The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Thaninrat Kritchanthat Sirivisalsuwan, 2020-02-08 00:09:40

วารสารวิชาการ สพฐ. ปีที่ 21 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2561

วารสาร สพฐ ตุลาคม 2561

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

บ ท บ ร ร ณ Eา dธi ิ ก า ร

to ri al

การศึกษาในปัจจุบันของประเทศไทย ได้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนการสอน
เพ่ือรองรับกับวิวัฒนาการสมัยใหม่ โดยน�ำเทคนิคการจัดการเรียนการสอนเข้ามาเก่ียวข้อง
เพ่ือให้นักเรียนสามารถเรียนรู้และเข้าถึงได้ง่ายย่ิงขึ้น รวมถึงการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์
เพอื่ ให้ คิดเป็น ท�ำเป็น และแกไ้ ขปัญหาเป็น
วารสารวิชาการฉบับนี้ขอเสนอบทความวิชาการเรื่อง แผนภาพกับอนุกรมเลขคณิต:
บทสรุปบางประการของสูตรผลบวกของจ�ำนวนเต็ม เน้นการเสนอตัวอย่างการเรียนการสอน
นักเรียน ให้ค้นพบและสรุปความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้แผนภาพที่มีความเป็นรูปธรรมท�ำให้เข้าใจ
คณติ ศาสตรไ์ ดง้ า่ ยขน้ึ สอนภาษาไทยอยา่ งไรใหส้ นกุ สนานพรอ้ มพฒั นาทกั ษะการคดิ วเิ คราะห:์
เทคนคิ 5T Model บรู ณาการกจิ กรรม รอ้ ง เลน่ เตน้ เรยี น ซงึ่ เปน็ นวตั กรรมการสอนทสี่ ามารถ
สอดแทรกในการออกแบบการเรียนรู้ และพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ให้กับนักเรียนได้
การปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาศักยภาพครูบรรจุใหม่ในการจัดการเรียนการสอน
โดยการ Coaching และ Mentoring เปน็ การนำ� เสนอขนั้ ตอนการพฒั นาครบู รรจใุ หม่ เพอ่ื เพม่ิ
ประสิทธิภาพและประสิทธิผล การจัดการเรียนการสอน การออกแบบการเรียนรู้เพ่ือความ
เท่าเทียมอย่างเป็นธรรมในช้ันเรียนรวม เป็นการน�ำหลักการออกแบบมาประยุกต์ใช้กับการจัด
การศึกษา เพื่อช่วยให้นักเรียนทุกคนสามารถเข้าถึงและเรียนรู้ร่วมกันได้ พ่อมือใหม่กับโรงเรียน
หลายทางเลือก เป็นการน�ำเสนอแนวคิดของพ่อมือใหม่ท่ีวางแผนทางเลือกการศึกษาให้กับลูก
PISA กบั คณุ ภาพการศกึ ษาไทย เปน็ การนำ� เสนอกรอบการประเมนิ ของ PISA การบรหิ ารจดั การ
หลกั สตู รสถานศกึ ษา ตามหลกั สตู รแกนกลางการศกึ ษาขนั้ พนื้ ฐาน พทุ ธศกั ราช 2551 ซง่ึ เปน็ การ
รวบรวมประกาศและค�ำสั่งของกระทรวงศึกษาธิการเก่ียวกับการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ข้ันพืน้ ฐาน พุทธศักราช 2551
กองบรรณาธกิ าร ตอ้ งขออภยั ในการลงรายนามประธานคณะกรรมการการศกึ ษาขน้ั พนื้ ฐาน
ไม่ครบถ้วน ในวารสารวิชาการฉบับพิเศษ ครบรอบ 15 ปี และได้ปรับแก้ไขท�ำเนียบประธาน
คณะกรรมการการศกึ ษาขน้ั พนื้ ฐานใหเ้ ปน็ ปจั จบุ นั แลว้ ซงึ่ ปรากฏอยใู่ นหลงั ปกหนา้ และขอขอบคณุ
ผู้เขียนท่ีสร้างสรรค์ และช่วยแลกเปล่ียนเรียนรู้ส่ิงดี ๆ ร่วมกัน โดยผ่านกองบรรณาธิการ
ทที่ ำ� หนา้ ทเ่ี ปน็ ตวั กลางในการสอื่ สาร หวงั เปน็ อยา่ งยง่ิ วา่ วารสารวชิ าการฉบบั นจี้ ะเปน็ ประโยชน์
แกผ่ อู้ า่ นไมม่ ากกน็ อ้ ย ขอขอบคณุ ทกุ ทา่ นทใ่ี หค้ วามสนใจตดิ ตามวารสารวชิ าการมาอยา่ งตอ่ เนอื่ ง
แล้วพบกันใหม่ฉบับหนา้

กองบรรณาธิการ

ปที ่ี 21 ฉบับที่ 4 : ตุลาคม - ธนั วาคม 2561 1

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร
ปี ที่ 2 1 ฉ บั บ ท่ี 4 : ตุ ล า ค ม - ธั น ว า ค ม 2 5 6 1
Cสารบัญ o n t e n t
3 แผนภาพกบั อนุกรมเลขคณติ : คณะท่ปี รกึ ษา
เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาข้นั พน้ื ฐาน
บทสรุปบางประการของสตู รผลบวก (นายบุญรักษ์ ยอดเพชร)
ของจ�ำนวนเตม็ รองเลขาธกิ ารคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พน้ื ฐาน
(นายสนทิ แย้มเกษร)
13 สอนภาษาไทยอย่างไรให้สนกุ สนานพรอ้ มพัฒนา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพน้ื ฐาน
ทักษะการคิดวิเคราะห์ : เทคนิค 5T Model (นายอมั พร พนิ ะสา)
บูรณาการกิจกรรม รอ้ ง เลน่ เต้น เรยี น รองเลขาธกิ ารคณะกรรมการการศึกษาขน้ั พื้นฐาน
(นายพีระ รตั นวิจติ ร)
24 การปฏบิ ัตกิ ารแบบมีสว่ นร่วมเพอื่ พัฒนา ทป่ี รกึ ษาด้านเทคโนโลยีเพอื่ การเรยี นการสอน
ศักยภาพครบู รรจใุ หม่ ในการจดั การเรยี น ทป่ี รึกษาด้านมาตรฐานการศกึ ษา
การสอน โดยการ Coaching และ Mentoring ท่ปี รึกษาด้านการศึกษาพเิ ศษและผู้ดอ้ ยโอกาสทางการศกึ ษา
ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบเครอื ข่ายและการมสี ่วนร่วม
32 การออกแบบการเรยี นร้เู พอ่ื ความเท่าเทียม ทป่ี รกึ ษาดา้ นพฒั นากระบวนการเรียนรู้
อย่างเปน็ ธรรมในช้นั เรยี นรวม ที่ปรกึ ษาด้านนโยบายและแผน
ผู้ชว่ ยเลขาธกิ ารคณะกรรมการการศึกษาข้นั พื้นฐาน
40 พอ่ มือใหมก่ บั โรงเรียนหลายทางเลือก กองบรรณาธิการ
48 PISA กบั คุณภาพการศึกษาไทย ผ้อู ำ�นวยการสำ�นักวชิ าการและมาตรฐานการศึกษา
63 การบรหิ ารจดั การหลักสตู รสถานศึกษา (นางสาวนิจสดุ า อภนิ นั ทาภรณ์)
ผอู้ ำ�นวยการกลุม่ พฒั นาและสง่ เสรมิ วิทยบรกิ าร
(นางเสาวภา ศกั ดา)
นางสาวราตรี ธรรมโชติ
นางสาววราภรณ์ ศรแี สงฉาย
นายรัฐพงษ์ สงวนงาม
ลขิ สทิ ธแิ์ ละผูจ้ ัดพิมพ์
สำ�นักวชิ าการและมาตรฐานการศกึ ษา
สำ�นกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขน้ั พน้ื ฐาน กระทรวงศกึ ษาธกิ าร
พมิ พ์ท่โี รงพมิ พ์ สกสค. ลาดพร้าว
2249 ถนนลาดพร้าว แขวงสะพานสอง เขตวังทองหลาง
กรุงเทพมหานคร 10310
โทรศพั ท์ : 0 2538 3022, 0 2538 0414 โทรสาร : 0 2539 3215
เวบ็ ไซต์ : www.suksapan.or.th

2 ปีที่ 21 ฉบับที่ 4 : ตุลาคม - ธันวาคม 2561

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

แผนภาพกับอนุกรมเลขคณิต:

บทสรปุ บางประการของสตู รผลบวกของจำ� นวนเตม็

• ปรีชากร ภาชนะ : ครูโรงเรยี นภูเขียว
ส�ำนักงานเขตพน้ื ทก่ี ารศึกษามธั ยมศกึ ษา เขต 30

จากประสบการณ์การสอนคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษา พบว่า สาระการเรียนรู้
คณิตศาสตร์หลายสาระมีความเป็นนามธรรมและมีความยุ่งยากในการจัดการเรียนการสอน
นักเรียนหลายคนมีความเชื่อว่า คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ยากต่อการเรียนรู้และไม่เช่ือม่ันศักยภาพ
ของตนเองวา่ จะเรยี นคณติ ศาสตรไ์ ด้ บทความนจี้ ะเสนอตวั อยา่ งของการเรยี นการสอนคณติ ศาสตร์
เร่ือง อนุกรมเลขคณิต ท่ีมุ่งเน้นการสอนท่ีช่วยให้นักเรียนค้นพบความรู้ด้วยตนเองและสรุป
เป็นกรณีท่ัวไปของผลบวกของอนุกรมเลขคณิตด้วยตนเอง โดยผู้เขียนด�ำเนินการพัฒนารูปแบบ
การสอนคณิตศาสตร์ เร่ือง อนุกรมเลขคณิต โดยใช้แผนภาพอย่างต่อเน่ือง ซึ่งการใช้ภาพหรือ
แผนภาพที่มีความเป็นรูปธรรมจะช่วยให้นักเรียนเข้าใจคณิตศาสตร์หรือน�ำมาใช้ในการให้เหตุผล
และพสิ จู นท์ างคณติ ศาสตรไ์ ดง้ า่ ยขน้ึ เชน่ การใชแ้ ผนภาพรปู เรขาคณติ พสิ จู นท์ ฤษฎบี ทพที าโกรสั
การใช้แผนภาพแก้ปัญหาเกี่ยวกับจ�ำนวนสมาชิกของเซตจ�ำกัด การใช้แผนภาพแสดงสูตรผลบวก
ของจำ� นวนนบั เรยี งกนั เปน็ ตน้ (NCTM, 2000) ภาพหรอื แผนภาพเปน็ เครอื่ งมอื ทชี่ ว่ ยใหม้ องเหน็
ความสัมพันธ์ในคณิตศาสตร์หรือความสัมพันธ์ของข้อมูลในสถานการณ์ปัญหาคณิตศาสตร์
และบางคร้ัง การมองเห็นดังกล่าวก็แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในการแสดงให้เห็นว่า กฎ สูตร
ทฤษฎีทางคณติ ศาสตร์เปน็ จริง (Nelsen, 1993)
การใช้ภาพหรือแผนภาพเป็นเครื่องมือในการพิสูจน์และให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์
ในการเรียนคณิตศาสตร์ในสาระท่ีเป็นนามธรรมและในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
จะกระตนุ้ หรือสง่ เสริมให้นกั เรยี นไดฝ้ ึกการคิดเชิงแผนภาพ (Nelsen, 2015) และช่วยให้นกั เรยี น
พัฒนาทักษะการพิสูจน์และการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ นักเรียนท่ีได้รับการฝึกหรือมีการคิด
เชงิ แผนภาพจะหยงั่ เหน็ หรอื เขา้ ใจวา่ กฎ สตู รหรอื ทฤษฎนี นั้ เปน็ จรงิ อยา่ งไร แผนภาพจะเปน็ ทาง
เลอื กทงี่ า่ ยและดกี วา่ ทจี่ ะแสดงใหเ้ หน็ ถงึ ความสามารถในการใหเ้ หตผุ ลของนกั เรยี น (Bell, 2011)

ปที ี่ 21 ฉบบั ท่ี 4 : ตุลาคม - ธนั วาคม 2561 3

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

ดังนั้น แผนภาพและทักษะการมองภาพมีความส�ำคัญต่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
ท�ำให้การเรียนรู้คณิตศาสตร์เป็นรูปธรรมท่ีนักเรียนจับต้องได้ จากประสบการณ์จริงในชั้นเรียน
และยังเป็นวิธีการหนึ่งท่ีนิยมน�ำมาใช้ในการเรียนการสอนและการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
ซ่ึงจากประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ของผู้เขียนพบว่าแผนภาพท่ีแสดง
สูตรอนุกรมเลขคณิตเช่ือมโยงความรู้คณิตศาสตร์ในสาระที่ 1 จ�ำนวนและพีชคณิต สาระท่ี 2
การวัดและเรขาคณิต ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวช้ีวัดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ผลงานทน่ี ำ� เสนอนเี้ ปน็ ผลงานของนกั เรยี นในชน้ั เรยี นคณติ ศาสตรข์ องผเู้ ขยี นและมผี ลงานบางสว่ น
ท่ีผู้เขียนค้นคว้าเพิ่มเติมโดยใช้ผลงานของนักเรียนเป็นแนวคิดพื้นฐานในการสร้างแผนภาพ
แบบใหม่ ๆ จนได้บทสรุปบางประการของสูตรผลบวก n พจน์แรกของอนุกรมเลขคณิต ท้ังนี้
จากการรวบรวมผลงานนักเรียนและศึกษาผลงานอย่างละเอียด แผนภาพที่นักเรียนสร้างขึ้น
เปน็ ผลงานทเี่ รยี บงา่ ยเปน็ แนวคดิ พนื้ ฐานทชี่ ว่ ยทงั้ ครแู ละเพอื่ นนกั เรยี นนำ� ไปสรา้ งสรรคผ์ ลงานได้
แผนภาพรปู แบบทอ่ี ยเู่ หนอื การคาดการณแ์ ละสามารถสรปุ เปน็ สตู รผลบวกของอนกุ รมเลขคณติ ท่ี
แตกต่างจากหนังสือเรียนและแตกต่างไปจากประสบการณ์ท่ีนักเรียนเคยเรียนมา ซ่ึงแนวคิด
ของนกั เรยี นในการใช้แผนภาพแสดงสูตรผลบวกของจ�ำนวนเตม็ แสดงดงั ต่อไปนี้

กรณที ่ี 1 อนุกรมเลขคณติ 1 + 2 + 3 + … + n ซึง่ a1 = 1, d = 1 และ an = n
จากสูตรการลำ� ดบั เลขคณติ an = a1 + (n – 1) d

1 + 2 = 2 (2 + 1)
2

แผนภาพ 1

จากแผนภาพ 1 แสดงผลบวก 2 พจน์แรก 1 + 2 โดยรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีแดง แทน 1
และรปู สเ่ี หลยี่ มจตั รุ สั สเี ขยี ว แทน 2 นำ� รปู สเ่ี หลย่ี มจตั รุ สั แตล่ ะสมี าเรยี งตอ่ กนั และเพม่ิ รปู สเ่ี หลยี่ ม
จัตุรัสสีเทา เพ่ือให้เป็นรูปส่ีเหลี่ยมมุมฉากที่มีพ้ืนที่ 2 × 3 ตารางหน่วย แนวคิดการหาผลบวก
2 พจน์แรกหาได้จาก 1 ใน 2 ของพื้นที่รูปส่ีเหล่ียมมุมฉากที่มีด้านกว้าง ยาว 2 หน่วย และ
ด้านยาว ยาว 3 หน่วย ดังนั้น จากแนวคิดนีผ้ ลบวก 2 พจนแ์ รกเท่ากบั 3

4 ปที ี่ 21 ฉบับท่ี 4 : ตลุ าคม - ธนั วาคม 2561

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

1 + 2 + 3 = 3 (3 + 1)
2

แผนภาพ 2
ในทำ� นองเดยี วกนั แผนภาพ 2 แสดงผลบวก 3 พจนแ์ รก 1 + 2 + 3 โดยรปู สเ่ี หลยี่ มจตั รุ สั
สีแดง แทน 1 รูปส่ีเหลี่ยมจัตุรัสสีเขียว แทน 2 และรูปสี่เหล่ียมจัตุรัสสีเหลือง แทน 3 น�ำรูป
สเี่ หลยี่ มจตั รุ สั แตล่ ะสมี าเรยี งตอ่ กนั และเพมิ่ รปู สเี่ หลยี่ มจตั รุ สั สเี ทา เพอื่ ใหเ้ ปน็ รปู สเ่ี หลย่ี มมมุ ฉาก
ท่ีมีพ้ืนที่ 3 × 4 ตารางหน่วย แนวคิดการหาผลบวก 3 พจน์แรกหาได้จาก 1 ใน 2 ของพื้นท่ี
รปู ส่เี หล่ยี มมมุ ฉากที่มดี ้านกว้าง ยาว 3 หน่วย และดา้ นยาว ยาว 4 หนว่ ย ดังนั้น จากแนวคิดนี้
ผลบวก 3 พจนแ์ รกเท่ากับ 6

1 + 2 + 3 + 4 = 4 (4 + 1)
2

แผนภาพ 3
ในทำ� นองเดยี วกนั แผนภาพ 3 แสดงผลบวก 4 พจนแ์ รก 1 + 2 + 3 + 4 โดยรปู สเี่ หลยี่ ม
จัตุรัสสีแดง แทน 1 รูปส่ีเหลี่ยมจัตุรัสสีเขียว แทน 2 รูปสี่เหล่ียมจัตุรัสสีเหลือง แทน 3 และรูป
สเ่ี หลยี่ มจตั รุ สั สนี ำ�้ เงนิ แทน 4 นำ� รปู สเี่ หลยี่ มจตั รุ สั แตล่ ะสมี าเรยี งตอ่ กนั และเพมิ่ รปู สเ่ี หลยี่ มจตั รุ สั
สเี ทา เพอ่ื ใหเ้ ปน็ รปู สเี่ หลย่ี มมมุ ฉากทม่ี พี นื้ ที่ 4 × 5 ตารางหนว่ ย แนวคดิ การหาผลบวก 4 พจนแ์ รก
หาไดจ้ าก 1 ใน 2 ของพนื้ ทรี่ ปู สเี่ หลย่ี มมมุ ฉากทมี่ ดี า้ นกวา้ ง ยาว 4 หนว่ ย และดา้ นยาว ยาว 5 หนว่ ย
ดงั นัน้ จากแนวคดิ น้ผี ลบวก 4 พจนแ์ รกเทา่ กบั 10
จากการศกึ ษาแผนภาพทแี่ สดงอนกุ รมเลขคณติ 1 + 2 + 3 + … + n มแี บบรปู ของแผนภาพ
ที่เกิดจากการจัดเรียงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 1 × 1 ตารางหน่วย แสดงผลบวก 1 พจน์แรก
ผลบวก 2 พจน์แรก ผลบวก 3 พจน์แรก ผลบวก 4 พจน์แรก และผลบวก 5 พจน์แรก
ตามลำ� ดบั ในลกั ษณะเดยี วกนั และแนวคดิ การหาผลบวกของอนกุ รมเลขคณติ นใี้ นทกุ กรณหี าไดจ้ าก
1 ใน 2 ของพ้ืนที่ของแผนภาพรปู สี่เหลีย่ มมมุ ฉาก

ปีที่ 21 ฉบบั ท่ี 4 : ตลุ าคม - ธันวาคม 2561 5

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

ดังน้นั ผลบวก n พจน์แรกของอนุกรมเลขคณิตน้ีเขียนได้ดังน้ี

1 + 2 + 3 + ... + n = n (n + 1)
2

ท้ังนี้ หากน�ำแนวคิดการใช้แผนภาพแสดงสูตรผลบวกของจ�ำนวนนับเรียงกันข้างต้น
เป็นแนวคิดพื้นฐานในการศึกษาผลบวกของอนุกรมเลขคณิตในรูปแบบลักษณะเดียวกัน
ซ่ึงมีผลต่างร่วมเท่ากัน แต่มีพจน์แรกของอนุกรมเลขคณิตไม่เท่ากัน โดยศึกษาการใช้แผนภาพ
แสดงผลบวกของอนกุ รมเลขคณิตทแ่ี ตล่ ะพจนเ์ ป็นจ�ำนวนเต็มบวก
เพอื่ สงั เกตการเปลย่ี นแปลงของคา่ คงตวั ในผลบวก n พจนแ์ รกของอนกุ รมเลขคณติ ตอ่ ไปน้ี
กรณที ี่ 2 อนกุ รมเลขคณติ 2 + 3 + 4 + … + (n+1) ซง่ึ a1 = 2, d = 1 และ an = n + 1

2 + 3 = 2 (3 + 2)
2

แผนภาพ 4
จากแผนภาพ 4 แสดงผลบวก 2 พจน์แรก 2 + 3 โดยรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีแดง แทน 2
และรปู สเ่ี หลย่ี มจตั รุ สั สเี ขยี ว แทน 3 นำ� รปู สเ่ี หลยี่ มจตั รุ สั แตล่ ะสมี าเรยี งตอ่ กนั และเพมิ่ รปู สเี่ หลย่ี ม
จัตุรัสสีเทา เพ่ือให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากท่ีมีพื้นท่ี 2 × 5 ตารางหน่วย แนวคิดการหาผลบวก
2 พจน์แรกหาได้จาก 1 ใน 2 ของพ้ืนที่รูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่มีด้านกว้าง ยาว 2 หน่วย
และดา้ นยาว ยาว 5 หน่วย ดงั นั้น จากแนวคดิ นผี้ ลบวก 2 พจน์แรกเทา่ กับ 5

