The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานการประเมินตนเอง ปี2565

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by PCVC, 2023-09-11 02:55:24

PCVC_SAR_2565

รายงานการประเมินตนเอง ปี2565

39 ษาพณิชยการปราจีนบุรี ณ วันที่ 30 เมษายน 2566 รายจ่าย รายการ จำนวนเงิน ในสถานศึกษา 12,831 00 กษาและการประชุมผู้ปกครองเครือข่ายOnline 0 00 1,365 00 9,570 00 รฐานการศึกษาของสถานศึกษา 340 00 ศึกษา ะจำปี นผลการจัดการศึกษาภายในสถานศึกษา มินคุณภาพสถานศึกษา นของสถานศึกษา การเงิน ำเร็จการศึกษา 5,000 00 775,723 44 775,723 44 543,952 44 502,728 20 146,840 00 282,600 00 20,790 00 9,899,868 63


40 2.4 ปรัชญา อัตลักษณ์ เอกลักษณ์ ของสถานศึกษา ปรัชญา ประพฤติดี มีวินัย ตั้งใจเรียน เพียรศึกษา กีฬาเก่ง เอกลักษณ์(Identity) สร้างคนเก่ง เป็นคนดี ของสังคม คุณธรรมอัตลักษณ์(Moral Identity ) ความรับผิดชอบ มีวินัย จิตสาธารณะ อัตลักษณ์(Individuality) ทักษะดี มีน้ำใจ ใฝ่บริการ 2.5 วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพการศึกษา วิสัยทัศน์(Vistion) องค์กรแห่งการเรียนรู้ จัดการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์”


41 พันธกิจ (Mission) วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีกำหนดพันธกิจเพื่อให้บรรลุซึ่งวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ดังนี้ พันธกิจที่1 ผลิตกำลังคนในระดับกลาง ด้านบริหารธุรกิจที่มีคุณภาพ พันธกิจที่2. สร้างผู้เรียนที่มีคุณธรรมและจรรยาบรรณ (Ethical citizenship) มีความประพฤติ เหมาะสมกับสภาพสังคมวัฒนธรรมและประเพณีไทย พันธกิจที่3 จัดหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนที่เอื้อประโยชน์ให้กับผู้เรียน (Interactive Learning) และสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน พันธกิจที่4 คัดสรรบรรจุดำรงรักษาบุคลากรครูและสนับสนุนให้บุคลากรครูได้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ พันธกิจที่5 จัดระบบบริหารและการจัดการที่มีประสิทธิภาพ เป้าประสงค์ (Goal) 1. พัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีมาตรฐาน มีสมรรถนะตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน 2. การปรับปรุงรายวิชาเดิมหรือกลุ่มวิชาเพิ่มเติมให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและความ ต้องการของตลาดแรงงานโดยความร่วมมือกับสถานประกอบการหรือหน่วยงาน 3. ส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีด้านวิชาชีพเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน 4. สร้างระบบเครือข่ายความร่วมมือกับสถานประกอบการและหน่วยงานเพื่อพัฒนาครู 5. สร้างนวัตกรรมการวิจัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ผู้เรียน บุคลากรและชุมชน 6. พัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมชัดเจน โปร่งใส ยุทธศาสตร์ (Strategic) 1. ด้านคุณภาพผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษา 2. ด้านการจัดการอาชีวศึกษา 3. ด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้


42 กลยุทธ์(Strategy) 1. พัฒนาคุณภาพผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษาให้มีความรู้ด้านวิชาการและมีทักษะวิชาชีพตาม มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับการศึกษา 2. พัฒนาคุณภาพผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษาให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ 3. พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคลัองกับความต้องการของผู้เรียน ชุมชน สถาน ประกอบการและตลาดแรงงาน 4. พัฒนาคุณภาพครูและบุคลากร 5. พัฒนาคุณภาพระบบบริหารจัดการสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง แผนงาน แผนงานที่ 1. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการเรียนรู้ของผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษา แผนงานที่ 2. พัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษาด้านคุณธรรม จริยธรรม และ จรรยาบรรณวิชาชีพ แผนงานที่ 3. พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน แผนงานที่ 4. พัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แผนงานที่ 5. พัฒนาศักยภาพครูและบุคลากร แผนงานที่ 6. พัฒนาการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม แผนงานที่ 7. พัฒนาการบริหารจัดการด้านปัจจัยพื้นฐาน


43 ส่วนที่ 3 มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา มาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีประกอบดวย 3 มาตรฐาน 10 ตัวชี้วัดการประเมิน ดังนี้ มาตรฐานที่ 1 คุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์ การจัดการอาชีวศึกษา เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาให้มีความรู้มีทักษะ และการประยุกต์ใช้เป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับการศึกษาและมีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ประกอบด้วยประเด็นการประเมินดังนี้ ตัวชี้วัดที่ 1.1 ความรู้ของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษา ผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษามีความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริง ตามหลักการ ทฤษฎีและแนวปฏิบัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่เรียนหรือทำงานโดยเน้นความรู้เชิงทฤษฎีและหรือข้อเท็จจริง เป็นไปตามมาตรฐาน คุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับการศึกษาโดยมีเรื่องพิจารณา ดังนี้ 1. ผู้สำเร็จการศึกษามีความรู้เชิงทฤษฎี ความรู้ในวิชาชีพ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เป็นไปตาม มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับการศึกษา 2. ผู้สำเร็จการศึกษาได้รับการทดสอบ 1) สมรรถนะภาษาอังกฤษ (English Competency) 2) สมรรถนะการใช้ดิจิทัล (Digital literacy) (ถ้ามี) ตัวชี้วัดที่ 1.2 ทักษะและการนำไปประยุกต์ใช้ของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษา ผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษามีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ทักษะวิชาชีพ และทักษะชีวิต เป็นไป ตามมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับการศึกษา สามารถประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ เป็นไปตาม เกณฑ์สมรรถนะหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สามารถแข่งขันได้ เป็นผู้ประกอบการ หรือประกอบอาชีพอิสระ มีผลการประเมินผ่านมาตรฐานวิชาชีพ มีผลลัพธ์การเรียนรู้ ตามกรอบคุณวุฒิ อาชีวศึกษาแห่งชาติพร้อมทั้งการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ตามปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง และมีสุขภาวะที่ดี ตัวชี้วัดที่ 1.3 คุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษา ผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาอาชีวศึกษามีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพเจตคติและ กิจนิสัยที่ดี ภูมิใจและรักษาเอกลักษณ์ของชาติไทยเคารพกฎหมาย เคารพสิทธิของผู้อื่นมีความรับผิดชอบตาม บทบาทหน้าที่ของตนเองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีจิตสาธารณะและมี จิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม


44 ตัวชี้วัดที่ 1.4 ผลสัมฤทธิ์ของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษา สถานศึกษามีการส่งเสริมให้ผู้สำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด แต่ละระดับ เมื่อเทียบกับแรกเข้า โดยผู้สำเร็จการศึกษาแต่ละระดับมีงานทำหรือประกอบอาชีพอิสระหรือ ศึกษาต่อ และ ต้องสอดคล้องกับสาขาที่สำเร็จการศึกษาภายใน ๑ ปีและผู้ประกอบการมีความพึงพอใจ ต่อคุณภาพของ ผู้สำเร็จการศึกษา โดยมีระบบการจัดการข้อมูลและสารสนเทศที่สอดคล้องกับเรื่องดังกล่าวข้างต้น (โดยเก็บ ข้อมูลเฉพาะผู้สำเร็จการศึกษา และนักศึกษาภาคปกติและระบบทวิภาคีทั้งระดับ ปวช. และ ปวส.) มาตรฐานที่ 2 การจัดการอาชีวศึกษา ตัวชี้วัดที่ 2.1 หลักสูตรอาชีวศึกษา สถานศึกษาใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ชุมชน สถานประกอบการ ตลาดแรงงาน มีการปรับปรุงรายวิชาเดิมหรือกำหนดรายวิชาใหม่หรือกลุ่มวิชาเพิ่มเติม ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและความต้องการของตลาดแรงงาน โดยความร่วมมือกับ สถานประกอบการ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยสถานศึกษาต้องมีการดำเนินการ ดังต่อไปนี้ 1. มีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและนำไปใช้ ในการ จัดการเรียนการสอน 2. มีการบริหารจัดการหลักสูตรอย่างเป็นระบบและพัฒนาหลักสูตรสอดคล้อง กับความต้องการของ ผู้เรียน สังคม สถานประกอบการ และส่งเสริมให้ครูผู้สอนพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ ตามรายวิชา ให้สอดคล้องกับอาชีพ ๓. มีระบบการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพหรือฝึกอาชีพในการ จัดการ อาชีวศึกษาระบบทวิภาคีหรือการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการกับการทำงาน (Work-Integrated Learning) หรือ การจัดการเรียนรู้แบบต่อเนื่อง (Block Course) มีการเตรียมความพร้อมด้านทักษะชีวิตและ ทักษะปฏิบัติ ของผู้เรียนก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพ มีการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการฝึกประสบการณ์ ทักษะวิชาชีพ หรือฝึกอาชีพร่วมกับสถานประกอบการ ตัวชี้วัดที่ 2.2 การจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา สถานศึกษามีครูที่มีคุณวุฒิการศึกษาและมีจำนวนตามเกณฑ์ที่กำหนดได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่องเพื่อเป็นผู้พร้อมทั้งด้านคุณธรรม จริยธรรม และความเข้มแข็งทางวิชาการและวิชาชีพ จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนทั้งวัยเรียนและวัยทำงาน ตามหลักสูตร มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับการศึกษา ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการจัด การศึกษาและการประเมินผลการเรียนของแต่ละหลักสูตร ส่งเสริม สนับสนุน กำกับดูแลให้ครูจัดการเรียน การสอนรายวิชาให้ถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์โดยมีเรื่องพิจารณา ดังนี้ 1. สถานศึกษามีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นฐานสมรรถนะ จัดให้มีโครงสร้าง พื้นฐานด้าน เทคโนโลยีดิจิทัล และสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนานวัตกรรม 2. สถานศึกษามีการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นคุณภาพและมีการบริหารจัดการชั้นเรียน ที่เหมาะสม รวมถึงการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ ครุภัณฑ์ที่จำเป็นและสอดคล้องกับการทำงาน ในสถานประกอบการ


45 3. สถานศึกษามีระบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่หลากหลาย และมีการนำผลประเมิน การเรียนรู้มาปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่องเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ตัวชี้วัดที่ 2.3 การบริหารจัดการสถานศึกษา สถานศึกษาบริหารจัดการบุคลากร สภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์ อาคาร สถานที่ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ โรงฝึกงาน ฟาร์ม ศูนย์วิทยบริการ สื่อ แหล่งเรียนรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ ครุภัณฑ์ และงบประมาณของ สถานศึกษาที่มีอยู่อย่างเต็มศักยภาพและมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีการบริหารจัดการ อย่างเป็นระบบ มีการบริหาร จัดการทรัพยากรของสถานศึกษาที่มีอยู่อย่างเต็มศักยภาพและมีประสิทธิภาพ และนำผลการประกันคุณภาพ ภายนอกไปใช้เพื่อพัฒนาสถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม โดยสถานศึกษา ต้องมีคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้ 1. มีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ของสถานศึกษาโดยการมีส่วนร่วม ของผู้บริหารสถานศึกษาและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทบทวน มีการตรวจสอบการดำเนินงานของสถานศึกษา ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ และประชาสัมพันธ์หรือสื่อสารต่อสาธารณชน ผ่านช่องทางที่หลากหลาย 2. ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้นำเชิงความคิดและเชิงกระบวนการในการจัดทำแผน โดยใช้หลัก ธรรมาภิบาลและสร้างกระบวนการทำงานเป็นทีม 3. มีการบริหารจัดการระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษา นำเทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ในการบริหารงาน และสามารถเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงตามบริบท ของสถานศึกษา 4. มีการจัดสภาพแวดล้อมด้านอาคาร สถานที่ โรงฝึกงาน ฟาร์ม พื้นที่การเรียนรู้และสิ่งสนับสนุน การเรียนรู้ให้มีความปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ 5. มีแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาที่ให้บริการสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างเพียงพอ และ มีคุณภาพ 6. มีระบบการคัดกรอง ดูแล ช่วยเหลือผู้เรียน และมีการกำหนดโครงการ กิจกรรม เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนมีวินัย คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมหรือคุณลักษณะที่ดีตามที่สถานศึกษา กำหนดและ สอดคล้องกับวิถีประชาธิปไตย 7. ครูและบุคลากรของสถานศึกษาได้รับการพัฒนาทางวิชาการ และวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ เพื่อความก้าวหน้าในอาชีพ และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา ร่วมกัน ระหว่างครู บุคลากรภายในสถานศึกษาและสถานประกอบการอย่างต่อเนื่อง 8. นำผลการประกันคุณภาพภายนอกไปใช้เพื่อพัฒนาสถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม ตัวชี้วัดที่ 2.4 การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ สถานศึกษามีความสำเร็จในการดำเนินการบริหารจัดการสถานศึกษาตามนโยบายสำคัญ ที่หน่วยงาน ต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลสถานศึกษามอบหมาย โดยความร่วมมือของผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการ ศึกษา และผู้เรียน รวมทั้งการช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุนจากผู้ปกครอง ชุมชน สถานประกอบการ และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนอย่างเป็นรูปธรรมอย่างน้อย 3 เรื่อง จาก 9 เรื่อง ต่อไปนี้ 1. การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี 2. การจัดการเรียนรู้แบบต่อเนื่อง (Block Course)


