The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

วิจัยในชั้นเรียน 165

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by satita4499, 2023-01-26 09:06:47

วิจัยในชั้นเรียน 165

วิจัยในชั้นเรียน 165

การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 THE STUDY OF LEARNING ACHIEVEMENT IN MATHEMATICS SUBJECT OF GEOMETRIC TRANSFORMATIONS BY USING COOPERATIVE LEARNING MANAGEMENT STAD TECHNIQUE OF MATHAYOM SUKSA TWO STUDENTS สาธิตา ลีทอง วิจัยในชั้นเรียนนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา คณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565


การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 THE STUDY OF LEARNING ACHIEVEMENT IN MATHEMATICS SUBJECT OF GEOMETRIC TRANSFORMATIONS BY USING COOPERATIVE LEARNING MANAGEMENT STAD TECHNIQUE OF MATHAYOM SUKSA TWO STUDENTS สาธิตา ลีทอง วิจัยในชั้นเรียนนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา คณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565


ชื่อเรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทาง เรขาคณิต โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผู้วิจัย นางสาวสาธิตา ลีทอง อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย วรกิจเกษมสกุล อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม 1. รองศาสตราจารย์ ดร.สุนิสา วงศ์อารีย์ 2. รองศาสตราจารย์สุปรีชา วงศ์อารีย์ ปริญญา ครุศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชา คณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2565 อาจารย์ควบคุมการวิจัยในชั้นเรียน คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีอนุมัติให้ นับงานวิจัยในชั้นเรียนฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชา คณิตศาสตร์ .................................................................................. อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก (รองศาสตราจารย์ ดร. สมชาย วรกิจเกษมสกุล) .................................................................................. อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม (รองศาสตราจารย์ ดร.สุนิสา วงศ์อารีย์) .................................................................................. อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม (รองศาสตราจารย์สุปรีชา วงศ์อารีย์) .................................................................................. ครูพี่เลี้ยง (นางสาวณัฐกฤตา หลานวงศ์)


ก ชื่อเรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทาง เรขาคณิต โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผู้วิจัย นางสาวสาธิตา ลีทอง อาจารย์ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย วรกิจเกษมสกุล อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม 1. รองศาสตราจารย์ ดร.สุนิสา วงศ์อารีย์ 2. รองศาสตราจารย์สุปรีชา วงศ์อารีย์ ปริญญา ครุศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชา คณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2565 บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง การแปลงทาง เรขาคณิต โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อน เรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียน มัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 1 ห้องเรียน ทั้งหมด 33 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบ กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทาง เรขาคณิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ สรุปผลการใช้แผนได้ดังนี้ 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต โดยใช้รูปแบบการ สอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 6.09 คิดเป็นร้อยละ 30.45 และหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 15.79 คิดเป็นร้อยละ 78.94 2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 6.09 คะแนน และ 15.79 คะแนน ตามลำดับ และเมื่อ เปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชา คณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน


ข Thesis Title The Study of Learning Achievement in Mathematics Subject of Geometric Transformations by Using Cooperative Learning Management STAD Technique of Mathayom Suksa Two Students Author Miss Satita Leethong Thesis Advisor Associate Professor Dr. Somchai Vallakitkasemsakul Thesis Co-Advisor 1. Associate Professor Dr. Sunisa Wongaree 2. Associate Professor Supreecha Wongaree Academic Year 2022 ABSTRACT The objectives of this research were 1) to study the mathematics learning achievement on geometric transformations; by using the cooperative teaching model, STAD technique of Mathayom Suksa 2 students 2) to compare the mathematics learning achievement on the topic of geometric transformation. by using a cooperative teaching model and STAD technique of Mathayom Suksa 2 students before and after school The sample consisted of 33 students in the first semester of the academic year 2022 at a secondary school in Udon Thani province, totaling 33 students. The tools used in the research are: Mathematics Learning Plan on Geometric Transformation Mathayomsuksa 2 and a mathematics learning achievement test on geometric transformation Mathayomsuksa 2, the data were analyzed using mean, percentage, standard deviation. and independent t-test. The results of using the plan can be summarized as follows: 1. Learning achievement in mathematics on geometric transformations By using a cooperative teaching model, the STAD technique of Mathayom Suksa 2 students had a mean score of 6.09 or 30.45 percent before school, and 15.79 or 78.94 percent after studying. 2. The comparative results of mathematics learning achievement on geometric transformations By using the cooperative teaching model, the STAD technique before and after school of Mathayom Suksa 2 students had an average score of 6.09 and 15.79 points, respectively. Knowledge of mathematics after school is higher than before.



ง กิตติกรรมประกาศ วิจัยเล่มนี้สำเร็จลุล่วงสมบุรณ์ได้ด้วยความกรุณาและความช่วยเหลือเป็นอย่างดีของ รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย วรกิจเกษมสกุล อาจารย์ที่ปรึกษาวิจัย ที่ได้กรุณาเสียสละเวลาให้ คำปรึกษา คำแนะนำ ตลอดจนข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ในการทำวิจัย ผู้วิจัยซาบซึ้งในความกรุณา และขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้ ขอกราบขอบพระคุณผู้อำนวยการ ครูผู้สอนทุกท่าน ขอขอบใจนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี ที่ให้ความร่วมมือในการทดลอง หาคุณภาพของเครื่องมือ และดำเนินการทดลองในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้เป็นอย่างดี ขอกราบขอบพระคุณบิดามารดาผู้ให้กำเนิด ที่ช่วยเหลือสนับสนุนกำลังกาย กำลังใจให้ผู้วิจัย ได้มีโอกาสศึกษาสำเร็จสมปรารถนา และขอระลึกถึงพระคุณครู อาจารย์ทุกท่าน ที่ประสิทธิ์ประสาท วิชาความรู้ให้แก่ผู้วิจัยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ขอบคุณน้อง ๆ ตลอดจนเพื่อน ๆ นักศึกษาฝึก ประสบการณ์วิชาชีพครูร่วมโรงเรียน ที่คอยช่วยเหลือให้คำแนะนำ และให้กำลังใจตลอดเวลาในการ ทำวิจัยเล่มนี้ให้สมบูรณ์ สาธิตา ลีทอง


จ สารบัญ หน้า บทคัดย่อ ก ABSTRACT ข กิตติกรรมประการ ง สารบัญ จ สารบัญตาราง ซ สารบัญภาพ ฌ บทที่ 1 บทนำ 1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 1 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 3 สมมติฐานของการวิจัย 3 ขอบเขตของการวิจัย 3 นิยามศัพท์เฉพาะ 4 ประโยชน์ที่จะได้รับ 5 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 6 1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 7 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 1.1 ทำไมต้องเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 1.2 เรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์ 1.3 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ 1.4 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 1.5 คุณภาพของผู้เรียน 1.6 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ในการเรียนคณิตศาสตร์ 1.7 การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 1.8 แนวทางการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 2. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ 11 2.1 ความหมายของการสอนแบบร่วมมือ 2.2 รูปแบบของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ 2.3 ขั้นตอนจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ


ฉ สารบัญ (ต่อ) หน้า 2.4 ประโยชน์ของการเรียนแบบร่วมมือ 3. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ 20 เทคนิค STAD 3.1 ความหมายของการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD 3.2 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD 3.3 หลักการของรูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD 3.4 ความสำคัญของรูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD 3.5 ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD 4. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 31 4.1 ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน 4.2 ลักษณะสำคัญของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน 5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 32 5.1 งานวิจัยในประเทศ 5.2 งานวิจัยต่างประเทศ 6. กรอบแนวคิดการวิจัย 34 3 วิธีดำเนินการวิจัย 34 กลุ่มเป้าหมาย 34 รูปแบบในการทดลอง 34 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 35 การเก็บรวบรวมข้อมูล 37 การวิเคราะห์ข้อมูล 37 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 38 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 40 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 43 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 43 สมมติฐานการวิจัย 43 วิธีดำเนินการวิจัย 43 สรุปผลการวิจัย 44 การอภิปรายผล 45


ช สารบัญ (ต่อ) หน้า ข้อเสนอแนะ 46 บรรณานุกรม 48 ภาคผนวก 52 ผาคผนวก ก รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย 56 ภาคผนวก ข แบบตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ 57 การหาค่าดัชนีความสอดคล้องของแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD (Index of Item Objective Congruence : IOC) เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต แบบตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ 55 การหาค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ (Index of Item Objective Congruence : IOC) เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต ภาคผนวก ค ผลการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ 67 การหาค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์(Index of Item Objective Congruence : IOC) เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต ผลการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ 69 การหาค่าดัชนีความสอดคล้องของแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD (Index of Item Objective Congruence : IOC) เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต ภาคผนวก ง ค่าความยากง่าย (p) และค่าอำนาจจำแนก (r) ของแบบทดสอบ 71 วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต ผลการทดสอบค่าเฉลี่ยของสมมติฐานทางสถิติ 72 (t – test for One Sample and t-test for Dependent Sample) ภาคผนวก จ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต 74 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ 136 เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต ประวัติผู้วิจัย 140


ซ สารบัญตาราง ตารางที่ หน้า 1 การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 40 เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดย ใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 42 เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดย ใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน


ฌ สารบัญภาพ ภาพที่ หน้า 1 กรอบแนวคิดการวิจัย 33


บทที่ 1 บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีวิสัยทัศน์ในการมุ่งพัฒนา ผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกําลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุล ทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มี จิตสํานึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้งเจตคติที่จําเป็นต่อการศึกษา ต่อการประกอบอาชีพ และการศึกษาตลอดชีวิต(กระทรวงศึกษาธิการ. 2551 : 4) ทั้งนี้ ในการจัด การศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาให้มนุษย์เป็นบุคคลที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และ คุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข โดย ยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาได้ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ ของแต่ละบุคคล(กระทรวงศึกษาธิการ. 2553) มีการจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับ ความสนใจและความถนัดของนักเรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะ กระบวนการคิด จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติ ให้ทำได้ คิดได้ แก้ปัญหาได้ รักการอ่านและเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551(กระทรวงศึกษาธิการ. 2552) กระทรวงศึกษาธิการ (2560 : 8) ได้กล่าวไว้ว่า คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จ ในการศึกษาเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เนื่องจากคณิตศาสตร์ช่วยให้มนุษย์มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิด อย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาโดยสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบและถี่ ถ้วน ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และสามารถนำไปใช้ใน ชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสัตว์อื่นๆ อันเป็นรากฐานในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของชาติให้มีคุณภาพ และ พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ทัดเทียมกับนานาชาติ การศึกษาคณิตศาสตร์จึงจำเป็นต้องมีการ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันสมัยและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม ได้ความรู้ทาง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัตน์(กระทรวงศึกษาธิการ. 2560 : 8) ทั้งนี้ เนื่องจากรูปแบบการสอนเป็นโครงสร้างที่แสดงกระบวนการการสอนหรือแบบแผนการสอน รูปแบบการสอนจึงนับเป็นปัจจัยหลักเบื้องต้นที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ เพราะเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ยิ่งในการวางแนวทางเพื่อจัดสร้างหรือออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนกระทั่งการ วิเคราะห์และประเมินผล รูปแบบการสอนที่นักวิชาการได้สร้างสรรค์กันขึ้นมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีอยู่มากมายอาจจะนำไปใช้ประโยชน์ในการสอนวิชาต่าง ๆ ให้บังเกิดผลดีมากน้อยแตกต่างกันไปได้ ตามลักษณะเฉพาะของแต่ละรูปแบบการสอน โดยครูผู้สอนอาจเลือกใช้เพียงรูปแบบเดียวหรือนำไป ผสมผสานกันหลาย ๆ รูปแบบก็ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะและวัตถุประสงค์ของบทเรียนในแต่ละวิชา รวมถึงวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียนสภาพแวดล้อมและความพร้อมอื่น ๆ อีกหลายอย่าง(ทิศนา แขมมณี.


2 2559) จากการร่วมสนทนา และวิเคราะห์ปัญหากับผู้ที่รับผิดชอบในการจัดการเรียนวิชา คณิตศาสตร์พื้นฐาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2564 พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีปัญหา ในเรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต ซึ่งเป็นเรื่องที่มีเนื้อหาที่ค่อนข้างซับซ้อนหลายขั้นตอน ในการจัดการ เรียนการสอนแต่ละครั้ง ผู้เรียนจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของการแปลงต่าง ๆ และขั้นตอนการแก้ปัญหาที่ถูกวิธี เพราะถ้าผิดพลาดนิดเดียวคำตอบก็จะคลาดเคลื่อนไปหมด ทั้งนี้ อาจเนื่องจากครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไม่เหมาะสมไม่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล สอน โดยการยกตัวอย่าง 2 – 3 ตัวอย่างแล้วให้นักเรียนทำแบบฝึกหัด นักเรียนที่เก่งสามารถเรียนรู้ได้เร็ว นักเรียนที่อ่อนจะเรียนรู้ได้ช้าตามเพื่อนไม่ทัน และทั้งด้วยเวลาในการจัดการเรียนการสอนที่จำกัด การเรียนรู้ของนักเรียน และการจัดการเรียนการสอนของครูที่ไม่อาจทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ ถูกต้องครบถ้วนทุกประการทั้งหมดทุกคนได้ รูปแบบการสอนที่เลือกจึงควรเอื้อให้มีการพูดคุย แลกเปลี่ยนกันในกลุ่มผู้เรียนมากขึ้น เปิดโอกาสให้นักเรียนที่เก่งที่เข้าใจคำสอนของครูได้ดี อธิบาย ถ่ายทอดความรู้ให้เพื่อน ๆ ได้โดยรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการบูรณาการ (Integration) เป็น รูปแบบที่พยายามพัฒนาการเรียนรู้ด้านต่างๆของผู้เรียนไปพร้อมกัน โดยใช้การบูรณาการทั้งทางด้าน เนื้อหาสาระและพิธีการ รูปแบบในลักษณะนี้กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะมีความสอดคล้อง กับรักที่สดีทางการศึกษาที่มุ่งเน้นพัฒนารอบด้าน หรือการพัฒนาเป็นองค์รวม รูปแบบในลักษณะ ดังกล่าว รวมถึงการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD (ทิศนา แขมมณี. 2551) เป็นการจัดการเรียนรู้ในลักษณะที่จะจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้ผู้เรียนเรียนรู้ร่วมกัน เป็นกลุ่มย่อยคละความสามารถ เก่ง ปานกลาง และอ่อน ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้มี โอกาสปรึกษา ช่วยเหลือ ร่วมกันเรียนรู้และแก้ปัญหาจากแนวคิดที่หลากหลาย การปฏิบัติภารกิจที่ ซับซ้อน ฝึกทักษะสังคม การสร้างวินัยความรับผิดชอบร่วมกัน รวมถึงการที่คนเก่งกว่าจะช่วยเหลือคน ที่อ่อนกว่าถือเป็นการให้เพื่อนสอนเพื่อนที่เป็นการสอนตัวต่อตัว ทำให้นักเรียนที่ถูกสอนได้รับความ เอาใจใส่อย่างทั่วถึงและมีความสนใจในการเรียนมากขึ้น ด้วยเหตุผลข้างต้นที่กล่าวมาผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา คณิตศาสตร์เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ ร่วมมือ เทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา คณิตศาสตร์เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ ร่วมมือ เทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนว่าเพิ่มขึ้น หรือไม่ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ต่อไป


3 วัตถุประสงค์การวิจัย ในการวิจัยครั้งนี้ กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต โดยใช้ รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและ หลังเรียน สมมุติฐานการวิจัย 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนเรื่อง การแปลงทางเรขาคณิตด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนเรื่อง การแปลงทางเรขาคณิตด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อน เรียน ขอบเขตของการวิจัย 1. กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 33 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม 2. ตัวแปรที่ศึกษา 2.1 ตัวแปรต้น คือ กิจกรรมการเรียนรู้โดยรูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD 2.2 ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 3. เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย เนื้อหาที่ผู้วิจัยนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในครั้งนี้คือวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) มีรายละเอียดดังนี้ 3.1 เรื่อง ความหมายของการแปลงทางเรขาคณิต จำนวน 2 ชั่วโมง 3.2 เรื่อง การเลื่อนขนาน จำนวน 3 ชั่วโมง 3.3 เรื่อง การสะท้อน จำนวน 3 ชั่วโมง 3.4 เรื่อง การหมุน จำนวน 3 ชั่วโมง


