1
๑
๒ พิธีบ้าน เวลา 1๑.00 น. - ถวายภัตตาหารเพล พระภิกษุ - สามเณร เวลา 13.00 น. - พระสงฆ์สวดมาติกาบังสุกุล - พระพิธีทอดผ้าบังสุกุล พระสงฆ์ จ านวน 9 รูป - เคลื่อนศพไปที่เมรุวัดนิกรชนาราม พิธีพระราชทานเพลิงศพ เวลา 14.00 น. - ประกอบพิธีเชิญหีบศพเวียนเมรุ แล้วเชิญขึ้นตั้งบนจิตกาธาน - ประธานในพิธี เดินทางมาถึงบริเวณงาน เวลา 14.30 น. - เจ้าหน้าที่เชิญกล่องพระราชทานมายังพิธี แล้วเชิญขึ้นตั้งบนจุดที่ ก าหนดด้านศรีษะศพ - พิธีกรกล่าวน าเข้าสู่พิธีพระรชทานเพลิงศพ - เจ้าภาพ/ผู้แทน อ่านหมายรับสั่ง (ท าความเคารพไปยังทิศ ประทับ 1 ครั้ง ก่อนอ่านและหลังอ่าน) - เจ้าภาพ/ผู้แทน อ่านส านึกในพระมหากรุณาธิคุณ ((ท าความ เคารพไปยังทิศประทับ 1 ครั้ง ก่อนอ่านและหลังอ่าน) - เจ้าภาพ/ผู้แทน อ่านประวัติผู้วายชนม์ - พิธีกร เชิญผู้ร่วมพิธี ยืนสงบนิ่งไว้อาลัยแก่ผู้วายชนม์ - พิธีกร เชิญประธานในพิธีทอดผ้าไตรบังสุกุล - พิธีกร เชิญพระสงฆ์พิจารณาผ้าบังสุกุล - ประธานในพิธีประกิบพิธีพระราชทานเพลิงศพ - พิธีกร เชิญพระสงฆ์วางดอกไม้จันทน์ - พิธีกร เชิญผู้ร่วมพิธีวางดอกไม้จันทน์ตามล าดับ - เสร็จพิธี
๓ ผู้ช่วยศาสตราจารย์บัณฑิต ดุลยรักษ์ รองคณบดี คณะศึกษาศาสตร์ ผู้อ านวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่ายมัธยมศึกษา) ประวัติโดยย่อ ผู้ช่วยศาสตราจารย์บัณฑิต ดุลยรักษ์ เกิดเมื่อวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๖ ภูมิล าเนาเป็นคนจังหวัดภูเก็ต เป็นบุตรของนายพิชิต ดุลยรักษ์ และนางส่วนซิ้ม ดุลยรักษ์ มี พี่น้องร่วมกันจ านวน 8 คน 1. นางสุวรรณา ติวรานุสรณ์ 2. นายวิรัช ดุลยรักษ์ 3. นางสุภา ดุลยรักษ์ 4. นางเอมอร ศรีสะอาด 5. นางพรพรรณ ชัยทองรักษ์ 6. นางสาวจันทนา ดุลยรักษ์ 7. นายบัณฑิต ดุลยรักษ์ (ผู้วายชนม์) 8. นางสาวจันทร์ทิพย์ ดุลยรักษ์ ชีวิตการสมรส ผู้ช่วยศาสตราจารย์บัณฑิต ดุลยรักษ์สมรสกับนางกนกพร ดุลยรักษ์ ข้าราชการ บ านาญ อดีตอาจารย์โรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล ประวัติการศึกษา ระดับมัธยมศึกษา มศ.5 โรงเรียนภูเก็ตมหาวิทยาลัย ระดับปริญญาตรี กศ.บ. สังคมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา ระดับปริญญาโท วท.ม. Environmental Management มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
๔ ประวัติการท างาน 3 พฤศจิกายน 2529 บรรจุเป็นข้าราชการ ด ารงต าแหน่งอาจารย์ ระดับ 3 18 กุมภาพันธ์ 2542 ด ารงต าแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 6 1 เมษายน 2546 ด ารงต าแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 8 ปัจจุบัน เป็นพนักงานมหาวิทยาลัย (เปลี่ยนสถานภาพ) ต าแหน่งผู้ช่วย ศาสตราจารย์ ประวัติการด ารงต าแหน่งผู้บริหาร 5 มิถุนายน 2538 – 14 ตุลาคม 2540 ผู้อ านวยการ โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 1 พฤศจิกายน 2550 – 31 ตุลาคม 2554 ผู้อ านวยการ โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 7 กรกฎาคม 2555 – 2 พฤษภาคม 2559 รองผู้อ านวยการ ฝ่ายวางแผนและ พัฒนาระบบบริหาร สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยานิวัฒนา 18 กรกฎาคม 2559 – ปัจจุบัน รองคณบดีและผู้อ านวยการโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่ายมัธยมศึกษา) คณะศึกษาศาสตร์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ. 2560 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย พ.ศ. 2549 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก พ.ศ. 2545 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย พ.ศ. 2542 ตริตาภรณ์ช้างเผือก พ.ศ. 2537 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย พ.ศ. 2535 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก
๕ บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร (Publication) 1. การประเมินโครงการรับนักเรียนไทยมุสลิมเข้าศึกษาในโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วารสาร สงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และ มนุษยศาสตร์ มกราคม-เมษายน 2539 (32-42) 2. การวิเคราะห์สภาพการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองดีแก่นักเรียน ใ น พื้ น ที่ เ สี่ยง ภั ย จัง ห วั ด ช า ย แ ด น ภ า ค ใ ต้ ว า ร ส า ร ค ณ ะ ศึ ก ษ า ศ า ส ต ร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 28(3) 83-94. สิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร กิจกรรมการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา หนังสือหรือต ารา กิจกรรมการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ผลงานทางวิชาการอื่น ๆ 1. รายงานการวิจัยการประเมินโครงการรับนักเรียนไทยมุสลิมเข้าศึกษาในโรงเรียน สาธิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2. รายงานการวิจัยเรื่อง เจตคติ และพฤติกรรมต่อสิ่งแวดของนักเรียรนมัธยมศึกษา ต อ น ต้ นใ น เ ข ต ก า ร ศึ ก ษ า 2 ( Attitude and Behavior Towards Environmental Problems of Junior High School Students in Educational Region 2 ) 3. โครงการวิจัย ประเมินผลโครงการทักษิณพัฒนา ปี 2544 4. เอกสารประกอบการสอนวิชา 262-402 การจัดการเรียนรู้ 2
๖ การจากไปของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์บัณฑิต ดุลยรักษ์ในครั้งนี้ สร้างความเศร้าโศก เสียใจแก่ครอบครัวและญาติมิตรเป็นอย่างยิ่ง และมิใช่แต่เป็นความสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ยิ่งของครอบครัว และผู้ที่รักและเคารพท่านอาจารย์บัณฑิตเท่านั้น แต่นับว่าเป็นการสูญเสีย ท รัพย าก รบุคคลผู้ท รงคุณค่ าท างด้ านก า รศึกษ าโดยเฉพ าะของโ รงเ รียนส าธิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่ายมัธยมศึกษา) และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต ปัตตานี ผมในฐานะตัวแทนของผู้บริหารของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขออ านาจแห่ง คุณพระศรีรัตนตรัยและบุญกุศลคุณงามความดีที่ท่านอาจารย์บัณฑิตได้ปฏิบัติมา ตลอดถึง บุญกุศลที่ครอบครัว และญาติมิตรได้ร่วมกันอุทิศให้ในกาลครั้งนี้ จงเป็นปัจจัยส่งให้ ดวง วิญญาณของอาจารย์ได้พบความสุขสงบ และหลุดพ้นปราศจากความทุกข์กังวลใดด้วยเทอญ ผศ. ดร.อัตชัย เอื้ออนันตสันต์ รักษาการแทนรองอธิการบดีวิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
๗ ได้ทราบข่าวว่า ผอ.บัณฑิต เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลปัตตานี จากเฟซบุ๊ก, ไลน์มา อย่างต่อเนื่องเป็นระยะ มีลูกศิษย์นักเรียนที่เป็นหมอได้ร่วมกันดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดีตลอด มา จนถึงสายๆวันที่ 28 ธันวาคม 2565 หลายฝ่าย หลายกลุ่ม ได้โพสผ่านเฟซบุ๊ก ผ่านไลน์ ว่าผอ.บัณฑิต ได้เสียชีวิตแล้วที่โรงพยาบาลปัตตานี รู้สึกใจหาย แต่เข้าใจได้ถึงความจริงแท้ถึง ความไม่แน่นอนที่เราไม่รู้ว่าจะอยู่จะไปเมื่อไหร่ เท่าที่จ าได้ผมน่าจะรู้จักกับผอ.บัณฑิต ตั้งแต่ช่วงที่ผมได้มาเป็นผอ.โรงเรียนสาธิต ช่วงปี พ.ศ. 2528 – 2531 ซึ่งผอ.บัณฑิตได้บรรจุเข้ารับราชการในโรงเรียนสาธิตฯ ในช่วง เวลาดังกล่าว ช่วงนั้นเป็นช่วงที่โรงเรียนสาธิตมีอาจารย์บรรจุใหม่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง จึงได้ ท างานกันอย่างสนุกสนาน ผอ.บัณฑิตก็เป็นท่านหนึ่งที่ได้ท างานร่วมกัน เมื่อผมลาออกจาก ผอ.โรงเรียนสาธิตฯ เพราะมีภาระงานที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น ก็ห่างเหิน จากโรงเรียนสาธิตไปนาน แต่ก็ติดตามอยู่เป็นระยะเสมอมา จนทราบว่าผอ.บัณฑิตได้รับการ สรรหาจากคณาจารย์โรงเรียนสาธิตฯให้ด ารงต าแหน่งผู้อ านวยการโรงเรียนสาธิตฯ ก็ได้แสดง ความยินดีกับอาจารย์ด้วย ผอ.บัณฑิตเป็นคนที่มีอัธยาศัยดี หน้าตายิ้มแย้ม อารมณ์ดี ท าให้ เป็นที่รักของเพื่อนร่วมงานและลูกศิษย์ที่ได้เรียนด้วย ก่อนที่ผมจะหมดวาระจากต าแหน่งจาก การด ารงต าแหน่งรองอธิการบดีวิทยาเขตปัตตานี ก็ได้พูดคุยกัน และบอกไปว่าอาจารย์คง ต้องช่วยงานโรงเรียนสาธิตฯไปอีก จนกว่าจะหาคนเหมาะสมมาแทนได้ การที่อาจารย์บัณฑิตมาเสียชีวิตด้วยความเจ็บป่วยขณะที่ยังด ารงต าแหน่ง ผมเชื่อ ว่าอาจารย์เป็นคนที่ได้ประโยชน์และช่วยพัฒนางานทั้งวิชาการและกิจกรรมทุกอย่างของ โรงเรียนสาธิตฯสูงสุดคนหนึ่งจากคุณความดีที่ท่านได้สั่งสมตลอดมา ขอให้ดวงวิญญาณของ ท่านจงไปสู่สุคติภพด้วยเทอญ ผศ. สมปอง ทองผ่อง อดีตผู้อ านวยการโรงเรียนสาธิตฯ ม.อ. ปัตตานี อดีตรองอธิการบดีวิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 30 ธันวาคม 2565
๘ :: แรกเริ่มรับรู้ครูบัณฑิต เนิ่นนานรับรู้อยู่สาธิต อาจารย์บัณฑิต ศึกษาศาสตร์สร้างครูสร้างคน นักวิชาการบริหารสร้างผล สร้างงานพัฒนาตน ทุ่มเทท างานน้อยใหญ่ นุ่มนวลมากมีน้ าใจ วาจาอัชฌาสัย เยือกเย็นเมตตาอาทร :: ร่วมงาน รักฝีมือ นับถือใจ ได้ร่วมงานบางช่วงบางตอน งานต่อเนื่องเจ็ดปีก่อน ยิ่งรู้จักยิ่งรักนับถือ ธรรมาภิบาลหลักการฝีมือ ซื่อตรงสร้างชื่อ รอบคอบรอบด้านแม่นย า รักษาประโยชน์ด้วยธรรม จรรยาเลิศล้ า สั่งสมคุณค่าศักดิ์ศรี :: อาลัยคารวาการ จากไปไม่ทันลาปานฉนี้ หม่นมัวฤาดี แสนสุดเสียดายอาลัย คารวะด้วยศรัทธาจากใจ ยามเดินทางไกล ขอบุญงามความดีน าทาง โอบอุ่นด้วยรักเคียงข้าง บนวิถีสงบสว่าง ประคองสู่สิริสัมปรายภพ รองศาสตราจารย์อิ่มจิต เลิศพงษ์สมบัติ อดีตรองอธิการบดีวิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
๙ รู้จักกับ ผศ.บัณฑิต ดุลยรักษ์ ในฐานะที่เป็นอาจารย์ที่ได้รับการบรรจุพร้อมกัน 6 อัตรา เมื่อปี 2529 ตามโครงการพิเศษของภาควิชาโรงเรียนสาธิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในการขยายโอกาสทางการศึกษาตามนโยบายของ ศอ.บต. การ ท างานในระยะแรกเริ่มที่ภาควิชาโรงเรียนสาธิตของพวกเราเต็มไปด้วยความสนุกและทุ่มเท กับนักเรียนและงานต่างๆ ที่ได้รับมอบหมาย สิ่งหนึ่งที่ได้รับทราบจากนักเรียน เกี่ยวกับตัว ผศ.บัณฑิต ดุลยรักษ์ คืออาจารย์เป็นคนที่สอนสนุกและทุ่มเท โดยเฉพาะวิชาด้านเศรษฐศาสตร์และวิชาสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันในกิจกรรมต่างๆ ของ โรงเรียนและมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะด้านกีฬา ผศ.บัณฑิต ดุลยรักษ์ ก็เป็นน่าชื่นชมอย่างยิ่ง เพราะเป็นบุคคลหนึ่งที่มีทักษะด้านกีฬาหลาย ๆ อย่าง วันเวลาผ่านไป ด้วยความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ วันหนึ่ง ผศ.บัณฑิต ดุลยรักษ์ ก็ได้รับมอบหมายงานส าคัญคือการเป็นผู้บริหารโรงเรียนสาธิต ในต าแหน่ง ผู้อ านวยการตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งเป็นการแสดงถึงการยอมรับในตัวอาจารย์ และเป็นแบบนี้ มาอย่างต่อเนื่อง เข้าใจว่าอาจารย์น่าจะเป็นผู้อ านวยการโรงเรียนสาธิตฝ่ายมัธยมที่มีวาระการ ด ารงต าแหน่งมากที่สุดและยาวนานที่สุดเท่าที่เคยมีมา ซึ่งเป็นการแสดงถึงความไว้วางใจของ ผู้บริหาร ผู้ร่วมงานที่มีต่อตัวอาจารย์และพูดได้อย่างภาคภูมิใจว่า ความเจริญก้าวหน้าของ โรงเรียนสาธิตฝ่ายมัธยม คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผศ.บัณฑิต ดุลย รักษ์ มีส่วนอย่างมากมายในการพัฒนา อย่างไรก็ตามสิ่งไม่อยากได้ยินก็เกิดขึ้นเมื่อรับทราบ ว่า ผศ.บัณฑิต ดุลยรักษ์ ได้จากพวกเราไป แม้จะทราบดีว่าเป็นสัจธรรมและกฎธรรมชาติ ก็ อดหดหู่และเศร้าใจไม่ได้ ก็ขอให้ดวงวิญญาณของ ผศ.บัณฑิต ดุลยรักษ์จงสู่สุคติใน สัมปรายภพ ความดีงามที่อาจารย์ได้สร้างไว้จะอยู่ในความทรงจๆของพวกเราตลอดไป ด้วยความอาลัยอย่างสุดซึ้ง รศ.ดร.พันธ์ ทองชุมนุม รักษาการรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
