The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by gwarrg, 2023-07-04 21:53:44

อาข่า

อาข่า

Keywords: อาข่า

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ก คำนำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 มีเขตพื้นที่รับผิดชอบจำนวน 5 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอฝาง อำเภอแม่อาย อำเภอไชยปราการ อำเภอเชียงดาวและอำเภอเวียงแหง ครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบ 4,893 ตารางกิโลเมตร มีโรงเรียนที่อยู่ในความรับผิดชอบ ๑๕๓ โรงเรียน สถานศึกษาส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตทุรกันดาร ห่างไกล ตั้งอยู่บนภูเขาสูง ผู้รับบริการประกอบไปด้วยผู้คน หลากหลายเชื้อชาติทำให้มีความแตกต่างและมีความหลากหลายด้าน วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ภาษา อาหาร การแต่งกาย ตลอดจนสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในท้องถิ่นที่แตกต่างกัน อีกทั้งการติดต่อระหว่าง สถานศึกษาในเขตพื้นที่เป็นไปด้วยความยากลำบาก ทำให้ส่งเสริมการจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ไม่เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาที่ได้กำหนดไว้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ได้จัดทำโครงการรักถิ่นฐานผูกพัน บ้านเกิด โดยได้คำนึงถึงการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนที่มีความตระหนักรู้จักท้องถิ่นของตน สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม รวมถึงหวงแหนวัฒนธรรมประเพณี อันดีงามที่สืบทอดกันมา จึงจัดทำ องค์ความรู้ด้านชาติพันธุ์ เพื่อรวบรวมข้อมูลสารสนเทศของท้องถิ่น ประกอบไปด้วยข้อมูลด้าน ๒ ด้าน คือด้านที่ ๑ ข้อมูลด้านสภาพทั่วไป ประกอบด้วย ๗ องค์ประกอบ ได้แก่ ๑.สภาพทั่วไปของชุมชนในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียน ๒.ประวัติความเป็นมาของชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ ๓.สภาพเศรษฐกิจ ๔.สาธารณูปโภค ๕.แหล่งท่องเที่ยว ๖.แหล่งเรียนรู้ในชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ ๗.หน่วยงาน รัฐ/เอกชน และด้านที่ ๒ ข้อมูลด้านชาติพันธุ์ ประกอบด้วย ๗ องค์ประกอบ ได้แก่ ๑.ชนชาติ/ชาติพันธุ์ ในชุมชน ๒.ศิลปวัฒนธรรม ๓.ภาษา/วรรณกรรม ๔.ภูมิปัญญาและปราชญ์ชาวบ้าน ๕.ประเพณี/พิธีกรรม/ งานเทศกาล ๖.ศาสนาและความเชื่อ ๗.ดนตรี/นาฏศิลป์/การละเล่นพื้นบ้าน ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิ ปราชญ์ท้องถิ่น คณะกรรมการจัดทำ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน ที่ได้ร่วมจัดทำกรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นเรื่อง องค์ความรู้ด้านชาติพันธุ์ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ไว้ณ โอกาสนี้และหวังว่าเอกสารฉบับนี้จะเป็นแนวทางให้สถานศึกษาได้ นำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนรู้ในหลักสูตรท้องถิ่นของตนเอง ตามบริบทของสถานศึกษา ผู้จัดทำ


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ข สารบัญ หน้า คำนำ ก สารบัญ ข ข้อมูลด้านสภาพทั่วไป 3 ชนชาติ/ชาติพันธุ์ ในชุมชน 3 ศิลปวัฒนธรรม 7 ภาษา/วรรณกรรม 24 ภูมิปัญญา และปราชญ์ชาวบ้าน 34 ประเพณี/พิธีกรรม/งานเทศกาล 40 ศาสนาและความเชื่อ 55 ดนตรี/นาฏศิลป์/การละเล่นพื้นบ้าน 62 บรรณานุกรม 74 ภาคผนวก 75


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ก บทนำ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ มาตรา 54 ระบุไว้ว่า การศึกษาทั้งปวงต้องมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ สามารถเชี่ยวชาญได้ตามความถนัดของ ตน และมีความรับผิดชอบต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545 มาตรา 7 ระบุว่า กระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่ง ปลูกจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมือง การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข รู้จักรักษา และส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความ เป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม และของประเทศชาติ รวมทั้ง ส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถใน การประกอบอาชีพ รู้จักตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้ว่าภารกิจในการจัดการศึกษา นอกจากต้องจัดการศึกษาให้ผู้เรียนเกิดความรู้คู่คุณธรรมแล้ว ยังต้องจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพของ ท้องถิ่น เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ชีวิตจริงของตนเองในท้องถิ่น เรียนรู้สภาพภูมิศาสตร์ ประวัติความเป็นมา สภาพเศรษฐกิจ สังคมการดำรงชีวิต ภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรม ตลอดจนให้มีความรัก ความผูกพัน และ มีความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนเอง รวมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้เกิดประโยชน์ต่อ การประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิตในสังคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 มีเขตพื้นที่รับผิดชอบจำนวน 5 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอฝาง อำเภอแม่อาย อำเภอไชยปราการ อำเภอเชียงดาวและอำเภอเวียงแหง ครอบคลุม พื้นที่รับผิดชอบ 4,893 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา ป่าไม้ และเป็นเขตชายแดน มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์เป็นแนวยาวมีระยะทางกว่า 100 กิโลเมตร การจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 มีโรงเรียนที่อยู่ใน ความรับผิดชอบจำนวน 153 โรงเรียน การคมนาคมซับซ้อน และการติดต่อระหว่างสถานศึกษาเป็นไปด้วย ความยากลำบาก เนื่องจากสถานศึกษาส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตทุรกันดาร ห่างไกล ตั้งอยู่บนภูเขาสูง ผู้รับบริการ ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ ทำให้มีความแตกต่างและมีความหลากหลายด้านวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ภาษา อาหาร การแต่งกาย ตลอดจนสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในท้องถิ่นที่แตกต่างกัน นักเรียนส่วนใหญ่ในเขตพื้นที่เมื่อจบการศึกษาแล้ว จะเดินทางเข้าตัวเมืองเพื่อศึกษาต่อและประกอบอาชีพ คนวัยทำงานมีการย้ายถิ่นฐานเข้าไปในเมืองใหญ่ เนื่องจากแรงดึง (Pull force) ในด้านค่าตอบแทน ความเจริญในด้านเศรษฐกิจและสังคม ทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ จึงได้ เล็งเห็นถึงกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน สนับสนุนให้ผู้เรียนได้ เรียนรู้ถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น ร่วมกับปราชญ์ชาวบ้าน รวมถึงการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ประเพณีทางสังคม วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งก่อให้เกิดความเข้าใจและภาคภูมิใจในตนเอง ชุมชน สังคม วัฒนธรรม สามารถแสวงหาบทบาทใหม่ ๆ ในการสร้างสรรค์ชุมชนท้องถิ่น นำไปสู่การคิดค้นหาแนวทางการพัฒนาหรือ แก้ปัญหา ช่วยสร้างพลังผลักดันให้ชุมชนขับเคลื่อนไปในทางที่ดีสอดคล้องกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลง ของสังคมในปัจจุบัน โดยหลักสูตรท้องถิ่น เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรัก ความหวงแหน และภูมิใจในรากเหง้าของตนเอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ได้คำนึงถึงการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และส่งเสริมสนับสนุนให้ครูผู้สอน สามารถนําสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียน


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ก เกิดสัมฤทธิ์ผลบรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง โดยพัฒนาให้ผู้เรียนมีความตระหนักรู้จักท้องถิ่น ของตน สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม รวมถึงหวงแหนวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามที่สืบทอดกันมา จึงได้จัดทำโครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด เพื่อสำรวจ รวบรวมและจัดทำ ข้อมูลสารสนเทศของท้องถิ่น เพื่อรวบรวมข้อมูลสารสนเทศของท้องถิ่น ประกอบไปด้วยข้อมูลด้าน ๒ ด้าน คือ ด้านที่ ๑ ข้อมูลด้านสภาพทั่วไป และด้านที่ ๒ ข้อมูลด้านชาติพันธุ์ ประกอบด้วย ๗ องค์ประกอบ ได้แก่ ๑. ชนชาติ/ชาติพันธุ์ในชุมชน ๒.ศิลปวัฒนธรรม ๓.ภาษา/วรรณกรรม ๔.ภูมิปัญญาและปราชญ์ชาวบ้าน ๕. ประเพณี/พิธีกรรม/งานเทศกาล ๖.ศาสนาและความเชื่อ ๗.ดนตรี/นาฏศิลป์/การละเล่นพื้นบ้าน รวมทั้งสภาพ ปัญหาในชุมชน เพื่อจัดทำกรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นที่สถานศึกษาสามารถนำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น ไปจัด ประสบการณ์ในหลักสูตรท้องถิ่นของตนเองตามบริบทของสถานศึกษา โดยครอบคลุม 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ การจัดทำองค์ความรู้ด้านชาติพันธุ์นี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมองค์ความรู้ในด้านความหลากหลาย ของชาติพันธุ์ จำนวน 15 ชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่รวมกันในพื้นที่อำเภอฝาง แม่อาย ไชยปราการ เชียงดาว และ เวียงแหง โดยได้รวบรวมข้อมูลด้านชาติพันธุ์จากการสำรวจชุมชนของโรงเรียนต่างๆ ในสำนักงานเขต พื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 3 และตัวแทนครูจากทุกโรงเรียน จำนวนทั้งสิ้น 153 โรงเรียน ได้สังเคราะห์ข้อมูลในการจัดทำองค์ความรู้ดังกล่าว เพื่อเป็นหนังสือองค์ความรู้ด้านชาติพันธุ์ของสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 โดยโรงเรียนสามารถเลือก คัดสรร ในการนำองค์ความรู้ไปใช้ใน การจัดการเรียนการสอน และการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ต่อไป คณะผู้จัดทำ


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๑ Akah 0 ชาวอาข่าหรืออีก้อ หรือข่าก้ออาศัยอยู่ ในมณฑลยูนาน แคว้นสิบสองปันนา และ ไกวเจา เมื่อถูกรุกรานจึงทยอย กันอพยพ ลงใต้ ไปยังแคว้นเชียงตุง พม่า แคว้นหัว โขง และแคว้นพงสาลี ในลาว บ้านหินแตก ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตของดอยแม่สะลอง จ.เชียงราย เมื่อกว่า 80 ปีมาแล้ว อาข่า “อาข่า” (Akha) หรือ Aqkaq เป็นชื่อที่กลุ่มชาติพันธุ์ใช้เรียก ตนเอง แปลว่า “คนที่อยู่ตรงกลาง” (People of the middle) Wang (2013) ชื่อนี้พบมากในประเทศไทย พม่า และลาว ชาวอาข่า เรียกชื่อตนเองแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ เช่น ประเทศจีนและเวียดนาม เรียกว่า ซานี (Za-ni) ยานี (Ya-ni) หรือฮาหนี่ (Ha-ni) และในบทเพลง สุภาษิต เรียกว่า “หญ่าหนี่หญ่า” (Zaqnyiqzaq) ส่วนชื่อที่คนกลุ่มอื่น มักใช้เรียก เช่น คนจีน-ยูนนาน เรียกว่า อาข่า ชาวจีนฮ่อและชาวไทย ในชียงตุง เรียกว่า “ก้อ” (Ko) คนที่พูดภาษาตระกูลไต เรียกว่า “ข่า ก้อ” (Kha Kaw) ซึ่งชาวอาข่าไม่ชอบชื่อนี้นัก เนื่องจากคำว่า ข่า ใน ภาษาไต แปลว่า ข้า ทาส และคนไทยภาคเหนือ เรียกว่า อีก้อ ทั้งนี้ นักวิชาการมีข้อถกเถียงถึงชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป เช่น จิตร ภูมิ ศักดิ์ [2519](2544) ตั้งข้อสมมุติฐานว่า ชื่อเรียก “ก้อ” อาจเป็นชื่อ แต่เดิมที่คนอาข่าเรียกแทนตนเอง แต่ไม่ปรากฏความหมายและไม่มี ที่มาอย่างชัดเจน กระทั่งบุคคลภายนอกเรียกชนกลุ่มนี้ว่า “อีก้อ” ใน เชิงดูหมิ่นชาติพันธุ์ ชาวอาข่าจึงไม่พอใจเมื่อถูกเรียกชื่อนั้น แต่เดิม เอกสารหน่วยงานราชการไทยก็เรียกชื่อชนกลุ่มนี้ว่า อีก้อ กระทั่งได้รับ การทักท้วงจากกลุ่มชาติพันธุ์จึงได้ปรับเปลี่ยนมาใช้ชื่อ อาข่า กลุ่มชาติพันธุ์อาข่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลทิเบตพม่า สาขาย่อยโลโล ตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศจีนทางตะวันตกเฉียงใต้ ภาคเหนือของพม่าในบริเวณรัฐฉาน ตอนเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือ ของลาว ภาคเหนือของไทย และทางตอนเหนือของเวียดนาม ประวัติศาสตร์ของชาวอาข่า บอกเล่าถึงการอพยพเคลื่อนย้ายจากเขต เทือกเขาสูงในธิเบต เข้าไปอยู่อาศัยและตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะในเขตสิบสองปันนา ประเทศจีน ก่อนอพยพเคลื่อนตัวลง ทางใต้เข้ามายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประชากรชาวอาข่า ในประเทศไทยกระจายอยู่ในพื้นที่ 7 จังหวัดทางภาคเหนือของไทย ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ลำปาง แพร่ ตากและ เพชรบูรณ์ โดยอาศัยอยู่มากที่สุดในจังหวัดเชียงราย


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๒ Akah 0 ชาวอาข่าหรืออีก้อ หรือข่าก้ออาศัยอยู่ ในมณฑลยูนาน แคว้นสิบสองปันนา และ ไกวเจา เมื่อถูกรุกรานจึงทยอย กันอพยพ ลงใต้ ไปยังแคว้นเชียงตุง พม่า แคว้นหัว โขง และแคว้นพงสาลี ในลาว บ้านหินแตก ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตของดอยแม่สะลอง จ.เชียงราย เมื่อกว่า 80 ปีมาแล้ว ชาวอ่าข่าที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ประกอบด้วยกลุ่มต่างๆ 7 กลุ่ม ดังนี้ 1) “กลุ่มอู่โล้” (Uqlor) 2) “ลอมี้” (Lawmir) 3) “อู่เบียะ”(Uqbyaq) 4) “อ๊ะจ๊อ” (Arjawr) 5) “หน่าคะ” (Naqkar) 6) “อู่พี” (Uqpi) และ 7) “อะเค้อ” (Aker) ทั้งนี้ ประมาณ 55% ของ ชาวอ่าข่าส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นกลุ่มอู่โล้ รองลงไปคือ กลุ่มลอมี้ (40%) และอู่เบียะ 4% กลุ่มที่เหลือรวมกันมีจำนวน ประมาณ 1% สำหรับชาวอาข่าที่อาศัยอยู่บริเวณภาคเหนือของ ประเทศไทย นอกจากพบปัญหาเรื่องอคติทางชาติพันธุ์แล้ว ชาวอาข่า จำนวนมากยังไม่ได้รับสัญชาติไทย ส่งผลกระทบต่อสิทธิขั้นพื้นฐาน อื่นๆอีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิในที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัย ตลอดจนการเดินทาง การเข้าถึงการศึกษา การงานอาชีพ ตลอดจน สวัสดิการทางสังคมและด้านอื่นๆของรัฐ ชาวอาข่ามีอัตลักษณ์ของตนเอง ทั้งด้านวิถีชีวิต การประกอบ อาชีพ ความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม อาหาร การแต่งกาย ภาษา โดยเฉพาะระบบการนับสายตระกูลบรรพบุรุษ “จึ” ที่สืบทอดต่อกันมา อย่างไรก็ตาม ภายใต้กระแสโลภาภิวัตน์ การพัฒนาในประเทศ และ การบูรณาการทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ที่ก่อให้เกิดการติดต่อสัมพันธ์ ข้ามพรมแดนรัฐชาติ ตลอดจนนโยบายของรัฐบาลในแต่ละประเทศที่ แตกต่างกัน ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ต่อชาติพันธุ์อ่าข่าใน ภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ อาจส่งผลต่อการดำรงไว้ หรือปรับเปลี่ยน อัต ลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๓ ภาพ กลุ่มชาติพันธุ์อาข่า ภาพ กลุ่มชาติพันธุ์อาข่า ภาพ กลุ่มชาติพันธุ์อาข่า 1.ข้อมูลด้านสภาพทั่วไป ๑.๑ ที่ตั้งของชาติพันธุ์ต่างๆ ใน สพป.ชม.3 ชนเผ่าอาข่าอาศัยและกระจายตัวอยู่ในพื้นที่อำเภอฝาง อำเภอแม่อายและอำเภอเชียงดาว โดยมีกลุ่มประชากรในอำเภอดังกล่าวได้ไปศึกษาในสถานศึกษาต่างๆดังนี้ พื้นที่อำเภอฝาง ได้แก่ โรงเรียนบ้านเหมืองแร่ โรงเรียนบ้านปางปอย โรงเรียนบ้านหนองยาว โรงเรียนบ้านปางสักและโรงเรียนวัดนันทาราม อำเภอแม่อาย ได้แก่ โรงเรียนบ้านห้วยศาลา โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ ๙ โรงเรียนโชติคุณะเกษม บ้านเมืองงาม โรงเรียนบ้านสุขฤทัย โรงเรียนบ้านท่ามะแกง โรงเรียนบ้านหลวง (แม่อาย) โรงเรียนบ้านสันต้นหมื้อ โรงเรียนบ้านป่าก๊อ โรงเรียนบ้านป่าแดง โรงเรียนบ้านห้วยม่วงและโรงเรียนศึกษา นารีอนุสรณ์ 2 อำเภอเชียงดาว ได้แก่ โรงเรียนบ้านเชียงดาว โรงเรียนบ้านดอน โรงเรียนชุมชนบ้านวังจ๊อม โรงเรียนบ้านแม่ป๋าม และโรงเรียนบ้านอรุโณทัย ๑.๒ ประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน ชนเผ่าอาข่า ชนชาติอ่าข่าถือเป็นสาขาหนึ่งของชนชาติส่วนน้อย ฮาหนี่ (Hani) ในประเทศจีน (Wang 2013: 3) Wang ระบุว่าในประเทศจีนมีชนชาติส่วนน้อย ที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจำนวน 55 ชนชาติ (น. 13) แต่ถ้านับรวมกลุ่มชาติพันธุ์ฮั่น ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่แล้ว ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหมดในประเทศจีนมี 56 กลุ่ม ในแง่มุมทางประวัติศาสตร์ กลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประสบการณ์ร่วมกันใน เรื่องของการอพยพโยกย้ายถิ่นฐาน ทั้งจากดินแดนของบรรพบุรุษในจีน และเข้าสู่ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค เอเชียอาคเนย์ เรื่องการอพยพโยกย้ายนี้ สะท้อนอยู่ในบทสวดของผู้นำสวด “พิมะ” ในงานพิธีศพ เมื่อมีการ ข้อมูลด้านสภาพทั่วไป


