การศึกษาความสมั พันธข์ องความเขา้ ใจมโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์ ของนกั เรียนระดบั ชนั้
มัธยมศกึ ษาปีท่ี 3 เรือ่ ง ปฏสิ มั พนั ธร์ ะหว่างโลก ดวงจนั ทร์ และดวงอาทติ ย์
ปรากฎการณข์ ้างขนึ้ ข้างแรม และ ปรากฎการณน์ ำ้ ขน้ึ -น้ำลง
ท่ีผ่านการจดั การเรียนร้แู บบสบื เสาะ (5E)
นายศักดนิ นท์ อดุ ชุมพสิ ัย
ตำแหน่ง ครู
กลุม่ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี
การวจิ ัยน้เี ปน็ วจิ ยั ในชัน้ เรยี นโรงเรียนหนองหานวิทยา
การศึกษาความสมั พันธข์ องความเขา้ ใจมโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์ ของนกั เรียนระดบั ชนั้
มัธยมศกึ ษาปีท่ี 3 เรือ่ ง ปฏสิ มั พนั ธร์ ะหว่างโลก ดวงจนั ทร์ และดวงอาทติ ย์
ปรากฎการณข์ ้างขนึ้ ข้างแรม และ ปรากฎการณน์ ำ้ ขน้ึ -น้ำลง
ท่ีผ่านการจดั การเรียนร้แู บบสบื เสาะ (5E)
นายศักดนิ นท์ อดุ ชุมพสิ ัย
ตำแหน่ง ครู
กลุม่ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี
การวจิ ัยน้เี ปน็ วจิ ยั ในชัน้ เรยี นโรงเรียนหนองหานวิทยา
ก
ชือ่ งานวิจัย : การศึกษาความสัมพันธ์ของความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน
ระดบั ช้นั มัธยมศกึ ษาปที ่ี 3 เรอื่ ง ปฏิสัมพนั ธ์ระหวา่ งโลก ดวงจนั ทร์ และดวงอาทิตย์
ปรากฎการณข์ า้ งขึน้ ขา้ งแรม และปรากฎการณ์น้ำขน้ึ -นำ้ ลง ทผี่ า่ นการจดั การเรยี นรู้
แบบสบื เสาะ (5E)
คณะผวู้ ิจยั : นายศักดนิ นท์ อดุ ชมุ พสิ ยั ผูว้ ิจยั
ปีการศึกษา : 2565
บทคัดย่อ
การจัดการเรียนรู้เรื่อง ปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม และปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลงนั้น
ถือเป็นปรากฏการณ์ อันเนื่องมาจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ เนื้อหาของ
ทั้ง 3 เรื่องจึงมีความสอดคล้องเชื่อมโยงกัน ดังนั้นในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละเรื่อง
อาจส่งผลตอ่ ความเขา้ ใจมโนมติทางวทิ ยาศาสตรข์ องนักเรยี นในเรอื่ งใดเร่ืองหน่ึงได้
การวิจยั ครง้ั น้ี มีวตั ถปุ ระสงค์เพอ่ื ศึกษาความสมั พันธข์ องความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์
ของนักเรียนเรื่อง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ ปรากฎการณ์ข้างขึ้นข้างแรม
และปรากฎการณ์นำ้ ขึ้น-น้ำลง ที่ผ่านการจดั การเรียนรู้แบบสืบเสาะ (5E) กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียน
ชั้นมัธยมศกึ ษาปีที่ 3 จำนวน 29 คน ภาคเรียนท่ี 1 ปีการศึกษา 2565 โดยใช้รูปแบบวิจัยเชงิ ปรมิ าณ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5E จำนวน 3 แผน
และแบบวัดความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์แบบอัตนัย นำแบ่งกลุ่มความเข้าใจมโนมติ
ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนออกเป็น 5 ระดับ คือ ความเข้าใจมโนมติที่สมบูรณ์ (CU) ความเข้าใจ
มโนมติที่ถูกต้องแต่ไม่สมบูรณ์ (PU) ความเข้าใจมโนมติที่คลาดเคลื่อนบางส่วน (PS) ความเข้าใจ
มโนมติท่ีคลาดเคลื่อน (AC) และความไม่เข้าใจ (NU) แล้วนำมาหาค่าความสัมพันธ์โดยใช้
ค่าสัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์เพียร์สัน แล้ววิเคราะห์ความสมั พันธ์ของคู่มโนมติทางวิทยาศาสตร์ย่อยของ
แต่ละเรือ่ ง
ผลการวิจัยพบว่า ความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ ปรากฎการณ์ข้างขึ้นข้างแรม และ
ปรากฎการณน์ ำ้ ข้ึน-นำ้ ลง มคี วามสมั พนั ธก์ นั อย่างมีนัยสำคัญท่ี 0.01 ซึง่ เร่อื งทีม่ ีความสัมพันธ์กันมาก
ทีส่ ดุ คอื ปฏสิ มั พนั ธ์ระหวา่ งโลก ดวงจนั ทร์ และดวงอาทิตย์ กบั ปรากฎการณ์ข้างขนึ้ ข้างแรม
ข
กิตติกรรมประกาศ
งานวิจัยเรื่อง การศึกษาความสัมพันธ์ของความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ ปรากฎการณ์
ข้างขึ้นข้างแรม และปรากฎการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง ที่ผ่านการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ (5E)
เสร็จสมบูรณ์ได้เป็นอย่างดี ด้วยได้รับความกรุณาและช่วยเหลือ เอาใจใส่อย่างดียิ่งจาก
อาจารย์ ดร. จริ ดาวรรณ หันตลุ า อาจารย์ ทป่ี รึกษาหลกั ท่ไี ดใ้ ห้แนวทางคำปรกึ ษา และข้อเสนอแนะ
ในการทำวิจัยเป็นอยา่ งดีมาโดยตลอด ผู้วิจยั ขอกราบขอบพระคณุ เป็นอย่างสงู มา ณ ทน่ี ี้
ขอขอบพระคุณ นางบุศรินทร์ ห้าวหาญ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ที่ได้
อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการเกบ็ ขอ้ มลู วจิ ยั รวมถึงขอ้ เสนอแนะตา่ ง ๆ
ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้ง 3 ท่าน ได้แก่ อ.ดร. จิรดาวรรณ หันตุลา คุณครูพิทยา เสมา
สถิตย์พันธ์ และคุณครูเปรมฤดี ศรีดาพรมมา ที่กรุณาสละเวลาในการตรวจพิจารณาความถูกต้อง
สมบรู ณข์ องเครื่องมือวิจยั ตลอดจนให้คำแนะนำเพม่ิ เติมแก่ผูว้ ิจยั
ขอขอบคณุ นายลำเพย พเิ คราะหแ์ นะ ผอู้ ำนวยการโรงเรียน คณะครู นักเรยี น และบุคลากร
ของโรงเรียนหนองหานวทิ ยา ท่ไี ดใ้ หค้ วามอนเุ คราะห์ในการเกบ็ รวบรวมข้อมูลวจิ ัย
สุดท้าย ขอขอบพระคุณพ่อและแม่ ญาติพี่น้อง และเพื่อน ๆ ที่คอยสนับสนุนและ
เปน็ กำลงั ใจอันสำคญั มาโดยตลอด จนทำให้งานวจิ ยั นีส้ ำเรจ็ ลุลว่ งได้ด้วยดี
ศกั ดนิ นท์ อุดชมุ พิสัย
สารบญั ค
บทคัดยอ่ หน้า
กติ ตกิ รรมประกาศ
สารบัญ ก
สารบัญตาราง ข
สารบัญภาพ ค
บทที่ 1 บทนำ จ
ฉ
1.1 ความเปน็ มาและความสำคัญของปญั หา
1.2 คำถามการวิจัย 1
1.3 วตั ถุประสงคก์ ารวิจัย 2
1.4 ขอบเขตการวิจัย 3
1.5 นิยามศพั ท์เฉพาะ 3
1.6 ประโยชน์ทีไ่ ด้รับ 3
บทที่ 2 วรรณกรรมและงานวิจยั ทีเ่ กีย่ วข้อง 5
2.1 มโนมติทางวิทยาศาสตร์
2.2 มโนมติคลาดเคลื่อน 6
2.3 การจดั การเรยี นรู้แบบสืบเสาะ 7
2.4 มโนมตใิ นเนอื้ หาปฏสิ มั พนั ธข์ องโลก ดวงจนั ทร์ และดวงอาทติ ย์ 8
11
ปรากฏการณข์ ้างขน้ึ ขา้ งแรม และปรากฏการณน์ ำ้ ข้นึ นำ้ ลง
2.5 งานวจิ ยั ทีเ่ กย่ี วขอ้ ง 14
2.6 กรอบแนวคดิ การวิจยั 16
บทที่ 3 วิธดี ำเนนิ การวจิ ัย
3.1 รูปแบบการวจิ ยั 17
3.2 กลุม่ เปา้ หมาย 18
3.3 ตัวแปรทีใ่ ชใ้ นการศึกษา 18
3.4 เคร่ืองมอื และการสร้างเครื่องมือวจิ ยั 18
3.5 การเก็บรวบรวมขอ้ มูล 26
สารบัญ (ตอ่ ) ง
3.6 การวเิ คราะหข์ ้อมลู หนา้
3.7 สถติ ิท่ีใชใ้ นการวิจยั
บทท่ี 4 ผลการวิจยั และอภปิ รายผล 27
4.1 ความสมั พันธ์ของความเขา้ ใจมโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์ 37
4.2 อภปิ รายผล 39
บทท่ี 5 สรปุ ผลการวจิ ยั และข้อเสนอแนะ 46
5.1 สรุปผลการวจิ ยั 55
5.2 ขอ้ เสนอแนะ 58
บรรณานุกรม 59
ภาคผนวก 61
ภาคผนวก ก เคร่ืองมอื ทใ่ี ชใ้ นการวจิ ัย 63
104
- แผนการจัดการเรียนรู้ 109
ภาคผนวก ข เคร่อื งมือทใ่ี ช้ประเมินผล 111
118
- แบบวัดมโนมตทิ างวิทยาศาสตร์ของนกั เรียน
ภาคผนวก ค ตัวอยา่ งผลงานนกั เรียน
- ใบกิจกรรมของนักเรียน
ภาคผนวก ง ตวั อยา่ งภาพกิจกรรมการเรียนการสอน
- ภาพกจิ กรรมการเรยี นการสอน
ภาคผนวก จ ประวัติของผู้วิจยั
- ประวัติของผู้วิจัย
จ
สารบัญตาราง
หนา้
ตารางที่ 1 มโนมติทางวทิ ยาศาสตร์และมโนมตทิ คี่ ลาดเคล่ือน เร่ือง ปรากฏการณ์ขา้ งขน้ึ ข้างแรม 12
ตารางที่ 2 มโนมติทางวทิ ยาศาสตร์และมโนมตทิ ีค่ ลาดเคลื่อน เรื่อง ปรากฏการณน์ ้ำข้ึน-น้ำลง 13
ตารางท่ี 3 ตัวอยา่ งแผนการจดั กิจกรรมการเรียนรู้ เร่อื ง ปฏิสมั พนั ธร์ ะหวา่ งโลก ดวงจนั ทร์ 20
และดวงอาทติ ย์
ตารางท่ี 4 ตารางแสดงคา่ ดชั นคี วามสอดคลอ้ ง (IOC) 24
ตารางที่ 5 เครือ่ งมอื ทใี่ ชใ้ นการวจิ ยั 25
ตารางที่ 6 เกณฑก์ ารใหค้ ะแนนความเข้าใจมโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์ 27
ตารางท่ี 7 ระดบั ความเข้าใจมโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์ : ทิศทางการโคจรของดวงจันทรร์ อบโลก 28
และเวลาท่ีใชใ้ นการโคจรครบ 1 รอบ
ตารางท่ี 8 ระดับความเข้าใจมโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์ : การไดร้ บั แสงของดวงจนั ทร์ครง่ึ ดวง 29
ตลอดการโคจรรอบโลก
ตารางที่ 9 ระดับความเขา้ ใจมโนมติทางวทิ ยาศาสตร์ : แรงโนม้ ถว่ งระหวา่ งโลก ดวงจันทร์ 29
และดวงอาทิตย์
ตารางที่ 10 ระดบั ความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ : การเกิดปรากฏการณ์ข้างขึน้ ขา้ งแรม 30
จากการโคจรของดวงจนั ทร์รอบโลก
ตารางท่ี 11 ระดับความเข้าใจมโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์ : ตำแหน่งของดวงจนั ทรท์ ี่โคจรรอบโลก 31
ทส่ี ัมพนั ธ์กบั สว่ นมดื สว่ นสวา่ งของดวงจันทร์
ตารางที่ 12 ระดบั ความเขา้ ใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ : ตำแหน่งของดวงจนั ทร์ที่โคจรรอบโลก 32
กับวันขึน้ และวันแรม
ตารางท่ี 13 ระดบั ความเข้าใจมโนมติทางวทิ ยาศาสตร์ : ส่วนมดื ส่วนสวา่ งของดวงจันทร์ 33
ท่ีสมั พนั ธ์กบั การเกิดปรากฏการณ์น้ำข้ึน-นำ้ ลง
ตารางที่ 14 ระดับความเขา้ ใจมโนมตทิ างวิทยาศาสตร์ : ตำแหน่งของดวงจนั ทร์ท่ีโคจรรอบโลก 34
ท่สี มั พันธ์กับการขึ้นลงของระดับน้ำบนผิวโลก
ตารางที่ 15 ระดบั ความเขา้ ใจมโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์ : วนั ขนึ้ และแรมในแตล่ ะตำแหน่งของ 35
ดวงจนั ทรท์ โ่ี คจรรอบโลกทีส่ มั พนั ธก์ บั การขนึ้ ลงของระดับนำ้ บนผิวโลก
ฉ
สารบญั ตาราง (ต่อ) หน้า
ตารางท่ี 16 คา่ สหสัมพันธเ์ พียรส์ ันของความเขา้ ใจมโนมตทิ างวทิ ยาศาสตรข์ องนกั เรยี น 41
เรอ่ื ง ปฏสิ ัมพันธร์ ะหว่างโลก ดวงจนั ทร์ และดวงอาทิตย์
เร่ือง ปรากฎการณข์ า้ งขึน้ ข้างแรม และเร่ือง ปรากฎการณ์นำ้ ขึ้น-นำ้ ลง 42
45
ตารางที่ 17 ผลการวเิ คราะห์ความสัมพนั ธข์ องมโนมตทิ างวิทยาศาสตร์
จากคา่ สัมประสิทธส์ิ หสมั พันธ์ การยอมรบั คา่ Sig
ตารางที่ 18 แสดงคา่ รอ้ ยละของความสัมพนั ธค์ มู่ โนมติ
ช
สารบญั ภาพ
หน้า
ภาพท่ี 1 กรอบแนวคดิ ในการวจิ ยั 16
ภาพท่ี 2 รปู แบบการวิจยั 17
ภาพท่ี 3 ขนั้ ตอนการดำเนนิ การเกบ็ รวบรวมข้อมลู วิจัย 26
ภาพที่ 4 นกั เรยี นทำการสำรวจและคน้ หาการเกดิ ปรากฏการณ์ขา้ งขนึ้ ขา้ งแรม 112
ภาพท่ี 5 นักเรียนทำการบนั ทกึ ผลการสงั เกตการทดลองลงในบกิจกรรม 112
ภาพที่ 6 สื่อการจัดกจิ กรรมการเรียนรใู้ นเรอ่ื งปรากฏการณ์นำ้ ขนึ้ -น้ำลง 113
ภาพที่ 7 โปรแกรม Stellarium ในการสังเกตลกั ษณะสว่ นมืดและสวา่ งของดวงจนั ทร์ 113
จากบนโลก
ภาพที่ 8 การใช้ โปรแกรม Mitaka จำลองปฏิสัมพนั ธร์ ะหวา่ งโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทติ ย์ 114
บทที่ 1
บทนำ
1. ความเปน็ มาและความสำคัญของปัญหา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถือเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิตโดยเฉพาะในศตวรรษที่ 21
ได้มีการนำศาสตร์ของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีรวมไปถึงนวัตกรรม เข้ามาใช้กันอย่างแพร่หลาย
ซง่ึ ได้มกี ารแข่งขันกันทางสงั คมทีส่ งู ทัง้ นวตั กรรม ความรู้คิดของประชากรของแตล่ ะประเทศ ทำให้ใน
แต่ละชาติจำเป็นต้องมีการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี หนึ่งในนั้น คือ การพัฒนาใน
ด้านของการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะต้องมีการคิดวิเคราะห์ สร้างความรู้
ใหม่จากข้อมลู พ้นื ฐานเดมิ ท่มี ี จึงจะเกดิ เปน็ มโนมตทิ ีถ่ ูกต้องสมบรู ณ์นัน้ ผู้เรียนจะต้องนำมโนมติเดิมท่ี
มีอยใู่ นโครงสรา้ งปญั ญามาสมั พนั ธ์กบั มโนมตใิ หม่ที่ไดร้ บั เกิดเปน็ มโนมติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific
Concept) ซึ่งปัฐมาภรณ์ พิมพ์ทอง (2551) ได้กล่าวว่า การจัดการเรียนรู้ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลง
มโนมติ กล่าวคือ มโนมติที่มีมาก่อนเรียนของผู้เรียน จะถูกเปลี่ยนไปเป็นมโนมติทางวิทยาศาสตร์ได้
หลังจากการจัดกิจกรรมการเรยี นรู้
ในสาระการเรยี นรทู้ ี่ 7 ของวิชาวิทยาศาสตร์ ในหลกั สตู รแกนกลางจดั ใหเ้ ปน็ สาระของความรู้
ด้านดาราศาสตร์ ที่มีการจัดขึน้ ในหลกั สูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพืน้ ฐานของประเทศไทย โดยครูทำ
หน้าที่เป็นผู้ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ในห้องเรยี น แต่ในการจดั การเรียนรู้ในเรื่องดาราศาสตร์นัน้ มีความ
ยาก เนื่องมาจากเนื้อหานั้นมีความเป็นนามธรรม และต้องสร้างความเชื่อมโยงระหว่างตัวแปรต่าง ๆ
เชน่ ระยะทางกบั เวลา เป็นตน้ ซ่งึ จะต้องคิดและทำความเข้าใจ จำเป็นต้องใช้จนิ ตนาการเป็นอย่างย่ิง
ในการเรยี นรู้
จากลักษณะของเนื้อหาวิชาดาราศาสตร์ที่ค่อนข้างเป็นนามธรรมดังที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้
นักเรียนเกิดความคิด ความเข้าใจที่ไม่เป็นที่ยอมรับของนักวิทยาศาสตร์ ไม่สอดคล้องกับทฤษฎี หรือ
ปราศจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ จะถูกเรียกว่า มโนมติที่คลาดเคลื่อน ( Misconception)
(พนิตานันท์ วิเศษแก้ว, 2553) ถือเป็นปัญหาสำคัญในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ผู้เรียน
เกิดความเข้าใจที่คาดเคลื่อน ได้แก่ 1. ตำราเรียน 2. การแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ 3. การทำ
