The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

กุ้งไทยหนังสือประกอบงานสัมมนาวิชาการวันกุ้งไทย ครั้งที่ 29
วันที่ 16 - 17 กุมภาพันธ์ 2562ครั้งที่ 29

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by AQUA BIZ, 2022-04-10 00:11:36

ธุรกิจกุ้งไทย ไปต่อได้ไหม?

กุ้งไทยหนังสือประกอบงานสัมมนาวิชาการวันกุ้งไทย ครั้งที่ 29
วันที่ 16 - 17 กุมภาพันธ์ 2562ครั้งที่ 29

Keywords: งานวันกุ้งไทย,AQUABIZ,WeSupport_SustainableAquaculture,Premium_ThaiShrimp,กุ้งไทย,การเลี้ยงกุ้ง

บรษิ ทั พลพฒั นก์ ารเกษตร จำกดั
นายพิพฒั น์ นิลวชั รมณี

ตัวแทนจำหนา่ ย
อาหารกงุ้ ซีพ.ี สำหรบั กุง้ ทกุ ชนิด
12/5 หมู่ 1 ถนนกาญจนวถิ ี ตำบล บางก้งุ อำเภอ เมือง จงั หวัด สรุ าษฎรธ์ านี 84000
เบอรโ์ ทรศัพท์ 077-283294-6

บรษิ ทั ทา่ ทองการเกษตร (1991) จำกัด,
ยอดพินจิ ฟารม์

จำหนา่ ยอาหารกุ้งขาว และกุ้งกลุ าดำ
เคมีภัณฑ์ และอปุ กรณ์สำหรับการเล้ียงกงุ้

20/3-5 หมู่ 4 ถนนกาญจนวถิ ี ตำบลบางก้งุ
อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000

โทรศัพท์ 077-281550, 089-4756661

โทรสาร 077-285065

หหจจกก..สสรุ ุราาษษฎฎรรแ แลลปป

114411//9977ถถนนนนกกาาญญจจนนววถิ ถิ ี ีตตำำบบลลบบาางงกกุงงุ
ออำำเภเภออเมเมอื ืองงจจงั ังหหววัดัดสสุรรุ าาษษฎฎรรธธาานนี ี 8844000000
โโททรรศศัพพั ทท 007777--221133776600โโททรรสสาารร007777--228866773355
โโททรรศศัพัพททม มอื อื ถถือือ008899--44774444110022,,008811--33997755994422

ผผแู แู ททนนจจำำหหนนา า ยย :: ออาาหหาารรกกุงงุ แแลละะเเคคมมภี ภี ัณัณฑฑสส ัตัตววน น ำ้ ำ้

22

อดเิ ทพ-พิมวรรณ สตี ภวงั ค

ตวั แทนจำหนายอาหารกุงสตารฟด
เนษฎรนนทรฟารม
หจก.อดิเทพการเกษตร
65 ม.1 ต.บางกุง อ.เมือง
จ.สุราษฎรธานี 84000
โทร. (077)282-693,
282-664, 212-838-9,
081-818-1275,
081-536-6688
บริษทั สุราษฎรก ารประมง จำกัด (แพนครไทย)

หอ้ งทันตกรรมเคลอ่ื นที่

วัตถุประสงค์

เพอ่ื รกั ษาเชงิ ปอ้ งกนั ใหก้ บั ฟนั กรามแทข้ องนกั เรยี น และเปน็ ศนู ยก์ ารเรยี นรสู้ ำหรบั นกั เรยี น
โครงการน้ีได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากกิจกรรมช่วยเหลือสังคม (CSR ของสมาคม
ผู้เล้ยี งกุ้งทะเลไทย, ชมรมผเู้ ลยี้ งกุ้งสุราษฎรธ์ าน ี และสมาชิกชมรมผเู้ ลี้ยงกุง้ สุราษฎรธ์ านี

งบประมาณสนับสนุน 400,000 บาท
200,000 บาท
1. สมาคมผู้เลย้ี งกงุ้ ทะเลไทย 200,000 บาท
2. ชมรมผู้เลย้ี งก้งุ สรุ าษฎรธ์ าน ี 50,000 บาท
3. ธนกรฟารม์ (คุณสมชาย ฤกษ์โภค)ี 50,000 บาท
4. หจก. ศ.อาหลั่ยเทรดดงิ้ (คณุ ชัยภัทร ประเสริฐมรรค) 50,000 บาท
5. ทวีฟารม์ (คุณทวี นสิ ภกลุ ) 50,000 บาท
6. ยอดพนิ จิ ฟารม์ (คุณเอกพจน ์ ยอดพินจิ ) 1,000,000 บาท
7. บางโกฟ้ ารม์ (ท.พ.สุรพล ประเทอื งธรรม)

รวม

รายงานการปฏิบัติงาน โครงการเด็กเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีไร้ฟันผุ
ประจำปี 2561

ลำดับที่ กิจกรรม หน่วยนับ ผลงาน
1. ตรวจฟัน ราย 2,911
2. เคลือบฟลูออไรด์ ราย 152
3. เคลือบหลุมร่องฟัน 723 / 1,524
4. ราย / ซี่ 1,627 / 3,964
5. PRR. ราย / ซี่ 386 / 799
6. อุดฟัน ราย / ซี่ 47 / 53
7. ถอนฟัน ราย / ซี่ 448
8. ขูดหินปูน 2,911
ทันตสุขศึกษา ราย
ราย

106

งานสัมมนาพเิ ศษ....หยุดตวั แดงดวงขาว

วันพฤหัสบดที ี่ 4 ตุลาคม 2561 ณ โรงแรมวังใต้

การแข่งขนั ฟุตบอลกระชบั มติ ร ครง้ั ที่ 5

วนั ศกุ ร์ท่ี 16 มนี าคม 2561

107

ชมรมผเู้ ล้ียงกงุ้ สุราษฎรธ์ านี

รว่ มสืบสานประเพณีชกั พระทอดผ้าป่า ประจำปี 2561

SURATTHANI SHRIMP CLUB GOLF CUP 2018 ครั้งที่ 4

วันศุกร์ท่ี 16 มีนาคม 2561

108

งานวันก้งุ ไทย ครงั้ ท่ี 28
“หลายรูปแบบ หลากความคิด รว่ มพัฒนาก้งุ ไทย กา้ วไปด้วยกนั ”

วันท่ี 17-18 มนี าคม 2561
ชมรมผูเ้ ลี้ยงกุ้งสรุ าษฎรธ์ านีร่วมกบั สมาชิก สนับสนนุ เครอ่ื งเลน่ ส่งเสริมพฒั นาการเดก็

แกศ่ ูนยพ์ ฒั นาเด็กเลก็ บา้ นดอนยาง อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎรธ์ านี

109

งานทำบญุ เลีย้ งพระ เน่ืองในโอกาสวนั ขนึ้ ปใี หม่

วนั พธุ ที่ 9 มกราคม 2562 ณ สำนักงานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งสรุ าษฎรธ์ านี

ชมรมผเู้ ลีย้ งกงุ้ สุราษฎรธ์ านี
นำรายไดห้ ลังหกั คา่ ใชจ้ า่ ยในการแข่งขนั กอล์ฟการกศุ ล

SURATTHANI SHRIMP CLUB GOLF CUP 2018 ครั้งที่ 4

สนับสนุนอุปกรณก์ ฬี าแกโ่ รงเรยี นทข่ี าดแคลน

110

รศ.ดร.นิติ ชเู ชิด ศูนยว์ ิจยั ธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์นำ้
คณะประมง มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์

การจัดการการเลย้ี ง

เพ่อื หยดุ โรคขีข้ าว

สวัสดีครับทุกๆ ท่านเป็นอย่างไรกันบ้างครับกับปีหมู พ.ศ. 2562 :
ซ่ึงน่าจะเป็นอีกปีหน่ึงท่ีชาวกุ้งไทยต้องปรับตัวกับปัญหาต่างๆ ท้ังด้านราคา
และโรคระบาดตา่ งๆ โดยเฉพาะโรคขข้ี าวซง่ึ ในรอบหลายปที ผ่ี า่ นมาไดก้ ลายเปน็
โรคประจำสำหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้งของประเทศไทยและอีกหลายประเทศใน
ทวปี เอเชยี ไปแลว้

111

โดยในทางวชิ าการนนั้ ศาสตราจารย ์ทมิ โมท ีวลิ เลยี่ ม เฟลเกล จากมหาวทิ ยาลยั มหดิ ล
รายงานว่าอาการข้ีขาวเกิดจาก การลอกหลุดของเซลล์เยื่อบุผนังท่อตับและตับอ่อน
ของก้งุ หรอื ท่เี รยี กในทางวชิ าการว่า Aggregated transform microvilli (ATM) โดย
ปกติแล้วเซลล์ดังกล่าวจะทำหน้าที่ดูดซึมสารอาหารจากท่อตับและตับอ่อนแล้วนำไป
สะสมในเซลลต์ บั เพอ่ื ใชเ้ ป็นพลงั งานในการดำรงชวี ิต เมอ่ื เซลลด์ งั กล่าวลอกหลดุ ออกมา
จึงส่งผลให้กุ้งอ่อนแอ กินอาหารลดลง ถ้าเกษตรกรไม่สามารถลดปริมาณอาหารได้ทัน
จะทำใหป้ รมิ าณอาหารเหลือสะสมในบอ่ เล้ียงมากข้นึ คุณภาพน้ำเส่อื มโทรม กุ้งอ่อนแอ
มากข้ึน ระบบภูมิคุ้มกันของกุ้งทำงานได้น้อยลง ในขณะที่ปริมาณแบคทีเรียก่อโรคใน
บอ่ เลยี้ งจะเพมิ่ จำนวนไดม้ ากขน้ึ เพราะมสี ารอนิ ทรยี ซ์ ง่ึ เปน็ แหลง่ อาหารของเชอื้ แบคทเี รยี
มากขนึ้ สง่ ผลทำใหก้ ุ้งทป่ี ่วยติดเชอ้ื แบคทเี รียดังกล่าว โดยปกติแล้วเชอ้ื แบคทเี รยี ก่อโรค
กลุ่มวิบริโอจะเป็นแบคทีเรียท่ีสร้างสารพิษ เม่ือกุ้งติดเชื้อดังกล่าวจึงยิ่งทำให้เซลล์ตับ
และตับอ่อนของกุ้งถูกทำลายมากขึ้นทำให้เกิดลักษณะของเซลล์ตับฝ่อลอกหลุดมากข้ึน
แลว้ จะพบอาการขข้ี าวมากขนึ้ และจะพบกงุ้ ตายเปน็ จำนวนมาก เมอื่ นำกงุ้ ทป่ี ว่ ยมาตรวจ
หาเชอื้ กอ่ โรคกจ็ ะพบการตดิ เชอ้ื แบคทเี รยี กลมุ่ วบิ รโิ อในปรมิ าณมาก หลายตวั อยา่ งจะพบ
การตดิ เชื้อรากลุ่ม EHP หรือ Enterocytozoon hepatopenaei ร่วมด้วย

112

แตก่ ารศกึ ษาในปจั จบุ นั ไมพ่ บวา่ เชอื้ ราชนดิ นเ้ี ปน็ สาเหตขุ องโรคขขี้ าว เพราะเมอื่
ให้กุง้ ทดลองกนิ สปอรข์ องเชื้อน้ีหรอื กนิ ตบั ของกุ้งที่ป่วยติดเช้อื EHP ไม่พบว่ากุ้งดังกล่าว
แสดงอาการของโรคขี้ขาว การพบเชื้อราชนิดนี้ในข้ีกุ้งเพราะเช้ือชนิดนี้จะอยู่ในเซลล์ตับ
และตับอ่อนของกุ้งเม่ือเซลล์ตับและตับอ่อนของกุ้งลอกหลุดออกมาจึงพบเชื้อน้ีติด
ออกมาดว้ ย สำหรบั สาเหตขุ องการเกดิ อาการเซลลต์ บั ฝอ่ ลอกหลดุ นนั้ พบวา่ มหี ลายสาเหต ุ
ตั้งแต่เร่ืองคุณภาพของวัตถุดิบซึ่งนำมาใช้ผลิตอาหารกุ้ง ไปจนถึงการใช้ยาปฏิชีวนะใน
ระหว่างการเล้ียงหรอื อนบุ าลกงุ้ เปน็ ตน้
จากข้อมูลดังที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่าการแก้ปัญหาการเกิดโรคข้ีขาวให้ได้
ประสิทธิภาพสูงน้ัน ผู้ประกอบการเล้ียงกุ้งจะต้องแก้ไขหลายๆ ส่วนพร้อมๆ กันต้ังแต่
คัดเลือกอาหารกุ้งท่ีมีคุณภาพดีมาเลี้ยงกุ้ง อาหารที่ดีต้องเป็นอาหารท่ีผลิตด้วย
วตั ถดุ บิ ทก่ี งุ้ กนิ แลว้ สามารถยอ่ ยและดดู ซมึ ไปใชไ้ ดง้ า่ ย กงุ้ กนิ ในปรมิ าณนอ้ ยกไ็ ดพ้ ลงั งาน
เพียงพอที่จะนำไปใช้ในการเจริญเติบโต ซึ่งในปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตอาหารต่างๆ ก็มีการ
พฒั นาอาหารสตู รนม้ี าขายกนั อยา่ งแพรห่ ลาย แตอ่ าหารสตู รนอี้ าจมรี าคาสงู กวา่ สตู รทว่ั ไป
ผู้เลี้ยงจึงควรพิจารณานำมาใช้เป็นช่วงๆ เพื่อควบคุมต้นทุนการผลิตให้เหมาะสม เช่น
ช่วง 45-60 วนั แรกของการเลย้ี งจะเป็นช่วงที่กุง้ โตเรว็ ตอ้ งการพลังงานสูงเพอื่ ใหเ้ พยี งพอ
ตอ่ การเจรญิ เตบิ โตของกุ้ง จากนน้ั อาจเว้นชว่ งไป เมือ่ ไหร่พบว่ากุ้งเร่มิ อ่อนแอ พบอาการ
เซลล์ตับฝ่อลอกหลุดอีกค่อยกลับมาใช้อาหารสูตรนี้ใหม่ เพื่อช่วยฟื้นฟูสภาพเซลล์ตับ
และตับอ่อนของกุ้ง พร้อมกับควบคุมปริมาณอาหารอย่างเข้มงวดเพ่ือป้องกันไม่ให้เกิด
อาหารเหลือในบ่อแล้วกลายเป็นสารอินทรีย์ส่วนเกินส่งผลให้เชื้อก่อโรคในบ่อเล้ียงเพิ่ม
จำนวนมากข้นึ จนทำใหก้ ุ้งป่วยมากขึน้

