The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รวมกฎหมายเกี่ยวกับการพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานศาลยุติธรรม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by COJ MEDIATION, 2022-09-15 23:29:43

รวมกฎหมายเกี่ยวกับการพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์

รวมกฎหมายเกี่ยวกับการพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานศาลยุติธรรม

รวมกฎหมายเกี่ยวกับ
การพิ จารณาคดี
ทางอิเล็กทรอนิกส์

รวบรวมโดย ส่วนส่งเสริมพั ฒนางานศาลดิจิทัลและนวัตกรรม
สำนักส่งเสริมงานตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม
ข้อมูล ณ วันที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๕

กฎหมายเกี่ยวกับการพิจารณาคดที างอเิ ล็กทรอนกิ ส์ ก

สารบญั

เรือ่ ง หน้า

วิธีพิจารณาคดีทางอิเลก็ ทรอนกิ ส์

1. ขอ้ กาหนดของประธานศาลฎกี าว่าด้วยวธิ พี จิ ารณาคดีทางอเิ ลก็ ทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๓ 1

หมวด 1 บทท่วั ไป 3

หมวด 2 การจัดทาเอกสารในรปู แบบขอ้ มลู อเิ ลก็ ทรอนิกส์ 3

หมวด 3 การน่ังพจิ ารณาโดยวิธกี ารทางอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ 4

หมวด 4 การรบั ฟังพยานหลกั ฐาน 5

หมวด 5 คาพิพากษา 5

หมวด 6 การประชุมในศาลชนั้ อุทธรณแ์ ละศาลฎีกาโดยวิธีการประชมุ ผ่านสือ่ อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ 6

หมวด 7 อทุ ธรณแ์ ละฎีกา 6

หมวด 8 อื่นๆ 7

2. ข้อพิจารณาข้อกาหนดของประธานศาลฎีกาว่าดว้ ยวธิ ีพจิ ารณาคดที างอเิ ล็กทรอนิกส์พ.ศ. ๒๕๖๓ ๘

ส่วนที่ ๑ ท่มี าและหลกั การดาเนินกระบวนพจิ ารณาดว้ ยวธิ กี ารทางอเิ ล็กทรอนกิ ส์ ๘
1. ทีม่ าของการดาเนนิ กระบวนพิจารณาดว้ ยวธิ ีการทางอิเล็กทรอนกิ ส์
2. หลกั การดาเนนิ กระบวนพจิ ารณาดว้ ยวธิ กี ารทางอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์

๒.๑ วธิ พี จิ ารณาคดีแพ่งทวั่ ไปกับวธิ พี ิจารณาคดีดว้ ยวธิ กี ารทางอเิ ล็กทรอนิกส์
๒.๒ วัตถุประสงคข์ องการใช้วิธีพจิ ารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์
๒.๓ ความสามารถในการเขา้ ถึงเทคโนโลยีของคคู่ วาม
๒.๔ ความไมเ่ ครง่ ครดั ในกระบวนพิจารณา

สว่ นท่ี ๒ กระบวนพจิ ารณาดว้ ยวิธกี ารทางอเิ ล็กทรอนกิ ส์ 10
๑. การเรมิ่ กระบวนพจิ ารณา
๒. การดาเนนิ กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบยี บหรือผดิ หลง
๓. การย่นหรอื ขยายระยะเวลา
๔. การยน่ื ส่งหรอื รบั เอกสารในรปู แบบอเิ ลก็ ทรอนิกส์หรือขอ้ มลู อิเลก็ ทรอนกิ ส์
๕. การจดั ทาเอกสารในรูปแบบขอ้ มลู อิเล็กทรอนกิ ส์
๖. การลงลายมอื ชอื่ ในเอกสารในรปู แบบขอ้ มูลอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์

ส่วนที่ ๓ การน่งั พิจารณาด้วยวธิ ีการทางอเิ ลก็ ทรอนิกส์ ๒4
๑. การบนั ทกึ คาพยาน
๒. การจัดทารายงานกระบวนพจิ ารณาในรปู แบบขอ้ มลู อิเล็กทรอนิกส์

กลบั ไปหนา้ สารบัญ

กฎหมายเกย่ี วกบั การพจิ ารณาคดีทางอเิ ล็กทรอนิกส์ ข

สารบัญ

เรื่อง หน้า

ส่วนที่ ๔ การรับฟงั พยานหลักฐานในกระบวนพิจารณาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ๒9
๑. การรบั ฟังและการชงั่ นาหนักพยานหลกั ฐาน
๒. นติ ิกรรมทต่ี ้องมีหลกั ฐานเปน็ หนงั สือ ทาเปน็ หนงั สอื หรือมีเอกสารมาแสดง

และการปดิ อากรแสตมป์
๓. ความเปน็ ต้นฉบบั ของเอกสาร

สว่ นที่ ๕ การพพิ ากษาคดีในกระบวนพิจารณาดว้ ยวิธกี ารทางอเิ ลก็ ทรอนิกส์ 35

3. ประกาศสานกั งานศาลยุติธรรมเร่ือง หลักเกณฑ์ วธิ กี ารและเงอื่ นไขเกีย่ วกบั 37
การใชว้ ธิ ีพิจารณาคดที างอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์

หมวด 1 บทท่ัวไป 39

หมวด 2 การจดั ทาเอกสารในรปู แบบข้อมลู อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ 39

หมวด 3 การนัง่ พจิ ารณาโดยวธิ ีการทางอเิ ลก็ ทรอนิกส์ 40
ส่วนที่ 1 การน่งั พิจารณาทางระบบอเิ ล็กทรอนกิ ส์
ส่วนท่ี 2 การบนั ทกึ คาเบกิ ความพยานโดยวธิ ีการทางอเิ ล็กทรอนิกส์

หมวด 4 คาพิพากษา 45

หมวด 5 การระงบั ใช้ระบบ 45

4. ระเบียบราชการฝา่ ยตลุ าการศาลยุติธรรมว่าดว้ ยการดาเนนิ คดีอาญา ๔8
ในระหว่างที่มีการแพร่ระบาดของโรคตดิ เชอื้ ไวรสั โคโรนา ๒๐๑๙
(Coronavirus Disease : COVID-19) พ.ศ. ๒๕๖๔

5. ข้อพจิ ารณาเกยี่ วกบั ระเบียบราชการฝา่ ยตลุ าการศาลยุติธรรม 51

ว่าดว้ ยการดาเนินคดีอาญาในระหว่างท่มี ีการแพรร่ ะบาดของโรคติดเชอ้ื ไวรสั โคโรนา ๒๐๑๙

(Coronavirus Disease : COVID-19) พ.ศ. ๒๕๖๔

6. ระเบียบราชการฝ่ายตลุ าการศาลยุติธรรมว่าดว้ ยการดาเนนิ คดแี พ่งระหว่าง 63
ทมี่ กี ารแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรสั โคโรนา ๒๐๑๙
(Coronavirus Disease : COVID-19) พ.ศ. ๒๕๖๔

7. ข้อบังคบั ของประธานศาลฎีกา วา่ ด้วยการบนั ทกึ คาเบกิ ความพยานในคดอี าญา 68
โดยใชว้ ิธีการบนั ทึกลงในวสั ดุซ่ึงสามารถถ่ายทอดออกเปน็ ภาพและเสียง พ.ศ. 2564

8. แนวทางการนงั่ พจิ ารณาโดยใช้วธิ กี ารทางอเิ ลก็ ทรอนิกสน์ อกท่ีทาการ 70

กลบั ไปหน้าสารบัญ

กฎหมายเกีย่ วกบั การพจิ ารณาคดที างอิเล็กทรอนกิ ส์ ค

สารบัญ

เรือ่ ง หนา้

การดาเนินคดีอาญาในลักษณะการประชุมทางจอภาพ

1. ข้อบงั คับของประธานศาลฎีกา ว่าดว้ ยการสอบถามผตู้ ้องหาหรือทาการ 72
ไต่สวนพยานหลักฐานในการออกหมายขังผูต้ อ้ งหาในลักษณะการประชมุ
ทางจอภาพ พ.ศ. 2556

2. ขอ้ บงั คับของประธานศาลฎีกา วา่ ด้วยการสบื พยานคดอี าญาในลักษณะ 74
การประชุมทางจอภาพ พ.ศ. 2556

การยนื่ สง่ และรบั คาคคู่ วามและเอกสารทางระบบรบั สง่ อเิ ล็กทรอนิกส์ (e-Filing)
และระบบบริการออนไลนศ์ าลยตุ ิธรรม (CIOS)

1. ข้อกาหนดประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการยื่น ส่ง และรบั คาคู่ความและเอกสาร 77

ทางระบบรับส่งอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ พ.ศ. 2560 และท่แี ก้ไขเพิม่ เติม (ฉบบั ท่ี 2) พ.ศ. 2562

ส่วนท่ี ๑ การลงทะเบยี น 77

สว่ นท่ี ๒ การยื่น ส่ง และรบั คาคคู่ วามหรือเอกสารทางคดี 78

สว่ นที่ ๓ การส่งหมายทางระบบรบั สง่ อเิ ล็กทรอนิกส์ 79

สว่ นท่ี ๔ การชาระเงินผา่ นระบบรับส่งอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ 79

สว่ นท่ี ๕ อืน่ ๆ 80

2. ประกาศสานกั งานศาลยตุ ธิ รรม เร่ือง หลกั เกณฑ์ วิธกี าร และเงือ่ นไขในการย่ืน ส่ง 81
และรบั คาคู่ความและเอกสารทางระบบรบั ส่งอเิ ล็กทรอนกิ ส์ และทแ่ี ก้ไขเพ่ิมเติม

หมวด 1 บททวั่ ไป 83

หมวด 2 ระบบรับสง่ อเิ ล็กทรอนกิ ส์ (e-Filing System) 84
ส่วนที่ 1 การลงทะเบียน
ส่วนท่ี 2 การยนื่ คาฟ้อง คาคคู่ วามและเอกสารทางคดี
ส่วนท่ี 3 การชาระเงนิ
ส่วนท่ี 4 การดาเนนิ การของศาลและเจ้าหนา้ ที่

หมวด 3 ระบบบริการออนไลน์ศาลยุติธรรม (Court Integral Online Service : CIOS) 88
ส่วนท่ี 1 การลงทะเบียน
ส่วนที่ 2 การยน่ื คาคคู่ วามและเอกสารทางคดี
ส่วนท่ี 3 การชาระเงนิ
สว่ นท่ี 4 การดาเนนิ การของเจ้าหน้าที่

กลับไปหนา้ สารบัญ

กฎหมายเก่ยี วกับการพจิ ารณาคดที างอิเล็กทรอนกิ ส์ ง

สารบญั

เรือ่ ง หน้า

หมวด 4 การยน่ื คาขอรับเอกสารผา่ นระบบ 90
ส่วนท่ี 1 การขอคดั ถา่ ยเอกสาร
สว่ นที่ 2 การขอใบสาคญั เพอ่ื แสดงวา่ คาพพิ ากษาหรอื คาส่ังไดถ้ งึ ทีส่ ุดแล้ว

หมวด 5 การเงนิ 92

หมวด 6 การจัดทาสง่ิ พิมพอ์ อกจากระบบ 93

หมวด 7 การระงบั ใชร้ ะบบ 93

3. ประกาศสานักงานศาลยุติธรรมเรือ่ ง การกาหนดอกั ษรยอ่ ของสานวนความในศาล 97
(ฉบบั ที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๓

4. ประกาศสานกั งานศาลยุติธรรม เรื่อง คู่ความที่มสี ทิ ธลิ งทะเบียนเพ่อื ใชง้ าน 98
ระบบรับส่งอเิ ลก็ ทรอนิกส์ (e-Filing System)

5. ประกาศสานกั งานศาลยุติธรรม เรอื่ ง หลักเกณฑ์และวิธีการในการพสิ จู น์ตัวตน 99

ของผู้ใช้ระบบบรกิ ารออนไลนศ์ าลยตุ ิธรรม (Court Integral Online Service : CIOS)

6. ประกาศสานักงานศาลยุติธรรม เร่อื งหลักเกณฑ์ วธิ ีการ และเงอ่ื นไขในการยนื่ สง่ 101
และรบั คาคู่ความและเอกสารในคดคี รอบครวั ทางระบบบริการออนไลน์ศาลยุติธรรม

7. ประกาศสานกั งานศาลยุติธรรม เร่อื ง การกาหนดอกั ษรยอ่ ของสานวนความในศาล 103
(ฉบับท่ี ๓) พ.ศ. ๒๕๖๔

8. ประกาศสานักงานศาลยตุ ธิ รรม เรอ่ื ง หลักเกณฑ์ วธิ ีการและเงอื่ นไขเกยี่ วกับ 104
การใช้วธิ ีพจิ ารณาคดที างอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ในคดีซ้ือขายออนไลน์

หมวด 1 บททวั่ ไป 104

หมวด 2 การไกลเ่ กลีย่ และการนงั่ พิจารณา 106

หมวด 3 คาพิพากษา 106

9. ประกาศสานักงานศาลยตุ ธิ รรม เร่อื ง การขอปล่อยชั่วคราวทางสอ่ื เทคโนโลยสี ารสนเทศ 107

หมวด 1 บททั่วไป 108

หมวด 2 การลงทะเบยี นเขา้ ใชร้ ะบบ 109

หมวด 3 การยื่นคารอ้ ง 109

หมวด 4 การดาเนินการของเจ้าหนา้ ที่ 110

หมวด 5 การทาสญั ญาประกัน 110

หมวด 6 การวางหลักประกัน 111

กลบั ไปหนา้ สารบัญ

กฎหมายเกย่ี วกับการพจิ ารณาคดีทางอเิ ล็กทรอนิกส์ จ

สารบัญ

เรอื่ ง หน้า

การส่งเอกสารและการประกาศนดั ไตส่ วนโดยวธิ ลี งโฆษณาทางส่ือเทคโนโลยสี ารสนเทศ

1. คาแนะนาของประธานศาลฎีกา ว่าดว้ ยการสง่ เอกสารและการประกาศนัดไต่สวน 112
โดยวิธีลงโฆษณาทางส่ือเทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ. 2561

2. ประกาศสานักงานศาลยุตธิ รรม เรื่อง หลกั เกณฑ์ และวธิ ีการส่งเอกสารและ 114
การประกาศนัดไต่สวนโดยวธิ ลี งโฆษณาทางสอื่ เทคโนโลยสี ารสนเทศ

อน่ื ๆ
ข้อพิจารณาในการลงลายมอื ช่อื อเิ ล็กทรอนกิ สใ์ นสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่ง 117

กลับไปหน้าสารบัญ

กฎหมายเกยี่ วกับการพิจารณาคดีทางอิเลก็ ทรอนกิ ส์ ๑

ข้อกาหนดของประธานศาลฎกี า
วา่ ด้วยวธิ พี จิ ารณาคดที างอเิ ล็กทรอนิกส์

พ.ศ. ๒๕๖๓

______________

โ ด ยท่ี เ ป็ น ก า ร ส ม ค วร ให้มี ข้ อก า หน ดข อ งป ร ะธ า นศ า ล ฎีกา ว่ าด้ วยวิ ธีพิ จา ร ณาคดี
ทางอิเล็กทรอนิกส์

อาศัยอานาจตามความในมาตรา ๓๔/๑ มาตรา ๕๑ วรรคสอง และมาตรา ๖๘
แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซ่ึงแก้ไขเพ่ิมเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับท่ี ๒๘) พ.ศ. ๒๕๕๘ ประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบ
ของทปี่ ระชุมใหญศ่ าลฎกี าออกข้อกาหนดไว้ ดงั ต่อไปนี

ข้อ ๑ ข้อกาหนดนีเรียกว่า “ข้อกาหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยวิธีพิจารณาคดี
ทางอิเลก็ ทรอนกิ ส์ พ.ศ. ๒๕๖๓”

ข้อ ๒ ข้อกาหนดนีให้ใชบ้ ังคับตังแต่วนั ถดั จากวนั ประกาศในราชกจิ จานุเบกษาเปน็ ต้นไป

ข้อ ๓ ในข้อกาหนดนี เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่นและท่ีได้บัญญัติไว้
ในประมวลกฎหมายวธิ ีพิจารณาความแพง่

“ศาล” หมายความวา่ ศาลยตุ ธิ รรมหรือผู้พิพากษาทมี่ ีอานาจพจิ ารณาพิพากษาคดี
“เจ้าหนา้ ที่” หมายความวา่ เจ้าหนา้ ทศ่ี าลยุตธิ รรมทไ่ี ดร้ บั มอบหมายให้มีหน้าท่ี
“เอกสาร” หมายความว่า บรรดาเอกสารในสานวนความ เช่น รายงานและเอกสาร
ท่ีส่งต่อศาลหรือศาลทาขึน คาพิพากษา คาส่ัง คาส่ังชีขาดคดี พยานเอกสาร แผนที่ ภาพถ่าย
ภาพถา่ ยพยานวตั ถุ คาบงั คบั หมายบงั คับคดี และใหห้ มายความรวมถึงหลกั ฐานการรับจา่ ยเงินทเี่ กย่ี วกบั คดี
“ข้อความ” หมายความว่า เรื่องราว หรือข้อเท็จจริง ไม่ว่าจะปรากฏในรูปแบบของตัวอักษร
ตวั เลข เสียง ภาพ หรือรูปแบบอ่นื ใดท่สี ือ่ ความหมายได้โดยสภาพของส่ิงนันเองหรอื โดยผา่ นวิธกี ารใด ๆ
“อิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอนไฟฟ้า
คล่ืนแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอ่ืนใดในลักษณะคล้ายกัน และให้หมายความรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการ
ทางแสง วิธีการทางแม่เหลก็ หรอื อุปกรณท์ ี่เกี่ยวขอ้ งกับการประยุกตใ์ ชว้ ธิ ีตา่ ง ๆ เช่นว่านัน
“ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความท่ีได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือ
ประมวลผลดว้ ยวิธกี ารทางอเิ ล็กทรอนกิ ส์
“ลายมือช่ืออิเล็กทรอนกิ ส์” หมายความว่า อักษร อักขระ ตัวเลข เสียง หรือสัญลักษณ์
อ่ืนใดที่สร้างขึนให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนามาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพ่ือแสดง
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพ่ือระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของ
ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ท่ีเกี่ยวขอ้ งกับข้อมูลอิเล็กทรอนกิ ส์นนั และเพ่ือแสดงวา่ บุคคลดงั กล่าวยอมรบั
ขอ้ ความในข้อมลู อิเล็กทรอนกิ ส์นนั
“เจ้าของลายมือช่ือ” หมายความว่า ผู้ซ่ึงถือข้อมูลสาหรับใช้สร้างลายมือช่ืออเิ ล็กทรอนิกส์
และสร้างลายมือชอ่ื อิเลก็ ทรอนกิ สน์ นั ในนามของตนเองหรือแทนบุคคลอ่นื

กลบั ไปหน้าสารบัญ

กฎหมายเกย่ี วกบั การพจิ ารณาคดที างอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ ๒

“ระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ระบบงานของศาลเพ่ือรองรับการย่ืน ส่ง
และรับคาฟ้อง คาคู่ความ คาส่ังศาล หมายเรียก หมายอ่ืน ๆ รวมทังเอกสารทางคดีในรูปแบบข้อมูล
อเิ ลก็ ทรอนิกสต์ ามทก่ี าหนดไวใ้ นประกาศสานกั งานศาลยตุ ธิ รรม

“สื่ออิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ส่ือบันทึกข้อมูลหรือสารสนเทศใด ๆ ท่ีใช้วิธีการ
ทางอิเล็กทรอนิกส์โดยการประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอ่ืนใด
ในลักษณะคล้ายกัน และให้หมายความรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง วิธีการทางแม่เหล็ก
หรอื อปุ กรณ์ทีเ่ ก่ยี วข้องกบั การประยุกตใ์ ชว้ ธิ ีการตา่ ง ๆ เช่นว่านนั

“การประชุมผ่านส่ืออิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า การประชุมที่ได้กระทาผ่าน
ส่ืออิเล็กทรอนิกส์ โดยผู้เข้าร่วมประชุมทังหมดไม่จาเป็นต้องอยู่ในที่ประชุมแห่งเดียวกัน ซึ่งผู้เข้าร่วม
ประชุมสามารถประชุมปรึกษาหารอื และแสดงความคดิ เหน็ ระหว่างกนั ไดผ้ ่านสือ่ อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์

“ประธาน” หมายความว่า ประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอทุ ธรณภ์ าค
ประธานศาลอุทธรณ์คดีชานัญพิเศษ ประธานแผนกคดีในศาลฎีกา ประธานแผนกคดีในศาลอุทธรณ์
ประธานแผนกคดีในศาลอุทธรณ์ภาค และรองประธานศาลอุทธรณ์คดีชานัญพเิ ศษ

“การประชุม” หมายความว่า การประชุมใหญ่หรือการประชุมแผนกคดีในศาลชันอุทธรณ์
และศาลฎีกา เพื่อพิจารณาปัญหาข้อกฎหมายหรือปัญหาอ่ืนใดท่ีประธานเห็นสมควร หรือกรณีท่ีมี
กฎหมายกาหนดวา่ ตอ้ งไดร้ ับความเห็นชอบของทีป่ ระชมุ ใหญศ่ าลฎกี า

“เลขานุการ” หมายความว่า ข้าราชการตุลาการซ่ึงประธานกาหนดให้ทาหน้าที่
เลขานกุ ารในการประชุม

“ผู้เข้าร่วมประชุม” หมายความว่า ประธาน องค์ประชุม เลขานุการ ผู้ช่วยเลขานุการ
หรือข้าราชการตุลาการซ่ึงประธานมีคาสั่งให้เข้าประชุม และให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งต้องชีแจงแสดง
ความคิดเหน็ ต่อการประชุม

“ความมั่นคงปลอดภัย” หมายความว่า การธารงไว้ซึ่งความลับ (confidentiality)
ความถูกต้องครบถ้วน (integrity) และสภาพพร้อมใช้งาน (availability) ของระบบควบคุมการประชมุ
รวมทังคุณสมบัติอื่น ได้แก่ ความถูกต้องแท้จริง (authenticity) ความรับผิด (accountability)
การห้ามปฏิเสธความรับผิด (non-repudiation) และความน่าเชื่อถือ (reliability) ของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ท่เี ก่ยี วข้องหรอื เกิดจากการประชมุ ผ่านสือ่ อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์

“ระบบควบคุมการประชุม” หมายความว่า ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และ/หรือ
อุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ใด ๆ ทังฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ท่ีเช่ือมโยงกันเป็นเครือข่าย และมีการ
สอื่ สารขอ้ มูลกนั โดยใช้เทคโนโลยสี ารสนเทศและการส่อื สาร และ/หรือการโทรคมนาคม เพอ่ื ให้ผเู้ ขา้ รว่ ม
ประชุมสามารถเข้าถึงและใช้งานสาหรับการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ไม่ว่าจะเป็นการประชุม
ดว้ ยเสยี งหรอื ทังเสยี งและภาพ

กลับไปหน้าสารบัญ

กฎหมายเกี่ยวกบั การพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนกิ ส์ ๓

หมวด ๑
บททวั่ ไป

ข้อ ๔ เพื่อให้การดาเนินกระบวนพิจารณาเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ว และเท่ียงธรรม
เม่ือศาลเห็นสมควรหรือคู่ความร้องขอ ศาลอาจกาหนดให้ดาเนินกระบวนพิจารณาด้วยวิธีการตามข้อกาหนดนี
โดยคานึงถึงความสะดวกและประหยดั สาหรับค่คู วามท่ียังไมส่ ามารถเข้าถึงเทคโนโลยีด้วย ทังนี ประเภทคดี
หลักเกณฑ์และวิธีการให้เป็นไปตามที่สานักงานศาลยุติธรรมประกาศกาหนด

ข้อ ๕ ศาลอาจสั่งให้คู่ความท่ีดาเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบหรือผิดหลงทาการแก้ไข
ให้ถูกต้องได้ภายในระยะเวลาและเงื่อนไขท่ีศาลเห็นสมควรกาหนด เว้นแต่ข้อผิดระเบียบหรือผิดหลงดังกล่าว
เกิดจากความไมส่ จุ รติ ของคู่ความฝา่ ยนัน

ข้อ ๖ ระยะเวลาตามท่ีกาหนดไว้ในข้อกาหนดนีหรือตามท่ีศาลกาหนด เม่ือศาลเห็นสมควร
หรือเม่ือคคู่ วามรอ้ งขอ ศาลมีอานาจย่นหรือขยายได้ตามความจาเปน็ และเพื่อประโยชนแ์ หง่ ความยุติธรรม

ข้อ ๗ การยื่น ส่ง หรือรับเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์หรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ท่ีจัดทาขึนตามข้อกาหนดนี อาจดาเนินการโดยทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือส่ือเทคโนโลยีสารสนเทศอ่ืนใด
หรือวิธีการใด ๆ ก็ได้ ทังนี หลกั เกณฑ์และวธิ ีการให้เปน็ ไปตามทีส่ านักงานศาลยุติธรรมประกาศกาหนด

ข้อ ๘ เอกสารท่ีได้ย่ืน ส่ง และรับทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ตามข้อกาหนดของ
ประธานศาลฎีกา ว่าดว้ ยการยื่น สง่ และรบั คาคคู่ วามและเอกสารทางระบบรับสง่ อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ พ.ศ. ๒๕๖๐
ให้ถอื วา่ เป็นเอกสารทไ่ี ดจ้ ัดทาในรปู แบบขอ้ มลู อิเลก็ ทรอนิกส์ตามขอ้ กาหนดนี

เอกสารท่ีจดั ทาในรปู แบบขอ้ มลู อิเล็กทรอนกิ สต์ ามขอ้ กาหนดนี ใหเ้ จ้าหนา้ ทดี่ าเนนิ การ
รวบรวมและเก็บรักษาเอกสารนันตามวิธีการที่กาหนดในข้อกาหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วย
การจัดทาสารบบความ สารบบคาพิพากษา และการรวบรวมเก็บรักษาเอกสารในสานวนความ
ในรปู แบบขอ้ มลู อิเล็กทรอนกิ ส์ พ.ศ. ๒๕๖๒

สิ่งพิมพ์ออกของเอกสารตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้ถือว่าเป็นสาเนาที่ได้รับรอง
ตามประมวลกฎหมายวิธพี จิ ารณาความแพ่ง และให้ใชแ้ ทนต้นฉบับได้

หมวด ๒
การจัดทาเอกสารในรปู แบบข้อมูลอิเลก็ ทรอนกิ ส์

ข้อ ๙ ภายใต้บังคับขอ้ กาหนดของประธานศาลฎีกาว่าดว้ ยการยื่น ส่ง และรับคาคูค่ วาม
และเอกสารทางระบบรับส่งอิเลก็ ทรอนกิ ส์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ศาล คู่ความ หรอื ผเู้ ก่ยี วข้อง อาจจดั ทาเอกสาร
ในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นันต้องสามารถเข้าถึงและนากลับมาใช้ได้
โดยความหมายไม่เปล่ียนแปลง และให้ถือเป็นต้นฉบับและถือว่าได้ทาเป็นหนังสือตามท่ีประมวลกฎหมาย
วิธพี จิ ารณาความแพง่ กาหนด

