The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by polpolkrab, 2021-04-20 04:55:45

Binder1_อรูปฌาณ

Binder1_อรูปฌาณ

อรปู ฌาน
สมถะ - วิปัสสนา



อรูปฌาน สมถะ~วปิ ัสสนา

อรูปฌาน

สมถะ~วิปสั สนา

โอวาทธรรม โดย
พระอาจารย์ เกียรติศกั ดิ์ วรธมฺโม

อรปู ฌาน สมอถระูป~ฌวาิปนัสสสมนถาะ~วิปัสสนา ก

โอวาทธรรม โดย พระอาจารย์ เกียรติศกั ดิ์ วรธมโฺ ม

ขอ้ มลู ทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ
พระเกียรติศกั ดิ์ วรธมฺโม.

อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา.-- สกลนคร :
สมศกั ดิก์ ารพิมพ์, 2564.
110 หน้า.
1. สมาธิ. 2. วิปสั สนา. I. ชือ่ เรือ่ ง.
294.3122
ISBN 978-616-582-100-1

พิมพค์ รง้ั ที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔

จำนวนพิมพ์ ๓,๐๐๐ เล่ม

ที่ปรึกษาในการจดั ทำหนงั สอื พระอาจารยเ์ กยี รตศิ กั ดิ์ วรธมฺโม

ผ้เู รยี บเรียงและจดั พิมพ์ ปรัชญา งามจันทร์

ผ้ตู รวจทานและใหค้ ำปรึกษา อภิสรามาส เรืองสวสั ดิ์
บุญเลิศ ชัยวงษว์ บิ ูลย์

ผูอ้ อกแบบปกหน้าหลัง ชลดา ฤกษจ์ นั ทร์

พิมพ์ที่ หจก.สมศกั ดกิ์ ารพิมพ์ กรปุ๊ , อ.เมือง จ.สกลนคร
โทร 042-711896 โทรสาร 042-713552

สงวนลขิ สทิ ธติ์ ามพระราชบัญญตั ิลขิ สทิ ธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗
ยกเว้นการจดั พิมพ์เพื่อแจกเปน็ ธรรมทาน

อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา ก

คำอนโุ มทนา

หนังสืออรูปฌานพลิกสู่วิปัสสนาเล่มนี้จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อ
เป็นธรรมทานแกศ่ ิษยานุศิษย์และผู้สนใจที่แสวงหาแนวทางการ
ทำสมาธิในรูปแบบอรูปฌานและวิปัสสนา เพื่อนำไปสู่การดับ
ทุกข์ แบบสั้น ๆ ง่ายต่อการปฏิบัติในการพิจารณา ศึกษา
เรียนรู้ ในวิถีของจิต ตามอุบายวิธีปฏิบัติที่พระอาจารย์ได้
เทศนาอบรมศิษย์ไว้ในวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๓ และ
วันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ คณะศิษยานุศิษย์จึงขอ
อนุญาตเรียบเรียงจัดทำขึ้น เพื่อเป็นธรรมทานต่อผู้ที่สนใจใน
แนวทาง การปฏิบัติ บำเพ็ญ ภาวนา ได้เข้าใจงา่ ย

หนังสือเล่มนี้จึงไม่เกี่ยวกับตัวอักษร แต่เกี่ยวกับกิริยา
อาการของจิตตนเอง ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติของตนเอง ดังนั้น
อุบายที่บอกในหนังสือเล่มนี้จะทำให้เข้าใจอาการของจิตได้ง่าย
และเข้าถึงจิตใจได้พอสมควร ทำให้เกิดสมาธิจิตอันเป็นกำลัง
สำคัญในการนำสู่วิปัสสนาได้เป็นอย่างดี และเข้าใจเพื่อจะ
นำเข้าสู่การพิจารณาละวางอุปทานตามลำดับได้ไม่สงสัยและมี
สติปัญญาอันมั่นคงและสมบูรณ์ได้ และจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่
ยังไมเ่ คยทดลองปฏบิ ัตมิ ากอ่ น เพื่อจะได้เข้าถึงและเขา้ ใจได้งา่ ย
และมีกำลังใจต่อการปฏิบัติธรรม หนังสือเล่มนี้จึงมีค่ายิ่ง
สำหรบั ผู้สนใจปฏิบัติ

ข อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา

จึงขออนุโมทนาแก่คณะศิษยานุศิษย์ที่มีศรัทธาเลื่อมใส
ในแนวทางปฏิบัติ จึงจัดทำหนังสือเล่มนี้ขึ้นเพื่อเป็นธรรมทาน
แก่ผู้สนใจ ด้วยกุศลและเจตนาอันดีงามนี้ ขอให้ท่านทั้งหลาย
จงพบกบั ความสุขและสำเรจ็ ผลต่อการปฏิบตั ิทุกทา่ นเทอญ

พระเกียรติศกั ดิ์ วรธมโฺ ม
วัดป่าธัมมปาลวนาราม บ้านป่าหว้าน

ต.เชียงเครือ อ.เมือง จ.สกลนคร
๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔

อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา ค

คำนำ

หนังสือเล่มนี้ได้ถูกเรียบเรียงจากเทปบันทึกโอวาท
ธรรมของพระอาจารย์เกียรติศักดิ์ (หนุ่ม) วรธมฺโม ที่เทศนาไว้
ณ วัดป่าธัมมปาลวนาราม บ้านป่าหว้าน ต.เชียงเครือ อ.เมือง
จ.สกลนคร โดยแบง่ เป็น ๒ ตอน

ตอนที่ ๑ อรูปฌาน~สมถะ เป็นการเทศนาธรรมเมื่อ
วันอาทิตย์ที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๓ สืบเนื่องจากวันก่อน
หน้า พระอาจารย์ได้นำคณะศิษย์ฝึกปฏิบัติอรูปฌาน แต่พบว่า
คณะศิษย์ยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอยู่ โดยเฉพาะยังไม่
เข้าใจความต่างระหว่างรูปฌานและอรูปฌาน โอวาทในวันนี้จึง
เป็นการอธิบายถึงความแตกต่างระหว่างฌานทั้งสอง การเข้า-
ออก อรูปฌาน และธรรมะที่เกี่ยวข้อง เช่น สัญญาเวทยิตนิโรธ
นิโรธสมาบตั ิ ผลของรูปฌานและอรูปฌาน และความเกีย่ วข้อง
ของอรปู ฌาน อรหัตผล และพระนิพพาน

ตอนที่ ๒ อรปู ฌาน~วิปัสสนา เป็นการเทศนาธรรม
เมื่อวันพุธที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ โดยพระอาจารย์ได้นำ
คณะศิษย์ปฏิบัติอรูปฌาน และได้อธิบายเพิ่มเติมถึงการใช้
อรูปฌานเป็นฐานของการเจริญวิปัสสนาเพื่อถอดถอนกิเลส
ทีเ่ รียกวา่ วิปสั สนาญาณแบบปรมัตถ์

ง อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา

โอวาทธรรมและแนวทางปฏิบัติที่พระอาจารย์ได้มอบ
ไว้ แม้มีความลึกซึ้งแต่พระอาจารย์ได้อรรถาธิบายอย่างไม่ยาก
เกินต่อการทำความเข้าใจ และสามารถนำไปฝึกปฏิบัติได้ด้วย
ตนเอง ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับพุทธศาสนิกชนและนักปฏิบัติที่
แสวงหาวิโมกขธรรมทั้งหลาย

ผู้เรียบเรียงได้พยายามเรยี บเรียงความใหต้ รงกบั โอวาท
ธรรมของพระอาจารย์ให้มากที่สุด แต่อาจยังมีข้อผิดพลาด
อยู่บ้าง ผู้เรียบเรียงกราบขอขมาพระอาจารย์ พร้อมทั้งขออภัย
ท่านผู้อา่ นมา ณ ที่นี้ด้วย

ผู้เรียบเรียงกราบขอบพระคุณพระอาจารย์ที่ไดใ้ หโ้ อวาท
ตรวจทาน ตลอดจนให้คำปรึกษาในการจัดพิมพ์ ขอบคุณ
อาจารย์อภิสรามาส เรืองสวัสดิ์ ผู้ตรวจทานและให้คำปรึกษา
คุณบุญเลิศ ชัยวงษว์ ิบูลย์ ผู้ร่วมตรวจทาน คุณชลดา ฤกษ์จนั ทร์
ผู้ออกแบบปกหน้าหลัง และขอบคุณผู้ร่วมทำบุญและผู้มีส่วน
ร่วมในการจดั ทำหนังสือเลม่ นีท้ ุกทา่ น

“นิพฺพานปจฺจโย โหตุ” ขอกุศลผลบุญที่เกิดขึ้นจากการ
ทำหนังสือเล่มนี้เป็นปัจจัยให้คณะผู้จัดพิมพ์และท่านผู้อ่าน
ประสบความสุข ความเจริญ เกิดปัญญา นำไปสู่วิมุตติความ
หลดุ พ้น ด้วยเถิด

ผู้เรียบเรียง
ปรัชญา งามจันทร์
๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔

อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา จ

สารบญั

คำอนโุ มทนา ก

คำนำ ค

ตอนที่ ๑ อรปู ฌาน~สมถะ ๑

บทที่ ๑ ความแตกต่างระหว่างรูปฌานและอรูปฌาน ๓

บทที่ ๒ การกำหนดอรูปฌาน ๑๐

๑. อากาสานญั จายตนะ ๑๐

๒. วญิ ญาณญั จายตนะ ๑๓

๓. อากิญจญั ญายตนะ ๑๗

๔. เนวสญั ญานาสญั ญายตนะ ๒๐

บทที่ ๓ การอยู่ในอรูปฌาน ๒๕

ฐตี ิจติ ~ อัปปนาฌาน ๒๕

สัญญาเวทยติ นโิ รธ ~ นโิ รธสมาบตั ิ ๒๖

ระหว่างการปฏบิ ตั ิ ๒๘

บทที่ ๔ การออกจากอรูปฌาน ๓๑

๑. ออกจากเนวสญั ญานาสัญญายตนะ เข้าสู่

อากิญจัญญายตนะ ๓๑

๒. ออกจากอากิญจญั ญายตนะ เขา้ สู่วญิ ญาณญั จายตนะ๓๑

๓. ออกจากวญิ ญาณัญจายตนะ เขา้ สูอ่ ากาสานญั จายตนะ

๓๒

ฉ อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๓๒
๓๓
๔. ออกจากอากาสานัญจายตนะ ๓๖
การเขา้ และออกจากอรปู ฌานตามลำดับช้นั ๓๘
บทที่ ๕ ส่งท้าย ๓๙
ฌานเปน็ เรือ่ งกิริยาของจติ ๔๑
ความสขุ สงบของฌาน ๔๒
ผลของรปู ฌานและอรูปฌาน ๔๔
การตัดกเิ ลส ๓ ระดบั ๔๕
สมาธิเหมอื นยาแก้ปวด ๔๙
เกิดขึน้ ทจี่ ติ ๕๐
พระนพิ พาน~สภาวะร้ทู นั ..ทีไ่ ม่ยึดติด ๕๑
อรูปฌาน~อรหัตผล~พระนพิ พาน ๕๗
สติ..และ..พระนพิ พาน ๕๙
ตอนที่ ๒ อรปู ฌาน~วิปสั สนา ๖๑
บทที่ ๑ การกำหนดอรูปฌาน ๖๒
๑. อากาสานญั จายตนะ ๖๔
๒. วญิ ญาณัญจายตนะ ๖๖
๓. อากญิ จญั ญายตนะ ๖๙
๔. เนวสญั ญานาสญั ญายตนะ ๖๙
บทที่ ๒ การอยู่ในอรูปฌาน
นิโรธสมาบตั ิ ๙ ~ สัญญาเวทยติ นโิ รธ

อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา ช

พระคาถาสบิ ทศิ ๗๐

แผ่เมตตา..อัปปมัญญา ๗๒

ระหวา่ งการปฏบิ ตั ิ ๗๒

บทที่ ๓ การออกจากอรูปฌาน ๘๐

๑. ออกจากเนวสญั ญานาสัญญายตนะ เข้าสู่

อากญิ จญั ญายตนะ ๘๐

๒. ออกจากอากญิ จญั ญายตนะ เข้าสูว่ ญิ ญาณัญจายตนะ๘๐

๓. ออกจากวญิ ญาณัญจายตนะ เข้าสู่อากาสานญั จายตนะ

๘๐

๔. ออกจากอากาสานญั จายตนะ ๘๐
๘๒
บทที่ ๔ ส่งท้าย

วิปสั สนาโดยปรมตั ถ์ ๘๓

นริ ามสิ สขุ ๘๕

อารักขสัมปทา ๘๖

อรูปฌาน ~ ปฏิสมั ภทิ าญาณ ๔ ๘๘

อรปู พรหม ๙๐

รูปฌาน ~ อรปู ฌาน ๙๑

รายนามผูม้ ีจติ ศรทั ธาร่วมสนบั สนนุ การจดั พิมพ์ ๙๓



ตอนที่ ๑
อรปู ฌาน~สมถะ

๒ อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา

อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๓

บทที่ ๑
ความแตกต่างระหว่างรูปฌานและอรูปฌาน

การกำหนดฌาน คำว่าฌานแปลว่าเพ่ง คำว่าเพ่งคือ
การโน้มไป..เอาสภาวะรู้เพ่งประคองไป จะไม่มีความคิดเข้าไป
แทรก

อ๋อ..นี่คิด คิดไปทางพูดบรรยายไป เป็นชื่อพูด..แต่ไม่ใช่
ว่าคำพูดนี้จะต้องเปน็ ความคิดในจิตของเรา

แต่..ให้เราใช้กิริยาของจิตรู้โดยธรรมชาติของเขา รู้ตาม
อาการที่พระอาจารยไ์ ด้พูดไป

เรามีหน้าทีท่ ำความรู้และความเข้าใจในอาการของจิต
และสิ่งที่ให้กำหนดอยอู่ ย่างเดียวเท่าน้ัน
อยา่ เอาความคิดอะไร..เข้าไปเกี่ยวข้อง
อย่าเอาความคิด..เข้าไปพรรณนา
เช่น การกำหนดอรูปฌานนี่..ไม่ต้องใช้ความคิดไปพิจารณาเลย
เพราะว่าการกำหนดอรูปฌาน..ใช้สภาวะรู้อาการนี่แหล่ะ..โน้ม
ไปอย่างเดียว จะไม่มีความคิดเข้าเกีย่ วข้องเลย
ถ้าเราใช้ความคิดเข้าเกีย่ วข้อง
มีสติและใช้ความคิดพิจารณาเกี่ยวข้อง เกิดอะไรขึ้น?
มันไมเ่ ป็น “อรูปฌาน” แต่มันจะเป็น “รูปฌาน” แทน

๔ อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา

โดยเป้าหมายของอรูปฌานคืออานาปานสติที่ให้
กำหนดเข้าไว้0๑ คือการกำหนดลมหายใจเข้าและออก..นี่คือ
อรูปฌาน แต่ถ้าเราใช้สภาวะความคิดเข้าไป ตัวความคิดที่เป็น
ตัวพรรณนาและพิจารณาเพง่ อยนู่ ้ันจะเปน็ รูปฌานทันที

เมือ่ กำหนดไปแลว้ มีอาการปีติ ขนลุกขนพอง ปรากฏขึ้น
มันถูกต้อง แต่ถูกต้องในขณะตรงนั้น มันไม่เป็นอรูปฌาน แต่
เป็นรูปฌาน จึงปรากฏวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์
มันเป็นความคิด การคิดการพิจารณานี้คือ “รูปกรรมฐาน”
แต่ที่พระอาจารย์สอนเราคือ..สอนฝึกเราให้เป็น “อรูป” คือ
การไม่มีรปู ในการเพ่ง

ถามว่าผิดไหม? ไม่ผิด ที่จริงแล้วก็ต้องเรียนรู้ทั้ง ๒
อย่างก็คือ “รูปฌาน ๑ อรูปฌาน ๑” เรียกว่า รูปฌาน ๔ มี
๔ ระดบั บวกกบั อรูปฌาน ๔ เป็น สมาบัติ ๘ หรอื ฌาน ๘

ที่กล่าวนี่ก็ไม่ผิด เพราะความคิดที่พรรณนาอยู่ แม้มี
ลมหายใจรู้สึก แต่มีความคิดเข้าเกี่ยวข้อง การใช้ความคิด
พิจารณานี้ ความคิดนั่นแหล่ะจัดอยู่ในรูปของการรำลึก จึงเปน็
รูปกรรมฐานขึ้นทันที เหตุฉะนั้นเมื่อกำหนดไปแล้วจึงมีขนลุก

๑ อานาปานสติหรือการกำหนดรู้ถึงลมหายใจเข้าและออก เป็นการกำหนด
เบือ้ งตน้ ของอรปู ฌานช้ันท่ี ๑

อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๕

ขนพองบ้าง มีการหมุนบ้าง มีปีติบ้าง ตัวใหญ่ ตัวน้อย ตัวเล็ก
ตวั ยืด ตัวยาวไปบ้าง

อรูปฌานจะละเอียดเข้าไปโดยไม่มีวิตก วิจาร ปีติ สุข
เข้าร่วม เข้าเกี่ยวข้อง แต่รูปฌานจะปรากฏ ปีติ วิตก วิจาร ติด
อยู่ ขนลกุ ขนพอง ตา่ งกนั อย่างนี้

ทำความเหน็ ในอรปู ฌานให้เข้าใจเสียกอ่ น วา่ หมายถึง

“ไมม่ ีสภาวะความคิดหรอื อาการความคิดเข้าเกีย่ วขอ้ ง
แตม่ ีการโนม้ จติ รู้ไปในอาการนั้น ๆ อย่างสม่ำเสมอ..โดยสต”ิ

เช่น “ลมหายใจ” ที่เข้ากับ “รู้” สัมผัสกัน..ไม่มีความคิด แต่เรา
พรรณนาความคิดว่า มันเป็นอยา่ งนี้ ๆ

“สิง่ ที่บอกว่ามันเปน็ ลกั ษณะนี้
คือ..ความเข้าใจในจิต..โดยทีไ่ มม่ ีการคิดเลย”

ทีพ่ ระอาจารย์พูดไปคือไม่ให้เราคิดตาม แต่เพื่อให้เรารู้กิริยาอนั
น้ัน ไมไ่ ด้บอกให้เราคิดตาม

“ถ้าเราคิดตามแล้ว มนั จะพลิกเป็นรปู ฌานทนั ที
เพราะความคิดคือรปู การคิด”

ต้องตกลงกันก่อน ถ้าไม่งั้นพลาดเป้าหมาย ให้ไปอย่าง
หนึ่งแตไ่ ปอย่างหนึ่ง ให้ทำอย่างหนึง่ ก็ไปทำอย่างหนึ่ง เราสงสยั

๖ อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา

ว่า เอ๊ะ..ทำไมไม่เป็นเหมือนอย่างที่ครูบาอาจารย์พูด ก็เจ้าของ
ทำคนละอย่าง ดูคล้าย ๆ กันแต่ไม่ใช่ ไม่คล้ายเลยหล่ะ คนละ
เรื่อง การพิจารณากายคือรูปฌาน การกำหนดพุทโธเป็น
รูปฌาน การกำหนดความสุขเป็นรูปฌาน การกำหนดความ
ทุกข์เป็นรูปฌาน การกำหนดความผิด ความพลัดพรากเป็น
รูปฌาน การกำหนดความคิดอะไรก็ดี ความคิดในอนาคต และ
เห็นสภาวะความคิดมันไม่จีรังถาวรไม่เที่ยงไม่แน่นอน
จนกระทั่งจิตสลดสังเวชต่อภาวะความคิดอันนั้น จึงเกิด วิตก
วิจาร ขึ้นทีหลัง และกลายเป็นปีติ สุข พวกนี้จัดอยู่ในรูปฌาน
ทั้งน้ัน

รูปฌานเกิดขึ้นได้ง่าย แต่อรูปฌานใช้ความรู้โน้มไป
ในกิริยา ไม่มีความคิด ตา่ งกนั อยตู่ รงนี้

เมือ่ กอ่ นเราใชค้ วามคิดเขา้ ไปเกี่ยวขอ้ ง
คราวนีใ้ ช้รตู้ ัวเดียว
ไมใ่ ช้ความคิดเกี่ยวข้องในอาการน้ัน
ใชร้ ู้อาการและทิ้งอาการตามกระแสรนู้ ัน้
บอกว่าให้ทิ้ง ๆ สิ่งที่พระอาจารย์บรรยายไป..ไม่ได้ให้
เราคิดตาม แต่ให้เรารู้กิริยาความหมายที่พระอาจารย์พูด อ๋อ..
รู้ตรงนี้ ๆ ๆ มันถึงจะถกู เป้าหมายได้

อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๗

ถามวา่ ผิดไหม? ผิด แตว่ า่ อยากให้เราชำนาญในจุดตรง

นี้ แล้วกำลังของเราจะมากขึ้น ถ้าเราพิจารณาแล้ว เอ๊ะ..

