คู่มือ ความปลอดภัย
อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม
ในการทำงาน
โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
คำนำ
คู่มือความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อ
ส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ความเข้าใจและทัศนคติที่ดีในการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย
และเป็นการรณรงค์ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ โดยคู่มือฉบับนี้ ได้รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่สำคัญ
เกี่ยวกับข้อมูลความปลอดภัยในโรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม ได้แก่ นโยบายด้านความ
ปลอดภัย คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน กฎ
ความปลอดภัยทั่วไป กฎความปลอดภัยเฉพาะงาน สารเคมีอันตรายในโรงงาน สัญลักษณ์
มาตรฐานสี การประเมินความเสี่ยง กิจกรรม 5ส แผนป้องกันและระงับอัคคีภัย ตลอดจน
ข้อมูลความปลอดภัยทั่วไป เช่น ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัยฯ สิทธิ
และหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง การตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง อุปกรณ์คุ้มครองความ
ปลอดภัยส่วนบุคคล (PPE) การช่วยฟื้ นคืนชีพ (CPR) และการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการ
ทำงาน เป็นต้น
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือฉบับนี้จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนในองค์กรสามารถนำไปเป็น
แนวทางในการปฏิบัติ อันจะนำไปสู่การลดการประสบอันตรายและความสูญเสีย โดยมุ่งเน้นให้
อุบัติเหตุต้องเป็น ศูนย์ และให้ถือว่าความปลอดภัยเป็นหน้าที่ของทุกคน
คณะผู้จัดทำ
สารบัญ
ข้อมูลความปลอดภัยในโรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม
1 นโยบายด้านความปลอดภัย
3 คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
6 กฎความปลอดภัยทั่วไป
8 กฎความปลอดภัยเฉพาะงาน
49 สารเคมีอันตรายในโรงงาน
52 สัญลักษณ์มาตรฐานสี
53 การประเมินความเสี่ยง
54 แผนป้องกันและระงับอัคคีภัย
62 กิจกรรม 5ส ปตท.
ข้อมูลความปลอดภัยทั่วไป
74 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัยฯ
79 สิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง
81 การตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง
83 อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (PPE)
85 สีและความหมายความปลอดภัย
87 การป้องกันและระงับอัคคีภัย
94 การช่วยฟื้ นคืนชีพ (CPR)
95 การตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 1
นโยบายคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม
การจัดการพลังงาน การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ และการแสดง
ความรับผิดชอบต่อสังคม โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม
GSP Quality, Security, Safety, Occup
ational Health, Environment, Energy,
Business Continuity Management and Social Responsibility (QSHE) Policy
โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอมมุ่งมั่นในการบริหารงานตามระบบการจัดการแบบบูรณาการ ซึ่งประกอบด้วย
ระบบคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม การจัดการพลังงาน การบริหารความต่อ
เนื่องทางธุรกิจ และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ภายใต้เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ด้วยหลักการ
บริหารบนพื้นฐานของความเสี่ยง เพื่อมุ่งสู่การดำเนินธุรกิจอย่างเป็นเลิศ และมุ่งสร้างวัฒนธรรม QSHE โดย
ดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างสมดุล และเป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
1
ปฏิบัติและติดตามการเปลี่ยนแปลงของข้อกำหนด กฎหมาย มาตรฐาน และพันธสัญญาที่
เกี่ยวข้องเป็นบรรทัดฐานเบื้องต้น และเป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมไปถึง
สถานการณ์ของโรคระบาด Covid-19 ในปัจจุบัน
2 มุ่งเน้นการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กรด้วยระบบการจัดการแบบบูรณาการตลอด
ห่วงโซ่อุปทาน เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณค่า
3 ควบคุม ป้องกัน ลดความเสี่ยงจากอุบัติการณ์ ความสูญเสีย ทรัพย์สิน ปกป้องพนักงานและ
องค์กรจากภัยต่าง ๆ อาทิ เช่น ภัยพิบัติ ภัยโรคติดต่อ และภัยคุกคามอื่น ๆ จากกระบวนการ
ผลิต การปฏิบัติงาน และโลจิสติกส์ เช่น การหกลันรั่วไหลจากสารเคมีอันตรายร้ายแรง โดยให้
ความสำคัญต่อการป้องกันการบาดเจ็บและเจ็บป่วยจากการทำงาน การส่งเสริมสุขภาพและ
อาชีวอนามัย รวมถึงกำหนดแนวทางการบริหารจัดการเหตุฉุกเฉิน ภาวะวิกฤต และความมั่นคง
ปลอดภัย อย่างเป็นระบบเพื่อให้ธุรกิจมีความต่อเนื่อง เป็นไปตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ
มนุษยชน ผ่านกลไกการปรึกษาและการมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพ
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 2
4 กำหนดมาตรการควบคุมและบริหารจัดการความเสี่ยง ความมั่นคงปลอดภัยจากภัยคุกคามด้าน
ไซเบอร์ โดยครอบคลุมระบบโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ (Infrastructure) และโปรแกรม
ประยุกต์(Application)
5 ส่งเสริม ผลักดัน และสร้างบรรยากาศในการทำงาน ให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ พัฒนา
บุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถอย่างมืออาชีพ โดยการส่งเสริมศักยภาพและการจัดการความรู้ที่
มีคุณค่า เพื่อเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมและการเรียนรู้ บนพื้นฐานค่านิยม SPIRIT และวัฒนธรรม
ความปลอดภัย คงไว้ซึ่งองค์กรแห่งความเป็นเลิศ
6 มุ่งเน้นแนวทางการมีส่วนร่วมระหว่างสายงานแยกก๊ซธรรมชาติกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยบูรณา
การเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมไว้ในกระบวนการดำเนินธุรกิจ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการสร้าง
คุณค่าร่วมอย่างยั่งยืน รวมถึงการสื่อสารนโยบาย ผลการดำเนินงาน และข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ผู้มี
ส่วนได้ส่วนเสียรับทราบอย่างโปร่งใส
7 บริหารจัดการความเสี่ยงและโอกาสด้านสิ่งแวดล้อม โดยการปกป้องระบบนิเวศ ป้องกันมลพิษที่
แหล่งกำเนิด ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คงไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพ และใช้ทรัพยากร
ในการสร้างผลิตภัณฑ์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้น้ำและพลังงาน รวมถึงการบรรเทาและปรับตัวต่อการ
เปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เพื่อมุ่งสูโรงงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Industry)
และมุ่งสู่สังคมที่มีการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณที่ต่ำลง (Low Carbon Society)
8 ติดตาม ประเมินผล และทบทวนประสิทธิผลด้าน QSHE รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการ
ทำงานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และสามารถตอบสนองการ
เปลี่ยนแปลงที่ท้าทายอย่างเป็นระบบ ผู้บริหารทุกระดับต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่าง รับผิดชอบ
ในผลการตัดสินใจ ส่งเสริม สนับสนุน และผลักดันการดำเนินงานตามนโยบายฉบับนี้ พนักงานและ
ผู้ปฏิบัติงานทุกคนต้องรับทราบ เข้าใจ มีส่วนร่วมและปฏิบัติตามในทุกขั้นตอนการปฏิบัติงาน เพื่อ
ให้องค์กรบรรลุเป้าหมายที่กำหนด
ผู้บริหารทุกระดับต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่าง รับผิดชอบในผลการตัดสินใจ ส่งเสริม
สนับสนุน และผลักดันการดำเนินงานตามนโยบายฉบับนี้ พนักงานและผู้ปฏิบัติงานทุกคนต้องรับทราบ
เข้าใจ มีส่วนร่วมและปฏิบัติตามในทุกขั้นตอนการปฏิบัติงาน เพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมายที่กำหนด
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 3
คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ
สภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.)
คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) เป็นการร่วมมือจากทุก
ภาคส่วนในองค์กรในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยไม่ว่าจะเป็นนายจ้าง ลูกจ้าง โดยมีหน้าที่ในการพิจารณา
นโยบายและแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน รายงานและเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางปรับปรุงแก้ไข
ให้ถูกต้องตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน ส่งเสริม สนับสนุน กิจกรรมด้านความปลอดภัยใน
การทำงานของสถานประกอบกิจการ สำรวจการปฏิบัติการด้านความปลอดภัยในการทำงาน และตรวจสอบสถิติ
การประสบอันตรายที่เกิดขึ้นในสถานประกอบกิจการนั้น วางระบบการรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยให้
เป็นหน้าที่ของลูกจ้างทุกคนทุกระดับต้องปฏิบัติ รวมทั้งประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการ
ทำงานของสถานประกอบกิจการ เป็นต้น โดยสถานประกอบกิจการควรมีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
ทั้งนี้ กฎกระทรวงบริหารการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.
2549 ได้กำหนดให้สถานประกอบกิจการที่มีจำนวนพนักงานตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ต้องมีคณะกรรมการความ
ปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานของสถานประกอบกิจการและได้แบ่งจำนวนของคณะ
กรรมการความปลอดภัยฯ ตามจำนวนลูกจ้าง ดังนี้
สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50-99 คน
ให้มีคณะกรรมการไม่น้อยกว่า 5 คน ประกอบด้วย
• นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเป็นประธาน
• ผู้แทนนายจ้างระดับบัญชา 1 คนเป็นกรรมการ
• ผู้แทนลูกจ้าง 2 คนเป็นกรรมการ
• จป.เทคนิคขั้นสูงหรือ จป.วิชาชีพ เป็นกรรมการและเลขานุการ
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 4
คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ
สภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) (ต่อ)
สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100-499 คน
ให้มีคณะกรรมการไม่น้อยกว่า 7 คน ประกอบด้วย
• นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเป็นประธาน
• ผู้แทนนายจ้างระดับบัญชา 2 คนเป็นกรรมการ
• ผู้แทนลูกจ้าง 3 คนเป็นกรรมการ
• จป.เทคนิคขั้นสูงหรือจป.วิชาชีพ เป็นกรรมการและเลขานุการ
สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป
ให้มีคณะกรรมการไม่น้อยกว่า 11 คน ประกอบด้วย
• นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเป็นประธาน
• ผู้แทนนายจ้างระดับบัญชา 4 คนเป็นกรรมการ
• ผู้แทนลูกจ้าง 5 คนเป็นกรรมการ
• จป.เทคนิคขั้นสูงหรือจป.วิชาชีพ เป็นกรรมการและเลขานุการ
โดยกรรมการมีวาระ 2 ปี และหากคณะกรรมการมีมากกว่าขั้นต่ำ ให้เพิ่มกรรมการจากผู้แทนนายจ้างและผู้แทนลูกจ้าง
ในสัดส่วนที่เท่ากันซึ่งในแต่ละตำแหน่งนั้นสามารถดำเนินการได้ ดังนี้
>> ประธานกรรมการ ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง นายจ้างสามารถแต่งตั้งได้เลย<<
>> ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง จะต้องมีการเลือกตั้งให้เป็นตามกฎหมายกำหนด<<
>> เลขานุการที่เป็น จป.วิชาชีพหรือ จป.เทคนิคขั้นสูง นายจ้างสามารถแต่งตั้งได้ตามความเหมะสม กรณีไม่
มีจป.วิชาชีพหรือ จป.เทคนิคขั้นสูง ให้นายจ้างแต่งตั้งผู้แทนนายจ้างมาเป็น <<
" เพราะเรื่องของความปลอดภัย เป็นหน้าที่ของทุกคนในองค์กร "
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 5
คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ
สภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.)
โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอมมีจำนวนพนักงาน 50 – 99 คน ซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีคณะกรรมการ
ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) ไม่น้อยกว่า 5 คน โรงแยกก๊าซขนอม
จึงแต่งตั้งให้มี คปอ. จำนวน 9 คน ดังนี้
ประธานกรรมการ
ผู้จัดการฝ่ายโรงแยกก๊าซขนอม
จป.ว.
