The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือการจ่ายค่าตอบแทนผู้เสียหาย กรณีประสบภัยจากรถ (จราจร)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by yala, 2022-04-11 11:14:56

คู่มือการจ่ายค่าตอบแทนผู้เสียหาย กรณีประสบภัยจากรถ (จราจร)

คู่มือการจ่ายค่าตอบแทนผู้เสียหาย กรณีประสบภัยจากรถ (จราจร)



คำนำ

กระทรวงยุติธรรม โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ มีภารกิจที่สำคัญประการหนึ่งในการช่วยเหลือ
เยียวยาประชาชนท่ตี กเป็นผู้เสียหายโดยท่ีตนไมม่ ีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดอาญาตามพระราชบัญญัติ
ค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบบั ที่ 2) พ.ศ. 2559

เอกสารฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสำนวนการขอรับค่าตอบแทนผู้เสียหาย
ในคดีอาญา กรณีประสบภยั จากรถ (จราจร) มีความรู้และทักษะในการปฏบิ ัติงานทีถ่ ูกต้องเกี่ยวกับกระบวนการ
ในการจา่ ยคา่ ตอบแทนผู้เสยี หายในคดีอาญา กรณีประสบภัยจากรถ (จราจร) ซงึ่ ไดท้ ำการวิเคราะห์ รวบรวมขอ้ มูล
ตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผูเ้ สียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544 และท่ี
แก้ไขเพิ่มเตมิ (ฉบับท่ี 2) พ.ศ. 2559 พระราชบญั ญัตคิ ุ้มครองผู้ประสบภยั จากรถ พ.ศ.2553 ประกอบแนวทาง
การพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา เล่มที่ 4 (ฉบับแก้ไข
ครั้งที่ 1) ซึ่งประกอบด้วย กระบวนการดำเนินการ ก่อนให้ความช่วยเหลือ การดำเนินการระหว่าง
ให้ความช่วยเหลือ การดำเนินการภายหลังการให้ความช่วยเหลือ การรายงานผล แบบรายงานผลและ
กรณีตวั อยา่ ง เพ่อื ให้การจา่ ยค่าตอบแทนผู้เสยี หายเปน็ ไปดว้ ยความถูกตอ้ ง เทีย่ งธรรมและเป็นมาตรฐานเดยี วกนั

ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เอกสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในการเข้าถึงความช่วยเหลือ
เยียวยาผู้ที่ตกเป็นผู้เสียหายกรณีประสบภัยจากรถ หากมีข้อสงสัยประการใด สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ท่ี
สำนักงานยุติธรรมจังหวัดยะลา ศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ ชั้น 6 ถนนสิโรรส ตำบลสะเตง อำเภอเมือง
จังหวัดยะลา โทร 073 222 624

กลุม่ อำนวยความยตุ ิธรรมและนิตกิ าร
สำนักงานยตุ ธิ รรมจังหวัดยะลา
มีนาคม 2565



สารบญั

คำนำ หนา้

สารบัญ ข

บทที่ 1 บทนำ 1
1.1 ที่มาและความสำคัญของปญั หา 2
1.2 วตั ถปุ ระสงค์ 2
1.3 ประโยชน์ทคี่ าดวา่ จะได้รบั
3
บทที่ 2 เอกสารทเ่ี กยี่ วขอ้ ง 4
2.1 พระราชบัญญัตคิ า่ ตอบแทนผู้เสียหายและคา่ ทดแทนและค่าใชจ้ า่ ยแก่จำเลยในคดีอาญา 6
พ.ศ.2544
2.2 พระราชบัญญัติคมุ้ ครองผปู้ ระสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 9
2.3 สำนักงานยุติธรรมจังหวัดยะลา 10
12
บทท่ี 3 การจา่ ยคา่ ตอบแทน
3.1 การดำเนนิ การก่อนให้ความช่วยเหลือ 17
3.2 การดำเนินการระหวา่ งให้ความชว่ ยเหลือ 20
3.3 การดำเนนิ การหลังให้ความชว่ ยเหลือ 27
35
บทท่ี 4 การรายงานผล
4.1 การดำเนินการกอ่ นให้ความช่วยเหลอื 61
4.2 การดำเนินการระหวา่ งให้ความช่วยเหลอื 62
4.3 การดำเนนิ การหลงั ใหค้ วามชว่ ยเหลอื 63
4.4 กรณตี ัวอย่าง

บทท่ี 5 สรปุ ผล

อา้ งองิ

ภาคผนวก

ประวตั ผิ จู้ ดั ทำ

1

บทท่ี 1
บทนำ

1.1 ทม่ี าและความสำคญั ของปญั หา

เมื่อมีอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถ บุคคลที่ได้รับความเสียหายถึงแก่ชีวิต ร่างกาย หรือจิตใจ
ยอ่ มมสี ิทธิจะไดร้ ับการคมุ้ ครองตามกฎหมายไม่ว่าบคุ คลน้นั จะเป็นใครกต็ าม จะอย่ใู นรถหรือนอกรถ จะเปน็ ผูข้ ับขี่
หรือผ้โู ดยสาร หรือแม้แตค่ นเดินถนน ขอ้ มลู สถิตยิ ้อนหลังจากสถิติศูนย์รับแจ้งเหตุบริษทั กลางค้มุ ครองผปู้ ระสบภัย
จากรถ จำกัดและเครือข่ายรับแจ้งเหตุสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม -
30 มิถุนายน พ.ศ.2563 มีผู้เสียชีวิตสะสม 7,021 ราย บาดเจ็บสะสม 471,212 ราย และสถิติสถานการณ์
อุบัติเหตุทางถนนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน พ.ศ.2564 พบว่ามีผู้เสียชีวิตสะสม 7,448 ราย
บาดเจ็บสะสม 478,495 ราย ซึ่งอบุ ัติเหตุสว่ นใหญ่เกิดจากรถจักรยานยนต์ 80% รถยนต์ 20% และจากสถิติ
อุบัติเหตุสะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 6 มีนาคม 2565 มีผู้เสียชีวิตสะสม 2,669 รายและบาดเจ็บสะสม
159,331 ราย ข้อมูลสถิติอุบัติเหตุทางถนนปี 2564 จังหวัดยะลามีจำนวนผู้เสียชีวิตสะสม 65 ราย
โดยส่วนใหญ่เป็นอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ 88% และรถยนต์ 12% ช่วงอายุที่ประสบอุบัติเหตุมากที่สุด
คืออายุ 25 - 35 ปี ในอัตรา 42.86%๑ จากสถิติดังกล่าวอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถ มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
ในแต่ละปี เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก โดยผู้เสียหายดังกล่าวไม่ได้รับการชดใช้
ค่าเสียหายหรือได้รับชดใช้ค่าเสียหายไม่คุ้มกับความเสียหายที่ไดร้ ับจริงและหากจะใช้สทิ ธิทางแพ่งเพื่อเรยี กร้อง
คา่ เสยี หายกจ็ ะต้องใช้ระยะเวลาดำเนินคดยี าวนาน

พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544
และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ได้บัญญัติรับรองสิทธิในการได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ
ของบุคคลซึ่งได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดอาญาของผู้อื่นโดยตนมิได้มีส่วนเกี่ยวข้อง
กบั การกระทำความผิดนัน้ และไมม่ โี อกาสไดร้ ับการบรรเทาความเสียหายโดยทางอื่น ซ่ึงเปน็ การช่วยเหลือเยียวยา
ผู้ที่ตกเป็นผู้เสียหายจากรัฐในอีกช่องทางหนึ่ง ประกอบกับผู้เสียหายส่วนใหญ่ไม่ทราบสิทธิที่ตนพึงมีพึงได้
ตามกฎหมาย หรือทราบสิทธิแต่ไม่เข้าใจกระบวนการจึงไม่สามารถยื่นคำขอรับค่าตอบแทนผู้เสียหายได้ทัน
ภายในระยะเวลาทก่ี ฎหมายกำหนด เปน็ เหตใุ หต้ ้องเสยี สทิ ธิในการได้รับการช่วยเหลือเยียวยาจากรัฐ

เพื่อให้ประชาชนที่ตกเป็นผู้เสียหายกรณีประสบภัยจากรถ (จราจร) ได้ทราบสิทธิที่ตนพึงจะได้รับ
ตามกฎหมายและเข้าใจกระบวนการในการขอรับค่าตอบแทนผู้เสยี หายกรณีประสบภัยจากรถ จงึ ไดจ้ ัดทำเอกสาร
เกยี่ วกบั การจา่ ยคา่ ตอบแทนผู้เสียหาย กรณปี ระสบภัยจากรถ (จราจร) ขนึ้

๑ สถานการณ์อุบัติเหตุในประเทศไทย. 2565. ThaiRSC ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรม
ความปลอดภัยทางถนน. เขา้ ถงึ ข้อมูลได้จาก https://www.thairsc.com/. วันท่ีสบื คน้ ข้อมูล 6 มนี าคม 2565.

2

1.2 วตั ถุประสงค์
1. เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสำนวนการขอรับค่าตอบแทนผู้เสียหายในคดีอาญา กรณีประสบภัย

จากรถ (จราจร) มคี วามรู้และทักษะในการปฏิบตั งิ านที่ถูกต้อง
2. เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสำนวนพิจารณาจ่ายค่าตอบแทนผู้เสียหายได้ถูกต้องและ

เป็นมาตรฐานเดียวกนั

1.3 ประโยชนท์ ่ีคาดวา่ จะได้รับ
1. เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสำนวนการขอรับค่าตอบแทนผู้เสียหายในคดีอาญา กรณีประสบภัยจากรถ

(จราจร) มคี วามรู้และทักษะในการปฏบิ ตั ิงานท่ถี กู ต้อง
2. เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสำนวนพิจารณาจ่ายค่าตอบแทนผู้เสียหายเป็นไปด้วยความถูกต้อง

เทยี่ งธรรมและเปน็ มาตรฐานเดยี วกัน

3

บทท่ี 2
เอกสารทเ่ี กย่ี วขอ้ ง

2.1 พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าเสียหายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544
และทแ่ี กไ้ ขเพิม่ เตมิ (ฉบบั ท่ี 2) พ.ศ.2559

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้บัญญัติรับรองสิทธิในการได้รับความช่วยเหลือจากรัฐของบุคคล
ซึ่งได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดอาญาของผู้อื่นโดยตนมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำ
ความผิดนั้นและไม่มีโอกาสได้รับการบรรเทาความเสียหายโดยทางอื่น ดังนั้น เพื่อให้การรับรองสิทธิดังกล่าว
เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงได้ตราเป็นพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย
และคา่ ทดแทนและค่าใชจ้ ่ายแก่จำเลยในคดอี าญา พ.ศ.2544

บทบญั ญัตมิ าตรา 3 แห่งพระราชบัญญตั ิน้ี
“ผู้เสียหาย” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายถึงแก่ชีวิต หรือร่างกาย หรือจิตใจเนื่องจาก
การกระทำความผดิ อาญาของผู้อ่ืน โดยตนมิได้มีสว่ นเกยี่ วขอ้ งกับการกระทำความผดิ นนั้

“ค่าตอบแทน” หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดที่ผู้เสียหายมีสิทธิได้รับ
เพอ่ื ตอบแทนความเสียหายทเ่ี กดิ ขึน้ จาก หรอื เน่อื งจากมกี ารกระทำความผิดอาญาของผูอ้ ่นื

บทบัญญัติมาตรา 17 ความผิดที่กระทำต่อผู้เสียหายอันอาจขอรับค่าตอบแทนได้ ต้องเป็นความผิด
ตามรายการท่รี ะบไุ วท้ ้ายพระราชบัญญตั นิ ้ี ได้แก่

1. ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน เช่น วางเพลิงเผาทรัพย์ ทำให้เกิดเพลิงไหม้
เป็นเหตใุ หบ้ คุ คลถงึ แกค่ วามตาย หรือได้รับอันตรายสาหสั

2. ความผิดเกี่ยวกับเพศ เชน่ ข่มขนื กระทำชำเรา กระทำอนาจาร

3. ความผิดเก่ียวกบั ชวี ิตและร่ายกาย ทำให้แท้งลกู ทอดท้งิ เด็ก คนปว่ ยเจบ็ หรือคนชรา

4. ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียง เฉพาะในลักษณะการกระทำที่เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำ
ไดร้ บั ความเสยี หายต่อชวี ิต รา่ งกาย หรอื จิตใจ เชน่ การกักขัง หนว่ งเหน่ียว เปน็ ต้น

5. ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ เฉพาะในลักษณะการกระทำที่เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำได้รับความเสียหาย
ตอ่ ชวี ิต ร่างกาย หรอื จิตใจ เช่น วิ่งราวทรพั ย์ กรรโชกทรพั ย์ ชงิ ทรพั ย์ ปลน้ ทรพั ย์ บุกรุก เปน็ ต้น

กรณีประสบภัยจากรถ (จราจร) ที่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้เสียหายในการได้รับค่าตอบแทนผู้เสียหาย
ตามพระราชบญั ญัติน้ี ต้องเกดิ จากการกระทำโดยประมาทของผู้ขับขี่หรือคู่กรณีและต้องก่อให้เกิดความเสียหาย
ถึงแกช่ ีวิต ร่างกาย หรือจติ ใจของผูเ้ สยี หาย ซึง่ สามารถแบง่ ได้ 2 กรณี ดังนี้

กรณีที่ 1 กระทำ (ขับขี่) โดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตใุ หผ้ ูอ้ ื่น (ผู้เสียหาย) ได้รับอัตรายสาหัส
กล่าวคือ ผู้เสียหายต้องถึงขนาดทุพพลภาพหรอื ปว่ ยเจ็บด้วยอาการทกุ ขเวทนา (รักษาพยาบาล) เกินกว่า 20 วัน
หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกิน 20 วัน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ประกอบ
มาตรา 297 (8)

4

กรณีที่ 2 กระทำ (ขับขี่) โดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291

การเรียกร้องหรือการได้มาซึ่งสิทธิตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่เป็นการตัดสิทธิหรือประโยชน์ที่ผู้เสียหาย
พึงมีพึงได้ตามกฎหมายอื่นและในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตายก่อนที่จะได้รับค่าตอบแทน ให้สิทธิในการ
เรียกร้องและการรับค่าตอบแทนตกแก่ทายาทซึ่งได้รับความเสียหายนั้น กล่าวคือ เมื่อผู้เสียหายเรียกร้องหรือ
ไดม้ าซงึ่ ค่าตอบแทนผเู้ สยี หายตามพระราชบญั ญตั ินีแ้ ล้ว ผ้เู สียหายยงั คงมีสิทธทิ ่ีจะไดร้ ับการบรรเทาความเสียหาย
ตามกฎหมายอื่นเท่าที่ตนมีสิทธิจะได้รับและหากผู้เสียหายถึงแก่ความตายก่อนได้รับค่าตอบแทน สิทธิดังกล่าว
ตกแกท่ ายาทของผูเ้ สยี หาย เชน่ เดยี วกับทผี่ ูเ้ สยี หายมสี ิทธไิ ด้รับทุกประการ

มาตรา 18 แห่งพระราชบญั ญตั ินี้ กำหนดคา่ ตอนแทนทผ่ี เู้ สียหายอาจไดร้ ับ ได้แก่

1. ค่าใชจ้ ่ายทจ่ี ำเป็นในการรกั ษาพยาบาล รวมทัง้ คา่ ฟนื้ ฟสู มรรถภาพทางร่างกายหรือจิตใจเท่าท่ีจ่ายจริง
2. ค่าตอบแทนในกรณีทผี่ ู้เสยี หายถงึ แก่ความตาย จำนวนไม่เกินที่กำหนดในกฎกระทรวง
3. คา่ ขาดประโยชน์ทำมาหาไดใ้ นระหว่างที่ไมส่ ามารถประกอบการงานได้ตามปกติ
4. ค่าตอบแทนความเสียหายอ่นื ตามทีค่ ณะกรรมการเห็นสมควร

คณะกรรมการจะกำหนดให้ผู้เสียหายได้รับค่าตอบแทนเพียงใดหรือไม่ก็ได้ โดยคำนึงถึงพฤติการณ์
และความร้ายแรงของการกระทำความผิดและสภาพความเสียหายที่ผู้เสียหายได้รับ รวมทั้งโอกาสที่ผู้เสียหาย
จะไดร้ บั การบรรเทาความเสยี หายโดยทางอน่ื ดว้ ย

2.2 พระราชบญั ญตั คิ มุ้ ครองผปู้ ระสบภยั จากรถ พ.ศ.2535

เนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถได้ทวีจำนวนขึ้นในแต่ละปี เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ
และเสียชีวิตเป็นจำนวนมากโดยผู้ประสบภัยดังกล่าวไม่ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายหรือได้รับชดใช้ค่าเสียหาย
ไม่คุ้มกับความเสียหายที่ได้รับจริงและหากผู้ประสบภัยจะใช้สิทธิทางแพ่งเรียกร้องค่าเสียหายก็จะต้องใช้เวลา
ดำเนินคดียาวนาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ประสบภัยให้ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นที่แน่นอน
และทันท่วงทีจึงกำหนดหลักเกณฑ์ที่ผู้ประสบภัยจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัทประกันภัยหรือ
จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยว่าเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ประสบภัยจากรถที่บริ ษัทได้รับประกันไว้
ให้บริษัทจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยเมื่อได้รับคำร้องขอจากผู้ประสบภัย ดังนั้น ผู้ประสบภัยมีสิทธิ
ได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัทประกันภัยก็ต่อเมื่อรถที่เกิดอุบัติเหตุนั้นได้จัดให้มีการทำประกันภัย
ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้

มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัตินี้ “ค่าเสียหายเบื้องต้น” หมายความว่า ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่าย
อนั จำเปน็ เก่ียวกบั การรักษาพยาบาล ค่าปลงศพ ค่าใชจ้ า่ ยเกย่ี วกับการจัดการศพ รวมทงั้ คา่ เสียหายและค่าใช้จ่าย
ที่จำเป็นอย่างอื่นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยในเบื้องต้น ตามรายการและจำนวนเงินที่กำหนด
โดยสามารถแยกออกไดเ้ ป็น 2 กรณี คือ

1. ค่าใช้จ่ายในกรณีที่เกิดความเสียหายต่อร่างกาย ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจำเป็น
เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เช่น ค่ายาและค่าเวชภัณฑ์ที่ใช้ในการบำบัดรักษา ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์
ในการบำบัดรักษา รวมทั้งค่าซ่อมแซมอุปกรณ์น้ันๆ ด้วย ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าตรวจและค่าวิเคราะห์โรค

5

(แต่ไม่รวมถึงค่าจ้างพยาบาลพิเศษและค่าบริการอื่นทำนองเดียวกัน) ค่าห้องและค่าอาหารตลอดเวลาท่ีเข้ารับ
การรกั ษาพยาบาลในสถานพยาบาล รวมถึงคา่ พาหนะนำผู้ประสบภัยไปสถานพยาบาล

โดยค่าเสียหายเบื้องต้นที่ผู้ประสบภัยจะได้รับเท่ากับจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท
และในกรณีที่ผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อร่างกายอย่างหนึ่งอย่างใด คือ ตาบอด หูหนวก เป็นใบ้
หรือเสยี ความสามารถในการพูด หรอื ลิ้นขาด เสยี อวัยวะสบื พนั ธ์ุ หรอื ความสามารถสืบพนั ธ์ุ เสียแขน ขา มือ เท้า
นิ้ว หรืออวัยวะอื่นใด จิตพิการอย่างติดตัว ทุพพลภาพอย่างถาวร ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเสียหายเบื้องต้นเพิ่มอกี
เปน็ จำนวน 35,000 บาท

2. ค่าใช้จ่ายในกรณีเสียชีวิต ซึ่งแยกเป็น 2 กรณี คือ เสียชีวิตทันทีและกรณีเสียชีวิตภายหลัง
การรกั ษาพยาบาล

2.1 กรณีเสียชีวิตทันที ค่าใช้จ่ายที่จะได้รับ ได้แก่ ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอื่นๆ อันจำเป็น
เกี่ยวกับการจัดการศพ เช่น ค่าเช่ารถไปรับศพ ค่าเช่าศาลาวัดในการสวดศพ ค่าดอกไม้ที่ใช้ในงานศพ เงินที่ใช้
ถวายพระสงฆ์ที่มาสวดศพ เป็นต้น แต่ถ้าเป็นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างที่บรรจุอัฐิเพื่อใช้เก็บกระดูกของผู้ตายนน้ั
ไมถ่ ือเปน็ ค่าใช้จ่ายอนั จำเปน็ ในการจัดทำศพของผู้ตาย จึงไม่อาจเรยี กร้องได้ ซ่งึ ค่าเสยี หายเบื้องต้นที่ผู้ประสบภัย
จะได้รบั เป็นเงินจำนวน 35,000 บาทต่อหนง่ึ คน

2.2 กรณีเสียชีวิตภายหลังการรักษาพยาบาล ซึ่งเป็นกรณีที่ผู้ประสบภัยได้รับบาดเจ็บ
จากอุบัติเหตุอนั เกิดจากรถ แต่ยังไม่เสียชีวิตในทันทีและได้เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล
เป็นระยะเวลาหนึ่ง หากต่อมาได้เสียชีวิตในภายหลัง ในกรณีเช่นนี้ทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยจะได้รับ
ค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท และได้รับค่าเสียหายเบื้องต้น
เป็นคา่ ปลงศพเพ่ิมอกี 35,000 บาท แต่เมื่อรวมกนั แล้วต้องไมเ่ กิน 65,000 บาทต่อหน่งึ คน

บคุ คลผู้มีสทิ ธริ ้องขอรบั ค่าเสยี หายเบ้อื งตน้ มีดงั นี้

1. กรณีความเสียหายต่อร่างกาย ให้ผู้ประสบภัยเป็นผู้ร้องขอด้วยตนเอง หากไม่สามารถร้องขอได้
ให้ทายาท หรือญาติ หรือผู้มีส่วนได้เสียของผู้ประสบภัยแล้วแต่กรณีเป็นผู้ร้องขอแทน โดยต้องร้องขอภายใน
180 วนั นับแต่วันทีม่ ีความเสยี หายเกดิ ขนึ้

2. กรณีเสียชีวิต ให้ทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยเป็นผู้ร้องขอ โดยต้องร้องขอภายใน 180 วัน
นับแต่วนั ท่มี คี วามเสียหายเกดิ ขึ้น

ส่วนการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นนั้น ให้จ่ายเป็นเงินสดหรือเช็คซึ่งมิได้ลงวันที่ล่วงหน้า ภายใน 7 วัน
นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอโดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความรับผิดและการได้รับชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นดังกล่าวน้ี
ไม่ตดั สิทธิผู้ประสบภภยั ทีจ่ ะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายแพง่ และพาณิชย์

การขอรบั เงินคา่ เสียหายเบอ้ื งต้นจากกองทนุ ทดแทนผูป้ ระสบภัย

กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ทำหน้าที่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยหรือทายาท
ในกรณีที่บริษัทประกันภัยหรือเจ้าของรถที่เอาประกันไว้ไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย
ซึ่งค่าเสยี หายเบ้ืองต้นที่ผู้ประสบภยั มีสิทธิจะได้รับจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภยั ตอ้ งเปน็ ความเสียหายในกรณี
ดงั น้ี

6
1. กรณีที่บริษัทประกันภัยไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย หรือจ่ายไม่ครบ
ตามจำนวนที่กำหนด ให้ผู้ประสบภัยแจ้งเหตุที่ไม่สามารถได้รับการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นหรือการได้รับ
ค่าเสียหายเบื้องต้นหรือการได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นไม่ครบจำนวนจากบริษัทประกันภัยต่อสำนักงาน
กองทนุ ทดแทนผ้ปู ระสบภยั เพื่อขอรบั คา่ เสยี หายเบอ้ื งต้นจากกองทุนฯ
2. ในกรณีที่เจ้าของรถไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องตน้ ใหแ้ ก่ผูป้ ระสบภัยหรือจ่ายไม่ครบตามจำนวน
ที่จะต้องจ่าย เมื่อเป็นกรณีความเสียหายที่เกิดจากรถที่มิได้จัดให้มีการประกันภัยและผู้ประสบภัยไม่อาจขอรับ
ค่าเสียหายเบื้องต้นจากเจ้าของรถได้ ให้ผู้ประสบภัยมีสิทธิที่จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนทดแทน
ผ้ปู ระสบภัยโดยย่นื คำรอ้ งขอตอ่ สำนักงานกองทนุ ทดแทนผู้ประสบภยั ตามแบบทน่ี ายทะเบียนกำหนด๒

2.3 สำนกั งานยุตธิ รรมจงั หวดั ยะลา
สำนกั งานยุติธรรมจังหวดั ยะลา เป็นองค์กรทขี่ บั เคลือ่ นบรู ณาการงานยุติธรรมในการชว่ ยเหลอื ประชาชน

ทางกฎหมาย เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงและมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมจังหวัดชายแดนใต้ได้อย่างสะดวก
ทั่วถึง เป็นธรรม เท่าเทียมและมีประสิทธิภาพ มีการบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนงานในกระบวนการยุติธรรม
ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขและพัฒนางานการขับเคลื่อนงานยุติธรรมชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพือ่ ลดความเหล่ือมลำ้ ในสังคม๓

สถานท่ตี ง้ั
สำนักงานยุติธรรมจังหวัดยะลา ศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ ชั้น ๖ เลขที่ 318 ถนนสิโรรส
ตำบลสะเตง อำเภอเมอื ง จังหวัดยะลา เบอรโ์ ทรศัพท์ 073 222 624

ที่มา https://nbtworld.prd.go.th/th/news/detail/TCATG190806085638425
๒ อรยิ พร โพธใิ ส. 2554. การเยียวยาบคุ คลผไู้ ดร้ ับความเสยี หายจากอบุ ัตเิ หตอุ ันเกิดจากรถ. เข้าถึงข้อมูลได้จาก
http://web.senate.go.th/lawdata center/ includes/FCKeditor/upload/Image/b/all/all27.pdf. วนั ที่
23 กมุ ภาพนั ธ์ 2565.
๓ สำนักงานยุติธรรมจังหวัดยะลา. 2556. เกี่ยวกับสำนักงาน. เข้าถึงข้อมูลได้จาก http://www.jpo.moj.
go.th/yala /index.php. วนั ทีส่ ืบค้นข้อมลู 23 กุมภาพันธ์ 2565.

7

วสิ ัยทัศน์ (Vision)
เป็นองค์กรขับเคลอื่ นบรู ณาการงานยุตธิ รรมในการช่วยเหลอื ประชาชนทางกฎหมายเขา้ ถงึ และมีส่วนร่วม
ในกระบวนการยุติธรรมจงั หวัดชายแดนใต้ เพอื่ ลดความเหลอ่ื มลำ้ ในสงั คม

พนั ธกิจ (Mission)
๑. จัดทำแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงยุติธรรมในระดับจังหวัดให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัด
แผนพัฒนากลุม่ จังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวดั
รวมท้ังคำของบประมาณจังหวดั และงบประมาณกลุ่มจังหวดั
๒. พัฒนาและส่งเสรมิ การมีส่วนร่วมของประชาชนในภารกิจของกระทรวงยุติธรรม ศูนย์ยุติธรรมชุมชน
และเครือขา่ ยยตุ ธิ รรมชมุ ชน
๓. ดำเนินงานกองทุนยุติธรรมและงานช่วยเหลือประชาชนที่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม รวมทั้งจำเลย
ที่ถูกดำเนินคดีอาญาโดยมิได้เป็นผู้กระทำผิดตามกฎหมายว่าด้วยค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทน
และค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญาในระดับจังหวัด เพื่อให้เกิดการอำนวยความยุติธรรมและลดความเหลื่อมล้ำ
ในการเขา้ ถงึ ความยุติธรรมของประชาชน
๔. ดำเนินงานเกี่ยวกับงานเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมระดับจังหวัด
และคณะอนกุ รรมการท่คี ณะกรรมการดงั กลา่ วแตง่ ตงั้
๕. ปฏบิ ตั ิงานรว่ มกบั หรือสนบั สนนุ การปฏบิ ตั งิ านของหนว่ ยงานอ่นื ทเ่ี กยี่ วขอ้ งหรอื ทไี่ ดร้ ับมอบหมาย

เป้าประสงค์ (Goals)
1. ประชาชนในพื้นที่เข้าถึงการอำนวยความยุติธรรมได้สะดวก ทั่วถึง เป็นธรรม เท่าเทียมและ
มปี ระสิทธภิ าพ
2. ประชาชนในพื้นที่เข้าใจกฎหมายและงานในกระบวนการยุติธรรมอย่างถูกต้องและประชาชน
มีสว่ นรว่ มในการแกป้ ญั หาความเปน็ ธรรมอยา่ งเสมอภาค ทัว่ ถงึ และเทา่ เทียม
3. การให้บรกิ ารของสำนกั งานเป็นไปอย่างมปี ระสิทธภิ าพ ความสะดวก รวดเร็วและทว่ั ถึง
4. มีการร่วมการบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนงานในกระบวนการยุติธรรมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพอ่ื แกไ้ ขและพฒั นางานการขบั เคลือ่ นงานยุตธิ รรมชุมชนได้อยา่ งมปี ระสิทธิภาพ

ผลสมั ฤทธ์ิ (Result)
เป็นหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพและประชาชนในพื้นที่เชื่อมั่นในการขับเคลื่อนงานบริการ
อำนวยความยุตธิ รรม

หนา้ ทสี่ ำนกั งานยตุ ธิ รรมจงั หวดั ยะลา
1. การจดั ทำแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงยุติธรรมในระดับจงั หวดั ให้สอดคล้องกับแผนพฒั นาจังหวัด
แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวดั
รวมทง้ั คำของบประมาณจังหวัดและงบประมาณกลุ่มจงั หวัด
2. พัฒนาและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในภารกิจของกระทรวงยุติธรรมศูนย์ยุติธรรมชุมชน
และเครือขา่ ยกระทรวงยตุ ิธรรม

8

3. ดำเนินงานกองทุนยุติธรรมและงานช่วยเหลือประชาชนที่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม รวมทั้งจำเลย
ที่ถูกดำเนินคดีอาญาโดยมไิ ด้เป็นผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าดว้ ยค่าตอบแทนผูเ้ สียหายและคา่ ทดแทนและ
คา่ ใช้จ่ายแก่จำเลยในคดอี าญาในระดับจงั หวดั เพื่อใหเ้ กดิ การอำนวยความยุติธรรมความเหล่ือลำ้

4. ดำเนินงานเกี่ยวกับงานเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมระดับจังหวัด
และคณะอนกุ รรมการทค่ี ณะกรรมการดังกลา่ วแต่งตัง้

5. ปฏิบตั งิ านรว่ มกับหรือสนับสนนุ การปฏบิ ตั ิงานของหน่วยงานอ่นื ทเี่ กีย่ วข้องหรือที่ไดร้ บั มอบหมาย

โครงสร้างงานตามโครงสร้างของสำนักงานยตุ ธิ รรมจังหวดั ยะลา

1. ฝ่ายอำนวยการ มหี น้าทร่ี ับผิดชอบเก่ียวกับงานเลขานกุ ารของผู้อำนวยการสำนกั งานยุติธรรมจังหวัด
งานธุรการทั่วไป งานบริหารงานบุคคล งานการเงินและบัญชี งานงบประมาณ งานพัสดุ อาคารสถานที่
และยานพาหนะ งานประชาสัมพันธ์ งานศูนย์บริการข้อมูล งานประสานและสนับสนุนการปฏิบัติงาน
ของหน่วยงานสังกัดกระทรวงยุติธรรมที่ไม่มีหน่วยงานในจังหวัด งานกรมการจังหวัดในฐานะผู้แทน
กระทรวงยตุ ธิ รรม งานสนับสนุนการตรวจราชการของกระทรวงยตุ ิธรรมและสว่ นราชการสังกดั กระทรวงยุติธรรม
และงานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย

2. กลุ่มพัฒนาและส่งเสริมระบบงานยุติธรรม มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการพัฒนาและส่งเสริม
ระบบงานยุติธรรมชุมชน การพฒั นาและส่งเสรมิ ระบบงานยตุ ธิ รรมในจงั หวดั งานพฒั นาและส่งเสริมกระบวนการ
ยุติธรรมทางเลือก งานจัดทำและบริหารแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงในระดับจังหวัด งานติดตามและ
ประเมินผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการกระทรวงยุติธรรมระดับจังหวัด งานจัดทำและพัฒนา
ระบบฐานข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารและการวางแผนของหน่วยงาน งานจัดการความรู้
ในหน่วยงาน งานจัดทำแผนและโครงการพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรมในจังหวัด
งานฝ่ายเลขานุการคณะอนกุ รรมการระดับจังหวัด ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ
งานคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการและคณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
ในฐานะผู้แทนกระทรวงยตุ ธิ รรม

3. กลุ่มอำนวยความยุติธรรมและนิติการ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการประสานให้ความช่วยเหลือ
ประชาชนด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม งานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน งานเสริมสร้าง
ความเป็นธรรมและอำนวยความยุติธรรมที่ได้รับมอบหมายจากส่วนราชการสังกัดกระทรวงยุติธรรม
ที่ไม่มีหน่วยงานในจังหวัด ตลอดจนงานนิติการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานยุติธรรมจังหวัดหรือ
สำนักงานสาขาและงานอ่ืนๆ ท่ไี ด้รับมอบหมาย

๑๗

บทท่ี 3
การจา่ ยคา่ ตอบแทนผเู้ สยี หาย

พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544
และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ.2559 ได้บัญญัติรับรองสิทธิในการได้รับความช่วยเหลือจากรัฐของบุคคล
ซึ่งได้รับความเสียหายเนื่องจากกระทำความผิดอาญาของผู้อื่นโดยตนมิได้มีส่วนเกีย่ วข้องกับการกระทำความผดิ
นนั้ และไม่มโี อกาสได้รบั การบรรเทาความเสยี หายโดยทางอื่น

กรณีประสบภัยจากรถ (จราจร) ท่ีก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้เสียหายในการได้รับค่าตอบแทนผู้เสียหาย
ตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องเกิดจากการกระทำโดยประมาทของผู้ขับขี่หรือคู่กรณีและต้องก่อให้เกิด
ความเสียหายถึงแก่ชีวติ ร่างกาย หรือจิตใจของผู้เสียหาย ซงึ่ สามารถแบ่งได้ 2 กรณี ดงั นี้

กรณีที่ 1 กระทำ (ขับขี่) โดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตใุ ห้ผู้อื่น (ผู้เสียหาย) ได้รับอัตรายสาหัส
กล่าวคือ ผู้เสียหายต้องถึงขนาดทุพพลภาพหรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนา (รักษาพยาบาล)
เกินกว่า 20 วัน หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกิน 20 วัน ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 300 ประกอบมาตรา 297 (8)

