The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

งานวิจัยในชันเรียนภาคเรียนที่ 1/2565
นายศักดินนท์ อุดชุมพิสัย
ตำแหน่ง ครู
โรงเรียนหนองหานวิทยา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Fang Chonticha, 2022-09-13 05:35:40

งานวิจัยในชันเรียน 1/2565

งานวิจัยในชันเรียนภาคเรียนที่ 1/2565
นายศักดินนท์ อุดชุมพิสัย
ตำแหน่ง ครู
โรงเรียนหนองหานวิทยา

42

1.1 ทศิ ทางการโคจรของดวงจนั ทร์รอบโลก และเวลาทีใ่ ชใ้ นการโคจรครบ 1 รอบ

1.2 การไดร้ บั แสงของดวงจนั ทร์ครง่ึ ดวงตลอดการโคจรรอบโลก

1.3 แรงโนม้ ถ่วงระหว่างโลก ดวงจนั ทร์ และดวงอาทิตย์

เรื่องท่ี 2 ปรากฎการณ์ข้างขน้ึ ขา้ งแรม แบง่ มโนมตยิ อ่ ยออกเป็น 3 เรอ่ื งดงั นี้

2.1 การเกดิ ปรากฏการณข์ า้ งขนึ้ ข้างแรมจากการโคจรของดวงจันทรร์ อบโลก

2.2 ตำแหน่งของดวงจนั ทร์ทโ่ี คจรรอบโลกทส่ี ัมพนั ธก์ บั สว่ นมดื สว่ นสวา่ งของดวงจนั ทร์

2.3 ตำแหน่งของดวงจันทร์ท่ีโคจรรอบโลกกับวันขนึ้ และวนั แรม

เรื่องท่ี 3 ปรากฎการณน์ ำ้ ขึ้นนำ้ ลง แบง่ มโนมตยิ ่อยออกเป็น 3 เรอื่ งดงั น้ี

3.1 สว่ นมืดส่วนสวา่ งของดวงจนั ทร์ ที่สัมพนั ธ์กับการเกิดปรากฏการณน์ ำ้ ขึน้ -น้ำลง

3.2 ตำแหน่งของดวงจันทรท์ ี่โคจรรอบโลกทส่ี มั พันธก์ ับการข้ึนลงของระดบั นำ้ บนผิวโลก

3.3 วันขึ้นและแรมในแต่ละตำแหน่งของดวงจันทร์ที่โคจรรอบโลกกับการขึ้นลงของ

ระดับน้ำบนผิวโลก

จากการที่มโนมติทางวทิ ยาศาสตร์รวมของแต่ละเรื่องมคี วามสัมพันธ์กนั ทางสถิติ ผู้วิจัยจึงสนใจ

ทจี่ ะวิเคราะห์คา่ สัมประสทิ ธ์สิ หสมั พันธ์ของมโนมติทางวทิ ยาศาสตรย์ ่อยของแต่ละเรือ่ ง เพื่อให้เห็นถึง

ความสัมพันธ์ของมโนมติทางวิทยาศาสตร์ ว่ามโนมติทางวิทยาศาสตร์ย่อยของผู้เรียนแต่ละเรื่องนั้น

มคี วามสมั พันธ์กบั มโมติทางวทิ ยาศาสตร์ย่อยของผู้เรยี นในเรอ่ื งอนื่ ดว้ ยหรอื ไม่ ดว้ ยการจับคู่วิเคราะห์

ในแต่ละมโนมติทางวิทยาศาสตร์ย่อยของแต่ละเรื่อง เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของมโนมติทาง

วทิ ยาศาสตร์ยอ่ ย แบง่ ได้ท้งั หมด 27 คคู่ วามสมั พนั ธ์ ดังตารางท่ี 17

ตารางที่ 17 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของมโนมติทางวิทยาศาสตร์ จากค่าสัมประสิทธ์ิ

สหสัมพนั ธ์ และการยอมรบั คา่ Sig

รปู แบบมโนมติที่ คา่ sig คา่ สมั ประสิทธิ์ ผลการวเิ คราะห์
(ยอมรบั คา่ Sig ท่ี 0.05) สหสมั พันธ์ (r)

1.1 กับ 2.1 0.000 0.745 มโนมติมคี วามสัมพันธ์ทางบวก
ความสมั พนั ธอ์ ยใู่ นระดบั มาก

1.1 กบั 2.2 0.000 0.628 มโนมติมีความสัมพนั ธท์ างบวก
ความสัมพันธ์อยใู่ นระดบั มาก

1.1 กบั 2.3 0.000 0.601 มโนมติความสัมพนั ธ์ทางบวก
ความสัมพันธอ์ ยูใ่ นระดับมาก

43

รูปแบบมโนมตทิ ี่ ค่า sig ค่าสัมประสทิ ธิ์ ผลการวเิ คราะห์
(ยอมรับคา่ Sig ท่ี 0.05) สหสัมพันธ์ (r)

1.1 กับ 3.1 0.003 0.501 มโนมติมีความสัมพนั ธท์ างบวก
ความสัมพนั ธ์อยู่ในระดบั ปานกลาง

1.1 กับ 3.2 0.000 0.784 มโนมติมีความสมั พันธท์ างบวก
ความสมั พนั ธอ์ ยใู่ นระดับมาก

1.1 กบั 3.3 0.335 0.173 มโนมตไิ ม่มีความสมั พนั ธท์ างบวก
ความสัมพันธ์อยใู่ นระดับตำ่ ทสี่ ดุ

1.2 กบั 2.1 0.000 0.860 มโนมติมีความสัมพนั ธท์ างบวก
ความสัมพันธ์อย่ใู นระดับมากท่สี ุด

1.2 กบั 2.2 0.000 0.796 มโนมติมีความสมั พันธท์ างบวก
ความสัมพันธ์อยู่ในระดับมาก

1.2 กับ 2.3 0.001 0.568 มโนมตมิ คี วามสมั พันธ์ทางบวก
ความสมั พนั ธ์อยู่ในระดับปานกลาง

1.2 กับ 3.1 0.001 0.557 มโนมติมีความสัมพนั ธ์ทางบวก
ความสัมพันธอ์ ย่ใู นระดบั ปานกลาง

1.2 กับ 3.2 0.000 0.601 มโนมติมคี วามสมั พันธ์ทางบวก
ความสัมพันธ์อยู่ในระดับมาก

1.2 กบั 3.3 0.011 0.437 มโนมตมิ ีความสัมพนั ธ์ทางบวก
ความสัมพันธ์อยใู่ นระดบั ปานกลาง

1.3 กับ 2.1 0.207 0.226 มโนมติไมม่ ีความสัมพันธท์ างบวก
ความสัมพนั ธอ์ ย่ใู นระดบั ตำ่

1.3 กับ 2.2 0.110 0.283 มโนมติไม่มคี วามสมั พนั ธท์ างบวก
ความสมั พันธอ์ ยูใ่ นระดับต่ำ

44

รูปแบบมโนมติท่ี คา่ sig ค่าสัมประสทิ ธิ์ ผลการวเิ คราะห์
(ยอมรบั คา่ Sig ท่ี 0.05) สหสัมพันธ์ (r)

1.3 กับ 2.3 0.000 0.840 มโนมตมิ คี วามสัมพนั ธท์ างบวก
ความสมั พันธ์อยใู่ นระดับมากทีส่ ุด

1.3 กับ 3.1 0.011 0.437 มโนมติมีความสมั พนั ธ์ทางบวก
ความสมั พันธอ์ ยูใ่ นระดบั ปานกลาง

1.3 กบั 3.2 0.029 0.381 มโนมตคิ วามสัมพนั ธ์ทางบวก
ความสัมพนั ธอ์ ย่ใู นระดบั ตำ่

1.3 กับ 3.3 0.000 0.840 มโนมตมิ ีความสัมพันธ์ทางบวก
ความสมั พันธอ์ ยู่ในระดับมากที่สุด

2.1 กบั 3.1 0.000 0.610 มโนมติมคี วามสัมพันธ์ทางบวก
ความสมั พนั ธ์อยู่ในระดบั มาก

2.1 กับ 3.2 0.000 0.746 มโนมตมิ ีความสมั พันธท์ างบวก
ความสัมพนั ธอ์ ยู่ในระดบั มาก

2.1 กับ 3.3 0.207 0.226 มโนมตไิ มม่ ีความสัมพนั ธท์ างบวก
ความสัมพันธอ์ ยใู่ นระดับต่ำ

2.2 กับ 3.1 0.000 0.734 มโนมติมีความสัมพันธ์ทางบวก
ความสัมพนั ธอ์ ยู่ในระดบั มาก

2.2 กับ 3.2 0.000 0.770 มโนมติมีความสมั พนั ธท์ างบวก
ความสัมพันธ์อยใู่ นระดบั มาก

2.2 กบั 3.3 0.110 0.283 มโนมติไม่มีความสัมพนั ธท์ างบวก
ความสัมพนั ธอ์ ยู่ในระดบั ตำ่

2.3 กบั 3.1 0.110 0.283 มโนมตไิ มม่ ีความสัมพนั ธท์ างบวก
ความสมั พนั ธอ์ ยใู่ นระดับตำ่

45

รปู แบบมโนมตทิ ี่ คา่ sig ค่าสัมประสทิ ธิ์ ผลการวเิ คราะห์
(ยอมรบั ค่า Sig ท่ี 0.05) สหสมั พนั ธ์ (r)

2.3 กับ 3.2 0.000 0.610 มโนมตมิ คี วามสัมพันธ์ทางบวก
ความสัมพนั ธ์อยใู่ นระดับมาก

2.3 กบั 3.3 0.000 0.840 มโนมตมิ คี วามสัมพันธท์ างบวก
ความสมั พันธ์อยใู่ นระดับมากท่ีสุด

จากตารางที่ 17 จะพบว่ามีมโมติที่มีความสัมพันธ์ทางบวก ทั้งหมด 21 คู่มโนมติทาง
วิทยาศาสตรข์ องนักเรียน แต่ยังมีอีกทั้งสิน้ 6 มโนมติทางวิทยาศาสตร์ที่ไม่มีความสัมพันธ์ในทางบวก
ได้แก่

คมู่ โนมติทางวทิ ยาศาสตรข์ องนักเรียนที่ 1.1 กับ 3.3
คมู่ โนมติทางวทิ ยาศาสตร์ของนกั เรยี นที่ 1.3 กบั 2.1
ค่มู โนมติทางวทิ ยาศาสตรข์ องนกั เรยี นที่ 1.3 กับ 2.2
คู่มโนมตทิ างวทิ ยาศาสตรข์ องนักเรยี นท่ี 2.1 กับ 3.3
คู่มโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์ของนักเรยี นที่ 2.2 กบั 3.3
ค่มู โนมติทางวทิ ยาศาสตร์ของนักเรยี นท่ี 2.3 กับ 3.1
โดยคมู่ โนมตยิ อ่ ยท่ีมคี วามสมั พนั ธก์ ันมากทีส่ ุด คอื มโนมตทิ างวิทยาศาสตร์ เร่ือง 1.2 การ
ไดร้ บั แสงของดวงจนั ทรค์ ร่งึ ดวงตลอดการโคจรรอบโลก และเร่อื ง 2.1 การเกดิ ปรากฏการณข์ ้างข้ึน
ขา้ งแรมจากการโคจรของดวงจนั ทรร์ อบโลก โดยมีค่าสมั ประสทิ ธส์ิ หสมั พนั ธ์ของเพยี รส์ นั 0.860
และคมู่ โนมตยิ อ่ ยทมี่ คี วามสมั พนั ธ์กันนอ้ ยท่ีสดุ คอื มโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรือ่ ง 1.1 ทศิ
ทางการโคจรของดวงจันทร์รอบโลก และเร่ือง 3.3 เวลาทใี่ ช้ในการโคจรครบ 1 รอบ และวนั ข้นึ และ
แรมในแต่ละตำแหน่งของดวงจันทรท์ ี่โคจรรอบโลกกับการขึ้นลงของระดับน้ำบนผิวโลก โดยมีคา่
สมั ประสิทธิ์สหสมั พนั ธ์ของเพียรส์ ัน 0.173
ซ่งึ ความสมั พันธ์ของเขา้ ใจมโนมตทิ างวิทยาศาสตร์ยอ่ ยของนกั เรียนระดบั ชัน้ มัธยมศึกษาปที ่ี 3
เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม และ
ปรากฏการณน์ ้ำขน้ึ -นำ้ ลง เมอื่ นำมาคดิ เปน็ คา่ ร้อยละจะได้ดงั ตารางที่ 18

46

ตารางที่ 18 แสดงค่าร้อยละของความสมั พันธ์คู่มโนมติ คู่มโนมติทางวทิ ยาศาสตร์
ความสมั พนั ธ์ คู่มโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์

สถติ ิที่ใช้ ท่มี ีความสัมพันธ์กนั ท่ีไมม่ คี วามสมั พันธ์กัน

จำนวน (คู)่ 21 6

คิดเป็นร้อยละ 77.78 22.22

จากตารางที่ 18 จะเห็นว่าความสัมพันธ์ของความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ย่อยของ
นักเรียนมีจำนวน 21 คู่มโนมติ ที่มีความสัมพันธ์กัน ทำให้เห็นว่า ความเข้าใจของมโนมติทาง
วทิ ยาศาสตร์คู่ยอ่ ยของนกั เรยี นมคี วามสมั พันธพ์ ันธก์ นั สงู คดิ เป็นรอ้ ยละ 77.78

2. อภปิ รายผล

ผลการศึกษาความสัมพันธ์ของความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ ปรากฎการณ์ข้างขึ้น
ข้างแรม และ ปรากฎการณ์น้ำขึน้ -น้ำลง ที่ผ่านการจดั การเรียนรู้แบบสืบเสาะ (5E) โดยทำการศกึ ษา
กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนหนองหานวิทยา ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2565

จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่ามีมโมติที่มีความสัมพันธ์ทางบวก ทั้งหมด 21 คู่มโนมติทาง
วิทยาศาสตรข์ องนักเรียนแต่ยงั มอี ีกทงั้ สิน้ 6 มโนมติท่ไี ม่มีความสัมพนั ธ์ในทางบวก ได้แก่

คมู่ โนมติทางวทิ ยาศาสตร์ของนกั เรียนท่ี 1.1 กบั 3.3
คู่มโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์ของนกั เรียนที่ 1.3 กบั 2.1
คมู่ โนมตทิ างวทิ ยาศาสตรข์ องนกั เรยี นที่ 1.3 กบั 2.2
ค่มู โนมติทางวทิ ยาศาสตรข์ องนกั เรียนที่ 2.1 กบั 3.3
คู่มโนมติทางวทิ ยาศาสตร์ของนกั เรียนท่ี 2.2 กบั 3.3
คู่มโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์ของนกั เรียนที่ 2.3 กับ 3.1
ผู้วิจัยจึงได้นำคู่มโนมติทางวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนมาทำการวิเคราะห์ในส่วนของการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียน และความเชื่อมโยงกันของมโนมตทิ างวิทยาศาสตร์ในส่วนของเน้ือหา
ผวู้ ิจัยแบง่ การอภปิ รายออกเป็น 2 ส่วน ดงั น้ี

47

2.1 คยู่ ่อยของมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรยี นทม่ี ีความสัมพันธ์กัน
คู่ย่อยของมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่มีความสัมพันธ์กัน มีทั้งสิ้น 21 คู่ ซึ่ง

เป็นไปตามสมติฐานของผู้วิจัย และเนื้อหาของบทเรียนทำให้เกิดมโนมติทางวิทยาศาสตร์ที่มีความ
เชื่อมโยงกัน ตัวอย่างเช่น คู่มโนมติทางวิทยาศาสตร์ย่อยของนักเรียนที่ 1.2 กับ 2.1 ซึ่งมโนมติทาง
วิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ 1.2 คือเรื่อง การได้รับแสงของดวงจันทร์คร่ึงดวงตลอดการโคจรรอบโลก
และมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ 2.1 เรื่อง การเกิดปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรมจากการ
โคจรของดวงจนั ทรร์ อบโลก

