The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หนังสืออนุสรณ์ 70 ปี กองการพยาบาล

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by chatchanon thepphawong, 2022-05-12 00:58:36

หนังสืออนุสรณ์ 70 ปี กองการพยาบาล

หนังสืออนุสรณ์ 70 ปี กองการพยาบาล

51

52

ผลงานดา้ นการพฒั นาการบรหิ ารจดั การก�ำลงั คนทางการพยาบาล

กองการพยาบาลได้ผลักดันความก้าวหน้าของสายงานพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งสายงานพยาบาลศาสตร์
เป็นสายงานวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ท่ีมีลักษณะงานพิเศษท่ีต้องปฏิบัติงานโดยผู้ท่ีมีความรู้
ความสามารถ ความช�ำนาญ และประสบการณ์ในเชิงวิชาการ ซึ่งลักษณะงานเช่นนี้สามารถก�ำหนดต�ำแหน่ง
เป็นระดับช�ำนาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ กระทรวงสาธารณสุข กองการพยาบาล
เป็นแกนหลัก ร่วมกับส�ำนักงานคณะกรรมการ
ข้าราชการพลเรือน และกองบริหารทรัพยากรบุคคล
ด�ำเนินการพัฒนาความก้าวหน้าในต�ำแหน่งหน้าที่
สายงานพยาบาลวิชาชีพ โดยร่วมกันก�ำหนดเกณฑ์
การก�ำหนดต�ำแหน่งในสายงานพยาบาลวิชาชีพ
มาตั้งแต่ พ.ศ. 2522 ฅและมีการด�ำเนินงานมาอย่าง
ตอ่ เน่ือง ในปัจจบุ ัน พยาบาลวชิ าชีพ มคี วามก้าวหน้า
ตามเกณฑก์ ารกำ� หนดต�ำแหน่งฯ ดังน้ี
พยาบาลวิชาชีพระดับระดับทรงคุณวุฒิ สามารถก�ำหนดต�ำแหน่งตามหลักเกณฑ์ของหนังสือ
ส�ำนักงาน ก.พ. ท่ี นร 1008/ว 2 ลงวันท่ี 19 กุมภาพันธ์ 2558 ซ่ึงเป็นการก�ำหนดต�ำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดบั ทรงคณุ วุฒริ ะดับกรม ภายใตเ้ ง่ือนไข 4 ประการ ดงั นี้
1. ส่วนราชการมีภารกิจหลักเก่ียวกับการศึกษาวิจัย การพัฒนางานวิชาการที่ยากและซับซ้อนมากเป็น
พิเศษ และมีผลกระทบในวงกว้างระดับนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับประเทศ หรือมีภารกิจเกี่ยวกับ
การสร้างสรรค์หรือพัฒนางานศิลปะในด้านต่าง ๆ ซ่ึงเป็นงานที่มีลักษณะงานเฉพาะ และเป็นงานที่มีคุณค่าหรือ
โดดเดน่ ตอ้ งอาศัยประสบการณ์ ทักษะและความเชยี่ วชาญเฉพาะด้านที่ตอ้ งมกี ารส่ังสมมาเปน็ ระยะเวลานาน จน
สร้างผลงานให้เป็นท่ปี ระจกั ษใ์ นความสามารถและเป็นทย่ี อมรบั ระดบั ชาติ
2. เปน็ การบูรณาการงานศกึ ษา วจิ ัย พัฒนางานวิชาการในภาพรวมของกรม เพ่ือใหบ้ รรลตุ ามนโยบาย
และยุทธศาสตรก์ ารพฒั นาระดับประเทศ
3. พิจารณาตามแผนงานหลักเพื่อปฏิบัติภารกิจด้านวิจัย พัฒนางานวิชาการท่ีสร้างมูลค่าเพ่ิมและ
ส่งผลกระทบต่อทิศทางและเป้าหมายของประเทศ โดยส่วนราชการต้องมีเหตุผลความจ�ำเป็นที่ส�ำคัญเพ่ือเพ่ิม
ประสทิ ธภิ าพ ประสิทธิผลในการปฏบิ ตั งิ านตามภารกิจที่สอดคลอ้ งกบั นโยบายและยุทธศาสตรก์ ารพัฒนาประเทศ
4. ผ่านการประเมินคณุ ภาพงานของตำ� แหนง่ ตามหลักเกณฑ์การประเมินคา่ งานที่ ก.พ.ก�ำหนด

53

พยาบาลวิชาชีพระดับเชี่ยวชาญ สามารถก�ำหนดต�ำแหน่งตามหลักเกณฑ์และเง่ือนไขการก�ำหนด
ผโรูองำพนยพโตว รา�ำคยงบแ.พก2าห2ยา.ล5นราพท5โบ่งยร่ีใ8พาหงา1)ลยพบบ.ไท ายาดรหบใี่ลา้กิห2ับาววา้บลหิชารปรวลารนรกิิชชะเ้ะาปาพีดาพเรนชภบัใเยนีฉตพทตาพฐำใตบดแนาาิยนาังหะโภนลระทนูมงี้ผางพิขเูงปขชอยรนเ่ยี างฉะาวโบพเดรชภาางาทล3ะพญส0โอยรบ0ังำคากนรบเัิกดตวมาายกยีีอลรกรงตั ทพขะาร่ีใยร้นึทาหราคไระ้ปบบรวดอารงับลิสงกอเใสาาัตตนธรงู รยีงารางาระครนณดอ้รลับอยสักลงตุขษเะตตณ(ิยยี8หะภง0ตนรูมาัองขงิ สนึ้ยๆขือลไนป1ทะา3่ีนแด8งรล0า.ะ3นขม10ึน้ ผี00โไ้อูด0ป�ำเ8ยตน.เ3ปียวแ.งนย3ลขกง/ะ้ึนา1ามนร4ไีโปใ8รนงหลพวรยืทอาบเป1า็นล8