เลขานุการ/ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง
ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง
ผู้จัดการส่วน ตัวแทนแผนกเดินเครื่อง
คุณภาพความปลอดภัย ตัวแทนแผนกวิศวกรรม
อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมฯ ตัวแทนแผนกเครื่องกล
ตัวแทนแผนกไฟฟ้า
ผู้จัดการส่วน
ปฏิบัติการฯ
ผู้จัดการส่วน
วิศวกรรมบำรุงรักษาฯ
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 6
กฎความปลอดภัยทั่วไป
1 ปฏิบัติตามคู่มือ มาตรฐาน กฎหมายและนโยบายการปฏิบัติงานของโรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม
เป็นพื้นฐานรวมทั้งไม่ปฏิบัติในสิ่งที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
2 ปฏิบัติตามแผนฉุกเฉิน กฎระเบียบ เครื่องหมาย ป้ายห้าม ป้ายเตือน และคำแนะนำของ
โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอมอย่างเคร่งครัด
3 ห้ามเล่นการพนัน ห้ามนำสิ่งเสพติดทุกชนิดที่ผิดกฎหมายเข้ามาในเขตโรงแยกก๊าซ
ธรรมชาติขนอม รวมถึงห้ามดื่ม หรือเสพของมึนเมา หรืออยู่ในอาการมึนเมา ตลอด
เวลาที่อยู่ในพื้นที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม
4 ห้ามหยอกล้อเล่น ห้ามทำพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ห้ามก่อเหตุทะเลาะวิวาท
และห้ามส่งเสียงดังภายในพื้นที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม
5 ห้ามนำทรัพย์สิน หรือสิ่งของทุกชนิดของโรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอมออกนอกพื้นที่โดยไม่ได้
รับอนุญาต ผู้ฝ่าฝืนจะถูกส่งดำเนินคดีตามกฎหมาย
6 ห้ามสูบบุหรี่ หรือทำให้เกิดประกายไฟใด ๆในเขตโรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม
ยกเว้นพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต
ผู้ปฏิบัติงาน ต้องแต่งกายอย่างเหมาะสม และการปฏิบัติงานในพื้นที่กระบวนการผลิตต้องสวม
7 ใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พื้นฐาน ประกอบด้วย หมวกนิรภัย รองเท้า
นิรภัย แว่นนิรภัย และเสื้อแขนยาว ส่วนอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยอย่างอื่นขึ้นอยู่กับ
ลักษณะการปฏิบัติงาน และในช่วงที่มีการระบาดของไวรัสโคโรน่า ผู้ปฏิบัติงานต้องได้รับการ
คัดกรอง วัดอุณหภูมิ ติดสติกเกอร์ ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอร์ เว้นระยะห่าง และต้องส่วน
หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 7
กฎความปลอดภัยทั่วไป (ต่อ)
8 เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์และยานพาหนะ ต้องได้รับการตรวจสอบตามวาระ และใช้ให้เหมาะสม
กับงานอย่างถูกวิธี เมื่อเกิดชำรุดเสียหายต้องรายงานผู้บังคับบัญชา หรือผู้ควบคุมงานทราบทันที
9 การนำยานพาหนะต่าง ๆ เครื่องยนต์หรือเครื่องจักร ถังแรงดัน อุปกรณ์ดับเพลิง อุปกรณ์ไฟฟ้า
กล้องถ่ายรูปและอุปกรณ์ที่อาจก่อให้เกิดประกายไฟเข้าปฏิบัติงานในพื้นที่กระบวนการผลิต จะต้อง
ได้รับการตรวจสภาพและอนุญาตก่อนทุกครั้ง
10 ก่อนเริ่มปฏิบัติงาน ผู้ควบคุมงาน จะต้องดำเนินการให้มีการขออนุญาตปฏิบัติงาน ((WWoOrRkKPermit)
PERMIT) ตามระบบการขออนุญาตปฏิบัติงานทุกครั้ง
11 ตรวจสอบสภาพความปลอดภัยในบริเวณที่ปฏิบัติงานก่อนลงมือปฏิบัติงานทุกครั้ง
12 รายงานผู้บังคับบัญชาหรือผู้ควบคุมงานทันที เมื่อเกิดอุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์หรือเมื่อพบเห็น
การกระทำหรือสภาพการณ์ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อม
13 สถานที่ทำงานต้องไม่มีสิ่งของเหลือใช้หรือเกินความจำเป็น และต้องจัดสิ่งของที่มีอยู่ให้เป็น
ระเบียบไม่กีดขวางอุปกรณ์ดับเพลิง และเส้นทางอพยพ
14 การใช้ ปรับแต่ง เปลี่ยนแปลง หรือซ่อมแซมอุปกรณ์ใด ๆ ต้องกระทำโดยผู้มีหน้าที่แลได้รับ
อนุญาตเท่านั้น
15 กำหนดความเร็วยานพาหนะ ภายในเขตพื้นที่หวงห้ามไม่เกิน 20 กม./ ชม. และในเขตพื้นที่
ควบคุมไม่เกิน 40 กม./ชม.
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 8
กฎความปลอดภัยเฉพาะงาน
ข้อที่ เรื่อง หน้า
1 กฎเฉพาะงานสำหรับงานที่มีความร้อนในเขตพื้นที่กระบวนการผลิต 10
2 กฎเฉพาะงานสำหรับงานที่เกี่ยวกับสารเคมี 11
3 กฎเฉพาะงานสำหรับงานฉายรังสี 12
4 กฎเฉพาะงานสำหรับงานตรวจสอบ / ซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในเขตพื้นที่หวงห้าม 14
5 กฎเฉพาะงานสำหรับงาน เปลี่ยน High Voltage Fuse 15
6 กฎเฉพาะงานสำหรับงาน Isolate Rotating Equipment 16
7 กฎเฉพาะงานสำหรับงาน Isolate Stationary Equipment 17
8 กฎเฉพาะงานสำหรับงาน ถอด / ขนย้าย / ห่อหุ้ม / รื้อถอน Insulation 18
9 กฎเฉพาะงานสำหรับงานยกของหนักโดยใช้ Overhead crane 19
10 กฎเฉพาะงานการเคลื่อนย้ายวัสดุอย่างปลอดภัยด้วยรถยก (Forklift) 20
11 กฎเฉพาะงานการเคลื่อนย้ายวัสดุ สิ่งของด้วยรถเครนเคลื่อนที่ หรือรถเฮียบ 22
12 กฎเฉพาะงานเกี่ยวกับการขนย้ายวัสดุหรือสิ่งของด้วยแรงคน 23
13 กฎเฉพาะงานสำหรับการเข้าห้อง Enclosure Gas Turbine 24
14 กฎเฉพาะงานสำหรับการปฏิบัติงาน ในที่อับอากาศ 25
15 กฎเฉพาะงานสำหรับการ ทำ Hydrostatic Test 27
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 9
กฎความปลอดภัยเฉพาะงาน (ต่อ)
ข้อที่ เรื่อง หน้า
16 กฎเฉพาะงานสำหรับงานติดตั้ง / รื้อถอนนั่งร้าน 28
17 กฎเฉพาะงานสำหรับการทำงานบนที่สูงเกิน 2 เมตรขึ้นไป 30
18 กฎเฉพาะงานสำหรับการ ใช้เครื่อง High Pressure Water Jet ภายในโรงงาน 32
19 กฎเฉพาะงานสำหรับงาน เติมสารเคมี/น้ำมัน 33
20 กฎเฉพาะงานสำหรับงานที่มีไอก๊าซฟุ้งกระจายในเขตโรงงาน 34
21 กฎเฉพาะงานสำหรับการขนส่งสารเคมีอันตรายของผู้รับเหมา 35
22 กฎเฉพาะงานสำหรับการขนส่งกากของเสียโดยผู้รับเหมา 36
23 กฎเฉพาะงานสำหรับการนำรถกอล์ฟเข้าเขตพื้นที่กระบวนการผลิต 37
24 กฎเฉพาะงานสำหรับการนำรถยนต์เข้าเขตพื้นที่โรงงาน 38
25 กฎเฉพาะงานสำหรับการนำเครื่องยนต์เบนซินเข้าเขตโรงงาน 40
26 กฎเฉพาะงานสำหรับการถ่ายรูปภายในโรงงาน 41
27 กฎเฉพาะงานเกี่ยวกับการทำงานในพื้นที่ที่ติดตั้งระบบดับเพลิงด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 43
28 กฎเฉพาะงานสำหรับงานขุดเจาะ 44
29 กฎเฉพาะงานสำหรับการปฏิบัติงานในเขตบ่อน้ำดับเพลิงและบ่อน้ำสำรองดับเพลิง 45
30 กฎเฉพาะงานสำหรับการปฏิบัติงานบนที่สูงภายในอาคาร 46
31 กฎเฉพาะงานสำหรับการปฏิบัติงานทั่วไปในพื้นที่กระบวนการผลิต 48
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 10
1.กฎเฉพาะงานสำหรับงาน
ที่มีความร้อนในเขตพื้นที่
กระบวนการผลิต
1.1 ผู้ปฏิบัติงานต้องติดป้ายเตือนเพื่อแสดงว่า กำลังปฏิบัติงานที่มีความร้อนไว้ ณ จุด
ปฏิบัติงาน โดยติดในบริเวณที่บุคคลอื่นสามารถมองเห็นได้ชัดเจน อย่างน้อย 1 ป้าย/จุด
1.2 ในการปฏิบัติงานที่มีประกายไฟ เช่น งานเชื่อม ตัด เจียร ฯลฯ ผู้ปฏิบัติงานจะต้องจัดหา
วัสดุปิดล้อมรอบจุดที่ปฏิบัติงานอย่างมิดชิด ตามลักษณะดังนี้
พื้นที่ปฏิบัติงานทั่วไปที่มีความสูงไม่เกิน 2 เมตร ต้องมีวัสดุป้องกันประกายไฟปิดล้อมที่
มีคุณสมบัติทนความร้อนต่อเนื่องได้ เหมาะสมกับลักษณะงาน เช่น แผ่นโลหะ ผ้าคลุม
กันไฟ เป็นต้น
พื้นที่ปฏิบัติงานทั่วไปที่มีความสูงเกิน 2 เมตร ต้องใช้ผ้าคลุมกันไฟที่มีคุณสมบัติทน
ความร้อนต่อเนื่องได้เหมาะสมกับลักษณะงาน พื้นล่างของจุดปฏิบัติงานให้ใช้วัสดุที่ไม่
ติดไฟรองรับ เช่น ทราย หรือน้ำ เป็นต้นวัสดุ จะต้องได้รับการอนุญาตจากพนักงาน
สังกัดส่วน ปน.
1.3 ถังดับเพลิงมือถือหิ้วของผู้รับเหมาที่จะนำเข้าไปใช้ในเขตพื้นที่โรงงาน จะต้องผ่านการ
ตรวจสอบจากส่วน ปน.
ถังดับเพลิงต้องมีอัตราการดับเพลิงไม่น้อยกว่า 10-A 40-B จำนวน 2 ถัง/จุด ขนาด
ไม่น้อยการ 10 ปอนด์
ถังดับเพลิงต้องอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน ความดันในถังต้องอยู่ในระดับปกติ
1.4 เครื่องวัดก๊าซ (Gas detector) แบบถือหิ้วของผู้รับเหมาที่จะนำเข้าไปใช้ในเขตพื้นที่
โรงงาน จะต้องผ่านการตรวจสอบจากพนักงานสังกัดแผนก ฟค.
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 11
2. กฎเฉพาะงานสำหรับ
งานที่เกี่ยวกับสารเคมี
2.1 ศึกษาข้อมูลของสารเคมีที่ใช้ในการปฏิบัติงานจาก Safety Data Sheet (SDS) ให้เข้าใจ หากต้องการการ
สนับสนุนต่าง ๆ เช่น การกั้นพื้นที่ PPE เป็นต้น ให้ปรึกษาพนักงานส่วน ปน.
