โครงสร้าง และแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566-2568 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แผนกประถมศึกษา โรงเรียนขจรเกียรติโคกกลอย
โครงสร้างการสอน วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา ……… เวลา 80 ชั่วโมง หน่วยที่ ชื่อเรื่อง มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สาระสำคัญ เวลา (ชั่วโมง) น้ำหนัก คะแนน 5 การ เปลี่ยนแ ปลง การเปลี่ยนสถานะ มาตรฐาน ว 2.1 เข้าใจสมบัติของสสาร อ งค์ ป ร ะ ก อ บ ข อ งส ส า ร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติ ของสสารกับ โครงสร้างและ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค หลักและธรรมชาติของการ เปลี่ยนแปลง สถานะของ สสาร การเกิดสารละลาย และการเกิดปฏิกิริยาเคมี ป.5/1 อธิบายการเปลี่ยน สถานะของสสาร เมื่อทำให้ สสารร้อนขึ้นหรือเย็นลง โดย ใช้หลักฐาน สสารที่อยู่รอบตัวเรามี หลายชนิด สสารแต่ละชนิดที่ พบในชีวิตประจำวันอาจมี สถานะเป็นของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส ซึ่งสสารอาจเปลี่ยน จากสถานะ 10 ส.1-3
โครงสร้างการสอน วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา …….. เวลา 80 ชั่วโมง หน่วยที่ ชื่อหน่วยการ เรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สาระสำคัญ เวลา (ชั่วโมง) น้ำหนัก คะแนน 5 การ เปลี่ยน แปลง การละลาย มาตรฐาน ว 2.1 เข้าใจสมบัติของสสาร องค์ประกอบของสสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติ ของสสารกับ โครงสร้างและ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค หลักและธรรมชาติของการ เปลี่ยนแปลง สถานะของ สสาร การเกิดสารละลาย และการเกิดปฏิกิริยาเคมี ป.5/2 อธิบายการละลาย ของสารในน้ำโดยใช้หลักฐาน เชิงประจักษ์ การละลายเป็นการเปลี่ยน แปลงทางกายภาพของสารที่ เกิดขึ้นจากการนำสารใส่ลง ในน้ำ แล้วสารนั้นผสมรวม กับน้ำอย่างกลมกลืนจนมอง เห็นเป็นเนื้อเดียวกันทุกส่วน โดยสารที่ได้ยังคงเป็นสาร เดิม เรียกว่า สารละลาย โดยสารต่างๆ อาจอยู่ใน สถานะของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส ซึ่งสารบางชนิด ละลายน้ำได้ ส่วนสารบาง ชนิดไม่สามารถละลายน้ำได้ แต่สามารถละลายในสาร ละลายอื่นได้แทน 8 ส.3-5
โครงสร้างการสอน วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา ……. เวลา 80 ชั่วโมง หน่วยที่ ชื่อเรื่อง มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สาระสำคัญ เวลา (ชั่วโมง) น้ำหนัก คะแนน 6 แหล่งน้ำ และลม ฟ้า อากาศ แหล่งน้ำบนโลก มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจองค์ประกอบ และ ความสัมพันธ์ของระบบโลก กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายใน โลก และบนผิวโลก ธรณีพิบัติภัย กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้า อากาศและภูมิอากาศโลก รวมทั้ง ผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ป.5/1 เปรียบเทียบปริมาณน้ำ ในแต่ละแหล่ง และระบุปริมาณ น้ำที่มนุษย์สามารถนำมาใช้ ประโยชน์ได้จากข้อมูลที่รวบรวม ได้ ป.5/2 ตระหนักถึงคุณค่าของ น้ำโดยนำเสนอแนวทางการใช้น้ำ อย่างประหยัดและการอนุรักษ์น้ำ โลกของเรามีน้ำปก คลุมเป็นส่วนใหญ่ของพื้นผิว โลกทั้งหมด โดยมีทั้งแหล่ง น้ำเค็มและแหล่งน้ำจืด ซึ่งมี ความสำคัญต่อการดำรงชีวิต ของสิ่งมีชีวิต เราจึงต้องใช้ น้ำอย่างประหยัดและคุ้มค่า 8 ส.9-10 ประเมินผลกลางภาค ภาคเรียนที่ 2 10
รงสร้างการสอน วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา ……. เวลา 80 ชั่วโมง หน่วยที่ ชื่อเรื่อง มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สาระสำคัญ เวลา (ชั่วโมง) น้ำหนัก คะแนน 6 แหล่งน้ำ และลม ฟ้า อากาศ การเกิดเมฆและ หมอก มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจองค์ประกอบ และ ความสัมพันธ์ของระบบโลก กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายใน โลก และบนผิวโลก ธรณีพิบัติภัย กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้า อากาศและภูมิอากาศโลก รวมทั้ง ผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ป.5/4 เปรียบเทียบกระบวนการ เกิดเมฆ หมอก น้ำค้าง และ น้ำค้างแข็ง จากแบบจำลอง เมฆ เกิดจากไอน้ำในอากาศ จะควบแน่นเป็นละอองน้ำ เล็ก ๆ โดยมีละอองลอย เช่น เกลือ ฝุ่นละออง ละอองเรณูของดอกไม้ เป็น อนุภาคแกนกลาง เมื่อ ละอองน้ำจำนวนมากเกาะ กลุ่มรวมกันลอยอยู่สูงจาก พื้นดินมาก แต่ละอองน้ำที่ เกาะกลุ่มรวมกันลอยอยู่ใกล้ พื้นดิน เรียกว่า หมอก 6 ส.11-12 การเกิดน้ำค้างและ น้ำค้างแข็ง มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจองค์ประกอบ และ ความสัมพันธ์ของระบบโลก กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายใน โลก และบนผิวโลก ธรณีพิบัติภัย กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้า อากาศและภูมิอากาศโลก รวมทั้ง ผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ป.5/4 เปรียบเทียบกระบวนการ เกิดเมฆ หมอก น้ำค้าง และ น้ำค้างแข็ง จากแบบจำลอง ไอน้ำที่ควบแน่นเป็นละออง น้ำเกาะอยู่บนพื้นผิววัตถุ ใกล้พื้นดิน เรียกว่า น้ำค้าง ถ้าอุณหภูมิใกล้พื้นดิน ต่ำกว่าจุดเยือกแข็งน้ำค้างก็ จะกลายเป็นน้ำค้างแข็ง 5 ส.12-13
โครงสร้างการสอน วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา …….. เวลา 80 ชั่วโมง หน่วยที่ ชื่อเรื่ง มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สาระสำคัญ เวลา (ชั่วโมง) น้ำหนัก คะแนน 6 แหล่งน้ำ และลม ฟ้า อากาศ การเกิดหยาดน้ำฟ้า มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจองค์ประกอบ และ ความสัมพันธ์ของระบบโลก กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายใน โลก และบนผิวโลก ธรณีพิบัติภัย กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้า อากาศและภูมิอากาศโลก รวมทั้ง ผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ป.5/5 เปรียบเทียบกระบวน การเกิดฝน หิมะ และลูกเห็บ จากข้อมูลที่รวบรวมได้ ฝนเกิดไอน้ำในอากาศ ควบแน่นเป็นละอองน้ำ เล็ก ๆ เมื่อละอองน้ำ จำนวนมากในเมฆรวม ตัวกันจนอากาศไม่ สามารถพยุงไว้ได้จึงตก ลงมาเป็นฝน หิมะเกิด จากไอน้ำในอากาศ ระเหิดกลับเป็นผลึก น้ำแข็ง รวมตัวกันจนมี น้ำหนักมากขึ้นจนเกิน กว่าอากาศจะพยุงไว้จึง ตกลงมา ลูกเห็บเกิดจาก หยดน้ำที่เปลี่ยนสถานะ เป็นน้ำแข็ง แล้วถูกพายุ พัดวนซ้ำไปซ้ำมาในเมฆ ฝนฟ้าคะนองที่มีขนาด ใหญ่และอยู่ในระดับสูง จนเป็นก้อนน้ำแข็งขนาด ใหญ่ขึ้นแล้วตกลงมา 6 ส.13-15
โครงสร้างการสอน วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา ……… เวลา 80 ชั่วโมง หน่วยที่ ชื่อเรื่อง มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สาระสำคัญ เวลา (ชั่วโมง) น้ำหนัก คะแนน 6 แหล่งน้ำ และลม ฟ้า อากาศ วัฏจักรน้ำ มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจองค์ประกอบ และ ความสัมพันธ์ของระบบโลก กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายใน โลก และบนผิวโลก ธรณีพิบัติภัย กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้า อากาศและภูมิอากาศโลก รวมทั้ง ผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ป.5/3 สร้างแบบจำลองที่ อธิบายการหมุนเวียนของน้ำ ในวัฏจักรของน้ำ ฝนเกิดไอน้ำในอากาศ ควบแน่นเป็นละอองน้ำ เล็ก ๆ เมื่อละอองน้ำ จำนวนมากในเมฆรวม ตัวกันจนอากาศไม่ สามารถพยุงไว้ได้จึงตกลง มาเป็นฝน หิมะเกิดจากไอ น้ำในอากาศระเหิดกลับ เป็นผลึกน้ำแข็ง รวมตัวกัน จนมีน้ำหนักมากขึ้นจนเกิน กว่าอากาศจะพยุงไว้จึงตก ลงมา ลูกเห็บเกิดจากหยด น้ำที่เปลี่ยนสถานะเป็น น้ำแข็ง แล้วถูกพายุพัดวน ซ้ำไปซ้ำมาในเมฆฝนฟ้า คะนองที่มีขนาดใหญ่และ อยู่ในระดับสูง จนเป็นก้อน น้ำแข็งขนาดใหญ่ขึ้นแล้ว ตกลงมา 6 ส.15-16
โครงสร้างการสอน วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา …….. เวลา 80 ชั่วโมง หน่วยที่ ชื่อเรื่อง มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สาระสำคัญ เวลา (ชั่วโมง) น้ำหนัก คะแนน 7 ดาว เคราะห์ บน ท้องฟ้า ดาวฤกษ์และดาว เคราะห์ มาตรฐาน ว 3.1 เข้าใจองค์ประกอบ ลักษณะ กระบวนการเกิด และวิวัฒนาการของเอกภพ กาแล็กซีดาวฤกษ์ และระบบ สุริยะ รวมทั้งปฏิสัมพันธ์ ภายในระบบสุริยะที่ส่งผลต่อ สิ่งมีชีวิต และการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีอวกาศ ป.5/1 เปรียบเทียบความ แตกต่างของดาวเคราะห์และ ดาวฤกษ์จากแบบจำลอง ดาวที่มองเห็นบนท้องฟ้า อยู่ในอวกาศซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่ นอกบรรยากาศของโลก มีทั้ง ดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ ดาว ฤกษ์เป็นแหล่งกำเนิดแสงจึง สามารถมองเห็นได้ ส่วนดาว เคราะห์ไม่ใช่แหล่งกำเนิดแสง 6 ส.16-17 ดาวฤกษ์บน ท้องฟ้า ป.5/2 ใช้แผนที่ดาวระบุ ตำแหน่งและเส้นทางการขึ้น และตกของกลุ่มดาวฤกษ์บน ท้องฟ้า และอธิบายแบบรูป เส้นทางการขึ้นและตกของ กลุ่มดาวฤกษ์บนท้องฟ้าใน รอบปี ดาวฤกษ์ เป็นดาวที่มีแสง สว่างในตัวเอง จัดเป็นแหล่ง กำเนิดแสงจึงสามารถมองเห็น เป็นจุดสว่างและมีแสงระยิบ ระยับบนท้องฟ้าในเวลากลาง วันจะมองเห็นท้องฟ้าเป็นสีฟ้า ส่วนในเวลากลางคืนจะมองเห็น กลุ่มดาวฤกษ์ต่าง ๆ ที่อยู่บน ท้องฟ้ามีรูปร่างแตกต่างกัน ออกไป 4 ส.18
โครงสร้างการสอน วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา ………. เวลา 80 ชั่วโมง หน่วยที่ ชื่อเรื่อง มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สาระสำคัญ เวลา (ชั่วโมง) น้ำหนัก คะแนน 7 ดาว เคราะห์ บน ท้องฟ้า ดาวฤกษ์และดาว เคราะห์ มาตรฐาน ว 3.1 เข้าใจองค์ประกอบ ลักษณะ กระบวนการเกิด และวิวัฒนาการของเอกภพ กาแล็กซีดาวฤกษ์ และ ระบบสุริยะ ปฏิสัมพันธ์ ภายในระบบสุริยะที่ส่งผล ต่อสิ่งมีชีวิต และการ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี อวกาศ ป.5/2 ใช้แผนที่ดาวระบุ ตำแหน่งและเส้นทางการขึ้น และตกของกลุ่มดาวฤกษ์บน ท้องฟ้า และอธิบายแบบรูป เส้นทางการขึ้นและตกของ กลุ่มดาวฤกษ์บนท้องฟ้าใน รอบปี เมื่อสังเกตกลุ่มดาวฤกษ์ ในช่วงเวลาต่าง ๆ ในคืน เดียวกัน จะพบว่ากลุ่มดาว ฤกษ์มีการเปลี่ยนตำแหน่ง โดยเคลื่อนจากทิศตะวันออก ไปทางทิศตะวันตก ทำให้ มองเห็นดาวฤกษ์ขึ้นจากขอบ ฟ้าทางทิศตะวันออก และตก ลับขอบฟ้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งดาวฤกษ์และกลุ่มดาวฤกษ์ มีเส้นทางการขึ้นและตกตาม เส้นทางเดิมทุกคืน และจะ ปรากฏตำแหน่งเดิมเสมอ 4 ส.19 การบอกตำแหน่ง ของกลุ่มดาวฤกษ์ ป.5/2 ใช้แผนที่ดาวระบุ ตำแหน่งและเส้นทางการขึ้น และตกของกลุ่มดาวฤกษ์บน ท้องฟ้า และอธิบายแบบรูป เส้นทางการขึ้นและตกของ กลุ่มดาวฤกษ์บนท้องฟ้าใน รอบปี การสังเกตตำแหน่งกลุ่ม ดาวฤกษ์ สามารถทำได้โดยใช้ การระบุมุมทิศและมุมเงยที่ กลุ่มดาวนั้นปรากฏ ผู้สังเกต สามารถใช้มือในการประมาณ ค่าของมุมเงยเมื่อสังเกตดาว ในท้องฟ้า 4 ส.20 ประเมินผลปลายภาค ภาคเรียนที่ 2 20