มโนมติทางวิทยาศาสตรข์ องนกั เรียน ในเรือ่ งการไดร้ ับแสงของดวงจนั ทรค์ ร่งึ ดวงตลอดการ
โคจรรอบโลก ได้ทำการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในเรื่องปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงจันทร์ และ
ดวงอาทิตย์ โดยใช้โปรแกรม Mitaka ซึ่งทำให้นักเรียนได้เห็นว่าดวงจันทร์ได้รับแสงสว่างครึ่งดวง
ตลอดเวลา ส่วนมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ในเรื่อง การเกิดปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม
จากการโคจรของดวงจันทร์รอบโลก ได้ทำการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในเรื่องปรากฏการณ์ข้างข้ึน
ข้างแรม โดยใชส้ อ่ื การจัดกจิ กรรมการเรยี นรขู้ า้ งขึน้ ข้างแรม ซึ่งความร้ทู ไี่ ดจ้ ากกจิ กรรมทั้ง 2 นักเรียน
จะได้ทราบถึงการเกิดส่วนมืดส่วนสว่างของดวงจันทร์ ที่เป็นผลมาจากดวงอาทิตย์ และตำแหน่งของ
ดวงจนั ทร์ทีโ่ คจรไปในตำแหนง่ ตา่ ง ๆ จะไดร้ บั แสงสว่างเพียงครึง่ ดวงตลอดการโคจร ทำใหเ้ หน็ วา่ ส่วน
สว่างของดวงจันทร์ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งสัมพันธ์กับการเกิดปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม โดยการ
มองเห็นส่วนมืดส่วนสว่างเปลี่ยนแปลงไปนั้นเป็นพียงมุมมองจากผู้สังเกตที่อยู่บนโลก ทำให้เห็นถึง
ความเชื่อมโยงของเนือ้ หาและความเกี่ยวเนือ่ งกันของมโนมติทางวิทยาศาสตร์เรื่อง การได้รับแสงของ
ดวงจันทร์ครึ่งดวงตลอดการโคจรรอบโลก กับ มโนมติทางวิทยาศาสตร์เรื่อง การเกิดปรากฏการณ์
ข้างขึ้นข้างแรมจากการโคจรของดวงจันทร์รอบโลก เนื่องจากการการเกิดปรากฏการณ์ข้างขึ้น
ข้างแรมนั้น ต้องมีความเข้าใจมโมติก่อนว่า ดวงจันทร์ได้รับแสงสว่างในแต่ละตำแหน่งเพียงครึ่งดวง
ตลอดการโคจรรอบโลก โดยที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป แต่มุมมองของผู้สังเกตเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลงไป
จากความเช่อื มโยงเนือ้ หาและความเขา้ ใจมโนมติทางวทิ ยาศาสตร์ท้งั 2 เรือ่ งมคี วามสมั พันธซ์ งึ่ กนั และ
กนั จงึ ทำใหม้ โนมตทิ างวทิ ยาศาสตรข์ องนกั เรียน เรอื่ ง การไดร้ บั แสงของดวงจันทรค์ รึ่งดวงตลอดการ
โคจรรอบโลก และ การเกิดปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรมจากการโคจรของดวงจันทร์รอบโลก มี
ความสัมพันธก์ นั ในเชิงบวก

ซึง่ จะเหน็ ได้ว่า มโนมติทม่ี ีความสัมพันธท์ างบวกซงึ่ กันและกัน จะมีความเชือ่ มโยงของเนื้อหา
ทีไ่ ดจ้ ากการจดั กจิ กรรมการเรยี นรู้ ท่ีมีความเชือ่ มโยงกัน รวมไปถึงความเก่ียวเน่ืองในด้านมโนมติทาง
วทิ ยาศาสตร์ของนักเรยี นในแตล่ ะเรอื่ ง

48

2.2 ค่ยู ่อยของมโนมติทางวิทยาศาสตรข์ องนักเรียนทไ่ี มม่ คี วามสัมพันธ์กัน
ซง่ึ ผูว้ ิจยั จะอภปิ รายเป็นรายคมู่ โนมตยิ ่อย ดังต่อไปนี้

2.2.1 คู่มโนมตทิ างวทิ ยาศาสตรข์ องนักเรียนท่ี 1.1 กบั 3.3
มโนมตทิ างวิทยาศาสตร์ เร่ือง ทิศทางการโคจรของดวงจนั ทรร์ อบโลก และเวลาทีใ่ ช้

ในการโคจรครบ 1 รอบ กบั มโนมติทางวทิ ยาศาสตร์ เรอ่ื ง วันขึ้นและแรมในแตล่ ะตำแหนง่ ของดวง
จนั ทร์ทีโ่ คจรรอบโลกกบั การข้ึนลงของระดับนำ้ บนผวิ โลก

มโนมติทางวิทยาศาสตรข์ ้อที่ 1.1 คือเรื่อง ทิศทางการโคจรของดวงจันทร์รอบโลก และเวลา
ที่ใช้ในการโคจรครบ 1 รอบ จะอยู่ในการจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ปฏิสัมพันธ์
ระหวา่ งโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทติ ย์ ในข้นั สำรวจและคน้ หา โดยนกั เรียนจะมีมโนมตวิ า่ ดวงจันทร์
โคจรรอบโลกจะมีทิศทางการโคจรทวนเข็มนาฬิการอบโลก ซึ่งจะใช้เวลาในการโคจรรอบโลก
ประมาณ 27-30 วนั ซึง่ ได้ใช้โปรแกรม Mitaka ในการแสดงถึงการเคล่ือนทข่ี องดวงจนั ทร์ท่ีโคจรรอบ
โลก นักเรียนจะเหน็ วา่ ดวงจันทร์นน้ั โคจรไปในแต่ละตำแหน่งรอบโลกในทศิ ทางทวนเขม็ จะหมุนรอบ
ตัวเองประมาณ 30 วัน ในส่วนมโนมติทางวิทยาศาสตร์ที่ 3.3 คือเรื่อง วันขึ้นและแรมในแต่ละ
ตำแหนง่ ของดวงจันทร์ที่โคจรรอบโลกกับการขึ้นลงของระดับนำ้ บนผิวโลก จะอยู่ในการจัดการเรียนรู้
ตามแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง ในขั้นสำรวจและค้นหา โดยนักเรียนจะมี
มโนมติว่า วันข้างขึ้น 15 ค่ำ และวันข้างแรม 15 ค่ำ ระดับน้ำบนโลกขณะขึ้นและลงจะต่างกันมาก
เนื่องจากดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้นมีแรงไทดัลที่กระทำต่อโลกเสริมกัน โดยใน 1 วัน จะสามารถ
เห็นน้ำขึ้นอยา่ งน้อย 1 ครัง้ และลง 1 ครั้ง ซ่ึงระดับน้ำขึน้ นำ้ ลงจะแตกตา่ งกนั มาก (นำ้ เกดิ ) สว่ นในวัน
ขึ้นและแรม 8 ค่ำ ระดับน้ำบนโลกขณะขึ้นและลงจะไม่ต่างกันมากนัก เนื่องจากดวงจันทร์และดวง
อาทติ ยน์ ั้นมแี รงไทดัลท่ีกระทำตอ่ โลกไม่เสรมิ กัน โดยใน 1 วัน จะสามารถเห็นนำ้ ขึน้ อยา่ งนอ้ ย 1 ครั้ง
และลง 1 ครั้ง ซึ่งระดับน้ำขึ้นน้ำลงอาจจะไม่แตกต่างกันมาก (น้ำตาย) โดยใช้สื่อเป็นแผ่นกิจกรรม
น้ำข้นึ น้ำลง ให้นกั เรยี นเหน็ ถึงปรากฏการณ์น้ำข้ึนน้ำลงในวนั ขา้ งขนึ้ และขา้ งแรม

หลังจากพิจารณากิจกรรมของทั้ง 2 แผนการจัดการเรียนรู้ มโนมติทางวิทยาศาสตร์ของ
นักเรียนที่ 1.1 ที่ไม่สัมพันธ์ทางบวกกับมโนมติทางวิทยาศาสตร์ที่ 3.3 เนื่องจากกิจกรรมในแผนการ
จัดการเรียนรู้ไม่ได้เชื่อมโยงถึงกัน ในการจัดการเรียนรู้ของมโนมตทิ างวทิ ยาศาสตรท์ ี่ 1.1 ใช้ Mitaka
ในการชี้ใหเ้ ห็นการโคจรของดวงจันทร์รอบโลก แต่ในการจัดการเรียนรูข้ องมโนมติทางวิทยาศาสตร์ท่ี
3.3 นักเรียนจะทราบการเกิดน้ำเกิดและน้ำตาย จากชุดสื่อกจิ กรรมที่ไม่ใช่ Mitaka เห็นว่ากิจกรรมท่ี
ใช้นั้นไม่ได้มีความเชื่อมโยงกัน และจากด้านความเชื่อมโยงของมโนมติของนักเรียนที่มีมโนมติทาง
วิทยาศาสตร์ที่ 1.1 ไม่จำเป็นที่จะต้องนำมโนมติดังกล่าวมาใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์การเกิด
น้ำเกิดน้ำตาย เนื่องจากการโคจรของดวงจนั ทร์รอบโลกตามระยะเวลา 27- 30 วันนั้น ไม่ใช่สาเหตุท่ี

49

นำมาสู่การเกิดน้ำเกิดและน้ำตาย เพราะการเกิดน้ำเกิดน้ำตายมีอิทธิพลเนื่องมาจากแรงโน้มถ่วง
ดังนน้ั มโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์ค่ทู ่ี 1.1 และ 3.3 จงึ ไมม่ คี วามสมั พันธใ์ นเชงิ บวก

2.2.2 คู่มโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์ของนักเรยี นท่ี 1.3 กบั 2.1
มโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงโน้มถ่วงระหว่างโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์

กับ มโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเกิดปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรมจากการโคจรของดวงจันทร์
รอบโลก

มโนมติทางวิทยาศาสตร์ข้อที่ 1.3 คือเรื่อง แรงโน้มถ่วงระหว่างโลก ดวงจันทร์ และ
ดวงอาทิตย์ จะอยู่ในการจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลก
ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ ในขั้นสำรวจและค้นหา ซึ่งนักเรียนจะมีมโนมติว่า การที่โลกโคจรรอบ
ดวงอาทิตย์นั้น เป็นผลมาจากแรงโน้มถ่วงที่ดวงอาทิตย์กระทำต่อโลก ส่วนการที่ดวงจันทร์โคจรรอบ
โลกนั้นก็เป็นผลจากแรงโน้มถ่วงที่โลกกระทำกับดวงจันทร์ โดยโลกอยู่ใกล้กับดวงจันทร์มากกว่า
ดวงอาทติ ย์ จึงมแี รงโน้มถว่ งมากระทำกับดวงจนั ทรม์ ากกวา่ จงึ ทำใหด้ วงจนั ทร์โคจรรอบโลกไปพร้อม
กับการที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งได้ใช้ สถานการณ์จำลอง (Simulation) เรื่อง Gravity-and-
orbits ในการเสริมสร้าง มโนมติในเรื่องของแรงโน้มถ่วง นักเรียนจะเห็นว่า มวลและระยะห่าง นั้นมี
ผลต่อแรงโน้มถ่วงที่มากระทำ และจะทราบว่าแรงโน้มถ่วงของโลกและดวงจันทร์ที่กระทำซึ่งกันและ
กันนั้น มีมากกว่าแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์และโลกกระทำซึ่งกันและกัน ส่วนในมโนมติทาง
วทิ ยาศาสตร์ ท่ี 2.1 คอื เร่อื ง การเกดิ ปรากฏการณข์ ้างขึน้ ขา้ งแรมจากการโคจรของดวงจันทร์รอบโลก
จะอยู่ในการจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม ในขั้นสำรวจ
และค้นหา โดยนักเรียนจะมีมโนมติว่า ปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม เกิดจากการที่ผิวดวงจันทร์
สะท้อนแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ขณะที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก ทำให้มุมมองของผู้สังเกตบนโลก
สังเกตเห็นส่วนสว่างของดวงจันทร์ที่ได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละตำแหนง่
ทีโ่ คจร โดยใช้กจิ กรรมการสังเกตการเกิดปรากฏการณ์ขา้ งขึ้นข้างแรม เพ่ือให้เหน็ ถึงส่วนมืดส่วนสว่าง
ของดวงจันทร์ในแต่ละตำแหน่ง

หลังจากพิจารณากิจกรรมของทั้ง 2 แผนการจัดการเรียนรู้ มโนมติทางวิทยาศาสตร์ของ
นักเรียนที่ 1.3 ที่ไม่สัมพันธ์ทางบวกกับมโนมติทางวิทยาศาสตร์ที่ 2.1 เนื่องจากกิจกรรมในแผนการ
จัดการเรียนรู้ไม่ได้เชื่อมโยงถึงกัน ในการจัดการเรียนรู้ของมโนมติทางวิทยาศาสตร์ ที่ 1.3 ใช้
สถานการณ์จำลอง เรื่อง Gravity-and-orbits ในการชี้ให้เห็นถึง แรงโน้มถ่วงระหว่างโลก ดวงจันทร์
และดวงอาทิตย์ แต่ในการจัดการเรียนรู้ของมโนมติทางวิทยาศาสตร์ที่ 2.1 นักเรียนจะทราบการเกดิ
ปรากฏการณข์ า้ งขน้ึ ขา้ งแรม จากชุดสอื่ กิจกรรมทไ่ี มใ่ ช่สถานการณจ์ ำลอง เร่ือง Gravity-and-orbits
เห็นว่ากิจกรรมทใ่ี ชน้ ้ันไม่ไดม้ ีความเชอ่ื มโยงต่อกัน และจากดา้ นความเชอ่ื มโยงของมโนมติ นักเรียนที่
มีมโนมติทางวิทยาศาสตร์ที่ 1.3 ไม่จำเป็นที่จะต้องนำมโนมตมิ าใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ข้างขน้ึ

50

ข้างแรม เนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์นั้น ไม่ใช่สาเหตุที่นำมาสู่การเกิด
ปรากฏการณ์ขา้ งข้นึ ข้างแรม เพราะไม่เก่ียวกบั สว่ นสวา่ งของดวงจนั ทรท์ ีไ่ ดร้ บั ในแต่ละตำแหน่ง ดงั นน้ั
มโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนกั เรียนคู่ท่ี 1.3 และ 2.1 จึงไมม่ คี วามสมั พันธ์ในเชงิ บวก

2.2.3 คูม่ โนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์ของนกั เรียนที่ 1.3 กับ 2.2
มโนมตทิ างวิทยาศาสตร์ เรือ่ ง แรงโน้มถว่ งระหวา่ งโลก ดวงจนั ทร์ และดวงอาทิตย์ กับ

มโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ตำแหน่งของดวงจันทร์ที่โคจรรอบโลกที่สัมพันธ์กับส่วนมืดส่วนสว่าง
ของดวงจันทร์

มโนมติทางวิทยาศาสตร์ข้อที่ 1.3 คือเรื่อง แรงโน้มถ่วงระหว่างโลก ดวงจันทร์ และดวง
อาทิตย์ จะอยู่ในการจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงจันทร์
และดวงอาทิตย์ ในขั้นสำรวจและค้นหานักเรียนจะมีมโนมติว่า การที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์น้ัน
เป็นผลมาจากแรงโน้มถ่วงที่ดวงอาทิตย์กระทำต่อโลก ส่วนการที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลกนั้นก็เป็นผล
จากแรงโน้มถ่วงที่โลกกระทำกับดวงจันทร์ โดยโลกอยู่ใกล้กับดวงจันทร์มากกว่าดวงอาทิตย์ จึงมีแรง
โน้มถ่วงมากระทำกับดวงจันทร์มากกว่า จึงทำให้ดวงจันทร์โคจรรอบโลกไปพร้อมกับการที่โลกโคจร
รอบดวงอาทิตย์ ซึ่งได้ใช้ สถานการณ์จำลอง (Simulation) เรื่อง Gravity-and-orbits ในการ
เสริมสร้างมโนมติในเรื่องของแรงโน้มถ่วง นักเรียนจะเห็นว่า มวลและระยะห่าง นั้นมีผลต่อแรงโน้ม
ถ่วงที่มากระทำ และจะทราบว่าแรงโน้มถ่วงของโลกและดวงจันทร์ที่กระทำซึ่งกันและกันนั้น มี
มากกว่าแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์และโลกกระทำซึ่งกันและกัน ส่วนในมโนมติทางวิทยาศาสตร์ท่ี
2.2 คือเรื่อง ตำแหน่งของดวงจันทร์ที่โคจรรอบโลกที่สัมพันธ์กับส่วนมืด ส่วนสว่างของดวงจันทร์จะ
อยใู่ นการจดั การเรยี นรู้ตามแผนการจดั การเรียนรู้เรอื่ ง ปรากฏการณข์ ้างขึน้ ข้างแรม ในขน้ั สำรวจและ
ค้นหา โดยนกั เรยี นจะมีมโนมติว่า การท่ีดวงจันทรโ์ คจรรอบโลก ในแตล่ ะตำแหนง่ จะทำใหม้ มุ มองของ
ผ้สู งั เกตบนโลกมองเห็นสว่ นสว่างของดวงจนั ทร์ท่ีเปล่ียนแปลงไปในแต่ละตำแหนง่ ทโี่ คจร เช่น ขณะท่ี
ดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากในแนวระนาบระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ผู้สังเกตจะ
สังเกตเห็นดวงจันทร์สว่างครึ่งดวง เป็นต้น โดยใช้กิจกรรมการสังเกตการเกิดปรากฏการณ์ข้างข้ึน
ข้างแรม เพื่อให้เหน็ ถงึ ส่วนมดื ส่วนสวา่ งของดวงจนั ทร์ในแต่ละตำแหนง่ ท่โี คจรรอบโลก

