The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

Conference preceding “นำเสนอผลงานวิจัยทางวาจา (Oral Presentation)” การประชุมเชิงปฏิบัติการรางวัลศรีสังวาลย์ “ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่าพยาบาลไทย ครั้งที่ 6 : ยกระดับคุณภาพเพิ่มคุณค่างานการพยาบาลเพื่อองค์กรสมรรถนะสูง” ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 ณ โรงแรมแกรนด์ริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by chatchanon thepphawong, 2023-06-16 04:07:19

E-Book Conference preceding รางวัลศรีสังวาลย์ พ.ศ.2566

Conference preceding “นำเสนอผลงานวิจัยทางวาจา (Oral Presentation)” การประชุมเชิงปฏิบัติการรางวัลศรีสังวาลย์ “ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่าพยาบาลไทย ครั้งที่ 6 : ยกระดับคุณภาพเพิ่มคุณค่างานการพยาบาลเพื่อองค์กรสมรรถนะสูง” ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 ณ โรงแรมแกรนด์ริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี

Keywords: Conference preceding,Conference,preceding,พยาบาล

Conference preceding “น ำเสนอผลงำนวิจัยทำงวำจำ (Oral Presentation)” กำรประชุมเชิงปฏิบัติกำรรำงวัลศรีสังวำลย์“ผลงำนดี วิชำกำรเด่น สมคุณค่ำพยำบำลไทย ครั้งที่ 6 : ยกระดับคุณภำพเพิ่มคุณค่ำงำนกำรพยำบำลเพื่อองค์กรสมรรถนะสูง” ระหว่ำงวันที่ 10-12 พฤษภำคม 2566 ณ โรงแรมแกรนด์ริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี


ค ำน ำ การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการรางวัลศรีสังวาลย์“ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่าพยาบาลไทย ครั้งที่ 6 : ยกระดับคุณภาพ เพิ่มคุณค่างานการพยาบาล เพื่อองค์กรสมรรถนะสูง” จัดโดยกองการพยาบาล ส านักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 ณ โรงแรมแกรนด์ริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวิชาการให้กับพยาบาลวิชาชีพ นักวิจัย นักวิชาการ และอาจารย์พยาบาลได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานวิจัย แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และ สร้างเสริมประสบการณ์ด้านการวิจัย รวมถึงส่งเสริมให้เกิดแนวคิดในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการวิจัย การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยและด้านวิชาการในมิติต่าง ๆ ระหว่างหน่วยงานภายใน และภายนอกสถาบัน น าไปสู่การน าผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้รับความสนใจจากคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ และพยาบาลวิชาชีพ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน ส่งบทคัดย่อของผลงานวิจัยเข้าร่วมน าเสนอ จ านวนทั้งสิ้น 131 ผลงาน ผ่านการคัดเลือกและประเมินคุณภาพโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพยาบาล จ านวน 60 ผลงาน แบ่งเป็นผลงานด้านการบริหารทางการพยาบาล จ านวน 2 ผลงาน ผลงานด้านการบริการพยาบาล ในโรงพยาบาล จ านวน 45 ผลงาน และผลงานด้านการบริการพยาบาลในชุมชนและปฐมภูมิ จ านวน 13 ผลงาน กองการพยาบาล และคณะกรรมการผู้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการรางวัลศรีสังวาลย์ “ผลงานดี วิชาการ เด่น สมคุณค่าพยาบาลไทย ครั้งที่ 6 : ยกระดับคุณภาพ เพิ่มคุณค่างานการพยาบาล เพื่อองค์กรสมรรถนะ สูง” ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิ และวิทยากรที่มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเสนอแนวคิดใหม่ ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการด าเนินงานพัฒนาคุณภาพการพยาบาลก้าวสู่องค์กรสมรรถนะสูง และขอขอบคุณ พยาบาลวิชาชีพ นักวิจัย และนักวิชาการที่ส่งผลงานวิจัยเข้าร่วมน าเสนอ ตลอดจนแขกผู้มีเกียรติที่เข้าร่วม ประชุม และคณะกรรมการผู้จัดการประชุมทุกท่านที่มีส่วนร่วมท าให้การประชุมครั้งนี้ส าเร็จลุล่วง ตามวัตถุประสงค์ กองกำรพยำบำล ส ำนักงำนปลัดกระทรวงสำธำรณสุข


สารบัญ รหัส ผลงาน ชื่อเรื่อง ผู้น าเสนอ หน้า 1. บทน า 2. บทคัดย่อ A002 ผลของการพัฒนาสมรรถนะด้านการบริหารยาของพยาบาลวิชาชีพต่อ อุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนในการบริหารยา โรงพยาบาลร้องกวาง จังหวัดแพร่ จินนา รสเข้ม 1 A003 การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิด STEMI ที่ได้รับยา Streptokinase ขณะส่งต่อของโรงพยาบาล อุทุมพรพิสัย ดวงใจ มีชัย 2 B002 การพัฒนาและประเมินประสิทธิผลแนวปฏิบัติทางคลินิกในการดูแล สุขภาพช่องปากผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะพึ่งพา หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 3 โรงพยาบาลล าปาง สุกัญญา เลาหธนาคม 3 B004 ประสิทธิผลการพัฒนาระบบทางด่วนในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ โรงพยาบาลหนองคาย พัชรริดา เคณาภูมิ 4 B006 ผลของการพัฒนาแบบประเมินการท าความสะอาดล าไส้ใหญ่ เพื่อส่องกล้องล าไส้ใหญ่ สายรุ้ง ประกอบจิตร 5 B009 การพัฒนาระบบบริการพยาบาล ผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ ในโรงพยาบาลยโสธร ศรีวิไล วิลัยศรี 6 B010 การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในวิถีปกติใหม่ ของเครือข่ายบริการโรงพยาบาล 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ ธัญญาภรณ์ จันทราช 7 B012 ผลโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อพฤติกรรม การเตรียมล าไส้เพื่อการส่องกล้องตรวจล าไส้ใหญ่ โรงพยาบาล อุดรธานี พรณภา ราญมีชัย 8 B013 ความตรงและความเที่ยงของแบบประเมินสัมพันธภาพในครอบครัว ส าหรับใช้ในเยาวชนไทย สุนทรี ศรีโกไสย 9 B014 ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการ ตนเอง อัตราการกรองของไตและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วย โรคไตเรื้อรัง ชญาน์ณินท์ รัศมีมาสเมือง 10 B015 ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกในการส่งต่อ ผู้ป่วยคาท่อช่วยหายใจหลังได้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกายใน โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ ประภัสสร คอนศรี 11 B016 การพัฒนารูปแบบการให้ค าปรึกษาพันธุกรรมโรคมะเร็ง โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี ชลิยา วามะลุน 12 B017 การศึกษาผลสรุปการให้รหัสค าวินิจฉัยโรคหัตถการและการผ่าตัดค่า รักษาพยาบาลตามระบบกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม โรงพยาบาลเขวาสินรินทร์ จันทร์เพ็ญ ค าแหง 13 B018 ผลการพัฒนาการประเมินสัญญาณเตือนหลังผ่าตัดหัวใจในระยะวิกฤต อุทุมพร ศรีสถาพร 14


รหัส ผลงาน ชื่อเรื่อง ผู้น าเสนอ หน้า B019 การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันที่ได้รับ การบ าบัดรักษาด้วยเครื่องฟอกไตแบบต่อเนื่อง (CRRT) หอผู้ป่วย หนักอายุรกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น ยุวดี บุญลอย 15 B022 ผลการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเลิกบุหรี่ในผู้ป่วยโรคหัวใจและ หลอดเลือด โรงพยาบาลขอนแก่น อัมพวัน สีหวัฒนะ 16 B025 การบ าบัดทางความคิดและพฤติกรรมผู้ป่วยสุราในโรงพยาบาล 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ จังหวัดอุบลราชธานี รุ่งรัตน์ สายทอง 17 B026 การพัฒนานวัตกรรมทางการพยาบาลโดยใช้บัตรภาพและบัตรค า เพื่อกระตุ้นพัฒนาการทางภาษา ในเด็ก 0-5 ปีพื้นที่อ าเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ฮาลาวาตี สนิหวี 18 B028 การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองที่มา รับการผ่าตัดด้วยวิธีหนีบหลอดเลือดสมองที่โป่งพอง สุมาลี ธรรมะ 19 B029 ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอ านาจและการตั้งเป้าหมาย ร่วมกัน ต่อระดับน้ าตาลในเลือด ในผู้ป่วยเบาหวานซับซ้อน พรวิภา ยาสมุทร์ 20 B032 พัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดจากชุมชนสู่ห้องฉุกเฉิน ของโรงพยาบาลที่มีทรัพยากรอย่างจ ากัด จังหวัดพัทลุง เยาวภา พงศ์พุ่ม 21 B033 ผลการใช้โปรแกรมการวางแผนจ าหน่ายโดยการประยุกต์ใช้แนวคิด ทฤษฎีโอเร็มต่อความสามารถของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อน ก าหนด สิริลักษณ์ คุณกมลกาญจน์ 22 B035 การพัฒนารูปแบบวางแผนการจ าหน่ายทารกคลอดก่อนก าหนดใน มารดาวัยรุ่นแบบมีส่วนร่วม สุภาพร สุขส าราญ 23 B038 ผลของโปรแกรมการจัดการความปวดสองภาษา(ไทย-มลายู) ต่อ ระดับความปวดและความพึงพอใจของหญิงตั้งครรภ์ผ่าตัดคลอด บุตรทางหน้าท้องที่ได้รับการฉีดยาชาเข้าช่องน้ าไขสันหลัง กุลธลีย์ ชายเกตุ 24 B042 ผลของโปรแกรมการฝึกสติบ าบัดต่อความเหนื่อยล้าและความสุขสบาย ในผู้สูงอายุมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษาร่วมกับยาเคมีบ าบัด พิมลวรรณ พรหมสุวรรณ์ 25 B044 ผลของโปรแกรมเสริมแรงจูงใจให้ความรู้เบาหวานประสานการมี ส่วนร่วมอ าเภอค้อวัง สุมาลี คมข า 26 B045 การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแส เลือดในห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม อรทัย อารมย์ 27 B048 การพัฒนารูปแบบและเฝ้าระวังผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจ 3 Step STEMI Alert ดวงใจ มีชัย 28 B049 ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพ (NERSD) ต่อระดับน้ าตาลสะสม ที่เกาะติดเม็ดเลือดแดงและภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ ควบคุมน้ าตาลไม่ได้ โรงพยาบาลเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย สุฑาทิพย์ สารใจ 29 B050 ประสิทธิผลของสื่อมัลติมีเดียในการให้ข้อมูลการระงับความรู้สึกต่อ ความวิตกกังวลก่อนการผ่าตัด: การศึกษากึ่งทดลองในโรงพยาบาล ระดับทุติยภูมิและการวิเคราะห์ความแปรปรวน บุปผา พาโคกทม 30 B051 ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนให้ยาระงับความรู้สึก ต่อการฟื้นตัวหลังผ่าตัดในผู้ป่วยโรคมะเร็งศีรษะและล าคอ สุภัทรา เฟื่องคอน 31


รหัส ผลงาน ชื่อเรื่อง ผู้น าเสนอ หน้า B053 การพัฒนารูปแบบการให้ค าปรึกษาเพื่อตัดสินใจเลือกรับการบ าบัด ทดแทนไต จันทนา ชูเกษร 32 B055 ผลของการให้ค าแนะน าผ่านโมบายแอปพลิเคชันต่อพฤติกรรมการ ดูแลตนเองเพื่อป้องกันการติดเชื้อของผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งที่ได้รับยา เคมีบ าบัด พรรณทิพา ข าโพธิ์ 33 B056 ผลโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในคลินิกปรับเปลี่ยน พฤติกรรม สุขภาพเสมือนจริง กนกศรี จาดเงิน 34 B057 ผลการพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพในการใช้ High flow Nasal Cannula (HFNC) ในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหายใจล าบาก โรงพยาบาลบางปะกง เฌอฟ้า จันทรสาขา 35 B058 การพัฒนากระบวนการพยาบาลผู้ป่วยตามระดับความรุนแรง งาน อุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช วรวลัญช์ เภตรา 36 B059 ป ร ะสิท ธิผ ล ข องSmart ODS Care Application ก า รป้ อง กัน ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบ แบบวันเดียวกลับของโรงพยาบาลล าปาง อภินภัส ประจวบ 37 B061 ผลของการโคชต่อการปฏิบัติตัวในการบีบเก็บน้ านมแม่ ความพึง พอใจ และปริมาณน้ านมแม่ในทารกแรกเกิดป่วย ชนิตา แป๊ะสกุล 38 B065 การพัฒนาระบบบริการงานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ โรงพยาบาลสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ฌกัญยา จู้ทิ่น 39 B070 ประสิทธิผลของโปรแกรมการบ าบัดทางปัญญาบนพื้นฐานของสติ เพื่อลดภาวะเครียด ภาวะวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วย มะเร็งรังไข่ที่รับการรักษาด้วยการผ่าตัด ในโรงพยาบาลมะเร็ง อุบลราชธานี โสภิต ทับทิมหิน 40 B073 ผลของการให้ความรู้การบริโภคเกลือโซเดียมและการใช้เครื่องตรวจ วัดโซเดียมคลอไรด์ในอาหาร (salt meter) ด้วยตนเองต่อการ เปลี่ยนแปลงของความดันโลหิตและปริมาณโซเดียม ในปัสสาวะของ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลท่าหลวง พรโสภา แก้วแดงดี 41 B079 ผลของโปรแกรมการวางแผนจ าหน่ายต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง ของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจก โรงพยาบาลน้ าพอง เพ็ญลักษณ์ ธรรมแสง 42 B083 ผลของการจัดการรายกรณีต่อผลลัพธ์ด้านผู้ป่วยของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่2 ที่ใช้อินซูลิน โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ปราณี จุลกศิลป์ 43 B088 การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เขตอ าเภอเมือง จังหวัดยโสธร ทรงฤทธิ์ ธารีราช 44 B089 การพัฒนารูปแบบการบริการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า ตามกรอบมาตรฐานคุณภาพบริการพยาบาลในโรงพยาบาลสู่ความ เป็นเลิศ ลัดดา อะโนศรี 45 B090 ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลระยะเปลี่ยนผ่านโดยพยาบาล เฉพาะทางโรคหลอดเลือดสมองร่วมกับการใช้ Tele-nursing ใน ผู้ป่วย และผู้ดูแลโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดครั้งแรก นางพิกุล โกวิทพัฒนา 46


รหัส ผลงาน ชื่อเรื่อง ผู้น าเสนอ หน้า C001 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด หมู่1-5 ต าบลบางกระสอ อ าเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ภัทรา ยุ้งเกี้ยว 47 C002 วันฮาร์ทวันดอทหนึ่งหัวใจต่อหนึ่งการดูแลในผู้ป่วยสุขภาพจิตในชุมชน สมพิศ วิริยม 48 C003 การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมของผู้ป่วย เบาหวานในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต าบล บ้านท้อแท้ พิชญ์ทิภา จันทร์บรรจง 49 C009 ประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบการนัดวัคซีนเด็กอายุ 0-5 ปี ด้วย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ศุภนิตย์ ปิ่นค า 50 C010 การพัฒนาโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ในกลุ่มวัย ท างานที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม อ าเภอพรหมคีรี จังหวัด นครศรีธรรมราช เกสราวรรณ ประดับพจน์ 51 C011 การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในวิถีปกติใหม่โดยบูรณาการ นโยบาย 3 หมอ กรณีศึกษาอ าเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี นวรัตน์ สิงห์ค า 52 C016 ประสิทธิผลของการพัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองที่ บ้านเชิงรุกโดยชุมชนมีส่วนร่วม คปสอ.บ้านดุง สรารัตน์ สุมาศรี 53 C017 การพัฒนาระบบการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาในชุมชน อ าเภอเมือง จ. สุราษฎร์ธานี ศจีรัตน์ โกศล 54 C021 การพัฒนาระบบการด าเนินงานการสร้างเสริมสุขภาพวัยท างาน โรงพยาบาลยางตลาด เอกชัย ภูผาใจ 55 C027 การพัฒนารูปแบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในผู้ป่วยจิตเวชและ ยาเสพติดที่อยู่ในภาวะอันตรายก่อนถึงโรงพยาบาล สมาพร จิตบุณยเกษม 56 C028 ประสิทธิผลของโปรแกรมการชะลอความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมใน ผู้สูงอายุ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีวงล้อพฤติกรรม : การวิจัยแบบผสานวิธี ฐิฉัฐญา นพคุณ 57 C030 ผลของโปรแกรมการจัดการอาหารร่วมกับกิจกรรมทางกายต่อระดับ น้ าตาลในเลือด ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน อ าเภอทุ่งใหญ่ จังหวัด นครศรีธรรมราช กาญจนาภรณ์ ไกรนรา 58 C032 กระบวนการและผลลัพธ์ของการพัฒนางานพัฒนาการเด็กปฐมวัย ปุณณดา ผลาทิพย์ 59 C033 ผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานเชิง รุกโรงพยาบาลศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ทรงศรี พลเสน 60 3. ภาคผนวก - รายนามคณะผู้จัดท า - ก าหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการรางวัลศรีสังวาลย์ - ก าหนดการน าเสนอผลงาน - ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกน าเสนอผลงานแบบปากเปล่า - รายนามผู้ทรงคุณวุฒิกลั่นกรองผลงานบทคัดย่อ - รายนามผู้ทรงคุณวุฒิวิพากษ์การน าเสนอผลงานแบบปากเปล่า


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 1 รหัสผลงาน A002 ผลของการพัฒนาสมรรถนะด้านการบริหารยาของพยาบาลวิชาชีพ ต่ออุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนใน การบริหารยา โรงพยาบาลร้องกวาง จังหวัดแพร่ The Effects of Registered Nurses Competency Development in Drug Administration on the Incidence of Drug Administration Errors Rongkwang Hospital, Phrae Province จินนา รสเข้ม พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลร้องกวาง จังหวัดแพร่ บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: ความคลาดเคลื่อนในการบริหารยาเป็นการบริหารยาที่แตกต่างไปจากค าสั่งใช้ยาท าให้ผู้ป่วยได้รับยา ผิดไปจากความตั้งใจของผู้สั่งใช้ยา อุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนจากการบริหารยาของโรงพยาบาลร้องกวางมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นในปี2560 2561 และ2562 คิดเป็น2.05,3.24และ4.92ต่อ1,000วันนอนตามล าดับ ในปี 2562 พบว่าไม่ได้ให้ยาแก่ ผู้ป่วย 50.77% ให้ยาผิดขนาด 33.85% ให้ยาผิดเวลา 10.79% ให้ยาผิดคน 1.54% ให้ยาผิดชนิด 3.08% ส่วนใหญ่มีความ รุนแรงในระดับ C 74.39% ทีมPCTได้วิเคราะห์หาสาเหตุพบว่ามีปัจจัยที่ท าให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการบริหารยาหลาย ด้านโดยให้ความส าคัญกับด้านบุคลากรพยาบาลวิชาชีพซึ่งมีบทบาทส าคัญในการป้องกันเฝ้าระวังและลดโอกาสการเกิดความ คลาดเคลื่อนทางยากับผู้ป่วย ผู้วิจัยปฏิบัติงานต าแหน่งเลขาทีม PCTจึงสนใจศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะด้านการ บริหารยาเพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากการได้รับยา วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะด้านความรู้ ด้านทักษะและด้านเจตคติในการบริหารยาของพยาบาล วิชาชีพ และเปรียบเทียบอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนจากการบริหารยาของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลร้องกวาง จังหวัดแพร่ วิธีด าเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยกึ่งทดลองวัดกลุ่มเดียวก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่มี ประสบการณ์ท างาน1ปีขึ้นไป คัดเลือกแบบเจาะจงจ านวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1)โปรแกรมพัฒนาสมรรถนะ ด้านการบริหารยาของพยาบาลวิชาชีพ 2)แบบประเมินสมรรถนะด้านการบริหารยาของพยาบาลวิชาชีพที่ผ่านการตรวจสอบ ความตรงตามเนื้อหาได้ค่าเท่ากับ .92 ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยใช้สูตรการค านวณหาค่าKR20ได้ค่าเท่ากับ .70 และ 3)รายงานอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนจากการบริหารยา วิเคราะห์ข้อมูลแบบประเมินสมรรถนะด้านการบริหารยาของ พยาบาลวิชาชีพใช้สถิติพรรณนาส าหรับข้อมูลทั่วไป ใช้สถิติ paired t–test เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนสมรรถนะด้าน การบริหารยาของพยาบาลวิชาชีพก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม และใช้ร้อยละในการวิเคราะห์ข้อมูลและเปรียบเทียบ อุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนจากการบริหารยาก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม ผลการวิจัย: ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะด้านการบริหารยาของพยาบาลวิชาชีพ พบว่า พยาบาลวิชาชีพมี คะแนนเฉลี่ยสมรรถนะด้านความรู้การบริหารยาเพิ่มขึ้นจาก 90.46 (SD 9.77) เป็น 98.31 (SD 4.98) แตกต่างกันอย่างมี นัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (t 6.574) คะแนนเฉลี่ยสมรรถนะด้านทักษะการบริหารยาเพิ่มขึ้นจาก 88.46 (SD 8.96) เป็น 98 (SD 5.11) แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t 7.278) คะแนนเฉลี่ยสมรรถนะด้านเจตคติในการบริหาร ยาเพิ่มขึ้นจาก 94.18 (SD 7.29) เป็น 99.64 (SD 1.79) แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t 5.093) และ อุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนในการบริหารยาลดลงจากก่อนเข้าโปรแกรมที่มีค่าเป็น 2.05, 3.24 และ 4.92 ในปี 2560, 2561 และ 2562 ลดลงเป็น 2.82 และ 2.85 ต่อ 1,000 วันนอน ในปี 2563 และ 2564 ตามล าดับ การน าไปใช้: น าโปรแกรมไปจัดกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ และจัดท าระเบียบปฏิบัติด้านการบริหารยา เพื่อให้มีการบริหารยาอย่างถูกต้องตามมาตรฐาน และขยายผลไปใช้ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในอ าเภอร้องกวาง ค าส าคัญ : การพัฒนาสมรรถนะ, สมรรถนะด้านการบริหารยาของพยาบาลวิชาชีพ, ความคลาดเคลื่อนในการบริหารยา


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 2 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 รหัสผลงาน A003 การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI ที่ได้รับยา Streptokinase ขณะส่งต่อของโรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย Development of care practice guidelines for patients with ST elevation myocardial infarction (STEMI) transfer of Uthumphonpisai Hospital ดวงใจ มีชัย พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย พิลัยวรรณ์ แก้วภมร พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI เป็นโรคที่มีภาวะวิกฤติต่อชีวิต การดูแลผู้ป่วยเพื่อ ได้รับการรักษาและการส่งต่อที่รวดเร็วได้มาตรฐานจะท าให้ผู้ป่วยปลอดภัย สามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการส่งต่อผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (STEMI) ที่ได้รับยา SK ขณะส่งต่อของโรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ วิธีด าเนินการวิธีวิจัย: เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) ด าเนินการระหว่างเดือน เมษายน 2563 – ธันวาคม 2565 ใช้กระบวนการ PAOR เป็นกรอบแนวคิดประชากรและกลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วยแพทย์5 คน พยาบาล วิชาชีพ 25 คน รวม 30 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเคยมีประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยกลุ่ม โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย (1)แบบประเมินตามเกณฑ์คุณภาพการส่งต่อผู้ป่วย (2) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการต่อรูปแบบ (3) แบบประเมินความเป็นไปได้และความเหมาะสม ของรูปแบบ ได้ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคแอลฟ่า 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ Paired t-test ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการศึกษา: มีการพัฒนาผ่านกระบวนการ 2 วงจร ได้รูปแบบการส่งต่อผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI ที่ได้รับยา Streptokinase เป็นรูปแบบ Mobile CCU ซึ่งแนวทางประกอบไปด้วย (1) การฝึกอบรมเพิ่มความรู้และ ทักษะพยาบาลส่งต่อผู้ป่วย STEMI (2) ก าหนดทีมพยาบาลส่งต่อ 2 คนโดยมีพยาบาล refer level 2 ขึ้นไปร่วมด้วย 1 คน (3) ก าหนดข้อบ่งชี้ที่ต้องใช้รถและพยาบาล (4) จัดอุปกรณ์และรถให้เพียงพอพร้อมใช้ประกอบด้วย เครื่องติดตามเฝ้าระวัง คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG monitor) เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า (Defibrillator) อุปกรณ์ส าหรับช่วยชีวิตขั้นสูง (Advanced cardiac life support) และแพทย์หรือพยาบาลENPร่วมกับพยาบาลฉุกเฉินในการออกปฏิบัติการในรถพยาบาลเพื่อส่งต่อ ผู้ป่วยพร้อมส่งข้อมูลด้วย Application line(5)จัดท ามาตรฐานการส่งต่อผู้ป่วย STEMI (6) ก าหนดขั้นตอนส่งต่อผู้ป่วย STEMI ทั้ง 3 ระยะ หลังพัฒนาน ารูปแบบไปใช้กับการส่งต่อผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด ทั้งหมด 27 ราย พบว่า การส่งต่อที่มีการดูแลเหมาะสมตามมาตรฐานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 92.5เป็นร้อยละ 98.50 มีทีมพยาบาลผ่านการฝึก การดูแลผู้ป่วยวิกฤตให้การดูแล และส่งต่อผู้ป่วยปลอดภัย ไม่พบอุบัติการณ์การเสียชีวิต บุคลากรและญาติมีความพึงพอใจ ต่อรูปแบบร้อยละ 97.33 การเปรียบเทียบผลต่างค่าคะแนนเฉลี่ยของความรู้และทักษะการปฏิบัติการส่งต่อก่อนและหลังการ พัฒนา พบว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้และทักษะหลังการพัฒนามากกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การน าไปใช้: ใช้กับผู้ป่วยSTEMI ที่ได้รับSK และได้รับการส่งต่อของโรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย และมีการขยายใช้แบบ แผนการส่งต่อร่วมกันในโซนของเครือข่ายทั้งในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์ COVID ข้อเสนอแนะควรพัฒนาแนว ทางการรักษาและการดูแลผู้ป่วยวิกฤติในทุก ๆ รายโรคเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติการพยาบาลและมีผลลัพธ์คุณภาพที่ดีขึ้น ต่อไปการพัฒนาโดยการมีส่วนร่วม มีการตั้งเป้าหมายร่วมกัน จะได้รับความร่วมมือจากผู้ร่วมงานเป็นอย่างดี เกิดคุณภาพการ พยาบาลได้รับการปรับปรุงและพัฒนาจากผู้ปฏิบัติจริงนาไปสู่ความยั่งยืนในการปฏิบัติ ค าส าคัญ : STEMI , Streptokinase, รูปแบบการส่งต่อผู้ป่วย