4 4. ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ผู้วิจัยดำเนินการทดลองในปีการศึกษา 2565 วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทาง เรขาคณิต ตามแผนการจัดการเรียนรู้ 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จำนวน 4 แผน ใช้เวลา 11 ชั่วโมง นิยามศัพท์เฉพาะ 1. การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD หมายถึง การ จัดการเรียนรู้ที่แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละ 4 - 5 คน ประกอบด้วย นักเรียนที่มี ความสามารถทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ที่มีคะแนนสูงสุด คะแนนปานกลาง และคะแนนต่ำสุด ใน อัตราส่วน 1:2:1 หรือ 2:2:1 ตามที่ครูเห็นเหมาะสม จากนั้นครูจะนําเสนอบทเรียน แล้วให้สมาชิกใน แต่ละกลุ่มศึกษาและทำความเข้าใจบทเรียนร่วมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และเมื่อจบแต่ละ บทเรียนจะมีการทดสอบย่อยเป็นรายบุคคล คะแนนที่ได้จากการทดสอบย่อยของแต่ละคนจะถูกนํามา เทียบกับคะแนนฐานแล้วคิดเป็นคะแนนพัฒนาการ และนําคะแนนพัฒนาการมาคํานวณเป็นคะแนน เฉลี่ยของกลุ่ม หลังจากนั้นครูจะเป็นผู้แจ้งคะแนนแก่นักเรียนและให้รางวัลกับกลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุด ซึ่งมีขั้นการดำเนินกิจกรรม 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การนำเข้าสู่บทเรียน เป็นการเตรียมตัวนักเรียนก่อนที่จะเริ่มทำการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนทราบว่ากำลังเรียนเกี่ยวกับอะไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเร้าความสนใจและเตรียม ความพร้อมให้กับนักเรียน ให้มาอยู่กับการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน และต้องเป็นการ เชื่อมโยงความรู้เดิม ซึ่งเป็นที่สิ่งที่นักเรียนรู้กันอยู่แล้ว ไปสู่ความรู้ใหม่ที่กำลังจะสอน ซึ่งการนำเข้าสู่ บทเรียนนี้ นับว่าเป็นเทคนิคที่ครูผู้สอนทุกคนจะต้องสามารถดำเนินการได้ผ่านการใช้กิจกรรมที่ หลากหลาย ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนใหม่ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ขั้นที่ 2 การนำเสนอบทเรียนต่อทั้งชั้น เป็นการสอนเนื้อหา ทักษะหรือวิธีการเกี่ยวกับ บทเรียนนั้น ๆ โดยการบรรยาย อภิปราย ใช้สื่อประกอบการสอน หรือใช้กิจกรรมต่าง ๆ เพื่อทำให้ นักเรียนเข้าใจ ขั้นที่ 3 การเรียนกลุ่มย่อย เป็นการจัดให้มีการร่วมมือกันภายในกลุ่ม โดยจะแบ่งนักเรียน เป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 - 5 คน โดยคละความสามารถกันในแต่ละกลุ่ม ซึ่งสมาชิกในกลุ่มครูจะเป็นผู้ กําหนดให้ และสมาชิกทุกคน จะต้องทำงานร่วมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการทำใบงานและ ทบทวนความรู้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และเตรียมพร้อมสำหรับการทดสอบย่อย ขั้นที่ 4 การทดสอบย่อย หลังจากนักเรียนเรียนจบเนื้อหาย่อย นักเรียนแต่ละคนจะได้รับ การทดสอบเป็นรายบุคคล โดยแต่ละคนจะต้องทำแบบทดสอบด้วยความสามารถของตนเอง จะไม่ อนุญาตให้นักเรียนช่วยเหลือกัน คะแนนที่ได้จะถูกนำไปเทียบหาคะแนนพัฒนาการ ขั้นที่ 5 การคิดคะแนนในการพัฒนาตนเอง ครูแจ้งคะแนนพัฒนาการของสมาชิกในกลุ่ม และคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มเทียบกับเกณฑ์ แล้วให้รางวัลกับกลุ่มที่มีคะแนนพัฒนาการสูงสุด 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนที่บ่งชี้ถึงความสามารถในการเรียนวิชา คณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง ปริซึมและ ทรงกระบอก ซึ่งประเมินจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นข้อสอบแบบ ปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ


5 ประโยชน์ที่จะได้รับ 1. เป็นเหตุผลประกอบการตัดสินใจ ในการเลือกรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปใช้ในรายวิชา คณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต 2. ได้แนวทางในการจัดการเรียนการสอน เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต โดยการจัดการเรียน การสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD 3. ได้แนวทางในการเสนอแนะให้ครูคณิตศาสตร์และผู้ที่สนใจ สามารถนำเทคนิคการสอน เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต โดยการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ไปพัฒนาและนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในระดับอื่นหรือ เนื้อหาวิชาอื่น


6 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน วิชาคณิตศาสตร์ ที่ใช้ แนวความคิดในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารตำรา งานวิจัยและทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย มี รายละเอียดดังนี้ 1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธสักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 60) กลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ 1.1 ทำไมต้องเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 1.2 เรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์ 1.3 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ 1.4 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 1.5 คุณภาพของผู้เรียน 1.6 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ในการเรียนคณิตศาสตร์ 1.7 การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 1.8 แนวทางการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 2. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ 2.1 ความหมายของการสอนแบบร่วมมือ 2.2 รูปแบบของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ 2.3 ขั้นตอนจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ 2.4 ประโยชน์ของการเรียนแบบร่วมมือ 3. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD 3.1 ความหมายของการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD 3.2 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD 3.3 หลักการของรูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD 3.4 ความสำคัญของรูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD 3.5 ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD 4. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4.1 ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน 4.2 ลักษณะสำคัญของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน 5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 5.1 งานวิจัยในประเทศ 5.2 งานวิจัยต่างประเทศ 6. กรอบแนวคิดการวิจัย


7 1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 1.1 ทำไมต้องเรียนวิชาคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เนื่องจาก คณิตศาสตร์ช่วยให้มนุษย์มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถ วิเคราะห์ปัญหาหรือ สถานการณ์ได้อย่างรอบคอบและถี่ถ้วน ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศาสตร์อื่นๆ อันเป็น รากฐานในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของชาติให้มีคุณภาพ และพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ให้ทัดเทียมกับนานาชาติ การศึกษาคณิตศาสตร์จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ ทันสมัยและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัตน์ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ฉบับนี้ จัดทำขึ้นโดยคำนึงถึงการ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นสำคัญ นั่นคือ การเตรียมผู้เรียนให้มีทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การแก้ปัญหา การคิด สร้างสรรค์ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารอย่างปลอดภัย ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนรู้เท่าทัน การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม สามารถแข่งขันและ อยู่ร่วมกับประชาคมโลกได้ ทั้งนี้การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จนั้น จะต้องเตรียม ผู้เรียนให้มีความพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ พร้อมที่จะประกอบอาชีพเมื่อจบการศึกษาหรือสามารถ ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ดังนั้นสถานศึกษาควรจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมตามศักยภาพของผู้เรียน 1.2 เรียนรูอะไรในคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์จัดเป็น 3 สาระ ได้แก่ จำนวนและพีชคณิต การวัดและ เรขาคณิต และสถิติและความน่าจะเป็น 1.2.1 จำนวนและพีชคณิต : เรียนรู้เกี่ยวกับ ระบบจำนวนจริง สมบัติเกี่ยวกับ จำนวนจริง อัตราส่วน ร้อยละ การประมาณค่า การแก้ปัญหาเกี่ยวกับจำนวน การใช้จำนวนในชีวิต จริง แบบรูป ความสัมพันธ์ฟงก์ชัน เซต ตรรกศาสตร์ นิพจน์เอกนาม พหุนาม สมการ ระบบสมการ อสมการ กราฟ ดอกเบี้ยและมูลค่าของเงิน ลำดับและอนุกรม และการนำความรู้เกี่ยวกับจำนวนและ พีชคณิตไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ 1.2.2 การวัดและเรขาคณิต : เรียนรู้เกี่ยวกับ ความยาว ระยะทาง น้ำหนัก พื้นที่ ปริมาตรและความจุ เงินและเวลา หน่วยวัดระบบต่างๆ การคาดคะเนเกี่ยวกับการวัด อัตราส่วน ตรีโกณมิติ รูปเรขาคณิตและสมบัติของรูปเรขาคณิต การนึกภาพ แบบจําลองทางเรขาคณิต ทฤษฎี บททางเรขาคณิต การแปลงทางเรขาคณิตในเรื่องการเลื่อนขนาน การสะท้อน การหมุน และการนํา ความรู้เกี่ยวกับการวัดและเรขาคณิตไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ 1.2.3 สถิติและความน่าจะเป็น : เรียนรู้เกี่ยวกับ การตั้งคำถามทางสถิติ การเก็บ รวบรวบข้อมูล การคำนวณค่าสถิติ การนําเสนอและแปลผลสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ


8 หลักการนับเบื้องต้น ความน่าจะเป็น การใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นในการอธิบาย เหตุการณ์ต่างๆ และช่วยในการตัดสินใจ 1.3 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ 1.3.1 สาระที่ 1 จำนวนและพีชคณิต มาตรฐาน ค 1.1 เข้าใจความหลากหลายของการแสดงจำนวน ระบบจำนวน การดำเนินการของจำนวน ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ สมบัติของการดำเนินการ และนำไปใช้ มาตรฐาน ค 1.2 เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป ความสัมพันธ์ ฟังก์ชัน ลำดับและ อนุกรม และนำไปใช้ มาตรฐาน ค 1.3 ใช้นิพจน์ สมการ อสมการ และเมทริกซ์ อธิบายความสัมพันธ์ หรือช่วยแก้ปัญหา ที่กำหนดให้ 1.3.2 สาระที่ 2 การวัดและเรขาคณิต มาตรฐาน ค 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของ สิ่งที่ต้องการวัด และนำไปใช้ มาตรฐาน ค 2.2 เข้าใจและวิเคราะห์รูปเรขาคณิต สมบัติของรูปเรขาคณิต ความสัมพันธ์ระหว่าง รูปเรขาคณิตและทฤษฎีบททาง เรขาคณิต และนำไปใช้ 1.3.3 สาระที่3 สถิติและความน่าจะเป็น มาตรฐาน ค 3.1 เข้าใจกระบวนการทางสถิติ และใช้ความรู้ทางสถิติในการแก้ปัญหา มาตรฐาน ค 3.2 เข้าใจหลักการนับเบื้องต้น ความน่าจะเป็น และนำไปใช้ 1.4 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์เป็นความสามารถที่จะนําความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการ เรียนรู้สิ่งต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพทักษะ และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในที่นี้ เน้นที่ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จําเป็นและ ต้องการพัฒนาให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน ได้แก่ความสามารถต่อไปนี้ 1.4.1 การแก้ปญหา เป็นความสามารถในการทําความเข้าใจปญหา คิดวิเคราะห์ วางแผนแก้ปัญหา และเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสม โดยคํานึงถึงความสมเหตุสมผลของคําตอบ พร้อม ทั้งตรวจสอบความถูกต้อง 1.4.2 การสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์เป็นความสามารถใน การใช้รูปภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร สื่อความหมาย สรุปผล และนําเสนอได้ อย่างถูกต้อง ชัดเจน 1.4.3 การเชื่อมโยง เป็นความสามารถในการใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์เป็น เครื่องมือในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เนื้อหาต่างๆ หรือศาสตร์อื่นๆ และนําไปใช้ในชีวิตจริง 1.4.4 การให้เหตุผล เป็นความสามารถในการให้เหตุผล รับฟังและให้เหตุผล สนับสนุน หรือโต้แย้งเพื่อนําไปสู่การสรุป โดยมีข้อเท็จจริงทางคณิตศาสตร์รองรับ


9 1.4.5 การคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถในการขยายแนวคิดที่มีอยู่เดิม หรือ สร้างแนวคิดใหม่เพื่อปรับปรุง พัฒนาองค์ความรู้ 1.5 คุณภาพของผู้เรียน เมื่อนักเรียนเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 1.5.1 อ่าน เขียนตัวเลข ตัวหนังสือแสดงจำนวนนับไม่เกิน 100,000 และ 0 มี ความรู้สึกเชิงจำนวน มีทักษะการบวก การลบ การคูณ การหาร และนำไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ 1.5.2 มีความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับเศษส่วนที่ไม่เกิน 1 มีทักษะการบวก การลบ เศษส่วนที่ตัวส่วนเท่ากันและนำไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ 1.5.3 คาดคะเนและวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร ความจุเลือกใช้เครื่องมือและ หน่วยที่เหมาะสม บอกเวลา บอกจำนวนเงิน และนำไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ 1.5.4 จำแนกและบอกลักษณะของรูปหลายเหลี่ยม วงกลม วงรีทรงสี่เหลี่ยมมุม ฉาก ทรงกลม ทรงกระบอกและกรวย เขียนรูปหลายเหลี่ยม วงกลม และวงรีโดยใช้แบบของรูป 1.5.5 ระบุรูปเรขาคณิตที่มีแกนสมมาตร และจำนวนแกนสมมาตร และนำไปใช้ใน สถานการณ์ต่าง ๆ 1.5.6 อ่านและเขียนแผนภูมิรูปภาพ ตารางทางเดียว และนำไปใช้ในสถานการณ์ ต่าง ๆ 1.6 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ในการเรียนคณิตศาสตร์ ในหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ทักษะ และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ดังต่อไปนี้ 1.6.1 ทำความเข้าใจหรือสร้างกรณีทั่วไปโดยใช้ความรู้ที่ได้จากการศึกษากรณี ตัวอย่างหลาย ๆ กรณี 1.6.2 มองเห็นว่าความสามารถใช้คณิตศาสตร์แก้ปัญหาในชีวิตจริงได้ 1.6.3 มีความมุมานะในการทำความเข้าใจปัญหาและแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 1.6.4 สร้างเหตุผลเพื่อสนับสนุนแนวคิดของตนเองหรือโต้แย้งแนวคิดของผู้อื่นอย่าง สมเหตุสมผล 1.6.5 ค้นหาลักษณะที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ และประยุกต์ใช้ลักษณะดังกล่าวเพื่อทำความ เข้าใจหรือแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ 1.7 การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์ การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ในปัจจุบันนี้มุ่งเน้นการวัดและการประเมิน การปฏิบัติงานในสภาพที่เกิดขึ้นจริงหรือที่ใกล้เคียงกับสภาพจริง รวมทั้งการประเมินเกี่ยวกับ สมรรถภาพของนักเรียนเพิ่มเติมจากความรู้ที่ได้จากการท่องจำ โดยใช้วิธีการประเมินที่หลากหลาย จากการที่นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ได้เผชิญกับปัญหาจากสถานการณ์จริงหรือสถานการณ์จำลองได้ แก้ปัญหา สืบค้นข้อมูล และนำความรู้ไปใช้ รวมทั้งแสดงออกทางการคิดการวัดผลประเมินผลดังกล่าว มีจุดประสงค์สำคัญดังต่อไปนี้


10 1.7.1 เพื่อตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและตัดสินผลการเรียนรู้ตามสาระการ เรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด เพื่อนำผลที่ได้จากการตรวจสอบไปปรับปรุงพัฒนาให้ นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้น 1.7.2 เพื่อวินิจฉัยความรู้ทางคณิตศาสตร์และทักษะที่นักเรียนจำเป็นต้องใช้ใน ชีวิตประจำวัน เช่น ความสามารถในการแก้ปัญหา การสืบค้น การให้เหตุผลการสื่อสาร การสื่อ ความหมาย การนำความรู้ไปใช้ การคิดวิเคราะห์การคิดสร้างสรรค์ การควบคุมกระบวนการคิด และ นำผลที่ได้จากการวินิจฉัยนักเรียนไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม 1.7.3 เพื่อรวบรวมข้อมูลและจัดทำสารสนเทศด้านการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ข้อมูล จากการประเมินผลที่ได้ในการสรุปผลการเรียนของนักเรียนและเป็นข้อมูลป้อนกลับแก่นักเรียนหรือ ผู้เกี่ยวข้องตามความเหมาะสมรวมทั้งนำสารสนเทศไปใช้วางแผนบริหารการจัดการศึกษาของ สถานศึกษา การกำหนดจุดประสงค์ของการวัดผลประเมินผลอย่างชัดเจน จะช่วยให้เลือกใช้วิธีการและ เครื่องมือวัดผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวัดได้ในสิ่งที่ต้องการวัดและนำผลที่ได้ไปใช้งานได้จริง 1.8 แนวทางการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์ การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีแนวทางที่สำคัญดังนี้ 1.8.1 การวัดผลประเมินผลต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง โดยใช้คำถามเพื่อตรวจสอบ และส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านเนื้อหา ส่งเสริมให้เกิดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ดัง ตัวอย่างคำถามต่อไปนี้ “นักเรียนแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร “ใครมีวิธีการนอกเหนือไปจากนี้บ้าง” “นักเรียนคิดอย่างไรกับวิธีการที่เพื่อนเสนอ” การกระตุ้นด้วยคำถามที่เน้นการคิดจะทำให้เกิด ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนด้วยกันเองและระหว่างนักเรียนกับผู้สอน นักเรียนมีโอกาสแสดงความ คิดเห็น นอกจากนี้ผู้สอนยังสามารถใช้คำตอบของนักเรียนเป็นข้อมูลเพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจ และพัฒนาการด้านทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนได้อีกด้วย การวัดผล ประเมินผลต้องสอดคล้องกับความรู้ความสามารถของนักเรียนที่ระบุไว้ตามตัวชี้วัดซึ่งกำหนดไว้ใน หลักสูตรที่สถานศึกษาใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน ทั้งนี้ผู้สอนจะต้องกำหนดวิธีการ วัดผลประเมินผลเพื่อใช้ตรวจสอบว่านักเรียนได้บรรลุผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้และต้อง แจ้งผลประเมินในแต่ละเรื่องให้นักเรียนทราบโดยทางตรงหรือทางอ้อมเพื่อให้นักเรียนได้ปรับปรุง ตนเอง 1.8.2 การวัดผลประเมินผลต้องครอบคลุมด้านความรู้ ทักษะและกระบวนการทาง คณิตศาสตร์ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยเน้นการเรียนรู้ด้วยการทำงานหรือทำกิจกรรมที่ ส่งเสริมให้เกิดสมรรถภาพทั้งสามด้าน ซึ่งงานหรือกิจกรรมดังกล่าวควรมีลักษณะดังนี้ 1.8.2.1 สาระในงานหรือกิจกรรมต้องเน้นให้นักเรียนได้ใช้การเชื่อมโยง ความรู้หลายเรื่อง 1.8.2.2 วิธีหรือทางเลือกในการดำเนินงานหรือการแก้ปัญหามีหลากหลาย 1.8.2.3 เงื่อนไขหรือสถานการณ์ของปัญหามีลักษณะปลายเปิด เพื่อให้ นักเรียนได้มีโอกาสแสดงความสามารถตามศักยภาพของตน


