักเรียนได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินและมีทัศนคติที่ดีต่อ บทเรียน คนตรี เพลง มีความสำคัญต่อการเรียนรู้อย่างมาก ช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และช่วยในการจดจำ บทเรียนได้นานนักการศึกษาหลายท่านกล่าวว่าการใช้เพลงในการสอน ช่วยทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ภาษาได้ดีและมี ความสุขในการเรียน เช่น เกิดการผ่อนคลายความตึงเครียด เกิดความสุขในการเรียนภาษาเรียนภาษาอย่าง สนุกสนาน มีอารมณ์คล้อยตามและซาบซึ้งในความหมายของบทเพลง (ลารอย Laloy 1993 : 11 ; บราวน์ Brown 1997 : 350 ; ดาแวนเนลลอส Davanellos 1997 : 11; เจดีแนก Jedynak 2000 : 31 ; ประนอม สุรัสวดี 2539 : 111) นอกจากนี้ยังทำให้นักเรียนมีศักยภาพด้านการเรียนและความจำได้ดี ผู้เรียนได้พัฒนา ทักษะ ฟัง พูด อ่านและเขียน เกิดความคิดสร้างสรรค์และเรียนรู้การทำงานอย่างมีความสุข (วิรัช ชุยสูงเนิน 2525 : 14-16 ; แลนดิสและคาร์เดอร์ Landis and Carder 1994 : 24 ; บราวน์ Brown 1997 : 352 ; ซาริ โคแบนและเมทิน Saricoban and Metin 2000 : 28 ) นอกจากนี้วันชัย วัฒโนทัยวิทย์ ( 2526 : 22 ) ยัง กล่าวอีกว่า สื่อการสอนเรื่องการฟังที่นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาชอบมากคือเพลง ครูจึงควรนำเพลงมาช่วย ในการฝึกทักษะการฟังภาษาของนักเรียนเพราะนอกจากเพลงแต่ละเพลงมีวิธีออกเสียงที่น่าสนใจ และมีศัพท์ สำนวนที่ใช้กันในหมู่วัยรุ่นแล้วขังเป็นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของนักเรียนได้ด้วย ครูที่ใช้เพลงในการสอนจึงไม่ ต้องใช้เวลาในการเร้าความสนใจของนักเรียนมากนัก เพราะนักเรียนสนใจเรื่องเพลงมากอยู่แล้วนอกจากนี้การ ใช้เพลงเป็นสื่อในการสอนสามารถใช้เพลงฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียนด้วยการใช้ภาษาในบทเพลงทำ ให้นักเรียนเห็นความเปลี่ยนแปลง หรือเห็นสไตล์ของภาษาอังกฤษที่ปรากฏขึ้นจริงในชีวิตประจำวัน นักเรียน สามารถเรียนรู้ทั้งด้านสัทศาสตร์ (phonetics) วากยสัมพันธ์ (syntax) และ ความหมาย (semantics) เหมือนกับการเรียนโดยใช้สื่อการสอนอื่นๆ แต่การเรียนด้วยเพลงจะได้เปรียบมากกว่า เพราะนักเรียนได้อยู่ใน สิ่งแวคล้อมนั้นตลอดเวลา เมื่อนักเรียนออกจากห้องเรียนแล้วนักเรียนยังคงได้ยินเพลงที่บ้านอีก ขึ้นอยู่ที่ว่าครู ควรเลือกเพลงที่ธรรมดาไม่ โลดโผนมากนัก แล้วนำเพลงเหล่านั้นมาหาวิธีสอนเพื่อให้นักเรียนได้ทักษะเพิ่มขึ้น โดยไม่รู้ตัว จากความคิดเห็นดังกล่าวสรุปได้ว่าการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันมุ่งให้นักเรียนได้เรียนอย่างมี ความสุข ร่าเริง แจ่มใสมีชีวิตชีวา เรียนรู้วิชาการควบคู่กับการมีคุณธรรม รวมทั้งให้โอกาสนักเรียนได้มีส่วนร่วม และแสดงออกมากที่สุด เพลงจัดเป็นสื่อที่เหมาะสมกับนักเรียนมากจะเห็นได้จากการที่มีผู้ทำการวิจัยสำรวจถึง การใช้เพลงประกอบการสอน ศิรินพรัตน์ พิธานสมบัติ(2520 : 94) พบว่าครูส่วนใหญ่เห็นว่าเพลงมีคุณค่าควร แก่การนำมาใช้ประกอบการสอนได้ดี เพลงเป็นสื่อที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยใช้ได้กับทุกโรงเรียนทุกท้องที่ เพลงยัง เป็นสื่อในการปลูกฝังคุณธรรมแก่เด็กได้ด้วย สรุปได้ว่าเพลงเป็นสื่ออันวิเศษที่ครูจะนำมาใช้ประกอบการเรียน การสอนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
17 4.4 รูปแบบของเพลง รูปแบบของเพลงบทเพลงที่เป็นแบบแผนซึ่งพบได้ในคนตรีตะวันตกหรือดนตรีคลาสสิกมีหลาย ประเภทซึ่งแต่ละประเภทจะมีรูปแบบเฉพาะของตัวเอง เรื่องศักดิ์ อำไพพันธ์ (2542 : 335-340) ได้กล่าวถึงรูปแบบของเพลงทางตะวันตกไว้ดังนี้คือบทเพลงที่ เล่าเรื่องราวต่างๆ (Ballad) ซึ่งแต่ละท่อนจะมีทำนองเดียวกันทุกท่อน บางทีเรียกว่า โคลง (Verse) และ บางครั้งใช้เล่าเรื่องราวความรู้สึกต่างๆ เช่น รัก ดีใจ เสียใจ บทเพลงเก่าโบราณ (Carol) ใช้ร้องในเทศกาลต่างๆเพื่อสร้างความสนุกสนานโดยเฉพาะเทศกาล คริสต์มาส บทเพลงของชาวผิวดำ (Blue) ที่ทำงานเป็นทาสในสหรัฐอเมริกาในระหว่างศตวรรษที่ 17 ถึง ต้นตวรรษที่ 19 สาระของเพลงเกี่ยวกับสภาพงาน การเรียกหาอิสรภาพ ความทุกข์ยากต่างๆ ดนตรีที่มีความงามไพเราะในเรื่องของเสียง (Classic)โดยที่ผู้ประพันธ์เพลงได้ประพันธ์ขึ้นโดยมุ่งเน้น ในเรื่องความไพราะมีคุณค่าในความงามของศิลปะ เพลงร้องเพื่อความบันเทิง (Folk Song) มีเนื้อหาเรียบง่าย เล่าเรื่องเกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมของชาวบ้านทั่วๆไป เพลงที่มีต้นกำเนิดจากชาว Afio-American (Jazz) ใช้เทคนิคการขับร้องและบรรเลงของนักร้องและ นักคนตรีในการยึดเสียง และการลงน้ำหนักเสียงเพลงที่มีจังหวะการขับร้องและการบรรเลงที่เร่งเร้ากระแทก (Rock) มุ่งเน้นความสนุกสนาน จากรูปแบบของเพลงดังกล่าวข้างต้นสรุปได้ว่า เพลงที่ใช้ในการขับร้องมีหลายประเภทแต่ละประเภท จะมีแบบฉบับที่แตกต่างกัน เช่น ใช้ร้องเพื่อการเล่าเรื่อง เพื่อใช้ในการฉลองตามเทศกาลต่างๆ และเพื่อความ สนุกสนานบันเทิง 4.5 ขั้นตอนการใช้เพลงในการสอน ขั้นตอนในการใช้เพลงประกอบการสอนภายาอังกฤษการใช้เพลงประกอบการสอนมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. ตั้งจุดประสงค์ ว่าจะให้นักเรียนทำอะไรได้ โดยมีจุดประสงค์ปลายทางและจุดประสงค์นำทาง จุดประสงค์ปลายทางเป็นข้อกำหนดที่ผู้เรียนจะต้องบรรลุเป้าหมายจุดประสงค์นำทาง เป็นทักษะย่อยที่ผู้เรียน ต้องฝึกก่อนเช่น ศัพท์ สำนวน ฝึกการแยกเสียงและคำที่เป็นภาษาเพลงคือไม่สมบูรณ์ ออกเสียงไม่เต็ม ฝึก ความเข้าใจในการฟังกว้างๆ ก่อนยังไม่สอนความหมายของเพลงการฝึกความเข้าใจอย่างกว้างๆหรือการทำ ความกระจ่างกับบทเพลงอาจทำได้โดยใช้คำถามเพื่อความเข้าใจทั่วไปดังนี้ 1.1 ถามทำนองคนตรีที่ได้ยินว่าเป็นเพลงสนุก เศร้า หรือเพลงรัก 1.2 ให้สังเกตเนื้อเพลงมีกี่ท่อน มีสร้อย ร้องเดี่ยวหรือร้องประสาน 1.3 ประเภทของเพลง
18 2. ขั้นตอนการดำเนินการสอน ครูเปิดเพลงตลอดทั้งพตง ผู้สอนกระตุ้นให้มีการถามตอบจากคำถาม ในจุดประสงค์นำทาง เพื่อชักช้อมความเข้าใจ ครูให้งานเพื่อฝึกทักษะการฟังโดยให้นักเรียนทำตามลำพังหรือ แบ่งกลุ่มช่วยกันทำ ทากลิแอนเต (Tagliante 1994 : 86) ได้เสนอแนะการใช้ตารางเพื่อฝึกทักษะการฟังไว้ดังนี้ 2.1 ขณะฟังเพลง ครูปิดเทปเป็นช่วงๆ เพื่อให้นักเรียนฟังเนื้อหาคำตอบในส่วนที่ต้องการ จะเติม แล้ว เติมคำตอบลงในตาราง ดังตัวอย่างตารางที่ 2.11 ที่แสดงคำถามต่อไปนี้ Where (ที่ไหน) Who (ใคร) When (เมื่อไหร่) What(เรื่องอะไร) -ระบุที่เกิดเหตุ -ระบุชื่อถนน, เมือง, ประเทศ บุคคลในเรื่องเป็น ใครและมีลักษณะ อย่างไร เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น เมื่อไหร่ -บรรยายเรื่องที่ เกิดขึ้น - เรื่องที่เกิดขึ้นเป็น เรื่องเหตุการณ์ใน อดีตหรืออนาคต 2.2 ให้นักเรียนเลือกคำตอบว่าเพลงมีท่วงทำนองความรู้สึกเป็นอย่างไร เช่น ความอ่อนโยน ความ รุนแรง ความหมดหวัง ความสนุกสนาน ความยุ่งเหยิง ความสุข ความเสื่อมเสีย ความเศร้าสลด 2.3 ให้เลือกคำตอบว่าสาระสำคัญของเรื่องเกี่ยวกับอะไร เช่น การผจญภัย ความชรา สงคราม ความ รัก การสูญเสียความรักนอกจากใช้ตารางแล้ว