อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๓๙
“ฌานเป็นเรื่องกิริยาของจิต ไม่ใช่เรือ่ งของร่างกาย”
ที่ว่านั่งภาวนากำหนดฌานต้องไปนั่งหลับตาอย่างเดียว
นั่นแสดงว่าเราไม่เข้าใจ เรายังไม่เข้าใจกิริยาของจิต เราไม่
เข้าใจอาการของจิต เราไม่เข้าใจอารมณ์ของรูปพรหม อารมณ์
ของอรูปพรหม เพราะเราใช้ความรู้สึกอยู่กับโลกมากไป จึงไม่
สามารถจะเห็นอารมณ์ต่าง ๆ ที่มีความละเอียดและประณีต
แบบนี้ สุดท้ายแล้วอารมณ์ต่าง ๆ ก็คือตัวตนของตนเองนั่น
แหละ่ เปน็ ที่ต้ังของอุปทานท้ังหมด
ความสุขสงบของฌาน
เหมือนกับอาหารบ้าน ๆ อาหารชาวบ้านธรรมดา ๆ ที่
เราชินกัน รูปฌานคืออาหารขึ้นห้างขึ้นภัตตาคารใหญ่
อรูปฌานก็เหมือนกันเป็นอาหารเลิศรส อาหารชาววัง มีความ
ประณีต ทั้งการตกแต่ง ทั้งอารมณ์ รสชาติ คุณภาพ และอะไร
ต่าง ๆ กินลงไปแล้ว ไม่ผิดสำแดงทางเนื้อหนังร่างกาย มีแต่จะ
เพิ่มกำลังวังชาให้เกิดขึ้น และทำให้จิตไม่ขัดข้องกับอะไรต่าง ๆ
มีอารมณ์ดี กินไปแล้วดีหมด ดีทั้งกาย ดีทั้งวาจา ดีทั้งใจ นี่คือ
อานุภาพของสติ การกำหนดกำลังหรือฐานที่หนุนของสติ
เรียกวา่ ..
๔๐ อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา
“นตั ถิ สันติ ปรมัง สขุ งั
ความสขุ ในโลกนี้..สู้ความสขุ สงบของฌานไม่ได้
ความสขุ ในโลกนี้..สู้ความสงบสขุ ของรูปฌานไม่ได้
ความสุขในโลกนี้เปน็ โลกสมมตุ ิ..สคู้ วามสุขของอรูปฌานไม่ได้”
สุขกับการใช้การสอย สุขกับการดื่มการกิน สุขกับลูก กับผัว
กับเมีย สุขกับการมีทรัพย์ สู้สุขของความสุขนี้ไม่ได้ เป็นคนละ
เรือ่ งกัน ทีแ่ ท้จริงแล้วจิตใต้สำนึกต้องการสิ่งนี้
แต่ที่เช็คดูเพราะว่า เราก็ว่าเราบอกถูกแล้วนะ ก็ตาม
ขั้นตอนทุกอย่างแล้ว เราก็กำหนดจิตตามไปทุกวาระด้วย เอ๊ะ..
ทำไมจิตของคนทำตามไม่เป็นอย่างนั้น มันได้บ้าง ไม่ได้บ้าง มัน
พลาดตรงไหน อ๋อ..ใช้ความคิดเข้าไปเกี่ยวข้อง อย่างวันนี้ก็เลย
มาพูดให้เพื่อแก้ไข เพื่อให้เข้าใจได้ถูกขึ้น และทำได้สะดวกมาก
ขึ้น แล้วไม่เป็นอุปสรรคที่จะไปดึงความคิดกับรู้ กับลมหายใจ
มันคิดแต่ว่ายากลำบาก พอเราแก้กลับทางให้ถูก วันนี้ก็เลยพดู
เพื่อให้เข้าใจกนั
เคยได้ยินอย่างนี้ไหม? ไม่ได้เพียงแตไ่ ด้ยินอย่างเดียวนะ
แล้วสัมผัสรับรู้ได้ด้วยว่า อ๋อ..มันเป็นอย่างนี้ เห็นไหมว่ามัน
แตกตา่ งกันอย่างนี้
อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๔๑
ผลของรปู ฌานและอรูปฌาน
ไม่ใช่ว่าสมาธิของรูปฌานไม่ดีนะ สมาธิของรูปฌาน
วิตก วิจาร ปีติ ปีติทั้ง ๕ สุข และ อุเบกขา เอกัคคตารมณ์
กำลังของความสงบของรูปฌาน ๔ ถ้าเอากำลังความสงบของ
รูปฌาน ๔ ยกขึ้นสู่การพิจารณาไตรลักษณ์ ความไม่เที่ยงของ
จิต วิญญาณ ความไม่เที่ยงของสังขาร ร่างกาย ความเป็นธาตุ
ของวัตถุ และเหน็ ผู้ดำริสมมตุ ิขึ้นภายในจิตและสงั ขาร มีอำนาจ
ตัดอุปทานยึดถือและอาสวะให้สิ้นได้ ด้วยกำลังของรูปฌาน ๔
ตั้งแต่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตตุ ถฌาน ทำจนชำนาญ
กำลังของฌานทั้ง ๔ หนุนกำลังทางจิตเป็นเอกัคคตารมณ์
อารมณ์อันเดียว และสามารถสังหารกิเลส คือถอดถอน
ความเห็นผิดภายในจิต อันเป็นผู้สัมผัสว่าเป็นตนตัวของเราได้
บรรลุธรรมขั้นพระอรหัตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาญาณและ
อิทธิปาฏิหารย์ทั้งปวงเรียกว่าวิชชา ๖7๘ ระลึกชาติหนหลังได้ รู้
อดีต รู้อนาคตหรือชาติหนหลัง รู้วาระจิตได้ มีตาทิพย์ มีหูทิพย์
แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง เหาะก็ได้ หายตัวก็ได้ ตัวที่ ๖ ถอน
อาสวะให้สิ้นไป นีก่ ำลังของรปู ฌาน
๘ วิชชา ๖ หรือ อภิญญา ๖
๔๒ อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา
แต่กำลังของอรูปฌาน อรูปฌานที่กำหนดวันนี้ ถ้าใช้
กำลังตรงนี้มาพิจารณาถอดถอนอปุ ทาน ยึดถือ ความหมายมนั่
ทั้งหลายแตกดับลง อวิชชาความหลงแตกพ่ายไป จะสำเร็จพระ
อรหัตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔ มีความแตกฉานในวาระ
ธรรม มีความแตกฉานในอาการของจติ และสภาวะธาตุทัง้ ปวง มี
ความรู้ความสามารถที่ชัดเจนกว่าสิ่งอื่นในสภาวะธรรม อันเป็น
พระอรหันต์ที่มีความหยดย้อย น่าทึ่ง มีปัญญามาก มีไหวพริบ
ปฏิภาณ แตกฉานในอรรถ แตกฉานในธรรม แตกฉานในภาษา
แตกฉานในปฏิภาณโวหาร เรียกว่า อนุสาสนีแหง่ ธรรมปรากฏ
คุ้มค่าไหมวันนี้ การดำเนินการฝึกสมาธิจิตควบคู่กับ
การพิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พระอาจารย์ว่าได้ผล จิต
ของเราพัฒนาไปได้มากขึ้น ความเรียบร้อยมีมากขึ้น ความสงบ
ทางจิตทางใจมากขึ้น สติปัญญาก็รู้เรว็ ขึ้น ความฉลาดมีมากขึ้น
ดีกวา่ ไมพ่ าทำ แตก่ ่อนแค่เทศนใ์ ห้ฟงั กย็ ังละความเหน็ ไมไ่ ด้
การตดั กิเลส ๓ ระดบั
ทีนี้จำอาการได้ เราก็ทำเองได้ จะกำหนดตอนไหนก็ได้
ก็เป็นที่พึ่งของใจได้ สงบเยือกเย็นได้ ปราบอารมณ์
อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๔๓
นิวรณธรรม8๙ได้ เรียกวา่ ทำอารมณ์ของความสงบ สมาธิปราบ
สิ่งนี้ได้ เรียกว่ากิเลสอย่างกลางขาดไป
“กิเลสอยา่ งกลาง..ถูกระงับไปด้วยกำลงั ของสมาธิ”
๑.กามวิตก จิตวิตกอยู่ในอารมณ์ของกามหมดไป เพราะถูก
อำนาจสมาธิควบคุมไว้, ๒.พยาบาทวิตก ความเครียด
ความชงั ความเกลียด ความโกรธ ความโมโหรา้ ย ความหงดุ หงดิ
ความอาฆาต ความพยาบาท หมดไป เพราะถูกอำนาจสมาธิ
กดไว้, ๓.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ถูกอำนาจสมาธิกดไป ไม่
สามารถจะโผล่ขึ้นกวนใจเราได้, ๔.ถีนมิทธะ ความง่วง
หงา วหา วนอนหมดไป เพราะจ ิ ตสงบต ื ่ นร ู ้ ด ี ม ี สติ ,
๕.อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านของความคิดที่แตกกระสาน
ซ่านเซ็นไปตามกระแสของวิญญาณ ทั้งอดีตและอนาคตดับลง
เป็นเอกัคคตารมณ์ กิเลสอย่างกลางถูกปราบไปด้วยกำลังของ
สมาธิ สามารถซื้อเวลาให้จิตอันนี้ดำรงอยู่ในความเป็นอารมณ์
อันเดียวเพื่อที่จะก้าวเข้าสู่วิปัสสนาญาณ ในการพิจารณา
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งกายและจิต ซ้ำเข้าไป จนกระทั่งเห็น
๙ แปลว่าธรรมอันเป็นเครื่องปิดกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี หมายถึง อกุศล
ธรรม ๕ ประการ ได้แก่ ๑.กามฉันทะ, ๒.พยาปาทะ, ๓.ถีนมิทธะ,
๔.อุทธจั จกกุ กจุ จะ, และ ๕. วจิ ิกิจฉา
๔๔ อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา
ธรรมชาติของจิตเดิม และธาตุรา่ งกายทีห่ าความจีรงั ถาวรไม่ได้
จนกระทั่งถอนความเป็นสมมุติบัญญัติภายในจิตออกเสียได้ ก็
ก้าวเข้าสู่ พระนิพพาน นั่นคือกิเลสอย่างละเอียดแตกพ่ายไป