หลังจากพิจารณากิจกรรมของทั้ง 2 แผนการจัดการเรียนรู้ มโนมติทางวิทยาศาสตร์ของ
นักเรียนที่ 1.3 ที่ไม่สัมพันธ์ทางบวกกับมโนมติทางวิทยาศาสตร์ที่ 2.2 เนื่องจากกิจกรรมในแผนการ
จัดการเรียนรู้ไม่ได้เชื่อมโยงถึงกัน ในการจัดการเรียนรู้ของมโนมติทางวิทยาศาสตร์ที่ 1.3 ใช้
สถานการณ์จำลอง เรื่อง Gravity-and-orbits ในการชี้ให้เห็นถึงแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์ โลก และ
ดวงอาทติ ย์ แตใ่ นการจดั การเรยี นรขู้ องมโนมติทางวิทยาศาสตร์ที่ 2.2 นักเรียนจะทราบความสัมพันธ์
และตำแหน่งของส่วนมืดส่วนสว่างของดวงจันทร์ จากชุดส่ือกิจกรรมการที่ไม่ใช่สถานการณ์จำลอง
เห็นว่ากจิ กรรมทใ่ี ช้น้ันไม่ได้มีความเชื่อมโยงต่อกัน และจากด้านความเช่ือมโยงของมโนมติ นักเรียนที่

51

มมี โนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์ เรือ่ ง แรงโน้มถว่ งของดวงจันทร์ โลก และดวงอาทติ ย์ ซึง่ ไม่จำเปน็ ท่ีจะต้อง
นำมโนมติมาใช้ในการอธิบายตำแหน่งของดวงจันทร์ที่โคจรรอบโลกที่มีความสัมพันธ์กับส่วนมืดส่วน
สว่างของดวงจันทร์ เนื่องจากแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์ โลก และดวงอาทิตย์นั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ
ตำแหน่ง และส่วนมืดส่วนสว่างของดวงจันทร์ ดังนั้น มโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนคู่ที่ 1.3
และ 2.2 จงึ ไม่มคี วามสมั พนั ธใ์ นเชงิ บวก

2.2.4 คมู่ โนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนท่ี 2.1 กับ 3.3
มโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์ เรื่อง การเกดิ ปรากฏการณข์ ้างขนึ้ ข้างแรมจากการโคจรของ

ดวงจันทร์รอบโลก กับ มโนมติทางวทิ ยาศาสตร์ เรื่อง วันข้นึ และแรมในแตล่ ะตำแหน่งของดวงจนั ทร์ที่
โคจรรอบโลกกับการข้ึนลงของระดับนำ้ บนผวิ โลก

มโนมติทางวทิ ยาศาสตรข์ อ้ ที่ 2.1 คอื เรอ่ื ง การเกิดปรากฏการณ์ข้างขึน้ ข้างแรมจากการโคจร
ของดวงจนั ทรร์ อบโลก จะอยใู่ นการจดั การเรยี นรตู้ ามแผนการจัดการเรยี นรูเ้ ร่ือง ปรากฏการณ์ข้างข้นึ
ข้างแรม ในขั้นสำรวจและค้นหา ในขั้นสำรวจและค้นหา โดยนักเรียนจะมีมโนมติว่า ปรากฏการณ์
ข้างขนึ้ ข้างแรม เกิดจากการท่ผี ิวดวงจนั ทรส์ ะทอ้ นแสงสวา่ งจากดวงอาทติ ย์ขณะท่ดี วงจนั ทร์โคจรรอบ
โลก ทำให้มุมมองของผู้สังเกตบนโลก สังเกตเห็นส่วนสว่างของดวงจันทร์ที่ได้รับแสงสว่างจากดวง
อาทิตย์ เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละตำแหน่งที่โคจร โดยใช้กิจกรรมการสังเกตการเกิดปรากฏการณ์
ข้างขึ้นข้างแรม เพื่อให้เห็นถึงส่วนมืดส่วนสว่างของดวงจันทร์ในแต่ละตำแหน่ง ส่วนมโนมติทาง
วิทยาศาสตร์ที่ 3.3 คือเรื่อง วันขึ้นและแรมในแต่ละตำแหน่งของดวงจันทร์ที่โคจรรอบโลกกับการข้นึ
ลงของระดับน้ำบนผิวโลก จะอยูใ่ นการจดั การเรยี นร้ตู ามแผนการจดั การเรียนรู้เรื่อง ปรากฏการณ์น้ำ
ข้นึ นำ้ ลง ในขัน้ สำรวจและค้นหา โดยนกั เรยี นจะมีมโนมติวา่ วนั ขา้ งขึ้น 15 ค่ำ และวันขา้ งแรม 15 คำ่
ระดับน้ำบนโลกขณะขึ้นและลงจะต่างกันมาก เนื่องจากดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้นมีแรงไทดัลท่ี
กระทำต่อโลกเสริมกัน โดยใน 1 วัน จะสามารถเห็นน้ำขึ้นอย่างน้อย 1 ครั้ง และลง 1 ครั้ง ซึ่งระดับ
น้ำขึ้นน้ำลงจะแตกต่างกันมาก (น้ำเกิด) ส่วนในวันขึ้นและแรม 8 ค่ำ ระดับน้ำบนโลกขณะขึ้นและลง
จะไมต่ า่ งกนั มากนกั เน่ืองจากดวงจนั ทรแ์ ละดวงอาทติ ยน์ ้ันมแี รงไทดัลที่กระทำตอ่ โลกไมเ่ สรมิ กัน โดย
ใน 1 วนั จะสามารถเห็นน้ำขึ้นอย่างนอ้ ย 1 ครั้ง และลง 1 คร้งั ซ่งึ ระดบั น้ำขึ้นน้ำลงอาจจะไม่แตกต่าง
กันมาก (น้ำตาย) โดยใช้สื่อเป็นแผ่นกิจกรรมน้ำขึ้นน้ำลง ให้นักเรียนเห็นถึงปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง
ในวนั ขา้ งขน้ึ ข้างแรมทีส่ ัมพนั ธก์ บั การโคจรของดวงจันทรแ์ ตล่ ะตำแหนง่

หลังจากพิจารณากิจกรรมของทั้ง 2 แผนการจัดการเรียนรู้ มโนมติทางวิทยาศาสตร์ของ
นักเรียนที่ 2.1 ที่ไม่สัมพันธ์ทางบวกกับมโนมติทางวิทยาศาสตร์ที่ 3.3 เนื่องจากกิจกรรมในแผนการ
จัดการเรยี นรู้ไม่ได้เชื่อมโยงถึงกัน ในการจัดการเรียนรู้ของมโนมติทางวิทยาศาสตรท์ ่ี 2.1 ใช้กิจกรรม
ในการสังเกตส่วนมดื สว่ นสว่างของดวงจันทร์ในแต่ละตำแหน่ง ในการชี้ให้เห็นถึงปรากฏการณ์ข้างขึ้น
ข้างแรม แต่ในการจดั การเรียนรขู้ องมโนมติทางวิทยาศาสตร์ท่ี 3.3 นักเรียนจะทราบถึงวนั ขน้ึ และแรม

52

ในแต่ละตำแหนง่ ของดวงจันทรท์ โ่ี คจรรอบโลกที่ส่งผลกับการข้ึนลงของระดับนำ้ บนผวิ โลก จากชุดส่ือ
กิจกรรมแผ่นภาพตำแหน่งของดวงจันทร์และการเกิดน้ำขึ้นน้ำลง ที่ไม่ใช่ชุดการสังเกตส่วนมืดส่วน
สวา่ งของดวงจนั ทร์ จะเหน็ ว่ากจิ กรรมที่ใช้นน้ั ไม่ไดม้ ีความเช่อื มโยงต่อกนั และจากด้านความเชอ่ื มโยง
ของมโนมติ นักเรียนที่มีมโนมติทางวิทยาศาสตร์ที่ 2.1 ไม่จำเป็นที่จะต้องนำมโนมติมาใช้ในการ
อธิบายความสัมพันธ์ของระดับน้ำขึ้นนำ้ ลงทัง้ หมด จะมีในส่วนของการเกิดส่วนมืดส่วนสว่างเท่านัน้ ที่
ได้มีความเชอ่ื มโยงไปยังการเกิดขา้ งขนึ้ หรือแรม แต่ไม่ได้ใช้ในการอธบิ ายถึงระดับน้ำที่เกดิ จากการเกดิ
ข้างขึ้นข้างแรม ดังนั้น มโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนคูท่ ี่ 2.1 และ 3.3 จึงไม่มีความสัมพนั ธใ์ น
เชงิ บวก

2.2.5 คู่มโนมตทิ างวิทยาศาสตร์ของนกั เรยี นที่ 2.2 กบั 3.3
มโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ตำแหน่งของดวงจันทร์ที่โคจรรอบโลกที่สัมพันธ์กับ

ส่วนมืดส่วนสว่างของดวงจันทร์ กับ มโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง วันขึ้นและแรมในแต่ละตำแหน่ง
ของดวงจันทร์ทโ่ี คจรรอบโลกกับการขึน้ ลงของระดบั น้ำบนผิวโลก

มโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์ข้อที่ 2.2 คอื เร่อื ง ตำแหนง่ ของดวงจันทรท์ ีโ่ คจรรอบโลกที่สัมพันธ์กับ
ส่วนมืดส่วนสว่างของดวงจันทร์ จะอยู่ในการจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง
ปรากฏการณ์ขา้ งขึ้นข้างแรม ในขนั้ สำรวจและค้นหา โดยนกั เรียนจะมมี โนมตวิ ่า การที่ดวงจนั ทรโ์ คจร
รอบโลก ในแต่ละตำแหน่งจะทำให้มุมมองของผู้สังเกตบนโลกมองเห็นส่วนสว่างของดวงจันทร์ท่ี
เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละตำแหน่งที่โคจร เช่น ขณะที่ดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากในแนว
ระนาบระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ผู้สังเกตจะสังเกตเห็นดวงจันทร์สว่างครึ่งดวง เป็นต้น โดยใช้
กจิ กรรมการสงั เกตการเกดิ ปรากฏการณข์ า้ งขน้ึ ข้างแรม เพอื่ ให้เหน็ ถงึ ส่วนมดื ส่วนสวา่ งของดวงจันทร์
ในแต่ละตำแหนง่ ท่ีโคจรรอบโลก สว่ นในส่วนมโนมตทิ างวิทยาศาสตร์ที่ 3.3 คอื เร่ือง วันขึ้นและแรมใน
แต่ละตำแหน่งของดวงจนั ทร์ที่โคจรรอบโลกกับการขึ้นลงของระดับน้ำบนผิวโลก จะอยู่ในการจดั การ
เรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรูเ้ ร่ือง ปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง ในขั้นสำรวจและค้นหา โดยนักเรยี น
จะมีมโนมติว่า วันข้างขึ้น 15 ค่ำ และวันข้างแรม 15 ค่ำ ระดับน้ำบนโลกขณะขึ้นและลงจะต่างกัน
มาก เนื่องจากดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้นมีแรงไทดัลที่กระทำต่อโลกเสริมกัน โดยใน 1 วัน จะ
สามารถเห็นน้ำขึ้นอย่างน้อย 1 ครั้ง และลง 1 ครั้ง ซึ่งระดับน้ำขึ้นน้ำลงจะแตกต่างกันมาก (น้ำเกิด)
ส่วนในวันขึ้นและแรม 8 ค่ำ ระดับน้ำบนโลกขณะขึ้นและลงจะไม่ต่างกันมากนัก เนื่องจากดวงจันทร์
และดวงอาทิตย์นั้นมีแรงไทดัลที่กระทำต่อโลกไม่เสริมกัน โดยใน 1 วัน จะสามารถเห็นน้ำขึ้นอย่าง
นอ้ ย 1 ครง้ั และลง 1 ครง้ั ซ่ึงระดบั น้ำข้ึนนำ้ ลงอาจจะไมแ่ ตกต่างกันมาก (นำ้ ตาย) โดยใชส้ ื่อเป็นแผ่น
กจิ กรรมนำ้ ข้ึนนำ้ ลง ใหน้ กั เรยี นเห็นถงึ ปรากฏการณ์น้ำขนึ้ น้ำลงในวันขา้ งข้ึนและข้างแรม

หลังจากพิจารณากิจกรรมของทั้ง 2 แผนการจัดการเรียนรู้ มโนมติทางวิทยาศาสตร์ของ
นักเรียนที่ 2.2 ที่ไม่สัมพันธ์ทางบวกกับมโนมติทางวิทยาศาสตร์ที่ 3.3 เนื่องจากกิจกรรมในแผนการ

53

จัดการเรยี นรู้ไม่ได้เชื่อมโยงถึงกัน ในการจัดการเรยี นรู้ของมโนมติทางวิทยาศาสตร์ที่ 2.2 ใช้กิจกรรม
ในการสังเกตส่วนมืดส่วนสว่างของดวงจนั ทร์ในแต่ละตำแหน่ง ในการชีใ้ ห้เห็นถึงปรากฏการณ์ข้างขึ้น
ข้างแรม ขณะที่ดวงจันทร์โคจรผ่านตำแหน่งต่าง ๆ แต่ในการจัดการเรียนรู้ของมโนมติทาง
วิทยาศาสตร์ที่ 3.3 นักเรียนจะทราบถึงเรื่อง วันขึ้นและแรมในแต่ละตำแหน่งของดวงจันทร์ที่โคจร
รอบโลกกับการขึ้นลงของระดับน้ำบนผิวโลก จากชุดสื่อกิจกรรมที่ไม่ใช่ชุดกิจกรรมเดียวกัน เห็นว่า
กิจกรรมที่ใช้นั้นไม่ได้มีความเชื่อมโยงต่อกัน โดยระหว่างการจัดการเรียนรู้ผู้สอนไม่ได้กล่าวถึงความ
เชื่อมโยงในด้านของกิจกรรม และจากด้านความเชื่อมโยงของมโนมติ นักเรียนที่มีมโนมติทาง
วิทยาศาสตร์ที่ 2.2 ไม่จำเป็นที่จะต้องนำมโนมติมาใช้ในการอธิบายถึงระดับน้ำบนโลกในช่วงวันขึ้น
และวนั แรมทง้ั หมด เนื่องจากการเพ่มิ และลดของระดับน้ำเปน็ ผลมาจากแรงโน้มถ่วง ซ่ึงจะใชบ้ างส่วน
ของมโนมติทางวิทยาศาสตร์ คือ ส่วนมืดและสว่างของดวงจันทร์มาบอกถึงวันขึ้นหรือแรมและ
ตำแหนง่ เทา่ นั้น ดังนั้น มโนมตทิ างวิทยาศาสตร์ของนักเรยี นคู่ที่ 2.2 และ 3.3 จึงไม่มีความสัมพันธ์ใน
เชิงบวก

2.2.6 คมู่ โนมตทิ างวิทยาศาสตรข์ องนกั เรยี นที่ 2.3 กับ 3.1
มโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ตำแหน่งของดวงจันทร์ที่โคจรรอบโลกกับวันขึ้นและวนั

แรม กับ มโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ส่วนมืดส่วนสว่างของดวงจันทร์ ที่สัมพันธ์กับการเกิด
ปรากฏการณน์ ำ้ ขนึ้ -น้ำลง