ผู้สอนอาจให้แบบฝึกหัดในลักษณะอื่นๆ อีกเช่น ให้ฟังว่าข้อใด ถูกต้องเป็นไปตามเนื้อเพลงหรือให้นักเรียนบอกคำที่ได้ยินบ่อยๆ ในเนื้อเพลง เป็นต้น 3. ขั้นการฝึก ผู้สอนแจกเนื้อเพลง ฝึกอ่านออกเสียง และฝึกร้อง 4. การถ่ายโอน หลังจากฝึกร้องแล้ว ผู้เรียนมีโอกาสพลิกแพลงหรือดัดแปลงบทเพลงนั้นเป็นบทเพลง ใหม่ 5. ขั้นประเมินผล ตรวจความถูกต้องจากงานที่ทำ และสังเกตความสนใจ ความกระตือรือร้นในการ ร่วมกิจกรรม ณรุทธ์ สุทธจิตต์ (2544 : 63)ได้ให้ข้อเสนอแนะในการสอนร้องเพลงโดยทั่วไปว่าเพลงต่างๆที่ผู้เรียน ร้องมักจะเรียนโดยการฟังผู้สอนร้องให้ฟัง หรือฟังจากแผ่นหรือเทป ขั้นตอนในการสอนลักษณะนี้มีลำดับดังนี้ 1. ร้องหรือเปิดให้ฟังทั้งเพลง โดยแนะนำให้ผู้เรียนฟังบางสิ่งบางอย่างที่ช่วยให้นักเรียนจดจำเพลงนั้น ได้ โดยปกติมักจะเป็นการให้ฟังเนื้อหาที่สำคัญของบทเพลงหรือสื่ออารมณ์จากบทเพลง 2. อภิปราชถึงเนื้อเพลงและให้ผู้เรียนฟังเพลงช้ำอีกเพื่อให้ได้เนื้อร้องหรือคำบางคำที่ยากแก่การจดจำ 3. ร้องหรือเปีดเพลงให้ผู้เรียนฟังอีก เพื่อให้ผู้เรียนจับจังหวะและเนื้อหาของคำร้องได้อย่างถูกต้องและ ครบถ้วน 4. ลองให้ผู้เรียนร้องเพลงทั้งเพลงและให้ร้องเองตามลำพัง 5. ฝึกร้องเพลงโดยนำกิจกรรมอื่นๆเข้ามาช่วยเช่น กิจกรรมเข้าจังหวะ การปรบมือ การเต้น การทำท่า ทางประกอบ
19 จะเห็นได้ว่าขั้นตอนต่างๆที่ใช้ในการสอนร้องเพลงที่กล่าวมานั้น เป็นขั้นตอนที่สามารถปฏิบัติได้ โดยง่ายและได้ผลดี สุจริต เพียรชอบ (2541 : 30) กล่าวไว้ว่า ครูสามารถใช้ขั้นตอนในการสอนเพลงดังนี้ 1. ใช้สำหรับนำเข้าสู่บทเรียน การใช้เพลงนำเข้าสู่บทเรียนเป็นการจูงใจให้นักเรียนสนใจในบทเรียนที่ ครูกำลังจะสอนใช้ในการคำเนินการสอน โดยให้นักเรียนร้องเพลงแล้วแสดงท่าทางประกอบหรือร้องเพื่อให้ จดจำเนื้อหาสำคัญๆ ในบทเรียนนั้นๆได้ 3. ใช้สรุปบทเรียน โดยนำบทเพลงที่มีเนื้อร้องสรุปความจากบทเรียนมาให้ร้องหลังจากสอนเรื่องนั้นจบ แล้ว เพื่อเป็นการทบทวนและให้นักเรียนจดจำเรื่องราวหรือเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น ศิธร แสงธนู และคิด พงศทัต (2534 : 116-1 17) ได้อธิบายขั้นตอนการสอนเพลงดังนี้ 1. ครูอธิบายสั้นๆ ให้นักเรียนเข้าใจว่าเป็นบทเพลงเกี่ยวกับอะไร ครูอาจใช้อุปกรณ์การสอนช่วยแสดง ความหมายของคำศัพท์บางคำที่นักเรียนไม่เคยเรียนมาก่อน 2. ครูร้องให้นักเรียนฟัง 1 หรือ 2 จบ 3. ครูร้องนำ 1 หรือ 2 บรรทัด ให้นักเรียนร้องตามเมื่อแน่ใจว่านักเรียนร้องได้ถูกต้องทั้งคำและทำนอง แล้ว จึงร้องนำบรรทัดต่อไป โดยร้องทวนบรรทัดต้นๆก่อนทุกครั้ง 4. ครูร้องเพลงพร้ยมกับนักเรียนตั้งแต่ต้นงนงบ ถ้แพลงยาวและมีทำยาก ควุยางเขียนเนื้อเพลงให้ นักเรียนดูในชั้นก็ได้เป็นบางส่วน อย่างไรก็ตามไม่ควรเขียนเนื้อเพลงให้นักเรียนดูทั้งหมดเป็นอันขาด เพราะจะ ทำให้นักเรียนเป็นกังวลต่อการอ่านหรือสะกดคำมากเกินไป 5. ครูเขียนเนื้อเพลงให้นักเรียนอ่านและลอกลงสมุดข้อคำนึงในการสอนเพลงการนำบทเพลงไปใช้ใน กรมศิลปากร. สาวนวิทสิทธิ์จึงจะเหมาะสม ยุพิน พิพิธกุล (2541 : 29-30) ได้ให้ข้อสังเกตไว้ดังนี้ 1. ก่อนที่จะให้นักเรียนร้องเพลง ครจะต้องให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาในบทเพลงนั้นๆให้ดีเสียก่อน 2. ครูจะต้องเลือกบทเพลงให้เหมาะสมกับระดับชั้นและวัยของนักเรียนเพราะว่านักเรียนระดับชั้นสูงๆ อาจจะไม่ชอบก็ได้ 3. อย่าร้องเพลงพร่ำเพรื่อ ต้องเปลี่ยนบรรยากาศให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมอื่นๆบ้าง 4. เพลงใดที่สามารถแสดงท่าทางประกอบได้ ครูอาจแสดงท่าทางให้นักเรียนดูนักเรียนร่วมแสดง ท่าทางด้วย แต่ครูจะต้องดูเสียก่อนว่าเด็กมีความพึงพอใจหรือไม่อย่างไรถ้าครูเป็นผู้ร้องเพลงให้นักเรียนฟังเอง ได้ ก็จะทำให้นักเรียนเกิดความศรัทธาในตัวครูมากขึ้น 5. ครูจะต้องร้องเพลงให้มีชีวิตชีวา น่าสนุกสนาน จึงจะกระตุ้นให้นักเรียนอยากร้องบ้างแต่ถ้าครูไม่มี ความถนัดในการร้องเพลงก็สามารถใช้แถบบันทึกเสียงประกอบการสอนได้การเรียนการสอนอย่างไร
20 5.เอกสารที่เกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ในการเรียน 5.1 ความหมายของผลสัมฤทธิ์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นความสามารถของนักเรียนในด้านต่างๆ ซึ่งเกิดจากนักเรียนได้รับ ประสบการณ์จากกระบวนการเรียนการสอนของครู โดยครูต้องศึกษาแนวทางในการวัดและประเมินผล การ สร้างเครื่องมือวัดให้มีคุณภาพนั้น ได้มีผู้ให้ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ดังนี้ พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข (2548, หน้า 125) กล่าวว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนหมายถึงขนาดของความสำเร็จที่ได้จากกระบวนการเรียนการสอน ปราณี กองจินดา (2549,หน้า 42) กล่าว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความสามารถ หรือผลสำเร็จที่ได้รับจากกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและประสบการณ์เรียนรู้ ทางด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย และยังได้จำแนกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ตามลักษณะของ วัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ผลที่เกิดจากกระบวนการเรียนการสอน ที่จะทำให้นักเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และสามารถวัดได้โดยการแสดงออกมาทั้ง 3 ด้าน คือ ด้าน พุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย 5.2 องค์ประกอบของผลสัมฤทธิ์ในการเรียน นักการศึกษาหลายท่านได้ศึกษาองค์ประกอบของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ตามลักษณะของ วัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่แตกต่างกันไปดังนี้ บลูม (Bloom. 1956 : 6-7) ได้จําแนกองค์ประกอบของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ตาม ลักษณะของ วัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive domain) จะมุ่งพัฒนาการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับความสามารถทางสติปัญญา ด้านความรู้ความจํา ความเข้าใจ การ นําไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่า ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor domain) จะมุ่ง พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายและสมองที่มี ความสามารถในการปฏิบัติจนมีทักษะ มีความชํานาญใน การดําเนินงานต่าง ๆ และด้านจิตพิสัย (Affective domain) จะมุ่งพัฒนาคุณลักษณะด้านจิตใจหรือความรู้สึก เกี่ยวกับความสนใจ เจตคติ และการปรับตัว เป็นต้น ตามแนวคิดของคลอฟเฟอร์ (ภพ เลาหไพบูลย์, 2537 : 95-100 : อ้างอิงจาก Klopfer. 1973. A Structure for the Affective Domain in Relation to Science Education. p.566-580)ได้ กล่าวถึงองค์ประกอบของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ตามลักษณะของวัตถุประสงค์ของการเรียน การสอนเพื่อ มุ่งเน้นให้นักศึกษามีความสามารถทางด้านต่าง ๆ คือ ความรู้ความเข้าใจ ซึ่งอาจได้มา จากกระบวนการเรียนรู้ ทางวิทยาศาสตร์ และกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ นักศึกษาจะได้แสดง พฤติกรรมถึงการมีส่วนร่วมในการ สืบเสาะหาความรู้ด้วยตนเอง การนําความรู้ และวิธีการทาง วิทยาศาสตร์ไปใช้ในทักษะปฏิบัติการในการใช้ เครื่องมือ เจตคติ และความสนใจ ซึ่งมีแนวโน้ม ที่มุ่งเน้นให้นักศึกษามีโลกทัศน์ที่กว้างและสามารถปรับตัวได้ดี