ข้อ ๑๐ ในกรณีท่ีต้องลงลายมือช่ือในเอกสารในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ อาจใช้
ลายมอื ช่ืออเิ ล็กทรอนกิ ส์ หรอื ใหถ้ ือวา่ ไดม้ ีการลงลายมอื ช่อื แล้ว ถา้

(๑) ใช้วิธีการที่สามารถระบตุ วั เจ้าของลายมือชื่อ และสามารถแสดงเจตนาของเจ้าของ
ลายมือชอ่ื เกย่ี วกบั ข้อความในข้อมลู อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ และ

กลบั ไปหนา้ สารบัญ

กฎหมายเกีย่ วกบั การพิจารณาคดที างอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ ๔

(๒) ใช้วิธีการในลักษณะอยา่ งใดอย่างหนึ่ง ดงั ต่อไปนี
(ก) วิธีการท่ีเชื่อถือได้โดยเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการสร้างหรือส่งข้อมูล

อิเล็กทรอนิกส์ โดยคานึงถึงพฤติการณ์แวดล้อมทังปวง รวมถึงข้อตกลงใด ๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือ
(ข) วิธีการอื่นใดที่สามารถยืนยันตัวเจ้าของลายมือช่ือและสามารถแสดงเจตนา

ของเจ้าของลายมือช่อื ตาม (๑) ได้ด้วยวิธีการนนั เองหรอื ประกอบพยานหลกั ฐานอนื่

ข้อ ๑๑ เม่ือศาลสัง่ ให้มกี ารดาเนนิ กระบวนพจิ ารณาตามขอ้ ๔ แลว้ ถา้
(๑) กรณีที่คู่ความไม่สามารถจัดทาเอกสารในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ให้คู่ความ
จัดทาเป็นกระดาษเพ่ือใช้แทนรูปแบบดังกล่าว กรณีนีหากศาลเห็นว่าข้ออ้างนันไม่มีเหตุอันสมควร
ศาลอาจปฏเิ สธการรบั เอกสารนนั ก็ได้
(๒) มีเหตุจาเป็นเร่งด่วน คู่ความอาจยื่นเอกสารท่ีเป็นกระดาษต่อศาลได้ แต่คู่ความ
ยังคงมีหน้าที่แปลงเอกสารนนั ในรปู แบบข้อมูลอเิ ลก็ ทรอนิกส์เพ่ือย่ืนผ่านระบบที่สานักงานศาลยุตธิ รรม
กาหนดโดยเรว็ กรณีนีถา้ คู่ความไม่ยื่นเอกสารผ่านระบบดงั กล่าวโดยไม่มเี หตอุ ันสมควร ศาลอาจปฏเิ สธ
การรับเอกสารนันก็ได้
(๓) คู่ความต้องจัดทาเอกสารในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้มีข้อความท่ีถูกต้อง
ตรงกันกับเอกสารต้นฉบับ ในกรณีท่ีข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์และในเอกสารต้นฉบับแตกต่างกัน
ศาลอาจปฏิเสธการรับเอกสารนันกไ็ ด้
(๔) คู่ความอาจมอบหมายให้บุคคลอ่ืนเป็นผู้ยื่นเอกสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์แทนได้
โดยให้ถือว่าคู่ความดังกล่าวยอมรบั ความถกู ต้องสมบรู ณข์ องเอกสารท่ียนื่ ตอ่ ศาลแลว้

ขอ้ ๑๒ รายงานกระบวนพจิ ารณาท่ีจดั ทาในรูปแบบข้อมูลอิเลก็ ทรอนกิ ส์ หากได้กระทา
ต่อหนา้ คูค่ วามหรือพยานที่อยู่ในหอ้ งพิจารณาหรือถือว่าไดอ้ ยู่ในหอ้ งพิจารณาในการพจิ ารณาโดยระบบ
การประชมุ ทางจอภาพ เมือ่ ศาลไดอ้ ่านรายงานกระบวนพจิ ารณาให้คูค่ วามหรือพยานได้รบั ฟัง และคู่ความ
หรือพยานดังกล่าวได้ดาเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการท่ีสานักงานศาลยุติธรรมประ กาศกาหนด
ให้ถือว่าบคุ คลนนั ไดท้ ราบและลงลายมอื ช่อื ในรายงานกระบวนพจิ ารณานันแล้ว

หมวด ๓
การนั่งพิจารณาโดยวิธกี ารทางอเิ ลก็ ทรอนิกส์

ข้อ ๑๓ ศาลอาจกาหนดให้มีการน่ังพิจารณาและบันทึกคาเบิกความพยานโดยวิธีการ
ทางอิเล็กทรอนิกส์ทังหมดหรือบางส่วนก็ได้ เพ่ือให้การพิจารณาเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรม
โดยต้องไม่ทาให้สิทธิในการต่อสู้คดีของคู่ความลดน้อยลง ทังนี หลักเกณฑ์และวิธีการให้เป็นไปตามท่ี
สานกั งานศาลยตุ ธิ รรมประกาศกาหนด

ขอ้ ๑๔ การบนั ทึกคาเบิกความพยานโดยวิธกี ารทางอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ซงึ่ คคู่ วามหรอื พยาน
สามารถตรวจสอบความถูกตอ้ งได้ ศาลไมจ่ าตอ้ งอา่ นคาเบกิ ความใหพ้ ยานฟังอกี

กรณีศาลเป็นผู้บันทึกคาเบิกความพยานเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบตัวอักษร
(Text file) หากคูค่ วามหรือพยานไม่สามารถตรวจสอบความถกู ตอ้ งได้ ศาลต้องอ่านคาเบกิ ความใหพ้ ยานฟัง

เมื่อศาลเห็นสมควร อาจสั่งให้เจ้าหน้าท่ีจดั ทาส่ิงพิมพ์ออกของบันทึกคาเบิกความพยาน
ทังหมดหรือบางส่วน เพื่อเก็บไว้เป็นสานวนของศาล หรือเพ่ือการอ่ืนใดก็ได้

กลับไปหน้าสารบัญ

กฎหมายเกีย่ วกบั การพิจารณาคดีทางอเิ ล็กทรอนกิ ส์ ๕

หมวด ๔
การรบั ฟังพยานหลกั ฐาน

ข้อ ๑๕ ห้ามมิให้ปฏเิ สธการรับฟงั ข้อมูลอเิ ลก็ ทรอนิกสเ์ ปน็ พยานหลักฐานในกระบวนการ
พิจารณาคดตี ามกฎหมายเพยี งเพราะเหตุว่าเป็นขอ้ มูลอเิ ล็กทรอนิกส์

ในการชั่งนาหนักพยานหลักฐานว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จะเชื่อถือได้หรือไม่เพียงใดนัน
ให้พเิ คราะหถ์ งึ ความน่าเชอ่ื ถอื ของลักษณะหรือวิธกี ารทใี่ ชส้ ร้าง เกบ็ รกั ษา หรอื สื่อสารข้อมลู อิเล็กทรอนกิ ส์
ลักษณะหรือวิธีการเก็บรักษา ความครบถ้วน และไม่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อความ ลักษณะ หรือวิธีการ
ทีใ่ ชใ้ นการระบหุ รอื แสดงตัวผ้สู ่งข้อมลู รวมทงั พฤติการณ์ท่เี กย่ี วขอ้ งทังปวง

ข้อ ๑๖ ในกรณีที่กฎหมายกาหนดให้การใดต้องทาเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ
หรือมีเอกสารมาแสดง หรือกาหนดผลทางกฎหมายกรณีไม่ทาเป็นหนังสือ ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
หรือไม่มีเอกสารมาแสดง ถ้าได้มีการจัดทาข้อความขึนเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ท่ีสามารถเข้าถึงและ
นากลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ให้ถือว่าข้อความนันได้ทาเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ
หรือมเี อกสารมาแสดงตามทก่ี ฎหมายกาหนด

ในกรณีท่ีกฎหมายกาหนดให้ต้องมีการปิดอากรแสตมป์ หากได้มีการชาระเงินแทน
หรือดาเนินการอ่ืนใดด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้ถือว่าหนังสือ หลักฐานเป็นหนังสือ หรือเอกสาร
ซ่ึงมีลักษณะเป็นตราสารนันได้มีการปิดอากรแสตมป์และขีดฆ่าตามกฎหมายนันแล้ว ทังนี หลักเกณฑ์
และวิธกี ารให้เป็นไปตามทสี่ านักงานศาลยุติธรรมประกาศกาหนด

ข้อ ๑๗ ในกรณีที่กฎหมายกาหนดให้นาเสนอหรือเก็บรักษาข้อความใดในสภาพ
ทีเ่ ปน็ มาแต่เดิมอย่างเอกสารต้นฉบบั ถา้ ไดน้ าเสนอหรอื เกบ็ รักษาในรูปแบบขอ้ มลู อิเลก็ ทรอนิกส์ โดยใช้
วิธีการที่เชื่อถือได้ในการรักษาความถูกต้องของข้อความตังแต่การสร้างข้อความเสร็จสมบูรณ์ และ
สามารถแสดงข้อความนันในภายหลัง ให้ถือว่าได้มีการนาเสนอหรือเก็บรักษาเป็นเอกสารต้นฉบับ
ตามกฎหมายแล้ว

ข้อ ๑๘ พยานเอกสารและพยานวัตถุที่คู่ความประสงค์จะอ้างอิง ให้ย่ืนในรูปแบบ
ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ และให้ถือว่าพยานเอกสารและพยานวัตถุดังกล่าว
เป็นตน้ ฉบบั หรอื เอกสารเทียบเทา่ ฉบบั เดมิ

กรณีการยื่นพยานเอกสารตามวรรคหน่ึง คู่ความไม่ต้องส่งสาเนาให้คู่ความฝ่ายอื่น
เวน้ แตค่ ู่ความฝ่ายนันไม่อาจเข้าถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นันได้

หมวด ๕
คาพิพากษา

ข้อ ๑๙ เมื่อเสร็จการพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้ศาลทาคาพิพากษาหรือคาสั่ง
และลงลายมือช่ือในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ตามวิธีการท่ีสานักงานศาลยุติธรรมประกาศกาหนด และให้ถือว่า
คาพิพากษาหรือคาส่ังได้ทาเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๑๔๑ แลว้

การทาความเห็นแย้ง รวมทังการจดแจ้งเหตุกรณีที่ผู้พิพากษาลงลายมือชื่อในคาพิพากษา
หรอื คาสงั่ ไม่ได้ ให้ใชว้ ธิ ีการตามวรรคหน่งึ โดยอนุโลม

กลับไปหนา้ สารบัญ

กฎหมายเกยี่ วกับการพจิ ารณาคดีทางอิเลก็ ทรอนิกส์ ๖

การอ่านคาพิพากษาหรือคาสั่งในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ให้ปฏิบัตติ ามประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๐ (๓) เว้นแต่จะไดป้ ฏิบตั ิตามวธิ ีการทส่ี านักงานศาลยุตธิ รรมประกาศ
กาหนด

หมวด ๖
การประชุมในศาลชนั้ อุทธรณ์และศาลฎีกาโดยวิธีการประชมุ ผ่านส่อื อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์

ข้อ ๒๐ ในกรณีมีเหตุจาเป็นไม่อาจจัดการประชุมตามวิธีการปกติ เมื่อประธานเห็นสมควร
จะกาหนดให้ประชุมผ่านสื่ออิเลก็ ทรอนิกส์ก็ได้ และให้มีผลเช่นเดียวกับการประชมุ ตามวธิ กี ารท่บี ัญญัติ
ไวใ้ นกฎหมายและระเบยี บที่เกยี่ วข้อง

เม่ือประธานกาหนดให้ประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่ง ให้เลขานุการแจ้ง
ผู้เข้าร่วมประชุมทราบล่วงหน้าว่าการประชุมครังนันจะกระทาผ่านส่ืออิเล็กทรอนิกส์ และแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับ
ระบบควบคุมการประชมุ และวิธีการท่ใี ชใ้ นการประชมุ ผ่านสอ่ื อิเลก็ ทรอนกิ ส์

ข้อ ๒๑ การจดั ประชุมผ่านสอ่ื อิเลก็ ทรอนิกส์ อยา่ งนอ้ ยตอ้ งมีกระบวนการ ดงั ต่อไปนี
(๑) การแสดงตนของผเู้ ขา้ รว่ มประชุมผา่ นส่ืออเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ก่อนการประชุม
(๒) การส่ือสารหรือมปี ฏสิ ัมพนั ธก์ ันไดส้ องทางด้วยเสียงหรอื ทงั เสยี งและภาพ
(๓) การเข้าถึงเอกสารประกอบการประชุมของผู้เข้าร่วมประชมุ
(๔) การลงคะแนนของผู้เข้าร่วมประชุมท่ีมีสิทธิลงคะแนน ทังการลงคะแนนโดยเปิดเผย
และการลงคะแนนลับ
(๕) การจัดเก็บข้อมูลหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ซ่ึงรวมถึงการบันทึกเสียง หรือทังเสียงและภาพ แล้วแต่กรณี ของผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนตลอดระยะเวลา
ท่ีมีการประชุม
(๖) การจัดเก็บขอ้ มูลจราจรอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ของผู้เข้ารว่ มประชมุ ทกุ คนไวเ้ ปน็ หลักฐาน
(๗) การแจ้งเหตุขัดข้องในระหว่างการประชุม
(๘) มาตรการรักษาความปลอดภัยเพ่ือป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่มีสิทธิร่วมประชุมรู้หรือ
ล่วงรู้ถึงข้อมูลการประชุมในเร่ืองลับ ทังเอกสารประกอบการประชุม ข้อมูลท่ีนาเสนอในระหว่างการประชุม
หรอื ขอ้ มูลทเ่ี ก่ยี วขอ้ งกับเร่ืองลบั

ข้อ ๒๒ หลักเกณฑ์และวิธีการเก่ียวกับการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมทัง
มาตรฐานการรักษาความมัน่ คงปลอดภัย ให้เป็นไปตามทร่ี ะเบยี บราชการฝา่ ยตลุ าการศาลยุตธิ รรมกาหนด

หมวด ๗
อทุ ธรณแ์ ละฎกี า

ข้อ ๒๓ ข้อกาหนดนีให้ใช้บังคับแก่การพิจารณาและการชีขาดตัดสินคดีในชันอุทธรณ์
และฎีกาโดยอนโุ ลม

กลับไปหน้าสารบัญ

กฎหมายเกย่ี วกับการพจิ ารณาคดีทางอเิ ล็กทรอนิกส์ ๗

หมวด ๘
อนื่ ๆ
ข้อ ๒๔ ให้สานักงานศาลยุติธรรมจัดให้มีระบบอิเล็กทรอนิกส์สาหรับศาลในการดาเนินงาน
เพ่ือให้เป็นไปตามข้อกาหนดนี ระบบดังกล่าวอย่างน้อยต้องมีมาตรการรักษาความม่ันคงปลอดภัยท่ีเหมาะสม
โดยต้องจัดให้มีระบบฐานข้อมูลท่ีมีความม่ันคงปลอดภัยและมีพืนที่เพียงพอต่อการจัดเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ตามข้อกาหนดนี รวมทังจัดให้มีระบบสารองข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Backup) และระบบการกู้คืนข้อมูล
(Data recovery) ทีเ่ หมาะสม
ข้อ ๒๕ หากเจ้าหน้าท่ีพบว่ามีเหตุที่อาจทาให้เกิดความไม่ม่ันคงปลอดภัยในการใช้ระบบ
ตามข้อกาหนดนีหรือมีเหตุจาเป็นอย่างอ่ืน เจ้าหน้าที่อาจดาเนินการปิดระบบดังกล่าวเป็นการช่ัวคราวได้ทันที
เพ่ือซ่อมแซม บารุงรักษา หรือรักษาความปลอดภัยของระบบ โดยปฏิบัติตามขันตอนท่ีกาหนดไว้ใน
ประกาศสานักงานศาลยตุ ธิ รรม
ขอ้ ๒๖ กรณมี ีปญั หาตอ้ งวนิ ิจฉัยชีขาดเก่ียวกบั การใดในขอ้ กาหนดนี ให้ศาลเปน็ ผู้พจิ ารณาสั่ง
ข้อ ๒๗ ให้สานักงานศาลยุติธรรมออกประกาศกาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเง่ือนไข
เก่ียวกบั การดาเนินงานเพอ่ื ใหเ้ ปน็ ไปตามขอ้ กาหนดนี
ในกรณีจาเป็นต้องมีวิธีการใดในทางธุรการเพื่อให้การปฏิบัติตามข้อกาหนดนีเป็นไป
โดยเรียบร้อย ใหเ้ ลขาธิการสานกั งานศาลยตุ ิธรรมเป็นผู้กาหนดวธิ กี ารนนั
ข้อ ๒๘ เมื่อศาลใดมีความพร้อมท่ีจะดาเนินการตามข้อกาหนดนี ให้ออกประกาศของศาล
แจ้งให้ทราบท่ัวกันและอาจกาหนดแนวทางปฏิบัติของศาลนันได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกาหนดนี
ข้อ ๒๙ ข้อกาหนดนีให้ใช้กับคดีอ่ืนที่มีกฎหมายบัญญัติให้นาประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความแพ่งไปใช้บงั คับโดยอนุโลมด้วย
ขอ้ ๓๐ ใหป้ ระธานศาลฎีกาเปน็ ผู้รกั ษาการตามข้อกาหนดนี

ประกาศ ณ วนั ที่ 18 กนั ยายน พ.ศ. ๒๕๖๓
(ลงชื่อ) ไสลเกษ วัฒนพนั ธ์ุ
(นายไสลเกษ วฒั นพนั ธุ์)
ประธานศาลฎีกา

กลบั ไปหน้าสารบัญ

กฎหมายเก่ยี วกับการพิจารณาคดีทางอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ ๘

ข้อพิจารณา

ข้อกาหนดของประธานศาลฎกี า วา่ ดว้ ยวธิ ีพจิ ารณาคดที างอเิ ลก็ ทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๓
_____________

ส่วนที่ ๑ ที่มาและหลักการดาเนนิ กระบวนพิจารณาด้วยวิธกี ารทางอิเลก็ ทรอนิกส์

๑. ท่ีมาของการดาเนินกระบวนพิจารณาด้วยวธิ กี ารทางอิเลก็ ทรอนกิ ส์

ศาลยุติธรรมเร่ิมเข้าสู่ระบบศาลอิเล็กทรอนิกส์ นับแต่มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพ่ิมเติม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับท่ี ๒๘) พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งแก้ไขเพ่ิมเติมประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๓๔/๑ มาตรา ๕๑ วรรคสอง และมาตรา ๖๘ ให้ประธานศาลฎีกามีอานาจ
ออกข้อกาหนดโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา เพื่อเป็นอนุบัญญัติหรือข้อกาหนดกลาง
กาหนดหลักการรองรับให้การดาเนินกระบวนพิจารณาของศาลในทุกข้ันตอน นับตั้งแต่การฟ้องคดี
การยื่นและส่งคาคู่ความและเอกสาร การแจ้งคาสั่งของศาล การจัดทาสารบบความหรือสารบบคาพิพากษา
การสืบพยานและการรับฟังพยานหลักฐาน การวินิจฉัยคดี การดาเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ สามารถ
ดาเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือกระทาในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพ่ือเพิ่มประสิทธิภาพ
ให้การพจิ ารณาพิพากษาคดีและการให้บริการประชาชน ผมู้ อี รรถคดเี ปน็ ไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว

ในช่วงเริ่มต้น ประธานศาลฎีกาได้ออกข้อกาหนดของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการยื่น
ส่ง และรับคาคู่ความและเอกสารทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๐ กาหนดหลักการให้การย่ืนฟ้องคดี
สามารถทาได้ผ่านระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) โดยให้ถือว่า คาฟ้องและเอกสารท่ีได้ยื่นและส่ง
ทางระบบรับส่งอิเลก็ ทรอนกิ ส์ตลอดจนคาสง่ั หรือการอื่นใดที่กระทาโดยผู้พิพากษาหรือเจา้ หน้าท่ี ถือว่า
มกี ารลงลายมอื ช่ือโดยผทู้ ่ีเกยี่ วขอ้ งซงึ่ เปน็ ผูท้ ารายการ (ข้อ ๙) และสิ่งพมิ พอ์ อกจากระบบรบั สง่ อิเล็กทรอนกิ ส์
ให้ถอื วา่ เปน็ สาเนาที่ได้รบั การรับรองตามประมวลกฎหมายวธิ ีพจิ ารณาความแพง่ แลว้ (ขอ้ ๑๗)

ต่อมาประธานศาลฎีกาไดอ้ อกขอ้ กาหนดของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการจดั ทาสารบบความ
สารบบคาพิพากษา และการรวบรวมเก็บรักษาเอกสารในสานวนความในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. ๒๕๖๒ กาหนดหลักการใหจ้ ดั ทาสารบบความและสารบบคาพิพากษา หรอื สานวนความในรปู แบบ
อิเล็กทรอนิกส์ได้ รวมถึงสิ่งพิมพ์ออกให้ถือว่าเป็นสาเนาท่ีได้รับรองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความแพ่งและให้ใชแ้ ทนตน้ ฉบบั ได้ (ขอ้ ๑๖) ทาใหไ้ มต่ ้องขอคัดสาเนาและรบั รองตามประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความแพ่ง ตามมาตรา ๕๔ การรับส่งสานวนความและเอกสารที่ได้รวบรวมเก็บรักษาในรูปแบบ
ขอ้ มูลอเิ ล็กทรอนิกสต์ ามข้อกาหนดดังกลา่ วระหวา่ งศาลยังอาจใชว้ ิธีการทางอิเลก็ ทรอนกิ ส์ได้ (ข้อ ๑๕)

การพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวของศาลยุติธรรมช่วยลดปัญหาการจัดการคดี
ของศาลยุติธรรมที่มีจานวนมาก ลดการมาศาลของประชาชนที่ต้องมายื่นฟ้องคดี ลดความแออัด
อันเนื่องมาจากพื้นท่ีของศาลแต่ละแห่งที่มีอยู่อย่างจากัด ลดภาระในการดูแลและจัดเก็บสานวนความ
ซงึ่ มีเป็นจานวนมาก ทาใหพ้ ืน้ ท่ีศาลทมี่ ีอยู่ไมเ่ พียงพอตอ่ การเพ่ิมขน้ึ ของสานวนความในทกุ ปี

กลับไปหน้าสารบัญ

กฎหมายเก่ียวกบั การพิจารณาคดีทางอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ ๙

นอกจากข้อกาหนดของประธานศาลฎีกาท้ังสองฉบับแล้ว ยังเหลือกระบวนพิจารณา
ของศาลในขั้นตอนสุดท้ายท่ียังไม่มีข้อกาหนดให้จัดทาในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ คือ การพิจารณา
พิพากษาคดี ไม่ว่าจะเป็นการสืบพยาน หรือการทาคาพิพากษา จนถึงการพิจารณาพิ พากษาของ
ศาลอทุ ธรณแ์ ละศาลฎกี า ประธานศาลฎีกาจึงได้ออกข้อกาหนดของประธานศาลฎีกา วา่ ด้วยวิธพี ิจารณาคดี
ทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๓ เพื่อรองรับกระบวนพิจารณาของศาลให้สามารถทาในรูปแบบ
อิเล็กทรอนิกส์ได้จนเสร็จส้ินไปทั้งคดี ข้อกาหนดของประธานศาลฎีกาฉบับนี้ ประกาศราชกิจจานุเบกษา
เมอื่ วนั ที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓ และมผี ลใชบ้ งั คับตั้งแตว่ นั ที่ ๑ ตลุ าคม ๒๕๖๓ เปน็ ตน้ มา

๒. หลกั การดาเนินกระบวนพิจารณาด้วยวธิ กี ารทางอิเลก็ ทรอนิกส์

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๓๔/๑ และข้อ ๔ ของข้อกาหนด
ของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๓ กาหนดวัตถุประสงค์
ในการดาเนนิ กระบวนพิจารณาด้วยวธิ ีการทางอิเลก็ ทรอนิกส์วา่ จะต้องเปน็ ไปเพอ่ื ให้การดาเนนิ กระบวน
พิจารณาเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็วและเท่ียงธรรม ซ่ึงการดาเนินกระบวนพิจารณาด้วยวิธีดังกล่าว
มีข้อทตี่ ้องพิจารณา ดังนี้

๒.๑ วิธพี จิ ารณาคดแี พ่งทั่วไปกับวิธพี จิ ารณาคดีดว้ ยวธิ กี ารทางอเิ ล็กทรอนกิ ส์

การดาเนินกระบวนพิจารณาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นการยอมรับให้
กระบวนพิจารณาแบบเดิม สามารถทาในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์หรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้ตามเทคโนโลยี
ที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัล ส่วนข้ันตอนการพิจารณาต่าง ๆ ของศาลและหลัก
กฎหมายวิธีพิจารณาความ ยังคงเป็นไปตามท่ีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หรือหากมี
กฎหมายกาหนดวิธีพิจารณาคดีนั้น ๆ ไว้เป็นการเฉพาะ เช่น คดีมโนสาเร่ คดีผู้บรโิ ภค ก็ต้องนาวิธพี จิ ารณาคดี
ดังกล่าวมาใช้บังคับ เพียงแต่ข้อกาหนดน้ีได้กาหนดรายละเอียดของการดาเนินกระบวนพิจารณาด้วย
วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อความสะดวกรวดเร็วและผ่อนคลายความเคร่งครัดของกระบวนพิจารณา
รูปแบบเดมิ บางเร่ืองมากขน้ึ อนั เนื่องมาจากปัจจัยด้านเทคโนโลยแี ละผใู้ ช้งาน

๒.๒ วตั ถปุ ระสงค์ของการใชว้ ธิ ีพิจารณาคดที างอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์

การดาเนินกระบวนพิจารณาด้วยวิธกี ารทางอิเล็กทรอนิกส์ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้
การดาเนินกระบวนพิจารณาเปน็ ไปโดยสะดวก รวดเร็ว และเท่ียงธรรม และต้องไม่ทาให้สิทธิในการต่อสู้คดี
ของคคู่ วามลดน้อยลง โดยหลกั การดงั กล่าวปรากฏอยใู่ นขอ้ กาหนดของประธานศาลฎกี า ว่าด้วยวธิ ีพจิ ารณาคดี
ทางอเิ ล็กทรอนกิ ส์ พ.ศ. ๒๕๖๓ ขอ้ ๔ และขอ้ ๑๓

๒.๓ ความสามารถในการเข้าถงึ เทคโนโลยขี องค่คู วาม

เน่ืองจากความเป็นจริงท่ีว่า การเข้าถึงเทคโนโลยีของคู่ความแต่ละคนแตกต่างกัน
และเปน็ เรอื่ งเฉพาะตัว บางคนอาจมีความคนุ้ เคยกบั การใชง้ านระบบอเิ ลก็ ทรอนิกส์ กจ็ ะสามารถใช้งาน

กลับไปหน้าสารบัญ

กฎหมายเกีย่ วกบั การพจิ ารณาคดที างอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ ๑๐

ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการรับส่งหรือตรวจดูข้อมูลต่าง ๆ ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้รวดเร็วหรือสะดวกกว่า
คนท่ีไม่คุ้นเคยหรอื ไม่ได้ใช้งานระบบอิเล็กทรอนิกส์เปน็ ประจา ดังน้ัน การพิจารณาส่ังคารอ้ งคาขอหรอื
มีคาส่ังใด ๆ ภายใต้การดาเนนิ กระบวนพิจารณาดว้ ยวธิ กี ารทางอเิ ลก็ ทรอนิกส์นีเ้ อง ศาลจึงควรคานงึ ถงึ
คู่ความที่ยังไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีด้วยว่า การใช้วิธีพิจารณาคดีอิเล็กทรอนิกส์ตามข้อกาหนดน้ี
จะต้องไม่ทาให้สิทธิในการต่อสู้คดีของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหน่ึงลดลง อันจะทาให้เกิดความได้เปรียบ
เสยี เปรียบในทางคดี เพอ่ื ใหเ้ กดิ ความเป็นธรรมแกค่ ู่ความท้งั สองฝ่าย

๒.๔ ความไม่เคร่งครัดในกระบวนพจิ ารณา

ขอ้ กาหนดน้ีมบี ทบัญญัตทิ ีผ่ ่อนคลายความเคร่งครดั ของการดาเนนิ กระบวนพิจารณา
รปู แบบเดิมท่ีเปน็ การใชก้ ระดาษ เช่น การย่นหรอื ขยายระยะเวลา ซงึ่ ไดบ้ ัญญัตไิ วแ้ ล้วตามประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๓ หรือการดาเนินกระบวนพิจารณาท่ีผิดระเบียบหรือผิดหลง
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๗ เพียงแต่การใช้งานระบบอิเล็กทรอนิกส์น้ัน
อาจเกิดความผิดพลาดได้ ไม่ว่าจะเป็นด้วยตัวผู้ใช้งานเองหรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ หากเคร่งครัดกับ
วิธีพิจารณาความแบบเดมิ อาจทาใหไ้ ม่สอดคล้องกับพฤตกิ ารณ์ท่ีเกดิ ข้ึน บทบัญญัตดิ งั กล่าวจงึ เป็นเพียง
ใหอ้ านาจศาลใชด้ ลุ พนิ ิจทผ่ี อ่ นคลายมากขึ้น แตท่ ้ังน้กี ต็ อ้ งดคู วามสจุ ริตของคคู่ วามทีอ่ ้างเหตุน้ันดว้ ย

ส่วนท่ี ๒ กระบวนพจิ ารณาดว้ ยวิธีการทางอิเลก็ ทรอนกิ ส์

๑. การเร่มิ กระบวนพจิ ารณา

ข้อ ๔ เพอ่ื ให้การดาเนินกระบวนพิจารณาเป็นไปโดยสะดวก รวดเรว็ และเท่ยี งธรรม
เมื่อศาลเห็นสมควรหรือคู่ความร้องขอ ศาลอาจกาหนดให้ดาเนินกระบวนพิจารณาด้วยวิธีการตาม
ข้อกาหนดนี้ โดยคานึงถึงความสะดวกและประหยัดสาหรับคู่ความที่ยังไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีด้วย
ทง้ั นี้ ประเภทคดี หลักเกณฑแ์ ละวิธีการใหเ้ ปน็ ไปตามท่ีสานักงานศาลยุติธรรมประกาศกาหนด

๑) การดาเนินกระบวนพิจารณาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ศาลต้องคานงึ ถึงความสะดวก
และประหยัดในการเข้าถงึ เทคโนโลยขี องค่คู วามด้วย โดยใชด้ ลุ พนิ ิจพิเคราะห์เปน็ รายกรณวี า่ มีเหตุผลสมควร
ใหม้ ีการดาเนนิ กระบวนพจิ ารณาตามข้อกาหนดน้หี รอื ไม่ หลักการขอ้ นีม้ ีลกั ษณะเช่นเดยี วกบั พระราชบญั ญตั ิ
วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๖ วรรคหน่ึง กล่าวคือ ในคดีผู้บริโภคน้ัน คู่ความฝ่ายหน่ึงจะเป็น
ผู้ประกอบธุรกิจและอีกฝ่ายหน่งึ เปน็ ผบู้ ริโภค ซง่ึ มคี วามไม่เท่าเทียมกนั อยแู่ ลว้ การกาหนดใหใ้ ชก้ ระบวน
พิจารณาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์จึงต้องไม่ทาให้สิทธิในการต่อสู้คดีของคู่ความลดน้อยลงเช่นเดียวกับ
การเขา้ ถงึ เทคโนโลยขี องคคู่ วามแต่ละฝ่ายกอ็ าจไม่เทา่ กนั ศาลจงึ ตอ้ งคานึงถึงความสามารถในการเขา้ ถงึ
เทคโนโลยี ซ่ึงอีกนัยหนึ่งก็คือ คู่ความยังคงต่อสู้คดีได้เต็มท่ีและไม่ให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้เปรียบ
เสียเปรียบกนั

กลับไปหนา้ สารบัญ

กฎหมายเกยี่ วกบั การพิจารณาคดีทางอเิ ล็กทรอนิกส์ ๑๑

๒) ขอบเขตของข้อกาหนดน้ีมิได้ใช้บังคับกับการดาเนนิ กระบวนพิจารณาภายหลังฟ้อง
เท่าน้ัน ศาลจึงสามารถนามาใช้ต้ังแต่การดาเนินกระบวนพิจารณาก่อนฟ้องคดี เช่น วิธีการช่ัวคราว
ก่อนพพิ ากษาไดด้ ้วย สว่ นการพิจารณาวา่ สมควรใชก้ ระบวนพจิ ารณานี้หรอื ไมอ่ าจเกิดได้ ๒ กรณี

กรณีแรก ศาลเห็นสมควร โดยพิจารณาจากความพร้อมของคู่ความ ไม่ว่าจะเป็นตัว
ความ ผู้รับมอบอานาจ (ถ้ามี) หรือทนายความ ในการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ก่อนวันนัดพิจารณา
หรือนัดไตส่ วน คู่ความทง้ั สองฝา่ ยมกี ารย่ืนคาฟอ้ ง คาใหก้ ารหรือเอกสารตา่ ง ๆ คาร้อง คาขอ ผา่ นระบบรบั สง่
อิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) หรือระบบบริการออนไลนศ์ าลยุติธรรม (Court Integral Online Service : CIOS)
อาจเป็นเหตุที่ทาให้ศาลเห็นได้ว่า คู่ความทั้งสองฝ่ายมีความพร้อมที่จะให้ดาเนินกระบวนพิจารณาตาม
ข้อกาหนดน้ี

กรณีที่สอง คู่ความร้องขอ ซึ่งอาจเกิดจากฝ่ายโจทก์หรือฝ่ายจาเลยหรือทั้งสองฝ่ายก็ได้
แต่หากเปน็ กรณที ่คี ู่ความฝา่ ยใดฝา่ ยหนง่ึ รอ้ งขอ ในการใชด้ ุลพนิ ิจอนุญาตใหใ้ ช้การดาเนนิ กระบวนพิจารณานี้
กับคู่ความอีกฝ่าย ศาลก็ต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ขา้ งต้นด้วยว่า คู่ความอีกฝ่ายนน้ั มีความพร้อมและ
ต้องคานึงถึงสะดวกและประหยัดของคู่ความน้นั ด้วย

ในการน่งั พิจารณาโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การสืบพยานทางออนไลน์ หากมเี พยี ง
คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหน่ึงร้องขอใช้วิธีน่ังพิจารณาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ศาลอาจอนุญาตเฉพาะ
คู่ความทข่ี อ สว่ นคู่ความที่ไม่ได้ขอก็ยังคงมีหนา้ ท่ีตอ้ งมาศาลดาเนนิ กระบวนพิจารณาตามปกติ

๓) ในการกาหนดให้ใช้วิธีนั่งพิจารณาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์น้ี เม่ือมีคู่ความร้องขอ
ศาลอาจสอบถามคู่ความอีกฝ่ายเพ่ือทราบความประสงค์ว่าต้องการใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วยหรือไม่
เพราะขณะน้ันอาจยังไม่ทราบว่าคู่ความอีกฝ่ายมีความประสงค์ทจ่ี ะใช้วธิ ีการดงั กล่าวและมีความพรอ้ ม
ในการเข้าถึงเทคโนโลยีหรือไม่

หากศาลกาหนดให้สืบพยานด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (สืบพยานทางออนไลน์)
ควรมีคาส่ังก่อนวันนัดสืบพยานเป็นเวลาพอสมควร เนื่องจากตามประกาศสานักงานศาลยุติธรรม
เร่ือง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันท่ี ๒๐
กรกฎาคม ๒๕๖๔ ข้อ ๒๗ กาหนดว่า “ให้เจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบถึงระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่
ศาลกาหนดให้ใช้ในการนงั่ พิจารณา และตรวจความพร้อมของระบบอเิ ล็กทรอนกิ ส์ ระบบรับสง่ อิเลก็ ทรอนกิ ส์
สถานท่ีที่ใช้ระบบและอุปกรณ์ส่ือสารของผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้การน่ังพิจารณาทางระบบอิเล็กทรอนิกส์
เป็นไปโดยเรียบร้อย แล้วรายงานความพร้อมให้ศาลทราบก่อนวันนัด” ทั้งนี้ ก็เพ่ือให้เจ้าหน้าที่มีระยะเวลา
พอสมควรในการจัดเตรียมและรายงานให้ศาลทราบ

๔) สานักงานศาลยุติธรรมออกประกาศสานักงานศาลยุติธรรม เร่ือง หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเง่ือนไขเก่ียวกับการใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือ
ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Coronavirus Disease : COVID-19) (ฉบับท่ี ๑ - ๔) ซ่ึงใช้สาหรับการนั่งพิจารณาคดแี พง่
ในช่วงสถานการณก์ ารแพร่ระบาดของโรคตดิ เชือ้ ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ตอ่ มาได้ยกเลกิ ประกาศท้งั สฉี่ บบั ดังกลา่ ว

กลับไปหน้าสารบัญ

กฎหมายเกี่ยวกบั การพจิ ารณาคดีทางอิเล็กทรอนกิ ส์ ๑๒

เพื่อปรับปรุงเน้ือหาใหม่โดยนาหลักเกณฑ์ วิธีการและเง่ือนไขตามประกาศสานักงานศาลยุติธรรม
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเก่ียวกับการใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ในสถานการณ์
การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Coronavirus Disease : COVID-19) (ฉบับที่ ๔)
เก่ียวกับการนั่งพิจารณาทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ มากาหนดไว้ในหมวด ๓ การนั่งพิจารณาโดยวิธีการทาง
อิเล็กทรอนิกส์ ของประกาศสานักงานศาลยุติธรรม เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเง่ือนไขเกย่ี วกบั การใช้
วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนกิ ส์ ลงวนั ท่ี ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๔1 เพ่ือรวมในประกาศฉบบั เดยี ว

๒. การดาเนนิ กระบวนพิจารณาทผี่ ดิ ระเบยี บหรอื ผิดหลง

ข้อ ๕ ศาลอาจสั่งให้คู่ความที่ดาเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบหรือผิดหลง
ทาการแก้ไขให้ถูกต้องได้ภายในระยะเวลาและเง่ือนไขที่ศาลเห็นสมควรกาหนด เว้นแต่ ข้อผิด
ระเบยี บหรือผดิ หลงดงั กล่าวเกิดจากความไมส่ จุ รติ ของค่คู วามฝ่ายน้ัน

๑) การดาเนินกระบวนพิจารณาท่ีผิดระเบียบหรือผิดหลงตามข้อกาหนดนเ้ี ป็นหลกั การ
เดียวกับท่ีบัญญัติไว้ในคดีผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๙
ส่วนคดีแพ่งนั้น โดยหลักแล้วการเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบจะเป็นไปตามประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๗ ซ่ึงหลักเกณฑ์ดังกล่าวยังคงนามาใช้กับการดาเนนิ กระบวน
พิจารณาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ตาม ข้อ ๕ ของข้อกาหนดนี้ กาหนดหลักการที่ผ่อน
คลายกว่าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๗ กล่าวคือ ให้ดุลพินิจท่ีกว้างข้ึนและ
ไม่เคร่งครัดแกศ่ าลในการแก้ไขกระบวนพิจารณาท่ีผิดระเบียบหรือผิดหลงที่เกิดขึน้ ในกระบวนพิจารณา
ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยศาลไม่ตกอยู่ภายใต้ข้อจากัดเรื่องเวลาหรือแม้แต่คู่ความฝ่ายน้ัน
ดาเนินการอันใดขึ้นใหม่หลังจากท่ีได้ทราบเรื่องที่ผิดระเบียบแล้วหรือให้สัตย าบันต่อการผิดระเบียบ
เพราะเปน็ เรื่องทศ่ี าลจะสัง่ ให้แก้ไขเองได้

๒) อย่างไรก็ตาม เน่ืองจากบทบัญญัตินี้อยู่ในข้อกาหนดของประธานศาลฎีกา ว่าด้วย
วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๓ ดังน้ัน ข้อผิดระเบียบหรือข้อผิดหลงในท่ีน้ีจึงต้องเก่ียวข้อง
กับการใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนกิ ส์ในการดาเนินกระบวนพิจารณา และการใช้ดุลพินิจของศาลให้แก้ไข
กระบวนพิจารณานั้น ศาลต้องพิจารณาวา่ ข้อผดิ ระเบยี บหรือผิดหลงดังกล่าวเกิดจากความไม่สุจริตของ
คู่ความฝ่ายน้ันหรือไม่ด้วย หากคู่ความกระทาลงโดยรู้อยู่แล้วหรือจงใจอาศัยช่องว่างของเทคโนโลยี
กแ็ สดงให้เหน็ ว่าไม่สุจริต ศาลกอ็ าจไมส่ ัง่ ใหแ้ กไ้ ขได้

ตัวอย่างเช่น ในคดแี พ่ง จาเลยย่ืนคาใหก้ ารผ่านระบบรับส่งอิเลก็ ทรอนิกส์ แต่เกิดเหตไุ ฟฟา้
หรือสัญญาณอินเตอร์เน็ตล่ม ทาให้คาให้การในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ไม่เข้าสู่ระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์
โดยจาเลยไม่ทราบข้อขัดข้องดังกล่าวมาก่อน ต่อมาในวันนัด ศาลตรวจสานวนในระบบแล้วไม่พบคาให้การ
จึงพิพากษาคดีไปฝ่ายเดียวโดยถือว่าจาเลยขาดนัดยื่นคาให้การ ดังนี้ หากจาเลยมาศาลแจ้งว่า จาเลย

1 หนงั สอื สานักงานศาลยตุ ธิ รรม ดว่ นที่สดุ ที่ ศย ๐๑๖/ว ๗๙๖ ลงวันท่ี ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๔

กลบั ไปหน้าสารบัญ

กฎหมายเกยี่ วกับการพิจารณาคดที างอิเล็กทรอนกิ ส์ ๑๓

ย่ืนคาให้การแล้ว การที่ศาลพิจารณาพิพากษาคดีไปฝ่ายเดียวโดยจาเลยขาดนัดยื่นคาให้การ จึงเป็น
กระบวนพิจารณาทผี่ ิดระเบียบ ศาลสง่ั เพิกถอนกระบวนพจิ ารณาและอนุญาตใหจ้ าเลยยื่นคาให้การใหมไ่ ด้

๓. การยน่ หรอื ขยายระยะเวลา

ข้อ ๖ ระยะเวลาตามท่ีกาหนดไว้ในข้อกาหนดนี้หรือตามท่ีศาลกาหนด เม่ือศาลเห็นสมควร
หรือเมื่อคคู่ วามรอ้ งขอ ศาลมอี านาจยน่ หรอื ขยายได้ตามความจาเป็นและเพอ่ื ประโยชน์แหง่ ความยุติธรรม

๑) การย่นหรือขยายระยะเวลาตามข้อกาหนดน้ี เป็นหลักการเดียวกับท่ีบัญญัติไว้ใน
คดีผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๑๕ ส่วนคดีแพ่งนั้น
จะเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๓ ซึ่งในการมีคาสั่งน้ันก็ต้องแยกพิจารณาว่า
เป็นคดีประเภทใด หากเป็นคดีผู้บริโภคแล้วหลักเกณฑ์ก็จะเป็นไปตามตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดี
ผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๑๕ ซึ่งมีลักษณะเช่นเดยี วกับข้อ ๖ ของข้อกาหนดนี้ และในส่วนคดแี พ่งนนั้
หลักเกณฑ์ก็จะเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธพี ิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๓ ซึ่งยังคงนามาใช้กับการ
ดาเนินกระบวนพิจารณาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวคือ การขยายหรือย่นระยะเวลา คู่ความ
ต้องมคี าขอหรือศาลไดม้ คี าส่ังกอ่ นสน้ิ ระยะเวลา และจะทาได้ตอ่ เม่อื มีพฤติการณ์พิเศษ เว้นแต่ในกรณีที่
มเี หตุสุดวสิ ยั

๒) อย่างไรก็ตาม หากเป็นการดาเนินกระบวนพิจารณาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์แล้ว
ข้อ ๖ ของข้อกาหนดน้ี กาหนดหลักการที่ผ่อนคลายกว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๗
กล่าวคือ ในการพิจารณาถึงพฤติการณ์พิเศษหรือเหตุสุดวิสัย ให้ศาลพิจารณาจากความจาเป็นและ
เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมด้วย ท้ังน้ี ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า กระบวนพิจารณาด้วยวิธีการทาง
อิเลก็ ทรอนิกส์มีข้อจากัดทั้งในแงข่ องเทคโนโลยีหรือผใู้ ชง้ านเอง ศาลจงึ ควรคานึงถึงเหตุปจั จัยต่าง ๆ ด้วย

ตัวอย่างเช่น คอมพิวเตอร์จาเลยเสียหายเนื่องจากติดไวรัสคอมพิวเตอร์ ทาให้ไม่มี
คอมพิวเตอร์ที่จะจัดทาคาให้การ หรือระบบไฟฟ้าขัดข้อง ไม่อาจใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ จึงย่ืน
คาให้การไม่ทัน และเลยเวลาทาการของศาลที่จะมายื่นคาให้การในรูปแบบกระดาษแล้ว หรือแม้ว่า
เอกสารที่โจทก์อ้างจะมีจานวนไม่มาก แต่จาเลยไม่สามารถอ่านเอกสารในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้
โดยต้องจัดพิมพ์ออกมาซ่งึ ต้องจัดหาอปุ กรณเ์ พ่ิมเติม จงึ ใชเ้ วลานาน ทาให้ไมส่ ามารถยนื่ คาให้การได้ทัน
ภายในกาหนด หรือโจทก์ประสงค์จะอ้างอิงบันทึกคาพยานในคดีอ่ืน แต่มีการจัดเก็บบันทึกคาพยาน
ในรูปภาพและเสียงทาให้โจทก์ต้องถอดข้อความออกมาก่อน จึงยื่นไม่ทัน เหล่าน้ีต่างเป็นข้อจากัด
อันเน่ืองมาจากปัญหาทางเทคโนโลยีและผู้ใช้งานเกี่ยวกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ ในบางคร้ังบางกรณี
อาจมิใชพ่ ฤติการณ์พเิ ศษหรอื เหตุสุดวสิ ยั หากเปน็ กรณีกระบวนพจิ ารณาโดยใชก้ ระดาษแบบเดมิ แต่อาจ
เป็นพฤติการณ์พิเศษหรือเหตุสุดวิสัยได้หากเป็นกระบวนพิจารณาทางอิเล็กทรอนิกส์ การใช้ดุลพินิจ
จึงคานงึ ถงึ ความจาเป็นหรอื เพ่อื ประโยชนแ์ ห่งความยุตธิ รรมในส่วนนดี้ ว้ ย

กลับไปหนา้ สารบัญ

กฎหมายเก่ยี วกับการพจิ ารณาคดที างอเิ ล็กทรอนิกส์ ๑๔

๔. การย่นื สง่ หรือรับเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนกิ ส์หรอื ข้อมูลอิเลก็ ทรอนกิ ส์

ข้อ ๗ การยื่น ส่ง หรือรับเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์หรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ที่จัดทาข้ึนตามข้อกาหนดน้ี อาจดาเนินการโดยทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อเทคโนโลยี
สารสนเทศอนื่ ใด หรอื วิธกี ารใด ๆ กไ็ ด้ ทงั้ น้ี หลักเกณฑ์และวธิ กี ารให้เป็นไปตามทีส่ านกั งานศาลยุตธิ รรม
ประกาศกาหนด

ประกาศสานักงานศาลยุติธรรม เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเก่ียวกับการใช้
วธิ พี จิ ารณาคดที างอิเลก็ ทรอนิกส์ ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๔ กาหนดว่า

ข้อ ๗ การยื่น ส่ง หรือรับเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์หรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ที่จัดทาขึ้นตามประกาศนี้ ให้คู่ความและเจ้าหน้าที่ดาเนินการโดยทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์
(ระบบรับสง่ อิเลก็ ทรอนิกส์ (e-Filing) หรือระบบบรกิ ารข้อมูลคดีศาลยุติธรรม (Court Integral Online
Service : CIOS)) หรอื ระบบอเิ ล็กทรอนกิ ส์อ่นื ของสานกั งานศาลยุตธิ รรม

การส่งหมายนัดหรือเอกสารทางคดีหรือการแจ้งคาส่ังศาลหรือข้อความใดให้แก่คคู่ วาม
อาจดาเนินการโดยทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์โดยจัดทาเอกสารหรือข้อความนั้นในรูปแบบข้อมูล
อิเล็กทรอนิกส์ แล้วส่งไปยังท่ีอยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของคู่ความดังกล่าวตามท่ีได้แจ้งไว้ต่อศาล
โดยใหถ้ ือวา่ เปน็ การสง่ โดยคู่ความนัน้ ไดท้ ราบข้อความนับแต่เวลาที่เอกสารหรือขอ้ ความเชน่ วา่ นน้ั ไปถึง
คูค่ วามตามทีอ่ ย่ไู ปรษณยี อ์ ิเลก็ ทรอนิกสท์ ่ไี ดแ้ จ้งต่อศาลไว้

มีตัวอย่างกรณีฟ้ืนฟูกิจการของบริษัท การบินไทย จากัด (มหาชน) ที่ศาลล้มละลาย
กลางกาหนดวธิ สี ่งสาเนาคาร้องฟื้นฟูกิจการ จานวน ๒๙๒ หนา้ ถึงเจา้ หน้ีกว่า ๒.๕ ลา้ นราย ซง่ึ เปน็
คดีแรกท่ศี าลให้สง่ คาร้องทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ กลา่ วคือ ศาลลม้ ละลายกลางมคี าสัง่ รับคาร้องขอฟื้นฟู
กจิ การของบริษัทการบินไทย จากัด (มหาชน) วา่ จากท่ีศาลนดั ไต่สวนวันท่ี ๑๗ สงิ หาคม ๒๕๖๓ ซงึ่ ศาล
มีคาส่ังอนุญาตให้ส่งสาเนาคาร้องทางส่ืออิเล็กทรอนิกส์ได้ตามกรอบรายละเอียดและวิธีการที่กาหนด
เน่อื งจากเจา้ หนใ้ี นคดีมีเป็นจานวนมาก เพ่ือให้การดาเนินคดีเป็นไปโดยรวดเร็วและเปน็ ธรรม สอดคล้อง
กับวัตถุประสงค์ในคดีฟ้ืนฟูฯ เพ่ิมเติมจากที่ศาลได้มีคาส่ังให้ส่งสาเนาคาร้องขอฟ้ืนฟูฯ ทางไปรษณีย์
ให้แกเ่ จา้ หน้ีบางสว่ นแล้ว และการบนิ ไทยได้เริม่ ส่งคาร้องขอฟนื้ ฟฯู ทางอีเมลแ์ ละทาง SMS ดว้ ย ตง้ั แต่
วันท่ี ๑๒ มถิ นุ ายน ๒๕๖๓ ท้ังน้ี เปน็ การส่งตามขอ้ กาหนดคดลี ้มละลาย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๓ ขอ้ ๔ กาหนด
ว่า “เพ่ือให้กระบวนพิจารณาเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรม การติดต่อระหว่างศาลล้มละลายกลาง
กับศาลอ่ืน หรือระหว่างศาลล้มละลายกับคู่ความ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดี หรือ
ผู้เกี่ยวข้องในคดี อาจทาโดยทางโทรสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือส่ือทางเทคโนโลยีสารสนเทศประเภท
อื่นแทนการติดต่อโดยทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษหรือประกอบกันก็ได้ โดยคานึงถึงความจาเป็นเร่งด่วน
และความเหมาะสมแก่ลักษณะเน้ือหาของเรื่องที่ทาการติดต่อ รวมถึงจานวนและลักษณะของเอกสาร
หรอื วัตถอุ ื่นท่ีเกยี่ วขอ้ ง ทัง้ นี้ ตามหลักเกณฑแ์ ละวิธกี ารท่ศี าลกาหนด” และประกาศศาลลม้ ละลายกลาง

กลบั ไปหนา้ สารบัญ

กฎหมายเกย่ี วกบั การพิจารณาคดที างอเิ ล็กทรอนกิ ส์ ๑๕

เร่ือง หลักเกณฑ์และวิธีการติดต่อระหว่างศาลล้มละลายกลางกับศาลอ่ืน หรือระหว่างศาลล้มละลายกลาง
กบั คคู่ วาม เจา้ พนักงานพิทกั ษ์ทรัพย์ หรือผเู้ กีย่ วข้องในคดี ประกาศ ณ วันท่ี ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๓

ข้อ ๘ เอกสารท่ีได้ย่ืน ส่ง และรับทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ตามข้อกาหนดของ
ประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการยื่น ส่ง และรับคาคู่ความและเอกสารทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. ๒๕๖๐ ใหถ้ ือว่าเป็นเอกสารท่ไี ดจ้ ดั ทาในรปู แบบขอ้ มูลอิเล็กทรอนิกสต์ ามขอ้ กาหนดน้ี

เอกสารท่ีจัดทาในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามข้อกาหนดน้ี ให้เจ้าหน้าท่ี
ดาเนนิ การรวบรวมและเก็บรกั ษาเอกสารนั้นตามวธิ ีการท่ีกาหนดในข้อกาหนดของประธานศาลฎีกา
ว่าด้วยการจัดทาสารบบความ สารบบคาพิพากษา และการรวบรวมเก็บรักษาเอกสารในสานวนความ
ในรปู แบบขอ้ มูลอิเล็กทรอนกิ ส์ พ.ศ. ๒๕๖๒

ส่ิงพิมพ์ออกของเอกสารตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้ถือว่าเปน็ สาเนาทไี่ ดร้ ับรอง
ตามประมวลกฎหมายวธิ ีพิจารณาความแพ่ง และใหใ้ ช้แทนตน้ ฉบับได้

