The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หนังสือมาลัยสูตร พ.ศ. ๒๔๒๕
(ฉบับนายเส็งและนางขำ ถวาย)
หลักสูตรสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by nongnga.suk, 2022-06-15 02:39:43

หนังสือมาลัยสูตร พ.ศ. ๒๔๒๕ (ฉบับนายเส็งและนางขำ ถวาย)

หนังสือมาลัยสูตร พ.ศ. ๒๔๒๕
(ฉบับนายเส็งและนางขำ ถวาย)
หลักสูตรสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

หนังสอื มาลยั สตู ร พ.ศ. ๒๔๒๕
(ฉบบั นายเส็งและนางขำ ถวาย)

ปรวิ รรตโดย
นักศกึ ษาสาขาวิชาภาษาไทย รหสั ๖๐ และรหัส ๖๑ กลุ่ม ๑-๒
คณะมนษุ ยศาสตรแ์ ละสงั คมศาสตร์ มหาวิทยาลยั ราชภฏั พิบูลสงคราม

ตรวจสอบและอธิบายศพั ท์โดย
(ส่วนอกั ษรขอม-ไทย)

อาจารยภ์ คั รพล แสงเงิน ศศ.ม.วรรณคดไี ทย
(สว่ นอักษรขอม-บาลี)

พระมหากวศี กั ดิ์ ญาณกวิ (วาปกี ลุ เศรษฐ)์ ป.ธ.๙
ศศ.ม.จารึกภาษาไทยและภาษาตะวนั ออก

หนงั สือนเ้ี ปน็ ส่วนหนงึ่ ของโครงการรักษล์ าน งบประมาณปี ๒๕๖๔
สำนกั ศิลปะและวฒั นธรรม มหาวทิ ยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามและ

บูรณาการกับรายวชิ าวรรณกรรมท้องถิน่ พิษณุโลก THAI246
หลกั สูตรศลิ ปศาสตรบัณฑติ สาขาวิชาภาษาไทย
ประจำภาคการศึกษาที่ ๑ ปกี ารศึกษา ๒๕๖๔

สาขาวชิ าภาษาไทย คณะมนษุ ยศาสตรแ์ ละสังคมศาสตร์
มหาวทิ ยาลัยราชภฏั พบิ ูลสงคราม



คำนำ

หนังสือมาลัยสูตรฉบับนี้เอกสารต้นฉบับสมุดไทยขาว บันทึกด้วย
หมึกดำ อักษรขอมภาษาบาลแี ละภาษาไทย มีจำนวนท้ังส้ิน ๑๘๖ หนา้ สมุด
ไทย มภี าพจิตรกรรมเกี่ยวเน่ืองกับเร่ืองราวพระมาลัยโดยตรง สร้างโดยนาย
เส็งและนางขำ ถวายแด่พระพุทธศาสนาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๕ โดยต้นฉบับเก็บ
รักษาไว้ที่ห้องสืบค้นภูมิปัญญา ส่วนนิทรรศการช้ัน ๒ สำนักศิลปะและ
วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชพิบูลสงคราม มีเนื้อหาว่าด้วยพระมาลัย พระ
อรหันต์ผู้มีฤทธ์ิสามารถเสด็จไปนรกและสวรรค์เพื่อนำข่าวสารมาบอกแก่
มนุษยใ์ นชมพทู วีป ขา้ พเจ้าขอกราบขอบพระคุณสำนักศิลปะและวฒั นธรรม
ท่ีมอบโอกาสสำคัญใหข้ ้าพเจ้าได้ศกึ ษาเอกสารโบราณนอี้ ันเปน็ มรดกทางภูมิ
ปญั ญาสำคัญของชาวพษิ ณโุ ลกในอดตี ขอกราบขอบพระคณุ มา ณ โอกาสน้ี

ภาพปกท้ังหน้าและหลงั ท่ีทา่ นทัศนาการอยู่น้ีนำมาจากในหนังสือ
มาลัยสูตรฉบับนี้ โดยภาพหน้าปกน้ันเป็นตอนท่ีพระศรีอาริยเมตไตรย
เทพบุตร (กลาง) ถวายวันทนาการแด่พระมาลัย (ซ้าย) โดยมีองค์อัมริน-
ทราธิราช (ขวา) เจ้าแห่งพิภพดาวดึงส์เป็นผู้วิสัชนาบุพกรรมเทวดาองค์ต่าง
ๆ ที่มากราบไหว้วนั ทาพระจฬุ ามณเี จดยี ์ (เจดีย์ในภาพ) ระหวา่ งรอการเสด็จ
มาของพระศรีอาริยเมตไตรยเทพบุตร (สันดุสิตเทวราชองค์ปัจจุบัน) ส่วน
ภาพปกหลงั นั้นเป็นภาพชายยากจนเขญ็ ใจเก็บดอกบวั จำนวน ๘ ดอก ถวาย
พระมาลัยแล้วอธิษฐานว่า ขอให้เกิดภพชาติใดก็ตาม คำว่า “ไม่มี” จงอย่า
ปรากฏแก่ตน เมื่อชายยากจนสิ้นชีพก็ได้ไปจุติยังสวรรค์ เป็นเทวดามีรัศมี
งดงามเป็นอยา่ งยง่ิ เน่ืองจากอานสิ งสไ์ ดถ้ วายดอกไมแ้ ดพ่ ระอรหันต์



ด้วยรายวิชาวรรณกรรมท้องถิ่นพิษณุโลก หลักสูตรศิลปศาสตร
บัณฑิต (ภาษาไทย) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราช
ภัฏพิบูลสงคราม มุ่งสอนให้นักศึกษาเป็นบัณฑิตนักปฏิบัติ ตามปรัชญาของ
มหาวิทยาลัย โดยมีความมุ่งหวังที่จะนำวรรณกรรมท้องถ่ินของจังหวัด
พิษณุโลกปริวรรตและเผยแพร่องค์ความรู้ต่อผู้สนใจทั่วไป อีกท้ังรายวิชายัง
บูรณาการกับโครงการรักษล์ าน โครงการในความรับผดิ ชอบของสำนักศลิ ปะ
และวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔ เพ่อื เปน็ การผสานองค์ความรูท้ ่ี
สำคัญต่าง ๆ ท้ังการอนุรักษ์เอกสารโบราณและเผยแพร่องค์ความรู้จาก
เอกสารโบราณสู่สังคมเพ่ือเปน็ การสืบสาน รกั ษาองคค์ วามรขู้ องบรรพชนไทย
มใิ หเ้ ส่อื มสูญไปตามกาลเวลา

หนังสือมาลัยสูตรฉบับนี้เป็นหนังสือท่ีข้าพเจ้าเป็นผู้สอนรายวิชา
วรรณกรรมทอ้ งถ่ินพษิ ณุโลก ได้มอบหมายให้นักศึกษาหลกั สูตรศิลปศาสตร
บณั ฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ช้ันปีท่ี ๔ รหัส ๖๐ และรหสั ๖๑ กลุ่ม ๑-๒ เป็น
งานประจำรายวิชาโดยมุ่งให้นักศึกษาเน้นปริวรรตเอกสารโบราณประจำ
ท้องถ่ินพิษณุโลกเป็นสำคัญ (ตามจุดมุ่งหมายของรายวิชา) อีกทั้งยังได้รับ
ความร่วมมือสำคัญจากคุณเบญจพร บุญศิริรุ่งเรือง นักวิชาการศึกษาจาก
สำนักศิลปะและวัฒนธรรมฯ ท่ีคอยให้ความช่วยเหลือข้าพเจ้าผู้สอนท้ังการ
บรรยายความรู้ในเร่ืองการอนุรักษเ์ อกสารโบราณแก่นักศึกษา ประสานงาน
ต่าง ๆ ที่เก่ียวข้องกับโครงการ ให้ความช่วยเหลือในเรื่องการจัดรูปแบบ
หนังสือ เอกสาร รูปภาพ หรืออื่นใดก็มิสามารถพรรณนาได้หมดส้ิน ขา้ พเจ้า
ขอขอบพระคุณในมิตรไมตรีของคุณเบญจพร ผู้เป็นกัลยาณมิตรของขา้ พเจ้า
อยา่ งสม่ำเสมอมา ณ โอกาสนี้



หลังจากที่นักศึกษาได้ปริวรรตหนังสือมาลัยสูตรจากอักษรขอม
ภาษาบาลีและไทยในเบ้ืองตน้ แลว้ ขา้ พเจ้านำเนอื้ หาดังกล่าวมาตรวจสอบอีก
ครง้ั โดยส่วนที่เป็นอักษรขอม-บาลี ข้าพเจ้ากราบนมัสการ พระมหากวีศักดิ์
ญาณกวิ (วาปกี ุลเศรษฐ)์ ป.ธ.๙ ศศ.ม.จารึกภาษาไทยและภาษาตะวนั ออก
นกั วชิ าการอสิ ระแห่งวัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร เป็นผตู้ รวจสอบเนอื้ หา
และจัดทำคำอธิบายเพ่ิมเติม ขอกราบนมัสการขอบพระคุณย่งิ มา ณ โอกาสนี้
ในส่วนของอักษรขอม-ภาษาไทย ข้าพเจ้าเป็นผู้ตรวจสอบและจัดทำ
คำอธิบายศพั ท์เพ่ิมเติม โดยมุ่งหวังให้หนังสือนี้เป็นหนังสืออ่านประกอบการ
เรียนทั้งรายวิชาวรรณกรรมท้องถ่ินพิษณุโลก THAI246 และวรรณกรรม
เอกของไทย THAI242 อันเป็นวิชาในความรับผิดชอบของข้าพเจ้าของการ
สอนนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั พิบูลสงคราม ทัง้ น้ีขา้ พเจ้านำภาพต้นฉบับ
แทรกไว้ท่ีภาคผนวก (จัดทำโดยคุณเบญจพร) เพื่อให้ผู้สนใจได้ศึกษาที่
ต้นฉบับไดอ้ ีกด้วย โดยข้าพเจ้า “ตระหนกั ” ถงึ องค์ความรู้ทอ้ งถ่ินเปน็ สำคัญ
เม่ือได้รับความรู้เหล่านั้นต้องสนองคืนสู่ท้องถ่ินให้ได้ อันเป็นจุดมุ่งหมาย
สงู สดุ ในชีวติ การทำงานของข้าพเจา้

คำอธิบายศัพท์ต่าง ๆ ท่ีปรากฏในหนังสือเล่มนี้ ข้าพเจ้าใช้องค์
ความรู้ต่าง ๆ ท่ีไดส้ ะสมมาแบบ “สะเล็กสะน้อย” (เลก็ ๆ น้อย ๆ) ต้ังแตเ่ ร่ิม
ทำงาน พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นฐานความร้สู ำคญั ในการอธิบาย ด้วยผลงานวิชาการ
ท่ีข้าพเจ้าพยายามเก็บเล็กผสมน้อยแล้วตีพิมพ์ในวารสารต่าง ๆ ซ่ึงข้าพเจ้า
เลือกบทความส่วนตัว ๒ บทความ คือ ๑. บทความนำเรื่องหนังสือมาลัย
สูตร เอกสารจากสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูล
สงคราม ตีพิมพ์ครั้งแรกในวารสารอักษราพิบูล คณะมนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลยั ราชภฏั พิบูลสงคราม ปีท่ี ๑ ฉบับที่ ๑ (มกราคม-



มิถุนายน ๒๕๖๓) หน้า ๑-๖ และ ๒. จากอวสานถึงเร่ิมใหม่: ยุคพระศรี

อารยิ เมตไตรยในไตรภมู ิฉบับหอสมุดแห่งชาตกิ รุงปารีส ตีพิมพ์คร้ังแรกใน

วารสารไทยศึกษา สถาบันไทยศกึ ษา จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย ปีที่ ๑๒ ฉบับ

ที่ ๒ (กรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๕๙) หน้า ๑-๑๕ ซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่า ท้ังสอง

บทความน้ีจะเป็นประโยชนอ์ ย่างยิ่งต่อการอ่านหนงั สือมาลัยสูตรใหเ้ ข้าใจได้

อยา่ งดี

ผลบุญหรือประโยชน์อันใดจักเกิดข้ึนจากหนังสือเล่มนี้ ขอผลบุญ

น้ันจงไปถึงแด่นายเส็งและนางขำ ผู้เป็นเจ้าของหนังสือมาลัยสูตรฉบับนี้

ขอให้ท่านทั้งสองจงสำเร็จมโนรถปรารถนาตามท่ีท่านประสงค์ (ดังปรากฏคำ

อธิษฐานในหน้าแรก) และขอให้ข้าพเจ้า คณะนักศึกษาและผู้มีส่วนในการ

ป ริวรรตห นั ง สื อม า ลัย สู ตรฉบั บ น้ี ได้ พ บ แ ล ะฟั งธ รร ม จ าก พ ร ะศ รี อ าริ ย -

เมตไตรยท่ีจะเสด็จลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล จนสามารถ

ดบั เพลงิ กเิ ลสไดห้ มดส้ินเข้าสดู่ ินแดนอนั เป็นนจิ นิรันดรม์ หานครนพิ พานดว้ ย

เทอญ

ทา้ ยสุดน้ีข้าพเจ้าขอน้อมนำโคลงท้ายเรื่องพระมาลยั คำหลวง พระ

นิพนธ์ในเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ บรมครูทางด้านวรรณคดีไทยท่ีข้าพเจ้านับถือ

ข้าพเจ้าขอนอบน้อมกราบด้วยเศียรเกล้ามาประดับในหนังสือเล่มนี้เพื่อเป็น

มงคลแด่ชวี ติ ของผู้อ่านทุกท่าน โดยปรับเปล่ียนความบ้างเล็กนอ้ ยในเรือ่ งของ

ปพี ุทธศกั ราช ดงั นี้

๏ จบเสรจ็ สำเร็จเหรื้อง ในนติ ิ

พระมาลยั บพิตร ผ่านเผา้

เสดจ็ ดาวดงึ สฤทธ์ิ เรืองโรจน์

นำขา่ วกลา่ วยศเจา้ ปนิ่ เกล้าจอมอาริย์...