21 จากแนวคิดที่กล่าวมาองค์ประกอบของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สามารถจําแนกได้ตาม ลักษณะของวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการหนึ่งของหลักสูตรที่ถือ เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะมีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักศึกษาต่อไป สรุปได้ว่า องค์ประกอบของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหมายถึง การจัดการเรียนการสอน ตาม ลักษณะของวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนครบ ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย 5.3 การวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียน การวัดและการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้มีนักการศึกษาได้กล่าวไว้ดังนี้ วิลสัน (วราพร ขาวสุทธิ์, 2542:40-43:อ้างอิงจาก Wilson, 1971, Evaluation of Learning in Secondary School Mathematics.) ได้กล่าวถึง การวัดและการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สามารถ จําแนกได้ตามวัตถุประสงค์ทางการศึกษาของ บลูม (Bloom. 1956: 1-11) ซึ่งได้ระบุไว้ และเป็นที่ยอมรับ ตลอดมาจนถึงปัจจุบันการศึกษาเป็นการพัฒนาพฤติกรรม 3 ด้าน ดังต่อไปนี้ ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive domain) ประกอบด้วยพฤติกรรม 6 ระดับดังนี้คือ ความรู้ ความจํา ความ เข้าใจ การนําไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่า การวัดพฤติกรรมดังกล่าวสามารถวัดได้ โดยการใช้ข้อสอบซึ่งใช้อยู่ในปัจจุบันและจะวัด ได้ครอบคลุม พฤติกรรมทั้ง 6 ระดับหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความสามรถของผู้ออกข้อสอบ ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor domain) ได้แก่ การใช้ความสามารถในการ ปฏิบัติงาน อันเป็น ความสามารถที่พึงสร้างให้เกิดขึ้นได้ ความแคล่วคล่องในการปฏิบัติงาน เช่น การพิมพ์ดีด การแกะสลัก การใช้ อุปกรณ์ทางด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ รวมทั้งการปฏิบัติงานช่าง ต่าง ๆ เป็นต้น การวัดผลด้านทักษะพิสัยทําได้ ดังนี้คือ ตรวจผลงาน สังเกตการปฏิบัติงานจริง และ สอบข้อเขียนใช้เทคนิคการสร้างข้อสอบที่แตกต่างไปจาก การสอบภาคทฤษฎี อาจารย์ผู้สอนที่มีความรู้การวัดผลการศึกษาจะช่วยให้สามารถสร้างได้ และใช้วัดการ ปฏิบัติงานได้ ด้านจิตพิสัย (Affective domain) ได้แก่ มาตรฐานการแสดงออกภายใต้วัฒนธรรม เช่น เจตคติ ค่านิยม ความซาบซึ้ง การตรงต่อเวลา การเคารพสิทธิของผู้อื่น การมีมนุษย์สัมพันธ์ การร่วมกิจกรรมใน สถานศึกษาที่ตนศึกษาอยู่ การมีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ ครู อาจารย์ ความเป็น ประชาธิปไตย การยอมรับฟัง ความคิดเห็นของผู้อื่น ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการแต่งกายความมีน้ำใจช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นเป็นต้น การวัดผลด้านจิตพิสัยกระทำได้ 2 ทางคือ การสังเกต (Observation) โดยผู้สอนจะเป็นผู้ สังเกต และ ลงความเห็นของระดับความประพฤติ ความเห็นของเพื่อนนักศึกษา การทำสังคมมิติ (Sociometric) เป็นต้น และการทำข้อสอบทำได้ยาก เพราะผู้ออกข้อสอบน่าจะเป็นนักวัดผลและนักจิตวิทยาจึงจะทำได้
22 การวัดและการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักการศึกษาได้กล่าวไว้ซึ่งสามารถสรุป ประเด็น สำคัญในการวัดและการประเมินผลจากพฤติกรรมการเรียนการสอนไว้ 3 ด้านด้วยกัน คือ ด้านพุทธิพิสัย ด้าน ทักษะพิสัย และด้านจิตพิสัย สรุปได้ว่า การวัดและการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนถ้าในสถานศึกษาผู้สอนทุกคน ได้วางแผน การเรียนการสอนและการสอบไว้แล้วในทุกด้านจะช่วยให้นักศึกษามีพฤติกรรมทุกด้าน ประสบผลสำเร็จ ดังนั้น การวิเคราะห์พฤติกรรมที่พึงประสงค์ในการวัดและการประเมินผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนสามารถนำมาใช้ในการ สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายรายวิชา 6.เอกสารที่เกี่ยวข้องกับเจตคติ 6.1 ความหมายของเจตคติ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายเจตคติว่า “ท่าทีหรือความรู้สึก ของบุคคลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง” และภาษาอังกฤษใช้คําว่า attitude สงวนศรี วิรัชชัย (2527) ให้ความหมายเจตคติว่าเป็นสภาพความคิด ความเข้าใจและ ความรู้สึก เชิงประเมินที่มีต่อสิ่งต่างๆ อาจเป็น วัตถุ สถานการณ์ ความคิด ผู้คน เป็นต้น ซึ่งทําให้บุคคลมี แนวโน้มที่ จะแสดงพฤติกรรมต่อสิ่งนั้น ในลักษณะเฉพาะตัวตามทิศทางของเจตคติที่มี พจนานุกรม Cambridge (2019) ให้คําจํากัดความของเจตคติหรือ attitude ว่าหมายถึง “ความรู้สึกหรือความคิดเห็นเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างหรือบางคนหรือวิธีการปฏิบัติที่เกิดจากสิ่งนี้”(afeeling or opinion about something or someone, or a way of behaving that is caused by this) นอกจากนี้ สมเกียรติ รักษ์มณี (2554) อธิบายว่าทั้ง เจตคติ และ ทัศนคติ เป็นศัพท์ที่บัญญัติ ขึ้น ใช้ในภาษาไทยแทนค่า attitude ในภาษาอังกฤษ แต่เราก็ยังบัญญัติเป็นภาษาบาลี-สันสกฤต เพราะ ภาษา บาลี-สันสกฤตได้เข้ามาอยู่ในวิถีชีวิตของคนไทยช้านาน เจตคติเกิดจาก เจต (เจ-ตะ) + คติ (คะ- ติ) “เจต” เป็น บาลี สันสกฤตใช้ เจตส) หมายถึงใจ หรือ สิ่งที่คิด ส่วนคํา “คติ” เป็นบาลี หมายถึง เรื่อง ทาง แนวทาง ความ เป็นไป ดังนั้น “เจตคติ” จึงอาจแปลได้ว่า แนวทางที่คิด หรือ ที่เกิดขึ้นในใจ ทัศนคติมาจากคํา attitude ใน ภาษาอังกฤษเช่นเดียวกัน คํานี้เกิดจาก ทัศน+ คติ คํา “ทัศน” มาจาก ทศน ใน ภาษาสันสกฤต หมายถึง ความเห็น การเห็น เครื่องรู้เห็น สิ่งที่เห็น การแสดง จึงอาจแปลความได้ว่า “ทาง ที่เห็น” “แนวความคิดเห็น” นั่นเอง การใช้คํา “ทัศนคติ” กับ “เจตคติ” จึงไม่มีนัยที่แตกต่างกันเมื่อใช้ แทน “attitude” เพียงแต่ถ้า เลือกใช้ “เจตคติ” ให้เข้ากับยุคสมัย เพราะได้เลือกใช้คําตามที่สังคมได้ กำหนดขึ้นใหม่แล้ว สรุปได้ว่าเจตคติหมายถึงความเข้าใจ ความรู้สึกหรือความคิดเห็นที่มีต่อสิ่งต่างๆ หรือผู้คนหรือ วิธีการ ปฏิบัติที่เกิดจากสิ่งนี้ คำศัพท์ “ทัศนคติ” กับ “เจตคติ” ไม่มีนัยที่แตกต่างกันเมื่อหมายถึง “attitude” 6.2 แนวคิดทฤษฎีหลักการที่เกี่ยวข้องกับเจตคติ การศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีของเจตคตินั้น นักจิตวิทยามีวิธีการศึกษา 2 แนวทางคือศึกษาการก่อตั้งเจต คติ และการศึกษาการเปลี่ยนแปลงเจตคติโดยมีรายละเอยดีดังนี้