๑) เน่ืองจากการย่ืน ส่งหรือรับเอกสารเดิมน้ัน ถูกจากัดอยู่ในรูปของกระดาษเท่านั้น
ไม่สอดคล้องกับการดาเนินกระบวนพิจารณาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นไปด้วยความสะดวก
รวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่าย การถ่ายสาเนาเอกสารจานวนมากนอกจากจะเป็นการส้ินเปลืองแล้ว ยังมีภาระ
ในการจัดส่งด้วย ข้อกาหนดน้ีจึงนามาใช้เพ่ือลดข้อจากัดดังกล่าว หลักการข้อนี้มีลักษณะเช่นเดียวกับ
พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๑๖ โดยปัจจุบันสานักงานศาลยุติธรรม
ได้กาหนดวิธีการยนื่ ส่งหรือรับเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกสห์ รือข้อมลู อิเลก็ ทรอนิกส์ได้ ๒ ระบบ คอื
ระบบรบั ส่งอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) และระบบบรกิ ารออนไลนศ์ าลยุตธิ รรม (CIOS) ซ่ึงคู่ความสามารถ
ยน่ื คารอ้ ง คาขอ คาแถลงต่าง ๆ ในรูปแบบไฟลอ์ ิเล็กทรอนกิ ส์ได้ทง้ั แบบไมม่ กี ารชาระคา่ ธรรมเนยี มและ
ชาระค่าธรรมเนียม

๒) เหตุที่ต้องกาหนดรายละเอียดตามข้อ ๘ ไว้ เน่ืองจากเอกสารท่ีจัดทาขึ้นตาม
ข้อกาหนดของประธานศาลฎีกาอีกสองฉบับ คือ การย่ืนฟ้องทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์และ
การจัดทาสารบบความและสารบบคาพิพากษาในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์น้ัน ต่างก็เป็นเอกสารที่จัดทา
ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เดียวกันกับท่ีใช้ตามข้อกาหนดนี้ ทั้งนี้ ก็เพื่อให้เกิดความเช่ือมโยงกันของ
เอกสารทัง้ สามส่วนดังกลา่ ว

๓) การจัดเก็บเอกสารท่ีจัดทาในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์น้ัน จะเป็นไปตามข้อกาหนด
ของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการจัดทาสารบบความ สารบบคาพิพากษา และการรวบรวมเก็บรักษา
เอกสารในสานวนความในรปู แบบขอ้ มลู อิเล็กทรอนกิ ส์ พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยถอื วา่ เอกสารที่ไดจ้ ดั ทาดงั กลา่ ว
และนาเข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์แล้ว เช่น รายงานกระบวนพิจารณา ซึ่งมิได้จัดทาเป็นสิ่งพิมพ์ออก
มาเป็นเอกสารทีไ่ ดจ้ ดั เก็บรกั ษาตามข้อกาหนดดังกลา่ วแล้ว

กลบั ไปหน้าสารบัญ

กฎหมายเกยี่ วกบั การพจิ ารณาคดที างอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ ๑๖

ในส่วนของสิ่งพิมพ์ออกของเอกสารท่ีได้จัดทาในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็จะถูกกาหนด
ไว้เช่นเดียวกับข้อกาหนดของประธานศาลฎีกาท่ีออกไปก่อนหน้านี้ คือ ได้รับการรับรองให้ถือว่าเป็น
สาเนาที่ได้รับรองและให้ใช้แทนต้นฉบับได้ ตามที่กาหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๕๑ วรรคสอง โดยกาหนดมาตรฐานใหต้ อ้ งมลี ายนา้ (watermark) หรอื ซ่อนรหัสในส่ิงพมิ พ์ออก
(hidden code) เพื่อสามารถใช้ยืนยนั หรืออ้างองิ ได้กบั บคุ คลภายนอก

๕. การจัดทาเอกสารในรูปแบบข้อมลู อเิ ล็กทรอนิกส์

ข้อ ๙ ภายใต้ข้อกาหนดของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการยื่น ส่ง และรับคาคู่ความ
และเอกสารทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ศาล คู่ความ หรือผู้เก่ียวข้อง อาจจัดทาเอกสาร
ในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นต้องสามารถเข้าถึงและนากลับมาใช้ได้
โดยความหมายไม่เปล่ียนแปลง และให้ถือเป็นต้นฉบับและถือว่าได้ทาเป็นหนังสือตามที่ประมวลกฎหมาย
วธิ พี ิจารณาความแพง่ กาหนด

๑) ตามข้อ ๙ น้ี กาหนดหลักการรองรับให้ เอกสารในสานวนความท่ีปัจจุบันทาใน
รูปแบบกระดาษ เช่น คาคู่ความ รายงานเจ้าหน้าที่ รายงานกระบวนพิจารณา คาพิพากษาหรือเอกสาร
ทางคดีอ่ืน ไม่ว่าจะย่ืนมาพร้อมกับการย่ืนฟ้องทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) หรือฟ้องคดี
ในรูปแบบเดิม หรือจัดทาขึ้นในภายหลัง ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งให้ใช้กระดาษ
ให้สามารถทาในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้ โดยใช้มาตรฐานในการจัดทาเอกสารอย่างเดียวกับ
ที่ใช้ในการจัดทาเอกสารในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามข้อกาหนดของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการย่ืน
ส่ง และรับคาคู่ความและเอกสารทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๐ และประกาศสานักงาน
ศาลยุติธรรมที่เกี่ยวข้อง ซ่ึงกาหนดวิธีการเก่ียวกับการจัดทาเอกสารไว้โดยเฉพาะ เช่น จะต้องจัดทา
ในรปู แบบไฟล์ PDF/A ตามขนาดทีก่ าหนด

๒) อย่างไรก็ตาม ข้อ ๙ ของขอ้ กาหนดนี้ กาหนดเงื่อนไขในการจัดทาเอกสารในรปู แบบ
ขอ้ มูลอเิ ล็กทรอนิกส์วา่ จะต้องสามารถเข้าถึงและนากลับมาใชไ้ ด้โดยความหมายไมเ่ ปล่ียนแปลง รวมถึง
กาหนดให้เอกสารท่ีได้จัดทาข้ึนในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ถือเป็นต้นฉบับ และถือว่าได้ทาเป็น
หนังสือตามท่ีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งกาหนด เพ่ือรับรองสถานะทางกฎหมายของ
เอกสารที่จัดทาในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นี้ มิให้มีการโต้แย้งว่ามิใช่เอกสารตามกฎหมาย ทั้งน้ี
หลักการรองรับความเป็นต้นฉบับของเอกสารในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จะเป็นไปตามพระราชบัญญัติ
ว่าด้วยธรุ กรรมทางอเิ ล็กทรอนกิ ส์ พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๘ ซงึ่ นามาบัญญัตไิ ว้ในขอ้ กาหนดนด้ี ว้ ยเนือ่ งจาก
พระราชบัญญตั ิดงั กลา่ วไม่ครอบคลุมถึงการพิจารณาพพิ ากษาอรรถคดขี องศาล (มาตรา ๓๕)

อน่ึง ตามประกาศสานักงานศาลยุติธรรม เร่ือง หลักเกณฑ์ วิธีการและเง่ือนไขเกี่ยวกับ
การใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ ๒๔ กาหนดวิธีจัดทาเอกสารท่ีจะใช้ในการสืบพยานทาง
ระบบออนไลน์ว่า

กลบั ไปหนา้ สารบัญ

กฎหมายเก่ียวกับการพจิ ารณาคดีทางอเิ ล็กทรอนิกส์ ๑๗

“เอกสารหรือภาพถา่ ยที่ใช้สบื ประกอบคาเบิกความของพยานบุคคลทางระบบอิเลก็ ทรอนกิ ส์
ใหใ้ ช้เอกสารในรูปแบบขอ้ มูลอิเล็กทรอนกิ สท์ ค่ี ูค่ วามส่งเขา้ มาในระบบรับสง่ อเิ ล็กทรอนิกส์

เอกสารในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่งถือเป็นเอกสารต้นฉบับหรือ
เอกสารเทียบเท่าฉบับเดิมตามข้อ ๑๘ แห่งข้อกาหนดของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีทาง
อิเล็กทรอนกิ ส์ พ.ศ. ๒๕๖๓ ในกรณีที่ต้องจัดทาส่ิงพิมพ์ออกของเอกสารดังกล่าวเพื่อจัดเก็บเปน็ สานวน
ความ ใหค้ ู่ความที่อา้ งเอกสารเป็นผรู้ ับผดิ ชอบค่าจดั ทาเอกสาร หากจาเป็นต้องใชต้ น้ ฉบับอาจกาหนดให้
คู่ความทอ่ี ้างเอกสารน้ันนามาสง่ ต่อศาลภายในเวลาท่ีศาลเห็นสมควร

เพ่ือประโยชน์ในการสืบพยาน ศาลอาจกาหนดให้มีการน่ังพิจารณาทางระบบอิเล็กทรอนิกส์
ก่อนวนั นดั สืบพยานเพือ่ ตรวจความพร้อมของเอกสารทค่ี คู่ วามจะใช้ในการสบื พยาน”

ข้อ ๑๑ เมื่อศาลส่งั ใหม้ ีการดาเนินกระบวนพจิ ารณาตามขอ้ ๔ แลว้ ถ้า
(๑) กรณีที่คู่ความไม่สามารถจัดทาเอกสารในรปู แบบข้อมลู อิเล็กทรอนิกสใ์ หค้ ูค่ วาม
จัดทาเป็นกระดาษเพื่อใช้แทนรูปแบบดังกล่าว กรณีน้ีหากศาลเห็นว่าข้ออ้างนั้นไม่มีเหตุอันสมควร
ศาลอาจปฏิเสธการรบั เอกสารนนั้ ก็ได้
(๒) มีเหตุจาเป็นเรง่ ด่วน คู่ความอาจยื่นเอกสารท่ีเป็นกระดาษตอ่ ศาลได้ แต่คู่ความ
ยังคงมีหน้าท่ีแปลงเอกสารน้ันในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อยื่นผ่านระบบที่สานักงานศาลยุติธรรม
กาหนดโดยเร็ว กรณีนี้ถ้าคู่ความไม่ยื่นเอกสารผ่านระบบดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจปฏิเสธ
การรบั เอกสารนั้นก็ได้
(๓) คู่ความต้องจัดทาเอกสารในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้มีข้อความที่ถูกต้อง
ตรงกันกับเอกสารต้นฉบับ ในกรณีท่ีข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์และในเอกสารต้นฉบับแตกต่างกัน
ศาลอาจปฏิเสธการรบั เอกสารน้นั กไ็ ด้
(๔) คู่ความอาจมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้ยื่นเอกสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
แทนได้ โดยใหถ้ ือว่าคคู่ วามดังกลา่ วยอมรับความถูกตอ้ งสมบูรณ์ของเอกสารทย่ี นื่ ตอ่ ศาลแลว้

การดาเนินคดีแพ่งมีความจาเป็นต้องใช้เอกสาร เช่น คาคู่ความ คาร้อง คาขอต่าง ๆ ทางคดี
ที่ศาลหรือคู่ความจัดทา รวมถึงเอกสารท่ีต้องใช้เป็นพยานหลักฐาน ซ่ึงในคดีท่ีศาลมีคาส่ังให้ดาเนิน
กระบวนพิจารณาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยคานึงถึงความพร้อมของคู่ความทุกฝ่าย ตามข้อกาหนด
ของประธานศาลฎีกาฯ ข้อ ๔ แล้ว หากให้มีการยื่นหรอื จัดทาเอกสารในรูปแบบกระดาษย่อมเกดิ ความ
ไม่สะดวก และไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ ข้อกาหนดของ
ประธานศาลฎีกาฯ ข้อ ๑๑ จึงกาหนดหลักการเป็นบทบังคับคู่ความในการจัดทาเอกสารท่ีจะยื่นหรือ
ส่งต่อศาล โดยมีสภาพบังคับในทางวิธีพิจารณาความด้วยการให้อานาจศาลปฏิเสธการรับเอกสาร
ที่ไม่ได้จดั ทาใหถ้ ูกต้องตามรปู แบบทก่ี าหนด

กลับไปหน้าสารบัญ

กฎหมายเกีย่ วกบั การพิจารณาคดที างอเิ ล็กทรอนิกส์ ๑๘

๑) แม้วา่ การดาเนนิ กระบวนพจิ ารณาด้วยวธิ กี ารทางอิเลก็ ทรอนกิ สต์ อ้ งการใหก้ ารดาเนนิ การ
เกี่ยวกับการจัดทาเอกสารอยู่ในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ตาม แต่อาจเกิดกรณีมีเหตุจาเป็นหรือ
มีเหตุขัดข้องทาให้คู่ความไม่สามารถจัดทาเอกสารในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้ ข้อกาหนดนี้
จึงกาหนดขอ้ ยกเวน้ ไว้เพอ่ื แก้ไขปญั หาดงั กลา่ ว โดยอาจแบง่ ไดเ้ ป็น ๒ กรณี คือ

กรณีแรก คู่ความไม่สามารถจัดทาเอกสารในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้ อาจเป็นเพราะ
เอกสารทีอ่ ยูใ่ นรปู แบบกระดาษนัน้ เกา่ มากหรือจางมาก จนทาใหไ้ ม่สามารถนามาจดั ทาในรูปแบบข้อมลู
อิเล็กทรอนิกส์ได้ หรือถึงแม้จะทาได้ก็อาจมองได้ไม่ชัดเจน คู่ความสามารถย่ืนเอกสารในรูปแบบ
กระดาษแทนได้

กรณีท่ีสอง เป็นกรณีที่มีเหตุจาเป็นเร่งด่วน ตัวอย่างเช่น เอกสารดังกล่าวมีเป็นจานวนมาก
และศาลกาหนดวันนัดเร็ว ทาให้ไม่สามารถจัดทาในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้ทันภายในวันนัด
หรือในการสืบพยานอาจเพ่ิงพบวา่ จาเปน็ ต้องอา้ งเอกสารน้ันเป็นพยานเนอ่ื งจากคู่ความอีกฝ่ายถามค้าน
ถึงพยานเอกสารดังกล่าว จึงอาจขออ้างส่งในรูปแบบกระดาษต่อศาลไปก่อน อย่างไรก็ตาม ข้อยกเว้น
กรณีท่ีสองนี้ ไม่ใช่ข้อยกเว้นเด็ดขาด โดยคู่ความฝ่ายท่ีอ้างเอกสารดังกล่าวยังมีหน้าที่ในการแปลง
เอกสารเป็นในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อยื่นผ่านระบบที่สานักงานศาลยุติธรรมกาหนดโดยเร็ว
ศาลจงึ ควรมคี าสั่งกาหนดระยะเวลาใหค้ ่คู วามแปลงเอกสารแล้วยืน่ ผ่านระบบภายในระยะเวลาทก่ี าหนดดว้ ย

๒) อย่างไรก็ตาม หากศาลเห็นว่า ข้ออ้างท่ีจะขอส่งเอกสารกระดาษแทนการจัดทาในรูปแบบ
ขอ้ มลู อเิ ล็กทรอนกิ ส์ไมม่ ีเหตอุ ันสมควรหรือคู่ความย่ืนเอกสารที่เป็นกระดาษตอ่ ศาลแลว้ ไม่แปลงเอกสาร
ในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แล้วยื่นผ่านระบบที่สานักงานศาลยุติธรรมกาหนดโดยเร็ว ข้อกาหนดนี้
ยังกาหนดในลักษณะบทตัดพยานไว้ ให้ศาลมีอานาจท่ีจะปฏิเสธการรับเอกสารนั้นก็ได้ แต่ก็มิได้เป็น
บทบังคบั เด็ดขาด โดยศาลอาจใช้ดลุ พินิจรับฟังเอกสารที่เป็นกระดาษก็ได้ หากเห็นวา่ เพื่อประโยชน์แหง่
ความยุติธรรมหรือเป็นพยานหลักฐานอันสาคัญซึ่งเก่ียวกับประเดน็ ข้อสาคัญในคดี ทานองเดียวกับท่ีบัญญัติ
ไว้ตามประมวลกฎหมายวิธพี ิจารณาความแพ่ง มาตรา ๘๖ และมาตรา ๘๘

๓) สาหรับเอกสารกระดาษ ซ่ึงจะนามาทาให้เป็นในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์นั้น ใน (๓)
ยังกาหนดหน้าท่ีของคู่ความให้ใช้ความระมัดระวังในการจัดทา ให้เอกสารดังกล่าวมีข้อความท่ีถูกต้อง
ตรงกนั ดว้ ย เนือ่ งจากเอกสารกระดาษทค่ี คู่ วามจะย่นื และสง่ นน้ั อาจมกี ารแกไ้ ขเพ่ิมเตมิ หรือมีหลายฉบบั
ก่อนจัดทาในรปู แบบข้อมลู อเิ ล็กทรอนกิ ส์ คู่ความจึงต้องตรวจสอบก่อน อันถือเป็นความรบั ผิดชอบของ
คู่ความฝ่ายนั้น หากภายหลังมีการโต้แย้งหรอื ตรวจพบว่า เอกสารกระดาษไม่ตรงกับเอกสารในรปู แบบ
ข้อมลู อเิ ล็กทรอนิกส์ ใหศ้ าลอาจปฏิเสธการรับเอกสารนน้ั ก็ได้

๖. การลงลายมอื ชอ่ื ในเอกสารในรปู แบบข้อมูลอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์

ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ต้องลงลายลายมือช่ือในเอกสารในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
อาจใชล้ ายมือชอื่ อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ หรอื ให้ถอื ว่าไดม้ ีการลงลายมือชอื่ แลว้ ถา้

กลับไปหน้าสารบัญ

กฎหมายเกีย่ วกับการพจิ ารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ ๑๙

(๑) ใช้วิธีการที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อ และสามารถแสดงเจตนาของ
เจา้ ของลายมือช่ือเก่ียวกับข้อความในข้อมลู อเิ ลก็ ทรอนิกส์ และ

(๒) ใชว้ ธิ กี ารในลกั ษณะอย่างใดอย่างหนึง่ ดงั ต่อไปนี้
(ก) วิธีการที่เชื่อถือไดโ้ ดยเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการสร้างหรือส่งข้อมูล

อิเล็กทรอนิกส์ โดยคานงึ ถงึ พฤตกิ ารณแ์ วดลอ้ มท้งั ปวง รวมถึงข้อตกลงใด ๆ ทเี่ กีย่ วขอ้ ง หรือ
(ข) วิธีการอื่นใดที่สามารถยนื ยันตวั เจ้าของลายมือช่อื และสามารถแสดงเจตนา

ของเจา้ ของลายมือช่อื ตาม (๑) ได้ด้วยวิธกี ารนั้นเองหรอื ประกอบพยานหลักฐานอืน่

๑) ในวิธีพิจารณาคดีอิเล็กทรอนิกส์ ศาล คู่ความ ทนายความ พยาน และบุคคลที่เก่ียวข้อง
กับกระบวนพิจารณาอาจลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ลงในเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ซ่ึงการกระทาดังกล่าว
มีผลทางกฎหมายเทียบเท่ากบั ลายมือช่ือทท่ี าลงในเอกสารกระดาษ โดยมวี ตั ถุประสงคเ์ พอ่ื ระบุตวั บุคคล
ท่ีเกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์น้ัน และเพ่ือแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูล
อเิ ลก็ ทรอนิกสน์ ั้น ท้งั น้ี ตามนยิ ามของคาว่า “ลายมอื ชอื่ อิเลก็ ทรอนกิ ส์” ในข้อ ๓ ของขอ้ กาหนดนี้

๒) ตามข้อ ๑๐ น้ี กาหนดหลักการทั่วไปของวิธีการลงลายมือช่ือในเอกสารในรูปแบบ
ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีหลักการสอดคล้องกับพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๙ กล่าวคือ ไม่ได้มีการกาหนดเทคโนโลยีเฉพาะเจาะจงที่ใช้ในการลงลายมือช่ือ
จึงทาให้เกิดความเป็นกลางทางเทคโนโลยี (technology neutrality) เพื่อให้รองรับรูปแบบของลายมือช่อื
อิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ได้ ดังน้ัน หากลายมือชื่อท่ีสร้างข้ึนเป็นไปตามหลักเกณฑ์
ที่กฎหมายกาหนด ก็ถือวา่ เปน็ การลงลายมอื ช่ืออิเลก็ ทรอนกิ สต์ ามกฎหมาย

๓) ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์อาจแบ่งได้เป็น ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป คือ ลายมือชื่อ
อิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบใด ๆ ท่ีมีลักษณะตามท่ีกาหนดในพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๙ เช่น การพิมพ์ชื่อไว้ท้ายเนื้อหาของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การสแกนภาพของ
ลายมือช่ือที่เขียนด้วยมือและแนบไปกบั เอกสาร การใช้ปากกาสไตลัส (Stylus) เขียนลายมือช่ือดว้ ยมือ
ลงบนหน้าจอและบันทึกไว้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การคลิกปุ่มแสดงการยอมรับหรือตกลง การทา
เคร่ืองหมายในช่องแสดงการยอมรับ และลายมือชื่ออิเล็กทรอนกิ ส์ท่ีเชื่อถอื ได้ท่ีมีลักษณะตามที่กาหนด
ในพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๒๖ และมาตรา ๒๘ เช่น
ลายมือช่ือดิจิทัลที่อาศัยโครงสร้างพื้นฐานกุญแจสาธารณะ (Public Key Infrastructure : PKI) หรือ
ทม่ี ใี บรบั รองท่อี อกโดยผใู้ หบ้ ริการออกใบรบั รองเพอ่ื สนบั สนนุ ลายมอื ชื่ออเิ ล็กทรอนิกส์

หลักเกณฑ์ของลายมือช่ืออิเล็กทรอนิกส์ท่ีเชื่อถือได้ คือ ข้อมูลท่ีใช้สร้างลายมือช่ือต้อง
เชื่อมโยงไปถึงเจ้าของลายมือช่ือได้ ข้อมูลท่ีใช้สร้างลายมือชื่ออยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าของลายมือช่ือ
และต้องสามารถตรวจพบการเปลี่ยนแปลงของลายมือช่ือและข้อความได้ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
ท่ีเชื่อถือได้ตามมาตรา ๒๖ คือ ลายมือช่ือดิจิทัล (Digital Signature) ซึ่งเป็นลายมือช่ืออิเล็กทรอนิกส์
ท่ีได้จากกระบวนการเข้ารหสั ลับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ที่ช่วยให้สามารถยืนยันตัวเจ้าของลายมือช่ือและ

กลบั ไปหนา้ สารบัญ

กฎหมายเก่ยี วกบั การพจิ ารณาคดีทางอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ ๒๐

ตรวจพบการเปลี่ยนแปลงของข้อความและลายมือช่ืออิเล็กทรอนิกส์ได้ รวมถึงการทาให้เจ้าของลายมือช่ือ
ไมส่ ามารถปฏเิ สธความรับผิดจากข้อความทีต่ นเองลงลายมือชอื่ ได้

ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ท่ัวไปนั้น มีผลทางกฎหมายเช่นเดียวกับการเป็นลายมือชื่อ
อิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ แต่การเป็นลายมือช่ืออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป ผู้อ้างว่าลายมือชื่อนั้นน่าเชื่อถือ
ต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์ว่าลายมือช่ืออิเล็กทรอนิกส์น้ันน่าเชื่อถืออย่างไร แต่หากเป็นลายมือชื่อ
อิเล็กทรอนิกส์ที่เช่ือถือได้ตามมาตรา ๒๖ จะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามกฎหมายว่าลายมือ
ชื่ออิเล็กทรอนิกส์น้ันน่าเช่ือถือ และผู้ที่โต้แย้งว่าลายมือชื่อไม่น่าเชื่อถือจะต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์ว่า
ลายมือช่อื อเิ ลก็ ทรอนิกสด์ ังกลา่ วไม่นา่ เชอื่ ถืออยา่ งไร

๔) การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในคาคู่ความหรือเอกสารทางคดี อาจแยกพิจารณาได้
ดังน้ี

๔.๑) การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในคาคู่ความหรือเอกสารที่ยื่นทางระบบรับส่ง
อิเล็กทรอนิกส์ของสานักงานศาลยุติธรรม ซ่ึงแบ่งออกได้เป็น ๒ ระบบ คือ ระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์
(e-Filing) และระบบบริการออนไลน์ศาลยุติธรรม (CIOS) ซ่ึงการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์จะใช้ใน
ระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) เนื่องจากศาลจาเป็นต้องเข้าไปส่ังในระบบ ขณะท่ีการส่ังในระบบ
บริการออนไลน์ศาลยุติธรรม (CIOS) เจ้าหน้าที่ศาลจะจัดทาส่ิงพิมพ์ออกมาให้ศาลสั่งคาร้องและแจ้ง
คาส่ังศาลผ่านระบบเท่านั้น ไม่ได้มีการเข้าไปสั่งในระบบ ในการใช้งานยังแบ่งการลงลายมือชื่อได้เป็น
๒ กรณี คือ

(๑) การลงลายมอื ชอ่ื อิเล็กทรอนิกสข์ องผ้ใู ช้ระบบ
ผู้ใช้ระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ท่ีลงทะเบียนต่อศาลแล้ว จะได้รับช่ือผู้ใช้ระบบ

และรหัสผ่าน เพ่ือใช้เข้าสู่ระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ โดยชื่อผู้ใช้ระบบและรหัสผ่านเป็นหลักฐานแสดง
การลงลายมือช่ือของผู้ใช้ระบบในการติดต่อกับศาลหรือคู่ความอ่ืนผ่านระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ และ
การระบุช่ือผู้ใช้ระบบและรหสั ผ่านลงในระบบรบั ส่งอเิ ล็กทรอนกิ ส์เพ่ือเข้าใช้ระบบถอื เป็นการยืนยันตัว
ผู้ใช้ระบบและการรับรองขอ้ ความในข้อมลู อิเลก็ ทรอนกิ ส์ ดังนั้น การท่ีผู้ใช้ระบบยื่นคาฟ้องและเอกสาร
ทางระบบรับส่งอเิ ลก็ ทรอนิกส์ โดยมีการพิมพ์ชอื่ และช่ือสกลุ หรือลงลายมือชือ่ ในเอกสารท่สี ง่ ผา่ นระบบ
ถือว่ามีการลงลายมือช่ือแล้ว ตามข้อกาหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการย่ืน ส่งและรับคาคู่ความ
และเอกสารทางระบบรบั สง่ อิเลก็ ทรอนกิ ส์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๕

สาหรับเอกสารท่ีบุคคลภายนอก ซ่ึงมิใช่ผู้ใช้ระบบต้องลงลายมือชื่อ เช่น
หนังสือมอบอานาจ ใบแต่งทนายความ เน่ืองจากบุคคลภายนอกไม่ได้ลงทะเบียนและยืนยันตัวตน
เพื่อใช้ระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ ดังน้ัน บุคคลภายนอกจึงต้องลงลายมือช่ือในเอกสารดังกล่าวให้ครบถ้วน
เสียก่อนแล้วจึงจัดทาเป็นเอกสารในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และให้ผู้ใช้ระบบอัปโหลด (Upload)
เอกสารผ่านระบบได้ โดยถือว่า ผู้ใช้ระบบได้รับรองแล้วว่า ผู้ใช้ระบบมีเอกสารดังกล่าวอันเป็นต้นฉบบั