กรณีที่ 2 กระทำ (ขับขี่) โดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291

3.1 การดำเนินการก่อนใหค้ วามชว่ ยเหลอื

เมื่อมีการกระทำความผิดและมีความเสียหายเกิดขึ้น ผู้เสียหายหรือทายาทจะดำเนินการแจ้งความ
ร้องทุกข์ตอ่ พนกั งานสอบสวน ณ สถานีตำรวจในทอ้ งที่ที่เกิดเหตุ จากนนั้ พนักงานสอบสวนจะสอบถามข้อเท็จจริง
บันทึกถ้อยคำและแจ้งสิทธิตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยใน
คดอี าญา พ.ศ.2544 และที่แกไ้ ขเพิ่มเติม (ฉบับท่2ี ) พ.ศ.2559 แก่ผเู้ สียหายหรือทายาทซ่งึ ได้รับความเสียหาย
ตามแบบฟอร์มบันทกึ การแจง้ สิทธ/ิ แบบรับคำขอ การขอรบั ค่าตอบแทนผู้เสียหายในคดีอาญา (สชง.1/03) และ
มอบต้นฉบบั แกผ่ ้เู สียหายหรอื ทายาทเพื่อดำเนินการย่ืนคำขอรับค่าตอบแทนผู้เสยี หายต่อไป จากน้นั ผู้เสยี หายหรือ
ทายาท นำบันทึกการแจ้งสิทธิ (สชง.1/03) สำเนาบันทึกประจำวันและเอกสารหลักฐานต่างๆ ไปยื่นคำขอรับ
ค่าตอบแทนฯ ณ สำนักงานยุติธรรมจังหวัด ภายใน 1 ปีนับแต่นับแต่วันที่ผู้เสียหายได้รู้ถึงการกระทำความผิด
เพอ่ื ดำเนินการใหค้ วามช่วยเหลือเยียวยาในส่วนท่เี กย่ี วขอ้ งต่อไป

สำนักงานยุติธรรมจังหวัด สอบถามข้อเท็จจริงและรวบรวมเอกสารหลักฐานในเบื้องต้น หากเอกสาร
หลักฐานไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน เจ้าหน้าที่จะทำบันทึกความบกพร่องโดยระบุรายการเอกสารหรือหลักฐาน
ที่ต้องยืน่ เพ่ิมเติม เพื่อให้ผู้เสยี หายนำเอกสารหลักฐานมาย่ืนเพิม่ เตมิ ในภายหลัง แต่หากเอกสารถูกต้องครบถ้วน
จึงจะรบั คำขอและดำเนินการต่อไป

๑๘

กรณปี ระสบภัยจากรถ มีเอกสารหลกั ฐานท่ีเกี่ยวข้อง ดังน้ี
1. บันทึกการแจง้ สทิ ธ/ิ การรบั คำขอ (สชง.1/03)
2. สำเนารายงานบนั ทกึ ประจำวนั เกีย่ วกบั คดี (ช้ันสอบสวน)
3. สำเนาบันทกึ แจง้ ขอ้ กลา่ วหา (ชัน้ สอบสวน)
4. สำเนาใบรับรองแพทย์
5. สำเนาใบชนั สูตรบาดแผล/ศพ
6. สำเนาใบมรณบัตร (กรณผี ้เู สียหายถึงแกค่ วามตาย)
7. ใบเสรจ็ ค่ารักษาพยาบาล (ฉบบั จริง)
8. สำเนาหนงั สือรบั รองความพิการ (กรณไี ด้รบั ความเสียหายจนพกิ าร)
9. หนงั สอื รับรองรายได้
แต่อย่างไรก็ดี ผู้เสียหายต้องใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535

(ประกันภัยภาคบังคับ) ก่อน หากรถคันที่ประสบภัยไม่มีประกันภัย พ.ร.บ. (ประกันภัยภาคบังคับ)
หรือไม่สามารถเรียกร้องจากที่ใดได้ เช่น กรณีชนแล้วหนี ผู้เสียหายควรยื่นคำขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น
จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยภายใน 180 วันนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการกระทำความผิดดังกล่าว
การย่ืนคำขอรับค่าตอบแทนผู้เสยี หายตาม พ.ร.บ.คา่ ตอบแทนผเู้ สียหายฯ เป็นสิทธิในการไดร้ ับการเยียวยาความ
เสียหายจากรัฐอีกทางหน่งึ เทา่ นั้น

3.2 การดำเนนิ การระหว่างให้ความชว่ ยเหลอื
การดำเนินการระหวา่ งให้ความช่วยเหลอื เป็นกระบวนการในส่วนของเจ้าหน้าที่เจ้าของสำนวนเกีย่ วกับ

การพิจารณาทำความเห็น เพื่อมีคำวินิจฉัยว่าเห็นสมควรจ่ายค่าตอบแทนผู้เสียหายหรือไม่และควรจ่ายจำนวน
เทา่ ใด

เมื่อเอกสารหลักฐานครบถว้ น เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสำนวนแสวงหาข้อเท็จจรงิ ท่ีเกี่ยวข้องเพิ่มเติม เช่น
การใช้สิทธิขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากประกันภัยพ.ร.บ. การได้รับค่าเสียหายจากคู่กร ณี
หรือการใช้สิทธิขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยและดำเนินการจัดทำรายงาน

๑๙

พร้อมความเห็น (สชง.7) จากนั้นเสนอที่ประชมุ คณะอนกุ รรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายค่าทดแทนและ
คา่ ใช้จา่ ยแก่จำเลยในคดีอาญาประจำจังหวดั เพอื่ มคี ำวินิจฉยั ตอ่ ไป โดยคำวินิจฉัยมี 3 รปู แบบ ดงั น้ี

1. เห็นควรจ่าย เป็นกรณีที่บุคคลนั้นเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการการกระทำความผิดอาญา
ของบุคคลอื่นซึ่งตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดและได้ยื่นคำขอรับค่าตอบแทนภายในระยะเวลา
ที่กฎหมายกำหนด

2. เหน็ ควรงดจา่ ย อาจเกดิ ข้นึ ได้ 4 กรณี ดังนี้

2.1 กรณีที่ผู้เสียหายได้รับการบรรเทาความเสียหายจากประกันภัยพ.ร.บ. หรือประกันภัย
ภาคบังคับ หรือได้รับจากผู้เสียหายเต็มตามสิทธิหรือได้รับเท่ากับหรือมากกว่าค่าตอบแทนที่มีสิทธิได้รับ
จากพ.ร.บ.คา่ ตอบแทนผูเ้ สยี หายฯ แลว้

2.2 กรณที ผ่ี ไู้ ด้รับความเสยี หายอาจมสี ่วนเก่ยี วข้องกบั การกระทำความผดิ

2.3 กรณที ี่ผู้เสยี หายย่ืนคำขอรบั ค่าตอบแทน เกินระยะเวลา 1 ปตี ามทก่ี ฎหมายกำหนด

2.4 กรณีที่ผู้เสียหายรักษาพยาบาล ไม่เกิน 20 วัน เนื่องจากไม่ใช่ความผิดตามรายการที่ระบุไว้
ท้ายพระราชบัญญัติคา่ ตอบแทนผู้เสียหายฯ

3. เหน็ ควรชะลอ เป็นกรณที ี่คณะอนุกรรมการฯ ต้องการทราบขอ้ เทจ็ จริงเกี่ยวกับคดีเพ่มิ เติม

เมื่อมีมติที่ประชุม เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสำนวนดำเนินการทำคำวินิจฉัยเพื่อแจ้งผลให้ผู้เสียหาย
หรือทายาททราบ โดยทำเป็นหนังสือราชการส่งทางไปรษณีย์และโทรศัพท์แจ้งผู้เสียหายหรือทายาทต่อไป
แต่หากที่ประชุมมีมติชะลอ เจ้าหน้าที่เจ้าของสำนวนจะไม่แจ้งผลคำวินิจฉัยแก่ผู้ยื่นคำขอ แต่จะต้องแสวงหา
ข้อเทจ็ จรงิ เพ่ิมเติมและทำรายงานความเหน็ เพ่ือเสนอที่ประชุมคณะอนุกรรการฯ ต่อไป

๒๐

3.3 การดำเนินการหลังใหค้ วามช่วยเหลอื
เมื่อผู้เสียหายหรือทายาทได้รับคำวินิจฉัยแล้ว ถือว่าวัน เวลาที่ลงลายมือชื่อในใบตอบรับไปรษณีย์

เปน็ วนั ท่ีผูเ้ สยี หายหรือทายาทไดร้ บั แจง้ คำวินิจฉยั แล้ว ซ่ึงคำวินจิ ฉยั แตล่ ะรปู แบบมีผลตา่ งกัน ดงั น้ี
1. กรณีเห็นควรจ่าย สามารถแบง่ ออกไดเ้ ป็น 2 กรณี ดงั น้ี
1.1 ผู้ยื่นคำขอเห็นด้วยกับคำวินิจฉัย ให้ผู้มีสิทธิรับเงินยื่นแบบคำขอรับเงิน (สชง.15/16)

ต่อกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ หรือสำนักงานยุติธรรมจังหวัดโดยเร็ว เพื่อดำเนินการเบิกจ่ายเงิน
คา่ ทดแทนตอ่ ไป

1.2 ผู้ยื่นคำขอไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัย ผู้ยื่นคำขอมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ
ภายใน30 วันนับแต่วนั ท่ีได้รบั แจง้ คำวินิจฉยั หรอื ภายใน 30 วันนับแต่วันทล่ี งลายมือชอ่ื ในใบตอบรับไปรษณีย์

2. กรณีเหน็ ควรงดจา่ ย
2.1 ผยู้ ่นื คำขอเห็นด้วยกับคำวินิจฉยั ถือวา่ เสร็จส้นิ กระบวนการ
2.2 ผู้ยื่นคำขอไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัย ผู้ยื่นคำขอมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ
ภายใน 30 วนั นับแตว่ ันท่ีได้รับแจ้งคำวนิ จิ ฉยั หรือภายใน 30 วนั นับแตว่ นั ทีล่ งลายมอื ช่ือในใบตอบรับไปรษณีย์

การจ่ายค่าตอบแทนผู้เสียหายกรณีประสบภัยจากรถ (จราจร) ต้องจ่ายโดยคำนึงถึงโอกาสที่ผู้เสียหาย
จะได้รับการบรรเทาความเสียหายจาก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 (ประกันภัยภาคบังคับ)
หรือบรษิ ทั ประกันภยั (ประกนั ภัยภาคสมคั รใจ) สามารถแบ่งออกเปน็ 5 กรณี ดงั น้ี
1. กรณีไม่ได้รับเงินช่วยเหลือตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ประกันภัยภาคบังคับ) เนื่องจาก

ไมท่ ราบสิทธิและใช้สทิ ธิเกินกำหนดระยะเวลา (180วัน)
(ก) ความผดิ ตอ่ ชวี ิต
- ค่าตอบแทน 30,000 บาท
- ค่าจดั การศพ 20,000 บาท
- ค่าขาดอุปการะเล้ียงดู 40,000 บาท
(ข) ความผิดตอ่ ร่างกาย
- คา่ ใช้จา่ ยทจี่ ำเปน็ ในการรักษาพยาบาล จ่ายเท่าท่ีจ่ายจริง ไม่เกิน 40,000 บาท
- ค่าฟนื้ ฟสู มรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ จา่ ยเทา่ ท่ีจจ่ายจริง ไมเ่ กิน20,000 บาท

๒๑

- ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหวา่ งท่ีไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติจ่ายในอตั ราค่าจ้างขั้น
ต่ำในท้องที่จังหวัดที่ประกอบการงาน ณ วันที่ไม่สามารถประกอบการงานได้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี นับแต่
วันท่ีไมส่ ามารถประกอบการงานได้ตามปกติ

- คา่ ตอบแทนความเสียหายอื่น ไมเ่ กนิ 50,000 บาท

2. กรณีไดร้ บั ความชว่ ยเหลือตาม พ.ร.บ.คมุ้ ครองผู้ประสบภัยฯ (ประกันภัยภาคบังคบั ) เป็นค่าเสียหายเบ้อื งตน้

(ก) ความผิดต่อชีวิต ทายาทได้รับความช่วยเหลือตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยฯ 35,000 บาท
หรือ 65,000 บาท (ซ่งึ รวมกับค่ารกั ษาพยาบาลแลว้ 30,000 บาท)

กรณีที่ 1 ทายาทมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนตาม พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ รวม 90,000 บาท
ไดแ้ ก่ 1. คา่ ตอบแทนกรณีถึงแก่ความตาย 2. ค่าจดั การศพ 3. ค่าขาดอุปการะเล้ยี งดู

จ่ายค่าตอบแทนโดยคำนวณจากจำนวนเงินที่มีสิทธิได้รับตาม พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ
รวม 90,000 บาท และหักด้วยเงินที่ได้รับตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยฯ จำนวน 35,000 บาท
คงเหลอื เงินทตี่ ้องจ่ายตาม พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผูเ้ สยี หายฯ 55,000 บาท โดยจ่ายดงั นี้

- ค่าตอบแทนกรณถี ึงแก่ความตาย 30,000 บาท
- ค่าจัดการศพ ไม่จ่าย (เนื่องจากได้รับค่าปลงศพตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยฯแล้ว
35,000 บาท)
- คา่ ขาดอปุ การะเลีย้ งดู 25,000 บาท

กรณีที่ 2 ทายาทมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนตาม พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ รวม 50,000 บาท
ได้แก่ 1. ค่าตอบแทนกรณถี ึงแก่ความตาย 2. คา่ จดั การศพ (ไมม่ ีสิทธไิ ดร้ บั คา่ ขาดอุปการะเล้ียงดู)

จ่ายค่าตอบแทนโดยคำนวณจากเงินที่มีสิทธิได้รับตาม พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ
รวม 50,000 บาท และหักด้วยเงินที่ได้รับตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยฯ จำนวน 35,000 บาท
คงเหลือเงินที่ต้องจ่ายตาม พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ 15,000 บาท จ่ายเฉพาะค่าเสียหายอ่ืน
จำนวน 15,000 บาท

(ข) ความผิดต่อร่างกาย ได้รับเงินช่วยเหลือตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยฯ เป็นค่ารักษาพยาบาล
15,000 บาท หรือ 30,000 บาท แล้วแต่กรณี

- คา่ ใช้จ่ายท่จี ำเปน็ ในการรักษาพยาบาล จ่ายเทา่ ท่ีจ่ายจริง ไมเ่ กิน 40,000 บาท
- ค่าฟืน้ ฟสู มรรถภาพทางรา่ งกายและจิตใจ จ่ายเท่าทีจ่ ่ายจรงิ ไมเ่ กิน 20,000 บาท
- ค่าขาดประโยชนท์ ำมาหาไดใ้ นระหว่างที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกตจิ ่ายในอตั ราค่าจ้าง
ขั้นต่ำในท้องที่จังหวัดที่ประกอบการงาน ณ วันที่ไม่สามารถประกอบการงานได้เป็นระยะเวลา
ไมเ่ กิน 1 ปีนบั แต่วนั ทไ่ี มส่ ามารถประกอบการงานไดต้ ามปกติ
- คา่ ตอบแทนความเสียหายอ่นื จา่ ยไมเ่ กนิ 50,000 บาท

๒๒

3. กรณี พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยฯ (ประกันภัยภาคบังคับ) สิ้นอายุและไม่ไปใช้สิทธิขอรับเงินช่วยเหลือ
เนื่องจากเกรงว่าเจ้าของรถจะถูกไล่เบี้ย ไม่ว่าผู้เสียหายจะเป็นผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารและไม่ว่ารถนั้น
จะเป็นของผูใ้ ด

(ก) ความผิดต่อชีวิต ทายาทมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยฯ
35,000 บาท หรอื 65,000 บาท แล้วแต่กรณี (ซึง่ รวมกบั ค่ารกั ษาพยาบาลแล้ว 30,000 บาท)

กรณีที่ 1 ทายาทมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนตาม พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ รวม 90,000 บาท
ไดแ้ ก่ (1) ค่าตอบแทนกรณถี งึ แก่ความตาย (2) ค่าจัดการศพ (3) คา่ ขาดอปุ การะ

จ่ายค่าตอบแทนโดยคำนวณจากเงินที่มีสิทธิได้รับตาม พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ
รวม 90,000 บาท และหักด้วยเงินที่ได้รับตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยฯ จำนวน 35,000 บาท
คงเหลือเงินที่ตอ้ งจา่ ยตาม พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผเู้ สียหายฯ 55,000 บาท ให้จ่าย ดังนี้

- คา่ ตอบแทนกรณีถึงแกค่ วามตาย 30,000 บาท
- ค่าจัดการศพ ไม่จ่าย (เนื่องจากมีสิทธิได้รับค่าปลงศพตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยฯ แล้ว
35,000 บาท)
- ค่าขาดอุปการะเลี้ยงดู 25,000 บาท

กรณีที่ 2 ทายาทมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนตาม พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ รวม 50,000 บาท
ไดแ้ ก่ 1. ค่าตอบแทนกรณีถงึ แกค่ วามตาย 2. ค่าจดั การศพ (ไมม่ สี ทิ ธิไดร้ ับคา่ ขาดอุปการะเลี้ยงด)ู

จ่ายค่าตอบแทนโดยคำนวณจากเงินที่มีสิทธิได้รับตาม พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ
รวม 50,000 บาท และหักด้วยเงินที่มีสิทธิได้รับตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยฯ จำนวน 35,000 บาท
คงเหลือเงินที่ต้องจ่ายตาม พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ 15,000 บาท โดยจ่ายเฉพาะค่าเสียหายอื่น
จำนวน 15,000 บาท