23 1. ทฤษฎีก่อตั้งเจตคติกล่าวว่า เจตคติไม่ได้เกิดขึ้นโดยกำเนิด แต่เกิดขึ้นภายหลังอาจจะเกิดจากการ เรียนรู้ การเลียนแบบ หรือเกิดจากการเสริมแรง ฯลฯ ในที่นี้จะกล่าวถึงทฤษฎีการก่อตั้งเจตกติ ลิงเรนท์ (Lingren, 1937 : 84 ; อ้างถึงใน พัณณภัสสร สุพรมอินทร์และสุธาสินีพลศักดิ์ซ้าย, 2549 : 29-32) ได้แก่ 1.1 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขเละการให้แรงเสริม (Condition and ReinforcementTheories) ทฤษฎีนี้ เป็นทฤษฎีการก่อตั้งเจตคติ ที่กล่าวถึงการใช้หลักการเรียนรู้โดยการวางเงื่อนไขซึ่งมีข้อสรุปคือ บุคคลใดบุคคล หนึ่งจะมีเจตคติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เมื่อถูกวางเงื่อนไขหรือถูกนำไปเกี่ยวข้องกับอกสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เขาชอบ หรือเขา มีเจตคติดีอยู่ก่อนแล้ว เขาจะเชื่อมโยงสองสิ่งจังกล่าวเข้าด้วยกันและจะชอบสิ่งที่เป็นเงื่อนไขนั้นด้วย อย่างไรก็ ตามการก่อตั้งเจตคติจากทฤษฎีการวางเงื่อนไขและการให้แรงเสริมมีอยู่ 3 วิธี ได้แก่ 1.1.1 การเรียนรู้เจตคติจากการโยงความสัมพันธ์ โดยพบว่า การโยงความสัมพันธ์ในส่วนที่เกี่ยวข้อง กับเจตคตินั้น เด็กที่มีเจตคติที่เป็นลบต่ออาหารชนิดใจชนิดหนึ่งอาจจะเกิดจากการที่บิดามารคา รบเร้าให้ทาน อาหารเหล่านั้น จนเด็กอารมณ์เสีย อารมณ์เสียได้ถูกนำไปเข้าคู่กับอาหารชนิดนั้น จนพลอยทำให้เด็กเกิด ความรู้สึกที่ไม่ดีต่ออาหารชนิดนั้นไปด้วย 1.1.2 การเรียนรู้เจตคติโดยอาศัยหลักของผลกรรม คนจะเรียนรู้จากผลการกระทำในอดีต ถ้าผลกรรม นั้นน่าพึงพอใจ ขุคคลจะมีแนวโน้มจะทำอย่างนั้นอีก เมื่อมีสิ่งเร้าเดิมปรากฎ และผลกรรมนั้นไม่น่าพึงพอใจ บุคคลจะหาทางหลีกเดี่ยงไม่ทำอย่างนั้นอีกด้วยหลักการดังกล่าวนักจิตวิทยาบางคนให้ความเห็นว่า บุคคลที่ แสดงเจตคติออกมาเป็นภาษาแล้วได้รับแรงเสริม ย่อมทำให้เจตคตินั้นมั่นคงยิ่งขึ้น แต่ถ้าได้รับผลกรรมที่ไม่น่า พึงพอใจ เขาจะเปลี่ยนเจตคติไปในทิศทางอื่น 1.1.3 การเรียนรู้เจตคติ โดยการสังเกตจากตัวแบบ บางครั้งเกิดมาจากการเลียนแบบจากผู้อื่น โคย เฉพาะอย่างยิ่งบุคคลที่เราเลื่อมใสศรัทธา หรือบุคคลที่ปรากฎทางโฆษณาในโทรทัศน์ ข้อค้นพบทางจิตวิทยาทำ ให้เรารู้ว่า เพียงแต่เราเห็นตัวอย่างจากผู้อื่นเราจะเรียนรู้ได้แล้ว ถึงแม่ว่าเราจะไม่นำความรู้นั้นไปปฏิบัติก็ตาม 2. ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงเจตคติในการศึกษาเจตคติในลักษณะการก่อตั้งเป็นวิธีการศึกษาที่สรูปได้ ค่อนข้างยาก ดังนั้นนักจิตวิทยาสังคม จึงหันมาสนใจการเปลี่ยนแปลงเจตคติ จึงมีแนวทางแตกต่างกันหลาย ทฤษฎี ได้แก่ 2.1 แนวทางการเปลี่ยนแปลงเจตคติโดยใช้การสื่อความหมาย เป็นนักจิตวิทยาแห่ง มหาวิทยาลัยเยล โคยการนำของ คาร์ล โฮพแลนด์ นักจิตวิทยากลุ่มนี้ ให้ความสนใจเจตคติโดยเน้น องค์ประกอบด้านความรู้สึก อารมณ์ ดังนั้น จึงมีทัศนะเรื่องการเปลี่ยนแปลงเจตคติว่าเจตคติจะเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าความเชื่อหรือความคิด เปลี่ยนแปลงไป ปัจจัยสำคัญของการเปลี่ยนแปลงเจตคติตามแนวคิดนี้ คือ องค์ประกอบในการสื่อความหมาย อันประกอบ ไปด้วยต้นกำเนิดของสาร สาร ช่องทางในการสื่อสาร และผู้รับสาร ซึ่งมีความสัมพันธ์กับ กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเจตคติ ในแง่ที่ว่าแหล่งของสารทำให้เกิดความใส่ใจ สารทำให้เกิดความเข้าใจใน ผู้รับสาร เกิดการยอมรับ และช่องทางในการสื่อสารมีผลต่อการจดจำสาร 2.2 แนวทางการเปลี่ยนแปลงเจตคติโดยอาศัยแรงจูงใจ แนวทางนี้อาศัยความ เชื่อที่ว่าแรงจูงใจที่จะ ผลักดันให้คนเราเปลี่ยนแปลงเจตคติ หรือความคิดเห็น เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีความเครียด ซึ่งเกิดจากสภาพขาค คุล เพราะองค์ความคิดหลายองค์ที่มีต่อสิ่งเดียวกัน องค์ความคิดที่เข้าใจร่วมกันจะหลอมรวมกัน ส่วนที่เข้ากัน
24 ไม่ได้ก็จะทำให้เกิดสภาพที่เรียกว่าขาดสมดุล ต้องมีการทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ภาวะที่ขาดสมดุลนี้เข้าสู่สภาพ สมดุลจึงจะอยู่อย่างสบาย นั่นหมายความว่าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงองค์ความคิดบางอย่าง เพื่อให้หลอม รวมกันได้ ด้วยเหตุที่ต้องการเปลี่ยนแปลงองค์ความคิดบางตัวนี้เอง เจตคติจึงเปลี่ยนแปลงไป (สิทธิโชค วรานุ สันติกูล ม.ป.ป.:120 ; อ้างถึงใน พัณณภัสสร สุพรมอินทร์ และสุธาสินี พลศักดิ์ซ้าย, 2549 : 35-37) 3. ทฤษฎีที่ต้องอาศัยหลักการของการเปลี่ยนแปลงองค์ความคิดเป็นพื้นฐานของทฤษฎีมีดังนี้ 3.1 ทฤษฎีการขัดแย่งขององค์ความคิด มีหลักการพื้นฐานว่า การเกิดความขัดแย่ง ขององค์ความคิด ของคนเรา ทำให้บุคคลไม่สบายใจ บุคคลจะพยายามลดความขัดแย้งของความคิด แล้วแสวงหาความ สอดคล้องขององค์ความคิด นอกจากนั้นบุคคลจะพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ และข่าวสารที่ทำให้เกิดการ ขัดแย้งขององค์ความคิด อย่างไรก็ตามองค์ความคิดของทฤษฎีนี้หมายถึงความรู้ ความคิดเห็น และความเชื่อ ซึ่งบุคคลมีต่อสภาพสิ่งเวคล้อมตนเอง และพฤติกรรมของตนเอง อาจมีเพียงส่วนเดียวหรือหลายส่วน ถ้าหลาย ส่วนก็จะเกี่ยวข้องกันในลักษณะสอดคล้อง ขัดกัน และไม่ส้มพันธ์กัน 3.2 ทฤษฎีสมคุล มนุษย์ทุกคนชอบความสัมพันธ์ระหว่างกันที่อยู่ในภาวะสมดุลซึ่งเป็นสภาพที่มั่นคง ราบรื่น และสงบความสัมพันธ์ระหว่างกันดังกล่าวนี้ เป็นความสัมพันธ์ระหว่าง กลุ่มสองคนหรือกลุ่มที่ ประกอบด้วยคนสองคนกับสิ่งอื่นอีกหนึ่งสิ่ง ความสัมพันธ์ระหว่างกันถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภท หนึ่งเป็นความสัมพันธ์ในเชิงอารมณ์ว่าชอบหรือไม่ชอบประเภทที่สอง เป็นความสัมพันธ์ในแบบที่ว่าเกี่ยวข้อง หรือไม่เกี่ยวข้อง 4. แนวทางการเปลี่ยนแปลงเจตคติแบบอื่นฯ 4.1 ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงเจตคติโดยการเกลี่ยกล่อมตนเอง เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงเจตคติอัน เกิดจากกระบวนการทางการคิด ซึ่งทำให้ความคิดเห็นของบุคคลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งเปลี่ยนไปในทิศทางที่เข้มขัน ยิ่งขึ้น หรือเกิดจากการได้มีโอกาสได้สวมบทบาทใจบทบาทหนึ่งในขณะนั้นซึ่งมีผลทำให้เกิดการ โน้มน้าวชักจูง ตนเอง 4.2 ทฤษฎีการรับรู้ตนเอง บุคคลอาจได้เจตคติของตนจากข้อสันนิษฐานของการที่ได้สังเกตพฤติกรรม ของตนเอง เละสิ่งเร้าที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมนั้น ด้วยเหตุนี้เจตคติของเขาจึงคลายคลึงกับเจตคติที่บุคคลอื่น ๆ สันนิษฐานให้กับเขา กล่าวโดยสรุป จากการศึกษาเกี่ยวกับทฤยฎีของเจตคตินั้น นักจิตวิทยามีวิธีการศึกษา 2 แนวทางคือ ศึกษาการก่อตั้งเจตคติ และการศึกษาการเปลี่ยนแปลงเจตคติ โดยพบว่าลักษณะของเจตกตินั้น มีลักษณะที่ เกิดจากการหล่อหลอมที่เกิดจากการเรียนรู้ แม้ว่าเจตคติจะเป็นสวนหนึ่งของบุคลิกภาพของบุคคล แต่บุคคล สามารถเปลี่ยนแปลงเจคติได้โดยการแรงจูงใจการเรียนรู้ใหม่ การเรียนรู้จากตัวแบบ หรือผลจากการปรับตัวให้ เหมาะสมในการคำเนินชีวิตนั่นเอง