จ สองพัน
เศษเหล้า
๏ เม่อื เสร็จศักราชได้ จนเสร็จ
หา้ ร้อยหกสบิ สี่*สรรค์ พบไทท้ รงธรรม ฯ
เดชะเพยี รเจียรกาล
เดชะบุญแต่งให้ ภัครพล แสงเงนิ
สงิ หาคม ๒๕๖๔

* ของเดิมคือ พ.ศ. ๒๒๘๐ ปที ี่พระองคท์ รงพระนิพนธพ์ ระมาลัยคำหลวง

สารบัญ หน้า

คำนำ ๑

บทความนำเรื่อง หนังสือมาลัยสูตร
เอกสารจากสำนักศลิ ปะและวัฒนธรรม ๑๑๐
มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั พิบลู สงคราม
๑๓๐
หนังสอื มาลยั สูตร พ.ศ. ๒๔๒๕ ๑๓๓
ฉบับปรวิ รรต

บทความเรอื่ ง จากอวสานถึงเริ่มใหม่ :
ยุคพระศรีอาริยเมตไตรยในไตรภูมิ
ฉบบั หอสมดุ แห่งชาติกรุงปารีส

ป ร ะ วั ติ แ ล ะ ผ ล ง า น ผู้ ต ร วจ ส อ บ ก า ร
ป ริ ว ร ร ต แ ล ะ จั ด ท ำ ค ำ อ ธิ บ า ย ศั พ ท์
หนังสอื มาลัยสตู ร พ.ศ. ๒๔๒๕

ภาคผนวก

บทความนำเรอื่ ง
หนงั สอื มาลยั สตู ร เอกสารจากสำนกั ศิลปะและวฒั นธรรม

มหาวทิ ยาลัยราชภฏั พิบูลสงคราม๒
ภคั รพล แสงเงิน

เอกสารตน้ ฉบบั มาลัยสูตร พระมาลยั (ซ้าย) สนทนากับพระอนิ ทร์ (ขวา)
หน้าพระจฬุ ามณเี จดยี ์ สวรรค์ช้นั ดาวดงึ ส์

ทีม่ า: หนังสือมาลยั สูตรฉบบั นายเสง็ และนางขำ (๒๔๒๕)

๒ ตีพิมพค์ ร้ังแรกในวารสารอักษราพิบูล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ราชภฏั พบิ ูลสงคราม ปีท่ี ๑ ฉบบั ท่ี ๑ (มกราคม-มถิ ุนายน ๒๕๖๓) หน้า ๑-๖.



ท่มี าของเอกสาร
ภาพทท่ี า่ นได้ทัศนาอยนู่ ้ีเป็นภาพจิตรกรรมเร่ืองมาลยั สตู ร เอกสาร

ที่จัดแสดงอยู่ในห้องสืบค้นภูมิปัญญา ส่วนนิทรรศการช้ัน ๒ อาคารสำนัก
ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก
โดยจัดอยู่ในหมวดหมู่วรรณกรรมพุทธศาสนา เอกสารเลขท่ี พส.ข.๐๒๐๑ ถือ
เปน็ หนงั สือมาลยั สูตรทมี่ คี วามสมบูรณ์มากทส่ี ุดฉบับหนึง่ ในจำนวนมาลยั สูตร
หลายฉบับของเอกสารโบราณจากสำนักศลิ ปะและวฒั นธรรมฯ โดยท่ีมาของ
เอกสารเหล่านตี้ ้องยอ้ นไปเมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๒๕-๒๕๒๖ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์
สุพจน์ พฤกษะวัน ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรมในสมัยน้ัน ท่ี
รงั สรรคโ์ ครงการอนั ล้ำค่ายิ่งต่อการอนุรักษ์เอกสารโบราณ ภมู ิปญั ญาท้องถิ่น
ของภูมิภาคภาคเหนือตอนล่าง คือ โครงการสำรวจสมดุ ขอ่ ยใบลาน จังหวัด
พษิ ณุโลก โดยโครงการนีม้ จี ุดมุ่งหมายสำคัญ คือ

การนำเอกสารโบราณในแถบท้องถิ่นภาคเหนอื ตอนล่างมารวบรวม
ไว้และทำสำเนาไมโครฟิล์ม เพื่ออนุรักษ์ของเก่าแก่เหล่าน้ีไว้ไม่ให้
สญู สลายไปตามกาลเวลา โดยมีเกณฑ์การคัดเลือก คือ ต้องมีอายุ
อย่างต่ำ ๕๐ ปี เนื้อหาไม่ซ้ำซ้อนกันและมีความสมบูรณ์พอท่ีจะ
นำมาศึกษาได้ โดยคัดเลือกเอกสารโบราณจำนวน ๙๖๑ ชิ้นมาทำ
สำเนาไมโครฟิล์ม โดยเอกสารเหล่าน้ี แบ่งออกเป็นหมวดต่างๆ
เช่น ห มวดพุ ทธศาสนา นิทานพื้นบ้าน กฎ ห มายโบราณ
จริยศาสตร์ ประวัตศิ าสตร์ โหราศาสตร์ เปน็ ต้น

(สพุ จน์ พฤกษะวัน, ๒๕๒๖ : น.๑-๒)
หนังสือมาลัยสูตรเล่มนี้ เป็นเอกสารโบราณท่ีบันทึกลงในสมดุ ไทย
ขาว บันทึกด้วยอักษรขอม ภาษาบาลีและไทย ปรากฏชื่อผแู้ ต่งโดยคือ “นาย
เส็ง (สามี) และนางขำ (ภรรยา)” เขียนถวายในพระศาสนา โดยระบุวันที่



เขียนสำเร็จเมอื่ “พระพทุ ธศักราชล่วงแล้วได้ ๒๔๒๕ เดือนลว่ งได้ ๖ เดือน๓
ปีน้ีเป็นอธิกมาส วันล่วงได้ ๒๗ วัน ปีเป็นนักษัตรมะเมีย จตั วาศก เดือน ๑๒
ขึน้ ๑๔ คำ่ วันศุกร”์ ซ่ึงตรงกบั วันศกุ รท์ ี่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๒๕”

โดยท้ังสองสามีภ รรยาป รารถนาสร้างห นังสือเล่มน้ีไว้ใน
พระพุทธศาสนาเพื่อให้สำเร็จแกพ่ ระโพธญิ าณในอนาคตกาล (ปรารถนาเพ่ือ
เป็นพระพุทธเจ้า) โดยมีเน้ือหาเก่ียวกับพระสัตปกรณาภิธรรม (พระธรรม ๗
คัมภีร์) บทสวดท่ีมักนิยมสวดในงานศพ โดยหมวดพระธรรมจะบันทึกด้วย
อักษรขอม ภาษาบาลี เน่ืองจากในสมัย พ.ศ. ๒๔๒๕ ซึ่งตรงกับสมัย
พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การบันทึกภาษาบาลนี ิยมใชอ้ กั ษร
ขอมเน่ืองจากคนไทยสมัยนั้นยังคุ้นชินกับอักษรขอม ซึ่งถือว่าเป็นอักษร
ศักด์สิ ิทธิ์ในทางพระพุทธศาสนา ในส่วนเนื้อหาท่เี ป็นเรื่องราวของพระมาลัย
ใช้อักษรขอม ภาษาไทย ในการบันทึกเน้ือหา โดยเร่ืองพระมาลัยมักนิยมใช้
คำประพนั ธป์ ระเภทกาพย์ชนดิ ตา่ งๆ คือ ยานี ๑๑ ฉบงั ๑๖ และสุรางคนางค์
๒๘ เพ่ือใช้ในการสวด หรือเป็นที่รู้จักในช่ือว่า “กลอนสวด” โดยสมัยโบราณ
มกั สวดในงานแต่งงานเพื่อให้บา่ วสาวมีความละอายและ เกรงกลวั ต่อบาป ตอ่ มา
นยิ มสวดในงานศพ ซึ่งประพฤตกิ นั เป็นประเพณีท่ีเราเรียกว่า “สวดมาลยั ”

เน้อื หาหลกั ของมาลยั สตู ร
เร่อื งพระมาลัยเป็นเรื่องเก่ียวกับพระพุทธศาสนาที่กล่าวถึงประวัติ

ของพระมาลยั อันมที ่ีมาจากมาเลยยเถระวัตถุของอินเดีย พระมาลัยเป็นพระ
อรหันต์ทรงฤทธานุภาพประดุจพระโมคคัลลานะ อัครสาวกเบื้องซ้ายของ
พระพทุ ธเจ้า พระมาลยั เป็นชาวลงั กาทวปี เปน็ พระอรหนั ต์ดา้ นฤทธิ์ สามารถ

๓ คนไทยพุทธเริ่มนับเดือนแรกต้ังแต่วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ในวัน
วิสาขบูชา เพญ็ ขึน้ ๑๕ ค่ำ เดือน ๖



เหาะเหินไปยังนรกหรือสวรรค์เพื่อนำข่าวสารกลับมาบอกแก่ญาติในเมือง
มนุษย์ เรื่องพระมาลัยมีความสัมพันธ์กับคติพระศรีอาริย เมตไตรย
พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๕ ท่ีจะมาตรัสรู้ต่อจากพระพุทธเจ้าโคดม เน่ืองจากเมื่อ
พระมาลัยรับดอกบัว ๘ ดอกจากชายยากจนแล้ว พระมาลัย ก็เสด็จไปยัง
สวรรค์ช้ันดาวดงึ ส์เพือ่ นมัสการพระจุฬามณีเจดีย์ (เจดีย์สำคัญบรรจุพระโมลี
(ผม) และพระเขีย้ วแกว้ เบ้ืองขวาของพระพุทธเจา้ ) และสนทนากับพระอินทร์

พระมาลัยรบั ดอกบวั ๘ ดอกจากชายยากจนเข็ญใจ
ตัวอยา่ งของการทำบญุ ทม่ี ีอานิสงส์แรงโดยไม่ตอ้ งใชท้ รพั ย์มาก

เพียงแตจ่ ิตตง้ั มน่ั ในการถวาย
ทมี่ า: หนงั สอื มาลยั สตู รฉบบั นายเสง็ และนางขำ (๒๔๒๕)



ก าร ส น ท น ากั บ พ ร ะ อิน ท ร์ นั้ นเป็ น ไป ใน รู ป แบ บ ปุ จ ฉ า -วิ สั ช น า
ซักถามบุพกรรมของเทวดาต่างๆ ที่มานมัสการพระจุฬามณีเจดีย์จนกระท่ัง
สันดุสิตเทวราช คือ พระศรีอาริยเมตไตรยเสด็จมาพร้อมด้วยเทวดาบริวาร
จำนวนมากมาย พระมาลัยจึงได้สนทนากับพระศรีอาริยเมตไตรยเทพบุตร
โดยบอกความประสงค์ของชาวชมพูทวีปท่ีต้องการไปเกิดในยุคของพระองค์
โดยพระศรีอารยิ เมตไตรยก็แจ้งความทุกประการถึงวธิ ที ี่จะทำให้ไปเกิดในยุค
ของพระองค์ได้ เช่น การรักษาศีล เจริญภาวนา หรือฟังคาถาพัน (เทศน์
มหาชาต)ิ จบภายในวันเดยี ว เป็นตน้

พระมาลัยสนทนากับพระศรีอารยิ เมตไตรยเทพบุตร
ทม่ี า: หนังสือมาลยั สูตรฉบับนายเสง็ และนางขำ (๒๔๒๕)



นอกจากนั้น พระศรีอาริยเมตไตรยเทพบตุ รยังไดก้ ล่าววา่ ต่อไปใน
ภายหนา้ เม่อื ศาสนาของพระพุทธเจา้ องคป์ ัจจุบนั คือ

ศาสนาของพระสมณโคดมมอี ายุครบ ๕,๐๐๐ ปี จะเกิดเหตุการณ์
ท่ีเรียกว่า สัตถันตรกัลป์ ผู้คนอายุขัย ๑๐ ปี จะมิรู้จักบุญบาป ฆ่า
ฟันกันนองเลือดไปทั่วท้ังแผ่นดินตลอด ๗ วัน ผู้คนท่ีรอดตายจาก
เหตุการณ์นี้จะพากันบำเพ็ญกุศล จนลูกหลานอายุขัยจำเริญข้นึ ไป
ถงึ อสงไขย (นับไม่ได้) และลดลงมาเหลือ ๘๐,๐๐๐ ปี ณ บดั นั้นจะ
ถึ ง ก า ล ข อ ง พ ร ะ ศ รี อ า ริ ย เม ต ไ ต ร ย เท พ บุ ต ร ม า ต รั ส รู้ เป็ น พ ร ะ
สัมมาสัมพทุ ธเจา้ (ภคั รพล แสงเงนิ , ๒๕๕๙ : น.๕)
โดยในยุคของพระศรีอาริยเมตไตรยจะเกิดความอุดมสมบูรณ์ไปทั่ว
โลก เช่น ข้าวสาลีเพียงหนึ่งเมล็ดจะงอกออกเป็นแสนกอ สัตว์ต่างๆ ไม่เป็น
ศัตรูกัน ผู้คนตายไปแล้วไปบังเกิดในสวรรค์เสียส่วนมาก โดยหนึ่งในน้ันคือ
ต้นกัลปพฤกษ์ ตน้ ไมว้ เิ ศษท่ีสามารถเนรมิตสง่ิ ของใหแ้ กผ่ ู้ที่ปรารถนาได้