46 3. การสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการ และกำลังแรงงานในภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ การ พัฒนาสมรรถนะอาชีพที่สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ โดยการ Re-skill Up-skill และ New skill พร้อม ทั้งสร้างช่องทางอาชีพในรูปแบบที่หลากหลายให้ครอบคลุมผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมายรวมทั้งผู้สูงอายุ 4. ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการหรือกลุ่มเกษตรกรอัจฉริยะ (Smart Farmer) หรือกลุ่ม ยุวเกษตรกร อัจฉริยะ (Young Smart Farmer) 5. การขับเคลื่อนการผลิตและพัฒนากำลังคนตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ หรือกรอบคุณวุฒิ อ้างอิง อาเซียน หรือมาตรฐานสากล หรือมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ 6. การจัดการเรียนการสอน Coding ในสถานศึกษา 7. การจัดการศึกษาเพื่อสร้างโอกาสและความเสมอภาค เช่น อาชีวะอยู่ประจำ อาชีวะสร้างช่างฝีมือ ตามแนวทางโรงเรียนพระดาบส อาชีวะเพื่อคนพิการ เป็นต้น 8. การจัดกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือชุมชนและสังคม เช่น กิจกรรมจิตอาสา เป็นต้น 9. นโยบายอื่น ๆ ที่สำคัญตามที่หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลสถานศึกษา มอบหมาย หรืออื่น ๆ มาตรฐานที่3 การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ตัวชี้วัดที่ 3.1 ความร่วมมือในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ สถานศึกษามีการสร้างความร่วมมือกับบุคคล ชุมชน องค์กรต่าง ๆ ในการจัดการศึกษา การจัด ทรัพยากรทางการศึกษา กระบวนการเรียนรู้ การถ่ายทอดเทคโนโลยี การบริการทางวิชาการและวิชาชีพ โดย ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาผู้เรียนและคนในชุมชนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ โดยมีเรื่องพิจารณา ดังนี้ 1. สถานศึกษามีความร่วมมือกับสถานศึกษา หรือสถาบันการศึกษาอื่น หรือสถานประกอบการ หรือ หน่วยงานภาครัฐ หรือเอกชน เพื่อพัฒนาทักษะทางวิชาชีพให้กับผู้เรียน 2. สถานศึกษามีการส่งเสริม สนับสนุน การจัดทำโครงการหรือกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียน ได้ทำ ความร่วมมือกับชุมชน สังคม ท้องถิ่น และกลุ่มเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ 3. สถานศึกษามีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ภายในชุมชน ท้องถิ่น หรือพื้นที่ ให้บริการของสถานศึกษา ส่งเสริมการมีงานทำให้กับผู้เรียน สร้างความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จัด กระบวนการเรียนรู้ที่บูรณาการกับการทำงาน การบริการทางวิชาการและวิชาชีพ โดยใช้เทคโนโลยี ที่ เหมาะสม เพื่อพัฒนาผู้เรียนและคนในชุมชนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ ให้มีศักยภาพและความเข้มแข็ง ตัวชี้วัดที่ 3.2 นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ และงานวิจัย ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมสนับสนุนให้มีการจัดทำนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ และ งานวิจัย โดยครู ผู้เรียน หรือร่วมกับบุคคล ชุมชน องค์กรต่าง ๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ตาม วัตถุประสงค์และเผยแพร่สู่สาธารณชน


47 ส่วนที่ 4 รายงานการประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีรายงานการประเมินผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาแต่ละมาตรฐานและประเด็นการประเมินดังนี้ 1.1 มาตรฐานที่ 1 คุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาที่พึงประสงค์ ตัวชี้วัดที่ 1.1 ความรู้ของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษา 1. ผลการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการ ประจำปีการศึกษา 2565 กำหนดโครงการประเมินสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เตรียม ความพร้อมก่อนการเข้าทดสอบมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3 และผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 2 โดยจัดผู้สอนตามสาขาวิชาชีพ ติวเข้มและสรุปสาระสำคัญที่ผู้เรียนควรมีสมรรถนะวิชาชีพก่อนเข้าทดสอบมาตรฐานวิชาชีพและสามารถผ่าน การทดสอบครั้งแรกตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตร วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีจัดการประชุมวางแผนดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ประจำปี 2565 โดยดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานจัดการสอบมาตรฐานวิชาชีพและประสาน สำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดปราจีนบุรีขอนำข้อสอบมาตรฐานวิชาชีพของสำนักงานคณะกรรมการการ อาชีวศึกษา เป็นเครื่องมือในการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีการดำเนินงานทดสอบมาตรฐานวิชาชีพผู้เรียนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)ชั้นปีที่3 และผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.)ชั้นปีที่ 2 ตารางที่ 1 ร้อยละของผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐานวิชาชีพ ประเภทวิชา/สาขาวิชา/สาขางาน จำนวนผู้เรียนที่ ลงทะเบียนเรียนครบทุก รายวิชาตามโครงสร้าง หลักสูตร จำนวนผู้เรียน ชั้นปีสุดท้ายที่ สอบผ่านเกณฑ์ ฯ ร้อยละ พาณิชยกรรม พณิชยการ สาขาวิชาการบัญชี 27 23 85.19 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ 70 47 67.14 สาขาวิชาการตลาด 0 0 0 สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก 17 17 100.00 รวม ปวช. 114 87 76.32 บริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบัญชี 36 27 75.00 สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล 55 33 60.00 สาขาวิชาการตลาด 28 23 82.14 สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก 4 4 100.00 รวมปวส. 123 87 70.73 รวม 237 174 73.42


48 ผลการประเมิน รอยละของผูเรียนที่ผานการประเมินมาตรฐานวิชาชีพในครั้งแรกเทียบกับ ผูเรียนที่ลงทะเบียนเรียนครบทุกรายวิชาตามโครงสรางหลักสูตร มีผลสัมฤทธิ์ผู้เรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 73.42 ผลการประเมินมีระดับคุณภาพดีเลิศ 2. ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติดานอาชีวศึกษา (V-NET) วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการประจำปี การศึกษา 2565 กำหนดโครงการประเมินสมรรถนะวิชาชีพผู้เรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เตรียมความพร้อมก่อน การเข้าทดสอบทางการศึกษาระดับชาติดานอาชีวศึกษา (Vocational National Educational Test : VNET) สำหรับผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3 โดยจัดผู้สอนติวเข้มและสรุปสาระสำคัญที่ ผู้เรียนควรมีสมรรถนะก่อนเข้าทดสอบทางการศึกษาระดับชาติดานอาชีวศึกษา (Vocational National Educational Test : V-NET) และสามารถผ่านการทดสอบและสามารถทำคะแนนเฉลี่ยจากการสอบ ตั้งแต่ ค่าเฉลี่ยระดับชาติขึ้นไป วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีจัดการประชุมวางแผนดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ประจำปี2565 โดยดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานให้ผู้เรียนสมัครเข้าทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติดานอาชีวศึกษา (Vocational National Educational Test : V-NET) ผ่านระบบ Digital Testing ของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน ) วิทยาลัยให้คณะกรรมการดำเนินงานจัดผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3 สมัครเข้าทดสอบทางการศึกษาระดับชาติดานอาชีวศึกษา (V-NET) ทุกสาขาวิชา ผลการประเมิน จากรอยละของผูเรียนที่มีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด านอาชีวศึกษา (V-NET) ตั้งแตคาคะแนนเฉลี่ยระดับชาติขึ้นไปเทียบกับผูเรียนที่ลงทะเบียนเรียนครบทุก รายวิชาตามโครงสรางหลักสูตร การทดสอบมีคะแนนเฉลี่ยจากการสอบ ตั้งแต่ค่าเฉลี่ยระดับชาติขึ้นไปของ ผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3 จำนวนทั้งหมด 114 คน เข้าสอบจำนวน 62 คน ประกอบด้วย 4 สมรรถนะ ดังนี้ 1. สมรรถนะที่จำเป็นในการเข้าสู่อาชีพระดับปวช. (รหัส 51) สอบผ่านจำนวน 32 คน 2. สมรรถนะที่จำเป็นในการเข้าสู่อาชีพ (รหัส 511) สอบผ่านจำนวน 43 คน 3. สมรรถนะภาษาอังกฤษ (รหัส 512) สอบผ่านจำนวน 37 คน 4. สมรรถนะเทคโนโลยีดิจิทัล (รหัส 514) สอบผ่านจำนวน 18 คน วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีสงเสริม สนับสนุนผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3 และผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 2 เข้ารับการประเมินมาตรฐาน วิชาชีพทุกสาขาวิชา และส่งเสริมให้ผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3 สมัครเข้าทดสอบ ทางการศึกษาระดับชาติดานอาชีวศึกษา (V-NET)


49 ตารางที่ 2 ร้อยละของผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติดานอาชีวศึกษา(V-NET) ประเภทวิชา/สาขาวิชา/สาขางาน จำนวนผู้เรียน ที่ลงทะเบียน เรียนครบทุก รายวิชาตาม โครงสร้าง หลักสูตร (1) จำนวน ผู้เรียนที่เข้า ทดสอบ (2) จำนวนผู้เรียน ชั้นปีสุดท้ายที่ สอบผ่าน เกณฑ์ฯ (3) ร้อยละ (2)x100/(3) พาณิชยกรรม พณิชยการ สาขาวิชาการบัญชี 27 22 12 54.55 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ 70 40 6 15.00 สาขาวิชาการตลาด 0 0 0 0 สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก 17 0 0 0 รวม ปวช. 114 62 18 29.03 ผลการประเมินมีระดับคุณภาพกำลังพัฒนา ตัวชี้วัดที่ 1.2 ทักษะและการนำไปประยุกต์ใช้ของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษา 1. ผู้เรียนมีสมรรถนะในการเปนผูประกอบการหรือการประกอบอาชีพอิสระ วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการประจำปี การศึกษา 2565 กำหนดโครงการบ่มเพาะธุรกิจและการประกอบการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีจัดการประชุมวางแผนดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ประจำปี2565 โดยดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการบ่มเพาะธุรกิจและการประกอบการ โดยจัดตั้งศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาของวิทยาลัย เพื่อให้คำปรึกษาผู้เรียนที่มีความสนใจในการ เป็นผู้ประกอบการ มีกิจกรรมอบรมการเขียนแผนธุรกิจและจัดการประกวดแผนธุรกิจเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนนำ แผนธุรกิจไปดำเนินการจัดทำธุรกิจภายในสถานศึกษา ทำให้ผู้เข้ารับการบ่มเพาะได้มีประสบการณ์ในการ ดำเนินธุรกิจและนำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์สร้างอาชีพในอนาคต ผลการดำเนินงาน ผู้เรียนเข้ารับการบ่มเพาะในการเปนผูประกอบการและประกอบอาชีพอิสระ จำนวน 25 คน จํานวนผูเรียนประสบความสําเร็จสูการเปนผูประกอบการหรือการประกอบอาชีพอิสระ จำนวน 15 คน รอยละของผูเรียนที่ประสบความสําเร็จสูการเปนผูประกอบการหรือการประกอบอาชีพอิสระ คิดเป็น ร้อยละ 60 ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีได้รับการ นิเทศจากคณะกรรมการศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา อย่างต่อเนื่องทุกปี ซึ่งสถานศึกษาได้นำข้อแนะนำต่างๆไปพัฒนากิจกรรมของศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการ อาชีวศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีเช่นการส่งหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะและครูที่ปรึกษา ธุรกิจ เข้าอบรมความรู้เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจกับมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี ผลการประเมินมีระดับคุณภาพดี