25 7.เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 7.1 งานวิจัยในประเทศ งานวิจัยภายในประเทศที่เกี่ยวข้องกับการสอนโดยใช้เพลง มีการศึกษาในประเด็นต่างๆ ดังนี้ ดวงเดือน แสงชัย (2530: 30) ทำการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ภาษาอังกฤษโดยใช้เพลงเป็นกิจกรรมเสริม นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิตินักเรียนส่วนใหญ่มีเจตคติ ที่ดีต่อการที่ครูใช้เพลงเป็นกิจกรรมเสริมการเรียนการสอน โดยนักเรียนร้อยละ 96.70 เห็นด้วยว่าควรจะมี กิจกรรมร้องเพลงในชั่วโมงภาษาอังกฤษ รองเนือง ศุขสมิติ (2536: บทคัดย่อ) ทำการศึกษาเกี่ยวกับผลของการใช้เพลงเสริมบทเรียน วิชาภาษาอังกฤษที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดเห็นต่อการเรียนภาษาอังกฤษที่สอนโดยใช้เพลงเสริมกับสอนตามคู่มือครู โดยพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มที่ใช้เพลงเสริมนั้นสูงกว่า รวมทั้งความคิดเห็นต่อการเรียน ภาษาอังกฤษของกลุ่มที่ใช้เพลงเสริมดีกว่ากลุ่มที่สอนตามคู่มือครู อรอุมา ราษฎร์วงศ์ศรี (2545: บทคัดย่อ) ทำการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน และเจตคติการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการสอนโดยใช้เพลง ประกอบและการสอนแบบการโต้ตอบทางสรีระ Total Physical Response (TPR) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านวังคูณ อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น พบว่านักเรียนที่เรียน ภาษาอังกฤษด้วยวิธีสอนแบบใช้เพลงประกอบมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษ ด้วยวิธีการสอนแบบการตอบโต้ทางสรีระ Total Physical Response (TPR) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีเจตคติทางบวกต่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสูงกว่านักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษด้วยวิธีการสอน แบบการตอบโต้ทางสรีระ(TPR) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มณฑลี ไชยศิริ (2546: 74) ทำการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์ ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการใช้เพลงและไม่ใช้เพลงประกอบการสอนตามคู่มือครู พบว่า นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยการใช้เพลงมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษสูงกว่านักเรียน ที่ได้รับการสอนโดยไม่ใช้เพลงประกอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 จิราภรณ์ เลี่ยมไธสง(2546: 90 ) ทำการศึกษาเกี่ยวกับผลของการใช้กิจกรรมประกอบจังหวะ ซึ่งประกอบด้วยเพลง โคลง และบทพูดเข้าจังหวะ เป็นสื่อเสริมเพื่อเพิ่มพูนผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจในการ เรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียน และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยุพิน บุญพันธ์ (2535: บทคัดย่อ) ทำการศึกษาผลของการใช้เพลงประกอบการสอน คณิตศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ผลการวิจัยพบว่านักเรียนมี ความพึงพอใจต่อการเรียนคณิตศาสตร์โดยใช้เพลงประกอบการสอนและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
26 คะนึงนิจ จันทร์แก้ว (2550 : 81) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการ จำคำศัพท์ภาบาอังกฤษที่เรียน โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่มีเพลงประกอบ และไม่มีเพลงประกอบของ นักเรียนชั้นประถมศึกยาปีที่ 4 ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการจำคำศัพท์ภายาอังกฤษของกลุ่มทดลองที่เรียน โดยแผนการจัดการ เรียนรู้ที่มีเพลงประกอบสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียน โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ไม่มีเพลงประกอบอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษที่เรียนโดยแผนการจัดการเรียนรู้ที่มี เพลงประกอบ ในด้านวัตถุประสงค์ ด้านเนื้อหา ด้านการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ ด้านสื่อและอุปกรณ์การ จัดการเรียนรู้ ด้านวัดและประเมินผล โดยรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก สาริณี สุวรรณพันธุ์ (2554 : 69) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การใช้กิจกรรมเพลงเพื่อส่งเสริมการออกเสียง ความรู้ทางด้นดำศัพท์ และไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผลการวิจัยพบว่า 1. การออกเสียงภาษาอังกฤษของผู้เรียน หลังการเรียนโดยใช้กิจกรรมเพลงในแต่ละแผนผู้เรียน ทั้งหมดผ่นเกณฑ์ร้อยละ 50 ตามที่กำหนดไว้ โดยร้อยละ 75 ของผู้เรียนออกเสียงได้ในระดับดีมาก และร้อยละ 25 ของผู้เรียนออกเสียงได้ในระดับดี 2. ความรู้ทางด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษของผู้เรียนเพิ่มขึ้น หลังจากเรียนโดยใช้กิจกรรมเพลง 3.ความรู้ทางด้านไวยากรณ์ภายาอังกฤษของผู้เรียนเพิ่มขึ้น หลังจากการเรียนโดยใช้กิจกรรมเพลง จากการศึกษางานวิจัยในประเทศพบว่า นักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยการใช้เพลงและบทพูดเข้า จังหวะส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษสูงขึ้นอีกทั้งยังมีเจตคติที่ดีในการเรียน ภาษาอังกฤษอีกด้วย 7.2 งานวิจัยต่างประเทศ งานวิจัยต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการสอนโดยใช้เพลง มีการศึกษาในประเด็นต่างๆ ดังนี้ซูซาน (Suzanne. 1993 : 203 - A) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษด้วยเพลงหรือคนตรี ซึ่งเป็นที่ยอมรับการ แล้วว่าการฝึกทักษะภาบาอังกฤษด้วยเพลงในชั้นเรียนจะช่วยส่งเสริมการเรียนภายาอังกฤษให้ดีขึ้น โดยเฉพาะ การเรียนวรรณคดีมีความเกี่ยวพันกับคนตรีซึ่งนำไปสู่การเรียนภาษาอังกฤษ ในเวลาเดียวกันประสบการณ์ เกี่ยวกับคนตรีก็เป็นสิ่งสำคัญในการเรียนภาษาอังกฤษ ซึ่งยังขาดในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เพราะการมี ประสบการณ์ทางค้านคนตรีเป็นสิ่งส่งเสริมในการสอนถ่านิยม การวิจัยนี้สรุปผลว่าคนตรีมีผลต่อการเรียน คำศัพท์ของนักเรียนนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภายาอังกฤษ ครูซ-ครูซ (Cruz-Cruz. 2005: Abstract) ศึกษาผลการสอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2ในประเทศ สเปน ด้วยการใช้ดนตรีและเพลงในการสอนไวยากรณ์และคำศัพท์ พบว่าดนตรีและเพลงสามารถช่วย พัฒนาการเรียนรู้ไวยากรณ์และคำศัพท์ของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพฟลาวเวอร์ส (Flowers. 1998: 14) ได้วิจัยเกี่ยวกับวิธีการจำคำศัพท์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 42 คนในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยผ่านการใช้เพลง และเปรียบเทียบระหว่างคำศัพท์ที่คัดเลือกมาเฉพาะจากบทเพลงกับคำศัพท์ปกติทั่วไปว่า