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 3 รหัสผลงาน B002 การพัฒนาและประเมินประสิทธิผลแนวปฏิบัติทางคลินิกในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้ป่วยสูงอายุที่มี ภาวะพึ่งพา หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 3 โรงพยาบาลล าปาง The Development and Effectiveness Evaluation of Clinical Practice Guidelines for Oral Care in Elderly Dependent Patients in Male medicine ward 3, Lampang Hospital สุกัญญา เลาหธนาคม พย.ม. โรงพยาบาลล าปาง เอกรัตน์ เชื้ออินถา พย.ด. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครล าปาง บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: หน่วยงานมีสถิติผู้ป่วยสูงอายุประมาณร้อยละ 70 และ 1 ใน 4 เป็นผู้สูงอายุมีภาวะพึ่งพาต้องได้รับการ ดูแลสุขภาพช่องปาก การเกิดสะสมของคราบจุลินทรีย์ (Plague) ท าให้เกิดฟันผุ เหงือกอักเสบ และปอดอักเสบจากการใช้ เครื่องช่วยหายใจ (VAP) ท าให้ระยะเวลานอนรักษาตัวในโรงพยาบาลนานขึ้น และเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิก และศึกษาผลลัพธ์การน าแนวปฏิบัติไปใช้ วิธีด าเนินการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง จ านวน 95 ราย ได้แก่ ผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะพึ่งพา (คะแนน ADL < 11) 74 ราย พยาบาล 21 ราย ใช้กรอบแนวคิดสภาวิจัยด้านการแพทย์ประเทศออสเตรเลีย คือ (1) พัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิก (2) น าแนวปฏิบัติไปใช้ (3) ประเมินผลลัพธ์ คะแนนสุขภาพของช่องปาก ความปวด กระบวนการ เครื่องมือ คือ CPGs มี4 หมวด (1) การประเมินสภาพช่องปาก (2) อุปกรณ์ดูแลช่องปาก (3) วิธีการท าความสะอาดช่องปาก (4) การให้ความรู้แก่ ผู้ดูแล เครื่องมือเก็บข้อมูล (1) แบบบันทึกคะแนนสภาพช่องปาก [Modified OHAT] (2) แบบสอบถามความคิดเห็นของ พยาบาลต่อการใช้ CPGs ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน CVI 0.98 ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา 0.89 และ Inter-rater reliability 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา Fisher exact Probability Test และ Mixed Model ผลการวิจัย: การเปรียบเทียบคะแนนสุขภาพช่องปากครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 พบว่า มีแนวโน้มลดลง (Mean 1.51, SD 1.84; Mean 1.22, SD 1.73 ; Mean 1.34, SD 1.80 ตามล าดับ) OHAT ก่อนใช้ CPGs ครั้งที่ 1 กับหลังใช้ CPGs ครั้งที่ 2 คะแนนลดลง 0.98 คะแนน และก่อนใช้ CPGs ครั้งที่ 1 กับหลังใช้ CPGs ครั้งที่ 3 คะแนนลดลง 1.93 คะแนนลดลงอย่างมี นัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ < .001 การเปรียบเทียบคะแนนความปวดพบว่า มีแนวโน้มลดลง (Mean 0.97, SD 1.43; Mean 0.86, SD 1.40; Mean 0.43, SD 0.95 ตามล าดับ) Mixed Effects Models ก่อนใช้ CPGs ครั้งที่ 1 กับหลังใช้ CPGs ครั้งที่ 2 คะแนนลดลง 0.11 คะแนน p-value 0.322 และก่อนใช้ CPGs ครั้งที่ 1 กับหลังใช้ CPGs ครั้งที่ 3 คะแนนลดลง 0.54 คะแนน p-value < 0.001 แตกต่างอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ พยาบาลมีทัศนคติที่ดีต่อการใช้ CPGs ในภาพรวมเฉลี่ยร้อยละ 85.03 การเตรียมวางแผนจ าหน่าย โดยใช้หลัก D-METHOD เรื่องการดูแลช่องปากให้แก่ผู้ดูแลก่อนกลับบ้าน 52 ราย เน้น การให้ความรู้ด้วยการสาธิตและสาธิตย้อนกลับ พบว่า สามารถสอนการปฏิบัติได้ครบทุกราย ร้อยละ 100 และสามารถ ปฏิบัติได้ถูกต้อง ร้อยละ 94.05 แนวปฏิบัติท าให้หน่วยงานมีการประเมินสุขภาพช่องปากตั้งแต่แรกรับต่อเนื่องจนจ าหน่าย โดยการจัดระดับสุขภาพของช่องปาก วางแผนการดูแลอย่างเป็นระบบ เกิดความร่วมมือของทีมสหสาขาวิชาชีพ ขับเคลื่อน องค์ความรู้จากการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ สร้างทีมงาน แก้ไขปัญหาร่วมกัน จนเกิดผลลัพธ์ที่ดี การน าไปใช้: น าไปใช้เป็นแนวทางดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพาในหน่วยงาน เสนอผู้บริหารเพื่อขยายผลการ ใช้ CPGs ไปยังหอผู้ป่วยอื่นในโรงพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะพึ่งพา และสอนผู้ดูแลให้มีความรู้และทักษะในการ ดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพาที่อาศัยอยู่ในชุมชน เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ของจังหวัดล าปาง ตาม นโยบายกระทรวงสาธารณสุข ค าส าคัญ : แนวปฏิบัติทางคลินิก, ผู้ป่วยสูงอายุมีภาวะพึ่งพา, การดูแลสุขภาพช่องปาก


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 4 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 รหัสผลงาน B004 ประสิทธิผลการพัฒนาระบบทางด่วนในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ โรงพยาบาลหนองคาย The effectiveness of fast track system development in patients with head Injury in Nongkhai hospital. พัชรริดา เคณาภูมิ พยาบาลวิชาชีพช านาญการ NSICU โรงพยาบาลหนองคาย บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: การบาดเจ็บที่ศีรษะเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่ส าคัญของทั่วโลกเป็นการเปลี่ยนแปลงการท างานของ สมองหรือเกิดพยาธิสภาพในสมองท าให้ผู้ป่วยสูญเสียสมรรถภาพ เกิดความบกพร่องด้านการรู้คิด ด้านการเคลื่อนไหว มี ปัญหาด้านจิตใจ อารมณ์และพฤติกรรม ส่งผลกระทบทั้งด้านร่างกาย จิตสังคมและเศรษฐานะของผู้ป่วยและครอบครัว การ ได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และได้รับการผ่าตัดโดยเร็วที่สุด จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตและความพิการ ของผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะได้ดังนั้นจึงพัฒนาระบบทางด่วนในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ แบบบูรณาการร่วมกันระหว่างทีมสห สาขาวิชาชีพและเครือข่ายที่ให้บริการผู้ป่วย ตั้งแต่จุดเกิดเหตุ น าส่งผู้ป่วยเข้าห้องฉุกเฉิน ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดที่ห้องผ่าตัด นอนพักรักษาที่ในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมประสาท โรงพยาบาลหนองคาย จนกระทั่งจ าหน่าย วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนาระบบทางด่วนผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ โดยวัดผลลัพธ์ด้านผู้ป่วย และด้านการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ วิธีด าเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยและพัฒนาแบบเก็บข้อมูลแบบเปรียบเทียบย้อนหลังและติดตามไป กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วย บาดเจ็บที่ศีรษะระดับรุนแรงที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมประสาท โรงพยาบาลหนองคาย ระหว่างเดือน มิถุนายนถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มก่อนและหลังการพัฒนาระบบ จ านวนกลุ่มละ 30 ราย จับคู่กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มให้มีความคล้ายคลึงกันในด้าน อายุ เพศ ประเภทการบาดเจ็บสมอง และการรักษา การพัฒนาระบบทางด่วนผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การวิเคราะห์สถานการณ์ (2) สืบค้น วิเคราะห์หลักฐานเชิงประจักษ์ (3) พัฒนาแนวปฏิบัติ (4) น าแนวปฏิบัติไปใช้ และ (5) ประเมินผลการปฏิบัติ เครื่องมือ เก็บข้อมูล คือ (1) แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย (2) แบบประเมิน Glasgow coma scale (GCS) และ (3) แบบประเมิน Glasgow outcome scale (GOS) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา Independent t-test และ Chi-Square ผลการวิจัย: กลุ่มหลังพัฒนาระบบมีระยะเวลาจากห้องฉุกเฉินถึงห้องผ่าตัด (Door to operation time) < 90 นาที (เฉลี่ย 87.15 นาที) และมีค่าเฉลี่ยคะแนน GCS หลังผ่าตัดในวันที่ 1, 3, 7, 14 และขณะจ าหน่ายกลับบ้านมากกว่ากลุ่มก่อนการ พัฒนาระบบอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ(p < 0.05) และพบว่าในขณะจ าหน่ายกลับบ้าน กลุ่มหลังการพัฒนาระบบมีค่าเฉลี่ย คะแนน GOS มากกว่ากลุ่มก่อนการพัฒนาระบบอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ(p < 0.05) นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มหลังการ พัฒนาระบบมีจ านวนวันนอนรักษาในโรงพยาบาลน้อยกว่ากลุ่มก่อนการพัฒนาระบบอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ(p < 0.05) การน าไปใช้: ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะที่มีระยะเวลาตั้งแต่แรกรับจนถึงผ่าตัด น้อยกว่า 4 ชั่วโมง มีผลลัพธ์ด้านการฟื้นตัวที่ดี และสามารถลดระยะเวลารักษาในโรงพยาบาล ดังนั้น การพัฒนาระบบทางด่วนผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะสามารถเพิ่มคุณภาพ การดูแลทั้งผลลัพธ์ด้านผู้ป่วยและด้านระบบบริการสุขภาพของโรงพยาบาล โดยน าผลการศึกษามาปรับปรุงแนวทางการดูแล ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ พัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลและสมรรถนะพยาบาลในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมประสาท โรงพยาบาลหนองคาย ค าส าคัญ : ระบบทางด่วนผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ, บาดเจ็บที่ศีรษะ, ผลลัพธ์การรักษา


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 5 รหัสผลงาน B006 ผลของการพัฒนาแบบประเมินการท าความสะอาดล าไส้ใหญ่เพื่อส่องกล้องล าไส้ใหญ่ Effect of Bowel Preparation Assessment Form for Colonoscopy ดร. โสภิต ทับทิมหิน พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานีดร.ชลิยา วามะลุน รองผู้อ านวยการ ด้านการพยาบาล โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานีนายแพทย์วิกรานต์ สอนถม นายแพทย์ช านาญการพิเศษ โรงพยาบาล มะเร็งอุบลราชธานีชรินทร์ ชูค้ า นักวิชาการสถิติช านาญการ โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานีสายรุ้ง ประกอบจิตร พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี วิยดา วรรณเสน พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาล มะเร็งอุบลราชธานีอภิชิต แสงปราชญ์พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: การส่องกล้องล าไส้ใหญ่ ถือเป็นมาตรฐานส าคัญในการตรวจคัดกรอง วินิจฉัยและการรักษาโรคมะเร็ง ไส้ใหญ่ ซึ่งการท าความสะอาดล าไส้ใหญ่ก่อนการส่องกล้องมีความจ าเป็นเพราะส่งผลโดยตรงต่อความแม่นย าในการ วินิจฉัยโรคของแพทย์ โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานีได้พัฒนาแบบคัดกรองประเมินลักษณะอุจจาระผู้ป่วยหลังได้รับยา ระบายจากการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งยังขาดการทดสอบความ สอดคล้องกับการวินิจฉัยของแพทย์โดยระบบมาตรฐานประเมินความสะอาดล าไส้ (Scoring system) การศึกษาครั้งนี้ สามารถน ามาใช้พัฒนารูปแบบบการให้บริการผู้ป่วยที่เข้ารับการส่องกล้อง รวมถึงปรับปรุงแบบประเมินที่พัฒนาขึ้นให้มี ความจ าเพาะ ความไวในการประเมินความสะอาดล าไส้ให้เป็นมาตรฐาน และมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อประเมินผลแบบประเมินการท าความสะอาดล าไส้ใหญ่ที่พัฒนาขึ้นกับการประเมินด้วย Scoring system ที่เป็นมาตรฐานทั่วไปและเป็นที่นิยม และประเมินโดยแพทย์ วิธีด าเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยแบบเชิงวิเคราะห์ย้อนหลัง (Retrospective analytical Study) โดยการสืบค้นข้อมูลจาก เวชระเบียนของผู้ป่วยที่มารับบริการส่องกล้องล าไส้ใหญ่ในโรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 1 มกราคม 2566 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการน าแบบประเมินการท าความสะอาดล าไส้ใหญ่มาใช้เตรียมผู้ป่วยส่องกล้อง ล าไส้ใหญ่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) เวชระเบียนผู้ป่วยในโรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี ที่มีการบันทึกข้อมูลการ ดูแลผู้ป่วยและรายละเอียดการรักษา (2) แบบประเมินการท าความสะอาดล าไส้ใหญ่ที่พัฒนาขึ้น (3) แบบบันทึกข้อมูลด้าน คุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง ประเมินคุณภาพของเครื่องมือ ด้วยความเที่ยงตรงตามเนื้อหาและความเชื่อมั่น วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์เนื้อหา สถิติแคปปา และวิเคราะห์หาค่าความไว ความจ าเพาะ ค่าท านายการวินิจฉัยโรค ผลการวิจัย: มีข้อมูลผู้ป่วยทั้งหมดที่ครบถ้วนตามเกณฑ์การคัดเข้า จ านวน 105 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 34.29 เพศหญิง ร้อยละ 65.71 อายุเฉลี่ย 57 ปี (SD 11.85) ส่วนใหญ่ไม่เคยผ่านการผ่าตัด ร้อยละ 59.05 ยาระบายที่ใช้ในการเตรียมล าไส้ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม Swiff/xubil ร้อยละ 77.14 ระดับความสะอาดล าไส้ใหญ่ของผู้รับบริการส่องกล้องในโรงพยาบาลอยู่ใน ระดับสะอาด ร้อยละ 76.19 การเปรียบเทียบระหว่างแบบประเมินการท าความสะอาดล าไส้ใหญ่ที่พัฒนาขึ้นกับผลการ วินิจฉัยของแพทย์โดยการส่องกล้องด้วยระบบมาตรฐานประเมินความสะอาดล าไส้ (Scoring system) มีความสอดคล้องกัน อยู่ในเกณฑ์ดี Kappa 0.70 (95%, CI 0.545-0.86 ) Sensitivity ร้อยละ 90 (95%, CI 84.26-95.74), Specificity ร้อยละ 84 (95% CI 76.99-91.01) Positive predictive value ร้อยละ 65.22 Negative predictive value ร้อยละ 96.12 การน าไปใช้: แบบประเมินการท าความสะอาดล าไส้ใหญ่ที่พัฒนาขึ้น มีความแม่นย าในการประเมิน น่าเชื่อถือและมีความ สอดคล้องกับระบบมาตรฐานการประเมินความสะอาดล าไส้ใหญ่ จึงควรน าไปใช้กับผู้ป่วยที่ได้รับการเตรียมส่องกล้องล าไส้ ใหญ่อย่างต่อเนื่อง รวมถึงควรมีการเผยแพร่และขยายผลการใช้งานไปยังหน่วยงานอื่น ๆ ต่อไป ค าส าคัญ : แบบประเมินการท าความสะอาดล าไส้ใหญ่, ส่องกล้องล าไส้ใหญ่


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 6 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 รหัสผลงาน B009 การพัฒนาระบบบริการพยาบาล ผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับในโรงพยาบาลยโสธร Development of Nursing Process in Same day surgery at Yasothon Hospital ศรีวิไล วิลัยศรี พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลยโสธร บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: โรงพยาบาลยโสธรได้มีการพัฒนาระบบบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ มาตั้งแต่ปี 2555 จนถึงปัจจุบัน และเป็นต้นแบบให้กับหลายๆโรงพยาบาลในเขตบริการสุขภาพที่ 10 เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างรวดเร็วขึ้น ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จ าเป็นลงทั้งในส่วนของผู้รับบริการและโรงพยาบาล ลดระยะเวลารอคอย ลดอัตราการติดเชื้อ ในปี 2564 มีการคัดกรองผู้ป่วยเข้าสู่ระบบบริการลดลงเหลือร้อยละ 10 ซึ่งน้อยกว่าที่กระทรวงสาธารณสุขได้วางแผนไว้ กลุ่มงานวิสัญญี พยาบาล จึงได้พัฒนาระบบบริการพยาบาลเพื่อให้สามารถคัดกรองผู้ป่วยเข้าสู่ระบบมากขึ้น มีระบบบริการพยาบาลผู้ป่วย ตั้งแต่ก่อน ขณะ และหลังผ่าตัด เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยที่ปลอดภัย ไม่มีภาวะแทรกซ้อน จนกระทั่งจ าหน่ายกลับบ้าน วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ และศึกษาผลของการพัฒนาระบบ บริการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับในโรงพยาบาลยโสธร วิธีด าเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวงรอบการศึกษาแบบ Plan-Act-Observe-Reflects (PAOR) 3 วงรอบ ศึกษาในช่วงเดือน ตุลาคม 2564- กันยายน 2565 กลุ่มตัวอย่าง 220 ราย คัดแบบเฉพาะเจาะจง คือ ผู้ป่วย ASA class 1-2 มีสุขภาพแข็งแรงดี หากมีโรคประจ าตัวสามารถควบคุมได้ดีอย่างน้อย3 เดือน BMI น้อยกว่า 30 สมัครใจเข้าร่วมโครงการ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แนวปฏิบัติระบบบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ แบบคัดกรองผู้ป่วยเข้าสู่ระบบบริการผ่าตัดแบบวัน เดียวกลับ แบบบันทึกทางการพยาบาล แนวทางการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย: มีแนวปฏิบัติระบบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับเพื่อให้ศัลยแพทย์ส่งผู้ป่วยเข้าระบบบริการ มีแบบคัดกรอง ส าหรับผู้ป่วยส าหรับพยาบาลคลีนิคพิเศษที่คัดกรองผู้ป่วยเข้าสู่ระบบได้เหมาะสม ร้อยละ 100 สามารถลดต้นทุนการบริการ ผู้ป่วยในได้วันละ1,855 บาทต่อวัน ลดค่าใช้จ่ายในส่วนของผู้ป่วยลงอย่างน้อย 300 บาทต่อวัน วันนัดมีการให้ค าแนะน าก่อน ผ่าตัดทุกราย ร้อยละ100 วันผ่าตัดมีการเตรียมผู้ป่วยให้พร้อมส าหรับการผ่าตัด ใช้เทคนิคการให้ยาระงับความรู้สึกที่หลับเร็ว ตื่นเร็ว จนกระทั่งจ าหน่ายกลับบ้าน อย่างปลอดภัย ร้อยละ100 ใช้การประเมินเป็นภาษาพื้นบ้านที่ กระชับ เข้าใจง่าย คือ ลุกบ่อวิน กินบ่อฮาก บาดบ่อซึม เจ็บกะบ่อ บักก่อด่อกะเงี่ยว มีอุบัติการณ์การ Re-admit ใน 48 ชม.แรก ไม่เกิน ร้อยละ 1 ซึ่งไม่แตกต่างจากระบบปกติ มีการติดตามหลังการผ่าตัด ร้อยละ 100 ผู้ป่วยและญาติมีความพึงพอใจระดับดีและดีมาก ร้อยละ 95 การน าไปใช้: ระบบบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ ได้น ามาใช้ในโรงพยาบาลทั่วไปในเขตบริการสุขภาพที่ 10 ตั้งแต่ปี 2557 และกระทรวงสาธารณสุข มีการประกาศนโยบาย ODS ในปี 2561 ปัจจัยแห่งความส าเร็จของระบบบริการนี้ คือ ความ ร่วมมือของสหสาขาวิชาชีพ ตั้งแต่ศัลยแพทย์เจ้าหน้าที่ในแผนกต่าง ๆ ที่จะท าให้การบริการในแต่ละจุดมีความสะดวก รวดเร็วขึ้น รวมถึงผู้ป่วยและญาติที่ให้ความร่วมมือเข้าร่วมโครงการ แต่ก็ยังมีความท้าทายในการพัฒนาระบบบริการหลาย อย่างๆต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ ผู้รับบริการเข้าถึงระบบบริการอย่างรวดเร็ว และมีความปลอดภัย ค าส าคัญ : การผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ, ระบบบริการพยาบาล


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 7 รหัสผลงาน B010 การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในวิถีปกติใหม่ของเครือข่ายบริการ โรงพยาบาล 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ 50 PANSA PCC Model (50 Pansa Palliative Care Center) ธัญญาภรณ์ จันทราช พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาล 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: การเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อโรคเข้าสู่ระยะท้าย ผู้ป่วยกลุ่มนี้ มักจะทนทุกข์ทรมานจากการรักษาที่ไม่ก่อเกิดประโยชน์ ปัญหาที่พบในการดูแลแบบประคับประคองของโรงพยาบาล 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ คือ ความรู้ความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน แนวทางการปฏิบัติไม่เป็นแนวทางเดียวกันและมีความ หลากหลาย ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการพัฒนารูปแบบการดูแลแบบประคับประคองขึ้น วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในวิถีปกติใหม่ของเครือข่ายบริการโรงพยาบาล 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ วิธีด าเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ด าเนินการตามแนวคิดขององค์กรอนามัย โลกและการดูแลผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางของสิดานิและฟอกส์ (Sidani & Fox) แบ่งเป็น 3 ระยะคือ 1) พัฒนารูปแบบการดูแล ผู้ป่วยแบบประคับประคองในวิถีปกติใหม่ของเครือข่ายโรงพยาบาล 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ 2) น ารูปแบบการดูแลแบบ ประคับประคองไปใช้ 3) สรุปและประเมินผลรูปแบบที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) บุคลากรทีมสุขภาพทีมีประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายอย่างน้อย 1 ปี จ านวน 20 คน 2) ญาติผู้ป่วยระยะท้าย เครือข่ายบริการโรงพยาบาล 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ จ านวน 50 คน ระหว่างเดือน ตุลาคม 2564 - กันยายน 2565 เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบประเมินความสามารถต่อการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง และแบบประเมินความพึงพอใจ ของบุคลากร และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ ซึ่งผ่านผู้ทรงคุณวุฒิจ านวน 5 ท่าน ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จ านวน ร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย: รูปแบบการดูแล 50 PANSA PCC Model สรุปผลการวิจัย 2 กลุ่มตัวอย่าง พบว่า 1) บุคลากรทีมสุขภาพมี ความสามารถต่อการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ร้อยละ 82.5 2) บุคลากรทีมสุขภาพ มีความพึงพอใจในรูปแบบการดูแล แบบประคับประคองในระดับมากร้อยละ 92.3 เห็นว่ารูปแบบมีความชัดเจนเข้าใจง่าย ระดับมาก ร้อยละ 83.2 รูปแบบมีความ ครอบคลุมครบองค์รวม ระดับมากร้อยละ 95.2 รูปแบบท าให้เกิดการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและญาติจนถึงวาระสุดท้าย ระดับ มาก ร้อยละ 96.5 รูปแบบมีความเหมาะสมสามารถน าไปใช้ได้ในหน่วยงาน ระดับมาก ร้อยละ 85.4 และ 3) ความพึงพอใจ ของผู้รับบริการต่อการดูแลแบบประคับประคองของเครือข่ายบริการโรงพยาบาล 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ ร้อยละ 94.5 การน าไปใช้: รูปแบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในวิถีปกติใหม่ของเครือข่ายบริการโรงพยาบาล 50 พรรษา มหา วชิราลงกรณ ที่พัฒนาขึ้นมีความชัดเจน ครอบคลุมองค์รวม ท าให้เกิดระบบการท างานที่ชัดเจน เป็นแนวทางเดียวกัน สามารถน าไปใช้เป็นแนวทางการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในเครือค่ายบริการ และน าสู่การปฏิบัติที่ยั่งยืน ท าให้ผู้ป่วยมี คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจนถึงวาระสุดท้าย ค าส าคัญ : ผู้ป่วยระยะท้าย, รูปแบบการดูแลแบบประคับประคองวิถีปกติใหม่, ความพึงพอใจ