สัปดาห์ที่ 1-2 โรงเรียนขจรเกียรติโคกกลอย แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด -ว 2.1 ป.5/1 อธิบายการเปลี่ยนสถานะของสสาร เมื่อทำให้สสารร้อนขึ้นหรือเย็นลง โดยใช้หลักฐาน เชิงประจักษ์ 2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด สสารที่อยู่รอบตัวเรามีหลายชนิด สสารแต่ละชนิดที่พบในชีวิตประจำวันอาจมีสถานะเป็นของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส ซึ่ง สสารอาจเปลี่ยนจากสถานะหนึ่งไปเป็นอีกสถานะหนึ่งได้ โดยอาศัยการเพิ่มหรือลดความร้อนให้แก่ สสารไปจนถึงระดับหนึ่ง เรียกว่า การเปลี่ยนสถานะ การหลอมเหลว เป็นการเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว โดยเมื่อเพิ่มความร้อนให้กับสสารที่อยู่ใน สถานะของแข็งจนถึงระดับหนึ่งจะทำให้สสารนั้นเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว การกลายเป็นไอ เป็นการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นแก๊ส โดยเมื่อเพิ่มความร้อนให้กับสสารที่อยู่ในสถานะ ของเหลวจนถึงระดับหนึ่งจะทำให้สสารนั้นเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นสถานะแก๊ส เรียกว่าการกลายเป็นไอ ซึ่งแบ่งได้ 2 กระบวนการ ได้แก่ การระเหย เป็นการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวที่อยู่บริเวณผิวหน้า ไปเป็นแก๊ส และการเดือด เป็นการ เปลี่ยนสถานะจากของเหลวโดยเพิ่มความร้อนจนถึงจุดเดือดจนเป็นแก๊ส การควบแน่น เป็นการเปลี่ยนสถานะจากแก๊สเป็นของเหลว โดยเมื่อลดความร้อนให้กับสสารที่อยู่ในสถานะ แก๊สจนถึงระดับหนึ่งจะทำให้สสารนั้นเปลี่ยนสถานะจากแก๊สเป็นของเหลว การแข็งตัว เป็นการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง โดยเมื่อลดความร้อนให้กับสสารที่อยู่ในสถานะ ของเหลวจนถึงระดับหนึ่งจะทำให้สสารนั้นเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง การระเหิด เป็นการเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นแก๊ส โดยเมื่อเพิ่มความร้อนให้กับสสารที่อยู่ในสถานะ ของแข็งบางชนิดจนถึงระดับหนึ่งจะทำให้สสารนั้นเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นแก๊ส โดยไม่ผ่านการเป็นของเหลว การระเหิดกลับ เป็นการเปลี่ยนสถานะจากของแก๊สเป็นของแข็ง โดยเมื่อลดความร้อนให้กับสสารที่อยู่ในสถานะ แก๊สบางชนิดจนถึงระดับหนึ่งจะทำให้สสารนั้นเปลี่ยนสถานะจากของแก๊สเป็นของแข็ง โดยไม่ผ่านการเป็นของเหลว 3. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1) อธิบายการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสารเมื่อเพิ่มหรือลดความร้อนให้สสารได้ (K) 2) ปฏิบัติกิจกรรมการเปลี่ยนสถานะของสสารได้อย่างถูกต้องและเป็นลำดับขั้นตอน (P) 3) ตั้งใจเรียนรู้และแสวงหาความรู้ รับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย (A) ภาคเรียนที่ …2…/……….……... ชื่อผู้สอน ….…………………………………………………... กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 6 คาบ หน่วยการเรียนรู้ที่1 การเปลี่ยนแปลง เรื่อง การเปลี่ยนสถานะ
4. สาระการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้แกนกลาง สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น -ก าร เป ลี่ ย น ส ถ า น ะ ข อ งส ส า ร เป็ น ก า ร เปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เมื่อเพิ่มความร้อนให้กับ สสารถึงระดับหนึ่งจะทำให้สสารที่เป็นของแข็ง เป ลี่ย น สถ าน ะเป็ น ขอ งเห ลว เรีย ก ว่า การ หลอมเหลว และเมื่อเพิ่มความร้อนลงต่อไปจนถึงอีก ระดับหนึ่งของเหลวจะเปลี่ยนเป็นแก๊ส เรียกว่า การ กลายเป็นไอ แต่เมื่อลดความร้อนถึงระดับหนึ่งแก๊ส จะเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว เรียกว่า การ ควบแน่น และถ้าลดความร้อนต่อไปอีกจนถึงระดับ หนึ่งของเหลวจะเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง เรียกว่า การแข็งตัว สสารบางชนิดสามารถ เปลี่ยนสถานะ จากของแข็งเป็นแก๊สโดยไม่ผ่านการเป็นของเหลว เรียกว่า การระเหิด ส่วนแก๊สบางชนิดสามารถ เปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง โดยไม่ผ่านการเป็น ของเหลว เรียกว่า การระเหิดกลับ พิจารณาตามหลักสูตรของสถานศึกษา 5. กิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ (Engage) 1. นักเรียนทำแบบประเมินก่อนเรียน 2. ครูทักทายกับนักเรียน แล้วแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ จากนั้นนักเรียนทำ แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การเปลี่ยนแปลง เพื่อวัดความรู้เดิมของนักเรียน ก่อนเข้าสู่กิจกรรม 3. นักเรียนอ่านสาระสำคัญและดูภาพ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การเปลี่ยนแปลง จากหนังสือเรียน วิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 จากนั้นครูตั้งประเด็นคำถามว่า “การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ของสสาร และการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสาร เหมือนหรือต่างกันอย่างไร” แล้วให้นักเรียน แต่ละคนร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระโดยไม่มีการเฉลยว่าถูกหรือผิด (แนวตอบ : ต่างกัน โดยการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสสาร จะไม่ทำให้เกิดสารใหม่ และทำให้ สารนั้นกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสาร จะทำให้เกิดสารใหม่ และ ทำให้กับมาเป็นสารเดิมได้ยากหรือไม่ได้) คาบที่1 ขั้นนำ
ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ (Engage) (ต่อ) 3. นักเรียนดูภาพในบทที่ 1 การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ จากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 จากนั้นครูถาม คำถามสำคัญประจำบทว่า “การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสสารที่พบเห็นได้ ในชีวิตประจำวันมีอะไรบ้าง” โดยให้นักเรียนแต่ละคนร่วมกันอภิปรายเพื่อหาคำตอบ (แนวตอบ : น้ำเดือดจนกลายเป็นไอ การควบแน่นของไอน้ำจนกลายเป็นหยดน้ำ เป็นต้น) 4. นักเรียนเรียนรู้คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนในบทที่ 1 การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ จากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 โดยครูขออาสาสมัครนักเรียน จำนวน 1 คน ให้เป็นผู้อ่านนำ และให้นักเรียนที่อยู่ในชั้นเรียนเป็นผู้อ่านตามทีละคำ ดังนี้ 5. นักเรียนทำกิจกรรมนำสู่การเรียนโดยอ่านสถานการณ์จากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ป5 เล่ม 2 แล้วตอบคำถาม ลงในสมุดประจำตัวนักเรียน หรือแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 (หมายเหตุ : ครูเริ่มประเมินนักเรียน โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล) ขั้นที่ 2 สำรวจค้นหา (Explore) 1. ครูเปิดวีดิทัศน์เกี่ยวกับการเกิดฝน ให้นักเรียนดู โดยให้นักเรียนแต่ละคนสังเกตกระบวน การเกิดฝนจากวีดิทัศน์ จากนั้นครูตั้งประเด็นคำถามกระตุ้นความคิดนักเรียนว่า “จากวีดิทัศน์ นักเรียนสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของน้ำ ในลักษณะใดบ้าง” โดยให้นักเรียนแต่ละคนร่วมกัน อภิปรายแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระโดยไม่มีการเฉลยว่าถูกหรือผิด (แนวตอบ : ขึ้นอยู่กับสิ่งที่นักเรียนสังเกตเห็น เช่น น้ำจากทะเล/มหาสมุทรระเหยเป็นไอน้ำ, ไอน้ำในอากาศรวมตัวกันเป็นเมฆและควบแน่นเป็นฝน) 2. นักเรียนเล่นเกมจับกลุ่ม เพื่อแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 4 คน โดยเตรียมบัตรคำมาตรา ตัวสะกด มาให้นักเรียน ในบัตรคำมาตราตัวสะกด จะประกอบไปด้วย ตัวสะกด จำนวน 10 ตัว ได้แก่ ก ข ง ล ว ส ห แ ็ ๊ 3. จากนั้นให้นักเรียนแต่ละคนสุ่มหยิบบัตรคำคนละ 1 ใบ แล้วจับกลุ่มกัน กลุ่มละ 4 คน โดยจะต้อง รวมตัวสะกดตามบัตรคำที่หยิบได้ให้เป็นคำ ดังนี้ - แข็ง (บัตรคำ 4 ตัวสะกด คือ แ ข ็ ง) - เหลว (บัตรคำ 4 ตัวสะกด คือ เ ห ล ว) - แก๊ส (บัตรคำ 4 ตัวสะกด คือ แ ก ๊ ส) ขั้นสอน Physical Change (‘ฟิซิคัล เชนจ) การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ Vaporisation (‘เวเพอไรเซชัน) การกลายเป็นไอ Condensation (คอนเด็น ‘เซชัน) การควบแน่น คาบที่2