2.2 ตรวจสภาพความปลอดภัยในพื้นที่ปฏิบัติงานก่อนการทำงาน
2.3 กำหนดและกั้นบริเวณที่ปฏิบัติงาน และผู้ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องต้องออกนอกบริเวณปฏิบัติงาน
2.4 ให้มีผู้รับผิดชอบเฝ้าระวังที่หน้างานตลอดเวลาทำงาน
2.5 เมื่อต้องปฏิบัติงานสัมผัสกับสารเคมี จะต้องสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยอย่างเหมาะสม เช่น
สวมชุดป้องกันสารเคมี
รองเท้าและถุงมือป้องกันสารเคมี
หน้ากากชนิดเต็มหน้า และที่กรองก๊าซพิษแต่ละชนิดของสารเคมี
2.6 กรณีต้องไปปฏิบัติงานภายในพื้นที่อับอากาศ ซึ่งมีสารเคมี จะต้องปฏิบัติ
ตามกฎความปลอดภัยเฉพาะงาน เรื่องการทำงานในที่อับอากาศ ร่วมด้วย
2.7 กรณีค่าออกซิเจนต่ำกว่า 19.5 % หรือกรณีปริมาณก๊าซพิษของสารเคมี
เกินค่ามาตรฐาน ต้องสวมใส่เครื่องช่วยหายใจในการปฏิบัติงาน (Airline)
2.8 หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีโดยตรง
2.9 กำหนดพื้นที่เตรียมสารเคมีในพื้นที่ปฏิบัติงานให้เหมาะสม มีถาดหรือ
พลาสติกรองรับ เพื่อป้องกันการหกล้นรั่วไหล สะดวกต่อการขนย้าย และง่ายแก่
การจัดเก็บ
2.10 สารเคมีที่หกล้นออกมาให้ทำการชะล้างอย่างถูกวิธีและทันที ถ้าเป็น
ของแข็งสามารถ ตักหรือจัดเก็บในภาชนะบรรจุที่เตรียมไว้ทันที
2.11 เมื่อสารเคมีไหลลงสู่รางระบายน้ำ ต้องแจ้งส่วนปฏิบัติการผลิต โรงแยก
ก๊าซฯ ทราบเพื่อปิดกั้นรางระบายน้ำ และควบคุมไม่ให้รั่วไหลลงสู่รางน้ำสาธารณะ
2.12 ภาชนะหรือถุงใส่สารเคมีที่เติมแล้ว จะต้องจัดเก็บหรือกองให้เรียบร้อย
แล้วนำไปลงทะเบียนขยะอันตรายเพื่อส่งกำจัดอย่างถูกวิธี
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 12
3. กฎเฉพาะงานสำหรับ
งานฉายรังสี
3.1 ผู้ปฏิบัติงานต้องผ่านการอบรม และมีรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรังสีชนิดที่ต้องนำมาใช้งานเป็น
อย่างดี
3.2 ต้องแสดงใบอนุญาตผ่านการอบรม และได้รับอนุญาตให้สามารถปฏิบัติงานเกี่ยวกับสารรังสี
นั้นๆ ได้ตามที่ทางราชการกำหนดและผู้ควบคุมงานมีหน้าที่ในการจัดเก็บ และแสดงกรณีมีการตรวจ
สอบ
3.3 จัดให้มีอุปกรณ์ปิดกั้นบริเวณโดยรอบ พื้นที่ที่จะทำการฉายรังสี ในรัศมีที่ปลอดภัย
3.4 จัดให้มีป้ายสัญลักษณ์เตือน และสัญญาณไฟกะพริบ แสดงบริเวณพื้นที่ที่มีการฉายรังสีให้เห็น
เด่นชัดและในปริมาณที่เพียงพอ เพื่อป้องกันมิให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องผ่านเข้าใกล้จุดที่มีการฉายรังสีนั้น ๆ
3.5 ผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับสารกัมมันตรังสีต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลชนิดที่ได้
รับการรับรองแล้วจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ และติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดการรับรังสีสะสมประจำตัว
ที่ยังมีอายุการใช้งานได้ ไว้ประจำตัวตลอดเวลาการปฏิบัติงาน
3.6 จัดให้มีเจ้าหน้าที่พร้อมอุปกรณ์ตรวจวัดปริมาณรังสี เดินตรวจวัดปริมาณรังสีโดยรอบพื้นที่ที่
มีการฉายรังสีเพื่อให้มั่นใจได้ว่าไม่มีปริมาณสารรังสีที่เป็นอันตรายต่อบุคคลเล็ดลอดออกนอก
บริเวณที่ปิดกั้น โดยปริมาณรังสีที่วัดได้ต้องมีค่าไม่เกิน 25 uSv/hr หรือ 2.5 mR/hr ในกรณีที่
ตรวจพบว่าปริมาณรังสีมีค่ามากกว่าที่กำหนดให้หยุดปฏิบัติงานทันที จนกว่าจะทำการปรับปรุงแก้ไข
ให้ปริมาณรังสีอยู่ในช่วงที่กำหนดจึงจะอนุญาตให้ปฏิบัติงานได้
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 13
3. กฎเฉพาะงานสำหรับ
งานฉายรังสี (ต่อ)
3.7 บันทึกผลการตรวจวัดปริมาณรังสีในช่วงก่อน ระหว่างการปฏิบัติงานทุก
ชั่วโมง และเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน ซึ่งจุดการตรวจวัดนั้นให้อ้างอิงบริเวณที่เข้า
ถึงได้ 4 จุดทั้ง 4 ทิศแนวราบโดยรอบรัศมีการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นข้อมูลในการ
ติดตามและเฝ้าระวังปริมาณรังสีหรือแนวโน้มที่อาจเกิดความผิดปกติในระหว่างที่มี
การปฏิบัติงานกับรังสี
3.8 การขออนุญาตฉายรังสีผู้ปฏิบัติงานต้องใช้ใบอนุญาต "งานฉายรังสี" คู่กับ
ใบอนุญาตทำงานธรรมดาหรือใบอนุญาตทำงานที่มีความร้อนหรือประกายไฟขึ้น
กับลัษณะการปฏิบัติงาน
3.9 การปฏิบัติงานฉายรังสีทุกชนิด ควรหลีกเลี่ยงการปฏิบัติงานในเวลากลาง
วัน หากมีความจำเป็นเร่งด่วนให้ปฏิบัติงานได้ในเวลาพักกลางวันระหว่างเวลา
12:00 - 13:00 น. เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับผู้ปฏิบัติงานข้างเคียง
3.10 การจัดเก็บตัวประจุสารกัมมันตรังสี เมื่องานฉายรังสีแล้วเสร็จ ต้องจัดเก็บ
อย่าถูกวิธีตามที่คู่มือกำหนดและจัดเก็บในที่ที่ปลอดภัย
3.11 กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินทางรังสี
ก่อนเริ่มปฏิบัติงาน ต้องให้ผู้รับจ้างต้องจัดเตรียมแผนฉุกเฉินกรณีเกิดรั่ว
ไหลทางรังสี ที่สามารถใช้งานได้จริงกับพื้นที่โดยให้ทางผู้ควบคุมงาน และ
พนักงานบริหารความปลอดภัย ของ ปตท. เป็นผู้พิจารณา
กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการ (CCR) ต้องประกาศแจ้งผู้
ปฏิบัติงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขเหตุฉุกเฉินอพยพเข้าสู่อาคารศูนย์
ควบคุมการปฏิบัติการจนกว่าเหตุการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติหรือได้รับคำสั่ง
อพยพจากผู้บัญชาการเหตุฉุกเฉิน (Emergency Director)
ศูนย์บัญชาการเหตุฉุกเฉินประสานงานอย่างใกล้ชิดเพื่อแก้ไขปัญหาเหตุ
ฉุกเฉินทางรังสีกับทีมแก้ไขเหตุฉุกเฉินทางรังสีของผู้รับจ้าง
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 14
4. กฎเฉพาะงานสำหรับ
งานตรวจสอบ / ซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า
ภายในเขตพื้นที่หวงห้าม
4.1 ขออนุญาตการทำงานจากส่วนปฏิบัติการผลิต โดยทำตามระบบของ
Work Permit
4.2 กั้นบริเวณที่มีการตรวจสอบ / ซ่อมอุปกรณ์
4.3 ติดตั้งป้ายเตือนอันตรายจากไฟฟ้าในบริเวณที่ตรวจสอบ / ซ่อม
อุปกรณ์
4.4 ห้ามผู้ที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าบริเวณที่ปฏิบัติงาน ตรวจสอบซ่อม
อุปกรณ์
4.5 แขวน Tag ที่ตัวอุปกรณ์ที่ทำการตรวจสอบ / ซ่อม รวมถึงแขวน Tag
ที่ Main Breaker ในห้อง Switch Gear
4.6 สวมอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล เช่น ถุงมือผ้า ถุงมือหนัง ถุงมือ
กันกระแสไฟฟ้า เมื่อต้องปฏิบัติงานกับอุปกรณ์ที่ยังมีกระแสไฟฟ้าอยู่
4.7 ห้ามเข้าใกล้ Shutter Door ของ HV & LV Switch Gear ที่มีกระแส
ไฟฟ้าอยู่ อาจเกิด Flash Overได้
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 15
5. กฎเฉพาะงานสำหรับงาน
เปลี่ยน High Voltage Fuse
5.1 ขออนุญาตการทำงานจากแผนกควบคุมการผลิต โดยทำตามระบบของ Work
Permit
5.2 ต้องปลด Load ทางด้าน Secondary ของหม้อแปลงออกก่อนเสมอ
5.3 สวมอุปกรณ์ป้องกันและถุงมือสำหรับงานไฟฟ้าแรงสูง เมื่อต้องปฏิบัติงานกับ
อุปกรณ์ ที่ยังมีกระแสไฟฟ้าอยู่
5.4 ก่อนที่จะทำ Megger Test จะต้อง Discharge ประจุที่ค้างอยู่ในสายออกก่อน
โดยใช้ Ground Stick
5.5 การชัก Fuse ออกจะต้องใช้ไม้ชัก Fuse ชนิด High Voltage ทุกครั้ง
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 16
6. กฎเฉพาะงานสำหรับงาน
Isolate Rotating Equipment
6.1 ต้องทำการ Off Breaker เพื่อตัดระบบไฟฟ้าที่จ่ายให้กับ Rotating
Equipment ตัวนั้น ๆ และแขวน Tag ก่อนทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน
6.2 ต้องหยุดระบบ Lube Oil , Seal Oil และปิด Supply Valve ทุกครั้งและต้อง
Vent Pressure ในระบบให้เหลือ 0 Barg และ Drain Liquid ที่มีอยู่ออกให้หมด
6.3 ต้องปิด Suction, Discharge, Minimum Flow Valve (ในกรณีที่ต้องถอด
อุปกรณ์ออกทั้ง Unit ต้องดำเนินการใส่ Blind ที่ท่อ Suction และ Discharge)
พร้อม TAGGING ทุกครั้ง และต้อง Vent Pressure ในระบบให้เหลือ 0 Barg และ
Drain Liquid ที่มีอยู่ออกให้หมด
6.4 ถ้าในระบบเป็นสารเคมีต้องมีการล้างระบบให้สะอาดทุกครั้ง
6.5 ต้อง Purge ระบบด้วย Nitrogen จนได้ค่า LEL ต่ำกว่า 5 เปอร์เซ็นต์
6.6 ต้องรอจน Equipment มีอุณหภูมิใกล้เคียงกับบรรยากาศปกติจึงเริ่มเข้า
ทำงาน
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 17
7. กฎเฉพาะงานสำหรับงาน Isolate
Stationary Equipment
7.1 ต้องจัดทำรายการตัดแยกระบบ (Blind/Valve) ที่ต้องดำเนินการ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
7.2 ต้องปิด Inlet, Outlet และ Blind/Valve ตามรายการตัดแยกระบบทั้งหมด
7.3 ต้อง Vent Pressure ให้เหลือ 0 Barg และ Drain Liquid ที่มีอยู่ออกให้หมด
7.4 ถ้าในระบบเป็นสารเคมีต้องทำการล้างระบบให้สะอาดทุกครั้ง
7.5 ต้อง Purge ด้วย Nitrogen จนได้ค่า LEL ต่ำกว่า 5 %
7.6 ต้องทำการ Purge ซ้ำด้วย Air จนได้ค่า Oxygen มากกว่า 19.5%
7.7 ต้องรอจน Equipment มีอุณหภูมิใกล้เคียงกับบรรยากาศจึงเริ่มเข้าทำงาน
7.8 ต้องทำการบันทึกรายการตัดแยกระบบ (Blind/Valve) ก่อนและหลังดำเนินการ โดยผู้
ควบคุมงานและ Operation
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 18
8. กฎเฉพาะงานสำหรับงาน ถอด / ขนย้าย /
ห่อหุ้ม / รื้อถอน Insulation
8.1 ผู้ปฏิบัติงาน ถอด / รื้อ / ขนย้าย / และห่อหุ้ม Insulation ต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วน
บุคคล เช่น
หมวกนิรภัย / รองเท้านิรภัย
ที่ครอบจมูก
แว่นตานิรภัยชนิดที่มีกระบังข้าง ( Safety Goggles )
สวมใส่ชุดหมีหรือเสื้อแขนยาวที่ปิดมิดชิด
สวมใส่ถุงมือ
8.2 ในการปฏิบัติงานบนที่สูง (เกินกว่า 2 เมตร) ต้องใช้เข็มขัดนิรภัย (Safety Harness) และ
ปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยของการทำงานบนที่สูง
ผู้ปฏิบัติงานถอด / รื้อถอน Insulation ออก ต้องรีบนำใส่ในถุงใส และปิดให้มิดชิดทันที เพื่อ
ป้องกันการฟุ้งกระจาย
ขณะทำการขนย้าย ต้องทำการบรรจุ หีบห่อ และรัดปากถุงอย่างมิดชิด
ห้ามโยน Insulation ลงจากที่สูงหรือโยนขึ้น-ลง ขณะทำการขนย้าย
ในขณะทำการถอด / รื้อถอน / ขนย้าย ห้ามกระทำการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดการฟุ้งกระจายโดยเด็ดขาด
เพราะจะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ของผู้ที่ปฏิบัติงานข้างเคียง
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 19
9. กฎเฉพาะงานสำหรับงานยกของหนัก
โดยใช้ Overhead crane
9.1 ผู้ที่จะทำการยกของโดย Overhead crane ต้องเป็นพนักงาน ปตท.ที่ประจำอยู่ตามหน่วยงานหรือ
ผู้ช่วยช่างที่ได้รับการอนุญาตจากพนักงาน ปตท. และผ่านการฝึกอบรมตามที่กฎหมายกำหนด และ
Overhead Crane ต้องผ่านวาระการตรวจสอบและทดสอบตามที่กฎหมายกำหนด
9.2 ต้องทราบน้ำหนักของสิ่งของที่จะทำการยก
9.3 ต้องเลือกวิธีการใช้อุปกรณ์ และสลิงในการยกที่ถูกต้องต้องพิจารณามุมที่ต้องสูญเสียแรงดึง
ของสลิง
9.4 ต้องเลือกใช้อุปกรณ์ช่วยยกอย่างเหมาะสม
9.5 ต้องยึดอุปกรณ์ช่วยยกตามความเหมาะสม
9.6 ต้องหาศูนย์กลางของสิ่งของที่จะยกให้ถูกต้อง
9.7 ต้องป้องกันการหมุน หรือบิดตัวของสิ่งของขณะยก
9.8 ต้องป้องกันการลื่นไถล ของตะขอหรือสิ่งของขณะยก
9.9 ต้องจัดเก็บ หรือผูกมัดชิ้นส่วนต่าง ๆ ของสิ่งของไม่ให้หก หล่น ออกจากชิ้นส่วนหลักที่ทำการยก
9.10 ต้องจัดเตรียมพื้นที่จะยกของให้ปลอดภัย
9.11 ในการหิ้วต้องตรวจสอบก่อนที่จะยกขึ้น
9.12 ห้ามลากอุปกรณ์ช่วยยกไปตามพื้น
9.13 ต้องสังเกต Gauge บอกพิกัด ขณะยกสิ่งของว่า อยู่ในพิกัดที่ปลอดภัย ตลอดเวลา
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 20
10. กฎเฉพาะงานการเคลื่อนย้ายวัสดุ
อย่างปลอดภัยด้วยรถยก (Forklift)
10.1 เมื่อใช้รถยกในเขตพื้นที่หวงห้ามต้องใช้ควบคู่กับใบอนุญาตทำงานที่มีความร้อน
10.2 ผู้ขับรถที่จะทำการเคลื่อนย้ายวัสดุ ต้องสวมใส่หมวกนิรภัย รองเท้านิรภัย และแว่นตานิรภัย
ตามกฎของ ปตท.
