The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แผนพัฒนาการศึกษา พ.ศ.2563 – 2565 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ทบทวนปีงบประมาณ พ.ศ.2564)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by TB nakglan, 2021-06-17 01:06:43

แผนพัฒนาการศึกษา พ.ศ.2563 – 2565 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ทบทวนปีงบประมาณ พ.ศ.2564)

แผนพัฒนาการศึกษา พ.ศ.2563 – 2565 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ทบทวนปีงบประมาณ พ.ศ.2564)

สว่ นที่ 5 การแปลงแผนไปสกู่ ารปฏบิ ตั ิ

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นหน่วยหลักในการประสานหน่วยงาน
ทางการศึกษา รวมท้ังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาเพ่ือวางแผนพัฒนาการศึกษาในภาพรวมของ
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อขับเคล่ือนเชื่อมโยงและบูรณาการนโยบายของรัฐบาลและยุทธศา สตร์
กระทรวงศึกษาธิการ ไปสู่การปฏิบัติในระดับจังหวัด ตลอดจนให้เกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของ
หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เก่ียวข้อง ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และองค์กร
ปกครองส่วนท้องถ่ินของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเชิญหน่วยงานที่เก่ียวข้องทุ กสังกัดร่วมประชุม
เชิงปฏิบัติการประสานแผนพัฒนาการศึกษาจงั หวัดพระนครศรีอยุธยา (พ.ศ. 2563-2565) ฉบับทบทวน และ
ไดร้ ่วมกันกำหนดวสิ ยั ทัศน์ เปา้ ประสงค์ ผลงานท่ตี ้องการให้เกิด ร่วมวเิ คราะห์ SWOT การศึกษาภาพรวมของ
จังหวดั พระนครศรอี ยุธยา กำหนดประเด็นยทุ ธศาสตร์ ผลผลติ ผลลัพธ์ ทิศทางการพัฒนา และแนวทางแก้ไข
ปัญหาร่วมกัน เพื่อเป็นการเสริมสร้างศักยภาพในการร่วมกันจัดการศึกษาในภาพรวมของจังหวัด โดยกำหนด
ภารกจิ ทางการศกึ ษา หนว่ ยงานเจา้ ภาพหลกั และหน่วยงานสนบั สนุน

เพื่อให้การขับเคลื่อนแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (พ.ศ. 2563-2565)
ฉบับทบทวน ไปสกู่ ารปฏบิ ตั ิจำเปน็ ตอ้ งมีแนวทางการดำเนินการทชี่ ัดเจนครอบคลุมการดำเนินงาน จงึ กำหนดแนว
ทางการดำเนินการทส่ี ำคญั ดังน้ี

1. การแปลงแผนพฒั นาการศึกษาจงั หวัดพระนครศรีอยุธยาสู่การปฏบิ ตั ิ

การแปลงแผนพัฒนาการศึกษาจังหวดั พระนครศรีอยุธยา (พ.ศ. 2563-2565) ฉบบั ทบทวน สกู่ าร
ปฏิบตั ิ มีแนวทางและกระบวนการสำคัญ ดังน้ี

1. สร้างเครือข่ายความร่วมมือของหน่วยงานทางการศึกษา สถาบันทางการศึกษาและ
สถานศึกษาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาทุกสังกัด ในการดำเนินการแปลงนโยบาย เป้าหมาย ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์ และแนวทางการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยาไปสู่การปฏิบัติอย่าง
เปน็ รูปธรรม โดยกำหนดแนวทางการปฏิบัตงิ านตามแผนงาน โครงการ กจิ กรรมหลักที่จะนำไปสู่ผลสำเรจ็ ตาม
เป้าหมาย รวมทง้ั การกำหนดความรับผดิ ชอบต่อการบรรลุเป้าหมายหลักอยา่ งชัดเจน

2. สร้างความเชื่อมโยงระหว่างแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (พ.ศ. 2563-
2565) ฉบับทบทวน กับนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ แผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติ
ราชการประจำปขี องจังหวดั รวมทั้งแผนพฒั นาและแผนปฏบิ ัตกิ ารประจำปีของหน่วยงานต่าง ๆ ท่ีเกี่ยวข้องกับ
การจัดการศึกษา