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๔ ท่องนับสายตระกูล สถานะของชาวอ่าข่าในประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เหล่านี้ คือชนชาติส่วน น้อย หรือชนกลุ่มน้อย ที่อาศัยอยู่ท่ามกลางกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ และกลุ่มชาติพันธุ์หลัก พวกเขาต้องเผชิญกับ บริบททางเศรษฐกิจสังคมการเมือง และนโยบายของรัฐชาติที่แตกต่างกันออกไป ทั้งที่ผสมกลมกลืน รวมพวก และกลืนกลายทางวัฒนธรรม รูปแบบการตั้งถิ่นฐานการอพยพเคลื่อนย้าย กลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่ากระจายตัวอยู่ตามแนวชายแดนจีนตะวันตกเฉียงใต้ พม่า ลาว ไทย และเวียดนาม ในประเทศจีน ชนชาติอ่าข่าถือเป็นสาขาหนึ่งของชนชาติส่วนน้อย ฮาหนี่ (Hani) ในประเทศจีน (Wang 2013: 3) Wang ระบุว่าในประเทศจีนมีชนชาติส่วนน้อย ที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจำนวน 55 ชนชาติ (น.13) กลุ่มชาติพันธุ์ฮ่าหนี่/อ่าข่า กระจายตัวอยู่มากในเขตการปกครองตนเองหงเหอ (Honghe) บริเวณแม่น้ำแดงตอนเหนือของชายแดนระหว่างจีนและเวียดนาม ในเขตเมืองซือเหมา (Simao) ใจกลางของ แคว้นยูนนานตอนใต้ เขตการปกครองตนเองปูเออ (Puer) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองคุนหมิง และเขต ปกครองตนเองของลาหู / ว้าที่เมืองหลานซาง (Lanchang) และเขตปกครองตนเองของชาวไตในแคว้นสิบสอง ปันนา นอกจากนี้ยังมีการอพยพของชาวอ่าข่าเข้าไปตั้งถิ่นฐานทางตอนเหนือของประเทศลาว และ ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศพม่า และทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย (ปนัดดา บุณยสาระนัย และหมี่ยุ้ม เชอมือ, 2547: 87) ปัจจุบัน กลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่าในประเทศไทย ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในจังหวัด เชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำปาง จังหวัดตาก จังหวัดแพร่ (ทำเนียบชุมชนบนพื้นที่สูง 2559) การตั้งถิ่นฐานของคนอ่าข่าในประเทศไทย มีทั้งนักวิชาการชาวไทยและต่างประเทศ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ ทางการ มิชชั่นนารี นักเดินทางท่องเที่ยว ทำการวิจัย บันทึกข้อมูล และภาพถ่ายไว้ จำนวนมาก งานศึกษา เกี่ยวกับการอพยพของกลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่าเข้าสู่ประเทศไทย ระบุช่วงเวลาการอพยพเข้ามาแตกต่างกันออกไป งานของ Lebar et al. ในปี 1964 ระบุว่าชาวอ่าข่าเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยประมาณ 20 ปีก่อนหน้า นั้น (ราวพ.ศ. 2487) ส่วนการศึกษาของ Paul W. Lewis (1970) มิชชั่นนารีชาวอเมริกัน ที่เข้ามา ทำการศึกษาเกี่ยวกับชาวอ่าข่าในประเทศพม่าและประเทศไทยตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1940 อ้างถึงงานศึกษา ของ Dellinger (1969: 108) ว่า ชาวอ่าข่าที่อาศัยอยู่ทางใต้ของเมืองเชียงตุง (Kengtung) ในรัฐฉานของ พม่า เริ่มอพยพเข้ามายังเขตภูเขาทางตอนเหนือของไทย ราวปี ค.ศ. 1915 (พ.ศ. 2458) ส่วนชาวอ่าข่าใน พม่านั้น อพยพมาจากทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1880 (พ.ศ. 2423) (Lewis 1970: 30) ส่วน Leo Alting von Geusau นักวิชาการชาวดัตช์ ระบุว่า คนอ่าข่าเริ่มอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในภาคเหนือ ของไทยเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1903 หรือ พ.ศ. 2446 (von Geusau 1983: 246) บทความอื่นของ Leo Alting von Geusau (2000: 126) ระบุว่า คนอ่าข่าอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในตอนเหนือของประเทศไทย ประมาณ 130-150 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากหลบหนีการสู้รบในประเทศเพื่อนบ้าน ในไทย พวกเขาอาศัยอยู่ ร่วมกับชาติพันธุ์อื่น ๆ เช่น ลีซู ลาหู่ คะเรน (Karen หรือ กะเหรี่ยง) ม้ง เย้า/เมี่ยน ในเขตภูเขา สถานการณ์ เปลี่ยนแปลงไปเมื่อมีการอพยพเข้ามาของกลุ่มคนจีน-ยูนนาน ที่มีความเกี่ยวข้องกับกองกำลังก๊กมินตั๋ง (KMT)


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๕ และการอพยพของคนไทยพื้นราบขึ้นไปอยู่บนภูเขา ทำให้จำนวนกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่เคยเป็นชนกลุ่มใหญ่อยู่ ก่อน กลายเป็นชนกลุ่มน้อย งานศึกษาอื่นที่แสดงให้เห็นว่า คนอ่าข่าอาจอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยกว่าร้อยปีแล้ว อาจดูได้จาก บทความของธงชัย วินิจจะกุล ในปี 2543 เรื่อง The Quest for “Siwilai”: A Geographical Discourse of Civilisational Thinking in the Late Nineteenth and Early Twentieth Century Siam” ต ี พ ิ ม พ ์ใน วารสาร Journal of Asian Studies ปีที่ 59 ฉบับที่ 3 หน้า 528-549 อ้างถึงข้อมูลที่ตีพิมพ์ในวารสารวชิร ญาณวิเศษ ในปี 2429 โดยผู้เขียนคือ ขุนประชาคดีกิจ (ต่อมาได้พระราชทานยศเป็นพระยาประชากิจกรจักร) ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งข้าหลวงที่ถูกส่งตัวให้ไปดูแลหัวเมืองทางเหนือ บทความนี้ชื่อว่า “ว่าด้วยประเภท คนป่าและข่าฝ่ายเหนือ” โดยผู้เขียนระบุวัตถุประสงค์ว่า “เพื่อบอกเล่าถึงคนเดิมที่ยังอาศัยอยู่ในป่าเขาใน ภาคเหนือ” ทั้งนี้รายชื่อคนเดิมเหล่านี้ ประกอบด้วย ละว้า ยาง (กะเหรี่ยง-ผู้วิจัย) และขมุประเภทต่าง ๆ อาทิ ขมุบ้าน ขมุป่า ข่าประเภทต่าง ๆ เช่น ข่าละเม็ด ละมั่ง ข่าเฮ็ด ข่าแม้ว ก้อ (อ่าข่า-ผู้วิจัย) กุย มูเซอ และผีป่า (ธงชัย 2543: 46-48) ทั้งนี้จะเห็นว่า คนอ่าข่า ซึ่งถูกเรียกว่า ก้อ ในบทความในปี 2429 ดังกล่าว เข้ามาอยู่ อาศัยในภาคเหนือของไทยตั้งแต่ก่อนหน้านั้นแล้ว สำหรับสาเหตุที่ทำให้ชาวอ่าข่าที่อาศัยอยู่ในพม่า อพยพเข้าสู่ประเทศไทยนั้น มาจากสงคราม ภายในประเทศประกอบกับการถูกกดขี่โดยกลุ่มชาติพันธุ์อื่นที่มีกำลังอำนาจเหนือกว่า รวมทั้งการโจรกรรม ฆาตกรรมและการทำลายทรัพย์สิน (Geusau 1983: 247) นอกจากนี้ บริเวณชายแดนไทยที่ติดกับพม่ายัง เป็นป่าอุดมสมบูรณ์ และอยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางการปกครอง ทั้งยังมีประชากรไม่หนาแน่นมากนัก (ไพโรจน์ คงทวีศักดิ์, 2550: 42) Alting von Geusau (2000) สันนิษฐานว่าชุมชนอ่าข่าแห่งแรกในประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2466 คือ บริเวณชายแดนพม่าหรือ บริเวณชุมชนพญาไพรเก่า นักวิชาการเช่น Mika Toyota ที่เข้ามาศึกษา ชุมชนอ่าข่าในหมู่บ้านพญาไพร ในเขตอ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย อ้างอิงคำบอกเล่าของผู้นำในชุมชนว่าอยู่ หมู่บ้านพญาไพรมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2430 ส่วนหมู่บ้านแห่งที่สอง คือ หมู่บ้านค้าแหย่งหรือขาแหย่ง เกิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2468 ส่วนงานของปนัดดา บุณยสาระนัย (2547) ระบุว่าอ่าข่าในประเทศไทยอพยพมาจากแคว้น เชียงตุงของพม่า เข้ามาชุดแรกที่บริเวณดอยตุง เขตอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ผู้นำการอพยพรุ่นแรกคือ แสนอุ่นเรือน ซึ่งต่อมาเสียชีวิตที่ดอยตุง ส่วนญาติพี่น้องได้แยกย้ายไปอยู่ตามที่ต่าง ๆ เช่นแสนพรม (เสียชีวิต พ.ศ. 2515) ได้ตั้งหมู่บ้านผาหมี อำเภอแม่สาย และแสนใจหลานของแสนอุ่นเรือน (เสียชีวิต พ.ศ. 2515) ตั้ง หมู่บ้านและเป็นหัวหน้าหมู่บ้านแสนใจในเขตอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย (ปนัดดา 2547: 7) การตั้งถิ่นฐานและการกระจายตัวของประชากร ประชากรชาวอ่าข่าในประเทศไทยกระจายอยู่ในพื้นที่ 7 จังหวัดทางภาคเหนือของไทย ได้แก่ จังหวัด เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ลำปาง แพร่ ตากและ เพชรบูรณ์ โดยอาศัยอยู่มากที่สุดในจังหวัดเชียงราย (วิไล ลักษณ์ มปป., ออนไลน์) หรือประมาณ 73,810 คน คิดเป็นกว่า 84% ของประชากรชาวอ่าข่าทั้งสิ้น 87,429 ในประเทศไทย (ทำเนียบชุมชนบนพื้นที่สูง 2559)


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๖ ชาวอ่าข่าที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ประกอบด้วยกลุ่มต่าง ๆ 7 กลุ่ม ดังนี้ 1) “กลุ่มอู่โล้” (Uqlor) 2) “ลอมี้” (Lawmir) 3) “อู่เบียะ”(Uqbyaq) 4) “อ๊ะจ๊อ” (Arjawr) 5) “หน่าคะ” (Naqkar) 6) “อู่พี” (Uqpi) และ 7) “อะเค้อ” (Aker) ทั้งนี้ ประมาณ 55% ของชาวอ่าข่าส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นกลุ่มอู่โล้ รองลงไปคือกลุ่มลอมี้ (40%) และอู่เบียะ 4% กลุ่มที่เหลือรวมกันมีจำนวนประมาณ 1% (เครือข่ายอ่าข่าลุ่ม น้ำโขง 2556 อ้างในวิไลลักษณ์ (มปป., ออนไลน์) ชาวอ่าข่าที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยนั้น ในอดีตส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูงในจังหวัดทางภาคเหนือ โดยเฉพาะเชียงราย เชียงใหม่ และลำปาง แต่ในปัจจุบัน ได้มีการกระจายตัวของคนอ่าข่าที่อยู่ในจังหวัดอื่น ๆ ด้วย หรือแม้แต่ที่เดินทางไปทำงานและอาศัยในต่างประเทศ หรือในกรณีที่มีการแต่งงานกับชาวต่างชาติ มีการ ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ต่างประเทศ หน่วยงานราชการของรัฐไทย ดำเนินการเก็บข้อมูลการตั้งถิ่นฐานและการ กระจายตัวประชากร มาตั้งแต่ทศวรรษ 1940s โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบในปัจจุบันคือ กองกิจการ นิคมสร้างตนเองและพัฒนาชาวเขา กลุ่มกิจการชาวเขา กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ซึ่งจัดตั้งเมื่อ 6 มีนาคม 2558 ได้มอบหมายให้ศูนย์พัฒนาชาวเขา จำนวน 16 ศูนย์ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล ครอบคลุม 20 จังหวัดในประเทศไทย และจัดทำทำเนียบชุมชนบนพื้นที่สูงในประเทศไทย ปี 2559 ทั้งนี้ข้อมูลจากทำเนียบชุมชนบนพื้นที่สูง ปี 2559 ระบุว่า มีหมู่บ้านบนพื้นที่สูง ใน 20 จังหวัด จำนวน 3,704 หมู่บ้าน หลังคาเรือนทั้งหมด 310,079 ครอบครัวทั้งหมด 342,854 ประชากรบนพื้นที่สูง ทั้งหมด 1,441,135 (แยกเป็นชาย 724,257 หญิง 716,878) โดยมีการกระจายตัวของราษฎรบนพื้นที่ สูงในจังหวัดเชียงใหม่มากที่สุด รองลงมาคือ จังหวัดเชียงรายและจังหวัดตาก ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ กะเหรี่ยง ไทยพื้นราบ ม้ง ลาหู่ อ่าข่า ลัวะ เมี่ยน ลีซู ขมุ ถิ่น มลาบรี และเผ่าอื่น ๆ (ไม่ระบุหรืออธิบายว่าเป็น กลุ่มใด) กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีจำนวนมากที่สุดคือ กะเหรี่ยง จำนวน 548,195 คน (38.04 %) รองลงมาคือ คน ไทยพื้นราบ (ที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูง) จำนวน 217,407 (15.08 %) ม้ง จำนวน 207,151 (14.37 %) และกลุ่มชาติพันธุ์ที่พบน้อยที่สุดคือ มลาบรี จำนวน 357 คน (0.02 %) ส่วนชาติพันธุ์อ่าข่า พบว่ามีจำนวน ทั้งสิ้น 87,429 คน หรือคิดเป็น 6.07 % ของประชากรบนพื้นที่สูงทั้งหมด (น. 7-8) สำหรับกลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่า ในจังหวัดเชียงใหม่มีรายละเอียดของการตั้งถิ่นฐานและการกระจายตัวประชากร ดังนี้ จังหวัด กลุ่มบ้าน หลังคาเรือน ครอบครัว ชาย หญิง รวม เชียงใหม่ 45 2,047 2,433 4,963 5,114 10,077 ที่มา : ทำเนียบชุมชนบนพื้นที่สูง ครอบคลุมพื้นที่ 20 จังหวัด ปี 2559 กองกิจการนิคมสร้างตนเองและ พัฒนาชาวเขา กลุ่มกิจการชาวเขา กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๗ ภาพ การแต่งกายอาข่า ชาย-หญิง ภาพ เครื่องประดับของสตรี อาข่า ภาพ อาหารในวัฒนธรรมอาข่า 2.ศิลปวัฒนธรรม ๒.๑ การแต่งกาย การแต่งกายตามชนเผ่าอาข่า ชุดเป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่า เน้นการปักมือ ทำเอง มีลวดลายที่สวยงาม โดยผู้หญิงจะมีลวดลายการปักผ้าที่สลับซับซ้อน มีสีของผ้าหลากหลายสี ส่วนของผู้ชายจะมีการปักลวดลาย ที่เรียบง่าย และโดยส่วนใหญ่เป็นเสื้อที่ดำและสีกรมท่า ดังนี้ ชาย การแต่งกายผู้ชาย สวมเสื้อแขนยาวตกแต่งด้วยผ้าหลากสี และปักลวดลายคล้ายของผู้หญิง แต่ ตัวเสื้อจะสั้นกว่าส่วนกางเกงคล้ายกางเกงสะดอ แต่เป็นผ้าฝ้าย ย้อมครามหมวกสีดำทำเป็นผ้าหนาแล้วม้วน ปลายสองด้านเข้าหากันแล้วเย็บติด นำผ้าฝ้ายย้อมพันอีกที ตกแต่งด้วยพู่สีแดง กรณีที่ผู้ชายยังไม่แต่งงานจะใส่ หมวกส่วนผู้ชายที่แต่งงานแล้วจะไม่ใส่หมวก หญิง การแต่งกายผู้หญิง หมวกแหลมนี้แบ่งออกเป็นสองส่วน คือส่วนฐานซึ่งคาดศรีษะประดับด้วย เหรียญตรากระดุมเงิน และลูกปัดส่วยยอดมีโครงไม้ไผ่อยู่ใต้ผ้าฝ้ายย้อมครามตกแต่งด้วยเครื่องเงิน ลูกปัด ลูก เดือย พู่แดงที่ได้จากขนไก่ย้อมสี และของแปลกๆที่แต่ละคนจะสรรพหามาจำนวนและชนิดของวัสดุตกแต่งจะ แตกต่างกันไปตามฐานะ สภาพ อายุ และการมีบุตร สำหรับตัวเสื้อนั้นเป็นผ้าฝ้ายย้อมครามแขนยาวตกแต่ง ด้วยผ้าหลายสี ตัวเสื้อยาวขนาดสะโพก ด้านหลังปักด้วยลวดลาย สาบเสื้อตกแต่งด้วยผ้าสี แผ่นเสื้อด้านหน้าไม่ ค่อยเน้นลายมากเท่าด้านหลัง ส่วนกระโปรงเป็นผ้าชนิดเดียวกันทำจีบเฉพาะด้านหลังยาวเหนือเข่าและมีผ้าชิ้น เล็กตกแต่งด้วยเครื่องเงิน และพู่แดงสำหรับคาดกระโปรงด้านหน้า ส่วนถุงน่องนั้นตกแต่งด้วยผ้าหลากสี และ ลูกเดือย จุดสังเกต : กรณีที่ผู้หญิงยังไม่ได้แต่งงาน : หมวกจะมีความสูงมาก เพื่อแสดงถึงการหาคู่ครอง กรณีที่ผู้หญิงแต่งงานแล้ว : ความสูงของหมวกจะลดต่ำลงมาเพื่อลดความโดดเด่น ศิลปวัฒนธรรม


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๘ การแต่งกายของกลุ่มลอมี้อาข่า ผู้ชาย : การแต่งกายของผู้ชายอาข่ากลุ่มนี้ ไม่ได้ต่างจากกลุ่มอาข่าอื่น ๆ โดยมีผ้าโพกสีดำมาพันรอบ หัว และมีสร้อยเงินมัดห้อยบริเวณหน้าผาก มีดอกไม้ปักแซมกับขนไก่รอบผ้าโพกหัว นิยมย้อมฟันสีดำเมื่ออายุ ได้ 15 ปี ลักษณะเสื้อ เป็นปกคอจีน ใช้เชือกเปิดปิดด้านหน้า ใส่เสื้อแขนยาวที่มีลวดลายปักอย่างสวยงาม ชายเสื้อมีการเย็บลวดลายข้างหลังเน้นสีฉูดฉาด มีเครื่องประดับห้อยแซมข้างหลัง ส่วนกางเกงเป็นขายาวโปร่ง หลวม ใช้เชือกเป็นเข็มขัดพับรัดบริเวณเอว ผู้หญิง : หากไม่ได้สังเกตอย่างละเอียด จะแยกไม่ออกระหว่างกลุ่มลอมี้กับอู่พี้อาข่า เพราะมีลักษณะ การจัดวางของเครื่องประดับคล้ายคลึงกัน ทั้งลูกเดือย ลูกปัด ลูกตุ้ม และเหรียญ แต่หากมองการแต่งกายอย่าง ละเอียดจะพบถึงความแตกต่างและมีจุดเด่นความต่างอีกหลายจุด โดยเฉพาะในด้านหลังหมวกมีความต่าง อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นแผ่นเงินบางตั้ง เครื่องเงินรูประจันทร์ครึ่งเสิ้ยว เป็นต้น ในส่วนหัวมีเครื่องประดับคืออู่โชว้ะหรือหมวก ซึ่งของกลุ่มลอมี้จะมีลูกตุ้มห้อยสองข้างของหมวก ตรง ระหว่างลูกตุ้มจะมีแผ่นโลหะเล็ก ๆ วงกลมเจาะรูสองข้างเย็บติดจนกลายเป็นแผ่นใหญ่ และบริเวณที่มัดลูกตุ้ม มักมีลูกปัดเน้นสีเหลือง แดง และขาวทั้งสองข้าง บริเวณคางมีลูกปัดห้อยเป็นจำนวนมากและมัดติดข้าง ๆ หู มี เหรียญห้อยลงมาจากหมวกข้างละ 4-5 เหรียญ และปลายเหรียญจะมีรูปพระจันทร์ครึ่งเสิ้ยว นอกจากนั้นอา ข่ากลุ่มนี้นิยมห้อยลูกปัดเป็นจำนวนมากจากคอปล่อยมาบนเสื้อบริเวณหน้าอก เสื้อของลอมี้อาข่าได้รับการยอมรับจากคนอาข่าทั่วไปว่า เป็นกลุ่มที่มีการเย็บผ้าและลวดลายที่สวย ที่สุด ในรอยต่อแขนเสื้อกับตัวเสื้อบริเวณหัวไหล่นิยมปักเป็นรอยเส้นสีต่าง ๆ ดูแล้วสะดุดตา ส่วนปลายแขนมี การเอาแผ่นผ้าที่เย็บลวดลายไว้มาเย็บติดทั้งสองข้างและข้างหลังเสื้อมีลวดลายเย็บขึ้นมาประมาณ 10 เซนติเมตร มีเหรียญและไหมพรมที่มัดเป็นช่อเน้นสีสัน เครื่องแต่งกายส่วนที่ลงจากบริเวณเอวลงไปมี กระโปรงแบบฮาวายที่มีรอยกลีบหยักหน้า ความยาวของกระโปรงถึงหัวเข่า กระโปรงเน้นสีดำ การถอดหรือใส่ กระโปรงใช้เชือกในการรัดหรือคลาย บนกระโปรงมีแผ่นผ้าที่เย็บลวดลายไว้ มีการห้อยลูกเดือยไว้ท้าย และมี การใส่ถุงน่องหรือ “คื้อบ่อง” ที่เหมือนกลุ่มอาข่าทั่วไป การแต่งกายของผู้หญิงแบบลอมี้อาข่า