กำหนดอรูปฌานแล้ว ทำไมวิตก วิจาร ปีติ เกิดขึ้น เพราะมนั ไม่

เป็นการกำหนดรู้อย่างเดียว เป็นการเอาความคิดเข้าไป

พิจารณาด้วย จึงพลิกเป็นรูปฌาน เป็นอาการของรูปฌานไป

เพราะว่ารูปฌานคือความคิดนั่นแหล่ะเป็นตัวการเพ่งรูปหรือ

พิจารณาดู จึงทำให้เกิดอาการของปีติ เรียกว่า ฌาน ๔

รปู ฌาน ๔

ที่ไม่ค่อยเน้นรูปฌาน ๔ เพราะว่าเราก็เป็นบ่อย แต่เรา

ไม่รู้จักอาการนี้หรอก บางทีเราสลดสังเวชกับความเกิด ความ

เจ็บ ความแก่ ความสุข ความตาย หรือพิจารณากายเที่ยง-

กายไม่เที่ยง เกิดวิตก วิจาร ปีติ สุข ขนลุกวูบวาบขึ้น มีกายเบา

จิตเบา นี่ก็ใช่หมดเลย เคยเป็นไหม? อุเบกขา ปีติ วูบขึ้นแล้ว

หายไปแล้ววูบขึ้นมาใหม่ เกิดขึ้นแล้วหายไป เป็นพัก ๆ เรียกปีติ
๕๒
1 ปีตินี้แบ่งเป็น ๕ ประเภทแต่เกิดขึ้นอาการใดอาการหนึ่ง

ไมไ่ ด้เกิดขึ้นทั้ง ๕

๒ ๑. ขุททกาปตี ิ ปตี เิ ลก็ นอ้ ย สมาธเิ ลก็ น้อย, ๒. ขณิกาปตี ิ ปีตชิ ่ัวขณะ สมาธิ
ชั่วขณะ, ๓. โอกกันติกาปีติ ปีติเป็นพัก ๆ สมาธิเป็นพัก ๆ , ๔. อุพเพงคาปีติ
ปตี ิโลดโผน สมาธเิ ต็มท,่ี และ ๕. ผรณาปตี ิ ปีติซาบซา่ น สมาธแิ ผ่ซา่ น

๘ อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา

พระอาจารย์ได้พาเรากำหนดอรูปฌาน แต่พอเราบอก
ว่ามันหมุนบ้าง ร้อนบ้าง เย็นบ้าง หรือขนลุกบ้าง ตัวเล็ก ตัว
ใหญ่ ตัวโตบ้าง อรูปฌานไม่มีอาการนี้ ก็เลยย้อนเข้าไปดู อยู่
กฏุ ิก็เลยย้อนเข้าไปดูวา่ พวกเรานี้กำหนดตรงไหน ย้อนเวลาเข้า
ไปดู อ๋อ..เอาความคิดไปใส่ ก็เลยไม่เป็นอรูปฌานอย่างที่พระ
อาจารย์พาฝึก กลับเป็นรูปฌานแทน ที่จริงแล้วก็ไม่ใช่ความผิด
ของพวกเรา การทำอย่างนี้ทำได้ ในความถูกของรูปฌาน..ก็
เป็นเรือ่ งถกู ต้อง แตว่ ่าไมเ่ ป็นอรูปฌานอยา่ งทีส่ อน

ท้ังสองอยา่ งนี้ทีไ่ มไ่ ด้เน้นหนัก เพราะวา่ มันเป็นอยู่ในจิต
ของเราอยู่เป็นวาระ ๆ ไป เลยคิดว่าเมื่อชำนาญอรูปฌานได้
แล้ว ก็จะสอนรูปฌานให้ การอธิบายรปู ฌานไม่เป็นของยาก

ก็ผิดที่พระอาจารย์นี่แหล่ะ ไม่ได้บอกเราแต่เบื้องต้นวา่
ไม่ให้เอาความคิดเข้าไปเกี่ยวข้อง ไม่เป็นความผิดของเธอ ๆ
ทั้งหลาย แต่เป็นความผิดของผู้อธิบายเอง พระอาจารย์กค็ ิดวา่
เราทั้งหลายน่าจะรู้สภาวะรู้ด้วยดี แต่เราทั้งหลายก็เอาสภาวะรู้
แต่งขึ้นรู้พิจารณาคิด ก็กลายเป็นรูปฌานทันที ความผิดไม่ได้
อยู่ที่ลูกศิษย์ แต่ความผิดอยู่ที่พระอาจารย์ที่ไม่ได้อธิบายให้
ชดั เจน

คราวนี้ตกลงกนั นะวา่ จะใช้สภาวะรู้อันเดียว กับอาการ
ที่ให้กำหนด แต่ไมใ่ ช้ความคดิ เข้าเกีย่ วข้อง แล้วเราจะรู้สกึ นา่ ทึ่ง
มาก มนั จะไหลไปแบบเงียบ ๆ เรียบ ๆ แตล่ ึกซึ้ง

อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๙

มันไม่โลดโผน การรู้อย่างนี้..ไม่โลดโผน แต่เมื่อเข้าถึง
สภาวะธรรมชาติที่แท้จริงแล้ว โดยกำลังแค่ธรรมดา ๆ นี่ การ
เข้าใจเรื่องธรรมดา ๆ นี่ จะพบสภาวะโลดโผนได้เอง
นิพพานว่างเกิดขึ้นในนี้

สรุป..วันนี้เราตกลงกันว่า ไม่ใช้ความคิดเข้าเกี่ยวข้อง
ถ้าใช้ความคิดเข้าไปคิดในอาการนั้น จะเปน็ รปู ฌานทันที

“จะใช้สภาวะรู้ของจิต..
ดูอาการ..รู้อาการน้ัน..และ..ตามอาการน้ัน
จนกวา่ พระอาจารย์จะบอกว่า..ทิ้งอาการนั้น
ไมม่ อี าการ มเี หมอื นไมม่ ี ทิง้ ไป ๆ ๆ กำหนดตามไป ๆ ”
แต่สังเกตดูระดับของจิต มีความละเอียดสุขุมเข้าไปอย่างเรียบ
ราบและกำลังมาก นั่นแหล่ะสุญญตาผัสสะ ความว่างเปล่า
ความเป็นอนัตตาไร้ตัวตนสัมผัสในจิตไปเรื่อย ๆ ๆ ๆ จนครบ
กระบวนการของอรูปฌานท้ัง ๔ กำลงั มีอยมู่ าก

ตกลงใช้รู้ตวั เดียวนะ..
รู้ กับอาการทีใ่ ห้กำหนด
รู้ ลมหายใจ ไมม่ ีความคิดเข้าเกีย่ วข้อง
รู้ โดยธรรมชาติของรู้ อนั เปน็ กิริยาของจิต
รู้ ตวั นั้นกค็ ือ สติ น่ันเอง

๑๐ อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา

บทที่ ๒
การกำหนดอรปู ฌาน

สำรวจร่างกายให้พร้อม ตั้งสติสัมปชัญญะ จากจิตใต้
สำนึก ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์เป็น
สรณะ แล้วทำความรู้สึกทั่วสรรพางค์กาย ให้รู้ชัดว่าอยู่ใน
อิริยาบถที่พอเหมาะพอดี ไม่เป็นภาระในส่วนไหน จากนั้นทิ้ง
ความรู้สึกของร่างกายให้หมด กำหนดลมหายใจเข้าและออก
สองสามคร้ังให้ชัด ๆ

๑. อากาสานัญจายตนะ

“อากาโส อนันโต..
อากาศไม่มีสุด อากาศไม่มีประมาณ
อากาศในโลกกบั อากาศในโพรงจมกู ..
เปน็ อากาศชนิดเดียวกัน..เหมือนกนั
อากาศไมม่ ีสิน้ สดุ จริง ๆ
อากาศไม่มีประมาณ จริง ๆ ”

ย้ำ..ไม่ใช้ความคิด เพราะคำพูดต่าง ๆ เหล่านี้คือ
ความหมายอันเป็นกิริยาของจิต พระอาจารย์พูดเพื่อให้รู้จุด
ของกิริยาในการรับรู้โดยรู้ อันเป็นธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว ไม่ต้อง
มีความคิดเข้าเกี่ยวข้อง นี่คือลมหายใจ ไม่เป็นคำพูด ไม่เป็น

อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๑๑

ความคิด แต่เป็นกิริยาของจิต รู้ลมหายใจโดยธรรมชาติ
รู้อยู่กบั ลมหายใจ

ลมหายใจคืออากาศ อากาศที่มีประจำอยู่กับโลก กับ
อาการที่รู้สึกอยู่ในโพรงจมูก เป็นลมอัสสาสะและปัสสาสะ
หายใจเข้าและออก กเ็ ปน็ อากาศและลมชนิดเดียวกนั