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 8 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 รหัสผลงาน B012 ผลโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อพฤติกรรมการเตรียมล าไส้เพื่อการส่องกล้อง ตรวจล าไส้ใหญ่ โรงพยาบาลอุดรธานี Effects of the individual and family self-management program on bowel preparation behavior for colonoscopy at Udon Thani Hospital พรณภา ราญมีชัย พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลอุดรธานี บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: การส่องกล้องตรวจล าไส้ใหญ่เป็นการตรวจที่มาตรฐานในการคัดกรองมะเร็งล าไส้ใหญ่ จากสถิติของหน่วย ส่องกล้องทางเดินอาหาร ปีพ.ศ. 2563 ผู้ป่วยมีความสะอาดล าไส้ระดับแย่ 10.09% ซึ่งผู้ป่วยทั้งหมดต้องเตรียมล าไส้ใหม่ สะท้อนประสิทธิภาพการสอน ซึ่งได้รับการสอนจากพยาบาลตามประสบการณ์และรับเอกสารการปฏิบัติตัว จึงน าแนวคิดการ จัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวของ Ryan and Sawin ด้านกระบวนการมาสร้างโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคล และครอบครัวต่อพฤติกรรมการเตรียมล าไส้เพื่อส่องกล้องตรวจล าไส้ใหญ่ เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง ปลอดภัยได้รับการ วินิจฉัยถูกต้อง พัฒนาคุณภาพการพยาบาลและการดูแลผู้รับบริการอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับองค์กรและนโยบายกระทรวง สาธารณสุข วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการเตรียมล าไส้และความสะอาดของล าไส้ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรม จัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ วิธีด าเนินการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลอง แบบสองกลุ่มวัดผลหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง:ผู้ป่วยนอก อายุ 50 ปีขึ้นไป ส่อง กล้องครั้งแรก ผู้ดูแลหลัก อายุ 18 ปีขึ้นไป มีโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ระหว่างเดือนเมษายน-สิงหาคม 2564 ที่มีคุณสมบัติตาม เกณฑ์การคัดเข้า คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง จับคู่ในเรื่อง เพศ อายุ ชนิดยาระบาย ค านวณขนาดกลุ่ม ตัวอย่างได้กลุ่มตัวอย่างกลุ่มละ 30 คน เผื่อ drop out 20% ได้กลุ่มตัวอย่าง 72 คน แบ่งเป็นกลุ่มละ 36 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและภาวะสุขภาพผู้ป่วย (CVI 1.0) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลผู้ดูแลหลัก (CVI 0.85) กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติและรับเอกสารการปฏิบัติตัว กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรม: 1. ให้ความรู้ และความเชื่อที่ถูกต้องตามคู่มือปฏิบัติตัว (CVI 0.80) สื่อวีดิทัศน์ผ่านไลน์ (CVI 0.85) 2. การเสริมสร้างความสามารถในการ ควบคุมตนเอง 3. สิ่งอ านวยความสะดวกทางสังคม ได้รับคู่มือและสื่อวีดิทัศน์ผ่านไลน์ 3 วันก่อนส่องกล้อง ผู้วิจัยแจ้งเตือน ผ่านไลน์ให้ทบทวนความรู้ ประเมินความพร้อม ครั้งที่ 2 วันมาส่องกล้อง กลุ่มตัวอย่างได้รับการประเมินพฤติกรรมการเตรียม ล าไส้ (CVI0.80,Reliability0.70) และประเมินระดับความสะอาดล าไส้ตามเกณฑ์ ABPS โดยอายุรแพทย์ทางเดินอาหาร 1 คน พยาบาล 2 คน ผลการประเมินสรุปตามความเห็นตรงกันสองในสาม การวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลใช้สถิติพรรณนา จ านวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบพฤติกรรมการเตรียมล าไส้ ใช้สถิติmann-whitney u test เปรียบเทียบความแตกต่างความสะอาดของล าไส้ ใช้สถิติ chi-square test ผลการวิจัย: พฤติกรรมการเตรียมล าไส้ผู้ป่วยส่องกล้องตรวจล าไส้ใหญ่กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมดีกว่ากลุ่มการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยส าคัญที่ระดับ 0.05 ความสะอาดของล าไส้กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมดีกว่ากลุ่มการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยส าคัญที่ ระดับ p < 0.001 การน าไปใช้: โปรแกรมนี้น าไปใช้ในหน่วยส่องกล้องทางเดินอาหารและศูนย์การผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ รพ.อุดรธานี และ คลินิกพิเศษ รพ.หนองคาย ค าส าคัญ : โปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัว การเตรียมล าไส้ การส่องกล้องตรวจล าไส้ใหญ่


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 9 รหัสผลงาน B013 ความตรงและความเที่ยงของแบบประเมินสัมพันธภาพในครอบครัวส าหรับใช้ในเยาวชนไทย The Validity and Reliability of the Brief Family Relationship Scale (BFRS) for Applying in Thai Youth สุนทรี ศรีโกไสย พยาบาลวิชาชีพช านาญการพิเศษ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ ชฎาพร ค าฟูพยาบาลวิชาชีพ ปฏิบัติการ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ อนงค์พร ต๊ะค า พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ สถาบันพัฒนาการเด็กราช นครินทร์ ณัฏฐ์พิมล วงศ์เมือง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ อุไรวรรณ วงศ์โปธิ พยาบาล วิชาชีพปฏิบัติการ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ ภัชณิตรา เกตุกาญจน์กุล พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ สถาบัน พัฒนาการเด็กราชนครินทร์ อรพรรณ แอบไธสง พยาบาลวิชาชีพช านาญการพิเศษ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ พรทิพย์ ธรรมวงค์พยาบาลวิชาชีพเชี่ยวชาญ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: สัมพันธภาพในครอบครัวเป็นปัจจัยส าคัญในการสร้างเสริมสุขภาพจิตและพฤติกรรมสุขภาพของ สมาชิกในครอบครัว การแปลแบบประเมินสัมพันธภาพในครอบครัวส าหรับใช้ในเยาวชนไทยเพื่อใช้ในงานวิจัยข้ามวัฒนธรรม จ าเป็นต้องตรวจสอบคุณภาพเพื่อให้ได้ฉบับแปลที่คงไว้ซึ่งความหมายของเครื่องมือต้นฉบับ เหมาะสมที่จะน ามาใช้ใน วัฒนธรรมไทย และมีความเที่ยงตรงเชื่อถือได้ วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อตรวจสอบความตรงและความเที่ยงของแบบประเมินสัมพันธภาพในครอบครัวส าหรับใช้ใน เยาวชนไทยฉบับภาษาไทย วิธีด าเนินการวิจัย: การวิจัยแบบภาคตัดขวางเพื่อพัฒนาเครื่องมือให้เป็นฉบับภาษาไทย ใช้ข้อค าถามจากต้นฉบับ ภาษาอังกฤษชื่อ Brief Family Relationship Scale (BFRS) มี 19 ข้อค าถาม เป็นแบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่าที่มี ตัวเลือก 4 ค าตอบ ระยะแรกเป็นการแปลเครื่องมือและประเมินความเข้าใจในความหมายและความเหมาะสมของภาษา ระยะที่สองเป็นการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ กลุ่มตัวอย่างเป็นเยาวชน อายุ 11-18 ปี ในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ านวน 201 คน ตรวจสอบคุณภาพของข้อค าถาม ความสามารถในการจ าแนกโดยใช้เทคนิค 25% ความตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงส ารวจและวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน วิเคราะห์ความ ตรงเชิงเหมือน และหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ผลการวิจัย: ข้อค าถามมีอ านาจจ าแนกดี 19 ข้อ ข้อค าถามที่มีความสัมพันธ์กับคะแนนรวมทั้งฉบับ r≥0.4 มี 19 ข้อ สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคมีค่า 0.89 การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงส ารวจมี 3 องค์ประกอบที่มีค่าไอเกนมากกว่า 1 ได้แก่ การสนับสนุนช่วยเหลือกันในครอบครัว การแสดงอารมณ์ความคิดความรู้สึกต่อกันในครอบครัว และความขัดแย้งใน ครอบครัว น้ าหนักองค์ประกอบมีค่า 0.51-0.82 ร้อยละของความแปรปรวนที่สามารถอธิบายได้เท่ากับ 52.7 การวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงยืนยันของโมเดลที่ใช้พิสูจน์คือ cohesion, expressiveness, และ conflict ตามต้นฉบับ พบว่า โมเดลมี ความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ 2 71.74, df 110, GFI 0.97, AGFI 0.94, RMSEA 0.000) ความตรงเชิงเหมือน ระหว่าง BFRS และแบบวัดการท าหน้าที่ของครอบครัว พบมีความสัมพันธ์กันระดับสูง (r 0.85, p < .001) การน าไปใช้: ใช้เป็นเครื่องมือวัดสัมพันธภาพในครอบครัวของเยาวชนไทย เพื่อประโยชน์ในการประเมินความเสี่ยงและ ปัจจัยปกป้องปัญหาสุขภาพจิตและพฤติกรรมสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับสัมพันธภาพในครอบครัว จ าแนกระดับความรุนแรงของ ปัญหาสัมพันธภาพในครอบครัว มีแนวทางการวางแผนดูแลช่วยเหลือที่เฉพาะมากขึ้น ใช้เป็นเครื่องมือประเมินผลการบ าบัด ทางการพยาบาล และเครื่องมือวิจัย ค าส าคัญ : ความตรง, ความเที่ยง, แบบประเมินสัมพันธภาพในครอบครัว


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 10 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 รหัสผลงาน B014 ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง อัตราการกรองของไตและ ระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง THE effects of Self-Management Support Program on Self-Management Behaviors, Glomerular Filtration Rate and Blood Pressure Level among Chronic Kidney Disease Patients ชญาน์ณินท์ รัศมีมาสเมือง พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลอุดรธานี บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: โรคไตเรื้อรัง (CKD) เป็นปัญหาสาธารณสุขที่ส าคัญทั่วโลกที่มีแนวโน้มและทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ส่งผล กระทบต่อผู้ป่วยทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและประเทศชาติ ผู้วิจัยจึงน าแนวคิดการจัดการตนเองมาสร้างโปรแกรมสนับสนุน การจัดการตนเองมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง คาดว่าจะช่วยให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการจัดการตนเองที่ดีขึ้น และลดโอกาส เสี่ยงในการเกิดไตวายระยะสุดท้ายที่ต้องได้รับการรักษาโดยการบ าบัดทดแทนไต วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการจัดการตนเอง อัตราการกรองของไต และระดับความดันโลหิตของ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในกลุ่มทดลอง เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองก่อนและหลังได้รับโปรแกรมสนับสนุน การจัดการตนเอง วิธีด าเนินการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ระยะที่ 3-5 ที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกโรคไต เรื้อรัง ระหว่างมค.-เมย. 65 คัดเลือกกตามคุณสมบัติที่ก าหนด 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 30 ราย โดยจับคู่ตามคุณสมบัติดังนี้ เป็นเพศเดียวกัน อายุต่างกันไม่เกิน 5 ปี ระยะไตเสื่อมอยู่ในระยะเดียวกัน ระยะเวลาที่เป็น โรคไตเรื้อรังต่างกันไม่เกิน 5 ปี กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสนับสนุนการจัดการ ตนเอง เสริมทักษะการจัดการตนเองร่วมกับรูปแบบสนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีการด าเนินการกิจกรรม 4 ครั้ง เป็นเวลา 12 สัปดาห์ เครื่องมือประกอบด้วย โปรแกรมการให้ความรู้เรื่องการจัดการตนเอง แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลด้านสุขภาพ แบบประเมินพฤติกรรมการจัดการตนเอง ประเมินผลก่อนและหลังการทดลองในสัปดาห์ที่ 1 และ สัปดาห์ที่ 12 ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านได้ความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.90 และค่า ความเที่ยงเท่ากับ 0.79 และวัดผลลัพธ์รอัตราการกรองของไต และระดับความดันโลหิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิง พรรณนาและสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัย: กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเองสูงกว่าก่อนทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมี นัยส าคัญทางสถิติ (p < .05) ส่วนค่าเฉลี่ยอัตราการกรองของไตของกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น กลุ่มควบคุมมีอัตราการกรอง ของไตลดลง ส่วนระดับความดันโลหิตซิสโตลิค และค่าเฉลี่ยระดับความดันไดแอสโตลิคของกลุ่มทดลองหลังทดลองลดลงกว่า ก่อนทดลองอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ (p < .05) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังการทดลอง พบว่า อัตราการกรองของไต และระดับความดันซิสโตลิคมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ (p < .05) ยกเว้นระดับความดัน ไดแอสโตลิคที่ไม่แตกต่างกัน การน าไปใช้: ควรน ารูปแบบการสนับสนุนการจัดการตนเองไปใช้ในการสนับสนุนพฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ ทางคลินิกในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและโรคเรื้อรังอื่น ๆ ควรมีการศึกษาระยะยาว 6 เดือนขึ้นไป เพื่อติดตามผลลัพธ์อย่างต่อเนื่อง ค าส าคัญ : โปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเอง, อัตราการกรองของไต, ระดับความดันโลหิต


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 11 รหัสผลงาน B015 ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกในการส่งต่อผู้ป่วยคาท่อช่วยหายใจหลังได้รับ ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกายในโรงพยาบาลนครพิงค์จังหวัดเชียงใหม่ The Effect of Development of a Clinical Nursing Practice Guidelines for Intrahospital transport patient with Endotracheal tube posted Balance anesthesia in Nakornping Hospital, Chiang Mai Province ประภัสสร คอนศรี พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ สุชลี แสนธรรมจักร พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ เจิมขวัญ แพรสี พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: การส่งต่อผู้ป่วยคาท่อช่วยหายใจหลังได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกายไปยังแผนกอื่นในโรงพยาบาล จ าเป็นต้องดูแลติดตามอาการอย่างใกล้ชิด เนื่องจากอยู่ในภาวะวิกฤติ คุกคามต่อชีวิต ผู้ป่วยต้องได้รับการประเมินและเตรียม ความพร้อมให้เหมาะสม ควรมีการวางแผนและใช้การสื่อสารให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างไรก็ตามกลุ่มงานการพยาบาล วิสัญญีไม่มีแนวปฏิบัติในการส่งต่อที่ชัดเจน ท าให้เกิดอุบัติการณ์ที่ไม่พึงประสงค์เช่นผู้ป่วยรู้สึกตัวระหว่างการเคลื่อนย้าย มี ทางเดินหายใจอุดกั้น มีภาวะความไม่อิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด ระบบไหลเวียนไม่คงที่ เป็นต้น ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงสนใจ ศึกษาและพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกในเรื่องนี้ วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกในการส่งต่อผู้ป่วยคาท่อช่วย หายใจหลังได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกายในโรงพยาบาลนครพิงค์ทั้งผลลัพธ์ทางด้านคลินิก และด้านกระบวนการ วิธีด าเนินการวิจัย: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา โดยใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกที่ทีมผู้วิจัยพัฒนาจากกรอบ แนวคิดของสภาวิจัยสุขภาพและการแพทย์แห่งชาติ ประเทศออสเตรเลีย คณะวิจัยแบ่งการศึกษาเป็น 2 ระยะได้แก่การพัฒนา แนวปฏิบัติและการน าแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกไปทดลองใช้ กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มผู้รับบริการ จ านวน 320 คน และกลุ่มผู้ให้บริการคือวิสัญญีพยาบาลที่ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกจ านวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการ ด าเนินการวิจัยประกอบด้วย 1) แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นใหม่ 2) แบบประเมินการส่งต่อผู้ป่วยคาท่อ ช่วยหายใจหลังให้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย 3) แบบประเมินความพึงพอใจของวิสัญญีพยาบาลต่อแนวปฏิบัติการพยาบาล เครื่องมือทั้งหมดผ่านการตรวจสอบความตรงและความเที่ยงของเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ในการศึกษา คือสถิติเชิง พรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และเปรียบเทียบการเกิดอุบัติการณ์โดยใช้วิธีการของแมน วิทนีย์ ยู ผลการวิจัย: ผลการศึกษาพบว่าอุบัติการณ์การเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ หลังใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกในการ ส่งต่อผู้ป่วยคาท่อช่วยหายใจหลังได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกายมีค่าลดลงกว่าก่อนการใช้อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 (p 0.014) ร้อยละของการไม่เกิดอุบัติการณ์ก่อนการใช้แนวปฏิบัติพบร้อยละ 69.4 หลังการใช้แนวปฏิบัติเพิ่มขึ้น ร้อยละ 81.30 อุบัติการณ์ที่ลดลงมากที่สุดคือความดันโลหิตสูง และคะแนนความพึงพอใจของวิสัญญีพยาบาลต่อแนว ปฏิบัติการพยาบาลในด้านความคุ้มค่าในการเปลี่ยนแปลงสู่การปฏิบัติจริง อยู่ในระดับมากถึงร้อยละ 60 และด้าน ความสามารถในการใช้ดูแลผู้ป่วยจริงอยู่ในระดับมากร้อยละ 55 การน าไปใช้: ใช้เป็นแนวทางในการส่งต่อผู้ป่วยคาท่อช่วยหายใจหลังให้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย ส่งผลให้ลดเหตุการณ์ ไม่พึงประสงค์กับผู้ป่วย รวมทั้งเผยแพร่ให้แก่ผู้เข้าอบรมวิสัญญีพยาบาลน าไปเป็นแนวปฏิบัติต่อที่โรงพยาบาลอื่นได้ ค าส าคัญ : แนวปฏิบัติทางการพยาบาล ผู้ป่วยคาท่อช่วยหายใจ การได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 12 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 รหัสผลงาน B016 การพัฒนารูปแบบการให้ค าปรึกษาพันธุกรรมโรคมะเร็ง โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี The Development of Cancer Genetic Counseling at Ubon Ratchathani Cancer Hospital ชลิยา วามะลุน รองผู้อ านวยการด้านการพยาบาล โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี โสภิต ทับทิมหิน พยาบาลวิชาชีพ ช านาญการ โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี พงศธร ศุภอรรถกร ผู้อ านวยการ โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี บุญหยาด หมั่นอุตส่าห์พยาบาลวิชาชีพช านาญการพิเศษ โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานีทิพาพร บุญมานะ พยาบาล วิชาชีพช านาญการพิเศษ โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: การให้ค าปรึกษาทางพันธุกรรมโรคมะเร็งมีไว้ส าหรับผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้นจากการมีประวัติ ส่วนบุคคลหรือครอบครัวที่เป็นมะเร็ง นอกจากนี้ความต้องการข้อมูลเชิงลึกที่เพิ่มขึ้นของผู้คนเกี่ยวกับความบกพร่องทาง พันธุกรรมของมะเร็งเป็นปัจจัยน าสู่การพัฒนาเพื่อช่วยในการตัดสินใจที่เหมาะสมของผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ในขณะที่ผู้ที่มีความ เสี่ยงต่ า การให้ค าปรึกษาอาจช่วยลดความวิตกกังวลลงได้ วัตถุประสงค์การวิจัย: (1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์ฯ (2) เพื่อพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการให้ค าปรึกษาพันธุกรรมโรคมะเร็ง และ (3) เพื่อศึกษาความชุกของชุดยีนส์ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งในกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมหรือมะเร็ง รังไข่และญาติของผู้ป่วย วิธีด าเนินการวิจัย: การวิจัยและพัฒนานี้ ประกอบด้วย 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพการณ์ การรวบรวมและวิเคราะห์ รูปแบบการให้การปรึกษาพันธุกรรมโรคมะเร็งโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ในกลุ่มตัวอย่างแพทย์ 5 คน พยาบาลวิชาชีพ 31 คน และเทคนิคการแพทย์ 2 คน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบ ทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการให้ ค าปรึกษาพันธุกรรมโรคมะเร็ง ในกลุ่มตัวอย่างแพทย์ 5 คน พยาบาลวิชาชีพ 31 และผู้มารับบริการให้ค าปรึกษาที่มี คุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าจ านวน 88 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มควบคุมที่และกลุ่ม ทดลองที่ได้รับการให้ค าปรึกษาตามรูปแบบฯที่พัฒนาขึ้น กลุ่มละ 44 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบประเมินความรู้ ทัศนคติ ทักษะ แบบประเมินความพึงพอใจ แบบประเมินภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า และแบบประเมินความกังวล โรคมะเร็งในผู้รับบริการ ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.98 และประเมินความเที่ยงด้วยวิธี Cronbach’s alpha coefficient เท่ากับ .80 และ .82 ตามล าดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนา การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์แก่นสาระ และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัย: ผลการพัฒนารูปแบบประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก คือ (1) ด้านโครงสร้างการด าเนินงาน (2) ด้านบุคลากร และ (3) ด้านระบบบริการ การประเมินผลการพัฒนารูปแบบฯ พบว่า ความรู้ ทัศนคติและทักษะพยาบาลหลังการฝึกอบรม เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความพึงพอใจในการให้บริการในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความรู้ ทัศนคติ ในผู้รับบริการหลังให้ค าปรึกษาฯ เพิ่มขึ้น และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนระดับภาวะวิตก กังวลและภาวะซึมเศร้า ระดับความกังวลโรคมะเร็งลดลงกว่าก่อนใช้รูปแบบการให้ค าปรึกษาฯ ที่พัฒนาขึ้น และต่ ากว่ากลุ่ม ควบคุมอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส าหรับความพึงพอใจในการรับบริการของผู้มารับค าปรึกษาฯ ในภาพรวมอยู่ใน ระดับมากที่สุด ผลการศึกษาความชุกของผู้ป่วยที่รับการตรวจมะเร็งทางพันธุกรรม 215 คน พบการกลายพันธุ์ที่ก่อโรค 12.87% โดยยีนที่ตรวจพบมีทั้งหมด 21 ยีน โดยพบการกลายพันธุ์ที่ก่อโรคมากที่สุดคือ BRCA1 เท่ากับ 42.3% การน าไปใช้: (1) การพัฒนาและยกระดับบริการด้านสุขภาพในการตรวจค้นหาคัดกรองค้นหาความเสี่ยงการเกิดมะเร็งที่ถ่ายทอด ทางพันธุกรรม ให้มีประสิทธิภาพมาตรฐาน (2) ประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในเขตพื้นที่บริการให้ได้รับการตรวจค้นหา คัดกรองค้นหาความเสี่ยงการเกิดมะเร็งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม (3) สามารถให้บริการให้ค าปรึกษาพันธุกรรมโรคมะเร็งที่มี ประสิทธิภาพ ผู้รับบริการสามารถปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง และเข้าสู่กระบวนการรักษาที่เหมาะสมต่อไป ค าส าคัญ : การพัฒนารูปแบบการให้ค าปรึกษาพันธุกรรม, โรคมะเร็ง, กลุ่มอาการมะเร็งทางพันธุกรรม


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 13 รหัสผลงาน B017 การศึกษาผลสรุปการให้รหัสค าวินิจฉัยโรคหัตถการและการผ่าตัดค่ารักษาพยาบาลตามระบบกลุ่ม วินิจฉัยโรคร่วม A study of the results of coding, diagnosis, procedures and surgery for medical expenses according to the joint diagnostic group system จันทร์เพ็ญ ค าแหง พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: ด้วยรัฐบาลมีนโยบายควบคุมค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลผู้ป่วย โดยชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่ สถานพยาบาลตามระบบกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnostic Related Groups, DRGs) ใช้ค่าน้ าหนักสัมพัทธ์ (RW) หรือต้นทุน เฉลี่ยในการดูแลผู้ป่วยกลุ่ม DRGs เป็นตัวคู่จ านวนเงินที่ก าหนดตามงบประมาณที่ควรได้รับ ซึ่งพบว่าโรงพยาบาลไม่ได้ตรวจสอบ ข้อมูลความถูกต้องของรหัสโรค ICD-10 รหัสหัตถการและการผ่าตัด ICD-9-CM เพื่อน าไปใช้ในการค านวณเงินค่าชดเชย ส่งผล ต่อ AdjRW และค่าตอบแทนที่ได้รับตามระบบ DRGs ต่ ากว่าความเป็นจริง เป็นผลให้โรงพยาบาลต้องแบกรับภาระที่เกิดขึ้น วัตถุประสงค์การวิจัย: (1) ศึกษาคุณภาพการสรุปค าวินิจฉัยโรค รหัสหัตถการและการผ่าตัดผู้ป่วยใน (2) เปรียบเทียบ AdjRW และค่ารักษาพยาบาลที่ได้ก่อนและหลังการตรวจพบความคลาดเคลื่อนในการสรุปการวินิจฉัยโรคหัตถการและการ ผ่าตัดของผู้ป่วยใน วิธีด าเนินการวิจัย: ศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง ใช้แบบบันทึกที่พัฒนาขึ้นเพื่อเก็บข้อมูล Excell AdjRW–DRGs ประกอบด้วย สถานการณ์จ าหน่าย จ านวนวันนอน และข้อมูลไม่คงที่ DRGs ก่อน-หลังการทบทวน เช่น โรคหลัก (PrincipleDX) โรคร่วม (Comorbidity) ค่า AdjRW และค่ารักษาพยาบาล โดยน าเวชระเบียนผู้ป่วยในจ าแนกตามสิทธิ ตั้งแต่ 1 มิถุนายน-31 สิงหาคม 2565 ซึ่งเป็นข้อมูลเวชระเบียนที่ผ่านการสรุปการวินิจฉัยโรคจากแพทย์ น ามาให้ทีมผู้ให้รหัส โรค (Auditor) ทบทวนและเก็บข้อมูลตามแนวทางการตรวจสอบหลักฐานในเวชระเบียนของงานหลักประกันสุขภาพ ฉบับที่ 1 พ.ศ.2553 พร้อมบันทึกผลการตรวจสอบในแบบบันทึกข้อมูล Excell AdjRW –DRGs ที่สร้างขึ้น แบ่งการทบทวนออกเป็น 2 ส่วน (1) Sumary Discharge Audit (SA) และ (2) Coding Audit (CA) ผู้ตรวจสอบ (Auditor) ท าการแก้ไขเพิ่มเติมรหัส โรค ICD-10 ICD-9-CM น าข้อมูลมาค านวณค่า AdjRW ใหม่ และบันทึกใน Record Form จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลและ ประมวลผล ผลการวิจัย: การทบทวนเวชระเบียน จ านวน 664 ฉบับ จ าแนกเป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคเฉียบพลัน จ านวน 608 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 91.57 และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จ านวน 56 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 8.43 พบความคลาดเคลื่อนของการสรุปค าวินิจฉัยโรคและ แก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องครบถ้วน จ านวน 215 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 32.36 ในกลุ่มโรคเฉียบพลันที่มีความคลาดเคลื่อนส่งผลต่อ AdjRW มีจ านวน 193 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 89.77 กลุ่มโรคเรื้อรังที่มีความคลาดเคลื่อนและส่งผลต่อ AdjRW จ านวน 22 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 10.23 และเวชระเบียนที่ทบทวน จ านวน 664 ฉบับ พบว่า มีการให้ AdjRW ก่อน-หลัง เท่าเดิม จ านวน 449 ฉบับ พบ AdjRW ลดลงหลังทบทวน จ านวน 16 ฉบับ คิดเป็น -4.63 และมีเวชระเบียน 199 ฉบับหลังทบทวน พบ AdjRW เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 41.14 ซึ่งมีผลท าให้โรงพยาบาลได้รับค่ารักษาพยาบาลจากทบทวนเวชระเบียน เพิ่มขึ้นจ านวน 319,060.66 บาท การน าไปใช้: ควรจัดตั้งทีม Auditor ให้ทบทวนเวชระเบียนแบบ Real time อย่างต่อเนื่อง และพัฒนาสมรรถนะของ บุคลากรทางการพยาบาลในหน่วยงานให้มีสมรรถนะเป็น Auditor ได้ทุกคน ค าส าคัญ : ค าวินิจฉัยโรค