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๙ การแต่งกายของกลุ่มอาข่าอ้าจ้อ(อุ่โล๊ะ) ผู้ชาย : การแต่งกายของอ้าจ้ออาข่า เหมือนกับอาข่ากลุ่มทั่วไป แต่ในด้านการดำรงรักษาไว้ต่างกัน อาข่ากลุ่มอื่น ๆ ในปัจจุบันหาคนที่ไว้จุกบนหัวได้ยาก เพราะได้ถูกปรับเปลี่ยนเข้ากับกาลสมัย แต่กลุ่มอ้าจ้ออา ข่าตั้งแต่เด็กโกนผมไว้จุกทั้งชุมชน ซึ่งมีชาวบ้านทุกบ้านที่ไว้จุกเป็นแบบอย่าง อย่างไรก็ตามใน กลุ่มผู้ชายอ้าจ้อ ที่เข้าโรงเรียนหรือออกไปทำงานในเมือง มักจะเอาจุกออกเสมอ ตามความเชื่อของอ้าจ้ออาข่าเชื่อว่าการเอาจุก ไว้เป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้เด็ก ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย และเชื่อว่าหากเอาจุกออกขวัญในตัวเด็กจะออกไป ด้วยทำให้เด็กไม่สบาย ผู้หญิง : มีความโดดเด่นในการแต่งกาย ในบรรดากลุ่มอาข่าต่าง ๆ ที่แต่งกายใส่หมวกแหลม มีด้วยกัน 3 กลุ่ม นั้นคือกลุ่ม เปี๊ยะอาข่า อู่โล้อาข่า และอ้าจ้ออาข่า ซึ่งกลุ่มอ้าจ้อเป็นกลุ่มที่มีหมวกแหลมที่สุด หากมอง จากที่ไกล ๆ กลุ่มนี้จะเด่น เนื่องจากมีลักษณะทรงตั้งแหลม จึงสามารถมองเห็น ได้ในระยะไกล ๆ ความยาว หมวกที่ผู้หญิงสวมใส่ ประมาณ 30 เซนติเมตร คนอ้าจ้อมีความภาคภูมิใจในการแต่งกายอย่างมาก ยังมีการใส่ หมวก และเสื้อผ้าแบบดั้งเดิม ท่ามกลางกระแสสังคมที่เปลี่ยนแปลง การแต่งกายส่วนหัวหรือหมวกของอ้าจ้อ อาข่าจะเน้นสีแดงเป็นหลัก มีการเอาเส้นไหมพรมมาตัดเป็นช่อมัดติด มีลูกเดือยและลูกปัด ไม่มีขนไก่ หรือสัตว์ ชนิดอื่นๆ มาติด ติดแผ่นเหล็กวงหรือที่เรียกเป็นภาษาอาข่าว่า “โซว้ย เฮาะ” เต็มทั่ว บริเวณคอมีเหล็กห้อยไว้ และมีลูกปัดห้อยสองข้างหู อ้าจ้ออาข่านิยมห้อยลูกปัดจากบนไหล่ข้างขวา ห้อยมาใต้แขนซ้าย กระโปรงของอ้า จ้ออาข่าเป็นแบบฮาวาย มีรอยกลีบหยักด้านหลัง ยาวถึงหัวเขา บนกระโปรงต้นขาหน้ามีโจ่วจึ่งเหมือนกับอาข่า กลุ่มอื่น ๆ ที่มา : ข้อมูลรูปถ่ายโดยโรงเรียนบ้านสุขฤหัย


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๑๐ ที่มา : รูปถ่ายโดยโรงเรียนบ้านป่าแดง การแต่งกายในชีวิตประจำวัน การแต่งกายในชีวิตประจำวันของอ่าข่า มีความแตกต่างกันไปตามบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก เยาวชน คนรุ่นใหม่ ที่เรียนหนังสือ หรืออาศัยในเขตเมือง ที่มักแต่งตัวตามแฟชั่นสมัย นิยม จะสวมใส่เครื่องแต่งกายที่บ่งบอกอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ เฉพาะในโอกาสพิเศษเท่านั้น นอกจากนี้ยังมี ปัจจัยเรื่องสภาพภูมิศาสตร์ที่ตั้งของหมู่บ้าน และวิถีชีวิตของผู้คนที่อาศัยในเขตชนบทและเขตเมือง ในชุมชน หมู่บ้านอ่าข่าที่ทำการเกษตร ยังพบเห็นการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าของกลุ่มชาติพันธุ์อยู่ทั้งในประเทศจีน พม่า ลาว ไทย เวียดนาม แต่สำหรับชาวอ่าข่าที่อาศัยและใช้ชีวิตอยู่ในเขตเมือง มักจะสวมใส่เสื้อผ้าทั่ว ๆ ไป เนื่องจากความสะดวกและคล่องตัวและเพื่อให้กลมกลืนกับคนอื่น ๆ ในสังคมและชุมชน ชุดลอมิอา ข่า ชุดผะมิอาข่า


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๑๑ การประดิษฐ์เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ในอดีต คนอ่าข่าจะมีการปลูกฝ้ายเพื่อผลิตเส้นฝ้ายที่จะนำมาทำเป็นเสื้อผ้าใส่เองรวมทั้งมีการประดิษฐ์ กี่ทอผ้าเพื่อใช้ในการทอเสื้อผ้า มีการย้อมสีโดยใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ เช่น คราม หรือเปลือกไม้อื่นๆ อย่างไรก็ตาม บริบททางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในโลกปัจจุบัน ที่ทำให้เกิดการผลิต เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่สามารถซื้อหามาสวมใส่ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทำให้มีการปรับเปลี่ยนในเรื่องการแต่งกาย เป็นแบบปัจจุบัน หรือมีการผสมผสานระหว่างเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายตามอัตลักษณ์วัฒนธรรม กับเสื้อผ้าตาม สมัยนิยม นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบต่อการประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำเสื้อผ้า เมื่อมีความจำเป็นลด น้อยลงไป ทำให้มีการผลิตน้อยลง หากยังหลงเหลืออยู่บ้าง ก็เป็นในพื้นที่หมู่บ้านที่ห่างไกลจากตลาดและเขต เมือง เช่น ในหลายเขตในประเทศลาว ที่ยังคงมีการผลิตเสื้อผ้าใช้เอง โดยมีขั้นตอนกระบวนการตั้งแต่การปลูก ฝ้าย ปั่นฝ้าย กรอฝ้าย แยกฝ้ายจากเมล็ดฝ้าย ทอผ้า ย้อมสี จนไปถึงขั้นตอนสุดท้ายที่ได้ผืนผ้าที่จะนำไปทำเป็น เสื้อ กางเกง หมวก และอื่นๆ ด้วยการปักและประดับตกแต่งตามลายปักที่เป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มดังตัวอย่างใน ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Laos: The Village Above the Cloud (หมู่บ้านเยี่ยมเมฆในลาว) ที่นำเสนอวิถีชีวิต ของคนอ่าข่าในหมู่บ้านในแขวงพงสาลีติดชายแดนจีน ที่ยังคงทำเสื้อผ้าใส่เอง ทำสีย้อมเอง จากส่วนผสมของ คราม และปูนขาว (ซึ่งบางครั้งต้องหาซื้อมา) และตอนกลางวันผู้หญิงจะทำงานที่เครื่องแยกฝ้ายจากเมล็ดฝ้าย ก่อนจะปั่น ทอ และย้อมสี หลังจากนั้นต้องตากแดดไว้หนึ่งปีก่อนจะเอามาทำเป็นเสื้อผ้าได้ ในสารคดีชุดนี้ ยัง ทำให้เห็นถึงการทำงานที่ไม่ปล่อยให้มือว่างของผู้หญิงชาวอ่าข่า ที่ไม่ว่าเด็กหรือสาว เมื่อยามเดินไปไร่ก็ใช้มือ ปั่นเส้นด้ายไปตลอดทาง (สารคดี Laos: The Village Above the Cloud 2019, ออนไลน์) ที่มา : รูปถ่ายการแต่งกายของชนเผ่าอาข่าจากโรงเรียนบ้านเหมืองแร่


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๑๒ ชาวอาข่าใช้ผ้าฝ้ายทอเนื้อแน่นย้อมเป็นสีน้ำเงินเข้มและสีดำ หญิง สวมเสื้อตัวสั้น กระโปรงพลีทสั้น ผ้าคาด เอวและผ้าพันน่อง ห้อยคอด้วยลูกปัด มีจุดเด่นที่หมวก ประดับด้วยลูกปัดหลากสี ความแตกต่างของหมวก อยู่ที่หญิง วัยเด็ก วัยรุ่น สวมหมวกทรงกลม หากแต่งงานแล้วจะสวมหมวกทรงสูง ผู้ชาย สวมเสื้อคอกลมแขนยาว กางเกง ขาก๊วย สีเดียวกัน แต่ปัจจุบันชุดของชาวอาข่านั้นไม่เป็นที่นิยมของวัยรุ่น หากจะนำมาสวมใส่นั้นก็เป็นในงานพิธีต่าง ๆ ของชาว อาข่า อาทิ งานโล้ชิงช้า และชุดอาข่า ณ ปัจจุบันนั้น ก็ได้ประยุกต์ลวดลายรูปทรงให้เข้ากับยุคสมัย แต่ยังคงเค้าโครง เดิมเอาไว้ให้เห็น ที่มา : รูปถ่ายการแต่งกายของชนเผ่าอาข่าจากโรงเรียนวัดนันทาราม


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๑๓ ที่มา : รูปถ่ายลักษณะการแต่งกายของชาติอพันธุ์อาข่าบ้านห้วยศาลา (โรงเรียนบ้านห้วยศาลา) การแต่งกายของเด็กชาติพันธุ์อาข่าบ้านห้วยศาลาในช่วงงานสำคัญ


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๑๔ การทอผ้าของชาติพันธุ์อาข่าในอดีต ที่มา : รูปถ่ายโดยโรงเรียนบ้านห้วยศาลา ที่มา : รูปถ่ายโดยโรงเรียนบ้านป่าก๊อ


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๑๕ การแต่งกายของชาติพันธุ์อาข่าของผู้ชาย และผู้หญิง ร้านตัดเย็บเครื่องแต่งกายชาติพันธุ์อาข่าซึ่งตั้งอยู่บริเวณหน้าหมู่บ้านยะผ่า การปักเย็บลายลงบนผ้าที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น กระเป๋า


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๑๖ ที่มา : ข้อมูล/รูปถ่ายโดยโรงเรียนโชติคุณะเกษมบ้านเมืองงาม ๒.๒ อาหาร การเปรียบเทียบลวดลายบนเสื้อของผู้ชาย และผู้หญิง เครื่องประดับที่ทำจากเครื่องเงินของชาติพันธุ์อาข่าอู่โล้


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๑๗ แหล่งอาหารหลักของชาวอ่าข่าในอดีตที่อาศัยอยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ ป่าคือแหล่งอาหารที่หลากหลาย ทั้งพืชผักต่างๆ เช่น หน่อไม้ หยวกกล้วยป่า ผักกูด ผักหนาม เห็ดต่างๆ แมลงที่กินได้ รวมทั้งสัตว์ป่าน้อยใหญ่ นก หนู กระรอก อีเก้ง เลียงผา หมูป่า เสือ แมวป่า ฯลฯ ส่วนสัตว์เลี้ยงในบ้านที่มักเลี้ยงไว้เพื่อเซ่นไหว้ประกอบ พิธีกรรม เช่น ไก่ หมู สุนัข ควาย จะนำมากินเป็นอาหาร ภายหลังจากที่ประกอบพิธีกรรมเสร็จแล้ว เช่น การ ฆ่าหมู ไก่ และสุนัข หรือเมื่อมีงานสำคัญ หรือเป็นการเลี้ยงต้อนรับแขกพิเศษ สำหรับชาวอ่าข่าแล้ว อาหาร หลักคือ ข้าว ผักและเนื้อ ชาวอ่าข่าปลูกข้าวไร่เพื่อบริโภค ข้าวเป็นข้าวเจ้า เมล็ดสั้นป้อม สีขุ่นลายแดงด่าง มี ยางเหนียวเล็กน้อยเมื่อหุงสุก ส่วนข้าวเหนียวนั้น ไม่นิยมบริโภคแต่ปลูกไว้เพื่อการทำข้าวปุก ซึ่งเป็นข้าวเหนียว ตำผสมกับงา เพื่อเป็นอาหารพิเศษที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม ส่วนกับข้าวหลักคือผักและเนื้อ เป็นผักที่เก็บ จากป่าหรือบางครั้งปลูกเองในไร่ข้าว เช่น ผักกาดไร่ แตงกวา ฟักทอง ฟักเขียว มะเขือ หน่อไม้ ผักกูด ผักหนาม ชะอม ผักกาด ผักกวางตุ้ง กระเทียม ฯลฯ ผักที่ชาวอ่าข่านิยมปลูกได้แก่ หอมชู ผักกาดดอย ผักชีฝรั่ง ยี่หร่า ตะไคร้ ขิง ผักกาด กระเทียม ฟักเขียว ฟักทอง แตง งา ถั่วเหลือง ถั่วลิสง กล้วย มันเทศ เผือก เป็นต้น ชาวอ่าข่าจะบริโภคอาหารตามฤดูกาลที่พืชผักให้ผลผลิต ซึ่งการประกอบอาหารในอดีตนั้น มักใช้วิธีการที่ไม่ใช้ น้ำมัน เพราะเป็นของหายากและมีราคาแพง ชาวอ่าข่าจะปรุงอาหารด้วยการหมก หรือต้มมากกว่าผัด และใช้ เกลือ และพริก ในการปรุงรส (ก่อนที่จะมีการใช้ชูรสมากขึ้นในระยะหลัง) ชาวอ่าข่ามีวิธีการถนอมอาหาร 3 วิธี คือ การดอง หมักและรมควัน ผักที่นิยมนำมาดอง คือผักกาด เขียวไร่ ผักกุ่ม ผักหนาม และหน่อไม้ วิธีการดอง คือดองด้วยเกลือ (บางครั้งใส่พริกและข้าวสารลงไปเล็กน้อย ด้วย) ในภาชนะกระบอกไม้ไผ่ และใช้ใบกล้วยป่าจุกปิดไว้ หรือดองในโอ่งกระเบื้องเคลือบขนาดกลาง ทิ้งไว้ ประมาณ 5-10 วัน สามารถรับประทานได้ และเก็บไว้ได้นานหลายเดือน นอกจากนี้ ชาวอ่าข่ารู้จักการนำถั่ว เหลืองต้มสุกมาหมักกับเกลือคล้ายเต้าเจี้ยว ก่อนนำมาสับให้ละเอียดปรุงรสด้วย ขิง พริก เกลือ (หรือชูรส) ทำ เป็นแผ่นๆ ขนาดเท่าฝ่ามือแล้วผึ่งแดดให้แห้งเรียกว่า "ถั่วเน่าแผ่น" เก็บไว้สำหรับปรุงอาหารหรือตำเป็นน้ำพริก สำหรับจิ้มผัก สำหรับการรมควันเพื่อถนอมอาหารนั้น ชาวอ่าข่าจะเอาเนื้อหรือปลาแขวนหรือวางไว้บนหิ้ง เหนือเตาไฟ เพื่อให้ได้รับความร้อนและควันไฟ ซึ่งจะรมเนื้อและปลาให้แห้งและเก็บไว้ได้นาน อาหารเฉพาะกลุ่ม ข้อมูลจากหนังสือบรรณนิทัศน์ 5 สภาพของชาวเขาในประเทศไทย (2526) กล่าวถึงอาหารเฉพาะ กลุ่มของชาวอ่าข่าดังนี้ 1.อาหารสำหรับผู้ป่วย ผู้ป่วยชาวอ่าข่าสามารถกินอาหารได้ทุกอย่าง ยกเว้นอาหารที่เห็นว่าจะทำให้ เกิดอาการแสลงและรักษายาก เช่น ส้มทุกชนิด ผักดอง และเนื้อสัตว์ที่มีขนสีขาว เช่น ไก่ เชื่อกันว่าอาหาร ประเภทหลังนี้ ผีไม่ชอบและทำให้ความร้อนในร่างกายเพิ่มสูงขึ้นรักษายาก 2.อาหารของหญิงมีครรภ์ หญิงมีครรภจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษด้านอาหาร เช่น ไม่กินเนื้อกระรอก สีดำ เลียงผา ปลาไหล หมีและลิง เชื่อกันว่าจะทำให้คลอดยาก ห้ามกินเนื้อสัตว์พิการหรือสัตว์ที่คลอดลูกผิด ธรรมชาติ เพราะเชื่อว่าจะทำให้ลูกในครรภ์พิการ หรือเป็นฝาแฝด ซึ่งชาวอ่าข่าถือว่าเป็นสิ่งอัปมงคลอย่างยิ่ง และห้ามนำอาหารออกไปกินนอกบ้าน นอกจากอาหารดังกล่าวแล้ว หญิงมีครรภ์ชาวอ่าข่ากินอาหารได้ทุก ประเภท