กิจกรรมและการสรุปความรู้ต่าง ๆ (Obsbrone & Freyberg, 1985 อ้างถึงใน ทวีป บรรจงเปลี่ยน,
2540)
2
มโนมติที่คลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นนี้ ไม่ได้เกิดเพียงนักเรียนบางระดับเท่านั้น ยังรวมไปถึง
ครูผู้สอนที่มีมโนมติที่คลาดเคลื่อน ซึ่งถือเป็นปัญหาที่สำคัญของการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน
ซึ่งคุณครู เทย์เลอร์ (Taylor, 1996) ยังได้กล่าวว่าคุณครูระดับชั้นมัธยมศึกษาต้อนต้น ได้บอกถึงการ
เกิดปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรมว่า เกิดจากการที่เงาของโลกนั้น ทอดไปบดบังดวงจันทร์ทำให้เห็น
เปน็ ปรากฏการณข์ า้ งขึน้ ข้างแรม ซ่งึ ถอื เป็นอีกหนึ่งความเข้าใจท่ีผิดในการจัดการเรียนร้ขู องเร่อื งน้ี
จากการสำรวจความเขา้ ใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศกึ ษาตอนต้น
โรงเรียนหนองหานวิทยา พบว่า นักเรียนนั้นมีมโนมติที่คลาดเคลื่อนอยู่มาก เช่น การถามนักเรียนว่า
เพราะเหตุใดจึงเกิดปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม แล้วนักเรียนตอบว่า “ปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม
เกิดจากปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง” ซึ่งทั้ง 2 เรื่องนี้เป็นปรากฏการณ์ที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยง
เกี่ยวเนื่องมาจากผลของปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ ซึ่งหากนักเรียน
ความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์แต่ละเรื่องที่มีความสัมพันธ์กันกับความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์
ของนักเรียนในเรื่องอื่น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูควรวางแผนให้เกิดการจัดการเรียนรู้เพื่อเอื้อต่อการ
เกิดความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนในเรื่องนั้น ๆ ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนเกิด
ความเขา้ ใจมโนมติทางวทิ ยาศาสตร์ในเรอ่ื งทมี่ ีความเชื่อมโยงกนั ได้เชน่ กัน
จึงทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาความสัมพันธ์ของมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของทั้ง 3 เรื่องนี้ใน
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ว่ามีความสัมพันธ์กันหรือไม่ อย่างไร ซึ่งการศึกษาความเชื่อมโยง
ของมโนมติ 3 เรื่องนี้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลเพื่อใช้เป็นแนวทางพัฒนากิจกรรมในการจัดการเรียนรู้ใน
เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม และ
ปรากฏการณ์ น้ำขึ้น-น้ำลง ซึ่งจะทำให้ครูผู้สอนได้ตระหนัก และนำไปใช้ในการวางแผนการจัด
การเรียนรู้ในบางเรื่อง ที่ความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมีการส่งผลต่อความเข้าใจ
มโนมติทางวิทยาศาสตรข์ องนักเรียนในเร่อื งอื่น ๆ ตอ่ ไปด้วย
2. คำถามการวิจัย
ความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์
ความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม และความเข้าใจมโนมติ
ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำขึ้น-น้ำลง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความสัมพันธ์กันหรือไม่
อยา่ งไร
3
3. วัตถุประสงค์การวิจัย
เพ่ือศึกษาความสมั พนั ธข์ องความเขา้ ใจมโนมติทางวทิ ยาศาสตร์ เร่ือง ปฏสิ มั พันธร์ ะหว่างโลก
ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม และปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง ของนักเรยี น
ช้นั มัธยมศึกษาปที ่ี 3
4. ขอบเขตของการวิจยั
4.1 สถานท่ดี ำเนินการวิจัย คอื โรงเรยี นหนองหานวทิ ยา สงั กัดสำนกั งานเขตพ้ืนทีก่ ารศึกษา
มัธยมศึกษาอดุ รธานี
4.2 กลมุ่ ทศ่ี ึกษา คอื นักเรยี นระดบั ช้นั มธั ยมศกึ ษาปีท่ี 3/1 โรงเรยี นหนองหานวิทยาท่ีกำลัง
ศกึ ษา ในภาคเรยี นที่ 1 ปีการศกึ ษา 2565 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนกั เรียน 29 คน
4.3 ขอบเขตดา้ นเนื้อหา รายวชิ าวิทยาศาสตร์ เรือ่ ง ปฏิสัมพนั ธ์ระหว่างโลก ดวงจนั ทร์ และ
ดวงอาทิตย์ โดยจะเลอื กเร่อื งทจ่ี ะทำการศกึ ษามา 3 เรอื่ ง คอื ปฏสิ ัมพันธร์ ะหวา่ งโลก ดวงจนั ทร์ และ
ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณข์ ้างขึ้นข้างแรม และปรากฏการณน์ ้ำขน้ึ -น้ำลง
4.4 ตัวแปรทศี่ กึ ษา
4.4.1 ความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลก
ดวงจนั ทร์ และดวงอาทติ ย์
4.4.2 ความเขา้ ใจมโนมติทางวิทยาศาสตรข์ องนักเรยี น เรอ่ื ง ปรากฏการณ์ขา้ งขึ้นข้างแรม
4.4.3 ความเขา้ ใจมโนมตทิ างวทิ ยาศาสตรข์ องนกั เรยี น เรื่อง ปรากฏการณน์ ำ้ ขน้ึ - นำ้ ลง
5. นยิ ามศพั ท์เฉพาะ
5.1 ความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง เข้าใจที่เกิดจากความคิด ซึ่งเป็นผลมา
จากการพิจารณาขอ้ เทจ็ จรงิ หลักการ ผลการทดลอง ในทางวทิ ยาศาสตร์และสถานการณต์ า่ ง ๆ แล้ว
นำมาประมวลเข้าดว้ ยกนั อย่างมเี หตผุ ล เปน็ ข้อสรุปสามารถอธิบายปรากฏการณ์ตา่ ง ๆ
5.2 ความสัมพันธ์ของความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความสัมพันธ์
เชื่อมโยงของระดับความเข้าใจมโนมตทิ างวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงจันทร์ และ
ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม และปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง ของนักเรียนระดับชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังจากการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5E จากการหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ
เพียร์สัน โดยมีเกณฑ์ในการพิจารณาความสัมพันธ์ของความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของ
นกั เรยี นโดยใช้คา่ สัมประสทิ ธิ์สหสมั พันธ์ของเพียร์สัน (r) ดงั น้ี
4
ถา้ r = 1 หมายความวา่ ความเข้าใจของมโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์ มคี วามสมั พันธ์เชิงบวกตาม
กนั โดยสมบูรณ์
r = 0 หมายความวา่ ความเขา้ ใจของมโนมติทางวิทยาศาสตร์ ไม่มีความสมั พนั ธ์เชงิ
เส้นตรง
r = -1 หมายความวา่ ความเข้าใจของมโนมติทางวทิ ยาศาสตร์ มคี วามสมั พนั ธ์เชงิ ลบกัน
โดยสมบูรณ์
5.3 เกณฑ์การพิจารณาระดับความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง เกณฑ์ที่ใชใ้ น
การจำแนกความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของผู้เรียน เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงจันทร์
และดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม และน้ำขึ้นน้ำลง โดยแบ่งความเข้าใจมโนมติทาง
วิทยาศาสตร์ของนักเรียนออกเป็น 5 ระดับ (Westbrook and Marek (1991 and 1992 อ้างถึงใน
พนติ านนั ท์ วเิ ศษแก้ว, 2553) ดังน้ี
5.3.1 ความเข้าใจที่สมบูรณ์ (Complete understanding : CU) หมายถึง คำตอบของ
นักเรียนถกู และให้เหตผุ ลถูกตอ้ งสมบูรณค์ รบองคป์ ระกอบทส่ี ำคัญของแต่ละแนวคิด
5.3.2 ความเข้าใจที่ถูกต้องแต่ไม่สมบูรณ์ (Partial understanding : PU) หมายถึง
คำตอบของนกั เรียนถกู ต้อง และให้เหตุผลถกู แต่ขาดองคป์ ระกอบที่สำคญั บางส่วน
5.3.3 ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนบางส่วน (Partial understanding with specific
alternative conception : PS) หมายถึง คำตอบถูกต้อง แต่ให้เหตุผลไม่ถูกหรือไม่ให้เหตุผล หรือ
ตอบไมถ่ ูก แตใ่ หเ้ หตุผลถูกตอ้ งบางส่วน
5.3.4 ความเขา้ ใจที่คลาดเคล่ือน (Alternative conception : AC) หมายถึง คำตอบของ
นกั เรยี นแสดงความเขา้ ใจทคี่ ลาดเคล่ือนทง้ั หมด
5.3.5 ไม่เข้าใจ (No understanding : NU) หมายถึง คำตอบของนักเรียนไม่ตรงกับ
คำถาม หรือนกั เรยี นไม่ตอบคำถาม
5.4 การจัดการเรียนรูแ้ บบสืบเสาะ 5E หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเน้นการให้
นักเรียนได้ลงมอื ปฏบิ ตั ิ เพอื่ สืบเสาะหาองค์ความรู้ในเร่ืองท่ีสงสยั ซง่ึ นักเรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏบิ ัติและ
สร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเอง เป็นการสร้างองค์ความรู้จากพื้นฐานความรู้เดิมที่มีของนักเรียน เกิดการ
เรียนรู้อย่างมีความหมาย และมีความเข้าใจที่ถูกต้องในเนื้อหานั้น ๆ มีขั้นตอนการจัดเรียนรู้ 5
ข้นั ตอน (สถาบนั สง่ เสริมการสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2555) คือ
1. ขั้นสร้างความสนใจ (Evaluation) เป็นขั้นที่นำนักเรียนเข้าสูบ่ ทเรียน หรือเรื่องที่นา่ สนใจ
ซึง่ อาจเกดิ ขนึ้ เองตามความสงสยั หรือเกดิ จากความสนใจของตวั ผเู้ รยี นเอง
5
2. ขัน้ สำรวจและค้นหา (Exploration) เปน็ ข้ันที่นกั เรยี นทา ความเขา้ ใจกบั ประเด็นปัญหาที่
นักเรียนสนใจ และเปิดโอกาสให้นักเรียนใช้แนวความคิดที่มีอยู่แล้ว มาจัดความสัมพันธ์กับประเด็น
ปญั หาเข้าเป็นหมวดหมู่
3. ขนั้ อธบิ ายและลงขอ้ สรปุ (Explanation) เป็นข้นั ทีน่ กั เรียนได้ข้อมลู อย่างเพยี งพอจากการ
สำรวจตรวจสอบ จงึ นำข้อมูลทีไ่ ด้มาวิเคราะห์ หรอื สรุปผล และนำเสนอผลท่ไี ด้
4. ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) เป็นขั้นที่นักเรียนนำความรู้ที่ได้จากการสำรวจ ไป
เชือ่ มโยงกับสถานการณ์ใหม่เพื่อให้นกั เรียนมอี งคค์ วามร้ทู ่ีเพ่ิมขึ้น
5. ขั้นประเมินผล (Evaluation) เป็นขั้นที่นักเรียนได้ประเมินตนเองว่ามีความรู้อะไรบ้าง
และมมี ากน้อยเพยี งใด
6 ประโยชน์ทไี่ ด้รบั
6.1 เพื่อให้ครูผู้สอนทราบว่าในส่วนใดของ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงจันทร์ และ
ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม และปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง ที่มีความสัมพันธ์ของความ
เข้าใจมโนมติทางวทิ ยาศาสตร์ของนกั เรยี น ซึ่งสามารถนำไปใชเ้ ป็นข้อมลู ประกอบการจัดกิจกรรมการ
เรยี นรู้ให้นกั เรยี นไดอ้ ย่างมีประสทิ ธภิ าพมากยงิ่ ข้ึน
6.2 เพื่อให้ครูผู้สอนตระหนักถึงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของเนื้อหาที่มโนมติทาง
วทิ ยาศาสตร์ของนักเรยี นมคี วามสมั พันธก์ ัน ซึง่ เม่ือนักเรยี นเกิดความเขา้ ใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ใน
เรื่องหนึ่ง แล้วมีผลต่อความเข้าใจโนมติทางวิทยาศาสตรใ์ นเรื่องหนึ่ง ผู้สอนจึงควรตระหนักในการจดั
กิจกรรมการเรยี นรู้ให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้นักเรียนได้เกิดความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ในเร่อื งที่
สัมพันธ์ต่อเนือ่ งกนั ได้
6.3 เพื่อเป็นแนวทางของศึกษาด้านความสัมพันธ์ของความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์
ของนักเรียนในเรื่องอน่ื ๆ ต่อไป
บทที่ 2
วรรณกรรมและงานวิจัยท่ีเก่ียวขอ้ ง
การวจิ ัยครั้งนี้มวี ตั ถุประสงค์เพือ่ ศกึ ษาความสัมพันธข์ องความเขา้ ใจมโนมติทางวทิ ยาศาสตร์
เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม และ
ปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยผู้วิจัยได้มีการศึกษาเอกสารและ
งานวจิ ัยท่เี กี่ยวขอ้ งเพือ่ ใหก้ ารดำเนนิ การวจิ ยั เปน็ ไปได้อย่างมปี ระสิทธิภาพ ดังนี้
1. มโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์
2. มโนมติคลาดเคลอ่ื น
3. การจดั การเรยี นรู้แบบสืบเสาะ
4. มโนมติในเนื้อหาปฏิสัมพันธ์ของโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์ข้างขึ้น
ขา้ งแรม และปรากฏการณน์ ำ้ ขน้ึ นำ้ ลง
5. งานวิจัยท่เี กี่ยวขอ้ ง
6. กรอบแนวคิดการวิจยั
1. มโนมติทางวทิ ยาศาสตร์
1.1 ความหมายของมโนมติทางวทิ ยาศาสตร์
มีนักการศึกษาหลายทา่ น ไดใ้ ห้ความหมายของมโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์ ไวด้ งั นี้
ธีระชัย ปูรณโชติ และพัชรา ทวีวงศ์ ณ อยุธยา (2526 อ้างถึงใน เกียรติมณี บำรุงไร่, 2553)
กล่าวไว้ว่า มโนมติทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความเข้าใจในสิ่งหนึ่ง ที่ได้มาจากการสังเกต หรือมี
ประสบการณโ์ ดยตรงในสิง่ น้นั แล้วนำมากระทำเป็นความคดิ โดยสรปุ
ทวปี บรรจงเปลย่ี น (2540) กลา่ วว่า มโนมตทิ างวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความเขา้ ใจในสิ่งหน่ึง
ทไี่ ด้จากการศกึ ษาค้นคว้าขอ้ เท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งทำให้ผเู้ รยี นมีความเข้าใจในบทเรียนได้อย่าง
ชดั เจน
สมควร ขนชยั ภูมิ (2545) กล่าววา่ มโนมตทิ างวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้ความเข้าใจทาง
วทิ ยาศาสตรป์ ระเภทหนึ่งทสี่ รปุ ออกมาจากความเขา้ ใจ และความคดิ
7
ไพโรจน์ เติมเตชาติพงศ์ (2550) กล่าวว่า มโนมติทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ข้อสรุปทาง
วิทยาศาสตรท์ ี่ไดจ้ ากความคดิ ความเข้าใจเก่ยี วกบั เร่อื งใดเรื่องหน่งึ ทางวทิ ยาศาสตร์
วราภรณ์ ชัยโอภาส (อ้างถึงใน เกียรติมณี บำรุงไร่,2553) ให้ความหมายว่า มโนมติทาง
วิทยาศาสตร์ หมายถึง การเรียนรูโ้ ดยอาศัยความสามารถในการสังเคราะห์ การวเิ คราะห์ และการสือ่