ต้นกลั ปพฤกษย์ คุ พระศรอี าริยเมตไตรย
ผู้ใดปรารถนาส่ิงใดให้ไปอธิษฐานใต้ตน้ ไม้น้จี ักได้ดงั ใจปรารถนา

ที่มา: หนังสือมาลยั สูตรฉบบั นายเสง็ และนางขำ (๒๔๒๕)

คติพระศรอี ารยิ เมตไตรยยังถูกถ่ายทอดเร่ืองราวลงในหนงั สือมาลัย
สูตร นบั ได้ว่าวรรณกรรมเร่ืองพระมาลยั ยังเปน็ ที่ศรทั ธาของคนในสมยั โบราณ
ในดินแดนภาคเหนือตอนล่างของไทย เรื่องพระมาลัยเป็นภาพสะท้อนแห่ง
กุศโลบายของคนโบราณที่ช้ีให้เห็นโทษของบาปทีท่ ำไวต้ อนเป็นมนุษยผ์ ่านตัว
ละคร “สัตว์นรก” และผลแห่งกุศลท่ีสร้างไว้ตอนเป็นมนุษย์ก็จะได้ไปเสวย



บุญในฉกามาพจรสวรรค์ในรูปแบบของ “เทวดา” และหากผู้ใดปรารถนาท่ี
จะไปเกิดในยุคของพระศรอี ารยิ เมตไตรยก็ใหเ้ รง่ สร้างกศุ ล งดเว้นจากบาปท้ัง
ปวงก็จะได้ไปนิพพานในยุคของพระศรอี าริยเมตไตรย ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจน
จากคำอธิษฐานของนายเส็งและนางขำท่ีสรา้ ง “หนังสือมาลัยสูตร” ถวายใน
พระศาสนาที่ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าเพื่อเข้าสู่กระแสพระนิพพาน
ดินแดนเปา้ หมายสงู สุดของคตทิ างพระพุทธศาสนานน่ั เอง

เอกสารอา้ งองิ
ภัครพล แสงเงิน. (๒๕๕๙). จากอวสานถึงเร่ิมใหม:่ ยุคพระศรีอาริยเมตไตรย

ในไตรภูมิฉบับหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส. วารสารไทยศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉบับที่ ๒ ปีที่ ๑๒ (กรกฎาคม-ธันวาคม
๒๕๕๙) หน้า ๑-๑๕.
สุพจน์ พฤกษะวัน. (๒๕๒๖). บญั ชีรายชือ่ สมดุ ข่อยใบลานจังหวัดพษิ ณโุ ลกที่
ถ่ายทำไมโครฟิล์ม. พิษณุโลก : โครงการสำรวจสมุดข่อยใบลาน
จังหวัดพิษณุโลก ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมวิทยาลัยครูพิบูลสงคราม
พิษณโุ ลก.
หนงั สือมาลัยสูตรฉบบั นายเสง็ และนางขำ. (๒๔๒๕). เอกสารจากสำนกั ศิลปะ
และวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เลขที่ พส.ข.
๐๒๐๑. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

หนังสือมาลยั สูตร พ.ศ. ๒๔๒๕ ฉบับปรวิ รรต๑

หนังสือมาลัยสูตรเล่มนี้ ข้าพเจ้า เส็งผู้ผัว ขำผู้เมีย มีจิตศรัทธา
สร้างไว้ในพระพุทธศาสนา ขอให้ข้าพเจ้าได้สำเร็จแก่พระโพธิญาณ แม้น
ข้าพเจ้ายังไม่ถึงพระโพธิญาณตราบใด ขอให้ข้าพเจ้ารุ่งเรืองสุกใสพร้อมไป
ด้วยโภคัยไอยสุรยิ สมบตั ิ ความทุกข์ขออย่าใหไ้ ด้เหน็ ความเข็ญขออย่าใหไ้ ดม้ ี
ขอให้ข้าพเจ้าได้ทันพระไมตรี นิพพาน ปจฺจโย โหตุ ฯฯ ๏ ฯ พระ
พทุ ธศักราชลว่ งแล้วได้ ๒๔๒๕ เดือนลว่ งได้ ๖ เดอื น ปีน้เี ป็นอธิกมาส วันล่วง
ได้ ๒๗ วัน ปเี ป็นปัจจุบันมะเมยี จตั วาศก เดือนสิบสอง ขึ้น ๑๔ ค่ำ วันศุกร์๒
สำเร็จแล้ว นพิ พาน ปจฺจโย โหตุ ฯ๛

๏ นโม ตสสฺ ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธฺ สฺส ฯ
ยนฺเตน ภควตา ชานตา ปสฺสตา อรหตา สมฺมาสมฺพุทฺเธน ปถมํ
ปาราชกิ ํ กตถฺ ปญฺญตฺตนฺติ ฯ เวสาลิยํ ปญฺญตฺตนฺติ ฯ กํ อารพฺภาติ ฯ สุทินฺนํ
กลนฺทปุตฺตํ อารพฺภาติ ฯ กิสฺมึ วตฺถุสมินฺติ ฯ สุทินฺโน กลนฺทปุตฺโต ปุราณ-
ทุติยิกาย เมถุนํ ธมฺมํ ปฏิเสวิ ตสฺมึ วตฺถุสมินฺติ ฯ๓ เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา
เวรญฺชายํ วิหรติ นเฬรุปุจิมนฺทมูเล มหาภิกฺขุสํเฆน สทฺธึ ปญฺจมตฺเตหิ
ภิกฺขสุ เตหิ ฯ อสฺโสสิ โข เวรญโฺ ช พฺราหฺมโณ สมโณ ขลุ โภ โคตโม สกยฺ ปตุ โฺ ต
สกฺยกุลา ปพฺพชิโต เวรญฺชายํ วิหรติ นเฬรุปุจิมนฺทมูเล มหตา ภิกฺขุสํเฆน
สทธฺ ึ ปญฺจมตเฺ ตหิ ภิกฺขุสเตหิ ตํ โข ปน ภวนฺตํ โคตมํ เอวํกลยฺ าโณ กิตฺติสทฺโท

๑ สว่ นที่เปน็ อักษรขอม-ภาษาบาลี ตรวจทาน แก้ไขและจัดทำคำอธิบายเพิ่มเติมโดยพระมหา
กวีศักด์ิ ญาณกวิ (วาปีกุลเศรษฐ)์ ป.ธ.๙ วัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร นกั วิชาการอิสระ ศศ.ม.จารึก
ภาษาไทยและภาษาตะวนั ออก คณะโบราณคดี มหาวทิ ยาลัยศิลปากร

๒ ตรงกบั วนั ศุกร์ที่ ๒๔ พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๔๒๕
๓ ต้ังแต่ “ยนฺเตน ภควตา ชานตา จนถงึ ปฏเิ สวิ ตสมฺ ึ วตฺถสุ มนิ ฺติ” คัดมาจากปริวารในพระ
วินัยปฎิ ก

๑๐

อพฺภุคฺคโต อิติปิ โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต
โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควาติ โส อิมํ
โลกํ สเทวกํ สมารกํ สมารกํ๔ สพฺรหฺมกํ สสฺสมณพฺราหฺมณึ ปชํ สเทวมนุสฺสํ
สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา ปเวเทสิ โส ธมฺมํ เทเสสิ อาทิกลยฺ าณํ มชฺเฌกลฺยาณํ
ปริโยสานํ กลฺยาณํ๕ สาตถํ สพฺยญฺชนํ เกวลปริปุณฺณํ ปริสุทฺธํ พฺรหฺมจริยํ
ปกาเสติ สาธุ โข ปน ตถารูปานํ อรหตํ ทสฺสนํ โหตตี ิ ฯ๖ วินยปฏิ กํ นิฏฺฐติ ํ ฯ

เอวมฺเม สุตํ เอกํ สมยํ ภควา อนฺตรา จ ราชคหํ อนฺตรา จ นาลนฺทํ
อทฺธานมคฺคปฏิปนฺโน โหติ มหตา ภิกฺขุสเํ ฆน สทธฺ ึ ปญฺจมตฺเตหิ ภิกขสุ เตหิ ฯ
สุปฺ ปิ โยปิ โข ป ริพฺ พาช โก อนฺตรา จ ราช คหํ อนฺตรา จ นาฬ นฺทํ
อทธฺ านมคฺคปฏิปนฺโน โหติ สทฺธึ อนเฺ ตวาสินา พฺรหมฺทตฺเตน มาณเวน ฯ ตตฺร
สุทํ สุปฺปิโย ปริพฺพาชโก อเนกปริยาเยน พุทฺธสฺส อวณ̣ณํ ภาสติ ธม̣มส̣ส
อวณฺณํ ภาสติ สฆํ ส̣ส อวณ̣ณํ ภาสติ ฯ สุป̣ปิยส̣ส ปน ปริพ̣ภาชกส̣ส๗ อน̣เต-
วาสี พ̣รหม̣ ทตโ̣ ต มานโว อเนกปริยาเยน พทุ ธ̣ สส̣ วณ̣ณํ ภาสติ ธมม̣ สส̣ วณ̣ณํ
ภาสติ สํฆส̣ส วณ̣ณํ ภาสติ อิติห เต อุโภ อาจาริยน̣เตวาสี๘ อญฺญมญฺญส̣ส
อุชุวิปจ̣จนิกวาทา ภควน̣ตํ ปิฎ̣ฐิโต ปิฎ̣ฐิโต อนุพนฺธา โหนติ ภิกฺขุสํฆญฺจ ฯ๙
สตุ ตฺ นฺตปิฏกํ ฯ

๔ ตน้ ฉบับเขียนซ้ำ
๕ ทถี่ กู ต้องควรเป็น ปรโิ ยสานกลฺยาณํ
๖ ต้ังแต่ “เยน สมเยน พุทโฺ ธ จนถงึ อรหตํ ทสฺสนํ โหตีติ” คดั มาจากเวรัญชกณั ฑ์ ในพระวนิ ยั
ปฎิ ก มหาวภิ ังค์
๗ ทถี่ ูกต้องควรจะเป็น ปริพพฺ าชกสฺส
๘ ที่ถกู ต้องควรจะเปน็ อาจรยิ นเฺ ตวาสี
๙ ต้งั แต่ “เอวมฺเม สตุ ํ จนถึง อนุพนธฺ า โหนติ ภิกขฺ ุสฆํ ญฺจ” คดั มาจากพรหมชาลสูตร ในพระ
สุตตันตปฎิ ก ทีฆนิกาย สลี ักขนั ธวรรค

๑๑

๏ กสุ ลา ธม̣มา อกุสลา ธมฺมา อพ̣ยากตา ธมม̣ า กตเม ธม̣มา กุสลา
ยสม̣ ึ สมเย กามาวจรํ กุสลํ จิตต̣ ํ อุปป̣ นน̣ ํ โหติ โสมนส̣สสหคตํ ญาณสมป̣ ยุตตํ
รปู ารม̣มณํ วา สท̣ทารม̣มณํ วา คน̣ธารม̣มณํ วา รสารม̣มณํ วา โผฎฐพ̣พา-
รม̣มณํ วา ธม̣มารม̣มณํ วา ยํ ยํ วา ปนารพ̣ภ ตส̣มึ สมเย ผสฺโส โหติ
อวกิ ฺเขโป โหติ เย วา ปน ตสฺมึ สมเย อญฺเญปิ อตถ̣ ิ ปฏจิ จฺ สมุปฺปน̣นา อรูปโิ น
ธม̣มา อเิ ม ธม̣มา กสุ ลา ฯ สงคฺ ณิ ีปกรณา นฏิ ฺฐิตา๑๐ ฯ

ปญฺจกฺขน̣โธ รูปกฺขน̣โธ เวทนากฺขน̣โธ สญฺญากฺขน̣โธ สํขารก̣ขน̣โธ
วิญฺญาณก̣ขน̣โธ ฯ ตต̣ถ กตโม รูปกฺขน̣โธ ฯ ยํ กิญฺจิ รูปํ อตีตานาคต-
ปจ̣จุปฺปนฺนํ อช̣ฌต̣ตํ วา พหิท̣ธา วา โอฬารกิ ํ วา สุขุมํ วา หินํ๑๑ วา ปณีตํ วา
ยํ ทุเร๑๒ วา สน̣ติเก วา ตเทกชฺฌํ อภิสญฺญูหิต̣วา อภิสํขิปิต̣วา อยํ วุจฺจติ
รปู ก̣ขน̣โธ ฯ วภิ งฺคปการณา นิฏฺฐติ า๑๓ ฯ

สงฺคโห อสงฺคโห สงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ อสงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ
สงฺคหิเตน สงฺคหิตํ อสงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ สมฺปโยโค วิปฺปโยโค สมฺปยุตฺเตน
วิปปฺ ยุตฺตํ วิปปฺ ยุตฺเตน สมฺปยุตฺตํ อสงคฺ หิตํ ฯ ธาตกุ ถาปการนา นฏิ ฐติ า๑๔ ฯ

๑๐ คำว่า “ปกรณ” (ส. ปฺรกรณ) แปลวา่ “คมั ภีร์” เป็นนปงุ สกลงิ ค์ เมื่อผนั วภิ ัตติเพอื่ ทำหนา้ ท่ี
เป็นประธานของประโยคและเป็นรูปเอกพจน์ จะได้รูปคำวา่ “ปกรณํ” ดังนั้นรูปคำภาษาบาลีที่ถูกต้องใน
ประโยคนี้จึงควรเปน็ “สงฺคิณปี กรณํ นฏิ ฐฺ ติ ”ํ แปลวา่ “คมั ภรี ส์ ังคณิ จี บแลว้ ”