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๑๘ 3.อาหารสำหรับแม่หลังคลอดบุตร เน้นอาหารที่สดและสุกใหม่ๆ ไม่นิยมรับประทานอาหารที่เหลือ จากมื้ออื่นๆ จะเป็นอาหารประเภทต้มเป็นหลัก เช่น เนื้อหมูแดงไม่ติดมันต้ม ไก่ต้ม ปรุงรสโดยเกลือเล็กน้อย ผู้หญิงหลังคลอดจะไม่กินอาหารที่ปรุงโดยการทอด ผัด ปิ้งย่าง เผา เนื่องจากต้องให้นมบุตรและเพื่อสร้าง ภูมิคุ้มกันให้กับแม่และเด็ก 4.อาหารของเด็ก อาหารหลักของเด็กชาวอ่าข่านับแต่เริ่มคลอด คือ “นมแม่” เด็กจะดูดนมแม่ไป เรื่อยๆ จนแม่เริ่มตั้งครรภ์ใหม่ ซึ่งปกติแล้วเมื่อถึงเวลานั้น เด็กก็จะมีอายุประมาณ 2 ปี สำหรับอาหารเสริมคือ ข้าวสุกบดกับเกลือให้ละเอียด จะเริ่มให้เมื่อเด็กมีอายุประมาณ 4-6 เดือน หลังจากเด็กหย่านมแล้วก็จะกิน อาหาร เช่นเดียวกับผู้ใหญ่เว้นแต่อาหารที่มีรสจัดเท่านั้น 5.อาหารของคนชรา ไม่มีข้อจำกัดพิเศษเกี่ยวกับอาหารของคนชราแต่อย่างใด คนชราชาวอ่าข่า บริโภคสามารถบริโภคอาหารเช่นเดียวกับบุคคลอื่นทั่วไป อาหารชาติพันธุ์อ่าข่าในปัจจุบัน ชุมชนอ่าข่าที่อยู่บนพื้นที่สูงยังคงมีการหาอาหาร และการปรุงอาหารในแบบวิถีดั้งเดิมอยู่ แต่มีการปรุง รสด้วยเครื่องปรุงรสต่างๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น ผงชูรส น้ำตาล น้ำปลาซอสปรุงรส แต่สำหรับชาวอ่าข่าที่อาศัยใช้ ชีวิตและทำงานในเขตเมือง มีโอกาสเข้าถึงแหล่งอาหารที่หลากหลายมากขึ้น ทำให้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการปรุง อาหารและบริโภคอาหารไปมาก นอกจากนี้ ความสะดวกสบายของการเข้าถึงแหล่งอาหาร ที่มีราคาถูก ทำให้มี ทางเลือกในการประกอบอาหารมากขึ้น โดยมีการซื้ออาหารจากแหล่งภายนอก แทนการประกอบอาหารด้วย ตนเอง อย่างไรก็ตามตัวแทนชาวอ่าข่าเช่น นายปอทู่ ปอแฉ่ แสดงความกังวลต่อผลกระทบทางสุขภาพที่เกิดขึ้น เมื่อคนอ่าข่าต้องพึ่งพิงแหล่งอาหารจากภายนอก เขาเห็นว่า รูปแบบการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไป ส่งผลให้เกิด ความเจ็บป่วยมากขึ้น เมื่อก่อนคนอ่าข่าไม่รู้จักตลาด ไม่รู้จักร้านสะดวกซื้อ อาหารที่บริโภคจะได้มาจากในป่าใน ธรรมชาติ แต่ปัจจุบันชาวบ้านต้องใช้เงินเพื่อซื้อหาอาหาร และในทุกชุมชนจะมีรถจำหน่ายอาหารที่บรรจุใน ถุงพลาสติกไปเร่ขายถึงหน้าบ้าน เมื่อไม่ต้องทำอาหารกินเอง ทำให้ไม่ต้องเข้าไปหาพืชผัก สมุนไพรในป่า เรื่องนี้ ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อคุณค่าทางโภชนาการเท่านั้น แต่ที่สำคัญคือ ยังส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหารอีกด้วย เมื่อพิจารณาร่วมกับปัญหาอื่นๆ เช่น ขยะพลาสติกที่เพิ่มขึ้น การสูญหายไปของเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมือง ข้าวไม่ พอกิน ที่ดินเสื่อมเพราะใช้สารเคมี และค่าใช้จ่ายที่สูงเพิ่มขึ้น (นายอาทู่ ปอแฉ่ สัมภาษณ์ หนังสือพิมพ์กรุงเทพ ธุรกิจ วันที่ 6 ม.ค. 2563) ภูมิปัญญาจากครัวเตาไฟอ่าข่า ในอดีตบ้านเรือนของชาวอ่าข่าจะปลูกสร้างด้วยไม้ ยกพื้น พื้นเรือนใช้ ไม้ไผ่สับฟาก หลังคามุงด้วยหญ้าคา ไม่กั้นห้อง แต่จะแยกที่นอนเป็นฝั่งผู้ชาย ผู้หญิง และตั้งครัว ตั้งเตาฟืนอยู่ บนบ้าน เพื่อความสะดวก รวมทั้งให้ความอบอุ่น เพราะส่วนใหญ่ชาวอ่าข่าจะตั้งหมู่บ้านอยู่บนพื้นที่สูงอากาศ จึงค่อนข้างเย็นตลอดทั้งปี อาหารของอาข่าถือเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ เพราะจะกินผักสดที่ปลูกหรือขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ผักกาดเขียว น้ำเต้า ฟักเขียว ฟักทอง บวบ ผักกูด ผักโขม หน่อไม้ หอมชู มะเขือ พริก แตง ถั่ว กินกับน้ำพริก ต่าง ๆ เช่น น้ำพริกมะแขว่น น้ำพริกถั่วลิสง น้ำพริกงาขาว น้ำพริกมะเขือเทศ น้ำพริกปลา หรือนำผักสดมา


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๑๙ ต้ม ทำแกงจืด ผัดผัก หากมีเนื้อสัตว์ก็จะนำมาปรุงเป็นอาหารต่าง ๆ ทั้งอาหารแบบดั้งเดิม ของอาข่า หรือทำ แบบอาหารเหนือ เช่น ลาบ อ่อม คั่ว เป็นต้น ส่วนหมูหรือไก่จะนำมาทำอาหารตอนมีพิธีต่าง ๆ ถือเป็นอาหารพิเศษ ไม่กินพร่ำเพรื่อ ชาวอ่าข่าจะ กินข้าวกับน้ำพริกและผักเป็นหลัก ภาพอาหารอ่าข่า เครื่องเทศที่สำคัญของอ่าข่า คือ “มะแขว่น” พืชสมุนไพรตระกูลเดียวกับหมาล่าของจีน (เครื่องเทศ ชนิดหนึ่งมีรสเผ็ดซ่าชาลิ้น นำมาคลุกกับเนื้อสัตว์หรือผักต่าง ๆ นำมาปิ้งย่าง) ซึ่งคนภาคเหนือใช้เป็นเครื่องเทศ ปรุงอาหารต่าง ๆ เช่น ลาบ ชาวอ่าข่าถือเป็นเครื่องเทศในครัวเรือนที่กินกันมาช้านาน เรียกว่า จ่องหละ ใช้ปรุง อาหารต่าง ๆ และทำเป็นน้ำพริก เป็นพืชสมุนไพรที่ขึ้นอยู่ในป่า ต้นสูงประมาณ 5 - 6 เมตร ก้านดอกและ เมล็ดแห้งนำมาชงเป็นชาในยามอากาศหนาว รสเผ็ดร้อนช่วยให้ร่างกายอบอุ่น กำจัดพยาธิ และช่วยให้เจริญ อาหาร “คาวตอง” หรือพลูคาว ชาวอ่าข่านิยมนำมากินกับน้ำพริก ช่วยควบคุมอุณหภูมิในร่างกายหรือปรับ สมดุล ให้ความอบอุ่น ชาวล้านนานำมากินกับลาบ ส่วนในประเทศจีนคาวตองเป็นพืชสมุนไพรที่นิยม นำมาใช้รักษาอาการไอ ปอดบวม หลอดลมอักเสบ “หอมชู” หรือผักชู ชาวอ่าข่า รวมทั้งคนพม่า ไทใหญ่ นิยมนำรากของหอมชูมากินเป็นผักสด แกล้มกับน้ำพริก หรือนำมาดอง เป็นพืชตระกูลเดียวกับกุยฉ่าย รากมีสีขาวอวบ ช่วยบำรุงร่างกาย ฯลฯ


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๒๐ ภาพต้นมะแขว่น ภาพ มะแขว่น เครื่องเทศที่สำคัญของอ่าข่า เตาไฟถือว่ามีความสำคัญกับชีวิตของชาวอ่าข่า เพราะใช้ประกอบอาหารและให้ความอบอุ่น ภายในครัวเรือน ดังนั้นชาวอาข่าจึงมีพิธีไหว้เตาไฟ รวมทั้งไหว้เครื่องครัว เช่น ไห กระทะ หม้อ ในช่วงเดือน เมษายน (ประเทศจีนและเวียดนามก็มีความเชื่อเรื่องเทพประจำครัว เพื่อให้มีอาหารการกินอุดมสมบูรณ์ จะมี พิธีเซ่นไหว้ในช่วงวันตรุษหรือขึ้นปีใหม่) เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณ นอกจากนี้ยังมีพิธีไหว้เตาไฟในโอกาส ขึ้นบ้านใหม่ การจุดไฟครั้งแรกในเตาใหม่ โดยนำไข่ไก่ต้มมาตั้งบนเตาสามเส้าเพื่อเซ่นไหว้ “ถ้าไม่ไหว้เตาไฟหรือลืมไหว้ ชาวอ่าข่าเชื่อว่าจะทำให้โชคไม่ดี ครอบครัวมีปัญหาหรือมีคน เจ็บป่วยและจะได้ยินเสียงไหใส่ข้าวร้องดัง ‘หวูดๆ’ ร้องแบบโหยหวน ถือเป็นลางไม่ดี ต้องรีบทำพิธีไหว้” นอกจากนี้ ชาวอาข่ายังมีธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมาว่า ก่อนจะทำอาหารมื้อเช้าจะต้องล้าง หน้าตาให้สะอาด จากนั้นจึงทำความสะอาดรอบ ๆ เตาไฟ แล้วจึงจุดฟืนทำอาหารได้ หากไม่ทำตามนั้น จะทำ


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๒๑ ให้เกิดเรื่องไม่ดี ถือเป็นกุศโลบายที่แยบยลของบรรพบุรุษชาวอ่าข่า เพราะเมื่อล้างหน้าล้างตา รวมทั้งล้างมือ จะ ทำให้สดชื่น หายง่วง อารมณ์แจ่มใส ร่างกายสะอาด ส่วนการกวาดครัวหรือรอบ ๆ เตาไฟ ก็เพื่อไล่แมลงหรือ สัตว์มีพิษ เช่น แมงป่อง ตะขาบ งู ที่อาจจะมาอาศัยไออุ่นจากเตานั่นเอง ภาพเตาและครัวของชาวอ่าข่า ปัจจุบันบ้านที่สร้างใหม่อาจตั้งครัวที่ชานบ้านเพื่อความสะดวก ที่มา : ข้อมูล รูปภาพจากโรงเรียนบ้านสันต้นหมื้อ ตำหน่ออาข่า (อาบีเถอะ) ตำแตงกวาดอย


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๒๒ ตำน้ำพริกถั่วดินอาข่า (นือเผาะเดาะ) น้ำพริกมะเขือเทศอาข่า ตำหอมแทรก แกงยอดฟักทอง ตำใบหอมชู


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๒๓ ตำข้าวปุ๊ก (ห่อถ่อง) ที่มา : รูปถ่ายโดยโรงเรียนศึกษานารีอนุสรณ์ 2 ลาบอาข่า ผักสด และน้ำหริกอาข่า น้ำพริกมะเขือเทศ หมูผัดรากชู


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๒๔ ภาพ วิถีชีวิตสังคม การใช้ภาษา ของกลุ่มอาข่า ภาพ วิถีชีวิตสังคม การใช้ภาษา ของกลุ่มอาข่า ภาพ วิถีชีวิตสังคม การใช้ภาษา ของกลุ่มอาข่า 3.ภาษา/วรรณกรรม ๓.๑ ภาษา ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่า เป็นภาษาในตระกูลธิเบต-พม่า (Tibeto-Burman) ซึ่งมีความสัมพันธ์ กับภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ (Lahu) และลีซู (Lisu) นักวิชาการที่ศึกษาเรื่องจีน นำเสนอว่า ภาษาของกลุ่ม ชาติพันธุ์ทั้งสามกลุ่มนี้ และภาษาของอีกหลายกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่บริเวณชายแดนยูนนานของจีนกับพม่า (เช่นในบริเวณ Nakhi และ Minchia) เป็นภาษาที่ได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่มภาษาโลโล ในฐานะที่เป็นสาขาของ ภาษากลุ่ม Yi ภายใต้ตระกูลภาษาธิเบต-พม่า เช่นเดียวกันกับ Oliver Gordon Young นักวิชาการชาวสหรัฐ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกลุ่มชาติ พันธุ์ที่อาศัยอยู่ในแถบภูเขาและพื้นที่สูงในภาคเหนือของประเทศไทย ที่อธิบายว่า ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์อ่า ข่า มีความเกี่ยวโยงกับภาษาโลโล และมีความคล้ายคลึงกับภาษาลาหู่และลีซู ถึงแม้ว่าจะไม่เป็นที่เข้าใจข้าม กลุ่มก็ตาม เขากล่าวว่า ภาษาของชาวอ่าข่า มีลักษณะที่เป็นพยางค์เดี่ยว มีการกำกับเสียงสูงต่ำ (วรรณยุกต์) และแทบไม่มีพยัญชนะสะกด(พยัญชนะท้าย) บางคำเป็นคำที่ยืมมาจากภาษาจีน นอกจากนี้ Young (ในสมัยที่ เขายังเป็นเด็กและอาศัยอยู่ในภาคเหนือของไทยและพม่า) ยังกล่าวด้วยว่า ชาวอ่าข่าเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ เรื่องภาษา เพราะชาวอ่าข่าที่อพยพเข้ามาอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย สามารถพูดภาษาจีนยูนนานและ ภาษาลาหู่ ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้พวกเขายังสามารถพูดภาษาไทใหญ่ (Shan) และเรียนรู้ที่จะปรับสำเนียงนี้ ให้เข้ากับภาษาท้องถิ่นในภาคเหนือ หรือภาษาคำเมือง สำหรับ Young แล้ว เขารู้สึกประหลาดใจที่คนอ่าข่า สามารถเรียนรู้ที่จะออกเสียงตัวพยัญชนะสะกดได้เมื่อพูดภาษาไทใหญ่ ซึ่งต่างกับชาวลาหู่ ซึ่งไม่สามารถทำ เช่นนั้นได้ ถึงแม้ว่าทั้งภาษาอ่าข่าและลาหู่จะไม่มีการออกเสียงพยัญชนะท้ายเหมือนกันก็ตาม (Young 1962) กลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่า จึงเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีเพียงภาษาพูด แต่ไม่มีภาษาเขียน หากแต่เมื่อมิชชั่นนารี ชาวต่างประเทศเริ่มเข้ามาเผยแพร่ศาสนาในหมู่บ้านและชุมชนบนพื้นที่ภูเขาสูงในภาคเหนือของประเทศ (โดยเฉพาะในกรณีของประเทศพม่าและประเทศไทย) ทำให้เริ่มมีการพัฒนาคิดค้นระบบภาษาเขียนของชาวอ่า ข่า เพื่อวัตถุประสงค์ในการอ่านและศึกษาพระคัมภีร์ทางศาสนาคริสต์ โดยมีการนำระบบตัวเขียนแบบโรมันมา ใช้ในการสะกดคำพูดในภาษาอ่าข่า ภาษา/วรรณกรรม


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๒๕ ภาษาที่มีตัวเขียน มิชชั่นนารีผู้เผยแพร่ศาสนาคริสต์เป็นกลุ่มแรกที่ได้พัฒนาคิดค้นระบบภาษาเขียน เพื่อใช้ในการอ่าน และศึกษาพระคัมภีร์ในศาสนาคริสต์ จึงทำให้เกิดภาษาเขียนที่เป็นแบบใช้ตัวอักษรโรมันสะกด (Romainized) จากข้อมูลของ Morton (2010) นับตั้งแต่ปีค.ศ. 1920 เป็นต้นมา ได้มีความพยายามในการพัฒนาตัวอักษร เขียนอ่าข่ามากกว่า 13 แบบ โดยกลุ่มบุคคลต่างๆ ทั้งระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และนานาชาติ รวมทั้ง เจ้าหน้าที่รัฐ มิชชั่นนารี นักภาษาศาสตร์ นักมนุษยวิทยา นักสิทธิมนุษยชน ซึ่งปนัดดา (2547) เห็นว่า ความ พยายามที่จะพัฒนาระบบตัวอักษรเขียนภาษาอ่าข่านี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อบันทึกเรื่องราวต่างๆด้วยตนเอง หรือ เพื่อเผยแพร่ความคิด ความรู้บางอย่างจากภายนอกให้แก่คนอ่าข่า เช่น ความคิดเรื่องการนับถือศาสนา สื่อ รณรงค์ด้านสุขภาพ และวัฒนธรรม ทั้งนี้ ปนัดดา อธิบายว่า ระบบการเขียนภาษาอ่าข่าที่ใช้ในประเทศไทยมีหลายระบบ โดยเธอ ยกตัวอย่าง 4 ระบบ ดังนี้คือ ระบบแรก เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1949 (พ.ศ. 2492) โดย Dr. Paul Lewis มิชชั่นนารีแบ๊บติสท์ชาวอเมริกัน ซึ่งทำงานกับชุมชนชาวอ่าข่าและฮานี (ฮาหนี่ ก็เรียก – ผู้วิจัย) ในประเทศจีน พม่า และไทย โดยเป็นการพัฒนามาจากภาษาลาหู่ ซึ่งมีความใกล้เคียงกัน ระบบนี้ได้รับการนำไปใช้อย่าง แพร่หลาย เป็นที่รู้จักกันว่า เป็นระบบการเขียนภาษาอ่าข่าแบบแบ๊บติสท์ ซึ่งนอกจากจะมีการนำระบบนี้ไปใช้ ในการพิมพ์หนังสือเผยแพร่ศาสนาคริสต์แล้ว ผู้พัฒนาคือ Paul Lewis ยังได้จัดพิมพ์พจนานุกรมภาษาอ่าข่า เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1989 (พ.ศ. 2533) ซึ่งมีการปรับปรุงครั้งที่สองในปี ค.ศ. 2001 (พ.ศ. 2544) ส่วนระบบที่สอง เป็นระบบการเขียนภาษาอ่าข่าแบบจีน (ฮานี) ซึ่งผู้พัฒนาคือ หมี่หยี จากเมืองเชียงรุ้ง สิบสองปันนา มณฑลยูนนานของจีน ซึ่งเป็นการปรับมาจากภาษาฮานีแบบปินยินในปี ค.ศ. 1957 (พ.ศ. 2500) ระบบนี้ใช้กันแพร่หลายในประเทศจีน โดยมีการพิมพ์หนังสือด้วยภาษานี้กว่า 200 เล่ม และ หนังสือพิมพ์อีก 1 ฉบับ (ปนัดดา 2547) ส่วนอีกระบบหนึ่ง พัฒนาโดย ดร.เลโอ อัลติ้ง วอน เกอเซา (Leo Alting von Geusau) นักมานุษยวิทยาชาวเนเธอร์แลนด์ ในปี ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2524) เพื่อใช้ในการศึกษา พิธีกรรม ความเชื่อของชาวอ่าข่า อย่างไรก็ตาม ระบบนี้ยังไม่ได้รับความนิยมและไม่มีการนำไปใช้มากนัก นอกจากนี้ ยังมีระบบการเขียนภาษาอ่าข่า อีกระบบหนึ่ง ที่พัฒนาโดยนายแมธธิว แมคดาเนียล ชาวอเมริกัน ซึ่งเคยใช้ชีวิตร่วมกับชาวอ่าข่าในชุมชนหมู่บ้านอ่าข่าในภาคเหนือของไทยเป็นเวลาหลายปี แต่ระบบนี้ยังไม่มี ผู้ใช้มากนัก (ปนัดดา 2547) อย่างไรก็ตาม บทความของ Morton (2013) ระบุว่า นับแต่ปีค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) เป็นต้นมา มีความพยายามของชาวอ่าข่าบางส่วนที่ต้องการประชุม พบปะ หารือกันระหว่างชาวอ่าข่าด้วยกันเอง เพื่อ พัฒนาระบบตัวอักษรเขียนร่วมกันเพื่อคนอ่าข่าในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงสามารถใช้ร่วมกันได้ โดยกลุ่มผู้นำชาว อ่าข่า ได้เน้นให้ความสำคัญทั้งตัวอักษรเขียนในสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อดิจิตัล เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกของความเป็น คนอ่าข่าร่วมกัน ทั้งยังได้มีการผลิตสื่อวิดีโออบรมเรื่องตัวอักษรเขียนร่วมนี้เผยแพร่ในยูทูป (Youtube) ด้วย ในช่วงตั้งแต่ปีค.ศ. 2013 (พ.ศ. 2556) เริ่มมีความพยายามของนักวิชาการ และนักเคลื่อนไหวด้าน สิทธิมนุษยชน และผู้นำชาวอ่าข่าในประเทศพม่า จีน และไทย โดยเฉพาะกลุ่มที่เรียกตนเองว่า Neotraditionalists ในการพัฒนาตัวอักษรเขียนร่วมของชาวอ่าข่าในภูมิภาคนี้ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการ ติดต่อสื่อสารกันระหว่างชาวอ่าข่าในประเทศจีน ไทย พม่า ลาว และเวียดนาม โดยในเบื้องต้น มีตัวแทนของ นักวิชาการ ปัญญาชน และผู้นำชาวอ่าข่าจาก 3 ประเทศ เข้าร่วม คือ จีน พม่า และไทย ความร่วมมือระหว่าง ชาวอ่าข่าจากประเทศเหล่านี้ ในการพัฒนาตัวอักษรเขียนร่วมกัน (Common orthography) มีวัตถุประสงค์ที่ สำคัญประการหนึ่ง ดังที่นาย Jianhua Wang ซึ่งเป็นนักวิชาการชาวอ่าข่าจากประเทศจีน อธิบายว่า “เพื่อ เป็นการแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างทางสังคมและการเมือง ซึ่งเป็นผลมาจากการแบ่งเส้นเขตแดนระหว่าง


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๒๖ ประเทศ และการเข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ขององค์กรมิชชั่นนารี” กระนั้นก็ตาม ดูเหมือนว่าการประชุมเพื่อ หามติร่วมกันเรื่องตัวอักษรเขียนร่วมของชาวอ่าข่า ไม่อาจหลุดพ้นจากความขัดแย้งทั้งเรื่องศาสนาที่แตกต่าง กัน รวมทั้งระบบสังคม การเมืองของตัวแทนแต่ละกลุ่มศาสนา และตัวแทนประเทศที่เข้าร่วม ทำให้ผู้นำ ชาวอ่าข่าบางคน ซึ่งเป็นผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ มองว่า การพยายามพัฒนาตัวเขียนร่วมนี้ เป็นความพยายามที่ จะทำให้คนอ่าข่าที่นับถือศาสนาคริสต์ หันกลับไปนับถือศาสนาดั้งเดิม หรืออ่าข่าย้อง เป็นการไม่ปฏิบัติตาม ข้อตกลงเบื้องต้นที่ว่า จะไม่นำประเด็นเรื่องศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้ตัวแทนชาวอ่าข่าบางคนที่เข้าร่วม ประชุม กล่าวว่าเขาจะไม่ใช้ระบบตัวอักษรเขียนร่วมที่มีการพัฒนาขึ้นมาใหม่นี้ แต่จะใช้ระบบอักษรเขียนที่ คิดค้นโดยมิชชั่นนารีชาวอเมริกัน Paul Lewis แทน (Morton 2013) ภาษาอ่าข่า เบี้องต้น Aqkaq sanqbovq - พยัญชนะ ภาษาอ่าข่า Daq teir B C D G H J K L M N P S T Y Z BY DZ GH KH MY NG NY PY X TS - สระภาษา อ่าข่า Ngateir A E I O U M AE AN AW EE EI OE OI AI AM AO - วรรณยุกต์ภาษาอ่าข่า Bovqteir (teirsar) - = สามัญ q = เอก r = โท v = vq = vr = Teir ye........ ...(เสียงสามัญ) Teir nanq.... q (เสียงต่ำ) Teir ghanr... r (เสียงสูง) Teir tsaev... v (.....) Teir tsaev nanq... vq (.....) Teir tsaev ghanr.. vr (.....)