“อากาโส อนนั โต อากาศเป็นเช่นนีเ้ องดอกหนอ”

เป็นกิริยาของรู้ไม่ใช่คิด รู้อากาศเป็นเช่นนี้เอง ใช้จิตของเราที่
รู้อยู่โน้มไปในความรู้ของอากาศ ธรรมชาติของอากาศมีประจำ
อย่กู บั โลก ธรรมชาติของอากาศทีผ่ ่านเข้าไปในชีวิต ที่หล่อเลี้ยง
ชีวิตกม็ ีประจำอยู่กบั โลก

“มีอากาศหรือลมหายใจ..เหมือนไมม่ ”ี

จะพบสภาวะลมหายใจแผ่วเบาลง แต่ก็พอรู้กระแสได้บ้าง ให้
จับตรงที่รู้กระแสของลมผ่านเข้าออก จากนั้นก็ใช้ความรู้โดย
ธรรมชาติของจิต รู้โน้มต่อไปวา่

“มีลม..เหมือนไมม่ ี
มีลมหายใจ..เหมือนไม่มี”

จะทำให้สภาวะลมหายใจนั้นหายไป ในสภาวะนั้น ลมไม่มีใน
โพรงจมูกแล้ว..หายไป กระแสของลมไม่ผ่านเข้าไปเลย แต่ที่ยัง
มีอยูก่ เ็ หมือนใช้กิริยาของรู้..รู้วา่ ธรรมชาติของลมเปน็ เช่นนี้เอง

๑๒ อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา

ทำให้ลมแผ่วเบาลง ไม่ต้องรีบ เมื่อรู้ชัดแล้ว ก็ทำให้
กระแสลมแผ่วเบาลงเรื่อย ๆ จนกระท่ัง

“ไมม่ ีลม
มีลมหายใจ..เหมือนไมม่ ี”

ที่ใช้คำพูดนี้ คำพูดนี้ไม่มีในตำรา แต่กล่าวขึ้นเป็นอุบายให้ภาวะ
จิตรู้โดยธรรมชาติ..ละทิ้งความเป็นลมนั้นได้เร็วขึ้น ทำให้
สภาวะจิตของเรามีความนิ่ง เงียบ และประณีตมากขึ้น

“มีลมหายใจ..เหมือนไม่ม”ี

เราจะพบสภาวะลมหายใจหายไป แต่มีสภาวะรู้อยู่ นี่คือ
ความประณีตในขั้นความสงบของอรูปฌานชั้นต้น ๆ คือ
อากาสานัญจายตนะ ก็ใช้รู้เหมือนเดิมนั่นแหล่ะ ยกรู้ขึ้น เลื่อน
ลำดับขึ้นสู่อรูปฌานชั้นที่ ๒ ยังไม่มีความคิด มีแต่รู้อันเดียว
โน้มไป

รู้ หมายถงึ รคู้ วามรสู้ กึ รูผ้ า่ นผวิ หนงั รู้ลม รู้อะไรต่าง ๆ ที่
เกิดขึ้น เรียกว่า ความรู้สึก ความรู้สึกที่เรากำลังจะรู้อยู่ จาก
อาการของรู้อยู่ ไม่ตอ้ งคิด แตจ่ ิตรู้ ย่อมรู้ภาวะรูเ้ อง

อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๑๓

๒. วิญญาณญั จายตนะ

“วิญญานัง อนันตงั ..
วิญญาณหาเบือ้ งต้นของวิญญาณรู้ไมไ่ ด้
วิญญาณหาเบือ้ งปลายของวิญญาณรู้ไมไ่ ด้
วิญญาณไมม่ ีทสี่ ุด วิญญาณไมม่ ีประมาณ
คืออาการเช่นนีเ้ องหนอ”

ธรรมชาติของวิญญาณรู้จะมีความรู้สึกรับรู้ ตาม
ธรรมชาติของเขา ตา หู จมูก ลิ้น กาย ผ่านผิวหนัง และ
ความรู้สึกภายใน นีค่ ือธรรมชาติของวิญญาณรู้

“วิญญานงั อนนั ตัง วิญญานัง อนันตงั
วญิ ญาณไมม่ ีที่สิ้นสุดจรงิ ๆ วญิ ญาณไม่มีประมาณจรงิ ๆ ”

โน้มไป ทำสภาวะรู้ กิริยารู้ โน้มไป โน้มไปแบบรู้ของความรู้สึก
เองนั่นแหล่ะ แล้วก็ทำขึ้นในกิริยาของจิตนั้นโดยกิริยานั้น
ภาษากิรยิ ารู้ ทำขึ้นเป็นความหมาย ไม่เปน็ คำพูด ไม่เปน็ ความคดิ

ธรรมชาติของวิญญาณเป็นเช่นนี้ดอกหนอ เรียกว่า
จิตรู้น้ัน เข้าใจวา่ วิญญาณเปน็ เช่นนั้นโดยธรรมชาติ กโ็ น้มต่อไป

“มีรเู้ หมือนไม่มีนะ มีร้เู หมือนไม่มีนะ”

๑๔ อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา

จะทำให้สภาวะรู้ในระดับหยาบ ๆ หรือรู้เบาบางก็ได้
รู้ละเอียดตัวลง แต่ก็รู้อยู่นั่นแหละ่ แต่มีความละเอียดและชัด
ต่อการสัมผัสมากขึ้น เช่น เสียงและกระแสของพัดลมที่หมุน
ผ่านร่างกาย เป็นภาวะทางจิต เพียงแต่รับรู้ การรับรู้ที่ชัดเจน
ขึ้น นี่ก็คือความสงบในระดับกลาง ๆ ของสภาวะรู้นั้น แต่จิตจะ
ไม่มีกระแสปรุงแต่งในความคิดเข้าไปเกี่ยวข้อง เพราะเข้าใจ
แล้วว่าต้องตามรู้อันเดียว รักษาระดับของความรู้นั้นไว้ ไม่มี
ความคิด แตเ่ ป็นไปโดยกิริยาของจิต

“วิญญานงั อนันตงั
วิญญาณไมม่ ีทสี่ ิ้นสุด เปน็ เชน่ นีเ้ องดอกหนอ

วิญญานงั อนันตงั
วิญญาณไมม่ ีทสี่ ุด วิญญาณไม่มีประมาณ
เปน็ เชน่ นีเ้ องดอกหนอ
มีวิญญาณรเู้ หมือนไมม่ ีนะ
มีวิญญาณรู้เหมือนไมม่ ีนะ”

ทำให้สภาวะกิริยารู้นั้นมีความละเอียดขึ้น ได้ยินเสียงนี้
ดังมากขึ้น แต่เป็นภาวะที่มีความลึกซึ้ง ต่างกับความรู้ในระดับ
ของลมหายใจอยู่มาก เช่น จะมีการรับรู้เสียงหรือการสัมผัสที่
ชัดเจนขึ้น ในภาวะของจิต ไม่เพียงแต่ได้ยินสิ่งต่าง ๆ นี้

อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๑๕

ชัดเจนขึ้น แต่ไม่มีความปรุงแต่งทางจิต มีความสงบลึกอยู่ใน
ตัว เป็นส่วนตัวของภาวะรู้ อย่างเห็นได้ชัด รับรู้สิ่งภายนอกได้
ชัดเจนขึ้น แต่ไม่ปรุงแต่งไปตามกระแส หากเป็นภาวะรับรู้สิ่ง
ต่าง ๆ นั้นตามปกติ แต่ชัดเจนและดังขึ้น ผนวกเข้ากับความ
สุขุมที่มีแทรกอยู่ในอากาศนั้น ๆ อย่างเห็นได้ชัด นี่คือสภาวะ
อรูปฌานชั้นที่ ๒ ที่ละเอียดตวั ขึ้น

ต้องการให้เกิดความประณีตมากขึ้น ก็จงจับกิริยาในที่
เดิมน่นั แหละ่ และกก็ ล่าวขึ้นวา่

“มีวิญญาณรูเ้ หมือนไม่มนี ะ มีวิญญาณรเู้ หมือนไม่มีนะ”

ทำให้สภาวะรู้ชัด เจือจาง บางเบา และก็ชัดมากขึ้น มีความ
ละเอียดมากขึ้น

“วิญญานงั อนันตัง
วิญญาณไมม่ ีทสี่ ดุ จริงหนอ
วิญญาณไมม่ ีประมาณจริงหนอ”
เราจะพบสภาวะความลึกซึ้งของภาวะรู้ ที่ลึกดิ่งลง ที่มี
ความประณีต และสุขุม เงียบสงบ แต่ก็รับรู้ทุกอย่างได้อย่าง
ชัดเจน หมายถึงภาวะของวิญญาณยังสนใจการสัมผัสทุกอย่าง
เช่น เสียงที่พระอาจารย์พูดออกไป เพราะธรรมชาติของ
วิญญาณเป็นผู้รับรู้ เสียง รส กลิ่น รูปต่าง ๆ ได้ชัดเจนขึ้น
แต่รูปไม่ได้ถูกสัมผัส..เพราะว่าเราหลับตาอยู่ จึงได้ยินแต่เสียง

๑๖ อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา

หรือสัมผัสลมที่พัดผ่านจากพัดลม เห็นไหมว่าสภาวะความ
ลึกซึ้งทางจิตที่สงบในขั้นนี้ แต่ก็ยังมีกระแสของการสัมผัส
ถูกต้องได้ชัดเจน โดยธรรมชาตขิ องวิญญาณ นีแ่ หล่ะจึงเรียกวา่
วิญญานัง อนันตัง หรือเรียกว่า วิญญานัญจายตนะ อันเป็น
ธรรมชาติของวิญญาณที่สัมผัสกับสิ่งภายนอกได้โดยธรรมชาติ
ของเขา แตจ่ ะมีความสขุ ุม สงบ อยู่ใต้เบื้องลึกของความรบั รู้นั้น
ไม่ปรงุ แต่ง นิง่ เงียบ สงบ แต่รบั รู้สมั ผสั ได้อยา่ งนา่ อัศจรรย์