50 2. ผลการแขงขันทักษะวิชาชีพ วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการประจำปี การศึกษา 2565 กำหนดโครงการแข่งขันทักษะวิชาชีพและการประกวดผลงานนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีจัดการประชุมวางแผนดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ประจำปี2565 โดยดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการแข่งขันทักษะวิชาชีพและการประกวด ผลงานนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์เพื่อสงเสริม สนับสนุนใหมีการแขงขันทักษะวิชาชีพและการประกวดนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ในระดับสถานศึกษาและคัดเลือกผู้ที่มีผลการแข่งขันชนะเลิศเข้าร่วมการแข่งขัน ส่งผลให้ผู้เรียนมี ทักษะวิชาชีพ และสามารถนำความรู้ไปพัฒนาเพื่อเข้าร่วมการแขงขันทักษะวิชาชีพการประกวดนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์และกีฬาสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนระดับชาติปีการศึกษา 2565 ของสมาคมวิทยาลัย เทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯสยามบรม ราชกุมารี(กลุ่มภาคกลาง) ผลการดำเนินงาน ผูเรียนไดรับรางวัลจากการประกวดนวัตกรรม สิ่งประดิษฐงานสรางสรรค จำนวน 5 ฃิ้นงานรางวัล เหรียญทองแดงระดับจังหวัดจำนวน 3 ชิ้นงาน รางวัลเหรียญทองแดงระดับชาติจำนวน 2 ชิ้นงาน การแขงขันทักษะวิชาชีพในระดับชาติระดับเหรียญทอง เหรียญเงิน เหรียญทองแดง และเข้าร่วมการประกวด นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่และการแข่งขันทักษะวิชาชีพพื้นฐานองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่ง ประเทศไทยระดับจังหวัดและระดับภาคของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผูเรียนไดรับรางวัล ชนะเลิศ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จํานวนผูเรียนที่เข้าร่วมการแข่งขันทักษะวิชาชีพระดับชาติจำนวน 55 คน ไดรับรางวัลจากการแขงขัน ดังนี้ ระดับชาติ ได้รับรางวัลเหรียญทองอันดับ1 จำนวน 12 เหรียญ ได้รับรางวัลเหรียญทอง จำนวน 11 เหรียญ ได้รับรางวัลเหรียญเงิน จำนวน 21 เหรียญ ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง จำนวน 9 เหรียญ ระดับภาค ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง จำนวน 2 เหรียญ ระดับจังหวัด ได้รับรางวัลเหรียญทอง จำนวน 9 เหรียญ ได้รับรางวัลเหรียญเงิน จำนวน 5 เหรียญ วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีสงเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนมีทักษะสามารถนำความรู้ ตามสาขาวิชาชีพไปประยุกต์ใช้ในการเข้าร่วมแสดงความสามารถ และไดรับรางวัลในระดับชาติ ระดับภาคและ ระดับจังหวัด จากการแขงขันทักษะวิชาชีพทุกสาขาวิชาที่เปิดการสอน ผลการประเมินมีระดับคุณภาพดีเลิศ


51 ตัวชี้วัดที่ 1.3 คุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษา 1 การดูแลและแนะแนวผูเรียน วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีจัดการประชุมวางแผนแตรียมความพร้อมผู้เรียนโดย ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี2565 ดำเนินการแต่งตั้งคณะทำงานดูแลช่วยเหลือผู้เรียนและจัด กิจกรรมปฐมนิเทศผู้เรียนใหม่ที่เข้าศึกษาในสถานศึกษา แต่งตั้งครูที่ปรึกษา ให้คำแนะนำและปรึกษา ปัญหาต่างๆให้กับผู้เรียน มีการจัดประชุมผู้ปกครองเครือข่ายเพื่อประสานความร่วมมือในการดูแลผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนจบหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)และหลักสูตรประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)ส่งเสริมสนับสนุนทุนการศึกษาให้ผู้เรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการศึกษา ดูแลผู้เรียน กลุ่มเสี่ยงโดยให้ครูที่ปรึกษาเยี่ยมบ้านผู้เรียนเพื่อลดผู้เรียนออกกลางคันและส่งเสริมผู้เรียนปัญญาเลิศให้มีการ พัฒนาตนเองให้มีสมรรถนะวิชาชีพสามารถเข้าร่วมการแข่งขันทักษะวิชาการวิชาชีพได้รับรางวัลในระดับภาค และระดับชาติ ผลการดำเนินงานดูแลและแนะแนวผูเรียน ผู้เรียนสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3 แรกเข้าของรุ่น จำนวน 187 คน ผู้เรียนสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)ชั้นปีที่ 2 แรกเข้าของรุ่น จำนวน 137 คน ผู้เรียนสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3 จำนวน 84 คน ผู้เรียนสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)ชั้นปีที่ 2 จำนวน 71 คน ผู้เรียนสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ร้อยละ 44.92 ผู้เรียนสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ร้อยละ 51.82 ผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษารวมทั้งหมดคิดเป็น ร้อยละ 47.84 ผลการประเมินมีระดับคุณภาพกำลังพัฒนา ตารางที่ 3 ร้อยละของผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษา ประเภทวิชา/สาขาวิชา/สาขางาน จำนวนผู้เรียน แรกเข้าของรุ่น (ปวช.ปี2562) (ปวส.ปี 2563) จำนวนผู้เรียนชั้นปี สุดท้ายที่สำเร็จ การศึกษา ร้อยละ พาณิชยกรรม สาขาวิชาการบัญชี 36 19 52.78 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ 96 48 50.00 สาขาวิชาการตลาด 0 0 0 สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก 55 17 30.91 รวม ปวช.3 187 84 44.92 บริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบัญชี 48 22 45.83 สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล 55 29 52.73 สาขาวิชาการตลาด 27 18 66.67 รวมปวส.2 137 71 51.82 รวม 324 155 47.84


52 2. ผูเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีจัดการประชุมวางแผนดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ประจำปี2565 ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม โครงการ ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย โครงการส่งเสริมจิตอาสา โครงการเยาวชนยุคใหม่ห่างไกล ยาเสพติดโครงการส่งเสริมกีฬาและนันทนาการ โครงการส่งเสริมการรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โครงการรักษ์สิ่งแวดล้อม และให้ผู้เรียนเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การนักวิชาชีพในอนาคต แห่งประเทศไทยวิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรี เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรม ทุกกิจกรรมที่ส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์และเสียสละเพื่อส่วนรวม ทำงาน ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นกัลยาณมิตร มีภาวะผู้นำ กล้าแสดงออก ภูมิใจในความเป็นไทยเห็นคุณค่าและร่วม พัฒนาภูมิปัญญาไทย ผลการดำเนินงานส่งเสริมให้ผูเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ สถานศึกษาดำเนินการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ผู้เรียน โดยประเมิน ความพึงพอใจผู้เรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมทุกกิจกรรม ทั้งหมดจำนวน 620 คน ผู้เรียนมีคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์จำนวนทั้งหมด 561 คน คิดเป็นร้อยละ 90.48 และมีผลการประเมินองค์การนักวิชาชีพใน อนาคตแห่งประเทศไทย เหรียญเงินระดับภาค ผลการประเมินมีระดับคุณภาพยอดเยี่ยม ตัวชี้วัดที่ 1.4 ผลสัมฤทธิ์ของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษา 1. การมีงานทําและศึกษาต่อของผูสําเร็จการศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีจัดการประชุมวางแผนดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ประจำปี 2565 แต่งตั้งคณะทำงานประสานงานกับครูที่ปรึกษาดำเนินการสำรวจข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษาตาม แผนงานติดตามผู้สำเร็จการศึกษาในปีที่ผ่านมา มีงานทำ ประกอบอาชีพอิสระหรือศึกษาต่อ จากการใช้ แบบสอบถามข้อมูลผู้เรียนก่อนสำเร็จการศึกษา การติดตามผู้สำเร็จการศึกษาจากการสอบถามทางไลน์ การส่ง E-mail Address การใช้ Facebook เพื่อจัดเก็บข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษาที่ได้งานทำ หรือประกอบอาชีพอิสระ หรือศึกษาต่อภายใน 1 ปีและการติดตามจากการใช้ผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษาที่เป็นเครือข่ายของรุ่น ผลการดำเนินงาน 1. จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จำนวน 109 คน 2. จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำนวน 88 คน 3. จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ที่ได้งานทำ หรือประกอบอาชีพ อิสระ หรือศึกษาต่อภายใน 1 ปี จำนวน 94 คน 4. จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)ที่ได้งานทำ หรือประกอบ อาชีพอิสระ หรือศึกษาต่อภายใน 1 ปี จำนวน 79 คน 5. ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ที่ได้งานทำ หรือประกอบอาชีพอิสระ หรือศึกษาต่อ ภายใน 1 ปีคิดเป็นร้อยละ 87.82


53 ตารางที่ 4 ร้อยละของผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษามีงานทํา ประกอบอาชีพอิสระหรือศึกษาต่อ ประเภทวิชา/สาขาวิชา/สาขางาน จำนวน ผู้เรียน ที่สำเร็จ การศึกษา ปี2564 จำนวน ผู้เรียนที่ มีงานทำ จำนวน ผู้เรียนที่ ประกอบ อาชีพ อิสระ จำนวน ผู้เรียน ที่ ศึกษา ต่อ รวม ร้อยละ พาณิชยก รรม สาขาวิชาการบัญชี 21 1 1 19 21 100.00 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ 59 2 1 41 44 74.58 สาขาวิชาการตลาด 0 0 0 0 0 0 สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก 29 10 0 19 29 100.00 รวม ปวช.3 109 13 2 79 94 86.24 บริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบัญชี 28 16 0 3 19 67.86 สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจ ดิจิทัล 40 30 7 3 40 100.00 สาขาวิชาการตลาด 14 11 3 0 14 100.00 สาขาธุรกิจค้าปลีก 6 4 0 2 6 100.00 รวมปวส.2 88 61 10 8 79 89.77 รวม 197 74 12 87 173 87.82 ผลการประเมินมีระดับคุณภาพยอดเยี่ยม 2. ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจ ต่อคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีจัดการประชุมวางแผนดำเนินงานตามแผนปฏิบัติ การประจำปี 2565 โดยดำเนินการสำรวจข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษาตามแผนงานการติดตามผู้สำเร็จการศึกษา จากการใช้แบบสอบถามผู้เรียนก่อนสำเร็จการศึกษา การติดตามผู้สำเร็จการศึกษาจากการสอบถามทางไลน์ การใช้ E-mail Address การใช้ Facebook และประเมินความพึงพอใจของสถานประกอบการ หน่วยงาน ชุมชน ที่มีต่อคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษา ด้วยมาตรวัด 5 ระดับ เพื่อประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ได้แก่คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ พฤติกรรมและทักษะทางปัญญา ด้านสมรรถนะหลักและ สมรรถภาพทั่วไป ได้แก่ความรู้และทักษะการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาการเรียนรู้และ ปฏิบัติงาน การทำงานร่วมกับผู้อื่น การใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การประยุกต์ตัวเลขการจัดการและ พัฒนางานและด้านสมรรถนะวิชาชีพ ได้แก่ ความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ทักษะในสาขาวิชาชีพ สู่การปฏิบัติจริง รวมทั้งประยุกต์สู่อาชีพ ผลการประเมินสถานประกอบการ หน่วยงาน ชุมชน จำนวน 20 แห่ง มีระดับความพึง พอใจต่อคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับ 3.51 – 5.00 จำนวน 19 แห่ง ผลการประเมินอยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 95.00 ผลการประเมินมีระดับคุณภาพยอดเยี่ยม