เปน็ ทตัง้ำ� แ2หปนรง่ ะปเรภะทเภนท้ี ตออำ� นงมวกียากราปรรระะดเมับนิ สคูงางานเปนงานการพยาบาลและมีการยุบเลกิ ตำแหนง
2. พยาบาลวิชาชีพในฐานะผู้เชี่ยวชาญบริการพยาบาลในงานลักษณะต่างๆ 13 งาน โดยเป็นงาน
ในโรพงยพายบาบาลาลวทชิ ่ใีาหชบ้ ีพรริกะาดรรบั ะชดำับนตาตญิยภกามู ริ ขพนิเาศดษ30ส0ามเตายี รงถขกน้ึ ำไหปนอดัตตรำาแคหรอนง เตตายี มงเรกอ้ ณยลฑะ ไ8ด0 4ขึ้นลไกั ปษแณละะมดีผงัูอ้ นำ� น้ี วยการ
โรงพ1ย. าหบลากั ลเเกปณ็นฑตแำ� แลหะนเงง่อื ปนรไะขเกภาทรอก�ำำนหวนยดกตาำรแระหดนบั ง สพงูยาบาลวชิ าชพี ในโรงพยาบาลสังกดั กระทรวง
สาธาร ณสขุ (หนทังงั้ ส2ือทปน่ี รระ.เภ1ท0น08ี้ ต.3อ้ .ง3ม/ีก14าร8ปลรงะวเมันินทคี่ 1า่ 8งาพน.เคป.็น2ง5า5น8ก)ารโพดยยามบกี าาลรแกลำะหมนกี ดาใรนยตบุ ำเแลหิกตน�ำงแพหยนาบง่ าล
วิชาช( กพีหารนระพงั ดสิเับศอื11ษชท..21ำนี่ พ1ในพหรน.ย า.ัวยาญห31หาบล0กบนลาัก0าาักาลเ8รลกกษวพ.ผ3ลณณิชิเมู.มุศ3ฑาะีปง/ษช์แา1รไีพลนด4ะใะรน้แ8ส/เะกบง3ดลหื่อ่กงับนัวลาวชหไรักันขำ�ณนษทกนาณส่ีาาง1รูงะญา8ใกนน�ำกพไฐหา/ด.านรคแหนพ.ดกัวะ2ตเิ หหศ5�ำนษวัแ5หาห8สหน)นาอาโ่งมดผทพายูปีมยรมาวกถีกบยกาาารำ� ทรลพหก่ีตวยน�ำิช่ำาดหกาบตนชวาำ�ีพดา ลแหใใหนนวั นตโหแร�ำ่งนลงตแพาะาหพยมนายเง่บกาพาณบยลาฑาสลบ์ังไก1าดลัด้ ต4วกำชิรลแะากัหชทษนีพรณวงรงะะสดาดบั ธงัชาน�ำร้ีนณาสญุข
1.3 พย1า.1บ าลหผัวปูหฏนา้บิ กัตลงิ ุ่มานงาในฐ/าหนัวะหผนูม า้ีปงราะนสบ/ กหาัวรหณนส า้ งูหอมผคี ปู้ วว่ายมรทู ท่ตี กั�ำ่ กษวะ่าหปวัฏหิบนัตา้ ิกพายราพบยาาลบา1ลตขำ� ัน้ แสหงู นท่งี่
มวี ฒุ ิบ ตั ร และค ุณส1ม.2บ ัตพติ ยาามบทา่ีสลภผาู้มวีปิชราะชสีพบกกำาหรนณด์สูงในฐานะหัวหน้าทมี การพยาบาล และ
โดยผา น กา1ร.ป3 ระพเยมาินบคาา ลงผาู้นปเฏปิบน ัตงิงาานนกใานรฐพายนาะบผาู้มลีปแระลสะบตกอ างมรณีกา์สรูงยุบมเีคลวิกาตมำรแู้ หทนักงษะ ปฏิบัติการพยาบาลข้ันสูง
วเทิจคยั โนแท ( หลโี่มลนะีว2ยัผงฒุ .ีสาิบหนื(อหตั กลสนรา2 �ำักังร.นแ เสปกลักโหือรดะณงลสะคยากัเำฑผุณนมเนา่กแินสักนณกลคมงก.ะาฑาบพางนเัตแ์รงา.ทปติลนืก่อะาี่รนเ.นมพะปเรงไเทน.ือ่มทขีส่1รนินี่กนภา0ไคารยขา0า่รบวก18งกิชาคุา0/รำานคว0ชกห2เล8ปีพ�ำน/โหน็ดกวลดน2ยง�ำงตาหดไวลนมำตนันงแกต�ำดทวหาอแันี่รหงนทพ1ยนง9ี่ยุบง่1ปาเป9ลบรกรกิะ.ากะพตลเ.เภพภ.ำแแ.ทท2ลห2วว5ะ5ิชนิช5ต5างา8้อก8ก)งา)มารโกีรโดดใายนใรยนมสยมีาสกุบีกยาาเาลงรยรากิ กกงนต�าำำว�ำหหนิทแนนวยหิดทดานใศใยง่นนาางสงศาตาานนรสวแ์ วิตชลิชาระากแเกทาลารคะร/โ/นวโิจลัยยี
และ3ผ.่า(นรากงา)รปหรละักเเมกินณคฑา่ งร าะนบเบปพน็ ยรายบบาลคุ วคิชลาโชดีพยไผมมู ่ตีป้อรงะยสุบบเลกกิ าตรณำ� แส หูงนดง่านการพยาบาลทางคลินกิ (เล่อื นไหล)
4. หลกั 3เ.ก ณ(รา่ฑงต )ำหแลหกั นเกงพณยฑาร์ บะาบลบวพิชยาชาบีพารละวบชิ บาขชาีพรผาูม้ชปีการระผสูมบผีกลารสณมั ฤ์สทูงดธ้าส์ิ นูงการพยาบาลทางคลินกิ (เลอ่ื นไหล)
4. หลกั เกณฑ์ต�ำแหนง่ พยาบาลวชิ าชีพระบบข้าราชการผมู้ ีผลสัมฤทธสิ์ ูง
54 แผนความกา วหนา สายงานพยาบาลวชิ าชีพ

