คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 48
31. กฎเฉพาะงานสำหรับการปฏิบัติงาน
ทั่วไปในพื้นที่กระบวนการผลิต
31.1 ขออนุญาตเข้าปฏิบัติงานตามระบบทุกครั้ง ยกเว้นงานของแผนกควบคุมการผลิต เนื่องจาก
เป็นเจ้าของพื้นที่ แต่ต้องแจ้งให้ผู้จัดการแผนกควบคุมการผลิตรับทราบก่อนดำเนินการ
31.2 สวมใส่อุปกรณ์ความปลอดภัยพื้นฐานคือ
31.2.1 หมวกนิรภัย
31.2.2 รองเท้านิรภัย
31.2.3 แว่นตานิรภัย
31.2.4 เสื้อแขนยาวชนิดติดไฟยากหรือไม่ติดไฟ
31.2.5 อื่น ๆ ตามลักษณะและพื้นที่ที่ปฏิบัติงาน
31.3 การปฏิบัติงานบริเวณพื้นที่ที่มีเสียงดังให้พิจารณาการกำหนดพื้นที่เสียงดังจากการชี้บ่งด้วยเส้น
เสียงที่พื้น และสวมอุปกรณ์ป้องกันเพิ่มเติม ได้แก่ Ear muff หรือ Ear plug โดย Ear plug จะติด
ตั้งอยู่ที่หน้าห้อง DCS และหน้าอาคาร CCR
31.4 งานที่ต้องต่อพ่วงอุปกรณ์ในพื้นที่อาทิ ระบบไฟฟ้า ลม น้ำ และไนโตรเจน ต้องแจ้งแผนกควบคุม
การผลิตก่อนการใช้งานทุกครั้ง
31.5 การเดินตรวจโรงงานกรณีของผู้ตรวจประเมินต่าง ๆ หรือผู้บริหารเยี่ยมชมพื้นที่สามารถพิจารณา
ยกเว้นการสวมรองเท้านิรภัย
31.6 งานที่ต้องขึ้นไปปฏิบัติงานบน Platform ชั้นที่ 2 หรือชั้นบน ให้ใช้ความระมัดระวังป้องกันสิ่งของ
ตกลงชั้นล่างแล้วตกใส่ผู้ปฏิบัติงานชั้นล่าง ถ้าปฏิบัติงานระยาวต้องกั้นบริเวณด้วยขาว-แดงและติดป้าย
บ่งชี้ให้ชัดเจน
31.7 งานซ่อม งานตรวจสอบ ทดสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อาจจะส่งผลต่อระบบสัญญาณเตือน (Alarm)
ให้แจ้งแผนกควบคุมการผลิตเพื่อประกาศเสียงตามสายแจ้งให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับทราบ
31.8 ไม่อนุญาตให้นักศึกษาฝึกงานเข้าไปในพื้นที่กระบวนการผลิตโดยที่ไม่มีพนักงาน ปตท. คอย
ดูแล
31.9 การวางหรือติดตั้งอุปกรณ์ชั่วคราวต่าง ๆ ในพื้นที่กระบวนการผลิตได้ได้รับการตรวจสอบและ
อนุญาตจากแผนกควบคุมการผลิตหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 49
สารเคมีในโรงงาน
Ethyl Mercaptan (Odorant)
เอทธิล เมอร์แคพแทน
สูตรทางเคมี: C2H5SH
ชื่ออื่นๆ: Ethanethiol (OSHA)
การใช้ประโยชน์ ใช้เป็นสารเติมกลิ่น มีกลิ่นเหม็นเพื่อเป็นการเตือนให้คนรับรู้หากเกิดการรั่วของก๊าซ
ข้อควรระวัง เก็บให้ห่างจากแหล่งที่จะทำให้เกิดการจุดติดไฟและประกายไฟ ห้าม
สูบบุรี่
หลีกเลี่ยงการสัมผัสดวงตาและการปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม
สวมอุปกรณ์ป้องกันการหายใจ ถุงมือ หน้ากาก
ชุดป้องกันสารเคมี รองเท้านิรภัย
การเข้าสู่ร่างกาย ทางการหายใจ - ระคายเคืองจมูกและทางเดินหายใจหรืออาจปวดศีรษะ คลื่นไส้
อ่อนเพลียและหมดสติได้
ทางผิวหนัง - ระคายเคืองผิวหนัง, ผิวหนังแดง
ทางตา - ระคายเคืองเยื่อบูตา,ตาแดง
ทางการกลืนกิน - ระคายเคืองปากและทางเดินอาหาร, คลื่นไส้
การปฐมพยาบาล การหายใจเข้าไป - ย้ายผู้ป่วยไปยังบริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์ ให้ออกซิเจน หากผู้บาดเจ็บ
มาตรการดับเพลิง หายใจลำบากและนำส่งแพทย์
การสัมผัสทางผิวหนัง - ล้างผิวหนังด้วยสบู่และน้ำปริมาณมาก อย่างน้อย 20 นาที ถ้ายัง
ระคายเคืองให้นำส่งแพทย์ทันที
การสัมผัสทางดวงตา - ล้างตาทันทีด้วยน้ำปริมาณมากอย่างน้อย 20 นาที หากยังระคาย
เคืองให้นำส่งแพทย์ทันที
การกลืนกิน - ให้ใช้น้ำบ้วนปาก แล้วนำส่งแพทย์ทันที
ฉีดน้ำให้เป็นลำฝอยหรือหมอก หรือใช้โฟมดับเพลิง โดยสวมSCBA ในการเข้าผจญเพลิง ห้ามใช้
น้ำฉีดเป็นลำตรง อพยพผู้ที่อยู่ในบริเวณ 800 เมตร ในทุกทิศทาง
มาตรการเมื่อ พิจารณาอพยพผู้ที่อยู่ใต้ลมในเบื้องต้นอย่างน้อย 300 เมตร ดูดชับสารที่หกรั้วไหลด้วยดิน ทราย
สารหกรั่วไหล หรือวัสดุอื่ นที่ไม่ติดไฟและเก็บในภาชนะเพื่ อนำไปกำจัด
อุปกรณ์ป้องกัน
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 50
สารเคมีในโรงงาน
LPG : Liquefied Petroleum Gas
ก๊าซแอลพีจี
การใช้ประโยชน์ ชื่อทางเคมี: Propane + Butane
สูตรทางเคมี: C3H8 + C4H10
ใช้เป็นก๊าซหุงต้มในครัวเรือน, เชื้อเพลิงรถยนต์และอุตสาหกรรม
ข้อควรระวัง หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับความร้อนและแหล่งกำเนิดประกายไฟ ห้ามสูบบุรี่
สวมชุดป้องกันสารเคมี ถุงมือกันสารเคมี แว่นครอบตา
รองเท้านิรภัย หน้ากากป้องกันก๊าซ
ห้ามหายใจเอาก๊าซหรือไอของสารเข้าไป
การเข้าสู่ร่างกาย ทางการหายใจ - ระคายเคืองจมูกและทางเดินหายใจหรืออาจปวดศีรษะ มึนงงและ
หมดสติได้
ทางผิวหนัง - ระคายเคืองผิวหนัง, ผิวไหม้จากความเย็นจัด
ทางตา - ระคายเคืองตา, แสบไหม้ตาเนื่องจากความเย็นจัด
ทางการกลืนกิน - ระคายเคืองปากและทางเดินอาหาร
การปฐมพยาบาล การหายใจเข้าไป - ย้ายผู้ป่วยไปยังบริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์ ให้ออกซิเจน หากผู้บาดเจ็บหายใจ
ลำบากและนำส่งแพทย์
การสัมผัสทางผิวหนัง - ล้างผิวหนังด้วยสบู่และน้ำปริมาณมาก ถ้ายังระคายเคืองอยู่ให้นำส่ง
แพทย์ทันที
การสัมผัสทางดวงตา- ห้ามขยี้ตา ให้ลืมตาในน้ำสะอาด หากยังระคายเคืองให้นำส่งแพทย์ทันที
การกลืนกิน - ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำปริมาณมากเพื่อเจือจางก๊าซ ห้ามทำให้อาเจียน นำส่งแพทย์ทันที
มาตรการดับเพลิง ให้สวม SCBA ในการเข้าผจญเพลิงและใช้น้ำฉีดให้เป็นลำฝอยหรือหมอก อพยพผู้ที่อยู่ในบริเวณ
1,600 เมตร ในทุกทิศทาง
มาตรการเมื่อ พิจารณาอพยพผู้ที่อยู่ใต้ลมในเบื้องต้นอย่างน้อย 800 เมตร
สารหกรั่วไหล
อุปกรณ์ป้องกัน CAS Number: 68476-85-7
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 51
สารเคมีในโรงงาน
NGL : Natural Gasoline
ก๊าซโซลีนธรรมชาติ
ชื่อทางเคมี: Pentane+Hexane+Heptane+Octane
สูตรทางเคมี: C5H12 + C6H14 + C7H16 + C8H18
การ1ใ.ช้ประโยชน์ ใช้ผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิง, เป็นวัตถุดิบในการผลิตตัวทำละลาย
ข้อควรระวัง เก็บให้ห่างความร้อน ประกายไฟ และห้ามสูบบุรี่ ห้ามหายใจเอาก๊าซหรือไอของสารเข้าไป
หลีกเลี่ยงการปล่อยสารสู่สิ่งแวดล้อม
สวมอุปกรณ์ป้องกันการหายใจ ถุงมือ หน้ากาก
ชุดป้องกันสารเคมี รองเท้านิรภัย
การเข้าสู่ร่างกาย ทางการหายใจ - ระคายเคืองจมูกและทางเดินหายใจหรืออาจปวดศีรษะ ตาลายและหมดสติได้
ทางผิวหนัง - ระคายเคืองผิวหนัง, แผลไหม้จากความเย็นจัด
ทางตา - ระคายเคืองเยื่อบุตาและมีผลต่อระบบประสาทตา
ทางการกลืนกิน - ระคายเคืองปากและทางเดินอาหาร, คลื่นไส้
การปฐมพยาบาล การหายใจเข้าไป - ย้ายผู้ป่วยไปยังบริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์ หากหมดสติให้ผายปอดหรือให้
ออกซิเจนและนำส่งแพทย์
การสัมผัสทางผิวหนัง - ล้างผิวหนังด้วยสบู่และน้ำปริมาณมาก ถ้ายังระคายเคืองอยู่ให้นำส่ง
แพทย์ทันที
การสัมผัสทางดวงต่า - ล้างตาทันทีด้วยน้ำปริมาณมากอย่างน้อย 15 นาที หากยังระคาย
เคืองให้นำส่งแพทย์ทันที
การกลืนกิน - ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำปริมาณมากเพื่อเจือจางก๊าซ แล้วนำส่งแพทย์ทันที
มาตรการดับเพลิง ให้สวม SCBA ในการเข้าผจญเพลิงและใช้น้ำฉีดให้เป็นลำฝอยหรือหมอก อพยพผู้ที่อยู่ในบริเวณ
1,600 เมตร ในทุกทิศทาง
มาตรการเมื่อ พิจารณาอพยพผู้ที่อยู่ใต้ลมในเบื้องต้นอย่างน้อย 800 เมตร
สารหกรั่วไหล
อุปกรณ์ป้องกัน CAS Number: 8006-61-9
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 52
สัญลักษณ์มาตรฐานสี บมจ.ปตท.
โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม
สีตกแต่งท่อ
แถบสีแสดงชนิดผลิตภัณฑ์
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 53
การประเมินความเสี่ยง
การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) คือ กระบวนการในการระบุระดับความรุนแรงและการจัดลำดับความ
สำคัญของปัจจัยเสี่ยงโดยประเมินจากโอกาสที่จะเกิดขึ้น (Likelihood) และผลกระทบ (Impact) ที่จะเกิดขึ้น
โอกาส (Likelihood) หมายถึง ความถี่หรือโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยงขึ้น
ผลกระทบ (Impac) หมายถึง ความรุนแรง (Severity) ของความเสียหาย หรือผลที่เกิดขึ้นตามมาจากผลสืบเนื่อง
ของเหตุการณ์ความเสี่ยง
การประเมินความเสี่ยง ของโรงแยกก๊าซธรรมชาติผ่านระบบ Task Risk Assessment Web โดยแยกตาม
รายการอาชีพ โดยวิธี ISO 45001
โอกาส x ความรุนแรง = ความเสี่ยง
เกณฑ์การพิจารณาโอกาส
1.จำนวนบุคคลที่สัมผัสอันตราย (ผู้ปฏิบัติงาน)
2.ความถี่และระยะเวลาในการสัมผัสอันตราย (ระยะเวลาในการทำงาน) พิจารณา 8 ชม. การทำงานต่อ 1 วัน 48 ชม.ต่อสัปดาห์
3.การตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน (เช่น แสง เสียง สารเคมี)
4. ขั้นตอนการดำเนินงาน/วิธีการปฏิบัติงาน/กฎความปลอดภัยเฉพาะงาน
5. การอบรมการปฏิบัติงานตามขั้นตอนการดำเนินงาน/วิธีการปฏิบัติงาน/กฎความปลอดภัยเฉพาะงาน
6. การควบคุมการปฏิบัติงานตามขั้นตอนการดำเนินงาน/วิธีการปฏิบัติงาน/กฎความปลอดภัยเฉพาะงน
7.อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE)
8.ความปลอดภัยของเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ พิจารณาในด้านอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย เช่นSafety Guard
9. การตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์
10.การเตือนอันตรายได้แก่ การใช้แสง สี ป้ายเตือนอันตรายต่างๆ
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 54
แผนป้องกันและ
ระงับอัคคีภัย
คำจำกัดความ
1.ภาวะฉุกเฉิน หมายถึง เหตุฉุกเฉินหรือสภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน ดังต่อไปนี้
ภาวะฉุกเฉินที่เกิดจากปัจจัยภายใน ได้แก่ การเกิดเพลิงไหม้ การระเบิด การรั่วไหลของสาร
เคมีอันตรายร้ายแรง ก๊าซไวไฟ และของเหลวไวไฟ รวมถึงการรั่วไหลในปริมาณน้อย การรั่ว
ไหลของของเสียอันตราย และการไม่ทำงานของระบบควบคุมต่าง ๆ
ภาวะฉุกเฉินที่เกิดจากปัจจัยภายนอก ได้แก่ น้ำท่วม ดินถล่ม การก่อวินาศภัย และการชุมนุม
ประท้วง
2.ทีมตอบโต้เหตุฉุกเฉิน หมายถึง พนักงานที่ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งฝ่ายโรง
แยกก๊าซขนอม เรื่องประกาศแต่งตั้งพนักงานปฏิบัติหน้าที่ ตามโครงสร้างแผนฉุกเฉินโรงแยก
ก๊าซธรรมชาติขนอม
3.อาคารศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการ (Central Control Room: CCR) หมายถึง อาคารที่ใช้
เป็นที่ตั้งห้องควบคุมระบบ DCS (Distributed Control System: DCS)
4.Emergency Director (ED) หมายถึง ผู้บัญชาการเหตุฉุกเฉิน
5.On scene Commander (OC) หมายถึง ผู้สั่งการเหตุฉุกเฉินในบริเวณที่เกิดเหตุ ซึ่งขึ้น
ตรงกับ ED
6.Fire Chief (FC) หมายถึง ผู้สั่งการผจญเพลิงในบริเวณที่เกิดเหตุ
7.Fire Leader (FL) หมายถึง หัวหน้าทีมผจญเพลิง ซึ่งขึ้นตรงกับ FC
8.แผนฉุกเฉิน หมายถึง แนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินหรือเหตุเกิดฉุกเฉินรวมถึงการเกิด
อุบัติภัยอื่น ๆ ซึ่งหมายความถึงขั้นตอนการดำเนินงานการเตรียมความพร้อมและการตอบโต้
ภาวะฉุกเฉิน
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 55
แผนป้องกันและ
ระงับอัคคีภัย
คำจำกัดความ
9.ระดับของภาวะฉุกเฉิน หมายถึง การแบ่งระดับของภาวะฉุกเฉินหรือเหตุฉุกเฉิน โดยพิจารณา
จากความสามารถในการเตรียมความพร้อมและการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินของโรงแยกก๊าซธรรมชาติ
ขนอม และการขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานระดับท้องถิ่นและหน่วยงานระดับจังหวัด ได้แก่
ก่อนประกาศภาวะฉุกเฉิน และภาวะฉุกเฉิน ระดับที่ 1, 2, 3 และ 4 ตัวอย่างของการแบ่งระดับของ
ภาวะฉุกเฉินสำหรับการเกิดเพลิงไหม้ การระเบิด การรั่วไหลของสารเคมีอันตรายร้ายแรง ก๊าซไวไฟ
และของเหลวไวไฟ รวมถึงการรั่วไหลในปริมาณน้อย และการรั่วไหลของของเสียอันตราย ดังนี้
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 56
แผนป้องกันและ
ระงับอัคคีภัย
คำจำกัดความ (ต่อ)
10.จุดอพยพ (Evacuation Point) หมายถึง พื้นที่ที่กำหนดให้เป็นจุดนัดพบเพื่อรวมตัวกันก่อน
จะอพยพไปยังจุดรวมพล เมื่อมีประกาศแผนฉุกเฉินหรือการอพยพ โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม
กำหนดให้มีจุดอพยพ ดังนี้
อาคารศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการ (CCR) แบ่งเป็น 3 ชั้น มีทางเข้า-ออกหลักที่ข้างโถงทางเดิน มี
บันไดหนีไฟที่ทางออกฉุกเฉินซึ่งอยู่ด้านหลังฝั่ งชายทะเล และจุดอพยพอยู่หลัง Shop แผนก
คท. บริเวณแนว Shore Line จำนวนพนักงานรวม 32 คน
อาคารพัสดุและบำรุงรักษา แบ่งเป็น 2 ชั้น มีทางเข้า-ออกหลักที่ข้างโถงทางเดิน จุดอพยพอยู่
หลัง Shop แผนก คท. บริเวณแนว Shore Line ทั้งนี้มีจำนวนพนักงานรวม 28 คน
อาคารชัยสนวัฒนา มี 1 ชั้น มีทางเข้า-ออกหลักที่ด้านหน้าและสามารถออกทางประตูหลังได้ จุด
อพยพอยู่หน้าอาคาร มีพนักงานมวลชนสัมพันธ์และพนักงานผู้ช่วย 5 คน และแม่บ้าน 1 คน
จำนวนพนักงานรวม 6 คน
อาคารภูผาพิทักษ์ มี 1 ชั้น จุดอพยพอยู่บริเวณที่สูบบุหรี่ซึ่งมีจำนวนพนักงานรวม 7 คน
อาคารท่าเทียบเรือ มี 1 ชั้น จุดอพยพอยู่ด้านหน้าใกล้ทางเข้าพื้นที่ มี จำนวนพนักงานรวม 3 คน
11.จุดรวมพล (Assembly Point) หมายถึง จุดนัดหมายที่ปลอดภัยเป็นพื้นที่โล่ง ไม่มีหลังคา
ครอบ สามารถรองรับการอพยพจากบริเวณที่เกิดเหตุมารวมกันเพื่อรายงานและนับจำนวนจากการ
ส่งต่อผู้ป่วย และ ผู้ประสบภัย รวมทั้งทรัพย์สินสำคัญเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน โรงแยกก๊าซธรรมชาติ
ขนอมกำหนดให้มีจุดรวมพลที่บริเวณ 3 แยก หน้าอาคารชัยสนวัฒนา
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 57
แผนป้องกันและ
ระงับอัคคีภัย
โครงสร้างสายบังคับบัญชาของทีมตอบโต้เหตุฉุกเฉิน
โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 58
แผนป้องกันและ
ระงับอัคคีภัย (ต่อ)
แผนโต้ตอบเหตุฉุกเฉินกรณีเกิดเพลิงไหม้
การตอบโต้เมื่อพบเหตุฉุกเฉิน ผู้พบเหตุการณ์แจ้งไปที่ CCR และรอที่จุดปลอดภัย
และการแจ้งเหตุฉุกเฉิน เพื่อรายงานรายละเอียดของเหตุการณ์
กรณีที่จุดเกิดเหตุมีเหตุการณ์อื่นร่วมด้วย ให้ การแจ้งเหตุที่ CCR ให้ปฏิบัติ ดังนี้
ปฏิบัติดังนี้ เช่น กดปุ่ม Fire Alarm Push Button
โทรด้วย Fire Phone
มีผู้ปฏิบัติงาน ต้องอพยพผู้ปฏิบัติงาน โทรด้วยโทรศัพท์ฉุกเฉินที่หมายเลข
นั้นออกนอกพื้นที่นั้น 44422, 44433 หรือ Pager ที่ใกล้จุด
มีผู้บาดเจ็บ ต้องให้ความช่วยเหลือด้วย เกิดเหตุ
การปฐมพยาบาล วิทยุ UHF Channel 1
ตัดแยกพื้นที่และควบคุมไม่ให้ผู้ที่ไม่
เกี่ยวข้องเข้าบริเวณจุดเกิดเหตุ
การสั่งการเบื้องต้น ผจ.ผ.คผ. จะสั่งการให้พนักงาน แผนก คผ. ไปที่จุดเกิดเหตุ
และตรวจสอบสถานการณ์เบื้องต้น
กรณีที่สามารถควบคุมได้ ให้ใช้ถังดับเพลิงชนิดเคมีแห้งดับ กรณีที่ไม่สามารถควบคุมได้ ให้รายงาน
ไฟ ปิดวาล์วเพื่อหยุดการรั่วไหลของสารเคมีอันตรายร้ายแรง สถานการณ์ไปที่ ผจ.ผ.คผ. และประเมินว่า
ก๊าซไวไฟ หรือของเหลวไวไฟ จากนั้นฉีดน้ำเพื่อ Cool Down ระดับของภาวะฉุกเฉิน เช่นระดับ 1 หรือ
หรือเจือจางความหนาแน่นของสารข้างต้น ระดับ 2 ขึ้นไป
หากควบคุมสถานการณ์ได้ ให้รายงานสถานการณ์ไปที่ การประกาศภาวะฉุกเฉินระดับ 1
ผจ.ผ.คผ. และเมื่อสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ ให้สอบสวน ให้ปฏิบัติ ดังนี้
สาเหตุของอุบัติการณ์ตามมาตรการของโรงแยกก๊าซ
ธรรมชาติขนอม
- เปิดสัญญาณ Siren ยาว 10 วินาที
- ประกาศ “เหตุฉุกเฉิน เหตุฉุกเฉิน เหตุฉุกเฉิน ขณะนี้เกิดเหตุการณ์………ที่ .......ขอให้ผู้ไม่มีหน้าที่
เกี่ยวข้องและกำลังปฏิบัติงาน หยุดการปฏิบัติงาน และออกนอกพื้นที่โรงงานและขอให้พนักงานที่
เกี่ยวข้องเข้ารายงานตัวตามโครงสร้างแผนฉุกเฉิน” (ประกาศ 3 ครั้ง)
- เปิดสัญญาณ Siren ยาว 30 วินาที
หมายเหตุ กรณีภาวะฉุกเฉินระดับ 2 ให้ปฏิบัติตามข้อ 2.12 และกรณีซ้อมแผนฉุกเฉินให้เปลี่ยนคำ
ว่าเหตุฉุขึ้นต้นด้วยคำว่า ซ้อมแผนฉุกเฉิน ซ้อมแผนฉุกเฉิน ซ้อมแผนฉุกเฉิน
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 59
แผนป้องกันและ
ระงับอัคคีภัย (ต่อ)
แผนโต้ตอบเหตุฉุกเฉินกรณีเกิดเพลิงไหม้
การสั่งการเพื่อเตรียมตอบโต้ ให้แจ้งทีมตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน ให้ปฏิบัติ ดังนี้ รายงานตัว
ภาวะฉุกเฉินระดับ 1 ที่จุดเกิดเหตุ ได้แก่ ทีมผจญเพลิงหลัก
เตรียมความพร้อมตามจุดที่กำหนด
ได้แก่
- ทีมควบคุมอุปกรณ์ - ทีมซ่อมบำรุงและกู้ภัย
- ทีมสนับสนุนด้านเทคนิค - ทีมอพยพ
- ทีมสนับสนุนผจญเพลิง - ทีมประสานงานภายนอก
การตอบโต้ภาวะฉุกเฉินระดับ 1 FC สั่งการดับเพลิงที่จุดเกิดเหตุ
ทีมควบคุมอุปกรณ์ ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่ง
ทีมผจญเพลิง ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมเพลิง
ทีมตัดแยกระบบ รายงานตัวกับ FC ที่จุดเกิดเหตุ และปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่ง
ทีมประสานงาน แบ่งเป็นทีมอพยพ รายงานตัวที่จุดอพยพที่ CCR และรอคำ
สั่งการอพยพให้ไปที่จุดรวมพล และทีมประสานงานภายนอก รายงานตัวที่
ป้อม รปภ. 1
ทีมสนับสนุนด้านเทคนิค รายงานตัวที่ศูนย์ควบคุมเหตุฉุกเฉิน และช่วยให้คำ
แนะนำหรือจัดหาข้อมูลสนับสนุน ED เช่น Drawing, P&ID
การรายงานผลการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน FC รายงานการควบคุมสถานการณ์ที่ ED
ระดับ 1
กรณีที่สามารถควบคุมได้ ประกาศยกเลิก กรณีที่ไม่สามารถควบคุมได้ ให้สั่งการ
เหตุฉุกเฉิน ตอบโต้ภาวะฉุกเฉินระดับ 2 ขึ้นไป
การประกาศการเปลี่ยนแปลงระดับของ
ภาวะฉุกเฉินจาก 1 เป็น 2 ให้ปฏิบัติ ดังนี้
เปิดสัญญาณ Siren ยาว 10 วินาที
- ประกาศ “เหตุฉุกเฉินระดับ 2 เหตุฉุกเฉินระดับ 2 เหตุฉุกเฉินระดับ 2 ขณะนี้เกิดเหตุ.......... ที่ .......... ขอให้ผู้ที่ไม่มี
หน้าที่เกี่ยวข้องและผู้ปฏิบัติงานออกนอกพื้นที่โรงงาน และขอให้พนักงานทุกคนปฏิบัติตามแผน” (ประกาศ 3 ครั้ง)
- เปิดสัญญาณ Siren ยาว 30 วินาที
- รายงานศูนย์ปฏิบัติการเหตุฉุกเฉินระยอง
- สั่งการให้ทีมประสานงานติดต่อหน่วยงานภายนอกเพื่อช่วยเหลือ
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 60
แผนป้องกันและ
ระงับอัคคีภัย (ต่อ)
แผนโต้ตอบเหตุฉุกเฉินกรณีเกิดเพลิงไหม้
การสั่งการเพื่อเตรียมตอบโต้ ให้แจ้งทีมสนับสนุนต่าง ๆ รายงานตัวที่จุดเกิดเหตุ
ภาวะระดับ 2 เช่น ทีมสนับสนุนผจญเพลิง ทีมซ่อมบำรุงและกู้ภัย
การตอบโต้ภาวะฉุกเฉินระดับ 2 FC สั่งการดับเพลิงที่จุดเกิดเหตุ
ทีมควบคุมอุปกรณ์ ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่ง
ทีมผจญเพลิง ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมเพลิง
ทีมตัดแยกระบบ รายงานตัวกับ FC ที่จุดเกิดเหตุ และปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่ง
ทีมประสานงาน แบ่งเป็นทีมอพยพ รายงานตัวที่จุดอพยพที่ CCR และรอคำ
สั่งการอพยพให้ไปที่จุดรวมพล และทีมประสานงานภายนอก รายงานตัวที่
ป้อม รปภ. 1
ทีมสนับสนุนด้านเทคนิค รายงานตัวที่ศูนย์ควบคุมเหตุฉุกเฉิน และช่วยให้คำ
แนะนำหรือจัดหาข้อมูลสนับสนุน ED เช่น Drawing, P&ID
ให้ทีมสนับสนุนผจญเพลิง/กู้ภัย/ซ่อมบำรุง รายงานตัวกับ
FC ที่จุดเกิดเหตุ ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่ง
การรายงานผลการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน FC รายงานการควบคุมสถานการณ์ที่ ED
ระดับ 2 ED ประเมินสถานการณ์
กรณีที่สามารถควบคุมได้ ประกาศยกเลิก กรณีที่ไม่สามารถควบคุมได้ ให้เตรียม
เหตุฉุกเฉิน การอพยพออกนอกพื้นที่โรงงาน
สั่งการยกเลิกเหตุฉุกเฉิน การสั่งการอพยพ ให้ปฏิบัติ ดังนี้
- สั่งการทีมผจญเพลิง Stand by ที่จุดเกิดเหตุเพื่อ - สั่งการทีมตอบโต้เหตุฉุกเฉินออกนอกพื้นที่ไปยัง
ป้องกันการเกิดเหตุซ้ำ จุดอพยพ
- รายงานศูนย์ปฏิบัติการเหตุฉุกเฉิน ระยอง
การสรุปรายงานการ รายงานการสอบสวนอุบัติการณ์ ตามามาตรการของโรง
ตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน แยกก๊าซธรรมชาติขนอมและเสนอผู้บริหารระดับสูง
การจัดเตรียมข้อมูลเพื่อแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 61
แผนการอพยพ