4. เมื่อนักเรียนแบ่งกลุ่มเรียบร้อย นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับ เรื่อง การเปลี่ยนสถานะของสสาร จากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 หรือแหล่งการเรียนรู้ ต่าง ๆ เช่น อินเทอร์เน็ต 5. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายเรื่องที่ได้ศึกษา จากนั้นให้นักเรียนแต่ละคนเขียนสรุปความรู้ ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าลงในสมุดประจำตัวนักเรียน เพื่อนำส่งครูท้ายชั่วโมง (หมายเหตุ : ครูเริ่มประเมินนักเรียน โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม) 6. ครูตั้งประเด็นคำถามกระตุ้นความสนใจนักเรียนว่า “ถ้าเราตั้งน้ำแข็งก้อนทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้อง น้ำแข็งก้อนจะเกิดการเปลี่ยนแปลงสถานะหรือไม่ อย่างไร” โดยให้แต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปราย เพื่อหาคำตอบ (แนวตอบ : น้ำแข็งก้อนเกิดการเปลี่ยนแปลงสถานะ โดยเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว) ขั้นที่ 2 สำรวจค้นหา (Explore) (ต่อ) 1. ครูจัดเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรมที่ 1 การเปลี่ยนสถานะของสสาร จากหนังสือเรียน วิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 มาวางไว้หน้าชั้นเรียน ดังนี้ - ชาม 1 ใบ - น้ำแข็งก้อน 5-6 ก้อน - หลอดทดลอง 1 หลอด - ตะแกรงวางหลอดทดลอง 1 อัน - บีกเกอร์ขนาด 250 มิลลิลิตร 1 ใบ - เกลือ 1 ถุง - กระจกนาฬิกา 1 อัน - น้ำแข็งป่น 3/4 ของชาม - ชุดตะเกียงแอลกอฮอล์ 1 ชุด 2. นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 5 คน ตามความสมัครใจ จากนั้นครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มจัดเตรียม อุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรมที่ 1 การเปลี่ยนสถานะของสสาร จากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 3. ครูแจ้งจุดประสงค์ของกิจกรรมที่ 1 การเปลี่ยนสถานะของสสาร ให้นักเรียนทราบ เพื่อเป็นแนว ทางการปฏิบัติกิจกรรมที่ถูกต้อง 4. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมที่ 1 การเปลี่ยนสถานะของสสาร โดยปฏิบัติกิจกรรมดังนี้ 1) ศึกษาขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมจากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 อย่างละเอียด หากมีข้อสงสัยให้สอบถามครู 2) ร่วมกันกำหนดปัญหาและตั้งสมมติฐานในการปฏิบัติกิจกรรม แล้วบันทึกผลลงในสมุดประจำตัว นักเรียน หรือแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 3) ร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนให้ครบถ้วนและถูกต้องทุกขั้นตอน จากนั้นบันทึกผลลงใน สมุดประจำตัวนักเรียน หรือแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 (หมายเหตุ : ครูเริ่มประเมินนักเรียน โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม) 5. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์ผลการปฏิบัติกิจกรรม แล้วอภิปรายผลและสรุปผลการทดลอง คาบที่ 3 ขั้นสอน
ขั้นที่ 3 อธิบายความรู้(Explain) 6. นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิด จนครบทุกกลุ่ม ในระหว่างที่นักเรียนนำเสนอครูคอยให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เพื่อให้นักเรียน มีความเข้าใจที่ถูกต้อง (หมายเหตุ : ครูเริ่มประเมินนักเรียน โดยใช้แบบประเมินการนำเสนอผลงาน) 7. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติกิจกรรมที่ 1 การเปลี่ยนสถานะของสสาร ซึ่งได้ข้อสรุปร่วมกันว่า “เมื่อตั้งน้ำแข็งก้อนทิ้งไว้ในบีกเกอร์ประมาณ 10 นาที พบว่าน้ำแข็งก้อน จะละลายและเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว เรียกการเปลี่ยนแปลงของสถานะสสารนี้ ว่า การหลอมเหลว เมื่อนำน้ำที่ได้ในบีกเกอร์ มาต้มด้วยไฟอ่อน ๆ ประมาณ 5 นาที พบว่าน้ำจะ ระเหยและเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นไอน้ำ เรียกการเปลี่ยนแปลงของสถานะสสารนี้ว่า การกลายเป็นไอ ซึ่งเมื่อดับไฟที่ต้มบีกเกอร์ จากนั้นนำกระจกนาฬิกาที่มีน้ำแข็งก้อนวางอยู่ด้านบน แล้วนำมาวางบนปากบีกเกอร์ จะพบว่าไอน้ำในบีกเกอร์ควบแน่นบริเวณใต้กระจกนาฬิกา และเปลี่ยนสถานะจากไอน้ำเป็นของเหลว (หยดน้ำ) เรียกการเปลี่ยนแปลงของสถานะสสารนี้ว่า การควบแน่น และเมื่อนำน้ำในบีกเกอร์เทใส่หลอดทดลองปริมาตร 1/4 ของหลอด จากนั้นนำไป แช่ในชามน้ำแข็งป่นที่ผสมเกลือ แล้วตั้งทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที พบว่าน้ำในหลอดทดลองจับตัว เป็นก้อนและเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง เรียกการเปลี่ยนแปลงของสถานะสสารนี้ว่า การแข็งตัว” 8. นักเรียนแต่ละคนทำกิจกรรมหนูตอบได้ จากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 โดยตอบ คำถามลงในสมุดประจำตัวนักเรียน หรือแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 ขั้นที่ 4 ขยายความเข้าใจ (Elaborate) 9. นักเรียนแบ่งกลุ่ม (กลุ่มเดิม) จากชั่วโมงที่ผ่านมา จากนั้นให้แต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาค้นคว้าข้อมูล เกี่ยวกับ เรื่อง การเปลี่ยนสถานะของสสาร จากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 หรือ แหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น อินเทอร์เน็ต 10. ครูสุ่มนักเรียน จำนวน 4 คน ให้ยกตัวอย่างการเปลี่ยนสถานะของสสารในชีวิตประจำวัน คนละ 1 ตัวอย่าง ดังนี้ • คนที่ 1 ให้ยกตัวอย่างการเปลี่ยนสถานะของสสารโดยการหลอมเหลว • คนที่ 2 ให้ยกตัวอย่างการเปลี่ยนสถานะของสสารโดยการกลายเป็นไอ • คนที่ 3 ให้ยกตัวอย่างการเปลี่ยนสถานะของสสารโดยการควบแน่น • คนที่ 4 ให้ยกตัวอย่างการเปลี่ยนสถานะของสสารโดยการแข็งตัว คาบที่ 5 ขั้นสอน คาบที่ 4
11. ครูอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนสถานะของสสารว่า “การเปลี่ยนสถานะของ สสารเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ โดยอาศัยความร้อนเป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งเมื่อมีการเพิ่ม หรือลดความร้อนให้กับสสารในระดับหนึ่งจะทำให้สสารเกิดการเปลี่ยนแปลงสถานะ แต่สสารนั้น สามารถกลับคืนสู่สถานะเดิมได้อีกครั้งเมื่อมีการลดหรือเพิ่มความร้อน” 12. ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามเนื้อหาเกี่ยวกับ เรื่อง การเปลี่ยนสถานะของสสาร และให้ความรู้ เพิ่มเติมจากคำถามของนักเรียน โดยครูใช้ PowerPoint เรื่อง การเปลี่ยนสถานะของสสาร ในการอธิบายเพิ่มเติม 13. นักเรียนตอบคำถามท้าทายการคิดขั้นสูง จากหนังสือเรียน วิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 ลงในสมุด ประจำตัวนักเรียน หรือแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 14. นักเรียนจับคู่กับเพื่อนในชั้นเรียน ตามความสมัครใจ จากนั้นให้นักเรียนทำใบงานที่ 5.1.1 เรื่อง การเปลี่ยนสถานะของสสาร 15. ครูสุ่มนักเรียน 2-3 คู่ ออกมานำเสนอคำตอบของตนเอง โดยครูให้นักเรียนร่วมกันพิจารณา ว่าคำตอบใดถูกต้อง จากนั้นครูเฉลยคำตอบที่ถูกต้องให้นักเรียน ขั้นที่ 5 ตรวจสอบผล (Evaluate) 1. ครูตรวจสอบผลการทำแบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การเปลี่ยนแปลง เพื่อตรวจสอบความเข้าใจก่อนเรียนของนักเรียน 2. ครูประเมินผล โดยการสังเกตพฤติกรรมการตอบคำถาม พฤติกรรมการทำงานรายบุคคล พฤติกรรมการทำงานกลุ่ม และจากการนำเสนอผลการทำกิจกรรมหน้าชั้นเรียน 3. ครูตรวจสอบผลการทำกิจกรรมนำสู่การเรียน ในสมุดประจำตัวนักเรียน หรือแบบฝึกหัด วิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 4. ครูตรวจสอบผลการปฏิบัติกิจกรรมที่ 1 การเปลี่ยนสถานะของสสาร ในสมุดประจำตัวนักเรียน หรือแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 5. ครูตรวจสอบผลการทำกิจกรรมหนูตอบได้ ในสมุดประจำตัวนักเรียน หรือแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 6. ครูตรวจ คำถามท้าทายการคิดขั้นสูง ในสมุดประจำตัวนักเรียน หรือแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 7. ครูตรวจสอบผลการทำใบงานที่ 5.1.1 เรื่อง การเปลี่ยนสถานะของสสาร 8. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการเปลี่ยนสถานะของสสาร ซึ่งได้ข้อสรุปร่วมกันว่า “สถานะ ของสสารมีด้วยกัน 3 สถานะ ได้แก่ ของแข็ง ของเหลว แก๊ส ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสถานะทาง กายภาพของสสาร จะต้องอาศัยความร้อนเป็นปัจจัยสำคัญ โดยกระบวนการเปลี่ยนแปลงสถา ของสสารมีด้วยกัน หลายกระบวนการ ได้แก่ การหลอมเหลว การกลายเป็นไอ การควบแน่น และการแข็งตัว” ขั้นสรุป คาบที่ 6
6. การวัดและประเมินผล การวัดและประเมินผล จุดประสงค์ วิธีการวัดผล เครื่องมือวัด เกณฑ์การ ประเมินผล ความรู้ความเข้าใจ (K) 1. สังเกตจากการซักถาม ตอบ คำถาม 2. อธิบายการเปลี่ยนแปลงสถานะ ของสสารเมือเพิ่มหรือลดความ ร้อนให้สสารได้ 1.แบบทดสอบก่อน เรียนหน่วยการเรียนรู้ ที่ 5 การเปลี่ยนแปลง 2. คำถามกระตุ้น ความคิด 70% ขึ้นไป ถือว่า ผ่านเกณฑ์การ ประเมิน ทักษะ/ กระบวนการ (P) 1. ปฏิบัติกิจกรรมการเปลี่ยน สถานะของสสารได้อย่างถูกต้อง และเป็นลำดับขั้นตอน 1. แบบการนำเสนอ ผลงาน/ผลการทำ กิจกรรม 2. กิจกรรมพัฒนา ทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ที่ 1 การ เปลี่ยนสถานะของ สสาร 70% ขึ้นไป ถือว่า ผ่านเกณฑ์การ ประเมิน คุณลักษณะนิสัย (A) 1. สังเกตจากการเรียนมีความใฝ่ เรียนรู้และให้ความร่วมมือในการ ทำกิจกรรมกลุ่ม 1. แบบสังเกต พฤติกรรม 70% ขึ้นไป ถือว่า ผ่านเกณฑ์การ ประเมิน 7. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ 7.1 สื่อการเรียนรู้ 1) หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การเปลี่ยนแปลง 2) แบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การเปลี่ยนแปลง 3) ใบงานที่ 5.1.1 เรื่อง การเปลี่ยนสถานะของสสาร 4) วัสดุ-อุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรมที่ 1 การเปลี่ยนสถานะของสสาร 5) PowerPoint เรื่อง การเปลี่ยนสถานะของสสาร 6) บัตรคำมาตราตัวสะกด 7) วีดิทัศน์เกี่ยวกับการเกิดฝน จาก https://www.youtube.com/watch?v=g5Et-Ec-BSE 8) สมุดประจำตัวนักเรียน
7.2 แหล่งการเรียนรู้ 1) ห้องเรียน 2) อินเทอร์เน็ต 8. กิจกรรมเสนอแนะ ....................................................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................................................... ลงชื่อ............................................ครูผู้สอน ลงชื่อ...................................................ฝ่ายวิชาการ (...........................................................) (...........................................................) ลงชื่อ................................................... ผู้บริหาร (...........................................................)
ใบงานที่ 5.1.1 เรื่อง การเปลี่ยนสถานะของสสาร คำชี้แจง : ให้นักเรียนใช้คำในสี่เหลี่ยมด้านล่างนี้ เติมลงในช่องว่างที่กำหนด ของแข็ง การหลอมเหลว การแข็งตัว ของเหลว การกลายเป็นไอ การระเหิด แก๊ส การควบแน่น การระเหิดกลับ สถานะของสสาร ของแข็ง ของเหลว แก๊ส เพิ่มความร้อน ลดความร้อน …………………… ……….. …………………… ……….. …………………… ……….. …………………… ……….. …………………… ……….. เพิ่มความร้อน ลดความร้อน …………………… ……….. …………………… ………..