นี่คือความสงบในชั้นของวิญญาณญั จายตนะ ที่มีความ
ประณีตมากขึ้น นี่คือสภาวะอรูปพรหม เป็นภพของ
อรปู พรหม เพียงแต่รา่ งกายของเรายังไม่ตายเทา่ นน้ั แตจ่ ิตเสวย
ความเป็นอรูปพรหม คืออารมณข์ องอรปู ภพ-อรปู พรหม

เมื่อทำความรู้ชัดว่าธรรมชาติของวิญญาณเป็นเช่นนี้
เอง ถ้าเรากำหนดสมาธิชั้นนี้ หรือดำรงอยู่ในชั้นนี้ การที่จิตจะ
เคลื่อนออกไปรับการสัมผัสถูกต้องก็มีอยู่มาก ทำให้สมาธิจิต
ของเราอาจจะไม่มั่นคงมากพอ เหตุฉะนั้นจึงทำความรู้โดย
กิริยาของจิตอันเป็นธรรมชาติที่ไร้ซึ่งความคิด แต่เป็นการรู้
ความหมายโดยกิริยาของผู้รู้คือจิตว่า สภาวะแห่งการรับรู้การ
สัมผัสของวิญญาณเป็นเช่นนี้

วิญญาณมาจากจิต
วิญญาณเปน็ กระแสของจิต

อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๑๗

จิตนน่ั ไม่มีตัวตนเลย
พึงละทิ้งความสนใจในวิญญาณทีม่ ีอยนู่ ั้นให้หมด
ยึดถือเอาความวา่ งเปลา่ แห่งจิตเป็นทีร่ ำลึกแทน..

๓. อากิญจญั ญายตนะ
ยึดถือเอาความว่าง ภาวะรู้คือจิต..จิตคือภาวะที่ไม่มี

ตัวตน เป็นสามัญลักษณะที่หาตัวตนไม่ได้ รู้อย่างเดียวไม่คิด
รู้ว่าจิตเป็นของว่าง แค่นี้ภาวะแห่งความเข้าใจในกิริยาของผู้รู้
คือจิตเอง ก็จะเข้าใจอาการเอง จากนั้นก็ใช้อาการเหล่านั้นโน้ม
ตอ่ ไปวา่

“นตั ถิ กิญจิ..
ไมม่ ีตัวตน น้อยนึง..กไ็ มม่ ี นิดนึง..กไ็ มม่ ี
ธรรมชาตขิ องจิตเป็นของทีห่ าตัวตนไม่ได้เช่นนีเ้ องหนอ
จติ ว่างเปลา่ จริงหนอ จติ เป็นของวา่ งเปล่าจริงหนอ”

การที่เรากำหนดของว่างเป็นอารมณ์อันเป็นอรูปฌาน
ชั้นที่ ๓ เรียกว่า อากิญจัญญายตนะ หมายถึงวิญญาณสัมผัส
ถูกต้อง แม้มีอยู่ก็ไม่ได้สนใจ แต่มาสนใจความว่างเปล่าแห่ง
จิตแทน เมื่อเรากำหนดตามไป โน้มไปเรื่อย ๆ โดยไร้สภาวะ
ความคิดเข้าเกี่ยวข้อง มีแต่รู้กับว่าง ว่างคือความไม่มีตัวตน
ของจิตเอง และก็โน้มไป

๑๘ อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา

“นัตถิ กญิ จิ
นอ้ ยนึงก็ไม่มี นิดนึงก็ไมม่ ี
วา่ งเปล่าจริงหนอ
ความว่างเปลา่ นี่คือจิตเอง
จิตเปน็ ของวา่ งเช่นนีเ้ อง”

กำหนดสภาวะความว่างเปล่าอันเป็นความหมายของ
จิตน่ันแหล่ะ โน้มต่อไป เราจะพบว่าสภาวะวิญญาณนั้นหมดไป
ในจิต คำว่าหมดไปในจิต หมดความสนใจในวิญญาณรู้ แม้นมี
เสียงที่ได้ยินเข้าไป..แต่ไม่สนใจ เป็นสักแต่เสียงมากขึ้น แต่ก็
เข้าใจภาษาหรือเสียง แตก่ ็ไมไ่ ด้สนใจในเสียง เปน็ ลกั ษณะภาษา
กิริยาของจิตที่รู้ตัวมันเองได้ดี เพราะจิตกำลังสนใจความว่าง
เปล่าแห่งจิตเอง จึงทำให้ภาวะความว่างเปล่าเกิดเป็นอารมณ์
ขึ้นมาในขณะนั้น

“มีจติ ..เหมือนไมม่ ี
มีความว่างเปลา่ ..เหมือนไม่มี”

ทำให้สภาวะความว่างเปล่า เจือจาง บางเบาลง มีความว่าง
น่าทึ่ง น่าอัศจรรย์ว่าภาวะเสียง..ไม่สนใจ มีแต่ความว่างเปล่าที่
สมั ผัสจิต ละมนุ ละไมอย่ภู ายใน ว่าง แช่มชืน่ เบิกบาน ว่างเปล่า
ไร้ตัวตน ไร้สภาวะความคิด เราจะสังเกตได้ภาวะรู้อันเป็น

อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๑๙

กระแสของจิตที่ไม่มีตัวตนนั้น มีความละเอียดตัวมากขึ้น และรู้
เป็นภาวะโดยจิตนั้นจะสัมผัสความว่าง และยินดีกับความว่าง
น้ันต่อไป

“ความว่างนีเ้ ป็นตวั จิต
จติ เปน็ ความวา่ ง..ไมม่ ตี ัวตนจริงหนอ”

ความเข้าใจเช่นนี้ หรือคำพดู ต่าง ๆ เหลา่ นี้ อนั เป็นกิริยาของจิต
ก็จะหมดไป มีแต่ภาวะรู้กับว่างที่ละเอียดตัวโดยความเข้าใจใน
กิริยาของมนั เอง จากนั้นก็โน้มต่อไปว่า

“นีค่ ือจติ มีจิต..เหมือนไม่มี
มีความว่างเปล่า..เหมอื นไมม่ ี
มคี วามวา่ งเปล่า..เหมอื นไม่มีเลย”

ทำให้สภาวะว่างเปล่า ดิ่ง สุขุมลุ่มลึก เบาบางมากขึ้น จิตจะ
หนักไปทางความว่าง เบา ไร้ตัวตน สุขุมลุ่มลึก ภาวะของ
วิญญาณขาดหายไป ไม่สนใจ มีแต่ความแช่มชื่น เบิกบาน สุขุม
ลุ่มลึก ว่างเปล่า หาที่สุด ประมาณไม่ได้ และก็โน้มต่อไป
โดยกิริยารู้นนั่ แหล่ะ

“มคี วามว่างเปล่า..เหมือนไมม่ ี
มคี วามว่างเปล่า..เหมือนไม่มี
มีความว่างเปล่า..เหมือนไมม่ ี”

๒๐ อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา

ความว่างนี้..ก็ยังมีส่วนที่จะใกล้วิญญาณการสัมผัสถูกต้องอยู่
บ้าง พึงละทิ้งความว่างโดยความเข้าใจในกิริยาภาษารู้ว่า
ธรรมชาติของจิตเปน็ ของว่างเชน่ นี้ แม้มีความประณีตอย่างนี้ ก็
เป็นความว่างอยู่ดั้งเดิมของมัน พึงละทิ้งความว่าง เช่น กิริยา
อาการวางความว่างลงเป็นอุเบกขา..ช่างมนั เถอะ

๔. เนวสญั ญานาสัญญายตนะ
เมื่อวางความว่างลง มาถึงธรรมชาติของว่างเป็นเช่นนี้

โดยธรรมชาติอันเป็นมิติของจิตอยู่แล้ว จะปรากฏความเป็น
อุเบกขาวางเฉยของความว่างฉีกตัวออก เมื่อปรากฏความว่าง
โดยวางความวา่ งโดยอเุ บกขานั้น จะพบความสขุ ุม..สงบ

ก็ยกจิตของตนสนใจความสงบ ไม่ได้สนใจความ
ว่างเปล่าเลย ใช้กิริยาของจิตตามกระแสของความว่างไป..
ของความสงบไป ละทิ้งความสนใจว่าว่าง..จิตเป็นของว่าง วาง
ความว่างทั้งหลายให้จบลง จะพบความอยู่เฉย ๆ สงบ ความอยู่
เฉยดับลง จิตก็ดับลงอยู่ในความสงบ สงบในเบื้องต้น เรียกว่า
เนวสัญญานาสัญญายตนะ ต้องใช้กิริยาของจิตที่ไร้ความคิด
แต่มีความรู้เท่า..ตามต่อ ความสงบเมื่อละทิ้งความว่างเปล่า
รสชาติของความว่างเปล่าหายไป เหลือแต่ความนิ่ง สงบ เงียบ
ในเบื้องต้น ก็ตามต่อไปโดยกิริยาของรู้ คือจิตรับรู้ถึงภาวะ
ความสงบ

อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๒๑

“เอตงั สันตงั , เอตัง สันตงั ..
ภาวะความสงบทีว่ างความวา่ งลง..
เป็นเชน่ นี้เองดอกหนอ
เอตัง สนั ตัง สงบหนอ สงบหนอ”
คำว่าสงบหนอเป็นเพียงชื่อที่เรียกอาการอันเป็น
ลักษณะที่ปรากฎขึ้นในจิตของท่าน ที่เรียก ที่พูดไป เพื่อให้ท่าน
เข้าใจความสงบที่ปรากฏสัมผัสอยู่ในกิริยาของจิตของท่านเอง
เพื่อเป็นมรรคาทางเข้าสู่ผล อันความประณีตขึ้น เหตุฉะนั้นจึง
ตั้งภาษากิริยารู้ของจิต ตามความสงบตอ่ ไป

“เอตัง สันตงั สงบหนอ ประณีตหนอ”