11 1.8.2.4 งานหรือกิจกรรมต้องเอื้ออำนวยให้นักเรียนได้ใช้การสื่อสาร การ สื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การพูด การเขียน การวาดภาพ 1.8.2.5 งานหรือกิจกรรมควรมีความใกล้เคียงกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง เพื่อช่วยให้นักเรียนได้เห็นการเชื่อมโยงระหว่างคณิตศาสตร์กับชีวิตจริงซึ่งจะก่อให้เกิดความตระหนัก ในคุณค่าของคณิตศาสตร์ 1.8.3 การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต้องใช้วิธีการที่หลากหลายและ เหมาะสม และใช้เครื่องมือที่มีคุณภาพเพื่อให้ได้ข้อมูลและสนเทศเกี่ยวกับนักเรียน เช่น เมื่อต้องการ วัดผลประเมินผลเพื่อตัดสินผลการเรียนอาจใช้การทดสอบ การตอบคำถาม การทำแบบฝึกหัด การทำ ใบกิจกรรม หรือการทดสอบย่อย เมื่อต้องการตรวจสอบพัฒนาการการเรียนรู้ของนักเรียนด้านทักษะ และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ อาจใช้การสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ การสัมภาษณ์ การจัดทำ แฟ้มสะสมงาน หรือการทำโครงงาน การเลือกใช้วิธีการวัดที่เหมาะสมและเครื่องมือที่มีคุณภาพ จะทำ ให้สามารถวัดในสิ่งที่ต้องการวัดได้ ซึ่งจะทำให้ผู้สอนได้ข้อมูลและสนเทศเกี่ยวกับนักเรียนอย่าง ครบถ้วนและตรงตามวัตถุประสงค์ของการวัดผลประเมินผล อย่างไรก็ตาม ผู้สอนควรตระหนักว่า เครื่องมือวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ที่ใช้ในการประเมินตามวัตถุประสงค์หนึ่ง ไม่ควรนำมาใช้กับอีก วัตถุประสงค์หนึ่งเช่น แบบทดสอบที่ใช้ในการแข่งขันหรือการคัดเลือกไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ตัดสิน ผลการเรียนรู้ 1.8.4 การวัดผลประเมินผลเป็นกระบวนการที่ใช้สะท้อนความรู้ความสามารถของ นักเรียน ช่วยให้นักเรียนมีข้อมูลในการปรับปรุงและพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองให้ดีขึ้น ในขณะที่ผู้สอนสามารถนำผลการประเมินมาใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อปรับปรุง กระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน รวมทั้งปรับปรุงการสอนของผู้สอนให้มีประสิทธิภาพ จึงต้องวัดผล ประเมินผลอย่างสม่ำเสมอและนำผลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน 2. รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ 2.1 ความหมายของการสอนแบบร่วมมือ สนอง อินละคร (2544) กล่าวว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นการจัดการเรียนการสอนโดย แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มละ 4 - 6 คน ที่มีความสามารถคละกัน คือ นักเรียนเก่ง 1 คนปาน กลาง 2 - 4 คน และนักเรียนอ่อน 1 คน นักเรียนทุกคนเรียนรู้และทำกิจกรรมร่วมกันมีการ ปรึกษาหารือกันภายในกลุ่ม ผลสำเร็จของนักเรียนแต่ละคนคือผลสำเร็จของกลุ่ม ศุภางค์ ไทยสมบูรณ์สุข (2547) กล่าวถึงการเรียนรู้แบบร่วมมือว่าเป็นรูปแบบการสอนที่ให้ นักเรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ โดยสมาชิกในกลุ่มมีความสามารถคละกันทั้งสูง กลาง ต่ำ นักเรียนหญิงและชายมีเป้าหมายในการท างานร่วมกัน ได้รับรางวัลหรือความสำเร็จร่วมกัน ทิศนา แขมมณี (2550) ให้ความหมายว่า การสอนแบบร่วมมือ หมายถึง การจัดการเรียนรู้ ที่มีวัตถุประสงค์ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในเรื่องที่ศึกษาอย่างมากที่สุด โดยอาศัยการร่วมมือกัน ช่วยเหลือกันและแลกเปลี่ยนความรู้กัน ระหว่างกลุ่มผู้เรียนด้วยกัน ความแตกต่างของรูปแบบแต่ละ รูปแบบจะอยู่ที่เทคนิคในการศึกษา เนื้อหาสาระและวิธีการเสริมแรงและการให้รางวัลเป็นประการ สำคัญ


12 อาภรณ์ ใจเที่ยง (2550 : 121) ได้กล่าวว่า การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือหรือแบบมีส่วน ร่วม หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถต่างกัน ได้ร่วมมือกันทำงาน กลุ่มด้วยความตั้งใจและเต็มใจรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ในกลุ่มของตน ทำให้งานของกลุ่มดำเนิน ไปสู่เป้าหมายของงานได้ สลาวิน (Slavin, 1987 : 7-13) ได้ให้ความหมายของการสอนแบบร่วมมือว่า หมายถึง การ จัดการเรียนการสอนที่ให้นักเรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ โดยทั่วไปมีสมาชิกกลุ่มละ 4 คน สมาชิกกลุ่มมีความสามารถในการเรียนต่างกัน สมาชิกในกลุ่มจะรับผิดชอบในสิ่งที่ได้รับการสอน และช่วยเพื่อนสมาชิกให้เกิดการเรียนรู้ด้วย มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยมีเป้าหมายในการ ทำงานร่วมกัน คือ เป้าหมายของกลุ่ม ไสว ฟักขาว (2544 : 193) กล่าวถึงการสอนแบบร่วมมือไว้ว่า เป็นการจัดการเรียนการสอน ที่แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ สมาชิกในกลุ่มมีความสามารถแตกต่างกัน มีการแลกเปลี่ยนความ คิดเห็น มีการช่วยเหลือสนับสนุนซึ่งกันและกัน และมีความรับผิดชอบร่วมกันทั้งในส่วนตน และ ส่วนรวม เพื่อให้กลุ่มได้รับความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด จากข้อมูลข้างต้นสรุปความหมายของการสอนแบบร่วมมือได้ว่า การจัดการเรียนการสอนที่ ผู้สอนจัดให้ผู้เรียนแบ่งเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณ 4 - 6 คน เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการทำงาน ร่วมกัน ช่วยเหลือกัน และร่วมกันรับผิดชอบงานในกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้เกิดเป็นความสำเร็จ ของกลุ่ม 2.2 รูปแบบของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ การเรียนแบบร่วมมือมีทั้งเทคนิคที่นำมาใช้ได้โดยไม่ต้องปรับ และเทคนิคที่ต้องปรับ เพื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียนและเนื้อหาวิชา อย่างไรก็ตามการเรียน แบบร่วมมือจัดเป็นวิธีการสอนอย่าง หนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียน เรียนรู้ด้วยตนเองได้เป็นอย่างดี ซึ่งรูปแบบการเรียนแบบร่วมมือมี หลากหลายวิธี ไสว ฟักขาว (2544) กล่าวถึง รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือที่นิยม ใช้ในปัจจุบันมี 7 รูปแบบ ดังนี้ 1. รูปแบบ Jigsaw เป็นการสอนที่อาศัยแนวคิดการต่อภาพ ซึ่งบางครั้งเรียกรูปแบบนี้ ว่า การเรียนแบบต่อชิ้นส่วน หรือ การศึกษาเฉพาะส่วน วิธีการเรียนด้วยรูปแบบนี้ ผู้สอนจะแบ่งกลุ่ม ผู้เรียนโดยการคละความสามารถ พร้อมกับมอบหมายให้ทุกกลุ่มทำกิจกรรมในหัวข้อเดียวกัน จากนั้น ในกลุ่มหลัก (Home Groups) ที่แบ่งไว้ให้แบ่งสมาชิกภายในกลุ่มศึกษาเพียงส่วนหนึ่ง หรือหัวข้อย่อย ของเนื้อหาทั้งหมด โดยขณะศึกษาหัวข้อย่อยนั้น ผู้เรียนจะทำงานเป็นกลุ่มกับเพื่อนกลุ่มอื่นที่ได้รับ มอบหมายให้ศึกษาหัวข้อย่อยเดียวกันเรียกกลุ่มนี้ว่า กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Expert Group) และ เตรียมพร้อมที่จะกลับไปอธิบายหรือสอนสมาชิกในกลุ่มหลักของตนเอง 2. รูปแบบ STAD (Student Teams - Achievement Division) เป็นการเรียนแบบ ร่วมมือ ที่ใช้ร่วมกับกิจกรรมการเรียนการสอนรูปแบบอื่น หรือหลังจากที่ผู้สอนได้สอนผู้เรียนทั้งชั้นไป แล้ว และต้องการให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า ร่วมกันภายในกลุ่มสืบเนื่องจากสิ่งที่ผู้สอนได้สอนไป ซึ่ง ใช้ได้กับทุกวิชา ที่ต้องการให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจในสิ่งที่เป็นข้อเท็จจริง เกิดความคิดรวบยอด ค้นหาสิ่งที่มีคําตอบ ชัดเจน แน่นอน ซึ่งสลาวิน (Slavin : 1980) ได้เสนอรูปแบบการเรียนแบบเป็น


13 ที ม (Student Teams Learning Method) ไ ว้ 4 รู ป แ บ บ คื อ 1 ) student Teams - Achievement Divisions (STAD) 2) Teams - Games - Toumaments (TGT) ซึ่งเป็นรูปแบบที่ สามารถปรับใช้กับทุกวิชาและระดับชั้น 3) Team Assisted Individualization (TAI) เป็นรูปแบบที่ เห ม าะ กั บ ก ารส อ น วิช าค ณิ ต ศ าส ต ร์ แ ล ะ 4 ) Cooperative Integrated Reading and Composition (CIRC) เป็นรูปแบบในการสอนการอ่านและการเขียน โดยขั้นตอนการจัดกิจกรรมการ เรียนการสอนรูปแบบ STAD มีขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นสอน ผู้สอนดำเนินการสอนเนื้อหา ทักษะหรือวิธีการเกี่ยวกับบทเรียนนั้น ๆ อาจ เป็น กิจกรรมที่ผู้สอนบรรยาย สาธิต ใช้สื่อประกอบการสอน หรือให้นักเรียนทำกิจกรรม ขั้นที่ 2 ขั้นทบทวนความรู้เป็นกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มประกอบด้วยสมาชิก 4 – 5 คน ที่มี ความสามารถ ทางการเรียนต่างกัน สมาชิกในกลุ่มต้องมีความเข้าใจกัน ทุกคนจะต้องทำงานร่วมกัน เพื่อช่วยเหลือกันในการศึกษาเอกสาร และทบทวนความรู้เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการสอบย่อย ขั้นที่ 3 ขั้นทดสอบย่อย ผู้สอนจัดให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบย่อย หลังจากผู้เรียนได้เรียนและ ทบทวน เป็นกลุ่มเกี่ยวกับเรื่องที่กำหนด โดยผู้เรียนทำแบบทดสอบคนเดียว ขั้นที่ 4 ขั้นหาคะแนนพัฒนาการ คะแนนพัฒนาการเป็นคะแนนที่ได้จากการพิจารณาความ แตกต่างระหว่างคะแนนการทดสอบครั้งก่อน ๆ กับคะแนนการทดสอบครั้งปัจจุบัน มีเกณฑ์การให้ คะแนนกำหนดไว้ดังนั้นจะต้องมีการกำหนดคะเเนนฐานของนักเรียนแต่ละคน ซึ่งอาจได้จากค่าเฉลี่ย ของคะแนนแบบทดสอบหรืออาจใช้คะแนนทดสอบครั้งก่อนหากเป็นการหาคะแนนปรับปรุงโดยใช้ รูปแบบการสอน STAD เป็นครั้งแรก ขั้นที่ 5 ขั้นให้รางวัลกลุ่ม โดยรางวัลผู้สอนอาจจะเป็นผู้กำหนดร่วมกับผู้เรียน เช่น กลุ่มที่ได้ คะแนนพัฒนาการตามเกณฑ์ที่กำหนดจะได้รับคําชมเชยหรือติดประกาศที่บอร์ดในห้องเรียน 3. รูปแบบ LT (Learning Together) รูปแบบนี้ผู้สอนกำหนดสถานการณ์ หรือ โครงงาน พร้อมกับกำหนดเงื่อนไข รายละเอียดของงาน เพื่อให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์หลังจาก นั้นผู้สอนจะแบ่งกลุ่มผู้เรียนแบบคละความสามารถ แล้วให้ผู้เรียนทำผลงานเป็นกลุ่ม ซึ่งสมาชิกกลุ่ม รับผิดชอบใน งานส่วนของตนเอง เมื่องานในส่วนของตนเองแล้วเสร็จ จะนํางานของทุกคนมารวมเป็น งานของกลุ่ม ดังนั้น ความสำเร็จของกลุ่มเกิดจากความร่วมมือของสมาชิกกลุ่มทุกคนให้นักเรียน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและ แบ่งปันเอกสาร การแบ่งงานที่เหมาะสม พร้อมนําเสนอผลงาน โดยมี ผู้สอนเป็นผู้ประเมินผลการทำงานของ กลุ่ม เน้นผลงานและกระบวนการทำงาน วิธีการประเมินโดย คัดเลือกตัวแทนกลุ่มออกมาสอบถามเกี่ยวกับ งานที่ได้ทำ และกระบวนการทำงานของกลุ่ม สุดท้ายมี การให้รางวัลกลุ่มที่ทำผ่านเกณฑ์ที่กำหนด 4. รูปแบบ TAI (Team Assisted Individualization) คือ วิธีการสอนที่ผสมผสาน ระหว่างการเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning) และการสอนรายบุคคล (Individualization Instruction) เข้าด้วยกัน โดยให้ผู้เรียนได้ลงมือทํากิจกรรมในการเรียนได้ด้วยตนเองตาม ความสามารถของตน และส่งเสริมความร่วมมือภายในกลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม 5. รูปแบบ TGT (Teams-Games-Tournaments) เป็นการเรียนแบบร่วมมือกัน แข่งขันทำกิจกรรม กล่าวคือเป็นการเรียนที่มีการแข่งขันกันระหว่างกลุ่มด้วยเกม ซึ่งเป็นการจัดการ


14 เรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนได้เรียนในกลุ่มเล็ก ๆ คละความสามารถเช่นเดียวกับรูปแบบการเรียนการ สอนแบบกลุ่มแข่งขันแบบแบ่งตาม ผลสัมฤทธิ์ (STAD) โดยมีความแตกต่างกันที่การเข้าร่วมกลุ่มจะมี ลักษณะถาวรกว่า โดยสมาชิกแต่ละคนของกลุ่มหนึ่ง ๆ ต้องแข่งขันกันตอบคําถามกับสมาชิกของกลุ่ม อื่นที่โต๊ะแข่ง (Tournament Tables) เป็นรายสัปดาห์ โดยนักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์เดียวกันจะ แข่งขันกันเพื่อทำคะแนนให้กลุ่มของตน 6. รูปแบบ GI (Group Investigation) เป็นการเรียนแบบสืบสวนสอบสวน เน้นการ สร้างบรรยากาศการทำงานร่วมกัน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างำสรรค์ การสอนแบบสืบสวนสอบสวน เป็นกลุ่มนี้เป็นโครงสร้างการเรียนรู้ที่เน้นความสำคัญของทักษะการคิดระดับสูง เช่น การวิเคราะห์ และการประเมินผล ผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่มเล็ก ๆ โดยใช้การสืบค้นแบบร่วมมือ เพื่อการอภิปรายกลุ่ม 7. โปรแกรม CIRC (Cooperative Integrated Reading and Composition) เป็น โปรแกรมสำหรับสอนการอ่าน การเขียน และทักษะทางภาษา (Language arts) นับว่าเป็นโปรแกรม ที่ใหม่ที่สุดของวิธีการเรียนรู้เป็นทีม และเป็นโปรแกรมการเรียนการสอนที่นําการเรียนแบบร่วมมือมา ใช้กับการอ่านและการเขียนโครงการ ซึ่งเหมาะกับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย โดยเน้นที่ หลักสูตรและวิธีการสอน เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร (2555: 79 - 82) ได้กล่าวถึง รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือที่ สามารถนำไปใช้ได้ดีกับคณิตศาสตร์ในชั้นเรียน มีดังนี้ 1. การระดมสมองเป็นกลุ่มเล็ก (Small group brainstorm or roundtable) เป็นรูปแบบที่สมาชิกในกลุ่มร่วมกันอภิปรายและศึกษาหาความรู้ ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 1.1 จัดผู้เรียนเป็นกลุ่มเล็ก กลุ่มละ 3 - 5 คน 1.2 ตั้งคำถามหรือประเด็นอภิปราย โดยอาจเป็นคำถามเดียวสำหรับทุกกลุ่ม หรือ คำถามที่แตกต่างในแต่ละกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มต่าง ๆ คิดในสิ่งที่ไม่เหมือนกัน 1.3 ผู้เรียนแต่ละคนเสนอความคิดเห็นในแง่มุมต่าง ๆ ภายในกลุ่มของตน 1.4 แต่ละกลุ่มนำข้อคิดเห็นที่ได้มาอภิปรายเพื่อหาข้อสรุปของกลุ่ม 1.5 สรุปสาระสำคัญของกลุ่ม 2. โค-ออป โค-ออป (Co-op Co-op) เป็นรูปแบบที่สมาชิกในกลุ่มฝึกการทำงานกลุ่มร่วมกัน ได้ทำงานตามความถนัดและ ความสนใจของตนเอง ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 2.1 ผู้สอนกำหนดเนื้อหาหรือประเด็นที่ต้องการให้ผู้เรียนศึกษา 2.2 ผู้เรียนทั้งชั้นร่วมกันอภิปรายหัวข้อที่จะศึกษา และแบ่งหัวข้อใหญ่เป็นหัวข้อ ย่อยเท่ากับจำนวนกลุ่มที่จัด 2.3 จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มประมาณกลุ่มละ 3 - 5 คน 2.4 แต่ละกลุ่มเลือกหัวข้อที่จะศึกษาตามความสนใจของกลุ่ม 2.5 กลุ่มแบ่งหัวข้อย่อยที่ได้รับเป็นหัวข้อเล็ก ๆ เท่ากับจำนวนสมาชิกในกลุ่ม เพื่อให้ทุกคนได้ศึกษา