มโนมติทางวิทยาศาสตร์ข้อที่ 2.3 คือ เรื่อง ตำแหน่งของดวงจันทร์ที่โคจรรอบโลกกับวันขึ้น
และวันแรม จะอยู่ในการจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ในขั้นสำรวจและค้นหาซึ่ง
นักเรียนจะมีมโนมติว่า ดวงจันทร์โคจรในแต่ละตำแหน่ง จะทำให้ผู้สังเกตบนโลกเห็นดวงจันทร์
เปล่ียนแปลงไป หากดวงจันทร์โคจรอยใู่ นระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ จะเป็นวันแรม 15 คำ่ หากโคจร
ต่อมาตงั้ ฉากจะเป็นวันขึ้น 8 ค่ำ หากโคจรมาอยู่อกี ดา้ นหนง่ึ ซงึ่ มโี ลกอยตู่ รงกลาง จะเป็นวันข้ึน 15 ค่ำ
หากโคจรต่อไปแล้วตัง้ ฉากกับโลกและดวงอาทติ ย์ จะเป็นวนั แรม 8 ค่ำ ซึ่งในการเสรมิ สร้างมโนมติใน
เรื่องของตำแหน่งของดวงจันทร์และวันข้ึนวันแรม ได้ใช้กิจกรรมการสังเกตตำแหน่งของดวงจันทร์ท่ี
เช่ือมโยงกบั การระบตุ ำแหน่งของวนั ขึน้ และวนั แรมเพอื่ ชว่ ยใหน้ ักเรยี นระบุถึงวนั ขนึ้ วันแรมได้จากการ
สังเกตส่วนมืดส่วนสว่างของดวงจันทร์ในแต่ละตำแหน่ง ส่วนในมโนมติทางวิทยาศาสตร์ที่ 3.1 คือ
เรื่อง ส่วนมืดส่วนสว่างของดวงจันทร์ ที่สัมพันธ์กับการเกิดปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง จะอยู่ในการ
จัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง ในขั้นสำรวจและค้นหา โดย
นกั เรยี นจะมมี โนมติวา่ หากมองเห็นดวงจนั ทร์ เต็มดวง และวันจันทร์ดับ ระดับนำ้ บนโลกขณะขึ้นและ
ลงจะต่างกันมาก เนื่องจากดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้นมีแรงไทดัลที่กระทำต่อโลกเสริมกัน โดยใน
1 วัน จะสามารถเห็นน้ำขึ้นอย่างน้อย 1 ครั้ง และลง 1 ครั้ง ซึ่งระดับน้ำขึ้นน้ำลงจะแตกต่างกันมาก
(น้ำเกิด) หากมองเห็นดวงจันทร์สว่างครึ่งดวง ระดับน้ำบนโลกขณะขึ้นและลงจะไม่ต่างกันมากนัก

54

เน่อื งจากดวงจันทร์และดวงอาทิตยน์ ้ันมีแรงไทดลั ท่ีกระทำตอ่ โลกไม่เสริมกนั โดยใน 1 วัน จะสามารถ
เห็นน้ำขึ้นอย่างน้อย 1 ครั้ง และลง 1 ครั้ง ซึ่งระดับน้ำขึ้นน้ำลงอาจจะไม่แตกต่างกันมาก (น้ำตาย)
ซึ่งในการจัดการเรียนรู้นั้นได้มีสื่อให้ทราบถึงส่วนมืดส่วนสว่างของดวงจันทร์ที่มีผลต่อน้ำขึ้นน้ำลง
ชว่ ยใหน้ กั เรียนระบุถงึ ส่วนมดื สว่ นสวา่ งของดวงจันทร์ทส่ี มั พนั ธก์ ับน้ำขน้ึ น้ำลงได้

หลังจากพิจารณากิจกรรมของทั้ง 2 แผนการจัดการเรียนรู้ มโนมติทางวิทยาศาสตร์ของ
นักเรียนที่ 2.3 ไม่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับมโนมติทางวิทยาศาสตร์ที่ 3.1 เนื่องจากกิจกรรมใน
แผนการจัดการเรียนรู้ไม่ได้เชื่อมโยงถึงกัน ในการจัดการเรียนรู้ของมโนมติทางวิทยาศาสตร์ที่ 2.1
จะชี้ให้นักเรยี นเหน็ ถึงตำแหน่งของดวงจันทร์และการดูวันขึน้ วันแรม แต่ในการจัดการเรียนรู้ของมโน
มติทางวิทยาศาสตร์ที่ 3.1นักเรียนจะทราบในส่วนของระดับน้ำขึ้นและลงที่มาจากการสังเกตส่วนมดื
ส่วนสว่างของดวงจันทร์ ซึ่งหากนักเรียนสามารถทราบตำแหน่งของดวงจันทร์และเรียกชื่อวันข้างขึ้น
หรือข้างแรมได้ แต่อาจไม่สามารถแยกส่วนมืดส่วนสว่างของดวงจันทร์ที่มีผลต่อน้ำขึ้นน้ำลงในแต่ละ
ตำแหน่งได้ เพราะการที่นักเรียนทราบถึงตำแหน่งของดวงจันทร์ ไม่ได้ชี้ให้เห็นถึงความสอดคล้องว่า
นักเรียนจะมีมโนมติทางวิทยาศาสตร์ในด้านของส่วนมืดส่วนสว่างของแต่ละตำแหน่งได้ จึงเห็นว่า
มโนมติทางวทิ ยาศาสตรข์ องนักเรียนคู่ท่ี 2.3 และ 3.1 ไมม่ คี วามสัมพันธใ์ นเชงิ บวก

การไม่มีความสัมพันธ์ทางบวกในแต่ละคู่มโนมติทางวิทยาศาสตร์ย่อยทั้ง 6 มโนมติ มีผลมา
จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ได้เนื้อหาไม่สอดคล้องกัน อีกทั้งมโนมติทางวิทยาศาสตร์ย่อยใน
เรื่องนั้น ๆ ไม่มีความเชื่อมโยงกับมโนมติทางวิทยาศาสตร์ย่อยในเรื่องอื่น ดังที่กล่าวมาแล้วในข้างต้น
ส่งผลไปถึงความสัมพันธ์ของระดับความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนในแต่ละคู่ย่อ ย
แต่มโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนโดยรวมรอ้ ยละ 77.78 ของเรื่อง ปฏิสัมพันธ์ระหวา่ งโลก ดวง
จันทร์ และดวงอาทิตย์ ปรากฎการณ์ข้างขึ้นข้างแรม และปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง นั้นมี
ความสัมพันธ์กันทางบวก เนื่องจากโดยรวมของเนื้อหานั้นมีความเชื่อมโยงกัน และมโนมติทาง
วทิ ยาศาสตร์มคี วามเกี่ยวเนื่องกัน เป็นเหตเุ ปน็ ผลซึง่ กนั และกัน

บทที่ 5
สรุปผลการวจิ ัยและข้อเสนอแนะ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์
เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม และ
ปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง โดยทำการศึกษากับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนหนอง
หานวิทยา ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 29 คน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิง
ปริมาณ (Quantitative Research) แบบไม่เข้าขั้นทดลอง (Pre-experimental design) โดยใช้แบบ
วัดมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เป็นแบบอัตนัย จำนวน 3 ชุด รวมทั้งหมด 9 ข้อ โดยเก็บรวบรวมข้อมูล
วิจัย หลังจากทำการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เสร็จสิ้นในแต่ละเรื่อง แบ่งออกเป็น 3 เรื่อง คือ 1. เรื่อง
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ 2. เรื่อง ปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม และ 3.
เรื่อง ปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง หลังเก็บรวบรวมข้อมูลเสร็จ ผู้วิจัยจะนำข้อมูลวิจัยมาวิเคราะห์จัด
กลุ่มคำตอบตามเกณฑ์ระดบั ความเขา้ ใจ 5 ระดับ คือ ความเข้าใจมโนมตทิ ี่สมบูรณ์ (CU) ความเข้าใจ
มโนมติที่ถูกต้องแต่ไม่สมบูรณ์ (PU) ความเข้าใจมโนมติที่คลาดเคลื่อนบางส่วน (PS) ความเข้าใจมโน
มติที่คลาดเคล่ือน (AC) และความไม่เข้าใจ (NU) เพื่อหาความสัมพันธ์ของความเข้าใจมโนมติทาง
วิทยาศาสตร์ของนักเรียน โดยใช้สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน จากการดำเนินการวิจัยผู้วิจัยสามารถสรุป
ผลได้ดงั นี้

1. สรปุ ผลการวิจยั
2. ขอ้ เสนอแนะ

1. สรปุ ผลการวจิ ัย

จาการวิจัยครั้งนี้สามารถสรุปถึงผลการศึกษาความสัมพันธ์ของความเข้าใจมโนมติทาง
วิทยาศาสตร์ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม
และปรากฏการณ์น้ำขึน้ นำ้ ลง ทีผ่ า่ นการจัดกิจกรรมการเรยี นรูแ้ บบสืบเสาะหาความรู้ 5E

1.1 ความสัมพันธ์ของความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลก
ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม และปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง ที่ผ่าน
การจัดกิจกรรมการเรียนรูแ้ บบสบื เสาะหาความรู้

56

จากการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันของความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์
เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม และ
ปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง พบว่ามโนมติทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 3 เรื่อง มีความสัมพันธ์กันอย่างมี
นยั สำคญั ท่ี 0.01 โดยเรือ่ งทีม่ คี วามสมั พนั ธ์ของความเขา้ ใจมโนมติทางวทิ ยาศาสตรม์ ากท่ีสุด คือ มโน
มติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ กับเรื่องปรากฏการณ์
ข้างขึ้นข้างแรม ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ คือ 0.883 ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับมาก
ทสี่ ุด สว่ นเรือ่ งทีม่ ีความสมั พันธ์กนั นอ้ ยทสี่ ุดของ 3 เรือ่ งมโนมตทิ างวิทยาศาสตร์ คือ เรอ่ื ง ปฏิสัมพันธ์
ระหว่างโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ กับเรื่องปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์
สหสัมพันธ์ คือ 0.820 ถึงแม้จะมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่น้อยที่สุดใน 3 เรื่อง แต่ถือว่า
ความสัมพันธ์มีความสมั พันธ์ทางบวกอยู่ในระดับมากท่ีสุด แสดงให้เห็นว่ามโนมติทางวิทยาศาสตร์ทั้ง
3 เรอื่ งนนั้ มีความสมั พันธ์ซึ่งกนั และกัน

1.2 ความสัมพันธ์ของคู่มโนมติทางวิทยาศาสตร์ย่อยของมโนมติ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์
ระหว่างโลก ดวงจนั ทร์ และดวงอาทิตย์ ปรากฏการณข์ า้ งข้ึนข้างแรม และปรากฏการณน์ ำ้ ขึน้ -นำ้
ลง ที่ผ่านการจดั กจิ กรรมการเรียนรแู้ บบสบื เสาะหาความรู้ 5E

จากความสัมพันธ์ของมโมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนในแต่ละเรื่องมีความสัมพันธ์
ทางบวกซึ่งกันและกันในระดับมากที่สุด ผู้วิจัยจึงวิเคราะห์เพิ่มเติมในความสัมพันธ์ของคู่มโนมติทาง
วทิ ยาศาสตร์ย่อย พบว่ามคี มู่ โนมติทางวทิ ยาศาสตรย์ อ่ ยทม่ี ีความสมั พันธ์กันทางบวก อยา่ งมนี ยั สำคัญ
ที่ 0.05 ขึ้นไป ทั้งหมด 21 คู่มโนมติทางวิทยาศาสตร์ย่อย ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 77.78 ซึ่งคู่มโนมติทาง
วิทยาศาสตร์ เรื่องย่อยท่ี 1.2 การได้รับแสงของดวงจันทร์ครึ่งดวงตลอดการโคจรรอบโลก และเรื่อง
2.1 การเกิดปรากฏการณข์ ้างขึน้ ขา้ งแรมจากการโคจรของดวงจันทรร์ อบโลก มคี วามสมั พนั ธท์ างบวก
กันมากที่สุด โดยมีค่าสัมประสทิ ธิ์สหสมั พนั ธ์ของเพียรส์ นั 0.860 และผวู้ จิ ยั ยงั พบอีกวา่ มคี ขู่ องมโนมติ
ทางวิทยาศาสตร์ย่อยของนักเรียน จำนวน 6 คู่ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 22.22 ที่ความเข้าใจมโนมติทาง
วิทยาศาสตร์ของนักเรียนไม่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน หรือไม่มีนัยสำคัญ โดยคู่มโนมติทาง
วิทยาศาสตร์ย่อยที่ไม่มีความสัมพันธ์กันมากที่สุด คือคู่มโนมติทางวิทยาศาสตร์ย่อยคู่ที่ 1.1 และ 3.3
คือเรื่อง ทิศทางการโคจรของดวงจันทร์รอบโลก และเวลาที่ใช้ในการโคจรครบ 1 รอบ กับ เรื่อง วัน
ขึ้นและแรมในแต่ละตำแหน่งของดวงจันทร์ที่โคจรรอบโลกกับการขึ้นลงของระดับนำ้ บนผิวโลก มีคา่
Sig ที่ 0.335 และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) คือ 0.173 ซึ่งมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำที่สุด
หรอื ไม่มคี วามสมั พนั ธ์ทางบวกซึ่งกนั และกัน

ซึ่งจากค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ทำให้ทราบถึงความสัมพันธ์ของความเข้าใจ
มโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนในทั้ง 3 เรื่องว่ามีความสัมพันธ์กัน และในคู่ย่อยของมโนมติทาง

57

วิทยาศาสตร์จำนวน 21 คู่ย่อยของมโนมติทางวิทยาศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กัน โดยมาจากความ
เชือ่ มโยงของของเน้อื หา และความเกยี่ วขอ้ งกันของมโนมตทิ างวิทยาศาสตร์ท่ีเป็นเหตุเปน็ ผลกนั

ผู้วิจัยพบว่ามีอีก 6 คู่ย่อยของมโนมติทางวิทยาศาสตร์ที่ไม่มีความสัมพันธ์กัน ซึ่งอาจมาจาก
หลายปัจจัย หากวิเคราะห์ในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้สอนไม่ได้ทบทวนบทเรียนในแต่ละครั้ง
ที่เริ่มกิจกรรมของเรื่องอื่น ๆ ทำให้นักเรียนบางคนอาจมีการหลงลืมในเรื่องที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้
ของสปั ดาห์กอ่ นหนา้ ได้ หรอื อาจเน่ืองมาจากผูส้ อนไม่ได้ทำให้นกั เรียนเห็นถึงความเชือ่ มโยงซึ่งกนั และ
กัน ในแผนการจัดการเรียนรู้นั้นไม่ได้ทำผังมโนทัศน์เพื่อให้นักเรียนเห็นถึงความเชื่อมโยง ทำให้
นักเรียนบางคนอาจไม่สามารถเกดิ การเชื่อมโยงได้ และจากการวิเคราะห์คมู่ โนมติทางวทิ ยาศาสตร์ท้ัง
6 คู่นี้ ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงเป็นเหตุเป็นผลกันต่อการเกิดมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของ
นักเรียนในอีกเรื่องหนึ่งได้โดยตรง เช่น แรงโน้มถ่วงระหว่างโลก ดวงจันทร์ และ ดวงอาทิตย์ท่ีไม่
เกี่ยวข้องกับการเกิดปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรมโดยตรง เนื่องจากปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรมจะ
เกี่ยวข้องกับมุมมองของผู้สังเกตบนโลกที่สังเกตเห็นส่วนมืดและส่วนสว่างของดวงจันทร์ในแต่ละ
ตำแหนง่ ทดี่ วงจนั ทร์โคจรรอบโลก แตแ่ รงโนม้ ถว่ งระหว่างโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ จะสง่ ผลให้
เกิดปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง จึงทำให้มีบางคู่มโนมติทางวิทยาศาสตร์ย่อยของนักเรียนไม่มี
ความสมั พันธ์กนั ทางบวกได้