ทีมอพยพโรงงานจะอพยพพนักงาน ปตท. ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการ
ตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน รวมถึงผู้รับเหมา และบุคคลภายนอก เช่น ผู้เยี่ยมชม
นักศึกษาฝึกงาน ไปที่จุดรวมพลบริเวณ 3 แยก หน้าอาคารชัยสนวัฒนา
ทีมอพยพโรงงานจะนับจำนวนผู้อพยพที่จุดรวมพล เพื่อตรวจสอบจำนวนผู้
ตกค้าง
รายงานไปที่ ED
กรณีที่มีผู้ตกค้างให้ประสานงานขอความช่วยเหลือต่อไป
กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินพื้นที่ Tank farm Column Pressure vessel หรือ
อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีแรงดังสูงและมีโอกาสในการระเบิด
ให้รีบดำเนินการอพยพผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องไปยังจุดรวมพลทันที และเร่งอพยพออก
นอกโรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอมเมื่อทำการตรวจนับจำนวนแล้วเสร็จ
ในขั้นวิกฤติ อาคารที่สามารถรองรับแรงระเบิดได้ คือ อาคารศูนย์ควบคุมการ
ปฏิบัติการ (CCR) และมีระบบแรงดันบวก (Positive pressure) ดังนั้นให้ทุกทีม
เคลื่อนย้ายเข้าสู่อาคาร CCR และปิดประตูเหล็กด้านหน้าทางเข้าอาคารให้สนิท
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 62
กิจกรรม 5ส
กิจกรรม 5ส เป็นกระบวนการหนึ่งที่เป็นระบบมีแนวปฏิบัติ ที่เหมาะสมสามารถนำมาใช้เพื่อปรับปรุง
แก้ไขงานและรักษาสิ่งแวดล้อมในสถานที่ทำงานให้ดีขึ้น ทั้งในส่วนงานด้านการผลิต และด้านการบริการ ซึ่ง
นำมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร ได้อีกทางหนึ่ง
หัวใจการดำเนินงาน 5ส ให้ประสบความสำเร็จ
1. บทบาทของผู้บริหาร : 5ส จะประสบผลสำเร็จปัจจัยสำคัญประการแรกคือ ความร่วมมือของ
ผู้บริหารในการให้นโยบาย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการทำกิจกรรม 5ส ขึ้นในองค์กร ความใส่ใจ
สนับสนุนการดำเนินงาน 5ส หมั่นตรวจเยี่ยมพื้นที่เพื่อกระตุ้นให้พนักงานทำกิจกรรม 5ส เป็น
ประจำอย่างต่อเนื่อง
2. การมีส่วนร่วมของพนักงาน : 5ส เป็นกิจกรรมที่พนักงานทุกคนมีส่วนร่วม และส่งเสริมให้
ทำกิจกรรม 5ส ซ้ำๆ อย่างต่อเนื่อง ระบบ 5ส จึงจะยั่งยืน
3. ผู้ประสานงาน 5ส ประจำพื้นที่ : เป็นบุคคลสำคัญที่ช่วยนำนโยบาย และเป้าหมาย 5ส กลุ่ม
ปตท. ประสานงานกับ ผู้บริหาร พนักงาน ในแต่ละพื้นที่ให้ประสพความสำเร็จ
4. ผู้ตรวจประเมิน : เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้การดำเนินงาน 5ส กลุ่ม ปตท. เป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพ ผู้ที่จะได้เป็น ผู้ตรวจประเมิน 5ส กลุ่ม ปตท. จะต้องผ่านการอบรมและมีความรู้
เรื่อง 5ส เพื่อตรวจประเมินแต่ละพื้นที่ใน กลุ่ม ปตท. ตามรอบระยะเวลาที่กำหนด
5. การตรวจพื้นที่ที่มีประสิทธิภาพ : การให้ดำแนะนำที่มีคุณภาพ นำไปปฏิบัติได้จริง และส่ง
เสริมให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานจะช่วยให้พนักงานมีทัศนคติที่ดีในการทำกิจกรรม
5ส ทำ 5ส แล้วพนักงานได้ประโยชน์จริงๆ
1.สะสาง
2
.สะดวก
5ส
ปตท. 3.สะอาด
4.สร้างมาตรฐาน
5.สร้างนิสัย
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 63
กิจกรรม 5ส
(ต่อ)
1.สะสาง
สะสาง (Seiri) คือ การแยกและกำจัดของที่ไม่จำเป็นออกจากของที่จำเป็น รวมทั้งจัดหาของที่
จำเป็นให้มีพร้อมในการปฏิบัติงาน โดยพิจารณาการสะสางเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ
1) ของที่จำเป็นต้องใช้ในการทำงาน
2) ของที่ไม่จำเป็นในการทำงาน
สำหรับข้อมูล Digital ก็ต้องดำเนินการสะสางโดยใช้หลักการเดียวกันคือ
1) ข้อมูล Digital ที่จำเป็นในการทำงาน โดย ต้องระบุ รายการ และสถานที่
2) ข้อมูล Digital ที่ไม่จำเป็นในการทำงานต้องทำการลบทิ้ง โดยแบ่งข้อมูล Digital เป็น 3 ประเภท คือ
2.1 External Data คือ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ต่อบุคคลภายนอก บริษัท เช่น เว็บไซต์
แอพพลิเคชั่น Social Media ต่างๆ เช่น Facebook YouTube Twitter และ Instagram เป็นต้น
2.2 Internal Data คือ ข้อมูลที่ใช้งานร่วมกันภายใน บริษัท เช่น Intranet เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น
Program, Share Path เป็นต้น
2.3 Individual Data คือ ข้อมูลที่ใช้ทำงานสำหรับพนักงานเอง เช่น One Drive, Email, ข้อมูลใน
Computer ของพนักงาน เป็นต้น
หลักการทำ ส-สะสาง
1) สำรวจ พิจารณาระบบงาน แล้วกำหนดสิ่งของที่
จำเป็นต่อฟังก์ชันงานนั้นๆ สิ่งจำเป็นในการทำงานคือ
หากไม่มีสิ่งนั้นจะไม่สามารถทำงานได้
2) แยก ตรวจสอบสิ่งของในพื้นที่ที่รับผิดชอบ
ดำเนินการแยก "สิ่งจำเป็น" และ "สิ่งไม่จำเป็น" ใน
การทำงานออกจากกัน
3) ขจัด ขจัดสิ่งของที่ไม่จำเป็นในการทำงาน หรือของ
ที่มากเกินความจำเป็น ออกไปจากพื้นที่ทำงาน
4) เพิ่มส่วนขาด หลังการสำรวจหากพบว่าสิ่งของที่
จำเป็นในการทำงานไม่มี หรือไม่เพียงพอ ควรจัดหา
มาให้พร้อมสำหรับการทำงานเพื่อลดเวลาสูญเปล่าใน
การค้นหา การยืม การสะสางจะสามารถระบุ รายการ
สิ่งของจำเป็น ปริมาณ สถานที่จัดเก็บ
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 64
กิจกรรม 5ส
(ต่อ)
1.สะสาง (ต่อ)
ประโยชน์ของการทำ ส สะสาง
คือ มีพื้นที่สำหรับการทำงานมากขึ้น รวมทั้งพื้นที่สำหรับเก็บข้อมูล Digital เพราะมีการสะสางของ
ที่ไม่จำเป็นและขจัดออกไป ประหยัดในการซื้อตู้เอกสาร ชั้นวางของต่างๆ Server พื้นที่จัดเก็บ
ข้อมูล Digital และทำให้บรรยากาศในสถานที่ทำงานดีขึ้น
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 65
กิจกรรม 5ส
(ต่อ)
2.สะดวก
สะดวก (Seiton) คือ การจัดที่อยู่ให้ของที่จำเป็นเพื่อให้เป็นระเบียบ หมวดหมู่ สามารถหยิบใช้งาน
ได้ง่ายและทันทีโดยคำนึงถึงคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัย
หลักการทำ ส-สะดวก
1) ประสิทธิภาพ : สิ่งของ/อุปกรณ์ที่จำเป็นมีที่เก็บ จัดเป็นหมวดหมู่ พร้อมหยิบใช้ ไม่เสียเวลาในการ
ค้นหา และใช้แล้วเก็บไว้ที่เดิม
2) คุณภาพ : จัดเก็บสิ่งของอุปกรณ์ให้คงสภาพ พร้อมใช้งาน ไม่ชำรุดเสียหาย ไม่เสื่อมสภาพก่อนอายุ
การใช้งานปกติ
3) ความปลอดภัย : เก็บของโดยคำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้งาน เช่น ของหนักอยู่ล่าง-ของเบา
อยู่บน ของมีคมหันเข้าด้านใน การจัดเก็บสายไฟไม่เยพื้น ไม่ห้อยระโยงระยาง และคำนึงถึง แหล่งที่ก่อ
