The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือสำหรับครูผู้สอนคนพิการ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by chom wi, 2021-10-28 23:15:06

คู่มือสำหรับครูผู้สอนคนพิการ

คู่มือสำหรับครูผู้สอนคนพิการ

สําหรบั ครูผสู้ อนคนพิการ

ศนู ย์การศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศยั กลุ่มเป้าหมายพเิ ศษ
สาํ นกั งาน กศน. สาํ นกั งานปลดั กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงศึกษาธิการ

เอกสารทางวิชาการลําดับท่ี 30/2554

คํานาํ

ตามท่ีสํานักงาน กศน. ได้มีนโยบายในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม
อัธยาศัย ให้กับคนพิการท่ีอยู่นอกระบบโรงเรียน นั้น เพ่ือให้การดําเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศัยใหก้ บั กล่มุ เป้าหมายดงั กลา่ วบรรลุตามนโยบายของรัฐบาล
และกระทรวงศึกษาธิการ สํานักงาน กศน. จึงได้จัดทําคู่มือในการปฏิบัติงานสําหรับครูผู้สอนคนพิการ
ขึ้น เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการดําเนินงานของครูผู้สอนคนพิการในพื้นท่ี เป็นกรอบแนวทางในการ
พัฒนาครูผู้สอนคนพิการ เป็นกรอบแนวทางในการจัดทําหลักสูตรฝึกอบรมครูผู้สอนคนพิการและเป็น
กรอบแนวทางในการประเมนิ ครผู ู้สอนคนพิการ

สํานักงาน กศน. ขอขอบคุณผู้บริหาร ครูผู้สอนคนพิการ และบุคคลที่เก่ียวข้องกับคน
พิการ รวมท้ังคนพิการและผู้ทรงคุณวุฒิท่ีได้ร่วมกันจัดทําและพัฒนาปรับปรุงเอกสารฉบับจนสําเร็จลุล่วง
ด้วยดีและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารดังกล่าวจะเป็นแนวทางสําหรับครูผู้สอนคนพิการและผู้ท่ีเก่ียวข้องที่
จะนําไปใช้ในการปฏิบตั งิ านให้เกดิ ประโยชนก์ ับคนพกิ าร

สาํ นักงาน กศน.
พฤษภาคม 2554

สารบญั

คาํ นํา

บทท่ี 1 บทนาํ 1
- ความเปน็ มาและความสาํ คัญ 1

บทที่ 2 สาระท่ีครผู ้สู อนคนพกิ ารควรรู้
- รฐั ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550
- พระราชบญั ญัติการศกึ ษาแหง่ ชาติ พ.ศ. 2542 (ทแี่ ก้ไขเพ่ิมเติม) 3

ฉบับที่ 2 พ.ศ. 25454 4
- พระราชบัญญตั สิ ง่ เสริมการศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 5
- พระราชบญั ญตั กิ ารจัดการศึกษาสาํ หรบั คนพกิ าร พ.ศ. 2551 6
- พระราชบัญญัติส่งเสรมิ และพัฒนาคณุ ภาพชวี ติ คนพิการ พ.ศ. 2550 9
- ปรัชญาและหลักการจัดการเรยี นร้สู าํ หรับคนพิการ 11
- ลักษณะและการใหค้ วามชว่ ยเหลอื คนพกิ าร 11
- แนวทางการจดั กิจกรรม กศน. สําหรบั คนพกิ าร 20
- จรรยาบรรณของครผู สู้ อนคนพกิ าร 25
- การเบิกจา่ ยคา่ ตอบแทนครูผสู้ อนคนพกิ าร 26

บทที่ 3 บทบาทหน้าทข่ี องครูผสู้ อนคนพกิ ารและผ้ทู ีเ่ ก่ยี วขอ้ ง 27
- บทบาทหนา้ ท่ีของครผู สู้ อนคนพิการ 27

- สมรรถนะของครผู ้สู อนคนพกิ าร 30
- บทบาทผ้บู รหิ าร 33
- บทบาทผู้ดแู ลคนพกิ าร 34
- บทบาทหนา้ ท่ีผู้ท่ีเกีย่ วขอ้ งกับคนพกิ าร 35

บทที่ 4 วธิ กี ารดาํ เนินงานของครผู ู้สอนคนพิการ 36
- แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล 36
- กระบวนการจดั ทําแผนจัดทําแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบคุ คล 37
- แผนการจัดการเรียนรู้เฉพาะบคุ คล (Individual Implementation Plan : IIP) 4
- สิ่งทคี่ วรปฏบิ ตั หิ ลงั จากการจดั กจิ กรรมการเรียนรู้ 42

สารบัญ (ตอ่ ) 43
43
บทท่ี 5 การวัดผลและประเมนิ ผลและการรายงานผล 43
- การวดั และประเมินผล 43
- กระบวนการวัดและประเมนิ ผลสําหรบั คนพกิ าร 44
- หลกั ในการวดั และประเมินผลสําหรบั คนพกิ าร 45
- แนวทางการประเมินผลผเู้ รยี นแตล่ ะประเภทความพกิ าร
- การรายงานผล 46
47
ภาคผนวก 50
- ภาคผนวก ก 56
- ภาคผนวก ข 67
- ภาคผนวก ค 81
- ภาคผนวก ง 108
- ภาคผนวก จ 124
- ภาคผนวก ฉ 129
- ภาคผนวก ช
- ภาคผนวก ฌ 142

บรรณานุกรม 143

รายชือ่ คณะผูจ้ ัดทาํ คมู่ อื ในการปฏบิ ตั ิงานสาํ หรบั ครูผสู้ อนคนพกิ าร

บทท่ี 1
บทนํา

ความเปน็ มาและความสาํ คัญ

ปจั จุบนั ประเทศไทยมีประชากร จํานวน 65.6 ล้านคน และในจํานวนประชากรดงั กล่าวมี
คนพิการเป็นจํานวนมาก จากสถิติการจดทะเบียนคนพิการ ต้ังแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2537 ถึงวันที่
30 กันยายน 2552 มีจาํ นวนผู้พิการทั้งสิ้น 855,973 คน และเข้าสู่ระบบโรงเรียนเพียง 276,129 คน
ที่เหลือเป็นผู้ท่ีอยู่นอกระบบโรงเรียน ซ่ึงจะมีลักษณะความพิการอย่างน้อย 1 ใน 3 ของลักษณะ
ความพิการ ซึ่งมีปัญหาในการทํากิจกรรมในการดูแลตนเอง ทํากิจวัตรส่วนตัว หรือมีความบกพร่อง
ทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ดังน้ันเพ่ือให้คนพิการได้รับการส่งเสริม สนับสนุนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
สามารถช่วยเหลือตนเองได้โดยไม่ต้องเป็นภาระของสังคม รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้
ออกกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับคนพิการเพื่อเปิดโอกาสให้คนพิการได้รับสิทธิประโยชน์และ
โอกาสด้านต่าง ๆ เท่าเทียมคนปกติ เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 54
ระบุว่า บุคคลซ่งึ พกิ ารหรือทุพพลภาพ มีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสวัสดิการ ส่ิงอํานวยความสะดวก
อันเป็นสาธารณะ และความช่วยเหลือท่ีเหมาะสมจากรัฐ บุคคลวิกลจริตย่อมได้รับความช่วยเหลือที่
เหมาะสมจากรัฐ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 2 สิทธิและหน้าท่ี
ทาง การศึกษา มาตรา 10 ได้ระบุเกี่ยวกับคนพิการไว้ว่า การจัดการศึกษาสําหรับบุคคล ซึ่งมีความ
บกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสาร และการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ
หรือทุพพลภาพ หรือบุคคลซ่ึงไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแล หรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคล
ดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาข้ันพื้นฐานเป็นพิเศษ และแก้ไขเพ่ิมเติม (ฉบับที่ 2) มาตรา 10
วรรคสาม การจดั การศกึ ษาสําหรบั คนพิการในวรรคสองให้จัดตั้งแต่แรกเกดิ หรือพบความพิการ โดยไม่เสีย
ค่าใช้จ่าย และให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสิ่งอํานวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใด
ทางการศึกษาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวงฯ พระราชบัญญัติการจัดการศึกษา
สําหรบั คนพกิ าร พ.ศ.2551 หมวด 1 สิทธิและหน้าท่ีทางการศึกษา มาตรา 5 (1) ระบุว่า คนพิการมีสิทธิ
ได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายต้ังแต่แรกเกิดหรือพบความพิการจนตลอดชีวิต พร้อมทั้งได้รับ
เทคโนโลยี สงิ่ อาํ นวยความสะดวก สอ่ื บริการและความชว่ ยเหลืออื่นใดทางการศึกษา (2) เลือกบริการทาง
การศึกษา สถานศึกษา ระบบและรปู แบบการศึกษา โดยคํานึงถึงความสามารถ ความสนใจ ความถนัด
และความต้องการจําเป็นพิเศษของบุคคลนั้น (3) ได้รับการศึกษาท่ีมีมาตรฐานและประกันคุณภาพ
การศึกษา รวมทั้งการจัดหลักสตู ร กระบวนการเรียนรู้ การทดสอบทางการศึกษาที่เหมาะสมสอดคล้อง
กบั ความต้องการจําเปน็ พิเศษของคนพกิ ารแตล่ ะประเภทและบคุ คล

คมู่ ือในการปฏบิ ตั งิ านสาํ หรบั ครูผ้สู อนคนพกิ าร   1 

กระทรวงศึกษาธิการได้ตระหนักถึงความสําคัญและสิทธิของคนพิการในการรับบริการ
ทางการศกึ ษา เพอื่ ใหค้ นพกิ ารทุกคนไดร้ บั การพฒั นาเต็มตามศักยภาพ และเพ่ิมโอกาสทางการศึกษาและ
เรียนรู้โดยให้คนพิการได้รับการศึกษาอย่างท่ัวถึงและเสมอภาค ซ่ึงสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล
รวมท้งั สง่ เสริมการมสี ว่ นรว่ มของทุกภาคส่วนของสงั คมในการบริหารและจัดการศึกษาสําหรับคนพิการ จึง
ไดก้ ําหนดนโยบายปฏิรปู การศกึ ษาสาํ หรับคนพกิ ารในทศวรรษท่ีสอง (พ.ศ.2552-2561) ให้คนพิการได้รับ
การศกึ ษาอยา่ งทว่ั ถึงและเสมอภาค อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของแต่ละประเภทความพิการ
ในทุกระบบและรูปแบบการศึกษา โดยให้ทุกหน่วยงานมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาพัฒนาคุณภาพ
การบริหารจัดการศึกษาสําหรบั คนพิการ

สํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ได้ให้ความสําคัญ
ในการจัดการเรียนรู้แก่คนพิการท่ีอยู่นอกระบบโรงเรียน ได้รับโอกาสทางการศึกษานอกระบบ โดยจัด
การศึกษาให้เหมาะสมกับสภาพความพิการของแต่ละบุคคล จึงได้มอบให้ศูนย์การศึกษานอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศัยกลุ่มเป้าหมายพิเศษ (ศกพ.) ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศัยสําหรับคนพิการ ทั้ง 9 ประเภท คือ บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น
บุคคลท่ีมีความบกพร่องทางการได้ยิน บุคคลท่ีมีความบกพร่องทางสติปัญญา บุคคลที่มีความบกพร่อง
ทางร่างกาย หรือการเคล่ือนไหว หรือสุขภาพ บุคคลท่ีมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ บุคคลท่ีมี
ความบกพร่องทางการพูดและภาษา บุคคลท่ีมีความบกพร่องทางพฤติกรรม หรืออารมณ์ บุคคล
ออทิสติก และบุคคลพิการซ้อน โดยมียุทธศาสตร์ในการส่งเสริม สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนท้ังภาครัฐ
ภาคเอกชน ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท เพื่อเป็น
การสง่ เสรมิ และพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ตลอดชวี ติ ของคนพกิ ารให้สามารถอยู่ในสงั คมได้อย่างมีความสุข
ตามหลักปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพียง

การจัดการศึกษาสําหรับคนพิการ สํานักงาน กศน.ได้จัดการศึกษานอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งการศึกษานอกระบบ เป็นการจัดการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน และการศึกษาต่อเนื่อง
โดยการศึกษาข้ันพื้นฐาน จัดการศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย
สําหรับการศึกษาต่อเนื่องนั้นได้จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและพัฒนาทักษะอาชีพ และการศึกษา
ตามอัธยาศัย เพื่อให้การดําเนินการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยสําหรับคนพิการ
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลแก่ผู้เรียนคนพิการ สํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัย จึงได้จัดทําคู่มือในการปฏิบัติงานสําหรับครูผู้สอนคนพิการข้ึน เพ่ือใช้เป็น
กรอบแนวทางในการดําเนินงานของครูผู้สอนคนพิการในพ้ืนท่ี เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาครูผู้สอน
คนพิการ เป็นกรอบแนวทางในการจัดทาํ หลักสูตรฝึกอบรมครูผู้สอนคนพกิ ารและเป็นกรอบแนวทางใน
การประเมินครูผูส้ อนคนพกิ าร

คู่มือในการปฏิบตั ิงานสาํ หรบั ครูผ้สู อนคนพกิ าร   2 

บทที่ 2
สาระทีค่ รูผู้สอนคนพิการควรรู้

การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยสําหรับคนพิการ เป็นการจัด
การศึกษาให้กับกลุ่มเป้าหมายที่อยู่นอกระบบโรงเรียน ซ่ึงมีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากการจัดการศึกษา
สําหรับบุคคลท่ัวไป ดังน้ันเพ่ือให้การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยสําหรับคนพิการ
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพ ครูผู้สอนคนพิการและผู้ท่ีเก่ียวข้องกับคนพิการจะต้องมีความรู้
เกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ปรัชญาและหลักการเรียนรู้สําหรับคนพิการ และลักษณะของ
คนพิการแต่ละประเภทพรอ้ มแนวทางการให้ความชว่ ยเหลือเบือ้ งต้นและการจัดการกิจกรรมการเรียนรู้สําหรับ
คนพกิ าร

1.รฐั ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550
มาตรา 30 บุคคลยอ่ มเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคมุ้ ครอง ตามกฎหมาย เท่าเทียม

กัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่าง
ในเรือ่ งถน่ิ กําเนดิ เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกาย หรอื สขุ ภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกจิ
หรือสังคม ความเช่ือทางศาสนา การศึกษาอบรมหรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติ
แห่งรัฐธรรมนญู จะกระทาํ มไิ ด้

มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีท่ีรัฐต้องจัดให้
อย่างทว่ั ถึงและมคี ุณภาพโดยไมเ่ กบ็ ค่าใช้จ่าย

ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลําบาก ต้องได้รับสิทธิ
ตาม วรรคหนง่ึ และการสนับสนุนจากรัฐเพ่ือใหไ้ ดร้ บั การศกึ ษาโดยทดั เทียมกบั บคุ คลอืน่

การจดั การศึกษาอบรมขององค์การวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน
การเรยี นรู้ดว้ ยตนเอง การเรยี นรตู้ ลอดชวี ิต ย่อมไดร้ ับความคุ้มครองและส่งเสริมท่เี หมาะสมจากรฐั

มาตรา 54 บุคคลซ่ึงพิการหรือทุพพลภาพ มีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสวัสดิการ
ส่ิงอํานวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ และความช่วยเหลือท่ีเหมาะสมจากรัฐ บุคคลวิกลจริตย่อมได้รับ
ความชว่ ยเหลอื ท่เี หมาะสมจากรฐั

มาตรา 80 รัฐต้องดําเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และ
วัฒนธรรม (3) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับ
ความเปล่ียนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายเพ่ือพัฒนาการศึกษาของ
ชาติ จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวหน้าทันการเปล่ียนแปลงของสังคมโลก

คูม่ อื ในการปฏบิ ัติงานสาํ หรับครูผสู้ อนคนพกิ าร   3 

รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสํานึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดม่ันใน
การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (4) ส่งเสริมและสนับสนุนการกระจาย
อํานาจเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชนองค์กรทางศาสนา และเอกชนจัดและมีส่วนร่วมในการจัด
การศกึ ษาเพื่อพฒั นามาตรฐานคุณภาพการศกึ ษาให้เท่าเทียมและสอดคลอ้ งกับแนวนโยบายพ้นื ฐานแหง่ รฐั

2. พระราชบญั ญัตกิ ารศึกษาแหง่ ชาติ พ.ศ. 2542 (ท่แี ก้ไขเพ่ิมเตมิ ) ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545
มาตรา 6 การจดั การศกึ ษาต้องเป็นไปเพ่ือพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย

จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดํารงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อ่ืนได้
อยา่ งมีความสุข

มาตรา 8 การจัดการศกึ ษาใหย้ ึดหลกั ดงั น้ี
(1) เป็นการศึกษาตลอดชวี ติ สาํ หรบั ประชาชน
(2) ให้สังคมมสี ่วนรว่ มในการจดั การศกึ ษา
(3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรยี นรู้ใหเ้ ปน็ ไปอย่างต่อเน่ือง

มาตรา 10 การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษา
ข้ันพ้ืนฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีท่ีรัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การจัดการศึกษา
สาํ หรับบุคคลซ่ึงมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือ
มรี า่ งกายพกิ าร หรอื ทุพพลภาพ หรอื บคุ คลซง่ึ ไม่สามารถพึ่งตนเองได้หรือไมม่ ีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้
บุคคลดงั กล่าวมสี ทิ ธแิ ละโอกาสไดร้ ับการศกึ ษาข้ันพืน้ ฐานเปน็ พิเศษ

การศึกษาสําหรับคนพิการในวรรคสอง ให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการโดยไม่เสีย
ค่าใช้จ่าย และให้บุคคลดงั กลา่ วมสี ทิ ธไิ ดร้ ับสง่ิ อํานวยความสะดวก ส่อื บริการและความช่วยเหลอื อ่ืนใดทาง
การศกึ ษาตามหลกั เกณฑแ์ ละวธิ ีการทกี่ าํ หนดในกฎกระทรวง

การจัดการศกึ ษาสําหรับบุคคลซ่ึงมคี วามสามารถพิเศษ ตอ้ งจดั ด้วยรูปแบบที่เหมาะสม
โดยคํานงึ ถึงความสามารถของบุคคลนน้ั

มาตรา 20 คนพิการมีสทิ ธิเขา้ ถงึ ประโยชน์ไดจ้ ากสิง่ อํานวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ
ตลอดจนสวัสดกิ ารและความชว่ ยเหลืออื่นจากรัฐ ดงั น้ี

(1) การบริการฟืน้ ฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์และคา่ ใช้จา่ ย
(2) การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแหง่ ชาติตามความเหมาะสม
(3) การฟ้นื ฟสู มรรถภาพด้านอาชีพ การใหบ้ รกิ ารทีม่ ีมาตรฐาน
(8) สทิ ธทิ จี่ ะนําสตั วน์ ําทาง เคร่อื งมือหรอื อปุ กรณน์ าํ ทาง
(10) การปรับสภาพแวดล้อม ทีอ่ ยูอ่ าศัย การมผี ชู้ ่วยคนพกิ าร

คมู่ อื ในการปฏบิ ตั งิ านสําหรบั ครูผสู้ อนคนพกิ าร   4 

มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนา
ตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสําคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนา
ตามธรรมชาติและเตม็ ตามศักยภาพ

มาตรา 26 ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน
ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียน
การสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา ให้สถานศึกษาใช้วิธีการท่ีหลากหลาย
ในการจัดสรรโอกาสการเข้าศึกษาต่อ และให้นําผลการประเมินผู้เรียนตามวรรคหน่ึงมาใช้ประกอบ
การพิจารณาด้วย

3. พระราชบัญญัติส่งเสรมิ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศยั พ.ศ. 2551
มาตรา 6 การส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้ยึดหลัก

ดังตอ่ ไปน้ี
(1) การศกึ ษานอกระบบ
(ก) ความเสมอภาคในการเข้าถึงและได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวาง ทั่วถึง

เป็นธรรมและมคี ณุ ภาพเหมาะสมกบั สภาพชีวิตของประชาชน
(ข) การกระจายอํานาจแก่สถานศึกษาและการให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมใน

การจดั การเรยี นรู้
(2) การศึกษาตามอัธยาศยั
(ก) การเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสนใจและวิถีชีวิตของผู้เรียน

ทุกกลมุ่ เป้าหมาย
(ข) การพัฒนาแหล่งเรยี นรู้ใหม้ คี วามหลากหลายทั้งส่วนท่ีเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นและ

ส่วนทนี่ ําเทคโนโลยมี าใช้เพอ่ื การศกึ ษา
(ค) การจัดกรอบหรอื แนวทางการเรียนรทู้ ีเ่ ปน็ คุณประโยชนต์ ่อผ้เู รียน

มาตรา 7 การส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษานอกระบบให้ดําเนินการเพ่ือเป้าหมายในเรื่อง
ดังต่อไปน้ี

(1) ประชาชนได้รับการศึกษาอย่างต่อเน่ือง เพ่ือพัฒนาศักยภาพกําลังคนและสังคม ที่ใช้
ความรู้และภูมปิ ัญญาเป็นฐานในการพัฒนา ทั้งดา้ นเศรษฐกิจ สังคม ส่ิงแวดลอ้ ม ความมั่นคง และคุณภาพชีวิต
ท้ังน้ี ตามแนวทางการพัฒนาประเทศ

(2) ภาคีเครือข่ายเกิดแรงจูงใจและมีความพร้อมในการมีส่วนร่วมเพ่ือจัดกิจกรรม
การศึกษา

คมู่ ือในการปฏิบัติงานสาํ หรบั ครผู ้สู อนคนพกิ าร   5 

มาตรา 8 การส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาตามอัธยาศัย ให้ดําเนินการเพ่ือเป้าหมายในเรื่อง
ดังต่อไปนี้

(1) ผู้เรียนได้รับความรู้และทักษะพื้นฐานในการแสวงหาความรู้ที่จะเอื้อต่อการเรียนรู้
ตลอดชวี ิต

(2) ผู้เรียนได้เรียนรู้สาระที่สอดคล้องกับความสนใจและความจําเป็นในการยกระดับ
คุณภาพชีวติ ทง้ั ในด้านการเมอื ง เศรษฐกิจ สงั คมและวฒั นธรรม