“กิเลสอย่างหยาบ..ปราบได้ด้วย..ศีลสิกขาบท
กิเลสอย่างกลาง..ปราบได้ดว้ ย..สมาธิ
กิเลสอยา่ งละเอียด..ปราบไดด้ ว้ ย..ปัญญา”
ก็คือสติปัญญา กน็ ี.่ .ศีล-สมาธิ-ปัญญา ทีท่ ำอยู่เดี๋ยวนี้
สมาธิเหมือนยาแก้ปวด
ก็รู้นีว่ ่ามนั สงบอันนี้แล้ว กามวิตก ความกำหนัดยินดีใน
รูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส หายไป พยาบาท วิตก ความหงดุ หงิด
งุ่นง่าน รำคาญ เบื่อหน่าย หายไป จิตตั้งอยู่ในความเมตตา
สงบ สุขุม ความลังเลสงสัยหายไป ความง่วงหงาวหาวนอน
หายไป ความฟุ้งซ่านของจิตหายไป เหลือแตร่ ู้ชัด
เหมือนว่ากามวิตกก็เป็นโรคอันหนึ่งที่รุมเร้าในจิตของ
เรา พยาบาทวิตกก็เป็นโรคอันหนึ่ง เหมือนกับการปวด
กามวิตกเหมือนอาการปวด พยาบาทวิตกเหมือนอาการเจ็บ
อาการปวด ความลังเลสงสัย คืออาการเจ็บอาการปวด
ถีนมิทธะ ความง่วงหงาวหาวนอนเป็นอาการเจ็บอาการปวด
ความฟุ้งซ่านของจิตคิดมาก เหมือนอาการปวด
อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๔๕
สมาธิเหมือนยาแก้ปวด รู้สึกสบายขึ้น ซื้อเวลาได้ต่อ
มีโอกาสที่จะพิจารณารุดหน้าต่อ เพื่อที่ละทิ้งอุปทานทั้งหมด
สิ่งต่าง ๆ กจ็ ะพังลงทีเดียว เหลือแตค่ วามอิสระแหง่ จิต
เกิดขึน้ ที่จิต
ย้ำคำพูดนี้..น่าสนใจ ฟังด้วยสติตั้งมั่น และมีปัญญา
พิจารณา สามารถก้าวเข้าสู่การถอนอุปาทานได้ก่อนกลับบ้าน
เห็นไหมความสงบสุข นิ่งเงียบ ตื่นรู้ ที่ประณีต เกิดขึ้นจากการ
กำหนดฌาน
ฌานก็เป็นอารมณ์อันหนึ่ง รูปฌานความสงบก็เป็น
อารมณ์อันหนึ่ง อรูปฌานความสงบก็เป็นอารมณ์ที่ละเอียดขึ้น
อันหนึ่ง กามวิตก รปู เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ9๑๐ เครื่องสัมผัส
ลูก ๆ ผัว ๆ เมีย ๆ กิน อยู่ ดู พดู คิด แสวงหาทรพั ยใ์ นการเล้ยี ง
ชีวิตและครอบครัว ก็เป็นความรู้สึกอารมณ์อันหนึ่ง ทั้งอารมณ์
ของกาม ก็เกิดขึ้นที่จิต ทั้งอารมณ์ของฌาน รูปฌาน สมาธิ ก็
เกิดขึ้นที่จิต ทั้งอารมณ์สมาธิที่เกิดขึ้นในอรูปฌานที่ประณีต
ว่างเปล่า ก็เกิดขึ้นที่จิต เห็นไหม กายไม่ต้องพูดถึง..ตายก่อน
เดี๋ยวกต็ าย
๑๐ สิ่งที่มาสัมผัสทางรา่ งกาย เชน่ ลมพัด ของนมุ่ ของแข็ง มาสมั ผัสร่างกาย
๔๖ อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา
นี่คือจิต อารมณ์โลภก็เกิดขึ้นที่จิต อารมณ์สงบก็
เกิดขึ้นที่จิต อารมณ์ว่างเปล่า..ตื่นรู้ อย่างวันนี้ก็เกิดขึ้นที่จิต
อารมณ์โกรธหงุดหงิดก็เกิดขึ้นที่จิต กำหนัดยินดีเกิดขึ้นที่จิต
พอใจ-ไมพ่ อใจเกิดขึ้นทีจ่ ิต
สขุ ..มันก.็ .จิต
สงบ..มันก.็ .จิต
ทุกข์..มนั ก.็ .จิต
รกั -ชอบ..มันก.็ .จิต
นีแ่ หละ่ จิต..
เดี๋ยวดี-เดี๋ยวช่ัว
เดี๋ยวสขุ -เดี๋ยวทุกข์
เดี๋ยวสงบ-เดี๋ยวไม่สงบ
เพราะมันคือจิต..
ถ้าจิตนี้..ไมม่ ีสติปญั ญาเป็นที่กล่ันกรองรกั ษา
จิต..กจ็ ะหลงตวั จิตเอง
เมื่อ..จิตหลงตวั จิตเอง
เรากส็ ุข..กับวาระของจิตทีเ่ ปน็ สุข
เรากท็ ุกข.์ .กับวาระจิตที่เปน็ ทุกข์
เรากส็ งบ..กบั วาระจิตทีส่ งบ
อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๔๗
เราก็ว่างเปล่า..ในวาระจิตที่กำหนดเหตุอันว่างเปล่า
เราจึงคอยเสวยอารมณ์ต่าง ๆ ทีเ่ กิดขึ้นกับตัวจิตเสมอ..
แล้วจิตตา่ ง ๆ เหลา่ นี้..
ก็เหมือน..เงา..ที่เปลีย่ นไป..เปลีย่ นมา..
จึงเรียกสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ว่า สัพเพสงั ขารา อนิจจา เมื่อเรายึด
ติดในมัน ยึดถือว่าเป็นจิตของเรา เราเป็นจิตอันนั้น ขันธ์ทั้ง ๕
ทั้งหลายก็คืออาการของจิตที่กล่าวมาทั้งหมด จึงเป็นสุขเป็น
ทุกข์ เป็นดีเป็นชว่ั ขึ้น อารมณ์ต่าง ๆ จึงแปรปรวนไปตามวาระที่
มันแปรปรวนไป แต่ถ้าเราเข้าใจว่ามันคือจิต และมีทุกอย่างที่
กลา่ วมาแบบนี้ เราเปน็ ผู้มีสตติ ง้ั มัน่ มีปัญญารู้เทา่ ทันทกุ วาระที่
เกิดขึ้นว่าคือจิตไม่เป็นเรา ทุกอย่างที่ปรากฏขึ้นจะดับไปเสมอ
จะไมค่ งที่
เหตุฉะนั้นองค์พระบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
จึงกล่าวขึ้นว่า พึงวางรูปสัญญา ๑ คือรูปเนื้อหนังร่างกาย ที่
ต้องแตกสลายไป พึงวางนามสัญญาอันเป็นที่ ๒ ก็คือวาระ
แห่งจิตที่กล่าวมานี่ เพราะทั้งสองสิ่งนี้เป็นอนัตตา ไม่ใช่ของตัว
สติ สมั ปชัญญะ ปัญญารู้เทา่ อันเปน็ พทุ ธะทีร่ ้เู ท่าทัน..ว่านีค่ ือ
ธรรมชาติแห่งจิต นี่คือธรรมชาติของกาย ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่
เปลี่ยนแปลง และดับสลาย ทุกขณะ ไม่สมควรยึดมั่นถือมั่น ว่า
๔๘ อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา
นี่คือจิตของตัว แม้แต่ภาวะรู้ ทุกอย่างก็เป็นเพียงภาวะจิตที่รู้
แล้วดับท้ังนั้น
เหตฉุ ะน้นั “ร”ู้ อนั เปน็ ภาวะจิต
กเ็ ปน็ “สังขาร” ของจิตอนั หนึง่
และเปน็ “อาการ” ของจิตอนั หนึง่
สุดท้ายมา.. จติ นี้..เป็นอนิจจัง
จติ นี้..เปน็ ทกุ ขัง ทนอย่ใู นอาการเดมิ รู้เดมิ ไมไ่ ด้
จิตนี้..เป็นอนัตตา ควบคมุ ไมไ่ ด้
เหตุฉะนั้นจึงรู้ความรู้สึกและวางความรู้สึกทั้งหลาย ให้เกิดดับ
ตามหน้าที่ของมันเถิด มันคือจิต ถ้าเรายึดติดมัน เราจะดีและ
ชว่ั ตามกระแสของมัน เราจะสขุ หรือทุกขต์ ามกระแสของมัน เรา
จะสงบและไม่สงบตามกระแสของมัน และเราจะแสวงหาโดยไม่
รู้จบ ทั้ง ๆ ที่มันก็เป็นมันแบบนี้แหล่ะ และมันก็ไม่เป็นผู้ใดเลย
เป็นเพียงภาวะเกิดและดับ ไม่เปน็ ผู้ใด
..แต่ด้วยความที่ไมร่ ู้ความหมายนัน่ เอง
จึงให้ความหมายวา่ นน่ั คือจิตของเรา
จึงเป็นทีม่ าของการยึดถือ
และเป็นทีต่ ้ังของราคะ โทสะ โมหะ
จิตนี้อนั เปน็ ความยึดหมายมั่นขึ้นเป็นสมมุติ
จึงตกอยู่ใต้กฎกระแสของ..
อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๔๙
การเวียนว่ายตายเกิด..ในสภาวะอารมณ์
แล้วก็เวียนวา่ ยตายเกิด..ในภพคืออารมณ์..ไมร่ ู้จบ
จึงพบกับความไม่อยู่นิ่ง เฉย สงบ หรือตื่นรู้ จิตใจของเราจึง
วุ่นวายไม่รู้จบ เพราะจิตหลงจิตว่าเราเอง ทั้ง ๆ ที่มันก็เป็นแบบ
นี้แหล่ะ
พระนิพพาน~สภาวะรทู้ ัน..ที่ไม่ยึดติด
เห็นไหม..แม้แต่ประณีตที่สุด มันก็เป็นมันอยู่นั่นแหล่ะ
ตามเสวยปุ๊บ..เป็นอารมณ์ปั๊บ แสดงว่าตัวจิตนี่เองเป็นภพ หลง
จิตก็หลงภพ หลงจิต..ตัวภพชาติคือจิตก็พาไปเกิดในภพต่าง ๆ
คืออารมณ์ แต่ถ้าวางมันไว้ตามเดิม มันก็เป็นสักแต่จิต ก็ไม่มี
อะไรที่ต้องติดข้อง แค่รับรู้ไปตามวาระ แต่ให้ติดไม่ติด ก็นี่คือ
พระนิพพาน
เพียงแต่เข้าใจวา่ นี่หละ่ คือความรู้สึกนี้คือจิต แล้วเขาก็
จะเปลี่ยนไป เพราะนี่คือวิถีของเขา จะให้เขาไปเป็นอย่างอื่นก็
ไมเ่ ปน็ จะให้เขามาเป็นเรา..เขาก็ไม่เปน็
แยกคำว่าเราออกจากอาการต่าง ๆ เหล่านี้ให้หมด
มีแต่ “รู้ทัน” และ “ไม่ยึดถือ” ทกุ อย่างกจ็ บลง..