กลบั ไปหนา้ สารบัญ

กฎหมายเกย่ี วกบั การพจิ ารณาคดที างอิเลก็ ทรอนกิ ส์ ๒๑

อยู่ในครอบครอง ตามประกาศสานักงานศาลยุติธรรม เร่ือง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่น
ส่งและรบั คาคคู่ วามและเอกสารทางระบบรบั สง่ อเิ ล็กทรอนกิ ส์ ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๓ ข้อ ๖ วรรคสอง

(๒) การลงลายมอื ชือ่ อเิ ลก็ ทรอนกิ สข์ องผูพ้ ิพากษา
การลงลายมือช่ืออเิ ล็กทรอนิกสข์ องผพู้ ิพากษาเพ่อื เข้าใช้งานในระบบรับสง่

อิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) นั้น ผู้พิพากษาที่ใช้ระบบจะต้องผ่านกระบวนการพิสูจนแ์ ละยนื ยนั ตัวตนก่อน
และเม่ือเข้าใช้งานให้ดาเนินการโดยใช้รหัสผ่าน (password) ร่วมกับรหัสผ่านแบบใช้ครั้งเดียว
(One Time Password หรือ OTP) ท่ีมาจาก Mobile Application และมีการรับรองประทับตรา
(Stamp Certificate) ลงในเอกสารด้วยระบบจัดการกุญแจสว่ นตัว (Private Key)

เมือ่ ผ้พู ิพากษามคี าสงั่ เก่ียวกับคาฟอ้ งทางระบบรบั สง่ อเิ ลก็ ทรอนิกส์จะต้อง
ลงลายมือชอื่ อเิ ล็กทรอนิกส์ทเ่ี ช่ือถือได้ พร้อมท้ังมีการประทบั รบั รองเวลา (Time Stamp) โดยสามารถ
ตรวจสอบลายมือช่ืออิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างข้ึนนั้นด้วยกุญแจสาธารณะ (Public Key) ในใบรับรอง
อิเลก็ ทรอนกิ ส์ ซ่ึงคาสง่ั หรือการอื่นใดทีก่ ระทาโดยผพู้ พิ ากษาหรอื เจา้ หน้าทใ่ี นระบบรบั สง่ อิเลก็ ทรอนกิ ส์
ถือว่ามีการลงลายมือช่ืออิเล็กทรอนิกส์ในระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ตามประกาศสานักงานศาลยุติธรรม
เร่ือง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเง่ือนไขในการยื่น ส่งและรับคาคู่ความและเอกสารทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์
ลงวนั ท่ี ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๓ ข้อ ๒๗

๔.๒) การลงลายมือช่ืออิเล็กทรอนิกส์ในเอกสารอ่ืนท่ีทาขึ้นกระบวนพิจารณาของศาล
อาจทาโดยการลงลายมือชือ่ ในอปุ กรณ์อเิ ล็กทรอนกิ ส์ซ่ึงทาใหป้ รากฏภาพลายมือชื่อดงั กล่าวในเอกสาร
ในเวลาท่ีมีการลงลายมือช่อื นัน้ หรือทาการใด ๆ บนอุปกรณ์อิเล็กทรอนกิ สอ์ ันแสดงได้วา่ ผู้ทาไดย้ อมรบั ความ
ถูกต้องของข้อมูลหรือข้อความที่เก่ียวข้อง เช่น การสแกนใบหน้าหรือลายพิมพ์น้ิวมือ หรือ
ลงลายมอื ชือ่ อิเล็กทรอนิกส์ผา่ นระบบอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ทีส่ านักงานศาลยุติธรรมกาหนด ท้งั นี้ คคู่ วาม พยาน
และบุคคลท่ีเกี่ยวข้องในกระบวนพิจารณาท่ีจะลงลายมือช่ืออิเล็กทรอนิกส์ ต้องดาเนินการลงทะเบียน
พิสูจน์และยืนยันตัวตนเพ่ือใช้ระบบตามวิธีการท่ีสานักงานศาลยุติธรรมประกาศกาหนด ตามประกาศ
สานักงานศาลยุติธรรม เร่ือง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเก่ียวกับการใช้วิธีพิจารณาคดีทาง
อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ข้อ ๙

เอกสารที่ทาขึ้นในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในกระบวนพิจารณาคดีของศาล
อาจจะใชก้ ารลงลายมือช่ืออิเลก็ ทรอนิกส์ตา่ งประเภทกัน ขน้ึ อยู่กับความเหมาะสม ชั้นของความลบั และ
ความปลอดภัยของเอกสารแตล่ ะประเภท เช่น การลงลายมอื ช่ืออิเลก็ ทรอนกิ ส์ในคาเบกิ ความพยานหรอื
รายงานกระบวนพิจารณาที่ทาข้ึนในรปู แบบขอ้ มลู อิเล็กทรอนิกส์ อาจจะใช้การลงลายมอื ช่ือในอุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งทาให้ปรากฏภาพลายมือช่ือดังกล่าวในเอกสารในเวลาท่ีมีการลงลายมือชื่อน้ัน เช่น
การลงลายมือชื่อโดยใช้ปากกาสไตลัส (Stylus) ทาให้ปรากฏภาพลายมือช่ือในอุปกรณ์ (Electronic
Signature Pad) เนือ่ งจากเปน็ กรณที ี่เจา้ ของลายมือช่ือปรากฏต่อหนา้ ศาลอย่แู ลว้

กลบั ไปหน้าสารบัญ

กฎหมายเกยี่ วกับการพจิ ารณาคดีทางอเิ ล็กทรอนิกส์ ๒๒

ข้อสังเกต การลงลายมือช่ือของผู้พิพากษาแล้วบันทึกในคาพิพากษาอาจใช้ลายมือชื่อ
อิเล็กทรอนิกส์ได้ไม่ว่าจะเป็นคดีที่มีองค์คณะผู้พิพากษาคนเดียวหรือหลายคน ซ่ึงข้อกาหนดของ
ประธานศาลฎีกา ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๑๙ กาหนดว่า ให้ศาลทา
คาพิพากษาหรือคาสั่งและลงลายมือชื่อในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ตามวิธีการท่ีสานักงานศาลยุติธรรม
ประกาศกาหนด ซึ่งในระยะเริ่มต้นสานกั งานศาลยุติธรรมได้กาหนดวธิ ีการทาคาพิพากษาโดยการลงลายมอื ชอื่
อิเล็กทรอนิกส์ในคาพิพากษาที่มีผู้พิพากษาคนเดียวลงลายมือชื่อมารองรับตามประกาศสานักงานศาลยุติธรรม
เร่ือง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเก่ียวกับการใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ ๒๐
กรกฎาคม ๒๕๖๔ ข้อ ๓๗ กาหนดวา่ ผู้พิพากษาอาจจัดทาคาพิพากษาหรือคาส่ังในรปู แบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
โดยบันทึกข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นไฟล์ประเภท PDF หรือ PDF/A แล้วลงลายมือช่ือผ่านอุปกรณ์
(electronic signature pad) และประทับตราประจาชาดในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ จากนั้น
จึงอัปโหลด (upload) คาพิพากษาหรือคาส่ังดังกล่าวเข้าสู่ระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์หลังจากการอ่าน
หรือถือว่าได้อ่านคาพิพากษาหรอื คาส่ังนน้ั ตามกฎหมายแล้วได้ ทั้งนี้ ผู้พิพากษาจะต้องลงทะเบียนและ
พสิ ูจน์ยืนยันตวั ตนแลว้ เพอ่ื ใหแ้ นใ่ จวา่ ผพู้ พิ ากษาท่ลี งลายมอื ชอ่ื เป็นผู้พพิ ากษาเจา้ ของสานวนทม่ี อี านาจ
ในการพจิ ารณาพพิ ากษาคดีดงั กลา่ วจริง

ในสถานการณ์ท่ีมีการแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ สานักงาน
ศาลยุติธรรมได้ออกข้อพิจารณาในการลงลายมือช่ืออิเล็กทรอนิกส์ในสัญญาประนีประนอมยอมความ
ในคดีแพ่ง2 สาหรับเป็นแนวทางปฏิบัติในการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ของคู่ความในสัญญา
ประนปี ระนอมยอมความที่ทาข้นึ ในการนั่งพจิ ารณาทางออนไลน์ ดังน้ี

ตามท่ีได้มีประกาศสานักงานศาลยุติธรรม เร่ือง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับ
การใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
(Coronavirus Disease : COVID-19) (ฉบับท่ี ๑ - ๔) กาหนดให้มีการนั่งพิจารณาคดีแพ่งโดยวิธีการ
ทางอิเล็กทรอนกิ ส์ ทาให้อาจมีกรณีที่คคู่ วามประสงค์ที่จะทาสัญญาประนปี ระนอมยอมความและขอให้
ศาลพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยคู่ความไม่ต้องเดินทางมาศาลซึ่งกระบวน
พิจารณาดงั กลา่ วสามารถดาเนินการไดโ้ ดยใช้วธิ กี ารลงลายมอื ชือ่ อเิ ล็กทรอนิกสใ์ นสัญญาประนปี ระนอม
ยอมความท่ีจัดทาเป็นเอกสารในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ท่ีส่งผ่านออนไลน์ ภายใต้หลักการ
๔ ประการ ดงั น้ี

๑. การลงลายมือชื่อของคู่ความในสัญญาประนีประนอมยอมความคดีแพ่งต้องกระทา
ตอ่ หนา้ ศาลทนี่ ง่ั พจิ ารณา

การลงลายมือชื่อของคู่ความในสัญญาประนีประนอมยอมความคดีแพ่ง
ต้องกระทาต่อหน้าศาลท่ีน่ังพิจารณา ในกรณีที่ศาลกาหนดให้นั่งพิจารณาทางออนไลน์และคู่ความ
ที่อยู่นอกศาลประสงค์ทาสัญญาประนีประนอมยอมความโดยลงลายมือช่ืออิเล็กทรอนิกส์ในสัญญา

2 หนังสอื สานักงานศาลยุตธิ รรม ดว่ นทสี่ ุด ท่ี ศย ๐๑๖/ว ๕๗๘ ลงวนั ท่ี ๔ มถิ นุ ายน ๒๕๖๔

กลบั ไปหน้าสารบัญ

กฎหมายเก่ียวกบั การพิจารณาคดที างอิเลก็ ทรอนกิ ส์ ๒๓

ประนีประนอมยอมความที่เป็นเอกสารในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ก่อนเริ่มกระบวนการลงลายมือชื่อ
เจ้าหน้าที่ต้องตรวจสอบให้คู่ความทุกฝ่ายอยู่พร้อมหน้ากันในการนั่งพิจารณาทางออนไลน์ คู่ความทุกฝ่าย
ต้องเปิดกล้องให้ทุกคนเห็นซ่ึงกันและกันทางจอภาพตลอดเวลาท่ีพิจารณาคดี ท้ังนี้ ศาลอาจบันทึก
ภาพและเสียง (Video) กระบวนการท่ีคู่ความได้ลงลายมือช่ืออิเล็กทรอนิกส์ในสัญญาประนีประนอม
ยอมความไว้เป็นหลกั ฐาน

๒. มีการพิสูจน์และยืนยันตัวตนของคู่ความที่จะลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
ในสญั ญาประนีประนอมยอมความ

การทาสัญญาประนีประนอมยอมความในการนั่งพิจารณาทางออนไลน์ ก่อนที่คู่ความ
ซึ่งอยู่นอกศาลจะลงลายมือช่ืออิเล็กทรอนิกส์ในสัญญาประนีประนอมยอมความ ให้คู่ความแสดงตัวตน
อีกคร้ัง โดยแสดงบัตรประจาตัวประชาชนให้ปรากฏทางจอภาพของโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันท่ีใช้ใน
การน่ังพิจารณา และให้เจ้าหน้าท่ีบันทึกภาพใบหน้าของคู่ความพร้อมกับภาพบัตรประจาตัวประชาชน
ทมี่ ขี อ้ มูลบนบตั รครบถว้ นชดั เจน แล้วนาไปแนบไว้กบั สญั ญาประนปี ระนอมยอมความดงั กล่าว

๓. ปรากฏลายมือช่ือของคู่ความท้ังสองฝ่ายในรูปแบบของลายมือช่ืออิเล็กทรอนิกส์
ซง่ึ แสดงถงึ เจตนาในการลงลายมอื ชอ่ื ในสัญญาประนีประนอมยอมความ3

หลังจากที่ศาลตรวจสอบความถูกต้องของสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว
ใหด้ าเนนิ การดงั ตอ่ ไปน้ี

๑) กรณคี คู่ วามทัง้ สองฝา่ ยเข้ารว่ มกระบวนพิจารณาทางอเิ ล็กทรอนกิ ส์
(๑) เจ้าหน้าท่ีศาลจัดส่งไฟล์สัญญาประนีประนอมยอมความในรูปแบบข้อมลู

อิเล็กทรอนกิ ส์ (ไฟลเ์ อกสาร PDF หรือไฟล์รูปภาพเอกสาร JPEG) เขา้ สูแ่ อปพลิเคชันที่ใช้ในการพิจารณาคดี
เพอื่ ให้คู่ความฝ่ายแรกลงลายมอื ชื่ออเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ในไฟลเ์ อกสารดงั กล่าว

(๒) ให้คู่ความฝ่ายแรกเปิดโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันอื่นใดสาหรับลงลายมือชื่อ
อิเล็กทรอนิกส์ แล้วเปิดไฟล์สัญญาประนีประนอมยอมความขึน้ มาแสดงให้ปรากฏทางจอภาพของแอปพลิเคชนั
ท่ใี ชใ้ นการพจิ ารณาคดี (share screen) หลังจากน้ัน ใหล้ งลายมอื ช่อื ดว้ ยวธิ กี ารพิมพช์ ่ือหรือสแกนภาพ
ลายมอื ช่อื หรือเขยี นลายมือชื่อบนหนา้ จออปุ กรณ์

(๓) เมื่อคู่ความฝ่ายแรกลงลายมือช่ืออิเล็กทรอนิกส์ในสัญญาประนีประนอม
ยอมความแล้ว ให้สง่ ไฟล์นัน้ แก่คคู่ วามคนถัดไปผา่ นแอปพลิเคชนั ที่ใชใ้ นการพิจารณาคดี หรอื แอปพลเิ คชันอนื่
เพื่อลงลายมือช่ืออิเล็กทรอนิกสด์ ้วยวิธีการเดียวกนั จนลงลายมือช่ือครบทกุ คน

3 การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ของคู่ความในสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่ง เป็นการดาเนินกระบวนพิจารณาตามข้อกาหนดของ
ประธานศาลฎกี าว่าด้วยวิธีพจิ ารณาคดที างอิเลก็ ทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๓ แต่ท้งั นี้ มีข้อสังเกตว่าพระราชกฤษฎีกากาหนดประเภทธรุ กรรมในทางแพ่ง
และพาณิชยท์ ยี่ กเวน้ มิใหน้ ากฎหมายว่าดว้ ยธรุ กรรมทางอิเลก็ ทรอนิกส์มาใช้บังคบั พ.ศ. ๒๕๔๙ ซ่ึงออกตามความในมาตรา ๓ แหง่ พระราชบัญญัติ
ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้กาหนดมิให้นาบทบัญญตั ิตามกฎหมายวา่ ด้วยธรุ กรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้บงั คับแกธ่ รุ กรรม
เกี่ยวกับครอบครัวและมรดก เน่ืองจากยังไม่เหมาะสมที่จะให้กระทาได้ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยยังคงต้องทาตามรูปแบบท่ีประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณชิ ยไ์ ดก้ าหนดไว้

กลับไปหนา้ สารบัญ

กฎหมายเกี่ยวกบั การพจิ ารณาคดที างอิเล็กทรอนกิ ส์ ๒๔

(๔) เม่ือคู่ความทุกฝ่ายลงลายมือช่ืออิเล็กทรอนิกส์ครบทุกคนแล้ว ให้คู่ความ
ท่ีลงลายมือช่ืออิเล็กทรอนิกส์คนสุดท้ายส่งไฟล์แก่เจ้าหน้าท่ีศาลผ่านแอปพลิเคชันที่ใช้ในการพิจารณาคดี
หรือแอปพลิเคชนั

๒) กรณีคูค่ วามฝ่ายหนึ่งเข้ารว่ มกระบวนพิจารณาทางอิเลก็ ทรอนิกส์ และคคู่ วาม
อกี ฝา่ ยมาที่ศาล

(๑) ให้เจ้าหน้าที่ดาเนินการเช่นเดียวกับข้อ ๑) (๑) (๒) (๓) และ (๔) สาหรับ
คูค่ วามฝ่ายท่ีเข้าร่วมกระบวนพจิ ารณาทางอเิ ล็กทรอนกิ ส์

(๒) ให้เจ้าหน้าท่ีจัดทาไฟล์เอกสารที่มีลายมือชื่อของคู่ความที่เข้าร่วม
กระบวนพิจารณาทางอิเล็กทรอนิกสค์ รบถ้วนแล้วเป็นสิ่งพิมพ์ออก แล้วให้คู่ความท่ีมาศาลลงลายมือชอื่
ในสญั ญาประนีประนอมยอมความในเอกสารนนั้

๔. ยืนยันและบันทกึ หลกั ฐานในการทาสัญญาประนีประนอมยอมความเพ่ือรักษา
ความครบถ้วนของขอ้ มลู ให้ดาเนินการได้ดังนี้

๑) ให้เจ้าหน้าที่แสดงภาพสัญญาประนีประนอมยอมความท่ีมีลายมือชื่อทุกคน
ครบถ้วน (share screen) ทห่ี น้าจอของโปรแกรมหรอื แอปพลิเคชนั ทใ่ี ช้ในการนั่งพิจารณาทางออนไลน์
เพื่อให้คู่ความทุกฝ่ายตรวจสอบอีกครั้ง แล้วให้เจ้าหน้าที่บันทึกภาพเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นหลักฐาน
รวมไวใ้ นสานวน

๒) ให้เจ้าหน้าท่ีจัดทาส่ิงพิมพ์ออกของสัญญาประนีประนอมยอมความที่เป็นเอกสาร
ในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เสนอให้ผู้พิพากษาลงลายมือช่ือ เพื่อจัดเก็บเป็นเอกสารในสานวนความ
แล้วจัดทารายงานเจ้าหน้าที่ระบุวิธีการที่คู่ความใช้ในการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ รายงานประวัติ
การใช้งานระบบในการลงลายมือชอื่ อิเล็กทรอนิกสใ์ นสัญญาประนปี ระนอมยอมความ แนบไว้กบั สัญญา
ประนปี ระนอมยอมความดังกลา่ ว

สว่ นท่ี ๓ การนั่งพิจารณาด้วยวธิ กี ารทางอเิ ล็กทรอนกิ ส์

สานักงานศาลยุตธิ รรมไดอ้ อกประกาศสานกั งานศาลยุตธิ รรม เร่ือง หลักเกณฑ์ วิธีการและ
เงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือ
ไวรสั โคโรนา ๒๐๑๙ (Coronavirus Disease : COVID-19) (ฉบบั ท่ี ๑ - ๔) กาหนดใหน้ าวธิ ีพจิ ารณาคดี
ทางอเิ ลก็ ทรอนิกสม์ าใชใ้ นการนง่ั พิจารณาคดีแพง่ เพือ่ อานวยความสะดวกแก่คูค่ วามในชว่ งสถานการณ์
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ต่อมาได้ยกเลิกประกาศทั้งส่ีฉบับดังกล่าวเพ่ือปรับปรุง
เนื้อหาใหม่โดยนาหลักเกณฑ์ วิธีการและเง่ือนไขตามประกาศสานักงานศาลยุติธรรม เรื่อง หลักเกณฑ์
วิธีการและเง่ือนไขเก่ียวกับการใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Coronavirus Disease : COVID-19) (ฉบับท่ี ๔) เกี่ยวกับการน่ังพิจารณาทาง
ระบบอิเล็กทรอนิกส์ มากาหนดไว้ในหมวด ๓ การนั่งพิจารณาโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์

กลับไปหน้าสารบัญ

กฎหมายเก่ียวกบั การพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ ๒๕

ของประกาศสานักงานศาลยุติธรรม เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้วิธีพิจารณาคดี
ทางอเิ ล็กทรอนิกส์ ลงวนั ที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๔ เพื่อรวมในประกาศฉบบั เดียว

๑. การบันทกึ คาพยาน

ข้อ ๑๓ ศาลอาจกาหนดให้มีการน่ังพิจารณาและบันทึกคาเบิกความพยานโดย
วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ เพ่ือให้การพิจารณาเป็นไปด้วยความสะดวก
รวดเร็ว และเที่ยงธรรม โดยต้องไม่ทาให้สิทธิในการต่อสู้คดีของคู่ความลดน้อยลง ทั้งน้ี หลักเกณฑ์
และวิธกี ารใหเ้ ป็นไปตามท่สี านักงานศาลยตุ ธิ รรมประกาศกาหนด

๑) ตามข้อ ๑๓ น้ี กาหนดหลักการให้ศาลอาจใชร้ ะบบอิเล็กทรอนกิ ส์กับการนั่งพจิ ารณา
และบันทึกคาเบิกความพยานทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ จึงเป็นดุลพินิจของศาล โดยไม่จาเป็นต้องให้
คคู่ วามรอ้ งขอ

๒) อย่างไรก็ตาม การใช้ดลุ พนิ จิ ของศาล ต้องคานึงถึงวา่ การใชว้ ธิ กี ารทางอเิ ล็กทรอนกิ สน์ นั้
ต้องไม่ทาให้สิทธิในการต่อสู้คดีของคู่ความลดน้อยลง หรืออาจกล่าวอีกนัยหน่ึงคือ คู่ความท้ังสองฝ่าย
ต้องเข้าถึงเทคโนโลยีได้ โดยอาจพิจารณาจาก คู่ความท้ังสองฝ่ายได้ยื่นคาฟ้อง คาให้การ และเอกสาร
ผ่านระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) หรือได้ยื่นคาคู่ความและเอกสารผ่านระบบบริการออนไลน์
ศาลยุติธรรม (CIOS) หรือคู่ความทั้งสองฝ่ายร้องขอหรือตกลงยินยอมให้ศาลดาเนินกระบวนพิจารณา
ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ท้ังน้ี ศาลอาจใช้ดุลพินิจสอบถามคู่ความท้ังสองฝ่ายเพื่อให้มีข้อมูล
เพียงพอเก่ียวกับความพรอ้ มและความสามารถในการเข้าถงึ เทคโนโลยีของค่คู วามในคดี และหากศาลมี
คาส่ังหรืออนุญาตตามคาร้องใหด้ าเนินกระบวนพิจารณาด้วยวิธีการดงั กล่าวแล้ว ก็อาจส่ังไวใ้ นรายงานกระบวน
พิจารณาเพื่อเป็นหลกั ฐานปรากฏในสานวน

๓) การน่ังพิจารณาคดีและบันทึกคาเบิกความพยานโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
ไม่จากัดเฉพาะคดีท่ีย่ืนฟ้องผ่านระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์หรือจัดเกบ็ สานวนความในรูปแบบอเิ ล็กทรอนกิ ส์
เท่าน้ัน การย่ืนฟ้องแบบเดิมท่ีทาคาฟ้องเป็นกระดาษหรือจัดเก็บสานวนแบบเป็นกระดาษ ศาลก็อาจใช้วิธีการ
ทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ หากเหน็ ว่าจะทาใหก้ ารพิจารณาคดีเปน็ ไปดว้ ยความสะดวก รวดเรว็ และเท่ียงธรรม

๔) การน่ังพิจารณาคดีและบันทึกคาเบิกความพยานโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ศาลอาจ
ดาเนินการท้ังหมดหรือบางส่วนก็ได้ เช่น หากศาลเห็นว่าพยานบางปากมีความสาคัญอย่างยิ่งและ
คาเบิกความพยานอาจนาไปสู่ผลแพ้ชนะของคดี แต่ประเด็นท่ีพยานจะเบิกความเกยี่ วข้องกับการแพทย์
หรืองานวิศวกรรม ซึ่งมีข้อเท็จจริงท่ียุ่งยากซับซ้อน อาจทาให้การบันทึกคาพยานโดยศาลล่าช้า ศาลอาจจะ
ดาเนินการสืบพยานโดยวิธีการบันทึกภาพและเสียงเฉพาะพยานปากนั้นก็ได้ ส่วนพยานปากอื่น
อาจจะใหส้ ง่ บันทกึ ถ้อยคาแทนการสืบพยาน หรอื สบื พยานในรปู แบบการบันทึกคาพยานโดยศาลกไ็ ด้

กลบั ไปหนา้ สารบัญ

กฎหมายเก่ียวกบั การพิจารณาคดที างอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ ๒๖

ข้อ ๑๔ การบันทึกคาเบิกความพยานโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งคู่ความหรือ
พยานสามารถตรวจสอบความถกู ต้องได้ ศาลไมจ่ าต้องอา่ นคาเบกิ ความให้พยานฟังอีก

กรณีศาลเปน็ ผบู้ ันทกึ คาเบิกความพยานเป็นข้อมูลอิเลก็ ทรอนิกส์ในรปู แบบตวั อักษร
(Text file) หากคู่ความหรือพยานไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ ศาลต้องอ่านคาเบิกความ
ใหพ้ ยานฟงั

เม่ือศาลเห็นสมควร อาจส่ังให้เจ้าหน้าท่ีจัดทาส่ิงพิมพ์ออกของบันทึกคาเบิกความพยาน
ทง้ั หมดหรือบางสว่ น เพ่ือเกบ็ ไว้เปน็ สานวนของศาล หรอื เพ่ือการอนื่ ใดกไ็ ด้

๑) การสืบพยานโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ศาลอาจใช้วิธีบันทึกคาเบิกความพยาน
โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ซ่ึงสามารถถ่ายทอดออกเป็นภาพและเสียงได้อย่างต่อเนื่อง โดยคู่ความ
และพยานสามารถตรวจสอบถึงความถูกต้องของคาเบิกความพยานได้ โดยอย่างน้อยต้องปรากฏภาพ
ของพยานและคู่ความในห้องพิจารณา การอ้างส่งพยานหลักฐานในระหว่างการสืบพยาน และเสียง
การถามพยานและคาเบิกความพยาน เมื่อพยานเบิกความเสร็จแล้ว เจ้าหน้าท่ีจะจัดเก็บคาเบิกความพยาน
ดังกล่าวไว้ในสานวนความในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยพยานไม่ต้องลงลายมือชื่อในบันทึก
คาเบิกความพยานดังกล่าว ส่วนการขอตรวจดูบันทึกคาเบิกความพยานท่ีบันทึกลงในระบบอิเล็กทรอนิกส์
ให้กระทาในศาลและอยู่ในความควบคุมดูแลของเจ้าหน้าท่ีเท่าน้ัน โดยมิให้บันทึกภาพหรือเสียงคาเบิกความ
พยานหรือทาซา้ ขอ้ มูลอเิ ล็กทรอนกิ สด์ ังกลา่ ว ท้ังนี้ ตามประกาศสานักงานศาลยุติธรรม เรอื่ ง หลักเกณฑ์
วธิ กี ารและเง่ือนไขเกีย่ วกบั การใช้วธิ พี จิ ารณาคดีทางอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ข้อ ๑๘