(ข) ความผดิ ตอ่ รา่ งกาย
- ค่าใชจ้ ่ายท่ีจำเป็นในการรกั ษาพยาบาล จา่ ยเทา่ ทจ่ี า่ ยจริง ไมเ่ กนิ 40,000 บาท
- ค่าฟ้นื ฟูสมรรถภาพทางรา่ งการและจิตใจ จา่ ยเทา่ ท่จี ่ายจรงิ ไมเ่ กนิ 20,000 บาท
- ค่าขาดประโยชนท์ ำมาหาได้ในระหว่างทไี่ ม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกตจิ ่ายในอตั ราค่าจ้าง

ขั้นต่ำในท้องที่จังหวัดที่ประกอบการงาน ณ วันที่ไม่สามารถประกอบการงานได้เป็นระยะเวลา
ไม่เกนิ 1 ปนี บั แต่วันท่ีไมส่ ามารถประกอบการงานได้ตามปกติ

- ค่าตอบแทนความเสียหายอน่ื จ่ายแบบปรับลดกงึ่ หนึ่งจากเงินทีม่ ีสทิ ธิไดร้ บั ตามปกติ

4. กรณีได้รับเงินช่วยเหลือตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยฯ (ประกันภัยภาคบังคับ) หรือบริษัทประกันภัย
(ประกันภาคสมัครใจ) เต็มตามสิทธิหรือได้รับเท่ากับหรือมากกว่าที่มีสิทธิได้รับตามพ.ร.บ.ค่าตอบแทน
ผเู้ สียหายฯ

(ก) ความผิดต่อชีวิต ได้รับเงินช่วยเหลือเป็นค่าปลงศพ 300,000 – 500,000 บาท
ตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยฯ หรือได้รับเงินช่วยเหลือจากบริษัทประกันภัยเท่ากับหรือมากกว่าเงินที่มีสิทธิ
ได้รับตามพ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ ให้งดจ่าย เนื่องจากถือว่าได้รับการบรรเทาความเสียหายโดยทางอ่ืน
ตามสมควรแลว้

๒๓

(ข) ความผิดต่อร่างกาย (บาดเจ็บ) ได้รับเงินช่วยเหลือเป็นค่ารักษาพยาบาล 50,000 –
80,000 บาท ให้พิจารณาจ่ายค่าตอบแทนรายการอื่นให้ครบตามสิทธิที่มีตาม พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ
ดงั น้ี

- คา่ ใช้จา่ ยท่ีจำเปน็ ในการรกั ษาพยาบาล จา่ ยเทา่ ทจ่ี ่ายจริง ไม่เกนิ 40,000 บาท
- ค่าฟ้ืนฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ จา่ ยเทา่ ทจ่ี ่ายจริง ไม่เกนิ 20,000 บาท
- ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ ให้จ่ายในอัตรา
ค่าจ่างขั้นต่ำในท้องที่จังหวัดที่ประกอบการงาน ณ วันที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตา มปกติ ทั้งนี้
ต้องนำเงินค่าชดเชยรายวัน (วันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน) ที่ได้รับตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยฯ
มาหกั ออกดว้ ย
- ค่าตอบแทนความเสียหายอืน่ จา่ ยไมเ่ กนิ 50,000 บาท

(ค) ความผิดตอ่ รา่ งกาย (สูญเสียอวยั วะหรือทุพพลภาพ) ได้รับเงินชว่ ยเหลือเป็นค่าสนิ ไหมทดแทนกรณี
สญู เสยี อวัยวะ หรือทุพพลภาพอยา่ งถาวร หรือทพุ พลภาพถาวรสนิ้ เชิง 200,000 – 500,000 บาท ตาม พ.ร.บ.
คุ้มครองผู้ประสบภัยฯ หรือได้รับเงินช่วยเหลือจากบริษัทประกันภัยเท่ากับหรือมากกว่าเงิน
ที่มีสิทธิได้รับตาม พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ ให้งดจ่าย เนื่องจากถือว่าได้รับการบรรเทาความเสียหาย
โดยทางอ่ืนตามสมควรแลว้

5. กรณีที่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยฯ (ประกันภาคบังคับ) หรือ
บริษัทประกันภัย (ประกันภัยภาคสมัครใจ) เต็มตามสิทธิ หรือได้รับเท่ากับหรือมากกว่าเงินที่มีสิทธิได้รับ
ตาม พ.ร.บ.คา่ ตอบแทนผูเ้ สยี หายฯ เพยี งแตย่ งั ไมไ่ ด้รับเงนิ หรอื ยงั ได้รับเงินไม่ครบถว้ น

(ก) ความผิดต่อชีวิต มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือ 300,000 – 500,000 บาท ให้งดจ่าย เนื่องจาก
มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยฯ หรือบริษัทประกันภัย ซึ่งถือว่าได้รับ
การบรรเทาความเสียหายโดยทางอ่นื ตามสมควรแล้ว

(ข) ความผดิ ต่อรา่ งกาย (บาดเจ็บ) มสี ทิ ธิได้รบั เงินช่วยเหลือเปน็ ค่ารักษาพยาบาล 50,000 – 80,000
บาท พิจารณาจา่ ยค่าตอบแทนรายการอน่ื ให้ครบตามสทิ ธิท่ีมตี าม พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผเู้ สียหายฯ ดงั น้ี

- คา่ ใชจ้ ่ายที่จำเป็นในการรักษาพยาบาล จ่ายเท่าทจี่ ่ายจริง ไม่เกิน 40,000 บาท
- ค่าฟ้ืนฟสู มรรถภาพทางร่างกายและจติ ใจ จ่ายเทา่ ที่จ่ายจรงิ ไม่เกิน 20,000 บาท
- คา่ ขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างทไ่ี ม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติจ่ายในอัตราค่าจ้าง
ขั้นต่ำในท้องที่จังหวัดที่ประกอบการงาน ณ วันที่ไม่สามารถประกอบการงานได้เป็นระยะเวลา
ไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ ทั้งนี้ต้องนำเงินค่าชดเชยรายวัน (วันละ
200 บาท ไมเ่ กนิ 20 วัน) ทม่ี สี ิทธไิ ดร้ บั ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผ้ปู ระสบภยั ฯ หกั ออกด้วย
- คา่ ตอบแทนความเสียหายอ่ืน จา่ ยไมเ่ กิน 50,000 บาท

(ค) คว ามผิดต่อร่างกาย (สูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพ) มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือ
เป็นค่าสินไหมทดแทน 200,000 – 500,000 บาท ให้งดจ่าย เนื่องจากมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือ
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยฯ หรือบริษัทประกันภัย ซึ่งถือว่าได้รับการบรรเทาความเสียหายโดยทางอื่น
ตามสมควรแล้ว

๒๔

การจา่ ยคา่ ตอบแทนผเู้ สยี หาย กรณปี ระสบภยั จากรถ (จราจร)

1
ขนั้ ตอนท่ี 1
การรบั คำขอและตรวจสอบเบอื้ งตน้

ขนั้ ตอนที่ 2 2

ทำสำนวนรายงานความเหน็
ภายใน 6 วนั นบั แตว่ นั ทเ่ี อกสารครบ

3 ขนั้ ตอนที่ 3

เสนอประธานหรอื ผทู้ คี่ ณะอนกุ รรมการ
มอบหมายเพอื่ พจิ ารณาเหน็ ชอบ/ไมเ่ หน็ ชอบ
ตามความเหน็ ทฝี่ า่ ยเลขานกุ ารเสนอ

ขนั้ ตอนที่ 4 4

แจง้ ผลการพจิ ารณา

๒๕

บทที่ 4
การรายงานผล

การรายงานผลการพิจารณาให้ความช่วยเหลือค่าตอบแทนผู้เสียหายในคดีอาญา แบ่งขั้นตอน
ในการพิจารณาออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ การดำเนินการก่อนให้ความช่วยเหลือ การดำเนินการระหว่าง
ใหค้ วามช่วยเหลือและการดำเนนิ การหลงั ใหค้ วามชว่ ยเหลือ

1. การดำเนนิ การก่อนใหค้ วามช่วยเหลือ

การดำเนินการก่อนให้ความช่วยเหลือเป็นกระบวนการระหว่างเจ้ าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอ
ในการสอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์ ความเสียหาย ข้อมูลของผูเ้ สยี หาย การรวบรวมเอกสารหลักฐาน
เกี่ยวกบั คดี การให้คำปรกึ ษา แนวทางการช่วยเหลอื ในเบื้องต้น รวมไปถึงให้คำแนะนำเกี่ยวกับการได้รับเยยี วยา
ความเสยี หายจากหนว่ ยงานอน่ื ท่ีเก่ียวขอ้ ง เป็นตน้

เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการดังกล่าว ได้แก่ บันทึกการแจ้งสิทธิ (สชง.1/03)
สำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี สำเนาบันทึกแจ้งข้อกล่าวหา สำเนาใบรับรองแพทย์ สำเนาใบชันสูตร
บาดแผล/ศพ สำเนาใบมรณบัตร สำเนาหนังสือรับรองความพิการ (กรณีได้รับความเสียหายจนพิการ)
หนังสอื รบั รองรายได้ หนังสอื มอบอำนาจ เป็นตน้ ซึ่งการดำเนินการดังกลา่ วใชร้ ะยะเวลาในการดำเนนิ การ 1 วัน

หากในวันดังกล่าวผู้ยื่นคำขอฯ มีเอกสารไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่จะต้องมีบันทึก
ความบกพรอ่ งและรายการเอกสารหรือหลักฐานท่ีตอ้ งยืน่ เพ่ิมเตมิ และใหผ้ ู้ยน่ื คำขอฯ ดำเนนิ การส่งเอกสารเพม่ิ เติม
ให้เจ้าหน้าที่ภายใน 7 วันนับแตว่ ันที่ไดร้ ับบันทึกบกพร่อง หากไม่สามารถดำเนินการได้ภายในกำหนดระยะเวลา
ดังกลา่ ว ผู้ย่ืนคำขอฯ ต้องแจง้ เจา้ หนา้ ทท่ี ราบ

แบบรายงาน หน้า
- แบบบนั ทกึ การแจ้งสิทธิ (สชง.1/03) 18
- บันทึกความบกพรอ่ งและรายการเอกสารหรอื หลกั ฐานท่ตี อ้ งยื่นเพม่ิ เตมิ 19

๒๖

๒๗

บันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานที่จะต้องยื่นเพิ่มเติม ตามมาตรา 8
แห่งพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ
พ.ศ. 2558 (สำหรับคำขอ)

• กรณีการขอรบั คา่ ตอบแทนผ้เู สียหายและค่าทดแทนและคา่ ใช้จา่ ยแก่จำเลยในคดอี าญา
• ชอื่ - สกลุ ผู้ขอรับความช่วยเหลอื ..........................................................เลขทค่ี ำขอ............................

 สำเนาทะเบยี นบ้าน, สำเนาบตั รประชาชนของผู้ยื่นคำขอฯ และ/หรอื ของผเู้ สียหายหรอื จำเลยจำนวน 1 ชดุ
 ใบมอบอำนาจ กรณีมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นที่ไม่สามารถมาพบด้วยตนเองได้ พร้อมติดอากรแสตมป์

จำนวน 30 บาท
 สำเนาเอกสารทเ่ี ก่ียวขอ้ งกับคดี (ช้ันสอบสวน)

 รายงานบนั ทึกประจำวันเกีย่ วกับคดี (ชน้ั สอบสวน)
 บนั ทึกแจ้งขอ้ กล่าวหา (ชน้ั สอบสวน)
 บนั ทึกการจบั กมุ (ชัน้ สอบสวน)
 บันทกึ คำให้การผตู้ ้องหา / บันทึกคำให้การผรู้ อ้ งทุกข์ หรือผเู้ สยี หาย (ชัน้ สอบสวน)
 คำรอ้ งขอฝากขงั ผูต้ อ้ งหา ตง้ั แต่ครง้ั ที่ 1 จนถึงปจั จุบนั (ชนั้ สอบสวน – ช้นั อยั การ)
 สำเนาคำฟอ้ งศาลชั้นตน้ / คำอทุ ธรณ์ / คำฎกี า
 สำเนาคำพิพากษาศาลชัน้ ตน้ / ศาลอทุ ธรณ์ / ศาลฎกี า
 หนังสือรับรองความประพฤติ
 หนงั สอื รบั รองรายได้
 สำเนาใบรับรองแพทย์
 สำเนาใบมรณบัตร
 ใบเสร็จค่ารกั ษาพยาบาล (ฉบับจรงิ )
 อ่ืนๆ

ทั้งนี้ สำนักงานยุติธรรมจังหวัดได้รับคำขอรับค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยใน

คดีอาญา ไว้แล้ว และผู้ขอฯ จะนำเอกสารที่ยังขาดหรือไม่ครบถ้วน มาส่งเพิ่มเติมให้เจ้าหน้าที่ภายใน 7 วัน

นับต้ังแต่ วันท่ี ถงึ วนั ท่ี หากถงึ ระยะเวลาท่ีกำหนดไว้ แตผ่ ู้ขอฯ ไม่

ส่งเอกสารมาให้ภายในระยะเวลาที่กำหนด สำนักงานยุติธรรมจังหวัดจะขอถือหนังสือฉบับนี้เป็นหนังสือแสดง

ความประสงค์ขอยุติ คำขอรบั ความชว่ ยเหลือทไี่ ดย้ น่ื ไว้กบั สำนกั งานยุติธรรมจังหวดั ต่อไป

ลงชื่อ ผูข้ อรบั ความช่วยเหลือ ลงช่อื เจา้ หน้าท่ีผู้รบั คำขอฯ
( ) ( )
วันท่ี วนั ท่ี
// //

2. การดำเนนิ การระหวา่ งใหค้ วามชว่ ยเหลอื

๒๘

การดำเนินการระหว่างใหค้ วามชว่ ยเหลอื เป็นกระบวนการของเจ้าหนา้ ที่ เจ้าของสำนวนในการพิจารณา
ทำความเหน็ วา่ เหน็ สมควรจ่ายค่าตอบแทนผู้เสียหายหรอื ไมแ่ ละควรจ่ายจำนวนเทา่ ใด โดยทำเป็นบนั ทึกความเห็น
เสนอคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา (สชง.7)
โดยระบุถึงพฤติการณ์แห่งคดี ผลการสอบสวนของพนักงานสอบสวน ข้อเท็จจริงจากการรวบรวมพยานหลักฐาน
ของพนกั งานเจ้าหน้าท่ี ข้อมลู ผู้เสียหาย เปน็ ต้น จากนั้นทำรายงานสำนวนคดีเพอื่ เสนอท่ปี ระชุมคณะอนุกรรมการ
พิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญาประจำจังหวัด เพื่อมี คำวินิจฉัย
การดำเนนิ การดังกลา่ ว ใชร้ ะยะเวลาในการดำเนนิ การภายใน 7 วันนับแต่วนั ทเี่ อกสารครบ

แบบรายงาน หนา้
- แบบบนั ทึกความเห็นเสนอคณะอนกุ รรมการพจิ ารณาฯ (สชง.7) 21
- รายงานสำนวนคดี (ตารางขวาง) 25
- คำวนิ ิจฉัย 26

ตวั อยา่ ง ๒๑

บนั ทึกความเหน็ เสนอคณะกรรมการพจิ ารณาคา่ ตอบแทนผเู้ สียหาย
และคา่ ทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา
เลขทรี่ บั คำขอ : 00/2565
ชอื่ ผเู้ สียหาย : นายสายฟ้า ธารน้ำทพิ ย์

วนั ทเี่ กดิ เหตุ 16 กนั ยายน 2564 ยนื่ ภายในระยะเวลา ๑ ปี
วนั ทแ่ี จง้ ความ 16 กนั ยายน 2564 ยนื่ เกนิ ระยะเวลา ๑ ปี
วนั ทย่ี นื่ คำขอ 7 มนี าคม 2565
อายุขณะเกดิ เหตุ 45 ปี
เจา้ ของสำนวน นางสาวกติ ตวิ รรณ เจรญิ พงศ์

พฤติการณ์แหง่ คดี 1. บันทึกการแจ้งสิทธิ์ คดีอาญาที่ 0/2564 สถานีตำรวจภูธรเมืองยะลา ลงวันที่
ผลการสอบสวนของ 16 กันยายน 2565 ร้อยตำรวจเอกพายุ ทอร์นาโด รองสารวัตร (สอบสวน)
พนกั งานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรเมืองยะลา ได้แจ้งสิทธิให้นางสายน้ำ ธารน้ำทิพย์ (ทายาท)
หรือผลคำพพิ ากษา เป็นผเู้ สียหายในกรณคี วามผดิ ฐานขับรถโดยประมาทเปน็ เหตุให้ผอู้ น่ื ถึงแก่ความตาย

2. ผลการสอบสวนของพนกั งานสอบสวน
เมื่อวนั ท่ี 16 กันยายน 2564 เวลาประมาณ 10.00 น. บรเิ วณถนนสายยะหา ต.ยะหา
อ.ยะหา จ.ยะลา ขณะที่นายสายฟ้า ธารน้ำทิพย์ (ผู้ตาย) กำลังเดินข้ามถนน ได้มี
รถจักรยานยนต์ ปรากฏชื่อผู้ขบั ขี่คอื นายมดแดง แรงเยอะ ซึ่งขับมาด้วยความเรว็ สงู ได้
เฉยี่ วชนนายสายฟ้าฯ จนลม้ ลง เปน็ เหตใุ หไ้ ด้รับบาดเจบ็ และเสียชวี ติ ในเวลาตอ่ มา