(3) ผูเ้ รียนสามารถนําความรทู้ ีไ่ ดร้ บั ไปใชป้ ระโยชน์และเทยี บโอนผลการเรียนกับการศึกษาใน
ระบบและการศึกษานอกระบบ

มาตรา 9 ให้กระทรวงศึกษาธิการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษานอกระบบและการศึกษา
ตามอัธยาศยั โดยใหค้ วามสาํ คญั แกผ่ ูเ้ กยี่ วขอ้ งตามบทบาทและหน้าทด่ี ังตอ่ ไปน้ี

(1) ผู้เรียน ซึ่งเป็นผู้ท่ีได้รับประโยชน์ มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ และสามารถเลือกรับ
บริการได้หลากหลายตามความต้องการของตนเอง

(2) ผู้จัดการเรียนรู้สําหรับการศึกษานอกระบบ และผู้จัดแหล่งการเรียนรู้สําหรับการศึกษา
ตามอัธยาศัย มีการดําเนินการที่หลากหลายตามศักยภาพเพ่ือตอบสนองความต้องการของผู้เรียนโดยบูรณา
การความรู้ ปลกู ฝังคุณธรรม และคา่ นิยมทดี่ ีงาม

(3) ผู้ส่งเสริมและสนับสนุน ซ่ึงเป็นผู้ท่ีเอ้ือประโยชน์ให้แก่ผู้เรียนและผู้จัดการเรียนรู้มีการ
ดําเนินการที่หลากหลาย เพือ่ สง่ เสริมและสนับสนุนใหเ้ กิดการเรียนร้อู ยา่ งต่อเนือ่ ง

4. พระราชบัญญัติการจัดการศกึ ษาสาํ หรับคนพิการ พ.ศ. 2551
มาตรา 3
“คนพิการ” หมายความว่า บุคคลซ่ึงมีข้อจํากัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจําวันหรือ

เข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เน่ืองจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคล่ือนไหว การสื่อสาร จิตใจ
อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่นใดประกอบกับมีอุปสรรค ในด้านต่าง ๆ และมี
ความต้องการจําเป็นพิเศษทางการศึกษาที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านหน่ึงด้านใด เพ่ือให้สามารถปฏิบัติ
กิจกรรมในชีวิตประจําวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป ทั้งน้ี ตามประเภทและหลักเกณฑ์
ท่ีกระทรวงศึกษาธิการประกาศ เรื่อง กําหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ.2552
ดังนี้ 1) บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น 2) บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน 3) บุคคลที่มีความ
บกพร่องทางสติปัญญา 4) บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคล่ือนไหว หรือสุขภาพ 5) บุคคลที่มี
ความบกพร่องทางการเรียนรู้ 6) บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา 7) บุคคลที่มีความบกพร่อง
ทางพฤตกิ รรม หรอื อารมณ์ 8) บุคคลออทิสติก 9) บุคคลพิการซอ้ น

คมู่ ือในการปฏิบตั งิ านสําหรบั ครูผูส้ อนคนพกิ าร   6 

ผเู้ รียน/ผู้รับบรกิ าร หมายถึง คนพกิ าร
กระทรวงศึกษาธิการได้แบ่งประเภทของความพิการตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เร่ือง
กําหนดประเภทและหลักเกณฑข์ องคนพิการทางการศกึ ษา พ.ศ.2552 ไว้ 9 ประเภท ดังน้ี
1. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น ได้แก่ บุคคลท่ีสูญเสียการเห็นต้ังแต่ระดับเล็กน้อย
จนถงึ ตาบอดสนทิ ซ่งึ แบ่งเป็น 2 ประเภทดงั นี้

1.1 คนตาบอด หมายถงึ บคุ คลท่สี ญู เสียการเห็นมาก จนต้องใช้สื่อสัมผัสและส่ือเสียงหาก
ตรวจวัดความชัดของสายตาข้างดีเมื่อแก้ไขแล้ว อยู่ในระดับ 6 ส่วน 60 (6/60) หรือ 20 ส่วน 200 (20/200)
จนถึงไม่สามารถรบั รเู้ ร่อื งแสง

1.2 คนเห็นเลือนราง หมายถึง บุคคลที่สูญเสียการเห็น แต่ยังสามารถอ่านอักษรตัวพิมพ์
ขยายใหญ่ด้วยอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ หรือเทคโนโลยีส่ิงอํานวยความสะดวก หากวัดความชัดเจนของ
สายตาขา้ งดีเมือ่ แกไ้ ขแล้วอยู่ในระดบั 6 ส่วน 18 (6/18) หรอื 20 สว่ น 70 (20/70)

2. บุคคลท่ีมีความบกพร่องทางการได้ยิน ได้แก่ บุคคลท่ีสูญเสียการได้ยินตั้งแต่ระดับหูตึง
นอ้ ยจนถงึ หหู นวก ซึ่งแบ่งเปน็ 2 ประเภท ดงั น้ี

2.1 คนหูหนวก หมายถึง บุคคลที่สูญเสียการได้ยินมากจนไม่สามารถเข้าใจการพูดผ่าน
ทางการได้ยินไม่ว่าจะใส่หรือไม่ใส่เครื่องช่วยฟัง ซ่ึงโดยทั่วไปหากตรวจการได้ยินจะมีการสูญเสียการได้ยิน
90 เดซเิ บลข้นึ ไป

2.2 คนหูตึง หมายถึง บุคคลที่มีการได้ยินเหลืออยู่เพียงพอที่จะได้ยินการพูด ผ่านทาง
การได้ยิน โดยทั่วไปจะใส่เคร่ืองช่วยฟัง ซ่ึงหากตรวจวัดการได้ยินจะมีการสูญเสียการได้ยินน้อยกว่า
90 เดซิเบลลงมาถึง 26 เดซเิ บล

3. บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ได้แก่ บุคคลที่มีความจํากัดอย่างชัดเจนในการ
ปฏิบัติตน (Functioning) ในปัจจุบัน ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ คือ ความสามารถทางสติปัญญาตํ่ากว่าเกณฑ์เฉลี่ย
อย่างมีนัยสําคัญร่วมกับความจํากัดของทักษะการปรับตัวอีกอย่างน้อย 2 ทักษะจาก 10 ทักษะได้แก่ การสื่อ
ความหมาย การดูแลตนเอง การดํารงชีวิตภายในบ้าน ทักษะทางสังคม/การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่ืน การรู้จักใช้
ทรัพยากรในชุมชน การรู้จักดูแลควบคุมตนเอง การนําความรู้มาใช้ในชีวิตประจําวัน การทํางาน การใช้เวลา
วา่ ง การรกั ษาสุขภาพอนามัยและความปลอดภยั ทง้ั นีไ้ ด้แสดงอาการดังกลา่ วก่อนอายุ 18 ปี

4. บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคล่ือนไหว หรือสุขภาพ ซึ่งแบ่งเป็น
2 ประเภท ดังน้ี

4.1 บุคคลท่ีมีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคล่ือนไหว ได้แก่ บุคคลท่ีมีอวัยวะไม่
สมส่วนหรือขาดหายไป กระดูกหรือกล้ามเน้ือผิดปกติ มีอุปสรรคในการเคล่ือนไหวความบกพร่องดังกล่าว

คมู่ อื ในการปฏิบตั งิ านสาํ หรับครผู สู้ อนคนพกิ าร   7 

อาจเกิดจากโรคทางระบบประสาท โรคของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก การไม่สมประกอบมาแต่กําเนิด
อุบัตเิ หตุและโรคติดต่อ

4.2 บุคคลที่มีความบกพร่องทางสุขภาพ ได้แก่ บุคคลที่มีความเจ็บป่วยเร้ือรังหรือมีโรค
ประจําตัวซึ่งจําเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเน่ือง และเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ซ่ึงมีผลทําให้เกิด
ความจําเปน็ ต้องไดร้ บั การศกึ ษาพเิ ศษ

5. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ได้แก่ บุคคลท่ีมีความผิดปกติในการทํางานของ
สมองบางสว่ นที่แสดงถงึ ความบกพรอ่ งในกระบวนการเรียนรู้ที่อาจเกิดข้ึนเฉพาะความสามารถด้านใดด้านหน่ึง
หรือหลายด้าน คือ การอ่าน การเขียน การคิดคํานวณ ซึ่งไม่สามารถเรียนรู้ในด้านที่บกพร่องได้ ท้ังท่ีมีระดับ
สตปิ ัญญาปกติ

6. บุคคลท่ีมีความบกพร่องทางการพูดและภาษา ได้แก่ บุคคลท่ีมีความบกพร่องในการ
เปล่งเสียงพูด เช่น เสียงผิดปกติ อัตราความเร็วและจังหวะการพูดผิดปกติ หรือบุคคลท่ีมีความบกพร่อง
ในเรื่อง ความเข้าใจหรือการใช้ภาษาพูด การเขียนหรือระบบสัญลักษณ์อื่นที่ใช้ในการติดต่อส่ือสาร ซ่ึงอาจ
เกยี่ วกับรูปแบบ เนอื้ หาและหน้าทข่ี องภาษา

7. บุคคลท่ีมีความบกพร่องทางพฤติกรรม หรืออารมณ์ ได้แก่ บุคคลท่ีมีพฤติกรรมเบี่ยงเบน
ไปจากปกติเป็นอย่างมาก และปัญหาทางพฤติกรรมน้ันเป็นไปอย่างต่อเน่ือง ซ่ึงเป็นผลจากความบกพร่องหรือ
ความผิดปกติทางจิตใจหรือสมองในส่วนของการรับรู้ อารมณ์หรือความคิด เช่น โรคจิตเภท โรคซึมเศร้า
โรคสมองเสอื่ ม เปน็ ตน้

8. บุคคลออทิสติก ได้แก่ บุคคลที่มีความผิดปกติของระบบการทํางานของสมองบางส่วน
ซ่ึงส่งผลต่อความบกพร่องทางพัฒนาการด้านภาษา ด้านสังคมและการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และมีข้อจํากัด
ด้านพฤติกรรม หรือมีความสนใจจํากัดเฉพาะเร่ืองใดเรื่องหน่ึงโดยความผิดปกติน้ันค้นพบได้ก่อนอายุ
30 เดอื น

9. บคุ คลพกิ ารซ้อน ไดแ้ ก่ บุคคลทมี่ สี ภาพความบกพรอ่ งหรือความพกิ ารมากกว่าหน่ึง
ประเภทในบคุ คลเดยี วกัน

“ผู้ดแู ลคนพิการ” หมายความว่า บดิ า มารดา ผู้ปกครอง บตุ ร สามี ภรรยา ญาติ พนี่ อ้ ง
หรอื บคุ คลอืน่ ใดท่รี ับดแู ลหรอื รับอปุ การะคนพิการ

“แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล” หมายความว่า แผนซ่ึงกําหนดแนวทางการ
จัดการศึกษาท่ีสอดคล้องกับความต้องการจําเป็นพิเศษของคนพิการ ตลอดจนกําหนดเทคโนโลยี ส่ิงอํานวย
ความสะดวก สือ่ บรกิ าร และความช่วยเหลืออืน่ ใดทางการศกึ ษาเฉพาะบคุ คล

“เทคโนโลยีสิ่งอํานวยความสะดวก” หมายความว่า เครื่องมือ อุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์
ซอฟต์แวร์หรือบริการที่ใช้สําหรับคนพิการโดยเฉพาะ หรือท่ีมีการดัดแปลงหรือปรับใช้ให้ตรงกับความต้องการ

คูม่ ือในการปฏบิ ัตงิ านสําหรบั ครูผสู้ อนคนพกิ าร   8 

จําเป็นพิเศษของคนพิการแต่ละบุคคล เพ่ือเพิ่ม รักษา คงไว้ หรือพัฒนาความสามารถและศักยภาพที่จะเข้าถึง
ขอ้ มูล ขา่ วสาร การสอ่ื สาร รวมถงึ กจิ กรรมอื่นใดในชวี ติ ประจาํ วนั เพอื่ การดาํ รงชวี ติ อสิ ระ

“ครกู ารศกึ ษาพิเศษ” หมายความว่า ครทู มี่ ีวฒุ ทิ างการศกึ ษาพเิ ศษสงู กวา่ ระดบั ปรญิ ญา
ตรีขน้ึ ไป และปฏบิ ัตหิ น้าท่ีในสถานศกึ ษาท้ังของรฐั และเอกชน

“การเรียนร่วม” หมายความว่า การจัดให้คนพิการได้เข้าศึกษาในระบบการศึกษาทั่วไป
ทุกระดับและหลากหลายรูปแบบ รวมถึงการจัดการศึกษา ให้สามารถรองรับการเรียนการสอนสําหรับ
คนทุกกลมุ่ รวมทั้งคนพิการ

“สถานศึกษาเฉพาะความพกิ าร” หมายความว่า สถานศึกษาของรฐั หรือเอกชนท่จี ัด
การศกึ ษาสาํ หรบั คนพกิ ารโดยเฉพาะ ท้งั ในลักษณะอยูป่ ระจํา ไป กลับ และรับบริการท่ีบา้ น

“ศูนย์การศึกษาพิเศษ” หมายความว่า สถานศึกษาของรัฐท่ีจัดการศึกษานอกระบบ หรือ
ตามอัธยาศยั แกค่ นพกิ าร ตง้ั แตแ่ รกเกิดหรือแรกพบความพิการจนตลอดชีวิต และจัดการศึกษาอบรมแก่ผู้ดูแล
คนพิการ ครู บุคลากรและชุมชน รวมทั้งการจัดส่ือ เทคโนโลยี สิ่งอํานวยความสะดวก บริการและความ
ชว่ ยเหลืออ่ืนใด ตลอดจนปฏิบัติหน้าทอี่ น่ื ตามที่กาํ หนดในประกาศกระทรวง

“ศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ” หมายความว่า สถานศึกษาที่จัดการศึกษานอกระบบ
หรือตามอัธยาศัยแก่คนพิการโดยเฉพาะ โดยหน่วยงานการศึกษานอกโรงเรียน บุคคล ครอบครัว ชุมชน
องค์กรเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล
สถาบัน ทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์และสถาบันทางสังคมอื่นเป็นผู้จัด ตั้งแต่ระดับการศึกษาปฐมวัย
การศึกษา ขัน้ พ้ืนฐาน อาชวี ศกึ ษา อุดมศกึ ษาและหลักสูตรระยะสน้ั

“องค์การคนพิการแต่ละประเภท” หมายความว่า องค์กรสมาชิกระดับชาติตามประเภท
ความพิการทไ่ี ด้แจ้งชอื่ ไวก้ บั สํานกั งานส่งเสริมและพัฒนาคณุ ภาพชีวติ คนพิการแหง่ ชาติ

“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการสง่ เสรมิ การจดั การศกึ ษาสําหรับคนพกิ าร
“กองทนุ ” หมายความว่า กองทนุ ส่งเสริมและพฒั นาการศกึ ษาสาํ หรับคนพกิ าร

5. พระราชบัญญตั ิสง่ เสริมและพฒั นาคุณภาพชวี ิตคนพกิ าร พ.ศ. 2550
มาตรา 20 คนพิการมสี ทิ ธเิ ข้าถึงและใชป้ ระโยชนไ์ ดจ้ ากสิ่งอาํ นวยความสะดวกอันเป็น

สาธารณะตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลอื อื่นจากรฐั ดงั ต่อไปน้ี
1.การบริการฟ้ืนฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์ และค่าใช้จ่ายใน

การรักษาพยาบาล ค่าอุปกรณ์ เครื่องช่วยความพิการ และส่ือส่งเสริมพัฒนาการ เพ่ือปรับสภาพทางร่างกาย
จติ ใจ อารมณ์ สงั คม พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ หรอื เสริมสร้างสมรรถภาพใหด้ ขี ้นึ ตามทร่ี ัฐมนตรี
วา่ การกระทรวงสาธารณสขุ ประกาศกําหนด

2. การศึกษาตามกฎหมายว่าดว้ ยการศกึ ษาแหง่ ชาติ หรอื แผนการศึกษาแหง่ ชาติ

คมู่ อื ในการปฏิบตั งิ านสาํ หรบั ครูผสู้ อนคนพกิ าร   9 

ตามความเหมาะสมในสถานศึกษาเฉพาะหรือในสถานศกึ ษาท่วั ไป หรือการศกึ ษาทางเลอื ก หรอื การศึกษานอก
ระบบโดยให้หน่วยงานที่รับผดิ ชอบเกย่ี วกับส่งิ อาํ นวยความสะดวก สื่อ บริการ และความชว่ ยเหลอื อ่ืนใด
ทางการศกึ ษาสาํ หรบั คนพกิ าร ให้การสนับสนนุ ตามความเหมาะสม

3. การฟ้ืนฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ การให้บริการที่มีมาตรฐาน การคุ้มครองแรงงาน
มาตรการเพื่อการมีงานทํา ตลอดจนได้รับการส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระ และบริการสื่อ สิ่งอํานวย
ความสะดวกเทคโนโลยี หรือความช่วยเหลืออ่ืนใด เพ่ือการทํางานและประกอบอาชีพของคนพิการ ตาม
หลักเกณฑ์ วิธกี าร และเงื่อนไขท่ีรัฐมนตรวี า่ การกระทรวงแรงงานประกาศกําหนด

4. การยอมรับและมสี ว่ นร่วมในกจิ กรรมทางสงั คม เศรษฐกิจ การเมืองอย่างเต็มท่ี และมี
ประสทิ ธิภาพบนพนื้ ฐานแหง่ ความเทา่ เทียมกับบุคคลทวั่ ไป ตลอดจนไดร้ ับสงิ่ อํานวยความสะดวกและบริการ
ตา่ งๆ ท่จี ําเป็นสาํ หรับคนพิการ

5. การช่วยเหลือให้เข้าถึงนโยบาย แผนงาน โครงการ กิจกรรม การพัฒนาและบริการ
อันเป็นสาธารณะ ผลิตภัณฑ์ที่มีความจําเป็นต่อการดํารงชีวิต การช่วยเหลือทางกฎหมาย และการจัดหา
ทนายความว่าตา่ งแก้ตา่ งคดี ให้เป็นไปตามระเบียบท่คี ณะกรรมการกําหนด

6. ขอ้ มูลข่าวสาร การส่อื สาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยสี ารสนเทศ และการสื่อสาร
และเทคโนโลยี สิ่งอํานวยความสะดวกเพื่อการส่ือสารสําหรับคนพิการทุกประเภท ตลอดจนบริการส่ือ
สาธารณะจากหน่วยงานของรัฐ หรือเอกชนที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ
เงื่อนไขท่รี ัฐมนตรีวา่ การกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สารกาํ หนดในกฎกระทรวง

7. บรกิ ารลา่ มภาษามอื ตามระเบยี บที่คณะกรรมการกําหนด
8. สทิ ธิทจี่ ะนําสตั ว์นําทาง เครื่องมือ หรืออปุ กรณ์นาํ ทาง หรอื เครอื่ งช่วยความพิการใดๆ
ติดตัวไปในยานพาหนะหรือสถานท่ีใดๆ เพอื่ ประโยชน์ในการเดินทางและได้รับส่ิงอาํ นวยความสะดวก อนั เป็น
สาธารณะ โดยไดร้ ับยกเวน้ คา่ บริการ ค่าธรรมเนียม และค่าเชา่ เพิม่ เตมิ สําหรบั สตั ว์ เคร่อื งมอื อปุ กรณ์ หรอื
เครือ่ งชว่ ยความพกิ ารดังกลา่ ว
9. การจดั สวสั ดกิ ารเบี้ยความพิการ (แทนเบย้ี ยงั ชพี ) ให้กบั คนท่จี ดทะเบียน
ตามหลักเกณฑ์และวธิ ีการท่คี ณะกรรมการกําหนดในระเบียบ
10. การปรบั สภาพแวดลอ้ มท่ีอยู่อาศัย การมผี ู้ช่วยคนพิการ หรอื จดั ใหม้ ีสวัสดิการอน่ื
ตามหลกั เกณฑแ์ ละวธิ กี ารที่คณะกรรมการกาํ หนดในระเบียบ
ผู้ช่วยคนพิการ ให้มีสิทธิได้รับการลดหย่อน หรือยกเว้นค่าบริการ ค่าธรรมเนียม
ตามระเบียบท่ีคณะกรรมการกาํ หนด
คนท่ีพิการท่ีไม่มีผดู้ แู ลคนพิการ มีสิทธไิ ดร้ ับการจดั สวสั ดกิ ารดา้ นท่อี ยู่อาศัย และการเล้ียงดู
จากหนว่ ยงานของรัฐ ในกรณที ่ีมีสถานสงเคราะหเ์ อกชนจัดท่อี ยแู่ ละสวสั ดิการใหแ้ ลว้ รัฐต้องจัดเงินอุดหนุน

คูม่ ือในการปฏิบตั งิ านสาํ หรบั ครผู ูส้ อนคนพกิ าร   10 

ให้แกส่ ถานสงเคราะหเ์ อกชนนนั้ ตามหลักเกณฑแ์ ละวิธีการทค่ี ณะกรรมการกาํ หนดในระเบยี บ
ผดู้ ูแลคนพกิ ารมสี ทิ ธไิ ดร้ บั บรกิ ารใหค้ าํ ปรึกษา แนะนาํ ฝึกอบรมทกั ษะ การเล้ยี งดู

การจัดการศกึ ษา การสง่ เสรมิ อาชพี และการมีงานทาํ ตลอดจนความชว่ ยเหลืออน่ื ใด เพือ่ ให้พึ่งตนเองได้
ตามหลักเกณฑ์และวิธกี ารท่คี ณะกรรมการกําหนดในระเบียบ

คนพกิ ารและผ้ดู แู ลคนพกิ ารมีสิทธิไดร้ บั การลดหย่อนภาษี หรือยกเวน้ ภาษตี ามท่ีกฎหมาย
กาํ หนด

องค์กรเอกชนท่ีจัดให้คนพิการได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรานี้ มีสิทธิได้รับการลดหย่อน
ภาษี หรือ ยกเวน้ ภาษีเป็นร้อยละของจาํ นวนเงินคา่ ใชจ้ า่ ยตามทีก่ ฎหมายกําหนด