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 14 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 รหัสผลงาน B018 ผลการพัฒนาการประเมินสัญญาณเตือนหลังผ่าตัดหัวใจในระยะวิกฤต Result in development of the early warning signs assessment in critical อุทุมพร ศรีสถาพร พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลขอนแก่น วิภาวรรณ สุดเหลือ พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลขอนแก่น บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจเป็นภาวะวิกฤตที่มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในระยะ 72 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัด การประเมินและเฝ้าระวังสัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤตรุนแรง (Early warning sign) ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม จะช่วยดักจับความเสี่ยงตั้งแต่แรกและแก้ไขให้การรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการส่งผลให้ ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ปลอดภัย ลดอัตราการเสียชีวิตได้ จากการทบทวนภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่เป็นความเสี่ยงส าคัญ (Specific clinical risk) หลังผ่าตัดหัวใจ หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลขอนแก่น ปี 2563 ป ระกอบด้วย (1) Cardiac Tamponade (2) Severe VT, VF (3) Massive Bleeding (4) Deep Sternal Wound Infection พบโอกาสเกิดความล่าช้าในการประเมินและจัดการแก้ไขอาการเตือนตั้งแต่เริ่มมีอาการ และความช านาญของ พยาบาลในการดักจับและแก้ไขทันท่วงทีแตกต่างกัน วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการพัฒนาการประเมินสัญญาณเตือนหลังผ่าตัดหัวใจในระยะวิกฤต วิธีด าเนินการวิธีวิจัย: ใช้รูปแบบวงล้อการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (PDCA) โดยศึกษาในผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจทุกรายที่ เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก ในปี 2564-2565 การพัฒนาประกอบด้วย (1) ทบทวน อุบัติการณ์ภาวะแทรกซ้อนความเสี่ยงส าคัญ (Specific clinical risk) หลังผ่าตัดหัวใจ (2) ศึกษาและทบทวนวรรณกรรม การ ประเมินสัญญาณเตือนภาวะแทรกซ้อนรุนแรงหลังผ่าตัดหัวใจ (3) จัดท าแนวปฏิบัติการประเมินสัญญาณเตือนและจัดการ ภาวะแทรกซ้อนตั้งแต่เริ่มมีอาการ ออกแบบป้ายสัญญาณเตือนติดตั้งในต าแหน่งที่ชัดเจน แบ่งสัญญาณเตือนเป็นสีตามระยะ การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่เข้าใจได้ง่าย เป็น 3 ระดับ เบื้องต้นสีเหลือง ปานกลางสีส้มและรุนแรงสีแดง ติดตั้งไว้เหนือเตียงผู้ป่วยแต่ละราย เปลี่ยนสีตามระดับความรุนแรงที่ประเมินและจัดการ( 4) สื่อสารให้เกิดความเข้าใจในทีม แพทย์ พยาบาลและสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ (5) พัฒนาสมรรถนะพยาบาลโดยการนิเทศทาง คลินิก pre-post conference การทบทวนเมื่อเกิดอุบัติการณ์ประเมินสมรรถนะการพยาบาลเฉพาะโรค (6) ประเมินผลลัพธ์ ในผู้ป่วยและการใช้แนวปฏิบัติ ผลการศึกษา: ด้านประสิทธิผล: ผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ ปี 2564-2565 จ านวน 208 และ 258 รายตามล าดับ พบภาวะแทรกซ้อน รุนแรงมีแนวโน้มลดลง คือ Cardiac Tamponade (2,2), Severe VT&VF (12,10), Massive Bleeding (4,1), Deep Sternal Wound Infection (0,0) พยาบาลมีสมรรถนะและน าใช้ตามแนวปฏิบัติเพิ่มขึ้น ปี 2564 ร้อยละ 82.6 ปี 2565 ร้อยละ 88.46 ด้านประสิทธิภาพ: ไม่พบอุบัติการณ์การประเมินและจัดการภาวะแทรกซ้อนล่าช้า ปี 2564 และ 2565 การน าไปใช้: การออกแบบและพัฒนาการประเมินสัญญาณเตือนที่เข้าใจได้ชัดเจน สามารถประเมินได้ง่ายและรวดเร็ว ช่วย ให้พยาบาลมีเครื่องมือในการประเมินและจัดการภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้อย่างรวดเร็วทันท่วงที ท าให้เกิดความปลอดภัยกับ ผู้ป่วย และใช้เป็นเครื่องมือในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ จากการศึกษาได้ทบทวนและก าหนดให้ ปฏิบัติการพยาบาลในมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิด โรงพยาบาลขอนแก่นและเป็นสมรรถนะเฉพาะทาง ของพยาบาลศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก ขยายผลน าใช้ในหอผู้ป่วยสามัญศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก ในหอผู้ป่วยหนัก โรคหัวใจและหอผู้ป่วยหนักอื่นๆ และเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่โรงพยาบาลใช้ในการก ากับติดตามผลลัพธ์คุณภาพการพยาบาล เฉพาะทางผู้ป่วยหนัก รวมทั้งสื่อสารน าไปใช้ในโรงพยาบาลเครือข่ายเขตสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ค าส าคัญ : สัญญาณเตือน, ผ่าตัดหัวใจ, ระยะวิกฤต


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 15 รหัสผลงาน B019 การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันที่ได้รับการบ าบัดรักษาด้วยเครื่องฟอกไต แบบต่อเนื่อง (CRRT) หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น Development Clinical Nursing Practice guidelines for Acute Kidney Injury Patients with Continuous renal replacement Therapy (CRRT) in Medical Intensive Care Unit Khon Kaen Hospital. ยุวดี บุญลอย พยาบาลวิชาชีพช านาญการพิเศษ โรงพยาบาลขอนแก่น จีรวัฒน์ พิลา พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ โรงพยาบาลขอนแก่น เมธาวี ไชยรักษ์ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ โรงพยาบาลขอนแก่น บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: การฟอกเลือดด้วยเครื่องฟอกไตแบบต่อเนื่อง (CRRT) เป็นวิธีการรักษาที่มีความซับซ้อนพยาบาลต้องมี ทักษะความรู้ความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติการพยาบาล การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ การให้ข้อมูลและสนับสนุนด้านจิตใจ แก่ครอบครัวผู้ป่วย โรงพยาบาลขอนแก่นมีผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องต้องท าการรักษาด้วย CRRT จ านวน 24-30 รายต่อปี อัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 25-30 จากการปฏิบัติพบปัญหาการเตรียมผู้ป่วยเพื่อเข้ารับการบ าบัด ด้วยเครื่องไตเทียมแบบต่อเนื่องที่ล่าช้า ไม่มีแนวปฏิบัติการพยาบาลที่ชัดเจน ส่งผลให้พยาบาลมีการปฏิบัติการพยาบาลที่ หลากหลายผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาการดูแลผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันที่ได้รับการบ าบัดรักษาด้วยเครื่องฟอกไต แบบต่อเนื่องเพื่อให้ผู้ป่วยพ้นจากภาวะวิกฤตและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันที่ได้รับการบ าบัดรักษาด้วยเครื่องฟอกไต แบบต่อเนื่อง วิธีด าเนินการวิจัย: การศึกษานี้เป็นการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (Plan-Do-Check-Act, PDCA) โดยศึกษาระหว่างเดือน ตุลาคม 2564 ถึงกันยายน 2565 กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ 15คน ผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันที่ได้รับการ บ าบัดรักษาด้วยเครื่องฟอกไตแบบต่อเนื่อง40 คน ขั้นตอนการด าเนินการ (1) Plan วางแผนในการด าเนินการ วิเคราะห์โอกาส พัฒนา ปัญหาอุปสรรค ด้วยการสังเกตการปฏิบัติงานของพยาบาล สัมภาษณ์พยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยน าเสนอข้อมูลในที่ ประชุมและสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ (2) DO ด าเนินการ (2.1) มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยไตวาย เฉียบพลันที่ได้รับการบ าบัดรักษาด้วยเครื่องฟอกไตแบบต่อเนื่องให้กับพยาบาลในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม (2.2) จัดท าแนว ปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันที่ได้รับการบ าบัดรักษาด้วยเครื่องไตเทียมแบบต่อเนื่อง (2.3) การประชุมชี้แจงการใช้ แนวปฏิบัติฯ (2.4) การน าใช้แนวปฏิบัติฯ โดยทดลองใช้ในผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันที่ได้รับการบ าบัดรักษาด้วยเครื่องฟอกไต แบบต่อเนื่องจ านวน 40 คน (3) Check ติดตามผลลัพธ์การปฏิบัติ ตามแนวทางที่ก าหนดประเมินผลลัพธ์ปรับปรุงแนวทางการ ด าเนินงาน (4) Act ด าเนินการตามแนวทางที่ปรับปรุง และติดตามผลลัพธ์อย่างต่อเนื่อง ผลการวิจัย: (1) ได้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันที่ได้รับการบ าบัดรักษาด้วยเครื่องฟอกไตแบบต่อเนื่องที่ ประกอบด้วย (1.1) การพยาบาลระยะก่อนการรักษา (1.2) การพยาบาลระยะรักษา และ (1.3) การพยาบาลระยะสิ้นสุดการ รักษา (2) ผลลัพธ์ผลการใช้แนวปฏิบัติฯ พบว่า (2.1) ผู้ป่วยได้รับการคัดกรองเพื่อท า CRRT ทันเวลา จ านวน 32 คนคิดเป็น ร้อยละ 80 (2.2) ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น (Improve) 13 คน คิดเป็นร้อยละ 40.63 (2.3) ผู้ป่วยและญาติมีความพึงพอใจร้อยละ 90.50 และ (2.4) พยาบาลมีความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติฯ ร้อยละ 94 การน าไปใช้: ขยายผลการน าใช้แนวปฏิบัติฯ ไปยังหน่วยงานผู้ป่วยหนักอื่นๆ และศึกษาต่อยอดเป็นงานวิจัย ค าส าคัญ : แนวปฏิบัติการพยาบาล, ผู้ป่วยไตวายเฉียบพลัน, การบ าบัดรักษาด้วยเครื่องฟอกไตแบบต่อเนื่อง


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 16 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 รหัสผลงาน B022 ผลการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเลิกบุหรี่ในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลขอนแก่น The development of smoking cessation promotion in patients with cardiovascular disease in Khon Kaen Hospital. อัมพวัน สีหวัฒนะ พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลขอนแก่น จิราพร น้อมกุศล พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลขอนแก่น พิมพ์ชนก มิลินธนพัชรพร พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลขอนแก่น บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: บุหรี่เป็นปัจจัยส าคัญที่ส่งผลให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และท าให้มีอัตราการเสียชีวิต 1.37 เท่า องค์การอนามัยโลกมีนโยบายให้จัดตั้งคลินิกเลิกบุหรี่ภายในโรงพยาบาล เพื่อให้ค าปรึกษาการเลิกบุหรี่ ในปีพ.ศ. 2561 พบ ประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปสูบบุหรี่สูงถึง 10.7 ล้านคน ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดในโรงพยาบาลขอนแก่นมีสถิติการ สูบบุหรี่สูงถึงร้อยละ 53.57 การสนับสนุนให้ผู้ป่วยเลิกบุหรี่ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจากขาดการคัดกรองการสูบ บุหรี่ ขาดการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยมายังคลินิกเลิกบุหรี่ รวมถึงขาดการติดตามการเลิกบุหรี่อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราการเลิก บุหรี่ในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ไม่ผ่านเกณฑ์ ในปี 2562 ร้อยละ 56 และมีผู้ป่วยที่ใส่ขดลวดหัวใจจ านวน 2 คนที่ยัง สูบบุหรี่แล้วเกิดขดลวดอุดตัน ผู้วิจัยจึงสนใจพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเลิกบุหรี่ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ เพื่อลดการ เกิดภาวะแทรกซ้อนและช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเลิกบุหรี่ในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด วิธีด าเนินการวิธีวิจัย: การศึกษานี้เป็นการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ระหว่างเดือนตุลาคม 2562 ถึงเดือนกันยายน 2565 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ 40 คน ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด 177 คน โดยใช้แนวคิด PDCA ขั้นตอน การด าเนินการ(1) Plan: วิเคราะห์สถานการณ์ สังเกตการปฏิบัติงานของพยาบาล สัมภาษณ์พยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วย น าเสนอข้อมูลในที่ประชุมและสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ (2) DO: (2.1) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการให้กับพยาบาลและจัดตั้ง Tobacco Control Provider Nurse (TCPN) ประจ าทุกหอผู้ป่วย (2.2) จัดท า Flow การส่งเสริมการเลิกบุหรี่ในผู้ป่วย โรคหัวใจและหลอดเลือด (2.3) น าใช้รูปแบบการส่งเสริมการเลิกบุหรี่ในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ในกลุ่มตัวอย่าง จ านวน 177 คน (3) Check : ตรวจสอบการปฏิบัติตามรูปแบบการส่งเสริมการเลิกบุหรี่ในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ประเมินการเลิกบุหรี่และความพึงพอใจของผู้ป่วยและพยาบาลที่ใช้รูปแบบ (4) Act : น าเสนอผลลัพธ์การพัฒนา ติดตาม นิเทศการน าใช้รูปแบบการส่งเสริมการเลิกบุหรี่ในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรค และตัวชี้วัด น าเสนอในที่ประชุม PCT อายุรกรรมทุกเดือน ผลการศึกษา: 1.ได้รูปแบบการส่งเสริมการเลิกบุหรี่ในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ประกอบด้วย (1) คัดกรองปัจจัยเสี่ยง การสูบบุหรี่ในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด (2) ลงบันทึกในโปรแกรมการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อช่วยแนะน าเลิกบุหรี่ (3) ประเมิน ระดับความรุนแรงของการติดนิโคตินและความพร้อม (4) โปรแกรมการช่วยให้เลิกบุหรี่โดย หลักการ 5A, 5R, 5D (5) ติดตาม ประเมินผลที่ 1 สัปดาห์ และทุก 1, 3, 6, 12 เดือน 2. ผลลัพธ์ผลการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเลิกบุหรี่ในผู้ป่วย โรคหัวใจและหลอดเลือด พบว่า (1) อัตราการเลิกบุหรี่ได้ ปี 2563-2565 เท่ากับร้อยละ 61, 65, 86 ตามล าดับ (2) ผู้ป่วยที่ ได้รับการสวนและใส่ขดลวดหัวใจไม่พบอุบัติการณ์เกิดขดลวดตันจากการสูบบุหรี่ (ที่ยังคงสูบบุหรี่) (3) ผู้ป่วยมีความพึงพอใจ ร้อยละ 93.5 และ (4) พยาบาลมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการส่งเสริมการเลิกบุหรี่ (TCPN) ร้อยละ 95 การน าไปใช้: (1) ขยายผลพัฒนาหลักสูตร Tobacco Cessation Provider Nurse (TCPN) (2) ขยายผลน าใช้ในผู้ป่วยโรค ไม่ติดต่อเรื่อรัง (3) ส่งเสริมการเลิกบุหรี่เชิงรุกสู่ชุมชนในเขตเทศบาลนครขอนแก่น ค าส าคัญ : โปรแกรมส่งเสริมการเลิกบุหรี่, ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 17 รหัสผลงาน B025 การบ าบัดทางความคิดและพฤติกรรมผู้ป่วยสุราในโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ จังหวัด อุบลราชธานี Cognitive Behavioral Therapy Program in Alcohol Harmful use disorder and Alcohol dependence: 50 Pansa Mahavajiralongkorn Hospital, Ubon Ratchathani Province. รุ่งรัตน์ สายทอง พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: รพ. ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาด้วยภาวะถอนพิษสุราหรือเกิดพฤติกรรมรุนแรง/ อาการทางจิต พ.ศ. 2562–2564 จ านวน 151, 144 และ 280 คน ตามล าดับ และมีความเสี่ยงหลายด้าน จึงใช้โปรแกรมการบ าบัด ทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy; CBT) พัฒนาจาก Osilla, K.C มี 8 Session โดยใช้บ าบัดผู้ป่วยสุรา ในคลินิกจิตสังคมนาน 8 ปี ติดตามผลการบ าบัด 1 ปี ในผู้ป่วย 429 คน พบผู้ป่วย เลิก/ดื่มลดลง จ านวน 314 คน คิดเป็น ร้อยละ 73.2เพื่อลดระยะเวลาและลดความเสี่ยงสัมผัสในสถานการณ์โควิด 19 จึงปรับโปรแกรมเป็น 6 Session โดยรวมกิจกรรมตัวกระตุ้น การใช้ยาเสพติดและการจัดการตัวกระตุ้นป้องกันการติดสุราซ้ าไว้ด้วยกัน จึงสนใจศึกษาผลการบ าบัด เลิก/ดื่มลดลง หลังติดตาม ครบ 6 เดือน วัตถุประสงค์การวิจัย: ศึกษาผลการบ าบัดผู้ป่วยสุราหลังภาวะถอนพิษสุราหรือมีปัญหาจากการดื่มสุราด้วยโปรแกรมการ บ าบัดทางความคิดและพฤติกรรม (เวอร์ชั่นใหม่) ในโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ จังหวัดอุบลราชธานี วิธีด าเนินการวิจัย: วิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียว วัดผลหลังการทดลอง เก็บข้อมูลเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ประชากรผู้ป่วยนอก 18 ปีขึ้นไปที่มีปัญหาหรือผลกระทบจากการดื่มสุราหรือเป็นผู้ป่วยในหลังรักษาภาวะถอนพิษสุรา (คะแนน AWS < 5) ยินยอมและสมัครใจบ าบัดในคลินิกจิตสังคม ตามนัดหมายต่อเนื่อง 6 Session ค านวณกลุ่มตัวอย่างได้ 92 คน ใช้ CBT เวอร์ชั่นใหม่ ที่ปรับปรุงจาก 8 Session ผลการศึกษาใช้สถิติพรรณนา ความถี่ ร้อยละ และสถิติอนุมาน (Chi Square และ Odds Ratio) งานวิจัยนี้ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ส านักงานสาธารณสุข จังหวัดอุบลราชธานี เลขที่ SSJ.UB 2565-025 วันที่รับรอง 20 พฤษภาคม 2565 ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง จ านวน 92 คน เป็นผู้ดื่มสุราแบบอันตราย (AUDIT 16–19 คะแนน) 52 คน ผู้ดื่มสุราแบบติด (AUDIT ≥20 คะแนน) และหลังรักษาภาวะถอนพิษสุรา 40 คน ส่วนใหญ่เพศชาย 83 คน ร้อยละ 90.2 อายุเฉลี่ย 44.9 ± 10.6 ปี น้อยที่สุด 20 ปี มากที่สุด 65 ปี ผลการบ าบัด CBT ครบ 6 Session และติดตาม 6 เดือน พบว่า เลิก/ดื่มลดลง 66 คน ร้อย ละ 71.7 เลิก 17 คน (ร้อยละ 18.5) ดื่มลดลง 49 คน (ร้อยละ 53.2) ยังคงดื่ม 26 คน (ร้อยละ 28.3) และพบว่า กลุ่มดื่มแบบ อันตราย เลิก/ดื่มลดลง 42 คน (ร้อยละ 80.8) ยังคงดื่ม 10 คน (ร้อยละ 19.2) กลุ่มดื่มแบบติด เลิก/ดื่มลดลง 24 คน (ร้อยละ 60.0) ยังคงดื่ม 16 คน (ร้อยละ 40.0) เปรียบเทียบเลิก/ดื่มลดลง 2 กลุ่ม กลุ่มดื่มแบบอันตรายเลิก/ดื่มลดลงได้มากกว่ากลุ่ม ดื่มแบบติดอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ (p = 0.028) โดยกลุ่มดื่มแบบอันตรายมีโอกาสเลิก/ดื่มลดลงมากกว่ากลุ่มดื่มแบบติด 2.80 เท่า และผลการบ าบัดใน 6 Session เลิก/ดื่มลดลงไม่แตกต่างจาก 8 Session อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ (p = 0.776) และลดระยะเวลาบ าบัดลงจากโปรแกรมเดิมอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ความพึงพอใจการบ าบัดระดับมากและมากที่สุดร้อยละ 95 การน าไปใช้: ใช้ในการปฏิบัติทางการพยาบาลประจ าคลินิกยาเสพติดและจิตเวชได้ทุกแห่ง เพื่อบ าบัดให้ผู้ป่วยสุราเลิกหรือ ลดการดื่มสุราลง สามารถน าไปเผยแพร่ ถ่ายทอดให้เครือข่ายได้รับรู้และพัฒนาให้มีผู้บ าบัดใหม่ มีความรู้มีทักษะมากขี้นในอ นาคต จะช่วยให้สามารถบ าบัดผู้ป่วยสุราลงสู่ชุมชนได้จ านวนมากขึ้น ค าส าคัญ : การบ าบัดทางความคิดและพฤติกรรม, ผู้ป่วยสุรา, ภาวะถอนพิษสุรา


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 18 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 รหัสผลงาน B026 การพัฒนานวัตกรรมทางการพยาบาลโดยใช้บัตรภาพและบัตรค าเพื่อกระตุ้นพัฒนาการทางภาษาในเด็ก 0-5 ปี พื้นที่อ าเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี The development of nursing innovations by using picture cards and word cards to stimulate language development in children 0-5 years old, Nong Chik district area Pattani Province. ฮาลาวาตี สนิหวี พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลหนองจิก จังหวัดปัตตานี อังคณา วังทอง พยาบาลวิชาชีพช านาญการพิเศษ โรงพยาบาลหนองจิก จังหวัดปัตตานี บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: พัฒนาการทางภาษามีความส าคัญในขบวนการสื่อสาร ซึ่งเป็นพื้นฐานส าหรับการเรียนรู้ การพัฒนา สติปัญญาในการแก้ไขปัญหาต่างๆ การเข้าสังคม และการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น จากการลงประเมินพัฒนาการเด็กในชุมชนน า ร่อง จ านวน 50 คน พบเด็กมีปัญหาพัฒนาการล่าช้าทางภาษา จ านวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 60 ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจพัฒนา นวัตกรรมทางการพยาบาลโดยใช้บัตรภาพและบัตรค าเพื่อกระตุ้นพัฒนาการทางภาษาในเด็ก 0-5 ปี โดยผู้ปกครองหรือ ผู้ดูแลเด็กมีส่วนร่วมในการกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เพื่อให้เด็กกลับมามีพัฒนาการที่สมวัย วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนานวัตกรรมและประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของบัตรภาพและบัตรค าเพื่อกระตุ้น พัฒนาการทางภาษาในเด็ก 0-5 ปี พื้นที่อ าเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี วิธีด าเนินการวิธีวิจัย: การวิจัยและพัฒนาศึกษาในพื้นที่ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ผู้มีส่วนร่วมวิจัย ได้แก่ เด็กอายุ 0-5 ปี ที่มี พัฒนาการสงสัยล่าช้าและล่าช้าทางภาษาจ านวน 30 คน ผู้ปกครองเด็กกลุ่มตัวอย่าง จ านวน 30 คน ด าเนินการวิจัยตั้งแต่ปี 2562 ถึง 2565 ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน (1) การส ารวจ/วิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการ โดยใช้กระบวนการ เสริมสร้างความรอบรู้ด้านพัฒนาการเด็ก 6 ขั้นตอน คือ (1.1) เข้าถึง (1.2) เข้าใจ (1.3) โต้ตอบ ซักถามแลกเปลี่ยน (1.4) ตัดสินใจ (1.5) เปลี่ยนพฤติกรรม และ (1.6) บอกต่อ (2) การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์พัฒนารูปแบบ/วิธีการ/กระบวนการ โดยศึกษาแนวคิดทฤษฎีการเลียนแบบทฤษฎีการรับรู้ และวิธีการฝึกพูดเบื้องต้น น าแนวคิดที่ได้มาพัฒนานวัตกรรมร่วมกับ สร้างคู่มือการกระตุ้นพัฒนาการทางภาษา (3) การทดลองใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์โดยการทดลองและประเมินประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล (4) สรุปผลการทดลองและรายงานผล เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ นวัตกรรมบัตรภาพและบัตรค า และ คู่มือการกระตุ้นพัฒนาการทางภาษา โดยผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้นจากคู่มือ TEDA4I และคู่มือการฝึกพูดเบื้องต้น เครื่องมือที่ ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ คู่มือ DSPM, TEDA4I แบบประเมินประสิทธิภาพของนวัตกรรมและแบบสอบถามความ พึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา: ผลการกระตุ้นพัฒนาการด้วยบัตรภาพและบัตรค า พบว่า เด็กมีพัฒนาการทางภาษาที่ดีขึ้นหรือสมวัยอยู่ใน เกณฑ์ปกติ จ านวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 80 และไม่สมวัย จ านวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 20 เป็นนวัตกรรมที่สามารถน ามา กระตุ้นพัฒนาการทางภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีเนื้อหาชัดเจน เข้าใจง่าย (Mean 4.43 ,SD 0.504) การเลือกใช้วัสดุมี ความปลอดภัย (Mean 4.13 ,SD 0.681) มีความสะดวกต่อการใช้งาน (Mean 4.40 ,SD 0.498) มีความน่าสนใจกระตุ้น เด็กให้เกิดการเรียนรู้ (Mean 4.67 ,SD 0.479) และมีประโยชน์การใช้งาน (Mean 4.20 ,SD 0.714) ผู้ปกครองมีความพึง พอใจต่อการใช้นวัตกรรมในระดับดีขึ้นไป (Mean 4.53 ,SD 0.681) การน าไปใช้: น าไปใช้ในคลินิกเด็กดี รพ.หนองจิก เพื่อเป็นแนวทางในการแนะน าผู้ปกครองส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาเป็น เวลา 30 วัน น าไปใช้ในคลินิกรักษ์เด็ก รพ.หนองจิก เพื่อฝึกกระตุ้นพัฒนาการเด็กทางภาษาโดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง เป็นเวลา 3 เดือน และใช้ในการลงเยี่ยมบ้านเพื่อการกระตุ้นพัฒนาการทางภาษาในกรณีที่เด็กไม่สะดวกมาโรงพยาบาล ค าส าคัญ : บัตรภาพและบัตรค า, พัฒนาการทางภาษา, การกระตุ้นพัฒนาการ