๑๐ ในนามของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผมขอแสดงความเสียใจอย่าง สุดซึ้งต่อการจากไปของ ผศ.บัณฑิต ดุลยรักษ์ รองคณบดีและผู้อ านวยการโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่ายมัธยมศึกษา) ผศ.บัณฑิต ดุลยรักษ์ มีประสบการณ์ทั้งด้านการ เรียนการสอนและด้านผู้บริหารที่น่ายกย่องและเป็นแบบอย่าง ในด้านการเรียนการสอนท่านเป็น ครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษาที่มีจิตวิญญาณของความเป็นครูสูงมาก ท่านให้ความรักความเมตตาต่อศิษย์ อย่างเท่าเทียมกัน อบรมสั่งสอนศิษย์ด้วยความตั้งใจและแสวงหาความรู้ใหม่ๆ มาถ่ายทอดศิษย์อย่าง สม่ าเสมอ เป็นครูผู้สอนที่มีน้ าใจ เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่น้องๆ พี่ๆ และเพื่อนร่วมงาน ด้วยจิตเมตตา และ ปฏิบัติหน้าที่การสอนได้อย่างยอดเยี่ยม ผศ.บัณฑิต ดุลยรักษ์มีบทบาทส าคัญในการสร้างครูของคณะ ศึกษาศาสตร์มาอย่างยาวนาน และยังปฏิบัติหน้าที่เป็นครูผู้สอนที่เปี่ยมด้วยเมตตา ท าให้เป็นที่รัก ของศิษย์และผู้ปกครองเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ท่านยังเป็นผู้ที่มีบทบาทส าคัญในการบริการวิชาการ ให้แก่ชุมชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มาอย่างยาวนาน ในด้านการบริหาร ผศ.บัณฑิต ดุลยรักษ์ ด ารงต าแหน่งรองผู้อ านวยการฝ่ายวางแผนและ พัฒนาระบบบริหาร สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยานิวัฒนาและด ารงต าแหน่งผู้อ านวยการโรงเรียน สาธิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รวม 2 สมัย และด ารงต าแหน่งรองคณบดีและผู้อ านวยการ โรงเรียนสาธิตฯ ในสมัยปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นถึงการได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานและ ผู้บังคับบัญชา ผศ.บัณฑิต ดุลยรักษ์ มีความเป็นผู้บริหารมืออาชีพ ในการท างานบริหารท่านมีความ ตั้งใจอย่างแรงกล้า มุ่งมั่น ทุ่มเท ใส่ใจงานเป็นอย่างมาก เป็นผู้บริหารที่ปิดทองหลังพระ ดูแลเอาใจ ใส่ใจผู้ใต้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานเป็นอย่างดี มีความเสียสละและอุทิศตนเพื่อประโยชน์ของ ทางราชการทั้งในเวลางานและนอกเวลางานและเมื่อท างานแล้วจะให้ความส าคัญกับคุณภาพงาน ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่การอุทิศตนของท่านตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาท าให้โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่ายมัธยมศึกษา) เป็นสถาบันการศึกษาชั้นน าของภาคใต้และประเทศ สถาบันแห่งนี้ผลิตขุมทรัพย์ทางปัญญาออกไปรับใช้สังคมอย่างยาวนานกว่า 50 ปี จนท าให้โรงเรียน ได้รับรางวัลสถานศึกษารางวัลพระราชทานรวมถึงนักเรียนรางวัลพระราชทานอย่างต่อเนื่อง ตลอด ระยะเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ผมต้องขอชื่นชมท่าน ผศ.บัณฑิต ดุลยรักษ์ ด้วยหัวใจ ผลงานที่ท่านได้ สร้างไว้จะเป็นที่จดจ าของคณะค รู ผู้บริหารของคณะศึกษาศาสตร์ และโรงเรียนส าธิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่ายมัธยมศึกษา) รวมถึงชาวสงขลานครินทร์ ขอให้ดวงวิญญาณของ ท่านไปสู่สุขคติ และภพภูมิที่ดี ชาวคณะศึกษาศาสตร์จะจดจ าคุโณปการที่ท่านได้สร้างไว้ตลอดไป รักและเคารพเสมอ รศ.ดร.เอกรินทร์ สังข์ทอง คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
๑๑ ผู้ช่วยศาสตราจารย์บัณฑิต ดุลยรักษ์ คือบุคคลต้นแบบของความเป็นครู อาจารย์ และผู้บริหาร ท่านมีความเมตตาต่อศิษย์ จัดการเรียนการสอนด้วยความเชี่ยวชาญในเนื้อหา ตรวจงานและให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้เรียนอย่างละเอียด ในด้านการบริหารนั้น ท่านใส่ใจใน รายละเอียดของงาน รวมทั้งคอยสอนงาน ให้ค าปรึกษาและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ ผู้ใต้บังคับบัญชาเสมอมา ผมจ าได้ว่า ในปี พ.ศ. 2553 เมื่อครั้งผมได้เริ่มต้นเป็นครูคณิตศาสตร์ที่โรงเรียน สาธิตฯ ผมได้มีโอกาสร่วมงานกับ ผอ.บัณฑิต เป็นครั้งแรก ในฐานะครูใหม่ ท่านให้โอกาสผม ได้ท างานและสอนงาน ทั้งดูแลนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ดูแลนักเรียนโครงการ ห้องเรียน วมว. ในรุ่นแรก ๆ และมอบหมายกิจกรรมกลางของโรงเรียนต่าง ๆ เช่น กีฬาสี เย็บ ข้อสอบ แจกข้อสอบ กิจกรรมพัฒนาบุคลากร เป็นต้น ผมจึงโชคดีที่ได้ใกล้ชิดและมีโอกาสได้ เรียนรู้การท างานจากท่าน ภาพที่มักจะเห็นคือ ผอ.บัณฑิต ลงมือท าเองโดยไม่รีรอ บางครั้ง เห็นท่านยกโต๊ะจัดสถานที่เมื่อมีกิจกรรม บางครั้งเห็นท่านปิดห้องปิดไฟ กวาดขยะ พิมพ์งาน อยู่ในห้องท างานจนเย็นหรือบ่อยครั้งในวันหยุด จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2562 เมื่อผมได้มา ร่วมงานบริหารกับท่านอีกครั้ง ผอ.บัณฑิต ยังคงมีมุ่งมั่นในการท างานอย่างมาก ละเอียด รอบคอบในการตัดสินใจ และลงมือท าให้เห็นเป็นแบบอย่าง ท่านเป็นแบบอย่างที่ดีในความ เสียสละและไม่ย่อท้อในการบริหารโรงเรียนในช่วงสถานการณ์ที่มีความท้าทายหลายด้าน ภาพการร่วมงานกับท่านยังคงเปี่ยมไปด้วยความประทับใจและน่าชื่นชมอย่างสม่ าเสมอ เช่นเดิม มาถึงวาระนี้ ผมขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อครอบครัว ญาติสนิท มิตรสหาย คณะครู คณาจารย์และผู้ปกครองของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่าย มัธยมศึกษา) และคณะศึกษาศาสตร์ ต่อการจากไปอย่างไม่มีวันหวนกลับของ ผู้ช่วย ศาสตราจารย์บัณฑิต ดุลยรักษ์ ขออ านาจคุณพระศรีรัตนะตรัย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คุณความดีและ บารมีที่ท่านสั่งสมไว้ ได้โปรดดลบันดาลให้ดวงจิตดวงวิญญาณของท่านได้ไปสู่สุคติใน สัมปรายภพดังที่ท่านปรารถนาด้วย เทอญ ด้วยความเคารพและอาลัยยิ่ง อาจารย์ ดร.วรภาคย์ ไมตรีพันธ์ รองคณบดีฝ่ายบัณฑิต นวัตกรรมและวิเทศสัมพันธ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
๑๒ แด่โจ ผู้เป็นที่รักยิ่ง กว่ากุ้งจะรวบรวมสติ เขียนถึงโจได้ ก็ผ่านค่ าคืนแรก ที่ร่างของโจถูกบรรจุลงใน กล่องเรียบร้อย โดยมีเจ้าหน้าที่ส านักพระราชวังด าเนินการให้ ท่ามกลางญาติมิตร กัลยาณมิตร ผู้บังคับบัญชา ลูกน้องและลูกศิษย์จากโรงเรียนสาธิตเป็นสิบ ๆ รุ่น โจท าให้ใครต่อใครในปัตตานีตกใจ พูดไม่ออกมาแล้วเมื่อ 4 ปีก่อนด้วย โรคเบาหวาน นอนโรงพยาบาล 1 เดือนเต็ม หมอให้พักรักษาตัวต่อเป็นเดือน แต่โจก็ยังไป ท างาน ครั้งที่ 2 ด้วยอาการ stroke ที่รอดมาได้ เพราะสังเกตทัน และพาไปโรงพยาบาล ทันเวลา เลยนอนเตียงที่นั่นแค่ 1 สัปดาห์ แต่ต้องไปท ากายภาพบ าบัดอยู่เป็นเดือน หมอให้ พักรักษาตัวเป็นเดือน แต่โจก็ยังเดินถือไม้เท้าลงจากแฟลต ขับรถเอง ไปท างาน ครั้งนี้ ที่ไม่เคยคิดเลยว่าจะเป็นครั้งสุดท้าย เริ่มจากท้องเสีย เพลีย ไม่มีแรง ไม่รู้สึก อยากจะกินอะไร จนต้องลางาน แต่ก็ยังฝืนสังขารประชุม Online ถึง 2 ครั้งในวันเดียว ฟุบ ไปด้วย ฟังไปด้วย มีอาการแบบนี้รวม 4 วัน ก่อนจะทนไม่ไหวจริง ๆ จนต้องไปพึ่ง โรงพยาบาล ทั้ง ๆ ที่กุ้งจะพาไปตั้งแต่วันที่ 2 คราวนี้หนักกว่าทั้ง 2 ครั้ง เพราะจากเบาหวาน ลามไปเป็นไตระยะที่ 5 จนต้องฟอกไตถึง 4 ครั้งๆละ 4 ชม. ตาเหลือง ตัวเหลือง น่าจะเกิด จากสารเหลือง ทั้งตัวโจมีสายโน่นนี่ที่คุณหมอทุกท่าน ทุกฝ่าย ช่วยกันเต็มที่ ระโยงระยาง รอบตัว จนคืนสุดท้ายในห้องพิเศษ โจพนมมือไหว้ถึง 2 ครั้ง คงอยากจะขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ หายปวดท้องมาก ที่ทั้งยากิน ยาฉีด ก็ต้านไม่อยู่ จนต้องย้ายไปห้อง ICU ในตอนดึก จนเช้าวันต่อมา กุ้งรอฟังข่าวดีจากคุณหมอ เจ้าหน้าที่ แต่มันก็ไม่ดีเหมือนที่ภาวนา ไว้ เพราะความดันโจต่ ามากตั้งแต่คืนก่อนหน้าแล้ว กุ้งไปทันเห็นที่เจ้าหน้าที่ก าลังปั๊มหัวใจโจ เกือบ 20 นาทีได้ จนทุกอย่างนิ่ง แต่กุ้งไม่นิ่ง ท ายังไงก็ไม่นิ่ง ก่อนปีกระต่าย ปีเกิดของโจ วันเกิดโจ 9 มกราคม แต่โจรู้ตัวมาตลอดว่าไม่ไหวแล้ว รอพบพี่น้องหลานๆจากภูเก็ตไม่ทันแล้ว ยอมแพ้แล้ว ทั้งที่ก่อนหน้านี้ เราเตรียมจะกลับไป ภูเก็ตกัน เราจะต้องกลับแฟลตกัน โจเป็น Talk of the town จนได้ ใครต่อใครตกใจมาก เสียใจมาก เสียดายมาก ๆ เมื่อวานนั่งคุยกับ อาจารย์ Craig ที่มาร่วมงานเกือบทั้งวัน พูดชื่นชมโจตลอดว่าท าเพื่อคนอื่น ท าเพื่อองค์กร ท าเพื่อส่วนรวมมาตลอด ข้อนี้คนอเมริกันอย่างเค้ารู้ดี และเค้าเพิ่งได้เจอกับโจ คนจริงแบบนี้แต่สิ่งที่กุ้งเสียใจมากที่สุดคือ การไม่บอก ไม่พูด จนทุกอย่างสายเกินแก้ ถ้ารู้เร็ว ทุกอย่างน่าจะยังยืดเวลาของเราออกไปได้อีก
๑๓ ภาพของโจที่ใช้ชีวิตร่วมกันมา 35 ปี จากที่เป็นคน fast life ท าอะไรแคล่วคล่องว่องไว เป็น คนชอบเรียนรู้ มีความคิดงานโน่นนี่ ริเริ่มท าโน่นนี่เพื่อองค์กร เก่งกีฬา เล่นแข่งอะไรชนะทุก อย่าง ยกเว้นฟุตบอล เป็นโค้ชให้นักเรียนหลายรุ่น โจต้องมีสภาพแบบ slow life เดินช้าลง ท าอะไรช้าลง เพราะโรครุมเร้า เหนื่อยเพลียง่าย สุดท้าย ที่ไม่ใช่สุดท้าย พูดเรื่องโจได้ไม่หมด แต่พวกเราญาติพี่น้อง ขอขอบพระคุณ ทุกท่านที่คิดดี พูดดี ท าทุกอย่างที่ดีเป็นก าลังใจให้โจ คนที่ท าเพื่อส่วนรวม ไม่ใช่เพื่อตัวเองมา ตลอดการท างาน ขอดัดแปลงใช้ประโยคที่กุ้งยึดถือมาตลอด ของสถาบันที่กุ้งและโจจบ การศึกษาระดับปริญญาโทมา คือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ “His Soul is for the Benefit of Mankind” In Jo, We Trust รักโจตลอดชีวิต กุ้ง