“เพราะพระนิพพานคือ..สภาวะรู้ทนั ..ที่ไมย่ ึดติด
สดุ ทา้ ยไมม่ อี ะไรหายไป..มีแต่เข้าใจมากขึ้นและไม่ยึดติด”
๕๐ อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา
อรูปฌาน~อรหตั ผล~พระนิพพาน
อรูปฌานจะถึงพระอรหันต์ได้ ก็ต่อเมื่อเราได้กำลังของ
อรูปฌานแล้ว จึงมาพลิกเห็นอาการของ..
“รูปฌาน..กเ็ ป็นภพ..อนั หนึ่ง
อรปู ฌาน..กเ็ ปน็ ภพ..คืออารมณ์อันหนึง่ ”
นี่คือจิต มันเปลี่ยนไปได้หมด มันสามารถเป็นอารมณ์ของฌาน
ก็ได้ เมื่อได้อารมณข์ องฌาน มันก็ดีขึ้น สบายขึ้น ว่างเปล่า เมื่อ
ไปพบอารมณ์ของโลก ฌานหายไป นี่คือการเปลี่ยนแปลงของ
อารมณ์ นั่นก็คือภพ สุดท้ายมาแล้วสามสิ่งนี่ ทั้งกามโลก
รูปโลก อรูปโลก เป็นที่ตั้งของอุปาทานว่า..จิตเป็นเราไปหมด
จึงพูดเมื่อกี๊นี้ว่าจิตนี้ไม่ใช่เรา จึงสามารถถอนอุปทานยึดม่ัน
ออกจากใจนี้ได้ สภาวะรู้เท่าทันจิตจึงปรากฏขึ้น เริ่มไม่ยึดติด
ถ้าทำตรงนี้เข้าใจ ถึงบอกว่าเมื่อเข้าฌานแล้ว จึงสามารถถอด
ถอนอุปทาน อันเป็นเครื่องดองสันดานภายในจิตได้ แต่ถ้าติดก็
ถอนไม่ได้
เมื่อไดก้ ำลงั ของฌานแล้ว จึงพลิกขึ้นสวู่ ิปสั สนา
โดยการยอ้ นดูวาระจิตและลมหายใจ
วา่ มีการเปลยี่ นแปลงในจดุ ต่าง ๆ อย่างไร
จึงจะทราบว่าวาระจิตมีการเปลีย่ นแปลงตามลำดบั
อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๕๑
เมือ่ เห็นการเปลีย่ นแปลงและเข้าใจในความเปลี่ยนแปลง
ของวาระฌานนั้น จึงจะเกิดปัญญาขนึ้ 10๑๑
และจะเข้าใจว่า อ๋อ..จิตมันก็มีมากมายหลายอารมณ์เช่นนี้
แหล่ะ แล้วทุกอารมณ์เกิดขึ้นก็ดับเสมอ และก็ไม่เป็นผู้ใดเลย
สุดท้ายมาเป็นธาตุรู้ ก็มีหน้าที่รู้ รับรู้ทุกอย่าง และก็ดับไปทุก
อยา่ ง
แต่..ภาวะสติเป็นภาวะทีร่ เู้ ทา่ ทนั ทุกอยา่ ง
แต่..ไมย่ ึดถอื ทกุ อย่าง
นีค่ ืออารมณข์ อง..พระนิพพาน
นี่คือสถานะของ..พระนพิ พาน
จึงไม่ได้จัดอยู่ในอารมณ์ประเภทใด จึงไม่จัดอยู่ในสมมุติ
บัญญัติประเภทใด เพราะไม่ได้เกาะอยู่ในสิ่งใด เป็นสภาวะ
อิสระ ที่ไม่มีชื่อ แต่ก็รับรู้ทุกอย่างเหมือนเดิม แต่เพียงแต่ไม่ยึด
ติดเทา่ นั้นเอง
สติ..และ..พระนิพพาน
เราอยู่กับความสงบเฉยมากเกินไป แล้วก็เป็นมาโดย
ตลอดด้วย ไม่ค่อยได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของเขา พอเข้าที่ก็
๑๑ การวปิ ัสสนาโดยใช้อรูปฌาน อธิบายเพมิ่ เติมในบทท่ี ๒ ของตอนที่ ๒
๕๒ อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา
พักสงบบ้าง นิดหน่อยพอได้เป็นกำลังเลี้ยงจิต เป็นผลดี แต่เรา
ลืมดูไปว่ามันก็คือภาวะอารมณ์อันหนึ่ง พอไปยุ่งกับโลก กับที่
ทำงาน อะไรต่าง ๆ เรื่องวุ่นวายก็เกิดขึ้น สุดท้ายมา..กลับบ้าน
ก็นง่ั สมาธิให้สงบบ้าง พอออกไปกเ็ จอเรือ่ งวนุ่ วายอีก มันไม่จบ
เพราะมันไม่มีปัญญาแก้ไข เพราะเราไม่ได้รู้ว่านั่นคือ
อาการแห่งจิต เขาก็เป็นเขาอยู่อย่างนั้น ที่เขาพูดกันว่าจิต
แล้วเขาก็มีคุณสมบัติแบบนี้แหล่ะ คุณสมบัติแบบนี้แหล่ะว่า
เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เหตุฉะนั้นจิตนี้จึงไม่ใช่เรานั่นเอง มันก็เป็น
ของมนั อยา่ งนั้นแหละ่
บรรลธุ รรมกค็ ือเขา้ ใจ..เขา้ ใจสถานะของเขา
เข้าใจความเป็นจริง..วา่ เขากเ็ ปน็ ของเขาอยา่ งนี้
เขามีคุณสมบตั ิการเปลี่ยนไปแบบนี้..มีวิถขี องเขาอยา่ งนี้
แต่ที่เราหลงเพราะว่าเราไม่รู้คุณสมบัติของเขา ไม่รู้วิถีของเขา
ก็เลยยึดอาการที่เห็นทั้งหมดมาเป็นความคิด อารมณ์ เลยเป็น
ที่ตั้งของการยึดมั่น แต่ถ้าเรารู้ทุกอย่างแต่ไม่เอาสักอย่าง
จิตที่รู้ทุกอย่างที่ไม่เอา..มันก็ไม่เปลี่ยนแปลงไปกับสิ่งที่ถูก
รู้ นี่หล่ะจิตนี้จึงไม่ดับ แต่ถ้าไปจับเอาสิ่งที่ถูกรู้ สิ่งที่ถูกรู้..มัน
เกิดได้ มันดับได้ มันเกิดได้ มันเปลี่ยนแปลงได้ จิตนี้มันไปยึด
ในสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ ภาวะจิตก็เลยเปลี่ยนแปลงไปตาม
อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๕๓
สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ปัญหากเ็ ลยเกิด แต.่ .สมมตุ ิวา่ ทุกคร้ังทีม่ กี าร
เปลีย่ นแปลง เราก็ต้องการทีจ่ ะหยดุ มัน
ð แต.่ .การหยดุ ที่จิตทแี่ ท้จรงิ คือ..
การเรียนรู้เขาและไมย่ ึดถือเขา ถึงจะหยุดได้อย่างแท้จรงิ
ð แต.่ .การหยดุ ได้ด้วยสมาธิ หรือการหยดุ ได้ด้วยฌาน..
มนั หยุดไดช้ ่วั คร่เู ท่านัน้ เอง แล้วมนั กข็ ึ้นมาใหม่..
เปลี่ยนแปลงไปใหม่
แมแ้ ต่อาการสงบของฌานก็ยงั เปลี่ยนแปลงอยู่เลย
ปญั ญาคือการเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของวาระนั่นเอง
แล้วจึงเข้าใจวา่ อ๋อ..วิถีเขาเป็นอย่างนี้ ธรรมชาติเขาเปน็ อยา่ งนี้
ธรรมชาติลมมีอยู่อย่างนี้ในโลก แต่ต้องสนใจว่าลมไหม ก็รู้อยู่
แล้วว่าเป็นลมน่ะ แล้วธรรมชาติของจิตเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างนี้
คิดอยู่อย่างนี้ ก็รู้อยู่แล้วว่ามันคือจิตนี่ อ้าว..แล้วไปยึดถือมัน
ทำไม สุดท้ายมีแต่จิตไม่มีเรา มีแต่อาการรู้ กับรับทราบและ
เกิดดับไป แต่ไม่มีเราเลยนะ แต่รู้เท่าทันทุกอย่างที่ปรากฏขึ้น
แต่ก็ไมม่ ีเราสกั ที่ในน้ัน เป็นแต่ภาวะ
แต่ร้ตู ัวนีไ้ ม่ดบั ไปไหน..เทยี่ ง..
รเู้ ทา่ ทนั ที่ไมย่ ึดติด..
แต่..รู้แตย่ ึดติด..มนั ต่างกนั
๕๔ อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา
สภาวะที่ผ่าน..คือรู้เท่าทันไม่ยึดติด แต่รู้แบบโลกก็เป็นภาวะรู้
เหมือนกัน แต่รู้ตรงนั้นไม่ได้มีปัญญากลั่นกรอง เลยไปติดทุก
อยา่ งที่รู้
รแู้ บบหลง..อันหนึ่ง
รู้แบบละไม่ยึดติด..อนั หนงึ่
..ตา่ งกนั
รู้แบบละ คือสถานะที่เป็นนิพพานแปลวา่ ไมย่ ึดติด แสดงวา่
“จิตทีไ่ ม่ยึดติด คือ พระนิพพาน
ไม่ใช่..ดินแดน
ไม่ใช.่ .ภพ ภมู ิ
แต่เปน็ ..ภาวะ..ทีเ่ กิดขึ้นแลว้ ..เปน็ ที่ต้งั อยใู่ นนั้น
โดยทีไ่ มไ่ ดเ้ ปลี่ยนแปลงไปไหนเลย”
องค์หลวงปู่มั่น ท่านจึงกล่าวไว้ ไม่มีจิต เพราะจิต คือสังขาร มี
การเปลี่ยนแปลงสลายดับลง เพราะท่านไม่ยึดถือ แม้มีอยู่ท่าน
ก็ไม่ยึดถือ สภาวะจิตของพระอรหันต์จึงมีแต่สติรู้ทัน
เท่านั้นเอง แต่ไม่มีการเกิดดับกับสิ่งทั้งหลาย เพราะท่านไม่ยึด
สิง่ นั้นเอง กเ็ ลยมีแตภ่ าวะรู้เทา่ ทนั
อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๕๕
สุดท้ายมาพระนิพพานกค็ ือสติน่นั เอง
แตไ่ ม่ได้พูดวา่ สติและไมไ่ ด้ยึดถือว่าสติ
แต่เปน็ ..สติสมบรู ณ์แบบ
ทีไ่ มต่ ้องมีชือ่ อะไรเข้าเกีย่ วข้องและ..