3. ผู้บริหารหน่วยงานทางการศึกษา สถาบันทางการศึกษาและสถานศึกษาทุกสังกัด
ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต้องให้ความสำคัญและใช้แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
(พ.ศ. 2563-2565) ฉบับทบทวน เป็นกรอบในการดำเนินงานและบริหารของหน่วยงาน สถาบันและ
สถานศกึ ษา

4. การดำเนินการชี้แจง ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ ความเข้าใจในสาระสำคัญของแผนพัฒนา
การศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (พ.ศ. 2563-2565) ฉบับทบทวน ให้บุคลากรผู้ปฏิบัติได้รับทราบอย่าง
ชัดเจนเพื่อการมีส่วนร่วมและสนับสนุนให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนอย่างมีประสิทธิภาพเกิดผลงานเป็น
รูปธรรม

5. พัฒนาศักยภาพของบุคลากรทุกระดับให้มีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงาน
ด้วยเทคนิควิธีการใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสร้างขวัญและกำลังใจด้วยการยกย่องชมเชยให้รางวัล
เม่ือสามารถดำเนนิ การได้ประสบผลสำเร็จ

6. ประสานงานให้หน่วยงานในส่วนกลางและจังหวัด สนับสนุนงบประมาณและทรัพยากร
อย่างพอเพียงต่อการปฏิบัติงานตามแผนพัฒนาการศึกษาและแผนปฏิบัติการของหน่วยงานการศึกษา
ทป่ี ฏิบัติราชการในพนื้ ท่ี

2. แนวทางการประสานระดมทรพั ยากรและการมีส่วนรว่ มทางการศึกษา

แนวทางการประสานระดมทรัพยากรและการมีส่วนร่วมทางการศึกษาตามแผนพฒั นาการศึกษา
ของจงั หวดั มีแนวทางการดำเนนิ งาน ดังนี้

1. แหล่งงบประมาณ
1) งบประมาณจากส่วนราชการตน้ สงั กดั ของหนว่ ยงานทางการศึกษา
2) งบประมาณตามแผนพฒั นาจงั หวดั พระนครศรีอยธุ ยา
3) งบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชนและ

ภาคเอกชน
4) งบประมาณจากหนว่ ยงานอน่ื เชน่ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธกิ าร

2. แนวทางการประสานระดมทรพั ยากรและการมสี ว่ นรว่ มทางการศกึ ษา
1) จัดทำข้อมูลเพื่อการประสานงานระหว่างหน่วยงานทางการศึกษา หน่วยงานด้านสังคม

องคก์ ารบรหิ ารส่วนจงั หวดั องค์กรปกครองสว่ นทอ้ งถิ่นและภาคสว่ นอ่ืน รวมทั้งแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาทอ้ งถ่ิน
และปราชญ์ชาวบ้านเพ่ืออำนวยความสะดวกในการติดต่อประสานงาน การขอความร่วมมือสนับสนุนในการ
บริหารจดั การศกึ ษา

2) การประสานความร่วมมือ หรือจัดทำข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับหน่วยงานที่มี
ภารกิจเก่ยี วข้องหรอื ทกุ ภาคสว่ นทม่ี ีแนวทางให้ความร่วมมอื ในการบริหารจัดการศึกษา

3) การแต่งตั้งหัวหน้าหน่วยงานหรือผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรว่ มเป็นคณะกรรมการ
คณะทำงานในการบริหารจัดการศึกษา “ร่วมคิด ร่วมดำเนินการ ร่วมติดตามประเมินผลและร่วมรับผิดชอบ
ผลงาน”

4) ประกาศเกยี รติคุณยกยอ่ งเชิดชเู กียรติผู้ทำคุณประโยชนต์ อ่ การจัดการศึกษา
3. แนวทางการจัดต้ังคณะกรรมการติดตามประเมินผลการศึกษาจังหวัด โดยการมีผู้แทนของ
องค์กรต่างๆ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ ซ่ึงบทบาทคณะกรรมการทำหน้าท่ีด้านการออกแบบ การติดตาม
ประเมินผล การสร้างเครื่องมือระดับจังหวัด รวมถึงการออกประเมนิ ผล และการสรุปรายงาน การติดตามและ
ประเมนิ ผล เสนอต่อจงั หวดั และหน่วยงานผ้ปู ฏบิ ัติเพือ่ ให้เปน็ ไปตามแผนพัฒนาการศกึ ษาจังหวัด