๑๔ ในนามญาติพี่น้องและหลาน ๆ มีความเสียใจอย่างสุดซึ้ง ที่สูญเสียคุณบัณฑิต ดุลย รักษ์ อันเป็นที่รักของญาติ ๆ ไปอย่างไม่มีวันหวนกลับมาพบกันอีกตลอดไป คุณบัณฑิต ดุลย รักษ์ เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ เป็นคนที่มีน้ าใจโอบอ้อมอารี ให้ความช่วยเหลือญาติ ๆ อยู่เสมอ เป็นความภาคภูมิใจของวงศ์ตระกูล และเป็นที่เคารพรักนับถือของลูกหลานญาติสนิทมิตร สหาย บัดนี้ คุณบัณฑิต ดุลยรักษ์ ได้จากพวกเราไปแล้ว ยังคงเหลือแต่คุณความดีที่ท่านได้ กระท าไว้ ซึ่งยังคงประทับอยู่ในความทรงจ าของญาติพี่น้องและหลานๆอย่างไม่มีวันลืมเลือน ขออ านาจคุณพระศรีรัตนตรัยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คุณความดีที่คุณบัณฑิต ดุลยรักษ์ ได้กระท าไว้เมื่อ ครั้งยังมีชีวิตอยู่ ตลอดถึงกุศลกรรมที่ภรรยา ลูกหลาน ญาติพี่น้องและเพื่อนๆได้ร่วมกันท า อุทิศให้ในครั้งนี้ ได้โปรดดลบันดาลให้ดวงวิญญาณของคุณบัณฑิต ดุลยรักษ์ได้ไปสู่สุคติใน สัมปรายภพดังที่ท่านปรารถนาด้วยเทอญ ด้วยความอาลัยยิ่ง จากพี่น้อง หลาน ๆ สุวรรณา ติราวานุสรณ์ ประกายทิพย์ ติวรานุสรณ์ สุทา ดุลยรักษ์ อนุรัตน์ ติวรานุสรณ์ เอมอร ศรีสะอาด อนุทิน ติวรานุสรณ์ พรพรรณ ชัยทองรักษ์ ปิยวรรณ ดุลยรักษ์ จันทนา ดุลยรักษ์ บัญญาวี ดุลยรักษ์ จันทิพย์ ดุลยรักษ์ จิราพร แซ่ตัน จิรารัตน์ แซ่ตัน ภัชชกร ศรีสะอาด วิษรุทธิ์ ศรีสะอาด สราวุธ ชัยทองรักษ์ พุฒิวัฒน์ ชัยทองรักษ์ เสาวภาค ขอสันเบ๋ง บุญญาทรัพย์ ขอสันเบ๋ง ณัฐวัตน์ หมวดคงจันทร์
๑๕ พี่กุ๊ก พี่แดง ปู-เปรี้ยว รู้สึกเสียใจกับการจากไปของน้องโจ นับเป็นวันที่สูญเสียอัน ยิ่งใหญ่ของญาติและน้อง ๆ น ามาซึ่งความโศกเศร้าเสียใจแก่ครอบครัวและญาติมิตรเป็นอย่าง มาก น้องโจมีน้ าใจต่อญาติมิตร มีความเอื้ออาทรต่อครอบครัว คอยเป็นก าลังใจให้ค าปรึกษา กับน้อง ๆ ด้วยดีเสมอมา ขอบุญกุศลและความดีที่น้องโจได้บ าเพ็ญปฏิบัติมาตลอดชีวิตของน้องในช่วงที่ ปฏิบัติราชการ จงได้น าดวงวิญญาณของท่านไปสู่สุคติ ประสบความสุขในสัมปรายภพเทอญ ด้วยรักและอาลัย สมพร - กุลวดี นุ่นประดิษฐ์ ปูริมา – ปิยากร
๑๖ ในความรู้สึกร่วมกันของศิษย์เก่าสาธิตรุ่นต้นๆคือ ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับ ศิษย์ที่ใกล้ชิดกันมาก เราจะไม่ขลาดกลัวครู ครูจะทักพวกเราก่อน ทวงด้วยค าว่า"สวัสดี"เรา ต้องไหว้ครูคนละมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน สุภาษิตไทยอายครู(หวาดกลัวครู)ไม่รู้วิชา เป็นจริงจัง ก็ที่ รร.สาธิตนี้แหละ สรุปว่าในความส าเร็จของศิษย์ ส่วนหนึ่งก็มาจากบรรยากาศหรือโอกาส ดีๆที่พวกเราได้จาก รร.สาธิต ดังนั้นการตอบแทนครู การระลึกถึงโรงเรียน การร่วมกัน ช่วยเหลือโรงเรียนจึงถือเป็นหน้าที่ของศิษย์เก่าทุกคน ในฐานะต าแหน่งที่พี่น้องศิษย์เก่าสาธิตมอบให้ผม "นายกสมาคมศิษย์เก่า รร. สาธิต มอ." ต้องขอแสดงความส านึกในพระคุณที่ท่านผอ.บัณฑิตฯ ซึ่งมีส่วนส าคัญ ทั้งริเริ่ม และสนับสนุนอย่างจริงจังในกิจกรรมงานชุมนุมศิษย์เก่าให้พวกเราได้มาพบเจอกัน เรียกรวม พลังชาวสาธิตจัดงานเพื่อสาธารณกุศลที่สร้างประโยชน์แก่สังคม น าเกียรติยศเกียรติภูมิสู่น้อง พี่ชาวสาธิต ในวาระนี้เราจะร่วมกันสืบทอดเจตนารมณ์ของท่าน ผอ.บัณฑิตดังกล่าวต่อเนื่อง ไป ด้วยความเคารพยิ่ง นายภาณุ อุทัยรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา อดีตเลขาธิการศูนย์อ านวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ นายกสมาคมศิษย์เก่า รร.สาธิต มอ. ศิษย์เก่าโรงเรียนสาธิต รุ่น 4
๑๗ ผมได้รู้จักกับท่านอาจารย์บัณฑิต เมื่อครั้งที่ผมมาด ารงต าแหน่งรองผู้ว่าราชการ จังหวัดปัตตานี ได้ประสานงานและท างานร่วมกันในหลายเรื่อง อาทิเช่น การริเริ่มก่อตั้ง สมาคมนักเรียนเก่าโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ท่านอาจารย์บัณฑิต ในฐานะ ผู้อ านวยการโรงเรียนสาธิตฯ เป็นแกนหลักคนส าคัญในการสนับสนุนให้เกิดสมาคมนักเรียน เก่าโรงเรียนสาธิตฯ จากการที่ได้พูดคุยกับท่านอาจารย์บัณฑิตฯ ท าให้ประจักษ์ว่า อาจารย์ได้ทุ่มเทแก่ โรงเรียนสาธิตฯ ให้เป็นสถาบันที่ทรงคุณค่าและมีประสิทธิภาพในการอบรมบ่มเพาะ ลูกหลานชาวปัตตานีและจังหวัดใกล้เคียง ท่านอาจารย์ได้ทุ่มเทความสามารถ สติปัญญา และ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างสุดจิตสุดใจในการท างานเพื่อพัฒนาโรงเรียนสาธิตฯ ท่าน อาจารย์เป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพที่เป็นเอกลักษณ์ คือ ท่วงท านองที่อ่อนน้อมถ่อมตน สุภาพ นุ่มนวล ท าให้มีความสุขทุกครั้งที่ได้พบปะพูดคุยกับกัลยาณมิตรท่านนี้ ท่านอาจารย์บัณฑิต ได้จากไปตามธรรมดาของโลก แต่ภาพแห่งความดีงามของ ท่านยังจารึกอยู่ในจิตใจของลูกศิษย์และผู้ที่ได้รู้จักกับท่านรวมถึงผลงานที่ท่านได้สร้างไว้ โดยเฉพาะคุณูปการต่อโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ย่อมจะจารึกไว้ในหอ ประวัติเกียรติยศของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ตลอดไป ขอดวงจิตของท่านอาจารย์ได้พบความสงบสุขในสัมปรายภพครับ วีรนันทน์ เพ็งจันทร์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี นักเรียนเก่าสาธิตฯ รุ่น 8
๑๘ วันที่ 28 ธันวาคม 2565 เป็นวันที่พี่และทุกคนที่รู้จักโจช็อกมาก ไม่คิดว่าวันนี้จะ มาถึงเร็วเกินคาด ตามที่ได้ฟังมาว่าโจป่วยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลปัตตานี มีระยะเวลารักษาดู อาการอีก 14 วัน แต่ไม่ทันถึงวันนั้น โจก็มาจากไปอย่างสงบ พี่ไปรักษาตาที่โรงพยาบาลม.อ. กลับมาตั้งใจว่าอีก 2 วันจะชวนพี่ปุก (ดร.อัจฉรา) ไปเยี่ยม แต่ก็ไม่ทัน ได้แต่ไปขออโหสิกรรมที่ โรงพยาบาล มีน้อง ๆ ที่โรงเรียนและสมาชิกกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศมาอยู่กันเต็ม ทุกคนเศร้า หมองเพราะคาดไม่ถึงทั้งนั้น การสูญเสียทรัพยากรบุคคลของโรงเรียนสาธิตครั้งนี้จึงเป็นการ สูญเสียครั้งส าคัญอีกครั้งหนึ่ง พี่รู้จักกับโจมาหลายสิบปี ท างานร่วมกันหลายครั้ง โจเป็นคนท างานที่ประณีตมาก มี ความมุ่งมั่นสูง ขยันท างานตั้งแต่งานสอนจนได้ชื่อว่าเป็นครูสอนเศรษฐศาสตร์ที่ดีคนหนึ่งของ โรงเรียน ศิษย์เก่าบางคนบอกว่าโชคดีได้เรียนกับอ.บัณฑิตได้ใช้ตอนสอบเข้ามหาวิทยาลัย โจ เป็นคนที่มีความรับผิดชอบสูง ท างานอย่างรอบคอบ ไม่ว่าจะเป็นผอ.กี่สมัยก็ตาม โครงการ ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในก ากับกระทรวงวิทยาศาสตร์ (วมว.) ก็เกิดขึ้นครั้งแรกในวาระที่โจ เป็นผอ.สมัยที่ 2 เป็นก้าวที่ใหญ่และท้าทายส าหรับโรงเรียนสาธิตฯ ที่นี่ ท่ามกลางความไม่ เข้าใจของหลายฝ่ายรวมทั้งผู้ปกครอง แต่ในวันนี้โครงการของเราได้รับค าชมเชยจาก กระทรวงและผู้ที่เกี่ยวข้อง กระทรวงได้อนุมัติให้โรงเรียนท าโครงการต่ออีกหลายปี พี่เองรู้สึก ภูมิใจที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรวมว. ตั้งแต่แรกเริ่มมีโอกาสสอนเด็ก วมว. รุ่นแรกถึง รุ่นที่ 4 หลายปีที่ผ่านมาโรงเรียนมีขนาดใหญ่ขึ้น มีขอบเขตของงานขยายขึ้น ตัวผอ.เองต้อง ท างานหนักขึ้นผอ.โรงเรียนอื่นไม่ต้องสอนหนังสือ แต่ผอ.สาธิตต้องมีชั่วโมงสอนและท างาน บริหารด้วย บริหารทั้งกิจการภายในและโครงการพิเศษที่เพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้ เมื่อโจมาขอให้ เป็นที่ปรึกษาของโรงเรียน ทั้ง ๆ ที่พี่เกษียณแล้ว พี่ก็ยินดีเพราะ “เราคือสาธิต” แต่การ ท างานบริหารย่อมมีทั้งดอกไม้และก้อนอิฐ ไม่มีองค์กรใดที่ท างานกันอย่างเป็นหนึ่งเดียวกัน 100% แต่ทุกองค์กรล้วน “สงวนจุดต่าง แสวงจุดร่วม” ด้วยกันทั้งนั้น ถ้ามองโลกตามความ เป็นจริงไม่ใช่คนโลกสวยที่หวังจะเกิดสังคมแบบยูโทเปีย การท างานบริหารนั้นผู้บริหารต้อง อดทน บางทีก็ทนอดจนกว่างานจะส าเร็จ และผู้บริหารแต่ละคนจะมีสไตล์ในการท างานไม่ เหมือนกัน พี่กับโจท างานกันคนละสไตล์แต่เราก็ยอมรับความแตกต่างนั้นด้วยจุดมุ่งหมาย เดียวกัน คือ เพื่อสาธิต เมื่อรับทราบปัญหาจากโจจึงได้แต่รับฟังและให้ก าลังใจเท่าที่ท าได้ โจเป็นคนใจดี ให้เกียรติทุกคน มีความอดทนสูง แต่ความอดทนจนเกินไปนั้น กลับท าร้าย สุขภาพโดยไม่รู้ตัว
๑๙ การทุ่มเทท างานหามรุ่งหามค่ า การพยายามขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวไปข้างหน้าเหล่านี้ ล้วน แต่เป็นภารกิจหลักและหนักหน่วงของผู้บริหาร เมื่อถึงจุดหนึ่ง ร่างกายก็ต้องยอมแพ้และขอ พักผ่อนเสียทีโจไม่ต้องเป็นห่วงใดๆนะคะ โรงเรียนจะต้องมีผู้สืบทอดอุดมการณ์ต่อไป ขอให้ น้องหลับให้สบายและน้อมน าดวงจิตไปสู่สัมปรายภพอันสุขสงบด้วยเทอญ บัณ ฑิตจิตแจ่มแจ้ง ในงาน ฑิต เชี่ยวปรีชาชาญ ยิ่งไซร้ ดุลย ภาพส่งกิจการ สาธิต เลิศแฮ รักษ์ คุณความดีให้ สู่ฟ้าแดนสรวง ด้วยรักและอาลัย ผศ.จรีรัตน์ สาครินทร์
๒๐ ผม ทพ.สุริยา ภูยุทธานนท์ ปัจจุบันเป็น ประธานชมรมผู้ปกครองและครู โรงเรียน สาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่ายมัธยมศึกษา) เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนสาธิตม.อ.ปัตตานี รุ่นที่ 16 ซึ่ง ณ ขณะนั้นท่านผอ.บัณฑิตยังไม่ได้เป็นอาจารย์ที่โรงเรียนสาธิตฯ ผมจึงไม่ได้ เรียนกับท่านผอ.บัณฑิต จนกระทั่งลูกสาวคนแรกสอบเข้าโรงเรียนสาธิตฯ ในชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 ซึ่งมีการสอบสัมภาษณ์ด้วยผมจึงได้พบปะกับท่านผอ.บัณฑิตแต่ท่านก็หมดวาระไป ระหว่างนั้นผมได้เข้าท างานเป็นคณะกรรมการชมรมผู้ปกครองและครูของโรงเรียนสาธิตฯ และท่านผอ.บัณฑิตก็เข้ามารับหน้าที่เป็นผู้อ านวยการโรงเรียนสาธิตฯ อีกครั้ง ผมจึงได้ร่วม ท างานกับท่านผอ.บัณฑิตในหลายๆกิจกรรมของชมรมผู้ปกครองและครูฯ ในช่วงต้นของการ รับหน้าที่ประธานชมรมผู้ปกครองและครูฯของผม ซึ่งผมเองยังใหม่ส าหรับต าแหน่งนี้ ท่านผอ. ได้ให้ค าแนะน าต่างๆที่มีประโยชน์ในการท างาน ท าให้ผมสามารถท างานชมรมผู้ปกครองได้ ลุล่วงไปได้ด้วยดี จากที่ผมได้รู้จักและท างานร่วมกับท่านผอ. ท่านผอ.บัณฑิตเป็นคนซื่อตรง ยึดหลักคุณธรรมในการบริหารงาน เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมคิดถึงใจเขาใจเรา เป็นคนตั้งใจ ท างาน มีหลักการและเหตุผลในการท างาน รับฟังความคิดความเห็นจากสมาชิกชมรมฯ และ มีข้อเสนอแนะดี ๆ ต่อการท างานแก่สมาชิกชมรมผู้ปกครองและครูฯ ท าให้เกิดการพัฒนาใน การท างานของชมรมฯ เป็นอย่างมาก ท่านผอ.บัณฑิตมีความมุ่งมั่นที่จะให้โรงเรียนสาธิตฯ มี การพัฒนา มีศักยภาพ สามารถเป็นผู้น าในด้านต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนของโรงเรียนสาธิตฯ เป็นที่ยอมรับและมีความรับผิดชอบต่อสังคม น่าเสียดายที่ความทุ่มเทในการท างานของท่าน ผอ. อาจท าให้สภาพร่างกายของท่านผอ.ไม่สามารถต่อสู้กับโรคภัยที่เกิดขึ้นได้ ท าให้ท่านผอ. ต้องจากไปก่อนที่จะท าภารกิจที่ท่านตั้งใจไว้จะเสร็จสิ้น พวกเราทุกคนในชมรมผู้ปกครองและ ครูโรงเรียนสาธิตฯ จะท าหน้าที่ของสมาชิกชมรมฯ ต่อไปเพื่อผลประโยชน์ของนักเรียน โรงเรียนสาธิตม.อ.ปัตตานี เพื่อให้ท่านผอ.จะได้จากไปอย่างไม่ต้องกังวล และคุณความดีของ ท่านผอ.บัณฑิตจะเป็นที่จดจ าแก่สมาชิกชมรมฯทุกคนรวมถึงผู้ปกครองและนักเรียนของ โรงเรียนสาธิตฯ ทุกคนครับ สุดท้ายนี้ขอให้ดวงวิญญาณของท่านผอ.บัณฑิตได้ไปสู่ภพภูมิที่ดีครับ ทันตแพทย์ สุริยา ภูยุทธานนท์ ประธานชมรมผู้ปกครองและครู โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่ายมัธยมศึกษา)