๒) นอกจากการสืบพยานด้วยวิธีดังกล่าวแล้ว ยังอาจบันทึกคาเบิกความพยานโดยวิธีการ
แปลงเสียงเปน็ ข้อความ (voice to text) โดยอาจเปน็ การแปลงเสียงคาเบกิ ความของพยานเปน็ ขอ้ ความ
หรืออาจใช้กับการบันทึกคาพยานแบบอมความที่แปลงเสียงผู้พิพากษาที่บันทึกคาเบิกความพยาน
เป็นข้อความก็ได้ ซึ่งระบบการแปลงเสียงเป็นข้อความดังกล่าวอาจใช้กับการจัดทารายงานกระบวนพิจารณา
ของศาลได้เชน่ กัน

๓) ปัจจุบันศาลยุติธรรมมีห้องสืบพยานทั้งระบบ e-Hearing มีในศาลแพ่งและ
ศาลอาญาในกรุงเทพมหานคร ศาลจังหวดั ศาลอาญาคดที จุ รติ และประพฤตมิ ชิ อบ และศาลชานญั พเิ ศษ
ยกเว้นศาลแขวง ศาลแรงงานภาค และศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด และระบบ e-Courtroom
ซ่ึงสามารถดาเนนิ การน่ังพิจารณาคดโี ดยการบนั ทึกภาพและเสยี งลงวัสดไุ ด้

๔) การสืบพยานบุคคลที่อย่นู อกศาลโดยระบบการประชุมทางจอภาพ (video conference)
อาจใช้วิธีบันทึกคาเบกิ ความพยานลงในระบบอิเล็กทรอนกิ สต์ ามความในข้อนไ้ี ด้ ส่วนการสืบพยานตอ้ ง
ดาเนินการอย่างใดจะเป็นไปตามข้อกาหนดของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยแนวทางการนาสืบพยานหลักฐาน
และการสบื พยานบุคคลทีอ่ ยูน่ อกศาลโดยระบบการประชุมทางจอภาพ พ.ศ. ๒๕๕๖

กลบั ไปหน้าสารบัญ

กฎหมายเก่ียวกับการพจิ ารณาคดที างอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ ๒๗

๕) โดยหลักแลว้ การน่งั พิจารณาตอ้ งกระทาในศาลตอ่ หนา้ คู่ความทีม่ าศาลตามประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๓๖ เว้นแต่เป็นกรณีการสืบพยานบุคคลท่ีอยู่นอกศาลโดยระบบการประชุม
ทางจอภาพ ซึ่งใช้ระบบอเิ ล็กทรอนิกส์ในลกั ษณะการประชุมทางจอภาพท่ีสานักงานศาลยุติธรรมจดั วาง
ระบบให้แกศ่ าล อย่างไรก็ตาม เนือ่ งจากสถานการณก์ ารแพร่ระบาดของโรคติดเชอ้ื ไวรสั โคโรนา ๒๐๑๙
(Coronavirus Disease : COVID-19) สานักงานศาลยุติธรรมจึงออกประกาศสานักงานศาลยุติธรรม
เร่ืองหลักเกณฑ์ วิธีการและเง่ือนไขเก่ียวกับการใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ในสถานการณ์
การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Coronavirus Disease : COVID-19) (ฉบับที่ ๑ - ๔)
กาหนดให้นาวิธีพิจารณาคดที างอิเล็กทรอนิกส์มาใชใ้ นการน่ังพิจารณาคดีแพ่ง เพ่ืออานวยความสะดวก
แก่คู่ความในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ โดยถือว่าคู่ความหรือบุคคล
ท่ีใช้ระบบอยู่นอกศาลได้มาดาเนินกระบวนพิจารณาในศาล ต่อมาได้ยกเลิกประกาศทั้งส่ีฉบับดังกล่าว
เพื่อปรับปรุงเนอื้ หาใหม่โดยนาหลักเกณฑ์ วิธีการและเง่ือนไขตามประกาศสานกั งานศาลยุติธรรม เร่ือง
หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ในสถานการณ์การแพร่ระบาด
ของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Coronavirus Disease : COVID-19) (ฉบับที่ ๔) เกี่ยวกับการน่ังพิจารณา
ทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ มากาหนดไว้ในหมวด ๓ การนั่งพิจารณาโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ของประกาศ
สานักงานศาลยุติธรรม เร่ือง หลักเกณฑ์ วิธีการและเง่ือนไขเก่ียวกับการใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์
ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๔ เพ่ือรวมหลักเกณฑ์วิธีการในการน่ังพิจารณาโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
ไว้ในประกาศฉบับเดียว โดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ท่ีใช้ในการน่ังพิจารณาโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่
แอปพลิเคชัน Google Meet, Cisco Webex และ Zoom แต่ท้ังนี้ การไต่สวนคาร้องขอต้ังผู้จัดการมรดก
หรือคารอ้ งขอตั้งตน้ คดปี ระเภทอ่ืน การน่ังพิจารณาคดีผบู้ รโิ ภค คดมี โนสาเร่ คดีไมม่ ีข้อยงุ่ ยาก หรือการไต่สวน
คาร้องในคดีแพ่ง เช่น คาร้องขอสวมสิทธิเป็นเจ้าหน้ีตามคาพิพากษา คาร้องขอเฉล่ียทรัพย์ คาร้องขอรับชาระ
หน้ีจานอง เป็นต้น อาจดาเนินการทางแอปพลิเคชันอ่ืนที่สามารถสื่อสารภาพและเสียงอย่างต่อเน่ือง
ซึ่งการสืบพยานผ่านทางแอปพลิเคชัน เช่น Google Meet สามารถใช้ระบบบันทึกภาพและเสียงคาเบิกความ
พยานตามความในข้อน้ไี ดเ้ ช่นกัน

๖) โดยทั่วไป ในการนั่งพิจารณาคดีทุกคร้ัง เมื่อพยานคนใดเบิกความแล้ว ให้ศาลอ่าน
คาเบกิ ความน้นั ใหพ้ ยานฟงั และใหพ้ ยานลงลายมอื ช่ือไว้ เวน้ แต่กรณใี ช้บนั ทกึ ถอ้ ยคาแทนการเบกิ ความ
ของพยาน หรือการสืบพยานโดยใช้ระบบการประชุมทางจอภาพ หรือกรณีท่ีมีการบันทึกการเบกิ ความ
ของพยาน โดยใช้วิธีการบันทึกลงในวัสดุ ซึ่งสามารถถ่ายทอดออกเป็นภาพหรือเสียงหรือโดยใช้วิธีการอื่นใด
ซ่ึงคู่ความและพยานสามารถตรวจสอบถึงความถูกต้องของบันทึกการเบิกความนั้นได้ตามประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๒๑ ดังน้ัน การบันทึกคาเบิกความพยานโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
ของศาลนี้เอง หากคู่ความหรือพยานสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ จึงเป็นกรณีข้อยกเว้นที่ศาล
ไม่จาตอ้ งอา่ นคาเบิกความใหพ้ ยานฟังอกี

กลับไปหน้าสารบัญ

กฎหมายเกีย่ วกบั การพิจารณาคดที างอเิ ล็กทรอนิกส์ ๒๘

๗) สาหรบั กรณีท่ศี าลบนั ทกึ คาพยานโดยใชว้ ธิ กี ารแปลงเสียงเป็นข้อความ (voice to text)
หากคคู่ วามสามารถตรวจสอบความถูกต้องของคาเบกิ ความทบ่ี นั ทึกได้ เชน่ มกี ารแสดงผลเป็นตัวอกั ษร
ผ่านหน้าจอให้คู่ความสามารถตรวจสอบได้ทันที ก็เข้าข้อยกเว้นท่ีศาลไม่ต้องอ่านคาเบิกความพยานได้
แต่หากเป็นกรณีท่ีศาลเป็นผู้บันทึกคาเบิกความพยานเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบตัวอักษร (text file)
โดยใช้เคร่ืองบันทึกคาเบิกความพยาน หรือใช้ระบบแปลงเสียงเป็นข้อความ (voice to text) โดยไม่มี
การแสดงผลทันทีไปที่หน้าจอของพยานและค่คู วามทัง้ สองฝ่าย กรณีเช่นน้ี ศาลยังต้องอา่ นคาเบิกความ
ให้พยานฟงั

๘) คาเบิกความพยานที่บันทึกไว้โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์นี้ พยานไม่ต้องลงลายมือช่อื
ในบันทึกคาเบิกความพยาน ตามประกาศสานักงานศาลยุติธรรม เร่ือง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเก่ียวกับ
การใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันท่ี ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ข้อ ๓๒ วรรคสาม เน่ืองจาก
คาเบิกความพยานดงั กล่าวอยู่ในรปู แบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ คือไฟล์ภาพและเสียง แต่ศาลอาจสั่งให้เจ้าหน้าที่
จดั ทาคาเบกิ ความพยานทัง้ หมด (ถอดเทป) หรือสรปุ บางสว่ น เพือ่ เกบ็ ไวใ้ นสานวนของศาลหรอื เพอื่ การอ่ืนใดกไ็ ด้

๙) สาหรับการขอตรวจดูบันทึกคาเบิกความของพยานที่บันทึกลงในระบบอิเล็กทรอนิกส์
ให้กระทาในศาล และอยู่ในความควบคุมดูแลของเจ้าหน้าที่ โดยมิให้บันทึกภาพหรือเสียงคาเบิกความพยานหรือ
ทาซ้าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว ตามประกาศสานักงานศาลยุติธรรม เร่ือง หลักเกณฑ์ วิธีการและ
เง่อื นไขเก่ยี วกบั การใช้วธิ ีพิจารณาคดีทางอเิ ล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ขอ้ ๓๒ วรรคทา้ ย

๒. การจัดทารายงานกระบวนพิจารณาในรูปแบบขอ้ มูลอิเล็กทรอนิกส์

ข้อ ๑๒ รายงานกระบวนพิจารณาที่จัดทาในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หากได้
กระทาต่อหน้าคู่ความหรือพยานที่อยู่ในห้องพิจารณาหรือถือว่าได้อยู่ในห้องพิจารณาในการพิจารณา
โดยระบบการประชุมทางจอภาพ เม่ือศาลได้อ่านรายงานกระบวนพิจารณาให้คู่ความหรือพยาน
ได้รบั ฟงั และคู่ความหรอื พยานดังกล่าวได้ดาเนินการหลักเกณฑแ์ ละวิธกี ารทีส่ านกั งานศาลยตุ ิธรรม
ประกาศกาหนด ใหถ้ อื วา่ บคุ คลนนั้ ได้ทราบและลงลายมอื ชือ่ ในรายงานกระบวนพิจารณานั้นแลว้

ตามข้อ ๑๒ น้ี กาหนดหลักการรองรับให้สามารถจัดทารายงานกระบวนพิจารณาในรูปแบบ
ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์รวมถึงการลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนกิ ส์
เพ่ือไม่ต้องจัดทาในรูปแบบกระดาษอีก โดยหากรายงานกระบวนพิจารณาในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
ได้กระทาตอ่ หนา้ คู่ความหรือพยานท่ีอยู่ในห้องพิจารณาหรอื ถอื วา่ ได้อยใู่ นห้องพิจารณาในการพิจารณา
โดยระบบการประชุมทางจอภาพ เม่อื ศาลไดอ้ ่านรายงานกระบวนพิจารณาใหค้ ูค่ วามหรือพยานได้รับฟัง
และคู่ความหรือพยานดังกล่าวได้ดาเนินการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ
ท่ีสานักงานศาลยุติธรรมประกาศกาหนด ก็ให้ถือว่าบุคคลน้ันได้ทราบและลงลายมือช่ือในรายงาน
กระบวนพจิ ารณาน้ันแลว้ โดยไมต่ อ้ งจดั ทาสิง่ พมิ พ์ออก

กลับไปหนา้ สารบัญ

กฎหมายเกย่ี วกบั การพจิ ารณาคดีทางอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ ๒๙

ตัวอย่างตามประกาศสานักงานศาลยุติธรรม เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเง่ือนไขเกี่ยวกับ
การใช้วธิ พี จิ ารณาคดที างอิเล็กทรอนิกส์ ลงวนั ท่ี ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๔

ข้อ ๑๙ “รายงานกระบวนพิจารณาและเอกสารที่ศาลทาขึ้นในการน่ังพิจารณาทางระบบ
อิเล็กทรอนกิ สอ์ าจจดั ทาในรปู แบบข้อมูลอิเลก็ ทรอนกิ ส์ และให้ผเู้ ก่ียวขอ้ งลงลายมือช่อื อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์”

ข้อ ๒๐ “การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ของคู่ความหรือบุคคลใดในรายงานกระบวน
พิจารณาและเอกสารท่ีศาลทาข้ึนในการน่ังพิจารณาทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ อาจกระทาโดยให้บุคคลดังกลา่ ว
พมิ พช์ อ่ื เพอื่ แสดงรบั รหู้ รือรับรองลงในเอกสารในรปู แบบขอ้ มูลอเิ ล็กทรอนกิ สท์ ี่เจ้าหนา้ ท่ีส่งไปทางระบบ
และใหใ้ ช้ระบบบันทกึ ภาพตอ่ เน่ืองของข้นั ตอนการลงลายมอื ชือ่ ไวเ้ ปน็ หลกั ฐาน”

ข้อ ๒๖ “เมื่อพยานเบิกความเสรจ็ และองคค์ ณะผู้พิพากษาอ่านบันทึกคาเบกิ ความพยานแล้ว
ให้เจ้าหน้าที่จดั ใหค้ ู่ความท่ีอยู่ในห้องพิจารณาลงลายมือช่อื แล้วแปลงบนั ทึกคาเบกิ ความพยานดงั กล่าว
ให้อยู่ในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนกิ ส์นาเข้าระบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้คู่ความและบุคคลที่เก่ียวขอ้ งที่อยู่นอกศาล
ตรวจดูทางจอภาพและลงลายมือช่ืออิเล็กทรอนิกส์แสดงรับรู้หรือรับรองในเอกสารนั้น หากไม่สามารถ
ลงลายมือช่ืออเิ ล็กทรอนกิ สไ์ ด้ถือวา่ เป็นกรณีที่บคุ คลดังกล่าวลงลายมือช่ือไม่ได้

ความในวรรคก่อนให้นาใช้บังคับแก่การลงลายมือชื่อของคู่ความในรายงานกระบวนพิจารณา
โดยอนุโลม”

สว่ นที่ ๔ การรับฟังพยานหลักฐานในกระบวนพิจารณาด้วยวิธกี ารทางอเิ ล็กทรอนิกส์

๑. การรับฟงั และการชงั่ น้าหนกั พยานหลกั ฐาน

ข้อ ๑๕ ห้ามมิให้ปฏิเสธการรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐานในกระบวน
การพิจารณาคดีตามกฎหมายเพยี งเพราะเหตวุ า่ เปน็ ข้อมูลอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์

ในการชั่งน้าหนักพยานหลักฐานว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จะเชื่อถือได้หรือไม่เพียงใดน้ัน
ให้พิเคราะห์ถึงความน่าเช่ือถือของลักษณะหรอื วิธกี ารที่ใชส้ ร้าง เก็บรักษา หรือส่ือสารข้อมูลอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์
ลักษณะหรือวิธีการเก็บรักษา ความครบถ้วน และไม่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อความ ลักษณะ หรือ
วิธีการทีใ่ ชใ้ นการระบหุ รอื แสดงตวั ผูส้ ง่ ข้อมลู รวมทงั้ พฤตกิ ารณท์ ี่เก่ียวขอ้ งทั้งปวง

๑) ตามข้อ ๑๕ วรรคหน่งึ นี้ เป็นการรับรองสถานะของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ว่า ให้ศาล
สามารถรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์น้ันเป็นพยานหลักฐานในการวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในคดีได้
ซ่ึงหลักการดังกล่าวเป็นการบัญญัติเพ่ือให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๑๑ อนั เป็นกฎหมายท่ีมสี าระสาคญั ในการรองรบั สถานะของการทาธุรกรรมในทาง
แพ่งและพาณิชย์โดยอยู่ในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ อีกท้ังยังมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้รับฟัง
พยานหลักฐานในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้วย ซึ่งหากธุรกรรมหรือนิติกรรมทางแพ่งและพาณิชย์
ไดก้ ระทาลงในรูปแบบอิเล็กทรอนิกสแ์ ละมผี ลสมบรู ณ์ คคู่ วามยอ่ มสามารถนาขอ้ มูลดังกลา่ วอ้างเป็นพยาน

กลับไปหน้าสารบัญ

กฎหมายเก่ยี วกับการพจิ ารณาคดีทางอเิ ล็กทรอนิกส์ ๓๐

ต่อศาลเพ่ือสนับสนุนคาคู่ความของตนได้ แต่เน่ืองจากพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๔ กาหนดคานิยามว่า “หน่วยงานของรัฐ” หมายความรวมถึงศาลในส่วนท่ีไม่เกี่ยวกับ
การพิจารณาอรรถคดี จึงมีความจาเปน็ ตอ้ งออกข้อกาหนดของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยวิธพี ิจารณาคดี
ทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๓ เพ่ือให้ครอบคลุมถึงวิธีพิจารณาคดีอิเล็กทรอนิกส์ของศาลด้วย
ซ่ึงปัจจุบันข้อกาหนดของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๓๓
และข้อกาหนดศาลล้มละลายกลาง พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อ ๑๘ ได้ออกมารองรับการรับฟังพยานหลักฐาน
ในรปู แบบขอ้ มูลอิเล็กทรอนกิ ส์เชน่ กัน

๒) แม้ว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จะมีกฎหมายให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานในศาลได้
แต่มิได้หมายความว่าพยานหลกั ฐานในรปู แบบข้อมูลอเิ ล็กทรอนิกส์จะมีน้าหนกั ให้รับฟังน่าเชอ่ื เสมอไป
ความในข้อ ๑๕ วรรคสอง จึงให้เป็นดุลพินิจแก่ศาลในการชั่งน้าหนักพยานหลักฐานว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์น้ัน
มนี า้ หนกั นา่ เชื่อหรอื ไม่ เพยี งใด โดยมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้

๒.๑) ความน่าเช่ือถือของลักษณะหรือวิธีการที่ใช้สร้าง เก็บรักษา หรือส่ือสารข้อมูล
อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์

๒.๒) ลักษณะหรอื วธิ ีการเกบ็ รกั ษา ความครบถ้วน และไมม่ ีการเปล่ยี นแปลงของข้อความ
๒.๓) ลกั ษณะ หรือวิธกี ารทใ่ี ช้ในการระบุหรือแสดงตัวผู้สง่ ขอ้ มลู
๒.๔) พฤตกิ ารณ์ท่เี กีย่ วขอ้ งทงั้ ปวง

๓) การที่ศาลจะวนิ จิ ฉัยชัง่ น้าหนักพยานหลักฐานขอ้ มูลอิเล็กทรอนกิ ส์ได้นั้น อาจตอ้ งใช้
พยานผู้เชี่ยวชาญที่ศาลเห็นสมควรเรียกมาสืบหรือคู่ความย่ืนคาขออ้างพยานผู้เช่ียวชาญเพื่อให้ศาลแต่งตั้ง
และนาสืบพยานผู้เช่ียวชาญใหศ้ าลเห็นถึงความนา่ เชื่อถอื ของขอ้ มูลอิเล็กทรอนกิ ส์ตามประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๙๙ ซึ่งอาจพิจารณาได้จากความน่าเช่ือถอื ของวิธีการสร้างหรือเกบ็ รักษา
ข้อมูลน้ัน หรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สามารถแสดงข้อความได้โดยเน้อื ความไมเ่ ปล่ียนแปลงหรือสามารถ
ระบุถึงตัวผสู้ ่งขอ้ มูลได้ รวมถึงพฤตกิ ารณอ์ ่นื ๆ ทเ่ี กย่ี วข้อง

๒. นิติกรรมที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ทาเป็นหนังสือหรือมีเอกสารมาแสดง และ
การปดิ อากรแสตมป์

ข้อ ๑๖ ในกรณีที่กฎหมายกาหนดให้การใดต้องทาเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็น
หนังสือหรือมีเอกสารมาแสดง หรือกาหนดผลทางกฎหมายกรณีไม่ทาเปน็ หนังสือ ไม่มีหลักฐานเป็น
หนังสือ หรือไม่มีเอกสารมาแสดง ถ้าได้มีการจัดทาข้อความข้ึนเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ท่ีสามารถ
เข้าถึงและนากลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปล่ียนแปลง ให้ถือว่าข้อความน้ันได้ทาเป็นหนังสือ
มหี ลักฐานเป็นหนงั สือ หรอื มเี อกสารมาแสดงตามท่กี ฎหมายกาหนด

ในกรณีท่ีกฎหมายกาหนดให้ต้องมีการปิดอากรแสตมป์ หากได้มีการชาระเงินแทน
หรือดาเนินการอ่ืนใดด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้ถือว่าหนังสือ หลักฐานเป็นหนังสือ หรือเอกสาร

กลับไปหน้าสารบัญ

กฎหมายเกย่ี วกับการพิจารณาคดที างอเิ ลก็ ทรอนิกส์ ๓๑

ซึ่งมีลักษณะเป็นตราสารนั้นได้มีการปิดอากรแสตมป์และขีดฆ่าตามกฎหมายนั้นแล้ว ทั้งน้ี หลักเกณฑ์
และวิธกี ารให้เป็นไปตามทสี่ านักงานศาลยตุ ธิ รรมประกาศกาหนด

๑) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ธุรกรรมที่กฎหมายกาหนดให้ต้องทาเป็นหนังสือ
หรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดงนั้นมีหลายกรณี เช่น สัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์
ท่ีได้ตกลงราคากันต้ังแต่ ๒๐,๐๐๐ บาท ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือตามมาตรา ๔๕๖ สัญญาเช่าซ้ือ
ต้องทาเป็นหนังสือตามมาตรา ๔๗๒ เป็นต้น ธุรกรรมเหล่านี้จึงสามารถกระทาได้โดยใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
แทนเอกสารธรรมดา

๒) อยา่ งไรก็ตาม ธุรกรรมท่ีกระทาโดยใชข้ อ้ มลู อเิ ลก็ ทรอนิกส์จะไดร้ บั การรับรองผลทาง
กฎหมายว่าได้ทาเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดงก็ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามหลักการที่
“สามารถเข้าถึงและนากลับมาใช้ไดโ้ ดยความหมายไม่เปล่ียนแปลง” กล่าวคือ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นัน้
ต้องอยู่ในสภาพท่สี ามารถอ่านได้และแปลความหมายได้หากมกี ารเข้ารหัสเพื่อรักษาความปลอดภยั ของ
ขอ้ มูลอิเล็กทรอนกิ ส์ไว้ ข้อมูลนน้ั ตอ้ งอยู่ในสภาพท่พี รอ้ มที่จะถอดรหัสเพื่อให้เข้าใจได้ดว้ ย รวมถงึ ข้อมลู
อเิ ลก็ ทรอนิกสส์ ามารถนากลับมาใชไ้ ดใ้ นภายหลังโดยความหมายไม่เปลีย่ นแปลง โดยนาหลักการมาจาก
พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๘ วรรคหน่ึง เช่น คู่กรณีตกลงกัน
ทาสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยทาสญั ญาประนีประนอมยอมความดงั กล่าวในรูปแบบไฟล์ PDF
และลงลายมือช่ือในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งสองฝ่ายต่างเก็บไฟล์สัญญาประนีประนอมยอมความไว้
โดยไฟลน์ ัน้ สามารถเปดิ อ่านได้โดยขอ้ ความไมเ่ ปลีย่ นแปลง เปน็ ต้น

๓) ตัวอย่างคดีท่ีศาลฎีกานาพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔
มาปรบั ใช้ โดยวินจิ ฉยั วา่ เปน็ กรณีท่ีมหี ลักฐานเปน็ หนังสอื แล้ว เชน่

คาพิพากษาศาลฎีกาท่ี ๘๐๘๙/๒๕๕๖
การที่จาเลยนาบัตรกดเงินสดควิกแคชไปถอนเงินและใส่รหัสส่วนตัวเปรียบได้กับ
การลงลายมอื ช่ือตนเอง ทารายการเบิกถอนเงนิ ตามท่ีจาเลยประสงค์ และกดยนื ยันทารายการพร้อมรับ
เงินสดและสลิป การกระทาดังกล่าวถือเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินจากโจทก์ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วย
ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๗, ๘ และมาตรา ๙ ประกอบกับคดีนี้จาเลยมีการขอ
ขยายระยะเวลาผ่อนชาระหนี้สินเช่ือเงินสดควิกแคชท่ีจาเลยค้างชาระแก่โจทก์ ซึ่งโจทก์มีเอกสารซ่ึงมี
ขอ้ ความชัดวา่ จาเลยรบั ว่าเป็นหนีโ้ จทกข์ อขยายเวลาชาระหนี้ โดยจาเลยลงลายมือช่อื มาแสดง จึงรบั ฟงั
เปน็ หลกั ฐานแห่งการก้ยู ืมอีกโสดหนงึ่ โจทกจ์ งึ มีอานาจฟ้อง

คาพิพากษาศาลฎกี าที่ ๖๗๕๗/๒๕๖๐
ข้อความที่โจทก์ส่งถึงจาเลยทางเฟสบุ๊ค มีใจความว่า เงินท้ังหมด ๖๗๐,๐๐๐ บาท
ไม่ต้องส่งคืนให้แล้ว ยกให้หมดไม่ต้องส่งดอกอะไรมาให้ จะได้ไม่ต้องมีภาระหนี้สินติดตัว การส่งข้อมูล
ดังกล่าวเป็นการสนทนาผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ถือว่าเป็นการส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์

กลับไปหน้าสารบัญ

กฎหมายเกี่ยวกับการพิจารณาคดที างอิเล็กทรอนกิ ส์ ๓๒

จึงต้องนาพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔ มาใช้บังคับด้วย ตามมาตรา ๗
บัญญัติว่า ห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมายของข้อความใดเพียงเพราะเหตุท่ี
ข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และมาตรา ๘ บัญญัติว่า ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา ๙
ในกรณีที่กฎหมายกาหนดให้การใดต้องทาเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดง
ถ้าได้มีการจัดทาข้อความข้ึนเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ท่ีสามารถเข้าถึงและนากลับมาใช้ได้
โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ให้ถือว่าข้อความนั้นได้ทาเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือหรือ
มีเอกสารมาแสดงแลว้