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 19 รหัสผลงาน B028 การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองที่มารับการผ่าตัดด้วยวิธีหนีบหลอดเลือด สมองที่โป่งพอง The Development of Nursing Care model for Patients with Intracerebral Aneurysm Undergoing Clipping Aneurysm surgery สุมาล ีธรรมะ พยาบาลวิชาชีพช านาญการพิเศษ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา อัจฉราวรรณ ทิพยรักษ์พยาบาลวิชาชีพ ช านาญการพิเศษ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ศิรินาถ ศรีวัฒนพงศ์พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา รศ.ดร.จันทร์ทิรา เจียรณัย ส านักวิชาพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีผศ.ดร. ศรัญญา จุฬารี ส านักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: การแตกของหลอดเลือดสมองโป่งพองเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตหรือทุพพลภาพและการผ่าตัดหนีบ หลอดเลือดช่วยรักษาชีวิตผู้ป่วยได้ ดังนั้นทีมสหวิชาชีพควรพัฒนาแนวปฏิบัติที่ชัดเจนเพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแล วัตถุประสงค์การวิจัย: 1)เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองที่มารับการผ่าตัดด้วยวิธีหนีบ หลอดเลือดสมองที่โป่งพอง 2)เพื่อพัฒนาสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัดในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง 3)เพื่อ ศึกษาผลลัพธ์ทางการพยาบาลต่อผู้รับบริการที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติฯที่พัฒนาขึ้น วิธีด าเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยและพัฒนา แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 ศึกษาบริบทและปัญหาร่วมกับ พยาบาลห้องผ่าตัด จ านวน 15 คน สืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์และยกร่างแนวปฏิบัติฯ ระยะที่ 2 ประเมินคุณภาพของแนว ปฏิบัติฯ ตามเกณฑ์ AGREE II ได้ร้อยละ 94.6 ซึ่งผ่านเกณฑ์คุณภาพมาตรฐาน ระยะที่ 3 ปรับปรุงและน าแนวปฏิบัติฯ ไป ทดลองใช้ ร่วมกับการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัดด้วยเทคนิคการโค้ชแบบโกรว์ ระยะที่ 4 การน าไปใช้และ ประเมินผล ในระยะนี้เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือ พยาบาล ผู้โค้ช จ านวน 10 คน ผู้รับการโค้ช จ านวน 9 คน และ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองที่ได้รับการพยาบาลตามแนวปฏิบัติฯ จ านวน 9 คน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบประเมิน สมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาทั้งฉบับเท่ากับ .90 ตรวจสอบค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ .88 และแบบบันทึกผลลัพธ์การพยาบาลต่อผู้รับบริการที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติฯ ตรวจสอบค่าดัชนี ความ ตรงทั้งฉบับเท่ากับ 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติ Wilcoxon signed rank test ผลการวิจัย: หลังให้การพยาบาลตามแนวปฏิบัติฯ ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อน 1 ราย (ร้อยละ 11.11) และเสียชีวิต 1 ราย จากโรคร่วม จ านวนวันนอนในโรงพยาบาลเฉลี่ย 14.75 วัน ส าหรับคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัดโดยรวมก่อน และหลังใช้แนวปฏิบัติฯของพยาบาลผู้โค้ช และผู้รับการโค้ชแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ (z = -2.23, p < .05 และ z = -2.38, p < .05 ตามล าดับ) การน าไปใช้: การน ารูปแบบการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นช่วยลดภาวะแทรกซ้อน จ านวนวันนอนโรงพยาบาลและ การเสียชีวิตหลัง ผ่าตัดหนีบหลอดเลือดสมองโป่งพอง ดังนั้นพยาบาลและทีมสหสาขาวิชาชีพควรน าแนวปฏิบัติฯไปใช้อย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนา สมรรถนะของพยาบาลอย่างสม่ าเสมอท าให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วย ค าส าคัญ : รูปแบบการพยาบาล, โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง, การผ่าตัดด้วยวิธีหนีบหลอดเลือดสมองที่โป่งพอง, การโค้ช


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 20 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 รหัสผลงาน B029 ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอ านาจและการตั้งเป้าหมายร่วมกันต่อระดับน้ าตาลในเลือด ในผู้ป่วย เบาหวานซับซ้อน Effects of Empowerment and Goal attainment Programs for blood sugar of complex diabetic patients. พรวิภา ยาสมุทร์ พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง จังหวัดล าพูน บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: ผู้ป่วยเบาหวานซับซ้อน เป็นกลุ่มที่มีปัญหาหลากหลาย แต่ละคนจะมีปัญหาที่แตกต่างกัน เมื่อควบคุม ระดับน้ าตาลไม่ได้ จะเกิดผลเสียต่อร่างกายและเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมา ซึ่งการดูแลตามปกติในคลินิกไม่สามารถ แก้ปัญหาผู้ป่วยเบาหวานซับซ้อนได้ จากการทบทวนวรรณกรรมการเสริมพลังอ านาจ (Gibson ,1991) ท าให้ผู้ป่วยเบาหวาน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อให้สามารถควบคุมระดับน้ าตาลในเลือดได้ดีขึ้น อีกทั้งเมื่อร่วมกับการตั้งเป้าหมาย ร่วมกันของคิง (King, 1971, 1981) ซึ่งเป็นการค้นหาวิธีปฏิบัติและเลือกวิธีปฏิบัติร่วมกัน และปฏิบัติตามวิธีปฏิบัติที่เลือกไว้ จนเกิดเป็นพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ส าเร็จตามจุดมุ่งหมาย วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอ านาจและการตั้งเป้าหมายร่วมกัน ต่อระดับน้ าตาลในเลือดใน ผู้ป่วยเบาหวานซับซ้อน โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง จังหวัดล าพูน วิธีด าเนินการวิธีวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวาน ซับซ้อน ที่มารับบริการ ณ คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง และคัดเลือกตัวอย่างโดยการสุ่มแบบจับฉลาก ตามเกณฑ์ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง จ านวน 210 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 105 คน ศึกษาระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2564 ถึงเมษายน 2565 เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย (1) โปรแกรมการเสริมพลังอ านาจและการตั้งเป้าหมาย ร่วมกัน (2) แบบบันทึกเป้าหมายและกิจกรรมที่ตัดสินใจเลือก (3) ไวนิลไขมันในเลือด (4) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและ แบบบันทึกค่าระดับน้ าตาลในเลือด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Paired t-test และ Independent t-test ผลการศึกษา: เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมฯ พบว่า กลุ่มทดลองมีระดับน้ าตาลในเลือด (FBS) ลดลงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ (p < 0.05) การน าไปใช้: ทีมสุขภาพสามารถน าผลการวิจัยนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการดูแลผู้ป่วยเบาหวานซับซ้อนให้มีการควบคุม ระดับน้ าตาลในเลือดดีขึ้น ท าให้ผู้ป่วยเบาหวานมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป ค าส าคัญ : การเสริมสร้างพลังอ านาจ, การตั้งเป้าหมายร่วมกัน, ผู้ป่วยเบาหวานซับซ้อน


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 21 รหัสผลงาน B032 พัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดจากชุมชนสู่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลที่มีทรัพยากรอย่าง จ ากัด จังหวัดพัทลุง Develop system for Sepsis from the community to the Emergency of Hospital with limited resources Phatthalung Province. เยาวภา พงศ์พุ่ม พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ฯ บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ส าคัญและเป็นภาวะวิกฤตที่พบได้บ่อยในห้องฉุกเฉิน ของโรงพยาบาลทุกระดับ แนวทางการดูแลโรคที่มีประสิทธิภาพท าได้โดยการค้นพบผู้ป่วยให้เร็วที่สุดก่อนเข้าสู่ภาวะช็อก จะ ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการเสียชีวิตตามมาได้ ในโรงพยาบาลชุมชนซึ่งมีข้อจ ากัดในหลายๆปัจจัย จ าเป็นต้องมีการ พัฒนาระบบควบคู่ทั้ง 2 ด้าน คือ (1) ด้านการเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วย (2) การส่งเสริมให้ผู้ป่วยในชุมชนที่สงสัยมีภาวะติดเชื้อ วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดจากชุมชนสู่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลที่มี ทรัพยากรอย่างจ ากัด จังหวัดพัทลุง วิธีด าเนินการวิธีวิจัย: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัย Research development (R&D) ศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง จ านวน 28 คน และผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่เข้ารับ การรักษาที่งานอุบัติเหตุฉุกเฉินในเดือนมีนาคม 63 ถึงเดือนมิถุนายน 63 จ านวน 35 ราย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมิน ความรู้ที่ผู้วิจัยดัดแปลงขึ้น ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา .80 และความเชื่อมั่น .86 โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ ประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดของ Donabedian ร่วมกับการประยุกต์ใช้งานวิจัยที่เคยจัดท าใน การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินของผู้วิจัย เองที่ได้รับรางวัล R2R ดีเด่นระดับประเทศ ในระดับทุติยภูมิ น ามาพัฒนาต่อยอดในการดูแลโรคติดเชื้อในกระแสเลือด ผลการศึกษา: (1) ด้านโครงสร้าง พบว่า พยาบาลหลังได้รับการพัฒนาระบบมีรูปแบบในการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่จุดคัดกรอง และในห้องฉุกเฉิน ส่งผลลัพธ์ด้านความรู้ในการคัดกรองผู้ป่วย ดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดในแต่ละระยะเพิ่มขึ้นอย่างมี นัยส าคัญทางสถิติ (p < 0.05) ผู้ป่วยจากชุมชนเข้ารับบริการได้เร็วขึ้น หลังพัฒนาระบบ มีผู้ป่วยเข้ารับบริการทางการแพทย์ ก่อนเกิดภาวะช็อกเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 38.2 เป็นร้อยละ 72.2 สามารถเรียกใช้บริการรถฉุกเฉินได้เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 25.7 เป็นร้อยละ 51.4 (2) ด้านกระบวนการ พบว่า หลังพัฒนาระบบ สามารถค้นพบอาการของผู้ป่วยภาวะติดเชื้อเฉลี่ย ลดลงจากเดิมใช้เวลา 26 นาทีต่อราย เป็น 10 นาทีต่อราย คิดเป็นร้อยละ 80 ระยะเวลาที่อยู่ในห้องฉุกเฉินก่อนส่งต่อเฉลี่ย ลดลงจากเดิม 2 ชม.10 นาทีต่อราย เป็น 1 ชม.15 นาทีต่อราย คิดเป็นร้อยละ 91.4, ผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะภายใน 60 นาที เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 68 เป็นร้อยละ 92 จากผู้ป่วยที่เข้ารับบริการในห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาล ผู้ป่วยได้รับการเจาะเลือด เพาะเชื้อก่อนได้รับยาปฏิชีวนะจากเดิมร้อยละ 54 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 88 (3) ด้านผลลัพธ์ ผู้ป่วยที่ได้รับการ admit ที่ โรงพยาบาล ไม่เกิดภาวะช็อกขณะ admit ร้อยละ 100 พยาบาลมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีร้อยละ 85 การน าไปใช้: น ามาสู่การสร้างเป็นแนวทางปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลและให้การดูแลผู้ป่วยมาจนถึงปัจจุบัน ส่งผล ให้เจ้าหน้าที่มีความมั่นใจและผู้ป่วยเกิดความปลอดภัยตามา ค าส าคัญ : ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด, ชุมชน, ห้องฉุกเฉิน


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 22 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 รหัสผลงาน B033 ผลการใช้โปรแกรมการวางแผนจ าหน่ายโดยการประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีโอเร็มต่อความสามารถของ มารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนก าหนด The Effects of a Discharge Planning Program Applying Orem’s Theory on Mothers’ Ability to Care for Preterm Infants สิริลักษณ์ คุณกมลกาญจน์พยาบาลวิชาชีพช านาญการพิเศษ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา กัลยา เป๊ะหมื่นไวย พยาบาลวิชาชีพช านาญการพิเศษ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จุฑารัตน์ กาฬสินธุ์พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ชนิตา แป๊ะสกุล พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา พรรณ ทิพา ข าโพธิ์พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: การเข้ารับการรักษาของทารกเกิดก่อนก าหนดในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้ มารดาขาดทักษะในการดูแลทารก การวางแผนการจ าหน่ายจึงเป็นสิ่งส าคัญ วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถของมารดาในการดูแลทารกแรกเกิดก่อน ก าหนดระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ในระยะ 1 สัปดาห์ 1 เดือน 2 เดือน และ 3 เดือน วิธีด าเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) แบบ 2 กลุ่ม วัดผลหลังการทดลอง (Two groups posttest design) ในมารดาของทารกคลอดก่อนก าหนด จ านวน 52 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 26 คน โดยกลุ่ม ทดลองได้รับโปรแกรมการวางแผนจ าหน่ายทารกเกิดก่อนก าหนดตามการประยุกต์ใช้ทฤษฎีโอเร็ม และกลุ่มเปรียบเทียบที่ ได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ โปรแกรมวางแผนจ าหน่ายมารดาทารกเกิดก่อนก าหนด ตรวจสอบความตรง ตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จ านวน 5 ท่าน และแบบประเมินความสามารถในการดูแลทารกเกิดก่อนก าหนดของมารดา มี ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา .98 และค่าสัมประสิทธ์อัลฟาของครอนบาก .92 ขั้นตอนการด าเนินการ คือ กลุ่มเปรียบเทียบ ได้รับการพยาบาลตามปกติ ก่อนจ าหน่ายออกจากโรงพยาบาลให้มารดาเข้าร่วมใน LINE OA แนะน าวิธีการใช้งานเพื่อ ติดตามความสามารถของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนก าหนด กลุ่มทดลอง ได้รับการพยาบาลตามปกติร่วมกับการ พยาบาลตามโปรแกรมฯ ครั้งที่ 1 แนะน าให้ add LINE OA พร้อมแนะน าวิธีการใช้งานเบื้องต้น และด าเนินการโดยใช้ โปรแกรมการวางแผนจ าหน่าย เชิญมารดาเข้าร่วมใน LINE OA การดูแลทารกเกิดก่อนก าหนดส าหรับมารดา เพื่อใช้ใน การศึกษาข้อมูลก่อนล่วงหน้า พร้อมทั้งก าหนดเวลานัดหมาย ครั้งที่ 2 ของการเข้ารับการรักษาด าเนินการตามโปรแกรม มารดาฝึกทักษะและให้ความรู้แก่มารดา วันละ 1 ครั้ง ใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที ภายหลังการให้ความรู้ มารดาสามารถ สอบถามข้อสงสัยและไม่แน่ใจได้ทาง LINE OA ตลอด 24 ชั่วโมง จนทารกจ าหน่ายออกจากโรงพยาบาล ถ้าพบว่า มารดายัง ไม่สามารถดูแลทารกเกิดก่อนก าหนดได้ จะชี้แนะ สอนและสาธิตซ้ า หลังจากจ าหน่ายทารกเกิดก่อนก าหนดทั้ง 2 กลุ่มกลับ บ้าน จะติดตามประเมินความสามารถของมารดาและพัฒนาการของทารกในวันที่ 7, 1 เดือน, 2 เดือน และ 3 เดือนภายหลัง จ าหน่ายทารกกลับบ้าน โดยจะใช้ LINE OA ผ่านทางโทรศัพท์ Smart phone งานวิจัยนี้ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Repeated Measures ANOVA ผลการวิจัย: หลังทดลองค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการดูแลทารกเกิดก่อนก าหนดของกลุ่มทดลองสูงกว่าสูงกว่ากลุ่ม เปรียบเทียบอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (F = 5.501, p = .023) การน าไปใช้: โปรแกรมการวางแผนจ าหน่าย ช่วยให้มารดามีทักษะ ความสามารถในการดูแลทารก ดังนั้นพยาบาลควรน า โปรแกรมนี้ไปใช้ส าหรับเตรียมความพร้อมมารดาทารกเกิดก่อนก าหนดก่อนการจ าหน่ายกลับบ้าน ค าส าคัญ : การวางแผนจ าหน่าย, ทฤษฎีโอเร็ม, ความสามารถของมารดา, การดูแลทารกเกิดก่อนก าหนด


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 23 รหัสผลงาน B035 การพัฒนารูปแบบวางแผนการจ าหน่ายทารกคลอดก่อนก าหนดในมารดาวัยรุ่นแบบมีส่วนร่วม The development of participatory premature infant discharge planning model among adolescent mothers สุภาพร สุขส าราญ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ โรงพยาบาลบางละมุง ล าเภา น่าเอ็นดู พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลบางละมุง อัญชลี วงศ์สามารถ พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลบางละมุง บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: โรงพยาบาลบางละมุงเป็นโรงพยาบาลทั่วไประดับ S เขตเศรษฐกิจพิเศษเมืองพัทยา (EEC) ที่เป็นเมือง ท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมที่มีแรงงานเคลื่อนย้ายเข้ามาท างานในเขตพื้นที่เป็นจ านวนมาก โดยมีสถิติการฝากครรภ์ของ มารดาวัยรุ่น และคลอดในโรงพยาบาลบางละมุงเฉลี่ยแต่ละปี สูงถึง ร้อยละ 31.24 โดยทารกกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เข้ารับการ รักษาในหอทารกแรกเกิดวิกฤต เนื่องจากเป็นทารกที่คลอดจากมารดาวัยรุ่น และเป็นทารกที่คลอดก่อนก าหนด ข้อมูลใน ปีงบประมาณ 2563 – 2565 พบมารดาวัยรุ่นคลอด/ ทารกคลอดก่อนก าหนด จ านวน 200/20 คน, 163/13 คน และ 144/7 คน คิดเป็นร้อยละ 10, 7.98 และ 4.86 ตามล าดับ ทารกคลอดก่อนก าหนดดังกล่าว มีภาวะหายใจล าบาก อวัยวะ ท างานไม่สมบูรณ์ น้ าหนักตัวน้อย มีพัฒนาการช้า ได้รับการดูแลในโรงพยาบาลระยะหนึ่งจนแข็งแรงจึงจ าหน่ายกลับบ้าน ท าให้มารดาวัยรุ่นเกิดความเครียด วิตกกังวล ไม่พร้อมรับไปดูแล เป็นภาระของครอบครัว นอกจากนี้มารดาวัยรุ่นตั้งครรภ์ โดยไม่พร้อม ไม่ผูกพันกับทารกจึงทอดทิ้งเด็กไว้กับญาติหรือโรงพยาบาล ข้อมูลในปี 2562-64 พบมารดาวัยรุ่นคลอด/ ทอดทิ้งเด็ก จ านวน 22/ 6 คน 20/ 7 คน และ13/ 3 คน คิดเป็นร้อยละ 27.27, 35.01 และ 23.07 ตามล าดับ จากปัญหา ดังกล่าว หอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤต จึงพัฒนารูปแบบการวางแผนจ าหน่ายทารกคลอดก่อนก าหนดในมารดาวัยรุ่นใน บริบทของโรงพยาบาลบางละมุงให้มีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบวางแผนการจ าหน่ายทารกคลอดก่อนก าหนดในมารดาวัยรุ่นแบบมีส่วนร่วม วิธีด าเนินการวิธีวิจัย: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหา วางแผน ปฏิบัติ ประเมินผล ปรับปรุง และด าเนินการเป็นวงรอบ ครั้งแรกวางแผนการจ าหน่ายตามมาตรฐานก่อนกลับบ้านพบว่า มี การ re- admit และทิ้งให้ญาติเลี้ยง, ปรับรอบ 2 ให้มารดามีร่วมในการดูแลทารกพบว่าบ้านอยู่ไกลมารดาไม่สะดวกมาเยี่ยม ทารกทุกวัน ปรับรอบ 3 โดยการจัดที่นอนและอาหารให้มารดานอนพักในโรงพยาบาลใกล้หอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤตให้ส่ง นมและป้อนนม ดูแลทารกในตู้อบทุกวันสอนวิธีการดูแลทารกที่มีความผิดปกติเสริมสร้างพลังอ านาจให้มารดาและญาติที่ บ้านมาช่วยดูแลให้ก าลังใจจนเกิดความรักความผูกพัน และมีความมั่นใจในการดูแลทารกเมื่อจ าหน่ายจากโรงพยาบาล ผลการศึกษา: (1) มีรูปแบบการวางแผนการจ าหน่ายทารกคลอดก่อนก าหนดในมารดาวัยรุ่นแบบมีส่วนร่วม (2) การทอดทิ้ง ทารกคลอดก่อนก าหนดในมารดาวัยรุ่นในปี 2565-66 ลดลง 11/2, 8/1 รายคิดเป็นร้อยละ 18.12และ 12.51 ตามล าดับ (3) ความพึงพอใจเพิ่มขึ้น มารดาเพิ่มขึ้นร้อยละ 87.8, บุคลากรพยาบาลร้อยละ 88.2 การน าไปใช้: พัฒนาเป็นระบบการพัฒนารูปแบบวางแผนการจ าหน่ายทารกคลอดก่อนก าหนดในมารดาวัยรุ่นแบบมีส่วนร่วม ที่มีประสิทธิภาพ ของโรงพยาบาลบางละมุงที่มีการปฏิบัติต่อเนื่องเป็นงานประจ า ค าส าคัญ : รูปแบบวางแผนการจ าหน่าย, ทารกคลอดก่อนก าหนดในมารดาวัยรุ่น, แบบมีส่วนร่วม


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 24 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 รหัสผลงาน B038 ผลของโปรแกรมการจัดการความปวดสองภาษา (ไทย-มลายู) ต่อระดับความปวดและความพึงพอใจของ หญิงตั้งครรภ์ผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องที่ได้รับการฉีดยาชาเข้าช่องน้ าไขสันหลัง The effects of Bilingual Pain Management Program ( Thai-Melayu) on Pain Level and Satisfaction in cesarean section who received spinal block กุลธลีย์ ชายเกตุ พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลสตูล วาสนา ขจรเจริญกุล พยาบาลวิชาชีพช านาญการพิเศษ โรงพยาบาลสตูล วรลักษณ์ จันทร์พงษ์ พยาบาลวิชาชีพช านาญการพิเศษ โรงพยาบาลสตูล บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: จากตัวชี้วัดจัดการความปวดหลังผ่าตัด โรงพยาบาลสตูลตั้งแต่ ปี 2562 ยังไม่บรรลุตามเป้าหมายที่วาง ไว้ อันเนื่องมาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ปัญหาด้านการสื่อสารกับผู้ป่วยที่พูดภาษามลายู การมีแนวทางการจัดการความปวดใน บทบาทอิสระของพยาบาลยังไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ผู้วิจัยจึงได้พัฒนาโปรแกรมการจัดการความปวดสองภาษา (ไทยมลายู) ขึ้น เพื่อเป็นแนวทางให้พยาบาลใช้ในการให้การพยาบาลผู้ป่วย ก่อน ระหว่างและหลังการผ่าตัด เพื่อการจัดการความ ปวดที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ภายใต้พหุวัฒนธรรม และบริบทของประชาชนในจังหวัดชายแดนใต้ วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับคะแนนความปวดที่ 24, 48และ 72 ชั่วโมงหลังผ่าตัด และค่าเฉลี่ยคะแนน ความพึงพอใจของหญิงตั้งครรภ์ผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องที่ได้รับการระงับความรู้สึกโดยการฉีดยาชาเข้าทางช่องน้ าไขสัน หลังระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการความปวดสองภาษา (ไทย-มลายู) และกลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรม วิธีด าเนินการวิธีวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ชนิด 2 กลุ่ม แบบ The Posttest only design กลุ่มตัวอย่าง เป็นหญิงตั้งครรภ์ผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องที่ได้รับการฉีดยาชาเข้าช่องน้ าไขสันหลังแบบไม่เร่งด่วน จ านวน 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการความปวดสองภาษา (ไทยมลายู) เป็นระยะเวลา 5 วัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) เครื่องมือในการทดลอง คือ โปรแกรมการจัดการ ความปวดสองภาษา (ไทย-มลายู) ประกอบด้วยเครื่องมือ 3C ได้แก่ 1C : Communication คือใช้สื่อวีดีทัศน์การจัดการ ความปวดสองภาษา (ไทย-มลายู) 2C: Cold pack คือการประคบเย็นบรรเทาปวดในระยะหลังการระงับความรู้สึก (PostAnesthesia) และ3C: Compression คือการใช้ผ้ายืดรัดหน้าท้องขณะลุกเดินในระยะหลังการระงับความรู้สึก(PostAnesthesia) โดยเครื่องมือ 3C ได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน (2) เครื่องมือเก็บข้อมูล ได้แก่ (2.1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล (2.2) แบบสอบถามความพึงพอใจ ทดสอบความเที่ยงของแบบสอบถามความพึง พอใจ โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ครอนบาคได้เท่ากับ 0.86 และ (2.3) แบบประเมิน Pain SATUL Score เป็นแบบ ประเมินระดับคะแนนความปวดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นใหม่ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพของแบบประเมิน Pain SATUL Score โดยการเปรียบเทียบกับเครื่องมือทั่วไปที่ใช้ประเมินระดับคะแนนความปวด ผลการวิจัยพบว่าระดับคะแนนความปวดที่ได้ไม่ แตกต่างกัน วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติไคสแควร์ ทดสอบความ แตกต่างด้วยสถิติที และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ า (two-way repeated measures ANOVA) ผลการศึกษา: กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับคะแนนความปวดที่ 24, 48และ 72 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ต่ ากว่ากลุ่มควบคุมอย่างมี นัยส าคัญทางสถิติ (p < .01) และมีค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ (p < .01) การน าไปใช้: ผู้ป่วยสแกนรหัสคิวอาร์โค้ด (QR code) ดูสื่อวีดีทัศน์ใช้สื่อวีดีทัศน์การจัดการความปวดสองภาษา (ไทย-มลายู) ผ่านทางสมาร์ทโฟนของผู้ป่วยได้ตลอดเวลาตามความต้องการของผู้ป่วย การใช้แบบประเมิน Pain SATUL Score ในทุกหอ ผู้ป่วยของโรงพยาบาลสตูลและกระจายสู่โรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดสตูล มีแผนพัฒนาโปรแกรมในรูปแบบแอปพลิเคชั่น ค าส าคัญ : โปรแกรมการจัดการความปวด, การจัดการความปวดหลังผ่าตัด, ผ่าตัดคลอดบุตร