๒๑ ตอนแรกพี่ทราบข่าวจากน้องที่โรงเรียนสาธิตฯว่าน้องโจป่วยเข้าโรงพยาบาล พี่เป็น ห่วงมากแต่คิดว่าน้องจะได้พักจากการท างานบ้าง เพื่อเป็นการชาร์จแบตเพิ่มพลังให้ตัวเอง จะได้กลับมาท างานให้โรงเรียนดังเช่นที่ผ่านมา เพราะนับตั้งแต่น้องบรรจุมาเป็นสมาชิก หมวดเราต้องรับผิดชอบร่วมกันทั้งงานสอน งานกิจกรรมต่างๆ ของหมวดและโรงเรียน แม้แต่ การดูแลร้านค้าเล็กๆ น้องเป็นครูที่สอนดี สอนเก่งเป็นที่รักของนักเรียน สอนให้เด็กมีทั้ง ความรู้และคุณธรรม สิ่งที่น้องปลูกฝังให้เด็กคือการวางแผนการท างาน ความมีระเบียบวินัย และความรับผิดชอบ เมื่อน้องโจเข้ารับงานบริหารภาระงานด้านต่างๆ น้องมีมากขี้นแต่ยังไม่ ทิ้งความเป็นครู ช่วงนี้พี่ได้สอนนักศึกษาร่วมกันกับน้องได้เห็นความทุ่มเทในการสอนเพื่อ พัฒนาศักยภาพของนักศึกษาให้ออกไปเป็นครูที่ดีในทุกๆด้าน น้องสอนนักเรียน นักศึกษา รวมทั้งบริหารงานของโรงเรียนและท างานอื่นๆโดยไม่มีวันหยุดพักผ่อนส่วนตัว จนพี่ยังคิดว่า น้องถือคติประจ าตัวว่างานคือชีวิต ชีวิตคืองาน การเข้ารักษาตัวในครั้งนี้พี่คิดว่าเมื่อเพิ่มพลัง ให้ตัวเองแล้วน้องคงกลับมาท างานเพื่อโรงเรียนต่อเหมือนเช่นที่ผ่านมา แต่ไม่คิดว่าไม่เป็นไป ตามที่พี่คาดหวัง ทราบข่าวน้องจากไป น้องพักผ่อนอย่างถาวร ขอให้น้องหลับสบาย ดวง วิญญาณไปสู่สุคตินะคะน้อง สิ่งต่างๆ ที่ดีงามจะยังคงอยู่ในใจชาวสาธิตฯตลอดไปค่ะ พี่ไล ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุนิสา สิริวิพัธน์
๒๒ ผศ.บัณฑิต ดุลยรักษ์ (ผอ.โจ) เป็นผู้อ านวยการโรงเรียนสาธิตฝ่ายมัธยม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มาหลายสมัย เริ่มบรรจุครั้งแรกในโรงเรียนสาธิตมัธยมฯ เป็นผู้ที่ ผ่านการคัดเลือกหนึ่งในจ านวน 12 อัตรา สังกัดกลุ่มสาระวิชาสังคมศึกษา ซึ่งขณะนั้นคณะ ศึกษาศาสตร์ได้ขยายโครงการเพื่อรับนักเรียนจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เข้าศึกษา ต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายใน พ.ศ. 2526 ซึ่งในยุคนี้เป็นการก้าวกระโดดที่ส าคัญของ โรงเรียนสาธิตมัธยมฯ เพราะมีการขยายชั้นเรียน ทั้งมัธยมต้น มัธยมปลาย จนเป็นโรงเรียนมัธยม ขนาดมาตรฐาน ดังนั้นท่านจึงมีส่วนส าคัญอย่างมากที่อาสาเข้ามาพัฒนาโรงเรียนสาธิตมัธยมฯ จนกระทั่งสมบูรณ์แบบในปัจจุบัน กล่าวคือครบชั้นเรียนทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และ มัธยมศึกษาตอนปลาย ปัจจุบันโรงเรียนสาธิตมัธยมฯ ได้จัดการสอนและประเมินผลตามหลักสูตร กระทรวงศึกษาธิการ ท่านเป็นผู้ที่ชื่นชอบกีฬาหลายชนิด ดังนั้นในการจัดโครงการกีฬาสีหรือกีฬาสาธิต สามัคคี ของโรงเรียนสาธิตมัธยมฯ ท่านก็จะเป็นก าลังส าคัญของคณะกรรมการกีฬา เป็นทั้ง ผู้จัดการทีมและโค้ชหลายชนิดกีฬา ดังนั้นเมื่อท่านเป็นผู้บริหารก็สนับสนุนกิจกรรมกีฬาอย่างเต็ม ก าลัง โดยมีนโยบายส าคัญ ขยายจ านวนและชนิดกีฬา มีการเข้าค่ายฝึกซ้อม คัดเลือกนักเรียนที่ จะเป็นนักกีฬา นอกจากจะมีทักษะกีฬาที่สูงแล้ว ความประพฤติของนักเรียนต้องดี ต้องทุ่มเท เวลากับการเรียน และจะต้องมีผลการเรียนระดับดีขึ้นไปอีกด้วย จนกระทั่งสามารถพัฒนา นักกีฬาโรงเรียนสาธิตมัธยมฯ สร้างสรรค์ผลงาน จนได้รับรางวัลจ านวนเหรียญทองในตาราง แข่งขันระดับต้นๆทุกปีตลอดมา น าชื่อเสียงมาสู่โรงเรียนมัธยมและสภาษาต่างมาคมผู้ปกครอง และครูเป็นที่ชื่นชม ยินดีสนับสนุนกิจกรรมกีฬาทุกปีการศึกษาสืบมา นับว่าท่านเป็นผู้บริหารที่ทุ่มเทให้กับงานบริหารอย่างมากด้วยความทุ่มเท อุทิศตน เต็มที่กับงานทุกอย่าง และมีการเตรียมพร้อมอยู่เสมอส าหรับทุกสถานการณ์ เช่นปัญหาวิกฤต โรคโควิค19 ที่ผ่านมา ที่ส าคัญ คือมีวิสัยทัศน์มุ่งสู่ความส าเร็จขององค์กร มีความกล้าหาญ กล้า ที่จะยืนหยัด ยึดมั่นในสิ่งที่ถูกที่ควร กล้าที่จะพูด กล้าที่จะท า กล้าคิดในสิ่งใหม่ ๆ เป็นแบบอย่าง ที่ดีต่อผู้ที่ยังอยู่ข้างหลัง ในผลงานของท่านเพื่อพัฒนาโรงเรียนสาธิตมัธยมฯ ให้มีความก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป ดังนั้นผมในฐานะเคยเป็นเพื่อนร่วมงาน และเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของท่าน ขอกุศล กรรมใดที่เป็นคุณงามความดี ซึ่งท่านผอ.โจได้ท าไว้เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ ขอได้โปรด มาเป็นพลัง ดลบันดาล ส่งดวงวิญญาณท่านไปสู่สุคติ ในสัมปรายภพด้วย…เทอญ รศ.บรรจง ฟ้ารุ่งสาง มกราคม 2566
๒๓ เมื่อเช้าวันที่ 28 ธันวาคม 2565 ได้รับแจ้งข่าวการเสียชีวิตของผู้ช่วย ศาสตราจารย์บัณฑิต ดุลยรักษ์ รู้สึกตกใจและเสียใจเป็นอย่างยิ่งที่อาจารย์ได้จากพวกเราไป อย่างรวดเร็วก่อนวัยอันควร โดยส่วนตัวรู้จัก ผศ.บัณฑิต หรือ น้องโจ เมื่อปี 2529 ในฐานะ อาจารย์หมวดสังคมศึกษา เป็นอาจารย์ใหม่ที่มีความมุ่งมั่นในการสอนและร่วมท ากิจกรรม ต่างๆของโรงเรียนอย่างเต็มความสามารถ เป็นที่รักของนักเรียนและเพื่อนร่วมงาน มีโอกาสได้ท างานบริหารร่วมกับ ผศ.บัณฑิตใน 2 วาระ โดยครั้งแรกในระหว่าง ปี พ.ศ. 2538-2540 เป็นรองผู้อ านวยการฝ่ายกิจการพิเศษ และในระหว่างปี พ.ศ. 2550- 2554 ในต าแหน่งรองวิชาการและประกันคุณภาพ ซึ่งจากการท างานร่วมกันท าให้เห็นถึง ความมุ่งมั่นตั้งใจของ ผศ.บัณฑิต ในการคิดสร้างสรรค์งานและโครงการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ ต่อโรงเรียนและนักเรียน การสร้างทีมงานที่เข้มแข็งร่วมกับอาจารย์และบุคลากรทุกฝ่าย ซึ่ง การท างานดังกล่าวนี้ปรากฏผลเป็นที่น่าภาคภูมิใจ โดยโรงเรียนสาธิตฯ ได้รับรางวัลโรงเรียน พระราชทานเป็นครั้งแรกจากผลงานประจ าปีการศึกษา 2551 โรงเรียนได้รับงบประมาณ สนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนโดยการกับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.) ในปี 2553 การไปร่วมกิจกรรมสาธิตวิชาการ และอีกกิจกรรมที่ส าคัญคือ งานเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสครบรอบ 40 ปีสาธิตฯ ในปี 2552 ซึ่งน ามาซึ่งความภาคภูมิใจ ของชาวสาธิตฯ ทุกคน ในช่วงปี พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นปีที่โรงเรียนมีอายุครบ 50 ปี ภายใต้การน าของ ผศ. บัณฑิต และความร่วมมือร่วมใจของคณาจารย์ บุคลากร นักเรียนปัจจุบัน ศิษย์เก่า สมาคม นักเรียนเก่า สมาคมผู้ปกครองและครู ท าให้โรงเรียนสาธิตฯ สามารถจัดกิจกรรมเฉลิมฉลอง ครึ่งศตวรรษของโรงเรียนได้อย่างสมเกียรติและเป็นที่จดจ าของทุกคน โดยมีกิจกรรมต่างๆ เช่นการเป็นเจ้าภาพจัดงานสาธิตวิชาการ การวิ่งมินิมาราธอน การมอบโล่แก่ศิษย์เก่าดีเด่น และกิจกรรมคืนสู่เหย้า ผศ.บัณฑิต ดุลยรักษ์ ได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้อ านวยการเป็นระยะเวลาอัน ยาวนานด้วยความรับผิดชอบ ได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจและสติปัญญาอย่างเต็มความสามารถ เพื่อพัฒนาโรงเรียนและนักเรียนไปสู่ความเป็นเลิศในทุกๆ ด้าน ซึ่งคุณความดีดังกล่าวนี้จะอยู่ ในความทรงจ าของชาวสาธิตฯ ตลอดไป ด้วยบุญกุศลและคุณความดีที่ได้ท ามาโดยตลอด ขอให้ดวงวิญญาณของ ผศ.บัณฑิต ดุลยรักษ์ ไปสู่สุคติในสัมปรายภพ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัจฉรา สัปปพันธ์
๒๔ พี่เขียนถึงน้องโจก็น้ าตาไหลไป ไม่เคยคิดเลยว่าวันหนึ่งจะต้องมาเขียนไว้อาลัย น้องชายคนดีของพี่ น้องที่เป็นคนสุภาพ เรียบร้อย พูดน้อย ทุ่มเทให้กับงาน ตั้งแต่วันแรกที่ ท างานร่วมกันในกลุ่มสาระสังคม ฯ น้องโจช่วยเหลืองานทุกอย่างด้วยความเต็มใจ และท าได้ อย่างดียิ่งทุกๆงาน ให้ความเคารพพี่ๆ ทุกคน ตอนจะแต่งงาน น้องโจก็ให้เกียรติ อาจารย์ณงณาถกับพี่ไปเป็นผู้ใหญ่ขอน้องกุ้ง ซึ่งเป็นสิ่งที่พี่ดีใจมากที่ได้ท าให้น้องชายคนนี้ของ พี่ เราท างานร่วมกันอย่างเคารพและให้เกียรติกันตลอดมาจนถึงวันที่พี่เกษียณออกมา ซึ่งเป็นช่วงที่น้องโจเป็นผู้อ านวยการโรงเรียน น้องโจยังอวยพรพี่ให้พี่มีความสุขและมีสุขภาพดี ขึ้น ส าหรับพี่แล้ว ไม่ว่าน้องโจจะเป็นอาจารย์ในกลุ่มสาระสังคม หรือเป็นผู้อ านวยการ โรงเรียน น้องโจก็คือน้องชายที่พี่รักและเป็นห่วงเสมอ แม้จะไม่ค่อยได้เจอกัน หลับให้สบายนะน้องรัก น้องโจเหนื่อยแสนเหนื่อยมามากเพื่อโรงเรียนของเรา ขอให้รู้ว่าพี่เพ็ญคนนี้ไม่เคยลืมและคิดถึงน้องเสมอ ด้วยรักและระลึกถึงน้องโจ จากใจพี่เพ็ญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรเพ็ญ สุวรรณเดชา พี่สาวคนหนึ่งของน้องโจ
๒๕ ผู้ช่วยศาสตราจารย์บัณฑิต ดุลยรักษ์ หรือที่พี่จะเรียกว่า “น้องโจ” เป็นน้องที่เข้ามา บรรจุท างานที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์พร้อมกับพี่ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2529 ในรุ่นที่ 9 อัตราบรรจุของศอ.บต. สมัยนั้นพวกเรามีความสนิทสนม ผูกพันกัน ท างาน ด้วยกัน ไปเที่ยววันหยุดด้วยกัน สังสรรค์กันเสมอๆ น้องโจเป็นคนที่อารมณ์ดี สนุกสนาน ท างานเป็นระเบียบเรียบร้อย ลายมือสวยเป็นเอกลักษณ์ ถึงเขียนหวัดๆก็สวย พี่ชื่นชอบ หลายๆอย่างในตัวน้องโจเหมือนกับหลายๆคน น้องโจมีความสามารถในด้านการสอน การ ท างาน ตลอดจนการบริหารงานจึงมักได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานต่างๆอยู่เสมอทั้งของ กลุ่มสาระสังคมศึกษาของโรงเรียนหรือคณะท างานในกิจกรรมต่างๆ น้องโจ มีความสามารถทางด้านวิชาการหลายอย่าง เช่น ด้านสังคมศึกษา ด้าน รัฐศาสตร์ การปกครอง ด้านเศรษฐศาสตร์ การเงิน และการธนาคาร ช่วยพัฒนานักเรียนจน ได้รับรางวัลจากการแข่งขัน มีทุนการศึกษาให้กลุ่มสาระฯและโรงเรียน เป็นต้นแบบการ จัดการเรียนรู้จนลูกศิษย์ที่จบการศึกษามีความก้าวหน้า พัฒนางาน พัฒนาตนจนเป็นนัก การศึกษาระดับแนวหน้าในการพัฒนาการเรียนการสอนด้านสังคมศึกษา เช่น ผู้ช่วย ศาสตราจารย์ ดร.กนก จันทรา อาจารย์ประจ าโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็น ต้น ซึ่งลูกศิษย์ของน้องโจได้เติบโตไปสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการให้แก่วงการศึกษาของ ประเทศชาติ นับเป็นการสร้างคุณูปการที่มีคุณค่าต่อสังคม ทางด้านกิจกรรม ได้มีโอกาสร่วมงานต่างๆที่โรงเรียนจัดขึ้นร่วมกับน้องโจ มีโอกาส ได้เห็นความสามารถในการท างาน การคิดสร้างสรรค์ และทักษะต่างๆ เช่น การท ากิจกรรม ลูกเสือ การจัดกิจกรรมต้อนรับของฝ่ายปฏิคม เมื่อครั้งที่เราท างานในการเป็นเจ้าภาพการ แข่งขันกีฬาสาธิตสามัคคี ครั้งที่ 26 ปี 2544 ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดปัตตานี กิจกรรมงาน “อ าลาอาลัย” ของ ม.3และม.6 ซึ่งเราได้ร่วมแสดงบนเวที จนเป็นที่ฮือฮาของ นักเรียน ทั้ง ๆที่น้องโจ เป็นผู้บริหาร แทบไม่มีเวลาว่าง แต่ก็ยังแบ่งเวลามาช่วยสร้างความ สนุกสนาน ประทับใจแก่นักเรียนและบุคลากร ทางด้านบริหาร น้องโจได้รับความไว้วางใจให้ได้รับต าแหน่งที่นอกเหนือจาก อาจารย์ผู้สอน เช่น การเป็นอาจารย์ประจ าหลักสูตร การเป็นรองผู้อ านวยการสถาบันกัลยาณิ วัฒนาของมหาวิทยาลัย การเป็นผู้อ านวยการโรงเรียนสาธิตฯ 2 สมัย จนถึงปัจจุบันด ารง ต าแหน่งรองคณบดีและผู้อ านวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่าย มัธยมศึกษา) อีก 1 สมัย และจะหมดวาระการท างาน