ไม่มีคำพูด ไม่มีความคิด แต่มีความเข้าใจว่า สงบหนอ
ประณีตหนอ โดยส่วนเดียว อันเป็นคุณสมบัติพิเศษของภาวะ
จิตรู้ ที่เขาไม่ต้องพูดแต่รู้ความหมาย ที่พูดก็เพื่อเป็นป้ายบอก
ทางให้เข้าใจความหมายในกิริยาของจิตตนเท่านั้น อย่าถือเป็น
ความคิดหรืออยา่ ถือเป็นคำพูด ใช้จิตของตนตามกระแสทกี่ ลา่ ว
ไปนี้

“สงบหนอ ประณีตหนอ”

๒๒ อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา

เราจะพบความสงบในขั้นกลาง ๆ จากหยาบก็เข้าไป
กลาง โน้มต่อไป โน้มสภาวะรู้กับความสงบต่อไป เมื่อรู้ชัดแล้ว
อยากให้มีความประณีตมากขึ้น

“มีความสงบเหมือนไมม่ ี มคี วามสงบเหมือนไมม่ ี
ไม่เชิงวา่ มี แตก่ ไ็ ม่เชงิ ว่าไม่มี ยังเปน็ กงึ่ ๆ ”

จะพบว่ารสชาติของความสงบที่มีอยู่เดิมอยู่นั้นก็ได้ละเอียดตัว
ลง โดยกิริยาของความเข้าใจน้ัน

“สงบหนอ ประณีตหนอ
มีเหมือนไมม่ นี ะ มเี หมือนไมม่ นี ะ”

โน้มไป ไม่ต้องรีบ ไม่ต้องบังคับ แต่หากประคองอาการเดิมน่ัน
แหละ่ เพียงแต่ใส่ความสนใจโดยกิริยาเข้าไปว่า

“มีความสงบเชน่ นี.้ .เหมอื นไมม่ ี
มีความสงบเชน่ นี.้ .เหมือนไม่มีเลย”

ความสงบที่ตั้งอยู่ในฐานะนั้นจะค่อยแปลงไป..มีความละเอียด
ตัวมากขึ้น

“สงบหนอ ประณีตหนอ
สงบหนอ ประณีตหนอ
สงบหนอ ประณีตหนอ”

อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๒๓

จะพบว่าสภาวะความสงบดิ่งลึกลงเรื่อย ๆ เรื่อย ๆ โน้มไปโดย
กิริยารู้ไร้ความคิดเกี่ยวข้อง รักษาระดับเอาไว้ และก็โน้มต่อไป

“สงบหนอ ประณตี หนอ”

ไม่เป็นคำพูด เพราะคำพูดที่กล่าวไปนี้ เป็นเพียงป้ายบอกกิริยา
อาการที่สัมผัสอยู่เท่านั้น ให้ใช้สภาวะรู้สัมผัสความว่างความ
สงบน้ันตอ่ ไป ดิง่ ลงเรื่อย โน้มเข้าไปเรือ่ ย

“ร้สู งบ รู้สงบ
มีเหมือนไมม่ ี มีเหมือนไมม่ ี
มีความสงบ..เหมือนไมม่ ”ี

เราจะพบสภาวะรู้ทีบ่ างเบา สงบสุขุม ตามต่อไป..ตามต่อไป

“สงบหนอ ประณีตหนอ”

เป็นกิริยาตามต่อไป สภาวะรู้จะเล็กตัวลง สภาวะสงบจะ
เจือจาง บางเบา สงบ ชัด เลก็ ลงเรือ่ ย ๆ ตามลำดบั

พึงสังเกตอาการอันว่าง รู้อันหนึ่ง สงบอันหนึ่ง แต่รู้สึก
เบาบางมาก แต่ก็ยังไม่ละเอียดพอ ก็พึงกล่าวอยู่ช่วงจุดแห่งรู้นี้
ว่า

“มีความสงบเชน่ นี้ เหมือนไมม่ ีนะ
มีความสงบเช่นนี้ เหมือนไม่มีนะ”

๒๔ อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา

ทำให้รู้เจือจาง บางเบา สงบสุขุม เจือจาง บางเบา และละเอียด
ตัวลงตามลำดบั รักษาระดับไว้ และกำหนดโน้มตอ่ ไป

“มีรู้เหมือนไม่มี มีสงบเหมือนไมม่ ี”

แต่ภาวะรู้นั้นก็จะเจือจางบางเบาตามลำดับ ดิ่งลึกลงเรื่อย ๆ
เรือ่ ย ๆ

ทำจนเหมือน..สงบกับรู้เปน็ ตวั เดียวกนั

อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๒๕

บทที่ ๓
การอยู่ในอรปู ฌาน

ฐีติจิต ~ อัปปนาฌาน
สงบกบั รู้เป็นตวั เดียวกัน สงบประสานตวั เข้ากับรู้คือจิต

แล้วก็ประคองโน้มไป เราจะพบว่าความสงบกับจิตรู้แยกกันไม่
ออก แต่กม็ ีเปน็ อณใู ห้ทราบ เรียกวา่ เป็นอันหนึ่งอนั เดียวกัน กน็ ี่
คือฐีติจิต เป็นภาวะรู้ชัดอันเดียว ลึกซึ้ง สุขุม ถ้าต้องการดำดิ่ง
ลงไปส่อู ัปปนาฌาน ก็กำหนดจากรู้อันเดียวนี่ สขุ มุ รู้อนั เดียว

“เหมือนกับเรามองไปในก้นบอ่
แล้วตามรู้อนั เดียวนี่ลงส่กู ้นบอ่ น้ัน
โดยการน้อมจิตเข้าไป ไร้เจตนาและความคิด
รู้อันเดียวน้อมจิตเข้าไป ดิง่ ลงเรือ่ ย ๆ
สภาวะจิตจะคอ่ ยเคลือ่ นตวั ดิ่งลงตามลำดบั อย่างช้า ๆ
หรืออาจจะเคลื่อนเข้าทีเดียว จนกระท่งั หดู ับไป
เหมือนกับมุดน้ำ เรียกว่าทางเข้าสู่อปั ปนาฌาน”
นี่คือความสงบ อันเป็นส่วนหนึ่งของสมาบัติ ๘ อันเป็น
ฝ่ายอรปู ฌานท้ัง ๔ ระดบั จิตที่มีความละเอียด สงบ สขุ ุมลุ่มลึก
นี่คือภาวะของอรูปพรหมชั้นที่ ๔ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็
คือดวงจิตที่ไร้การปรุงแต่งและเงียบสนิท ว่างเปล่า สงบ สุขุม
ไม่มีตัวตนเข้าเกี่ยวข้อง ท่านเรียกสภาวะนี้ว่าอรูปพรหม ถ้า

๒๖ อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา

ร่างกายแตกดับไป จิตทรงสภาวะอารมณ์นี้ไว้ จะเกิดปฏิสนธิ
จิตเข้ากับอรูปพรหมโดยอารมณ์เช่นนี้ มีอายุยืนอยู่ในภพภูมิ
ของอรูปพรหมถึง ๘๔,๐๐๐ มหากัป ดูกิริยาของความสงบที่
อยู่ลึกซึ้ง ไร้การสัมผัส มีแต่ภาวะรู้นิ่งเฉยอยู่ อันเดียว รู้ก็อยู่
ตรงนี้ สงบก็อยู่ตรงนี้ สุขุม ลุ่มลึกเป็นอันเดียวกัน เรียกฐีติจิต
หรือจิตเดิม

สัญญาเวทยิตนิโรธ ~ นิโรธสมาบตั ิ
รู้.. ไมต่ ้องไปไหนตอ่ กำหนดตรงน้ีใหช้ ดั ประคองรู้ เลก็

ๆ สุขุม ไม่ต้องถามว่าจะไปไหนต่อ ทำความรู้ในอากาศนั้นให้
ชัดเจน ประคองเอาไว้ และโน้มเข้าสรู่ ู้อนั เดียว เบา ๆ ไมต่ ้องรีบ

เป็นภาวะรู้ที่ประณีตและสงบที่ประณีต กิริยารู้นั่น จึง
เรียกว่าสัญญารู้ มีทั้งภาวะรู้สึกสงบ จำสงบ และสงบ สงบน่ัน
คือเวทะ2๓ จึงเรียกอาการบ้ันปลายนี้ว่า สัญญาเวทยิตนิโรธ3๔ ก็
กำหนดอาการสองอาการตามไป จนกระทั่งอาการสองอาการ
ดิง่ รวมตวั เข้าหากัน นีค่ อื ประตมู ิตขิ องการเขา้ สู่ “นโิ รธสมาบัติ”

๓ เวทะ แปลวา่ ความรู้สึก
๔ แปลว่า การเข้าถึงความดับ (นิโรธ) คือการเข้าถึงความดับสัญญา
(ความจำ) และเวทนา (ความรับอารมณ์) ทั้งหมด เรียกว่าการเข้านิโรธ
สมาบตั ิ

อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๒๗

เมื่อกำหนดเข้าถึงจุดสุดท้ายแล้ว พระอริยเจ้าที่
ปรารถนาจะเข้านิโรธสมาบัติจะอธิษฐานจุดนี้ เมื่ออธิษฐานนั้น
จะไม่มีภาวะโดยเจตนาจะเข้าหนึ่ง ไม่มีภาวะเจตนาจะเข้าหนึ่ง
ไม่มีภาวะเจตนาว่ากำลังเข้าหนึ่ง ไม่มีภาวะเจตนาว่าเข้าถึงแล้ว
หนึ่ง เพียงแต่เป็นอาการของรู้ที่โน้มไปโดยไร้เจตนาเท่านั้น เมื่อ
โน้มลงไปแล้ว ภาวะอนั เป็นวจีสงั ขาร ก็จะดบั ตัวลงเมื่อถึงทีข่ อง
เขา เมื่อภาวะของวจีสังขารคือคำพูดทั้งหลายทั้งปวงทางจิตดบั
ลง ภาวะกายสังขารก็จะดับลง เมื่อภาวะกายสังขารดับลง
ภาวะรู้คือจิตสังขารก็ดับลง ก็ถือว่าเข้าถึงสภาวะนิโรธสมาบัติ
อย่างสมบูรณ์ จะตื่นขึ้นก็ต่อเมื่อถึงกำหนดอธิษฐานไว้ ๓ วัน
เป็นอย่างต่ำ ๗ วันเป็นอย่างมาก หรือมากกว่านั้น ตามกำลัง
ของตนที่เชี่ยวชาญในการเข้าและออก