113

สำหรับแนวทางการจัดการในบ่อเล้ียงนั้น ผู้เล้ียงกุ้งสามารถปรับเปลี่ยนให้
เหมาะสมตามศักยภาพของฟาร์มตนเอง กรณีท่ีเป็นฟาร์มท่ีเลี้ยงในพ้ืนที่ที่มีการเล้ียงกุ้ง
หนาแน่น มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดควรพิจารณาเลี้ยงโดยใช้ระบบปิดใช้น้ำ
หนนุ เวียนภายในฟารม์ ฟารม์ ขนาดกลางและขนาดเลก็ ทีม่ ีทนุ นอ้ ย อาจพิจารณาเลี้ยงก้งุ
โดยใช้ความหนาแน่นต่ำ 50,000-60,000 ตัว/ไร่ เพ่ือลดความเส่ียง และสามารถลด
ต้นทุนการเล้ียงได้ง่าย โดยเฉพาะต้นทุนด้านพลังงานเพราะเม่ือความหนาแน่นของกุ้ง
น้อยในระยะแรกก็สามารถเปิดเครื่องให้อากาศเท่าที่จำเป็นได้ เนื่องจากโรคข้ีขาวมี
ความสัมพันธ์กับปริมาณอาหารที่เหลือในบ่อเลี้ยงดังน้ันผู้เลี้ยงอาจมีการเตรียมอาหาร
ธรรมชาติให้เหมาะสมก่อนปล่อยลูกกุ้งได้ จากน้ันเมื่ออาหารธรรมชาติเร่ิมลดลงจึงเร่ิม
ให้อาหารเม็ด แต่ผู้เล้ียงจำเป็นจะต้องควบคุมปริมาณอาหารที่ให้อย่างเข้มงวด อย่าให้
อาหารเหลือแล้วส่งผลทำให้ค่าคุณภาพน้ำเส่ือมโทรม จนส่งผลทำให้กุ้งป่วย ผู้เล้ียงกุ้ง
ในระบบน้ีควรควบคุมค่าอัคคาไลน์ในน้ำไม่ให้ต่ำกว่า 120 พีพีเอ็ม ตลอดเวลาระหว่าง
การเลย้ี งอาจมีการใช้เกลอื สมทุ รในอตั รา 50 กรมั /อาหาร 1 กโิ ลกรมั ผสมอาหารใหก้ งุ้
กนิ เปน็ ระยะเพอื่ ใหแ้ นใ่ จวา่ กุง้ แขง็ แรงมีแรธ่ าตุเพยี งพอต่อการเจรญิ เตบิ โต

114

ในกรณีของฟาร์มท่ีเลี้ยงโดยใช้ความหนาแน่นสูง ควรพิจารณาทำระบบอนุบาล
ลูกกุ้งให้เหมาะสม โดยการอนุบาลลูกกุ้งจะช่วยให้ผู้เล้ียงสามารถคัดเฉพาะลูกกุ้งท่ี
แข็งแรงเพื่อปล่อยลงเลีย้ ง นอกจากนีใ้ นระหว่างการอนบุ าลในพ้นื ทีข่ นาดเล็กจะทำให้กุง้
ได้รับอาหารอย่างทั่วถึง เสริมแร่ธาตุที่จำเป็นได้ง่ายและสามารถเปล่ียนถ่ายน้ำได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ ทำให้กุ้งแข็งแรง การวิจัยพบว่ากุ้งท่ีอนุบาลจนถึงระยะโพสลาร์วา 30
หรืออนุบาลลูกกุ้งในบ่อประมาณ 20 วันจะทำให้อวัยวะต่อมน้ำเหลืองของกุ้งเจริญดี
สามารถชว่ ยในการกำจดั เชอ้ื แบคทเี รยี กอ่ โรคไดด้ ขี นึ้ ทำใหก้ งุ้ ทนตอ่ การตดิ เชอ้ื แบคทเี รยี
ก่อโรคได้ดีข้ึน สำหรับข้อควรระวังของระบบการอนุบาลลูกกุ้งคือ ผู้เลี้ยงควรมีบ่อ
บำบัดน้ำท่ีใช้ระบบปิด มีขนาดที่เหมาะสม สามารถควบคุมอุณหภูมิของน้ำให้มีค่า
ใกล้เคียงกับอุณหภูมิของน้ำในบ่ออนุบาล เพ่ือใช้สำหรับเปลี่ยนถ่ายอย่างเพียงพอ
น้ำที่ใช้ในการอนุบาลจะต้องผ่านการบำบัดและฆ่าเช้ืออย่างเหมาะสมก่อนจะนำมาใช้
ผู้เล้ียงจะต้องมีระบบให้อากาศที่มีประสิทธิภาพ มีการตรวจวัดค่าอัลคาไลน์และแร่ธาตุ
สำคัญในน้ำเป็นประจำ โดยค่าอัลคาไลน์ที่เหมาะสมในระหว่างการอนุบาลลูกกุ้งคือ
ประมาณ 180 พีพเี อม็ ค่าแมกนีเซียมสูงกวา่ 500 และค่าแคลเซียมประมาณ 14 เทา่
ของความเค็ม ในระหว่างการอนุบาลผู้เล้ียงจะต้องตั้งเกณฑ์คุณภาพของกุ้งในระหว่าง
การอนุบาลอย่างเหมาะสม ลูกกุ้งที่ผ่านการประเมินคุณภาพเท่าน้ันจึงจะนำไปเลี้ยง
ต่อในบ่อเลี้ยง สำหรับบ่อเล้ียงของระบบการเล้ียงความหนาแน่นสูงนั้นควรเป็นบ่อ
ขนาดเล็กไม่เกิน 2 ไร่ครึ่ง เพราะจะทำให้สามารถบำบัดของเสียได้ง่ายและต้นทุนไม่สูง
จนเกินไป ต้องมีระบบให้อากาศที่มีประสิทธิภาพ มีแนวทางการควบคุมปริมาณอาหาร
ท่ีให้อย่างเหมาะสม สามารถบำบัดของเสียและสารอินทรีย์ส่วนเกินในน้ำได้อย่างมี
ประสิทธิภาพเพ่ือลดความเสี่ยงของโรคติดเช้ือแบคทีเรียในบ่อเล้ียง ค่าอัลคาไลน์ที่
เหมาะสมในระหวา่ งการเล้ียงก้งุ ในบอ่ คอื ประมาณ 120 พพี เี อ็ม คา่ แมกนเี ซยี มประมาณ
40 เท่าของความเค็ม และค่าแคลเซียมประมาณ 12 เท่าของความเค็มและเน่ืองจาก
ระบบน้ีมีต้นทุนการเล้ียงสูง ผู้เลี้ยงควรหาตลาดเฉพาะเพ่ือเพ่ิมมูลค่าผลิตภัณฑ์กุ้งใน
ฟารม์ ของตนเอง เพอ่ื ลดความเสย่ี งตอ่ การขาดทนุ จากความผนั ผวนของราคากงุ้ ในรอบปี

115

ผมเช่ือว่าถ้าผู้ประกอบการเล้ียงกุ้งเข้าใจถึงสาเหตุของปัญหาโรคขี้ขาวแล้ว
น่าจะสามารถนำหลักการจัดการดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมตามศักยภาพ
ของฟาร์มตนเองได้ไม่ยาก และสามารถฟันฝ่าปัญหาการเลี้ยงกุ้งโดยใช้ต้นทุนต่ำเพ่ือให้
สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งสำคญั ของเราไปไดใ้ นอนาคต
เอกสารอ้างอิง
Tangprasittipap, A., Srisala,J., Chouwdee, S, Somboon, M, Chuchird,
N, Limsuwan, C, Srisuvan, T, Flegel, T.W and Sritunyalucksana,K .2013.
The microsporidian Enterocytozoon hepatopenaei is not the cause of
white feces syndrome in whiteleg shrimp Penaeus (Litopenaeus vannamei).
BMC Veterinary Research: 2-10.
Sriurairatana S, Boonyawiwat V, Gangnonngiw W, Laosutthipong C,
Hiranchan J. 2015.White
Feces Syndrome of Shrimp Arises from Transformation, Sloughing and
Aggregation of
Hepatopancreatic Microvilli into Vermiform Bodies Superficially
Resembling Gregarines. PLoS ONE 9(6): e99170.

116

นวตั กรรมพันกวีองัสุมาลี

ระบบฟาร์มกงุ้ ยุคอนาคต

ปจั จบุ นั เกษตรกรผเู้ ลย้ี งกงุ้ สว่ นใหญย่ งั คงประสบปญั หาโรคตา่ งๆ มากมาย สง่ ผลให้
ผลประกอบการออกมาไมด่ นี กั จะสงั เกตได้วา่ ผลผลิตกุ้งยังคงตำ่ มากๆ อีกทัง้ ยงั ประสบ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม จึงมีการคิดค้นระบบการเพาะเล้ียงแบบใหม่ใหม่ขึ้นมา
หลายรูปแบบ เช่น ระบบอิงธรรมชาติของกลุ่มเลี้ยงไม่เป็นสับปะรด ระบบบ่อ HDPE
100% เลย้ี งหนาแนน่ สูงของคุณไชโย เกง่ ตรง ระบบบ่อลอยของนอ้ งหญงิ กุ้งพัฒนา และ
ระบบฟล๊อกของเส่ียแป๊กกับน้องโอม ในแต่ละระบบต่างมีจุดเด่นคนละแบบข้ึนกับพ้ืนท่ี
และสภาพแวดล้อมของฟาร์ม

117

ระบบการเล้ียงกุ้งของฟาร์มกุ้งทองเนอสเซอร่ี ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งโดยทางเราก็ได้รับ
ความรจู้ ากพๆ่ี เพอ่ื นๆ ในวงการ แลว้ เอาขอ้ ด ี ขอ้ เสยี ขอ้ จำกดั ของแตล่ ะระบบมาปรบั ใช้
ให้เข้ากับพ้ืนท่ีสภาพแวดล้อมของเรา จากประสบการณ์เราคิดว่าปัญหาที่ทำให้เลี้ยงกุ้ง
ไม่ประสบความสำเร็จเกิดจากปัจจัยหลายหลายอย่างร่วมกันไม่ใช่อย่างใดอย่างหน่ึง
ทางเราใหค้ วามสำคญั กบั ประเด็นตา่ งๆ เช่น
1. นำ้ ดีไมใ่ ชแ่ คใ่ ส
2. ความสะอาดปริมาณเช้อื อาหารเช้ือ
3. โภชนาการอาหาร
4. การจัดการต่างๆ ภายในบ่อให้ทันเหตกุ ารณ์และรบกวนกงุ้ น้อยทีส่ ุด
5. ความแข็งแรงของกุ้งและระบบภูมคิ ุ้มกนั

118

หากเพ่ือนๆ สังเกตจากเหตุการณ์เกิดโรคตายด่วนใหม่ๆ ปล่อยกุ้งลงบ่อไม่กี่วัน
ก็ตายแต่ในแฮชเชอรี่ไม่เคยมีกุ้งตายเลย ผมคิดเองว่าลูกกุ้งไม่ได้สัมผัสเช้ือในปริมาณสูง
เลยเพราะถ่ายน้ำ 100 ถึง 200% ทุกวันอาหารท่ีให้ก็คุณภาพสูงกว่าอาหารบ่อดิน
จากงานวิจยั พบว่าระบบภมู คิ ุ้มกันของกุ้งจะสมบูรณ์ที่พแี อล 28 ถึง 30 จึงเป็นท่ีมาของ
การอนุบาลลูกกุ้งก่อนการปล่อยลงสู่บ่อดิน ที่ทำให้หลายฝ่ายประสบความสำเร็จใน
ปจั จุบนั น้แี ละซพี ีเองก็สง่ เสรมิ ใหใ้ ช้ลกู กุง้ ซุปเปอร์พแี อล
จากเหตุผลข้างต้นนำมาสู่ทางออกแบบระบบต่างๆ ภายในฟาร์มทางฟาร์มให้
ความสำคัญเรื่องความสะอาดและปริมาณเช้ือเป็นพิเศษสังเกตได้จากป๊ัมน้ำทะเลดูดน้ำ
ใตท้ ราย - ท่อดูดน้ำในทะเลจะฝังไว้ใตท้ ราย