๒๖ ในปี 2566 น้องโจ สามารถท างานได้อย่างดี มีประสิทธิภาพ โดยมักเตรียมวางแนวทาง ความคิดไว้ล่วงหน้า เพื่อน าเสนอต่อที่ประชุม เนื่องจากเป็นคนมีระเบียบในการท างาน น้องโจ ได้ช่วยสานต่องานบางด้านจากท่านอดีตผู้อ านวยการ คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์กนก จันทร์ทอง และสามารถส่งเสริมพัฒนาจนโรงเรียนได้รับความส าเร็จ ได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทาน และนักเรียนรางวัลพระราชทานมาหลายๆรุ่น ทางด้านกีฬา น้องโจสามารถเล่นกีฬาได้หลายประเภท อาทิ ฟุตบอล บาสเก็ตบอล วอลเลย์บอล และตะกร้อ รวมทั้งเคยเป็นผู้ฝึกสอนนักกีฬาวอลเลย์บอลเข้าแข่งขันกีฬาสาธิต สามัคคี และได้รับเหรียญรางวัล น้องโจเองก็เข้าร่วมการแข่งขันในกีฬาบุคลากร และเป็น นักกีฬาของคณะศึกษาศาสตร์อยู่เสมอ ด้านการด าเนินชีวิตและอุปนิสัยส่วนตัว น้องโจเป็นน้องที่น่ารักมักแทนตัวเองว่า “ผม”และเรียกพี่ว่า “พี่ปาน” เสมอ น้องโจจะพูดจาสุภาพ มีอารมณ์ขันเสมอ มีมนุษยสัมพันธ์ ที่ดีกับเพื่อนฝูง เสียดายที่ช่วงหลังๆ น้องโจมีปัญหาเรื่องสุขภาพ ท างานหนักจนไม่มีเวลา พักผ่อนเต็มที่ และขาดการออกก าลังกาย พี่ได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยียนน้องโจหลายครั้ง เมื่อต้อง เข้าโรงพยาบาลนานๆในรอบก่อนเพราะรู้สึกว่าการไปให้ก าลังใจกันในยามเจ็บป่วยเป็นเรื่อง ส าคัญและในครั้งล่าสุดที่น้องโจเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลปัตตานีพี่ได้มีโอกาสมาให้ ก าลังใจน้องโจและพี่กุ้งที่หน้าห้องล้างไต เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 เมื่อทราบข่าวจากพี่ กุ้ง และส่งน้องโจไปยังตึกที่ห้อง อายุรกรรมเตียง 12 หลังจากนั้นได้น ากระเช้ามาเยี่ยมในนาม AFS เขตปัตตานี และมูลนิธิเอเอฟเอสประเทศไทย เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2565 ทราบว่า น้องโจได้รับอนุญาตให้ย้ายมาที่ห้องพิเศษแล้ว จึงได้ไปเยี่ยมพร้อมกับครูโป้งยังได้พูดคุยกัน หลายเรื่องทั้งการพักผ่อนการดูแลสุขภาพเพราะยังมีปัญหาเรื่องโรคเบาหวาน ไตและตับอยู่ ไม่คิดว่านั่นเป็นการเยี่ยมและพบกันเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่น้องโจจะจากพี่ไปอย่างไม่มีวัน กลับมาอีกแล้ว พี่ทราบข่าวตอนเช้าวันที่ 28 ธันวาคม 2565 หลังเลิกแถว เพราะมีอาจารย์ พัชริน โทรมาสอบถาม จึงโทรหาพี่กุ้ง ยืนยันว่าจริง แทบไม่เชื่อในสิ่งที่ได้รับการบอกกล่าว จึง รีบมาส่งน้องโจไปสู่สุคติด้วยความรักอาลัย พี่ปานและครูโป้งขอขอบคุณในทุกๆโอกาส และสิ่งดีๆที่น้องโจมอบให้ในการท างาน หากมีสิ่งใดที่ท าให้น้องโจขุ่นเคืองใจก็ต้องขออภัย ขอชื่นชมน้องโจในความสามารถ ความ อดทนต่ออุปสรรคปัญหาต่างๆ และขอให้น้องโจรับทราบว่าพี่ดีใจที่มีโอกาสช่วยเป็นสื่อให้ น้องโจได้พบกับพี่กุ้งคู่ชีวิตที่คอยดูแลน้องโจตลอดมาอย่างดียิ่งเสมอ ขอให้อานิสงส์แห่งคุณ
๒๗ งามความดีของน้องโจที่ได้กระท าไว้จงเป็นปัจจัยส่งดวงวิญญาณของน้องโจไปสู่สุคติใน สัมปรายภพด้วยเทอญ “BUNDIT” B – Beloved เป็นผู้ที่เป็นที่รักของคน U – Unbelievable เป็นผู้มีความอดทนอย่างมาก N – Neat เป็นผู้มีระเบียบในการท างาน D – Devoted/Diligent เป็นผู้อุทิศตนต่อองค์กร ขยันขันแข็ง I – Intelligent เป็นผู้มีความเฉลียวฉลาด T – Talented เป็นผู้มีความสามารถหลากหลาย เป็น “บัณฑิต” ผู้สร้างงานการเรียนรู้ เป็นคุณครูผู้สร้างงานการศึกษา มีวินัยการท างานการกีฬา สร้างคุณานุคุณแก่มวลชน ความสามารถทักษะที่ฝึกฝน อุทิศตนก่อนอ าลาในครานี้ อานิสงส์เป็นญาณน าชีวี สู่สุคติพันทวีนิรันดร์กาล ด้วยรักและอาลัย พี่ปาน – โป้ง (นางปานใจ - นายไพรสัญ แสงศิลา) 3 มกราคม 2566
๒๘ เมื่อน้องโอ๋บอกว่า…เขียนถึงพี่โจหน่อยนะคะ จะจัดท าหนังสือที่ระลึก คิดในใจมี เวลา 4 วัน ที่จะร าลึกและเรียบเรียง คิดว่าจะได้งานเขียนที่สื่อความรู้สึกที่ดีได้ วันแรกผ่านไป นอกจากความรู้สึกสับสน อึนๆมึนๆ ว่ามันใช่หรือ เรื่องนี้เป็นเรื่อง จริงหรือ พี่โจ ผ.อ.ของโรงเรียนเราไม่อยู่แล้วจริงหรือ ก็ยังเขียนอะไรไม่ได้แม้แต่สักค า ทุกครั้ง ที่ค าถามผุดขึ้นมา ค าตอบที่บอกตัวเองว่า ภาพที่เห็นพี่โจนอนหลับตานิ่ง ทุกค าพูดที่เราขอ อโหสิกรรม ขอโทษที่เป็นลูกน้องที่เถียงบ่อยขณะจับมือที่ไร้สัญญาณชีพในห้องไอซียู “เป็น เรื่องจริง” วันที่สอง ความรู้สึกค่อยๆ นิ่งสงบลง ด้วยความคิดที่มุ่งจะจัดการ จะช่วยจัดงานให้ พี่โจให้ดีที่สุด เมื่อมีเวลาล าพังจึงระลึกถึง จึงคิดถึง จึงคิดได้ว่า ในชีวิตคนเราสิ่งหนึ่งที่เมื่อเรา ได้รับแล้วส่งผลให้เราเติบโตขึ้น ทั้งทางความคิด การกระท า และความดีงามในจิตใจ นั่นคือ โอกาส ความเชื่อมั่น ความเชื่อใจ และ การรับฟัง พี่โจหรือผอ. ของเรา มอบสิ่งนั้นให้น้องคนนี้เสมอมา โอกาสสูงสุดที่มอบให้ คือ การ ได้ร่วมคิด ร่วมท างานในฐานะ “ทีม” ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา หลายครั้งคิดงานหัวแทบระเบิดไป ด้วยกัน หลายคราถกเถียงกันด้วยเหตุผลของตนแต่ไม่เคยโกรธเคืองกันจริงๆ หลายเรื่องก็ เครียดรับมือกับปัญหาร่วมกัน บางวันก็สุขใบหน้ามีรอยยิ้มและมีเสียงหัวเราะไปพร้อมกัน และบางคราวก็ภาคภูมิใจกับสิ่งที่ได้ท าอย่างเต็มที่เหมือนกัน ทุกมวลประสบการณ์นั้นแปลง เป็นความเติบโตของน้องในวันนี้ ทุกความเติบโตนี้มาด้วยมือของพี่ที่หยิบยื่นให้ตลอดเวลา ยาวนาน วันนี้พี่โจ ไม่อยู่แล้ว “ผอ.ที่ท างานหนักและเหนื่อยมานานได้พักผ่อนแล้ว” แล้วก็ยัง ไม่ได้เริ่มเรื่องราวที่จะเขียน วันที่สาม ตั้งใจจะเริ่มเขียนให้ได้แต่จะเริ่มจากอะไรดี เรื่องราวของพี่มากมาย เหลือเกิน เรื่องที่พี่โจ พี่โต้ง พี่แอ๋ว พากันนั่งรถไฟ ไปกลับปัตตานี-ชุมพร เพื่อร่วมแสดงความ เสียใจในวันที่พ่อของเราจากไป ตอนนั้นเพิ่งท างานได้ไม่กี่ปี ระยะทางไกล แต่พี่ก็ไป เรื่องที่ไป กินข้าวไปร้องเพลงคาราโอเกะกันหลายครั้งภาพพี่โจในช่วงเวลาที่สดใสทรงพลังในการท างาน ยังชัดเจน เรื่องความสนุกสนานปนทุลักทุเลจากการนั่งรถไฟชั้นสามไปเข้าร่วมการแข่งขัน กีฬาสาธิตสามัคคีที่บางแสนชลบุรี เรื่องที่พี่บอกว่า “เจี๊ยบควรเป็นหัวหน้างานของงานตัวเอง ได้แล้วนะ” เป็นการมอบอิสระทางความคิดที่มีค่าที่สุด แม้แต่เรื่องที่บางเวลาเราก็เห็นพ้อง ต้องกันในประเด็นต่างๆในที่ประชุม เออออกันแทบทุกเรื่อง สลับกับบางช่วงเวลา ก็เห็นไม่
๒๙ ตรงกันสักเรื่อง เถียงกันได้ทุกเรื่อง จนแม้แต่เรื่องสุดท้ายที่เรานั่งคุยกันที่ห้องกิจการนักเรียน ประโยคที่พี่บอกว่า “พี่ก็อยากให้ใครๆรัก เหลือเวลาไม่นานก็จะเกษียณ อยากเกษียณแบบ มีคนรักเหมือนกัน แต่บางอย่างที่พี่คิดพี่ตัดสินใจมันด้วยเหตุผล ด้วยความจ าเป็น” วันนั้นก็ ฟังแบบเห็นด้วยบ้าง ไม่เห็นด้วยบ้าง บางประโยคที่พูดตอบไปหลายประโยคก็อาจท าให้พี่รู้สึก ว่า ไอ้น้องช่างเถียงคนนี้ก็คงไม่รัก แล้วสุดท้ายนอกจากน้ าตาซึมแล้วก็ยังไม่สามารถเริ่ม ประโยคแรกได้เลย วันสุดท้ายตามก าหนด ต้องเขียนให้ได้ ตอนเย็นหลังจากประสานงาน การเตรียม งานเรียบร้อย ก็พยายามเขียนได้ 5 บรรทัด และส่ง พร้อมทั้งบอกน้องโอ๋ว่า “พี่เขียนไม่ได้” คนชอบเขียนแบบพี่เขียนไม่ได้ เขียนไปก็ไม่ดีเลย แต่ตอนนี้จู่ๆ ก็คิดถึงประโยคที่พี่โจบอกว่า “พี่ก็อยากให้ใครๆรัก” ก็นึกได้ว่า นอกจากการแสดงความรักด้วยการช่วยท างานอย่างเต็มที่ตลอดมาแล้ว ยังไม่เคยบอกพี่โจ เลยว่า “รัก เคารพและศรัทธา ตลอดมาและจะตลอดไป” จันทร์จรัส เพชรรัตนโมรา หัวหน้างานแนะแนว รองผู้อ านวยการฝ่ายกิจการนักเรียน
๓๐ เมื่อปี พ.ศ.2545 มุกได้มาฝึกสอนที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขณะนั้น ผอ. (ผศ.บัณฑิต ดุลยรักษ์) ยังอยู่ในต าแหน่งรองผู้อ านวยการฝ่ายวิชาการ มุกรู้จัก ผอ.ผ่านการท างาน รู้สึกได้ถึงความเป็นระบบ มีระเบียบแบบแผนที่ชัดเจน จนกระทั่งปีพ.ศ. 2549 มุกได้กลับมาเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนสาธิตฯ อีกครั้งในฐานะอาจารย์บรรจุใหม่ หลังจากนั้นก็ได้รับโอกาสให้ร่วมงานในทีมบริหารขณะที่ผอ.ด ารงต าแหน่งผู้อ านวยการอยู่ หลายสมัยจนถึงปัจจุบัน ท าให้ได้รู้จักผอ.มากยิ่งขึ้น แน่นอนว่าผอ.ยังยืนหนึ่งในเรื่องของความ เป็นระเบียบ โต๊ะท างานสะอาดเรียบร้อย เป็นผู้บังคับบัญชาที่สุภาพ ใจดี โอบอ้อมอารี มี ภาวะผู้น า ผอ.ไม่เพียงมอบหมายงานให้เราท า แต่จะร่วมท างานเหล่านั้นไปกับพวกเราเสมอ ไม่ว่างานอะไรผอ.ก็จะลงมือท าด้วยตัวเองเป็นส่วนใหญ่ นี่คือภาพจ าของมุกและคิดว่าหลาย ๆ คนเห็นตรงกัน ในด้านของการท างานย่อมมีบ้างที่มีความเห็นต่าง ต้องขอบคุณผอ.ที่รับฟังนะ คะ มุกท างานเพื่องานไม่ได้มีเจตนาอื่นใด ในระยะหลังแม้ว่าผอ.เริ่มมีปัญหาสุขภาพแต่ก็ยังคง ทุ่มเทท างานอย่างหนักเช่นเดิม บ่อยครั้งที่เห็นว่าผอ.ทานอาหารไม่เป็นเวลาและไม่ค่อยได้พัก พวกเราก็อดเป็นห่วงไม่ได้ ตอนนี้ผอ.ได้พักแล้ว ขอบคุณที่ไว้วางใจและให้โอกาสนะคะ จะ พยายามท าหน้าที่ให้ดีที่สุดค่ะ มุกดา ธรรมกิรติ รองผู้อ านวยการฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพ
๓๑ ผู้ช่วยศาสตราจารย์บัณฑิต ดุลยรักษ์ เป็นอาจารย์และเป็นผู้บังคับบัญชาของอ้อม ตั้งแต่เข้ามาเรียนที่โรงเรียนสาธิตปี 2529 อาจารย์เป็นอาจารย์สอนวิชาสังคม และเมื่ออ้อม จบการศึกษาระดับปริญญาตรีได้มีโอกาสเข้ามาสอบบรรจุในต าแหน่งอาจารย์กลุ่มสาระการ เรียนรู้คณิตศาสตร์ใน ปี 2539 อาจารย์ด ารงต าแหน่งเป็นผู้อ านวยการอยู่ในขณะนั้น อาจารย์มีความเมตตาต่ออ้อมมาโดยตลอด สิ่งใดที่อ้อมท าไม่ถูกต้องไม่เหมาะสม อาจารย์ได้ ตักเตือนทั้งในฐานะผู้บังคับบัญชาและในฐานะครูของอ้อม และเมื่ออ้อมได้รับโอกาสให้มา ท างานร่วมในคณะกรรมการบริหารของโรงเรียน อ้อมได้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจ ความอดทน และทุ่มเทของอาจารย์ด้วยตาตัวเอง จนบางครั้งอ้อมรู้สึกหงุดหงิดด้วยความห่วงใยในสุขภาพ ของอาจารย์ ว่าท าไมอาจารย์ถึงต้องเสียสละตัวเองให้กับงานขนาดนี้ แต่อาจารย์เป็น แบบอย่างของผู้บริหารที่ดีให้กับอ้อม เป็นแบบอย่างในการทุ่มเทเสียสละ เป็นแบบอย่างใน ความอดทนอดกลั้น อ้อมขอกราบขอโทษหากอ้อมได้ล่วงเกินไปไม่ว่าจะเป็นค าพูดหรือการ กระท าก็ตาม และอ้อมกราบขอบพระคุณอาจารย์ที่เมตตา หวังดี ต่อลูกศิษย์คนนี้เสมอมา อ้อมจะน าสิ่งที่ดีที่อาจารย์ได้สอนและได้ท าเป็นแบบอย่างนั้นมาใช้ในการท างาน การด าเนิน ชีวิต อาจารย์คืออาจารย์ของอ้อมตลอดไปค่ะ ด้วยรักและเคารพ ผอ. ค่ะ นางเต็มเดือน เต้าแก้ว รองผู้อ านวยการฝ่ายพัฒนาวิชาชีพครู วิจัยและวิเทศสัมพันธ์