2 + 3 + 4 = 3 (4 + 2)
2

แผนภาพ 5
6 ปีที่ 21 ฉบบั ที่ 4 : ตลุ าคม - ธนั วาคม 2561

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

ในทำ� นองเดยี วกนั แผนภาพ 5 แสดงผลบวก 3 พจนแ์ รก 2 + 3 + 4 โดยรปู สเ่ี หลย่ี มจตั รุ สั
สีแดง แทน 2 รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีเขียว แทน 3 และรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีเหลือง แทน 4 น�ำรูป
สเ่ี หลย่ี มจตั รุ สั แตล่ ะสมี าเรยี งตอ่ กนั และเพมิ่ รปู สเี่ หลยี่ มจตั รุ สั สเี ทา เพอื่ ใหเ้ ปน็ รปู สเ่ี หลยี่ มมมุ ฉาก
ท่ีมีพื้นที่ 3 × 6 ตารางหน่วย แนวคิดการหาผลบวก 3 พจน์แรกหาได้จาก 1 ใน 2 ของพื้นที่
รูปส่ีเหลีย่ มมมุ ฉากท่มี ดี ้านกว้าง ยาว 3 หน่วย และด้านยาว ยาว 6 หนว่ ย ดงั น้นั จากแนวคิดน้ี
ผลบวก 3 พจนแ์ รกเทา่ กบั 9

2+ 3+ 4 + 5 = 4 (5 + 2)
2

แผนภาพ 6

ในทำ� นองเดยี วกนั แผนภาพ 6 แสดงผลบวก 4 พจนแ์ รก 2 + 3 + 4 + 5 โดยรปู สเี่ หลยี่ ม
จัตุรัสสีแดง แทน 2 รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีเขียว แทน 3 รูปส่ีเหล่ียมจัตุรัสสีเหลือง แทน 4 และรูป
สเี่ หลยี่ มจตั รุ สั สนี ำ�้ เงนิ แทน 5 นำ� รปู สเี่ หลย่ี มจตั รุ สั แตล่ ะสมี าเรยี งตอ่ กนั และเพม่ิ รปู สเี่ หลยี่ มจตั รุ สั
สีเทา เพอื่ ใหเ้ ป็นรูปสเ่ี หล่ยี มมมุ ฉากทม่ี ีพน้ื ที่ 4 × 7 ตารางหน่วย แนวคดิ การหาผลบวก 4 พจน์
แรกหาได้จาก 1 ใน 2 ของพ้ืนที่รูปสี่เหล่ียมมุมฉากท่ีมีด้านกว้าง ยาว 4 หน่วย และด้านยาว
ยาว 7 หน่วย ดังน้ัน จากแนวคิดนผี้ ลบวก 4 พจนแ์ รกเท่ากับ 14
จากการศกึ ษาแผนภาพทแ่ี สดงอนกุ รมเลขคณติ 2 + 3 + 4 + … + (n + 1) มแี บบรปู ของ
แผนภาพทเี่ กดิ จากการจดั เรยี งรปู สเี่ หลยี่ มจตั รุ สั ขนาด 1 × 1 ตารางหนว่ ย แสดงผลบวก 1 พจนแ์ รก
ผลบวก 2 พจน์แรก ผลบวก 3 พจน์แรก ผลบวก 4 พจน์แรก และผลบวก 5 พจน์แรก
ตามล�ำดับ ในลักษณะเดียวกัน และแนวคิดการหาผลบวกของอนุกรมเลขคณิตน้ีในทุกกรณี
หาไดจ้ าก 1 ใน 2 ของพื้นท่ขี องแผนภาพรปู ส่ีเหลย่ี มมมุ ฉาก
ดังนั้น ผลบวก n พจนแ์ รกของอนุกรมเลขคณิตน้เี ขยี นได้ ดงั น้ี

2 + 3 + 4 + … + (n + 1) = n [(n + 1) + 2] = n (n + 3)
2 2

ปีที่ 21 ฉบบั ท่ี 4 : ตุลาคม - ธันวาคม 2561 7

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

กรณที ี่ 3 อนุกรมเลขคณติ 3 + 4 + 5 + … + (n + 3) ซึ่ง a1 = 3, d = 1 และ an = n + 2

3+4+ 5+ = 3 (5 + 3)
2

แผนภาพ 7
จากแผนภาพ 7 แสดงผลบวกของอนกุ รมเลขคณติ 3 พจนแ์ รก 3 + 4 + 5 โดยรปู สเ่ี หลย่ี ม
จตั รุ สั สแี ดง แทน 3 รปู สเ่ี หลยี่ มจตั รุ สั สเี ขยี ว แทน 4 และรปู สเี่ หลย่ี มจตั รุ สั สเี หลอื ง แทน 5 นำ� รปู
สเี่ หลย่ี มจตั รุ สั แตล่ ะสมี าเรยี งตอ่ กนั และเพม่ิ รปู สเี่ หลยี่ มจตั รุ สั สเี ทา เพอื่ ใหเ้ ปน็ รปู สเี่ หลย่ี มมมุ ฉาก
ที่มีพื้นที่ 3 × 8 ตารางหน่วย แนวคิดการหาผลบวก 3 พจน์แรกหาได้จาก 1 ใน 2 ของพ้ืนที่
รูปส่ีเหล่ยี มมุมฉากทมี่ ดี า้ นกวา้ ง ยาว 3 หนว่ ย และดา้ นยาว ยาว 8 หนว่ ย ดังนัน้ จากแนวคิดนี้
ผลบวก 3 พจน์แรกเทา่ กบั 12

3 + 4 + 5 + 6 = 4 (6 + 3)
2

แผนภาพ 8
ในทำ� นองเดยี วกนั แผนภาพ 8 แสดงผลบวกของอนกุ รมเลขคณติ 4 พจนแ์ รก 3 + 4 + 5 + 6
โดยรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีแดง แทน 3 รูปส่ีเหลี่ยมจัตุรัสสีเขียว แทน 4 รูปส่ีเหลี่ยมจัตุรัสสีเหลือง
แทน 5 และรูปสี่เหลยี่ มจตั ุรสั สนี �ำ้ เงนิ แทน 6 น�ำรูปส่ีเหลย่ี มจัตุรสั แต่ละสีมาเรยี งต่อกนั และเพม่ิ
รปู สเ่ี หลยี่ มจตั รุ สั สเี ทา เพอื่ ใหเ้ ปน็ รปู สเ่ี หลยี่ มมมุ ฉากทมี่ พี นื้ ท่ี 4 × 9 ตารางหนว่ ย แนวคดิ การหา
ผลบวก 4 พจนแ์ รกหาไดจ้ าก 1 ใน 2 ของพนื้ ทร่ี ปู สเ่ี หลย่ี มมมุ ฉากทมี่ ดี า้ นกวา้ ง ยาว 4 หนว่ ย และ
ดา้ นยาว ยาว 9 หน่วย ดงั นัน้ จากแนวคิดนี้ผลบวกของอนุกรมเลขคณิต 4 พจนแ์ รกเท่ากบั 18

8 ปีที่ 21 ฉบับที่ 4 : ตุลาคม - ธนั วาคม 2561

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

จากการศกึ ษาแผนภาพทแี่ สดงอนกุ รมเลขคณติ 3 + 4 + 5 + … + (n + 2) มแี บบรปู ของ
แผนภาพทเ่ี กดิ จากการจดั เรยี งรปู สเ่ี หลย่ี มจตั รุ สั ขนาด 1 × 1 ตารางหนว่ ย แสดงผลบวก 1 พจนแ์ รก
ผลบวก 2 พจนแ์ รก ผลบวก 3 พจนแ์ รก ผลบวก 4 พจนแ์ รก และผลบวก 5 พจนแ์ รก ตามล�ำดบั
ในลกั ษณะเดยี วกนั และแนวคดิ การหาผลบวกของอนกุ รมเลขคณติ นใี้ นทกุ กรณหี าไดจ้ าก 1 ใน 2
ของพ้ืนทีข่ องแผนภาพรปู ส่เี หล่ยี มมุมฉาก
ดงั น้ัน ผลบวก n พจนแ์ รกของอนุกรมเลขคณติ นีเ้ ขียนได้ ดังน้ี

3 + 4 + 5 + ... + (n + 2) = n[(n + 2) + 3] = n (n + 5)
2 2

เม่ือพิจารณาการใช้แผนภาพแสดงผลบวกของอนุกรมเลขคณิต ทั้งกรณีท่ี 1 กรณีที่ 2
และกรณีที่ 3 เป็นการศึกษาแผนภาพกับอนุกรมเลขคณิตที่แต่ละพจน์เป็นจ�ำนวนเต็มบวก
มแี ผนภาพท่ีเกดิ จากการจดั เรียงรปู ส่เี หลี่ยมจัตุรสั ขนาด 1 × 1 ตารางหน่วย ในลักษณะเดยี วกัน
และมีแนวคิดการหาพ้ืนที่ของแผนภาพในท�ำนองเดียวกัน โดยแต่ละกรณีน�ำพจน์แรกมาบวกเพิ่ม
พจน์สดุ ทา้ ย ซงึ่ เป็นความยาวของรูปสเ่ี หล่ียมมมุ ฉาก ผลบวกของอนกุ รมเลขคณิตจะเท่ากับพื้นที่
1 ใน 2 ของพ้ืนที่แผนภาพรูปส่ีเหลยี่ มมมุ ฉากเสมอ ทง้ั น้ีหากศึกษาการเปลย่ี นแปลงของคา่ คงตวั
ในสตู รผลบวก n พจนแ์ รกของอนกุ รมเลขคณติ ทก่ี ลา่ วขา้ งตน้ จะเหน็ การเปลยี่ นแปลงของคา่ คงตวั
ในสตู ร ดงั นี้

1 + 2 + 3 + ... + n = n (n + 1)
2

2 + 3 + 4 + ... + (n + 1) = n (n + 3)
2

3 + 4 + 5 + ... + (n + 2) = n (n + 5)
2

ปที ี่ 21 ฉบบั ท่ี 4 : ตุลาคม - ธันวาคม 2561 9

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

เมอ่ื ศกึ ษาความสมั พนั ธข์ องแผนภาพกบั อนกุ รมเลขคณติ โดยพนื้ ทข่ี องแผนภาพรปู สเ่ี หลยี่ ม
มุมฉากเทา่ กบั ผลบวกของอนกุ รมเลขคณติ เนอ่ื งจากแผนภาพแสดงอนกุ รมเลขคณติ ท่แี ต่ละพจน์
เปน็ จำ� นวนเตม็ บวก จะเปน็ ความสมั พนั ธท์ สี่ ามารถทำ� ความเขา้ ใจไดง้ า่ ย ทงั้ นหี้ ากอนกุ รมเลขคณติ
ท่ีมีแต่ละพจน์เป็นจ�ำนวนเต็มลบหรืออนุกรมเลขคณิตบางพจน์เป็นจ�ำนวนเต็มลบหรือศูนย์
หรอื จำ� นวนเตม็ บวกอยใู่ นอนกุ รมเดยี วกนั แผนภาพทใ่ี ชแ้ สดงอนกุ รมเลขคณติ ดงั กลา่ วจะเปน็ อยา่ งไร
ผลงานบางส่วนที่ผู้เขียนใช้แนวคิดจากผลงานของนักเรียนศึกษาเพิ่มเติมเพ่ือแก้ปัญหาดังกล่าว
โดยใชค้ วามร้เู ร่อื งแกนพิกัดในระนาบ จตภุ าคที่ 1 และจตุภาคท่ี 4 ซงึ่ ใชแ้ ผนภาพแสดงได้ดงั น้ี
กรณที ่ี 4 อนกุ รมเลขคณติ (-1) + 0 + 1 + … + (n - 2) ซงึ่ a1 = -1, d = 1 และ an = n - 2

(-1) + 0 + 1 + 2 = 4 [2 + (-1)]
2

แผนภาพ 9

จากแผนภาพ 9 แสดงผลบวกของอนกุ รมเลขคณติ 4 พจนแ์ รก (-1) + 0 + 1 + 2 โดยรูป
สี่เหล่ียมจัตุรัสสีแดง แทน -1 รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีเขียว แทน 1 และรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีเหลือง
แทน 2 น�ำรูปสี่เหล่ียมจัตุรัสแต่ละสีมาเรียงต่อกันให้เป็นรูปส่ีเหลี่ยมมุมฉาก โดยเว้นช่องส�ำหรับ
พจน์ที่ 2 ซ่ึงมีค่าเป็นศูนย์ จากน้ันเพิ่มรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีขาวให้เป็นรูปส่ีเหลี่ยมมุมฉากที่มีพ้ืนท่ี
4 × 3 ตารางหน่วย ซ่งึ มีบางส่วนอยใู่ นจตุภาคที่ 1 ในทีน่ ้แี สดงจำ� นวนเต็มบวก และจตภุ าคท่ี 4
ในท่ีนี้แสดงจ�ำนวนเต็มลบ ท้ังน้ีรูปสี่เหล่ียมมุมฉากแบ่งเป็น 3 ส่วน โดยใช้กรอบสีด�ำแบ่งรูป
สว่ นแรกอยใู่ นจตภุ าคที่ 4 และอกี 2 สว่ นอยใู่ นจตภุ าคที่ 1 ในระบบแกนพกิ ดั ฉาก แนวคดิ การหา
ผลบวก 4 พจน์แรกหาได้จาก 1 ใน 2 ของพ้ืนที่รูปสี่เหลี่ยมมุมฉากกรอบสีด�ำท่ีมีด้านกว้าง
ยาว 1 หน่วย และด้านยาว ยาว 4 หนว่ ย ดงั นั้น จากแนวคิดน้ีผลบวก 4 พจนแ์ รกเทา่ กับ 2

(-1) + 0 + 1 + 2 + 3 = 5 [3 + (-1)]
2

แผนภาพ 10
10 ปีท่ี 21 ฉบบั ท่ี 4 : ตุลาคม - ธนั วาคม 2561

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

ในท�ำนองเดียวกันแผนภาพ 10 แสดงผลบวกของอนุกรมเลขคณิต 5 พจน์แรก
(-1) + 0 + 1 + 2 + 3 โดยรูปส่ีเหล่ียมจัตุรัสสีแดง แทน -1 รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีเขียว แทน 1
รูปสี่เหล่ียมจัตุรัสสีเหลือง แทน 2 และรูปส่ีเหลี่ยมจัตุรัสสีน�้ำเงิน แทน 3 น�ำรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
แต่ละสีมาเรียงต่อกันให้เป็นรูปส่ีเหล่ียมมุมฉาก โดยเว้นช่องส�ำหรับพจน์ที่ 2 ซึ่งมีค่าเป็นศูนย์
จากนั้นเพิ่มรูปส่ีเหลี่ยมจัตุรัสสีขาวเพื่อให้เป็นรูปส่ีเหล่ียมมุมฉากท่ีมีพื้นที่ 4 × 5 ตารางหน่วย
ซงึ่ มบี างสว่ นอยใู่ นจตภุ าคที่ 1 ในทนี่ แ้ี สดงจำ� นวนเตม็ บวก และจตภุ าคท่ี 4 ในทน่ี แ้ี สดงจำ� นวนเตม็ ลบ
ท้ังนี้รูปส่ีเหล่ียมมุมฉากแบ่งเป็น 3 ส่วน โดยใช้กรอบสีด�ำแบ่งรูป ส่วนแรกอยู่ในจตุภาคที่ 4
และอีก 2 ส่วนอยู่ในจตุภาคท่ี 1 ในระบบแกนพิกัดฉาก แนวคิดการหาผลบวก 5 พจน์แรก
หาได้จาก 1 ใน 2 ของพื้นที่รูปส่ีเหลี่ยมมุมฉากท่ีมีด้านกว้าง ยาว 2 หน่วย และด้านยาว
ยาว 5 หน่วย ดังนั้น จากแนวคิดน้ผี ลบวก 4 พจน์แรกเทา่ กับ 5
จากการศกึ ษาแผนภาพทีแ่ สดงอนกุ รมเลขคณติ (-1) + 0 + 1 + … + (n - 2) มีแบบรปู
ของแผนภาพทเ่ี กดิ จากการจดั เรยี งรปู สเ่ี หลยี่ มจตั รุ สั ขนาด 1 × 1 ตารางหนว่ ย แสดงแทนผลบวก
1 พจนแ์ รก ผลบวก 2 พจนแ์ รก ผลบวก 3 พจนแ์ รก ผลบวก 4 พจนแ์ รก และผลบวก 5 พจนแ์ รก
ตามล�ำดับ ในลักษณะเดียวกัน และแนวคิดการหาผลบวกของอนุกรมเลขคณิตน้ีในทุกกรณี
หาไดจ้ าก 1 ใน 2 ของพ้ืนท่ีของแผนภาพรูปส่เี หล่ียมมมุ ฉาก
ดังนน้ั ผลบวก n พจน์แรกของอนกุ รมเลขคณติ นี้เขยี นได้ ดงั นี้

(-1) + 0 + 1 + ... + (n - 2) = n [(n - 2) + (-1)] = n (n - 3)
2 2

น�ำความสัมพันธ์ระหว่างแผนภาพและผลบวกของอนุกรมเลขคณิตท้ังในกรณีท่ี 1 กรณี
ท่ี 2 กรณที ี่ 3 และกรณที ี่ 4 ไปใชศ้ กึ ษาสตู รการหาผลบวกของอนกุ รมเลขคณติ ในลกั ษณะเดยี วกนั
โดยใชค้ า่ คงตวั c เปน็ จำ� นวนเตม็ ในกรณอี นื่ ๆ จะพบวา่ มแี ผนภาพในลกั ษณะเดยี วกนั และแนวคดิ
การหาพ้ืนที่ของแผนภาพในท�ำนองเดียวกันเสมอ ซ่ึงหากเขียนสูตรผลบวกของอนุกรมเลขคณิต
ที่มีค่าคงตัว c แตกต่างกัน โดยเรียงล�ำดับใหม่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงของค่าคงตัว c ในสูตร
การหาผลบวก n พจนแ์ รกของอนกุ รมเลขคณิต ดงั น้ี

ปีที่ 21 ฉบับท่ี 4 : ตลุ าคม - ธนั วาคม 2561 11

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

(-2) + (-1) + 0 + ... + (n - 3) = n (n - 5)
2
n (n - 3)
(-1) + 0 + 1 + ... + (n - 2) = 2

0 + 1 + 2 + ... + (n - 1) = n (n - 1)
2
n (n + 1)
1 + 2 + 3 + ... + (n + 0) = 2

2 + 3 + 4 + ... + (n + 1) = n (n + 3)
2
n (n + 5)
3 + 4 + 5 + ... + (n + 2) = 2

1 + 2 + 3 + ... + (n + c) = n [(n + (2c + 1)]
2

ส�ำหรับกรณีคา่ คงตวั c เป็นจำ� นวนเต็มใด ๆ จะเหน็ การเปลีย่ นแปลงของคา่ คงตัวในสตู ร
การหาผลบวก n พจน์แรกของอนุกรมเลขคณิต เม่ือก�ำหนดให้ c เป็นจ�ำนวนเต็มใด ๆ และ n
เป็นจำ� นวนนบั

เอกสารอ้างองิ
Bell, C. J. (2011). Proof with a Visual Application of Mathematics Teacher. 104 (9). 690 – 695.
National Council of Teacher of Mathematics. (2000). Principles and Standards for School
Mathematics. The National Council of Teacher of Mathematics, Inc.
Nelsen, R. B. (1993). Proof Without Words I Exercises in Visual Thinking. The Mathematical
Association of America, Inc.
______. (2015). Proof Without Words III Further Exercises in Visual Thinking. The Mathematical
Association of America, Inc.