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 25 รหัสผลงาน B042 ผลของโปรแกรมการฝึกสติบ าบัดต่อความเหนื่อยล้าและความสุขสบายในผู้สูงอายุมะเร็งศีรษะและคอที่ ได้รับรังสีรักษาร่วมกับยาเคมีบ าบัด Effect of Mindfulness Training Program on Fatigue and Comfort in Head and Neck Cancer with Aging Undergoing Concurrent Radiation and Chemotherapy พิมลวรรณ พรหมสุวรรณ์ พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี พิชญาภา พิชะยะ พยาบาลวิชาชีพช านาญการพิเศษ โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี สาคร พรพจน์ธนมาศ พยาบาลวิชาชีพช านาญการพิเศษ โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: ความเหนื่อยล้า เป็นอาการส าคัญที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุที่ได้รับรังสีรักษาร่วมกับยาเคมีบ าบัด ซึ่ง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ การเพิ่มความสุขสบาย เป็นแนวคิดที่ส าคัญทางการพยาบาล ในการดูแลบุคคลให้ได้รับความสุขสบาย เมื่อมีความเจ็บป่วยเกิดขึ้นกับบุคคล ย่อมมีความต้องการได้รับการตอบสนองตาม ความต้องการของบุคคลนั้น ๆ การฝึกสติบ าบัดแบบย่อ เป็นกระตุ้นการท างานในระดับเซลล์ การท างานของระบบประสาท ส่วนกลาง ระบบประสาทส่วนปลาย ระบบประสาทอัตโนมัติ ระบบอารมณ์และพฤติกรรม ระบบภูมิต้านทานของร่างกาย ระบบไหลเวียนเลือด และระบบอื่น ๆ ในร่างกายได้เป็นอย่างดี ผู้วิจัยจึงสนใจน าการฝึกสติบ าบัดแบบย่อ มาใช้ในการลด ความเหนื่อยล้าและเพิ่มความสุขสบายในผู้สูงอายุมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษาร่วมกับเคมีบ าบัด วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความเหนื่อยล้าและคะแนนเฉลี่ยความสุขสบาย ในผู้สูงอายุมะเร็งศีรษะและคอที่ ได้รับรังสีรักษาร่วมกับยาเคมีบ าบัด ที่ได้รับโปรแกรมการฝึกสติบ าบัด และไม่ได้รับโปรแกรมการฝึกสติบ าบัดในระยะก่อน การทดลอง หลังการทดลองทันที และระยะติดตามผลในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม วิธีด าเนินการวิธีวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือผู้สูงอายุมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษาร่วมกับยาเคมีบ าบัด แผนก ผู้ป่วยนอกเคมีบ าบัด โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี ระหว่างเดือน ตุลาคม 2565 ถึงเดือน มีนาคม 2566 จ านวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่ม ทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสติบ าบัด ส่วนกลุ่มควบคุม ไม่ได้รับโปรแกรมกลุ่มสติบ าบัด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินความเหนื่อยล้าและความสุขสบาย ฉบับภาษาไทย และโปรแกรมสติบ าบัด ที่ ผู้วิจัยสร้างขึ้น จ านวน 4 ครั้งๆ ละ 45 นาที เก็บรวบรวมข้อมูล 3 ระยะ ได้แก่ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และ ระยะติดตามผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบความแปรปรวนแบบวัดซ้ า ประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปร ภายในกลุ่ม เมื่อพบความแตกต่างจะท าการทดสอบรายคู่ด้วยวิธีของบอนเฟอรอนนี่ ผลการศึกษา: ผู้สูงอายุมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษาร่วมกับยาเคมีบ าบัด กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความเหนื่อยล้าและ ความสุขสบายต่ ากว่าผู้สูงอายุมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษาร่วมกับยาเคมีบ าบัดกลุ่มควบคุม ในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้สูงอายุมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษาร่วมกับยาเคมี บ าบัด กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความเหนื่อยล้าในระยะหลังทดลอง และระยะติดตามผลต่ ากว่าระยะก่อนทดลองอย่างมี นัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความสุขสบายในระยะหลังทดลอง และระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนทดลองอย่างมี นัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การน าไปใช้: โปรแกรมสติบ าบัด สามารถลดความความเหนื่อยล้าและเพิ่มความสุขสบาย ในผู้สูงอายุมะเร็งศีรษะและคอที่ ได้รับรังสีรักษาร่วมกับยาเคมีบ าบัด ได้อย่างชัดเจน ดังนั้นสถานพยาบาลควรส่งเสริมให้มีการใช้โปรแกรมสติบ าบัด ร่วมกับ การรักษาตามระบบของสถานพยาบาลเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบ าบัดรักษา ค าส าคัญ : สติบ าบัด, ความเหนื่อยล้า, ความสุขสบาย, ผู้สูงอายุมะเร็งศีรษะและคอ


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 26 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 รหัสผลงาน B044 ผลของโปรแกรมเสริมแรงจูงใจให้ความรู้เบาหวานประสานการมีส่วนร่วมอ าเภอค้อวัง The effect of the promotion of incentive programs for diabetes education and coordination of participation in Kho Wang District. สุมาลี คมข า พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลค้อวัง วรรณพร ภูมิภาค นักโภชนาการ โรงพยาบาลค้อวัง บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพส าคัญของโลกและประเทศไทย ทั้งในมิติของจ านวนการ เสียชีวิตและภาระโรคโดยรวม สาเหตุการตายส าคัญมาจากการเกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งพบว่าการควบคุมน้ าตาลสะสมให้อยู่ ในเกณฑ์ปกติ จะช่วยลดอุบัติการณ์ดังกล่าวได้ สถานการณ์โรคเบาหวานอ าเภอค้อวัง พบปัญหาควบคุมน้ าตาลสะสมได้ต่ า กว่าเกณฑ์ร้อยละ 40 จากสถิติข้อมูลในปีพ.ศ.2562–2564 ร้อยละ 1.37, 24.30, 25.33 ตามล าดับ เกิดภาวะแทรกซ้อน ทางไตสูงที่สุด คือ ร้อยละ16.56, 15.47, 12.15 รองลงมา คือ ภาวะแทรกซ้อนทางตา ร้อยละ 2.17, 3.24, 2.10 ภาวะแทรกซ้อนทางเท้า ร้อยละ 0.09, 0.18, 0.17 และขาดแรงจูงใจในการควบคุมโรค ร้อยละ 54.20, 54.38, 55.43 ตามล าดับ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริมแรงจูงใจให้ความรู้เบาหวานประสานการมีส่วนร่วมอ าเภอค้อวัง เปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ คะแนนพฤติกรรม น้ าตาลสะสม การเกิดภาวะแทรกซ้อนทางตา ทางไต ทางเท้าระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมหลังใช้โปรแกรม วิธีด าเนินการวิธีวิจัย: เป็นวิจัยกึ่งทดลองชนิด 2 กลุ่ม กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรม 6 ครั้ง กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลปกติ ด าเนินการตุลาคม 2564-ตุลาคม 2565 โปรแกรมสร้างจากการประชาคมปัญหาในพื้นที่ใช้กรอบแนวคิดการสนทนาสร้าง แรงจูงใจของมิลเลอร์ เชื่อมโยงสิ่งส าคัญในชีวิต ผ่านกระบวนการชมเป็น ถามเป็น แนะเป็นรายบุคคล รายกลุ่ม การเรียนรู้จากตัว แบบด้านบวกเสริมการปฏิบัติด้านดี และตัวแบบด้านลบที่เกิดภาวะแทรกซ้อนทางตาทางไต ทางเท้า ให้เกิดความตระหนัก ป้องกันตนเองผลกระทบกับครอบครัว ประสานการมีส่วนร่วมของอาสมัคร เยี่ยมบ้าน ติดตามพฤติกรรม 4ด้าน จากคู่มือ กิน กด จดส่าย คืนข้อมูลทางไลน์ ทุก1 เดือน จนครบ 40 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวาน ค านวณขนาดตัวอย่างโดยใช้กรณี ทราบประชากรคัดเลือกด้วยการสุ่มอย่างง่ายจนครบกลุ่มละ 48 คน เก็บข้อมูลจากแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถาม ความรู้และพฤติกรรม แบบบันทึกน้ าตาลสะสม แบบบันทึกการเกิดภาวะแทรกซ้อน ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดย ผู้ทรงคุณวุฒิ3 ท่าน แบบสอบถามความรู้มีค่าความสอดคล้องภายในสูตร (KR-20) เท่ากับ0.89 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired sample t-test, Independent t-test ก าหนดระดับนัยส าคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษา: หลังใช้โปรแกรมกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ (Mean diff 4.90) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรม (Mean diff 15.50) สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ (P<0.001) ค่าน้ าตาลสะสมในเลือดกลุ่มทดลองลดลงน้อยกว่าเจ็ด มากกว่ากลุ่มควบคุม (Mean diff 0.30, P<0.001) เกิดภาวะแทรกซ้อนทางตา (Mean diff 0.10) ทางไต (Mean diff 0.18) ทางเท้า (Mean diff 0.40) ซึ่งน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ (p<0.05) การน าไปใช้: โปรแกรมได้ถูกน าไปใช้ในคลินิกเบาหวานทุกแห่งของอ าเภอค้อวัง น าไปเผยแพร่ในการประชุมวิชาการระดับ จังหวัดเขตและระดับประเทศ ข้อเสนอ ควรปรับการให้ความรู้ในโปรแกรมตามปัญหาพื้นที่ ค าส าคัญ : โปรแกรมเสริมแรงจูงใจให้ความรู้เบาหวาน,น้ าตาลสะสม,ภาวะแทรกซ้อนทางตา ทางไต ทางเท้า


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 27 รหัสผลงาน B045 การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาล สมเด็จพระยุพราชเดชอุดม The Development of Nursing Practice Guidelines for Patients with Septicemia in the emergency room Det Udom Crown Prince Hospital อรทัย อารมย์ พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: จากการทบทวน ผลการปฏิบัติงานพบว่า แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ในห้องฉุกเฉิน ยังไม่ครอบคลุมการดูแลผู้ป่วย แนวทางการปฏิบัติการพยาบาลไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน พยาบาลยังขาด ความรู้ในการประเมินผู้ป่วย วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์ของแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม วิธีด าเนินการวิธีวิจัย: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยใช้กรอบแนวคิดของ Stringer มาเป็น กรอบแนวคิดในการพัฒนาแนวปฏิบัติ 3 ระยะที่ 1 Look phase ศึกษาปัญหาสถานการณ์การติดเชื้อจากตัวชี้วัด เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 Think Phase การประชุมกลุ่มผู้เกี่ยวข้องเพื่อยกร่างแนวปฏิบัติ ระยะที่ 3 Act Phase พัฒนา ศักยภาพในกลุ่มพยาบาลที่ปฏิบัติงาน น าแนวปฏิบัติไปใช้และประเมินผล กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ 24 ราย ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด 42 ราย แพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัยประกอบด้วย (1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป (2) แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลผู้ใช้แนวปฏิบัติ (3) แบบวัดความ รู้ในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด (4) แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในห้องฉุกเฉิน ตรวจสอบเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญจ านวน 3 ท่าน หาดัชนีความตรงของเนื้อหา เครื่องมือทุกชุดมีค่า CVI เท่ากับ 1 ผลการศึกษา: ได้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ประกอบไปด้วย (1) การประเมินแรกรับ (2) ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างรวดเร็ว ทันเวลา (3) การส่งตรวจเพาะเชื้อก่อนให้ ATB (4) การบริหารยาปฏิชีวนะภายใน 1 ชั่วโมง (5) ได้รับสารน้ าอย่างเพียงพอ (6) การบริหารยาเพิ่มการหดตัวของหลอดเลือด (7) ผู้ป่วยและญาติได้รับข้อมูล เกี่ยวกับโรคและแผนการรักษา (8) ได้รับการดูแลต่อเนื่อง ผลลัพธ์จากการน าแนวปฏิบัติไปใช้พบว่า พยาบาลที่ปฏิบัติงานใน ห้องฉุกเฉิน มีความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติทางการพยาบาล ในระดับมาก ร้อยละ 95.9 ค่าเฉลี่ย คะแนนความรู้ของพยาบาล ในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดหลังการพัฒนา (Mean 9.04, SD 0.75) สูงกว่าก่อนการพัฒนา (Mean 8.12, SD 0.99) อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ p < 0.001 ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดพบว่า ผู้ป่วยได้รับยา ปฏิชีวนะและได้รับการได้รับการวินิจภายใน 1 ชั่วโมงสูงขึ้น จากร้อยละ 42.90 เป็นร้อยละ 88.10 อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ p < 0.00 การน าไปใช้: การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในห้องฉุกเฉิน ครั้งนี้ส่งผลให้พยาบาล วิชาชีพ มีแนวทางการปฏิบัติการพยาบาลเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ครอบคลุมการดูแลผู้ป่วย พยาบาลมีความรู้และมั่นใจใน การดูแลผู้ป่วย ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการคัดกรอง ประเมิน และรักษาอย่างรวดเร็วตามมาตรฐานการพยาบาล ค าส าคัญ : แนวปฏิบัติการพยาบาล, ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 28 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 รหัสผลงาน B048 การพัฒนารูปแบบและเฝ้าระวังผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจ 3 Step STEMI Alert Model development and surveillance of heart disease risk patients3 Step STEMI Alert ดวงใจ มีชัย พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย อนุชา ศิริวงค์ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ โรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย พิลัยวรรณ์ แก้วภมร พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: สถิติอัตราการตายจากโรคหัวใจหลอดเลือดในจังหวัดศรีสะเกษ ในปีพ.ศ.2556-2558 พบว่ายังมี แนวโน้มที่สูงขึ้นคิดเป็นร้อยละ 16.46, 14.41 และ 23.53 ตามล าดับ หากผู้ป่วยได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มเป็นหรือได้รับการ สืบค้นรอยโรคในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงจะเป็นทางออกอีกทางหนึ่งในการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอันตรายร้ายแรงกับชีวิต กับผู้ป่วยกลุ่มนี้ วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบและเฝ้าระวังการเกิดโรคหัวใจ การรับรู้อาการโรคหัวใจ การค้นหา ด าเนินการเฝ้าระวัง ป้องกันการเกิดโรคระหัวใจในผู้สูงอายุโดยใช้แบบประเมิน Egat Rama Heart Score ในกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจโดยบูรณาการ ร่วมกับการคัดกรองผู้สูงอายุประจ าปี ใน รพ.สต.ของเขต อ.อุทุมพรพิสัย วิธีด าเนินการวิธีวิจัย: การวิจัยเชิงพัฒนา ประชากรและกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้ป่วยเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง 59 ราย อสม.และญาติ 30 ราย รวม 89 ราย ที่มารับบริการ ณ รพ.สต. อ้อมแก้ว และ รพ.สต.หนองหัวหมู อ. อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน 1. การทบทวนสถานการณ์ผู้ป่วย 2. ออกแบบวางระบบบูรณาการคัดกรองผู้สูงอายุ ประจ าปี 3.การวางแผนแก้ไขปัญหาจัดท าโครงการและหาแนวทางแก้ไข 4. การด าเนินงานกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุญาติ และอสม. และ 5. การประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่แบบประเมิน Egat Rama Heart Score และแบบ ประเมินการรับรู้อาการโรคหัวใจโดยผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากอายุรแพทย์โรคหัวใจและผู้ทรงคุณวุฒิจ านวน 3 ท่าน ด าเนินการในเดือนเมษายน 2564 ถึงเดือนธันวาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ จ านวน ร้อยละ ผลการศึกษา: ด้านกระบวนการ มีระบบและรูปแบบการคัดกรองผู้สูงอายุของโรงพยาบาลร่วมกับ รพ.สต. โดยบูรณาการ ร่วมกับการคัดกรองสูงอายุประจ าปี เพิ่มการเข้าถึงการตรวจ EKG ผู้สูงอายุในกลุ่มเสี่ยง (54 ราย) ได้รับการคัดกรองตรวจ EKG 100% รวมถึงมีแนวทางการด าเนินงาน และเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ด้านผลลัพธ์พบว่า กลุ่มเสี่ยง มีความรู้เรื่อง โรคหัวใจ 80% มีความรู้ในการปฏิบัติและจัดการเมื่อมีอาการของโรคหัวใจ 90% ด้านการปฏิบัติ CPR หลังฝึกอบรมสามารถ ฝึกปฏิบัติตามขั้นตอน CPR ได้ถูกต้อง 90% พบผลการตรวจ EKG ปกติ 40 คน ผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ พบความ ผิดปกติ 17 ราย แบ่งเป็น RBBB 5 ราย LVH 3 ราย และพบ Q wave at II, III, aVF 2 ราย AF 2 ราย Sinus bradycardia with 1St degree AV block 1 ราย Sinus Bradycardia 1 ราย PVC 2 ราย LBBBc WPW with Tall peak T ส่งเข้ามา รับการรักษาที่โรงพยาบาลทันที1 ราย นัดเข้าคลินิกโรคหัวใจเพื่อตรวจเลือดและเอกซเรย์เพิ่มเติม และวางแผนติดตาม อาการทางโทรศัพท์ที่3 เดือน 6 เดือน และ 1 ปี เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอาการอย่างต่อเนื่อง การน าไปใช้: รูปแบบและการเฝ้าระวังผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง สามารถช่วยประเมินระดับความเสี่ยงเบื้องต้นและช่วยเพิ่มการรับรู้มี ทักษะการจัดการที่ถูกต้องเมื่อมีอาการผิดปกติในภาวะฉุกเฉินเพื่อเฝ้าระวังการเกิดโรคหัวใจ ข้อเสนอแนะรูปคัดกรองสุขภาพ ผู้สูงอายุแบบบูรณาการร่วมกับชุมชน ส่งผลให้ผู้สูงอายุได้รับการ Early Detection การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจได้มากขึ้น สามารถช่วยประเมินระดับความเสี่ยงเบื้องต้นและช่วยเพิ่มการรับรู้มีทักษะการจัดการที่ถูกต้องเมื่อมีอาการผิดปกติในภาวะ ฉุกเฉินเพื่อเฝ้าระวังการเกิดโรคหัวใจ เป็นการสร้างรูปแบบการเฝ้าระวังโรคหัวใจที่มีประสิทธิภาพ ควรมีการขยายผลรูปแบบ การด าเนินการในพื้นที่อื่น ๆ ให้ครอบคลุมทั้งอ าเภออุทุมพรพิสัย ค าส าคัญ : 3 STEP ALEART, STEMI , Early Detection


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 29 รหัสผลงาน B049 ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพ (NERSD) ต่อระดับน้ าตาลสะสมที่เกาะติดเม็ดเลือดแดงและ ภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมน้ าตาลไม่ได้ โรงพยาบาลเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย The effect of health promotion program (NERSD) On HbA1C and complication among patient with uncontrolled diabetic mellitus Wiang Chiang Rung Hospital, Chiangrai Province. สุฑาทิพย์ สารใจ พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลเวียงเชียงรุ้ง มาลัย พัฒนา พยาบาลวิชาชีพช านาญการพิเศษ โรงพยาบาลเวียงเชียงรุ้ง โชติกา มากทอง พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลเวียงเชียงรุ้ง พิชญ์ภิญญาณ์ แก้ว ปานันท์เภสัชกรช านาญการ โรงพยาบาลเวียงเชียงรุ้ง ณัฏฐ์ภัทร์ เหลืองธาดา นักกายภาพบ าบัดปฏิบัติการ โรงพยาบาล เวียงเชียงรุ้ง ฉันทิกา ยาธัญ โภชนากรปฏิบัติการ โรงพยาบาลเวียงเชียงรุ้ง ธวัชชัย อภิเดชกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ส านัก วิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง พีรดนย์ ศรีจันทร์ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ส านักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง รติภาคย์ ตามรภาค อาจารย์ ส านักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: โรคเบาหวานที่ควบคุมน้ าตาลไม่ได้ เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่มีผลกระทบต่อบุคคลในระยะยาว วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพแบบ NERSD ต่อระดับน้ าตาลสะสมที่เกาะติด เม็ดเลือดแดงและภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมน้ าตาลไม่ได้ วิธีด าเนินการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลอง (Randomized control trial) ในกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุม น้ าตาลไม่ได้ โรงพยาบาลเวียงเชียงรุ้ง จ านวน 60 คน ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่ก าหนด แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน คัดเลือกโดยวิธีจับสลาก กลุ่มตัวอย่างได้รับโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพ NERSD ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จ านวน 9 เดือน วัดผลความรู้และการปฏิบัติตัวเรื่องโรค อาหาร ยา การออกก าลังกาย การจัดการความเครียด และค่าระดับน้ าตาล สะสมที่เกาะติดเม็ดเลือดแดง (HbA1C) วัดผลหลังการทดลองครบ 3 เดือน 6 เดือนและ 9 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนา Independent t-test และ Repeated Measures ANOVA ผลการวิจัย: พบว่าผลของโปรแกรม NERSD ต่อค่าเฉลี่ยความรู้และการปฏิบัติตัวเรื่องโรค ยา อาหาร การออกก าลังกายและ การจัดการความเครียดหลังได้รับโปรแกรมของกลุ่มทดลองครบ 9 เดือนสูงกว่ากลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทาง สถิติ (p < 0.001) ค่าเฉลี่ยระดับน้ าตาลสะสมที่เกาะติดเม็ดเลือดแดง (HbA1C) หลังการเข้าร่วมโปรแกรมครบ 9 เดือน ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ (p < 0.001) และผลของโปรแกรมต่อค่าเฉลี่ย HbA1C ของกลุ่มทดลอง ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมครบ 3 เดือน ครบ 6 เดือน และครบ 9 เดือน ด้วยสถิติ Repeated Measures ANOVA พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ p < 0.001 การน าไปใช้: โปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพ (NERSD) มีประสิทธิผลในการลดระดับน้ าตาลสะสมที่เกาะติดเม็ดเลือดแดงได้ เห็น ควรส่งเสริมให้มีการใช้โปรแกรมในโรงพยาบาลชุมชนที่บริบทคล้ายกัน ค าส าคัญ : โปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพ, เบาหวานที่ควบคุมน้ าตาลไม่ได้


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 30 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 รหัสผลงาน B050 ประสิทธิผลของสื่อมัลติมีเดียการให้ข้อมูลการระงับความรู้สึกต่อความวิตกกังวลผู้ป่วยก่อนผ่าตัด: การศึกษากึ่งทดลองในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิและการวิเคราะห์ความแปรปรวน Effectiveness of the multimedia of pre-anesthetic informed in pre- operative anxiety patient: A secondary care- hospital quasi-experimental study and an analysis of variance บุปผา พาโคกทม พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: ผู้ป่วยรักษาด้วยการผ่าตัดจะมีความวิตกกังวลมากขึ้น การให้ข้อมูลการระงับความรู้สึกก่อนผ่าตัดช่วย ลดความวิตกกังวลแล้วยังสร้างสัมพันธภาพที่ดี เกิดความร่วมมือที่ดีในห้องผ่าตัด การบริการผ่าตัดมีจ านวนเพิ่มขึ้นใน โรงพยาบาลแวงใหญ่ส่งผลให้วิสัญญีพยาบาลให้ข้อมูลการระงับความรู้สึกไม่ครอบคลุม ท าให้ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลสูงใน ห้องผ่าตัดด้วยการแสดงออกทางสัญญาณชีพ คือ ความดันโลหิตสูง ชีพจรเพิ่มขึ้น การตื่นกลัว ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษา ประสิทธิผลการให้ข้อมูลการระงับความรู้สึกก่อนผ่าตัดด้วยมัลติมีเดียต่อความวิตกกังวลผู้ป่วยก่อนผ่าตัด ซึ่งเป็นบทบาท อิสระของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ทางการพยาบาลที่ดี และส่งเสริมความปลอดภัยของผู้ป่วย วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความวิตกกังวลและความรู้ของผู้ป่วยก่อนผ่าตัด ระหว่างการได้รับข้อมูลการระงับความรู้สึก ผ่านมัลติมีเดีย กับการได้รับข้อมูลปกติ วิธีด าเนินการวิธีวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังรับข้อมูลในผู้ป่วยผ่าตัดที่ระงับความรู้สึกด้วยการฉีด ยาชาเข้าช่องไขสันหลัง หรือดมยาสลบ จ านวน 40 คน มัลติมีเดียให้ข้อมูลการระงับความรู้สึกมีค่า Cronbach’s alpha 0.933, Item-total correlation 0.633 และ Intra classification coefficient 0.998 ใช้แบบวัดความวิตกกังวลก่อนผ่าตัด Amsterdam preoperative anxiety and information scale (APAIS) ฉบับภาษาไทย มีค่า Cronbach’s alpha 0.88 และแบบสอบถามความรู้ก่อนระงับความ รู้สึกมีค่า Cronbach’s alpha 0.911 และ Intraclass correlation 0.733 ค่า ความสัมพันธ์ Item-Item Correlation 0.778 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณา วิเคราะห์ข้อมูลภายในกลุ่มและ ระหว่างกลุ่มใช้สถิติ t-test และ Two-Way ANOVA ผลการศึกษา: กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความวิตกกังวลก่อนผ่าตัดลดลงอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ (4.90±2.79 และ 3.55±2.48 ตามล าดับที่ p < .001) แต่ไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่ม, Two-way ANOVA พบว่า ความวิตกกังวลก่อนได้รับ ข้อมูล โดยมีคะแนน >15 คะแนนในกลุ่มทดลอง (t-test 2.628, p = .013) ลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุม (t-test -2.142, p = .021) อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มคะแนนที่ลดลง พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญที่ mean difference 2.2333, 95% CI 0.17670-4.28997, p = .034 คะแนนความรู้ของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมี นัยส าคัญทางสถิติ ดังนั้น มัลติมีเดียให้ข้อมูลการระงับความ รู้สึกสามารถใช้เป็นแนวทางใหม่ในการให้ข้อมูลทางการพยาบาล วิสัญญีได้ การน าไปใช้: น ามัลติมีเดียใช้ในการให้ข้อมูลการระงับความรู้สึกก่อนผ่าตัดส าหรับผู้ป่วยผ่าตัดในโรงพยาบาลแวงใหญ่ ค าส าคัญ : มัลติมีเดีย, การระงับความรู้สึก, ความวิตกกังวลก่อนผ่าตัด