27 แบบไหนนักเรียนจะจำได้ดีกว่ากัน โดยใช้เครื่องมือในการวิจัยคือแบบบันทึกคำศัพท์และแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่านักเรียนสามารถเรียนรู้วิธีการจำคำศัพท์โดยผ่านสื่อเพลงได้อย่างดี และสามารถจำคำศัพท์ที่ คัดมาจากเพลงได้เร็วกว่าคำศัพท์ปกติ คลิงเกอร์ (Kinge r. 1998: 33 ได้วิจัยเกี่ยวกับการสอนเพลงให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 39 คนในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าการสอนเพลงโดยวิธีที่บูรณาการเข้ามาสอนนักเรียนระดับชั้น ประถมศึกษา บทบาทของเพลงได้เข้ามาพัฒนาความเข้าใจและการอ่านการเขียนของนักเรียนและได้ ครอบคลุมไปถึงการเรียนบทละครที่เกี่ยวกับวัฒนธรรม อีกทั้งในการสอนเพลงก็ส่งเสริมเรื่องความคงทนในการ จำของนักเรียนด้วย แซคส์ (Sacks. 2000 : 327-A) ได้ศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนภาษาอังกฤษโดยใช้เพลงว่าการ เรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมเข้าจังหวะ, คนตรี หรือ เพลงประกอบเป็นยุทธศาสตร์การเรียนการ สอนที่ครูผู้สอนใช้พัฒนาทักษะการฟังและพูดให้กับนักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษในประเทศเกาหลี การออก เสียงภาษาอังกฤษจะไม่เหมือนกับสำเนียงการออกเสียงของคนเกาหลี นักเรียนในเกาหลีที่เรียนภาษาอังกฤษ ต้องเจอกับปัญหาหลายอย่างในการออกเสียงภาษาอังกฤษ ครูผู้สอนภาษาต่างประเทศในเกาหลีส่วนมากจะ เน้นหลักไวยากรณ์ในการสอนภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษากันมาก สิ่งที่สำคัญที่จะต้องเผยแพร์และ กลั่นกรองตามทฤษฎีหลักการสอนภาษาที่สองจึงเป็นหน้าที่ของครูที่สอนที่จะต้องช่วยเหลือผู้เรียนที่ยังไม่เก่ง ภาษาอังกฤษอย่างไรก็ตามการใช้โปรแกรม Esol สอนภาษาอังกฤษด้วยเพลงเป็นสิ่งที่ให้ประโยชน์ต่อผู้เรียน ผู้วิจัยได้ติดตามวิธีการหรือทฤษฎีการพัฒนาการสอนภายาอังกฤษโดยวิธีเขียนเรียงความเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ โดยวิธีการออกมารายงานหน้าชั้นเรียน ข้อคิดเห็นของนักเรียนในการเรียนภาษาอังกฤษมีว่า ในการเรียน ภาษาอังกฤษควรที่จะมีดนตรี หรือ เพลงมาประกอบบ้างพอสมควร จากการศึกษาการวิยสรุปผลได้ว่า การ เรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่เรียนภายาอังกฤษวิธีธรรมดา กับกลุ่มที่เรียนภาษาอังกฤษ ด้วยเพลง กลุ่มที่เรียนภาษาอังกฤษด้วยเพลงจะมีคะแนนสอบวัดผลสัมฤทธิ์สูงกว่ากลุ่มที่เรียนแบบปกติ จากผลการวิจัยทั้งในและต่างประเทศข้างต้นเห็นได้ชัดว่า เพลงและบทพูดเข้าจังหวะเป็นสื่อ ประกอบการสอนที่มีประสิทธิภาพ เพราะนักเรียนได้เรียนรู้ไปพร้อมๆ กับความสนุกสนานเพลิดเพลิน เสริมสร้างทัศนคติที่ดีในการเรียน อีกทั้งยังส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาอังกฤษรวมถึง รายวิชาอื่นๆ เช่น คณิตศาสตร์ สูงขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาการใช้เพลงและบทพูดเข้า จังหวะเพื่อพัฒนาความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เพื่อทราบผลต่อไป 8.กรอบแนวคิดงานวิจัย 8.1 ความหมายของกรอบแนวคิด กรอบแนวคิดการวิจัย หมายถึง กรอบของการวิจัยในด้านเนื้อหาสาระ ซึ่งประกอบด้วยตัว แปร และการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ในการสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย ผู้วิจัยจะต้องมีกรอบพื้นฐาน ทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ศึกษาและมโนภาพ (concept) ในเรื่องนั้น แล้วนำมาประมวลเป็นกรอบใน
28 การกำหนดตัวแปรและรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ในลักษณะของกรอบแนวคิดการวิจัยและ พัฒนาเป็นแบบจำลองในการวิจัยต่อไป 8.2 ภาพกรอบแนวคิดของงานวิจัย กรอบแนวคิดในการวิจัย วิธีการสอนโดยใช้เพลงประกอบการสอน ตัวแปรอิสระ ความรู้ด้านค าศัพท์ ตัวแปรตาม ภาพที่ 2 แสดงกรอบแนวคิดในการวิจัย
29 บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย จากการศึกษาวิจัย เรื่อง การพัฒนาการพัฒนาทักษะการเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้เพลงประกอบการสอน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองตูม จังหวัดอุดรธานี ผู้วิจัยได้มีวิธีการดำเนินการวิจัย ดังนี้ 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย 2. รูปแบบการวิจัย 3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 4. วิธีการสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ 5. การเก็บรวบรวมข้อมูล 6. ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 7. การวิเคราะห์ข้อมูล 8. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1. ประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนบ้านหนองตูมจังหวัดอุดรธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 126 คน ซึ่งการจัดนักเรียนในแต่ละห้องเรียนเป็นแบบคละความสามารถ 2. กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองตูมจังหวัดอุดรธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 16 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 2. รูปแบบการวิจัย รูปแบบการวิจัยดำเนินการทดลองตามแผนการวิจัย One Group Pretest – Posttest Design ซึ่งมี ลักษณะของแบบแผนการทดลองดังนี้ (ชูศรี วงศ์รัตนะ. 2541 : 63) ตารางที่ 3.1 แสดงแบบแผนการทดลองแบบ One Group Pretest -Posttest Design กลุ่ม ทดสอบก่อนเรียน ทดลอง ทดสอบหลังเรียน กลุ่มทดลอง T1 X T2 T1 หมายถึง การทดสอบก่อนการทดลอง (Pretest) X หมายถึง การทคลองโดยใช้กิจกรรมเพลง T2 หมายถึง การทคสอบหลังการทดลอง ( Posttest)
30 3. เครื่องมือที่ใชในการวิจัย 2.1 เครื่องมือที่ใช้ในการทำการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการทำการทดลองครั้งนี้มี3 ชนิด คือ 2.1.1 แผนการจัดการเรียรู้โดยใช้ทักษะทักษะการเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้เพลงประกอบการสอน 12 แผน รวม 12 ชั่วโมง 2.1.2 แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ เป็นแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เพื่อวัดทักษะการเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้เพลงประกอบการ สอน 2.1.3 แบบประเมินเจตคติของนักเรียนโดยเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 12 ข้อ 2.2 เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล 2.2.1 แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน แบบปรนัย จำนวน 40 ข้อ เรื่อง คำศัพท์น่ารู้ 2.2.2 แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 12 ข้อ 4. วิธีการสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ 1. แผนการจัดการเรียนรู้ 12 แผน รวม 12 ชั่วโมง โดยก่อนสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ ผู้วิจัยได้ ดำเนินการคังต่อไปนี้ 1.1 ศึกษาแนวคิด แนวการสอน หลักสำคัญ ตลอดจนขั้นตอนของการจัดกิจกรรมในการเรียนการสอน โดยใช้เพลงประกอบการสอนเป็นหลัก ซึ่งมีการรวบรวมข้อมูลจากหนังสือรายงานการวิจัย และเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1.2 ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จากหนังสือการจัดสาระการ เรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ มาตรฐาน ตัวชี้วัดรายวิชาพื้นฐานภาษาอังกฤษ เพื่อเป็นข้อมูล ประกอบการสร้างแผนการสอน และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การวัดและการประเมินผล 1.3 สร้างแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เพลงประกอบการสอนเป็นหลักในการเรียนการสอน มีขั้นตอน ในการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ ดังต่อไปนี้ 1.3.1 กำหนดจุดประสงค์ปลายทาง และจุดประสงค์นำทาง โดยพิจารณาจากจุดประสงค์การเรียนรู้ และเนื้อหาที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ในหลักสูตรแม่แบบ 1.3.2 กำหนดวิธีการสอน กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการสอน และการวัดผลให้สอดคล้องกับ จุดประสงค์ปลายทาง 1.3.3 สร้างแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เพลงประกอบการสอนเป็นหลัก จำนวน 12แผน ขั้นตอน การสอนประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้