จากการสอบสวนเบ้ืองต้นพบว่า ผเู้ สยี หายไมม่ ีสว่ นเกีย่ วข้องกบั การกระทำความผิด

ข้อเทจ็ จริงจากการ 1. สำเนาใบมรณบัตร สำนักทะเบียนอำเภอยะหา เลขที่ 02-2222222 นายสายฟ้า

รวบรวม ธารนำ้ ทิพย์ ระบุสาเหตกุ ารตายเกิดจากการบาดเจ็บทศ่ี รี ษะรุนแรงจากอุบัตเิ หตุรถชน

พยานหลกั ฐาน

ของพนักงาน

เจา้ หนา้ ที่

ข้อมลู ของผ้เู สียหาย ขณะเกิดเหตุ นายสายฟ้า ธารนำ้ ทพิ ย์ ผตู้ าย อายุ 45 ปี สถานภาพสมรส มีบุตร 1 คน
อายุ 18 ปี บดิ าและมารดาเสยี ชวี ติ ไปก่อนแลว้

ตัวอยา่ ง ๒๒

บันทกึ ความเห็นเสนอคณะกรรมการพิจารณาคา่ ตอบแทนผ้เู สยี หาย
และคา่ ทดแทนและค่าใชจ้ ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา
เลขทรี่ บั คำขอ : 00/2565
ชอ่ื ผู้เสยี หาย : นายสายฟา้ ธารนำ้ ทิพย์

สรปุ ความเหน็ คดีนี้ นางสายน้ำ ธารน้ำทิพย์ (ภรรยา) ในฐานะทายาท ได้ยื่นคำขอรับค่าตอบแทน

ผู้เสียหายฯ กรณีได้รับความเสียหายแก่ชีวิต เนื่องจากการกระทำความผิดอาญาของผู้อื่น

ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดและเป็นความผิดท้ายพระราชบัญญัตินี้ โดยปรากฏ

ข้อเท็จจริงจากบันทึกการแจ้งสิทธิของพนักงานสอบสวนว่าผู้เสียหายไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง

กับกระทำความผิด ถือว่าเป็นผู้เสียหายตามมาตรา 3 ประกอบมาตรา 17

แห่งพระราชบญั ญัตินี้ จึงมสี ทิ ธทิ จ่ี ะไดร้ บั คา่ ตอบแทนตามหลกั เกณฑท์ ีก่ ฎหมายกำหนด ดงั นี้

1. ค่าตอบแทน กรณีประสบภยั จากรถ เปน็ เงิน 30,000 บาท

2. ค่าจัดการศพ เป็นเงิน 20,000 บาท

3. ค่าขาดไร้อปุ การะเล้ยี งดู เปน็ เงิน 40,000 บาท

รวมเป็นเงิน 90,000 บาท (เกา้ หมนื่ บาทถ้วน)

แต่ปรากฏข้อเท็จจริงว่านางสายนำ้ ธารน้ำทิพย์ (ทายาท) มีสิทธิได้รับค่าเสียหาย

จากบริษทั กลาง 500,000 บาทและได้รับค่าสินไหมทดแทนค่าปลงศพ 35,000 บาท ถือ

ว่าผู้เสียหายมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535

(ประกันภยั ภาคบังคับ) เต็มตามสิทธิและมากกว่าเงินท่ีมีสิทธิไดร้ ับตาม พ.ร.บ.ค่าตอบแทน

ผู้เสียหายฯ เพียงแต่ยงั ได้รบั เงินไมค่ รบถว้ น จงึ เหน็ ควรงดจา่ ย

ตวั อยา่ ง ๒๓

บันทึกความเหน็ เสนอคณะกรรมการพิจารณาคา่ ตอบแทนผู้เสยี หาย
และค่าทดแทนและคา่ ใชจ้ า่ ยแกจ่ ำเลยในคดอี าญา
เลขทร่ี บั คำขอ : 00/2565
ชอื่ ผเู้ สยี หาย : นายสายฟ้า ธารนำ้ ทพิ ย์

ความเห็นพนักงานเจ้าหน้าที่
พิจารณาตามมาตรา 3, 17 และมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญตั ิคา่ ตอบแทนผเู้ สียหาย และค่าทดแทนและ
คา่ ใช้จา่ ยแก่จำเลยในคดอี าญา พ.ศ. 2544 แล้วมีความเหน็ วา่

 เห็นสมควรงดจา่ ย

คดีนี้ นางสายน้ำ ธารน้ำทิพย์ ได้ยื่นคำขอรับค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ กรณีได้รับความเสียหาย
ถึงแก่ชีวิต เนื่องจากการกระทำความผิดอาญาของผู้อื่น โดยปรากฏข้อเท็จจริงจากบันทึกการแจ้งสิทธิฯ
ของพนักงานสอบสวนว่าผู้ตายไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด จึงถือว่าเป็นผู้เสียหาย ตามมาตรา ๓
ประกอบมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติน้ี แตป่ รากฏขอ้ เท็จจริงวา่ นางสายนำ้ ธารน้ำทิพย์ (ทายาท) มีสทิ ธิได้รับ
เงินช่วยเหลอื ตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภยั จากรถ พ.ศ.2535 (ประกันภัยภาคบังคบั ) เตม็ ตามสิทธิและมากกว่า
เงินท่ีมีสทิ ธิไดร้ บั ตาม พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผเู้ สียหายฯ เพียงแตย่ งั ไดร้ บั เงินไม่ครบถ้วน จึงเหน็ ควรงดจ่าย

ลำดบั คา่ ตอบแทนผู้เสยี หาย จำนวนเงิน หมายเหตุ
๑ คา่ ใช้จ่ายทีจ่ ำเป็นในการรกั ษาพยาบาล 0.00
๒ ค่าฟ้นื ฟสู มรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ 0.00
๓ คา่ ขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างทไี่ ม่ 0.00
สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ
๔ ค่าตอบแทนความเสยี หายอื่น 0.00
๕ ค่าตอบแทนกรณีผเู้ สียหายถึงแกค่ วามตาย 0.00
๖ ค่าจดั การศพ 0.00
๗ คา่ ขาดอุปการะเล้ยี งดู 0.00
๘ ค่าเสยี หายอื่น 0.00

รวมเปน็ เงนิ 0.00 บาท

(นางชญาทติ ย์ จิตหลัง) (นางสาวกิตติวรรณ เจรญิ พงศ)์
นกั วชิ าการยตุ ธิ รรมชำนาญการพิเศษ นักวิชาการยุติธรรม

ตวั อยา่ ง ๒๔

บันทึกความเห็นเสนอคณะกรรมการพจิ ารณาค่าตอบแทนผู้เสียหาย
และค่าทดแทนและคา่ ใช้จา่ ยแก่จำเลยในคดีอาญา
เลขทรี่ บั คำขอ : 00/2565
ช่ือผู้เสยี หาย : นายสายฟา้ ธารนำ้ ทิพย์

ความเหน็ ผู้อำนวยการสำนักงานชว่ ยเหลือทางการเงินแก่ผูเ้ สยี หายและจำเลยในคดีอาญา
พจิ ารณาตามมาตรา 3, 17 และมาตรา 22 แหง่ พระราชบัญญัตคิ า่ ตอบแทนผเู้ สยี หาย และค่าทดแทนและ
คา่ ใช้จา่ ยแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 แลว้ มีความเหน็ ว่า

 เห็นสมควรงดจา่ ย

คดีนี้ นางสายน้ำ ธารน้ำทิพย์ ได้ยื่นคำขอรับค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ กรณีได้รับความเสียหาย
ถึงแก่ชีวิต เนื่องจากการกระทำความผิดอาญาของผู้อื่น โดยปรากฏข้อเท็จจริงจากบันทึกการแจ้งสิทธิฯ
ของพนักงานสอบสวนว่าผู้ตายไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด จึงถือว่าเป็นผู้เสียหาย ตามมาตรา ๓
ประกอบมาตรา ๑๗ แหง่ พระราชบัญญัตนิ ี้ แต่ปรากฏข้อเท็จจริงว่านางสายน้ำ ธารน้ำทพิ ย์ (ทายาท) มสี ทิ ธไิ ด้รับ
เงนิ ช่วยเหลือตามพ.ร.บ.คมุ้ ครองผปู้ ระสบภยั จากรถ พ.ศ.2535 (ประกันภยั ภาคบงั คับ) เต็มตามสิทธแิ ละมากกว่า
เงินท่ีมสี ิทธิได้รบั ตาม พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผูเ้ สียหายฯ เพยี งแต่ยงั ไดร้ ับเงนิ ไม่ครบถว้ น จงึ เห็นควรงดจา่ ย

ลำดบั คา่ ตอบแทนผูเ้ สยี หาย จำนวนเงนิ หมายเหตุ
๑ คา่ ใช้จ่ายทจ่ี ำเป็นในการรักษาพยาบาล 0.00
๒ คา่ ฟ้ืนฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจติ ใจ 0.00
๓ ค่าขาดประโยชนท์ ำมาหาได้ในระหวา่ งท่ีไม่ 0.00
สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ
๔ คา่ ตอบแทนความเสยี หายอืน่ 0.00
๕ คา่ ตอบแทนกรณผี ้เู สยี หายถงึ แก่ความตาย 0.00
๖ ค่าจดั การศพ 0.00
๗ ค่าขาดอุปการะเล้ียงดู 0.00
๘ คา่ เสียหายอืน่ 0.00

รวมเปน็ เงนิ 0.00 บาท

(ดร.อภิรชั ศกั ด์ิ รัชนีวงศ์)
ผอู้ ำนวยการสำนักงานยตุ ธิ รรมจังหวดั ยะลา

25

รายละเอยี ดผเู้ สยี หาย พฤตกิ ารณแ์ หง่ คดี ความเหน็ พนกั งานเจา้ หนา้ ท่ี

เลขทร่ี บั 1. บันทึกการแจ้งสิทธิ์ คดีอาญาที่ 0/2564 สถานีตำรวจภูธร คดีนี้ นางสายน้ำ ธารน้ำทิพย์ (ภรรยา) ในฐานะทายาท ได้ยื่น
ชื่อผเู้ สยี หาย นายสายฟา้ ธารนำ้ ทิพย์ เมืองยะลา ลงวันที่ 16 กันยายน 2565 ร้อยตำรวจเอกพายุ
อายุขณะเกดิ เหตุ 60 ปี ทอร์นาโด รองสารวัตร (สอบสวน) สถานีตำรวจภูธรเมืองยะลา คำขอรับค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ กรณีได้รับความเสียหายแก่ชีวิต
อาชพี รบั จา้ ง ได้แจ้งสิทธิให้นางสายน้ำ ธารน้ำทิพย์ (ทายาท) เป็นผู้เสียหาย เนื่องจากการกระทำความผิดอาญาของผู้อื่นภายในระยะเวลา
รายได้ 9,000 บาท/เดอื น ใ น ก ร ณ ี ค ว า ม ผ ิ ด ฐ า น ข ั บ ร ถ โ ด ย ป ร ะ ม า ท เ ป ็ น เ ห ต ุ ใ ห ้ ผ ู ้ อ่ื น ที่กฎหมายกำหนดและเป็นความผิดท้ายพระราชบญั ญตั ินี้ โดยปรากฏ
สถานภาพ สมรส ถึงแกค่ วามตาย
ข้อเท็จจริงจากบันทึกการแจ้งสิทธิของพนักงานสอบสวนว่าผู้เสียหาย
2. ผลการสอบสวนของพนกั งานสอบสวน ไม่มีส่วนเกย่ี วข้องกบั กระทำความผิด ถือวา่ เปน็ ผูเ้ สยี หายตามมาตรา 3
เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2564 เวลาประมาณ 10.00 น. บริเวณ
ประกอบมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัตินี้ จึงมีสิทธิที่จะได้รับ
คา่ ตอบแทนตามหลกั เกณฑท์ ่ีกฎหมายกำหนด ดงั นี้

จำนวนบตุ ร 1 คน ถนนสายยะหา ต.ยะหา อ.ยะหา จ.ยะลา ขณะที่นายสายฟ้า 1. ค่าตอบแทน กรณีประสบภยั จากรถ เปน็ เงิน 30,000 บาท ตวั อยา่ ง
อายุ 10 ปี
วนั ทเี่ กดิ เหตุ 16 กันยายน 2564 ธารน้ำทิพย์ (ผู้ตาย) กำลังเดินข้ามถนน ได้มีรถจักรยานยนต์ 2. ค่าจดั การศพ เปน็ เงนิ 20,000 บาท
วนั ทย่ี น่ื คำขอ 7 มีนาคม 2565 ปรากฏชื่อผูข้ ับขีค่ ือ นายมดแดง แรงเยอะ ซึ่งขบั มาด้วยความเรว็
สูงได้เฉี่ยวชนนายสายฟ้าฯ จนล้มลง เป็นเหตุให้ได้รับบาดเจ็บ 3. ค่าขาดไรอ้ ปุ การะเลีย้ งดู เป็นเงิน 40,000 บาท
และเสียชวี ติ ในเวลาตอ่ มา
รวมเป็นเงิน 90,000 บาท (เกา้ หมื่นบาทถ้วน)

แต่ปรากฏข้อเท็จจริงว่านางสายน้ำ ธารน้ำทิพย์ (ทายาท)

จากการสอบสวนเบื้องต้นพบว่า ผู้เสียหายไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง มีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากบริษัทกลาง 500,000 บาทและได้รับ

กบั การกระทำความผิด ค่าสินไหมทดแทนค่าปลงศพ 35,000 บาท ถือว่าผู้เสียหายมีสิทธิ

3. ขอ้ เทจ็ จรงิ จากการรวบรวมพยานหลักฐานของเจ้าหนา้ ที่ ไดร้ ับเงินช่วยเหลือตามพ.ร.บ.คุม้ ครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535

สำเนาใบมรณบัตร สำนักทะเบียนอำเภอยะหา เลขที่ (ประกันภัยภาคบังคับ) เต็มตามสิทธิและมากกว่าเงินที่มีสิทธิได้รับ
02-2222222 นายสายฟ้า ธารน้ำทิพย์ ระบุสาเหตุการตาย ตาม พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ เพียงแต่ยังได้รับเงินไม่ครบถ้วน
เกดิ จากการบาดเจบ็ ที่ศรี ษะรุนแรงจากอบุ ตั เิ หตุรถชน จงึ เหน็ ควรงดจา่ ย

ความเหน็ ผอู้ ำนวยการ

เห็นควรงดจ่ายค่าตอบแทน

ตัวอย่าง 26

คำวนิ จิ ฉยั คณะอนกุ รรมการพจิ ารณาค่าตอบแทนผเู้ สยี หาย
และคา่ ทดแทนและคา่ ใชจ้ า่ ยแกจ่ ำเลยในคดอี าญา

คำวินิจฉยั ที่ ยล/๐๐00/๒๕๖๕ วันท่ี 10 มนี าคม 2565

เรือ่ ง ยน่ื คำขอรบั ค่าตอบแทนผู้เสียหายในคดอี าญา

ด้วยนางสายน้ำ ธารน้ำทิพย์ ได้ยื่นคำขอรับค่าตอบแทนผู้เสียหายในคดีอาญา เลขที่รับ
0/ยล/๐๐00/๒๕๖๕ กรณีความผดิ ต่อชวี ติ

คณะอนุกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่าย
แก่จำเลยในคดีอาญาประจำจังหวัดยะลา ในการประชุมคร้ังที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2565
พิจารณาตามความในมาตรา 14/1 มาตรา 15 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย
และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2559
และข้อ 14 แห่งระเบียบคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่าย
แก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2559 ประกอบกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและอัตราในการ
จ่ายค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบบั ที่ 2) พ.ศ. 2559 ข้อ 3 (4) จึงวนิ จิ ฉัยให้งดจา่ ยค่าตอบแทน

กรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการ มีสิทธิอุทธรณ์
ต่อคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย ตามมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติ
คา่ ตอบแทนผู้เสียหาย และคา่ ทดแทนและค่าใชจ้ ่ายแก่จำเลยในคดอี าญา พ.ศ. ๒๕๔๔ และทแ่ี ก้ไขเพมิ่ เติม (ฉบับ
ท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙

(ดร.อภริ ัชศักด์ิ รัชนีวงศ์)
ผอู้ ำนวยการสำนักงานยุตธิ รรมจังหวัดยะลา
เลขานกุ ารคณะอนกุ รรมการพจิ ารณาค่าตอบแทนผเู้ สยี หายฯ ประจำจงั หวดั ยะลา

27

3. การดำเนินการหลงั ให้ความชว่ ยเหลอื

การดำเนินการหลังให้ความช่วยเหลือ เป็นกระบวนการในการทำคำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการ
ภายใน 3 วันและแจ้งผลคำวินิจฉัย หากผู้ผู้ยื่นคำขอเห็นด้วยกับคำวินิจฉัยจึงจะดำเนินการทำสัญญารับเงิน
ค่าตอบแทนผู้เสียหาย (สชง.15/16) แต่หากผู้ยื่นคำขอไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยมีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัย
ของคณะอนุกรรมการภายใน 30 วันนบั แต่วนั ที่ไดร้ ับแจง้ คำวินจิ ฉัย

การทำสัญญารับเงินค่าตอบแทนผู้เสียหาย ผู้ยื่นคำขอต้องเตรียมเอกสาร คือ สำเนาคำวินิจฉัยที่ได้รับ
สำเนาบตั รประจำตัวประชาชนและสำเนาสมุดบญั ชีธนาคารที่เปน็ ช่อื ของผมู้ สี ิทธริ ับเงนิ เทา่ นน้ั

แบบรายงาน หนา้
- แบบคำขอรับเงนิ คา่ ตอบแทนผู้เสยี หายฯ (สชง.15) 28
- แบบคำขอรบั เงินผา่ นธนาคาร (สชง.16) 31
- แบบแจง้ ขอ้ มลู การรบั โอนผ่านระบบ KTB Corporate Online 32
- แบบอุทธรณ์คำวนิ ิจฉยั คณะอนกุ รรมการฯ 33

28

แบบคำขอรบั เงนิ ค่าตอบแทนผเู้ สยี หาย และคา่ ทดแทนและคา่ ใชจ้ า่ ยแกจ่ ำเลยในคดอี าญา สชง.15
/25
โปรดทำเครอ่ื งหมาย  ลงในชอ่ ง  พรอ้ มทงั้ กรอกขอ้ ความ

เลขท่ีรบั
วันท่ีย่ืน

1 ขา้ พเจ้า (นาย/นาง/นางสาว/อน่ื ๆ ระบุ )

ช่ือ ชอ่ื สกุล

ได้ยนื่ แบบคำขอรบั บคา่ ตอบแทน และค่าทดแทนและคา่ ใช้จา่ ยแก่จำเลยในคดอี าญา เลขทีร่ ับ

เมอ่ื วันที่ ท่ีอยู่ที่สามารถติดต่อได้

โทรศพั ท์

กรณผี เู้ สยี หาย กรณจี ำเลย

ผ้เู สียหาย  ผูเ้ สยี หาย
 ทายาทผู้มีสิทธิ
 ทายาทผมู้ ีสทิ ธิ
 ผบู้ ุพการี
 ผู้บพุ การี
 ผู้สบื สันดาน
 ผู้สืบสันดาน  สามหี รือภรรยา
 ผทู้ ไ่ี ดร้ ับการแต่งตงั้ ตามกฎหมายหรือได้รับมอบ
 สามหี รือภรรยา อำนาจจากจำเลยและมีความเกี่ยวข้องกับจำเลยใน
ฐานะเปน็
 ผู้ที่ได้รับการแต่งต้งั ตามกฎหมายหรอื ไดร้ ับมอบอำนาจ ระบุ .