แผนความกา้ วหนา้ สายงานพยาบาลวิชาชพี
ต�ำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพทรงคุณวุฒิ (ด้านระบบบริการพยาบาล) กลุ่มที่ปรึกษาระดับกระทรวง
สำ� นกั งานปลดั กระทรวงสาธารณสุข 1 ตำ� แหน่ง คาดแลว้ เสรจ็ ในปี พ.ศ. 2565

ตำ� แหนง่ พยาบาลวิชาชีพเชย่ี วชาญ
1) หวั หนา้ พยาบาล ขอปรบั แก้ไขเกณฑ์ ยกเลกิ (ผอ. รพ. เป็นต�ำแหนง่ ประเภทอ�ำนวยการระดับสงู )
ประเมนิ คุณภาพต�ำแหนง่ และคุณภาพงาน ท�ำให้หวั หนา้ พยาบาล รพช. สามารถกำ� หนดเป็นระดับเชีย่ วชาญได้
2) ปรบั แผนก�ำหนดพยาบาลวิชาชีพเช่ียวชาญ ครอบคลุมทกุ สาขา 13 สาขา กำ� หนดแล้ว 55 ต�ำแหนง่
และเพิ่มในปงี บประมาณ พ.ศ. 2565” เพ่ิมอกี 88 ตำ� แหน่ง
3) เตรียม วางแผน และพัฒนาผู้ท่ีได้รับการชี้ตัวระดับเช่ียวชาญ ตามแนวทางการประเมินผลงาน
วิชาการระดับเช่ียวชาญข้ึนไป ตาม กฎ ก.พ. ที่ก�ำหนดให้มาประเมินท่ีส่วนราชการระดับกระทรวง
เริ่มปงี บประมาณ 2565 นี้
ตำ� แหนง่ พยาบาลวชิ าชีพชำ� นาญการพเิ ศษ มรี ายละเอยี ด ดงั น้ี
1) ก�ำหนดต�ำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพช�ำนาญการพิเศษ ส�ำหรับหัวหน้างาน หัวหน้าหอ หัวหน้าทีม
จากแผนเดมิ ผลกั ดันให้แล้วเสร็จ
2) ก�ำหนดต�ำแหน่ง ลักษณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สายงานพยาบาลวิชาชีพ ทุกกรม แผนปี
งบประมาณ 2563 จ�ำนวน 450 ต�ำแหนง่ เรม่ิ พิจารณาผ่านกรรมการผทู้ รงคุณวุฒิของสายงานพยาบาลวชิ าชีพแลว้
23 ต�ำแหน่ง คาดการว่าจะสามารถก�ำหนดต�ำแหน่งได้ภายใน 6 เดือน ต่อจากน้ี และจะมีการเตรียมผลักดัน
ใหค้ รบตามแผนทกี่ ำ� หนดในปีงบประมาณ 2565 เพ่ือจะไดท้ บทวนแผนใหม่
3) ก�ำหนดต�ำแหน่งช�ำนาญการพิเศษส�ำหรับผู้มีประสบการณ์สูงในสถานการณ์โควิดท่ีจะเกษียณอายุ
ปีงบประมาณ 2565-2567
4) ก�ำหนดต�ำแหน่งสูงข้ึนเฉพาะสาขา โดยผ่านการอบรมหลักสูตรพยาบาลวิชาชีพเฉพาะสาขา
เริม่ ปีงบประมาณ 2565