๑๑ ท่ีถูกต้องควรจะเป็น หีนํ
๑๒ ท่ถี กู ต้องควรจะเป็น ทเู ร
๑๓ รูปคำภาษาบาลที ี่ถูกต้องควรเปน็ “วิภงคฺ ปกรณํ นิฏฺฐิตํ” แปลวา่ “คัมภีรว์ ิภังคจ์ บแล้ว”
ดูคำอธบิ ายในเชงิ อรรถที่ ๑๐
๑๔ รปู คำภาษาบาลที ี่ถูกตอ้ งควรเป็น “ธาตุกถาปกรณํ นิฏฺฐิต”ํ แปลว่า “คัมภีรธ์ าตุกถาจบ
แลว้ ” ดคู ำอธิบายในเชิงอรรถที่ ๑๐

๑๒

๏ ฉ ปญฺญตฺติโย ขนฺธปญฺญตฺติ อายตนปญฺญตฺติ ธาตุปญฺญตฺติ
สจฺจปญฺญตฺติ อินฺทฺริยปญฺญตฺติ ปุคฺคลปญฺญตฺติ กิตฺตาวตา ปุคฺคลปญฺญตฺติ
สมยวิมุตฺโต อสมยวิมุตฺโต กุปฺปธมฺโม อกุปฺปธมฺโม ปริหานธมฺโม อปริหาน-
ธมฺโม เจตนาภพฺโพ อนุรกฺขนาภพฺโพ ปุถุชฺชโน โคตฺรภู ภยูปรโต อภยูปรโต
ภพฺพาคมโน อภพฺพาคมโน นิยโต อนิยโต ปฏิปนฺนโก ผเลฏฺฐิโต อรหา
อรหตตฺ าย ปฏปิ นฺโน ฯ ปคุ คฺ ลปญญฺ ตตฺ ปิ การณา นิฏฐติ า๑๕ ฯ

๏ ปคุ ฺคโล อุปลพภฺ ติ สจฺฉกิ ตฺถปรมตเฺ ถนาติ อามนฺตา โย สจฺฉิกตโฺ ถ
ปรมตฺโถ ตโต โส ปุคฺคโล อุปลพภฺ ติ สจฺฉกิ ตฺถปรมตเฺ ถนาติ ฯ น เหวํ วตฺตพฺเพ
อาชานาหิ นคิ ฺคหํ หญฺจิ ฯ ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉกิ ตถฺ ปรมตเฺ ถน เตน วตฺต๑๖
เร วตฺตพฺเพ โย ส จฺฉิกตฺโถ ป รมตฺโถ ตโต โส ปุ คฺค โล อุป ล พฺ ภ ติ
สจฉฺ ิกตฺถปรมตฺเถนาติ มจิ ฺฉา ฯ ๏ กถาวตถฺ ุปการณา นิฏฐฺ ติ า๑๗ ฯ

เย เกจิ กุสลา ธมฺมา สพฺเพ เต กุสลมูลา ฯ เย วา ปน กุสลามูลา
สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา ฯ เย เกจิ กุสลา ธมฺมา สพฺเพ เต กุสลมูเลน เอกมูลา
ฯ เย วา ปน กุสลมูเลน เอกมูลา สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา ฯ ๏ ยมกปการณา
นิฏฺฐติ า๑๘ ฯ

เหตุปจฺจโย อารมฺมณปจฺจโย อธิปติปจฺจโย อนนฺตรปจฺจโย
สมนนฺตรปจฺจโย สหชาตป จฺจโย อญฺ ญมญฺ ญ ปจฺจโย นิสฺสยปจฺจโย
อุปนิสฺสยปจฺจโย ปุเรชาตปจฺจโย ปจฺฉาชาตปจฺจโย อาเสวนปจฺจโย กมฺม-

๑๕ รูปคำภาษาบาลีทถ่ี กู ต้องควรเปน็ “ปุคฺคลปญฺญตตฺ ปิ กรณํ นฏิ ฺฐิตํ” แปลว่า “คัมภีร์ปุคคล
บัญญัติจบแลว้ ” ดูคำอธิบายในเชงิ อรรถที่ ๑๐

๑๖ ท่ีถูกตอ้ งควรจะเป็น วต
๑๗ รูปคำภาษาบาลีท่ถี กู ต้องควรเปน็ “กถาวตถฺ ุปกรณํ นิฏฺฐติ ํ” แปลว่า “คัมภีร์กถาวตั ถุจบ
แล้ว” ดคู ำอธิบายในเชงิ อรรถที่ ๑๐
๑๘ รปู คำภาษาบาลที ี่ถูกต้องควรเปน็ “ยมกปกรณํ นฏิ ฺฐิต”ํ แปลว่า “คัมภีร์ยมกจบแล้ว” ดู
คำอธิบายในเชิงอรรถท่ี ๑๐

๑๓

ปจจฺ โย วปิ ากปจจฺ โย อาหารปจฺจโย อินฺทรยิ ปจฺจโย ฌานปจจฺ โย มคฺคปจฺจโย

สมฺปยุตฺตปจฺจโย วิปฺปยุตฺตปจฺจโย อตฺถิปจฺจโย นตฺถิปจฺจโย วิคตปจฺจโย

อวิคตปจฺจโย โหตุ ฯ ๏ มหาปฏฐฺ านปการณา นฏิ ฺฐิตา๑๙ ฯ๒๐

พฺรสุตฺตนฺตปิฏกสํเขปกถา นิฏฺฐิตา๒๑ ฯ พฺรวินยปิฏกสํเขปกถา

นฏิ ฺฐติ า๒๒ ฯ พรฺ อภิธมฺมปิฏกสงฺเขปกถา นิฏฐฺ ิตา๒๓ ฯ นพิ ฺพานปจฺจโย โหตุ เม

อนาคเต๒๔ ฯ ภวตุ เม สพฺพมงฺคลํ๒๕ ฯ

๏ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมมฺ าสมพฺ ทุ ธสสฺ ฯ

๏ ตโิ ลกเสฏฐํ ตํ พทุ ฺธํ ธมมฺ ํ นวนิยฺยานิกํ ฯ

๏ สฆํ ํ นริ กฺขณญเฺ จว อภวิ าทิย๒๖ ภาสิสฺสํ ฯ

ข้าไหว้พระเจ้า ผู้ประเสริฐล้ำเลิศในไตรภพ ข้าพเจ้าจะขอนบ

พระนวโลกุตรธรรม ข้าพเจ้าจะขอถวาย ประนมพระสงฆ์ อันบวรสิ้นกิเลส

ขา้ พเจ้าจะขอแปล ตามคำอนั สัง่ สอน พระเถรผู้ชือ่ วา่ มาลยั (ฉันท)์

๏ ในกาลอนั ลับลน้ พ้นไปแลว้ แต่ครัง้ กอ่ น

ภกิ ษุหน่งึ ไดพ้ ระพร ชือ่ มาลัยเทพเถร

๏ อาศัยบ้านกัมโพช ชนบทโรหะเจน

อันเป็นบรเิ วณ ในแวน่ แควน้ แดนเมอื งลงั กา

๑๙ รปู คำภาษาบาลีท่ีถูกต้องควรเป็น “มหาปฏฺฐานปกรณํ นิฏฺฐติ ํ” แปลว่า “คัมภีรม์ หาปัฏ

ฐานจบแลว้ ” ดคู ำอธบิ ายในเชิงอรรถที่ ๑๐
๒๐ สังคิณี วิภังค์ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก มหาปัฏฐาน คือ พระอภิธรรม ๗

คมั ภีร์ (สัตตปั ปกรณาภธิ รรม) มอี ยใู่ นพระอภธิ รรมปิฎก
๒๑ แปลวา่ “การกล่าวถงึ พระสตุ ตันตปิฎกโดยย่อ จบแลว้ ”
๒๒ แปลวา่ “การกล่าวถงึ พระวินัยปิฎกโดยย่อ จบแลว้ ”
๒๓ แปลว่า “การกลา่ วถึงพระอภิธรรมปิฎกโดยย่อ จบแลว้ ”
๒๔ แปลว่า “ขอปจั จัยแห่งพระนพิ พานจงมแี ก่ขา้ พเจ้าในอนาคตกาลด้วยเถดิ ”
๒๕ แปลว่า “ขอส่งิ ที่เปน็ มงคลทกุ ประการจงมีแก่ขา้ พระเจ้าดว้ ยเถิด”
๒๖ ที่ถูกต้องควรเปน็ อภวิ นฺทิย

๑๔

๏ พระเถรนั้นเธอมีฤทธิ์ ประสิทธิด้วยปญั ญา

มศี ลี ครองสกิ ขา ฌานสมาบัติเธอน้ันบริบูรณ์

๏ ส้นิ กเิ ลสประเสรฐิ ศักด์ิ สนั โดษนักใครจกั ปนู

รู้หลกั ศรัทธาพนู ใจละเอียดทรงพระธรรม์

๏ ปรากฏดว้ ยรู้หลัก มฤี ทธิน์ กั ถงึ อรหันต์

อปุ มาเหมอื นหน่ึงพระจันทร์ อันปรากฏในเวหา

๏ เธอนนั้ เสดจ็ ลงไป ในนรกดว้ ยกรณุ า

เพอื่ จะให้เขาสั่งมา แลว้ จะบอกญาตกิ าพลัน

๏ พระโมคคลั ลา๒๗ผู้สาวก โปรดนรกทกุ ๆ วนั

คร้นั แล้วโปรดชาวสวรรค์ ดว้ ยพระธรรมอ์ นั ประเปรียว

๏ พระมาลัยเทพเถร บแ่ ปลกกันดจุ พิมพเ์ ดยี ว

รูธ้ รรมอันฉลาดเฉลียว อานภุ าพนัน้ เหมือนกัน

๏ หญงิ ชายท้งั หลายใด ใจโลภลน้ พน้ คณนา

ยอ่ มเบียดเบยี นแลบฑี า ข่มเหงท่านใหท้ รพล

๏ ผ้นู ั้นคร้ันไปล่ปลดิ สน้ิ ชีวิตจากเมืองคน

ตกนรกไฟเผาตน เจ็บปวดร้อนใช่สามานย์

๏ พระโมคคลั ลาเสด็จลงไป ให้ฝนตกลงเป็นทอ่ ธาร

ใหไ้ ฟดับบม่ ิทันนาน สัตว์ในนรกกเ็ ยน็ ใจ

๏ พระมาลัยเทพเถร ทา่ นจึงเสดจ็ เหาะลงไป

นริ มิตฝนใหด้ บั ไฟ โปรดนรกดุจเดยี วกัน

๏ ผ้ใู ดเปน็ อุปถัมภ์ ให้ขา้ วน้ำแก่เจา้ ไทยพลนั

คร้ันแล้วใช้เจา้ ไทยนัน้ ให้ทำเรอื กสวนแลไรน่ า

๒๗ พระโมคคัลลานะ อัครสาวกเบือ้ งซ้ายของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเลิศด้านอิทธิฤทธ์ิ

๑๕

๏ เปน็ กำลงั แก่เจา้ ไทย๒๘ ให้เจ้าไทยไปรั้งพา

ล่อลวงเอาทรพั ยเ์ ขามา เอามากินเป็นอาหาร

๏ ใหข้ ้าวนำ้ แกเ่ จา้ ไทย ใช้เจ้าไทยไปทำการ

ใหท้ ำกุฎีแลสถาน แล้วก็กลับใช้เจา้ ไทย

๏ ใช้ชีมิจฉาจิต ใหเ้ สียกิจพระวินัย

ผู้ใชน้ นั้ คร้นั ตายไป ตกนรกโลหะกมุ ภี๒๙

๏ หม้อเหลก็ เคยี่ วตนอยู่ ยืนได้ถงึ แปดหมื่นปี

บาปคนอนั ใชช้ ี ให้กินแล้วแลใชส้ งฆ์

๏ เจา้ ไทยทำผดิ กิจ ตนชว่ ยคดิ เอาใจปลง

สิ้นชวี ิตไปตกลง ในหม้อเหลก็ แปดหมน่ื ปี

๏ พระมาลัยเทพเถร จงึ จะลงไปทุบตี

หมอ้ เหลก็ แหลกเป็นธุลี สัตวใ์ นนรกก็ช่ืนบาน

๏ พระมาลยั ไปโปรดสตั ว์ ดุจดังองค์พระโมคคัลลาญาณ

ใหน้ รกเย็นสำราญ พ้นจากยากเพียงปางตาย

๏ พระมาลัยเธอยังอยู่ หมอ้ เหล็กนั้นแตกยอ่ ยหาย

ครั้นท่านขน้ึ มาหม้อเหลก็ อันพลัดพราย อันแตกนั้นประมวลเข้ามา

๏ คุมเขา้ เปน็ ดวงกลม ต้มสัตว์ไวร้ ้อนนกั หนา

เพราะบาปใชช้ ีปา ใหเ้ สียกิจพระวินัย

๏ ให้ทานใหเ้ ปน็ บญุ อยา่ ไดใ้ ชส้ อยเจ้าไทย

ผใู้ ชน้ น้ั จะตกไป ในหม้อเหลก็ ตม้ เปอ่ื ยพัง

๒๘ เจ้าไทย คำเรยี กพระสงฆ์ในศาสนาพทุ ธของคนโบราณ ในความเช่ือของคนโบราณ การสั่ง
ให้พระสงฆ์ทำงานต่าง ๆ ที่เป็นกิจของฆราวาสน้ัน ไม่ควรทำอย่างย่ิงเนื่องจากผู้น้ันจะตอ้ งไปตกนรกอย่าง
ยาวนาน