เม่ือได้ประกาศใช้กฎหมาย พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับคนพิการแล้ว ส่วนราชการ/
หน่วยงานท่ีดําเนินงานเก่ียวข้องกับคนพิการ ได้ออกระเบียบและประกาศต่าง ๆ เพ่ือส่งเสริม สนับสนุนให้
การดําเนินงานสําหรับคนพิการสามารถบรรลุได้ตามกฎหมายและพระราชบัญญัติ ดังรายช่ือกฎ ระเบียบและ
ประกาศในรายละเอยี ดเอกสารภาคผนวก ก

6. ปรชั ญาและหลักการจดั การเรียนรสู้ ําหรับคนพกิ าร
ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอนคนพิการ จะต้องยึดปรัชญาและหลักการเรียนรู้ของ

คนพกิ ารดังน้ี
6.1 ในสังคมมนุษยน์ นั้ เราไม่สามารถแยกคนพิการออกจากสังคมได้เพราะคนพิการเป็นส่วนหน่ึง

ของสงั คม
6.2 ในการจัดโปรแกรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สําหรับคนพิการควรมุ่งเน้นท่ีความสามารถ

ความสําเรจ็ ความดเี ด่นของคนพกิ ารมากกวา่ จะเพ็งเล็งทค่ี วามพกิ ารของคนพกิ ารแต่ละประเภท
6.3 คนพกิ ารควรไดร้ บั การศกึ ษาโดยเรว็ ที่สดุ เท่าที่จะเปน็ ไปได้
6.4 การจัดการศกึ ษาพิเศษควรจัดข้นึ เพื่อสนองความตอ้ งการของคนพกิ ารแตล่ ะบุคคล
6.5 การศกึ ษาพเิ ศษควรมุ่งให้คนพกิ ารมคี วามเป็นตวั ของตวั เองยอมรบั ตนเอง เช่ือม่ันในตนเอง
6.6 การจดั การศกึ ษาพเิ ศษควรมกี ารฝึกอาชีพ

7. ลกั ษณะและการใหค้ วามชว่ ยเหลือคนพิการ
ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธกิ าร พ.ศ. 2552 ได้กําหนดประเภทของคนพิการไว้ 9 ประเภท

ดังน้ี
1. บุคคลทีม่ คี วามบกพร่องทางการเห็น
บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น เป็นบุคคลที่สูญเสียการเห็นต้ังแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงตาบอด

สนทิ ซงึ่ แบ่งเป็น 2 ประเภทคอื คนตาบอด และคนเห็นเลอื นราง

ค่มู ือในการปฏิบัติงานสําหรับครูผู้สอนคนพกิ าร   11 

การให้ความชว่ ยเหลอื
บุคคลท่ีมีความบกพร่องทางการเห็นครูผู้สอนคนพิการควรปฏิบัติต่อผู้เรียนตามโอกาสและ
สถานการณ์ดงั น้ี

1. ไม่ควรพูดกับผู้เรียนโดยคิดว่าผู้เรียนเป็นคนหูหนวก การท่ีผู้เรียนมีความบกพร่องทาง
การเห็นไม่ได้หมายความว่าหูตึงไปด้วย การใช้เสียงและน้ําเสียงที่มีความไพเราะอ่อนโยนจะสร้างความรู้สึกท่ีดี
ใหก้ บั ผู้เรยี น ผ้เู รียนจะรับรูถ้ ึงนาํ้ เสียงของคนพดู ไดม้ ากและรบั รถู้ ึงอารมณ์ของผู้พดู จากนา้ํ เสียงดว้ ย

2. หากต้องการจะพูดเรื่องท่ีเก่ียวกับผู้เรียนและผู้เรียนอยู่ในสถานที่นั้นด้วย ต้องพูดกับเขา
โดยตรง ไมค่ วรพูดผา่ นคนอนื่ เพราะคดิ ว่าผเู้ รยี นไมเ่ ข้าใจหรอื ร้ไู ด้ไม่หมด

3. ไมค่ วรพดู แสดงความสงสารใหผ้ เู้ รยี นได้ยนิ หรอื เกิดความรสู้ ึก
4. หากครูผู้สอนคนพิการเข้าไปในห้องที่มีผู้เรียนอยู่ ควรพูดหรือทักทายเพ่ือให้ผู้เรียนรู้ว่าครู
มาแล้ว
5. การช่วยให้ผเู้ รียนนง่ั เก้าอี้ ใหจ้ ับมอื วางทพ่ี นักหรอื ท่เี ท้าแขน ผเู้ รยี นจะนั่งเองได้

2. บคุ คลทม่ี คี วามบกพรอ่ งทางการไดย้ นิ
บคุ คลท่ีมคี วามบกพรอ่ งทางการไดย้ ิน ไดแ้ ก่ บุคคลทสี่ ญู เสยี การได้ยินตง้ั แต่ระดับหตู งึ น้อยจนถึงหู

หนวก ซึง่ แบ่งเป็น 2 ประเภท คอื คนหูหนวก และคนหตู ึง

การให้ความชว่ ยเหลือ
บคุ คลท่ีมคี วามบกพรอ่ งทางการไดย้ นิ มีปัญหาทางการได้ยิน จงึ ไม่สามารถได้รบั ประโยชนจ์ าก
การฟงั -การพดู ได้อยา่ งเต็มที่ ต้องใชก้ ารสอื่ สารวธิ ีอ่ืนแทนการใช้ภาษาพูด วธิ กี ารสื่อความหมายของผเู้ รียนทม่ี ี
ความบกพร่องทางการได้ยนิ อาจแบ่งเปน็ 6 วิธี คือ

1. การพูด เหมาะสาํ หรับผู้เรียนทีม่ คี วามบกพรอ่ งทางการไดย้ ินไมม่ ากนัก
2. ภาษามือเปน็ ภาษาท่ีเหมาะสมกับผู้เรียนทส่ี ูญเสียการไดย้ ินมากหรอื หูหนวกซง่ึ ไมส่ ามารถ
สื่อสารกบั ผู้อื่นได้ดว้ ยการพูด
3. การใชท้ า่ ทาง หมายถึง การใช้ทา่ ทางทค่ี ิดขึน้ เองมักเปน็ ไปตามธรรมชาตโิ ดยไม่ใช้ภาษามอื
และไมใ่ ช้น้ําเสยี งแต่ใช้สายตาในการรับภาษา
4. การอ่านริมฝีปาก เป็นวิธีการท่ีผู้เรียนท่ีมีความบกพร่องทางการได้ยินรับภาษาพูดจากผู้อื่น
ดังน้ัน การอ่านริมฝีปากจึงเป็นสิ่งแรกที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้วิธีการอ่านต้ังแต่คําแรกท่ีเรียนภาษาและเป็น
สิ่งแรกทผ่ี ูเ้ รียนต้องใชต้ ลอดชีวติ
5. การสื่อสารรวม คือการส่ือสารตั้งแต่สองวิธีขึ้นไป เพ่ือให้ผู้ฟังเดาความหมายในการแสดงออกของ
ผู้พดู ไดด้ ยี งิ่ ขึน้ นอกจากการพดู การใชภ้ าษามือ การแสดงท่าทางประกอบแล้วกอ็ าจใชว้ ธิ ีอ่านริมฝีปาก

ค่มู ือในการปฏิบตั ิงานสาํ หรบั ครผู สู้ อนคนพกิ าร   12 

การอ่าน การเขียนหรือวิธีอน่ื กไ็ ด้

3. บคุ คลท่ีมีความบกพรอ่ งทางสติปญั ญา
บคุ คลท่มี คี วามบกพรอ่ งทางสตปิ ญั ญา เป็นบคุ คลทมี่ คี วามจาํ กดั อย่างชัดเจนในการปฏบิ ตั ิตน

(Functioning)

การใหค้ วามช่วยเหลอื
ผเู้ รียนท่ีมีความบกพร่องทางสตปิ ัญญานน้ั การพัฒนาทางด้านต่างๆ จะน้อยกว่าคนปกติ ครูผู้สอน
คนพิการต้องให้ความสําคัญและคํานึงถึงความรุนแรงของความบกพร่องของผู้เรียนเป็นรายบุคคลเพ่ือเป็นการ
ฟ้นื ฟูสมรรถภาพของผู้เรียน ได้แก่

1. เตรยี มความพร้อมในการจัดกิจกรรมให้หลากหลายแตกตา่ งกนั เร่มิ จากง่าย ๆ ไปหายาก
2. จัดกิจกรรมนันทนาการเป็นการทําให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนานผ่อนคลายและเกิด
ประโยชน์ตอ่ การพัฒนาการ ทําให้ผ้เู รยี นสามารถรูก้ ฎ กติกาและนาํ ไปใช้ในชวี ติ ประจําวนั ได้
3. ปรับพฤติกรรมผู้เรียน เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมท่ีไม่พึงประสงค์ให้เป็นพฤติกรรมที่พึง
ประสงค์ได้ เชน่ การใหแ้ รงเสรมิ การเปน็ แบบอยา่ งทดี่ ี การใหร้ างวัล เป็นตน้
4. จัดศิลปะบําบัด เป็นวิธีการบําบัดส่ิงท่ีเป็นจริงท่ีเก่ียวกับความคิด ผู้เรียนได้มีโอกาส
สร้างสรรค์หรือกระทําในสิ่งท่ีเขาคิดให้เป็นจริงหรือเป็นสิ่งที่มองเห็นและสัมผัสได้ ซ่ึงเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อ
เล็กนอ้ ยดว้ ย

4. บุคคลทีม่ ีความบกพรอ่ งทางรา่ งกาย หรอื การเคลอ่ื นไหว หรือสขุ ภาพ
บุคคลทม่ี ีความบกพรอ่ งทางรา่ งกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ เป็นผูท้ ี่มีอวยั วะไม่สมส่วน

อวัยวะส่วนใด ส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนหายไป กระดูกกล้ามเนื้อพิการ เจ็บป่วยเร้ือรังรุนแรงหรือเฉียบพลัน
มีความพิการทางระบบประสาทสมอง มีความลําบากในการเคลื่อนไหวจนเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาเล่าเรียน
และทํากจิ กรรม จําแนกไดด้ ังน้ี

1. อาการบกพร่องทางร่างกาย ทม่ี กั พบบ่อย ไดแ้ ก่
1.1 ซีพี หรอื ซรี รี ัล พลั ซี (C.P. : Cerebral Passy) หมายถงึ การเป็นอมั พาตเน่ืองจาก

ระบบประสาทสมองพิการหรอื เปน็ ผลมาจากสมองที่กาํ ลังพฒั นาถูกทําลายก่อนคลอด อนั เน่อื งมาจากการขาด
อากาศ ออกซิเจน ฯ เด็กซีพี มีความบกพร่องทเี่ กดิ จากสว่ นต่าง ๆ ของสมองแตกตา่ งกัน ที่พบส่วนใหญ่ คอื

1.1.1 อัมพาตเกร็งของแขนขา หรอื ครึ่งซีก (Spastic)
1.1.2 อัมพาตของลีลาการเคล่อื นไหวผดิ ปกติ (Athetoid) จะควบคมุ การเคลอื่ นไหวและ
บังคบั ไปในทศิ ทางท่ตี ้องการไมไ่ ด้
1.1.3 อัมพาตสญู เสยี การทรงตัว (Ataxia) การประสานงานของอวัยวะไมด่ ี

คู่มือในการปฏิบัตงิ านสําหรบั ครูผู้สอนคนพกิ าร   13 

1.1.4 อมั พาตตึงแขง็ (Rigid) การเคลอื่ นไหวแข็งช้า ร่างกายมีการสั่นกระตกุ อย่างบังคับ
ไม่ได้

1.1.5 อมั พาตแบบผสม (Mixed)
1.2 กล้ามเนอ้ื อ่อนแรง (Muscular Distrophy) เกดิ จากประสาทสมองทค่ี วบคุมสว่ นของ
กลา้ มเนอ้ื สว่ นนัน้ ๆ เสือ่ มสลายตวั โดยไมท่ ราบสาเหตุ ทําให้กลา้ มเนือ้ แขนขาจะคอ่ ย ๆ ออ่ นกําลงั เด็กจะเดิน
หกลม้ บ่อย
1.3 โรคทางระบบกระดกู กล้ามเน้ือ (Orthopedic) ท่ีพบบ่อย ได้แก่

1.3.1 ระบบกระดกู กล้ามเนือ้ พกิ ารแต่กําเนดิ เชน่ เท้าปุก (Club Foot) กระดกู ข้อสะโพก
เคลอ่ื น อมั พาตครึ่งทอ่ นเนอื่ งจากกระดกู ไขสันหลงั สว่ นลา่ งไม่ติด

1.3.2 ระบบกระดกู กล้ามเนื้อพกิ ารด้วยโรคติดเช้อื (Infection) เชน่ วณั โรค กระดกู หลงั
โกง กระดกู ผุ เปน็ แผลเรอ้ื รังมีหนอง

1.3.3 กระดูกหกั ขอ้ เคลื่อน ขอ้ อักเสบ มีความพิการเนือ่ งจากไม่ไดร้ บั การรกั ษาท่ถี ูกต้อง
1.4 โปลิโอ (Poliomyelitis) เกดิ จากเช้อื ไวรสั ชนดิ หน่งึ เข้าสูร่ า่ งกายทางปาก แล้วไปเจริญท่ี
ตอ่ มน้ําเหลืองในลาํ คอ ลําไสเ้ ล็ก และเข้าสกู่ ระแสเลือดจนถึงระบบประสาทสว่ นกลาง เมอื่ เซลล์ประสาทบงั คบั
กลา้ มเนอ้ื ถกู ทาํ ลาย แขนหรอื ขาจะไมม่ กี ําลงั ในการเคลอื่ นไหว
1.5 แขนขาดว้ นแตก่ ําเนดิ (Limb Deficiency) รวมถึงเด็กท่ีเกดิ มาด้วยลกั ษณะของ
อวยั วะทมี่ คี วามเจรญิ เติบโตผดิ ปกติ เช่น นิ้วมอื ตดิ กัน 3-4 น้ิว มีแค่แขนท่อนบนตอ่ กบั นิว้ มอื ไมม่ ีขอ้ ศอก หรอื
เด็กที่แขนขาดว้ นเนอ่ื งจากประสบอบุ ตั ิเหตุ และการเกดิ อนั ตรายในวัยเด็ก
1.6 โรคกระดูกอ่อน (Osteogenesis Imperfeta) เป็นผลทําให้เด็กไมเ่ จรญิ เตบิ โตสมวัย ตวั เต้ีย
มีลักษณะของกระดูกผดิ ปกติ กระดกู ยาวบิดเบย้ี วเหน็ ได้จากกชดุ ระดูกหนา้ แขง็
2. ความบกพรอ่ งทางสุขภาพ ที่มกั พบบอ่ ย ได้แก่
2.1 โรคลมชกั (Epilepsy) เปน็ ลักษณะอาการท่เี กดิ เนอื่ งมาจากความผดิ ปกตขิ องระบบสมองที่
พบบอ่ ยมดี งั นี้

2.1.1 ลมบ้าหมู (Grand Mal)
2.1.2 การชักในชว่ งเวลาสัน้ ๆ (Petit Mal)
2.1.3 การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)
2.1.4 อาการชกั แบบพารช์ ัล คอมเพลก็ ซ์ (Partial Complex)
2.1.5 อาการไม่รสู้ ึกตวั (Focal Partial)
2.2 โรคระบบทางเดินหายใจโดยมอี าการเร้ือรังของโรคปอด (Asthma) เช่น หอบหดื วณั โรค
ปอดบวม

คมู่ อื ในการปฏบิ ตั ิงานสาํ หรับครูผูส้ อนคนพกิ าร   14 

2.3 โรคเบาหวานในเด็ก เกดิ จากรา่ งกายไม่สามารถใชก้ ลูโคสได้อยา่ งปกติ เพราะขาด
อินชลู นิ

2.4 โรคข้ออกั เสบรมู าตอย มอี าการปวดตามขอ้ เขา่ ขอ้ เทา้ ข้อศอก ข้อน้วิ มอื
2.5 โรคศรี ษะโต เนอ่ื งมาจากนาํ้ คัง่ ในสมอง สว่ นมากเปน็ มาแตก่ าํ เนิด ถา้ ได้รบั การ
วนิ ิจฉยั โรคเร็วและรบั การรักษาอยา่ งถกู ตอ้ งสภาพความพิการจะไม่รนุ แรง เดก็ สามารถปรบั สภาพได้และมี
พื้นฐานทางสมรรถภาพดเี ชน่ เด็กปกติ
2.6 โรคหัวใจ (Cardiac Conditions) สว่ นมากเป็นต้งั แต่กําเนดิ เด็กจะตวั เลก็ เติบโตไม่
สมอายุ ซดี เซยี ว เหนอื่ ยหอบง่าย อ่อนเพลยี ไมแ่ ข็งแรงตั้งแต่กาํ เนิด
2.7 โรคมะเร็ง (Cancer) สว่ นมากเป็นมะเร็งเมด็ โลหิต และเนอ้ื งอกในดวงตา สมอง กระดกู
และไต
2.8 บาดเจ็บแลว้ เลือดไหลไมห่ ยุด (Hemophilia)

การให้ความชว่ ยเหลือ
บุคคลท่ีมีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวอาจมีความบกพร่องหลายอย่าง
ในบุคคลเดียว การฟื้นฟูสมรรถภาพความพิการจึงจําเป็นต้องมีหลายด้านตามสภาพความบกพร่องของผู้เรียน
แต่ละบุคคลซึ่งการบาํ บดั ฟ้นื ฟูตา่ งๆไดแ้ ก่
กิจกรรมกายภาพบาํ บดั
เปน็ การฟื้นฟูสมรรถภาพทางรา่ งกายต้ังแตแ่ รกเริม่ ในด้านตา่ งๆ เช่น การทรงตัว การน่งั
หรือการยืนทรงตัวเพ่ือกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวอวัยวะต่างๆในลักษณะท่ีถูกต้อง เป็นพื้นฐานใน
การเคล่ือนไหวท่ีถูกต้องต่อไป ทําให้ผู้เรียนช่วยเหลือตนเองให้ได้มากที่สุด สามารถปรับตัวให้เข้ากับ
สภาพแวดล้อมได้ดีและเร็วท่ีสุด สามารถอยู่อย่างปกติสุข เช่นคนท่ัวไปโดยเน้นทักษะกล้ามเนื้อย่อย เช่น
การรับประทานอาหาร การทาํ ความสะอาดรา่ งกาย การแต่งตัวเปน็ ต้น

5. บคุ คลทบี่ กพรอ่ งทางการพูดและภาษา
การพูดและภาษาเป็นส่ิงที่มีความเก่ียวเน่ืองกัน ท้ังนี้เพราะการพูดเป็นการแสดงออกทางภาษา

ดังนั้นผู้ท่ีบกพร่องทางการพูด และภาษา จึงหมายถึง ผู้ที่พูดไม่ชัด และลีลาจังหวะการพูดผิดปกติ ออกเสียง
ผิดเพ้ียน อวัยวะท่ีใช้ในการพูดไม่สามารถเป็นไปตามลําดับข้ัน การใช้อวัยวะเพ่ือการพูดไม่เป็นไปดังที่ต้ังใจ
คําพูดที่ยากหรือซับซ้อนหรือยาวจะย่ิงมีปัญหามากหรือมีอาการพูดและใช้ภาษาที่ผิดปกติ โดยการพูดน้ัน
เห็นได้ชัดว่าผิดแปลกไปจากการพูดของคนทั่วไป ทําให้ฟังไม่รู้เรื่อง สื่อความหมายต่อกันไม่ได้ หรือมี
อากัปกิริยาท่ีผิดปกติขณะพูด ซ่ึงความบกพร่องทางการพูดและภาษาสามารถจําแนกได้ ดังนี้ คือ

คู่มอื ในการปฏิบัติงานสําหรบั ครผู สู้ อนคนพกิ าร   15 

1. ความผิดปกตดิ า้ นการออกเสียง
1.1 ออกเสียงผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐานของภาษาเดิม เชน่ พูดเสยี งขนึ้ จมูก เนือ่ งมาจาก

อิทธิพลของภาษาถ่นิ
1.2 เพิม่ หน่วยเสยี งเข้าในคําโดยไม่จาํ เป็น
1.3 เอาเสียงหน่งึ มาแทนอีกเสียงหนึ่ง เชน่ กวาด -> ฟาด

2. ความผดิ ปกตดิ า้ นจังหวะเวลาของการพดู เชน่ การพูดรวั การพดู ตดิ อา่ ง
3. ความผดิ ปกติด้านเสยี ง

3.1 ระดบั เสยี ง เช่น การพดู เสียงสูงเกนิ ไป ต่าํ เกินไป หรอื พดู ระดบั เสยี งเดยี วกนั หมด
3.2 ความดงั เช่น พดู เสยี งดงั มาก หรอื เบามากจนเกินไป
3.3 คณุ ภาพของเสียง เช่น พูดเสียงแตกพรา่ เสียงแหบ เสยี งหอบ
4. ความผดิ ปกติทางการพดู และภาษาอันเน่ืองมาจากพยาธสิ ภาพทีส่ มอง โดยทัว่ ไปเรยี กว่า
Dysphasia หรอื aphasia ได้แก่
4.1 Motor aphasia (Expressive หรือ Broca's apasia)
4.2 Wemicke's aphasia (Sensory หรือ Receptive apasia)
4.3 Conduction aphasia
4.4 Nominal aphasia (Anomic aphasia)
4.5 Global aphasia
4.6 Sensory agraphia
4.7 Motor agraphia
4.8 Cortical alexia (Sensory alexia)

4.9 Motor alexia
4.10 Gerstmann's syndrome
4.11 Visual agnosia
4.12 Auditory agnosia

การให้ความชว่ ยเหลือ
บุคคลท่มี คี วามบกพรอ่ งทางการพดู ครูผสู้ อนคนพกิ ารจะต้องฝึกการควบคมุ น้ําลาย การกลืน
การเคย้ี วอาหาร ฝกึ โดยใชอ้ ุปกรณป์ ระเภทเคร่อื งเลน่ ท่เี กี่ยวกับการออกเสยี ง เครอ่ื งดนตรชี นิดเป่า การเป่า
กระดาษหรอื อุปกรณ์ชนดิ อนื่ ๆ ใหผ้ เู้ รียนไดร้ ้วู า่ คนเราพูดเมือ่ เวลาหายใจออกเท่าน้ัน