ดังนั้น ข้อความดังกล่าวที่โจทก์ส่งถึงจาเลยทางเฟสบุ๊ค แม้จะไม่มีการลงลายมือช่ือ
โจทก์ก็ตามแต่การส่งข้อความของโจทกท์ างเฟสบุ๊คจะปรากฏชอื่ ผสู้ ่งดว้ ยและโจทก์ก็ยอมรับวา่ ได้ส่ง
ข้อความดังกล่าวทางเฟสบุ๊คถึงจาเลยจริง ข้อความการสนทนาดังกล่าวจึงรับฟังได้ว่าเป็นการแสดงเจตนา
ปลดหน้ใี หแ้ ก่จาเลยโดยมหี ลักฐานเป็นหนงั สอื ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๔๐ แลว้
หนี้ตามสัญญากู้ยืมย่อมระงับ ที่โจทก์อ้างว่า โจทก์ไม่มีเจตนาท่ีจะปลดหนี้ให้จาเลย แต่ทาไปเพราะ
ความเครียดต้องการประชดประชันจาเลยน้ันโจทก์ไม่อาจยกเหตุดังกล่าวขึ้นอ้างเพ่ือให้ เจตนาที่แสดง
ออกไปน้ันตกเป็นโมฆะ เพราะไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจาเลยได้รู้ถึงเจตนาท่ีซ่อนอยู่ภายในของโจทก์
พยานหลักฐานของจาเลยมีน้าหนักให้รับฟังได้มากกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า
จาเลยไดร้ บั การปลดหนจี้ ากการกยู้ มื เงนิ ตามสัญญากยู้ ืมเงนิ แล้ว จาเลยจงึ ไมต่ อ้ งรับผิดชาระหนแ้ี ก่โจทก์

๔) ความในข้อ ๑๖ วรรคสอง เป็นหลักเกณฑ์เก่ียวกับการปิดอากรแสตมป์ด้วยวิธีการ
ทางอิเล็กทรอนิกส์ นาหลักการมาจากพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔
มาตรา ๘ วรรคสอง โดยบทบัญญัติในวรรคสองถูกเพิ่มเข้าไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทาง
อิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ เพ่ือรองรับการชาระเงินแทนหรือดาเนินการอื่นใดด้วยวิธีทาง
อิเล็กทรอนิกส์ให้มีผลถือว่ามีการปิดอากรแสตมป์และขีดฆ่าตามกฎหมายแล้ว ซึ่งกรมสรรพากรจัดทา
ระบบการชาระอากรแสตมป์เป็นตัวเงินสาหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ อ.ส.๙ หรือ e-Stamp Duty
รองรับการทาธุรกรรม ๕ ตราสาร ท้ังนี้ ต้องเป็นตราสารท่ีจัดทาขึ้นต้ังแต่วันท่ี ๒๙ กันยายน ๒๕๖๓
ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๓ ประกอบด้วยตราสาร ๕ ลกั ษณะ ได้แก่

๑. สญั ญาจ้างทาของ
๒. สัญญากู้ยืมเงินหรอื สญั ญาการตกลงใหเ้ บกิ เงินเกนิ บญั ชจี ากธนาคาร
๓. ใบมอบอานาจ
๔. ใบมอบฉันทะสาหรับให้ลงมติในทปี่ ระชุมของบรษิ ทั
๕. สัญญาค้าประกัน
เม่ือกรมสรรพากรได้ออกรหัสรับรองการเสียอากรแสตมป์พร้อมใบเสร็จรับเงินตาม
จานวนเงินค่าอากร และเจ้าหน้าที่รับชาระเงินได้ลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้ผู้เสียอากรแล้ว ถือว่าตราสาร
ตามรายการขอ้ มูลในแบบขอเสยี อากรแสตมปเ์ ป็นตัวเงินสาหรบั ตราสารอิเล็กทรอนิกส์ (อ.ส.๙) ไดป้ ิดแสตมป์

กลับไปหนา้ สารบัญ

กฎหมายเกี่ยวกับการพิจารณาคดที างอเิ ล็กทรอนิกส์ ๓๓

บริบูรณ์แล้ว ซึ่งข้อกาหนดนี้ ข้อ ๑๖ วรรคสอง ให้ถือว่า มีการปิดอากรแสตมป์และขีดฆา่ ตามกฎหมายแล้ว
จึงใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานต่อศาลในคดีแพ่งได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา ๑๑๘ สาเหตุที่เลือก
ตราสาร ๕ ประเภทน้ีเป็นลาดบั แรก มีเหตุผลอนั เนอื่ งมาจากความนยิ มหรอื จานวนผู้ใชต้ ราสารดงั กลา่ ว
ในการทาธุรกรรมกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ธนาคารพาณิชย์ สานักงานคณะกรรมการหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรพั ย์ (ก.ล.ต.) เป็นต้น มีเป็นจานวนมาก การใช้ตราสารในรูปของกระดาษในการชาระอากร
เป็นตัวเงินด้วยแบบ อ.ส. ๔ จึงไม่อานวยความสะดวกให้ผู้มีหน้าที่เสียอากรและไม่สร้างความสมัครใจ
ในการเสียอากรเป็นอย่างย่ิง ส่วนเอกสารอ่ืน ๆ นอกเหนือจากเอกสาร ๕ ประเภทท่ีกล่าวมายังคงต้อง
ปิดอากรแสตมป์ในรูปแบบเดิม คือ ต้องซ้ืออากรแสตมป์ปิดลงในตราสารโดยเสียตามบัญชีอัตราอากร
แสตมป์ของกรมสรรพากร

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ ๕๘) เรื่อง กาหนดวิธีการ
ชาระอากรเปน็ ตัวเงินสาหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ มถิ นุ ายน ๒๕๖๒

ข้อ ๗ “เมื่อผู้มีหน้าท่ีเสียอากรได้ย่ืนขอเสียอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเตอรเ์ นต็
โดยไดโ้ อนเงินค่าอากรเขา้ บัญชีเงินฝากธนาคารของกรมสรรพากร และกรมสรรพากรไดอ้ อกรหัสรับรอง
การเสียอากรแสตมป์ พร้อมใบเสร็จรับเงินตามจานวนเงินซึ่ง “เจ้าหน้าท่ีรับชาระเงินภาษีอากร”
ได้ลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้ผู้มีหน้าท่ีเสียอากรแล้ว ให้ถือว่าตราสารอิเล็กทรอนิกส์ตามรายการข้อมูล
ในแบบขอเสยี อากรแสตมป์เปน็ ตัวเงนิ สาหรบั ตราสารอิเล็กทรอนิกส์ (อ.ส.๙) ไดป้ ิดแสตมป์บริบรู ณ์แล้ว

๓. ความเป็นต้นฉบับของเอกสาร

ข้อ ๑๗ ในกรณีที่กฎหมายกาหนดให้นาเสนอหรือเก็บรักษาข้อความใดในสภาพ
ที่เป็นมาแต่เดิมอย่างเอกสารต้นฉบับ ถ้าได้นาเสนอหรือเก็บรักษาในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
โดยใช้วธิ ีการทีเ่ ชอ่ื ถือไดใ้ นการรักษาความถกู ตอ้ งของขอ้ ความตัง้ แตก่ ารสร้างขอ้ ความเสร็จสมบูรณ์
และสามารถแสดงข้อความนั้นในภายหลัง ให้ถือว่าได้มีการนาเสนอหรือเก็บรักษาเป็นเอกสาร
ต้นฉบบั ตามกฎหมายแลว้

ข้อ ๑๘ พยานเอกสารและพยานวัตถุที่คู่ความประสงค์จะอ้างอิง ให้ยื่นในรูปแบบ
ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ และให้ถือว่าพยานเอกสารและพยานวัตถุ
ดังกลา่ วเป็นตน้ ฉบบั หรอื เอกสารเทยี บเท่าฉบบั เดิม

กรณีการยื่นพยานเอกสารตามวรรคหน่ึง คู่ความไม่ต้องส่งสาเนาให้คู่ความฝ่ายอ่ืน
เวน้ แตค่ คู่ วามฝา่ ยนัน้ ไมอ่ าจเข้าถงึ ข้อมลู อเิ ล็กทรอนกิ สน์ น้ั ได้

๑) การนาเสนอหรือเก็บรักษาเอกสารในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แทนกระดาษ
ข้อกาหนดน้ีในขอ้ ๑๗ กาหนดรบั รองให้ขอ้ มลู อิเล็กทรอนิกส์นน้ั มีสถานะเปน็ “ต้นฉบับ” เม่ือได้ปฏบิ ัติ
ตามเกณฑ์ข้ันต่า ๒ ประการ เพ่ือให้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้รับการยอมรับทางกฎหมายว่าเป็นต้นฉบับ
คอื

กลบั ไปหน้าสารบัญ

กฎหมายเก่ยี วกับการพจิ ารณาคดที างอิเลก็ ทรอนิกส์ ๓๔

๑.๑) ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์น้ันใช้วิธีการที่เช่ือถือได้ในการรักษาความถูกต้องของ
ข้อความต้งั แตก่ ารสร้างขอ้ ความเสรจ็ สมบูรณ์ และ

๑.๒) สามารถแสดงขอ้ ความในภายหลงั ได้
โดยนาหลักการดงั กล่าวมาจากพระราชบัญญัตวิ า่ ดว้ ยธรุ กรรมทางอิเลก็ ทรอนกิ ส์ พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๑๐

๒) ข้อกาหนดฯ ข้อ ๑๗ กาหนดขึ้นเพ่ือให้สอดรับกับหลักกฎหมายพยานหลักฐาน
เกยี่ วกับการรบั ฟงั พยานเอกสารที่เปน็ ต้นฉบบั ซึง่ ในการทาธรุ กรรมในปัจจบุ ันมีการทาในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
มากข้นึ โดยไม่ใช้กระดาษ (paperless) จึงตอ้ งมีหลกั เกณฑ์รองรบั ความเป็นต้นฉบบั เอกสารของขอ้ ความ
ท่อี ยู่ในรูปแบบขอ้ มูลอเิ ลก็ ทรอนิกส์เหลา่ น้นั

๓) ตามข้อ ๑๘ นี้ พยานเอกสารหรือพยานวัตถุท่ีทาข้ึนหรือเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
การยื่ นพยานเอกสารและพยานวั ตถุ ในรู ปแบบข้ อมู ลอิ เล็ กทรอนิ กส์ ก็ ต้ องด าเนิ นการผ่ านระบบรั บส่ ง
อิเล็กทรอนิกส์ของสานักงานศาลยุติธรรม ซงึ่ ปจั จบุ ัน ไดแ้ ก่ ระบบ e-Filing (ระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์)
และระบบ CIOS (ระบบบริการออนไลน์ศาลยุติธรรม) ซ่ึงหากดาเนินการให้เป็นไปตามความในข้อ ๑๘
วรรคหนึ่ง แล้ว ให้ถือว่าพยานเอกสารและพยานวัตถุที่ย่ืนในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นต้นฉบับ
หรือเอกสารเทียบเท่าฉบับเดิม ทั้งน้ี ในการย่ืนพยานเอกสารและพยานวัตถุดังกล่าวผ่านระบบรับส่ง
อิเล็กทรอนิกส์ ก็จะต้องอ้างในบัญชีระบุพยานและศาลยังคงมีหน้าที่สั่งรับหรือไม่รับพยานเอกสารและ
พยานวัตถุในรปู แบบขอ้ มลู อิเลก็ ทรอนกิ สน์ ัน้ ตามประมวลกฎหมายวธิ ีพจิ ารณาความแพง่ มาตรา ๘๘

๔) ในการรับฟังและโต้แย้งพยานเอกสารในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น ยังคงต้อง
พจิ ารณาตามประมวลกฎหมายวิธพี จิ ารณาความแพง่ ลักษณะ ๔ พยานหลกั ฐาน เชน่ ไม่ตัดสิทธิคู่ความ
อีกฝ่ายในอันที่จะกล่าวอา้ งและนาพยานบคุ คลมาสืบประกอบข้ออ้างวา่ พยานเอกสารในรูปแบบข้อมูล
อิเล็กทรอนิกส์ที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องท้ังหมด หรือแต่บางส่วน หรือสัญญาหรือ
หน้ีอย่างอ่ืนที่ระบุไว้ในเอกสารน้ันไม่สมบูรณ์ หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิด ตามประมวลกฎหมาย
วธิ พี ิจารณาความแพ่ง มาตรา ๙๔ วรรคสอง และมาตรา ๑๒๕ หากคู่ความอกี ฝา่ ยคดั ค้านขอ้ มลู อเิ ล็กทรอนกิ ส์
ว่าไม่มีต้นฉบบั หรอื ตน้ ฉบบั นน้ั ปลอมทัง้ ฉบับหรอื บางสว่ น คู่ความฝา่ ยที่อา้ งขอ้ มูลอิเล็กทรอนกิ สก์ ็จาตอ้ ง
นาพยานหลักฐานมานาสบื พิสจู นต์ ามขอ้ กลา่ วอา้ งของตน

๕) เนื่องจากการยื่นและส่งเอกสารในระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์น้ัน ถ้าคู่ความอีกฝ่ายหน่ึง
เป็นผู้ใช้ระบบด้วยย่อมสามารถเข้าถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวในระบบได้ การจัดส่งเอกสารในระบบ
รับส่งอิเล็กทรอนิกส์ จึงถือได้ว่าคู่ความอีกฝ่ายหน่ึงได้รับสาเนาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๙๐ แล้ว ข้อกาหนดนี้จึงกาหนดให้ไม่จาต้องส่งสาเนาเอกสารในรูปแบบกระดาษให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง
อันเป็นการลดภาระความยุ่งยากและยังประหยัดค่าใช้จ่ายแก่คู่ความ แต่มีข้อยกเว้นว่า หากคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง
ไม่อาจเข้าถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้ เช่น ไม่ได้เป็นผู้ใช้ระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ คู่ความที่อ้างเอกสาร
กย็ งั ตอ้ งจัดสง่ สาเนาในรูปแบบกระดาษให้ค่คู วามอกี ฝ่ายหน่งึ

กลับไปหนา้ สารบัญ

กฎหมายเกย่ี วกบั การพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนกิ ส์ ๓๕

๖) ในทางปฏิบตั ิ เดิมการยน่ื ฟ้องทางระบบรบั ส่งอิเลก็ ทรอนกิ ส์ (e-Filing) โจทกย์ ังตอ้ ง
เสียค่าจัดทาเอกสารท้ายฟ้องเพ่ือส่งให้แก่จาเลย เน่ืองจากเอกสารท้ายฟ้องมีจานวนมาก การจัดส่งหมายเรียก
และสาเนาคาฟ้องรวมถึงเอกสารท้ายฟ้องจึงมีภาระค่าใช้จ่ายสูงไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการใช้วิธีการ
ทางอิเล็กทรอนิกส์ในการดาเนินคดีที่ต้องการให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ดังนั้น ตามประกาศสานักงานศาลยุติธรรม
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันท่ี ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๔
ข้อ ๑๑ จึงกาหนดให้มีวิธีการจัดส่งเอกสารท้ายคาฟ้องในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่จาเลยในคดีท่ีย่ืนฟ้อง
ในระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) โดยในหมายเรียกท่ีส่งให้แก่จาเลยน้ันจะปรากฏ QR Code
ซ่ึงจาเลยสามารถสแกนแล้วจะปรากฏเอกสารท้ายคาฟ้องเพ่ือเรียกดูได้ โดยโจทก์จะต้องย่ืนคาร้องพร้อมระบุ
เหตุผลท่ีแสดงว่าจาเลยสามารถเข้าถึงเอกสารในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้ เช่น จาเลยมีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
โทรศัพท์สมาร์ทโฟน สัญญาณอินเตอร์เน็ต ที่อยู่สาหรับจัดส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือโจทก์และจาเลย
เคยติดต่อส่ือสารกันโดยอาศัยช่องทางเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น การส่งข้อความผ่านแอปพลิเคชันไลน์
หรือจดหมายอิเล็กทรอนกิ ส์ อย่างไรก็ตาม การดาเนินการดังกล่าวเป็นคนละกรณีกับข้อ ๑๘ วรรคสอง
ของข้อกาหนดนี้

ส่วนที่ ๕ การพิพากษาคดีในกระบวนพิจารณาด้วยวิธกี ารทางอิเล็กทรอนกิ ส์

ข้อ ๑๙ เมือ่ เสรจ็ การพิจารณาคดที างอเิ ลก็ ทรอนิกส์ ใหศ้ าลทาคาพิพากษาหรอื คาสง่ั
และลงลายมอื ช่อื ในรปู แบบอเิ ล็กทรอนิกส์ ตามวธิ กี ารท่สี านักงานศาลยุติธรรมประกาศกาหนด และให้ถือว่า
คาพิพากษาหรือคาส่ังได้ทาเป็นหนังสือและลงลายมือช่ือตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๑๔๑ แลว้

การทาความเห็นแย้ง รวมทั้งการจดแจ้งเหตุกรณีที่ผู้พิพากษาลงลายมือชื่อใน
คาพิพากษาหรือคาสั่งไมไ่ ด้ ให้ใช้วิธีการตามวรรคหนึง่ โดยอนุโลม

การอ่านคาพิพากษาหรือคาสั่งในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมาย
วิธพี จิ ารณาความแพง่ มาตรา ๑๔๐ (๓) เวน้ แตจ่ ะได้ปฏิบตั ติ ามวิธีการท่ีสานักงานศาลยตุ ิธรรมกาหนด

๑) เม่ือคดีท่ีดาเนินการโดยวิธกี ารทางอิเล็กทรอนิกส์เสร็จการพิจารณา ศาลสามารถทา
คาพิพากษาหรือคาส่ังในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และลงลายมือช่ือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
โดยถือว่ามีผลตามกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๑ แต่จะต้องเปน็ ไป
ตามวธิ กี ารทีส่ านกั งานศาลยุติธรรมประกาศกาหนด

๒) ตามประกาศสานักงานศาลยุติธรรม เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเง่ือนไขเกี่ยวกับ
การใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ข้อ ๓๗ กาหนดให้คดีที่อยู่ใน
อานาจพิจารณาพิพากษาของผู้พิพากษาคนเดียวตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ผู้พิพากษาอาจจัดทา
คาพิพากษาหรือคาสั่งในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยบันทึกข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นไฟล์ประเภท

กลับไปหน้าสารบัญ

กฎหมายเกยี่ วกับการพจิ ารณาคดที างอิเลก็ ทรอนกิ ส์ ๓๖

PDF หรือ PDF/A เพราะคาพิพากษาหรือคาส่ังของศาลส่วนมากได้จัดทาในรูปแบบไฟล์ WORD ท่ีสามารถ
บันทึกในรปู แบบไฟล์ PDF หรือ PDF/A

๓) ในการจัดทาคาพิพากษาหรือคาส่ังในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผู้พิพากษาจะลงลายมือ
ช่ืออิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีการตามประกาศสานักงานศาลยุติธรรมดังกล่าวในข้อ ๙ และประทับตราประจาชาด
ในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนกิ ส์ เพ่ือให้สอดคล้องกับหลักการสาคัญของการลงลายมือช่ืออิเล็กทรอนิกส์
ทตี่ ้องสามารถระบตุ ัวเจ้าของลายมือชื่อเกยี่ วกับข้อความท่ีตนไดล้ งลายมือช่ือไป และรกั ษาความลบั ของ
คาพิพากษาหรือคาสง่ั จึงกาหนดใหผ้ พู้ ิพากษาทท่ี าคาพพิ ากษาตอ้ งอปั โหลด (Upload) คาพพิ ากษาหรอื
คาสั่งเข้าสู่ระบบอเิ ล็กทรอนิกส์ท่ีสานักงานศาลยุตธิ รรมกาหนดดว้ ยตนเอง โดยให้ดาเนินการหลังจากท่ี
ได้อา่ นหรอื ถือวา่ ได้อา่ นคาพพิ ากษาหรอื คาสั่งนั้นตามกฎหมายแล้ว

๔) การลงลายมอื ชอ่ื อิเล็กทรอนกิ ส์อาจเลือกดาเนินการได้ ๒ รปู แบบ ไดแ้ ก่
รูปแบบแรก เป็นการกดปุ่มยอมรับหรือลงลายมือชื่อบนหน้าจอของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ซ่ึงทาให้ปรากฏภาพลายมือช่ือในเอกสารในเวลาที่มีการลงลายมือช่ือน้ัน เช่น การใช้ปากกาสไตลัส
(stylus) เขียนลายมือชื่อด้วยมือลงบนหน้าจอและบันทึกไว้ในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซ่ึงระบบ
จะสร้างลายมอื ชอ่ื ดจิ ทิ ัลหรอื ลายมอื ชอื่ อเิ ลก็ ทรอนิกสข์ ึน้ เพอื่ นาไปใช้ หรอื

รูปแบบที่สอง เป็นการสแกนคาพิพากษาหรือคาส่ังในระบบจากนั้นระบบจะสร้าง
วิธีการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการอัปโหลด (Upload) คาพิพากษาหรือคาสั่งดังกล่าวเข้าสู่
ระบบอิเลก็ ทรอนิกส์ท่ีสานักงานศาลยตุ ธิ รรมกาหนด

๕) ปัจจุบันสานักงานศาลยุติธรรมยังมิได้กาหนดวิธีการอ่านคาพิพากษาหรือคาสั่ง
ในรปู แบบอิเลก็ ทรอนิกส์ไว้ การอา่ นคาพพิ ากษาหรอื คาส่งั ในรปู แบบอิเลก็ ทรอนิกส์จงึ ต้องถอื ปฏิบัตติ าม
ประมวลกฎหมายวธิ ีพจิ ารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๐ (๓) คือ การอ่านคาพพิ ากษาหรอื คาสง่ั โดยเปดิ เผย
ต่อหน้าคู่ความท้ังสองฝ่าย หรือฝ่ายใดฝา่ ยหน่ึง หรือถา้ คูค่ วามไม่มาศาล ศาลจะงดอ่านคาพิพากษาหรอื
คาสงั่ กไ็ ด้

สานักกฎหมายและวชิ าการศาลยตุ ธิ รรม
สานักงานศาลยตุ ธิ รรม
กนั ยายน ๒๕๖๔

กลบั ไปหนา้ สารบัญ

กฎหมายเกีย่ วกับการพจิ ารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ ๓๗

(สาเนา)

ประกาศสานกั งานศาลยตุ ิธรรม
เร่อื ง หลกั เกณฑ์ วธิ กี ารและเงือ่ นไขเกย่ี วกบั การใชว้ ิธพี จิ ารณาคดีทางอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์

____________________

โดยท่ีเป็นการสมควรกาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเก่ียวกับการใช้วิธีพิจารณาคดี
ทางอิเล็กทรอนิกส์ และแนวทางปฏิบัติทางธุรการในการดาเนินการที่เก่ียวข้อง เพ่ือให้การบังคับใช้
วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ในเร่ืองการจัดทาเอกสารในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ การน่ังพิจารณา
โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ การทาคาพิพากษาหรือคาสั่งและการลงลายมือช่ือในเอกสารในรูปแบบ
ขอ้ มลู อเิ ล็กทรอนกิ ส์ เป็นไปอย่างมีประสิทธภิ าพและเป็นระเบียบเดยี วกนั

อาศัยอานาจตามความในข้อ ๔ ข้อ ๑๒ ข้อ ๑๓ และข้อ ๒๗ ของข้อกาหนดของ
ประธานศาลฎีกาว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๓ สานักงานศาลยุติธรรมออกประกาศ
กาหนดหลักเกณฑ์ วธิ ีการและเง่อื นไขเกี่ยวกับการใชว้ ิธพี จิ ารณาคดีทางอเิ ล็กทรอนิกส์ ดงั ตอ่ ไปนี้

ข้อ ๑ ใหย้ กเลิก
(๑) ประกาศสานักงานศาลยตุ ิธรรม เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธกี ารและเงื่อนไขเก่ยี วกบั การใช้
วิธีพจิ ารณาคดที างอิเลก็ ทรอนกิ ส์ ประกาศ ณ วนั ที่ ๑๕ ธนั วาคม พ.ศ. ๒๕๖๓
(๒) ประกาศสานกั งานศาลยตุ ธิ รรม เร่ือง หลกั เกณฑ์ วธิ กี ารและเงอ่ื นไขเกย่ี วกับการใช้
วิธีพิจารณาคดที างอเิ ล็กทรอนกิ ส์ (ฉบบั ท่ี ๒) ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มนี าคม พ.ศ. ๒๕๖๔
(๓) ประกาศสานักงานศาลยุติธรรม เรอ่ื ง หลักเกณฑ์ วธิ ีการและเงื่อนไขเกย่ี วกับการใช้
วิธพี จิ ารณาคดที างอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ (ฉบับที่ ๓) ประกาศ ณ วันท่ี ๒๙ มถิ นุ ายน พ.ศ. ๒๕๖๔
(๔) ประกาศสานกั งานศาลยตุ ธิ รรม เรอื่ ง หลกั เกณฑ์ วิธกี ารและเงือ่ นไขเกี่ยวกบั การใช้
วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
(Coronavirus Disease : COVID-19) (ฉบับที่ ๑) ประกาศ ณ วนั ที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔
(๕) ประกาศสานักงานศาลยตุ ิธรรม เรือ่ ง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกบั การใช้
วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
(Coronavirus Disease : COVID-19) (ฉบบั ที่ ๒) ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔
(๖) ประกาศสานกั งานศาลยุตธิ รรม เรอ่ื ง หลกั เกณฑ์ วิธกี ารและเงอ่ื นไขเกย่ี วกบั การใช้
วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
(Coronavirus Disease : COVID-19) (ฉบับท่ี ๓) ประกาศ ณ วันท่ี ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔

กลับไปหน้าสารบัญ

กฎหมายเกย่ี วกบั การพจิ ารณาคดีทางอิเลก็ ทรอนิกส์ ๓๘

(๗) ประกาศสานกั งานศาลยตุ ธิ รรม เร่อื ง หลักเกณฑ์ วธิ กี ารและเงื่อนไขเก่ยี วกับการใช้
วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
(Coronavirus Disease : COVID-19) (ฉบับที่ ๔) ประกาศ ณ วันท่ี ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๔

ทั้งนี้ มิให้กระทบกระเทือนถึงการใดที่ได้กระทาเสร็จไปแล้วตามประกาศข้างต้น
ทีถ่ กู ยกเลกิ โดยถอื ว่าการน้ันเป็นอันสมบูรณ์

ขอ้ ๒ ในประกาศฉบบั น้ี
“ศาล” หมายความว่า ศาลยตุ ธิ รรมหรือผพู้ พิ ากษาท่ีมอี านาจพิจารณาพพิ ากษาคดี
“การนั่งพิจารณา” หมายความว่า การที่ศาลออกน่ังเกี่ยวกับการพิจารณาคดี เช่น ชี้สองสถาน
สืบพยาน ทาการไต่สวน ฟังคาขอต่าง ๆ และฟังคาแถลงการณ์ด้วยวาจา รวมถึงดาเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ
ตอ่ ค่คู วามหรอื บุคคลท่ีเก่ยี วข้องในคดี
“เจ้าหน้าที่” หมายความวา่ เจ้าหน้าท่ีศาลยุตธิ รรมที่ได้รบั มอบหมายให้มหี นา้ ท่ี
“เอกสาร” หมายความว่า บรรดาเอกสารในสานวนความ เช่น รายงานและเอกสารที่ส่งต่อศาล
หรือศาลทาขึ้น คาพิพากษา คาส่ัง คาส่ังชี้ขาดคดี พยานเอกสาร แผนท่ี ภาพถ่าย ภาพถ่ายพยานวัตถุ
คาบงั คับ หมายบังคับคดี และใหห้ มายความรวมถงึ หลกั ฐานการรบั จ่ายเงนิ ท่เี กีย่ วกับคดี
“ข้อความ” หมายความว่า เร่ืองราว หรือข้อเท็จจริง ไม่ว่าจะปรากฏในรปู แบบของตัวอักษร
ตวั เลข เสียง ภาพ หรือรูปแบบอ่ืนใดทสี่ ่ือความหมายไดโ้ ดยสภาพของสิ่งน้นั เองหรือโดยผ่านวิธกี ารใด ๆ
“อิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอนไฟฟ้า
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน และให้หมายความรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง
วิธีการทางแม่เหล็ก หรืออุปกรณ์ท่ีเกีย่ วขอ้ งกบั การประยุกต์ใชว้ ิธตี ่าง ๆ เชน่ วา่ นนั้
“ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความท่ีได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผล
ดว้ ยวธิ กี ารทางอเิ ล็กทรอนิกส์
“ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า อักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใด
ท่ีสร้างข้ึนให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนามาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงความสัมพันธ์
ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือช่ือ
อิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น และเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความ
ในข้อมลู อิเล็กทรอนกิ ส์นน้ั
“ระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ระบบงานของศาลเพ่ือรองรับการย่ืน ส่ง และ
รบั คาฟ้อง คาคูค่ วาม คาสั่งศาล หมายเรยี ก หมายอนื่ ๆ รวมทั้งเอกสารทางคดใี นรูปแบบขอ้ มูลอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์