๒๙ นรกหมอ้ เหลก็ แดงลกุ เปน็ ไฟ หนงึ่ ในยมโลกทงั้ สิบในไตรภมู โิ ลกวินิจฉยกถา

๑๖

๏ ผใู้ ดเลย้ี งเจ้าไทย ใหข้ า้ วนำ้ เปน็ กำลงั
ครั้นแลว้ เม่อื ภายหลงั ใชเ้ จ้าไทยให้กระทำการ
๏ วา่ ยอยใู่ นหมอ้ เหลก็ อนั เดือดรอ้ นพลงุ่ ข้ึนพลา่ น
บาปใชช้ ใี หก้ ระทำการ หมอ้ เหลก็ เค่ียวเปอ่ื ยท้ังตน
๏ ร้อนแสบเจ็บปวดยาก ทนวิบากอดกั อดน
นำ้ เขา้ ปากจมูกตน ดนิ้ ระด่าวเพยี งปางตาย
๏ ผใู้ ดตีพอ่ แม่ ปยู่ ่าแกแลตายาย
ตีดา่ สงฆ์ท้งั หลาย ตภี กิ ษุแลเจ้าเณร
๏ ผู้น้นั ครน้ั ตายไป ด้วยบาปกรรมนายเวร
บาปตแี ม่ตีเจา้ เณร ใหล้ ม้ ลุกย่อมเปน็ กรรม
๏ กงจักรผดั ๓๐หวั อยู่ สิ้นพทุ ธันดรกัลป์๓๑
เพราะบาปใจอาธรรม์ ตีพ่อแม่แลตีสงฆ์
๏ กงจักรผัดหวั อยู่ เลอื ดไหลทราบอาบตนลง
บาปตีแม่แลตีสงฆ์ กงจกั รผัดร้องครางตาย
๏ เลือดไหลลงยอ้ ยหยด กงจักรกรดผัดบ่วาย
เรง่ ร้องเรง่ ครางตาย กงจักรกรดเรง่ ผัดผนั
๏ ตนี มอื สั่นสน่ั ระเร่ิม ตวั สั่นเท้มิ อย่งู กงนั
ยืนตรงอยทู่ ุกวัน เหน่อื ยลำบากยากหนกั หนา
๏ พระมาลยั ผ้เู ป็นเจา้ ท่านจึงเสดจ็ ลงไปหา
หักกงจกั รด้วยฤทธา สตั วผ์ ู้นัน้ สว่างทุกขท์ น
๏ ครัน้ ทา่ นเสดจ็ ขนึ้ มา กงจกั รเขา้ บัดเด๋ียวดล
กงจกั รผัดเป็นยนต์ บาปตแี ม่แลตสี งฆ์

๓๐ ผัด หมายถงึ เลอ่ื นหรอื หมนุ
๓๑ พทุ ธันดรกลั ป์ หมายถงึ ชว่ งระยะเวลาท่พี ระพุทธเจา้ แต่ละพระองคเ์ สด็จลงมาตรสั รู้

๑๗

๏ ผู้ใดแลสับปลบั บังคับความบ่มเิ ทย่ี งตรง

ใจอาธรรม์บม่ ิดำรง ทั้งสองข้างอันเขาผูกกนั

๏ ไดส้ ินจ้างใสถ่ ุงไว้ ท่ีมิได้ให้ก็ตกต่ำ

บงั คบั ความบม่ ิเทีย่ งธรรม กงจักรผดั หวั คนเอง

๏ กงจกั รผดั หัวไว้ อดมไิ ด้รอ้ งครางเครง

บังคบั ความลำเอียงเอง กงจักรกรดผัดในหวั

๏ บ่มิแพ้จำใหแ้ พ้ คกุ คำรามขม่ ให้กลัว

กงจกั รผัดในหัว เพราะบังคับความบ่มิเที่ยงธรรม์

๏ กงจกั รผดั ในหัว ส้นิ พุทธันดรกลั ป์

มตี ัวตีนมือส่ัน อยู่ระเร่ิมยืนมอื ตรง

๏ เมื่อใดถึงกำเนดิ พระเจ้าเกิดแต่ละองค์ ๆ

บงั คับความบ่มเิ ทยี่ งตรง คราทนี ั้นจงึ จะหาย

๏ พระมาลยั เสด็จไป หกั กงจกั รกระจัดกระจาย

กงจกั รหกั พลดั พราย สตั วผ์ นู้ ั้นก็มายินดี

๏ คร้นั พระมาลัยเสด็จขน้ึ ไป กงจกั รนน้ั กพ็ นู มี

ครอบเข้ารอบเกศี สตั วผ์ นู้ ัน้ กร็ อ้ งคราง

๏ ผู้ใดใครทง้ั หลาย เปน็ ผูช้ ายอันโสภา

มักมากด้วยตัณหา ใจโลภลน้ พ้นประมาณ

๏ เมยี ทา่ นหน้าแช่มชอ้ ย หนา้ แนง่ น้อยงามนงคราญ

ใจร้ายไปเบียนผลาญ ยยุ งเอาดว้ ยเลห่ ์กล

๏ ผู้น้ันคร้ันไปล่ปลดิ ๓๒ สนิ้ ชวี ิตจากเมืองคน

ไปข้นึ งิ้วบดั เดย๋ี วดล ในไมง้ ้วิ กวา่ พันปี

๓๒ ไปลป่ ลิด คำโบราณหมายถงึ ตาย

๑๘

๏ หนามงิ้วคมยง่ิ กรด โดยโสฬส๓๓สบิ หกองคลุ ๓ี ๔
มกั เมยี ทา่ นชมว่าดี หนามง้ิวยอก๓๕ทว่ั ทัง้ ตน
๏ หญงิ ใดใจมักมาก มักเลน่ ราคด้วยกามกล
ทำยาแฝดแลเรยี นมนต์ ให้ผวั ตนเมาตัณหา
๏ พรางผัวมิใหร้ ู้ ลกั เลน่ ชู้เสพกามา
แต่งแง่งามโสภา เพื่อจะใหช้ ายอนื่ ดู
๏ ตอ่ หน้าผัวทำเปน็ มิตร ลับหลังคดิ เป็นศตั รู
แต่งแง่๓๖ให้ชายอ่ืนดู ลักเลน่ ชู้ซอ่ นเงอ่ื นงำ
๏ ทำรักแลว้ ทำโกรธกรว้ิ ชกั หน้านิว่ ใหผ้ วั ยำ๓๗
แสร้ง๓๘ให้แสร้งแกลง้ ทำ ทำกลหกมากมารยา
๏ หญงิ น้ันครน้ั วอดวาย หายชวี ิตจากโลกา
ขนึ้ งิ้วยมบาลมา รุมเอาหอกไลท่ ่ิมแทง
๏ ตอ่ หนา้ ผัวดา่ ตัดพ้อ บม่ ยิ ่อท้อบ่มยิ ำกลัว
งอหมัดข้นึ เหนือหัว ยืนสูงชะเง้ือมพ้นเกศา
๏ ผูกแขวนเอาหัวลง เพราะหญิงนั้นมันใจแข็ง
ยมบาลเอาหอกแทง บาปใจแข็งเลน่ ชูเ้ หนือผวั
๏ ทำเคียด๓๙อยงู่ นั งก ทำกลหกมากมารยา
แปรปรวนผวนไปมา ให้ผัวลุอำนาจตน

๓๓ โสฬส หมายถึง จำนวนเทา่ กบั ๑๖
๓๔ องคุลี หมายถึง นิ้ว (จำนวนนับโบราณ)
๓๕ ยอก หมายถงึ ตำ ทม่ิ
๓๖ แตง่ ตัวเพ่ือใหเ้ พศตรงขา้ มสนใจ มกั ใชก้ บั เพศหญงิ
๓๗ ยำ หมายถงึ เกรงกลวั มักเป็นคำซ้อนคือ ยำเกรง
๓๘ แสรง้ หมายถงึ ตั้งใจ บ้างใช้ แกล้ง ก็มี
๓๙ เคยี ด (คำโบราณ) หมายถงึ โกรธ พบคำนใี้ นสุภาษติ พระรว่ งวา่ เจา้ เคยี ดอยา่ เคยี ดตอบ

๑๙

๏ ยมบาลเอาหอกแทง บาปใจแขง็ แลแสนกล
ทำยาแฝดแลเรียนมนต์ เขาจงึ ผูกเอาหวั ลง
๏ เขาเอาหอกมาร้อยปาก เพราะปากนั้นบ่มิเทย่ี งตรง
เอาหอกปกั ลงอก เพราะใจร้ายซอ่ นใจหลายใจ
๏ พระมาลยั เทพเถร ทา่ นจึงเสด็จเหาะลงไป
หกั ไมง้ ิว้ ตระบัดใจ๔๐ สตั วผ์ นู้ น้ั หายทุกทน
๏ คร้นั ทา่ นเสด็จขนึ้ ไป ไม้งิ้วงอกบัดเดี๋ยวดล
แต่ผ้ลู กั เล่นกามกล ขึ้นง้ิวเล่าดจุ กอ่ นวา่
๏ ผ้ใู ดเป็นผู้ใหญ่ เป็นนายไร่และนายนา
ขม่ เหงฝูงประชา ผู้บญุ นอ้ ยให้อบั เฉา
๏ วดั ไรน่ าใหล้ ้ำเหลือ เจ้าอำเภอเกาะกุมเอา
บเ่ อาแตย่ อ่ มเยา ให้ผิดระบอบพระบัญชา
๏ ผนู้ น้ั คร้ันตายไป พริ าลยั จากโลกา
บาปขม่ เหงฝงู ประชา แผน่ ดินน้นั กลับเปน็ ไฟ
๏ แผน่ ดินเปน็ แผ่นเหล็ก ลกุ วู่วามร้อนเหลือใจ
ไหม้เขา้ ถงึ ตับไต ไสพ้ งุ ขาดเรย่ี ออกมา
๏ สตั ว์นั้นนอนดนิ้ อยู่ ไฟไหมว้ ู่ร้อนนักหนา
บาปนายไร่และนายนา เอาทรัพย์เขาใหล้ ำ้ เหลือ
๏ บาปตนขม่ เหงเขา ตนเป็นเจา้ นายอำเภอ
เอาทรพั ย์เขาให้ล้ำเหลือ แผน่ เหล็กไหมร้ ้อนอาดรู

๔๐ ตระบัดใจ หมายถึง ในทนั ทที ันใด

๒๐

๏ สตั วน์ ัน้ ร้อนเปน็ บา้ ลุกบ่ายหนา้ มาทิศฝา่ ยบูรพ์
ภเู ขาหนึง่ เป็นไฟพูน ฝ่ายขา้ งบูรพ์กว็ างมา
๏ สตั วน์ ้ันกลวั เขาไฟ กลบั หลงั ไปมนิมนา๔๑
ภูเขาหนึ่งจึงเกิดมา ฝ่ายข้างทิศตะวนั เย็น๔๒
๏ สตั วน์ ั้นทอดตาไป เหลียวแตไ่ กลกแ็ ลเห็น
ภูเขาหน่ึงเกิดข้ึนเป็น ถา่ นไฟร้อนเรอื งขจร
๏ สัตวน์ ั้นรอ้ นผะผา่ ว ดิน้ ระด่าวในกลางไฟ
บาปนายนาแลนายไร่ วดั ไร่นาให้ล้ำเหลือ
๏ ว่าตนเป็นผใู้ หญ่ เปน็ นายไร่เจ้าอำเภอ
เอาทรัพยเ์ ขาใหล้ ำ้ เหลอื ภูเขาไฟเผาเปน็ ธุลี
๏ ธรรมมะนี้ทา่ นผ้ปู ราชญ์ อนั เฉลยี วฉลาดมฤี ทธี
เอามาแต่คัมภีร์ ชือ่ ขุททกนิกาย๔๓
๏ บอกไว้ให้เปน็ ผล เป็นกุศลแก่หญิงชาย
สปั ปุรษุ ๔๔ทา่ นท้ังหลาย ฟังจำไว้ส่งั สอนไวใ้ จ
๏ เม่ือน้นั มหาเถร อนั มนี ามชอ่ื วา่ มาลยั
ท่านนนั้ เสด็จลงไป ดับไฟนรกด้วยฤทธาพล
๏ ครั้นทา่ นเสด็จขน้ึ มา ภูเขาเกิดบัดเดี๋ยวดล
สตั ว์นัน้ ดน้ิ เสอื กสน ทนลำบากในกลางไฟ

๔๑ อย่างรวดเรว็
๔๒ ทิศตะวนั ตก
๔๓ ท่มี าของเร่ืองพระมาลยั ปรากฏในพระไตรปิฎก สุตตนั ตปฎิ ก ขทุ ทกนิกาย
๔๔ ผทู้ ่ีมีสัมมาทฏิ ฐิ เหน็ ถกู ตอ้ งตามหลักพระพุทธศาสนา