10.3 ผู้ที่สามารถขับรถ Forklift ได้ต้องผ่านการอบรมและการทดสอบที่ทาง ส่วน ปน.จัดขึ้น
10.4 ผู้ปฏิบัติงานต้องรู้ถึงน้ำหนักของวัสดุที่ต้องการเคลื่อนย้าย
10.5 ผู้ปฏิบัติงานต้องเลือกใช้รถยก หรือ อุปกรณ์ช่วยยก ให้ถูกต้องกับน้ำหนักของวัสดุที่จะทำการ
เคลื่อนย้าย ดังนี้
Forklift คันเล็ก ใช้กับวัสดุน้ำหนักไม่เกิน 3,000 กิโลกรัม
Forklift คันใหญ่ ใช้กับวัสดุน้ำหนักไม่เกิน 5,000 กิโลกรัม
10.6 ก่อนใช้รถทำการเคลื่อนย้ายวัสดุต้องทำการตรวจสภาพรถก่อนทุกครั้งที่ใช้ ว่ารถอยู่ในสภาพ
พร้อมใช้งาน เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง ลมยาง เครื่องยนต์ ระบบไฮโดรลิก เป็นต้น
10.7 ความเร็วของรถผู้ปฏิบัติงานเคลื่อนย้ายวัสดุจะต้องใช้ความเร็วในการเคลื่อนย้ายของรถไม่เกิน
10 ก.ม./ชม.
10.8 การขับรถที่จะทำการเคลื่อนย้าย ห้ามแซงรถคันอื่น ๆ ในขณะที่อยู่ที่ทางแยกหรือทางโค้ง
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 21
10. กฎเฉพาะงานการเคลื่อนย้ายวัสดุ
อย่างปลอดภัยด้วยรถยก (Forklift)
(ต่อ)
10.9 ผู้ขับรถที่จะทำการเคลื่อนย้ายวัสดุ ต้องไม่จอดรถหรือดับเครื่องรถนอกเหนือพื้นที่ที่
ปตท.กำหนด.
10.10 การเคลื่อนย้ายวัสดุสำหรับรถ forklift มีข้อห้ามเพิ่มเติมดังนี้
ในขณะเคลื่อนย้ายวัสดุโดยรถ forklift ห้ามมีผู้โดยสาร
ในขณะเคลื่อนย้ายวัสดุโดยรถ forklift กองวัสดุทีจะทำการขนย้ายจะต้องไม่สูงเกิน 20 ซม.จากพื้น
เพื่อที่จะลด Center of Gravity ให้ต่ำลง
ในขณะเคลื่อนย้ายวัสดุโดยรถ forklift ระดับของงาที่จะใช้ยก ต้องไม่อยู่ในตำแหน่ง "คว่ำ "
ในขณะเคลื่อนย้ายวัสดุโดยรถ forklift ห้ามใช้สลิงหรือเชือก "ผูก หรือ ดึง" วัสดุที่จะใช้ทำการยก
หรือเคลื่ อนย้าย
ในขณะเคลื่อนย้ายวัสดุโดยรถ forklift ต้องใช้ PALLET รองรับวัสดุทีจะใช้ทำการเคลื่อนย้ายเสมอ
10.11 การนำรถ forklift มาจอดต้องปฏิบัติดังนี้
ต้องลดงาของ forklift ให้วางราบพื้น
ต้องทำการปลดเกียร์ว่างและดึงเบรกมือ
ต้องทำการดับเครื่องทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งาน
ห้ามจอดรถไว้ในที่ลาดชัน หรือพื้นที่ลื่น ถ้าจำเป็นมีหมอนหมุนล้อทั้งหน้าและหลัง
ห้ามจอดรถไว้ในตำแหน่งที่มีเชื้อเพลิงที่ลุกไหม้ง่าย
10.12 ในการเคลื่อนย้ายวัสดุที่มีน้ำหนักมาก ๆ โดยรถ forklift ลงมาจากที่ลาดชัน ต้องทำการถอยหลัง
รถจากที่ลาดชัน
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 22
11. กฎเฉพาะงานการเคลื่อนย้ายวัสดุ
สิ่งของด้วยรถเครนเคลื่อนที่ หรือรถเฮียบ
11.1 ต้องแสดงแบบผลการตรวจสอบส่วนประกอบ และอุปกรณ์รถเครน /
รถเฮียบตามที่กฎหมายกำหนด ( แบบ คป.2 )
11.2 ผู้ควบคุมรถเครนต้องผ่านการอบรม " หลักสูตรผู้บังคับปั้ นจั่นเคลื่อนที่ " ตามที่
กฎหมายกำหนด โดยนำใบผ่านการอบรมมาแสดง
11.3 ต้องมีผู้ยึดเกาะ ผู้ให้สัญญาณ และผู้ควบคุมการใช้งานรถเครนที่ผ่านการอบรมตามที่
กฎหมายกำหนด โดยนำใบผ่านการอบรมมาแสดง
11.4 ต้องแสดงป้ายบอกพิกัดนำหนักยกของรถเครน ( Load Chart ) และมีสัญญาณเตือน
อันตรายให้ผู้ควบคุมรถเครนสามารถได้ยิน หรือมองเห็นได้อย่างชัดเจน
11.5 การยก / การเคลื่อนย้ายวัสดุสิ่งของ ที่มีน้ำหนักเกิน 3 ตัน ขึ้นไป ผู้ควบคุมรถเครนต้องทำ
Load Test รถเครน สลิง และอุปกรณ์ประกอบการยกทุชนิด ก่อนทำการยกโดยมีระยะเวลาไม่
เกิน 15 วัน
11.6 ใช้ใบอนุญาต (Work Permit ) " ใช้งานรถเครนชนิดเคลื่อนที่ / รถเฮียบ " ร่วมกับ
ใบอนุญาตทำงานร้อน( Hot Work Permit )
11.7 เอกสารแนบอื่น ๆ ที่ต้องนำมาแสดงพร้อมกับใบอนุญาตใช้งานรถเครน /เฮียบ
ใบอนุญาตทำงานร้อน (Hot Work Permit )
ใบตรวจสอบสภาพรถ จากหน่วยงาน ปตท.
แบบแสดงพื้นที่ปฏิบัติงาน ( Plot Plan )
แผนการยกวัสดุ ( Lifting Plan )
เอกสารการประเมินความเสี่ยง ( JSA )
11.8 ข้อปฏิบัติอื่น ๆ ที่ผู้ควบคุมงาน ปตท. / ผู้อนุญาต เห็นสมควรให้ดำเนินการ หรือจัดเตรียม
ก่อนเริ่มงานยก / เคลื่อนย้าย วัสดุสิ่งของ
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 23
12. กฎเฉพาะงานเกี่ยวกับการขน
ย้ายวัสดุหรือสิ่งของด้วยแรงคน
12.1 กำหนดให้ยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรือเข็นของหนักไม่เกินอัตราน้ำหนักโดยเฉลี่ยต่อลูกจ้าง
หนึ่งคน ดังต่อไปนี้
20 กิโลกรัม สำหรับพนักงานซึ่งเป็นเด็กหญิง อายุตั้งแต่ 15 ปี แต่ยังไม่ถึง 18 ปี
25 กิโลกรัม สำหรับพนักงานซึ่งเป็นเด็กชาย อายุตั้งแต่ 15 ปี แต่ยังไม่ถึง 18 ปี
25 กิโลกรัม สำหรับพนักงานซึ่งเป็นผู้หญิง
55 กิโลกรัม สำหรับพนักงานซึ่งเป็นผู้ชาย
15 กิโลกรัม สำหรับพนักงานหญิงมีครรภ์
12.2 วางเท้าให้ห่างจากวัตถุประมาณ 8-12 นิ้ว แยกขาออกเล็กน้อย เพื่อการทรงตัวที่ดี
12.3 ย่อตัวลงหรือนั่งยอง ๆ โดยให้หลังตรง แล้วจับของนั้นให้มั่นคงด้วยฝ่ามือ เพื่อป้องกันการลื่น
หลุดมือและหากเป็นไปได้ ควรมีที่จับหรือหูจับ เพื่อทำให้จับได้ถนัดและง่ายขึ้น
12.4 ยกวัตถุขึ้นตรง ๆ โดยให้เข่าเป็นส่วนรับน้ำหนัก หลังตรง ให้ใช้กำลังขาอย่าใช้กำลังของส่วนหลัง
เป็นอันขาด
12.5 การวางวัตถุ ก็ให้ใช้หลักการเดียวกันกับการยกของขึ้น แต่กลับขั้นตอนกัน
12.6 กรณีของหนักเกินอัตราน้ำหนักที่กำหนด จะต้องใช้อุปกรณ์หรือเครื่องจักรทำการยก แบก หาม
หาบ ทูน ลาก หรือเข็นของแทนเพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
12.7 ผู้บังคับบัญชาระดับต้น จะต้องเป็นผู้ควบคุมและตรวจสอบการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีที่
ไม่เป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนด ผู้บังคับบัญชาฯ จะต้องหยุดการปฏิบัติงานทันที จนกว่าจะดำเนินการหา
อุปกรณ์หรือเครื่องจักรเพื่อยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรือเข็นของแทน
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 24
13. กฎเฉพาะงานสำหรับการเข้าห้อง
Enclosure Gas Turbine
13.1 ผู้ปฏิบัติงานทุกหน่วยงานที่ไม่ใช่ หน่วยงานควบคุมการผลิต เจ้าของพื้นที่ ต้องปฏิบัติตาม
กระบวนการ Work Permit System
13.2 พนักงานควบคุมการผลิตทำการ Override สัญญาณภายในห้อง Enclosure
13.3 พนักงานควบคุมการผลิตทำการ ตัดแยกระบบสารดับเพลิงภายในห้อง Enclosure
13.4 เมื่อปฏิบัติงานแล้วเสร็จต้องแจ้งให้พนักงานควบคุมการผลิตทราบ
13.5 พนักงานควบคุมการผลิตทำการ ปรับเปลี่ยนระบบสารดับเพลิงภายในห้อง Enclosure อยู่ในตำ
แหน่งอัติโนมัติ
13.6 พนักงานควบคุมการผลิตต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีผู้ปฏิบัติงานในห้อง Enclosure ก่อน
ทำการยกเลิกการ Override สัญญาณภายในห้อง Enclosure
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 25
14. กฎเฉพาะงานสำหรับการ
ปฏิบัติงาน ในที่อับอากาศ
14.1 ก่อนปฏิบัติงานในที่อับอากาศต้องตรวจวัดสภาพบรรยากาศให้อยู่ในปริมาณที่กำหนด ดังนี้
ตรวจวัด % ก๊าซติดไฟ ต้องมีปริมาณก๊าซติดไฟไม่เกิน 5% LEL
ตรวจวัดปริมาณ % ออกซิเจน ต้องมีค่ามากกว่า 19.5% แต่ไม่เกิน 23.5%
หากประเมินความเสี่ยงแล้วพบว่าพื้นที่ปฏิบัติงานมีความร้อนต้องตรวจวัดอุณหภูมิโดยต้องไม่
เกิน 40 องศาเซลเซียส
หากประเมินความเสี่ยงแล้วพบว่ามีโอกาสสัมผัสสารพิษให้มีการตรวจวัดปริมาณสารพิษ โดยต้อง
มีค่าไม่เกินค่า TWA (สามารถดูได้ SDS ของสารนั้น ๆ) เช่น H2S ภายในที่อับอากาศต้องมีค่าไม่
เกิน 10 ppm (TWA) สารปรอทต้องมีค่าไม่เกิน 0.05 mg/M3 ( TWA)
14.2 ระหว่างปฏิบัติงานต้องตรวจวัดสภาพบรรยากาศอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะ ๆ อย่างน้อยทุก 1
ชม.