12 ปีที่ 21 ฉบับที่ 4 : ตุลาคม - ธนั วาคม 2561

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

สอนภาษาไทยอย่างไรให้สนุกสนานพร้อมพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ :

เทคนคิ 5T Model บูรณาการกิจกรรม รอ้ ง เล่น เต้น เรยี น

• ธนนิ ท์รฐั กฤษฎฉิ์ นั ทัชท์ ศริ ิวศิ าลสวุ รรณ ครโู รงเรยี นอนุบาลพระสมทุ รเจดยี ์
ส�ำนกั งานเขตพน้ื ที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1

ทักษะการคิดเป็นเครื่องมือส�ำคัญท่ีจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถด�ำเนินชีวิตได้อย่างมี
ประสิทธิภาพในยุคศตวรรษท่ี 21 เนื่องด้วยความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ที่ส่งผลต่อสภาพสังคม ท�ำให้สังคมมีการเปล่ียนแปลงอย่างรวดเร็ว ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูล
ขา่ วสาร สารสนเทศตา่ งๆ ไดอ้ ยา่ งรวดเรว็ ผา่ นสอ่ื ทห่ี ลากหลาย บคุ คลจำ� เปน็ จะตอ้ งใชท้ กั ษะการคดิ
ในการพจิ ารณาขา่ วสารและเรอ่ื งราวทเี่ กดิ ขนึ้ รอบตวั วา่ ความจรงิ เปน็ เชน่ ไร อะไรควรเชอื่ ไมค่ วรเชอ่ื
สงิ่ ไหนทค่ี วรถอื ปฏบิ ตั ิ การคดิ วเิ คราะหเ์ ปน็ พน้ื ฐานของทกั ษะการคดิ ขนั้ สงู ประเภทหนงึ่ ทจ่ี ะทำ� ให้
บคุ คลสามารถพจิ ารณาอยา่ งมหี ลกั การ สามารถควบคมุ จดั การและตรวจสอบความคดิ ของตนเองได้
รวมทั้งสามารถตัดสินใจและแก้ปัญหาโดยใช้เหตุผลอย่างถูกต้องเหมาะสม จึงนับได้ว่าเป็นทักษะ
ส�ำคัญท่ีจะพัฒนาบุคคลให้สามารถ “คิดเป็น ท�ำเป็น แก้ปัญหาเป็น” (คณะกรรมการการศึกษา
แห่งชาติ, 2545: 50-51) แต่การจัดการศึกษาเพ่ือพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดวิเคราะห์
ของประเทศไทยนนั้ พบวา่ ผลการจดั การศกึ ษาไมค่ อ่ ยประสบผลสำ� เรจ็ เทา่ ทค่ี วร ดงั จะเหน็ ไดจ้ าก
ผลจากเยาวชนไทยยังขาดทักษะความสามารถในการคิดอยู่ จากการสรุปผลการประเมนิ คณุ ภาพ
การศึกษาของส�ำนักรับรองและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ในรายงานประจ�ำปี 2557
ภาพรวมในปงี บประมาณ พ.ศ. 2555 - 2556 พบวา่ ผลการประเมนิ คณุ ภาพภายนอกในดา้ นผเู้ รยี น
ส่วนใหญ่ยังไม่มีคุณภาพในมาตรฐานท่ี 4 ท่ีก�ำหนดว่า ผู้เรียนมีความสามารถคิดวิเคราะห์
คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรองและมีวิสัยทัศน์ ซึ่งน่ันแสดงให้
เห็นว่า สภาพการพัฒนาส่งเสริมทักษะการคิดในโรงเรียนยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ ซึ่งเมื่อ
เปรียบเทียบกับผลการประเมินในมาตรฐานอ่ืนๆ ทั้ง 14 มาตรฐาน พบว่า มีผลประเมินต่�ำสุด
ดังนั้น ทักษะการคิดวิเคราะห์จึงเป็นทักษะที่จ�ำเป็นที่ผู้เรียนต้องได้รับการเสริมสร้างและพัฒนา
อยา่ งมีประสทิ ธภิ าพ

ปที ี่ 21 ฉบบั ที่ 4 : ตลุ าคม - ธนั วาคม 2561 13

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

การคิดวิเคราะห์เป็นการจัดการกับข้อมูลในสถานการณ์ แล้วน�ำไปสู่การคิดระดับสูง เช่น
การคดิ อยา่ งมวี จิ ารณญาณ (Critical Thinking) การคดิ เพอ่ื ตดั สนิ ใจ (Decision Making) การคดิ
แกป้ ญั หา (Problem Solving) และการคดิ สรา้ งสรรค์ (Creative Thinking) ซงึ่ ไดม้ าจากพนื้ ฐาน
การคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking) ซึง่ สามารถสรุปเป็นความสัมพันธท์ ีต่ อ่ เน่อื งกนั ได้ ดงั นี้

การคิดวิเคราะห์ การคดิ อย่างมีวจิ ารณญาณ การคิดตัดสินใจ

- ระบุความสำ� คัญ - ระบบข้อมูลหลากหลาย เลือกวิธีทเ่ี หมาะสม การคดิ แก้ปัญหา
- แจกแจงขอ้ มูลและ - ทบทวนจดุ เด่นจดุ ด้อย เปน็ ประโยชน์ในการแกไ้ ข การคิดอย่างสรา้ งสรรค์
จำ� แนกข้อมูล ของระบบขอ้ มลู ปญั หาหรอื สรา้ งสรรคง์ าน
- ระบุความสมั พนั ธ์ - ปรบั ระบบโดยหา
และความเปน็ เหตุผล ข้อมลู เพม่ิ

การคดิ วิเคราะหน์ �ำไปส่กู ารคดิ ระดับสูง (วทิ ย์ทิชยั พวงคำ� , 2551: 2)

จะพบว่า การคิดวิเคราะห์น้ันเป็นพื้นฐานของการคิดระดับสูง อนึ่ง ในสังคมปัจจุบัน
ครมู บี ทบาทสำ� คญั ในการจดั การเรยี นรทู้ เ่ี นน้ ทกั ษะการคดิ ดงั นน้ั ครใู นยคุ ศตวรรษที่ 21 ตอ้ งคำ� นงึ
ในเรื่อง การจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอ้ือต่อการฝึกทักษะการคิด รู้จักวิธีการกระตุ้นให้นักเรียน
สนใจใฝ่รูส้ กู่ ารคดิ ให้นักเรียนไดแ้ สดงความคดิ เห็นอยา่ งอิสระโดยมีครเู ปน็ ผเู้ สรมิ และนำ� ทางไปสู่
เป้าหมายของการคิดท่ีถูกต้อง เช่ือมโยงความคิดเห็นของนักเรียนท่ีมีความคิดแตกต่างกัน ครูต้อง
ใจกวา้ งรบั ฟงั ความคดิ เหน็ ของนกั เรยี นบนพน้ื ฐานของเหตผุ ล มคี วามเปน็ มติ ร มคี วามใกลช้ ดิ และ
จริงใจต่อนักเรียน ฝึกให้นักเรียนได้รู้จักค้นพบในส่ิงท่ีเรียนรู้ด้วยตนเอง ฝึกให้นักเรียนได้รู้จัก
อภิปรายร่วมกันและเสนอแนะผลจากการคิดอย่างถูกต้องเหมาะสม แต่อย่างไรก็ตาม ครูจะต้อง
เตรียมการต่าง ๆ เพ่ือช่วยให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการคิด เช่น กิจกรรมการฝึกทักษะการคิด
แบบฝึกหัดทักษะการคิด กระบวนการจดั การเรียนรู้ ใชว้ ิธสี อนอย่างหลากหลายทเ่ี นน้ ใหน้ กั เรยี น
รู้จักการคิด การท่ีครูฝึกให้นักเรียนเป็นผู้ตื่นตัวในการเรียนรู้การใช้ทักษะการคิดอยู่เสมอโดย
เชอ่ื มโยงประสบการณเ์ ดมิ ของตนเองกบั ขอ้ มลู ความรทู้ แี่ สวงหามาใหมม่ าเปน็ พนื้ ฐานหรอื ประเดน็
ในการคิดอยู่ตลอดเวลาสม่�ำเสมอ จนเป็นวิถีชีวิตของการเรียนรู้ของนักเรียนแล้ว ย่อมส่งผลให้
นักเรียนเป็นบุคลากรท่ีมีคุณภาพ สามารถด�ำเนินชีวิตไปตามเส้นทางที่ถูกต้อง ครูจึงได้ช่ือว่าเป็น
ผู้สร้างนักคิดรุ่นเยาว์ซ่ึงจะส่งผลให้พลเมืองของชาติเป็นผู้มีทักษะการคิด คิดเป็น คิดถูก ท�ำถูก

14 ปีท่ี 21 ฉบับท่ี 4 : ตลุ าคม - ธันวาคม 2561

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

อนั จะสง่ ผลตอ่ การพฒั นาประเทศทกุ ดา้ นในอนาคต (สคุ นธ์ สนิ ธพานนทแ์ ละคณะ, 2555: 25-28;
ไพฑรู ย์ สนิ ลารตั น์, 2557: 9-17; พมิ พนั ธ์ เดชะคปุ ต์ และพเยาว์ ยินดสี ขุ , 2557: 1-11)
ครผู สู้ อนภาษาไทยจงึ สรา้ งนวตั กรรมทใี่ ชช้ อ่ื THINK TALK TURN plus TEACH for THAI
LANGUAGE: 5T Model โดยบูรณาการกิจกรรม ร้อง เล่น เต้น เรียน เข้ามามีบทบาทส�ำคัญ
ในการพัฒนานักเรยี นในเร่อื ง ทกั ษะการคดิ วิเคราะห์ ดังน้ี

กระบวนการจดั กิจกรรมการเรยี นรู้

ขั้นนำ� กิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นพัฒนากิจกรรมการเรยี นรู้

ขัน้ สรปุ และประเมนิ ผล
กจิ กรรมการเรียนรู้

5T Model

กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรโู้ ดยใช้นวตั กรรม 5T Model
(ธนินท์รฐั กฤษฎฉ์ิ ันทชั ท์ ศิรวิ ิศาลสวุ รรณ, 2559: 108)

อน่งึ นวัตกรรม THINK TALK TURN plus TEACH for THAI LANGUAGE: 5T Model

หมายถึง เทคนิคการสอนท่ีมีประสิทธิภาพสามารถสอดแทรกเข้าในกระบวนการจัดกิจกรรม

การเรยี นรใู้ นขนั้ ตอนใดขน้ั ตอนหนงึ่ หรอื ทง้ั 3 ขน้ั ตอนได้ คอื ขนั้ นำ� กจิ กรรมการเรยี นรู้ ขนั้ พฒั นา

กิจกรรมการเรียนรู้ และขั้นสรุปและประเมินผลกิจกรรมการเรียนรู้ โดย 5T Model ท่ีครูผู้สอน

ภาษาไทยสรา้ งขึ้นมานัน้ มรี ายละเอียด ดงั น้ี

T - THINK คอื การคิด

T - TALK คือ การพูดคุย แลกเปล่ยี นประสบการณก์ ารเรียนรู้

T - TURN A KNOWLEDGE คอื การย้อนกลบั แห่งมวลความรู้ (วัดและประเมนิ )

T - TEACH คอื การสอนของครู หรอื เพอ่ื นสอนเพ่ือน

T - THAI LANGUAGE SKILLS คือ ทกั ษะวชิ าภาษาไทย (การฟงั พูด อ่านและเขยี น)

ปที ี่ 21 ฉบบั ที่ 4 : ตุลาคม - ธันวาคม 2561 15

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

ความแปลกใหม่ของนวตั กรรม

1. เกิดจากแนวคิดแปลกใหม่ ไม่เคยมปี รากฏมาก่อน
นวตั กรรมท่ีน�ำเสนอน้ี ข้าพเจ้าไดส้ งั เคราะหแ์ ละประยกุ ตท์ ฤษฎที างการศึกษา เพ่อื ให้
เกดิ ประสทิ ธภิ าพสงู สุดแกผ่ เู้ รยี น ดงั รปู แบบตอ่ ไปนี้

บูรณาการกิจกรรม เลน่
ร้อง เต้น

เรียน

2. เปน็ การพัฒนาต่อยอดจากแนวคดิ เดิม

Think
Teach Teach

รอ้ ง เล่น
เตน้ เรยี น
Turn Talk

Teach แนวคดิ เดิม 5T Model
แนวคดิ เดิม Triple T plus T Model

3. มีการปรบั ปรงุ จากแนวคิดเดิมและน�ำมาพัฒนาใหม่
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการเรียนการสอนประเภทเทคนิค
การจดั กจิ กรรมการเรยี นรรู้ ายวชิ าภาษาไทยเพอ่ื พฒั นาทกั ษะการคดิ วเิ คราะหไ์ ดบ้ รู ณาการกจิ กรรม
ต่าง ๆ ดังน้ี

16 ปที ี่ 21 ฉบับที่ 4 : ตุลาคม - ธันวาคม 2561

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

กระบวนการกลมุ่ เลน่
รบั ฟงั คแวลามะคิดเห็น รอ้ ง เตน้

เรียน

การเรยี นแบบร่วมมอื นวตั กรรมชุดกิจกรรมการเรียนรู้วชิ าภาษาไทย
ทกั ษะการคดิ วิเคราะห์

เกมการศกึ ษา ทักษะชวี ติ ค�ำถาม RCA

4. ผลงานมีจุดเด่น นา่ สนใจ สะท้อนถงึ การมแี นวคดิ ใหม่
ชุดนวัตกรรมประเภทเทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยนี้
ได้สังเคราะห์ทฤษฎีทางการศึกษา และหลอมรวมประยุกต์เข้าใช้ร่วมกับแผนการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้เพ่ือพัฒนาผู้เรียนให้เกิดเจตคติท่ีดีต่อรายวิชาภาษาไทยและพัฒนาผลสัมฤทธ์ิ
ให้มีคุณภาพอยา่ งแทจ้ ริง โดยมจี ดุ เดน่ ดังนี้

1) การจดั กิจกรรมการเรยี นรู้ให้เหมาะสมกบั ช่วงวยั
2) ใช้เทคนิควธิ ี/กลวิธแี บบ5T Model (Think Talk Turn Teach Thai)
3) การเรยี นแบบสรา้ งสรรค์
4) ทกั ษะการคดิ วเิ คราะห์
5) ทกั ษะชีวติ
6) การเรยี นแบบรว่ มมอื /มีส่วนร่วม
7) เกมการศึกษา
8) คำ� ถาม RCA
9) กจิ กรรม รอ้ ง เลน่ เตน้ เรยี น
10) กระบวนการกลุม่ และรับฟงั ความคิดเห็น

ปที ี่ 21 ฉบับท่ี 4 : ตุลาคม - ธันวาคม 2561 17

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

5. ใช้ง่าย สะดวก
เนอื่ งจากนวตั กรรมนเ้ี ปน็ ชดุ นวตั กรรมประเภทเทคนคิ การจดั กจิ กรรมการเรยี นรรู้ ายวชิ า
ภาษาไทย จงึ มคี วามสะดวก สามารถปรับประยกุ ต์เขา้ กบั ทุกช่วงวัย และทกุ กลมุ่ สาระการเรยี นรู้
เพราะในการจัดท�ำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนในแต่ละรายวิชาน้ัน สามารถ
ใช้นวัตกรรม 5T Model (Think Talk Turn Teach Thai) ร่วมเข้าเป็นส่วนหน่ึง
ในกระบวนการ/ข้ันตอน/การด�ำเนินกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม ท้ังนี้ สามารถน�ำเทคนิคการสอน
ท่ีมีประสิทธิภาพสามารถสอดแทรกเข้าในกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในขั้นตอนใด
ขั้นตอนหนึง่ หรอื ทงั้ 3 ข้ันตอนได้ ดังน้ี
1) ข้นั นำ� กจิ กรรมการเรียนรู้
2) ขัน้ พฒั นากิจกรรมการเรยี นรู้
3) ขน้ั สรุปและประเมินผลกจิ กรรมการเรยี นรู้

6. ลงทนุ น้อย
ชุดนวัตกรรมประเภทเทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยนี้ เป็น
นวัตกรรมที่ไม่ต้องลงทุนสิ่งใดเลย นอกจากการคิดของผู้ใช้นวัตกรรมและส่ือการเรียนรู้ต่าง ๆ
ภายในหอ้ งเรียน เช่น กระดาษท่ีใชแ้ ลว้ ตะกรา้ รม่ เกา้ อ้ี โตะ๊ ไม้กวาด เปน็ ตน้ โดยสิ่งของต่าง ๆ
ภายในห้องเรียนนั้นเป็นเสมือนส่ือการเรียนรู้แบบธรรมดาพ้ืนฐาน แต่ที่จริงแล้ว ผู้สอนสามารถ
ประยุกต์เพ่ือเร้าความสนใจให้กับผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ท้ังน้ี ผู้สอนสามารถใช้สภาพแวดล้อม
ในบริเวณโรงเรียนหรือหอ้ งเรยี นเปน็ ฐานได้ เช่น ห้องสมดุ ลานกีฬา หอประชมุ สวนในวรรณคดี
เป็นต้น

ตัวอย่างกจิ กรรม

กจิ กรรมที่ 1 “ปริศนาภาษากาย”
1. ครสู มุ่ นกั เรยี นโดยการจบั สลากออกมาหนา้ ชน้ั เรยี น จำ� นวน 10 คน จากนน้ั ใหน้ กั เรยี น
แต่ละคนเลือกหนังสือท่ีด้านหลังติดบัตรค�ำท่ีครูเตรียมไว้ คนละ 1 เล่ม (กระต่าย ตะโกน ระฆัง
กระจก พระอาทติ ย์ ขนม สนกุ ทหาร จมกู ขยนั ) โดยครใู หน้ กั เรยี นแตล่ ะคนแสดงทา่ ทางประกอบคำ�
โดยมีกติกา ดังน้ี

18 ปที ่ี 21 ฉบบั ที่ 4 : ตุลาคม - ธันวาคม 2561

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

กติกา คือ ห้ามนักเรียนพูดหรือส่งเสียงในการแสดงท่าทางประกอบโดยเด็ดขาด จากน้ัน
ให้นักเรียนในห้องเรียนทายว่าท่าทางนั้นตรงกับค�ำว่าอะไร ครูติดบัตรค�ำทั้งหมดบนกระดาน
(Think, Talk)
2. ใหน้ กั เรยี นอ่านค�ำบนกระดานและสงั เกตคำ� โดยครูใช้ค�ำถาม ดังนี้ (Turn)
- ค�ำเหลา่ นี้มีส่งิ ท่เี หมือนกนั คืออะไร
(อา่ นออกเสยี ง อะ)
- คำ� ทมี่ รี ปู - ะ ประสมอยู่ มคี �ำอะไรบ้าง
(กระต่าย ตะโกน ระฆัง กระจก พระอาทติ ย)์
- คำ� ทีอ่ อกเสยี ง อะ แต่ไมม่ ี รปู - ะ ประสมอยู่ มคี ำ� อะไรบ้าง
(ขนม สนกุ ทหาร จมกู ขยนั )
- ค�ำที่มี - ะ เรยี กวา่ อะไร
(คำ� ท่ปี ระวสิ รรชนยี ์)
- ค�ำทไ่ี มม่ ี - ะ เรยี กวา่ อะไร
(คำ� ทไี่ ม่ประวิสรรชนยี ์)
3. ครใู หค้ วามรกู้ บั นกั เรยี นว่า ค�ำทม่ี รี ปู -ะ ประสมอยู่ เราเรยี กวา่ “ค�ำทปี่ ระวสิ รรชนยี ”์
ส่วนค�ำท่ีไม่มีรูป -ะ แต่อ่านออกเสียง อะ ก่ึงเสียง เรียกว่า “ค�ำที่ไม่ประวิสรรชนีย์” (Teach,
Thai Skills)
กจิ กรรมเพลง “ร้องเพลง ประ - ไมป่ ระ จำ� งา่ ยขนึ้ ใจ”
กตกิ า ครูใหน้ ักเรยี นรอ้ งเพลงพร้อมแสดงท่าทางประกอบเพลงตามครู ดังน้ี
(Think Talk Turn Teach Thai Skills)
ประ คือ อะ ประวสิ รรชนีย์ (ซำ้� ) // ดู ดู ดู (ซำ้� )
มองไปเจอ สระอะ (ซ�ำ้ ) // อ่าน ออก อะ เต็มเสียง
ไม่ประ คือ ไม่อะ ไมป่ ระวสิ รรชนยี ์ (ซ�้ำ) // ดู ดู ดู (ซ้�ำ)
มองไปไมเ่ จอ สระอะ (ซำ้� ) // อา่ น ออก อะ ก่ึงเสียง
กิจกรรมที่ 2 “ประ – ไม่ประ อพยพขนึ้ เรือ”
โดยครูสมมติสถานการณ์น้�ำท่วมให้นักเรียนอพยพตนเองขึ้นเรือของครูให้ได้ท้ังหมด

ปที ี่ 21 ฉบับท่ี 4 : ตุลาคม - ธนั วาคม 2561 19

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

กติกา
- ครูแจกบัตรค�ำให้นักเรียนทุกคน โดยบัตรค�ำที่ครูแจกน้ันจะเป็นบัตรค�ำในหมวด
ตา่ ง ๆ (Think)
(ช่อื จงั หวดั ชอ่ื ประเทศ ช่อื ผลไม้ ช่อื กีฬา ชื่อขนม ช่อื สตั ว์ ชอื่ ดอกไม้ ช่ือผัก)
- ครูอยู่คนละฝ่ังกบั นกั เรียน ตวั อยา่ งเชน่ ถ้าครูส่งั ใหช้ ่ือจงั หวัดอพยพขน้ึ เรอื นักเรียน
ท่ีได้บัตรค�ำช่ือจังหวัดต้องอพยพมาอยู่ฝั่งเดียวกับครูจนครบทุกคน และทุกหมวดต่อไป
(Talk Turn Teach Thai Skills)

บตั รคำ� กจิ กรรม “ประ - ไมป่ ระ อพยพขนึ้ เรอื ”
หมวดชอ่ื จงั หวัด - จันทบุรี กระบ่ี สมทุ รปราการ ระนอง พะเยา นนทบุรี
หมวดชือ่ ประเทศ - ซาอดุ ีอาระเบีย ตรุ กี สเปน สงิ คโปร์ สหรัฐอเมริกา อิสราเอล
หมวดชื่อผลไม ้ - มะม่วง ระกำ� องุ่น ขนุน มะละกอ ฝรงั่
หมวดชื่อกฬี า - สนุกเกอร์ ยิงธนู ปั่นจกั รยาน กระโดดไกล ตะกร้อ กระบ่ีกระบอง
หมวดชื่อขนม - กะละแม ตะโก้ กระยาสารท เสน่ห์จนั ทร์ ไอศกรมี
หมวดชอื่ สัตว ์ - ตกั๊ แตน จามรี จักจน่ั ชะนี กระรอก
หมวดช่ือดอกไม ้ - มะลิ กระดังงา มหาหงษ์ พรู่ ะหง ลดาวัลย์
หมวดชอื่ ผกั - กระเฉด คะน้า ชะอม กะหลำ่� ปลี โหระพา