คู่มอื ในการปฏบิ ตั งิ านสําหรบั ครผู ้สู อนคนพกิ าร   16 

6. บคุ คลที่มคี วามบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
ความบกพรอ่ งทางพฤติกรรมและอารมณ์ หมายถึง ผู้ที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกติ

เช่นคนปกตินาน ๆ ไม่ได้ หรือผู้ที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้ ซึ่งพฤติกรรมท่ีแสดงออกมาน้ัน
ไม่เป็นที่ยอมรับและพอใจของมาตรฐานความประพฤติปฏิบัติของสังคม ทําให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
อย่างเรยี บรอ้ ย สอดคล้องกบั สภาพการณ์ ซ่งึ การจะแยกแยะวา่ ใครมีความบกพร่องทางพฤตกิ รรม และอารมณ์
ตอ้ งคํานงึ ถึงองค์ประกอบตา่ ง ๆ ดังนี้

1. สภาพแวดล้อม พฤติกรรมและอารมณ์ที่เปน็ ท่ยี อมรบั ในสถานการณ์อยา่ งหน่งึ
2. ความคดิ เหน็ ของแตล่ ะบุคคล ความคิดเห็นของคนสองคนทม่ี ีต่อพฤติกรรมอย่าง
เดยี วกนั ย่อมไม่เหมือนกัน
3. เป้าหมายของแต่ละบุคคล ซึง่ เป้าหมายจะเปน็ ตัวกําหนดทาํ ให้การมองพฤตกิ รรม
เดยี วกันของคนสองคนมองกันคนละแง่
ผทู้ ีม่ คี วามบกพร่องทางพฤตกิ รรมและอารมณ์จะได้รับผลกระทบในลักษณะต่าง ๆ อาจจะ
เพียงข้อใดขอ้ หน่งึ หรอื หลายขอ้ กไ็ ด้ และเปน็ ปญั หาที่เกดิ ข้ึนและมมี าเป็นเวลานานแล้วได้แก่
1. ไม่สามารถเรียนหนังสือได้ เชน่ คนปกติ
2. ไมส่ ามารถรกั ษาความสัมพนั ธ์อันดีกบั เพ่อื นดว้ ยกนั หรือกับครูได้
3. มีพฤตกิ รรมที่ไม่เหมาะสม เมอื่ เปรยี บเทยี บกบั คนปกตอิ ืน่ ๆ ในวยั เดยี วกนั
4. มีความคบั ข้องใจ และมคี วามเก็บกดอารมณ์
5. แสดงอาการทางรา่ งกาย เช่น ปวดศรษี ะ ปวดตามสว่ นตา่ ง ๆ ของร่างกายหรอื มคี วาม
หวาดกลัว

การให้ความชว่ ยเหลอื
บุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรม มีลักษณะของพฤติกรรมท่ีเป็นปัญหาคือพฤติกรรมก้าวร้าว
ก่อกวน การเคลอื่ นไหวท่ีผิดปกติ เป็นพฤตกิ รรมที่เกดิ ข้ึนจากความขดั แย้งระหวา่ งผเู้ รียนกับสิง่ แวดล้อมรอบตัว
ส่วนความวิตกกังวล การมีปมด้อย การหนีสังคม และความผิดปกติทางการเรียน เป็นพฤติกรรมท่ีเกิดจากการ
ขัดแย้งในตัวผู้เรียนเอง การให้ความช่วยเหลือ จึงทําได้หลายรูปแบบ ศาสตราจารย์ ดร.ผดุง อารยะวิญญู
( 2541 . 105-107 ) ไดเ้ สนอแนะการช่วยเหลอื ไว้ 3 รปู แบบดังนี้
1. รูปแบบทางจิตวิทยาการศึกษา นักจิตวิทยาเช่ือว่าองค์ประกอบทางชีววิทยา และการ
อบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองมีอิทธิพลต่อการพัฒนาการทางบุคลิกภาพของผู้เรียนตลอดจนปัญหาทางอารมณ์
ล้วนมีมูลเหตุมาจากพัฒนาการทางบุคลิกภาพที่ดําเนินไปอย่างไม่ถูกต้องท้ังส้ิน ทางหน่ึงท่ีจะช่วยให้ผู้เรียน
ลดพฤติกรรมที่ไมพ่ งึ ประสงคเ์ หลา่ น้ลี งไดค้ อื ให้ผเู้ รียนเข้าใจปัญหาของตนเอง และยินดีท่ีจะหาทางขจัดปัญหา
น้ันๆ การช่วยเหลือผู้เรียนนั้นครูผู้สอนคนพิการจะต้องทําให้ผู้เรียนเกิดความเช่ือถือ เกิดศรัทธา ทําให้ผู้เรียน

คู่มือในการปฏบิ ตั ิงานสําหรับครูผสู้ อนคนพกิ าร   17 

มีกําลังใจที่จะต่อสู้กับปัญหาของตน ดังน้ันการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จึงควรกระทําเป็นรายบุคคล ควรใช้เกม
สถานการณ์จําลอง และกิจกรรมอ่ืนท่ีแตกต่างไปจากที่ใช้กับคนปกติ จึงจะสามารถช่วยผู้เรียนอย่างมี
ประสิทธิภาพ

2. รูปแบบทางจิตวิทยา นักจิตวิทยาได้ค้นพบหลักการเรียนรู้และการปรับพฤติกรรมของ
ผเู้ รยี น หลกั การปรับพฤติกรรมนี้สามารถนํามาใช้ในการปรับพฤติกรรมท่ีไม่พึงประสงค์ได้ ตัวอย่างเช่น ผู้เรียน
อาจจะเรียนรู้โดยการสังเกตพฤติกรรมของคนปกติ โดยยึดพฤติกรรมของคนปกติท่ีดีเป็นแบบอย่าง ดังน้ัน
การปรับพฤติกรรมของผู้เรียนจึงควรเน้นและให้ความสนใจพฤติกรรมที่พึงประสงค์เท่านั้น พฤติกรรมที่ไม่พึง
ประสงค์ไม่ควรได้รับความสนใจ ในการช่วยเหลือผู้เรียนนั้นครูผู้สอนคนพิการอาจให้แรงเสริมเพื่อให้ผู้เรียน
แสดงพฤตกิ รรมทพ่ี ึงประสงค์เพม่ิ ข้ึน หรอื อาจใชเ้ ทคนิคอ่นื ๆ ในการลดพฤติกรรมไมพ่ งึ ประสงคล์ ง

3. รูปแบบทางนิเวศวิทยา นักนิเวศวิทยาเชื่อว่าผู้เรียนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม สถานศึกษา
และสถานศกึ ษาเปน็ สว่ นหน่งึ ของสังคม พฤตกิ รรมของผู้เรียนควรไดร้ ับการยอมรับจากสงั คม ในการช่วยเหลือ
ผู้เรียน ครูผู้สอนคนพิการควรทําความเข้าใจกับทุกอย่างที่ประกอบขึ้นเป็นระบบในสังคม ทั้งน้ีเพื่อหาทางขจัด
สิ่งท่ีเป็นสาเหตุให้ผู้เรียนมีปัญหาทางพฤติกรรมผู้เรียนอาจได้รับการปรับพฤติกรรม แต่นักนิเวศวิทยาเชื่อว่า
น่ันยังไม่เพียงพอควรมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของผู้เรียนเท่าที่จําเป็นด้วย และรวมไปถึง
การปรับปรุงทัศนคติของครูผู้สอนคนพิการ ผู้เรียน ผู้ดูแล ผู้ปกครอง ตลอดจนสมาชิกในชุมชน เพ่ือให้มีความ
เข้าใจและยอมรับผูเ้ รียนมากขน้ึ การปรับพฤติกรรมมีหลายวิธีดงั นี้

3.1 เสริมแรงทางบวก อาจเสริมแรงด้วยวาจา เช่น ชมเชยเม่ือผู้เรียนทําเรื่องที่ดีและ
ถูกต้องเป็นต้น ใช้อุปกรณ์เสริมแรง เช่นขนม ของเล่น ของใช้เป็นต้น ควรใช้อย่างสมํ่าเสมอในระยะแรก เม่ือ
พฤติกรรมคงทแ่ี ลว้ ควรลดการเสรมิ แรง

3.2 เสริมแรงทางลบ เชน่ ผเู้ รยี นไม่ส่งการบ้าน ครผู ู้สอนคนพิการควรดุ ถา้ ผเู้ รียนส่ง
การบา้ น ครผู สู้ อนคนพกิ ารควรใหค้ ําชม กจ็ ะทาํ ให้ผู้เรยี นมีแนวโน้มทจ่ี ะส่งการบา้ นเพ่มิ ขน้ึ

3.3 การแก้ไขให้ถูกต้องเกินกว่าที่ทําผิด เป็นการแก้ไขผลการกระทําของผู้เรียน และแก้ไข
ในปริมาณมากกว่าเดิม เช่น ผู้เรียนเล่นขว้างปาส่ิงของในห้องสกปรก ครูผู้สอนคนพิการใช้เทคนิคปรับ
พฤตกิ รรม โดยอาจจะใหเ้ กบ็ ขยะให้เรียบร้อย เปน็ การลงโทษให้ทาํ งานเพิม่ มากขึน้

3.4 การเปน็ แบบอย่างทดี่ ี ครูผู้สอนคนพกิ ารควรเปน็ แบบอย่างท่ดี ใี หแ้ ก่ผู้เรยี น ผู้เรยี นอาจ
ยึดครูเปน็ แบบอย่างในหลายดา้ น เชน่ การพูดจาไพเราะ ขยนั ทาํ งานเป็นระเบียบ

7. บคุ คลทีม่ คี วามบกพร่องทางการเรียนรู้
บุคคลท่ีมีปัญหาทางการเรียนรู้ หรือเรียกย่อๆ ว่า L.D. (Learning Disability) หมายถึง ผู้ท่ีมี

ปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่างโดยมีความบกพร่อง หรือปัญหาหน่ึง หรือมากกว่าหนึ่งอย่าง ในกระบวนการ
ทางจิตวิทยาทําให้เด็กเหล่าน้ีมีปัญหาทางการใช้ภาษา หรือการพูด การเขียน โดยจะแสดงออกมาในลักษณะ

คูม่ ือในการปฏิบัติงานสําหรบั ครผู ้สู อนคนพกิ าร   18 

ของการนําไปปฏิบัติ ทั้งนไี้ ม่นับรวมผู้เรียนทม่ี ปี ญั หาเพียงเล็กนอ้ ยทางการเรยี น ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการขาด
แรงเสรมิ ด้อยโอกาสทางส่งิ แวดลอ้ มและวัฒนธรรม หรือเป็นเพราะครูสอนไม่มีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้ในการ
พิจารณาเรื่องปัญหา ทางการเรียนรู้จึงต้องอาศัยลักษณะร่วมกันคือ เป็นผู้ที่มีระดับสติปัญญาปกติ หรือมี
สติปัญญาอยู่ในช่วงเช่นเดียวกับผู้เรียนปกติแต่ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนจะต่ํากว่าปกติ และจะต้องไม่มีความ
พิการหรือความบกพร่องในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สุขภาพอนามัย ระบบประสาทการสัมผัสและ
วัฒนธรรมเข้ามาเกยี่ วขอ้ ง

การให้ความช่วยเหลอื
บุคคลทมี่ คี วามบกพร่องทางการเรยี นรู้ ครผู สู้ อนคนพกิ ารจะตอ้ งแนะนาํ แนวทางในการเสรมิ
ความเช่ือมั่นใหแ้ ก่ผ้เู รียนสามารถสรา้ งความเชอ่ื มน่ั ในตนเองได้ ดังนี้
1. ใหก้ ารเสรมิ แรงทางบวกแกผ่ ู้เรยี น เมื่อประสบผลสาํ เรจ็
2. ค้นใหพ้ บความสามารถของผู้เรียนและส่งเสรมิ ความสามารถนั้น
3. ใหผ้ ู้เรยี นฝกึ ความรบั ผดิ ชอบทง้ั ทีส่ ถานศกึ ษาและทีบ่ ้าน เช่นเปิดโอกาสใหผ้ ู้เรยี นท่ไี ม่มี
ปญั หาทางการเรยี น สอนผูเ้ รยี นท่ีออ่ นกว่า
4. อยา่ เปรียบเทยี บผู้เรยี นท่ีมีปญั หาทางการเรยี นรกู้ ับผเู้ รยี นคนอืน่ หรือเปรยี บเทียบระหวา่ ง
พีน่ อ้ ง
5. บันทกึ ความสําเรจ็ ของผเู้ รียนเพอ่ื ให้เห็นความกา้ วหนา้ และแนวโนม้ ของผ้เู รียน
6. ให้โอกาสแก่ผ้เู รียนได้แสดงความสามารถ
7. เมือ่ ผูเ้ รยี นทําผดิ หรอื ประสบความลม้ เหลว อยา่ ซํา้ เติม ครูผสู้ อนคนพิการควรแนะใหน้ าํ
ความล้มเหลวมาปรบั ปรงุ ตนเอง เพอ่ื ใหผ้ เู้ รียนมโี อกาสประสบผลสาํ เรจ็ ตอ่ ไป
8. ส่งเสรมิ ใหผ้ เู้ รียนได้ทาํ งานอดิเรกท่ชี อบ

8. บุคคลออทสิ ตกิ (Autistic)
บุคคลออทิสติก หรือบางครั้งเรียกว่า ออทิซ่ึม (Autism) หมายถึง บุคคลท่ีมีความบกพร่องอย่าง

รุนแรงในการสื่อความหมาย พฤติกรรม สังคม และความสามารถทางสติปัญญาในการรับรู้ อาการต่าง ๆ จะมี
การเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอนเป็นระยะ ๆ ไป บุคคลออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง และย่อม
แตกต่างไปจากบุคคลคนอ่ืน ๆ ซึ่งเป็นบุคคลออทิสติกเหมือนกัน ท้ังน้ีเป็นเพราะอาการที่เป็นออทิสติกน้ันจะ
คงอยู่ติดตัวเด็กไปจนเป็นผู้ใหญ่จนตลอดทั้งชีวิต ไม่สามารถรักษาให้หายได้หากพิจารณาเปรียบเทียบ
ด้านพัฒนาการของทักษะด้านต่าง ๆ ของบุคคลออทิสติกใน 4 ด้าน คือ ด้านทักษะการเคลื่อนไหว ด้านทักษะ
การรับรู้เก่ียวกับรูปทรง ขนาดและพ้ืนท่ี ด้านทักษะภาษาและการส่ือความหมาย และด้านทักษะทางสังคม
จะพบว่าบุคคลออทิสติกจะมีพัฒนาการด้านภาษาและพัฒนาการด้านสังคมตํ่ามาก แต่จะมีพัฒนาการด้าน

คูม่ อื ในการปฏิบัติงานสําหรบั ครูผสู้ อนคนพกิ าร   19 

การเคล่ือนไหว ดา้ นการรับรูร้ ูปทรง ขนาดและพน้ื ที่โดยเฉลีย่ สงู ถ้าความแตกต่างระหว่างทักษะด้านภาษา และ
สังคมย่ิงตํ่ากว่า ทักษะด้านการเคล่ือนไหว และการรับรู้รูปทรงมากเท่าใดความเป็นไปได้ของออทิสติกก็ย่ิง
สูงขึ้นเท่านั้น พัฒนาการที่ผิดปกตินี้ ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงตลอดชีวิต ซึ่งปกติปรากฎในระยะ 3
ปี แรกของชวี ติ

การใหค้ วามชว่ ยเหลือ
ผู้ดูแลคนพิการและผู้ใกล้ชิดที่จะช่วยเหลือผู้เรียนออทิสติก ต้องมีความรู้เก่ียวกับผู้เรียนออทิสติก

แล้ว เรียนรู้พฤติกรรมและอารมณ์ของผู้เรียนแต่ละคนอย่างละเอียด จึงเร่ิมให้ความช่วยเหลือ เพ่ือสร้าง
สมั พันธภาพและชกั จูงให้เขาออกจากโลกสว่ นตวั ของเขาเองได้ก่อนดังนี้

1. ต้องรู้จกั ผเู้ รียนออทิสติกทัง้ ในด้านพฤติกรรมและอารมณข์ องผู้เรยี นแต่ละคนอย่างละเอียด
2. ต้องมคี วามอดทน ความพยายาม ความตง้ั ใจมุง่ มน่ั ท่จี ะช่วยเหลือผู้เรียนอยา่ งจรงิ จงั และ
จริงใจ
3. ต้องเข้าใจ รู้ใจและสามารถอ่านความคิดหรืออ่านใจผู้เรียนให้ได้จากพฤติกรรมหรือจากการ
แสดงออกทางอารมณ์ เพ่ือสร้างสัมพันธภาพและชักจูงผู้เรียนออกมาจากโลกส่วนตัวของเขาได้ จึงจะสามารถ
ฝึกให้ผเู้ รียนเรียนรตู้ ่อไปได้ เช่นเดยี วกบั คนปกติทว่ั ไป

9. บคุ คลพกิ ารซอ้ น หมายถงึ ผูท้ ี่มคี วามบกพร่องท่ีมากกว่าหนง่ึ อย่าง เป็นเหตใุ หเ้ กดิ ปญั หา
ขดั ข้องในการเรียนรูอ้ ย่างมาก เช่น ปญั ญาออ่ น-ตาบอด ปัญญาออ่ น-ร่างกายพกิ าร หูหนวก-ตาบอด ฯลฯ

การใหค้ วามช่วยเหลอื
ในการใหค้ วามช่วยเหลอื บุคคลพิการซอ้ นท่ีมีความบกพร่องซ้ําซ้อน จะต้องยึดสภาพความบกพร่อง
เป็นเกณฑ์ ผู้เรียนทีมีความบกพร่องมากกว่า 1 ให้ยึดความบกพร่องที่รุนแรงกว่าเป็นเกณฑ์ แล้วก็ให้ความ
ช่วยเหลือตามลักษณะท่ีกล่าวมาแล้ว เช่น ผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และบกพร่องทางการ
มองเหน็ แต่การบกพร่องทางการไดย้ นิ รนุ แรงกวา่ กใ็ ห้ช่วยเหลอื ทางการไดย้ ินกอ่ น

8. แนวทางการจดั กิจกรรม กศน. สาํ หรบั คนพกิ าร
ครูผู้สอนคนพิการในสังกัด กศน. จะต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้แก่คนพิการ โดยเลือกกิจกรรม ให้

เหมาะสมกับประเภทและศกั ยภาพของคนพกิ ารแต่ละคน
1. การส่งเสรมิ การรูห้ นังสอื
ในกรณีที่คนพิการไม่สามารถอ่านออก เขียนได้ครูผู้สอนคนพิการควรจัดกิจกรรมการรู้หนังสือ

เพ่ือให้คนพิการสามารถอ่านออก เขียนได้และสามารถนําความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาตนเองอย่างต่อเน่ืองตลอด
ชีวติ ตามปรัชญา “คิดเป็น”

คูม่ ือในการปฏิบตั ิงานสาํ หรับครูผ้สู อนคนพกิ าร   20 

2. การจัดการศึกษาข้ันพื้นฐาน
ในกรณีที่คนพิการมีศักยภาพสามารถท่ีจะอ่านออก เขียนได้และมีความต้องการท่ีจะศึกษา

ครูผู้สอนคนพิการจะต้องส่งเสริมสนับสนุนให้คนพิการเข้ารับการศึกษาต่อข้ันพ้ืนฐาน ซ่ึงการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน
เป็นการศึกษาเพ่ือพัฒนาสมอง กระบวนการคิด ให้มีความรู้และทักษะด้านต่าง ๆ เพื่อนําไปศึกษาต่อ และ
พัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น โดยแบ่งระดับการศึกษาออกเป็นระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศกึ ษาตอนปลาย และประกาศนยี บัตรวิชาชพี (ปวช.) โดยมขี ัน้ ตอนการดาํ เนินงานดงั นี้

2.1 การประชาสมั พนั ธ์
การประชาสัมพันธ์ โดยการลุยถงึ ที่เคาะประตูบา้ น แผ่นพับประชาสัมพันธ์ โปสเตอร์ เสียงตาม

สาย วิทยชุ มุ ชน หอกระจายข่าว เว็ปไชต์ฯลฯ โดยมสี าระสาํ คัญทต่ี อ้ งประชาสมั พนั ธ์ คือ
1) กิจกรรมการเรียนรู้ทสี่ ถานศกึ ษาจดั ใหก้ ับคนพิการ
2) จุดเด่นและความนา่ สนใจของการจดั กจิ กรรมการเรยี นร้ใู ห้กับคนพกิ าร
3) วิธีการจดั กจิ กรรมการเรยี นรู้ใหก้ ับคนพิการ
4) เงอ่ื นไขตา่ ง ๆ และการจบหลกั สตู รแตล่ ะหลกั สตู ร
5) ประโยชน์ที่คนพกิ ารจะไดร้ ับในการเขา้ รว่ มกจิ กรรม

2.2 การแนะแนวการศึกษา
จัดแนะแนวทางการศึกษาต้ังแต่ก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังการเรียนรู้โดยครูผู้สอน

คนพิการ ร่วมกับสถานศึกษา ดําเนินการแนะแนว ซ่ึงการแนะแนวเป็นกระบวนการช่วยเหลือคนพิการ
ครอบครวั เพ่อื ให้คนพิการเขา้ ใจตนเองและครอบครวั ไดร้ ับรูแ้ ละเข้าใจถึงศกั ยภาพของคนพกิ าร เพื่อให้สามารถ
ตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ได้ เพราะคนพิการมีหลายประเภทความพิการ และความสามารถ
หลากหลายแตกต่างกันในด้านพ้ืนฐาน ความรู้ สภาพเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนสภาพการดําเนินชีวิต
ดังนั้นครูผู้สอนคนพิการจะต้องมีความสามารถในการวิเคราะห์และพิจารณาถึงความสามารถของคนพิการ
เพื่อให้คําปรึกษาแนะแนวให้คนพิการมีข้อมูลประกอบในการตัดสินใจเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ใน
หลักสตู รต่าง ๆ ไดอ้ ย่างเหมาะสมตามศกั ยภาพของตนเองและครอบครวั

2.3 การวิเคราะห์ผู้เรยี น
การวเิ คราะห์ผู้เรยี นเปน็ การประเมินศักยภาพของผเู้ รยี นเพอื่ นําผลการวเิ คราะหม์ าเปน็ แนวทาง