ความหมายโดยการพูดหรือเขยี นด้วยขอ้ ความภาษาของตนเอง
Romey (1968 อ้างถึงใน นิคม ทองบุญ, 2542.) ได้ให้ความหมายของมโนมติทาง
วิทยาศาสตร์ว่า เป็นการสรุปอย่างกว้างๆเกี่ยวกับบางสิ่งที่เป็นข้อเท็จจริงและประสบการณ์ทาง
กายภาพและชวี ภาพ
ดังนั้นผู้วิจัยสรุปว่า มโนมติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Concept) หมายถึง ความรู้ ความ
เข้าใจของนักเรียน ที่ได้ศึกษาจากความจริง หลักการและทฤษฎี ซึ่งสามารถอธิบายความสัมพันธ์เชิง
เหตผุ ลเชงิ วิทยาศาสตร์ไดจ้ นเปน็ ทีย่ อมรับ
2. มโนมติท่คี ลาดเคลือ่ น
มโนมติทางเลือกมีหลายคำที่ใช้แตกต่างกันออกไปทัง้ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ซึ่งอาจใช้
มโนมติที่คลาดเคลื่อน (Misconception), มโนมติทางเลือก (Alternative Conception) เป็นต้น แต่
ในงานวจิ ยั ครง้ั น้ีผวู้ ิจยั ขอใช้คำวา่ มโนมตทิ ี่คลาดเคล่ือน
2.1 ความหมายของมโนมตทิ ่ีคลาดเคลอื่ น
เกยี รติมณี บำรุงไร่ (2553) ไดก้ ลา่ วไว้วา่ มโนมตทิ คี่ ลาดเคลอ่ื น หมายถงึ การแปลความเข้าใจ
ของแตล่ ะบุคคล ทำใหเ้ กดิ การสรา้ งองคค์ วามรหู้ รอื การแปลความหมายแตกตา่ งกัน ซงึ่ ความเขา้ ใจนั้น
แตกตา่ งจากแนวความคดิ ทีถ่ ูกยอมรับของสงั คมวทิ ยาศาสตรใ์ นชว่ งเวลาน้นั ๆ
รุ่งโรจน์ โคตรนารา (2555) ได้กล่าวว่ามโนมติที่คลาดเคลื่อน หมายถึง ความคิด ความ
เข้าใจ ความรู้ของบุคคลที่ยังไม่ถูกต้อง คลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริง เนื่องมาจากความรู้เดิมและ
ประสบการณ์ท่ีมียงั ไมช่ ดั เจน
Chambers and Andre (1997 อ้างถึงใน นิคม ทองบุญ, 2542) ได้กล่าวว่า มโนมติท่ี
คลาดเคลือ่ น หมายถงึ ความคิดของผู้เรยี นท่คี ลาดเคลอื่ นไปจากความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์
2.2 สาเหตุของการเกดิ มโนมติคลาดเคล่ือน
สมควร ขนชัยภูมิ (2545) ได้กล่าวสรุปถึงสาเหตุของการเกิดความเข้าใจมโนมติท่ี
คลาดเคลื่อนว่าเกิดจากสาเหตุใหญ่ ๆ อยู่ 4 ประการ คอื
1) เกิดจากการแปลความหมายไม่ถูกต้อง
2) เกดิ จากความเช่ือ
8
3) เกิดจากตำราไมช่ ดั เจน
4) เกดิ จากบุคคลอนื่ ๆ ทีน่ ำเสนอไม่ถูกตอ้ ง
เกียรติมณี บำรุงไร่ (2553) ได้กล่าวสรุปถึงสาเหตุของการเกิดความเข้าใจมโนมติ
คลาดเคลอ่ื น ดังนี้
1) ตวั บคุ คล โดยมาจากการแปลความหมายไม่ถกู ตอ้ งกับความเป็นจรงิ
2) สภาพแวดลอ้ ม เชน่ เอกสารสิ่งพมิ พ์ต่าง ๆ การตดิ ต่อสือ่ สาร
ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสรุปว่า มโนมติที่คลาดเคลื่อน (Misconception) หมายถึง ความรู้ ความ
เข้าใจของนักเรียน ที่ยังมีความคาดเคลื่อน และไม่ถูกต้อง ขาดหลักการและเหตุผล ไม่สอดคล้องกับ
ทฤษฎี และแตกต่างไปจากแนวความคิดที่ยอมรับในวงการวิทยาศาสตร์ มีสาเหตุจากตัวบุคคล เช่น
การนำเสนอไม่ถูกต้อง ความเชื่อ การแปลความหมาย และสภาพแวดล้อม คือ ตำราที่ไม่ชัดเจน
เปน็ ตน้
3. การจัดการเรยี นรู้แบบสบื เสาะ
ในการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพท่ีดี ที่จะสามารถนำทางให้ผู้เรียนเกิด
กระบวนการคิดวิเคราะห์ได้ จำเป็นจะต้องมีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ครอบคลุมและ
เหมาะสมรวมทง้ั กระตนุ้ การเรียนรู้ของผู้เรียน ซง่ึ ได้มกี ารวิจัยเกีย่ วกับ การจดั การเรียนรู้แบบสืบเสาะ
(5E) ปรากฏว่าผลการเรียนรู้ของผูเ้ รียนมีการพัฒนาที่ดีขึ้น วัดจากคะแนนทักษะการคิดที่สูงขึ้นโดยมี
นักวิชาการหลายท่านทำการวิจัยมาก่อนหนา้ ผู้วิจัยจึงสนใจท่ีจะนำขอ้ ดีของการจดั การเรียนการสอน
แบบสบื เสาะท่ีเหมาะสมกับบริบทของโรงเรยี นมาใช้
3.1 การจัดการเรียนรแู้ บบสืบเสาะ
นักการศึกษาจากกลุม่ BSCS ( Biological Science Curriculum Society อ้างถึงในสถาบนั
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2555) ได้เสนอกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อให้
ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่ โดยเชื่อมโยงส่ิงที่เรียนรู้เข้ากับประสบการณ์หรือความรู้เดิม เป็นความรู้
หรือแนวคดิ ของผเู้ รียนเอง เรียกรปู แบบการสอนนี้ว่า Inquiry cycle หรือ 5E มขี ัน้ ตอนดังน้ี
1) การสร้างความสนใจ (Engage) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการเรียนรู้ที่
จะนำเข้าสู่บทเรียน จุดประสงค์ที่สำคัญของขั้นตอนนี้ คือ ทำให้ผู้เรียนสนใจ ใคร่รู้ในกิจกรรมที่จะ
นำเข้าสู่บทเรียน ควรจะเชือ่ มโยงประสบการณ์การเรียนรู้เดิมกับปัจจุบัน และควรเป็นกิจกรรมที่คาด
ว่ากำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งทำให้ผู้เรียนสนใจจดจ่อที่จะศึกษาความคิดรวบยอด กระบวนการ หรือทักษะ
และเริ่มคดิ เชอื่ มโยงความคิดรวบยอด กระบวนการ หรอื ทกั ษะกบั ประสบการณเ์ ดิม
9
2) การสำรวจและค้นหา (Explore) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์
ร่วมกันในการสร้างและพัฒนาความคิดรวบยอด กระบวนการ และทักษะ โดยการให้เวลาและโอกาส
แกผ่ ู้เรยี นในการทำกจิ กรรมการสำรวจและค้นหาส่ิงท่ีผู้เรยี นต้องการเรียนร้ตู ามความคดิ เหน็ ผเู้ รยี นแต่
ละคน หลังจากนั้นผู้เรียนแต่ละคนได้อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการคิดรวบยอด
กระบวนการ และทักษะในระหว่างที่ผู้เรียนทำกิจกรรมสำรวจและค้นหา เป็นโอกาสที่ผู้เรียนจะได้
ตรวจสอบหรือเก็บรวบรวมขอ้ มลู เกีย่ วกับความคดิ รวบยอดของผเู้ รยี นที่ยงั ไมถ่ กู ต้องและยังไม่สมบูรณ์
โดยการให้ผู้เรียนอธิบายและยกตัวอย่างเกี่ยวกับความคิดเห็นของผู้เรียน ครูควรระลึกอยู่เสมอ
เก่ยี วกบั ความสามารถของผู้เรยี นตามประเด็นปญั หา ผลจากการท่ผี ู้เรยี นมีใจจดจ่อในการทำกิจกรรม
ผเู้ รยี นควรจะสามารถเช่อื มโยงการสังเกต การจำแนกตวั แปร และคำถามเก่ียวกบั เหตุการณน์ นั้ ได้
3) การอธิบาย (Explain) ขั้นตอนนี้เป็นข้ันตอนที่ให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถในการ
อธิบายความคิดรวบยอดที่ได้จากการสำรวจและค้นหา ครูควรให้โอกาสแก่ผู้เรียนได้อภิปราย
แลกเปลี่ยนความคดิ เห็นกันเกีย่ วกบั ทักษะหรือพฤติกรรมการเรียนรู้ การอธิบายน้ันต้องการให้ผูเ้ รยี น
ได้ใช้ข้อสรุปร่วมกันในการเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้ ในช่วงเวลาที่เหมาะสมนี้ครูควรชี้แนะผู้เรียนเกี่ยวกับ
การสรุปและการอธิบายรายละเอียด แต่อย่างไรก็ตามครูควรระลึกอยู่เสมอว่ากิจกรรมเหล่านี้ยังคง
เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง นั่นคือ ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถในการอธิบายด้วยตัวผู้เรียนเอง
บทบาทของครูเพียงแต่ชี้แนะผ่านทางกิจกรรม เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสอย่างเต็มที่ในการพัฒนาความรู้
ความเข้าใจในความคิดรวบยอดให้ชัดเจน ในที่สุดผู้เรียนควรจะสามารถอธิบายความคิดรวบยอดได้
อยา่ งเขา้ ใจ โดยเชอ่ื มโยงประสบการณ์ ความรเู้ ดิมและสง่ิ ท่เี รียนรู้เขา้ ด้วยกนั
4) การขยายความรู้ (Elaborate) ขั้นตอนนี้เป็นขัน้ ตอนทีใ่ ห้ผูเ้ รยี นได้ยืนยันและขยายหรอื
เพิ่มเติมความรู้ความเข้าใจในความคิดรวบยอดให้กว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น และยังเปิดโอกาสให้
ผู้เรียนได้ฝึกทักษะและปฏิบัติตามที่ผู้เรียนต้องการ ในกรณีที่ผู้เรียนไม่เข้าใจหรือยังสับสนอยู่หรือ
อาจจะเข้าใจเฉพาะข้อสรุปที่ได้จากการปฏิบัติการสำรวจและค้นหาเท่านั้น ควรให้ประสบการณ์ใหม่
ผู้เรียนจะได้พัฒนาความรู้ความเข้าใจในความคิดรวบยอดให้กว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น เป้าหมายที่
สำคัญของขั้นนี้ คือ ครูควรชี้แนะให้ผู้เรียนได้นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน จะทำให้ผู้เรียนเกิด
ความคดิ รวบยอด กระบวนการ และทกั ษะเพิ่มขึ้น
5) การประเมนิ ผล (Evaluate) ข้ันตอนนี้ผู้เรยี นจะไดร้ ับขอ้ มูลย้อนกลับเก่ียวกับการอธิบาย
ความรู้ความเข้าใจของตนเอง ระหว่างการเรียนการสอนในขั้นนี้ของรูปแบบการสอน ครูต้องกระตุ้น
หรอื สง่ เสรมิ ใหผ้ ูเ้ รยี นประเมนิ ความรูค้ วามเขา้ ใจและความสามารถของตนเอง และยงั เปิดโอกาสให้ครู
ได้ประเมนิ ความรู้ความเข้าใจและพฒั นาทักษะของผู้เรียนดว้ ย
10
3.2 งานวิจัยทเี่ ก่ยี วขอ้ งกับการเรียนรู้แบบสบื เสาะ 5E
ซง่ึ มงี านวิจัย ทีม่ ผี ้วู จิ ยั ไดท้ ำการศกึ ษาการจดั การเรยี นรแู้ บบสืบเสาะ ดงั น้ี
ประภัสสร โพธิโน (2549) ได้ศึกษาการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสารใน
ชีวิตประจำวัน สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการเรียนรู้แบบสืบเสาะ
ผลปรากฏว่าแผนการจัดการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพ 84.00/84.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ดัชนี
ประสทิ ธผิ ลของแผนการจดั การเรียนรู้ เทา่ กับ 0.7520 หมายความวา่ นักเรียนมคี วามรเู้ พ่ิมข้ึนจากเดิม
ร้อยละ 75.20 และนักเรียนท่ีไดร้ ับการสอนแบบสืบเสาะหาความรูม้ ีความพงึ พอใจอยใู่ นระดับมาก
สุธารพิงค์ โนนศรีชัย (2550) ได้ศึกษาการคิดวิเคราะห์และผลสำฤทธิ์ทางการเรียนวิชา
ชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) พบว่า
ด้านการคิดวเิ คราะหม์ ีนกั เรยี นทีผ่ ่านเกณฑท์ ก่ี ำหนด คือร้อยละ 75 คดิ เปน็ รอ้ ยละ 76.19 ของจำนวน
นักเรยี นท้ังหมด ผา่ นเกณฑท์ ่กี ำหนดไว้ ด้านผลสมั ฤทธิ์ทางการเรียนมีนกั เรียนทีผ่ า่ นเกณฑ์ คอื ร้อยละ
75 คิดเป็นร้อยละ 80.95 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และนักเรียนมีความ
คิดเห็นต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) โดยภาพรวมเห็นด้วยอยู่ในระดับ
“มาก” เฉลย่ี ร้อยละ 4.02
สายัณห์ วันนา (2551) ใช้รูปแบบการวิจยั แบบ Pre – Experimental Design โดยใชร้ ูปแบบ
การวิจัยเป็นแบบกลุ่มที่มีการทดสอบเฉพาะหลังการทดสอง (One Group posttest design) ทำการ
วิจยั ผลสมั ฤทธ์ิทางการเรยี นของนักเรียนระดับช้ันประถมศกึ ษาปที ี่ 6 หลงั จากทไ่ี ดร้ ับการสอนแบบวัฏ
จักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) มีผู้ผ่านเกณฑก์ ารทดสอบร้อยละ 70 ของข้อสอบ จำนวน
ร้อยละ 84.61 ของนักเรียนทั้งหมด และทักษะการคิดวิเคราะห์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของข้อสอบ
จำนวนรอ้ ยละ 80.76 ของนกั เรยี นท้งั หมด
ศรัญยุทธ วิริสถิตกุล (2553) ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Pre-experimental design)
โดยใช้รูปแบบการวิจัยเป็นแบบกลุ่มที่มีการทดสอบเฉพาะหลังการทดลอง (One Group posttest
design) ทำการวิจัยเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การ
จดั การเรยี นรู้แบบสบื เสาะหาความรู้ พร้อมทั้งพฒั นาทักษะการคดิ ทางวิทยาศาสตร์ หลังจากการสอน
มีผ้ผู ่านเกณฑ์การทดสอบร้อยละ 70 ของคะแนนเตม็ 40 คะแนน จำนวนรอ้ ยละ 82.76 ของนักเรียน
ทั้งหมด และทักษะการคิดวิทยาศาสตร์โดยใช้แบบทดสอบทักษะการคิดวิทยาศาสตร์ผ่านเกณฑ์
ร้อยละ 70 ของข้อสอบ จำนวนร้อยละ 75.86 ของนกั เรยี นท้งั หมด
จากงานวิจัยต่าง ๆ พบว่า การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะทำให้นักเรียนได้มีผลสัมฤทธิ์
การคิดทางวิทยาศาสตร์ และการคิดวิเคราะห์เพิ่มขึ้น จึงทำให้ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะนำการจัดการ
เรียนรู้แบบสืบเสาะมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ ในเรื่อง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงจันทร์ และ
ดวงอาทติ ย์ ปรากฏการณ์ข้างขนึ้ ขา้ งแรม และปรากฏการณ์น้ำข้นึ - นำ้ ลง
11
4. มโนมติทางวิทยาศาสตร์ในเนื้อหาปฏิสัมพันธ์ของโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์
ปรากฏการณข์ ้างขน้ึ ขา้ งแรม และปรากฏการณน์ ้ำขึ้น-น้ำลง
4.1 งานวิจัยมโนมติทางวิทยาศาสตร์ใน เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ของโลก ดวงจันทร์ และดวง
อาทิตย์
จากการศึกษาของ นุชนารถ แสนพุก (2559) พบว่า นักเรียนส่วนน้อยมีความเข้าใจถูกต้อง
และความเข้าใจบางส่วนในขณะที่นักเรียนส่วนใหญ่มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนและไม่เข้าใจ
ดาราศาสตร์พื้นฐาน มีนักเรียนเพียงส่วนน้อยที่เข้าใจลักษณะวงโคจรและทิศทางวงโคจรของดวง
จันทร์รอบโลกถูกต้องในขณะที่มีนักเรียนไม่มากนัก (7.94%) ที่สามารถอธิบายทิศทางแสงจากดวง
อาทติ ยม์ ายงั โลกรวมทง้ั ดวงจันทร์และสว่ นของดวงจนั ทรท์ ี่รบั แสงจากดวงอาทิตย์ได้อย่างถกู ต้อง
4.2 งานวจิ ยั มโนมติทางวทิ ยาศาสตรใ์ น เรอ่ื ง ปรากฏการณข์ า้ งขึน้ ข้างแรม
นุชนารถ แสนพุก (2559) พบว่า สำหรับประเด็นลักษณะของดวงจันทร์ที่สังเกตในวันพระ
การแสดงถึงลักษณะของดวงจันทร์ในวันพระครบทั้ง 4 ลักษณะรวมทั้งระบุ ข้างขึ้นและข้างแรมของ
ดวงจันทร์ได้อย่างถูกต้อง พบได้เพียงส่วนน้อยของนักเรียน (7.77%) โดยนักเรียนส่วนใหญ่มีความ
เข้าใจที่คลาดเคลื่อน (56.76%) นักเรียนจะแสดงถึงลักษณะของดวงจันทร์ของวันพระมีลักษณะเต็ม
ดวงเพียงลักษณะเดียวที่สามารถเห็นได้ในประเทศไทยหรือเห็น 2 ลักษณะคือเป็นเสี้ยวของดวงจันทร์
และดวงจันทร์เตม็ ดวง