55

ตำ� แหน่งพยาบาลวชิ าชีพช�ำนาญการ มีรายละเอียด ดงั นี้
1) สนบั สนุนให้พยาบาลรนุ่ ใหม่ เขา้ สู่ระบบข้าราชการผมู้ ีผลสมั ฤทธ์สิ ูง (HiPPS) ซง่ึ น้องสามารถกา้ ว
เข้าสู่ระดับชำ� นาญการพเิ ศษได้ดว้ ยตนเอง ทุกตำ� แหน่ง
2) ปรบั หลักเกณฑก์ ารประเมนิ ผลงาน อวช. และการขอรบั เงินประจำ� ตำ� แหนง่ ใหส้ ะทอ้ นภาระงานจรงิ
ลดการท�ำรูปเล่ม ให้เขยี นตามหลักเกณฑ์ 10 ข้อ ตามที่ อ.ก.พ สป. ก�ำหนด
3) ผลักดันใหเ้ ขา้ รับการอบรมในหลกั สูตร พยาบาลวชิ าชพี ช�ำนาญการเฉพาะสาขา ทีร่ ว่ มกบั สภาการ
พยาบาล เพ่ือสนับสนนุ ความกา้ วหนา้ ของพยาบาลและคณุ ภาพการให้บริการกับประชาชน
ตำ� แหนง่ พยาบาลวิชาชพี ปฏิบัติการ มีรายละเอยี ด ดงั น้ี
1) สนบั สนุนการบรรจุพยาบาลวชิ าชีพนอ้ งใหม่ ใหไ้ ด้การบรรจเุ ข้ารบั ราชการ
2) ส่งเสริมการวางแผนความก้าวหน้าในสายอาชพี โดยใหม้ ที างเลอื กที่หลากหลาย
คา่ ตอบแทน ดงั นี้
1) ผลักดันให้เกิดการจ่ายค่าตอบแทนเงินประจ�ำต�ำแหน่งของพยาบาลวิชาชีพ (ผอ.รพ.สต.)และ
พยาบาล
วิชาชพี ทีป่ ฏิบตั ิงานใน สสจ. สสอ. และประกาศเป็นระเบยี บใชแ้ ลว้
2) (รา่ ง) ปรับคา่ ตอบแทน พตส. สำ� หรบั พยาบาล ใหม่ทง้ั หมด โดยยึดลกั ษณะงานและความขาดแคลน
ซ่ึงอยู่ระหว่างการพจิ ารณาของหน่วยงานท่เี ก่ียวข้อง
3) ปรับแกไ้ ขค�ำนยิ ามการเบิก พตส. ฉบับปัจจบุ ันใหค้ รอบคลุมและชดั เจน ประเดน็ การปฏบิ ัติงานนอก
หอผปู้ ่วยหนักหรอื ผู้ปว่ ยวกิ ฤต
4) ทบทวนค่าตอบแทนลว่ งเวลา (OT) และคา่ เวรผลัด จากระเบียบปี พ.ศ. 2552 ใหม่ทง้ั หมด ซ่ึงอยู่
ระหวา่ งการพจิ ารณาของหนว่ ยงานท่เี ก่ยี วขอ้ ง และทบทวนรว่ มกนั อยา่ งเปน็ ธรรม
5) ตดิ ตามการเบิกจ่ายค่าตอบแทนในสถานการณโ์ ควิดอยา่ งใกลช้ ิด และดำ� เนินการแกไ้ ขปญั หา
สวัสดกิ าร ดงั น้ี
1) ทบทวนระเบียบสิทธิประโยชน์ของพยาบาลวิชาชีพ กระทรวงสาธารณสุข (สามารถดาวน์โหลดได้
หนา้ facebook) กองการพยาบาล
2) ปรับปรุงระเบียบการแต่งกาย พยาบาลวิชาชีพ กระทรวงสาธารณสุข ใหม่ ให้สอดคล้องกับสภาพ
งานปจั จบุ นั ดำ� เนนิ การแลว้ อยู่ระหว่างการออกประกาศบงั คบั ใช้

56

ผลงานดา้ นการพยาบาลระหว่างประเทศ

กองการพยาบาลมีผลงานด้านการพยาบาลระหว่างประเทศมาโดยตลอด เนื่องจากเป็นหน่วยงานภาครฐั
เพียงหน่วยงานเดียวท่ีด�ำเนินการด้านการพยาบาลระดับกระทรวง ซ่ึงในระยะ 10 ปีที่ผ่านมากองการพยาบาล
มผี ลงานดา้ นการพยาบาลระหว่างประเทศทโ่ี ดดเด่น ดังนี้
1. Nursing Now Thailand กองการพยาบาลได้ก่อตั้ง “Nursing Now Thailand” และด�ำเนิน
กิจกรรมรณรงค์ระดับโลกในโครงการ “Nursing Now Campaign” โดยเป็นโครงการท่ีองค์การอนามัยโลก
(World Health Organization - WHO) และสภาการพยาบาลระหว่างประเทศ (International Council of
Nurses - ICN) ร่วมกันสนบั สนนุ ซึง่ มีระยะเวลาด�ำเนนิ การ 3 ปี (ค.ศ. 2018 - 2020) และมีสมาชกิ เขา้ รว่ มมากกวา่
80 ประเทศท่ัวโลก โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือการสร้างภาพลักษณ์ท่ีดีและยกระดับความส�ำคัญของการพยาบาล
และการผดุงครรภ์ในประเทศสมาชิก เพ่ือรับมือกับความท้าทายด้านสาธารณสุขในปัจจุบันและในอนาคต
ซึง่ ผู้อ�ำนวยการกองการพยาบาล (ดร.กาญจนา จนั ทรไ์ ทย) ได้รบั การคดั เลอื กใหเ้ ป็นกรรมการบรหิ ารของ Nursing now
โดยคณะกรรมการบริหารประกอบด้วยตัวแทนของ 16 ภูมิภาคจากทั่วโลก และประเทศไทยได้รับการคัดเลือก
ใหเ้ ป็นตวั แทนของประเทศในภมู ิภาคเอเชียตะวันออกเฉยี งใต้ (ASEAN)

57

ประเทศไทยไดเ้ ปดิ ตวั “Nursing Now Thailand” ในการประชมุ วิชาการประจำ� ปี 2561 ของกองการ
พยาบาล ณ ศนู ย์ประชมุ มหาวิทยาลยั ราชภัฏเชยี งราย จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2561 โดยมผี เู้ ข้า
รว่ มงานเปน็ ผู้บรหิ ารระดับกระทรวง ผบู้ ริหารทางการพยาบาล และผู้ปฏบิ ตั ิการพยาบาล รวมทั้งสิ้น 1,700 คน