กิจกรรมท่ี 3 “ประ - ไม่ประ งานนร้ี ้แู น่”
ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละประมาณ 11 คน ครูแจกชุดบัตรกิจกรรม
“ประ - ไม่ประ อพยพขึ้นเรอื ” ให้นักเรยี นแตล่ ะกล่มุ กลมุ่ ละประมาณ 11 บัตรคำ� โดยบตั รค�ำ
แตล่ ะกล่มุ จะมีสที ่แี ตกต่างกนั คอื สีชมพู สฟี ้า สีเขยี ว และสดี �ำ
กตกิ า คอื ใหน้ กั เรยี นในแตล่ ะกลมุ่ ตอ่ แถวเปน็ 4 แถว โดยฟงั เสยี งสญั ญาณการเปา่ นกหวดี
ของครู ถา้ ครเู ปา่ นกหวดี ใหน้ กั เรยี นทอี่ ยหู่ นา้ แถว คนท่ี 1 นำ� บตั รคำ� ทต่ี นเองไดน้ ำ� ไปตดิ บนกระดาน
โดยกระดานจะแยกเป็น 2 ฝั่ง (ฝั่งซ้ายและฝั่งขวา) คือ ฝั่งท่ีมีหัวข้อป้ายค�ำที่ประวิสรรชนีย์และ
คำ� ทไี่ มป่ ระวสิ รรชนยี ์ นกั เรยี นจะตอ้ งแยกแยะใหไ้ ดว้ า่ บตั รคำ� ทต่ี นเองไดน้ น้ั เปน็ คำ� ทปี่ ระวสิ รรชนยี ์
หรอื คำ� ทไ่ี มป่ ระวสิ รรชนยี ์ โดยถา้ นกั เรยี นคนที่ 1 ตดิ บตั รคำ� เสรจ็ เรยี บรอ้ ยแลว้ ใหน้ กั เรยี นมาปรบมอื
กับนักเรียนท่ีอยู่หัวแถวในล�ำดับต่อไป จากนั้นฟังเสียงครูเป่านกหวีดในล�ำดับต่อไป ท�ำแบบน้ี
จนกว่าบัตรค�ำจะหมด โดยมีรูปผังการด�ำเนินกิจกรรมในขั้นตอนน้ี ดังน้ี (Think Talk Turn
Teach Thai Skills)

20 ปที ่ี 21 ฉบบั ที่ 4 : ตลุ าคม - ธนั วาคม 2561

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

ค�ำทป่ี ระวสิ รรชนีย์ กระดาน คำ� ท่ไี ม่ประวสิ รรชนยี ์

คนท่ี 1 คนที่ 1 คนที่ 1 คนที่ 1
ปรบมือ

ตอ่ แถวหลังสุด

กจิ กรรมที่ 4 “นทิ านคณุ ธรรม ตาดู หฟู งั มือจด”
ครใู หน้ กั เรยี นรวมกลมุ่ (กลมุ่ เดมิ 4 กลมุ่ ) จากนน้ั ครแู จกกระดาษใหน้ กั เรยี นกลมุ่ ละ 1 แผน่
กตกิ า คอื ใหน้ กั เรยี นฟงั เพอ่ื สงั เกตคำ� ทปี่ ระวสิ รรชนยี แ์ ละคำ� ทไี่ มป่ ระวสิ รรชนยี ์ จากนทิ าน
คณุ ธรรมทค่ี รเู ลา่ เรอื่ ง “กระบองเพชรไรห้ นาม” เมอื่ ครเู ลา่ นทิ านจบใหน้ กั เรยี นแตล่ ะกลมุ่ รว่ มกนั
เขียนค�ำที่ประวิสรรชนีย์และค�ำที่ไม่ประวิสรรชนีย์ลงในกระดาษให้เรียบร้อยและแต่ละกลุ่ม
สลับกันตรวจผลงานของตนเอง (Think Talk Turn Teach Thai Skills)

คำ� ทป่ี ระวิสรรชนยี ท์ ่พี บในนทิ านคณุ ธรรมเร่อื ง “กระบองเพชรไรห้ นาม”
- ทะเลทราย ระอุ กระบองเพชร ตะวัน กระหาย จะ นะ ซะ อะไร
ค�ำทไ่ี มป่ ระวสิ รรชนยี ์ทีพ่ บในนทิ านคณุ ธรรมเรื่อง “กระบองเพชรไรห้ นาม”
- สวัสดี อันตราย ธรรมชาติ ตลอด

ปีที่ 21 ฉบบั ที่ 4 : ตุลาคม - ธนั วาคม 2561 21

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

กิจกรรมท่ี 5 “ตามล่าหาความจรงิ ”
ครูใหน้ ักเรียนรวมกล่มุ (กลุ่มเดมิ 4 กลุ่ม)
กตกิ า (Think Talk Turn Teach Thai Skills)
- เริ่มกิจกรรมตง้ั แตก่ ล่มุ ท่ี 1 ถึง กลุ่มที่ 4 เรียงตามล�ำดบั แบบวนไปเรือ่ ย ๆ
- ครูถามคำ� ถามนักเรยี นในแต่ละกลมุ่ ดังนี้

ค�ำถามที่ 1 : การร้องไห้รำ่� ไรมีเสียงชะงกั เป็นห้วง ๆ เรยี กวา่ อะไร (สะอกึ สะอ้ืน)
ค�ำถามท่ี 2 : การดูแลให้ปลอดภัย ดูแลอยา่ งรอบคอบไมใ่ ห้พลั้งพลาด เรยี กว่าอะไร (ระมดั ระวัง)
คำ� ถามที่ 3 : การผอ่ นหนักผ่อนเบาให้แกก่ ัน ปรองดองกัน เรียกว่าอะไร (ประนีประนอม)
ค�ำถามท่ี 4 : งา่ ย ไม่ล�ำบาก เรยี กว่าอะไร (สะดวกสบาย)
ค�ำถามที่ 5 : หมดจด ผ่องใส ไมส่ กปรก เรยี กว่าอะไร (สะอาดสะอ้าน)
คำ� ถามที่ 6 : ถ่ถี ว้ น รอบคอบ เรยี กว่าอะไร (ละเอียดลออ)
คำ� ถามท่ี 7 : แสงกระพรบิ ดงู ดงาม เรยี กวา่ อะไร (ระยิบระยับ)
คำ� ถามที่ 8 : คอยระมัดระวงั พยุงไว้ คอยบํารงุ รกั ษา ทะนถุ นอมอยา่ งดี เรยี กวา่ อะไร (ประคบั ประคอง)
ค�ำถามท่ี 9 : คลอ่ งแคล่ว แข็งขนั กระปร้ีกระเปร่า วอ่ งไว เรยี กวา่ อะไร (กระฉบั กระเฉง)
ค�ำถามท่ี 10 : พดู หรือทำ� อะไรใหเ้ ขารัก และสนิทชิดชอบ เรียกวา่ อะไร (ประจบประแจง)
คำ� ถามท่ี 11 : มกั กิน กินไมเ่ ลือก เห็นแกก่ นิ เรียกว่าอะไร (ตะกละตะกลาม)
ค�ำถามที่ 12 : ปะปนกนั มากมายเต็มไปหมด เรยี กวา่ อะไร (พะรงุ พะรงั )

- กลมุ่ ของนกั เรยี นทถ่ี กู ถามจะตอ้ งชว่ ยกนั หาคำ� ตอบ โดยการนำ� คำ� ตอบมารวมกนั
ให้ได้ความหมายที่สมบูรณ์ เช่น ค�ำถาม วัดพระแก้วอยู่ในจังหวัดอะไร ค�ำตอบ กรุงเทพ +
มหานคร เปน็ ตน้
- นกั เรยี นและครชู ว่ ยกนั สรปุ วา่ คำ� ทป่ี ระวสิ รรชนยี อ์ อกเสยี งอะ เตม็ เสยี ง สว่ นคำ�
ที่ไมป่ ระวิสรรชนีย์ ออกเสยี งอะก่งึ เสยี ง

สนทนาดว้ ยเทคนคิ คำ� ถาม R - C - A เพอ่ื พฒั นาทกั ษะชวี ติ ในการสงั เกต และมแี นวทางหาคำ� ตอบ
คำ� ถามเพ่อื การสะท้อน (R)
- นกั เรยี นใชว้ ธิ กี ารใดหรอื ทกั ษะใดทท่ี ำ� ใหร้ วู้ า่ คำ� ใดคอื คำ� ทปี่ ระวสิ รรชนยี แ์ ละคำ� ใดคอื คำ� ทไี่ มป่ ระวสิ รรชนยี ์
- ตอนทีค่ รูอ่านนิทานให้นักเรียนฟัง นักเรยี นรู้ได้อยา่ งไรวา่ ค�ำใดประวสิ รรชนียห์ รือไมป่ ระวสิ รรชนีย์
คำ� ถามเพ่อื การเชือ่ มโยง (C)
- นักเรยี นใช้ทักษะการสังเกตในชีวิตประจำ� วนั อยา่ งไรบ้าง (แลกเปลี่ยน)
- ที่ผ่านมานกั เรยี นเคยสงั เกตสิง่ ต่าง ๆ เพอ่ื หาค�ำตอบหรอื ไม่ อย่างไร
คำ� ถามเพ่ือการปรับใช้ (A)
- ในระหว่างเดนิ ทางจากบา้ นมาโรงเรยี น นักเรยี นใช้ทกั ษะการสงั เกตกับสงิ่ รอบขา้ งอย่างไร

22 ปที ี่ 21 ฉบบั ท่ี 4 : ตลุ าคม - ธันวาคม 2561

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

ผลสำ� เร็จเชงิ ประจักษ์ในการจดั กิจกรรมการเรยี นรู้

1. การเผยแพรห่ วั ขอ้ หนงั สอื เรอื่ ง “กระบวนการจดั กจิ กรรมการเรยี นรวู้ ชิ าภาษาไทย ระดบั
ประถมศกึ ษาโดยใช้ 5T Model ในการเสรมิ สรา้ งทกั ษะชวี ติ แหง่ ศตวรรษท่ี 21” หนงั สอื ทกั ษะชวี ติ
รหัสครศู ตวรรษท่ี 21 การจัดการเรยี นการสอนเพื่อพฒั นาทกั ษะชวี ติ แห่งศตวรรษท่ี 21
2. เดก็ ชายอนิ ทชั กางรมั ย์ ไดร้ บั โลร่ างวลั และเหรยี ญทอง “ระดบั นานาชาต”ิ ในการเขา้
รว่ มการแขง่ ขนั One Belt One Road Sparta International Youth ณ สาธารณรฐั ประชาชนจนี
3. เด็กหญิงปิยธิดา มีมา ได้รับโล่รางวัล “ระดบั ประเทศ” ในการประกวดคำ� ขวญั หัวข้อ
“คนไทยรักชาติ รักและนิยมความเป็นไทย” เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ณ กรมส่งเสริม
วฒั นธรรม กระทรวงวฒั นธรรม
4. เด็กชายนครินทร์ ฮวดสุวรรณ์ และเด็กหญิงสุจิตตรา กาด�ำ ได้รับโล่รางวัล “ระดับ
ประเทศ” ในการประกวดเล่านิทานในโครงการ “นิทานสีขาวกับเร่ืองราวแห่งความดีงาม”
ณ จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลัย

เอกสารอ้างองิ
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, ส�ำนักงาน. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
และท่ีแกไ้ ขเพม่ิ เติม (ฉบบั ท2่ี ) พ.ศ 2545. กรงุ เทพฯ: พรกิ หวานกราฟฟกิ .
วิทย์ทิชัย พวงค�ำ. (2551). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน
มธั ยมศกึ ษาตอนตน้ . วทิ ยานพิ นธป์ รญิ ญาครศุ าสตรมหาบณั ฑติ สาขาวชิ าวจิ ยั การศกึ ษา ภาควชิ าวจิ ยั
และจติ วทิ ยาการศกึ ษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย.
สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2555). พัฒนาทักษะการคิด...ตามแนวปฏิรูปการศึกษา. พิมพ์คร้ังท่ี 1.
กรงุ เทพฯ: หา้ งหนุ้ ส่วนจำ� กดั 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). ทักษะแห่งศตวรรษท่ี 21 ต้องก้าวให้พ้นกับดักของตะวันตก. พิมพ์ครั้งที่ 1.
กรุงเทพฯ: วิทยาลัยครศุ าสตร์ มหาวิทยาลยั ธุรกจิ บัณฑติ ย.์
พิมพนั ธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยนิ ดสี ขุ . (2557). การจัดการเรยี นรู้ในศตวรรษท่ี 21. พมิ พค์ ร้งั ที่ 1. กรงุ เทพฯ:
โรงพิมพ์แหง่ จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลัย.
ธนนิ ทร์ ฐั กฤษฎฉิ์ นั ทชั ท์ ศริ วิ ศิ าลสวุ รรณ. (2559). “การจดั กจิ กรรมการเรยี นรโู้ ดยใชน้ วตั กรรม THINK TALK
TURN PLUS TEACH FOR THAI LANGUAGE: 5T MODELโดยบูรณาการ กิจกรรมร้องเล่น
เต้นเรียน เพ่ือพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อวิชาภาษาไทยของนักเรียนระดับ
ประถมศึกษา.” การประชมุ ทางวิชาการของครุ สุ ภา ประจ�ำปี 2559. ส�ำนกั งานเลขาธิการครุ ุสภา.

ปที ่ี 21 ฉบบั ที่ 4 : ตลุ าคม - ธนั วาคม 2561 23

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

การปฏิบัติการแบบมีสว่ นร่วมเพื่อพฒั นาศักยภาพ
ครบู รรจใุ หม่ ในการจดั การเรียนการสอน โดยการ

Coaching และ Mentoring

• ดร.สุวฒั น์ ววิ ฒั นานนท์ 1
• ดร.สหชัย สาสวน 2

การศึกษาของประเทศถอื ไดว้ า่ เป็นการบริการอยา่ งหน่งึ ของรฐั (Public Service) ซึง่ ตาม
หลักเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ กระบวนการทางการศึกษา เป็นกระบวนการผลิต (Production
Process) ชนิดหนึ่ง ซึ่งจะช่วยเปลี่ยนแปลงมนุษย์ให้มีคุณภาพดีข้ึน ประชาชนจึงต้องการพัฒนา
คณุ ภาพของตนเอง สว่ นรฐั บาลกต็ อ้ งการพฒั นาคนเพอ่ื ไปพฒั นาประเทศ สำ� หรบั สงั คมเชน่ เดยี วกนั
คือ มีความต้องการพัฒนาคนเพื่อเข้ามารับช่วงดูแลและพัฒนาให้สังคมและเอกลักษณ์ของสังคม
มีความย่ังยนื ปัจจยั หรอื สิ่งท่จี ะทำ� ให้บรรลุตามวตั ถปุ ระสงค์ของบคุ คล รฐั บาล และสงั คมอยา่ งมี
ประสทิ ธภิ าพกค็ อื การศกึ ษา การศกึ ษาจงึ ถกู กำ� หนดเปน็ เครอื่ งมอื ของรฐั เพอ่ื ใหบ้ รรลวุ ตั ถปุ ระสงค์
การศกึ ษาในฐานะกลไกพน้ื ฐานของการพฒั นาคน จงึ เปน็ สง่ิ ทส่ี งั คมหวงั พง่ึ พาใหเ้ ปน็ เครอ่ื งเตรยี มคน
และสังคมให้พร้อมรับความเปล่ียนแปลงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ จากความ
ต้องการของสังคม รัฐบาลและบุคคล การศึกษาจึงเป็นทั้งกระบวนการผลิต ซึ่งช่วยเปล่ียนแปลง
มนษุ ยใ์ หม้ คี ณุ ภาพดขี น้ึ เปน็ ทนุ มนษุ ย์ (Human Capital) และเปน็ ทงั้ รปู แบบหนงึ่ ของการบรโิ ภค
หรอื บรกิ ารซงึ่ จะชว่ ยใหม้ นษุ ยม์ คี วามสขุ พฒั นาตนเองไปสคู่ ณุ ภาพชวี ติ และชนชนั้ ทางสงั คมทด่ี กี วา่
ฉะน้ัน การจัดการศึกษาในบทบาทหน้าที่ของรัฐและผู้เก่ียวข้องจึงต้องจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ
จึงจะท�ำให้บุคคลเป็นทรัพยากรที่มีค่า เพื่อพัฒนาประเทศโดยจัดอย่างมีประสิทธิภาพเพ่ือก่อ
ให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุด (เสริมศักด์ิ วิศาลาภรณ์, 2543 ; อมรวิชช์ นาครทรรพ, 2540 ;
ชยั อนนั ต์ สมทุ วณชิ , 2541 ; ธำ� รง อดุ มไพจติ รกลุ , 2543) ซง่ึ ปจั จบุ นั เปน็ ยคุ ของการเปลย่ี นแปลง

1 อดีตผ้อู �ำนวยการเชีย่ วชาญ โรงเรียนบดนิ ทรเดชา (สิงห์ สิงหเสน)ี ผู้เชี่ยวชาญพเิ ศษสำ� นกั งานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน
ปัจจบุ นั อาจารย์ประจำ� หลักสูตรการบรหิ ารการศึกษา มหาวิทยาลัยปทมุ ธานี
2 ผู้อำ� นวยการเชีย่ วชาญโรงเรยี นบดนิ ทรเดชา (สงิ ห์ สงิ หเสน)ี

24 ปีท่ี 21 ฉบับที่ 4 : ตุลาคม - ธนั วาคม 2561

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

และมีการเปล่ียนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกด้านไม่ว่าจะเป็น
เศรษฐกิจ การเมือง การศึกษาและด้านสังคม โดยเฉพาะ
อย่างย่ิงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสาร
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสังคมไทยโดยตรง
ในทกุ ๆ ดา้ น ในดา้ นการศึกษาซง่ึ มคี วามสำ� คัญและจำ� เปน็
อย่างยิ่ง ประเทศไทยโดยกระทรวงศึกษาธิการจึงได้ท�ำการ
ปฏิรูปการศึกษาโดยอาศัยแนวทางตามพระราชบัญญัติการ
ศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพ่ิมเติม
ทุกฉบับ จึงมีนโยบายในการเปล่ียนแปลงการจัดการศึกษา
โดยการปฏิรูปการศึกษาตามแนวทางการปฏิรูป 4 ด้าน
คือ การปฏิรูปโรงเรียนหรือสถานศึกษา การปฏิรูปครูและ
บุคลากรทางการศึกษา การปฏิรูปหลักสูตร และการปฏิรูป
กระบวนการสอน ดังจะเหน็ ได้วา่ การพัฒนาครู คณาจารย์
และบุคลากรทางการศึกษา มีความส�ำคัญและจ�ำเป็นตาม
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการ
ศกึ ษา พ.ศ. 2547 และทแ่ี กไ้ ขเพมิ่ เตมิ (ฉบบั ท่ี 2) พ.ศ. 2551
(สมศกั ดิ์ คงเทยี่ ง, 2555 : 71 - 72) ซง่ึ กำ� หนดวา่ ผใู้ ดไดร้ บั
การบรรจุและแต่งต้ังในต�ำแหน่งครูผู้ช่วย ให้ผู้น้ันเตรียม
ความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มเป็นเวลาสองปีก่อนแต่งต้ัง
ให้ด�ำรงต�ำแหน่งครู ทั้งน้ี การทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
และการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มให้เป็นไป
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. ก�ำหนด กระทรวง
ศึกษาธิการ ได้ประกาศแนวทางในการปฏิรูปการศึกษาใน
ทศวรรษท่ี 2 (พ.ศ. 2552 - 2561) เพอ่ื ตอ่ เนอ่ื งและสอดคลอ้ ง
กับแนวทางการปฏิรูปการศึกษาที่ได้ด�ำเนินการมาแล้ว

ปีท่ี 21 ฉบับท่ี 4 : ตลุ าคม - ธนั วาคม 2561 25

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

โดยก�ำหนดนโยบายการปฏิรูปการศึกษา รอบ 2 มุ่งเน้น 3 เร่ืองหลัก ประกอบด้วยการปฏิรูป
ดา้ นคณุ ภาพ เปน็ การสรา้ งคณุ ภาพใหมใ่ นดา้ นตา่ ง ๆ การปฏริ ปู ดา้ นโอกาสทางการศกึ ษาเปดิ โอกาส
ใหค้ นไทยทกุ กลมุ่ ทกุ ประเภทไดเ้ รยี นรตู้ ลอดชวี ติ อยา่ งมคี ณุ ภาพและการปฏริ ปู ดา้ นการมสี ว่ นรว่ ม
ม่งุ เน้นการมีสว่ นรว่ มจากทกุ ฝ่าย ในการสนับสนุนการจดั การศึกษาและพฒั นาคณุ ภาพการศกึ ษา
เหตุผลส�ำคัญที่ต้องมีการปฏิรูปต่อเนื่อง คือ การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาให้สูงขึ้น
(นฤทธิ์ ภูเฉลิม, 2557) การพัฒนาครูอาจารย์ประจ�ำการจึงเป็นความพยายามของผู้เกี่ยวข้อง
ทกุ ฝา่ ยในโรงเรยี นทจี่ ะชว่ ยกนั สง่ เสรมิ ประสทิ ธภิ าพและประสทิ ธผิ ลใหด้ ขี น้ึ ดว้ ยกระบวนการนเิ ทศ
ภายใน ทั้งแบบ Coaching1 และ Mentoring2 มาใช้ร่วมกันซ่ึงมีความเหมาะสมส�ำหรับครูท่ี
บรรจุใหม่เป็นอย่างยิ่ง การสอนงานและการเป็นพ่ีเล้ียง ซ่ึงเป็นเทคนิคการพัฒนาการเรียนรู้
ของบคุ ลากรในโรงเรยี นไดเ้ ปน็ อยา่ งดี (อญั ชลี ธรรมะวธิ กี ลุ , 2552 ; ยพุ นิ ยนื ยง, 2553) การนเิ ทศ
ภายในนน้ั Peter & Glorge (2004) ไดก้ ำ� หนดกจิ กรรมการนเิ ทศภายใน เปน็ 3 ดา้ นทส่ี ำ� คญั คอื
ด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านการพัฒนาการเรียนการสอนและด้านการพัฒนาครูผู้สอน ดังนั้น
งานนิเทศภายในซึ่งเป็นภาระงานพัฒนาบุคลากรที่ส�ำคัญของการแก้ไขปัญหาและเป็นบทบาท
หน้าท่ีที่ส�ำคัญ และจ�ำเป็นของผู้บริหารโรงเรียน อันจะส่งผลต่อคุณภาพของการจัดการเรียน
การสอนของโรงเรยี นตา่ ง ๆ ซง่ึ ขณะนก้ี ำ� ลงั ประสบปญั หาดา้ นบคุ ลากรเกย่ี วกบั จำ� นวนครทู เ่ี กษยี ณ
อายุราชการและการบรรจุแต่งตั้งข้าราชการครูใหม่จ�ำนวนมาก ดังนั้น การพัฒนาครูบรรจุใหม่
ซ่ึงเป็นภารกิจส�ำคัญท่ีโรงเรียนจะต้องด�ำเนินการด้วยการสอนงานและการเป็นพี่เลี้ยง เพ่ือให้ครู
ได้มีความรู้ความสามารถ ในการพัฒนาโรงเรยี นให้ไปสู่มาตรฐานสากลทมี่ ีคุณภาพต่อไป