ให้เกิดอันตราย เช่น อันตรายจากเครื่องจักร/อุปกรณ์กลไก วัตถุหนักตกทับ ตกจากที่สูง ไฟฟ้า พาหนะ
อื่ นๆ
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 66
กิจกรรม 5ส
(ต่อ)
2.สะดวก (ต่อ)
Visual Management เป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่ม Productivity ให้องค์กร สามารถทำงานได้สะดวกและ
ง่ายยิ่งขึ้น ด้วยการแสดงป้าย สัญญาณ แถบสี และสัญลักษณ์ในสถานที่ทำงาน จำแนกได้เป็น
1. Visual Display : เป็นการแสดงข้อมูลให้เห็นเป็นภาพ เพื่อให้พนักงานได้รับทราบ เช่น มีการ
นำเสนอด้วย ภาพ แผนภูมิ กราฟ การทำป้ายต่างๆ
2. Visual Control : เป็นการควบคุมด้วยการมองเห็น เพื่อควบคุมให้การทำงานเป็นไปอย่างถูกต้อง
ด้วยการแสดงมาตรฐานเทียบกับสถานะจริง จึงทำให้สามารถจำแนกปัญหาได้ทันทีด้วยการมองเห็น
เช่น สัญลักษณ์ไฟจราจร
การทำ 5ส ข้อมูล Digital เพื่อให้เกิดความสะดวกสามารถพิจารณาดำเนินการโดย
การจัดเก็บแบบมีคุณภาพ คือ การจัดเก็บข้อมูล Digital ให้มั่นใจว่าเป็นข้อมูลที่ Update ไม่
ซ้ำซ้อน เช่น การควบคุมเอกสาร การ Integrate เว็บไซต์ให้มีกระบวนการทำงานที่คล้ายคลึง
กันเข้าด้วยกัน เพื่อลดความสับสนของผู้ใช้งาน และลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนกัน
การจัดเก็บแบบมีประสิทธิภาพ คือ การค้นหาต้องเป็นศูนย์ (Searching Free) โดยชี้บ่งและ
จัดเก็บข้อมูล Digital ที่จำเป็นให้ง่ายต่อการค้นหาและใช้งาน หรือ การใช้โปรแกรมช่วยเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการทำงาน และดันหาข้อมูล การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานเดิมหรือ
พัฒนาขึ้นมาใหม่ ให้ตอบโจทย์การทำงานที่มากยิ่งขึ้น เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพ Platform,
Website, Program และ Application ต่างๆ
การจัดเก็บแบบปลอดภัย คือ การจัดเก็บข้อมูลโดย มั่นใจว่าข้อมูลจะไม่สูญหาย เช่น การ
Back up ข้อมูล การระบุสิทธิ์การเข้าถึงไฟล์ข้อมูลที่สำคัญ, มีการเปลี่ยน Password เป็น
ประจำ
ประโยชน์ของการทำ ส สะดวก
คือ สามารถหยิบสิ่งของได้ง่าย รวมทั้งการเข้าถึงข้อมูล Digital ต่างๆ ได้สะดวก และเมื่อสิ่งใดหาย
ไปก็รู้ได้ทันที ลดเวลาในการค้นหา ส่งผลให้การทำงานสะดวกรวดเร็ว และง่ายยิ่งขึ้น
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 67
กิจกรรม 5ส
(ต่อ)
3.สะอาด
สะอาด (Seiso) คือ การทำความสะอาดสภาพแวดล้อม เช่น สถานที่ เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์
และสิ่งของ เพื่อตรวจสอบ และค้นหาสิ่งผิดปกติเพื่อแก้ไขและป้องกัน รวมทั้ง มีแนวทางป้องกันให้
บุคลากรในสถานประกอบการมีความสะอาด ปลอดภัยจากเชื้อโรค สารเคมีต่างๆ และสภาพแวดล้อมที่
ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ
หลักการทำ ส-สะอาด
ทำความสะอาดเพื่อค้นหาแหล่งกำเนิดปัญหา หากพบแหล่งกำเนิดปัญหาให้หาทางขจัดออกไป หาก
ไม่สามารถขจัดออกไปได้ ต้องมีวิธีการควบคุมจำกัดขอบเขตของปัญหาแหล่งกำเนิดปัญหา
3 แหล่ง คือ
1) แหล่งกำเนิดสิ่งสกปรก : แหล่งการสัมผัสที่มีโอกาสติดเชื้อโรค เช่น ลิฟต์ โต๊ะประชุม โทรศัพท์
เป็นตัน จุดกำเนิดความสกปรกที่นำพาสัตว์นำโรดต่างๆ ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม เช่น ขยะ
คราบเปื้ อนต่างๆ จุดกำเนิดสิ่งสกปรกที่มาจากเครื่องจักร/อุปกรณ์ เช่น จุดน้ำมันรั่ว จุดน้ำรั่ว
เครื่องจักรที่ก่อให้เกิดฝุ่น หากไม่สามารถขจัดแหล่งกำเนิดสิ่งสกปรกได้ ต้องคันหาวิธีการควบคุม
เช่น มีถาดรอง ท่อระบาย หรือรางระบาย ในจุดที่มีน้ำมัน หรือน้ำมันรั่ว แหล่งกำเนิดสิ่งสกปรกอื่นๆ
ที่จำเป็นต้องควบคุมในจุดสำคัญ เช่น ปัญหาการแพร่กระจายของเชื้อโรค ปัญหาฝุ่นละออง ปัญหา
มูลสัตว์ ปัญหาวัชพืช และปัญหาสัตว์นำโรค
2) แหล่งสั่นสะเทือน: จุดหลวม คลอน เป็นจุดที่แสดงให้เห็นสัญญาณผิดปกติของเครื่องจักรหรือ
อุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งต้องรีบแก้ไขก่อนที่จะก่อให้เกิดปัญหาลุกลาม
3) แหล่งเข้าถึงยาก: แหล่งเข้าถึงยาก คือ จุดยากลำบาก ที่มีอยู่ในตัวเครื่องจักรและยากที่จะเข้าถึง
เช่น จุดหรือบริเวณที่มืด ดับแคบ ใช้เครื่องมือจำนวนมากในการเข้าถึง ซึ่งจุดยากลำบากเหล่านี้จะ
ทำให้การบำรุงรักษาเครื่องจักรทำได้ยาก ใช้เวลานาน หรือต้องใช้ความพยายามมากกว่าปกติ ในที่สุด
ก็ทำให้ประสิทธิภาพของการบำรุงรักษาลดลงไป
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 68
กิจกรรม 5ส
(ต่อ)
3.สะอาด (ต่อ)
จะเห็นได้ว่า ส สะอาด ไม่ใช่แค่ ปัด กวาด เช็ด ถู เท่านั้น แต่มีมากกว่านั้น คือ การตรวจสอบ
เพื่อกำจัดแหล่งกำเนิดปัญหาต่างๆ
สำหรับ การทำ 5ส ข้อมูล Digital คือ มีการตรวจสอบความถูกต้องและปลอดภัยของข้อมูล
Digital เช่น มีการ Scan virus, Update โปรแกรม Antivirus Secure การ Scan
Virus, การ Update Firmware ตามที่บริษัทกำหนด
ประโยชน์ของการทำ ส สะอาด
คือ ทำให้สถานที่ทำงานน่าอยู่ สิ่งของ อุปกรณ์ต่างๆ มีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากขึ้น หรือ
ข้อมูล Digita มีความปลอดภัย ไม่สูญหาย เพราะเรามีการตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ อย่าง
สม่ำเสมอ ถ้าพบว่ามีการชำรุดเราสามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ทุกคน มีความสุข สุขภาพแข็ง
แรง ปราศจากโรคภัยที่เกิดจากความสกปรก
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 69
กิจกรรม 5ส
(ต่อ)
4.สร้างมาตรฐาน
สร้างมาตรฐาน (Seiketsu) คือ การสร้าง การรักษา และการปรับปรุงมาตรฐาน ให้ดีขึ้น
อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ รวมทั้งการทำ 3ส แรกอย่างต่อเนื่อง
มาตรฐาน 5ส คือ มาตรฐานที่ไม่ได้อยู่ในระบบคุณภาพหรือ กฎความปลอดภัย
มาตรฐาน 5ส ที่ดี เกิดจากการมีส่วนร่วม เข้าใจ ง่าย ดึงดูดอยากทำตาม ทำแล้วมี
บรรยากาศที่ดี ไม่เพิ่มภาระ
มาตรฐาน 5ส คือ การฝึกเรียนรู้ส่งเสริมให้เกิดนิสัย
หลักการทำ ส-สร้างมาตรฐาน
1) กำหนดเป็นลายลักษณ์อักษร จัดทำมาตรฐานให้อยู่ในรูปสื่อที่เหมาะสม พนักงานสามารถเข้าถึง
ได้ง่าย
2) ฝึกอบรม จัดอบรมเพื่อให้พนักงานมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถปฏิบัติได้ตรงตามมาตรฐาน
3) ติดตามประเมินผล ควรมีการติดตามว่าพนักงานสามารถปฏิบัติได้ตามมาตรฐานที่กำหนด