จากการศึกษาของสิทธิศักดิ์ จินดาวงศ์ (2555) พบว่า นักเรียนที่มีมโมติทางวิทยาศาสตร์จะ
แสดงให้เห็นว่าปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม คือ การที่คนบนโลกเห็นแสงอาทิตย์ที่สะท้อนจากผิว
ดวงจนั ทรไ์ มเ่ หมอื นกัน เนอ่ื งจากการที่ดวงจนั ทร์มกี ารโคจรเปลย่ี นตำแหน่งไป ทำใหเ้ กิดปรากฏการณ์
เช่น เกิดจากดวงจันทร์โคจรรอบโลก เมื่อดวงจันทร์โคจรรอบโลก ดวงจันทร์จะมีด้านที่หันเข้าหา
ดวงอาทิตย์ ด้านนั้นจะมีลักษณะสว่าง แต่มีด้านที่หันออกจะมีลักษณะมืด โดยเมื่อดวงจันทร์โคจร
ดวงจันทร์จะมีตำแหน่งที่เปลี่ยนไปทำให้คนบนโลกเห็นดวงจันทร์ในลักษณะที่ไม่เหมือนกันในแต่ละ
คืน โดยเมื่อดวงจันทร์โคจรไปอยู่ด้านหลังโลก คนบนโลกจะเห็นดวงจันทร์สว่าง เพราะคนเห็นดวง
จันทร์ด้านที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์ และเมื่อดวงจันทร์โคจรมาอยู่ด้านหน้าโลก คนบนโลกจะเห็นดวง
จันทร์ไม่สว่าง เพราะคนบนโลกเห็นดวงจันทร์ด้านที่หันออกจากดวงอาทิตย์ และมักมีนักเรียนเข้าใจ
ผิดสับสนปรากฏการณข์ า้ งขนึ้ ข้างแรมกบั การเกดิ อปุ ราคาอีกด้วย
4.3 งานวจิ ัยมโนมติทางวิทยาศาสตร์ใน เรอื่ ง ปรากฏการณ์น้ำข้นึ -น้ำลง
จากการศึกษาของสิทธิศักดิ์ จินดาวงศ์ (2555) พบว่ามโนมติทางวิทยาศาสตร์ใน เรื่อง
ปรากฏการณน์ ำ้ ขนึ้ -นำ้ ลง เป็นดงั ตอ่ น้ี ซ่งึ จำแนกตามระดับของแนวคดิ
12
1. นักเรียนที่มีแนวคิดสมบูรณ์ จะแสดงให้เห็นว่าปรากฏการณน์ ้ำขึ้น-น้ำลง เกิดจากอิทธิพล
ของแรงดึงดูดของดวงจันทร์เป็นหลัก และนักเรียนให้รายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะการเกิดของ
ปรากฏการณ์นำ้ ข้นึ -น้ำลงถกู ตอ้ งด้วย
เช่น - ปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง เกิดจากดวงจันทร์โคจรรอบโลก ซึ่งดวงจันทร์มีอิทธิพล
สามารถดึงดูดของไหลบนโลก เมื่อดวงจันทร์อยู่ด้านเดียวกันหรือตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ จะทำให้
น้ำขึ้นสูงสุด
- ปรากฏการณ์น้ำข้ึน-น้ำลง เกดิ ข้ึนเพราะ ดวงจันทร์ โลกและดวงอาทิตย์มีแรงดึงดูดต่อ
กัน และดึงดูดไปฝัง่ ใกล้-ไกลดวงจนั ทร์
2. นกั เรยี นท่มี ีแนวคิดไม่สมบรู ณ์จะกลา่ วถึงเพยี งปจั จยั เดยี วเทา่ น้นั
เช่น - การเกิดน้ำขึ้นน้ำลงเกิดจากการที่ดวงจนั ทร์โคจรรอบโลก และการที่โลกโคจรรอบตวั
เอง
3. นักเรียนที่มีแนวคิดคลาดเคลื่อนคือนักเรียนที่แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจผิดบางประการ
เก่ยี วกับปรากฏการณ์นำ้ ขึน้ -นำ้ ลง
เช่น - ปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง เกิดจากการที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก และการที่โลกโคจร
รอบตัวเอง
4. นักเรียนที่อยู่ในระดับไม่เข้าใจแนวคิดคือ นักเรียนที่มีแนวคิดที่ผิดไปเลยหรือไม่แสดง
คำตอบ
เช่น “การท่ีโลกหมนุ จึงทำใหเ้ กิดนำ้ ข้นึ น้ำลงน้ำขน้ึ -นำ้ ลง เกีย่ วกับพระจนั ทร์ทำมุมกบั โลก
4.4 สำรวจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เร่ือง ปรากฏการณ์ขา้ งขึน้ ขา้ งแรม และน้ำขน้ึ -น้ำลง
จากกการสำรวจของผู้วิจัย พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหนองหานวิทยา ในปี
การศึกษา 2565 มีมโนมติที่คลาดเคลือ่ น เรื่อง ของปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม และน้ำขึ้นน้ำลง ดัง
ตารางท่ี 1 และ 2
ตารางที่ 1 มโนมตทิ างวทิ ยาศาสตรแ์ ละมโนมตทิ ่ีคลาดเคลอ่ื น เร่ือง ปรากฏการณข์ ้างขึน้ ขา้ งแรม
มโนมติทางวทิ ยาศาสตร์ มโนมติทีค่ ลาดเคล่ือน
เรอ่ื ง ปรากฏการณ์ข้างขนึ้ ข้างแรม
1) ส่วนมดื สว่ นสว่างของดวงจนั ทร์ - สว่ นมดื สว่ นสวา่ งของดวงจันทร์มาจากเมฆบด
สว่ นมดื ส่วนสวา่ งของดวงจนั ทร์ ใน บงั ดวงจันทร์
ปรากฏการณ์ขา้ งขึน้ ข้างแรม เกดิ จากการท่ผี ู้
สงั เกตทอ่ี ยูบ่ นโลก สงั เกตไปยงั ดวงจันทรท์ โ่ี คจร - เสี้ยวของดวงจันทร์เกดิ จากเงาของโลกไปบด
รอบโลกในตำแหนง่ ต่าง ๆ ซง่ึ ดวงจันทร์จะไดร้ ับ บังดวงจนั ทร์
แสงสวา่ งมาจากดวงอาทติ ยแ์ ล้วสะท้อนมายงั ตา
13
ของผ้สู งั เกตบนโลก ในดา้ นทร่ี ับแสงจะสว่าง - ดวงจันทรม์ แี สงสวา่ งทเี่ ปลยี่ นไปเร่ือย ๆ โดย
ส่วนอกี ดา้ นจะมืด เม่ือตำแหนง่ การโจรของดวง ดวงจันทร์เอง
จนั ทรเ์ ปล่ียนไป ในแต่ละวัน จงึ ทำให้สังเกตเห็น
ดวงจนั ทร์มสี ว่ นมดื สว่ นสวา่ งท่ีเปลยี่ นไป
2) แสงสว่างจากดวงอาทิตย์ที่ดวงจันทร์ไดร้ ับ - ดวงจนั ทร์ได้รับแสงสวา่ งสะท้อนจากดวง
ในแต่ละตำแหนง่ อาทิตย์ไม่เท่ากันในแตล่ ะวนั ทำใหเ้ กดิ ความ
ดวงจนั ทรจ์ ะได้รบั แสงจากดวงอาทติ ย์ เกือบ สว่างบนดวงจนั ทร์ในแตล่ ะวนั ตา่ งกนั
เทา่ กันในแต่ละตำแหนง่ ทโี่ คจรไป
3) การโคจรดวงจันทรใ์ น 1 เดือน - วันพระมดี วงจันทรอ์ ยแู่ บบเดียว คือ เต็มดวง
ดวงจนั ทรโ์ คจรทวนเขม็ นาฬิการอบโลก ใช้ จันทรเ์ ตม็ ดวง
เวลาประมาณ 30 วนั ซงึ่ ทำใหค้ นบนโลก
มองเห็นส่วนมืดของดวงจนั ทร์เปลี่ยนไปในแต่ - วนั แรม 15 คำ่ จะสามารถเหน็ ดวงจันทรไ์ ด้
ละตำแหนง่ ทโ่ี คจร หากสงั เกตใหด้ ี ๆ
ตารางที่ 2 มโนมติทางวทิ ยาศาสตรแ์ ละมโนมติที่คลาดเคลอ่ื น เรื่อง ปรากฏการณน์ ้ำขน้ึ -นำ้ ลง
มโนมตเิ รือ่ ง ปรากฏการณ์น้ำข้ึน-นำ้ ลง มโนมตทิ คี่ ลาดเคลือ่ น
1) ตำแหน่งของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และ - ดา้ นทอี่ ย่ใู กลด้ วงจนั ทรน์ ำ้ จะขนึ้ สว่ นดา้ นที่
โลกท่มี ผี ลต่อการเกิดนำ้ ขึ้นน้ำลง ไกลจากดวงจนั ทร์ นำ้ จะลง
นำ้ บนผวิ โลกจะขึน้ อย่ทู ง้ั ฝ่ังทีโ่ ลกอย่ใู กล้
ดวงจนั ทร์ และไกลจากดวงจนั ทร์ และน้ำบนผิว - นำ้ ข้นึ นำ้ ลงเกิดจากดวงจันทรโ์ คจรรอบโลก
โลกจะลงในพน้ื ทีบ่ นโลกทีม่ พี ืน้ ทต่ี งั้ ฉากกบั
ตำแหน่งของดวงจันทร์ - น้ำขึน้ เกดิ จากการทีโ่ ลกเข้าใกล้ดวงจันทร์ เม่ือ
โลกหา่ งจากดวงจันทร์จะเกิดน้ำลง
2) การเกดิ นำ้ ขึ้นนำ้ ลงในรอบวัน - ใน 1 วันน้ำจะลงในตอนกลางวัน และนำ้ จะ
ใน 1 วันจะเกดิ ท้งั น้ำข้นึ และน้ำลง ซง่ึ แบง่ เป็น ขึ้นเวลากลางคืน
วันนำ้ เดี่ยว คอื นำ้ ข้ึนและลง 1 รอบใน 1 วนั
วนั น้ำคู่ คือ นำ้ ขึ้นและลง 2 รอบใน 1 วนั และ
14
มโนมตเิ รอื่ ง ปรากฏการณน์ ้ำขึ้น-น้ำลง มโนมตทิ ค่ี ลาดเคลอ่ื น
วันนำ้ ผสม คอื น้ำขึ้นและลง 2 รอบใน 1 วัน - ใน 1 วนั นำ้ จะข้ึนอย่างเดียว แลว้ ในวนั ถัดไป
แต่ในแต่ละรอบนัน้ ระดบั นำ้ ท่ขี ้ึนลงสงู สดุ และ นำ้ จะลง
ตำ่ สุดจะแตกตา่ งกนั
3) แรงทีท่ ำใหเ้ กิดน้ำข้ึนน้ำลง - น้ำขน้ึ น้ำลงเกดิ จากแรงที่โลกหมุนรอบตัวเอง
นำ้ ขึน้ น้ำลง เกิดจาก ทำใหน้ ้ำเหวยี่ งอออกเกดิ เปน็ นำ้ ข้ึน
1. แรงไทดัล ซึง่ เป็นแรงท่ีเกิดจากแรงดงึ ดดู ของ
ดวงจนั ทรแ์ ละดวงอาทติ ย์ท่กี ระทำตอ่ โลก โดย - น้ำข้นึ นำ้ ลงเกดิ จากแรงทีด่ วงอาทติ ยด์ ึงดดู กับ
ด้านท่อี ยู่ใกลก้ ับดวงจนั ทร์ของโลกจะได้รบั แรง โลกมากกวา่ ดวงจนั ทร์ เพราะดวงอาทติ ยใ์ หญ่
ดึงดดู มากกวา่ กวา่
ดา้ นตรงกนั ข้ามท่ถี กู แรงดึงดูดกระทำน้อยกว่า
ซง่ึ เกิดเป็นแรงไทดัลขึน้ - วนั น้ำเกดิ คือ วนั ท่ีทง้ั วนั ระดับน้ำจะขึ้นสูง
2. แรงหนศี ูนย์กลาง หรอื แรงเฉือ่ ย เป็นแรงท่ีทำ ทสี่ ดุ
ให้น้ำข้ึนและน้ำลงในด้านที่อยไู่ กลจากดวง
จนั ทร์)
5. งานวิจัยที่เกยี่ วข้อง
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์
ระหว่างโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ ปรากฏการณข์ ้างขึน้ ข้างแรม และปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง
มีดังน้ี
สิทธิศักดิ์ จินดาวงศ์ (2555) พบว่าความคิดของนักเรียนในเรื่อง ข้างขึ้น-ข้างแรม ช่วงก่อน
เรียนผ้วู จิ ยั พบว่า นกั เรียนมคี วามเขา้ ใจคาดเคลื่อนเก่ียวกับปรากฏการณข์ า้ งขึน้ -ขา้ งแรม คือ นักเรียน
เข้าใจว่า การที่ในแต่ละวันคนบนโลกมองเห็นดวงจันทร์เป็นเสี้ยวเกิดจากการที่ดวงจันทร์มีการโคจร
รอบโลก ทำให้ในบางวันเงาของโลกไปตกที่ดวงจันทร์ คนบนโลกจึงเห็นดวงจันทร์เพียงบางส่วน จะ
เห็นว่านักเรียนเข้าใจว่าการมองไม่เห็นแสงสะท้อนจากดวงจันทร์เกิดจากการถูกบดบังเพียงประเด็น
เดยี ว จนทำให้นักเรียนไมไ่ ดค้ ดิ ถึงมุมมองของคนบนโลกกบั ตำแหน่งของดวงจันทร์และดวงอาทติ ย์
ในช่วงก่อนเรียนพบว่า นักเรียนมีความเข้าใจคาดเคลื่อนเกี่ยวกับปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง
คือ นักเรยี นเขา้ ใจวา่ นำ้ ขน้ึ เกิดจากแรงดงึ ดูดของดวงจนั ทร์ทดี่ งึ ดดู น้ำใหส้ ูงขึน้ เมือ่ ดวงจนั ทร์โคจรผา่ น
ตำแหน่งดังกล่าวและจะทาให้เกิดน้ำลงในบริเวณของอีกด้านของโลก การที่นักเรียนส่วนใหญ่มี
15
ความเข้าใจที่คาดเคลื่อน ปัจจัยหลักคือ การที่นักเรียนกลุ่มตัวอย่างไม่มีโอกาสได้สัมผัสประสบการณ์
ตรง กล่าวคือภูมิลำเนาของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างอยู่ในบริเวณที่ไม่เห็นปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง แต่
ได้รับประสบการณ์เพียงการบอกกล่าวเท่านั้น อีกทั้งยังพบว่านักเรียนยังแสดงรูปแบบความเข้าใจผดิ
เกดิ กบั การขึ้นตกของดวงจนั ทร์ออกมาดว้ ย โดยนกั เรยี นเขา้ ใจว่า น้ำขึ้นจะเกิดขึน้ ในเวลากลางคืนและ
น้ำลงเกิดขึ้นในตอนกลางวัน อันเนื่องมาจากการขึ้นตกของดวงจันทร์ที่ขึ้นในตอนกลางคืนและตกใน
ตอนกลางวัน ซึ่งเมื่อใช้วิดีทัศน์เปิดให้นักเรียนได้ศึกษา ปรากฏว่าหลังจากเรียนนักเรียนจะมีมโนมติ
เพิม่ ขึ้น
จริญญา แก้วจีน (2558) ทำการวิจัยการพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนรู้แบบ
สามารถพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรยี นชั้นประถมศึกษาปีท่ี 4 ได้ โดยมีคะแนนเฉลีย่ ร้อย
ละหลงั เรียนเท่ากบั ร้อยละ 72.01 ซงึ่ สูงกวา่ เกณฑท์ ี่กำหนดไว้ และนกั เรียนทุกคนผา่ นเกณฑ์
นุชนารถ แสนพุก (2559) ได้ศึกษาพบว่ามีนักเรียนส่วนน้อยมีความเข้าใจถูกต้องและความ
เข้าใจบางส่วนในขณะท่นี ักเรยี นส่วนใหญ่มีความเขา้ ใจที่คลาดเคลือ่ นและไมเ่ ข้าใจดาราศาสตรพ์ ้นื ฐาน
สำหรับประเดน็ ทศิ ทางแสงจากดวงอาทติ ยม์ ายังโลกรวมทั้งดวงจันทร์และส่วนของดวงจันทร์ท่ีรับแสง
จากดวงอาทิตย์ จะเห็นได้ว่านักเรียนส่วนใหญ่มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน (46.79%) โดยนักเรียนมี
ความเข้าใจเกี่ยวกับทิศทางแสงไม่เป็นไปตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนส่วนใหญ่มีความ
เข้าใจว่าแนวรังสีของแสงจากดวงอาทิตย์มีลักษณะลู่เข้าหาโลก ในส่วนของดวงจันทร์ที่ได้รับแสง
นักเรียนมีความเข้าใจว่า ดวงจันทร์ที่ใกล้ดวงอาทิตย์จะรับแสงทั้งดวงในขณะที่ดวงจันทร์ที่ไกลจาก
ดวงจันทร์จะมีลักษณะเป็นเสี้ยว นอกจากนี้ในการสำรวจพบว่า นักเรียนบางส่วนมีความไม่เข้าใจ
(32.09%) ในทิศทางแสงจากดวงอาทิตย์มายังโลกรวมทั้งดวงจันทร์และส่วนของดวงจันทร์ที่รับแสง
จากดวงอาทิตย์โดยไม่มีการแสดงคำตอบดังกล่าว ในขณะที่มีนักเรียน (7.94%) ที่สามารถอธิบาย
ทิศทางแสงจากดวงอาทิตยม์ ายังโลกรวมท้ังดวงจันทร์และส่วนของดวงจันทร์ทีร่ ับแสงจากดวงอาทิตย์
ไดอ้ ย่างถูกต้อง และมีนักเรยี นบางส่วน (13.18%) อธิบายไม่ครบถว้ นหรือไม่ชัดเจน
Danaia L. (2008) ได้ศึกษามโนมติทางวิทยาศาสตร์ในเรื่อง ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์
ท้งั ปฏสิ มั พนั ธร์ ะหวา่ งโลก ดวงจนั ทร์ และดวงอาทติ ย์ และปรากฏการณข์ า้ งข้ึนขา้ งแรม ชองนักเรียน
ท้งั หมด 1,920 คน ซึ่งพบวา่ นกั เรียนระดับชน้ั มธั ยมศึกษาตอนตน้ ได้เกดิ มโนมติทคี่ ลาดเคลื่อนอย่มู าก
ซึ่งส่วนใหญ่มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในเรื่อง การรโคจรของโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ คือ
นักเรียนมีความเข้าใจว่าดวงอาทิตย์และดวงจันทร์สลับกันโคจรรอบโลก ยังเข้าใจอีกว่าโลกและดวง
จันทร์โคจรรอบดวงอาทิตย์อย่างละครึ่งรอบ ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่มากที่สุดร้อยละ 50 คือ
นักเรียนเข้าใจว่าโลกคือจดุ ศูนยก์ ลางของจักรวาล ในเรื่องปรากฏการณข์ ้างขึ้นข้างแรมน้ัน นักเรียนมี
16
ความเข้าใจผิดมากที่สุดร้อยละ 51.52 คือนักเรียนเข้าใจว่า ปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรมนั้นมากจาก
เงาของโลกท่ีทอดผา่ นไปยังดวงจันทร์ รองลงมาคอื เมฆไปบดบังแสงของดวงจันทรใ์ นแตล่ ะคืน
ซึ่งจากการศึกษางานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง พบว่า ไม่ว่าจะเป็นประเทศไทย หรือในต่างประเทศเอง
ก็มีนักเรียนที่มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในมโนมติทางวิทยาศาสตร์เรื่องที่เป็นผลมาจากปฏิสัมพันธ์
ระหวา่ ง โลก ดวงจันทร์ และดวงอาทติ ย์ และยงั พบวา่ เรอ่ื งท่ีเป็นผลมาจากปฏิสัมพนั ธ์ข้างตน้ คอื เร่ือง
ปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม และปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง ซึ่งยังมีนักเรียนที่มีความเข้าใจ
คลาดเคลื่อนอยู่มากเช่นเดียวกัน จากเนื้อหาที่เป็นนามธรรมเช่นนี้ จึงทำให้ผู้วิจัยสนใจศึกษา
ความสัมพันธ์ของความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของทั้ง 3 เรื่องโดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้
แบบสบื เสาะ 5E
6. กรอบแนวคดิ ในการวจิ ัย
จากการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยทเี่ กย่ี วขอ้ ง ผวู้ จิ ยั สามารถสรุปออกมาเป็นกรอบ