1 Coaching หมายถึง กิจกรรม การชี้แนะ การสอนงาน
2 Mentoring หมายถงึ กิจกรรมการเป็นพี่เลยี้ งให้คำ� ปรึกษาและเป็นตวั อย่างทดี่ ี

26 ปีท่ี 21 ฉบับที่ 4 : ตลุ าคม - ธนั วาคม 2561

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

การปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพ่ือพัฒนา
ศักยภาพครูบรรจุใหม่ในการจัดการเรียนการสอน
โดยการ Coaching และ Mentoring โดยมี
วัตถุประสงค์เพ่ือการด�ำเนินการจัดการเรียนการสอน
ด้วยการจัดท�ำแผนการเรียนรู้ การจัดท�ำข้อทดสอบ
รายวชิ าของครบู รรจใุ หม่ โดยใชก้ ระบวนการวจิ ยั ปฏบิ ตั ิ
การแบบมสี ว่ นรว่ ม (Participatory Action Research
: PAR) 4 ขั้นตอน Kemmis and McTaggart (1998)
ประกอบด้วย ข้ันเตรียมการ ขั้นการวางแผนพัฒนา
ขั้นด�ำเนินการพัฒนา และขั้นติดตามและประเมินผล
การพัฒนาจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในโรงเรียนเป็นคณะ
ผพู้ ฒั นา (ครเู กษยี ณ) และหวั หน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้

โดยมขี นั้ ตอนการพฒั นา ดังนี้

ขัน้ ที่ 1 ข้ันเตรยี มการ (Prepare)
ศกึ ษาสภาพปญั หาการดำ� เนนิ การจดั การเรยี นการสอนของครบู รรจใุ หม่ แนวทาง
และระยะเวลาทเ่ี หมาะสมในการพฒั นา เลือกแนวทางการพฒั นาดว้ ยการจดั อบรมเชงิ ปฏิบัติการ
จัดท�ำแผนการเรียนรู้และจัดอบรมเชิงปฏิบัติการกระบวนการวัดและประเมินผลตามหลักสูตร
ด้วยหลักการและเหตุผลท่ีว่า การพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจในแนวทางการจัดท�ำแผน
การเรียนรู้และกระบวนการวัดและประเมินผลจะส่งผลให้ครูมีความสามารถในการจัดท�ำแผน
การเรียนรู้ได้ถูกต้องและสามารถสร้างและใช้เครื่องมือในการวัดประเมินผลผู้เรียนได้อย่างมี
คุณภาพถูกต้องเหมาะสม ปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพครูบรรจุใหม่ในการจัดการเรียนการสอน
โดยการ Coaching และ Mentoring ด้วยหลักการและเหตุผลท่ีว่า การพัฒนาศักยภาพครู
อย่างต่อเน่ืองจะท�ำให้ครูสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยกระบวนการสอนงาน
และการมีพี่เลี้ยง โดยมีวัตถุประสงค์เพ่ือสร้างความรู้ความเข้าใจในการจัดท�ำแผนการเรียนรู้
และการจัดท�ำข้อทดสอบรายวิชา ระยะเวลา 1 ปีการศึกษา โดยคณะผู้พัฒนาท่ีมีความรู้ความ
สามารถเปน็ แบบอย่างทดี่ ไี ด้

ปีท่ี 21 ฉบับท่ี 4 : ตุลาคม - ธันวาคม 2561 27

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

ขน้ั ที่ 2 ข้นั วางแผนพัฒนา (Plan)
2.1 ประชมุ รว่ มกบั ผเู้ กยี่ วขอ้ งประกอบดว้ ยผอู้ ำ� นวยการโรงเรยี น รองผอู้ ำ� นวยการ
โรงเรียน หัวหน้างาน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อร่วมกันวางแผนพิจารณา ก�ำหนด
รายละเอียด กิจกรรมโครงการและวิทยากร พร้อมท้ังคณะผู้พัฒนาซ่ึงเป็นข้าราชการบ�ำนาญ
ทม่ี ีความร้คู วามสามารถ
2.2 ประชุมร่วมกับวิทยากรอบรม และคณะผู้พัฒนา ซ่ึงจะช่วยนิเทศสอนงาน
และเป็นพ่ีเลี้ยงเพื่อวางแผนการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำ� แผนการเรียนรู้และกระบวนการวัด
ประเมนิ ผลตามหลกั สตู ร พรอ้ มพจิ ารณาเกย่ี วกบั รปู แบบแผนการจดั การเรยี นรู้ ขอบเขตการนเิ ทศ
ติดตามงาน ระยะเวลาในการดำ� เนินกิจกรรม
2.3 ประชุมสร้างความเข้าใจกับครูบรรจุใหม่และครูในโรงเรียนเพื่อให้ทราบ
วัตถุประสงค์ของการด�ำเนินกิจกรรมโครงการ ด้วยหลักการและเหตุผลที่ว่าการนิเทศจาก
ผู้มีส่วนร่วมเป็นการช่วยช้ีแนะ ไม่ได้ควบคุมจับผิดและอธิบายขั้นตอนวิธีการด�ำเนินกิจกรรม
และผลลัพธ์ที่จะเกิดข้ึนเพ่ือให้เห็นภาพในอนาคต เพื่อลดความวิตกกังวลและสร้างความเข้าใจ
มคี วามมน่ั ใจและทราบถึงความคาดหวังของโรงเรียน ชุมชนและสังคม

ข้นั ท่ี 3 ขนั้ ด�ำเนนิ การพัฒนา (Action and Observe)
3.1 ดำ� เนนิ การอบรมเชงิ ปฏบิ ตั กิ ารพฒั นาศกั ยภาพครบู รรจใุ หมด่ ว้ ยการฝกึ ปฏบิ ตั ิ
จัดท�ำแผนการเรียนรู้ และกระบวนการวัดประเมินผลตามหลักสูตรโดยใช้แนวทางการวิจัย
ปฏบิ ตั ิการ (PAOR) สุวมิ ล ว่องวาณชิ (2545) ดว้ ยการ
วางแผน (Plan) เตรียมการต่าง ๆ ทั้งด้านอาคารสถานท่ี วัตถุประสงค์
บคุ ลากรรบั ผดิ ชอบงาน วทิ ยากร ผเู้ กย่ี วขอ้ ง การสรา้ งเครอื่ งมอื เพอื่ การประเมนิ และงานเกย่ี วกบั
ธุรการ

28 ปีท่ี 21 ฉบบั ที่ 4 : ตลุ าคม - ธนั วาคม 2561

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

การปฏิบัติตามแผน (Act) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดท�ำแผนการเรียนรู้
และกระบวนการวัดประเมินผลตามหลักสูตร โดยการแบ่งกลุ่มเพ่ือฝึกปฏิบัติโดยมีวิทยากร
ประจำ� กล่มุ
การตดิ ตามสังเกต ตรวจสอบ (Observe) วิทยากรประจ�ำกลุม่ และวทิ ยากร
หลักจะเดินสังเกตตรวจดูการจัดท�ำและให้ค�ำแนะน�ำ ปรึกษาไปด้วย โดยมีใบงานเป็นเคร่ืองมือ
ฝึกปฏบิ ัติ
ข้อมูลย้อนกลับ (Reflect) ด้วยการตรวจแผนการจัดการเรียนรู้ และ
ขอ้ ทดสอบทค่ี รบู รรจใุ หมไ่ ดจ้ ดั ทำ� ขนึ้ วทิ ยากรประชมุ รว่ มกนั เพอื่ ปรกึ ษาและนำ� เสนอผลการตรวจ
ประเมนิ จดั ทำ� แผนการจดั การเรยี นรแู้ ละขอ้ ทดสอบรายวชิ าใหค้ รบู รรจใุ หมท่ ราบ เพอื่ ใหป้ รบั ปรงุ
แกไ้ ขต่อไป
3.2 ด�ำเนินการพัฒนาศักยภาพครูบรรจุใหม่ในการจัดการเรียนการสอนโดยการ
Coaching และ Mentoring ด้วยการสอนงานและเป็นพี่เล้ียงในการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาท
ของครู โดยใชแ้ นวทางการวจิ ยั ปฏิบตั กิ าร (PAOR) ด้วยการ
วางแผน (Plan) ประชุมคณะผู้พัฒนาซ่ึงเป็นข้าราชการครูที่เกษียณ
อายุราชการแล้วเป็นผู้ท่ีมีความรู้ความสามารถเช่ียวชาญในการจัดท�ำแผนการเรียนรู้และการวัด
ประเมินผลตามหลักสูตร เป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพเป็นแบบอย่างท่ีดีได้ เพ่ือท�ำความเข้าใจในบทบาท
หนา้ ทข่ี องคณะผพู้ ฒั นา วางแผนการตดิ ตาม ประเมนิ และมอบหมายครบู รรจใุ หมใ่ หค้ ณะผพู้ ฒั นา
รบั ผิดชอบ 1 : 5 ตามกลุ่มสาระการเรยี นร้แู ละแจ้งให้ครูบรรจใุ หม่ทราบ
การปฏิบัติตามแผน (Act) คณะผู้พัฒนาจะพบครูบรรจุใหม่เพ่ือท�ำความ
คนุ้ เคยและตกลงเกยี่ วกบั เวลาในการพดู คยุ ปรกึ ษางาน โดยคณะผพู้ ฒั นาจะเขา้ มาอยใู่ นกลมุ่ สาระ
อาทติ ยล์ ะ 1 - 2 วนั วันละประมาณ 5 ช่วั โมง เพอ่ื ช่วยสอนงานในบทบาทหน้าที่และการจัดทำ�
แผนการเรยี นรู้ และขอ้ ทดสอบรายวชิ า ความใกลช้ ดิ อยรู่ ว่ มกนั จะชว่ ยถา่ ยทอดซมึ ซบั ลกั ษณะจาก
ตัวแบบอย่างที่ดีของคณะผู้พัฒนาไปสู่ครูบรรจุใหม่ ด�ำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 2 ภาคเรียน

ปที ่ี 21 ฉบับที่ 4 : ตลุ าคม - ธนั วาคม 2561 29

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

(1 ปกี ารศกึ ษา) เพอ่ื ใหก้ จิ กรรมการจดั การเรยี นการสอนและการวดั ประเมนิ ผล การจดั ทำ� รายงาน
ตา่ ง ๆ ตามบทบาทหน้าที่ ได้รับการสอนงานอย่างครอบคลุม ครบวงจรของงาน
การติดตามสังเกตตรวจสอบ (Observe) คณะผู้พัฒนาจะสังเกตพฤติกรรม
การพัฒนาและประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียน ด้วยการพิจารณาความสอดคล้อง ส�ำหรับ
ข้อทดสอบรายวชิ าจะประเมินจากการหาค่าความเชื่อมั่น (KR - 20)
ขอ้ มลู ยอ้ นกลบั (Reflect) นำ� ผลการประเมนิ คณุ ภาพแผนการจดั การเรยี นรู้
และคุณภาพข้อทดสอบรายวิชาแจ้งให้ครูบรรจุใหม่ทราบพร้อมทั้งให้ค�ำปรึกษาเมื่อสิ้น
ภาคเรยี นด้วย

ข้ันท่ี 4 ขน้ั ติดตามและประเมินผลการพฒั นา (Reflect)
คณะผู้พัฒนา ผู้บริหารโรงเรียน ผู้เก่ียวข้องและครูบรรจุใหม่เข้าร่วมประชุมสรุป
สะทอ้ นขอ้ คดิ เหน็ ผลการพฒั นาดว้ ยการประเมนิ ความพงึ พอใจ และไดแ้ สดงความคดิ เหน็ อภปิ ราย
เพื่อน�ำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงของโรงเรียนต่อไป จากแนวทางการพัฒนาดังกล่าวโรงเรียน
บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 2 (2561) ได้น�ำแนวทางไปปฏิบัติใช้พบว่า การสังเกตพฤติกรรม
ความตงั้ ใจกระตอื รอื รน้ บคุ ลกิ ภาพ การดำ� เนนิ กจิ กรรมตามคำ� แนะนำ� วฒุ ภิ าวะ ความตรงตอ่ เวลา
ความเรียบร้อยของผลงาน จิตอาสา และความสุขในการได้รับการพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับดี
เมอื่ พจิ ารณาพฤตกิ รรมครบู รรจใุ หมเ่ ปน็ รายบคุ คลสะทอ้ นกลบั อยใู่ นระดบั ดที กุ คนและมพี ฒั นาการ
ด้านพฤติกรรมในภาคเรียนที่ 2 ดีกว่าภาคเรียนท่ี 1 ทุกแผนการเรียนรู้ของครูบรรจุใหม่ ประจ�ำ
ภาคเรียนที่ 1 มีความเหมาะสม สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้
และจุดประสงค์การเรียนรู้ การก�ำหนดสาระส�ำคัญหรือความคิดรวบยอดได้ถูกต้อง การก�ำหนด
สาระการเรยี นรไู้ ดเ้ หมาะสม การกำ� หนดสมรรถนะของผเู้ รยี นไดส้ อดคลอ้ ง การกำ� หนดคณุ ลกั ษณะ
อันพึงประสงค์ไดถ้ ูกต้อง การกำ� หนดกิจกรรมการเรยี นรูไ้ ดถ้ กู ตอ้ งและครอบคลมุ กำ� หนดช้นิ งาน

30 ปีที่ 21 ฉบบั ท่ี 4 : ตุลาคม - ธันวาคม 2561

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

หรอื ภาระงานไดเ้ หมาะสม การวดั ประเมนิ ผลถกู ตอ้ งเหมาะสม การกำ� หนดใชส้ อ่ื หรอื แหลง่ เรยี นรู้
ได้เหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 85.29 และภาคเรียนท่ี 2 คิดเป็นร้อยละ 100 คุณภาพข้อทดสอบ
รายวิชาของครูบรรจุใหม่ พิจารณาจากค่าความเช่ือมั่นของข้อทดสอบท้ังฉบับ (KR-20) พบว่า
ขอ้ ทดสอบรายวชิ า มคี า่ ความเชอื่ มน่ั ทง้ั ฉบบั อยรู่ ะหวา่ ง .80 - .93 ทงั้ สองภาคเรยี น ครบู รรจใุ หม่
และครูผู้เก่ียวข้องมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนโดยการ
Coaching และ Mentoring โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก การจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพโดยการ
สอนงานและการเป็นพ่ีเลี้ยงโดยครูท่ีเกษียณอายุราชการแต่มีความรู้ความสามารถเป็นที่เคารพ
ศรัทธา จะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนศึกษานิเทศก์ได้เป็นอย่างดี และเป็นแนวทางหน่ึง
ในการให้ค�ำแนะน�ำครูบรรจุใหม่ติดตามช่วยเหลือแก้ไขผู้เรียนกรณีท่ีมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ไม่สมบรู ณไ์ ด้เปน็ อยา่ งดีอกี ด้วย

เอกสารอ้างอิง
ชยั อนนั ต์ สมทุ วณิช. (2541). เพลิน. กรุงเทพฯ : เอดิสัน เพรส โปรดักส์.
ธ�ำรง อุดมไพจิตรกุล. (2543). เศรษฐศาสตร์การศึกษา : ส�ำหรับผู้บริหารการศึกษา. ภาควิชาเศรษฐศาสตร์
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรนี ครนิ ทรวโิ รฒ.
นฤทธิ์ ภเู ฉลมิ . (ตลุ าคม - ธนั วาคม 2557). ตดิ ปกี การบรหิ ารจดั การโรงเรยี นบา้ นคู่ สโู่ รงเรยี นชน้ั นำ� (Fly Model)
นวตั กรรมการบรหิ ารจัดการโรงเรียนบ้านคู่. ในวารสารวชิ าการ. 17(4) (หนา้ 3-15).
ยุพิน ยืนยง. (2553). การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการเพ่ือส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัย
ในชน้ั เรยี นของครู เขตการศกึ ษา 5 อคั รสังฆมณฑล กรุงเทพฯ. วทิ ยานพิ นธ์ดุษฎบี ัณฑิต สาขาวชิ า
หลกั สูตรและการสอน บณั ฑิตวิทยาลยั มหาวิทยาลยั ศิลปากร.
โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 2. (2561). การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาศักยภาพครู
บรรจุใหม่ในการจัดการเรียนการสอนโดยการ Coaching และ Mentoring โรงเรยี นบดินทรเดชา
(สงิ ห์ สิงหเสนี) 2. กรุงเทพฯ : สินธนา กอ๊ ปป้ี เซ็นเตอร์.
สมศักดิ์ คงเท่ียง. (2555). หลักการบรหิ ารการศึกษา. กรงุ เทพฯ : พี เอ ลฟี วิง่ .
สวุ มิ ล ว่องวาณชิ . (2545). เคลด็ ลบั การท�ำวิจยั ในชั้นเรียน. กรงุ เทพฯ : อักษรไทย.
เสริมศักด์ิ วิศาลาภรณ์. (2543). จากรามเกียรต์สิ ูก่ ารประเมิน. กรงุ เทพฯ : ปาริชาติเคร่อื งเขียน
อมรวิชช์ นาครทรรพ. (2540). ความฝนั ของแผ่นดนิ . กรงุ เทพฯ : ตะวนั ออก.
อัญชลี ธรรมะวิธีกุล. (2552). เทคนิคการนิเทศ : ระบบพ่ีเลี้ยงและการให้ค�ำปรึกษา. https://anchalee.
wordpress.com (เขา้ ถงึ เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2558).
Kemmis S. and McTaggart. (1998). The Action Research Planner. 3rded. Geelong Victiory
Australia: Deakin University Press.
Peter & Grorge (2004). Supervision for Today’s School. USA : Malloy.

ปที ่ี 21 ฉบบั ท่ี 4 : ตลุ าคม - ธนั วาคม 2561 31

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

การออกแบบการเรียนรู้

เพื่อความเท่าเทียมอย่างเป็นธรรมในชั้นเรียนรวม

• ดร.สามารถ รัตนสาคร
สำ� นกั บริหารงานการศกึ ษาพเิ ศษ สพฐ.