2 จากผู้เสยี หายและมคี วามเก่ียวขอ้ งกับผเู้ สียหายในฐานะเปน็
ระบุ .

รายการคา่ ตอบแทน ค่าทดแทนและคา่ ใชจ้ ่ายท่ไี ด้รับอนุมตั ิตามมติคณะกรรมการพิจารณาคา่ ตอบแทนผู้เสียหายและ

คา่ ทดแทนและค่าใช้จา่ ยแก่จำเลยในคดีอาญา คร้งั ที่ เม่ือวนั ท่ี .

กรณผี เู้ สยี หาย กรณีจำเลย

 คา่ ใช้จ่ายที่จำเปน็ ในการรักษาพยาบาล  ค่าทดแทนการถูกคุมขงั

จำนวนเงนิ บาท จำนวนเงิน บาท

 ค่าฟืน้ ฟสู มรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ  คา่ ใชจ้ ่ายทจี่ ำเป็นในการรกั ษาพยาบาล

จำนวนเงนิ บาท จำนวนเงนิ บาท

 คา่ ขาดประโยชนท์ ำมาหาได้ในระหว่างที่ไมส่ ามารถ  ค่าฟืน้ ฟูสมรรถภาพทางรา่ งกายและจติ ใจ

ประกอบการงานได้ตามปกติ จำนวนเงิน บาท

จำนวนเงนิ บาท

 คา่ เสียหายอน่ื นอกจากค่ารักษาพยาบาล

ค่าฟ้ืนฟสู มรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ

และค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้

จำนวนเงนิ บาท

29

กรณผี เู้ สยี หาย กรณจี ำเลย

 ค่าตอบแทนในกรณีท่ีผู้เสียหายถงึ แก่ความตาย  คา่ ขาดประโยชนท์ ำมาหาไดร้ ะหวา่ งถกู ดำเนินคดี

จำนวนเงิน บาท จำนวนเงนิ บาท

 คา่ ตอบแทนความเสียหายอนื่  คา่ ใช้จ่ายที่จำเปน็ ในการดำเนนิ คดี

 คา่ จดั การศพ  คา่ ทนายความ

จำนวนเงิน บาท จำนวนเงิน บาท

 คา่ ขาดอุปการะเลี้ยงดู  ค่าใช้จา่ ยอ่นื ๆ ในการดำเนนิ คดี

จำนวนเงนิ บาท จำนวนเงนิ บาท

 คา่ เสียหายอืน่ ๆ ระบุ  ค่าทดแทนในกรณที ่ีจำเลยถึงแก่ความตาย

จำนวนเงนิ บาท  ค่าชดเชย

จำนวนเงิน บาท

 คา่ จัดการศพ

จำนวนเงนิ บาท

 คา่ อุปการะเลี้ยงดู

จำนวนเงิน บาท

 คา่ เสียหายอ่นื นอกจากคา่ ชดเชย ค่าจัดการศพ

และค่าอุปการะเล้ยี งดู

จำนวนเงิน บาท

รวมเป็นจำนวนเงินท่ีไดร้ บั ท้งั ส้นิ บาท รวมเป็นจำนวนเงินทไ่ี ด้รบั ทั้งสิน้ บาท
( )( )

30

3 การรับเงิน

มคี วามประสงคข์ อรับเงนิ คา่ ตอบแทนหรอื คา่ ทดแทนและคา่ ใชจ้ ่ายจากทางราชการ

 เงินสด

 เช็คธนาคาร

โอนผ่านธนาคาร สาขา

ช่อื บัญชี

เลขท่บี ัญชี

ลงช่ือ x ผ้มู ีสิทธริ ับเงนิ

()

วนั ท่ี เดอื น พ.ศ.

ได้รบั เงนิ  ค่าตอบแทน  คา่ ทดแทนและค่าใช้จ่ายจากทางราชการ เป็น

 เงินสด จำนวน บาท ( )
)
 เช็คธนาคารกรงุ ไทย จำกดั (มหาชน) สาขา ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารเอ เลขท่ี

ลงวันที่ จำนวนเงนิ บาท (

ไว้ถูกตอ้ งแลว้

ลงชอื่ x ผู้รับเงนิ
()

ลงชือ่ ผู้จา่ ยเงิน
()

หมายเหตุ 1. ผรู้ บั เงินต้องแสดงบตั รประจำตัวประชาชน หรอื บตั รข้าราชการ ตอ่ เจา้ หนา้ ท่ีผจู้ า่ ยเงนิ

2. กรณผี ู้เสยี หาย จำเลยหรอื ทายาทไมส่ ามารถมารบั เงนิ ด้วยตนเองได้ ใหม้ อบอำนาจใหบ้ ุคคลอ่ืน
มารับแทน

31

แบบคำขอรบั เงินผา่ นธนาคาร สชง.16

วนั ที่

เรียน อธิบดกี รมค้มุ ครองสิทธิและเสรีภาพ

ข้าพเจา้ อยบู่ ้านเลขท่ี

ถนน ตำบล/แขวง อำเภอ/เขต

จงั หวดั รหัสไปรษณยี ์ โทรศัพท์

โทรสาร บตั รประจำตัว เลขที่

วันท่อี อกบัตร วนั ทีห่ มดอายุ

มคี วามประสงค์ให้กรมคมุ้ ครองสิทธแิ ละเสรีภาพ โอนเงินคา่

จำนวนเงิน บาท ( )

ตามคำวนิ จิ ฉยั ของคณะกรรมการพิจารณาคา่ ตอบแทนผู้เสยี หาย และค่าทดแทนและค่าใชจ้ ่ายแก่จำเลยใน

คดอี าญาเลขที่ ลงวนั ที่

เขา้ บัญชเี งินฝากธนาคาร สาขา

ชอื่ บญั ชี เลขท่ีบัญชี

ทั้งนี้ หากมีค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่นใดที่ธนาคารเรียกเก็บ ข้าพเจ้ายินยอมให้หักเงินดังกล่าว
จากเงินที่จะไดร้ ับจากทางราชการ

ลงชอื่ x ผยู้ ่นื คำขอ
( )

32

แบบแจง้ ขอ้ มลู การรบั โอนผา่ นระบบ
KTB Corporate Online

วันที่ เดอื น พ.ศ.

เรียน เลขานกุ ารกรม

ข้าพเจ้า ตำแหนง่
เลขประจำตัวประชาชน

สำนัก/กอง/ศนู ย์ สงั กัด กรมคมุ้ ครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม

อยบู่ า้ นเลขที่ ซอย ถนน ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต จงั หวัด รหัสไปรษณีย์

ขอรับเงินผ่านระบบ KTB Corporate Online โดยได้แนบสำเนาหน้าสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร
มาเพ่ือเป็นหลักฐานด้วยแล้ว

 กรณเี ป็นขา้ ราชการ ลกู จา้ ง พนักงานราชการ ทีส่ ังกดั ราชการผจู้ ่าย

 เพือ่ เข้าบญั ชีเงนิ ฝากธนาคารท่ีใช้สำหรับเงนิ เดอื น ค่าจา้ ง หรอื ค่าตอบแทน

บญั ชเี งินฝากธนาคาร สาขา

ประเภท เลขทบี่ ญั ชีเงินฝากธนาคาร

 เพ่ือเข้าบญั ชเี งนิ ฝากธนาคารอ่ืน (ตามทีอ่ ธบิ ดีกรมค้มุ ครองสิทธิและเสรภี าพอนุญาต)

บัญชีเงนิ ฝากธนาคาร สาขา

ประเภท เลขทบ่ี ญั ชีเงินฝากธนาคาร

 กรณเี ป็นบุคคลภายนอก เพ่อื เข้าบญั ชีเงินฝากธนาคาร

สาขา ประเภท เลขท่บี ญั ชเี งินฝากธนาคาร

และเมื่อสำนักงานเลขานุการกรมโอนเงินผ่านระบบ KTB Corporate Online แล้ว ให้ส่งข้อมูลการโอนเงินผ่าน
ช่องทาง

 ข้อความแจ้งเตือนผา่ นโทรศัพท์มือถือ (SMS) ทีเ่ บอรโ์ ทรศัพท์

 จดหมายอเิ ลก็ ทรอนิกส์ (e-mail) ตาม e-mail address

ลงชือ่ ผู้มสี ิทธิรบั เงิน
()

หมายเหตุ : เลขที่ของแบบแจ้งข้อมูลการรับเงินโอนผา่ นระบบ KTB Corporate Online ให้ระบุหมายเลขกำกับ
เรยี งกนั ไปทกุ ฉบับ เพ่อื ประโยชนใ์ นการจัดทำทะเบยี นคมุ การโอนเงิน

33

อุทธรณค์ ำวนิ จิ ฉยั คณะอนกุ รรมการฯ เลขทรี่ บั
ของผเู้ สยี หายในคดอี าญา

วันที่ เดอื น พ.ศ.

เร่ือง ขออุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทน

และคา่ ใช้จ่ายแกจ่ ำเลยในคดีอาญา

เรียน คณะกรรมการพิจารณาคา่ ตอบแทนผู้เสยี หาย และคา่ ทดแทนและคา่ ใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา

ข้าพเจ้า ผู้ยน่ื อทุ ธรณ์

เชอื้ ชาติ สัญชาติ อาชีพ

เกิดวันที่ เดือน พ.ศ. อายุ ปี

ที่อยูท่ ่ีสามารถติดต่อได้ อยบู่ า้ นเลขท่ี หมทู่ ่ี ตรอก/ซอย

ถนน ตำบล/แขวง อำเภอ/เขต

จงั หวดั รหสั ไปรษณีย์ โทรศพั ท์

ขอยน่ื อุทธรณ์คำวินจิ ฉยั ของคณะอนกุ รรมการพจิ ารณาคา่ เสียหาย และคา่ ทดแทนและคา่ ใชจ้ ่ายแก่จำเลย
ในคดีอาญา ต่อคณะกรรมการพิจารณาคา่ ตอบแทนผเู้ สยี หาย และคา่ ทดแทนและคา่ ใช้จ่ายแก่จำเลยในคดอี าญา

กรณี (นาย/นาง/นางสาว/อื่นๆ) ผู้เสียหาย

ซึ่งได้รับความเสียหายในคดอี าญา ความผิดฐาน

โดยคำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลย

ในคดีอาญา ในการประชุมครง้ั ท่ี

เมื่อวันที่ เลขคำวนิ จิ ฉยั ที่

 ให้จา่ ยค่าตอบแทน รวมเปน็ เงนิ ท้ังส้นิ บาท

 ให้งดจ่าย

 ให้ยกคำขอ

เนอื่ งจาก

ไดร้ ับคำวินิจฉยั วนั ที่

ซึ่งข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยดังกล่าว จึงขอยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยตามมาตรา 25
แห่งพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544
และทีแ่ ก้ไขเพิ่มเติม (ฉบบั ที่ 2 ) พ.ศ. 2559 โดยมขี ้อโตแ้ ย้งตามทจ่ี ะกลา่ วตอ่ ไปนี้

34

ด้วยเหตุผลที่ได้เรียนต่อคณะกรรมการดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ขอคณะกรรมการได้พิจารณา
กลบั หรอื แก้คำวินจิ ฉัยของคณะอนุกรรมการ ให้จ่ายค่าตอบแทนผเู้ สียหายในคดีอาญาตามคำขอของข้าพเจ้าด้วย
เพ่อื ประโยชน์แห่งความยตุ ธิ รรม ขอคณะกรรมการไดโ้ ปรดพจิ ารณา

ลงชื่อ ผู้ยนื่ อุทธรณ์
()

คำร้องฉบับนี้ เปน็ ผเู้ ขยี น/พมิ พ์

ลงชอ่ื เปน็ ผเู้ ขียน/พมิ พ์
()

ลงชื่อ พนักงานเจ้าหนา้ ท่ีผรู้ ับอุทธรณ์
()

เอกสารทแี่ นบมาพรอ้ มน้ี

 คำวินิจฉยั ของคณะอนกุ รรมการ  ใบเสรจ็ คา่ รักษาพยาบาล/คา่ ฟ้ืนฟู (ถา้ มี)
 สำเนาบัตรประจำตวั ประชาชน/บตั ร  รายงานความเห็นแพทย์ (ถา้ ม)ี
 สำเนาทะเบยี นบ้าน  รายงานชันสูตรพลิกศพ (ถา้ มี)
 หนงั สอื มอบอำนาจ  สำเนาใบเปลี่ยนชอื่ สกุล (ถา้ มี)
 รายงานคดีของสำนักงานตำรวจแหง่ ชาติ (ถ้ามี)  สำเนามรณบัตร (ถา้ มี)
 รายงานความเห็นของพนกั งานสอบสวน (ถ้ามี)  อ่ืนๆ
 สำเนาคำพิพากษา (ถ้าม)ี

35

กรณตี วั อยา่ ง

1. กรณไี ดร้ บั ความเสยี หายถงึ แกช่ วี ติ

“เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2564 เวลา 10.00 นาฬิกา นายมดแดง แรงเยอะ (คู่กรณี) ขับข่ี
รถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนคนข้ามถนน คือนายสายฟ้า ธารน้ำทิพย์ (ผู้เสียหาย) ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
ในเวลาต่อมา บริเวณถนนสายยะหา - บ้านเนยี ง ตำบลยะหา อำเภอยะหา จงั หวัดยะลา จากการสอบสวนเบื้องตน้
ผู้เสียหายไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำความผิด ปรากฏสาเหตุการตายจากใบมรณะบัตร ระบุสาเหตุการตาย
เกิดจากการบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง โดยขณะเกิดเหตุนายสายฟ้าฯ อายุ 45 ปี รายได้ 9,000 ต่อเดือน
สถานภาพสมรส บิดาและมารดาถึงแกค่ วามตายนางสายน้ำ ธารน้ำทิพย์ (ภรรยา) จึงมายื่นคำขอรับค่าตอบแทน
ผูเ้ สียหายฯ ณ ท่ที ำการสำนกั งานยุตธิ รรมจงั หวัดยะลา จากการรวบรวมพยานหลกั ฐานเพิ่มเตมิ ปรากฏข้อเท็จจริง
ตามหนังสือรายงานอุบัติเหตุประเมินค่าเสียหายของบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด
พิจารณาจากลักษณะอาการของนายสายฟ้าฯ มีสิทธิได้รับค่าเสียหาย 500,000 บาท โดยบริษัทฯ
ได้จา่ ยคา่ สินไหมทดแทนและค่าปลงศพใหแ้ ก่นางนางสายน้ำฯ ทายาท 35,000 บาท”

36

เอกสารทจ่ี ำเปน็ ตอ้ งใช้

1. บนั ทกึ การแจง้ สทิ ธิฯ (สชง.1/03)
2. สำเนารายงานบนั ทกึ ประจำวันเกยี่ วกบั คดี (ช้นั สอบสวน)
3. สำเนาใบมรณบัตร
4. สำเนาบัตรประจำตวั ประชาชนนายสายฟา้ ธารน้ำทิพย์ (ผู้ตาย)
5. สำเนาทะเบียนบา้ น ผูต้ าย
6. สำเนาบัตรประจำตวั ประชาชนนางสายน้ำ ธารน้ำทพิ ย์ (ทายาท)
7. สำเนาทะเบยี นบา้ นทายาท