แนวคิดวจิ ัย ดงั ภาพที่ 1
ความเข้าใจมโนมติทางวทิ ยาศาสตรข์ องนกั เรียนชั้นมธั ยมศึกษาปที ่ี 3
เร่อื ง ปฏสิ ัมพนั ธร์ ะหว่างโลกดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์
(Westbrook and Marek (1991 and 1992 อา้ งถึงใน พนิตานันท์ วิเศษแก้ว, 2553)
ความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ ความเข้าใจมโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์
ของนกั เรยี นชน้ั มัธยมศึกษาปที ี่ 3 ของนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 3
เรอื่ ง ปรากฏการณ์นำ้ ข้นึ น้ำลง
เร่อื ง ปรากฏการณข์ ้างขนึ้ ขา้ งแรม (Westbrook and Marek (1991 and 1992
(Westbrook and Marek (1991 and 1992 อ้างถงึ ใน พนิตานนั ท์ วิเศษแกว้ , 2553)
อา้ งถึงใน พนิตานันท์ วเิ ศษแก้ว, 2553)
(ภาพท่ี 1 กรอบแนวคิดในการวจิ ัย)
บทที่ 3
วธิ ีการดำเนนิ งานวจิ ัย
การวิจัยเรื่อง การศึกษาความสัมพันธ์ของความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ ปรากฎการณ์ข้างข้ึน
ข้างแรม และ ปรากฎการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง ที่ผ่านการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ (5E) มีวัตถุประสงค์
เพื่อ ศึกษาความสัมพันธ์ของความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลก
ดวงจนั ทร์ และดวงอาทิตย์ ปรากฏการณข์ ้างขึ้นข้างแรม และปรากฏการณ์นำ้ ขึ้น-นำ้ ลง ของนักเรยี น
ช้นั มัธยมศกึ ษาปีท่ี 3 ผู้วจิ ัยไดด้ ำเนินการตามข้นั ตอนดงั ต่อไปนี้
1. รปู แบบการวิจัย
2. กล่มุ เป้าหมาย
3. ตัวแปรทใ่ี ชใ้ นการศึกษา
4. เครื่องมอื และการสรา้ งเครื่องมือวจิ ยั
5. การเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู
6. การวเิ คราะห์ข้อมูล
7. สถติ ทิ ใี่ ชใ้ นการวิจัย
1. รูปแบบการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) แบบไม่เข้าขั้นทดลอง (Pre-
experimental design) เพื่อเก็บข้อมูลมโนมติทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการวิจัยทดลองกลุ่ม
เดียว (One-short case study) คือ การดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง
โลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์ข้างขึน้ ข้างแรม และปรากฏการณ์น้ำขึน้ -น้ำลง ทั้งหมด
3 แผนการจัดการเรียนรู้ และทำการสำรวจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ภายหลังการจัดกิจกรรมการ
เรยี นรู้ในแต่ละเรือ่ ง โดยใช้แบบทดสอบเพอื่ วัดมโนมติทางวทิ ยาศาสตร์ ซึ่งเขยี นเปน็ รปู แบบได้ดังภาพ
ท่ี 2
X1 O1 X2 O2 X3 O 3
(ภาพท่ี 2 รปู แบบการวจิ ยั )
18
โดยท่ี
X1 แทน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์
ท้ังหมด 1 แผน
O1 แทน การวดั ความเขา้ ใจมโนมติทางวทิ ยาศาสตรข์ องนกั เรยี น โดยใช้แบบวดั ความเขา้ ใจมโนมติ
ทางวิทยาศาสตร์ เรือ่ ง ปฏิสมั พันธร์ ะหว่างโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทติ ย์
X2 แทน การจัดกิจกรรมการเรยี นรู้ เรื่อง ปรากฏการณ์ข้างข้ึนข้างแรม ทั้งหมด 1 แผน
O2 แทน การวัดความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน โดยใช้แบบวัดความเข้าใจ
มโนมติทางวทิ ยาศาสตร์ เรื่อง ปรากฎการณข์ ้างขึ้นข้างแรม
X3 แทน การจดั กิจกรรมการเรยี นรู้ เรือ่ ง ปรากฏการณน์ ้ำขึ้นน้ำลง ท้งั หมด 1 แผน
O3 แทน การวัดความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน โดยใช้แบบวัดความเข้าใจ
มโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์ เร่อื ง ปรากฎการณ์นำ้ ข้นึ -น้ำลง
2. กลมุ่ เป้าหมาย
เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนหนองหานวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษาอุดรธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ได้ทำการเลือกแบบเจาะจงมา 1 ห้องเรียน
จำนวนทง้ั สิ้น 29 คน
3. ตวั แปรทใ่ี ช้ในการศึกษา
ตัวแปรท่ีใชใ้ นการศกึ ษาวิจยั คร้ังนี้ ไดแ้ ก่
3.1 ความเข้าใจมโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์ของนกั เรยี น เร่ือง ปฏิสัมพนั ธ์ระหวา่ งโลก ดวงจนั ทร์
และดวงอาทติ ย์
3.2 ความเขา้ ใจมโนมติทางวทิ ยาศาสตร์ของนกั เรยี น เรอ่ื ง ปรากฏการณข์ า้ งขึน้ ขา้ งแรม
3.3 ความเขา้ ใจมโนมตทิ างวิทยาศาสตร์ของนักเรยี น เร่ือง ปรากฏการณ์นำ้ ข้ึน-นำ้ ลง
4. เครอื่ งมือและการสร้างเครื่องมือวิจัย
เคร่ืองมอื ที่ใช้ในการวจิ ยั แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ไดแ้ ก่
4.1 เครอ่ื งมอื ทใ่ี ช้ในการจดั กิจกรรมการเรยี นรู้
4.2 เครอ่ื งมอื ทใ่ี ช้ในการเก็บรวบรวมขอ้ มูล
19
4.1 เครือ่ งมือที่ใชใ้ นการจัดการเรยี นรู้
เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ 6
(ว 23101) จำนวน 3 แผน ได้แก่
- แผนการจัดกจิ กรรมการเรียนรู้ เร่ือง ปฏิสัมพนั ธร์ ะหวา่ งโลก ดวงจนั ทร์ และดวงอาทิตย์
- แผนการจดั กิจกรรมการเรยี นรู้ เรอ่ื ง ปรากฏการณ์ขา้ งขึน้ ข้างแรม
- แผนการจดั กจิ กรรมการเรยี นรู้ เร่อื ง ปรากฏการณ์นำ้ ขึ้น-นำ้ ลง
4.1.1 วิธกี ารสรา้ งแผนการจดั กิจกรรมการเรยี นรู้ ผู้วิจัยมขี ั้นตอนในการสรา้ งดังนี้
4.1.1.1 ศึกษาหลกั สูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ พุทธศักราช 2551
4.1.1.2 วิเคราะห์สาระการเรียนรู้ และจุดประสงค์การเรียนรู้
4.1.1.3 วิเคราะห์เนื้อหา เพื่อเลือกวิธีการสอนที่เหมาะสม
4.1.1.4 ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักการเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ
สืบเสาะ 5E ซง่ึ มีจำนวน 5 ข้นั ตอน คอื (1) ขั้นสรา้ งความสนใจ (Engage)
(2) ขน้ั สำรวจและคน้ หา (Explore)
(3) ขัน้ อธบิ ายและลงข้อสรปุ (Explain)
(4) ขน้ั ขยายความรู้ (Elaborate)
(5) ขั้นประเมนิ ผล (Evaluate)
4.1.1.5 สำรวจความเข้าใจที่คาดเคล่ือนของนกั เรียนแล้วนำมาวางแผนปรับให้เข้ากบั
กิจกรรมการเรยี นรู้
4.1.1.6 ลงมือสร้างแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5E จำนวน 3 แผน
แผนละ 2 คาบ เวลา 100 นาที รวม 300 นาที
(1) แผนที่ 1 เรอื่ ง ปฏสิ มั พนั ธร์ ะหวา่ งโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์
(2) แผนท่ี 2 เรือ่ ง ปรากฏการณข์ ้างขน้ึ ข้างแรม
(3) แผนที่ 3 เรือ่ ง ปรากฏการณ์นำ้ ขน้ึ -น้ำลง
4.1.1.7 นำแผนการจัดกจิ กรรมการเรยี นรู้ทส่ี รา้ งขึ้นไปปรกึ ษา อาจารย์ผูเ้ ช่ยี วชาญใน
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสม และปรับปรุงแผนในส่วนที่ผู้เชี่ยวชาญ
เห็นว่ายังไม่เหมาะสม จึงได้มาซึ่งแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์
ระหว่างโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม และปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง
โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5E ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหนอง
หานวิทยา ทพ่ี รอ้ มใช้ในการจดั กิจกรรมการเรียนรู้
ตัวอย่างแผนการจัดกิจกรรมการเรยี นรู้ เรื่อง ปฏสิ มั พนั ธ์ระหวา่ งโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์
ดังตารางท่ี 3
20
ตารางที่ 3 ตัวอย่างแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงจันทร์ และ
ดวงอาทติ ย์
แผนการจดั กจิ กรรมการเรียนรู้ เรื่อง ปฏิสัมพนั ธร์ ะหวา่ งโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์
ขั้นกจิ กรรม กจิ กรรมการจัดการเรยี นรู้ บทบาท บทบาท
การจดั การ ครผู สู้ อน นักเรียน
เรียนรู้
1) ขั้นสร้าง 1. เปิดโปรแกรม Mitaka ให้นกั เรยี นสังเกตถงึ - กระต้นุ ให้ - นกั เรียนทำ
ความสนใจ แกนโลกเอยี ง และโลกเปน็ ทรงกลมปา้ น นักเรยี นสงสยั การสงั เกต
ตั้งคำถามและ ลักษณะต่าง ๆ
หาคำตอบของ ของโลก ดวง
จันทร์ และดวง
คำถาม อาทติ ย์
2. ตั้งคำถามวา่ “การที่แกนโลกเอียงแล้วโลกหมุนรอบ - ตั้งคำถาม
ตัวเอง และโลกยังโคจรรอบดวงอาทิตย์ จะทำให้เกิด และหาคำตอบ
ปรากฏการณ์ใดขนึ้ กับโลกบ้าง” จากการสังเกต
2) ขัน้ สำรวจ 1. (กิจกรรม แรงโนม้ ถว่ ง) - เปดิ คลิป - นักเรียน
และคน้ หา วิดีทัศน์ สงั เกตการ
- เปดิ คลิปวิดีทัศน์ เรือ่ ง การทดลองปลอ่ ยขนนกและ จำลองเรื่องแรง
ลกู เหลก็ แลว้ นกั เรียนสรุปรว่ มกนั ว่าแรงท่ีดงึ ให้วัตถลุ ง - ต้ังคำถาม โน้มถว่ งจาก
สพู่ น้ื โลกเรยี กว่า แรงโนม้ ถ่วงของโลก คลปิ วิดที ศั น์
- นำนักเรียน
- ใช้ simulation เรอื่ ง gravity-and-orbits เพือ่ ให้ ดำเนนิ กิจกรรม - นกั เรียน
นักเรยี นศกึ ษาถงึ แรงโนม้ ถ่วงระหว่างวตั ถจุ ากการเพิ่ม การสบื เสาะ สงั เกตกิจกรรม
และลดมวลของวัตถสุ องวตั ถุ ใหเ้ หน็ ถงึ ขนาดของ ตา่ ง ๆ พร้อมทำ
เวกเตอรท์ ี่แสดงถึงแรงโน้มถ่วง การต้ังคำถาม
รว่ มกันหา
คำตอบ
2. (กิจกรรม การโคจรของโลก ดวงจันทร์ และ
ดวงอาทิตย)์
21
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรอ่ื ง ปฏสิ มั พนั ธ์ระหวา่ งโลก ดวงจนั ทร์ และดวงอาทิตย์
ขน้ั กจิ กรรม กจิ กรรมการจดั การเรยี นรู้ บทบาท บทบาท
การจัดการ ครผู ูส้ อน นกั เรยี น
เรยี นรู้
- แบ่งคำถามแล้วร่วมกันสืบค้นหาคำตอบโดยใช้
อินเทอร์เนต็
- ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปคำตอบโดยใช้โปรแกรม
Mitaka
3. (กิจกรรมกลางวนั กลางคืน)
- (สังเกตนอกโลก) ครูเปิดโปรแกรม Mitaka ให้
นักเรียนสังเกตส่วนมืด ส่วนสว่างของดวงจันทร์และ
โลกตลอดการโคจรของดวงจนั ทรร์ อบโลก
- (สังเกตจากบนโลก) ให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม ใช้
โปรแกรม Stellarium สังเกตการเคลื่อนที่ของดวง
อาทิตย์ ดวงจันทร์ และกลุ่มดาวฤกษ์ ใน 1 วัน ที่ข้ึน
ทางทศิ ตะวนั ออกและตกทางทิศตะวันตก
- ให้นักเรียนจำลองการหมุนรอบตัวเองของโลกใน
ตำแหน่งต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นเวลาต่าง ๆ เวลา 06.00 น.
เวลา 12.00 น. เวลา 18.00 น. 24.00 น. ประกอบกับ
การดภู าพในโปรแกรม Stellarium
4. (กจิ กรรม ฤดูกาลบนโลก)
ทำความเข้าใจการเกิดฤดูกาลโดยสังเกตคลิปวิดีทัศน์
เรื่อง ฤดูกาล (ให้นักเรียนทราบถึงการที่แกนโลกเอียง
พรอ้ มทั้งแสงตรงและแสงเฉยี ง)
22
แผนการจัดกิจกรรมการเรยี นรู้ เร่อื ง ปฏิสัมพันธร์ ะหวา่ งโลก ดวงจนั ทร์ และดวงอาทติ ย์
ขั้นกิจกรรม กจิ กรรมการจัดการเรยี นรู้ บทบาท บทบาท
การจดั การ ครูผู้สอน นักเรียน
เรียนรู้
3) ขั้นอธิบาย - นักเรยี นและครูรว่ มกนั อภปิ รายด้วยการถาม - ตอบ - ครูนำนักเรยี น - นกั เรยี นตอบ
และลงขอ้ สรปุ ต้ังคำถามและ คำถาม และ
สรปุ ถงึ แรงโนม้ ถว่ ง, การโคจรของโลก ดวงจนั ทร์ ลงขอ้ สรปุ
ดวงอาทติ ย์, การเกิดกลางวันกลางคนื และฤดูกาล สรุปร่วมกนั
พรอ้ มท้ังถามใน
สงิ่ ทย่ี ังไม่
ชดั เจน
4) ขัน้ ขยาย 1. ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเกิดดวงอาทิตย์ - นำเสนอ - ตัง้ คำถามและ
ความรู้ เทีย่ งคนื จากคลปิ วิดีทศั น์ การเกดิ ดวงอาทติ ย์เท่ียงคืน สถานการณก์ าร รว่ มกนั
สังเกตพบดวง คาดคะเน
และการเกิดดวงอาทติ ยเ์ ท่ยี งคนื ที่ข้ัวโลกใต้ อาทิตย์เท่ยี งคืน คำตอบ
5) ขนั้ 1. ให้นกั เรยี นผลัดกนั ตงั้ คำถามและตอบคำถามเพือ่ น - ครูใชก้ ารต้ัง - นักเรยี น
ประเมินผล กลุ่มอ่ืนเก่ยี วกบั เรอ่ื ง ปฏสิ มั พนั ธร์ ะหว่างโลก คำถาม และ รว่ มกันใหค้ วาม
ดวงจันทร์ และดวงอาทติ ย์ เปน็ ผู้ประเมิน ชว่ ยเหลือกัน
2. ครใู ห้นักเรยี นหมนุ ตวั ไปในตำแหน่งตา่ ง ๆ โดยครู ในการตอบของ ภายในกล่มุ
กำหนดตำแหน่งของดวงอาทิตย์ แลว้ ใหน้ กั เรียนหมนุ นกั เรียน เพื่อทำการวัด
ตัว ตามเวลาที่กำหนดให้ คือ 06:00 น. 12:00 น. ประเมิน และ
18:00 น. 24:00 น. เป็นผตู้ ้งั คำถาม
และตอบคำถาม
4.2 เครื่องมอื ท่ีใชใ้ นการเก็บรวบรวมข้อมลู
เครื่องมอื ท่ใี ช้ในการเกบ็ ข้อมลู ไดแ้ ก่
- แบบวัดความเข้าใจมโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์ เรอ่ื ง ปฏิสัมพนั ธ์ระหวา่ งโลก ดวงจันทร์ และ
ดวงอาทิตย์
- แบบวัดความเข้าใจมโนมตทิ างวิทยาศาสตร์ เรอ่ื ง ปรากฏการณข์ า้ งข้ึนขา้ งแรม
- แบบวดั ความเขา้ ใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรอื่ ง ปรากฏการณน์ ำ้ ขึน้ -นำ้ ลง
ซง่ึ ทง้ั 3 แบบวดั มโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์น้ี เป็นแบบอัตนยั รวมทัง้ ส้ิน 9 ขอ้ แบง่ เป็น
23
เรอ่ื ง ปฏิสัมพนั ธ์ระหวา่ งโลก ดวงจนั ทร์ และดวงอาทติ ย์ 3 ข้อ 1 ชดุ
เรือ่ ง ปรากฏการณข์ า้ งขน้ึ ขา้ งแรม 3 ขอ้ 1 ชดุ
เรื่อง ปรากฏการณ์นำ้ ข้นึ -น้ำลง 3 ข้อ 1 ชดุ
รวมทั้งสน้ิ 3 ชุด เพ่ือใช้ในการเก็บรวบรวมขอ้ มูลความเขา้ ใจมโนมตทิ างวทิ ยาศาสตรข์ องนักเรียนใน
แตล่ ะเร่อื งหลังจากเสร็จสิ้นการจดั กิจกรรมการเรยี นรู้ โดยมวี ธิ ใี นการสรา้ งเคร่อื งมอื เกบ็ รวมรวมขอ้ มูล
ดงั ตอ่ ไปนี้
4.2.1 ในขั้นตอนการสรา้ งเครอ่ื งมือเกบ็ รวมรวมขอ้ มูล มดี ังต่อไปน้ี
4.2.1.1 ศึกษามาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
จากหลกั สูตรแกนกลางการศกึ ษาข้นั พนื้ ฐาน 2551
4.2.1.2 สำรวจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนในแต่ละเรื่อง เพื่อใช้ออกแบบ