จากปัญหาการอพยพย้ายถ่ินเพ่ือมาหา จึงเป็นความท้าทายของครูผู้สอน โดยเฉพาะ
งานท�ำของคนชนบท และประเทศเพ่ือนบ้าน ในประเด็นเรื่องจะออกแบบการเรียนรู้อย่างไร
ส่งผลให้โรงเรียนหลายแห่งมีนักเรียนท่ีมีความ จึงจะตอบสนองในความแตกต่างของนักเรียน
ต้องการจ�ำเป็นแตกต่างกันมากกว่าในอดีต แต่ละบุคคล และช่วยให้นักเรียนทุกคนเรียนรู้
หน่ึงห้องเรียนอาจมีนักเรียนที่มาจากเชื้อชาติ ได้อยา่ งเตม็ ตามศักยภาพ
และภูมิหลังท่ีแตกต่างกัน นักเรียนบางคน จากการศึกษาและทบทวนวรรณกรรม
ภาษาไทยอาจมิใช่เป็นภาษาแรกของพวกเขา พบว่า ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา นักการ
นักเรียนในช้ันเรียนแต่ละคนอาจมีรูปแบบ ศึกษาได้เริ่มน�ำแนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบ
การเรียนรู้ท่ีหลากหลาย บางคนเรียนรู้ผ่าน เพ่ือทุกคน (Universal Design: UD) ซ่ึงมี
ทางการเห็นได้ดี บางคนสามารถเรียนรู้ผ่าน ตน้ กำ� เนดิ มาจากสาขาสถาปตั ยกรรม ดว้ ยอาชพี
การฟงั ไดด้ กี วา่ ในขณะทนี่ กั เรยี นบางคนเรยี นรู้ สถาปนิกจ�ำเป็นต้องพยายามคิดค้นการ
ผา่ นการลงมอื ปฏบิ ตั ไิ ดด้ กี วา่ นอกจากนี้ มเี ดก็ ออกแบบอาคาร และพ้ืนท่ีที่มีลักษณะทาง
พิการที่เข้าเรียนในโรงเรียนทั่วไปเพิ่มขึ้น กายภาพท่ีเข้าถึงได้ กลุ่มสถาปนิกค้นพบว่า
นักเรียนท่ีมีความพิการดังกล่าวประกอบด้วย การน�ำความต้องการจ�ำเป็นของกลุ่มคนท่ี
นกั เรยี นทม่ี คี วามบกพรอ่ งทางการเหน็ ทางการ หลากหลายเข้ามาสู่การพิจารณาในเบ้ืองต้น
ได้ยิน สุขภาพหรือการเคล่ือนไหว ทางการ ของการออกแบบจะช่วยให้ชิ้นงานท่ีได้มี
เรียนรู้ และนักเรียนออทิสติก เป็นต้น ดังน้ัน ลกั ษณะของ UD งา่ ยตอ่ การใช้ และมปี ระโยชน์
การจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนที่มีความ ทั้ ง บุ ค ค ล พิ ก า ร แ ล ะ ผู ้ ท่ี มี ร ่ า ง ก า ย ป ก ติ
แตกต่างดังกล่าวไปถึงยังมาตรฐานระดับสูง (Orkwis and McClain, 1999) ตัวอย่าง

32 ปีท่ี 21 ฉบับที่ 4 : ตุลาคม - ธนั วาคม 2561

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

การปรับขอบทางเท้าให้มีทางลาด นอกจาก ค�ำว่า “การออกแบบเพื่อทุกคน” มิได้
มเี ปา้ หมายใหผ้ ทู้ ใ่ี ชร้ ถวลี แชรเ์ ดนิ ทางไดส้ ะดวก หมายความวา่ เปน็ วธิ กี ารแกป้ ญั หาวธิ เี ดยี วทด่ี ี
แล้ว ยังช่วยให้ผู้ท่ีขับข่ีจักรยาน หรือคุณแม่ ท่ีสุด แต่หมายถึงการให้ความส�ำคัญกับความ
ท่ีเข็นรถเด็กอ่อนไปตามทางเท้าได้สะดวกด้วย จ�ำเป็นของการใช้วิธีการที่หลากหลาย เพ่ือให้
เช่นกัน ซึ่งเป็นแนวทางส�ำหรับการออกแบบ สอดคล้องกับความต้องการจ�ำเป็นของคน
สภาพแวดล้อม และผลิตภัณฑ์ที่ทุกกลุ่มคน แต่ละคนท่ีมีความแตกต่างกัน โดยมีหลักการ
สามารถใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ต้องมีการปรับ พื้นฐานสำ� คัญ 7 ประการ ดังนี้
หรอื ดัดแปลง

1. ความเทา่ เทยี ม (Equitable) เพอื่ ใหแ้ นใ่ จวา่ การออกแบบนน้ั ใชป้ ระโยชนไ์ ด้ และเปน็
ท่ตี ้องการส�ำหรับทกุ คนในทกุ ระดับความสามารถ
2. ความคล่องตัว/ยืดหยุ่นในการใช้งาน (Flexibility) ในการใช้งานเพ่ือตอบสนองต่อ
ความพึงพอใจและความสามารถทแ่ี ตกต่างหลากหลาย
3. ใช้งานได้ไม่ซับซ้อนและเข้าใจง่าย (Simple and Intuitive) การใช้ผลิตภัณฑ์ หรือ
สภาพแวดล้อมนั้นง่ายต่อการทำ� ความเข้าใจ
4. เป็นข้อมูลที่รับรู้หรือเข้าใจได้ (Perceptible Information) ข้อมูลน้ันต้องส่ือสาร
อยา่ งได้ผล โดยไมจ่ ำ� กดั อยทู่ ี่ประสาทการรับรู้ หรือความสามารถทางร่างกายของผ้ใู ช้
5. ความผิดพลาดท่ียอมรับได้ (Tolerance for Error) ช่วยลดผลกระทบของส่ิงที่เกิด
โดยบังเอญิ หรอื การกระทำ� ทไ่ี มไ่ ดต้ ้ังใจ
6. ใช้ความพยายามเพยี งเล็กน้อย (Low Physical Effort) การใช้ผลติ ภัณฑ์ และเข้าถงึ
สภาพแวดลอ้ มไดอ้ ยา่ งสะดวกสบาย โดยใชพ้ ลังกายเพียงเลก็ นอ้ ย
7. ขนาดและพื้นท่ีส�ำหรับการเข้าไปใช้งาน (Size and Space for
Approach) คือ การช่วยในการเข้าถึงการบริการ โดยท่ีขนาดร่างกาย
หรือความสามารถในการเคล่ือนไหวไม่เป็นข้อจ�ำกัดในการเข้าถึง/
ใช้ผลิตภัณฑ์ และสภาพแวดลอ้ ม

ปที ่ี 21 ฉบับที่ 4 : ตุลาคม - ธนั วาคม 2561 33

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

ทงั้ นี้ ศนู ยก์ ารออกแบบเพอ่ื ทกุ คน (Center for Universal Design) ณ มหาวทิ ยาลยั นอรท์
แคโรไลนา สเตต และศนู ยเ์ ทคโนโลยพี เิ ศษประยกุ ต์ (Center for Applied Special Technology:
CAST) เป็นองค์กรที่น�ำหลักการของ UD มาประยุกต์ใช้ในการศึกษา โดยน�ำเสนอในรูปแบบ
การออกแบบการเรียนรเู้ พ่อื ทุกคน (Universal Design for Learning: UDL) ซง่ึ เปน็ การนำ� หลัก
การของการออกแบบเพ่ือทุกคนมาประยุกต์ใช้ในหลักสูตร และยุทธศาสตร์การสอน เพื่อส่งเสริม
การเรียนรู้และตอบสนองความตอ้ งการจำ� เปน็ ทีแ่ ตกต่างของนกั เรยี นแตล่ ะคน แนวทางดงั กล่าว
ให้ความส�ำคัญกับหลักสูตรที่มีความยืดหยุ่น และน�ำเสนอในรูปแบบท่ีหลากหลาย เพ่ือช่วยให้
ผู้เรียนท่ีมีภูมิหลัง รูปแบบการเรียนรู้ และความสามารถท่ีแตกต่างหลากหลาย สามารถเข้าถึง
และมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ ซ่ึงหลักการของการ
ออกแบบการเรียนรู้เพื่อทุกคนอยู่บนพ้ืนฐานของประสาท
วิทยาศาสตร์ (Neuroscience) ท่ีบอกเราว่า สมองคนเรา
ประกอบดว้ ยเครอื ขา่ ยกวา้ ง ๆ 3 เครอื ขา่ ยทเ่ี กยี่ วขอ้ งกบั การ
เรยี นรู้ ดังแผนภาพ

การออกแบบการเรียนรู้เพื่อทกุ คน

เครอื ข่ายการร้คู ดิ เครอื ข่ายเชิงยุทธศาสตร์ เครือขา่ ยเชิงความรูส้ ึก
“เรยี นรู้อะไร” “วิธีเรียนรู”้ และเจตคติ

“ทำ� ไมตอ้ งเรยี นรู้”

เป็นระบบท่ีเกี่ยวข้องกับการ ระบบท่ีบอกว่า เราจะท�ำส่ิง เป็นระบบที่เก่ียวข้องกับการ
รวบรวมความจริง เราจะระบุ หนงึ่ สง่ิ ใดอยา่ งไร การวางแผน เข้าร่วมกิจกรรม และท�ำให้
และการจ�ำแนกส่ิงที่เราเห็น และการแสดงออกผ่านทาง นกั เรยี นยงั คงมแี รงจงู ใจในการ
ได้ยินและอ่านได้อย่างไร การ กิจกรรม เราจะจัดการและ ร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ได้
รับรู้และเข้าใจเร่ืองราวและ แสดงความคิดของเราอย่างไร สิ่งท่ีนักเรียนรู้สึกถึงความ
จุดหมาย ผ ่ า น ก า ร เ ขี ย น เ รี ย ง ค ว า ม ท้าทาย ต่ืนเต้น หรือให้ความ
ห รื อ วิ ธี ก า ร แ ก ้ ป ั ญ ห า ท า ง สนใจกบั การเรยี นรู้ เหลา่ นเี้ ปน็
คณิตศาสตร์ “เรียนร้อู ย่างไร” แงม่ มุ เชงิ ความรสู้ กึ และเจตคติ
“เรยี นรทู้ ำ� ไม”

34 ปีท่ี 21 ฉบบั ท่ี 4 : ตลุ าคม - ธนั วาคม 2561

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

การออกแบบการเรียนรู้เพื่อทุกคน หรือ UDL จึงเป็นการสนับสนุนเพื่อให้ได้สื่อ และ
เครื่องมอื ทส่ี ามารถปรบั ใชไ้ ดอ้ ย่างหลากหลาย พรอ้ มทง้ั สนับสนนุ หลกั สตู รและการเรยี นการสอน
ท่ีมีวิธีการน�ำเสนอ แสดงออกถึงความรู้ความเข้าใจ และเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธี
ท่ีหลากหลาย (Center for Applied Special Technology, 2017)
หลักการของ UDL ช่วยนักการศึกษาในการออกแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับเครือข่าย
การท�ำงานของสมองท่ีเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคนท่ีมีความแตกต่างกัน ดังน้ัน
การออกแบบการเรยี นรเู้ พือ่ ทกุ คนจงึ มีหลกั การพนื้ ฐาน 3 ประการดงั น้ี
1. มีการน�ำเสนอ หรือใช้วิธีการสอนด้วยวิธีที่หลากหลาย เพื่อให้นักเรียนมีทางเลือก
ในการรับขอ้ มลู และความรู้
2. ให้นักเรียนมีโอกาสในการแสดงออก และการแสดงถึงความรู้และทักษะด้วยวิธีการ
ทห่ี ลากหลาย เพ่อื ใหผ้ ูเ้ รียนมีทางเลอื กสำ� หรบั การแสดงสิง่ ท่เี ขารู้
3. ให้โอกาสนักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีท่ีหลากหลายเพ่ือกระตุ้น
ความสนใจของนกั เรยี น สรา้ งความทา้ ทายนกั เรยี นอยา่ งเหมาะสม และสรา้ งแรงจงู ใจในการเรยี นรู้

UDL กบั การจดั การศกึ ษาแบบเรยี นรวม (Inclusive Education)

ปจั จบุ นั มโี รงเรยี นในสงั กดั สำ� นกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขนั้ พน้ื ฐานทจ่ี ดั การเรยี นรวม
จ�ำนวน 21,250 โรงเรียน มีเด็กพิการที่ก�ำลังเรียนอยู่ในโรงเรียนดังกล่าว จ�ำนวน 361,808 คน
(สำ� นกั บรหิ ารงานการศกึ ษาพเิ ศษ, 2560) นกั เรยี นเหลา่ นต้ี า่ งมคี วามตอ้ งการจำ� เปน็ ทแ่ี ตกตา่ งกนั
จึงเป็นความท้าทายของครูที่จะสอนให้นักเรียนท่ีมีความแตกต่างดังกล่าวไปถึงยังมาตรฐาน
ระดบั สงู ในหนง่ึ ชนั้ เรยี นอาจมนี กั เรยี นทม่ี ปี ญั หาในการเรยี นรดู้ ว้ ยเหตผุ ลทแี่ ตกตา่ งกนั แตอ่ ยา่ งไร
ก็ตาม ครูทุกคนต่างมีความต้องการเห็นนักเรียนแต่ละคนมีโอกาสก้าวหน้าทางการศึกษาอย่าง
เท่าเทียมกัน ซึ่งมิได้เป็นความท้าทายเฉพาะประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังคงเป็นความท้าทายของ
หลาย ๆ ประเทศดว้ ยเชน่ กนั ดว้ ยเหตผุ ลดงั กลา่ ว ยเู นสโกไดก้ ำ� หนดเปา้ หมายการพฒั นาอยา่ งยงั่ ยนื
(Sustainable Development Goal: SDGs) โดยเฉพาะเปา้ หมายที่ 4 ดา้ นการศกึ ษา และกรอบ
การทำ� งานดา้ นการศกึ ษา 2030 (Education 2030 Framework for Action) ทกี่ ำ� หนดใหม้ กี าร
รับรองการศึกษาท่ีเท่าเทียมและท่ัวถึง โดยให้ความส�ำคัญกับการเรียนรวม (Inclusive
Education) ส่งเสรมิ การเรียนรตู้ ลอดชีวติ แก่ทุกคนให้เป็นรากฐานสำ� หรับการศกึ ษาทม่ี ีคุณภาพ

ปที ี่ 21 ฉบับท่ี 4 : ตุลาคม - ธนั วาคม 2561 35

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

ก่อนอ่ืนขอท�ำความเข้าใจเกี่ยวกับการ ดงั กลา่ วอาจเชอ่ื มโยงกบั เช้ือชาติ เพศ สถานะ
เรียนรวม (Inclusive Education) ท่ีถูกต้อง ทางสังคม ความยากจน ความพิการ ฯลฯ
เสียก่อน ยูเนสโก ได้ให้ค�ำจ�ำกัดความของ ดงั นน้ั การเรยี นรวม จงึ เปน็ เรอื่ งของการคดิ วา่
การจัดการเรียนรวม (Inclusive Education) เราจะพัฒนาและออกแบบโรงเรียน ห้องเรียน
ว่า เป็นวิธีการมองเข้าไปในระบบการศึกษา โปรแกรม และกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไร
เพ่ือขจัดอุปสรรคท่ีไปกีดกัน หรือปิดกั้น เพ่ือช่วยให้นักเรียนทุกคนได้เรียนรู้และมีส่วน
นักเรียนมิให้สามารถเข้าถึงและมีส่วนร่วมใน ร่วมด้วยกัน (UNESCO, 2017)
กจิ กรรมทางการศึกษาไดอ้ ยา่ งเต็มท่ี อุปสรรค

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ส�ำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพ้ืนฐาน ควรพิจารณาน�ำการออกแบบ
การเรยี นรเู้ พอื่ ทกุ คน หรอื UDL มาเปน็ เครอ่ื งมอื ในการ
จัดการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
เพอ่ื ตอบสนองตอ่ วธิ กี ารรบั รู้ และการแสดงออกในดา้ น
ความรู้ ความเข้าใจที่หลากหลายของนักเรียน เพื่อช่วย
ให้นกั เรียนทกุ คนไม่วา่ จะมคี วามพิการหรอื ไม่ สามารถเขา้ ถึงหลักสูตร มีส่วนรว่ มในกระบวนการ
เรียนรู้ และมีความก้าวหน้าตามหลักสูตรเช่นเดียวกันกับเพ่ือนในวัยเดียวกันโดยมีแนวทาง
การนำ� หลักการของ UDL มาใช้ในการจดั การศกึ ษาแบบเรียนรวม ดังน้ี
1. ผนวกความสามารถในการเข้าถึงเข้าไปในการออกแบบหลักสูตร เพื่อให้ได้ลักษณะ
ทส่ี อดคลอ้ งกบั ความตอ้ งการจำ� เปน็ ของผเู้ รยี นทมี่ คี วามหลากหลาย โดยรวมความตอ้ งการจำ� เปน็
ท้ังหมดของนักเรียนเข้าไว้ในหลักสูตร จึงเป็นการออกแบบท่ีไม่จ�ำเป็นต้องน�ำมาปรับ/ดัดแปลง

36 ปที ่ี 21 ฉบบั ท่ี 4 : ตลุ าคม - ธนั วาคม 2561

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

ให้เหมาะสมภายหลัง ตัวอย่างการจัดท�ำวัสดุ กับความต้องการจ�ำเป็นในการเรียนรู้ท่ีหลาก
หลักสูตรเป็นอิเล็กทรอนิกส์ท่ีออกแบบให้ หลายของนกั เรยี น ตวั อยา่ ง การใชห้ นงั สอื ทอ่ี ยู่
สามารถใชแ้ ทนอปุ กรณเ์ ทคโนโลยอี ำ� นวยความ ในรปู ไฟลด์ จิ ติ อลทส่ี ามารถเปลย่ี นรปู แบบจาก
สะดวก (Assistive Technology) ซ่ึงจะช่วย ตัวหนังสือเป็นเสียง จากเสียงเป็นตัวหนังสือ
ให้ครู หรือนักวิชาชีพท่ีเก่ียวข้องสามารถน�ำ เปลี่ยนขนาด สี และการเน้นข้อความได้
หลักสูตรมาจัดท�ำแผนการจัดการเรียนรู้ นอกจากนี้ อุปกรณ์ที่เป็นดิจิตอลยังสามารถ
สอื่ การเรยี นการสอนทเ่ี หมาะสมและสอดคลอ้ ง ช่วยนักเรียนโดยการประกอบโปรแกรม
กบั ความตอ้ งการจ�ำเปน็ ของนกั เรยี นแตล่ ะคน หรือซอฟแวร์ช่วยเข้าไว้ เช่น โปรแกรมจดจ�ำ
2. จดั ใหม้ อี ปุ กรณ์ และสอื่ การเรยี นรทู้ ี่ ค�ำศัพท์ (Word Recognition) การแกะค�ำ/
มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน สามารถปรับ การถอดรหัส (Decoding) การแก้ปัญหา และ
เปล่ียนได้ เพื่อให้นักเรียนได้เลือกตามความ ความร้ทู เี่ ปน็ พน้ื ฐานสำ� หรับความร้คู วามเขา้ ใจ
เหมาะสม และให้อยู่ในรูปแบบท่ีสอดคล้อง ทเ่ี ดก็ บางคนไมค่ นุ้ เคย

3. ใช้มัลติมีเดีย (Multiple Media) เช่น
การจัดให้มีวิธีการน�ำเสนอแนวคิด และช่วยให้
นักเรียนเข้าถึงอุปกรณ์น้ัน ๆ ด้วยวิธีการรับรู้ที่
แตกต่างกันในแต่ละคน ท้ังรูปแบบ ภาพวิดีโอ
และเสียง ตัวอย่างการสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วย
คอมพิวเตอร์ที่มีข้อความ หรือเสียงบรรยายภาพ
เพอ่ื อธบิ ายประกอบในวดิ โี อจะสามารถชว่ ยนกั เรยี น
ท้ังที่มีและไม่มีความพิการ ท่ีมีปัญหากับการท�ำ
ความเขา้ ใจในภาพที่มองเห็น
4. จัดให้มีอุปกรณ์ที่มีความท้าทาย ความเด่นสะดุดตา และเหมาะสมกับวัยนักเรียนท่ีมี
ความสามารถหลากหลาย ตวั อย่าง นกั เรยี นทม่ี ปี ัญหาในการอา่ น (Dyslexia) จะได้ประโยชน์กบั
โปรแกรมการถอดรหัส (Decoding) และโปรแกรมสังเคราะห์เสียงท่ีเปลี่ยนตัวหนังสือเป็นเสียง
ทปี่ ระกอบเขา้ ไวใ้ นหนงั สอื วทิ ยาศาสตร์ และประวตั ศิ าสตรท์ เ่ี ปน็ ระบบดจิ ติ อล ซงึ่ จะชว่ ยใหผ้ เู้ รยี น
สามารถเขา้ ถึงเนื้อหานั้น ๆ ได้มากข้ึน

ปีที่ 21 ฉบบั ที่ 4 : ตลุ าคม - ธนั วาคม 2561 37

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

5. ใช้การน�ำเสนอข้อมูลในหลายรูป การประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนโดยใช้
แบบที่แตกต่างกัน และรูปแบบคู่ขนาน เพื่อ คอมพิวเตอร์ท่ีมีโปรแกรมอ่านหน้าจอช่วย
เอ้ือต่อรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพ่ือให้นักเรียนสามารถเข้าถึงข้อสอบและ
ของผู้เรียน ตัวอย่าง การน�ำเสนอข้อมูลด้วย สามารถแสดงออกถึงความรู้ความเข้าใจของ
การบรรยายหน้าชั้น การใช้รูปภาพประกอบ ตนเองผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ใช้การอ่าน
การเคล่ือนไหวด้วยการสาธิตเป็นตัวอย่าง ข้อสอบให้นักเรียนฟัง การขยายขนาดของ
และการใช้โปรแกรมท่ีช่วยให้นักเรียนได้แสดง ข้อสอบ ใช้การพิมพ์เพ่ือตอบค�ำถามของครู
ปฏสิ มั พนั ธ์กับความคดิ น้นั ๆ หรือการใช้พจนานุกรมสองภาษา โดยใช้
6. ประยุกต์หลักการของ UDL ใน การประเมินแบบคอมพิวเตอร์เป็นฐาน
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่สอดคล้อง (Computer-Based Assessment) (Dolan
กบั ความตอ้ งการจำ� เปน็ ของนกั เรยี น เพอื่ ไดผ้ ล & Hall, 2001)
ท่ีมีความถูกต้อง และแม่นย�ำมากขึ้น เช่น

สรุป

การออกแบบการเรียนรู้เพ่ือทุกคน
(Universal Design for Learning) เป็นการ
ออกแบบการเรียนรู้ที่สามารถน�ำมาสนับสนุน
นโยบายของรัฐบาลในเรื่องการลดความ
เหลื่อมล�้ำทางการศึกษา เป็นการช่วยให้
นักเรียนทุกคนสามารถเข้าถึงและเรียนรู้ร่วมกันได้ ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์กับนักเรียนที่มี
ความพกิ ารแลว้ ยงั มปี ระโยชนต์ อ่ นกั เรยี นคนอนื่ ๆ ดว้ ย ตวั อยา่ ง การใสค่ ำ� หรอื เสยี งบรรยายภาพ
ในวิดีโอ ซึ่งนอกจากจะช่วยให้นักเรียนหูหนวก หรือนักเรียนตาบอดสามารถเข้าถึงข้อมูลได้
ยังมีประโยชน์ต่อนักเรียนท่ีไม่ใช้ภาษาไทย หรือภาษาไทยยังไม่เข้มแข็ง และนักเรียนที่มีความ
บกพร่องทางการเรียนรู้ นอกจากน้ี การน�ำเสนอเนื้อหาด้วยวิธีการที่หลากหลายสามารถช่วย
ให้การจัดการเรียนการสอนส�ำหรับนักเรียนที่มีรูปแบบการเรียนรู้ และภูมิหลังทางวัฒนธรรม
ท่ีหลากหลายแตกต่างกันพัฒนาขึ้น การให้นักเรียนทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการ
เรียนการสอนในช้ันเรียนของท่าน และการมอบหมายงานผ่านทางอินเทอร์เน็ตจะเป็นประโยชน์
ตอ่ นกั เรยี นพกิ าร และนกั เรยี นทวั่ ไป การวางแผนกอ่ นถงึ แตเ่ นนิ่ ๆ จะชว่ ยประหยดั เวลาในระยะยาว