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 31 รหัสผลงาน B051 ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนให้ยาระงับความรู้สึกต่อการฟื้นตัวหลังผ่าตัดในผู้ป่วย โรคมะเร็งศีรษะและล าคอ Effects of programed preparatory before Anesthesia on post – operation recovery in Head and Neck Cancer Patients สุภัทรา เฟื่องคอน พยาบาลวิชาชีพช านาญการพิเศษ โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: โรคมะเร็งของศีรษะและล าคอเป็นปัญหาที่ส าคัญทางสาธารณสุขระดับโลก โดยแต่ละปีจะมีผู้ป่วยใหม่ ประมาณ 540,000 รายทั่วโลก และเสียชีวิต 271,000 รายต่อปี สถิติข้อมูลทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาลปี 2557 ของ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า มีผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและล าคอ 16 คนต่อแสนประชากร เสียชีวิตถึง 7 คน สถิติผู้ป่วยมะเร็ง ศีรษะและล าคอที่มารับการระงับความรู้สึกเพื่อท าการผ่าตัดในระยะเวลา 5 ปี ปี 2559 – 2563 ที่รพ.มะเร็งชลบุรึ มีจ านวน 104, 125, 118, 144 และ 150 รายตามล าดับ ปัญหาที่พบคือ ผู้ป่วยมีการเตรียมความพร้อมที่ไม่ดีพอ ในการงดสูบบุหรี่ ขาดการปรับตัวทางร่างกายและจิตใจ เช่น ภาวะทุพโภชนาการ รับประทานอาหารได้น้อย หรือรับประทานอาหารไม่ได้ อาการปวด ภาพลักษณ์ที่สูญเสียไป ดังนั้น ผู้วิจัยจึงพัฒนาโปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนการให้ยาระงับควารู้สึก เพื่อให้เกิดกระบวนการการปรับตัว (Roy, s adaptation, 2008) ในการฟื้นตัวหลังผ่าตัด วัตถุประสงค์: พัฒนาโปรแกรมการเตรียมความพร้อมส าหรับผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและล าคอที่มารับการให้ยาระงับความรู้สึก เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการฟื้นตัวหลังผ่าตัด หลังการได้รับโปรแกรมการเตรียมความพร้อมระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม วิธีด าเนินการวิธีวิจัย: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้ป่วยโรคมะเร็งศีรษะและล าคอที่มีอายุ ตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ทั้งเพศชาย และเพศหญิงที่มารับการให้ยาระงับความรู้สึกเพื่อการผ่าตัดแบบนัดหมายล่วงหน้า กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคมะเร็งศีรษะและล าคอ คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบง่าย จ านวน 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนให้ยาระงับความรู้สึกประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ และแผ่นพับ ที่พัฒนาตามกรอบแนวคิดทฤษฎีการปรับตัวของรอย เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการฟื้นตัวหลังผ่าตัด แบบวัดระดับคะแนนความปวด แบบวัดจ านวนครั้งของการ ได้รับยาบรรเทาปวด เครื่องมือวิจัยทั้งหมด ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟาครอนบาคได้ค่าเท่ากับ .89, .79 และ .77 ตามล าดับ การวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าที (Independent t-test) ผลการศึกษา: โปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนให้ยาระงับความรู้สึกประกอบด้วยแผนการเตรียมความพร้อม 7 องค์ประกอบ และแผ่นพับ ค่าเฉลี่ยการฟื้นตัวหลังผ่าตัดหลังการได้รับโปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนการได้รับยาระงับ ความรู้สึกของกลุ่มทดลอง (Mean 3.84, SD 0.34) ดีกว่ากลุ่มควบคุม (Mean 3.09, SD 0.36) อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ ระดับ.05 (t -8.36, df 58, p = .001) จ านวนครั้งที่กดยาแก้ปวดผ่านเครื่อง PCA ใน 24-72ชั่วโมงหลังผ่าตัด พบว่า กลุ่ม ทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุม ส าหรับคะแนนความปวด พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยระดับความปวดที่ 5.31, 3.38 และ 2.00 ขณะที่กลุ่มควบคุม มีคะแนนเฉลี่ยระดับความปวดที่7.39, 4.05 และ 2.91 การน าไปใช้: การน าโปรแกรมการเตรียมความพร้อมที่อิงกรอบแนวคิด ทฤษฎี หรือหลักฐานเชิงประจักษ์ ควรมีการปฏิบัติ ร่วมกันในสหสาขาวิชาชีพ เพื่อพัฒนาไปสู่การให้บริการผู้ป่วยที่มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ ลดอุบัติการณ์ความเสี่ยงที่ไม่ พึงประสงค์ เพิ่มความเชื่อมั่นในความปลอดภัย และตอบสนองความพึงพอใจให้กับผู้ป่วยเมื่อมารับบริการ ค าส าคัญ : โปรแกรมการเตรียมความพร้อ, ทฤษฎีการปรับตัวของรอย, การฟื้นตัวหลังผ่าตัด, มะเร็งศีรษะและล าคอ


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 32 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 รหัสผลงาน B053 การพัฒนารูปแบบการให้ค าปรึกษาเพื่อตัดสินใจเลือกรับการบ าบัดทดแทนไต The development of a counseling model for deciding on kidney replacement therapy จันทนา ชูเกษร พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลเสนา บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: การต้องท าการบ าบัดทดแทนไตเป็นข่าวร้ายของผู้ป่วยและครอบครัว การตัดสินใจเลือกวิธีการบ าบัด ทดแทนไตเป็นการตัดสินใจที่ส าคัญในชีวิต ความกลัวแต่ต้องตัดสินใจเป็นเรื่องที่ยากมากส าหรับผู้ป่วย กระบวนการให้ ค าปรึกษาจึงเป็นสิ่งส าคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยและครอบครัวมองปัญหาร่วมกัน ประคับประครองใจกัน และร่วมกันตัดสินใจ เลือกวิธีการบ าบัดทดแทนไตที่สอดคล้องกับบริบทของผู้ป่วยและครอบครัว เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการบ าบัดทดแทนไตที่ เหมาะสมกับผู้ป่วยมากที่สุด ในเวลาที่สมควรที่สุด วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการให้ค าปรึกษาเพื่อตัดสินใจเลือกรับการบ าบัดทดแทนไต วิธีด าเนินการวิธีวิจัย: การวิจัยและพัฒนา (research & development) ในครั้งนี้ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการ จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ด าเนินการตั้งแต่ 1 กันยายน 2565 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566 แบ่งเป็น 4 ระยะ (1) ศึกษาและ วิเคราะห์สภาพการณ์ โดยการศึกษาย้อนหลังจากเวชระเบียนของผู้ป่วยที่ปฏิเสธ KRT จ านวน 85 ราย และสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่เคยปฏิเสธการท า KRT แต่ต้องมาท าภายหลังด้วยภาวะ uremia หรือ volume overload หรือ hyperkalemia จ านวนรวม 10 คน (2) น าข้อมูลที่ได้มาพัฒนารูปแบบ (3) ทดลองใช้รูปแบบฯและปรับปรุง 3 วงรอบ (4) ประเมินผลการใช้รูปแบบฯ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงเป็นผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย (eGFR≤10 ml/min/1.73m 2 ) ที่มารับบริการในช่วงเวลาที่ศึกษา จ านวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือการให้ค าปรึกษาเพื่อ ตัดสินใจเลือกรับการบ าบัดทดแทนไต เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกการ ตัดสินใจเลือกวิธี KRT เครื่องมือทั้งหมดผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วย content analysis และข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา: การศึกษาเวชระเบียนของผู้ป่วยที่เข้ารับค าปรึกษา 85 ราย พบว่า ผู้ป่วยปฏิเสธ/ไม่ตัดสินใจ 38 ราย (44.71%) เมื่อสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า ผู้ป่วยไม่ตัดสินใจหรือปฏิเสธการบ าบัดทดแทนไต เนื่องจาก (1) ไม่มีผู้ดูแล (2) กลัว เป็นภาระ (3) กลัวเจ็บ และ (4) ปัญหาเศรษฐานะ รูปแบบฯที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย (1) การสร้างสัมพันธภาพ (2) การท า แผนภูมิครอบครัว (genogram) (3) การให้ความรู้เรื่องโรคและการบ าบัดทดแทนไตด้วยแผ่นภาพพลิกและหุ่นสาธิต (4) การ ให้ข้อมูลทางเลือกของการบ าบัดทดแทนไต ข้อแตกต่าง ข้อดี ข้อเสีย และข้อจ ากัดของ hemodialysis และ CAPD (5) การ ให้ค าปรึกษาครอบครัวที่เน้นโครงสร้าง (structural family counseling) หลังการน ารูปแบบฯมาใช้พบว่า ผู้ป่วยตัดสินใจ เลือกรับการบ าบัดทดแทนไต 100 % โดยเลือกท า hemodialysis 11 ราย (55%) และเลือกท า CAPD 9 ราย (45%) การน าไปใช้: รูปแบบฯที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้ได้จริงกับผู้ป่วย ESRD ในปัจจุบัน และสามารถประยุกต์ใช้ให้ค าปรึกษาเพื่อ ชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วย CKD ซึ่งให้ผลลัพธ์ที่ดีเช่นเดียวกัน ค าส าคัญ : รูปแบบการให้ค าปรึกษา, การบ าบัดทดแทนไต, ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 33 รหัสผลงาน B055 ผลของการให้ค าแนะน าผ่านโมบายแอปพลิเคชันต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการติดเชื้อของ ผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบ าบัด EFFECTS OF AN EDUCATION PROGRAM VIA MOBILE APPLICATION ON SELF-CARE BEHAVIORS TO PREVENT INFECTION AMONG CHILDREN WITH CANCER RECEIVING CHEMOTHERAPY พรรณทิพา ข าโพธิ์พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา สิริลักษณ์ คุณกมลกาญจน์พยาบาล วิชาชีพช านาญการพิเศษ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ชุลีพร แสงบุญเรืองกุล พยาบาลวิชาชีพช านาญการพิเศษ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา รัชดาภรณ์ เอื้อใจ พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: โรคมะเร็งในเด็กเป็นโรคร้ายแรงที่คุกคามต่อชีวิต เมื่อมีการติดเชื้อเกิดขึ้นย่อมส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย เด็กและครอบครัวเป็นอย่างมาก การติดเชื้อขณะรับการรักษาด้วยเคมีบ าบัดจ าเป็นต้องงดการรักษาไว้ชั่วคราว ต้องนอนพัก และรักษาพยาบาลนานขึ้นเฉลี่ย 20-30 วันต่อการให้ยาหนึ่งครั้ง ท าให้เกิดความทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วยเป็นเวลานาน และจ าเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการรักษายาวนานมากขึ้น การติดเชื้อในผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบ าบัดจะพบว่าผู้ป่วย เด็กจะมีอาการไข้เป็นระยะเวลานาน การมีไข้ท าให้ผู้ป่วยเด็กสูญเสียพลังงานจากการเผาผลาญสารอาหารในร่างกายเพิ่มมาก ขึ้น ส่งผลท าให้มีอาการอ่อนเพลียมาก เกิดความไม่สุขสบายและต้องทุกข์ทรมานจากอาการเจ็บป่วย เกิดภาวะเครียด อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด และโกรธง่าย และการติดเชื้อท าให้โรคมีอาการรุนแรงขึ้นอาจท าให้ผู้ป่วยเด็กเสียชีวิตได้ วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ในผู้ป่วยเด็กวัยเรียน โรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบ าบัด กลุ่มที่ได้รับการให้ค าแนะน าผ่านโมบายแอปพลิเคชันและกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ วิธีด าเนินการวิจัย: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม โดยก าหนดให้ผู้ป่วยเด็ก 12 รายแรก เป็นกลุ่มควบคุม ได้รับการพยาบาลตามปกติ และ 12 รายต่อมา เป็นกลุ่มทดลอง ที่ได้รับการให้ค าแนะน าผ่านโมบายแอปพลิเคชันร่วมกับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ การให้ค าแนะน าผ่านโม บายแอปพลิเคชัน และแบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการติดเชื้อ มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา .92 และ ค่าสัมประสิทธ์อัลฟาของครอนบาก .95 ขั้นตอนการด าเนินการในกลุ่มควบคุม คือ วันที่ 1 ของการรักษา จะได้รับการ พยาบาลตามปกติ และท าแบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเอง วันที่ 2-20 ท าการติดตามการบันทึกพฤติกรรมการดูแลตนเอง ส าหรับกลุ่มทดลอง วันที่ 1 ของการรักษา จะได้รับการพยาบาลตามปกติร่วมกับการให้ค าแนะน าผ่านโมบายแอปพลิเคชัน และท าแบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเอง ให้ผู้ป่วยเด็ก add line@ แนะน าวิธีการใช้งานเบื้องต้น การเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ วันที่ 2 เตรียมความพร้อมก่อนได้รับยาเคมีบ าบัด และเปิดโอกาสให้ซักถาม พร้อมแนะน าการบันทึกพฤติกรรมการดูแล ตนเอง วันที่ 3-20 เมื่อ add line@ แล้ว จะพาเข้าถึงการให้ค าแนะน าผ่านโมบายแอปพลิเคชัน ติดตามการบันทึกพฤติกรรม การดูแลตนเอง วันที่ 21 ของการได้รับยาเคมีบ าบัดของทั้ง 2 กลุ่ม ติดตามท าแบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเอง วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติไคสแควร์และสถิติวิเคราะห์ความ แปรปรวนแบบวัดซ้ า (Repeated Measures ANOVA) ผลการวิจัย: กลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการติดเชื้อเพิ่มขึ้นสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่าง มีนัยส าคัญทางสถิติ F (2.86, 31.42) 14.23, p < .001) การน าไปใช้: การให้ค าแนะน าผ่านโมบายแอปพลิเคชันต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ในผู้ป่วยเด็กวัย เรียนโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบ าบัด สามารถน าไปใช้ได้จริงกับผู้ป่วยกลุ่มนี้ และทั้งนี้ควรให้ผู้ดูแลเข้ามามีส่วนร่วมด้วย ค าส าคัญ : การให้ค าแนะน า, โมบายแอปพลิเคชัน, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบ าบัด


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 34 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 รหัสผลงาน B056 ผลโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในคลินิกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเสมือนจริง Effective of Health Behavior Modification Program in Virtual Clinic. กนกศรี จาดเงิน พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลบางปะกง บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable diseases; NCDs) เป็นปัญหาใหญ่และเป็นสาเหตุการ เสียชีวิตของประชากรโลกทั้งหมด ในประเทศไทยพบผู้เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs คิดเป็นร้อยละ 74 ของการ เสียชีวิตทั้งหมด และเป็นโรคที่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง สอดคล้องกับรายงานของโรงพยาบาลบางปะกงที่พบว่า โรคไม่ติดต่อ เรื้อรัง NCDs เป็นโรคที่มีสถิติมากที่สุดใน 5 อันดับของโรงพยาบาลบางปะกง โดยมีผู้ป่วยที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วย โรคเบาหวานมากถึง จ านวน 7,809 คน รองลงมาเป็นความดันโลหิตสูง จ านวน 6,221 คน การลดความรุนแรงและลดการใช้ ยาในผู้ป่วย คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมซึ่งต้องเข้าคลินิกนานถึง 6 เดือน จากสถานการณ์แพร่ระบาดอย่างรุนแรงของโควิด19 ส่งผลกระทบต่อการมารับบริการ ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการน าคลินิกเสมือนจริง (Virtual Clinic) ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยี เพื่อบ าบัดผู้ป่วยทางไกลแบบ Real-time และศึกษาผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในคลินิกปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพเสมือนจริงที่พัฒนาขึ้น วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ คลินิกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเสมือนจริง โรงพยาบาลบางปะกง วิธีด าเนินการวิธีวิจัย: ใช้วิธีการวิจัยแบบ Retrospective Cohort Study แบบกึ่งทดลองกลุ่มเดียววัดซ้ า เก็บรวบรวมข้อมูล จากเวชระเบียนเดิม และน าข้อมูลมาวิเคราะห์ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือข้อมูลเวชระเบียนและรายงานผู้รับบริการของ ผู้ป่วยที่เข้ารับบริการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบคลินิกเสมือนจริง (Virtual Clinic) และรักษาต่อเนื่องในปีงบประมาณ 2565 จ านวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในคลินิกปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพเสมือนจริง (2) แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ.2 ส. ของกลุ่มวัยท างาน อายุ 15-59 ปี จ านวน 30 ข้อ โดยมีค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม 0.91 (3) แบบวัดทักษะด้านพฤติกรรมสุขภาพ เป็นแบบ ประเมินกิจกรรม แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จ านวน 6 ข้อ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า 0.75 (4) แบบ ประเมินความพึงพอใจ เป็นแบบ Likert Scale 5 ระดับ จ านวน 5 ข้อ ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ทั้งฉบับเท่ากับ 1 วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส าหรับข้อมูลพื้นฐาน และ สถิติที่ใช้เปรียบเทียบความ แตกต่างภายในกลุ่ม แบบ nonparametric ได้แก่ Wilcoxon Signed-Rank Test ผลการศึกษา: ด้านประสิทธิผลโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้และทักษะ หลังเข้าโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้านผลลัพธ์การดูแลสุขภาพ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยระดับน้ าตาล (DTX.) และระดับความดันโลหิตหลังเข้าโปรแกรมลดลงกว่าก่อนเข้าโปรแกรม อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้านความพึงพอใจ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจและความเป็นไปได้ในการน า โปรแกรมไปใช้ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.75 การน าไปใช้: การน าโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในคลินิกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเสมือนจริงไปใช้อาจน าไป ปรับให้เหมาะกับบริบทในแต่ละกลุ่มประชากรและความพร้อมในการใช้เครื่องมือสื่อสารและระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ค าส าคัญ : ผลโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ, คลินิกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเสมือนจริง


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 35 รหัสผลงาน B057 ผลการพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพในการใช้ High flow Nasal Cannula (HFNC) ในผู้ป่วย เด็กที่มีภาวะหายใจล าบาก โรงพยาบาลบางปะกง The results of competency development of registered nurses in the use of High flow Nasal Cannula (HFNC) in pediatric patients with respiratory distress, Bangpakong Hospital เฌอฟ้า จันทรสาขา พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ โรงพยาบาลบางปะกง บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: ในช่วงปีที่ที่ผ่านมาโรงพยาบาลบางปะกง ได้เริ่มมีการน าเครื่องช่วยหายใจชนิด High Flow Nasal Cannula (HFNC) มาใช้ในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหายใจล าบากมากขึ้น แต่เป็นเครื่องมือใหม่และยังขาดแนวปฏิบัติทางการ พยาบาลทางคลินิกที่ใช้ส าหรับผู้ป่วยเด็กกลุ่มดังกล่าว จึงส่งผลให้เกิดอุบัติการณ์จากการใช้เครื่องช่วยหายใจในเด็ก เช่น การ เกิดแผลกดทับเนื้อเยี่ออ่อน การตั้งเครื่องไม่เหมาะสม ฯ ผู้วิจัยเห็นความส าคัญ จึงด าเนินการพัฒนาสมรรถนะของพยาบาล วิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจแบบ Non Invasive Ventilation (NIV) ชนิด High Flow Nasal Cannula (HFNC) ในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหายใจล าบาก โรงพยาบาลบางปะกงขึ้น วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความรู้ทักษะ และผลการเกิดภาวะแทรกซ้อนในการพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพใน การใช้ High flow Nasal Cannula (HFNC) ในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหายใจล าบาก โรงพยาบาลบางปะกง วิธีด าเนินการวิธีวิจัย: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดสองครั้ง ระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม 2565 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลบางปะกง โดยเลือกแบบเจาะจง จ านวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (1) เอกสารประกอบการเรียนรู้ที่ใช้ในการอบรมเชิงปฏิบัติการและทบทวนตนเองด้วยตนเองผ่าน line group เรื่อง การประเมินอาการของผู้ป่วยที่ทรุดลง และจ าเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเด็ก (HFNC) และฝึกทักษะเชิง ปฏิบัติการใช้เครื่องช่วยหายใจ (HFNC) จ านวน 1 ชุด ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (CVI.) 0.92 (2) แบบเก็บอุบัติการณ์จาก การใช้เครื่องฯ ซึ่งประยุกต์จากแบบเก็บอุบัติการณ์ในหน่วยงาน มีค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC) 0.75 เก็บรวบรวม ข้อมูล โดยการทดสอบความรู้ก่อนเข้าโครงการ (Pre-test) จากนั้นให้กลุ่มตัวอย่างเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้เครื่องช่วย หายใจ (HFNC) ในผู้ป่วยเด็กในปี 2566 และศึกษาด้วนตนเองทาง line group ร่วมกับการฝึกทักษะ หลังการศึกษา เก็บข้อมูล การทดสอบความรู้ทักษะการใช้เครื่อง ฯ และอุบัติการณ์วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะ ใช้สถิติ One sample t-test และค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ของพยาบาลวิชาชีพก่อนและหลังได้รับความรู้ ใช้สถิติWilcoxon Signed-Rank Test ผลการศึกษา: ด้านความรู้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างหลังได้รับการพัฒนาสมรรถนะฯ มีคะแนนเฉลี่ยความรู้สูงกว่าก่อนการพัฒนา สมรรถนะฯ อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00 ด้านทักษะ พบว่า คะแนนเฉลี่ยทักษะหลังเข้าศึกษาผ่านเกณฑ์ที่ร้อยละ 80 อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00 และไม่พบผู้ป่วยที่เกิดอุบัติการณ์ในการใช้เครื่องช่วยหายใจ ฯ ใน ช่วงเวลา 3 เดือนหลังท าการศึกษา การน าไปใช้: สามารถน าไปใช้พัฒนาสมรรถนะในหน่วยงานอื่นในรพ. เช่น ในผู้ป่วยในเด็กที่มีการส่งต่อ ช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัย ระหว่างส่งต่อ รวมถึงการก าหนดนโยบายในการบริหารอัตราก าลัง อุปกรณ์ทางการแพทย์โดยเฉพาะเครื่อง HFNCฯ ค าส าคัญ : การพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ, การใช้ High flow Nasal Cannula, ผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหายใจล าบาก


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 36 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 รหัสผลงาน B058 การพัฒนากระบวนการพยาบาลผู้ป่วยตามระดับความรุนแรง งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช Development of nursing process according to severity level at Emergency accidents and forensic medicine. วรวลัญช์ เภตรา พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลบางปะกง บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: หน่วยงานการพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉินเป็นหน่วยแรกที่มีความส าคัญอย่างยิ่งในการประเมินอาการ และคัดแยกประเภทผู้ป่วยตามล าดับความเร่งด่วน ช่วยรักษาชีวิต รักษาอวัยวะของร่างกายให้ท าหน้าที่ได้แล้ว ยังสามารถให้ การพยาบาลที่เหมาะสม จากการด าเนินงานยังพบปัญหา Over Triage จ านวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 0.04% และ Under Triage จ านวน 108 คน คิดเป็นร้อยละ 0.43% ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพการพยาบาล งานการพยาบาลอุบัติเหตุฉุกเฉิน และนิติเวช เล็งเห็นความส าคัญของผู้ป่วยที่มารับการตรวจรักษาที่หน่วยงาน อุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลบางปะ กง ได้รับการตรวจรักษาพยาบาลตามล าดับความเร่งด่วนอย่างเหมาะสม ปลอดภัยและมีความพึงพอใจ จึงได้พัฒนา กระบวนการพยาบาลผู้ป่วยตามระดับความรุนแรง งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวชขึ้น วัตถุประสงค์: (1) เพื่อพัฒนากระบวนการพยาบาลผู้ป่วยตามระดับความรุนแรง งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช (2) เพื่อ ศึกษาผลของการน ากระบวนการฯ ไปใช้ ในด้านความรู้ ทักษะ ความพึงพอใจและความเป็นไปได้ในการน าไปใช้ วิธีด าเนินการวิธีวิจัย: การวิจัยและพัฒนา ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง (1) ประชากรในการส ารวจศึกษาสภาพปัญหาและความ ต้องการเกี่ยวกับการพัฒนากระบวนการฯ ผู้ให้ข้อมูลเลือกแบบเจาะจงทั้ง 13 คน (2) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ในการ ทดลอง เป็นเวชระเบียนผู้ป่วยโรคมุ่งเน้น stroke stemi sepsis และ multiple trauma ปีงบประมาณ 2565 เลือกแบบ เจาะจง (purposive sampling) ทั้ง 433 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา (1) แบบทดสอบความรู้ในการคัดกรองโดยใช้ MOPH ED Triage ตรวจสอบค่า KR-20 0.80 (2) นวัตกรรม “สนใจฉันหน่อย”ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) 0.97 (3) แบบเก็บข้อมูล คุณภาพการคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉินตามความระดับรุนแรงและความเร่งด่วน ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) 0.85 (4) แบบประเมินความพึงพอใจและความเป็นไปได้ในการน าไปใช้ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จ านวน 5 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1 วิธีด าเนินการศึกษาขั้นตอนที่ 1 ขั้นศึกษาข้อมูล ปัญหา และความ ต้องการ ขั้นตอนที่ 2 ขั้นพัฒนากระบวนการพยาบาลผู้ป่วยตามระดับความรุนแรง ขั้นตอนที่ 3 ขั้นประเมินผลกระบวนการ พยาบาลผู้ป่วยตามระดับความรุนแรงที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นไปทดลองใช้ ในปีงบประมาณ 2565 การวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างของคะแนนทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรม โดยการทดสอบ Wilcoxon sign rank test ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้และทักษะหลังเข้าโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยส าคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 คุณภาพการให้บริการ พบว่า การประเมินอาการต่ ากว่าความเป็นจริง Under Triage ลดลงจาก 0.43 ในปี 2564 เป็น 0.40 ในปี 2565 และต่ ากว่าเกณฑ์ที่ < ร้อยละ 5 ส่วนการประเมินสูงกว่าความเป็นจริง Over Triage ลดลงจาก 0.05 ในปี 2564 เป็น 0.34 ในปี 2565 และต่ ากว่าเกณฑ์ที่ < ร้อยละ 15 ด้านความพึงพอใจ อยู่ระดับมาก (Mean 3.95, SD0.22) และความพึงพอใจต่อการน าไปใช้อยู่ในระดับมากที่สุด (Mean 4.31, SD. 0.48) การน าไปใช้: สามารถน ากระบวนการที่พัฒนาขึ้นไปใช้ในการบริหารความเสี่ยง (Risk management) รวมถึงการประกัน คุณภาพ (Quality assurance) เพื่อการพัฒนาคุณภาพการดูและผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้นต่อไป และตอบสนองนโยบาย 2P’ safety ลดโอกาสในการร้องเรียนจากการให้บริการ ค าส าคัญ : การพัฒนากระบวนการพยาบาลผู้ป่วยตามระดับความรุนแรง, งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 37 รหัสผลงาน B059 ประสิทธิผลของ Smart ODS Care Application การป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ในผู้ป่วยที่ ได้รับการผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบแบบวันเดียวกลับ ของโรงพยาบาลล าปาง Effectiveness of Smart ODS Care Application in preventing complication for One Day Surgery in herniorrhaphy patients at Lampang Hospital อภินภัส ประจวบ พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลล าปาง บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: การผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ (One Day Surgery: ODS) เป็นการรับผู้ป่วยมารักษาด้วยการผ่าตัดที่มี การเตรียมการ และสามารถกลับบ้านในวันเดียว หรืออยู่โรงพยาบาลไม่เกิน 24 ชั่วโมง เป็นนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ที่ลดความแออัด ระยะเวลารอคอยและค่าใช้จ่าย เข้าถึงบริการที่มาตรฐาน สะดวก ปลอดภัย จากการด าเนินงานพบ ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดในผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบ ได้แก่ ชาขาข้างที่ผ่าตัด แผลบวม ร้อยละ 2.9 และ 4.4 ตามล าดับ ส่งผลให้ต้องกลับมารักษาซ้ าในโรงพยาบาล ร้อยละ 7.4 ร่วมกับการติดตามอาการหลังผ่าตัดต้องใช้เวลานาน การใช้ เทคโนโลยีทางการสื่อสารสามารถช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะแอพพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ ดังนั้น การพัฒนาแอป พลิเคชัน Smart ODS Care Application ในผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบแบบวันเดียวกลับจะช่วยเพิ่มช่องทางการ ติดต่อสื่อสาร ให้ความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉินให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสถานการณ์ความต้องการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด พัฒนาและทดสอบประสิทธิผล Smart ODS Care Application ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดของผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบแบบวันเดียวกลับ ได้แก่ ความรู้การปฏิบัติตัว ความพึงพอใจต่อการบริการ การเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด และการกลับมารักษาตัวซ้ า ภายใน 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด วิธีด าเนินการวิธีวิจัย: การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีขั้นตอนการวิจัยดังนี้ ระยะที่ 1 Focus group ระยะที่ 2 การ ออกแบบและพัฒนา Smart ODS Care Application ตามรูปแบบ SDLC (system development life cycle) 7 ขั้นตอน ระยะที่ 3 การทดลองใช้ และปรับปรุงแอพพลิเคชัน และระยะที่ 4 การทดสอบประสิทธิผลของ Smart ODS Care Application ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล และผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบแบบวันเดียวกลับจ านวน 104 คน ด าเนินการสุ่มเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 52 คน ด าเนินการตั้งแต่กุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ independent t-test ผลการศึกษา: ผลการทดสอบประสิทธิผลพบว่า กลุ่มที่ใช้ Smart ODS Care Application มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้การ ปฏิบัติตัว 29.00 (± 0.92) มากกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ 23.09 (±5.01) คะแนนแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญ ทางสถิติที่ p < 0.001 และกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด แผลซึม แผลบวม และชาขาข้าง ที่ผ่าตัดร้อยละ 1.9, 2.9 และ 2.9 ตามล าดับ ส าหรับกลุ่มที่ใช้ Smart ODS Care Application มีคะแนนความพึงพอใจ ระดับดีมาก ร้อยละ 100 และไม่มีการกลับมารักษาตัวซ้ าในโรงพยาบาลภายใน 24 ชั่วโมง การน าไปใช้: Smart ODS Care Application การป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดที่พัฒนาขึ้นนี้ สามารถน าไปใช้ใน โครงการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ และเผยแพร่แก่ผู้ดูแลโรงพยาบาลอื่น ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยโครงการผ่าตัดแบบ วันเดียวกลับต่อไป. ค าส าคัญ : การผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบแบบวันเดียวกลับ, แอพพลิเคชัน, การป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 38 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 รหัสผลงาน B061 ผลของการโคชต่อการปฏิบัติตัวในการบีบเก็บน้ านมแม่ความพึงพอใจ และปริมาณน้ านมแม่ในทารกแรกเกิดป่วย EFFECT OF A COACHING PROGRAM FOR MOTHERS ON BREAST MILK SUPPLY IN SICK NEWBORNS ชนิตา แป๊ะสกุล พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา คมเนตร โกณานนท์ พยาบาลวิชาชีพช านาญการพิเศษ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา พรรณทิพา ข าโพธิ์ พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: การสนับสนุนส่งเสริมให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นส่วนหนึ่งในโครงการมหัศจรรย์ 1000 วันแรก ของชีวิต จากข้อมูลของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ที่พบว่า ทารกที่รักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่แรกเกิดมีเพียง ร้อยละ 43.14 ที่ได้รับนมแม่จนถึงอายุ 6 เดือน ส่วนหนึ่งมารดาขาดทักษะในการปฏิบัติในการบีบเก็บน้ านมแม่ที่ถูกต้อง ดังนั้นพยาบาลควรให้ความส าคัญในการส่งเสริมให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในกลุ่มมารดาที่มีลูกป่วยเพื่อให้มารดามีความรู้ และมีการปฏิบัติตัวในการบีบเก็บน้ านมแม่ที่ถูกต้องและคงปริมาณน้ านมแม่ให้มีเพียงพอต่อการเลี้ยงดูทารกป่วยต่อไป วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคะแนนการปฏิบัติตัวในการบีบเก็บน้ านมแม่ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคะแนนความพึง พอใจของมารดา เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปริมาณน้ านมแม่ ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการโคช และกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ วิธีด าเนินการวิธีวิจัย: เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) ใช้กรอบแนวคิดการส่งเสริมการเลี้ยงลูก ด้วยนมแม่ในกลุ่มทารกแรกเกิดป่วยที่เข้ารับการรักษาในหหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิดตามแนวทาง Ten steps ของ Dian L. Spatz บูรณาการเข้ากับแนวคิดการโคชของแฮส (Haas, 1992) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาของทารกแรกเกิด ป่วย ที่ได้รับการรักษาใน โรงพยาบาล ค านวณกลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมด 34 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แผนการโคช คู่มือการปฏิบัติ ตัวในการบีบเก็บน้ านมแม่และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกแรกเกิดป่วย และแบบสอบถามการปฏิบัติของมารดาในการ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จ านวน 5 ท่าน ได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนน การปฏิบัติตัว และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจของมารดา ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังการได้รับการโค ชการปฏิบัติตัวในการบีบเก็บน้ านมแม่ ด้วยการทดสอบสถิติ Independent t-test และเปรียบเทียบปริมาณน้ านมแม่ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้สถิติ repeated measure ANOVA ผลการศึกษา: พบว่า ปริมาณน้ านมของแม่หลังคลอดในกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ (F 1.21, 38.93) 33.66, p < .001) การน าไปใช้: การโคชมารดาเรื่องการบีบเก็บน้ านมแม่ ช่วยให้มารดาปฏิบัติตัวในการบีบเก็บน้ านมที่ถูกต้อง ซึ่งมีผลต่อการ เพิ่มปริมาณน้ านมแม่ ดังนั้นพยาบาลควรน ารูปแบบการโคชการปฏิบัติตัวในการบีบเก็บน้ านมแม่นี้ไปใช้ส าหรับการส่งเสริม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกแรกเกิดป่วยต่อไป ค าส าคัญ : การโคช, เลี้ยงลูกด้วยนมแม่, ทารกแรกเกิดป่วย