สตติ ัวนัน้ กค็ ือ..ภาวะรชู้ ดั ..เทา่ ทนั ..
ไมย่ ึดถือ..อสิ ระ
และรู้ตวั นั้นก็ไมเ่ ปน็ เราดว้ ย
กเ็ ปน็ ภาวะธาตรุ ู้เหมือนเดมิ นั่นเอง…
๕๖ อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา
ตอนที่ ๒
อรูปฌาน~วิปสั สนา
อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๕๙
บทที่ ๑
การกำหนดอรูปฌาน
“...กำหนดฌานกันหนาวกันเถอะ11๑๒ เอาสูตรไวหรือ
สูตรช้า ไวต้องใช้สติมากพอนะ ต้องตัดภาวะนั้นตามลำดับให้
มัน่ ไมใ่ ห้ยาว เอาแบบไวก็ได้ สตินะ่ สำคญั ทีส่ ุด...”
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่ง
เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรสั รู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
พุทธัง สะระณงั คัจฉามิ
ธมั มัง สะระณัง คจั ฉามิ
สังฆงั สะระณัง คจั ฉามิ
ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็น
สรณะที่พึ่ง ที่เคารพ ที่นับถือ ที่บูชา เหนือเศียรเกล้า ที่พึ่งอื่น
ของข้าพเจ้าไม่มี ขอคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ จง
เป็นที่พึง่ ของข้าพเจ้าเถิด
ปะรสิ ทุ โธ อะหงั ภันเต, ปะรสิ ุทโธติ มัง พทุ โธ ธาเรตุ
๑๒ เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๓ อากาศที่สกลนครค่อนข้างหนาว
อณุ หภมู ปิ ระมาณ ๑๕ องศาเซลเซยี ส
๖๐ อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา
ข้าพเจ้าขอกล่าวคำบริสุทธิ์ แสดงความบริสุทธิ์ในข้อ
ศีลสิกขาบทแม้บางสิ่งบางอย่างขาดบิ้นไป ขอตั้งใจน้อมแสดง
ถึงความบริสุทธิ์แด่องคพ์ ระสมั มาสมั พุทธเจา้ และต้ังต้นสำรวม
ใหมใ่ นบดั นี้เปน็ ต้นไป
อะหัง ภนั เต, ปะริสุทโธติ มงั ธัมโม ธาเรตุ
ข้าพเจ้าขอแสดงความบริสุทธิ์แห่งศีลสิกขาบทตามชั้น
ศีลของตน แม้บางสิ่งบางอย่างอาจจะขาดร่วงหรือบิ้นไป
ข้าพเจ้าขอสำรวมใหม่ และแสดงถึงความบริสุทธิแ์ ห่งพระธรรม
เถิด
อะหัง ภันเต, ปะริสทุ โธติ มัง สังโฆ ธาเรตุ
ข้าพเจ้าขอแสดงความบริสุทธิ์แห่งศีลสิกขาบทที่
สมาทานไว้แล้ว แม้ขาดบิ้นไป ก็จะสำรวมตั้งจิตใหม่ ขอคุณ
พระพทุ ธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เปน็ ทีพ่ ึง่ ของข้าพเจ้าเถิด
บัดนี้ความเป็นศีล วิสุทธิทั้งกาย วาจา และใจ ของ
ข้าพเจ้าตั้งต้นอยู่ในความสำรวมระวังด้วยดีแล้ว สิกขาบท
ทั้งหลายได้สมบูรณ์บริบูรณ์ในขณะจิตนี้แล้ว จากนั้นพึงตั้งสติ
สำรวมจิต สำรวจรา่ งกายของตน ทุกสรรพางคก์ ายต้ังแต่ปลาย
ผมจรดปลายเท้า ในอิริยาบทที่นั่งราบ ๆ อย่างสบาย เป็นการ
อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๖๑
นั่งผ่อนคลายเพื่อสำรวมจิตของตน และสำรวจกายด้วยดีแล้ว
พึงละความสนใจในรา่ งกายที่มีอย่ใู ห้หมด
๑. อากาสานญั จายตนะ
ใช้จิตใต้สำนึกรู้ถึงลมผ่านเข้าและออก อันเรียกว่า
อานาปานสติหรือเป็นการกำหนดเบื้องต้นของอรูปฌานชั้นที่
๑ สดู ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก มีจิตใตส้ ำนึกระลึกรู้โดยทไี่ ร้
ความคิด นีค่ ือลมหายใจ สูดเข้าและออก
“อากาโส อนันโต..
นี่คือลมหายใจ..อากาศคือลมหายใจทีเ่ ข้า-ทีอ่ อก
เปน็ อยา่ งนี.้ .ประจำอยูอ่ ย่างนี้
เป็นของทีม่ ีอยใู่ นโลก..หาที่สุดประมาณมิได”้
เมื่อยังความรู้เช่นนี้แล้ว ก็พึงใช้จิตใต้สำนึกของตน ทราบถึง
ความเป็นไปในลมหายใจอันมีประจำอยู่ในชีวิตและโลกนี้ เป็น
ลมหายใจหรืออากาศที่ไม่ตา่ งกัน ทำความรู้วา่
“มีลมหายใจ..เหมือนไมม่ ”ี
แม้มีลมหายใจผ่านเข้าอย่างช้า ๆ ละเอียด ก็จึงกล่าวโดยกริยา
ของจิตใต้สำนึกคือสติผู้รู้ นั้นวา่
“มีลม..เหมอื นไม่มี”
๖๒ อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา
ทำให้ภาวะลมแม้มีอยู่ ก็แทบจะไม่รู้สึกว่าหายใจเลย ทำให้ลม
หายใจนั้นหมดไป ถ้ายงั ไมห่ มดก็กลา่ วซ้ำขึ้นวา่
“มีลมนี.่ .เหมือนไม่มีเลย”
เมื่อลมหายไปแล้ว ก็พึงละความสนใจในลมให้หมด ยกระดับ
จิตขึ้นสู่อรูปฌานชั้นที่ ๒ กนั เถอะ
๒. วิญญาณญั จายตนะ
ในอรูปฌานชั้นที่ ๒ เมื่อลมหายไป ละทิ้งไปไม่สนใจอีก
แล้ว แม้มีอยู่ก็ช่าง ก็จะเหลือเป็นเพียงภาวะรู้สึก รู้สึกรู้ ไม่มีลม
หายใจ มีแตร่ ู้สึกรู้ ๆ ๆ วิญญาณัญจายตนะ
“วิญญานงั อนันตงั ”
เป็นหลักฌานเบื้องต้น ธรรมชาติของวิญญาณเป็นกระแสของ
จิตเช่นนี้เอง เป็นผู้รับรู้เสียง รู้กลิ่นรสสัมผัสอะไรต่าง ๆ สัมผัส
ถูกต้อง เช่น ความเย็นหรือเสียง เสียงที่ได้ยินเข้าไปในขณะนี้
นั่นก็คือวิญญาณ กำหนดโน้มใจไปทำความรู้สึกรู้ว่า ความรู้นี้
คือวิญญาณนะ
“วิญญาณหาเบือ้ งตน้ ไม่ได้ วิญญาณหาเบื้องปลายไมไ่ ด้”
เมื่อทำความรู้..รู้ว่าเป็นวิญญาณแล้ว ก็พึงทำความเห็นอย่าง
ชดั เจนน้ัน โดยไร้ความคิดวา่
อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๖๓
“มีวญิ ญาณนี.่ .เหมือนไม่มีเลยนะ
มีวิญญาณ..เหมือนไมม่ ีเลย”
ภาวะรู้ก็จะค่อยเลื่อนตัวละเอียดตัวลง มีความรู้ที่ชัดขึ้น การ
สมั ผสั ในการรบั รู้ก็จะชัดเจนขึ้น เชน่ เสียงก็จะดังขึ้น ภาวะจิตไร้
ความคิดปรุงแต่ง มีแต่รู้ชัด ละเอียด สุขุม การสัมผัสถูกต้อง
ทั้งหลายก็ชดั เจนมากขึ้น ทำความรู้โน้มจิตตอ่ ไปว่า
“มีวิญญาณรู้นี่..เหมือนไมม่ ีเลย”
ความละเอียดกจ็ ะเริม่ ลำดับเข้าไปอย่างนา่ อัศจรรย์ใจ
“มีวญิ ญาณนี.่ .เหมือนไมม่ ีเลยนะ”
ภาวะวิญญาณนั้น ได้ละเอียดตัวเข้า จากนั้นก็กำหนดรู้อยู่ใน
วิญญาณทีม่ ีความละเอียดว่า
“มีวญิ ญาณ..เหมือนไมม่ ”ี
เช่น จะสำคัญว่าวิญญาณมีอยู่หรือไม่มีก็ไม่สำคัญ แต่ก็มีอยู่
เช่นนั้น ว่ามีก็ไม่ว่า ว่าไม่มีก็ไม่ว่า แต่ก็มีอยู่เช่นนั้นเป็นกลาง ๆ
โน้มจิตไปในวิญญาณรู้นั้น
“มีวญิ ญาณรู้..เหมือนไมม่ ีนะ”
ก็ได้ชื่อว่าภาวะความสะดวกในระดับของวิญญาณรู้ เป็นมิติที่
ละเอียดกวา่ ความรู้สึกทางด้านลมหายใจ
๖๔ อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา
วิญญาณเป็นกระแสของจิต เมื่อทราบตามหน้าที่ของ
วิญญาณหรือความสงบในระดับชั้นของวิญญาณ หรือนักรับรู้ที่
ชัดเจนดังกึกก้องเป็นภาวะอารมณ์เดียวไร้ซึ่งความคิดเข้า
ก่อกวน ก็พึงทราบวา่ ..
วิญญาณนี่มาจากจิต เปน็ กระแสของจิต
พึงเลื่อนระดับจิตเข้าสู่อรูปฌานชั้นที่ ๓ เถิด ละทิ้งความสนใจ
ว่าวิญญาณมีเหมือนไมม่ ีให้หมด
๓. อากิญจัญญายตนะ
จิตเป็นของว่างเปล่าไม่มีตัวตน วิญญาณมาจากจิต จิต
หาตัวตนไม่ได้เป็นภาวะรู้อยู่ แต่ไม่มีตัวตน สำคัญเอาความไม่มี
ตวั ตนในภาวะรู้น้ัน
“นัตถิ กญิ จิ..