14.3 หากมีความจำเป็นต้องติดตั้ง Air Blower เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของอากาศภายในที่อับ
อากาศ
14.4 ถ้าตรวจวัด % ออกซิเจนมีค่าน้อยกว่า 19.5 % และ มากกว่า 23.5% จำเป็นต้องเข้าปฏิบัติ
งาน ผู้ที่เข้าไปปฏิบัติงานจะต้องสวมใส่ Air Line Mask เพื่อช่วยในการหายใจ
14.5 ระบบไฟแสงสว่างที่จะต้องใช้ต้องมีระบบตัดไฟ และต้องผ่านการตรวจสอบและอนุญาตจาก
หน่วยงาน ผ.ฟค. ก่อนนำไปใช้งานทุกครั้ง
14.6 ในการเข้าไปปฏิบัติงานในที่อับอากาศ ผู้เข้าปฏิบัติงานต้องลงชื่อการเข้า-ออก ในเขตพื้นที่อับ
อากาศทุกครั้งที่เข้าปฏิบัติงาน และต้องมีผู้เฝ้าระวังในขณะปฏิบัติงาน ตามแบบฟอร์มแบบฟอร์ม
บันทึกผลการเข้าทำงานในที่อับอากาศ
14.7 ก่อนทำการปิด Drum / Vessel จะต้องตรวจสอบก่อนว่าผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศออก
หมดแล้ว
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 26
14. กฎเฉพาะงานสำหรับการ
ปฏิบัติงาน ในที่อับอากาศ
(ต่อ)
14.8 กรณีที่จำเป็นต้องทำการตั้งนั่งร้านเพื่อใช้งานภายในที่อับอากาศ ต้องได้รับการรับรองว่าดำเนิน
การถูกต้องตามที่มาตรฐาน (BS Standard) หรือกฎหมายกำหนด โดยหน่วยงาน ปน. ทุกครั้ง
14.9 ผู้ที่ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับที่อับอากาศ ซึ่งประกอบด้วย ผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้เฝ้าระวัง
และผู้ปฏิบัติงาน ต้องผ่านการอมรมตามที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรับรองกำหนด
14.10 ต้องมีการติดป้ายเตือนที่หน้าทางเข้าที่อับอากาศข้อความ " ที่อับอากาศอันตรายห้ามเข้า "
เพื่อป้องกันผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไปในที่อับอากาศ
14.11 การปฏิบัติงานในที่อับอากาศ ต้องเป็นไปตามที่กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานและจัดการด้าน
ความ ปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2562
14.12 กรณีที่ปฏิบัติงานในที่อากาศต้องมีการขออนุญาตทำงาน ควบคู่กับใบอนุญาตทำงานธรรมดา
หรือใบอนุญาตทำงานร้อนขึ้นอยู่กับพื้นที่ปฏิบัติงาน และใบอนุญาตทำงานอื่น ๆ ที่จำเป็น
14.13 พนักงานและผู้รับเหมาประจำที่เข้าปฏิบัติงานในที่อับอากาศต้องได้รับการอบรมและแต่งตั้งโดย
ผจ.ยขก. พร้อมทั้งมีผลการรับรองจากแพทย์ (ไม่เกิน 1 ปี) ให้สามารถปฏิบัติงานในที่อับอากาศได้ ซึ่ง
ทาง ปน. จะออกบัตรอนุญาตทำงานในที่อับอากาศโดยบัตรดังกล่าวมีอายุ 1 ปี
14.14 ผู้รับเหมาชั่วคราวที่เข้าปฏิบัติงานในที่อับอากาศต้องมีใบรับรองตรวจสุขภาพจากแพทย์ไม่เกิน
6 เดือน ให้สามารถปฏิบัติงานในที่อับอากาศได้ ส่งเอกสารมาที่หน่วยงาน ปน. เพื่อให้ออกบัตรอนุญาต
ทำงานในที่อับอากาศ โดยบัตรดังกล่าวมีอายุไม่เกิน 3 เดือน
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 27
15.กฎเฉพาะงานสำหรับ
การทำ Hydrostatic Test
15.1 ต้องทราบค่า Pressure ของอุปกรณ์ที่จะทำการ Test ให้แน่นอน
15.2 ไม่ควรเพิ่มแรงดัน เกินกว่าค่าที่กำหนด
15.3 ต้องใส่ Blind จุดที่รั่วไหลไปยังอุปกรณ์อื่นและอุปกรณ์ที่จะทำการทดสอบให้แน่น ไม่มีการรั่ว
15.4 ใช้ของเหลวในการ Test ให้ถูกต้องกับอุปกรณ์นั้น ๆ เช่น น้ำดิบ , น้ำ Deaminize หรือน้ำมัน
15.5 ต้องเพิ่มหรือลดแรงดันเป็นระยะ ( ตามรายละเอียดของอุปกรณ์ ) จนได้ค่าที่กำหนด
15.6 ต้องใช้สลิงผู้รัดจุดข้อต่อ สายแรงดัน ให้แข็งแรงป้องกันการสะบัดถูกบุคคล หรืออุปกรณ์ได้รับ
ความเสียหาย หากข้อต่อหลุด ลด Pressure เป็นระยะให้เหลือ 0 ( ศูนย์ )
15.7 ต้องจัดเตรียมภาชนะรองรับของเหลวที่ Drain ออกจากอุปกรณ์ทุกครั้ง
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 28
16. กฎเฉพาะงานสำหรับงานติดตั้ง /
รื้อถอนนั่งร้าน
การปฏิบัติงานในพื้นที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม บนที่สูงเกิน 2 เมตร ต้อง
ติดตั้งนั่งร้านและดำเนินขออนุญาตติดตั้งตามระบบการขออนุญาตทำงาน
ทุกครั้ง โดนนั่งร้านต้องมีลักษณะและการออกแบบดังนี้
16.1 ลักษณะทั่วไปของนั่งร้าน
อุปกรณ์ตั้งนั่งร้านให้อยู่ในสภาพดี เหมาะสมกับงาน และเป็นไปตาม
มาตรฐาน BS 1139
การติดตั้งนั่งร้านในเป็นไปตามมาตรฐาน BS 5973
โครงสร้างนั่งร้าน ต้องติดตั้งอยู่บนพื้นที่ ที่มั่นคง และสามารถรองรับน้ำ
หนักของนั่งร้านได้ไม่น้อยกว่า 2 เท่าของน้ำหนักการใช้งาน ทั้งนี้รวมถึง
การตั้งนั่งร้านบน Steel Grating, พื้นที่ประกอบภายในอุปกรณ์ (Tray)
นั่งร้านต้องมีฐานนั่งร้าน (Base Plate) และแผ่นรองฐานนั่งร้าน (Sole
Board) อย่างเหมาะสมและมั่นคง ห้ามใช้ อิฐ อิฐบล็อก ถังน้ำ กระป๋อง
เศษไม้ แผ่นไม้หัก เด็ดขาด
โครงนั่งร้านต้องมีการยึดค้ำยัน หรือตรึงกับพื้นดินหรือส่วนของอุปกรณ์
ที่แข็งแรงพอ
ท่อนั่งร้านต้องไม่ยื่นเกะกะ ออกจากส่วนโครงตัวหลักของนั่งร้าน การต่อ
ท่อนั่งร้านต้องใช้ชนิดปลอกสวมเท่านั้น และข้อต่อต้องไม่อยู่ในระนาบ
เดียวกัน
มีทางขึ้น - ลง ที่ถูกจัดไว้อย่างปลอดภัย ไม่มีสิ่งกีดขวางตลอดทางขึ้นลง
โดยมีมุมลาดเอียงไม่เกิน 45 องศา มีชั้นพักทุก ๆ 10 เมตร ปลายของ
บันไดต้องยื่นเหนือพื้นที่จะขึ้นอย่างน้อย 1 เมตร
แผ่นปูพื้นแต่ละชั้นต้องปูพื้นโดยมีความกว้างไม่น้อยกว่า 35 ซม. มีเพียง
พอโดยปูชิดกันไม่มีช่องว่าง และผูกลวดหรืออุปกรณ์ยึดติด กับโครงนั่ง
ร้านอย่างแข็งแรง ไม่เลื่อนหรือกระดกขณะใช้งาน กรณีเป็นแผ่นปูพื้นไม้
ต้องมีความหนาไม่น้อยกว่า 2 ซม. อยู่ในสภาพดี ไม่มีการโก่งงอหรือแตก
ร้าว
ต้องติดตั้งแผ่นกันของตก (Toe Board) โดยรอบนั่งร้าน สูงอย่าง
น้อย 10 ซม. ช่องว่างระหว่างแผ่นกันตกกับพื้นต้องห่างกันไม่เกิน 0.25
นิ้ว
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 29
16. กฎเฉพาะงานสำหรับงานติดตั้ง /
รื้อถอนนั่งร้าน (ต่อ)
16.2 ติดตั้งราวกันตก รายละเอียดดังนี้
ราวกันตกบน ตามมาตรฐานรับน้ำหนักทั้งแนวราวและแนวดิ่ง ได้ไม่น้อยกว่า 90 กิโลกรัม สูงจากพื้น
ปฏิบัติงานบนนั่งร้านไม่น้อยกว่า 90 ซม. และไม่เกิน 1.10 เมตร
ราวกันตกกลาง ตามมาตรฐานรับน้ำหนักทั้งแนวราวและแนวดิ่ง ได้ไม่น้อยกว่า 68 กิโลกกรับ สูงจาก
พื้นปฏิบัติงานบนนั่งร้านไม่น้อยกว่า 45 ซม. และไม่เกิน 55 ซม.
นั่งร้านเคลื่อนที่ ต้องมีความสูงไม่เกิน 2 เมตร และมีการใช้งานเฉพาะงานเบา เช่น งานเปิด-ปิดวาวล์
งานขัดสนิมซ่อมสีเฉพาะจุด เป็นต้น การใช้งานต้องใช้ในพื้นที่ราบเรียบมั่นคงเท่านั้น ห้ามมิให้มีการ
เคลื่อนย้ายนั่งร้านผ่านพื้นต่างระดับหรือขณะมีผู้ปฏิบัติงานอยู่บนนั่งร้าน ล้อต้องเป็นชนิดมีเบรก
และเป็นมาตรฐานสำหรับงานนั่งร้าน ทั้งนี้ นั่งร้านเคลื่อนที่จะขออนุญาตใช้งานได้ไม่เกิน 7 วัน
16.3 การออกแบบและตรวจสอบนั่งร้าน
การติดตั้งนั่งร้านทุกชนิดที่มีความสูงมากกว่า 25 เมตร ต้องผ่านการออกแบบกำหนดรายละเอียด
และตรวจสอบนั่งร้าน โดยสามัญวิศวกรสาขาโยธาหรือภาคีพิเศษสาขาโยธา
กรณีติดตั้งนั่งร้านภายในหอกลั่น (Column) ที่มีพื้นรองรับนั่งร้านและผนังปิดมิดชิด ต้องผ่านการ
ออกแบบกำหนดรายละเอียดนั่งร้าน โดยภาคีวิศวกรสาขาโยธา
16.4 การออกแบบนั่งร้าน ต้องมีรายละเอียดดังนี้
วัสดุที่ใช้ตั้งนั่งร้านต้องมีจุดคราก (Yield Point) ไม่น้อยกว่า 2400 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร
และมีส่วนความปลอดภัยไม่น้อยกว่าสองเท่าของจุดคราก
นั่งร้านต้องรับน้ำหนักบรรทุกไม่น้อยกว่าสองเท่าของน้ำหนักใช้งาน และต้องออกแบบเผื่อไว้สำหรับ
รับน้ำหนักผ้าใบ หรือวัสดุอื่น ๆ ที่รองรับนั่งร้านต้องรับน้ำหนักบรรทุกไม่น้อยกว่าสองเท่าของน้ำหนัก
ใช้งาน
16.5 นั่งร้านทุกขนาดต้องผ่านการตรวจสอบและอนุญาตก่อนใช้งานโดยพนักงาน ส่วน ปน. หรือ
พนักงานที่ได้รับมอบหมาย
16.6 นั่งร้านต้องไม่กีดขวางอุปกรณ์ดับเพลิงและระงับเหตุทุกชนิด
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 30
17. กฎเฉพาะงานสำหรับการทำงาน
บนที่สูงเกิน 2 เมตรขึ้นไป
17.1 ผู้ปฏิบัติงานต้องทำการกั้นบริเวณด้านล่างของจุดที่ปฏิบัติงานและติดป้ายเตือน
ข้อความ “มีการปฏิบัติงานบนที่สูง " ให้เห็นได้อย่างชัดเจน
17.2 ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล ได้แก่ เข็มขัดนิรภัยชนิดเต็ม
ตัว (Harness) รองเท้านิรภัย หมวกนิรภัย
17.3 ในขณะปฏิบัติงานบนนั่งร้านต้องคล้องเข็มขัดนิรภัยไว้กับโครงสร้างที่มีความแข็งแรง
17.4 การปฏิบัติงานในที่อับอากาศต้องสวมเข็มขัดนิรภัย สำหรับช่วยเหลือในกรณีที่เกิดเหตุ
ฉุกเฉิน
17.5 ขณะปฏิบัติงานบน Platform ที่มีราวกันตก ไม่ต้องใส่เข็มขัดนิรภัย ยกเว้น