54 ตารางที่5 ระดับความพึงพอใจของสถานประกอบการ หน่วยงานหรือสถานศึกษาหรือผู้รับบริการที่มีต่อ คุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษา มีการประเมินความพึงพอใจโดยกำหนด กลุ่มตัวอย่าง สร้างเครื่องมือเพื่อเก็บข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่าง นำข้อมูลมาวิเคราะห์ จำนวนสถานประกอบการ หน่วยงาน สถานศึกษา หรือ ผู้รับบริการทั้งหมด (หน่วย) จำนวนสถานประกอบการ หน่วยงาน สถานศึกษา หรือ ผู้รับบริการที่มีความพึงพอใจ 3.51 – 5.00 ร้อยละ 20 19 95.00 4.2 มาตรฐานที่ 2 การจัดการอาชีวศึกษา ตัวชี้วัดที่ 2.1 หลักสูตรอาชีวศึกษา 1. การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะอย่างเปนระบบ วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีมีการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับ ความต้องการของสถานประกอบการ หน่วยงานและชุมชน โดยดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษา ปี2564-2566 แผนปฏิบัติการประจำปี 2565 จัดการประชุมวางแผนดำเนินงานโครงการพัฒนาหลักสูตร ฐานสมรรถนะ สำรวจความต้องการของสถานประกอบการด้านสมรรถนะวิชาชีพของผู้เรียนที่พึงประสงค์ ประสานความร่วมมือกับสถานประกอบการในการปรับปรุงรายวิชาตามหลักสูตรของสถานศึกษาให้มี สมรรถนะรายวิชาเพิ่มขึ้น เพื่อใหผูเรียนมีสมรรถนะอาชีพสอดคลองกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และ ความตองการของตลาดแรงงาน ผลการดำเนินงาน รอยละ 100 ของประเภทวิชาที่จัดการเรียนการสอนมีการพัฒนาใหเปนหลักสูตรฐานสมรรถนะ อยางเป นระบบ 2 ประเภทวิชา (ประเภทวิชาพาณิขยกรรมและประเภทวิชาบริหารธุรกิจ) 2 x 100 = 100 2 1. สถานประกอบการ หน่วยงานที่ร่วมพัฒนาหลักสูตรจำนวน 3 แห่ง คือบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) บริษัทฟูจิคูระอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด (ห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัส) มีระดับความพึงพอใจต่อการพัฒนาหลักสูตร ที่สอดคล้องกับความต้องการในระดับดีร้อยละ 100 2. สถานประกอบการ หน่วยงานมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร มีการทำ MOU ระหว่าง สถานศึกษาและสถานประกอบการ 3. มีการใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ • หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เพิ่มสมรรถนะวิชาชีพด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อ การจัดพิมพ์งานในสำนักงานและโปรแกรมการคำนวณค่าสถิติให้สามารถใช้ในการ ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ • หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)เพิ่มสมรรถนะวิชาชีพด้านการใช้ เทคโนโลยีเพื่อการนำเสนอผลงานและการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศให้สามารถใช้ในการ ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีมีการติดตามประเมินผลการใช้หลักสูตรจากการ ติดตามประเมินผลคุณภาพผู้เรียนที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ ผลการประเมินมีระดับคุณภาพดีเลิศ


55 2. การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะหรือปรับปรุงรายวิชาหรือปรับปรุงรายวิชาเดิมหรือกำหนด รายวิชาเพิ่มเติมประเด็นที่ต้องการให้มีการตรวจสอบ วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีมีการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับ ความต้องการของสถานประกอบการ หน่วยงานและชุมชน โดยดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษา ปี2564-2566 แผนปฏิบัติการประจำปี 2565 จัดการประชุมวางแผนดำเนินงานปรับปรุงรายวิชาเดิมของ แต่ละสาขาวิชา ที่สถานศึกษาเปิดสอน โดยเพิ่มสมรรถนะรายวิชาที่มีความจำเป็นและสอดคล้องกับความ ต้องการของสถานประกอบการ 1. จำนวนสาขางานที่สถานศึกษาเปิดสอน จำนวน 8 สาขางาน 2. จำนวนสาขางานที่สถานศึกษาดำเนินงานปรับปรุงรายวิชาเดิม โดยเพิ่มสมรรถนะรายวิชาที่มีความจำเป็นและสอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการจำนวน 8 สาขางาน คิดเป็นร้อยละ 100 ผลการประเมินมีระดับคุณภาพยอดเยี่ยม ตัวชี้วัดที่ 2.2 การจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา 1. คุณภาพของแผนการจัดการเรียนรูสูการปฏิบัติ วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีจัดการประชุมวางแผนดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ประจำปี 2565 โดยดำเนินงานตามแผนงานจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สถานศึกษา ดำเนินการให้ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาด้วยเทคนิควิธีการสอนที่หลากหลายที่มุ่งเน้นสมรรถนะ อาชีพและบูรณาการคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์และปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงทุกรายวิชาที่สอน ผลการดำเนินงาน 1. ให้ครูผู้สอนวิเคราะห์หลักสูตรรายวิชากำหนดสมรรถนะวิชาชีพที่สอดคล้องกับบริบทของ สถานศึกษาและความต้องการของตลาดแรงงาน 2. แผนการจัดการเรียนรู้ทุกรายวิชามีการบูรณาการคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและคุณลักษณะ อันพึงประสงค์และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทุกรายวิชาที่สอน 3. แผนการจัดการเรียนรู้มีการกำหนดรูปแบบการเรียนเป็นแบบ PjBL และ Active Learning 4. แผนการจัดการเรียนรู้ทุกรายวิชามีการใช้สื่อ เครื่องมืออุปกรณ และเทคโนโลยีการจัด การเรียนรู้ ที่เหมาะสม และนํามาใชในการจัดการเรียนการสอน 5. แผนการจัดการเรียนรู้ทุกรายวิชามีการกําหนดแนวทางการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง ดวยรูปแบบ วิธีการที่หลากหลาย โดยวัดผลตามจุดประสงค์การเรียนรู้ 3 ด้าน ด้านพุทธพิสัย ด้านทักษะพิสัย และด้านจิตพิสัย ผลการประเมินมีระดับคุณภาพยอดเยี่ยม


56 2. การจัดทําแผนการจัดการเรียนรูสูการปฏิบัติที่เนนผูเรียนเปนสําคัญและนําไปใชในการจัดการเรียนการสอน วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีจัดการประชุมวางแผนดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ประจำปี 2565 โดยดำเนินงานตามแผนงานจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและครู ทุกคนนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนทุกรายวิชา ผลการดำเนินงาน 1.จำนวนครูผู้สอนทั้งหมดของสถานศึกษามีจำนวน 23 คน (รวมผู้บริหาร) 2. จํานวนครูผูสอนที่มีแผนการจัดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและนำไปใช้ในการ จัดการเรียนการสอนจำนวน 21 คน 3. ครูผูสอนที่มีแผนการจัดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและนำไปใช้ในการจัดการ เรียนการสอนคิดเป็นร้อยละ 100 ผลการประเมินมีระดับคุณภาพยอดเยี่ยม 3. การจัดการเรียนการสอน วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีจัดการประชุมวางแผนดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ประจำปี 2565 โดยดำเนินงานตามแผนงานฝ่ายวิชาการแต่งตั้งครูผู้สอนตามสาขาวิชาที่สถานศึกษา เปิดสอนโดยจัดครูผู้สอนที่มีคุณวุฒิการศึกษาตรงตามสาขาวิชาที่สอน ผลการดำเนินงาน 1. จํานวนครูผูสอนที่มีคุณวุฒิทางการศึกษาตรงตามสาขาวิชาที่สอน 21 คน 2. จํานวนครูที่มีแผนการจัดการเรียนรูครบทุกรายวิชาที่สอน 21 คน 3. จํานวนครูที่จัดการเรียนการสอนตรงตามแผนการจัดการเรียนรู้ดวยเทคนิควิธีการสอนที่ หลากหลาย 21 คน 4. จํานวนครูที่ใชสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษาและแหลงการเรียนรูในการจัดการเรียน การสอน 21 คน 5.จํานวนครูผูสอนที่ครูทําวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรูและแกปญหาการจัดการ เรียนรู 21 คน ผลการดำเนินงาน ครูผู้สอนมีคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนจากการนิเทศการสอนคิดเป็นร้อยละ 100 ผลการประเมินมีระดับคุณภาพยอดเยี่ยม 4. การบริหารจัดการชั้นเรียน วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีจัดการประชุมวางแผนดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ประจำปี 2565 โดยดำเนินงานตามแผนงานฝ่ายวิชาการแต่งตั้งครูผู้สอนตามสาขาวิชาที่สถานศึกษา เปิดสอนและสามารถบริหารจัดการชั้นเรียนได้อย่างมีคุณภาพจากการนิเทศการสอนครูทุกสาขาวิชา


57 ผลการดำเนินงาน 1. จำนวนครูผู้สอนทั้งหมดของสถานศึกษามีจำนวน 23 คน (รวมผู้บริหาร) 2. จำนวนครูผู้สอนที่จัดทำข้อมูลผู้เรียนเป็นรายบุคคลมีจำนวน 21 คน 3. จำนวนครูผู้สอนที่มีขอมูลสารสนเทศหรือเอกสารประจําชั้นเรียนและรายวิชาเป นป จจุบัน มีจำนวน 21 คน 4. จำนวนครูผูสอนที่ใชเทคนิควิธีการบริหารจัดการชั้นเรียนใหมีบรรยากาศที่เอื้อตอการเรียนรู มีจำนวน 21 คน 5. จำนวนครูผูสอนที่ใชวิธีการเสริมแรงใหผูเรียนมีความมุงมั่นตั้งใจในการเรียน มีจำนวน 21 คน 6. จำนวนครูผูสอนที่ดูแลชวยเหลือผูเรียนรายบุคคลดานการเรียนและดานอื่นๆมีจำนวน 21 คน ครูผู้สอนมีคุณภาพในการบริหารจัดการชั้นเรียนจากการนิเทศการสอนคิดเป็นร้อยละ 100 ผลการประเมินมีระดับคุณภาพยอดเยี่ยม 5. การพัฒนาตนเองและการพัฒนาวิชาชีพ วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีมีการพัฒนาครูและบุคลากรของสถานศึกษา โดยดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษาปี2564-2566 แผนปฏิบัติการประจำปี 2565 จัดการประชุม วางแผนดำเนินงานแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานจัดโครงการพัฒนาบุคลากร เพื่อให้ครูมีการพัฒนาตนเอง และพัฒนาวิชาชีพและนําผลการพัฒนาตนเองมาใชในการจัดการเรียนการสอน ผลการดำเนินงาน 1. จํานวนครูผูสอนที่จัดทําแผนพัฒนาตนเองและเขารวมการพัฒนาวิชาชีพ 21 คน 2. จำนวนครูผูสอนที่ไดรับการพัฒนาตนเองอยางนอย 12 ชั่วโมงตอป 21 คน 3. จำนวนครูผูสอนที่นําผลจากการพัฒนาตนเองและการพัฒนาวิชาชีพมาใชในการจัดการเรียนการสอน 21คน 4. จำนวนครูผูสอนที่มีผลงานจากการพัฒนาตนเองและการพัฒนาวิชาชีพ 21 คน 5. จํานวนครูผูสอนที่มีนวัตกรรมจากการพัฒนาตนเองและการพัฒนาวิชาชีพที่ไดรับการยอมรับหรือ เผยแพร 21 คน ครูผู้สอนมีมีการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพและนําผลการพัฒนาตนเองมาใชในการจัดการเรียน การสอนคิดเป็นร้อยละ 100 ผลการประเมินมีระดับคุณภาพยอดเยี่ยม 6. การเขาถึงระบบอินเทอรเน็ตความเร็วสูงเพื่อการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีจัดการประชุมวางแผนดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ประจำปี 2565 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานติดตั้งระบบอินเทอรเน็ตความเร็วสูงเพื่อการจัดการเรียนการ สอนในชั้นเรียน ครูบุคลากรทุกฝ่ายและผู้เรียนสามารถใช้งานและสืบค้นข้อมูลในการจัดการเรียนการสอนได้ อย่างมีประสิทธิภาพ


58 ผลการดำเนินงาน 1. จำนวนห้องเรียน ห้องปฏิบัติการที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ทั้งหมดของสถานศึกษามี จำนวน 40 ห้อง 2. จำนวนหองเรียน หองปฏิบัติการที่มีระบบอินเทอรเน็ตความเร็วสูงในการจัดการเรียนการสอน จำนวน 30 ห้อง 3. รอยละของหองเรียน หองปฏิบัติการที่มีระบบอินเทอรเน็ตความเร็วสูงในการจัดการเรียน การสอน คิดเป็นร้อยละ 75.00 ผลการประเมินมีระดับคุณภาพดีเลิศ ตัวชี้วัดที่ 2.3 การบริหารจัดการสถานศึกษา 1. การบริหารจัดการระบบฐานขอมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีจัดการประชุมวางแผนดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ประจำปี 2565 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูลสารสนเทศและระบบ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง จัดทำ Web สถานศึกษาและพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศสถานศึกษาโดย พัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศพื้นฐาน 9 ประเภท ได้แก่ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา ข้อมูลนักเรียน นักศึกษา ข้อมูลตลาดแรงงาน ข้อมูลบุคลากร ข้อมูลงบประมาณและการเงิน ข้อมูลหลักสูตรการจัดการเรียน การสอน ข้อมูลครุภัณฑ์ ข้อมูลอาคารสถานที่ และข้อมูลพื้นฐานของจังหวัดปราจีนบุรีครูบุคลากรทุกฝ่ายและ ผู้เรียนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลสารสนเทศ ผลการดำเนินงาน 1. สถานศึกษาพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศพื้นฐานที่จำเป็นในการบริหารจัดการสถานศึกษา 2. สถานศึกษามีระบบสารสนเทศในการบริหารจัดการสถานศึกษาที่หลากหลาย ทันสมัยและ เปนปจจุบัน 3. มีการใช้ข้อมูลสถานศึกษา 4. มีการประเมินความพึงพอใจในการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษา โดย ครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาและผู้เรียนจากกลุ่มตัวอย่าง 423 คน มีความพึงพอใจใน ระดับดีคิดเป็นรอยละ 85.42 (9,033x100/10,575) 5. มีโครงการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูลสารสนเทศและระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อ พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการสถานศึกษา ผลการประเมินมีระดับคุณภาพยอดเยี่ยม