4) ตัวอย่างมาตรฐานที่ควรกำหนด
4.1 ตัวอย่างมาตรฐานที่ควรกำหนดในพื้นที่สำนักงาน
มาตรฐานตู้ต่างๆ ป้ายตู้ และ Index หน้าตู้
มาตรฐานแฟ้มเอกสาร
มาตรฐานป้ายชื่อ มาตรฐานป้ายสถานะ
4.2 ตัวอย่างระบบมาตรฐานที่ควรกำหนดในพื้นที่ปฏิบัติการ
ระบบการตรวจสอบ
ระบบสี สัญลักษณ์ ที่ใช้ในการควบคุม/บอกสถานะ
ระบบการยืม-คืน
Calibration หน้างาน ใช้สีสัญลักษณ์ในการควบคุม
Log sheet
ระบบการป้องกันสนิม
ระบบควบคุมแบบ Poka yoke : ระบบป้องกันความผิดพลาด
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 70
กิจกรรม 5ส
(ต่อ)
4.สร้างมาตรฐาน (ต่อ)
ประโยชน์ของการทำ ส สร้างมาตรฐาน
คือ ทำให้ทุกคนที่ปฏิบัติงานร่วมกันเข้าใจและปฏิบัติงานไปในทิศทางเดียวกัน และส่งผลให้การ
ดำเนินงาน ส1-ส3 คงอยู่ และสามารถพัฒนามาตรฐานได้ต่อไปเพื่อ ปรับปรุงการทำงานให้ดี
ยิ่งขึ้น
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 71
กิจกรรม 5ส
(ต่อ)
5.สร้างนิสัย
สร้างนิสัย (Shitsuke) คือ การปฏิบัติตามมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอกลายเป็นพฤติกรรมที่
เกิดขึ้นจนเป็นนิสัย
หลักการทำ ส-สร้างนิสัย
1. ทบทวนและปฏิบัติ 4ส แรกอย่างต่อเนื่อง
2. ผู้บังดับบัญชาต้องปฏิบัติเป็นตัวอย่างที่ดี
3. คณะกรรมการหรือผู้บริหารกำหนดรอบเวลาตรวจเยี่ยมอย่างต่อเนื่อง
4. จัดกิจกรรมส่งเสริม กระตุ้นให้พนักงานปฏิบัติตามมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ
3ส แรกส่งผลต่อวัตถุ อุปกรณ์ และสถานที่ทำงาน 2ส หลังส่งผลต่อคน ที่ทำ 3ส
แรกอย่างต่อเนื่อง
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 72
กิจกรรม 5ส
(ต่อ)
5.สร้างนิสัย (ต่อ)
ประโยชน์ของการทำ ส สร้างนิสัย
คือ ทำให้พนักงาน และองค์กรมีความเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องเพราะพนักงานทุกคน
ทำ 5ส อย่างอัตโนมัติ ส่งผลให้ การทำงานทุกมิติมีประสิทธิภาพมากขึ้นผลที่ได้คือ ลด
ความสูญเปล่า ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ดังนี้ :
อุบัติเหตุต้องเป็น "0" เมื่อมีการดำเนินการ 5ส
อย่างต่อเนื่อง ก็เป็นการขจัดจุดอันตรายต่างๆ
จึงทำให้ไม่มีจุดเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุได้
ข้อผิดพลาดต้องเป็น "0" นั่นก็หมายถึง
การไม่เสีย หรือลดการเกิดค่าใช้จ่ายที่ไม่
จำเป็น (Cost Reduction)
ไม่สูญเสียเวลา ในการทำสิ่งที่ไม่จำเป็น
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 73
กิจกรรม 5ส
(ต่อ)
สรุปขั้นตอนการทำ 5ส
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 74
ความรู้เบื้องต้น
เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
นิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน หมายถึง การกระทำ หรือสภาพการ
ทำงานซึ่งปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดการประสบอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจหรือสุขภาพอนามัยอัน
เนื่องจากการทำงานหรือเกี่ยวกับการทำงาน
โดยทั่วไปคำว่า ความปลอดภัยในการทำงาน หรือความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยในการทำงาน
(Safety and Health at Work) หรืออาชีวอนามัยและความปลอดภัย(Occupational Health and
Safety) หรือความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (Occupational Safety and Health) หรือความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ล้วนมีความหมายเหมือนกันคือ หมายถึง ความปลอดภัยและ
สุขภาพอนามัยในการทำงานของลูกจ้าง
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน หมายถึง ลูกจ้างซึ่งนายจ้างแต่งตั้งให้ปฏิบัติ หน้าที่ด้านความ
ปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
อันตราย หมายถึง สภาวการณ์ที่มีเหตุอันจะทำให้เกิดความสูญเสีย
อุบัติเหตุ หมายถึง เหตุการณ์ที่ไม่มีผู้ใดตั้งใจให้เกิด เมื่อเกิดขึ้นแล้วมีผลให้เกิดการบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต หรือ
ทรัพย์สินเสียหาย
เหตุการณ์เกือบเกิดเป็นอุบัติเหตุ (Near miss) หมายถึง เหตุการณ์ที่ไม่มีผู้ใดตั้งใจให้เกิด เมื่อเกิดขึ้นแล้ว
ไม่มีผลให้เกิดการบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต หรือทรัพย์สินเสียหาย
ความสูญเสีย หมายถึง การบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต หรือทรัพย์สินเสียหาย หรือเจ็บป่วยหรือเป็นโรค
ความเสี่ยง หมายถึง ระดับของอันตรายที่บ่งบอกว่ายอมรับได้หรือยอมรับไม่ได้
ประสบอันตราย คือ การที่ลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กายหรือผลกระทบแก่จิตใจ หรือถึงแก่ความตายเนื่องจาก
การทำงาน หรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างหรือตามคำสั่งของนายจ้าง
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 75
สาเหตุ ของการเกิดอุบัติเหตุ
การปฏิบัติงานที่ไม่ปลอดภัย สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย
(Unsafe Action) (Unsafe Condition)
เป็นการกระทำที่ไม่ปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในขณะ คือ สภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยโดยรอบตัวของผู้
ทำงาน ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ เช่น ปฏิบัติงานขณะทำงาน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเกิด
อุบัติเหตุได้ เช่น
- การใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่เป็นเครื่องจักรกลต่าง ๆ
โดยพลการหรือไม่ได้รับมอบหมาย - เครื่องจักรไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตราย
- การทำงานที่มีอัตราเร่งความเร็วของงานและ - อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรที่ออกแบบไม่เหมาะสม
เครื่องจักรเกินกำหนด กับการใช้งาน
- การถอดอุปกรณ์ป้องกันออกจากเครื่องจักรโดยไม่มี - บริเวณพื้นที่ของการปฏิบัติงานไม่เหมาะสม
เหตุอันสมควรสมควร
- การจัดเก็บวัสดุสิ่งของอย่างไม่ถูกวิธี
- การดูแลซ่อมบำรุงอุปกรณ์เครื่องจักรในขณะที่กำลัง
ทำงาน - การจัดเก็บสารเคมีหรือสารไวไฟที่เป็นอันตรายไม่ถูก
วิธี
- การใช้เครื่องมืออุปกรณ์เครื่องจักรที่ชำรุดและไม่ถูก
วิธี - ไม่มีการจัดระเบียบและดูแลความสะดวกของสถานที่
ทำงานให้ถูกต้องตามสุขลักษณะ
- ไม่ใส่ใจในคำแนะนำหรือคำเตือนความปลอดภัย