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 39 รหัสผลงาน B065 การพัฒนาระบบบริการงานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ โรงพยาบาลสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช Development of Service System on Quality Geriatric Clinic at Sichol Hospital, Nakhon Si Thammarat Province ฌกัญยา จู้ทิ่น พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลสิชล เอกรัฐ จันทร์วันเพ็ญ นายแพทย์ช านาญการพิเศษ โรงพยาบาลสิชล บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: สถานการณ์ของผู้สูงอายุ ทั่วโลกในรอบทศวรรษนี้ พบว่า ประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้กลายเป็นสังคม สูงอายุอย่างสมบูรณ์เกือบทั้งหมด และประเทศก าลังพัฒนามีอายุสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากอัตราเกิดลดต่ าลงและผู้คนมี ชีวิตยืนยาวขึ้น ทั้งนี้ประเทศไทยได้มีการพัฒนานโยบายด้านผู้สูงอายุ ก าหนดให้สถานพยาบาลตั้งแต่120เตียงขึ้นไปจัดตั้ง คลินิกผู้สูงอายุระดับพื้นฐานและคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพขึ้น โรงพยาบาลสิชลมีขนาด 400 เตียง และ มีจ านวนผู้สูงอายุมาก เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์แบบ ทางรพ.สิชลได้ตระหนักถึงความส าคัญในการดูแลผู้สูงอายุและตอบสนองนโยบายของ ประเทศ จึงได้ท าวิจัยการพัฒนาระบบบริการงานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ โรงพยาบาลสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราชขึ้น วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหา พัฒนาระบบบริการงานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ โรงพยาบาลสิชล จังหวัด นครศรีธรรมราช วิธีด าเนินการวิธีวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research: Technical collaborative approach) กลุ่มตัวอย่าง เป็นพยาบาลวิชาชีพ และทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง จ านวน 20 คน ผู้สูงอายุที่มารับบริการคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพจ านวน 120 คน และผู้สูงอายุที่ใช้ในการทดลองใช้ระบบริการ จ านวน 10 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบประเมินการปฏิบัติงาน บันทึกปฏิบัติการพยาบาลและแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ให้บริการและผู้รับบริการ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา: (1) สถานการณ์ปัญหาพบว่า ผู้ให้บริการมีระดับความพึงพอใจต่อระบบบริการงานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และผู้รับบริการมีระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน (2) ผลการพัฒนา ระบบบริการงานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพประกอบด้วย 4 มาตรฐาน คือ (1) ด้านสถานที่และสิ่งแวดลอม (2) ดานบุคลากรที่ รับผิดชอบโดยตรงและบุคลากรรวมปฏิบัติงาน (3) กระบวนการด าเนินงานโดยคลินิกผู้สูงอายุ (4) กระบวนการประเมินผล และติดตาม ซึ่งเป็นมาตรฐานเชิงกระบวนการและมาตรฐานเชิงผลลัพธ์ตามแนวทางการให้บริการของคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ 3)หลังการพัฒนาพบว่า ผู้รับบริการและผู้ให้บริการมีความพึงพอใจต่อ ระบบบริการงานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพโดยรวมอยู่ใน ระดับมาก การน าไปใช้: สรุปได้ว่าการพัฒนาระบบบริการงานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ ที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้ผู้รับบริการมีความ พึงพอใจ ต่อการบริการของคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพเพิ่มขึ้น และได้นวตกรรมเครื่องมือคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ นวตกรรมเครื่องออก ก าลังกายเพิ่มก าลังกล้ามเนื้อต้นขา นวัตกรรมอุปกรณ์นวดกระตุ้นน้ าลาย และนวตกรรมการรับรู้เรื่องยาผ่าน QR CODE รวมทั้งได้รับการคัดเลือกเป็นองค์กรดีเด่นด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการขับเคลื่อนงานเครือข่ายผู้สูงอายุระดับจังหวัด ประเภทหน่วยงานภาครัฐ คลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ ประจ าปีพุทธศักราช 2566 ค าส าคัญ : การพัฒนาระบบ, คลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ, ผู้สูงอายุ


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 40 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 รหัสผลงาน B070 ประสิทธิผลของโปรแกรมการบ าบัดทางปัญญาบนพื้นฐานของสติเพื่อลดภาวะเครียด ภาวะวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ที่รับการรักษาด้วยการผ่าตัดในโรงพยาบาล มะเร็งอุบลราชธานี Effectiveness of Mindfulness- Based Cognitive Therapy Program on Reduction of Stress Anxiety and Depression Symptoms Following Surgical Treatment for Ovarian Cancer Patients at Ubon Ratchathani Cancer Hospital โสภิต ทับทิมหิน พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี ชลิยา วามะลุน รองผู้อ านวยการด้านการพยาบาล โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: การได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็งและการรักษาด้วยวิธีการต่าง ๆ ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยทั้งทางด้าน ร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ซึ่งการดูแลบ าบัดรักษาด้านจิตสังคมด้วยโปรแกรมการบ าบัดทางปัญญาบนพื้นฐาน ของสติได้ผลดีในการลดภาวะวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการศึกษาในต่างประเทศ ส าหรับในประเทศ ไทยมีรายงานผลการวิจัยค่อนข้างจ ากัด ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าในโรคเรื้อรังอื่น ๆ และส่วนใหญ่เป็นการบ าบัดรายกลุ่ม วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบระดับคะแนนภาวะเครียด ภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ที่รับการ รักษาด้วยการผ่าตัด ก่อนและหลังการให้การปรึกษาตามแนวทางการบ าบัดทางปัญญาบนพื้นฐานของสติ รวมถึงติดตามผล 1 เดือน ในกลุ่มทดลอง และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมที่ได้รับการรักษาพยาบาลตามปกติ วิธีด าเนินการวิธีวิจัย: เป็นการวิจัยกึ่งทดลองศึกษาแบบสองกลุ่มวัดซ้ า 3 ระยะคือ ก่อน-หลังการทดลองและระยะติดตามผล กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์จากผลการตรวจทางพยาธิวิทยาว่าเป็นมะเร็งรังไข่ และได้รับการรักษา โดยการผ่าตัดในโรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี 40 คน ที่มีคะแนนภาวะเครียด มากกว่า 4 คะแนน และคะแนนภาวะวิตก กังวลและภาวะ มากกว่า 8 คะแนนในภาวะใดภาวะหนึ่งหรือทั้งภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า เครื่องมือในการด าเนินงาน คือ โปรแกรมการให้การปรึกษาตามแนวทางการบ าบัดทางปัญญาบนพื้นฐานของสติ และวัดผลด้วยแบบประเมินความเครียด (ST-5) แบบวัดภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า และแบบวัดระดับการมีสติ ตรวจสอบความตรงของเนื้อหา โดย ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.98 และประเมินความเที่ยงด้วยวิธี Cronbach’s alpha coefficient เท่ากับ .91, .79, และ .74 ตามล าดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบค่าที สถิติการ วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ า และ การเปรียบเทียบเชิงพหุคูณแบบรายคู่ของ Bonferroni ผลการศึกษา: พบว่าผู้ป่วยในกลุ่มทดลอง มีคะแนนระดับการมีสติ ดีขึ้นอย่างมีนัยส าคัญและต่อเนื่องทั้งระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล 1 เดือน (F 298.44, p < 0.001) ส าหรับคะแนนความเครียด วิตกกังวล และซึมเศร้าลดลงอย่างมี นัยส าคัญทางสถิติ F 226.43 , 353.74 และ 367.53 ตามล าดับ นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม พบว่ากลุ่ม ทดลองมีระดับสติสูงกว่ากลุ่มควบคุม (t -11.62) ในขณะที่คะแนนความเครียด วิตกกังวล และซึมเศร้าต่ ากว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ (p <0.001 ) t=4.19, 5.56 และ 8.63 ตามล าดับ การน าไปใช้: (1) น าโปรแกรม MBCT ไปใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพในการดูแลตนเองของผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ และโรคมะเร็งอื่น ๆ ที่ (2) ส่งเสริมสนับสนุนแนวทางในการประเมินและวางแผนส่งเสริมสุขภาพจิต รวมถึงการให้การสนับสนุนความต้องการด้าน จิตวิญญาณในผู้ป่วยโรคมะเร็ง เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพจิต และตอบสนองตรงตามความต้องการด้านจิตวิญญาณ ของผู้ป่วยโรคมะเร็งให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และ (3) พัฒนาและยกระดับบริการด้านจิตสังคมให้ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ที่มีหลักฐาน เชิงประจักษ์ส าหรับการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งรังไข่ และมะเร็งอื่น ๆ ที่มีปัญหาด้านจิตสังคม ค าส าคัญ : การบ าบัดทางปัญญาบนพื้นฐานของสติ, มะเร็งรังไข่, ภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 41 รหัสผลงาน B073 ผลของการให้ความรู้การบริโภคเกลือโซเดียมและการใช้เครื่องตรวจวัดโซเดียมคลอไรด์ในอาหาร (salt meter) ด้วยตนเองต่อการเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิตและปริมาณโซเดียมในปัสสาวะของผู้ป่วย ความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลท่าหลวง Effects of sodium reduction education and self-measuring dietary sodium chloride on blood pressure and urine sodium in patients with hypertension in Thaluang Community Hospital พรโสภา แก้วแดงดี พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลท่าหลวง ธิดากาญจน จันทร พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลท่าหลวง บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: การส ารวจปริมาณโซเดียมและโซเดียมคลอไรด์ในอาหารของประชาชนพื้นที่จังหวัดลพบุรี ในปี 2564 พบว่า อ าเภอท่าหลวงมีตัวอย่างอาหารที่มีความเค็มมากที่สุดในจังหวัดลพบุรีคือ ร้อยละ 93.74 รายงานประจ าปีคลินิกโรค ไม่ติดต่อเรื้อรังโรงพยาบาลท่าหลวง ในปีพ.ศ. 2563, 2564 และ 2565 พบมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจ านวน 4,411 คน, 4,588 คนและ 5,036 คน ตามล าดับ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้จ านวน ร้อยละ 41.84, 40.82 และ 43.2 ตามล าดับ เกิดภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดสมอง จ านวน 20, 26 และ 30 คน เกิด ภาวะแทรกซ้อนล้างไตรายใหม่ 4, 3 และ 4 คนตามล าดับ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ไม่ให้เกิดเพิ่มขึ้น ทางทีมวิจัยโรงพยาบาลท่าหลวงจึงมีความสนใจศึกษาผลของการให้ความรู้การบริโภคเกลือโซเดียมและการ ใช้เครื่องตรวจวัดโซเดียมคลอไรด์ในอาหาร (salt meter) ด้วยตนเองต่อการเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิตและปริมาณ โซเดียมในปัสสาวะของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลท่าหลวง วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความดันซิสโตลิค ไดแอสโตลิคและโซเดียมในปัสสาวะ ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงก่อนและ หลังได้รับความรู้การบริโภคเกลือโซเดียมและการใช้เครื่องตรวจวัดโซเดียมคลอไรด์ในอาหาร (salt meter) ด้วยตนเอง วิธีด าเนินการวิธีวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดซ้ า เลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์การคัดเข้าจ านวน 36 คน การ ให้ความรู้การบริโภคเกลือโซเดียมและการใช้เครื่องตรวจวัดโซเดียมคลอไรด์ในอาหาร (salt meter) ด้วยตนเองประกอบด้วย การให้ความรู้การบริโภคเกลือโซเดียมอย่างเข้มข้น การทดสอบอาหารโดยการใช้เครื่องตรวจวัดโซเดียมคลอไรด์ในอาหาร วิธีการใช้และจดบันทึกเครื่องตรวจวัดโซเดียมคลอไรด์ในอาหาร และมีการติดตามผลทุก 1 เดือนจนครบ 3 เดือน ผลการศึกษา: ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมวิจัย จ านวน 36 คน หลังเข้าร่วมงานวิจัยโดยการให้ความรู้การบริโภคเกลือ โซเดียมและการใช้เครื่องตรวจวัดโซเดียมคลอไรด์ในอาหาร ด้วยตนเองและมีการติดตามผลทุก 1 เดือนจนครบ 3 เดือน พบว่าผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมีค่าเฉลี่ยความดันซีสโตลิค ไดแอสโตลิค ปริมาณโซเดียมในปัสสาวะลดลงอย่างมีนัยส าคัญทาง สถิติที่ระดับ (p < 0.05) ดังนั้นการให้ความรู้การบริโภคเกลือโซเดียมและการใช้เครื่องตรวจวัดโซเดียมคลอไรด์ในอาหาร ด้วยตนเองสามารถลดความดันโลหิตและลดปริมาณโซเดียมในปัสสาวะของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ การน าไปใช้: สามารถน าผลการวิจัยนี้ไปต่อยอดขยายผลไปยังพื้นที่อื่น มีการจัดการปัญหาการบริโภคโซเดียมที่สามารถ น าไปสู่การปฏิบัติได้จริงและไม่ยุ่งยากซับซ้อน น าไปใช้กับกลุ่มอื่น ๆ เพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์เรื่องความรอบรู้เรื่องลดเค็ม ให้ประชาชนและร้านอาหารต่อไป ส่งผลต่อการลดภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง ลดโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ และลดการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่น ๆ ค าส าคัญ : ความรู้การบริโภคเกลือโซเดียม, เครื่องตรวจวัดโซเดียมคลอไรด์ในอาหาร (salt meter), โซเดียมในปัสสาวะ


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 42 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 รหัสผลงาน B079 ผลของโปรแกรมการวางแผนจ าหน่ายต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้อ กระจก โรงพยาบาลน้ าพอง The Effects of Discharge planning program on Self-care Behaviors of Cataract Surgery Patients Namphong Hospital เพ็ญลักษณ์ ธรรมแสง พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลน้ าพอง บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: การป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดและการดูแลตนเองเมื่อกลับบ้านเป็นสิ่งที่ส าคัญของ ผู้ป่วยหลังผ่าตัดต้อกระจก หากดูแลตนเองไม่ดีพอมีโอกาสเสี่ยงสูงในการกลับเข้ามารับการรักษาซ้ าในโรงพยาบาลและเกิด ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ซึ่งพยาบาลวิชาชีพมีบทบาทส าคัญในการวางแผนจ าหน่ายผู้ป่วยร่วมกับผู้ป่วยและผู้ดูแลหลัก ส่งผลให้ผู้ป่วยปลอดภัย มีความพึงพอใจ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการวางแผนจ าหน่ายระหว่างผู้ป่วยที่ได้รับโปรแกรมการวางแผน จ าหน่ายกับผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลตามปกติต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจกที่ โรงพยาบาลน้ าพอง วิธีด าเนินการวิธีวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลัง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้อ กระจก ที่โรงพยาบาลน้ าพอง จังหวัดขอนแก่น ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าร่วมโครงการวิจัยและเกณฑ์ตัดออก จ านวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการวางแผนจ าหน่าย ใช้ระยะเวลา 2 วัน ซึ่งเป็นกิจกรรมการพยาบาลแบบต่อเนื่อง เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ (1) โปรแกรมการวางแผนจ าหน่าย (2) แบบประเมินความรู้ผู้ป่วยและผู้ดูแล (3) แบบประเมินการปฏิบัติของผู้ดูแล (4) แบบประเมินความพึงพอใจ กลุ่มควบคุม ได้รับการพยาบาลตามปกติ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดความรู้ผู้ป่วยและผู้ดูแล แบบประเมินการปฏิบัติของผู้ดูแลและ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อโปรแกรมการวางแผนจ าหน่าย ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจ านวน 5 ท่าน ค่า CVI 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Independent t-test เปรียบเทียบคะแนนความรู้ก่อนหลังในกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง ใช้สถิติPaired Sample Test เปรียบเทียบคะแนนความรู้ก่อนหลังในกลุ่มควบคุมและก่อนหลังในกลุ่ม ทดลอง และบรรยายลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างด้วยสถิติพรรณนา ผลการศึกษา: ผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับโปรมแกรมการวางแผนจ าหน่าย มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้มากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมี นัยส าคัญทางสถิติ p < 0.05 (กลุ่มทดลอง Mean 11.75, SD 0.64; กลุ่มควบคุม Mean 8.75, SD 1.12 ) ค่าเฉลี่ยคะแนน การปฏิบัติของผู้ดูแลของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการวางแผนจ าหน่าย มากกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยส าคัญ ทางสถิติp < 0.05 (กลุ่มทดลอง Mean 14.8, SD 3.26; กลุ่มควบคุม Mean 7.05, SD 2.89) และกลุ่มที่ได้รับโปรมแกรม การวางแผนจ าหน่าย มีค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ p < 0.05 (กลุ่มทดลอง Mean 48.0, SD 4.43; กลุ่มควบคุม Mean 36.95, SD 2.89) การน าไปใช้: ผลการวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของโปรแกรมวางแผนจ าหน่ายผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก สามารถ น ามาใช้ในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผนวกเข้ากับงานประจ า และปรับปรุงให้ทันสมัยตาม องค์ความรู้ในปัจจุบัน ค าส าคัญ : โปรแกรมวางแผนจ าหน่าย,พฤติกรรมการดูแลตนเอง,การผ่าตัดต้อกระจก


การประชุมเชิงปฏิบัติการ รางวัลศรีสังวาลย์ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่า พยาบาลไทย ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 น าเสนอผลงานวิจัยทางวาจา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 43 รหัสผลงาน B083 ผลของการจัดการรายกรณีต่อผลลัพธ์ด้านผู้ป่วยของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้อินซูลิน โรงพยาบาล สุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส The Effect of Case Management on Outcomes in Category 2 Insulin-Dependent Diabetes Patients in Sungaikolok Hospital, Narathiwat Province ปราณี จุลกศิลป์ พยาบาลวิชาชีพช านาญการ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล: ผู้ป่วยโรคเบาหวานยังขาดทักษะในการใช้และการบริหารยาที่ถูกต้องส่งผลต่อประสิทธิภาพในการ รักษา ท าให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใช้อินซูลิน และไม่สามารถควบคุมสภาวะโรคได้ จ าเป็นต้องพักรักษาในโรงพยาบาล ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง การจัดการ รายกรณีเป็นรูปแบบการให้บริการพยาบาลที่ส าคัญ ซึ่งเน้นการดูแลผู้ป่วยรายบุคคล การวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า มีการน าการ จัดการรายกรณีมาใช้แต่ยังไม่เต็มรูปแบบ และไม่เข้ากับบริบทของพื้นที่ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงน าแนวคิดการจัดการรายกรณี มาใช้ด จัดการดูแลผู้ป่วยเบาหวานเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้อินซูลินซึ่งมีปัญหาที่ซับซ้อนและควบคุมโรคได้ไม่ดี โดยวางแผนการดูแล ให้เข้ากับบริบท โดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ประสานความร่วมมือกับทีมสหสาขาวิชาชีพ แก้ปัญหาให้ตรงกับ ปัญหาของผู้ป่วยเป็นรายบุคคล เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดูแล เกิดผลลัพธ์ด้านผู้ป่วยที่ดี มีความคุ้มค่าคุ้มทุน วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการจัดการรายกรณีต่อผลลัพธ์ด้านผู้ป่วยของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้อินซูลิน โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส วิธีด าเนินการวิธีวิจัย: เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้อินซูลิน จ านวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับการจัดการรายกรณี ใช้เวลาทั้งหมด 12 สัปดาห์ ประกอบด้วย กิจกรรมให้ความรู้ ฝึกทักษะการดูแลตนเอง การประเมินสุขภาพ ระบุปัญหา วางแผนการดูแลร่วมกับทีมสห สาขาวิชาชีพ ติดตามประเมิน ให้ค าปรึกษา เยี่ยมบ้าน และโทรศัพท์ติดตาม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การจัดการราย กรณีตามกระบวนการ 6 ขั้นตอน แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน แบบประเมินความสามารถในการดูแลตนเอง แบบบันทึกระดับน้ าตาลในเลือด และสมุดบันทึกสุขภาพรายบุคคล ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Wilcoxon Match-paired Sign Rank และ Mann-Whitney U test ผลการศึกษา: ภายหลังการจัดการรายกรณีกลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและค่าเฉลี่ย ความสามารถในการดูแลตนเองสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการรายกรณีอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ (p < 0.05) และสามารถลด ค่าเฉลี่ยระดับน้ าตาลสะสมในเลือดภายหลังสิ้นสุดการทดลองอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ (p < 0.05) การน าไปใช้: น าการจัดการรายกรณีมาใช้เป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหาซับซ้อนและไม่สามารถควบคุม สภาวะโรคได้ ซึ่งปรับให้เข้ากับวิถีพหุวัฒนธรรมของประชาชนในเขต 3 จังหวัดชายแดนใต้ ส่งผลต่อสามารถในการดูแล ตนเองได้อย่างเหมาะสมและควบคุมสภาวะโรคได้ดี ทั้งนี้ผู้วิจัยได้น าไปเผยแพร่ให้แก่สหวิชาชีพอื่น ๆ ในระดับจังหวัดและ ระดับเขต เพื่อน ารูปแบบดังกล่าวไปประยุกต์ใช้กับโรคอื่น ๆ ตามบริบทต่อไป ค าส าคัญ : การจัดการรายกรณี, ผลลัพธ์ด้านผู้ป่วย, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้อินซูลิน


Click to View FlipBook Version