หากในวันที่ยนื่ คำขอรบั คา่ ตอบแทนผู้เสียหาย ผยู้ ่ืนคำขอฯ มีเอกสารไม่ครบถว้ นหรอื ไม่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่
จะต้องมีบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานที่ต้องย่ืนเพิ่มเติม และให้ผู้ยื่นคำขอฯ ดำเนินการ
ส่งเอกสารเพิ่มเติมให้เจ้าหน้าที่ภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับบันทึกบกพร่อง หากไม่สามารถดำเนินการได้
ภายในกำหนดระยะเวลาดงั กลา่ ว ผูย้ ื่นคำขอฯ ต้องแจง้ เจ้าหน้าทที่ ราบ

ความเห็นของเจา้ หน้าที่

คดีน้ี นางสายน้ำ ธารน้ำทิพย์ (ภรรยา) ในฐานะทายาท ได้ยื่นคำขอรับค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ
กรณีได้รับความเสียหายแก่ชีวิต เนื่องจากการกระทำความผิดอาญาของผู้อืน่ ภายในระยะเวลาทีก่ ฎหมายกำหนด
และเป็นความผิดท้ายพระราชบัญญัติน้ี โดยปรากฏข้อเท็จจริงจากบันทึกการแจ้งสิทธิของพนักงานสอบสวนว่า
ผู้เสียหายไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระทำความผิด ถือว่าเป็นผู้เสียหายตามมาตรา 3 ประกอบมาตรา 17
แหง่ พระราชบัญญตั นิ ้ี จงึ มสี ทิ ธทิ ่ีจะไดร้ บั คา่ ตอบแทนตามหลกั เกณฑท์ กี่ ฎหมายกำหนด ดังน้ี

1. ค่าตอบแทน กรณีประสบภัยจากรถ เป็นเงนิ 30,000 บาท

2. คา่ จัดการศพ เป็นเงิน 20,000 บาท

3. ค่าขาดไร้อุปการะเลย้ี งดู เปน็ เงิน 40,000 บาท

รวมเปน็ เงิน 90,000 บาท (เกา้ หม่ืนบาทถ้วน)

แต่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้เสียหายมีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากบริษัทกลาง 500 ,000 บาท
และได้รับค่าสินไหมทดแทนค่าปลงศพ 35,000 บาท ถือว่าผู้เสียหายมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือ
ตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 (ประกันภัยภาคบังคับ) เต็มตามสิทธิและมากกว่า
เงินทีม่ สี ิทธไิ ด้รับตาม พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผูเ้ สียหายฯ เพยี งแต่ยังไดร้ บั เงนิ ไม่ครบถ้วน จึงเหน็ ควรงดจา่ ย

แบบรายงาน หน้า

- บันทึกความเห็นเสนอคณะกรรมการฯ (สชง.7)
- รายงานสำนวนคดี (ตารางขวาง)
- คำวินจิ ฉัย
- อุทธรณค์ ำวินจิ ฉัยคณะอนกุ รรมการ

ตวั อย่าง 37

บนั ทึกความเหน็ เสนอคณะกรรมการพิจารณาคา่ ตอบแทนผูเ้ สยี หาย
และคา่ ทดแทนและคา่ ใชจ้ ่ายแกจ่ ำเลยในคดอี าญา
เลขทรี่ บั คำขอ : 00/2565
ชอื่ ผูเ้ สยี หาย : นายสายฟา้ ธารนำ้ ทิพย์

วนั ทเ่ี กดิ เหตุ 16 กันยายน 2564 ยน่ื ภายในระยะเวลา ๑ ปี
วนั ทแี่ จง้ ความ 16 กนั ยายน 2564 ยน่ื เกนิ ระยะเวลา ๑ ปี
วนั ทย่ี น่ื คำขอ 7 มีนาคม 2565
อายขุ ณะเกดิ เหตุ 45 ปี
เจา้ ของสำนวน นางสาวกติ ติวรรณ เจรญิ พงศ์

พฤตกิ ารณ์แห่งคดี 1. บันทึกการแจ้งสิทธิ์ คดีอาญาที่ 0/2564 สถานีตำรวจภูธรเมืองยะลา ลงวันท่ี
ผลการสอบสวนของ 16 กันยายน 2565 ร้อยตำรวจเอกพายุ ทอร์นาโด รองสารวัตร (สอบสวน)
พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรเมืองยะลา ได้แจ้งสิทธิให้นางสายน้ำ ธารน้ำทิพย์ (ทายาท)
หรือผลคำพิพากษา เปน็ ผ้เู สยี หายในกรณคี วามผิดฐานขบั รถโดยประมาทเป็นเหตุใหผ้ ู้อ่นื ถงึ แกค่ วามตาย

2. ผลการสอบสวนของพนักงานสอบสวน
เมอ่ื วันท่ี 16 กนั ยายน 2564 เวลาประมาณ 10.00 น. บริเวณถนนสายยะหา ต.ยะหา
อ.ยะหา จ.ยะลา ขณะที่นายสายฟ้า ธารน้ำทิพย์ (ผู้ตาย) กำลังเดินข้ามถนน ได้มี
รถจักรยานยนต์ ปรากฏชื่อผู้ขับข่ีคอื นายมดแดง แรงเยอะ ซึ่งขับมาด้วยความเรว็ สงู ได้
เฉยี่ วชนนายสายฟา้ ฯ จนลม้ ลง เป็นเหตใุ ห้ได้รบั บาดเจบ็ และเสียชวี ิตในเวลาตอ่ มา

จากการสอบสวนเบือ้ งต้นพบว่า ผเู้ สียหายไม่มีสว่ นเก่ียวข้องกบั การกระทำความผดิ

ขอ้ เท็จจริงจากการ 1. สำเนาใบมรณบัตร สำนักทะเบียนอำเภอยะหา เลขที่ 02-2222222 นายสายฟ้า

รวบรวม ธารน้ำทพิ ย์ ระบุสาเหตกุ ารตายเกดิ จากการบาดเจบ็ ท่ศี รี ษะรุนแรงจากอบุ ัติเหตุรถชน

พยานหลักฐาน

ของพนกั งาน

เจ้าหนา้ ท่ี

ข้อมูลของผู้เสียหาย ขณะเกิดเหตุ นายสายฟ้า ธารนำ้ ทพิ ย์ ผตู้ าย อายุ 45 ปี สถานภาพสมรส มีบตุ ร 1 คน
อายุ 18 ปี บดิ าและมารดาเสยี ชวี ติ ไปกอ่ นแล้ว

ตัวอยา่ ง 38

บันทกึ ความเหน็ เสนอคณะกรรมการพิจารณาคา่ ตอบแทนผ้เู สยี หาย
และค่าทดแทนและคา่ ใชจ้ ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา
เลขทร่ี บั คำขอ : 00/2565
ชอื่ ผู้เสียหาย : นายสายฟา้ ธารนำ้ ทพิ ย์

สรปุ ความเหน็ คดีนี้ นางสายน้ำ ธารน้ำทิพย์ (ภรรยา) ในฐานะทายาท ได้ยื่นคำขอรับค่าตอบแทน

ผู้เสียหายฯ กรณีได้รับความเสียหายแก่ชีวิต เนื่องจากการกระทำความผิดอาญาของผู้อื่น

ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดและเป็นความผิดท้ายพระราชบัญญัตินี้ โดยปรากฏ

ข้อเท็จจริงจากบันทึกการแจ้งสิทธิของพนักงานสอบสวนว่าผู้เสียหายไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง

กับกระทำความผิด ถือว่าเป็นผู้เสียหายตามมาตรา 3 ประกอบมาตรา 17

แห่งพระราชบัญญตั ินี้ จึงมสี ทิ ธิทจี่ ะได้รับคา่ ตอบแทนตามหลักเกณฑท์ ีก่ ฎหมายกำหนด ดงั นี้

1. คา่ ตอบแทน กรณีประสบภัยจากรถ เป็นเงิน 30,000 บาท

2. ค่าจดั การศพ เปน็ เงิน 20,000 บาท

3. ค่าขาดไร้อปุ การะเล้ยี งดู เปน็ เงนิ 40,000 บาท

รวมเป็นเงนิ 90,000 บาท (เก้าหม่นื บาทถว้ น)

แต่ปรากฏข้อเท็จจริงว่านางสายนำ้ ธารน้ำทิพย์ (ทายาท) มีสิทธิได้รับค่าเสียหาย

จากบรษิ ัทกลาง 500,000 บาทและไดร้ บั ค่าสนิ ไหมทดแทนคา่ ปลงศพ 35,000 บาท ถือ

ว่าผู้เสียหายมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535

(ประกันภยั ภาคบังคับ) เต็มตามสิทธิและมากกว่าเงนิ ท่ีมสี ิทธิได้รับตาม พ.ร.บ.ค่าตอบแทน

ผูเ้ สยี หายฯ เพียงแต่ยังไดร้ บั เงนิ ไมค่ รบถว้ น จงึ เห็นควรงดจ่าย

ตัวอยา่ ง 39

บันทกึ ความเห็นเสนอคณะกรรมการพจิ ารณาคา่ ตอบแทนผู้เสียหาย
และคา่ ทดแทนและค่าใช้จา่ ยแก่จำเลยในคดีอาญา
เลขทร่ี บั คำขอ : 00/2565
ชอ่ื ผเู้ สียหาย : นายสายฟา้ ธารนำ้ ทิพย์

ความเห็นพนักงานเจ้าหนา้ ที่
พจิ ารณาตามมาตรา 3, 17 และมาตรา 22 แห่งพระราชบญั ญตั คิ ่าตอบแทนผู้เสียหาย และคา่ ทดแทนและ
ค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดอี าญา พ.ศ. 2544 แลว้ มีความเห็นว่า

 เห็นสมควรงดจา่ ย

คดีนี้ นางสายน้ำ ธารน้ำทิพย์ ได้ยื่นคำขอรับค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ กรณีได้รับความเสียหาย
ถึงแก่ชีวิต เนื่องจากการกระทำความผิดอาญาของผู้อื่น โดยปรากฏข้อเท็จจริงจากบันทึกการแจ้งสิทธิฯ
ของพนักงานสอบสวนว่าผู้ตายไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด จึงถือว่าเป็นผู้เสียหาย ตามมาตรา ๓
ประกอบมาตรา ๑๗ แหง่ พระราชบญั ญัตินี้ แตป่ รากฏขอ้ เทจ็ จรงิ วา่ นางสายน้ำ ธารน้ำทิพย์ (ทายาท) มีสิทธิได้รับ
เงนิ ชว่ ยเหลอื ตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภยั จากรถ พ.ศ.2535 (ประกันภยั ภาคบังคบั ) เตม็ ตามสิทธแิ ละมากกว่า
เงินทีม่ ีสทิ ธิไดร้ บั ตาม พ.ร.บ.คา่ ตอบแทนผูเ้ สยี หายฯ เพยี งแต่ยงั ไดร้ ับเงนิ ไม่ครบถ้วน จงึ เหน็ ควรงดจ่าย

ลำดบั คา่ ตอบแทนผเู้ สยี หาย จำนวนเงิน หมายเหตุ
๑ คา่ ใช้จ่ายท่จี ำเป็นในการรกั ษาพยาบาล 0.00
๒ คา่ ฟื้นฟูสมรรถภาพทางรา่ งกายและจติ ใจ 0.00
๓ ค่าขาดประโยชนท์ ำมาหาได้ในระหว่างท่ไี ม่ 0.00
สามารถประกอบการงานไดต้ ามปกติ
๔ ค่าตอบแทนความเสียหายอืน่ 0.00
๕ คา่ ตอบแทนกรณีผู้เสยี หายถงึ แกค่ วามตาย 0.00
๖ คา่ จดั การศพ 0.00
๗ คา่ ขาดอุปการะเล้ยี งดู 0.00
๘ คา่ เสียหายอื่น 0.00

รวมเปน็ เงนิ 0.00 บาท

(นางชญาทิตย์ จติ หลัง) (นางสาวกติ ตวิ รรณ เจรญิ พงศ์)
นักวชิ าการยุตธิ รรมชำนาญการพเิ ศษ นกั วิชาการยตุ ธิ รรม

ตวั อย่าง 40

บันทกึ ความเหน็ เสนอคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผ้เู สียหาย
และค่าทดแทนและค่าใช้จา่ ยแกจ่ ำเลยในคดอี าญา
เลขทร่ี บั คำขอ : 00/2565
ชอื่ ผเู้ สยี หาย : นายสายฟ้า ธารนำ้ ทพิ ย์

ความเหน็ ผู้อำนวยการสำนกั งานชว่ ยเหลือทางการเงนิ แกผ่ เู้ สียหายและจำเลยในคดีอาญา
พิจารณาตามมาตรา 3, 17 และมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัตคิ า่ ตอบแทนผู้เสียหาย และคา่ ทดแทนและ
คา่ ใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 แล้วมคี วามเหน็ ว่า

 เหน็ สมควรงดจา่ ย

คดีนี้ นางสายน้ำ ธารน้ำทิพย์ ได้ยื่นคำขอรับค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ กรณีได้รับความเสียหาย
ถึงแก่ชีวิต เนื่องจากการกระทำความผิดอาญาของผู้อื่น โดยปรากฏข้อเท็จจริงจากบันทึกการแจ้งสิทธิฯ
ของพนักงานสอบสวนว่าผู้ตายไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด จึงถือว่าเป็นผู้เสียหาย ตามมาตรา ๓
ประกอบมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบญั ญัตนิ ้ี แต่ปรากฏข้อเท็จจริงว่านางสายน้ำ ธารน้ำทิพย์ (ทายาท) มีสทิ ธไิ ด้รับ
เงนิ ช่วยเหลือตามพ.ร.บ.คมุ้ ครองผ้ปู ระสบภยั จากรถ พ.ศ.2535 (ประกนั ภัยภาคบงั คบั ) เตม็ ตามสทิ ธิและมากกว่า
เงินที่มีสิทธิได้รบั ตาม พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสยี หายฯ เพยี งแต่ยังได้รบั เงนิ ไมค่ รบถว้ น จึงเหน็ ควรงดจ่าย

ลำดับ คา่ ตอบแทนผู้เสยี หาย จำนวนเงนิ หมายเหตุ
๑ ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการรกั ษาพยาบาล 0.00
๒ คา่ ฟืน้ ฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจติ ใจ 0.00
๓ ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างทไ่ี ม่ 0.00
สามารถประกอบการงานไดต้ ามปกติ
๔ ค่าตอบแทนความเสียหายอื่น 0.00
๕ ค่าตอบแทนกรณีผู้เสียหายถึงแก่ความตาย 0.00
๖ คา่ จดั การศพ 0.00
๗ คา่ ขาดอปุ การะเลี้ยงดู 0.00
๘ ค่าเสยี หายอื่น 0.00

รวมเปน็ เงนิ 0.00 บาท

(ดร.อภิรชั ศกั ด์ิ รัชนวี งศ)์
ผู้อำนวยการสำนักงานยตุ ธิ รรมจงั หวัด

41

รายละเอยี ดผเู้ สยี หาย พฤตกิ ารณแ์ หง่ คดี ความเหน็ พนกั งานเจา้ หนา้ ท่ี

เลขทร่ี บั 1. บันทึกการแจ้งสิทธิ์ คดีอาญาที่ 0/2564 สถานีตำรวจภูธร คดีนี้ นางสายน้ำ ธารน้ำทิพย์ (ภรรยา) ในฐานะทายาท ได้ย่ืน
ชื่อผเู้ สยี หาย นายสายฟา้ ธารนำ้ ทิพย์ เมืองยะลา ลงวันที่ 16 กันยายน 2565 ร้อยตำรวจเอกพายุ
อายุขณะเกดิ เหตุ 60 ปี ทอร์นาโด รองสารวัตร (สอบสวน) สถานีตำรวจภูธรเมืองยะลา คำขอรับค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ กรณีได้รับความเสียหายแก่ชีวิต
อาชพี รบั จา้ ง ได้แจ้งสิทธิให้นางสายน้ำ ธารน้ำทิพย์ (ทายาท) เป็นผู้เสียหาย เนื่องจากการกระทำความผิดอาญาของผู้อื่นภายในระยะเวลา
รายได้ 9,000 บาท/เดอื น ใ น ก ร ณ ี ค ว า ม ผ ิ ด ฐ า น ข ั บ ร ถ โ ด ย ป ร ะ ม า ท เ ป ็ น เ ห ต ุ ใ ห ้ ผ ู ้ อ่ื น ที่กฎหมายกำหนดและเป็นความผิดท้ายพระราชบญั ญตั ินี้ โดยปรากฏ
สถานภาพ สมรส ถึงแกค่ วามตาย
ข้อเท็จจริงจากบันทึกการแจ้งสิทธิของพนักงานสอบสวนว่าผู้เสียหาย
2. ผลการสอบสวนของพนกั งานสอบสวน ไม่มีส่วนเก่ยี วข้องกบั กระทำความผิด ถือวา่ เปน็ ผู้เสยี หายตามมาตรา 3
เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2564 เวลาประมาณ 10.00 น. บริเวณ
ประกอบมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัตินี้ จึงมีสิทธิที่จะได้รับ
คา่ ตอบแทนตามหลักเกณฑท์ ่ีกฎหมายกำหนด ดงั นี้

จำนวนบตุ ร 1 คน ถนนสายยะหา ต.ยะหา อ.ยะหา จ.ยะลา ขณะที่นายสายฟ้า 1. ค่าตอบแทน กรณีประสบภยั จากรถ เป็นเงิน 30,000 บาท ตวั อยา่ ง
อายุ 10 ปี
วนั ทเี่ กดิ เหตุ 16 กันยายน 2564 ธารน้ำทิพย์ (ผู้ตาย) กำลังเดินข้ามถนน ได้มีรถจักรยานยนต์ 2. คา่ จดั การศพ เปน็ เงนิ 20,000 บาท
วนั ทย่ี น่ื คำขอ 7 มีนาคม 2565 ปรากฏชื่อผูข้ ับขีค่ ือ นายมดแดง แรงเยอะ ซึ่งขบั มาด้วยความเรว็
สูงได้เฉี่ยวชนนายสายฟ้าฯ จนล้มลง เป็นเหตุให้ได้รับบาดเจ็บ 3. ค่าขาดไรอ้ ปุ การะเลีย้ งดู เปน็ เงิน 40,000 บาท
และเสียชวี ติ ในเวลาตอ่ มา
รวมเป็นเงิน 90,000 บาท (เกา้ หมื่นบาทถ้วน)