Platform ที่มีพื้นที่น้อยกว่า (ประมาณ) 1*3 เมตร หรือ 1.5*2 เมตร เช่น บน Tower
เป็นต้น และการทำงานที่ต้องยื่นอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งออกจาก Platform
17.6 ห้ามโยนสิ่งของลงจากที่สูงโดยเด็ดขาด หากต้องมีการขนย้ายวัสดุหรืออุปกรณ์ ให้
ใช้อุปกรณ์ช่วยอื่น ๆ เช่น รอก เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นควรเก็บใส่ในกระเป๋า
หรือผูกมัดไว้กับตัว
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 31
17. กฎเฉพาะงานสำหรับการทำงาน
บนที่สูงเกิน 2 เมตรขึ้นไป (ต่อ)
17.7 ผู้ปฏิบัติงานบนที่สูง ให้ปูผ้าใบบนพื้นPlatformและยกขอบขึ้นมาสูงจากพื้นอย่างน้อย 60
เซนติเมตรหรือราวกันตกขั้นกลาง ครอบคลุมพื้นที่ปฏิบัติงานเพื่อป้องกันวัสดุตกลงด้านล่างอาจเป็น
อันตรายกับผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ด้านล่างได้
17.8 การปฏิบัติงานที่มีลักษณะเป็นงานเบา ได้แก่ งานเปลี่ยนหลอดไฟและงานหมุนวาล์ว
กรณีความสูงไม่เกิน 3 เมตร สามารถใช้บันได้ล้อเลื่อนได้ โดยบันไดล้อเลื่อนต้องมีโครงสร้างเหล็ก
ราวกันตก และมีระบบล็อคล้อเพื่อป้องกันการเคลื่อนที่ขณะที่มีผู้ปฏิบัติงาน
กรณีที่ความสูงเกิน 3 เมตร ให้ใช้อุปกรณ์อื่น ๆที่มีมาตรฐานรับรอง เช่น รถกระเช้า ในการปฏิบัติ
งาน
17.9 การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้าบนที่สูงภายในอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 3 เมตร ได้แก่
ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ระบบเตือนภัยฉุกเฉิน เครื่องปรับอากาศ ในกิจกรรมติดตั้งหรือซ่อมบำรุงสามารถ
ใช้บันไดที่มีลักษณะโครงสร้างเป็นแบบตัว A (Stepladders: A-frame)
17.10 การปฏิบัติงานอื่นนอกเหนือ จากงาน ข้อ 17.8 และ 17.9 ในการปฏิบัติงานตั้งแต่ที่สูงเกิน 2
เมตร ต้องติดตั้งนั่งร้านและดำเนินการขออนุญาตติดตั้งตามระบบขออนุญาตทำงาน กรณีที่ประเมิน
แล้วว่าไม่สามารถติดตั้งนั่งร้านได้ จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์อื่น ๆแทนต้องได้รับการรับรองโดยวิศวกรโยธา
หรือการรับรองตามมาตฐานสากล พร้อมทั้งระบุมาตรการความปลอดภัยที่เหมาะสมเพิ่มเติม
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 32
18. กฎเฉพาะงานสำหรับการใช้
เครื่อง High Pressure Water Jet
ภายในโรงงาน
18.1 เครื่อง High Pressure Water Jet ต้องผ่านการตรวจสอบจาก
หน่วยงานบำรุงรักษาเครื่องกลหรือบำรุงรักษาไฟฟ้าแล้วแต่กรณี ( กรณีใช้
เครื่องยนต์หรือมอเตอร์ไฟฟ้า เป็นต้นกำลัง )
18.2 ขณะปฏิบัติงานต้องใส่หน้ากาก ถุงมือ เสื้อ รองเท้านิรภัย
18.3 ห้ามหันหัวฉีดเข้าหาผู้ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ขณะทำการฉีด
18.4 ให้ใช้สาย High Pressure ที่ผ่านการตรวจสอบแล้วเท่านั้น
18.5 ห้ามฉีดด้วยน้ำร้อนที่อุณหภูมิเกิน 40 องศา
18.6 กั้นบริเวณและแสดงเครื่องหมายขอบเขตในการปฏิบัติงาน
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 33
19. กฎเฉพาะงานสำหรับงาน
เติมสารเคมี/น้ำมัน
19.1 ทำการศึกษาข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีหรือน้ำมัน นั้นจาก
เอกสาร Safety Data Sheet: SDS
19.2 ก่อนปฏิบัติงานต้องใส่อุปกรณ์ป้องกันสารเคมี คือ ชุดกันสารเคมี
ถุงมือกันสาร แว่นตาหรือกำบังหน้า หน้ากากกรองไอสารเคมี พร้อมตัว
กรองไอสารเคมีที่เหมาะสมกับชนิดของสารเคมีนั้น ๆ
19.3 ในกรณีที่ต้องยกถังสารเคมีขนาดใหญ่ และน้ำหนักมาก ( ถัง 200
ลิตร ) เพื่อเทสารลงใน Tank เก็บสารเคมีโดยตรง ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเท
ถังในการเท ห้ามใช้แรงคนยกเทถังเองโดยตรง
19.4 ต้องทำการรองจุดที่มีความเสี่ยงในการหกล้นรั่วไหลด้วยถาดหรือ
พลาสติก ในกรณีที่ทำสารเคมีหก ให้หาวัสดุซับสาร หรือทรายมาดูดซับสาร
ให้ได้มากที่สุดในทันที เพื่อป้องกันการแพร่กระจายสู่สิ่งแวดล้อม ห้ามฉีดน้ำ
เพื่อชะล้างสารเคมี จนกว่าจะทราบคุณสมบัติของสารเคมีนั้นว่า ไม่ทำ
ปฏิกิริยากับน้ำ
19.5 ภาชนะหรือถุงใส่สารเคมีที่เติมแล้ว รวมทั้งวัสดุที่นำมาดูดซับสารแล้ว
ให้นำไปใส่ในถัง 200 ลิตรปิดถังให้มิดชิด ติดสติกเกอร์บ่งชี้ แล้วเคลื่อน
ย้ายไปยังสถานที่เก็บกากของเสีย เพื่อเตรียมนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีต่อไป
19.6 ในกรณีสารเคมีไหลลงสู่รางระบายน้ำ ให้ควบคุมไม่ให้รั่วไหลออกนอก
เขตโรงงาน
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 34
20. กฎเฉพาะงานสำหรับงานที่มี
ไอก๊าซฟุ้งกระจายในเขตโรงงาน
20.1 ก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติงานที่ก่อให้เกิดไอก๊าซฟุ้งกระจาย ผู้ปฏิบัติงานจะต้องแจ้ง ( ทางวิทยุ
หรือโทรศัพท์ ) ให้ทางส่วนปฏิบัติการผลิตโรงแยกก๊าซฯทราบ ว่ากำลังจะปฏิบัติงาน ณ จุดใด
เพื่อให้พนักงานควบคุม การผลิตตรวจสอบพื้นที่ก่อนว่าไม่มีผลกระทบใด ๆ กับการปฏิบัติงาน
20.2 ผู้ปฏิบัติงานที่ก่อให้เกิดไอก๊าซฟุ้งกระจาย จะต้องสำรวจรอบบริเวณจุดปฏิบัติงานของ
ตนเองโดยรอบ รัศมี 15 เมตร ก่อนลงมือปฏิบัติงาน ถ้าพบงาน Hot Work อยู่ในบริเวณดัง
กล่าวรอบจุดปฏิบัติงานให้ ผู้ปฏิบัติงานแจ้งไปที่ทางส่วนปฏิบัติการผลิตโรงแยกก๊าซฯ เพื่อขอ
หยุดงาน Hot Work นั้นชั่วคราว (ถ้าทำได้)
20.3 หลังจากได้รับแจ้ง พนักงานควบคุมการผลิต ต้องแจ้งกับผู้ปฏิบัติงาน Hot Work ที่อยู่ใน
บริเวณดังกล่าวให้หยุดปฏิบัติงานนั้นชั่วคราว และกั้นเส้นทางไม่ให้ยานพาหนะผ่านเข้ามาในกลุ่ม
ไอก๊าซที่ฟุ้งกระจายได้ ในรัศมี 15 เมตร จากจุดปฏิบัติงาน
20.4 หลังจากปฏิบัติงานที่มีไอก๊าซฟุ้งกระจายแล้วเสร็จ ให้ผู้ปฏิบัติงานแจ้งให้พนักงาน
ควบคุมการผลิตทราบเพื่อแจ้งทุกหน่วยงานปฏิบัติงานได้ตามปกติ
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 35
21. กฎเฉพาะงานสำหรับการขนส่ง
สารเคมีอันตรายของผู้รับเหมา
21.1 พนักงานขับรถ
ลักษณะการขับรถมีความชานาญและมีความระมัดระวังสูง รวมทั้งผู้ขับขี่ต้องมีใบอนุญาต
ขับขี่สำหรับรถประเภทนี้และผ่านการขับรถประเภทนี้มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
เชื่อฟังคำชี้แจงเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยจากผู้ควบคุมงาน ปตท.
21.2 สภาพรถ
กรณีรถขนส่งสารเคมีที่เป็นของแข็งหรือของเหลวแบบแบ่งบรรจุใส่ภาชนะขนาดเล็ก เช่น
ถัง 200 ลิตร ถังแกลลอน ต้องเป็นรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ และที่ข้างถังบรรจุสารเคมี
ต้องมีฉลากแสดงรายละเอียด เกี่ยวกับสารเคมีชนิดนั้น ๆ ติดอยู่
รถต้องมี Twist Lock ที่ยึดระหว่างตัวถังกับตู้คอนเทนเนอร์ที่แน่นหนา
กรณีรถขนส่งสารเคมีที่เป็นของเหลวระเบิดได้, ของเหลวกัดกร่อนหรือของเหลวไวไฟที่
บรรจุใน Bulb เช่น Propane , NGL , กรด , ด่างชนิดต่าง ๆ ต้องมีป้ายแสดงราย
ละเอียดเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายชนิดนั้นๆ เป็นไปตามมาตรฐานของ NFPA ,
HAZCHEM Code , ADR , RID หรือมาตรฐานอื่นที่เป็นที่ยอมรับ และติดตั้งอยู่ใน
ตำแหน่งที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
ต้องระบุชื่อและเบอร์โทรศัพท์ของผู้ผลิตและผู้ประกอบการขนส่งที่ข้างตัวรถหรือข้าง
ประตูรถด้วย
สภาพคันชัก คันส่ง ห้ามล้อ ตัวรถ เครื่องยนต์ ยางรถยนต์ หัวโยงรถพ่วง แผงเหล็ก
กันภัย และเครื่องดับเพลิง อยู่ในสภาพใช้งานได้
ปลั๊กไฟ สาย Load และหน้าแปลน Load อยู่ในสภาพดีและสามารถใช้งานได้
ควันดำจากท่อไอเสีย และเสียงของเครื่องยนต์ ต้องไม่มาก / ดัง จนสังเกตได้ชัดเจนว่า
ผิดปกติ
ระบบสัญญาณไฟ หน้าและหลัง มีความสว่างชัดเจน ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้
เสียงสัญญาณแตรของรถ ต้องได้ยินในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตรและไม่เป็นเสียงไซเรน
หรือเสียงสัญญาณที่เป็นเสียงนกหวีด เสียงแตกพร่า
กระจกหน้า-หลัง , กระจกส่องด้านข้างตัวรถ กระจกอื่นภายในรถ ต้องมีความใสสะอาด
และไม่มีรอยการแตกร้าวจากอุบัติเหตุ
จะต้องจัดให้มีสมุดประจำรถเพื่อการตรวจสอบตลอดเวลา
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 36
22. กฎเฉพาะงานสำหรับการ
ขนส่งกากของเสียโดยผู้รับเหมา
22.1 พนักงานขับรถ
ลักษณะการขับรถมีความชำนาญและมีความระมัดระวังสูง รวมทั้งผู้ขับขี่ต้องมีใบอนุญาตขับขี่
สำหรับรถประเภทนี้และผ่านการขับรถประเภทนี้มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
เชื่อฟังคำชี้แจงเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยจากผู้ควบคุมงาน ปตท.