กองการพยาบาลไดดำเนินกิจกรรม “Nursing Now Thailand” ที่เปนประโยชนตอสังคมอยาง
ตอเนกื่อองงจกนากรพระยทารบวางลกไาดร้ดต�ำาเงนปนิ รกะจิเทกศรไรดมร“ับNราuยrsงiาnนgจNากoคwณTะhผaูแiทlaนnถdา”วรทไท่เี ปย็นปปรระะจโำยสชหนปต์ ร่อะสชงัาคชมาตอิ ยณ่างนตค่อรเน่อื ง
จนกรเะจทนีรววางวกาารนตา่ายงทปีโรดะรเสทอศัดไดฮ้ราับนอรามยกงาีบนรจีเยาชกุสคณ(Dะr.ผTู้แeทdนroถsาวAรdไhทaยnปoรmะจG�ำhสeหbปreรyะeชsuาชs)าผตูอิ ณำนวนยคกราเรจในหีวญา ว่า
นายทอโี งดครกสาอรดัอนฮานมอัยมโลกีบแลรเีะยชLสุord(DNr.igTeeldCrorisspAแdลhะanPoromfeGsshoerbSrheeyileasuTslo) uผู้อปำ� รนะวธยากนารรวใมหโญครอ่ งงกคาก์ รารNอuนrsาinมgัยโลก
และ NLoowrdไNดลigงeนlาCมrรisวpมใแนลหะนังPสrือoถfeึงsรsัฐoมrนSตhรeีวiาlaกาTรlกoรuะทปรรวะงธสาานธราว่รมณโสคุขรงแกสาดรงNคuวาrsมinยgินดNีตoอwกาไรดจล้ ัดงตนั้งากมลรุม่วมใน
หนงั สNอื uถrึงsรinฐั gมNนoตwรวี ข่ากอางปรกระรเะททศรไวทงยสาลธงาวรันณท่ีส1ขุ 1แมสถิ ดนุ งาคยวนาม25ย6ิน2ดตี อ่ การจัดตงั้ กลมุ่ Nursing Now ของประเทศไทย
ลงวนั ที่ 11 มิถนุ ายน 2562

ผลงานดา นการพยาบาลระหวา งประเทศ
58 กองการพยาบาลไดรบั เกยี รติจาก ดร.แคทเธอรีน แฮนนาเวย (Dr. Catherine Hannaway) ผูบรหิ าร

Nursing Now Campaign ประจำสหราชอาณาจักร เปนวิทยากรในงานประชุมวิชาการ เรื่อง “ปแหงการ

ผลงานดา้ นการพยาบาลระหวา่ งประเทศ

กองการพยาบาลได้รบั เกยี รตจิ าก ดร.แคทเธอรีน แฮนนาเวย์ (Dr. Catherine Hannaway) ผ้บู ริหาร
Nursing Now Campaign ประจำ� สหราชอาณาจกั ร เป็นวิทยากรในงานประชมุ วิชาการ เรือ่ ง “ปแี หง่ การพยาบาล
และการผดุงครรภ์ (Year of the nurse and midwife)” ในวนั ที่ 13 พฤศจกิ ายน 2563 ณ หอ้ งประชมุ โรงแรม
มารวยการเ์ ด้น กรุงเทพมหานคร เน่อื งในการครบรอบ 200 ปีวนั เกดิ ของมสิ ฟลอเรนซ์ไนติงเกล (เกิดเมอ่ื วันท่ี 12
พฤษภาคม ค.ศ.1820) และองคก์ ารอนามยั โลกไดป้ ระกาศให้ปี 2020 เป็นปแี หง่ การพยาบาลและการผดุงครรภ์
ของโลก

59

กองการพยาบาลได้รับเกียรติจาก ดร.แคทเธอรีน แฮนนาเวย์ เป็นวิทยากรอีกครั้งในการบรรยายเร่ือง
“Leadership in Young Nurses” ในโครงการพัฒนา “Talent Nurse Development Program” เมอื่ วันท่ี 11
กุมภาพนั ธ์ 2565 ผ่านทางโปรแกรมประชมุ ออนไลน์ (Webex meeting) ซึ่ง ดร.แคทเธอรนี ไดก้ ล่าวถงึ ผลงานของ
“Nursing Now Thailand” ท่ดี �ำเนินการโดยกองการพยาบาลอยา่ งชน่ื ชม
60

วันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2564 เนื่องในวันอนามัยโลก (World Health Day 2021) กองการพยาบาล
ได้สนับสนุนการรณรงค์ Nursing Now โดยส่งจดหมายเปิดผนึกถึงนายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพ่ือสนับสนุนและเพิ่มการลงทุนในวิชาชีพพยาบาล ส่งเสริมสภาพ
การท�ำงานที่ดี ค่าตอบแทนท่ีเป็นธรรม สถานที่ท�ำงานและอุปกรณ์ที่เพียงพอ รวมท้ังส่งเสริมความเป็นผู้น�ำ
ของพยาบาลรุ่นเยาว์ เพอื่ ธำ� รงรกั ษาวชิ าชพี พยาบาลคงอยใู่ นระบบตอ่ ไป
2. จดั ใหม้ กี ารประชุม GCNMO meeting for ASEAN Countries โดยเป็นการประชมุ ความรว่ มมอื
ของผู้น�ำทางการพยาบาลภาครัฐ (Government Chief Nursing and Midwifery Officer - GCNMO)
จากประเทศสมาชิกอาเซียนและผู้น�ำทางการพยาบาลของประเทศไทย ในวันท่ี 16 -18 ธันวาคม 2557
ณ โรงแรมริชมอนด์ จงั หวดั นนทบรุ ี และจดั ให้มกี ารแลกเปลย่ี นเรียนรูเ้ ทคโนโลยที างการพยาบาลโดยศึกษาดงู าน
โรงพยาบาลศริ ริ าช ปิยมหาราชการณุ ย์ และดูงานการพยาบาลปฐมภมู ใิ นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