จิตนีไ้ มม่ ีตัวตนเลย นอ้ ยหนึง่ ก็ไมม่ ี นิดหนึง่ กไ็ มม่ ”ี
จิตเป็นของว่างเปล่าที่หาตัวตนมิได้ นัตถิ กิญจิ หรือ
อากิญจัญญายตนะ หมายถึงภาวะรู้สึกว่างเปล่า เพราะจิตเป็น
ของว่างเปล่า จิตเป็นสามัญลักษณ์ตายตัวที่ไม่มีตัวตนให้จับ
ต้อง ไม่มีรูปรา่ งลกั ษณะใด ๆ เลย
“นัตถิกิญจิ จิตว่างเปล่าจริงหนอ”
อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๖๕
ภาวะจิตของเรานั้นจะสัมผัสความว่างเปล่าไร้ตัวตน ก็ได้
คำตอบขึ้นในจิตทีร่ ู้อยู่วา่ จิตเปน็ ของวา่ งเชน่ นี้เองหนอ
“มีความว่างเปล่านีเ่ หมือนไมม่ ี มีจิตเหมือนไมม่ ีเลย
จิตเป็นของวา่ ง จิตเปน็ ของวา่ ง
ความว่างคือจิตนี.้ .มีเหมือนไมม่ ี”
ทำให้ภาวะมีความสุขุมลุ่มลึก ละเอียดตัวลงตามลำดับ มีความ
ว่างเหมือนไม่มี ไร้การปรุงแต่งสัมผัสความว่างที่บางเบาสุขุม
ลุ่มลึก ก็ยังสัมผัสความว่างนั้นอยู่ ก็กล่าวขึ้นโดยกิริยาของจิตรู้
ที่ไม่ใช่ความคิด รู้เฉยรู้ในความหมายว่าว่าง ก็ใช้รู้ใน
ความหมายว่าวา่ งนั้นวา่
“มีความวา่ ง..เหมือนไม่มี
มีจติ ..เหมือนไมม่ ี”
ทำให้ภาวะความว่างเจือจางบางเบาลง หนักไปทางความสงบ
เฉยอยู่
“มีความวา่ งนี.่ .เหมือนไมม่ ีเลย”
๖๖ อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา
๔. เนวสญั ญานาสัญญายตนะ
ตดั ความว่างทั้งหลาย วางความวา่ งท้งั หลายในความรู้สึก
ลงให้หมด จะเหลือความเป็นอุเบกขาเล็กน้อย หรือสงบนิ่งเฉยอยู่
เป็นการเลื่อนระดับจิตขึ้นสู่ เนวสญั ญานาสัญญายตนะ หรือ
“เอตงั สนั ตงั ..
สงบหนอ สงบหนอ”
จบั เอาที่ความสงบไม่มีความว่างปะปนอยู่แล้ว มีแตส่ งบนิง่ อยู่
“สงบหนอ สงบหนอ
ภาวะมติ ิความสงบของจติ ..เปน็ เชน่ นีเ้ องหนอ
เอตัง สนั ตงั , มีความสงบ..เหมือนไมม่ ีเลย”
โน้มจิตไปโดยไร้เจตนา ไม่มีความคิดว่าสงบเข้าเกี่ยวข้อง มีแต่รู้
กับสงบเป็นอันเดียวกนั ทีส่ มั ผัสอยู่
“มีความสงบนิง่ เฉยอย่.ู .เหมือนไมม่ ีเลย”
ทำให้ภาวะความสงบมีความละเอียดตัวตามลำดับมากขึ้น ก็พึง
ใช้สติรักษาระดับของความสงบที่อยู่ในระดับชั้นกลาง ๆ นั้น
และโน้มจิตไปโดยไร้เจตนา โน้มไปโดยความเข้าใจว่า
“มีความสงบแบบกลาง ๆ นี.้ .เหมือนไมม่ ีเลย
มีความสงบแบบกลาง ๆ นี.้ .เหมือนไม่มีเลย”
อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๖๗
ภาวะความสงบจะสุขุม คัมภีรภาพ ลึก เจือจางบางเบาลงไป
ตามลำดับ ก็ใช้คำพูดเดิมในความหมายในกิริยารู้วา่
“มีความสงบ..เหมือนไม่มีเลย
เอตัง สันตงั เอตงั ปณีตัง, สงบหนอ ประณตี หนอ”
ความหนาวเย็นทั้งหลายทั้งปวงหายไปแล้ว ความสงบ
สุขุม คัมภีรภาพ อยู่ในเบื้องลึกของภายในจิตมีมากขึ้น ก็ตาม
ตอ่ ไปโดยไร้เจตนา
“สงบหนอ ประณตี หนอ, สงบหนอ ประณีตหนอ
มีความสงบเช่นนี้เหมือนไมม่ ีเลย”
ทำให้ภาวะจิตรวมตวั กนั เข้า เป็นภาวะรู้เล็กน้อย และความสงบ
ละมนุ สุขุมลมุ่ ลึก บางเบา อยใู่ ต้เบื้องลึก ในบ้ันปลายของความ
สงบจะสัมผัสถึงรู้ประการหนึ่ง สงบประการหนึ่ง ซึ่งมีความ
ละเอียดสุขุมอยู่ในจิตของตน ไร้การปรุงแต่งหรือสัมผัส
ภายนอก รู้อยู่-สงบอยู่ สองประการนี้ จากนั้นก็น้อมจิตไปโดย
ไร้เจตนา มีสติกำกับแบบโน้มไป
“มีสงบเหมือนไมม่ ีเลย มีรสู้ งบเหมือนไมม่ ีเลย”
๖๘ อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา
ทำให้ภาวะรู้และสงบละเอียดตัวเข้ามากขึ้น นี่คือภาวะของ
เนวสัญญานาสัญญายตนะในบั้นปลาย ที่จะก้าวเข้าสู่ความเปน็
สัญญาเวทยิตนิโรธ
อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๖๙
บทที่ ๒
การอยู่ในอรูปฌาน
นิโรธสมาบัติ ๙ ~ สัญญาเวทยิตนิโรธ
รู้-สงบ อยู่บั้นปลายในสองอาการนี่ เรียกว่าสัญญา รู้
คือ สัญญา และยกหมายเอาความสงบเป็น เวทะ หมายถึง
เวทนา ความสงบที่มีความประณีต สุขุม เจือจาง บางเบา
ลึกซึ้ง และรู้แบบเจือจาง บางเบา สงบ สุขุม สัมผัสกัน ก็โน้ม
จิตไปในเบื้องลึก หมายถึงเพ่งโน้มไปโดยไร้เจตนา ก็จะพบสอง
อาการนี้อยู่ในบั้นปลาย เรียกว่าสมาบัติตัวที่ ๙ หรือ สมาธิ ๙
นิโรธ ๙
นิโรธสมาบัติ ๙ นี่แหล่ะคือที่พักจิตที่ดีที่สุด สุขุม
ลุ่มลึก เบาบาง เงียบสงบ ไร้การปรงุ แต่ง นี่คือสมาบัติ ๙ ที่จริง
เรียกตามตำราว่า สมาบตั ิ ๘
รูปฌานหมายถึงการกำหนดพุทโธบ้าง หรือการ
พิจารณารปู กายบ้าง จึงเกิด วิตก วิจาร ปีติ สขุ เอกคั คตารมณ์
ส่วนอรูปฌานคือการกำหนดสิ่งที่ไม่มีรูป นับแต่ ลมหายใจ
วิญญาณ จิต และความสงบ ตามลำดับ จนกระทั่งถึงบั้นปลาย
ของสัญญาเวทยิตนิโรธ จึงเรียกสิ่งนี้ว่า วิโมกข์ ๘ หรือ
สมาบัติ ๘ ผนวกเข้ากับ สัญญาเวทยิตนิโรธ ในจุดที่เราพอ
๗๐ อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา
สัมผัสได้อยู่ตรงนี้ว่า สมาบตั ิตัวที่ ๙ ก็นิ่งเฉยอยูใ่ นระดบั นีแ้ หละ่
สุขุม ลุ่มลึก บางเบา รู้เล็กน้อย กับสงบที่มีความสุขุมแบบบาง
เบาเล็กน้อย
พระคาถาสิบทิศ12๑๓
จากนั้นก็กำหนดน้อมถึงซึ่งคุณของพระพุทธเจ้า ใช้จุด
จิตที่อยู่ในสัญญาเวทยิตนิโรธนี้เป็นตัวกำหนด น้อมถึงซึ่งคุณ
ของพระพุทธเจ้า และก็เลื่อนลำดับจิตของตนขึ้นสู่กลาง
สมอง ใช้กำลงั ของสญั ญาเวทยิตนิโรธเลือ่ นขึ้นสกู่ ลางสมองบน
ศรีษะ แล้วใช้จิตนั้นบังคับตัวคาถาทีเ่ อ่ยถึงคุณของพระพุทธเจ้า
วา่
“นะโม พทุ ธะ ตสั สะ”
กำหนดจุดที่กลางกระหม่อมพุ่งลงสู่ปลายเท้า กำลังของ
พระคาถาสิบทิศก็จะทำงานตามลำดับ พุ่งจากกลางกระหม่อม
ทว่ั สรรพางค์กายทะลุถึงตรงปลายเท้า กำหนดอีกว่า
“นะโม พทุ ธะ ตัสสะ”
๑๓ พระอาจารย์ได้อธิบายว่าให้คาถาน้ีเพือ่ คณะศิษย์ได้ใช้ป้องกันภัยอันตราย
ต่าง ๆ เช่นภยั จากโรคระบาด
อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๗๑
จากกลางกระหม่อมลงสู่ปลายเท้า ใช้กำลังของสัญญา
เวทยิตนิโรธ อันเรียกว่า สมาบัติตัวที่ ๙ เป็นตัวขับคาถาที่
กล่าวถึงการสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า เป็นที่คุ้มครองเนื้อ
หนงั รา่ งกาย และจิตใจของเรา
“นะโม พทุ ธะ ตสั สะ”
ทำให้พระคาถานั้นกระจายจากกลางกระหม่อมจนถึง
ปลายเทา้ ทะลุออกโดยรอบ
จากนั้นเลื่อนกำหนดวาระจิตของตนอยู่ในลิ้นปี่ถึง
ท้องน้อย กำหนดจุดอนั เป็นกำลงั ของสัญญาเวทยิตนิโรธ น้อม