15 2.6 ผู้เรียนแต่ละคนศึกษาหัวข้อที่ตนเลือก แล้วนำเสนอต่อกลุ่ม 2.7 กลุ่มรวบรวมรายละเอียดจากสมาชิกแล้วอภิปรายเพื่อหาข้อสรุปและนำเสนอ ต่อชั้นเรียน 3. แกรฟติ (Graffti) เป็นรูปแบบที่สมาชิกภายในกลุ่มร่วมกันคิดและสรุปประเด็นในทุก ๆ เนื้อหา ตั้งแต่ เนื้อหาของกลุ่มแรกจนถึงกลุ่มสุดท้าย ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 3.1 ผู้สอนจัดผู้เรียนเป็นกลุ่ม แล้วเตรียมคำถามเท่ากับจำนวนกลุ่มที่แบ่งได้ โดย เขียนคำถามลงบนกระดาษชาร์ต หนึ่งคำถามต่อกระดาษชาร์ตหนึ่งแผ่น 3.2 ให้แต่ละกลุ่มเป็นเจ้าของคำถามหนึ่งคำถาม และรับผิดชอบในการสรุป สาระสำคัญที่ได้จากการระดมสมอง 3.3 แต่ละกลุ่มเริ่มต้นจากคำถามที่ตนเป็นเจ้าของ ให้แต่ละคนเขียนข้อคิดเห็นลง บนกระดาษชาร์ตโดยอาจใช้รูปภาพประกอบได้ 3.4 ผู้สอนแจ้งให้แต่ละกลุ่มหมุนไปยังปัญหาใหม่ แล้วเสนอความคิดเห็นลงบน กระดาษชาร์ตแผ่นใหม่ ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนหมุนกลับมาอยู่ที่จุดเริ่มต้น 3.5 กลุ่มเจ้าของคำถามจะทำการสรุปข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา ที่ได้จากแผ่นชาร์ตเพื่อนำเสนอต่อชั้นเรียน 4. จิกซอว์(Jigsaw) เป็นรูปแบบที่สมาชิกในกลุ่มแยกย้ายไปศึกษาหาความรู้ในเนื้อหาที่แตกต่างกันแล้ว กลับมาถ่ายทอดความรู้ให้สมาชิกในกลุ่มฟัง วิธีนี้คล้ายกับการต่อภาพความรู้เป็นจิกซอว์ ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 4.1 จัดกลุ่มผู้เรียนแบบคละความสามารถและเรียกกลุ่มนี้ว่า กลุ่มบ้าน (Home group) 4.2 ผู้สอนแบ่งเนื้อหาที่จะสอนออกเป็นหัวข้อย่อย ๆ ให้มีจำนวนเท่ากับจำนวน สมาชิกในกลุ่มบ้าน แล้วให้สมาชิกในกลุ่มบ้านไปศึกษาเนื้อหาคนละ 1 หัวข้อย่อย และหาคำตอบใน ประเด็นปัญหาที่ผู้สอนมอบหมายให้ ดังนั้น แต่ละกลุ่มจะถูกมอบหมายให้ศึกษาเนื้อหาเดียวกัน โดย สมาชิกในกลุ่มบ้านแต่ละคนจะศึกษาหัวข้อย่อยต่างกัน 4.3 ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มที่ศึกษาหัวข้อย่อยหรือเนื้อหาเดียวกัน ย้ายไปรวมกันตั้ง เป็นกลุ่มใหม่เรียกว่า กลุ่มเชี่ยวชาญ (Expert group) และร่วมกันทำความเข้าใจในเนื้อหานั้นอย่าง ละเอียดและร่วมกันอภิปรายหาคำตอบประเด็นปัญหาที่ผู้สอนมอบหมาย 4.4 สมาชิกกลุ่มเชี่ยวชาญกลับไปสู่กลุ่มบ้านและถ่ายทอดสิ่งที่ตนเรียนรู้มาจาก กลุ่มผู้เชี่ยวชาญให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มบ้านฟัง เพื่อให้สมาชิกทุกคนได้เรียนรู้ภาพรวมของเนื้อหา ทั้งหมด 5. แอล.ที. (L.T. : Learning together) เป็นรูปแบบที่สมาชิกในกลุ่มร่วมกันศึกษาเนื้อหา โดยแบ่งบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน ขั้นตอนการจัดกิจกรรม


16 5.1 จัดกลุ่มผู้เรียนแบบคละความสามารถกลุ่มละ 4 คน 5.2 กลุ่มย่อยร่วมกันศึกษาเนื้อหา โดยกำหนดให้แต่ละคนมีบทบาทหน้าที่ที่ช่วย กลุ่มในการเรียนรู้อย่างชัดเจน เช่น สมาชิกคนที่ 1 อ่านคำสั่ง สมาชิกคนที่ 2 หาคำตอบ สมาชิกคนที่ 3 หาคำตอบ สมาชิกคนที่ 4 ตรวจคำตอบ 5.3 กลุ่มสรุปคำตอบร่วมกันและส่งคำตอบนั้นเป็นผลงานกลุ่ม 5.4 ผลงานกลุ่มได้คะแนนเท่าไร สมาชิกทุกคนในกลุ่มจะได้คะแนนเท่ากันทุกคน 6. จี.ไอ. (G.I. : Group investigation) เป็นรูปแบบที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนช่วยกันสืบค้นข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้ ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 6.1 จัดกลุ่มผู้เรียนแบบคละความสามารถ 6.2 แต่ละกลุ่มย่อยศึกษาเนื้อหาร่วมกัน โดยแบ่งเนื้อหาเป็นหัวข้อย่อย ๆ แล้วแบ่ง กันไปศึกษาข้อมูลหรือคำตอบ ในการเลือกเนื้อหาควรให้ผู้เรียนอ่อนเป็นผู้เลือกก่อน 6.3 สมาชิกแต่ละคนนำเสนอข้อมูลหรือคำตอบในกลุ่มย่อย จากนั้นกลุ่มย่อย อภิปรายและร่วมกันสรุปผล 6.4 นำเสนอผลงานของกลุ่มย่อยต่อชั้นเรียน จากข้อมูลข้างต้นสรุปรูปแบบของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือได้ว่า การจัดการเรียน แบบร่วมมือมีรูปแบบของการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับผู้สอนที่จะเลือกใช้รูปแบบใด โดย การคำนึงความเหมาะสมกับผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ สูงสุด บรรลุตามวัตถุประสงค์การ เรียนรู้ที่ผู้สอนกำหนดไว้ โดยแต่ละรูปแบบจะมีข้อดีแตกต่างกันไป ซึ่งไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดก็ล้วนแต่ ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะของการทำงานเป็นทีม การช่วยเหลือกัน ยอมรับซึ่งกันและกัน เกิด กระบวนการคิดที่สร้างสรรค์จากการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น นําไปสู่การพัฒนาทักษะทางสังคม เมื่อผู้เรียนออกไปสู่การใช้ชีวิตนอกห้องเรียน 2.3 ขั้นตอนจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบด้วยองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กัน โดยมี เป้าหมายคือ เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กลุ่มร่วมกันตั้งไว้ดังนั้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวจึง ต้องมีขั้นตอน หรือกระบวนต่าง ๆ เป็นตัวขับเคลื่อน สลาวิน (Slavin, 1995: 73-75) ได้กล่าวถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้ แบบร่วมมือ เทคนิค STAD สรุปได้ว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบนี้ประกอบด้วยเทคนิค 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ การเตรียมการสอนและกิจกรรมต่าง ๆ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ขั้นการเตรียมการจัดการเรียนรู้ (Preparation) 1) วัสดุและเอกสารประกอบการสอน (Materials)


17 ผู้สอนจะต้องเตรียมวัสดุการสอนที่ใช้ในการทำงานกลุ่ม ประกอบด้วย บัตรเนื้อหาบัตร กิจกรรมและบัตรเฉลย รวมทั้งข้อสอบสำหรับทดสอบนักเรียนแต่ละคน หลังจากเรียนบทเรียนในแต่ ละหน่วยแล้ว 2) การจัดนักเรียนเข้ากลุ่ม (Assigning student to teams) แต่ละกลุ่มจะประกอบด้วยนักเรียนประมาณ 4 – 5 คน ซึ่งมีความสามารถทางวิชาการ แตกต่างกัน กล่าวคือ แต่ละกลุ่มประกอบด้วยนักเรียนเก่ง 1 คน ปานกลาง 2 คน และอ่อน 1 คน ถ้า เป็นไปได้ควรคำนึงความแตกต่างระหว่างเพศด้วย เช่น ประกอบด้วย ชาย 2 คน หญิง 2 คน วิธีการจัดนักเรียนเข้ากลุ่มอาจทำได้ ดังนี้ 2.1) จัดลำดับนักเรียนในชั้นจากเก่งที่สุดไปหาอ่อนที่สุด โดยยึดตามผลการเรียนที่ ผ่านมา ซึ่งอาจจะเป็นคะแนนจากแบบทดสอบ/เกรด หรือการพิจารณาตัดสินใจของผู้สอนเองเป็น ส่วนประกอบ ผู้สอนอาจจะลำบากใจในการจัดลำดับ แต่พยายามให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ 2.2) หาจำนวนกลุ่มทั้งหมดว่ามีกี่กลุ่ม แต่ละกลุ่มควรประกอบด้วยสมาชิก ประมาณ 4 คน ฉะนั้น จำนวนทั้งหมดจะมีกี่กลุ่ม หาได้จากการหารจำนวนนักเรียนทั้งหมดด้วย 4 ซึ่ง ผลหารก็คือ จำนวนกลุ่มทั้งหมด ถ้าหารไม่ลงตัวเราอนุโลมให้บางกลุ่มมีสมาชิก 5 คน ตัวอย่างเช่น ถ้ามีนักเรียนในห้องทั้งหมด 32 คน ถ้าแบ่งเป็นกลุ่มละ 4 คน จะได้ทั้งหมด 8 กลุ่มพอดี 2.3) กำหนดนักเรียนเข้ากลุ่มเพื่อให้ได้กลุ่มที่สมดุลกัน โดยแต่ละกลุ่มจะ ประกอบด้วย นักเรียนที่มีผลการเรียนอยู่ในระดับเก่ง ปานกลาง และอ่อน ซึ่งพิจารณาจากระดับผล การเรียนโดยเฉลี่ย อาจได้ทำได้โดยให้ชื่อกลุ่มทั้ง 8 ด้วยตัวอักษร A – H จากนั้นจัดนักเรียนเข้ากลุ่ม โดยเริ่มจากคนที่เรียนเก่งที่สุดให้อยู่กลุ่ม A ไล่ลงมาเรื่อย ๆ จนถึง H คนที่ 8 จะอยู่กลุ่ม H จากนั้นเริ่มใหม่ไล่ย้อนกลับ คือ ให้คนที่ 9 อยู่ในกลุ่ม H ไล่ไปเรื่อย ๆ คนที่ 10 จะอยู่กลุ่ม G ทำซ้ำแบบเดิมจนถึงนักเรียนที่อ่อนที่สุด ซึ่งจะได้นักเรียนเข้ากลุ่มคละ ความสามารถ คือ เก่ง : ปานกลาง : อ่อน ตามอัตราส่วน 1 : 2 : 1 3) การหาคะแนนฐานของนักเรียน คะแนนฐานของนักเรียนแต่ละคน อาจได้มาจากคะแนนผลการเรียนจากภาคเรียนที่ ผ่านมา หรือปีการศึกษาที่ผ่านมาก็ได้ที่ต้องการเฉลี่ยคะแนนของทั้งปี 4) การคิดคะแนนการพัฒนาของแต่ละคนและทีม คะแนนการพัฒนาของสมาชิกแต่ละคนในทีม คิดคำนวณจากผลต่างระหว่างคะแนน ของผลการทดสอบย่อยกับคะแนนฐานของแต่ละคน ซึ่งมีเกณฑ์ในการให้คะแนน ดังนี้ คะแนนพัฒนาการ 0 ได้คะแนนทดสอบต่ำกว่าคะแนนฐานมากกว่า 10 คะแนน คะแนนพัฒนาการ 10 ได้คะแนนทดสอบต่ำกว่าคะแนนฐาน 1 – 10 คะแนน คะแนนพัฒนาการ 20 ได้คะแนนทดสอบสูงกว่าคะแนนฐาน 1 – 10 คะแนน คะแนนพัฒนาการ 30 ได้คะแนนทดสอบสูงกว่าคะแนนฐานเกิน 10 คะแนน คะแนนพัฒนาการ 30 ได้คะแนนทดสอบเต็ม รวมคะแนนการพัฒนาของสมาชิกแต่ละคน แล้วนำคะแนนนั้นมารวมกันทั้งกลุ่มจากนั้นหา ค่าเฉลี่ยเป็นคะแนนการพัฒนาของกลุ่มที่จะได้รับการยกย่องหรือได้รับรางวัล ซึ่งจะต้องมีคะแนนตาม


18 เกณฑ์ดังต่อไปนี้ คะแนนเฉลี่ยของกลุ่ม 15 อยู่ในระดับ เก่ง คะแนนเฉลี่ยของกลุ่ม 20 อยู่ในระดับ เก่งมาก คะแนนเฉลี่ยของกลุ่ม 25 อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม อาภรณ์ ใจเที่ยง (2550) กล่าวถึงขั้นตอนการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ไว้ ดังนี้ 1. ขั้นเตรียมการ ในขั้นตอนนี้เป็นการเตรียมความพร้อมก่อนเรียน เริ่มด้วยผู้สอน ชี้แจงจุดประสงค์ของบทเรียน หลังจากนั้นผู้สอนจัดกลุ่มผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อย โดยคละผู้เรียนในกลุ่มให้ แตกต่างกันในด้านสติปัญญา ความถนัด และภูมิหลัง แบ่งจำนวนสมาชิกในกลุ่ม กลุ่มละไม่เกิน 6 คน หลังจากนั้นผู้สอนแนะนําวิธีการทำงานกลุ่ม และบทบาทของสมาชิกในกลุ่ม 2. ขั้นสอน ในขั้นตอนนี้ผู้สอนเริ่มนําเข้าสู่บทเรียน โดยการสอนหรือบรรยายเนื้อหา ตามบทเรียน หลังจากนั้นมอบหมายงานให้แต่ละกลุ่ม ซึ่งผู้สอนจะอธิบายถึงปัญหาหรืองานที่ต้องการ ให้กลุ่มแก้ไขหรือ คิดวิเคราะห์หาคําตอบ พร้อมแนะนําแหล่งข้อมูล ค้นคว้า หรือให้ข้อมูลพื้นฐาน สำหรับการคิดวิเคราะห์อย่างชัดเจน 3. ขั้นทำกิจกรรมกลุ่ม เป็นขั้นตอนที่สมาชิกภายในกลุ่มจะได้ฝึกทักษะการเรียนรู้ ร่วมกัน การทำงานร่วมกัน รับผิดชอบในงานร่วมกัน ร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยกัน ร่วมกันทำงาน ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 4. ขั้นตรวจสอบผลงานและทดสอบ ขั้นตอนนี้สมาชิกภายในกลุ่มจะรายงานผลการ ดําเนินงานกลุ่ม โดยผู้สอนและเพื่อนกลุ่มอื่นสามารถซักถามหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้เกิดความ ชัดเจนมากขึ้น เน้นการตรวจผลงานกลุ่มและผลงานรายบุคคล ในบางกรณีผู้เรียนอาจต้องซ่อมเสริม สิ่งที่ยังต้องปรับปรุง แล้วจึงทำการทดสอบผลงานอีกครั้ง 5. ขั้นสรุปบทเรียนและประเมินผลการทำงานกลุ่ม ขั้นนี้ผู้สอนและผู้เรียนจะช่วยกัน สรุปบทเรียน โดยผู้สอนจะช่วยเสริมความรู้ที่จําเป็น หรือยังไม่ครอบคลุม เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย การเรียนที่กำหนดไว้ และช่วยกันประเมินผลการทำงานกลุ่มทั้งส่วนที่เด่นและส่วนที่ควรปรับปรุง แก้ไข ให้การเสริมแรงโดยการชมเชย หรือมอบรางวัลกลุ่มที่ทำคะแนนได้ตามเกณฑ์ และการให้ กําลังใจกับสมาชิกในกลุ่มที่ยังไม่สามารถทำงานผ่านเกณฑ์ได้ จากที่กล่าวมาข้างต้นทำให้เห็นถึงขั้นตอนทั้งหมดของการจัดกิจกรรมในการเรียนรู้แบบ ร่วมมือ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และฝึกทักษะกระบวนการกลุ่มตามบทบาทหน้าที่และความ รับผิดชอบ รวมถึงได้ฝึกทักษะการคิด การค้นคว้า การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ได้ประสบการณ์ใน ด้านการอยู่ร่วมกับผู้อื่น การช่วยเหลือผู้อื่น การเสียสละ การยอมรับกันและกัน การไว้วางใจซึ่งกัน และกัน การเป็นผู้นํา และการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ 2.4 ประโยชน์ของการเรียนแบบร่วมมือ การเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นวิธีการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางทำให้นักเรียนได้ ทำงานร่วมกันมีเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน ซึ่งจะทำให้มีทักษะในการทำงานกลุ่ม ซึ่งมีนักการ ศึกษาได้กล่าวถึงประโยชน์ของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือไว้ ดังนี้


19 จอห์นสัน และจอห์นสัน (Johnson, D. W., & Johnson, R. T. ,1987) กล่าวถึงประโยชน์ ของการเรียนแบบร่วมมือไว้ 9 ประการ ดังนี้ 1. ผู้เรียนเก่งที่เข้าใจคําสอนของผู้สอนได้ดี สามารถเปลี่ยนคําสอนของผู้สอนเป็นภาษา พูดของตน แล้วอธิบายให้เพื่อนฟังได้ 2. ผู้เรียนที่ทำหน้าที่อธิบายบทเรียนให้เพื่อนฟัง จะเข้าใจบทเรียนได้ดีขึ้น 3. การสอนเพื่อนเป็นการสอนแบบตัวต่อตัวทำให้ผู้เรียน ได้รับความเอาใจใส่และมี ความสนใจมากขึ้น 4. ผู้เรียนทุกคนต่างก็พยายามช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพราะผู้สอนคิดคะแนนเฉลี่ย ของทั้งกลุ่มด้วย 5. ผู้เรียนทุกคนเข้าใจดีว่าคะแนนของตน มีส่วนช่วยเพิ่มหรือลดค่าเฉลี่ยของกลุ่ม ดังนั้นทุกคนจะต้องพยายามปฏิบัติหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มความสามารถ เพื่อให้กลุ่มประสบ ความสำเร็จ 6. ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสฝึกทักษะทางสังคมมีเพื่อนร่วมกลุ่ม และเป็นการเรียนรู้วิธีการ ทำงานเป็นกลุ่ม 7. ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้กระบวนการกลุ่ม เพราะในการปฏิบัติงานร่วมกันนั้นก็ต้องมี การทบทวน กระบวนการทำงานของกลุ่มเพื่อให้ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน หรือคะแนนของกลุ่มดี ขึ้น 8. ผู้เรียนเก่งจะมีบทบาททางสังคมในชั้นมากขึ้น ผู้เรียนจะรู้สึกว่าตนไม่ได้เรียนคน เดียว เพราะทุกคนจะมีหน้าที่ในการอธิบายให้เพื่อนฟังอย่างเข้าใจ 9. ในการตอบคําถามในห้องเรียน หากเป็นการตอบคำถามส่วนบุคคลเมื่อตอบผิดเพื่อน จะหัวเราะ แต่เมื่อทำงานเป็นกลุ่ม ผู้เรียนจะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ถ้าหากตอบผิดก็ถือว่าผิดทั้งกลุ่ม ในการทำกิจกรรมจึงจะทำให้ผู้เรียนในกลุ่มมีความผูกพันกันมากขึ้น กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2543) กล่าวถึง ประโยชน์ที่สำคัญของการเรียนรู้แบบ ร่วมมือ สรุปได้ดังนี้ 1. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิก เพราะทุกคนร่วมมือในการทำงานกลุ่ม ทุกคน มีส่วนร่วมเท่าเทียมกันทำให้เกิดเจตคติที่ดีต่อการเรียน 2. ส่งเสริมให้สมาชิกทุกคนมีโอกาสคิด แสดงความคิดเห็น ลงมือกระทำอย่างเท่าเทียม กัน 3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เช่น เด็กเก่งช่วยเด็กที่เรียนไม่เก่ง ทำ ให้เด็กเก่งภาคภูมิใจ รู้จักสละเวลา ส่วนเด็กอ่อนเกิดความซาบซึ้งในน้ำใจของเพื่อนสมาชิกด้วยกัน 4. ทำให้รู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การร่วมคิด การระดมความคิดนำข้อมูลที่ ได้มาพิจารณาร่วมกันเพื่อหาคำตอบที่เหมาะสมที่สุด เป็นการส่งเสริมให้ช่วยกันคิดหาข้อมูลให้มาคิด วิเคราะห์และเกิดการตัดสินใจ 5. ส่งเสริมทักษะทางสังคม ทำให้ผู้เรียนรู้จักปรับตัวในการอยู่ร่วมกันอย่างมีมนุษย สัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เข้าใจกันและกัน