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๒๗ วิธีสะกด คำ ในภาษาอ่าข่า (sanqmyav par myav) A nae sanqmyav par myav (การสะกดคำ โดยใช้ สระ อา) B BA บหา BAQ บห่า BAR บห้า BAV บัก BAVQ บาก BAVR บ้ะ C Ca ชา Caq ฉ่า Car ช่า Cav จา Cavq จัก Cavr จ้ะ D Da ดหา Daq ดห่า Dar ดห้า Dav ดา Davq ดาก Dar ด้ะ G Ga กหา Gaq กห่า Gar กห้า Gav กหาก Gavq กหัก Gavr กหั้ก H Ha ฮา Haq ฮ่า Har ฮ้า Hav หาก Havq หัก Havr ห้ะ คำที่ลงท้ายด้วย วรรณยุกต์ เสียง สามัญ q r ออกเสียงยาว พยัญชนะต้นไม่ผันเสียง คำที่ลงท้าย ด้วยวรรณยุกต์ เสียง v vq vr ออกเสียงสั้น พยัญชนะต้น ผันเสียง ให้สั้นลงครึ่งหนึ่ง E nae sanqmyav par myav (การสะกดคำ โดยใช้ สระ เออ)


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๒๘ พยัญชนะ ภาษาอ่าข่ามี 25 รูป...Daq teir [Sanq bovq aq ma deq] B C D G H J K L M N P S T Y Z BY DZ GH KH MY NG NY PY X TS สระ...Nga teri [Sanq bovq aq poer deq] A=อา E=เออ I=อิ O=โอ U=อู M=อูม AE=แอ AN=ออง AW=ออ EE=อือ EI=เอ OE=เอว OI=อิว AI=อาย AM=อาม AO=อาว Sanqbovq aqma daqma deq เสียงตัวอักษรแบบ Aqkaq เมื่อเทียบกับตัวอักษรไทย พยัญชนะ แทน เสียงต่างๆ A , a อ ใช้แทนเสียง อะ อา ทั้งหาย และทำหน้าที่เป็นสระตัว อา B , b บ Bavq[บะ]=แบก หาม , Baw [บอ] เป่า มี(เจ้าของ) P , p พ,ผ,ป Peer [พื้อ] แก้มัด , Puq [ผู่] บวม, Pavq[ปะ] มัด M , m ม Mawvq [เหมาะ] ชอบ , Amir [อามี้] แมว F , f ฟ <ไม่ค่อยมีคำภาษาอ่าข่า หรืออาจไม่มีเลย >


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๒๙ D , d ด Dav [ ด๊ะ] ขึ้น ปีน, Dan [เดอน] ว่าง T , t ท, ต , ถ Taq [ถ่า]เก็บไว้ , Tur [ ทู๊ ] ลุก โค่น ตัดไม้, Tavq [ตะ] ตอกร่วมกัน N , n น Nawr [ น๊อ ]ท่าน คุณ เธอ,Yaw navq [ยอหนะ] ลึก เช้ามืด ,Yawnav [ยอนะ] ดำ L , l ล Lawq[ หล่อ ] เรือ, Lavqtav [หละ ตะ] ข้างบน G , g ก Ganq [ เก่อง] หอก , Gawvq [เกาะ] กัด K , k ค,ก Kur [ คู๊] เรียก, Kavq lanr[กะเลอง] ขัง H , h ห,ฮ Hawq [ห่อ] ข้าว Gh , gh กว [เสียงควบ] Ghaq [ กว่า ] แรง ผู้ซึ่ง พอ Ghoer[โก้ว]สนิท ผูกพัน คุ้นเคย J , ,j จ Juq [จู่ ] หย่อน C , c ช, ฉ ,จ Cav [จา] เครื่อง Carcaq [ชะฉ่า] นิ้วก่อย X , x ซ Xaq [ซ่า] เนื้อ Y , y ย Yuvq [หยุ] นอน Dz , dz จย [เสียงควบ] Dzaq [จย่า]กิน Ts , ts ช ,ฉ [เสียงควบ] Tsaq [ฉ่า ] เหมาะสม เข้าได้ดี สวย หล่อ S , s ส Sanq [เสิ่ง]หมึก Z , z ญ,ย Zaq [หญ่า หย่า] เด็ก ลูก By , by บย [เสียงควบ] Byawq [บย่อ] สนุก จืด Py , py พย [เสียงควบ] Pyar [พย้า] เบา Pyav [ปยะ] เด็ดผลไม้ ลื้อ My , my มย [เสียงควบ] Myawq [หมย่อ] สิ่งของ Ny , ny นย [เสียงควบ] Nya [นยา] เก่ง เป็น W , w ว <ไม่ค่อยมีคำภาษาอ่าข่า หรืออาจไม่มีเลย > Kh , kh คว [เสียงควบ] Khoer [โค้ว] อันนั้น สิ่งนั้น Ng , ng ง Ngaq [หง่า] เลขห้า ห้า กู้ ยืม ภาพตัวอย่าง ภาษาที่มีเขียน ชนเผ่าอาข่า ที่มา : https://www.sac.or.th/databases/ethnic-groups/ethnicGroups/26


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๓๐ ภาษาที่ไม่มีตัวเขียน ภาษาที่ไม่มีตัวเขียน หรือ ภาษาพูดของกลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่า ซึ่งอยู่ในตระกูลธิเบต-พม่า มีความ คล้ายคลึงกับภาษาของชาวลาหู่ ส่วนในประเทศจีน คล้ายกับภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ฮาหนี่และโลโล ทั้งนี้ ปนัดดา บุณยสาระนัย นักวิชาการด้านภาษาศาสตร์ ซึ่งศึกษากลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่า ระบุว่า ภาษาอ่าข่าเป็นภาษา หนึ่งในตระกูลภาษาธิเบต-พม่า สาขาภาษาโลโลใต้ ซึ่งมีกลุ่มคนที่พูดภาษานี้ กระจายตัวอยู่ในตอนใต้ของ ประเทศจีน พม่า ลาว ไทย และเวียดนาม (ปนัดดา 2547) ส่วน Paul Lewis มิชชั่นนารีแบ๊บติสท์ชาวอเมริกัน ซึ่งอาศัยใช้ชีวิตในชุมชนอ่าข่าในเมือง Kengtung ในประเทศพม่า ช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1947-1966 (พ.ศ. 2490-2509) ในขณะที่ทำงานภายใต้ American Baptist Foreign Mission Society กล่าวว่า สำเนียง ภาษาพูดอ่าข่าที่เขาได้เรียน และที่ถือว่าเป็นมาตรฐานคือสำเนียง Jeu-g’oe (Puli) ซึ่งใช้พูดกันในเขต ตอนกลางและตะวันออกของเมือง Kengtung ทั้งนี้ Lewis ระบุว่า ภาษาอ่าข่ามีพยัญชนะ 26 ตัวและสระ 13 ตัว (Lewis 1969) เช่นเดียวกันกับปนัดดา ที่อ้างถึงงานศึกษาของพอล ลูวิส ระบุว่าภาษาพูดของชาวอ่าข่ามี หลายสำเนียง สำหรับสำเนียงที่พบมากในประเทศพม่าและบางส่วนของไทยได้แก่ ภาษาอ่าข่าสำเนียง เจอ เกอะ (‘Jeu-g’oe) นอกจากนี้ยังมีสำเนียงอื่นๆที่ใกล้เคียงกัน เช่น สำเนียงเจอจ๊อ (Jeu Jaw) ในเขตปกครอง ตนเองของชาวฮาหนี่ (Hani) และยี (Yi) ในเมืองลือซืน หงเหอ หยวนหยาง และจินผิง ส่วนอ่าข่าที่อาศัยในไทย มานานหลายชั่วอายุคน ได้พัฒนาภาษาอ่าข่าขึ้นมาจากสำเนียงพื้นฐานที่พูดกันอยู่ในประเทศจีนและพม่า (ปนัดดา 2547) อย่างไรก็ตาม ชาวต่างประเทศที่ศึกษาและเคยอาศัยอยู่ในชุมชนชาวอ่าข่าในภาคเหนือของ ประเทศไทย เช่น Jim Goodman เห็นว่า สำเนียงภาษาพูดของคนอ่าข่าในประเทศไทย มีสำเนียงที่แตกต่าง กันออกไประหว่างกลุ่มอ่าข่า 3 กลุ่ม คือ สำเนียงภาษาพูดของกลุ่มอ่าข่าอู่โล้ (Ulo) กลุ่มผาหมีอ่าข่า (Pamee) (หรืออู่เบียะ Uqbyaq – ผู้วิจัย) และกลุ่มโล้มี (Lomi) ทั้งนี้ ปนัดดา (2547) เห็นว่า การที่คนอ่าข่าไม่มีภาษาเขียน ทำให้การถ่ายทอดความรู้และภูมิปัญญา สู่คนรุ่นหลัง ทำผ่านการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ทำให้จดจำได้อย่างแม่นยำ เช่น การสืบนับบรรพบุรุษของชาว อ่าข่าจากพ่อสู่ลูกชาย อย่างไรก็ตาม การที่เด็กชาวอ่าข่ารุ่นใหม่ เข้ารับการศึกษาในระบบโรงเรียนของรัฐที่ต้อง อ่านเขียนภาษาและวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ รวมทั้งการดำรงชีวิตตามกระแสสังคมสมัยใหม่ อาจจะส่งผล กระทบต่อการรักษาภาษาและวัฒนธรรม ตลอดจนความรู้ภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวอ่าข่า ตัวอย่างภาษาพูด ของชนเผ่า อาข่า ลำดับที่ ภาษาเขียน ความหมาย 1. อู่ดู่ถ่อง มะ สวัสดี ครับ/ค่ะ 2. น้อจ้อซะโด เมี๊ยหล่า คุณสบายดี หรือเปล่า 3. น้ออ่าก๊า แนล้าเถ่ คุณมาจาก ไหน? 4. ง้าเจ่ห่า แนล๊าเอ ผม/ฉัน มาจากเชียงราย 5. น้ออ่าก๊า อี้แวยเอ คุณกำลังจะ ไปไหน? 6. หน่อเอ ชอเมี๊ยอ่าโย้ยคุเท คุณชื่อ อะไร? 7. หง่าเออช อเมี๊ย…อาผ่า…แล้คุเอ ผม/ฉัน ชื่อ…อาผ่า…ครับ/ค่ะ 8. กื่อหล่อ งหื่อมะเต ขอบคุณ ครับ/ค่ะ


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๓๑ ลำดับที่ ภาษาเขียน ความหมาย 9. อิ้จุด้อ เออ ดื่มน้ำ 10. ห่อจ่าจ่า เออ กินข้าว 11. หว่อม๊ะเด ลาก่อนนะ 12. หงาแปชอปา ยาแม๊โล่/หล่า ช่วยฉัน หน่อยได้ไหม? 13. อ๊ะแมย เนี๊ย เท่าไหร่? 14. ยาถ่อง โจ้วก่าหล่าห่าแช้เมี๊ย ยินดีที่ ได้รู้จัก 15. อี่นอง วันนี้ 16. มี๊นอง เมื่อวานนี 17. อ๊ะมยาง เมื่อไหร่? 18. อ่าก้า ที่ไหน? 19. อ่าก๊าอี๊ เท ไปไหน? 20. อ่าเจ่มิแน ทำไม? 21. ถี่เจ่หม่า เงอะ ไม่เป็นไร 22. ง้าหนองก่า ยะ/เออ ฉันรักเธอ 23. งาแบ กล้วย 24. มะป่าว มะพร้าว 25. สี่โล้ว ส้ม 26. ติ นยิ ซุ้ม โอว่ หง่า โกะ สิ แหยะ โวย่ เช้ นับเลข 1-10 (ทำปากให้เหมือนนะจ๊ ๓.๒ วรรณกรรมพื้นบ้าน ชาวอ่าข่ามีคติความเชื่อระหว่างสองสิ่งเสมอ ซึ่งจะสังเกตเห็นได้จากคติความเชื่อของการจัดการพื้นที่ ของหมู่บ้านเป็นพื้นที่ของมนุษย์ที่ตรงข้ามกับพื้นที่ของวิญญาณ พื้นที่ของบ้านเรือนตรงข้ามกับป่า ซึ่งในทัศนะ ของชาวอ่าข่าเกี่ยวกับจักรวาลนั้นจะครอบคลุมตั้งแต่ธรรมชาติ บริเวณภายนอกและภายในหมู่บ้าน และรวมถึง ภายในบ้าน ภายในบ้านชาวอ่าข่าจึงเปรียบเสมือนกับการย่อส่วนของจักรวาลเล็ก ๆ โดยมีบ้านของหยื่อมะ (โจ่วมา) ผู้นำทางจิตวิญญาณที่สำคัญของชาวอ่าข่าอยู่บริเวณศูนย์กลางเปรียบเสมือนจักรวาล และมีบ้านของ สมาชิกในชุมชนตั้งขยายออกไปรอบๆ การจัดรูปแบบหมู่บ้านของชาวอ่าข่านั้นมักจะมีสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึง ขอบเขตระหว่างโลกของมนุษย์ ภายใน และภายนอก โลกของจิตวิญญาณ โดยมีประตูหมู่บ้านเป็นการแบ่งเขต ระหว่างโลกของผีและมนุษย์ และเป็นสัญลักษณ์การแบ่งขอบเขตระหว่างกันที่สร้างไว้ก่อนเข้าสู่ชุมชนชาวอ่า ข่าทุกเส้นทางที่ใช้สัญจรเข้าสู่หมู่บ้านชาวอ่าข่าได้ ถือเป็นลักษณะเฉพาะของชาวอ่าข่าที่แตกต่างจากกลุ่มชาติ พันธุ์อื่น ๆ