๒๑

๏ สัตว์นั้นหน่งึ ใจหฤโหด ใจเขลาโฉดกนิ แตน่ ้ำเมา
บไ่ ดจ้ ะจำเอา ธรรมอันพระเจ้าสั่งสอนใจ
๏ ยมบาลเอาน้ำแสบ อันเคีย่ วพลา่ นอยูใ่ นไฟ
เทลงตระปัดใจ ในปากนน้ั กเ็ ป่ือยพงั
๏ นำ้ แสบตกถึงคอ คอไหม้พงั พองเปน็ น้ำมันยัง
ถึงอกอกกเ็ ป่ือยพัง เปน็ รูทะลปุ รุออกมา
๏ บาปเมอื่ อยเู่ ปน็ คน ไดก้ นิ เหล้าแลเมามายสุรา
อกทะลปุ รอุ อกมา บาปกนิ เหล้าแลเมามาย
๏ นำ้ แสบตกถงึ ไส้ ไสน้ น้ั ขาดกระจดั กระจาย
ตบั พงุ เปื่อยทลาย เคราะห์บาปกรรมกนิ สรุ า
๏ เมื่อนั้นพระมาลยั ทา่ นจงึ เสด็จลงไปหา
เขา้ ฌานแผลงฤทธา ใหน้ ำ้ แสบกลับเยน็ หวาน
๏ สตั วน์ น้ั ได้กินน้ำ คอื ดงั นำ้ อมฤตนฤพาน
น้ำแสบกลบั เย็นหวาน ดว้ ยใจบุญคณุ พระมาลยั
๏ ครน้ั ท่านเสด็จขึ้นมา มทิ นั ชา้ บดั เด๋ยี วใจ
น้ำเยน็ อันหวานไซร้ กลับแสบร้อนดจุ กอ่ นมา
๏ สตั วน์ รกสั่งฉันใด พระมาลัยนำเอามา
จึงบอกแกญ่ าติกา อนั เขาอยู่ในเมอื งคน
๏ ใหค้ นจำศีลสรา้ ง ใหท้ านบา้ งทำกุศล
ฟงั ธรรมมอุทศิ แผผ่ ล ไปถงึ หมญู่ าตกิ า
๏ พระมาลัยผปู้ รากฏ อันลอื ยศทว่ั ทิศา
ดุจดังองคพ์ ระโมคคลั ลา ผู้ปรากฏทั่วแดนไตร

๒๒

๏ พระโมคคลั ลานะญาณ เข้านฤพานแลว้ ลบั ไป
ยงั แต่องคพ์ ระมาลยั ยงั อยนู่ ั้นฉลององค์มา
๏ พระมาลยั มคี ุณ แกน่ รกแลเปตา
มคี ณุ แกเ่ ทพา แลมนุษยท์ ่วั อนันต์
๏ เปรตนรกส่ังชื่อใด พระมาลัยนำมาพลัน
บอกแกญ่ าติถว้ นทกุ อัน ให้เขาทำบญุ ส่งมา ฯ ราบ ฯ
๏ ยงั มีเปรตหน่ึง ลำบากนักหนา
เป็นเหย่ือแร้งกา ฝงู สตั ว์อยูร่ ุม
๏ สุนขั ใหญน่ ้อย พลอยกบั กนิ กลุ้ม
แรง้ กานกตะกรมุ จกิ สบั ทึ้งเอา
๏ เนอ้ื น้ันหมดสน้ิ ยังแต่โครงเปลา่
จกิ สับเฉี่ยวเอา ร้องครางเสียงแข็ง
๏ แรง้ กานกตะกรมุ จกิ สบั ดว้ ยแรง
จกิ ทง้ิ กวัดแกวง่ ย้อื แย่งไปมา
๏ เปรตหมูน่ ้ีฤๅ เป็นคนหยาบชา้
ฆา่ เนื้อเบ่ือปลา บม่ ิได้อดสู
๏ ฆา่ เน้ือววั ควาย บม่ ไิ ด้คดิ ดู
แทงสัตวใ์ หอ้ ยู่ ด้นิ ล้มดนิ้ ตาย
๏ ฆา่ ทรายแลเน้ือ แลววั แลควาย
ฆา่ สัตวท์ ง้ั หลาย แตล่ ว้ นสี่ตีน
๏ บาปคนฆา่ เนื้อ วัวควายเป็นอาจิณ
แร้งกาจกิ กิน รุมกันยอ้ื เอา

๒๓

๏ บาปคนเชอื ดเน้อื ไวแ้ ตโ่ ครงเปล่า
แรง้ กาจิกเอา เน้ือคนน้นั ไป
๏ บาปคนฆ่าเน้อื เจบ็ ปวดฉันใด
แรง้ กาเฉ่ียวไป เจ็บปวดคนเดียว
๏ เจ็บปวดเหลอื ทน แตค่ นอยู่เปลีย่ ว
รอ้ งครางคนเดียว ทนเวทนา
๏ บาปคนฆ่าสตั ว์ ให้มรณา
นกตะกรมุ แรง้ กา สบั ทง้ิ เนื้อตน
๏ ยงั มเี ปรตหนง่ึ เจ็บปวดเหลอื ทน
เส้นขนทัง้ ตน เป็นดาบเชอื ดลง
๏ ขนนัน้ งอกออก มาเต็มท้ังองค์
เป็นดาบเชือดลง ท่วั ทั้งสารพางค๔์ ๕
๏ ทนเจบ็ มิได้ ร้องไห้อึงคราง
แร้งกาจิกพลาง พาไปเวหา
๏ รอ้ งครางอืด ๆ ทนเวทนา
เจบ็ ปวดนกั หนา เพียงดงั จะสน้ิ ชนม์
๏ ฝูงเปรตหมนู่ ้ี เมือ่ ยังเป็นคน
ใจรา้ ยอกศุ ล ย่อมฆ่าหมูขาย
๏ ขนเปน็ หอกดาบ เพราะบาปมิอาย
บาปฆา่ หมูขาย เลยี้ งลกู เมยี ตน

๔๕ หมายถึง ร่างกาย

๏ จะตกนรก ๒๔
แลเสน้ ละหน
๏ ละทีละที นบั เทา่ เส้นขน
บาปตนราวี นบั ชาติแตล่ ะที
๏ ยังมีเปรตหน่งึ ย่งิ กวา่ พันปี
รปู นั้นพิกล ฆา่ หมขู ายเลี้ยงตน
๏ ปืนนั้นยอกเข้า ท้ังตวั ยอ่ มขน
ท้ังตัวยอ่ มปืน ขนน้ันเป็นปืน
๏ เจบ็ แสบปวดนัก ทั่วตัวไขว่ขืน
แรง้ กาจิกตน ยอกเข้าเสือกสน
๏ ปนื ยอกปากหู ร้องครางอดักอดน
เลอื ดไหลออกมา พาไปเวหา
๏ เปรตหมู่น้ีฤๅ จมกู แลตา
ใจรา้ ยอกศุ ล โทรมทว่ั ท้งั ตน
๏ บาปตนยิงนก เมอื่ อยู่เปน็ คน
เส้นขนเป็นปนื สน้ิ ย่อมยิงนกกิน
๏ ยงั มเี ปรตหน่งึ ในโลกแดนดิน
ท่ัวสารพางค์องค์ ยอกทั่วทั้งตน
๏ ขนเขม็ ยอกเขา้ ขนยอกตนลง
ตลอดออกมา เจบ็ ปวดหนกั หนา
๏ ขนเข็มยอกเขา้ ไปในเกศา
ปลายเส้นเข็มขน โดยปากแห่งตน
๏ บาปมันส่อทา่ น มากนักเหลือทน
ให้เขาเกาะกัน ยอกออกทอ้ งพลัน
จะเอารางวัล
เปน็ อันยากนกั หนา

๒๕

๏ เขม็ แทงทง้ั ตน คลานร่นไปมา
เพราะใจมนั กลา้ เหน็ แก่สนิ ไหม
๏ ยงั มีเปรตหนง่ึ สำบากเหลือใจ
มอี ัณฑะใหญ่ เดิมเท่าต่มุ หาม
๏ เล้ือยลงถึงดนิ ดุจดงั ถงุ ยา่ ม
เนา่ เปื่อยลามปาม เหม็นโขลงพึงชัง
๏ เม่ือจะเดินไป แบกขน้ึ บนหลงั
แล่นระเสิดระสัง โซเซไปมา
๏ คร้นั เม่อื จะนง่ั ปวดนักโกง้ โคง้
จงึ คอยโขย่ง ลกุ ข้ึนโอเ้ อ้
๏ ครั้นเมื่อจะนั่ง ปวดนกั โกง้ โคง้
จึงค่อยโขย่ง ลกุ ด้ินโอ้เอ้
๏ จงึ แบกขน้ึ เลา่ พาแลน่ โซเซ
นัก ๆ โอ้เอ้ สดุ สนิ้ ถอยแรง
๏ แรง้ กานกตะกรมุ จิกสบั ยอ้ื แยง่
พาบินด้วยแรง ไปสู่เวหา
๏ ร้องครางอดื ๆ เจ็บปวดนกั หนา
ทนเวทนา อดักอดน
๏ ฝูงเปรตหมูน่ ี้ เม่ือยงั เปน็ คน
เป็นนายครองผา่ น เปน็ เจ้าบา้ นเมอื ง
๏ ยอ่ มบงั คบั ความ ให้เขาแคน้ เคือง
เป็นเจา้ บ้านเมอื ง ว่าความบ่มิตรง
๏ ผู้ใดไรท้ รัพย์ เร่งขม่ มนั ลง
บงั คับความบ่มิตรง เปน็ คนลำเอียง

๒๖

๏ เหน็ แกส่ นิ จ้าง วา่ ความรายเรียง
แต่งปากแต่งเสยี ง งุบงับดบั เสยี
๏ ผูใ้ ดไร้ทรัพย์ คดิ อา่ นไกล่เกล่ีย
บรรดาจะเสีย ให้ไดส้ นิ ไหม
๏ เปน็ ปมเป็นเปา เป็นคอพอกใหญ่
เปน็ เหนียงเป็นไต เป็นหดู เป็นหิด
๏ ยังมีเปรตหน่งึ เปน็ หญิงอัปรีย์
ทัง้ ตนย่อมฝี เนา่ เปือ่ ยระสาย
๏ เล็บตีนเล็บมือ เน่าบม่ ริ ู้หาย
ฝีหน่งึ หัวกลาย เหม็นอย่อู าจิณ
๏ หญิงนนั้ จึงแกะ เกลด็ ฝนี น้ั กิน
ทกุ วนั ปฏิทนิ ค่ำเช้าเพรางาย๔๖
๏ เรง่ แกะฝีกิน ฝีนัน้ เรง่ กลาย
เน่าเป่ือยบม่ ริ ู้หาย หมองโทรมทง้ั ตน
๏ แรง้ กานกตะกรมุ จิกสบั สลวน๔๗
พาบินข้ึนบน ไปในเวหา
๏ สบั ปากจมูก จกิ หูตอดตา
นกตะกรุมแร้งกา ยื้อแย่งเรียงราย
๏ บาปหญิงหมนู่ ้ี เมื่อชาติกอ่ นไกล
เขาอญั เชญิ ไป ให้ลงผีด๔ู ๘

๔๖ เพรางาย หมายถงึ เวลาเช้า
๔๗ สลวน หมายถงึ วุ่นวาย
๔๘ คอื สมมตติ นเองวา่ เป็น “ร่างทรง” แตแ่ ท้จริงแลว้ ทำเพ่อื หาลาภสนิ บนแกต่ นเอง

๒๗

๏ มนั ลงผเี ทจ็ มันย่อมว่ากู
กพู อ่ แม่สู๔๙ กูเปน็ ตายาย
๏ กูนีเ้ ผา่ พนั ธุ์ แห่งสทู ้งั หลาย
กูจะให้สูหาย สูอย่าไดร้ ้อนใจ
๏ สูเร่งบนหมู บนเปด็ บนไก่
วัวควายตวั ใหญ่ ตับไตไสต้ ัน
๏ เอาเงนิ ผกู คอหม้อ ขวญั ข้าวเทียนทอง
หมากพลใู ส่ทอง เหลา้ เขม้ บนบาน
๏ ขวัญขา้ วเนื้อปลา มีหัวมีหาง
กูจึงละวาง ใหส้ เู ป็นคน
๏ แสรง้ ลงผีเทจ็ มันทำเลห่ ์กล
แสร้งลอ่ ลวงคน ให้เขาเชือ่ ใจ
๏ บาปบาปมด๕๐เท็จ ให้ฆา่ เป็ดไก่
เล็บตนี เนา่ ใน มอื เนา่ พกิ ล
๏ บาปบาปมดเทจ็ ตัวเป่ือยทงั้ ตน
ตาเนา่ มืดมน ปากเนา่ เป็นฝี
๏ บาปบาปมดเทจ็ ใหเ้ ขาดูดี
ทั้งตวั ยอ่ มฝี แกะฝีกินเอง
๏ บาปบาปมดเท็จ เพ่อื นบนครนื้ เครง
กนิ เนอื้ เน่าเอง กนิ ฝแี ห่งตน

๔๙ สู (สรรพนาม) หมายถึง เจ้าหรือทา่ น
๕๐ มด ในทนี่ ี้หมายถงึ แมม่ ด หมอผี

๏ บาปบาปมดเทจ็ ๒๘
กินเกลด็ ฝีตน
๏ บาปบาปมดเทจ็ กล่าวเท็จใหฉ้ งน
เป็นเปรตยนื นาน กินหนอนทุกวนั
๏ บาปบาปมดเทจ็ ลวงใหเ้ ขาทำการ
เปน็ เปรตบม่ ิดี ยงิ่ กวา่ พนั ปี
๏ บาปบาปมดเท็จ ลวงใหเ้ ขาไหว้ผี
ตวั สัน่ ระรัว เปอ่ื ยพงั ท้งั ตน
๏ บาปบาปมดเท็จ วา่ ให้เขากลวั
เป็นเปรตตัวมัน ระเริ่มงกงัน
๏ บาปบาปมดเท็จ วา่ เทจ็ ผดิ ธรรม
เปน็ เปรตปวดตน ยง่ิ กวา่ ไฟลน
๏ บาปบาปมดเทจ็ ว่าให้กลวั ขอบน
เปน็ เปรตอยู่ดง ยง่ิ กวา่ แทงลง
๏ ผู้เชอ่ื แมม่ ด วา่ ให้เขาหลง
เปน็ เปรตบ่สเบย บ่มพิ บพระเลย
๏ ผ้เู ช่ือแม่มด ไหว้ผีชมเชย
หวั เป็นหัวควาย เปน็ อสุรกาย
๏ ผูเ้ ช่ือแมม่ ด เอาบาปเปน็ นาย
ตวั เป็นตวั ทราย ตวั เป็นตัวคน
๏ ผู้เชอื่ แม่มด เอาผเี ป็นนาย
ตัวเป็นตัวคน หวั เปน็ หัวคน
๏ ผเู้ ช่ือแมม่ ด แลยอ่ มขอบน
ตัวเป็นตวั ทราย หัวเป็นหัวทราย
ย่อมว่าถอยหาย
หวั เปน็ หัวคน