- แสงสว่างไม่เพียงพอ
- ทำการเคลื่อนย้ายหรือยกวัสดุที่มีขนาดใหญ่ มีน้ำ
หนักมาก ด้วยท่าทางหรือวิธีการที่ไม่ปลอดภัย - ไม่มีระบบระบายและถ่ายเทอากาศที่เหมาะสม
- ไม่สวมใสอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล - ไม่มีระบบเตือนภัยที่เหมาะสม
- การคึกคะนองหรือเล่นตลกขณะทำงาน
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 76
ความสูญเสียจากอุบัติเหตุ
1.ความสูญเสียทางตรง
( Direct Loss)
หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับผู้ประสบอุบัติเหตุโดยตรง
ได้แก่ 1) ค่ารักษาพยาบาล
2) ค่าทดแทนจากการได้รับบาดเจ็บ
3) ค่าทำขวัญ ค่าทำศพ
4) ค่าประกันชีวิต
2.ความสูญเสียทางอ้อม
( Indirect Loss)
หมายถึง ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (ซึ่งส่วนใหญ่จะคำนวณเป็นตัวเงิน
ได้ยาก) นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายจากความสูญเสียทางตรง
ได้แก่
1) การสูญเสียเวลาทำงานของผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับบาด
เจ็บ ผู้ปฏิบัติงานอื่นที่ต้องหยุดงานชั่วคราวและหัวหน้า
งานหรือผู้บังคับบัญชา
2) ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเครื่องจักร เครื่องมือ
อุปกรณ์ที่ได้รับความเสียหาย
3) วัตถุดิบหรือสินค้าที่ได้รับความเสียหายต้องทิ้ง ทำลาย หรือขายทิ้ง
4) ผลผลิตลดลง เนื่องจากกระบวนการผลิตขัดข้อง ต้องหยุดชะงัก
5) ค่าสวัสดิการต่าง ๆ ของผู้บาดเจ็บ
6) สถานประกอบกิจการต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ผู้บาดเจ็บตามปกติ แม้จะทำงาน
ได้ไม่เต็มที่ หรือต้องหยุดทำงาน
7) การสูญเสียโอกาสทางการค้า เช่น ผลผลิตลดลง ทำงานไม่ได้ตามเป้า
หมาย
8) การเสียชื่อเสียง และภาพลักษณ์ของสถานประกอบกิจการ
9) ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ เช่น ค่าเช่า ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และค่าใช้จ่าย
อื่น ๆ ที่สถานประกอบกิจการยังคงต้องจ่ายตามปกติ แม้ว่าจะต้องหยุด หรือ
ปิดกิจการในกรณีเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 77
มาตรการในการป้องกันอุบัติเหตุ
เป็นการดำเนินการเพื่อขจัดหรือลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานให้หมดไปหรืออยู่ในระดับที่ยอมรับได้
ซึ่งควรดำเนินการตามลำดับ โดยเริ่มจากมาตรการลำดับที่ 1 จนถึงมาตรการลำดับที่ 5 แต่โดยทั่วไปแล้วจะใช้
มาตรการควบคุมมากกว่า 1 มาตรการ เพื่อให้การควบคุมอันตรายและลดความเสี่ยงเป็นไปอย่างได้ผล ลำดับ
มาตรการควบคุมอันตรายหรือความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการทำงาน มีดังนี้
1.การขจัด/กำจัด (Elimination)
เป็นการนำเอา ความเสี่ยง ออกไป หรือ ไม่นำเข้ามาในพื้นที่ ซึ่งเป็นวิธีที่ต้องทำก่อนเป็นอันดับแรก
ถ้าทำได้ เพราะช่วยลดความเสี่ยงต่อการสัมผัสอันตรายได้ ทำให้
ผู้ปฏิบัติงานมีโอกาสได้รับอันตรายน้อยที่สุด และเป็นการควบคุมที่ถาวร
2. การแทนที่ (Substitution)
เป็นการปรับเปลี่ยนวัสดุ กระบวนการทำงาน หรืออุปกรณ์เครื่องจักร ด้วย
สิ่งที่มีอันตรายน้อยกว่า เช่น เปลี่ยนสารเคมีแทนสารเดิมที่มีผลต่อร่างกาย
คนงาน, เปลี่ยนพัดลมจากแบบตั้งพื้นที่ล้มได้หรือเฉี่ยวชนได้ไปใช้พัดลม
แบบติดผนังหรือเพดาน เป็นต้น
3. การควบคุมด้านวิศวกรรม
(Engineering Controls)
โดยการออกแบบหรือปรับปรุงเครื่องจักร อุปกรณ์
เพื่อลดอันตรายจากแหล่งอันตราย เช่น การติดตั้ง
ระบบระบายอากาศ, การติดตั้งปุ่มกดฉุกเฉิน หรือ
ความสูญเสียทางอ้อมการปิดกั้นแหล่งอันตรายกับตัวผู้ปฏิบัติงาน เป็นต้น
( Indirect Loss)
เช่น
- กำหนดจำนวนชั่วโมงในการทำงาน 4. การควบคุมด้านบริหารจัดการ
ที่มีความเสี่ยง (Administrative Controls)
- การฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานให้ทราบ
ถึงอันตรายและความเสี่ยง ใช้การจัดการมาช่วยบริหารการ
- มีขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง ทำงาน เพื่อช่วยเสริมมาตรการ
และปลอดภัย เป็นต้น ต่าง ๆ ให้ปลอดภัยขึ้น
PPE ย่อมากจาก Personal Protective 5. การใช้ PPE
Equipment คือ อุปกรณ์คุ้มครองอันตราย
ส่วนบุคคล เพื่อปกป้องส่วนหนึ่งส่วนใดหรือ
ทั้งหมดของร่างกายจากความเสี่ยงที่จะได้รับจาก
งานที่ทำอยู่ เช่น หน้ากากกันสารเคมี หมวก
นิรภัย ถุงมือกันสารเคมี รองเท้านิรภัย ชุดกัน
ความร้อน ปลั๊กอุดหูหรือที่ครอบหู เป็นต้น
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 78
สภาพแวดล้อมในการทำงาน
สภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อม
ทางกายภาพ ทางเคมี
เช่น ความร้อน ความเย็น แสงสว่าง เช่น สารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่เป็นวัตถุดิบ
เสียงดัง ความสั่นสะเทือน รังสีและ หรือผลผลิตหรือของเสียที่ต้องกำจัด
ความกดดันบรรยากาศ เป็นต้น โดยทั่วไปสารเคมีดังกล่าวอาจจะอยู่ใน
รูป ก๊าซ ไอสาร ฝุ่น ฟูม ควัน ละออง
สภาพแวดล้อม หรืออยู่ในรูปของเหลว
ทางจิตวิทยาสังคม
ตัวอย่างสารเคมี เช่น ตะกั่ว
เช่น งานที่ก่อให้เกิดความเครียด แมงกานีส ปรอท
ต่อจิตใจที่เกิดจากการทำงานแข่ง
กับเวลาต้องทำงานด้วยความเร่ง สภาพแวดล้อม
รีบ การได้รับค่าจ้างที่ไม่เหมาะสม ทางชีวภาพ
สัมพันธภาพระหว่างผู้ปฏิบัติงาน
เช่น ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา ไรฝุ่น
สภาพแวดล้อม พยาธิ และสัตว์อื่น ๆ เช่น ยุง หนู งู
ทางการยศาสตร์ เป็นต้น
เช่น การทำงานที่มีท่าทางการทำงานที่
ไม่เหมาะสม การก้มยกย้ายของผิดวิธี
การบิดเอี้ยวตัว การทำงานซ้ำซาก
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 79
สิทธิและหน้าที่ของ
นายจ้างและลูกจ้าง
(๑) นายจ้างและลูกจ้างมีหน้าที่ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีว
อนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๕๔
(๒) นายจ้างมีหน้าที่จัดและดูแลสถานประกอบกิจการและลูกจ้างให้มีสภาพการทำงาน
และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ รวมทั้งส่งเสริมและ
สนับสนุนการปฏิบัติงาน ของลูกจ้าง มีให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ
และสุขภาพอนามัย
(๓) นายจ้างมีหน้าที่จัดและดูแลให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วน