๓๒ ดิฉันนางสาวนวินดา คงภักดี ผู้ช่วยผู้อ านวยการฝ่ายส่งเสริมและพัฒนากิจกรรม และหั วหน้ ากลุ่มส า ร ะก า รเ รียนรู้ วิทย าศ าสตร์และเทคโนโลยี โ รงเ รียนส าธิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่ายมัธยมศึกษา) ขอเเสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งกับการจาก ไปของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์บัณฑิต ดุลยรักษ์ รองคณบดีและผู้อ านวยการโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่ายมัธยมศึกษา) ซึ่งเป็นบุคคลที่ดิฉันเคารพนับถือเป็นอย่าง ยิ่ง ตั้งแต่ดิฉันได้บรรจุแต่งตั้งเข้าท างานที่รร.สาธิตฯ (ฝ่ายมัธยมศึกษา) ก็เห็นท่านท าหน้าที่เป็น ผู้อ านวยการ รร.ด้วยความพากเพียรมาโดยตลอด ท่านมาเช้ากลับค่ าเป็นกิจวัตร แต่ก็มิเคยได้ ยินค าบ่นเหนื่อย บ่นท้อจากท่าน แม้สุขภาพของท่านจะไม่สู้ดีนัก แต่เมื่อมีกิจกรรมต่างๆ ทั้ง ในและนอก รร. ท่านจะคอยให้ค าปรึกษาและช่วยแก้ไขปัญหาให้เสมอ ด้วยความทุ่มเทที่ท่านมีให้กับงาน เสียสละเวลาพักผ่อน และทุ่มเทเพื่อ รร. โดยไม่ค านึงถึงตัว ท่านเอง ท่านเป็นบุคลากรของหน่วยงานที่มากความสามารถ เป็นผู้น าที่มองการณ์ไกล เเละ เป็นผู้มอบโอกาสในการท างานหลายๆ ด้านให้ดิฉัน ดิฉันจึงยกย่องท่านเสมอ จึงท าให้รู้สึก อาลัยท่านอย่างยิ่ง ขอกุศลผลบุญและคุณงามความดีที่ท่านได้ท าไว้ และผลบุญที่ทุกท่านได้ อุทิศให้ น าพาให้ท่านมีความสุขในสัมปรายภพภายภาคหน้ายิ่งๆ ขึ้นไปด้วยเถิด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
๓๓ ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อครอบครัว “ดุลยรักษ์’’ ในการสูญเสียอันยิ่งใหญ่ ในครั้งนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์บัณฑิต ดุลยรักษ์ เป็นทั้งผู้บริหารและเป็นทั้งอาจารย์ที่มีความ ทุ่มเท มีความเสียสละ ในการบริหารงานโรงเรียน ในการสอนหนังสือ ด้วยแรงกายและแรงใจ จึงท าให้ท่านเป็นที่รักและศรัทธาของบุคลากรและบรรดาศิษย์ การจากไปของท่านในครั้งนี้ จึงนับว่าเป็นการสูญเสียอาจารย์ที่ดีอีกท่านหนึ่งของ โรงเรียนสาธิตฯ อย่างน่าเสียดายยิ่ง ขออ านาจแห่งกรรมดีและกุศลผลบุญที่ท่านได้ท ามา จงเป็นผลให้ดวงวิญญาณของ ท่านไปสู่ความสุข ความสงบ ในสัมปรายภพ ตามควรแก่กุศลกรรมที่ท่านได้บ าเพ็ญมาชั่วชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ค าไว้อาลัยจากอาจารย์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ “ผู้ช่วย ศ า ส ต ร าจ า รย์บัณฑิ ต ดุ ล ย รั กษ์ ร อง คณบดี และ ผู้อ าน วยก า รโ รงเ รียนส าธิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่ายมัธยมศึกษา) ท่านเป็นผู้บังคับบัญชาที่มีความเสียสละ ให้กับการท างานในหน้าที่อย่างสุดก าลังอย่างสุดความสามารถอย่างต่อเนื่องเสมอมา ท่านจะ ท างานในหน้าที่ที่รับผิดชอบอย่างสุดก าลัง รักงาน ทุ่มเทให้กับการท างานอย่างแท้จริง ท่าน เป็นตัวอย่างในความเสียสละ ท าเพื่อส่วนรวม ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาท่านได้ท าหน้าที่ผู้น า องค์กรอย่างเต็มความสามารถ พวกเรารับรู้ได้ถึงความตั้งใจในการท างานของท่าน เป็นผู้น าที่ ลูกน้องสามารถเข้าถึงได้ และอาจารย์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศได้รับโอกาส ช่วยงานบริหารในต าแหน่งผู้ช่วยผู้อ านวยการฝ่ายพัฒนานักเรียน ฝ่ายวิชาการ การจากไปของ ท่านน าความสูญเสีย ความเศร้าโศกเสียใจ มายังชาวสาธิตฯ ม.อ. เป็นอย่างมาก ในฐานะเป็น ผู้ใต้บังคับบัญชาของท่าน จะระลึกถึงคุณงามความดีของท่านที่ท่านได้ทุ่มเทเสียสละให้กับ โรงเรียนสาธิตฯ (ฝ่ายมัธยมศึกษา) มาอย่างยาวนาน ขอดวงจิตวิญญาณของท่านผู้ช่วย ศาสตราจารย์บัณฑิต ดุลยรักษ์ สู่สุคติภพภูมิ ด้วยความอาลัยและเคารพยิ่ง” กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
๓๔ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อครอบครัวของ ผอ. บัณฑิต ดุลยรักษ์หัวหน้าครอบครัวอันเป็นที่รัก ซึ่งจากไปอย่างไม่มีวันหวนกลับมาพบกันอีก ตลอดไป ท่านผอ.บัณฑิต ดุลยรักษ์เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ ท่านเป็นผู้มีอัธยาศัยดี มีน้ าใจ โอบ อ้อมอารี มีระเบียบวินัย เป็นที่เคารพรักนับถือของผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน เหล่าลูก ศิษย์ทั้งในอดีตและปัจจุบันอย่างเสมอมา กลุ่มสาระฯศิลปะได้มีโอกาสรับใช้ท่านผอ.บัณฑิต ดุลยรักษ์ ทั้งในช่วงเวลาที่ท่านด ารงต าแหน่งบริหารในร.ร.สาธิตฯ และในต าแหน่งรอง ผู้อ านวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา โดยได้เรียนรู้แนวคิดการอนุรักษ์ วัฒนธรรม ทั้งวิธีการจัดการที่มีระเบียบแบบแผน และเจตคติที่ดี บัดนี้ท่านผอ.บัณฑิต ดุลยรักษ์ ได้จากพวกเราไปแล้ว ยังคงเหลือแต่คุณความดีที่ ท่านได้กระท าไว้ ซึ่งยังคงประทับอยู่ในความทรงจ าของภรรยา ลูกหลานญาติสนิทมิตรสหาย ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และเหล่าลูกศิษย์ทุกคนอย่างไม่มีวันลืมเลือน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ หากจะกล่าวถึงผู้อ านวยการ ผศ.บัณฑิต ดุลยรักษ์ บุคคลที่ถือเป็นเสาหลักส าคัญ ของโรงเรียนมาโดยตลอด ผู้ช่วยศาสตราจารย์บัณฑิต ดุลยรักษ์ เป็นผู้ที่มีประวัติผลการ ท างานดีเด่น ขยันขันแข็งต่อการปฏิบัติงานของตนเองและส่วนรวม หลายช่วงเวลาที่เรามักเห็นท่านท างานจนดึกดื่นค่ ามืดอยู่ที่โรงเรียน ยังไม่นับรวมถึง การท างานช่วงเวลาอื่นอีกมากมาย ทั้งการทุ่มเทท างานโดยการลงมือปฏิบัติงานอย่างสุด ความสามารถด้วยตนเองในฐานะผู้บริหารจึงน ามาซึ่งแบบอย่างที่มีค่ายิ่ง คุณงามความดี ผลงาน และแบบอย่างที่ท่านได้ท า และความสามารถในการปฏิบัติ หน้าที่ทางด้านงานสอน การบริหารงาน ได้ประจักษ์ว่า ท่านมุ่งด าเนินงานต่าง ๆ เพื่อ ประโยชน์ส่วนรวมอย่างแท้จริง การจากไปของท่านในครั้งนี้น าความเสียใจและอาลัยมาสู่ครอบครัว ญาติมิตรของ ท่านเป็นอย่างยิ่ง ขอให้ดวงวิญญาณของท่านไปสู่สุขคติ ในนามกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนสาธิตหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่ายมัธยมศึกษา)ขอแสดงความเสียใจเป็นที่สุดที่เราได้สูญเสียผู้ที่เสียสละท าเพื่อโรงเรียนไป จนวาระสุดท้ายของท่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
๓๕ ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อครอบครัวดุลยรักษ์ที่สูญเสียผู้ช่วยศาสตราจารย์ บัณฑิต ดุลยรักษ์ไปอย่างไม่มีวันหวนกลับมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์บัณฑิต ดุลยรักษ์ เมื่อครั้งยัง มีชีวิตอยู่ ท่านเป็นคนที่ขยัน มีความเป็นระเบียบ มีความรับผิดชอบ และรักในการท างาน รวมถึงเป็นที่เคารพรักนับถือของเพื่อนร่วมงาน และผู้ใต้บังคับบัญชาเสมอมา บัดนี้ผู้ช่วยศาสตราจารย์บัณฑิต ดุลยรักษ์ได้จากพวกเราไปแล้ว ยังคงเหลือแต่คุณ ความดีที่ท่านได้กระท าไว้ซึ่งยังคงประทับอยู่ในความทรงจ าของเพื่อนร่วมงาน และ ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างไม่มีวันลืมเลือน ขอให้คุณความดีที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์บัณฑิต ดุลยรักษ์ ได้กระท าไว้เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ ตลอดถึงกุศลกรรมที่บรรดาเพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา และมิตรสหายได้ร่วมกันท าอุทิศให้ในครั้งนี้ ได้โปรดดลบันดาลให้ดวงวิญญาณของผู้ช่วย ศาสตราจารย์บัณฑิต ดุลยรักษ์ได้ไปสู่สุคติในสัมปรายภพดังที่ท่านปรารถนาด้วยเทอญ ด้วยความเคารพและอาลัยยิ่ง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ฯ
๓๖ ด้วยกระผมเองเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนสาธิตและได้เรียนในโรงเรียนแห่งนี้ในช่วงปี การศึกษา 2528-2530 ซึ่งในขณะนั้น อาจารย์ยังหนุ่มและอาจารย์ยังไม่มีตารางสอนให้กับ ห้องกระผม (ตั้งแต่ ม.4 - ม.6) อย่างไรก็ตามเมื่อผมได้จบเป็นแพทย์ก็ได้มีโอกาสกลับไป ตอบแทนโรงเรียนด้วยการไป ร่วมท ากิจกรรมต่าง ๆ ให้กับโรงเรียน เช่น การไปออกตรวจและออกใบรับรองแพทย์ให้กับน้อง ๆ นักเรียน เพื่อสมัครเข้าเรียน รด. ในโรงเรียนโดยตรงเพื่อให้เป็น one stop service รวมทั้งได้ ร่วมท างานในมิติอื่น ๆ ก็ได้รับความกรุณาเป็นอย่างดีจากอาจารย์เสมอ เช่น การวิจัยร่วมกันกับ โรงพยาบาลปัตตานี โดยให้โรงเรียนสาธิตฯแห่งนี้เป็นหัวหน้าโครงการด้านการพัฒนาทักษะด้าน สุขภาพให้กับโรงเรียนต่าง ๆ ในจังหวัดปัตตานี ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก ส านักงานการวิจัย แห่งชาติ (วช.) ความใกล้ชิดกับอาจารย์บัณฑิตมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยมาจาก 2 สถานะ คือ ลูกเข้าเรียน ที่นี่ และเป็นรองประธานและกรรมการชมรมผู้ปกครองโรงเรียนสาธิต ซึ่งอาจารย์เป็นผู้ท างาน ทุ่มเทกับโรงเรียนเป็นอย่างมาก ต้องการให้โรงเรียนเป็นโรงเรียนสาธิตที่พัฒนาขึ้นไปเรื่อย ๆ โดย มีการพัฒนาหลักสูตรให้ดียิ่งขึ้น อาจารย์จะให้ความส าคัญกับการท างานร่วมกันกับผู้ปกครองและ มักจะชี้แจงเรื่องราวของโรงเรียนด้วยตัวเองเสมอมา อาจารย์จะเป็นห่วงภาพลักษณ์ของโรงเรียน เสมอ เห็นได้จากการที่ข้อเสนอต่าง ๆ จากผู้ปกครอง หรือชมรมผู้ปกครองก็จะให้คิดรอบด้าน ก่อนเสมอ อีกสถานะหนึ่งที่ได้พบเจออาจารย์คือ เมื่ออาจารย์ไม่สบายมานอนที่โรงพยาบาล ปัตตานี อาจารย์ก็มักจะไม่อยากรบกวนลูกศิษย์ที่เป็นแพทย์หรือพยาบาลมากมายนัก รวมทั้งไม่ อยากให้มิตรสหายและผู้ใต้บังคับบัญชาทราบมากนัก ไม่อยากรบกวนการมาเยี่ยมของทุกๆคน อาจารย์ชอบที่จะให้เหมือนกับคนไข้ทั่วๆไป ไม่ได้เรียกร้องอะไรเลย จนทุกครั้งที่มานอน โรงพยาบาลท าให้ผมเองจะต้องไปก าชับทั้งแพทย์และพยาบาล ทั้งที่เป็นลูกศิษย์และไม่เป็นลูก ศิษย์ ให้ดูแลอาจารย์อย่างใกล้ชิด ซึ่งกลับเป็นว่าลูกศิษย์อาจารย์ที่ ท างานในโรงพยาบาลทุกคน กลับมาช่วยกันดูแลอาจารย์ด้วยดีเสมอมา บ่งบอกถึงว่าอาจารย์นั้นเป็นที่รักของลูกศิษย์มากมาย ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นลูกศิษย์ทุก ๆ คน ทุก ๆ ที่ ที่รักอาจารย์พร้อมที่จะดูแล อ านวยความสะดวก ต่าง ๆ ให้อาจารย์เสมอ รักและเคารพอาจารย์บัณฑิตเสมอ นายแพทย์รุซตา สาและ ผู้อ านวยการโรงพยาบาลปัตตานี
๓๗ ข่าวการสูญเสียคุณครูบัณฑิต ดุลยรักษ์ อย่างกะทันหัน สร้างความเศร้าเสียใจให้กับพวก เราชาวสาธิต คุณครูสอนวิชาสังคมศึกษา รุ่นเราน่าจะเป็นศิษย์รุ่นแรก ๆ ของคุณครู เรายังจ าบุคลิก ท่าทาง น้ าเสียงเรียบ ๆ ของคุณครู ที่แฝงด้วยความใจดี มีเมตตาต่อลูกศิษย์ คุณครูจากไปอย่างไม่มี วันกลับ แต่ได้ฝากผลงานและสิ่งดี ๆ ให้กับโรงเรียนสาธิตปัตตานีที่รักของเรา พวกเราเองก็เป็น ผลผลิตที่ครูได้มอบให้ ขอคุณความดีน าส่งคุณครูสู่สุคติในสัมปรายภพ กราบลาคุณครูด้วยความเคารพรักยิ่ง ลูกศิษย์สาธิต ม.อ.ปัตตานี รุ่น 17/20 ข้าพเจ้าในฐานะศิษย์เก่า โรงเรียนสาธิตฯ(ฝ่ายมัธยมศึกษา) ขอแสดงความเสียใจอย่างสุด ซึ้งต่อการจากไปของอาจารย์ที่เคารพรัก จากฐานะลูกศิษย์ที่ได้มีโอกาสมาช่วยงานเล็กน้อย ในฝ่าย บริหาร ขอขอบคุณอาจารย์ที่ได้เลือกหนูให้มาช่วยงาน และได้เรียนรู้งานทางด้านวิชาการถึงแม้ ตัวเองจะไม่ค่อยถนัดมากนัก ในมุมมองของศาสนาอิสลาม ทุกชีวิตย่อมต้องเจอกับความตายอย่างแน่นอน และใน มุมมองของศาสนาพุทธก็เช่นเดียวกัน การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดา แต่ด้วยความรู้สึกของ ความเป็นมนุษย์ ความรู้สึกของลูกศิษย์ตัวเล็ก ๆ คนหนึ่งมันก็จะมีความรู้สึกตื้อ เหมือนมึน และงง ๆ ว่าท าไมมันช่างรวดเร็วขนาดนั้นกับเหตุการณ์ที่ต้องเจอเมื่อเช้าวันที่ 28 ธันวาคม 2565 ที่ผ่าน มา วันที่ 27 ธันวาคม 2565 พวกเราในกลุ่มสาระฯภาษาต่างประเทศยังคุยกันว่าจะไปเยี่ยม อาจารย์ช่วงก่อนเที่ยงประมาณ 11 โมงของวันที่ 28 ธันวาคม 2565 เพราะก่อนหน้านี้ได้ทราบ ข่าวจาก อ.ต่วนยามีลาว่า ผอ.ได้ย้ายเข้ามาอยู่ห้องพิเศษแล้ว พวกเราคุยกันอีกว่า ถึงแม้อาจจะไม่ได้ เจออาจารย์หรือได้พูดคุยกับอาจารย์เพราะยังคงต้องพักผ่อน แต่อย่างน้อยก็ไปได้สื่อสารและให้ ก าลังใจภรรยาอาจารย์ก็ยังดี แต่แล้วเราก็รีบกันมาก ๆ เพื่อไปโรงพยาบาล แต่ไม่ใช่การเยี่ยมแต่เป็น การลาอาจารย์ ไม่เป็นไร…เราจะต้องเจอการจากลาแบบนี้ ไม่ว่าวันใดก็วันหนึ่ง หนูอาจจะเขียนไม่ ค่อยเก่งแต่...หนูขอขอบคุณอาจารย์นะคะในทุก ๆ สิ่งที่ได้สอนและให้มุมมองแง่คิดในการท างาน หลาย ๆ อย่าง รักและเคารพ นางสุไรยา ลามะทา ศิษย์เก่าโรงเรียนสาธิต ฯ รุ่น 26,29 (แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ฝรั่งเศส)