61

1) ร่วมประชุมสมัชชาอนามัยโลก (World Health Assembly-WHA) ณ กรุงเจนีวา
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซ่ึงจัดข้ึนตามธรรมนูญขององค์การอนามัยโลก (WHO) ท่ีระบุให้จัดประชุมตัวแทน
จากประเทศสมาชิกจากทั่วโลกเป็นประจ�ำทุกปี โดยกองการพยาบาลเข้าร่วมประชุมในนามของผู้แทนของ
ประเทศไทยดา้ นการพยาบาลภาครัฐท่ีตอ้ งใหค้ วามคิดเหน็ และขอ้ เสนอแนะเกีย่ วกับการพยาบาล
2) รว่ มประชุมวิชาการพยาบาลระหว่างประเทศ หรือ ICN Congress ซึ่งจัดโดยสภาการพยาบาล
ระหวา่ งประเทศ (International Council of Nurse – ICN) โดยกองการพยาบาลไดส้ ่งตวั แทนเข้ารว่ มการประชมุ
เพื่อแลกเปล่ียนเรียนรู้ด้านการพยาบาลระหว่างประเทศเป็นประจ�ำทุกปี และส่งตัวแทนในการน�ำเสนอผลงาน
วิชาการทั้งแบบโปสเตอรแ์ ละแบบวาจา
62

3) เป็นท่ีศึกษาดูงานของต่างประเทศ กองการพยาบาลได้รับเกียรติให้เป็นท่ีศึกษาดูงานด้านการ
พยาบาลของกระทรวงสาธารณสขุ โดยเป็นผู้ศึกษาดูงานจากประเทศเพ่อื นบ้าน เชน่ การศกึ ษาดูงานเรือ่ ง “Hu-
man Resource for Health: Non-medical Doctor” จากประเทศมาเลเซยี ในวันท่ี 30 พฤศจกิ ายน พ.ศ.2558
การศกึ ษาดงู านดา้ นนโยบายและการศกึ ษาดา้ นการผดุงครรภ์ของผู้บรหิ ารระดับสูงจาก สปป.ลาว (A Study Visit
on Midwifery Education for Laos Policy Makers) ระหว่างวันที่ 13-17 มิถนุ ายน พ.ศ. 2559 และการสร้าง
ความร่วมมือด้านการพยาบาลกับผู้บริหารทางการพยาบาลกระทรวงสาธารณสุขบรูไน ระหว่างวันท่ี 24-27
กันยายน พ.ศ.2562

4) ท�ำ MOU กับ Changhua Christian Hospital (CCH) Taiwan โดยกองการพยาบาลร่วมท�ำ
บันทึกความเขา้ ใจ (Memorandum Of Understanding – MOU) กับโรงพยาบาลชางหัว ครสิ เตียน ไต้หวัน เพื่อ
แลกเปลี่ยนเรยี นรวู้ ทิ ยากรด้านการพยาบาลและดา้ นเทคโนโลยีทางการแพทย์ ตงั้ แตป่ ีค.ศ. 2016 โดยแลกเปลย่ี น
การศึกษาดูงานระหวา่ งประเทศไทยและไต้หวัน รวมท้งั การแลกเปลี่ยนองคค์ วามร้ดู ว้ ยการประชมุ ออนไลน์
5) เข้าร่วมโครงการ “Global Health - HUC” กับประเทศญ่ีปุ่น (JICA) เพ่ือขับเคล่ือน
การทำ� งานใหบ้ รรลุเปา้ หมาย SDGs ในปี ค.ศ. 2030

63

6) จัดท�ำหนังสือ “ทิศทางยุทธศาสตร์โลก เพ่ือสร้างความเข้มแข็งให้กับการพยาบาล และ
การผดุงครรภ์ ค.ศ. 2016-2020 (พ.ศ. 2559-2563) ขององค์การอนามยั โลก” กองการพยาบาลจดั ทำ� หนังสอื
“ทิศทางยุทธศาสตร์โลก เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ค.ศ. 2016-2020
(พ.ศ. 2559-2563) ขององค์การอนามัยโลก” โดยแปลจากหนังสือ “World Health Organization Global
strategic direction for strengthening nursing and midwifery 2016-2020” เพ่อื ใหอ้ งค์กรทางการพยาบาล
ในประเทศไทยใช้เป็นแนวทางในการดำ� เนนิ งานใหส้ อดคลอ้ งกบั ทิศทางยุทธศาสตรโ์ ลก
64

ดา้ นเกอื้ กลู องคก์ รวิชาชีพ

หาภาพมาใส่

65

รางวลั ศรสี งั วาลย.์ ..
เกียรติยศและความภูมิของพยาบาลไทย

กระทรวงสาธารณสุขได้มีการด�ำเนินการ
มอบรางวัลพยาบาลดีเด่นของกระทรวง โดยมูลนิธิ
หม่อมเจ้าหญิงบุญจิราธร (ชุมพล) จุฑาธุช
ที่มอบแก่อาจารย์พยาบาลและพยาบาลท่ีปฏิบัติงานนานและดีเด่นของ
กระทรวงสาธารณสุขเป็นประจ�ำทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 เป็นต้นมา
ซึ่งผู้ท่ีได้รับรางวัลจะได้รับพระราชทานเกียรติบัตรและเงินรางวัล
จากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของผู้ส�ำเร็จการศึกษาพยาบาลศาสตร์
ณ สวนอัมพร
ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 นายแพทย์จักรธรรม ธรรมศักดิ์ รองปลัด
กระทรวงสาธารณสุข ในสมัยน้ันด�ำริว่า ควรให้จัดตั้งรางวัลพยาบาลดีเด่น