31 1.ขั้นก่อนการฟังเพลง (Pre-listening) ผู้สอนหากิจกรรมที่กระตุ้นความรู้เดิมของผู้เรียนให้สอดคล้อง กับเนื้อหาที่จะเรียน และแจกเนื้อเพลงให้แก่ผู้เรียน แนะนำคำศัพท์ ประโยคที่น่าสนใจ โดยฝึกการออกเสียง การสะกด รวมถึงความหมายด้วย 2. ขั้นระหว่างการฟังเพลง (While-listening) ผู้สอนเปิดเพลงให้ผู้เรียนฟัง 1-2 รอบ แล้วให้ผู้เรียน ร้องตามเพลง โดยผู้สอนจะมีการตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนเกี่ยวกับเนื้อหาของเพลงด้วยการตั้งคำถาม 3.ขั้นหลังการฟังเพลง (Post-listening) ผู้สอนให้ผู้เรียนจับคู่สนทนากันโดยนำข้อมูลจากเนื้อเพลงมา เป็นแบบในการสนทนาในด้านเนื้อหา ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ว่าเพลงนั้นเหมาะที่จะนำไปสอนในเนื้อหาอะไร ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้คำนึงถึงตามตารางวิเคราะห์หลักสูตร ดังต่อไปนี้ ตารางที่ 3.2 Outline แผนการสอนโดยใช้เพลงประกอบการสอน แผน ตัวชี้วัด เนื้อหา เพลง คำศัพท์ ชั่วโมง 1 ตัวชี้วัดที่ 1 พูด/ เขียนให้ข้อมูล เกี่ยวกับตนเอง และเรื่องใกล้ตัว ตัวชี้วัดที่ 3 พูด แสดงความ คิดเห็นเกี่ยวกับ เรื่องต่าง ๆ ใกล้ตัว สาระการเรียนรู้ แกนกลางประโยคและ ข้อความที่ใช้ในการให้ ข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์ สี ขนาด รูปทรง ที่อยู่ของสิ่งต่างๆ ประโยคที่ใช้ในการพูด แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ กิจกรรมหรือเรื่องต่างๆ ใกล้ตัว 1. ประโยค คำถาม ประโยค คำตอบเกี่ยวกับ ชื่อสัตว์ 2. การใช้ประโยค I've got………ในการ บรรยาย ลักษณะของสัตว์ 3.ที่อยู่อาศัยของ สัตว์ 4.Adjectives Who am I? 1. คำนาม -Eyes - Ears -Legs - Body - Nose - Neck - Leaves - Mouth - Skin 2. สัตว์ - Monkey - Lion -Giraffe - Rabbit - Elephant - Cheetah - Fox - Bird - Dolphin - Tiger -Zebra - Rhino 3.ที่อยู่ - Sea 4. คำวิเศษย์ ลักษณะ -Nice ขนาด -Small รูปทรง สี 1
32 แผน ตัวชี้วัด เนื้อหา เพลง คำศัพท์ ชั่วโมง -Blue -Jungle -Long -Big - Sharp -White -Black - Gray - Orange 2 ตัวชี้วัดที่ 1พูด/ เขียนให้ข้อมูล เกี่ยวกับตนเอง และเรื่องใกล้ตัว ตัวชี้วัดที่ 3 พูดแสดง ความคิดเห็นเกี่ยวกับ เรื่องต่าง ๆ ใกล้ตัว สาระการเรียนรู้ แกนกลางประโยคและ ข้อความที่ใช้ในการให้ ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล สัตว์ สถานที่และกิจกรรม ต่าง ๆ ใกล้ตัว 1.ประโยค Past Simple Tense (S+V2) Yesterday 1. คำสรรพนาม -I - His - He - They 2. คำกริยา -Walked - Passed -Stopped -Saw - Walked -Talked - Jumped - Hit - Cried - Called - Played - Went -Slept - Got up - Saidาม 3. คำนาม - Hill - Lion - Tree - Bird -Head - Branch - Monkey - Goodbye 1 3 ตัวชี้วัดที่ 1พูด/ เขียนให้ข้อมูล เกี่ยวกับตนเอง และเรื่องใกล้ตัว ตัวขี้วัดที่ 3 พูด แสดงความ คิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง ต่าง ๆ ใกล้ตัว สาระการเรียนรู้ แคนกลาง ประโยคและ ข้อความที่ใช้ใน การให้ข้อมูล เกี่ยวกับบุคคล สถานที่ และ กิจกรรมต่างๆ ใกล้ตัว วัน เวลา Homework Activity - The way we wash our clothes - The way we wash our dishes - The way we cook the food - The way we sweep the floor - The way we 1
33 แผน ตัวชี้วัด เนื้อหา เพลง คำศัพท์ ชั่วโมง ประโยคที่ใช้ใน การพูดแสดง ความคิดเห็น เกี่ยวกับกิจกรรม หรือเรื่องต่างๆ ใกล้ตัว 1.ประโยคบอก เล่าเกี่ยวกับงาน บ้าน clean the floor - The way we set the table - The way we clean the yard Day - Monday - Tuesday - Wednesday - Thursday - Friday - Saturday - Sunday - Early - Morning Time 4 ตัวชี้วัดที่ 1พูด/ เขียนให้ข้อมูล เกี่ยวกับตนเอง และเรื่องใกล้ตัว ตัวขี้วัดที่ 3 พูด แสดงความ คิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง ต่าง ๆ ใกล้ตัว สาระการเรียนรู้ แกนกลาง ประโยคและ ข้อความที่ใช้ใน การให้ข้อมูล เกี่ยวกับบุคคล ประโยคที่ใช้ใน การพูดแสดง ความคิดเห็น เกี่ยวกับกิจกรรม หรือเรื่องต่างๆ ใกล้ตัว 1.ประโยคการ เตือนให้ระวัง อุบัติเหตุ 2. Future Simple Be careful ประธาน -You กริยาช่วย -Will กริยาแท้ -Burn -Break -Cut - Hit สรรพนามแสดง ความเป็นเจ้าของ -Your นาม -Hand -Leg -Finger 1
34 แผน ตัวชี้วัด เนื้อหา เพลง คำศัพท์ ชั่วโมง Tense - ATmPSITY - Head - Be careful! 5 ตัวชี้วัดที่ 1พูด/ เขียนให้ข้อมูล เกี่ยวกับตนเอง และเรื่องใกล้ตัว ตัวขี้วัดที่ 3 พูด แสดงความ คิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง ต่าง ๆ ใกล้ตัว สาระการเรียนรู้ แกนกลาง ประโยคและ ข้อความที่ใช้ใน การให้ช้อมูล เกี่ยวกับ ประโยค ที่ใช้ในการพูด แสดงความ คิดเห็นเกี่ยวกับ กิจกรรมหรือ เรื่องต่างๆ ใกล้ ตัว 1. รายชื่อต่างๆ เกี่ยวกับอาหาร Our food -Lunch -Mixed fruit -Iced chocolate -Chicken -Pork -Supper - Salad -Lemonade -Fish -Yoghurt -My -Breakfast -Are -Milk -Crab omelette -Sandwiches -And -Meat -During -Break time -I - Have -Ice cream -Honey 1
35 แผน ตัวชี้วัด เนื้อหา เพลง คำศัพท์ ชั่วโมง 6 ตัวชี้วัดที่ 1พูด/ เขียนให้ข้อมูล เกี่ยวกับตนเอง และเรื่องใกล้ตัว ตัวขี้วัดที่ 3 พูด แสดงความ คิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง ต่าง ๆ ใกล้ตัว สาระการเรียนรู้ แกนกลาง ประโยคและ ข้อความที่ใช้ใน การให้ข้อมูล เกี่ยวกับ กิจกรรมต่างๆ ใกล้ตัว ลำดับที่ ประโยคที่ใช้ใน การพูดแสดง ความคิดเห็น เกี่ยวกับกิจกรรม หรือเรื่องต่างๆ ใกล้ตัว 1. ขั้นตอนการ ทำอาหาร Cook-clab ลำดับที่ - First - Second - Third - Fourth - Fifth - Then - Next - Last กริยา - Crack - Beat - Put in - Mix - Wait - Pour - Cook - Turn - Look - Come กิริยาวิเศษย์ - Lightly นาม - Eggs - Bowl - Spring onion - Fish sauce - Pan - Stove - Vegetable - Oil - Plate - Coriander - leaves 1
36 แผน ตัวชี้วัด เนื้อหา เพลง คำศัพท์ ชั่วโมง 7 ตัวชี้วัดที่ 1พูด/ เขียนให้ข้อมูล เกี่ยวกับตนเอง และเรื่องใกล้ตัว ตัวขี้วัดที่ 3 พูด แสดงความ คิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง ต่าง ๆ ใกล้ตัว สาระการเรียนรู้ แกนกลาง ประโยคและ ข้อความที่ใช้ใน การให้ข้อมูล เกี่ยวกับ ประโยค ที่ใช้ในการพูด แสดงความ คิดเห็นเกี่ยวกับ กิจกรรมหรือ เรื่องต่าง ๆ ใกล้ ตัว 1. บทสนทนา เกี่ยวกับการซื้อ สินค้า Go to market! - Beef - Yes - We -How much - One Hundred - Fifty - Baht - kilo - One hundred - Can RSITY - Here you are - One -Thank you -Please -Pork -Haven't - Go - Market - With - Me - Have - Got - Any -Sorry -Tomato 1