59 2. อาคารสถานที่ หองเรียน หองปฏิบัติการ โรงฝกงานหรืองานฟารม วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีจัดการประชุมวางแผนดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ประจำปี 2565 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมและซ่อมบำรุง อาคารสถานที่ เพื่อดูแลสภาพแวดลอม ภูมิทัศน อาคารสถานที่ หองเรียน หองปฏิบัติการ แหลงการเรียนรู้และสิ่งอํานวย ความสะดวกใหมีความพรอมและเพียงพอตอการใชงานของผูเรียนหรือผูรับบริการ ผลการดำเนินงาน 1. สถานศึกษามีอาคารสถานที่ หองเรียน หองปฏิบัติการ แหลงการเรียนรูโรงฝกงาน หรือ งานฟารม และสิ่งอํานวยความสะดวกในการใหบริการผูเรียนเพียงพอตอความตองการและมีการพัฒนาดูแล สภาพแวดลอมภูมิทัศนของสถานศึกษาใหเอื้อตอการจัดการเรียนรู 2. สถานศึกษามีแผนงาน โครงการพัฒนาและดูแลสภาพแวดลอม ภูมิทัศน อาคารสถานที่ หองเรียน หองปฏิบัติการ แหลงการเรียนรูโรงฝกงาน หรืองานฟารม และสิ่งอํานวยความสะดวกใหมีความพรอมและ เพียงพอตอการใชงานของผูเรียนหรือผูรับบริการโดยการมีสวนรวมของครู บุคลากรและผูเรียน 3. สถานศึกษามีการพัฒนาและดูแลสภาพแวดลอม ภูมิทัศน อาคารสถานท่ี หองเรียน หองปฏิบัติการ แหลงการเรียนรูโรงฝกงาน หรืองานฟารม และสิ่งอํานวยความสะดวกตามแผนงาน โครงการที่กําหนด 4. สถานศึกษาจัดสภาพแวดลอม ภูมิทัศน อาคารสถานที่ หองเรียน หองปฏิบัติการ แหลงการเรียนรู โรงฝกงาน หรืองานฟารม และสิ่งอํานวยความสะดวกที่เอื้อตอการจัดการเรียนรูสถานศึกษาปรับปรุงและ พัฒนาสภาพแวดลอม ภูมิทัศน อาคารสถานที่ หองเรียน หองปฏิบัติการ แหลงการ เรียนรูโรงฝกงาน หรือ งานฟารม และสิ่งอํานวยความสะดวกใหสอดคลองกับบริบทของสถานศึกษา ผลการประเมินมีระดับคุณภาพยอดเยี่ยม 3. ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีจัดการประชุมวางแผนดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ประจำปี 2565 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามแผนงานซ่อมบำรุงระบบสาธารณูปโภคเพื่อดูแลระบบ สาธารณูปโภคพื้นฐาน ไดแก ระบบไฟฟา ระบบประปาการคมนาคมภายในสถานศึกษา ระบบการสื่อสาร ภายใน และระบบรักษาความปลอดภัยไดรับการบํารุงรักษาและพัฒนาอยางตอเนื่อง ผลการดำเนินงาน 1. สถานศึกษามีระบบไฟฟาที่เหมาะสมกับสภาพใชงานในสถานศึกษา ไดแก 1.1 ระบบสงกําลัง 1.2 ระบบควบคุม 1.3 ระบบไฟฟาภายในอาคาร หองเรียน หองปฏิบัติการ โรงฝกงานหรืองานฟารม สภาพวัสดุ อุปกรณของระบบไฟฟาอยูในสภาพพรอมใชงาน และปลอดภัย 3. สถานศึกษามีระบบประปา หรือน้ำดื่ม น้ำใชเพียงพอตอความตองการ 4. สถานศึกษามีถนน ชองทางเดิน หรือระบบคมนาคมในสถานศึกษาที่สะดวก ปลอดภัย มีระบบระบายน้ำ ระบบกําจัดขยะภายในสถานศึกษาที่สอดคลองกับบริบทของ สถานศึกษา 5. สถานศึกษามีระบบการสื่อสารภายใน และภายนอกที่ทันสมัย สะดวก รวดเร็ว 6. สถานศึกษามีระบบรักษาความปลอดภัย ผลการประเมินมีระดับคุณภาพยอดเยี่ยม


60 4. แหลงเรียนรูและศูนยวิทยบริการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีจัดการประชุมวางแผนดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ประจำปี 2565 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษา มีการจัดสรรงบประมาณจากภายในสถานศึกษาในการจัดซื้อจัดหาหนังสือและคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการ ค้นคว้าข้อมูลและมีการระดมทรัพยากรจากภายนอกสถานศึกษาขอรับการสนับสนุนหนังสือจากบุคคล และชุมชน ผลการดำเนินงาน 1. สถานศึกษามีแผนงาน ตามโครงการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนา แหลงเรียนรูและหองสมุดอยางตอเนื่อง 2. สถานศึกษามีหองสมุดที่มีสภาพแวดลอมเอื้อตอการศึกษา คนควาของครูบุคลากรทาง การศึกษา และผูเรียน หรือผูสนใจ 3. หองสมุดมีจํานวนหนังสือตอจํานวนผูเรียนเปนไปตามเกณฑมาตรฐานที่กําหนด และมี ระบบ สืบคนดวยตนเองเพียงพอ ( ผู้เรียน จำนวน 10 เล่มต่อคน ) 4. จำนวนหนังสือ ในห้องสมุด จำนวน 6,500 เล่ม 5. จำนวนผู้เรียนทั้งหมดของสถานศึกษามี จำนวน 620 คน 6. จำนวนผู้เรียนที่ใช้บริการห้องสมุด จำนวน 498 คน 7. จำนวนสาขาที่สถานศึกษาจัดการเรียนการสอน จำนวน 8 สาขาวิชา 8. จำนวนสาขาวิชาที่มีแหล่งเรียนรู้หรือสื่อ อุปกรณ์ห้องเรียนเฉพาะทาง จำนวน 8 สาขาวิชา สถานศึกษามีการสรางแรงจูงใจใหผูเรียนเขาใชบริการหองสมุดไมนอยกวารอยละ 80 ของผูเรียน ทั้งหมด ของสถานศึกษาโดยจัดกิจกรรมต่างๆที่ผู้เรียนต้องการ และมีแหลงเรียนรูหรือสื่อ อุปกรณ หอง เรียนเฉพาะทางครบทุกสาขาวิชาที่สถานศึกษาจัดการเรียนการสอน สถานศึกษามีการประเมิน ความพึงพอใจผู้เข้ารับบริการห้องสมุดอยู่ในระดับดี ผลการประเมินมีระดับคุณภาพยอดเยี่ยม 5. ระบบอินเทอรเน็ตความเร็วสูงเพื่อการใชงานดานสารสนเทศภายในสถานศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีจัดการประชุมวางแผนดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ประจำปี 2565 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูลสารสนเทศและ ระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ผลการดำเนินงาน 1. ระบบเครือข่ายอินเทอรเน็ตมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับการใช้งานเครือขายคอมพิวเตอรทั้ง ภายในและภายนอกมีการสื่อสารและแลกเปลี่ยนขอมูลที่เปนสื่อประสมและมีรายละเอียดสูง ไดอยางรวดเร็ว โดยมีความเร็ว 300 Mbps 2. มีผูรับผิดชอบดูแลและบริหารจัดการขอมูลการเขาถึงขอมูล ระบบความปลอดภัย ในการจัดเก็บและใชขอมูล 3. มีระบบอินเทอรเน็ตความเร็วสูง ครอบคลุมพื้นที่ใชงานภายในสถานศึกษา


61 4. มีระบบสารสนเทศเชื่อมโยงการบริหารจัดการภายในสถานศึกษา 5. มีระบบสารสนเทศเชื่อมโยงการบริหารจัดการภายนอกสถานศึกษา ผลการประเมินมีระดับคุณภาพยอดเยี่ยม ตัวชี้วัดที่ 2.4 การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ 1. การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ผู้อ านวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีมีความรู้ความเข้าใจ ในนโยบายส าคัญ ที่หน่วยงานต้นสังกัดมอบหมายโดยการจัดประชุมสื่อสารให้คณะกรรมการบริหาร ครู บุคลากร และ ผู้เรียนรวมทั้งผู้ปกครองได้รับทราบนโยบายส าคัญของหน่วยงานต้นสังกัด และร่วมกันก าหนดแผนงาน โครงการ กิจกรรม และด าเนินงานเพื่อให้นโยบายส าคัญของหน่วยงานต้นสังกัดประสบผลส าเร็จตาม เป้าหมาย ผลการดำเนินงาน 1. ความพร้อมในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษา สถานศึกษามีการสํารวจความพรอมของสถานประกอบการ ในการจัดการอาชีวศึกษา ระบบทวิภาคีรวมกับ สถานศึกษา และมีการบันทึกขอตกลงความรวมมือ (MOU) ในการจัดการอาชีวศึกษา ระบบทวิภาคี 2. การวางแผนในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีดำเนินการจัดทําแผนงานและจัดทําแผนการเรียนในการจัดการ อาชีวศึกษาระบบทวิภาคีรวมกับสถานประกอบการ จำนวน 2 แห่ง คือบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน)และ บริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด (ห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัส) โดย นางกนกพร วรมานะกุล วอง ผู้อำนวยการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรี เข้าร่วมพิธี ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การจัดการศึกษาระบบทวิภาคี สาขาธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ ร่วมกับ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด (ห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัส) จัด โดย สมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ โรงแรม Best Western PLUS Wanda Grand Hotel แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ 3. การจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีดำเนินการตามแผนงานโครงการแนะแนวการศึกษาต่อ ด้านอาชีวศึกษาให้กับผู้เรียนและดำเนินการดังนี้ 1. คัดเลือกผูเขาเรียน 2. ทําสัญญาการฝกอาชีพ ปฐมนิเทศผูเรียน และประชุมผูปกครอง 3. จัดทําแผนการจัดการเรียนรูหรือแผนการฝกอาชีพร่วมกับสถานประกอบการ 4. จัดการเรียนการสอนและการฝกอาชีพ 4. การติดตามตรวจสอบคุณภาพในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีดำเนินการแต่งตั้งหัวหน้างานทวิภาคีและครูที่ปรึกษานักเรียนระบบ


62 5. ทวิภาคีให้ดำเนินการนิเทศการจัดการเรียนการสอนและการฝกอาชีพของผู้เรียน ในสถาน ประกอบการ และดำเนินการวัดและประเมินผลรายวิชาและการฝกอาชีพร่วมกับสถานประกอบการ 6. การสรุปรายงานผลการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีดำเนินการตามแผนงานการช่วยเหลือผู้เรียนระบบ ทวิภาคีให้สามารถสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรและติดตามผู้สําเร็จการศึกษาผูเรียนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี โดยมีการสรุปผลการดําเนินงานและรายงานประจําปในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีให้หน่วยงานต้น สังกัดได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง ผลการประเมินมีระดับคุณภาพยอดเยี่ยม 4.3 มาตรฐานที่ 3 การสร้างสังคมแหงการเรียน ตัวชี้วัดที่ 3.1 ความร่วมมือในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ 1. การบริหารสถานศึกษาแบบมีสวนรวม วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา ผูบริหารสถานศึกษาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีสวนรวมในการกําหนดมาตรฐานการศึกษาของ สถานศึกษา การจัดทําแผนพัฒนาสถานศึกษา แผนปฏิบัติงานประจําปีและการดําเนินงานโครงการระดม ทรัพยากรเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษา โครงการทัศนศึกษา โครงการจิตอาสาบริการชุมชนโดยใช้เทคโนโลยี ที่ทันสมัยในการประสานงานและการดำเนินงาน ผลการดำเนินงาน ผู้บริหารสถานศึกษาครูและบุคลากรทางการศึกษามีสวนรวมในการดําเนินงานโครงการ ระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาทำความร่วมมือกับหน่วยงานและชุมชนทั้งภาครัฐและเอกชนใน การระดมทรัพยากรบุคคลและจัดหาสื่ออุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาการจัดการศึกษา จัดหา แหล่งเรียนรู้ตามโครงการทัศนศึกษาให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะและเพิ่มวิสัยทัศน์สามารถนำความรู้ที่ได้รับไป บริการชุมชน ผลการประเมินมีระดับคุณภาพยอดเยี่ยม 2. การระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการเรียนการสอน วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีจัดการประชุมวางแผนดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ประจำปี 2565 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษา จัดหาครูภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้ทรงคุณวุฒิในสถานประกอบการ หน่วยงานร่วมพัฒนาผู้เรียน มีการระดม ทรัพยากรด้านบุคคลเป็นวิทยากร ด้านเงินทุนการศึกษาและด้านอุปกรณ์การศึกษา ผลการดำเนินงาน 1. แผนงานโครงการในการระดมทรัพยากรที่หลากหลายในการจัดการอาชีวศึกษาและเครือข่าย ความร่วมมือในการระดมทรัพยากรเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา


63 วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีดำเนินงานตามโครงการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาการจัด การศึกษาจัดหาครูภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้ทรงคุณวุฒิในสถานประกอบการ หน่วยงานร่วมพัฒนาผู้เรียนเพื่อให้ ความรู้ด้านวิชาการวิชาชีพและส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของสังคมและจัดหาทุนการศึกษาให้ผู้เรียนที่ ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการเรียน ดังนี้ • โครงการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษา : นายโกเมศ ปิยะพันธุ์ ผู้อำนวยการสถาบัน พัฒนาฝีมือแรงงาน 30 ปราจีนบุรี อบรมความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาแรงงานสู่ภาคอุตสาหกรรม • โครงการส่งเสริมการใช้ภาษาต่างประเทศ : วิทยากรครูชาวฟิลิปปินส์จากโรงเรียนหทัยชาติอบรม ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารภาษาอังกฤษ • โครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม : ท่านพระครูประโชติปริยัติคุณ รองเจ้าคณะจังหวัดปราจีนบุรี เจ้าอาวาสวัดหลวงปรีชากูล อบรมความรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม • โครงการจัดอบรมกิจกรรมองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย(อวท.) : นายสุทธิพงษ์ ศรีถันและนางสุภาพร ศรีถัน รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียน นักศึกษาและครูที่ปรึกษา อวท.วิทยาลัยการอาชีพปราจีนบุรีเป็นวิทยากรอบรมความรู้เกี่ยวกับองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่ง ประเทศไทย (อวท.) • การจัดหาทุนการศึกษาให้ผู้เรียนได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานและชุมชนให้การสนับสนุนอย่าง ต่อเนื่อง ปีการศึกษา 2565 มอบทุนให้ผู้เรียนจำนวน 80 ทุนๆละ1,500 บาท • โครงการเยาวชนยุคใหม่ห่างไกลยาเสพติด : พันตำรวจโท ถาวร แก้วมาเรือน ร้อยตำรวจเอก อำนาจ แสงฉวีสถานีตำรวจภูธรเมืองปราจีนบุรี เป็นวิทยากรอบรมความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดและการคุกคาม ทางเพศ มีการตรวจสารเสพติดผู้เรียนโดยการร่วมมือกับอำเภอเมืองปราจีนบุรี สำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี ขับเคลื่อนนโยบายด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบมีส่วน ร่วมมิติสถานศึกษาสีขาวภายใต้คำขวัญ “จังหวัดปราจีนบุรีสีขาวร่วมใจ ปลอดภัยยาเสพติด”และ ปลัดอำเภอเมืองปราจีนบุรีให้ความรู้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับยาเสพติด เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งยาเสพติด ตาม โครงการ TO BE NUMBER 1 • โครงการลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการไม่สวมหมวก นิรภัยในเด็กและเยาวชน จังหวัดปราจีนบุรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 : วิทยากรจากสำนักงานบรรเทาสาธารณภัย อบจ.ปราจีนบุรี 2. จำนวนสาขาที่สถานศึกษาจัดการเรียนการสอน จำนวน 8 สาขาวิชา 3. ผลการระดมทรัพยากรของสถานศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีดำเนินงานตามโครงการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาการจัด การศึกษาจัดหาครูภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้ทรงคุณวุฒิในสถานประกอบการ หน่วยงานร่วมพัฒนาผู้เรียนสามารถ ยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีมาตรฐาน ด้านความรู้ ด้านทักษะการประยุกต์ใช้และคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดี 4. ผลการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ สถานศึกษามีเครือข่ายความร่วมมือในการระดมทรัพยากรที่หลากหลายเพื่อยกระดับคุณภาพการจัด การศึกษาภายในในประเทศ มีผลการประเมินโครงการในระดับดีทุกโครงการและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ผลการประเมินมีระดับคุณภาพยอดเยี่ยม


64 3. การบริการชุมชนและจิตอาสา วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีจัดการประชุมวางแผนดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ประจำปี 2565 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการแนะแนวการศึกษาด้านอาชีวศึกษาให้บริการ ด้านวิชาการกับเยาวชนให้มีความรู้เกี่ยวกับการศึกษาสายอาชีพที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจในการเลือก ศึกษาต่อเพื่อการประกอบอาชีพในอนาคตได้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานและสภาพเศรษฐกิจใน ปัจจุบัน ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการจิตอาสาร่วมพัฒนาชุนชนและโครงการจิตอาสา บริการชุมชน "กิจกรรมแบ่งปันน้ำใจสำหรับน้องๆ" นำความรู้ความสามารถในวิชาชีพไปใช้ในการให้ความรู้กับ นักเรียนโรงเรียนวัดพิกุลวนารามฯ และซ่อมคอมพิวเตอร์ให้กับโรงเรียนให้สามารถใช้งานได้ ผลการดำเนินงาน สถานศึกษาส่งเสริมให้ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และผูเรียนเข้าร่วมกิจกรรม 1. บริการชุมชน 2. บริการวิชาการ 3. บริการวิชาชีพ 4. กิจกรรมจิตอาสา 5. การใช้นวัตกรรมในการบริการชุมชน วิชาการ วิชาชีพและจิตอาสาของสถานศึกษา วิทยาลัยดำเนินการประเมินความพึงพอใจผู้รับบริการ ผลการประเมินความพึงพอใจผู้รับบริการ มีความพึงพอใจในการให้บริการในระดับดีมาก ผลการประเมินมีระดับคุณภาพยอดเยี่ยม ตัวชี้วัดที่ 3.2 นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ และงานวิจัย 1. ผลงานของผูเรียนดานนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ งานสรางสรรค หรืองานวิจัย วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีจัดการประชุมวางแผนดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ประจำปี 2565 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการแข่งขันทักษะวิชาชีพและการประกวดผลงาน นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ แผนงานการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาและวิจัยในชั้นเรียนของครู ผลการดำเนินงาน 1.วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีส่งเสริม สนับสนุน ให้ผู้เรียนพัฒนานวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสรางสรรค หรืองานวิจัยและจัดแข่งขันทักษะวิชาชีพภายในเพื่อคัดเลือกผู้เรียนที่มีความสามารถเป็นเลิศ เข้าร่วมการแข่งขันทักษะภายนอก มีผลการดำเนินงานผู้เรียนได้รับรางวัลในระดับจังหวัดภาคและระดับชาติ 2.วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีมีการนำ นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์งานสรางสรรค หรืองานวิจัย ไปใช้ประโยชน์จริงในระดับสถานศึกษาให้ผู้เรียนได้นำนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ไปสร้างงานอาชีพผลิตสินค้า จำหน่ายให้กับผู้เรียนและครูของสถานศึกษาและโรงเรียนหทัยชาติ 3. วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีส่งเสริม สนับสนุน ให้ผู้เรียนเข้าร่วมการประกวด นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์งานสรางสรรคหรืองานวิจัย ไดรับรางวัลจากการประกวดนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ งานสรางสรรค จำนวน 5 ฃิ้นงาน รางวัลเหรียญทองแดงระดับจังหวัดจำนวน 3 ชิ้นงาน รางวัลเหรียญ ทองแดงระดับชาติจำนวน 2 ชิ้นงาน ผลการประเมินมีระดับคุณภาพดีเลิศ


65 ส่วนที่ 5 ผลการปฏิบัติงานที่เป็นแบบอย่างที่ดี (Best Practice) วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีมี ความเป็นมาและความสำคัญ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาปราจีนบุรีเป็นไปตามมาตรฐาน การอาชีวศึกษาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกำหนด ซึ่งมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยประกอบด้วย 3 มาตรฐานดังนี้ มาตรฐานที่ 1 คุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์ มาตรฐานที่ 2 การจัดการอาชีวศึกษา มาตรฐานที่ 3 การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ วิทยาลัยอาชีวศึกษาปราจีนบุรีดำเนินการจัดการศึกษาตามพันธกิจ ปรัชญาและวิสัยทัศน์ของ สถานศึกษา บริหารจัดการสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมโดยให้คณะกรรมการสถานศึกษา ผูบริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษามีสวนรวมในการกําหนดมาตรฐานการศึกษา แผนพัฒนาการจัดการศึกษาและ แผนปฏิบัติงานประจำปีพัฒนาการจัดการศึกษาจากการระดมทรัพยากร ครูผูเชี่ยวชาญ ผูทรงคุณวุฒิ ในสถานประกอบการรวมพัฒนาผูเรียนทุกสาขางานที่จัดการเรียนการสอน เพื่อยกระดับคุณภาพการจัด การศึกษาให้อยู่ในระดับคุณภาพยอดเยี่ยม ใช้หลักการสาคัญในการบริหารแบบ School-Based Management การบริหารแบบมีส่วนร่วม ใช้เทคนิค 5 ขั้นตอน และ 5 ร่วม คือ การร่วมคิด การร่วมวางแผน การร่วมปฏิบัติ การร่วมประเมินผล ร่วมชื่นชม การร่วมคิด ศึกษาสภาพปัญหาของสถานศึกษาโดยการรับข้อมูล รับฟังข้อคิดเห็นจากครู ผู้เรียน ผู้ปกครอง และชุมชน โดยการสอบถามความต้องการและข้อเสนอแนะ การร่วมวางแผน นำข้อมูลที่ได้รับจากทุกฝ่ายมาวิเคราะห์สภาพปัญหา เพื่อนำไปสู่การหาแนว ทางแก้ไขปัญหา การร่วมปฏิบัติพิจารณาทางเลือกในการแก้ปัญหาที่เหมาะสมไปสู่การตัดสินใจในการปฏิบัติงาน ของสถานศึกษา โดยใช้กระบวนการ PDCA นำข้อมูลที่ได้รับเข้าประชุมชี้แจง ระดม ความคิด เน้นให้ทุกฝ่าย มีส่วนร่วมในการพิจารณาร่วมกันในการหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นของสถานศึกษา โดยการจัดทำ แผนพัฒนาการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุ ตามเป้าหมาย ที่สถานศึกษากำหนด จัดทำรายงานโครงการ ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน กำหนดแนวทางพัฒนา ในปีการศึกษาต่อไป และรายงานผลการดำเนินงานให้ผู้มีส่วนกี่ยวข้องรับทราบ การร่วมประเมินผล โดยใช้กระบวนการ ตรวจสอบ ทบทวน และประเมินความพึงพอใจของ นักเรียนและผู้เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน เพื่อนำผลไปวิเคราะห์ เพื่อหา แนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมให้ตรงกับความต้องการ และเพื่อพัฒนางานต่าง ๆ ได้อย่างต่อเนื่องต่อไป ร่วมชื่นชม ขยายผล และเผยแพร่ผลงาน ความภาคภูมิในในความสำเร็จทุกด้านให้ผู้ปกครอง ชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษา และสถานศึกษาต่าง ๆ ที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในเครือข่ายและนอก เครือข่าย รวมทั้งรายงานผลการพัฒนาการจัดการศึกษาให้รับทราบความสำเร็จ เมื่อสิ้นปีการศึกษา