๏ ผูเ้ ช่อื แมม่ ด ๒๙
ตวั เป็นตัวคน
๏ ผู้เช่ือแม่มด ยอ่ มว่าบานบน
ตวั เป็นเปด็ หมัน หวั เปน็ เปด็ หมัน
๏ ผู้เชือ่ แมม่ ด นอนมดเอาขวัญ
ตวั เป็นตวั คน หวั เปน็ หัวคน
๏ ผู้เชื่อแม่มด แลไหว้ อนบน
ตวั เป็นแรง้ กา หวั เปน็ แรง้ กา
๏ ผูเ้ ชอื่ แมม่ ด ย่อมเซ่นเหล้ายา
ตวั เป็นตวั คน หัวเปน็ หัวคน
๏ ผู้เชอื่ แม่มด กลวั ตายขอบน
ตัวเป็นแรดกวาง หัวเป็นแรดกวาง
๏ ผเู้ ชือ่ แมม่ ด ยอ่ มไหว้ผสี าง
เปน็ เปรตพิกล หัวเป็นหัวคน
๏ อสรุ กายเหลา่ น้ี ว่าบ่มเิ ปน็ ผล
ฆา่ กนั ทกุ วนั หลาก ๆ หลายพรรณ
๏ ผโู้ จทนา แตล่ ว้ นอยู่พล่าน
แตเ่ ซ่นเหลา้ แกผ่ ี มากกว่าพันปี
๏ จำเลยรู้แท้ ว่าเหตดุ งั น้ี
ว่าผีนนี้ า แลบาปนกั บาปหนา
๏ ตายไปเปน็ ผี จึงแก้ปริศนา
บาปเมอื่ เป็นคน บม่ ิเป็นมงคล
๏ เป็นผลี ำบาก เพราะวา่ ใจอกศุ ล
ชอื่ วา่ เป็นผี จึงได้เป็นผี
อดยากแสนทวี
ลำบากเหลอื ใจ

๓๐

๏ แต่บาปบาปแล้ว เร่งเซน่ ส่งไป

ฆ่าเปด็ ฆา่ ไก่ ส่งไปภายหลัง

๏ บรรดาบาปจะสิ้น บาปนั้นกลับยงั

ผเู้ ซน่ ภายหลัง เหมือนเพ่มิ บาปไป

๏ ทงั้ ว่าเซ่นเหลา้ บาปนกั เหลอื ใจ

เหมือนเพ่ิมบาปไป ใหผ้ ีท้งั หลาย

๏ ผ้เู ช่ือแม่มด เป็นอสุรกาย

ได้ดจุ อภิปราย กลา่ วแลว้ แตห่ ลัง ฯ ๏ ฉนั ท์ ๏ ฯ

๏ เมื่อน้ันว่ายังมี เปรตผ้หู นึ่งเห็นพงึ กลวั

มแี ต่ตัวบม่ หี วั เปรตหวั ด้วนเห็นพิกล

๏ ยมบาลเอาเชือกเหล็ก รอ้ นกวา่ รอ้ นมดั ทัง้ ตน

ดนิ้ ระด่าวครางอดักอดน เขาเร่งคาดเรง่ ตรงึ ลง

๏ ยมบาลเอาเหล็กแหลม ร้อนเปน็ ไฟตรงึ ทัง้ องค์

เอาหอกแทงรมุ ลง ชขู นึ้ ไปในเวหา

๏ เปรตน้นั ดิน้ อยู่ทน บนปลายหอกร้อนนกั หนา

ถา้ จะนบั จะคณนา ยังยง่ิ มากกวา่ พนั ปี

๏ เปรตหวั ด้วนรอ้ นปวดนัก เป็นอปั ลกั ษณ์ไร้อปั รยี ์

มีปากอยู่ทวารหนา้ บัดสี มีดวงตาอยู่ในอกตน

๏ มหี วั อย่ใู นท้อง ส่วนจมูกอยู่เบอื้ งบน

มรี ปู นัน้ พิกล ทนวิบากยากนักหนา

๏ แร้งปากเหล็กกาปากเหล็ก นกตะกรมุ รุมกันมา

เดินเขา้ สบั จกิ ตา หจู มกู ขาดเร่ียราย

๏ เปรตนน้ั จะเปน็ กม็ เิ ปน็ ส่วนจะตายก็บ่มติ าย

ทนวิบากยากเหลอื หลาย ยังยิ่งมากว่าพันปี

๓๑

๏ เปรตน้ันเมื่อเป็นคน อยู่แว่นแควน้ พระบรุ ี

ราชคฤห์เมืองมศี รี ชายผู้นน้ั ใจอาธรรม์

๏ ชวนเพื่อนไปรุกรน ปล้นเอาท่านแทงฆ่าฟัน

เปน็ คนใจอาธรรม์ ฉกตเี อาคนเดินทาง

๏ เล็งเหน็ สิ่งสนิ ๕๑เขา ลกั ลอบเอาบไ่ วว้ าง

บก่ ลวั บ่เกรงขาม ลกั ช้างม้าแลววั ควาย

๏ ปล้นเอาสิง่ สินเขา ใหเ้ จ้าของว่ิงกระจัดกระจาย

บก่ ลวั บ่ละอาย ปล้นฟนั เฆย่ี นเอาทรพั ยเ์ ขา

๏ บาปปลน้ ท่านให้เจ้าทรัพย์ เปน็ ทรพล๕๒ไรอ้ บั เฉา

ยมบาลเขาจงึ เอา เชือกเหล็กแดงเร่งคาดลง

๏ บาปปลน้ ท่านใหเ้ จา้ บ้าน ใหห้ นีไปซอกซอนทรง

เหล็กแหลมเขาเร่งตงึ ลง เพราะบาปตนแทงยงิ เขา

๏ บาปฉก๕๓ท่านตีเอาท่าน ผลาญเอาทา่ นทรัพย์เปลา่ อกใจ

เปน็ เปรตพกิ ลไป มแี ต่ตัวหวั ไม่มี

๏ บาปปล้นท่านรอ้ งตวาด ใหเ้ จ้าทรพั ย์ตกใจกลัว

เปน็ เปรตไม่มีหวั มแี ตต่ ัวเหน็ พกิ ล

๏ บาปรกุ ร้นปลน้ เอาทา่ น ใหเ้ จา้ ทรัพย์เป็นทรพล

บรรดาปากจะอยเู่ บอ้ื งบน ปากกลบั อยู่รทู วารเอง

๏ บาปฉวยฉกเอาของทา่ น คกุ คำรามอยูค่ รืน้ เครง

เปน็ เปรตอยวู่ ังเวง มหี วั อยู่ในท้องตน

๕๑ สิน คอื ทรพั ย์สมบัติ มกั เป็นคำซ้อนคกู่ นั คือ ทรพั ย์สนิ
๕๒ มกี ำลงั น้อย
๕๓ ฉก หมายถึง ขโมย

๓๒

๏ บาปปล้นทา่ นตเี อาท่าน ให้เจ้าของตกใจฉงน

รูจมกู อยู่เบ้อื งบน รูปทงั้ น้ันก็เคลือ่ นคลาย

๏ ตาขาดจมกู แหก หูดว้ นแฉกแตกเร่ยี ราย

เร่งร้องเรง่ ครางตาย บาปปลน้ ท่านมาถงึ ตัว ฯฯ เชดิ ฯฯ

๏ เมอ่ื นน้ั บรรดาเปรตอสุรกาย นรกทัง้ หลาย

ตา่ ง ๆ ยกมือขน้ึ ไหว้พระมาลยั

๏ ตูข้าลำบากเหลือใจ ขอพระมาลยั

เอาข่าวน้ไี ปบอกแก่ญาติกา

๏ ขอพระเจ้าบอกจงนกั หนา ขอพระกรุณา

ให้ฝงู ญาติกาเร่งขวนขวายทำบญุ

๏ ใหเ้ จรญิ พุทธคุณ อทุ ศิ ส่วนบุญ

แผ่ผลอานิสงส์มาถึงตูข้าอย่าให้นาน

๏ ใหญ้ าติใหภ้ าชนะเปน็ ทาน ใหเ้ รง่ กระทำการ

จำศีลสรา้ งพระแล้วภาวนา

๏ ให้เขาอนโุ มทนา อุทศิ บญุ มา

ตูข้าจะรับเอาทันใจ

๏ ขา้ แตพ่ ระเถรมาลัย พระจงไป

ในเมอื งนนั้ ญาตกิ าตูเขาอยู่

๏ เมอื งนน้ั แลนาฝูงญาติกาตูเขาอยู่ ขอพระเจ้าเอน็ ดู

บอกแกญ่ าติกาท้งั หลาย

๏ เขาเปน็ ทกุ ขท์ กุ วันคืน ให้สะอ้ืนโศกนกั หนา

รอ้ งไหพ้ ลางร้องสงั่ มา ถึงบิดาแลมารดร

๏ บเ่ ห็นใครจะช่วยได้ เหน็ แก่ญาติกาก่อน

ให้ญาตเิ รง่ สงั วร จำศลี แลว้ แลใหท้ าน

๓๓

๏ เขาคำนึงถึงลกู นกั อกี เมยี รกั นางนงคราญ

ให้ลกู เมยี สงสาร เอ็นดเู ราเร่งทำบญุ

๏ ขอลกู ผใู้ จทาน เมยี สงสารแม่มีคณุ

ใหเ้ ร่งกระทำบุญ สง่ บุญนัน้ มาจงเร็วพลนั ฯ๏ เชิด ๏ฯ

๏ เมอื่ นนั้ บรรดาคน ทั้งหลายได้ฟัง

อภปิ รายพระมาลยั เจา้ บอกพลนั

๏ เขาจึงแตง่ กปั ปีย์๕๔จงั หัน๕๕ ใส่บาตรครามครัน

จึงสง่ บุญนนั้ ไปถึงญาติกาตน

๏ เมือ่ นน้ั บรรดาเปรตทุกคน เล็งเห็นกศุ ล

อนั ญาติกระทำมาน้ันก็ดใี จ

๏ เขาจงึ พน้ ทุกขน์ ้ันไป เกิดในสรุ าลยั ๕๖

วิมานแก้วนางสวรรคเ์ ปน็ บรวิ ารไสว

๏ เทย่ี งแทเ้ ป็นเหลือใจ พระเถรมาลยั

มีฤทธศิ์ ักดาเป็นนักหนา

๏ เธอโปรดนรกแลเปตา ใหพ้ ้นทุกขา

เปน็ สขุ สำราญใจ

๏ เหตุดงั น้เี ทย่ี งแท้ พระเถรน้ีแล

มบี ญุ สมภาร๕๗

๕๔ หมายถึง กับข้าวท่ีถวายพระสงฆ์
๕๕ หมายถงึ คำเรียกอาหารทพ่ี ระสงฆฉ์ ัน
๕๖ สรุ หมายถงึ เทวดา, อาลัย หมายถึง ทีอ่ ยู่ รวมกันแล้วหมายถึง สวรรค์
๕๗ สมภาร หมายถึง บุญกศุ ลท่ีเคยสร้างไว้ทุกภพชาติ เม่ือรวมกันเขา้ มากขนึ้ เร่อื ย ๆ เรยี กว่า

สมภาร และนำไปสู่คำทเี่ รยี กวา่ บารมี อนั เปน็ การสะสมบุญกุศลสูงสดุ

๓๔

๏ เธอนำสัตว์เข้าสนู่ ฤพาน ดับชาติสงสาร

ใหพ้ ้นทุกขา ฯ๏ ราบ ๏ฯ

๏ อาตมาสำแดงพระคัมภีร์มาลัยเทพเถรไปโปรดนรกครั้งนั้น

บรรดาเปรตอสุรกายชาวนรก ต่างคนต่างก็สั่งพระมาลัยขึ้นมา ให้

บอกแกญ่ าติกาทีเ่ ขาอยู่ในเมอื งคนนน้ั เถิดเจ้าค่ะ

๏ เม่ือเชา้ วนั หน่ึง จงึ พระเถรมาลัย

เสดจ็ เข้าไป เอาภิกขาจร๕๘

๏ มมี อื ถอื บาตร คลมุ ผา้ จวี ร

เดินด้วยสงั วร ไดแ้ ลว้ ก็เดินมา

๏ ยังมชี ายหนง่ึ เป็นคนเข็ญใจ

เกบ็ ฟืนหักไม้ มาเล้ยี งพระมารดา

๏ ลงไปสสู่ ระ เพือ่ จะเกบ็ ผักมา

เล้ยี งพระมารดา ตามยากทรพล

๏ ชายน้นั อาบนำ้ ชำระเน้ือตน

เห็นดอกอุบล๕๙ แปดดอกงามโสภา

๏ ชายนั้นจงึ เกบ็ เอาดอกไมม้ า

ด้วยใจศรทั ธา ชน่ื ชมดใี จ

๏ ชายนน้ั เลง็ เห็น พระเถรมาลยั

อนั มาแต่ไกล สำรวมอินทรยี ์

๕๘ การบิณฑบาต ขออาหารเพ่ือโปรดสัตว์โลก หน้าที่หนึ่งของพระสงฆ์ท่ีพระพุทธเจ้าทรง
บัญญตั ิ