ถึงซึง่ คุณของพระพทุ ธเจ้า แล้วก็กลา่ วพระคาถาน้ันขึ้นว่า
“นะโม พทุ ธะ ตสั สะ”
ทะลุจากท้องน้อยทะลุสู่สันหลัง จากท้องน้อยทะลุสู่ซี่โครง
ด้านขวา จากท้องน้อยทะลุไปสู่ซี่โครงด้านซ้าย กล่าวพระ
คาถาตอ่ ไปวา่
“นะโม พทุ ธะ ตสั สะ, นะโม พุทธะ ตสั สะ”
การกำหนดพระคาถาสิบทิศ ของหลวงปู่เดินหน หรือ
องค์พระมหากัสสปะเจ้า ก็จะหมุนโดยรอบ ทั้งกาย และจิต
อนั เป็นกำแพงป้องกันภยันตรายทัง้ หลายได้
๗๒ อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา
แผ่เมตตา..อัปปมัญญา
และก็แผ่เมตตาจิตออกไป จากจุดของความเป็น
สัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่ปรารถนาก่อเวรกับผู้ใด ก็รวมเอาสิ่ง
ต่าง ๆ เข้ามาสู่วาระจิตตรงนั้น แล้วแผ่ไปเมตตาให้กับสิ่งต่าง ๆ
เหล่านั้น อนั เปน็ เมตตาอัปปมญั ญา พรหมวิหาร ไม่มีที่สดุ ไม่
มีประมาณเลย
ก็กำหนดรวมตวั เมื่อเสรจ็ ภารกิจน้ันแล้ว ลงสคู่ วามเป็น
สัญญาเวทยิตนิโรธ ก็คือรู้เล็กน้อย สงบบางเบาสุขุม ก็นิ่งเฉย
อย่ใู นจดุ นั้น เพราะเราไม่ได้ปรารถนาทีจ่ ะเข้าสู่นิโรธสมาบัติ
ระหวา่ งการปฏิบัติ
... ๑๔อยา่ เคลื่อนออกไปสจู่ ดุ อื่น อยู่จดุ เดิมนนั่ แหละ่
วิปัสสนาญาณแบบปรมัตถ์
...เพ่งอยู่ใน รู้-สงบ สองอาการนี้..ก็เพียงพอ อย่าใช้
ความคิด หรือไมต่ ้องคิด โน้มอยูใ่ นรู้-สงบ
…ใช้ส่วนรู้ กับความสงบนั้น พิจารณาอยู่ในรู้ โดยไม่
ต้องคิด
๑๔ ผู้เรียบเรียงใส่จุดสามจุดขึ้นต้นย่อหน้า เพื่อเป็นการบอกว่าแต่ละย่อหน้า
มีการเว้นช่วงจึงอาจไม่ต่อเนื่องกัน เนื่องจากในระหว่างนี้พระอาจารย์ได้หยุด
พูดเพือ่ ให้ผ้ฟู ังไดป้ ฏิบตั ิ สลบั กบั การพูดเสรมิ ข้นึ เปน็ ระยะ ๆ
อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๗๓
…ภาวะจิตเป็นเพียงชือ่ ภาวะอาการตา่ ง ๆ ที่เข้าถึง
เป็นเพียงอาการของจิตตามลำดับ ที่มีภาวะเกิดและดับ
เปน็ ปกติธรรมดา
…จิตนี้เปน็ ภาวะสมมตุ ิ อาการของจิตนี้เปน็ ภาวะเกดิ ดบั
คำว่ารู้ภาวะจิตหรืออะไรต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่เกิดและดับ
เป็นปกติธรรมดาของจิต มิใช่ผู้ใดผู้หนึ่ง เขาก็เป็นของเขาอย่าง
นั้น และพึงถอนความเห็นหรือความรู้สึกรู้ว่ารู้ ให้เป็นเพียงสัก
แต่ธาตุรู้ที่ไมม่ ีใครสักคน เป็นภาวะรู้ที่ไม่มีชือ่ และภาวะรู้ในรู้ที่
ไม่มีชื่อ ไม่มีการเอ่ยถึงอะไรอีก แต่ก็เป็นภาวะที่มีอยู่ดั้งเดิมเปน็
ธาตุเดิมของเขาเอง
ถ้าใช้การพิจารณาโดยไร้ความคิด
แต่กร็ ู้โดยความหมายทีก่ ลา่ วนี้
ชื่อสมมตุ ิในจิต อนั มีเราเป็นต้น กถ็ กู ทำลายไป
ทุกอย่างเปน็ ของหาตัวตนไม่ได้ ไม่มีสมมุติบัญญัติ เป็น
สุญญตาอยู่ในตัว และก็วางความรู้..สักแต่รู้ เพราะเป็นสักแตร่ ู้
ถึงวางลงไป คำว่าจิตของเรากจ็ ะเข้าใจ
วิปสั สนาญาณแบบปรมัตถ.์ .ซึง่ ไม่ใชค่ วามคิด
แต่เปน็ วิปัสสนาญาณ..โดยความรู้แก่ใจ
จิตก็สมั ผสั เข้าถึงความเปน็ ..
๗๔ อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา
สญุ ญตาผสั สะ
สญุ ญตสมาธิ
สญุ ญตวิปสั สนาปรมัตถ์
สญุ ญตวิโมกข์
เป็นสุญญตา ไมม่ ีสมมุติเข้าเกีย่ วข้อง
จิตก็สัมผัสเข้าถึงความเป็น “สังขารุเปกขาญาณ14๑๕”
เพราะทราบว่าทุกอยา่ งมีภาวะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ เปลี่ยนแปลง และ
ดับไป เป็นปกติธรรมดา มีแตร่ ู้ไร้ชือ่ นี้อย่างเดียวเท่านั้น ที่ไมด่ ับ
ไปเลย ไม่เกิด ไม่ดับ คงที่ มั่นคงอยู่เช่นนั้น สุญญตาไปหมด จะ
เปน็ อารมณ์ประเภทไหน เป็นเพียงภาวะธรรมชาติน้ัน ๆ
ความรู้สึกอยา่ งไรกเ็ ป็นเพียงภาวะธรรมชาตินั้น ๆ ถอด
ชื่อออกให้หมด ถอดความหมายสำคัญออกให้หมด ถอดความ
เข้าใจว่าออกให้หมด เหลือเพียงสกั แต่รู้ ทีไ่ ม่ต้องเอย่ ชื่อ ไมต่ ้อง
ใส่ความหมาย ภาวะรู้ในเบื้องลึกนั้นก็เป็นสุญญตา
ไม่มีอะไรต้องเอ่ยขึ้นมาอีก ไม่เป็นเขา ไม่เป็นเรา ไม่เป็นสัตว์
บคุ คลชนิดใด ๆ เพราะนอกเหนือโลกไปแล้ว
๑๕ หมายถึงสภาวะสังขารทั้งหลายที่จิตเข้าใจแล้วและไม่ยึดติด เป็นการวาง
เฉยจากสังขารทง้ั หลาย
อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๗๕
เห็นถึงความไม่เที่ยงของโลก เห็นถึงความไม่เที่ยงของ
อาการแห่งจิต เห็นเหตุดี เหตุชั่ว เหตุสุข เหตุทุกข์ เมื่อจิตไม่ใส่
ความหมายและความเข้าใจเข้าไปเกี่ยวข้อง เหตุต่าง ๆ ดังนั้น
แม้วนเวียนมีอยู่ กไ็ มม่ ีอิทธิพลควบคุมใจ
นีค่ ือ..สญุ ญตา..วิมตุ ติ..หลดุ พน้
ถอดถอนรากเหง้าของความเปน็ อวิชชา โมหะ
ที่ครอบงำจิตมาต่อเนื่องตลอดอนันตกาล
ภาวะโมหะทั้งหลายก็ถูกดับลง จิตสัมผัสเข้าถึงความเป็น
สังขารุเปกขาญาณ ก็คือความไม่ใส่ใจในสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งอยู่
เปลี่ยนแปลงและดับไป ทั้งฝ่ายที่เป็นรูปธรรม ทั้งฝ่ายที่เป็น
นามธรรมคือจิต จิตไม่ใส่ชื่อ ไม่ใส่ความหมาย ไม่มีใครสักคน
แม้แต่ตัวมันเองกไ็ มม่ ีความหมาย แตก่ ็เป็นสกั แตธ่ าตรุ ู้เช่นนั้น
เมื่อทราบเช่นนั้นแล้ว สักแต่ไม่ต้องคิด แต่เป็นภาวะรู้
แกใ่ จ ทีไ่ ร้ซึ่งการปรงุ แต่งเข้าเกี่ยวข้อง เป็นภาวะธรรมปจั จุบัน
“ละ-ในปจั จบุ ัน
รู้เทา่ ทัน-ในปจั จบุ ัน
ร้เู ท่าทนั รู้-วา่ -ร.ู้ .กไ็ มม่ ีความหมาย
ร้เู ท่าทนั ร-ู้ วา่ -ร.ู้ .ก็ไมม่ ีชอื่ ”
ไม่ได้กล่าวว่าเป็นอัตตา ไม่ได้กล่าวว่าเป็นอนัตตา ไม่กล่าวว่ามี
ชื่อ หรือไม่กล่าวว่าไม่มีชื่อ เป็นแบบกลาง ๆ ที่ไร้ชื่อ ไม่มีการ
๗๖ อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา
เอ่ยขึ้นมาอีก ก็ไม่มีใครสักคน นี่..คือความหมายที่แท้จริงของ
ความเป็นสุญญตา ที่เหนือความเป็นสุญญตา ไม่มีความยินดี
ยินร้าย พึงละเสียซึ่งการรู้ พึงละเสียซึ่งการร-ู้ รูว้ า่ หลดุ พ้น หลดุ
พ้นหรือไม่หลุดพ้น ก็ไม่มีชื่อ ไม่มีความหมายใด ๆ เข้าเกี่ยวข้อง
อีก
อรปู ฌานสมาบตั ิ
ถ้าเราเข้าใจจุดนี้ นี่แหละการเข้าถึงอรูปฌานสมาบัติ
กำลังแห่งอรูปฌานสมาบัติ หรือสมาบตั ิ ๘ วิโมกข์ ๘ แล้วถอน
เสียซึ่งอวิชชาอนั เป็นโมหะ
ด้วยการเห็นในสุญญตาผสั สะ..
คือความเปน็ อนัตตาของความหมายทกุ อยา่ ง..
เพือ่ เข้าถึงความเป็นสญุ ญตาและละวางได้ตามลำดบั ..