ใบงานที่ 5.1.1 เฉลย เรื่อง การเปลี่ยนสถานะของสสาร คำชี้แจง : ให้นักเรียนใช้คำในสี่เหลี่ยมด้านล่างนี้ เติมลงในช่องว่างที่กำหนด ของแข็ง การหลอมเหลว การแข็งตัว ของเหลว การกลายเป็นไอ การระเหิด แก๊ส การควบแน่น การระเหิดกลับ สถานะของสสาร ของแข็ง ของเหลว แก๊ส เพิ่มความร้อน ลดความร้อน ของเหลว ของแข็ง แก๊ส .. การหลอมเหลว . การแข็งตัว . เพิ่มความร้อน ลดความร้อน การกลายเป็นไอ . การควบแน่น .
ก ข ง ล ว ส ห แ ็ ๊ บัตรคำมาตราตัวสะกด
สัปดาห์ที่ 3-4 โรงเรียนขจรเกียรติโคกกลอย แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ว 2.1 ป.5/1 อธิบายการเปลี่ยนสถานะของสสาร เมื่อทำให้สสารร้อนขึ้นหรือเย็นลง โดยใช้หลักฐาน เชิงประจักษ์ 2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด การระเหิด เป็นการเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นแก๊ส โดยเมื่อเพิ่มความร้อนให้กับสสารที่อยู่ในสถานะ ของแข็งบางชนิดจนถึงระดับหนึ่งจะทำให้สสารนั้นเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นแก๊ส โดยไม่ผ่านการเป็นของเหลว การระเหิดกลับ เป็นการเปลี่ยนสถานะจากของแก๊สเป็นของแข็ง โดยเมื่อลดความร้อนให้กับสสารที่อยู่ใน สถานะแก๊สบางชนิดจนถึงระดับหนึ่งจะทำให้สสารนั้นเปลี่ยนสถานะจากของแก๊สเป็นของแข็ง โดยไม่ผ่านการเป็นของเหลว 3. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายการระเหิดของสสารได้ (K) 2. อธิบายการเปลี่ยนสถานะของสสาร เมื่อเพิ่มหรือลดความร้อนได้ (P) 3. ปฏิบัติกิจกรรมการระเหิดและการระเหิดกลับได้อย่างถูกต้องและเป็นลำดับขั้นตอน (P) 4. มีความใฝ่เรียนรู้และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกลุ่ม (A) 4. สาระการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้แกนกลาง สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น สสารบางชนิดสามารถเปลี่ยนสถานะจาก ของแข็งเป็นแก๊สโดยไม่ผ่านการเป็นของเหลว เรียกว่า การระเหิด ส่วนแก๊สบางชนิดสามารถเปลี่ยนแปลง สถานะเป็นของแข็งโดยไม่ผ่านการเป็นของเหลว เรียกว่า การระเหิดกลับ พิจารณาตามหลักสูตรของสถานศึกษา ภาคเรียนที่ …2…/……….……... ชื่อผู้สอน ….…………………………………………………... กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 4 คาบ หน่วยการเรียนรู้ที่5 การเปลี่ยนสถานะ เรื่อง การระเหิด
5. กิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ (Engage) 1. ครูทักทายนักเรียน จากนั้นครูทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับ เรื่อง การเปลี่ยนสถานะของสสาร โดยครูแจกกระดาษสี Post it ประกอบด้วย สีชมพู สีเหลือง สีเขียว และสีส้ม ให้นักเรียน คนละ 4 แผ่น คละสีกัน จากนั้นครูชี้แจงให้นักเรียนปฏิบัติ ดังนี้ • กระดาษสีชมพูให้นักเรียนเขียนตัวอย่างของสสารที่มีการเปลี่ยนแปลงโดยการหลอมเหลว • กระดาษสีเหลืองให้นักเรียนเขียนตัวอย่างของสสารที่มีการเปลี่ยนแปลงโดยการแข็งตัว • กระดาษสีเขียวให้นักเรียนเขียนตัวอย่างของสสารที่มีการเปลี่ยนแปลงโดยการกลายเป็นไอ • กระดาษสีส้มให้นักเรียนเขียนตัวอย่างของสสารที่มีการเปลี่ยนแปลงโดยการควบแน่น 2. ครูแบ่งพื้นที่บนกระดานดำออกเป็น 4 ส่วน จากนั้นครูเขียนคำว่า “การหลอมเหลว การกลาย เป็นไอ การควบแน่น การแข็งตัว” ลงบนกระดานดำ 3. นักเรียนแต่ละคนเขียนตัวอย่างของสสารที่มีการเปลี่ยนแปลงสถานะ ลงในกระดาษสี Post it ที่ตนเองได้รับ เมื่อเขียนเสร็จ ครูสุ่มนักเรียน จำนวน 5 คน ให้มาแปะคำตอบที่เขียนลงในกระดาษ สี Post it หน้าชั้นเรียน โดยครูให้นักเรียนร่วมกันพิจารณาว่าคำตอบใดถูกต้อง จากนั้นครูเฉลย คำตอบที่ถูกต้องให้นักเรียน ขั้นที่ 2 สำรวจค้นหา (Explore) 1. ครูเปิดวีดิทัศน์เกี่ยวกับการระเหิดของน้ำแข็งแห้ง ให้นักเรียนดู จากนั้นครูตั้งประเด็นคำถาม กระตุ้นความคิดนักเรียนว่า “น้ำแข็งแห้งมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงของสสารอย่างไร เหมือนหรือ ต่างจากการเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำแข็งก้อนหรือไม่” โดยให้นักเรียนแต่ละคนร่วมกันอภิปราย แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระโดยไม่มีการเฉลยว่าถูกหรือผิด (แนวตอบ : น้ำแข็งแห้ง มีกระบวนการเปลี่ยนแปลงสถานะจากของแข็งเป็นแก๊ส ซึ่งต่างจาก น้ำแข็งก้อนที่เปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว) 2. ครูอธิบายเพิ่มเติมว่า “การเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร นอกจากกระบวนการหลอมเหลว การกลายเป็นไอ การแข็งตัว และการควบแน่น แล้วยังมีกระบวนการอื่นอีก ได้แก่ การระเหิด และการระเหิดกลับ” คาบที่1 ขั้นนำ ขั้นสอน คาบที่2
3. ครูจัดเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรมที่ 2 การระเหิดและการระเหิดกลับ จากหนังสือเรียน วิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 มาวางไว้หน้าชั้นเรียน ดังนี้ - ช้อนตวง 2 อัน - เกลือแกง 2 ช้อน - นาฬิกาจับเวลา 1 เรือน - ที่จับหลอดทดลอง 1 อัน - ชุดตะเกียงแอลกอฮอล์ 1 ชุด - ตะแกรงวางหลอดทดลอง 1 อัน - หลอดทดลองขนาดใหญ่ 2 หลอด - ขาตั้งและที่จับหลอดทดลอง 1 ชุด - จุกยาง 2 อัน - ไม้ขีดไฟ 1 กลัก - เกล็ดไอโอดีน 2 ช้อน - น้ำอุณหภูมิห้อง 150 มิลลิลิตร 1 ใบ - บีกเกอร์ใส่น้ำผสมน้ำแข็ง 1 ใบ - บีกเกอร์ขนาด 250 มิลลิลิตร 1 ใบ - กระบอกตวงขนาด 150 มิลลิลิตร 1 ใบ 4. นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 6 คน ตามความสมัครใจ จากนั้นครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มจัดเตรียม อุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรมที่ 2 การระเหิดและการระเหิดกลับ จากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 5. ครูแจ้งจุดประสงค์ของกิจกรรมที่ 2 การระเหิดและการระเหิดกลับ ให้นักเรียนทราบ เพื่อเป็นแนว ทางการปฏิบัติกิจกรรมที่ถูกต้อง 6. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมที่ 2 การระเหิดและการระเหิดกลับ โดยปฏิบัติกิจกรรม ดังนี้ 1) ศึกษาขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมจากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 อย่างละเอียด หากมีข้อสงสัยให้สอบถามครู 2) ร่วมกันกำหนดปัญหาและตั้งสมมติฐานในการปฏิบัติกิจกรรม แล้วบันทึกผลลงในสมุดประจำตัว นักเรียน หรือแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 3) ร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนให้ครบถ้วนและถูกต้องทุกขั้นตอน จากนั้นบันทึกผลลงใน สมุดประจำตัวนักเรียน หรือแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 (หมายเหตุ : ครูเริ่มประเมินนักเรียน โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม) 7. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์ผลการปฏิบัติกิจกรรม แล้วอภิปรายผลและสรุปผลการทดลอง ขั้นที่ 3 อธิบายความรู้(Explain) 8. นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิด จนครบทุกกลุ่ม ในระหว่างที่นักเรียนนำเสนอครูคอยให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เพื่อให้นักเรียน มีความเข้าใจที่ถูกต้อง (หมายเหตุ : ครูเริ่มประเมินนักเรียน โดยใช้แบบประเมินการนำเสนอผลงาน) คาบที่ 3 ขั้นสอน
9. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติกิจกรรมที่ 2 การระเหิดและการระเหิดกลับ ซึ่งได้ข้อสรุปร่วมกันว่า “เมื่อนำหลอดทดลองที่มีเกล็ดไอโอดีนหรือเกลือแกงไปจุ่มลงในน้ำเดือด ประมาณ 2 นาที พบว่า เกล็ดไอโอดีนหรือเกลือแกงที่เป็นของแข็งจะเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊ส เรียกการเปลี่ยนแปลงของสถานะสสารนี้ว่า การระเหิด และเมื่อนำหลอดทดลองที่มีแก๊สของเกล็ด ไอโอดีนหรือเกลือแกงมาตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องประมาณ 1 นาที แล้วไปจุ่มลงในบีกเกอร์ที่มีน้ำ เย็นจัดประมาณ 3 – 5 นาที พบว่าแก๊สในหลอดทดลองจะเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง เรียกการเปลี่ยนแปลงของสถานะสสารนี้ว่า การระเหิดกลับ” 10. นักเรียนแต่ละคนทำกิจกรรมหนูตอบได้ จากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ป.5 เล่ม 2 โดยตอบ คำถามลงในสมุดประจำตัวนักเรียน หรือแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 ขั้นที่ 4 ขยายความเข้าใจ (Elaborate) 11. นักเรียนแบ่งกลุ่ม (กลุ่มเดิม) จากชั่วโมงที่ผ่านมา จากนั้นให้แต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาค้นคว้าข้อมูล เกี่ยวกับ เรื่อง การระเหิด และผลที่เกิดจากการเปลี่ยนสถานะของสสาร จากหนังสือเรียน วิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 หรือแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น อินเทอร์เน็ต 12. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายเรื่องที่ได้ศึกษา จากนั้นให้นักเรียนแต่ละคนเขียนสรุปความรู้ ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าลงในสมุดประจำตัวนักเรียน (หมายเหตุ : ครูเริ่มประเมินนักเรียน โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม) 13. ครูอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับการระเหิดและการระเหิดกลับว่า “การระเหิด เป็นการ เปลี่ยนสถานะของสสารจากของแข็งเป็นแก๊ส โดยการเพิ่มความร้อนให้กับสสารจนถึงระดับหนึ่ง สสารนั้นจะเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นแก๊ส ส่วนการระเหิดกลับเป็นการเปลี่ยนสถานะของ สสารจากแก๊สเป็นของแข็ง โดยการลดความร้อนให้กับสสารจนถึงระดับหนึ่ง สสารนั้นจะเปลี่ยน สถานะจากแก๊สเป็นของแข็ง” 14. ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามเนื้อหาเกี่ยวกับ เรื่อง การระเหิด และให้ความรู้เพิ่มเติมจากคำถาม ของนักเรียน โดยครูใช้ PowerPoint เรื่อง การระเหิด ในการอธิบายเพิ่มเติม 15. นักเรียนตอบคำถามท้าทายการคิดขั้นสูง จากหนังสือเรียน วิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 ลงในสมุด ประจำตัวนักเรียน หรือแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 16. นักเรียนจับคู่กับเพื่อนในชั้นเรียน ตามความสมัครใจ จากนั้นครูให้นักเรียนทำ ใบงานที่ 5.2.1 เรื่อง การระเหิดและการระเหิดกลับ 17. ครูสุ่มนักเรียน 2-3 คู่ ออกมานำเสนอคำตอบของตนเอง โดยครูให้นักเรียนร่วมกันพิจารณา ว่าคำตอบใดถูกต้อง จากนั้นครูเฉลยคำตอบที่ถูกต้องให้นักเรียน คาบที่4