แต่ปรากฏข้อเท็จจริงว่านางสายน้ำ ธารน้ำทิพย์ (ทายาท)

จากการสอบสวนเบื้องต้นพบว่า ผู้เสียหายไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง มีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากบริษัทกลาง 500,000 บาทและได้รับ

กบั การกระทำความผิด ค่าสินไหมทดแทนค่าปลงศพ 35,000 บาท ถือว่าผู้เสียหายมีสิทธิ

3. ขอ้ เทจ็ จรงิ จากการรวบรวมพยานหลักฐานของเจ้าหนา้ ที่ ไดร้ ับเงินชว่ ยเหลือตามพ.ร.บ.คุม้ ครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535

สำเนาใบมรณบัตร สำนักทะเบียนอำเภอยะหา เลขที่ (ประกันภัยภาคบังคับ) เต็มตามสิทธิและมากกว่าเงินที่มีสิทธิได้รับ
02-2222222 นายสายฟ้า ธารน้ำทิพย์ ระบุสาเหตุการตาย ตาม พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ เพียงแต่ยังได้รับเงินไม่ครบถ้วน
เกดิ จากการบาดเจบ็ ที่ศรี ษะรุนแรงจากอบุ ตั เิ หตุรถชน จงึ เหน็ ควรงดจา่ ย

ความเหน็ ผอู้ ำนวยการ

เห็นควรงดจา่ ยค่าตอบแทน

ตัวอย่าง 42

คำวนิ จิ ฉยั คณะอนกุ รรมการพจิ ารณาคา่ ตอบแทนผเู้ สยี หาย
และคา่ ทดแทนและคา่ ใชจ้ า่ ยแกจ่ ำเลยในคดอี าญา

คำวินจิ ฉัยที่ ยล/๐๐00/๒๕๖๕ วันที่ 10 มีนาคม 2565

เรือ่ ง ยน่ื คำขอรบั ค่าตอบแทนผู้เสยี หายในคดอี าญา

ด้วยนางสายน้ำ ธารน้ำทิพย์ ได้ยื่นคำขอรับค่าตอบแทนผู้เสียหายในคดีอาญา เลขที่รับ
0/ยล/๐๐00/๒๕๖๕ กรณคี วามผิดต่อชวี ิต

คณะอนุกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่าย
แก่จำเลยในคดีอาญาประจำจังหวัดยะลา ในการประชุมครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2565
พิจารณาตามความในมาตรา 14/1 มาตรา 15 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย
และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2559
และข้อ 14 แห่งระเบียบคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่าย
แก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2559 ประกอบกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและอัตราในการ
จ่ายค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเตมิ
(ฉบับท่ี 2) พ.ศ. 2559 ข้อ 3 (4) จึงวนิ จิ ฉยั ให้งดจา่ ยค่าตอบแทน

กรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการ มีสิทธิอุทธรณ์
ต่อคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย ตามมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติ
ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙

(ดร.อภริ ชั ศกั ด์ิ รัชนวี งศ)์
ผอู้ ำนวยการสำนักงานยตุ ิธรรมจังหวัดยะลา
เลขานกุ ารคณะอนกุ รรมการพิจารณาคา่ ตอบแทนผเู้ สยี หายฯ ประจำจงั หวดั ยะลา

ตัวอยา่ ง 43

อทุ ธรณค์ ำวนิ จิ ฉยั คณะอนกุ รรมการฯ เลขทร่ี บั 1/ยล/

0000/2565
ของผเู้ สยี หายในคดอี าญา

วันที่ 20 เดอื น มนี าคม พ.ศ. 2565

เร่ือง ขออุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทน

และค่าใชจ้ า่ ยแกจ่ ำเลยในคดีอาญา

เรียน คณะกรรมการพจิ ารณาค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและคา่ ใชจ้ า่ ยแก่จำเลยในคดีอาญา

ขา้ พเจ้า นางสายนำ้ ธารนำ้ ทพิ ย์ ผ้ยู ื่นอุทธรณ์

เช้อื ชาติ ไทย สญั ชาติ ไทย อาชีพ รับจา้ งท่วั ไป

เกดิ วันที่ 1 เดอื น มกราคม พ.ศ. 2522 อายุ 43 ปี
ทีอ่ ยู่ท่ีสามารถตดิ ตอ่ ได้ อยบู่ ้านเลขที่ 1/1
หมู่ท่ี 1 ตรอก/ซอย -

ถนน - ตำบล/แขวง สะเตง อำเภอ/เขต เมอื ง

จังหวัด ยะลา รหัสไปรษณยี ์ 95000 โทรศัพท์ 099-9999999

ขอย่นื อุทธรณค์ ำวินจิ ฉยั ของคณะอนกุ รรมการพิจารณาค่าเสยี หาย และค่าทดแทนและค่าใช้จา่ ยแก่จำเลย
ในคดีอาญา ต่อคณะกรรมการพจิ ารณาค่าตอบแทนผู้เสยี หาย และคา่ ทดแทนและคา่ ใช้จ่ายแกจ่ ำเลยในคดอี าญา

กรณี (นาย/นาง/นางสาว/อ่ืนๆ) สายฟา้ ธารน้ำทิพย์ ผเู้ สียหาย

ซ่งึ ได้รบั ความเสยี หายในคดอี าญา ความผิดฐาน ขับรถโดยประมาทเปน็ เหตุใหผ้ ู้อืน่ ถงึ แกค่ วามตาย

โดยคำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลย

ในคดีอาญา 0/ยล/0000/2565 ในการประชมุ คร้ังท่ี 3/2565

เม่ือวนั ที่ 10 มีนาคม 2565 เลขคำวินจิ ฉยั ท่ี ยล/0000/2565

 ให้จา่ ยคา่ ตอบแทน รวมเป็นเงนิ ทั้งสน้ิ บาท

 ใหง้ ดจา่ ย

 ใหย้ กคำขอ

เนื่องจาก คณะอนุกรรมการพจิ ารณาในคดีอาญา เลขท่รี บั 1/ยล/0000/2565 กรณีความผิดต่อชีวิต
และจราจร วินิจฉัยให้งดจ่ายค่าตอบแทนผู้เสียหาย ถือว่าผู้เสียหายมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือตามพ.ร.บ.คุ้มครอง
ผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 (ประกันภัยภาคบังคับ) เต็มตามสิทธิและมากกว่าเงินที่มีสิทธิได้รับตามพ.ร.บ.
คา่ ตอบแทนผูเ้ สยี หายฯ เพยี งแต่ยังไดร้ บั เงินไมค่ รบถ้วน

ได้รบั คำวนิ ิจฉยั วนั ท่ี 15 มนี าคม 2565

ตวั อย่าง 44

ซึ่งข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยดังกล่าว จึงขอยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยตามมาตรา 25
แห่งพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544

และทีแ่ ก้ไขเพิ่มเติม (ฉบบั ที่ 2 ) พ.ศ. 2559 โดยมีข้อโต้แย้งตามทีจ่ ะกลา่ วต่อไปน้ี
เนื่องจากนายสายฟ้า ธารน้ำทิพย์ (ผู้ตาย) เป็นหัวหน้าครอบครัวต้องอุปการะเลี้ยงด ส่งเสียบุตร

อายุ 10 ปี เรียนหนังสือ ต้องผ่อนบ้าน และรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในครัวเรือนทั้งหมด ส่วนข้าพเจ้านางสายน้ำ

ธารน้ำทิพย์ (ภรรยาผู้ตาย) ต้องอุปการะเลีย้ งดูบิดามารดาที่แก่ชราและมีโรคประจำตัวซึง่ มีค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน

จำนวนมาก การที่ครอบครัวสูญเสียนายสายฟ้าฯ ทำให้ครอบครัวต้องอยู่อย่างยากลำบาก ข้าพเจ้าจึงเห็นว่า

ค่าตอบแทนได้รับ ตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัย (ประกันภัยภาคบังคับ) จำนวน 535,000 บาท

(ห้าแสนสามหมื่นห้าพันบาทถ้วน) ไม่เพียงพอสำหรับจะใช้เป็นทุนการศึกษาบุตรจนบรรลุนิติภาวะและ

ใช้เป็นค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ข้าพเจ้าจึงต้องการให้คณะกรรมการพิจารณาทบทวนการจ่ายค่าตอบแทนผู้เสียหาย

อกี ครั้ง

ด้วยเหตุผลที่ได้เรียนต่อคณะกรรมการดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ขอคณะกรรมการได้พิจารณา

กลบั หรือแกค้ ำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการ ใหจ้ า่ ยค่าตอบแทนผเู้ สียหายในคดีอาญาตามคำขอของข้าพเจ้าด้วย

เพอื่ ประโยชนแ์ หง่ ความยตุ ธิ รรม ขอคณะกรรมการไดโ้ ปรดพจิ ารณา

ลงชอ่ื สายน้ำ ธารน้ำทิพย์ ผยู้ ืน่ อทุ ธรณ์

( นางสายนำ้ ธารน้ำทิพย์ )

คำรอ้ งฉบบั นี้ เปน็ ผู้เขียน/พมิ พ์

ลงชอื่ เป็นผูเ้ ขยี น/พิมพ์
()

ลงชอื่ พนกั งานเจา้ หน้าที่ผรู้ ับอทุ ธรณ์
()

เอกสารทแ่ี นบมาพรอ้ มนี้

 คำวนิ ิจฉัยของคณะอนุกรรมการ  ใบเสร็จค่ารกั ษาพยาบาล/คา่ ฟนื้ ฟู (ถ้ามี)
 สำเนาบตั รประจำตัวประชาชน/บัตร  รายงานความเห็นแพทย์ (ถา้ ม)ี
 สำเนาทะเบยี นบ้าน  รายงานชันสูตรพลกิ ศพ (ถา้ มี)
 หนังสอื มอบอำนาจ  สำเนาใบเปล่ียนชื่อสกุล (ถ้าม)ี
 รายงานคดขี องสำนกั งานตำรวจแห่งชาติ (ถา้ มี)  สำเนามรณบตั ร (ถ้ามี)
 รายงานความเหน็ ของพนกั งานสอบสวน (ถ้าม)ี  อน่ื ๆ
 สำเนาคำพิพากษา (ถ้ามี)

45

2. กรณีไดร้ บั ความเสียหายแก่ร่างกาย (บาดเจ็บ)

เมื่อวันที่ ๑4 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา ๑4.00 น. บนถนนพิพิธภักดี ต.สะเตง อ.เมือง จ.ยะลา
นายสายฟ้า ธารน้ำทิพย์ (ผู้เสียหาย) ขับขี่รถจักรยานยนต์ ยี่ห้อทันใจ สีน้ำเงิน ป้ายทะเบียน ยล 0101 ยะลา
ได้มีผู้ต้องหาขับขี่รถด้วยความเร็วสูงไปในทิศทางเดียวกันกับนายสายฟ้าฯ ได้เฉี่ยวชนผู้เสียหายล้มลง
แล้วหลบหนีไป เป็นเหตุให้นายสายฟ้าฯ ได้รับบาดเจ็บและรถจักรยานยนต์เสียหาย จากการสอบสวนเบื้องต้น
พบว่าผู้เสียหายไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด พนักงานสอบสวนได้แจ้งสิทธิให้นายสายฟ้าฯ
เป็นผู้เสียหายในกรณีความผิดฐาน “ขับรถโดยประมาทจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บและทรัพย์สินได้รับ
ความเสียหาย” ข้อเท็จจริงจากสำเนาใบรับรองแพทย์ระบุว่านายสายฟ้าฯ ขาข้างซ้ายหัก มีบาดแผลฉีกขาด
และมแี ผลถลอกท่ีแขนทง้ั สองขา้ งใชร้ ะยะเวลารกั ษา 60 วนั ขณะเกิดเหตุนายสายฟา้ ฯ อายุ 27 ปี สถานภาพโสด
บดิ าและมารดายงั มีชวี ติ ประกอบอาชพี รบั จ้างกรีดยาง มีรายได้ 5,000 บาทตอ่ เดอื น จากการสอบแสวงหาข้อมูล
เพมิ่ เติม พบว่ารถจักรยานยนตข์ องนายสายฟ้าฯ พ.ร.บ. (ภาคบงั คบั ) ส้ินอายุและไมไ่ ปใช้สิทธิขอรับเงินช่วยเหลือ
จากกองทนุ ทดแทนผปู้ ระสบภยั เน่อื งเกรงว่าจะถกู ไล่เบยี้ ”

46

เอกสารที่จำเปน็ ต้องใช้

1. บนั ทกึ การแจ้งสิทธฯิ (สชง.1/03)
2. สำเนารายงานบนั ทึกประจำวันเก่ียวกบั คดี (ชั้นสอบสวน)
3. สำเนาใบรบั รองแพทย์
4. สำเนาใบชนั สูตรบาดแผล
5. สำเนาบตั รประจำตัวประชาชน
6. สำเนาทะเบยี นบ้าน
7. หนังสอื รับรองรายได้
8. สำเนาบัตรประจำตวั ผู้ใหญ่บ้านหรอื นายจ้าง

ความเหน็ ของเจ้าหน้าที่

คดีน้ี นายสายฟ้า ธารน้ำทพิ ย์ ไดย้ นื่ คำขอรับคา่ ตอบแทนผ้เู สยี หายฯ กรณไี ด้รบั ความเสยี หายแก่ร่างกาย
เนื่องจากการกระทำความผิดอาญาของผู้อื่นภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดและเป็นความผิด
ท้ายพระราชบัญญัติน้ี โดยปรากฏข้อเท็จจริงจากบันทึกการแจ้งสิทธิของพนักงานสอบสวนว่าผู้เสียหายไม่มี
ส่วนเกี่ยวข้องกับกระทำความผิด ถือว่าเป็นผู้เสียหายตามมาตรา 3 ประกอบมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัตินี้
จงึ มีสทิ ธทิ ี่จะไดร้ บั คา่ ตอบแทนตามหลกั เกณฑ์ทกี่ ฎหมายกำหนด

แต่ปรากฏข้อเทจ็ จริงว่ารถคนั ท่ีประสบภัยพ.ร.บ. (ประกันภยั ภาคบังคับ) สิ้นอายุและไมไ่ ปใช้สิทธิขอรับ
เงินช่วยเหลือเนื่องจากเกรงว่าเจ้าของรถจะถูกไล่เบี้ย ซึ่งผู้เสียหายมีสิทธิได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุน
ทดแทนผปู้ ระสบภยั เป็นคา่ รกั ษาพยาบาลเท่าท่ีจ่ายจริง เป็นเงนิ 25,000 บาท จงึ งดจา่ ยคา่ รักษาพยาบาล และ
เนื่องจากนายสายฟ้าฯ ในฐานะเจ้าของรถไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายจึงต้องปรับค่าตอบแทนความเสียหายอื่น
ลดลงก่งึ หน่งึ จากเงนิ ท่ีมีสิทธไิ ด้รบั นายสายฟ้าฯ จงึ มสี ทิ ธิไดร้ บั คา่ ตอบแทนตามหลักเกณฑท์ ่ีกฎหมายกำหนด ดงั นี้

1. คา่ ขาดประโยชน์ทำมาหาไดใ้ นระหวา่ งทีไ่ ม่สามารถประกอบการงานไดต้ ามปกติ ใหจ้ ่ายในอัตราคา่ จ้าง
ข้ันต่ำในท้องทจ่ี งั หวัดที่ประกอบการงาน ( 60 วันๆละ 313 บาท) เป็นเงนิ 18,780 บาท

2. คา่ ตอบแทนความเสียหายอ่นื 40,000 บาท ปรับลดก่งึ หนงึ่ เปน็ เงิน 20,000 บาท

รวมเป็นเงนิ 38,780 บาท (สามหมน่ื แปดพันเจ็ดร้อยแปดสิบบาทถว้ น)

เพม่ิ เตมิ : อตั ราค่าจ้างขัน้ ตำ่ ในท้องท่ีจงั หวดั ยะลา 313 บาทต่อวัน๔

๔ สำนักงานแรงงาน จังหวัดยะลา. ม.ป.พ. อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ. เข้าถึงข้อมูลได้จาก https://yala.mol.go.th.
วันที่สบื คน้ ขอ้ มลู 26 มนี าคม 2565.

แบบรายงาน 47

- บันทึกความเห็นเสนอคณะกรรมการฯ (สชง.7) หน้า
- รายงานสำนวนคดี (ตารางขวาง)
- คำวนิ ิจฉยั 48
- แบบคำขอรับเงินคา่ ตอบแทนผเู้ สยี หาย (สชง.15) 52
- แบบคำขอรับเงินผา่ นทางธนาคาร (สชง.16) 53
- แบบแจ้งข้อมลู การรับโอนผ่านระบบ KTB Corporate Online 54
- สำเนาบัตรประจำตวั ประชาชนผู้มสี ทิ ธิรับเงิน 57
- หนา้ สมดุ บญั ชีธนาคารท่เี ป็นชอ่ื ของผมู้ สี ิทธิรับเงิน 58
59
60


Click to View FlipBook Version