20 6. ส่งเสริมทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น จากข้อมูลข้างต้น สามารถสรุปประโยชน์ของการเรียนแบบร่วมมือได้ว่า การเรียนรู้แบบ ร่วมมือ มีประโยชน์หลายประการในการพัฒนาผู้เรียน นั่นคือ ช่วยพัฒนาความเชื่อมั่นของผู้เรียน พัฒนาความคิดของผู้เรียน เกิดเจตคติที่ดีในการเรียน รู้จักคิด รู้จักแก้ปัญหา ช่วยยกระดับผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน สร้างความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน ส่งเสริมทักษะในการทำงานร่วมกัน ฝึกให้รู้จักรับฟัง ความคิดเห็นของผู้อื่น ทำให้นักเรียนมีวิสัยทัศน์ หรือมุมมองกว้างขึ้น ส่งเสริมทักษะทางสังคม ตลอดจนช่วยให้ผู้เรียนมีการปรับตัวในสังคมได้ดีขึ้น 3. การจัดการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD 3.1 ความหมายของการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD วัฒนาพร ระงับทุกข์ (2542) กล่าวว่า วิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD คือวิธีการจัดการเรียนการสอนที่จัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้แก่ผู้เรียนเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม เล็ก สมาชิกในแต่ละกลุ่มที่มีความรู้ ความสามารถแตกต่างกัน โดยที่แต่ละคนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ในการเรียนรู้และในความสำเร็จของกลุ่ม จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแบ่งปันทรัพยากรการ เรียนรู้ รวมทั้งเป็นกำลังใจให้กันและกัน คนที่เรียนเก่งจะช่วยเหลือคนที่อ่อนกว่าสมาชิกในกลุ่มต้อง รับผิดชอบต่อการเรียนของตนเอง และร่วมรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของสมาชิกทุกคนในกลุ่ม ความสำเร็จแต่ละบุคคลคือความสำเร็จของกลุ่ม วิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์สามารถนำมาใช้ ได้กับการเรียนทุกวิชาและทุกระดับชั้น และจะมีประสิทธิภาพยิ่งกับกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนา ผู้เรียนในด้านการแก้ปัญหา การกำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้ การคิดแบบหลากหลาย การปฏิบัติ ภารกิจที่ซับซ้อน การเน้นคุณธรรมจริยธรรม การเสริมสร้างประชาธิปไตยในชั้นเรียน ทักษะทางสังคม การสร้างวินัยความรับผิดชอบร่วมงานและความร่วมมือภายในกลุ่ม อดุสิทธิ์ คิดรัมย์ (2548) ได้ให้ความหมายการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ว่า เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นให้นักเรียนที่มีความรู้ความสามารถแตกต่างกันในกลุ่มทำ กิจกรรมร่วมกัน รับผิดชอบงานของกลุ่มร่วมกัน รวมทั้งร่วมกันส่งเสริมการเรียนรู้ของสมาชิกในแต่ละ คน หลักการพื้นฐานของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD นั้น สมาชิกในกลุ่มทุกคน ต้องปฏิบัติตามหลักการพื้นฐาน 5 ประการดังต่อไปนี้ 1. การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันเชิงบวก นักเรียนจะรู้สึกว่าตนเองจาเป็นจะต้องอาศัยผู้อื่นในการที่จะทำงานกลุ่มให้สำเร็จ กล่าวคือ “ร่วมเป็นร่วมตาย” วิธีการที่จะท าให้เกิดความรู้สึกเช่นนี้อาจจะท าได้โดยท าให้มีจุดมุ่งหมายร่วมกัน เช่น ถ้านักเรียนทำคะแนนกลุ่มได้สูง แต่ละคนจะได้รับรางวัลร่วมกัน ประเด็นที่สำคัญก็คือ สมาชิกทุก คนในกลุ่มจะต้องทำงานกลุ่มให้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งความสำเร็จนี้จะขึ้นอยู่กับความร่วมมือกันของสมาชิก ทุกคน จะไม่มีการยอมรับความสำคัญหรือความสามารถของบุคคลเพียงคนเดียว 2. การติดต่อปฏิสัมพันธ์โดยตรง เนื่องจากการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันเชิงบวก มิใช่วิธีที่จะทำให้เกิดผลอย่างปาฏิหาริย์ แต่ ผลดีที่จะเกิดขึ้นจากการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันละกันนั้น จะต้องมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกัน


21 และกันระหว่างนักเรียนที่เป็นสมาชิกกลุ่ม ในการจัดการเรียนรู้แบบ STAD นั้น การสรุปเรื่อง การ อธิบาย การขยายความในบทเรียนที่เรียนมาให้แก่เพื่อนในกลุ่มเป็นลักษณะสำคัญของการติดต่อ ปฏิสัมพันธ์โดยตรงของการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ดังนั้นจึงควรมีการอภิปรายและแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นซึ่งกันและกันโดยเปิดโอกาสให้สมาชิกได้เสนอแนวคิดใหม่ ๆ เพื่อเลือกสิ่งที่ดี ถูกต้องและ เหมาะสมที่สุด 3. การรับผิดชอบงานกลุ่มของกลุ่ม การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD จะถือว่าไม่สำเร็จจนกว่าสมาชิกทุกคนในกลุ่ม จะเข้าใจในบทเรียนทุกคน หรือได้รับการช่วยเหลือจากเพื่อนในกลุ่มให้ได้เรียนรู้ได้ทุกคนเพราะฉะนั้น จึงจำเป็นต้องวัดผลการเรียนของแต่ละคนเพื่อให้สมาชิกในกลุ่มได้ช่วยเหลือเพื่อนที่เรียนไม่เก่ง ใน บางครั้งครูอาจจะใช้วิธีทดสอบสมาชิกในกลุ่มเป็นรายบุคคลหรือสุ่มเรียกบุคคลใดบุคคลหนึ่งในกลุ่ม เป็นผู้ตอบ ด้วยวิธีดังกล่าวกลุ่มจะต้องช่วยกันเรียนรู้และช่วยกันทำงาน รับผิดชอบต่องานของตน ทุก คนจะต้องเข้าใจและรู้แจ้งในงานที่ตนเองรับผิดชอบ ก่อให้เกิดผลสำเร็จของกลุ่มตามมา 4. ทักษะในความสัมพันธ์กับกลุ่มเล็กและผู้อื่น นักเรียนทุกคนไม่ได้มาโรงเรียนพร้อมกับทักษะในการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น เพราะฉะนั้นจึง เป็นหน้าที่ของครูที่จะช่วยนักเรียนในการสื่อสารการเป็นผู้นำ การไว้ใจผู้อื่น การตัดสินใจ การ แก้ปัญหาความขัดแย้ง ครูควรจัดสถานการณ์ที่จะส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้ทักษะมนุษยสัมพันธ์และ กลุ่มสัมพันธ์เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ครูควรสอบวัดทักษะและมีการ ประเมินการทำงานของกลุ่มนักเรียนด้วย การที่จัดนักเรียนที่ขาดทักษะในการทำงานกลุ่มมาทำงาน ร่วมกันจะทำให้การทำงานนี้ไม่ประสบผลสำเร็จเพราะการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ไม่ได้หมายถึงแต่เพียงการที่จัดให้นักเรียนมานั่งทำงานเป็นกลุ่มเท่านั้น ซึ่งจุดนี้เป็นหลักการหนึ่งที่ทำ ให้นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ STAD แตกต่างจากการเรียนเป็นกลุ่มแบบเดิมที่เคยใช้กันมา นาน จากทักษะการทางานกลุ่มนี้เองที่จะทำให้นักเรียนช่วยเหลือกัน ถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกัน และมีการร่วมมือในกลุ่ม ดังนั้นทุกคนจึงเกิดการเรียนรู้ที่จะทำให้กลุ่มได้รับความสำเร็จ 5. กระบวนการกลุ่ม กระบวนการกลุ่ม หมายถึง การให้นักเรียนมีเวลาและใช้กระบวนการในการวิเคราะห์ว่า กลุ่มทำงานได้เพียงใด และสามารถใช้ทักษะสังคมและมนุษยสัมพันธ์ได้เหมาะสม กระบวนการกลุ่มนี้ จะช่วยให้สมาชิกในกลุ่มทำงานได้ผลดีในขณะที่สัมพันธภาพในกลุ่มก็จะเป็นไปด้วยดี กล่าวคือกลุ่มจะ มีความเป็นอิสระโดยสมาชิกในกลุ่ม สามารถจัดกระบวนการกลุ่มและสามารถแก้ปัญหาด้วยตัวของ พวกเขาเอง ทั้งนี้ข้อมูลย้อนกลับจากครูหรือเพื่อนนักเรียนที่เป็นผู้สังเกตจะช่วยให้กลุ่มได้ดำเนินการได้ เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากข้อมูลข้างต้น สามารถสรุปความหมายของรูปแบบการสอนแบบ STAD ได้ว่าการ จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD หมายถึง การจัดการเรียนรู้ที่แบ่ง นักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละ 4 - 5 คน ประกอบด้วย นักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ที่มีคะแนนสูงสุด คะแนนปานกลาง และคะแนนต่ำสุด ในอัตราส่วน 1:2:1 หรือ 2:2:1 ตามที่ครูเห็นเหมาะสม จากนั้นครูจะนําเสนอบทเรียน แล้วให้สมาชิกในแต่ละกลุ่มศึกษาและทำความ


22 เข้าใจบทเรียนร่วมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และเมื่อจบแต่ละบทเรียนจะมีการทดสอบย่อยเป็น รายบุคคล คะแนนที่ได้จากการทดสอบย่อยของแต่ละคนจะถูกนํามาเทียบกับคะแนนฐานแล้วคิดเป็น คะแนนพัฒนาการ และนําคะแนนพัฒนาการมาคํานวณเป็นคะแนนเฉลี่ยของกลุ่ม หลังจากนั้นครูจะ เป็นผู้แจ้งคะแนนแก่นักเรียนและให้รางวัลกับกลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุด ซึ่งมีขั้นการดำเนินกิจกรรม 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นที่ 2 ขั้นการเสนอบทเรียนต่อชั้นเรียน เป็นการสอนเนื้อหา ทักษะหรือวิธีการ เกี่ยวกับบทเรียนนั้น ๆ โดยการบรรยาย อภิปราย ใช้สื่อประกอบการสอน หรือใช้กิจกรรมต่าง ๆ เพื่อ ทำให้นักเรียนเข้าใจ ขั้นที่ 3 ขั้นการเรียนเป็นกลุ่ม เป็นการจัดให้มีการร่วมมือกันภายในกลุ่ม โดยจะแบ่ง นักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 - 5 คน โดยคละความสามารถกันในแต่ละกลุ่ม ซึ่งสมาชิกในกลุ่มครูจะ เป็นผู้กําหนดให้ และสมาชิกทุกคน จะต้องทำงานร่วมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการทำใบงานและ ทบทวนความรู้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และเตรียมพร้อมสำหรับการทดสอบย่อย ขั้นที่ 4 ขั้นการทดสอบ หลังจากนักเรียนเรียนจบเนื้อหาย่อย นักเรียนแต่ละคน จะ ได้รับการทดสอบเป็นรายบุคคล โดยแต่ละคนจะต้องทำแบบทดสอบด้วยความสามารถของตนเอง จะ ไม่อนุญาตให้นักเรียนช่วยเหลือกัน คะแนนที่ได้จะถูกนำไปเทียบหาคะแนนพัฒนาการ ขั้นที่ 5 ขั้นการตระหนักถึงความสำเร็จของกลุ่ม ครูแจ้งคะแนนพัฒนาการของสมาชิก ในกลุ่ม และคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มเทียบกับเกณฑ์ แล้วให้รางวัลกับกลุ่มที่มีคะแนนพัฒนาการสูงสุด แคทรียา ใจมูล (2550 : 14) กล่าวว่า การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD หมายถึงการเรียนที่จัดให้ผู้เรียนได้เรียนเป็นกลุ่มคละกันในระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คือ ระดับสูง 1 คน ระดับปานกลาง 2 คน และระดับอ่อน 1 คน จุดประสงค์หลัก คือ ช่วยให้นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนต่ำมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น และมุ่งเน้นให้ผู้เรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ยุรพงษ์ฉัตรศุภสิริ (2553 : 43) กล่าวว่า STAD เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ กำหนดให้นักเรียนที่มีระดับความสามารถทางการเรียนแตกต่างกัน มาทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ กลุ่มละประมาณ 4 คน มีระดับสติปัญญาและความสามารถแตกต่างกัน เป็นนักเรียนที่เรียนเก่ง 1 คน ปานกลาง 2 คน และอ่อน 1 คน โดยครูเป็นผู้กำหนดบทเรียนและงานของกลุ่ม ครูเป็นผู้สอนบทเรียน ให้กับนักเรียนทั้งชั้น แล้วให้กลุ่มทำงานตามที่ครูกำหนด นักเรียนในกลุ่มช่วยเหลือกัน คนที่เรียนเก่ง ช่วยเหลือเพื่อน ๆ เวลาสอบทุกคนต่างทำข้อสอบของตน จากนั้นครูนำคะแนนของสมาชิกทุกคน ภายในกลุ่มมาคิดเป็นคะแนนของกลุ่ม และอาจจัดลำดับคะแนนของทุกกลุ่ม ประกาศให้ทุกคนทราบ จากข้อมูลข้างต้น สามารถสรุปความหมายของการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD ได้ว่า เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่กำหนดให้นักเรียนที่มีระดับความสามารถทางการเรียน แตกต่างกัน มาทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีจุดประสงค์หลัก คือ ช่วยให้นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนต่ำมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น และมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น รับฟังความ คิดเห็นของผู้อื่น นำความคิดเห็นที่แตกต่างของแต่ละบุคคลมาปรับงานให้เป็นงานที่ดี มีประสิทธิภาพ และลงตัว


23 3.2 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD บันดูรา (Bandura. 1977 : 23) เชื่อว่าทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมเป็นการ เรียนรู้เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมในสังคมโดยผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพล ต่อกันและกันการเรียนรู้ของมนุษย์ ส่วนมากอาศัยการสังเกตหรือเลียนแบบ (Modeling) จากตัวแบบ ที่มีชีวิตหรือตัวแบบที่เป็นสัญลักษณ์ เช่น ภาพยนตร์ข้อความในหนังสือรูปภาพฯลฯซึ่งลักษณะของตัว แบบที่ดีควรมีลักษณะคล้ายกับ ผู้เรียน แนวคิดพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม 1. การเรียนรู้เป็นผลของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมโดย ผู้เรียน และสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อกันและกัน โดยถือว่าทั้งบุคคลที่ต้องการจะเรียนรู้และสิ่งแวดล้อม เป็น สาเหตุของพฤติกรรม 2. การเรียนรู้ (Learning) และการกระทำ (Performance) มีความแตกต่างกัน และมีความสำคัญ มากเพราะคนอาจจะเรียนรู้อะไรหลายอย่างแต่ไม่กระทำ 2.1 พฤติกรรมสนองตอบที่เกิดจากการเรียนรู้ซึ่งผู้ที่เรียนรู้แสดงออกหรือกระทำ สม่ำเสมอ 2.2 พฤติกรรมที่เรียนรู้แต่ไม่เคยแสดงออกหรือกระทำ เพ็ญสิริ จีระเดชากุล (2533 : 112-113) ได้กล่าวถึงหลักการสำคัญของทฤษฎีการศึกษา ของจอห์นดิวอี้ (John Dewey) ในเรื่องเกี่ยวกับการเรียนการสอนว่าดิวอี้ได้เสนอให้ ผู้สอนและผู้เรียน ทั้งชั้นร่วมกันแลกเปลี่ยนทัศนะความคิดเห็นเป็นการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน วิธีเช่นนี้ผู้เรียนก็จะได้ เรียนรู้วิธีการทำงานช่วยเหลือและร่วมมือกับผู้อื่นสิ่งเหล่านี้มีความสำคัญมาก เพราะจะช่วยขจัด ปัญหาข้อขัดแย้งทางสังคมและสร้างบรรยากาศประชาธิปไตยในห้องเรียนนอกจากนั้น การให้โอกาส ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกันและร่วมมือกัน เป็นการช่วยลดความเห็นแก่ตัวและการแข่งขันในหมู่ผู้เรียนได้ เป็นอย่างดีแต่ข้อสำคัญก็คือสิ่งที่ผู้เรียนจะกระทำร่วมกันหรือโครงการนั้นควรมีพื้นฐานอยู่บนความ สนใจและความอยากรู้อยากเห็นของผู้เรียนตลอดจนมีความหมายแก่ผู้เรียน พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา (2542 : 27-28) กล่าวถึงทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic orientation) ของซิกมันด์ฟรอยด์ ว่ามีแนวคิดที่สำคัญดังนี้ 1. เมื่อบุคคลอยู่รวมกันเป็นกลุ่มจะต้องอาศัยกระบวนการจูงใจอาจจะเป็นรางวัลหรือ การได้รับผลจากการทำงานในกลุ่ม 2. ในการรวมกลุ่มบุคคลจะมีโอกาสแสดงตนอย่างเปิดเผยหรือพยายามป้องกันปิดบัง ตนเองด้วยวิธีการต่างๆการช่วยให้บุคคลแสดงออกตามความเป็นจริงโดยวิธีการบําบัดทางจิต สามารถ ช่วยให้สมาชิกในกลุ่มเกิดความเข้าใจตนเองและผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้น นิรันดร์ จุลทรัพย์ (2551) ได้กล่าวถึงทฤษฎีกลุ่มสัมพันธ์ว่าคือหลักการที่เน้น หรือให้ความ สนใจเป็นพิเศษในเรื่องของพฤติกรรมมนุษย์ที่มีผลต่อกันและกันทั้งนี้ โดยยึดหลักการ เรียนรู้บาง ประการดังนี้ 1. การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ควรเป็นไปอย่างมีชีวิตชีวา 2. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากแหล่งต่าง ๆ กัน มิใช่จากแหล่งใดแห่งหนึ่งเพียงแห่งเดียว ความรู้สึกนึกคิดเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญ 3. การเรียนรู้ที่ดีจะต้องเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากความเข้าใจ