บ่อเตรียมน้ำ - มีการฆ่าเชื้อและพักน้ำให้ตกตะกอนน้ำก้นบ่อ 50 เซนติเมตร
ปลอ่ ยกลบั สู่ทะเล

ล้างบ่อ – ล้างบ่อทุกครั้งหลังจากใช้น้ำหมดแล้วตากแห้งให้มากท่ีสุดเท่าที่
ทำได้ บ่อเล้ียงเป็นบ่อขนาดเล็กขนาดก้นบ่อ 300 ถึง 400 ตารางเมตร ปากบ่อ 700
ถึง 800 ตารางเมตร ลึก 2.5 ถึง 3 เมตรภายในบ่อมีท่อดูดตะกอนเปล่ียนถ่ายน้ำ
ใช้ตัวเดียวกันเป็นซัมเมอร์ส 10 น้ิว มีระบบเติมอากาศแบบฟองระบบรวมตะกอน
โดยใช้ใบพดั รอบตำ่ กินน้ำลึก

119

ในการเลี้ยงกุ้งเราจะเล้ียงแบบหนาแน่นเน้นทำให้ใหญ่เป็นหลักโดยใช้ Biomass
และ PDG เป็นตัวชี้วัดและควบคุมการให้อาหาร เน่ืองจากเป็นบ่อขนาดเล็ก ทำให้เรา
ควบคุมการเปลีย่ นแปลงภายในบ่อได้งา่ ยและรวดเรว็ ส่งผลกระทบตอ่ กุ้งในรอบวนั น้อย
ภายใต้แนวคิดการพัฒนารูปแบบการเล้ียงกุ้งของฟาร์มเพ่ิงเร่ิมต้นข้ึนเพื่อความยั่งยืน
ในอนาคตยังคงต้องใช้ความเข้าใจความรู้ทางวิชาการ การเฝ้าสังเกตและตรรกะทาง
คณิตศาสตร์ เคล็ดลับการเลี้ยงกุ้งสู่ความสำเร็จของฟาร์ม คือ ลดปริมาณเชื้อในบ่อเช้ือ
ตั้งต้น และลดระยะเวลาท่ีกุ้งสัมผัสเช้ือเข้มข้นให้สั้นที่สุด ลองคิดตามดูครับแล้วจะรู้ว่า
ทำไมกุ้งทัง้ ประเทศป่วยท่อี าย ุ 35 ถงึ 45 วนั เหมอื นกนั แล้วทำไมบ่อลอยถงึ ไมค่ อ่ ยปว่ ย
ส่วนใหญ่จะเล้ียงผ่าน สมมุติว่ามีเช้ือตั้งต้นในบ่อกุ้งวันท่ี 1 เพียงหนึ่งตัวขยายเท่ากัน
ต่อวนั หนึง่ วนั ความเป็นจรงิ หลายเท่าตวั วนั ที่ 2 มีเช้อื สองเท่าตัววนั ท ่ี 3 เชื้อสี่เท่าตัว

1 2 3 4 5 ... 15 ... 30 ... 40 41 1,100,000,000
1 2 4 8 10 16,384 536,870,912 550,000,000,000

120

การเล้ียงกุ้งถึงหนาแน่น 150,000 ถึง 200,000 ตัวต่อไร่ ทั่วไปๆ บ่อ 5 ไร่
ต่อน้ำ 10,000 ตัน 30 วันน้ำยังสวย 40 วันน้ำเริ่มไม่ดีถ่ายวันละ 30 เซนติเมตร
เหลอื ต้งั ตน้ ใหมข่ องวันที่ 40 = 550,000,000,000 x 0.7 = 385,000,000
วันท ่ี 41 มีเชอื้ = 385,000,000,000 x 2 = 770,000,000,000 ถ้าเราถ่ายนำ้
30% ทุกหกวันเชื้อก็ยังคงเพ่ิมข้ึนๆ แต่ที่สำคัญกุ้งจะสัมผัสเช้ือเข้มข้นตลอดเวลา นี่คือ
สาเหตุทกี่ ุ้งปว่ ยเวลาเดยี วกันทัง้ ประเทศ
มิหนำซ้ำวิธีการเติมน้ำในบ่อดินด้วยปั๊มขนาดใหญ่จะทำให้ตกตะกอนก้นบ่อฟุ้ง
เชื้อโรคกระจายและเป็นเหตุให้กุ้งส่วนใหญ่ป่วยในช่วงน ี้ การเปิด-ปิดใบพัดระหว่างวัน
เช่นกนั ต้องสมดลุ ไมท่ ำให้ตะกอนย้ายทฟ่ี ุ้งไปทัว่ สนี ำ้ ไม่น่งิ ตะกอนไม่เข้าหลมุ

121

ทางฟาร์มมองเห็นปัญหานี้จึงออกแบบเป็นบ่อขนาด 12,000 ตันและเลือกใช้
ปั๊มน้ำขนาด 10 นวิ้ เพอ่ื ใชด้ ดู เลนกลางบอ่ ถ่ายนำ้ 100% เติมน้ำ 100% ลดจำนวนครง้ั
ในการถ่ายน้ำ = ลดการรบกวนกุ้ง รบกวนเวลากินอาหารของกุ้งการถ่ายน้ำของฟาร์ม
จะไม่ถ่ายทุกวันแต่จะถ่ายแบบประคองๆ และถ่ายใหม่ 100% ทุก 15 วันคือวันที่ 15
มีเชื้อตงั้ ตน้ 16,384 ถา่ ยนำ้ 100% เชอื้ ตง้ั ต้นของวนั ที ่ 16 เมื่อครบ 30 วัน = 16,384
จะเห็นได้ว่าในทุกๆ ช่วงเวลากุ้งจากสัมผัสเชื้อที่น้อยนิดในอาหารเล้ียงเชื้อเริ่มใหม่
ทุก 15 วันไม่เหมือนวิธีเราพิเศษอาหารและน่ีคือเหตุผลที่ทำให้บ่อเล็กเล้ียงได้ไม่ค่อย
เปน็ ขข้ี าวและตอ้ งถ่ายน้ำลา้ งบ้าง

122

รศ. ดร. ชลอ ลิ้มสวุ รรณ ศนู ย์วจิ ยั ธุรกิจเพาะเลีย้ งสตั ว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์

ชีท้ างกุ้งไทย

ตอ้ งไปต่อ

123

อุตสาหกรรมการเพาะเล้ยี งก้งุ ของไทยปัจจบุ นั ยังอยู่ในช่วงวกิ ฤต ผลผลติ ยงั คงอยู่
ในระดับใกล้เคียงกับปี 2560 แม้ว่าราคาของกุ้งในขณะนี้ (25 มกราคม 2562) จะสูง
ข้ึนอยู่ในระดับที่ผู้เลี้ยงกุ้งพอใจ แต่ราคาที่สูงอยู่ในขณะนี้ เพราะปริมาณกุ้งที่ออกมามี
น้อยมากติดต่อกันมาเป็นเวลานาน เหตุการณ์เช่นนี้ไม่ใช่เป็นเฉพาะประเทศไทยเท่านั้น
ประเทศทเ่ี ลี้ยงกุ้งในภูมภิ าคนีต้ ่างมีผลผลติ ออกมาน้อยมากเช่นกัน ซึ่งเปน็ ไปตามฤดกู าล
แบบน้ีแทบทุกปี แต่ในภาพรวมแล้วของทุกภาคส่วนตลอดช่วงเวลาของปีที่ผ่านมา
จากราคากุ้งท่ีอยู่ในระดับต่ำมาก หลายช่วงเวลา ส่งผลต่อการผลิตมาก เพราะราคาต่ำ
หากเลยี้ งกงุ้ ไมไ่ ดข้ นาดใหญแ่ ละไมไ่ ดผ้ ลผลติ ตามทต่ี ลาดตอ้ งการในเงอื่ นไขและระยะเวลา
การเลย้ี งตามปกตแิ ลว้ โอกาสทจ่ี ะขาดทนุ มสี งู มาก โดยเฉพาะในกรณที ก่ี งุ้ มปี ญั หาโรคขข้ี าว
หรือไวรัสดวงขาวท่ียังคงรุนแรงมากในปีที่ผ่านมา ในขณะท่ีกุ้งยังมีขนาดเล็กจะประสบ
ปญั หาการขาดทนุ สงู มาก ฟารม์ ทพี่ อจะอยไู่ ด ้ นอกจากจะเลย้ี งกงุ้ ไดผ้ ลแทบทกุ บอ่ ยงั ตอ้ ง
มีต้นทุนการเลี้ยงไม่สูงมากด้วย ซ่ึงฟาร์มท่ีเลี้ยงได้มีจำนวนน้อยกว่าฟาร์มท่ีเล้ียงแล้วมี
ปญั หา โดยเฉพาะทน่ี ่าสงั เกต.... ช่วงระหว่างเดือนกนั ยายน-ตุลาคม หลายฟาร์มประสบ
ปญั หากงุ้ โตชา้ มากเกอื บทงั้ ประเทศ ยง่ิ เพม่ิ ความเสย่ี งตอ่ การขาดทนุ บางฟารม์ หยดุ การ
ปล่อยลูกกุ้งท้ังหมดในช่วงปลายปีจนถึงต้นเดือนมกราคม เพราะจากปัญหาราคา
ทต่ี กตำ่ มาก และเกรงวา่ อากาศจะหนาวเยน็ เชน่ เดยี วกบั ป ี 2560 สว่ นฟารม์ ทย่ี งั คงเลย้ี งกงุ้
ตามปกติจะปล่อยลูกกงุ้ นอ้ ยลงกว่าการเลี้ยงในชว่ งปกติ

124

สรุปสถานการณใ์ นภาพรวม .....ทุกภาคส่วนตงั้ แต่ลกู กุ้ง ฟาร์มเลยี้ ง บริษทั ผลติ
อาหาร และผู้ค้าปัจจัยการผลิต โดยเฉพาะห้องเย็นอยู่ในสภาพอาการหนัก เนื่องจาก
ปริมาณกุ้งมีไม่เพียงพอ ดังน้ันตลาดที่เคยเป็นลูกค้าประจำมานานต่างหันไปซ้ือกุ้งจาก
ประเทศทม่ี ผี ลผลิตมากกวา่ เชน่ อินเดยี เอกวาดอร์ และเวียดนาม เม่ือปรมิ าณกงุ้ มนี อ้ ย
อำนาจการต่อรอง การกำหนดราคา และการรบั คำสั่งซอื้ จะน้อยลง หอ้ งเยน็ จำนวนมาก
จึงลดกำลังการผลิตลงและต้องหาทางเพิ่มการผลิตอาหารทะเลอย่างอ่ืนทดแทน
ในขณะทหี่ ้องเยน็ ทย่ี ังคงเน้นเก่ยี วกบั กุ้งจะเหลือเพยี งไมก่ ่ีราย

125

ธรุ กิจกงุ้ ไทย ไปต่อได้ไหม???

เรอ่ื งนี้เป็นหวั ข้อใหญ่ของงานวนั ก้งุ ไทย ครงั้ ที ่ 29 ระหว่างวันที่ 16-17 กุมภาพันธ ์
2562 ซ่ึงผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ผู้เล้ียง และห้องเย็น จะต้องร่วมมือกันทำ
ความเขา้ ใจในปญั หา....ปญั หาทเี่ กดิ ขน้ึ ดเู ปน็ เรอ่ื งทต่ี า่ งคนมองคนละมมุ เพอ่ื ความอยรู่ อด
ของตนเอง..... เท่าที่ผา่ นมา นับตัง้ แต่ผลผลติ ลดลงจากปญั หาโรคตายด่วน หอ้ งเย็นซงึ่
ส่วนใหญ่มีกำลังการผลิตสูงตกอยู่ในภาวะลำบาก เม่ือรัฐบาลออกกฎระเบียบที่ทำให้
“ลง้ ” จำนวนมากตอ้ งเลกิ กจิ การไปเลย ยง่ิ ทำใหค้ วามเสยี่ งเพม่ิ มากขนึ้ เพราะถา้ เมอ่ื ไหร ่
ทีผ่ ู้เลย้ี งกงุ้ ผลติ ออกมามาก ราคากุ้งจะตกทนั ที เพราะไมม่ ี “ล้ง” ซงี่ เป็นเสมือนโรงงาน
ขนาดย่อยที่ทำหน้าท่ีแกะเปลือกกุ้งท่ีมีปริมาณมากเพื่อส่งต่อเข้าโรงงานขนาดใหญ่
ในขณะท่ีการขออนุญาตนำเข้ากุ้งจากอินเดียของห้องเย็นก็ถูกต่อต้านจากผู้เล้ียงกุ้ง
เพราะกลวั วา่ จะยงิ่ ทำใหร้ าคากงุ้ ในประเทศจะตกตำ่ ลงไปอกี และอาจจะนำกงุ้ ทม่ี กี ารใชย้ า
ปฏิชีวนะจากอินเดียวมา สุดท้ายแล้วการส่งอออกอาจจะยิ่งมีปัญหาได้ ฟังดูแล้วก็มี
เหตผุ ลทง้ั สองฝา่ ย....... ในขณะทป่ี ระเทศเวยี ดนาม รฐั บาลสง่ เสรมิ และชว่ ยเหลอื หอ้ งเยน็
ทุกด้าน เพราะเป็นจุดสำคัญที่จะระบายกุ้งออกสู่ตลาดโลก ถ้าห้องเย็นหาตลาดผู้ซ้ือ
ไม่ได้ กงุ้ ทผ่ี ลิตออกมามากจะเจอปัญหาราคาตก เพราะกุง้ ระบายออกไมไ่ ด้ ดงั น้ันในชว่ ง
หลายปีท่ีผ่านมา เวียดนามนำกุ้งจากประเทศต่างๆ ในปริมาณมากเพ่ือสร้างโอกาสให้
ห้องเย็นสามารถรับคำส่ังซ้ือได้ตลอดเวลาในปริมาณที่ตลาดผู้ซ้ือต้องการ ถ้าจำไม่ผิด
ประมาณ 2 ปที ผ่ี า่ นมา เวยี ดนามมาซอ้ื กงุ้ จากประเทศไทยจำนวนมาก และในปที ผี่ า่ นมา
ซอ้ื จากประเทศเอกวาดอร์ และอาจรวมท้งั ทซ่ี ้ือจากอินเดยี ด้วย