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๓๒ ๑. ตำนาน: “ถ่องผ่องสียะอ่ามา ” แม่ของผีและคน (อ่ามา มาตะ) ตำนานเรื่องแม่ของผีและคน หรือ อ่ามา (แม่) มาตะ (ร่วมกัน) นี้ เล่าขานเกี่ยวกับแม่ที่มีนม 9 เต้าอยู่ ข้างหลังสำหรับผี ส่วนด้านหน้ามีนม 2 เต้าสำหรับคน ทั้งผีและคนอยู่ในครอบครัวเดียวกัน กลางคืนให้ผี ทำงาน ให้คนนอน กลางวันคนทำงาน ให้ผีนอน เสือกับควายอยู่ด้วยกัน นกอินทรีย์กับไก่อยู่ด้วยกัน ดำเนิน ชีวิตอย่างนี้มาตลอด จนอ่ามามาตะได้เสียชีวิตลง ผีกับคนทะเลาะกัน สาเหตุที่ทะเลาะกันเพราะไม่สามารถทำ พิธีร่วมกันได้ระหว่างผีกับคน นกอินทรีย์กับไก่แยกกันอยู่ ควายกับเสือไม่ถูกกัน เมื่ออ่ามามาตะเสียชีวิต มีการ จัดพิธีกรรมให้อ่ามามาตะ โดยเชิญพิมาของผีชื่อว่า ยา โล เบ เช้ ได้ไปหาสัตว์ทุกชนิดที่มีครรภ์มาเพื่อประกอบ พิธีกรรม และสัตว์ได้แหกคอกหนีเหลือแต่ หมี กระรอก กึโห (เป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง มีรูปร่างลักษณะคล้ายกระรอก มีขนาดเท่าแมว ) ขณะที่พิมาของผีท่องสวด อ่ามามาตะก็ลุกขึ้นมาแล้วพูดว่า ไปไม่ได้หนทางยาก (หมายถึง ท่องบทสวดแล้วพาวิญญาณไปถึงสวรรค์ไม่ได้) ท่องอยู่ 3 คืน ยังส่งวิญญาณไม่ได้ จึงได้เชิญพิมาของคนมาท่อง ต่อ ชื่อว่า พิมา ยา แม อะห่อง ซึ่งเป็นพิมาคนแรกของอ่าข่าและคนแรกของโลก เมื่อพิมาของคนท่องบทสวด ไปได้ 1 - 2 คืน อ่ามามาตะก็ลุกขึ้นมาแล้วกล่าวว่า ไปได้ครึ่งทาง เมื่อท่องถึงคืนที่ 3 ซึ่งเป็นคืนสุดท้าย เมื่อจบ บทสวดอ่ามามาตะสิ้นใจตาย และต้นกำเนิดพิธีกรรมต่างๆ จึงเกิดจากตรงนี้ สืบทอดกันมาอย่างเคร่งครัดจนถึง ปัจจุบัน หลังจากอ่ามามาตะสิ้นใจ ผีกับคนก็ยังอยู่ในครอบครัวเดียวกัน ชื่อบ้านว่า ดาโก๊ะ ดากะ แต่เริ่ม ทะเลาะกันหนักขึ้น เนื่องจากต่างฝ่ายอยากแยกไปอยู่กันเอง จึงกล่าวโทษซึ่งกันและกัน คนอยู่บ้าน ผีไปทำงาน กลับมา ก็กล่าวโทษคนว่าขโมยไข่ผี ผีไปไร่ คนก็กล่าวโทษผีว่าขโมยแตง ซึ่งจริงๆ แล้วไม่มีใครขโมย เมื่อ กล่าวหาซึ่งกันและกันหนักขึ้น คนกับผีก็อยู่ในครอบครัวเดียวกันไม่ได้ เลยสาบานกันและให้มีการแบ่งเขต ต่าง ฝ่ายต่างจะไม่เห็นกันและไม่ไปล้ำเขตซึ่งกันและกัน แบ่งกลางคืนให้ผี กลางวันให้คน จึงได้ทำพิธีกรรมแยกจาก กัน โดยให้คนปิดหน้าและหันหลังให้ผี ผียืนมองคนเอากระด้งปิดหน้าสุนัข อ่าข่าจึงมีความเชื่อว่าเวลาสุนัขหอน หรือเห่า เพราะว่าเห็นผีอย่างลางๆ มองจากรูกระด้ง และเชื่อว่าผีเห็นคนแต่คนไม่เห็นผี นอกจากขวัญอ่อนเวลา เจอผีหลอก ๒. นิทาน อาข่า-อ่าอู๊จาลา ณ หมู่บ้านของอาอูจาละ ชาวบ้านต่างสงสัยว่า เขาไปทำอะไรมาจึงได้ฝูงวัวฝูงช้างกลับมาเลยพากัน มาถามอาอูจาละให้เขาช่วยละสอนวิธีแก่พวกเขาบ้าง อาอูจาละบอกว่าจะซ่อมแซมบ้านก่อนเมื่อบ้านเสร็จแล้ว จะบอกทุกคน วันต่อมา เขาเดินทางไปตัดไม้ในป่า บังเอิญเจอเด็กหนุ่มกลุ่มหนึ่ง เขาคิดอุบายหลอกเด็กๆให้มา ช่วยขนไม้โดยเอาไก่มาผูกไว้ใกล้หลุมกับต้นไม้แล้วเรียกเด็กๆให้มาดูไก่พร้อมหลอกให้กระตุกเชือก แต่เด็กๆดึง ได้แต่ไก่เท่านั้น เขาได้โอกาสบอกให้เด็กๆช่วยขนไม้ให้เขากลับไปที่บ้าน ครั้งที่สองเขาก็ใช้อุบายทำแบบนี้อีก แต่เปลี่ยนจากขนไก่เป็นขนแพะจนสามารถสร้างบ้านได้ เมื่อสร้างบ้านเสร็จเขาก็จะเดินทางไปค้าขายใหม่ ทุก คนที่เดินทางไปด้วยต้องห่ออาหารไปกิน อาอูจาละห่อลูกหนูไปแทนข้าวพอเปิดห่อข้าวออกมาเห็นว่าเป็น ลูกหนูก็บอกว่าคงเป็นลางไม่ดี เขาจะกลับบ้านไม่ไปค้าขายแล้ว ระหว่างเดินทางกลับเขาห่อปูตัวหนึ่งกับเปลือก ไผ่ เขาแกล้งทำไปเยี่ยมบ้านภรรยาที่สามีเดินทางไปค้าขายแล้วแอบเอาห่อปูไปวางไว้ในบ้านแล้วหมาก็เลยเห่า อาอูจาละจึงบอกว่า ” ระวังนะ สามีไม่อยู่บ้านเวลานอนต้องคอยฟังว่ามีเสียงอะไรรึเปล่า ” พวกนางกลัวมาก ไม่กล้านอนที่บ้านจึงไปขอนอนที่บ้านอาอูจาละ หญิงทั้งหมดจึงกลายเป็นเมียของเขา หลังจากนั้นไม่นานสามี พวกนางกลับมา นางจึงเล่าให้สามีฟัง ทุกคนจึงวางแผนจะฆ่าอาอูจาละ วันหนึ่งอาอูจาละเผลอตัวถูกจับใส่ ในก๋วย(ตะกร้า)แล้วเอาไปแขวนไว้บนต้นไม้ที่ข้างล่างมีบ่อน้ำ แต่ขณะเดียวกันมีพ่อค้าชาวจีนเดินทางผ่านมา อาอูจาละคิดอุบายหลอกให้พ่อค้าขึ้นมาหาตนข้างบนแล้วจับพ่อค้าใส่ก๋วยไว้แทน หลังจากนั้นเขาก็ลงไปตักน้ำ


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๓๓ รดตัวแล้วกลับเข้าไปในหมู่บ้าน บอกทุกคนว่าเขายังไม่ตายแต่ตกลงไปในบ่อน้ำ ที่นั่นมีสมบัติมากมาย ทุกคน อยากได้สมบัติจึงพากันไปงมแต่อาอูจาละบอกว่าให้เอาโอ่งมัดไว้กับตัวจะได้ขนสมบัติกลับมาเยอะๆ ทุกคน หลงเชื่อทำตาม เวลาผ่านไปเขาก็ไปบอกบรรดาภรรยาของชาวบ้านที่ลงไปเอาสมบัติในน้ำว่า ให้เอาห่อข้าวไป วางไว้ข้างๆบ่อน้ำสามีจะขึ้นมากิน พอพวกนางเอากับข้าวไปวางอาอูจาละก็แอบโยนทิ้ง พวกนางดีใจที่สามีมา กินอาหาร แต่หนึ่งวันต่อมา พอกลับมาดูห่อข้าวไม่มีร่องรอยใครกิน อาอูจาละบอกว่าสามีพวกนางไม่ขึ้นมากิน อาหารแสดงว่าพวกเขาตายแล้ว จากนั้นเขาก็แกล้งแอบอยู่หลังต้นไม้เป็นเทวดาบอกพวกนางว่า ให้เป็นภรรยา ของเขาและเขาเหมาะที่สุดที่จะเป็นผู้นำหมู่บ้านเพราะเขาเป็นเพียงผู้ชายคนเดียว


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๓๔ ภาพ ภูมิปัญญาด้านสถาปัตยกรรม ภาพ ภูมปิ ัญญาดา้นสิง่ทอ ภาพ ปราญชาวบา้นในทอ้งถิน่ 4.ภูมิปัญญา และปราชญ์ชาวบ้าน 1. เตาไฟอาข่า สําหรับห้องครัวอาข่า จะมีเตาไฟสําหรับประกอบอาหาร ส่วนด้านบนจะสานไม้ไผ่วางเป็นชั้นๆ เพื่อใช้ เป็นที่วางหรือใช้เก็บเมล็ดพันธุ์ต่างๆและใช้เพื่อถนอมอาหารเมื่อมีการปรุงอาหารจะมีควันไฟลอยขึ้นไป รมควัน เมล็ดพันธุ์หรือวัตถุดิบที่แขวนไว้ด้านบน ประโยชน์ของควันจะช่วยป้องกันไม่ให้แมลงศัตรูพืชเข้ามากินเมล็ด พันธุ์พืชต่างๆ อีกทั้งยังสามารถยืดอายุของอาหารเก็บไว้ได้นาน ซึ่งกรรมวิธีดังกล่าวสะท้อนให้เห็น ถึงภูมิปัญญา และวิถีชีวิตดั้งเดิมของหมู่บ้านเหมืองแร่ที่ยังคงอนุรักษ์และสืบสานต่อๆ กันมา นอกจากนี้ ชาวอาข่ายังมีธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมาว่าก่อนจะทำอาหารมื้อเช้าจะต้องล้างหน้าตา ให้สะอาดจากนั้นจึงทำความสะอาดรอบ ๆ เตาไฟ แล้วจึงจุดฟืนทำอาหารได้หากไม่ทำตามนั้น จะทำให้เกิด เรื่องไม่ดีถือเป็นกุศโลบายที่แยบยลของบรรพบุรุษชาวอ่าข่า เพราะเมื่อล้างหน้าล้างตา รวมทั้งล้างมือ จะทำให้ สดชื่น หายง่วงอารมณ์แจ่มใส ร่างกายสะอาด ส่วนการกวาดครัวหรือรอบ ๆ เตาไฟก็เพื่อไล่แมลงหรือสัตว์มีพิษ เช่น แมงป่อง ตะขาบ งูที่อาจจะมาอาศัยไออุ่นจากเตานั่นเองภาพเตาและครัวของชาวอ่าข่าปัจจุบันบ้านที่ สร้างใหม่อาจตั้งครัวที่ชานบ้านเพื่อความสะดวก ภูมิปัญญา และปราชญ์ชาวบ้าน


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๓๕ (ภาพ เตาไฟแบบดั้งเดิมของชาวอาข่า) (ภาพ เตาและครัวของชาวอ่าข่า ปัจจุบันบ้านที่สร้างใหม่อาจตั้งครัวที่ชานบ้านเพื่อความสะดวก) 2.ตะแหลว ชาวอาข่ามีความเชื่อว่าช่วยป้องกันสิ่งชั่วร้ายและใช้ในการป้องกันบุกรุกป่าชุมชนตะแหลว ประกอบด้วย 3 แบบ ได้แก่ แบบที่ ๑ : มามะ แบบที่ 2 : แลล่อ แบบที่ 3 : ดาแหล่ แบบที่ 1 : มามะ


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๓๖ แบบที่ 2 : แลล่อ แบบที่ 3 : ดาแหล่ 3.“จึ” (Tseevq) เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะของชาวอ่าข่า เป็นเครื่องมือในทางสังคมที่ แสดงให้เห็นถึงลำดับความเชื่อมโยงของคนจากรุ่นสู่รุ่น โดยจะเห็นได้จากชื่อของลูกที่จะต้องมีส่วนหนึ่งของชื่อ มาจากชื่อของบิดา รูปแบบที่พบเห็นทั่วไปในกลุ่มอ่าข่า ก็คือ พยางค์สุดท้ายของชื่อพ่อจะนำมาใช้เป็นพยางค์ แรกของชื่อลูกทั้งชายและหญิง เช่น พ่อชื่อ“ซองจ่า” (Sanjaq) ลูกจะถูกตั้งชื่อว่า“จ่าหล่อง” (Jaqlanq) จากนั้นลูกของ“จ่าหล่อง” (Jaqlanq) อาจจะถูกตั้งชื่อว่า“หล่องผ่า” (lanqpaq) เป็นต้น ดังนั้นชาวอ่า ข่าส่วนใหญ่ในปัจจุบันจึงสามารถจดจำบรรพบุรุษของพวกเขาย้อนหลังไปมากกว่า๗๐ รุ่น ด้วยวิธีการจดจำชื่อ ที่คล้องจองกัน นอกจากนี้ ในพิธีศพของชาวอ่าข่า จะมีการท่องระบบการสืบทอดสายตระกูลนี้ ในการส่ง วิญญาณของผู้เสียชีวิตให้ไปในอีกภพหนึ่งหรือใช้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจยามเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด นอกจากนี้ “จึ” (tseevq) หรือระบบการนับสายตระกูลยังสามารถอธิบายย้อนไปถึงการก่อเกิดสรรพ สิ่งและจักรวาลได้อีกด้วย โดยในพิธีศพ ผู้รู้มีการสวดที่กล่าวถึงการกำเนิดสรรพสิ่ง โดยอธิบายอย่างเป็นขั้นตอน เริ่มจาก“บยุ่ม”(Bymq) คือ การก่อเกิดของสรรพสิ่งในจักรวาล ที่อธิบายถึงสิ่งเล็ก หรือละอองในความว่างเปล่า จากนั้นละอองเหล่านี้เกิดการขยายตัว“เซอ”(Se)และเริ่มมีการเคลื่อนตัวหรือโคจร “ญี” (Nyi) จนเกิดเป็น รูปร่าง“แตะ” (Taev) และแบ่งส่วนเป็นดวงดาวต่างๆ “กา” (Ga) แสดงตัวตนในลักษณะต่างๆ แล้วเริ่มเป็น แหล่งแห่งชีวิต เช่น ดวงอาทิตย์เริ่มให้แสงสว่าง และโลกเริ่มมีภาวะที่เอื้อให้เกิดสิ่งมีชีวิต ด้วยเหตุนี้การท่อง ลำดับสายตระกูลจึงมีการกล่าวถึงการกำเนิดสรรพสิ่งเหล่านี้ย้อนไปถึงก่อนหน้าการกำเนิดมนุษย์ โดยทั่วไปบรรพบุรุษ 12 รุ่นแรก เป็นบรรพบุรุษในตำนาน และจะไม่มีการอ้างถึงในพิธีกรรมปกติทั่วไป ในขณะ ที่บรรพบุรุษอีก 14 รุ่น นับจากซุ้มมิ้โอะ (Smr-mir-or) จนถึง โจ่วถ่องผ่อง(Dzoeq-tanqpanq) นั่นถือว่าเป็น สายตระกูลของผู้ปกครองเมือง หรือสหพันธรัฐ หรือรัฐเล็กรัฐน้อยที่ยิ่งใหญ่ในสมัยโบราณของชาวอ่าข่า และนับ


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๓๗ จากบรรพบุรุษรุ่นที่ 27 ลงมา สายตระกูลแยกออกเป็น 7 สาย ซึ่งเรียกว่า “Tanq panq xivq maer aqnmr” ในภาษาอ่าข่า และยังมีสายเล็กๆน้อยๆอีกจำนวนมาก กรณีที่สมาชิกภายในสายตระกูลกระทำผิดจารีตประเพณีวัฒนธรรมในสังคมของชาวอ่าข่านั้น จะต้อง แยกตัวออกไปจากสายตระกูลเดิมของตนที่สืบต่อกันมา (หมายถึงการแยกออกจาก “จึ“ ของบรรพบุรุษ) ซึ่ง การแยกสายตระกูลออกไปใหม่นี้ ชาวอ่าข่าเรียกว่า “ผาปา” คือแบ่งตระกูล ซึ่งผาปานั้นเกิดจากการกระทำผิด จารีตประเพณีวัฒนธรรม ซึ่งเป็นข้อห้ามตามธรรมเนียมของสังคมอ่าข่าดั้งเดิม ที่อ่าข่าเรียกว่า “มาจาคุมแจจา มาด้อคุมแจด้อ” หมายถึง “กินในสิ่งที่ไม่ควรกิน ดื่มในสิ่งที่ไม่ควรดื่ม” ตัวอย่างการกระทำผิดจารีตประเพณี วัฒนธรรม เช่น การแต่งงานกับญาติของตนเอง(แต่งงานภายในสายตระกูลเดียวกัน หรือการเอาภรรยาของอีก คนมาเป็นภรรยาของตนเอง เช่น เอาภรรยาของพี่มาเป็นภรรยาของตนเอง) เป็นต้น ซึ่งผู้ที่กระทำความผิด ดังกล่าวนั้น จะต้องแยกออกไปจากสายตระกูลเดิมแล้วต้องไปเริ่มสายตระกูลใหม่ของตนเอง ซึ่งจะกลายเป็น ตระกูลอื่นไป (ผาปา คือ พี่น้องร่วมบิดาทั้งหมดแยกออกไปจากตระกูลเดิมและตั้งตระกูลใหม่เป็นของตนเอง) แต่ถ้าหากพี่น้องร่วมบิดาที่ไม่ได้กระทำความผิดต่อจารีตประเพณีวัฒนธรรมของอ่าข่า และไม่สมัครใจที่จะแยก ออกจากสายตระกูลเดิมของตนสามารถให้คู่สามีภรรยาที่กระความทำผิดนั้นแยกออกไปแค่สองคน ซึ่งชาวอ่า ข่าเรียกว่า “ผาเจอะ” การสำรวจการกระจายตัวของ จึ (Tseevq) หรือระบบการสืบสายตระกูลของชาวอ่าข่าในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2558 โดยเครือข่ายอ่าข่าลุ่มน้ำโขง (NADA) ร่วมกับสมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของ ชาวไทยภูเขาในประเทศไทย (ศ.ว.ท./IMPECT) ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม พบว่าสายตระกูลของชาวอ่าข่าในประเทศไทยมีจํานวนทั้งหมด 50 สายตระกูล ตระกูลที่ มีการกระจายตัวมากที่สุด คือ ตระกูล เชอมื่อ (35) รองลงมาคือตระกูลมาเยอะ (25)ตระกูลแลเชอ (22) ตระกูลเมอแล (19) ตระกูลเมอโป (14) ตระกูลวุ่ยแมและตระกูลอางิ (12) ตระกูลเยเปียงและเปียงแหล (10) ตระกูลค๊ะแล (7) ตระกูลอะซองและแซพ่า (6) ตระกูลเยส่อและเบเช่ (5) ตระกูลเบทู (4) ตระกูลอามอและซา เดอ (3) ตระกูลอาจอ ปอแฉ่ วุ่ยแม (ผ่าวอ) วุ่ยยือ โจ่ลือ ละมื่อ โพเมีย เซาะหล่อง แซดู่ แซซอ และแซหลุ่ม (2)ระบบครอบครัวของอ่าข่าในไทย มีความคล้ายคลึงกับอ่าข่าในประเทศลาว จากการศึกษาของคาราเต้ สินชัย วอระวงส์ (2546) พบว่า ครอบครัวของอ่าข่าเป็นครอบครัวขยายทางฝ่ายพ่อ ครอบครัวของอ่าข่าครัวเรือน หนึ่งอาจมีหลายครอบครัวอยู่ร่วมกัน แต่ละครอบครัวอาจมี ปู่ ย่า พ่อแม่ ลูก สะใภ้และหลาน ครัวเรือนเป็น ศูนย์กลางของการประกอบพิธีกรรมและเศรษฐกิจ เมื่อหัวหน้าครอบครัวตายลง ลูกชายคนโต ที่ยังอยู่ใน ครัวเรือนจะต้องเป็นผู้ที่รับผิดชอบเป็นหัวหน้าครัวเรือนและรับช่วงหิ้งผีบรรพบุรุษแทนพ่อของตน แต่ในกรณีที่ ลูกชายคนโตยังเล็กอยู่ ภรรยาของหัวหน้าครอบครัวจะเป็นหัวหน้าครอบครัวแทนชาวอ่าข่าในลาวมีการสืบสกุล ทางฝ่ายพ่อ และผู้ชายอ่าข่าทุกคนต้องมีความรู้เกี่ยวกับสกุลของฝ่ายตนและฝ่ายภรรยา ลูกชายคนโตต้องเป็น ผู้รับผิดชอบในการรักษาสกุลไว้ และต้องถ่ายทอดให้น้องของตนได้รู้ต่อไป ระบบเครือญาติของคนอ่าข่ามีความ ผูกพันกับบรรพบุรุษ พิธีกรรม และการสืบสกุล คนที่ไม่ใช่อ่าข่า แม้ได้รับการยอมรับให้อยู่ในหมู่บ้าน หรือได้ แต่งงานกับคนอ่าข่า แต่จะไม่ได้รับความคุ้มครองจากผีบรรพบุรุษ และไม่อาจถือสกุลของอ่าข่าได้ สำหรับ ผู้หญิงอ่าข่าหากแต่งงานไปจะถือว่าขาดจากสกุลเดิม ไปใช้สกุลของฝ่ายสามีแทน หากผู้หญิงนั้นหย่าขาดจาก สามีในภายหลัง สามารถกลับไปใช้สกุลเดิมของพ่อตนเองได้ อ่าข่ามีข้อห้ามในการแต่งงาน คือ ห้ามไม่ให้ชาย หญิงที่อยู่ในตระกูลเดียวกันแต่งงานกัน ส่วนการจัดพิธีศพ จะต้องจัดให้ถูกต้องตามสายสกุล หากผู้ตายอยู่ใน