ขอ้ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตัง้ แต่วันประกาศเป็นต้นไป

กลบั ไปหนา้ สารบัญ

กฎหมายเก่ยี วกับการพจิ ารณาคดที างอิเล็กทรอนกิ ส์ ๓๙

ข้อ ๔ เลขาธิการสานักงานศาลยุติธรรมมีอานาจตีความและวินิจฉัยปัญหาการปฏิบัติงาน
ทางธุรการตามประกาศน้ี

หมวด ๑
บททว่ั ไป

ข้อ ๕ ใหใ้ ช้วธิ พี จิ ารณาคดที างอิเล็กทรอนิกส์กบั คดีแพง่ ทุกประเภทและคดีทมี่ ีกฎหมาย
กาหนดให้นาประมวลกฎหมายวิธพี ิจารณาความแพง่ ไปใช้บงั คับ โดยให้ปฏิบตั ติ ามหลกั เกณฑ์และวธิ กี าร
ตามท่กี าหนดในประกาศนี้

ข้อ ๖ เม่ือศาลกาหนดให้ดาเนินกระบวนพิจารณาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
ให้เจ้าหน้าท่ีจัดเตรียมความพร้อมในการดาเนนิ กระบวนพิจารณาด้วยวิธีการทางอเิ ล็กทรอนกิ ส์ตามหลักเกณฑ์
และวธิ กี ารทกี่ าหนดไวใ้ นประกาศนี้

ข้อ ๗ การยื่น ส่ง หรือรับเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์หรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ท่ีจัดทาขึ้นตามประกาศนี้ ให้คู่ความและเจ้าหน้าที่ดาเนินการโดยทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์
(ระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) หรือระบบบริการออนไลน์ศาลยุติธรรม (Court Integral
Online Service : CIOS) หรือระบบอเิ ล็กทรอนิกสอ์ นื่ ของสานกั งานศาลยตุ ิธรรม

การส่งหมายนัดหรือเอกสารทางคดีหรือการแจ้งคาส่ังศาลหรอื ข้อความใดให้แก่คู่ความ
อาจดาเนินการโดยทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์โดยจัดทาเอกสารหรือข้อความน้ันในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
แล้วส่งไปยังที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของคู่ความดังกล่าวตามท่ีได้แจ้งไว้ต่อศาล โดยให้ถือว่าเป็นการส่ง
โดยคู่ความน้ันได้ทราบข้อความนับแต่เวลาท่ีเอกสารหรือข้อความเช่นว่าน้ันไปถึงคู่ความตามท่ีอยู่ไปรษณีย์
อเิ ลก็ ทรอนิกสท์ ไี่ ด้แจง้ ตอ่ ศาลไว้

หมวด ๒
การจดั ทาเอกสารในรปู แบบข้อมูลอเิ ลก็ ทรอนิกส์

ข้อ ๘ การจัดทาเอกสารในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
ที่กาหนดไว้ในประกาศสานักงานศาลยุติธรรม เร่ือง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่น ส่ง
และรับคาคู่ความและเอกสารทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ และประกาศสานักงานศาลยุติธรรม
เร่ือง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทาสารบบความ สารบบคาพิพากษา และการรวบรวมเก็บรักษาเอกสาร
ในสานวนความในรปู แบบขอ้ มลู อิเลก็ ทรอนิกส์ แล้วแต่กรณี

ข้อ ๙ การลงลายมือช่ืออิเล็กทรอนิกส์ในเอกสารในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
อาจดาเนนิ การอย่างใดอย่างหนึ่งโดย

(๑) ลงลายมือชื่อในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งทาให้ปรากฏภาพลายมือช่ือดังกล่าว
ในเอกสารในเวลาทีม่ ีการลงลายมอื ชอ่ื นัน้

กลบั ไปหน้าสารบัญ

กฎหมายเกย่ี วกับการพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนกิ ส์ ๔๐

(๒) ทาการใด ๆ บนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อันแสดงได้ว่าผู้ทาได้ยอมรับความถูกต้อง
ของขอ้ มลู หรอื ขอ้ ความท่ีเก่ยี วข้อง เชน่ การสแกนใบหน้าหรอื ลายพิมพน์ วิ้ มอื

(๓) ลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ท่ีสานักงานศาลยุติธรรม
กาหนด

คู่ความ พยาน และบุคคลท่ีเก่ียวข้องในกระบวนพิจารณาที่จะลงลายมือช่ืออิเล็กทรอนิกส์
ตาม (๓) ต้องดาเนินการลงทะเบียนพิสูจน์และยืนยันตัวตนเพ่ือใช้ระบบตามวิธีการท่ีสานักงาน
ศาลยุตธิ รรมกาหนด

ข้อ ๑๐ ในกรณีที่รายงานกระบวนพิจารณาได้กระทาต่อหน้าคู่ความหรือพยานที่อยู่ใน
ห้องพิจารณาหรือถือว่าได้อยู่ในห้องพิจารณาในการพิจารณาโดยระบบการประชุมทางจอภาพหรือ
ทางระบบอิเล็กทรอนิกส์อ่ืน เม่ือศาลได้อ่านรายงานกระบวนพิจารณาให้คู่ความหรือพยานได้รับฟัง
และคู่ความหรือพยานได้ลงลายมือช่ืออิเล็กทรอนิกส์ตามข้อ ๙ ให้ถือว่าบุคคลนั้นได้ทราบและลงลายมือชื่อ
ในรายงานกระบวนพิจารณาน้นั แล้ว

ความในวรรคหนง่ึ ให้ใช้กับบันทึกคาเบกิ ความพยานโดยอนุโลม

ข้อ ๑๑ การจัดทาเอกสารท้ายคาฟ้องส่งให้แก่จาเลยในคดีท่ีย่ืนฟ้องทางระบบรับส่ง
อเิ ล็กทรอนกิ ส์ อาจจดั ทาเป็นเอกสารในรูปแบบข้อมูลอเิ ล็กทรอนิกส์ซ่งึ สามารถเข้าถึงได้ผ่านทางคิวอาร์โค้ด
ทส่ี ง่ ไปพร้อมกับหมายเรยี ก และถือวา่ จาเลยได้รับเอกสารนั้นในวนั ทไ่ี ด้รบั หมายเรียก

การขอใหส้ ง่ เอกสารใหแ้ ก่จาเลยดว้ ยวิธกี ารตามความในวรรคหนง่ึ โจทกต์ อ้ งระบเุ หตผุ ล
ท่ีแสดงว่าจาเลยสามารถเข้าถึงเอกสารในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้มาในคาร้อง และไม่ต้องเสีย
คา่ จัดทาเอกสารดงั กลา่ ว

ก่อนหรือในวันนัดพิจารณา ถ้าจาเลยแจ้งต่อศาลหรือศาลมีเหตุสงสัยว่าจาเลยไม่สามารถ
เข้าถึงเอกสารในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และศาลมีคาสั่งให้ส่งเอกสารให้จาเลยใหม่ในรูปแบบกระดาษ
ให้โจทก์มหี น้าท่ีจัดทาสาเนาเอกสารดงั กลา่ วเพื่อส่งให้แก่จาเลย

หมวด ๓
การนงั่ พจิ ารณาโดยวธิ กี ารทางอเิ ลก็ ทรอนิกส์

สว่ นท่ี ๑
การน่ังพจิ ารณาทางระบบอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์

ข้อ ๑๒ เมื่อศาลเห็นสมควรหรือคู่ความร้องขอ ไม่ว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหน่ึงขาดนัด
หรือไม่ก็ตาม ศาลอาจกาหนดให้มีการนั่งพิจารณาโดยท่ีคู่ความหรือบุคคลที่เกี่ยวขอ้ งในคดีอยู่นอกศาล
โดยวิธีการทางอิเลก็ ทรอนกิ ส์

กลบั ไปหนา้ สารบัญ

กฎหมายเก่ียวกับการพิจารณาคดที างอิเลก็ ทรอนิกส์ ๔๑

ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่การพิจารณาโดยไม่เปิดเผยตามมาตรา ๓๖ แห่ง
ประมวลกฎหมายวธิ ีพิจารณาความแพ่ง

ข้อ ๑๓ การร้องขอให้มีการนั่งพิจารณาโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ คู่ความอาจร้องขอ
ในเวลาท่ียื่นคาคู่ความหรือในระหว่างการพิจารณา โดยต้องระบุระบบอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์สื่อสาร
และสถานทท่ี ่คี ู่ความหรอื บุคคลท่เี กยี่ วข้องในคดจี ะใชร้ ะบบมาด้วย

ข้อ ๑๔ การน่ังพจิ ารณาที่คู่ความหรือบุคคลทเี่ ก่ยี วข้องในคดอี ยู่นอกศาลโดยวธิ กี ารทาง
อิเล็กทรอนกิ ส์ ให้ดาเนินการทางระบบอิเล็กทรอนิกส์หรอื แอปพลเิ คชนั ที่สานกั งานศาลยตุ ธิ รรมกาหนด
ท่ีสามารถสื่อสารภาพและเสียงได้อย่างชัดเจนและต่อเนื่อง โดยถือว่าบุคคลนั้นได้มาดาเนินกระบวน
พิจารณาทีศ่ าล

ข้อ ๑๕ สถานที่ที่คู่ความหรือบุคคลท่ีเก่ียวข้องในคดีใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์นอกศาล
ตอ้ งเป็นสถานท่ที ี่เหมาะสม ไม่มีเสยี งรบกวน ไมใ่ ช่ทส่ี าธารณะและเป็นพื้นทีป่ ิดท่ีไมม่ บี ุคคลอน่ื ทีไ่ มไ่ ดร้ บั
อนญุ าตจากศาลเขา้ ออกในบรเิ วณดงั กล่าว

ข้อ ๑๖ การถ่ายทอดภาพและเสียงของคู่ความหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีจากสถานท่ี
ที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ไปยังห้องพิจารณาต้องมีสัญญาณถ่ายทอดภาพและเสียงได้อย่างชัดเจนและ
ตอ่ เนื่องตลอดระยะเวลาที่น่งั พิจารณา

ข้อ ๑๗ การแสดงตนของคู่ความหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีในการพิจารณาคดี
ทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้ดาเนินการโดยให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบบุคคลที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ว่าตรงกับ
คคู่ วามหรือบุคคลทเี่ กยี่ วข้องในคดหี รอื ไม่ โดยใหบ้ ุคคลดงั กลา่ วแสดงบัตรประจาตัวประชาชนใหป้ รากฏ
ทางจอภาพของระบบ และใหเ้ จ้าหนา้ ท่ีทาการบันทึกภาพใบหนา้ บุคคลนนั้ พร้อมกับบตั รประจาตัวประชาชน
ทปี่ รากฏข้อมลู บนบตั รประจาตัวประชาชนอย่างชัดเจนเสนอศาลเพื่อเปน็ หลักฐานรวมไว้ในสานวน

ข้อ ๑๘ ในการนั่งพิจารณาทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ศาลอาจสั่งให้ใช้ระบบบันทึกภาพ
และเสียงกระบวนพิจารณาท้ังหมดหรือบางส่วนในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และนาไปจัดเก็บไว้ใน
ระบบการจัดทาสารบบและสานวนความอิเล็กทรอนิกสข์ องสานกั งานศาลยตุ ิธรรม

ห้ามมิให้คู่ความหรือบุคคลใดบันทึก เผยแพร่ หรือแพร่เสียงแพร่ภาพ ภาพหรือเสียง
กระบวนพจิ ารณาโดยไม่ไดร้ บั อนุญาตจากศาล

การขอตรวจดูภาพและเสียงกระบวนพจิ ารณาท่บี นั ทึกไว้ตามวรรคหนง่ึ ให้กระทาในศาล
และอยู่ในความควบคุมดูแลของเจ้าหน้าท่ี โดยมิให้บันทึกภาพหรือเสียงหรือทาซ้าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ดงั กล่าว

กลบั ไปหน้าสารบัญ

กฎหมายเกย่ี วกบั การพจิ ารณาคดที างอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ ๔๒

ข้อ ๑๙ รายงานกระบวนพิจารณาและเอกสารที่ศาลทาข้ึนในการนงั่ พิจารณาทางระบบ
อเิ ลก็ ทรอนิกส์อาจจดั ทาในรปู แบบข้อมลู อิเล็กทรอนิกส์ และใหผ้ เู้ ก่ยี วข้องลงลายมือชอ่ื อิเลก็ ทรอนิกส์

ข้อ ๒๐ การลงลายมือช่ืออเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ของคูค่ วามหรอื บุคคลใดในรายงานกระบวนพจิ ารณา
และเอกสารท่ีศาลทาข้ึนในการน่ังพิจารณาทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ อาจกระทาโดยให้บุคคลดังกล่าว
พิมพช์ ื่อเพื่อแสดงรบั รู้หรอื รับรองลงในเอกสารในรปู แบบขอ้ มูลอิเลก็ ทรอนกิ ส์ท่ีเจา้ หนา้ ท่ีส่งไปทางระบบ
และให้ใช้ระบบบนั ทกึ ภาพต่อเนื่องของขัน้ ตอนการลงลายมือชอ่ื ไวเ้ ปน็ หลกั ฐาน

ข้อ ๒๑ การนั่งพิจารณาทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้ดาเนินการในห้องพิจารณา
โดยให้ถ่ายทอดภาพและเสียงของคู่ความหรือบุคคลท่ีเกี่ยวข้องในคดีท่ีใช้ระบบอยู่นอกศาลมาเผยแพร่
ในหอ้ งพจิ ารณาอยา่ งเปิดเผย

ข้อ ๒๒ ระหว่างการนั่งพิจารณาทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ หากมีเหตุอันควรสงสัยว่า
คู่ความหรือบุคคลท่ีเก่ียวข้องในคดีท่ีใช้ระบบไม่ได้รับความปลอดภัยหรือการดาเนินกระบวนพิจารณา
ไม่เป็นไปโดยสุจริต ศาลอาจสั่งให้ทาการตรวจสอบสภาพแวดล้อมของสถานท่ีที่บุคคลน้ันใช้ระบบ
หรือมคี าสั่งอื่นใดตามที่เหน็ สมควร

ข้อ ๒๓ การสืบพยานบุคคลท่ีอยู่นอกศาลทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ
บัตรประจาตัวประชาชนของพยานและล่าม (ถ้ามี) แล้วให้นาพยานและล่ามสาบานตนหรือกล่าวคาปฏิญาณ
ต่อหน้าศาลท่ีน่ังพิจารณาในหอ้ งพิจารณา

ในกรณีมีเหตุขัดข้องระหว่างการนั่งพิจารณาท่ีทาให้ไม่อาจสืบพยานบุคคลทางระบบ
อิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างต่อเน่ือง ศาลอาจกาหนดวิธกี ารเท่าท่ีไมข่ ดั กับประกาศน้ีเพ่ือให้สามารถสืบพยาน
บคุ คลได้จนเสรจ็ สนิ้ โดยบนั ทึกเหตขุ ดั ข้องและวธิ กี ารดังกล่าวไว้ในรายงานกระบวนพจิ ารณา

ข้อ ๒๔ เอกสารหรือภาพถ่ายที่ใช้สืบประกอบคาเบิกความของพยานบุคคลทางระบบ
อเิ ลก็ ทรอนิกส์ ให้ใชเ้ อกสารในรูปแบบข้อมลู อิเล็กทรอนิกสท์ ีค่ ู่ความส่งเขา้ มาในระบบรบั สง่ อิเล็กทรอนกิ ส์

เอกสารในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่งถือเป็นเอกสารต้นฉบับหรือเอกสาร
เทยี บเทา่ ฉบับเดมิ ตามข้อ ๑๘ แห่งขอ้ กาหนดของประธานศาลฎีกาว่าดว้ ยวธิ ีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. ๒๕๖๓ ในกรณที ีต่ อ้ งจัดทาสงิ่ พิมพอ์ อกของเอกสารดงั กล่าวเพ่อื จดั เกบ็ เปน็ สานวนความ ให้คูค่ วาม
ท่ีอ้างเอกสารเป็นผู้รับผิดชอบค่าจัดทาเอกสาร หากจาเป็นต้องใช้ต้นฉบับอาจกาหนดให้คู่ความท่ีอ้าง
เอกสารนัน้ นามาส่งตอ่ ศาลภายในเวลาท่ีศาลเห็นสมควร

เพื่อประโยชนใ์ นการสืบพยาน ศาลอาจกาหนดใหม้ ีการน่งั พิจารณาทางระบบอิเล็กทรอนิกส์
กอ่ นวนั นัดสบื พยานเพอื่ ตรวจความพร้อมของเอกสารท่ีคูค่ วามจะใช้ในการสืบพยาน

กลับไปหนา้ สารบัญ

กฎหมายเกย่ี วกบั การพจิ ารณาคดที างอิเล็กทรอนิกส์ ๔๓

ข้อ ๒๕ ในการสืบพยาน ให้คู่ความท่ีนาสืบเอกสารหรือภาพถ่ายเปิดไฟล์เอกสารหรือ
ภาพถา่ ยนัน้ ในระบบรับส่งอิเลก็ ทรอนกิ ส์ แลว้ แสดงภาพเอกสารในรปู แบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกสด์ งั กล่าว
ทางจอภาพของระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้ศาล พยานและคู่ความทุกฝ่ายตรวจดู (share screen) หรือ
แสดงต้นฉบับเอกสารหรือวัตถุพยานให้ปรากฏทางจอภาพของระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ตรวจสอบ
ความถูกต้องกับสาเนาเอกสารหรอื ภาพถา่ ยที่ได้ย่ืนไว้ในสานวนแล้ว

คู่ความที่นาเอกสารหรือภาพถ่ายมาใช้ถามค้านพยานต้องแปลงเอกสารหรือภาพถ่าย
ให้อยู่ในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ แล้วแสดงภาพเอกสารในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว
ทางจอภาพของระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้ศาล พยานและคู่ความทุกฝ่ายตรวจดู (share screen) และต้องส่ง
เอกสารหรือภาพถ่ายในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นให้ศาลทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ภายใน
เวลาทีศ่ าลเห็นสมควรเพอื่ จดั เก็บเป็นสานวนความ

ข้อ ๒๖ เมื่อพยานเบิกความเสร็จและองค์คณะผู้พิพากษาอ่านบันทึกคาเบิกความพยานแล้ว
ให้เจ้าหนา้ ท่ีจัดให้คู่ความที่อยู่ในหอ้ งพิจารณาลงลายมือชือ่ แล้วแปลงบนั ทึกคาเบิกความพยานดังกล่าว
ให้อยู่ในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนกิ ส์นาเข้าระบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้คู่ความและบุคคลท่ีเกี่ยวข้องที่อยู่นอกศาล
ตรวจดูทางจอภาพและลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์แสดงรับรู้หรือรับรองในเอกสารน้ัน หากไม่สามารถ
ลงลายมอื ชอื่ อเิ ล็กทรอนิกส์ได้ถอื วา่ เปน็ กรณีทบ่ี ุคคลดงั กล่าวลงลายมือช่อื ไม่ได้

ความในวรรคกอ่ นให้นามาใช้บังคับแก่การลงลายมือชอ่ื ของคู่ความในรายงานกระบวน
พจิ ารณาโดยอนุโลม

ข้อ ๒๗ ให้เจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบถึงระบบอิเล็กทรอนิกส์ท่ีศาลกาหนดใหใ้ ช้
ในการนง่ั พจิ ารณา และตรวจความพรอ้ มของระบบอิเล็กทรอนกิ ส์ ระบบรับส่งอิเลก็ ทรอนกิ ส์ สถานท่ีที่ใช้ระบบ
และอุปกรณ์สื่อสารของผู้เก่ียวข้อง เพ่ือให้การนง่ั พิจารณาทางระบบอเิ ล็กทรอนกิ ส์เป็นไปโดยเรยี บร้อย
แล้วรายงานความพรอ้ มใหศ้ าลทราบก่อนวนั นัด

ข้อ ๒๘ ให้เจ้าหน้าท่ีจัดทารายงานเก่ียวกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ท่ีใช้ในการน่ังพิจารณา
ชื่อผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ช่ือผู้ใช้ระบบ สถานท่ี วัน เวลาเริ่มต้นและส้ินสุดในการใช้ระบบของทุกฝ่าย
และเหตุขัดขอ้ งที่เกิดขึ้นระหว่างการพจิ ารณา (ถา้ มี) เสนอศาลเพอ่ื มีคาสง่ั ตามทเ่ี หน็ สมควร

ข้อ ๒๙ ก่อนศาลออกน่ังพิจารณา ให้เจ้าหน้าท่ีเช่ือมสัญญาณระบบอิเล็กทรอนิกส์
ระหว่างศาลกับผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ระบบ ตรวจความเหมาะสมของอุปกรณ์ส่ือสารและสถานท่ีที่ใช้ระบบ
และแจง้ ขั้นตอนตลอดจนวิธกี ารปฏิบัติตนในการพจิ ารณาคดีทางอเิ ลก็ ทรอนิกสใ์ หผ้ ้เู กยี่ วข้องทราบ

ข้อ ๓๐ ระหว่างศาลออกน่ังพิจารณา ให้เจ้าหน้าที่ควบคุมการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์
และระบบรบั ส่งอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นไปตามคาส่ังศาล เช่น เปิดไฟล์ภาพเอกสารจากระบบรับส่งอเิ ล็กทรอนกิ ส์
แลว้ นาไปแสดงทางจอภาพของระบบอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ (share screen) บนั ทึกภาพและเสยี งกระบวนพจิ ารณา

กลบั ไปหนา้ สารบัญ

กฎหมายเก่ยี วกบั การพิจารณาคดที างอเิ ลก็ ทรอนิกส์ ๔๔

ข้อ ๓๑ ในระหว่างการพิจารณาหากพบปัญหา ความบกพร่อง หรือพบเหตุที่ทาให้เกดิ
ความไม่ปลอดภยั ในการใช้ระบบอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ ใหเ้ จ้าหน้าที่รายงานศาลโดยเร็ว

สว่ นท่ี ๒
การบนั ทกึ คาเบกิ ความพยานโดยวิธีการทางอเิ ล็กทรอนิกส์

ข้อ ๓๒ การสืบพยานในศาลหรือการสืบพยานบุคคลที่อยู่นอกศาลโดยระบบการประชุม
ทางจอภาพหรอื ทางระบบอิเล็กทรอนิกสอ์ าจใช้วธิ บี นั ทึกคาเบิกความพยานลงในระบบอิเล็กทรอนิกส์ซ่ึง
สามารถถ่ายทอดออกเป็นภาพและเสียงท่ีสามารถนาออกถ่ายทอดได้อย่างต่อเนื่อง ซ่ึงคู่ความและพยาน
สามารถตรวจสอบถงึ ความถูกต้องของบนั ทกึ คาเบิกความนน้ั ได้

การบันทึกคาเบิกความพยานโดยวิธีการตามวรรคหนึ่ง อย่างน้อยต้องปรากฏภาพของ
พยานและคู่ความในห้องพิจารณา การอ้างส่งพยานหลักฐานในระหว่างการสืบพยาน และบันทึกเสียง
การถามพยานและคาเบกิ ความของพยาน

เมื่อพยานเบกิ ความเสร็จแล้ว ให้เจ้าหนา้ ท่ีรวบรวมบันทึกคาเบิกความพยานไวใ้ นสานวนความ
ในรปู แบบข้อมูลอิเลก็ ทรอนกิ ส์ ทงั้ น้ี พยานไม่ต้องลงลายมือชื่อในบันทึกคาเบกิ ความพยานดังกล่าว

การขอตรวจดูบันทึกคาเบิกความของพยานท่ีบันทึกลงในระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้กระทาในศาล
และอยู่ในความควบคุมดูแลของเจ้าหน้าท่ี โดยมิให้บันทึกภาพหรือเสียงคาเบิกความพยานหรือทาซ้า
ข้อมูลอิเลก็ ทรอนิกส์ดังกล่าว

ข้อ ๓๓ กรณีที่ต้องมีการนั่งพิจารณาโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ท่ีเป็นการสืบพยานบุคคล
ที่อยนู่ อกศาลโดยระบบการประชมุ ทางจอภาพหรือทางระบบอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ ให้เจา้ หน้าที่สอบถามผู้ดูแล
สถานท่ีน้ันถึงความพร้อมเกี่ยวกบั วันเวลานดั สืบพยานเสียก่อน แล้วมีหนังสือแจ้งกาหนดวนั เวลา และ
สถานท่ีท่ีจะดาเนินกระบวนพิจารณาทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ชัดเจน เพ่ือจัดเตรียมความพร้อมของห้อง
พจิ ารณาคดโี ดยวิธีการทางอิเล็กทรอนกิ ส์

ข้อ ๓๔ ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและจัดเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์และสถานท่ี
และรายงานความพร้อมของบุคคล อุปกรณ์ และสถานท่ีท่ีใช้ในการนั่งพิจารณาโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
ใหศ้ าลทราบก่อนวันนัด

ข้อ ๓๕ ให้เจ้าหน้าท่ีตรวจสอบดูแลการบันทึกคาเบิกความพยานโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
ภายใต้การควบคุมของผู้พิพากษาท่ีน่ังพิจารณา เช่น การกดปุ่ม Bookmark ในส่วนคาเบิกความหรือ
ขั้นตอนการสืบพยานส่วนที่มีความสาคัญ การเร่ิมหรือหยุดบันทึกคาเบิกความพยานด้วยภาพและเสียง
ท้ังหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งตลอดการสืบพยาน ทั้งนี้ อาจมีการจัดทาเอกสารในลักษณะสรุปคาเบิกความไว้
เพอื่ ความสะดวกแก่การพจิ ารณาคดีตามคาสงั่ ศาล

ข้อ ๓๖ ให้เจ้าหน้าท่ีที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการใช้ระบบบันทึกคาเบิกความพยานโดยวิธีการ
ทางอเิ ล็กทรอนกิ ส์ ดาเนินการท่เี ก่ยี วขอ้ งดงั ตอ่ ไปน้ี

กลับไปหน้าสารบัญ


Click to View FlipBook Version