จากการที่มโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนในแต่ละเรื่องคิดเป็นร้อยละ 77.78 มี
ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกนั ผ้สู อนควรจดั กิจกรรมให้มีความเชอื่ มโยงและสอดคลอ้ งกัน เพอื่ ให้นกั เรยี น
ได้เกิดมโนมติทางวิทยาศาสตร์ที่สมบูรณ์ในแต่ละเรื่อง ซึ่งหากนักเรียนมีความเข้าใจมโนมติทาง
วิทยาศาสตร์ในเรอื่ ง ปฏิสมั พนั ธร์ ะหว่างโลก ดวงจนั ทร์ และดวงอาทิตยใ์ นระดบั ความเขา้ ใจท่สี มบูรณ์
แล้ว นักเรียนจะเกิดมโนมติทางวิทยาศาสตร์ในเรื่อง ปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม และปรากฏการณ์
น้ำขน้ึ -น้ำลงได้สมบรู ณเ์ ชน่ เดยี วกนั ผสู้ อนจึงควรตระหนักในการจดั กจิ กรรมการเรยี นรูใ้ นแตล่ ะเรอื่ งที่
มีความสัมพันธ์กันเช่นน้ี เพราะเมื่อผู้สอนดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จนผู้เรียนสามารถมีความ
เข้าใจมโนมตทิ างวิทยาศาสตรท์ ่ีสมบูรณข์ ึ้น จะส่งผลไปยังความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ในเรื่อง
ถัดไปได้ หากผู้สอนไม่ได้เล็งเห็นถึงความสัมพันธ์ของความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ในเรื่อง
ดังกล่าว มีการปล่อยปะละเลย หรือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ไม่มีประสิทธิภาพ จนส่งผลให้นักเรียนมี
ความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของเรื่องนั้น ๆ คลาดเคลื่อน จะส่งผลทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจ
มโนมตทิ างวทิ ยาศาสตรใ์ นเร่ืองตอ่ ไปคลาดเคลอ่ื นเชน่ กันได้

58

2. ขอ้ เสนอแนะ

2.1 ขอ้ เสนอแนะในการนำผลวิจยั ไปใช้
2.1.1 มโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนเรื่อง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลกดวงจันทร์ และ

ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณข์ า้ งข้ึนข้างแรม และปรากฏการณน์ ้ำขึน้ -นำ้ ลง มีความสัมพันธ์กัน ผู้สอนจึง
ต้องออกแบบการจัดการเรียนรู้ในแต่ละเรื่องอย่างรัดกุม ให้นักเรียนเกิดมโมติทางวิทยาศาสตร์ที่
ถูกต้องสมบูรณ์ ให้ผู้เรียนให้เห็นถึงความเชื่อมโยงในการจัดกิจกรรมแต่ละเรื่อง อันจะเกิดมโนมติที่
สมบูรณ์ในแต่ละเร่อื งต่อไปได้

2.1.2 เนื้อหาของเรื่องปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์
ข้างขึ้นข้างแรม และปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง เป็นปรากฎการณ์ที่อยู่ภายนอกโลก นักเรียนไม่
สามารถมองเห็นกระบวนการเกดิ หรือความสัมพันธ์ของสิ่งเหลา่ น้ไี ดใ้ นชีวิตประจำวนั เนอ้ื หาคอ่ นข้าง
มีลักษณะเป็นนามธรรม จึงต้องอาศัยโปรแกรมจำลองหรือแบบจำลองต่าง ๆ ในการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ ซึ่งเมื่อนำการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะมาใช้ร่วมกับแบบจำลองต่าง ๆ ทำให้
มีความเป็นรูปธรรม ช่วยให้นักเรียนเกิดความสนใจ และมองปรากฏการณ์ต่าง ๆ ให้เป็นรูปธรรม
มากยง่ิ ขน้ึ เข้าใจได้ง่าย สง่ ผลต่อมโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์ของนักเรียนให้มคี วามสมบูรณ์ยงิ่ ข้ึน

2.1.3 เนื้อหาที่มีความเชื่อมโยงกัน อาจไม่มีความสัมพันธ์ของมโนมติทางวิทยาศาสตร์
ไปทุกเร่อื งได้ ดงั น้ันควรศึกษาถึงปัจจัยอืน่ รว่ มด้วย

2.2 ขอ้ เสนอแนะในการทำวจิ ัยครงั้ ต่อไป
2.2.1 ควรศึกษาถึงความสัมพันธ์ของเรื่องอื่น ๆ ที่เป็นผลมาจากเรื่องปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลก

ดวงจันทร์ และ ดวงอาทิตย์ เชน่ เร่อื ง ปรากฏการณ์สุริยปุ ราคา และปรากฏการณ์จนั ทรุปราคา
2.2.2 ควรศึกษารูปแบบของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อใช้ในการพัฒนามโนมติ

ทางวิทยาศาสตร์ของนกั เรียน ในเนอ้ื หาท่มี โนมตทิ างวทิ ยาศาสตรม์ คี วามสัมพันธก์ ัน
2.2.3 ควรศึกษาความสัมพันธ์ของความเข้าใจมโมติของนักเรียนในรายวิชาอื่นเพิ่มเติม เพื่อ

นำมาเปน็ ขอ้ มูลวางแผนในการจัดการเรียนรูไ้ ด้อยา่ งมปี ระสิทธิภาพ

59

บรรณานกุ รม

เกียรติมณี บำรุงไร่. (2553). การพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict-Observe-
Explain(POE). วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา
บัณฑติ วิทยาลยั มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จริญญา แก้วจีน (2558). การพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต
สาขาวิชาหลักสูตร การสอน และเทคโนโลยีการเรียนรู้ บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลยั เชียงใหม่.

ทวีป บรรจงเปล่ยี น. (2540). การเปรยี บเทยี บความเขา้ ใจมโนมตวิ ิทยาศาสตร์ เรอื่ ง โลกสเี ขยี ว
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างกลวิธีการสอนเพื่อเปลี่ยนมโนมติตามทฤษฎี
ของ Posner และคณะกับการสอนปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวทิ ยาศาสตร์ศึกษา บณั ฑติ มหาวทิ ยาลัย มหาวิทยาลยั ขอนแกน่ .

นิคม ทองบุญ. (2542). มโนมติที่คาดเคลื่อน เรื่อง มวลแรงและกฎการเคลื่อนที่ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาวทิ ยาศาสตร์ศกึ ษา บัณฑิตวิทยาลยั มหาวทิ ยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี.

นุชนารถ แสนพุก. (2559). ความเข้าใจดาราศาสตร์พ้ืนฐานของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนตน้
เรื่องปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะและดวงดาวบนท้องฟ้า. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร
มหาบณั ฑติ สาขาวทิ ยาศาสตร์ศกึ ษา คณะศกึ ษาศาสตร์ มหาวิทยาลยั ขอนแกน่ .

ประภัสสร โพธิโน. (2549). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสารในชีวติ ประจำวัน สาระการ
เรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีท่ี 6 โดยการเรยี นรแู้ บบสืบเสาะ (Inquiry Cycle).
การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
สำนักวิทยบรกิ าร มหาวทิ ยาลยั สารคาม.

ปัฐมาภรณ์ พิมพ์ทอง. (2551). การจัดการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงแนวคิด. วารสารคณะ
ศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแกน่ (ฉบบั พิเศษ), 31(1), ม.ค.-มี.ค., 27-35.

ไพโรจน์ เตมิ เตชาติพงศ์. (2550). การศกึ ษาการเปล่ียนมโนมติของนักเรียนช้นั มธั ยมศึกษาตอน
ปลายเรื่องหน้าที่ยีน โดยใช้กรอบการตีความหลายมิติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร
ดุษฎบี ณั ฑิต สาขาวชิ าหลกั สูตรและการสอน บณั ฑติ วทิ ยาลยั มหาวิทยาลยั ขอนแก่น.

60

รุ่งโรจน์ โคตรนารา. (2555). การพัฒนามโนมติทางวิทยาศาตร์ เรื่อง เสียง ของนักเรียนช้ัน
มธั ยมศึกษาปีที่ 5 โดยวธิ กี ารสอนแบบ Predict-Observe-Explain (POE). วทิ ยานิพนธ์
ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น

ศรัญยุทธ วิริยสถิตย์กุล. (2553). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะทางวิทยาศาสตร์
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry
Cycle). วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวทิ ยาลัยขอนแกน่ .

สถาบันส่งเสรมิ การสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). เอกสารการอบรมการสอนแบบสืบ
เสาะหาความรู้ 5 ขัน้ ตอน สาขาชีววิทยา สสวท. กรงุ เทพฯ: ครุ ุสภาลาดพร้าว.

สมควร ขนชัยภูมิ. (2545). การเปรียบเทียบความเข้าใจมโนมติที่คลาดเคลื่อนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง
ปรากฎการณค์ ลน่ื ของนักเรยี นชน้ั มธั ยมศึกษาปีที่ 4 เมอ่ื ใชก้ ลวิธกี ารสอนตามทฤษฎกี าร
เปลี่ยนมโนมติของโพสเนอร์และคณะเทียบกับการสอนปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิตสาขาวิชาวทิ ยาศาตร์ศกึ ษา บัณฑิตวิทยาลยั มหาวทิ ยาลัยขอนแก่น

สายัณห์ วนั นา. (2551). ผลการเรยี นรู้ เร่ือง การดำรงชีวิตของสตั ว์ ของนักเรยี นชน้ั ประถมศกึ ษาปี
ที่ 6 โดยใช้การสอนแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5Es). วิทยานิพนธ์
ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและ การสอนบัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลยั ขอนแกน่ .

สทิ ธิศกั ด์ิ จนิ ดาวงศ์. (2555). ผลของกิจกรรมการเรยี นรู้ท่ีส่งเสริมการใหเ้ หตุผลเชงิ วิทยาศาสตร์ต่อ
ตัวแทนความคิด เรื่อง ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์พื้นฐาน ของนักเรียนระดับช้ัน
มัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยา
ศาสตรศกึ ษา มหาวทิ ยาลยั ศรนี ครินทรวโิ รฒ.

สธุ ารพิงค์ โนนศรีชัย. (2550). การคดิ วเิ คราะหผ์ ลสมั ฤทธิท์ างการเรียนวิชาชวี วทิ ยาของนักเรยี น
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนแบบสบเสาะหาความรู้ (5Es). วิทยานิพนธ์ปริญญา
การศกึ ษามหาบัณฑติ สาขาวชิ าหลักสตู รและการสอนบณั ฑติ วิยาลัย มหาวิทยาลยั ขอนแกน่ .

Danaia, L. 2008. Common Alternative Astronomical Conceptions Encountered in
Junior Secondary Science Classes: Why Is This So?. The Astronomy Education
Review 6(2): 32-53.

Taylar, I. (1996). Illuminating Lunar Phase. The science Teacher. 64(3) : 39-41.

ภาคผนวก

ภาคผนวก ก
เครือ่ งมือทใ่ี ช้ในการวิจัย
(ตวั อย่างแผนการจัดการเรยี นรู้แบบสบื เสาะ 5E)

แผนการจดั การเรยี นร้ทู ่ี ๒๕

กลมุ่ สาระการเรยี นรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชนั้ มัธยมศึกษาปที ่ี ๓

รหสั วชิ า ว๒๓๑๐๑ รายวิชา วทิ ยาศาสตร์ จำนวน ๑.๕ หนว่ ยกติ

หนว่ ยการเรยี นรู้ที่ ๔ เรอ่ื ง ระบบสรุ ิยะของเรา เวลาเรยี น ๑๒ ชั่วโมง

แผนการจัดการเรยี นรทู้ ี่ ๒๕ เรอ่ื ง ปฏิสมั พันธร์ ะหวา่ งโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทติ ย์

เวลาเรียน ๒ ชัว่ โมง สอนวนั ท่ี เดอื น พ.ศ. ภาคเรียนที่ ๑

๑. มาตรฐานการเรยี นร/ู้ ตัวชวี้ ดั
๑.๑ มาตรฐาน
มาตรฐาน ว ๓.๑ เขา้ ใจองค์ประกอบ ลักษณะ กระบวนการเกดิ และวิวัฒนาการของเอกภพ

กาแลก็ ซี ดาวฤกษ์ และระบบสรุ ยิ ะ รวมทงั้ ปฏิสัมพันธภ์ ายในระบบสุริยะที่สง่ ผลตอ่ สิ่งมชี ีวติ และการ
ประยุกตใ์ ชเ้ ทคโนโลยอี วกาศ

๑.๒ ตวั ชว้ี ดั
ตวั ชีว้ ดั ว ๓.๑ ม.๓/๑ อธิบายการโคจรของดาวเคราะหร์ อบดวงอาทติ ยด์ ้วยแรงโนม้ ถว่ งจาก
สมการ F = (Gm๑m๒)/r๒

ตวั ชว้ี ัด ว ๓.๑ ม.๓/๒ สร้างแบบจำลองทอี่ ธิบายการเกดิ ฤดู และการเคลอื่ นที่ปรากฏของดวง
อาทิตย์

๒. สาระสำคัญ
การท่โี ลกโคจรรอบดวงอาทติ ย์ เป็นผลมาจากแรงโน้มถ่วงที่ดวงอาทติ ย์กระทำต่อโลก และการ

ท่ี
ดวงจันทร์โคจรรอบโลกนั้น เพราะว่าโลกมีแรงโน้มถ่วงมากกว่าดวงอาทิตย์มากระทำกับดวงจันทร์
เนื่องจากระยะทางระหว่างโลกกับดวงจันทร์น้อยกว่า ทำให้ดวงจันทร์โคจรรอบโลกไปพร้อม ๆ กับ
การที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ โดยโลกกับดวงจันทร์ได้รับแสงสว่างครึ่งดวงตลอดการโคจร ซึ่งดวง
จันทร์โคจรรอบโลกใชเ้ วลาประมาณ ๓๐ และโลกใชเ้ วลาในการโคจรรอบดวงอาทติ ย์ใชเ้ วลาประมาณ
๓๖๕ วนั และ ทำใหเ้ กดิ ปรากฏการณ์กลางวันกลางคืน และฤดูกาล

๓. จดุ ประสงคก์ ารเรยี นรู้
เม่ือจบบทเรยี นนแ้ี ล้ว นักเรียนสามารถ
๓.๑ อธิบายเก่ยี วกบั แรงโน้มถว่ งทีท่ ำใหเ้ กดิ การโคจรระหว่างโลก ดวงจนั ทร์ และดวงอาทติ ย์ได้

(K)
๓.๒ อธิบายการเกดิ กลางวันกลางคนื และการเกดิ ฤดกู าลบนโลกได้ (K)
๓.๓ มีทกั ษะในสืบค้นข้อมลู เกีย่ วกับการเกดิ กลางวนั กลางคนื และฤดกู าลได้ (P)
๓.๔ มีความรบั ผิดชอบในการทำงานกล่มุ และสง่ งานทนั เวลาท่ีกำหนด (A)

๔. คุณลกั ษณะอันพึงประสงค์  ๕. อยอู่ ยา่ งพอเพียง
 ๑. รักชาติ ศาสน์ กษตั รยิ ์  ๖. มุ่งม่ันในการทำงาน
 ๒. ซอื่ สัตยส์ จุ ริต  ๗. รักความเป็นไทย
 ๓. มวี ินยั  ๘. มจี ติ สาธารณะ
 ๔. ใฝ่เรยี นรู้

๕. สมรรถนะสำคญั ของผ้เู รยี น
 ๕.๑ ความสามารถในการส่ือสาร
 ๕.๒ ความสามารถในการคดิ
 ๕.๓ ความสามารถในการแก้ปัญหา
 ๕.๔ ความสามารถในการใช้ทักษะชวี ิต
 ๕.๕ ความสามารถในการใชเ้ ทคโนโลยี

๖. สาระการเรียนรู้สกู่ ารบรู ณาการ
 บูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพยี ง

 บรู ณาการโรงเรยี นวถิ พี ทุ ธ/โรงเรยี นคณุ ธรรม/โรงเรียนสุจรติ

 บูรณาการโรงเรยี นส่งเสริมสิ่งแวดล้อมศกึ ษาและการพฒั นาที่ยัง่ ยืน/โรงเรียนปลอดขยะ

 บรู ณาการเพศวิถ/ี เพศศึกษา

 บรู ณาการโรงเรยี นมาตรฐานสากล

 บรู ณาการขา้ มกลมุ่ สาระการเรยี นรู้ (ระบ)ุ .......................................

 อ่นื ๆ (ระบุ).......................................