แต่สำหรับเรานักฝึกปฏิบัติใหม่ ทำความรู้อยู่ในฐีติจิต
อัปปนาฌาน ก็ถือว่าดีที่สุดแล้ว เพื่อใช้กำลังของการพักผ่อน
จิตตรงนี้ หนุนให้เกิดสติตื่นรู้ภายในภาวะของจิตเอง ก็
เปรียบเสมือนจิตได้กินอาหารชั้นดี เมื่อกินลงไปแล้วทำให้เกิด
ภาวะกำลังและสติปัญญามากขึ้น เหมือนกับกายที่ได้รับอาหาร
รสชาติชั้นเลิศ ทำให้กำลงั วงั ชาทางกายมากขึ้น ไม่เหนื่อยหนา่ ย
ไมว่ ุน่ วาย เร่าร้อน อุปมาเป็นเชน่ เดียวกัน

๒๘ อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา

ระหวา่ งการปฏิบัติ
กำหนดจุดหนึ่ง..รู้..ลึก..สุขุม..
...4๕ภาวะรู้นี่..เป็นธาตุเดิมของจิต เป็นธาตุรู้เดิมที่

เรียกว่าจิต หรือว่าจิตเดิม ไร้ซึ่งภาวะวิญญาณภายนอกไม่ใช่
ตน เพราะเป็นภาวะรู้เฉยในอารมณอ์ ันเดียว จึงเรียกฐีติจิต

...เราจะสังเกตได้ว่า ภาวะความรู้สึกในร่างกายหมดไป
ภาวะความรู้สึกตามความคิดหมดไป ภาวะความรู้สึกสัมผัส
ต่าง ๆ หมดไป เพราะมีแต่สภาวะอันเป็นฐีติจิต รู้เฉย นี่คือ
จิตเดิม อันเรียก ฐีติจิต

รู้-ซ่อน-รู้ ~ ร้-ู ยอ้ น-รู้
...ถ้าต้องการเห็นความสงบลึกซึ้ง หมายถึงความสงบ

อันเป็นมิติที่ไม่เคยเห็นมาก่อน เมื่อตั้งอยู่ในฐีติจิตอันเป็น
รู้อันเดียวน่นั แล้ว

“กพ็ ึงประคอง รู้อนั เดียว โดย รู้อนั เดียว
แล้วกใ็ ช้ รู้อันเดียว โน้มเข้าสู่ รู้อนั เดียว”
เรียก “รู-้ ซอ่ น-ร”ู้ ม้วนตัวเข้า คำวา่ ม้วนตวั เข้า หมายถึง

๕ ผู้เรียบเรียงใส่จุดสามจุดขึ้นต้นย่อหน้า เพื่อเป็นการบอกว่าแต่ละย่อหน้ามี
การเว้นช่วงจึงอาจไม่ต่อเนื่องกัน เนื่องจากในระหว่างนี้พระอาจารย์ได้หยุด
พูดเพื่อให้ผฟู้ งั ได้ปฏบิ ัติ สลับกับการพูดเสรมิ ขึน้ เปน็ ระยะ ๆ

อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๒๙

“ย.ู้ .รู้อันเดียว
ย้อน..รอู้ นั เดียวเข้าไป”

(ยู้ ภาษาอีสานแปลว่าผลักเข้าไป) ตัวรู้อันเป็นฐีติจิตจะ
เปิดกว้าง มิติอนั เป็นรู้ในลึกจะซอ่ นตวั เข้าไปอีก

...ถ้าอยู่จุดนี้ เราสามารถอยู่ได้ตลอดทั้งคืน โดยไร้การ
สัมผัสภายนอก แม้แต่ความเจ็บปวดในเนื้อหนังร่างกายก็ไม่มี
เลย

...นี่คือเรือนวา่ งของจิต ในบทสะหสั สะนัย ที่เราสวดกนั

สุญญตาผัสสะ
...เราจะพบสุญญตาผัสสะ คือความว่างเปล่าและไร้

ตัวตนแห่งรู้ ความว่างเปล่าอันเป็นองค์รู้ที่ไร้ตัวตน
เงียบสนิทเฉย นี่คือลักษณะของสุญญตาผัสสะ นี่คือลักษณะ
ของสุญญตาสมาธิ อัปปนาสมาธิ ที่เป็นสุดยอดของสมาธิทั้ง
ปวง

...ก็หมายถึงสภาวะรู้คือจิต สัมผัสความว่างเปล่า
สญุ ญตาไม่มีตวั ตน นิง่ สงบ รู้เฉยอันเดียว

รู้อันเดียว ~ รใู้ นลึก
...รู้จักรู้อันเดียว แล้วก็ใช้รู้อันเดียวย้อนรู้อันเดียว

เปรียบเสมือนภาวะรู้อันเดียวนั้น เป็นเปลือกไข่ ในตัวของไข่

๓๐ อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา

หรือเนื้อไข่อยู่ภายใต้เปลือก รู้ย้อนสภาวะรู้เข้าไป จึงจะพบ
สภาวะรู้ซ่อนรู้ รู้ในลึกอันเป็นภาวะที่มีความลึกซึ้ง ว่างเปล่า
ไร้ตัวตน หมดซึ่งการสัมผัสภายนอกเข้าเกี่ยวข้อง จิตจะสนใจ
อยู่ในตวั รู้ซอ่ นรู้และรู้ในลึกทีว่ ่างเปล่า

อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๓๑

บทที่ ๔
การออกจากอรปู ฌาน

…เมื่อรู้สึกพอแล้ว ก็เพิกถอนความรู้สึก ขึ้นสู่ระดับของ
ความสงบ

๑. อ อ ก จ า ก เ น ว ส ั ญ ญ า น า ส ั ญ ญ า ย ต น ะ เ ข ้ า สู่
อากิญจัญญายตนะ
ทำความรู้สึก..ความสงบเลื่อนถอยออก มีความสงบ

เหมือนไม่มี ก็ถอยความรู้สึกมีความสงบในชั้นกลาง ๆ ถอย
ความร้สู กึ ความสงบในช้ันหยาบ ๆ ถอยความสงบในช้นั หยาบ ๆ

ระลึกถึงความว่างเปล่าที่มีเหมือนไม่มี ระลึกถึงความ
ว่างเปล่าที่มีเหมือนไม่มีแล้ว ก็ระลึกถึงความว่างเปล่าในชั้น
กลาง ๆ ระลึกถึงความว่างเปล่าในชั้นกลาง ๆ แล้ว ก็ระลึกถึง
ความวา่ งเปลา่ ในชั้นหยาบ ๆ

๒. ออกจากอากญิ จญั ญายตนะ เข้าสูว่ ญิ ญาณญั จายตนะ
เมื่อรู้ถึงความว่างเปล่าแห่งจิตชั้นหยาบ ๆ แล้ว ก็เลื่อน

สู่สภาวะรู้สึกอันเป็นวิญญาณรู้ ที่มีวิญญาณเหมือนไม่มี แล้วก็
ถอยความรู้สึกแห่งการมีวิญญาณเหมือนไม่มี มารู้สึกเป็น
วิญญาณแห่งการรับรู้ เสียง หรือลม ที่พัดผ่านร่างกายได้

๓๒ อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา

ชัดเจนขึ้น ก็เริ่มความรู้สึกมาสู่ฐานะแห่งการรับรู้ในชั้นกลาง ๆ
และความรู้สึกในช้ันต้น ๆ

๓. ออกจากวิญญาณัญจายตนะ เขา้ ส่อู ากาสานญั จายตนะ
จากนั้นก็ถอยวิญญาณรู้สึกไปสัมผสั กับลม มีเหมือนไม่

มี ลมหายใจเข้าออกมีเหมือนไม่มี ยังไม่มีกระแสลมให้ปรากฏ
ก็ถอยความรู้สึกมารู้สึกอยู่ในลมพัดผ่านเข้าอย่างแผ่วเบา
จากนั้นก็ถอยความรู้สึกรู้มาในลักษณะของลมที่ไหลผ่านเข้า
อย่างชัดเจน แล้วก็ถอยความรู้สึกรู้ในขณะที่ลมสูดเข้าออก ได้
อย่างชดั เจนอยา่ งหยาบ ๆ

๔. ออกจากอากาสานัญจายตนะ
เมื่อรักษาระดับตรงนั้นไว้แล้ว ก็ถอยความรู้สึกท่ัว

สรรพางค์กาย รับรู้ทุกอย่างทั่วสรรพางค์กายให้ชัดเจน แล้วก็
ถอยความรู้สึกไปที่ลมหายใจเข้าและออกให้ชัดเจน แล้วก็ถอย
ความรู้สึกรู้มาที่ร่างกายให้ชัดเจน เมื่อรู้สึกว่าพอเหมาะพอดี
แล้ว ก็ลืมตาออกมาได้

อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๓๓

การเขา้ และออกจากอรูปฌานตามลำดับช้นั 5๖
การกำหนดฌานนั้นเป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญ

ที่จะต้องเข้าออกตามลำดับชั้น เพราะเป็นการทำให้จิตผู้
ปฏิบัติเคยชิน และชำนาญกับทั้งการเข้าและการออก เรียกว่า
“วสี6๗” แรก ๆ อาจจะช้า แต่ภายหลังเมื่อเข้าใจแล้ว จะไวขึ้น ๆ
และผู้ปฏิบัติจะสามารถกำหนดพักตามจุดต่าง ๆ ได้ตาม
ปรารถนา

หากไม่ออกตามลำดับ (สงบ-จิตว่าง-วิญญาณ-
ลมหายใจ) เช่น ลืมตาแล้วออกจากฌานเลย จะทำให้ผู้ปฏิบัติ
ไม่เข้าใจอาการตามลำดับ และจะเข้าถึงจุดสงบตามต้องการ
ไม่ได้