เครอ่ื งมอื สำหรับเก็บรวบรวมข้อมลู ใหไ้ ด้ครอบคลุมกับมโนมตทิ างวิทยาศาสตรข์ องนักเรียน
4.2.1.3 ดำเนินการออกแบบและสรา้ งแบบวัดความเขา้ ใจมโนมตทิ างวิทยาศาสตร์ของ
นกั เรียน
(1) เร่อื งที่ 1 ปฏิสมั พันธ์ระหว่างโลก ดวงจนั ทร์ และดวงอาทติ ย์ 3 ข้อ 1 ชดุ
มที ง้ั หมด 3 มโนมติทางวิทยาศาสตร์ย่อย ได้แก่
- ทศิ ทางการโคจรของดวงจันทรร์ อบโลก และเวลาที่ใชใ้ นการโคจรครบ 1 รอบ
- การไดร้ ับแสงของดวงจนั ทร์ครึง่ ดวงตลอดการโคจรรอบโลก
- แรงโน้มถว่ งระหว่างโลก ดวงจนั ทร์ และดวงอาทิตย์
(2) เรอื่ งที่ 2 ปรากฏการณข์ า้ งขน้ึ ข้างแรม 3 ข้อ 1 ชดุ
มีทง้ั หมด 3 มโนมติทางวิทยาศาสตร์ยอ่ ย ไดแ้ ก่
- การเกิดปรากฏการณ์ข้างขน้ึ ข้างแรมจากการโคจรของดวงจนั ทร์รอบโลก
- ตำแหน่งของดวงจันทรท์ ่โี คจรรอบโลกทสี่ ัมพันธก์ บั ส่วนมดื สว่ นสวา่ งของ
ดวงจันทร์
- ตำแหน่งของดวงจนั ทรท์ ี่โคจรรอบโลกกับวนั ข้นึ และวนั แรม
(3) เร่ืองท่ี 3 ปรากฏการณ์นำ้ ขน้ึ น้ำลง 3 ข้อ 1 ชุด
มีทงั้ หมด 3 มโนมตทิ างวิทยาศาสตรย์ อ่ ย ไดแ้ ก่
- สว่ นมืด สว่ นสวา่ งของดวงจนั ทร์ ที่สัมพนั ธ์กบั การเกดิ ปรากฏการณน์ ำ้ ข้ึน-
น้ำลง
- ตำแหนง่ ของดวงจันทรท์ โ่ี คจรรอบโลกท่สี ัมพนั ธก์ บั การข้นึ ลงของระดับนำ้ บน
ผวิ โลก
- วนั ข้ึนและแรมในแต่ละตำแหน่งของดวงจนั ทรท์ ีโ่ คจรรอบโลกกับการขนึ้ ลงของ
24
ระดบั นำ้ บนผิวโลก
4.2.1.4 นำแบบวัดมโนมติทางวิทยาศาสตร์ที่สร้างขึ้นทั้ง 3 ชุด ไปให้อาจารย์ที่ปรึกษา
วิจัย พิจารณาถงึ ความถูกต้องและเหมาะสมของเนื้อหา คำอธิบายและภาษาท่ีใช้ พร้อมทัง้ ดำเนนิ การ
ปรับปรุงเคร่อื งมอื ตามความเหน็ ของอาจารยท์ ี่ปรึกษาวจิ ัย
4.2.1.5 นำแบบวดั มโนมตทิ างวิทยาศาสตร์เสนอผู้เชีย่ วชาญ เพอ่ื ตรวจสอบลักษณะของ
การใช้คำถาม ความถูกต้องทางภาษา ระดับของคำตอบมโนมติ และความสอดคล้องเชิงเนื้อหา
( Content Validity) หรือ หาดัชนีความสอดคล้อง (The Index of Item Objective Congruence)
: IOC จากผู้เชยี วชาญ 3 ท่าน ได้ดงั ตารางที่ 4
ตารางที่ 4 ตารางแสดงคา่ ดชั นคี วามสอดคล้อง (IOC)
ผเู้ ชีย่ วชาญ
ขอ้ ที่ IOC
คนที่ 1 คนท่ี 2 คนท่ี 3
1.1 + 1 + 1 + 1 1
1.2 + 1 + 1 + 1 1
1.3 + 1 + 1 + 1 1
2.1 + 1 + 1 + 1 1
2.2 + 1 + 1 + 1 1
2.3 + 1 + 1 + 1 1
3.1 + 1 + 1 + 1 1
3.2 + 1 + 1 + 1 1
3.3 + 1 + 1 + 1 1
หมายเหตุ คา่ IOC ของผเู้ ชย่ี วชาญ มี 3 คา่
(1) +1 แนใ่ จว่าข้อคำถามวัดไดต้ รงตามวัตถปุ ระสงค์
(2) 0 ถ้าไม่แนใ่ จวา่ ข้อคำถามวดั ได้ตรงตามวตั ถุประสงค์
(3) -1 แนใ่ จวา่ ข้อคำถามวดั ได้ไมต่ รงตามวตั ถุประสงค์
แบบทดสอบที่มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไปถือว่า ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เห็นว่าแบบวัดความ
เข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ มีความตรงเชิงเนื้อหา หาก ค่า IOC ต่ำกว่า 0.5 ขึ้นอยู่กับผู้วิจัยว่าจะ
25
พิจารณาตัดทิ้งหรือปรับปรุงแก้ไข แล้วให้ผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจากตารางที่ 3.1
แบบวัดมโนมตทิ างวิทยาศาสตร์ทุกขอ้ มีความตรงเชิงเนอ้ื หา สามารถนำไปใช้ในการเกบ็ รวบรวมข้อมลู
วจิ ยั ได้
4.2.1.6 จัดทำแบบวัดความเขา้ ใจของมโนมตทิ างวิทยาศาสตร์ ในรูปแบบของข้อสอบ
เพ่อื นำไปใช้ในการเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู กบั กลมุ่ เป้าหมาย
ซ่งึ สามารถสรุปเคร่อื งมือที่ผู้วิจยั ใชใ้ นการวิจยั ได้ดงั ตารางที่ 5
ตารางท่ี 5 เคร่ืองมือทใ่ี ชใ้ นการวจิ ยั
ลำดบั ท่ี เครื่องมอื ที่ใช้ในการวจิ ยั
แผนการจดั การเรยี นรู้ เรอ่ื ง ปฏสิ มั พนั ธ์
ระหวา่ งโลก ดวงจนั ทร์ และดวงอาทติ ย์
1 เครื่องมือที่ใช้ในการจดั การเรียนรู้ แผนการจัดการเรยี นรู้ เรอ่ื ง ปรากฏการณ์
ขา้ งขน้ึ ขา้ งแรม
แผนการจดั การเรยี นรู้ เรอ่ื ง ปรากฏการณ์
น้ำขึน้ น้ำลง
แบบวัดความเขา้ ใจมโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์
เร่ือง ปฏสิ มั พนั ธ์ระหวา่ ง โลก ดวงจนั ทร์
และดวงอาทติ ย์ จำนวน 3 ข้อ
แบบวดั ความเข้าใจมโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์
2 เครื่องมอื ทีใ่ ชใ้ นการเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู เรอื่ ง ปรากฏการณน์ ำ้ ขา้ งข้นึ ขา้ งแรม
จำนวน 3 ข้อ
แบบวัดความเข้าใจมโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์
เรอ่ื ง ปรากฏการณ์นำ้ ขน้ึ นำ้ ลง
จำนวน 3 ขอ้
26
5. การเก็บรวบรวมข้อมลู
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความเข้าใจ
มโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์
ข้างขึ้นข้างแรม และปรากฏการณ์นำ้ ขึน้ น้ำลง ในภาคเรียนท่ี 1 ปกี ารศกึ ษา 2565 โรงเรียนหนองหาน
วิทยา มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 29 คน ซึ่งใช้เวลาในการจัด
กจิ กรรมการเรยี นรแู้ ละเก็บรวบรวมขอ้ มูลเป็นระยะเวลา 9 ช่วั โมง ซงึ่ มีขัน้ ตอนในการดำเนนิ งานดังน้ี
5.1 ก่อนการดำเนนิ การเกบ็ ข้อมูลวจิ ยั
5.1.1 ผู้วิจัยทำการขออนุญาตทางโรงเรียนในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยในชั้นเรียนของ
นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย และทำการปรึกษาหารือกับคุณครูที่ร่วมสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
เพอื่ จัดหา วันเวลา และสถานท่ี เพ่ือเปน็ แนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลวจิ ยั
5.1.2 ผู้วจิ ยั ทำการเตรียมความพร้อม และชีแ้ จงถึงการดำเนนิ การวจิ ัยแก่นักเรียนให้
เข้าใจตรงกนั ถงึ จดุ ประสงค์ในการทำวจิ ัยครง้ั นี้ และขอความร่วมมือจากนกั เรียน
5.2 ข้ันตอนการดำเนนิ การเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู วจิ ยั
จดั กิจกรรมการเรียนรแู้ บบสืบเสาะ 5E
เร่ือง ปฏสิ ัมพนั ธร์ ะหว่างโลก ดวงจนั ทร์ และดวงอาทติ ย์
เก็บข้อมลู ความเข้าใจมโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์
เรือ่ ง ปฏสิ มั พันธ์ระหว่างโลก ดวงจนั ทร์ และดวงอาทติ ย์
ของนักเรยี น โดยใช้แบบวัดความเข้าใจมโนมติ
จดั กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5E เรื่อง ปรากฏการณข์ ้างขึ้นขา้ งแรม
เกบ็ ข้อมูลความเขา้ ใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์
เรอื่ ง ปรากฏการณข์ า้ งข้ึนข้างแรมของนักเรยี น โดยใชแ้ บบวัดความเขา้ ใจมโนมติ
จัดกจิ กรรมการเรียนรแู้ บบสบื เสาะ 5E เรอ่ื ง ปรากฏการณ์นำ้ ขน้ึ นำ้ ลง
เก็บขอ้ มูลความเขา้ ใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์
เรื่อง ปรากฏการณน์ ้ำข้นึ นำ้ ลงของนักเรียน โดยใช้แบบวัดความเข้าใจมโนมติ
(ภาพที่ 3 ข้ันตอนการดำเนนิ การเกบ็ รวบรวมข้อมลู วิจยั )
27
5.3 ขั้นตอนหลังการดำเนนิ การเกบ็ ข้อมูลวิจยั
5.3.1 นำผลของความเข้าใจมโนมติทางวทิ ยาศาสตรข์ องนกั เรียนแต่ละเรอื่ ง ทไี่ ด้จากการ
เกบ็ ขอ้ มลู วิจัยมาทำการวเิ คราะห์ด้วยวิธกี ารทางสถิติ
6. การวเิ คราะหข์ อ้ มลู
ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน เรื่อง ปฏิสัมพันธ์
ระหว่างโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์ข้างขึน้ ข้างแรม และปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง
แล้วนำมาแปลผลเป็นระดับมโนมติทางวิทยาศาสตร์แต่ละระดับพร้อมทั้งให้คะแนน แล้วนำมาหาค่า
สัมประสิทธิส์ หสัมพันธข์ องเพียร์สัน เพอื่ หาถงึ ความสัมพันธ์ของมโนมติ
6.1 การวเิ คราะห์การให้ระดบั ความเข้าใจมโนมติมโนมติทางวทิ ยาศาสตร์
ผู้วิจัยทำการวเิ คราะห์ความเข้าใจมโนมติของนักเรยี น แล้วแบ่งออกเป็นความเข้าใจมโน
มตทิ างวิทยาศาสตรใ์ นระดบั ตา่ ง ๆ ซึ่งปรบั ปรุงการให้เกณฑก์ ารให้คะแนนของความเข้าใจมโนมติทาง
วิทยาศาสตร์แต่ละระดับ มาจาก Westbrook and Marek (1991 and 1992 อ้างถึงใน พนิตานันท์
วเิ ศษแก้ว, 2553) แบ่งความเขา้ ใจมโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์เปน็ 5 ระดบั ดงั ตารางท่ี 6
ตารางที่ 6 เกณฑ์การใหค้ ะแนนความเข้าใจมโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์
ระดบั ความเขา้ ใจมโนมตทิ าง เกณฑ์การตอบ คะแนน
วิทยาศาสตร์
1) ความเขา้ ใจที่สมบูรณ์ (Complete คำตอบของนกั เรยี นถูก และให้เหตุผล 4
understanding : CU) ถูกตอ้ งสมบูรณค์ รบองคป์ ระกอบท่ีสำคัญ
ของแต่ละแนวคดิ
2) ความเขา้ ใจทถี่ กู ต้องแตไ่ มส่ มบูรณ์ คำตอบของนกั เรยี นถูกต้อง และใหเ้ หตุผล 3
(Partial understanding : PU) ถกู แต่ขาดองคป์ ระกอบทส่ี ำคัญบางส่วน
3) ความเขา้ ใจทค่ี ลาดเคลอ่ื นบางส่วน คำตอบถูกต้อง แตใ่ หเ้ หตุผลไม่ถกู หรือไม่ให้ 2
(Partial understanding with specific เหตผุ ล หรือคำตอบไมถ่ กู แตใ่ หเ้ หตผุ ล
alternative conception : PS) ถกู ต้องบางส่วน
4) ความเขา้ ใจทค่ี ลาดเคลื่อน คำตอบของนักเรียนแสดงความเข้าใจที่ 1
(Alternative conception : AC) คลาดเคล่ือนทั้งหมด
28
ระดับความเข้าใจมโนมตทิ าง เกณฑก์ ารตอบ คะแนน
วิทยาศาสตร์
5) ไมเ่ ขา้ ใจ (No understanding : NU) คำตอบของนกั เรยี นไมต่ รงกบั คำถาม หรอื 0
นักเรยี นไมต่ อบคำถาม
6.2 การวิเคราะหค์ วามเข้าใจมโนมตทิ างวิทยาศาสตร์ของนักเรียน
ในแต่ละเรือ่ งผ้วู จิ ยั จะแบง่ ตามระดบั ความเขา้ ใจของมโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์ โดยมเี กณฑ์
ดงั ต่อไปนี้
6.2.1 เร่อื งที่ 1 ปฏสิ ัมพันธร์ ะหวา่ งโลก ดวงจนั ทร์ และดวงอาทิตย์
6.2.1.1 ระดบั ความเข้าใจมโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์ : ทิศทางการโคจรของดวงจนั ทร์
รอบโลก และเวลาทใี่ ชใ้ นการโคจรครบ 1 รอบ ดงั ตารางท่ี 7
ตารางท่ี 7 ระดับความเขา้ ใจมโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์ : ทศิ ทางการโคจรของดวงจนั ทรร์ อบโลก และ
เวลาที่ใช้ในการโคจรครบ 1 รอบ
ระดับมโนมติ มโนมตขิ องนกั เรยี น
1) ความเขา้ ใจท่ีสมบรู ณ์ ดวงจนั ทร์โคจรรอบโลกจะมีทศิ ทางการโคจรทวนเขม็ นาฬิกา ซึง่ จะ
(Complete understanding : CU) ใชเ้ วลาในการโคจรรอบโลกประมาณ 27-30 วัน
2) ความเข้าใจที่ถูกต้องแตไ่ มส่ มบูรณ์ ดวงจันทรโ์ คจรทวนเข็มนาฬิกา ใชเ้ วลาในการโคจรรอบโลก 1 เดือน
(Partial understanding : PU)
3) ความเขา้ ใจทคี่ ลาดเคลื่อนบางสว่ น ดวงจนั ทรโ์ คจรตามเข็มนาฬิกา ใชเ้ วลาในการโคจรรอบโลก 1 เดือน
(Partial understanding with specific
alternative conception : PS)
4) ความเขา้ ใจทีค่ ลาดเคลอ่ื น ดวงจนั ทร์โคจรแบบตามเข็มนาฬิกา ดวงจันทรใ์ ชเ้ วลาในการโคจร
(Alternative conception : AC) รอบโลก 1 วัน
5) ไมเ่ ขา้ ใจ (No understanding : NU) นักเรยี นไมต่ อบ หรอื คำตอบไมม่ ผี ลเกีย่ วกบั มโนมติ
6.2.1.2 ระดับความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ : การได้รับแสงของดวงจันทร์คร่ึง
ดวงตลอดการโคจรรอบโลก ดังตารางที่ 8
29
ตารางที่ 8 ระดบั ความเขา้ ใจมโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์ : การไดร้ ับแสงของดวงจนั ทร์ครงึ่ ดวงตลอดการ
โคจรรอบโลก
ระดับมโนมติ มโนมตขิ องนักเรยี น
1) ความเขา้ ใจทีส่ มบรู ณ์ ดวงจันทร์จะได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ครึ่งดวงในแต่ละตำแหน่ง
(Complete understanding : CU) เนื่องจากดวงจันทร์มีลักษณะเป็นแบบทรงกลมตันทึบแสง จึงทำให้
แสงจากดวงอาทิตย์ตกกระทบมายังดวงจันทร์ได้เพียงครึ่งดวงอีกคร่ึง
ดวงแสงไม่สามารถทะลุผ่านได้จึงมืด จะทำให้ดวงจันทร์ได้รับแสง
สว่างจากดวงอาทติ ย์ เพียงคร่งึ ดวงตลอดทุก ๆ ตำแหน่งของการโคจร
2) ความเขา้ ใจทถี่ กู ตอ้ งแต่ไมส่ มบูรณ์ ดวงจันทร์ไดร้ ับแสงจากดวงอาทติ ย์เพียงคร่ึงดวง เพราะดวงจันทรเ์ ป็น
(Partial understanding : PU) วตั ถุทึบแสง จงึ สวา่ งครึ่งดวง
3) ความเข้าใจทีค่ ลาดเคล่อื นบางสว่ น ดวงจันทร์ได้รบั แสงสวา่ งจากดวงอาทิตยใ์ นแต่ละตำแหน่งท่ีโคจรเพียง
(Partial understanding with specific ครึ่งดวง ทำใหเ้ รามองเห็นดวงจนั ทรส์ ว่างครง่ึ ดวงในแต่ละตำแหน่ง
alternative conception : PS)
4) ความเข้าใจท่ีคลาดเคลอ่ื น ดวงจันทร์มีแสงสว่างได้เอง แต่ละตำแหน่งจะมีแสงสว่างเปลี่ยนไป
(Alternative conception : AC) ตลอด
5) ไม่เข้าใจ (No understanding : NU) นกั เรยี นไมต่ อบ หรือคำตอบไมม่ ผี ลเก่ียวกับมโนมติ
6.2.1.3 ระดบั ความเข้าใจมโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์ : แรงโน้มถว่ งระหวา่ งโลก ดวง
จนั ทร์ และดวงอาทติ ย์ ดงั ตารางท่ี 9
ตารางที่ 9 ระดบั ความเข้าใจมโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์ : แรงโน้มถว่ งระหวา่ งโลก ดวงจันทร์ และดวง
อาทิตย์
ระดบั มโนมติ เกณฑ์การตอบ
1) ความเข้าใจท่สี มบูรณ์ การที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์นั้น เป็นผลมาจากแรงโน้มถ่วงท่ี
(Complete understanding : CU) ดวงอาทติ ยก์ ระทำต่อโลก สว่ นการท่ีดวงจันทร์โคจรรอบโลกน้ันก็เป็น
ผลจากแรงโน้มถ่วงที่โลกกระทำกับดวงจันทร์ โดยโลกอยู่ใกล้กับดวง
จันทร์มากกว่าดวงอาทิตย์ จึงมีแรงโน้มถ่วงมากระทำกับดวงจันทร์
มากกว่า จึงทำให้ดวงจันทร์โคจรรอบโลกไปพร้อมกับการที่โลกโคจร