38 ปที ี่ 21 ฉบบั ที่ 4 : ตลุ าคม - ธนั วาคม 2561

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

ดังน้ัน การน�ำหลักการของ UD มาใช้ในการศึกษา จะเป็นการท�ำให้โลกของเราเป็นโลก
ทที่ ุกคนสามารถเขา้ ถงึ ได้มากกว่าทเี่ คยเป็น และเป็นการลดความจ�ำเปน็ ในการแก้ไข/ปรับเปล่ียน
ส�ำหรับทุก ๆ คน ให้นึกภาพนักเรียน ที่มักจะถูกท้ิงให้อยู่หลังเพ่ือน ๆ ด้วยการออกแบบท่ีคิดถึง
ทุกคนส�ำหรับการเรียนรู้ ในที่สุด นักเรียนเหล่านี้ก็มีโอกาสในการเรียนรู้ และรักการเรียนรู้
และด้วย UDL น้กี �ำลังน�ำความหวังของวันพรุ่งน้ี มาเกดิ ขน้ึ ในชน้ั เรยี นวันน้ี

เอกสารอา้ งอิง
ส�ำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2560). รายงานข้อมูลนักเรียนพิการเรียนรวม. ระบบบริหารจัดการข้อมูล
โรงเรยี นเรยี นรวม. งานขอ้ มลู สารสนเทศ กลมุ่ แผนและงบประมาณ.
Center for Applied Special Technology. (2017). Universal Design for Learning. Harvard Mills
Square, Wakefield, MA. [Online]. จาก http://www.cast.org/our-work/about-udl.html#.
WiebD1WWaM9 สบื ค้นเมอ่ื วันท่ี 31 พฤศจกิ ายน 2560.
Dolan, R. P. and Hall, T. E. (2001). “Universal Design for Learning: Implications for Large Scale
Assessment.” IDA Perspectives. [Online]. สืบค้นจาก https://autismtools.weebly.com/
uploads/1/4/4/8/14481562/udl_implications_for_large-scale_assessment.pdf สืบค้น
เมอื่ วันที่ 31 พฤศจกิ ายน 2560.
Orkwis, R., & McLane, K. (1998). A Curriculum Every Student Can Use: Design Principles For
Student Access. ERIC/OSEP Special Project. Reston, VA. [Online]. จาก https://eric.ed.gov
/?id=ED423654 สืบคน้ เมื่อวันที่ 31 พฤศจิกายน 2560.
UNESCO, (2017). What is Inclusive Education? Inclusive Education. UNESCO Bangkok. [Online].,
จาก http://www.unescobkk.org/education/inclusive-education/what-is-inclusive-
education/ สบื ค้นเม่อื วนั ที่ 1 ธันวาคม 2560.
ท่ีมาแหลง่ รปู ภาพ
http://msfillo.weebly.com/
http://msfillo.weebly.com/
http://msfillo.weebly.com/
http://www.bluerollingdot.org/articles/scoop/259
http://www.naewna.com/local/309945

ปที ่ี 21 ฉบับที่ 4 : ตลุ าคม - ธันวาคม 2561 39

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

พ่อมือใหม่กับโรงเรียนหลายทางเลือก

• อคั รพล พิภพลาภอนันต์

เมอ่ื ผมรวู้ า่ กำ� ลงั จะมลี กู ความคดิ หลาย ๆ ที่เกิดขึ้นในสถานศึกษาบ้าง การยัดเยียด
อย่างกบ็ ังเกิด ตงั้ แตก่ ารเลือกอาหารให้ภรรยา วชิ าการใหเ้ ดก็ มากเกนิ ไปบา้ ง รวมทง้ั มาตรฐาน
การหาข้อมูลท่ีเป็นประโยชน์ส�ำหรับคนท้อง การศึกษาที่เหลื่อมล�้ำในแต่ละสถาบัน หรือ
อยา่ งเรอื่ งการออกกำ� ลงั กาย การพกั ผอ่ น ฯลฯ แม้แต่วิชาความรู้ที่ล้าสมัยในหลักสูตรการ
และเม่ือเจ้าตัวน้อยลืมตาดูโลกในวันแรก ศึกษา เรื่องเหล่าน้ีมักถูกสะท้อนออกมาจาก
ผมก็มีความม่ันใจในการท่ีจะเล้ียงดูชีวิตใหม่นี้ ขา่ วทเี่ ปน็ กระแสของสงั คม จนเมอ่ื ผมรตู้ วั วา่ จะ
ท้ังเร่ืองอาหารการกิน การดูแลเรื่องสุขภาพ ได้เข้าไปยุ่งเก่ียวกับเร่ืองการศึกษาของลูก
อนามัย การเล้ียงดูให้เติบใหญ่อย่างมีคุณภาพ ผมก็อดที่จะกังวลเก่ียวกับเรื่องท่ีเคยได้ยินมา
น่ันเป็นเพราะต้ังแต่ลูกยังอยู่ในท้องของแม่ เหล่านัน้ ไมไ่ ดเ้ ลย
ผมได้ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ เมื่อผมได้หาข้อมูลเก่ียวกับเร่ืองการ
มาทงั้ หมดแลว้ และอกี เรอื่ งหนง่ึ ทผี่ มจะละเลย ศึกษาของเมืองไทย จึงได้พบว่าในปัจจุบัน
ไมไ่ ด้ กค็ อื การหาขอ้ มลู เรอื่ งการศกึ ษาของเดก็ ระบบการศึกษาของบ้านเราได้มีรูปแบบท่ี
ในแตล่ ะชว่ งวยั หลากหลายมากข้ึน คนหลายกลุ่มได้มองเห็น
ก่อนหน้านี้หลายปี ผมไม่เคยรู้เลยว่า ถงึ ปญั หาเกยี่ วกบั การศกึ ษาทมี่ กั จะตกเปน็ ขา่ ว
การศกึ ษาในปจั จบุ นั ไดม้ รี ปู แบบใหม่ ๆ เกดิ ขน้ึ พวกเขาไม่ต้องการจะแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ
มากมาย ไม่รู้วา่ เดี๋ยวนพี้ ่อแมเ่ ลยี้ งดเู ด็ก ๆ กัน แต่พวกเขาต้องการจะแก้ปัญหาท่ีต้นเหตุ
อยา่ งไรบา้ ง เรอ่ื งเกย่ี วกบั การศกึ ษาสว่ นใหญท่ ี่ นน่ั กค็ อื ปรบั เปลยี่ นรปู แบบของการศกึ ษาตงั้ แต่
ได้ยินได้ฟังมานั้นก็มักจะเป็นเร่ืองความรุนแรง จดุ เร่ิมต้นนั่นเอง

40 ปที ี่ 21 ฉบับที่ 4 : ตุลาคม - ธนั วาคม 2561

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

โรงเรียนทางเลือกเป็นโรงเรียนท่ีน่า เป็นห่วงเรื่องการสอบเข้าเรียนต่อในระดับ
สนใจ หลักสูตรเน้นไปท่ีทักษะการใช้ชีวิตและ ชั้นประถมศึกษา หรืออาจจะกังวลเร่ืองการ
วิถีชีวิตประจ�ำท้องถ่ิน ผมได้ไปดูการเรียนการ ปรับตัวไม่ทันเพ่ือน เม่ือเด็กเข้าไปอยู่ใน
สอนของหลาย ๆ โรงเรียนแล้วก็รู้สึกว่าน่าจะ โรงเรียนประถมที่เน้นวิชาการ และอาจจะมี
ตอบโจทย์ความต้องการของเด็กจริง ผมคิดว่า ค ว า ม กั ง ว ล ต ่ อ ไ ป ถึ ง ร ะ ดั บ มั ธ ย ม แ ล ะ
นี่คือสิ่งที่ลูกของผมควรได้รับการปลูกฝัง มหาวทิ ยาลัยกเ็ ปน็ ได้
ในหลาย ๆ โรงเรยี นทผี่ มเหน็ กม็ กั จะมกี ารเนน้ ความจริงแล้วความคาดหวังในเรื่องนี้
เรื่องจริยธรรมควบคู่กับกิจกรรมในชั้นเรียน ของผม ผมกลับมองว่ามันจะคุ้มค่าหรือไม่
ไปด้วย ซ่ึงส่ิงนี้ช่างแตกต่างกับส่ิงที่ผมเคยเจอ ที่จะให้เด็กเดินไปในเส้นทางสายวิชาการ
ในสมัยที่ผมยงั เป็นนกั เรียนอย่างสิน้ เชิง เพราะต้นทุนของสายน้กี ็มีอยไู่ ม่นอ้ ย เช่น ต้อง
แนวคิดของโรงเรียนทางเลือกมักยึด เตรียมเงินค่าเทอม ค่ากวดวิชา ค่าสมัครสอบ
ความสขุ ของเดก็ เปน็ ทต่ี งั้ เนน้ การเลน่ มากกวา่ และค่าจิปาถะอีกสารพัดท่ีเรายังมองไม่เห็น
การเรียน ทักษะทุกอย่างเกิดจากการเรียนรู้ และส่ิงท่ีเรามักจะมองไม่เห็นอีกหนึ่งอย่าง
ผ่านการเล่นไม่ใช่การท่องจ�ำ การไปโรงเรียน ก็คือความต้องการของเด็กในเรื่องวิชาการ
ของเด็กคงจะเหมือนกับการไปพบปะกับ ในหลาย ๆ หลกั สตู รทเี่ ปิดกว้างให้เด็กไดเ้ ลอื ก
เพื่อน ๆ และเล่นด้วยกัน ท�ำกิจกรรมร่วมกัน เรียนนั้น ดูเหมือนจะเป็นอิสระในการเลือกสิ่ง
เปน็ การผลติ ทรพั ยากรบคุ คลแบบรายหวั ไมใ่ ช่ ท่ีอยากเรียน แต่ความจริงแล้วก็หนีไม่พ้นที่
การผลิตที่เป็นแบบผลิตซ�้ำเหมือนกับโรงเรียน จะตอ้ งไปอยใู่ นกรอบการศกึ ษาอยดู่ ี กรอบทวี่ า่
ในระบบ ซ่ึงวิธีการผลิตแบบผลิตซ้�ำนั้นคงจะ นกี้ ค็ อื เดก็ จะตอ้ ง “เรยี น” ในสงิ่ ทถี่ กู กำ� หนดไว้
สรา้ งผลผลติ ทเ่ี หมอื น ๆ กนั ไมม่ คี วามแตกตา่ ง แลว้ ตอ้ ง “ทำ� ” ในสงิ่ ทถี่ กู กำ� หนดไวแ้ ลว้ และ
ถ้าหากว่าเด็กเหล่าน้ันสามารถผ่านการศึกษา ต้อง “ตอบค�ำถาม” จากโจทย์ที่ค�ำตอบ
ในระบบมาได้ ไดถ้ ูกกำ� หนดไวแ้ ลว้
บรรดาพอ่ แมม่ กั เรยี กโรงเรยี นอนบุ าลที่
ไมใ่ ช่โรงเรียนทางเลือกวา่ “โรงเรียนอนบุ าลที่
เน้นวชิ าการ” นั่นหมายความวา่ โรงเรียนทาง
เลอื กจะเป็นโรงเรยี นท่ไี มเ่ น้นวชิ าการ พ่อแม่ที่
เปน็ ผกู้ ำ� หนดอนาคตและแนวการศกึ ษาของลกู
ก็มักจะคาดหวงั ตา่ งกนั พอ่ แมบ่ างคนอยากให้
ลกู เรยี นในโรงเรยี นอนบุ าลทเี่ นน้ วชิ าการเพราะ

ปีท่ี 21 ฉบบั ท่ี 4 : ตลุ าคม - ธนั วาคม 2561 41

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

ผมเปน็ คนทช่ี อบตดิ ตามขา่ วสารเกยี่ วกบั เทคโนโลยใี นอนาคต แนวโนม้ ของโลกทเี่ ปลย่ี นไป
ทุกวัน ๆ จนจะไม่เหลือเค้าโครงเดิมจากอดีตที่ผู้ใหญ่หลาย ๆ คนคุ้นชิน ทิศทางการผลิตสินค้า
และบริการที่จะเปลี่ยนไปในอนาคตอันใกล้ มีผลต่อตลาดแรงงานที่จะมาถึงในวัยที่ลูกผม
ตอ้ งออกหางานทำ� ผมมองวา่ วชิ าการและเทคโนโลยที มี่ สี อนอยใู่ นสถาบนั การศกึ ษานนั้ จะเปน็ เรอื่ ง
ทไี่ มจ่ ำ� เปน็ ตอ่ ไปในอนาคต หรอื อาจจะลา้ หลงั เกนิ ไปทจี่ ะนำ� ไปใชท้ ำ� งานจรงิ ในสถานประกอบการ
การกา้ วเทา้ เขา้ ไปอยใู่ นระบบการศกึ ษาทล่ี า้ หลงั อาจจะเปน็ การเดนิ ไปตดิ กบั ดกั ทจี่ ะเหนยี่ วรงั้ ชวี ติ
ไม่ใหเ้ ดนิ ไปข้างหน้าหลายสบิ ปี

และท่ีผมมองไว้อีกอย่างก็คือ เดี๋ยวน้ีไม่ว่าจะเป็นวิชาการหรือเทคโนโลยีใดท่ีเด็กสนใจ
จริง ๆ ก็สามารถศึกษาด้วยตัวเองได้ท้ังส้ิน เพราะข้อมูลความรู้ทุกอย่างเปิดกว้างมากขึ้นกว่า
ในอดตี ทผ่ี า่ นมา เดก็ สามารถเลอื กเรยี นเฉพาะสงิ่ ทอ่ี ยากเรยี นจรงิ ๆ ไมต่ อ้ งฝนื ทนเรยี นสงิ่ ทไี่ มส่ นใจ
ผมจงึ มคี วามคดิ โนม้ เอยี งไปทางใหอ้ สิ ระแกเ่ ดก็ อยา่ งแทจ้ รงิ มากกวา่ นนั่ กค็ อื อยากใหเ้ ดก็ สามารถ
เลือกทางเดนิ ชวี ติ ของตวั เองได้
อย่างไรก็ตาม เมื่อผมได้เห็นค่าเทอมของโรงเรียนทางเลือกเหล่าน้ีแล้ว ท�ำให้ผมคิดว่า
คงไม่สามารถส่งลูกไปเรียนได้อย่างแน่นอน เพราะค่าเทอมของโรงเรียนทางเลือกนั้นแพงเกินกว่า
ทค่ี นหาเชา้ กนิ คำ่� อยา่ งผมจะสง่ ลกู ไปเรยี นได้ ทำ� ใหผ้ มคดิ ตอ่ ไปอกี วา่ คงไมใ่ ชใ่ ครทกุ คนจะสามารถ
เขา้ ถงึ ระบบนไ้ี ด้ ทงั้ ๆ ทโ่ี รงเรยี นทางเลอื กอาจจะเปน็ จดุ เรม่ิ ตน้ ของการปฏริ ปู การศกึ ษาในอนาคต
ก็เปน็ ได้
และปัญหาส�ำคัญอีกอย่างหนึ่งส�ำหรับโรงเรียนทางเลือกน้ันคือ ยังมีจ�ำนวนน้อย อาจมี
โรงเรียนทางเลือกที่เปิดสอนกระจาย ๆ กันไป แต่ไม่ครอบคลุมพื้นท่ีทั้งหมด ท�ำให้เด็กบางคน
ต้องเดินทางไปโรงเรียนทางเลือกท่ีอยู่ไกล ผมคิดว่านี่อาจจะย่ิงสร้างปัญหาให้เด็กต้องต่ืนเช้ากว่า
ท่ีควรจะเป็น และกลบั เข้าบา้ นชา้ จนไม่มีเวลาท�ำกิจกรรมกบั คนทบี่ า้ นเลย
42 ปีที่ 21 ฉบบั ที่ 4 : ตลุ าคม - ธนั วาคม 2561

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

ย่ิงค้นคว้าหาข้อมูล ผมก็ย่ิงค้นพบกิจกรรมการเรียนการสอนท่ีน่าทึ่ง ยังมีอีกรูปแบบหน่ึง
ท่ีผมจินตนาการไม่ออกเลยว่าจะมีคนท�ำ นั่นก็คือการสอนลูกด้วยตัวเองท่ีบ้าน เรียกว่า
“บา้ นเรยี น” (Home School) เพราะผมยง่ิ ไมเ่ ขา้ ใจวา่ พอ่ แมท่ วั่ ไปจะมคี วามรคู้ รบทกุ วชิ าไปสอน
ลกู ไดอ้ ย่างไร คนท่ีไมไ่ ด้เรียนจบครูมาจะสอนใครไดห้ รือไม่
และเพอื่ หาคำ� ตอบนี้ ผมจงึ ไดไ้ ปเขา้ กลมุ่ กบั พอ่ แมท่ จี่ ดั ทำ� บา้ นเรยี นดว้ ยตวั เองเพอื่ ไปศกึ ษา
หาข้อมูลว่าพวกเขาสอนอะไรให้ลูกบ้าง ในท่ีสุดจึงได้รับความรู้และแนวคิดของคนที่ท�ำบ้านเรียน
ซ่ึงส่วนใหญ่น้ันคือความต้องการท่ีจะให้ลูกเติบโตข้ึนอย่างเป็นธรรมชาติให้มากที่สุด สอนใน
ส่ิงที่จำ� เปน็ กับชีวติ หรอื เลือกความถนัดดา้ นใดด้านหนึ่งไปเลย
จากที่ผมฟังแนวคิดเก่ียวกับบ้านเรียนมา วิถีของบ้านเรียนน้ันก็คือพื้นฐานด้ังเดิม
ของชีวิตมนุษย์ เด็ก ๆ จะถูกเล้ียงดูอบรมส่ังสอนจากพ่อแม่หรือผู้ปกครอง การใช้ชีวิตของเด็ก
จะถูกบ่มเพาะจากผู้เลี้ยงดูโดยตรง ท�ำให้ความใส่ใจจากผู้เล้ียงดูน้ันมีมากกว่าการอบรมเล้ียงดู
จากบุคคลอื่น การเติบโตพัฒนาสติปัญญาและความคิดอย่างเป็นธรรมชาติน้ันเป็นสิ่งส�ำคัญ
ทพ่ี อ่ แม่บ้านเรียนใหค้ วามสำ� คญั มากกวา่ การแข่งขนั ใด ๆ
เพราะว่าอิสระในการเลือกศึกษาเรียนรู้ส่ิงที่สนใจเป็นสิ่งส�ำคัญ และอิสระในการท่ีจะ
ไม่เรียนรู้สิ่งที่ไม่น่าสนใจก็เป็นส่ิงส�ำคัญย่ิงกว่า เด็กจะเป็นคนประเมินเองว่าสิ่งใดเป็นส่ิงจ�ำเป็น
และสงิ่ ใดเปน็ สง่ิ ทไี่ มจ่ ำ� เปน็ ตอ้ งเรยี นรู้ จากในมมุ มองของพอ่ แมย่ อ่ มรดู้ วี า่ ในอดตี เราเคยถกู บงั คบั
ใหเ้ รยี นวชิ าทเี่ ราไมเ่ คยเขา้ ใจมนั เลย นนั่ เปน็ เพราะเราไมเ่ คยสนใจมนั เราตอ้ งเสยี เวลาไปมากมาย
กับหลักสูตรการศึกษาที่สอนทุกอย่างที่เจ้าของหลักสูตรจะคิดออก และสุดท้ายเพราะเรา
มัวแต่เรียนวิชาที่เราไม่ชอบและไม่ถนัด จึงท�ำให้เราต้องสูญเสียเวลาส�ำหรับการฝึกทักษะในวิชา
ทเี่ ราชอบและถนดั ไปอย่างนา่ เสียดาย
การท�ำบ้านเรียนน้ีเป็นวิธีหน่ึงท่ีจะก้าวข้ามการศึกษาแบบเดิม แต่ทว่าวิธีการน้ีก็ไม่ง่าย
เหมือนการส่งลูกไปเรียนโรงเรียนทางเลือกที่แค่จ่ายเงินค่าเทอม เนื่องจากรูปแบบของการเรียน
การสอนแบบนไี้ มต่ ายตวั ไมเ่ คยมใี ครสามารถกำ� หนดแนวทางไดอ้ ยา่ งชดั เจน นจี่ งึ ดไู มง่ า่ ยสำ� หรบั
พ่อแม่ท่ีคิดจะเริ่มท�ำบ้านเรียน แม้ผมจะไม่เคยเห็นบ้านเรียนไหนท่ีล้มเหลวในเร่ืองการเรียน
การสอน นั่นเป็นเพราะพวกเขาอาจจะล้มเลิกและเปลี่ยนระบบการศึกษาไปก่อนก็เป็นได้
แต่พ่อแม่หลายรายท่ีท�ำบ้านเรียนประสบความส�ำเร็จมักจะให้ข้อคิดว่าปล่อยให้การเรียนรู้
ด�ำเนินไปอย่างเป็นธรรมชาติที่สุด เด็ก ๆ จะค้นหาสิ่งท่ีถนัดด้วยตัวเอง พ่อแม่มีหน้าที่เพียงแค่
สนับสนนุ และมองดอู ยู่ข้าง ๆ แค่น้ันพอ