24 4. กระบวนการเรียนรู้นั้นมีความสำคัญมากหากผู้เรียนเข้าใจและมีทักษะในเรื่องนั้น แล้วจะสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้และคําตอบต่าง ๆ ที่ตนต้องการได้ 5. การเรียนรู้ที่มีความหมายต่อผู้เรียนคือการเรียนรู้ที่สามารถนําไปใช้ได้ ทิศนา แขมมณี และคณะ (2544 : 13-14) มีแนวคิดเกี่ยวกับโครงสร้าง สติปัญญาของเพีย เจต์ (Piaget) ว่าจะมีความซับซ้อนหรือพัฒนามากขึ้นเมื่อมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) กับสิ่งแวดล้อม โดย อาศัยขบวนการปรับเข้าโครงสร้าง (Assimilation) หมายถึงการซึมซับประสบการณ์ที่ได้มาให้เข้า อยู่ใน โครงสร้างปัญญาและปรับขยายโครงสร้าง (Accommodation) ทางสติปัญญาให้เข้ากับ สิ่งแวดล้อม เป็นการเปลี่ยนแปลงความคิดของเด็กที่มีอยู่ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ การพัฒนาการ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมนั้นมุ่งไปสู่ระดับความสมดุลที่สูงขึ้นมีการ ปรับตัว (Adaptation) ในระดับที่ซับซ้อนมากขึ้นกระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องมีการ ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาหลักการที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการสร้างภาวะที่สมดุล (Equilibration) หมายถึงการที่บุคคลแต่ละคนจะต้องปรับปรุงความสมดุลทางสติปัญญาจากขั้นต่ำไป หาขั้นสูงกว่า โดยใช้การซึมซับประสบการณ์และปรับโครงสร้างทางสติปัญญาทั้งสองอย่างรวมทั้งการ ปรับสมดุลซึ่ง เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคนเพื่อการพัฒนาไปสู่ขั้นสูงๆขึ้นไป แนวคิดที่เป็นข้อตกลงเบื้องต้นของทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์มีดังนี้ 1. ขั้นต่าง ๆ ของพัฒนาการทางร่างกายย่อมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสติปัญญา และการคิดซึ่งไม่อาจเข้าใจได้ด้วยการสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง แต่จะต้องอธิบายในรูปของโครงสร้างทั้งหมดหรือระบบความสัมพันธ์ภายใน 2. พัฒนาการของโครงสร้างทางสติปัญญาและการคิดนั้นเป็นผลจากการมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างโครงสร้างของร่างกายกับโครงสร้างของสิ่งแวดล้อมแต่ไม่ใช่ผลโดยตรงของ วุฒิ ภาวะหรือการเรียนรู้ 3. โครงสร้างทางสติปัญญาและการคิดนั้นพัฒนามาจากการกระทำ (Action) ของ บุคคล ต่อสิ่งแวดล้อมตามทฤษฎีของเพียเจต์กิจกรรมทางสติปัญญาและการคิดได้พัฒนาจากกลไก การสัมผัส การเคลื่อนไหวการกระทำไปสู่กิจกรรมที่ต้องใช้สัญลักษณ์และภาษาซึ่งจากแนวคิดนี้ จะ ช่วยทำให้ มองเห็นบทบาทของบุคคลในด้านการพัฒนาความคิด 4. ทิศทางของพัฒนาการในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมนั้นมุ่งไปสู่ ระดับความสมดุลที่สูงขึ้นมีการปรับตัว (Adaptation) ในระดับที่ซับซ้อนมากขึ้นคือปรับทั้งตัวบุคคล และสิ่งแวดล้อมเข้าหากัน ทิศนา แขมมณีและเยาวพา เดชะคุปต์ (2545 : 41-42) ได้สรุปได้ว่า ทฤษฎีสนามของ เคิร์ทเลวิน (Kurt Lewin) เป็นพฤติกรรมของบุคคลจากพลัง ความสัมพันธ์ของสมาชิกในกลุ่มแต่ละ คนในกลุ่มต่างมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันในรูปของการกระทำ ความรู้สึก ความคิดในการรวมตัวกันแต่ละครั้ง นั้นมีโครงสร้างและการปฏิบัติต่อกันในลักษณะที่ แตกต่างกันออกไปมีการปรับบุคลิกภาพของแต่ละ คนให้สอดคล้องกัน เกิดความเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกันทำให้เกิดพลังหรือแรงผลักดันของกลุ่ม ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2553) ได้กล่าวถึงทฤษฎีแรงจูงใจในการเรียนว่า เป็นเรื่องของ การตอบสนองความต้องการที่เกิดขึ้นภายในของคนความต้องการจะก่อให้เกิดแรงจูงใจ หรือ แรงผลักดันในการกระทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้ได้รับการตอบสนองตามเป้าหมายของตนเองบุคคลจะมี


25 ความแตกต่างกันในแง่ความรู้ความสามารถทัศนคติความสนใจความทะเยอทะยานตลอดจนความ แตกต่างกันของแรงจูงใจในการทำงานที่เป็นปัจจัยซึ่งไม่เกี่ยวกับหน้าที่การงานได้แก่สภาพแวดล้อม ทั่วไปทั้งในทางสังคมและวัฒนธรรมที่อยู่รอบตัวส่วนปัจจัยที่เกี่ยวกับงานได้แก่ทัศนคติความเข้าใจ ใน สิ่งต่างๆที่พบเห็นมาเมื่อมีการผสมผสานกันกับสภาพแวดล้อมของการทำงานจะทำให้เกิด พฤติกรรมที่ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนเอง ทิศนา แขมมณี และเยาวพา เดชะคุปต์ (2545 : 32-33) กล่าวถึงทฤษฎีการสร้างความรู้ ทางสังคมของวีกอทสกี้ว่ามีความเชื่อว่าเด็กได้เกิดการเรียนรู้ และเกิดพัฒนาการทางสติปัญญาและ ทัศนคติต่อเมื่อมีปฏิสัมพันธ์ และทำงานร่วมกับผู้อื่นเช่นผู้ใหญ่เพื่อนบุคคลเหล่านี้จะให้ข้อมูลให้การ สนับสนุนให้เด็กเกิดการเรียนรู้ จากการปฏิสัมพันธ์และจากการทำงานร่วมกันโดยเน้นความสำคัญของ การช่วยเด็กให้พัฒนาตาม ศักยภาพของแต่ละบุคคลและเน้นความสำคัญของสังคมวัฒนธรรมที่มีต่อ พัฒนาการทางสติปัญญาโดย เชื่อว่าพัฒนาการทางสติปัญญาหรือการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคนจะอยู่ใน ส่วนที่แตกต่างกันเด็กที่อยู่ใน ส่วนระดับต่ำถ้าได้รับความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่หรือครูหรือจากการ ทำงานร่วมกับคนที่อยู่ในส่วนที่อยู่ ในระดับสูงหรือมีประสบการณ์มากกว่าก็จะช่วยให้นักเรียนที่อยู่ใน ส่วนต่ำทำงานได้เป็นผลสำเร็จ ตามเป้าหมาย เกิดการเรียนรู้ขึ้นตามศักยภาพของแต่ละคนการให้ ความช่วยเหลือแนะนําในการ แก้ปัญหาและการเรียนรู้ของเด็ก (Assisted learning) เป็นการให้ ความช่วยเหลือแก่เด็กเมื่อเด็ก แก้ปัญหาโดยลำพังไม่ได้เป็นการช่วยอย่างพอเหมาะเพื่อให้เด็ก แก้ปัญหาได้ด้วยตนเองวิธีการที่ครู เข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กเพื่อให้การช่วยเหลือเด็กเป็นการแนะนํา ช่วยเหลือให้เด็กแก้ปัญหาด้วย ตนเองโดยการให้คำแนะนํา(Cue) การช่วยเตือนความจํา (Reminders) การกระตุ้นสนับสนุน (Encouragement)การแบ่งปัญหาที่สลับซับซ้อนให้ง่ายขึ้นการ ให้ตัวอย่างหรือสิ่งอื่นๆ ที่จะช่วยเด็ก แก้ปัญหาและเรียนรู้ด้วยตนเองการให้ความช่วยเหลือ (Scaffolding) มี 5 ประการดังนี้ 1. เป็นกิจกรรมการร่วมกันแก้ปัญหา 2. เข้าใจปัญหาและมีวัตถุประสงค์ที่ตรงกัน 3. บรรยากาศที่อบอุ่นและการตอบสนองที่ตรงกับความต้องการ 4. รู้สภาวะแห่งการเรียนรู้ของเด็ก (the Zone of proximal development) 5. สนับสนุนให้เด็กควบคุมตนเองในการแก้ปัญหา จากข้อมูลข้างต้น แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD ส่วนใหญ่จะกล่าวถึงการเรียนรู้ของผู้เรียน ที่สามารถเกิดได้จากปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและ สิ่งแวดล้อมในสังคม การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันภายในกลุ่มจะทำให้(เรียนเข้าใจตนเองและผู้อื่น มากขึ้น ช่วยขจัดปัญหาข้อขัดแย้งทางสังคม สร้างบรรยากาศประชาธิปไตยในห้องเรียน การทำงาน กลุ่มจะทำให้ผู้เรียนได้ลงมือปฎิบัติจริง เป็นการทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยการลงมีทำ ทำให้เกิดการ เรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ 3.3 หลักการของรูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD Slavin (1980) กล่าวไว้ว่า หลักการพื้นฐานของรูปแบบการเรียนแบบเป็นทีมประกอบด้วย 1) การให้รางวัลเป็นทีม (Team Rewards) ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งในการวางเงื่อนไขให้ นักเรียนพึ่งพากัน


26 2) การจัดสภาพการณ์ให้เกิดความรับผิดชอบในส่วนบุคคลที่จะเรียนรู้ (Individual Accountability) ความสำเร็จของทีมหรือกลุ่มอยู่ที่การเรียนรู้ของสมาชิกแต่ละคนในทีม 3) การจัดให้มีโอกาสเท่าเทียมกันที่จะประสบความสำเร็จ (Equal Opportunities For Success) นักเรียนมีส่วนช่วยให้ทีมประสบความสำเร็จด้วยการพยายามทำผลงานให้ดีขึ้นกว่าเดิม ในรูปของคะแนนปรับปรุง ดังนั้น แม้แต่คนที่เรียนอ่อนก็สามารถมีส่วนช่วยทีมได้ ด้วยการพยายามทำ คะแนนให้ดีกว่าครั้งก่อน ๆ นักเรียนทั้งเก่ง ปานกลาง และอ่อนต่างได้รับการส่งเสริมให้ตั้งใจเรียนให้ดี สุด ผลงานของทุกคนในทีมมีค่าภายใต้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนแบบนี้ ประภัสรา โคตะขุน (2553) ได้กล่าวว่า หลักการพื้นฐานของการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ในการจัดการเรียนรู้แบบ STAD นั้น สมาชิกในกลุ่มทุกคนต้องปฏิบัติตามหลักการพื้นฐาน 5 ประการ ดังต่อไปนี้ 1. การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันเชิงบวก (Positive Interdependent) นักเรียนจะ รู้สึกว่าตนเองจำเป็นจะต้องอาศัยผู้อื่นในการที่จะทำงานกลุ่มให้สำเร็จ กล่าวคือ "ร่วมเป็นร่วมตาย" วิธีการที่จะทำให้เกิดความรู้สึกเช่นนี้อาจจะทำได้โดยทาให้มีจุดมุ่งหมายร่วมกัน เช่น ถ้านักเรียนทำ คะแนนกลุ่มได้สูงแต่ละคนจะได้รับรางวัลร่วมกัน ประเด็นที่สำคัญก็คือสมาชิกทุกคนในกลุ่มจะต้อง ทำงานกลุ่มให้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งความสำเร็จนี้จะขึ้นอยู่กับความร่วมมือร่วมใจของสมาชิกทุกคน จะไม่มี การยอมรับความสำคัญหรือความสามารถของบุคคลเพียงคนเดียว 2. การติดต่อปฏิสัมพันธ์โดยตรง (Face to Face Interaction) เนื่องจากการพึ่งพา อาศัยซึ่งกันและกันเชิงบวก มิใช่วิธีที่จะทำให้เกิดผลอย่างปฎิหาริย์ ผลดีที่จะเกิดขึ้นจากการพึ่งพา อาศัยซึ่งกันละกันนั้น จะต้องมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันระหว่างนักเรียนที่เป็น สมาชิกกลุ่ม ในการจัดการเรียนรู้แบบ STAD นั้น การสรุปเรื่องการอธิบาย การขยายความในบทเรียน ที่เรียนมาให้แก่เพื่อนในกลุ่มเป็นลักษณะสัมพันธ์ของการติดต่อปฏิสัมพันธ์โดยตรงการจัดการ กลุ่มเรียนรู้แบบ STAD ดังนั้นจึงควรมีการอภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันโดยเปิด โอกาสให้สมาชิกได้เสนอแนวคิดใหม่ ๆ เพื่อเลือกสิ่งที่ดี ที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุด 3. การรับผิดชอบงานกลุ่มของกลุ่ม (Individual Accountability at Group Work) การจัดการเรียนรู้แบบ STAD จะถือว่าไม่สำเร็จจนกว่าสมาชิกทุกคนในกลุ่มจะได้เรียนรู้เรื่องใน บทเรียนได้ทุกคน หรือได้รับการช่วยเหลือจากเพื่อนในกลุ่มให้ได้เรียนรู้ได้ทุกคนเพราะฉะนั้นจึง จำเป็นต้องวัดผลการเรียนของแต่ละคนเพื่อให้สมาชิกในกลุ่มได้ช่วยเหลือเพื่อนที่เรียนไม่เก่ง บางทีครู อาจจะใช้วิธีทดสอบสมาชิกในกลุ่มเป็นรายบุคคลหรือสุ่มเรียกบุคคลใดบุคคลหนึ่งในกลุ่มเป็นผู้ตอบ ด้วยวิธีดังกล่าวกลุ่มจะต้องช่วยกันเรียนรู้และช่วยกันทำงาน มีความรับผิดชอบต่องานของตนเป็น พื้นฐาน ซึ่งทุกคนจะต้องเข้าใจและรู้แจ้งในงานที่ตนเองรับผิดชอบ อันจะก่อให้เกิดผลสำเร็จของกลุ่ม ตามมา 4. ทักษะในความสัมพันธ์กับกลุ่มเล็กและผู้อื่น (Social skills) นักเรียนทุกคนไม่ได้มา โรงเรียนพร้อมกับทักษะในการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น เพราะฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่ของครูที่จะช่วย นักเรียนในการสื่อสารการเป็นผู้นำ การไว้ใจผู้อื่น การตัดสินใจ การแก้ปัญหา ความขัดแย้ง ครูควรจัด สถานการณ์ที่จะส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้ทักษะมนุษยสัมพันธ์และกลุ่มสัมพันธ์เพื่อให้สามารถทำงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ครูควรสอบทักษะและมีการประเมินการทำงานของกลุ่มนักเรียน