๓๘ ผมเคยเรียนวิชาสังคมศึกษากับอาจารย์ อาจารย์เป็นคนเรียบร้อย ใจเย็น ท าให้เด็ก ลิงกังอย่างพวกเราชอบแกล้งแซวอาจารย์เรื่องคู่จิ้น แต่อาจารย์ก็ไม่เคยถือโกรธพวกเราเลย แค่มีเขิน ๆ บ้าง ยิ่งอาจารย์เขิน เรายิ่งแซว มาถึงวันที่ผมจะต้องไปเรียนกับโครงการ AFS ซึ่งจะต้องเร่งสอบให้จบ ให้เกรดออก ก่อนเวลาที่เพื่อน ๆ จบหลักสูตรกัน สร้างความเดือดร้อนให้อาจารย์ทุกท่านกันถ้วนหน้า อาจารย์ต้องออกข้อสอบให้ผมท าก่อนคนอื่น ตอนที่ท าข้อสอบผมตระหนักดีว่า อาจารย์ จะต้องอดตาหลับขับตานอนออกข้อสอบให้ผม ผมจึงต้องยิ่งท าให้เต็มที่ จนในที่สุดผมก็ท าได้ ส าเร็จ ผมกลับมาเรียนอีกครั้งในปีสุดท้ายที่โรงเรียน ไม่ได้เจออาจารย์อีก จนกระทั่งเรียนจบ มหาวิทยาลัย ท างานและย้ายกลับมาบ้าน มาถึงวาระที่โรงเรียนของเราครบรอบสี่สิบปีพอดี ในเวลานั้นอาจารย์ด ารงต าแหน่ง เป็นผู้อ านวยการโรงเรียน ส่วนผมเองบ้านอยู่ใกล้ ๆ ก็จับพลัดจับผลูได้มาช่วยงานโรงเรียน ซึ่ง การร่วมงานกับอาจารย์ในเวลานั้นท าให้ผมได้เห็นและท าให้ผมรู้จัก อ.บัณฑิตมากขึ้นในมุม ของศิษย์เก่า ไม่ใช่ในมุมของนักเรียน ก็พบว่าอาจารย์ก็คืออาจารย์บัณฑิตที่เรียบร้อย ใจเย็น คนเดิมที่ผมมองเห็น แรกเริ่มที่เข้าไปช่วยงานครั้งนั้น ผมเคยคิดว่าจะต้องเครียดและท างานยากแน่ ๆ แต่ ไม่เลย…เราท างานกันอย่างสนุกสนานด้วยรอยยิ้ม ผมแทบอยากจะเลิกท างานตัวเองเพื่อมา ช่วยงานโรงเรียนทุกวัน ๆ ผมไม่มีวันลืมบรรยากาศการท างานในช่วงเวลานั้นได้เลย เต็มไป ด้วยความสุขจริง ๆ ครับ วันที่ประทับใจมากที่สุดของการท างานครั้งนั้นคือวันที่ผมคิดไม่ออก ว่าจะตั้งเสาท าซุ้มทางเข้างานยังไง จนกระทั่งอ.อนุชิตมาเสนอว่าให้เอาเสาที่ตั้งเน็ตวอลเล่ย์มา ท า แล้วเราก็มาช่วยกันเรียงไม้ไผ่ตามแบบ โดยมีอ.บัณฑิตมาช่วยท ากับมือจนแล้วเสร็จ..ความ สุขุมและใจเย็นของอาจารย์ท าให้การจัดงานใหญ่ที่เราเองต่างก็ไม่เคยท ากันมาก่อนนั้น ลุล่วง ไปได้ด้วยดีเกินคาด ฝนฟ้าไม่เป็นอุปสรรคใด ๆ เลยแม้แต่น้อย ซึ่งแน่นอนว่านอกเหนือจาก ความร่วมมือร่วมใจของทุกๆคนแล้ว ที่ขาดไม่ได้เลยคือวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร
๓๙ ผมขอกราบขอบพระคุณความใจกว้างของอาจารย์บัณฑิต ผู้อ านวยการโรงเรียนของเราใน เวลานั้น, คณาจารย์ รวมทั้งบุคลากรของโรงเรียนทุกท่าน ที่ยอมให้เราได้มาออกลิงกันในงาน ครบรอบสี่สิบปีโรงเรียน เป็นงานที่น่าจดจ าและเป็นปีที่น่าจดจ าที่สุดปีนึงของพวกเราทุก ๆ คน พูดถึงกี่ครั้ง ๆ ก็อดที่จะอมยิ้มและหัวเราะไปกับความรู้สึกและความทรงจ าดี ๆ ที่เกิดขึ้น มากมายในวันนั้นไม่ได้เลยครับ ศิษย์ขอกราบขอบพระคุณครูส าหรับทุก ๆ อย่าง และขอกราบลาครูครับ… นาย อาทิตย์ อินศร ตัวแทนศิษย์เก่าโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี รุ่น 18-21
๔๐ ดิฉันในฐานะนักเรียนสาธิตรุ่น 36,39 มีโอกาสได้เรียนกับอาจารย์บัณฑิตทั้งช่วง มัธยมต้นและมัธยมปลายอีกทั้งยังมีโอกาสได้รับความเมตตาจากอาจารย์ในการสอนหลักสูตร เศรษฐศาสตร์เข้มข้นเพื่อตอบปัญหาธนาคารแห่งประเทศไทย สิ่งที่ได้เรียนรู้จากอาจารย์โดย บังเอิญนอกเหนือจากวิชาความรู้นั้นคือ อาจารย์บัณฑิตเป็นคนที่มีความสุขุมและมีการ ควบคุมสติที่ดีมาก เป็นคนตรงต่อเวลา เข้มงวดต่อตนเองแต่มีเมตตายืดหยุ่นต่อผู้อื่น สมัยที่ เป็นนักเรียนในที่ปรึกษาของอาจารย์ นักเรียนห้องศิลป์ ค่อนข้างเป็นเด็กที่มีความคิดเป็นของ ตัวเองสูงและอาจจะสูงพอถึงขั้นดื้อรั้น ไม่ท าตามระเบียบ เถียงอาจารย์อยู่บ่อยๆ แต่เพราะ ความสงบ สุขุม และสติที่มีมั่นคงของอาจารย์ท าให้พวกเรารู้สึกเกรงใจและรับฟังสิ่งที่ต้องการ สอน สิ่งที่ประทับใจอีกอย่างหนึ่งในตัวอาจารย์คือ อาจารย์ไม่เคยพูดหยาบคายและใช้ค าพูดที่ ดีต่อผู้ฟังมาโดยตลอด ด้วยเหตุนี้นักเรียนในที่ปรึกษาจึงรู้สึกรักและเคารพอาจารย์มาก การมี อาจารย์เป็นที่ปรึกษาท าให้พวกเรารู้สึกอุ่นใจและรู้สึกปลอดภัยตลอดเวลาขอบพระคุณความ เมตตาต่างๆที่อาจารย์มอบให้พวกเราและการรับฟังในเรื่องที่ดูเป็นเรื่องเล็กส าหรับคนอื่นแต่ อาจารย์กลับให้ความส าคัญและให้ค าปรึกษาที่ดีมีเหตุผลมาโดยตลอด ขอให้คุณความดีและ ความเมตตาของอาจารย์ที่มีต่อผู้อื่นมาตลอดน าพาอาจารย์ให้อาจารย์ได้พักผ่อนในที่ที่สงบ พวกเราห้อง4 จะจดจ าความดี ความอบอุ่น ความเมตตาของอาจารย์และแบ่งปันให้ผู้อื่น เหมือนที่อาจารย์เคยปฏิบัติต่อพวกเรา รักและเคารพอาจารย์เสมอ “ นางสาวจิรปรียา ฮวดกุล ศิษย์เก่ารุ่น 36,39 แผนการเรียนภาษาอังกฤษ - คณิตศาสตร์
๔๑ เมื่อครั้งที่รุ่นพวกเรา (ม.ปลาย ห้อง 4 รุ่น 19 พ.ศ.2529) เริ่มต้นม.4 อาจารย์เข้า มาสอนสังคมศึกษา ที่โรงเรียนสาธิตเป็นปีแรก พร้อม ๆ กับอาจารย์ปานและอาจารย์แฟ๊บ ที่ ท าให้พวกเราคึกคักกันเป็นพิเศษ เพราะอาจารย์เป็นหนุ่มหล่อ วัยรุ่น บุคลิกดี ใจเย็น นุ่มนวล และจนกระทั่งเมื่อได้กลับมาท างานที่คณะวิทยาการสื่อสาร ก็ได้เจออาจารย์อีกครั้ง เราพักอยู่ แฟลตอาจารย์ใกล้ ๆ กัน ดีใจที่สุดที่อาจารย์จ าลูกศิษย์ได้ และให้เกียรติลูกศิษย์คนนี้อย่าง ที่สุด ในทุกวาระของการท างานที่ต้องเชื่อมต่อกัน อาจารย์ปฏิบัติต่อเราเป็นเพื่อน ร่วมงาน ได้เคยไปประชุมพร้อม ๆ กันกับอาจารย์หลาย ๆ ครั้ง ขณะที่อาจารย์ท าหน้าที่ ผู้บริหารที่สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา และเราท างานบริหารที่คณะวิทยาการ สื่อสาร ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนหลากหลายเรื่องราว อาจารย์บอกเล่าถึงโรงเรียน ลูกศิษย์ในรุ่น หลัง ที่เปลี่ยนแปลงธรรมชาติกันไปตามยุคสมัย ความรู้สึกรักและผูกพันกับอาจารย์มีความลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ด้วยเพราะเรายังผูกพัน สนิทสนมกับอาจารย์กุ้ง กนกพร ภรรยาอาจารย์ เมื่อครั้งหนึ่งที่อาจารย์กุ้งสอนภาษาอังกฤษที่ โรงเรียนสาธิต ก่อนจะย้ายไปสอนที่โรงเรียนเดชะปัตนยานุกูล ยังจ าได้ เมื่อครั้งที่อาจารย์โจ แต่งงานกับอาจารย์กุ้ง พวกเรานักเรียนสาว ๆ หลายคนยังกิ๊วก๊าวกันกับข่าวดีอันนี้ เมื่อลูกชายเข้าเรียนที่โรงเรียนสาธิต ครั้งใดที่ได้พบเจออาจารย์ ก็ได้รับค ากล่าวถึง และชื่นชมลูกชายอยู่เสมอ ๆ รู้สึกได้ถึงความรักและเอื้อเอ็นดูจากรุ่นแม่สู่รุ่นลูกที่อาจารย์ได้ มอบให้...ด้วยความขอบพระคุณค่ะ ขอพรพระและสิ่งศักดิ์สิทธิ์น าพาอาจารย์ไปสู่ภพภูมิใหม่ที่สงบ สว่าง ร่มเย็น และ เป็นสุข จะระลึกถึงอาจารย์เสมอด้วยความขอบพระคุณ ในความรู้ ความรัก และความเมตตา ที่อาจารย์ได้มอบให้เสมอมา ด้วยรักและอาลัย วลักษณ์กมล จ่างกมล (เอี่ยมวิวัฒน์กิจ) ศิษย์สาธิต ห้อง 4 รุ่น 19
๔๒ แม้ห่างหาย จากสาธิต ไปหลายปี แต่ศิษย์นี้ ยังห่วงถึง คนึงหา ทราบข่าวคราว ดั่งดาวดับ ร่วงลับลา หยาดน้ าตา รินไหล ใจระทม ครูบัณฑิต ครูเครือศรี เป็นที่รัก ศิษย์ประจักษ์ ครูจากไป ใจขื่นขม ขอกราบลา ครูทั้งสอง ด้วยตรอมตรม ขอชื่นชม ความเป็นครู คู่ความดี ขอทั้งคู่ เดินทางสู่ สรวงสวรรค์ เป็นมิตรกัน บัณฑิต และเครือศรี ค่าของครู จะคงอยู่ ชั่วชีวี กลอนบทนี้ กราบลาครู จากดวงใจ ด้วยรัก เคารพ และ อาลัย จากหัวใจศิษย์สาธิต รุ่น 20 (17) ประพันธ์โดย ปรีดิยุช รัตนงาม
๔๓ วันที่ 28 ธันวาคม 2565 ราวช่วงเที่ยงกว่าๆ มีข้อความจาก “พี่เอ้” อดีตท่านผู้จัดการ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) สาขาสงขลานครินทร์ ปัตตานี ดีดขึ้นมาจากหน้าจอโทรศัพท์ พอ ได้อ่านก็ไม่เชื่อสายตาตัวเอง เพราะขับรถอยู่และติดไฟแดง เลยอ่านอีกที อ่านอยู่หลายรอบ เลยโทรไปหาพี่เอ้คุยกันจนพบว่าเป็นเรื่องจริงก็ท าอะไรไม่ค่อยถูกมึนงงไปชั่วขณะเพราะพี่เอ้ ยืนยันว่า “พี่โจ” เสียชีวิตแล้วเมื่อเช้าวันนี้ “พี่โจ” หรือ “ผศ.บัณฑิต ดุลยรักษ์” รองคณบดีและผู้อ านวยการโรงเรียนส าธิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่ายมัธยม) หลายคนคงรู้จักท่านและมีภาพจ าว่า ท่านคือ ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และยังเป็นอดีตผู้บริหารของสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา อีกด้วย แต่สิ่งที่ผมอยากเขียนถึง “พี่โจ” บันทึกและบอกเล่าไว้ เพราะอยากจะให้ทุกคน รับทราบว่า ส าหรับผมพี่โจเป็นมากกว่านั้น ในฐานะลูกศิษย์ ผมเป็นนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 23 ตอนนั้นเข้า มาเรียนในปี พ.ศ. 2530 ซึ่งในช่วงที่เป็นนักเรียนขั้น ม.ต้น พี่โจเองเพิ่งมาบรรจุเป็นอาจารย์ ใหม่ๆ ซึ่ง ท่าน ผอ.กมล คงทอง อดีตผู้อ านวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ซึ่ง เป็นครูของผมเช่นกันเลยเล่าให้ฟังบ่อยๆว่า โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในช่วง นั้น เป็นช่วงที่ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์อ านวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ในการสนับสนุนอัตราก าลังเพื่อจัดหาอาจารย์ประจ าเป็นจ านวนเยอะมาก โดยในรุ่นนั้นจะ ทยอยบรรจุมานับสิบๆคน และหนึ่งในนั้นก็คือพี่โจที่มาบรรจุรุ่นเดียวกับ ผอ.กมล นั่นเอง โดย พี่โจบรรจุสังกัดหมวดวิชาสังคมศึกษา และถือได้ว่าเป็นอาจารย์หนุ่มรุ่นใหม่ที่มีความสามารถ หลากหลาย และเด็กก็ชื่นชมว่า พี่โจเป็นอาจารย์หนุ่มที่หน้าตาดีคนหนึ่งของโรงเรียนเลยก็ว่า ได้