126

ในมุมมองสว่ นตวั ของผ้เู ขียน มองวา่ ทุกฝา่ ยทเี่ ก่ียวข้องตอ้ งมองภาพรวมที่จะทำ
อย่างไรให้ท้ังผู้เล้ียงและห้องเย็นซึ่งเป็นส่วนสำคัญ เพราะผู้ผลิตและผู้ส่งออกจะต้อง
อย่ไู ด ้ คือ ผูเ้ ล้ียงผลิตกุ้งไดแ้ ละมกี ำไร และห้องเย็นมกี ้งุ จำนวนมากเพียงพอทจี่ ะรบั คำสงั่
ซ้ือและมีกำไรดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ภาครัฐจึงต้องเอื้ออำนวยและช่วยให้ท้ังสองฝ่าย
พึงพอใจด้วยเหตุผลท่ีเป็นธรรมและเป็นกลาง เพ่ือผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมกุ้ง
ของไทยในภาพรวมใหอ้ ย่ไู ด้และสามารถดำเนนิ ตอ่ ไปไดด้ ี

127

แนวทางทจี่ ะเดินตอ่ ไป...ต้องทำอยา่ งไร????

ด้วยหลายปัจจัยท่ีจะต้องคำนึงถึง ทั้งในด้านผลผลิตและปัจจัยท่ีเกี่ยวข้อง
ในด้านผลผลิตจะเห็นว่าในช่วง 5-6 ปีท่ีผ่านมา ผลผลิตกุ้งยังคงอยู่ระดับต่ำมาก ไม่ถึง
300,000 ตันมาโดยตลอด นอกจากน้ีพื้นท่ีการเล้ียงกุ้งลดน้อยลงมาก ท้ังจากพ้ืนท่ี
ที่ถูกยึดคืนไป โดยเฉพาะพ้ืนที่ป่าชายเลนภาคตะวันออกในจังหวัดระยอง จันทบุรี
และตราดรวมท้ังในภาคใต้ด้วย รวมทั้งฟาร์มขนาดใหญ่ท่ีมีบ่อจำนวนมาก ก็เล้ียงลดลง
ส่วนรายย่อยจำนวนไม่น้อยก็หยุดเลี้ยงไปแล้วเพราะเจอปัญหาการขาดทุน ท้ังหมด
ทผี่ า่ นมา ทำใหม้ องเหน็ ภาพรวมไดว้ า่ โอกาสทไี่ ทยจะกลบั มามผี ลผลติ ในระดบั 500,000-
600,000 ตัน เหมือนช่วงเวลาท่ีเป็นผู้นำในด้านการผลิตคงเป็นไปได้ยาก .......แต่จะทำ
อย่างไรท่ีจะทำให้ดีกว่าที่ผ่านมาและทุกภาคส่วนที่เก่ียวข้องอยู่ได้ ธุรกิจโดยรวมจึง
จะก้าวไปข้างหนา้ ได้อยา่ งมั่นคงต่อไป

128

แนวทางทจี่ ะตอ้ งทำมอี ะไรบา้ ง.....

1. ลูกกุ้งต้องมีปริมาณเพียงพอและมีคุณภาพสม่ำเสมอ ในปีท่ีผ่านมา
ในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม 2561 ลูกกุ้งแทบทุกพ้ืนท่ีการเล้ียงโตช้ามากจากข้อมูล
ที่ได้พูดคุยกับผู้เลี้ยงกุ้งทั้งทางภาคตะวันออกและภาคใต้ ผู้ผลิตลูกกุ้งจึงน่าจะต้อง
ดูข้อมูลว่าในช่วงเวลาท่ีผ่านมาเป็นอย่างไร จะเป็นเพราะได้ลูกกุ้งจากแม่กุ้งที่ใช้มา
เป็นเวลานานก่อนท่ีจะเลิกใช้หรือไม่ หรือสภาพภูมิอากาศ คุณภาพน้ำในช่วงนั้นไม่ดี
หรือเพราะอะไร? ......เพราะการที่ลูกกุ้งในทุกพ้ืนที่โตช้า ไม่น่าเป็นไปได้ที่เป็นเพราะ
ผเู้ ลย้ี งจดั การไมด่ ี เพราะเทา่ ทไ่ี ดพ้ บและพดู คยุ ผเู้ ลย้ี งกงุ้ จำนวนมากเลย้ี งกงุ้ มาเปน็ เวลา
หลายปี มปี ระสบการณส์ งู จะเปน็ สาเหตทุ จ่ี ดั การไมด่ ที กุ คนเลยเชยี วหรอื ?? โดยภาพรวม
จะเหน็ วา่ คณุ ภาพลกู กงุ้ ยงั ขึ้นๆ ลงๆ ท้งั ปี ถ้าสามารถปรับปรุงจุดน้ีได้ ลูกกุ้งเป็นตน้ น้ำ
ท่ีมีความสำคัญมาก เพราะถ้าลูกกุ้งโตช้า ผู้เลี้ยงท่ีปล่อยลูกกุ้งอย่างหนาแน่น
จะขาดทุนมาก โดยเฉพาะชว่ งทรี่ าคากงุ้ เลก็ ตำ่ มาก

2. ผู้เลี้ยงต้องรู้แล้วว่าตนเองควรจะเล้ียงแบบไหน ท่ีผ่านมาตั้งแต่เกิดโรค
ตายดว่ น ผเู้ ลี้ยงกุ้งต้องปรับเปลีย่ นวธิ กี ารเลย้ี งมาอยา่ งตอ่ เน่ือง เพ่ือปอ้ งกันโรคตายด่วน
ในระยะเวลาทผี่ า่ นมาแลว้ 5-6 ปี ผเู้ ลยี้ งสว่ นใหญน่ า่ จะมแี นวทางในการเลย้ี งทเ่ี หมาะสม
กบั ตนเองไดแ้ ลว้ การฟงั สมั มนาและการไปดฟู ารม์ ตา่ งๆ นา่ จะเปน็ การหาขอ้ มลู ตวั อยา่ ง
หรอื แนวทางทจ่ี ะนำไปปรบั การเลยี้ งของตนเองใหม้ ผี ลผลติ ดขี น้ึ ไมค่ วรทจ่ี ะไปลอกเลยี น
หรือทำทุกอย่างตามทไี่ ด้ยิน ไดฟ้ งั ควรเอามาในสิ่งท่คี ิดว่าสามารถนำมาปรับใชใ้ นฟารม์
ของเราใหด้ ีขนึ้ กว่าเดิม และในเวลาเดยี วกนั ต้องพจิ ารณาในเร่ืองของต้นทนุ ดว้ ย วธิ กี าร
บางอย่างที่ลงทุนสูงกับราคากุ้งท่ีตกต่ำ ผู้เลี้ยงจะอยู่ได้หรือไม่??? อะไรที่ทำแล้ว
ต้นทุนสูงมาก แม้ว่าจะได้ผลผลิตสูงมากก็ตาม อาจมีกำไรน้อยก็ได้ และหากเกิด
ความเสียหาย จะขาดทุนมากทันที การพิจารณาต้นทุนจึงเป็นส่ิงสำคัญสำหรับการ
อยรู่ อด ทีเ่ ห็นได้ชัด คอื ระบบการใหอ้ ากาศ ซงึ่ แต่ละฟารม์ แตกตา่ งกันมาก บางฟารม์
เน้นเคร่ืองให้อากาศจำนวนมาก และดูดเลนตลอดเวลา รวมท้ังการเปลี่ยนถ่ายน้ำมาก
บางรายเน้นการให้อากาศจากแผงให้อากาศพื้นบ่อ และมีเคร่ืองให้อากาศแบบใบพัด
ตีน้ำจำนวนหน่ึง ซ่ึงเพียงพอท่ีจะทำให้ตะกอนเข้าไปในหลุมกลางบ่อเพื่อดูดออกไปได้
สามารถลดค่าไฟฟ้าได้เป็นจำนวนมาก ในขณะที่ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำยังอยู่ใน
ระดับทเ่ี หมาะสมตลอดเวลา (รายละเอยี ดจะบรรยายในวันสมั มนา)

129

3. ระวังเรื่องยาตกค้าง สืบเน่ืองจากปัญหาโรคข้ีขาวที่มีความรุนแรงตลอดปี
2560 จนถงึ ขณะน ี้ เม่ือนำกงุ้ ปว่ ยไปเพาะเช้อื จะพบแบคทีเรียในกลุ่มวิบริโอจำนวนมาก
ผู้เลี้ยงกุ้งบางส่วนอาจใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันหรือรักษาในกรณีที่เริ่มเห็นข้ีขาว
ลอยบริเวณผิวน้ำ และเมื่อเป็นขี้ขาวแล้วส่วนใหญ่ต้องจับกุ้ง เพราะรักษาไม่หาย และ
หลังจากนั้นกุ้งจะโตช้ามาก เมื่อมีการจับกุ้งในขณะที่มีกุ้งป่วยหรือทยอยตาย กุ้งปกติ
จำนวนหนึ่งในบ่อที่ยังคงกินอาหารตามปกติ จะได้รับยาเข้าไปด้วยและตกค้างใน
ตัวกุ้ง ถ้านำไปสุ่มตรวจจะมียาตกค้างอย่างแน่นอน และจะกลายเป็นปัญหาเพิ่มขึ้น
มาอีกท่ีจะส่งผลให้ขายกุ้งไม่ได้ ราคากุ้งก็จะตกลงไปอีก เรื่องยาตกค้างมีการเตือนกัน
ตลอดเวลา และมีการตรวจพบยาปฏิชีวนะในผลผลิตกุ้งจากแหล่งท่ีผลิตจำนวนมาก
เช่น อินเดีย เวียดนาม และมาเลเซีย สำหรับประเทศไทยก็มีการตรวจพบเช่นเดียวกัน
แต่พยายามท่ีจะไม่นำมาพูดกันมาก การใช้ยาปฏิชีวินะเป็นเร่ืองที่สำคัญและต้องระมัด
ระวัง โดยเฉพาะยาต้องห้ามหลายชนิดที่ห้ามใช้ในสัตว์บกและสัตว์น้ำ เพ่ือให้มีการใช้
สำหรับผู้ป่วยเท่านั้น ถ้ามีการนำเอายาเหล่านั้นมาใช้ในการผลิตอาหาร จะส่งผลให้
เชอ้ื โรคต่างๆ โดยเฉพาะเชอื้ แบคทเี รียที่กอ่ โรคในมนษุ ยเ์ กิดการดอื้ ยามากขนึ้ การรักษา

130

ท่ีใช้อยู่จึงไม่ได้ผล ซึ่งในช่วงปีที่ผ่านมาจะได้ยินกันมากขึ้นว่า ผู้ป่วยเสียชีวิตเน่ืองจาก
ติดเช้ือในกระแสโลหิตเนื่องจากเช้ือดื้อยา การจะผลิตยาหรือการสังเคราะห์ยาชนิดใหม่
ขนึ้ มาตอ้ งใชเ้ วลานานมาก จากรายงานขององคก์ ารอนามยั โลกพบวา่ ในปจั จบุ นั มแี นวโนม้
ของเชื้อดื้อยาเพ่ิมขนึ้ เร่อื ยๆ จนนา่ เปน็ ห่วงว่าตอ่ ไปผูป้ ว่ ยทต่ี ิดเชอื้ แบคทเี รียจะใชย้ าอะไร
รกั ษา โดยเฉพาะเชอื้ ทเี่ ขา้ ไปในปอดคน แทบจะไมม่ ยี ารกั ษาไดเ้ ลย เพราะเชอ้ื ดอ้ื ยาทงั้ นน้ั
ที่ผู้เขียนพยายามโยงเร่ืองนี้เพ่ือให้เห็นว่า การใช้ยาอะไรก็ตามในการเลี้ยงกุ้งต้องนึกถึง
ผลกระทบที่จะตามมา ต้องพิจารณาให้รอบคอบ และขอร้องผู้ค้าปัจจัยการผลิตให้
ช่วยเฝา้ ระวังดูแลเรื่องนดี้ ้วย

4. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป้าหมายหรือยุทธศาสตร์สำคัญ ที่รัฐบาล
ต้องการจะเห็น คือ การพัฒนาที่สมดุล ท้ังในด้านเศรษฐกิจสร้างรายได้ ในด้านสังคม
เพื่อความอย่ดู ี และในดา้ นสิง่ แวดลอ้ มทด่ี ี ธุรกิจการเพาะเลยี้ งก้งุ ถกู จับตามองเปน็ พิเศษ
มากกว่าการเลี้ยงปลา เพราะคนภายนอกเข้าใจว่าคนเลี้ยงกุ้ง คือ คนรวยหรือนายทุน
แต่คนเล้ียงปลา คือ ชาวบ้านหรือเกษตรกรรายย่อย ดังน้ันจึงถูกเพ่งเล็งมากกว่าอาชีพ
เล้ียงสัตว์ชนิดอื่น นอกเหนือจากเรื่องของป่าชายเลนที่ถูกทำลาย ซ่ึงมักมีรายงานจาก
หนว่ ยงานภาครฐั อยเู่ สมอวา่ สาเหตเุ ปน็ เพราะนากงุ้ ซง่ึ หากพจิ ารณาขอ้ มลู ของหนว่ ยงาน
ภาครฐั เองว่า พื้นทป่ี า่ ชายเลนถกู ทำลายมากทีส่ ุดในชว่ งประมาณป ี 2524-2528 ซง่ึ เปน็
ช่วงเวลาก่อนที่จะมีการเลี้ยงกุ้งแบบพัฒนา ซึ่งเริ่มในประมาณ ปี 2529-2530 ดังนั้น
การที่ป่าชายเลนถูกทำลายก่อนที่จะเร่ิมมีการเลี้ยงกุ้งแบบพัฒนามาจากสาเหตุใด
หน่วยงานควรจะต้องไปพิจารณาหาสาเหตุที่แท้จริง ควรให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
......อย่างไรก็ดีก็ต้องยอมรับว่ามีบางส่วนของนากุ้งที่บุกรุกเข้าไปในป่าชายเลนจริง
แต่ไม่น่าจะใช่ตัวเลขที่กองอนุรักษ์ป่าชายเลนอ้างอิงว่าส่วนใหญ่ป่าชายเลนถูกทำลาย
จากนากุ้ง นอกจากปัญหาเรื่องป่าชายเลนแล้ว ตะกอนที่ถูกระบายออกสู่แหล่งน้ำเป็น
อีกเรื่องท่ีต้องให้ความสนใจ เพราะการระบายตะกอนหรือน้ำท่ีสูบออกมาในขณะจับ
กุ้งลงสู่แหล่งน้ำโดยตรงโดยไม่มีบ่อพักหรือบ่อตกตะกอนจะส่งปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม
และภาพลักษณ์ของธุรกิจน้ี โดยเฉพาะฟาร์มขนาดใหญ่ที่อยู่ใกล้ชายหาดที่มีการ
ระบายนำ้ และตะกอนออกสทู่ ะเลโดยตรง เพราะไมส่ ามารถระบายนำ้ ลงสแู่ มน่ ำ้ ลำคลองได ้
มีความเสี่ยงมากท่ีสุด ข้อแนะนำ ฟาร์มดังกล่าวควรมีบ่อตกตะกอนก่อนที่จะปล่อยน้ำ
ออกไปสแู่ หล่งนำ้ สาธารณะ

131

สำหรับบ่อท่ีใช้สีน้ำวิทยาศาสตร์ที่เรียกกันท่ัวไปว่า สีน้ำเทียม ต้องเลือกใช้สีท่ี
เหมาะสม ให้น้ำท่ีระบายออกมาหลังจากตกตะกอนมีความกลมกลืนกับสีน้ำในแม่น้ำ
หรือคลองทต่ี อ้ งระบายนำ้ ออกไป
สำหรับฟาร์มท่ีมีพ้ืนท่ีมากพอท่ีจะใช้ระบบน้ำหมุนเวียนได้.... ควรจะใช้เพราะ
สามารถป้องกันและลดผลกระทบจากฟาร์มสู่แหล่งน้ำธรรมชาติได้ แต่จะต้องหา
ช่วงเวลาทำความสะอาดระบบต่างๆ เพื่อลดความหมักหมมของตะกอนและเชื้อต่างๆ
ด้วย ควรจะแยกบ่อท่ีเก็บเลนโดยเฉพาะกับระบบนำ้ ท่ีใช้หมุนเวยี น
สำหรับผู้เลี้ยงรายย่อย ท่ีไม่สามารถใช้การเลี้ยงแบบน้ำหมุนเวียนได้..... ก็ควร
มีบ่อเก็บเลน และบ่อว่างอีก 1 บ่อ สำหรับเก็บน้ำในกรณีที่มีกุ้งป่วยต้องจับฉุกเฉิน
จากโรคไวรัสดวงขาว จะได้เก็บนำ้ ไว้ในบอ่ นี ้ ไมต่ อ้ งระบายออกนอกฟาร์ม เพราะจะเปน็
การแพรเ่ ชอ้ื ไปยังฟาร์มขา้ งเคียงท่ตี อ้ งต้องสูบน้ำจากคลองเดียวกัน

สุดท้ายนี้..... ขออวยพรให้ผู้ท่ีเกี่ยวข้องกับธุรกิจเพาะเล้ียงกุ้งทุกคนมีความสุข
ความเจรญิ ไม่เจบ็ ไม่จน ตลอดปี 2562 และตลอดไป

132

ธุรกิจกุ้งไทย ไปต่อได้ไหม?
นวิ ัติ สุธีมีชัยกุล

สงออกสนิ คา Premium การคาและการจาํ หนา ย ผลิตภัณฑใหม+หลากหลาย

On/Off line • Modern Trade
ใน/ตา งประเทศ • ตลาดตางประเทศ
• วางแผนการผลิตรวมกับ
ตลาด
เกษตรกร

มี ไมมีสาร ตรวจสอบ คณุ ภาพ ธุรกจิ คน เกษตรกร Smart Smart
มาตรฐาน ตกคาง ยอนกลบั ได กุง ไทย farmer Leader

FMD/MD/E-APD ตน ทนุ

แรงจงู ใจ Shrimp disease Thai weather

เครอื ขายความรวมมือ

เทคโนโลยี + นวัตกรรม

อาหาร
ระบบโลจิสติกส พลังงาน
133 เพ่ิมประสทิ ธภิ าพการผลิตเงนิ ทุน • Research + Innovation
• Big data

ประเสรฐิ ฟาร์ม

เทคนิคการอนบุ าลบนคนั บ่อ

คณุ ประเสรฐิ โรจนสารมั ภกจิ เจา้ ของประเสรฐิ ฟารม์ ทผี่ เู้ ลยี้ งกงุ้ ชาวสรุ าษฎรธ์ านี
และละแวกใกล้เคียงเรียกขานติดปากว่า โกถุ่ย รูปลักษณ์ของท่านคือ ชายสูงวัย
ผมสีดอกเลา ทว่าเปี่ยมไปด้วยความกระฉับกระเฉง แววตาภายใต้หลังแว่นกรอบทอง
ยงั คงคมกลา้ เหมอื นกบั จะบอกวา่ พรอ้ มทจี่ ะศกึ ษาเรยี นรสู้ งิ่ ใหมๆ่ ในโลกของการเลยี้ งกงุ้
อยตู่ ลอดเวลา

ประเสรฐิ ฟารม์ ตง้ั อยทู่ ่ี ม.4 ต.ละเมด็ อ.ไชยา บนเนอ้ื ที่ 99 ไร่ ประกอบดว้ ย บอ่ เลยี้ ง
3 บอ่ ขนาด 4.5 ไร่ 1 บ่อ และบ่อขนาด 5 ไร่ 2 บ่อ รวมพน้ื ที่เล้ียงทง้ั หมด 14.5 ไร่
บอ่ พกั นำ้ 3 บอ่ รวมพืน้ ที่บ่อพักนำ้ 70 ไร่ และบอ่ อนบุ าลในแบบโรงเรือนปิด 2 ยูนติ

ฟารม์ ใชน้ ้ำจากคลองหัวววั ระยะทางจากฟารม์ ถึงทะเลประมาณ 2.7 กโิ ลเมตร
ย้อนหลังกลับไปเม่ือ 4-5 ปีก่อน ในขณะท่ีวงการกุ้งถูกอีเอ็มเอสระบาดไป
ทั่วทุกพื้นที่ ประเสริฐฟาร์มของโกถุ่ย ถือเป็นฟาร์มแรกๆ ท่ีพลิกหนีวิกฤติคราวนั้น
ด้วยแนวการเลี้ยงด้วยระบบน้ำใส และที่ไม่เหมือนใคร โกถุ่ยเพ่ิมระบบการอนุบาลกุ้ง
เข้าไป ด้วยการสร้างบ่ออนุบาลเป็นคอกยาวขนานบนคันบ่อ แรกเริ่มเดิมทีโกถุ่ยคิด
แต่เพียงว่า จะต้องใช้การอนุบาลลูกกุ้งก่อนจะปล่อยลงเล้ียงสัก 15-25 วัน ให้ลูกกุ้ง
ปลอดเชื้อมากท่ีสดุ เพอ่ื หนีโรคอีเอ็มเอสท่กี ำลงั ระบาดหนกั ทัว่ ประเทศไทย
โกถุ่ยสามารถก้าวผ่านอีเอ็มเอสไปได้ ด้วยบ่ออนุบาลบ่อเล็กๆ มองผิวเผินจาก
ภายนอกไมต่ า่ งจากคอกหมแู คบๆ ยาวๆ ที่เขาบอกวา่

134

“ที่ผมต้องทำบ่ออนุบาลให้แคบๆ เล็กๆ ก็เพราะต้องการสร้างโรงเรือนนี้ไว้บน
คันบ่อ ใกล้กับบ่อเลี้ยงที่เราจะย้ายกุ้งลงไป และใกล้กับบ่อพร้อมใช้ ที่เราดึงน้ำมา
เปล่ียนถ่ายในบ่ออนุบาล แรกๆ ผมก็ทำง่ายๆ มีโครงเหล็กบุด้วยไม้อัด ปูพีอีทาบไปกับ
ไม้อดั ยังไม่คอ่ ยถาวรนกั ”

หลังจากอีเอ็มเอสเร่ิมเบาบางไปจากพ้ืนที่ โกถุ่ยยังคงก้าวเดินต่อไปกับการเลี้ยง
ในแบบบ่ออนุบาล พร้อมกับเก็บเกี่ยวประสบการณ์มาพัฒนาโรงเรือนบ่ออนุบาล
กระทั่งเม่ือ 2 ปีท่ีผ่านมา โรคขี้ขาวและไวรัสตัวแดงดวงขาวระบาดหนักตามลำดับ
ขณะทีผ่ ู้เล้ียงกุง้ โดยส่วนใหญต่ า่ งประสบกับความเสยี หาย

135

ทว่า โกถุ่ยกลับก้าวผ่านอุปสรรคไปได้ด้วยดี ทั้งข้ีขาวและไวรัสตัวแดงดวงขาว
ปัจจุบันโรงเรือนบ่ออนุบาลของโกถุ่ย ถูกพัฒนาขึ้นด้วยระยะเวลาและประสบการณ์
การอนบุ าลลกู กงุ้ ทผ่ี า่ นเขา้ มา โดยทำโครงสรา้ งของบอ่ อนบุ าลดว้ ยคอนกรตี มรี อ่ งซบั ซอย
ทพี่ ้ืนบ่อ บดุ ว้ ยพอี ขี นาด 0.75 เมตร ขนาดบอ่ กวา้ ง 7 เมตร ยาว 30 เมตร บรรจนุ ้ำได้
170 ลกู บาศกเ์ มตร รองรบั ลูกกงุ้ ได้ประมาณ 1.3 ลา้ นตัว อนุบาลได ้ 15 วัน แต่ถ้าลด
จำนวนลกู กุ้งลง กส็ ามารถอนบุ าลได้ถงึ 25 วนั
โกถุ่ยเลือกจำนวนลูกกงุ้ ในบ่ออนบุ าลตามความพร้อมของบอ่ เล้ียง หากตอ้ งการ
ลงกงุ้ หนาแนน่ กใ็ ชบ้ อ่ อนบุ าล 1 บอ่ ตอ่ บอ่ เลย้ี ง 1 บอ่ แตถ่ า้ ตอ้ งการเลย้ี งกงุ้ บาง อาจจะใช้
บ่ออนบุ าล 1 บอ่ ตอ่ บ่อเล้ยี ง 2 บ่อ
และถ้าต้องการเล้ียงกุ้งในบ่ออนุบาลไซส์ใหญ่ขึ้น ก็ลงกุ้งให้น้อยลง จะสามารถ
ยืดการเลีย้ งไปไดถ้ งึ 25 วัน
ในบ่ออนุบาลจะมีเครื่องให้อากาศ จะวางท่อลมไว้รอบบ่อ โดยวางติดริมขอบ
ด้านข้างบ่อ เพ่ือให้ลมดันอาหารและขี้กุ้งท่ีอยู่ริมขอบบ่อเข้าสู่ตรงกลางบ่อ ทำให้กุ้ง
สามารถจับกินได้โดยง่าย ช่วงเวลากลางคืนจะใช้เวนจูร่ีต้ังแต่เวลา 22.00-06.00 น.
ซึ่งเป็นเวลาท่ีไม่ได้ให้อาหารแล้ว เพ่ือต้องการให้น้ำหมุนเวียนอยู่ตลอด ข้ีกุ้งและอาหาร
จะได้ไม่ตกถึงพื้น น้ำต้องเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เพราะถ้าของเสียตกถึงพ้ืนเม่ือไหร่
จะเกดิ การเนา่ เสยี ได ้ ตลอดการอนบุ าลก้งุ จะมีการถ่ายนำ้ ในช่วงเช้า 40 ซม.ทุกวนั
โกถุ่ยมโี รงเรือนเชน่ เดยี วกบั บ่ออนุบาลอีก 2 โรงเรอื น ต้งั อย่ตู ดิ กัน มีขนาดและ
รปู แบบเดยี วกนั ทำหนา้ ทส่ี นบั สนนุ บอ่ อนบุ าล บอ่ แรก คอื บอ่ ทรตี หรอื บอ่ T1 มขี นาดที่