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๓๘ สกุลใด ก็ต้องไปอยู่ตามสายสกุลนั้น เพื่อที่จะได้ขอความช่วยเหลือจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์และผีบรรพบุรุษประจำ ตระกูลได้ ในระบบสังคมชุมชนหมู่บ้านอ่าข่าในลาว มีช่างตีเหล็ก (บะจี) ทำหน้าที่ผลิตเครื่องมือ เครื่องใช้ทาง การเกษตร ให้กับชาวบ้าน มีผิมะหรือหมอผี คอยทำหน้าที่ในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ มีผู้อาวุโสประจำ หมู่บ้าน ที่เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน หากคนในหมู่บ้านกระทำความผิด หัวหน้าหมู่บ้านจะเป็นผู้ลงโทษ แต่หากเป็นโทษที่ร้ายแรง ทางราชการจะเป็นผู้ตัดสิน 4. การจัดการน้ำ ชาวอาข่าใช้น้ำประปาที่ต่อมาจากแหล่งน้ำบ้านห้วยเกิดที่ไกลจากหมู่บ้านซึ่งน้ำประปามีน้ำตลอดปีทำ ให้ชาวบ้านที่นี่มีน้ำใช้ตลอดปี 5. เครื่องมือจับสัตว์ ในสมัยก่อนชาวบ้านจะใช้เครื่องมือจับสัตว์ที่ทำขึ้นเองจากธรรมชาติปัจจุบันยังมีวิถีชีวิตแบบนี้ให้เห็น อยู่เพราะได้รับการสืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น เช่นการใส่โต๊ะ การใส่แห้วเป็นต้นในปัจจุบันก็ให้เครื่องมือที่ทันสมัย ไปล่าสัตว์ควบคู่กับเครื่องมือสมัยเก่า 6. การรักษาโรค การแพทย์พื้นบ้านแบบอ่าข่าเป็นการดูแลสุขภาพและการนำสมุนไพรในท้องถิ่นมาใช้รักษาโรคภัยไข้ เจ็บต่างๆ จากพ่อ เช่น การย่ำขาง โดยใช้ผาลไถนาหรือจอบที่ใช้งานแล้ว เอามาอังไฟให้ร้อน แล้วหมอจะใช้ฝ่าเท้าเหยียบไปที่ผาลไถหรือจอบเพื่อรับความร้อนจากนั้นจะเอาฝ่าเท้าที่ระอุร้อนมาย่ำบริเวณที่ ต้องการรักษาผู้ป่วย เช่นกล้ามเนื้อขา น่อง เอว หลัง แก้ปวดเมื่อย เส้นเอ็นตึงรวมทั้งช่วยแก้โรคที่เกี่ยวกับ ระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ด้วย ชาวอ่าข่าในอดีต ทั้งผู้ชายและผู้หญิงส่วนใหญ่จะรู้จักยาสมุนไพรที่ใช้รักษาการเจ็บป่วยพื้นฐานเพราะ ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ ซึ่งส่วนใหญ่จะเรียนรู้ผ่านประสบการณ์โดยตรงจากการนำมาใช้ใน ชีวิตประจำวัน สมุนไพรที่ใช้มีทั้งส่วนที่ได้จากสัตว์ เช่น เขาสัตว์ เขี้ยวหมูป่า ขาไก่ป่า หนังช้าง หนังเสือ อวัยวะ ภายใน เช่น ถุงน้ำดี สมุนไพรที่จากพืช เช่น ราก เปลือก ใบ เมล็ด เป็นต้น หมอสมุนไพรชาวอ่าข่า เป็นผู้ที่รู้ตัวยาและตำรับยา รู้วิธีการใช้ยาสมุนไพรรักษาการเจ็บป่วยเป็นอย่าง ดีมากกว่าบุคคลทั่วๆ ไป ซึ่งต้องมีวิธีการถ่ายทอดและขั้นตอนในการเรียนรู้ต่างๆ หมอยาบางคนจะเก็บตัวยา สมุนไพรที่ดีจริงๆ ของตนเองไว้ ไม่ถ่ายทอดให้กับใครแม้แต่คนในตระกูลหรือลูกหลานของตน การรักษาผู้ป่วย โดยหมอยาสมุนไพรนั้น ผู้ป่วยต้องมาขอรักษาเองที่บ้านหมอยาหรือมาเชิญให้ไปรักษา มีการซักอาการผู้ป่วย อย่างละเอียด ก่อนทำการรักษา และหากรักษาไม่หาย หมอจะแนะนำให้ไปรักษากับหมอยาคนอื่นๆ หรือรักษา โดยใช้ยาสมุนไพรแล้วยังไม่หาย จะแนะนำให้ไปรักษากับหมอที่เข้าทรง การรักษาโรคของชาติพันธุ์อ่าข่าในปัจจุบัน ยังมีลักษณะการผสมผสานระหว่างความรู้ดั้งเดิมและ การแพทย์แผนปัจจุบัน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ส่วนการดูแลสุขภาพและการรักษาโรคของคนอ่าข่ารุ่นใหม่ นั้น เป็นลักษณะการแพทย์แผนปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ในหมู่บ้านชาวอ่าข่าหลายแห่ง พ่อแม่ยังคงผสมผสาน การรักษาโรคและการเจ็บป่วยด้วยวิถีดั้งเดิมและการแพทย์แผนปัจจุบัน


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๓๙ (ภาพ การรักษาหมอพื้นบ้าน) 5.2 ปราชญ์ชาวบ้าน ในคำว่าปราชญ์ชาวบ้านของชาวอาข่านั้น คือ ผู้เฒ่าผู้อาวุโสผู้ที่ผ่านโลกมานาน คอยให้คำปรึกษา คำแนะนำแก่หนุ่มสาววัยฉกรรจ์ ชาติพันธุ์อาข่า ชาวบ้านจะยกผู้อาวุโสหมู่บ้าน เป็นผู้รู้ในหมู่บ้านและยกให้ผู้นำศาสนาเป็นปราชญ์ใน เรื่องต่างๆเพราะการจัดกิจกรรมส่วนใหญ่ในหมู่บ้านจะยกให้ผู้นำศาสนาเป็นผู้นำกิจกรรมทั้งหมด ปราชญ์ชาวบ้านตัวอย่าง นายอาแม หวุ่ยยือ อายุ ๘๗ ปี ชาวอาข่าบ้านเหมืองแร่ เป็นปราชญ์ชาวบ้านด้านเครื่องจักสาน โดยสอนเรื่องการทำเครื่องจักสาน หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนอาข่า


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๔๐ ตำข้าวปุก ภาพโดย DR. LEO ALTING VON GEUSAU ราวปี พ.ศ. 2528 กินข้าวใหม่ ภาพโดย DR. LEO ALTING VON GEUSAU ราวปี พ.ศ. 2559 การฆ่าควายในพิธีงานศพดั้งเดิมของชาติพันธุ์อ่าข่า ภาพโดย DR. LEO ALTING VON GEUSAU ราวปี พ.ศ. 2559 5.ประเพณี/พิธีกรรม/งานเทศกาล คนอ่าข่าดั้งเดิมที่ยังไม่ได้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาหลัก ต้องปฏิบัติตามประเพณีอย่างเคร่งครัด สิ่งที่คน อ่าข่าดั้งเดิมยึดถือเสมือนเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตในทุกด้าน คือ Aqkaq Zanr ซึ่งมีผู้ให้ความหมายไว้ หลากหลาย บ้างก็ว่าเป็นศาสนาของคนอ่าข่า หรือไม่ก็เป็นวิถีชีวิต แต่ไม่ว่าจะให้ความหมายอย่างไรก็ตาม สำหรับคนอ่าข่าที่ยังยึดถือ Aqkaq Zanr อยู่ จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด และประเพณี พิธีกรรมต่างๆ อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงในสังคม เศรษฐกิจ ทำให้การปฏิบัติตามมีการปรับเปลี่ยนเช่นเดียวกัน ประเพณี และพิธีกรรมต่างๆ มีการลดจำนวนลงเหลือเฉพาะที่ยังมีความสำคัญจริงๆเท่านั้น มีผู้กล่าวว่า ในปัจจุบันนี้ พิธีกรรมต่างๆที่คนอ่าข่าเคยทำในอดีตที่เกี่ยวข้องกับชีวิตในทุกด้านและการทำการเกษตร ลดลงจาก 12 ครั้ง ต่อปี ลงมาเหลือ 9 ครั้ง และบางแห่งอาจจะน้อยกว่านั้น งานพิธีกรรมประจำปีของชาวอ่าข่ามีทั้งหมด 18 พิธี รวมถึงพิธีกรรมเกี่ยวกับการบูชาบรรพบุรุษ เรียกว่า“อ่าโผ่วล้อ-เออ” (Aqpoeq Lawr-e) และพิธีกรรมอื่นๆอีก 6 พิธีกรรม ชาวอ่าข่าทำพิธีบูชาบรรพบุรุษ ในทุกขั้นตอน/ช่วงที่ทำการเกษตร (โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกข้าว) เพื่อแสดงความเคารพนับถือบรรพบุรุษ และ หวังให้บรรพบุรุษปกป้องคุ้มครองและให้พร (วิไลลักษณ์ เยอเบาะ, มปป., ออนไลน์) ประเพณี เทศกาลและพิธีกรรมสำคัญในรอบปี พิธีกรรมบูชาบรรพบุรุษประจำปี จำนวน 12 พิธี เรียงตามลำดับ ได้แก่ 1. “ขึ่มซึ อ่าโผ่วจาแบ” (Khmqxeevq Aqpoeq Dzaqbae) ซึ่งมีการทำพิธีในวันสุดท้ายของเดือน จันทรคติที่สาม คือ เดือน “โบ่วโซ” (Boeqzoq) เป็นการเฉลิมฉลองการสิ้นสุดของการพัก และการเริ่มเข้าสู่ ฤดูใบไม้ผลิ คำว่า “ขึ่ม” (Khmq)หมายถึงฤดูใบไม้ผลิ และ “ซึ” (Xeevq) หมายถึง ใหม่ ในพิธีนี้มีการไหว้บูชา บรรพบุรุษด้วยข้าวปุก“ห่อถ่อง” (hawqtanq) เหล้าที่ทำจากข้าว และน้ำชา ประเพณี/พิธีกรรม/งานเทศกาล


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๔๑ 2. “ขึ่มซึ อ่าโผ่ว ล้องดะ” (Khmqxeevq Aqpoeq Lawrdav) เป็นพิธีที่ทำกันในวันแรกของเดือนที่ สี่ ของเดือนจันทรคติ“ขึ่มซึ” (Khmqxeevq) เพื่อเป็นการฉลองการเริ่มต้นใหม่ ซึ่งผู้นำทางพิธีกรรมทุกคน ไม่ว่าจะเป็น“โบ๊วหม่อ” (Boermawq) หรือ“ญี้ผ่า” (Nyirpaq) และ “บาจิ” (Bajiq) จะทำพิธีฟื้นฟู หรือ ซ่อมแซม เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ และยังเป็นวันที่บรมครูทางด้านการเมือง ศาสนา และช่างเทคนิค จะทำ พิธีรับลูกศิษย์อย่างเป็นทางการ ในพิธีนี้ มีการไหว้บรรพบุรุษด้วยข้าวปุกเรียกว่า “ห่อถ่อง” (hawqtanq) ใน ภาษาอาข่า ส่วนข้าวเหนียวต้ม เรียกว่า“จาแล” (jalae) จะมีการทำไก่ต้ม เหล้าข้าว และน้ำชา แต่ละครอบครัว จะต้มไข่แล้วย้อมสีแดงให้กับ ลูกหลาน หรือเด็กคนอื่นๆที่มาเยี่ยมบ้าน และในวันถัดไปชาวอาข่าทุกคนใน หมู่บ้านจะหยุดทำงานหนึ่งวัน ซึ่งเรียกกันว่า“ขึ่มซึ ขึ่มเจ ลอง-เออ”(Khmqxeevq Khmqjeiq Lan-e) หมายถึง วันแห่งเทพสายฟ้าของฤดูใหม่(เป็นการขอฝนจากเทพ) 3. “ขึ่มมี้ อ่าโผ่ว” (Khmqmir Aqpoeq) ชาวอาข่าจะทำพิธีนี้ทันทีหลังจากวันแห่งเทพสายฟ้าของฤดู ใหม่เพื่อเป็นการฉลองการมาถึงของฤดูใหม่ ซึ่งผู้นำดั้งเดิมของหมู่บ้าน คือ“โจ่วมา”(Dzoeqma) จะทำการฆ่า หมูและจัดงานเลี้ยงให้กับชาวบ้านทุกคน (ถึงแม้ว่าโดยทั่วไปแล้ว มีเพียงผู้อาวุโสและคนสำคัญเท่านั้นที่ไป ร่วมงานเลี้ยงก็ตาม) เทศกาลนี้ชาวอาข่าเรียกว่า“โจ่วยอง ล้อง-เออ” (Dzoeqyan Lawr-e) หมายถึง งานเลี้ยง ของผู้นำหมู่บ้าน ชาวบ้านร่วมฉลองด้วยการแสดงการเต้นกระทุ้งไม้ไผ่จากบ้านหนึ่งไปยังอีกบ้านหนึ่ง โดยเริ่ม จากบ้านของผู้นำหมู่บ้านก่อน 4. “แชะกา อ่าโผ่ว” (Caerka Aqpoeq) เป็นพิธีที่ทำในวันควายวันแรกของเดือนจันทรคติที่ 5 ของ ปฏิทิน คือเดือน“ฉ่าหง่อ” (Tsaqngawq) ถือเป็นการเพาะปลูกข้าวครั้งแรกที่ทำโดยผู้นำดั้งเดิมของหมู่บ้าน เป็นการเริ่มต้นฤดูกาลเพาะปลูกใหม่(หรือหน้าฝน) หลังจากพิธีนี้ มักจะห้ามไม่ให้มีการจัดพิธีแต่งงาน ช่วง หลังจาก “ขึ่มซึ อ่าโผ่ว” (Khmqxeevq Aqpoeq) และก่อน“แชะกา อ่าโผ่ว” (Caerka Aqpoeq) ถือเป็นช่วง เปลี่ยนผ่าน ระหว่างช่วงการพักงานในไร่นา และช่วงฤดูฝน 5. “แยะขู่ อ่าโผ่ว จาแบ” (Yaerkuq Aqpoeq Dzaqbae) พิธีนี้ทำในวันควายที่ 9 หลังจากพิธีปลูก ข้าว ครั้งแรก เพื่อเป็นการฉลอง ระลึกถึงและยกย่องวีรบุรุษชาวอาข่าคือ“แยะขู่”(Yaerkuq) ซึ่งเป็นบุตรชาย ของบรรพบุรุษผู้สร้าง หรือ “อ่าโผ่ว หมี่แยะ” (Aqpoeq Miqyaer) ผู้ซึ่งยอมสละชีวิตเพื่อชาวอาข่าในอดีตเพื่อ ต่อสู้กับแมลงศัตรูพืช ในพิธีนี้มีการสร้างและโล้ชิงช้าขนาดใหญ่เรียกว่า“หล่ะเฉ่อ” (Lavqceq) เพื่อเป็นการ ฉลองชัยชนะของชาวอาข่าที่มีต่อแมลงศัตรูพืช ดังนั้นจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เทศกาลโล้ชิงช้า ซึ่งจัดขึ้น หลังจากการถางหญ้าในไร่นาเสร็จสิ้นลง 6. “แยะขู่ อ่าโผ่วล้อดะ” (Yaerkuq Aqpoeq Lawrdav) เป็นการบูชาบรรพบุรุษครั้งที่สอง ที่ทำใน วันถัดไปหลังจากมีการโล้ชิงช้าในช่วงเทศกาลโล้ชิงช้า 7. “โยลา (โวลา) อ่าโผ่ว” (Zola (Ghola) Aqpoeq) เป็นพิธีที่ทำในวันควายถัดไปจากเทศกาลโล้ ชิงช้า ซึ่งเป็นวันที่ผู้ช่วยหัวหน้าหมู่บ้าน หรือ “โจ่วหญ่า”(Dzoeqzaq) ทำการฆ่าหมูและจัดงานเลี้ยงให้กับ ชาวบ้านทุกคน คนอาข่าเรียกพิธีนี้ว่า “โจ่วหญ่า ยองล้อ-เออ” (Dzoeqzaq Yanlawr-e) หมายถึง งานเลี้ยงของ ผู้ช่วยหัวหน้าหมู่บ้าน ในสมัยก่อน มักมีการฆ่าควายเพื่อสังเวยให้บรรพบุรุษในเทศกาลนี้


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๔๒ 8. “ยาจิ (วาจิ) อ่าโผ่ว” (Zaciv (Ghaciv) Aqpoeq) เป็นพิธีที่ทำในวันแกะวันแรกหลังจากพิธี“โซลา อ่าโผ่ว” (Zola Aqpoeq) เป็นการบูชาบรรพบุรุษเจ็ดรุ่น 9. “คะแยะ อ่าโผ่ว” (Karyaev Aqpoeq) ซึ่งตามตัวอักษรแล้ว หมายถึงเทศกาลรวงข้าว เป็นพิธีที่ทำ ในวันควายวันแรกหลังจากพิธี “ยาจิ อ่าโผ่ว” (Zaciv Aqpoeq) ในวันที่สอง เด็กๆในหมู่บ้านทุกคนจะทาสีตาม ลำตัว และวิ่งไล่ภูตผีปีศาจจากบ้านหนึ่งไปยังอีกบ้านหนึ่ง โดยเริ่มจากบ้านของผู้นำหมู่บ้าน และออกไปนอก บ้านและนอกหมู่บ้าน ในขบวนขับไล่ปีศาจนี้ พวกเด็กๆจะส่งเสียงดัง โดยการใช้ดาบไม้และอาวุธตีผนังบ้านและ รั้ว เมื่อขบวนของพวกเด็กๆมาถึงบ้านใด เจ้าของบ้านจะจุดประทัด ดอกไม้ไฟ และยิงปืนขึ้นฟ้าถ้าบ้านไหนมีปืน นอกจากนี้ เจ้าของบ้านยังเตรียมพืชผักผลไม้จากสวน หรือขนมต่างๆ มีไว้ให้เด็กๆกินตามสบาย ทำให้เด็กๆ สนุกสนานกับเทศกาลมาก ในขณะเดียวกัน ชาวบ้านผู้ชายจะมารวมกันที่บ้านของผู้นำหมู่บ้านและทำดาบไม้ เล่มใหญ่ยาวประมาณ 2-3 เมตร เรียกว่า“เตาะมา” (Tawvma) หลังจากที่พวกเด็กเสร็จสิ้นการขับไล่ไปตาม บ้านต่างๆครบแล้ว จะนำเอามีดดาบและอาวุธมารวมกันที่บ้านของผู้นำหมู่บ้าน และนำไปวางไว้นอกประตู หมู่บ้านบนทางที่จะไปสุสาน ส่วน“เตาะ มา” (Tawvma) นั้น จะนำไปวางไว้บนเสาสองต้นด้านนอกของประตู หมู่บ้าน แห่งเดียวกันนี้ ทำให้กลายเป็นประตูหมู่บ้านแห่งที่สี่ เรียกว่า“เตาะมาล้องข่อง” (Tawvma Lanrkanq) หมายถึงประตูดาบใหญ่ เทศกาลนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปีใหม่เล็ก หรือ“โข่ยา พะ-เออ” (Khovqzaq Par-e) หลังจากทำพิธีนี้ แล้วสามารถจัดพิธีแต่งงานได้ 10. “ห่อซึ อ่าโผ่ว” (Hawqxeevq Aqpoeq) หมายถึงเทศกาลข้าวใหม่ ทำเพื่อแสดงความสำนึกใน พระคุณของบรรพบุรุษชาวอาข่าที่ช่วยดูแล พืชผล(ข้าว)เป็นอย่างดี ในพิธีมีการมอบข้าวรวงแรกและผลไม้ผล แรกให้กับบรรพบุรุษ จัดขึ้นก่อนการเก็บเกี่ยวข้าว 11. “คะท้อง อ่าโผ่ว จาแบ” (Kartanr Aqpoeq Dzaqbae) โดยปกติมักทำพิธีนี้ ในวันควายวัน สุดท้ายของปี เพื่อเป็นการฉลองการเก็บเกี่ยวและการสิ้นสุดฤดูการทำเกษตร ในวันที่สองมีการจัด การเคลียร์ บัญชีทางด้านการเงินให้เสร็จเรียบร้อย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหนี้สินค้างเก่าทั้งหมดในปีที่ผ่านมาจะต้องชำระ คืนให้หมดสิ้น เรียกในภาษาอาข่าว่า“เจ่ปะ คะข่ออื๊ม-เออ” (Jeiqpav Karkhawq Mr-e) 12. “คะท้อง อ่าโผ่วล้อดะ” (Kartanr Aqpoeq Lawrdav) พิธีนี้จัดขึ้นภายหลัง“เจ่ปะคะข่อ อื๊มเออ” (Jeiqpav Karkhawq Mr-e) เพื่อเป็นการฉลองการเริ่มต้นปีใหม่ นอกจากพิธีที่กล่าวมาข้างต้นแล้วยังมีพิธีกรรมประจำปีอีก 6 พิธี ที่ทำเพื่อแสดงความเคารพต่อเทพ/ สตรีต่างๆ หรือเพื่อเป็นการป้องกันวิญญาณร้ายต่างๆ ซึ่งพิธีเหล่านี้ได้แก่ 1) การซ่อมแซมประตูหมู่บ้าน “ล้อข่อง อื๊ม-เออ” (Lanrkanq Mr-e) 2) พิธีบูชาเทพแห่งท้องฟ้า แม่พระธรณี และเทพแห่งสายน้ำ “มี้ซองล้อ-เออ” (Mirsanr Lawr-e) 3) “โบ่วโหวะแหยะ เออ” (Boeqovq Nyaevq-e) 4) พิธีบูชาเจ้าแห่งทุ่งข้าวและแม่โพสพ “ขึ่มผี่ ล้อ-เออ”(Khmqpiq Lawr-e) 5) พิธีจับตั๊กแตน“แยะบ๊องแหยะ-เออ” (NyaerbanrNyaevq-e)