ในกิริยาตรงนั้น จะเป็นวิปัสสนาญาณปรมัตถ์แบบไม่ต้องคิด
แต่เปน็ ภาวะรู้ทกุ อยา่ งตามจริง ท้ังญาณทศั นะ15๑๖อันปรากฏขึ้น
ในอนิมิตตผัสสะคือการเกิดดับของทุกสภาวะ แม้แต่ภาวะอัน
ละเอียดของจิตก็ยังเป็นภาวะ อันไหนที่เป็นภาวะอันนั้นเป็นของ
เกิดและดบั ไป จดั อยหู่ มวดของสงั ขาร
๑๖ การรจู้ ริง เหน็ จรงิ เข้าใจในสภาวธรรมที่เปน็ จริง
อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๗๗
อนิมิตตผัสสะ หมายถึงญาณแห่งความรู้ว่าทุกอย่าง
ไม่ยั่งยืน ทั้งฝ่ายอันเป็นรูปภายนอก ทั้งฝ่ายอันเป็นนามธรรม
ภายในจิต อันเป็นอาการของจิต ตั้งแต่การกำหนดภาวะเข้าซึม
ทั้งความคิด อดีต อนาคต จนกระทั่งรูปฌานก็ดี อรูปฌานที่
กำหนดอยู่นี้ก็ดี เป็นการดับวาระของจิตที่มีการเกิดและดับไป
จึงได้คำตอบว่า รูปไมเ่ ทีย่ ง จิตไมเ่ ทยี่ ง ขันธ์ ๕ ไมเ่ ทีย่ ง การเหน็
และเข้าใจในภาวะนี้โดยไร้ความคิด นี่คือญาณแห่งความเห็นใน
อนิจจังในทุกสรรพสิ่ง ไม่สมควรยึดถือ จิตจึงวางตัวเองได้อยู่ใน
ภาวะอัพยากฤต หมายถึงจิตที่อยู่ในความเป็นกลาง ว่างเปล่า
ไม่มีความหมายใด รวมถึงญาณทัศนะอันมีภาวะรับรู้ แก่ใจไป
ว่าอัปปณิหิตะ หมายถึงภาวะจิตเห็นอารมณ์อันไม่น่า
ปรารถนา ที่เกิดขึ้นจากการยึดมั่น เช่น ความทุกข์เพราะรัก
ทุกข์เพราะพลัดพราก ทุกข์เพราะไม่ได้ดั่งใจ ทุกข์เพราะโกรธ
อารมณ์อันเป็นฝ่ายอกุศล คือความทุกข์และความเศร้าโศก ที่
ยังเกิดขึ้น และเคยเกิดขึ้น เป็นเหตุมาจากการไม่รู้ความจริง
จิตจึงดิ่งลงสู่ความเป็นสังขารุเปกขาญาณ เบื่อหน่ายกับการ
ยึดถือในทกุ สรรพสิ่ง
ด้วยเหตุฉะนั้นทั้งญาณอันเป็น สุญญตาผัสสะ
อนิมิตตผัสสะ อัปปณิหิตผัสสะ ก็หมายถึงวาระจิตที่เห็น
อนิจจังทุกขังอนัตตา โดยที่ไม่ต้องคิด ที่เกิดขึ้นจากกำลังของ
๗๘ อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา
อรูปฌาน หรือสมาบตั ิ ๘ ทีเ่ รากำหนดอยใู่ นความเปน็ อรปู ฌาน
ในระดับนี้แล้ว ท่านทั้งหลายจึงเหน็ อาการได้อย่างละเอียด เห็น
ภาวะทุกอย่างเกิดและดับไป ทั้งภายนอกและภายใน โดยที่ไม่มี
การคิดปรุงแต่งอีกเลย ไม่ย้อนเข้าย้อนออกเป็นปฏิจจสมุปบาท
โดยเข้าใจเหตุผลในนั้น ก็พึงย้อนตีกลับเข้าสู่จิตเดิม..ที่ไม่มีชื่อ
ถ้าเราไม่มีสติเกี่ยวข้องนั้นอีก ไม่เบื่อหน่ายในความทุกข์ ไม่เบื่อ
หน่ายในความเป็นอนิจจัง ไม่เบื่อหน่ายในความเป็นอนัตตา ซึ่ง
ไม่ใช่ของ ๆ ตัวแต่เริ่มต้น จิตของเราก็คงพ้นไปไมไ่ ด้ แม้แต่จิตนี่
หรือความเข้าใจโดยกิริยาเช่นนี้ ก็เป็นเพียงแต่อาการ อันเป็น
ธาตุรู้หรือภาวะรู้ ที่เป็นกระแสอยู่ดั้งเดิม พึงละวางให้หมด ลง
ไปถึงฐานะความเป็นสักแต่รู้ ไม่ใช่ผู้ใด คืนสู่ธรรมชาติเดิม ไร้
ความหมายไร้สมมุติบัญญตั ิ
วิมตุ ติธรรม วิมุตติสุข นิรามิสสขุ
อวิชชาและโมหะคือความโง่ความเขลาของจิต..ก็ถูก
ถอนออกไป ใจของเราก็เป็นอิสระกับทุกสรรพสิ่งนั้นเอง เมื่อ
ถอนอวิชชาให้ขาดสะบั้นลงเสียได้ ก็พึงกำหนดอยู่ในความเป็น
วิมุตติธรรม วิมุตติสุข นิรามิสสุข สุขที่ปราศจากอามิสเข้า
เกี่ยวข้อง คือภาวะไม่ยึดติดแม้กระทั่งตัวมันเอง เพราะตัวรู้
นั่นเองก็หาชื่อไม่ได้ หาความหมายมิได้ หาตัวไม่ได้ วางทุก
อย่างลงให้หมด มันเป็นอย่างไร ก็ให้เป็นอย่างนั้นแหล่ะ แล้วก็
อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๗๙
อย่าไปเกี่ยวข้องมันอีก อวิชชาอันเป็นโมหะก็ถูกถอนออก
จากจิตโดยปริยาย
มันก็แคน่ ี้แหล่ะ ไม่มีอะไรมากมาย นี่คือการกำหนดเข้า
ไปถอนซึ่งภาวะกิเลสทั้งหลาย อยใู่ นความเปน็ อรปู ฌานสมาบัติ
ด้วยความเห็นความเป็นไตรลักษณ์ ที่มีกำลังของอรูปฌานเป็น
แรงขับเคลื่อน เป็นญาณทัศนะแห่งการหลุดพ้นอีกแบบหนึ่ง
ทีย่ ากบคุ คลในสมยั นี้จะเข้าถึงและเข้าใจได้
๘๐ อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา
บทที่ ๓
การออกจากอรูปฌาน
๑. อ อ ก จ า ก เ น ว ส ั ญ ญ า น า ส ั ญ ญ า ย ต น ะ เ ข ้ า สู่
อากิญจัญญายตนะ
จากนั้นก็เริ่มลำดับเข้าสู่ความสงบ ยึดถือความสงบนั้น
ตามลำดับ เมื่อยึดถือความสงบแล้ว ก็พึงละทิ้งความสงบเข้าสู่
ความวา่ งเปลา่ แห่งจิต จิตเป็นของว่างเปล่า ความรู้สึกวา่ งเปล่า
กส็ ัมผัสอันเป็นกริยาภาวะให้รบั รู้
๒. ออกจากอากิญจญั ญายตนะ เขา้ สวู่ ญิ ญาณัญจายตนะ
ก็พึงละทิ้งความว่างเปล่านั้นให้หมดเหลือแต่รู้ตัวเดียว
ภาวะความรู้ตัวเดียวก็ปรากฏสมั ผัสอยใู่ นกริยาของจิต
๓. ออกจากวญิ ญาณญั จายตนะ เขา้ ส่อู ากาสานัญจายตนะ
ก็พึงละทิ้งภาวะวิญญาณแห่งการรับรู้นั้น เข้าสู่กระแส
ของลมหายใจอย่างแผ่วเบา เมื่อรู้ถึงลมหายใจอย่างแผ่วเบา
แล้ว ก็พึงนำความรู้ในลมหายใจที่มีความหยาบ หรือทราบได้
อย่างชัดเจนท้ังลมหายใจเข้าและออก
๔. ออกจากอากาสานญั จายตนะ
เมือ่ เข้าใจในภาวะลมหายใจท้ังเข้าและออกได้แล้ว ก็พึง
ทำความรู้อันเปน็ ปกติทวั่ สรรพางค์กาย ปลายผมจรดปลายเท้า
อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๘๑
ให้ถ้วนทั่ว แล้วก็สูดลมหายใจเข้าและออกให้อยู่ในระดับปกติ
ของชีวิตประจำวัน แล้วคอ่ ยถอนจิตลืมตาออกตามปกติ
จะสัมผัสได้ว่าความเป็นสุญญตาแห่งจิต ที่เป็น
สติถาวรมีลักษณะอย่างไร แม้อยู่ในความรู้สึกอารมณ์ปกติ
หรือการเคลือ่ นไหวทุกอย่าง ได้ความเป็นสุญญตาแหง่ จิตทีไ่ มม่ ี
ชือ่ ไมเ่ คยดับไปไหน
๘๒ อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา
บทที่ ๔
สง่ ทา้ ย
นี่คือการถอนกิเลสโดยกำลังของฌาน และถอนอยู่ใน
ฌานลึก ๆ เปน็ เทคนิคพิเศษ มีอะไรไหมในน้ัน?
ไม่มีครับ (ลูกศิษย์ตอบ)
มีแต่ภาวะเกิดดับที่เป็นอาการของมัน แต่ตัวมันเองก็ไม่
มีชื่ออะไรทั้งนั้น ไม่มีใครสักคน โมหะและอวิชชาก็ขาดไป และ
เห็นการเกิดดับ เห็นความไม่เที่ยงของกายและจิตชัดเจนโดยที่
ไม่ต้องคิด ใช่ไหม? แล้วเราต้องยึดอะไรหล่ะ? ออกมาแล้วต้อง
กังวลอะไรอีกล่ะ? สมควรเล่นด้วยไหม? อารมณ์ของกาม
อารมณ์ของการเสพกาม รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
เครื่องสมั ผัส เป็นเรื่องไร้สาระไมเ่ กิดประโยชน์อะไรกับจิตเลย
คุ้มค่าไหมวันนี้ ได้รับวิชากำหนดคาถาสิบทิศด้วย แต่
ก่อนได้ฟังเฉย ๆ ว่ากำหนดตรงนั้นกำหนดตรงนี้แต่ไม่รู้ว่าต้อง
ใช้กำลังจิตสว่ นไหน เป็นตัวกำหนด จึงจะเกิดฤทธานภุ าพได้ ตัว
คาถาปึ๊บ..ลงจากกลางกระหมอ่ ม พงุ่ ลงทั่วสรรพางคก์ ายเลย
เพิบ๊ ..
อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๘๓
วิปัสสนาโดยปรมัตถ์
เห็นไหมว่าวิปัสสนาญาณโดยที่ไม่ต้องใช้ความคิด แต่
เป็นภาวะรู้แก่ใจในอาการต่าง ๆ ไม่มีการคิด ไม่ใช่ความคิด
ของจริงไม่ใช่ความคิด
คิดว่า..โอ๊ย..มันไม่เที่ยงอย่างนั้นไม่เที่ยงอย่างนี้ อันนี้
เป็นการปรงุ แตง่ ธรรมะ ของจริงไมไ่ ด้ปรงุ แต่ง
..ธรรมใดกด็ ีถ้าปรุงแต่งขึ้น..ธรรมนั้นเป็นธรรมปลอม
ธรรมใดกด็ ีทีไ่ มไ่ ด้ถกู ปรงุ ขึ้น..เป็นภาวะรู้ปัจจุบันแค่ปัจจุบัน..
นนั่ แหละ..เรียกวา่ ธรรมจริง..เป็นภาวะธรรมจริง ๆ
ไม่ใช่การปรุงขึ้น..
“วิปัสสนาโดยปรมัตถ์
นีค่ ือ..มหาสติ..มหาปญั ญา
ทีเ่ ข้าใจธรรมชาติ อนิจจงั ..ทกุ ขัง..อนตั ตา
โดยทีไ่ ม่มีความคิดเข้าเกีย่ วขอ้ ง..หากรูท้ ันทีในน้นั ”
นี่แหละครูบาอาจารย์ที่ท่านชำนาญเรื่องฌาน ท่านก็ได้
ถอนกิเลสอวิชชาได้ โดยการที่ท่านเห็นภาวะจิตเองก็ไม่เที่ยง
ลำดบั ของลมหายใจขณะหนึ่ง ระดบั วิญญาณเป็นอาการหนึง่
๘๔ อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา
เห็นไหมวา่ .. ลมหายใจ..ดับไป
วิญญาณ..ดบั ไป
วา่ ง..ดับไป
สงบ..มนั ก็ดบั ไป ลึกลงไปอีก
ทุกภาวะเกิด ลมหายใจ..กไ็ มเ่ ทีย่ ง
วิญญาณ..กไ็ ม่เทีย่ ง
ว่างเปล่า..กไ็ ม่เที่ยง
สงบ..ก็ยงั ไมเ่ ที่ยง
นั่นหล่ะการเปลี่ยนแปลงของจิต และอารมณ์แบบโลกก็ไม่เที่ยง
สุขแบบโลก ทุกข์แบบโลกก็ไม่เที่ยง อารมณ์ อดีต อนาคตก็ไม่
เทีย่ ง โลภโมโทสนั ที่เกิดขึ้นจากอำนาจความหลงคืออวิชชา เป็น
ผู้สร้างตัวตณั หาและอุปทานขึ้น จึงกลายเปน็ อารมณเ์ กิดขึ้น
คราวนี้.. เมือ่ เราเข้าใจความหมายแล้ว
และรักษาระดบั ของจิตเอาไว้ให้เข้มแขง็
อยา่ ออกมายุ่งกับโลกสมมตุ ิอีก
ภาวะจิตก็เป็นภาวะหลดุ พ้น..
อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๘๕
ก็พึงรักษาจุดตรงนี้ไว้ให้ชำนาญ และให้เป็นธรรมชาติ อย่า
ออกมายุ่งกับโลกภายนอกอีก16๑๗ นั่นคือความหมายแห่งสมมุติ
อย่าเคลื่อนออก เคลื่อนออกเป็นการสร้างการเกิด หรือ
วิญญาณแตกตัวปฏิสนธิเข้ากับอารมณ์ต่าง ๆ ก็เป็นเรื่อง
ผิดพลาด
นิรามิสสขุ
พระพุทธเจ้าจึงสั่งให้เราไม่ประมาท เป็นผู้มีสติรักษา
จิตมั่นคงอยู่ทุกเมื่อ เมื่อเราชั่งน้ำหนักดูแล้ว ออกมายุ่งวุ่นวาย
กับโลกกับสมมุติ ทำให้ภาวะจิตของเราแปดเปื้อนไปด้วย
อารมณ์ ทั้งที่อารมณ์ต่าง ๆ เป็นของไม่เที่ยง นั่นคือกรรมทาง
จิตหรือภพชาติทางจิต ถ้ามันวนเวียนอยู่ตรงนั้นก็หาทางออก
ไม่ได้ ถ้าเป็นผู้มีสติต้ังม่นั ไร้ชื่อสมมตุ ิบัญญตั ิ ไม่มีใครสกั คน เรา
ก็ไม่มีอย่างนั้น แม้ออกมายุ่งกับโลกปัจจุบันแต่จิตข้างในไม่ยุ่ง
เป็นสุญญตาตลอดทุกลมหายใจเข้าออก และมั่นคงอยู่ตรงน้ัน
ไม่ออกมาเหยียบเยือนโลกภายนอกอีกเลย นั่นเรียกว่า
๑๗ การไม่ออกมายุ่งกับโลกภายนอกอีก พระอาจารย์ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า
หมายถึงการมีสติปัญญาร้เู ท่าทนั ไม่เกาะหรอื วง่ิ ตามอารมณต์ ่าง ๆ ไม่ว่าจะ
สุข สงบ ทกุ ข์ หรือความรู้สกึ เฉย ๆ
๘๖ อรูปฌาน สมถะ~วิปัสสนา
นิรามิสสุข เป็นภาวะจิตอิสระ เบิกบานผ่องใส ไม่ยึดติดกับ
สิ่งใด จึงเรียกว่าหลดุ พ้น
แตถ่ ้าเราออกมาอีก ก็ไม่พ้น ในการรักษาจิตในจุดนี้ จึง
เป็นสิง่ ที่ทำได้ยาก
อารักขสัมปทา
ถ้าเราไม่ออกมาเกี่ยวข้องอีกนะ มั่นคงอยู่จวบจนวัน
ตาย ความเป็นพระนิพพานก็ยังอัตภาพอยู่ในจิตตลอดกาล ทั้ง
มีชีวิตอยู่และตายไปแล้ว ในการรักษาระดับจิตตรงนี้จึงเป็นสิ่ง
สำคัญมาก เรียกว่า อารักขสัมปทา17๑๘ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก
ยิ่ง เหตุนั้นการรักษาความเป็นอิสระอันนี้โดยความมีสติ ไร้ชื่อ
ที่มั่นคง ไม่ยอมย่อท้อ อ่อนแอ ด้วยความอาจหาญกับอารมณ์
ที่มาก่อกวน หรือสิ่งที่มาล่อหลอกล่อจิตออกไป เมื่อไม่ไปตาม
สภาวะต่าง ๆ เพราะมีความเข้มแข็งเด็ดเดี่ยวอยู่กับจิต แล้ว
นิพพานการหลุดพ้น ย่อมเกิดขึ้นขณะจิตเดียวนั่นแหล่ะ ถ้า
ออกมาอีกก็ต้องแก้ แก้แล้ว-แก้อีก ก็หยุดตรงนี้แหล่ะ ถึงบอก
ว่า..
๑๘ การรจู้ กั รกั ษาทรัพย์สินหรือความรู้ที่หามาได้ให้คงอยู่
อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา ๘๗
ร้อยคน..ก็ไมม่ ีคนหนึง่ พนั คน..กไ็ มม่ คี นหนึง่
หมืน่ คน..กไ็ มม่ ีคนหนึง่ แสนคน..กไ็ มม่ ีคนหนึง่
ล้านคน..กไ็ มม่ ีคนหนึง่ ..
ก็ไมร่ ู้..จะนับเอาคนกีจ่ ำนวน..ผู้คนอกี มากมายเทา่ ไร..
ถึงจะได้บคุ คลผู้หนึ่ง..ที่ก้าวสู่การหลดุ พ้นแล้ว..
ไมอ่ อกมายงุ่ กบั โลกได้อีก..
การบรรลุธรรมถึงอรหัตผล หรือการทำจิตให้หลุดพ้น จึงเป็น
ของยากมาก..ยากมาก..ยากกว่าที่อะไรจะเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ
เหมือนอย่างอื่น
..แตก่ ไ็ มย่ ากไมง่ า่ ยถ้าใจเราเข้าใจเหตผุ ล และ
รกั ษาตนอยทู่ กุ เมื่อ โดยไมอ่ ้อยอิง่ อ่อนแอกบั สิง่ ตา่ ง ๆ
ทีเ่ ย้ายวนใจอยู่ มีความมนั่ คงต่อการหลดุ พ้น..
กย็ อ่ มหลุดพ้นด้วยประการเชน่ นี้..
เมื่อดำรงอยอู่ ยา่ งนี้ รกั ษาจติ อยู่อย่างนี้ กเ็ รียกวา่
เป็น..ผรู้ ักษาตัวอยู่ เปน็ ..ผู้ไมป่ ระมาท
เป็น..ผตู้ ัง้ มนั่ ได้ เปน็ ..ผู้ไมส่ ร้างภพใหม่
พระพทุ ธเจ้าทรงสรรเสริญสิ่งนี้ โดยประการเชน่ นี้..
๘๘ อรปู ฌาน สมถะ~วิปัสสนา
อรปู ฌาน ~ ปฏิสัมภิทาญาณ ๔
มีอีกหลายอย่างในนี้ แต่ไม่บอกทีเดียว เพราะว่า
ฤทธานุภาพต่าง ๆ ตรงนี้ถ้ายังไม่สำเร็จเลยก็ยังไม่เป็นเท่าไหร่
นกั เดี๋ยวศึกษาไป..เดี๋ยวกร็ ู้ไปเอง
ถ้าไปนิง่ สงบอย่เู ฉย รู้กับสงบอย่นู ัน่ น่ะ
เขาเรียกวา่ ..สมาธิตาย
พอพลิกเป็นปัญญาปุ๊บ..เป็นวิปสั สนาทนั ที
โดยเป็นวิปสั สนาขน้ั ปรมัตถ์..
ที่ถอนเอาอวิชชาและกิเลสขาดสะบ้นั ในขณะนนั้ ..
มีทั้งกำลงั ฌานพรอ้ ม..
เหตุฉะนั้นบุคคลที่บรรลุอริยสัจ ๔ ในระดับของสมาบัติ ๘ หรือ
อรปู ฌาน คือ..
การใช้กำลงั ของอรูปฌานนี้..
จึงสำเรจ็ พระอรหนั ต์พรอ้ มดว้ ย..
ปฏิสมั ภิทาญาณ ๔
เพราะภาวะนั้นละเอียดมากและเห็นเหตุผลต่าง ๆ ได้ จึงเป็นผู้
แตกฉานในธรรม หนึ่งกค็ ือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทาญาณ คือเชี่ยวชาญในอรรถ
หมายถึงการขยายความธรรมะตั้งแต่เริ่มต้นท่ามกลางจนถึง