22.2 สภาพรถ
กรณีรถขนส่งสารเคมีที่เป็นของแข็งหรือของเหลวแบบแบ่งบรรจุใส่ภาชนะขนาดเล็ก เช่น ถัง
200 ลิตร ถังแกลลอน ต้องเป็นรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ และที่ข้างถังบรรจุสารเคมีต้องมี
ฉลากแสดงรายละเอียด เกี่ยวกับสารเคมีชนิดนั้น ๆ ติดอยู่
รถต้องมี Twist Lock ที่ยึดระหว่างตัวถังกับตู้คอนเทนเนอร์ที่แน่นหนา
กรณีรถขนส่งสารเคมีที่เป็นของเหลวระเบิดได้, ของเหลวกัดกร่อนหรือของเหลวไวไฟที่บรรจุใน
Bulb เช่น Propane , NGL , กรด , ด่างชนิดต่าง ๆ ต้องมีป้ายแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสาร
เคมีอันตรายชนิดนั้นๆ เป็นไปตามมาตรฐานของ NFPA , HAZCHEM Code , ADR , RID
หรือมาตรฐานอื่นที่เป็นที่ยอมรับ และติดตั้งอยู่ในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
ต้องระบุชื่อและเบอร์โทรศัพท์ของผู้ผลิตและผู้ประกอบการขนส่งที่ข้างตัวรถหรือข้างประตูรถ
ด้วย
สภาพคันชัก คันส่ง ห้ามล้อ ตัวรถ เครื่องยนต์ ยางรถยนต์ หัวโยงรถพ่วง แผงเหล็กกันภัย
และเครื่องดับเพลิง อยู่ในสภาพใช้งานได้
ปลั๊กไฟ สาย Load และหน้าแปลน Load อยู่ในสภาพดีและสามารถใช้งานได้
ควันดำจากท่อไอเสีย และเสียงของเครื่องยนต์ ต้องไม่มาก / ดัง จนสังเกตได้ชัดเจนว่าผิดปกติ
ระบบสัญญาณไฟ หน้าและหลัง มีความสว่างชัดเจน ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้
เสียงสัญญาณแตรของรถ ต้องได้ยินในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตรและไม่เป็นเสียงไซเรนหรือ
เสียงสัญญาณที่เป็นเสียงนกหวีด เสียงแตกพร่า
กระจกหน้า-หลัง , กระจกส่องด้านข้างตัวรถ กระจกอื่นภายในรถ ต้องมีความใสสะอาด และไม่มี
รอยการแตกร้าวจากอุบัติเหตุ
จะต้องจัดให้มีสมุดประจำรถเพื่อการตรวจสอบตลอดเวลา
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 37
23. กฎเฉพาะงานสำหรับการนำรถกอล์ฟ
เข้าเขตพื้นที่กระบวนการผลิต
23.1 ผู้ที่จะใช้หรือขับรถกอล์ฟ ต้องเป็นพนักงานหรือผู้รับเหมาประจำ (ที่ได้รับใบอนุญาตขับขี่
รถยนต์จากทางราชการ) ของหน่วยงานที่ต้องการใช้งานและขอ Hot work permit เป็นงานขับรถ
กอล์ฟ
23.2 จำนวนผู้โดยสารนั่งได้ไม่เกินจำนวนที่นั่งโดยสารมาตรฐานของรถแต่ละคันโดยต้องนั่งในเบาะ
เท่านั้นรวมทั้งคนขับ
23.3 ใช้ในการบรรทุกซึ่งมีน้ำหนักบรรทุกรวมผู้ขับขี่ไม่เกิน 400 กิโลกรัม (โดยอุปกรณ์ต้องไม่ยื่น
ออกนอกตัวรถ)
23.4 รถกอล์ฟที่จะเข้าเขตโรงงานต้องทำการตรวจสภาพความพร้อมว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานทุก
ครั้ง (ตามกฎความปลอดภัยเฉพาะงาน) เช่น แบตเตอรี่ ลมยาง ระบบไฮดรอลิค ระบบบังคับเลี้ยว ระบบ
ห้ามล้อ
23.5 รถกอล์ฟที่เข้ามาในเขตโรงงาน ต้องวิ่งบนถนนที่เป็นเส้นทางหลักที่อนุญาตให้รถทั่วไปวิ่งได้
เท่านั้น
23.6 ใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 20 กม. / ชม. ทั้งในและนอกเขตโรงงาน
23.7 การจอดรถ ต้องจอดในที่ที่กำหนดให้เป็นจุดจอดรถ หรือถ้าต้องการจอดรับ / ส่งของให้จอดได้
บริเวณถนนที่เป็นเส้นทางหลักเท่านั้น
23.8 กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ให้หยุดจอดรถชิดขอบทางทันที ถอดกุญแจรถออกและผู้ขับขี่ / ผู้โดยสาร
รีบออกไปปฏิบัติตามหน้ำที่ในแผนฉุกเฉินหรือรวมพล ณ จุดอพยพ
23.9 ห้ามชาร์ตแบตเตอรี่รถกอล์ฟในเขตพื้นที่กระบวนการผลิต
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 38
24. กฎเฉพาะงานสำหรับการนำ
รถยนต์เข้าเขตพื้นที่โรงงาน
24.1 รถยนต์ที่นำเข้าเขตโรงงานต้องเป็นชนิดเครื่องยนต์ดีเซล
24.2 กำหนดให้ติดตั้ง Flame & Spark Arrestor ที่ปลายท่อไอเสียของรถยนต์ทุกคันที่นำไปใช้
งานในพื้นที่โรงแยกก๊าซ
Flame & Spark Arrestor ทำจาก Stainless Steel Wire Mesh ขนาด 30 mesh (รูเปิด
ขนาด 0.55 มิลลิเมตร)
การติดตั้งทำโดยพับแผ่น Stainless Steel Wire Mesh ให้มีลักษณะเป็นถุง แล้วนำไป
ครอบที่ปลายท่อไอเสียโดยให้ก้นถุงห่างจากปลายท่อไอเสียประมาณ 15 เซนติเมตร แล้วหา
เข็มขัดหรือลวดพันให้ติดกับท่อไอเสีย
24.3 ต้องลดกระจกทั้งสองด้านลง และห้ามใช้เครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดรวมถึง
การห้ามเปิดไฟหน้า ไฟเลี้ยวและสัญญาณแตร
24.4 ห้ามใช้งานเพื่อการบรรทุกแรงงาน หรือใช้เป็นรถโดยสารภายในโรงงาน
24.5 รถทุกชนิดที่เข้าเขตโรงงานอนุญาตให้มีผู้โดยสารได้เท่ากับจำนวนที่นั่ง ดังนี้
รถกระบะ 1 ตอน โดยสาร 2 คน รวมคนขับ
รถกระบะ 2 ตอนและ 4 ประตู โดยสาร 4 คน รวมคนขับ
ห้ามโดยสารบนกระบะบรรทุกด้านหลังโดยเด็ดขาด
24.6 ภายในเขตโรงงานใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 20 กม. /ชม.
24.7 ภายนอกโรงงานแต่ภายในเขตโรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอมใช้ความเร็วไม่เกิน 40 กม./
ชม.
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 39
24. กฎเฉพาะงานสำหรับการนำ
รถยนต์เข้าเขตพื้นที่โรงงาน
(ต่อ)
24.8 การจอดรถต้องจอดในจุดที่กำหนดเท่านั้นจึงจะสามารถดับเครื่องยนต์และพนักงาน
ขับรถ ลงจากรถได้
24.9 กรณีจำเป็นต้องจอดรถนอกเหนือจากจุดที่กำหนดเพื่อการรับส่งสิ่งของสามารถจอด
ได้ชั่วคราวแต่ห้ามดับเครื่องยนต์และพนักงานขับรถห้ามลงจากรถ
24.10 การนำรถยนต์เข้าเขตโรงงานต้องพิจารณาถึงความจำเป็นสูงสุดและจำกัดจำนวน
รถเข้าเขตโรงงานให้มีน้อยที่สุดและห้ามจอดรถทิ้งไว้ในเขตโรงงานโดยไม่มีความจำเป็นถึง
แม้จะจอดในจุดที่กำหนด
24.11 ขณะจอดรถในที่ที่กำหนดต้องมีหมอนหนุนล้อรถเปิดหน้าต่างทั้งสองข้างพร้อมทิ้ง
กุญแจรถไว้เพื่อให้ผู้อื่นสามารถขับรถ / เลื่อนรถได้เมื่อพบว่ากีดขวางการปฏิบัติงานหาก
เกิดเหตุฉุกเฉิน
24.12 ห้ามจอดรถกีดขวางอุปกรณ์ดับเพลิงอุปกรณ์ระงับเหตุฉุกเฉินทุกชนิดในรัศมี 3
เมตร เช่น Hydrant, Manual Call Point ตู้เก็บอุปกรณ์ดับเพลิง เป็นต้น
24.13 รถบรรทุกตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไปขณะจอดต้องดึงเบรกมือและมีหมอนหนุนล้ออย่าง
น้อย 1 ล้อเพื่อ ป้องกันการเคลื่อนตัวของรถไปในทิศทางด้านหน้าและด้านหลัง
24.14 ก่อนจะนำรถยนต์เข้าเขตโรงงาน ต้องปิดไฟ Day Light ด้วยทุกครั้ง
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 40
25. กฎเฉพาะงานสำหรับการนำ
เครื่องยนต์เบนซินเข้าเขตโรงงาน
25.1 การนำเครื่องจักรกลทุกชนิดที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์เบนซิน
ต้องผ่านการตรวจสภาพโดยแผนก คท. และได้รับการติด สติกเกอร์
อนุญาตนำเข้าเขตโรงงานในตำแหน่งที่สังเกตได้ชัดเจน เช่น เครื่องตัด
หญ้าสะพายไหล่ เครื่องตบดิน เป็นต้น
25.2 ต้องขอใบอนุญาตทำงานชนิดงานร้อน (Hot Work) และจัดให้มี
การตรวจวัดก๊าซในจุดที่ปฏิบัติงานพร้อมจัดเตรียมถังดับเพลิงผงเคมี
แห้งอย่างน้อย 2 ถังตลอดเวลาการปฏิบัติงาน
25.3 ต้องได้รับการอนุญาตจากเจ้าของพื้นที่ก่อนทุกครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
ดุลยพินิจของผู้อนุญาตว่าเห็นสมควรให้ทำหรือไม่
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 41
26. กฎเฉพาะงานสำหรับ
การถ่ายรูปภายในโรงงาน
26.1 ขั้นตอนการเตรียมการ
กล้องถ่ายภาพที่จะนำมาใช้งานต้องผ่านการตรวจสภาพจากส่วน ปน. พร้อมทั้งติด Tag ผ่าน
การตรวจสภาพที่กล้องถ่ายภาพทุกตัวให้มองเห็นได้อย่างชัดเจน
ต้องมีการขออนุญาตถ่ายภาพในเขตโรงงานทุกครั้ง พร้อมกับใบอนุญาตที่มีความร้อน (Hot Work
Permit) เพื่อขออนุญาตจากเจ้าของพื้นที่
กรณีผู้ที่ถ่ายภาพเป็นผู้รับเหมา ผู้ควบคุมงานต้องตรวจสอบ Memory Card ของผู้รับเหมาว่าเป็น
Memory Card ว่างเปล่า ทุกวันก่อนที่จะมอบให้ผู้รับเหมานำไปใช้บันทึกภาพ
26.2 ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
มี Gas Detector พกติดตัวตลอดเวลา เพื่อตรวจวัดปริมาณก๊าซก่อนทุกครั้ง ในบริเวณที่จะถ่าย
ภาพ
ห้ามใช้ Flash ในการถ่ายภาพทุกสถานที่ ในกรณีที่แสงสว่างไม่เพียงพอ ให้ใช้แสงสว่างแหล่งอื่น
ซึ่งต้องใช้ไฟฟ้าแสงสว่างชนิด Dc. 24 Voltage
ผู้รับเหมาห้ามถ่ายภาพที่อาจมีผลต่อภาพลักษณ์ ชื่อเสียง และความมั่นคงของ ปตท. โดยผู้
ควบคุมงานมีหน้าที่โดยตรวจในการตรวจสอบ ดังนี้
• ภาพการชำรุดเสียหายของเครื่องจักร / อุปกรณ์ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานที่รับผิดชอบ
• ภาพโดยรวมของกระบวนการผลิตหลักของโรงงาน
• ภาพแสดงอาคารสถานที่ อุปกรณ์หลัก ที่มีความเสี่ยงต่อความมั่นคงโรงแยกก๊าซ
• ภาพถ่ายมุมกว้างที่แสดงแนวรั้วโดยรอบ หรือบางส่วนของโรงงาน ประตูเข้า – ออก
ป้อมรักษความปลอดภัย ซึ่งแสดงขั้นตอน / วิธีการในการควบคุมการผ่านเข้า – ออก
ของบุคคลภายนอกที่จะเข้ามาปฏิบัติงานภายในโรงงาน หรือโรงแยกก๊าซฯ
• ภาพอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว ที่พนักงาน ปตท. พิจารณาว่าไม่สมควรให้ถ่าย
• ผู้รับเหมาต้องลบภาพถ่ายที่มีผลต่อภาพลักษณ์ ชื่อเสียง และความมั่นคงของ ปตท.
ออกทันที เมื่อได้รับการแจ้งจากพนักงาน ปตท.
• ต้องปรับ Function กล้องให้แสดง วัน / เดือน / ปี เวลา ที่ภาพนั้นถูกบันทึก ปรากฏ
ในภาพทุกภาพ
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 42
26. กฎเฉพาะงานสำหรับ
การถ่ายรูปภายในโรงงาน
(ต่อ)
26.3 การปฏิบัติหลังการถ่ายภาพ
การปฏิบัติของผู้ควบคุมงาน
รับ Memory Card จากผู้รับเหมาเพื่อ Copy ภาพถ่ายทั้งหมดลงใน Computer
ทำการลบภาพถ่ายทั้งหมดใน Memory Card และคืน Memory Card ให้กับผู้รับเหมา
ตรวจสอบ วัน / เดือน / ปี และเวลา ที่ปรากฏในถ่ายว่า อยู่ในช่วง วัน / เดือน / ปี และ
เวลา ที่ระบุไว้ในใบอนุญาตหรือไม่ หากพบว่าไม่ถูกต้องให้สอบสาเหตุจากผู้รับเหมา
ตรวจภาพถ่ายว่าต้องไม่มีภาพที่มีผลต่อภาพลักษณ์ ชื่อเสียง และความมั่นคงของ ปตท.