ซึ่งมอบโดยกระทรวงสาธารณสขุ จงึ มอบหมายใหส้ ำ� นักการพยาบาล (กองการพยาบาล
ในปัจจุบัน) ด�ำเนินการจัดต้ังรางวัล พร้อมทั้งเสนอชื่อรางวัลและขั้นตอนการด�ำเนินการจัดตั้งรางวัล หลังจากได้
หารือกับผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย จึงเห็นสมควรเชิญพระนาม “ศรีสังวาลย์” มาเป็น ช่ือรางวัล จึงได้น�ำความกราบ
บังคมทลู พระกรณุ า ขอพระราชทาน พระบรมราชานญุ าต
ดงั น้ัน ในชว่ งแรกจึงขอใช้ชื่อรางวัล “เพชรกาสะลอง” เป็นการเฉพาะกิจ ไปพลางก่อน ในปี พ.ศ. 2552
นับเป็นปีแรกที่กระทรวงสาธารณสุข จัดให้มีรางวัลพยาบาลดีเด่นของกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้ชื่อ
“รางวัลเพชรกาสะลอง” และเข้ารบั พระราชทานรางวลั พร้อมกับรางวัลหม่อมเจ้าหญิงบญุ จิราธร (ชุมพล) จุฑาธชุ
ในพิธีพระราชทานปรญิ ญาบัตรสืบมาตัง้ แต่ ปี พ.ศ. 2552 จนถงึ ปี พ.ศ. 2557 ซึ่งในระหวา่ งน้นั กระทรวงสาธารณสขุ
ได้ด�ำเนินการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เชิญพระนาม “ศรีสังวาลย์” เป็นช่ือรางวัลเพื่อเป็นการเทิด
พระเกยี รตใิ นวโรกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ ครบ 110 ปี เม่อื วนั ที่ 21 ตลุ าคม พ.ศ. 2553 และน้อมร�ำลกึ ถงึ
พระกรุณาธิคณุ ของสมเด็จพระศรนี ครนิ ทราบรมราชชนนี ทไี่ ด้ทรงศึกษาในวชิ าชพี การพยาบาลและการผดงุ ครรภ์
ตลอดพระชนม์ชีพได้ทรงพัฒนาสุขภาพอนามัย และคุณภาพชีวิตของพสกนิกรชาวไทยอย่างต่อเนื่อง
อีกทั้งยังเป็นการสืบสานพระราชปณิธานของพระองค์ท่าน และเสริมสร้างขวัญก�ำลังใจแก่ผู้ประกอบวิชาชีพ
การพยาบาลและการผดุงครรภ์ท่ัวประเทศสืบไป ในการนี้ ส�ำนักการพยาบาล ได้ประสานงานกับส�ำนักราช
เลขาธิการผ่านทางส�ำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ถึงเง่ือนไขของการใช้ชื่อรางวัลนี้ โดยให้กระทรวงสาธารณสุข
ขยายขอบเขต การพิจารณารางวัลน้ีให้ครอบคลุมพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานอยู่ในทุกๆ สถาบันท่ัวประเทศ
ทง้ั ภาครฐั และเอกชน เปน็ รางวลั สูงสดุ ระดบั ประเทศ
ต่อมากระทรวงสาธารณสุขได้รับหนังสือจากส�ำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ท่ี นร 0508/ท 228
ลงวันที่ 21 มี.ค. 2556 แจ้งว่า ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้ขอให้น�ำความกรอบบังคมทูลพระกรุณา
ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเชิญ พระนามาภิไธย “ศรังสังวาลย์” เป็นชื่อรางวัลส�ำหรับมอบแก่พยาบาล
ดีเด่นระดบั ประเทศ เพอ่ื เฉลมิ พระเกียรตแิ ละน้อมรำ� ลึกถึงพระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระศรนี ครินทรา บรมราชชนนี

66

และเป็นสิริมงคลแก่บุคลากรด้านการพยาบาลนั้น ส�ำนักเลขาธิการน�ำความกราบบังคมทูลพระกรุณา
ทราบฝา่ ละอองธุลพี ระบาทแล้ว พระราชทานพระบรมราชานญุ าตใหเ้ ชญิ พระนามาภิไธย “ศรสี งั วาลย”์ เป็นช่ือรางวัล
และใหเ้ ชญิ อักษรพระนามาภไิ ธย “ส.ว.” ประดิษฐานบนโล่รางวลั ดงั กล่าว ตงั้ แตว่ ันที่ 8 มนี าคม พ.ศ. 2556
กระทรวงสาธารณสุข จึงแต่งตั้งคณะกรรมการรางวัลศรีสังวาลย์ขึ้น โดยมีปลัดกระทรวงสาธารณสุข
เป็นประธาน นายกสภาการพยาบาล เป็นรองประธาน ผู้อ�ำนวยการส�ำนักการพยาบาล เป็นกรรมการ
และเลขานุการ ตามค�ำสง่ั กระทรวงสาธารณสุข ท่ี 684/2557 ทง้ั น้ี ในการประชุมคณะกรรมการรางวลั ศรีสงั วาลย์
คร้งั ที่ 1/2557 เมื่อวนั ท่ี 30 กันยายน พ.ศ. 2557
รศ.ดร.ทัศนา บุญทอง นายกสภาการพยาบาล รองประธานคณะกรรมการ ในสมัยนั้น ได้เสนอว่า
สภาการพยาบาลได้มีการพิจารณาให้รางวัลพยาบาลดีเด่นระดับประเทศ มาเป็นเวลากว่า 25 ปีแล้ว โดยสรรหา
อย่างเปิดกว้างครอบคลุมพยาบาลที่มีผลงานดีเด่นท้ังภาครัฐและเอกชน จากภาคการศึกษาและภาคบริการ
ดังนนั้ หากยกฐานะ รางวัลพยาบาลดีเด่น ของสภาการพยาบาลเปน็ “รางวลั ศรสี งั วาลย”์ และดำ� เนินการรว่ มกนั
ระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับสภาการพยาบาล จะท�ำให้เป็นรางวัลท่ีสมพระเกียรติ เป็นเกียรติยศและศักดิ์ศรี
แกว่ ิชาชีพพยาบาลยง่ิ ขน้ึ และจากการท่ีกระทรวงสาธารณสุข ไดใ้ ห้รางวลั พยาบาลดเี ด่น ในชือ่ รางวัล “เพชรกาสะลอง”
มาต้ังแต่ปี พ.ศ. 2552 ในการประชุมคร้ังแรกของคณะกรรมการรางวัลศรีสังวาลย์ ได้มีมติเห็นชอบให้รวม
“รางวลั พยาบาลดเี ด่น” ของสภาการพยาบาล และรางวัลพยาบาลดเี ดน่ “เพชรกาสะลอง” ของกระทรวงสาธารณสุข
เป็น “รางวัลศรีสังวาลย์” ให้เป็นรางวัลระดับประเทศเพียงหนึ่งเดียว ที่มอบแด่ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล

67

และการผดุงครรภ์ทุกสังกัด ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งนี้เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทรา
บรมราชชนนี รวมถึงเพื่อเป็นเกียรติยศสูงสุด และเป็นสิริมงคลแก่ผู้ได้รับรางวัลการตัดสินรางวัลศรีสังวาลย์
ครัง้ แรก ไดเ้ ร่มิ ขนึ้ ในปพี ุทธศกั ราช 2558 และด�ำเนินการต่อเนื่อง เป็นประจ�ำทกุ ปี จนถงึ ปจั จุบนั
โดยมีรางวัลศรีสงั วาลย์ 3 ประเภท รางวลั ๆ ละ 1 คน ดังน้ี
1. สาขาพยาบาลผู้น�ำการพยาบาลระดับนโยบาย ส�ำหรับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและ/หรือ
ผดุงครรภ์ที่ปฏิบัติงาน หรือเคยปฏิบัติงานในสถานบริการสุขภาพทุกระดับท้ังภาครัฐหรือภาคเอกชน รวมท้ัง
สถาบันการศึกษาพยาบาลท่ีมีผลงานในระดับนโยบายท่ีมีผลงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ก่อให้เกิดการพัฒนาวิชาชีพ
การพยาบาลและ/หรือการผดุงครรภ์ด้านการศึกษาด้านบริการด้านวิจัยและอ่ืนๆและ/หรือด้านสุขภาพท่ีมีผลกระทบ
ในวงกวา้ ง
2. สาขาการพยาบาลในสถานบริการ ส�ำหรับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและ/หรือการผดุงครรภ์
ที่ปฏิบัติงาน หรือเคยปฏิบัติงานในสถานบริการสุขภาพระดับโรงพยาบาลท่ัวไปขึ้นไป รวมทั้งในโรงพยาบาล
เฉพาะทาง ทง้ั ในภาครฐั หรอื ภาคเอกชน ท่มี ผี ลงานดเี ด่นเปน็ ทปี่ ระจักษก์ อ่ ให้เกดิ การพฒั นาคุณภาพการพยาบาล
ในสถานบรกิ าร
3. สาขาการพยาบาลในชุมชน ส�ำหรับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและ/หรือการผดุงครรภ์ที่ปฏิบัติงาน
หรือเคยปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน หรือในหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ ทั้งในภาครัฐหรือภาคเอกชน
ท่มี ผี ลงานดีเด่นเปน็ ทป่ี ระจักษก์ ่อใหเ้ กิดการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลในชมุ ชน
68

รายนามคณะท�ำงานจัดทำ� หนงั สือ 70 ปี กองการพยาบาล

1. นางศิริมา ลลี ะวงศ์ ผอู้ ำ� นวยการกองการพยาบาล ท่ปี รกึ ษา
ที่ปรึกษา
2. นางธรี พร สถิรองั กูร ผู้เชีย่ วชาญเฉพาะด้านกำ� ลงั คนทางการพยาบาล ประธาน
กรรมการ
3. นางสาวสมจิตต์ วงศ์สวุ รรณสริ ิ รองผู้อำ� นวยการกองการพยาบาล
กรรมการ
4. นางสาวโศภษิ ฐ์ สุวรรณเกศาวงษ์ หัวหนา้ กลุม่ งานมาตรฐานและระบบคณุ ภาพ กรรมการ
กรรมการ
การพยาบาล กรรมการ
เลขานกุ าร
5. นางสาวอรรถยา อมรพรหมภักด ี หัวหน้ากลม่ งานระบบบริการพยาบาล ผ้ชู ว่ ย
เลขานุการ
6. นางสาวพชั รยี ์ กลดั จอมพงษ์ นักวิชาการพยาบาลช�ำนาญการพเิ ศษ

7. นางสาวศภุ สิ รา นกั วิชาการพยาบาลช�ำนาญการ

8. นางสาวทยพร ศรีวิจิตร พยาบาลวิชาชีพชำ� นาญการ

9. นางสาวสุพสั ตรา เสนสาย นักวชิ าการพยาบาลชำ� นาญการ

10. นายชัชนนท์ เทพวงค์ นักวชิ าการคอมพวิ เตอร์



69

70


Click to View FlipBook Version