ในการวางแผนการจดั รปู แบบการเรยี นรูท้ ่เี หมาะสมให้กบั ผเู้ รยี น เช่น รปู แบบการเรยี นท่บี ้าน (Semi -
Home School) หรอื รปู แบบการเรยี นร่วมกนั ในสถานท่ี ทสี่ ถานศึกษากําหนด

2.4 การปฐมนเิ ทศ
เป็นกิจกรรมที่ครูผู้สอนคนพิการ สถานศึกษา ดําเนินการจัดปฐมนิเทศให้กับผู้ดูแลคนพิการ

ผู้เรียน เพ่ือให้มีความรู้ ความเข้าใจในเร่ืองหลักสูตร วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ช้ีแจงถึงข้อตกลงต่าง ๆ ใน

คู่มอื ในการปฏิบัติงานสําหรับครูผู้สอนคนพกิ าร   21 

การเรียนรู้ แนะนําสถานท่ี แหล่งข้อมูล แหล่งความรู้ต่าง ๆ รวมท้ังการสร้างบรรยากาศ ความสัมพันธ์คุ้นเคย
ระหวา่ งครูผู้สอนคนพกิ าร ผ้เู รยี น ผ้ดู แู ลคนพิการและผู้เกย่ี วขอ้ งในสถานศกึ ษา

2.5 การวเิ คราะห์หลกั สูตร
วิเคราะหร์ ะดบั ความยาก ปานกลาง งา่ ย ของเนอ้ื หาในหลักสตู รเพอื่ นาํ ไปจดั กจิ กรรมการ

เรียนรูใ้ หก้ บั คนพิการได้ตามศกั ยภาพและความพร้อมในการเรยี นรู้ของผูเ้ รยี น ในแตล่ ะสาระการเรียนรู้
2.6 การเทยี บโอนผลการเรียน
การเทียบโอนผลการเรียน ให้เปน็ ไปตามหลักสูตรการศกึ ษานอกระบบระดับการศึกษาขน้ั

พื้นฐาน พุทธศกั ราช 2551
2.7 การวางแผนการเรยี นรู้
ครูผสู้ อนคนพิการ ผเู้ รยี น ผดู้ แู ลคนพิการ ต้องรว่ มกันวางแผนการจัดกระบวนการ

เรยี นร้เู พ่ือใหส้ อดคลอ้ งกับศกั ยภาพและความพร้อมในการเรยี นรู้ของผเู้ รยี นตามสาระการเรยี นรู้
2.8 การจดั กระบวนการเรยี นรู้
การจัดกระบวนการเรียนรู้สําหรับคนพิการตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับ

การศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 หรือหลักสูตรเฉพาะความพิการแต่ละประเภทของ กศน. ให้นําแนว
ทางการจัดการศึกษาหลักสูตรดังกล่าว ซ่ึงหลักสูตรฯ ได้กล่าวถึงการจัดการศึกษาสําหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ
ว่า “การจัดการศึกษาสําหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เช่น ผู้ท่ีมีความบกพร่องในด้านต่าง ๆ ผู้มีความสามารถ
พิเศษ การศึกษาทางเลือกท่ีจัดโดยครอบครัวและองค์กรต่าง ๆ การจัดการศึกษาดังกล่าวสถานศึกษาสามารถ
ปรับมาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551หรือ
หลักสูตรเฉพาะความพิการแต่ละประเภทของ กศน. ได้ ”ดังนั้นให้นําหลักสูตรฯ มาดําเนินการ เพ่ือให้
เหมาะสมกับกลมุ่ เป้าหมาย ดงั น้ี

ƒ วเิ คราะห์หลักสตู ร
ƒ วิเคราะห์สภาพปัญหาของคนพิการ และชุมชน
ƒ วเิ คราะหก์ ารจดั กระบวนการเรียนรู้
ƒ จัดทําแผนการเรียนรู้ โดยครูผู้สอนคนพกิ าร
2.9 การวัดและประเมนิ ผลการเรยี น
การวัดและประเมินผลการศึกษาให้สถานศึกษาดําเนินการให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการ
จําเป็นพิเศษของคนพิการแต่ละประเภท ตามรูปแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการท่ีสถานศึกษาเห็นสมควร ตาม
กรอบการวัดและประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน
พทุ ธศักราช 2551

คมู่ อื ในการปฏิบัตงิ านสําหรบั ครผู ้สู อนคนพกิ าร   22 

2.10 สรุปผล และรายงานผล
- แบบรายงาน สสจ.1
- สรปุ ผลการดําเนนิ งานทุกภาคเรียน/ปีงบประมาณ

รายละเอียด เอกสารภาคผนวก ข

โดยมโี ครงสรา้ งหลกั สูตรดงั น้ี
โครงสรา้ งหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศกึ ษาขน้ั พ้ืนฐาน พุทธศกั ราช 2551 ประกอบดว้ ย

5 สาระเรียนรู้ ซึง่ แตล่ ะสาระประกอบด้วยรายวชิ าบังคบั และรายวชิ าเลือกตามจํานวนหน่วยกติ ท่กี าํ หนดไว้ใน
โครงสร้างหลักสตู ร สําหรบั รายวชิ าเลอื กสถานศึกษาสามารถดําเนินการได้เองและยังเปดิ โอกาสให้สามารถ
คัดเลอื กจากสถานศึกษาอ่ืน หรือจากสว่ นกลาง

โครงสรา้ งหลกั สูตรการศกึ ษานอกระบบระดับการศกึ ษาข้ันพื้นฐาน พุทธศกั ราช 2551

ที่ สาระเรยี นรู้ จาํ นวนหนว่ ยกิต

ประถมศกึ ษา มัธยมศกึ ษาตอนตน้ มธั ยมศึกษาตอนปลาย

วชิ าบงั คับ วชิ าเลอื ก วชิ าบังคับ วิชาเลอื ก วิชาบงั คบั วชิ าเลอื ก

1 ทักษะการเรียนรู้ 5-5 - 5-

2 ความรู้พน้ื ฐาน 12 - 16 - 20 -

3 การประกอบอาชพี 8-8 - 8-

4 ทกั ษะการดาํ เนนิ ชวี ิต 5 - 5 - 5 -

5 การพฒั นาสังคม 6-6 - 6-

36 12 40 16 44 32

รวม 48 หนว่ ยกติ 56 หน่วยกิต 76 หนว่ ยกิต

กจิ กรรมพฒั นาคณุ ภาพชีวิต 100 ชั่วโมง 100 ชัว่ โมง 100 ชว่ั โมง

หมายเหตุ รายวิชาเลือกในแต่ระดับให้เรยี นรจู้ ากการทาํ โครงงาน อย่างน้อย 3 หน่วยกิต

รายละเอยี ดเอกสาร ภาคผนวก ค
3. จดั การศกึ ษาตอ่ เนอื่ ง

การศกึ ษาตอ่ เนอ่ื ง คอื การศึกษาทจี่ ัดขึน้ เพอื่ เสรมิ เตมิ เต็มและพัฒนาศกั ยภาพของผู้เรยี น โดย
ไมแ่ บ่งระดบั การศึกษา มลี กั ษณะเป็นหลกั สูตรส้ัน ๆ ท่มี ีเนื้อหาจบในตวั ดงั นี้

คมู่ ือในการปฏบิ ตั งิ านสาํ หรับครผู สู้ อนคนพกิ าร   23 

1) การศึกษาเพ่ือพัฒนาอาชีพ เป็นการจัดการศึกษาเพ่ือให้คนพิการมีอาชีพหลัก อาชีพรอง หรือ
อาชพี เสรมิ ทําใหเ้ กดิ รายไดจ้ ากการประกอบอาชีพ ชว่ ยใหล้ ดภาระรายจ่ายของครอบครัว สามารถเลี้ยงตนเอง
และครอบครวั ได้

2) การศึกษาเพ่ือพัฒนาทักษะชีวิต เป็นการจัดการศึกษาเพ่ือให้คนพิการสามารถดูแลตนเองได้
ไม่เป็นภาระของครอบครัว ทาํ ใหค้ ุณภาพชวี ิตของคนพกิ ารและครอบครัวมีความสขุ มากยง่ิ ขึ้น

- การพัฒนาทกั ษะการเตรียมความพร้อมของคนพิการแตล่ ะประเภท
- การช่วยเหลอื และดูแลตนเอง
- การบําบดั ฟนื้ ฟูสมรรถภาพ

4. การศึกษาตามอธั ยาศยั
การศึกษาตามอัธยาศัย คือ กระบวนการท่ีมนุษย์ได้รับการถ่ายทอด และสั่งสมความรู้ ทักษะ

เจตคติ ความคดิ จากประสบการณใ์ นชวี ิตประจาํ วัน และสิ่งแวดล้อมตลอดชีวติ เปน็ การศึกษาท่ีไม่มีองค์กร ไม่
มีระบบ ไม่มีจุดมุ่งหมาย ไม่ต้ังใจ และเร่ืองท่ีได้รับการถ่ายทอดก็เป็นเรื่องท่ีเกี่ยวกับวิถีชีวิตในสังคม
ตัวอย่างเช่น การเรียนรู้ในครอบครัว ในที่ทํางาน สถานท่ีท่องเท่ียว การเรียนรู้จากแบบอย่างและทัศนคติใน
ครอบครัวหรือเพื่อน การเรียนรู้จากการอ่านหนังสือพิมพ์ และจากการท่องเท่ียว ตลอดจนการเรียนรู้โดยฟัง
วิทยุ ดูภาพยนตร์และโทรทัศน์ เป็นต้น ดังน้ันครูผู้สอนคนพิการ ควรร่วมมือกับเครือข่ายแนะนําส่งเสริม
สนับสนุนการเรียนรู้ในแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เพื่อให้คนพิการเข้าถึงและสามารถใช้บริการได้ตามศักยภาพและ
ความตอ้ งการ

องคป์ ระกอบของการศกึ ษาตามอัธยาศยั
การศกึ ษาตามอธั ยาศัยมอี งคป์ ระกอบสาํ คญั ที่สรุปได้จากเอกสารและงานวจิ ยั ทเ่ี กย่ี วข้องดงั นี้
1. แนวคดิ และปรัชญา : การศึกษาตามอธั ยาศยั เป็นการศึกษาท่ีส่งเสริมสนับสนุนและให้โอกาสใน

การเรียนรู้ในวิถีชวี ติ ของบุคคลต้ังแตเ่ กิดจนตาย
2. ความมุ่งหมาย : การศึกษาตามอัธยาศัยมีได้หลายเป้าหมายและหลายวัตถุประสงค์ โดย

เป้าหมายหลักเพื่อส่งเสริมพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และเพ่ือตอบสนองความพึงพอใจและนันทนาการของ
บุคคลแตล่ ะคนมากกว่าการเพ่ิมพูนความร้เู ชิงวชิ าการ

3. หลกั สูตร : การศึกษาตามอธั ยาศัยไมม่ ีหลักสตู ร แตเ่ ป็นลักษณะการเรยี นรผู้ า่ นการจัดกจิ กรรม
ส่อื และเพื่อส่งเสรมิ การเรียนรู้

4. ผู้เรียน/ผู้รับบริการ : คือ บุคคลทุกคน ซึ่งมีความหลากหลาย ครอบคลุมทุกเพศ ทุกวัย
ทุกระดับการศึกษา ทกุ พ้นื ที่ โดยไมม่ ีการจาํ แนกสถานภาพทางสังคม

5. ผู้สอน : คอื บคุ คลทุกคนท่ีมศี กั ยภาพส่งเสรมิ ใหผ้ เู้ รยี นอยากเรยี นรู้

คมู่ ือในการปฏบิ ตั งิ านสําหรบั ครูผู้สอนคนพกิ าร   24 

6. ความรู้ : การศกึ ษาตามอธั ยาศยั ทําให้เกิดความรู้ดว้ ยการเรียนรู้ตามความต้องการและความ
สนใจของผู้เรียน

7. วธิ กี ารเรยี นรู้ : การศึกษาตามอัธยาศยั มวี ธิ ีการเรยี นรู้ทห่ี ลากหลาย มีหลายรปู แบบ ไมม่ ีแบบ
แผนแนน่ อน ไม่มีรปู แบบแนน่ อน

8. ระยะเวลา : การศกึ ษาตามอธั ยาศัยสามารถเกดิ ได้ตลอดเวลาและตลอดชวี ติ ของผู้เรยี น
9. วฒุ กิ ารศึกษา : การศกึ ษาตามอัธยาศยั ไมม่ ีวฒุ ิบตั ร แตบ่ างกิจกรรมอาจมีเกยี รตบิ ัตร
10. กจิ กรรมการเรียนรู้ : กิจกรรมการเรียนรู้การศึกษาตามอธั ยาศัยเปน็ ไปตามวิถีชีวิตของผูเ้ รยี น
11. สื่อการเรียนรู้ : ลกั ษณะส่อื การศกึ ษาตามอธั ยาศัยมคี วามหลากหลายตามทีผ่ เู้ รยี นตอ้ งการ
12. การประเมนิ ผล : การศึกษาตามอธั ยาศัยเป็นการประเมินความก้าวหนา้ ของผูเ้ รียนดว้ ยตัว
ผเู้ รียนเอง จึงไม่มกี ารประเมนิ ผลท่ีชัดเจน แตบ่ างกจิ กรรมมีการประเมนิ ผลเพอื่ ใหผ้ ลย้อนกลบั ตอ่ ผรู้ ับบริการ

9. จรรยาบรรณของครูผสู้ อนคนพิการ
ในการประกอบอาชีพทุกอาชีพ ผู้ประกอบอาชีพจะต้องมีจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพ

ท่ีตนเองทําอยู่จึงจะทําให้ประสบความสําเร็จในอาชีพน้ัน ครูผู้สอนคนพิการก็เช่นเดียวกัน ต้องมีและยึดถือ
จรรยาบรรณในการประกอบอาชพี ของตนเอง ซ่งึ จรรยาบรรณท่ีครูผสู้ อนคนพิการควรยึดถือปฏบิ ัตมิ ีดงั นี้

1. ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริมให้กําลังใจในการศึกษา
เล่าเรียนแก่ศษิ ย์โดยเสมอหนา้

2. ครตู ้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัย ท่ีถูกต้องดีงาม ให้เกิดแก่
ศษิ ย์ อยา่ งเตม็ ความสามารถด้วยความบรสิ ทุ ธิใ์ จ

3. ครูตอ้ งประพฤติ ปฏบิ ตั ิตนเป็นแบบอย่างท่ดี ีแกศ่ ษิ ย์ทัง้ ทางกาย วาจา และจติ ใจ
4. ครูต้องไม่กระทําตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และ
สังคมของศษิ ย์
5. ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ
และไม่ใช้ให้ศษิ ย์กระทาํ การใด ๆ อันเปน็ การหาผลประโยชน์ ใหแ้ ก่ตนโดยมิชอบ
6. ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งทางด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อ
การพัฒนาทางวทิ ยาการ เศรษฐกจิ สงั คมและการเมืองอยเู่ สมอ
7. ครูยอ่ มรักและศรัทธาในวชิ าชพี ครูและเปน็ สมาชกิ ท่ีดตี ่อองค์กรวิชาชพี ครู
8. ครูพึงช่วยเหลอื เก้ือกูลครูและชมุ ชนในทางสร้างสรรค์
9. ครพู งึ ประพฤติ ปฏบิ ตั ิตนเปน็ ผู้นําในการอนรุ ักษแ์ ละพฒั นาภมู ิปญั ญาและวัฒนธรรม
ไทย

คมู่ อื ในการปฏิบัติงานสําหรับครผู ูส้ อนคนพกิ าร   25 

10. การเบกิ จ่ายค่าตอบแทนครผู สู้ อนคนพิการ
1. ให้เบิกจ่ายค่าตอบแทนเหมาจ่ายเป็นรายเดือนสําหรับครูผู้สอนคนพิการ โดยต้อง

รับผดิ ชอบคนพกิ ารที่มีความบกพร่องทางการเห็น หรือทางการได้ยิน หรือทางร่างกายหรือการเคล่ือนไหวหรือ
สขุ ภาพ กลุ่มละ 8 - 10 คน สําหรับบคุ คลท่มี คี วามบกพรอ่ งทางสตปิ ญั ญา หรือทางการเรยี นรู้ หรอื ทางการพดู
และภาษา หรือทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ หรือบุคคลออทิสติก หรือบุคคลพิการซ้อน กลุ่มละ 3 – 5 คน ใน
อัตราคา่ ตอบแทนตามวุฒปิ ริญญาตรที ี่ ก.พ.กําหนด

2. ค่าตอบแทนครผู ู้สอนคนพกิ าร กรณจี ัดกลมุ่ ผเู้ รยี นตา่ํ กว่าเกณฑ์ทีก่ าํ หนดให้เบิกจ่าย ดังน้ี
2.1 สอนบุคคลท่ีมีความบกพร่องทางการเห็น หรือทางการได้ยิน หรือทางร่างกายหรือการ

เคล่ือนไหวหรือสุขภาพ เป็นรายหัวตามจํานวนผู้เรียนคนพิการในอัตรา 794 บาทต่อคนต่อเดือน (ในกรณีท่ี
ก.พ. ปรับอัตราเงินเดือนวุฒิปริญญาตรี ให้ปรับสัดส่วนค่าตอบแทนรายหัวตามวุฒิปริญญาตรี ท่ี ก.พ.กําหนด
เช่น กลุ่ม 8 – 10 คน คาํ นวณจาก 7,940 บาท/10 คน = 794 บาท)

2.2 สอนบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา หรือทางการเรียนรู้ หรือทางการพูดและ
ภาษา หรือทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ หรือบุคคลออทิสติก หรือบุคคลพิการซ้อน เป็นรายหัวตามจํานวน
ผู้เรียน คนพิการในอัตรา 1,588 บาทต่อคนต่อเดือน (ในกรณีที่ ก.พ. ปรับอัตราเงินเดือนวุฒิปริญญาตรี
ให้ปรับสัดส่วนค่าตอบแทนรายหัวตามวุฒิปริญญาตรี ท่ี ก.พ.กําหนดเช่น กลุ่ม 3 – 5 คน คํานวณจาก 7,940
บาท/5 คน = 1,588 บาท)

3. ค่าพาหนะเดินทางไปสอนสาํ หรบั ครผู สู้ อนคนพกิ ารในอตั ราคนละ 1,000 บาทต่อเดอื น
4.ค่าประกันสงั คม สาํ นกั งาน กศน. จา่ ยให้คร่ึงหนึ่ง

คมู่ อื ในการปฏบิ ัตงิ านสําหรบั ครูผสู้ อนคนพกิ าร   26 

บทที่ 3

บทบาทหนา้ ทีข่ องครูผู้สอนคนพิการและผทู้ ีเ่ กย่ี วข้อง

บทบาทหนา้ ทข่ี องครผู ู้สอนคนพกิ าร

ครูผู้สอนคนพิการ เป็นผู้ที่ทําหน้าที่จัดกิจกรรมและอํานวยความสะดวกในการจัด
การเรียนรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมายพิเศษที่เป็นคนพิการ ซ่ึงนับว่าเป็นบุคคลที่มีบทบาทสําคัญยิ่งที่จะทําให้
คนพิการมีศักยภาพและคุณภาพชวี ิตทีด่ ีขึ้น เนอื่ งจากคนพกิ ารมีข้อจํากัดในหลาย ๆ ด้านที่จะไปศึกษาจาก
ในระบบโรงเรียน ดังน้ันเมื่อครูผู้สอนคนพิการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียน ต้ังแต่ส่งเสริมการเรียนรู้
หนังสือ การศึกษาข้ันพ้ืนฐาน เริ่มต้ังแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย การศึกษา
ต่อเนอื่ ง ซึง่ ประกอบไปดว้ ยการศึกษาเพ่ือพัฒนาทักษะชีวิต และการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ พร้อมทั้งจัด
การศึกษาตามอัธยาศัย จึงทําให้ครูผู้สอนคนพิการเปรียบเสมือนผู้ช่วยเหลือให้คําปรึกษา และช้ีแนะ
แนวทางให้ คนพกิ ารไดร้ ู้ถงึ ศักยภาพของตนเองสามารถอยู่ร่วมกับครอบครัว ชุมชมและสังคมได้อย่างมี
ความสขุ และสามารถช่วยเหลือสังคมไดต้ ามศกั ยภาพของตนเอง

การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยสําหรับคนพิการนั้น มี
วัตถุประสงค์เพื่อให้คนพิการได้มีความรู้ ความสามารถและทราบถึงศักยภาพของตนเองเพ่ือนํามา
ประยุกต์ใช้ในการดํารงชีวิตให้สามารถอยู่ในครอบครัว ชุมชนและสังคมได้อย่างมีความสุขโดยไม่ต้องเป็น
ภาระให้กับผู้อ่ืนและยังสามารถใช้ศักยภาพท่ีได้รับการพัฒนาแล้วไปช่วยเหลือผู้อื่นได้ตามศักยภาพ
ของตนเอง ดังนั้นครูผู้สอน คนพิการจะต้องมีข้อมูล ความรู้เพ่ือนํามาใช้ในการจัดกิจกรรมกระบวนการ
เรยี นรู้ให้กับคนพิการเพ่อื ให้บรรลุตามวัตถปุ ระสงค์ของการจัดกจิ กรรมการเรยี นรู้ ดงั นี้

1. สํารวจข้อมูลเบื้องต้นของคนพิการ โดยครูผู้สอนคนพิการสามารถสํารวจข้อมูล
เบ้ืองต้นของคนพิการได้จากหน่วยงานและผทู้ ี่เก่ียวข้อง เช่น ท่ีว่าการอําเภอ องค์การบริหารส่วนตําบล
เทศบาล สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) สถานีอนามัยประจําตําบล
สาธารณสุขอําเภอ โรงพยาบาล กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.)
รายละเอียดเอกสารภาคผนวก ง

2. ลงพ้ืนที่เพื่อติดตามกลุ่มเป้าหมายว่ามีตัวตนหรือไม่เพ่ือสอบถามความต้องการ
ของผู้เรียน หรือผู้ดูแลคนพิการ เพื่อนําข้อมูลท่ีได้มาวิเคราะห์และวางแผนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ใหก้ บั คนพกิ ารตามแบบสํารวจข้อมลู เบื้องตน้