66 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาให้อยู่ในระดับคุณภาพยอดเยี่ยม โดยใช้หลักการ ในการบริหารแบบ School-Based Management 2. เพื่อบริหารจัดการสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมให้เกิดผลสัมฤทธิ์การพัฒนาการจัด การศึกษาตามเป้าหมายของสถานศึกษา วิธีการดำเนินงาน 1. ศึกษาสภาพปัญหาของสถานศึกษาโดยการรับข้อมูล รับฟังข้อคิดเห็นจากครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน โดยการสอบถามความต้องการและข้อเสนอแนะ 2. วิเคราะห์สภาพปัญหา เพื่อนำไปสู่การหาแนวทางแก้ไขปัญหา 3. นำข้อมูลที่ได้รับเข้าประชุมชี้แจง ระดม ความคิด เน้นให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการพิจารณา ร่วมกันในการหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นของสถานศึกษา 4. จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุ ตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด 5. จัดทำรายงานโครงการ ประชุมสรุปผลการดำเนินงานและรายงานผลการดำเนินงานให้ คณะกรรมการบริหารและฝ่ายบริหารได้รับทราบ 6. ประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการบริหารสถานศึกษา ชุมชน เพื่อนำผลไปวิเคราะห์ หาแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมให้ตรงกับความต้องการเพื่อพัฒนางาน อย่างต่อเนื่อง ผลการดำเนินงาน วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรี มีการพัฒนาการศึกษาที่สอดคล้องกับ การเปลี่ยนแปลงของสังคมในศตวรรษที่ 21 โดยร่วมมือกับบุคคล ชุมชน องค์กรต่างๆทั้งภาครัฐและ ภาคเอกชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา การจัดทรัพยากรทางการศึกษา กระบวนการเรียนรู้ การบริการ ทางวิชาการและวิชาชีพ การพัฒนาผูเรียนใหมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสังคม ผู้เรียนสามารถใช้ความรู้ และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในการสร้างผลงานได้รับรางวัลในระดับชาติ สถานประกอบการ หนวยงาน ภาครัฐและเอกชนให้การยอมรับความสามารถของผู้สำเร็จการศึกษา ผู้สำเร็จการศึกษาได้งานทำ และนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการสำรวจความพึงพอใจ ของสถานประกอบการ หน่วยงาน ที่ผู้สำเร็จการศึกษาทำงาน ศึกษาต่อมีผลการประเมินในระดับดี ผู้เรียน ของสถานศึกษาได้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จ พระเทพรัตน์ราชสุดา สยามบรมราชกุมารี “ความเป็น เลิศด้านอาชีวศึกษา”ปีการศึกษา 2559 ปีการศึกษา 2561 ปีการศึกษา 2562 ปีการศึกษา 2563 และ ปีการศึกษา 2564 วิทยาลัยอาชีวศึกษาปราจีนบุรีสามารถยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาให้อยู่ในระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม จากการประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยประกอบด้วย 3 มาตรฐาน ดังนี้ มาตรฐานที่ 1 คุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์ มาตรฐานที่ 2 การจัดการ อาชีวศึกษา มาตรฐานที่ 3 การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้


67 ภาคผนวก ก. ผลการประเมินตนเอง (Self Assessment Report : SAR)


68


69


70 ภาคผนวก ข. รางวัลที่สถานศึกษา ครูบุคลากรและผู้เรียนได้รับ


71


72


73


74


75 ภาคผนวก ค. เอกสารหลักฐานที่ใช้อ้างอิง 1. คำสั่งวิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรี ที่ 5/2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการจัดทำมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 2. คำสั่งวิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีที่ 6/2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา 3. คำสั่งวิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีที่ 7/2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการจัดทำรายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษา 4. รายงานการประชุมคณะกรรมการวิทยาลัย ที่ 5/2566 เรื่อง การรับรองผลการประเมินคุณภาพการศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2565


76 คำสั่งวิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรี ที่ ๕ /๒๕๖๖ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการจัดทำมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ด้วยวิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรี ดำเนินการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของ สถานศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาโดยดำเนินการจัดทำมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ตามมาตรฐานการอาชีวศึกษาประกอบด้วยมาตรฐานที่ ๑ คุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาที่พึงประสงค์ มาตรฐานที่ ๒ การจัดการอาชีวศึกษา มาตรฐานที่ ๓ การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อให้การดำเนินงานจัดทำ มาตรฐานสถานศึกษามีความสมบูรณ์สามารถนำไปใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพ จึงแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการจัดทำมาตรฐานสถานศึกษาปีการศึกษา ๒๕๖๖ ดังนี้ ๑. คณะกรรมการที่ปรึกษาในการจัดทำมาตรฐาน ๑. นางกนกพร วรมานะกุล วอง ๒. นายนพดล วรมานะกุล ๓. นายภูเบศร วรมานะกุล มีหน้าที่ ให้คำปรึกษาและสนับสนุนคณะกรรมการให้สามารถดำเนินการกำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์ที่ สอดคล้องกับพันธกิจของสถานศึกษา ๒. ณะกรรมการดำเนินการมาตรฐานที่ ๑ คุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาที่พึงประสงค์ ๑. นางกรรณิกา ศรีภักดี หัวหน้าคณะทำงาน ๒. นางสาวดวงกมล มูลพลาศัย คณะทำงาน ๓. นางชนิษฐา เสนาใหญ่ คณะทำงาน ๔. นางสุกัญญา บุญแจ้ง คณะทำงาน ๕. นายผดุงเดช แก้วเชื้อ คณะทำงาน ๖. นางสาวน้ำผึ้ง ธรรมวัตร คณะทำงาน ๗. นางสาวชวนพิศ วงษ์พันธุ์ คณะทำงาน ๘. นางสาวจินต์จุฑา ใจเอื้อ คณะทำงาน ๙. นางจริยา สุทธิประภา คณะทำงาน ๑๐.นายปัญญา บุญครุฑ คณะทำงาน ๑๑. นางสาวรุ่งฤดี คำมณี คณะทำงาน มีหน้าที่ดำเนินการกำหนดมาตรฐานที่ทำให้เกิดประสิทธิผลด้านผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษาให้มีคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ด้านคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ


77 ๓. คณะกรรมการดำเนินการมาตรฐานที่ ๒ การจัดการอาชีวศึกษา ๑. นางวิจิตรา วรมานะกุล หัวหน้าคณะทำงาน ๒. นางรัตนากร วงษ์มาก คณะทำงาน ๓. นางมณฑิตา คุ้มพงษ์พันธุ์ คณะทำงาน ๔. นางสาวชาลินี สมจิต คณะทำงาน ๕. ว่าที่ร้อยตรีวรพงศ์ คอมเหลา คณะทำงาน มีหน้าที่ดำเนินการกำหนดมาตรฐานด้านการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนที่สอดคลัองกับ ความต้องการของผู้เรียน ชุมชน สถานประกอบการตลาดแรงงาน มีการปรับปรุงรายวิชาเดิมหรือ กำหนดรายวิชาใหม่หรือกลุ่มรายวิชาเพิ่มเติมให้ทันต่อเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและ ความต้องการของตลาดแรงงานโดยความร่วมมือกับสถานประกอบการหรือหน่วยงาน ๔. คณะกรรมการดำเนินการมาตรฐานที่ ๓ การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ๑. นางรัตนาพร เกียรติอมรเวช หัวหน้าคณะทำงาน ๒. นายณฐพล มังคลา คณะทำงาน ๓. นางสาววนิดา ทองเอม คณะทำงาน ๔. นายนัยนรินทร์ ปราสาททอง คณะทำงาน มีหน้าที่ดำเนินการกำหนดมาตรฐานด้านการสร้างความร่วมมือกับบุคคล ชุมชน องค์กรต่างๆในการจัด การศึกษา การจัดทรัพยากรทางการศึกษากระบวนการเรียนรู้ การบริการทางวิชาการและวิชาชีพ โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาผู้เรียนและคนในชุมชนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ สั่ง ณ วันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๖ ลงชื่อ (นางกนกพร วรมานะกุล วอง) ผู้รับใบอนุญาตวิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรี


78 คำสั่งวิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรี ที่ ๖ /๒๕๖๖ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการจัดทำรายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษา (SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาชาติพ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๔๘ ให้หน่วยงานต้นสังกัด และสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายใน เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดทำรายงาน ประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อนำไปสู่ การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอก ดังนั้นเพื่อให้การจัดทำรายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษา เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีข้อมูลสารสนเทศที่สมบูรณ์ครบถ้วน วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรีจึงแต่งตั้งคณะกรรมการ ดำเนินการจัดทำรายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕ ดังนี้ ๑. นางกนกพร วรมานะกุล วอง หัวหน้าคณะทำงาน ๒. นายนพดล วรมานะกุล ผู้ช่วยหัวหน้าคณะทำงาน ๓. นายภูเบศร วรมานะกุล คณะทำงาน ๔. นางรัตนาพร เกียรติอมรเวช คณะทำงาน ๕. นางวิจิตรา วรมานะกุล คณะทำงาน ๖. นางสาวดวงกมล มูลพลาศัย คณะทำงาน ๗. นางกรรณิกา ศรีภักดี คณะทำงาน ๘. นายณฐพล มังคลา คณะทำงาน ๙. นางรัตนากร วงษ์มาก คณะทำงาน ๑๐.นางมณฑิตา คุ้มพงษ์พันธุ์ คณะทำงาน ๑๑.นางสาววนิดา ทองเอม คณะทำงาน ๑๒.นางสุกัญญา บุญแจ้ง คณะทำงาน ๑๓.นายนัยนรินทร์ ปราสาททอง คณะทำงาน ๑๔.นางสาวน้ำผึ้ง ธรรมวัตร คณะทำงาน ๑๕.ว่าที่ร้อยตรีวรพงศ์ คอมเหลา คณะทำงาน ๑๖.นางสาวชาลินี สมจิต คณะทำงาน ๑๗.นางจริยา สุทธิประภา คณะทำงาน


79 ๑๘.นายผดุงเดช แก้วเชื้อ คณะทำงาน ๑๙.นางสาวชวนพิศ วงษ์พันธุ์ คณะทำงาน ๒๐.นางสาวจินต์จุฑา ใจเอื้อ คณะทำงาน สั่ง ณ วันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๖ ลงชื่อ (นางกนกพร วรมานะกุล วอง) ผู้รับใบอนุญาตวิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรี


80 คำสั่งวิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรี ที่ ๗ /๒๕๖๖ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ ด้วยวิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรี ดำเนินการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน การศึกษาของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาโดยดำเนินการนำแผนสู่การปฏิบัติจึงได้จัดทำ แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ โดยการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร ครูและบุคลากร เพื่อใช้เป็นแนวทาง ในการดำเนินงานของสถานศึกษา ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาและเปนไปตาม มาตรฐานการอาชีวศึกษา ที่รัฐมนตรีวาการกระทรวงศึกษาธิการ กำหนดไว้ประกอบดวย ๓ มาตรฐาน ๙ ประเด็นการประเมิน ไดแก มาตรฐานที่ ๑ คุณลักษณะของ ผูสําเร็จการศึกษาอาชีวศึกษา ที่พึงประสงค มาตรฐานที่ ๒ การจัดการอาชีวศึกษา และมาตรฐานที่ ๓ การสรางสังคมแหงการเรียนรูเพื่อให้การดำเนินงาน มีประสิทธิภาพ จึงแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ ดังนี้ ๑.คณะกรรมการดำเนินการจัดทำแผนงานที่ ๑. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการเรียนรู้ของ ผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษาและแผนงานที่ ๓. พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน แผนงานที่ ๔. พัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ๑. นางวิจิตรา วรมานะกุล หัวหน้าคณะทำงาน ๒. นางรัตนากร วงษ์มาก คณะทำงาน ๓. นางมณฑิตา คุ้มพงษ์พันธุ์ คณะทำงาน ๔. นางสาวชาลินี สมจิต คณะทำงาน ๕. ว่าที่ร้อยตรีวรพงศ์ คอมเหลา คณะทำงาน ๖. นายนัยนรินทร์ ปราสาททอง คณะทำงาน มีหน้าที่กำหนดแผนงานพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการและ ตลาดแรงงาน กำหนดแผนงานโครงการที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษา ๒. คณะกรรมการดำเนินการจัดทำแผนงานที่ ๒ พัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียนและผู้สำเร็จ การศึกษาด้านคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ๑. นายภูเบศร วรมานะกุล หัวหน้าคณะทำงาน ๒. นางสาวดวงกมล มูลพลาศัย คณะทำงาน ๓. นางจริยา สุทธิประภา คณะทำงาน ๔. นายปัญญา บุญครุฑ คณะทำงาน ๕. นางสาวรุ่งฤดี คำมณี คณะทำงาน