ขั้นที่ 5 ตรวจสอบผล (Evaluate) 1. ครูประเมินผล โดยการสังเกตพฤติกรรมการตอบคำถาม พฤติกรรมการทำงานรายบุคคล พฤติกรรมการทำงานกลุ่ม และจากการนำเสนอผลการทำกิจกรรมหน้าชั้นเรียน 2. ครูตรวจสอบผลการปฏิบัติกิจกรรมที่ 2 การระเหิดและการระเหิดกลับ ในสมุดประจำตัวนักเรียน หรือแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 3. ครูตรวจสอบผลการทำกิจกรรมหนูตอบได้ ในสมุดประจำตัวนักเรียน หรือแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 4. ครูตรวจ คำถามท้าทายการคิดขั้นสูง ในสมุดประจำตัวนักเรียน หรือแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 5. ครูตรวจสอบผลการทำใบงานที่ 5.2.1 เรื่อง การระเหิดและการระเหิดกลับ 6. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการระเหิด ซึ่งได้ข้อสรุปร่วมกันว่า “กระบวนการเปลี่ยน สถานะของสสารจากของแข็งเป็นแก๊ส โดยอาศัยปัจจัยหลักคือการเพิ่มความร้อน เรียกว่า การระเหิด และกระบวนการเปลี่ยนสถานะของสสารจากแก๊สเป็นของแข็ง โดยอาศัยปัจจัยหลัก คือ การลดความร้อน เรียกว่า การระเหิดกลับ” 6.การวัดและประเมินผล การวัดและประเมินผล จุดประสงค์ วิธีการวัดผล เครื่องมือวัด เกณฑ์การ ประเมินผล ความรู้ความ เข้าใจ (K) 1. สังเกตจากการซักถาม ตอบ คำถาม 2. อธิบายการระเหิดของสสารได้ 1.คำถามกระตุ้น ความคิด 2. ใบงานที่ 5.2.1 70% ขึ้นไป ถือว่า ผ่านเกณฑ์การ ประเมิน ทักษะ/ กระบวนการ (P) 1. อธิบายการเปลี่ยนสถานะของ สสาร เมื่อเพิ่มหรือลดความร้อนได้ 1. ประเมินการ นำเสนอ ผลปฏิบัติ กิจกรรม 70% ขึ้นไป ถือว่า ผ่านเกณฑ์การ ประเมิน คุณลักษณะนิสัย (A) 1. ปฏิบัติกิจกรรมการระเหิดและ การระเหิดกลับได้อย่างถูกต้องและ เป็นลำดับขั้นตอน 2. สังเกตความมีวินัยรับผิดชอบ ใฝ่ เรียนรู้และมุ่งมั่นในการทำงาน 1. แบบสังเกต พฤติกรรม 2. แบบประเมิน คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ 70% ขึ้นไป ถือว่า ผ่านเกณฑ์การ ประเมิน ขั้นสรุป
7. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ 7.1 สื่อการเรียนรู้ 1) หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การเปลี่ยนแปลง 2) แบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การเปลี่ยนแปลง 3) ใบงานที่ 5.2.1 เรื่อง การระเหิดและการระเหิดกลับ 4) วัสดุ-อุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรมที่ 2 การระเหิดและการระเหิดกลับ 5) PowerPoint เรื่อง การระเหิด 6) กระดาษสี Post it ประกอบด้วย สีชมพู สีเหลือง สีเขียว และสีส้ม 7) วีดิทัศน์เกี่ยวกับการระเหิดของน้ำแข็งแห้ง จาก https://www.youtube.com/watch?v=A96L1z8L2nU 8) สมุดประจำตัวนักเรียน 7.2 แหล่งการเรียนรู้ 1) ห้องเรียน 2) อินเทอร์เน็ต 8. กิจกรรมเสนอแนะ ....................................................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................................................... ลงชื่อ............................................ครูผู้สอน ลงชื่อ...................................................ฝ่ายวิชาการ (...........................................................) (...........................................................) ลงชื่อ................................................... ผู้บริหาร (...........................................................)
ใบงานที่ 5.2.1 เรื่อง การระเหิดและการระเหิดกลับ คำชี้แจง : ให้นักเรียนใช้คำในสี่เหลี่ยมด้านล่างนี้ เติมลงในช่องว่างที่กำหนด การหลอมเหลว การกลายเป็นไอ การระเหิด การแข็งตัว การควบแน่น การระเหิดกลับ ปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น ซึ่งเรียกว่า ภาวะโลกร้อน (Global Warming) นั้น นักเรียนคิดว่าส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสสารอย่างไร ............................................................................................................................. ......................... ...................................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ......................... ...................................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ......................... ของแข็ง ของเหลว แก๊ส............................. .............................
เฉลย ใบงานที่ 5.2.1 เรื่อง การระเหิดและการระเหิดกลับ คำชี้แจง : ให้นักเรียนใช้คำในสี่เหลี่ยมด้านล่างนี้ เติมลงในช่องว่างที่กำหนด การหลอมเหลว การกลายเป็นไอ การระเหิด การแข็งตัว การควบแน่น การระเหิดกลับ ปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น ซึ่งเรียกว่า ภาวะโลกร้อน (Global Warming) นั้น นักเรียนคิดว่าส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสสารอย่างไร ปรากฏการณ์ภาวะโลกร้อน ทำให้น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกเกิดกระบวนการหลอมเหลว ซึ่งส่งผลต่อการเพิ่มปริมาณน้ำในมหาสมุทรบริเวณขั้วโลก และอาจทำให้น้ำท่วมได ของแข็ง ของเหลว แก๊ส การระเหิด การระเหิดกลับ
สัปดาห์ที่ 3-5 โรงเรียนขจรเกียรติโคกกลอย แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ว 2.1 ป.5/2 อธิบายการละลายของสารในน้ำโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ 2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด การละลายเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสารที่เกิดขึ้นจากการนำสารใส่ลงในน้ำ แล้วสารนั้นผสมรวม กับน้ำอย่างกลมกลืนจนมองเห็นเป็นเนื้อเดียวกันทุกส่วน โดยสารที่ได้ยังคงเป็นสารเดิม เรียกว่า สารละลาย โดยสาร ต่างๆ อาจอยู่ในสถานะของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส ซึ่งสารบางชนิดละลายน้ำได้ ส่วนสารบางชนิดไม่สามารถละลายน้ำ ได้ แต่สามารถละลายในสารละลายอื่นได้แทน การละลายของสารในน้ำทำให้เกิดสารสะลาย ซึ่งเป็นสารเนื้อเดียว โดยในสารละลายจะมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ ตัวทำละลายและตัวละลาย โดยสารที่มีปริมาณมากกว่าและมีสถานะเดียวกับสารละลาย เรียกว่า ตัวทำละลาย และสาร ที่มีปริมาณน้อยกว่า เรียกว่า ตัวละลาย 3. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายการการละลายของสารที่เป็นของแข็ง ของเหลว และแก๊สในน้ำได้ (K) 2. ปฏิบัติกิจกรรมการละลายของสารในน้ำได้อย่างถูกต้องและเป็นลำดับขั้นตอน (P) 3. มีความใฝ่เรียนรู้และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกลุ่ม (A) 4. สาระการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้แกนกลาง สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เมื่อใส่สารลงในน้ำแล้วสารนั้นรวมเป็นเนื้อเดียวกับ น้ำทั่วทุกส่วน แสดงว่าสารเกิดการละลาย เรียกสาร ผสมที่ได้ว่าสารละลาย พิจารณาตามหลักสูตรของสถานศึกษา ภาคเรียนที่ …2…/……….……... ชื่อผู้สอน ….…………………………………………………... กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 8 คาบ หน่วยการเรียนรู้ที่5 การเปลี่ยนแปลง เรื่อง การละลายของสารในน้ำ
5. กิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ (Engage) 1. ครูทักทายกับนักเรียน จากนั้นครูนำน้ำตาลทรายแดง และน้ำเปล่าที่บรรจุในแก้วใส มาให้นักเรียนสังเกตสถานะของสสารทั้ง 2 อย่างที่ครูเตรียมมา ครูนำน้ำตาลทรายแดง ใส่ลงใน น้ำเปล่า และคนสสารทั้ง 2 ชนิดอย่างช้า ๆ ประมาณ 5 นาที แล้วตั้งทิ้งไว้ และให้นักเรียนสังเกต การเปลี่ยนแปลงสถานะของสสารทั้ง 2 ชนิด 2. ครูตั้งประเด็นคำถามกระตุ้นความคิดนักเรียนว่า “น้ำตาลทรายแดง และน้ำเปล่า มีสถานของสสาร เป็นอย่างไร และเมื่อทำการคนสสารทั้ง 2 ชนิด แล้วตั้งทิ้งไว้ จะได้ผลเป็นอย่างไร” โดยให้แต่ละคนร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระโดยไม่มีการเฉลยว่าถูกหรือผิด (แนวตอบ : น้ำตาลทรายแดง มีสถานะเป็นของแข็ง ส่วนน้ำเปล่าในแก้ว มีสถานะเป็นของเหลว ซึ่งเมื่อคนสสารทั้ง 2 ชนิดประมาณ 5 นาที แล้วตั้งทิ้งไว้ พบว่าน้ำตาลทรายแดงจะละลายเป็น เนื้อเดียวกับน้ำเปล่า ได้เป็นของเหลวเหมือนน้ำ และมีสีน้ำตาลเหมือนน้ำตาลทรายแดง) ขั้นที่ 2 สำรวจค้นหา (Explore) 1. นักเรียนเล่นเกมจับกลุ่ม เพื่อแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 5 คน โดยเตรียมบัตรคำมาตรา ตัวสะกด มาให้นักเรียน ในบัตรคำมาตราตัวสะกด จะประกอบไปด้วย ตัวสะกด จำนวน 4 ตัว ได้แก่ ล ย ะ า 2. จากนั้นให้นักเรียนแต่ละคนสุ่มหยิบบัตรคำคนละ 1 ใบ แล้วจับกลุ่มกัน กลุ่มละ 5 คน โดยจะต้อง รวมตัวสะกดตามบัตรคำที่หยิบได้ให้เป็นคำว่า “ล ะ ล า ย” 3. เมื่อนักเรียนแบ่งกลุ่มเรียบร้อย ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับ เรื่อง การละลายของสาร จากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 หรือแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น อินเทอร์เน็ต 4. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายเรื่องที่ได้ศึกษา จากนั้นให้นักเรียนแต่ละคนเขียนสรุปความรู้ ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าลงในสมุดประจำตัวนักเรียน เพื่อนำส่งครูท้ายชั่วโมง (หมายเหตุ : ครูเริ่มประเมินนักเรียน โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม) คาบที่1 ขั้นนำ ขั้นสอน คาบที่2
5. ครูตั้งประเด็นคำถามกระตุ้นความสนใจนักเรียนว่า “สารละลายคืออะไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร” โดยให้แต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายเพื่อหาคำตอบ (แนวตอบ : สารละลาย คือ สารที่ผสมรวมตัวกับน้ำอย่างกลมกลืนและมองเห็นเป็นเนื้อเดียวกัน โดยที่สารนั้นยังคงคุณสมบัติของสารเป็นสารเดิม ซึ่งสารละลายเกิดจากการที่สารสามารถละลาย รวมตัวกับน้ำได้) ขั้นที่ 2 สำรวจค้นหา (Explore) (ต่อ) 6. ครูจัดเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรมที่ 3 การละลายของสารในน้ำ จากหนังสือเรียน วิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 มาวางไว้หน้าชั้นเรียน ดังนี้ - ดินร่วน 1 ถุง - แป้งมัน 1 ถุง - เกลือป่น 1 ถุง - น้ำมันพืช 1 ขวด - ช้อนตักสาร 6 อัน - แท่งแก้วคนสาร 6 อัน - ร้ำส้มสายชู 1 ขวด - น้ำปริมาตร 600 มิลลิลิตร - สีผสมอาหารชนิดน้ำ 1 ขวด - ตะแกรงวางหลอดทดลอง 1 อัน - หลอดทดลองขนาดใหญ่ 6 หลอด 7. นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 5 คน ตามความสมัครใจ จากนั้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่มจัดเตรียมอุปกรณ์ ที่ใช้ในกิจกรรมที่ 3 การละลายของสารในน้ำ จากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 8. ครูแจ้งจุดประสงค์ของกิจกรรมที่ 3 การละลายของสารในน้ำ ให้นักเรียนทราบ เพื่อเป็นแนว ทางการปฏิบัติกิจกรรมที่ถูกต้อง 9. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมที่ 3 การละลายของสารในน้ำ โดยปฏิบัติกิจกรรม ดังนี้ 1) ศึกษาขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมจากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 อย่างละเอียด หากมีข้อสงสัยให้สอบถามครู 2) ร่วมกันกำหนดปัญหาและตั้งสมมติฐานในการปฏิบัติกิจกรรม แล้วบันทึกผลลงในสมุดประจำตัว นักเรียน หรือแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 3) ร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนให้ครบถ้วนและถูกต้องทุกขั้นตอน จากนั้นบันทึกผลลงใน สมุดประจำตัวนักเรียน หรือแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 (หมายเหตุ : ครูเริ่มประเมินนักเรียน โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม) 10. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์ผลการปฏิบัติกิจกรรม แล้วอภิปรายผลและสรุปผลการทดลอง คาบที่ 3 ขั้นสอน