136

สามารถจุน้ำ 200 ลูกบาศก์เมตร ข้ันตอนการทรีตน้ำ จะสูบน้ำจากบ่อพร้อมใช้ท่ีปกติ
จะใช้กับบ่อเลี้ยงข้ึนมา 170 ลูกบาศก์เมตร ลงคลอรีน 3 กิโลกรัม ทิ้งไว้ 5 ช่ัวโมง
ลงไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เพื่อกำจัดคลอรีน จากน้ันจะวัดค่าน้ำเพื่อปรับแร่ธาตุในน้ำ
โดยทั่วไปจะลงโซเดียมไบคาร์บอเนต 25 กิโลกรัม แมกนีเซียมคลอไรด์ 15 กิโลกรัม
แคลเซียมคลอไรด์ 6 กิโลกรัม น้ำในบ่อ T1 จะได้อัลคาไลน์ประมาณ 187 พีพีเอ็ม
สว่ นคา่ แคลเซยี มและแมกนีเซียมท่เี หมาะสม ขนึ้ อยกู่ ับความเคม็ ของน้ำในขณะนน้ั

หลังจากลงคลอรนี และแร่ธาตุ นำ้ บ่อ T1 จะถูกพักทงิ้ ไวอ้ ีก 24 ชม. กอ่ นจะสูบนำ้
ไปเก็บไว้ที่บ่อพร้อมใช้หรือบ่อ T2 ซึ่งเป็นบ่อท่ีอยู่ในโรงเรือนลักษณะเดียวกัน น้ำจะถูก
พักทิง้ ไว้อกี 24 ชม. จึงจะสามารถนำไปเตมิ ในบอ่ อนบุ าลได้

โกถุย่ กลา่ วถึงความจำเปน็ ทจ่ี ะต้องมโี รงเรือนท้ังบอ่ T1 และ T2 วา่
“โรงเรอื นทั้ง 3 สเตป็ จะต้องมีโรงคลมุ ทง้ั หมด เพราะว่าผมตอ้ งการให้อณุ หภมู นิ ้ำ
เท่ากันทุกบอ่ อกี อย่างเวลาฝนตก ถ้าบอ่ T1, T2 ไมม่ ีหลังคา น้ำฝนลงในบ่อ อณุ หภมู ิ
ก็เปลยี่ น คา่ แรธ่ าตุกเ็ ปลีย่ น มนั คอนโทรลไดย้ าก”
ผา่ นจากขนั้ ตอนอนบุ าล โกถยุ่ ใชเ้ วลาเตรยี มบอ่ เลยี้ งกอ่ นปลอ่ ยกงุ้ ประมาณ 5-7 วนั
ก็สามารถย้ายกุ้ง ด้วยการดึงท่อในบ่ออนุบาลบนคันลงสู่บ่อเลี้ยงได้อย่างสะดวกและ
ไม่ยุ่งยาก และกุ้งไม่บอบช้ำเสียหาย โรงเรือนแต่ละโรง ใช้งบการก่อสร้างอยู่ท่ีประมาณ
2 แสนกวา่ บาท ทง้ั 3 โรงเรอื นเงินลงทุนกวา่ 7 แสนบาท
แต่สงิ่ ทโี่ กถยุ่ ได้รับกลับมาน้ันค้มุ คา่ มากทส่ี ดุ ดงั ประโยคสดุ ทา้ ยที่กลา่ วไว้ว่า
“ตั้งแต่ผมเล้ียงมาด้วยระบบชำและน้ำสะอาด 2 ปีแรกผมยังไม่เจอข้ีขาวเลย
เริม่ จะมปี ัญหาขขี้ าวเลก็ น้อยในปที ี่ 3”
ในปี 2561 โกถยุ่ มผี ลผลติ ประมาณ 200 ตนั ปดิ บอ่ ดว้ ยกงุ้ หนา้ 2 และ 3 แทบทกุ บอ่
คงเปน็ เครอื่ งการันตีผลงานไดว้ ่า เขาคอื หนึ่งในฟารม์ เลยี้ งดี สนใจฟาร์มเล้ยี งดีของโกถุย่
สามารถซักถามกับท่านไดโ้ ดยตรงในงานสมั มนาหวั ข้อ “ฟาร์มเล้ียงด”ี

137

ไชยวัฒน์ฟารม์เล้ยี งบาง เลี้ยงง่าย เลยี้ งสไตล์

กอ่ นคลองพนุ พนิ จะไปบรรจบกบั อา่ วบา้ นดอน สายนำ้ ไหลเออ่ื ยผา่ นบา้ นทรงไทย
ทต่ี ้ังตระหงา่ นเคียงคู่กับคลองสายใหญ ่ ทแี่ ห่งน้ ี 1/5 หมู่ 6 ตำบลบางชนะ อำเภอเมอื ง
จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นท่ีต้ังของไชยวัฒน์ฟาร์ม อันมีคุณไชยวัฒน์และคุณสมหมาย
รอดเชอ้ื จนี เป็นหัวเรือใหญ ่ มลี กู ชาย 3 คน (หฤษฎ,์ ผดงุ เกียรต ิ และจิรายุส รอดเช้ือจีน)
คนรุ่นใหมค่ อยช่วยขบั เคลอื่ นฟาร์มมุง่ สู่จดุ หมาย
ยอ้ นหลงั กลบั ไปเมอ่ื 30 ปกี อ่ น ครอบครวั รอดเชอื้ จนี หนั หลงั ใหส้ วนสม้ ทบี่ า้ นแพว้
สมุทรสาคร ตามญาติท่ีชักชวนให้มาเลี้ยงกุ้งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จากผืนดินรกร้าง
ผ่านอุปสรรคนานัปการ คอ่ ยๆ เปลี่ยนแปลงมาเป็นฟารม์ ก้งุ สมบรู ณแ์ บบในปจั จบุ นั

ไชยวฒั นฟ์ ารม์ ในวนั น ้ี มพี น้ื ท ่ี 220 ไร ่ ประกอบไปดว้ ยบอ่ เลย้ี ง 110 ไร ่ ทเ่ี หลอื อกี
110 ไร่ เป็นบ่อพกั น้ำและที่อยู่อาศัย มีเรอื นไทยเปน็ ท่พี กั อาศัยของสมาชิกในครอบครัว
และมกี ำลงั หลกั จากทล่ี กู ชายทง้ั 3 คนจบการศกึ ษา ทยอยกนั กลบั มาชว่ ยทำงานในฟารม์

138

หลงั จากรอยตอ่ ในยคุ เรม่ิ ตน้ ของอเี อม็ เอส มาจนถงึ ยคุ ขข้ี าวในปจั จบุ นั ไชยวฒั นฟ์ ารม์
ได้ปรับแนวทางการเลี้ยงสู้กับวิกฤติ ด้วยการยึดการเล้ียงกุ้งบางคู่กับปลานิล เน้นใช้
ต้นทุนต่ำ การจัดการงา่ ย แต่ทวา่ มกี ำไรงาม
วธิ กี ารเลย้ี งกงุ้ บางแบบตน้ ทนุ ตำ่ เรม่ิ กนั ตง้ั แตส่ บู นำ้ จากคลองเขา้ สฟู่ ารม์ ไชยวฒั น์
ฟาร์มใช้ระบบรีไซเคิล จะสูบน้ำเข้าเพียงคร้ังแรกครั้งเดียว ไม่ทิ้งน้ำ น้ำทั้งหมดจะวนใช้
อยูใ่ นฟาร์ม
การสบู นำ้ เขา้ ฟารม์ ใชว้ ธิ กี ารสบู นำ้ เขา้ บอ่ พกั ดนั นำ้ ใหไ้ หลไปในบอ่ พกั ไปสจู่ ดุ ทอี่ ยสู่ งู
ทสี่ ดุ ของฟารม์ เปน็ การสบู นำ้ แคค่ รงั้ เดยี ว เมอ่ื จะเอานำ้ เขา้ บอ่ เลย้ี ง กเ็ ปดิ ประตปู ลอ่ ยนำ้
ไหลเข้าไปเอง โดยไม่ต้องสูบเป็นการใช้พลังงานเพียงคร้ังเดียว สามารถควบคุมน้ำ
ได้ท้งั ฟารม์

139

ขั้นตอนการเล้ียงของไชยวัฒน์ฟาร์ม เริ่มจากทำความสะอาดบ่อเลี้ยง ด้วยการ
ฉีดเลนและดูดเลนไปเก็บในบ่อท้ิงเลน เม่ือบ่อเลี้ยงสะอาดจะตากบ่อไว้ 15 วัน แล้ว
ปล่อยนำ้ เข้าสูบ่ ่อความลกึ ประมาณ 1.2 เมตร โดยไม่มกี ารลงปูน ใชแ้ ค่นำ้ ผ่านการกรอง
จากผ้าสแลนและผา้ มงุ้ ขาว เพ่ือกนั ไขก่ ุง้ ไขป่ ูเขา้ ไปในบอ่
ข้นั ตอนการเตรียมบอ่ มีดังน้ ี
วนั ท ่ี 1 ลงกากชา 4 กระสอบ/ไร ่ เพอ่ื สรา้ งหนอนแดง (กอ่ นลงจะทำการหมกั กากชา
ในถงั 500 ลิตร ในตอนเช้า และนำมาลงในบ่อช่วงตอนเย็น)
วันท ี่ 2-3-4 ตีน้ำ 2 แขน เฉพาะเวลากลางวนั

140

วันท่ี 5 ลงด่างทับทิม 1 กิโลกรัม/ไร่ ควบคู่ไปกับการลากโซ่ เพ่ือให้เกิดการ
ตกตะกอนและลา้ งสารพิษในบ่อ
วนั ท ่ี 8 ปลอ่ ยกงุ้ โดยใชว้ ธิ กี ารปลอ่ ยตรง โดยจะลงยาฆา่ เชอ้ื กอ่ นปลอ่ ยกงุ้ 1-2 ชว่ั โมง
เม่ือลกู กงุ้ ลงส่บู ่อเล้ียงแลว้ วันแรกจะไมม่ ีการให้อาหาร
วนั ท ี่ 2-10 จะใหอ้ าหารวนั ละ 600 กรมั /กงุ้ 200,000 ตวั โดยจะแบง่ อาหารออกเปน็
3 ม้ือ เชา้ เทย่ี ง และเย็น มอื้ ละ 200 กรมั จนกวา่ กุง้ จะเขา้ ยอมาก แลว้ จึงเพ่มิ มือ้ อาหาร
เป็นใหท้ กุ 1 ชั่วโมง
วนั ท ี่ 11-15 การใหอ้ าหารจะดตู ามการกนิ ของกงุ้ ถา้ กงุ้ กนิ อาหารดปี รบั อาหารเปน็
6 ม้อื ถ้ากุ้งกินดีกว่านัน้ อกี จะปรบั ม้ืออาหารเปน็ ชว่ั โมงละ 1 มื้อ และถา้ มีก้งุ เขา้ ยอมาก
กนิ อาหารด ี จงึ จะเรม่ิ ใชอ้ อโตฟ้ ดี โดยเรม่ิ ตน้ จากอาหาร 10 กโิ ลกรมั เพม่ิ ครงั้ ละ 2 กโิ ลกรมั
วันเว้นวนั ไปจนถงึ กงุ้ อายุ 30 วนั
วนั ท ่ี 31 เพมิ่ อาหารครง้ั ละ 5 กโิ ลกรมั วนั เวน้ วนั จนไปถงึ อาหารวนั ละ 100 กโิ ลกรมั
โดยยงั คงเพม่ิ ครง้ั ละ 5 กโิ ลกรมั แต ่ 3 วนั เพม่ิ ครงั้ หนง่ึ จนไปยนื ทอ่ี าหาร 125 กโิ ลกรมั /วนั
ซึ่งกุ้งอายปุ ระมาณ 80 วนั และจะยืนอาหารเพยี งเท่าน้ไี ปจนถึงวันจับกุ้ง และถ้าอากาศ
ไมด่ ี จะมกี ารลดอาหารลงจากปกต ิ 25-50%