27 ด้วย การที่จัดนักเรียนที่ขาดทักษะในการทำงานกลุ่มมาทำงานร่วมกันจะทำให้การทำงานนี้ไม่ประสบ ผลสำเร็จเพราะการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ไม่ได้หมายถึงแต่เพียงการที่จัดให้นักเรียนมานั่งทำงาน เป็นกลุ่มเท่านั้น ซึ่งจุดนี้เป็นหลักการหนึ่งที่ทำให้นักเรียนที่เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ STAD แตกต่างจากการเรียนเป็นกลุ่มแบบเดิมที่เคยใช้กันมานาน จากทักษะการทำงานกลุ่มนี้เองที่จะทำให้ นักเรียนช่วยเหลือ เอื้ออาทรในการถ่ายถอดความรู้ซึ่งกันและกัน และมีการร่วมมือในกลุ่ม ดังนั้นทุก คนจึงเกิดการเรียนรู้ที่จะมีส่วนร่วมในการทำงานให้กลุ่มได้รับความสำเร็จ 5. กระบวนการกลุ่ม (Group Processing) กระบวนการกลุ่ม หมายถึง การให้นักเรียน มีเวลาและใช้กระบวนการในการวิเคราะห์ว่ากลุ่มทำงานได้เพียงใด และสามารถใช้ทักษะสังคมและ มนุษยสัมพันธ์ได้เหมาะสม กระบวนการกลุ่มนี้จะช่วยให้สมาชิกในกลุ่มทำงานได้ผล ในขณะที่ สัมพันธภาพในกลุ่มก็จะเป็นไปด้วยดี กล่าวคือ จะมีความเป็นอิสระโดยสมาชิกในกลุ่ม สามารถจัด กระบวนการกลุ่มและสามารถแก้ปัญหาด้วยตัวของพวกเขาเอง ทั้งนี้ข้อมูลย้อนกลับจากครูหรือเพื่อน นักเรียนที่เป็นผู้สังเกตจะช่วยให้กลุ่มได้ดำเนินการได้เป็นอย่างดีและประสิทธิภาพมากขึ้น จากข้อมูลข้างต้น สามารถสรุปหลักการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD ได้ว่า ควรจัดกลุ่ม ให้ทุกกลุ่มมีโอกาสประสบผลสำเร็จที่เท่าเทียมกัน ครูจะต้องวัดผลการเรียนของแต่ละคนเพื่อให้ สมาชิกในกลุ่มได้ช่วยเหลือเพื่อนที่เรียนไม่เก่ง จัดให้ผู้เรียนตระหนักได้ว่าการประสบผลสำเร็จของ กลุ่มจะเกิดขึ้นได้เมื่อทุกคนร่วมมือร่วมใจกัน ยอมรับความสามารถของตนเองและผู้อื่น เปิดโอกาสให้ ทุกคนได้เสนอแนวคิดใหม่ ๆ เพื่อเลือกสิ่งที่ดี ที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุด 3.4 ความสำคัญของรูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD บารูดี (Baroody. 1993 : 2 – 102) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ไว้ดังนี้ 1. ช่วยส่งเสริมให้เกิดการเรียนเนื้อหาได้ดี 2. ส่งเสริมให้เกิดความสามารถในการแก้ปัญหา และการให้เหตุผล แนวทางในการ พัฒนาทักษะการแก้ปัญหา และช่วยให้เกิดการช่วยเหลือในกลุ่มเพื่อน 3 แนวทาง คือ 2.1 การอภิปรายร่วมกันกับเพื่อนในกลุ่มย่อยให้ผู้เรียนได้แก้ปัญหา โดยคำนึงถึง บุคคลอื่น ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนได้ตรวจสอบและปรับปรุงแนวคิดและคำตอบของตน 2.2 ช่วยให้เข้าใจปัญหาแต่ละคนในกลุ่ม เนื่องจากพื้นฐานความรู้ของแต่ละคน ต่างกัน 2.3 ผู้เรียนเข้าใจการแก้ปัญหาจากการทำงานกลุ่ม 3. ส่งเสริมความมั่นใจในตนเอง 4. ส่งเสริมทักษะทางสังคมและทักษะการสื่อสาร อาเรนด์ส (Arends. 1994 : 345 – 346) ได้กล่าวว่า รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD มีความสำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ดังนี้ 1. ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นการจัดให้ผู้เรียนได้ร่วมมือกันเรียนเป็นกลุ่มทำให้ ผู้เรียนได้คิดร่วมกัน หาคำตอบที่เหมาะสมที่สุดได้ ถือว่าเป็นการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ช่วยให้ความรู้ ทีได้รับเป็นความรู้ที่มีความหมายต่อผู้เรียนอย่างแท้จริง ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน สูงขึ้น


28 2. ด้านการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เป็นการเรียนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนที่ มีภูมิหลังต่างกันได้มาทำงานร่วมกัน พึ่งพาอาศัยกัน มีการรับฟังความคิดเห็นกัน เข้าใจและเห็นใจ สมาชิกในกลุ่ม ทำให้เกิดการยอมรับกันมากขึ้น เกิดความสัมพันธ์ทีดีต่อกันซึ่งจะส่งผลให้มีความรู้สึกที ดีต่อผู้อื่นในสังคมมากขึ้น 3. ด้านทักษะในการทำงานร่วมกัน ทำให้เกิดผลสำเร็จที่ดี และการรักษาความสัมพันธ์ ที่ดีทางสังคม ช่วยปลูกฝังทักษะในการทำงานเป็นกลุ่ม ทำให้ผู้เรียนไม่มีปัญหาในการทำงานร่วมกับ ผู้อื่น และส่งผลให้งานประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายร่วมกัน 4. ด้านทักษะการร่วมมือแก้ปัญหาในการทำงานกลุ่ม สมาชิกกลุ่มจะได้รับความเข้าใจ ในปัญหาร่วมกัน จากนั้นก็ระดมความคิดช่วยกันวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา เมื่อทราบสาเหตุของ ปัญหา สมาชิกกลุ่มก็จะแสดงความคิดเห็นเพื่อหาวิธีแก้ไข 5. ด้านการทำให้รู้จักและตระหนักในคุณค่าของตนเอง ในการทำงานกลุ่ม สมาชิกกลุ่ม ทุกคนจะได้แสดงความคิดเห็นร่วมกัน การที่สมาชิกในกลุ่มยอมรับในความคิดเห็นของเพื่อนสมาชิก ด้วยกันย่อมทำให้สมาชิกในกลุ่มนั้นมีความภาคภูมิใจในตนเองและคิดว่าตนเองมีคุณค่าที่สามารถให้ กลุ่มประสบความสำเร็จได้ สมจิตร หงส์ษา (2551) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ไว้ดังนี้ 1. ทำให้ผู้เรียนมีความเอาใจใส่รับผิดชอบตัวเองและกลุ่มร่วมกับสมาชิกอื่น 2. ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนที่มีความสามารถต่างกันได้เรียนรู้ร่วมกัน 3. ช่วยทำให้ผู้เรียนมีความเป็นผู้นำมากขึ้น 4. ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกและเรียนรู้ทักษะทางสังคมโดยตรง 5. ทำให้ผู้เรียนมีความตื่นเต้น สนุกสนานกับการเรียนรู้ จากข้อมูลข้างต้น กล่าวได้ว่ารูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD มีความสำคัญคือ ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีฝึกทักษะการแก้ปัญหา การให้เหตุผล ส่งเสริมการฝึกทักษะทางสังคม และทักษะการสื่อสาร ทักษะในการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น ทำให้รู้จักและตระหนักในคุณค่าของตนเอง ฝึกความเอาใจใส่รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน ส่งเสริมให้ผู้เรียนที่มีความสามารถในการเรียนรู้ร่วมกัน ฝึกการเป็นความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี ทำให้ผู้เรียนมีความตื่นเต้นสนุกสนานกับการเรียนรู้ทำให้ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น 3.5 ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD ไสว ฟักขาว (2544) กล่าวถึงรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ไว้ว่า เป็น การจัดสมาชิกกลุ่มละ 4-5 คน แบบคละความสามารถด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยครูจะทำการ เสนอบทเรียนให้นักเรียนทั้งชั้นก่อน แล้วให้แต่ละกลุ่มทำงานตามที่กำหนดไว้ในแผนการสอนเมื่อ สมาชิกในกลุ่มช่วยกันทำแบบฝึกหัดและทบทวนบทเรียนที่เรียนจบแล้ว ครูจะให้นักเรียนทุกคนทำ แบบทดสอบประมาณ 15 - 20 นาที คะแนนที่ได้จากการทดสอบจะถูกแปลงคะแนนของแต่ละกลุ่ม ที่เรียกว่า “กลุ่มสัมฤทธิ์ (Achievement Division)” การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ Robert Slavin และคณะได้พัฒนาขึ้น เป็นรูปแบบที่ง่ายและใช้กัน แพร่หลาย เหมาะสำหรับครูผู้สอนที่เลือกใช้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ


29 1. การเสนอบทเรียนต่อชั้นเรียน (Class Presentation) ประกอบด้วยการแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ แจ้งคะแนนฐานของแต่ละบุคคล บอกเกณฑ์ และรางวัล ทบทวนความรู้และสอนเนื้อหาใหม่ของบทเรียนต่อนักเรียนทั้งห้องโดยครูผู้สอน ซึ่ง ครูผู้สอนต้องใช้กิจกรรมการสอนที่เหมาะสมตามลักษณะของเนื้อหาบทเรียน โดยใช้สื่อการเรียนการ สอนประกอบคำอธิบายของครู เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาบทเรียน 2. การเรียนเป็นกลุ่ม (Teams) ซึ่งแต่ละกลุ่มประกอบด้วยสมาชิก 4 คน ซึ่งสมาชิกกลุ่มจะมีความแตกต่างกันเรื่องระดับ สติปัญญา ซึ่งหน้าที่สำคัญของกลุ่มก็คือ การเตรียมสมาชิกของกลุ่มให้สามารถทำแบบทดสอบได้ดี กิจกรรมของกลุ่มจะอยู่ในรูปการอภิปรายหรือการแก้ปัญหาร่วมกัน การแก้ความเข้าใจผิดของเพื่อน ในกลุ่ม กลุ่มจะต้องทำให้ดีที่สุด เพื่อช่วยสมาชิกแต่ละคนของกลุ่มจะต้องช่วยสอนเสริมเพื่อให้เพื่อน ในกลุ่มเข้าใจเนื้อหาสิ่งที่เรียนมาทั้งหมด ซึ่งการทำงานของกลุ่มเน้นความสัมพันธ์ของสมาชิกในกลุ่ม การนับถือตนเอง (Self – Esteem) และการยอมรับเพื่อนที่เรียนอ่อนซึ่งสิ่งที่นักเรียนควรคำนึงถึงคือ นักเรียนช่วยเหลือเพื่อนให้รู้เนื้อหาอย่างถ่องแท้นักเรียนไม่สามารถศึกษาเนื้อหาจบคนเดียวโดยที่ เพื่อนในกลุ่มไม่เข้าใจ ถ้าหากไม่เข้าใจควรปรึกษาเพื่อนในกลุ่มก่อนปรึกษาครูและในการปรึกษาใน กลุ่มไม่ควรส่งเสียงดังรบกวนกลุ่มอื่น และให้แต่ละกลุ่มย่อยศึกษาหัวข้อที่เรียนจากใบงานหรือ แบบฝึกหัดที่ครูก าหนดประมาณ 2-3 ข้อโดยสมาชิกในกลุ่มช่วยกันปฏิบัติตามใบงานและแบ่งหน้าที่ การทำกิจกรรมดังนี้คะแนนของแต่ละกลุ่มที่เรียกว่าคะแนนกลุ่มผลสัมฤทธิ์ซึ่งในการทดสอบนักเรียน ทุกคนจะทำข้อสอบตามความสามารถของตนโดยไม่มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 3. การทดสอบย่อย (quizzes) การทดสอบย่อย หลังจากเรียนไปแล้ว นักเรียนต้องได้รับการทดสอบ โดยครูทำการทดสอบ วัดความเข้าใจประมาณ 15 – 20 นาที ซึ่งในการทดสอบนักเรียนทุกคนจะทำข้อสอบตาม ความสามารถของตนโดยไม่มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อเป็นการประเมินความรู้ที่นักเรียนเรียน มา สิ่งนี้จะเป็นตัวกระตุ้นความรับผิดชอบของนักเรียน คะแนนที่ได้จากการทดสอบจะถูกแปลงเป็น คะแนนของแต่ละกลุ่มที่เรียกว่า คะแนนกลุ่มสัมฤทธิ์ ซึ่งในการทดสอบนักเรียนทุกคนจะทำข้อสอบ ตามความสามารถของตนโดยไม่มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 4. คะแนนพัฒนาการของนักเรียนแต่ละคน (Individual Improvement Score) คะแนนที่ได้จากการเปรียบเทียบคะแนนที่สอบได้กับคะแนนฐาน (Base Score) โดย คะแนนที่ได้จะเป็นคะแนนความก้าวหน้าของผู้เรียน ซึ่งนักเรียนจำได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับความขยันที่ เพิ่มขึ้นจากครั้งก่อนหรือไม่ นักเรียนทุกคนมีโอกาสได้คะแนนสูงสุดเพื่อช่วยกลุ่ม หรืออาจไม่ได้เลยถ้า หากได้คะแนนน้อยกว่าคะแนนฐานเกิน 10 คะแนน ในการทดสอบแต่ละครั้งนักเรียนแต่ละคนจะได้ คะแนนพัฒนา จากนั้นก็จะนำคะแนนของแต่ละคนในกลุ่มมารวมกันแล้วคิดเป็นคะแนนเฉลี่ยของกลุ่ม ถ้ากลุ่มใดได้คะแนนเฉลี่ยสูงถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ครูจะให้รางวัล การที่กลุ่มประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องขึ้นอยู่กับคะแนนของสมาชิกทุกคน สลาวิน (Slavin) ได้ให้แนวปฏิบัติการคิดคะแนนพัฒนาไว้ดังนี้ ให้นำคะแนนแบบทดสอบของแต่ละคนไปเทียบกับคะแนนฐาน (Base Score) แล้วคิดเทียบเป็น คะแนนพัฒนาตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จากนั้นนำคะแนนพัฒนาของสมาชิกในกลุ่มมารวมกันแล้วนำมา คิดเป็นคะแนนเฉลี่ยของกลุ่ม ถ้ากลุ่มใดได้คะแนนสูงหรือถึงเกณฑ์ที่กำหนดก็จะได้รางวัล ซึ่งเป็น


30 เครื่องหมายแห่งความสำเร็จการคิดคะแนนฐานทำได้โดยการนำระดับผลการเรียนในวิชาเดียวกันของ ภาคเรียนที่ผ่านมา หรือคะแนนจากหน่วยทดสอบที่ผ่านมา แล้วนำมาเฉลี่ยเป็นคะแนนฐานโดยในการ สอบแต่ละครั้งจะต้องมีคะแนนเต็มเท่ากันคือ 100 คะแนน โดยมีเกณฑ์ดังนี้ คะแนนพัฒนาการ 0 ถ้าคะแนนทดสอบย่อยต่ำกว่าคะแนนฐานมากกว่า 10 คะแนน คะแนนพัฒนาการ 10 ถ้าคะแนนทดสอบย่อยต่ำกว่าคะแนนฐาน 1 – 10 คะแนน คะแนนพัฒนาการ 20 ถ้าคะแนนทดสอบย่อยเท่ากับคะแนนฐาน หรือมากกว่า 1 – 10 คะแนน คะแนนพัฒนาการ 30 ถ้าคะแนนทดสอบย่อยสูงกว่าคะแนนฐานมากกว่า 10 คะแนน ซึ่งในการทดสอบแต่ละครั้งนักเรียนทุกคนจะต้องรู้คะแนนฐานของตนเองก่อนแล้วคำนวณ ว่าตนเองจะต้องทำคะแนนอีกเท่าไรถึงจะได้คะแนนพัฒนาตามที่คาดหวังไว้ ซึ่งคะแนนพัฒนาของแต่ ละคนขึ้นอยู่กับความพยายามที่จะทำคะแนนการทดสอบให้มากกว่าคะแนนฐานเพื่อผลประโยชน์ของ ตนเองและของกลุ่ม ถ้ากลุ่มใดได้คะแนนสูงหรือถึงเกณฑ์ที่กำหนดก็จะได้รับรางวัล ซึ่งเป็น เครื่องหมายแห่งความสำเร็จ 5. การยกย่องกลุ่มที่ประสบผลสำเร็จ กลุ่มจะได้รับรางวัลเมื่อคะแนนถึงเกณฑ์ที่ครูตั้งไว้ ได้แก่ กลุ่มเก่ง กลุ่มเก่งมาก และกลุ่ม ยอดเยี่ยม โดยใช้เกณฑ์การคิดคะแนนพัฒนาของกลุ่ม มีดังนี้ คะแนนเฉลี่ยของกลุ่ม 0 – 15 ระดับพัฒนา กลุ่มเก่ง คะแนนเฉลี่ยของกลุ่ม 16 – 25 ระดับพัฒนา กลุ่มเก่งมาก คะแนนเฉลี่ยของกลุ่ม 26 – 30 ระดับพัฒนา กลุ่มยอดเยี่ยม จากข้อมูลข้างต้น สามารถสรุปขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยรูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD ได้ดังนี้ ขั้นที่ 1 การนำเข้าสู่บทเรียน เป็นการเตรียมตัวนักเรียนก่อนที่จะเริ่มทำการเรียนการ ขั้นที่ 2 การนำเสนอบทเรียนต่อทั้งชั้น เป็นการสอนเนื้อหา ทักษะหรือวิธีการเกี่ยวกับ บทเรียนนั้น ๆ เพื่อทำให้นักเรียนเข้าใจ ขั้นที่ 3 การเรียนกลุ่มย่อย เป็นการจัดให้มีการร่วมมือกันภายในกลุ่ม กลุ่มละ 4 - 5 คน โดยคละความสามารถกันในแต่ละกลุ่ม ซึ่งสมาชิกทุกคนจะต้องทำงานร่วมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในการทำใบงานและทบทวนความรู้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และเตรียมพร้อมสำหรับการทดสอบย่อย ขั้นที่ 4 การทดสอบย่อย หลังจากนักเรียนเรียนจบเนื้อหาย่อยแต่ละคนจะต้องทำ แบบทดสอบด้วยความสามารถของตนเอง คะแนนที่ได้จะถูกนำไปเทียบหาคะแนนพัฒนาการ ขั้นที่ 5 การคิดคะแนนในการพัฒนาตนเอง ครูแจ้งคะแนนพัฒนาการของสมาชิกในกลุ่ม และคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มเทียบกับเกณฑ์ แล้วให้รางวัลกับกลุ่มที่มีคะแนนพัฒนาการสูงสุด 4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4.1 ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นความสามารถของนักเรียนในด้านต่างๆ ซึ่งเกิดจาก นักเรียนได้รับประสบการณ์จากกระบวนการเรียนการสอนของครู โดยครูต้องศึกษาแนวทางในการวัด