3. ตรวจสอบเอกสารการจดทะเบียนคนพิการว่ามีหรือไม่ หากไม่มี ให้ใช้แบบประเมิน
เบ้อื งต้นเพ่อื คัดแยกประเภทความพกิ ารเพอ่ื เข้าสู่กระบวนการจัดการศึกษาและนาํ แบบประเมินแนบไว้เพื่อ
จัดทาํ IEP

ค่มู ือในการปฏบิ ตั ิงานสาํ หรับครผู ้สู อนคนพกิ าร 27

4. ประเมินเบ้ืองต้นคัดแยกประเภทความพิการ เพ่ือเข้าสู่กระบวนการจัดกิจกรรม
การเรยี นรู้ ครูผู้สอนคนพิการจะต้องประเมนิ คัดแยกว่าเป็นคนพิการประเภทใดและจะต้องทราบถึงระดับ
ความรู้ความสามารถในการเรียนรขู้ องคนพกิ ารแต่ละบคุ คล รายละเอียด เอกสารภาคผนวก จ โดย

4.1 ครูผู้สอนคนพิการจะต้องประเมินเบ้ืองต้นเพ่ือคัดแยกประเภทความพิการร่วมกับ
ผู้บริหารสถานศึกษา เพ่ือนครู ผู้ดูแลคนพิการ หรือผู้ที่ปฏิบัติงานเก่ียวกับคนพิการ โดยจะต้องมีผู้
ประเมินร่วมอยา่ งนอ้ ย 2 คน

4.2 เม่ือครผู สู้ อนคนพกิ ารประเมินเบ้ืองต้นเพ่อื คัดแยกประเภทความพิการแล้วปรากฏว่า
คนพิการมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขให้ครูผู้สอนคนพิการแนะนําให้ผู้ดูแลคนพิการ
นําไปจดทะเบยี นคนพกิ ารหรือครผู ้สู อนคนพกิ ารนาํ ไปจดทะเบยี นคนพิการโดยมีหลักฐานดงั ต่อไปนี้

1) บตั รประจําตัวประชาชน หรอื บตั รประจาํ ตวั ข้าราชการ หรอื บตั รประจาํ ตัว
คนต่างด้าว หรอื เอกสารอื่นท่ีทางราชการออกให้ (ถา้ มี)

2) สําเนาทะเบยี นบา้ น
3) ภาพถา่ ยขนาดหน่งึ นวิ้ จาํ นวนสองรปู
4) เอกสารรบั รองความพกิ าร โดยแพทยข์ องโรงพยาบาลของทางราชการ และ
โรงพยาบาลอน่ื ท่กี ระทรวงสาธารณสุขประกาศกาํ หนด
ในกรณีที่คนพิการไม่สามารถไปจดทะเบียนด้วยตนเองได้ ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์
ผู้อนุบาล หรือบุคคลที่ดูแลคนพิการแล้วแต่กรณี ย่ืนขอจดทะเบียนแทนได้ตาม มาตรา 14 และต้องมี
หลักฐานประกอบตามระเบียบคณะกรรมการฟ้ืนฟูสมรรถภาพคนพิการ ว่าด้วยการจดทะเบียนคนพิการ
พ. ศ. 2537 โดยมีหลักฐานสาํ หรบั ผไู้ ปจดทะเบียนแทนคนพิการ ดงั ต่อไปน้ี
1) บัตรประจําตัวประชาชน หรอื บัตรประจําตวั ขา้ ราชการ หรือบตั รประจาํ ตวั
คนต่างด้าว หรือเอกสารอ่ืนท่ีทางราชการออกให้คนพิการ และของผจู้ ดทะเบยี นแทน
2) ใบมอบอํานาจจากคนพกิ ารหรือหนังสอื รับรองจากทางราชการ
3) สําเนาทะเบียนบ้านของคนพกิ าร และของผู้จดทะเบียนแทน
4) ภาพถา่ ยของคนพกิ ารขนาดหนงึ่ น้วิ จาํ นวนสองรปู
5) คาํ ส่ังศาลในกรณีศาลสงั่ ให้เปน็ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือไร้ความสามารถ
หรือการจัดต้งั ผปู้ กครอง กรณผี เู้ ยาวไ์ ม่มีบิดามารดา หรอื บดิ ามารดาถกู ถอนอาํ นาจปกครอง
6) เอกสารรับรองความพกิ ารโดยแพทย์ของโรงพยาบาลของทางราชการ และ
โรงพยาบาลอืน่ ท่ีกระทรวงสาธารณสุขประกาศกําหนด
7) ผู้จดทะเบียนแทนจะต้องเป็นผ้ทู ร่ี ู้จักคนพิการเป็นอย่างดี

คนพกิ ารทีม่ ีภมู ิลาํ เนาในกรงุ เทพมหานคร จดทะเบียนได้ทศ่ี ูนย์บรกิ ารร่วมกระทรวง
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สอบถามข้อมูลเพ่ิมเติมได้ท่ี สํานักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพ
ชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) โทร 0 2354 3388 ต่อ 114 และ 115 กรณีคนพิการที่มีภูมิลําเนาใน

คู่มอื ในการปฏิบัติงานสําหรบั ครูผสู้ อนคนพกิ าร  28 

ต่างจังหวัด ขอจดทะเบียนได้ที่จังหวัดของตนท่ีสํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด
ทุกจังหวัด ส่วนคนพิการที่ไม่ได้อยู่ในภูมิลําเนาของตนเอง แต่มีถิ่นที่อยู่ในจังหวัดนั้น ๆ สามารถย่ืน
จดทะเบียนได้ตามถน่ิ ทต่ี นอาศัยอยูใ่ นจังหวดั นัน้

5. หากคนพิการที่มีอายุต่ํากว่า 15 ปี ต้องการศึกษากับ กศน.อําเภอ/เขต ครูผู้สอน
คนพิการต้องตรวจสอบว่ากําลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษาอ่ืนหรือไม่ หากกําลังศึกษาอยู่ให้ แจ้งผู้ดูแล
คนพิการ ติดต่อประสานกับเขตพ้ืนที่การศึกษา ดําเนินการส่งตัวให้เข้ารับการศึกษากับ กศน.อําเภอหรือ
กศน.เขต จงึ จะรบั ขึน้ ทะเบยี นได้

6. จัดทําข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เรียนโดยวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ความฝัน และ
ความหวังของคนพิการ หรือผู้ดูแลคนพิการเพ่ือเป็นข้อมูลในการจัดระดับความสามารถในการเรียนรู้เพ่ือ
การเปล่ียนผ่านจากชีวิตผู้เรียนระดับข้ันพื้นฐานสู่ระดับอุดมศึกษาหรือสู่วัยแรงงาน หรือสู่การดําเนินชีวิต
อยา่ งอสิ ระ รายละเอียด เอกสารภาคผนวก ฉ

7. จัดระดับความสามารถในการเรียนรู้ของคนพิการแต่ละคนเพื่อเข้าสู่กระบวน
การจัดการเรยี นรู้ เนอื่ งจากคนพิการแต่ละคนมีความร้คู วามสามารถแตกต่างกัน ครูผู้สอนคนพิการจึงต้อง
จัดกลุ่มคนพกิ ารเพื่อการเรียนรโู้ ดยแบ่งตามระดับความสามารถ ดงั น้ี

7.1 ระดับความยากลําบากต่อการเรียนรู้มาก ครูผู้สอนคนพิการจะต้องจัดทํา
หลกั สตู ร (หลักสูตรสถานศึกษา ส่อื ) เฉพาะความพกิ าร เช่น

7.1.1 บุคคลท่ีมีความบกพร่องทางการเห็น ทางการได้ยิน ทางสติปัญญาและ
บุคคลออทิสติกจะมีความยากลาํ บากด้านการส่อื สาร

7.1.2 บคุ คลทีม่ ีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ ที่ไม่สามารถเดินทางเข้า
รว่ มกจิ กรรมการเรียนรู้ตามสถานท่ี ทีส่ ถานศกึ ษากําหนดได้จะมีความยากลาํ บากด้านการเดนิ ทาง

7.1.3 บุคคลที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ พิการซ้ําซ้อน จะมี
ความยากลาํ บากดา้ นการเรยี นรรู้ ว่ มกบั ผอู้ ่นื

7.2 ระดับความยากลําบากต่อการเรียนรู้ปานกลาง ครูผู้สอนคนพิการต้องปรับ
กจิ กรรมการเรยี นรใู้ ห้เหมาะสมกบั ประเภทของความพกิ ารและศกั ยภาพในการเรยี นรขู้ องคนพกิ าร

7.3 ระดับการเรียนรู้ได้เหมือนคนปกติ สามารถจัดกิจกรรมการการเรียนรู้ร่วมกับ
คนปกติ ได้ ณ ศนู ย์การเรียนชมุ ชน กศน.ตาํ บลหรอื สถานทีจ่ ัดกิจกรรมการเรยี นรู้ของผู้เรียนปกติ

8. เลอื กกจิ กรรมการเรียนรู้ใหเ้ หมาะสมตามประเภทและศักยภาพความพิการของแต่ละคน
9. วางแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับคนพิการ โดยจัดทําแผนการเรียนรู้กลางของ
กลุ่มเปา้ หมายทร่ี บั ผิดชอบทกุ คน
9. จดั หา ผลติ พัฒนาส่อื และวัสดใุ นการจดั กจิ กรรมการเรยี นรู้และสิ่งอํานวยความสะดวก
10. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการเรียนรู้กลางท่ีได้จัดทําเม่ือพบปัญหาการเรียนรู้ของ
คนพิการรายใด ให้นําปัญหาน้ันมาจัดทําแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individual Education Program :

คมู่ อื ในการปฏบิ ัตงิ านสาํ หรับครผู สู้ อนคนพกิ าร  29 

IEP) พร้อมทั้งจัดทําแผนการเรียนรู้เฉพาะบุคคล (Individual Implementation Plan : IIP) เป็น
รายบคุ คล

11. ประสานความรว่ มมือกบั ภาคีเครือขา่ ย
12. เผยแพรผ่ ลการจัดกระบวนการเรียนร้แู ก่คนพกิ ารต่อสาธารณชน
13. สรุปและรายงานผลการปฏิบัติงานต่อสํานักงาน กศน.จังหวัด/กรุงเทพมหานคร และ
สาํ นักงาน กศน.
14. จัดทําแผนการปฏิบัติงานพร้อมแบบรายงานผลการปฏิบัติงานเป็นรายเดือน รายละเอียด
เอกสารภาคผนวก ช
15. ปฏบิ ตั งิ านอน่ื ๆ ทไ่ี ด้รบั มอบหมาย

สมรรถนะของครูผ้สู อนคนพกิ าร
สมรรถนะของครูผสู้ อนคนพกิ าร หมายถึง คุณลักษณะในการปฏิบัติงานตามบทบาทหนา้ ท่ี

และภารกจิ ทร่ี บั ผิดชอบ ซึง่ ประกอบดว้ ย ความรู้ ทักษะ และทศั นคติ ท่สี ามารถส่งผลตอ่ ความสาํ เร็จใน
การปฏิบตั ิงาน

การปฏิบัติงานของครูผู้สอนคนพิการจะต้องมีการวัดผลสัมฤทธ์ิในการดําเนินงานว่าประสบ
ผลสําเร็จมากนอ้ ยแคไ่ หน ดงั น้นั ครผู ้สู อนคนพิการตอ้ งมีการเตรยี มพรอ้ มและต้องรู้หลกั เกณฑ์หรือแนวทาง
ในการประเมนิ ผลการปฏบิ ัตงิ าน ดงั น้ี

1. ดา้ นการมงุ่ ผลสมั ฤทธ์ิ
1.1 วางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเหมาะสมสําหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่อง

ประเภทต่างๆ
1.2 นาํ นวัตกรรมใหมๆ่ ท่ีเหมาะสมกบั ความบกพรอ่ งของผเู้ รยี นมาใช้อย่างต่อเนอื่ ง
1.3 ปรับปรุงและพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากผลการประเมินการจัดกิจกรรมการ

เรยี นรู้
1.4 พัฒนาการจัดกจิ กรรมการเรียนรู้อยา่ งมงุ่ มน่ั กระตอื รือรน้ และเสยี สละเวลาสว่ นตวั
1.5 พัฒนาแผนการการเรียนรู้เฉพาะบุคคลเป็นรายวิชาท่ีมีความเหมาะสมกับผู้เรียนที่มี

ความบกพรอ่ งประเภทต่างๆ
1.6 พัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาสําหรับการสื่อสารกับผู้เรียนท่ีมีความบกพร่อง

ประเภทตา่ งๆ
1.7 ทาํ แฟม้ สะสมผลงานของตนเองอย่างต่อเนอ่ื ง
1.8 ทําปฏิทนิ การปฏิบตั ิงานของตนเอง
1.9 ประเมนิ การปฏบิ ตั งิ านของตนเองอย่างสมํ่าเสมอ
1.10 เผยแพร่ผลงานการจัดกจิ กรรมการเรยี นรตู้ อ่ หน่วยงานภายในและภายนอก
1.11 ปฏบิ ัติงานทไ่ี ด้รบั มอบหมายดา้ ยความเอาใจใส่

คมู่ อื ในการปฏิบัตงิ านสาํ หรบั ครูผูส้ อนคนพกิ าร  30 

1.12 พัฒนาแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) และแผนการจัดการเรียนรู้เฉพาะ
บุคคล (IIP)

2. การบริการท่ีดี
2.1 ศกึ ษาความต้องการของผู้เรียนและผ้ดู ูแลคนพกิ ารเพอื่ ชว่ ยเหลือสง่ เสริมผู้เรยี นทม่ี ีความ

บกพร่องประเภทตา่ งๆ
2.2 จัดทําข้อมูลสารสนเทศของผเู้ รยี นให้เปน็ ปัจจบุ ัน
2.3 ให้ความรแู้ ก่ผู้ดแู ลคนพกิ ารและชุมชนในการให้ความช่วยเหลอื หรือการปฏบิ ัตติ นต่อ

ผ้เู รยี นทม่ี คี วามบกพรอ่ งประเภทตา่ งๆ
2.4 รว่ มมอื กับหน่วยงานท่ีเกีย่ วขอ้ งกับผู้เรยี นท่ีมคี วามบกพรอ่ งประเภทตา่ งๆ ในการ

พัฒนา ศกั ยภาพและฟน้ื ฟสู มรรถภาพของผเู้ รยี น
2.5 ให้บริการผ้เู รียน ผู้ดแู ลคนพกิ ารอย่างเต็มใจและกระตอื รอื ร้น
2.6 รว่ มพัฒนาแหล่งเรียนรู้และจัดกิจกรรมส่งเสริมการให้บริการแก่ผู้เรียน ผ้ดู ูแลคนพิการ

และชุมชม
2.7 ดาํ เนนิ งานตามระบบดูแลชว่ ยเหลือผ้เู รียนของสถานศึกษา
2.8 ช่วยเหลือผ้เู รยี นทีม่ ีความบกพรอ่ งให้ไดร้ ับสทิ ธปิ ระโยชน์ตามทรี่ ัฐจัดให้
2.9 เผยแพรข่ อ้ มลู ข่าวสารด้านการศกึ ษาสําหรบั คนพิการแกช่ ุมชน

3. การพฒั นาตนเอง
3.1 ศกึ ษา ค้นควา้ เพม่ิ เตมิ เกีย่ วกบั ขอ้ มลู คนพิการประเภทตา่ งๆ อยูเ่ สมอ
3.2 วจิ ยั เพ่ือพัฒนาการเรียนรู้และการแกป้ ัญหาของผเู้ รยี น
3.3 พัฒนาทักษะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ท่ีเหมาะสมกับผู้เรียนที่มีความบกพร่องประเภท

ตา่ งๆ เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล
3.4 พฒั นาทกั ษะการส่ือสารสาํ หรับผูเ้ รียนที่มคี วามบกพร่องประเภทต่างๆ
3.5 นาํ ความร้ใู หม่ ๆ มาประยุกต์ใชใ้ นการจดั การเรียนรู้ได้
3.6 พัฒนาทักษะการผลิตและใช้ส่ือ นวัตกรรมท่ีเหมาะสมกับผู้เรียนท่ีมีความบกพร่องประเภท

ต่างๆ
3.7 พัฒนาทักษะการวัดผลประเมินผลที่เน้นความสามารถตามศักยภาพที่แตกต่างของแต่

ละบคุ คล

4. ดา้ นการทํางานเป็นทมี
4.1 ร่วมมือกันจัดทําแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการทมี่ ีความเหมาะสมกับผู้เรียนท่ีมี

ความบกพร่องประเภทตา่ งๆ
4.2 ช่วยเหลือ สนบั สนุน เพื่อนครูผู้สอนคนพกิ ารในการจดั กิจกรรมการเรยี นรู้

คมู่ อื ในการปฏิบตั งิ านสาํ หรับครผู ู้สอนคนพกิ าร  31 

4.3 ร่วมแก้ไขปญั หาตา่ งๆ ทีเ่ กดิ ขน้ึ กับผเู้ รยี นดว้ ยความเต็มใจ
4.4 ร่วมคิด รว่ มทาํ และร่วมรบั ผิดชอบในการปฏบิ ตั แิ ละผลทเ่ี กิดขนึ้
4.5 ร่วมกับครูผู้สอนคนพิการอ่ืน ผู้ดูแลคนพิการ ผู้บรหิ าร นักการศึกษาพิเศษ หรือบุคคล
อื่นๆ ท่ีมีความจําเป็นสําหรับการให้ความช่วยเหลือส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียนท่ีมคี วามบกพร่องประเภท
ต่าง ๆ
4.6 รบั ฟังความคิดเห็นของเพอ่ื นรว่ มงาน
4.7 ปฏิบตั ิงานรว่ มกับผ้บู รหิ าร ครู อย่างเป็นกลั ยาณมิตร
4.8 ปฏบิ ัติงานดว้ ยความจรงิ ใจต่อกนั ไมแ่ บ่งพรรคแบ่งฝ่าย
4.9 สรา้ งบรรยากาศในการทํางานที่เปน็ กันเอง
4.10 ปรบั ตวั ใหส้ อดคล้องกบั บทบาทหนา้ ท่ีทไ่ี ด้รับ

5. ด้านการออกแบบการเรียนรู้
5.1 เข้าใจความต้องการของผู้เรียนท่ีมีความบกพร่องทั้งด้านอารมณ์ สังคม สติปัญญาและ

รา่ งกาย
5.2 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ท่ีสอดคล้องเหมาะสมกับศักยภาพผู้เรียนที่มีความบกพร่องประเภท

ตา่ ง ๆ
5.3 ใชส้ ่อื นวัตกรรมทเ่ี หมาะสมกบั ความถนดั ของผู้เรียนท่ีมคี วามบกพร่องประเภทตา่ ง ๆ
5.4 จัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการดํารงชีวิตของผู้เรียนท่ีมีความบกพร่องให้สามารถอยู่ร่วมกับ

ผู้อนื่ ได้
5.5 วิเคราะหผ์ ู้เรียนเป็นรายบคุ คล เพ่อื วางแผนการจัดการศกึ ษาระยะยาว 1 ปี
5.6 พัฒนา IEPและ IIP อยา่ งเป็นระบบและมีประสทิ ธิภาพ
5.7 จัดการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริงเหมาะสมกับศักยภาพของผู้เรียนที่มีความ

บกพรอ่ งประเภทตา่ ง ๆ
5.8 จัดกิจกรรมทเี่ น้นผเู้ รยี นเปน็ สาํ คัญ

6. ด้านการพัฒนาผู้เรยี น
6.1 ปลูกฝังคณุ ธรรม จริยธรรม ให้แกผ่ ู้เรยี นทมี่ ีความบกพร่อง
6.2 จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพ่ือพัฒนาทักษะชีวิตท่ีมีความจําเป็นสําหรับผู้เรียนที่มีความ

บกพรอ่ งประเภทต่าง ๆ
6.3 จัดกิจกรรมฟ้ืนฟูศักยภาพด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ สติปัญญาของผู้เรียนให้มี

พัฒนาการและพร้อมทจี่ ะเรยี นรู้
6.4 ปลูกฝังใหผ้ ู้เรียนที่มีความบกพร่องประเภทต่าง ๆ มีความเป็นประชาธิปไตยและภูมิใจ

ในความเป็นไทย

ค่มู ือในการปฏิบัตงิ านสาํ หรบั ครูผ้สู อนคนพกิ าร  32 

6.5 พัฒนาผู้เรียนที่มีความบกพร่องประเภทตา่ ง ๆ ให้มีความตระหนักรู้ในอารมณ์ จุดเด่น
จดุ ด้อยของตนเอง

6.6 พัฒนาผู้เรียนท่ีมีความบกพร่องประเภทต่าง ๆ ให้มีทักษะการคิด วิเคราะห์สถานการณ์
ทีจ่ ะเกดิ ปญั หาและอันตรายต่อตนเอง

6.7 พัฒนาผเู้ รียนที่มีความบกพร่องให้มคี วามคิดสร้างสรรค์

7. ด้านการบริหารจัดการและพฒั นางานการจัดการศึกษาสําหรับคนพกิ าร
7.1 มสี ว่ นรว่ มในการกําหนดวสิ ัยทศั น์ เปา้ หมายและกลยุทธข์ องสถานศึกษา
7.2 มสี ่วนรว่ มในการวางแผนการพฒั นาคณุ ภาพการจดั การศึกษาสาํ หรบั คนพกิ าร
7.3 มีส่วนร่วมในการจัดโครงการหรือกิจกรรมท่ีมีประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาสําหรับ

คนพกิ าร
7.4 ส่งเสริมใหผ้ ูด้ แู ลคนพกิ ารเข้าใจและยอมรบั ในความบกพรอ่ งของผู้เรยี น
7.5 ส่งเสริมให้ชมุ ชนเข้าใจและยอมรับศักยภาพของผเู้ รียนทีม่ คี วามบกพรอ่ ง

แบบประเมินสมรรถนะครูผ้สู อนคนพิการ รายละเอยี ด เอกสารภาคผนวก ซ

บทบาทผู้บริหาร

ผู้อํานวยการสํานักงาน หมายถึง ผู้อํานวยการสํานักงาน กศน.จังหวัด/กทม. มีหน้าท่ี
ในการจัดสรรทรัพยากร และประสานภารกิจของบุคคลอื่นในองค์กร ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันเพ่ือให้
บรรลุวัตถปุ ระสงค์ที่วางไว้

บทบาทหนา้ ท่ีของผ้อู าํ นวยการสาํ นกั งาน
1. จัดทําแผนงานและยุทธศาสตร์การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม

อัธยาศยั ใหก้ ับคนพกิ ารในระดบั จงั หวดั ใหส้ อดคล้องกับนโยบายรฐั บาล นโยบายและจุดเน้นของสํานกั งาน
กศน. แผนพัฒนาจังหวัด และกฎหมาย ระเบยี บทีเ่ ก่ียวขอ้ งดา้ นการศึกษาสําหรับคนพกิ าร

2. ศึกษาวิเคราะห์วิจัย และรวบรวมข้อมูลสารสนเทศการศึกษานอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศยั ของคนพิการระดบั จังหวดั

3. จัดต้ัง จัดสรรงบประมาณให้แก่สถานศึกษาและภาคีเครือข่ายท่ีจัดการศึกษานอก
ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กบั คนพกิ าร

4. ประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ให้กับคนพกิ ารของสถานศกึ ษาและภาคเี ครอื ข่าย

5. พัฒนาหลักสูตร สื่อนวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษาสําหรับคนพิการให้กับ
สถานศกึ ษาและภาคเี ครอื ขา่ ย

6. ระดมทรัพยากรด้านต่าง ๆ เพ่ือการมีส่วนร่วมในการส่งเสริม สนับสนุนการจัดและ
พัฒนาการศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศัยใหก้ ับคนพิการ

คูม่ ือในการปฏิบตั งิ านสาํ หรบั ครผู ู้สอนคนพกิ าร  33 

7. ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษา
ตามอธั ยาศัยให้กับคนพิการ

8. พัฒนาครูผู้สอนคนพิการ ผู้เก่ียวข้องและภาคีเครือข่ายที่จัดการศึกษานอกระบบและ
การศกึ ษาตามอธั ยาศัยใหก้ ับคนพกิ าร

9. ดาํ เนินการแต่งตั้งครูผู้สอนคนพิการ
10. กํากับ ดูแล นิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษา
ตามอัธยาศัยให้กับคนพิการของสถานศึกษาและภาคีเครือข่ายและรายงานผลการจัดการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัยใหก้ บั คนพิการต่อสํานกั งาน กศน.