หากพบให้ทำการลบภาพเหล่านั้น และตักเตือนผู้รับเหมาให้ทราบ
นำภาพที่ได้ไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
26.4 การปฏิบัติของผู้รับเหมา
ส่งมอบ Memory Card ให้กับผู้ควบคุมงาน ปตท. เพื่อทำการตรวจสอบภาพ และ
Copy ข้อมูลไว้เพื่อตรวจสอบ และเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในงานของ ปตท.
รับคืน Memory Card ว่างเปล่า หรือที่ผ่านการตรวจสอบแล้ว โดยผู้ควบคุมงาน เพื่อ
นำไปใช้ประโยชน์ ต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ เช่น แนบในรายงาน ฯลฯ
ลบข้อมูล /ภาพถ่ายใน Memory Card เดิมเพื่อแสดงต่อ ผู้ควบคุมงาน ก่อนนำไปถ่าย
ภาพในวันต่อไป
หมายเหตุ : การถ่ายภาพภายในเขตโรงงาน ถือเป็นการเผยแพร่ความลับของทาง
ราชการ
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 43
27. กฎเฉพาะงานเกี่ยวกับการทำงาน
ในพื้นที่ที่ติดตั้งระบบดับเพลิงด้วย
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
27.1 การปฏิบัติงานในพื้นที่ติดตั้งระบบสารดับเพลิงภายในเขตพื้นที่หวงห้าม ผู้ปฏิบัติงาน
ทุกหน่วยงานที่ไม่ใช่ หน่วยงานควบคุมการผลิต เจ้าของพื้นที่ ต้องปฏิบัติตามระบบใบ
อนุญาตทำงาน (Work Permit System)
27.2 หน่วยงานเจ้าของพื้นที่ ต้องเก็บรักษากุญแจ และทำหน้าที่ในการปิดสวิทช์หรือกุญแจ
เพื่อเปลี่ยนตำแหน่งระบบการสั่งการฉีดสารดับเพลิงจาก Normal / Auto ไปอยู่ในตำแหน่ง
Isolate หรือจากตำแหน่ง Isolate ไปอยู่ในตำแหน่ง Normal / Auto และกำหนด
สัญญาณไฟหน้าห้องต้องเป็นสีเขียวจึงจะเข้าได้
27.3 อาคารภายในเขตพื้นที่หวงห้ามที่มีประตูมากกว่า 2 ประตู ให้กำหนดประตูหลักเข้า-
ออก 1 ประตู
27.4 ขณะที่เจ้าของพื้นที่ทำการปรับระบบการสั่งการฉีดสารดับเพลิงจากตำแหน่ง Normal
/ Auto ไปอยู่ในตำแหน่ง Isolate ผู้ปฏิบัติงานหน่วยงานที่ขออนุญาตทำงานต้องทำหน้าที่
ตรวจสอบว่าสวิทช์หรือกุญแจ อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องแล้ว
27.5 ผู้ปฏิบัติงานหน่วยงานที่ขออนุญาตทำงานต้องติดแสดงใบอนุญาตทำงานไว้ตรง
บริเวณจุดควบคุมระบบสั่งการอัตโนมัติ
27.6 ผู้ปฏิบัติงานหน่วยงานที่ขออนุญาตทำงานที่ทำงานเป็นคนสุดท้าย ต้องแจ้งเจ้าของ
พื้นที่ว่าปฏิบัติงานแล้วเสร็จ
27.7 เจ้าของพื้นที่จะต้องตรวจสอบพื้นที่ปฏิบัติงานจนมั่นใจว่าไม่มีผู้ปฏิบัติงานและทำการ
ปรับระบบการสั่งการฉีดสารดับเพลิงจาก ตำแหน่ง Isolate ไปอยู่ในตำแหน่ง Normal /
Auto
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 44
28. กฎเฉพาะงานสำหรับ
งานขุดเจาะ
28.1 งานที่มีการขุดเจาะพื้นผิวให้ลึกลงไปมากกว่า 30 เซนติเมตร ได้แก่ การขุด, การปักหลัก, การ
ตอกเสาไฟ เข็มหรือเสาและงานอื่น ๆ ที่มีลักษณะเดียวกันต้องมีการขออนุญาตทำงานขุดเจาะ โดยใช้
ควบคู่กับใบอนุญาตทำงานธรรมดาหรืองานร้อน
28.2 ขณะปฏิบัติงานต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลอย่างเหมาะสมได้แก่ หมวกนิรภัย
รองเท้านิรภัย แว่นตานิรภัย ถุงมือ Ear Plug และอุปกรณ์อื่น ๆ ตามแต่ลักษณะงาน
28.3 ต้องมีการ verify ด้วย hand tool ที่ความลึก 1.5 ม. รอบบริเวณที่จะทำการขุดเจาะหรือหากมี
ข้อมูลที่เชื่อได้ว่าอาจมีอุปกรณ์เช่น ท่อ สายไฟฟ้า หรือสายระบบ Instrument ผู้รับเหมาต้องขุด Verify
จนกว่าจะพบอุปกรณ์ดังกล่าว จึงจะได้รับอนุญาต (สลับข้อตามลาดับการทำงาน) หากพบอุปกรณ์ที่อยู่
ใต้ดินและจัดเตรียมมาตรการป้องกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้ควบคุมงาน ปตท. ใน
การพิจารณาขอใบอนุญาตขุดเจาะที่สามารถใช้เครื่องจักรได้
28.4 ในกรณีที่หลุมลึกตั้งแต่ 1.5 เมตรขึ้นไปและมีความกว้างของปากทางน้อยกว่า 1.5 เมตร และ
มีผู้ที่ต้องลงไปปฏิบัติงานในหลุมนั้น ต้องขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศ และสวมใส่สายรัดตัวนิรภัย
(Harness) ในกรณีที่จะต้องมีการช่วยเหลือหากเกิดเหตุฉุกเฉิน รวมทั้งติดตั้ง Air Blower เพื่อให้เกิด
การหมุนเวียนของอากาศภายในหลุมที่อับอากาศหรือช่วงเวลาที่มีอุณหภูมิสูง โดยให้อยู่ในดุลพินิจของผู้
ควบคุมงาน ปตท.
28.5 ในกรณีที่หลุมลึกตั้งแต่ 1.2 เมตรขึ้นไปหรือมีการปฏิบัติงานในช่วงหน้าฝน หรือดินมีสภาพที่ไม่
แข็งแรงมั่นคง ให้ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสมเพื่อป้องกันดินถล่ม ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้
ควบคุมงาน ปตท.
28.6 ดินที่ขุดขึ้นมาแล้วให้จัดเตรียมที่สำหรับกองเก็บดินดังกล่าวพร้อมระบบป้องกันการไหลไปยังพื้นที่
ข้างเคียง หากจำเป็นต้องขนย้ายดินออกนอกพื้นที่ ให้บรรจุดินในภาชนะมิดชิดและดินไม่สามารถไหล
ออกมาได้ เช่น กระสอบ เป็นต้น
28.7 ผู้รับเหมาต้องจัดเตรียมระบบป้องกันการหกหล่นและฟุ้งกระจายของดินที่เกิดจากการขนย้าย เช่น
ผ้าใบคลุมกระบะหลังรถ จุดล้างล้อ คนงานสำหรับทำความสะอาดพื้นถนน เป็นต้น ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลพินิจ
ของผู้ควบคุมงาน ปตท.
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 45
29. กฎเฉพาะงานสำหรับการ
ปฏิบัติงานในเขตบ่อน้ำดับเพลิง
และบ่อน้ำสำรองดับเพลิง
29.1 ผู้ปฏิบัติงานจะต้องสวมใส่เสื้อชูชีพที่ได้มาตรฐานตลอดเวลาที่ปฏิบัติงานภายในเขตบ่อน้ำ
29.2 ห้ามปฏิบัติงานโดยลำพัง จะต้องมีผู้ร่วมปฏิบัติงานเพื่อช่วยเหลือกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินอย่าง
น้อย 2 คน
29.3 ห้ามเข้าใกล้บริเวณท่อที่มีแรงดูด เช่น ท่อทางเข้าปั้ มน้ำดับเพลิง ท่อถ่ายน้ำอื่นๆ
29.4 กรณีต้องปฏิบัติงานในเขตบ่อน้ำที่มีการติดตั้งปั้ มเติมอากาศ ควรมีการตัดไฟก่อนปฏิบัติ
งาน
29.5 ผู้ปฏิบัติต้องมีวิทยุสื่อสารติดไว้ประจำตัวตลอดเวลาโดยใช้ช่องสื่อสารช่องเดียวกับ GSP1
(ช่อง 9 )
29.6 บริเวณพื้นที่ปฏิบัติงานต้องมีห่วงยางและเชือกประจำอยู่ตลอดเวลาไว้สำหรับกรณีเกิดเหตุ
ฉุกเฉิน
29.7 ผู้ปฏิบัติงานจะต้องเป็นผู้ที่สามารถว่ายน้ำได้
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 46
30. กฎเฉพาะงานสำหรับการ
ปฏิบัติงานบนที่สูงภายในอาคาร
30.1 ก่อนใช้งานต้องตรวจสอบสภาพบันได โดยอาศัยการสังเกตทั่วไป ทั้งในส่วนของขั้นบันได
ราวจับด้านบน-ด้านข้าง ขาตั้ง และอื่น ๆ กรณีถ้าพบความผิดปกติไม่ควรนามาใช้งาน
30.2 ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความพร้อม ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งผู้ใช้งานควรมีสุขภาพแข็ง
แรง ไม่อยู่ระหว่างการใช้ยาที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ เช่น ยาที่ทำให้เกิดอาการง่วง และไม่ควร
ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตลอดจนของมึนเมาต่าง ๆ รวมถึงไม่มีอาการกลัวความสูง
30.3 ผู้ปฏิบัติงานควรทำความเข้าใจถึงลักษณะงานที่ทำและข้อพึงระวังต่าง ๆ และศึกษาคู่มือ
วิธีการใช้งานบันไดอย่างปลอดภัยจากผู้ผลิตเสียก่อน รวมทั้งต้องมีการประเมินอันตรายก่อน
ปฏิบัติและกำหนดมาตรการป้องกันให้ครบถ้วน
30.4 การเคลื่อนย้ายและการยกบันไดที่พับได้ควรพับให้สั้นที่สุด โดยพาดบันไดกับไหล่ตามแนว
นอน และปรับให้ปลายด้านหน้าเอียงให้สูงจากพื้นประมาณ 2 เมตร ส่วนแขนอีกข้างหนึ่งต้อง
คอยพยุงและควบคุมทิศทาง และช่วยปรับบันไดให้มีความสมดุล
30.5 บริเวณที่ตั้งบันได ต้องไม่มีอะไรกีดขวาง โดยพื้นผิวบริเวณฐานบันไดต้องมั่นคง ได้ระดับ
ไม่ลื่นหรือเปียกแฉะ ในกรณีที่พิจารณาแล้วพบว่าพื้นผิวมีลักษณะไม่ค่อยมั่นคง ต้องใช้อุปกรณ์
ช่วย เช่น ใช้ไม้กระดานแผ่นเรียบรองขาตั้ง หรือใช้ไม้ตีประกับ เพื่อเป็นฐานรองรับและล็อกขาตั้ง
ไม่ให้เคลื่ อนออกจากตำแหน่ง
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 47
30. กฎเฉพาะงานสำหรับการ
ปฏิบัติงานบนที่สูงภายในอาคาร
(ต่อ)
30.6 ไม่ควรใช้อุปกรณ์ช่วยเสริมความสูงของบันไดที่ดูแล้วไม่ปลอดภัย เช่น อิฐบล็อก กล่อง
หรือถัง เพราะอาจไม่แข็งแรงและมั่นคงพอ
30.7 เมื่อใช้งาน ต้องกางขาบันไดออกให้อยู่ในตำแหน่งที่ตัวล็อคขา สามารถล็อคได้อย่าง
ปลอดภัย ถ้ามีความจำเป็นต้องตั้งบันไดในที่ที่มีความชัน ก็ควรมีอุปกรณ์เสริมบริเวณข้างใต้ขา
บันไดให้มีความมั่นคงและได้ระดับ
30.8 ขณะขึ้น–ลงบันได ต้องหันหน้าเข้าหาบันได และควรสวมรองเท้านิรภัยชนิดกันลื่น
30.9 ขณะปฏิบัติงานไม่ควรที่จะยืนเหยียบบนขั้นบันไดสูงเกินกว่าขั้นที่ 3 นับจากขั้นบนสุดลง
มา เพราะอาจทำให้เสียสมดุลหรือการทรงตัวและตกจากบันไดได้
30.10 ห้ามใช้บันไดในขณะเดียวกันมากกว่า 1 คน แต่ให้มีผู้ปฏิบัติงานอีก 1 คนในการเฝ้า
ระวังและดูแลความปลอดภัยอยู่ด้านล่าง
30.11 อย่าเคลื่อนย้ายหรือยืดความยาวบันได ในขณะที่ยังยืนอยู่บนบันได รวมทั้งห้ามดัดแปลง
บันไดไปใช้งานลักษณะอื่น ที่ผิดวัตถุประสงค์