ขั้นที่ 3 อธิบายความรู้(Explain) 11. นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลการทำกิจกรรมหน้าชั้นเรียน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิด จนครบทุกกลุ่ม ในระหว่างที่นักเรียนนำเสนอครูคอยให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เพื่อให้นักเรียน มีความเข้าใจที่ถูกต้อง (หมายเหตุ : ครูเริ่มประเมินนักเรียน โดยใช้แบบประเมินการนำเสนอผลงาน) 12. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติกิจกรรมที่ 3 การละลายของสารในน้ำ ซึ่งได้ข้อสรุปร่วมกันว่า “เมื่อนำเกลือป่นใส่ลงในหลอดทดลองประมาณ 1/4 ของหลอดทดลอง จากนั้นเทน้ำลงในหลอดทดลองประมาณ 3/4 ของหลอดทดลอง จากนั้นคนสารในหลอดทดลอง พบว่า เกลือป่นละลายเป็นเนื้อเดียวกับน้ำ ซึ่งเมื่อทดลองเปลี่ยนเกลือป่นเป็นน้ำส้มสายชูหรือ สีผสมอาหารชนิดน้ำ พบว่า จะได้ผลการทดลองเช่นเดียวกันคือน้ำส้มสายชูหรือสีผสมอาหารชนิด น้ำจะละลายเป็นเนื้อเดียวกับน้ำ แต่เมื่อทดลองโดยเปลี่ยนเป็นดินร่วมหรือแป้งมันหรือน้ำมันพืช พบว่า สารดังกล่าวไม่ละลายเป็นเนื้อเดียวกับน้ำ แสดงว่าเกลือป่น น้ำส้มสายชู และสีผสมอาหาร สามารถละลายน้ำได้ ส่วนดินร่วน แป้งมัน และน้ำมันพืชไม่สามารถละลายน้ำได้” ขั้นที่ 3 อธิบายความรู้(Explain) 13. ครูตั้งประเด็นคำถามจากการทดลองว่า “เมื่อนำเกลือป่นละลายกับน้ำ แล้วได้สารละลายที่เป็น เนื้อเดียวกัน นักเรียนคิดว่า ระหว่างเกลือป่นกับน้ำ สารใดเป็นตัวทำละลาย และสารใดเป็น ตัวละลาย เพราะเหตุใด” (แนวตอบ : น้ำ เป็นตัวทำละลาย เนื่องจากการทดลองดังกล่าว น้ำมีปริมาณมากกว่า คือ มีปริมาณ 3/4 ของหลอดทดลอง และน้ำ มีสถานะเดียวกับสารละลายที่ได้ ส่วนเกลือป่นเป็น ตัวละลาย เนื่องจากมีปริมาณน้อยกว่า คือมีปริมาณ 1/4 ของหลอดทดลอง) 14. นักเรียนแต่ละคนทำกิจกรรมหนูตอบได้ จากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 โดยตอบ คำถามลงในสมุดประจำตัวนักเรียน หรือแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 ขั้นที่ 4 ขยายความเข้าใจ (Elaborate) 15. นักเรียนจับคู่กับเพื่อนในชั้นเรียน ตามความสมัครใจ โดยใช้โทรศัพท์มือถือสแกน QR Code เรื่อง การละลายในน้ำของสาร จากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ป.2 เล่ม 2 จากนั้นครูตั้งประเด็น คาบที่ 5 ขั้นสอน คาบที่4 คาบที่ 4
คำถามกระตุ้นความคิดนักเรียนว่า “มีสารชนิดใดบ้างที่ทำหน้าที่เป็นตัวทำละลายได้เช่นเดียวกับ น้ำ และสามารถละลายสารชนิดใดได้” (แนวตอบ : แอลกอฮอล์ โดยสามารถละลายลูกเหม็นหรือเชลแล็ก (Shellac) ได้) 16. นักเรียนแบ่งกลุ่ม (กลุ่มเดิม) จากชั่วโมงที่ผ่านมา จากนั้นให้แต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาค้นคว้าข้อมูล เกี่ยวกับ เรื่อง การละลายในน้ำของสารที่อยู่ในสถานะของแข็ง ของเหลว และแก๊ส จากหนังสือ เรียนวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 หรือแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น อินเทอร์เน็ต 17. ครูสุ่มนักเรียน จำนวน 3 คน ให้ยกตัวอย่างการละลายในน้ำของสารที่อยู่ในสถานะต่าง ๆ คนละ 1 ตัวอย่าง ดังนี้ • คนที่ 1 ให้ยกตัวอย่างการละลายในน้ำของสารที่อยู่ในสถานะของแข็ง • คนที่ 2 ให้ยกตัวอย่างการละลายในน้ำของสารที่อยู่ในสถานะของเหลว • คนที่ 3 ให้ยกตัวอย่างการละลายในน้ำของสารที่อยู่ในสถานะแก๊ส 18. ครูอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับการละลายของสารในน้ำว่า “การละลายของสารในน้ำ คือ การนำสารชนิดหนึ่งซึ่งมีสถานะเป็นของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส มาผสมกับน้ำ แล้วสารชนิด นั้น สามารถผสมรวมเป็นสารเนื้อเดียวกันกับน้ำได้ทุกส่วน โดยเราเรียกสารผสมที่เกิดขึ้นว่า สารละลาย โดยมีน้ำเป็นตัวทำละลาย และสารที่นำมาผสมกับน้ำเป็นตัวละลาย” 19. ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามเนื้อหาเกี่ยวกับ เรื่อง การละลายของสารในน้ำ และให้ความรู้ เพิ่มเติมจากคำถามของนักเรียน โดยครูใช้ PowerPoint เรื่อง การละลายของสารในน้ำ ในการอธิบายเพิ่มเติม 20. นักเรียนตอบคำถามท้าทายการคิดขั้นสูง จากหนังสือเรียน วิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 ลงในสมุด ประจำตัวนักเรียน หรือแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 ขั้นที่ 4 ขยายความเข้าใจ (Elaborate) (ต่อ) 21. นักเรียนจับคู่กับเพื่อนในชั้นเรียน ตามความสมัครใจ จากนั้นครูให้นักเรียนทำใบงานที่ 5.3.1 เรื่อง การละลายของสารในน้ำ 22. ครูสุ่มนักเรียน 2-3 คู่ ออกมานำเสนอคำตอบของตนเอง โดยครูให้นักเรียนร่วมกันพิจารณา ว่าคำตอบใดถูกต้อง จากนั้นครูเฉลยคำตอบที่ถูกต้องให้นักเรียน 23. นักเรียนแต่ละคนเขียนสรุปสาระสำคัญประจำ บทที่ 1 การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ โดยเขียน เป็นแผนผังมโนทัศน์ ลงในสมุดประจำตัวนักเรียน 24. นักเรียนแต่ละคนทำกิจกรรมฝึกทักษะ บทที่ 1 การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ จากหนังสือเรียน วิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 ลงในสมุดประจำตัวนักเรียน หรือแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 คาบที่ 6
ขั้นที่ 4 ขยายความเข้าใจ (Elaborate) (ต่อ) 25. นักเรียนแบ่งกลุ่ม (กลุ่มเดิม) จากนั้นให้แต่ละคู่ศึกษากิจกรรมสร้างสรรค์ผลงาน จากหนังสือเรียน วิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 โดยให้แต่ละกลุ่มทำชิ้นงานเกี่ยวกับ เรื่อง เครื่องดื่มแสนอร่อย ที่ส่วนผสม สามารถละลายน้ำได้ 26. นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอชิ้นงานหน้าชั้นเรียน โดยระบุสารที่นำมาผสมกับน้ำ พร้อมบอกว่าสิ่งใด เป็นตัวทำละลายและตัวละลาย จากนั้นให้เพื่อนกลุ่มอื่น ๆ ชิมเครื่องดื่มของกลุ่มตนเอง โดยครูให้ คำแนะนำและเสนอแนะส่วนที่บกพร่อง ขั้นที่ 5 ตรวจสอบผล (Evaluate) 1. นักเรียนแต่ละคนดูตารางตรวจสอบตนเอง จากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 จากนั้นครูถามนักเรียนเป็นรายบุคคลตามรายการข้อ 1-5 เพื่อเป็นการตรวจสอบความรู้ ความเข้าใจของนักเรียนหลังจากการเรียนจบบทที่ 1 การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ 2. ครูประเมินผล โดยการสังเกตพฤติกรรมการตอบคำถาม พฤติกรรมการทำงานรายบุคคล พฤติกรรมการทำงานกลุ่ม และจากการนำเสนอผลการทำกิจกรรมหน้าชั้นเรียน 3. ครูตรวจสอบผลการปฏิบัติกิจกรรมที่ 3 การละลายของสารในน้ำ ในสมุดประจำตัวนักเรียน หรือแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 4. ครูตรวจสอบผลการทำกิจกรรมหนูตอบได้ ในสมุดประจำตัวนักเรียน หรือแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 5. ครูตรวจ คำถามท้าทายการคิดขั้นสูง ในสมุดประจำตัวนักเรียน หรือแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 6. ครูตรวจสอบผลการทำใบงานที่ 5.3.1 เรื่อง การละลายของสารในน้ำ 7. ครูตรวจสอบผลการทำกิจกรรมฝึกทักษะ บทที่ 1 การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ในสมุดประจำตัว นักเรียน หรือแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 8. ครูตรวจชิ้นงาน/ผลงาน เครื่องดื่มแสนอร่อย ของนักเรียนแต่ละกลุ่ม 9. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการละลายของสารในน้ำ ซึ่งได้ข้อสรุปร่วมกันว่า “การละลาย ของสารในน้ำ คือ การที่สารชนิดหนึ่งสามารถผสมรวมตัวกับน้ำอย่างกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน เรียกว่าสารละลาย โดยสารละลายที่ได้ยังคงมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับสารเดิม” ขั้นสรุป คาบที่ 7 คาบที่ 8
6.การวัดและประเมินผล การวัดและประเมินผล จุดประสงค์ วิธีการวัดผล เครื่องมือวัด เกณฑ์การ ประเมินผล ความรู้ความ เข้าใจ (K) 1. สังเกตจากการซักถาม ตอบ คำถาม 2. อธิบายการการละลายของสาร ที่เป็นของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ในน้ำได้ 1.คำถามกระตุ้น ความคิด 2. ตรวจใบงานที่ 5.3.1 70% ขึ้นไป ถือว่า ผ่านเกณฑ์การ ประเมิน ทักษะ/ กระบวนการ (P) 1. ปฏิบัติกิจกรรมการละลายของ สารในน้ำได้อย่างถูกต้องและเป็น ลำดับขั้นตอน 1. ประเมินการ นำเสนอ ผลงาน/ผล การปฏิบัติกิจกรรม 70% ขึ้นไป ถือว่า ผ่านเกณฑ์การ ประเมิน คุณลักษณะนิสัย (A) 1. มีความใฝ่เรียนรู้และให้ความ ร่วมมือในการทำกิจกรรมกลุ่ม 1. แบบสังเกต พฤติกรรม 70% ขึ้นไป ถือว่า ผ่านเกณฑ์การ ประเมิน 7. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ 7.1 สื่อการเรียนรู้ 1) หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การเปลี่ยนแปลง 2) แบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การเปลี่ยนแปลง 3) ใบงานที่ 5.3.1 เรื่อง การละลายของสารในน้ำ 4) วัสดุ-อุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรมที่ 3 การละลายของสารในน้ำ 5) PowerPoint เรื่อง การละลายของสารในน้ำ 6) บัตรคำมาตราตัวสะกด 7) น้ำตาลทรายแดง และน้ำเปล่าที่บรรจุในแก้วใส 8) QR Code เรื่อง การละลายในน้ำของสาร 9) สมุดประจำตัวนักเรียน
7.2 แหล่งการเรียนรู้ 1) ห้องเรียน 2) อินเทอร์เน็ต 8. กิจกรรมเสนอแนะ ....................................................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................................................... ลงชื่อ............................................ครูผู้สอน ลงชื่อ...................................................ฝ่ายวิชาการ (...........................................................) (...........................................................) ลงชื่อ................................................... ผู้บริหาร (...........................................................)