37 แผน ตัวชี้วัด เนื้อหา เพลง คำศัพท์ ชั่วโมง 8 ตัวชี้วัดที่ 1พูด/ เขียนให้ข้อมูล เกี่ยวกับตนเอง และเรื่องใกล้ตัว ตัวขี้วัดที่ 3 พูด แสดงความ คิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง ต่าง ๆ ใกล้ตัว สาระการเรียนรู้ แกนกลาง ประโยคและ ข้อความที่ใช้ใน การให้ข้อมูล เกี่ยวกับ ประโยค ที่ใช้ในการพูด แสดงความ คิดเห็นเกี่ยวกับ กิจกรรมหรือ เรื่องต่างๆ ใกล้ตัว 1. การซื้อสัตว์เลี้ยง How much - How much - Is - That - Doggy ~ In - Window - Waggly tail - Sale - Don't - Want -Kitty - Parrot - Talks - Bowl - Little fish Tree Goldfish - Walk 1 แผน ตัวชี้วัด เนื้อหา เพลง คำศัพท์ ชั่วโมง 9 ตัวชี้วัดที่ 1พูด/ เขียนให้ข้อมูล เกี่ยวกับตนเอง และเรื่องใกล้ตัว ตัวขี้วัดที่ 3 พูด แสดงความ คิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง ต่าง ๆ ใกล้ตัว สาระการเรียนรู้ แคนกลางประโยคและ ข้อความที่ใช้ใน การให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ประโยคที่ใช้ในการพูด แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ กิจกรรมหรือเรื่องต่างๆ ใกล้ตัว 1.ประโยชน์ของน้ำ With water, we can... - With - Water - We - Can - Brush-. Our - Teeth- Clean - Car - Fishing - Travelling - Wash vegetables - Wash clothes - Grow rice - Grow tomatos - Take a shower - Flust the toilet 1
38 แผน ตัวชี้วัด เนื้อหา เพลง คำศัพท์ ชั่วโมง 10 ตัวชี้วัดที่ 1พูด/ เขียนให้ข้อมูล เกี่ยวกับตนเอง และเรื่องใกล้ ตัว ตัวชี้วัดที่ 3 พูด แสดงความ คิดเห็นเกี่ยวกับ เรื่องต่าง ๆ ใกล้ ตัว สาระการเรียนรู้ แกนกลาง ประโยคและ ข้อความที่ใช้ใน การให้ข้อมูล เกี่ยวกับ สถานที่ และกิจกรรมต่าง ๆ ใกล้ตัว 1. การใช้ Could you take me to ....? Could you take me to…? - Could - You - Take - Me - Home - Please - Sorry - I'm - Busy - School - Yes - Of course - To - Market - Zea - Zoo - Hospital - Policeman. - Help 1
39 แผน ตัวชี้วัด เนื้อหา เพลง คำศัพท์ ชั่วโมง 11 ตัวชี้วัดที่ 1พูด/ เขียนให้ข้อมูล เกี่ยวกับตนเอง และเรื่องใกล้ ตัว ตัวชี้วัดที่ 3 พูด แสดงความ คิดเห็นเกี่ยวกับ เรื่องต่าง ๆ ใกล้ ตัว สาระการเรียนรู้ แคนกลาง ประโยคและ ข้อความที่ใช้ใน การให้ข้อมูล เกี่ยวกับ สถานที่ และกิจกรรมต่าง ประโยคที่ใช้ใน ๆ ใกล้ตัว การพูดแสดง ความคิดเห็น เกี่ยวกับกิจกรรม หรือเรื่องต่างๆ ใกล้ตัว 1. รายชื่อต่างๆ เกี่ยวกับร้านอาหาร At the restaurant - Lunch - Japanese food - Japanese restaurant - Tempura -Sushi rice N-Chinese food - Chinese restaurant - Dumping - Roast Duck - Baozi - Italian food - Italian restaurant - We - Are - Eating out - What - Restaurant - Would -Like - To go - Have - For 1
40 แผน ตัวชี้วัด เนื้อหา เพลง คำศัพท์ ชั่วโมง 12 ตัวชี้วัดที่ 1พูด/ เขียนให้ข้อมูล เกี่ยวกับตนเอง และเรื่องใกล้ ตัว ตัวชี้วัดที่ 3 พูด แสดงความ คิดเห็นเกี่ยวกับ เรื่องต่าง ๆ ใกล้ ตัว สาระการเรียนรู้ แกนกลาง ประโยคและ ข้อความที่ใช้ใน การให้ข้อมูล เกี่ยวกับ สถานที่ และกิจกรรม ต่าง ๆ ใกล้ตัว ประโยดที่ใช้ใน การพูดแสดง ความคิดเห็น เกี่ยวกับกิจกรรม หรือเรื่องต่างๆ ใกล้ตัว 1. การเดินทางไป แต่ละประเทศ ด้วยยานพาหนะ Guess - Guess! -Which -Country - Am I? - From - The city - Of Bangkok - Which - Country - The USA - Japan - New Zealand - Malaysia - Myanmar - Or - Singapore - Can - Go - There - By car - By coach - By ship - By plane - By train 1 1.4 นำแผนการสอนที่สร้างขึ้นเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาตรวจสอบความถูกต้องและนำกลับมา ปรับปรุงแก้ไขเสร็จแล้วนำแผนการสอนไปให้ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่านเพื่อพิจารณาความถูกต้องเหมาะสมของ สาระสำคัญผลการเรียนรู้ที่คาดหวังสาระการเรียนรู้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สื่อการเรียนรู้และการวัด ประเมินผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แต่ละแผนผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่านประกอบไปด้วย 1.4.1 นางอัมรา คำกิ่ง วุฒิทางการศึกษา กศ.ม บริหารการศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองตูมม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประประศึกษาเขต 1
41 1.4.2 นางศรัญญา มณฑาสุวรรณ วุฒิทางการศึกษา กศ.ม บริหารการศึกษา ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านหนองตูม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกประถมศึกษาอุดรธานีเขต 1 1.4.3 ชิสณุพงศ์ หาญกล้า วุฒิทางการศึกษา ค.ม. หลักสูตรและการสอน ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านหนองตูม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกประถมศึกษาอุดรธานีเขต 1 2.แบบทดสอบเจตคติ 2.1 ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประเมินเจตคติและวิธีการสร้างแบบประเมิน จากหนังสือการวิจัย เบื้องต้นของ บุญชม ศรีสะอาด (2545 : 164 -165) และแบบสอบถามเจตคติ 2.2 สร้างแบบประเมินเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การใช้เพลงประกอบการสอนเพื่อ ส่งเสริมความสามารถทางการเรียนรู้ด้านคำศัพท์ แบบมาตราส่วนประมาณค่า ซึ่งมี 5 ระดับ โดยกำหนดเกณฑ์ ความพึงพอใจ ดังนี้ ระดับ 5 หมายถึง มีความพึงพอใจมากที่สุด ระดับ 4 หมายถึง มีความพึงพอใจมาก ระดับ 3 หมายถึง มีความพึงพอใจปานกลาง ระดับ 2 หมายถึง มีความพึงพอใจน้อย ระดับ 1 หมายถึง มีความพึงพอใจน้อยที่สุด กำหนดเกณฑ์แปรผลค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ ดังนี้ ค่าเฉลี่ย 4.51 - 5.00 หมายถึง มีความพึงพอใจมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 3.51 - 4.50 หมายถึง มีความพึงพอใจมาก ค่าเฉลี่ย 2.51 - 3.50 หมายถึง มีความพึงพอใจปานกลาง ค่าเฉลี่ย 1.51 - 2.50หมายถึง มีความพึงพอใจน้อย ค่าเฉลี่ย 1.00 - 1.50 หมายถึง มีความพึงพอใจน้อยที่สุด เกณฑ์ที่ยอมรับได้ตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป 3.3 สร้างข้อคำถามให้ครอบคลุมเนื้อหาที่จะศึกษาเจตคติที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยการใช้เพลง ประกอบการสอนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คำศัพท์ 3.4 นำแบบประเมินเจตคติที่สร้างเสร็จแล้วและทำการปรับปรุงเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อตรวจ พิจารณาแก้ไขความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับการจัดการเรียนโดยใช้เพลงประกอบการสอนเพื่อพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คำศัพท์ 3.5 ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของอาจารย์ที่ปรึกยาแล้วนำเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ ตรวจพิจารณา ความถูกต้อง ความเที่ยงตรง และความสอดคล้องเหมาะสมของข้อคำถามกับบทนิยามประเด็นที่สอบถาม