๔๔ ผมจ าได้ว่าพี่โจส าเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา (หรือมหาวิทยาลัยทักษิณในปัจจุบัน) จากนั้นส าเร็จปริญญาโท จากคณะการจัดการ สิ่งแวดล้อม ที่วิทยาเขตหาดใหญ่ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภูมิล าเนาเดิมเป็นคน จังหวัดภูเก็ต (จบมัธยมจากโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย) ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่ง หนึ่งของประเทศไทยเช่นกัน สิ่งหนึ่งที่จะสังเกตได้ก็คือ เวลาพี่โจพูดภาษากลางทั่วไป จะมีส าเรียงของความเป็น ส าเนียงภูเก็ตติดออกมาเป็นระยะ และจะชัดเจนมากเวลาที่พี่โจพูดภาษาส าเนียงใต้ จะเป็น ส าเนียงที่ออกไปทางฝั่งภูเก็ตอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่ผมจดจ ามาตั้งแต่เป็น นักเรียน สมัยเรียน ม.ต้น ถ้าจ าไม่ผิด ผมไม่เคยมีโอกาสเรียนหนังสือในรายวิชากับพี่โจเลย แต่ความใกล้ชิดที่ท าให้มีโอกาสได้รับการสั่งสอนและอบรมจากพี่โจก็คือ การที่ผมเป็นนักกีฬา ของโรงเรียน ประเภทกีฬาวอลเลย์บอล ซึ่งพี่โจเองก็เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลเช่นเดียวกัน และทุกครั้งที่มีเวลาในช่วงเย็น พี่โจก็จะมาร่วมเล่นร่วมฝึกกีฬาวอลเลย์บอลกับพวกเราเสมอ โดยเฉพาะเวลาจะไปแข่งกีฬาจังหวัดปัตตานี ซึ่งรุ่นนั้นเป็นรุ่นแรกของโรงเรียนที่ได้ไปแข่ง กีฬาวอลเลย์บอลกับโรงเรียนอื่นในจังหวัดปัตตานี พี่โจเค้าจะมาช่วยฝึกซ้อมให้กับพวกเรา ร่วมกับอาจารย์ท่านอื่น ๆ ในทุก ๆ เย็น สิ่งที่พี่โจสอนผมที่จ าได้ดีก็คือ การรับลูกอันเดอร์ว่าจะต้องตั้งแขนตรงและประสาน มือให้ดี แล้วย่อรับ จะช่วยผ่อนลูกวอลเลย์เพื่อส่งมือเซ็ทได้ และเป็นหลักคิดที่ท าให้ผมจดจ า บุคลิกที่มีความนุ่มนวลของพี่โจในฐานะครูของพวกเราทุกคนมาจนถึงทุกวันนี้ สมัยที่พี่โจเป็นอาจารย์สอนพวกเรา พี่โจจะมียานหนะคู่ใจอยู่คันนึงก็คือ “รถจักรยานยนต์ยามาฮ่าสีแดง” ที่จะขับไปมาเป็นประจ า ซึ่งสมัยนั้นสังคมของชาว ม.อ. ปัตตานี รถจักรยานยนต์จะเป็นยานพาหนะประจ าของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยในช่วงนั้นที่ใช้ กันมาก และเราก็จดจ าได้ดีถึงเอกลักษณ์ของรถครูพวกเราแต่ละท่านรวมถึงพี่โจ ว่าใครขับ รถจักรยานยนต์ประเภทไหนอะไรยังไงกันบ้าง เพราะเวลาจะโดดเรียนหรือไปไหนมาไหนจะ ได้เช็ครถอาจารย์ถูก
๔๕ ในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชา ปีพ.ศ. 2540 ได้มีโอกาสกลับมาท างานที่คณะศึกษาศาสตร์ สังกัดโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ซึ่งตอนนั้นมีฐานะเป็นภาควิชาหนึ่งของคณะศึกษาศาสตร์ ก็ได้มี โอกาสกลับมาเป็นเพื่อนร่วมงานกับพี่โจในอีกฐานะหนึ่ง แม้ความคุ้นชินเดิมเรามีความรู้สึกเสมอว่า เราคือลูกศิษย์และพี่โจคืออาจารย์ แต่ การมาท างานทั้งนี้ ท าได้เห็นถึงความเป็นกันเอง บุคลิกที่นุ่มนวล ความช่วยเหลือ และเอ็นดู เมตตา จากพี่โจที่มีให้ผมเสมอมา เพียงแค่เปลี่ยนจากสถานะของการเป็นศิษย์ มาเป็นเพื่อน ร่วมงานแทน เวลามีประชุมด้วยกันที่โรงเรียน ก็จะเห็นถึงการให้หลักคิดและเหตุผลที่พี่โจพยาม น าเสนอ โดยมีรายละเอียดต่างๆประกอบให้ทุกคนเห็นภาพความเข้าใจ และหากในบางครั้ง การประชุม แม้อาจจะมีใครที่อาจจะมีค าพูดที่มีอารมณ์แทรกอยู่บ้างเล็กน้อย แต่พี่โจก็จะ พยามใจเย็น และอธิบายด้วยเหตุผลต่างๆทุกครั้ง ซึ่งตรงจุดนี้ถือว่าเป็นแบบอย่างที่ดี ที่พี่โจได้ ท าให้เราเห็น และสอนเราด้วยการปฏิบัติจริงที่ผมจดจ าเสมอมา อีกเรื่องหนึ่งก็คือหลายคนอาจจะสงสัยว่า ท าไมผมถึงเรียกว่า “พี่โจ” ไม่เรียกว่า “อาจารย์โจ” เหตุผลก็เพราะว่า ตอนที่มาท างานครั้งแรกที่นี่ พี่โจได้แทนตัวเองว่าพี่แล้วบอก ว่า เรามาท างานในฐานะเป็นเพื่อนร่วมงานกัน ก็เรียกว่า “พี่แล้วกัน” จะได้มีความเป็นกันเอง ซึ่งประเด็นนี้น้องทุกคนที่เข้ามาท างาน ไม่ว่าจะเป็นศิษย์เก่าหรือใครที่จบจากที่อื่น ก็จะได้รับ การปฏิบัติเช่นนี้จากพี่โจเสมอมา ท าให้เห็นถึงความเมตตาน้อง ๆ ที่พี่โจเอาใจใส่รายละเอียด และความเป็นกันเองอย่างยิ่ง และช่วงเวลาที่ส าคัญที่สุดที่ผมจดจ าพี่โจไม่ลืมมาจนถึงวันนี้ก็คือ ช่วงนึงมหา วิทยาลัยให้ผมย้ายไปปฏิบัติราชการที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ เผื่อจะให้ไปช่วยพัฒนาคณะและ ขยายสาขาวิชาต่าง ๆ ที่นั่น โดยเฉพาะทางด้านดนตรี ซึ่งก่อนหน้านี้ ผมเองก็ไม่สามารถ ด าเนินการได้ เพราะมีปัจจัยหลายอย่าง แต่เมื่อพี่โจขึ้นมาเป็นผู้บริหารโรงเรียนสาธิต พี่โจให้ ความช่วยเหลือและจัดการทุกอย่างให้เป็นอย่างดียิ่ง โดยไม่มีเงื่อนไขที่จะขัดขวางหรือไม่ สนับสนุนส่งเสริมความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของผมตรงนี้เลยแม้แต่นิดเดียว ในทาง กลับกันพยายามส่งเสริมทุกสิ่งทุกอย่าง และช่วยเหลือให้ผมได้มีโอกาสไปท างานตามที่ได้มี การประสานงานไว้ และพี่โจยังได้จัดงานเลี้ยงแสดงความยินดีพร้อมทั้งมอบของขวัญให้กับผม ซึ่งเป็นของที่มีมูลค่ามากผมยังจดจ าภาพวันนั้นได้เป็นอย่างดี และท าให้ผมมีความรู้สึกว่า พี่โจ มีมุมหลายมุมที่ให้ความเมตตากับผมตั้งแต่เป็นศิษย์ จนกระทั่งมาเป็นพวนร่วมงานเสมอมาที่ ไม่เคยเปลี่ยนแปลงจริงๆ จนกระทั่งผมย้ายออกมาจาก
๔๖ โรงเรียนสาธิต แต่ทุกครั้งที่กลับไปที่โรงเรียนก็จะมีโอกาสได้แวะไปพบพี่โจ เข้าไปกราบสวัสดี ทุกครั้ง แม้จะมีภาระที่แต่ละคนต้องรับผิดชอบกันอยู่บ้างก็ตาม ผมจ าได้ว่าผมเจอพี่โจครั้งล่าสุดเมื่อประมาณปลายเดือนกันยายน ตอนนั้นผมเอา ของที่ระลึกไปมอบให้กับอาจารย์วิมลและอีกหลายท่านที่เกษียณที่โรงเรียน และได้เดินทาง กลับมาเจอพี่โจพอดี จึงได้เรียกพี่โจ แล้วไปกราบสวัสดีและพูดคุยทักทายกันตามปกติ โดย หลังจากนั้นก็ไม่ได้เจอกันอีกเลย แต่พอได้เห็นผ่าน ๆ กันบ้างเป็นระยะ จนมาได้ทราบข่าวการจากไปของพี่โจ ก็ตกใจค่อนข้างมาก เพราะทุกครั้งที่เจอพี่โจ ก็ยังปกติดีอยู่ทุกอย่าง แต่พอทราบมาบ้างว่าพี่โจไม่ค่อยสบายและต้องมีการรักษาเป็นระยะ แต่ก็ไม่รู้ว่ากระบวนการรักษาเรือการเจ็บป่วยนั้นเป็นอย่างไรบ้าง เพราะพี่โจไม่เคยบอกเรื่องนี้ กับใครทราบเลย ยกเว้นคนใกล้ตัวที่บังเอิญไปทราบเรื่องหรือคนใกล้ตัวที่เป็นคนในครอบครัว จริงๆ โอกาสนี้ผมขอให้ดวงวิญญาณของพี่โจสงบสุข ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ เพราะผม สังเกตมาว่าในช่วงหลังพี่โจดูท่าทางเหนื่อยมากกับหลายเรื่อง แต่ก็ยังคงมุ่งมั่นพยายามท า หน้าที่บริหารงานให้ดีที่สุดตามบุคลิกและความมุ่งมั่นของพี่โจ ในฐานะที่เป็นทั้งลูกศิษย์และเป็นอดีตผู้ใต้บังคับบัญชา ผมขอกราบขอบพระคุณทุก สิ่งทุกอย่างที่พี่โจได้ความกรุณาผม ไม่ว่าอาจจะมีใครบางคนมองพี่โจในมิติที่หลากหลายกันไป แต่ส าหรับผม พี่โจคือรุ่นพี่ที่เป็นแบบอย่างที่ที่มุ่งมั่นตั้งใจท างานที่ดี เป็นครูที่ให้ความเมตตา ลูกศิษย์คนนี้เสมอมาอย่างต่อเนื่องไม่เคยเปลี่ยนแปลง รัก-เคารพ-ศรัทธา-และจะอยู่ในใจเสมอครับ ผศ.ดร.นภดล ทิพยรัตน์ (นน) อดีตคณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ ศิษย์เก่าสาธิต ม.อ. มัธยม รุ่น 20/23
๔๗ “อาจารย์บัณฑิต ดุลยรักษ์” สอนวิชาเศรษฐศาสตร์ตอนมัธยมต้น อาจารย์จะเดิน เข้าห้องมาด้วยบุคลิกนิ่ง ๆ เรียบ ๆ มีแต่รอยยิ้ม น้ าเสียงและจังหวะการพูดที่เป็นเอกลักษณ์ อาจารย์ไม่ได้ดุเด็กหลังห้องอย่างผมที่ไม่ตั้งใจเรียนมากนัก เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นม.ปลายที่เต็มไปด้วยความมุทะลุดุดัน ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต สมัยนั้นอาจารย์ ด ารงต าแหน่ง “ผู้อ านวยการ” เด็กหลังห้องที่เพิ่มดีกรีความดื้อ ต้องโซซัด โซเซเข้าห้องกิจการนักเรียนบ่อยๆอย่างผม จึงได้ใกล้ชิดสนิทสนม กับครูบาอาจารย์ก็ตอนที่ ท าเรื่องแย่ ๆ แต่อาจารย์บัณฑิต หรือ ผอ.บัณฑิต ไม่เคยใช้อารมณ์ในการแก้ปัญหากับเด็กดื้อ อาจารย์พูดคุยอย่างพ่อที่เข้าใจลูก ถึงแม้สาธิตจะเต็มไปด้วยเด็กเก่ง แต่เด็กดื้อก็ไม่เคยถูก ผอ. มองข้าม บางครั้งการที่อาจารย์เลือกใช้วิธีเข้าหาอย่างเข้าใจ กลับท าให้ดื้อน้อยลง และเกรงใจ อาจารย์มากขึ้นด้วย ผมไม่แปลกใจเลยว่าท าไมอาจารย์ถึงด ารงต าแหน่งผู้อ านวยการโรงเรียน อยู่หลายวาระ อาจารย์คงเป็น “ที่รัก”ของทุกๆคน เหมือนที่ผมรัก การที่อาจารย์จากไปเร็วกว่าที่ควร จึงเป็นเรื่องน่าเสียดายและเสียใจเป็นอย่างยิ่ง อาจารย์น่าจะได้อยู่ดูความส าเร็จของลูกศิษย์หลายๆรุ่นต่อไปได้อีกนาน แต่ก็ต้องยอมรับ ความจริงที่ไม่มีผู้ใดหลีกเลี่ยง ขอกุศลผลบุญที่อาจารย์ได้กระท ามา น าส่งให้อาจารย์ประสบ แต่ความสงบสุขในสัมปรายภพตราบชั่วนิรันดร์ บุญทัต แท่นมงคลมาศ สาธิตรุ่น 24
๔๘ เรียน เพื่อนและเพื่อนร่วมงาน และบุคคลอันเป็นที่รักของคุณครู ผศ.บัณฑิต ดุลยรักษ์ ในฐานะลูกศิษย์ของคุณครูบัณฑิต ผมและทุกคนในรุ่นรู้สึกเสียใจเป็นอย่างยิ่งกับ ข่าวการจากไปของคุณครู คุณครูเป็นผู้อ านวยการที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล เชื่อว่าการจากไป อาจส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อชีวิตของนักเรียนหลายคนและชีวิตของคนอื่นๆ อีกมากมาย คุณครูบัณฑิตเป็นคนที่มีจิตใจดีและมีเมตตา มีรอยยิ้มที่อบอุ่นและมีค าพูดให้ ก าลังใจเสมอ คุณครูยังเป็นนักการศึกษาที่อุทิศตนเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ซึ่งคุณครูบัณฑิต มักจะท าเต็มที่เพื่อให้แน่ใจว่านักเรียนจะประสบความส าเร็จในชีวิต คุณครูมีความรักในการ สอนและใส่ใจในตัวนักเรียน เห็นได้ชัดจากวิธีที่คุณครูได้แสดงออก และให้นักเรียนมีส่วนร่วม และสร้างแรงบันดาลใจให้กับทุกคนในห้องเรียน ด้วยการสูญเสียบุคลากรอันทรงคุณค่ายิ่ง ผมและทุกคนในรุ่นขอแสดงความ เสียใจกับครอบครัว และบุคคลอันเป็นที่รัก จากการจากไปของคุณครูบัณฑิตเป็นอย่างยิ่ง และขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งในการผ่านช่วงที่ยากล าบากของคนในครอบครัวและคน อันเป็นที่รักของคุณครู คุณครูบัณฑิตจะอยู่ในความทรงจ าของทุกคนตลอดไป ในฐานะบุคคล พิเศษอย่างแท้จริงที่อุทิศตนมุ่งสร้างและพัฒนาศักยภาพของนักเรียนเพื่อความรู้และความ ยั่งยืนในชีวิตของนักเรียนตลอดไป ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง นายแพทย์นิติ ถาวรานุรักษ์ ตัวแทนนักเรียนสาธิต มอ. รุ่น 26 และ 29
๔๙ ย้อนกลับไปเมื่อยี่สิบกว่าปีที่แล้ว พวกเราสาธิต ม.ปลาย รุ่น 31 (ปี 2541) เป็น รุ่นที่โชคดีมากที่ยังมีโอกาสได้รับความรู้จากท่านอาจารย์บัณฑิต ในหลักสูตรวิชา เศรษฐศาสตร์ ถือเป็นอาจารย์ท่านแรกในชีวิตของลูกศิษย์คนนี้และเพื่อน ๆ ในรุ่นอีกหลายคน ที่ท่านได้วางพื้นฐานวิชาที่มีส่วนผสมของการคิดเชิงกลยุทธ์และการคิดเป็นระบบ จนหล่อ หลอมอยู่ในการเติบโตในอาชีพการงานของพวกเราในทุกวันนี้ ก่อนที่ท่านจะเติบโตขึ้นไปใน สายงานอื่น ๆ และงานบริหารตามความสามารถอันเฉียบคมของท่านตามที่คาดไว้ จนมาถึงในวันที่ 28 ธันวาคม 2565 วันที่พวกเราได้รับทราบโพสต์ข่าวสีด าใน กลุ่มข่าวชาวศิษย์สาธิต ที่ไม่คาดคิดว่าจะเป็นท่านอาจารย์บัณฑิต ผู้ที่ตั้งใจปลุกปั้นสาธิตของ พวกเรามาอย่างยาวนานหลายสิบปีตลอดช่วงชีวิตการท างานของท่านให้กับโรงเรียนสาธิต จวบจนวาระสุดท้ายของชีวิตของท่าน เป็นข่าวที่น่าเสียดายและหดหู่เสียใจของลูกศิษย์หลาย สิบรุ่นยิ่งนัก ขอให้การเดินทางไกลสู่สรวงสวรรค์ของท่านในครานี้ ด้วยคุณงามความดีที่ อาจารย์ได้สั่งสมมาโดยตลอดชีวิต จงเป็นแสงส่องน าพาดวงวิญญาณของอาจารย์บัณฑิต ไป สถิตเสถียรในสัมปรายภพอันสงบสุขตลอดนิรันดร์ ด้วยความเคารพรัก ผู้ช่วยศาสตราจารย์บัณฑิต ดุลยรักษ์ จากใจตัวแทนลูกศิษย์ สาธิต รุ่น 31 คนนี้ ประภัสสรา ศุภจรรยารักษ์ ตัวแทนศิษย์เก่าสาธิต รุ่น 31