ใบงานที่ 5.3.1 เรื่อง การละลายของสารในน้ำ คำชี้แจง : เติมข้อความที่เกี่ยวข้องกับการละลายของสารในน้ำลงในช่องว่างให้ถูกต้อง การละลายของสารในน้ำ หมายถึงอะไร ............................................................................................................................. ...................................... ................................................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ...................................... ................................................................................................................................................................... สารตัวอย่างด้านล่างนี้ สามารถละลายในน้ำได้หรือไม่ • เกลือ ....................................................................................... • เกล็ดด่างทับทิม ....................................................................................... • น้ำตาลทรายแดง ....................................................................................... • แอลกอฮอล์ ....................................................................................... • แก๊สออกซิเจน ....................................................................................... • ลูกเหม็น ....................................................................................... • ผงตะไบเหล็ก ....................................................................................... • แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ....................................................................................... • สีผสมอาหาร ....................................................................................... • ทราย .......................................................................................
ใบงานที่ 5.3.1 เฉลย เรื่อง การละลายของสารในน้ำ คำชี้แจง : เติมข้อความที่เกี่ยวข้องกับการละลายของสารในน้ำลงในช่องว่างให้ถูกต้อง การละลายของสารในน้ำ หมายถึงอะไร การละลายของสารในน้ำ หมายถึง กระบวนการที่สารชนิดหนึ่งผสมรวมตัวกับน้ำอย่างกลมกลืน มองเห็นเป็นเนื้อเดียวกันทุกส่วน แต่ยังคงมีคุณสมบัติเดิมของสารนั้น สารตัวอย่างด้านล่างนี้ สามารถละลายในน้ำได้หรือไม่ • เกลือ สามารถละลายน้ำได้ • เกล็ดด่างทับทิม สามารถละลายน้ำได้ • น้ำตาลทรายแดง สามารถละลายน้ำได้ • แอลกอฮอล์ สามารถละลายน้ำได้ • แก๊สออกซิเจน สามารถละลายน้ำได้ • ลูกเหม็น ไม่สามารถละลายน้ำได้ • ผงตะไบเหล็ก ไม่สามารถละลายน้ำได้ • แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ สามารถละลายน้ำได้ • สีผสมอาหาร สามารถละลายน้ำได้ • ทราย ไม่สามารถละลายน้ำได้
ล ย ะ า บัตรคำมาตราตัวสะกด
เรื่อง เครื่องดื่มแสนอร่อย คำชี้แจง : นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 5 คน ทำชิ้นงานเกี่ยวกับ เรื่อง เครื่องดื่มแสนอร่อย ที่ส่วนผสมสามารถ ละลายน้ำได้ โดยระบุสารที่นำมาผสมกับน้ำ พร้อมบอกว่าสิ่งใดเป็นตัวทำละลายและตัวละลาย ชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)
สัปดาห์ที่ 5-6 โรงเรียนขจรเกียรติโคกกลอย แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ว 2.1 ป.5/3 วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของสารเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี โดยใช้หลักฐาน เชิงประจักษ์ 2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด การเปลี่ยนแปลงทางเคมี คือ การเปลี่ยนแปลงของสารชนิดเดียว หรือการทำปฏิกิริยาระหว่างสาร 2 ชนิด ขึ้นไป แล้วเกิดสารใหม่ขึ้น ซึ่งมีสมบัติต่างไปจากสารเดิม และเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วจะทำให้กลับมาเป็นสารเดิมยาก โดย การเปลี่ยนแปลงทางเคมีหรือการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้เกิดสารใหม่ สามารถสังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของ สาร เช่น การมีสีที่ต่างจากเดิม การมีกลิ่นที่ต่างจากเดิม การมีฟองแก๊สเกิดขึ้น การมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นหรือลดลง การมี ตะกอนเกิดขึ้น เป็นต้น 3. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของสารเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีได้ (K) 2. ปฏิบัติกิจกรรมการเปลี่ยนแปลงทางเคมีได้อย่างถูกต้องและเป็นลำดับขั้นตอน (P) 3. มีความใฝ่เรียนรู้และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกลุ่ม (A) 4. สาระการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้แกนกลาง สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เมื่อผสมสาร 2 ชนิด ขึ้นไปแล้วมีสารใหม่ เกิดขึ้น ซึ่งมีสมบัติต่างจากสารเดิมหรือเมื่อสารชนิด เดียวเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วมีสารใหม่เกิดขึ้น การ เปลี่ยนแปลงนี้เรียกว่า การเปลี่ยนแปลงทางเคมี ซึ่งสังเกตได้จากมีสีหรือกลิ่นต่างจากสารเดิม หรือ มีฟองแก๊ส หรือมีตะกอนเกิดขึ้น หรือมีการเพิ่มขึ้น หรือลดลงของอุณหภูมิ พิจารณาตามหลักสูตรของสถานศึกษา ภาคเรียนที่ …2…/……….……... ชื่อผู้สอน ….…………………………………………………... กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 6 คาบ หน่วยการเรียนรู้ที่5 การเปลี่ยนแปลง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงทางเคมี
5. กิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ (Engage) 1. ครูทักทายกับนักเรียน จากนั้นแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ 2. ครูพูดคุยสนทนากับนักเรียน จากนั้นครูถามนักเรียนว่า “ตอนเช้า/ตอนเที่ยง นักเรียนรับประทาน อะไรบ้าง” โดยให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระไม่มีการเฉลยว่าถูก หรือผิด (แนวตอบ : ขึ้นอยู่กับสิ่งที่นักเรียนรับประทาน เช่น ไส้กรอกทอด ไข่ดาว ไข่เจียว ไข่ต้ม หมูทอด ไก่ทอด เป็นต้น) 3. ครูยกตัวอย่างอาหารที่นักเรียนรับประทาน เช่น ไข่ต้ม แล้วครูตั้งประเด็นคำถามกระตุ้นความคิด นักเรียนว่า “นักเรียนคิดว่าไข่ต้ม เป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของไข่ หรือไม่ อย่างไร” (แนวตอบ : ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เนื่องจากไข่เมื่อเพิ่มความร้อนจนสุก จะเปลี่ยน สถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง แต่เมื่อไข่ต้มที่สุกแล้ว ลดความร้อนลง จะไม่สามารถเปลี่ยน สถานะกลับเป็นของเหลวดังเดิมได้) 4. นักเรียนดูภาพในบทที่ 2 การเปลี่ยนแปลงทางเคมี จากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 จากนั้นครูถามคำถามสำคัญประจำบทว่า “จากภาพเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีหรือไม่ เพราะเหตุใด” โดยให้นักเรียนแต่ละคนร่วมกันอภิปรายเพื่อหาคำตอบ (แนวตอบ : เป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมี เนื่องจากเหล็กเมื่อโดนน้ำและอากาศทำให้เกิดสนิม เหล็ก ทำให้สีของเหล็กเปลี่ยนไปจากเดิม และเกิดสนิมเหล็กซึ่งเป็นสารใหม่) 5. นักเรียนเรียนรู้คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนในบทที่ 2 การเปลี่ยนแปลงทางเคมี จากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 โดยครูขออาสาสมัครนักเรียน จำนวน 1 คน ให้เป็นผู้อ่านนำ และให้นักเรียนที่อยู่ในชั้นเรียนเป็นผู้อ่านตามทีละคำ ดังนี้ 6. นักเรียนทำกิจกรรมนำสู่การเรียน โดยอ่านสถานการณ์ จากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 แล้วตอบคำถาม ลงในสมุดประจำตัวนักเรียน หรือแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 (หมายเหตุ : ครูเริ่มประเมินนักเรียน โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล) คาบที่1 ขั้นนำ Chemical Change (‘เค็มมิคัล เชนจ) การเปลี่ยนแปลงทางเคมี Changes of Color (ชนจ ออฟว ‘คัลเลอ) สีเปลี่ยน Rust (รัสท) สนิม
ขั้นที่ 2 สำรวจค้นหา (Explore) 1. ครูนำลูกอม 4 รสชาติได้แก่ ลูกอมรสโคล่า ลูกอมรสสตอว์เบอร์รี่ ลูกอมรสมิ้นต์ และลูกอม รสมะนาว มาวางไว้หน้าชั้นเรียน โดยให้นักเรียนแต่ละคนเลือกลูกอมคนละ 1 เม็ด รสชาติใดก็ได้ จากนั้นครูแจ้งให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มละ 4 คน โดยแต่ละกลุ่มจะต้องประกอบไปด้วย นักเรียนที่มีลูกอมครบทั้ง 4 รสชาติ ได้แก่ ลูกอมรสโคล่า ลูกอมรสสตอว์เบอร์รี่ ลูกอมรสมิ้นต์ และลูกอมรสมะนาว 2. เมื่อนักเรียนแบ่งกลุ่มเรียบร้อย ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสาร จากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 หรือแหล่งการ เรียนรู้ต่าง ๆ เช่น อินเทอร์เน็ต 3. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายเรื่องที่ได้ศึกษา จากนั้นให้นักเรียนแต่ละคนเขียนสรุปความรู้ ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าลงในสมุดประจำตัวนักเรียน เพื่อนำส่งครูท้ายชั่วโมง (หมายเหตุ : ครูเริ่มประเมินนักเรียน โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม) 4. ครูตั้งประเด็นคำถามกระตุ้นความสนใจนักเรียนว่า “การเปลี่ยนแปลงใดบ้าง ที่เป็น การเปลี่ยนแปลงทางเคมี” โดยให้แต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายเพื่อหาคำตอบ (แนวตอบ : การเผาไหม้ การเกิดสนิม การทำขนมครก ไข่ต้ม การสุกของสตอว์เบอร์รี่) ขั้นที่ 2 สำรวจค้นหา (Explore) (ต่อ) 5. ครูจัดเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรมที่ 1 การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสาร จากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 มาวางไว้หน้าชั้นเรียน ดังนี้ - ช้อนโลหะ 1 คัน - กระดาษ 1 แผ่น - ไม้ขีดไฟ 1 กลัก - ผงชูรสแท้ 1ซอง - กระก๋องโลหะ 1 ใบ - ขวดแก้วปากแคบ 1 ใบ - ชุดตะเกียงแอลกอฮอล์ 1 ชุด - ผงฟู 1 ซอง - ลูกโป่ง 1 ใบ - น้ำส้มสายชู 1 ขวด - กรวยกรอกน้ำ 1 อัน - หลอดดูดน้ำ 1 หลอด - หลอดทดลองขนาดเล็ก 1 หลอด - น้ำปูนใส 1/2 ของหลอดทดลองขนาดเล็ก คาบที่ 3 คาบที่2 ขั้นสอน
6. นักเรียนแบ่งกลุ่ม (กลุ่มเดิม) จากชั่วโมงที่ผ่านมา จากนั้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่มจัดเตรียมอุปกรณ์ ที่ใช้ในกิจกรรมที่ 1 การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสาร จากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 7. ครูแจ้งจุดประสงค์ของกิจกรรมที่ 1 การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสาร ให้นักเรียนทราบ เพื่อเป็น แนวทางการปฏิบัติกิจกรรมที่ถูกต้อง 8. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมที่ 1 การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสาร โดยปฏิบัติ กิจกรรม ดังนี้ 1) ศึกษาขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมจากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 อย่างละเอียด หากมีข้อสงสัยให้สอบถามครู 2) ร่วมกันกำหนดปัญหาและตั้งสมมติฐานในการปฏิบัติกิจกรรม แล้วบันทึกผลลงในสมุดประจำตัว นักเรียน หรือแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 3) ร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนให้ครบถ้วนและถูกต้องทุกขั้นตอน จากนั้นบันทึกผลลงใน สมุดประจำตัวนักเรียน หรือแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 (หมายเหตุ : ครูเริ่มประเมินนักเรียน โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม) 9. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์ผลการปฏิบัติกิจกรรม แล้วอภิปรายผลและสรุปผลการทดลอง ขั้นที่ 3 อธิบายความรู้(Explain) 10. นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิด จนครบทุกกลุ่ม ในระหว่างที่นักเรียนนำเสนอครูคอยให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เพื่อให้นักเรียน มีความเข้าใจที่ถูกต้อง (หมายเหตุ : ครูเริ่มประเมินนักเรียน โดยใช้แบบประเมินการนำเสนอผลงาน) 11. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติกิจกรรมที่ 1 การเปลี่ยนแปลงทางเคมี ของสาร ซึ่งได้ข้อสรุปร่วมกันว่า “เมื่อเผากระดาษหรือผงชูรสแท้ พบว่ากระดาษหรือผงชูรสแท้ จะไหม้ กลายเป็นเถ้าถ่านสีดำ เมื่อเป่าลมใส่น้ำปูนใส พบว่าน้ำปูนใสจะขุ่น และมีตะกอนเกิดขึ้น เมื่อเทผงฟูลงในน้ำส้มสายชู พบว่ามีฟองแก๊สเกิดขึ้น” 12. นักเรียนแต่ละคนทำกิจกรรมหนูตอบได้ จากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 โดยตอบ คำถามลงในสมุดประจำตัวนักเรียน หรือแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 คาบที่ 4 ขั้นสอน