ผ้อู าํ นวยการสถานศึกษา หมายถึง ผอู้ ํานวยการ กศน.อาํ เภอ/เขต

บทบาทหนา้ ทขี่ องผอู้ าํ นวยการสถานศกึ ษา
1. สร้างความรคู้ วามเข้าใจในนโยบายและจุดเน้นของสํานกั งาน กศน.ในการจัดการศึกษา
นอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศยั ให้กับครูผสู้ อนคนพิการ ผูเ้ กยี่ วขอ้ งและภาคีเครือขา่ ย
2. สนับสนุนงบประมาณและจัดหาส่ือ วัสดุอุปกรณ์ที่จําเป็นต่อการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ให้กับคนพิการ ตลอดจนอํานวยความสะดวกในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษา
ตามอัธยาศัยให้กบั คนพิการ
3. จดั สง่ เสรมิ สนับสนุนพฒั นาแหลง่ เรยี นรแู้ ละภูมิปัญญาท้องถ่ินเพ่ือจัดการศึกษานอก
ระบบและการศึกษาตามอธั ยาศัยให้กับคนพิการ
4. วจิ ัยและพฒั นาคุณภาพหลักสตู ร สื่อ กระบวนการเรียนรูใ้ หก้ ับคนพกิ าร
5. พัฒนาครูผสู้ อนคนพิการ ผู้เก่ียวข้องและภาคีเครือข่ายที่จัดการศึกษานอกระบบและ
การศึกษาตามอธั ยาศัยใหก้ ับคนพิการ
6.ระดมทรัพยากรเพ่ือใช้ในการส่งเสริม สนับสุนนการจัดและพัฒนาการศึกษานอก
ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับคนพกิ าร
7. เสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานในรูปแบบต่าง ๆ ให้แก่ครูผู้สอนคนพิการ
ผู้เกี่ยวข้อง และภาคเี ครอื ข่าย
8. กํากับ ดูแล ตรวจสอบ นิเทศภายใน ติดตามประเมินผล และรายงานผลการจัด
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับคนพิการต่อสํานักงาน กศน.จังหวัด/
กรงุ เทพมหานคร

บทบาทผดู้ แู ลคนพกิ าร

ผู้ดูแลคนพิการ หมายถึง บิดา มารดา ผู้ปกครอง บุตร สามี ภรรยา ญาติพ่ีน้อง หรือ
บคุ คลอนื่ ใดทร่ี ับดูแลหรอื รบั อุปการะคนพิการ

คู่มอื ในการปฏบิ ัตงิ านสาํ หรับครูผู้สอนคนพกิ าร  34 

บทบาทหน้าทีผ่ ้ดู ูแลคนพกิ าร
ให้ความร่วมมือกับสถานศึกษา ครูผู้สอนคนพิการและผู้เกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรม
การเรียนรูใ้ หก้ ับคนพกิ าร

บทบาทหน้าท่ีผทู้ ี่เกี่ยวขอ้ งกบั คนพิการ

ผู้ท่ีเก่ียวข้องกับคนพิการ หมายถึง หน่วยงานของรัฐ บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กร
เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล
สถาบนั ทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบนั ทางสงั คมอื่น ๆ ทเี่ ข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
นอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศัยใหก้ ับคนพิการ

บทบาทหน้าท่ีผทู้ ่เี กีย่ วขอ้ งกบั คนพกิ าร
1. ส่งเสริม สนับสนุนการดําเนินงาน โครงการ และกิจกรรม การจัดการศึกษานอก
ระบบและการศึกษาตามอัธยาศยั ใหก้ บั คนพิการ
2. ใหค้ วามรู้ ความเขา้ ใจ และแนวทางการจัดกจิ กรรมการเรียนร้สู ําหรับคนพกิ าร
3. มสี ่วนรว่ มจดั ทาํ แผนและกิจกรรมการเรยี นรกู้ ับครผู สู้ อนคนพกิ ารและภาคีเครือข่าย
4. ใหค้ ําปรึกษาแนะนําในการจัดกิจกรรมการเรยี นรู้
5. มสี ่วนรว่ มนเิ ทศตดิ ตามประเมินผลการจัดกจิ กรรมการเรยี นรู้
6. เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ผลการดําเนินงานสู่สาธารณชน

คมู่ อื ในการปฏิบัตงิ านสาํ หรับครผู ูส้ อนคนพกิ าร  35 

บทที่ 4
วธิ ีการดาํ เนนิ งานของครูผู้สอนคนพกิ าร

ตามพระราชบญั ญตั กิ ารจัดการศึกษาสําหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 มาตรา 8 ให้สถานศึกษาใน
ทุกสังกัดจัดทําแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล โดยให้สอดคล้องกับความต้องการจําเป็นพิเศษของ
คนพิการและต้องมีการปรับปรุงแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ประกาศ หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ระดับ
การศกึ ษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2552 ขน้ึ ดังนั้นครผู ู้สอนคนพิการในสังกัดของ กศน. จะต้องให้ความสําคัญใน
การจดั ทาํ แผนการศึกษาเฉพาะบุคคล เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดทําแผนการเรียนรู้ให้กับคนพิการ และจัด
กจิ กรรมการเรยี นรู้ตามแผนที่ได้จัดทาํ ขน้ึ สาํ หรบั ผู้เรยี นทีค่ รูรับผิดชอบ รายละเอยี ด เอกสารภาคผนวก ฌ

แผนการจดั การศึกษาเฉพาะบคุ คล
องคป์ ระกอบของแผนการจัดการศกึ ษาเฉพาะบคุ คล ประกอบดว้ ยข้อมลู ดังต่อไปน้ี
1. ขอ้ มลู ท่วั ไป เช่น วัน เดือน ปเี กิด ประเภทความพกิ าร ชื่อตัว ช่ือสกุล และ

ที่อย่ขู องผูเ้ รียน บิดา มารดา ผู้ปกครอง เป็นต้น
2. ข้อมูลดา้ นการแพทย์ หรือด้านสุขภาพ
3. ขอ้ มลู ด้านการศึกษา
4. การกําหนดแนวทางการศึกษาและการวางแผนการจัดการศึกษาพิเศษ วิเคราะห์

ความสามารถของนักเรียนในปัจจุบัน ระบุว่านักเรียนมีความรู้ความสามารถในระดับใด ซ่ึงจะได้จาก
การทดสอบดา้ นต่างๆ ทสี่ าํ คญั ๆ อาทิเช่น ความสามารถพ้นื ฐานทางพฒั นาการด้านต่างๆ

5. ความต้องการด้านสิ่งอํานวยความสะดวก เทคโนโลยีสิ่งอํานวยความสะดวก สื่อ บริการ
และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ท่ีนักเรียนจะได้รับจากสถานศึกษาท่ีเป็นบริการทางการศึกษา
และบริการเสริมต่างๆที่เก่ียวข้องตามความต้องการจําเป็นของแต่ละคน อาทิ ส่ือ สิ่งอํานวย
ความสะดวก บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ยกตัวอย่างเช่น บริการทางด้านวจี
บําบัด การแก้ไขการพูด กายภาพบําบัด พฤติกรรมบําบัด ดนตรีบําบัด บริการอ่านหนังสือให้ฟัง บริการ
รถเข็น บรกิ ารรถรับสง่ บริการสอนเสริม บริการครพู ีเ่ ลีย้ ง เปน็ ต้น

6. คณะกรรมการจัดทาํ แผน ในการจดั ทาํ แผนการจัดการศกึ ษาเฉพาะบคุ คล ให้
สถานศึกษาแต่งต้ังคณะกรรมแต่สําหรับผู้เรียนละคนโดยมีกรรมการไม่น้อยกว่า 3 คน ซ่ึงประกอบด้วย
1) ผู้บรหิ ารสถานศึกษาหรือผู้แทน 2) ผู้ดแู ลคนพิการคนพิการ 3) ครูผู้สอนคนพิการ หรือครูแนะแนว
หรือครูการศึกษาพิเศษ หรือครูที่รับผิดชอบงานด้านการศึกษาพิเศษท่ีผู้บริหารสถานศึกษามอบหมาย
เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้คณะกรรมการจัดทําแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ประชุมเพ่ือ
จัดทําแผน แล้วนําแผนไปสู่การปฏิบัติ กํากับ ติดตามผลการดําเนินงานตามแผน รวมทั้งจัดประชุมเพ่ือ
ประเมิน ทบทวน และปรบั แผน พรอ้ มจดั ทาํ รายงานผลปลี ะ 2 คร้ัง

คูม่ อื ในการปฏิบัตงิ านสําหรบั ครผู สู้ อนคนพกิ าร  36 

7. ความเห็นของ ผูด้ แู ลคนพกิ าร หรือผู้เรียน
8. ข้อมูลอื่นๆ ท่ีจําเป็น เช่น ข้อมูลเก่ียวกับครอบครัว การสังคม การฟื้นฟู
การบําบัดรักษา ความสามารถพื้นฐานทางพัฒนาการของผู้เรียนในแต่ละด้าน เช่น ทักษะความ
สนใจ ทักษะความตั้งใจ ทักษะทางสังคม ทักษะทางภาษาและการพูด ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
ทักษะทางพฤติกรรมและอารมณ์ ทักษะการเคล่ือนไหวและการทรงตัว ทักษะการเตรียมความพร้อม
ทางวิชาการ ความสามารถทางวิชาการหรือการเรียนรู้ (สาระและมาตรฐานทางการเรียนรู้ วุฒิภาวะ
ทางอารมณ์ / ทางสังคม ความสามารถทางการเคลื่อนไหว พฤติกรรมท่ีแสดงออก ประสาท
สัมผัส ความถนัด/ความสามารถเป็นกรณีพิเศษ จุดเด่นและจุดด้อย ความสามารถพ้ืนฐานทาง
การอาชีพ เปน็ ตน้

กระบวนการจดั ทาํ แผนจดั ทาํ แผนการจดั การศกึ ษาเฉพาะบุคคล

1. แผนการจดั การศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP :INDIVIDUALIZED EDUCATION PROGRAM )
แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล หมายความว่า แผนซึ่งกําหนดแนวทางการจัดการศึกษา

ท่สี อดคล้องกับความตอ้ งการจาํ เป็นพเิ ศษของคนพกิ าร ตลอดจนกําหนดเทคโนโลยี สง่ิ อํานวยความสะดวก
ส่อื บรกิ าร และความช่วยเหลืออน่ื ใดทางการศึกษาเฉพาะบคุ คล

ดังนัน้ แผนการจดั การศกึ ษาเฉพาะบุคคลเป็นแผนการจดั การศกึ ษาเฉพาะบุคคลท่ีเขียนขึ้นเป็น
ลายลักษณ์อักษรสําหรับผู้เรียนคนพิการแต่ละคน โดยมีคณะกรรมการจัดทํา IEP ของผู้เรียนแต่ละบุคคล
ร่วมกันจัดทําขึ้น คณะกรรมการจัดทําแผน (IEP) ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนคนพิการ
ผู้เรียนคนพิการ หรือผู้ดูแลคนพิการ และแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ยังเป็นเครื่องมือในการ
ตรวจสอบกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนคนพิการ และเป็นแผนกําหนดแนวทางการจัดการศึกษาที่
สอดคล้องกับความจําเป็นพิเศษ ( Special Needs) ของผู้เรียนคนพิการ แต่ละบุคคลรวมถึงการกําหนด
ส่ิงอํานวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา สําหรับผู้เรียนคนพิการเฉพาะ
บุคคล

ทําไมตอ้ งจดั ทาํ IEP
เหตผุ ลสําคญั ท่ีต้องจัดทาํ IEP กค็ ือ
1. ผู้เรียนที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษ มีทักษะและความสามารถแตกต่างกัน การทจี่ ะ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียน เรียนรู้พร้อมไปในเวลาเดียวกันทีละหลายๆ คน อาจจะเกิดปัญหาและไม่
สอดคล้องกบั ความตอ้ งการจาํ เป็นและความสามารถของผเู้ รียนแตล่ ะคน
2. พัฒนาการทางการเรียนรู้และความก้าวหน้าของผู้เรียนแต่ละคนควรเปรียบเทียบกับ
ตวั ผู้เรียนเอง มใิ ช่เปรียบเทียบกับผู้อื่น
3. การจัดประสบการณ์และกิจกรรมทางการศึกษาให้แก่ผู้เรียนที่มีความต้องการจําเป็น
พิเศษจะต้องสอดคลอ้ งกบั ความต้องการจาํ เปน็ และความสามารถของผู้เรยี นแต่ละคน

คูม่ อื ในการปฏิบตั งิ านสําหรับครผู สู้ อนคนพกิ าร    37 

4. กฏกระทรวง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้คนพิการได้รับสิ่งอํานวยความ
สะดวก ส่ือ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา พุทธศักราช 2545 กําหนดให้มีการจัดทํา
IEP แก่คนพกิ ารทีม่ ีความตอ้ งการจําเป็นพเิ ศษ

5. เพื่อประกันว่าได้มีการจัดบริการทางการศึกษาเป็นพิเศษ และจัดบริการอื่นที่เกี่ยวข้อง
ตามที่ระบุไวใ้ น IEP จริง

6. เพื่อเป็นแนวทางในการดําเนินการตรวจสอบ ควบคุม และ ติดตามผลการให้บริการแก่
ผูเ้ รยี นที่มีความตอ้ งการจําเป็นพิเศษ

IEP มปี ระโยชนต์ ่อครผู ู้สอนคนพิการ
1. ครผู ูส้ อนคนพิการใช้ IEP เป็นแนวทางในการจดั ทาํ แผนการสอนรายบุคคล
2. ครูผู้สอนคนพิการใช้ IEP เป็นแนวทางในการฝึกพัฒนาการและติดตามการพัฒนา
ทางการเรียนรขู้ องผูเ้ รียน
3. ครผู ้สู อนคนพกิ ารใช้ IEPเปน็ แนวทางในการรายงานผลการเรียนรู้หรือแจ้งความก้าวหน้า
ในการเรียนรขู้ องผ้เู รียนแกผ่ ้ดู ูแลคนพิการคนพิการและผู้ที่เกี่ยวข้อง
4. ครูผู้สอนคนพิการใช้ IEPเป็นแนวทางในการเลือกสื่อในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
การวัดผลประเมนิ ผลผู้เรยี น

IEP มี ประโยชนต์ ่อผู้ดแู ลคนพิการคนพกิ ารและผู้ทเี่ กี่ยวขอ้ ง
1. ช่วยให้ผู้ดูแลคนพิการและผู้ที่เก่ียวข้อง ทราบว่าจะติดต่อกับครูคนพิการคนใดเม่ือ

ตอ้ งการพดู คยุ เกย่ี วกบั ปัญหาของผู้เรียน
2. ช่วยให้ผู้ดูแลคนพิการและผู้ท่ีเกี่ยวข้อง ทราบว่าผู้เรียนจะต้องเรียนรู้อะไร อย่างไรที่

บ้าน ที่สถานศึกษา และสถานศึกษามีส่ือ สิ่งอํานวยความสะดวก บริการ และความช่วยเหลืออ่ืนใดทาง
การศึกษาอะไรบ้าง

3. ช่วยให้ผู้ดูแลคนพิการและผู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถตั้งความหวังเกี่ยวกับการเรียนรู้และ
คาดหวังผล การเรยี นร้ขู องผู้เรยี นไดอ้ ยา่ งเหมาะสม

4. ทําให้ผู้ดูแลคนพิการและผู้ที่เก่ียวข้อง ให้ข้อมูลเก่ียวกับผู้เรียนแก่ครูผู้สอนคนพิการได้
อยา่ งถกู ตอ้ ง

5. ทําใหผ้ ูด้ แู ลคนพิการและผทู้ ่เี ก่ียวขอ้ ง ทราบว่าควรจะฝึกผู้เรียนท่บี ้านอย่างไร
6. ทาํ ให้ผู้ดูแลคนพกิ ารและผูท้ ่ีเกี่ยวข้อง ทราบความก้าวหน้าและพัฒนาการของผู้เรียนและ
สามารถนํามาวางแผนในการพฒั นาคุณภาพชวี ติ ไดอ้ ยา่ งมีเปา้ หมาย

ประโยชน์ตอ่ ผ้เู รยี น
1. ผู้เรียนได้รับการช่วยเหลือในการจัดการศึกษาท่ีสอดคล้องกับความต้องการและ

ความสามารถ

คู่มอื ในการปฏบิ ตั งิ านสาํ หรับครผู สู้ อนคนพกิ าร    38 

2. ผู้เรยี นไดม้ สี ว่ นรว่ มในการกําหนดและการวางแผนพฒั นาคณุ ภาพชวี ติ
3. ผ้เู รียนได้ทราบทศิ ทาง เป้าหมายทางการเรียนรขู้ องตน

ประโยชน์ตอ่ สถานศึกษา
1. สถานศึกษาสามารถทราบระดับและศักยภาพของคนพกิ ารแต่ละบุคคล
2. สถานศึกษาสามารถวางแผนจัดบริการทางการศึกษา ตลอดจนจัดหาสื่อ สิ่งอํานวย
ความสะดวกและบรกิ ารที่เก่ยี วข้องทสี่ อดคล้องกับความต้องการจาํ เปน็ คนพเิ ศษ
3. สถานศึกษาสามารถทราบทิศทางการจัดการ การประสาน การส่งต่อกับบุคลกรทุกฝ่าย
ทเ่ี กยี่ วข้อง
4. สถานศึกษาสามารถทราบพัฒนาการและความก้าวหน้าของผู้เรียน และสามารถสรุป
ประเมนิ ผลการจัดทํา IEP ในแต่ละปีเพ่ือนํามาปรับปรุงเปล่ียนแปลงให้เหมาะสมกับผู้เรียนและนําสง่ ต่อใน
ปถี ัดไป

ขัน้ ตอนในการจัดทาํ IEP คอื
1. ขั้นเตรียมการ แจ้งให้ผู้ดูแลคนพิการทราบ เกยี่ วกับความสําคัญของการจัดทํา IEP และ

ขออนุญาตผู้ดูแลคนพิการหรือผู้ท่ีเก่ียวข้องเพื่อนําผู้เรียนมาทดสอบประเมินความสามารถพ้ืนฐาน เพ่ือ
คน้ หาความสามารถและจุดบกพร่องของผ้เู รียน

2. ข้ันประชุมจัดทําแผน ประชุมคณะบุคคลท่ีเกี่ยวข้องเพื่อจัดทํา IEP เรียกว่า
คณะกรรมการจัดทํา IEP ประกอบด้วย หัวหน้าสถานศึกษา ครูผู้สอนคนพิการ ผู้ดูแลคนพิการ
ผทู้ ่เี ก่ียวข้องและผู้เรียน โดยที่คณะกรรมการสามารถยืดหยุ่นได้ตามความจําเป็นของบุคลากรที่เก่ียวข้อง
กบั ผเู้ รียนของสถานศึกษานัน้ ๆ

3. ข้ันใช้แผน IEP ซึ่งรวมถึงการจัดทําแผนการสอนรายบุคคล ( IIP ) ด้วย ติดตามและ
ประเมินผลตามที่กําหนดใน IEP เพ่ือหาความก้าวหน้าของผู้เรียนอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 คร้ัง หรือตาม
ความเหมาะสม

4. ข้ันสรุปประเมินผลการจัดทํา IEP ทั้งหมด เพ่ือส่งต่อและให้ข้อเสนอแนะการจัดทํา IEP
ใหม่ของปถี ัดไป
2. กระบวนการจัดทําแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล อย่างน้อยต้องประกอบด้วย

2.1 จดั ประเมนิ ระดบั ความสามารถและความต้องการจําเป็นพิเศษของผู้เรยี นเป็นรายบุคคล
2.2 กําหนดเป้าหมายระยะยาว 1 ปี เปา้ หมายระยะส้นั หรือจดุ ประสงคเ์ ชิงพฤตกิ รรม