141

จะเห็นว่าไชยวัฒน์ฟาร์มบีบอาหารอย่างเข้มข้น ด้วยเหตุผลท่ีว่า ฟาร์มใช้น้ำ
คร้ังเดียวจนจบการเล้ียง ไม่มีการเปล่ียนถ่ายน้ำ จึงต้องไม่มีอาหารเหลือให้เน่าเสีย
แมแ้ ต่นิดเดยี ว
การตีน้ำระบบเลี้ยงกุ้งต้นทุนต่ำของไชยวัฒน์ฟาร์ม ไม่เพียงแต่ต้องการประหยัด
ค่าพลังงานเท่านั้น การลดเคร่ืองตีน้ำในตอนกลางวันยังเน้นหนักเพื่อลดการบลูมของ
แพลงก์ตอนให้ได้มากที่สุด

ช่วง 60 วนั แรก
เวลา 07.00-09.00 น. ปดิ ใบพัดตีน้ำท้ังหมด
เวลา 09.00-16.00 น. เปดิ ใบพัดตีนำ้ 2 แขน
เวลา 16.00-17.30 น. ปดิ ใบพัดตนี ้ำอกี ครั้งหน่ึง
เวลา 17.30-07.00 น. เปิดใบพดั ตีนำ้ 4 แขน

หลงั จาก 60 วนั
เวลา 07.00-16.00 น. เปิดใบพัดตีน้ำ 2 แขน
เวลา 16.00-18.00 น. เปิดเคร่อื งตนี ้ำ 1 แขนบริเวณหน้าออโต้ฟีด
เวลา 18.00-07.00 น. เปิดเครื่องตนี ้ำท้ังบอ่ (6 แขน)
การตีน้ำทั้ง 2 ช่วงอายุ หากวันไหนอากาศไม่ดี มีฝนตกหรือฟ้าคร้ึมอากาศเย็น
ในช่วงเวลาที่ปิดเคร่ืองตีน้ำทั้งบ่อ ให้เปิดเคร่ืองตีน้ำ 2 แขนเป็นอย่างน้อย ขึ้นอยู่กับ
สภาพอากาศ

142

ตลอดการเลี้ยงในระบบกุ้งบาง ต้นทุนต่ำ สิ่งท่ีไชยวัฒน์ฟาร์มให้ความสำคัญมาก
คือ จุลนิ ทรียท์ ีท่ ำขึน้ เองใช้สลบั กนั ไป โดยมคี วามถี่ในการลงวนั เว้นวนั
ในฟารม์ ใช้จลุ ินทรยี ท์ ำเองถึง 5 สูตร ดังนี้
1. จลุ นิ ทรยี ์นำ้ แดง
มสี ว่ นผสมจากผงชรู ส 1 ชอ้ นโตะ๊ ไขไ่ ก ่ 30 ซซี ี ผสมกบั นำ้ 4 ลติ ร เขยา่ ใหเ้ ขา้ กนั
ใส่จุลินทรีย์น้ำแดง 1 ลิตร เขย่าให้เข้ากันอีกครั้ง เติมน้ำอีก 2 ลิตร นำไปตากแดด
อย่างนอ้ ยครึ่งเดือน
2. จลุ ินทรีย์จากปลวก
มสี ่วนผสมจากดินปลวก 1 กโิ ลกรมั น้ำตาลทรายแดง 5 กโิ ลกรมั ขา้ วเหนยี ว
นงึ่ สุก 5 กโิ ลกรัม ผสมกบั นำ้ ในถัง 500 ลติ ร ปิดฝาท้งิ ไว้ 2 เดือน
3. จลุ นิ ทรยี จ์ ากนำ้ มะนาว
มีส่วนผสมจากมะนาว 150 กิโลกรัม ยีสต์ 500 กรัม น้ำตาลทรายแดง
10 กิโลกรัม ใสน่ ำ้ 500 ลติ ร ปิดฝาทิง้ ไว้ 2 เดอื น
4. จลุ ินทรยี ์ ปม.
ใช้จุลินทรีย์ ปม. 1 ซอง กากน้ำตาล 3 ลิตร ใส่น้ำ 500 ลิตร ให้ออกซิเจน
24 ชว่ั โมง
5. จุลนิ ทรยี ์อีเอม็
ใช้จุลินทรีย์อีเอ็ม 1 ลิตร กากน้ำตาล 3 ลิตร น้ำ 500 ลิตร ให้ออกซิเจน
24 ชว่ั โมง
นอกจากจะลงจุลินทรยี แ์ ลว้ ไชยวฒั นฟ์ าร์มมีการตัดเชื้อในนำ้ สปั ดาหล์ ะคร้งั
ไชยวัฒน์ฟาร์มกับการเล้ียงแบบกุ้งบางผสมปลานิล ใช้ต้นทุนต่ำ ได้พิสูจน์ตัวเอง
แล้วว่า เลือกใช้การจัดการที่ง่ายท่ีสุด แต่พิถีพิถันกับการทำงานมากที่สุด สมาชิก
ทุกคนในตระกูลรอดเชื้อจีนต่างมุ่งมั่น พวกเขาเช่ือว่าการยืนอยู่หน้างานเป็นหัวใจหลัก
ของการทำงาน ดงั ทส่ี มาชกิ คนหนง่ึ กลา่ วไวว้ า่ “ไมม่ ใี ครรจู้ กั ฟารม์ เราดี เทา่ กบั ตวั เราเอง”

143

ศแรนีสวทุบางรการรณเลย้ี งฟกุ้งาแบรบ์ม

ศรีสุบรรณฟาร์ม มีตำแหน่งที่ตั้งฟาร์มอยู่ในเขตพื้นที่มีความเค็มที่สูงและต่ำ
เน่ืองจากตั้งอยู่ท้ังในแนวชายฝั่งทะเล และริมแม่น้ำ แนวทางการเล้ียงกุ้งในปัจจุบันได้
เรมิ่ ตน้ มาจากการเลย้ี งดว้ ยการปลอ่ ยกงุ้ ในความหนาแนน่ ทตี่ ำ่ ประมาณ 60,000 ตวั ตอ่ ไร่
ร่วมกับการปลอ่ ยปลา ในปี พ.ศ.2560 ในฟารม์ ศรีสุบรรณฟาร์ม 5 ผลปรากฏวา่ สามารถ
เลย้ี งไดไ้ ซสใ์ หญ่ มตี น้ ทนุ ตำ่ ลงและไดม้ ลู คา่ ทส่ี งู ขนึ้ สรา้ งกำไรใหก้ บั บรษิ ทั ได้ จากนนั้ ไดม้ ี
การต่อยอดขยายผลนำแนวทางการเล้ียงไปยังฟาร์มอ่ืนๆ และผลการเลี้ยงท่ีออกมาเป็น
เชน่ เดยี วกนั จงึ ไดด้ ำเนนิ การเลย้ี งตามแนวทางนต้ี อ่ เนอ่ื งมาจวบจนถงึ ปจั จบุ นั สาระสำคญั
ของแนวทางการเลยี้ งดว้ ยวธิ กี ารดงั กลา่ วนี้ สามารถสรปุ เปน็ ประเดน็ สำคญั ๆ ได้ 4 ประการ
คอื การจดั การนำ้ ทจ่ี ะนำไปใชใ้ นการเลยี้ งใหม้ คี วามสะอาด มกี ารเตรยี มบอ่ เลย้ี งทสี่ ะอาด
ปล่อยกุ้งที่ผ่านการอนุบาลซ่ึงมีขนาดใหญ่และมีความแข็งแรง และได้รับการจัดการท่ี
เหมาะสม ซ่งึ สามารถอธบิ ายได้ดงั ตอ่ ไปน้ี

ระบบน้ำและการจัดการน้ำ แนวทางการเล้ียงของศรีสุบรรณฟาร์ม กำหนดให้มี
สดั สว่ นของบอ่ พกั นำ้ บอ่ ทรตี และบอ่ พกั นำ้ พรอ้ มใชร้ วมกนั 60% และบอ่ เลยี้ ง 40% และ
มีอัตราส่วนน้ำของชุดการเลี้ยงโดยมีพ้ืนท่ีบ่อทรีตและบ่อพักน้ำพร้อมใช้รวมกันต่อพื้นท่ี
บอ่ เลยี้ งอยทู่ ี่ 1:1 ถงึ 1:1.5 วตั ถปุ ระสงคเ์ พอื่ ใหน้ ำ้ ไดร้ บั การตกตะกอนในบอ่ พกั นำ้ ทนี่ าน

144

มีระยะเดินทางของน้ำท่ีมากพอ และมีปริมาณที่เพียงพอ จากนั้นนำมาทำการทรีตใน
บอ่ ทรตี เพ่อื กำจดั พาหะ และกำจดั เช้อื ไวรสั ตัวแดงดวงขาว และตกตะกอน เมอื่ น้ำเข้าสู่
บ่อเล้ียงและบ่อน้ำพร้อมใช้น้ำท่ีได้จะเป็นน้ำที่มีความใสโดยกำหนดค่าความขุ่นใส
(Turbidity) ไมเ่ กนิ 2 NTU และมสี ารอนิ ทรีย์ (Dissolved Organic Carbon; DOC)
ไมเ่ กิน 10 ppm

ความพร้อมบ่อ มีการจัดแบ่งบ่อท่ีตามวัตถุประสงค์ท่ีได้รับการให้ความสำคัญ
เสมอเหมือนกันคือบ่อทรีต บ่อพักน้ำพร้อมใช้ และบ่อเล้ียง โดยจะต้องมีวัสดุอุปกรณ์
ตามระบบ Bio-secure ครบถ้วน ปูพ้ืนบ่อด้วย PE 100% มีความสะอาดเหมือนกัน
สำหรับบ่อเลี้ยง มหี ลุมรวมตะกอนกลางบ่อ มีป๊มั สำหรบั ดูดตะกอน มีเคร่ืองตีน้ำ 8-10
แรงม้าต่อไร่ และมีเครื่องให้อาหารอัตโนมัติ หลังจากท่ีจับปิดบ่อจะต้องมีการสำรวจ

145

เลนใต้ PE และฉดี ลา้ งทำความสะอาด ในกรณที ม่ี กี ารเกดิ โรคขขี้ าวจะทำการกรดี PE 100%
ทำการฉีดล้าง ปล่อยท้ิงไว้ให้สัมผัสอากาศและแดด ก่อนทำการโรยด้วยปูนไฮเพาเวอร์
50 กโิ ลกรมั /ไร่ และปู PE กลบั 100% เชน่ เดมิ จากนนั้ จงึ นำนำ้ เขา้ บอ่ ทำการทรตี ลงจลุ นิ ทรยี ์
ลงวัสดปุ ูนปรบั สภาพน้ำและทำการปลอ่ ยกงุ้ ในรอบตอ่ ไป

การอนุบาล จะทำการอนุบาลกุ้งทรี่ ับมาจากโรงเพาะฟกั โดยมอี ตั ราการปลอ่ ยท่ี
1-2 ตวั ตอ่ ลติ ร ทำการอนบุ าลประมาณ 25-35 วนั เพอ่ื ใหม้ ขี นาดทใี่ หญข่ น้ึ โดยปกตจิ ะได้
กุ้งท่ีมีน้ำหนักประมาณ 0.5-2 กรัม โดยจะต้องมีความสมบูรณ์แข็งแรง และผ่านการ
ตรวจเชค็ ตบั เช้ือ EHP AHPND และ WSSV กอ่ นย้ายออกสู่บอ่ เล้ยี ง

การจัดการการเลี้ยง ปล่อยกุ้งที่ความหนาแน่น 60,000-80,000 ตัวต่อไร่
รว่ มกบั การปลอ่ ยปลา 250-300 ตวั ตอ่ ไร่ มกี ารใชจ้ ลุ นิ ทรยี ท์ ห่ี ลายหลายโดยเนน้ จลุ นิ ทรยี ์
กลุ่มปม1. และ EM เพื่อควบคุมคุณภาพน้ำ มีการดูดตะกอนกลางบ่อเพ่ือเอาของเสีย
จากข้ีกุ้ง อาหารท่ีเหลือ และซากกุ้งออกให้หมดในรอบวัน สำหรับการให้อาหารจะให้
อาหารตามโปรแกรมในชว่ งแรกของการปลอ่ ย และใหต้ ามกนิ จรงิ เมอื่ กงุ้ เขา้ กนิ อาหารใน
แนวเครอื่ งใหอ้ าหารอตั โนมตั ไิ ด้ มกี ารควบคมุ ปรมิ าณอาหารทใี่ หใ้ นแตล่ ะวนั อยทู่ ไ่ี มเ่ กนิ
60 กิโลกรัมต่อไร่ เพ่ือไม่ให้เกิดของเสียมากเกินไป และควบคุมปริมาณกุ้งไม่ให้เกิน
1,500-1,700 กิโลกรัม/ไร่ ไม่ให้กุ้งเครียดซ่ึงจะส่งผลให้การเจริญเติมโตของกุ้งโตได้
เต็มที่ตามขดี ความสามารถสงู สดุ ทจ่ี ะโตได้