ผมคิดว่าน่าจะเกี่ยวกับความละเอียดที่เราจับใช่ไหม
ครับ? (ลูกศิษย์ถาม)

๖ เป็นเทศนาธรรมที่พระอาจารย์ได้เพิ่มเติมในวันศุกร์ที่ ๘ มกราคม พ.ศ.
๒๕๖๔
๗ วสี ๕ คือ ความชำนาญในฌาน ๕ ประการ คือไม่ว่าจะอยู่สถานท่ีใดและ
ขณะใด ก็สามารถกำหนดฌานได้ตามปรารถนาดังนี้ ๑. อาวัชชนวสี การนึก
ถึงปฐมฌานได้, ๒. สมาปัชชนวสี การเข้าฌาน ให้ฌานจิตเกิดได้, ๓.
อธิษฐานวสี การให้ฌานจิตเกิดดับสืบต่อนานมากน้อย, ๔. วุฎฐานวสี การ
ออกจากฌานได้, และ ๕. ปจั จเวกขณวสี การทบทวนองค์ฌานแตล่ ะองคไ์ ด้

๓๔ อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา

ใช่ ถ้าเป็นไปได้ ทุกลำดับชั้นมีทั้ง หยาบ~กลาง~
ละเอียด~ประณีต ต้องเรียงลำดับแต่ละชั้น

การเขา้ เริ่มจาก
๑. ลมอย่างหยาบ → ลมอย่างกลาง → ลมอย่างละเอียด →

ลมอยา่ งประณีต
๒. วิญญาณอย่างหยาบ → วิญญาณอย่างกลาง →

วิญญาณอย่างละเอียด → วิญญาณอย่างประณีต
๓. ว่างอย่างหยาบ → ว่างอย่างกลาง → ว่างอย่างละเอียด

→ ว่างอยา่ งประณีต
๔. สงบอย่างหยาบ → สงบอย่างกลาง → สงบอย่างละเอียด

→ สงบอยา่ งประณีต
การออก เริ่มจาก

๔. สงบอย่างประณีต → สงบอย่างละเอียด → สงบอย่าง
กลาง → สงบอยา่ งหยาบ

๓. ว่างอย่างประณีต → ว่างอย่างละเอียด → ว่างอย่างกลาง
→ ว่างอย่างหยาบ

๒. วิญญาณอย่างประณีต → วิญญาณอย่างละเอียด →
วิญญาณอยา่ งกลาง → วิญญาณอยา่ งหยาบ

๑. ลมอย่างประณีต → ลมอย่างละเอียด → ลมอย่างกลาง
→ ลมอยา่ งหยาบ

อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๓๕

และสำรวจรา่ งกาย และออกจากฌาน
ถ้าไม่เช่นนั้นเราจะไม่สามารถสัมผัสความประณีตแห่ง

จิตนั้นได้ สุดท้ายมาก็ไม่ชำนาญ เมื่อไม่ชำนาญผลของการทำ
ใหม่ก็จะยากขึ้น

๓๖ อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา

บทที่ ๕
สง่ ท้าย

ระดับความสงบต่างกันหรือไม่ นี่แหล่ะคือหลัก
อรปู ฌานทีแ่ ท้จริง ไม่มีความคิดเข้ามาเกีย่ วข้อง มีแตภ่ าวะรู้กับ
สิ่งทีก่ ำหนดรู้ นี่คืออรูปฌานที่แท้จริง

มีคำถามว่าจะไปไหนต่อ? สุดท้ายไปต่อได้ไหม?
รู้ย้อนรู้ได้ไหม? ให้มันดูตัวมันเอง เมื่อมันรู้ตัวมันเองชัดเจนแล้ว
ความรู้สึกรู้ที่วา่ รู้ตวั มันเองกย็ ้อนกลับเข้า จะเกิดรู้ในลึก สภาวะ
รู้ตัวนั้นจะละเอียดและกระจายออก รู้ตัวนี้ก็จะเคลื่อนเข้าไปจะ
ละเอียดขึ้นกว่าเดิม จึงเรียกวา่ รู้ในรู้ รู้ในลึก

พอรู้แล้ว กเ็ ลยอยเู่ ฉย ๆ เจ้าค่ะ (ลกู ศิษย์ตอบ)
กด็ ีแล้ว ตรงน้ันกใ็ ช้ได้ ใช้ได้มากทีเดียว พอเข้าไปสมั ผสั
ตรงนั้นแล้ว โลกภายนอกไร้สาระไปเลย โลกหนัง โลกละคร
โลกเฟสบุ๊ค ไร้สาระไปเลย ไมอ่ ยากจะพกโทรศพั ทอ์ ีกเลย
แต่ว่าที่เข้าไม่ถึงที่สุดน่ะ เพราะเราใช้ความคิดเข้าไป
เกี่ยวข้อง ของจริงไม่มีความคิดอะไร มีแต่ภาวะรู้ตามอาการ
ต่าง ๆ โน้มเข้าไป ซึ่งไร้ความคิด แต่เป็นภาวะรู้ จึงเรียกว่าอรูป
ฌาน ถ้ามีความคิดเข้าเกี่ยวข้องเป็นรปู ท้ังนั้นเลย
ก็ว่าเราอุตส่าห์บอกดีแล้วนะ ทำไมทำไม่ได้ แล้วไปเจอ
อาการปีติ อาการขนลุกขนพอง อาการหมุน ไปเจออาการพอง

อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๓๗

อันนี้ไม่ใช่แล้ว ตัวนี้เป็นอาการของรูปฌานหมดเลย พระ
อาจารย์ก็เลยไปเช็คดูในกุฏิ พอเข้าดู เอ๊ะ..ทำไมลูกศิษย์ไปเจอ
อย่างนี้ อ๋อ..เอาความคิดเข้าไปเกี่ยว เพราะเอาความคิดเข้าไป
เกี่ยวนี่เป็นการกำหนดรูปฌาน ไม่ใช่อรูปฌาน ผิดกันนิดเดียว
เท่านั้นเอง แตกต่างกันนิดเดียวเท่านั้นเอง เหมือนถูกแต่ไม่ถูก
เช็คดูแล้วทุกคนที่ทำถูก ถูกเฉพาะจุดของการกำหนดรูปฌาน
เท่าน้ัน ส่วนรูปฌานน้ันทำได้ง่าย

เพราะไม่หวง ทำไมถึงบอก ก็อยากให้เจอ อยากให้เรา
นิ่งสงบ อยากให้เรามีปัญญามาก อยากให้เราถอดถอนอุปทาน
ความยึดมั่นถือมั่นได้เร็วที่สุด เพราะมานึก ๆ ย้อนดู ไม่รู้
พระอาจารย์จะตายจากเราวันไหน ถ้าไม่บอกทิ้งไว้ ถ้าไม่พา
พิจารณาแล้ว เรา..เมื่อไม่มีพระอาจารย์แล้วก็จะอยู่ลำบาก ไม่
รู้จะหาทางออกได้อย่างไร หรือใครบอกว่าจะตายก่อน
พระอาจารย์ หรือพระอาจารย์จะตายกอ่ นเรา โอกาสทีจ่ ะรู้เห็น
ความเปน็ จริงกห็ มดไป กเ็ ลยรีบบอกซะ ไม่บอกอยา่ งเดียว ชวน
ทำซะ จูงทางเข้าไปซะ รู้แล้วว่าทำเองได้ อ๋อ..นี่ทางนี้ไป แล้วจะ
ได้สืบสานต่อก็ได้ ไปบอกใครต่อก็ได้ ไม่หวง เป็นสิ่งที่
พระพทุ ธเจ้าประทานให้แล้ว

๓๘ อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา

ฌานเปน็ เรื่องกิริยาของจิต
ถ้าเราทำชำนาญ คำว่าชำนาญคือรู้อาการต่าง ๆ

ตามลำดับ ทำอย่างตามเหตุถูกลำดับ คราวนี้จะหลับตาหรือไม่
หลับ ก็กำหนดได้ กำหนดวาระนั้นเข้าไปได้ตามวาระ เพราะวา่ ..

“เรือ่ งฌานไมใ่ ช่เรื่องอริ ิยาบถ เรือ่ งฌานเป็นเรือ่ งวาระจติ ”

ที่ว่าต้องนั่งหลับตาจึงเป็นฌาน ไม่เกี่ยว อยู่อิริยาบทไหนก็
กำหนดได้ เพราะการกำหนดฌานเป็นเรื่องจิต ไม่ใช่เรื่อง
อิริยาบทคือเนื้อหนัง แต่นิยมใช้การหลับตาเพราะว่าตัดกระแส
การสัมผัสภายนอก คือตาเห็นรูปปุ๊บ ก็จะสนใจแต่สิ่งที่เห็น ก็
แก้ให้ฝึกชำนาญก่อนว่า..สักแต่เห็นนะ จึงจะกำหนดวาระจิตได้
สบาย อยู่ในอิริยาบถไหนก็ได้หมด จะยืน จะนั่ง จะนอน ก็
กำหนดแต่วาระฌานได้หมด เพราะฌานเป็นเรื่องของจิต เป็น
กิริยาของจิต ไม่ใช่เรื่องของอิริยาบถ เรื่องการกำหนด การรู้
กำหนดอาการต่าง ๆ เปน็ เรือ่ งวาระจิตหมดเลย

ก็เหมือนที่เราอยู่ในโลก เราทำงานอยู่ดี ๆ จิตก็กำหนด
ไปคิดเรื่องอื่นเองได้ ก็ไม่เห็นมันเอาอิริยาบถติดไปด้วย กาย
ทำงานอย่างหนึ่งแต่จิตก็คิดอย่างหนึ่ง แต่นี่กายทำงานอย่าง
หนึ่ง..จิตคิดเรือ่ งของฌาน หรือกำหนดวาระจิตตา่ ง ๆ ของฌาน
เมื่อชำนาญเป็นวสีแล้ว สามารถกำหนดได้ว่าเราจะอยู่ตรงไหน
เราจะพักจิตตรงไหน


Click to View FlipBook Version