1) การกําหนดเป้าหมายระยะยาว 1 ปี คณะกรรมการท่ีจัดทํา IEP ต้องการให้
ผู้เรียนมีทักษะ มีความสามารถ มีพัฒนาการเพ่ิมข้ึนจากเดิมเท่าใด เช่น ผู้เรียนจะสามารถช่วยเหลือ
ตนเองได้ ผู้เรียนจะสามารถนับเลขได้ 1-1000 ผู้เรียนจะสามารถอ่านหนังสือแบบเรียนภาษาไทยระดับ
ประถมศึกษาได้ เป็นต้น ในการกําหนดเป้าหมายระยะยาวจะต้องสอดคล้องกบั ระดับความสามารถของ

คู่มอื ในการปฏบิ ตั งิ านสาํ หรับครผู สู้ อนคนพกิ าร    39 

ผู้เรียน จุดมุ่งหมายไม่ควรกําหนดสูงเกินไปเพราะจะทําให้ผู้เรียนไม่บรรลุเป้าหมาย หรือต่ําเกินไปจะทํา

ให้ผูเ้ รยี นเบอ่ื หน่ายไมส่ นใจ

2) การกําหนดเป้าหมายระยะส้ัน โดยปกติกําหนดไว้ 1 ภาคเรียน แตถ่ ้ากําหนดเป็น

สัปดาห์ หรือ เดือนก็ได้ ขึ้นอยู่กับความคาดหวังตามศักยภาพ (ความสามารถพื้นฐาน) ของผู้เรียนกับ

ความนา่ จะเปน็ ท่ีผเู้ รยี นจะบรรลเุ ป้าหมายเร็วเพียงใด

3) ในการกําหนดเป้าหมายระยะส้ันจะต้องยึดเป้าหมายระยะยาวเป็นหลัก

เช่น เป้าหมายระยะยาวกําหนดว่า ผู้เรียนสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ในเป้าหมายระยะสั้น ต้องกําหนด

ว่า การท่ีผู้เรียนช่วยเหลือตัวเองได้น้ันผู้เรียนจะสามารถทําอะไรได้บ้าง เช่น ผู้เรียนสามารถรับประทาน

อาหาร อาบนํ้า และแต่งตัวเองได้ เปน็ ตน้

2.3 ประเมินความต้องการจําเปน็ ของผเู้ รยี นเป็นรายบุคคล ในด้านส่งิ อํานวย

ความสะดวกเทคโนโลยีสง่ิ อาํ นวยความสะดวก สอื่ บรกิ ารและความชว่ ยเหลืออ่ืนใดทางการศกึ ษา

2.4 กําหนดกระบวนการเรยี นรูแ้ ละปัจจัยทม่ี คี วามต้องการจําเปน็ ทางการศกึ ษา

2.5 กาํ หนดรูปแบบ หลกั เกณฑ์และวธิ กี ารประเมนิ ผลการเรยี นรู้ของผเู้ รยี น เกณฑ์การวัดผล

และประเมินผล ควรมีการวัดผลอย่างน้อยปีละ 1- 2 ครั้ง หรอื ภาคเรียนละ 1 ครั้ง หรือมากกว่าน้ัน

ตามที่กําหนดว่าเหมาะสมกับผู้เรียนโดยมีจุดมุ่งหมายที่สําคัญของการประเมินผลคือเพ่ือตรวจสอบว่า

นักเรียนสามารถเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้หรือไม่หรือมีความก้าวหน้าไปมากน้อยเพียงใด โดย

แบบทดสอบอาจใช้แบบทดสอบมาตรฐานของเด็ก (พิเศษ) หรือแบบทดสอบท่ีครูผู้สอนคนพิการสร้างข้ึน

สิ่งสาํ คัญต้องกําหนดว่าใช้เกณฑ์อย่างไรในการตัดสิน หรือวัดความก้าวหน้า ซึ่งจะต้องกําหนดไวค้ วบคู่กับ

วธิ ีวัดผล ยกตัวอยา่ งเชน่

วธิ วี ดั ผล เกณฑ์

1. แบบทดสอบทค่ี รูผู้สอนคนพิการสรา้ งขึ้น 1. ผเู้ รยี นตอบข้อทดสอบได้ 50 %
2. ครผู สู้ อนคนพกิ ารสังเกตพฤตกิ รรมผเู้ รียน 2. วันละ 10 นาทเี ปน็ เวลา 5 วนั
3. การนับของครูผู้สอนคนพกิ าร 3. ผเู้ รยี นรบั บอลได้ 5 ครงั้
4. ครผู สู้ อนคนพกิ ารต้งั ถาม 4. ผเู้ รียนตอบได้ 60%

การวัดผล จะช่วยให้ครูผู้สอนคนพิการได้ทราบความกา้ วหน้าของผเู้ รยี นในดา้ นการเรียนรู้

ผลการประเมนิ ช่วยใหค้ รผู สู้ อนคนพิการรว่ มกับผดู้ ูแลคนพกิ าร ผปู้ กครอง ผทู้ เ่ี กีย่ วข้อง
และสถานศกึ ษาสามารถปรับปรงุ หรือกําหนดแผนการจัดการศกึ ษาเฉพาะบุคคลใหม่ ได้อย่างเหมาะสม

ในการส่งต่อผู้เรียนท่ีจบการศึกษาแต่ละระดับ หรือย้ายสถานศึกษาให้สถานศึกษานําส่ง
แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล รายงานผลการประเมิน การดําเนินการตามแผน แฟ้มประวัติและแฟ้ม
สะสมผลการเรยี นของผเู้ รยี น เพือ่ เปน็ ขอ้ มูลในการจัดการศึกษาต่อไป

คูม่ ือในการปฏบิ ตั ิงานสําหรบั ครูผสู้ อนคนพกิ าร    40 

สง่ิ ควรทราบ
1. IEP ไม่ใช่ประวตั ิผ้เู รยี น แตม่ ีประวัติพัฒนาการของผู้เรียนอย่ใู น IEP
2. IEP ไม่ใช่แบบวัดผลประเมินผล แต่มีเกณฑ์และวิธีของการวัดผลประเมินผล อย่ใู น
IEP
3. IEP ไม่ใช่หลักสูตรแกนกลาง แต่มีสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร
บางสว่ นทผี่ ู้เรียนต้องเรียนรอู้ ย่ใู น IEP
4. IEP ไม่ใช่แผนการสอนรายบุคคล แต่การจัดทําแผนการสอนรายบุคคลต้องยึด IEP
เป็นหลกั
5. IEP ไม่ใช่สื่อ สิ่งอํานวยความสะดวก บริการและความช่วยเหลืออ่ืนใดทางการ
ศกี ษา แต่มีบางสว่ นของส่ิงเหลา่ นีก้ ําหนดไวใ้ น IEP

แผนการจัดการเรียนร้เู ฉพาะบคุ คล (Individual Implementation Plan : IIP)
แผนการจัดการเรียนรู้เฉพาะบุคคล (Individual Implementation Plan : IIP)

หมายถึง แผนการการจัดการเรียนรู้ท่ีจัดทําขึ้นเฉพาะบุคคลสําหรับผู้เรียน เพ่ือให้ผู้เรียนบรรลุ จุดประสงค์
และเป้าหมายที่กาํ หนดไว้ในแผนการจัดการศกึ ษาเฉพาะบคุ คล (IEP)

กระบวนการจดั ทาํ IIP
1. กําหนดทักษะท่ีจะสอนโดยการตรวจสอบ : จัดการเรียนรู้อะไร
2. กําหนดองค์ประกอบและสถานการณ์ที่จะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ : จัดการเรียนรู้
อยา่ งไร
3. วางแผนการจดั กจิ กรรมการเรียนรู้ : จดั ทํา IIP
4. เริ่มต้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ : จัดกิจกรรมการเรียนรู้ – ทดสอบ – จัดกิจกรรม
การเรียนรู้
ส่วนประกอบของ IIP
1. ชอื่ ผู้เรียน
2. กลุ่มสาระการเรียนรู้/ทักษะ สาระท่ีจะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน เพียง
1 เรือ่ ง/ทักษะ
3. จํานวนชัว่ โมง
4. ครั้งที่ / วนั ทีเ่ รม่ิ จดั กิจกรรมการเรียนรู้
5. เนอื้ หา
6. จดุ ประสงคเ์ ชงิ พฤตกิ รรม
ลาํ ดบั ข้นั ของทักษะหรอื จดุ ประสงคย์ ่อย ๆ ทีต่ ้องการให้ผเู้ รียนรู้ทจ่ี ะนาํ ไปสูจ่ ดุ ประสงค์
เชิงพฤติกรรมและเป้าหมายระยะยาวท่รี ะบไุ ว้ใน IEP
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้

คู่มอื ในการปฏบิ ัตงิ านสาํ หรบั ครผู ้สู อนคนพกิ าร    41 

ขน้ั นําเข้าสู่บทเรยี น
- เพอ่ื เตรยี มความพรอ้ มของผเู้ รยี น
- เพื่อกระตุ้นความสนใจของผเู้ รียน
- เพื่อใหผ้ ูเ้ รยี นคาดเดากิจกรรมทจ่ี ะทาํ
ขัน้ จดั กจิ กรรมการเรยี นรู้
- อธบิ าย แสดง สาธติ
- สอบถามความเขา้ ใจ
- ฝกึ ปฏิบัตโิ ดยลงมอื ปฏบิ ัติพรอ้ มกนั และ ปฏบิ ัตดิ ้วยตนเอง
ข้ันสรุปและประเมินผล
- ตรวจผลงาน/การปฏบิ ตั ิงาน
- ทบทวนบทเรยี นร่วมกนั
- สอบถามความเขา้ ใจ
8. ส่ือการจดั การเรียนรู้
วิธีการดําเนินการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และสื่อประกอบการจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้ เพือ่ ใหเ้ กดิ การเรียนร้อู ยา่ งเตม็ ศักยภาพตรงตามจุดประสงค์เชงิ พฤติกรรมที่ระบุไว้ใน IIP
9. ส่ิงเสริมแรงทีใ่ ช้
ส่ิงเสริมแรงและเง่ือนไขการเสริมแรงที่เหมาะกับผู้เรียนเป็นเฉพาะบุคคล เข่นชมเชย
รางวัลหรือการคาดโทษ
10. การประเมินผล
ส่ิงที่กําหนดว่าผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ตามศักยภาพ และเป็นวิธีการที่สามารถวัดได้
ไดแ้ ก่
1) วธิ วี ัด และประเมินผล
2) เคร่ืองมอื วัด และประเมินผล
3) เกณฑก์ ารวดั และประเมนิ ผล
11. ขอ้ เสนอแนะ
12. ความคดิ เหน็ /ขอ้ เสนอแนะ ของหวั หน้าสถานศกึ ษาหรือผ้ทู ีไ่ ด้รบั มอบหมาย

สิ่งท่คี วรปฏิบัติหลังจากการจัดกจิ กรรมการเรยี นรู้
บันทกึ ผลหลังการจดั กจิ กรรมการเรยี นรู้
ประเมนิ ผลสัมฤทธ์ิของการดาํ เนินการตาม IEP
นําผลการประเมินมาประกอบการพิจารณากําหนด จุดมุ่งหมายใหม่ ปรับวธิ ีการ

จดั กิจกรรมการเรียนรูใ้ ห้สอดคล้องกับความรู้ ความสามารถและศักยภาพของแตล่ ะบคุ คล

คมู่ อื ในการปฏบิ ัติงานสําหรับครผู ูส้ อนคนพกิ าร    42 

บทท่ี 5

การวดั ผลและประเมินผลและการรายงานผล

การวัดและประเมนิ ผล
การจัดการศึกษาสําหรับคนพิการสถานศึกษาสามารถปรับมาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตร

การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพ้ืนฐานพุทธศักราช 2551 ได้ตามความเหมาะสม และระเบียบ
คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสําหรับคนพิการ ว่าด้วยการจัดการศึกษาข้ันพ้ืนฐานสําหรับ
คนพิการ พ.ศ.2552

ข้อ 6 เพ่ือประโยชน์ในการจัดการศึกษาข้ันพื้นฐานสําหรับคนพิการให้สถานศึกษาซ่ึงได้รับ
คนพกิ ารเขา้ ศกึ ษา มกี ารดําเนนิ การในเร่อื งดงั ต่อไปนี้

1) จัดระบบหรือรูปแบบท่ีสนับสนุนการเรียนการสอนโดยคํานึงถึงความสามารถ
ความสนใจ ความถนัด และความจําเปน็ พิเศษตามประเภทของคนพกิ าร

2) จัดสภาพแวดล้อม ระบบสนับสนุนการเรียนการสอน ตลอดจนบริการสิ่งอํานวยความ
สะดวก เทคโนโลยีสิ่งอํานวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออ่ืนใดทางการศึกษาท่ี
คนพิการสามารถเขา้ ถงึ ได้และใช้ประโยชนไ์ ด้

ข้อ 7 ในการจัดทําหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ การทดสอบทางการศึกษา การวัดและ
ประเมินผลการศึกษาให้สถานศึกษาและส่วนราชการที่รับผิดชอบดําเนินการให้สอดคล้องกับสภาพ
ความต้องการจําเป็นพิเศษของคนพิการแต่ละประเภท ตามรูปแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการที่สถานศึกษา
เหน็ สมควร

กระบวนการวัดและประเมนิ ผลสําหรับคนพกิ าร
การวดั และประเมนิ ผลสาํ หรบั ผเู้ รยี นใหค้ รผู สู้ อนคนพกิ าร ดําเนินการประเมนิ ผล ดังน้ี
1. การประเมินก่อนเรียนให้ดาํ เนนิ การรวบรวมขอ้ มูลพ้นื ฐานในทักษะด้านต่าง ๆ ของผู้เรยี น

และดําเนินการประเมินเพอ่ื เปน็ ขอ้ มลู ในการจดั ทําแผนการจัดการศกึ ษาเฉพาะบคุ คล (IEP)
2. การประเมนิ ผลระหว่างเรียนเป็นการประเมนิ ผลเพ่ือติดตามความก้าวหน้าและนาํ ขอ้ มูลมา

พจิ ารณาปรับปรุงแผนการจดั การเรยี นรเู้ ฉพาะบคุ ลคล ( IIP )
3. การประเมินผลหลงั เรยี นเป็นการประเมนิ ทกั ษะเพื่อดคู วามกา้ วหน้าของพัฒนาการใน

ลักษณะสรุปรวมเม่อื สิ้นสดุ ภาคเรยี นเพ่อื นาํ ไปกาํ หนดจดุ มุ่งหมายใน IEP ใหม่

หลกั ในการวัดและประเมินผลสําหรบั คนพิการ มีดังน้ี
1. ประเมนิ ผลทงั้ 3 ระยะตลอดหลกั สูตร
2. บนั ทกึ ผลการจัดประสบการณต์ ามแผนการจดั กจิ กรรมการเรียนรเู้ ฉพาะบคุ คลอยา่ งตอ่ เน่อื ง

คู่มอื ในการปฏิบตั งิ านสําหรับครผู สู้ อนคนพกิ าร  43 

3. ใชว้ ธิ กี ารประเมินตามสภาพจริง ได้แก่ การสังเกต การสนทนา การสมั ภาษณแ์ ละตรวจ
ผลงานของผู้เรยี นแตล่ ะบคุ คล

แนวทางการประเมนิ ผลผ้เู รยี นแต่ละประเภทความพกิ าร สามารถดําเนินการได้ ดงั น้ี
1. การประเมนิ ผลบุคคลท่ีมคี วามบกพรอ่ งทางการเหน็
บุคคลท่ีมีความบกพร่องทางการเห็น ควรได้รับการประเมินผลการเรียนทั้งด้านความรู้ ทักษะ

และเจตคติ เช่นเดียวกับคนปกติท่ัวไป แต่อาจต้องการแบบจัดหรือข้อสอบที่แตกต่างจากคนปกติอยู่บ้าง
เช่นใช้อักษรตัวพิมพ์ขยายหากเห็นเลือนราง หรือตาบอดก็อาจใช้อักษรเบลล์ หรือฟังแถบบันทึกเสียง ผู้ท่ี
ทําการประเมินต้องคํานึงถึงศักยภาพเป็นรายบุคคล ตลอดถึงต้องยืดหยุ่นเร่ืองเวลาในการทําข้อสอบให้
มากกว่าคนปกติ 20%

2. การประเมนิ ผลบคุ คลทมี่ คี วามบกพรอ่ งทางการไดย้ นิ
บุคคลท่ีมีความบกพร่องทางการได้ยินควรได้รับการประเมินผล ให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายท่ี

กําหนดไว้ในแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล ของผู้เรียนแต่ละคนอย่างน้อยภาคเรียนละหนึ่งครั้ง วิธีจัดและ
ประเมินผลก็ทําเช่นเดียวกันกับการประเมินผลปกติ คือใช้แบบทดสอบ การสังเกตการสนทนา การลงมือ
ปฏบิ ัติตามคําสง่ั

3. การประเมนิ ผลบุคคลท่ีมคี วามบกพร่องทางสตปิ ญั ญา
บุคคลท่ีมีความบกพร่องทางสติปัญญาควรได้รับการประเมิน โดยการสังเกตพฤติกรรม การเข้า

ร่วมกิจกรรมและการปฏิบัติกิจกรรมอย่างน้อย 2 ทกั ษะจาก 10 ทักษะได้แก่ การสื่อความหมาย การดูแล
ตนเอง การดํารงชีวิตภายในบ้าน ทักษะทางสังคม/การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การรู้จักใช้ทรัพยากร ใน
ชุมชน การรู้จักดูแลควบคุมตนเอง การนําความรู้มาใช้ในชีวิตประจําวัน การทํางาน การใช้เวลาว่าง การ
รกั ษาสขุ ภาพอนามยั และความปลอดภยั

4. การประเมนิ ผลบุคคลทมี่ คี วามบกพร่องทางดา้ นร่างกาย หรือการเคล่อื นไหวหรือสขุ ภาพ
บุคคลท่ีมีความบกพร่องทางด้านร่างกาย หรือการเคล่ือนไหวหรือสุขภาพ ควรได้รับการ

ประเมินผล ให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายท่ีกําหนดไว้ในแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล ของผู้เรียนแต่ละคนอย่าง
น้อยภาคเรียนละหนึ่งคร้ัง วิธีจัดและประเมินผลก็ทําเช่นเดียวกันกับการประเมินผลปกติ คือใช้
แบบทดสอบ การสังเกตการสนทนา การลงมือปฏบิ ตั ิตามคาํ ส่งั

5. การประเมนิ ผลบคุ คลท่มี คี วามบกพร่องทางการเรียนรู้
บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรยี นรู้ ควรได้รับการประเมินในด้านการอ่าน การเขียน การ

คิดคํานวณให้เป็นไปตามขั้นตอนและตามเกณฑ์ท่ีได้กําหนดไว้ในแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล มีการ
ประเมินผลระยะสัน้ ทกุ ภาคเรยี น และมกี ารประเมนิ ผลระยะยาวอยา่ งนอ้ ยปีละ 1 ครัง้

คมู่ ือในการปฏบิ ตั งิ านสําหรับครูผสู้ อนคนพกิ าร   44 

6. การประเมินผลบุคคลทม่ี คี วามบกพร่องทางการพดู และภาษา
บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษาควรได้รับการประเมินในด้านการอ่าน ความ

เข้าใจในการใช้ภาษาพูด การเขียนหรือระบบสัญลักษณ์ท่ีใช้ในการติดต่อส่ือสารให้เป็นไปตามข้ันตอนและ
ตามเกณฑ์ท่ีได้กําหนดไว้ในแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล มีการประเมินผลระยะส้ันทุกภาคเรียน และมีการ
ประเมนิ ผลระยะยาวอย่างน้อยปีละ 1 ครัง้

7. การประเมนิ ผลบคุ คลทีม่ คี วามบกพรอ่ งทางพฤติกรรม หรอื อารมณ์
บุคคลที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม หรืออารมณ์ควรได้รับการประเมินให้เป็นไปตามขั้นตอน

และตามเกณฑ์ท่ีได้กําหนดไว้ในแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล มีการประเมินผลระยะสั้นทุกภาคเรียน และมี
การประเมินผลระยะยาวอยา่ งน้อยปีละ 1 ครั้ง

8. การประเมินผลบคุ คลออทิสตกิ
บุคคลออทิสติกควรได้รับการประเมินให้เป็นไปตามขั้นตอนและตามเกณฑ์ท่ีได้กําหนดไว้ใน

แผนการศึกษาเฉพาะบุคคล มีการประเมินผลระยะส้ันทุกภาคเรียน และมีการประเมินผลระยะยาวอย่าง
นอ้ ยปีละ 1 ครัง้

9. การประเมนิ ผลบุคคลพิการซ้อน
บุคคลพิการซ้อนควรได้รับการประเมินให้เป็นไปตามข้ันตอนและตามเกณฑ์ที่ได้กําหนดไว้ใน

แผนการศึกษาเฉพาะบุคคล มีการประเมินผลระยะส้ันทุกภาคเรียน และมีการประเมินผลระยะยาวอย่าง
นอ้ ยปีละ 1 คร้ัง

ดังนั้นการจัดทําหลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การทดสอบทางการศึกษา การวัดและ
ประเมนิ ผลการศกึ ษาใหส้ ถานศึกษาดาํ เนินการให้สอดคล้องกบั สภาพความต้องการจําเป็นพิเศษของ คน
พิการแต่ละประเภท ตามรูปแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการที่สถานศึกษาเห็นสมควร ตามกรอบการวัดและ
ประเมินผลการเรยี นตามหลกั สตู รการศกึ ษานอกระบบระดับการศึกษาขัน้ พ้ืนฐาน พทุ ธศกั ราช 2551

การรายงานผล
ตามระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสําหรับคนพิการ ว่าด้วยการจัดการศึกษาข้ัน

พื้นฐานสําหรับคนพิการ พ.ศ.2552 ข้อ 10 ให้ส่วนราชการต้นสังกัดของสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้น
พน้ื ฐานสาํ หรับคนพกิ าร รายงานผลการดาํ เนนิ งานในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ตอ่ คณะกรรมการอย่างน้อย
ปีละหนึ่งคร้ัง และรายงานผลการดําเนินงานต่อสํานักงาน กศน. ตามแบบ สส.จ. 1 ในระบบ EIS
รายละเอียด เอกสารภาคผนวก ข

คมู่ อื ในการปฏบิ ัติงานสาํ หรบั ครผู สู้ อนคนพกิ าร   45 


Click to View FlipBook Version