๗. สาระการเรียนรู้

๗.๑ ความรู้ (K)

โลกดวงจันทร์และดวงอาทติ ย์ อยู่ดว้ ยกนั โดยมแี รงโน้มถ่วง ทำใหโ้ ลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ และ
ดวงจนั ทรโ์ คจรรอบโลก โดยแรงโนม้ ถว่ งเป็นแรงจากธรรมชาตทิ จี่ ะยดึ วตั ถเุ ข้าหากัน ทำใหว้ ตั ถตุ กลงสู่
พื้นโลก แรงโนม้ ถว่ งมคี วามแรงแปรผันตรงกบั มวล และแปรผกผนั กบั ระยะทางยกกำลงั สอง ซึง่ เป็น
แรงทีจ่ ะยดึ ท้ังเอกภพใหอ้ ยู่ด้วยกัน

แกนโลกเอียงมมุ ๒๓.๕ องศากับระนาบการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ และระนาบของดวง
จนั ทร์ทโ่ี คจรรอบโลก จะทำมุมกระดก ๕ องศากบั เสน้ สรุ ิยะวิถี ซ่งึ การทโ่ี ลกโคจรรอบดวงอาทติ ยน์ ้ัน
เปน็ ผลมาจากแรงโน้มถว่ งทด่ี วงอาทิตย์กระทำตอ่ โลก และการทดี่ วงจันทรโ์ คจรรอบโลกนน้ั เพราะวา่
โลกและดวงจันทรอ์ ยใู่ กลก้ ันจนส่งผลต่อแรงโน้มถว่ งท่มี ากมากระทำกับดวงจันทร์ ทำใหด้ วงจนั ทร์
โคจรรอบโลกไปพรอ้ ม ๆ กับการท่โี ลกโคจรรอบดวงอาทติ ย์ โดยโลกกับดวงจันทรไ์ ดร้ ับแสงสวา่ งครงึ่
ดวงตลอดการโคจร โดยดวงจนั ทรจ์ ะโคจรประมาณวันละ ๑๒ องศา ๑ รอบจะใชเ้ วลาประมาณ ๓๐
วนั ทำใหเ้ ห็นดวงจันทร์ข้นึ ช้าลงเฉลย่ี วนั ละ ๕๒ นาที

กลางวันกลางคนื จะเกดิ จากการท่ีโลกหมุนรอบตวั เอง ทำใหบ้ ริเวณดา้ นท่ีหนั เข้าหาดวงอาทติ ย์
น้นั ผูส้ งั เกตบนโลกบริเวณนนั้ จะอย่ใู นเวลากลางวนั สว่ นบรเิ วณทีโ่ ลกหันออกจากดวงอาทิตย์น้ัน ผู้
สังเกตบนโลกบรเิ วณน้นั จะอยใู่ นจะอยใู่ นเวลากลางคืน

ฤดกู าล ของซกี โลกเหนอื และใต้นัน้ แตกต่างกนั ซึง่ ฤดกู าลนน้ั เกิดจากแกนโลกเอียง และโลกเป็น
ทรงกลมปา้ นตรงกลาง ทำใหแ้ สงจากดวงอาทติ ย์ทม่ี าตกกระทบบนพน้ื ผวิ โลกนัน้ เกิดเปน็ แสงตรงและ
แสงเฉยี ง หากพ้นื ผวิ ไดร้ บั แสงตรงจะได้รับพลังงานความร้อนทีม่ ากกวา่ บรเิ วณแสงเฉยี ง ซึ่งบริเวณที่
โลกจะไดร้ บั แสงตรง

และแสงเฉยี งนนั้ จะเปล่ียนไปในแตล่ ะตำแหน่ง
แบง่ ออกเป็น ๔ ตำแหนง่
ตำแหน่งที่ (๑) ๒๑ มิถนุ ายน
ซีกโลกเหนือหันเขา้ หาดวงอาทติ ย์ไดร้ ับแสงตรง เป็นฤดูร้อน สว่ นซกี โลกใต้เบนออกจากดวง
อาทิตย์ ได้รับแสงเฉยี ง เป็นฤดหู นาว
ตำแหน่งที่ (๒) ๒๓ กนั ยายน
ซกี โลกเหนอื และใตไ้ ดร้ บั แสงเฉยี ง ซกี โลกเหนือจะเปน็ ฤดใู บไมร้ ่วง และซีกโลกใต้จะเป็นฤดู
ใบไม้ผลิ
ตำแหน่งท่ี (๓) ๒๒ ธนั วาคม
ซกี โลกเหนอื เบนออกจากดวงอาทิตย์ไดร้ ับแสงเฉียง เป็นฤดูหนาว สว่ นซกี โลกใต้เขา้ หาดวง
อาทติ ย์ ได้รบั แสงตรง เป็นฤดูร้อน
ตำแหน่งท่ี (๔) ๒๑ มนี าคม
ซีกโลกเหนอื และใต้ได้รบั แสงเฉยี ง ซีกโลกเหนอื จะเปน็ ฤดใู บไม้ผลิ และซีกโลกใต้จะเป็นฤดู
ใบไม้รว่ ง

๘. การจัดกระบวนการเรยี นรู้ (แบบสืบเสาะ ๕E)
๘.๑ ข้นั สร้างความสนใจ (๑๐ นาท)ี

๑. ใหน้ กั เรียนแบง่ กล่มุ เป็น ๘ กลุ่ม กลุ่มละ ๔ คน แลว้ ครูเปิดโปรแกรม Mitaka ใหน้ กั เรยี น
สงั เกตถึง
แกนโลกเอียง และโลกเป็นทรงกลมป้าน ไปพร้อมกบั นักเรยี นตอบคำถามดังต่อไปนี้

- โลกมีลกั ษณะอยา่ งไร
(แนวคำตอบ : ทรงกลมป้านตรงกลาง)
- แกนโลกเอียงทำมมุ ก่ีองศากบั ระนาบการโคจรของโลกรอบดวงอาทติ ย์
(แนวคำตอบ : ๒๓.๕ องศา)
- โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงทเ่ี ทา่ ใดของระบบสุริยะ
(แนวคำตอบ :เป็นดาวเคราะหล์ ำดับท่ี ๓)
- นอกจากโลกแลว้ ยงั มดี าวบรวิ ารของโลกอกี ๑ ดวงคืออะไร
(แนวคำตอบ : ดวงจันทร์)
- เพราะเหตใุ ดดวงจันทร์จงึ โคจรรอบโลก แล้วโลกจงึ โคจรรอบดวงอาทติ ย์
(แนวคำตอบ : ตอบตามความคดิ เห็น เช่น มีแรงดงึ ดูด เพราะมีแรงโน้มถ่วง)
- การท่ีแกนโลกเอียงแลว้ โลกหมนุ รอบตัวเอง และโลกยงั โคจรรอบดวงอาทิตย์ จะทำให้

เกดิ ปรากฏการณ์ใดข้ึนกบั โลกบ้าง
(แนวคำตอบ : ตอบตามความคดิ เหน็ เช่น เกิดกลางวนั กลางคนื เกดิ ฤดูกาล)

๘.๒ ข้นั สำรวจและค้นหา (๖๐ นาที)
ครูแจกใบบนั ทกึ กิจกรรมใหท้ ำร่วมกนั ในกลุม่
(กิจกรรม แรงโนม้ ถว่ ง)

๑. ครูหยิบขวดน้ำขน้ึ มา แลว้ ถามนักเรยี นวา่
- หากครูปล่อยขวดนำ้ ขวดน้ี ขวดนำ้ จะเป็นอย่างไร
(แนวคำตอบ : ขวดนำ้ จะตกลงสู่พน้ื ) แล้วครปู ล่อยให้นักเรยี นเหน็
- เพราะเหตุใดขวดน้ำจึงตกสู่พนื้
(แนวคำตอบ : เพราะมแี รงดงึ มนั ใหต้ ก เช่น แรงโนม้ ถว่ ง)
- หากปลอ่ ยวตั ถทุ ม่ี มี วลตา่ งกันระหวา่ ง ลกู เหลก็ กับขนนก ทีร่ ะดบั ความสูงเดยี วกนั จะเกดิ สงิ่

ใดขน้ึ
(แนวคำตอบ : ตอบตามความคิดเห็น เชน่ ตกลงพร้อมกนั ลกู โบวล์ ิ่งตกก่อน)

๒. ครเู ปิดคลิปวิดที ัศน์ เรอ่ื ง การทดลองปล่อยขนนกและลกู เหล็ก จาก
https://www.youtube.com/watch?v=z๑๒T๕WxKwzo แล้วนกั เรียนสรปุ รว่ มกนั วา่ แรงท่ดี ึงให้
วตั ถุลงสูพ่ น้ื โลกเรยี กวา่ แรงโนม้ ถ่วงของโลก

๓. ครูถามนกั เรียนวา่ แล้วระหวา่ งโลก ดวงจันทร์ ดวงอาทติ ยน์ นั้ มแี รงโนม้ ถ่วงหรือไม่
ครใู ชก้ จิ กรรมเชือกมัดขวดน้ำแล้วเหว่ยี งขวดนำ้ หมุนรอบเปน็ วงกลมในแนวขนานกบั พืน้ ห้อง
โดยใหน้ กั เรียนแต่ละคนลองเหวยี่ งขวดน้ำเปน็ วงกลม แลว้ นักเรียนตอบคำถามดงั ต่อไปนี้

- ตอนเหวยี่ งขวดนำ้ นักเรียนรู้สกึ อยา่ งไรบา้ ง
(แนวคำตอบ : รสู้ กึ เหมอื นขวดน้ำจะพงุ่ ออก จะตอ้ งดงึ ไว้)
- หากครตู ัดเชือก ขวดน้ำจะเปน็ อย่างไร
(แนวคำตอบ : พ่งุ ออกจากการเหวยี่ ง)
- เพราะเหตใุ ด เมือ่ แกว่งขวดน้ำแล้วขวดน้ำไม่หลุดออกไป
(แนวคำตอบ : เพราะมีเชือกดงึ ขวดนำ้ ไว้)
- เชอื กท่ยี ึดขวดไวไ้ ม่ให้หลดุ ออกไป เปรยี บเสมือนส่งิ ใด
(แนวคำตอบ : แรงโนม้ ถ่วง)
๔. เปิด simulation เรื่อง gravity-and-orbits
จาก https://phet.colorado.edu/th/simulation/gravity-and-orbits เพือ่ ดูแรงโนม้ ถว่ งระหวา่ ง
วัตถุ จากการเพิม่ และลดมวลของวัตถุ สองวตั ถเุ พื่อดูถงึ ขนาดของเวกเตอรท์ ีแ่ สดงถึงแรงโนม้ ถ่วง

- สงิ่ ใดมผี ลต่อแรงโนม้ ถ่วง
(แนวคำตอบ : มวล)
ครูเสริมวา่ โลกมีมวลประมาณ ๖ X ๑๐๒๔ กโิ ลกรัม
ดวงอาทติ ยม์ มี วลประมาณ ๒ x ๑๐ ๓๐ กิโลกรัม ๓๓๒,๙๔๖ เทา่ ของโลก
ดวงจันทรม์ ีมวลประมาณ ๗ x ๑๐๒๒ กโิ ลกรมั คดิ เปน็ ๐.๐๑๒๓ เท่าของโลก
๕. ครเู ปิดคลิปวดิ ที ัศน์ นกั บินอวกาศ จาก
https://www.youtube.com/watch?v=FhgElD๐bIAI แลว้ ถามนกั เรียนวา่ เพราะเหตุใดคนในยาน
อวกาศจงึ ลอยไปมาเชน่ นนั้
(แนวคำตอบ : เพราะ ไกลจากโลกจงึ ทำให้ไดร้ ับแรงโน้มถว่ งนอ้ ยลง) ครูเปิดกราฟคา่ ของ
แรงโน้มถว่ งท่กี ระทำเมอ่ื ความสูงแตกต่างกนั
- แสดงวา่ ส่งิ ทม่ี ผี ลตอ่ แรงโน้มถ่วงนอกจากมวลคอื อะไร
(แนวคำตอบ : ระยะทาง, ระยะห่าง) ครเู สรมิ ถงึ ระยะระหวา่ งโลกและดวงอาทติ ย์
ระยะระหวา่ งโลกและดวงอาทติ ย์ ใหน้ กั เรยี นเขียนความสัมพนั ธล์ งในใบงาน
- แรงโน้มถว่ งนน้ั สำคญั ตอ่ การโคจรของโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทติ ย์อยา่ งไร
(แนวคำตอบ : ทำใหโ้ ลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ โคจรรอบโลก) นกั เรยี นและ
ครสู รุปว่า การทน่ี ักเรียนดงึ ขวดน้ำเข้ามาหาตวั ขณะท่ีเหวย่ี งขวดนำ้ จะทำให้ขวดน้ำโคจรโดยรอบตัว
เราได้ได้ เปรยี บเสมอื นแรงดึงเชือกของนกั เรยี นเปน็ แรงโน้มถ่วง ท่ดี าวเคราะห์นำมาเป็นแรงใช้ดงึ ดดู
กันไวใ้ หโ้ คจรรอบกันและกนั

(กิจกรรม การโคจรของโลก ดวงจนั ทร์ และดวงอาทิตย์)
๖. ครใู หน้ ักเรียนจบั ฉลากคำถาม แล้วทำการสืบคน้ เพอ่ื อธบิ ายคำตอบแกเ่ พอ่ื น โดยมคี ำถาม

ดงั ตอ่ ไปน้ี

ขอ้ ที่ ๑ : เสน้ ทางโคจรที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตยจ์ ะเรยี กว่าอะไร
(แนวคำตอบ : ระนาบการโคจรของโลกรอบดวงอาทติ ย์)
ขอ้ ที่ ๒ : แล้วโลกจะใชเ้ วลากว่ี นั ในการโคจรรอบดวงอาทติ ยค์ รบ ๑ รอบ
(แนวคำตอบ : ประมาณ ๓๖๕ วนั )
ขอ้ ที่ ๓ : ดวงจนั ทรโ์ คจรรอบโลก ๑ รอบ ตอ้ งใช้เวลากว่ี นั
(แนวคำตอบ : ๓๐ วนั หรอื ๒๙.๕ วนั )
ข้อท่ี ๔ : ใน ๑ วนั ดวงจันทรจ์ ะโคจรรอบโลกกี่องศา
(แนวคำตอบ : ประมาณ ๑๒ องศา)
ข้อที่ ๕ : ดวงจนั ทรจ์ ะข้นึ ชา้ ลงวนั ละก่นี าที
(แนวคำตอบ : ๕๒ นาที)
ขอ้ ที่ ๖ : โลกหมนุ รอบตัวเองไปทางทศิ ใด

(แนวคำตอบ : ทวนเข็มนาฬกิ า หรืออาจเรยี กว่าแบบ Spin up)
ข้อที่ ๗ : ระนาบในการโคจรของดวงจันทร์ ทำมมุ กี่องศากบั ระนาบของโลกโคจรรอบดวง
อาทติ ย์
(แนวคำตอบ : ทำมุม ๕ องศากบั ระนาบการโคจรของโลกรอบดวงอาทติ ย์)
ให้นักเรยี นนำเสนอคำตอบพรอ้ มท้ังบอกถึงแหล่งขอ้ มลู โดยใหเ้ พอ่ื นร่วมกันโหวตวา่
นา่ เชอื่ ถือหรอื ไม่
โดยครเู ฉลยทวนอีกคร้งั โดยใชโ้ ปรแกรม Mitaka ชว่ ยทำความเข้าใจ

(กิจกรรมกลางวันกลางคนื )
๗. ครเู ปดิ โปรแกรม Mitaka ใหน้ ักเรยี นสงั เกตสว่ นมืดสวา่ งของดวงจันทร์และโลก ตลอดการ

โคจรของดวงจันทรร์ อบโลก
- การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ทัง้ ดวงจันทรแ์ ละโลกไดร้ บั แสงสวา่ งเป็นเช่นไร
(แนวคำตอบ : ทงั้ ดวงจนั ทรแ์ ละโลก ไดร้ บั แสงสวา่ งครงึ่ ดวงตลอดการโคจร)
- เมื่อโลกไดร้ บั แสงเพียงครง่ึ เดยี ว แล้วเพราะเหตุใดเราจงึ เหน็ กลางวนั และกลางคนื
(แนวคำตอบ : เนือ่ งจากโลกมีการหมนุ รอบตวั เอง)
๘. ครเู ปดิ โปรแกรม Stellarium ใหน้ ักเรยี นสังเกตการเคลอ่ื นทข่ี องดวงอาทิตย์ ดวงจนั ทร์

และกลุ่มดาวฤกษ์ ใน ๑ วนั ที่ข้ึนทางทศิ ตะวนั ออกและตกทางทศิ ตะวนั ตก โดยให้นักเรียนแตล่ ะกลุ่ม
จำลองเพอ่ื ตอบคำถามดงั ตอ่ ไปน้ี

- เพราะเหตุใดจงึ เห็นดวงอาทติ ย์ ดวงจันทร์ และดวงดาว ขึน้ ทางทศิ ตะวนั ออก
นักเรยี นและครูรว่ มกนั หาคำตอบสาธิตการเกดิ กลางวนั กลางคืน โดยใช้