81 มีหน้าที่กำหนดแผนงานโครงการที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษาด้าน คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ๓. คณะกรรมการดำเนินการจัดทำแผนงานที่ ๕. พัฒนาศักยภาพครูและบุคลากร ๑. นายนพดล วรมานะกุล หัวหน้าคณะทำงาน ๒. นางสาวน้ำผึ้ง ธรรมวัตร คณะทำงาน ๓. นายผดุงเดช แก้วเชื้อ คณะทำงาน มีหน้าที่กำหนดแผนงานโครงการที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรให้สามารถจัดการเรียนการ สอนและผลิตสื่อการเรียนการสอนที่มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ๔. คณะกรรมการดำเนินการจัดทำแผนงานที่ ๖ พัฒนาการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ๑. นางรัตนาพร เกียรติอมรเวช หัวหน้าคณะทำงาน ๒. นางสาวดวงกมล มูลพลาศัย คณะทำงาน ๓. นางกรรณิกา ศรีภักดี คณะทำงาน ๔. นางชนิษฐา เสนาใหญ่ คณะทำงาน ๕. นางสุกัญญา บุญแจ้ง คณะทำงาน ๖. นางสาวจินต์จุฑา ใจเอื้อ คณะทำงาน ๗. นางสาววนิดา ทองเอม คณะทำงาน ๘. นายณฐพล มังคลา คณะทำงาน ๙. นางจริยา สุทธิประภา คณะทำงาน มีหน้าที่ กำหนดแผนงานโครงการที่มีการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชนมีการระดม ทรัพยากรเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษา การบริการวิชาการวิชาชีพให้กับชุมชน การประเมินคุณภาพ การศึกษาของสถานศึกษา ๕. คณะกรรมการดำเนินการจัดทำแผนงานที่ ๗ พัฒนาการบริหารจัดการด้านปัจจัยพื้นฐาน ๑. นางกนกพร วรมานะกุล วอง หัวหน้าคณะทำงาน ๒. นางวิจิตรา วรมานะกุล คณะทำงาน ๓. นางกรรณิกา ศรีภักดี คณะทำงาน มีหน้าที่ กำหนดแผนงานโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์และบำรุงรักษา อาคารสถานที่ให้มี ความพร้อมต่อการใช้งานของผู้เรียน ครูและผู้รับบริการ จัดหาครุภัณฑ์ให้เพียงพอและมีความพร้อม ในการใช้งาน สั่ง ณ วันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๖ ลงชื่อ (นางกนกพร วรมานะกุล วอง) ผู้รับใบอนุญาตวิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรี


82 รายงานการประชุม คณะกรรมการบริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรี ครั้งที่ ๕ /๒๕๖๖ วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๖ เวลา ๙.๐๐ น. ณ ห้องประชุม ๔๒๑ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๗๒ ปี ผู้เข้าร่วมประชุม ๑. นางกนกพร วรมานะกุล วอง ประธานกรรมการ ๒. นายนพดล วรมานะกุล กรรมการ ๓. นายภูเบศร วรมานะกุล ผู้แทนครู ๔. นางวิจิตรา วรมานะกุล กรรมการและเลขานุการ ๕. นางรัตนาพร เกียรติอมรเวช ผู้แทนครู ๖. นางกรรณิกา ศรีภักดี ผู้แทนครู ๗. นางอุไรวรรณ วรมานะกุล ผู้ทรงคุณวุฒิ ๘. นายสถาพร วัฒนธรรม ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ไม่เข้าประชุม -ไม่มี- เริ่มประชุมเวลา ๙.๐๐ น. เมื่อที่ประชุมพร้อมแล้ว นางกนกพร วรมานะกุล วอง ผู้รับใบอนุญาตวิทยาลัยอาชีวศึกษา พณิชยการปราจีนบุรีประธานการประชุมกล่าวเปิดการประชุมและดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระการ ประชุมดังนี้ ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ ๑.๑ การเตรียมความพร้อมในการเปิดเรียน ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบเกี่ยวการเปิดการเรียนการสอน ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนแบบ On site และจะเปิด การเรียนการสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ ๑ - ๓ ในวันจันทร์ที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๖ การดำเนินการจัดการเรียนการสอนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ๑.๒ การจัดสถานที่และการทำความสะอาดสถานที่ที่ใช้ในการจัดการเรียน การสอน ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบเกี่ยวกับการดำเนินการจัดห้องเรียนตาม แนวทางการเว้นระยะห่างระหว่างกัน ยึดหลัก Social distancing และการจัดการด้าน ความสะอาดของห้องเรียน ให้ครูที่ปรึกษาตรวจติดตามการทำความสะอาดภายใน ห้องเรียนทุกครั้งที่มีการจัดการเรียนการสอน เสนอที่ประชุม เพื่อทราบ ที่ประชุม รับทราบ


83 ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว เสนอที่ประชุม เพื่อรับรอง ที่ประชุม รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๖ ระเบียบวาระ ที่ ๓ เรื่องเสนอเพื่อทราบ -ไม่มี- ระเบียบวาระ ที่ ๔ เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา ๔.๑ การรับรองแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ ประธานแจ้งให้ที่ประชุมพิจารณาเกี่ยวกับ การดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติ การประจำปี ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ซึ่งได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว และได้จัดทำเล่ม ตามที่นำเสนอคณะกรรมแล้วนั้น จึงขอให้คณะกรรมการรับรองแผนปฏิบัติการ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ เพื่อนำไปใช้ ในการดำเนินงานจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ให้เกิดประสิทธิภาพและมีผลสัมฤทธิ์ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด เสนอที่ประชุม เพื่อพิจารณา ที่ประชุม มีมติเห็นชอบ ๔.๕ การรับรองรายงานคุณภาพการศึกษาปีการศึกษา ๒๕๖๕ ประธานแจ้งให้ที่ประชุมพิจารณาเกี่ยวกับ การจัดทำรายงานคุณภาพ การศึกษาปีการศึกษา ๒๕๖๕ ได้จัดเก็บข้อมูลสารสนเทศเข้าระบบของสำนัก มาตรฐานการอาชีวศึกษาเรียบร้อยแล้ว และได้จัดทำเล่มรายงานคุณภาพการศึกษา ให้คณะกรรมการรับรองรายงานคุณภาพการศึกษาปีการศึกษา ๒๕๖๕ เพื่อนำส่งให้ อาชีวศึกษาจังหวัดปราจีนบุรีและสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เสนอที่ประชุม เพื่อพิจารณา ที่ประชุม มีมติเห็นชอบ ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องอื่นๆ ประธานขอขอบคุณคณะกรรมการทุกท่านที่ให้ความร่วมมือกับสถานศึกษา ในการเข้าร่วมประชุม การรับรองรายงานการประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๖๖ ที่ประชุมมี มติให้เวียนแจ้งรายงานการประชุมให้คณะกรรมการทุกท่านรับทราบและกำหนด ระยะเวลาการแก้ไขรายงานการประชุมภายใน ๑ วันหากไม่มีข้อแก้ไขให้ถือว่าเป็น การรับรองรายงานการประชุม


84 ปิดประชุมเวลา ๑๑.๐๐ น. ผู้บันทึกรายงานการประชุม (นางวิจิตรา วรมานะกุล ) รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรี ผู้รับรองรายงานการประชุม (นางกนกพร วรมานะกุล วอง ) ผู้รับใบอนุญาตวิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรี


85 ภาคผนวก ง. แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 2565


ตารางสรุปแผนงาน/โครงกาแผนงาน (กลยุทธ์ระดับสถานศึกษา) โครงการ/กิจกรรม เป้าหมาย ควแผนงานที่ 1.พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการเรียนรู้ของผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษา 1.โครงการประเมินสมรรถนะ วิชาชีพผู้เรียน การทดสอบสมรรถนะกรม พัฒนาฝีมือแรงงาน การติวเข้มนักเรียนนักศึกษา เข้าทดสอบ V–net การติวเข้มนักเรียนนักศึกษา เข้าทดสอบมาตรฐานวิชาชีพ การทดสอบมาตรฐานวิชาชีพ 1. ผู้เรียนระดับปวช.3และระดับปวส.2 วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรี ร้อยละ 80 เข้าร่วมการทดสอบมาตรฐาน วิชาชีพและการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติ (V–net) 2.ผู้เรียนระดับปวช.3และระดับ ปวส.2 ร้อยละ 80 สอบผ่านมาตรฐานวิชาชีพ และ การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (V–net) 1. ผู้เรียนระดับปวส.2วิทยาลัยการปราจีนบุรีร้การทดสอบมาการทดสอบทา(V–net) 2.ผู้เรียนระดับปปวส.2 ร้อยละ มาตรฐานวิชาชีทางการศึกษาร2.โครงการบ่มเพาะธุรกิจและ การประกอบการ • กิจกรรมการอบรมการ เขียนแผนธุรกิจ • กิจกรรมการประกวดแผน ธุรกิจ • กิจกรรมการผลิตสินค้า และการประกอบธุรกิจ .ผู้เรียนระดับปวช.และระดับปวส. วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการปราจีนบุรี จำนวน 30 คน เข้าร่วมการบ่มเพาะ ธุรกิจและการประกอบการ 2.ผู้เรียนที่ผ่านการบ่มเพาะธุรกิจและการ ประกอบการร้อยละ 60 ประสบ ความสำเร็จสู่การเป็นผู้ประกอบการ .ผู้เรียนระดับปวชอาชีวศึกษาพณิช30 คน เข้าร่วมกประกอบการ 2.ผู้เรียนที่ผ่านกาประกอบการร้อยความสำเร็จสู่การ


86 ารที่ดำเนินการในปีการศึกษา 2565 ตัวชี้วัด วามสำเร็จ งบประมาณ ใช้ไป ระยะเวลา ดำเนินงาน ผู้รับผิดชอบ สอดคล้อง กับ มาตรฐาน บปวช.3และระดับ ยอาชีวศึกษาพณิชย ร้อยละ 80 เข้าร่วม ตรฐานวิชาชีพและ งการศึกษาระดับชาติ ปวช.3และระดับ 80 สอบผ่าน ชีพและ การทดสอบ ระดับชาติ(V–net) 998 26-27ธันวาคม 2565 4-5กุมภาพันธ์ 2566 23 - 24 กุมภาพันธ์ 2566 4-5 มีนาคม 2566 นางรัตนากร วงษ์ มาก ว่าที่ร้อยตรี วรพงศ์ คอมเหลา (สอศ.) มาตรฐานที่1 ช.และระดับปวส.วิทยาลัย ยการปราจีนบุรีจำนวน ารบ่มเพาะธุรกิจและการ ารบ่มเพาะธุรกิจและการ ยละ 60 ประสบ รเป็นผู้ประกอบการ 2,674 4 กรกฎาคม - 8 กันยายน 2565 นางสาวน้ำผึ้ง ธรรมวัตร นางสาวชาลินี สมจิต (สอศ.) มาตรฐานที่1


ตารางสรุปแผนงาน/โครงกาแผนงาน (กลยุทธ์ระดับสถานศึกษา) โครงการ/กิจกรรม เป้าหมาย แผนงานที่ 1.พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการเรียนรู้ของผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษา 3. โครงการส่งเสริมการใช้ ภาษาต่างประเทศ • กิจกรรมการใช้ ภาษาอังกฤษเพื่อการ สื่อสาร 1. ผู้เรียนระดับปวช.และระดับปวส. เข้าร่วมกิจกรรม 2. ผู้เรียนร้อยละ 90 ที่เข้าร่วมกิจกรรม มีความรู้และทักษะในการใช้ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 1. ผู้เรียนรร่วมกิจกรร2. ผู้เรียนร้มีความรู้แลภาษาอังกฤ4.โครงการแข่งขันทักษะวิชาชีพและ การประกวดผลงานนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ • กิจกรรมการแข่งขันทักษะ วิชาชีพภายใน •กิจกรรมการแข่งขันทักษะ วิชาชีพร่วมกับหน่วยงาน ภายนอก •กิจกรรมการประกวดผลงาน โครงการตามหลักสูตร (Project) ผู้เรียนระดับปวช.และระดับปวส. วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการ ปราจีนบุรีร้อยละ80 เข้าร่วมกิจกรรม การประกวดผลงานนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์และการแข่งขันทักษะ วิชาชีพ 2.ผู้เรียนระดับปวช.และระดับปวส. วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการ ปราจีนบุรีได้รับรางวัลในระดับจังหวัด ระดับภาคและระดับชาติ 1.ผู้เรียนระวิทยาลัยอาปราจีนบุรีร้การประกวสิ่งประดิษฐวิชาชีพ 2.ผู้เรียนระวิทยาลัยอาปราจีนบุรีไระดับภาคแ


Click to View FlipBook Version