แผนพัฒนาการศึกษา พ.ศ.2562–2565 จังหวดั พระนครศรอี ยธุ ยา (ทบทวนปีงบประมาณ พ.ศ.2564) | 94

3. การตดิ ตามประเมินผลตามแผนพัฒนาการศึกษาจงั หวัดพระนครศรีอยุธยา

การติดตามประเมินผลการนำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (พ.ศ. 2563-2565)
ฉบบั ทบทวน ไปสู่การปฏบิ ัติ มแี นวทางการดำเนินงานและกระบวนการที่สำคญั ดงั นี้

1. ให้ความสำคัญกับการติดตามความก้าวหน้าการประเมินผลสำเร็จและผลกระทบของ
การดำเนนิ งานอย่างต่อเน่ืองและผลการพฒั นาการศกึ ษาในภาพรวมของจงั หวัด

2. พัฒนาและสร้างความเข้าใจคณะกรรมการติดตามประเมินผลด้านความรู้พ้ืนฐาน การติดตาม
ประเมินผล รปู แบบและเทคนิค การจัดหาเทคโนโลยีสนับสนุนการติดตามและประเมนิ ผล รวมถึงการออกแบบ
การติดตามประเมนิ ผล การสรา้ งเครอ่ื งมือระดับจังหวัด และการเขียนรายงาน การตดิ ตามและประเมนิ ผล

3. สำนักงานศึกษาธิการพระนครศรีอยุธยา ในฐานะผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัด
ทำหน้าที่ประสานจัดต้ังคณะกรรมการติดตามประเมินผลในภาพรวมของจังหวัด โดยเชิญผู้เก่ียวข้อง
ทุกสังกดั รว่ มกำหนดแนวทางการติดตาม ประเมินความก้าวหน้า การบรหิ ารจัดการแผนพัฒนาการศึกษาของ
จงั หวัดพระนครศรีอยุธยาสู่การปฏิบัติ พัฒนาตัวช้ีวัดความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ของแผนฯ โดยการนำรูปแบบ
และเทคนิค การติดตามและประเมินผลที่เหมาะสมมาใช้ และประสานการติดตามประเมินผลกับหน่วยงาน
ทางการศึกษาและภาคสว่ นอ่นื ท่ีเก่ียวข้อง รวมท้งั ดำเนินการติดตามประเมินผลกระทบการพัฒนาการศกึ ษาใน
ภาพรวม

4. การออกติดตาม ตรวจสอบ ประเมนิ ผลและรายงานให้มีประสิทธภิ าพ รวดเรว็ เพ่ือให้ไดข้ ้อมูล
สารสนเทศเพื่อการทบทวนปรับปรุงการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทันเหตุการณ์
เป็นปจั จุบนั

5. เสริมสร้างกลไกการตรวจสอบของภาคประชาชนให้เข้มแข็ง โดยสนับสนุนให้ภาคประชาชน
รวมกลุ่มติดตามความก้าวหนา้ ตรวจสอบความโปร่งใสและความสำเร็จของโครงการพัฒนาตา่ งๆ ทีเ่ กี่ยวข้องกับ
ชุมชนของตน รวมทง้ั พฒั นาศักยภาพให้มีทกั ษะในการใช้เทคโนโลยสี ารสนเทศ ในการตรวจสอบโครงการต่างๆ
ได้อยา่ งมปี ระสิทธภิ าพและจัดทำขอ้ มูลท่ีนำมาใช้ประกอบการตรวจสอบได้อย่างถกู ตอ้ งชัดเจน

6. สร้างการเช่ือมโยงโครงข่ายข้อมูลการศึกษาระหว่างหน่วยงานทางการศึกษาทุกสังกัดและ
หน่วยงานด้านสังคมในจังหวัด ให้เป็นระบบท่ีเข้าใจได้ง่ายและใช้ประโยชน์ได้สะดวก เพ่ือให้ทุกฝ่ายมีข้อมูล
ที่ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน เอ้ือประโยชน์ต่อการวางแผนและการติดตามประเมินผลในระดับจังหวัด
ใหม้ ีความสัมพนั ธ์สอดคลอ้ งและเปน็ เอกภาพในการปฏิบตั ิ

แผนพัฒนาการศกึ ษา พ.ศ.2562–2565 จงั หวดั พระนครศรอี ยุธยา (ทบทวนปงี บประมาณ พ.ศ.2564) | 95


Click to View FlipBook Version