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๔๓ 6) “บ่องโย ปะ-เออ” (Banqyoe Pyaev-e) (วิไลลักษณ์ เยอเบาะ, มปป., ออนไลน์) ๕.๑ การเกิด/การตาย ประเพณี/เทศกาล/พิธีกรรมเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และคลอดบุตร ชาวอ่าข่าให้ความสำคัญกับเรื่องการเจริญพันธุ์ ความสมบูรณ์ของสตรีในการให้กำเนิดลูก โดยเฉพาะ ลูกชาย เพราะจะเป็นผู้สืบสกุล หากไม่สามารถมีลูกได้ มักมีการซื้อเด็กมาเลี้ยงเป็นลูก หญิงอ่าข่ามักทำงาน จนกระทั่งถึงเวลาคลอด เด็กจึงมักเกิดอยู่ในกระท่อมในไร่ หญิงชราอ่าข่าที่มีลูกชายมากๆ จะทำหน้าที่เป็นหมอ ตำแย ฝ่ายสามีจะช่วยทำคลอดด้วยหากจำเป็น เมื่อเด็กทารกคลอดแล้ว แม่จะยังไม่อุ้มจนกว่าทารกจะร้อง 3 ครั้ง หลังทารกร้องสามครั้งแล้ว หมอตำแยต้องตั้งชื่อให้ทันที ทั้งนี้เพื่อกันไม่ให้ผีแย่งตั้งชื่อเพื่อจะอ้างเอาทารก ไปเป็นของตน จากนั้นหมอตำแยจะตัดสายสะดือทารกด้วยไม้ไผ่แผ่นบางและอาบน้ำให้ทารก ส่วนรก พ่อจะ นำไปฝังไว้ใต้ถุนบ้านตรงกับใต้แท่นบูชาบรรพบุรุษ (Jaafar and Walker 1975: 176) ข้อมูลจากการจัดทำของนางสาวอำภา วูซือ นักศึกษาปริญญาโทชาวอ่าข่า หลักสูตรชาติพันธุ์ศึกษา และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งสัมภาษณ์นางหมี่โชะ แซ่ล้า ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2562 ให้ รายละเอียดเกี่ยวกับประเพณีและพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการคลอดลูกของชาวอ่าข่า ดังนี้ การคลอดลูกของชาวอ่าข่าในอดีตจะคลอดลูกในในเรือนหลังเล็ก หรือ “ยุ้มยะ” โดยหมอตำแย หรือที่ อ่าข่าเรียกว่า “หย่าฉี่อ่ามา” เป็นผู้ทำคลอด โดยทั่วไปหญิงที่ตั้งท้องได้ประมาณ 8 เดือน จะต้องจัดเตรียมผิว ไม้ไผ่ หรือ “หง่าโหล่” ไว้สำหรับตัดสายสะดือและเชือกที่ใช้มัดสายสะดือ พกติดตัวไว้ตลอดเวลา เพราะแม้ตั้ง ท้องแต่ยังต้องทำงานในไร่อยู่ หากเกิดเจ็บท้อง คลอดลูกในขณะที่อยู่ในไร่ จะได้ใช้ผิวไม้ไผ่ตัดสายสะดือได้ หากอยู่ที่บ้าน เมื่อมีอาการเจ็บท้องซึ่งสามีรู้แน่นอนว่าภรรยาจะคลอดลูก สามีจะสวมหมวกอ่าข่าและให้คนไป ตามหมอตำแยมาที่บ้าน โดยสามีจะเตรียมต้มน้ำและต้มไข่ไก่ “ยาจิยาอุ” ไว้เพื่อให้แม่กินทันทีหลังคลอดลูก หลังทารกคลอดแล้ว หมอตำแยจะใช้ผิวไม้ไผ่ตัดสายสะดือ แล้วมัดด้วยเชือกนำสายสะดือใส่กาบไม้ไผ่นำไปวาง ที่เสาเอกบนบ้านระหว่างที่กั้นห้องนอนของฝ่ายชายและฝ่ายหญิง จากนั้นหมอตำแย นำทารกอาบน้ำอุ่น และ ใช้ผ้าหุ้มห่อให้ความอบอุ่น ก่อนจะทำพิธีตั้งชื่อ พิธีตั้งชื่อเด็ก ก่อนทำพิธีจะมีการเตรียมเครื่องประกอบพิธีกรรมดังนี้ คือ ไก่ตัวผู้ 1 ตัวสำหรับทำพิธีวันแรกและไก่ ตัวเมีย1 ตัวสำหรับการทำพิธีกรรมในวันที่สอง กระบอกหมักเหล้า “จิบ่าจิสี่” 1 อัน หลอดดูดไม้ไผ่ 1 อัน ถ้วย 3 ใบ แก้ว 2 ใบ ช้อนทำจากลูกน้ำเต้า 1 คัน ข้าวสุก 1 กำมือพอประมาณ น้ำชา 1 แก้ว ขิงเล็กน้อย (ขนาดเท่าหัวแม่มือ) ข้าวสาร 1 ถ้วยเล็ก เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ จากนั้นผู้เป็นพ่อจะทำการฆ่าไก่ตัวผู้ ซึ่งมีลำดับ ขั้นตอนดังนี้ 1. เปิดฝากระบอกหมักเหล้า 2. ใส่หลอดดูดไม้ไผ่และตอก 3. ใช้ช้อนทำจากลูกน้ำเต้าตักน้ำใน ถ้วยใส่ลงไปในกระบอกหมักเหล้าจำนวน 3 ครั้ง 4. เทน้ำที่อยู่ในกระบอกหมักเหล้าใส่ลงไปในช้อนทำจาก ลูกน้ำเต้า 5. นำน้ำที่อยู่ในช้อนทำจากลูกน้ำเต้าราดไปที่ขาไก่ที่ปีกและที่หัวจุดละ 3 ที จากนั้นใช้ไม้ตีที่หัวไก่ ให้ตาย แต่ต้องระวังไม่ให้เลือดกระเด็นเข้าตา ถือว่าไม่ดี เชื่อว่าจะทำให้เด็กที่เกิดมามีดวงตาผิดปกติ คือ


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๔๔ สายตาสั้นหรือตาบอดได้ จากนั้นนำไก่ไปเผาไฟถอนขนทำความสะอาดแล้วจึงนำไปชำแหละ การชำแหละไก่ ต้องให้เครื่องในติดทางซี่โครงห้ามติดไปกับหน้าอก และต้องนำหน้าอกไก่ไปแขวนเก็บไว้ที่เก็บของบนเตาไฟ เป็นเวลา 1 รอบปฏิทินอ่าข่า (13 วัน) โดยเชื่อว่า หากมีกรณีที่ตั้งชื่อเด็กแล้วไม่เหมาะสม เพราะเด็กมีอาการ เจ็บป่วย ขี้อ้อนงอแง ก็สามารถนำชิ้นส่วนหน้าอกของไก่ที่เก็บไว้ มาทำพิธีตั้งชื่อใหม่ได้ จากนั้นจะนำชิ้นส่วนไก่ ทั้งหมดไปต้มรวมกับข้าวสาร เกลือ ขิง เมื่อสุกดีแล้วนำชิ้นส่วนไก่มาใส่ถ้วยรวมกัน นำไปตั้งไว้บนขันโตก โดย ชิ้นส่วนไก่มีดังนี้ น่อง 1 น่อง ตับฝั่งตรงข้ามกับหัวใจ 1 ชิ้น และเนื้อ 1 ชิ้น ใช้หลอดดูดไม้ไผ่ดูดน้ำในกระบอก หมักเหล้ามาใส่ถ้วยตั้งไว้บนขันโตก (น้ำที่อยู่ในถ้วยที่ถูกดูดออกมาจากกระบอกหมักเหล้าจะเรียกว่า “จิบ่าจิ เชะ”) เมื่อเตรียมอาหารเสร็จ จะนำไปให้แม่รับประทานและใช้ป้อนทารกด้วย สำหรับรกของทารกนั้น พ่อจะนำไปฝังยังใต้ถุนตรงเสาเอกของบ้าน โดยทำการขุดหลุมลึกสุดมือเอื้อม แล้วนำไม้ไผ่กว้างประมาณ 2 นิ้ว ยาวเท่ากับสายรกผ่ากึ่งกลาง ส่วนที่เป็นปลายไม้เล็กน้อยเสียบสายรกไป ตรงที่ผ่า ปักลงไปในหลุม กลบดินให้แน่น วางกาบไม้ไผ่ที่ใส่สายรกไว้บนปากหลุม นำตะกร้าครอบไว้แล้วจึงหา ก้อนหินทับบนตะกร้า เพื่อป้องกันการปลิวหรือขยับเขยื้อนออกจากหลุม จากนั้น ทำการราดน้ำร้อนประมาณ 1 กา ที่หลุมฝังสายรกประมาณ 13 วัน เพราะมีความเชื่อว่าจะทำให้สายสะดือของเด็กไม่เน่าและไม่ปวดท้อง หลังจากนั้น พ่อของเด็กทารกจะไปนำตะกร้าที่ครอบสายรกออกและเก็บกาบไม้ไผ่ที่ใส่สายรกใส่ไว้ในตะกร้า นำไปแขวนไว้กับไม้ง่ามนอกบริเวณบ้านของตน เพราะชาติพันธุ์อ่าข่ามีความเชื่อว่าทั้งตะกร้าและกาบไม้ไผ่นี้ไม่ ควรให้สัตว์มากัดกิน หรือมากระทำด้วยอาการต่างๆ เป็นสิ่งไม่ดี หลังจากเสร็จพิธีนี้แล้วฝ่ายสามีจะทำการฆ่าไก่ ตัวเมีย 1 ตัวนำมาทำเป็นอาหารเลี้ยงคนที่มาเยี่ยม อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันชาวอ่าข่านิยมไปทำคลอดที่โรงพยาบาล ด้วยเหตุผลเรื่องความปลอดภัย และ การได้รับเอกสารจากทางโรงพยาบาล ประเพณี/เทศกาล/พิธีกรรมเกี่ยวกับการตาย และการทำศพ ความเชื่อเรื่องความตายของชาวอ่าข่า เชื่อว่า วิญญาณของผู้ที่เสียชีวิต จะกลับไปสู่ดินแดน“แยะ-ล้อง ข่อง”(Yaer-lanr Khanq หมายถึงแผ่นดินเกิด ของบรรพบุรุษ“แยะ” (Yaer หมายถึงพระเจ้า) โดยมี“พิมา” (Pirma หมายถึงผู้นำพิธีกรรมของชาวอ่าข่า)เป็นผู้ทำหน้าที่นำทางดวงวิญญาณของผู้ตายกลับไปยังสถานที่ที่ เรียกว่า ถ่องผ่อง“กาชุ้ม” (Tanqpanq Gartsmr) ใน “กือ-แยะข่อง” (Gee-yaer Khanq หมายถึงแผ่นดิน เกิดทางใต้ของบรรพบุรุษYaer/พระเจ้า) (วิไลลักษณ์ เยอเบาะ มปป., ออนไลน์) สำหรับ“ถ่องผ่อง กาจุม” (Tanqpanq Gartsmr) นั้น ได้รับการอธิบายว่าเป็นสามแยกบนถนนซึ่ง วิญญาณผู้ตายจะถูกตัดสิน ได้รับการพิจารณาว่า จะเดินทางต่อไปในเส้นทางไหน โดยเทพบรรพบุรุษ“ถ่อง ผ่อง” (Tanqpanq) เส้นทางสายกลางนั้น เป็นเส้นทางที่ถูกต้องที่จะนำวิญญาณผู้ตายกลับไปยังดินแดนแห่ง บรรพบุรุษใน“ญา-แยะข่อง”(Nya-yaer Khanq หมายถึงแผ่นดินเกิดทางเหนือของบรรพบุรุษYaer/พระเจ้า) ซึ่งเป็นเหมือนแผ่นดินสวรรค์ที่บรรพบุรุษที่ดีทั้งหลายอาศัยอยู่อย่างมีความสุขชั่วนิรันดร์ ส่วนเส้นทางอีก เส้นทางหนึ่งเป็นเส้นทางไปสู่ขุมนรกแห่งห้วงมหาสมุทรเลือดเดือด (ในภาษาอ่าข่าเรียกว่า“สี่บื๊อ ลอง” (มา


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต ๓ โครงการรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด ๔๕ Xiqbeer Lanma) และเส้นทางที่เหลืออีกเส้นหนึ่ง นำทางไปสู่โลกต่างดาว มีเพียงเฉพาะผู้ที่ทำดีและบริสุทธิ์ เท่านั้น ที่จะได้รับการนำทางอยู่กับโลกอันเป็นนิรันดร์ของบรรพบุรุษ และกลายเป็นส่วนหนึ่งของบรรพบุรุษผู้ การุณหรือที่เรียกว“อ่าโผ่ว อ่าผี่” (Aqpoeq Aqpiq) ส่วนวิญญาณพวกที่ไม่สามารถ เดินทางกลับไปยังดินแดนของบรรพบุรุษได้ จะกลายเป็นวิญญาณ เร่ร่อนที่เรียกว่า“แหนะ” (Naevq) โดยเฉพาะ อย่างยิ่งพวกที่เสียชีวิตด้วยเหตุผิดธรรมชาติ ได้แก่ 1) จมน้ำ ตาย 2) ถูกยิงตาย3) ถูกสัตว์ป่าโดยเฉพาะเสือหรือเสือดาวกัดกิน และ5) ฆ่าตัวตาย (และอาจมีสาเหตุอื่นๆอีก ที่เป็นการตายแบบผิดปกติ) เหล่านี้ จะไม่มีทางที่จะได้เดินทางกลับไปอยู่ในดินแดนแห่งบรรพบุรุษ จนกว่าจะ ได้ผ่านการทำพิธีให้บริสุทธิ์ ซึ่งหากไม่ได้มีการทำพิธีใดๆ แล้ว ดวงวิญญาณของผู้ที่เสียชีวิตแบบผิดธรรมชาตินั้น จะกลายเป็น“ซาซิ” (Xavxir) หมายถึงวิญญาณร้ายเร่ร่อน ผู้ที่จ้องจะแก้แค้น ทำร้ายมนุษย์ (วิไลลักษณ์ เยอ เบาะ มปป., ออนไลน์) ข้อมูลจากการจัดทำของนางสาวอำภา วูซือ นักศึกษาปริญญาโทชาวอ่าข่า หลักสูตรชาติพันธุ์ศึกษา และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระบุว่า การตายในทัศนะของชาติพันธุ์อ่าข่า คือ การที่ร่างกายของ คนเรานั้นสลายไป แต่ขวัญไม่ได้ตายไปด้วย ขวัญจะไปอยู่กับบรรพบุรุษของตนเอง ความตายในทัศนะของชาว อ่าข่าจึงไม่ได้มีความหมายเพียงแค่การสิ้นชีวิตในทางกายภาพ แต่ยังสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของกลุ่มคน ที่มีต่อกันทั้งในระดับครอบครัว ชุมชน และสังคม หรือระหว่างคนเป็นและคนตายซึ่งแสดงผ่านทางสัญลักษณ์ หรือพิธีกรรม สัญลักษณ์เหล่านี้ทำหน้าที่เชื่อมโยงและรักษาความสัมพันธ์ที่มีอยู่ระหว่างคน สังคมชาวอ่าข่า ไม่มีความเชื่อเรื่องนรกสวรรค์ แต่พวกเขาเชื่อว่าผู้ที่กระทำความดีหลังจากเสียชีวิตไป แล้ววิญญาณจะได้กลับไปอยู่ร่วมกับบรรพบุรุษ ส่วนผู้ที่กระทำไม่ดีหลังจากเสียชีวิตไปแล้ววิญญาณไม่สามารถ ที่จะกลับไปอยู่กับบรรพบุรุษได้ จะต้องกลายเป็นวิญญาณเร่ร่อน ฉะนั้นการนับถือบรรพบุรุษของชาวอ่าข่าโดย ผ่านการประกอบพิธีกรรมเซ่นไหว้บูชา เชื่อฟังพ่อ แม่ ผู้อาวุโส การกตัญญูกตเวที นั้นถือว่าเป็นการทำความดี ซึ่งบรรพบุรุษจะให้ความคุ้มครองช่วยเหลือลูกหลานของตน สังคมของชาวอ่าข่า มีความเชื่อเรื่องภพของบรรพ บุรุษ ซึ่งคนที่คนเสียชีวิตจะไปอยู่ในภพเดียวกับบรรพบุรุษ ซึ่งในภพนั้น มีวิถีชีวิต วัฒนธรรม เช่นเดียวกันกับ โลกมนุษย์ ทั้งยังมีการทำการเกษตร ทำไร่ ทำนา เลี้ยงสัตว์ชนิดต่างๆ เช่น วัว ควาย ไก่ สุกร เป็นต้น เมื่อไปอยู่ ในภพของบรรพบุรุษนั้นจะมีความสุขสบาย เพราะบรรพบุรุษสร้างฐานะทางบ้านไว้แล้ว (เตรียมความพร้อม เพื่อรอให้ลูกหลานกลับมาอยู่ด้วย) ในขณะเดียวกัน บรรพบุรุษก็ยังคงดูแลสารทุกข์สุขดิบ ของลูกหลานที่ยังมี ชีวิตอยู่ในโลกปัจจุบันด้วย เช่น ดูแลความเป็นอยู่ให้มีอยู่มีกิน ดูแลพืชพันธุ์ธัญญาหารให้อุดมสมบูรณ์ และดูแล สุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ชาวอ่าข่ามีความเชื่อว่าผู้ที่เสียชีวิตแล้วและไปอยู่ร่วมกับ บรรพบุรุษแล้ว ต้องเป็นคนที่แต่งงานและมีบุตรชายเท่านั้นที่จะสามารถเดินทางกลับไปยังบ้านบนแผ่นดินโลก เพื่อที่จะรับของบูชาจากลูกหลาน และคุ้มครองให้พรกับพวกเขา (วิไลลักษณ์ เยอเบาะ มปป., ออนไลน์) พิธีศพของชาติพันธุ์อ่าข่าเป็นพิธีกรรมที่สำคัญ โดยเฉพาะพิธีศพของผู้อาวุโส การประกอบพิธีศพเพื่อ ส่งวิญญาณของผู้เสียชีวิตให้ไปอยู่ร่วมภพกับบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว หากประกอบพิธีกรรมครบถ้วนถูกต้อง วิญญาณผู้ที่เสียชีวิตจะอวยพรให้ลูกหลานเจริญรุ่งเรืองอยู่ดีมีสุข แต่หากการประกอบพิธีศพไม่ดีไม่ถูกต้องจะ ทำให้วิญญาณผู้เสียชีวิตไม่สามารถไปอยู่ร่วมภพกับบรรพบุรุษได้ และจะทำให้ลูกหลานอยู่ไม่สงบสุข ไม่


Click to View FlipBook Version