๑) ลูกโลกจำลอง
๒) ไฟฉาย (แทนดวงอาทติ ย)์
๓) ตดิ คนกระดาษ (แทนผู้สังเกตอยู่ท่ปี ระเทศไทย หันหนา้ ไปทางทิศเหนอื โดยขวามือจะเปน็
ทศิ ตะวันออก ซา้ ยมือจะเปน็ ทศิ ตะวันตก และด้านหลังคือทศิ ใต้)
แลว้ จำลองการหมนุ รอบตวั เองของโลกในตำแหน่งตา่ ง ๆ ซ่ึงจะเปน็ เวลาตา่ ง ๆ และ คือ เวลา
๐๖.๐๐ น. เวลา ๑๒.๐๐ น. เวลา ๑๘.๐๐ น. ๒๔.๐๐ น. ประกอบกบั การดภู าพในโปรแกรม
Stellarium
๙. (เปลีย่ นเป็นใช้นกั เรยี นเปน็ โมเดล) นักเรียนแต่ละกลุ่มทำการจำลองเป็นโลกหมุนรอบ
ตวั เอง ดงั นี้
กำหนดให้ ๑) ตวั นกั เรียน แทน โลก

๒) ใชม้ อื ตง้ั ข้นึ ทีบ่ ริเวณหน้าท้อง แทน ผู้สังเกตบนโลกบริเวณแถบศูนยส์ ูตร
๓) การหมนุ ตวั ทวนเขม็ นาฬิกา แทน การหมนุ ทวนเขม็ นาฬกิ าของโลก
ใหด้ วงอาทิตย์อยตู่ ำแหน่งตา่ ง ๆ ของหอ้ งเรยี น แล้วนกั เรียนทำการหมุนตัวเองทวนเขม็ นาฬิกา
ไปตำแหน่งตา่ ง ๆ ใหส้ อดคล้องกบั การทผี่ ูส้ ังเกตบนโลก จะอยใู่ นชว่ งเวลาที่ครูกำหนดให้
คือ เวลา ๐๖.๐๐ น. เวลา ๑๒.๐๐ น. เวลา ๑๘.๐๐ น. ๒๔.๐๐ น. โดยหมนุ ไปพร้อม ๆ กบั การท่ี
ครู
เปิดโปรแกรม Stellarium
๑๐. สรุปรว่ มกนั วา่ การทีโ่ ลกหมุนรอบตวั เองทวนเขม็ นาฬิกา จะทำใหผ้ สู้ ังเกตบนโลกเหน็ ดวง
อาทิตย์เคล่อื นท่จี ากทศิ ตะวนั ออกไปยังทิศตะวนั ตก ซง่ึ โลกจะใช้เวลาในการหมุนรอบตัวเองทัง้ หมด
๒๔ ช่ัวโมง ทำให้เกิดเปน็ ปรากฏการณก์ ลางวันกลางคนื

(กิจกรรม ฤดกู าลบนโลก)
๑๐. นักเรียนตอบคำถามดังต่อไปนี้
- จากการที่โลกหมุนรอบตวั เองทำใหเ้ กดิ กลางวนั และกลางคืน แลว้ การทโี่ ลกโคจรรอบดวง
อาทติ ย์ นกั เรยี นคดิ วา่ จะเกิดปรากฏการณอ์ ะไร
(แนวคำตอบ : ตอบตามความคดิ เหน็ เช่น ฤดูกาล)

- นกั เรียนคดิ วา่ ฤดูกาลบนโลกเกดิ ได้อย่างไร
(แนวคำตอบ : เพราะโลกอยูไ่ กลและใกลด้ วงอาทติ ย)์ ครูเปดิ ระยะทางของโลกที่อยใู่ กล้และ
ไกล
จากดวงอาทติ ย์ในฤดูหนาวและร้อน

(ภาพจาก www.narit.co.th)
แสดงวา่ ระยะทางทีโ่ ลกเข้าใกล้กับดวงอาทิตย์และไกลออกจากดวงอาทิตย์ไม่เกี่ยวกบั การเกิด
ฤดูกาล
๑๒. ครถู ามนักเรียนว่า “แลว้ ฤดกู าลบนโลกนั้น เกิดข้นึ ไดอ้ ย่างไร” ซง่ึ ใหท้ ำความเขา้ ใจผ่านคลิป
วดิ ที ศั น์
เรอื่ ง ฤดกู าล จาก https://www.youtube.com/watch?v=๘dSV๒๔๙fDg (ให้นกั เรียนทราบ
ถงึ การทแี่ กนโลกเอยี ง พร้อมทงั้ แสงตรงและแสงเฉียง)
โดยใหน้ กั เรยี นสังเกตวา่ แกนโลกเอยี ง รวมถึงแสงตรงและแสงเฉียง เกี่ยวกับความรอ้ นที่โลก
ได้รบั อย่างไร
แล้วนักเรยี นตอบคำถามดงั ตอ่ ไปนี้

- การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ แกนโลกเอียงทำมมุ กับระนาบการโคจรของโลกรอบ
ดวงอาทติ ย์เทา่ ใด

(แนวคำตอบ : ๒๓.๕ องศา)
- การไดร้ ับแสงตรงและแสงเฉียง มีผลอย่างไรกบั ความรอ้ นท่เี กิดข้นึ บนพื้นโลก
(แนวคำตอบ : พนื้ ผิวโลกที่ไดร้ ับแสงตรงจะทำใหม้ ีความร้อนมากกว่าพนื้ ผวิ โลกทีไ่ ด้รบั แสง
เฉียง) ครูเปรียบเวลากลางวัน และตอนเช้าเย็น ที่เราไดร้ บั แสงตรงและแสงเฉียงท่แี ตกต่างกนั
ทำให้รสู้ กึ รอ้ นทแี่ ตกตา่ งกัน
- การทีแ่ กนโลกเอยี งสง่ ผลตอ่ การเกดิ แสงตรงและแสงเฉยี งบนพน้ื โลกอยา่ งไร
(แนวคำตอบ : ในแต่ละตำแหนง่ ท่ีแกนโลกเอียง เมื่อซกี โลกเหนือเอียงเขา้ หาดวงอาทติ ย์
ซกี โลกเหนอื จะไดร้ ับแสงตรง สว่ นซกี โลกใตจ้ ะไดร้ ับแสงเฉียง แต่หากซกี โลกใตเ้ อยี งเข้าหาดวง
อาทิตย์กจ็ ะสลับกัน)
๑๓. ครูชีแ้ จงนกั เรียนแต่ละกลมุ่ วา่ ให้นกั เรียนแตล่ ะกลุ่ม อธิบายการเกิดฤดกู าลใหก้ ลุม่ อืน่ ๆ
เขา้ ใจ โดยมอี ปุ กรณช์ ว่ ยประกอบการอธบิ าย ดงั นี้
๑) ลกู โลกจำลอง

๒) ดวงอาทิตยจ์ ำลอง
๓) ไฟฉาย
๔) ใบ QR code วดิ ที ศั น์จาก https://www.youtube.com/watch?v=๘_dSV๒๔๙fDg

(คาดการณ์ความคดิ นักเรยี น : ตวั แทน๐tออกมาถือลกู โลกจำลอง แลว้ โคจรไปรอบดวง
อาทติ ยใ์ นทศิ ทวนเขม็ นาฬิกา แลว้ ให้เพื่อนมายืนตรงกลางเปน็ ดวงอาทิตย์ สอ่ งไฟฉายไปยังโลก
แล้วสังเกตแสงที่โลกไดร้ บั ในแตล่ ะตำแหนง่ ว่าแสงตรงอยู่บรเิ วณใดบ้าง
ในตำแหนง่ ดังภาพ คอื ตำแหน่งที่ ๑. ๒๑ มถิ ุนายน

๒. ๒๓ กันยายน
๓. ๒๒ ธนั วาคม
๔. ๒๑ มีนาคม

๑๔. หลงั จากนกั เรยี นนำเสนอครบทุกกลุ่มแลว้ นกั เรียนและครูสรปุ รว่ มกนั บนกระดานวา่
ในแตล่ ะตำแหนง่ ทีโ่ ลกโคจรรอบดวงอาทติ ยน์ ้นั ส่วนใดของโลกไดร้ บั แสงแบบใดบ้าง

- ตำแหน่งท่ี (๑) ๒๑ มิถุนายน
ซกี โลกเหนอื หนั เข้าหาดวงอาทติ ยไ์ ดร้ ับแสงตรง เป็นฤดูรอ้ น สว่ นซกี โลกใต้เบนออกจากดวง
อาทิตย์ ได้รับแสงเฉยี ง เป็นฤดหู นาว

- ตำแหน่งท่ี (๒) ๒๓ กันยายน
ซกี โลกเหนือและใตไ้ ด้รบั แสงเฉยี ง ซีกโลกเหนือจะเปน็ ฤดูใบไมร้ ว่ ง และซีกโลกใต้จะเปน็ ฤดู
ใบไม้ผลิ

- ตำแหนง่ ที่ (๓) ๒๒ ธนั วาคม
ซีกโลกเหนือเบนออกจากดวงอาทติ ย์ไดร้ ับแสงเฉียง เป็นฤดูหนาว ส่วนซกี โลกใต้เขา้ หาดวง
อาทติ ย์ ได้รบั แสงตรง เปน็ ฤดูรอ้ น

- ตำแหนง่ ท่ี (๔) ๒๑ มนี าคม

ซกี โลกเหนอื และใตไ้ ด้รบั แสงเฉยี ง ซีกโลกเหนือจะเป็นฤดใู บไม้ผลิ และซีกโลกใต้จะเป็นฤดู
ใบไม้รว่ ง

๑๕. นักเรยี นและครรู ่วมกนั สรุปว่า ปัจจยั ท่ีสง่ ผลให้เกดิ ฤดกู าลหลกั ๆ คือ
๑) แกนโลกเอยี ง ๒๓.๕ องศา และเปน็ ทรงกลม
๒) มุมของแสงท่ีตกกระทบมายังพ้นื โลก หากไดร้ ับแสงตรงจะทำใหไ้ ด้รับความรอ้ นมากกวา่
แสงเฉียง
๓) โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ในแต่ละตำแหนง่ จะทำใหแ้ กนโลกเอยี งเขา้ หาดวงอาทติ ย์
ต่างกัน จงึ ทำให้ได้รบั แสงตรงและแสงเฉียงตา่ งกัน เกดิ เป็นฤดกู าลบนโลก

๘.๓ ขน้ั อธิบายและลงข้อสรปุ (๑๐ นาท)ี
๑. นกั เรยี นและครรู ว่ มอภิปรายโดยการถามตอบดงั ต่อไปน้ี
- มวลและระยะทางมีผลตอ่ แรงโนม้ ถ่วงอยา่ งไรบ้าง
(แนวคำตอบ : หากมวลมาก แรงโน้มถว่ งจะมาก หากมวลนอ้ ย แรงโนม้ ถว่ งจะนอ้ ย
หากระยะทางมาก แรงโนม้ ถว่ งจะนอ้ ย หากระยะทางนอ้ ย แรงโนม้ ถว่ งจะมี

มาก)
- โลก ดวงจนั ทรแ์ ละดวงอาทติ ย์ สามารถดงึ ดูดใหโ้ คจรรอบกันไดอ้ ย่างไร
(แนวคำตอบ : เนือ่ งมาจากแรงโนม้ ถ่วงทีก่ ระทำตอ่ กนั และกนั )
- ตลอดการโคจร ดวงจันทรแ์ ละโลกไดร้ ับแสงสว่างเป็นอยา่ งไร
(แนวคำตอบ : ทงั้ ดวงจนั ทร์และโลกจะได้รับแสงสว่างเพยี งครงึ่ เดียว)
- การหมุนรอบตวั เองของโลกสง่ ผลใหเ้ กิดปรากฏการณ์อะไร
(แนวคำตอบ : กลางวนั กลางคืน)
- โลกโคจรในแต่ละตำแหนง่ ทำให้เกดิ ฤดูกาลได้อยา่ งไร
(แนวคำตอบ : ในแตล่ ะตำแหนง่ ทโ่ี คจร ซกี โลกท้งั เหนอื และใตจ้ ะได้รบั แสงตรงและแสง

เฉียงท่ีแตกตา่ งกันออกไป)
- แสงที่โลกไดร้ ับ และการท่แี กนโลกเอยี ง สง่ ผลทำใหโ้ ลกเกิดฤดูกาลอยา่ งไร
(แนวคำตอบ : ตอบตามความคดิ เห็น เช่น หากได้รับแสงตรงจะทำใหร้ อ้ น และแกนโลก

เอียงทำให้ ไดร้ บั แสงที่แตกตา่ งกันในแต่ละซกี โลก)
- ฤดกู าลบนโลกเกดิ ขึ้นได้อยา่ งไร
(แนวคำตอบ : โลกมแี กนโลกเอยี ง ๒๓.๕ องศา กับบระนาบการโคจรของโลกรอบดวง

อาทติ ย์ ในการที่โลกโคจรไปในแต่ละตำแหนง่ ทำให้โลกได้รบั แสงตรงและแสงเฉยี งทีต่ า่ งกนั เกิดเป็น
ฤดกู าลที่แตกต่างไปในแต่ละซกี โลก เน่ืองจากความรอ้ นทม่ี าจากแสงตรงและแสงเฉยี ง)

๘.๔ ขนั้ ขยายความรู้ (๑๐ นาที)
(ดวงอาทิตยเ์ ทีย่ งคนื )
๑. นักเรยี นตอบคำถามครดู ังตอ่ ไปน้ี
- ในทุกวันทกุ คนบนโลกจะสามารถเห็นดวงอาทติ ย์ข้ึนและตกในทกุ วันหรอื ไม่
(แนวคำตอบ : เหน็ ) ครูเฉลยวา่ ผิด มีบางเมอื งทด่ี วงอาทิตยอ์ ย่ถู งึ เทย่ี งคนื ในช่วงหน่ึงของปี
- บรเิ วณใดบ้างทสี่ ามารถเหน็ ดวงอาทิตย์ไดท้ งั้ วนั โดยเทย่ี งคืนดวงอาทติ ยก์ ย็ ังไมต่ กดิน
(แนวคำตอบ : ประเทศทอ่ี ยูล่ ะตจิ ูด ๖๖ องศาเหนอื -ใต้ข้นึ ไป) ครอู ธบิ ายว่า เปน็ ปรากฏการณ์

ท่ีแกนโลกเอียงเขา้ หาดวงอาทติ ย์ในชว่ งหนงึ่ ของปี ทำใหบ้ รเิ วณประเทศท่อี ย่แู ถบน้ีเหน็ ดวงอาทิตย์ท้งั
กลางวันและกลางคนื

- มีประเทศใดในบรเิ วณน้ันบ้าง
(แนวคำตอบ : นอรเ์ วย์ อะลาสกา แคนาดา กรนี แลนด์ ไอซ์แลนด์ สวเี ดน ฟินแลนด์ และ
ดนิ แดนของรัสเซยี อยา่ งบรเิ วณโนวาวา เซมล์ยา หรือมูรม์ ันสก์) ครเู พิ่มเตมิ ว่าทางปลายเหนือสดุ ของ
ฟนิ แลนด์ ดวงอาทติ ยไ์ มต่ กดินนานถึง ๗๓ วัน
๒. ครเู ปิดคลปิ วดิ ีทัศน์ การเกดิ ดวงอาทติ ยเ์ ทีย่ งคืน จาก
https://www.youtube.com/watch?v=๒๕๓cMKCyyxE
ครูเปิดคลิปวดิ ที ศั น์ ดวงอาทิตย์เทีย่ งคืนทขี่ วั้ โลกใต้ จาก
https://www.youtube.com/watch?v=N๒hbv๕D_zQE
ครเู สริมวา่ ทนี่ อร์เวยค์ วรไปในชว่ งเดอื นมิถนุ ายนถึงสิงหาคม โดยควรเดินทางไปยังเมอื งทอ่ี ย่ทู าง
ตอนเหนอื ของประเทศ คอื ต้งั แต่ เมอื งทรูมเซอร์ ไปจนถึง เมืองนอรท์ เคป ซ่งึ เป็นเมอื งที่คนไทยนิยม
มาชมพระอาทติ ย์เทยี่ งคนื กันมากทีส่ ดุ เพราะทนี่ เี่ ป็นเมอื งซง่ึ พระบาทเสดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยหู่ ัว
เคยเสดจ็ ฯ มาในคราวประพาสยุโรปคร้ังที่ ๒ โดยพระองคไ์ ดท้ รงจารกึ พระปรมาภไิ ธย จปร. และปี
ค.ศ. ๑๙๐๗ ไว้เป็นท่ีระลึกบนกอ้ นหินด้วย