๕๙ หมายถงึ ดอกบัว

๓๕

๏ แลไปชัว่ แอก๖๐ เห็นงามมีศรี
มีฤทธ์พิ ิธี มีฌานผอ่ งใส
๏ ชายนน้ั คร้นั เห็น พระเถรมาลยั
จึงเดินเขา้ ไป ด้วยใจกุศล
๏ ชายนั้นจึงถวาย ดอกไมอ้ บุ ล
ดว้ ยใจกุศล แก่พระมาลัย
๏ ชายน้ันจงึ ต้งั ปณธิ าน๖๑ นึกแตใ่ นใจ
ข้าขอปรารถนา
๏ จะเอาอนั ใด ชายนัน้ จงึ จินดา๖๒
จงึ สวดพระคาถา ตั้งปณิธาน
๏ เดชะขา้ ถวาย ดอกไมเ้ ปน็ ทาน
ขา้ เกดิ ในสถาน ท่ีใดท่ีใด
๏ แม้นได้หมืน่ ชาติ แสนชาติไปไกล
ช่ือว่าเข็ญใจ ขออยา่ ได้เกิดมี
๏ พระมาลยั จึงรบั เอาดว้ ยดี
ดอกอุบลมีศรี จากชายนั้นมา
๏ จงึ ทำอนุโมทนา จงึ สวดคาถา
ไหว้เจรญิ บุญ ฯ๏ เชดิ ๏ฯ
๏ อันทานชัว่ ดีฉนั ใด
บรสิ ทุ ธ์ยิ ินดี ใครให้ด้วยใจอนั ใส

๖๐ เป็นการเปรียบเทียบเวลามองหรอื ดูสิง่ ใดก็ตามด้วยความสำรวมเคารพ เป็นอาการมองที่

สำรวม ไม่หลกุ หลกิ แอกในทนี่ ี้ หมายถึง แอกที่โคใชเ้ ทยี มเกวียน
๖๑ ปณธิ าน คือ การกำหนดเป้าหมายหรอื จดุ ประสงคข์ องการบำเพญ็ กุศลในครง้ั นัน้
๖๒ จนิ ดา หมายถึง นึก คิด

๓๖

๏ ทงั้ ศรัทธากม็ ี ดว้ ยบุญอนั ชน่ื ชมเปรมปรีด์ิ
จะเอาโลกอุดร๖๓ก็ดี
๏ ดอกไมด้ อกเดยี วงามไสว ก็จะได้ดุจใจจง
ไดน้ างฟา้ แปดสิบโกฏิ๖๔ครนั ผใู้ ดถวายไป
๏ มรี ูปโฉมโนมพรรณ๖๕
วิเศษจบพระปิฎกกัณฑ์ไตร จะไดท้ รงพระธรรม์
๏ พระเถรเทศนายอผลไป จึงรบั เอาดอกอบุ ลไว้
แล้วพระมาลยั จึงจนิ ดา ถวายพวงมาลา
๏ ควรจะเอาไปบูชา
ในมหาโพธริ ูปพระเจดีย์บม่ ินาน แตก่ อ่ นมานาน
๏ ในสัตตมหาสถาน ทใ่ี ดมิไดไ้ ปบูชา
ทง้ั นี้กกู ็ย่อมไดไ้ ปบูชา พระเกศเจดีย์
๏ คิดแลว้ คดิ เล่าถึงเจด็ ครา
ควรจะเอาดอกไม้ไปถงึ พระเจดีย์ พระธาตุจฬุ า-
๏ อย่าเลยดอกไม้งามมีศรี จงึ รับเอาดอกไม้ไป
ในกาลบัดนค้ี วรไปบูชา
๏ พลางกูจะไปไหว้วนั ทา
มณีทอ่ี นิ ทรารบั ไปประดิษฐานไว้
๏ เมือ่ น้ันพระเถรมาลยั
ทัง้ แปดดอกบานงามมีศรี

๖๓ โลกอดุ รหรอื โลกุตตร หมายถึง นิพพาน เป้าหมายสงู สดุ ในทางพระพุทธศาสนา
๖๔ หน่ึงโกฏเิ ทา่ กบั จำนวน ๑๐ ล้าน
๖๕ โนมพรรณ หมายถงึ ลักษณะ

๓๗

๏ จึงเหาะด้วยฤทธิ์พิธี ถงึ พระเกศเจดยี ์๖๖

ประมาณขณะลดั น้วิ มอื ๖๗เดียวบม่ ินาน

๏ ดอกไมแ้ ปดดอกอันงาม เธอถวายในสถาน

ทง้ั แปดทศิ ๖๘นน้ั เป็นพุทธบชู า

๏ พระมาลัยเจ้าจงึ วันทา พระเกศจุฬา

แล้วกน็ งั่ ข้างฝ่ายทศิ บูรพ์๖๙ ฯ๏ ฉันท์ ๏ฯ

๏ เมอ่ื น้ันบนั อินทรา มนี างฟา้ เปน็ บริวาร

นางสวรรค์อนั นงคราญ จะแจม่ หน้าหนา้ นวลศรี

๏ นางสวรรค์ไปละลิบ๗๐ สะพรึบพรอ้ มล้อมกนั มา

ไปไหว้พระเจดีย์ ดว้ ยชาวแม่นางทง้ั ผอง

๏ อินทราจงึ กราบไหว้ ถวายดอกไมธ้ ูปเทยี นทอง

ดว้ ยชาวแม่นางทงั้ ผอง จึงถวายตามทา้ วอนิ ทรา

๏ กราบไหว้ทง้ั แปดทศิ แลว้ บพติ รเธอจึงวันทา

ทักษิณา๗๑รอบจฬุ า- มณีเวียนเวยี นเปน็ สามวง

๏ อนิ ทราแลชาวสวรรค์ อนั มพี รรณงามย่ิงยง

ทกั ษณิ าแล้วนง่ั ลง เขาแลเห็นพระมาลยั

๖๖ หมายถึง พระจุฬามณีเจดยี ์ ประดษิ ฐาน ณ สวรรคช์ ัน้ ดาวดึงส์ ท่ปี ระดษิ ฐานของพระเกศา
และพระเข้ยี วแก้วเบอ้ื งขวาของพระสัมมาสมั พทุ ธเจ้า

๖๗ หมายถึง ชว่ งเวลาพรบิ ตาเดยี ว
๖๘ การไหว้ทั้งแปดทิศ คือ การแสดงความเคารพสูงสุด โดยประกอบไปด้วย ๑. ทิศอุดร

(เหนอื ) ๒. อสี าน (ตะวนั ออกเฉยี งเหนอื ) ๓. บูรพา (ตะวันออก) ๔. อาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต)้ ๕. ทักษิณ

(ใต้) ๖. หรดี (ตะวนั ตกเฉยี งใต)้ ๗. ประจมิ (ตะวนั ตก) และ ๘. พายพั (ตะวนั ตกเฉียงเหนอื )
๖๙ บรู พ์ หมายถงึ บรู พา หมายถึง ทศิ ตะวนั ออก
๗๐ ลิว่ ไกล
๗๑ ตรงกบั คำวา่ ทกั ษณิ าวรรต หมายถงึ การเวียนขวา เป็นการเดนิ เวยี นขวา (ตามเขม็ นาฬิกา)

ให้สงั เกตวา่ สิง่ ทจี่ ะบูชาอย่ขู วามือเราเป็นการแสดงถึงความเคารพในสง่ิ ทบี่ ชู าอย่างสงู สดุ

๓๘

๏ อินทราแลชาวสวรรค์ ยกมอื ไหว้งามไสว
วันทาพระมาลัย แล้วห้อมล้อมอย่เู รียงรัน
๏ อินทราแลนางฟ้า เข้านัง่ ชิดสะกดิ กนั
พระเถรมานัง่ อยู่น้นั มาแต่สวรรค์ฤๅมาแต่ไหน
๏ อินทราผู้งามยง ถามพระองค์ไปทนั ใจ
จึงถามพระเถรไป ประสงคส์ งิ่ ไรจงึ ข้นึ มา
๏ นางสวรรค์แลอนิ ทรา เหน็ ประหลาดยง่ิ นักหนา
พระเถรเจา้ กูนี้นา มาเพ่ือว่าปรารถนาสิ่งอนั ใด
๏ อนิ ทราแลนางสวรรค์ นง่ั รายเรียงกนั ไป
วนั ทาพระมาลัย แลว้ นงั่ ลอ้ มมหาเถร ฯ ราบ ๏ ฯ
๏ เมอ่ื นนั้ อินทรา จงึ ไหวถ้ ามไป
พระมาไหน มาถึงเมอื งสวรรค์
๏ ขา้ ขอถามพระ บอกข้าจงพลัน
มาถึงเมอื งสวรรค์ เพื่อจะเอาอนั ใด
๏ เมือ่ นนั้ พระเถร จึงบอกทันใจ
ตามอัธยาศัย อนั คนเทศขึ้นมา
๏ เราเอาดอกไม้ มาถวายบชู า
เพื่อจะวันทา พระเกศเจดยี ์
๏ พระเถรจงึ ถาม เจดยี ์ใครทำ
อนิ ทรารบั คำ ข้าพเจ้ารจนา
๏ ข้าพระทำไว้ เพ่ือจะไหว้บชู า
แห่งเทพเทวา อนั อยู่เมืองสวรรค์
๏ ข้าพระทำดว้ ย แก้วอินทนิลมพี รรณ
บรรจพุ ระเกศน้นั กับเข้ียวแกว้ ทศพล

๓๙

๏ พระเถรจึงวา่ เทวาถ้วนตน
ได้ทำกุศล แตอ่ ยูใ่ นเมืองดิน
๏ จึงได้เสวยสขุ เป็นพรหมเปน็ อินทร์
จะอยู่น่งั กิน เพราะบญุ แหง่ ตน
๏ ดังฤๅเปน็ อนิ ทร์ แลว้ สรา้ งกุศล
จะสืบแผ่ผล ไปเล่าฉนั ใด
๏ จะอยนู่ งั่ กนิ ผลก่อนเปน็ ไร
ดังฤๅใจสรา้ งไป ให้ยากแก่ตน
๏ อนิ ทร์ยกมือไหว้ พระเถรบดั ดล
จงึ กล่าวยบุ ล๗๒ ใหแ้ จง้ ถอื ถาม
๏ ขา้ แต่พระเถร เปน็ เจ้าใจงาม
พระเจ้าได้ถาม ข้าขอแถลงถวาย
๏ เบอ้ื งเปน็ เทวา ดว้ ยกันทัง้ หลาย
ลางเทพหญงิ ชาย บญุ น้อยเดียวไป
๏ มาอยู่ในสวรรค์ บม่ ิไดเ้ ทา่ ใด
จะกลับลงไป ในโลกโลกา
๏ ดุจดังคน อันทำไร่นา
ไดข้ า้ วเอกา ทะนานเดยี วน้อยไป
๏ เร่งมแี ล้วเร่ง ทำนาผลทรพั ย์
อนนั ต์อเนกมากคราม อันนี้อปุ มา
ดุจคนใจงาม ทำบญุ เกือบขาม
จึงไดไ้ ปสวรรค์

๗๒ เร่ืองราว

๔๐

๏ อยใู่ นสวรรค์แล้ว เรง่ ได้ฟงั ธรรม

เรง่ อยู่ในสวรรค์ เรง่ ไดบ้ ูชา

ไดถ้ วายธปู เทียน ดอกไมม้ ณฑา

พระเกศจุฬา เจดีย์สถาน

๏ ผู้นน้ั จะอยู่ ในสวรรค์ยนื นาน

กศุ ลสมภาร จะค้ำชตู น

ใหไ้ ดไ้ ปเกิด ชั้นอนิ ทร์ชน้ั พรหม

ตราบเทา่ ถึงบน อมตะนฤพาน ๚ ฉนั ท์ ๚

๏ เมอ่ื นนั้ พระมาลัยเธอได้ยนิ อนิ ทร์แจง้ แถลงถวาย

จึงถามอภิปราย ซงึ่ อินทราใจกุศล

๏ ดูกรท้าวอินทรา เทพยดาในเบ้อื งบน

มาไหว้ธาตุถ้วนทุกคน เปน็ สุขระร่นื ชื่นชมใจ

๏ ไมตรีพระโพธิสัตว์๗๓ ท่านเสด็จมาฤๅฉันใด

นมสั การธาตุนีไ้ ซร้ พระศรีอาริย์ยังจะมาฤๅ

๏ พระศรีอาริย์ท่านใจสุทธ์ิ หนอ่ พระพทุ ธอันเล่อื งลือ

ท่านนัน้ ยังจะมาฤๅ ฤๅเสด็จอยู่ในวมิ าน

๏ อินทราจึงขานตอบ โดยระบอบชอบโวหาร

พระเจ้าพระศรีอาริย์ อย่าพักว่าฉันใดเลย

๏ ไมตรีทา่ นดนี ักหนา ยอ่ มเสด็จมานะหวั เอ๋ย

พระเถรอยา่ ถามเลย พระศรอี าริย์ท่านเสด็จมา

๏ พระมาลัยเจ้าจึงถาม ดว้ ยคำถามเผยวาจา

พระศรอี ารยิ ์ท่านย่อมมา ย่อมเสด็จมาในวันใด

๗๓ พระโพธิสัตว์ หมายถงึ ผกู้ ำลังบำเพ็ญบารมเี พือ่ ตรสั รู้เป็นพระพทุ ธเจ้าในอนาคต


Click to View FlipBook Version