บุคคลที่ได้มาตรฐาน ถ้าลูกจ้างไม่สวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าว ให้นายจ้างสั่งให้หยุดการ
ทำงานจนกว่าลูกจ้างจะสวมใส่อุปกรณ์นั้น
(๔) นายจ้างมีหน้าที่จัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรมให้
สามารถบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพ
แวดล้อมในการทำงานได้อย่างปลอดภัยก่อนการเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถาน
ที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์
(๕) นายจ้างมีหน้าที่แจ้งให้ลูกจ้างทราบถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานและ
แจกคู่มือปฏิบัติงานให้ลูกจ้างทุกคนก่อนที่ลูกจ้างจะเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน หรือ
เปลี่ยนสถานที่ทำงาน
(๖) นายจ้างมีหน้าที่ติดประกาศ คำเตือน คำสั่ง หรือคำวินิจฉัยของอธิบดีกรม
สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พนักงานตรวจความปลอดภัย หรือคณะกรรมการ
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน แล้วแต่กรณี
(๗) นายจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการดำ เนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 80
สิทธิและหน้าที่ของ
นายจ้างและลูกจ้าง
(ต่อ)
(๗) นายจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการดำ เนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(๘) ลูกจ้างมีหน้าที่ให้ความร่วมมือกับนายจ้างในการดำเนินการและส่งเสริมด้านความ
ปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยคำนึงถึงสภาพของงาน
และหน้าที่รับผิดชอบ
(๙) ลูกจ้างมีหน้าที่แจ้งข้อบกพร่องของสภาพการทำงานหรือการชำรุดเสียหายของ
อาคาร สถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร หรืออุปกรณ์ ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง
ต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน หัวหน้างาน หรือผู้บริหาร
(๑๐) ลูกจ้างมีหน้าที่สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่นายจ้างจัดให้
และดูแล ให้สามารถใช้งานได้ตามสภาพและลักษณะของงานตลอดระยะเวลาทำงาน
(๑๑) ลูกจ้างมีสิทธิในการปฏิเสธการทำงานที่ไม่มีมาตรการด้านความปลอดภัย โดย
แจ้งการปฏิเสธนั้นต่อหัวหน้างานหรือผู้บังคับบัญชา
(๑๒) ในสถานที่ที่มีสถานประกอบกิจการหลายแห่ง ลูกจ้างมีหน้าที่ปฏิบัติตามหลัก
เกณฑ์เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของ
นายจ้าง และสถานประกอบกิจการอื่นที่ไม่ใช่ของนายจ้างด้วย
(๑๓) ลูกจ้างมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากการเลิกจ้าง หรือถูกโยกย้ายหน้าที่การงาน
เพราะเหตุที่ฟ้องร้อง เป็นพยาน ให้หลักฐาน หรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานต่อพนักงานตรวจ
ความปลอดภัย คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการ
ทำงาน หรือศาล
(๑๔) ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างหรือสิทธิประโยชน์อื่นใด ในระหว่างหยุดการทำงานหรือ
หยุดกระบวนการผลิตตามคำสั่งของพนักงานตรวจความปลอดภัย เว้นแต่ลูกจ้างที่
จงใจกระทำการอันเป็นเหตุให้มีการหยุดการทำงานหรือหยุด
คู่มือความปลอดภัย โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม | 81
การตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง
กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการตรวจสุขภาพลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง พ.ศ.
2563
"การตรวจสุขภาพ" หมายความว่า การตรวจร่างกายและสภาวะทางจิตใจตามวิธีทางการแพทย์ เพื่อ
ให้ทราบถึงความเหมาะสมของสภาะสุขภาพของลูกจ้าง หรือผลกระทบต่อสุขภาพของลูกจ้างอันอาจ
เกิดจากการทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง
งานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง มีอะไรบ้าง ?
งานที่ลูกจ้างทำเกี่ยวกับ
1. สารเคมีอันตรายตามที่อธิบดีประกาศกำหนด โดยดูจาก ประกาศกระทรวงแรงงาน “ เรื่อง กำหนดสารเคมี
อันตรายที่ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง พ.ศ. 2552 ”
2. จุลชีวันเป็นพิษที่อาจเป็นเชื้อไวรัส แบคทีเรีย รา หรือสารชีวภาพอื่น
3. กัมมันตภาพรังสี
4. ความร้อน ความเย็น ความสั่นสะเทือน ความกดดันบรรยากาศ แสง หรือเสียง
5. สภาพแวดล้อมอื่นที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของลูกจ้าง เช่น ฝุ่นฝ้าย ฝุ่นไม้ ไอควันจากการเผาไหม้
หากให้ลูกจ้างทำงาน ตามลักษณะงานด้านบน ต้องจัดให้ลูกจ้างผู้นั้นได้รับการตรวจสุขภาพตามความเสี่ยง
นั้น
การตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงแบ่งออกเป็น 2 แบบ
1. การตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงาน
ทางบริษัทจะต้องกำหนดรายการที่ต้องตรวจสุขภาพ เพื่อให้พนักงาน
ทำการตรวจสุขภาพและนำผลการตรวจนั้นมายืนยันกับบริษัทก่อนวันเริ่มงาน โดยส่วนใหญ่รายการตรวจ
สุขภาพ ก็จะเป็นรายการตรวจสุขภาพพื้นฐานทั่วๆไป ที่สำคัญการตรวจก่อนเริ่มงานนี้จะเป็นตัวยืนยันว่า
ก่อนที่ลูกจ้างจะเข้ามาทำงานกับเรานั้นลูกจ้างมีสุขภาพแข็งแรงหรือมีโรคประจำอะไรหรือไม่ เช่น หูตึงมาอยู่
แล้ว หรือ มีสารเคมีในเลือดมาอยู่ก่อนแล้ว เป็นต้น
2. การตรวจสุขภาพประจำปี
เป็นการตรวจสุขภาพทั่วไปตามตำแหน่งงานต่างๆและความเสี่ยงในการสัมผัส
เช่น แสง เสียง ความร้อน สารเคมี เพื่อดูว่าสุขภาพในแต่ละปีนั้นลูกจ้างมีสุขภาพปกติดีอยู่และสามารถ
ทำงานได้อยู่หรือไม่ ระยะเวลาในการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงนายจ้างจะต้องจัดให้มีดังนี้
การตรวจสุขภาพครั้งแรก ให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รับลูกจ้างเข้าทำงาน และจัดให้ตรวจ
สุขภาพครั้งถัดไป อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
กรณีที่ลักษณะหรือสภาพงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง มีความจำเป็นต้องตรวจสุขภาพ ให้นายจ้างจัดให้มี
การตรวจสุขภาพลูกจ้างตามระยะเวลานั้น เช่น งานอับอากาศ งานที่สูง งานที่ต้องสัมผัสกับสารเคมี
อันตราย เป็นต้น
กรณีที่นายจ้างเปลี่ยนงานที่ปัจจัยเสี่ยงของลูกจ้างแตกต่างไปจากเดิม ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจ
สุขภาพลูกจ้างทุกครั้งให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เปลี่ยนงาน