๘.๕ ขนั้ ประเมินผล (๑๐ นาที)
๑. นกั เรยี นผลดั กนั ตงั้ คำถามและคำตอบ ในการถามและตอบเพื่อนกลมุ่ อ่ืน เกี่ยวกับปฏสิ มั พนั ธ์

ระหวา่ งโลก ดวงจนั ทร์ และดวงอาทติ ย์
๒. ครใู ห้นักเรยี นหมนุ ตวั ไปในตำแหนง่ ตา่ ง ๆ โดยครูกำหนดตำแหน่งของดวงอาทติ ยใ์ ห้ แล้วให้

นักเรียนหมนุ ตัว ตามเวลาทกี่ ำหนดให้ คือ ๐๖:๐๐ น. ๑๒:๐๐ น. ๑๘:๐๐ น. ๒๔:๐๐ น.
๓. ครูกำหนดตำแหน่งของดวงอาทติ ย์ และโลก ให้นักเรียนระบุว่า ในการท่ีโลกโคจรมาใน

ตำแหนง่ นั้น ๆ เป็นฤดกู าลอะไรของซีกโลกเหนือ และซกี โลกใต้
๔. ให้นักเรยี นสอบถามขอ้ สงสัยเพิ่มเตมิ

๙. วัสดุ/อุปกรณ์ ส่อื และแหล่งเรยี นรู้
สือ่

๑. คลิปวดิ ที ศั น์ เรอ่ื ง การทดลองปล่อยขนนกและลกู เหล็ก
https://www.youtube.com/watch?v=z๑๒T๕WxKwzo

๒. คลิปวดิ ที ัศน์ นักบนิ อวกาศ จาก https://www.youtube.com/watch?v=FhgElD๐bIAI
๓. คลิปวดิ ีทัศน์ เร่ือง ฤดูกาล จาก https://www.youtube.com/watch?v=๘_dSV๒๔๙fDg
๔. คลิปวดิ ีทัศน์ การเกดิ ดวงอาทติ ย์เท่ยี งคืน จากhttps://www.youtube.com/watch?v=๒๕๓
cMKCyyxE
๕. คลิปวดิ ีทัศน์ ดวงอาทิตยเ์ ทยี่ งคนื ท่ีขวั้ โลกใต้ จาก https://www.youtube.com/watch?v=N
๒hbv๕D_zQE
๖. simulation เรือ่ ง Solar system จาก
https://phet.colorado.edu/th/simulation/gravity-and-orbits

๗. พาวเวอรพ์ อย เร่อื ง ปฏสิ มั พนั ธร์ ะหวา่ งโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทติ ย์
๘. ใบกจิ กรรม เรือ่ ง ปฏสิ มั พนั ธ์ระหวา่ งโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทติ ย์
๙. ขวดน้ำผกู เชอื ก (ทดลองเร่ืองแรงโน้มถว่ ง), ลูกโลกจำลอง, ไฟฉาย

๑๐. การวดั และประเมินผล วธิ ีการวดั เคร่อื งมอื ที่ใชว้ ัด เกณฑก์ ารประเมนิ
จดุ ประสงคก์ ารเรยี นรู้

(K) - นักเรยี นทำ - ใบกจิ กรรม นักเรยี นตอบคำถาม ไดถ้ กู ต้อง
๑. อธบิ ายเกีย่ วกับการโคจร ใบกจิ กรรม
ระหว่างโลก ดวงจันทร์ และดวง เรือ่ ง ปฏิสัมพันธร์ ะหว่าง เรื่อง ปฏสิ มั พันธร์ ะหวา่ งโลก รอ้ ยละ ๘๐ ข้นึ ไป
อาทติ ย์ได้ โลกดวงจันทร์ ดวง
อาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์
- การตอบคำถาม
ในชัน้ เรียน - คำถามในขนั้ สำรวจและ

ค้นหา

(K) - นักเรียนทำ - ใบกิจกรรม นกั เรียนตอบคำถาม ได้ถูกต้อง
๒. อธบิ ายการเกิดกลางวัน ใบกิจกรรม
กลางคืนและการเกดิ ฤดกู าลบน เรื่อง ปฏสิ ัมพนั ธร์ ะหวา่ งโลก รอ้ ยละ ๘๐ ขนึ้ ไป
โลกได้
ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์

จดุ ประสงค์การเรียนรู้ วิธีการวดั เคร่อื งมอื ท่ใี ช้วดั เกณฑก์ ารประเมนิ

เร่อื ง ปฏสิ มั พันธร์ ะหวา่ ง - คำถามในข้ันสำรวจและ
โลกดวงจนั ทร์ ดวง คน้ หา
อาทติ ย์
- การตอบคำถาม
ในช้นั เรียน

(P) - การถาม - ตอบ - คำถามในขนั้ สำรวจและ มที กั ษะในการสบื คน้ และนำ
๓. มีทกั ษะในสืบค้นข้อมลู คน้ หา ขอ้ มลู มาตอบคำถามไดถ้ กู ต้อง
เกย่ี วกับการเกดิ กลางวัน มากกว่าร้อยละ ๗๐ ข้นึ ไป
กลางคนื และฤดูกาลได้

(A) - สังเกตพฤติกรรม - แบบบันทกึ การสงั เกต - นักเรยี นมีพฤติกรรมดงั กลา่ ว
๔. มีความรับผิดชอบในการ พฤติกรรมรายกลมุ่ ผ่านเกณฑค์ ุณภาพระดบั ดี ขน้ึ
ทำงานกลุ่ม และสง่ งานทันเวลา ไป ไม่นอ้ ยกวา่ รอ้ ยละ ๗๐ ของ
ที่กำหนด นกั เรียนท้งั หมด

ใบกิจกรรม เรือ่ ง ปฏสิ ัมพนั ธ์ระหวา่ งโลกดวงจนั ทร์ ดวงอาทติ ย์

1. เม่อื ปลอ่ ยลูกโบวล์ ่งิ กับขนนกลงพรอ้ มกันทค่ี วามสงู เทา่ กนั จะเป็นเช่นไร

ก. ตกพ้นื พรอ้ มกัน ข. ลกู โบวล์ ิง่ ตกถงึ พื้นกอ่ น ค. ขนนกตกถึงพ้นื กอ่ น

2. แรงทีด่ ึงให้วัตถลุ งสูพ่ ้นื โลก เรยี กว่า...................................

3. สงิ่ ใดบา้ งท่ีมผี ลต่อขนาดของแรงโน้มถ่วง

.......................................................................................................................................................................................

.......................................................................................................................................................................................

(เสริม)

มวลของโลก......................กโิ ลกรมั ระยะหา่ งระหว่างโลกและดวงอาทิตย์...........กิโลเมตร

มวลของดวงอาทติ ย์………………….กโิ ลกรัม ระยะหา่ งระหว่างโลกและดวงจนั ทร.์ ..........กิโลเมตร

มวลของดวงจนั ทร์.............กโิ ลกรมั

ระยะห่างของดวงอาทติ ย์และโลกคิดเป็นกเี่ ท่า ของดวงอาทิตยก์ บั ดวงจันทร.์ ................................... เทา่

มวล มาก แรงโนม้ ถว่ งจะ...................... / มวล นอ้ ย แรงโนม้ ถว่ งจะ...................

ระยะทาง มาก แรงโนม้ ถ่วงจะ................... / ระยะทาง น้อย แรงโนม้ ถ่วงจะ....................

3. จงวาดภาพแสงที่ดวงจนั ทร์ไดร้ ับขณะท่โี คจรรอบโลก (มองจากนอกโลก)

4. สิ่งใดที่ทำใหโ้ ลกโคจรรอบดวงอาทติ ย์ และดวงจันทรโ์ คจรรอบโลก
.......................................................................................................................................................................................
5. เพราะเหตใุ ดดวงจนั ทร์จงึ ไม่โคจรรอบดวงอาทิตย์โดยตรง แตก่ ลบั โคจรรอบโลกแทน
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
6. กลางวันกลางคนื เกดิ ขนึ้ ได้อย่างไร
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
7. ฤดกู าลเกิดขนึ้ ไดอ้ ยา่ งไร
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................

ภาคผนวก ข
(เคร่อื งมอื ท่ใี ช้ในการประเมินผล)

1. แบบวัดความเขา้ ใจมโนมติทางวทิ ยาศาสตร์ เร่อื ง ปฏสิ มั พันธ์ระหว่างโลก ดวงจนั ทร์
และดวงอาทิตย์

2. แบบวัดความเขา้ ใจมโนมติทางวทิ ยาศาสตร์ เรื่อง ปรากฏการณข์ ้างขนึ้ ขา้ งแรม
3. แบบวดั ความเขา้ ใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปรากฏการณน์ ำ้ ขึ้นนำ้ ลง

104

แบบวัดความเขา้ ใจมโนมตทิ างวทิ ยาศาสตร์
เรือ่ ง ปฏิสมั พันธร์ ะหวา่ งโลก ดวงจนั ทร์ และดวงอาทติ ย์
คำชแ้ี จง 1. แบบทดสอบมจี ำนวน 3 ข้อ เปน็ แบบอตั นัย ใหท้ ำลงในแบบทดสอบ
2. จงเขยี นอธิบายคำตอบมาใหส้ มบูรณ์

1. การโคจรของดวงจนั ทร์รอบโลก และการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ จะโคจรทิศทางใด
แลว้ ดวงจันทร์ ใช้เวลาก่วี ันในการโคจรรอบโลกครบ 1 รอบ และโลกใช้เวลาก่ีวนั ในการโคจรรอบดวงอาทติ ย์
…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…
…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…
…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…
2. จงวาดรูปแสดงสว่ นมืดส่วนสวา่ งของดวงจันทร์ ทั้ง 4 ตำแหน่ง ที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก
โดยผู้สังเกตอยู่นอกโลก ว่าดวงจันทรม์ สี ว่ นสวา่ งเปน็ อยา่ งไร และเขยี นอธบิ ายวา่ เพราะเหตุใดจงึ เปน็ เชน่ นั้น

1

42

3

…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…
…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…
…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…
…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…
…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…
3. เพราะเหตใุ ดโลกจงึ โคจรรอบดวงอาทติ ย์ โดยมดี วงจันทรโ์ คจรรอบโลกไปพร้อมกนั
…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…
…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…
…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…
…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…
…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…
…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…

ชอื่ ....................................................................................................................................ชัน้ ..................เลขที่..............

105

แบบวดั ความเขา้ ใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์
เรอ่ื ง ปรากฏการณ์ขา้ งขน้ึ ข้างแรม

คำชแ้ี จง 1. แบบทดสอบมจี ำนวน 3 ข้อ เปน็ แบบอตั นยั ให้ทำลงในแบบทดสอบ
2. จงเขยี นอธิบายคำตอบมาให้สมบูรณ์

1. เพราะเหตุใด คนบนโลกจึงสังเกตเหน็ แสงสว่างของดวงจนั ทร์แตกตา่ งกันไปในแต่ละคนื

…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…
…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…
…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…
…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…
2. เพราะเหตุใดเราจึงเหน็ ดวงจันทรเ์ ปน็ เสย้ี วแบบนี้ได้

(ภาพจาก https://feedyeti.com/hashtag.php?q=SKYSCREAMS)
…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…
…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…
…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…
…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…

106

3. หมายเลขใดคอื ตำแหน่งของดวงจันทรว์ นั ข้ึน 8 ค่ำ พร้อมทง้ั อธิบายถงึ ลกั ษณะของดวงจนั ทรใ์ นวนั ข้ึน 8 คำ่ และ
สาเหตุทีส่ งั เกตเหน็ ดวงจนั ทรม์ ลี กั ษณะเชน่ นัน้

1
82

ขวั้ โลกเหนอื

73

6 4
5

…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…
…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…
…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…
…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…
…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…
…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…
…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…
…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…
…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…
…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…

ชอ่ื ......................................................................................................................................ชน้ั .................เลขที.่ ...........

107

แบบวัดความเขา้ ใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์
เรอ่ื ง ปรากฏการณน์ ำ้ ขึ้นนำ้ ลง

คำช้แี จง 1. แบบทดสอบมจี ำนวน 3 ข้อ เปน็ แบบอัตนยั ให้ทำลงในแบบทดสอบ
2. จงเขียนอธิบายคำตอบมาให้สมบรู ณ์

1. ในวนั ที่มองเหน็ ดวงจันทร์ในภาพลักษณะเช่นน้ี ตลอดท้ังวันจะพบว่าระดับนำ้ บนพน้ื โลกเป็นอย่างไร
แลว้ เพราะเหตใุ ดจึงเปน็ เชน่ น้ัน

…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…
…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…
…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…
…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…

2. เม่อื ดวงจนั ทร์โคจรมาอยูใ่ นตำแหน่งหมายเลข 3 โดยนกั เรยี นอยบู่ รเิ วณเส้นศูนย์สตู ร ใน 1 วัน นกั เรียนจะพบว่า
มรี ะดบั น้ำข้ึนสงู ทส่ี ุดในหมายเลขใดบา้ ง แลว้ เพราะเหตุใดจึงเปน็ เช่นนั้น

44

ดวงอาทิตย์ 13 13
ดวงจันทร์ ดวงจันทร์

2 2
โลก ดวงอาทติ ย์ โลก

…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…
…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…
…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…

108

3. หากดวงจนั ทรโ์ คจรรอบโลกครบ 1 รอบ นำ้ จะข้ึนสูงท่สี ดุ และลงตำ่ ทสี่ ุดในตำแหนง่ วนั ก่ีค่ำ แลว้ เพราะเหตใุ ดจึง
เปน็ เชน่ นนั้

แรม 7-8 ค่ำ

แรม 15 ค่ำ ขนึ้ 15 คำ่

โลก

ขน้ึ 7-8 คำ่

ดวงอาทิตย์

…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…

…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…

…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…

…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…

…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…

…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…

…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…

…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…

…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…

…………………………………………………………………………………………………………………………………………........................…

ชื่อ.....................................................................................................................................ช้ัน.................เลขท่.ี ...........

ภาคผนวก ค
ตัวอย่างผลงานนักเรียน

110

ภาคผนวก ง
ตวั อยา่ งภาพกิจกรรมการเรยี นการสอน

112

(ภาพท่ี 4 นกั เรียนทำการสำรวจและค้นหาการเกดิ ปรากฏการณข์ ้างขน้ึ ข้างแรม)
(ภาพท่ี 5 นักเรยี นทำการบนั ทึกผลการสังเกตการทดลองลงในบกจิ กรรม)

113

(ภาพท่ี 6 ส่อื การจดั กิจกรรมการเรียนรใู้ นเรื่องปรากฏการณ์นำ้ ขึ้น-น้ำลง)
(ภาพท่ี 7 โปรแกรม Stellarium ในการสังเกตลกั ษณะส่วนมดื และสวา่ งของดวงจนั ทร์จากบนโลก)

114

(ภาพที่ 8 การใช้ โปรแกรม Mitaka จำลองปฏสิ มั พันธ์ระหวา่ งโลก ดวงจนั ทร์ และดวงอาทิตย)์

ภาคผนวก จ
ประวตั ิผวู้ ิจยั

119

ประวตั ผิ ้วู จิ ยั

ช่อื ผวู้ ิจัย นายศักดนิ นท์ อุดชมุ พิสัย
1. ด้านการศกึ ษา
(พ.ศ. 2556)

จบการศึกษาระดับมัธยมศกึ ษาตอนปลาย แผนการเรยี น วทิ ย์ - คณติ
ทโ่ี รงเรยี นอุดรพิทยานุกูล ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จงั หวัดอดุ รธานี

(พ.ศ. 2561)
วฒุ ิศึกษาศาสตรบณั ฑติ สาขาวทิ ยาศาสตร์ศึกษา คณะศกึ ษาศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่

(เกยี รตินยิ มอันดับ 1)

2. ดา้ นการปฏบิ ัตกิ ารสอนในสถานศึกษา
- รับการบรรจแุ ตง่ ตัง้ ทุนครูเพอื่ นพัฒนาท้องถนิ่ วนั ท่ี 4 ตุลาคม 2562
- เปน็ ตัวแทนครแู กนนำหลักสตู ร OBEC Young Leaders for SDGs
- ปฏบิ ตั กิ ารสอนในระดบั ชน้ั มัธยมศกึ ษาปที ี่ 3 รายวิชาวทิ ยาศาสตร์ โรงเรยี นหนองหาน

วิทยา จงั หวดั อดุ รธานี
- หนา้ ท่ีพเิ ศษนอกเหนอื จากงานสอน : อยูใ่ นฝ่ายแผนงานและงบประมาณ ในกลมุ่ งาน

การเงินโรงเรียนหนองหานวทิ ยา


Click to View FlipBook Version