31 และประเมินผล การสร้างเครื่องมือวัดให้มีคุณภาพนั้น ได้มีผู้ให้ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนไว้ดังนี้ สมพร เชื้อพันธ์ (2547 : 53) ได้สรุปไว้ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึงความสามารถ ความสำเร็จและสมรรถภาพด้านต่างๆของผู้เรียนที่ได้จากการเรียนรู้อันเป็นผลมาจากการเรียนการ สอน การฝึกฝน หรือประสบการณ์ของแต่ละบุคคลซึ่งสามารถวัดได้จากการทดสอบด้วยวิธีการต่างๆ พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข (2548 : 125) กล่าวว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ขนาดของความสำเร็จที่ได้จากกระบวนการเรียนการสอน ปราณี กองจินดา (2549 : 42) กล่าวว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความสามารถ หรือผลสำเร็จ ที่ได้รับจากกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและประสบการณ์ เรียนรู้ทางด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย และยังได้จำแนกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ตาม ลักษณะของวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน ภาณุมาส เศรษฐจันทร (2556: 19) ให้ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นการวัดความสามารถทางสติปัญญาในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ซึ่งวัดจาก ความรู้ความจํา ความเข้าใจ การนําไปใช้ และการวิเคราะห์ วัดโดยใช้แบบทดสอบที่กำหนดคะแนน หรืองานที่ผู้สอนได้มอบหมายให้หรือทั้งสองอย่าง จากข้อมูลข้างต้นจึงสรุปได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ผลที่เกิดจากกระบวนการ เรียนการสอนที่จะทำให้นักเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และสามารถวัดได้โดยการแสดง ออกมาทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย 4.2 ลักษณะสำคัญของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน สิริพร ทิพย์คง (2545) ได้กล่าวถึงลักษณะของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ที่ดีไว้ดังนี้ 1. ความเที่ยงตรง เป็นแบบทดสอบที่สามารถนำไปวัดในสิ่งที่เราต้องการวัดได้อย่าง ถูกต้อง ครบถ้วน ตรงตามจุดประสงค์ที่ต้องการวัด 2. ความเชื่อมั่น แบบทดสอบที่มีความเชื่อมั่น คือ สามารถวัดได้คงที่ไม่ว่าจะวัดกี่ครั้งก็ ตาม เช่น ถ้านำแบบทดสอบไปวัดกับนักเรียนคนเดิมคะแนนจากการสอบทั้งสองครั้งควรมี ความสัมพันธ์กันดี เมื่อสอบได้คะแนนสูงในครั้งแรกก็ควรได้คะแนนสูงในการสอบครั้งที่สอง 3. ความเป็นปรนัย เป็นแบบทดสอบที่มีคำถามชัดเจน เฉพาะเจาะจง มีความถูกต้อง ตามหลักวิชา และข้อคำถามต้องชัดเจนอ่านแล้วเข้าใจตรงกัน 4. การถามลึก หมายถึง ไม่ถามเพียงพฤติกรรมขั้นความรู้ความจำ โดยถามตามตำรา หรือถามตามที่ครูสอน แต่พยายามถามพฤติกรรมขั้นสูงกว่าขั้นความรู้ความจำได้แก่ ความเข้าใจการ นำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และการประเมินค่า 5. ความยากง่ายพอเหมาะ หมายถึง ข้อสอบที่บอกให้ทราบว่าข้อสอบข้อนั้นมีคนตอบ ถูกมากหรือตอบถูกน้อย ถ้ามีคนตอบถูกมากข้อสอบข้อนั้นก็ง่ายและถ้ามีคนตอบถูกน้อยข้อสอบข้อ นั้นก็ยาก ข้อสอบที่ยากเกินความสามารถของนักเรียนจะตอบได้นั้นก็ไม่มีความหมาย เพราะไม่ สามารถจำแนกนักเรียนได้ว่าใครเก่งใครอ่อน ในทางตรงกันข้ามถ้าข้อสอบง่ายเกินไปนักเรียนตอบได้ หมด ก็ไม่สามารถจำแนกได้เช่นกัน ฉะนั้นข้อสอบที่ดีควรมีความยากง่ายพอเหมาะ ไม่ยากเกินไปไม่ ง่ายเกินไป


32 6. อำนาจจำแนก หมายถึง แบบทดสอบนี้สามารถแยกนักเรียนได้ว่าใครเก่งใครอ่อน โดยสามารถจำแนกนักเรียนออกเป็นประเภท ๆ ได้ทุกระดับอย่างละเอียดตั่งแต่อ่อนสุดจนถึงเก่งสุด 7. ความยุติธรรม คำถามของแบบทดสอบต้องไม่มีช่องทางชี้แนะให้นักเรียนที่ฉลาดใช้ ไหวพริบในการเดาได้ถูกต้องและไม่เปิดโอกาสให้นักเรียนที่เกียจคร้านซึ่งดูตำราอย่างคร่าว ๆ ตอบได้ และต้องเป็นแบบทดสอบที่ไม่ลำเอียงต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จากข้อมูลข้างต้นสรุปได้ว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ที่ดี ต้องเป็นแบบทดสอบที่มีความ เที่ยงตรง ความเชื่อมั่น มีความเป็นปรนัย ถามลึก มีความยากง่ายพอเหมาะ มีค่าอำนาจจำแนก และมี ความยุติธรรม 5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 5.1 งานวิจัยในประเทศ วรัญญา ธนบุรี(2561) ได้ทำการวิจัย ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพยา (Polya) เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ ที่มีต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสวนกหลาบวิทยาลัย ธนบุรีพบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ นักเรียนมีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นมากขึ้น ศุภณัฐ มีชัย ไพลิน สังคง และ จิรพงค์ พวงมาลัย (2561) ได้ทำการศึกษาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง หลักการนับเบื้องต้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการศึกษาพบว่า 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ หลังการ จัดการเรียนรู้ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีทักษะการ ทำงานเป็นกลุ่ม หลังการจัดการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก พรพรรณ เสาร์คำเมืองดี (2562) ได้ทำการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 หรือ 17.50 คะแนน จากคะแนนเต็ม 25 คะแนน (ค่าเฉลี่ย = 19.04) 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการ จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.56, ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.74) ชยุตม์ ม้าเมือง และ ธนวัฒน์ ศรีศิริวัฒน์(2563) ได้ทำวิจัย การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน เรื่อง การสร้างทางเรขาคณิต โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การสร้างทางเรขาคณิต ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สูงกว่าก่อน เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไป ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้


33 อรรถพล ปลัดพรหม (2562) ได้ทำวิจัยเรื่อง การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD โดยเน้นการใช้ตัวแทนเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทาง คณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการทำวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD โดยเน้นการใช้ตัวแทน เรื่องความสัมพันธ์และ ฟังก์ชัน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.08/78.21 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้2) ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD โดยเน้นการใช้ ตัวแทน เรื่องความสัมพันธ์และฟังก์ชัน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 0.6750 หรือคิดเป็นร้อยละ 67.50 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ไม่น้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 ที่ ระดับ .05 4) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ไม่น้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่ระดับ .05 5.2 งานวิจัยต่างประเทศ Budi Murtiyasa และ Septia Nurul Hapsari ได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา คณิตศาสตร์ จากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค TAI และเทคนิค STAD พบว่า การจัดการ เรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค TAI และเทคนิค STAD รวมถึงทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์มีผลกับ ผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์ การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค TAI ให้ผลลัพธ์การเรียนรู้ คณิตศาสตร์ที่ดีกว่าการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD นอกจากนี้ทักษะการสื่อสารทาง คณิตศาสตร์ประเภทสูงนั้นดีกว่าทักษะระดับกลางและระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่าง กลยุทธ์การเรียนรู้และทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์กับผลลัพธ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ 6. กรอบแนวคิดการวิจัย ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดการวิจัย ขั้นที่ 1 การนำเข้าสู่บทเรียน เป็นการเตรียมตัวนักเรียนก่อนเริ่มทำการเรียน ขั้นที่ 2 การนำเสนอบทเรียนต่อทั้งชั้น เป็นการสอนเนื้อหา ทักษะหรือวิธีการ เกี่ยวกับบทเรียนนั้น ๆ เพื่อทำให้นักเรียนเข้าใจ ขั้นที่ 3 การเรียนกลุ่มย่อย เป็นการจัดให้มีการร่วมมือกันภายในกลุ่ม กลุ่มละ 4 - 5 คน โดยคละความสามารถกันในแต่ละกลุ่ม ซึ่งสมาชิกทุกคนจะต้อง ทำงานร่วมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการทำใบงานและทบทวนความรู้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และเตรียมพร้อมสำหรับการทดสอบย่อย ขั้นที่ 4 การทดสอบย่อย หลังจากนักเรียนเรียนจบเนื้อหาย่อยแต่ละคนจะต้อง ทำแบบทดสอบด้วยความสามารถของตนเอง คะแนนที่ได้จะถูกนำไปเทียบหา คะแนนพัฒนาการ ขั้นที่ 5 การคิดคะแนนในการพัฒนาตนเอง ครูแจ้งคะแนนพัฒนาการของ สมาชิกในกลุ่ม และคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มเทียบกับเกณฑ์ แล้วให้รางวัลกับกลุ่ม ที่มีคะแนนพัฒนาการสูงสุด ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์


34 บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา คณิตศาสตร์เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การ แปลงทางเรขาคณิต โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียน ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินตามขั้นตอนดังต่อไปนี้คือ ประชากรและกลุ่ม ตัวอย่าง แบบแผนการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 1. กลุ่มเป้าหมาย 2. รูปแบบในการทดลอง 3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 4. การเก็บรวบรวมข้อมูล 5. การวิเคราะห์ข้อมูล 6. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนแห่งหนึ่งใน จังหวัดอุดรธานีปีการศึกษา 2565 จำนวน 3 ห้องเรียน 86 คน 2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่1 ปี การศึกษา 2565 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม 1 ห้องเรียน จำนวน นักเรียน 33 คน รูปแบบในการทดลอง ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้รูปแบบในการทดลองแบบกลุ่มเดียว (One Group Pretest – Posttest Design) โดยมีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ดังนี้ (พวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2540 : 60) T1 X T2 T1 แทน การทดสอบก่อนเรียน (Pretest) X แทน จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD T2 แทน การทดสอบหลังเรียน (Posttest)


35 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. ประเภทของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย 1.1 แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต ที่ใช้ กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD 1.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทาง เรขาคณิต 2. การสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือ การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีรายละเอียด ดังนี้ 2.1 แผนการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรม การเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD มีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้ 2.1.1 ศึกษาทฤษฎี หลักการ และแนวคิดที่เกี่ยวกับการจัดกิจกรรม การเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD 2.1.2 ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรังปรุง 2560) หลักสูตรสถานศึกษา คู่มือครู หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน วิชาคณิตศาสตร์ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 ของกระทรวงศึกษาธิการและเอกสารที่เกี่ยวข้อง 2.1.3 วิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหา 2.1.4 สร้างแผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง การแปลงทาง เรขาคณิต 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จำนวน 4 แผน ใช้เวลา 11 ชั่วโมง ซึ่งมีสาระการเรียนรู้ ดังนี้ 2.1.4.1 การแปลงทางเรขาคณิต จำนวน 2 ชั่วโมง 2.1.4.2 การเลื่อนขนาน จำนวน 3 ชั่วโมง 2.1.4.3 การสะท้อน จำนวน 3 ชั่วโมง 2.1.4.4 การหมุน จำนวน 3 ชั่วโมง ซึ่งแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย สาระสำคัญ จุดประสงค์การ เรียนรู้(รายชั่วโมง) สาระการเรียนรู้ สมรรถนะทางคณิตศาสตร์ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการสอน ภาระงาน/ชิ้นงาน และการวัดและประเมินผล 2.1.5 นำแผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ที่สร้างขึ้นเสนอต่อ ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษา ด้านหลักสูตรและการ สอน การวิจัย และการวัดและประเมินผล ตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสม ความสอดคล้องและ ความเป็นไปได้ระหว่างจุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดผล ประเมินผล โดยให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณา ตรวจสอบ ให้คะแนนดังนี้ ให้คะแนน +1 หมายถึง แน่ใจว่ามีความเหมาะสมและสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดผลประเมินผล


36 ให้คะแนน 0 หมายถึง ไม่แน่ใจว่ามีความเหมาะสมและสอดคล้องกับจุดประสงค์การ เรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดผลประเมินผล ให้คะแนน -1 หมายถึง แน่ใจว่าไม่มีความเหมาะสมและไม่สอดคล้องกับจุดประสงค์การ เรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดผลประเมินผล แล้วนำคะแนนที่ได้มาหาค่าดัชนีความสอดคล้องขององค์ประกอบ ของแผนการเรียนรู้(Index of Item – Objective Congruence : IOC) โดยมีค่าดัชนีความ สอดคล้องเท่าตั้งแต่ 0.67 – 1.00 2.1.6 ปรับปรุงแก้ไขแผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ตามข้อเสนอแนะ 2.1.7 นำแผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD ไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย 2.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีลักษณะเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบมี 4 ตัวเลือก ในการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้าง ตามลำดับขั้นตอน ดังนี้ 2.2.1 ศึกษาเอกสารหลักสูตร ได้แก่ คู่มือครู คู่มือวัดและประเมินผลวิชา คณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 การสร้างตารางวิเคราะห์หลักสูตรเอกสารที่เกี่ยวข้องเทคนิค การเขียนข้อสอบ การสร้างแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 2.2.1 วิเคราะห์เนื้อหา เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต เพื่อแบ่งเนื้อหา ออกเป็นเนื้อหาย่อยๆ แล้วเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้ 2.2.3 สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์แบบ ปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 28 ข้อ ให้ครอบคลุมเนื้อหาและจุดประสงค์การเรียนรู้ตาม ตารางวิเคราะห์หลักสูตร 2.2.4 นำแบบทดสอบที่สร้างขึ้นเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ซึ่งเป็น ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนคณิตศาสตร์ ด้านการสอนการวิจัย และด้านการวัดผลและประเมินผล เพื่อ ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยใช้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) โดยให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณา ตรวจสอบ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้ ให้คะแนน +1 เมื่อแน่ใจว่าข้อสอบข้อนั้นวัดได้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ให้คะแนน 0 เมื่อไม่แน่ใจว่าข้อสอบข้อนั้นวัดได้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ให้คะแนน -1 เมื่อแน่ใจว่าข้อสอบข้อนั้นวัดไม่สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 2.2.5 นำผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์หาค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่างข้อคำถามของแบบทดสอบกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยหาค่า IOC ซึ่งจะต้องมีค่าระหว่าง 0.67 – 1.00 2.2.6 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไปทดลองใช้กับนักเรียนที่ กำลังเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานีที่เรียนผ่าน มาแล้วและไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย แล้วนำคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าความยากง่าย (p)


37 และหาค่าอำนาจจำแนก (r) เป็นรายข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.50 - 0.80 มีค่าอำนาจ จำแนกระหว่าง 0.20 – 0.60 2.2.7 นำข้อสอบที่คัดเลือกแล้วไปทดสอบเพื่อหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้ง ฉบับ โดยใช้สูตรของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน KR - 20 ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับมีค่า 0.83 2.2.8 นำแบบทดสอบที่ได้ไปวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการทดลองต่อไป การเก็บรวบรวมข้อมูล การดำเนินการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยดำเนินการทดลองและเก็บข้อมูลกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานีการดำเนินการทดลองและเก็บข้อมูลในแต่ละขั้น มีดังนี้ 1. เตรียมนักเรียนก่อนดำเนินการสอน โดยแนะนำวิธีการเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดย ใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD ให้นักเรียนมีความรู้การสร้างข้อตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับ การเรียน ขั้นตอนการเรียนและบทบาทวิธีการปฏิบัติตนในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ใช้เวลา 30 นาที ในสัปดาห์แรกก่อนทำการทดลอง 2. ทำการทดสอบก่อนเรียน (Pretest) โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา คณิตศาสตร์ใช้เวลา 30 นาทีในสัปดาห์แรกก่อนทำการทดลอง 3. ดำเนินการทดลองการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรม การเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต กับ นักเรียนตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 4 แผน ใช้เวลา 11 ชั่วโมง 4. ทำการทดสอบหลังเรียน (Posttest) หลังจากการทดลองสอนสิ้นสุดลง โดยใช้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ฉบับเดียวกันกับที่ใช้ทดสอบก่อน การ ทดลอง โดยใช้เวลา 30 นาที 5. นำคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่เรียนด้วยกิจกรรมการ เรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีทางสถิติ เพื่อ ตรวจสอบสมมติฐาน การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้นำคะแนนจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการ ทางสถิติ ดังนี้ 1. สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้ในการหาค่าร้อยละ ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2. การทดสอบสมมติฐาน นำคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบมาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา คณิตศาสตร์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน หลังจากที่ได้รับกิจกรรมการเรียนการสอนวิชา คณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD โดยใช้การ ทดสอบทีแบบไม่อิสระ (Dependent Sample t-test)


38 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยเลือกใช้สถิติ ดังนี้ 1. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์หาคุณภาพเครื่องมือ 1.1 การหาค่าความเที่ยงตรง (Validity) ของแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต แบบทดสอบวัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้สูตรดัชนีความสอดคล้อง IOC ดังนี้(สมนึก ภัททิยธนี, 2558 : 220- 221) IOC = N R เมื่อ IOC แทน ดัชนีความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์กับเนื้อหาหรือ ระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์ R แทน ผลรวมคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด N แทน จำนวนผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 1.2 การหาค่าความยากและค่าอำนาจจำแนกแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่ง เป็นแบบทดสอบแบบอิงกลุ่ม โดยใช้สูตร ดังนี้(สมนึก ภัททิยธนี, 2558 : 195) N R p = f Ru Rl r − = เมื่อ P แทน ค่าความยาก R แทน ค่าอำนาจจำแนก R แทน จำนวนผู้ตอบถูกทั้งหมด (Ru+Rl) N แทน จำนวนคนในกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ (ซึ่งเท่ากับ 2f) f แทน จำนวนคนในกลุ่มสูงหรือกลุ่มต่ำ Ru แทน จำนวนคนในกลุ่มสูงที่ตอบข้อนั้นถูก Rl แทน จำนวนคนในกลุ่มต่ำที่ตอบข้อนั้นถูก 1.3 การหาค่าความเชื่อมั่นแบบทดสอบวัดวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ค่าความ เชื่อมั่นด้วยสูตร KR-20 ดังนี้(สมนึก ภัททิยธนี, 2558 : 223) − − − = tt 2 s pq 1 n 1 n KR 20 : r เมื่อ tt r แทนค่า ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ N แทนค่า จำนวนข้อของแบบทดสอบทั้งฉบับ P แทนค่า อัตราส่วนของผู้ตอบถูกในข้อนั้น q แทนค่า อัตราส่วนของผู้ตอบผิดในข้อนั้น S 2 แทนค่า ความแปรปรวนของคะแนนทั้งฉบับ


Click to View FlipBook Version