รอบดวงอาทิตย์
2) ความเข้าใจท่ีถกู ต้องแต่ไม่สมบูรณ์ โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ เนื่องมาจากแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์
(Partial understanding : PU) ที่มากระทำต่อโลก และโลกกับดวงจันทร์มีแรงโน้มถ่วงมากระทำซึ่ง
กันและกัน ทำให้ดวงจันทร์โคจรรอบโลก และโลกโคจรรอบดวง
30
ระดับมโนมติ เกณฑ์การตอบ
อาทิตย์ จึงทำให้ดวงจันทร์โคจรรอบโลกไปพร้อมกับที่โลกโคจรรอบ
ดวงอาทติ ย์
3) ความเขา้ ใจทค่ี ลาดเคลอ่ื นบางสว่ น การโคจรของโลกรอบดวงอาทติ ย์ และดวงจนั ทร์โคจรรอบโลกน้นั มี
(Partial understanding with specific แรงโน้มถว่ งมากระทำกัน จึงทำใหเ้ กดิ การหมุนรอบกันและกนั
alternative conception : PS)
4) ความเขา้ ใจที่คลาดเคลอ่ื น การโคจรของดวงจันทร์รอบโลก และโลกรอบดวงอาทิตย์เกิดจาก
(Alternative conception : AC) แรงหนีศูนย์กลาง หรือโลกและดวงจันทร์ โคจรรอบดวงอาทิตย์
ไปพร้อม ๆ กัน โดยแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์กระทำกับโลกมี
มากกวา่ ดวงจนั ทร์
5) ไม่เขา้ ใจ (No understanding : NU) นักเรียนไม่ตอบ หรือคำตอบไม่มผี ลเกย่ี วกบั มโนมติ
6.2.2 เร่ืองท่ี 2 ปรากฏการณ์ขา้ งขึ้นขา้ งแรม
6.2.2.1 ระดับความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ : การเกิดปรากฏการณข์ ้างขน้ึ
ขา้ งแรมจากการโคจรของดวงจนั ทร์รอบโลก ดังตารางที่ 10
ตารางท่ี 10 ระดบั ความเข้าใจมโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์ : การเกิดปรากฏการณ์ขา้ งขึน้ ขา้ งแรมจากการ
โคจรของดวงจันทรร์ อบโลก
ระดบั มโนมติ เกณฑก์ ารตอบ
1) ความเขา้ ใจท่ีสมบรู ณ์ ข้างขึ้นข้างแรม เกิดจากการที่ผิวดวงจันทร์สะท้อนแสงสว่างจาก
(Complete understanding : CU) ดวงอาทิตย์ขณะที่ดวงจันทรโ์ คจรรอบโลก ทำให้มุมมองของผู้สังเกต
บนโลก สังเกตเห็นส่วนสว่างของดวงจันทร์ที่ได้รับแสงสว่างจากดวง
อาทิตย์ เปลีย่ นแปลงไปในแตล่ ะตำแหนง่ ท่โี คจร
2) ความเขา้ ใจท่ถี กู ตอ้ งแตไ่ ม่สมบูรณ์ ข้างขึ้นข้างแรม เกิดจากการที่ผู้สังเกตที่อยู่บนโลก มองเห็นแสง
(Partial understanding : PU) สะท้อนของดวงจันทร์ ปรากฏเป็นส่วนมืดและส่วนสว่างของดวง
จันทร์ จะเปล่ยี นแปลงไปในแต่ละตำแหน่งทีโ่ คจร
3) ความเขา้ ใจทค่ี ลาดเคล่ือนบางส่วน ข้างขึ้นข้างแรม เกิดจากการที่ผู้สังเกตบนโลกสังเกตเห็นดวงจันทร์
(Partial understanding with specific เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละตำแหน่ง เนื่องจากการได้รับแสงสว่าง
alternative conception : PS) แตกตา่ งกนั ไป
31
ระดบั มโนมติ เกณฑก์ ารตอบ
4) ความเขา้ ใจที่คลาดเคลอ่ื น ข้างขึ้นข้างแรม เกิดจากการที่เมฆบดบังดวงจันทร์ แสงจาก
(Alternative conception : AC) ดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังดวงจันทร์เปลี่ยนไป แสงสว่างของดวงจันทร์
เปล่ียนแปลงไปตามเวลาต่าง ๆ
5) ไมเ่ ขา้ ใจ (No understanding : NU) นักเรียนไมต่ อบ หรอื คำตอบไมม่ ีผลเกี่ยวกบั มโนมติ
6.2.2.2 ระดบั ความเขา้ ใจมโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์ : ตำแหน่งของดวงจนั ทรท์ ี่โคจร
รอบโลกทส่ี มั พันธก์ ับสว่ นมดื ส่วนสว่างของดวงจนั ทร์ ดงั ตารางท่ี 11
ตารางที่ 11 ระดบั ความเขา้ ใจมโนมตทิ างวิทยาศาสตร์ : ตำแหน่งของดวงจนั ทร์ทโ่ี คจรรอบโลกที่
สมั พนั ธก์ บั สว่ นมดื สว่ นสวา่ งของดวงจันทร์
ระดับมโนมติ เกณฑ์การตอบ
1) ความเขา้ ใจท่สี มบูรณ์ การที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก ในแต่ละตำแหน่งจะทำให้มุมมองของ
(Complete understanding : CU) ผู้สังเกตบนโลกมองเห็นส่วนสว่างของดวงจันทร์ที่เปลี่ยนแปลงไปใน
แต่ละตำแหน่งที่โคจร เช่น ขณะที่ดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในตำแหน่ง
ตั้งฉากในแนวระนาบระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ผู้สังเกตจะ
สงั เกตเห็นดวงจันทร์สวา่ งครงึ่ ดวง เปน็ ตน้
2) ความเขา้ ใจที่ถูกตอ้ งแตไ่ มส่ มบูรณ์ การที่ดวงจันทร์ทำมุมกับโลกในตำแหน่งต่าง ๆ ที่โคจรจะทำให้
(Partial understanding : PU) ผ้สู ังเกตบนโลกมองเหน็ สว่ นสวา่ งของดวงจันทร์เปลยี่ นไป
3) ความเขา้ ใจที่คลาดเคล่ือนบางสว่ น การที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก ดวงจันทร์จะได้รับแสงสว่างจาก
(Partial understanding with specific ดวงอาทิตย์เพียงครึ่งดวง จึงทำให้คนบนโลกเห็นแสงสว่างดวงจันทร์
alternative conception : PS) เพียงครง่ึ ดวง
4) ความเขา้ ใจท่คี ลาดเคลอื่ น การที่เห็นแสงสว่างดวงจันทร์เปลี่ยนไปในแต่ละตำแหน่งเป็นเพราะ
(Alternative conception : AC) เมฆบังดวงจันทร์ครึ่งหนึ่ง หรือ ตลอดทั้งคืน จะสามารถสังเกตเห็น
ส่วนสวา่ งดวงจันทรไ์ ด้หลากหลายรปู แบบ
5) ไม่เขา้ ใจ (No understanding : NU) นกั เรยี นไม่ตอบ หรอื คำตอบไม่มีผลเกย่ี วกบั มโนมติ
6.2.2.3 ระดบั ความเข้าใจมโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์ : ตำแหน่งของดวงจนั ทรท์ ีโ่ คจร
รอบโลกกับวนั ขนึ้ และวันแรม ดังตารางท่ี 12
ตารางที่ 12 ระดบั ความเข้าใจมโนมตทิ างวิทยาศาสตร์ : ตำแหน่งของดวงจนั ทร์ทโ่ี คจรรอบโลกกบั วนั
ข้นึ และวันแรม
32
ระดบั มโนมติ เกณฑ์การตอบ
1) ความเขา้ ใจทส่ี มบรู ณ์ ดวงจันทร์โคจรในแต่ละตำแหน่ง จะทำให้ผู้สังเกตบนโลกเห็น
(Complete understanding : CU) ดวงจันทร์เปลี่ยนแปลงไป หากดวงจันทร์โคจรอยู่ในระหว่างโลกกับ
ดวงอาทิตย์ จะเป็นวันแรม 15 ค่ำ หากโคจรต่อมาตั้งฉากจะเป็น
วันขน้ึ 8 ค่ำ หากโคจรมาอยู่อกี ดา้ นหน่ึงซึง่ มีโลกอยูต่ รงกลาง จะเป็น
วันขึ้น 15 ค่ำ หากโคจรต่อไปแล้วตั้งฉากกับโลกและดวงอาทิตย์
จะเป็นวนั แรม 8 ค่ำ
2) ความเขา้ ใจทถี่ กู ตอ้ งแต่ไม่สมบรู ณ์ ดวงจันทร์โคจรในแต่ละตำแหน่ง จะทำให้ผู้สังเกตบนโลกเห็น
(Partial understanding : PU) ดวงจันทร์เปลี่ยนแปลงไป หากดวงจันทร์โคจรอยู่ในระหว่างโลกกับ
ดวงอาทิตย์ จะเป็นข้างแรม หากโคจรต่อมาตั้งฉากจะเป็นวันข้างขน้ึ
หากโคจรมาอยู่อีกด้านหนึ่งซึ่งมีโลกอยู่ตรงกลาง จะเป็นวันข้างข้ึน
หากโคจรต่อไปแล้วตั้งฉากกับโลกและดวงอาทติ ย์ จะเปน็ วนั ขา้ งแรม
3) ความเข้าใจทค่ี ลาดเคลอ่ื นบางสว่ น ดวงจันทร์โคจรในแต่ละตำแหน่ง จะทำให้ผู้สังเกตบนโลกเห็น
(Partial understanding with specific ดวงจันทร์เปลี่ยนแปลงไป หากดวงจันทร์โคจรอยู่ในระหว่างโลกกับ
alternative conception : PS) ดวงอาทิตย์ จะเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ หากโคจรต่อมาตั้งฉากจะเป็น
วนั ขึ้น 8 คำ่ หากโคจรมาอยู่อีกดา้ นหนงึ่ ซ่ึงมโี ลกอยตู่ รงกลาง จะเป็น
วันแรม 15 ค่ำ หากโคจรต่อไปแล้วตั้งฉากกับโลกและดวงอาทิตย์
จะเปน็ วนั แรม 8 ค่ำ
4) ความเข้าใจทค่ี ลาดเคล่ือน ดวงจันทร์ในตำแหน่งข้างขึ้นจะได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์
(Alternative conception : AC) เพม่ิ ขึน้ เร่อื ย ๆ ส่วนดวงจนั ทรใ์ นตำแหน่งข้างแรม จะเป็นตำแหน่งที่
ดวงจันทร์ได้รัหบแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ลดลงไปเรื่อย ๆ จึงทำให้
เกดิ เปน็ วนั ขา้ งขึน้ ขา้ งแรม
5) ไมเ่ ขา้ ใจ (No understanding : NU) นักเรยี นไมต่ อบ หรอื คำตอบไม่มผี ลเกี่ยวกับมโนมติ
6.2.3 เร่ืองท่ี 3 ปรากฏการณ์นำ้ ขนึ้ -นำ้ ลง
6.2.3.1 ระดบั ความเขา้ ใจมโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์ : สว่ นมดื ส่วนสวา่ งของดวงจันทร์
ที่สมั พนั ธก์ บั การเกิดปรากฏการณน์ ำ้ ขนึ้ -นำ้ ลง ดงั ตารางที่ 13
33
ตารางที่ 13 ระดับความเข้าใจมโนมตทิ างวิทยาศาสตร์ : สว่ นมดื สว่ นสวา่ งของดวงจันทร์ ทส่ี มั พันธก์ ับ
การเกดิ ปรากฏการณน์ ำ้ ขึ้น-นำ้ ลง
ระดบั มโนมติ เกณฑก์ ารตอบ
1) ความเขา้ ใจที่สมบูรณ์ หากมองเห็นดวงจันทร์ เต็มดวง และวันจันทร์ดับ ระดับน้ำบนโลก
(Complete understanding : CU) ขณะขึ้นและลงจะต่างกันมาก เนื่องจากดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
นั้นมแี รงไทดลั ท่กี ระทำต่อโลกเสริมกัน โดยใน 1 วนั จะสามารถเห็น
น้ำขึ้นอย่างน้อย 1 ครั้ง และลง 1 ครั้ง ซึ่งระดับน้ำขึ้นน้ำลงจะ
แตกต่างกันมาก (น้ำเกิด)
หากมองเห็นดวงจนั ทร์สว่างคร่ึงดวง ระดับน้ำบนโลกขณะข้ึนและลง
จะไม่ต่างกันมากนัก เนื่องจากดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้นมี
แรงไทดัลทก่ี ระทำต่อโลกไม่เสริมกัน โดยใน 1 วนั จะสามารถเหน็ นำ้
ขึ้นอย่างน้อย 1 ครั้ง และลง 1 ครั้ง ซึ่งระดับน้ำขึ้นน้ำลงอาจจะ
ไมแ่ ตกตา่ งกันมาก (น้ำตาย)
2) ความเข้าใจท่ถี กู ต้องแต่ไม่สมบรู ณ์ หากมองเห็นดวงจันทร์ เต็มดวง และวันจันทร์ดับ ระดับน้ำบนโลก
(Partial understanding : PU) ขณะขึ้นและลงจะต่างกันมาก เนื่องจากดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
นั้นมแี รงไทดัลทก่ี ระทำต่อโลกเสรมิ กัน
หากมองเห็นดวงจันทร์สว่างคร่ึงดวง ระดับนำ้ บนโลกขณะขึ้นและลง
จะไม่ต่างกันมากนัก เนื่องจากดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้นมีแรง
ไทดลั ทก่ี ระทำตอ่ โลกไมเ่ สริมกัน
3) ความเข้าใจทีค่ ลาดเคลื่อนบางส่วน หากมองเห็นดวงจันทร์ เต็มดวง และวันจันทร์ดับ ระดับน้ำบนโลก
(Partial understanding with specific ขณะขึ้นและลงจะต่างกันเล็กน้อย เนื่องจากดวงจันทร์และ
alternative conception : PS) ดวงอาทติ ย์น้ันมแี รงไทดัลทีก่ ระทำตอ่ โลกเสริมกัน
หากมองเหน็ ดวงจันทร์สว่างครึ่งดวง ระดบั นำ้ บนโลกขณะข้ึนและลง
จะต่างกันมาก เนื่องจากดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้นมีแรงไทดัลที่
กระทำต่อโลกไมเ่ สรมิ กัน
4) ความเขา้ ใจทค่ี ลาดเคล่อื น ไม่ว่าจะเห็นดวงจันทร์เป็นแบบไหนอยู่ในตำแหน่งใด ระดับน้ำบน
(Alternative conception : AC) โลกก็จะขึ้น หรือน้ำจะลงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ วันที่ดวงจันทร์
สว่างมาก ระดับน้ำจะขึ้นสงู มาก ส่วนวันที่ดวงจนั ทร์มืด ระดับนำ้ จะ
ลงต่ำมาก
5) ไมเ่ ข้าใจ (No understanding : NU) นักเรียนไมต่ อบ หรอื คำตอบไมม่ ผี ลเกย่ี วกับมโนมติ
34
6.2.3.2 ระดบั ความเขา้ ใจมโนมตทิ างวิทยาศาสตร์ : ตำแหน่งของดวงจนั ทรท์ ่ีโคจร
รอบโลกทีส่ ัมพันธก์ บั การขน้ึ ลงของระดับนำ้ บนผวิ โลก ดงั ตารางที่ 14
ตารางท่ี 14 ระดบั ความเขา้ ใจมโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์ : ตำแหน่งของดวงจนั ทร์ทโ่ี คจรรอบโลกท่ี
สัมพนั ธก์ ับการขึน้ ลงของระดับนำ้ บนผิวโลก
ระดับมโนมติ เกณฑก์ ารตอบ
1) ความเขา้ ใจทสี่ มบูรณ์ ดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งตรงกลางระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ หรือ
(Complete understanding : CU) โลกอยู่กึ่งกลางระหว่างดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ระดับน้ำบนโลก
ขณะขึ้นและลงจะต่างกันมาก เนื่องจากดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
นนั้ มแี รงไทดัลที่กระทำตอ่ โลกเสริมกนั โดยใน 1 วัน สามารถเห็นน้ำ
ขึ้นอย่างน้อย 1 ครั้ง และลง 1 ครั้ง ซึ่งระดับน้ำขึน้ น้ำลงจะแตกต่าง
กนั มาก (น้ำเกดิ )
หากดวงจนั ทร์อย่ใู นตำแหนง่ ต้งั ฉากกับโลกและดวงอาทิตย์ ระดับน้ำ
บนโลกขณะขึ้นและลงจะไม่ต่างกันมากนัก เนื่องจากดวงจันทร์และ
ดวงอาทิตย์นั้นมีแรงไทดัลที่กระทำต่อโลกไม่เสริมกัน โดยใน 1 วัน
อยา่ งน้อยจะสามารถเห็นนำ้ ขึน้ 1 ครง้ั และลง 1 คร้ัง ซ่ึงระดบั นำ้ ขึน้
นำ้ ลงอาจจะไม่แตกต่างกนั มาก (นำ้ ตาย)
2) ความเขา้ ใจท่ถี ูกต้องแต่ไมส่ มบูรณ์ ดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งตรงกลางระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ หรือ
(Partial understanding : PU) โลกอยู่กึ่งกลางระหว่างดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ระดับน้ำบนโลก
ขณะขึ้นและลงจะต่างกันมาก เนื่องจากดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
น้ันมีแรงไทดลั ท่กี ระทำตอ่ โลกเสรมิ กนั
หากดวงจนั ทร์อย่ใู นตำแหน่งต้งั ฉากกบั โลกและดวงอาทติ ย์ ระดบั น้ำ
บนโลกขณะขึ้นและลงจะไม่ต่างกันมากนัก เนื่องจากดวงจันทร์และ
ดวงอาทิตยน์ น้ั มีแรงไทดัลที่กระทำต่อโลกไมเ่ สริมกนั
3) ความเข้าใจทีค่ ลาดเคลอ่ื นบางสว่ น ดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งตรงกลางระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ หรือ
(Partial understanding with specific โลกอยู่กึ่งกลางระหว่างดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ระดับน้ำบนโลก
alternative conception : PS) ขณะขึ้นและลงจะต่างกันเล็กน้อย เนื่องจากดวงจันทร์และ
ดวงอาทติ ย์นนั้ มีแรงไทดัลทก่ี ระทำตอ่ โลกเสริมกนั
หากดวงจันทรอ์ ย่ใู นตำแหนง่ ตง้ั ฉากกับโลกและดวงอาทติ ย์ ระดับน้ำ
บนโลกขณะขึ้นและลงจะต่างกันมาก เนื่องจากดวงจันทร์และ
ดวงอาทติ ยน์ นั้ มีแรงไทดลั ที่กระทำต่อโลกไม่เสริมกัน
35
ระดบั มโนมติ เกณฑก์ ารตอบ
4) ความเขา้ ใจทีค่ ลาดเคลือ่ น ไม่ว่าดวงจันทร์จะอยู่ในตำแหน่งใด ระดับน้ำบนโลกก็จะขึ้น และลง
(Alternative conception : AC) ทา่ กนั ทุกตำแหน่ง