ขั้นที่ 4 ขยายความเข้าใจ (Elaborate) 13. นักเรียนแต่ละคนใช้โทรศัพท์มือถือสแกน QR Code เรื่อง การเปลี่ยนแปลงทางเคมีจากหนังสือ เรียนวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 จากนั้นครูตั้งประเด็นคำถามกระตุ้นความคิดนักเรียนว่า “เราสามารถสังเกตได้อย่างไรว่า สารใหม่ที่เกิดขึ้นการจากเปลี่ยนแปลง เป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมี” (แนวตอบ : สารที่ได้มีสีต่างจากสารเดิม สารที่ได้มีกลิ่นต่างจากสารเดิม เกิดแสงหรือเสียงขึ้น เกิดฟองแก๊สขึ้น มีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของอุณหภูมิ เกิดตะกอนขึ้น) 14. นักเรียนแบ่งกลุ่ม (กลุ่มเดิม) จากชั่วโมงที่ผ่านมา จากนั้นให้แต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาค้นคว้าข้อมูล เพิ่มเติมเกี่ยวกับ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงทางเคมี ผลดีและผลเสียจากการเกิดปฏิกิริยาเคมีของสาร จากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 หรือแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น อินเทอร์เน็ต 15. ครูอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสารว่า “การเปลี่ยนแปลง ทางเคมีของสารต่างจาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสาร โดยการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของ สารจะทำให้เกิดสารใหม่ สมบัติของสารใหม่ที่ได้เปลี่ยนไปจากเดิม เป็นการเปลี่ยนแปลง องค์ประกอบภายในของสาร และสารใหม่ที่ได้กลับคืนสู่สภาพเดิมไม่ได้หรือทำได้ยาก” 16. ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามเนื้อหาเกี่ยวกับ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสาร และให้ความรู้เพิ่มเติมจากคำถามของนักเรียน โดยครูใช้ PowerPoint เรื่อง การเปลี่ยนแปลง ทางเคมีของสาร ในการอธิบายเพิ่มเติม 17. นักเรียนแต่ละคนทำใบงานที่ 5.4.1 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสาร เป็นการบ้านส่งใน ชั่วโมงถัดไป 18. นักเรียนแต่ละคนเขียนสรุปสาระสำคัญประจำ บทที่ 2 การเปลี่ยนแปลงทางเคมี โดยเขียน เป็นแผนผังมโนทัศน์ ลงในสมุดประจำตัวนักเรียน 19. นักเรียนแต่ละคนทำกิจกรรมฝึกทักษะ บทที่ 2 การเปลี่ยนแปลงทางเคมี จากหนังสือเรียน วิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 ลงในสมุดประจำตัวนักเรียน หรือแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 20. นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 4 คน จากนั้นให้แต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษากิจกรรมสร้างสรรค์ผลงงาน จากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 โดยให้เลือกผักหรือผลไม้กลุ่มละ 1 ชนิดช่วยกันสังเกต และบันทึกผลการเปลี่ยนแปลงทางเคมีอย่างน้อย 1 สัปดาห์ แล้วนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตมา จัดทำเป็นรายงาน เรื่อง การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของผักและผลไม้ คาบที่ 5
ขั้นที่ 5 ตรวจสอบผล (Evaluate) 1. นักเรียนแต่ละคนดูตารางตรวจสอบตนเอง จากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 จากนั้นครูถามนักเรียนเป็นรายบุคคลตามรายการข้อ 1-5 เพื่อเป็นการตรวจสอบความรู้ ความเข้าใจของนักเรียนหลังจากการเรียนจบบทที่ 2 การเปลี่ยนแปลงทางเคมี 2. ครูประเมินผล โดยการสังเกตพฤติกรรมการตอบคำถาม พฤติกรรมการทำงานรายบุคคล พฤติกรรมการทำงานกลุ่ม และจากการนำเสนอผลการทำกิจกรรมหน้าชั้นเรียน 3. ครูตรวจสอบผลการทำกิจกรรมนำสู่การเรียน ในสมุดประจำตัวนักเรียน หรือแบบฝึกหัด วิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 4. ครูตรวจสอบผลการปฏิบัติกิจกรรมที่ 1 การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสาร ในสมุดประจำตัว นักเรียน หรือแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 5. ครูตรวจสอบผลการทำกิจกรรมหนูตอบได้ ในสมุดประจำตัวนักเรียน หรือแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 6. ครูตรวจสอบผลการทำใบงานที่ 5.4.1 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสาร 7. ครูตรวจผลการทำกิจกรรมสรุปสาระสำคัญประจำ บทที่ 2 การเปลี่ยนแปลงทางเคมี ในสมุดประจำตัวนักเรียน 8. ครูตรวจสอบผลการทำกิจกรรมฝึกทักษะ บทที่ 2 การเปลี่ยนแปลงทางเคมี ในสมุดประจำตัว นักเรียน หรือแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 9. ครูตรวจสอบรายงาน เรื่อง การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของผักและผลไม้ ของนักเรียนแต่ละกลุ่ม 10. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสาร ซึ่งได้ข้อสรุปร่วมกันว่า “การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสาร คือ การเปลี่ยนแปลงของสารชนิดเดียว หรือการทำปฏิกิริยา ระหว่างสาร 2 ชนิดขึ้นไปแล้วเกิดสารใหม่ ซึ่งมีสมบัติต่างไปต่างเดิม และทำให้กลับมาเป็นสารเดิม ได้ยาก โดยสามารถสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากสารใหม่ได้หลายอย่าง เช่น สีที่จากต่าง เดิม กลิ่นที่ต่างจากเดิม อาจมีเสียงหรือแสงเกิดขึ้น มีฟองแก๊สเกิดขึ้น มีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของ อุณหภูมิ หรือมีตะกอนเกิดขึ้น” ขั้นสรุป คาบที่ 6
6.การวัดและประเมินผล การวัดและประเมินผล จุดประสงค์ วิธีการวัดผล เครื่องมือวัด เกณฑ์การ ประเมินผล ความรู้ความ เข้าใจ (K) 1. สังเกตจากการซักถาม ตอบ คำถาม 2. วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของ สารเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทาง เคมีได้ 1.คำถามกระตุ้น ความคิด 2. ใบงานที่ 5.4.1 70% ขึ้นไป ถือว่า ผ่านเกณฑ์การ ประเมิน ทักษะ/ กระบวนการ (P) 1. ปฏิบัติกิจกรรมการเปลี่ยนแปลง ทางเคมีได้อย่างถูกต้องและเป็น ลำดับขั้นตอน 1. ประเมินการ ปฏิบัติการทดลอง 2. ผลนำเสนอ ผลงาน/ผลการปฏิบัติ กิจกรรม 70% ขึ้นไป ถือว่า ผ่านเกณฑ์การ ประเมิน คุณลักษณะนิสัย (A) 1. ความใฝ่เรียนรู้และให้ความ ร่วมมือในการทำกิจกรรมกลุ่ม 1. แบบสังเกต พฤติกรรม 70% ขึ้นไป ถือว่า ผ่านเกณฑ์การ ประเมิน 7. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ 7.1 สื่อการเรียนรู้ 1) หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การเปลี่ยนแปลง 2) แบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การเปลี่ยนแปลง 3) ใบงานที่ 5.4.1 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสาร 4) วัสดุ-อุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรมที่ 1 การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสาร 5) PowerPoint เรื่อง การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสาร 6) ลูกอม 4 รสชาติ 7) สมุดประจำตัวนักเรียน 7.2 แหล่งการเรียนรู้ 1) ห้องเรียน 2) อินเทอร์เน็ต
8. กิจกรรมเสนอแนะ ....................................................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................................................... ลงชื่อ............................................ครูผู้สอน ลงชื่อ...................................................ฝ่ายวิชาการ (...........................................................) (...........................................................) ลงชื่อ................................................... ผู้บริหาร (...........................................................)
ใบงานที่ 5.4.1 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสาร เด็กหญิง ก. ซื้อแกงกะทิจากตลาด ช่วงเช้า จากนั้นเด็กหญิง ก. ตั้งแกงกะทิทิ้งไว้บนโต๊ะอาหาร ในช่วงเย็น เด็กหญิง ก. นำแกงกะทิมาเทใส่จานเพื่อรับประทาน พบว่า แกงกะทิมีกลิ่นเหม็น จากข้อมูลดังกล่าว นักเรียนคิดว่าการเปลี่ยนแปลงของแกงกะทิ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมี หรือไม่ สังเกตได้อย่างไร ............................................................................................................................. ...................... ................................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ...................... ................................................................................................................................................... ให้นักเรียนนำคำในสี่เหลี่ยมด้านล่างนี้ เติมลงในช่องว่างด้านล่าง เกิดสารใหม่ เปลี่ยนแปลงรูปร่าง ภายนอก เปลี่ยนสถานะกลับสู่ สภาพเดิมไม่ได้ สมบัติของสาร คงเดิม เปลี่ยนสถานะกลับไป กลับมาได้ สมบัติของสาร เปลี่ยนแปลง ได้สารเดิม เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบ ภายใน การเปลี่ยนแปลงทางเคมี การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
ใบงานที่ 5.4.1 เฉลย เรื่อง การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสาร เด็กหญิง ก. ซื้อแกงกะทิจากตลาด ช่วงเช้า จากนั้นเด็กหญิง ก. ตั้งแกงกะทิทิ้งไว้บนโต๊ะอาหาร ในช่วงเย็น เด็กหญิง ก. นำแกงกะทิมาเทใส่จานเพื่อรับประทาน พบว่า แกงกะทิมีกลิ่นเหม็น จากข้อมูลดังกล่าว นักเรียนคิดว่าการเปลี่ยนแปลงของแกงกะทิ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมี หรือไม่ สังเกตได้อย่างไร การเปลี่ยนแปลงของแกงกะทิ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมี เนื่องจากแกงกะทิมีกลิ่นเหม็น ต่างจากตอนแรกที่ซื้อมา แสดงว่าแกงกะทิเกิดปฏิกิริยาทางเคมีเกิดขึ้น ให้นักเรียนนำคำในสี่เหลี่ยมด้านล่างนี้ เติมลงในช่องว่างด้านล่าง เกิดสารใหม่ เปลี่ยนแปลงรูปร่าง ภายนอก เปลี่ยนสถานะกลับสู่ สภาพเดิมไม่ได้ สมบัติของสาร คงเดิม เปลี่ยนสถานะกลับไป กลับมาได้ สมบัติของสาร เปลี่ยนแปลง ได้สารเดิม เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบ ภายใน การเปลี่ยนแปลงทางเคมี การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ •เกิดสารใหม่ •เปลี่ยนสถานะกลับสู่สภาพเดิมไม่ได้ •สมบัติของสารเปลี่ยนแปลง •เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบภายใน •ได้สารเดิม •เปลี่ยนสถานะกลับไปกลับมา •สมบัติของสารคงเดิม •เปลี่ยนแปลงรูปร่างภายนอก