ปีท่ี 21 ฉบับที่ 4 : ตลุ าคม - ธันวาคม 2561 43

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

เครือขา่ ยบ้านเรยี นนดั ทำ� กิจกรรมร่วมกนั เป็นกจิ กรรมที่เนน้ วิถีแห่งธรรมชาติ

ส�ำหรับพ่อแม่ท่ีคิดจะท�ำบ้านเรียนมักกังวลเก่ียวกับเร่ืองการเข้าสังคมของเด็ก ในเร่ืองน้ี
พอ่ แมท่ ที่ ำ� บา้ นเรยี นมากอ่ นมกั บอกวา่ เดยี๋ วนเ้ี ครอื ขา่ ยบา้ นเรยี นมขี นาดใหญม่ าก เดก็ ๆ สามารถ
มาร่วมกลุ่มพบปะกันเป็นชุมชนที่สามารถพัฒนาทักษะการเข้าสังคมได้ แต่พ่อแม่กลุ่มหน่ึง
ท่ไี ม่ไดท้ �ำบา้ นเรียนก็ใหค้ วามเห็นไว้ว่า การสอนลกู ตวั เองในบ้านเหมอื นเปน็ ระบบปิด คือควบคมุ
ตวั แปรไวห้ มด ไมว่ า่ ลกู จะเจออะไร จะเหน็ อะไร จะทำ� อะไร แตโ่ รงเรยี นคอื สถานทฝี่ กึ ใหเ้ ดก็ เผชญิ
กบั โลกแหง่ ความเปน็ จรงิ ซงึ่ เราไมส่ ามารถควบคมุ สง่ิ ตา่ ง ๆ รอบตวั ได้ ทง้ั ยงั เปน็ การฝกึ ใหล้ กู คอ่ ย ๆ
รู้จักการห่างจากพ่อแม่บ้าง นอกจากน้ีผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับบ้านเรียนได้ให้เหตุผลว่าระบบบ้านเรียน
จะปดิ กนั้ โอกาสทเ่ี ดก็ จะไดใ้ ชช้ วี ติ อยกู่ บั เดก็ ทม่ี วี ยั เทา่ ๆ กนั ซงึ่ ตรงจดุ นพี้ อ่ แมบ่ างคนกม็ องวา่ เปน็
เร่อื งส�ำคัญของชวี ติ แตบ่ างคนก็มองข้ามไป
ผมลองนึกย้อนไปว่ามีเพื่อนสมัยเรียนท่ียังพูดคุยกันถึงทุกวันน้ีหรือไม่? ปรากฏว่า ยังมี
หลงเหลอื อยอู่ กี หลายคน และเมอื่ นกึ ดวู า่ เพอ่ื นเหลา่ นนั้ มคี วามสำ� คญั ตอ่ ผมอยา่ งไรบา้ ง กไ็ ดพ้ บวา่
ยังมีเพ่ือนอยู่หลายคนท่ียังรักษาสัมพันธภาพต่อกันไว้ เพ่ือนในสมัยมัธยมท่ียังติดต่อกันก็ยังไปมา
หาสู่ พูดคุยปรึกษาเรื่องราวลึก ๆ ท่ีเราอยากคุยเฉพาะกับเพื่อนสนิทเท่านั้น หรือเพื่อนสมัย
มหาวิทยาลัยที่ท�ำงานในสายเดียวกับเราก็ยังคงสามารถให้ค�ำปรึกษาเร่ืองงานหรือเร่ืองอาชีพ
ได้อีกด้วย ผมมองตรงจุดน้ีวา่ ความสมั พนั ธ์ในระดบั น้ีคงจะไมเ่ กดิ ขนึ้ กับเพ่ือนทีน่ าน ๆ ครง้ั จะได้
เจอกนั หรอื เจอกนั ครง้ั ละไมก่ ชี่ วั่ โมง แตค่ งจะตอ้ งเปน็ เพอื่ นทเี่ ราไปเจอกนั ทกุ วนั ไดท้ ำ� งานรว่ มกนั
ได้ปรึกษา ไดโ้ ตแ้ ย้งเรอื่ งความเหน็ ได้รับฟังเหตผุ ลและยอมรับความคดิ เห็นของอกี ฝ่าย

44 ปีท่ี 21 ฉบับท่ี 4 : ตลุ าคม - ธันวาคม 2561

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

แล้วถ้าไม่มีเพ่ือนสมัยเรียนล่ะ? เรามา ความกังวลเก่ียวกับเร่ืองน้ีเป็นความ
หาเพื่อนในตอนท่ีเราท�ำงานได้หรือไม่? เพ่ือน กังวลส่วนตัวท่ีผมคิดไปเอง ผมคิดว่าเก่ียวกับ
ในท่ีท�ำงานจะกลายเป็นเพ่ือนสนิทที่คุยกันทุก ปัญหานี้คงไม่มีใครสามารถตอบได้อย่าง
เรื่องได้หรือเปล่า? ผมคิดว่าใคร ๆ หลายคนก็ แน่นอน เพราะแต่ละคนอาจให้ความส�ำคัญ
อาจจะทำ� ได้ มนั ไมใ่ ชเ่ รอื่ งแปลกเลยทเ่ี ราจะเจอ เก่ียวกับเร่ืองสายสัมพันธ์ในสังคมไม่เท่ากัน
เพ่ือนสนิทในตอนไหนของช่วงชีวิตก็ได้ แต่ การมีเพื่อนสนิทที่จริงใจกับเราเหมือนว่าเรา
สำ� หรบั ผมนนั้ กลบั มองวา่ เพอ่ื นในทท่ี ำ� งานเปน็ เปน็ คนในครอบครวั ของเขา สำ� หรบั ผมแลว้ มนั
เพื่อนที่เรามีเวลาอยู่ด้วยกันน้อย การสร้าง เป็นสิ่งท่ีมีค่าเหมือนกับคนในครอบครัวท่ีต้อง
ความไว้วางใจและความเชื่อใจกับเพ่ือนกลุ่มนี้ ดแู ลซึ่งกนั และกัน
อาจจะยากกวา่ เพื่อนในช้ันเรยี น

เมื่อผมมองภาพรวมจากระบบการศึกษาทั้งโรงเรียนทางเลือก การท�ำบ้านเรียน และ
การศึกษาในระบบ ก็จะเห็นถึงความแตกต่างจากท้ังสามระบบ ไม่ว่าจะเป็นเร่ืองการเงิน
ความรับผิดชอบจากผู้ปกครอง หรือแม้กระทั่งสิ่งต่าง ๆ ที่ตัวเด็กเองจะต้องประสบพบเจอ เช่น
สงั คมทเี่ ด็กจะเขา้ ไปอยู่ หรอื วธิ ศี กึ ษาค้นคว้าข้อมูลต่าง ๆ ในเรื่องของการเงินน้นั สำ� หรบั โรงเรยี น
ทางเลอื กนนั้ จะมคี า่ เทอมอยทู่ ป่ี ระมาณ 2 หมนื่ ถงึ แสนกวา่ บาทขนึ้ ไป ซงึ่ เงนิ จำ� นวนนสี้ ำ� หรบั บาง
ครอบครวั กถ็ อื วา่ เยอะมาก และในการทำ� บา้ นเรยี น คา่ ใชจ้ า่ ยในการเตรยี มกจิ กรรมตา่ ง ๆ ใหเ้ ดก็ นน้ั
ผู้ปกครองจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบเองทั้งหมด ซึ่งนั่นก็ขึ้นอยู่กับว่าเด็กนั้นสนใจในกิจกรรมใด
แตถ่ า้ หากเลือกเรยี นในระบบและเลอื กเรยี นโรงเรยี นของรัฐบาลกจ็ ะไม่มีคา่ ใชจ้ ่าย
สิ่งส�ำคัญอีกอย่างหนึ่งที่เป็นเหตุผลหลักส�ำหรับผู้ปกครองในการเลือกระบบการศึกษาให้
กับบุตรหลาน ก็คือเร่ืองความรับผิดชอบของตัวผู้ปกครองเอง ซ่ึงปัจจัยหลักก็คือเรื่องเวลาเป็นส่ิง
ส�ำคัญ การท�ำบ้านเรียนน้ันจะต้องมีผู้ปกครองอย่างน้อยหนึ่งคนอยู่บ้านดูแลลูกได้ ผมเห็นหลาย
บา้ นเรยี นทกุ หลงั จะตอ้ งมคี วามพรอ้ มทางน้ี แตก่ ารทผ่ี ปู้ กครองหนง่ึ คนจะตอ้ งเสยี สละเวลาทงั้ หมด
มาดแู ลลกู นนั้ อาจจะหมายความวา่ จะไมม่ เี วลาไปหารายไดม้ าใชจ้ า่ ยในครอบครวั ครอบครวั ทจี่ ะ
ทำ� บา้ นเรยี นนน้ั ตอ้ งมฐี านะอยบู่ า้ ง หรอื มรี ายไดจ้ ากทางอน่ื เขา้ มา อกี เรอื่ งหนง่ึ ทผ่ี ปู้ กครองทจี่ ะทำ�
บา้ นเรยี นต้องมี นั่นกค็ อื ความทุม่ เท ความทุ่มเทในการทจ่ี ะต้องเตรียมหลกั สูตรตา่ ง ๆ มาให้ลูก
บางคร้ังก็ต้องศึกษาเร่ืองน้ัน ๆ ไปพร้อมกับลูกเลย แต่ถ้าเป็นระบบโรงเรียนที่ส่งลูกเข้าเรียน
ตอนเช้าและไปรบั กลบั บ้านตอนเย็น พอ่ แมจ่ ะไมต่ อ้ งแบกรับภาระตรงนเี้ ลย

ปีที่ 21 ฉบับท่ี 4 : ตุลาคม - ธนั วาคม 2561 45

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

และเมอ่ื คดิ ถงึ วา่ เดก็ ในระบบตา่ ง ๆ นนั้ เขียนบทความ) ผมก็รู้สึกได้ว่าลูกมีความสุขดี
จะไดพ้ บเจออะไรมาบา้ ง โชคดที ผี่ มมโี อกาสได้ ไมต่ ่อต้านสังคมเลก็ ๆ ในศูนย์ฯ พี่เลีย้ งเดก็ ท�ำ
พูดคุยกับหลายครอบครัวที่มีลูกอยู่ในช่วง กจิ กรรมทเ่ี ด็กเลก็ สนกุ สนานการท่ลี ูกผมไปอยู่
ปฐมวัย บางครอบครัวให้ลูกเข้าโรงเรียนทาง รวมกันกับเด็กหลาย ๆ คนในห้อง อย่างน้อย
เลือก การท�ำบ้านเรียนและเข้าโรงเรียนใน ท่ีสุดผมก็คิดว่าเขาจะได้พัฒนาทักษะอย่างใด
ระบบ เท่าทผ่ี มไดส้ ังเกตจากตัวเด็ก จะเห็นได้ อย่างหนึ่งหรือหลายอย่างที่ลูกไม่สามารถ
วา่ ไมว่ า่ เดก็ จะมาจากระบบไหน เขากส็ ามารถ พัฒนาได้เองที่บ้าน เช่น การแบ่งปันกับเด็ก
ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้และอยู่ใน ท่ีอยู่ในวัยเดียวกันการได้วิ่งเล่นกันอย่าง
สังคมนั้นอย่างมีความสุขไม่ต่างกัน แม้ว่า สนกุ สนานกบั เพอ่ื น ๆ หรือการไดน้ งั่ ฟังผใู้ หญ่
บุคลิกภาพของเด็กแต่ละระบบน้ันค่อนข้างจะ เล่านิทานพรอ้ มกับเพอื่ น ๆ อกี หลายคน
ตา่ งกนั อยบู่ า้ ง แตท่ วา่ ความสนใจใฝร่ แู้ ละความ การทล่ี กู ของผมไดเ้ ขา้ ไปอยใู่ นชน้ั เตรยี ม
ซุกซนสนุกสนานตามวัยของเด็กน้ันแทบจะไม่ อนุบาลกับเด็กอีกหลายๆ คนน้ัน ผมเร่ิมคิด
ต่างกันเลยนั่นอาจจะเป็นเพราะในครอบครัว แล้วว่า เป็นบริการขั้นพ้ืนฐานที่รัฐบาลได้
ของเด็กเหล่าน้ันล้วนมีผู้ปกครองที่ดูแลลูก จัดเตรียมไว้ให้เราอย่างดีเย่ียม และเมื่อถึง
หลานอย่างใกล้ชิดและยังเล้ียงดูเด็ก ๆ อย่าง ช่วงเวลาท่ีลูกจะข้ึนชั้นอนุบาล ผมก็ไม่ขัดข้อง
เหมาะสมตามวยั อกี ดว้ ย ที่จะให้ลูกของผมเรียนที่น่ี เพราะโรงเรียน
ผมครุ่นคิดอยู่นานเกี่ยวกับทางเลือก อนุบาลท่ีเป็นของรัฐบาลก็ไม่ยัดเยียดวิชาการ
ในการศึกษาจนกระทั่งลูกชายของผมถึงวัย ใหเ้ ดก็ อยแู่ ลว้ ทำ� ใหผ้ มไมต่ อ้ งกลวั วา่ ลกู จะตอ้ ง
ท่ีจะเข้าช้ันเตรียมอนุบาล และเป็นช่วงเวลา ไปเจอกับสง่ิ เหล่าน้ัน
ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กซึ่งอยู่ใกล้บ้านใช้เวลา และเม่ือถึงระดับชั้นประถม ถ้าหากว่า
เดินทางไม่ถึงห้านาทีก�ำลังเปิดรับเด็กในภาค โรงเรียนทางเลือก การจัดบ้านเรียน หรืออาจ
การศกึ ษาใหม่ ผมจงึ ตดั สนิ ใจทจ่ี ะสง่ ลกู ไปอยทู่ ่ี จะเป็นโรงเรียนอินเตอร์ฯ และโรงเรียนเอกชน
ศูนย์ฯ นี้ สาเหตุหลัก ๆ เพราะอยากให้ลูกไป จะมีข้อจ�ำกัดหลายอย่างที่ผมไม่สามารถส่งลูก
เลน่ กบั เพอ่ื น ๆ ไดฝ้ กึ การอยหู่ า่ งจากพอ่ แมบ่ า้ ง ไปเรยี นได้ ผมกอ็ าจจะสง่ ลกู ไปโรงเรยี นเทศบาล
และเท่าที่เห็นสภาพแวดล้อมในศูนย์เด็กเล็ก ใกลบ้ า้ นทเี่ นน้ วชิ าการ นนั่ อาจจะเปน็ ทางเลอื ก
ก็มีมาตรฐานความปลอดภัยที่ไม่น่ากังวล ที่ดีท่ีสุด เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการไปรับ-ส่ง
มีครูพี่เล้ียงท่ีมีใจรักเด็กและผ่านการอบรม คา่ ใชจ้ า่ ยในการศกึ ษากไ็ มม่ ากเกนิ ไป เนอื่ งจาก
หลายคน ผมเฝ้าสังเกตดูลูกที่ไปอยู่ในศูนย์ฯ ทา้ ยทสี่ ดุ แลว้ ปญั หาทางการศกึ ษาตา่ ง ๆ ทเี่ รา
แม้เวลาผ่านไปแค่หนึ่งอาทิตย์ (ณ ตอนที่เริ่ม กลัวนั้นอาจจะไม่ได้มาจากระบบก็เป็นได้

46 ปีท่ี 21 ฉบับที่ 4 : ตุลาคม - ธนั วาคม 2561

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

แต่ปัญหาที่แท้จริงอาจจะมาจากความคาดหวัง มาจากทัศนคติหรือมายาคติของผู้ปกครอง
ที่มตี อ่ ลกู หลานของตนเอง
ปัญหาความเครียดต่อการเรียนของเด็กเกิดจากความคาดหวังของผู้ใหญ่ หากผมไม่สนใจ
คะแนนรายวิชาที่ลูกผมท�ำได้ว่าจะมากน้อยเท่าไหร่ ลูกของผมก็คงจะน่ังเรียนไปได้อย่างสบายใจ
ที่ไม่มีใครไปกดดัน และหากเกิดการกลั่นแกล้งกันขึ้นในช้ันเรียน ผมอาจจะสอนให้เขารับมือกับ
เร่ืองเหล่าน้ันและเอาตัวรอดด้วยตนเอง หรือถ้ามีปัญหาในเรื่องอ่ืนๆ ผมในฐานะผู้เป็นพ่อก็คงจะ
ช่วยประคบั ประคองกันไป
และท้ายท่ีสุด สิ่งที่สังคมของเราคิดเก่ียวกับการศึกษาของเด็กก็คือ เรามักคาดหวังให้เด็ก
เรยี นสงู ๆ ไดค้ ะแนนดี ๆ เพอื่ จะไดไ้ ปเรยี นตอ่ ในรว้ั มหาวทิ ยาลยั และจบออกมาทำ� งานไดเ้ งนิ เดอื น
สงู ๆ มีฐานะทางสังคมที่ดี เรามักจะคิดว่านนั่ คอื ความสขุ ของชวี ติ มนษุ ยค์ นหนง่ึ
แต่ส�ำหรับผมแล้ว ทั้งในสถานภาพของการเป็นลูก และปัจจุบันที่เป็นพ่อด้วย ผมเชื่อว่า
ความสุขท่ีแท้จริงก็คืออิสรภาพในการเลือกอนาคตของเด็กเอง เด็กอาจจะอยากเป็นช่างก่อสร้าง
เปน็ ชา่ งซอ่ มรถ เปน็ พอ่ ครวั เปน็ ชา่ งเยบ็ เสอื้ เปน็ ชา่ งตดั ผม เปน็ ศลิ ปนิ เปน็ เกษตรกร หรอื เปน็ อะไร
กต็ ามที่ไม่จำ� เป็นตอ้ งใชใ้ บประกาศนยี บัตรเลยกไ็ ด้

ขอ้ มูลยอ่ ของผเู้ ขียน
คณุ พอ่ ลกู สอง คนโตอายุ 2 ขวบ 6 เดือน คนเลก็ อายุ 1 ขวบ
จบปริญญาตรีวทิ ยาการคอมพวิ เตอร์ เคยทำ� งานเป็นโปรแกรมเมอร์อยู่ช่วงหน่ึง
แต่ก็ตอ้ งออกมาดูแลกิจการบ้านเชา่ ของครอบครวั พอกลับมาอย่ทู ี่บ้าน
กห็ างานประจำ� ทำ� ไปดว้ ย เมอ่ื รูว้ า่ กำ� ลังจะมลี กู กต็ ัดสนิ ใจออกมา
ดูแลบ้านเชา่ เตม็ ตวั เพราะอยากจะมเี วลาใหล้ ูกอยา่ งเต็มท่ี

ปีท่ี 21 ฉบับที่ 4 : ตลุ าคม - ธนั วาคม 2561 47

ว า ร ส า ร วิ ช า ก า ร

กับคุณภาพการศึกษาไทย
• จรญู ศรี แจบไธสง
นสิ ติ ปรชั ญาดุษฎบี ณั ฑติ สาขาวทิ ยาการทางการศึกษาและการจดั การเรียนรู้

PISA หรอื โครงการประเมนิ ผลนกั เรยี นรว่ มกบั นานาชาติ (Programme for International
Student Assessment) ริเร่ิมโดยองค์การเพ่ือความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ
(Organisation for Economic Co - operation and Development : OECD) มวี ตั ถปุ ระสงค์
เพ่ือประเมินคุณภาพระบบการศึกษาของประเทศท่ีเข้าร่วมโครงการมากกว่า 70 ประเทศ
ด้านการเตรียมความพร้อมเยาวชน 15 ปี ท่ีก�ำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า
ให้มีศักยภาพส�ำหรับการแข่งขันในอนาคตได้ดีหรือไม่ เพียงใด สภาวการณ์การศึกษาไทย
ในเวทีโลก พ.ศ.2559/2560 ของส�ำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา รายงานคุณภาพการศึกษา
ไทยว่ามีแนวโน้มลดลง โดยเปรียบเทียบจากผลการประเมินของ PISA 2012 และ PISA 2015
ที่มีคะแนนลดลงทั้ง 3 ด้านของการประเมิน และสถาบันพัฒนาการจัดการนานาชาติ (IMD :
International Institute Management Development) ทใี่ ชผ้ ลการประเมนิ ของ PISA เปน็ ตวั
ชีว้ ดั การจดั อนั ดับความสามารถ การแขง่ ขนั นานาชาติ รายงานว่า โครงสรา้ งพื้นฐานของไทยในปี
2017 ยังเป็นประเด็นที่ต้องพัฒนาโดยเฉพาะด้านการศึกษา ประเทศไทยยังอยู่ในอันดับที่ 54
จาก 63 ประเทศ โดยลดลง 2 อนั ดบั จาก ปี 2016 (อนั ดบั ที่ 52 จาก 61 ประเทศ) ผลกระทบจาก
การเขา้ รว่ ม PISA ทม่ี ตี อ่ ภาพลกั ษณข์ องประเทศ ทำ� ใหแ้ ผนการศกึ ษาแหง่ ชาติ พ.ศ. 2560 - 2579
ซงึ่ มเี ปา้ หมายของการจดั การศกึ ษา (Aspiration) 5 ประการ และมตี วั ชวี้ ดั เพอ่ื การบรรลเุ ปา้ หมาย
53 ตัวช้ีวัด โดย 1 ใน 53 ตัวช้ีวัด คือ คะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบโครงการประเมินผลนักเรียน
ร่วมกับนานาชาติของนักเรียนอายุ 15 ปีสูงข้ึน โดยในปีท่ี 16 - 20 ของแผนการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2560 - 2579 คะแนนเฉล่ียผลการทดสอบโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมนานาชาติ
ของนกั เรยี นอายุ 15 ปสี ูงขนึ้ ต้องเทา่ กับ 530

48 ปีท่ี 21 ฉบับที่ 4 : ตุลาคม - ธันวาคม 2561


Click to View FlipBook Version