5) ไมเ่ ข้าใจ (No understanding : NU) นกั เรยี นไม่ตอบ หรือคำตอบไมม่ ีผลเก่ียวกบั มโนมติ
6.2.3.3 ระดับความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ : วนั ขึ้นและแรมในแตล่ ะตำแหนง่ ของดวง
จนั ทร์ทโี่ คจรรอบโลกที่สมั พันธ์กบั การขนึ้ ลงของระดับนำ้ บนผิวโลก ดังตารางที่ 15
ตารางท่ี 15 ระดับความเข้าใจมโนมตทิ างวิทยาศาสตร์ : วนั ขน้ึ และแรมในแตล่ ะตำแหน่งของดวง
จนั ทร์ท่โี คจรรอบโลกทส่ี มั พนั ธ์กบั การข้นึ ลงของระดับน้ำบนผวิ โลก
ระดับมโนมติ เกณฑก์ ารตอบ
1) ความเขา้ ใจที่สมบรู ณ์ วันข้างขึ้น 15 ค่ำ และวันข้างแรม 15 ค่ำ ระดับน้ำบนโลกขณะ
(Complete understanding : CU) ขึ้นและลงจะต่างกันมาก เนื่องจากดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้นมี
แรงไทดัลที่กระทำต่อโลกเสริมกัน โดยใน 1 วัน จะสามารถเห็น
น้ำขึ้นอย่างน้อย 1 ครั้ง และลง 1 ครั้ง ซึ่งระดับน้ำขึ้นน้ำลงจะ
แตกต่างกนั มาก (นำ้ เกิด)
ในวันขึ้นและแรม 8 ค่ำ ระดับน้ำบนโลกขณะขึ้นและลงจะไม่ตา่ งกัน
มากนัก เนื่องจากดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้นมีแรงไทดัลที่กระทำ
ต่อโลกไม่เสริมกัน โดยใน 1 วัน จะสามารถเห็นน้ำขึ้นอย่างน้อย
1 ครั้ง และลง 1 ครั้ง ซึ่งระดับน้ำขึ้นน้ำลงอาจจะไมแ่ ตกต่างกนั มาก
(นำ้ ตาย)
2) ความเข้าใจท่ถี กู ตอ้ งแต่ไมส่ มบูรณ์ วันข้างขึ้น 15 ค่ำ และวันข้างแรม 15 ค่ำ ระดับน้ำบนโลกขณะข้ึน
(Partial understanding : PU) และลงจะต่างกันมาก เนื่องจากดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้นมี
แรงไทดลั ที่กระทำต่อโลกเสริมกัน
ในวันขึ้นและแรม 8 ค่ำ ระดับน้ำบนโลกขณะขึ้นและลงจะไมต่ า่ งกนั
มากนัก เนื่องจากดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้นมีแรงไทดัลที่กระทำ
ตอ่ โลกไมเ่ สริมกัน
3) ความเขา้ ใจทค่ี ลาดเคลอ่ื นบางสว่ น วันข้างขึ้น 15 ค่ำ และวันข้างแรม 15 ค่ำ ระดับน้ำบนโลกขณะขึ้น
(Partial understanding with specific และลงจะไม่ต่างกัน เนื่องจากดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้นมี
alternative conception : PS) แรงไทดลั ที่กระทำตอ่ โลกเสรมิ กัน
36
ระดบั มโนมติ เกณฑก์ ารตอบ
ในวันขึ้นและแรม 8 ค่ำ ระดับน้ำบนโลกขณะขึ้นและลงจะต่างกัน
มาก เนื่องจากดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้นมีแรงไทดัลที่กระทำ
ต่อโลกไมเ่ สรมิ กนั
4) ความเขา้ ใจทคี่ ลาดเคลื่อน วันข้างข้นึ ระดบั นำ้ บนโลกจะข้นึ สูง ในวันขา้ งแรม ระดับนำ้ บนโลก
(Alternative conception : AC) จะลดลงตำ่ สุด
5) ไมเ่ ขา้ ใจ (No understanding : NU) นกั เรยี นไมต่ อบ หรือคำตอบไมม่ ผี ลเกย่ี วกับมโนมติ
6.3 การวเิ คราะห์คา่ ความสัมพนั ธ์โดยใชส้ ถิติสหสัมพันธ์ของเพยี รส์ นั
ผู้วิจัยนำคะแนนของระดับความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์แต่ละระดับ มาแปลงเป็น
คะแนนเพื่อใช้ในการหาความสัมพันธ์ของความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ค่าทางสถิติตาม
ลักษณะของข้อมูลที่เป็นคะแนน ซึ่งถือว่าเป็นมาตรวัดแบบอันตรภาค (Intreval data) ผู้วิจัยจึง
เลือกใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation) เพื่อใช้
หาความสมั พนั ธ์ของมโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์ของนกั เรยี น
6.3.1 เกณฑใ์ นการวเิ คราะห์ค่าสัมประสทิ ธิ์สหสมั พนั ธ์ของเพยี ร์สนั (r) มีดังน้ี
6.3.1.1 (r = 1) หมายความวา่ ระดับมโนมตทิ ัง้ สองเรอ่ื ง มีความสมั พนั ธเ์ ชงิ บวกกนั
โดยสมบูรณ์
6.3.1.2 (r = 0) หมายความว่า ระดบั มโนมตทิ งั้ สองเร่ือง ไมม่ คี วามสัมพันธ์เชงิ เส้นตรง
6.3.1.3 (r = -1) หมายความวา่ ระดบั มโนมติทั้งสองเรอ่ื ง มีความสมั พันธเ์ ชงิ ลบกนั
โดยสมบูรณ์
6.3.2 สมมติฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน โดยผู้วิจัยได้ทำการ
ตงั้ สมมติฐานดงั น้ี
6.3.2.1 (H0 : P = 0) คือ ระดบั มโนมตขิ องแต่ละเรอื่ งไม่มีความสัมพันธก์ ันเชิงเส้นตรง
6.3.2.2 (H1 : P > 0) คือ ระดบั มโนมติของแตล่ ะเรอ่ื งมคี วามสมั พันธก์ นั เชิงเสน้ ตรง
ทางบวก
โดยท่ี ค่า P คอื ความสัมพนั ธ์ระหวา่ งความเขา้ ใจมโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์ของนักเรยี น
แต่ละเรื่อง หากค่า Sig(2-tailed) < 0.05 แสดงว่า ระดับมโนมติของทั้งสองเรื่องมีความสัมพันธ์กัน
เชิงเส้นตรงทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ถ้าค่า Sig > 0.05 แสดงว่าระดับมโนมติของทั้งสอง
เรอ่ื งไมม่ ีความสมั พันธก์ นั เชิงเส้นตรง
37
6.3.3 การแปลหมายจากคา่ สัมประสทิ ธส์ิ หสมั พนั ธ์ของเพยี ร์สัน
ในการแปลความหมายของความสัมพันธ์ จะพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ
เพียร์สัน (r)
6.3.3.1 r อยใู่ นชว่ ง 0.00 - 0.20 จะมคี า่ ความสมั พันธ์อยู่ในระดบั ตำ่ ทสี่ ดุ
6.3.3.2 r อยู่ในชว่ ง 0.20 - 0.40 จะมคี า่ ความสมั พันธ์อยใู่ นระดับตำ่
6.3.3.3 r อยใู่ นชว่ ง 0.40 - 0.60 จะมีคา่ ความสัมพันธอ์ ยู่ในระดบั ปานกลาง
6.3.3.4 r อยใู่ นชว่ ง 0.60 - 0.80 จะมคี า่ ความสัมพนั ธ์อยใู่ นระดับมาก
6.3.3.5 r อยใู่ นชว่ ง 0.80 - 0.10 จะมคี า่ ความสัมพันธ์อยู่ในระดบั มากทีส่ ุด
7. สถติ ทิ ใ่ี ชใ้ นการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเพื่อหาศึกษาความสัมพันธ์ของความเข้าใจมโนมติทาง
วิทยาศาสตรข์ องนกั เรียนระดับชัน้ มธั ยมศกึ ษาปที ่ี 3 ซ่ึงผวู้ จิ ยั ได้มใี ชส้ ถิตตา่ ง ๆ ในงานวิจัย ดงั ต่อไปน้ี
7.1 การหาค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean)
คำนวณจากสูตร ดังน้ี
X =X
N
เมือ่ X แทน คา่ เฉลยี่
X แทน ผลรวมของคะแนนทงั้ หมดในกลมุ่
N แทน จำนวนนกั เรียนในกลุ่ม
7.2 คา่ รอ้ ยละ (Percentage)
คำนวณจากสูตร ดังน้ี
เมื่อ P P = f 100
N
แทน ค่าร้อยละ
f แทน ความถี่ท่ตี อ้ งการแปลงให้เปน็ ร้อยละ
N แทน จำนวนความถี่ทั้งหมด
38
7.3 ค่าสมั ประสทิ ธิส์ หสัมพนั ธ์ของเพียรส์ นั (Pearson correlation coefficient : r)
คำนวณจากสตู ร ดงั น้ี
r = n XY − X Y
n X 2 − ( X )2 . nY 2 − (Y )2
โดยที่ r = ค่าสมั ประสทิ ธิ์สหสมั พันธ์ของเพยี รส์ นั
n = ขนาดของกล่มุ ตวั อยา่ ง
X = ข้อมลู ทีว่ ัดได้จากตวั แปรตวั ท่ี 1
Y = ขอ้ มลู ทวี่ ดั ได้จากตัวแปรตวั ที่
ซึง่ ในงานวิจัยผู้วิจยั ไดใ้ ชก้ ารคำนวณหาคา่ สัมประสทิ ธสิ์ หสัมพันธผ์ า่ นโปรแกรม SPSS
7.4 การทดสอบนยั สำคญั ของสหสัมพันธแ์ บบเพยี รส์ นั (โดยใช้ค่า t – test)
คำนวณจากสตู ร ดงั น้ี
r คอื ค่าสมั ประสทิ ธส์ิ หสัมพันธท์ ี่คำนวณได้
N คอื จำนวนข้อมูลหรือจำนวนคน
7.5 คา่ ดชั นีความสอดคลอ้ ง IOC
คำนวณจากสตู ร ดงั น้ี
IOC คอื ดัชนคี วามสอดคล้องระหวา่ งขอ้ สอบกับจดุ ประสงค์
R คอื คะแนนของผู้เช่ยี วชาญ
∑R คอื ผลรวมของคะแนนผู้เชย่ี วชาญแต่ละคน
N คือ จำนวนผ้เู ชย่ี วชาญ
บทที่ 4
ผลการวจิ ัย และอภปิ รายผล
การวจิ ยั ครั้งนี้ มีวตั ถุประสงค์เพอื่ ศกึ ษาความสมั พันธ์ของความเข้าใจมโนมตทิ างวิทยาศาสตร์
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์
ปรากฎการณ์ข้างขึ้นข้างแรม และ ปรากฎการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง ที่ผ่านการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ
(5E) โดยทำการศึกษากับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนหนองหานวิทยา ที่กำลัง
ศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 29 คน เป็นการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ
(Quantitative Research) แบบไม่เข้าขั้นทดลอง (Pre-experimental design) โดยใช้แบบวัดความ
เข้าใจมโนมตทิ างวิทยาศาสตร์ จำนวน 9 ข้อ แลว้ นำมาวิเคราะห์จดั กลุ่มคำตอบตามเกณฑร์ ะดบั ความ
เข้าใจ 5 ระดับ คือ ความเข้าใจมโนมติท่สี มบรู ณ์ (CU) ความเข้าใจมโนมติที่ถกู ต้องแตไ่ มส่ มบูรณ์ (PU)
ความเข้าใจมโนมติที่คลาดเคลื่อนบางส่วน (PS) ความเข้าใจมโนมติที่คลาดเคลื่อน (AC) และความไม่
เข้าใจ (NU) เพื่อหาความสัมพันธ์แบบสหสัมพันธ์ของเพียร์สันกับความเข้าใจมโนมติทางวทิ ยาศาสตร์
ของนกั เรียนในแต่ละเรอื่ ง ผ้วู จิ ยั ขอเสนอผลการวจิ ยั และอภิปรายผลตามลำดับข้นั ตอน ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์
ระหวา่ งโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทติ ย์ ปรากฎการณ์ขา้ งข้นึ ขา้ งแรม และ ปรากฎการณน์ ำ้ ขึ้น-น้ำลง
2. การอภปิ รายผล
1. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ ปรากฎการณ์ข้างขึ้นข้างแรม และ
ปรากฎการณน์ ้ำขน้ึ - น้ำลง
ผวู้ ิจยั นำคะแนนของระดับความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตรข์ องนักเรียน มาใช้ในการหาคา่
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ( Pearson Product Moment Correlation) เพื่อหา
ความสมั พนั ธ์ของมโนมติ โดยมเี กณฑ์ในการวเิ คราะห์คา่ สัมประสทิ ธส์ิ หสัมพันธข์ องเพียร์สนั (r) ดังน้ี
ถ้า r = 1 หมายความว่า ความเข้าใจของมโนมติทางวิทยาศาสตร์ มีความสัมพันธ์เชิงบวก
ตามกันโดยสมบูรณ์
r = 0 หมายความวา่ ความเขา้ ใจของมโนมติทางวทิ ยาศาสตร์ ไมม่ ีความสัมพนั ธเ์ ชงิ เส้นตรง
40
r = -1 หมายความว่า ความเข้าใจของมโนมติทางวิทยาศาสตร์ มีความสัมพันธ์เชิงลบกัน
โดยสมบูรณ์
โดยผวู้ จิ ยั ไดท้ ำการต้ังสมมติฐานดงั นี้
H0 : P = 0 (ระดบั มโนมตขิ องแตล่ ะเรื่องไมม่ คี วามสัมพนั ธก์ นั เชงิ เสน้ ตรง)
H1 : P > 0 (ระดับมโนมติของแต่ละเรอื่ งมคี วามสมั พันธก์ ันเชงิ เส้นตรงทางบวก)
โดยที่ คา่ P คอื ความสมั พนั ธข์ องความเขา้ ใจมโนมติทางวทิ ยาศาสตร์ของนกั เรียนในแตล่ ะเร่ือง
หากคา่ Sig(2-tailed) < 0.05 แสดงว่า ระดบั มโนมติของทัง้ สองเรื่องมคี วามสัมพันธก์ นั เชิง
เส้นตรงทางบวก อยา่ งมนี ยั สำคญั ทางสถติ ิ แต่ถา้ ค่า Sig > 0.05 แสดงวา่ ระดบั มโนมตขิ องท้งั สอง
เรอ่ื งไมม่ คี วามสัมพันธ์กนั เชิงเสน้ ตรง
การแปลความหมายของความสมั พันธ์ จะพิจารณาคา่ สมั ประสทิ ธ์ิสหสัมพนั ธ์ของเพียร์สัน (r)
1) r อยใู่ นช่วง 0.00 - 0.20 จะมคี า่ ความสมั พนั ธ์อยใู่ นระดบั ตำ่ ทีส่ ุด
2) r อยใู่ นชว่ ง 0.20 - 0.40 จะมีคา่ ความสัมพันธ์อยู่ในระดบั ตำ่
3) r อยใู่ นชว่ ง 0.40 - 0.60 จะมีค่าความสมั พันธ์อยู่ในระดบั ปานกลาง
4) r อยใู่ นช่วง 0.60 - 0.80 จะมคี า่ ความสมั พันธ์อยใู่ นระดบั มาก
5) r อยใู่ นช่วง 0.80 - 0.10 จะมีคา่ ความสมั พันธอ์ ยใู่ นระดบั มากทส่ี ุด
1.1 ความสัมพนั ธ์ของความเขา้ ใจมโนมตทิ างวิทยาศาสตร์ เรอ่ื ง ปฏสิ ัมพันธ์ระหว่างโลก
ดวงจันทร์ และดวงอาทติ ย์ ปรากฎการณข์ า้ งขนึ้ ข้างแรม และ ปรากฎการณ์น้ำขึน้ -น้ำลง จากค่า
สัมประสทิ ธ์สิ หสัมพนั ธข์ องเพียร์สนั
จากการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ของมโนมติทางวิทยาศาสตร์
เรื่องที่ 1 ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ เรื่องที่ 2 ปรากฎการณ์ข้างขึ้นข้างแรม
และเร่ืองท่ี 3 ปรากฎการณ์น้ำขน้ึ -นำ้ ลง ไดด้ งั ตารางที่ 16
41
ตารางที่ 16 ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สันของความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนเรื่อง
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ เรื่อง ปรากฎการณ์ข้างขึ้นข้างแรม และเรื่อง
ปรากฎการณ์น้ำขนึ้ -น้ำลง
จากตารางที่ 16 พบว่า มโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ทั้ง 3 เรื่องนั้นมีความสัมพันธ์
กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.01 แสดงให้เห็นถึงภาพรวมว่ามโนมติทัง้ 3 เรื่องนั้นมีความสัมพันธ์
กันในระดับมาก นั่นคือ หากนักเรียนมีความเข้าใจโนมติทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องหนึ่งเรื่องใด จะมี
ความสัมพันธ์ทางบวกต่อความเข้าใจของมโมติในเรื่องอื่นด้วย ซึ่งจากตารางจะเห็นว่า มโนมติทาง
วิทยาศาสตร์ที่มคี วามสัมพันธ์กันมากที่สุด คือ มโนมติทางวทิ ยาศาสตร์ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลก
ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ และเรื่อง ปรากฎการณข์ ้างขนึ้ ข้างแรม
1.2 ความสัมพันธ์ของความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ในส่วนของมโนมติทาง
วิทยาศาสตร์ย่อย เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ ปรากฎการณ์ข้างขนึ้
ข้างแรม และ ปรากฎการณน์ ้ำขึน้ -นำ้ ลง
ผู้วจิ ัยไดห้ าความสัมพันธ์ของความเขา้ ใจมโนมตทิ างวิทยาศาสตรข์ องนักเรียนทั้ง 3 เรื่องหลัก
แลว้ พบวา่ มคี วามสมั พันธก์ ัน จงึ ทำการหาความสัมพนั ธ์ของมโนมตทิ างวิทยาศาสตร์ย่อยในแต่ละเร่ือง
ว่ามีความสัมพันธ์กันมากน้อยเพียงใด แล้วความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์เรื่องย่อยใดบ้างที่มี
ความสัมพันธ์กัน โดยผู้วิจัยทำการศึกษาความสัมพันธ์ของมโนมติทางวิทยาศาสตร์ย่อยของนักเรียน
ท้ังหมด 9 มโนมติทางวิทยาศาสตรด์ ังน้ี
เรือ่ งท่ี 1 ปฏิสมั พันธร์ ะหว่างโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทติ ย์ แบ่งมโนมตยิ ่อยออกเปน็ 3 เรือ่ ง
ดงั นี้