แนวทางการเลี้ยงกุ้งของศรีสุบรรณฟาร์ม มีแนวทางการเล้ียงกุ้งด้วยอัตราการ
ปล่อยท่ีความหนาแน่นต่ำ เน้นการจัดการให้น้ำตกตะกอนได้ดี มีความใส ผ่านการทรีต
เพอื่ กำจัดพาหะเช้อื ตัวแดงดวงขาว เนน้ การเตรียมบอ่ เลี้ยงใหม้ ีความสะอาด และปลอ่ ย
กุ้งท่ีมีความสมบูรณ์แข็งแรง ปลอดเช้ือ และจัดการระหว่างเล้ียงท่ีเหมาะสม ควบคุม
สภาพแวดลอ้ มในบอ่ ใหเ้ กดิ การเปลย่ี นแปลงนอ้ ย เพอ่ื ใหก้ งุ้ อยใู่ นสภาพแวดลอ้ มทไี่ มเ่ ครยี ด
ไมม่ ขี องเสยี ทมี่ ากเกนิ ไป สามารถกนิ อาหารและเจรญิ เตบิ โตไดเ้ ตม็ ทต่ี ามขดี ความสามารถ
สูงสุด ม่งุ เน้นผลตอบแทนจากมูลค่าทีไ่ ดจ้ ากนำ้ หนักตัวมากกวา่ มูลคา่ จากจำนวนตวั กงุ้

146

พอดีฟารม์

3 สเะลอีย้ งาผด่านแตบลอบดเดข้วย้มข้น

พอดีฟาร์ม ใช้ระบบการเล้ียง 3 สะอาดแบบเข้มงวด ต้ังอยู่ที่ ตำบลบ้านบ่อ
อำเภอขลงุ จงั หวดั จนั ทบรุ ี โดยมคี ณุ ประวทิ ย์ ศรปี ระทกั ษ์ เปน็ เจา้ ของ จากเดมิ ทเี่ ลยี้ งกงุ้
แล้วประสบปัญหากับโรคข้ีขาวและอีเอ็มเอสเม่ือ 6 ปีท่ีแล้ว จึงได้ปรับระบบการเล้ียง
ภายในฟาร์มใหม่ท้ังหมด ก่อนหน้าก็ไดไ้ ปดตู ัวอย่างฟาร์มทีใ่ ชร้ ะบบ 3 สะอาดที่ประสบ
ความสำเร็จในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงตัดสินใจนำระบบ 3 สะอาดมาปรับใช้ เน่ืองจาก
มองแลว้ วา่ เปน็ แนวทางทตี่ อบโจทยก์ ารเลย้ี งปจั จบุ นั มากทสี่ ดุ ในชว่ งแรกทเี่ รม่ิ ปรบั ระบบ
เล้ียงแล้วได้ผลผลิตดีขึ้น แต่หลังจากนั้นก็เกิดปัญหาอีก เราพบว่าเกิดจากการทำระบบ

147

ไม่เต็มรูปแบบต่อการเลี้ยง จึงมีการปรับระบบเพ่ิมเติม โดยเพิ่มสัดส่วนของการเตรียม
นำ้ มากขน้ึ เพอ่ื รองรบั การเลยี้ ง นำ้ สะอาด เปน็ หวั ใจสำคญั เรม่ิ ตน้ ทจี่ ำเปน็ ทางพอดฟี ารม์
มรี ะบบการเตรียมน้ำสะอาดให้เพียงพอสำหรับใชใ้ นแต่ละวนั

พอดีฟาร์มมีพ้นื ทท่ี ้ังหมด 300 ไร่ แบ่งเป็นพ้นื ทเี่ ล้ียง 20% อีก 80% เป็นพ้ืนท่ี
การจัดการน้ำ ไม่ว่าจะเป็นบ่อพัก บ่อท้ิงตะกอน บ่อบำบัดและเตรียมน้ำเพื่อหมุนเวียน
กลับมาใช้ในฟาร์ม เน่ืองจากที่ตั้งของฟาร์มมีปัญหาเร่ืองคุณภาพน้ำท่ีเป็นกรดและ
ดินทีเ่ ปน็ สนิม ทำใหต้ อ้ งมีขนั้ ตอนการเตรียมน้ำพรอ้ มใช้ให้ดีและเพยี งพอ

น้ำที่มีคุณภาพดีเป็นปัจจัยต้ังต้นท่ีสำคัญ เราต้องมีแหล่งลูกกุ้งที่มีคุณภาพดี
สม่ำเสมอ ความพร้อมของทีมงานในการจัดการให้ทันท่วงที และมีความเข้าใจ ของเสีย
ท่ีนำออกจากบ่อ ต้องคำนงึ ถึงสิง่ แวดลอ้ ม มีบอ่ ตกตะกอน มคี ลองนำ้ ทิง้ ทจ่ี ะบำบดั ใหม้ ี
คุณภาพดีในการหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ เราคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ท่ีฟาร์ม
มบี ่อท้งิ ตะกอนของเสยี ทด่ี ดู จากบ่อเลี้ยง 1 บอ่ ตอ่ บอ่ เลี้ยง 2 บอ่ นำ้ ของบอ่ ท้ิงตะกอน
ก็จะล้นเข้ามาสู่คลองน้ำท้ิงของฟาร์มซึ่งมคี วามยาว 1.5 กิโลเมตร คลองนำ้ ทิ้งมกี ารวาง
เคร่ืองให้อากาศตลอดแนว เพ่ือช่วยบำบัดคุณภาพน้ำให้ดีข้ึนก่อนไหลเข้าสู่บ่อพัก
แลว้ เวยี นกลบั เขา้ มาบำบดั

148

ทางเดนิ น้ำของพอดฟี าร์ม ประกอบด้วย บ่อท้ิงเลน > คลองนำ้ ท้งิ ความยาว 1.5
กิโลเมตร >บ่อพักน้ำ >บ่อตกตะกอน 5 บ่อ และบ่อเตรียมน้ำพร้อมใช้ท่ีทรีตคลอรีน
เพอ่ื ใหม้ นี ้ำสะอาดพรอ้ มใชใ้ นฟารม์ ใหเ้ พยี งพอต่อวนั ประมาณ 800 - 1,000 ควิ /ไร/่ วนั

ขนั้ ตอนการเตรียมน้ำของพอดีฟาร์ม

ดงึ นำ้ จากบอ่ พกั ทม่ี าจากคลองนำ้ ทงิ้ เขา้ สกู่ ารเตรยี มนำ้ ระบบ 3 สะอาด โดยการใช้
ด่างทับทิมในการตกตะกอน จับอินทรีย์สาร การตกตะกอนน้ำด้วยด่างทับทิม ไม่ได้มี
การกำหนดปรมิ าณทใี่ ชอ้ ยา่ งตายตวั ขนึ้ อยกู่ บั คณุ ภาพนำ้ ในชว่ งเวลานนั้ วา่ มตี ะกอนหรอื
สารอินทรยี ์มากน้อยแค่ไหน หลังจากผ่านบ่อพกั น้ำล้น บอ่ พกั นำ้ ลอด สบู่ ่อทรตี คลอรีน
ความเข้มขน้ 5 พีพเี อม็ เขา้ สบู่ อ่ นำ้ พร้อมใช้ ดัชนีวดั นำ้ พร้อมใช้ต้องมคี ่าน้อยกว่า 1 NTU
ถือวา่ เปน็ น้ำพร้อมใชใ้ นการเติมสำหรับเลย้ี งกงุ้

การเตรยี มบ่อ

หลงั จากจบั กงุ้ แลว้ ทางฟารม์ จะมกี ารทำความสะอาดพนื้ บอ่ โดยการใชค้ ลอรนี พน่
และขดั พน้ื ประมาณ 2 รอบ และตากบอ่ กระบวนการทำความสะอาดบอ่ ใชเ้ วลาประมาณ
14 วนั

การแบ่งโซนการเลี้ยง

เรามีบ่อเตรียมน้ำ 6 บ่อ บ่อเล้ียง 5 บ่อ แต่ไม่ได้เลี้ยงเต็มพื้นท ี่ ในการเล้ียงกุ้ง
1 รอบจะใชบ้ อ่ เลย้ี งไมเ่ กนิ 3 บอ่ เนอื่ งจากเราไมส่ ามารถเตรยี มนำ้ ทส่ี ะอาดไดเ้ พยี งพอและ
ใหม้ ีการหมนุ เวียนนำ้ ที่เหมาะสมได้คณุ ภาพนำ้ ที่ดีในการเล้ียงตลอดเวลา

การจดั การระหวา่ งการเลย้ี ง

หลักการวางเครื่องตีน้ำของฟาร์มจะเน้นเร่ืองการรวมตะกอนของเสียให้ดูดออก
ได้มากท่ีสุด เพราะของเสียที่ดึงออกไปจะมีผลให้ออกซิเจนในบ่อเพียงพอสำหรับกุ้ง

149

ต้องวางเครื่องตีน้ำให้สามารถรวมตะกอนให้ได้มากที่สุด ใช้ไดโว่ดูดเลนขนาด 5 แรง
ทางฟารม์ จะตั้งเวลาทปี่ ลายท่อดูด เพอื่ ให้การดดู ตะกอนมปี ระสิทธภิ าพ

การดูดตะกอนของเสีย เราให้ความสำคัญมากกับพื้นท่ีดูดตะกอนก้นหลุม
1 ตารางเมตร ใช้ไดโว่ 5 ตวั เพอ่ื ครอบคลมุ ของเสียทด่ี ูดออก

การจดั การอาหาร

หลังจากท่ีปล่อยลูกกุ้งแล้ว จะเดินอาหารตามโปรแกรม 1.5 กิโลกรัมต่อกุ้ง
1 แสนตัวต่อวัน แบ่งให้วันละ 5-6 ม้ือข้ึนอยู่กับฤดูกาลหรือสภาพอากาศในแต่ละวัน
การเช็คยอเบื้องต้นช่วงสัปดาห์แรกจะเช็คสุขภาพลูกกุ้งเป็นหลัก หลังจาก 1 สัปดาห์
จะใหอ้ าหารตามออโต้ฟีด เม่อื กงุ้ จับอาหารได้ 14-15 วนั จะเร่ิมเชค็ ยอเพื่อปรบั ปริมาณ
อาหารในออโต้ฟีด

ระบบความปลอดภัยทางชวี ภาพของฟาร์ม

พนักงานท่ีปฏิบัติงานจะต้องผ่านกระบวนการฆ่าเช้ือ สวมรองเท้าบูธ ก่อนเข้า
บริเวณบ่อต้องจุ่มด่างทับทิม ล้างมือด้วยไอโอดีน จึงจะเข้าในพ้ืนที่บ่อเล้ียงได้ หลังจาก
เชค็ ยอหรอื ปฏบิ ัติงานทบี่ ่อเสรจ็ ก็ตอ้ งทำความสะอาดอีกครั้งเพื่อปอ้ งกนั โรคระบาด

โรงครวั กลาง เปน็ อกี หนง่ึ มาตรการความปลอดภยั ทางชวี ภาพทท่ี างฟารม์ ใหค้ วาม
สำคญั โดยทางฟารม์ จะจดั หาวตั ถดุ บิ และปรงุ อาหารใหพ้ นกั งานในฟารม์ รบั ประทานอาหาร
ร่วมกันทุกมื้อ รวมถึงไม่อนุญาตให้พนักงานไปหาอาหารจากภายนอกหรือจับสัตว์น้ำท้ัง
จากภายนอกหรือภายในฟาร์มมาประกอบอาหาร เพือ่ ป้องกนั การระบาดของโรค

แนวทางการเลี้ยงกุ้งของพอดีฟาร์ม ข้ึนอยู่กับความสำคัญของคุณภาพน้ำต้นทาง
เป็นสิ่งสำคัญต่อการตัดสินใจเลี้ยง เน่ืองจากท่ีต้ังของฟาร์มทั้งดินและน้ำจะเป็นสนิม
ค่าพีเอช 4 ค่าอัลคาไลน์ 0 จงึ ต้องใชร้ ะบบ 3 สะอาด ในการจับโลหะหนกั ในช่วงเดอื น
8-9 หรือฤดูฝน ตะกอนของน้ำภายนอกสูง จนระบบไม่สามารถรองรับการเลี้ยงได้
เหมอื นเดมิ จากเดมิ ทเี่ คยเลย้ี ง 3 บอ่ กล็ ดลงเหลอื 1-2 บอ่ สว่ นโซนทพี่ กั กจ็ ะทำความสะอาด
ทัง้ บอ่ เลีย้ ง บ่อเกบ็ น้ำ และเตรียมเกบ็ สำรองน้ำทคี่ ณุ ภาพดีขึ้นในชว่ งเดอื น 11

คณุ ประวทิ ยฝ์ ากทงิ้ ทา้ ยวา่ “หวั ใจของความสำเรจ็ ของพอดฟี ารม์ คอื การนำระบบ
3 สะอาดมาปฏิบัติอย่างเข้มข้น โดยประเมินความเสี่ยงต่างๆ และลดข้อผิดพลาด
ในการเล้ียงทุกบ่อ ผมขอฝากเกษตรกรว่าระบบ 3 สะอาดเป็นระบบพื้นฐานที่ดี
ถ้าเรากลับไปดูข้อผิดพลาด และแก้ไข พัฒนา ผมเชื่อว่าทุกท่านสามารถนำไปใช้
และได้ผลลพั ธ์ที่ดแี นน่ อน”

150


Click to View FlipBook Version